ประชาไท | Prachatai3.info |
- นักข่าวพลเมือง: ‘เครือข่ายที่ดินตรัง’ จัดเวทีวิพากษ์ ‘ตัดถนน’ กันแนวเขตเขาบรรทัด
- เครือข่ายประชาชนน้ำโขงฯ ชวนผู้ห่วงใยสายน้ำ ลงชื่อค้านเขื่อน
- ชีวิตของสาวไทยหลังสึนามิ
- อัยการยื่นฟ้องหนุ่มขายซีดี-วิกิลีกส์คดีหมิ่นสถาบัน ศาลนัดตรวจหลักฐาน 11 ก.ค.
- ศาลรับฟ้องกรณีพ่อ ‘น้องเฌอ’ ญาติผู้บาดเจ็บฟ้องรัฐ สลายชุมนุม53 ทำลูกตาย-สามีอัมพาต
- ใครเป็นใครใน 246 รายนามนักเขียนผู้ร่วมเรียกร้องแก้ไข ม.112
- ปิด ศอ.รส. ไม่ต่อ พรบ.มั่นคงฯ ใน กทม. หลังใช้ยาว 105 วัน
- กกต.มั่นใจไร้รุนแรง 6 พรรคส่งเลือก ส.ส.ปัตตานี
- นักกิจกรรมสตรีนิยม-แรงงานในเอเชีย เรียกร้องต่อเนื่อง "ปล่อยสมยศ"
- กลุ่มที่อ้างตัวและใช้ชื่อว่า 'อาสาเทิดไท้' จี้เพื่อไทยถอดผู้สมัคร 'หมิ่น'
- มุกหอม วงษ์เทศ: ท่าทีเบื้องต้นกับข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อการปฏิรูปอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม
- 'ชาวเชียงแสน' เตรียมซ้อมอพยพหนีภัย หวั่นแผ่นดินไหวทำ 'เขื่อนจีน' แตก
- เหยื่อแผ่นดินไหวรัฐฉานยังเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ - พ่อค้าสิ่งก่อสร้างฉวยขึ้นราคา
นักข่าวพลเมือง: ‘เครือข่ายที่ดินตรัง’ จัดเวทีวิพากษ์ ‘ตัดถนน’ กันแนวเขตเขาบรรทัด Posted: 24 May 2011 02:46 PM PDT กก.องค์กรชุมชนฯ ชี้โครงการเสี่ยงก่อปัญหาดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก ต้องให้ผู้ได้รับผลกระทบร่วมกันตัดสินใจ ส่วนคณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเ สืบเนื่องจาก กรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชดำเนินการตัดถนนเพื่อกันแนวเขตรักษา วันนี้ (25 พ.ค.54) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบ กิจกรรมในงานมีการนำเสนอถึงขั้น นายศุภกร มากสอน กรรมการองค์กรชุมชนปฏิรูปที่ดิน “ปี 2550 เคยเกิดน้ำป่าไหลหลากที่นี่ บริเวณน้ำตกสายรุ้งและน้ำตกไพรส นายสมนึก พุฒนวล คณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเ “โครงการนี้เป็นโครงการผลาญงบปร ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของเครือข่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เครือข่ายประชาชนน้ำโขงฯ ชวนผู้ห่วงใยสายน้ำ ลงชื่อค้านเขื่อน Posted: 24 May 2011 01:59 PM PDT เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงเชิญร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์หยุดการสร้างเขื่อน พร้อมเดินหน้าคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในลาว เผยเตรียมยื่นฟ้องศาลปกครองทันทีหากมีการลงนามซื้อ-ขายไฟ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 14 – 15 พ.ค.54 เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด จัดการเสวนาเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนกรณีคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี พร้อมจัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำและบวชวังสงวนคอนผีหลง-ผาพระ มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน จาก 3 อำเภอริมแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ เชียงแสน เชียงของ เวียงแก่น และ 7 จังหวัดในภาคอีสานที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านจากแม่น้ำสาขาของลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำสาละวิน และองค์กรแนวร่วมอีกหลายองค์กร วันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้จัดทำคำประกาศเจตนารมณ์“ร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว ปกป้องแม่น้ำโขงจากการสร้างเขื่อน” พร้อมเชิญชวนผู้ที่รักและห่วงใย สายน้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนสองฝากฝั่งตลอดแม่น้ำโขงร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าว ให้หยุดการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงและเดินหน้าคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีปกป้องแม่น้ำโขงให้ไหลอย่างอิสระ โดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์โครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง คำประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้
ทั้งนี้ ที่ผ่านภาคประชาชนในประเทศไทย มีการการต่อต้านโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก โดยการเดินสายจัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน 8 จังหวัด รวมทั้งได้ออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการดังกล่าวทั้งต่อรัฐบาลไทย-ลาว และบริษัท ช.การช่าง ส่วนความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ จากเวทีประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Committee Special Session) 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ เอ็มอาร์ซี (Mekong River Commission: MRC) ที่นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ประเทศเวียดนามก็แสดงทางทีคัดค้าน โดยที่เสนอให้ชะลอโครงการไป 10 ปี เพื่อศึกษาผลกระทบให้รอบด้านก่อน ล่าสุดรัฐบาลลาวก็ได้ประกาศชะลอโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีไปอีก 1 ปี อย่างไรก็ตาม ผลจากการหารือ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้กำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวใน 4 ประเด็น คือ (1) รณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงโดยเฉพาะเขื่อนไซยะบุรี โดยตัวแทนรับมอบป้ายต้นแบบไปติดแสดงเจตนารมณ์บริเวณท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่จังหวัดของตน เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้านฝั่งลาว (2) ทำหนังสือขอบคุณในนามเครือข่ายฯ ไปยังรัฐบาลเวียดนามที่มีความเห็นคัดค้านในเวที MRC และธนาคารไทยพาณิชย์ 1 ใน 4 แหล่งเงินกู้ ของ บริษัท ช.การช่าง ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานก่อสร้างเขื่อนจากรัฐบาลลาวได้ยื่นขอกู้ไว้ ได้ถอนตัวจากการให้กู้ (3) เตรียมพร้อมในการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองทันที หากมีการลงนามซื้อ-ขายไฟระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และบริษัท ช.การช่าง และ (4) จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาชนในประเทศไทยโดยเชิญตัวแทนจากเวียดนาม เขมรและลาวเข้าร่วมด้วย และแสวงหาความร่วมมือทั้งจาก MRC และรัฐบาลประเทศที่ร่วมสนับสนุน MRC เพื่อยกระดับแม่น้ำโขงไปสู่ประเด็นระดับนานาชาติต่อไป เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก: เครือข่ายประชาชนน้ำโขงฯ สืบชะตาแม่น้ำ ประกาศร่วมใจปกป้องแม่น้ำจากเขื่อน ดูภาพบรรยากาศเพิ่มเติม: องค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิต สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 24 May 2011 11:24 AM PDT Newsclip หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นรายปักษ์แจกฟรี ฉบับที่ 205 วันที่ 10 พ.ค. 54 หน้า 15 ตีพิมพ์เรื่องราวของคนไทยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นมากที่สุด เผยความยากลำบากขณะหลบภัย และความช่วยเหลือจากทีมงานข่าวทีวีของไทย หนังสือพิมพ์ newsclip ซึ่งนำเสนอข่าวสารเป็นภาษาญี่ปุ่นเผยแพร่ในประเทศไทย ได้นำเสนอเรื่องราวของสุวรรณา คาเมะยามะ หญิงไทยวัย 37 ปี ผู้ประสบภัยสึนามิ และตัดสินใจกลับมายังเมืองไทยพร้อมลูกชายวัย 9 ขวบเพื่อเยียวยาความรู้สึกหวาดกลัวจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น สุวรรณาพบกับสามีชาวญี่ปุ่นวัย 50 ปีของเธอครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ก่อนจะแต่งงานกัน และอาศัยอยู่ที่เมืองอิชิโนะมากิ จังหวัดมิยากิเป็นเวลา 9 ปี พวกเขามีลูกชายวัย 9 ขวบ ขณะเกิดเหตุสึนามิและแผ่นดินไหวนั้น สุวรรณากำลังทำงานอยู่ในโรงงานอาหาร
สึนามิที่มาหลังแผ่นดินไหวและบ้านเรือนที่ลุกเป็นไฟลอยน้ำ แผ่นดินไหวเกิดก่อนเวลา 15.00น.เล็กน้อย หลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และยาวนานตามมา จากนั้นระบบไฟฟ้าก็ถูกตัด แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวส่งผลให้พนักงานหญิงในโรงงานไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ พวกเธอเริ่มร้องไห้เพราะความกลัว พนักงานในโรงงาน 250 คนออกมารวมตัวกันที่หน้าโรงงานและตรวจสอบความปลอดภัยของกันและกัน พนักงานแต่ละแผนกต่างแยกย้ายไปยังที่หลบภัย แผนกของสุวรรณาซึ่งมีพนักงานทั้งหมด 56 คนขึ้นไปหลบที่ดาดฟ้า นอกตัวอาคาร สัญญาณเตือนภัยดังสนั่น โทรศัพท์มือถือของเธอมีข้อความเตือนภัยว่าอาจเกิดสึนามิสูง 6 เมตร นอกอาคาร อากาศหนาวเย็น หิมะตก ท้องฟ้ามืด 30 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว สึนามิลูกแรกก็มาถึง คลื่นสีดำสนิทพัดเอาบ้าน รถ และทุกสิ่งทุกอย่างมาที่ชั้นหนึ่งของโรงงาน ขณะที่พนักงานในแผนกอื่นๆ หลบภัยอยู่ที่เนินเขาหลังโรงงาน แม้แต่ในตอนกลางคืน อาฟเตอร์ช็อกยังดำเนินต่อไป มีสึนามิเกิดขึ้นทุกๆ ครั้งหลังอาฟเตอร์ช็อก รอบๆ โรงงาน สถานที่ต่างๆ เริ่มเกิดเพลิงไหม้ สึนามิพัดพาเอาบ้านที่ลุกไหม้เข้ามาเป็นระลอกๆ จวบจนรุ่งสาง กลุ่มของสุวรรณาจึงได้ไปสมทบกับเพื่อนพนักงานซึ่งอยู่ที่ศูนย์หลบภัยบริเวณเชิงเขา เธอหลบภัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสี่วัน
สามวันที่ลูกชายอยู่รอดได้ด้วยขนมปังกรอบและสามีที่ถูกสึนามิพัดไปขณะอยู่ในรถ ลูกชายของสุวรรณาอยู่ที่สนามของโรงเรียนประถม เขากำลังออกกำลังกาย ขณะที่พื้นดินเริ่มแยกออกจากกัน เขาวิ่งเข้าไปในห้องเรียน และติดอยู่ในนั้นพร้อมกับเพื่อนนักเรียนนานสามวัน เด็กๆ อยู่ได้ด้วยขนมปังกรอบ 2 ชิ้น ขนมเซมเบ้ 1 ชิ้น และปลาแห้งเล็ก 3 ตัว สามวันหลังจากนั้น พ่อของเขาฝ่าน้ำที่ท่วมขึ้นมาถึงอกเข้ามาหา พวกเขาย้ายไปอยู่ที่บ้านของน้องชายของพ่อ สามีของสุวรรณาและน้องชายของเขาอยู่ในรถขณะเกิดแผ่นดินไหว หลังแผ่นดินไหว พวกเขาย้ายไปอยู่บ้านของน้องชาย และเตรียมตัวหลบภัยสึนามิ น้องชายให้ลูกชายและลูกสาวของเขาขึ้นรถอีกคัน ขณะที่สามีของสุวรรณารออยู่ในรถอีกคันหนึ่งตอนที่สึนามิปะทะเข้ากับรถ รถถูกพัดออกไปและน้ำเริ่มทะลักเข้ามาในรถจนเหลือช่องว่างด้านบนเพียง 10 เซนติเมตร สามีของสุวรรณาคิดว่าเขากำลังจะตาย ขณะเดียวกันก็พยายามเปิดประตูรถ และเป็นโชคดีที่ประตูเปิดออก หลังจากนั้น เขาหนีออกมาจากรถและคว้าหลังคาบ้านหลังหนึ่งไว้ได้ หลาน (ลูกชายของน้องชาย) ของเขาปลอดภัยเพราะคว้ากิ่งของต้นไม้เอาไว้ได้ ขณะที่ลูกสาวถูกพัดลอยออกไป สามีของสุวรรณาเห็นเธอร้องไห้พร้อมกับลอยออกไป แต่เขาเองก็ไม่สามารถช่วยเธอได้ เพราะเขาก็ถูกสึนามิพัดเช่นกัน ร่างของเธอถูกพบในวันที่ 12 เมษายน
คนที่ช่วยเหลือสุวรรณาไม่ใช่สถานทูตไทย แต่เป็นทีมข่าว หลังเกิดเหตุการณ์สี่วัน สมาชิกในครอบครัวของสุวรรณาก็ได้พบกัน พวกเขาหลบภัยอยู่ในบ้านของน้องชาย เนื่องจากบ้านของพวกเขาถูกสึนามิพัดออกไปไกล 100 เมตรจากจุดเดิม พวกเขาไม่สามารถจะอยู่ในบ้านของตัวเองได้ หลังจากย้ายไปที่บ้านของน้องชายได้สามสี่วัน ความช่วยเหลือก็ยังไม่มาถึง พวกเขาต้องหาอาหารประทังชีวิตวันต่อวัน ปัญหาใหญ่ที่สุดคือน้ำดื่ม พวกเขาต้องควานหาขวดน้ำที่ถูกพัดออกมาจากร้านค้าตามกองขยะ ความช่วยเหลือแรกมาจากกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น ตามด้วยอาสาสมัครจากที่ต่างๆ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังเกิดภัยพิบัติที่พวกเขาได้กินอาหาร แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม "ฉันไม่มีอะไรจะตำหนิรัฐบาลญี่ปุ่น ฉันปลอดภัยก็เพราะการฝึกฝนหลบภัย มีบ้างที่ขาดแคลน แต่ในสถานการณ์อย่างนั้น มันก็ช่วยไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเรื่องอย่างนี้เกิดในประเทศไทยก็คงไม่เป็นอย่างนี้ สิ่งที่ฉันต้องการก็เพียงอาหารและน้ำในวันแรก ตอนที่ฉันได้กินข้าวต้มครั้งแรกในรอบสี่วัน ฉันก็น้ำตาไหล เพราะการหาอาหารนั้นเป็นเรื่องยาก" สุวรรณากล่าว สาเหตุที่เธอกลับมาเมืองไทยได้ เป็นเพราะเธอพบกับทีมงานทีวีของไทยซึ่งมารายงานข่าวที่เมืองอิชิโนะมากิ ทีมงานทีวีคิดว่าเธอน่าจะได้รับความช่วยเหลือจากสถานทูตไทยในญี่ปุ่น จึงติดต่อไปยังสถานทูต แต่ขณะที่ติดต่อไปนั้น สถานทูตยังไม่มีแผนช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นที่เป็นรูปธรรม ทีมงานทีวีวิจารณ์สถานทูตอย่างหนักพร้อมทั้งเรียกร้องให้มีมาตรการช่วยเหลือ ท้ายที่สุด สถานทูตไทยตัดสินใจมอบตั๋วเครื่องบินเพื่อให้คนไทยในญี่ปุ่นบินกลับประเทศ หากแต่ผู้ที่ต้องการเดินทางกลับจะต้องมารับตั๋วที่สถานทูต (โตเกียว) สุวรรณาซึ่งสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถที่จะเดินทางมาได้ "สุดท้าย ทีมงานทีวีให้ฉันยืมเงิน 30,000 เยน ถ้าไม่มีเงินก้อนนี้ ฉันคงไม่สามารถกลับมาเมืองไทยได้ ไม่มีระบบขนส่งมวลชนจากอิชิโนะมากิไปยังเมืองเซ็นได (เมืองหลวงของมิยากิ) วิธีเดียวที่จะไปได้ในเวลานั้นคือแท็กซี่ คนขับแท็กซี่กดปุ่มหยุดมิเตอร์เมื่อตัวเลขไปแตะที่ 15,000 เยน (หมายเหตุจากผู้แปล: ค่าโดยสารแท็กซี่ในญี่ปุ่นแพงมาก คนขับเข้าใจว่าเธอไม่มีเงิน จึงช่วยประหยัด)" สามีของสุวรรณายังอยู่ที่ญี่ปุ่น เพราะต้องดูแลแม่ของเขา ขณะที่ลูกชายของเธอเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนญี่ปุ่นที่กรุงเทพฯ ในเดือนนี้ สุวรรณายังไม่สามารถเอาชนะความกลัวภัยพิบัติและความสะเทือนใจจากการสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมด ยกเว้นครอบครัวได้ เธออยากจะอยู่เมืองไทยจนกว่าเธอจะรู้สึกดีขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อัยการยื่นฟ้องหนุ่มขายซีดี-วิกิลีกส์คดีหมิ่นสถาบัน ศาลนัดตรวจหลักฐาน 11 ก.ค. Posted: 24 May 2011 11:24 AM PDT
เมื่อวันที่ 23 พ.ค.54 เวลา 10.00 น. พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ เรียกตัวนายเอกชัย หงส์กังวาน วัย 35 ปี ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา โดยในคำฟ้อง พนักงานได้กล่าวหาว่า “จำเลยได้บังอาจเผยแพร่ภาพและเสียง ข้อความประกอบภาพเคลื่อนไหวให้ปรากฏแก่สาธารณะชน โดยนำแผ่นวีดีทัศน์(VCD) ของสำนักข่าว เอบีซี ซึ่งปรากฏบุคคลคล้ายกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และภาพคล้ายพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา รวมทั้งเอกสารวิกิลีก(WIKILEAKS) ที่มีข้อความอันมีลักษณะเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัติริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท รวมทั้งได้ประกอบธุรกิจจำหน่ายแผ่นวีดีทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนาย ทะเบียนตามกฎหมาย” ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายเอกชัย หรือเอก หงส์กังวาน อายุ 35 ปี ในวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมาบริเวณอนุสาวรีย์ทหารอาสาข้างสนามหลวง โดยทำการล่อซื้อวีซีดีที่เขาขายแผ่นละ 20 บาท แล้วแจ้งข้อหาคดีหมิ่นเบื้องสูง และคดีจำหน่ายวีดิทัศน์โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ทะเบียน พร้อมด้วยของกลางเป็นวีซีดีกว่า 100 แผ่น เครื่องไรท์ซีดี 1 เครื่อง พร้อมด้วยเอกสารของวิกิลีกส์จำนวน 10 ฉบับ ภายหลังจากนั้น บิดาของนายเอกชัยได้นำหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาทยื่นประกันตัวต่อศาล และศาลได้ปล่อยตัวชั่วคราวในเวลาต่อมา โดยศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานในคดีอีกครั้งในวันที่ 11 ก.ค.54 เวลา 9.00 น.
ที่มา: สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลรับฟ้องกรณีพ่อ ‘น้องเฌอ’ ญาติผู้บาดเจ็บฟ้องรัฐ สลายชุมนุม53 ทำลูกตาย-สามีอัมพาต Posted: 24 May 2011 11:07 AM PDT เมื่อวันที่ 23 พ.ค.54 ณ ห้องพิจารณาที่ 412 ศาลแพ่ง(รัชดา) นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดาของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ (น้องเฌอ) ที่เสียชีวิตจากการยิงเสียชีวิตบริเวณซอยรางน้ำในเหตุการณ์ที่ทหารได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 พร้อมด้วยนางวรานิษฐ์ อัสวสิริมั่นคง ภรรยาของนายฐานุทัศน์ อัสวสิริมั่นคง ชาวบ้านที่พักอาศัยในย่านบ่อนไก่ที่ได้รับบาดเจ็บโดนยิงที่ไขสันหลังเป็นอัมพาต ได้เข้าไต่สวนตามคำฟ้องและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล จากกรณีที่ได้ฟ้องกระทรวงการคลัง (จำเลยที่1) กองทัพบก (จำเลยที่2)และ กระทรวงกลาโหม (จำเลยที่3)ในข้อหาล่วงละเมิดตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐปี 2539 มาตรา 5 จากกรณีการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเหตุให้ นายสมาพันธ์ ศรีเทพเสียชีวิต และนาย ฐานุทัศน์ต้องพิการตลอดชีวิต ผู้พิพากษาองค์คณะของศาลแพ่งออกนั่งบัลลังค์พิจารณา โดยได้พิจารณาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองคดี โดยคดีของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ (น้องเฌอ) ที่เสียชีวิต บิดาและมาดาได้ร่วมกันฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 8,573,125บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่วนคดีของนายฐานุทัศน์ อัสวสิริมั่นคง ชาวบ้านที่พักอาศัยในย่านบ่อนไก่ที่ได้รับบาดเจ็บ ได้มอบอำนาจให้นางวรานิษฐ์ อัสวสิริมั่นคง ภรรยา ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,857,864บาท ศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นว่าโจทก์ทั้งสองคดีมีฐานะยากจน หากให้เสียค่าขึ้นศาลย่อมเป็นการเดือดร้อนเกินสมควร ทั้งนี้ พิเคราะห์ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีแล้วเห็น คดีมีมูลอันควรเข้าสู่การพิจารณาของศาลต่อไป โดยศาลได้นัดชี้สองสถานและสืบพยานอีกครั้งในวันที่ 15 และ 29 ส.ค.54 ทั้งนี้ ในการฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองได้รับความช่วยเหลือด้านทนายความจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา- พฤษภา 53 ( ศปช.)
ที่มา: สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ใครเป็นใครใน 246 รายนามนักเขียนผู้ร่วมเรียกร้องแก้ไข ม.112 Posted: 24 May 2011 09:54 AM PDT ผ่านไป 5 วัน กับการลงชื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และหยุดการใช้ข้อกล่าวหานี้มาปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นักเขียนจำนวนมากตบเท้าเข้าชื่อ มีทั้งนักเขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์ ศิลปินแห่งชาติ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา นักเขียนรางวัลซีไรต์ บุคคลสำคัญในวงการหนังสือ คอมลัมนิสต์ ก๊อปปี้ไรเตอร์ คนเขียนบทภาพยนต์ นักเขียนการ์ตูน นักหนังสือพิมพ์ บล็อกเกอร์ และคนรุ่นใหม่จำนวนมาก อาทิเช่น
คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียนอาวุโส และศิลปินแห่งชาติ สุจิตต์ วงษ์เทศ หนึ่งในสองกุมารสยามผู้ก่อตั้งเครือมติชน และผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการอาวุโส นักเขียนรางวัลศรีบูรพา เจ้าสำนักช่างวรรณกรรม ผู้ก่อตั้งนิตยสารโลกหนังสือ และรางวัลช่อการะเกด หรินทร์ สุขวัจน์ ผู้อาวุโสในวงการหนังสือ อดีตผู้บุกเบิกและบริหารบริษัทและสำนักพิมพ์ในเครือเคล็ดไทย ของ ส.ศิวรักษ์ เรืองเดช จันทรคีรี ผู้ก่อตั้งนิตยสารรหัสคดี บรรณาธิการนิตยสารถนนหนังสือ อดีตผู้บริหารสำนักพิมพ์เคล็ดไทย และผู้จัดการสำนักช่างวรรณกรรม
ด้านบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากแวดวงนักเขียนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ทองธัช เทพารักษ์ นักเขียนการ์ตูน คอลัมนิสต์ และนักออกแบบปกหนังสือ นักเขียนคุณภาพรุ่นใหญ่ เช่น ศรีดาวเรือง, วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนนักต่อสู้คนสำคัญเช่น มาลัย 'อิสรา นักเขียนผู้มีชื่อเสียงในวงการวรรณกรรมสร้างสรรค์ เช่น เดือนวาด พิมวนา นักเขียนรางวัลซีไรต์, มาโนช พรหมสิงห์, ศิริวร แก้วกาญจน์ นักเขียนรางวัลศิลปาธร, ชัชวาลย์ โคตรสงคราม, ทินกร หุตางกูร, มหรรณพ โฉมเฉลา เป็นต้น
ด้านบุคคลสำคัญของวงการหนังสือ ได้แก่ เวียง-วชิระ บัวสนธ์ นักเขียน-บรรณาธิการ เจ้าของสำนักพิมพ์สามัญชน ผู้ก่อตั้งบริษัทพิมพ์บูรพา และนิตยสาร ฅ.คน อธิคม คุณาวุฒิ นักเขียน-บรรณาธิการผู้ก่อตั้งนิตสารเวย์ อดีตบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ เสาร์สวัสดี และอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารข่าวอะเดย์วีคลี่ ไกรวุฒิ จุลพงศธร บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป พินิจ นิลรัตน์ สื่อมวลชนอาวุโสสายวรรณกรรม กรรมการสมาคมนักเขียน และอดีตกรรมการรางวัลซีไรต์ โมน สวัสดิ์ศรี นักเขียนและบรรณาธิการสำนักพิมพ์มติชน
ด้านกวี ประกอบด้วยกวีหลากรุ่น เช่น ประกาย ปรัชญา, มนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์, กฤช เหลือลมัย, ภู กระดาษ, อรุณรุ่ง สัตย์สวี, รางชาง มโนมัย, มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม, ลัดดา สงกระสินธ์ เป็นต้น
นักเขียนคอลัมนิสต์ชื่อดังก็มีไม่น้อย อาทิเช่น ปราย พันแสง ไมเคิ้ล เลียไฮ, โอปอล์ ประภาวดี, พรพิมล ลิ่มเจริญ, ธีร์ อันมัย, คำ ผกา, บุญชิต ฟักมี, การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์)
ส่วนนักเขียนสารคดีคนสำคัญ ก็มี อย่างเช่น ภาณุ มณีวัฒนกุล สฤณี อาชวานันทกุล นักแปลเช่น ภัควดี วีระภาสพงษ์, รวิวาร โฉมเฉลา และนักวิจารณ์คนสำคัญเช่น พิเชฐ แสงทอง, จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
นอกจากนี้ยังมีนักเขียนรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงและน่าสนใจอีก อาทิเช่น วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, นิวัต พุทธประสาท ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ไทยไรเตอร์, อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์, ธิติ มีแต้ม บรรณาธิการนิตยสารปาจารยสาร, กุดจี่ พรชัย แสนยะมูล นักเขียนอารมณ์ดี, สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, กิ่งฟ้า เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (ควันบุหรี่) นักเขียนยอดนิยม, นราวุธ ไชยชมภู, ภาณุ ตรัยเวช เป็นต้น
อนึ่ง สังเกตได้ว่านักเขียนที่มาลงชื่อครั้งนี้ มีความหลากหลายแขนงและแนวทาง มีทั้ง นักเขียนสร้างสรรค์ นักเขียนยอดนิยม ก๊อปปี้ไรเตอร์ กวี นักแต่งเพลง นักเขียนบทภาพยนตร์ นักเขียนการ์ตูน ฯลฯ และอีกข้อสังเกตหนึ่งก็คือ มีทั้งนักเขียนฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และฝ่ายกลาง ๆ ที่โดยทั่วไปถูกมองว่าไม่สนใจการเมือง มีทั้งนักเขียนที่ถูกเรียกว่า แดง เหลือง และสลิ่ม ทำให้เห็นว่า ผู้ที่เห็นว่าควรจะมีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงฝ่ายซ้าย หรือคนเสื้อแดง ดังที่เข้าใจกัน นอกจากนี้ ในกระทู้รายชื่อดังกล่าว ยังมีผู้ที่เข้ามาแสดงความไม่เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง ทำให้เกิดการดีเบตในประเด็นที่เกี่ยวของกับกฎหมายอาญามาตรา 112 และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทางผู้ดูแลเว็บไซต์ได้พยายามควบคุมการดีเบตให้อยู่ในขอบเขต และไม่ผิดกฎหมาย ไม่หมิ่นประมาทฝ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันกษัตริย์ หรือคนทั่วไป
ส่วนจำนวนนักเขียนผู้ลงชื่อ ผู้รวบรวมแจ้งว่ามี 236 คน แต่ ณ วันที่ 22 พ.ค. ( 5 วันหลังจากออกแถลงการณ์) ในเว็บที่รวบรวมรายชื่อพบว่ามี 246 ราย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ปิด ศอ.รส. ไม่ต่อ พรบ.มั่นคงฯ ใน กทม. หลังใช้ยาว 105 วัน Posted: 24 May 2011 09:11 AM PDT
24 พ.ค. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา (สบ10) กล่าวว่า ตามที่ ครม. ได้ประกาศให้พื้นที่ กทม. อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคง โดยเห็นชอบรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่ วันที่ 9 ก.พ. ถึง 23 ก.พ. ครั้งที่ 2 วันที่ 24 ก.พ.ถึง 25 มี.ค. ครั้งที่ 3 มีกำหนด 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. จนถึง 24 เม.ย. ครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้าย มีการต่ออายุอีก 30 วัน นับตั้งแต่ 25 เม.ย. จนถึงวันนี้ (24 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ที่ประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จึงมีมติว่า จะไม่มีการต่อ พ.ร.บ.อีก โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะใช้กฎหมายปกติเข้าไปควบคุมดำเนินการได้หากเกิดเหตุการณ์อันอาจจะกระทบกับความมั่นคง พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวด้วยว่า จากการประเมิน ผลกระทบหากจะเกิดจากการชุมนุมนั้นจะมีแค่บางพื้นที่ ประกอบกับขณะนี้มีกฎหมายเลือกตั้ง และเชื่อมั่นว่ากฎหมายเลือกตั้งสามารถเข้ามาช่วยเหลือในการดูแลความสงบเรียบร้อยได้ จึงไม่น่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม การปิดศูนย์ ศอ.รส.นี้ไม่ได้หมายความว่าภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ดำเนินการมาถึง 105 วัน จะสิ้นสุดโดยทันที แต่จะกลับไปสู่การใช้ระบบศูนย์ปฏิบัติการ หรือ ศปก.บช.น. ดำเนินการวางกำลังดูแลสถานที่หรือพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่เคยประกาศกฎหมายพิเศษ หรือทางการข่าวเชื่อว่าน่า จะมีการดูแลพิเศษรวมถึงตัวบุคคลด้วย โดยทาง บช.น. จะรับหน้าที่ดูแลต่อไป ขณะเดียวกัน การสืบสวนหาข่าวติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงผู้ชุมนุม จะดำเนินการต่อไป การติดตามการปราศรัยการหาเสียงจะใช้กฎหมายเลือกตั้ง เป็นแกนหลักในการดำเนินการ หากพบว่า มีการกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะเข้าข่ายกฎหมายใดก็ตาม จะดำเนินคดีไปตามปกติ ส่วนคดีที่จำเป็นต้องส่งให้ทางดีเอสไอ ก็จะดำเนินการต่อไป
..................
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กกต.มั่นใจไร้รุนแรง 6 พรรคส่งเลือก ส.ส.ปัตตานี Posted: 24 May 2011 09:11 AM PDT เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 วันแรกของการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดปัตตานี ได้จัดเตรียมสถานที่รองรับและชี้แจงขั้นตอนการรับสมัครส.ส.ที่มีทั้งหมด 4 เขตเลือกตั้ง ตั้งแต่ช่วงเช้ามีพรรคการเมืองพร้อมกองเชียร์จำนวนมากทยอยเดินทางมาสมัครกันอย่างคึกคักต่อเนื่อง โดยพรรคแรกที่มาถึงตั้งแต่เวลา 07.30 น. คือ พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย นำโดยนายเติม แก้วละเอียด ที่พรรคส่งลงเพียงเขต 1 เขตเดียว ต่อด้วยพรรคเพื่อไทยที่ออกจากที่ทำการพรรคเวลา 08.15 น. นำโดยนายอดิลัน(วีรยุทธ) อาลีอิสเฮาะ ที่เดินชูนิ้วชี้หมายถึงหมายเลข 1 นำผู้สมัคร ส.ส.ลงครบทั้ง 4 เขต โดยนายอาดิลันลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 1 ส่วนเขต 2 ได้แก่นายศรียา แวอาลี เขต 3 นายสามารถ เจ๊ะนา และเขต 4 นายสุดิน ภูยุทธานนท์ ส่วนพรรคมาตุภูมิออกจากพรรคเวลา 08.50 น.โดยส่งผู้สมัครครบทั้ง 4 เขต โดยผู้ที่เดินทางมาสมัครก่อนคือ นายอนุมัติ สูสารอ ลงสมัครเลือกตั้งเขต 3 และนายมุข สุไลมาน ลงสมัครในเขต 4 ขณะที่พรรคภูมิใจไทยที่เดินทางมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ส่งผู้สมัครเพียง 3 เขต คือเขต 1 นายอรุณ เบ็ญจสมิธ เขต 3 นายนิมุคตาร์ วาบา และเขต 4 นายสมมุติ เบญจลักษณ์ จากนั้นเวลา 09.30 น.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอันวาร์ สาและ ผู้สมัครในเขต 1 เดินทางมาถึง พร้อมด้วยนายอิสมาแอล เบ็ญอิบรอฮิม ผู้สมัครเขต 2 ซึ่งทั้งคู่เป็นอดีต ส.ส. โดยนำผู้สมัครเขต 3 คือนายอับดุลรอมาน อาแว และเขต 4 นายซาตา อาแวกือจิ มาสมัครพร้อมกันด้วย ส่วนพรรคที่เดินทางหลังสุด คือ พรรคประชาธรรม ที่ส่งผู้สมัครครบทั้ง 4 เขต ได้แก่ เขต 1 นายอาดินันท์ สาและ เขต 2 นายมูฮัมหมัดอาลี แวฮามะ เขต 3 นายอาลี มะยุปา
ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ คาดว่าจะทยอยเดินทางมาสมัครในภายหลัง เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งนายปาเรส โลหะสันต์ ว่าที่ผู้สมัครของพรรค เปิดเผยว่าจะเดินทางมาสมัครในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 โดยการรับสมัครจะมีถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 บรรยากาศระหว่างการสมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละพรรค รวมทั้งกองเชียร์ต่างเดินเข้าทักทายจับมือและโอบกอดกันอย่างเป็นกันเอง ขณะที่ กกต.ปัตตานี ได้ให้ผู้สมัครทั้งหมดลงสัตยาบันร่วมกันระหว่างผู้สมัครว่า จะไม่หาเสียงโจมตีฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช้ความรุนแรง ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มีการเสนอนโยบายแข่งขันกันในการหาเสียงเลือกตั้ง และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คาดว่า จะมีพรรคการเมืองส่งตัวผู้สมัครประมาณ 7 - 10 พรรคการเมือง นายธีรวัฒน์ ละเอียด ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ของจังหวัดปัตตานี ไม่น่าจะมีการใช้ความรุนแรงอย่างเช่นการเลือกตั้งที่ผ่านมา รวมทั้งเหตุรุนแรงจากความไม่สงบที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมี “ผู้สมัครเลือกตั้งส่วนใหญ่ครั้งนี้ เป็นคนหนุ่ม เป็นคนสมัยใหม่ ไม่มีอะไรที่บ่องบอกว่าจะมีการใช้ความรุนแรง ส่วนในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของผู้สมัครนั้น กกต.คงไม่สามารถไปดูแลได้ เพราะไม่มีกำลัง แต่สามารถจะขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้” นายธีรวัฒน์ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักกิจกรรมสตรีนิยม-แรงงานในเอเชีย เรียกร้องต่อเนื่อง "ปล่อยสมยศ" Posted: 24 May 2011 09:01 AM PDT นักกิจกรรมสายสตรีนิยม-สหภาพแรงงานจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียร่อนจดหมายเปิดผนึกถึง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" รักษาการนายกฯ เรียกร้องให้ปล่อยตัว "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ทันที เพื่อเตรียมตัวสู้คดี พร้อมระบุห่วงความปลอดภัยในเรือนจำ
จากกรณีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับเมื่อ 30 เม.ย. ในหมายจับตามข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และถูกควบคุมตัวที่เรือนจำกลางคลองเปรมจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้รับการประกันตัว ล่าสุด (23 พ.ค.54) เครือข่ายนักกิจกรรมท้องถิ่นนานาชาติ/ สำนักสตรีนิยม (Network for Glocal Activism/ School of Feminism) เครือข่ายนักกิจกรรมสตรีนิยมซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมจากจีน เกาหลีใต้ เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ผ่านอีเมลของนายอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ โดยระบุนายสมยศเป็นที่รู้จักผ่านการทำงานเคลื่อนไหวด้านสหภาพแรงงานในระดับนานาชาติ และเป็นพลเมืองไทยที่ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนโดยมีบทบาทสื่อมวลชนอิสระและบทบาททางวิชาการในการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ นอกจากนายสมยศจะปฏิเสธข้อกล่าวหามาตรา 112 ของกฎหมายอาญาแล้ว เขายังไม่ทราบมาก่อนว่าเขาถูกออกหมายจับ รวมถึงปฏิเสธด้วยว่าเขาไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีด้วย จดหมายเปิดผนึกระบุด้วยว่า การควบคุมตัวนายสมยศต่ออีก 12 วันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของนายสมยศอย่างไม่อาจยอมรับได้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศทันที เพื่อให้เขาได้เตรียมตัวสู้คดี ขณะที่เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา สมาพันธ์พันธมิตรสหภาพแรงงานอินโดนีเซีย (Confederation of Congress of Indonesian Unoins Alliance) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกฯ โดยแสดงความกังวลต่อการจับกุมนายสมยศอีกครั้ง และแสดงความกังวลถึงความปลอดภัยของนายสมยศในเรือนจำด้วย โดยเชื่อว่า การจับกุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมนักกิจกรรมที่สนับสนุนประชาธิปไตยในไทยอย่างเป็นระบบ สมาพันธ์พันธมิตรสหภาพแรงงานอินโดนีเซียเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนายสมยศทันที โดยระบุว่า นายสมยศเป็นผู้ที่มีบทบาทแข็งขันในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของคนงานและการก่อตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทย ทั้งนี้ สมาพันธ์พันธมิตรสหภาพแรงงานอินโดนีเซียระบุว่าทราบจากจดหมายของนายสมยศจากเรือนจำเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ว่า เขาเชื่อว่าการจับกุมครั้งนี้มีสาเหตุจากการที่เขาและนักกิจกรรมรณรงค์ด้านประชาธิปไตยรวบรวมรายชื่อ 10,000 ชื่อเพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามกระบวนตามรัฐธรรมนูญ 2550 จดหมายเปิดผนึกแสดงความกังวลถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยไทยปัจจุบัน ที่แม้แต่วิถีทางตามกฎหมายและเป็นไปโดยสันติเพื่อแสดงทัศนะก็ยังถูกสกัดกั้นและปฏิเสธ พร้อมระบุด้วยว่า แม้การเลือกตั้งในปีนี้จะเป็นไปตามกำหนดเวลา แต่ก็จะไม่เสรีและเป็นธรรม ตราบเท่าที่รัฐบาลยังคงใช้มาตรการปราบปรามการเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตยในไทย นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด ยุติการใช้กฎหมายนี้ (ม.112) เพื่อคุกคามนักกิจกรรมฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการเซ็นเซอร์อันเป็นเผด็จการ ปฏิรูปกองทัพและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงลงโทษทหารและนักการเมืองที่สั่งฆ่าประชาชนด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กลุ่มที่อ้างตัวและใช้ชื่อว่า 'อาสาเทิดไท้' จี้เพื่อไทยถอดผู้สมัคร 'หมิ่น' Posted: 24 May 2011 08:58 AM PDT 24 พ.ค. ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานจากสนามกีฬาไทยญี่ปุ่น ดินแดงว่า ในระหว่างการรับสมัคร ส.ส.เขตวันแรก ได้มี “กลุ่มอาสาเทิดไท้-ชูธรรม โดยคนรักในหลวง” ประมาณ 20 คน มาชูป้าย และแถลงการณ์เรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย ถอนรายชื่อผู้ที่ถูกกล่าวหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพ และผู้ที่เข้าข่ายจะถูกกล่าวหาในอนาคต ออกจากการเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ไปพิสูจน์ตัวเอง แสดงความบริสุทธิ์จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมก่อน แล้วค่อยมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าพรรคเพื่อไทยยังคงเมินเฉยต่อกรณีนี้ หากผู้ถูกกล่าวหาได้เป็น ส.ส. และต้องคำพิพากษาว่ามีการกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริง พรรคเพื่อไทยและผู้บริหารจะรับผิดและรับชอบอย่างไรต่อกรณีนี้ ทั้งนี้ ทันทีที่กลุ่มอาสาเทิดไท้ฯ ได้ยืนถือป้ายและอ่านแถลงการณ์นั้น ได้มีกลุ่มที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยมารุมล้อมแสดงความไม่พอใจ โดยได้ตะโกนถามว่า “คดีเขาตัดสินหรือยัง คุณเป็นศาลหรือเปล่า” แต่กลุ่มอาสาเทิดไท้ไม่ได้ตอบโต้ และยืนอยู่เพียงครู่เดียวก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ
.......................... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
มุกหอม วงษ์เทศ: ท่าทีเบื้องต้นกับข้อเสนอเบื้องต้นเพื่อการปฏิรูปอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม Posted: 24 May 2011 08:21 AM PDT “ประเทศไทยมีเสรีภาพทางความคิดไม่ได้”* เป็นวรรคทองแห่งประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่ตรงเป้าที่สุด เข้าใจง่ายที่สุด และจริงแท้ที่สุด อย่างไรก็ตามหากเป็นเมื่อราวหกเจ็ดปีก่อน นึกอย่างไรข้าพเจ้าก็นึกไม่ออกว่าจะมีวันที่การต่อต้านท้าทายกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยเปิดเผย, แต่ในระดับ ท่วงท่า และการเมืองของการแสดงจุดยืนที่แตกต่างกัน, สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ ในสังคมไทย สังคมที่ดูราวกับจะดื่มด่ำกับการดำดิ่งอยู่ในยุคดำมืดไปตลอดชั่วนิจนิรันดร์ เมื่อความตื่นตัวตาสว่างแพร่ระบาดไปทั่วทุกหย่อมหญ้า, เมื่อประชาชนนับร้อยถูกทหารยิงเจ็บยิงตายกลางเมือง, เมื่อผู้บงการและผู้ปฏิบัติงานยังยิ้มแย้มแจ่มใสในความเป็นคนดีผีคุ้ม, เมื่อสื่อส่วนใหญ่ยังร่วมมือร่วมใจใส่ร้ายป้ายสี, เมื่อคนเสื้อแดงยังถูกจับกุมคุมขังแบบไร้ขื่อไร้แป, เมื่อความมีอารยธรรมถูกบิดเบือนตลบแตลงให้เป็นอาชญากรรม ฯลฯ การต่อสู้กับความวิปริตวิตถาร ไล่ล่าหาความยุติธรรม และเรียกร้องกดดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในระดับโครงสร้างย่อมเป็นพันธกิจแห่งยุคสมัยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แน่นอน, พันธกิจนี้ไม่ใช่ของทุกคน ไม่สามารถเรียกร้องจากทุกคน และไม่จำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานให้เท่ากันทุกคน แต่การมีใจที่จะเห็นความชอบธรรมของพันธกิจนี้ และการไม่เข้าไปร่วมหนุนเสริมพลังฝ่ายจารีตนิยมที่กระเหี้ยนกระหือรือในการบ่อนทำลายและกวาดล้างพลังแห่งความเป็นสมัยใหม่ ย่อมเป็นการทำความเข้าใจขั้นต้นและการวางตนขั้นต่ำที่ทุกคนพึงมีพึงกระทำ ในทำนองเดียวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยอันมีการเลือกตั้งเป็นประธานซึ่งเป็นการเรียกร้องความศิวิไลซ์แบบสมัยใหม่ขั้นพื้นฐานเพื่อจะทะลวงออกไปจากวัฒนธรรมการเมืองแบบศักดินานิยมอันไร้ความศิวิไลซ์ ถึงปัจจุบันขณะนี้การเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ได้กลายเป็นการแสดงท่าทีเบื้องต้นหรือการแสดงจุดยืนขั้นต่ำสุดของการสลัดตัวออกจากปลักตมของวัฒนธรรมขวาจัดอนุรักษ์นิยมจัดอำนาจนิยมจัดซึ่งสำแดงความสถุลสามานย์และสกปรกโสโครกเกินกว่าใครก็ตามที่มีสติสัมปัชชัญญะและมโนธรรมจะรับได้ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างน้อยก็คล้ายกับจะบังเกิดฉันทามติในระดับหนึ่งว่า การมีอยู่และจารีตการบังคับ-แอบอ้าง-มั่วใช้กฎหมายรอยัลลิสต์อันแสนอนารยะมาตรานี้ได้สร้างภาวะยุคเข็ญในบ้านเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีเหตุผลใดนอกจากความไร้เหตุผลจะโต้แย้งข้อเท็จจริงและความจริงที่แยงทะลุดวงตาทุกข้างที่ไม่บอดว่า กฎหมายหมิ่นฯ เป็นภัยสูงสุดต่อความมีอารยะของสังคมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในทุกอาชีพและที่ไม่มีอาชีพ หากจะแถมข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรด้วย ก็ควรจะเข้าข่ายเช่นกัน ทว่าก็เช่นเดียวกับขบวนรถไฟสายก้าวหน้าแทบทุกขบวน ทุกคนที่กระโดดขึ้นไม่จำเป็นต้องหล่อเลี้ยงอุดมการณ์ชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งยังอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปคนละทิศคนละทาง คนละข้างคนละขั้วในเรื่องสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะของความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอยู่อย่างเด่นชัด และในเรื่องขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมของประชาชนคนเสื้อแดง หากในที่สุดแล้ว ผลสัมฤทธิ์ของการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับจำนวนเป็นสำคัญ การรณรงค์ทางการเมืองก็จำเป็นต้องอาศัยจำนวนเพื่อผลักดันประเด็นข้อเรียกร้องเช่นกัน นี่ย่อมเป็นย่างก้าวสำคัญที่การเล็งเห็นปัญหาเกี่ยวกับความเป็นการเมืองของสถาบันกษัตริย์เริ่มมีที่ทางมากขึ้นทีละน้อย ไม่ว่าการออกมาลงชื่อเรียกร้องของแต่ละปัจเจกบุคคลจะเกิดจากแรงผลักดัน แรงกดดัน หรือแรงจูงใจที่แท้จริงอะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีล่าสุด - จดหมายเปิดผนึกถึงนักเขียนไทยให้ร่วมลงชื่อเรียกร้องการแก้ไขมาตรา 112 ต้องไม่ลืมด้วยเช่นกันว่า การเลือกที่จะแสดงจุดยืนทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในสภาวะทางการเมืองที่ยุ่งเหยิงซับซ้อน ย่อมหมายถึงการเลือก-หรือได้ใช้โอกาสในการเลือกนั้น-ที่จะไม่ต้องแสดงจุดยืนทางการเมือง แบบอื่น ในกระแสการเคลื่อนไหวขับเคี่ยวทางการเมืองที่เกี่ยวโยงกันแต่ทว่าสร้างความกระอักกระอ่วนใจกว่า อาทิ ขบวนการเสื้อแดง ซึ่งหลายคนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าเป็นพวกเรียกร้องประชาธิปไตยและความเสมอภาคทางการเมืองจนถูกล้อมปราบ หรือเป็นพวกถูกหว่านล้อมชักจูงจากนักการเมืองฝ่ายทักษิณจนออกมาเผาบ้านเผาเมือง หลายคนหลับหูหลับตาปักใจว่า คือพวกหลังร้อยเปอร์เซ็นต์ และหลายคนก็เห็นอกเห็นใจว่าน่าจะเป็นพวกแรกมากกว่าพวกหลัง แต่ไม่อยากแปดเปื้อนกับภาพลักษณ์ความเกี่ยวโยงกับ “ทักษิณ”, ความเป็น “นักการเมือง” และ “ชาวบ้าน” ที่เต็มไปด้วย “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” รวมทั้งความเป็น “เสื้อแดง” เองที่ถูกรังเกียจจงเกลียดจงชังจากสังคมกระแสหลักและกระแสครอบงำ สรุปอย่างสั้น การเชิดชูเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยมขวาจัด-ล้าหลังคลั่งชาติคลั่งเจ้าจัดค่อยๆ สั่งสมบารมีจนกลายเป็น “ท่าทีเบื้องต้น” หรืออาจกระทั่งเป็น “เทรนด์” ที่นักฉวยโอกาสผู้มีธาตุแท้เป็นพวกชิงชังเสรีประชาธิปไตยสบช่องที่จะมุดแทรกเข้าไปร่วมประกาศตัวเพื่อขอรับเหรียญตราด้วย แต่การเมืองของความเป็นเสื้อแดงและการเมืองของการต่อสู้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงระดับถึงราก ยังไม่ใช่ แม้ว่าแถลงการณ์ของนักเขียนจะเชิดชูสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่มากไปกว่าการเชิดชูความเป็นนักเขียนเอง เราก็ไม่ควรดูแคลนเจตนารมย์เพื่อยืนหยัดในความถูกต้องยุติธรรมของใคร แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรดูเบาเจตนาเกาะกระแสสร้างภาพของใครเช่นกัน ในแง่ที่งามที่สุด การร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกของนักเขียนและกวีบางคนคือความกล้าหาญทางจริยธรรมที่น่ายกย่อง แต่ในแง่ที่อัปลักษณ์ที่สุด การร่วมลงชื่อของนักเขียนและกวีบางคนเป็นเพียงการชุบตัว ฟอกตัว และสร้างตัว ท่ามกลางสภาวะฝุ่นตลบในสมรภูมิที่ฝุ่นใต้ตีนเผยอตนทำตัวเป็นตีนไล่เหยียบไล่ขยี้คนที่ไม่ยอมเป็นฝุ่น แนวหน้าหรือหัวหมู่ทะลวงฟันของการผลักดันประเด็นทางสังคมการเมืองไปสู่ขอบฟ้าใหม่ หากไม่ radical เกินไปจนถูกปัดตก ถอยหนี หรือเมินเฉยไปเสียแต่แรก ก็จะค่อยๆ ขยายแนวร่วมให้กว้างขวางและหลากหลายขึ้นจนเป็นตัวกำหนด “ท่าทีเบื้องต้น” ของแวดวงปัญญาชนโดยรวมซึ่งประกอบไปด้วยผู้คนที่มีอุปนิสัยใจคอและความคิดทางวัฒนธรรมการเมืองหลายเฉด ท่าทีเบื้องต้นของแต่ละยุคสมัยนี้เอง คือมาตรฐานทางจริยธรรมการเมืองที่แสดงออกต่อสาธารณะของฝ่ายก้าวหน้าในยุคสมัยนั้นๆ หากการ “เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการทหาร” ในการเคลื่อนไหวยุค 14 ตุลาได้สร้างแบบแผนของท่าทีเบื้องต้นของยุคสมัยนั้นขึ้นมาท่ามกลางความหลากหลายทางอุดมการณ์ของขบวนการนักศึกษาและปัญญาชนไทย การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่มีการเลือกตั้ง การต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยมเผด็จการแบบจารีตและราชการ (เช่น การเซ็นเซอร์ การเทศนาและยัดเยียดมาตรฐานคับแคบทางศีลธรรม ฯลฯ) และการต่อต้านการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างฉ้อฉล ก็คือการแสดงจุดยืนเบื้องต้นร่วมกันของฝ่ายก้าวหน้าในปัจจุบันที่ มิอาจน้อยไปกว่านี้ได้ แน่นอนว่าแค่การเรียกร้องขั้นต่ำสุดให้ “แก้ไข” กฎหมายที่มีปัญหาใหญ่หลวงฉบับนี้ (ซึ่งอันที่จริง ยังไม่ถึงมาตรฐานของสังคมเสรีประชาธิปไตยจริงๆ อีกทั้งมิได้มีลักษณะ radical จนทำให้พวกที่มีความคิดกลางๆ แต่ก็ไม่อยากล้าหลังรับไม่ได้) สำหรับกลุ่มขวาจัด กลุ่มล่าแม่มด และมวลชนนิยมเจ้าซึ่งมีชื่อเสียงระบือลือเลื่องทางด้านการไม่สามารถใช้เหตุผลและความบ้าคลั่งไม่ลืมหูลืมตาแล้ว ก็ยังทนทานไม่ได้จนต้องดาหน้ากันออกมาแสดงความโง่เขลาและป่าเถื่อนให้ควรค่ากับเกียรติภูมิที่สั่งสมมา ส่วนการออกมาคัดค้านจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวของนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วยเหตุผลว่าไม่เคยเห็นกฎหมายหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และอ้างว่าประเทศอื่นๆ ต่างเสียดายที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์นั้น ได้แต่เพิ่มพูนความน่าสังเวชเวทนาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้กับเกียรติประวัติของนิพิฏฐ์เองเท่านั้น พร้อมทั้งชวนให้พินิจว่าการยุบกระทรวงวัฒนธรรมไปเลยน่าจะช่วยบรรเทาให้สังคมไทยไม่ตกต่ำทางวัฒนธรรมมากไปกว่านี้ แน่นอนอีกเช่นกันว่า การแก้ไขหรือยกเลิกตัวบทกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า แต่ทว่าการปรับเปลี่ยนแก้ไขวัฒนธรรมอุดมการณ์ซึ่งเป็นรากฐานบ่อเกิดของทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำควบคู่กันไปด้วย ต่อให้ตระหนักว่ายากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นเขาไกรลาสก็ตาม ในเมื่ออุดมการณ์และวัฒนธรรมเป็นทั้งต้นตอและตัวกำกับโลกทัศน์-ความรู้สึกนึกคิด-พฤติกรรมของปัจเจก วิถีปฏิบัติทางสังคม การบัญญัติ ตีความและบังคับใช้ทาง (นอก) กฎหมาย จารีตประเพณีที่ไม่ได้ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ และอะไรต่อมิอะไรอื่นๆ สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณารณรงค์แก้ไขยกเลิกเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หรือความจริงแล้วคือการทำให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เป็นไปได้อย่างแท้จริง จึงคือวัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยม อันมีฐานมาจากการผสมปนเปกันระหว่างคติพราหมณ์เรื่องสมมติเทพ คติพุทธเรื่องธรรมราชาและทศพิธราชธรรม อุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ผนวกกับชาตินิยมแบบราชการ ประกอบกับการปลูกฝังการเทิดทูนสักการะสถาบันกษัตริย์อย่างหนักหน่วงในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อุดมการณ์ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของทุกสังคมวัฒนธรรมในโลกนี้ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์แต่มักยึดมั่นถือมั่นกันว่าเป็นเรื่องธรรมชาติหรือโองการจากสวรรค์ ขนบธรรมเนียมประเพณีอาจมีความสืบเนื่อง ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่แต่อ้างว่าเป็นของเก่าแก่โบร่ำโบราณ และย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ควรยกเลิกจึงคือขนบธรรมเนียมประเพณีที่กดขี่-ขืนใจ-ขัดแย้งกับหลักสิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาคสมัยใหม่อย่างมิอาจเคียงขนานไปด้วยกันได้ จารีตประเพณีเหล่านี้มีทั้งที่มีมาแต่โบราณ สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งที่เคยถูกยกเลิกไปแล้วแต่กลับมาได้รับความนิยมใหม่ยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น ประเพณีการหมอบคลานเข้าเฝ้าเคยถูกประกาศยกเลิกไปแล้วโดยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ห้าด้วยเห็นว่าเป็นประเพณีที่เป็นต้นเหตุแห่งการ “กดขี่แก่กันทั้งปวง” ในขณะที่บ้านเมืองที่เจริญกว่าอื่นๆ ต่างยกเลิกกันไปหมดแล้ว แต่ในเวลาต่อมาวัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ถูกโหมกระพือขึ้นในยุคประชาธิปไตยกำมะลอได้ทำให้การหมอบคลานกลายเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงอารยธรรมชั้นสูงอย่างกลับตาลปัตรกับคำประกาศสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การหมอบคลานซึ่งมีชีวประวัติพลิกผันจากความ “อายฝรั่ง” ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กลายมาเป็นความอยาก “อวดฝรั่ง” ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 นับเป็นกรณีศึกษาที่มหัศจรรย์ล้ำลึกอย่างเหลือเชื่อ วัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบสุดขั้วดังเช่นที่เป็นอยู่ในสังคมไทยไม่ควรอย่างยิ่งที่จะดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย ข้อเสนอเพื่อการเลิกหรือลดอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม หรืออีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ให้อยู่ภายในระดับอันเหมาะสมและกอปรด้วยรสนิยมอันดีเยี่ยงนานาอารยะประเทศนี้มิใช่การล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ ตรงกันข้าม การปรับเปลี่ยนทัศนะ วัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติต่อสถาบันกษัตริย์กลับจะทำให้สถาบันกษัตริย์และปวงชนชาวไทยมีความทันสมัยและสง่างามยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะสูญเสียเอกลักษณ์ไทยในเวทีสากล เพราะการยังคงมีสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยถือเป็นสิ่งพิเศษสุดอย่างยิ่งยวดในตัวเองอยู่แล้ว นอกเหนือจากการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในด้านสถานะและโครงสร้างอำนาจตามที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้เสนอไว้เป็นข้อๆ อย่างรอบคอบรัดกุมเพื่อตั้งเป็นหลักในอุดมคติที่ควรไปให้ถึงแล้ว การปฏิรูปหรือยกเลิกอุดมการณ์และวัฒนธรรมกษัตริย์นิยม (ซึ่งแฝงฝังอยู่ในธรรมเนียมประเพณี การอบรมบ่มเพาะ การหล่อหลอมด้านการศึกษา และการสื่อสารมวลชนนั่นเอง) ควรจะครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรมภาษา แบบแผนอากัปกิริยา ประเพณีพิธีกรรม ฯลฯ ที่เสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์และเป็นหัวใจของการปลูกฝังคุณค่าในระดับจิตใจ จิตใต้สำนึกและจิตวิญญาณ คติความเชื่อ ข้อเสนอเบื้องต้นเหล่านี้เป็นข้อเรียกร้องในส่วนของรัฐบาล หน่วยงานราชการ เอกชน วัด/พระภิกษุ และบุคคลทั่วไปเป็นสำคัญ มิได้เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลในสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนพลเมืองกับสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ร่วมกันในศีลธรรมและรสนิยมอันดีตามครรลองของนานาอารยประเทศที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
........................................................ * คำกล่าวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'ชาวเชียงแสน' เตรียมซ้อมอพยพหนีภัย หวั่นแผ่นดินไหวทำ 'เขื่อนจีน' แตก Posted: 24 May 2011 03:44 AM PDT วันนี้ (24 พ.ค.54) อบต.บ้านแซว ร่วมกับชาวบ้านริมฝั่งโขงใน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เผยแพร่การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมอพยพหนีภัยจากเขื่อนจีนแตก ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พ.ค.นี้ โดยเชิญชวนสื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมด้วย กิจกรรมดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ซึ่งมีศูนย์กลางในท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ของพม่า แรงสั่นไหวสร้างผลเสียหายต่อผู้คนใน 3 อำเภอของจังหวัดเชียงราย คือ อ.แม่สาย อ.แม่จัน และอ.เชียงแสน อีกทั้งยังเกิดแผ่นดินไหวในเขตรอยต่อพม่า ไทย ลาว หรือเขตสามเหลี่ยมทองคำขนาดเล็กและปานกลางอยู่เรื่อยมา ขณะที่เหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้นไปตามลำน้ำโขงมีเขื่อนขนาดใหญ่ของจีนตั้งอยู่ประมาณ 4 เขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนเสี่ยววานซึ่งมีขนาดใหญ่สุด ตั้งอยู่ใกล้แผ่นรอยเลื่อนที่ชื่อฟันมังกร และแผ่นยูนนานมาชนกับแผ่นไตฉานตะวันตกและตะวันออก ส่งผลให้เกิดความกังวลใจว่าสัญญาณแผ่นดินไหวที่ยังคงมีอยู่ตลอด อาจทำให้เขื่อนแตกจนน้ำไหลทะลักท่วมคนท้ายเขื่อนได้ นอกจากนี้ จากเหตุการณ์น้ำท่วมหนักหน้าเขื่อนจีนในเดือน ส.ค.2551 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันจากการเปิดเขื่อนของจีน สร้างความเสียหายต่อชุมชนริมฝั่งโขงในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 84 ล้านบาท ทำให้ชาวบ้านชุมชนริมฝั่งโขงในจังหวัดเชียงรายต้องตระเตรียมความพร้อมในการอพยพหนีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ กำหนดนัดหมายกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่สถานีวิทยุชุมชน อบต.บ้านแซว ซึ่งได้เชื่อมต่อกับระบบเสียงตามสายและระบบเตือนภัยจะเปิดไซเรนเตือนภัยให้ชาวบ้านทั้งหมดอพยพไปยังจุดปลอดภัยตามที่ศึกษาไว้แล้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและนายอำเภอเชียงแสนจะเดินทางมาร่วมงานด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เหยื่อแผ่นดินไหวรัฐฉานยังเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ - พ่อค้าสิ่งก่อสร้างฉวยขึ้นราคา Posted: 24 May 2011 03:23 AM PDT แม้เหตุการณ์แผ่นดินไหวในรัฐฉานผ่านมานานนับเดือน แต่การช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึงเต็ มีรายงานว่า แม้เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้ ผู้ประสบภัยรายหนึ่งจากหมู่บ้ แหล่งข่าวคนเดิมเผยว่า หมู่บ้านกองแก มีบ้านเรือนราว 300 หลัง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีบ้านหลั ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า ทางการพม่าให้การช่วยเหลื ชาวบ้านตำบลเมืองเลน กิ่งอำเภอท่าเดื่อเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวมีบ้านเรื ส่วนการช่วยเหลือจากฝั่งไทยยั ทั้งนี้ คณะเหล่ากาชาดไทย ได้มอบเครื่องอุปโภคบริ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น