ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'นิติราษฏร์ ฉ.20' ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช: ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร
- วงในรัฐบาลสหรัฐฯ อ้างผลดีเอ็นเอชี้ ‘บิน ลาเดน’ ตายจริง
- “ฟรีดอมเฮาส์” ลดอันดับเสรีภาพสื่อไทยเข้ากลุ่มประเทศ “ไม่เสรี”
- จดหมายฉบับยาวจาก ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ ก่อนเดินทางสู่เรือนจำ
- 'วุฒิสภา' รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
- สรุปผลงาน 6 เดือน กอ.รมน. ระดมวิทยุชุมชน 700 แห่งพิทักษ์สถาบัน
- แพทย์เตรียมผ่าตัดถวายพระเจ้าอยู่หัวคืนนี้
- เสวนา: Unseen 2475 เปิดตำนานอภิวัฒน์ 2475 กับทายาทพลเอกพระยาพหลฯ
- สัมภาษณ์สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: การปะทะไทย-กัมพูชา“ต้องคำนวณแล้วว่าใครจะทนความสูญเสียได้มากกว่ากัน”
- กลุ่ม article 112 ออกแถลงการณ์กรณี ‘สมยศ’ ค้านการใช้กฎหมายหมิ่นฯ คุกคามประชาชน
- ฝากขังผลัดแรก ศาลไม่ให้ประกัน ‘สมยศ’ คดีร้ายแรง เกรงหลบหนี
Posted: 02 May 2011 11:29 AM PDT บทนำ
1. การตีความคำพิพากษาคืออะไร การตีความคำพิพากษามีอยู่ด้วยกั
2. เงื่อนไขของการตีความคำพิ 2.1 ความยินยอมของรัฐ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของศาลโลกนั้น ตามธรรมนูญของศาลยุติธรรมระหว่ ประเด็นหนึ่งที่มีความสำคั นอกจากนี้ นักกฎหมายระหว่างประเทศที่เชี่ 2.2 การมีข้อพิพาทเกี่ยวกั อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้ 2.3 วัตถุแห่งการตีความ มีข้อสังเกตว่า ในคำแถลงสรุปที่ฝ่ายกัมพูชาได้ อย่างไรก็ดี ประเด็นต่อไปมีว่า การตีความคำพิพากษานั้นจะจำกั 2.4 เงื่อนไขด้านเวลา คำถามมีว่า แล้วคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิ
3. วัตถุประสงค์ของการตีความคำพิ
4. ตัวอย่างของการตีความคำพิ 1) คำร้องขอให้มีการตีความคำพิ 2) คำร้องขอให้มีการตีความคำพิ 3) คำร้องขอให้มีการตีความคำพิ 4) คำร้องขอให้มีการตีความคำพิ 5) Factory at Chorzow, Application for Revision and Interpretation of the Judgment of 24 February
5. ประเด็นการตีความกรณีคดี
บทส่งท้าย
ที่มา: http://www.enlightened-jurists.com/blog/33 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วงในรัฐบาลสหรัฐฯ อ้างผลดีเอ็นเอชี้ ‘บิน ลาเดน’ ตายจริง Posted: 02 May 2011 11:18 AM PDT เจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐแจงที่ต้องฝังศพบิน ลาเดนในทะเล เพราะเกรงหากประเทศใดรับศพไปฝังจะตกเป็นเป้าโจมตีจากกลุ่มก่อการร้าย และที่ต้องฝังลับๆ เพื่อป้องกันมิให้สถานที่นั้นกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำนักข่าวเอพีรายงานอ้างอิงแหล่ การยืนยันหลักฐานเกิดขึ้นหลั นอกจากนี้ สถานีโทรทัศน์ของสหรัฐฯ ทั้งซีเอ็นเอ็น ฟ็อกซ์นิวส์ และเอ็มเอสเอ็นบีซี ยังพร้อมใจกันรายงานโดยอ้างอิ จากนั้นสำนักข่าวเอเอฟพีได้ ขณะเดียวกัน ผู้ใช้นามแฝงว่า ‘อัสซาด อัล ญิฮาด 2’ ซึ่งมีรายงานว่าเป็นหนึ่งในผู้ อย่างไรก็ตาม นายการี ยูซูฟ โฆษกกองกำลังติดอาวุธตาลีบั ส่วนท่าทีของผู้นำประเทศโลกตะวั ทว่านายโรนัลด์ โนเบิล เลขาธิการสำนักงานตำรวจสากล (อินเตอร์โพล) ได้แถลงเตือนให้รัฐบาลประเทศต่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“ฟรีดอมเฮาส์” ลดอันดับเสรีภาพสื่อไทยเข้ากลุ่มประเทศ “ไม่เสรี” Posted: 02 May 2011 10:21 AM PDT "ฟรีดอมเฮาส์" เผยผลสำรวจปี 2011 จำนวนประชากรโลกที่เข้าถึงสื่อเสรีได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดในรอบสิบปี ด้านไทยถูกลดชั้นจากกลุ่ม “กึ่งเสรี” เข้ากลุ่ม “ไม่เสรี” เทียบชั้นเกาหลีเหนือ พม่า จีน คิวบา โซมาเลีย อัฟกานิสถาน อิหร่านและอีก 63 ประเทศทั่วโลก เผยเหตุลดชั้นมาจากการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.112 และความรุนแรงทางการเมือง แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อ สำรวจโดย “Freedom House” ในปี 2011 ประเทศไทย ลดอันดับลงจากกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เมื่อปีที่แล้ว (แสดงเป็นสีเหลือง) เป็นกลุ่ม “ไม่เสรี” (แสดงเป็นสีม่วง) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อเปรียบเทียบ ตั้งแต่ปี 1980 ปี 1990 ปี 2000 ปี 2010 และล่าสุด ปี 2011 โดยกลุ่มประเทศ “เสรี” แสดงเป็นสีเขียว กลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” แสดงเป็นสีเหลือง และกลุ่มประเทศ “ไม่เสรี” แสดงเป็นสีม่วง แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 1980 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่) โดยในปี 1980 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “ไม่เสรี” เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีเพียงญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม “เสรี” ขณะที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 1990 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่) แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อในปี 1990 ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เช่นเดียวกับมาเลเซีย ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้รับการเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศ “เสรี” ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีเพียงญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ซึ่งเพิ่งเลื่อนอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศ “เสรี” ขณะที่ไต้หวันอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2000 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่) แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อในปี 2000 ประเทศไทย ได้รับการเลื่อนอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “เสรี” เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ขณะที่อินโดนีเซียเลื่อนอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคยังอยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน และมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “เสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2010 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่) แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อในปี 2010 ประเทศไทย ลดอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออก ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อยู่ในกลุ่ม “เสรี” ประเทศมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2011 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่) ขณะที่แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อในปี 2011 ประเทศไทย ลดอันดับลงจากกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เป็นกลุ่ม “ไม่เสรี” เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออกอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น และไต้หวันอยู่ในกลุ่ม “เสรี” โดยเกาหลีใต้ และมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” (ที่มา: เรียบเรียงจากข้อมูลและแผ่นที่ของ Freedom House [1] , [2])
ตะวันออกกลางเสื่อมถอยในขณะที่เสรีภาพสื่อโลกถึงจุดต่ำสุด วอชิงตัน – 2 พฤษภาคม 2011 รายงานของฟรีดอมเฮาส์เปิดเผยวันนี้ว่า จำนวนประชากรโลกที่สามารถเข้าถึงสื่อที่เสรีและอิสระได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดในรอบสิบปี รายงานFreedom of the Press 2011: A Global Survey of Media Independence พบว่าประเทศที่สำคัญอย่างเช่น อียิปต์ ฮอนดูรัส ฮังการี เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไทย ตุรกี และยูเครน เผชิญกับเสรีภาพสื่อที่เสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ภาพรวมสากลนั้นมีประชากรเพียงหนึ่งในหกเท่านั้นที่อยู่ในประเทศที่มีสื่อเสรี จากรายงานนี้ยังพบว่า
“ประเทศที่นักข่าวไม่สามารถรายงานข่าวได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแทรกแซงจากรัฐบาลหรือกลุ่มใดๆ ย่อมมีความหวังที่ริบหรี่ในการดำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย” เดวิด เจ เครเมอร์ ผู้อำนวยการของฟรีดอม เฮาส์กล่าว “เราไม่แปลกใจมากนักในการเจอกับบรรยากาศที่อันตรายและคับแคบต่อนักข่าวในประเทศที่ระบอบการปกครองไม่เป็นประชาธิปไตย เช่นในแถบตะวันออกกลางและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่เรารู้สึกเป็นปัญหาอย่างมากที่ต้องพบกับการถดถอยของเสรีภาพสื่อในประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่มั่นคงนัก เช่นในเม็กซิโก ฮังการี และไทย” จากทั้งหมด 196 ประเทศที่ได้ทำการสำรวจในปี 2010 พบว่า มี 68 ประเทศ (ร้อยละ 35) ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อเสรี อีก 65 ประเทศ (ร้อยละ 33) ถูกจัดให้ว่าเป็นกึ่งเสรี และอีก 63 ประเทศ (ร้อยละ32) จัดว่าไม่เสรี จากรายงาน ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อเสรีภาพสื่อด้วย
แนวโน้มในรอบ 5 ปี จากการสำรวจพบว่าเสรีภาพสื่อได้ลดลงอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2005 ถึง 2010 และแนวโน้มดังกล่าวก็ยังปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก อย่างไรก็ตาม การเสื่อมถอยที่ชัดเจนที่สุดนั้นเกิดขึ้นในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งการจำกัดพื้นที่สื่อเป็นไปในหลายประเทศ ภาวการณ์นี้ยังเกิดขึ้นด้วยในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและเผด็จการอำนาจนิยมในแถบยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศอดีตประเทศสหภาพโซเวียตด้วย ในรอบห้าปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เสรีภาพสื่อลดน้อยลงนั้นสูงกว่าประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมากขึ้นถึงสองเท่า ปรากฏการณ์ที่เสรีภาพสื่อเสื่อมถอยนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่ประชาธิปไตยกำลังจะหยั่งรากแต่ก็ถูกท้าทายโดยการลุกฮือทางการเมือง การแบ่งขั้วจากความขัดแย้ง การรัฐประหาร หรือสงครามกลางเมือง เช่นในโบลิเวีย เอกวาดอร์ ฟิจิ ศรีลังกา และไทย นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ที่รัฐบาลมีความโน้มเอียงไปทางเผด็จการอำนาจนิยมมากขึ้น เช่นในอิหร่าน รัสเซีย และเวเนซุเอลา ความจริงแนวโน้มเสรีภาพสื่อโลกที่เสื่อมถอยนี้ ดูเหมือนว่าจะลดน้อยลงในช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวก็ถูกตีกลับอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2011 อันเป็นผลมาจากการประท้วงระลอกใหญ่ในหลายประเทศโดยเฉพาะในทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ณ จุดนี้ ก็ยังไม่ชัดเจนนักว่าจุดสมดุลระหว่างส่วนที่เพิ่มขึ้นและส่วนที่ลดลงนั้นอยู่ที่ใดและจะช่วยให้ภาพรวมของโลกมีส่วนพัฒนาในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ในปี 2011 “ในปี 2010 เราได้เห็นแล้วว่ารัฐบาลในตะวันออกกลางได้ทำการปิดกั้นสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมาก” คาริน ดุช คาร์เลคาร์ บรรณาธิการของรายงานฉบับนี้กล่าว “การปฏิรูปสื่อที่กว้างขวางและยั่งยืนจึงจำเป็นต้องกระทำให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาบรรยากาศทางการเมืองที่เปิดกว้างขึ้นให้ดำรงอยู่ มิเช่นนั้น โอกาสนี้ก็อาจจะสูญหายไปได้” สิ่งที่น่าสนใจจากภูมิภาคต่างๆ อเมริกา ในภูมิภาคนี้มีสองประเทศที่เปลี่ยนสถานะไปในทางลบ คือฮอนดูรัสและเม็กซิโกที่มีสื่อที่“ไม่เสรี” เช่นเดียวกันในอาร์เจนติน่า โบลิเวีย และเอกวาดอร์ ก็ประสบกับสภาวะเสรีภาพสื่อที่ลดลง นับว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2006 ที่จำนวนประเทศแถบทวีบอเมริกาถูกจัดให้เป็นประเทศ “ไม่เสรี” มากที่สุด และเมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2009 คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคในปี 2010นับว่าแย่ลง อันเป็นผลมาจากการถดถอยทางด้านทางการเมืองและเศรษฐกิจ โคลัมเบียเป็นประเทศที่ดูมีความหวังมากที่สุดเนื่องจากมีการปรับปรุงในประเด็นการงดเว้นโทษของเจ้าหน้าที่รัฐ เอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีคะแนนเฉลี่ยลดลง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศสองประเทศคือ เกาหลีใต้ จาก “เสรี” เป็น “กึ่งเสรี” และไทยจาก “กึ่งเสรี” เป็น ไม่เสรี” นอกจากนี้ ในกัมพูชา ฟีจิ อินเดีย และวานูตูเสรีภาพสื่อก็ยังถดถอยลงด้วย ในขณะที่ในฟิลิปปินส์และบังคลาเทศนั้นมีอัตราดีขึ้นเล็กน้อย ภูมิภาคนี้ยังประกอบไปด้วยรัฐที่มีสถานะสื่อแย่ที่สุดคือพม่าและเกาหลีเหนือ รวมถึงจีนซึ่งจัดเป็นรัฐที่มีสถานะเสรีภาพสื่อที่ตกต่ำและขนาดใหญ่ที่สุดด้วย ในจีน การปราบปรามการเสรีภาพการแสดงออกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องในปี 2010 ยุโรปกลางและตะวันออก/ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคนี้ยังเท่าเดิมในปี 2010 อย่างไรก็ตาม ความคงที่ดังกล่าวเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวที่ปรากฏในแถบภูมิภาคสองแห่ง กล่าวคือ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่เคยมีแนวโน้มเสรีภาพสื่อที่ดีกลับลดลงในภาพรวม ในขณะที่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่สื่อเป็นไปอย่างปิดกั้นได้พัฒนาขึ้นจากการเปิดเสรีทางการเมืองโดยเฉพาะในมอลโดวา รวมทั้งในจอร์เจียและเคอร์กิสถานก็ดีขึ้นเล็กน้อย ในสองภูมิภาคย่อยนี้ ความเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน และรัสเซีย ยังคงเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วง ในขณะที่แนวโน้มเสรีภาพสื่อทางลบก็ปรากฏขึ้นในฮังการีและยูเครน ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ภูมิภาคนี้ประสบกับภาวะถดถอยมากที่สุดในภูมิภาคอื่นๆ อียิปต์ถูกลดสถานะจาก “กึ่งเสรี” เป็น “ไม่เสรี” และคะแนนของอิรัก อิหร่าน คูเวต โมร็อกโก และเยเมนก็ยังลดลงอีกด้วย ลิเบีย ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย และตูนิเซียยังคงติดลำดับประเทศที่แย่ที่สุดด้านความอิสระและเสรีภาพสื่อ แถบซับซาฮาราในทวีปอัฟริกา ในปีนี้แถบซับซาฮาราแอฟริกาจัดว่าเป็นแถบที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ เนื่องจากในปี 2009 คะแนนเฉลี่ยในภูมิภาคนี้เสื่อมถอยลงอย่างมากแต่กลับกระเตื้องขึ้นมาได้ใหม่ในปี 2010 กินี ไลบีเรีย และไนเจอได้ปรับเปลี่ยนสถานะจาก “ไม่เสรี” มาเป็น “กึ่งเสรี” คะแนนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดปรากฏในเคนยา มอริทาเนีย เซเนกัล แซมเบีย และซิมบับเว อย่างไรก็ตามก็มีการถดถอยในแองโกลา โกตดิวัวร์ กีเนียบิสเซา มาดากัสการ์ และซูดาน ยุโรปตะวันตก ในภูมิภาคนี้คะแนนค่าเฉลี่ยลดลงอย่างกว้างขวางที่สุดเป็นอันดับสอง โดยเฉพาะการเสื่อมถอยลงในเดนมาร์ก ไอซแลนด์ และตุรกี นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากกฎหมายกบฏที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่การแทรกแซงจากทางภาครัฐในสื่อที่รัฐบาลเป็นเจ้าของส่งผลให้อิตาลีถูกจัดอยู่ในประเภท “กึ่งเสรี” (ตกต่ำ) ที่สุดของที่สุด ประเทศที่ติดอันดับสิบที่แย่ที่สุดคือ เบลารุส พม่า คิวบา เอควาทอเรียล (Equatorial) กินี (Guinea) เอริเทรีย (Eritrea) อิหร่าน ลิเบีย เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ประเทศเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่ามีสื่ออิสระ หรือถ้ามีก็ไม่สามารถทำงานได้ สื่อจึงกลายเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองในระบอบไปโดยระเบียบ นอกจากนี้ ความสามารถของพลเมืองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ก็ถูกจำกัดอย่างร้ายแรง และผู้ที่เห็นต่างในสังคมก็ถูกกำจัดโดยวิธีการเช่นการจำคุก การซ้อมทรมาน และมาตรการอื่นๆ จากตารางแสดงให้เห็นว่าสถิติของเสรีภาพสื่อในเอเชียแปซิฟิกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 และตกต่ำที่สุดในระยะห้าปีที่ผ่านมา โดยจากรายงาน ฟรีดอมเฮาส์ได้ระบุว่าในปี 2010 ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย แรงกดดันต่อสื่อมวลชนส่งผลให้คะแนนของประเทศไทยลดลงสี่จุดคือจาก 62 เป็น 58 และเปลี่ยนสถานะจากประเทศที่เสรีภาพสื่อเป็น “กึ่งเสรี” มาเป็น “ไม่เสรี” ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวคือการใช้กฎหมายพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่จงใจปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ รวมไปถึงการดำเนินคดีกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้ ความรุนแรงระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางการเมืองยังทำให้นักข่าวได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และนำไปสู่การเซ็นเซอร์แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จดหมายฉบับยาวจาก ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ ก่อนเดินทางสู่เรือนจำ Posted: 02 May 2011 10:01 AM PDT จดหมายลายมือ ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เขียนที่ห้องขังกองปราบเมื่อเช้านี้ (8.30 น. 2 พ.ค.54) ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวมาที่ศาลอาญาเพื่อฝากขัง ขณะที่ผู้ต้องหายื่นประกันตัว แต่ศาลยกคำร้อง และต้องเดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จดหมายดังกล่าวจั่วหัวว่า “เหยื่ออธรรม” กล่าวถึงความรู้สึกไม่เป็นธรรมที่ถูกจับกุมคุมขัง ทั้งที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนที่มีเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการคิด การนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการไปชายแดนด่านอรัญประเทศว่ไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนี และไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการออกหมายจับข้อหาหมิ่นสถาบัน พร้อมทั้งอธิบายว่าทำไมก่อนหน้านี้เขาจึงต้องออกมารณรงค์เคลื่อนไหวให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 และกล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้ายตราบเท่าที่เรายังอยู่ภายใต้การปกครองที่เนื้อแท้เป็นเผด็จการ แต่เปลือกนอกฉาบด้วยคำว่าประชาธิปไตยไว้หลอกลวงชาวโลก ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพ ตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
'วุฒิสภา' รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ Posted: 02 May 2011 09:57 AM PDT ที่ประชุมวุฒิสภา ถกร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีผู้เสนอให้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ 3 วาระรวด อ้างหวั่นสภาชุดใหม่ไม่หลักดัน สุดท้ายวุฒิสภามีมติเพียงรับหลักการ
สำนักข่าวไทยรายงานว่า ที่ประชุมวุฒิสภา วันนี้ (2 พ.ค.)ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ....โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการคุ้มครองสถานที่ที่ห้ามชุมนุม เช่น สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมถึงสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ นอกจากนี้จะต้องมีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมจากเดิม 48 ชั่วโมงเป็น 24 ชั่วโมง และมีการระบุเงื่อนไขในเรื่องการควบคุมผู้ชุมนุมอย่างชัดเจน ซึ่งหลายฝ่ายวิจารณ์ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นมาตรการอ่อนเกินไปหรือไม่กับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น แต่สภาผู้แทนราษฎรเห็นว่า เป็นหลักการที่เหมาะสมจึงได้ผ่านความเห็นชอบ ทั้งนี้อยู่ที่ ส.ว.จะพิจารณาว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว จะเหมาะกับสถานการณ์หรือไม่อย่างไร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ว. ได้อภิปรายกันอย่างหลากหลาย โดย ส.ว.บางคนขอให้ร่วมกันสนับสนุนให้ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ 3 วาระรวดในวันนี้ (2 พ.ค.) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันก่อนสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้จะพ้นวาระ เพราะนายกรัฐมนตรีจะยุบสภา เนื่องจากเกรงว่าหากสภาฯชุดใหม่เข้ามาจะไม่ผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ ส.ว.หลายคนคัดค้าน เช่น นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะการออกมาชุมนุมคัดค้านถือเป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย แต่การออกกฎหมายดังกล่าวอาจเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่เห็นด้วยกับกรณีให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดเรื่องการชุมนุม อย่างไรก็ตามหลังเปิดให้สมาชิกอภิปรายระยะหนึ่ง ที่ประชุมได้มีมติรับหลักการ โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 21 คนพิจารณากำหนดแปรญัตติ 7 วัน ที่มา: สำนักข่าวไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สรุปผลงาน 6 เดือน กอ.รมน. ระดมวิทยุชุมชน 700 แห่งพิทักษ์สถาบัน Posted: 02 May 2011 09:40 AM PDT กอ.รมน.สรุปผลงาน 6 เดือน ปัดทหารไม่ได้ลงพื้นที่ แทรกแซงเลือกตั้ง แจงจับวิทยุชุมชน ส่วนใหญ่ผิดตาม ม. 116 ไม่ใช่ 112 พร้อมระดมวิทยุชุมชน 700 สถานี พิทักษ์สถาบัน
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายงานว่า วันนี้ (2 พ.ค.) ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะผอ.รมน. เป็นประธานในการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานรอบ 6 เดือนของกองอำนวนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ตามแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรปี 2553-2554 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวว่า ความจริงมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็ยังขาดการบูรณาการที่เป็นภาพรวม จะเห็นว่าทางรัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เข้ามาบูรณาการแก้ไขเป็นเหตุการณ์ๆ ไป ซึ่งเราได้เรียนนายกฯว่า น่าจะมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้ กอ.รมน.ก็ศึกษาเรื่องนี้อยู่ ความจริงตามกฎหมายระบุว่า กอ.รมน.ดูแลภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากกลุ่มบุคคล และบุคคลเท่านั้น แต่ภัยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากบุคคล ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของ กอ.รมน.ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงปี 2551 แต่ก็มีช่องว่า รัฐมนตรีสามารถมอบหมายได้หรือต้องหาใครสักคนมาช่วยเหลือประชาชน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาและปรับกัน ชี้งบปี 55 ได้ 6,943 ล้านบาท น้อยกว่าปีก่อน
กรณีจับวิทยุชุมชน ส่วนใหญ่ผิดตาม ม. 116 ไม่ใช่ 112 ระดม 700 วิทยุชุมชนปกป้องสถาบันฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 3.ด้านการสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งได้มีการจัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนมวลชนของทุกหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการอำนวยการและการขับเคลื่อนงานด้านมวลชนในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งมีการฟื้นฟูมวลชนไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)และมวลชนกลุ่มอื่นๆในทุกคโครงการของ กอ.รมน.โดยเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการพิทักษ์ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นความเร่งด่วนลำดับแรก โดยในปี 2554 ได้ทำการฝึกอบรมและจัดตั้งมวลชนไทยอาสาป้องกันชาติในพื้นที่ กอ.รมน.จังหวัดรวม 26 จังหวัด จำนวน 30 รุ่น รุ่นละ 200 คน รวม 6,000 คน
ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
แพทย์เตรียมผ่าตัดถวายพระเจ้าอยู่หัวคืนนี้ Posted: 02 May 2011 07:15 AM PDT สำนักพระราชวังประกาศ แพทย์เตรียมถวายการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง "ในหลวง" คืนนี้ หลังยังทรงพระดำเนินไม่มั่นคง เพราะมีภาวะน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองมากกว่าปรกติ ขณะที่พระอาการทั่วไปดี เสวยพระกระยาหารเป็นปกติ วันนี้ (2 พ.ค. 54) สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช (ฉบับที่ 36) โดยคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รายงานว่า ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร มีพระปรอท (เป็นไข้) และต่อมามีพระปัปผาสะ (ปอด) อักเสบ และพระอาการอ่อนเพลีย คณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาจนหายจากพระอาการประชวรแล้ว แต่ยังประทับอยู่ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้คณะแพทย์ฯ ทำกายภาพบำบัดถวายเพื่อฟื้นฟูพระวรกาย และเพิ่มกำลังพระกล้ามเนื้อ ตลอดจนถวายพระกระยาหารบำรุงตามหลักโภชนาการนั้น ทั้งนี้ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวมาเป็นลำดับ แต่ยังทรงพระดำเนินไม่มั่นคง จึงได้ถวายการตรวจพิเศษต่างๆ เป็นระยะๆ ติดต่อกัน ผลปรากฏว่า ทรงมีภาวะน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองมากกว่าปรกติ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ทรงพระดำเนินไม่มั่นคง อาการเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คณะแพทย์ฯ ได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรถวายการรักษาด้วยวิธีใส่สายระบายน้ำไขสันหลัง จากช่องพระสันหลังบริเวณบั้นพระองค์ (บั้นเอว) เข้าสู่ช่องพระนาภี (ช่องท้อง) ซึ่งเป็นการรักษาแบบมาตรฐานทั่วไป ทั้งนี้ได้กำหนดการถวายการรักษาในคืนวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2554 ส่วนผลการตรวจต่างๆ ในระบบอื่นอยู่ในเกณฑ์ปรกติและพระอาการทั่วไปดี เสวยพระกระยาหารได้เป็นปรกติ คณะแพทย์ฯ จะรายงานผลการถวายการรักษาในโอกาสต่อไป จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสวนา: Unseen 2475 เปิดตำนานอภิวัฒน์ 2475 กับทายาทพลเอกพระยาพหลฯ Posted: 02 May 2011 04:45 AM PDT วงเสวนาเผยเส้นทางคณะราษฎรปราบกบฏบวรเดชปี 2476 สงครามกลางเมืองครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ที่ไม่ได้รบกันแค่บางเขน-ดอนเมืองแต่ตีโต้กันไปไกลตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงศรีสะเกษ ด้านทายาทภูมิใจพระยาพหลฯ เสียสละยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศ ส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์คณะราษฎรปราบกบฏบวรเดช ที่นายชีพธรรม คำวิเศษณ์ วิทยากรในงานเสวนา “Unseen 2475 เปิดตำนานอภิวัฒน์ 2475 กับทายาทพลเอกพระยาพหลฯ” ทำสำเนามาจากพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ จ.ลพบุรี และนำมาเผยแพร่ในงานเสวนา
ลูกเสือจาก จ.อยุธยากับนักเรียนหญิง ร.ร.นารีนุกูล จ.อุบลราชธานี ทำการห่ออาหารและการครัวเพื่อสนับสนุนฝ่ายคณะราษฎรที่วารินทร์ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี) รถรบปืนกลหนักบนรถบรรทุกของทหารฝ่ายคณะราษฎรไปถึงสถานีศรีษะเกษ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี) ผู้คนออกมาต้อนรับทหาร และมีรถยนต์ทหารรอบรรทุกทหารปราบกบฏส่วนที่ 1 กลับกรม ย่านหัวลำโพง ภาพถ่ายเมื่อ 25 พ.ย. 2476 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี) ชาวพระนครต้อนรับทหารปราบกบฏส่วนที่ 1 กลับมาเมื่อ 25 พ.ย. 2476 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี) นายทหารที่ไปรบชนะกลับมามาจากการปราบกบฏ นายทหารในกองรบส่วนที่ 1 กลับมาและได้รับพวงมาลัยจากคณะนาย ต.บุญเทียม ภาพเมื่อ 25 พ.ย. 2476 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี) มีการเตรียมของขวัญแก่คณะปราบกบฏ ภาพเมื่อ 25 พ.ย. 2476 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมือง จ.ลพบุรี)
วันที่ 30 เมษายน มีการจัดเสวนาเรื่อง “Unseen 2475 เปิดตำนานอภิวัฒน์ 2475 กับทายาทพลเอกพระยาพหลฯ” เสวนาโดย นายชีพธรรม คำวิเศษณ์ นักจัดรายการวิทยุจากสถานีเนชั่น พ.ต.พุทธินารถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายของพระยาพหลพลหยุหเสนา และนางพวงแก้ว ศาตรปรุง บุตรสาวของของพระยาพหลพลหยุหเสนา ดำเนินรายการโดย นายบุญเลิศ ช้างใหญ่ หนังสือพิมพ์มติชน งานเสวนาในครั้งนี้เน้นไปที่เรื่องราวของพระยาพระหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนเป็นที่มาของการยื้ออำนาจระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยม กับฝ่ายคณะราษฎร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดชขึ้นในปีถัดมา และเหตุการณ์ดังกล่าวก็ถือเป็น “สงครามกลางเมือง” ครั้งแรกของประเทศไทยและยังคงปรากฏการยื้ออำนาจระหว่างสองฝ่ายมาจนกระทั่งปัจจุบัน ก่อนการเสวนากับทายาทพระยาพระหลฯ นายชีพธรรม คำวิเศษณ์ ได้เปิดเสวนานำในหัวข้อ “รถไฟสายสงครามกลางเมือง” โดยเล่าเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองไทยผ่านเส้นทางรถไฟที่เขาได้เดินทางไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ชีพธรรมเล่าว่าเส้นทางที่ตนโดยสารรถไฟฟรีไปยังจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงต่อจากเหตุการณ์อภิวัตน์ 2475 ซึ่งก็คือเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร
ชีพธรรมชี้การแบ่งฝ่ายระหว่าง “คณะเจ้า” กับ “คณะราษฎร” ไม่ต่างกับการเมืองในปัจจุบัน ชีพธรรมกล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นว่าทหารแยกออกเป็นสองสาย คือ กลุ่ม “คณะเจ้า” กับกลุ่ม “คณะราษฎร” ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่าง “กลุ่มอำนาจเก่า” กับ “กลุ่มอำนาจใหม่” ที่ขึ้นมาทำการอภิวัตน์เปลี่ยนแปลงการปกครองและขึ้นมามีบทบาทสำคัญทางการเมืองแทนที่กลุ่มอำนาจเก่า เช่นเดียวกับการยื้ออำนาจที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ชีพธรรมเล่าต่อไปอีกว่าในขณะที่ตนนั่งรถไฟผ่านเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์นั้น ตนคิดในใจว่าจะมีใครที่ทราบบ้างว่าเส้นทางรถไฟสายนี้ที่กำลังแล่นผ่านไปยังจุดต่างๆนั้น ในอดีตเคยมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง ชีพธรรมกล่าวว่า “ภาพทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์กบฏบวรเดชที่เราเห็นกันส่วนใหญ่นั้น ถูกพูดถึงแค่การต่อสู้ที่เกิดขึ้นบริเวณแถบพื้นที่ดอนเมือง แต่จริงๆ แล้วการสู้รบระหว่างสองฝ่ายกลับไปไกลถึงพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี และอาจเลยไปถึงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษด้วยซ้ำ” แต่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้น ณ เส้นทางรถไฟสายนี้กลับไม่ถูกพูดถึงว่ามีความสำคัญอย่างไรหรือเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่เหล่านี้บ้าง ชีพธรรมเล่าเสริมว่าในยุคนั้นรัฐบาลมีการรับอาสาสมัครมาปราบกบฏ และก็มีคนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ สมัครเข้ามา ซึ่งชีพธรรมกล่าวว่า “การเข้ามาของอาสาสมัครเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลในยุคนั้นมีการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล” และอาสาสมัครชาวบ้านเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญอีกแรงหนึ่งที่ทำให้คณะราษฎรสามารถปราบปรามกบฏฝ่ายคณะเจ้าได้สำเร็จ หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชจบลง รัฐบาลของพระยาพระหลฯ ในขณะนั้นได้จัดแห่ขบวนศพของผู้เสียชีวิตอย่างสมเกียรติ์ และจัดพิธีเผาศพของทหารเหล่านี้ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ซึ่งในสมัยก่อนศพที่จะเผาที่สนามหลวงนั้น ต้องเป็นชนชั้นขุนนางหรือเจ้านายเท่านั้น ซึ่งการจัดพิธีเผาศพในครั้งนี้ได้เกิดการคัดค้านจากกลุ่มอำนาจเก่าเป็นอย่างมาก ชีพธรรมชี้ว่า หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชจบลง ได้ส่งผลให้รัชกาลที่ 7 ไม่เสด็จกลับกรุงเทพอีกเลย จนกระทั่งมีการประกาศสละราชสมบัติในเวลาต่อมา ชีพธรรมสรุปทิ้งท้ายว่า การยึดอำนาจมาจากกบฏบวรเดชนั้นยังคงมีบทบาทมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการใช้ “แท็กติก” ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นดูคล้ายกับเค้าโครงของประวัติศาสตร์ที่กำลังวนกลับมาอีกครั้ง เขาย้ำว่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นการยื้ออำนาจกันระหว่าง “ประชาชน” กับ “กลุ่มอนุรักษ์นิยม” ที่มีการแบ่งสายชัดเจนในวงการการเมืองปัจจุบัน
ทายาทชี้พระยาพระพหลฯ เสียสละให้ประเทศ ในช่วงเสวนา พ.ต. พุทธินารถ พหลพลหยุหเสนา และนางพวงแก้ว ศาตรปรุง บุตรชายและบุตรสาวของทายาทพระยาพระพลฯได้เล่าถึงความทรงจำของพวกตนที่ยังคงระลึกถึงคุณพ่อผู้ทำการอภิวัตน์การปกครองของไทย พุทธินารถกล่าวว่าบิดาของตนเป็นผู้นำปฏิวัติ และทำให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญ “คุณพ่อเป็นคนที่ซื่อสัตย์ ไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์ และไม่เคยแสวงหาอำนาจ" พุทธินารถเล่าต่อไปอีกว่าบิดาและมารดาของตนสอนไว้ว่าอย่าคิดว่าเกิดเป็นลูกของใคร ให้คิดว่าตัวเองเป็นลูกของคนธรรมดาทั่วไป และพึงระลึกไว้ว่าตนเองไม่ได้วิเศษเหนือคนอื่น พุทธินารถเล่าว่าตนจำคำสอนเรื่อง “ไพร่” และ “ผู้ดี” ของบิดาตนได้ “ไพร่ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนจน แต่คนรวยก็เป็นไพร่ได้ ถ้าไปเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ส่วนผู้ดี แม้ว่าจะเป็นขอทานก็เป็นผู้ดีได้ ถ้าไม่ได้ไปเอาเปรียบใคร” พุทธินารถกล่าว เช่นเดียวกับนางพวงแก้วที่กล่าวว่าทั้งบิดาของตนและผู้ก่อการอภิวัตน์ทุกคนต่างก็เป็นผู้เสียสละอันยิ่งใหญ่ และภูมิใจมากที่ได้เกิดเป็นลูกของพระยาพระหลฯ ผู้เสียสละให้แก่ประเทศ พวงแก้วเล่าว่าแม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่บิดาของตนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีลอย และได้รับหน้าที่ไปเป็นแม่ทัพบังคับบัญชาทหารนั้น บิดาของตนเป็นอัมพาตแล้วด้วยซ้ำแต่ก็ยังไปทำหน้าที่ในสนาม จนกระทั่งในช่วงที่บิดาของตนเสียชีวิต แทนที่บิดาของตนจะนึกถึงครอบครัว แต่บิดาของตนกลับสั่งเสียกับคนสนิทว่า “ฝากประเทศด้วย”
เมื่อมีผู้ชนะ ผู้แพ้ก็ต้องกลายเป็น “กบฏ” นายบุญเลิศ ช้างใหญ่เปิดประเด็นถามถึงเรื่องกบฏบวรเดช โดยเขาชี้ว่าเป็นองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์การเมืองที่ไม่เคยรู้ และเหตุการณ์ดังกล่าวก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ต้องใช้ทั้งกำลังทหารและอาวุธ โดยนางพวงแก้วกล่าวว่า “ในยุคนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีเรื่องเกิดขึ้นตลอด ท่านปรีดีก็โดนกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ให้ไปอ่านเอาจากหนังสือเลยดีกว่า เพราะมันเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก” พวงแก้วมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นธรรมชาติของมนุษย์ “เมื่อใดที่มีกลุ่มหนึ่งมาหักล้าง อีกกลุ่มก็ต้องไม่ยอม เมื่อกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ชนะ กลุ่มที่เป็นผู้แพ้ก็ต้องเป็นกบฏ” พวงแก้วกล่าว ทางด้านของพุทธินารถเล่าว่าตนทราบเหตุการณ์จากผู้ใหญ่ที่เล่าให้ฟังว่า “ตอนนั้นคุณพ่อปรึกษากับจอมพล ป. แล้ว แต่จอมพล ป. บอกว่าไม่ยอม จึงต้องมีการนำทหารออกมา และสั่งให้เอาปืนใหญ่ออกมาตั้งที่คลองบางเขน แล้วยิงกระสุนลงฝ่ายบวรเดช” พุทธินารถเล่าต่อไปว่าหลังจากที่กลุ่มทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชที่ล้อมกรุงเทพฯ นั้นมาจากราชบุรีและเพชรบุรี แต่พอทราบผลว่าแพ้ เหล่าทหารก็ถอยกลับไป จึงรบกับทหารที่มาจากทางภาคใต้เท่านั้น พุทธินารถเล่าทิ้งท้ายถึงตอนที่เขารับราชการทหารและเดินทางไปทำหน้าที่ยังประเทศเวียดนาม พุทธินารถกล่าวว่าเห็นชาวเวียดนามรักแผ่นดินเท่าชีวิต แต่คนไทยกลับต้องมาฆ่ากันเพราะขัดแย้งกันเอง เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีในช่วงที่เกิดสงครามสองฝ่าย เขาเห็นว่าประเทศไทยในยุคนั้นเจริญกว่ามาก แต่มาในยุคนี้กลับเป็นตรงกันข้าม “คนไทยมักพูดว่า เราเป็นเมืองพุทธ แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นพุทธประเภทไหนถึงต้องมาขัดแย้งกันเอง” พุทธินารถกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สัมภาษณ์สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: การปะทะไทย-กัมพูชา“ต้องคำนวณแล้วว่าใครจะทนความสูญเสียได้มากกว่ากัน” Posted: 02 May 2011 04:04 AM PDT ประชาไทสัมภาษณ์นักข่าวอาวุโสซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องกัมพูชาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดคนหนึ่งของไทย สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี จากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผลงานชิ้นล่าสุดของเขาก็คือ การเป็นคณะทำงาน “โครงการวิจัย เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านของเรา” ที่ถูกโจมตีอย่างหนักจากขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองสายอนุรักษนิยม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ว่าเป็นชุดงานวิจัย “ขายชาติ” ประชาไทถามคำถามพื้นฐานเพื่อความเข้าใจสถานการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาครั้งล่าสุดที่บริเวณปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควาย ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์แล้ว แม้ว่าพื้นที่ปะทะครั้งล่าสุดจะห่างจากพื้นที่พิพาทเขาพระวิหารถึง 140 กิโลเมตร แต่คำตอบสำหรับการแก้ปัญหานี้ยังคงต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นที่การทำความเข้าใจเรื่องปราสาทพระวิหาร และการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาอยู่ดังเดิม ลึกไปกว่านั้น ที่สุดแห่งปัญหาของการปะทะระหว่างไทย-กัมพูชาระลอกล่าสุด มิใช่อะไรอื่น หากเป็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในของไทยเอง ประชาไท: แรงจูงใจของทั้งสองฝ่ายที่ทำให้เกิดการปะทะกันครั้งล่าสุดนี้คืออะไร ทีนี้ความขัดแย้งหลายๆ อย่างก็ถูกยกระดับโดยความขัดแย้งภายในประเทศของไทยเองด้วย ระหว่างความไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มของรัฐบาลกับพวกเสื้อเหลือง กับเสื้อแดงซึ่งเชื่อมโยงไปถึงทักษิณ ชินวัตรซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีมาก่อนกับรัฐบาลในพนมเปญ มันก็สะสมความขัดแย้งเพิ่มขึ้นไปอีก ก็กลายเป็นประเด็นว่าไทยกัมพูชามีปัญหากันในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลด้วย เพราะว่ารัฐบาลฮุนเซนก็ใช้เงื่อนไขความขัดแย้งภายในประเทศเป็นเครื่องมือด้วย ก็ทำให้ข้อขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในฝั่งกัมพูชา วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินการมีสองอย่าง อย่างแรกนั้นอยากได้จริงๆ ก็คืออยากบริหารจัดการในฐานะที่เป็นมรดกโลก เพราะว่าเป็นแผนทางเศรษฐกิจด้วย ตามหลักแล้วการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็ควรเปิดพื้นที่ให้ท่องเที่ยว มีพื้นที่ทำเงินในแง่ของการท่องเที่ยวได้ เหมือนนครวัด เหมือนพื้นที่อื่นๆ ในโลกนี้ ที่เป็นแผนของการส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจ ก็จะใช้ตัวมรดกโลกนี้เป็นตัวเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ทางภาคเหนือของกัมพูชาเอง อีกส่วนหนึ่ง ในทางการเมืองรัฐบาลฮุนเซนก็ได้เครดิตมากที่สามารถเอาปราสาทเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ ถือเป็นแห่งที่สองนับจากนครวัด ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จซึ่งเขาได้แรงสนับสนุนจากประชาชนค่อนข้างมาก เป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในกัมพูชาช่วงที่ได้ขึ้นทะเบียนใหม่ๆ ก็มีการเฉลิมฉลองกันอย่างอึกทึกครึกโครม พอมาประจวบเหมาะกับการที่ไทยคัดค้านก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของเขา เหตุที่ไทยอ้างก็เป็นเหตุที่สำหรับกัมพูชาแล้วฟังดูเหลวไหล เพราะการขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยทั่วไปแม้ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่คร่อมพรมแดน หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องเส้นเขตแดน แต่ตามหลักของ UNESCO Convention มาตรา 11 (3) บอกว่า การขึ้นทะเบียนของทรัพย์สินใดๆ ไม่ทำให้ประเทศที่อ้างสิทธิหรืออำนาจอธิปไตยเหนือบริเวณนั้นเสียสิทธิไปแต่อย่างใด ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของ ถ้าหากว่าไทยเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณนั้นจริงๆ มันก็ยังคงเป็นอยู่ มันไม่เท่ากับการยอมรับว่าปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นของกัมพูชา เอาล่ะ ปราสาทพระวิหารนั้นศาลโลกตัดสินแล้วว่าเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่โดยรอบบริเวณนั้นก็ยกมาเป็นกรณีพิพาทได้ ทั้งๆ ที่จะไม่ยกให้เป็นกรณีพิพาทก็ได้นะ เพราะถ้าเราบอกว่ายังปักหลักเขตแดนยังไม่เสร็จก็ละไว้ ก็ขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปได้ ความจริงแล้วกัมพูชาก็ยอมไทยมากนะ ก่อนหน้านี้เขาเคลมพื้นที่ 1: 200,000 ซึ่งกว้างกว่านั้นมาก แต่พอรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวชโดยคุณนพดล ปัทมะก็เจรจาว่าเอาเฉพาะที่ไทยขีดไว้ให้ได้ไหม เพราะว่าที่เหลือเรายังพิพาทกันอยู่ คือทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเรายังพิพาทกันอยู่คือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็เขียนแผนผังกันใหม่ ซึ่งมติเรื่องนี้ก็บรรจุอยู่ในคณะกรรมการมรดกโลก ตั้งแต่การประชุมที่ควิเบก แคนาดา ในปี 2551 ก็ยังบรรจุอยู่เรื่อยมาว่า พื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่บริหารจัดการนั้นไม่รวมพื้นที่พิพาทจนกว่าจะสามารถตกลงกับฝ่ายไทย แต่ว่าฝ่ายไทยก็ไม่แล้วใจ ไม่ไว้วางใจ รัฐบาลชุดปัจจุบัน (ชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ตอนที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งใหม่ๆ ถึงกับพูดว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์เพราะว่าเราคัดค้านอยู่ ทั้งๆ ที่มันไม่มีอะไรที่ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ มันเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่เราก็ยังโกหกพกลมกับประชาชนเราได้ เพื่ออะไร ก็เพื่อผลทางการเมือง และสื่อมวลชนก็รายงานตามคำพูดของรัฐบาลทุกคำ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่มีอะไรที่ไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แผนการบริหารก็คือรายงานประจำช่วงระยะเวลา และคณะกรรมการมรดกโลกก็กำหนดปี 2556 ก็ต้องส่งอีกแผนหนึ่ง เป็นการอัพเดทเรื่อยๆ การส่งแผนไม่ได้เท่ากับว่าจะมีการอนุมัติแล้วต้องหยุดหรือดำเนินการต่อ ไม่เป็นเหตุให้สถานะความเป็นมรดกโลกสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด แต่รัฐบาลไทยก็ใช้ข้อพิจารณานี้เป็นเหตุที่ว่า สามารถทำเลื่อนการพิจารณาแผนของกรรมการมรดกโลกได้ว่านี่คือชัยชนะของการต่อสู้กับกัมพูชา เป็นคำอธิบายเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองว่านี่เป็นการต่อสู้กับเพื่อนบ้านในเรื่องปราสาทพระวิหาร ซึ่งเราไม่มีสิทธิอะไรแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อกลับไปมองฝั่งกัมพูชา ฮุนเซน ก็เป็นมนุษย์ปุถุชน เมื่อแผนงานการดำเนินงานของเขาถูกขัดขวางเยี่ยงนี้ก็ย่อมโกรธ และเมื่อสามารถลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจไทยได้ จริงๆ กัมพูชาไม่เคยกล้าหือกับไทย มีไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์ ถือเป็นครั้งแรกๆ ถ้านับจากสีหนุ นี่ก็เป็นยุคแรกๆ ที่กัมพูชากล้าหือกับไทย
ไทยอ่อนแอในหลายๆ มิติ ตัวรัฐบาลเองก็ไม่มีอำนาจเต็ม เพราะว่าไม่ใช่รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งมาอย่างใสสะอาด รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างได้ว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่กระบวนการในการสร้างรัฐบาลนี้มีช่องว่างมาก สอง ฝ่ายค้าน หรือกระบวนการอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมีความเข้มแข็งมาก และมีความสัมพันธ์อันดีกับกัมพูชาอีก สาม ทหารต้องการมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น วิธีเดียวที่จะทำให้ทหารมีความชอบธรรมในการควบคุมทางการเมืองได้ ก็คือการสร้างศึกสงคราม ความขัดแย้ง และมีข้ออ้างเรื่องความมั่นคงมากๆ กรณีนี้ก็เช่นกันที่ประจวบเหมาะมาก ที่ทหารไทยยินดีอย่างยิ่ง กัมพูชาก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะกระโจนเข้าสู่ความขัดแย้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่เพื่อประโยชน์ทางการเมืองภายในของทั้งสองฝ่าย จริงๆ ฮุนเซนก็ได้แรงสนับสนุนมากขึ้นมากจากประชาชนของเขา เราก็ทราบดีว่าชาวกัมพูชานิยมชมชอบความขัดแย้งนี้เพราะเขาคิดว่าฮุนเซนเป็นคนที่สามารถสยบไทยได้ในเรื่องปราสาทพระวิหาร คือทำให้ไทยหยุดพูดให้ได้ เพราะทุกครั้งถ้าสังเกต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปราสาทพระวิหาร ไม่ว่าใครก็ตาม ที่พูดว่าปราสาทหินทั้งหลายแหล่ไม่ใช่ของกัมพูชา พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณเป็นของไทยมาก่อน จะพูดจริงหรือไม่ก็ตามไม่ต้องไปสืบสวนด้วยซ้ำไป ขอให้ได้ยินว่าคนไทยอยากได้ปราสาทหิน วันนั้นคนเขมรจะเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาทันที ยิ่งคนไทยพูดว่าปราสาทพระวิหารเป็นของไทยยิ่งแล้วใหญ่ มันเหมือนราดน้ำมันลงบนกองเพลิง เพราะฉะนั้นก็ผสมผเสกันหลายอย่าง ความขัดแย้งจึงมีทีท่าที่จะลุกลาม เพราะมีประเด็นพ่วงค่อนข้างมาก ซึ่งประเด็นพ่วงที่เป็นปัญหาภายในของไทยก็มากอยู่ ความขัดแย้งภายในก็มากและเกือบจะเป็นกำลังขับที่สำคัญในความขัดแย้งครั้งนี้ด้วยซ้ำไป นั่นก็คือความขัดแย้งทางการเมืองภายใน บังเอิญว่ากลุ่มเสื้อแดงและทักษิณมีความสัมพันธ์อันดีกันมาก่อนกับกัมพูชา ซึ่งเปิดโอกาสให้ฮุนเซนเล่นการเมืองไทย ไม่บ่อยนักนะในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ที่ผู้นำกัมพูชาจะมีทักษะและมีความกล้าหาญมากที่จะเข้ามาเล่นการเมืองภายในของไทย แต่ก่อนมีแต่ฝ่ายไทยเป็นผู้เล่น เมื่อก่อนไทยสนับสนุนฝ่ายเขมรแดง ต่อต้านฮุนเซน นี่คือประวัติศาสตร์ช่วงความจำระยะสั้นนะ ไม่นับรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ไทยเข้าบุกยึด หนุนคนนั้นคนนี้ขึ้นเป็นกษัตริย์เพื่อสถาปนาอำนาจของสยามในกัมพูชา แต่ในยุคร่วมสมัยนี้ การที่ไทยสนับสนุนเขมรแดง เจ้าสีหนุต่อสู้กับฮุนเซน แล้วทำไมฮุนเซนจะจำเรื่องพวกนี้ไม่ได้ล่ะ เขาต้องจำได้สิ เพราะว่าเขาอยู่ในช่วงนี้ของประวัติศาสตร์ เขาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศมาก่อน ในช่วงที่ไทยสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของเขาตอนนั้นเราก็เชื่อว่าเวียดนามสนับสนุนฮุนเซนเพื่อต่อต้านไทย นั่นก็เป็นการเล่นการเมืองภายในของกัมพูชา เพราะฉะนั้น กลับกัน มาถึงยุคนี้เมื่อฝ่ายไทยแตกแยกบ้างเขาก็เห็นช่อง เรื่องนี้เบลมกันไม่ได้ ในกัมพูชาก็มีความขัดแย้ง เนชั่นสุดสัปดาห์ก็เพิ่งเขียนบทวิเคราะห์ไปว่าในกัมพูชาเองก็มีความขัดแย้งสูง คะแนนเสียงฮุนเซนกำลังตก แม่ทัพภาคสองบอกว่า กัมพูชาเสียดินแดนให้เวียดนามเยอะ มิติระหว่างประเทศล่ะ ดูเหมือนฮุนเซนมั่นใจว่าอาเซียนยืนอยู่ข้างตัวเองหรือเปล่า ความขัดแย้งในกัมพูชาไม่ได้มากนักหรอก เมื่อเทียบกับไทยแล้วปัญหานั้นไม่ได้ลึก ไม่ได้เป็นแรงขับที่รุนแรงอะไร ถ้าเทียบกับความปรารถนาที่จะหยุดปัญหาของฮุนเซน ถ้าเทียบกับไทย ความขัดแย้งของเขาไม่ลึกเป็นแค่การสร้างคะแนนนิยมเบาๆ ปีหน้ามีการเลือกตั้งท้องถิ่น อีกสองปีถึงจะมีเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา ไม่ใช่เวลานี้ เพราะฉะนั้นประเด็นพวกนี้เอามาวิเคราะห์ก็แค่ปลอบประโลมใจตัวเองไปแค่นั้นว่าเขามีปัญหานะ เขาถึงมาทะเลาะกับเรา แต่จริงๆ แล้วเราต้องดูตัวเองว่าเรามีปัญหามากกว่า ใครล่ะที่บอกให้รัฐบาลเอาเอฟ 16 ไปถล่ม ไม่ใช่คนไทยเหรอ ใครล่ะที่บอกให้รัฐบาลใช้กำลังทหารขับไล่ชุมชนกัมพูชาออกไปจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ก็คนไทย ใครล่ะบอกให้ยกเลิก MOU 2543 ก็คนไทยอีกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นแรงขับจากด้านนี้แรงกว่า แรงเกินกว่าจะไปอ้างหรือกล่าวโทษฝ่ายโน้นฝ่ายเดียวโดยลำพัง ประเด็นเรื่องกัมพูชามั่นใจในทางระหว่างประเทศมากกว่า สอง ไทยเป็นชาติใหญ่กว่า ก็เหมือนรถใหญ่ชนกะรถเล็ก รถใหญ่ผิด เป็นสามัญสำนึกทั่วๆ ไปกัมพูชามีทหารน้อยกว่า ฐานะเศรษฐกิจยากจนกว่า พึ่งพิงคนอื่นตลอดเวลา ยุทโธปกรณ์ก็ไม่ดีเท่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะมารบกับประเทศที่ใหญ่โตขนาดไทย เป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ เป็นผู้ก่อตั้งอาเซียน เพราะฉะนั้น ใครๆ ก็ยากที่จะเชื่ออย่างที่ที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของเราบอกว่าเราถูกรังแก คือมดคงไม่รังแกช้างกระมัง นี่เป็นธรรมดา เป็นเรื่องเข้าใจยากที่จะอธิบายให้สากลโลกเข้าใจ สาม กัมพูชามีพวกมากตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะเขาเป็นประเทศเล็กและมีปัญหามาตลอดประวัติศาสตร์ในช่วงความทรงจำระยะสั้น ปัญหากัมพูชาเป็น Global Issue มานานแล้ว ตั้งแต่เรื่องเขมรแดงเรื่องอะไร ประเทศนี้ตกอยู่ในชะตากรรมที่น่าสงสารมาตลอด เพราะฉะนั้นก็เป็นไปได้มากแม้พฤติกรรมส่วนตัวของฮุนเซนจะน่ารังเกียจ แต่ในแง่ความเป็นประเทศ กัมพูชาก็เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เป็นประเทศซึ่งถูกมหาอำนาจครอบงำมานาน มหาอำนาจซึ่งครอบงำมานานเขาก็คงเห็นใจมากกว่าจะเห็นใจไทย ไทยก็รู้ว่าอย่างไรฝรั่งเศสก็คงไม่เข้าข้างไทย ถ้าฝรั่งเศสเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในระยะเวลาเดือนสองเดือนนี้ โอกาสที่ไทยจะมีพวกก็น้อย และไทยก็มีพวกน้อยจริงๆ แม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้าน ลาวก็คงไม่เข้าข้างเรา ประเทศเพื่อนบ้านเราเขามองว่าไทยเป็นคนไม่น่ารัก เรามีปัญหากับเพื่อนบ้านรอบทิศ ถ้าไม่มีกับกัมพูชาเราก็อาจจะมีกับพม่าในเรื่องคล้ายๆ กันคือเรื่องเขตแดน จึงสามารถพิจารณาได้ว่าสุ้มเสียงของต่างชาติ แม้จะไม่มีใครพูดชัดเจนว่าเข้าข้างกัมพูชาอย่างโจ่งแจ้ง แต่หลายประเทศก็แสดงออกผ่านสื่อของเขา อย่างจีนก็ชัดเจนไปดูข่าวซินหัวสิ เวลาอภิสิทธิ์ด่าฮุนเซนลงนิดเดียว แต่เวลาฮุนเซนด่าอภิสิทธิ์ลงเสียยืดยาวทุกคำพูด แปลว่าสื่อบ้านเราบางสำนักก็ประเมินผิดว่าจีนน่าจะอยู่ข้างไทยมากกว่า คุณบอกว่าฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่ในรัฐบาลขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่เมื่อต้นปี อภิสิทธิ์ก็เคยพูดว่าต้องพัฒนาพื้นที่ร่วมคล้ายๆ กับที่นพดลเคยพูดว่าต้องพัฒนาร่วมกัน เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะทำให้รู้สึกดีๆ ที่เรามีต่อปราสาทพระวิหารของเรายังคงอยู่ ก็มีแต่ต้องญาติดีกับกัมพูชาเพื่ออย่างน้อยที่สุด ก็คือแผนการแนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันซึ่งมีการวางแผนมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณและขิงแก่แล้วล่ะ ก็คือการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน แล้วไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก คือมีชิ้นที่เป็นปราสาทและชิ้นที่เป็นบริวาร เช่น สถูป ซึ่งอยู่ใกล้ไทยมาก แม้จะไม่สามารถเถียงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ทะเลาะไม่ขัดแย้งกัน ข้อเสนอเดิมคือกัมพูชาเป็นผู้เสนอหลักเอาตัวปราสาทขึ้นทะเบียน แล้วไทยก็พัฒนาพื้นที่ข้างล่างแล้วเอาไปจดทะเบียนอีกชิ้นหนึ่งคู่กันและบริหารร่วมกัน ซึ่งถ้าความสัมพันธ์ดีก็ทำได้ แต่บังเอิญว่าฝ่ายฮาร์ดคอร์อนุรักษนิยมปีกหนึ่ง บอกว่าไม่ได้ เราอยากจะร่วมในทรัพย์สินซึ่งเป็นของกัมพูชาชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว เขาคงไม่ยอม แล้วเราก็ไปพูดเพ้อเจ้อว่าเขาไปขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวโดยเราไม่ได้ เราต้องแบ่งพื้นที่ ไม่...เราไม่ได้ตกลงกันอย่างนั้น ตอนสมัยขิงแก่ ที่ตกลงกันที่ไครซ์เชิร์ช ก็ตกลงกันว่าไทยจะเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันให้กัมพูชาเป็นฝ่ายจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ นั่นคือข้อตกลง แต่ไม่รู้ใครเป็นผู้เอามาบิดเบือนว่ากัมพูชาไม่ยอมให้เราขึ้นทะเบียนร่วมเขาไม่เคยพูด ขึ้นร่วมไม่ได้ แต่เอาไปขึ้นทะเบียนชนกันได้ เหมือนน้ำตกอีควอซูระหว่างบราซิลกับอาร์เจนตินาต่างขึ้นทะเบียนคนละครึ่งแบบนั้นทำได้ แต่ไม่ใช่การเคลมว่าเราจะไปขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารร่วมกัน เวลาอธิบายจึงต้องชัดเจน ว่าขึ้นทะเบีบนร่วมคือการทำอย่างไร คนก็ยังเข้าใจผิดอยู่นะ นักข่าวก็ยังเขียนผิด ว่าเขาไปขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว ก็ต้องเป็นฝ่ายเดียวอยู่แล้ว ก็มันเป็นของเขาน่ะ ไม่มีฝ่ายอื่น แต่การขึ้นทะเบียนโดยเอาส่วนของเราไปขึ้นทะเบียนบ้าง นั่นก็ทำได้ แต่เมื่อไม่อธิบาย ทำให้คนคลุมเครือ ทำให้คนรู้สึกเกลียดกัมพูชาว่ามันเห็นแก่ตัว เอาไปขึ้นฝ่ายเดียว ทางขึ้นก็ไม่มี มันเข้าใจผิดทั้งเพ เขาก็ทำถนนขึ้นเราก็ทำถนนขึ้น ทางขึ้นฝ่ายกัมพูชาก็มี สื่อกัมพูชาบอกว่าทหารไทยไม่ยอม ขณะที่รัฐบาลไทยน่าจะพยายามเจรจามากกว่า แต่ทหารไทยไม่ชิน ไม่เคย เราเคยแต่ไปดูกิจการของประเทศอื่น เราไม่เคยต้องเปิดบ้านให้คนอื่นดู ถือเป็นเรื่องน่าอายของทหารไทย เขาก็รับไม่ได้ ไม่ได้ตกลงกับรัฐบาลหรือกระทรวงการต่างประเทศก่อน กระทรวงการต่างประเทศเป็นคนไปว่าเอง ทีแรกกระทรวงฯ ต้องการบลัฟกัมพูชา เพราะตอนแรกกัมพูชาเสนอให้มีผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าไปรักษาสันติภาพ คุณกษิตก็ไปเสนอใหม่เป็นการบลัฟโดยเสนอให้ผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดเป็นผู้สังเกตการร์ร่วมกับทหารไทย เข้าใจว่าบลัฟกัมพูชา เข้าใจว่าคุณกษิตยังไม่ได้ปรึกษากับกองทัพ กัมพูชาก็รับ ไทยก็รับแต่พอกลับมาบ้าน กองทัพไทยบอกว่าเขาต้องมี Final State ในพื้นที่ที่เขาดูแล นี่คือกองทัพ ก็เป็นไปได้ที่กัมพูชาจะรู้สึกว่าไทยไม่มีอำนาจเต็ม Full Mandate เจรจากับเขาแล้ว ตกลงกับเขาแล้วก็ทำไม่ได้ ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ อินโดนีเซียก็โมโหกับท่าทีของไทยมาก จนบัดนี้ก็ยังส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาไม่ได้ จนกระทั่งรบกันครั้งหลังเพิ่มขึ้นอีก แนวรบจะขยายไปเรื่อยๆ เราขัดแย้งตรงเขาพระวิหาร แต่ล่าสุดปะทะกันในพื้นที่ห่างออกมาถึง 140 กม. ทำไมจึงออกมาไกลขนาดนี้ เหตุที่สองที่มันขยายการปะทะมาก็เป็นเพราะว่า ฝ่ายกัมพูชาต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่ไทยไม่รับผู้สังเกตการณ์เสียทีมันจะไม่มีสันติภาพที่ถาวร แปลว่าความขัดแย้งจะขยายไปที่ไหนก็ได้ ไม่มีใครรู้ พูดแบบนี้ก็แปลว่าครั้งนี้กัมพูชาเริ่มก่อน ทหารไทยไม่ชินกับการที่ให้คนอื่นเข้ามาแทรกแซง อยากกลับไปสู่คืนวันที่กำหนดทิศทางได้ แต่ถ้ามองไปที่ประชาคมอาเซียนจะสามารถเข้ามามีบทบาทได้หรือไม่ แต่พอถึงเวลามีปัญหาเราก็ไม่อยากให้องค์กรนี้เข้ามายุ่มย่ามกิจการภายในของเรา ก็เป็นข้อที่อิหลักอิเหลื่อมาก และสังเกตได้ในเรื่องของความลงตัวไม่ลงรอย กัมพูชาซะอีกที่ยังมีสปิริตกว่า เพราะว่ามีปัญหาก็เอาไปให้อาเซียน ไทยกลับรู้สึกว่านี่เป็นการฉีกหน้าไทยทำไมต้องให้อาเซียนเป็นคนไกล่เกลี่ย อ้าว ก็ไทยบอกว่าอาเซียนเป็นองค์กรของภูมิภาคไม่ใช่เหรอ เป็นครอบครัวเราไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่ให้อาเซียนเป็นคนไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งนี้ล่ะ กัมพูชาไปถึงยูเอ็น ยูเอ็นก็บอกว่าให้อาเซียนทำ อาเซียนก็บอกจะส่งกำลังเข้ามารักษาสันติภาพ พอถึงวัน ไทยก็บอกว่าเรารับไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไทยเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนนะ เราทำใจไม่ได้ที่จะมีคนอื่นมาดูแลกิจการความขัดแย้ง ไทยอาจจะรู้สึกว่าเราเป็นพี่เบิ้ม เราเป็นผู้ใหญ่ แต่มันน่าอายที่ผู้ใหญ่ต้องตอแยกับเด็กแล้วมีผู้ใหญ่อีกคนมาบอกว่าเฮ้ย ทะเลาะกับเด็กนะเว้ย ผมว่าไทยรับไม่ค่อยได้ที่จะให้เกิดสภาพแบบนั้น โดยเฉพาะให้อินโดนีเซียทำยิ่งแล้วใหญ่เลย อินโดนีเซียมีความชำนาญเรื่องนี้เพราะว่าเขาทำเรื่องนี้ร่วมกับไทยมาก่อน ในฐานะที่เป็นประธานอาเซียนตอนนี้ เขาก็อยากให้อาเซียนมีบทบาทนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ไทยไม่ให้ความร่วมมือเพราะบังเอิญว่าเป็นปัญหาของไทยโดยตรง แต่ก่อนนั้นเป็นปัญหากัมพูชากับเวียดนาม คุณมองกัมพูชาในแง่ดีเกินไปหรือเปล่าในแง่ที่เขามีสปิริต จริงๆ แล้วเพราะเขาเป็นประเทศเล็กเขาจึงต้องหาที่พิง ในการประชุมอาเซียนที่จะมีการสร้างองค์กรสร้างสันติภาพจะเป็นไปได้หรือไม่ คืออาเซียนถ้าสมาชิกทุกคนยอมรับนับถือว่าเป็นองค์กรที่จะช่วยแก้ปัญหาได้และยอมให้แก้ปัญหา แต่ตอนนี้ถ้าปัญหาของเพื่อน เรายินดีให้เขาไปแก้ แต่ปัญหาของเราเราไม่ยอม แบบนี้ก็แย่ อย่างกรณีพม่า เราก็บอกให้อาเซียนแก้ปัญหา พม่าก็ไม่เอา สามจังหวัดภาคใต้ ไทยจะยอมไหม ก็เหมือนกันแหละ ประเทศไทยและประเทศส่วนใหญ่ของอาเซียนไม่ชินให้คนอื่นแก้ปัญหา แต่กัมพูชาชินกับการให้คนอื่นแก้ปัญหาให้ ชินกับการวิ่งหาคนนั้นคนนี้ให้คนอื่นแก้ปัญหาให้มาตลอด การเจรจาหยุดยิง แล้วยังยิงกันอยู่ ทหารไทยก็เข้าใจนั่นแหละไม่งั้นคงไม่ด่ากัมพูชา นี่คือพยายามดิสเครดิตกัน “ตกลงกันแล้ว ทำไมยังยิงอยู่” นี่เป็นแท็กติก แบบยิงไปด้วยเจรจาไปด้วย เป็นวิธีการที่ประเทศในอินโดจีนถนัด เป็นการต่อสู้แบบจรยุทธ์ ไม่ใช่สงคราม จริงๆ แล้วเป็นการปะทะตามแนวชายแดนเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ดีกว่าในการควบคุมชายแดน ไทยก็อยากได้ภูมะเขือไว้ควบคุมชายแดน แล้วทำไมถึงคิดว่าเขมรไม่อยากได้ พื้นที่ตรงนั้นยังเบลอไม่รู้ว่าของใคร? การปะทะจะยืดเยื้อ? ในเมื่อกัมพูชาเป็นประเทศเล็ก ทหารอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่พอ แล้วกัมพูชาจะได้อะไรหากปะทะกันไปเรื่อยๆ อาเซียนก็ยื่นมือเข้ามาช่วยไม่ได้ ฝ่ายเราหรือฝ่ายเขาที่คิดอย่างนี้ เวลาวิเคราะห์ว่าไทยมีแสนยานุภาพมากกว่าก็จริง กำลังพลดีกว่า อาวุธดีกว่า แต่ต้นทุนการรบของเราแพงพอๆ กับสหรัฐ เพราะอะไร ประชาชนไทยบริเวณแนวชายแดนทำมาหากินได้วันนึงไม่น้อย ถ้าเขาหยุดทำมาหากินสักหกเจ็ดวัน เขาต้องของบประมาณมาสนับสนุนแล้วล่ะ เดี๋ยวนี้รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณไปเป็นพันๆ ล้านแล้วล่ะ สวนยางสวนหนึ่งแปดพันบาท ต้นยางหักต้นนึงก็แปดพันบาทนะ ทำบังเกอร์อันละแสนสอง ทำไปหลายร้อยอันแล้วล่ะ มันใช้เงินมากในการจัดการปัญหาข้อพิพาท ในขณะที่กัมพูชานั้น ผมยังไม่เห็นทำบังเกอร์ให้ประชาชนกัมพูชาสักอันเดียว แล้วประชาชนกัมพูชาหาได้ไม่เกินวันละสองดอลล่าร์สหรัฐ ในขณะที่ไทยหาได้เอาแค่กรีดยางวันหนึ่งเป็นพันบาทหยุดไปเจ็ดวันก็เจ็ดพันบาท ต้นทุนของไทยน่ะแพง ไอ้ความที่เขาจนต้นทุนเขาก็ถูกด้วย ถ้าพิจารณาแบบนี้แล้วเขาสูสี ผมยังคิดได้เลย ฮุนเซนมันเก่งกว่าผมตั้งเยอะ ฉันยิงไปลูกหนึ่งแกยิงมาสิบ แปลว่าไทยหมดไปสิบแล้ว เขมรหมดไปลูกเดียวนะ นี่เป็นแท็กติกทางการทหารแล้ว ในขณะที่ไทยออกข่าว โอ้โห ทหารเขมรตายสามร้อยแล้ว สามร้อยนี่กองพันหนึ่งแล้วนะ แล้วทำไมมันยังไม่หยุด แปลว่ายังไม่หมด แปลว่ายังรบต่อไปได้อีก ฉะนั้นต้องคำนวนแล้วแหละว่าใครจะทนความสูญเสียได้มากกว่ากัน ประเทศกัมพูชาผ่านความสูญเสียอันมากมายมหาศาลมาแล้ว เขายังทนได้ ฆ่ากันล้านเจ็ดยังทนมาได้ ของไทยเคยฆ่ากันได้ถึงล้านเจ็ดหรือเปล่า เราไม่เคยฆ่ากันถึงล้านเจ็ด เดี๋ยวเราต้องเรียกร้องให้หยุดสงครามแน่นอน เพราะไทยคงทนไม่ไหว
สื่อไทยเสนอข่าวเรื่องโล่มนุษย์ ไทยใช้คลัสเตอร์บอมบ์ไหม
สอง ต้องไปผลักดันอาเซียนทำแพลทฟอร์มการเจรจายุติความขัดแย้งนี้ได้จริงๆ สุดท้ายทหารไทยอาจจะต้องยอมให้มีผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียเข้ามาประจำการสักห้าหกเดือน เขาก็คำนวนแล้วแหละสักห้าหกเดือนก็คงหยุด สาม อ้างเหตุยุติ เพราะกัมพูชาให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ก่อน ก็อาจจะเป็นเหตุให้หยุดได้ทั้งสองฝ่าย โดยไม่เสียหน้า เพื่อรอฟังคำพิพากษาก่อน คือการรบไปแล้วหยุดก่อนก็เสียหน้า ไทยก็อาจจะมีเหตุว่าถ้าอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง การเลือกตั้งของไทยอาจจะเป็นเหตุยั่วยุให้กัมพูชารุกมากขึ้นก็ได้ แต่เขมรไม่มีศักยภาพพอที่จะรุกมาถึงกรุงเทพฯ เขาอาจจะยิงมา แล้วไม่ยิงกลับไป เขาก็ยิงได้ไม่กี่นัด แบบนั้นจะยุติเร็วกว่า แต่ถ้าเขายิงมาหนึ่งเรายิงไปสิบ แรงมาแรงไปก็หยุดยาก เป็นไปได้ว่าจะต้องหาคนกลางเข้ามา ก็อาจจะยุติกันได้ ตอนนี้ก็เพียงแต่ว่าทำให้คนกลางเข้ามาให้เร็วขึ้น รัฐบาลไทยก็คงต่อต้านเรื่องนี้ยาก เพราะบังเอิญหลวมตัวตกลงไปแล้วอย่างน้อยวันอังคารนี้ก็ต้องพูดกันแล้ว ครม. ก็คงต้องตัดสินใจก่อนยุบสภา หรืออาจจะอาศัยเหตุที่จะยุบสภาแล้ว ก็เลยไม่ตัดสินใจโยนภาระให้รัฐบาลใหม่ อาจจะทำอย่างนั้นก็ได้ ถ้ามั่นใจว่าตัวเองจะไม่กลับมา เพื่อจะได้บลัฟกันในวันสุดท้ายว่าแกเป็นคนสร้างสงครามไม่ใช่ข้า เหมือนกรณีให้ศาลตีความแผนที่หนึ่งต่อสองแสน ซึ่งคงตีความในรัฐบาลนี้ไม่ทัน แล้วรัฐบาลหน้าเข้ามาก็โป๊ะเชะ ก็มีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะไม่ตัดสินใจ ความขัดแย้งนี้จะส่งผลต่อการเมืองไทยแค่ไหน วาทกรรมเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าไม่มีพลังหรือ แต่จริงๆ แล้ววาทกรรมสนามรบเป็นสนามการค้ายังมีพลังอยู่ วันก่อนหอการค้าไทยออกข้อเสนอมาชุดหนึ่ง เป็นชาติชายกลับชาติมาเกิดเลย คือบอกว่า อย่าไปด่าว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่าปิดด่าน อย่าตัดน้ำตัดไฟเขา เราค้าขายกว่าแปดหมื่นล้าน เขาไม่เสียมาก แต่เราเสีย รัฐบาลก็คงคำนวณเรื่องนี้แหละ กษิตก็คงอยากปิดด่านจะแย่ อยากจะปิดด่านใจจะขาด แต่ถ้าทำก็เหมือนยิงปืนใส่หัวแม่เท้าตัวเอง ถ้าคุณปิดด่านกัมพูชาการค้าขายเป็นหมื่นๆ ล้านของคุณก็จะหายไปเลย ยังไม่นับว่าตลาดของคุณจะถูกจีน เวียดนาม เกาหลีใต้แซงขึ้นมา ไอ้เรื่องทำให้เขมรรักไทยก็คงทำไม่ได้ แต่อย่าทำให้เขาเกลียดมากขึ้นก็จะดี สื่อไทยถามทหารว่าไทยตั้งรับมากเกินไป สื่อบางที่ก็อธิบายว่าสงครามครั้งนี้เกิดจากการพยายามผลักดันลูกชายฮุนเซนขึ้นมา แล้วลูกชายเขาเก่งหรือเปล่า
เซนส์ของเรื่องการเอาพื้นที่คืน หรือการเอาปราสาทคืนนั้นในทางปฏิบัติมันทำยาก ถ้าเราไม่มีคำพิพากษาศาลโลก อาจจะโน้มน้าวคนไทยได้มากกว่านี้ แต่บังเอิญสิ่งที่พูดมันขัดแย้งกับข้อเท็จจริง คือถ้าไม่มีคำตัดสินศาลโลกหรือไม่มีคดีกันมาก่อน ก็คงพอจะพูดได้ ใช้กำลังยึดก็คงได้ ชอบธรรมที่จะทำ แต่ตอนนี้ก็ยาก แค่พูดแผนที่สองสามตัวคนก็งงตายห่าแล้ว ทั้งสันปันน้ำ ทั้งแผนที่ ไอ้คนพูดก็ไม่เคยเห็นสันปันน้ำว่าหน้าตาเป็นยังไง ยังไม่นับการไปยกข้อโต้แย้งที่ศาลโลกตีตกไปหมดแล้วมาเป็นข้ออ้าง ก็เลยถูกอีกฝ่ายโต้แย้งตลอดเวลา พธม. พยายามทำให้เข้าใจว่าทำงานให้ข้างบน? แต่ที่สำคัญ คือ พธม.เสนอทางออกไม่ได้ เสนอได้ไม่ดี เช่น การกลับมาพูดเรื่องมาตรา 7 อีกครั้ง พวกอีลิทเขาก็ถามว่าแล้วจะเอาเทวดาที่ไหนมาเป็นนายกฯ อภิสิทธิ์ก็ดีที่สุดแล้ว ชาติตระกูลดี การศึกษาดี หน้าตาดี ปัญหาของอีลิทคือไม่มีตัวเลือกที่จะโน้มน้าวให้ประชาชนทั้งมวลเห็นว่าคนของตัวเองเจ๋ง ถึงที่สุดก็คงไม่สามารถหาเทวดาที่ไหนมาปกครองประเทศนี้ได้ ถ้าข้อเสนอมาตรา 7 เป็นเรื่องใช้ได้จริง การปฏิวัติ 2549 ก็คงจะสวยงามกว่านี้ ให้ผลที่ดีกว่านี้ คุณไม่มีทางที่จะหาผู้นำที่เลิศเลอนำพาประเทศไปได้หลังทำความเสียหายครั้งใหญ่ ความคิดเรื่องการทำความสะอาดทางการเมือง ยิ่งทำก็ยิ่งเลอะ ข้อเสนอนี้ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจแล้วว่าทำไม่ได้ และเป็นข้อเสนอที่ไม่ accommodate ความเห็นอื่นๆ คุณจะทำอย่างไรกับเสื้อแดงล่ะ คุณไม่มีทางทำให้เสื้อแดงศิโรราบได้ คุณก็อยู่ยาก คุณไม่สามารถจะยิงแล้วยิ้มได้ตลอดเวลา ครั้งหน้าคุณยิงแล้วอาจจะยิ้มไม่ได้ก็ได้ ยิงแล้วมันยังไม่ตายนี่แหละเป็นปัญหาใหญ่ ถ้าตายหมดก็ง่าย แต่นี่ไม่ตายแล้วมีแนวโน้มโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดแล้วเสื้อแดงจะไม่ต่อต้านแค่รัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่จะต่อต้านทั้งระบบ ก็จะยุ่งกันใหญ่นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากกว่า ปัญหาปะทะกับกัมพูชาเป็นเงื่อนไขให้รัฐประหารได้ไหม ฮุนเซนอาจร่วมมือกับทักษิณโจมตีชายแดนไทย แต่ถ้าการรัฐประหารโดยฝั่งตรงข้ามทักษิณล่ะ ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจแย่ลงล่ะ กองกำลังเวียดนามเข้ามาหนุนกำลังให้กัมพูชาจริงหรือเปล่า แต่มีข่าวออกมาว่าเวียดนามหนุนกัมพูชา การชูประเด็นเขาพระวิหารของ พธม. แป้ก แต่ทำไมยังเกิดการปะทะได้ จริงๆ เดิมพื้นที่นั้นก็ไม่มีทหาร แต่บังเอิญ ผบ. กองกำลังสุรนารี ขึ้นไปช่วยพวกธรรมยาตราและถูกจับ กองกำลังสุรนารีก็มีเหตุจากการตามไปช่วยแล้วก็ตรึงกำลังอยู่นับแต่นั้นมา ความขัดแย้งเกิดจากการเมืองภายในของไทยโดยตรงเลย พูดอย่างนั้นได้ไหม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่ม article 112 ออกแถลงการณ์กรณี ‘สมยศ’ ค้านการใช้กฎหมายหมิ่นฯ คุกคามประชาชน Posted: 02 May 2011 01:14 AM PDT เมื่อวันที่ 1 พ.ค.54 ‘กลุ่ม มาตรา 112: รณรงค์เพื่อการตื่นรู้’ ออกแถลงการณ์กรณีการจับกุม สมยศ พฤกษาเกษมสุข พร้อมผู้ร่วมลงชื่อ 112 คน 00000000000000 แถลงการณ์: คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย “กฎหมายหมิ่นฯ” (กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข ) นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา 27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL) วันเดียวกัน ได้มีรายงานข่าวการพิจารณาคดีลับที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ กับนายทหารอากาศยศนาวาอากาศตรีซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดี จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่าทหารอากาศนายนี้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของตนที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ล่าสุด วันที่ 30 เมษายน ได้มีการจับกุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โดยไม่ให้ประกันตัวใดๆ นอกจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของคดีตามมาตรานี้ ที่มีอัตราโทษสูงแต่ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้อำนาจการฟ้องร้องอย่างกว้างขวาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวซึ่งกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดง ความเห็นตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ยังมีความกังวลต่อวิธีการบังคับใช้กฎหมายทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการไต่สวนคดี อีกด้วย อาทิ การพิจารณาคดีลับ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวดตามกฎหมายสูงสุดที่มีอยู่ โดยก่อนหน้ากรณีนายทหารอากาศ ก็ได้มีการใช้ในคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" เป็นจำเลย จนต่อมาศาลอุทธรณ์ก็ได้ยกคำสั่งลงโทษและให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนกรณีของดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รวมถึงผู้โพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันนั้น ซึ่งเข้าข่ายคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และล่าสุด กรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคัดค้านการให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเกรงจำเลยจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่หมายจับในคดีนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่เคยแสดงท่าทีว่าจะหลบหนีแต่อย่างใด กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. หยุดใช้มาตรา 112 คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินชีวิตตามปรกติ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวเพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎหมายความมั่นคง เพื่อปราบปรามความเห็นต่าง นอกจากจะหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ห้ามการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ทำได้ "เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้" แล้ว ยังขัดกับหลักกฎหมายสากล เช่น ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ที่คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วย ทั้งนี้ รัฐพึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งเสริมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มิใช่ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการดำเนินคดีมาสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว แก่ประชาชน อย่างที่เป็นอยู่ 2. ในภาวะที่ยังคงกฎหมายนี้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ควรเปิดเผยกระบวนการสืบสวนสอบสวนและพิจารณาคดีที่เกี่ยวเนื่องให้สาธารณชนรับทราบ และควรมีการออกหมายเรียกก่อนตามกระบวนการดำเนินคดีปรกติ แทนการออกหมายจับหรือเข้าจับกุมทันที 3. การพิจารณาคดีลับพึงเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวด ไม่ควรอ้างเหตุจำเป็นต้องใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อย่างที่มักอ้างว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน 4. การปฏิบัติตามกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process) เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความรู้สึกที่เป็นธรรมทั้งของผู้ถูกกล่าวหาและสังคมทั่วไป แต่ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ มักถูกหน่วยงานรัฐคัดค้านการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว โดยมักอ้างว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีและ/หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ดังนั้น ทางกลุ่มฯ จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณากรณีเหล่านี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักการขั้นต้นเป็นสำคัญ 1 พฤษภาคม 2554 กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้"(Article 112 Awareness Campaign) และผู้ที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์ข้างต้น ดังรายชื่อต่อไปนี้: 1. ขวัญระวี วังอุดม 2. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ 3. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ 4. กานต์ทัศนภักดิ์ 5. นภัทร สาเศียร 6. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ 7. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 8. จีรนุช เปรมชัยพร 9. อธิคม จีระไพโรจน์กุล 10. พรเทพ สงวนถ้อย 11. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 12. อนุสรณ์ อุณโณ 13. ชลิตา บัณฑุวงศ์ 14. สุลักษณ์ หลำอุบล 15. อัญชลี มณีโรจน์ 16. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร 17. อดิศร เกิดมงคล 18. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ 19. พัชรี แซ่เอี้ยว 20. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 21. นิพาดา ทองคำแท้ 22. ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ 23. ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ 24. วิจักขณ์ พานิช 25. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ 26. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ 27. ชัยธวัช ตุลาธน 28. วันรัก สุวรรณวัฒนา 29. ไชยันต์ รัชชกูล 30. เตือนสิริ ศรีนอก 31. ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ 32. ดวงฤทัย เอสะนาชาต้ง 33. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ 34. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ 35. ศราวุฒิ ประทุมราช 36. สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ 37. ประวิตร โรจนพฤกษ์ 38. สุภิตา เจริญวัฒนมงคล 39. รวินทร์ คำโพธิ์ทอง 40. อังคณา นีละไพจิตร 41. สุธารี วรรณศิริ 42. ลักขณา ปันวิชัย 43. สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง 44. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ 45. รจเรข วัฒนพาณิชย์ 46. เอกฤทธิ์ พนเจริญสวัสดิ์ 47. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว 48. จิตรา คชเดช 49. วิภา มัจฉาชาติ 50. เนติ วิเชียรแสน 51. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข 52. ธนาพล อิ๋วสกุล 53. มานา ชุณห์สุทธิวัฒน์ 54. วธู ชุณห์สุทธิวัฒน์ 55. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป 56. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ 57. วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง 58. ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล 59. สุวิทย์ เลิศไกรเมธี 60. จิราพร กิจประยูร 61. สุริยะ ครุฑพันธุ์ 62. อภิณัฐ ภู่ก๋ง 63. ดิน บัวแดง 64. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู 65. ณัฐนพ พลาหาญ 66. อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา 67. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ 68. อุเชนทร์ เชียงเสน 69. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช 70. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง 71. เทวฤทธิ์ มณีฉาย 72. ดวงใจ พวงแก้ว 73. ธีระพล คุ้มทรัพย์ 74. ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ 75. ตากวาง สุขเกษม 76. สุดา รังกุพันธุ์ 77. เทพฤทธิ์ ภาษี 78. คมลักษณ์ ไชยยะ 79. เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร 80. ธีรวรรณ บุญญวรรณ 81. ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ 82. ปุณณวิชญ์ เทศนา 83. ธัญสก พันสิทธิวรกุล 84. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์ 85. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย 86. อาทิชา วงเวียน 87. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ 88. พวงทอง ภวัครพันธุ์ 89. จอน อึ๊งภากรณ์ 90. สมฤดี วินิจจะกูล 91. ตฤณ ไอยะรา 92. นิรมล ยุวนบุณย์ 93. ธนศักดิ์ สายจำปา 94. นันทา เบญจศิลารักษ์ 95. สุรชัย เพชรแสงโรจน์ 96. ศราวุธ ดรุณวัติ 97. สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ 98. แดนทอง บรีน 99. ประทับจิต นีละไพจิตร 100. สุชา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 101. ทองธัช เทพารักษ์ 102. กิตติเดช บัวศรี 103. ธิติ มีแต้ม 104. หทัยกานต์ สังขชาติ 105. ธีรมล บัวงาม 106. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ 107. วิทยา พันธ์พานิชย์ 108. Tyrell Haberkorn 109. นพพร พรหมขัติแก้ว 110. ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ 111. จรินพร เรืองสมบูรณ์ 112. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ฝากขังผลัดแรก ศาลไม่ให้ประกัน ‘สมยศ’ คดีร้ายแรง เกรงหลบหนี Posted: 01 May 2011 11:57 PM PDT 2 พ.ค.54 เวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขัง นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เป็นผลัดแรก และผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาในเวลาประมาณ 13.30 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งศาลโดยระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง ตามข้อหาเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชาอาณาจักร และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนโดยรวม ประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมขณะกำลังจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ถือว่ามีพฤติกรรมหลบหนี หากให้ปล่อยชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ยกคำร้อง นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความของสมยศ กล่าวว่า การยื่นประกันชั้นศาลยังคงใช้หลักทรัพย์เดิมคือเงินสด 1.6 ล้านบาท และเมื่อศาลยกคำร้อง คงต้องหารือทีมทนายในการดำเนินการต่อไป คาดว่าจะมีการทำคำโต้แย้งว่าไม่ใช่พฤติการณ์หลบหนี แต่ผู้ต้องหามีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพราะจัดทัวร์ และเป็นการไปทุกเดือน ไม่ใช่ครั้งแรก อีกทั้งการไปครั้งนี้ยังมีการโฆษณาในนิตยสารเรด พาวเวอร์ มีกำหนดการไป 30 เม.ย.-3 พ.ค. วันนี้ (2 พ.ค.)ทีมงานต้องนำลูกทัวร์ไปก็ยังไม่กลับ "ฝ่ายรัฐพยายามกว้านจับคดีนี้เยอะมาก ทั้งแกนนำนปช. หรือแม้แต่ประชาชนคนเล็กคนน้อย ที่เป็นข่าวก็เยอะ ที่ไม่เป็นข่าวก็เยอะ กรณีของคุณสมยศ หมายจับออกนานแล้ว ถ้าจะจับจริง เขาก็อยู่สำนักงานที่อิมพิเรียลตลอด แถลงข่าวก็หลายครั้ง ทำไมต้องไปจับที่ด่าน" ทนายความกล่าว ทั้งนี้ สมยศ ถูกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) จับกุมและแจ้งข้อหาความผิดหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.และนำไปควบคุมตัวที่กองปราบฯ 48 ชั่วโมง ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำตัวมายื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลในวันนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น