โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าเรียกร้องอาเซียนเคลียสิทธิมนุษยชนในพม่าก่อนยอมนั่งประธาน

Posted: 03 May 2011 11:18 AM PDT

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2547 โดยสมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกแถลงการณ์ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2554 เรียกร้องอาเซียนนำปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอด คัดค้านคำร้องขอเป็นประธานอาเซียนของพม่า เรียกร้องรัฐบาลไทยระงับการพิจารณาส่งกลับผู้ลี้ภัยจากพม่าที่อาศัยอยู่ในแผ่น ดินไทยในทันที

0 0 0

 

แถลงการณ์กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า 
ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
กรุงจาการ์ตา, 6-8 พฤษภาคม 2554

 

พม่าต้องสร้างประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมก่อนก้าวสู่ประธานอาเซียน
กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (ASEAN Inter-Parliamentary Myanmar Caucus หรือ AIPMC) เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปฏิเสธคำขอของรัฐบาลพม่าในการขึ้นเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ.2557 จนกว่ารัฐบาลพม่าจะทำการ ปฏิรูปสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียก่อน

การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2553 ในประเทศพม่า ไม่ใช่ขั้นตอนที่นำไปสู่สันติภาพและประชาธิปไตย รัฐสภาใหม่ของพม่ายังคงอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของทหารซึ่งยังคงกุม อำนาจนอกรัฐสภาที่สำคัญและสามารถเข้าถึงกองทุนพิเศษสำหรับกองทัพได้ ดังจะเห็นได้จากการออกกฏหมายลักษณะเกณฑ์ทหารฉบับใหม่ก่อนที่รัฐสภาใหม่จะเปิดสมัยประชุม นอกจากนี้ การสู้รบที่เริ่มต้นอีกครั้งในพื้นที่ชายแดนและการที่กองทัพพม่าใช้กลยุทธ์ "ตัดสี่” สร้างความหวั่นเกรงว่าจะเกิดอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยในพม่า

พม่าต้องปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดอย่างเร่งด่วน หยุดทำร้ายกลุ่มชาติพันธ์ ดำเนินการเจรจาที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน เพื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านที่แท้จริงไปสู่ประชาธิปไตย และการเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนในประเทศ

การกดขี่ในพม่าทำให้ความน่าเชื่อถือของอาเซียนมีจุดด่างพร้อยและจะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของ อาเซียนในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนควรพิจารณาขับพม่าออกจากสมาชิกภาพขององค์กรด้วยเหตุที่พม่าละเมิดกฏบัตรอาเซียนอย่างรุนแรง 

 
AIPMC ขอเรียกร้องให้อาเซียนปฏิบัติต่อพม่าด้วยความกล้าหาญยิ่งกว่าเดิมด้วยการนำสถานการณ์ภายในพม่าเข้าสู่วาระการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและเป็นระบบ ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพม่า เราขอวอนต่อรัฐบาลไทยโดยเฉพาะ ให้ระงับการพิจารณาส่งกลับผู้ลี้ภัยจากพม่าที่อาศัยอยู่ในแผ่น ดินไทยในทันที และที่สำคัญที่สุด เราขอให้อาเซียนสนับสนุนการก่อตั้งคณะกรรมมาธิการไต่สวน (Commission of Inquiry) นำโดยสหประชาชาติ เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพม่า เพื่อสร้างความมั่นใจว่าภูมิภาคนี้จะไม่ทนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการงดเว้นโทษแก่ผู้กระทำความผิดในพม่าอีกต่อไป และเพื่อกดดันให้พม่าจัดทำกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อจะนำประเทศไปสู่ ประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (Inclusive Democracy)

 

โดยมติการประชุมคณะกรรมการ AIPMC
ณ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 30 เมษายน 2554

 

..............................................
กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยสมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสนใจและ มีอุดมการณ์ร่วมกันในการติดตามกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศพม่ากลุ่มหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ปัจจุบันมีสมาชิกจาก 6 ประเทศคือ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บก.ลายจุด: พี่สมยศในทัศนะ NGOs รุ่นน้อง

Posted: 03 May 2011 10:41 AM PDT

 
 
ผมรู้จักพี่สมยศมาประมาณ 20 ปีที่แล้ว พี่เขาเป็น NGOs สายแรงงาน ผมได้รับการติดต่อให้ไปช่วยอบรมการละครให้กับคนงานย่านรังสิต เนื่องในโอกาสวันแรงงานซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีกิจกรรมทุกปี
 
การไปช่วยงานพี่สมยศทำให้ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ กับคนงานที่ได้ค่าแรงต่ำสุดในระบบแรงงาน เวลาพวกเขาพูดถึงค่าแรงที่ควรจะได้เพิ่มสัก 3-5 บาทต่อวัน เป็นความรู้สึกที่สุดบรรยาย เพราะดูมันจะสำคัญกับคนงานเหล่านั้นมาก 
 
ผมได้เรียนรู้ว่า นายจ้างต้องการเพียงแค่ให้คนพอมีเงินประทังชีวิตไม่ตายแล้วยังมาเป็นแรงงานให้พวกเขา
 
คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำงานไปหลายปีไม่สามารถตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งตัวได้ เพราะถูกใช้ให้ทำหน้าที่เฉพาะส่วน ใครติดกระดุมก็ทำไป ใครใส่ปกก็เย็บตรงนั้น ดังนั้นแรงงานเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นแรงงานมีฝีมือ
 
เงินที่จะทำให้เขาพอมีใช้จ่ายมากขึ้นก็ต้องแลกด้วยการทำงานล่วงเวลา กินเวลาพักผ่อน กินเวลาที่จะมีชีวิตส่วนตัว
 
การต่อสู้ของคนงานขับเคลื่อนด้วยตนเองได้ยาก การมี NGOs เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ค่อยสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อศึกษาปัญหาและการพัฒนากลุ่มในลักษณะสหภาพจึงจำเป็น
 
ไม่ต้องแปลกใจที่พี่สมยศทุ่มเทเวลาให้กับการจัดการศึกษา การสัมมนา และออกแบบกิจกรรมในการสร้างแรงกดดันต่าง ๆ ในบางจังหวะอาจดูท่วงทำนองมุทะลุบ้าง นั่นก็เพราะบทเรียนในการทำงานด้านแรงงานเขาพบว่า ถ้าไม่ท้าทายสักหน่อยนายจ้างก็จะไม่ให้ความสนใจและปล่อยให้คนงานประท้วงกันจนหมดแรงไป
 
พี่สมยศเป็น NGOs ที่ประสานงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายแรงงานระหว่างประเทศ โดยที่ตนเองไม่มีแม้แต่ปริญญาตรี เทคนิคการเรียนรู้ของแกคือ การบังคับตนเองอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวันเป็นปี ๆ จนสามารถอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
 
ในแวดวง NGOs เวลาเรามีการประชุมสัมมนากัน พี่สมยศจะได้รับการ้องขอให้เป็นคนช่วยจับประเด็น เพราะเป็นคนฉลาด มอง และ วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้แตกฉาน เป็นที่พึ่งพาของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ เวลาต้องหาใครมาช่วย
 
พี่สมยศเคยร่วมต่อสู้กับ พธม อยู่ช่วงหนึ่งเหมือนกับนักกิจกรรมทั่วไป หลังจาก พธม เสนอ ม.7 และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนอำนาจนอกระบบ เขาก็ถอนตัวออกจากขบวน ผมเจอพี่เขาอีกครั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ผมเดินไปคุยกับพี่สมยศในงานศพของรุ่นพี่คนหนึ่ง เราคุยกันและเขาถามผมบอกกับผมว่า การที่ผมออกไปต่อต้านการรัฐประหาร 19 กย นั้นถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งที่พวกเราต้องออกไปต้าน
 
ต่อจากนั้นไม่นาน เราก็ได้เห็นพี่สมยศมาปรากฎตัวที่สนามหลวงและเข้าร่วมการต่อสู้่ในนามของ นปก และยังเป็นคนสำคัญที่ดึงขบวนการแรงงานอีกส่วนหนึ่งออกมาจากขบวนแรงงานที่สมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ พธม ในตอนนั้นครอบงำ เรียกได้ว่าในขบวนการแรงงานก็มีพี่สมยศนี่แหละที่ขึ้นปะทะทางความคิดอย่างแข็งขันเขาต่อสู้ในจังหวะที่แหลมคมเสมอ ดังเช่นการถูกจับหลังการแถลงข่าวว่าจะจัดชุมนุมในพื้นที่นอกเขต พรก ฉุกเฉิน แต่ก็ถูกควบคุมตัวไปอยู่ค่ายทหารอยู่หลายวัน
 
ในปีกเสื้อแดงมี NGOs อยู่ไม่กีคนที่ออกตัวแรงและแหลมคม เพราะขบวนส่วนใหญ่เล่นบทรักษาตัว เงียบ เอาตัวรอดไม่เจ็บตัว หรือไม่งั้นก็เทใจให้กับฝ่ายเสื้อเหลืองอันมีผลมาจากผู้ใหญ่ในแวดวงหลายคนอยู่ทางนั้นและเคยร่วมไล่ทักษิณมาในช่วง พธม และเขินอายที่จะมาใส่เสื้อสีแดง 
 
พวกเราเชื่อว่า การติดคุกเป็นวิธีการหนึ่งของการต่อสู้ และเป็นต้นทุนที่อาจต้องจ่าย การจับกุมพี่สมยศในครั้งนี้และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนีนั้น คนที่อยู่ข้างนอกต้องตั้งหลักและก้าวเดินต่อไป ประสานรับกัน คนที่อยู่ข้างในก็สู้กันแบบคนถูกจองจำ คนที่อยู่้ข้างนอกก็ต้องสู้กันต่อไป อย่าให้การจับกุมพี่สมยศ กลายเป็นการยุติการต่อสู้ หรือ ทำให้เสียขบวน เพราะศัทรูจะบรรลุวัตถุประสงค์ 
 
คาราวะ 
หนูหริ่ง
(บก.ลายจุด)
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชช.อาเซียนแฉธุรกิจไร้ 'ซีเอสอาร์' เร่งปัญหาภูมิภาค

Posted: 03 May 2011 10:16 AM PDT

 

(2 พ.ค. 2554)จาการ์ตา - คณะทำงานอาเซียนภาคประชาชนร่วมกับไทย-อาเซียนวอทซ์ เปิดเวทีรับฟังสาธารณะ ‘ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ’ กับสิทธิมนุษยชนในอาเซียนขึ้น ที่มูลนิธิกฎหมายเพื่อความยุติธรรมกลางเมืองจาการ์ตา อินโดนีเซีย โดยมีตัวแทนภาคประชาชนทั้งจากชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนจาก 7 ประเทศเข้าร่วมราว 80 คน

ตัวแทนจากกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย นำเสนอ 8 กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ โดยชี้ให้เห็นว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนในภูมิภาคอาเซียนกระทบโดยตรงต่อประชาชน โดยก่อให้เกิดการทำลายทั้งด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งหลายกรณีมีผู้เสียชีวิตหรือได้รับความเจ็บป่วยและทุพพลภาพตามมา

ทั้งนี้ตัวแทนจากประเทศไทยนำเสนอกรณีการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวที่กำลังดำเนินการโดยบริษัท ช.การช่าง จากประเทศไทย โดยชี้ว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเหนือเขื่อนในลาวต้องเผชิญกับปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 2,100 คน ส่วนประชาชนทั้งสองประเทศที่อยู่ในพื้นที่ใต้เขื่อนจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ถูกกักเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและไม่ไหลลงมาตามธรรมชาติซึ่งส่งผลทำลายวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยน้ำโขงในการดำรงชีพและทำมาหากินนับตั้งแต่ไซยะบุรีในลาว ผ่าน อ.เชียงคาน จนถึง จ.หนองคาย ระยะทางรวมแล้วกว่า 300 กิโลเมตร

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการประมินความต้องการด้านพลังงานจากรัฐบาลไทย และถูกเสนอผ่านแผนดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายแผนพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เป็นผู้เตรียมลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากประเทศลาว แม้ว่าโครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนจัดทำสัญญากับบริษัทเอกชนในไทยที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในลาว แต่ปัจจุบันการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีได้เดินหน้าไปแล้วบางส่วน จึงสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเอกชนไทยที่เข้าไปลงทุนดังกล่าวยังขาดความรับผิดชอบในการดำเนินการทางธุรกิจ เนื่องจากไม่คำนึงถึงสิทธิของชุมชนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนทั้งในประเทศแม่และประเทศที่เข้าไปแสวงหากำไร

ด้านอินโดนีเซีย มีกรณีการอนุญาตให้บริษัทเอกชนจากออสเตรเลียเข้าทำเหมืองแร่ในเกาะมาลุกุทางตอนเหนือของจาการ์ตา ส่งผลให้ประชาชนได้รับสารพิษจากกระบวนการขุดแร่ มีอาการเจ็บป่วยเช่นเดียวกับโรคมินามาตะ ซ้ำยังมีการคุกคามให้ยุติการเคลื่อนไหวและใช้กำลังทหารจนมีประชาชนบางรายเสียชีวิต และกรณีที่ไม่ต่างไปจากนี้เกิดขึ้นกับบริษัทขุดแร่ในพื้นที่นิวมอน ส่วนกรณีที่โซพุตันมีการระเบิดของท่อนำก๊าซที่ฝังอยู่ใต้ดินกว่า 350 ฟุต ส่งผลให้ดินโคลนไหลทับบ้านเรือนกว่า 400 หลังคาเรือน ผู้คนต้องอพยพหนีเอาตัวรอดโดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากบริษัทที่เข้าไปดำเนินการตลอดจนรัฐบาลอินโดนีเซียเอง

อีกทั้งแผนการวางท่อก๊าซในพม่าซึ่งจะวางท่อในทะเลพม่าและพาดผ่านด้านตะวันตกและตัดขึ้นแถบภาคเหนือไปสู่จีนเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร จะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับชนกลุ่มน้อยเพิ่มมากขึ้น ส่วนกรณีของกัมพูชามีการให้สัมปทานพื้นที่ในเกาะกง เพื่อปลูกอ้อยผลิตน้ำตาล โดยบริษัทจากประเทศไทยเข้าไปร่วมหุ้นกับนักการเมืองกัมพูชา เมื่อประชาชนออกมาคัดค้านกลับถูกดำเนินคดีตลอด 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ในมาเลเซียยังมีการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวเพื่อแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ท้ายสุดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเสนอให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AICHR) หรือไอชาร์ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในอาเซียน มีภารกิจและบทบาทในการศึกษา ให้ความเห็น ตลอดจนกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาให้ได้อย่างแท้จริง เพื่อให้การประกอบการทางธุรกิจของบริษัทเอกชนในภูมิภาคอาเซียนมีการดำเนินการทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนในทุกประเทศมากกว่านี้.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

Posted: 03 May 2011 10:09 AM PDT

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

มองไปข้างหน้า กับทิศทางอนาคต เป้าหมาย ความฝันและลมหายใจของคนเวียงแหง
หลังการรุกคืบของโครงการพัฒนาเหมืองเวียงแหง โดย กฟผ.ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งดูเหมือนว่า ทาง กฟผ.จะยังไม่ยอมยุติและรามือไปง่ายๆ แต่นั่นได้ทำให้เครือข่ายภาคประชาชนอำเภอเวียงแหง ได้หันมาจัดเวทีเพื่อทบทวน ถกถึงปัญหา สถานการณ์ การต่อสู้ ตั้งรับ ปรับเปลี่ยน แนวรุกและเคลื่อนไหว กันใหม่อีกครั้ง

วันที่ 4-5 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแหง อ.เวียงแหง ได้มีการจัดเวทีสรุปบทเรียนขบวนการต่อสู้เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน อำเภอเวียงแหง ขึ้น โดยมี นายคำ ตุ่นหล้า เป็นประธานเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน คนปัจจุบัน

“เป็นการรวมกลุ่มของคนหลายคน ซึ่งมีอุดมการณ์ เป้าหมาย พันธกิจที่เหมือนกัน หรือสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน มีการประสานงาน เคลื่อนไหว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการทำงานอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมมีการประเมินและติดตามผลการปฏิบัติอย่างเป็นระยะ เพื่อปรับเปลี่ยน เคลื่อนไหว และปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์” สมาชิกเครือข่ายฯ ร่วมกันสรุปทิศทางในการทำงานของเครือข่ายฯ ถึงภารกิจที่ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

กระทั่ง ในวันที่ 11-12 ธันวาคม 2553 ได้มีการจัดวงคุยแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง ณ สถานปฏิบัติธรรม ปลีกวิเวก วัดกองลม ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง โดยได้ข้อสรุปในการวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ของเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน อำเภอเวียงแหง ดังนี้

‘เวียงแหง แหล่งต้นน้ำ ประวัติศาสตร์ยาวนาน
สืบสานภูมิปัญญา ดิน น้ำ ป่า ให้อุดมสมบูรณ์
เพิ่มพูนเศรษฐกิจแบบพอเพียง บนฐานวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างยั่งยืน’

และต่อมา ในวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ได้มีการจัดเวทีการเรียนรู้ในเรื่องสิทธิชุมชน กฎหมาย ขึ้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเปียงหลวง โดยมีทีมนักวิชาการนักกฎหมายจาก สถาบันสิทธิชุมชน และสภาทนายความแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปให้ข้อมูลความรู้ในด้านสิทธิชุมชนและกฎหมาย พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อม และองค์กรชาวบ้านในท้องถิ่นอีกด้วย

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนและพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายฯ ได้ทำให้ทุกคนตื่นตัวและร่วมกันถกกันหลายๆ ประเด็น โดยมีแนวคิดหลักสำคัญ ที่จะทำต่อไป นั่นคือต้องมองร่วมกันว่า คุณค่าและความหมายของคำว่า ‘เครือ’ที่ทุกคนต้องการนั้นคืออะไร บางคนอาจจะมองว่า เป็นคำเฉพาะ แต่คำว่า เครือข่าย หรือเครือ นั้น ถ้ามีจุดที่เป็นตำหนิก็จะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนทั้งหมด แต่ถ้าหากเครือนั้นเกิดการรวมตัวแล้วแตกพลังออกไป ก็จะเกิดเครือข่ายของพลังการต่อสู้ขึ้นมา

“สิ่งที่เราจะร่วมกันให้เป็นเครือได้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นเฉพาะการคัดค้านเหมืองแร่ลิกไนต์เท่านั้น แต่มีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเครือเรื่องของการกิน การตาน การเมืองท้องถิ่น ป่าชุมชน หรือเรื่องอื่นๆ ที่เราสามารถจะร้อยเป็นเครือกันได้ เพราะฉะนั้น เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบนฯจะต้องหาจุดเด่น เอกลักษณ์ เป้าหมาย เนื้อหา มาเชื่อมเป็นจุดเดียวกันให้ได้”

ในขณะคุณค่าและความหมายของคำว่า ‘ข่าย’ ได้มีการวิเคราะห์และมองว่า ข่าย คือ การโยงใยที่เหมือนกับใยแมงมุม ที่สร้างความงามของศิลปะ แต่สิ่งสำคัญ คือ การสร้างข่ายแล้วจะต้องเพิ่มความแข็งแรงด้วย

“จากการสังเกตแมงมุม นั้นจะดึงเส้นใยออกมาทางด้านข้างได้ เพื่อนำเอาเรื่องต่างๆ มาเชื่อมร้อยกันทำให้เรื่องนั้นๆ ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราจะต้องมองเป้าหมายของการทำงานของเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบนฯ ซึ่งเรียกว่า เวียงแหงในฝัน เป็นฝันของเครือข่ายที่อยากเห็น อยากก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน พร้อมกับกำหนดแนวทางขั้นบันไดที่จะก้าวขึ้น เพื่อไปให้ถึงฝัน และทำให้ยุทธศาสตร์นั้นเป็นจริง”

เน้นยุทธศาสตร์ หลากหลายและครอบคลุมทุกมิติชุมชนรอบด้าน
จากวงคุยแลกเปลี่ยน ได้มีการสรุปบทเรียน ปัญหาและกระบวนแก้ไขปัญหา ข้อด้อย ข้อเด่น รวมถึงผลของการขับเคลื่อนที่ประสบความสำเร็จได้ในระดับ นอกจากนั้น ในวงคุยแลกเปลี่ยน ยังได้มองไปถึงทิศทางอนาคตต่อไปข้างหน้าของเวียงแหง โดยได้วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนต่อไป 5 ยุทธศาสตร์หลักๆ เอาไว้ ดังนี้คือ

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ให้อุดมสมบูรณ์
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่หลากหลาย
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างกลุ่ม เครือข่าย องค์กรชุมชน(ผู้นำ กลุ่ม ชาวบ้าน) ให้เข้มแข็งในการบริหารจัดการท้องถิ่น
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนส่งเสริมอาชีพ รายได้ สร้างเศรษฐกิจให้อยู่อย่างพอเพียง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม สนับสนุนฟื้นฟู องค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ และจัดการความรู้ให้ชุมชนเกิดสำนึกรักท้องถิ่น

นี่เป็น 5 ยุทธศาสตร์หลักของ เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบนฯ ที่ได้วางไว้ล่าสุด เพื่อเป็นแนวทางนำพาให้เครือข่ายฯ เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและมีพลังในการขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต

เหมือนกับที่ พระ ดร.ฐาณี ฐิตวิริโย จากสำนักปฏิบัติธรรมปลีกวิเวก วัดกองลม อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาของอำเภอเวียงแหง ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรชาวบ้าน และเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน อำเภอเวียงแหง มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กล่าวว่า ความเป็นเครือข่ายทำให้เกิดความเข้มแข็ง ทุกคนมีทุกข์ร่วม และอยากจะหาทางออกของความทุกข์ร่วมกัน และเป็นข้อดี และเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะคนที่สนใจการทำงานแบบมีส่วนร่วม การทำงานในระบบที่เป็นเครือข่าย ถือเป็นกระบวนการต่อสู้ที่เห็นผลอย่างชัดเจน

“กระบวนการต่อสู้ คือ การสร้างการเรียนรู้ การตื่นรู้ รู้เท่าทัน การทำงานของเครือข่ายทำให้เกิดเพชรเม็ดงามหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การนำพี่น้องชาวบ้านจากการที่ไม่รู้เท่าทัน จากที่ไม่มีความรู้เรื่อง มาพูดคุย เจรจา การต่อรอง จนทำให้รู้เท่าทันกับกลโกง ที่เป็นกลไก กลยุทธ์ในการช่วงชิง ชาวบ้านก็สามารถที่จะสร้างการเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถทั้งคนที่เป็นผู้นำทางการ กลุ่มสตรี รวมทั้งผู้นำแบบธรรมชาติได้มาก และนี่เป็นผลประโยชน์จากการเป็นอานิสงส์ของการต่อสู้ เป็นดอกผลและผลผลิตของการต่อสู้”

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

พระ ดร.ฐาณี ยังได้ย้ำบอกว่า เหตุแห่งความล้มเหลวของโครงการรัฐที่ผ่านมานั้น ไม่ว่าที่เวียงแหง หรือพื้นที่อื่นๆ ก็คือ 1.การมีส่วนร่วมเทียม ไม่ใช่การมีส่วนร่วมแท้ 2.ไม่ได้สนองต่อชุมชนและชาวบ้าน แต่เป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐ การสนองต่อกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ และ 3. เรื่องของความเลื่อมล้ำทางด้านสังคม ที่เป็นรากเหง้าแห่งปัญหา ในขณะที่คนเวียงแหงนั้นมีวิถีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ ค่อนข้างที่จะเหนียวแน่น เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งขัดแย้งและสวนทางกับนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐโดยสิ้นเชิง

“แต่ว่าเรื่องกรณี "เหมืองลิกไนต์" นั้นไม่ใช่เพียงแค่จะส่งผลกระทบในเรื่องของป่าไม้ เรื่องดิน เรื่องอากาศเพียงอย่างเดียว แต่พอมาเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทำให้เรามีบทเรียนมาจากหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทยที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศ ซึ่งเราเห็นว่า โครงการขนาดใหญ่ นั้นได้สร้างความเสียหายให้กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นด้วย ที่สำคัญ หลังเกิดโครงการ เกิดเหตุการณ์ ก็ไม่มีการเยียวยา รักษา และจริงใจแต่อย่างใด นั่นเป็นสิ่งที่อาตมาคิดและวิตกกังวลเท่านั้น แต่คนในอำเภอเวียงแหงก็คิดเหมือนกัน และที่กลัวที่สุดคือ กลัวในแง่ที่ว่ามันจะเข้ามาทำลายวิถีชีวิต” พระฐาณี กล่าว

* * * * *

สัมภาษณ์ พระดร.ฐาณี ฐิตชิริโย
คนเวียงแหงค้านเหมืองแร่ คือกระบวนการต่อสู้ ตื่นรู้และเท่าทัน

เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (จบ)

ในฐานะที่ท่านเป็นคนเวียงแหงแต่กำเนิด อยากให้ย้อนกลับไปมองภาพเวียงแหงในอดีต

เวียงแหงของเราเมื่อก่อนนั้น ตั้งแต่ตอนที่ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ถนน นั้นยังไม่ค่อยดี เครื่องใช้อำนวยความสะดวกมีไม่มากสักเท่าไหร่ แต่ถ้าดูเรื่องของลักษณะทางกายภาพ ก็อาจจะตรงกันข้ามระหว่างระบบสาธารณูปโภค นั่นคือ วิถีชีวิตของคนในเรื่องของการพึ่งพาอาศัย ระหว่างคนพึ่งคน ระหว่างคนกับธรรมชาติ ระหว่างพี่น้องชนเผ่า ซึ่งสมัยก่อน คนเวียงแหงสมัยก่อนนั้นมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ แต่ขณะเดียวกันก็มีความหลากหลายทางด้านชีวภาพ พืชพรรณธัญญาหาร ทรัพยากรทางธรรมชาตินั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่ถ้าเรามองดูวิถีชีวิตของคนมีลักษณะที่จะเกื้อกูล พึ่งพาอาศัย ที่เรียกกันว่า "พริกบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้" มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกัน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับชุมชนกับชุมชน พี่น้องชนเผ่าคนไตกับคนจีน พี่น้องเผ่าลีซู คนเมือง คนไต ปวาเก่อญอ ก็อยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยกัน ระบบที่มีการแข่งขัน แบ่งพรรคแบ่งพวกนั้นไม่มี

คนเวียงแหงแต่ก่อนมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างไรบ้าง

วิถีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ ค่อนข้างที่จะเหนียวแน่น เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ้อยที่ถ้อยอาศัย หมายความว่า คนก็ไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสุรุ่ยสุร่าย มีระบบเหมืองฝาย มีการรักษาป่า เอาไม้เอาฟืนมาใช้ แม้กระทั่งทรัพยากรป่าไม้ที่มาสร้างบ้าน ก็เอาตามสมควร ไม่ได้เอามาในเชิงพาณิชย์ เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะมีการใช้ทรัพยากรสมัยก่อน ก็มีการใช้อย่างพอดีพองาม การพึ่งพาอาศัย ก็มีการเก็บผักไม้ไซร้เครือ เก็บของป่ามากิน มาใช้ มาอยู่อาศัย มารักษาโรค อาหาร ก็มีความพอดีพองาม

มิติด้านจิตใจของคนเวียงแหงในอดีตเป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าย้อนไปในอดีต มิติทางด้านจิตใจของคนเวียงแหงก็ "ม่วนงันสันเล้า" สมัยที่อาตมาเป็นเด็ก เป็นละอ่อน ก็ไปชอบไปกับปู่ ย่า ตา ยาย ไปสวนไปไร่ บางงานก็ไปงานบุญงานวัด คนเฒ่าก็จะพาเด็ก "ละอ่อน" คนเฒ่าคนแก่ กลุ่มหนุ่มสาว มีความผูกพัน มีความสุขกันดี สมัยก่อน เปรียบเสมือน สวรรค์บนดิน นี่คือภาพในอดีต เพราะฉะนั้น อาตมาเห็นว่าเป็นความงามในมิติทางจิตใจของคน เป็นความสุข ทั้งในแง่ของคนกับธรรมชาติ ระหว่างคนกับคน ความแตกต่างหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ แต่ก็มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน นี่คือภาพของเวียงแหงในอดีต

แล้วสิ่งเหล่านี้เริ่มมาเปลี่ยนแปลงในตอนไหน ช่วงไหน

หลังจากที่มีความเจริญทางด้านวัตถุไหล่บ่าเข้ามา ตลอดจนถึงผลกระทบอันเกิดจากเพื่อนบ้าน ชายแดนก็มีการอพยพคนเข้ามา ผู้คนส่วนใหญ่จากเดิม แต่ก่อนการทำมาหากิน "การเซาะว่าหากิน" มีความต้องการทางด้านวัตถุมาก ทีวี ตู้เย็น มอเตอร์ไซด์ เครื่องใช้ไม้สอย โทรศัพท์มือถือต่างๆ และเมื่อของใช้มากขึ้น ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายมากขึ้นก็ต้องหาเงินมากยิ่งขึ้น การหาเงินของชาวบ้านก็เปลี่ยนไป จากการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน หรือการพึ่งพิงแบบพอดีพองาม กับธรรมชาติก็มีการมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด แข่งขัน ในการคิดเป็นมูลค่า เป็นเงิน เป็นสตางค์

สมัยก่อน บ้านเรานั้นไม่มีการว่าจ้าง มีการลงแรง ลงแขก แต่เดี๋ยวนี้เป็นการจ้างเป็นรายวัน คิดเป็นเงิน เป็นมูลค่ากันไป เพราะฉะนั้น อาตมาคิดว่า ช่วงเวลาที่เป็นเรื่องของการเปลี่ยน นั้นไม่ใช่ว่าเปลี่ยนทันทีทันใด แต่ว่าระบบเปลี่ยนอย่างนี้ อาตมาก็เข้าใจระบบโลก เพราะชุมชนของเรานั้นเป็นระบบเปิด ไม่ใช่ระบบปิด กระแสของทุนนิยม วัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่ไหลบ่าลงมา ความต้องการทางด้านวัตถุ ทรัพย์สินเงินทองก็มากขึ้น คนก็ทำงานมากขึ้น เป็นทุกข์มากขึ้น มีเวลาพูดคุยกันน้อยลง เยี่ยมเยียนหากัน เรี่ยไร การออม "ไฮ่ฮอม"กันน้อยลง

ดังนั้น อาตมา ถึงมองว่า ยอมรับว่า ช่วงไหนที่เปลี่ยนก็คือเปลี่ยน มาช่วงหลังนี้ อาตมามองในแง่ดี ก็คือเห็นความทุกข์แล้วก็เห็นทางธรรม และเห็นธรรมแล้วถึงจะเกิดปัญญา เห็นทุกข์แล้วก็เกิดปัญญา

ท่านคิดว่า คนเวียงแหงนั้นรู้เท่าทันกระแสทุนนิยมมากน้อยเพียงใด

อาตมาคิดว่าคนเวียงแหงเอง ส่วนหนึ่งก็มีความตระหนัก แต่ท้ายที่สุดเข้าใจว่าเราไม่สามารถที่จะต้านกระแส ที่ไหลบ่าไหลลงจากดอยเลาวู ทั้งในเรื่องของวัตถุนิยม บริโภคนิยม ทุนนิยม

แต่เรามีสิ่งที่น่าคิดว่าเราจะทำอย่างไร ในการตั้งรับและอยู่กับมันได้ อย่างเป็นเจ้านาย ไม่ใช่เป็นทาส "อย่างรู้เท่าทัน"กับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งท่านคิดว่าชาวบ้านเวียงแหงก็ยังมีเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นพี่เป็นน้อง นี่ก็ยังเป็นเครื่องมือที่จะอยู่กับกระแสเหล่านี้อย่างรู้เท่าทันได้ อย่างไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นเรื่องของจิตสำนึก ทัศนคติ วัตถุนิยม ค่านิยมของแต่ละคนด้วย

จากยุคนั้นมาถึงยุคปัจจุบัน หลายคนมองว่าเวียงแหง เริ่มมีข่าวการเข้ามากว้านซื้อที่ดินของนายทุนเพื่อรีสอร์ท เปิดกิจการร้านค้าที่มอมเมาชาวบ้านมากขึ้น กระทั่งหลายคนมองว่า เวียงแหงอาจเป็น"ปาย"แห่งที่สอง ท่านมองอย่างไรว่า จุดนี้จะส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนอย่างไรบ้าง

สิ่งนี้ อาตมาคิดว่าเป็นสัญญาณเหมือนกับว่าไฟจะช็อต ไฟจะไหม้ก็มีการส่งสัญญาณให้เห็น ฝนจะตั้งเค้า ก็ดูที่ส่งสัญญาณที่ก้อนเมฆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไหลเข้ามาจะเข้ามาบั่นทอนและทำลายความงาม ทุนทางสังคมของอำเภอเวียงแหง เรานั้นยังไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องของทุนทางทรัพยากรแต่อย่างไร แต่ก็จะถูกเลือนหายไป หรือว่าจะมีการถูกแลกในเรื่องของระบบเศรษฐกิจทางการเงิน อย่างกรณี ที่มีนายทุนที่เขามีการคิดในเรื่องของมิติทางด้านกำไร แต่ไม่ได้คิดในเรื่องที่แฝงด้วยวิญญาณชุมชน

ความดี ความงามของอำเภอเวียงแหงกับเมืองปายนั้น ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากซักเท่าไหร่ เพราะสมัยก่อนเขามีการเรียกขานว่า "สาวสองเมือง คือ เวียงแหงกับเมืองปาย"ดังนั้น กระแสที่ล้นจากอำเภอปาย การที่มีกลุ่มทุน กลุ่มลงทุนการเงิน ไหลบ่าเข้ามาเวียงแหง ก็เป็นคำถามเช่นเดียวกันว่า พี่น้องเวียงแหงจะมีการตั้งรับได้อย่างไร แล้วจะใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาเป็นเครื่องมือในการที่จะรักษา และต่อต้านกับสิ่งที่จะมาทำลายวิถีชีวิตอย่างไร นี่ก็เป็นโจทย์หนึ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่

แต่ดูเหมือนว่าเราก็ไม่อาจต้านทานกระแสอันเชี่ยวกรากนี้ได้เลย

ใช่ เราไม่สามารถที่จะสร้างกำแพงไม่ให้เข้ามาได้ แต่ว่าชาวบ้าน ชุมชนก็มีการพูดคุย มีมิติชุมชน มีกฎระเบียบชุมชน ข้อตกลงร่วม หรือแม้กระทั่งที่จะให้คนทั้งชุมชนมีการลุกขึ้นมารู้ทันเท่ากับสิ่งเหล่านี้ นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่อาตมาเข้าใจว่า ไม่ใช่จะเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของคนเวียงแหงทุกคน แม้กระทั่งคนที่รักเวียงแหงทุกคน รักวิถีชีวิต รักชุมชน ว่าทำอย่างไรเรานั้นจะส่งต่ออำเภอเวียงแหงให้กับลูกหลานของเราได้อย่างไรนั้น เราต้องมีการช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางออก ป้องกัน ในสิ่งที่จะเป็นปัญหาในอนาคต

ประเด็นเรื่องฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เวียงแหง จากอดีตกับปัจจุบัน สภาพพื้นที่ป่าหรือสิ่งแวดล้อมโดยรวมจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยกเว้นแต่กรณีที่มีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเข้ามา โดยเฉพาะในเรื่องโครงการพัฒนาเหมืองเวียงแหงที่เข้ามา จุดนี้ท่านมีมุมมองความเห็นอย่างไร

ในเมื่อมีการต้องการทรัพยากร ในพื้นที่ ในชุมชน อาจจะเป็นมูลเหตุในเรื่องของการขยายตัวของคน ประชากรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชุมชนจะขยายตัว ประชากรจะเพิ่มมากขึ้นมากขนาดไหนก็ตาม แต่ก็ไม่เท่ากับการเข้ามาของโครงการขนาดใหญ่ หรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เหมือนกับเหมืองแร่ลิกไนต์ ยกตัวอย่าง เช่น ชาวบ้านในท้องถิ่น เวลาต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า หรือเรื่องของป่าไม้ ก็เป็นการนำมาใช้ในวิถีชีวิต การนำมาใช้อย่างพอดีพองาม มีการทดแทน ชดเชย อย่างที่อาตมาได้บอกว่า ดิน น้ำ ป่า เป็นเหมือนลมหายใจ เป็นซุปเปอร์มาเก็ตของชาวบ้าน

แต่ว่าเรื่องกรณี "เหมืองลิกไนต์" นั้นไม่ใช่เพียงแค่จะส่งผลกระทบในเรื่องของป่าไม้ เรื่องดิน เรื่องอากาศเพียงอย่างเดียว แต่พอมาเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทำให้เรามีบทเรียนมาจากหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทยที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศ ซึ่งเราเห็นว่า โครงการขนาดใหญ่ นั้นได้สร้างความเสียหายให้กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นด้วย ที่สำคัญ หลังเกิดโครงการ เกิดเหตุการณ์ ก็ไม่มีการเยียวยา รักษา และจริงใจแต่อย่างใด นั่นเป็นสิ่งที่อาตมาคิดและวิตกกังวลเท่านั้น แต่คนในอำเภอเวียงแหงก็คิดเหมือนกัน และที่กลัวที่สุดคือ กลัวในแง่ที่ว่ามันจะเข้ามาทำลายวิถีชีวิต

ท่านมองอย่างไร กับบทบาทของพระสงฆ์กับการเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนขององค์กรชาวบ้านที่ท่านกำลังดำเนินอยู่นี้

บทบาทของพระ ก็คือ ต้องมีการนำให้ชาวบ้านได้คิดและดำรงชีวิตให้เป็นแบบอย่าง อาตมา ในบทบาทหนึ่งคือ ความเป็นพระ แต่ในความเป็นพระก็เป็นพระที่เป็นหน่อในดิน ในน้ำ เป็นคนในอำเภอเวียงแหงโดยกำเนิด และได้รับความคาดหวังและเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวบ้าน

ดังนั้นความเป็นแกนนำของอาตมา อาตมามองในแง่ที่ว่า เราไม่ใช่ศัตรูของเหมืองแร่ลิกไนต์หรือการไฟฟ้า แต่ว่าหน้าที่ของพระ ก็ต้องมีการแนะในทางที่ดีงาม ที่ถูกที่ต้อง เราเป็นศัตรูกับความไม่ถูกต้อง เป็นศัตรูกับความที่เป็นอธรรม เช่น ความโลภ ความโกรธ ของโครงการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ คิดว่าทรัพยากรส่วนรวม จะนำมาใช้เป็นกลุ่มทุน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเราเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้น บทบาทของอาตมาที่วางบทบาทในเรื่องที่ว่า"ทางโลกก็ไม่ช้ำ ทางธรรมก็ไม่เสีย" หมายความว่า พ่อโยม แม่โยม พี่น้องเครือญาติ ศรัทธาที่เป็นชาวบ้านก็ยังมีการอุปถัมภ์อยู่ ความทุกข์ของชาวบ้านก็เป็นความทุกข์ของพระของเจ้า เพราะว่าชีวิตของพระนั้นมีความเกี่ยวเนื่องต้องมีการพึ่งพากับชาวบ้าน ถ้าว่าชาวบ้านมีความทุกข์กับสิ่งเหล่านี้ แต่ว่าเราได้เรียน มีโอกาสได้รู้ได้เห็น มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนในและนอกพื้นที่ ในสถานที่ต่างๆ เพราะฉะนั้น ก็มีความรู้ ความเห็น มีทัศนคติ ที่ดีและเป็นประโยชน์กับชุมชนและต้องนำกลับมาใช้บ้านของเรา

อย่างอาตมาเอง ก็ได้ใช้ทุนของชาวบ้านได้เรียน ซึ่งไม่ได้ใช้ทุนหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาเรียน เพราะฉะนั้น บทบาทหนึ่งในการเป็นแกนนำของสังคมไทย พระสงฆ์ก็เป็นเหมือนรากแก้ว เป็นที่พึ่งทางด้านจิตวิญญาณ ทางด้านหลักคิดหลักธรรมของชาวบ้านอยู่แล้ว

แตกต่างกับพระสงฆ์ทั่วไปที่ไม่ค่อยยุ่ง ไม่สนใจเรื่องของชาวบ้านกันเท่าไหร่

พระสงฆ์มีอยู่หลายลักษณะ พระสงฆ์ที่มีการปฏิบัติ พัฒนาวัด แต่บางทีก็ไม่ได้มองในเรื่องของชาวบ้านก็มี แต่พระสงฆ์กลุ่มที่เห็นว่าก็ต้องทำเพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้าน ในส่วนที่ชาวบ้านให้ข้าวในตอนที่เรานั้นบิณฑบาต เพราะฉะนั้น ความทุกข์ของชาวบ้านก็มีผลต่อพระสงฆ์ องค์เณร เมื่อใดที่อยู่วัด คิดแต่ในวัด ไม่มีการคิดถึงเรื่องของปัญหาของชาวบ้าน กลับกลายเป็นว่าบทบาทของพระสงฆ์ก็อาจจะทำให้พี่น้องชาวบ้านไม่มีความสุข บทบาทในแง่ที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ที่รักเคารพ ยอมรับ นับถือ ก็จะลดน้อยไป และไม่ต่างกับประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น โดยการที่รู้ว่าพระสงฆ์เป็นเฉพาะผู้นำทางด้านพิธีกรรม บทบาทอื่นก็สลายไป เพราะว่าไม่ได้ตระหนักถึงทุกข์ของชาวบ้าน

ผลของการทำงานของท่านกับการขับเคลื่อนในเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน เป็นอย่างไรบ้าง ถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ใช่กิจของสงฆ์บ้างไหม

ชาวบ้านที่ทำงาน ชาวบ้านที่เคารพนับถือ ก็มีความศรัทธาอาตมา ในการทำงานเพื่อชุมชน เพื่อชาวบ้าน เพราะเราเองเป็นพระนักพัฒนาในเรื่องของคน การศึกษา และการยอมรับนับถือและศรัทธาในตัวของอาตมาก็เกิดจากชุมชน แต่ก็มีบางส่วนที่การทำงานของพระไปขัดกับการทำงานที่ไม่ถูกใจของกลุ่มนั้นๆ แต่ก็ถูกมองเป็นแบบธรรมดา

ที่ว่าไม่ใช่เรื่องกิจของสงฆ์ ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม แต่เป็นสิ่งที่ท่านระวังมาโดยตลอดที่ว่า ท่านเองก็จะทำเหมือนที่บอกว่า ทางโลกไม่ช้ำ ทางธรรมไม่เสีย การทำงานกับชาวบ้าน ชุมชนก็จะต้องมีความระมัดระวังเป็นหลายเท่ามากกว่านักพัฒนาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ เรื่องของสีกา เรื่องของการทำงานกับคนหมู่มาก จะต้องมีความระมัดระวังกว่าสิ่งเหล่านั้นมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอาตมาถึงมองว่าขึ้นอยู่กับมุมมอง ศรัทธาชาวบ้าน ที่มีการอุปถัมภ์ อุปากระท่านเราได้มีการพูดคุย เรื่องของการสนทนาธรรมก็มองว่า มีการเคารพที่เนื้องาน แนวคิดของเรามากกว่า

ในเรื่องของวิกฤต ของอาตมาตอนนี้ ก็จะมีในเรื่องของการติดตามของกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ พยายามหาจุดอ่อน พยายามที่จะโจมตี ใส่ร้าย ป้ายสี หรือแม้กระทั่งการที่จะยื่นผลประโยชน์ ซึ่งอาตมามองว่า เป็นเพียงมารที่มาผจญ เพราะมองว่า "มารไม่มี บารมีไม่เกิด" เราต้องมีการเข้มแข็งกับสิ่งเหล่านี้

ท่านมองเห็นพัฒนาการของเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบนเป็นอย่างไรบ้าง

อาตมาเข้าใจว่าเป็นเรื่องของกระบวนการกลุ่ม สร้างการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาการเรียนรู้ของธรรมชาติ เป็นเรื่องของการเรียนรู้ทีมีคุณค่า พี่น้องชาวบ้าน เมื่อก่อนนั้นเคยมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน แต่ว่าระยะเวลาผ่านไป ความสัมพันธ์ก็จะเริ่มห่าง แต่พอมีประเด็น อาตมาก็คิดว่าประเด็นก็กลายเป็นโอกาส เคราะห์ก็กลายเป็นโชคได้ ว่าชาวบ้านกลายเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เฉพาะในเรื่องของเครือข่าย บางทีเราก็เห็นเรื่องประเด็น ในเรื่องของการมีประชากรมากยิ่งขึ้น การแบ่งน้ำ การแย่งชิงน้ำ การแบ่งทรัพยากรกันบ้าง

แต่ท้ายที่สุดก็มีเรื่องของการมีทุกข์ร่วม ในเรื่องของเหมืองแร่ ซึ่งเป็นทุกข์ร่วมของชาวบ้าน ความเป็นเครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง ทุกคนมีทุกร่วม และอยากจะหาทางออก ความทุกข์ร่วมกัน และเป็นข้อดี และเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะคนที่สนใจการทำงานแบบมีส่วนร่วม การทำงานในระบบที่เป็นเครือข่าย ถือเป็นกระบวนการต่อสู้ที่เห็นผลอย่างชัดเจน

ท่านมองกระบวนการต่อสู้ของเครือข่ายฯ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง

กระบวนการต่อสู้ คือ การสร้างการเรียนรู้ การตื่นรู้ รู้เท่าทัน การทำงานของเครือข่ายทำให้เกิดเพชรเม็ดงามหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การนำพี่น้องชาวบ้านจากการที่ไม่รู้เท่าทัน จากที่ไม่มีความรู้เรื่องการพูดคุย การต่อรอง จนทำให้รู้เท่าทันกับกลโกง ที่เป็นกลไก กลยุทธ์ในการช่วงชิง ชาวบ้านก็สามารถที่จะสร้างการเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถทั้งคนที่เป็นผู้นำทางการ กลุ่มสตรี รวมทั้งผู้นำแบบธรรมชาติได้มาก และนี่เป็นผลประโยชน์จากการเป็นอานิสงส์ของการต่อสู้ เป็นดอกผลและผลผลิตของการต่อสู้

ท่านได้หนุนเสริมชาวบ้านอย่างไรบ้าง?

ในเรื่องของการหนุนเสริม อาตมาก็ได้ทำมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ หรือแม้แต่การที่มีทุน แหล่งทุน ที่เป็นทางให้เครือข่ายได้ร่วมกันทำ เราก็เรียกกันมาพูดคุยกัน ในขณะเดียวกันเอง อาตมาก็คิดว่าในส่วนของการให้กำลังใจ โดยเฉพาะการทำงานเราก็ให้กำลังใจกันมาโดยตลอด แต่ส่วนที่คนข้างนอกที่มีแนวความคิด อุดมการณ์ร่วมกัน บางทีเห็นว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่ขาด ก็อาจจะเข้ามาเติมเต็ม ต่อเติม และอาตมาคิดว่าอาจจะเป็นเรื่องของการให้ความสมบูรณ์อย่างมาก

อย่างกรณีปัญหา การแย่งชิงมวลชนของ กฟผ. เพื่อทำลายหรือล้มแกนนำในการเคลื่อนไหวในขณะนี้ ท่านมองว่า จะบั่นทอนกำลัง บั่นทอนจิตใจของชาวบ้านที่ออกมาเคลื่อนไหวหรือไม่

แน่นอน นี่เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการที่จะช่วงชิง ดึง ล่อลวง และดึงคนของเราหรือแกนนำ ให้ไปเป็นแนวร่วมของฝ่ายตรงกันข้าม แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ก็จะมีเรื่องของระเบียบของสังคมและชุมชนเองว่า ใครที่ปลีกตัวออกไป ในส่วนที่ว่าเห็นแก่ทุน เห็นแก่เงิน และผลประโยชน์อันเล็กน้อยก็มักที่จะได้รับการตอบแทน และถูกลงโทษทางสังคม ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีคนร่วมกิน รวมตาน ไม่ให้ความร่วมมือ หรือแม้กระทั่งการลงโทษทางสังคม

ในมาตรการอื่นๆ ซึ่งอาตมาก็คิดว่า ใครที่คิดจะออกหรือปลีกไป หลายครั้งหลายบทเรียน ที่ออกไปอย่างนี้ และมีการประสบเหตุที่ไม่พึงปรารถนาก็มีมาก และเป็นธรรมะเป็นตัวอย่างให้กับหลายคนได้เห็นและได้เป็นที่ประจักษ์

ท่านมองโครงการใหญ่ของรัฐ ที่มักมาจากข้างบนลงล่างนั้น ท่านมีมุมมองอย่างไร

โครงการพัฒนาของรัฐ จากข้างบนลงมา ถึงแม้ประเด็นจะมีเรื่องของการรับฟังความคิดเห็น หัวข้อ กลไก ที่จะให้มีการมีส่วนรวม ในแนวทางการปฏิบัติไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ เช่น เราจะเห็นเวทีประชาคม การมีส่วนร่วม การร่วมตัดสินใจ การทำประชาวิจารณ์ ก็เป็นเพียงแค่พิธีกรรมที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในกฎระเบียบ กติกา เพียงอย่างเดียว แต่ว่าโดยสามัญสำนึกหรือว่าความจริงใจของคนที่ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ก็ไม่สามารถที่จะส่งผลให้ชาวบ้านให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มีความจริงใจกับชาวบ้าน

นี่ก็เป็นอันหนึ่งที่เป็นเหตุแห่งความล้มเหลวของโครงการัฐหลายๆโครงการ ดังนี้ คือ 1.การมีส่วนร่วมเทียม ไม่ใช่การมีส่วนร่วมแท้ 2.ไม่ได้สนองต่อชุมชนและชาวบ้าน แต่เป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐ การสนองต่อกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ และ 3. ก็จะเป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคม ที่เป็นรากเหง้าแห่งปัญหา

ท่านอยากสื่อแนวคิดมุมมองไปยังเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐได้มองเห็นและเข้าใจชาวบ้านอย่างไรบ้าง

รัฐเองต้องมองชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมองชาวบ้านว่าเป็นพวกเรา วันใดที่คิดว่าเป็นคู่ต่อสู้ เป็นฝ่ายตรงกันข้าม เป็นฝ่ายที่คัดค้าน ไม่เป็นเรื่องราว มองการทำงานของภาคประชาชน ภาคพลเมือง เป็นแง่ของการต่อสู้ที่ไม่เห็นผล ในแง่ของการต่อสู้ และยังมีการปฏิเสธความงามของชาวบ้าน

อาตมาเข้าใจว่า วันนี้รัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ปฏิบัติ ต้องเข้าใจและเรียนรู้ จริงใจกับชาวบ้าน ชุมชน กับคนในพื้นที่ให้มากกว่านี้ ด้วยความจริงจังและจริงใจ.

* * * *

ที่มา : สำนักข่าวประชาธรรม

ข้อมูลประกอบ

  • สำนักข่าวประชาธรรม
  • หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท
  • เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือตอนบน
  • สถาบันพัฒนาท้องถิ่น
  • เอกสารประกอบโครงการพัฒนาเหมืองเวียงแหง กฟผ.
  • โครงการสิทธิชุมชนศึกษา กรณีลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน
  • หนังสือ เวียงแหง: เมืองชายแดนประวัติศาสตร์ กับบทเรียนปัญหา การต่อสู้ การเคลื่อนไหว ทิศทางการขับเคลื่อน เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน,สถาบันการจัดการทางสังคม(สจส.) และสถาบันพัฒนาท้องถิ่น จัดพิมพ์,ก.พ.2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“MSN โหวต” ยกให้ “สนธิ ลิ้มทองกุล” เหมาะเป็นนายกรัฐมนตรี

Posted: 03 May 2011 09:04 AM PDT

ผลสำรวจในเว็บ MSN ระบุอยากให้ “สนธิ ลิ้มทองกุล” เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด รองลงมาคือทักษิณ และอภิสิทธิ์ ขณะที่ผลสำรวจก่อนหน้านี้ระบุว่าคนจะไปลงคะแนนโหวตโนถึงร้อยละ 53 รองลงมาคือเลือกพรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ตามลำดับ

วันนี้ (3 พ.ค.) ในเว็บไซต์ MSN ประเทศไทย มีการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโหวต จากคำถามว่า “บุคคลทางการเมืองที่คุณชื่นชอบ และอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี?” โดยผลสำรวจล่าสุดเมื่อเวลา 22.40 น. ปรากฏว่า อันดับหนึ่งคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล มีผู้โหวต 4,679 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34 อันดับสองคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีผู้โหวต 2,151 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 16 อันดับสามคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผู้โหวต 1,783 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 13 อันดับห้าคือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ มีผู้โหวต 622 โหวตคิดเป็นร้อยละ 5 นอกจากนี้มีผู้โหวตไม่มีคนเหมาะสม 3,602 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 26 ด้วย

ก่อนหน้านี้ ในเว็บไซต์ MSN ประเทศไทย มีการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโหวตว่า “ถ้าเลือกตั้งวันนี้คุณจะเลือกพรรคใด?” โดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า ผลสำรวจเมื่อเวลา 02.42 น. วันที่ 3 พ.ค.54 ปรากฏว่า มีผู้ระบุว่าจะกาโหวตโนสูงถึงร้อยละ 53 หรือ 28,789 คะแนน รองลงมาคือเลือกพรรคเพื่อไทยได้ร้อยละ 27 รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์คิดเป็นร้อยละ 19 รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา และพรรคชาติไทยพัฒนา และโหวตพรรคอื่นๆ ร้อยละ 1 โดยการโหวตดังกล่าวมีผู้โหวตทั้งหมด 55,302 คะแนน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ฟุกุชิมาฮีโร่” ใครจะรู้ว่าพวกเขาคือคนงานที่ขาดความมั่นคง

Posted: 03 May 2011 08:41 AM PDT

คนงานกว่า 83,000 คน ในโรงงานนิวเคลียร์ 18 แห่งของญี่ปุ่น 88% เป็นคนงานสัญญาจ้างที่หมดสัญญาเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ที่โรงงานฟุกุชิมาไดอิจิ 89% ของแรงงาน 10,303 คนเป็นแรงงานสัญญาจ้างในช่วงนั้น การจ้างงานในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นคนงานที่เสี่ยงอันตรายคือผู้รับเหมา คนงานเหมาช่วง และลูกจ้างชั่วคราว ที่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์น้อยลดหลั่นกันลงไป

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาขณะที่คนทั้งโลกจับจ้องมองการกู้วิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาไดอิจิ รายงานชิ้นหนึ่งของนิวยอร์คไทม์ (Japanese Workers Braved Radiation for a Temp Job) นำเสนออีกมุมมองหนึ่งต่อคนงานที่ถูกยกย่องเปรียบเสมือนฮีโร่ ว่าในอีกด้านหนึ่งพวกเขาเคยเป็นและเป็นเพียง “คนงานที่ขาดความมั่นคง” ผู้ได้รับผลประโยชน์เพียงน้อยนิดจากอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่มีมูลค่ามหาศาลของญี่ปุ่น …

0 0 0

 

คนงานในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นคนงานสัญญาจ้าง ขาดความมั่นคง และเสี่ยงต่อปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัย (ที่มาภาพ: AFP)

คาโสะ ญี่ปุ่น - เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาไดอิจิ มาซายูกิ อิชิซาว่าแทบจะยืนไม่ติดที่ เขาถือหมวกนิรภัยวิ่งออกจากห้องพักคนงานที่อยู่ใกล้ๆกับเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ไปยังกลุ่มคนงานที่กำลังทำการซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์ เขาเห็นปล่องไฟและเครนสั่นไหวอย่างแรง ทุกคนร้องตะโกนอย่างตื่นตระหนก

อิชิซาว่า คนงานชายวัย 55 ปี วิ่งไปที่ประตูกลาง แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยกลับไม่ให้เขาออกไป มีรถจอดเรียงกันเป็นแนวยาวที่หน้าประตู และคนขับรถบางคนบีบแตรเสียงดัง “ขอดูบัตรประชาชนหน่อย” พนักงานรักษาความปลอดภัยถาม ทั้งยังกล่าวกับเขาอีกว่าได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ ทว่าคนพวกนี้ได้รับคำสั่งมาจากไหนกัน? ใครเป็นคนสั่งหรือ?

 “นี่นายพูดอะไรออกมาน่ะ?” อิชิกาว่าตะโกนใส่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนนั้น เขามองข้ามไหล่ไปเห็นขอบฟ้าสีดำทะมึน และเขาก็พูดว่า “ไม่รู้หรือไงว่าซึนามิกำลังมา?”

กระทั่งในที่สุดอิชิกาว่าได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่ได้ เขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิวเคลียร์ ไม่ใช่แม้กระทั่งลูกจ้างประจำของบริษัทโตเกียวอิเล็คทริกพาวเวอร์ แต่เขาเป็นเพียงหนึ่งในผู้คนหลายพันคน ที่เป็นแรงงานชั่วคราวที่ไม่มีทักษะ แต่รับจ้างทำงานที่เสี่ยงอันตรายกับกัมมันตภาพสังสีเพราะมีค่าจ้างสูงลิ่วมาล่อ โดยภาพรวมแล้วผู้รับเหมาเหล่านี้มีการเปิดรับรังสีกว่า 16 ครั้ง ในระดับที่สูงเท่ากับลูกจ้างของโตเกียวอิเล็คทริกได้รับเมื่อปีที่แล้ว จากข้อมูลของสำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น พบว่าแรงงานเหล่านี้ยังคงมีความสำคัญต่อวิกฤตนิวเคลียร์อีกมาก

แรงงานประเภทรองที่ทำงานเพื่อเงินที่น้อยกว่า ความปลอดภัยในการทำงานน้อยกว่า และได้ค่าตอบแทนจำนวนน้อยนิด แรงงานดังกล่าวมีแต่จะเสียสุขภาพและทำให้ความปลอดภัยของโรงงานนิวเคลียร์ลดลงด้วย นักวิเคราะห์ กล่าว

 “นี่คือโลกที่คนมองไม่เห็นของพลังงานนิวเคลียร์” โยโกะ ฟูจิตะ อดีตอาจารย์ฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเคโอและนักเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อสภาพแรงงานที่ดีขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ กล่าว “ที่ไหนก็ตามที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่แย่ แรงงานเหล่านี้จะถูกสั่งให้ไปทำ มันอันตรายสำหรับพวกเขา และมันก็อันตรายต่อความปลอดภัยของนิวเคลียร์ด้วย”

มีแรงงานประมาณ 83,000 คน ในโรงงานนิวเคลียร์ 18 แห่งของญี่ปุ่น 88% เป็นพนักงานสัญญาจ้างระยะสั้นที่หมดสัญญาจ้างในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ที่โรงงานฟุกุชิมาไดอิจิ 89% ของแรงงาน 10,303 คนเป็นแรงงานสัญญาจ้างในช่วงนั้น ในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นชนชั้นนำที่เป็นผู้ประกอบการและผู้ผลิตอย่างบริษัทโตเกียวอิเล็คทริก ที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างโตชิบาและฮิตาชิ แต่ภายใต้บริษัทเหล่านั้นคือผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง และลูกจ้างชั่วคราว กับค่าจ้างและผลประโยชน์การป้องกันรังสีลดน้อยลงลดหลั่นลงไป

จากการพูดคุยกับคนงานที่ฟุกุชิมาไดอิจิและคนอื่นๆ ต่างให้ภาพหม่นไร้สีของคนงานที่ทำงานกับวงจรนิวเคลียร์ การต่อสู้กับปริมาณความร้อนที่มากระหว่างการทำความสะอาดเตาปฏิกรณ์และบ่อพักน้ำโดยใช้ไม้ถูพื้นและเศษผ้า การเคลียร์ทางเพื่อผู้ตรวจ ผู้เชี่ยวชาญ และนายจ้างจากโตเกียวอิเล็คทริก ทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นเพื่อเติมเต็มถังด้วยด้วยของที่ปนเปื้อน

คนงานบางคนถูกว่าจ้างมาจากสถานก่อสร้างและบางส่วนเป็นเกษตรกรที่มองหารายได้เสริม นอกเหนือจากนั้นยังมีการว่าจ้างจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ข้อมูลจากคนงานจำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อ

พวกเขาพูดถึงความกลัวจากการถูกไล่ออก พวกเขาพยายามซ่อนบาดแผลเพื่อหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับนายจ้าง ผ้าพันแผลและพลาสเตอร์ยาถูกใช้เพื่อปกปิดรอยแผลและรอยฟกช้ำ

ในที่ที่อันตรายที่สุดอดีตคนงานและคนงานปัจจุบันพูดตรงกันว่า ระดับรังสีนั้นสูงมาก คนงานจะผลัดกันเข้าเปิดวาล์ว 2-3 วินาทีก่อนที่ผู้บังคับบัญชาที่มีนาฬิกาจับเวลาจะสั่งให้ถอยออก เพื่อที่ว่าคนงานคนต่อไปได้มาเปิดต่อ “ขณะนี้ยังมีความต้องการการทำงานลักษณะนี้ที่ฟุกุชิมาไดอิจิ ที่มีเตาปฏิกรณ์สามเตาหยุดทำงานอัติโนมัติจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว” คนงานกล่าว

และเมื่อมาตรการทางรังสีมาถึงขั้นสูงสุด จากระดับการรับได้ต่อวัน คือ 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง “เมื่อคุณได้รับรังสีถึงระดับนั้น ก็จะไม่ได้ทำงานอีกต่อไป” คนงานผู้ไม่เผยชื่อเนื่องจากกลัวจะถูกไล่ออก กล่าว

ทาเคชิ คาวากามิ วัย 64 ปี จำการปีนเข้าไปที่บ่อเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ที่ฟุกุชิมาไดอิจิ เมื่อคราวซ่อมบำรุงประจำปีเมื่อประมาณทศวรรษที่ 1980 ได้ดี เพื่อขัดทำความสะอาดผนังที่เต็มไปด้วยรังสีด้วยแปรงและเศษผ้า แรงงานทุกคนดำเนินการตั้งค่าให้เสียงเตือนหากถึงระดับความเสี่ยง แต่คาวากามิอยู่ในนั้นกว่า 20 นาที

 “มันแทบทนไม่ได้เลย คุณต้องใส่หน้ากาก แถมที่รัดแน่นมากด้วย” ดาวากามิ กล่าว “ผมเริ่มรู้สึกวิงเวียน ผมมองไม่เห็นแม้กระทั่งการกระทำของตัวเอง ผมคิดว่าผมจะจมกองเหงื่อตัวเองตายเสียแล้ว”

นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1970 อดีตคนงานประมาณ 50 คน เป็นโรคลูคิเมียและโรคมะเร็งแบบอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพกล่าวว่าอดีตคนงานหลายคนกำลังประสบปัญหาทางด้านสุขภาพอันเป็นผลมาจากการทำงานกับนิวเคลียร์ มันยากที่จะแก้ไขโดยตรง และนายคาวากามิได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้

มีข่าวร้ายของคนงานปรากฏเป็นระยะๆในรายงานความปลอดภัย หนึ่งในนั้นถูกนำเสนอโดยบริษัทโตเกียวอิเล็คทริกให้แก่รัฐบาลของจังหวัดฟุกุชิมะ เมื่อเดือนตุลาคม 2010 เกิดอุบัติเหตุในระหว่างที่คนงานประจำที่กำลังเช็ดกังหัน และถูกรังสีระดับที่เป็นอันตรายโดยไม่ตั้งใจ หลังจากใช้ผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดกังหันมาเช็ดหน้า ในการตอบสนองของบริษัทกล่าวในรายงานว่า ควรจะมีผ้าขนหนูพิเศษสำหรับเช็ดเหงื่อของคนงาน

ทุกวันนี้แรงงานถูกอพยพจากฟุกุชิมาไดอิจิหลังจากแผ่นดินไหวและซึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม นับแต่นั้นมา ใครก็ตามที่จะกลับเข้าไปจะได้รับการป้องกันอย่างเข้มงวดจากสื่อมวลชน ส่วนมากพวกเขาจะอยู่ในพื้นที่ปิดสำหรับคนงานที่นักข่าวไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่มีสัญญาณบ่งบอกว่ามีการทำงานอยู่บริเวณนั้น

คนงานเหมาช่วงสองคนได้รับบาดเจ็บเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วขณะที่พวกเขาเดินในน้ำที่มีสารกัมมันตรังสี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม คนงานคนอื่นๆก็ได้รับสารกัมตรังสีเกินขนาดกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ตต่อวัน หรือระดับรังสีขั้นวิกฤตที่ตั้งไว้สำหรับคนงาน (และเพิ่มขึ้นเป็น 250 มิลลิซีเวิร์ตต่อวัน เมื่อมีนาคมที่ผ่านมา)

บริษัทปฏิเสธที่จะพูดว่ามีจำนวนคนงานที่ได้รับรังสีเกินค่ามาตรฐานนั้นมีเท่าใด คนงานประมาณ 300 คนอยู่ที่เตาปฏิกรณ์ คนงาน 45 คนถูกจ้างโดยผู้รับเหมา

แรงงานถูกนำกลับไปยังเตาปฏิกรณ์โดยมีค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย นายอิชิซาวา บ้านอยู่ห่างประมาณ 1 ไมล์จากโรงงานนิวเคลียร์ ได้ย้ายไปอยู่เมืองอื่นหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เขากล่าวว่าเขาถูกเรียกตัวจากนายจ้างเก่าที่เสนอค่าจ้าง 350 เหรียญสหรัฐ/2 ชม. ของการทำงาน มีการจ่ายเงินมากกว่าสองครั้งก่อนหน้านี้ เพื่อร่วมงานบางคนของเขาถูกเสนอเงินถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ/วัน แต่เมื่อได้ทราบข่าวของการรั่วไหลของรังสีทำให้นายอิชิซาวาปฏิเสธที่จะกลับไป

เงื่อนไขในการทำงานถูกปรับให้ดีขึ้นหลายปีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว ในขณะที่ความเสี่ยงต่อคนงานลดลงในปี 1990 ชี้ให้เห็นว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น รัฐบาลแสดงอัตราที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2000 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นจากเครื่องปฏิกรณ์ นอกจากนี้จำนวนของคนงานในภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น

เท็ดซึน นากาจิมา เจ้าอาวาสวัดเมียวสึจิอายุ 1,200 ปี ในเมืองโอบามะใกล้กับทะเลญี่ปุ่น ได้ทำการรณรงค์เพื่อสิทธิของคนงานตั้งแต่ปีทศวรรษ 1970 เมื่อเริ่มต้นสร้างสาธารณูปโภคในท้องถิ่น มีการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ตามแนวชายฝั่งปัจจุบันมีที่งหมด 15 แห่ง และเขายังก่อตั้งสหภาพแรงงานโรงงานนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกอีกด้วย

 “สหภาพแรงงานมีนโยบาย 19 ข้อต่อผู้ประกอบการโรงงาน รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไม่ปลอมระเบียนรังสีและไม่บังคับให้คนงานโกหกผู้ตรวจของราชการเกี่ยวกับขั้นตอนความปลอดภัย แม้ว่าคนงานกว่า 180 คนเป็นสมาชิกของสหภาพ ผู้นำของสหภาพจะถูกเยี่ยมโดยพวกนักเลงเร็วๆนี้ โดยนักเลงกลุ่มนี้เคยเตะประตูและข่มขู่ครอบครัวของพวกเขา” เท็ดซึน กล่าว

 “พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พูด” นากาจิมะ กล่าว “เมื่อคุณเข้าสู่โรงงานนิวเคลียร์ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ”

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา บทสนทนาระหว่างคนงานฟุกุชิมาไดอิจิที่บริเวณพื้นที่ให้สูบบุหรี่ศูนย์ของผู้โยกย้าย มีประเด็นเกี่ยวกับจะอยู่หรือจะกลับไปที่โรงงาน บางคนพูดว่าทำงานก่อสร้างยังจะดูปลอดภัยกว่า “คุณเห็นรูโหว่ที่พื้น แต่คุณมองไม่เห็นรังสีหรอก” คนงานคนหนึ่งกล่าว

นายอิชิซาวา คนงานแค่เพียงคนเดียวที่ยอมเปิดเผยชื่อกล่าวว่า “ผมจะกลับไปที่โรงงานอีกในสักวันหนึ่ง แต่ผมต้องอดอาหาร” นอกจากงานของเขาที่ไดอิจิ เขาได้ทำงานที่โรงไฟฟ้าความร้อนและโครงการก่อสร้างทางหลวงในพื้นที่ สำหรับตอนนี้เขากล่าวว่าเขาจะอยู่ห่างจากอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไว้ก่อน

“เราอยากได้งาน แต่ก็ต้องเป็นงานที่ปลอดภัยสำหรับเราด้วย”

 

ที่มา :

Japanese Workers Braved Radiation for a Temp Job (HIROKO TABUCHI, www.nytimes.com, April 9, 2011)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สภาเห็นชอบถอนสัญญา 8 ฉบับ รวมโลกร้อน-แรงงาน ครม.อ้างรอกฎหมายลูก ม.190

Posted: 03 May 2011 07:53 AM PDT

3 พ.ค.54 เวลา 09.30 น. มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา นัดสุดท้ายก่อนยุบสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมเปิดให้สมาชิกหารือ หลัง ส.ส.-ส.ว. มาร่วมประชุมบางตาทำให้องค์ประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งที่ 312 คน จาก 623 คน กระทั่ง เวลา 11.10 น. จึงได้เข้าสู่วาระการประชุม โดยนายชัยแจ้งว่า ครม.ได้ขอถอนหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชการอาณาจักรไทยจำนวน 8 ฉบับ ได้แก่ 1.การดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง 3.ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน 4.บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย 
 
5.บันทึกการหารือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า และร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า 6.ร่างกรอบการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงด้านการขนส่งทางบกระหว่างไทย-ลาว-จีน 7. บันทึกการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชาครั้งที่ 7 และ 8.กฎบัตรสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

จากนั้น นายชัยจึงสั่งตรวจสอบองค์ประชุมก่อนลงมติอนุมัติให้ถอนการพิจารณา ปรากฏว่าได้กดออดเรียกนานประมาณ 10 นาที แต่ ส.ส.-ส.ว.ยังอยู่ในห้องประชุมบางตา ทำให้นายชัยกล่าวว่า มีสมาชิกมาเซ็นชื่อเกือบ 400 คน ขอให้มาลงคะแนน จะได้รู้ว่าใครที่มาเซ็นชื่อแล้วไม่อยู่ในห้องบ้าง แต่ก็เข้าใจว่าใกล้เลือกตั้งแล้ว ตอนนี้สมาชิกพรรคเพื่อไทย หายไปเกือบหมด ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและ ส.ว.ต่างลุกขึ้นมาอภิปรายขอให้รัฐบาลส่งรัฐมนตรีมาชี้แจงเหตุผลที่ต้องถอนร่างดังกล่าวออกไป อย่างไรก็ดี รัฐบาลไม่ได้เตรียมรัฐมนตรีมาชี้แจง ทำให้นายชัยได้สั่งพักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที ต่อมาเมื่อเวลา 11.45 น. ได้เปิดประชุมอีกครั้ง โดยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทน ครม. ชี้แจงว่า ที่ขอถอนเนื่องจากหนังสือสัญญาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และจะมีการออกกฎหมายลูก จึงขอถอนหนังสือสัญญาทั้งหมดออกไปก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายชัยได้ตรวจสอบองค์ประชุมระบุว่า คนที่เสียบบัตรแสดงตนขอให้ได้รับเลือกตั้งทุกคนในรอบหน้า จากนั้นที่ประชุมได้เริ่มทยอยลงมติ โดยเสียงข้างมากมีมติเห็นชอบถอนหนังสือสัญญาทั้ง 8 ฉบับออกจากระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา จากนั้นนายชัยกล่าวว่า สมาชิกรัฐสภาได้ทำหน้าที่ครบหมดไม่มีตกค้างในสภา แม้แต่เรื่องเดียว ถือว่าได้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติอย่างมหาศาล ถึงจะยุบสภาวันนี้ก็พร้อม ซึ่งก่อนจากกัน ขอเชิญสมาชิกทุกคนร่วมรับประทานอาหารร่วมกันที่ห้องโถงอาคารรัฐสภา 1 และสั่งปิดการประชุมเวลา 12.10 น.

 
ที่มา: เว็บไซต์มติชน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม.รอบแรกทิ้งทวนเกือบหมื่นล้าน กอ.รมน.ได้อีก 293 ล้าน

Posted: 03 May 2011 07:35 AM PDT

ประชุมครม. นัดสุดท้าย รอบแรก-บ่าย อนุมัติกรอบวงเงินให้ 6 หน่วยงานดำเนินการเกือบหมื่นล้าน ยังประชุมรอบค่ำอีกร้อยกว่าวาระ ด้านกอ.รมน.สรุปผลงาน 6 เดือนเสนอ“มาร์ค” แจงจับวิทยุชุมชนเหตุผิด ม.116 ยุยงให้ปั่นป่วน ได้งบ293 ล้าน เป็นค่าตอบแทนกองกำลังเพื่อไทยชี้ รมต.ผลาญงบเทกระจาด สั่งใช้เงินหลวงซื้อสื่อโปรโมตตัวเอง

3 พ.ค.54 เวลา 17.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รอบแรก นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าในรอบแรก ครม. ได้พิจารณาเรื่องในระเบียบวาระแล้วเสร็จ 96 เรื่อง จากวาระทั้งหมด 127 เรื่อง เบื้องต้นมีสาระสำคัญได้แก่ ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 (งบกลาง) จำนวน 123 ล้านบาท ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อดำเนินการในโครงการกรุงเทพเมืองปลอดภัยห่างไกลอาชญากรรม

ครม.อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน 1,641 ล้านบาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปดำเนินในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเกษตรกร และเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน ทั้งนี้ ในรายละเอียดงบประมาณได้ให้กระทรวงเกษตรไปหารือกับสำนักงบประมาณอีกครั้ง
ครม.เห็นชอบในหลักการที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เสนอโครงการพัฒนาธุรกิจทางอิเล็คโทรนิค ปี 2555 วงเงิน 258 ล้านบาท
ครม.อนุมติโครงการผลิตทรัพยากรบุคคลตามโครงการตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ปี 2555 -2564 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งเบื้องต้นได้วางกรอบงบประมาณไว้ที่ 1.07 ล้านบาท ทั้งนี้ ถือว่าเป็นแผนงานระยะยาว ดังนั้น ก่อนการเสนอของบประมาณ ต้องหารือกับสำนักงบฯก่อนที่จะเสนอเข้าครม.ต่อไป
ครม.อนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอของบประมาณเช่ารถยนต์ เพื่อใช้ในราชการในกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จำนวน 152 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบก่อหนี้ผูกพัน ประจำปีงบประมาณ 2554-2557 สำหรับรายละเอียดเบื่องต้นจะเช่ารถจำนวน 235 คัน แบ่งเป็น รถบรรทุกดีเซลขนาดบรรทุก 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ และรถประจำตำแหน่งอธิบดีและรองอธิบดี
ครม.อนุมติในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอเรื่องให้พิจารณาขยายระยะเวลาการส่งมอบงานของผู้ประกอบการก่อสร้าง ที่ดำเนินในโครงการของหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจหลังจากที่ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงวันที่ 10 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2553 เบื้องต้นได้กำหนดหลักเกณ์ว่าต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้มีการลงนามในสัญญาจ้างกับหน่วยงานแล้ว และได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินโครงการเชียงใหม่นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม เพื่อเฉลิมฉลองให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เบื้องต้นไม่มีการของบประมาณเพื่อดำเนินการ ซึ่งทาง
ครม. ได้เสนอแนะให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมบูรณาการการทำงาน อาทิ หน่วยงานรัฐ, หน่วยงานเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน
ครม. เห็นชอบในหลักการของกรอบการลงทุนพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้พิจารณา เบื้องต้นเห็นชอบให้รฟท.ใช้เงินจากการกู้ ที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อลงทุนซื้อรถจักรและล้อเลื่อน โดยแบ่งเป็น การจัดหาโบกี้รถไฟใหม่ จำนวน 115 คัน เพื่อทดแทนการจัดซื้อรถใหม่ทั้งคัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.9 พันล้านบาท จัดซื้อเครื่องจักรและอะหลั่ย จำนวน 50 คัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท และซื้อหัวรถจักรดีเซล 56 หัว มูลค่า 3 พันล้านบาท
สำหรับเรื่องที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสนอโครงการสร้างพิพิธภัณฑ์พระราม 9 มูลค่า 1,800 ล้านบาทนั้น ครม. ได้อนุมัติให้ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 84 พรรษา นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามทีโออาร์ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเรื่องขยายเวลาส่งคืนหมีแพนด้ายักษ์หลินปิง ออกไปอีก 2 ปี

กอ.รมน.สรุปผลงาน 6 เดือน ไม่หวั่นถูกลดงบ ปี 55
ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะผอ.รมน. เป็นประธานในการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานรอบ 6 เดือนของกองอำนวนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ตามแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรปี 2553-2554 โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
           
พล.อ.ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ.ในฐานะเลขาธิการกอ.รมน. แถลงผลการประชุมกอ.รมน.ว่า เป็นการสรุปผลงานรอบ 6 เดือนของกอ.รมน. ในส่วนงานที่ กอ.รมน.ดูแล เช่น ยาเสพติด ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหลังจากสรุปผลงาน นายกรัฐมนตรีรู้สึกพอใจที่ กอ.รมน.ได้ทำงานขึ้นมากตามลำดับ 
           
พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวถึง เรื่องบประมาณ ว่า งบของ กอ.รมน.จริงๆที่ได้รับในปี 2555 ที่ขณะนี้ยังไม่ตกผลึก เราได้รับน้อยกว่าปี 2554 ที่ได้ซึ่งงบประมาณที่เตรียมไว้ทำอะไรเกี่ยวกับงานยุทธศาสตร์ได้น้อยตามที่ได้เตรียมไว้ แต่ไม่เป็นไรเราใช้วิธีการประสานงานกับส่วนราชการ ซึ่งตอนท้ายการประชุมนายกฯสรุปว่า ความสำคัญของกอ.รมน.คือ การประสานงานและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทางกอ.รมน.ส่วนกลางต้องประสานกับกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยของความสำเร็จ และตรงกับที่ทางกอ.รมนงพยายามดำเนินการอยู่  หากเราประสานงานกันได้ดีงบประมาณต่างๆ ก็ไม่ต้องใช้มาก จากงบปี 2554 ที่ได้จำนวน 7,500 กว่าล้านบาท ส่วนงบประมาณปี 2555 ได้จำนวน 6,943 ล้านบาทแบ่งเป็นงบการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6,164 ล้านบาท และงบความมั่นคงของรัฐ 778 ล้านบาท ซึ่งในงบความมั่นคงของรัฐ แบ่งเป็นงบกำลังพล 337 ล้านบาท และงบสำหรับขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์เพียง 440 ล้านบาท
           
พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาะจงถึงเรื่องความมั่นคงภายในกรณีที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ซึ่งกอ.รมน.มีส่วนเดียวคือ การจัดตั้ง ศอ.รส.และมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมดูแลสถานการณ์ แต่ไม่ได้ลงลึกไปว่า มีกลุ่มผู้ชุมนุมกี่สี กี่กลุ่ม และสถานการณ์เป็นอย่างไร เพียงแต่มีการสรุปสถานการณ์ภัยคุกคาม เช่นภัยยาเสพติดว่า มีความรุนแรงแค่ไหน ส่วนกรณีที่กอ.รมน.ถูกฝ่ายการเมืองโจมตีว่านำทหารเข้าไปในพื้นที่ เพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งนั้น สิ่งที่ตนคิดคือ ต้องทำความเข้าใจกับสื่อฯ หากสื่อเข้าใจบทบาทของ กอ.รมน. ตนก็จะไม่ถูกโจมตี แต่ถ้าเข้าใจผิดตนก็ถูกโจมตี ตนมีตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก เป็นเลขาธิการกอ.รมน.อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสายงานของตน ก็ต้องทำเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนใครจะมองอย่างไรหรือเข้าใจผิด ถ้ามีโอกาสตนจะไปทำความเข้าใจส่วนการดูแลการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รัฐบาลยังไม่ได้สั่งการ กอ.รมน.เป็นพิเศษในเรื่องนี้ และศูนย์ปฏิบัติงานทั้ง 6 ศูนย์ของ กอ.รมน.ก็ไม่มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้ง ทั้งนี้ยังเห็นรายงานว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะมีการยิงกันเป็นเรื่องธรรมดาแต่เรื่องใหญ่ๆ คงไม่มี         
            
เมื่อถามถึงกรณีที่กอ.รมน.แจ้งจับวิทยุชุมนุมที่ผิดกฎหมายจำนวน 13 สถานี พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวว่า ความจริงที่ถูกจับส่วนใหญ่มีความผิดตาม มาตรา 116 คือ ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยก ความสามัคคี ไม่ใช่ความผิด มาตรา 112 ที่เกี่ยวกับสถาบัน ซึ่งการจับกุม 13 สถานีวิทยุชุมนุมเราเอา พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงเป็นตัวนำในการจับกุม และมาขยายผลเอาผิดโทษทางอาญาตามหลัง ทำให้ดูเหมือนเป็นสองมาตรฐาน เพราะมีอีกหลายคลื่นที่ทำผิดพ.ร.บ.กระจายเสียง ซึ่งขณะนี้มีอยู่อีกจำนวน 800 กว่าสถานีที่กระทำผิด พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียง ซึ่งทางคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ไม่ใช่ว่าตนจะมาไล่จับเสื้อแดง เสื้อเขียว อย่างเดียว ตนมองอะไรที่กระทบต่อความมั่นคง
            
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลสรุปการปฏิบัติงานที่สำคัญมี 3 ด้าน คือ 1.ด้านการติดตามตรวจสอบและประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ โดยได้จัดทำโครงการเครือข่ายสายด่วนความมั่นคง 1374 ซึ่งเป็นงานตามแผนขับเคลื่อนงานด้านมวลชน กอ.รมน. โดยรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกด้านความมั่นคง และทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยคุกคามด้านต่างๆ โดยให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยความมั่นคงต่างๆเบอร์เดียวทั้งประเทศ 2.ด้านการเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์ไว้ซึ่งชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ โดยจัดชุดวิทยากรเสริมสร้างความเข้าใจสนับสนุนการดำเนินงานพิทักษ์ปกป้องและเทิดทูนสถาบัน รวมทั้งแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 1-4 จำนวน 100 ชุด นอกจากนี้ กอ.รมน.ยังร่วมกับกองทัพบก ร่วมรณรงค์สร้างกระแสความรักชาติและความจงรักภักดี โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อสนับสนุน กอ.รมน.ภาคในการพิทักษ์ปกป้องและเทิดทูนสถาบัน รวมทั้งการให้เครือข่ายวิทยุชุมชนเพื่อความมั่นคง กอ.รมน.จำนวน 700 สถานีออกอากาศผ่านระบบอินเตอร์เน็ตพร้อมกันทั้งเครือข่าย วันละ 3 เวลา โดยเน้นเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยให้นักจัดรายการสอดแทรกเรื่องของความรักชาติและความจงรักภักดี
            
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 3.ด้านการสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งได้มีการจัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนมวลชนของทุกหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการอำนวยการและการขับเคลื่อนงานด้านมวลชนในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งมีการฟื้นฟูมวลชนไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)และมวลชนกลุ่มอื่นๆในทุกคโครงการของ กอ.รมน.โดยเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการพิทักษ์ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นความเร่งด่วนลำดับแรก โดยในปี 2554 ได้ทำการฝึกอบรมและจัดตั้งมวลชนไทยอาสาป้องกันชาติในพื้นที่ กอ.รมน.จังหวัดรวม 26 จังหวัด จำนวน 30 รุ่น รุ่นละ 200 คน รวม 6,000 คน
 
กอ.รมน.รับเละ 293 ล้าน ครม.ไฟเขียวค่าตอบแทนกองกำลัง
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม. ว่า ครม.อนุมัติในหลักการตามที่ กอ.รมน.ขอสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 (งบกลาง) รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 293,610,318 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเพิ่มเติมให้กับกองกำลังของ กอ.รมน. ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2553 - 30 กันยายน 2554 โดย ครม.ให้ใช้เงินของแต่ละหน่วยงานภายในของ กอ.รมน. ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 
ครม.อนุมัติช่วยเหลือผู้เสียหายจากการชุมนุม ซ่อมที่ทำการนครอุดรฯ
ที่รัฐสภา นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังประชุม ครม. ว่า ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย โดยอนุมัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกู้เงินของผู้ประกอบการเพิ่มเติม กับผู้ที่ได้รับการผลกระทบ วงเงิน 2 พันล้านบาทเดิม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

นายวัชระกล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้ขยายวงเงินสินเชื่อในโครงการจากเดิมไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 15 ล้านบาท และให้ขยายระยะเวลาโครงการจากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 เป็นสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2554

นายวัชระกล่าวว่า ครม.ยังมีมติช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบการการชุมนุมฯ โดยอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงิน 5.5 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซมความเสียหายสำหรับสิ่งก่อสร้างของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ส่วนข้อเสนอในการช่วยเหลือบริษัท กรณีค่าเสียโอกาสในการหยุดวิ่งรถโดยสารประมาณ 20 วัน ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 วงเงินกว่า 100 ล้านบาทนั้น ครม.มอบหมายหน่วยงานเจ้าของสัมปทานไปหารือกับบีทีเอสว่าจะดำเนินการอย่างไร

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติงบกลาง ปีงบประมาณ 2554 สำหรับให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ส่วนราชการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยเป็นการฟื้นฟูและซ่อมแซมที่ทำการเทศบาลนครอุดรธานี พร้อมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น รวมเป็นวงเงิน 212.65 ล้านบาท
 
เห็นชอบตั้ง"กรมฝนหลวงฯ" เทิดพระเกียริต์"ในหลวง"
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่าครม.เห็นชอบให้มีการจัดตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนพรรษาครบ 84 พรรษา และในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระบิดาโครงการฝนหลวง และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯดำเนินการในการจัดตั้ง และร่างพ.ร.บ.ร่วมกับคณะกรรมการพัมนาระบบราชการ (กพร.) ต่อไป
 
ผบ.ทบ.ยันครม.อนุมัติซื้อรถถังยูเครน ไว้ป้องอธิปไตย
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการจัดซื้อรถถัง OPLOT จากประเทศยูเครน จำนวน 49 คัน ที่จะมีการอนุมัติผ่านจาก ครม. ในวันนี้ว่า ได้มีการเสนอขึ้นไปตามลำดับ โดยทุกอย่างก็จะต้องไปว่ากันในที่ประชุมครม. อีกทั้งรถถังที่ใช้งานในกองทัพอย่างน้อย 40 ปี และท่านจะถามว่ามันมีความจำเป็นในการต้องใช้หรือไม่ แล้วหากตนถามกลับว่าแล้วท่านจะให้ผมไปรบ แล้วมันจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมียุทโธปกรณ์ มีไว้เพื่อหากมีของดีกว่าเขา ของใหม่กว่าเขา และยิงได้ไกลเขา และมีเกราะหนากว่าเขา ตนอยากถามว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะกลัวหรือไม่ และอีกอย่างหนึ่งมันคุ้มค่าหรือไม่ที่เราจะต้องดูแลประชาชนและกำลังพลให้ปลอดภัยนี่คือประเด็น
"ซื้อวันนี้ก็จะต้องใช้ไปอีก 100 ปี หรือไม่ต่ำกว่า 50 ปี และรถถังที่ใช้กันอยู่ก็เป็นของเก่า ไม่ได้ซื้อของใหม่ ทั้งนี้ต้องรอดูเมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการขึ้นมา และมีคณะกรรมการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ (กมย.) มีการเสนอคุณสมบัติเข้าแข่งขันกันใน กมย. ก็สู้กันไป จะซื้อได้หรือไม่ผมยังไม่รู้ เมื่ออนุมัติมาจะซื้อได้หรือไม่ เพราะจะต้องมีขั้นตอนอนุมัติเปิดซองประกวดราคา ซึ่งประกวดมาแล้วอาจจะซื้อไม่ได้ หากไม่ได้ก็ยกเลิก อย่าไปมองประเด็นว่าช่วงนี้ทำไมซื้อเยอะ เหมาจ่ายให้ทหาร อย่าไปพูดแบบนั้น พูดแบบนั้นทหารเสียใจ ผมเรียนไปแล้วว่า การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นการวางแผนระยะยาว และการซื้อครั้งเป็นการวางแผนระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาถึงปี 2559 นี่คือการพัฒนากองทัพในรอบ 10 ปี และ 10 ปี มีอาวุธอะไรบ้างที่เก่า หรือที่จะต้องทดแทน หรืออะไรจะต้องซื้อใหม่ ทั้งปืน เอ็ม -16 ซึ่งทุกอย่างเป็นแผนการพัฒนากองทัพไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ กองทัพไม่ได้ประโยชน์ส่วนตัว กองทัพได้มาเพื่อใช้งานและปกป้องอธิปไตย ดังนั้นจะต้องดูแล และใช้อาวุธดี ๆ ใหม่บ้าง วันนี้ที่เราได้เปรียบอยู่เพราะมีอาวุธใหม่"


เพื่อไทยชี้ รมต.พลาญงบเทกระจาด สั่งใช้เงินหลวงซื้อสื่อโปรโมตตัวเอง
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค กล่าวว่าคณะกรรมการติดตามการทำงานของรัฐบาล (คตร) ได้ติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณในการโฆษณา แฝง ของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆของราชการ ในช่วงไกล้ยุบสภาฯ พบว่า หน่วยงานรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐมนตรีเกือบทุกกระทรวง ทำการประชาสัมพันธ์ตัวเองได้อย่างน่าเกียจมาก รัฐมนตรีบางคนสั่งการให้คนใกล้ชิดทำสปอตโฆษณาให้ตัวเองโดยใช้เงินภาษีของประชาชน ผ่านกระทรวงที่ตัวเองคุมอยู่อย่างไม่สนใจว่าจะเป็นงบจากไหน  กระทรวงหลายแห่งใช้เงินซื้อ สื่อทีวี บิลบอรด์ หาเสียงให้รัฐมนตรี หลายสิบล้านบาท รวมเป็นงบประมาณ คร่าวๆที่ คตร.ติดตามหลายร้อยล้านบาทเพียงเวลาไม่ถึง 10 วัน
        
ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งคณะกรรมการติดตามการใช้งบประมาณของรัฐบาลขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ โดยเฉพาะการใช้งบประมาณของ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ใช้งบประมาณซื้อสื่อซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโฆษณา พรรคการเมืองหรือไม่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ มองไม่เห็นผลงานของกระทรวงนั้นๆ นอกจาก ภาพรัฐมนตรีขนาดใหญ่  
       
นายจิรายุ กล่าวอีกว่า วันนี้ ประชาชนถามมาจำนวนมากว่า ทำไมพรรคเพื่อไทย ไม่ทุ่มเงินซื้อโฆษณาแบบถล่มทลายอย่างพรรคประชาธิปัตย์บ้าง ขอเรียนว่า 1.พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมีโอกาศและมีอำนาจในการใช้เงินภาษีประชาชนในทุกรูปแบบ ผ่านเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งอาจสั่งการผ่านกระทรวงให้ใช้งบประมาณต่างๆ ซื้อสื่อได้ ดูได้จากบางหน่วยงานไม่เกี่ยวกับนายอภิสิทธิ์ ก็มีการนำเอานายอภิสิทธิ์มาเป็น พรีเซนเตอร์  
          
2.พรรคประชาธิปัตย์ได้เงินจาก กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองจาก กกต.จำนวนหลายสิบล้านบาท( คล้ายกับกรณีเมสไซอะเมื่อปี2548) ซึงมีการใช้เงินจำนวนนี้ไปซื้อสื่อในขณะนี้ แต่เงินจากกองทุนนี้ พรรคเพื่อไทยไม่ได้รับจาก กกต. เป็นเพราะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองตั้งใหม่ หลังจากโดนยุบพรรคพลังประชาชน ทั้งๆที่ พรรคเพื่อไทยมีสส.มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งกลับไม่ได้ และ 3 พรรคเพื่อไทยได้รับการบริจาคผ่านรหัสภาษี 034 โดยไม่กล้าไปจัดงานระดมทุนจากเอกชนเพราะหมิ่นเหม่ต่อการ ต้องไปทดแทนบุญคุณกันเพราะบางเอกชนบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์หลาย สิบล้านบาทก็เชื่อว่าย่อมจะหวังผลตอบแทนชาตินี้เพราะไม่ใช่บริจาคสร้างศาลาวัดจะได้รอผลบุญชาติหน้า  
          
ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย ขอเรียกร้องไปยัง กกต. ให้พิจารณาความเป็นธรรมให้กับพรรคเพื่อไทย และแม้พรรคเพื่อไทย จะทุ่มจ่ายโฆษณาแบบเศรษฐี แบบพรรครัฐบาลไม่ได้ แต่ก็ใช้ความตังใจจริงในการทำนโยบายเพื่อประชาชน และ แสดงผลงานในอดีตให้เห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตาประชาชน นอกจากนี้ แค่ผลงานและการแถลงนโยบายของพรรคในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังถูกผู้มีอำนาจในรัฐบาลสั่งการให้ ตรวจแก้มา ถึง 4 ครั้ง จนแทบจะออกอากาศไม่ได้แล้ว
 
ประชุม ครม. ครั้งสุดท้าย รอบค่ำ "ปณิธาน" แจงพิจารณาอีก 140 วาระ

เวลาประมาณ 20.00 น. การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้ง สุดท้าย รอบที่ 2 ได้เริ่มการพิจารณาการประชุมแล้ว เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา หลังจากพักการประชุมเมื่อช่วงบ่าย โดยมีบรรดาคณะรัฐมนตรีเข้าประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง โดย นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมช่วงต่อจากนี้ไป จะเป็นการพิจารณาเรื่องที่ยังคงค้างอยู่ ซึ่งมีวาระพิจารณาปกติ ทั้งหมด 105 วาระ วาระจรอีก 35 วาระ รวมเป็น 140 วาระ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาการประชุมอีก 3 ช.ม. จะเสร็จสิ้นการประชุม ทั้งนี้ บรรดาสื่อมวลชนยังคงเกาะติดการประชุมครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้าย ก่อนที่ นายกรัฐมนตรี จะประกาศยุบสภา
ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก,เว็บไซต์เดลินิวส์, เว็บไซต์มติชน, เว็บไซต์เนชั่นทันข่าว, เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย, เว็บไซต์ไอเอ็นเอ็น
 
ใครขออะไร? งบกลางแสนล้าน ทิ้งทวนครม.นัดสุดท้าย
 
วันที่ 3 พ.ค. เป็นนัดส่งท้ายก่อนที่จะยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่นั้น มีการเสนอเรื่องเข้าสู่ครม.เพื่อขออนุมัติงบประมาณจำนวนมาก อาทิ กระทรวงการคลังขอความเห็นชอบการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงเฉพาะราย ในแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทยในของการปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ 40 ราย โดยกรณีของข้าราชการ ให้ได้รับเลื่อนเงินเดือนร้อยละ 4 (ครึ่งปีของฐานในการคำนวณ) หรือเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีแรก 1 ขั้น สำหรับระบบการเลื่อนเงินเเดือนเช่นเดิม ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นระบบร้อยละ และกรณีของหน่วยงานอื่นให้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษตามความเหมาะ สม

ด้านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขออนุมัติหลักการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 293,610,318 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมในส่วนต่าง ตามอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการที่ปรับเพิ่มด้วย ให้กับกำลังพลของ กอ.รมน. ที่ปฏิบัติการในสนามตามแผน หรือคำสั่งยุทธการตลอด 24 ช.ม. ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.53-30ก.ย. 54

ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการขอ อนุมัติแผนงบประมาณขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2555-2561 ) จำนวน 371,598.379 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผน/โครงการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ศึกษาฯ ในปี 2555 ตามนโยบายเร่งด่วน 10 ประการ จำนวน 15,839.956 ล้านบาท

ส่วน กระทรวงสาธารณสุข ขออนุมัติงบกลางปีงบฯ 2554 จำนวน 415,250,000บาท เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โครงการส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ และโครงการ "พ่อแม่มือใหม่ เลี้ยงลูกถูกวิธี"

ทางด้านสำนักงบประมาณขออนุมัติให้กรมส่งเสริมการ ปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวง มท. ใช้จ่ายงบกลาง ปีงบฯ 2554 จำนวน 212,655,900 บาท โดยให้เบิกจ่ายในงบอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่เทศบาลนครอุดรธานีในการจัดหา ครุภัณฑ์และควบคุมงานก่อสร้างของเทศบาลฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53

ส่วน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอขออนุมัติให้ ศอ.บต.เบิกจ่ายงบกลางปีงบฯ 2554 จำนวน 180,688,000บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ระดับหมู่บ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พนม.) ในพื้นที่ 12 อำเภอของ จ.สงขลา

ด้าน กระทรวงแรงงาน ยังขออนุมัติงบกลาง ปีงบฯ 2554 จำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินการด้านการบริหารจัดการ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามนโยบายการขยายความคุ้มครองประกันสังคม ตามมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ ) แห่งพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ขณะที่กระทรวงคมนาคมขออนุมัติโครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วรวม โดยขออนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วรวม เป็นหน่วยงานภายใต้ สนข. ในช่วงเตรียมการ 4 ปีแรกจะใช้จากงบปกติของ สนข. และในปีที่เปิดดำเนินงานในปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้จัดสรรงบฯประจำปีในวงเงิน 62.15 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม การดำเนินงานตามแผนงานการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ให้ใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) วงเงินประมาณ 10 ล้านดอลล่าร์ หรือ 300 ล้านบาท และการดำเนินงานจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง โดยใช้เงินกู้ ADB วงเงินประมาณ 13 ล้านดอลล่าร์ หรือ 390 ล้านบาท

นอก จากนี้ คค.ยังเสนอให้ ครม.ทราบผลการดำเนินการตามมติ ครม. เรื่องการศึกษาแนวทางและกำหนดมาตรการนำเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ( Global Positioning System : GPS) มาติดตั้งกับรถสาธารณะ ครั้งที่ 1 ซึ่งกำหนดจะติดตั้ง GPS เต็มรูปแบบภายในปี 2558 โดยการดำเนินการในระยะแรกภายในปี 2554 คค.จะขอใช้งบประมาณจากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ของกรมการขนส่งทางบกวงเงิน 10 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ในส่วนของโครงการหรือเรื่องที่ถือเป็นนโยบายสำคัญนั้น ทางกระทรวงมหาดไทยขออนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อำเภอขึ้นในทุกอำเภอครอบคลุมทุกจังหวัด พร้อมอัตรากำลังของข้าราชการอำเภอละ 3 อัตรา จำนวน 877 อัตรา รวมทั้งสิ้น 2,631 อัตรา ทางด้านสำนักงบปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอนำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเห็นควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาปรับโครงสร้างการเมือง

และ กระบวนการยุติธรรมเสนอให้ ครม.พิจารณา ซึ่งสาระสำคัญของรายงานเห็นควรให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียง สุงสุด จากระบบบัญชีรายชื่อมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และดำรงตำแหน่งนายกฯ ทั้งนี้ฝ่ายบริหารมีอำนาจยับยั้งกฎหมายที่กระทบกับการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งเสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ และรัฐบาลไม่มีสิทธิยุบสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสิทธิอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ หรือรัฐมนตรี การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในส่วนของกระทรวงคมนาคม ในสังกัดของรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย เป็นที่น่าจับตาเป็นพิเศษว่าเตรียมเสนอ 8 โครงการใหญ่ระดับหลักพันหลักหมื่นล้าน จำนวน 8 โครงการวงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จีอี 50 คัน วงเงิน 6,563 ล้านบาท 2.โครงการปรับปรุงรถจักร 56 คัน วงเงิน 3,359 ล้านบาท 3.โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,981.05 ล้านบาท 4.โครงการก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่-อำเภอหางดง วงเงิน 1,050 ล้านบาท 5.โครงการก่อสร้างถนนราชพฤกษ์ ถนนกาญจนาภิเษก (แนวตะวันออก-ตะวันตก) วงเงิน 2,470 ล้านบาท 6.โครงการสร้างจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าเพชรบุรีกับสถานีมักกะสัน วงเงินกว่า 10 ล้านบาท 7.โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการการเดินอากาศ 4,460 ล้านบาท 8.ขอออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดินทางด่วนใหม่ สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก 16.7 ก.ม. ค่าเวนคืน 9,500 ล้านบาท รวมทั้งการขอยกเว้นการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

ขณะที่กระทรวงกลาโหม เสนอขออนุมัติจัดซื้อรถถังยูเครนรุ่น Oplot วงเงิน 7.2 พันล้านบาท จำนวน 54 คัน วงเงินงบประมาณ 7,200 ล้านบาท ส่วนกระทรวงพาณิชย์จะเสนอแผนพัฒนาและส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2554-2558 กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียน ด้านกระทรวงคลังขอ 2.8 พันล้านบาท ทำประกันภัยพืชผล

ด้านนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฝ่ายเศรษฐกิจ ขออนุมัติงบประมาณ 2.2 พันล้านบาท ดำเนินโครงการปุ๋ยสั่งตัด โดยให้ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ 2-3 หมื่นล้านบาทซื้อปุ๋ย เป็นต้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.จะเสนอให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณที่ใช้ในการจัดการเลือกตั้ง เป็นจำนวนเงิน 3,817 ล้านบาท ส่วนปัญหาขัดแย้งไทย-กัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเสนอขอความเห็นชอบการการแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อเป็นคณะทำงานด้านกฎหมายกรณีปราสาทพระวิหาร จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเป็นทนายชาวฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามทั้ง 3 คน เดิมเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาของกระทรวงมาแล้วก่อนหน้านี้

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/pol/168526

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กกต.เผยกฎหมายไม่ได้ห้ามหาเสียงออนไลน์

Posted: 03 May 2011 06:06 AM PDT

(3 พ.ค.54) นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านสืบสวนสอบสวน ให้ความเห็นกรณีที่อาจมีพรรคการเมืองบางพรรคหาเสียงบนสื่อออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก ในช่วงที่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ว่า กฎหมายไม่ได้ห้ามหาเสียงทางสื่ออินเทอร์เน็ต ห้ามเฉพาะสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ป้าย แผ่นพับสิ่งพิมพ์ อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่ควบคุมยาก

“ผมเห็นว่า การหาเสียงทางสื่อออนไลน์เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม เพราะผู้ที่เข้าทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊ก เป็นเพียงแค่กลุ่มคน ไม่ใช่คนทั้งหมด แต่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้บ้านเมืองของเราไม่สกปรกจากการติดป้ายหาเสียงในพื้นที่ต่างๆ สร้างความรำคาญทางสายตา” นายสมชัย กล่าว

ส่วนการหาเสียงผ่านทางสถานีวิทยุชุมชน หรือสถานีวิทยุเถื่อน จะเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่จะต้องมีการสืบสวน ยอมรับว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตรวจสอบยาก อาจจะมีการกลั่นแกล้งจากฝั่งตรงข้าม เพื่อให้มีการยุบพรรค หากสืบสวนสอบสวนได้ว่าพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ถือว่าไม่มีความผิด

ต่อกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า จะมีการโหวตโนในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมชัย เห็นว่า การที่ใครจะโหวตโน ไม่มีความผิด แต่ถ้าเป็นพรรคการเมืองรณรงค์ให้โหวตโนแล้วระบุว่าไม่เลือกพรรคนั้น เพราะเหตุนั้นเหตุนี้ ทำให้ได้รับความเสียหายในเรื่องของคะแนนนิยม ก็จะเข้าข่ายความผิดถึงขั้นยุบพรรคได้

 

ที่มา:สำนักข่าวไทย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รอบโลกแรงงาน เมษายน 2554

Posted: 03 May 2011 05:31 AM PDT

เกิดการผละงานประท้วงในหลายเมืองสำคัญของบังกลาเทศ

4 เม.ย. 54 - โรงเรียนและธุรกิจในหลายเมืองสำคัญของบังกลาเทศปิดทำการในวันนี้ หลังชาวมุสลิมเคร่งศาสนาบังคับให้ผละงานทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ใช้กฎหมายอิสลามและยกเลิกนโยบายใหม่ของรัฐบาลที่จะอนุญาตให้ผู้หญิงรับมรดกเท่าผู้ชาย การผละงานดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันหลังจากมีนักเรียนเสียชีวิต 1 คนและผู้ประท้วงอีก 25 คนได้รับบาดเจ็บในการปะทะรุนแรงระหว่างกลุ่มเคร่งศาสนาและตำรวจในพื้นที่ทางตะวันตกของบังกลาเทศ โดยผู้ประท้วงเหล่านั้นต้องการให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายใหม่ที่ให้สิทธิผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชายในการรับมรดก ทั้งนี้ ตามกฎหมายอิสลาม ผู้หญิงสามารถรับมรดกได้เพียง 1 ใน 4 ของสัดส่วนที่ผู้ชายได้รับจากบิดามารดา การจราจรบนถนนหลายสายในกรุงธากาวันนี้ ค่อนข้างบางตา ทำนองเดียวกับอีกหลายเมือง แต่ยังไม่มีรายงานเหตุรุนแรงในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการผละงานประท้วง ซึ่งนำโดยคณะกรรมาธิการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม ด้านประธานคณะกรรมาธิการบังคับใช้กฎหมายอิสลามกล่าวหารัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเชค ฮาสินา ว่า ละเมิดคัมภีร์อัลกุรอานโดยการประกาศนโยบายมรดกฉบับใหม่ แต่ เชค ฮาสินายืนยันว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ทำร้ายชาวมุสลิม แต่รัฐบาลต้องการให้ผู้หญิงมีสิทธิด้านการทำงาน การรับมรดกและการศึกษามากขึ้น

ผละงานประท้วง “สายการบินแควนตัส” ส่อเค้าลามไปทั่วโลก

6 เม.ย. 54  - สายการบินแควนตัสเตรียมเผชิญปัญหาการประท้วง และเจตนาเตะถ่วงการทำงานจากผู้ดำเนินการขนส่งกระเป๋าเดินทางในท่าอากาศยานทั่วโลก หลังจากสหภาพแรงงานต่างประกาศเตือนวันนี้ (6) ถึงการผละงานประท้วงสายการบินประจำชาติออสเตรเลียแห่งนี้สหพันธ์แรงงานการขนส่งระหว่างประเทศ (ไอทีเอฟ) แถลงว่า แกนนำของสหภาพมีกำหนดนัดหมายประชุมร่วมกันในสัปดาห์หน้า ณ กรุงลอนดอน เพื่อหาหนทางประท้วงสายการบินแควนตัส ซึ่งกำลังเผชิญกับการผละงานในออสเตรเลีย กรณีค่าตอบแทนและสถานภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ประมาณ 9,000 คนข่มขู่ว่า จะไม่ยอมทำงาน หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสายการบินแควนตัสกับสหภาพแรงงานการขนส่งออสเตรเลีย (พีดับเบิลยูยู) ความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับในสัปดาห์นี้ เมื่อทางแควนตัสประกาศออกมาว่า กำลังเตรียมความพร้อมให้กับผู้จัดการแผนกต่างๆ เป็นกำลังสำคัญทำงานแทนพวกที่ผละงาน เพื่อทำให้การประท้วงด้วยการหยุดงานไร้ความหมาย

เดวิด ค็อกรอฟต์ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานการขนส่งระหว่างประเทศ (ไอทีเอฟ) ประณามแผนการของสายการบินแควนตัส โดยระบุว่า “เกิดความสงสัยอย่างหนักว่า แควนตัสมีความจริงใจในการเจรจากับคนของเราหรือไม่” ด้าน แพ็ดดี้ ครัมลิน เลขาธิการใหญ่สหภาพแรงงานการเดินเรือทะเลแห่งออสเตรเลีย (เอ็มยูเอ) ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า แควนตัสอาจต้องเผชิญกับมาตรการทางอุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานจะลดประสิทธิภาพการทำงานโดยเจตนา ณ ท่าอากาศยานต่างๆ ทั้งในอังกฤษ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น หากทางสายการบินยังคงเดินแผนบ่อนทำลายการผละงานประท้วง เพื่อเรียกร้องสิทธิที่พนักงานควรได้ ทั้งนี้ มีรายงานว่า การติดป้ายประท้วงในอาคารผู้โดยสารขาเข้า และการขนส่งกระเป๋าล่าช้าโดยเจตนาเป็นหนึ่งในแผนการที่สหภาพแรงงานในออสเตรเลียกำลังพิจารณากันอยู่ อนึ่ง สหภาพแรงงานการเดินเรือทะเลแห่งออสเตรเลีย (เอ็มยูเอ) เป็นหัวเรือใหญ่ในการผละงานประท้วงเมื่อปี 1998 เหตุการณ์ครั้งนั้นกินเวลาเนิ่นนานกว่า 7 สัปดาห์ และตามมาด้วยการไล่แรงงานอู่เรือออกหลายพันคน

แรงงานฮังการีประท้วงมาตรการประหยัดของรัฐบาล

10 เม.ย. 54 - สมาชิกสหภาพแรงงานฮังการีชุมนุมกันกลางกรุงบูดาเปสต์ แสดงจุดยืนต่อต้านมาตรการประหยัดรัดเข็มขัดของรัฐบาล ด้วยข้ออ้างว่าก่อผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเรื่องค่าจ้างแรงงานและระบบเงินบำนาญ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประท้วงเปรียบเทียบสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของโปรตุเกสถือว่าอยู่ในขั้นลำบากมาก ส่วนฮังการีก็อยู่ในขั้นถือว่าลำบาก อย่างไรก็ตาม เหล่ารัฐมนตรีกระทรวงการคลังของกลุ่มชาติสหภาพยุโรปอยู่ระหว่างเร่งหารือแก้ปัญหา แต่ยังแสดงท่าทีปกป้องมาตรการประหยัดของรัฐบาลแต่ละประเทศว่ายังไม่แย่ถึงขนาดเรียกว่าล้มเหลว

ทีมชาติโบลิเวียเลื่อนซ้อม เหตุสหภาพแรงงานประท้วง

 9 เม.ย. 54 - สหพันธ์ลูกหนังโบลิเวีย ประกาศเลื่อนการเรียกตัวนักเตะทีมชาติเข้าแค้มป์ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมเข้าร่วมศึกโคปา อเมริกา 2011 เป็นวันจันทร์นี้ หลังจากกลุ่มสหภาพแรงงานออกมาประท้วงครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำกลางถนนในกรุงลาปาซ ตลอดหลายวันที่ผ่านมา สหพันธ์ฟุตบอลโบลิเวีย (เอฟบีเอฟ) ออกมาประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ 9 เม.ย.ว่าการเก็บตัวฝึกซ้อมของทีมชาติโบลิเวีย เพื่อปรับสภาพทีมก่อนสู้ศึกโคปา อเมริกา 2011 ที่ประเทศอาร์เจนตินา ในเดือน ก.ค.นี้ จะถูกเลื่อนไปเริ่มกันในวันจันทร์ที่ 11 เม.ย.นี้ หลังจากเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ของสภาพแรงงานกลางกรุงลา ปาซ เมืองหลวงของประเทศ เอฟบีเอฟ ระบุว่าการเก็บตัว 4 วัน "ต้องถูกเลื่อนออกไปด้วยเหตุผลปัญหาทางสังคม" หลังจากสภาพแรงงานเพิ่มมาตรการกดดันรัฐบาล เพื่อเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีกกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มีคนหลากหลายอาชีพรวมถึง คนงานเหมือง, ครู และ บุคลากรด้านสาธารณสุข ออกมารวมกลุ่มประท้วงกลางถนนในช่วงหลายวันที่ผ่านมา และมีแผนจะเพิ่มความรุนแรงอีกในสัปดาห์หน้า โบลีเวีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในกลุ่มละตินอเมริกา และทีมชาติของพวกเขามีคิวจะฟาดแข้งกับ ทีมชาติอาร์เจนตินา เจ้าภาพ ในนัดเปิดสนาม โคปา อเมริกา ในวันที่ 1 ก.ค.นี้

กัมพูชาสอบเรื่องคนงานรองเท้าเป็นลมหมู่ 800 คน

10 เม.ย. 54 - ทางการกัมพูชาเริ่มการสอบสวนเหตุคนงานโรงงานผลิตรองเท้า 2 แห่งเป็นลมหมู่พร้อมกัน 800 คน โดยคนงานเป็นลมหมู่เมื่อคืนวันเสาร์และเช้าวันอาทิตย์ที่โรงงานยูนิเวอร์แซลแอพพาเรล (กัมพูชา) และโรงงานเหวเชิน (กัมพูชา) ทั้งสองแห่งผลิตรองเท้าให้แก่พูม่า บริษัทเครื่องกีฬาของเยอรมนี ตำรวจกรุงพนมเปญเผยว่า กำลังร่วมกับกระทรวงแรงงานสอบสวนเหตุที่เกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าคนงานทำงานหนักเกินไป และจะตรวจสอบเรื่องสภาพการทำงานภายในโรงงาน เช่น เรื่องการระบายอากาศ ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป คนงานหญิงวัย 19 ปีคนหนึ่งเผยว่า รู้สึกเหนื่อยและวิงเวียน คนงานอีกคนเผยว่า กลิ่นจากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้ากีฬาอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเธอป่วย ด้านศูนย์การศึกษาด้านกฎหมายชุมชนซึ่งเป็นหน่วยงานไม่ค้ากำไรระบุว่า เหตุเป็นลมหมู่เป็นปัญหาใหญ่ของอุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชาเพราะไม่มีการบังคับใช้กฎหมายตรวจตราโรงงานอย่างจริงจัง สิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมนำรายได้เข้าประเทศมากเป็นอันดับสามของกัมพูชา รองจากเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ปีที่แล้วคนงานสิ่งทอมากกว่า 210,000 คนผละงานประท้วงรัฐบาลที่พยายามจัดระเบียบสหภาพแรงงาน

สหภาพแรงงานอังกฤษรวมพลังต้านแผนตัดงบ

13 เม.ย. 54 - ประธานสหภาพบริการสาธารณะและพาณิชย์ของอังกฤษ (พีซีเอส) เปิดเผยว่าพีซีเอสและสหภาพแรงงานอังกฤษจะประชุมประจำปีร่วมกัน ในการประชุมสหภาพทั่วประเทศซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พ.ค. และจะหารือแผนการนัดหยุดงานประท้วงพร้อมกันทั่ว ประเทศ ใน เดือน มิ.ย. เพื่อต่อต้านแผนตัดเงินงบประมาณด้านการบริการสาธารณะรวมถึงแผนปรับลดตำแหน่งงานทั่วประเทศของ รัฐบาลนายเดวิดคาเมรอนโดยพีซีเอสยืนยันว่าสมาชิกกว่า 250,000 คน  พร้อมหยุดงานประท้วงแน่นอน.

นักข่าว AP ประท้วงต่อรองสัญญาจ้างฉบับใหม่

14 เม.ย. 54 - เว็บไซต์ Press TV รายงานว่า พนักงานของสำนักข่าว AP ได้ทำการประท้วงผู้บริหาร เนื่องจากไม่พอใจนโยบายการตัดสวัสดิการหลังเกษียรและรายได้จากการทำงานที่ลดลง ผู้สื่อข่าวและช่างภาพของสำนักข่าว AP ได้ทำเจรจาเรื่องสัญญาจ้างฉบับใหม่กับผู้บริหารมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว (ค.ศ.2010) ทั้งนี้ในการเจรจาผู้บริหารยื่นข้อเสนอข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับใหม่ที่พนักงานไม่ค่อยจะพอใจนัก (ตัดสวัสดิการหลังเกษียร-รายได้จากการทำงานที่ลดลง) ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลกระทบของวิกฤตการเงินทั่วโลกในปี ค.ศ. 2007 ทำให้ AP ต้องมีการปรับองค์กร ในปี ค.ศ. 2009 พนักงานเกือบ 10% ถูกเลิกจ้าง ส่วนคนที่เหลือก็ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนมาถึง 2 ปี อนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ผู้สื่อข่าวและช่างภาพของ AP ได้ประท้วงด้วยการระงับการพิมพ์ชื่อลงในข่าว และภาพข่าว ซึ่งนอกจากการไม่ยอมใส่ชื่อแล้ว พนักงานบางคนยังวางแผนจะเลิกใช้ของส่วนตัวเช่น ยานพาหนะ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งนี้ปฏิกิริยาในครั้งนั้นเป็นประท้วงการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่พยายามคุกคามต่อความมั่นคงในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดองค์กร รวมถึงการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และไม่ยอมขึ้นเงินเดือน

ญี่ปุ่นเผยคนงานกู้วิกฤตนิวเคลียร์ 28 คนได้รับกัมมันตภาพรังสีระดับสูง

15 เม.ย. 54 - ญี่ปุ่นแจ้งต่อสำนักงานปรมาณูของสหประชาชาติว่ามีคนงาน 28 คนที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีระดับสูงระหว่างที่พวกเขาเหล่านั้นพยายามสร้างความเสถียรแก่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(ไอเออีเอ) อ้างข้อมูลจากทางการญี่ปุ่นระบุจากคนงานทั้งหมด 300 คนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ โรงงานที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม มีอยู่ 28 คนที่ร่างกายสะสมกัมมันตภาพรังสีมากกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ต อย่างไรก็ตามไอเออีเอระบุในวันศุกร์ (15) ว่า "ยังไม่มีคนงานรายใดที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีเกินกว่า 250 มิลลิซีเวิร์ตตามที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดไว้สำหรับคนงานฉุกเฉิน" กระนั้นก็ดีค่าเฉลี่ยที่คนงานโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะได้รับกัมมันตภาพรังสี ณ สถานการณ์ปกติอยู่ที่ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เมื่อเดือนที่แล้ว คนงานสองคนของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังจากพวกเขาได้รับกัมมันตภาพรังสีสูงถึง 170-180 มิลลิซีเวิร์ต หลังโดนน้ำปนเปื้อน โดยแม้ทั้งสองคนได้สวมชุดป้องกันรังสีแล้ว แต่น้ำซึ่งปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีก็ซึมเข้าไปสัมผัสกับขาของพวกเขา อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากทั้งสองคนก็หายเป็นปกติ วิกฤต ณ ฟูกูชิมะถือเป็นหายนะทางนิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลเมื่อ 25 ปีก่อน และทางการญี่ปุ่นก็ยกระดับความรุนแรงของวิกฤตคราวนี้สู่เหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ระดับ 7 อันเป็นระดับสูงสุดเช่นเดียวกับที่เชอร์โนบิล อย่างไรก็ตามแต่ที่ไม่เหมือนกันคือจนถึงตอนนี้ที่ฟูกูชิมะยังไม่พบว่ามีใครเสียชีวิตจากการได้รับกัมมันตภาพรังสี

ผู้นำศรีลังกาขอให้ประชาชนประท้วงยูเอ็นในวันแรงงาน

17 เม.ย. 54 - ประธานาธิบดีมหินดาราจะปักเชอของศรีลังกาขอให้ประชาชนชุมนุมใหญ่ในวันแรงงาน ประท้วงรายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่เรียกร้องให้สอบสวนการก่ออาชญากรรมสงครามในช่วงที่ทางการปราบปรามกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม ทำเนียบประธานาธิบดีเผยแพร่เทปบันทึกเสียงที่นายราจะปักเชอกล่าวกับเจ้าหน้าที่พรรคเสรีภาพศรีลังกาว่า การชุมนุมเนื่องในวันแรงงานปีนี้ควรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแสดงพลังต่อต้านเสียงเรียกร้องให้สอบสวนเรื่องการก่ออาชญากรรมสงครามในศรีลังกา หลังมีข่าวเล็ดรอดมาว่ายูเอ็นออกรายงานเรียกร้องให้ตั้งคณะสอบสวนอิสระข้อกล่าวหาที่เชื่อถือได้ว่าศรีลังกาได้ก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในระหว่างปฏิบัติการขั้นสุดท้ายต่อกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมปี 2552 มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน นายราจะปักเชอกล่าวว่า โลกได้ประโยชน์จากการที่ศรีลังกาปราบปรามกลุ่มกบฏซึ่งมักก่อเหตุด้วยการสวมเสื้อติดระเบิดพลีชีพ ข้อกล่าวหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เริ่มมีเสียงเรียกร้องมากขึ้นให้นำตัวผู้นำปฏิบัติการทางทหารปราบปรามกลุ่มกบฏไปขึ้นศาลอาชญากรรมสงคราม ดังนั้นในฐานะที่เขาเป็นตัวแทนประเทศ ต่อให้ถูกจับนั่งเก้าอี้ไฟฟ้าเขาก็ยินดี

อินเดียห้ามละครสัตว์ใช้แรงงานเด็ก

18 เม.ย. 54 - ศาลฎีกาอินเดียลุถึงคำพิพากษา ห้ามคณะละครสัตว์จ้างแรงงานเด็กและสั่งรัฐบาลให้เข้าตรวจค้นโรงละครสัตว์ทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี แม้อินเดียจะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยแรงงานเด็ก ที่ห้ามการจ้างงานเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี แต่อินเดียก็เป็นประเทศที่มีแรงงานเด็กมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แม้รัฐบาลจะใช้ความพยายามในทุกทาง เช่น การตั้งมาตรฐานการศึกษาภาคบังคับและโครงการต่อสู้ความยากจนก็ตาม นอกจากนั้นธุรกิจละครสัตว์ยังเคยได้รับการยกเว้นจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวจนเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้แก้กฎหมายให้ธุรกิจละครสัตว์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็ก แต่ก็ยังมีการฝ่าฝืนมาโดยตลอด คณะละครสัตว์เร่มักฝึกเด็กให้แสดงกายกรรมผาดโผนเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม

ขณะที่นักแสดงมืออาชีพในคณะละครสัตว์กล่าวว่าจำเป็นต้องฝึกนักแสดงกายกรรมตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้มีเวลาพัฒนาทักษะ ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเด็กได้ยื่นร้องเรียนต่อศาลตั้งแต่ปี 2549 หลังจากที่ได้รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็กในคณะละครสัตว์ ซึ่งใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และ พบว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศโดยเจ้าของหรือผู้จัดการคณะละครสัตว์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง นายภูวาน ไรภู ทนายขององค์กร ระบุว่า คณะละครสัตว์มักจะเปลี่ยนชื่อเสียงเมื่อเดินทางไปเปิดการแสดงในสถานที่แห่งใหม่เพื่อกลบเกลื่อนร่องรอย ทำให้พ่อแม่เด็กไม่สามารถตามรอยลูกๆ ได้ถูก และมีหลักฐานทำให้เชื่อได้ว่าคณะละครสัตว์มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจการค้าเด็กโดยอาศัยธุรกิจละครสัตว์บังหน้า คำพิพากษาของศาลยังระบุด้วยว่า การใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี เป็นการละเมิดสิทธิด้านการศึกษาของเด็กอีกกระทงหนึ่ง และสั่งให้นำเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากคณะละครสัตว์กลับสู่อ้อมอกพ่อแม่หรือให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการเด็ก หากพ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดู และให้การศึกษาได้

เทปโกเล็งลดค่าจ้างพนักงาน หวังหาเงินชดเชยเหยื่อวิกฤตนิวเคลียร์

21 เม.ย. 54 -- บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เทปโก) กำลังพิจารณาลดค่าจ้างรายปีของพนักงานลงราว 20% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างเพื่อหาเงินชดเชยความเสียหายจากวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิม่า ไดอิจิ แหล่งข่าวเปิดเผยว่าตอนนี้เทปโกกำลังเจรจากับสหภาพแรงงานของบริษัทเพื่อบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้แหล่งข่าวยังเปิดเผยด้วยว่าแผนดังกล่าวจะกระทบสมาชิกสหภาพแรงงานราว 33,000 คน แต่จะไม่มีการปลดพนักงาน ขณะเดียวกันเทปโกก็กำลังพิจารณาลดค่าจ้างของผู้บริหารบริษัท และพิจารณาขายสินทรัพย์ต่างๆของบริษัทเพื่อระดมทุนมาจ่ายค่าชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนิวเคลียร์ แหล่งข่าวยกตัวอย่างว่า เทปโกอาจพยายามหาเงินหลายแสนล้านเยนจากการขายหลักทรัพย์ที่บริษัทถือครองอยู่ อย่างหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ของ KDDI Corp. เป็นต้น สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

จีนขึ้นค่าแรงคนงานสองเท่าใน 5 ปี

21 เม.ย. 54 - หยัง จื้อหมิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงประกันสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เผยกับ เป่ยจิงไทมส์ ระหว่างการประชุมแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ เมื่อวันอังคาร(19 เม.ย.) ว่ามณฑลต่างๆ 13 มณฑล ได้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ย 22.8 เปอร์เซนต์แล้ว นอกจากนี้ยังมีเมืองอื่นๆกำลังพิจารณาขึ้นค่าแรงกันภายในปีนี้ หยังกล่าวว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนรวยและคนจน นอกจากนี้ จะสร้างความโปร่งใสในรายได้ของเจ้าหน้าที่ และสร้างกฎระเบียบตรวจสอบกลุ่มที่มีรายได้สูง หยังกล่าวว่า 90 เปอร์เซนต์ของผู้บริหารใหญ่ของวิสาหกิจรัฐ มีรายได้เกินหนึ่งล้านหยวนต่อปี ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี (2554-2558) ฉบับที่ 12 จึงตั้งเป้าลดช่องว่างรายได้ และปรับปรุงการจัดสรรระหว่างทรัพยากรมนุษย์และเงินในกลุ่มผู้มีรายได้สูง.

คนงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

21 เม.ย. 54 - เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ กำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพหลายประการแพทย์ด้านระบาดวิทยาท่านหนึ่งเปิดเผยกับสำนักข่าวเอพีว่า คนงานที่ปฏิบัติภารกิจที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ขาดน้ำ และความดันโลหิตสูง ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการซึมเศร้า หรือปัญหาโรคหัวใจ ซึ่งหากสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่ดีขึ้น ก็จะมีความเสี่ยงมากที่คนงานเหล่านี้จะล้มป่วยและเกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกหลายอย่าง ขณะที่คนงานแทบไม่ได้เข้ารับการตรวจร่างกาย เนื่องจากต้องปฏิบัติภารกิจต่อเนื่อง ทั้งนี้ เทปโกส่งคนงานมากกว่า 240 คน เข้าไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เพื่อพยายามยับยั้งการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี และฟื้นระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ ซึ่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา

คนงานรถบรรทุกจีนรวมตัวหยุดงานประท้วงที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้

22 เม.ย. 54 - คนงานรถบรรทุกจีนรวมตัวหยุดงานประท้วงที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ล่วงเข้าวันที่ 3 ในวันศุกร์ เริ่มส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าในเมืองท่าติดอันดับเมืองเศรษฐกิจโลกแห่งนี้ คนขับรถบรรทุกราว 600 คน รวมตัวกันนัดหยุดงานประท้วงต่อเนื่องตั้งแต่วันพุธ ที่หน้าสำนักงานบริษัทขนส่งในท่าเรือปาวซาน หนึ่งในท่าเรือของนครเซี่ยงไฮ้ โดยมีข้อเรียกร้องหลักคือเรื่องราคาน้ำมันแพงและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้ประท้วงบางส่วนขว้างปาก้อนหินใส่รถบรรทุกที่ไม่ยอมหยุดงานร่วมประท้วง จนกระจกรถบรรทุกเสียหายหนึ่งคัน ในวันศุกร์ตำรวจยังตรึงกำลัง 50 นายในบริเวณการชุมนุม และจับกุมผู้ประท้วง 2 รายที่ขว้างปาก้อนหินใส่รถบรรทุก นอกจากนี้ ตำรวจนอกเครื่องแบบยังเข้าควบคุมตัวนักข่าวต่างประเทศออกไปจากบริเวณการประท้วง ผู้ประท้วงที่ยังคงปักหลักชุมนุมต่อหลังปะทะกับตำรวจในวันพฤหัสบดีชี้ว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนขับรถบรรทุกรับจ้างอิสระ พยายามเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง และควบคุมค่าธรรมเนียมที่บริษัทขนส่งเรียกเก็บจากคนงานสูงขึ้นกว่าเดิม ผู้ประท้วงลดจำนวนลงหลังจากที่ตำรวจชี้แจงต่อผู้ชุมนุมว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะเข้าพบกับตัวแทนของคนงานในวันจันทร์เพื่อหารือต่อรองยุติการหยุดงานประท้วง แต่ผู้ชุมนุมสองคนกล่าวว่า พวกเขาจะยังคงประท้วงต่อเพื่อกดดันรัฐบาลให้เข้ามาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแพงลิ่ว

คนขับรถบรรทุกวัย 38 ปีกล่าวว่า "เราจะยังคงหยุดงานประท้วงต่อ เพราะในตอนนี้ยังไม่มีการตอบรับมาจากรัฐบาลหรือใครสักคน เราหาทางอื่นไม่ได้แล้วจริงๆ" สื่อจีนไม่มีรายงานถึงการหยุดงานประท้วง รวมทั้งรัฐบาลท้องถิ่นปฏิเสธว่าไม่รับรู้ถึงเหตุการณ์นี้ ส่วนบริษัทผู้บริหารท่าเรือทั้งหมดในเมืองเซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้อินเตอร์เนชั่นแนลพอร์ตให้สัมภาษณ์ว่า การประท้วงไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของท่าเรือ ขัดแย้งกับคำกล่าวของผู้บริหารท่าซึ่งบอกว่า อย่างน้อยที่สุดการส่งออกได้รับผลกระทบ ทว่า เวย์ยวีจวิน ผู้ช่วยผู้จัดการกลางบริษัท ไชนาสตาร์ดิสตรีบิวเตอร์เซนเตอร์ กล่าวว่า การประท้วงทำให้เรือต้องออกจากท่าโดยไม่สามารถบรรทุกสินค้าได้ตามกำหนด เช่น เรือที่มีกำหนดบรรทุกคอนเทนเนอร์สินค้า 5 พันตู้เพื่อไปส่งยังฮ่องกงหรือสหรัฐ กลับสามารถบรรทุกได้แค่ 1-2 พันตู้เท่านั้น แรงงานจีนมีไม่กี่ช่องทางในการเรียกร้องค่าแรง รัฐบาลจีนห้ามตั้งสหภาพแรงงานที่เป็นอิสระจากองค์การสหพันธ์แรงงานแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้การควบคุมของรัฐบาล และในอดีตสหพันธ์แรงงานเคยขัดขวางไม่ให้คนงานหยุดงานประท้วง ลีเชียง ประธานองค์กรไชนาเลเบอร์วอตช์ ชี้แจงต่อรอยเตอร์ว่า "ปัญหาหลักไม่ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมันแพงเท่านั้น แต่เป็นเรื่องแรงงานรถบรรทุกไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะได้เมื่อน้ำมันราคาแพงขึ้น".

“พานาโซนิค” ประกาศลดงานทั่วโลกอีก 17,000 ตำแหน่ง

28 เม.ย. 54 - พานาโซนิค คอร์ป บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคสัญชาติญี่ปุ่น แถลงวันนี้ (28) ว่า จะตัดลดตำแหน่งงานในบริษัทอีกรอบหนึ่ง โดยคราวนี้จะหั่นลงมา 17,000 ตำแหน่ง หรือเท่ากับ 5% ของจำนวนพนักงานลูกจ้างทั่วโลกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปีข้างหน้า ทางด้านนักวิเคราะห์มองว่า ความเคลื่อนไหวคราวนี้ พานาโซนิคมุ่งที่จะตัดลดต้นทุนและทำตัวเองให้ผอมเพรียวลมเพื่อให้สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ในเอเชีย พานาโซนิค ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังๆ ในเวลานี้อย่างเช่น โทรทัศน์ เวียร่า และ กล้องดิจิตอล ลูมิค แจกแจงว่า กำลังตั้งจุดมุ่งหมายที่จะลดจำนวนลูกจ้างพนักงานของบริษัทซึ่ง ณ สิ้นเดือนที่แล้ว มีอยู่ 367,000 คน ให้ลงมาเหลือ 350,000 คน ภายในเดือนมีนาคม 2013 การตัดลดรอบนี้เกิดขึ้นภายหลังการหั่นตำแหน่งงานลงไปเกือบๆ 18,000 ตำแหน่ง ซึ่งดำเนินการกันในรอบปีการเงินที่ผ่านมา (เม.ย.2010-มี.ค.2011) โดยที่การลดจำนวนลูกจ้างพนักงานในรอบปีที่แล้วดังกล่าวนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการหั่นตำแหน่งงานประมาณ 35,000 คนภายในระยะเวลา 3 ปี นอกจากนั้น พานาโซนิค แจ้งว่า ยังมีแผนการที่จะตัดลดฐานโรงงานการผลิตที่มีทั่วโลก 350 ฐานของตนลงมาราวๆ 10% รวมทั้งบริษัทยังกันวงเงินงบประมาณเอาไว้ 110,000 ล้านเยน (ราว 41,000 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างสำหรับปีการเงินปัจจุบัน (เม.ย.2011-มี.ค.2012)

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้แถลงว่าจะปิดโรงงานที่ไหนบ้าง พานาโซนิค ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่นานนักอยู่ในฐานะอันแข็งแกร่งชนิดแทบไม่มีคู่แข่งขันรายไหนสู้ได้ ทว่าในปัจจุบันกลับกำลังเผชิญกับการแข่งขันอันดุเดือดยิ่งขึ้นทุกที โดยเฉพาะจากพวกผู้ผลิตสัญชาติเกาหลีและสัญชาติจีน ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เวลานี้ บริษัทญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่รายนี้กำลังพยายามหาทางปรับเปลี่ยนจุดเน้นของตนไปยังพวกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เป็นต้นว่า แบตเตอรีชนิดรีชาร์จได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับมือกับคู่แข่งอย่าง ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์, แอลจี อิเล็กทรอนิกส์, ตลอดจนบริษัทอื่นๆ ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค ในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ พานาโซนิคแถลงในปีที่แล้วว่า จะจ่ายเงิน 9,400 ล้านดอลลาร์ เพื่อทำให้ พานาโซนิก อิเล็กทริก เวิร์กส์ และ ซันโย อิเล็กทริก โค.อันเป็นกิจการที่ร่วมทุนกับบริษัทอื่นๆ กลายมาเป็นกิจการของพานาโซนิคทั้งหมด ปรากฏว่า จากความเคลื่อนไหวเช่นนี้ พานาโซนิคต้องรับเอาคนงานมาทั้งสิ้น 160,000 คน และดังนั้นในเวลานี้จึงต้องการหั่นลดตำแหน่งงานในธุรกิจที่มีการทับซ้อนกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่อยู่ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ นิกเกอิ ซึ่งเป็นสื่อเจ้าแรกที่รายงานเรื่องการตัดลดพนักงานระลอกใหม่นี้ กิจการทั้ง 2 ที่พานาโซนิคกลืมเอามาเป็นของตนแต่ผู้เดียวเหล่านี้ ผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภท เป็นต้นว่า แบตเตอรีชนิดรีชาร์จได้, หุ่นยนต์ใช้ในโรงงาน, ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์แสงสว่าง และแผงพลังงานแสงอาทิตย์

คนงานท่าเรือออสเตรเลียผละงานประท้วง

30 เม.ย. 54 - คนงานของ 3 ท่าเรือหลักในออสเตรเลียผละงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในวันนี้ หลังการเจรจาขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสภาพการทำงานหยุดชะงัก ส่งผลทำให้การขนส่งสินค้าราว 1 ใน 4 ของทั้งประเทศกลายเป็นอัมพาต สหภาพแรงงานการเดินเรือออสเตรเลีย (เอ็มยูเอ) เรียกร้องให้มีการผละงานที่ท่าเรือหลายแห่งในนครซิดนีย์ นครเมลเบิร์นและเมืองบริสเบน หลังการเจรจากับบริษัทแพทริก บริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่ต่อหน้าองค์กรแฟร์เวิร์คออสเตรเลียไม่ประสบความสำเร็จ โดยบริษัทแพทริกเปิดเผยว่า การผละงานดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเรือขนส่ง 15 ลำ ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ราว 17,797 ตู้ หรือคิดเป็นราว 1 ใน 4 ของขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทั้งประเทศ แต่ทางบริษัทจะเดินหน้าเจรจาผ่านแนวทางปฏิบัติของแฟร์เวิร์คออสเตรเลียต่อไป รายงานระบุว่า คนงานท่าเรือเรียกร้องให้ทางบริษัทขึ้นค่าแรงร้อยละ 6 ขยายอายุการเกษียณ เพิ่มวันหยุดพิเศษและวันหยุดประจำปี รวมทั้งให้มีผู้ดูแลความปลอดภัยในทุกช่วงเวลาการทำงาน หลังมีผู้เสียชีวิตที่ท่าเรือ 4 คนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บริษัทแพทริกและเอ็มยูเอประสบปัญหาขัดแย้งกรณีค่าแรงและสภาพการทำงานมานานเกือบ 8 เดือน และการผละงานดังกล่าวได้รับการยินยอมจากหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมของทางการเมื่อต้นปีนี้ เพราะการเจรจาล้มเหลว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก นายกฯ ย้ำชัดยังไม่เสนอแก้ พ.ร.บ.คอมฯในรบ.นี้

Posted: 03 May 2011 04:34 AM PDT

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เนื่องในโอกาสวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" หรือ World Press Freedom Day โดยในปีนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและองค์กรเครือข่ายส่งเสริมสิทธิสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกันจัดงานวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

โดยช่วงเช้านายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบเข็มกลัดที่ระลึกและเสื้อยืดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก พร้อมยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล

จากนั้น ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการยืนไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ก่อนมีการแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

นายชวรงค์ กล่าวว่า วันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนรับรู้ถึงปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก จากการที่สื่อในหลายประเทศถูกเซ็นเซอร์ ถูกข่มขู่ ทำร้าย สังหาร ทั้งนี้จากการเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นข้อเรียกร้องนั้น ถือเป็นโอกาสสำคัญในการย้ำเตือนภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่มีต่อสื่อ ในการจรรโลงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของสื่อ และย้ำเตือนถึงหน้าที่สื่อเองว่า ปฏิบัติตรงตามหลักจริยธรรมหรือไม่ รวมทั้งหน้าที่ของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของสื่อ ให้ช่วยกันทำหน้าที่บนความรับผิดชอบ

นายกสมาคมนักข่าวฯ กล่าวด้วยว่า จากการปรึกษานายกรัฐมนตรีกรณีความพยายามจะแก้ไขความผิดเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายฝ่ายกังวลจะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งเสรีภาพในการสื่อสารมากขึ้นนั้น นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะไม่มีการเสนอร่างแก้ไขในสมัยรัฐบาลนี้ โดยจะให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ ISP และกลุ่มที่ให้บริการรับฝากเว็บไซต์ (web Hosting) เป็นต้น

"ส่วนเรื่องที่เร่งรัดให้หน่วยงานรัฐ ที่ครอบครองคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปฏิรูปตัวเองให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยเรื่องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จะมีการฟ้องร้องศาลปกครองกันซึ่งจะทำให้กระบวนการสรรหาล่าช้า"

ขณะที่นายวิสุทธิ์ กล่าวถึงแถลงการณ์ข้อเสนอเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 5 ข้อ ได้แก่ 1.เรียกร้องให้สื่อมวลชนประเภทต่างๆ ตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ 2.การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง สื่อมวลชนไม่ควรถูกแทรกแซงจากภาครัฐ กลุ่มอิทธิพล รวมถึงกลุ่มทุน 3.เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ มีความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะวุฒิสภา ต้องดำเนินการสรรหา กสทช.อย่างโปร่งใส 4.รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คอมฯ 5.ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร เปิดใจกว้างรับฟังความเห็นที่หลากหลายจากสื่อมวลชน

เป็นกลาง ตรงไปตรงมา โพลชี้จุดที่สื่อต้องปรับ
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศที่มีต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,378 คน ระหว่างวันที่ 25-30 เมษายน 2554 จัดทำโดย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนั้น ในประเด็นคำถาม ประชาชนคิดว่า สื่อมวลชน ณ วันนี้ มีเสรีภาพมากน้อยแค่ไหน พบว่า ประชาชน 42.51% มองว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพพอสมควรในการนำเสนอข่าวได้ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทำงานได้อิสระมากขึ้น แต่บางครั้งก็ยังถูกแทรกแซง, 29.97% มองว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากเกินไป เพราะการนำเสนอข่าวบางครั้งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ตกเป็นข่าวมากเกินไปและมีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข่าว

เมื่อถามถึงความรับผิดชอบของสื่อมวลชนไทย ณ วันนี้ ประชาชน 46.25% มองว่า ยังมีความรับผิดชอบน้อย เพราะบางครั้งมีการนำเสนอข่าวผิดพลาด และ 40.13% มองว่า มีความรับผิดชอบดี โดยเฉพาะในเวลาที่ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤต

สำหรับจุดที่สื่อมวลชนไทยต้องปรับปรุง ประชาชน 60.25% มองว่า คือการนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ตรงไปตรงมาและครอบคลุมทุกแง่มุม ส่วนความคาดหวังของประชาชนต่อสื่อมวลชนไทยนั้น 51.32% มองว่าต้องการให้มีการนำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาและมีจรรยาบรรณของนักข่าว และ 22.18% ต้องการให้สื่อมวลชนมีอิสระในการทำงาน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมือง

“สื่อ” เสรีภาพบนความรับผิดชอบ
ต่อจากนั้น เป็นช่วงการเสวนาเรื่อง “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ (Freedom with Responsibility)” ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวฯ โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายกิตติ สิงหาปัด พิธีกรรายการข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผศ.ดร.กาญจนา มีศิลปะวิกกัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม นายวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา หัวหน้าข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ดำเนินรายการโดยนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการตอบโจทย์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ผศ.ดร.กาญจนา กล่าวว่า เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อมีมิติที่หลากหลายในการมอง อีกทั้งเมื่อสื่อมีเสรีภาพมาก ก็ย่อมหาเส้นแบ่งที่ชัดเจนได้ยากเช่นกัน ซึ่งจากการวิเคราะห์บทความเกี่ยวกับสื่อชิ้นหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า แม้สื่อจะมีเสรีภาพสูง แต่ขณะเดียวกันเสรีภาพดังกล่าวก็มีนัยยะเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ‘ความลับ’ ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ความลับของสื่อกับความลับของคนอื่น ขณะเดียวกันพบว่า สาธารณชน ที่เป็นปลายทางของการรับข่าวสารกลับไม่มีอำนาจที่จะเข้าถึงความลับของสื่อ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสะท้อนว่า การนำเสนอข่าวของสื่อคิดบนพื้นฐานที่ว่า ประชาชนอยากรู้จึงสะท้อนออกมา แต่ในความเป็นจริงหลายเรื่องก็ไม่ได้วิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น สื่อน่าจะสร้างความชัดเจนต่อเรื่องดังกล่าวต่อผู้รับข่าวสาร เนื่องจากประชาชนอาจไม่ได้สกรีนว่า สิ่งที่ถูกคืออะไร

“สื่อในอเมริกา มักสร้างประเด็นความขัดแย้งให้เป็นข่าว อีกทั้งยังเล่นกับอารมณ์ของคนดูปลายทางมากกว่าให้การศึกษา อย่างเช่นกรณีวิกิลีกส์ ที่นำความลับมากมายเสนอต่อสาธารณชน แต่ในทางกลับกัน คนในสังคมก็อยากรู้ความลับของสื่อเช่นกัน”

ผศ.ดร.กาญจนา กล่าวถึงข้อเสนอจากผลวิจัยเกี่ยวกับเสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อท่ามกลางความขัดแย้งว่า สิ่งที่จะต้องยึดถือคือการรักษาความเป็นกลาง ต้องเปิดใจให้กว้างในเสนอข่าวสารและให้ความรู้กับประชาชน พร้อมทั้งนำเสนอบรรทัดฐานใหม่ๆ ทางสังคม ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามความคิดเห็นที่แตกต่าง

“คนที่เป็นสื่อต้องปรับไปตามสังคม โดยไม่เลือกข้าง ไม่สร้างให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากรากแก้วทางจริยธรรม ที่มีอยู่บนแนวคิดสุขภาวะ สาระ บันเทิง ขณะเดียวกัน สื่อจะต้องมีความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าว ทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม ประเทศและโลก ภายใต้สำนึกเพื่อสังคม เพื่อเป็นพลังผลักดันและสะท้อนเนื้อหาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อคน คุณภาพสังคมอีกด้วย” ผศ.ดร.กาญจนา กล่าว

พิธีกรดัง ชี้ความรับผิดชอบเริ่มตั้งแต่ใช้ภาษา
ด้านนายกิตติ กล่าวถึงผลสำรวจของสวนดุสิตโพล พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นว่า สื่อมีเสรีภาพมากเกินไปร้อยละ 29.97 ซึ่งตนคิดว่าในความเป็นจริงตัวเลขดังกล่าวอาจสูงมากกว่านี้ ขณะเดียวกันประชาชนร้อยละ 46.25 คิดว่าสื่อมีความรับผิดชอบน้อย เสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่วนประชาชนถึงร้อยละ 55 ยังคิดว่า สามารถนำเสนอข่าวอย่างอิสระ แต่จะต้องเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อน

สำหรับหลักในการทำงานสื่อ พิธีกรรายการข่าว 3 มิติ กล่าวว่า ในการทำงานสื่อจะต้องคัดเลือก ตัดสิน และพิจารณาด้วยความรับผิดชอบตลอดเวลา ส่วนตัวได้ใช้หลัก “ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเราอย่างไร ก็อย่างไปทำกับคนอื่นอย่างนั้น" เอาใจเขามาใส่ใจเรา รับผิดชอบต่อสาธารณชน วิชาชีพ นายจ้าง ในฐานะที่เป็นสื่อตามหลักจริยธรรม แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ จะอยู่ที่การไปละเมิดคน เสนอข่าวผิดพลาด และไม่มีการแก้ไข อาจเป็นเพราะสื่อยะโส โอหัง การแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นเรื่องเสียหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นับว่าเป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไข

นายกิตติ กล่าวถึงความรับผิดชอบของสื่อที่จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การใช้ภาษา ที่ต้องมีรสนิยม นั่นคือ ไม่กระแนะกระแหน จิกหัวด่าคน กระทบกระเทียบคน เพราะเท่ากับเป็นการละเมิด ส่วนการนำเสนอข่าวข้อเท็จจริงต้องมาก่อนความคิดเห็นส่วนตัว และสื่อก็ไม่มีหน้าที่ตั้งคำถาม หรือเข้าข้างใคร เพราะไม่ใช่หน้าที่หลักของสื่อ และประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง ส่วนเรื่องถูกผิด ก็เป็นหน้าที่ของศาล สื่อมีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนเท่านั้น

นายกิตติ กล่าวถึงการนำเสนอภาพศพบินลาเดนที่มีการตั้งคำถามว่า การเสนอภาพศพคนตายจะทำอย่างไร จะเสนออย่างไร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลักปฏิบัติ หรือกฎหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวในบ้านเราก็ยังเป็นเรื่องลอยๆ ไม่มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ต่างจากในญี่ปุ่น แม้จะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิจำนวนมาก แต่กลับไม่ปรากฏภาพศพบนหน้าหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด

“กรณีการนำเสนอข่าวในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ก็ถือเป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของสื่อ เนื่องจากนักข่าวที่ลงไปในพื้นที่ประสบภัย ย่อมรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งในบางครั้งรับรู้ถึงสถานการณ์ก่อนกู้ภัย หรือเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องนำเสนอความเป็นจริงออกไปสู่สาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกิดข้างรับรู้และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า สื่อเป็นเครื่องมือแจ้งข่าวที่เร็ว รู้ถึงปัญหา อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือระดมเงินบริจาคที่ทรงพลัง การทำงานดังกล่าว จึงเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ไม่ได้หวังถ้วยทองอะไร”

นัก นสพ. ฝากสื่อรุ่นใหม่สำนึก เจียมตัว
ขณะที่นายวรวิทย์ กล่าวถึงอาชีพของนักหนังสือพิมพ์ เป็นประหนึ่งกิจการสถาบันสาธารณะ ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสินค้าของหนังสือพิมพ์ ไม่ใช่เสื้อผ้า ไม่สวยถอดทิ้งได้ แต่สินค้าของหนังสือพิมพ์ คือเนื้อหา วิธีคิด ที่เข้าปลูกในสมองคน และสามารถเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนได้ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องพูดถึงคือ ความเป็นกลาง ไม่เอนซ้าย เอนขวา แม้ว่าสื่อจะเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ และทัศนคติก็ตาม นอกจากนี้ นักข่าวจะต้องเสนอข่าว โดยละเว้นความพยาบาท อาฆาต พร้อมทั้งอยู่บนพื้นฐานสำนึก เจียมตัว

“ที่ผ่านมา เมื่อมีการจัดอันดับอาชีพที่ผู้คนชอบ 3 อันดับแรก จะพบว่า เป็นครู หมอ ดารา ส่วนอีก 3 อาชีพที่คนค่อนข้างรังเกียจคือ ตำรวจ นักการเมือง และนักข่าว สื่อจึงต้องทำหน้าที่ด้วยความเจียมตัว มีความสำนึก มีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานทางสังคม ขณะที่มาตรฐานที่เป็นไปตามหลักจริยธรรม จะสร้างความน่าเชื่อถือและจะช่วยล็อคไม่ให้ระบบราชการ อำนาจรัฐเข้ามาครอบงำสื่อได้”

 

 

ที่มา: http://www.thaireform.in.th/reform-the-news/item/5788.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จี้ ก.แรงงาน กำหนด 10 พ.ค.เป็นวันความปลอดภัยในการทำงาน รำลึกเหตุการณ์ "เคเดอร์"

Posted: 03 May 2011 12:12 AM PDT

คนงานจี้ ก.แรงงาน กำหนดให้วันที่ 10 พ.ค.เป็นวันความปลอดภัยในการทำงาน ตามมติ ครม.ปี40 และย้ายวันจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ จากต้นเดือนกรกฎาคม มาเป็น 10 พ.ค.เพื่อให้สอดคล้องกัน

 

 

 

(28 เม.ย.2554) เวลา 10.00 น. เครือข่ายแรงงานซึ่งประกอบด้วย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เครือแรงงานนอกระบบ เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ และเครือข่ายผู้นำแรงงาน ประมาณ 30 คนได้มารวมตัวกันบริเวณชั้นล่างอาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงจุดยืนและเจตนารมณ์และเรียกร้องผลักดันให้กระทรวงแรงงานกำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ และให้ยกเลิกวันจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ที่เคยจัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มาจัดในช่วงวันที่ 10 พฤษภาคม ให้สอดคล้องกับวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

โดยระบุว่า เครือข่ายแรงงานไม่เห็นด้วยกับการที่กระทรวงแรงงานจะจัดวันสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เพราะการจัดงานดังกล่าวอาจไม่สอดคล้องหรือขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี 26 ส.ค. 2540 ข้อ (2) ที่ให้กระทรวงแรงงานจัดวันสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคมของทุกปี

สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่กระทรวงแรงงานไปใช้วันในเดือนอื่นโดยไม่ยึดวันที่ 10 พฤษภาคมในการจัดวันสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติ เป็นการทำลายสัญลักษณ์ของการตระหนักในความปลอดภัย อันเนื่องมาจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ซึ่งคนงานวัยหนุ่มสาวได้เสียชีวิตถึงจำนวน 188 ศพ บาดเจ็บกว่า 469 รายนับเป็นความทรงจำที่โหดร้ายของแรงงานไทย ที่สะท้อนความไม่ปลอดภัยในการทำงานที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศโดยขาดระบบรองรับที่ดีและเหมาะสม

ต่อมาเครือข่ายแรงงานได้ขึ้นไปยังห้องประชุมบริเวณชั้น 2 เพื่อประชุมทวงถามเรื่องการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับนางพรรณี ศรียุทธศักดิ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกมารับการทวงถาม โดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานนี้เป็นองค์กรหนึ่งที่เครือข่ายแรงงานต้องการให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการทำงาน อันสืบเนื่องมาจากโศกนาฏกรรมโรงงานเคเดอร์ด้วยเช่นกัน แต่ที่ผ่านมากระบวนการจัดตั้งสถาบันนี้ยังเป็นข้อขัดแย้งรุนแรงภายในคณะอนุกรรมการยกร่างสถาบันฯ เนื่องจากกรรมการฝ่ายรัฐต้องการให้เป็นเพียงกองๆ หนึ่งในกระทรวงแรงงานเท่านั้น แต่อนุกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายแรงงานไม่เห็นด้วยเด็ดขาด.

อนึ่ง สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับผู้นำแรงงานในหลายพื้นที่ จะจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ 18 ปี โศกนาฎกรรมเคเดอร์ กับการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ในฝันของผู้ใช้แรงงานจะเป็นจริงหรือไม่? ในวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม เวลา 8.30-15.45น. ณ ห้องประชุมราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถ.ราชดาเนิน กรุงเทพมหานคร
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ออง ซาน ซูจี” วิดีโอลิงก์เปิดงานอาเซียนภาคประชาชน ที่จาการ์ตา

Posted: 02 May 2011 11:40 PM PDT

ประชุม “อาเซียนภาคประชาชน” เริ่มแล้วที่อินโดนีเซีย ด้าน “ออง ซาน ซูจี” วิดีโอลิ้งเข้ามาในพิธีเปิด ชี้ประชาชนพม่าต้องการรัฐบาลที่มาจากประชาชน และทำเพื่อประชาชน พร้อมเรียกร้องให้อาเซียนร่วมสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยในพม่า เพราะประชาธิปไตยคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพม่าและประชาคมอาเซียน

การประชุมอาเซียนภาคประชาชน เริ่มต้นขึ้นในวันนี้ (3 พ.ค.) โดยรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ดร. บูดิโอโน กล่าวเปิดการประชุมโดยแสดงความมุ่งหวังว่าภาคประชาชนอาเซียนจะขับเคลื่อนประชาสังคมอาเซียนร่วมกับภาครัฐและสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ตามที่มีการวางโรดแม็ปไว้

โดย ดร. บูดิโอโนกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า การประชุมอาเซียนภาคประชาชนจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เป็นผลกระทบต่อประชาชนอาเซียนในด้านต่างๆ และท้ายที่สุดประเด็นเหล่านี้จะได้รับฟังโดยผู้นำอาเซียน ซึ่งมีกำหนดการพบปะกับตัวแทนภาคประชาชนในวันที่ 6 พ.ค. นี้

Indah Suksamanigsih ประธานกรรมการจัดงานอาเซียนภาคประชาชนกล่าวอธิบายในพิธีเปิดประชุมว่า การประชุมอาเซียนภาคประชาชนเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2548 ที่ประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มแรกนั้นมีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อย จากนั้นจึงจัดการประชุมต่อเนื่องเรื่อยมา โดนหมุนเวียนไปตามประเทศที่จัดการประชุมผู้นำอาเซียน คือ ไทย ลาว เวียดนาม จนกระทั่งครั้งล่าสุดคืออินโดนีเซีย

โดยการประชุมมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมสร้างความร่วมมือในภาคประชาชนอาเซียนในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การสร้างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนด้านต่าง รวมถึงการสร้างสันติภาพ

ในช่วงท้ายสุดของพิธีเปิด ผู้จัดงานได้เปิดวีดิโอลิงก์ของนางอองซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ซึ่งกล่าวสุนทรพจน์ว่า ชาวพม่าอยากทำงานร่วมกับประชาคมอาเซียนอย่างใกล้ชิด และหวังว่าจะสามารถร่วมต่อสู้บนหนทางการสร้างประชาธิปไตยร่วมกับประชาคมอาเซียน

และแม้จะมีคำกล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่มาจากตะวันตก แต่สำหรับชาวพม่าแล้ว พวกเขาเข้าใจดีว่าพวกเขาต้องการเสรีภาพ ต้องการมีชีวิตที่สามารถเรียนรู้ได้โดยปราศจากความกลัว ต้องการการเลือกตั้งรัฐบาลของตนเอง ซึ่งจะเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน และทำเพื่อประชาชน หลักการพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเพิกเฉย โดยอองซานซูจีกล่าวกับผู้ร่วมประชุมว่า เธอเชื่อว่าผู้เข้าร่วมประชุมย่อมเข้าใจหลักการเหล่านี้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินโดนีเซียซึ่งประเทศได้เปลี่ยนผ่านผู้นำเผด็จการมาสู่ผู้นำที่เป็นประชาธิปไตย

สุดอองซานซูจีเรียกร้องให้อาเซียนร่วมต่อสู้เพื่อการสร้างประชาธิปไตยในพม่า เพราะประชาธิปไตยคือสิ่งที่ดีที่สุดทั้งกับพม่าและประชาคมอาเซียน ทั้งพม่าและอาเซียนล้วนต้องการโลกที่ดีกว่าสำหรับสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั้งหลายซึ่งจะทำให้อาเซียนเข้มแข็งขึ้นและโลกสามารถหันมามองภูมิภาคนี้ด้วยความชื่นชม

ท้ายที่สุด อองซานซูจีกล่าวขอบคุณภาคประชาสังคมอาเซียนและภาครัฐที่ร่วมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะรัฐบาลจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อรัฐบาลนั้นทำเพื่อประชาชน

การประชุมอาเซียนภาคประชาชนจัดขึ้นที่โรงแรมศรีปุตรา กรุงจาการ์ตา ในระหว่างวันที่ 3-5 พ.ค. นี้ โดยผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคประชาชนในอาเซียนเข้าร่วมประชุมจำนวนหลายร้อยคน หลังจากนี้ จะมีการคัดเลือกตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าพบปะกับผู้นำอาเซียน เพื่อชี้แจงและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้อาเซียนจะมีขึ้นในวันที่ 7-9 พ.ค. นี้ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศีลธรรมกับ ‘พื้นที่ความเป็นมนุษย์’

Posted: 02 May 2011 12:23 PM PDT

ผม “ถูกใจ” การ์ตูน “เชีย” ข้างล่างนี้มากครับ

การ์ตูนเซียร์ ไทยรัฐ, 2 พ.ค. 2554
(ภาพจากไทยรัฐออนไลน์, 2 พ.ค. 2554)

ในความเห็นของผมเป็นภาพการ์ตูนที่เสนอ “ประเด็นทางศีลธรรม” อย่างแหลมคมที่เราควรช่วยกันคิดอย่างจริงจัง หากเราต้องการปกป้อง “พื้นที่ความเป็นมนุษย์” ของเราจากการครอบงำของศีลธรรมอำมหิต

ความเป็นมนุษย์ของเรานั้นมี “พื้นที่” ทั้งมิติกว้างและลึกที๋เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สถานการณ์และบริบทที่หลากหลาย ซับซ้อน แต่ดูเหมือนว่าสถาบันทางศีลธรรมเช่น สถาบันทางศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ฯลฯ พยายามใช้พื้นที่ทางศีลธรรมมาสวมทับหรือครอบงำพื้นที่ความเป็นมนุษย์ของเราแทบทุกมิติ

พูดอีกอย่างว่า ความเป็นมนุษย์แทบทุกมิติของเรา “ถูกยัด” เข้าไปในพื้นที่ทางศีลธรรมที่เป็นเรื่องดี-ชั่วแบบขาว-ดำ เช่น ศีลธรรมเข้าไปจัดการพื้นที่ภายในจิตใจของเราว่า เรามีความคิดสองประเภทคือคิดดีกับคิดชั่ว เมื่อคิดดีก็เป็นบุญเมื่อคิดชั่วก็เป็นบาป การพูดและการกระทำของเราก็ถูกจัดเป็นสองประเภทคือดีกับชั่วหรือบุญกับบาปเท่านั้น

และโดยที่กรอบคิดทางศีลธรรมแบบขาว-ดำนี้ ถูกขยายไปครอบคลุมแทบทุกกิจกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ กิจกรรมทางเพศ และแม้แต่ละคร ภาพยนตร์ ภาพเปลือยก็ไม่ได้มีความหมายในเชิงศิลปะที่เป็นอิสระหรือพ้นไปจากกรอบของดี-ชั่วแบบขาวดำ หากแต่จำเป็นต้องถูกพิพากษา กระหนาบ สำทับ ลงโทษโดยอ้างอิงกรอบของศีลธรรมแบบขาว-ดำได้เสมอ

ฉะนั้น เรื่องราวของตัวละครอย่าง “เรยา” จึงไม่ใช่เพียงเรื่องราวของตัวละครที่ถ่ายทอดผ่านบทละครและการแสดงซึ่งเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากนัยยะสำคัญกว่าคือมันมีความหมายถูก-ผิด ดี-ชั่วในทางศีลธรรมหรือไม่? หากผิดศีลธรรม รัฐย่อมมีความชอบธรรมในการใช้ “อำนาจ” เข้าไปจัดการ เช่น ด้วยการตักเตือน เซ็นเซอร์ แบน ฯลฯ

จะเห็นว่า ความหมายของศีลธรรมแบบ ขาว-ดำดังกล่าวไม่ใช่สัมพันธ์อยู่กับ “เหตุผล” แต่สัมพันธ์กับ “อำนาจ” เช่น พฤติกรรมของเรยา จะถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควรเลียนแบบเป็นต้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลหรือวิจารณญาณของคนดูละครแต่ละคน แต่ขึ้นอยู่กับ “อำนาจ” เช่น อำนาจวินิจฉัยของนักศีลธรรม นักเทศน์ สถาบันศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น

เมื่อความหมายอของศีลธรรมสัมพันธ์กับอำนาจ ศีลธรรมจึงไม่ได้มาจากเหตุผลที่แต่ละคนมีเสรีภาพในการวินิจฉัยด้วยวิจารณญาณของตนเอง หากแต่ศีลธรรมเป็นเรื่องที่ต้องเชื่อฟังผู้มีอำนาจ ถูก-ผิดอยู่ที่ผู้มีอำนาจเป็นผู้บอก

ฉะนั้น เมื่อผู้มีอำนาจบอกว่าการสลายการชุมนุมที่เป็นเหตุให้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเป็นเรื่องที่ไม่ผิด ประชาชนก็ต้องเชื่อ ไม่ต้องออกมาเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบเหมือนที่เรียกร้องให้แบนหรือเซ็นเซอร์ละคร หรือภาพยนตร์ ฯลฯ ที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยหรือชี้นำว่าผิดหลักศีลธรรม

ดังกรณีวัยรุ่นโชว์เปลือยกายในงานสงกรานต์ที่สีลมเช่นกัน ผมหดหู่ใจมากเมื่อเห็น “พระชื่อดัง” ออกมาพูดว่า เป็น “ความเสียหายระดับสากล” พร้อมเรียกร้องว่าหน่วยงานในพื้นที่ควรมีส่วนรับผิดชอบ ไล่ไปตั้งแต่ผู้ว่าฯ กทม.จนถึง “มหาเถรสมาคม” ที่หดหู่ใจเพราะผมไม่เคยเห็นพระชื่อดังรูปใดๆ รวมไปถึงมหาเถรสมาคมออกมาเรียกร้องให้ “ผู้มีอำนาจ” รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมที่ประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

กลายเป็นว่า พื้นที่ความเป็นมนุษย์ในมติที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความเป็นมนุษย์ในมิติที่เจ็บปวด บาดเจ็บ ล้มตาย เพราะถูกอำนาจอันอยุติธรรมกดขี่เข่นฆ่า กลับเป็นพื้นที่ที่ศีลธรรมแผ่ไปไม่ถึง ศีลธรรมแบบขาว-ดำ + อำนาจนิยม ไม่เคยไม่เคยแคร์ต่อความไม่เป็นธรรมทางสังคม และไม่เคยโอบอุ้ม หรือแม้แต่ปลุกปลอบใจประชาชนคนเล็กคนน้อยที่ถูกกดขี่บีฑาใดๆ เลย

นอกจากจะไม่เคยอยู่ข้างคนเล็กคนน้อย หรือประชาชนที่ถูกกดขี่เอาเปรียบแล้ว ศีลธรรมแบบขาว-ดำ + อำนาจนิยม ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ ทั้งในรูปของ “ยากล่อมประสาท” ที่มอมเมาประชาชนให้สยบยอมต่ออำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครอง ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการเซ็นเซอร์ ลดทอน ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ตลอดถึงใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยตลอดมา

ฉะนั้น เป็นความจริงหรือไม่ว่า หากพื้นที่ความเป็นมนุษย์ในมิติที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พื้นที่ที่เป็นมิติเสรีภาพ ความเสมอภาคในความเป็นคน และความเป็นธรรม ศีลธรรมแบบขาวดำ+ อำนาจนิยม ที่สืบทอดโดยสถาบันทางศาสนาและชนชั้นปกครองนอกจากจะไม่ได้ช่วย “ปกป้อง” หรือช่วย “ขยาย” พื้นที่ความเป็นมนุษย์ในมติดังกล่าวแล้ว

ยังนับวันจะทำลายอย่างอำมหิตและน่าสยดสยอง !

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่ออังกฤษแฉ! ภาพศพ บิน ลาเดน เป็นของปลอม

Posted: 02 May 2011 12:07 PM PDT

สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ระบุว่า โอซามา บิน ลาเดน (Osama Bin Laden) ผู้นำกลุ่มอัล-เคด้า ผู้วางแผนก่อวินาศกรรมสะท้านโลกที่สหรัฐอเมริกา 11 กันยายน 2544 ได้เสียชีวิตแล้ว พร้อมกับคนใกล้ชิด หลังจากที่เคยมีรายงานว่า บิน ลาเดน บุคคลที่สหรัฐอเมริกาต้องการตัวมากที่สุดหลบ ซ่อนอยู่แถบเทือกเขาที่คั่นพรมแดน ระหว่างปากีสถานและอัฟกานิสถาน

ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่าศพของ โอซามา บิน ลาเดน อยู่ในการครอบครองของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า โอซามา บิน ลาเดน ถูกสังหารที่ใด หรือสหรัฐอเมริกาได้ศพมาอย่างไร

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ CNN และ อัล จาซีร่า ก็มีรายงานว่า โอซามา บิน ลาเดน ผู้นำเครือข่ายก่อการร้ายอัล ไกดา เสียชีวิตแล้ว และศพของเขาอยู่ในมือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดยเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดถึงสาเหตุการเสียชีวิตของเขา

ด้านประธานาธิบดี บารัก โอบามา แถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า สหรัฐอเมริกาสามารถ "จับตาย" โอซามา บิน ลาเดน ผู้ก่อการร้ายอันดับหนึ่งของโลกได้แล้ว

พร้อมระบุว่า เมื่อสัปดาห์ก่อนได้รับข่าวกรองจากซีไอเอในปากีสถานว่า ค้นพบ โอซามา บิน ลาเดน ในบ้านพักแห่งหนึ่ง ชานเมืองหลวงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน จึงอนุมัติให้ทีมปฏิบัติการพิเศษเข้าโจมตีในวันนี้ (ตามเวลาสหรัฐ) ซึ่งทีมที่ส่งเข้าไปมีจำนวนไม่มาก เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียต่อประชาชนอื่น ซึ่ง โอซามา บิน ลาเดน และคนสนิทเสียชีวิตจากปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ศพของ โอซามา บิน ลาเดน กลับมา

ในแถลงการณ์ โอบามา ยังยืนยันว่านี่เป็นการต่อสู้กับการก่อการร้าย ไม่ใช่ต่อสู้กับโลกอิสลาม และนี่เป็นสงครามที่อเมริกาไม่ได้เป็นคนต้องการเริ่ม ก่อนที่ โอบามา จะขอบคุณชาวอเมริกันทุกคนที่ช่วยเหลือให้อเมริกาผ่านพ้นช่วงเวลา 10 ปีนี้มาได้


ภาพศพของบินลาเดน ที่ถูกระบุว่าเป็นของปลอม

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษ ได้เผยแพร่ภาพที่ระบุว่า เป็นหน้าของ นายโอซามา บินลาเดน ที่เสียชีวิต หลังถูกโจมตีโดยกองกำลังสหรัฐฯ ในปากีสถาน ว่า เป็นภาพที่ถูกปรับแต่งขึ้น พร้อมทั้งมีการแสดงภาพต้นฉบับ เป็นลักษณะชายหนวดเคราหนา ตาปิดเพียงครึ่งเดียว ซึ่งถูกเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

ตามรายงานระบุว่า ภาพที่ปลอมขึ้น ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ปี 2009 ท่ามกลางความไม่แน่ใจว่า เป็นภาพของนายบินลาเดนที่แท้จริงหรือไม่ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ภาพดังกล่าวถูกอ้างว่าเป็นภาพของผู้สมรู้ร่วมคิดในขบวนการก่อการร้าย และใช้ในการพิสูจน์ข้ออ้างที่ว่า ผู้ก่อการร้ายเหตุการณ์ 9 / 11 ได้ถูกสังหารแล้ว

สำหรับ โอซามา บิน ลาเดน เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2500 เป็นนักต่อสู้ของพวกวะฮาบีย์ เกิดที่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและหัวหน้ากลุ่มอัล-เคด้า และเป็นผู้สังสัยว่าอยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ.2544 และเป็นหนึ่งในสิบบุคคลที่สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ต้องการตัวมากที่สุด

ที่มา: http://hilight.kapook.com/view/58413

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น