โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักปรัชญาชายขอบ: นักโทษมโนธรรมสำนึก

Posted: 29 May 2011 12:58 PM PDT

เบนจามิน ซาแวคกี นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (เอไอ) ประจำประเทศไทยและพม่า เปิดเผยว่าประเทศไทยมีนักโทษมโนธรรมสำนึกหรือนักโทษทางความคิด (Prisoner of Conscience) มากกว่า 1 คน แต่เอไอไม่สามารถเปิดเผยจำนวนและชื่อของคนที่ถูกจำคุกด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งหมดได้ “เนื่องจากเราไม่สามารถประกาศได้ทุกครั้งเมื่อใครคนใดคนหนึ่งกลายเป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก" (ประชาไท,27/05/2553)

ผม “โดน” คำว่า “นักโทษมโนธรรมสำนึก” หรือ “นักโทษทางความคิด” ตามที่เอไอ นิยามว่า หมายถึง “บุคคลใดก็ตามที่ถูกจำคุกจากสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ภาษา เพศ ความเชื่อ และวิถีชีวิต ซึ่งไม่ใช้และไม่สนับสนุนความรุนแรง นอกจากนี้ยังหมายถึงผู้ที่ถูกจำคุกเนื่องจากการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยวิธีสันติ”

การเป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก หรือนักโทษทางความคิดในความหมายดังกล่าว มันหมายถึงการถูกกดขี่ ลิดรอน กระทั่งประทุษร้าย ทำลาย “ความเป็นมนุษย์” ในระดับพื้นฐาน หรือในระดับ Existence เลยทีเดียว หมายความว่า ความมีอยู่ของความเป็นมนุษย์ถูกคุกคามหรือทำลายลงอย่างเลือดเย็น

ความเป็นมนุษย์ในระดับพื้นฐานของเราคือ ความเป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มีมโนธรรมสำนึก และมีเสรีภาพ 

ความมีเหตุผลทำให้เราไม่สามารถยอมรับความเชื่อหรืออำนาจใดๆ ก็ตามที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล หรือไม่ท้าทาย ทนทานต่อการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยเหตุผล ความมีมโนธรรมสำนึกทำให้เราไม่อาจยอมรับสิ่งผิดเป็นถูกหรือถูกเป็นผิดได้ และความมีเสรีภาพทำให้เรารังเกียจการกดขี่ ครอบงำ ทำลายอิสรภาพทางความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ สิทธิอำนาจในการกำหนดชะตากรรมแห่งตนเองของประชาชน

ความเป็นมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มีมโนธรรมสำนึก และมีเสรีภาพดังกล่าว เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง (intrinsic value) คือ มันไม่ได้มีค่าเพราะว่าเป็นเครื่องมือ หรือเป็น “วิถี” (means) ไปสู่จุดหมายอื่น ฉะนั้น มันจึงไม่ควรถูกลดทอนเพื่อปกป้องจุดหมายอื่น เช่นเพื่อปกป้องสถานะ อำนาจ หรือความศักดิ์สิทธิ์ของบางสถาบัน เป็นต้น

ในกรณีนักโทษทางความคิด หรือนักโทษมโนธรรมสำนึก ได้ก่อให้เกิด “ภาวะย้อนแย้ง” อย่างมีนัยสำคัญคือ สถาบันกษัตริย์ไทยอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ หรือมีสถานะที่ประชาชนต้องจงรักภักดี โดยที่ตามคติทางศาสนาที่ค้ำจุนสถานะดังกล่าวอธิบายว่า การจะเป็นที่เคารพสักการะและเป็นที่จงรักภักดีต้องมีความสัมพันธ์อย่างจำเป็นกับ “ธรรม” ของสถาบัน หรือพูดอีกอย่างว่าผู้ที่เป็นกษัตริย์ถูกถือว่าเป็น “บุคคลแห่งธรรม” ที่ทั้งเสียสละดูแลทุกข์สุขของราษฎร อบรมสั่งสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี

แต่ความเป็น “บุคคลแห่งธรรม” ในความหมายดังกล่าว เมื่ออยู่ใน “บริบท” ของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข “ธรรม” ไม่ได้หมายเฉพาะคุณธรรมส่วนตัวของผู้ปกครอง เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรเป็นต้นเท่านั้น หากยังหมายถึง “ธรรมเชิงระบบ” ที่ถือเป็น “สัญญาประชาคม” คือหลักการ อุดมการณ์ กติกา วัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย ฉะนั้น ความเป็น “บุคคลแห่งธรรม” ต้องไม่ขัดแย้งกับ “ธรรมเชิงระบบ” ดังกล่าวนี้

หรือพูดให้เจาะจงลงไปคือ นอกจากจะต้องไม่มีการอ้างสถานะของ “บุคคลแห่งธรรม” เพื่อละเมิดหลักการ อุดมการณ์ กติกา วัฒนธรรมประชาธิปไตยแล้ว “บุคคลแห่งธรรม” ยังต้องเป็นแบบอย่างของประชาชนในการเคารพ “ธรรมเชิงระบบ” ดังกล่าวด้วย

แต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือวัฒนธรรมที่ยกย่องสถานะ “บุคคลแห่งธรรม” ให้อยู่เหนือการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ ย่อมเป็นกฎหมายและวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกับ “ธรรมเชิงระบบ” อย่างมีนัยสำคัญ

การที่สถานะของ “บุคคลแห่งธรรม” ขัดแย้งกับ “ธรรมเชิงระบบ” เช่น ขัดหลักเสรีภาพ ความเสมอภาคในความเป็นคน ทำให้สถานะดังกล่าวกดทับ และ/หรือลดทอนความเป็นมนุษย์ของประชาชนโดยพื้นฐาน ฉะนั้น จึงเกิดภาวะย้อนแย้งว่า ความจงรักภักดีที่มีต่อความมีธรรมของบุคคลแห่งธรรมขัดแย้งกับ “ธรรมเชิงระบบ” และสภาวะความขัดแย้งนั้นนำไปสู่การลดทอนความเป็นมนุษย์ของประชาชน ทว่าในขณะเดียวกันสถานะของบุคคลแห่งธรรมก็เรียกร้องความจงรักภักดีจากประชาชน ซึ่งพวกเขามีความชอบธรรมที่จะได้การปกป้องจาก “ธรรมเชิงระบบ” ในระบอบประชาธิปไตย

หากจะว่าไปแล้วภายใต้สถานะของ “บุคคลแห่งธรรม” ที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ หรือไม่มีกฎหมายรองรับการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเหมือนอำนาจสาธารณะอื่นๆ ทำให้ประชาชนทุกคนกลายเป็นนักโทษทางความคิด หรือนักโทษมโนธรรมสำนึกไปโดยปริยาย

แม้ว่าเราจะไม่ถูกจับติดคุก แต่ความมีอยู่แห่งความเป็นมนุษย์ของเราถูกกดทับ ลดทอน จำกัด ไม่ให้ใช้เหตุผลในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ ไม่ให้ใช้มโนธรรมตัดสินถูกผิด และไม่ให้ใช้เสรีภาพที่จะจงรักภักดีหรือไม่จงรักภักดี และ/หรือแสดงออกซึ่งความคิดต่างเห็นแย้งใดๆ อย่างเป็นสาธารณะได้ ตามที่ “ธรรมเชิงระบบ” ในระบอบประชาธิปไตยคือหลักสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมอันเป็น “สัญญาประชาคม” รองรับให้เราสามารถมีความเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มที่

ฉะนั้น ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ภายใต้ระบบการปกครองที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน เราต่างคือนักโทษมโนธรรมสำนึก หรือนักโทษทางความคิด ความไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นนักโทษดังกล่าวอาจมีเฉพาะในคนที่ไม่ต้องการจะมีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ หรือไม่ก็เพราะความเป็นมนุษย์ของเขาอาจถูกกระทำให้ “เจ็บป่วย” จนสูญเสียสำนึกในคุณค่าที่สูงส่งไป

แล้วนักโทษอย่างพวกเรายังจะชี้หน้าด่ากันต่อไป หรือจะร่วมกันต่อสู้เพื่ออิสรภาพ! 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิชาต สถิตนิรามัย: สิทธิเลือกตั้ง เงินซื้อเสียง ใครโง่ ?

Posted: 29 May 2011 12:48 PM PDT

บทความนี้จะอธิบายว่า ทำไม "ชนชั้นกลางระดับล่าง" หรือ "ชาวบ้าน" จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้ง 

กล่าวอ้างได้ว่า ความแตกต่างระหว่างการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 กับการรัฐประหารทุกครั้งก่อนหน้านี้ คือการที่ "ชาวบ้าน" ออกมาปกป้องสิทธิการเลือกตั้ง บทความนี้จะอธิบายว่า ทำไม "ชนชั้นกลางระดับล่าง" หรือ "ชาวบ้าน" จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้ง 

หากเราถือว่าผู้มีรายได้ต่อคนต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาทขึ้นไปในปี 2552 (เส้นความยากจนด้านรายได้เท่ากับ 1,443 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2550) เป็นชนชั้นกลางแล้ว พบว่ามี 2 กลุ่มอาชีพ คือ เกษตรกร และแรงงานไร้ฝีมือ (ประมาณ 32% ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งลดลงจาก 55% ในปี 2529) เท่านั้นที่ไม่ใช่ชนชั้นกลาง โดยเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 3,214 บาท ในขณะที่อาชีพการค้าและบริการ (20%) ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นชนชั้นกลางระดับล่างสุดมีรายได้ 5,828 บาท (พอ ๆ กับรายได้ของคนงานภาคการผลิตในอุตสาหกรรม) หรือสูงกว่าเกษตรกรเกือบสองเท่า แต่ยังต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคน (6,239 บาท) กลุ่มการค้าและบริการนี้เพิ่มจาก 10% เศษในปี 2529 เป็น 20% ในปี 2552 ที่น่าสนใจคือกลุ่มอาชีพนี้มีแนวโน้มกระจายตัวออกจากเขตเมืองไปสู่เขตชนบท และกระจายตัวออกจาก กทม.ไปทุกภูมิภาค 

ด้านการออมนั้น สัดส่วนของครัวเรือนที่ไม่มีเงินออมลดลงจาก 48% ในปี 2531 เป็น 25% ในปี 2552 (คิดเป็น 5 ล้านครัว) ในส่วนครัวเรือนที่มีเงินออมนั้น ออมเพิ่มขึ้น 10-12 เท่า จาก 507 บาท 5,145 บาทต่อเดือน แต่หากแบ่งประชากรทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 20% แล้ว กลุ่มที่จนสุดยังคงมีการออมติดลบในปี′52 ส่วนกลุ่มที่จนรองลงมาเริ่มมีอัตราการออมเป็นบวกตั้งแต่ปี 2550 สรุปคือประมาณ 75% ของประชากรมีเงินออมในปัจจุบัน เมื่อคนส่วนใหญ่มีการออมเพิ่มขึ้น จึงไม่แปลกที่ความมั่งคั่งในรูปสินทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งกลุ่มที่จนที่สุดด้วย 

ด้านภาระหนี้สินพบว่า สัดส่วนหนี้นอกระบบมีน้อยมากเพียง 3.4-8.7% ในช่วงปี 2549-2552 ทั้ง ๆ ที่สัดส่วนคนเป็นหนี้เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2537 เป็น 60% ปี 2552 แต่หนี้ส่วนใหญ่ (60-66%) เป็นหนี้เพื่อการลงทุนในช่วงหลังจากปี 2547 ในขณะที่ภาคอีสานและภาคเหนือมีสัดส่วนผู้เป็นหนี้สูงสุด (72%, 62%) 

สรุปแล้ว แม้ชีวิตทางเศรษฐกิจทุกซอกมุมของสังคมไทยจะต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาด เนื่องจากมีวิถีการผลิตและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบตลาด แต่คนส่วนข้างมากของสังคมซึ่งเป็นคนชั้นกลางระดับล่างขึ้นไป มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงขึ้น สามารถรองรับความไม่แน่นอน (uncertainty) ทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนเกษตรกร แรงงานไร้ฝีมือ และคนจนกลายเป็นชนข้างน้อย  

แม้เมื่อพิจารณากลุ่มเกษตร ซึ่งไม่สามาถจัดเป็นคนชั้นกลางระดับล่างได้ พบว่ามีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างจากกลุ่มชนอื่น เขาผลิตภายใต้ตรรกะของกลไกตลาดอย่างเข้มข้นเช่นกัน ในแง่นี้เขาก็ใช้วิธีคิดแบบ calculative ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณราคาเฉกเช่นเดียวกับผู้คนในภาคการผลิตอื่น ๆ ในฐานะผู้ประกอบการด้านเกษตร เขาต้องคาดการณ์ราคาพืชที่จะปลูกล่วงหน้า คำนวณต้นทุนปัจจัยการผลิต เพื่อที่จะเลือกปลูกหรือเลือกไม่ปลูกพืชชนิดใด และเนื่องจากอาชีพนี้มีความไม่แน่นอนสูงทั้งด้านราคาผลผลิตและเงื่อนไขการผลิต จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามชาวไร่-ชาวนาต่างบริหารความไม่แน่นอนเหล่านี้ผ่านวิธีการ เช่น กระจายชนิดพืชที่ปลูก พูดอีกแบบคือจะไม่ปลูกพืชไร่ชนิดเดียวเท่านั้นบนที่ดินของตน  

อีกตัวอย่างคือ อาจปลูกข้าวไว้บริโภคเองด้วยเพื่อเป็นหลักประกันความไม่แน่นอน ทั้ง ๆ ที่หากปลูกพืชไร่ทั้งหมดอาจให้ผลตอบแทนสูงกว่า การคำนวณกำไร-ขาดทุนและการบริหารความไม่แน่นอนเหล่านี้สะท้อนว่า เกษตรกรใช้วิธีคิดทางเศรษฐกิจไม่ต่างจากผู้คนในภาคการผลิตอื่น ๆ แน่นอนว่ารายได้ของเกษตรกรโดยเฉลี่ยต่ำกว่าภาคการผลิตอื่น ทำให้เขาขาดหรือมีเงินออมน้อยกว่าที่จะรองรับความไม่แน่นอนได้ดีเท่าผู้อื่น เมื่อเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้น เขาย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเพื่อบรรเทาผลกระทบ แต่ข้อมูลชี้ว่าสัดส่วนคนน้อยกว่า 9% เท่านั้นที่ต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบ ในแง่นี้แม้แต่เกษตรกรก็มีเครื่องมือในการจัดการความไม่แน่นอนดีขึ้น  

หากความหมายของระบบอุปถัมภ์ทางเศรษฐกิจ คือ การที่ผู้ยากจนต้องพึ่งพาผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ด้านลบ (adverse shock) ซึ่งเขาต้องตอบแทนกลับในหลายรูปแบบ รวมทั้งการลงคะแนนเสียงทางการเมืองแล้ว การที่ชนส่วนใหญ่ของสังคมกลายเป็นชนชั้นกลาง หรือแม้แต่ชาวนา ซึ่งฐานะต่ำกว่าก็มีเครื่องมือในการจัดการกับความไม่แน่นอนได้ดีขึ้น สิ่งนี้มีนัยว่าการพึ่งพิงเครือข่ายอุปถัมภ์อาจลดลง  

การผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตภายใต้กลไกตลาด ย่อมกล่อมเกลาให้ผู้คนมีวิธีคิดแบบ calculative ในทางเศรษฐกิจ บทความนี้เชื่อว่าชาวบ้านใช้วิธีคิดเช่นนี้กับปริมณฑลทางการเมืองเช่นกัน การเมืองท้องถิ่นระดับ อบต.-เทศบาลมีการแข่งขันเข้มข้นขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2546 และการพึ่งพิงเครือข่ายอุปถัมภ์ทางเศรษฐกิจที่น้อยลง ทำให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น ทั้งหมดนี้อาจหมายความว่า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างชาวบ้านกับนักการเมือง (เงินซื้อเสียง ผลงานของนักการเมือง ฯลฯ กับเสียงสนับสนุน) มีทิศทางที่เป็นประโยชน์กับชาวบ้านมากขึ้น  

พูดอีกแบบคือ การกระจายอำนาจในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาให้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในสายตาชาวบ้าน รวมทั้งการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เมื่อประกอบกับการที่พรรคไทยรักไทยตอบแทนคะแนนเสียงของชาวบ้านด้วยนโยบายประชานิยมตั้งแต่ปี 2544 แล้ว คงอ้างได้ว่า ประชาธิปไตยในสายตาชาวบ้านนั้นอย่างน้อยต้องมีความหมายว่า เขาคือผู้มีสิทธิในการกำหนดตัวผู้บริหารของเขา ดังนั้นการรัฐประหาร 2549 จึงขาดความชอบธรรมในสายตาของชาวบ้าน 

จากตรรกะข้างต้น การซื้อเสียงซึ่งขาดไม่ได้ในทุกระดับการเลือกตั้ง คงไม่ได้หมายความว่าเป็นเพราะชาวบ้านเป็นคนยากจน อยู่ภายใต้เครือข่ายอุปถัมภ์ และขาดวิธีคิดที่ซับซ้อน แต่อาจหมายถึงเพราะการที่ชาวบ้านพึ่งตัวเองได้และคิดแบบ calculative ต่างหาก ในขณะที่เขาก็ตระหนักดีด้วยว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินยังคงสูงมาก เขาจึงต่อรองในทุกระดับและทุกรูปแบบกับนักเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสดในระหว่างการเลือกตั้ง และโครงการที่ "กินได้" ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง และเขารู้ดีว่าเครื่องมือที่มีประสิทธิผลที่สุดในการกระจายรายได้และทรัพย์สินก็คือ การเลือกตั้งที่ทุกคนมี 1 เสียงเสมอหน้ากัน เพราะเขาคือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีจำนวนมากที่สุดของสังคม

 

............................
เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร

Posted: 29 May 2011 12:26 PM PDT

เกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมฐานทรัพยากรที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีการผลิตของตนมานับหมื่นปี อย่างไรก็ดีเกษตรกรทั้งหลายก็ได้พัฒนาระบบการผลิตและวิถีชีวิตของตนและกลุ่มให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ย่อมปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

เกษตรกรรมสมัยใหม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการผลิตเพื่อขายออกสู่ตลาด ซึ่งผลิตผลทางการเกษตรจะมีตัวกลางในการควบคุมการซื้อขาย รวมถึงขยับขยายมาควบคุมปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น โดยปัจจุบันตัวกลางที่ว่าอยู่ในรูปแบบของ “บรรษัทธุรกิจการเกษตร” ที่มีอยู่ไม่กี่บริษัทและเป็นที่รู้จักดีทั้งในระดับรัฐและระดับโลก

บรรษัทธุรกิจการเกษตรเหล่านี้ได้ร่วมมือกับภาครัฐสร้างข้อมูล โฆษณาประชาสัมพันธ์ บทบาทของตนในการหยิบยื่นสิ่งที่เรียกว่า “ระบบเกษตรพันธสัญญา” หรือ “Contract Farming” ให้กับเกษตรกรทั้งหลายเพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงว่า เมื่อเกษตรกรเข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจกับทางบริษัทแล้วจะมีการนำปัจจัยการผลิตมาให้ รวมถึงมีการรับซื้อผลผลิตคืน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต   โดยข้อตกลงที่เกิดขึ้นอยู่ในรูปแบบสัญญา “ลายลักษณ์อักษร” และ “สัญญาใจ” ไม่มีลายลักษณ์อักษร   แต่ความคาดหวังของเกษตรกรจะเป็นจริงอย่างที่บริษัทโฆษณาจริงกระนั้นหรือ    

งานวิจัยที่ได้ลงพื้นที่คลุกคลีกับเกษตรกรในหลายกลุ่ม อาทิ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ผู้เลี้ยงหมู ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ชาวไร่อ้อย ชาวไร่ข้าวโพด ฯลฯ พบข้อสรุปซ้ำซากที่เกิดคล้ายๆกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรในระบบพันธสัญญา    คือ   เกษตรกรตกอยู่ในภาวะ มีหนี้สินล้นพ้น เครียดวิตกจริต อยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ และตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง และไร้อำนาจในการต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่   เนื่องจากเมื่อเข้าร่วมระบบพันธสัญญานั้น ตนได้ตกอยู่ในภาวะ “ไร้ญาติ” ขาดความสัมพันธ์กับญาติสนิทมิตรสหายที่เคยติดต่อไปมาหาสู่กันเมื่อครั้งทำการเกษตรแบบเดิม   เมื่อเกิดปัญหาก็เหลือเพียง “ตัวเอง” กับ “บรรษัท”   เท่ากับว่า   ตนต้องมีความสัมพันธ์กับบรรษัทบนพื้นฐานของอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน และไม่มีแนวร่วม

สาเหตุที่เกษตรกรเข้าไปติดกับและออกจากวงจรไม่ได้นั้นเกิดจากกระบวนการที่มีการวางแผนและสมคบกันอย่างเป็นระบบระหว่างรัฐกับทุน โดยในบางกรณีรัฐก็มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เกษตรกรเข้าไปอยู่ในระบบ หรือบางกรณีรัฐก็ไม่ทำหน้าที่คนกลางหรือผู้ปกป้องสิทธิของประชาชน ทำให้ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เป็นธรรมโดยลำพัง   กระบวนการดังกล่าวสามารถอธิบายด้วยผลการศึกษาเรื่อง “บ่วงบาศผูกขาดชีวิตเกษตรกร” ที่ปรากฏในรูป   ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ่วงบาศที่เกี่ยวรัดกระหวัดให้เกษตรกรดิ้นไม่รอดและล้มหายตายไปในอ้อมกอดอำมหิตดังกล่าว

ณ จุดเริ่มต้นของเรื่อง บรรษัทมีเป้าหมายอยู่ที่การแสวงหากำไรเข้าตัวให้มากที่สุด โดยที่รัฐก็มีความสัมพันธ์กับบรรษัทในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการประกอบการหรือมีการอุปถัมภ์ค้ำชูกันทั้งในระดับนักการเมืองและข้าราชการประจำ ส่วนเกษตรกรก็กำลังแสวงหาวิธีการพาตัวเองออกจากความยากจนที่ต้องเผชิญอยู่

บรรษัทเล็งเห็นว่าหากตนจะสร้างผลกำไรได้มากที่สุดจะต้องมีการผูกขาดความสามารถในการผลิตมาอยู่ที่ตัวเอง จึงได้พยายามอย่างมากในการครอบครองปัจจัยการผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรมพืชและสัตว์ ในรูปตัวอ่อนสัตว์และเมล็ดพันธุ์พืช หรือแม้กระทั่งการถือครองที่ดิน   โดยที่ภาครัฐก็มิได้มีการสงวนอนุรักษ์ปัจจัยการผลิตเหล่านั้นให้เกษตรกร   และเกษตรกรเองก็อยู่ในภาวะยากจน มีหนี้สิน ไม่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตัวเอง ทั้งที่ดิน พันธุ์พืชและสัตว์ ปุ๋ย ยา ฯลฯ  หากเกษตรกรต้องการจะผลิตก็ต้องเข้ามาหาทุนที่ถือครองปัจจัยการผลิตเหล่านี้

เมื่อดูถึงเหตุผลในการตัดสินใจเลือกเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา ก็จะเห็นปริมาณข้อมูลสนับสนุนด้านดีของเกษตรพันธสัญญาที่บรรษัทโหมประชาสัมพันธ์ และจัดจ้างให้มีการทำวิจัยสนับสนุนอย่างมากมายมหาศาล   และรัฐเองก็มีเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบงำด้วยข้อมูลเหล่านั้น หรือบางกรณีรัฐเองก็เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบพันธสัญญา  โดยที่เกษตรกรมีข้อมูลเท่าทันสถานการณ์น้อยมากเนื่องจากในสื่อต่างๆ รวมถึงข้อมูลจากรัฐ มีแต่ด้านดีไม่มีด้านลบของเกษตรพันธสัญญา

เกษตรกรจึงเลือกเข้าสู่ระบบพันธสัญญาบนพื้นฐานของคนเข้าไปขอร่วมระบบโดยมองว่าบรรษัทที่หยิบยื่นปัจจัยการผลิตมาให้ในระบบสินเชื่อเป็นผู้มีพระคุณกับตัวเอง หากบรรษัทจะกำหนดข้อสัญญาอย่างไรก็ให้เป็นตามที่บรรษัทเห็นควร หรือบางกรณีถึงขนาดไม่มีหนังสือสัญญาให้เกษตรกรถือไว้ โดยภาครัฐไม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบข้อสัญญาที่เกิดขึ้นว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม

เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบแล้วเกษตรกรก็จะเหลือตัวเองคนเดียวที่ผูกพันอยู่กับบรรษัท เนื่องจากลักษณะของสัญญาออกแบบโดยบรรษัทกีดกันมิให้มีการทำสัญญากับเกษตรทั้งกลุ่ม เพื่อให้อำนาจในการต่อรองของเกษตรกรน้อยลงไม่แข็งข้อ และรัฐก็มิได้เข้ามามีบทบาทเสริมอำนาจต่อรองให้เกษตรกร หรือแก้ไขข้อสัญญา หรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรมให้กับเกษตรกร

การผลิตของเกษตรกรจึงอยู่ในรูปแบบเกษตรเชิงเดี่ยวต้องพยายามผลิตเพียงอย่างเดียวให้ได้ปริมาณมากที่สุดเพื่อให้ได้เงินมากที่สุดพอที่จะมาหักหนี้แล้วเหลือกำไรบ้าง โดยบรรษัทเป็นผู้กำหนดปริมาณ รูปแบบ และมาตรฐานการผลิต ซึ่งภาระในการทำตามมาตรฐานตกอยู่กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงเรือน เล้า กระชัง การใส่ยา ใส่ปุ๋ย การให้อาหาร ฯลฯ โดยมาตรฐานทั้งหลายไม่ได้มีการตรวจสอบควบคุมโดยรัฐว่าเป็นการสร้างภาระให้เกษตรกรมากเกินไปหรือไม่ กลับกันมีหลายกรณีที่รัฐกลายเป็นส่วนหนึ่งในการบีบบังคับเกษตรกรให้ทำตามที่บรรษัทกำหนดทั้งที่มาตรฐานบางอย่างไม่จำเป็น เช่น การปรับโรงเรือน การให้ยา อาหาร ที่มากเกิน แต่เป็นผลดีกับบรรษัทเพราะบรรษัทเป็นผู้ขายของให้

การทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวยังสร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและฐานทรัพยากรเนื่องจากเกิดมลพิษและทำให้ความอุดมสมบูรณ์เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ในหลายกรณีพบว่ากลุ่มทุนอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนให้เกษตรกรรุกเข้าไปทำเกษตรพันธสัญญาในพื้นที่สงวน หรือทรัพยากรสาธารณะ เช่น การรุกเขาปลูกข้าวโพดและอ้อย การยึดลำน้ำเพื่อเลี้ยงปลาในกระชัง การสร้างมลภาวะจากโรงเรือนเลี้ยงหมูหรือไก่   ทั้งนี้จะเห็นว่ารัฐจะดำเนินการแข็งขันกับกรณีคนชายขอบที่ผลิตเพื่อยังชีพ แต่กับกรณีการผลิตในเชิงพาณิชย์เหล่านี้รัฐกลับทำเหมือนเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยไม่ลงโทษหรือปรับผู้ก่อมลพิษ เพื่อให้มีการปรับการผลิตให้อยู่บนหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การผลิตทางการเกษตรนั้นอยู่ในภาวะความเสี่ยงของสภาพดินฟ้าอากาศและภาวะธรรมชาติอีกหลายเรื่อง ซึ่งบรรษัทผลักให้เกษตรกรต้องเผชิญภาระเอาเอง หากเกิดความเสียหาย ขาดทุน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรับไป บรรษัทไม่ร่วมแบกรับด้วย   เมื่อเกิดปัญหาเช่น น้ำท่วม พืชเน่า สัตว์ตาย กลายเป็นรัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วย หรือประกันราคาความเสี่ยงทั้งหลาย   แต่งบประมาณที่ใช้นั้นเป็นของประชาชน

เมื่อเสร็จสิ้นการผลิตได้ผลผลิตเป็น พืช หรือสัตว์ ที่พร้อมจะขาย   บรรษัทก็มีอำนาจในการรับซื้อและห้ามเกษตรกรขายให้แก่ผู้อื่น หรือเอาออกไปขายเอง หากเกษตรกรฝ่าฝืนจะมีการหยิบเอาข้อสัญญามาบีบบังคับฟ้องร้อง ทำให้ทางเลือกในด้านการตลาดของเกษตรน้อยมาก ต้องตกอยู่ในการบังคับของบรรษัท เช่น จะมาจับสัตว์เมื่อไหร่(จับช้าเกษตรกรก็จะขาดทุนไปเรื่อยเพราะต้องให้อาหารแต่สัตว์หรือพืชไม่โตขึ้น) หากสินค้าล้นตลาดบรรษัทก็ไม่มารับซื้อ ให้เกษตรกรไปดิ้นรนหาตลาดเอาเอง ทำให้เกษตรกรต้องยอมขายขาดทุนเพื่อไม่ให้เจ๊งมากไปกว่านี้   โดยรัฐมองอยู่ห่างๆแต่ไม่เข้ามาช่วยแต่อย่างใด

บรรษัทมีอำนาจในการบังคับซื้อขายใน “ราคา” และ “มาตรฐาน” ที่บรรษัทตั้งเอาไว้เนื่องจากมีช่องทางตลาด และผูกขาดอำนาจ “ความรู้” ในมาตรฐานเชิงเทคนิคเอาไว้กับตัวเอง และบางกรณีหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ชี้แจงข้อมูลความรู้เชิงเทคนิคให้เกษตรกรทราบ ทำให้ถูกกดราคาผลผลิตอย่างไม่เป็นธรรม เช่น อัตราเนื้อแดงในหมู อัตราความปนเปื้อนในข้าวโพด หรือค่าความหวานในน้ำตาลอ้อย ฯลฯ

สุดท้ายเกษตรกรก็ต้องจำยอมรับค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้ หรือบางกรณีก็ได้น้อยมาก จนมาคิดเป็นวันแล้วน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่มากมาย เช่น เลี้ยงหมูมาสี่เดือน ได้มา 40,000 แต่ทำกัน 2 คนผัวเมีย ตกแล้วได้ไม่ถึง 170 บาท หากเอาที่ดินไปให้คนอื่นเช่า หรือเข้าไปรับจ้างทำงานอื่นก็อาจจะได้มากกว่าด้วยซ้ำ   ผลประโยชน์เหล่านั้นกลายเป็นผลกำไรสะสมของบรรษัทและผู้ถือหุ้นทั้งหลาย โดยที่รัฐก็ยินดีที่บริษัทมีผลกำไรเพราะจะได้เก็บภาษีมาเป็นงบประมาณประจำปีเพื่อนำไปทำนโยบายประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนเสียงเข้าพรรคต่อไป   ทำให้เกษตรกรตกอยู่ในวงเวียนแห่งหนี้สินซ้ำซากจำเจไม่มีทางออก

จากผลการศึกษาดังกล่าวจะเห็นว่า เกษตรกรต้องแบกรับ “ความเสี่ยง” อยู่ฝ่ายเดียว และบรรษัทยังได้ “ขูดรีด” ผลประโยชน์ไปด้วยการอาศัยระบบความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความ “ไม่เป็นธรรม” เนื่องบรรษัทอยู่ในสถานะเหนือกว่าทั้ง ทุน ความรู้ และความสัมพันธ์ที่มีร่วมกับรัฐ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถต่อรองได้ เนื่องจากอยู่ในภาวะโดดเดี่ยว และรัฐก็มิได้เข้ามาแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นธรรมใด

หากจะทำให้เกษตรกรหลุดพ้นจากบ่วงบาศดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเสียใหม่ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การทำให้ “เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้” ขั้นแรกจะต้องมีการประกันการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างเพียงพอ สร้างสมดุลของข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้เกษตรกรรู้ทันสถานการณ์ สร้างการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อนำไปสู่การต่อรอง หรือรัฐอาจจะเข้ามาแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการเกษตรกรรมอย่างหลากหลาย อันจะเป็นผลดีต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  

นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงนั้นจะต้องดึงบรรษัทเข้ามาแบกรับความเสี่ยงร่วมกับเกษตรกรในทุกขั้นตอน เมื่อถึงปลายฤดูกาลผลิตจะต้องมีการสร้างตลาดและช่องทางการขายสินค้าให้เกษตรกรเลือกได้มากขึ้น หรือรัฐอาจเข้ามาควบคุมเรื่องมาตรฐานของสินค้าอาหารและราคา ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อตัวเกษตรกร และคุ้มครองผู้บริโภคไปด้วย เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นรากฐานของความมั่นคงด้านอาหารที่เป็นหลักประกันคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ

 

....................................
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ไทยโพสต์ วันที่ 27 พค 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ่วงบาศพิฆาตเกษตรกร

Posted: 29 May 2011 12:25 PM PDT

 
 
เกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมฐานทรัพยากรที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีการผลิตของตนมานับหมื่นปี อย่างไรก็ดีเกษตรกรทั้งหลายก็ได้พัฒนาระบบการผลิตและวิถีชีวิตของตนและกลุ่ม ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ย่อมปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
 
เกษตรกรรมสมัยใหม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการผลิตเพื่อขายออกสู่ตลาด ซึ่งผลิตผลทางการเกษตรจะมีตัวกลางในการควบคุมการซื้อขาย รวมถึงขยับขยายมาควบคุมปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น โดยปัจจุบันตัวกลางที่ว่าอยู่ในรูปแบบของ “บรรษัทธุรกิจการเกษตร” ที่มีอยู่ไม่กี่บริษัทและเป็นที่รู้จักดีทั้งในระดับรัฐและระดับโลก
 
บรรษัทธุรกิจการเกษตรเหล่านี้ได้ร่วมมือกับภาครัฐสร้างข้อมูล โฆษณาประชาสัมพันธ์ บทบาทของตนในการหยิบยื่นสิ่งที่เรียกว่า “ระบบเกษตรพันธสัญญา” หรือ “Contract Farming” ให้กับเกษตรกรทั้งหลายเพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงว่า เมื่อเกษตรกรเข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจกับทางบริษัทแล้วจะมีการนำปัจจัยการผลิตมาให้ รวมถึงมีการรับซื้อผลผลิตคืน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต โดยข้อตกลงที่เกิดขึ้นอยู่ในรูปแบบสัญญา “ลายลักษณ์อักษร” และ “สัญญาใจ” ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ความคาดหวังของเกษตรกรจะเป็นจริงอย่างที่บริษัทโฆษณาจริงกระนั้นหรือ
 
งานวิจัยที่ได้ลงพื้นที่คลุกคลีกับเกษตรกรในหลายกลุ่ม อาทิ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ผู้เลี้ยงหมู ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ชาวไร่อ้อย ชาวไร่ข้าวโพด ฯลฯ พบข้อสรุปซ้ำซากที่เกิดคล้ายๆ กันระหว่างกลุ่มเกษตรกรในระบบพันธสัญญา คือ เกษตรกรตกอยู่ในภาวะ มีหนี้สินล้นพ้น เครียดวิตกจริต อยากจะเลิกแต่เลิกไม่ได้ และตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง และไร้อำนาจในการต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ เนื่องจากเมื่อเข้าร่วมระบบพันธสัญญานั้น ตนได้ตกอยู่ในภาวะ “ไร้ญาติ” ขาดความสัมพันธ์กับญาติสนิทมิตรสหายที่เคยติดต่อไปมาหาสู่กันเมื่อครั้งทำการเกษตรแบบเดิม เมื่อเกิดปัญหาก็เหลือเพียง “ตัวเอง” กับ “บรรษัท” เท่ากับว่าตนต้องมีความสัมพันธ์กับบรรษัทบนพื้นฐานของอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน และไม่มีแนวร่วม
 
สาเหตุที่เกษตรกรเข้าไปติดกับและออกจากวงจรไม่ได้นั้น เกิดจากกระบวนการที่มีการวางแผนและสมคบกันอย่างเป็นระบบระหว่างรัฐกับทุน โดยในบางกรณีรัฐก็มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เกษตรกรเข้าไปอยู่ในระบบ หรือบางกรณีรัฐก็ไม่ทำหน้าที่คนกลางหรือผู้ปกป้องสิทธิของประชาชน ทำให้ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เป็นธรรมโดยลำพัง กระบวนการดังกล่าวสามารถอธิบายด้วยผลการศึกษาเรื่อง “บ่วงบาศผูกขาดชีวิตเกษตรกร” ที่ปรากฏในรูป ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ่วงบาศที่เกี่ยวรัดกระหวัดให้เกษตรกรดิ้นไม่รอดและล้มหายตายไปในอ้อมกอดอำมหิตดังกล่าว
 
ณ จุดเริ่มต้นของเรื่อง บรรษัทมีเป้าหมายอยู่ที่การแสวงหากำไรเข้าตัวให้มากที่สุด โดยที่รัฐก็มีความสัมพันธ์กับบรรษัท ในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการประกอบการหรือมีการอุปถัมภ์ค้ำชูกัน ทั้งในระดับนักการเมืองและข้าราชการประจำ ส่วนเกษตรกรก็กำลังแสวงหาวิธีการพาตัวเองออกจากความยากจนที่ต้องเผชิญอยู่
 
บรรษัทเล็งเห็นว่าหากตนจะสร้างผลกำไรได้มากที่สุด จะต้องมีการผูกขาดความสามารถในการผลิตมาอยู่ที่ตัวเอง จึงได้พยายามอย่างมากในการครอบครองปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมพืชและสัตว์ ในรูปตัวอ่อนสัตว์และเมล็ดพันธุ์พืช หรือแม้กระทั่งการถือครองที่ดิน โดยที่ภาครัฐก็มิได้มีการสงวนอนุรักษ์ปัจจัยการผลิตเหล่านั้นให้เกษตรกร และเกษตรกรเองก็อยู่ในภาวะยากจน มีหนี้สิน ไม่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตัวเอง ทั้งที่ดิน พันธุ์พืชและสัตว์ ปุ๋ย ยา ฯลฯ หากเกษตรกรต้องการจะผลิตก็ต้องเข้ามาหาทุนที่ถือครองปัจจัยการผลิตเหล่านี้
 
เมื่อดูถึงเหตุผลในการตัดสินใจเลือกเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา ก็จะเห็นปริมาณข้อมูลสนับสนุนด้านดีของเกษตรพันธสัญญาที่บรรษัทโหมประชาสัมพันธ์ และจัดจ้างให้มีการทำวิจัยสนับสนุนอย่างมากมายมหาศาล และรัฐเองก็มีเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบงำด้วยข้อมูลเหล่านั้น หรือบางกรณีรัฐเองก็เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบพันธสัญญา โดยที่เกษตรกรมีข้อมูลเท่าทันสถานการณ์น้อยมาก เนื่องจากในสื่อต่างๆ รวมถึงข้อมูลจากรัฐ มีแต่ด้านดี ไม่มีด้านลบของเกษตรพันธสัญญา
 
เกษตรกรจึงเลือกเข้าสู่ระบบพันธสัญญาบนพื้นฐานของคนเข้าไปขอร่วมระบบ โดยมองว่าบรรษัทที่หยิบยื่นปัจจัยการผลิตมาให้ในระบบสินเชื่อเป็นผู้มีพระคุณกับตัวเอง หากบรรษัทจะกำหนดข้อสัญญาอย่างไรก็ให้เป็นตามที่บรรษัทเห็นควร หรือบางกรณีถึงขนาดไม่มีหนังสือสัญญาให้เกษตรกรถือไว้ โดยภาครัฐไม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบข้อสัญญาที่เกิดขึ้นว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
 
เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบแล้วเกษตรกรก็จะเหลือตัวเองคนเดียวที่ผูกพันอยู่กับบรรษัท เนื่องจากลักษณะของสัญญาออกแบบโดยบรรษัทกีดกันมิให้มีการทำสัญญากับเกษตรทั้งกลุ่ม เพื่อให้อำนาจในการต่อรองของเกษตรกรน้อยลงไม่แข็งข้อ และรัฐก็มิได้เข้ามามีบทบาทเสริมอำนาจต่อรองให้เกษตรกร หรือแก้ไขข้อสัญญา หรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรมให้กับเกษตรกร
 
การผลิตของเกษตรกรจึงอยู่ในรูปแบบเกษตรเชิงเดี่ยวต้องพยายามผลิตเพียงอย่างเดียวให้ได้ปริมาณมากที่สุดเพื่อให้ได้เงินมากที่สุดพอที่จะมาหักหนี้แล้วเหลือกำไรบ้าง โดยบรรษัทเป็นผู้กำหนดปริมาณ รูปแบบ และมาตรฐานการผลิต ซึ่งภาระในการทำตามมาตรฐานตกอยู่กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงเรือน เล้า กระชัง การใส่ยา ใส่ปุ๋ย การให้อาหาร ฯลฯ โดยมาตรฐานทั้งหลายไม่ได้มีการตรวจสอบควบคุมโดยรัฐ ว่าเป็นการสร้างภาระให้เกษตรกรมากเกินไปหรือไม่ กลับกันมีหลายกรณีที่รัฐกลายเป็นส่วนหนึ่งในการบีบบังคับเกษตรกรให้ทำตามที่บรรษัทกำหนด ทั้งที่มาตรฐานบางอย่างไม่จำเป็น เช่น การปรับโรงเรือน การให้ยา อาหาร ที่มากเกิน แต่เป็นผลดีกับบรรษัทเพราะบรรษัทเป็นผู้ขายของให้
 
การทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวยังสร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและฐานทรัพยากรเนื่องจากเกิดมลพิษและทำให้ความอุดมสมบูรณ์เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ในหลายกรณีพบว่ากลุ่มทุนอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนให้เกษตรกรรุกเข้าไปทำเกษตรพันธสัญญาในพื้นที่สงวน หรือทรัพยากรสาธารณะ เช่น การรุกเขาปลูกข้าวโพดและอ้อย การยึดลำน้ำเพื่อเลี้ยงปลาในกระชัง การสร้างมลภาวะจากโรงเรือนเลี้ยงหมูหรือไก่ ทั้งนี้จะเห็นว่ารัฐจะดำเนินการแข็งขันกับกรณีคนชายขอบที่ผลิตเพื่อยังชีพ แต่กับกรณีการผลิตในเชิงพาณิชย์เหล่านี้รัฐกลับทำเหมือนเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยไม่ลงโทษหรือปรับผู้ก่อมลพิษ เพื่อให้มีการปรับการผลิตให้อยู่บนหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
การผลิตทางการเกษตรนั้นอยู่ในภาวะความเสี่ยงของสภาพดินฟ้าอากาศและภาวะธรรมชาติอีกหลายเรื่อง ซึ่งบรรษัทผลักให้เกษตรกรต้องเผชิญภาระเอาเอง หากเกิดความเสียหาย ขาดทุน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรับไป บรรษัทไม่ร่วมแบกรับด้วย เมื่อเกิดปัญหาเช่น น้ำท่วม พืชเน่า สัตว์ตาย กลายเป็นรัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วย หรือประกันราคาความเสี่ยงทั้งหลาย แต่งบประมาณที่ใช้นั้นเป็นของประชาชน
 
เมื่อเสร็จสิ้นการผลิตได้ผลผลิตเป็นพืช หรือสัตว์ ที่พร้อมจะขาย บรรษัทก็มีอำนาจในการรับซื้อและห้ามเกษตรกรขายให้แก่ผู้อื่น หรือเอาออกไปขายเอง หากเกษตรกรฝ่าฝืนจะมีการหยิบเอาข้อสัญญามาบีบบังคับฟ้องร้อง ทำให้ทางเลือกในด้านการตลาดของเกษตรน้อยมาก ต้องตกอยู่ในการบังคับของบรรษัท เช่น จะมาจับสัตว์เมื่อไหร่ (จับช้าเกษตรกรก็จะขาดทุนไปเรื่อยเพราะต้องให้อาหารแต่สัตว์หรือพืชไม่โตขึ้น) หากสินค้าล้นตลาดบรรษัทก็ไม่มารับซื้อ ให้เกษตรกรไปดิ้นรนหาตลาดเอาเอง ทำให้เกษตรกรต้องยอมขายขาดทุนเพื่อไม่ให้เจ๊งมากไปกว่านี้ โดยรัฐมองอยู่ห่างๆ แต่ไม่เข้ามาช่วยแต่อย่างใด
 
บรรษัทมีอำนาจในการบังคับซื้อขายใน “ราคา” และ “มาตรฐาน” ที่บรรษัทตั้งเอาไว้เนื่องจากมีช่องทางตลาด และผูกขาดอำนาจ “ความรู้” ในมาตรฐานเชิงเทคนิคเอาไว้กับตัวเอง และบางกรณีหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ชี้แจงข้อมูลความรู้เชิงเทคนิคให้เกษตรกรทราบ ทำให้ถูกกดราคาผลผลิตอย่างไม่เป็นธรรม เช่น อัตราเนื้อแดงในหมู อัตราความปนเปื้อนในข้าวโพด หรือค่าความหวานในน้ำตาลอ้อย ฯลฯ
 
สุดท้ายเกษตรกรก็ต้องจำยอมรับค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้ หรือบางกรณีก็ได้น้อยมาก จนมาคิดเป็นวันแล้วน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่มากมาย เช่น เลี้ยงหมูมาสี่เดือน ได้มา 40,000 แต่ทำกัน 2 คนผัวเมีย ตกแล้วได้ไม่ถึง 170 บาท หากเอาที่ดินไปให้คนอื่นเช่า หรือเข้าไปรับจ้างทำงานอื่นก็อาจจะได้มากกว่าด้วยซ้ำ ผลประโยชน์เหล่านั้นกลายเป็นผลกำไรสะสมของบรรษัทและผู้ถือหุ้นทั้งหลาย โดยที่รัฐก็ยินดีที่บริษัทมีผลกำไรเพราะจะได้เก็บภาษีมาเป็นงบประมาณประจำปีเพื่อนำไปทำนโยบายประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนเสียงเข้าพรรคต่อไป ทำให้เกษตรกรตกอยู่ในวงเวียนแห่งหนี้สินซ้ำซากจำเจไม่มีทางออก
 
จากผลการศึกษาดังกล่าวจะเห็นว่า เกษตรกรต้องแบกรับ “ความเสี่ยง” อยู่ฝ่ายเดียว และบรรษัทยังได้ “ขูดรีด” ผลประโยชน์ไป ด้วยการอาศัยระบบความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความ “ไม่เป็นธรรม” เนื่องบรรษัทอยู่ในสถานะเหนือกว่าทั้งทุน ความรู้ และความสัมพันธ์ที่มีร่วมกับรัฐ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถต่อรองได้ เนื่องจากอยู่ในภาวะโดดเดี่ยว และรัฐก็มิได้เข้ามาแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นธรรมใด
 
หากจะทำให้เกษตรกรหลุดพ้นจากบ่วงบาศดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเสียใหม่ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การทำให้ “เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้” ขั้นแรกจะต้องมีการประกันการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างเพียงพอ สร้างสมดุลของข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้เกษตรกรรู้ทันสถานการณ์ สร้างการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อนำไปสู่การต่อรอง หรือรัฐอาจจะเข้ามาแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการเกษตรกรรมอย่างหลากหลาย อันจะเป็นผลดีต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
 
นอกจากนี้ กระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงนั้นจะต้องดึงบรรษัทเข้ามาแบกรับความเสี่ยงร่วมกับเกษตรกรในทุกขั้นตอน เมื่อถึงปลายฤดูกาลผลิตจะต้องมีการสร้างตลาดและช่องทางการขายสินค้าให้เกษตรกรเลือกได้มากขึ้น หรือรัฐอาจเข้ามาควบคุมเรื่อง มาตรฐานของสินค้าอาหาร และราคา ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อตัวเกษตรกร และคุ้มครองผู้บริโภคไปด้วย เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นรากฐานของความมั่นคงด้านอาหารที่เป็นหลักประกันคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ
 
 

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ไทยโพสต์ วันที่ 27 พค 2554 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นับหนึ่ง! ศูนย์ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง ความท้าทายคนทำ คนอ่าน และวงการสื่อ

Posted: 29 May 2011 12:20 PM PDT

 

29 พ.ค.54 ที่สมาคมนักข่าวฯ มีการแถลงข่าวเปิดตัว “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” หรือ TCIJ  (Thailand Information Center for Civil Rights and Investigative Journalism) โดย สุชาดา จักรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เป็นตัวแทนแนะนำองค์กรข่าวแห่งใหม่ที่เน้นการทำข่าวสืบสวนสอบสวน นำเสนอบนหน้าเว็บไซต์ www.tcijthai.com ซึ่งแบ่งงานเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ หนึ่ง งานข่าวสืบสวนออนไลน์ ซึ่งจะนำเสนอข่าวเจาะลึก มากกว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

“อย่างตอนนี้เราเห็นข่าวเพียงใครหาเสียงที่ไหน แต่ทีซีไอเจจะอธิบายเบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ เช่น ทุนใหญ่อันไหนหนุนหลังใครบ้าง” พร้อมนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาหลักจากหน้าเว็บในการนำเสนอรายละเอียดกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรคการเมือง (อ่านเนื้อหาได้ที่ http://www.tcijthai.com/investigative-story/442 และอ่านหัวข้อทั้งหมดในหน้าเว็บ TCIJ ได้ด้านล่าง)

“ที่จริงเราเตรียมเรื่องใหญ่อื่นๆ ไว้เยอะ แต่ตอนนี้บรรยากาศเลือกตั้งครอบงำมาก จึงเปิดเรื่องถุงเงินพรรคการเมืองไว้ก่อน แต่เราก็มีข่าวที่หลากหลายมาก จะทยอยมา ตอนนี้เพิ่งนับหนึ่งในวันนี้ ยังต้องใช้ความพยายามจากการเจาะข้อมูลที่กระจัดกระจาย” สุชาดากล่าวและว่า มีหลายประเด็นที่คนอาจตั้งคำถามว่าทำไมเราไม่ทำ ขอบอกว่าเราตั้งใจอยู่ในแผนของเรา TCIJ ไม่ได้ทำเฉพาะขุดคุ้ยนักการเมือง แต่วางแผนว่าจะทำเรื่องใหญ่อื่นๆ ด้วย ทุกเรื่องทำข่าวเจาะได้หมด แต่ต้องยอมรับว่าปัญหาข้อมูลและความโปร่งใสของข้อมูลเป็นปัญหาใหญ่มาก ทีมงานกำลังใช้ความพยายามในการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจาย ขาดการจัดระบบ มาทำให้สะดวกแก่การเข้าถึง รวมทั้งพยายามแสวงหาข้อมูลที่ถูกซุก แต่ปัญหาเรื่องข้อมูลข่าวสารบ้านเราเป็นปัญหาใหญ่ บางทีทำจดหมายขอข้อมูลก็ยังไม่ได้ หน่วยงานต่างๆ มักใช้เทคนิค “ดีเลย์เอฟเฟ็ค” หรือการถ่วงให้ล่าช้า

สุชาดาบอกว่า ข่าวเด่นของเว็บในแต่ละช่วงจะแตกต่างกันไป และจะประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของเรื่องนั้นๆ ที่เชื่อมโยงมาจากฐานข้อมูลที่ได้จัดทำไว้  รวมถึง ‘เว็บลิงก์’ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวเด่นนั้นๆ ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยอมรับว่าอาจจะดูยังไม่หลากหลายนัก แต่ก็ไม่ใช่หลักศิลาจากรึก เพราะจะมีการอัพเดทไปเรื่อยๆ ไม่ตายตัว แล้วแต่หัวข้อที่นำเสนอในช่วงนั้น

ส่วนที่สองคือ ฐานข้อมูล ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลดิบจำนวนมากในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะมีการย่อยให้ง่ายต่อความเข้าใจ และส่วนที่สามคืองานข่าวภาคพลเมือง ซึ่งคาดหวังในการเพิ่มศักยภาพให้งานข่าวภาคพลเมืองมีทักษะ มีความเชี่ยวชาญ มีศักยภาพในการรายงานแง่มุมต่างๆ เทียบเท่านักข่าวมืออาชีพ

“นี่คือระบบข้อมูลเพื่อสาธารณะอันหนึ่ง ซึ่งในวันข้างหน้าถ้ามีความหลากหลายและเข้มข้นมากขึ้น มันจะช่วยทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการเสพข้อมูลข่าวสาร ในสังคม สั้น ทัน ด่วน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีคนที่อยากจะได้ข่าวทึ่ลึกไปกว่าเอสเอ็มเอส ข่าวจบหน้าเดียวในหนังสือพิมพ์ หรือการเล่าข่าวในทีวี และมันจะเป็นพื้นที่ให้นักข่าวพลเมือง หรือกระทั่งนักข่าวอาชีพที่จะสามารถใช้ฐานข้อมูลของเราที่จะทำการบ้านให้สื่อได้บ้าง” สุชาดากล่าว และว่าพื้นที่นี้ยังเปิดโอกาสให้นักข่าวได้ทำงานในประเด็นต่างๆ ได้สุดทางอย่างที่อยากจะเจาะแม้ต้นสังกัดจะมีเพดานเงื่อนไขอยู่

สำหรับเรื่องแหล่งทุน  ผอ.TCIJ กล่าวว่าในเว็บไซต์มีการชี้แจงอย่างชัดเจน เป็นความโปร่งใสที่ตั้งใจประกาศว่าศูนย์ฯ รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในปีแรก จากนั้นปีที่สองตั้งใจจะพึ่งตัวเองอย่างเหมาะสมและมีแผนธุรกิจที่วางไว้อยู่แล้ว เพื่อให้ TCIJ สามารถเป็นพื้นที่ส่วนกลางและเป็นสื่อเสรีอย่างแท้จริง

“ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า การที่ท่านจะเข้าไปอ่านเพื่อพิสูจน์เอง” สุชาดากล่าวทิ้งท้าย

หลังจากการแถลงข่าวเปิดตัวเว็บมีการเสวนา “เปิดขุมทรัพย์นักการเมือง” ชัยอนันต์ สมุทวณิชย์ ได้กล่าวถึง ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ “พรรคการเมือง” และเหตุผลที่พรรคการเมืองในประเทศไทยเน้นแต่การแข่งขันหาเสียงไม่ทำหน้าที่อื่น เช่น ผลิตนโยบาย จัดการศึกษาทางการเมือง เพราะในอดีตตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์หวั่นว่าหากตั้งพรรคการเมืองจะมีภาคธุรกิจซึ่งมีแต่คนเชื้อสายจีนครอบงำ แม้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วคณะราษฎรก็ยังไม่ยอมให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพราะเกรงอำนาจฝ่ายเจ้า จึงเป็นความพยายามที่จะแยกกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจออกจากการเมือง นอกจากนี้การเมืองไทยยังมีการแทรกแซงของทหารเป็นระยะ พรรคการเมืองอายุสั้น ไม่มีโอกาสพิสูจน์ภาวะผู้นำ

“ส่วนการปราบคอรัปชั่นขึ้นอยู่กับโอกาสที่คนทำจะโดนจับ สังคมไทยต้องเพิ่มโอกาสเหล่านี้ซึ่งสื่อจะช่วยได้มากในการขุดคุ้ย สังคมเราตอนนี้ชอบพูดว่าอยากได้คนเก่ง โกงนิดโกงหน่อยไม่เป็นไร เราควรเปลี่ยนทัศนคติอันนี้ สื่อก็คงช่วยได้มาก ส่วนเรื่องอื่นเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องช่วยกัน” ชัยอนันต์กล่าว

นวลน้อย ตรีรัตน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงรูปแบบการทุจรตคอรัปชั่น โดยเฉพาะรูปแบบใหม่ที่ผ่านไปทางการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งกำหนดว่าส่วนกลางต้องผ่านรายได้ให้ท้องถิ่น 25% โดยการคอรัปชั่นมักจะผ่านทางเงินอุดหนุนท้องถิ่น ซึ่งปกติจะให้เป็นประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อให้เป็นอำนาจท้องถิ่นตัดสินใจบริหาร แต่ปรากฏว่ารัฐสภาจะตัดงบเงินอุดหนุนทั่วไปลง แล้วแปรญัตติไปเพิ่มเงินอุดหนุนเฉพาะกิจปีหนึ่งเป็นหมื่นๆ ล้าน ซึ่งท้องถิ่นแต่ละแห่งจะต้องเสนอเข้ามาขออนุมัติ ซึ่งพบว่ามีกระบวนการวิ่ง และมีข่าวลือเรื่องการหักหัวคิว

นวลน้อยกล่าวว่า ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก อยากสนับสนุนการทำเว็บไซต์นี้ จะทำได้ดีจะต้องมีฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง กรณีเกาหลีนั้นประสบความสำเร็จ เพราะมีการทำฐานข้อมูลทางการเมือง ระบบศาล อย่างลึก ถึงเวลาแล้วตรวจสอบได้ การทำฐานข้อมูลจะทำให้การเข้ามาตรวจสอบทำได้ดีขึ้น

ส่วนปัญหาของสื่อมวลชนในประเทศไทยนั้นมีเน้นแต่ความเร็ว ทำให้ต้องเผชิญปัญหาสองอย่างคือ ไม่ลึก และเป็นเครื่องมือได้ง่ายมาก เพราะต้องรีบรายงาน การมีฐานข้อมูลเก็บไว้จะเป็น “เครื่องมือ” ให้สื่อใช้ตรวจสอบ ทำข่าวได้อย่างรวดเร็วด้วย

ส่วนเรื่องคอรัปชั่นนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ธนาคารโลกก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะมันสะท้อนให้เห็นอำนาจผูกขาดทางการเมืองด้วย ในประเทศไทยเมื่อสถาบันอิศราจัดการประกวดข่าว ส่วนใหญ่ที่ส่งเข้าประกวดก็เป็นเรื่องคอรัปชั่นและเป็นอย่างนี้มาหลายปี แต่ถามว่าในสื่อมีโต๊ะข่าวคอรัปชั่นไหม กลับไม่มี เราอาจต้องคิดเรื่องนี้ขึ้นมา

ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ จากหนังสือพิมพ์มติชน เล่าประสบการณ์พร้อมจำแนกช่องทางในการคอรัปชั่นของนักการเมืองเป็น 5 ประเภทหลัก คือ  การปั่นหุ้นโดยใช้ข้อมูลภายใน, การสัมปทาน โดยเฉพาะสัมปทานยุคใหม่ด้านการสื่อสารและการคมนาคม, การจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณแผ่นดิน การปล่อยสินเชื่อธนาคาร, การซื้อขายตำแหน่ง

ประสงค์ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลจะช่วยแก้ปัญหานี้ ดูตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญ 40 ที่ให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินจนนักการเมืองหลุดจากตำแหน่งหลายคน แต่ปัจจุบันก็ไล่ตามนักการเมืองไม่ทันแล้ว  

นอกจากนี้ประสงค์ยังระบุว่า การซื้อเสียงเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของวงจรการคอรัปชั่น

“เวลาพูดถึงการซื้อเสียง มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งมาอธิบายว่ามันจำเป็น หรือมีปัจจัยอื่นสำหรับการตัดสินใจของชาวบ้าน ต่างๆ นานา เราเห็นการรณรงค์ห้ามให้เงินขอทานไหม การให้เงินเป็นการส่งเสริม ชาวบ้านจะรู้หรือไม่ก็ตามว่าการรับสตางค์เป็นตัวส่งเสริมให้วงจรมาเชื่อมมาสู่การคอรัปชั่น ถ้าเรายังคงรับอยู่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลการอธิบายแบบไหนมันก็จะเป็นตัวเชื่อมให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น และทุกคนไม่เคยโทษตัวเอง”ประสงค์ว่า

 

 
เนื้อหาหลักของศูนย์ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
 
ข่าวหลัก
 
ข่าวรอง
 
บทสัมภาษณ์
 
ข่าวเจาะ
ฯลฯ
 
ฐานข้อมูล
 
งานข่าวพลเมือง
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อุตฯ ชายแดนใต้ ร้องแก้แรงงานขาด เห็นด้วยนครปัตตานี

Posted: 29 May 2011 12:06 PM PDT

 
อดิศร กลิ่นพิกุล

29 พฤษภาคม 2554 นายอดิศร กลิ่นพิกุล เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีผลกระทบที่รุนแรงเป็นอย่างมาก ทำให้คนไม่มั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทำให้แรงงานนอกพื้นที่ไม่กล้าเข้ามาทำงานในพื้นที่ จึงอยากให้รัฐบาลสร้างแรงจูงใจเพื่อให้แรงงานจากนอกพื้นที่เข้ามาทำงานมากขึ้น

นายอดิศร กล่าวด้วยว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี เนื่องจากการขาดสวัสดิการหรือระบบประกันสังคมที่ดี

“อยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงานโรงงาน โดยการสร้างที่อยู่อาศัยให้พนักงานในละแวกใกล้เคียงโรงงาน และไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพราะไม่สามารถตอบสนองค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้”

นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลใหม่มีนโยบายเรื่องสิทธิด้านประกันสังคมของแรงงาน อยากให้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพิ่มสวัสดิการของพนักงาน

“แม้ภาคอุตสาหกรรมคาดหวังที่จะให้แต่ละพรรคการเมืองหรือรัฐบาลใหม่มีนโยบายดูแลช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม แต่ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องพยายามช่วยเหลือดูแลกิจการของตนด้วยเช่นกัน ซึ่งในขณะนี้มีหลายโรงงานที่กำลังพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ในบริเวณโรงงาน เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยได้ง่าย” นายอดิสรกล่าว

นายอดิศร ยังกล่าวต่ออีกว่า อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาการทำงานของข้าราชการในพื้นที่รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นที่ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ เนื่องจากเมื่อเจ้าของกิจการที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ก็พบว่า ไม่มีผู้รับผิดชอบหรือดูแลปัญหาที่ชัดเจน

“ที่ผ่านมา นโยบายกับการปฏิบัติจริงยังสวนทางกันอยู่ เช่น แม้ว่าจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ที่เอื้อต่อนักลงทุนก็ตาม แต่ก็มีความซับซ้อนมากขึ้นในการขอสินเชื่อ ส่วนปัญหาด้านอุตสาหกรรมในพื้นบางอย่างก็ยังไม่ชัดเจน ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ที่ยังไม่มีหน่วยหรือองค์กรที่รับผิดชอบที่ชัดเจน จึงอยากให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย

นายอดิศร กล่าวว่า แม้ว่านโยบายของแต่ละพรรคมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์เพื่อประชาชนก็ตาม แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ และนโยบายเหล่านั้นไม่มีความยั่งยืน ปัญหาคอรัปชั่นซึ่งควรจะหมดไป แต่ก็ยังมีอยู่
“ฝากถึงนักการเมืองท้องถิ่นด้วยว่า อยากให้มีการบริหารจัดการ เป็นระบบมากขึ้น ต้องจริงจังกับการทำงาน และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับข้าราชการ รัฐบาลควรมีความจริงใจในการแก้ปัญหา และผู้บริหารควรมีศักยภาพในการบริหารจัดการมากกว่านี้” นายอดิสร กล่าว
 
 

นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา
 
นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ที่ปรึกษาประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ตนได้เจรจากับรองนายกรัฐมนตรี เรื่องโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนเข้าประเทศมาเลเซีย ด้านอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยอยากให้เพิ่มเส้นทางสายสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสด้วย เพราะจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งลง และยังเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการขนส่งสินค้า นอกจากทางเครื่องบินหรือทางรถยนต์
 
นายณัฐนนท์ กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาอยู่ จึงควรแก้ไขในลำดับต้นๆ เช่น การผลักดันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกก็ยังไม่มีความคืบหน้า หรือโครงการเซาท์เทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งจังหวัดปัตตานีก็จะได้รับผลประโยชน์ไปด้วยในอนาคต ก็ยังไม่มีความก้าวหน้ามากนัก
 
“พรรคการเมืองในปัจจุบันส่วนมากเน้นนโยบายประชานิยม ซึ่งจะเรียกคะแนนจากประชาชนได้มาก แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้ รวมทั้งควรนำนโยบายการอยู่ร่วมกันของเศรษฐกิจอาเซียนเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ มากกว่าที่เป็นอยู่” นายณัฐนนท์ กล่าว
 
นายณัฐนนท์ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับนโยบายให้กู้ดอกเบี้ยต่ำหรือการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่ผ่านมา ช่วยให้นักลงทุนในพื้นที่ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน ทั้งยังถึงดูดนักลงทุนนอกพื้นที่เข้ามาลงทุนมากขึ้นด้วย ซึ่งนโยบายดังกล่าว เห็นผลได้ชัดเจนในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา โดยนักลงทุนย้ายออกน้อยลง และมีนักลงทุนจากนอกพื้นที่มาตั้งโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 8 - 10 โรงต่อปี
 
นายณัฐนนท์ กล่าวด้วยว่า สำหรับนโยบายการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น โดยการยกระดับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เป็นนครปัตตานีอย่างที่พรรคการเมืองหนึ่งเสนอเป็นนโยบายนั้น ตนเห็นด้วย แต่ก็ต้องคำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพของบุคลากร รวมถึงต้องคำนึงถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ด้วย
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ใจ อึ๊งภากรณ์" วิพากษ์เว็บ "ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง"

Posted: 29 May 2011 11:29 AM PDT

ชื่อบทความเดิม:  “เจาะลึก” ข้อมูลเรื่องเวป “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง”

วันนี้ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี และกรรมการบริหารสำนักข่าวประชาธรรมประกาศเปิดตัวเว็บไซต์ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ซึ่งอ้างตัวเป็น “อีกทางเลือกข่าวเชิงลึก” สำหรับคนไทย และเน้นการเปิดโปงคอรรับชั่น

แต่ก่อนที่ท่านจะหลงคิดว่าอันนี้เป็นเว็บทางเลือกจริงๆ กรุณาพิจารณา “ข้อมูลเชิงลึก” ดังต่อไปนี้

1. “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ได้รับเงินทุนทั้งหมดจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลไทย ที่ได้ทุนจากการเก็บภาษีของรัฐไทย เอ็นจีโอไทยชอบขอเงินจากองค์กรนี้

2. เมื่อลองค้นหาข้อมูล “เชิงลึก” ในเว็บ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” เรื่องกฏหมาย 112 ซึ่งเป็นปัญหายักษ์ใหญ่ในไทย หรือข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า หรือข้อมูลเรื่องงบลับของทหาร หรือการโกหกของ ศอฉ. หรือการโกงกินของนักการเมืองประชาธิปัตย์ ท่านจะไม่พบอะไรทั้งสิ้น แต่ปรากฏว่ามีการ “เปิดโปง” เรื่อง คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

3. ในเว็บ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” มีลิงค์สู่เว็บแนวร่วม เช่น กกต. สำนักงานปราบปรามการคอร์รับชั่น สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย องค์กรนักข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้แต่ละองค์กรมีกลิ่นอายของความเป็นเหลือง

4. องค์กรหนึ่งที่ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ลิงค์ด้วยที่น่าสนใจมากคือ โครงการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย (Thailand Democracy Watch) ของคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มี ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา เป็นผู้ก่อตั้ง ท่านคงจำ  ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา ได้ เขาเป็น “สลิ่ม” ที่อ้างตัวเป็นกลาง ที่ไปจัดงานชูป้ายวิจารณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สวนลุมพีนี และจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่นำหนังสือ A Coup for the Rich ของผมไปให้ตำรวจ เพื่อสืบสวนคดี 112

5. อีกองค์กรที่ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ลิงค์ด้วยคือ SIU (Siam Intelligence Unit) ซึ่งร่วมกับ ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา (มาอีกแล้ว!!) ในการก่อตั้ง “เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย” ซึ่งมี คณะกรรมการกำกับทิศทาง ที่ประกอบไปด้วยคนอย่าง วีระ  สมความคิด  (พันธมิตรฯที่พยายามก่อสงครามกับประเทศเขมร) นพ.มงคล  ณ สงขลา  (อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลเผด็จการทหารของ คมช.) และ เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง คนทำสื่อฝ่ายเสื้อเหลือง

สรุปแล้ว  “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ดูเหมือนเป็นสื่อของอำมาตย์ในคราบของเอ็นจีโอ ที่เปิดตัวในยุคหาเสียงเลือกตั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธาริตเผยเตรียมล่าเครือข่ายผู้ต้องหาสัญชาติไทย-อเมริกันหมิ่นสถาบัน ลั่นสหรัฐฯ ไม่มีสิทธิก้าวก่าย

Posted: 29 May 2011 11:10 AM PDT

มติชนออนไลน์รายงานว่านายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ถึงการจับกุมชายไทยที่ถือสัญชาติอเมริกันผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูงว่า เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการขยายผลผู้ร่วมเครือข่ายกับผู้ต้องหา โดยการสอบสวนผู้ต้องหาตั้งแต่วันแรกที่ถูกจับกุม ให้การภาคเสธ รับในข้อเท็จจริงแต่ไม่มีเจตนา เจ้าหน้าที่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ต้องหาเขียนข้อความภาษาไทย แปล และเป็นคนโพสท์ขึ้นเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต

ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเดินทางไปพบกับผู้ต้องหาในเรือนจำเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายธาริตกล่าวว่า เป็นเพียงการทำหน้าที่ตามปกติเพราะผู้ต้องหาถือว่าเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา แต่ในทางคดีคงไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรมไทย
 
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  กล่าวถึงการดูแลผู้ต้องคดีหมิ่นสถาบันว่า การดูแลผู้ต้องขังประเภทต้องแยกจากผู้ต้องขังอื่นๆ เพราะผู้ต้องขังในเรือนจำส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจผู้ต้องขังประเภทนี้ จึงสั่งกำชับเจ้าหน้าที่คอยดูแลและจำกัดพื้นที่ อย่างกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง จะจัดพื้นที่ให้เฉพาะ และไม่ให้ผู้ต้องขังแปลกหน้า เข้าไปยังพื้นที่ที่นายจตุพรอยู่ เนื่องจากในเรือนจำไม่รู้ว่าใครเป็นใคร หากเกิดอะไรขึ้นจะกลายเป็นประเด็น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สมยศ” ร่อนจดหมายถึงองค์กรปกป้องสิทธิและประชาธิปไตยทั่วโลก

Posted: 29 May 2011 10:57 AM PDT

“สมยศ พฤกษาเกษมสุข” ฝากจดหมายขอความช่วยเหลือและชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ต่อกรณีถูกจับกุมคดีหมิ่นฯ ผ่านผู้ที่ไปเยี่ยมสู่โลกภายนอก วอนองค์ปกป้องสิทธิประชาธิปไตยทั่วโลกเรียกร้องกดดันรัฐบาลต่อ
 
เมื่อวันที่วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงานและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งถูกควบคุมตัวที่เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 โดยสมยศได้เขียนจดหมายขอความช่วยเหลือและชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม  รวมทั้งแสดงความขอบคุณองค์กรปกป้องสิทธิและประชาธิปไตยทั่วโลก หลังจากที่ในรอบเดือนที่ผ่านมาองค์กรเหล่านี้ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อเรียกร้องให้ประกันและปล่อยตัวสมยศ เพราะการจับกุมนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง
 
ซึ่งองค์กรที่ได้ทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องกรณีดังกล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ ในรอบเดือนที่ผ่านมา เช่น สมาพันธ์สหภาพแรงงานเนปาล(GEFONT) , สมาพันธ์อาหารและบริการกัมพูชา(CFSWF) , Australia Asia Worker Links, พรรคสังคมนิยมในมาเลเซีย (Socialist Party of Malaysia), Community Action Network ในมาเลเซีย, สมาพันธ์สหภาพแรงงานฮ่องกง (HKCTU), Asia Monitor Resource Centre (AMRC), Clean Cloth Campaign, Asia Floor Wage Alliance, สมาพันธ์สภาพันธมิตรสหภาพแรงงานอินโดนีเชีย(KASBI), องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน SUARAM (Suara Rakyat Malaysia) หรืออย่าง นายฉัว เทียน ชาง (Chua Tian Chang) ส.ส.มาเลเซีย และรองประธานพรรคยุติธรรมแห่งชาติ (Parti Keadilan Rakyat - PKR) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่สำคัญในมาเลเซีย นายซาอิด ซาฮีร์ ซาอิด โมฮัมหมัด (Syed Shahir Syed Mohamud) ประธานสภาแรงงานมาเลเซีย (Malaysian Trade Union Congress - MTUC) ที่ได้เดินทางไปสถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมาเพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องนายอภิสิทธิ์ ให้ปล่อยตัวสมยศ เป็นต้น
 
โดยจดหมายขอความช่วยเหลือและชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม  รวมทั้งแสดงความขอบคุณของสมยศนี้ถูกระบุว่าบันทึกโดยจิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย หลังจากที่ได้เข้าพบเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ที่เรือนจำกลางกรุงเทพมหานคร
 
โดยเนื้อหาของจดหมายประกอบด้วยส่วนของการชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ส่วนของข้อเรียกร้องและลงท้ายด้วยส่วนของการแสดงความขอบคุณองค์กรสิทธิและประชาธิปไตยทั่วโลกที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวสมยศ
 
จดหมายเปิดผนึกขอความช่วยเหลือและชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม  รวมทั้งแสดงความขอบคุณองค์กรปกป้องสิทธิและประชาธิปไตยทั่วโลก ของสมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
 

 
เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร
33 ถนนงามวงศ์งาน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
 
วันที่ 26 พฤษภาคม 2554
 
เรื่อง ขอความช่วยเหลือและขอขอบคุณรวมถึงชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกท่านทราบ
เรียน องค์กรที่ปกป้องสิทธิประชาธิปไตยทั่วโลก
 
ผมเคยทำงานด้านปกป้องสิทธิผู้ใช้แรงงานมาอย่างยาวนานตั้งแต่เป็นนักศึกษาในปี 2524 จนถึง 2550 ในนามศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน (Center for Labour Information Service and Training; CLIST)และได้มาทำหนังสือเป็นซึ่งเป็นอีกอาชีพที่ผมรักเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารรายปักษ์ “Voice of Taksin” ทำหน้าที่สื่อมวลชนวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความเป็นจริง แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลตามปกติ และเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ปีที่ผ่านมาได้ถูกนำตัวมาควบคุมไว้ที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี การกระทำของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง เมื่อได้รับแรงกดดันจากองค์กรของพวกท่านในปีที่แล้วทำให้มีการปล่อยตัว และนิตยาสาร “Voice of Taksin” ได้ถูกสั่งปิดรวมถึงโรงพิมพ์ด้วย ทำให้ข้าพเจ้าได้เปิดหนังสือใหม่ชื่อ RED Power และยังมีอุดมการณ์อันแน่วแน่ในการทำหนังสือรวมถึงทำธุรกิจทัวร์ประวัติศาสตร์ไทยเขมรควบคู่ไปด้วย
 
1. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ผมได้พาทัวร์พร้อมคณะ กว่า 30 คน เข้าด่านตรวจคนเข้าเมืองตามปกติ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ข้าพเจ้ามีหมายจับ จึงได้ควบคุมตัวไว้และส่งให้เจ้าหน้าที่ DSI มารับตาม หมายจับออกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 แต่เมื่อวัน 20 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปประเทศกัมพูชาและกลับเข้ามาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ตามปกติ
 
2. วันที่ 30 เมษายน 2554 เป็นวันเสาร์ เจ้าหน้าที่ DSI ได้ส่งตัวมาที่สำนักงานกรมสอบสวนพิเศษ และผมได้ถูกกีดกันไม่ได้พบผู้สื่อข่าวที่มารอสัมภาษณ์ ในเวลาต่อมาอธิบดี DSI นายธาริต เพ็งดิษฐ์ แถลงข่าวว่าจับตัวข้าพเจ้าในขณะเตรียมตัวหลบหนีไปประเทศกัมพูชาและจะคัดค้านการประกันตัวต่อศาลเพราะเกรงว่าจะหลบหนี  ซึ่งกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ ตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา(ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี)
 
3. วันที่ 2 พฤษภาคม 2554 กรมสอบสวนพิเศษ (DSI)ได้ส่งฝากขังต่อศาล ผมได้นำหลักทรัพย์มูลค่า 1.6 ล้าน ยื่นประกันตัว ศาลมีคำสั่งดังนี้ “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูงตามข้อหาเป็นความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงต่อราชอาณาจักรและความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักกระโดยกระทบกระเทือนจิตใจต่อประชาชนโดยรวมประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมในขณะกำลังเดินทางออกนอกราชอาณาจักรถือว่ามีพฤติกรรมหลบหนี หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา ยกคำร้องหลังคำสั่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ต้องหาและผู้ประกันทราบโดยเร็ว” สาเหตุที่ตำรวจแจ้งว่ากระทำความผิด คือในหนังสือ“Voice of Taksin” ฉบับปักษ์แรกมีนาคม 2553 และฉบับ ในคอลัมน์ คมความคิด ผู้เขียนใช้นามปากกาว่า “จิตร พลจันทร์ ได้เขียนบทความซึ่งวิญญูชน อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งผมเป็นบรรณาธิการต้องรับผิดชอบ
 
4. ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2554ผมได้ถูกส่งตัวมาที่ “เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร” เจ้าหน้าที่ได้ตัดผมให้ผมทันทีและให้อยู่ใน แดน 1 ผมนั่งอยู่ในห้องกรงขังเหล็กแน่นหนา ที่เรียกกันว่าคุก ผมสูญเสียอิสรภาพ ถูกกักขังโดดเดี่ยว ตัดขาดจากโลกภายนอก เป็นความทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต
 
ถ้าหากผมเป็นอาชญากรหรือฆาตกรกระทำความผิดให้ผู้อื่นตายหรือ ปล้นทรัพย์ หรือกระทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ผมสมควรรับโทษทัณฑ์ สมควรทุกข์ทรมาน พื้นฐานะกระทำความผิดหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
 
แต่ผมได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน แสดงความคิดเห็นอิสระ นำเสนอความจริง วิพากษ์วิจารณ์สังคม-การเมือง อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ผมได้ใช้วิชาชีพสื่อมวลชน อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาก้าวหน้า หรือมีความเสมอภาคเท่าเทียม ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีผมได้ทำหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองโดยปราศจากความกลัวหรือต้องถูกจำกัดความคิด
 
ผลของการทำหน้าที่ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ และทำงานตามจิตวิญญาณอิสระของศักดิ์ศรี ความเป็นคน ผมจึงถูกกล่าวหา และถูกจองจำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมาน มีอีกหลายคนที่ต้องกลายเป็นเหยื่อ ของอำนาจป่าเถื่อน ของความคิดคับแคบเห็นแก่ตัวเพียงเพื่อรักษาอำนาจและความเป็นอภิสิทธิชน
 
ความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดรวดร้าวของชีวิตครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ถูกจองจำเท่านั้น แต่ที่เจ็บปวดและคับแค้นใจก็คือ ไม่ใช่แค่การใช้กฎหมายไม่เป็นธรรมรังแกผมเท่านั้น ยังบิดเบือนความจริงอย่างน่าเกลียดอีกด้วย เช่น การไม่ให้ประกันตัว อ้างว่า ผมกำลังหลบหนีเดินทางไปต่างประเทศ  ผมไม่ทราบมาก่อนเลยว่ามีหมายจับ ในข้อหา ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ผมจึงใช้ชีวิตตามปกติ หาเช้ากินค่ำ ทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น และเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง
 
ผมมีอาชีพสื่อสารมวลชนและทำธุรกิจท่องเที่ยว ในวันที่ 30 เมษายน 2554 ผมพาคณะนักท่องเที่ยวชาวไทย 30 คน ไปเที่ยวนครวัต ประเทศกัมพูชา ซึ่งจัดไปทุกเดือน ผมเข้าช่องตรวจเอกสารเดินทางตามปกติ ไม่ได้เป็นการหลบหนี
 
ผมเคยถูกกล่าวหาในคดีการเมืองหลายคดีแต่ไม่เคยหลบหนี ผมต่อสู้ทุกคดี เพราะผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจ และเชื่อว่ายังมีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่บ้าง  ผมไม่คิดหลบหนี แม้ว่าจำต้องถูกจองจำ ก็เพื่อจะต่อสู้กับอำนาจฉ้อฉล ต่อสู้กับการบิดเบือน และต่อสู้กับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง  ผมอาจถูกจองจำถูกทรมานถูกลงโทษแต่ผมได้ทำหน้าที่ของชีวิตอิสระได้ ทำหน้าที่ยังประโยชน์ให้กับสังคม ผมจึงพร้อมต่อสู้กับอำนาจฉ้อฉลแม้ว่าจะต้องถูกจับเข้าคุกปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประชาชน ซึ่งต้องการความเสมอภาคเท่าเทียม ความเป็นธรรม และประชาธิปไตย โดยได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกับผู้ปกครองที่อ้างตนเองมี คุณธรรมสูงสุดในสังคม แต่เป็นปัญหาของกฎหมายเผด็จการ นั่นคือ มาตรา 112 นั้น เป็นกฏหมายไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือทำลายบุคคลอื่นทางการเมืองและจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
มีหลายคน กลายเป็นเหยื่อของมาตรา112 ต้องสูญเสียอิสรภาพ ต้องถูกจับกุมคุมขัง ถูกกล่าวหา ถูกทำลายกระทั่งถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม ผมจึงออกมาต่อสู้ เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา112นี้ไปเสีย ด้วยการจัดตั้ง เครือข่ายประชาธิปไตย รวบรวมประชาชนเข้าชื่อกัน 10,000 ชื่อขึ้นไป เพื่อขอให้รัฐสภา แก้ไขมาตรา 112 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550
 
ดังที่กล่าวมาแล้วมาตรา112 มีความคลุมเครือ มีช่องว่างให้พวกอำนาจฉ้อฉล นำมาใช้เล่นงาน และปราบปรามประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทยขณะนี้ มีความขัดแย้งกันมาก การจับกุมครั้งนี้ เป็นการดึง สถาบันกษัตริย์ มาเผชิญหน้ากับประชาชน 
 
ก่อนหน้านี้ มีการกล่าวหาแกนนำ เสื้อแดง ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาด้วยปิดวิทยุชุมชน ปิด เวปไซต์ ปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน จนในที่สุด จับกุมผม ทำเป็นคดีอย่างไม่เป็นธรรม
 
ผมเป็นเพียงเหยื่อ ของกฎหมาย ไม่เป็นธรรม เป็นเหยื่อของเกมการเมืองที่กำลังห้ำหั่นแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างผ่าย ประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการ ผ่านรูปแบบการเลือกตั้งผมเป็นบุคคล ที่พวกมีอำนาจฉ้อฉลที่ชอบแอบอ้างศีลธรรมและบุญบารมี ต้องการให้ผมอยู่ในความผิด เพื่อรักษาอำนาจฉ้อฉลให้ยาวนาน ต่อไป
 
ผมไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้าย ตราบเท่าที่เรายังอยู่ภายใต้การปกครอง ที่เนื้อแท้เป็นเผด็จการ แต่เปลือกนอกฉาบด้วย คำว่าประชาธิปไตย ไว้หลอกลวงชาวโลก
 
ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน(จดหมายที่เขียนโดยสมยศ เมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2554)
 
1. ผมไม่เคยคิดหลบหนี ในการต่อสู้ทางการเมืองผมโดนหน่วยงานรัฐฟ้องหลายคดี เช่น พลเอกสะพรั่ง กัลป์ยานมิตร อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น 1 ในคณะก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ฟ้องหมิ่นประมาท ผมได้สู้คดีถึงที่สุดได้รับโทษจำคุกโทษนั้นรอลงอาญา อีกกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ฟ้องหมิ่นประมาทผมก็ได้สู้จนศาลยกฟ้อง และผมได้ปรากฏตัวต่อที่สาธารณะเป็นปกติ
 
2. ในขณะที่สังคมคนงานยังถูกเอารัดเอาเปรียบ สหภาพแรงงานในประเทศไทยไม่อนุญาตให้องค์กรสหภาพแรงงานเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ และถ้าพวกเขาลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องพวกเขามีโอกาสที่โดนข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้อีก เพราะกฎหมายมาตรา 112 นี้ไร้ขอบเขตการฟ้องร้องใครก็สามารถไปแจ้งตำรวจได้ และในปี 2550-2554 ได้มีนักโทษคดีนี้เพิ่มเกือบ 500 คน และส่วนใหญ่จะเป็นคนที่สนับสนุนเสื้อแดง รวมถึงการขัดผลประโยชน์ก็นำมากล่าวหากันได้ด้วย  และขณะนี้ด้วยสภาพที่คุมขังที่แออัด และการรักษาพยาบาลที่ไม่สะดวกสบายเท่ากับอยู่ข้างนอก ทำให้โรคประจำตัวของผมกำเริบคือโรคเก๊า มีแผลที่กำลังติดเชื้อ 
 
ผมขอขอบคุณองค์กรต่างๆ ที่ทำจดหมายถึงรัฐบาลเรียกร้องให้ปล่อยตัวผม รวมถึงนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆ ผมขอเพียงได้สิทธิการประกันตัวซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่พึงจะได้ ผมควรมีสิทธิในความเชื่อ และการแสดงออกที่ไม่ได้ละเมิดสิทธิของใคร และสิทธิในการต่อสู้คดีและรัฐไม่ควรจองจำผมไว้ในคุก ขอให้ทุกท่านเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
ผมหวังที่จะเห็นเสรีภาพของคนในทั่วโลกและรวมถึงพี่น้องของผม การถูกจองจำในคุกผมได้มีชีวิตอยู่ได้ดีพอสมควรและมีมิตรไมตรีจากคนอื่นๆ แต่คงไม่มีใครปรารถนาที่จะถูกจองจำ แต่การใช้อำนาจเกิดขอบเขตของรัฐบาล เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ผมอยากออกไปสู่เสรีภาพเช่นเดิม
 
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
 
(นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข)

หมายเหตุ : จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ที่ปรึกษา/เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ผู้ประสานงาน กลุ่มคนงาน Try Arm ได้เข้าพบเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ที่เรือนจำกลางกรุงเทพมหานคร (บันทึก)
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปล่อย นศ.-ชาวบ้านค้านวางสายส่งไฟฟ้าแล้ว เผยดูข้อมูลอาจฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐ

Posted: 29 May 2011 09:33 AM PDT

15 ชาวบ้าน-นักศึกษา ค้านก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูง น้ำพอง 2 - อุดรธานี 3 ได้รับการประกันตัวแล้ว ส่วนในพื้นที่ กฟผ.ยังเดินหน้าโครงการต่อ ด้านกลุ่ม นศ.ร่อน "แถลงการณ์จากคุก" ร้องดำเนินการทางกฎหมายกับเจ้าหน้าที่ กฟผ.-ตร.

 
ภาพ: เหตุการณ์การประจัญหน้าระหว่างกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้าน กับเจ้าหน้าที่ กฟผ.และตำรวจ เมื่อวันที่ 27 พ.ค.54
 
วันนี้ (29 พ.ค.54) กรณีกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้าน 15 คน ถูกจับกุมในข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยอ้าง พ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่กลุ่มนักศึกษาได้ร่วมกับชาวบ้านขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงตามโครงการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ (KV) น้ำพอง 2 - อุดรธานี 3 ในพื้นที่ของชาวบ้าน ที่บ้านเหล่ากล้วย ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี จนเป็นเหตุให้ถูกนำตัวไปฝากขังที่ สภ.อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
 
นายณัฐวุฒิ พรมภักดี เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้าน 15 คนที่ถูกจับกุม ให้ข้อมูลว่าขณะนี้ทั้งหมดถูกปล่อยตัวชั่วคราวแล้วตั้งแต่เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.วันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต.ในพื้นที่ใช้ตำแหน่งในการประกันตัว และมีเงื่อนไขห้ามยุ่งเกี่ยว หรือกระทำการใดๆ ในลักษณะที่ขัดขวางการดำเนินการของเจ้าหน้าที่อีก ทั้งนี้ ในวันที่ 20 มิ.ย.54 ผู้ถูกจับกุมทั้ง 15 คนจะต้องไปรายงานตัวที่ สภ.อ.กุมภวาปีอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะส่งฟ้องต่อศาลหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวมหลักฐานข้อมูล
 
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามโจมตีกลุ่มนักศึกษาที่มาร่วมคัดค้านโครงการดังกล่าวว่าเป็นคนนอกพื้นที่ แต่ส่วนตัวเชื่อว่ากลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรมปฏิบัติตามสิทธิที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญในการปกป้องพื้นที่และเฝ้าระวังการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งชัดเจนว่าเป็นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง นอกจากนั้นที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนหน้าที่ความขัดแย้งของกลุ่มชาวบ้านและ กฟผ.จะลุกลามถึงตอนนี้
 
นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวต่ออำนาจของรัฐ แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้ชาวบ้านอยากลุกขึ้นมาต่อสู้ปกป้องพื้นแผ่นดินของพวกเขามากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ชาวบ้านได้มีการปรึกษาหารือเพื่อจะหาทางออกร่วมกันต่อไป และกำลังอยู่ระหว่างส่งเรื่องไปยังสภาทนายความเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
 
เจ้าหน้าที่โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อมที่เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านในคดีทางปกครอง กล่าวให้ข้อมูลว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ทำหนังสือส่งไปยังสภาทนายความเพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องคดี ซึ่งในวันนี้ (29 พ.ค.54) ในพื้นที่มีการรวบข้อมูลและสอบเหตุการณ์กับผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ถูกจับกุมทั้ง 15 คน ซึ่งแนวทางขณะนี้อาจมีการฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐได้ในเรื่องบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ทั้งที่นาที่ได้ไถเตรียมแล้วเพื่อการเพาะปลูก และต้นกล้า รวมทั้งทรัพย์สินอย่างโทรศัพท์มือถือและสร้อยคอที่เสียหายระหว่างเกิดเหตุการณ์ชุลมุน
 
อย่างไรก็ตาม ในแง่กฎหมายเจ้าหน้าที่ กฟผ.สามารถเข้าไปดำเนินโครงการก่อสร้างฯ ในพื้นที่ได้ แม้ว่าชาวบ้านจะไม่ยินยอมและทำการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองไปตั้งแต่เมื่อปี 2551 เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังไม่มีคำสั่งคุมครองชั่วคราวพื้นที่ อีกทั้งที่ผ่านมาแม้ว่าชาวบ้านจะได้ทำการยื่นหนังสืออุทธรณ์เรื่องพื้นที่ตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งก็มีการส่งคนมาดูพื้นที่ แต่การลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปเพื่อการเจรจาเรื่องค่าเสียหายโดยยังยืนยันให้ดำเนินการในพื้นที่เดิม
 
เจ้าหน้าที่โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวต่อมาว่า ที่ผ่านมาทาง กฟผ.ได้นำเงินทดแทนในกรณีที่เจ้าของที่ไม่ยอมรับหรือไม่สามารถหาเจ้าของเจอได้ ไปฝากกับธนาคารเพื่อไว้ให้ไปเบิกถอนแล้ว ซึ่งเมื่อครบระยะที่กำหนดไว้หากไม่มีการเบิกถอนเงินนั้นก็จะถูกยึดคืนไปเป็นของรัฐ โดยในกรณีดังกล่าวส่วนตัวเห็นว่าเป็นการมัดมือชกชาวบ้านที่ถูกประกาศโครงการของรัฐทับที่ดินทำกิน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากเหตุการณ์การจับกุมชาวบ้านและนักศึกษา ในวันที่ 27 พ.ค.จนถึงวันนี้ (29 พ.ค.54) พนักงานของ กฟผ.ได้นำรถแบคโฮ และคนงานลงปรับพื้นที่นาของชาวบ้านต่อไป โดยยังมีกำลังของเจ้าหน้าที่ และผู้ช่วยเจ้าพนักงาน เข้ามาคอยดูแลความปลอดภัย
 
นศ.ร่อน แถลงการณ์จากคุก ร้องดำเนินการ กฟผ.-ตร.
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาที่ถูกคุมขังอยู่ที่ สภ.อ.กุมภวาปี ได้เขียนแถลงการณ์จากคุก ประณามพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ กฟผ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการปล้นทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นอย่างไร้ยางอาย พร้อมเรียกร้องเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านเข้ามาดำเนินการทางด้านกฎหมายต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ กฟผ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกทั้งเชิญชวนและเรียกร้องให้คนรุ่นใหม่ คนหนุ่มสาว และบุคคลสาธารณะทุกกลุ่มองค์กรร่วมกันดำเนินการเพื่อการปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น
 
“พวกเราขอประกาศก้อง กังวาน ต่อความอยุติธรรม ที่หน่วยงานภาครัฐและกลุ่มทุน กระทำต่อชุมชนและสังคม ว่าพวกเราจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและให้เกิดความเท่าเทียม ณ บัดนี้ และตลอดไป” แถลงการณ์ระบุ
 
 
 
 
แถลงการณ์จากคุก 
ณ สถานกักขังเสรีภาพและความถูกต้อง สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรอุดรธานี
 
พวกเราจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม และให้เกิดความเท่าเทียม
 
จากกรณีปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่การไฟฟ้าฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการสร้างโครงข่ายระบบไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ น้ำพอง2-อุดรธานี3 พาดผ่านที่พื้นที่ทำกินของชาวบ้านในจังหวัดอุดรธานี จึงนำมาซึ่งการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในนาม คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.) เพื่อคัดค้านการดำเนินโครงการดังกล่าวของ กฟผ. ด้วยเพราะหวั่นเกรงต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเสียสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อีกทั้ง กลุ่มชาวบ้านได้เล็งเห็นว่าการดำเนินการของ กฟผ. ไม่ชอบธรรม และมีพฤติกรรมการละเมิดสิทธิชาวบ้าน เสมอมา
 
ดังปรากฏมาแล้ว เช่น กรณีการบังคับขู่เข็ญเพื่อเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และตัดโค่นต้นไม้ของนางจันทร์เพ็ญ ที่จ.ร้อยเอ็ด เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเธอและครอบครัวมาตราบจนทุกวันนี้ และเหตุการณ์ล่าสุด ก็คือ การเข้าไปเหยียบย่ำ และทำลายแปลงนาของชาวบ้านที่อ.ภาชี จ.อยุธยา อย่างไม่มีความละอายต่อบาป และไม่สำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่ได้หล่อเลี้ยงพวกเขาให้ได้เติบใหญ่มา ถึงแม้ชาวบ้านจะวิงวอน ร้องขอแล้ว
 
อย่างไรก็ดี เสียงท้วงติงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสาธารณชน ว่าจะเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ์ หากว่า กฟผ.จะดื้อดึงลงไปดำเนินการในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และขอให้ชะลอการดำเนินการเพื่อรอผลคำตัดสินของศาลปกครองเสียก่อน แต่ก็ไม่เป็นผล จึงนำมาซึ่งเหตุการณ์อัปยศในครานี้
 
ที่บ้านเหล่ากล้วย หมู่ 3 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เจ้าหน้าที่ กฟผ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กว่า 200 นาย ได้ร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ด้วยการใช้กำลังข่มขู่ บังคับ และทำร้ายร่างกายก่อนเข้าจับกุมชาวบ้านและนักศึกษาที่มีจำนวนไม่ถึง 20 คน พร้อมยึดกล้องบันทึกภาพและลบภาพถ่ายทั้งหมดทิ้ง เพื่อทำลายหลักฐานอันเป็นพฤติกรรมป่าเถื่อนของพวกเขา ก่อนนำมาฝากขัง และยัดเยียด ข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ขัดขวางการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ กฟผ.ในการสำรวจและวางรากฐานเสาไฟฟ้า ทั้งที่ในความจริงกลุ่มชาวบ้านและนักศึกษาได้ร่วมกันปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญโดยการร่วมกันชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
 
พวกเราในนามเครือข่ายนักศึกษาคนรุ่นใหม่และประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่ได้ร่วมกันทำกิจกรรม และปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการโครงการของรัฐและนายทุนตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
 
จากข้อเท็จจริงที่พวกเราได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ และถูกเจ้าหน้าที่ กฟผ.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำ เฉกเช่นเดรัจฉาน จึงมีข้อเรียกร้องและมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
 
ประการแรก พวกเราขอประณามพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ กฟผ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ร่วมกันปล้นทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น อย่างไร้ยางอายต่อกลุ่มเด็ก เยาวชน และคนแก่เฒ่า ที่ร่วมกันออกมาปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น
 
ประการที่สอง พวกเราขอเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน มาดำเนินการทางด้านกฎหมายต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ กฟผ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำการต่อกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ถูกกระทำในครั้งนี้
 
ประการที่สาม พวกเราขอเชิญชวนและเรียกร้อง ให้คนรุ่นใหม่ คนหนุ่มสาว และบุคคลสาธารณะทุกกลุ่มองค์กร มาร่วมกันในภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชาวบ้าน เพื่อการปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น
 
ประการสุดท้าย พวกเราขอประกาศก้อง กังวาน ต่อความอยุติธรรม ที่หน่วยงานภาครัฐและกลุ่มทุน กระทำต่อชุมชนและสังคม ว่าพวกเราจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและให้เกิดความเท่าเทียม ณ บัดนี้ และตลอดไป
 
ด้วยจิตคารวะ
27 พฤษภาคม 2554
 
เครือข่ายนักศึกษาคนรุ่นใหม่และประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
กลุ่มอาศรมบ่มเพาะแนวความคิดและจิตวิญญาณ
ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มนกกระจอก
กลุ่ม FriendFor Activity (FAN)
กลุ่มไทยอิปูตาเย
กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน
กลุ่มสื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม อุดรธานี
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สเตรทไทมส์ เปิดใจ “ทักษิณ”: กฎหมายหมิ่นทำให้สถาบันฯเสื่อม

Posted: 29 May 2011 02:56 AM PDT

ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์นสพ.เสตรทไทมส์ มั่นใจชนะการเลือกตั้งอย่างสง่างาม มุ่งอยากกลับประเทศเพื่อแก้ไขความบอบช้ำ ขอโอกาสเพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ชี้ทหาร “พารานอย”มากเกินไป

29 พ.ค. 54 – อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ประเทศดูไบว่า ความพยายามของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในการสร้างแผนการปรองดองนั้นล้มเหลว และทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น ขณะนี้จึงเป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยในการสร้างการปรองดองในชาติ และหวังว่าตนเองจะสามารถกลับประเทศไทยได้ เพื่อแก้ไขบาดแผลทางการเมืองของประเทศในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่ถึงแม้ว่าจะกลับมาไม่ได้ ตนก็ยังอยากให้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปรกติ

“ความปรกติในความหมายของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นคนล่ะความหมาย เขาพยายามจะปรองดองมา 2 ปีครึ่งแล้ว แต่ก็ล้มเหลว ซ้ำยังทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น เป็นคราวของเราแล้วที่จะต้องสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น” อดีตนายกกล่าว

ในระหว่างการสัมภาษณ์ที่ยาว 1 ชั่วโมง เขายอมรับว่าการกระทำที่รุนแรงต่อชาวมาเลย์มุสลิมในภาคใต้สมัยที่เขาเป็นนายกถือเป็นความผิดพลาด และกล่าวว่าการเป็นตำรวจนั้นทำให้ตนถูกสอนมาว่าต้องใช้ทั้งกำปั้นเหล็กและถุงมือกำมะหยี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้กำปั้นเหล็กมากไป และเสียใจในสิ่งที่เคยทำ ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลงไป
เขายังเสริมว่า พรรคเพื่อไทยจะรื้อฟื้นข้อตกลงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณใกล้กับเขาพระวิหารเพื่อพิจารณาถอนข้อตกลงดังกล่าว “เราควรมีการพูดคุยกัน ไม่ใช่เอะอะๆก็ส่งทหารเข้าไป ถ้าคุณมายิงใส่เพื่อนบ้านตัวเอง แล้วจะอยู่ด้วยกันอย่างสงบได้ยังไง ถ้าคุณใหญ่กว่าหรือรวยกว่า คุณก็ควรมีจิตใจที่ดีและเมตตาต่อคนที่จนกว่าและตัวเล็กกว่า” ทักษิณกล่าว

ถึงแม้จะมีการวิเคราะห์ว่าผลของการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมจะค่อนข้างสูสี โดยโพลล์สำรวจความคิดเห็นได้เผยว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะอย่างฉิวเฉียด แต่ทักษิณค่อนข้างมั่นใจว่าเพื่อไทยน่าจะชนะได้อย่างชัดเจน และเผยว่าตนเองได้ติดตามการหาเสียงในไทยอยู่ทุกวันและวางแผนยุทธศาสตร์การเลือกตั้งอยู่เสมอ โดยดำเนินการจากบ้านหรูหราขนาดห้องนอน 7 ห้องในย่านหรูที่ดูไบ หรือบางทีก็จากเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว และรับข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆจากนักการเมืองในประเทศไทย พร้อมกับปราศรัยผ่านทางโทรศัพท์ หรือ “โฟนอิน” ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงและการปราศรัยของเพื่อไทยอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังพูดคุยทางโทรศัพท์จากกลุ่มฐานเสียงต่างๆด้วย

“ถึงเวลาที่เราจะต้องยึดมั่นในหลักการว่าเราเคารพในความคิดของประชาชน ...ถ้าคุณเรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย คุณก็ต้องเคารพเจตจำนงของประชาชน แล้วสิ่งต่างๆก็จะดำเนินไปต่อได้เอง ผมไม่สนใจว่าใครจะว่าอะไร ไม่สนใจว่าผมจะได้กลับบ้านหรือไม่ ผมสนใจแค่ว่าเมื่อไหร่ที่ประเทศจะกลับสู่สภาวะปรกติได้เสียที”

เมื่อผู้สื่อข่าวเสตรทไทมส์ถามว่า คิดว่าเสถียรภาพหลังการเลือกตั้งของประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับการเจรจามากแค่ไหน เขาตอบว่า “ไม่มีอะไรดีไปกว่าการสานเสวนาอีกแล้ว”

เขากล่าวว่ามีบางก๊กบางฝ่ายติดต่อเข้ามาหาเขาหลังจากหมดอำนาจ เขาจึงให้ยิ่งลักษณ์เป็นตัวแทนในการเจรจาพูดคุย “ผมไม่ไว้ใจนักการเมืองคนไหนๆหรอก เพราะไม่มีความลับในหมู่นักการเมือง ผมจึงให้เธอเป็นคนไปพูดคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ และทำงานในพื้นที่เยอะๆ ตอนนี้อยากเห็นประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ไม่หยุดอยู่ในสภาพเดิมๆ”

ว่าด้วยทหารกับการเมือง

“พวกทหารเกิดอาการวิตกจริตกันใหญ่เพราะมีข่าวว่าผมจะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นสาธารณรัฐ และตั้งตนเป็นประธานาธิบดี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เมื่อคุณกลายเป็นผู้นำ คุณก็ต้องเข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาเรื้อรังได้ และพอเมื่อคุณเข้มแข็งปุ๊บ ก็มีคนบอกว่าผมอยากเป็นประธานาธิบดี ซึ่งไร้สาระมาก และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงให้มีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิง เขาจะได้ไม่ต้องคิดว่าผู้หญิงจะสามารถทำอะไรเช่นนั้น”

ว่าด้วยนโยบายพรรค
“ก็มีความเหมือนและความต่างอยู่บ้าง เมื่อคุณเห็นคนกำลังกินปลา ไม่ว่าจะจากเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์ ปลาเหล่านั้นก็ดูเหมือนกัน แต่ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์แจกแต่ปลา แต่เราจะให้เบ็ดตกปลา และให้ประชาชนได้ตกปลาเองกินเอง และมีปลาจากทั้งแม่น้ำเอาไว้กินได้

ถ้าคุณดูการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ เขาต้องการเพียงแค่ผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ของผมคือความสุขของประชาชนต้องมาก่อน และผลประโยชน์ทางการเมืองก็จะเป็นผลจากการที่พี่น้องประชาชนมีความสุข”

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ “ทำให้เสื่อม”
ต่อประเด็นการฟ้องร้องและดำเนินคดีบุคคลจำนวนมากในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทักษิณกล่าวว่า “ทำให้สิ่งที่แย่อยู่แล้วเสื่อมลงไปอีก...หากว่าคุณเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ต้องหยุดการแสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีโง่ๆเช่นนี้”

และเมื่อถามว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่กับการรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เขาตอบว่า “ก็ถ้ามีอยู่แล้วไม่ได้ใช้แบบไม่จำเป็นล่ะก็...” ซึ่งสื่อว่าก็ไม่ได้เห็นด้วยเท่าใดนัก และยังเสริมว่า “ยิ่งคุณดำเนินคดีกับคนในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นเท่าใด ประชาคมนานาชาติและองค์กรสิทธิมนุษยชนก็จะเรียกร้องให้มีการยกเลิก(กฎหมายนี้)มากขึ้นเท่านั้น”

เขาย้อนไปถึงสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเล่าว่าเคยเกือบให้มีการจับกุมผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์คนหนึ่ง และในการเข้าเฝ้ากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งก่อน พระมหากษัตริย์ทรงตรัสว่า “ไม่อยากให้ใช้กฎหมายตัวนี้พร่ำเพรื่อ” อดีตนายกผู้ลี้ภัยสะท้อนว่า “ผู้ที่พยายามจะแสดงออกว่าเขาจงรักภักดีต่อกษัตริย์มากๆ และประกาศว่าจะเล่นงานคนที่แตะต้องสถาบันกษัตริย์นั้น เป็นการทำให้สิ่งที่แย่อยู่แล้วแย่ยิ่งขึ้น”

ต่อกรณีที่กองทัพบกได้เป็นผู้ยื่นฟ้องในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุดนั้น ทักษิณกล่าวว่า ทหารมีหน้าที่หลักๆสองอย่าง อย่างแรกคือปกป้องอธิปไตยของชาติ อย่างที่สองคือปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพต้องการแสดงความจงรักภักดีของตนเองโดยแสดงออกชัดแจ้งเกินไป ตนคิดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นผลเสียต่อกองทัพและไม่ดีต่อสถาบันกษัตริย์เองด้วย

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์เสตรทไทมส์ ฉบับวัันที่ 28 พฤษภาคม 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์ "สุชาดา" ผอ.สำนักข่าวเจาะแห่งใหม่ ทะลวงข้อมูลคอรัปชั่น

Posted: 28 May 2011 10:00 PM PDT

 

ท่ามกลางกระแสการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยอย่างน่าตกใจ ปริมาณข่าวเจาะและข่าวสืบสวนสอบสวนที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักกลับลดลงสวนทางกัน อาจเพราะข่าวเจาะมีต้นทุนสูง สิ้นเปลืองงบประมาณ สิ้นเปลืองเวลา และต้องอาศัยคนทำข่าวผู้มีความรู้ความสามารถในระดับสูง รวมทั้งยังเสี่ยงต่อถูกคุกคาม จากผู้ถูกเปิดโปง

ข่าวเจาะหรือข่าวประเภทสืบสวนสอบสวน มักเป็นข่าวที่ตีแผ่ความจริงอย่างเจาะลึก ด้วยข้อมูลหลักฐานที่ถูกต้อง หนักแน่น และตรงไปตรงมา ซึ่งหากประเทศไทยต้องการก้าวไปสู่การเป็นบ้านเมืองที่ใสสะอาดมากกว่านี้ เราจำเป็นต้องสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ข่าวเหล่านี้ให้ดำรงอยู่ต่อไปในสังคม

"มติชนออนไลน์" ได้สัมภาษณ์ คุณสุชาดา จักรพิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี และกรรมการบริหารสำนักข่าวประชาธรรม ในฐานะหัวเรือใหญ่ ที่พยายามจะผลักดันให้เกิดพื้นที่ของการตรวจสอบ จนกระทั่งล่าสุด ได้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ (Thailand Information Center for Civil Rights and Investigative Journalism) โดยดำรงตำแหน่งในฐานะผู้อำนวยการ

เว็บไซต์ข่าวเจาะ www.tcijthai.com เปิดตัวอย่างเป็นทางการอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม

และต่อไปนี้ คือ บทสัมภาษณ์ข้นๆ ของ"สุชาดา จักรพิสุทธิ์"
 

แนวคิดในการก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวเจาะ เป็นมาอย่างไร
ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคข่าวสาร และสนใจติดตามความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวงการสื่อ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มาตลอด จึงทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อยากจะค้นหาปัญหาและทางออก ที่จะทำให้มีปริมาณของข่าวสืบสวน เพิ่มมากขึ้นในสื่อหนังสือพิมพ์

สาเหตุที่เน้นไปที่สื่อหนังสือพิมพ์ เพราะยังคิดว่าสื่อหนังสือพิมพ์ที่นำเสนอข่าวเจาะลึก ยังให้ผลในเรื่องการอธิบายปัญหา หรือสร้างการรับรู้ความเข้าใจได้มากกว่าสื่ออื่นๆ และเป็นสื่อที่ดูจะสอดคล้องกับข่าวประเภทสืบสวนสอบสวน จึงให้ความสนใจกับสื่อประเภทนี้มากเป็นพิเศษ แต่ก็พบว่า การทำงานนั้นมีอุปสรรคเยอะ ตั้งแต่คนประกอบอาชีพคือนักข่าว และองค์กรสื่อ ซึ่งไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงในการทำข่าวเจาะลึกหรือข่าวสืบสวนได้

เนื่องจากต้องใช้เวลาเยอะ ใช้เงินลงทุนเยอะ ต้องจัดหางบประมาณสนับสนุนเพื่อให้นักข่าว ลงพื้นที่ได้บ่อยขึ้น และใช้เวลาไปกับการเดินทาง ค้นหา และเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากขึ้น นักข่าวต้องใช้ความสามารถมาก และที่สำคัญ คือ ประเด็นความเสี่ยงที่อาจไปกระทบกระเทือนกับผู้มีอำนาจด้วย ทำให้เราตั้งคำถามว่า แล้วจะไม่มีทางออก หรือวิธีแก้ปัญหาได้เลยเหรอ แต่สุดท้ายก็เลยมานั่งคิดกันว่า หรือบางทีเราอาจจำเป็นต้องสร้าง "พื้นที่ใหม่"

พื้นที่ใหม่ ที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ที่ปลอดจากอำนาจแทรกแซงหรืออุปสรรคต่างๆ พื้นที่ตรงกลางที่มีเสรีภาพมากขึ้น มีงบประมาณสนับสนุน เป็นพื้นที่ที่เปิดให้คนทำและคนอ่านได้เลือกซึ่งกันและกัน คนทำก็คือ นักข่าวที่มีความสามารถ มีจริตจิตใจที่จะทำข่าวสืบสวนสอบสวน เพราะเห็นความสำคัญของข่าวประเภทนี้ก็ดี หรือยังคงคิดว่า ข่าวสืบสวนเป็นศักดิ์ศรีวิชาชีพ ที่ควรจะไปให้ถึงก็ดี

และเพราะโดยส่วนตัว ยังไม่เชื่อว่าในสังคมที่ สั้น-ทัน -ด่วน นั้นจะฉาบฉวยเสียจนคนไม่ยอมอ่านเรื่องเชิงลึก เพราะฉะน้ัน ในแง่ของคนอ่านข่าวเจาะ หรือเรื่องสืบสวนสอบสวน ก็น่าจะยังมีอยู่ แต่เพราะที่ผ่านมาเขาไม่มีทางเลือก ไม่มีพื้นที่อย่างนี้ ไม่มีสื่ออย่างนี้ให้เลือก

คำตอบสุดท้าย ก็คือ ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า การทดลองทำ

อยากให้เปิดเผยที่มาของแหล่งทุนสนับสนุน
เราได้รับเงินทุนสนับสนุนเริ่มต้นจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อที่จะทำให้เราสามารถตั้งต้นได้ภายในปีแรก สำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน คือ การสร้างทีมงาน การแสวงหาข้อมูลขั้นต้น การหาออฟฟิศ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะทำให้เราอยู่ได้ ทำงานได้ และเพียงพอที่จะสามารถสร้างสรรค์วิธีการหรือหนทางใหม่ๆ เพื่อที่จะพึ่งตนเองได้ในวันข้างหน้า ความตั้งใจของเรา คือ เราจะพึ่ง สสส.แค่เพียงหนึ่งปีแรกเท่านั้น เพราะเมื่อเราต้องการจะสร้างพื้นที่ส่วนกลาง ต้องการเป็นสื่อเสรี เป็นสื่อที่นำเสนอความจริงให้ได้มากที่สุด และปลอดจากอำนาจแทรกแซง เราก็ควรจะต้องพึ่งตนเองให้ได้เป็นอันดับแรก

ในต่างประเทศ เว็บไซต์ในลักษณะนี้ มักจะเกิดจากการระดมทุนของคนที่อยากจะเห็นเว็บไซต์ดีๆ คิดไหมว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

ถ้าคิดเชิงบวกก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วในหลายที่ เช่นในอเมริกา กลุ่มสื่อใหญ่อย่าง รูเพิร์ต เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) เจ้าของสื่อยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างนิวส์ คอร์ปอเรชั่น ก็หันมาทำเว็บไซต์ข่าวเชิงลึกที่เก็บเงินในการเข้าดู หรือแม้แต่ศูนย์ข่าวสืบสวนของฟิลลิปปินส์ (The Philippine Center for Investigative Journalism-PCIJ) ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนักข่าวอาวุโสจำนวนมากในประเทศไทย รวมถึงตัวดิฉันด้วย เขาก็เริ่มจากการพึ่งตนเอง และเริ่มทำในเชิงธุรกิจ แต่ไม่ได้แสวงหากำไรมากนัก

คำว่า "เชิงธุรกิจ" ในที่นี้ คือมีรายได้เข้ามา พอที่จะทำให้องค์กรของตนเองอยู่ได้ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรของเขายัง "ขายข่าว" กลับเข้าไปในสื่อกระแสหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องบอกว่า บริบทหรือสถานการณ์ของเขาต่างจากเรา เพราะช่วงการเกิดขึ้นของ PCIJ เป็นช่วงที่คนฟิลิปปินส์ต้องการข่าวแบบนี้

จากผลงานของ PCIJ ที่สามารถโค่นประธานาธิบดี ที่คอร์รัปชั่นลงได้ถึง 2 คน ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos) หรือ โจเซฟ เอสตราดา (Joseph Estrada) ทำให้ข่าวขององค์กรดังกล่าวเป็นที่ต้องการ และมีความน่าเชื่อถือมาก

และอีกประการหนึ่ง คือ ข่าวของ PCIJ เป็นภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น ตลาดก็จะกว้างขึ้น เขาสามารถขายข่าวออกไปสู่ตลาดทางตะวันตกได้ด้วย เพราะฉะนั้น กรณีศึกษาของ PCIJ ยืนยันได้ว่า เขาเริ่มจากการพึ่งตนเอง และสามารถอยู่รอดได้ในทางธุรกิจ นอกจากนั้น เขายังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไรต่างๆ ในลักษณะของเงินบริจาค และสมาชิก

เนื้อหาหลักของเว็บไซต์ข่าวเจาะ
เราจะเน้นพวกข่าวเจาะหรือข่าวสืบสวนเรื่องใหญ่ๆ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่นำไปสู่เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องและมีความซับซ้อน อาจไม่ใช่ข่าวร้อนที่ผูกติดอยู่ในกระแส หรือสถานการณ์รายวัน สำหรับในช่วงของการเปิดตัวเว็บไซต์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของการเลือกตั้งในตอนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีข่าวที่อยู่ในความสนใจของผู้คนพอสมควร ก็จะมีข่าวใหญ่ในหลายมิติ ที่ข้องเกี่ยวกับนักการเมือง หรือพรรคการเมือง

แนวทางการนำเสนอ จะเป็นลักษณะของการเจาะลึกแง่มุมต่างๆของตัวนักการเมืองและพรรคการเมือง รวมถึงการอยู่รอด การได้มาซึ่งรายได้ ความไม่ชอบมาพากลบางอย่าง ที่จะทำให้สังคมไทยตื่นตัวและใส่ใจกับสถานการณ์การเลือกตั้ง คนอ่านจะได้รู้ว่า การเลือกตั้งไม่ได้มีแค่เรื่องของพรรคการเมืองคู่แข่งเพียง 2 พรรค หรือวันนี้พรรคไหนจะไปหาเสียงที่ไหน แต่สิ่งที่เรานำเสนอ และอยากให้มีผลต่อตัวผู้อ่าน คือ การมองเห็นสิ่งที่อยู่ลึกไปกว่าปรากฏการณ์การแข่งขันของพรรคการเมือง ที่นำเสนอในลักษณะของแคมเปญขายสินค้ามากกว่า

ลึกๆ แล้วมันอาจแง่มุมของเศรษฐศาสตร์พรรค ทั้งในเรื่องรายได้ เงินทุนเงินสนับสนุน และเครือข่ายผลประโยชน์ต่างๆของพรรค ข้อมูลที่เรานำเสนอจะเกาะเกี่ยวผูกพันไปถึงแง่มุมทั้งหมดเหล่านี้ ผู้อ่านจะสามารถเห็นภาพรวม หรือสามารถต่อจิ๊กซอร์ต่อไปได้ว่า ประเด็นการแข่งขันของแต่ละพรรคจะนำไปสู่อะไร ใครจะเป็นผู้กุมผลประโยชน์ ใครจะได้ตำแหน่ง ใครจะได้โครงการ และจะทำให้เราติดตามปัญหาของบ้านเมืองได้ คม-ชัด-ลึก มากยิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุด ผู้อ่านจะได้มีภูมิหลังความเข้าใจ ที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ข่าวรายวันแต่เพียงเท่านั้น
 

เพราะทุกวันนี้ เราอาจได้ยินแค่ว่า หัวหน้าพรรคหรือแกนนำของพรรคนี้ ไปหาเสียงที่ไหนและพูดว่าอะไร แล้วก็เอาสิ่งที่พรรค ก.พูด ไปถามพรรค ข.อีกต่อหนึ่งว่าเขาจะตอบว่าอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันไม่นำพาประเทศไปสู่อะไรที่ดีขึ้นเลย

เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ คือ ข่าวพลเมือง ซึ่งเป็นข่าวจากชาวบ้านในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา เราอาจจะเห็นนักข่าวพลเมืองไปปรากฏในสื่อต่างๆอยู่บ้าง แต่ก็ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นเพียงตัวประกอบที่ทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อดูดีขึ้น หรือบ่งบอกว่าสื่อมีส่วนร่วมกับผู้คนส่วนต่างๆมากขึ้น แต่ความตั้งใจของเราในการสร้างพื้นที่ข่าวพลเมือง คือ การลงไปฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพของเขาด้วย เพราะเราอยากจะเห็นพวกเขาสามารถทำข่าว ในลักษณะที่ก้าวพ้นไปจากข่าวความคิดเห็นเท่านั้น หรือแม้แต่สามารถที่จะดึงประเด็นของข่าวภาคพลเมือง เช่น ประเด็นเรื่องเขื่อนที่ปัญหาอยู่ในหลายจังหวัด หลายภูมิภาค ไปสู่ทางออกหรือทางเลือกในการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่กว่า และยังทำให้ภาคประชาชนได้มาพบปะซึ่งกันและกัน รวมถึงได้พัฒนาทักษะของการสื่อสารให้เข้มแข็งมากขึ้นด้วย

การรับมือกับความเสี่ยง จากการนำเสนอข่าวเจาะ และข่าวสืบสวนสอบสวน
เราคงต้องใช้ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ซึ่งต้องตั้งอยู่บนข้อมูลของข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ต้องมีความรอบคอบในการคัดกรอง อ่าน และตรวจสอบข้อมูลหลักฐานต่างๆให้เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันของเรา

ถ้าเกิดข้อมูลทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง แต่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์อยากจะโต้ตอบ ทางเราก็ยินดีที่จะให้แก้ข่าว หรือนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง แต่ถ้าผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้คุณอยากจะกำจัดพื้นที่ตรงนี้ ก็คงไม่มีอะไรที่ดีไปกว่า การที่ทั้งสองฝ่ายต้องนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน มาแบกัน แต่ถ้าการคุกคามจะเกิดขึ้นจริง เราก็คงต้องกล้าหาญที่จะเผชิญกับมัน ตราบเท่าที่เราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

กิจกรรมในวันเปิดตัวเว็บไซต์
จะมีการแถลงข่าว ซึ่งเป็นลักษณะของการตีฆ้องร้องป่าวให้รู้ว่า มีพื้นที่สื่ออันใหม่เกิดขึ้น และเป็นข่าวสืบสวน เราพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นทางเลือกหนึ่งของการเสพข่าวสารเชิงลึก สำหรับคนที่ต้องการ เรามีข้อมูลเนื้อหา เรามีระบบ เรามีพื้นที่ เพราะฉะนั้น ก็หวังว่าการแถลงข่าวจะทำให้สื่อ หรือตัวกลางนำไปบอกให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ ข่าวใหญ่บนหน้าเว็บไซต์ในช่วงเปิดตัว จะมีข่าวที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซุกซ่อนถุงเงิน รวมทั้งทรัพย์สินของพรรคการเมือง และนักการเมือง โดยจัดให้มีเวทีอภิปราย (29 พ.ค.) ภายใต้หัวข้อ "ขุมทรัพย์นักการเมือง" ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงเรื่องทุน เครือข่ายของนักการเมืองและพรรคการเมือง แหล่งที่มาของรายได้ ทั้งโดยชอบและมิชอบ สำหรับวิทยากร ประกอบไปด้วย ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อาจารย์ นวลน้อย ตรีรัตน์ และคุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

เราจะเชื่อถือได้อย่างไร ว่าเว็บไซต์จะมีความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูล
คิดว่าคงไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการพิสูจน์ของคนที่เข้ามาอ่าน เพราะการจะบอกถึงความตั้งใจของคนทำเพียงอย่างเดียว คงเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็ยังต้องถึงความตั้งใจของคนทำว่าเว็บไซต์ข่าวตรงนี้ เกิดขึ้นจากการมองเห็นปัญหาของความไม่เป็นกลาง การเลือกข้าง หรือแม้แต่อคติโดยไม่รู้ตัวของคนทำงานเองด้วยซ้ำ เราจึงพยายามแก้ไขให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้น เราจึงจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และเป็นองค์กรภาคประชาชน

ถ้าจะให้ถึงพูดหลักประกันของความน่าเชื่อว่า คือ ข่าวของเราจะทำในลักษณะของมืออาชีพ มีข้อมูลหลักฐานที่ป้องกันตัวเองได้ และนำไปสู่ความน่าเชื่อถือของคนที่เข้ามาอ่าน ก็คงต้องหวังต่อไปว่า จำนวนคนอ่านที่เพิ่มขึ้นหลังจากนี้ จะเป็นช่องทางในการระดมเงินจากคนละเล็กละน้อย จนสามารถพึ่งตนเองได้ จากเล็กไปสู่ใหญ่ อันนี้ก็คงเป็นแค่ความฝันของคนทำ เพราะฉะนั้น อยากให้ทุกคนพิสูจน์จากการอ่านอยู่ดี
 

คิดว่าเว็บไซต์ที่ทำขึ้นจะกลายเป็นคู่แข่งของหนังสือพิมพ์หรือไม่
ไม่ได้คิดขนาดนั้น คือ เราพยายามทำอะไรที่ควรจะทำ พยายามเติมช่องว่างที่มีอยู่ หรือทำอะไรที่มันหายไป เช่น ข่าวสืบสวนที่หายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ถ้าจะถึงขั้นปิดฉาก คงไม่ใช่ เราแค่ยากจะท้าทายเพียงเล็กๆว่า หนังสือพิมพ์ในยุคนี้ ไม่มีบทบาทในการนำเสนอข่าวเชิงลึกอีกแล้ว จึงมีกลุ่มคนที่พยายามลุกขึ้นมาทำ ด้วยพื้นที่สื่ออีกแบบหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ถ้าหนังสือพิมพ์กระดาษจะหันมาต่อสู้กับการท้าทายนี้ ด้วยการสร้างหรือผลิตข่าวเชิงลึกบ้าง และทำได้ดีกว่าบนสื่อออนไลน์ (ซึ่งกำลังจะกลายเป็นพื้นที่ในอนาคตของหนังสือพิมพ์) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อกระแสหลักจะตอบรับความท้าทายนี้ ด้วยการลุกขึ้นมาและทำให้เป็นมืออาชีพได้มากกว่า ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าความตั้งใจในการทำงานของเราน่าจะเป็นผลแล้ว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น