โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

‘สมชาย-ศรีประภา’ หนุนปรับ ม.112 เคารพเสรีภาพแสดงความเห็นดีต่อทุกฝ่าย

Posted: 10 May 2011 12:36 PM PDT

เมื่อวันที่ 9 พ.ค.53 ที่ ม.ขอนแก่น นักกฎหมายและนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงกระแสการจับกุม และแจ้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูงแก่นักกิจกรรมและนักวิชาการก่อนขึ้นอภิปรายในเวทีเสวนาวิชาการ “หนึ่งปีผ่านมากับความคืบหน้าของรายงานกรณีการสลายชุมนุมเสื้อแดง”
สมชาย หอมละออ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ การจับกุมก็กลายมาเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสถาบันเอง อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้เขาเคยออกแถลงการณ์วิจารณ์เรื่องการเพิ่มขึ้นของการจับกุมด้วยข้อหานี้ แต่ไม่มีสื่อกระแสหลักฉบับได้ตีพิมพ์แม้แต่น้อย
สมชายกล่าวว่า เราเห็นว่าการมีบทบัญญัติพิเศษเพื่อปกป้องประมุขของรัฐเป็นเรื่องปกติ แต่มาตรา 112 ควรต้องมีการทบทวน เช่น โทษมาเพิ่มสมัยสมัคร สุนทรเวช เป็นคนเสนอหลัง 6 ตุลา และกลายเป็นความผิดที่ใครจะแจ้งความก็ได้โดยอ้างความจงรักภักดี กลายเป็นข้อหาที่เป็นเครื่องมือทางการเมืองไป ซึ่งในระยะยาวจะเป็นผลเสียต่อสถาบันเอง ฉะนั้น ควรมีกระบวนการในการกลั่นกรอง ไม่ใช่ให้ใครก็ได้ที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองเอาไปกล่าหาอีกฝ่าย
“ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ หรือการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ควรเป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ แต่ก็ไม่เห็นด้วยที่จะไปใช้วิธี ถ้อยคำที่หยาบคาย หรือมีลักษณะไปละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล” สมชายกล่าว
ด้านศรีประภา เพชรมีสี นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวถึงกรณีการออกหมายเรียกสมศักดิ์  เจียมธีรสกุลว่า ประเด็นหลักซึ่งเราพูดกันมาตลอดคือ academic freedom (เสรีภาพทางวิชาการ) อาจารย์สมศักดิ์ชัดเจนและพูดเรื่องนี้มาไม่รู้กี่สิบปี พูดมาตลอด น่าสนใจว่าทำไมถึงมาถูกจับตอนนี้ นอกจากนี้ยังจำได้ว่าในรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คปอ.) มีข้อหนึ่งที่ให้ทบทวนเรื่องการใช้กฎหมายนี้ แต่มันก็สวนทางกับข้อเสนอของทุกฝ่าย สิ่งที่รัฐบาลทำคือมีการจับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เคารพเสรีภาพทางวิชาการเลย
ศรีประภากล่าวต่อว่า ในสังคมไทยมีพื้นที่สำหรับเสรีภาพในการแสดงออกน้อยลงทุกทีในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เรื่องนี้ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เคยกล่าวว่า ถ้าอยากให้สถาบันเป็นที่รักไปตลอด สิ่งที่จำเป็นต้องมีการทบทวนอย่างยิ่งก็คือเวลาเราพูดว่าสถาบันอยู่เหนือการเมืองมันแปลว่าอะไร คือ เหนือแบบอยู่ข้างบน หรือเหนือแบบไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว
“มหิดลเคยจัดสัมมนา เราต้องการให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สาธารณชนควรลุกขึ้นมาพูดได้อย่างเปิดเผย ในเมื่อเป็นสถาบันที่เราทุกคนก็เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย อะไรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็หมายความว่าคนในสังคมควรจะพูดได้ แน่นอนที่สุด การหมิ่นประมาทก็มีกฎหมายอยู่แล้ว ก็ฟ้องร้องกันธรรมดา ไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่แตะไม่ได้” ศรีประภากล่าวและว่า ที่สำคัญ คือ การจับคุณสมยศ หรือการเชิญตัวอาจารย์สมศักดิ์ ขณะนี้มันมีการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวอีกด้วย บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้เป็นผลดีสำหรับสังคมที่บอกว่ากำลังจะสร้างประชาธิปไตย
ขณะที่วสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน ให้ความเห็นว่าจะมีการจับกุมด้วยข้อหานี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต กรณีอย่างสมศักดิ์ และสมยศ กฎหมายถูกนำมาใช้เพื่อหยุดกิจกรรมที่พวกเขาทำเสียมากกว่า 
ส่วนเดวิด สเตร็กฟัส นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ศึกษาเรื่องคดีหมิ่นสถาบัน กล่าวว่า สาธารณะไม่มีข้อมูลว่ามีผู้คนจำนวนมากเท่าไรที่โดนคดีนี้ และทางการก็ไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม คิดว่าจำนวนผู้ที่ถูกกล่าวหาด้วยคดีนี้ทั้งหมดน่าจะมีถึงหลายร้อยราย
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้บริหารเคเอฟซียันให้ความสำคัญกับบุคลากร พนักงานประจำเงินเดือน 9 พัน สูงสุด 5 หมื่น

Posted: 10 May 2011 12:03 PM PDT

แจงเหตุเลิกจ้างพนักงาน 3 คนเป็นเพราะใช้อีเมล์บริษัทส่งข้อมูลให้พนักงานระดับที่ต่ำกว่าเข้าใจข้อมูลที่ผิดๆ จึงให้ออก เผยจะปรับเงินเดือนพนักงานประจำอีก 4% และปีนี้จะลงทุนอีก 1 พันล้าน ขยายสาขาไม่ค่ำกว่า 26 สาขา

จากกรณีที่พนักงานเคเอฟซี-พิซซ่าฮัทในกรุงเทพฯ และปริมณฑลร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องปรับปรุงสภาพการจ้าง 10 ข้อ ต่อบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด แต่บริษัทยัมฯ ไม่ได้ส่งผู้แทนมาเจรจาด้วยถึงสามครั้งโดยให้เหตุผลว่าข้อเรียกร้องของพนักงานไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ด้านพนักงานกำลังยื่นตั้งสหภาพแรงงาน จนทำให้เกิดข้อพิพาทแรงงาน และล่าสุดเมื่อ 9 พ.ค. บริษัทมีการเลิกจ้างพนักงานระดับผู้จัดการเขต 3 คน โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากพนักงานดังกล่าวได้กระทำผิดระเบียบวินัยของบริษัทนั้น

ล่าสุดเมื่อวานนี้ (10 พ.ค.) เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์ นายมิลินท์ พันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ทีมผู้บริหารได้มีการเรียกพนักงานทั้ง 3 คน เข้ามาพูดคุยถึงสิ่งที่ทั้ง 3 คนต้องการแล้ว พร้อมนำเอาความต้องการทั้ง 10 ข้อดังกล่าวเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้ในแผนธุรกิจเพื่อใช้วางแผนการพัฒนาด้านสวัสดิการของพนักงานต่อไป

ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางบริษัทมีนโยบายในการเก็บข้อมูลความต้องการด้านสวัสดิการของพนักงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาให้มีสวัสดิการที่ดีและแข่งขันได้ในกลุ่มธุรกิจรูปแบบเดียวกัน ล่าสุดเมื่อช่วงเดือนธ.ค. ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มเงินรางวัลพิเศษสำหรับสาขาที่มียอดขายแต่ละเดือนสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเงินรางวัลพิเศษนี้จะมีให้ทั้งพนักงานพาร์ทไทม์และระดับผู้จัดการร้าน ขณะที่ในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ยังได้ปรับค่าแรงเพิ่มอีก 10%

และล่าสุดในช่วงเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทยังได้พิจารณาที่จะปรับฐานเงินเดือนของพนักงานประจำขึ้นอีก 4% จากปัจจุบันเงินเดือนของพนักงานพาร์ทไทม์ เฉลี่ยอยู่ที่ 6,500 บาท ต่อเดือน และพนักงานประจำอยู่ที่ 9,000-50,000 บาท ต่อเดือน ถือเป็นฐานเงินเดือนที่แข่งขันกับรายอื่นๆ ได้

ดังนั้นในแง่ของการเรียกร้องของการเปลี่ยนสภาพการจ้างทั้ง 10 ข้อ ที่อดีตพนักงาน 3 คนต้องการนั้น ทางบริษัทพร้อมยอมรับไว้เพื่อพิจารณา และการที่ต้องถูกให้ออกจากงานและพ้นจากสภาพการเป็นพนักงานนั้น เนื่องจากทั้ง 3 คน ได้ละเมิดต่อกฎระเบียบของบริษัท ในเรื่องของการใช้อีเมล์บริษัท ส่งข้อมูลที่ผิดไปจากความเป็นจริงส่งไปยังพนักงานในระดับตำแหน่งต่ำกว่าเพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่ผิดๆ ทางบริษัทจึงต้องให้ออก

อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 10 กว่าวันที่ผ่านมานี้ ทางบริษัทได้เรียกพบพนักงานแล้วกว่า 1,000 คนจากพนักงานทั้งหมดกว่า 10,000 คน ให้รับทราบข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับว่าเชื่อในข้อมูลที่ได้รับ เนื่องจากทั้ง 3 คน อ้างตัวเป็นตัวแทนของทางกรรมการสวัสดิการลูกจ้างของบริษัท แต่หลังจากที่มีการพูดคุยกันแล้ว ต่างก็เข้าใจในข้อมูลจริงที่ถูกต้อง

นายมิลินท์ กล่าวว่า ยัม อยู่ในประเทศไทยมากกว่า 25 ปี โดยในส่วนของเคเอฟซี ก็อยู่และสร้างแบรนด์ในประเทศไทยมากกว่า 25 ปีเช่นกัน ที่ผ่านมาเคล็ดลับของความสำเร็จ คือ บุคลากร ดังนั้นทางบริษัทจึงให้ความสำคัญกับบุคลากรมากที่สุด

ส่วนแผนลงทุนของเคเอฟซีในปีนี้ เตรียมงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการรีโนเวทรูปแบบร้านใหม่ รวมถึงขยายสาขาเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 26 สาขา จากปีก่อนขยายเพิ่ม 26 สาขา ส่งผลให้ปัจจุบัน เคเอฟซีมีสาขารวม 415 สาขา เป็นของยัมฯ 325 สาขา ที่เหลือเป็นของกลุ่มเซ็นทรัล เรสเทอรองตส์ กรุ๊ป โดยปีนี้มั่นใจว่าจะมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่มีการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก นายมิลินท์กล่าวกับเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์

ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะที่ปรึกษากลุ่มพนักงานเคเอฟซี-พิซซ่าฮัทเปิดเผยว่าการกระทำดังกล่าวของบริษัทไม่เป็นธรรม เนื่องจากไม่มีการสืบสวนสอบสวนใดๆ ทั้งยังเป็นการกระทำอันหมิ่นประมาทพนักงานทั้งสามด้วย โดยก่อนหน้าที่บริษัทจะประกาศเลิกจ้าง บริษัทได้เรียกพนักงานที่ได้ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องปรับปรุงสภาพการจ้างไปประชุมร่วมกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เพื่อข่มขู่ให้ถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง ทั้งยังมีประจานลูกจ้างทั้งสามขึ้นบนจอห้องประชุม ซึ่งถือเป็นการหมิ่นประมาท โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงาน (อ่านข่าวย้อนหลัง)

สำหรับบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ให้บริการ ผู้บริหาร และผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน เคเอฟซี และพิซซ่าฮัท ในประเทศไทย มีทีมบริหาร และพนักงานชาวไทยกว่า 10,000 คน เพื่อให้บริการในร้านอาหารเคเอฟซีรวมกว่า 306 สาขา และร้านพิซซ่าฮัทกว่า 75 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และอีกกว่า 56 จังหวัดทั่วประเทศไทย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มติชนสัมภาษณ์: เปิดผลวิจัย-ตั้งโต๊ะวิพากษ์ ตอน (ไม่) เชื่อมั่น"นายกฯอภิสิทธิ์"

Posted: 10 May 2011 11:56 AM PDT

"นโยบายของรัฐบาลนี้...ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาความผันผวนของรายได้ จึงมีคะแนนความเชื่อมั่นต่ำเกาะกลุ่มกัน ถ้าดูจากสถิติของประชาชนที่มีความเชื่อมั่นต่อนายอภิสิทธิ์ จำแนกตามอาชีพ จากงานวิจัยนี้"

จากการสัมมนาประจำปีของสถาบันพระปกเกล้า เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง "ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการของรัฐ พ.ศ.2546-2553"

ในครั้งนั้น เป็นการเก็บสถิติช่วงสิงหาคม 2553 ตัวเลขสถิติความน่าจะเป็นชี้ว่า ประชาชนพึงพอใจการบริหารประเทศยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากกว่ายุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ล่าสุด ดร.ถวิลวดี อัพเดตงานวิจัยชิ้นนี้อีกครั้ง โดยความร่วมมือกับทีมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปลงพื้นที่เก็บสถิติล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2554 พบว่าไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่

สอดคล้องกับผลการทำโพลของหลายสำนัก ทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย ต่างฟันธงไปในทางเดียวกันว่า "ฝ่ายค้าน" จะชนะการเลือกตั้ง กระทั่งว่าอาจจะได้เสียง ส.ส.เกินครึ่งด้วยซ้ำ

"มติชน" เชิญ ดร.ถวิลวดี มาเปิดผลงานวิจัยร้อนๆ ฉบับล่าสุดที่ยังไม่ได้มีเปิดเผยที่ไหนมาก่อน พร้อมกับแจกแจงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีนัยยะสำคัญต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อตัวนายอภิสิทธิ์ ในโอกาสสัปดาห์แห่งการนับ 1 สู่โหมดการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ดังนี้..

แผนภาพแรก เป็นภาพรวมความเชื่อมั่นของประชาชนต่อตัวนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2546 ไล่มาถึงสิ้นปี 2553 เก็บกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติความน่าจะเป็น ใช้กลุ่มตัวอย่างทุกปี ปีละประมาณ 30,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ จากสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ทั้งหลายในทุกภาค ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล (หมู่บ้าน) ความเชื่อมั่นในที่นี้หมายความว่า เป็นภาพรวมในการนำประเทศ-กำหนดทิศทางประเทศ พบว่าปี 2546-2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนสูงมากถึงร้อยละ 87, 92.9 และ 87.8 ตามลำดับ แต่พอปี 2549 ลดเหลือร้อยละ 77.2 จากการที่มีข้อสงสัยเรื่องการคอร์รัปชั่น แต่เมื่อปี 2550 รัฐบาลหลังการรัฐประหารมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ เห็นชัดว่าตกวูบมาอยู่ที่ร้อยละ 45.2 สะท้อนว่าการรัฐประหารทำให้ประชาชนไม่พอใจ แม้ว่าจะดูเหมือนมีบางคนไปให้ดอกไม้ แต่ทุกสถาบันต่างๆ ดัชนีความเชื่อมั่นตกหมด

พอมาถึงยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ปี 2552 และ 2553 อยู่ที่ร้อยละ 60.5 และ 61.5 ตามลำดับ สิ้นเดือนตุลาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 61.9 และเมื่อสิ้นเดือนมกราคมปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 63 สถิติตรงนี้มีความหมายว่า แม้ตัวนายอภิสิทธิ์จะมีความนิยมเกินครึ่ง แต่คะแนนนิยมไม่ค่อยขึ้น (เร็ว) แม้นายกฯบอกว่า เอามาเทียบกับสมัย พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ เพราะเพิ่งทำงานมา 2 ปีจึงต้องใช้เวลา แต่จะเห็นว่า สถิติตรงนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเพียงทีละนิด ทีละจุดเล็กๆ ซึ่งบ่งชี้ว่า นโยบายไม่โดนใจ ฉะนั้นถ้าอยากจะได้ความเชื่อมั่นแบบเห็นผล นายอภิสิทธิ์ ก็ต้องทำคะแนนนิยมให้มากขึ้นผ่านนโยบายที่ออกไป

แต่มีปัญหาว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลผสม สถิติปรากฏว่า ครม. ได้คะแนนความเชื่อมั่นสู้ตัวนายกฯ ไม่ได้ ตัวนายอภิสิทธิ์เด่นอยู่คนเดียว คะแนนนิยมตัวนายกฯ กับ ครม. ในปี 52 พบว่าห่างกันประมาณ 16% ปี 53 ห่างกันประมาณ 14.2% หมายความว่าเมื่อรัฐมนตรีไม่ได้มาจากพรรคเดียวกัน และบางรายยังมีความกังขาเรื่องการทุจริต จึงมีปัญหาเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายของรัฐบาลในภาพรวมที่ทำให้ผลมันออกยาก หรือออกแต่ไม่โดนใจ ต่างกับสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แกหวือหวา เสียงมากในสภา เป็นคนที่ตัดสินใจอะไรเร็ว และเป็นครั้งแรกที่เอาประชานิยมมาใช้เป็นรูปธรรม คนตื่นตาตื่นใจ ซึ่งถ้ามาดูแผนภาพที่ 2 และ 3 ประกอบ จะเห็นอะไรชัดเจนขึ้น

แผนภาพที่ 2 แผนภาพนี้ศึกษาความเชื่อมั่นตัวนายอภิสิทธิ์โดยเฉพาะ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติ 5,130 ตัวอย่างทั่วประเทศ จากสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ทั้งหลายในทุกภาค ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล (หมู่บ้าน) ช่วงครึ่งเดือนแรกของมกราคม 2554 ตัวชี้วัดที่มีนัยสำคัญคือ การจำแนกตามอายุ พบว่าคนที่ชอบนายอภิสิทธิ์คือ วัยรุ่นอายุ 18-19 ปี อยู่ที่ร้อยละ 66.6 กับ คนแก่อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ร้อยละ 65.1 ตรงนี้ไปพ้องกับที่เราเก็บสถิติเรื่องความพึงพอใจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ปี 2552 และ 2553 ที่ปรากฏว่า โครงการเรียนฟรี 15 ปี กับการสร้างหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุ 500 บาท สูงโดดอยู่ที่ร้อยละ 85 ขึ้นไปจนถึงร้อยละ 89 แต่คำถามคือ คน 2 กลุ่มนี้ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าการที่นายกฯ ใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กเยอะ จะช่วยดึงกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ไปใช้สิทธิได้ไหม ถ้านายอภิสิทธิ์อยากจะได้คะแนน ก็ต้องทำให้กลุ่มนี้ออกมาใช้สิทธิให้เยอะ ไม่ใช่แค่สร้างความนิยม แต่สุดท้ายไม่ออกมาใช้สิทธิ ก็ไม่มีความหมาย

ที่มีนัยสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ กลุ่มอายุตรงกลางๆ คือ พวกเริ่มทำงาน 20-29 ปี และ 30-39 ปี และ 40-49 ปี กลุ่มพวกนี้จะออกมาใช้สิทธิเยอะ แต่จะเห็นว่าให้คะแนนความเชื่อมั่นนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 63.2, 62.7 และ 61.4 ตามลำดับ ที่เขาเชื่อมั่นน้อยกว่าแปลได้ว่า วัยที่เข้าระบบการทำงาน เขาต้องต่อสู้ หารายได้เลี้ยงตัว ถามว่าหางาน-สร้างรายได้ได้ไหม ถ้านโยบายออกมาแล้วไม่สนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ คนจบใหม่ตกงานเยอะ เขาก็จะไม่ชอบ เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เลยไม่ลงคะแนนให้ ดังนั้น รัฐบาลนี้ถึงเพิ่งเริ่มมาขยับพวกนโยบายบ้านหลังแรก ฯลฯ ก็ไม่รู้จะทันไหม เพราะคราวที่แล้วที่พรรคไทยรักไทยและพลังประชาชนเดิมที่ชนะได้ ก็เพราะได้คะแนนจากคนกลุ่มนี้ ถึงคราวนี้พรรคเพื่อไทยจึงมั่นใจของเขาไง

การที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เพิ่งมาเทกระจาดล่าสุดในการประชุม ครม.ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา กับแผนประชาวิวัฒน์ที่ออกมาเมื่อต้นปี เช่น การช่วยวินมอเตอร์ไซค์ ที่ทำกิน และอีกสารพัด ไม่แน่ใจว่าจะทันตีตื้นได้หรือเปล่า มีข้อพิสูจน์ซึ่งดูได้จากแผนภาพที่ 3 ที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป แถมนโยบายที่ออกมาก็อาจจะไม่ตรงเป้าด้วยซ้ำ คิดเองโดยไม่ได้ไปถามกลุ่มนั้นๆ อย่างนโยบายวินมอเตอร์ไซค์ มีงานวิจัยก่อนหน้านี้ของนักศึกษาปริญญาเอกจาก ม.ฮาร์วาร์ด ชี้ชัดว่า จริงๆ วินมอเตอร์ไซค์เป็นใคร และต้องการอะไรแน่ นอกจากนี้สิ่งที่เป็นปัญหาของรัฐบาลนี้คือ ที่ปรึกษาของนายอภิสิทธิ์ และการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลชุดนี้ไม่เก่งเลย มีแต่ภาพลบ ไม่ได้ตอกย้ำ เกาะติด จี้จุดนโยบายที่ทำได้ดีและคนชอบ แล้วนอกจากนี้ การจะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านก็ไม่ทันท่วงที น้ำท่วมผ่านไปเป็นปียังไม่ได้เงินช่วยเหลือ จนมาท่วมซ้ำ

แผนภาพที่ 3 ถ้าดูจากแผนภาพนี้จะพบว่า ข้าราชการจะเป็นกลุ่มที่เชื่อมั่นในตัวนายอภิสิทธิ์สูงสุด ที่ร้อยละ 67.3 เป็นเพราะพวกนโยบายขึ้นเงินเดือน การเพิ่มสวัสดิการให้ดีขึ้น ซึ่งมีนัยสำคัญบางอย่างที่ต้องย้อนดูแผนภาพที่ 2 ประกอบ นั่นคือ กลุ่มอายุ 40-49 ปี เชื่อมั่นนายอภิสิทธิ์ น้อยที่สุดที่ 61.4 เมื่อเทียบกับกับกลุ่มอายุอื่น ตรงนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ที่รัฐบาลนี้มีปัญหาการโยกย้ายแต่งตั้งค่อนข้างมาก ตามที่เป็นข่าวบ่อยๆ งานที่ผ่านราชการเพื่อให้ไปถึงชาวบ้านจึงช้ามาก เป็นปัญหาที่สัมพันธ์กันอยู่ ส่วนกลุ่มอาชีพอื่นที่เชื่อมั่นตัวนายอภิสิทธิ์ในระดับต้นๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นคือ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เชื่อมั่นที่ร้อยละ 65.3 ตรงนี้ก็คือจากนโยบายเรียนฟรี

สำหรับกลุ่มอาชีพที่เชื่อมั่นนายอภิสิทธิ์น้อยๆ คือ กลุ่มเกษตรกรเช่าที่ดินทำกิน เชื่อมั่นร้อยละ 60.6 กลุ่มรับจ้างทำการเกษตรร้อยละ 60.9 กลุ่มค้าขายประกอบธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 60.6 นี่ชัดเลยว่า นโยบายของรัฐบาลนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาความผันผวนของรายได้ คะแนนความเชื่อมั่นจึงต่ำ เกาะกลุ่มกันในกลุ่มอาชีพที่มีปัญหาในเชิงโครงสร้างคล้ายกัน แม้โครงการประกันรายได้ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ใช้เจาะตลาดกลุ่มนี้มา 2 ปีแล้ว แต่เมื่อสถิติเป็นแบบนี้ หมายความว่า มันไม่น่าจะโดนใจ ถามว่า มันการันตีว่ารายได้ได้จริงตามนั้นหรือเปล่า ผลประโยชน์มันไปตกอยู่ที่ใครแน่ อันนี้นายอภิสิทธิ์คงต้องไปไล่หา เพราะหลักฐานมันปรากฏว่ากลุ่มทำเกษตรยังไม่เชื่อมั่นพอ ความมั่นคงในชีวิตไม่เท่ากับสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีบัตรทอง 30 บาท การพักชำระหนี้ การเข้าถึงเงินทุนจากนโยบายกองทุนหมู่บ้าน คือคนชอบเพราะมันจับต้องได้ ไม่ใช่ลอยๆ เหมือนรัฐบาลประชาธิปัตย์

ถ้าเจาะดูกลุ่มอาชีพพนักงาน ลูกจ้างเอกชน ตรงนี้ก็พ้องกับแผนภาพที่ 2 ที่เป็นคนซึ่งอยู่ในช่วงอายุวัยเริ่มทำงาน หรือกำลังทำงาน ซึ่งเขารู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลเลยจากรัฐบาลนี้ มันส่งสัญญาณมานานแล้ว คะแนนความเชื่อมั่นมันถึงออกมาน้อยที่สุด ส่วนกลุ่มรับจ้างทั่วไปหรือกรรมการ ที่เชื่อมั่นสูงเป็นอันดับ 2 ที่ร้อยละ 65.8 ซึ่งอาจจะสงสัยว่า โดดมาได้อย่างไร อันนี้ถ้าเจาะไปดูรายละเอียดในสเกลการให้คะแนนที่แบ่งเป็น 5 ระดับ จะพบว่ากลุ่มนี้ที่ตอบว่า "เชื่อมั่น" อยู่ที่ร้อยละ 18.9 ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นที่ตอบแบบเดียวกันพบว่า กลุ่มนี้มีจำนวนน้อยสุดเป็นอันดับ 3 แต่ที่ค่าเฉลี่ยดูสูงเพราะไปตอบว่า "ค่อนข้างเชื่อมั่น" อยู่เยอะเกือบที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น ค่าเฉลี่ยเลยโดดออกมา

อย่างไรก็ดี แม้ 3 แผนภาพจะชี้ให้เห็นอะไรหลายอย่าง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ผ่านอะไรมาเยอะ เพลี่ยงพล้ำมาพอสมควรแล้วก็ตีคะแนนขึ้นมาจากที่คิดกันว่า ไม่ไหวแล้ว อ่อนแอเหลือเกิน แต่ก็ยังยืนอยู่ได้ แสดงว่านายกฯ ต้องแกร่งพอสมควรซึ่งคนอาจเริ่มตระหนัก ประกอบกับสภาวะเช่นนี้ มันยังไม่มีผู้นำคนอื่นที่จะขึ้นมาทัดเทียม ไม่ว่าจะเป็น นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่เคยเข้ามาการเมืองเลย ซึ่งสุ่มเสี่ยงถูกโจมตีเยอะ มันเลยทำให้ในแผนภาพแรก ความเชื่อมั่นในตัวนายอภิสิทธิ์ดีขึ้นทีละนิดๆ แนวโน้มไม่ตกด้วย แต่เมื่อนำมาประกอบดังแผนภาพที่ 3 เห็นชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชนะแน่นอน

แต่ว่าการเลือกตั้งไม่ได้เลือกนายกฯ โดยตรงนะ มันขึ้นกับจำนวน ส.ส. ใครได้มากสุด ฉะนั้นจึงต้องมาพิจารณาในแง่ตัวพรรคการเมืองในภาพรวมด้วย เพราะคราวนี้แข่งกันหลายพรรค พรรคกลางๆ บอกว่า จะเป็นตัวแปรในการตั้งรัฐบาล แต่งานวิจัยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนก็ตาม ตั้งแต่ปี 46 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน คะแนนความเชื่อมั่นต่ำมากมาตลอดเทียบกับ ครม. และตัวนายกรัฐมนตรีแต่ละยุคที่ผ่านมา ซึ่งห่างกันถึง 20-30% ยิ่งหลังรัฐประหาร ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 26.1, ปี 2551 ร้อยละ 33.2, ปี 2552 ร้อยละ 36.4, ปี 2553 ร้อยละ 36.9 เพราะมีการย้ายพรรคจนไม่รู้ใครเป็นใคร ไม่มีความชัดเจนเลยว่า พรรคการเมืองไหนมีอุดมการณ์อะไร เพราะเปลี่ยนไปเรื่อย ยิ่งช่วงถูกยุบพรรคนี่ยิ่งเละ หัวหน้าพรรคไม่รู้ใครเป็นใคร ย้ายพรรคกันไปเรื่อยๆ ซึ่งสัมพันธ์กับการลงคะแนนเลือกตั้งเหมือนกัน เพราะเมื่อคะแนนความเชื่อมั่นต่ำ อีกด้านหนึ่งบางส่วนก็ยังเลือกตัวบุคคลอยู่เพราะไม่แน่ใจในพรรค จะเห็นว่า ถ้าบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ยังมีอยู่ บางพรรคจึงไปกวาดต้อนคนนั้นมา ใช้ตัวคนมานำพรรคได้ในระดับหนึ่ง

ภาคที่มีเสียง ส.ส.มากที่สุดคือภาคอีสาน ตรงนี้พรรคภูมิใจไทยจะตีพรรคเพื่อไทยได้ไหม ซึ่งมันยาก อย่าง จ.บุรีรัมย์ แน่นอนยกจังหวัด แต่บางที่ที่พรรคภูมิใจไทยคิดว่าจะได้ แต่ก็ไม่ได้ เพราะชาวบ้านไม่เอา ทำให้ ส.ส. ที่ย้ายไปภูมิใจไทยนี่จะลำบากในหลายพื้นที่ มันเป็นเรื่องการฝังลึกมากที่คนศรัทธาพรรคเพื่อไทย เป็น Brand loyalty ไปแล้ว ทำกันมานานแล้ว แต่ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยไม่ได้ทำ นายอภิสิทธิ์ยืนอยู่หลังโพเดียม เข้าไม่ถึงรากหญ้า ครม. ไม่ช่วยนายกฯ ทำงานเท่าที่ควร ถามว่ารู้จักรัฐมนตรีคนไหนบ้างล่ะ สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมี ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ คุณหญิงสุดารัตน์ จาตุรนต์ ฯลฯ แต่นี่ไม่ช่วยกันโปรโมตแบรนด์ของตัวเองเลย มาตอนนี้มันจะหมดวาระแล้ว ...มันไม่ทันแล้ว

กลยุทธ์การหาเสียงก็สำคัญมาก จากการวิจัยโดยลงพื้นที่คุยกับชาวบ้านคราวเลือกตั้งซ่อมที่สกลนคร ที่ภูมิใจไทยแพ้ เพราะคนที่มาช่วยเพื่อไทยหาเสียง คือชาวบ้านจาก จ.อุดรธานี ที่กินอยู่กันตอนเสื้อแดงมาช่วยกันนะ แต่ถ้ามีอำนาจรัฐหรือตั้งเป้าจับใบแดง-ใบเหลืองก็เป็นอีกประเด็น หลายคนก็มองว่าพรรคร่วมเดิมก็คงจับมือกับประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาลกันต่อไป ไม่เช่นนั้นก็คงอยู่กันไม่ยาวถ้าฝ่ายพรรคเพื่อไทยขึ้นมา และปัญหาคือตอนนี้ยังไม่รู้ว่า ใครจะเป็นผู้นำของพรรคเพื่อไทย จึงทำให้พรรคอย่าง ชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมาตุภูมิ สะวิงได้ตลอดเวลา

และอย่าลืมว่าปีหน้าคงจะเห็น ส.ส.เขตของพรรคเพื่อไทยลาออก เพื่อเปิดทางให้บ้านเลขที่ 111 กลับเข้ามา ซึ่งเดาได้ไม่ยากว่าเป็นพื้นที่ไหนบ้าง วันนั้นพรรคเพื่อไทยก็จะเข้มแข็งขึ้น เพราะหลายคนที่จะกลับมาสามารถแข่งกับนายอภิสิทธิ์ได้สบายเลย โดยถ้าเพื่อไทยยังไม่ได้เป็นรัฐบาล คงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพอสมควร

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ไขปริศนา ศึกเลือกตั้ง ยุคพรรคการเมือง “เฟ้อ”

สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักวิจัยและพัฒนา เคยทำสำรวจอยู่ครั้งหนึ่งเร็วนี้ พบว่า พรรคที่ไม่ใช่อันดับ 1 และ 2 คะแนนนิยมจะได้น้อยมากๆ ยิ่งพรรคที่ออกมาใหม่ๆ โอกาสยิ่งน้อยลงไปอีก อย่างพรรครักษ์สันติ เรียกว่ายาก ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่ว่าจะลงบัญชีรายชื่ออันดับ 1 ซึ่งต้องได้เสียงประมาณ 3 แสน แต่คนก็ต้องเลือกแฟนเขาอยู่ ไม่เหมือนเลือกส.ว. 1 ที่นั่งต่อ 1 จังหวัด นอกจากนี้ นอกจากการสำรวจความเชื่อมั่นในตัวนายกฯตั้งแต่ปี 46 -53 ยังได้สำรวจความเชื่อมั่นต่อสถาบันพรรคการเมืองไทยด้วย ซึ่งพบว่า สถาบันพรรคการเมืองของไทย อ่อนแอสุด ย่ำแย่สุด เพราะไม่ได้มาจากอุดมการณ์ของคนที่คิดเหมือนกันและต้องการมาทำเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนรวม มันยุบบ่อย เปลี่ยนชื่อพรรคบ่อย คนก็เบื่อที่จะเลือก มันจึงเหลือพรรคใหญ่อันดับ 1 และ 2 ที่จะแย่งส.ส.บัญชีรายชื่อกัน พรรคไหนได้ส.ส.เขต ก็น่าจะได้คะแนนส.ส.บัญชีรายชื่อไปอย่างใกล้เคียงกันด้วย ยกเว้นบางที่ที่จะให้ตัวบุคคลนั้นซะหน่อย แต่เปลี่ยนมาให้คะแนนบัญชีรายชื่อกับอีกพรรคนึง อันนี้จะเกิดในภาคอีสาน

ส่วนภาคใต้นี่เริ่มน่าสนใจ เพราะจากการทำโฟกัสกรุ๊ปพบว่า คนภาคใต้อึดอัด แต่เขายังเชื่อมั่นในตัวพรรค แต่ไม่เชื่อมั่นในตัวส.ส.ในบางจังหวัด เพราะไม่ได้เอาคนที่เหมาะสมมาให้เขาเลือก ที่ผ่านมามีการบอกว่า ภาคใต้ถ้าประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ได้รับเลือก ตรงนี้ใช่แหละด้วยระบบการสืบเครือญาติ การเกี่ยวดอง การเห็นแก่ผู้นำ แต่เริ่มมีความคิดที่ไม่พอใจในบางพื้นที่ มีคนหัวใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เริ่มมีคนด่าส.ส.ตัวเองเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นพรรคเพื่อไทยน่าจะได้คะแนนบ้างในส่วนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเช่น บางส่วนของกระบี่ หรือสงขลาแถวอ.จะนะ

สำหรับกทม. ที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยบอกว่า จะเป็นจุดตัดสิน ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น มีคนที่ยังไม่ตัดสินใจเยอะที่สุด แผนภาพอื่นๆที่ไม่ได้นำมาแสดง ณ ที่นี้ ชี้ได้ชัดเลยว่า สถิติความนิยมตัวนายอภิสิทธิ์ หากใช้เกณฑ์ “ภาค” พบว่า กทม.อยู่ที่ร้อยละ 53.5 ซึ่งน้อยที่สุด น้อยกว่าภาคอีสานที่ 59.1 และภาคเหนือที่ 63 เสียอีก หมายความว่า ไม่ใช่ว่า อยู่ดีๆพรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนจากคนกทม.เยอะ แต่ในกทม.มันสวิงมาก 50 ต่อ 50 เลย ไม่พอใจอะไรนิดนึงก็เปลี่ยน ทั้งนี้ ในกทม.มีทั้งคนชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งกลุ่มนี้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว เพราะนโยบายเดิมของเขามันตอบโจทย์เรื่องความผันผวนของรายได้ได้ถ้าดูจากแผนภาพที่ 3 ประกอบดังที่กล่าวมาแล้ว

ส่วนคนชนชั้นกลางระดับกลางจนถึงระดับบน ก็สวิงได้ แต่มีแนวโน้มชอบตัวนายอภิสิทธิ์ แต่ถ้าเทียบกับเลือกตั้ง 50 ที่ประชาธิปัตย์ชนะถล่มทลาย ในตอนนั้นมันมีปัจจัยการเมืองอื่นๆอีกหลายอย่างทั้งการแฉโพยของกลุ่มพันธมิตรฯ และข้อสงสัยเรื่องการทุจริตที่ปรากฏออกมา แต่คราวนี้ไม่มีทาง ซึ่งถ้านายอภิสิทธิ์ ดูแลคนกทม.ไม่ดี เขาก็ไม่เอา ดูอย่างบางช่วงหาน้ำมันปาล์มไม่ได้ คนก็โมโหแล้ว ซึ่งเราพบว่า ถ้ามีอะไรที่กระทบต่อการทำมาหากินของเขา เขาจะไม่ชอบ ทั้งนี้ ตัวผู้สมัครในกทม.ก็สำคัญมากๆ แต่ประชาธิปัตย์เอาคนที่ทำพื้นที่มานานออกไป แล้วให้คนอื่นมาลงแทน นี่มีปัญหาแน่ งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับความไว้วางใจต่อรัฐสภาชุดปัจจุบันซึ่งเพิ่งเสร็จหมาดๆและเตรียมจะแถลง พบว่า คะแนนความไว้วางใจส.ส.ของประชาชน ในส่วนกทม.อยู่ที่ 5.37 จาก 10 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศซึ่งอยู่ที่ 5.8571 ตรงนี้ตอบปัญหาเรื่องการสวิงในกทม.ได้ชัด

สรุปได้ว่า ที่เราพูดถึงพรรคการเมืองและตัวผู้สมัคร เลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าตัวส.ส.ไม่ได้ดูแลชาวบ้าน หรืออยู่ๆจะเปลี่ยนให้ใครมาลงโดยไม่ดูคุณสมบัติ เอาแค่ลูกใคร พวกใครลงมันยากที่จะชนะ อย่าดูถูกประชาชนให้มากนัก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ระดม 1 ล้านชื่อในคืนนี้ ต้านกม.ฆ่า 'เกย์' ในอูกันดา

Posted: 10 May 2011 10:57 AM PDT

เว็บไซต์ Avaaz และเว็บไซต์ Allout ซึ่งเป็นเว็บไซต์รณรงค์ประเด็นสิทธิมนุษยชนระดมชื่อด่วน เพื่อยับยั้งกฎหมายต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน ในอูกันดา โดยตั้งเป้าล่าชื่อให้ได้หนึ่งล้านเสียงทั่วโลก ปัจจุบันเหลือเวลาอีกไม่ถึง 24 ชม.

ร่างกฎหมายนี้เกิดขึ้นจากนักกฎหมายซีกอนุรักษนิยม ที่จะส่งผลให้การเป็นคนรักเพศเดียวกัน (เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล คนข้ามเพศ) (LGBT- Lesbian, Gay, Bi-sexual, Transgender) ถือเป็นความผิดอาญามีโทษถึงขั้นประหารชีวิต

เว็บไซต์ทั้งสองระดมชื่อประชาชนทั่วโลกเพื่อส่งตรงถึงประธานาธิบดีโยเวรี มุเซเวนี (Yoweri Museveni) เพื่อแสดงเจตจำนงว่า อย่าปล่อยให้กฎหมายนี้ผ่านซึ่งจะยิ่งทำให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในอูกันดาเลวร้ายไปกว่าเดิม และจะทำให้สังคมอูกันดากลายเป็นสังคมชั้นต่ำเมื่อเทียบกับนานาอารยประเทศ

Avaaz ระบุด้วยว่า กฎหมายนี้เคยถูกคัดค้านจนสำเร็จมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่นักการเมืองสายอนุรักษนิยม และกลุ่มเคร่งศาสนาอาจคิดว่า ความสับสนวุ่นวายและความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนท้องถนนที่มีการชุมนุมต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว อาจจะดึงความสนใจจากนานาประเทศออกไปจากเรื่องนี้ ดังนั้น มวลชนทั่วโลกจำเป็นต้องร่วมกันแสดงออกว่าเราต่างกำลังจับตาเรื่องนี้อยู่ และเหลือเวลาอีกนิดเดียวก่อนสภาจะปิด หากสำเร็จก็ถือเป็นการปิดฉากอวสานของร่างกฎหมายอำมหิตนี้ไปตลอดกาล

เว็บไซต์ Avaaz ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า แม้แต่เอ็นจีโอที่รณรงค์เรื่องการป้องกันติดเชื้อเอชไอวี ก็อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายนี้ได้ ฐานสนับสนุนคนรักเพศเดียวกัน

ล่าสุด (ณ เวลา 00.50น. วันที่ 11 พ.ค. ตามเวลาประเทศไทย) มีผู้ร่วมลงชื่อ 695,875 รายแล้ว โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ครั้งนี้สามารถร่วมลงชื่อได้ที่  http://www.avaaz.org/en/uganda_stop_homophobia_petition?fp และ http://www.allout.org/en/petition/uganda

 

ที่มา: http://ilaw.or.th/node/939

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตั้งสมาคมช่วยมุสลิมตาบอดจากไฟใต้

Posted: 10 May 2011 10:19 AM PDT

นายวุสนุง หมัดดา ประธานสภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลาและประธานชมรมส่งเสริมและพัฒนาปัญญาจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ตนได้ก่อตั้งสมาคมคนตาบอดมุสลิมแห่งแรกในจังหวัดยะลา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2553 เพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิมที่เป็นคนตาบอด มีสิทธิได้รับการศึกษาหลักศาสนาและสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเหมาะสม เช่น การจัดหาคัมภีร์อัลกรุอานอักษรเบรลล์ให้ผู้พิการทางสายตาไว้ใช้อ่าน เป็นต้น

นายวุสนุง เปิดเผยต่อไปว่า การก่อตั้งสมาคมคนตาบอดมุสลิมแห่งแรกในจังหวัดยะลา ได้รับการสนับสนุนจากผู้พิการทางสายตาที่เป็นมุสลิม และมีการเสนอให้มีการสอนคัมภีร์อัลกรุอานเป็นวิชาภาคบังคับสำหรับผู้พิการ ต่อสภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลา แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับจากที่ประชุมสภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลา

นายวุสนุง เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับสภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 52/6 ถนนเมืองใหม่ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2551 เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ โดยมีการเลือกตั้งประธานสภาผู้พิการ รองประธานสภาผู้พิการ เลขานุการสภาผู้พิการ จากสมาชิกสภาผู้พิการทุกประเภท มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยสภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลา เป็นผู้กำหนดนโยบายและสวัสดิการต่างๆ ให้กับสมาคมผู้พิการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดยะลา

นายวุสนุง เปิดเผยอีกว่า สำหรับสมาคมผู้พิการจังหวัดยะลามี 4 สมาคม ได้แก่ สมาคมคนตาบอด สมาคมคนหูหนวก สมาคมออทิสทิก และสมาคมผู้พิการด้านด้านการเคลื่อนไหวหรือสมาคมผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ สมาคมเหล่านี้ขึ้นตรงต่อสภาผู้พิการทุกประเภททั้งหมด

นายวุสนุง เปิดเผยด้วยว่า สภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลามีสมาชิกทั้งหมด 8,241 คน จากสถิติเมื่อปี พ.ศ 2552 สภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลามีสมาชิก 4,296 คน ปัจจุบัน ปี พ.ศ 2554 มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 3,453 คน โดยส่วนใหญ่สมาชิกที่เพิ่มขึ้น เป็นผู้พิการด้านเคลื่อนไหวหรือผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา

นายวุสนุง เปิดเผยต่อไปว่า สภาผู้พิการทุกประเภทจังหวัดยะลาได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกรมประชาสงเคราะห์เดิม โดยผู้พิการจะได้รับความช่วยเหลือด้านเบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาทต่อคน และด้านสวัสดิการต่างๆ เช่น ได้รับสิทธิในการลดหย่อนค่าโดยสาร สิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล

โดยมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติหรือ พ.ก. ช่วยเหลือด้านการเยียวยา โดยสำนักงานนี้เปิดโอกาสให้ผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่สามารถประกอบอาชีพได้ด้วยตัวเอง ได้รับกองทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้พิการเอง โดยได้รับกองทุนคนละ 40,000 บาท

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จี้เร่งแจกส.ป.ก.บนพื้นที่ด่านใหม่ ชาวบ้านสะเดาอ้างหนังสือสำนักนายกฯ

Posted: 10 May 2011 10:12 AM PDT

นางเรณู ผิวทอง ชาวบ้านในนามกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ตนได้นำหนังสือด่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ส่งถึงเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่แจ้งให้ทราบถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองที่มอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณาออกเอกสาร ส.ป.ก.4 – 01(หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน) ให้ราษฎรตามสิทธิที่ได้พิสูจน์สิทธิแล้ว ไปให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา(ส.ป.ก.สงขลา) เพื่อให้เร่งแจกหนังสือ ส.ป.ก.4-01 ให้ชาวบ้านในกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก

นางเรณู เปิดเผยต่อไปว่า หนังสือดังกล่าว ตนเดินทางไปขอด้วยตัวเองจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เมื่อนำมาให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลาแล้ว ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่ได้ขอเวลาในการพิจารณา 7 วันว่า จะสามารถแจกหนังสือ ส.ป.ก.4 – 01 หรือไม่

นางเรณู เปิดเผยอีกว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นางชุลีกร ดิษโสภา ชาวบ้านในนามกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอกอีกคน ได้โทรศัพท์สอบถามความคืบหน้าไปยังสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลาอีกครั้ง ได้คำตอบจากปลายสายว่า ขอเวลาพิจารณาอีก 2 สัปดาห์

สำหรับหนังสือด่วนดังกล่าว เลขที่ นร 0105.04/2814 ลงวันที่ 22 เมษายน 2554 ลงนามโดยนายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้แก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง เรียน เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

โดยมีเนื้อหาสรุประบุว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ได้พิจารณากรณีขอให้ขอให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ ในตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา แล้วมีมติมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณาออกเอกสาร ส.ป.ก.4 – 01ให้ราษฎรตามสิทธิที่ได้พิสูจน์สิทธิแล้วต่อไป

พร้อมกันนั้น ยังได้ขอให้แจ้งผลการดำเนินการไปยังสำนักงานปลักสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯในการประชุมครั้งต่อไป

ส่วนชาวบ้านในกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก มีจำนวน 41 ราย คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ เนื้อที่ 720 ไร่

นายกำพล ภาคสุข ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ตนได้นำเสนอเรื่องนี้ไปยังจังหวัดสงขลาแล้ว เพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ ที่มีนายพิรสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ ได้นัดประชุมในวันที่ 24 พฤษภาคม 2554

นายกำพล กล่าวว่า มติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปและการเมือง ที่มอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แจกหนังสือ ส.ป.ก.4-01 ดังกล่าว ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2545 ที่ให้กรมศุลกากรสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว

“แม้ ส.ป.ก.สงขลา แจกใบส.ป.ก.4 – 01 ให้ชาวบ้านไปแล้ว แต่ก็ขอคืนได้ โดยสามารถดำเนินการเจรจาเรื่องค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน” นายกำพล กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "We Shall Return"

Posted: 10 May 2011 10:02 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "We Shall Return"

ความจริงหลายชั้นกับ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่เห็นอยู่ตำตา

Posted: 10 May 2011 09:33 AM PDT

"ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าเคยตั้งคำถามว่า เมื่อ 'หา' ความรุนแรงที่ไป 'ซ่อน' อยู่จนพบแล้ว ควรทำเช่นไร เมื่อได้เห็นร่างของสังคมไทยที่รุนแรงสลับซับซ้อนไม่เรียบง่าย สงบเย็นอย่างที่เคยเข้าใจมาแต่ก่อน แล้ว 'เรา' ยังจะอยู่กับสังคมไทยอย่างไร และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เมื่อเห็น 'ร่าง' แห่งความรุนแรงที่ 'ซ่อน' อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?"

ข้างบนนี้คือบทสรุปของปาฐกถา ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ฟังเสียงเต้นของ “ความจริง” ในสังคมไทย? ปาฐกถาเปิดงานเสนอเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเหตุรุนแรง เดือนพฤษภาคม 2553 และเปิดนิทรรศการ หัวข้อ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์" ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วันที่ 8 พฤษภาคม 2554 

ชัยวัฒน์ อ้างถึงทัศนะของ Arendt ว่า เริ่มต้นจากการถือว่า ยุคสมัยใหม่เชื่อว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นอยู่เองหรือมิได้ถูกค้นพบ หากเป็นสิ่งที่ถูกผลิต (producted) โดยน้ำมือมนุษย์ (human mind) และแยก “ความจริง” ออกเป็นสองชนิดคือ “ความจริง” ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาซึ่งจัดว่าเป็น “ความจริงเชิงเหตุเชิงผล” (rational truth) ส่วน “ความจริง” อีกแบบหนึ่งเป็น “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” (factual truth)

แต่น่าสังเกตว่า เมื่อชัยวัฒน์พูดถึงการจัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริง หรือการเผชิญหน้าระหว่างความจริงเชิงข้อเท็จจริงกับความจริงเชิงเหตุผลในประวัติศาสตร์ระยะไกล ตั้งแต่ยุคโสเครตีส พระเยซู เรื่อยมาถึงการจัดการ “ความจริง” ในเหตุการณ์ที่รัฐบาลอินโดนีเซียตอบโต้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ที่จะทำรัฐประหารเปลี่ยนรัฐบาล การฆ่ากันครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศราว 500,000 คน ในช่วงตุลาคม 2508 – มีนาคม 2509 ดูเหมือนเขาจะมั่นใจในความชัดเจนของ “ความจริง” ทางประวัติศาสตร์ระยะไกลที่เขาอ้างถึง

แต่ทว่า “ความจริง” ของประวัติศาสตร์ระยะใกล้ หรือความจริงของประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยระยะกว่า 5 ปี มานี้ ดูเหมือนชัยวัฒน์แทบจะไม่ลงลึกในรายละเอียด พูดทำนองว่าความจริงของประวัติศาสตร์ระยะใกล้ดูคลุมเครือ ซับซ้อน หรือ “หลายชั้น” 

และสุดท้ายเขาจึงสรุปว่า เมื่อเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?”

คำถามก็คือว่า ทำไมชัยวัฒน์จึงคิดว่าสังคมสามารถ หรือได้เห็นเพียง “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่? เพราะสำหรับคนธรรมดาทั่วไปจำนวนมาก เขาอาจมองเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ปรากฏอยู่ตำตามานานแล้วก็ได้ !

ตามคำอธิบายของชัยวัฒน์ที่ว่า ความจริงถือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และขึ้นอยู่กับ “อำนาจ” ในการผลิตสร้างความจริง หากความจริงขัดแย้งกัน ฝ่ายชนะก็มักจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าในการจัดการความจริง 

แต่เขาไม่ได้ตั้งคำถามต่อว่า เป็นความจริงหรือไม่ว่า ในความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นมาและเป็นอยู่ อำนาจที่จัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริงและความจริงเชิงเหตุผลคืออำนาจที่ปล้นอำนาจของประชาชนไป และเป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจที่ปราบปรามประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจของตนคืน เป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจพิสูจน์ความจริงเชิงข้อเท็จจริงกรณีคนบาดเจ็บล้มตาย และเป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจแห่งกระบวนการยุติธรรม

และหากย้อนกลับไป ความจริงเชิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน ประชานิยมมอมเมา เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงสื่อ แทรกแซงองค์กรอิสระ ฯลฯ เป็นความจริงที่ต้องจัดการภายใน “กรอบ” ของความจริงเชิงเหตุผลคือ กระบวนการยุติธรรม กระบวนการตรวจสอบที่เป็นไปตามกติกาและหลักการประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ?

แต่อำนาจนอกระบบ พรรคการเมือง ม็อบ สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนอำมาตย์จำนวนหนึ่งกลับร่วมมือกันและให้ความเห็นชอบให้จัดการกับความจริงเชิงข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหานั้น ด้วยการละเมิดหลักการและกติกาประชาธิปไตย 

ฉะนั้น ความรุนแรงที่พวกเขากระทำตั้งแต่แรกก็คือการทำลายความจริงเชิงเหตุผลบนหลักการและกติกาประชาธิปไตย แล้วก็ใช้อำนาจที่ปล้นประชาชนมาสร้างกระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐานกับฝ่ายตรงข้ามซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อประชาชนลุกขึ้นมาตอบโต้กับความรุนแรงนั้นเพราะความเหลืออดเหลือทน พวกเขากลับตอบโต้ประชาชนด้วยความรุนแรงยิ่งกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ (กำลังพล 50,000 รถถัง สไนเปอร์ กระสุน 200,000 นัด ข้อกล่าวหาล้มเจ้า ก่อการร้าย ฆ่า จับติดคุก ปิดปากด้วย ม.112 ฯลฯ)

นั่นคือ “ร่าง” แห่งความรุนแรงหรือไม่? คือ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ไม่ได้ซ่อนอยู่ที่ไหนเลย เป็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่คนธรรมดาอย่างชาวบ้านจากชนบท คนขับแท็กซี่ กรรมกร ฯลฯ เห็นอย่างเต็มตา และอย่างเต็มหัวใจมานานแล้ว!

คำถามคือ ชัยวัฒน์มัวไป “ซ่อน” อยู่ที่ไหน จึงไม่เห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ปรากฏอย่างโทนโท่อยู่ตรงหน้า! 

และเหตุใด ชัยวัฒน์จึงถามว่า เมื่อเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?

ทำไมไม่ถามบ้างว่า สังคมควรจะจัดการกับ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่เห็นตำตาอยู่อย่างไร เพราะตราบที่สังคมไม่มีคำตอบเกี่ยวกับการจัดการ “อำนาจ” ที่ควบคุมทั้งความจริงเชิงข้อเท็จจริง และความจริงเชิงเหตุผลให้อยู่ใน “ที่ทางที่ควรจะเป็น” การเรียกร้องให้ “ยกโทษ” และเรียกร้องให้ลืม “ความเจ็บปวด” คงไม่อาจช่วยอะไรได้ ! 

“ร่าง” แห่งความรุนแรง ก็คงแสดงบทบาทรุนแรงอยู่ต่อไป และอาจแปลงร่างไปอีกนับไม่ถ้วน และ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ถอดรูปการจิตสำนึกไปจากร่างใหญ่ อาจไปซ่อนอยู่ในทุกที่ทุกอณูของสังคม แม้แต่อาจ “ซ่อน” อยู่ในจิตใต้สำนึกของของนักสันติวิธีที่มุ่งขับเน้นความสำคัญของความโกรธ ความเกลียดในจิตใจของผู้คน

มากกว่าที่จะลงลึกถึงการเรียกร้องการวาง “ระบบอำนาจ” ในการจัดการความจริงและความเป็นธรรมให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง !

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความจริงหลายชั้นกับ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่เห็นอยู่ตำตา

Posted: 10 May 2011 09:29 AM PDT

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐบาลซีเรียสร้าง 'เว็บหลอก' ล้วงรหัสผ่านเฟซบุ๊ก

Posted: 10 May 2011 09:14 AM PDT

เว็บไซต์ Blognone รายงานว่า Electronic Frontier Foundation (EFF) องค์กรระหว่างประเทศซึ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ เปิดเผยว่าถ้าเข้าเฟซบุ๊กผ่าน HTTPS ในประเทศซีเรีย จะเจอกับ "เฟซบุ๊กปลอม" ที่หน้าตาเหมือนกับเฟซบุ๊กจริงทุกประการแทน ซึ่งเป็นเทคนิคแบบ Man-in-the-middle attack หรือการสร้าง "ตัวกลาง" ปลอมๆ ระหว่างเหยื่อและเว็บไซต์เป้าหมายที่เหยื่อต้องการจะเข้า โดยเหยื่อจะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ และเผลอส่งข้อมูลสำคัญ ซึ่งในที่นี้คือรหัสผ่าน ผ่านตัวกลาง

EFF รายงานว่าผู้ดำเนินการเรื่องนี้คือกระทรวงโทรคมนาคมของซีเรีย โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายเจ้าให้ความร่วมมือ

ในทางเทคนิคแล้ว การปลอมเว็บทำได้ไม่ง่ายนักเพราะเป็นระดับ HTTPS ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในซีเรียจะเห็นคำเตือนว่าใบรับรองดิจิทัลไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ส่วนมากคุ้นกับอาการนี้และ "เพิกเฉย" ต่อคำเตือน ก็อาจสูญเสียข้อมูลส่วนตัวได้

EFF แนะนำว่าควรใช้ซอฟต์แวร์พรางตัวอย่าง Tor หรือพร็อกซีที่อยู่นอกประเทศ ถ้าต้องการเข้าเฟซบุ๊ก แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างเพราะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางรายเริ่มบล็อค Tor แล้ว

จุดที่ EFF ตั้งข้อสังเกตคือ ความพยายามของรัฐบาลซีเรียในการปลอมเฟซบุ๊กยังอยู่ในขั้นสมัครเล่น เพราะไม่ได้ลงทะเบียนใบรับรองดิจิทัลจาก CA ที่เว็บเบราว์เซอร์รู้จัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน รัฐบาลหลายประเทศเป็นผู้ควบคุม CA ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอยู่แล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตีลักษณะนี้โดยไม่มีคำเตือนใดๆ

 

 

ที่มา: http://www.blognone.com/news/23538

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คดีแดงมุกดาหารเลื่อนสืบอีกครั้ง เหตุพยานโจทก์หาย

Posted: 10 May 2011 08:50 AM PDT

 

คดีเผาศาลากลางมุกดาหาร อัยการเลื่อนสืบอีก เหตุติดตามพยานปากเอกมาให้การไม่ได้ อัยการสูงสุดยังไม่ส่งเอกสารประกอบการสืบ และยังไม่สั่งชี้ขาดเรื่องการฟ้อง

 

9 พฤษภาคม 2554 ศาลจังหวัดมุกดาหารนัดสืบพยานโจทก์นัดที่เจ็ด ซึ่งเลื่อนการสืบมา 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 จำเลยทั้ง 29 คน ที่ได้รับการประกันตัวแล้ว ทนายจำเลย 5 คน มาศาลโดยพร้อมเพรียงกัน

ก่อนศาลออกนั่งบัลลังก์ได้เรียกโจทก์ คืออัยการเข้าปรึกษาหารือ จากนั้น ศาลออกนั่งบัลลังก์ ปรึกษาทนายจำเลยทั้งห้าว่า ในวันนี้ โจทก์ประสงค์สืบพยาน 6 ปาก พยานปากแรก เป็นประจักษ์พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ แต่พนักงานสอบสวนสืบหาตัวยังไม่พบ เนื่องจากมีการย้ายที่อยู่โดยไม่ได้แจ้ง โจทก์ยังประสงค์สืบพยานปากนี้อยู่ ส่วนพยานอีก 5 ปาก จะต้องสืบประกอบเอกสาร แต่หลังจากโจทก์ทำเรื่องขอเอกสารไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ยังไม่ได้รับเอกสารมา จึงยังไม่สามารถสืบพยาน 5 ปากนี้ได้ ประกอบกับอัยการสูงสุดยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดเกี่ยวกับจำเลย ซึ่งโจทก์สั่งไม่ฟ้องจำเลยบางราย แต่ถูกดีเอสไอคัดค้าน   โจทก์จึงขอยกเลิกวันนัดในสัปดาห์นี้ทั้งหมด และขอสืบพยานโจทก์ทั้ง 6 ที่เหลือในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2554 ซึ่งเป็นนัดสืบพยานจำเลย

ทนายจำเลยทั้ง 5 คน ไม่คัดค้าน ศาลจึงกำชับอัยการให้เร่งประสานสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการสืบ และคำสั่งเกี่ยวกับจำเลย ทั้งนี้ ศาลกล่าวแก่จำเลยว่า การพิจารณาคดีนานๆ เป็นการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ดังนั้น ศาลจะพยายามเร่งกระบวนการพิจารณาและพิพากษาให้โดยเร็ว

ข่าวเกี่ยวข้อง:คดีเสื้อแดงมุกดาหารเลื่อนสืบพยาน-ลุ้นความเห็นอัยการสูงสุด

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ประชา ประสพดี' ถูกลอบยิง นำส่งรพ.บางปะกอก1-เบื้องต้นปลอดภัยแล้ว

Posted: 10 May 2011 08:10 AM PDT

ประชา ประสพดี ถูกลอบยิงหลังกลับจากไปงานศพ โดยมือปืนขับรถจักรยานยนต์ประกบก่อนยิงเข้าด้านหลัง กระสุนทะลุไหล่ 2 นัด ล่าสุดถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอาการปลอดภัยแ้ล้ว

สำนักข่าวสปริงนิวส์ รายงานว่า เวลาประมาณ 21.00 น. นายประชา ประสพดี ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.สมุทรปราการ ถูกคนร้ายลอบยิงได้รับบาดเจ็บ ขณะขับรถอยู่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี สาขาพระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยนายประชาถูกมือปืนขับรถจักรยานยนต์ประกบยิง กระสุนถูกไหล่ซ้าย 2 นัด ขณะกำลังขับรถกลับจากงานศพที่วัดย่านพระประแดง จ.สมุทรปราการ เบื้องต้น เจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลบางประกอก 1 ล่าสุด อาการปลอดภัย โดยสามารถพูดคุยได้แล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานเบรกยกร่าง "สถาบันความปลอดภัยฯ" หวั่นได้องค์กร "ไม่อิสระ"

Posted: 10 May 2011 06:20 AM PDT

วาระ 18 ปีโศกนาฏกรรมเคเดอร์ คนงานแถลงจุดยืนขอให้ชะลอการพิจารณายกร่าง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เสนอประชาพิจารณ์ก่อนร่าง พบปี 53 มีลูกจ้างป่วย-อุบัติเหตุจากการทำงาน วันละ 406.96 ราย เสียชีวิตจากการทำงานวันละเกือบ 2 คน

 

ในวาระครบรอบ 18 ปีโศกนาฎกรรมไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 พ.ค. สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และองค์กรพันธมิตร 13 องค์กร ร่วมแถลงข่าว "18 ปี 188 ศพ โศกนาฏกรรมเคเดอร์ กำลังจะสูญเปล่า? สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เป็นดั่งฝันของผู้ใช้แรงงาน" โดยระบุว่า กว่า 18 ปีของการผลักดันเคลื่อนไหวของเครือข่ายแรงงาน ล่าสุด พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จะถูกบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ โดยในหมวด 7 มาตรา 52 จะนำมาสู่การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ

อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณายกร่างของอนุกรรมการยกร่างกฎหมายฯ กลุ่มคนงานมีมติเรียกร้องให้ชะลอการประชุมเพื่อยกร่าง พ.ร.ก.การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน) พ.ศ.... และให้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดเวทีประชาพิจารณ์ร่วมกับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและนำมาเป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวต่อไป

โดยมีความเห็นต่ออนุกรรมการยกร่างกฎหมายสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ที่ 1/54 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554 โดยมีนางอัมพร นิติศิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นประธาน ดังนี้

1.การมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงานในอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ มีจำนวนน้อยมากเพียง 3 คนจาก 19 คน

2.เมื่อพิจารณาจากการประชุมยกร่างกฎหมายสะท้อนให้เห็นว่าฝ่ายผู้ใช้แรงงานและฝ่ายรัฐมีมุมมองที่ต่างกันอย่างชัดเจน ฝ่ายรัฐมองว่า สถาบันฯที่จะจัดตั้งขึ้นควรเป็นเพียงหน่วยงานระดับกองภายใต้กรมสวัสดิการ ซึ่งต่างจากความต้องการของผู้ใช้แรงงานที่ต้องการให้สถาบันฯ ที่เรียกร้องมายาวนานจะต้องเป็นองค์กรอิสระ ในการบริหารจัดการ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการยกร่างฯ มีที่มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ และมีภารกิจในการยกร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ใช้ พ.ร.บ.องค์กรมหาชน พ.ศ.2552 ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังกฎหมาย พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ ถูกบังคับใช้

3.การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ ควรมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีศูนย์ข้อมูลและรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อจะได้ข้อมูลสดเป็นองค์ความรู้ ในการติดตามการแก้ไขปัญหาต่อหน่วยงานภาครัฐโดยตรงและสามารถเข้าไปในสถานประกอบการ เพื่อทำการศึกษาวิจัยวิเคราะห์และให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย ทำการเผยแพร่รณรงค์ และเพื่อสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเป็นทุนประเดิมอย่างเพียงพอและรับโดยตรงจากดอกผลของกองทุนเงินทดแทนเป็นร้อยละ 20 ต่อไป

4.การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ มีหลักการสำคัญในประเด็นที่มาของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ที่มีสัดส่วน 11 คน แบ่งเป็นประธาน 1 คน เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้าง 2 คน นายจ้าง 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ต้องมาจากการสรรหา ไม่ใช่ราชการมีเงินเดือนประจำ กรรมการที่มาโดยตำแหน่ง 2 คนคือ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (ผู้อำนวยการสถาบันฯ และเลขานุการต้องได้รับการคัดเลือกจากกรรมการสถาบันฯ)
 

พบคนงานเสียชีวิตจากการทำงาน เกือบ 2 คนต่อวัน
ด้านสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 18 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมจะเริ่มตระหนักในประเด็นเรื่องความปลอดภัย มีหน่วยงานอาชีวเวชศาสตร์-คลีนิกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ผ่านการเรียกร้องของสมัชชาคนจนในหลายรัฐบาล แต่คนงานยังเข้าไม่ถึงสิทธิเหล่านี้ เพราะการส่งต่อของโรงพยาบาลประกันสังคม ไม่เอื้อให้คนงานเข้าสู่การวินิจฉัย บางส่วนที่ได้รับวินิจฉัยก็ถูกบ่ายเบี่ยงว่าไม่ใช่โรคจากการทำงาน และถูกปลดจากการทำงาน ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้ด้อยสิทธิ และเมื่อร่างกายไม่สมบูรณ์ ก็ไม่สามารถขายแรงงานเลี้ยงครอบครัวได้อีก

โดยจากการรวบรวมตัวเลขของสภาเครือข่ายผู้ป่วยฯ สถิติการประสบอันตรายของลูกจ้างภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ปี 2553 มีลูกจ้างภายใต้การคุ้มครอง 8,177,618 ราย มีลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคหรือประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพและเสียชีวิตจากการทำงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเงินทดแทนทั้งสิ้น 146,511 ราย แบ่งเป็นลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน 619 ราย ลูกจ้างสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย 2,149 ราย ลูกจ้างทุพพลภาพจากการทำงาน 11 ราย ลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานหยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป 39,919 ราย ลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานหยุดงานไม่เกิน 3 วัน 103,813 ราย

โดยคิดเป็นมีลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานทั้งสิ้น 12,209.25 รายต่อเดือน หรือวันละ 406.96 ราย ขณะที่มีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงานเดือนละ 51.58 ราย คิดเป็นเสียชีวิตเกือบ 2 คนต่อวัน โดยสถิตินี้ยังไม่นับรวมคนงานที่ป่วยด้วยโรคจากสารเคมีมลพิษในโรงงานและเสียชีวิตจากการทำงาน ซึ่งหายไปอีกนับไม่ถ้วน เพราะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนได้

สมบุญกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ผู้ใช้แรงงาน นักวิชาการและเอ็นจีโอ พยายามเรียกร้องคือสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อให้คนงานได้รับการคุ้มครอง ทำงานอย่างมีชีวิตที่ปลอดภัย เพื่อครอบครัวที่สมบูรณ์ บ้านเมืองที่เจริญ แต่ดูเหมือนความเจริญของสังคมต้องแลกมาด้วยชีวิตของผู้ใช้แรงงาน

ต่อมา อดีตคนงานซึ่งเจ็บป่วยจากการทำงานได้เล่าถึงการเรียกร้องเพื่อให้ได้รับสิทธิจากกองทุนเงินทดแทน โดยพบปัญหาตั้งแต่การที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นการเจ็บป่วยจากการทำงาน บ้างไม่ทราบสิทธิของตนเอง บางรายต่อสู้จนได้เงินจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว แต่ยังรักษาไม่หาย วงเงินก็หมดเสียก่อน จึงยื่นอุทธรณ์เพื่อขอขยายวงเงิน แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา เช่นกรณีของจันมณี กลิ่นถนอม ซึ่งทำงานในแผนกรีดของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกต่างประเทศแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2531 โดยต้องยืนรีดผ้าในท่าทางเดิมตลอด จนเกิดอาการปวดที่ซีกซ้ายของร่างกายทั้งแถบ เธอไม่ได้รับการรักษาต่อเพราะรักษาเกินวงเงิน เมื่อไปขอให้สิทธิประกันสังคมตามมาตรา 39 ที่ส่งเงินด้วยตัวเองมาตลอดหลังถูกเลิกจ้าง ก็กลับถูกปฏิเสธโดยถูกบอกให้รอรับสิทธิจากเงินกองทุนทดแทน ล่าสุด เธอจึงตัดสินใจฟ้องศาลแรงงาน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน แต่เมื่อไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และต้องทุพพลภาพ นายจ้างได้ตัดสินใจเลิกจ้างคนงานและไม่จ่ายค่าชดเชย โดยระบุว่าคนงานได้เงินทุพพลภาพไปแล้ว เช่นกรณีของสุบิน ศรีทอง ซึ่งพลัดตกจากหลังคาสูงสิบกว่าเมตร ข้อมือหักสองข้างและหลังหัก ที่ได้รับเงินทุพพลภาพเดือนละ 3,500 บาทในอัตราคงที่เป็นเวลา 15 ปี เขาระบุว่าจำนวนเงินเท่านี้ไม่เพียงพอดูแลลูกเมียได้ ขณะที่จะไปสมัครงานที่ก็ไม่มีใครรับ เพราะต้องใช้ไม้เท้าตลอด

ด้านอดีตคนงานที่สู้คดีจนชนะอย่างเตือนใจ บุญที่สุด หนึ่งในผู้ป่วยจากโรคบิสซิโนซิสหรือโรคฝุ่นฝ้าย เล่าถึงการต่อสู้ในชั้นศาลในคดีฝุ่นฝ้ายที่ใช้เวลาร่วม 15 ปีว่า ที่สุด ศาลฎีกาได้พิพากษายืนให้นายจ้างชดเชยค่าเสียหายให้อดีตคนงานที่เจ็บป่วยจากฝุ่นฝ้ายรายละประมาณ 1 แสนบาท เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราวสองเดือนก่อน หลังจากได้รับเงินชดเชย ปรากฎว่า นางทองใบ หนูมั่น ที่ร่วมกันเป็นโจกท์ก็ได้เสียชีวิตลง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธนาพล อิ๋วสกุล:ความเห็นต่อการดำเนินคดีหมิ่นฯกับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Posted: 10 May 2011 06:02 AM PDT

ในฐานะของที่ผู้เคยเกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่บ้าง ทั้งในการเป็น จำเลย พยานโจทก์ คนทำหนังสือ จัดอภิปราย และร่วมรณรงค์ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในต่างกรรม ต่างวาระ ผมคิดว่าการไปรับทราบข้อกล่าวหาของอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วันพุธที่ 11 พฤษภาคมนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนของการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 

1. ในฐานะที่อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ยืนยัน/สาธิต รวมทั้งเรียกร้อง ให้อภิปรายในเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยมาอย่างต่อเนื่อง จนดูเหมือนเป็นการขยับเส้นให้ไป “ไกล” ที่สุดเท่าที่จะทำได้ในขณะนี้ การตั้งข้อหาของเจ้าหน้าที่รัฐครั้งนี้จะเป็นการลาก “เส้น” ที่ อ.สมศักดิ์ (รวมทั้งอีกหลาย ๆ ท่านได้พยายามทำมา ) ให้กลับมาอย่างน้อยก็ไม่ให้เกินเส้นที่ถูกขีดไว้ก่อน 19 กันยา 

2. การตั้งข้อหาอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ อ.สมศักดิ์ ต้องระมัดระวังตัวมากกว่าเดิม (ซึ่งเป็นการลงทุนที่ถูกมากของกองทัพ และสถาบันฯ) และยังเป็นการข้ามเส้นของฝ่ายอำนาจรัฐเองที่ก่อนหน้านั้น “อนุญาต” ให้มีการอภิปรายเรื่องนี้ได้ถ้าเป็นทาง “วิชาการ” โดย “นักวิชาการ” 

3. ไม่ว่าการดำเนินคดีนี้จะสิ้นสุดตรงไหน ตำรวจส่งอัยการ --->อัยการสั่งฟ้อง---> ศาลชั้นต้นพิพากษา ---> ศาลอุทธรณ์พิพากษา ---> ศาลฎีกาพิพากษา แต่ในแง่ขวัญและกำลังใจของคนที่จะนำเรื่องสถาบันกษัตริย์มาอภิปรายในสาธารณะก็ย่อมวิตกไม่มากก็น้อย 

4. ข้อหาที่ทหารจะแจ้งในวันพรุ่งนี้มีแนวโน้มที่จะกล่าวโทษแบบครอบจักรวาล

ในประสบการณ์ผม การแจ้งข้อกล่าวหาเนื่องจากสัมภาษณ์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในหัวข้อ “การมีสถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี” มีถึง 19 ประเด็น แน่นอนว่าหลายประเด็นนั้นถ้าใช้มาตรฐานของผมแล้ว “อ่อน” มาก ตีความอย่างไรก็ไม่โดน แต่ถ้าคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องข้อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องการเมือง การกล่าวโทษแบบครอบจักรวาลนั้นได้ผลในแง่ของการปิดปากไม่เพียงแต่ อ.สมศักดิ์ เท่านั้น แต่ยังรวมคนอื่น ๆ ด้วย เพราะทางการได้ “ขีดเส้น” ไว้ให้เห็นแล้วอย่างไหนทำได้ อย่างไหนทำไม่ได้ 

5. ในความเห็นผมแม้ว่าทางการโดยเฉพาะสถาบันจะ “ฉลาด” ในแง่ของการกล่าวโทษแบบเหวี่ยงแห เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนไหวในระยะสั้น และทำให้ตนเองไม่ต้องปรับปรุงตัว แต่ด้านกลับที่พวกนี้ลืมคิดคือ การทำให้การวิจารณ์สถาบันลงใต้ดินมากขึ้น หลังจากนี้การวิจารณ์แนว “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” แบบที่อ.สมศักดิ์ทำคงได้รับการขยายผลจากขบวนการที่ไป “ไกล” กว่านั้นว่าเป็นเรื่อง “ไร้เดียงสา” 

6. แม้ว่ากรณีนี้จะทำให้เราต้องตระหนักถึงภัยของกฎหมายหมิ่น มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรกลัวกฎหมายนี้จนเกินเหตุ แม้ว่าพรุ่งนี้ทางตำรวจเปิดเผย เนื้อหาที่ทหารได้แจ้งความ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แต่เราก็ต้องตระหนักว่านี่เป็นเพียงข้อกล่าวหาของฝ่ายนิยมเจ้า คดีนี้ยังไม่ถึงอัยการเสียด้วยซ้ำ

 

ธนาพล อิ๋วสกุล

10 พฤษภาคม 2554

ที่มา:เฟซบุ๊ค สนพ.ฟ้าเดียวกัน
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คดี พธม. ยึดรถเมล์ ศาลสั่งจำคุก 2 ปี ปรับ 66 บาท

Posted: 10 May 2011 12:54 AM PDT

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดี 6 การ์ด พธม. ใช้อาวุธยึดรถเมล์สาย 53 เมื่อ 24 พ.ย. 51 โดยศาลตัดสิน 5 จำเลยให้จำคุก 3 ปี ฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว และปรับ 100 บาทฐานพกอาวุธ แต่เห็นว่าจำเลยให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 66 บาท ส่วนจำเลยอีก 1 ราย ศาลให้จำหน่ายคดีเพราะเพิ่งเสียชีวิต

ตามที่เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2551 ระหว่างการชุมนุม 193 วันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีชาย 6 คน เป็นการ์ดพันธมิตรฯ ประกอบด้วยนายธีรเดช วรรณา นายชัยวัฒน์ ทับทอง นายธานี อาจสว่าง นายสมชาย ทองเกียรติ นายพงษ์พันธ์ กาจันทร์ และนายสมชัย หงสา ได้บุกยึดรถเมล์สาย 53 หมายเลข 11-9242 กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ากรมแผนที่ทหาร ซึ่งรถเมล์สายนี้ วิ่งผ่านกรมแผนที่ทหาร บริเวณแยก จปร. ย่านนางเลิ้ง และเมื่อขับไปสักพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงยางรถจนแตกและยึดรถกลับคืนมาได้ พร้อมจับกุมชายทั้ง 6 คนเพื่อดำเนินคดีนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)

ล่าสุดวันนี้ (10 พ.ค. 54) มติชนนออนไลน์ รายงานว่า ศาลอาญาพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ตามที่อัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้ง 6 ฐานพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง ข่มขืนใจผู้อื่น และข้อหาอื่นรวม 6 ข้อหา

โดยศาลได้จำหน่ายคดีในส่วนของ นายธานี อาจสว่าง จำเลยที่ 3 ออกจากสารบบเนื่องจากนายธานีถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและคำเบิกความของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเห็นว่า พวกจำเลยได้บังคับผู้เสียหายที่เป็นพนักงานของ ขสมก. จริง พิพากษาจำคุกในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและข่มขืนใจผู้อื่น คนละ 3 ปี ปรับในความผิดฐานพกพาอาวุธ คนละ 100 บาท แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์กับการพิจารณา เห็นสมควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี ปรับคนละ 66 บาท

ส่วนข้อหาพกพาอาวุธปืนนั้น อาวุธปืนอยู่ในกระเป๋าสะพายของจำเลยที่ 3 จำเลยอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นด้วยจึงให้ยกฟ้องในความผิดดังกล่าว สำหรับ จำเลยที่ 1 ให้ปรับในความผิดฐานพกพาวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต 4,000 บาท รับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือปรับ จำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว 2,000 บาท

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น