โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

จดหมายจากชาวนาหนองแซงถึงชาวเมือง (และคนอนุมัติโรงไฟฟ้า)

Posted: 20 May 2011 01:43 PM PDT

 
 ชื่อบทความเดิม: ถามนายกอภิสิทธิ์ ประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ท่านเป็นผู้อนุม้ติให้สร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อทำลายพื้นที่เกษตรชั้นดีที่หนองแซง-ภาชีหรือ??
 
 
 
 
น้องลำธาร ทารกหญิงที่ลืมตาดูโลกได้ 3 เดือน สะดุ้งตื่นร้องไห้จ้า เนื่องจากเสียงรถขุดดินโครมครามตอน 2 ทุ่ม ห่างจากหลังบ้านแค่ 100 เมตร ทารกน้อยเพิ่งหลับไปไม่ถึงชั่วโมง ยายต้องอุ้มขึ้นมาปลอบพักใหญ่กว่าจะหายตกใจ
 
ชาวชุมชน ต.หนองกบ อ.หนองแซง ไม่เคยคิดว่าตนเองต้องทนกับเสียงดังของรถขุดดิน รถสิบล้อที่ขนดินเข้าออกตั้งแต่ ตี 4 ถึง 4ทุ่ม ชาวบ้านบางคนถึงกับน้ำตาตกด้วยความเสียใจและคับแค้น ไปร้องเรียนให้อุตสาหกรรมจังหวัดมาดูแล หลังจากร้องเรียน เสียงทำงานในยามวิกาลเงียบไปแค่ 2 วัน ก็เริ่มใหม่อีก คนแก่ คนป่วยที่นอนพักผ่อนตอนกลางวันไม่สามารถนอนหลับได้
 
สภาพเป็นอย่างไรน่ะหรือ รถสิบล้อกว่า 50 คัน วิ่งสวนสนาม ขนดินเข้าออก รถแม็คโครขุดดินอีกนับสิบคัน รถบดอัดดินขนาดใหญ่ เร่งทำงานอย่างขยันขันแข็ง ตั้งแต่ตี 4 ยัน 4 ทุ่ม ไม่นับรถสิบล้อที่ไม่ปิดคลุมทำดินก้อนใหญ่ ๆ หล่นตามทางสัญจรของหมู่บ้าน เวลารถชาวบ้านวิ่งไปรับส่งนักเรียนต้องวิ่งซิกแซกหลบแบบรถมอเตอร์ไซค์วิบาก
 
หรือกรณีที่อยู่ดีดีน้ำจากคลองไส้ไก่ส่งน้ำเข้านาหายไปเพราะบริษัทเจ้าของโครงการอาจไปประสานงานกับชลประทานลดปริมาณน้ำปล่อยเข้าคลองระพีพัฒน์ เพื่อให้บริษัทสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่เป็นท้องกะทะระบายใส่คลองไส้ไก่ได้สะดวก เพื่อเกรดดิน ถมดินให้สูง บดอัดให้แน่นเตรียมการลงเสาเข็มต่อไป เมื่อน้ำในคลองระพีพัฒน์หายไป คลองไส้ไก่ก็ไม่มีน้ำ ชาวนา 30 กว่าคนต้องไปตามเรื่องให้ปล่อยน้ำมาให้ต้นข้าวอายุ 20 วันเพื่อจะได้อยู่รอดต่อไป ไม่ตายยกแปลง บ่อน้ำของชาวบ้านที่ได้รับน้ำจากคลองไส้ไก่เอาไว้ปลูกผักขายตลอดปี น้ำหายไป ทำให้ปลูกผักไม่ได้ขาดรายได้ นี่คือผลกระทบเบื้องต้นจากการลงมาปรับถมที่ดิน
 
ชาวเมืองที่ไม่มีอาชีพเกษตรและไม่ได้มีวิถีชีวิตแบบชนบทย่อมจินตนาการไม่ออก นักวิชาการที่ตรวจมาตรการลดผลกระทบแต่ในกระดาษยิ่งมองไม่ห็นภาพ “ผลกระทบต่อวิถีชีวิต” แต่ชาวหนองแซงที่อยู่ล้อมรอบพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 1600 เมกะวัตต์ กำลังประสาทกินกับผลกระทบต่อวิถีชีวิต ชาวบ้านบางคนบอกว่า นี่เพิ่งเริ่มต้น....!!!
 
โครงกรก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซหนองแซง ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองกบ อ.หนองแซง จ.สระบุรี อยู่ในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่หรือ IPP ภายใต้แผน พีดีพี 2007 แผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของชาติฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าไม่มีการเปิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง ไม่มีการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมหรือฟังประชาชนในพื้นที่ก่อนประกาศผลการประมูลและยังถูกวิพาก์วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน โดยเซ็นต์สัญญาขายไฟฟ้าให้ กฟผ.ก่อนอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 
โครงการนี้ได้รับการอนุมัติ อีไอเอ โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20 สิงหาคม 2551 โดยไม่มีการตอบคำถามเกือบ 30 ข้อที่ชาวบ้านถาม ซึ่งหลายข้อ ไม่มีคำตอบ โดยชาวบ้านระบุว่าเป็นมาตรการที่ไม่สามารถแก้ไขได้
 
เช่น เรื่อง อ.หนองแซงเป็นพื้นที่ร่างผังเมืองอนุรักษ์ชนบทเกษตรกรรมอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายจะประกาศใช้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีคำวินิจฉัยว่าถ้าสร้างโรงไฟฟ้าจะทำให้กระบวนการทำผังเมืองที่ทำมาแล้วเสียงบประมาณและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วไม่ต้องรื้อร่างผังเมืองมาทำใหม่หรือ?
 
ผลกระทบต่อข้าวจากอากาศที่จะร้อนขึ้น จากการปล่อยไอน้ำจากหอหล่อเย็น ไอเสียจากปล่องระบายมลสารของโรงไฟฟ้า หรือปัญหาแสงสว่างจากโรงไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังไม่ตอบคำถาม ว่า น้ำจากระบบชลประธานของแม่น้ำป่าสัก และเจ้าพระยาไม่พอใช้แก่เกษตรกรในหน้าแล้งอยู่แล้วทุกปี แล้วเหตุไฉนจึงอนุญาตให้โรงไฟฟ้าใช้น้ำได้จากแหล่งเดียวกับที่เป็นน้ำต้นทุนจัดสรรให้ชาวนาในหน้าแล้ง
 
ในอีไอเอบอกว่าจะทำสัญญาประกันผลกระทบกับผู้เลี้ยงไก่ทุกราย ในรัศมี 1-2 กม. แต่เมื่อเริ่มปรับที่ดิน ก็ยังไม่มีการทำสัญญาประกันผลกระทบกับผู้เลี้ยงไก่ทุกรายแม้บางรายอยู่ติดรั้วโรงไฟฟ้า ก่อนการก่อสร้างบริษัทไก่ไข่ไม่ส่งแม่ไก่ให้เกษตรกร เพราะกลัวผลผลิตจากไก่ลดลงทั้งบริษัทและเกษตรกรจะขาดทุน คนงานบริษัท เที่ยวมาเก็บผัก หาปลา เก็บผลไม้ ตามบ้านชาวบ้าน ทั้ง ๆ ที่บริษัทขึ้นป้ายห้ามคนงาน แต่ผู้บริหารบริษัทไม่เคยมาดูแล
 
ช่วงเริ่มต้นมาปรับดินใหม่ ๆ รถขุด,ขน บดอัด ดิน เสียงดังตั้งแต่ตี 4 ถึง 4 ทุ่มคนแก่ เด็กอ่อน คนป่วย คนที่มีโรคประจำตัว ไม่ได้พักผ่อน ทั้ง ๆ ที่ชุมชนนี้อยู่อย่างสงบมาก่อน กลางคืน มีแต่เสียงกบเขียด ยุง จิ้งจก ตุ๊กแก รายละเอียดเหล่านี้ไม่เคยมีผู้ชำนาญการ สผ.คนไหนคำนึงถึง พวกเขาท่องคาถาว่า “ตัวเลขไม่เกินมาตรฐาน”
 
โรงไฟฟ้าสูบน้ำออกมาใส่ลำรางสาธารณะ โดยไม่บอกชาวบ้าน และไม่รู้ว่าบ่อน้ำธรรมชาติในที่ตัวเองเป็นน้ำกร่อย น้ำไหลไปเข้านาชาวบ้าน ต้นข้าวตาย เสียหายไปแล้ว ชาวบ้านจะไปเรียกร้องกับใคร ชาวบ้านยังไม่ทันเก็บหลักฐาน ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว คณะนักวิชาการที่ให้ใบอนุญาตอีไอเอ ไปทำลายสิ่งแวดล้อมชุมชนหนองแซงหายไปไหนหมด ชาวบ้านเดือดร้อน ไปร้องศาลปากครองให้เปิดไต่สวนฉุกเฉิน ศาลถามว่ามีคนตายไหม
 
ชาวบ้านไล่จับได้ว่าในที่ดินของโรงไฟฟ้าฝั่ง อ.ภาชี เกือบ 300 ไร่ที่จะทำบ่อเก็บกักน้ำ มีคลองร่องหนู และคันคลองที่เป็นทางเดินที่ชาวบ้านใช้ร่วมกันมาหลายสิบปี บริษัทลงมาทำงานล้อมรั้ว สร้างคันดิน ขุดร่องใหม่เพื่อทำบ่อเก็บน้ำของตัวเอง ทำรั้วกั้นคลอง และทางเดินบนคันคลอง ชาวบ้านเดินไม่ได้ ได้แต่ยืนดูคลองอยู่นอกรั้ว
 
อบต.ผู้ดูแลสาธารณะสมบัติในตำบล ก็บอกว่าไม่กล้า กลัวบุกรุกที่เอกชน ชลประทานในพื้นที่ก็บอกว่าน้ำยังไหลได้ ชาวบ้านทำจดหมายบอก อบต.ให้เปิดทางเดิน 1 เมตรคันคูน้ำที่เคยเดินไปเก็บผัก หาปลา ดูน้ำ ยื่นจดหมายไปนานกว่า 2 เดือน ไม่มีทีท่าว่าจะมีการเปิดทั้ง ๆ ที่คณะข้าราชการผู้ร่วมกันให้ใบอนุญาต ทั้งกรมโรงงาน , สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, กรรมการกำกับกิจการพลังงาน , ปลัดอำเภอ, ปลัดอบต. มาดูเห็นจัง ๆ ต่อหน้า เมื่อ 8 เมษายนนี้เอง ก็ไม่สามารถสั่งให้บริษัทเปิดรั้วได้ ต้องกลับไปเปิดกฎหมายว่าตัวเองมีอำนาจหรือเปล่า ที่สาธารณะ คลองสาธารณะที่ชุมชนใช้ร่วมกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยแบ่งน้ำกันทำนามากว่า 50 ปี ถูกปิดกั้นคันคองมา 2 เดือน หน่วยราชการก็เตรียมอนุญาตให้บริษัทย้ายคลองร่องหนูของชาวบ้านได้ ชาวบ้านไปถามก็เกลี้ยกล่อมชาวบ้านให้ยอมให้บริษัทย้ายคลองได้ แต่ตัวเองเห็นคนทำผิดคาตา ที่มาล้อมรั้วปิดทางสาธารณะกลับไม่ทำอะไร ได้แต่ดูเฉย ๆ บอกว่า ผมมีลูกเมียต้องเลี้ยงดู
 
ที่ดินของโรงไฟฟ้าทั้ง 600 ไร่ เป็นที่ลุ่มแอ่งกระทะ เก็บน้ำทำนาได้ดี พอบริษัทถมสูงเตรียมก่อสร้าง ต่อไปหน้าฝนชุก น้ำไม่มีทางไปก็จะเอ่อท่วมชาวบ้านทั้งที่นาและบ้านเรือนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าทั้งหมด ไม่มีนักวิชาการคนไหนในกรุงเทพเชื่อชาวบ้าน เพราะในอีไอเอ ไม่มีการพูดเรื่องนี้ และผ่านการอนุมัติมาแล้ว ในอีไอเอ เขียนแต่มาตรการป้องกันโรงไฟฟ้าไม่ให้น้ำท่วมแต่ไม่มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ ที่ดินของโรงไฟฟ้า
 
 
ชาวบ้านพากันเขียนจดหมายร้องเรียนกว่า 50 ฉบับ สารพัดเรื่องเดือดร้อนจากการเริ่มปรับที่ดิน เช่น เรื่องเสียงดัง, ชายหนุ่มที่เป็นญาติสนิทกับ อบต.ใช้อำนาจเถื่อนสร้างร้านค้าบนคันคลองระพีพัฒน์เพื่อให้คนงานบริษัทเช่า ทั้งที่ชาวบ้านยังรู้ว่าระเบียบชลประทานห้าม อบต.ผู้ดูแลเอาป้ายให้รื้อไปติด ญาติ อบต. คนนั้นกลับก่อสร้างเพิ่มเติมเข้าไปอีก เย้ยกันสุด ๆ
 
อุตสาหกรรมจังหวัดเปิดประชุมรับฟังการร้องเรียนจากชาวบ้าน 2 ครั้ง แต่ไม่มีบันทึกการประชุม ผู้ร้องเรียนทวงบันทึกการประชุมมาระยะเวลาล่วงเลยเกิน 1 เดือนยังไม่ได้รายงานครั้งแรก การประชุมหลังสุด เมื่อ 1 เมษายน มีตัวแทนทุกหน่วยงาน มาประชุมครบ จากส่วนกลาง คือ กรรมการกำกับกิจการพลังงานผู้ออกใบอนุญาต , กรมโรงงาน, สผ. ผู้อนุมัติ อีไอเอ, จากส่วนจังหวัดคือ อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี, ทรัพยากรจังหวัดสระบุรี, พลังงานเขตสระบุรี, ปลัดอำเภอหนองแซง, ปลัดอบต.หนองกบ เจ้าของพื้นที่และ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมสระบุรี แต่ตัวแทนบริษัทเจ้าของโรงไฟฟ้าไม่มา เพราะต้องการให้ไปประชุมกันที่โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ในอาณาจักรของบริษัทชาวบ้านไม่ยอมไปเพราะกลัวถูกถ่ายรูปไปลงวารสารของโรงไฟฟ้า
 
วันที่เขียนบทความนี้ รายงานการประชุมที่อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรีเมื่อ 1 มีนาคม 2554 ยังไม่คลอด เพราะอุตสาหกรรมจังหวัดบอกว่าไม่ใช่การประชุมอย่างเป็นทางการ แล้วเนื้อหาการร้องเรียนทั้งหมด ท่านข้าราชการเอาไปโยนไว้ที่ไหน หรือเป็นเพราะยังไม่มีคนตาย ชาวบ้านร้องเรียนอย่างเปิดเผย ชอบที่ข้าราชการจะรีบสนองทำให้การตรวจสอบผลกระทบจากอุตสาหกรรมเข้มงวดขึ้น ช่วยกันทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ของการตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม-ชุมชน แต่ทำไมรัฐราชการในภูมิภาคยังคงสับชาวบ้านดังผักปลาโยนลงหม้อแกงกินเล่นอย่างเอร็ดอร่อย
 
การเปลี่ยนพื้นที่ทำนาชั้นดีที่รัชกาลที่ 5 สร้างคลองระพีพัฒน์ไว้ให้ปลูกข้าวสองครั้ง มาเป็นโรงไฟฟ้า1600 เมกะวัตต์ โดยไม่สนใจว่าพื้นที่นี้มีร่างผังเมืองอนุรักษ์ชนบทเกษตกรรมที่อยู่ในขั้นสุดท้ายจะประกาศ มันสมควรแล้วหรือ ?
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ธาริต’ ลั่นเตรียมออกหมายเรียก 19 แกนนำคดีหมิ่นสถาบัน พร้อมจัดการ 21 วิทยุชุมชน

Posted: 20 May 2011 11:28 AM PDT

 
วันนี้ 20 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงภายหลังการประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐและล่วงละเมิดสถาบันว่าที่ประชุมได้พิจารณา 2 เรื่องสำคัญคือกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ประสานให้ดีเอสไอตรวจสอบวิทยุชุมชน 6 แห่ง ที่นำคำปราศรัยที่เข้าข่ายล่วงละเมิดสถาบันของนายจตุพร  พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. และพวก เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ไปเผยแพร่ซ้ำ จากการตรวจสอบข้อมูลของตำรวจและทหารพบว่ามีวิทยุชุมชนที่กระทำผิดในลักษณะเดียวกันถึง 21 แห่ง ดีเอสไอ พิจารณารายละเอียดแล้วเห็นว่า คดีมีมูลจึงรับมาดำเนินการ โดยจะแยกสำนวนการสอบสวนจากคดีของนายจตุพรและพวก เพราะไม่อยากให้แต่ละคดีต้องรอกัน อีกทั้งลักษณะการกระทำความผิดมีความแตกต่างกัน เพราะเป็นการนำเทปคำปราศรัยไปเผยแพร่ซ้ำหลายครั้ง รวมถึงสถานที่ที่กระทำความผิดแตกต่างกันหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอ ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อวิทยุชุมชนดังกล่าว เพราะเกรงว่าจะมีกระทบกับการออกหมายจับ.
 
นายธาริต ยังกล่าวถึงการดำเนินคดีกับนายจตุพรและพวก ในคดีความผิดที่กระทบความมั่นคงแห่งรัฐ จากการพิจารณาคดีพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดเมื่อปี 53 กระทั่งถึงวันที่ 10 เม.ย.โดยพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวมีการทำงานในลักษณะเป็นเครือข่าย มีการแบ่งหน้าที่เป็นตัวการร่วมและผู้สนับสนุน มีการทำแผ่นพับ ทำเว็บไซต์ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นฐานความผิดในคดีหมิ่นสถาบันฯ มีลักษณะเป็นความผิดคู่ขนานกับความผิดฐานก่อการร้าย ซึ่งเกี่ยวพันกับบุคคลกลุ่มเดียวกัน และกลุ่มคนดังกล่าวตรงกับแผนผังที่หน่วยงานความมั่นคงได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา นายจตุพร ไม่ได้กระทำเพียงคนเดียว แต่มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน
 
นายธาริต กล่าวต่อว่า จากพฤติการณ์ดังกล่าวพนักงานสอบสวนเห็นว่าเพียงพอต่อการแจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 19 คน จากเดิม 18 คน ได้เพิ่มนายพายัพ ปั้นเกตุ อีกหนึ่งคน ซึ่งรายชื่อของกลุ่มคนดังกล่าวอยู่ในแผนผังของหน่วยงานของความมั่นคงที่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษขอให้ดีเอสไอดำเนินคดี  ทุกครั้งเมื่อมีการขึ้นปราศรัยบนเวทีจะมีการพูดปราศรัยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน และรอให้มีการชุมนุม ดังนั้น ดีเอสไอ จะดูทั้งองคาพยพ ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ ดีเอสไอจะออกหมายเรียกทั้ง 19 คนให้มารับทราบข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ ส่วนนายจตุพรและนายนิสิต พนักงานสอบสวนจะไปแจ้งข้อกล่าวหาในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  จากนั้นในวันที่ 2 มิ.ย. เวลา 09.00 น. ดีเอสไอ ได้นัดผู้ต้องหาทั้ง 19 คนให้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาพร้อมกันทั้งหมด  และจะส่งตัวไปยังศาลอาญาเพื่อขออำนาจศาลฝากขังทันที  ส่วนศาลจะให้ประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล และหากผู้ต้องหาไม่ตามหมายเรียก ดีเอสไอจะขออำนาจศาลออกหมายจับต่อไป.
 
 
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=140050
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานรัฐศาสตร์สนทนา (1) : สัญญาทางสังคมใหม่ ทางออกของวิกฤต ?

Posted: 20 May 2011 10:59 AM PDT

 
ภาพโดย: ข่าน_สิงห์สะพายกล้อง@สิงห์แดง62
 
19 พ.ค.54 เวลา 18.30 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสนทนาแบบเปิด และการประชุมนโยบายโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 “สัญญาทางสังคมใหม่: ทางออกของวิกฤติการเปลี่ยนแปลง” (First International Conference on International Relations, Human Rights and Development) ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) โดยมีผู้ร่วมสนทนา ได้แก่ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ศ.ดร.ดันแคน แมคคาร์โก ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร รศ.และดร.เกษียร เตชะพีระ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
 

เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงที่จะเปลี่ยนวิธีคิดแบบเก่า ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาคล้ายๆ กับมีอะไรเกิดขึ้นมากมาย มีการสะสมการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณและทางคุณภาพ พอสะสมมาจุดหนึ่งมันก็เกิดการระเบิดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โต โดยเกษียรเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการ ได้แก่1.มีการเปลี่ยนย้ายที่ตั้งของอำนาจ (Power shift) 2.มีการขยับเปลี่ยนจากการเมืองของชนชั้นนำ (Elite politics) สู่การเมืองภาคมวลชน (Mass politics) 3.มีนโยบายกระจายความมั่งคั่งเกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้คือทิศทางทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น การเปลี่ยนทางปริมาณเราค่อนข้างเห็นได้ชัด มันเป็นเรื่องวิธีการต่อสู้ทางการเมืองโดยมีมวลชนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก อีกทั้งในกระบวนการต่อสู้นั้นมีการใช้รัฐธรรมนูญ และมีความพยายามใช้อำนาจของสถาบันที่นอกเหนือจากการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ โดย 1.อีลิตที่ต้องการจะรักษาระเบียบเก่าพึ่งอีลิตด้วยกันไม่ได้ ต้องพึ่งมวลชน 2.เพื่อรักษาระเบียบเก่าต้องมีการรัฐประหาร ตลอดจนการรักษาระเบียบใหม่ 3.ทั้งสองฝ่ายพยายามดึงสถาบันมาใช้เพื่อความชอบธรรมทางการเมืองของฝ่ายตน

เกษียรเสนอว่าสิ่งที่สังคมไทยต้องการตอนนี้คือ 1.รัฐธรรมนูญวัฒนธรรมฉบับใหม่ ฉบับเก่านั้นเป็นการเมืองของอีลีต ซึ่งไม่เคยเตรียมพร้อมกับการที่มวลชนจะกระโดดเข้ามาเล่นการเมืองภาพใหญ่ ดังนั้นต้องมีการทำให้การเมืองภาคมวลชนมีความศิวิไลซ์ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถออกจากกับดักได้

“ข้อคิดสำหรับรัฐธรรมนูญวัฒนธรรมฉบับใหม่คือ เราต้องยอมรับกระบวนการโลกาภิวัฒน์ของความขัดแย้ง(Globalization of conflict) ให้ได้ คนไทยมีแต่รักใคร่กลมเกลียว รักกันนะ เราต้องทำให้การทะเลาะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถกเถียงพูดคุยกันได้แต่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง สิวเป็นเรื่องธรรมชาติ conflictก็เป็นเรื่องธรรมชาติ!” 

2.ลดเป้าหมายการเมืองสุดโต่ง การตกอยู่ภายใต้เป้าหมายการเมืองสุดโต่งแล้วปฏิเสธเป้าหมายอื่นทั้งหมดเป็นเรื่องที่น่ากลัว 3.ต้องมีจริยธรรม การโกหก การใส่ร้ายป้ายสี การกล่าวหา การด่าทอ ฯลฯ ไม่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ดีได้ ถามว่า ผ่านไป 4-5 ปี คนไทยรู้รักสามัคคีขึ้นไหม สถาบันมั่นคงขึ้นไหม เราต้องคิดว่าวิธีการนั้นสำคัญกว่าเป้าหมาย 4.ต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากเราไม่เข้าใจคนที่มีความคิดเห็นที่ต่าง เราก็จะไม่สามารถทำให้มวลชนมีความศิวิไลซ์ได้ และไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้

ผาสุก พงษ์ไพจิตร กล่าวกระบวนการที่จะทำให้เกิดการตกลงกันให้มีสัญญาสังคมอันใหม่ โดยพูดถึง actor สำคัญที่ปรับตัวไม่ทัน เพราะวิกฤติของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ได้มีกระบวนการพลิกผันตัวเองอย่างหน้ามือเป็นหลังมือภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วอายุคน หรือ 30 ปี เป็นภาวะที่เราคาดการณ์ได้ว่าเป็นภาวะที่ยุ่งยากมาก รวดเร็วมากกระทั่งกลับตัวไม่ทัน 

“ในการเปลี่ยนแปลงแบบม้วนตัวเองนี้ สถาบันต่างๆ ที่มีอายุยืนยาวมามากกว่า 100-200 ปี และได้รุ่งเรืองขึ้นมาหลังสงครามเย็นนี้เองจนกลายเป็นสถาบันที่แน่นหนามากและอาจจะทำให้กลายเป็นสถาบันที่ปิดกั้นการตกลงใหม่ที่ไม่มีความรุนแรง ดิฉันพูดถึงกองทัพไทย” ผาสุกกล่าว

นอกจากนั้นยังมีอีกสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่การตกลงกันใหม่ คือ สถาบันตุลาการในระยะเวลาที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากแต่ไม่เป็นไปในทิศทางที่ดี สถาบันตุลาการยังเป็นสถาบันที่กุมอำนาจ มีความชอบธรรมที่จะใช้ความรุนแรงได้ สถาบันนี้ดูเหมือนไม่มีหลักที่ประชาชนเชื่อถือได้ และมีหลักการที่จะปกป้องผลประโยชน์ของมวลชน ถ้าเราไม่มีระบบสถาบันตุลาการที่ให้ความคุ้มครองประชาชน แล้วเราจะมาตกลงอะไรกันได้

วิกฤติการเมืองไทยขณะนี้มีความยุ่งยากมาก เพราะว่ามีปฏิกิริยาของ 2 ฝ่ายซึ่งกำลังงัดข้อกันอยู่ มีความจำเป็นที่ 2 ฝ่ายนี้จะต้องมีการเจรจากัน เพื่อหากรอบข้อตกลงร่วมกัน ฝ่ายหนึ่งคือ ฝ่ายที่ต้องการรักษาระเบียบเก่า หรือหากเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ขอให้เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ กับอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงโดยทันที มาถึงจุดที่จะต้องข้ามพ้นสะพานนี้ คลองนี้ให้ได้ รออีกไม่ได้แล้ว ความยุ่งยากที่เกิดขึ้น เพราะว่าปฏิกิริยาของพวกที่ต้องการระเบียบเก่า สามารถที่จะอ้างอิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีอำนาจด้านกายภาพจากฝ่ายกองทัพบวกกับแรงสนับสนุนของสังคมและชนชั้นกลางบางส่วน ยุทธศาสตร์หนึ่งของฝ่ายนี้คือ คือ ทำให้ฝ่ายที่จะสร้างระเบียบใหม่ ดูประหนึ่งว่าไร้ความชอบธรรม เช่น มีวาทกรรมไร้การศึกษา ถูกซื้อได้ง่าย คิดเองไม่เป็น

อย่างไรก็ตาม มีงานเชิงประจักษ์หลายชิ้นของหลายท่าน ชี้ให้เห็นว่าประชาชนต่างจังหวัดมีความตื่นรู้ทางการเมืองอย่างเป็นระบบ สามารถคิดเองได้ ทำเองได้ และหาทางเข้าสู่ข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้ มีนักวิชาการญี่ปุ่นท่านหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์และการเมืองในเมืองไทย ได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า 

“ความยุ่งเหยิงทางการเมืองในปัจจุบันเป็นขั้นตอนหนึ่งของพัฒนาการประชาธิปไตยของสังคมไทย ประเทศไทยกำลังประสบกับความเจ็บปวดของการเกิดใหม่ เมื่อระบบการเมืองไทยพร้อมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า แต่การที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าก็ต้องมีการยอมรับว่าคนไทยได้เปลี่ยนไปแล้วจากทั้งสองฝั่ง และทั้งสองฝั่งที่ขัดแย้งกันต้องพร้อมที่จะเสวนากัน มาพูดคุยกัน และการพูดคุยกันนั้นอาจจะต้องมีการแลกหมูแลกแมว” แปลได้ว่าจะต้องมีการสูญเสียของทั้งสองกลุ่มด้วย ต้องมีการแลกหมูแลกแมว ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลา 

“ดิฉันในฐานะประชาชนอยากจะแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันหนึ่ง ซึ่งดิฉันมีความคิดเห็นว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้กระบวนการเจรจาเป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์มากขึ้นหรือมีการพูดจาถกเถียงกันมากขึ้นหากสถาบันนี้มีการปรับเปลี่ยน นั่นคือ สถาบันกองทัพไทย” ผาสุกกล่าวและให้เหตุผลว่า นับจากการรัฐประหาร พ.ศ.2549 กองทัพไทยได้ขยายได้บทบาทในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่กล่าวขานกันว่า “หากรัฐบาลใดที่ได้รับการเลือกตั้งแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารก็จะอยู่ไม่ได้” แต่ก็ยังไม่ได้มีการตั้งคำถามว่าหากทหารมีบทบาทนั้นดีหรือไม่ดี? และแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร? 

สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมว่าสถาบันทหารมีการขยายบทบาทสูงมากนั่นคือ 1.งบประมาณกระทรวงกลาโหมได้เพิ่มขึ้นในปี 2550 -2552 ถ้าเราเปรียบเทียบงบประมาณระหว่างประเทศ พบว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา 4.3% ของจีดีพี ของไทยเรา 1.8% ของจีดีพี เกือบครึ่งหนึ่งของสหรัฐ มากกว่าเยอรมนีที่เป็นพี่ใหญ่ของ EU ที่ใช้ 1.3% ของจีดีพี อินโดนีเซีย 1%ของจีดีพี ญี่ปุ่น 0.9% ของจีดีพี จีน 2% ของจีดีพี และถ้าหากดูสัดส่วนทหารต่อประชาชน สหรัฐ 79 คน ต่อ ประชาชน 1,000 คน ญี่ปุ่น 2.2 คน ต่อ ประชาชน 1,000 คน ของเรา 10 ต่อ 1,000 คน อันนี้รวมทหารนอกประจำการด้วย

2.มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลัง 2549 คือการแต่งตั้งโยกย้าย ก่อนรัฐประหารนั้นโผทหารจะถูกพิจารณาโดยนายกฯก่อนเสนอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นับจากปี 2551 มีการแก้ไขทำให้โผทหารประจำปีอยู่ในกำกับของกองทัพแทบจะสิ้นเชิง โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในการตั้ง ผบ.ทบ. รวมทั้งผู้บัญชาการเหล่าทับด้วย คณะกรรมการเหล่านี้มีใครบ้าง แน่นอนคือรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ฯลฯ 

3.บทบาทของผู้นำฝ่ายทหารของไทยมีหลายบทบาท มีหมวกหลายใบ มีการตั้งข้อสังเกตว่าภายใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการออกมาแสดงความคิดเห็นของฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ต่อสื่อบ่อยมาก เช่น ผบ.ทบ.เสนอว่ารัฐบาลควรมีนโยบายต่างประเทศกับกัมพูชาอย่างไร ทั้งยังมีการออกมาพูดทำนองว่าออกมาเลือกตั้งมากๆเพื่อปกป้องพระมหากษัตริย์ จริงๆแล้วเป็นผลดีที่ชักชวนคนออกมาเลือกตั้ง มีการออกคำสั่งให้มีการปิดเว็บไซต์มากขึ้น เว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งนิยามของคำว่า “ความมั่นคง” อาจจะไม่ใช่นิยามที่คนทั่วไปต้องการ

ผาสุก ให้ข้อมูลด้วยว่า เมื่อสามวันที่ผ่านมา (16 พ.ค.) บางกอกโพสต์รายงานว่า ผบ.ทบ.ในฐานะผู้อำนายการ กอ.รมน.ได้เสนอให้ กอ.รมน.มีลักษณะเป็นกระทรวงซึ่งดูแลความมั่นคงภายในเหมือนกับกระทรวงของอเมริกาที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งกำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักว่ามีการใช้งบประมาณเป็นอันมาก มีการใช้อำนาจมืดในการปิดเว็บไซต์ ในการแสวงหาข้อมูลจนเกินเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรักษาความมั่นคงภายในของอเมริกา เพื่อต่อต้านขบวนการก่อการร้าย และยังมีการใช้อำนาจจับกุมผู้ต้องสงสัยและทำทารุณกรรมกับชาวต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่คาดหวังว่าจะเป็นผลงานของประเทศที่ชื่อว่าเสรีนิยมที่มีการพูดคุยถึงสิทธิมนุษยชนมากอย่างอเมริกา 

ในรายงานฉบับนั้นยังเล่าว่า ผบ.ทบ.ต้องการขยายขอบขายงานของ กอ.รมน.เพื่อจัดการกับการที่ประเทศไทยถูกคุกคาม และกฎกระทรวงใหม่นี้จะดูแลปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหาภาคใต้ และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังต้องการให้จัดตั้งงบประมาณใหม่สำหรับกระทรวงนี้ด้วย

ในรายงานนี้ได้บอกอีกว่า ผบ.ทบ.ได้เสนอความคิดนี้ต่อนายกฯ อภิสิทธิ์แล้ว ซึ่งนายกฯก็เห็นด้วย ผบ.ทบ.จึงสั่งการให้มีคณะกรรมการเพื่อศึกษาวางแผนที่จะเสนอการตั้งกรมใหม่นี้ให้แก่รัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน กอ.รมน.กำลังถูกวิจารณ์ว่ากำลังส่งอิทธิพลต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ ด้วยการส่งทหารไปทำการพัฒนาเพื่อประชาชนทั่วประเทศ แต่ กอ.รมน.ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ

“สถาบันกองทัพไทยเป็นองค์ประกอบสำคัญของฝั่งปฏิกิริยาของผู้ที่ต้องการรักษาระเบียบเก่า และเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของความยุ่งยากในทางการเมือง เคยมีการพูดถึงการปฏิรูปสถาบันทหารให้มีขนาดกะทัดรัดแต่มีประสิทธิภาพ ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงสิ่งเหล่านี้แล้ว กลายเป็นว่ากองทัพกำลังเพิ่มบทบาทโดยเฉพาะจากการรัฐประหาร 2549 ถึงเวลาแล้วหรือยังว่าจะต้องมีการพูดคุยกันว่าการขยายตัวของกองทัพเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี? มีผลกระทบอย่างไร? และแนวโน้มเป็นอย่างไร? ถ้าเราต้องการหาทางออกให้กับประเทศ เราจะต้องเสวนาพูดคุยกันในเรื่องนี้” ผาสุก กล่าวปิดท้ายการเสวนาในช่วงแรก

ดันแคน แมคคาร์โก กล่าวถึงวิกฤติของแหล่งที่มาของความชอบธรรมทางการเมืองว่ามีอยู่ 3 แหล่งด้วยกัน คือ 1.ความชอบธรรมจากกติกาใหญ่สุดของสังคมคือรัฐธรรมนูญ มีความเชื่อกันว่าหากมีกฎเกณฑ์สังคมดีพร้อมก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ง่าย 2.ความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง ภายหลังปี ค.ศ.2000 เมื่อเกิดระบอบทักษิณ ก็มีแหล่งความชอบธรรมอีกแหล่งเกิดขึ้นนั่นคือ ความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง เป็นความท้าทายต่อความชอบธรรมจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากผู้ใดได้รับการเลือกตั้งมาก็จะมีความชอบธรรม แม้จะคอรัปชั่นก็ตาม และ 3.ค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยคือ ความชอบธรรมจากนักปกครองที่ดี นั่นคือ พระมหากษัตริย์ ถือเป็นความนิยมอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ 

ดันแคน คิดว่า ประเทศไทยยากที่จะมีเสถียรภาพทางการเมือง เพราะรัฐไม่มีฐานอะไรที่เป็นที่ยอมรับ การปกครองโดยคนดีมีคนท้าทายเยอะ อย่างที่ อ.ผาสุก บอก แนวคิดเรื่องความชอบธรรมจากผู้ปกครองที่ดีนั้นเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ คนในกรุงเทพฯ จะเชื่อเรื่องความดีของผู้นำมากกว่าคนในต่างจังหวัด แนวคิดความชอบธรรมที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นแนวคิดที่มาจากกลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณและเพื่อไทย เป็นแนวคิดที่สนับสนุนความชอบธรรมที่ต่างกัน เลยเกิดความไม่ไว้วางใจในการเลือกตั้ง ทักษิณไม่ไว้ใจคนอื่นให้มาเป็นหัวหน้าพรรคเลยให้น้องสาว คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นผู้นำในพรรคเพื่อไทยแทน 

เมืองไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างและเชิงโครงสร้างในปี ค.ศ. 2010 คนเสื้อแดงเกิดขึ้นจำนวนมาก คนที่มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางระดับล่าง การศึกษาไม่สูงมาก ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน แทบไม่มีข้าราชการหรือมีน้อย อ.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เคยกล่าวไว้ว่ามีการแตกแยกกันระหว่างเขตเมืองกับต่างจังหวัด แต่เขาคิดว่าไม่ถึงขั้นนั้น เพราะฝ่ายที่อยู่ในเมืองก็เป็นคนต่างจังหวัดมากเหมือนกัน 

เวลานี้คนต่างจังหวัดเริ่มมีความกว้างขวางของแนวคิดเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านได้เข้ามาอยู่ในระบบตลาดแล้ว ทักษิณนั้นให้อะไรกับเขาหลายอย่างทำให้เขาเคารพ และสนใจในอำนาจเก่าน้อยลง ทำให้เขารู้สึกมีเกียรติ ไม่รู้สึกถูกกดขี่ เหยียดหยาม สิ่งที่เกิดขึ้นในปีก่อนบ่งบอกว่าประเทศไทยเปลี่ยนแปลงมาก มีการถกเถียงกันในหมู่เสื้อแดงเรื่องอำมาตย์กับไพร่ มีการวิเคราะห์กันอย่างละเอียดถึงความต้องการของผู้ชุมนุม คือ ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของนายทุนแต่ไม่ต้องการล้มระบบ 

เสื้อแดงมีเสียงสนับสนุนมากในภาคเหนือและอีสาน เขาได้ไปทำงานที่สามจังหวัดภาคใต้ วิกฤติการณ์ด้านความชอบธรรมของคนทางใต้นั้นเขามีความรู้สึกว่าถูกล่าเมืองขึ้นจากส่วนกลาง ไทยเสียพื้นที่ให้ต่างชาติหลายครั้งทำให้คนไทยส่วนกลางเกิดความไม่มั่นใจขึ้นขึ้นมา ตัวคนที่อยู่ในพื้นที่ทางใต้เองก็คิดว่าเรามาอยู่ผิดที่หรือเปล่า 

ความขัดแย้งที่มีสีเสื้อมาแบ่งนี้ไม่ดีเลย เพราะเป็นความขัดแย้งเชิงภูมิภาคไม่ใช่เชิงอุดมการณ์เพียงอย่างเดียว อีสานมีอัตลักษณ์ของเขา มีความภูมิใจมานาน ในช่วง ค.ศ.1950 มีความรู้สึกแปลกแยกออกจากรัฐไทย มีการก่อการคอมมิวนิสต์ มีการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปกครองของรัฐบาลกลาง สืบเนื่องมาจากรัฐบาลกลาง ได้เข้าไปล่าเมืองขึ้นที่อีสาน นี่คือ สิ่งที่อธิบายว่าทำไมทักษิณถึงดัง เพราะเขาไม่ได้เข้าไปเหมือนล่าเมืองขึ้นเขา เหมือนเชียงใหม่ที่มีประวัติความเป็นเอกเทศในระดับหนึ่ง ไม่รู้ว่านานแค่ไหนที่จะยอมรัฐบาลกลาง ในวงกว้างไม่ได้มีหลักฐานอะไรที่เป็นระบบ 

“ลักษณะการล่าเมืองขึ้นจากส่วนกลางจนถึงเวลานี้ก็ไม่เปลี่ยน แค่มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่เฉยๆ ไม่ได้มีการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง ผมรู้สึกอย่างนั้น”

“ผมมาจากทางอังกฤษตอนเหนือที่มีเรื่องราวลักษณะนี้เหมือนกัน มีอะไรก็พูดกันอย่างตรงไปตรงมา ขวานผ่าซาก ผมมีความเชื่อว่าสำหรับประเทศไทย จะต้องมีการปรับเปลี่ยนซะใหม่ เพื่อที่ประเทศไทยจะได้รับความชอบธรรมอย่างแท้จริง ภาคใต้ต้องมีการปกครองที่เป็นเอกเทศสักหน่อย เพราะบ้านผมอยู่ก็มีปัญหาอยู่เหมือนกัน ฉะนั้นผมอยากจะบอกว่าหากคุณอยากจะมีรัฐเดี่ยวในศตวรรษที่ 21 ควรที่จะให้มีการขยายคำจำกัดความของรัฐเดี่ยวให้ยืดหยุ่นมากกว่านี้ ความตึงเครียดก็จะลดลง โดยใช้แนวนโยบายที่ผ่อนคลาย และก็ควรจะทำอย่างเร่งด่วนด้วย” ดันแคนกล่าว

 
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันครบรอบหนึ่งปีที่รัฐบาลใช้กำลังปราบ มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บ เกิดความรุนแรงอีกครั้งหนึ่งในถนนที่กรุงเทพฯ และช่วงนี้ครอบรอบ 19 ปี พ.ค.2535 ด้วย สิ่งที่น่าสนใจคือว่าญาติเหยื่อของ พ.ค.2535 มาตามหาญาติที่หายไป บัดนี้ยังไม่เจอ 19 ปีแล้ว 

“ผมเชื่อว่าผู้ที่นั่งฟังอยู่ตรงนี้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการเมืองการปกครองไทยทั้งนั้น แต่ถ้าจะให้ผมสอนการเมืองไทย ผมสอนไม่ได้ไม่อาจเอื้อมไม่กล้าสอน ผมไม่เข้าใจ มันยุ่งเหยิง ให้สอนการเมืองอังกฤษเสียจะดีกว่า” ชัยวัฒน์ เกริ่นนำเนื้อหา 

ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การคิดถึงสัญญาประชาคมใหม่ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบันเป็นการหวนกลับไปพิจารณาว่าอะไรคือฐานของทฤษฎีสัญญาประชาคมในปรัชญาการเมืองยุคใหม่ พื้นฐานของสัญญาประชาคมก็คือ ความไว้วางใจ และเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นทฤษฎีสัญญาประชาคมในศตวรรษที่ 17 ความไว้วางใจนั้นยังมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล และเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตยที่ทำงานได้ แต่ในสังคมไทยได้เกิดความรุนแรงในระยะเวลาที่ผ่านมา จำเป็นที่จะต้องรื้อฟื้นความไว้วางใจขึ้นมาอย่างยิ่ง คำถามสำคัญที่ต้องถามคือว่า เราจะฟื้นความไว้วางใจได้อย่างไรหลังจากที่มันได้แตกไปแล้ว

 

ชัยวัฒน์ กล่าวต่อมาถึงข้อถกเถียง 6 ข้อ คือ1.เมื่อย้อนกลับไปดูสัญญาประชาคมหรือกำเนิดของสังคมการเมือง มักจะอธิบายว่าเกิดจากสิ่งที่เรียกว่าสภาพธรรมชาติที่มนุษย์เห็นคนอื่นเป็นศัตรู ทุกคนพร้อมที่จะแย่งชิงทำร้ายกันทุกอย่าง แต่แล้ววันหนึ่งมนุษย์ในสภาพธรรมชาติตัดสินใจว่าอยู่แบบนี้ไม่ได้ เกิดการตกลงทำสัญญาประชาคมพร้อมกัน วางอาวุธพร้อมกัน การที่จะทำแบบนี้ได้ต้องเกิดจากการที่ไว้ใจกัน ในที่สุดเราละวางบางอย่างในสภาพธรรมชาติพร้อมกัน แล้วเดินเข้าสู่สังคมการเมือง เกิดสัญญาประชาคมในทางปรัชญาการเมือง

2.Trust หรือความไว้วางใจเป็นฐานของชีวิตปกติ ไม่ว่ามนุษย์จะเดินทางไปไหน เช่น การซื้อตั๋วรถ เราก็ต้องมีความไว้วางใจว่าเราจะต้องได้เดินทาง รถจะต้องออกตรงเวลา ฯลฯ เรียนหนังสือก็ต้องมี trust ระหว่างอาจารย์กับศิษย์ คนรับทุนกับคนให้ทุน เป็นต้น 3.มีนักวิชาการต่างชาติคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทำให้สังคมประชาธิปไตยทำงานได้ คือ Trust Network หรือ เครือข่ายความไว้วางใจ และเครือข่ายนี้ก่อให้เกิดกลุ่มคนต่างๆ เช่น กลุ่มสมาคมนักเรียนเก่า สมาคมศาสนา สมาคมกีฬา เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าของพวกนี้เป็นฐานสำคัญของสังคม

4.อีกประเด็นหนึ่ง คือ อภัยวิถี มีนักปรัชญาเยอรมันอธิบายไว้วว่าชีวิตมนุษย์มีปัญหาสองด้าน ด้านหนึ่ง คือ ปัญหาของอดีต ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วหวนคืนไม่ได้ ด้านหนึ่ง คือ ปัญหาของอนาคต ทุกอย่างที่จะเกิดล้วนไม่แน่นอน การที่มนุษย์จะอยู่กับอดีตที่หวนคืนมาไม่ได้ต้องอาศัยการให้อภัย แต่สำหรับอนาคตคือ สัญญา ซึ่งสัญญาจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีความไว้วางใจ กล่าวได้ว่า Trust เป็นฐานของชีวิตมนุษย์ในการเดินต่อในอนาคต และ 5.จะทำอย่างไรเมื่อ Trust หักพังไปแล้ว? 

“ในชีวิตครอบครัว หากใครดูดอกส้มสีทอง ภรรยาซึ่งสามีไปมีชู้อาจจะยกโทษให้ได้ แต่ไม่สามารถกลับไปมีความสัมพันธ์แบบเดิมได้ เพราะ trust มันหายไป แล้วจะฟื้นมันอย่างไร? บอกได้เลยว่าโคตรยาก” ชัยวัฒน์ ยกตัวอย่าง

ในทางการเมืองเวลาที่พูดถึงสถาบันตุลาการ ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกร้องเรื่องสองมาตรฐานอยู่เต็มเมือง ความไว้วางใจต่อสถาบันที่ให้ความยุติธรรมนั้นหายไป โอกาสที่จะจัดการกับความขัดแย้ง โอกาสที่จะจัดการกับอดีต จึงเป็นเรื่องที่ยาก ครั้งหนึ่งที่มันเคยทำอะไรได้นับวันจะทำอะไรได้น้อยลง แก้ปัญหาได้น้อยลง คุ้มครองป้องกันสังคมได้น้อยลง 

 

“อริสโตเติลกล่าวว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับสังคมการเมือง คือ มิตรภาพ “Without friends no one would choose to live” หากไม่มีมิตรสหาย ก็ไม่มีผู้ใดเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เพราในมิตรสหายมีความไว้วางใจ และความไว้วางใจนั้นเป็นรากฐานของสัญญาประชาคมใหม่ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการในตอนนี้” ชัยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รำลึก 1 ปีชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงอุบลราชธานี

Posted: 20 May 2011 10:52 AM PDT

"กลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมือง เสื้อแดงอุบลราชธานี" ออกแถลงการณ์ "เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงอุบลราชธานี" จี้คืนผู้ต้องขังเสื้อแดงให้กับครอบครัว

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 54 -  ที่ จ.อุบลราชธานี กลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมือง เสื้อแดงอุบลราชธานีได้ออกแถลงการณ์ "เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงอุบลราชธานี" โดยมีรายละเอียดดังนี้
 

 

- เนื่องในโอกาสครบรอบขวบปีการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงอุบลฯ  ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ซึ่งวันเดียวกันนี้เมื่อปีที่แล้ว การชุมนุมจบลงด้วยเหตุเพลิงไหม้ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับการถูกสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง อย่างเหี้ยมโหดที่กรุงเทพมหานคร

- การชุมนุมของคนเสื้อแดง เป็นการชุมนุมของมวลชนผู้รักประชาธิปไตย มวลชนคนเสื้อแดงกำเนิดจากศรัทธาในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่มาของรัฐบาลที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลของพวกเรา โดยพวกเรา และเพื่อพวกเรา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แต่ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่กลับปฏิเสธสิทธิเสียง และได้ปล้นอำนาจของเราไปด้วยการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของประชาชน อย่างไร้ยางอาย

- ในปีที่ผ่านมาการชุมนุมของคนเสื้อแดง เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย พวกเราไม่ต้องการรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม และเพียงต้องการให้มีการยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ แต่การเรียกร้องซึ่งเป็นเรื่องสามัญในระบอบประชาธิปไตย กลับถูกปิดตาย และท่ามกลางการชุมนุมของมวลมหาประชาชนคนเสื้อแดงที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจกลับทำทุกอย่างที่จะรักษาอำนาจของตนเองไว้ ด้วยการปลุกปั่น สร้างสถานการณ์ จนนำไปสู่การใช้กองกำลังเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตร่วม 93 คน และบาดเจ็บอีกนับพัน เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังเป็นเรื่องติดค้างที่พวกเราจะติดตาม ให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อการเจ็บการตายของประชาชน ถูกนำตัวมาลงโทษให้ถึงที่สุด

- ในกรณีเหตุเพลิงไหม้ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จนเป็นเหตุให้มีการจับกุมคนเสื้อแดงในข้อหาผู้ก่อเหตุ และจนบัดนี้ก็ยังมีผู้ต้องขังอีก 21 คน ที่อยู่ในขั้นการไต่สวนพิจารณาคดี และถูกคุมขังที่เรือนจำจังหวัดอุบลฯ  ในโอกาสครบรอบปีของเหตุการณ์เรามีข้อเรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องดังนี้

- ประการแรก คดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลฯ ต้องถูกพิจารณาในฐานะคดีการเมือง การพิจารณาคดีนี้ไม่อาจมองว่าเป็นเรื่องอาชญากรรมตามปกติ และเรื่องนี้ไม่อาจพิจารณาตัดตอนแยกส่วนจากการชุมนุมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า นั้น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อุบลฯ ก็ไม่อาจพิจารณาโดยตัดตอนแยกส่วนจากเหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ การแสดงออกของมวลชนที่อุบลฯ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งพวกเขาเห็นว่า รัฐได้ใช้อำนาจอย่างไร้ความยุติธรรมและป่าเถื่อน การแสดงออกของพวกเขาจึงเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์เพื่อประท้วงต่อการกระทำ ของรัฐอันเลวร้ายสุดจะทน

- ประการที่สอง คดีการเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง  ที่ต่างฝ่ายต่างใช้อำนาจโต้ตอบไปมาเพื่อเอาชนะกัน เราจึงขอเรียกร้องว่า การพิจารณาคดีต้องไม่มุ่งที่การเอาผิดคนเสื้อแดงแต่ฝ่ายเดียว แต่ต้องมุ่งเอาผิดต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนในการก่อเหตุการณ์ กรณีศาลากลางอุบลฯ ยังมีข้อกังขาว่า ทั้งที่ทางการสามารถประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ แต่เหตุใดเจ้าหน้าที่ของจังหวัดจึงย่อหย่อนอย่างผิดปกติ ต่อการป้องกันการก่อเหตุของผู้ชุมนุม เหตุใดจึงหน่วยที่เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมคือกลุ่มที่ไม่ถูกฝึกมาให้รับมือกับ เหตุการณ์ จนมีการใช้อาวุธปืนกับผู้ชุมนุมโดยไม่จำเป็น จนนำไปสู่การเผาศาลากลางในที่สุด  

- ประการสุดท้าย  ผู้ต้องหาทั้ง 21 คน ต้องได้รับสิทธิการประกันตัว ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรม ผู้รับผิดชอบไม่มีเหตุผลใดอันใดที่จะหน่วงเหนี่ยวคัดค้านการประกันตัว ทั้งนี้มีแนวปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในคดีเดียวกันหรือทำนองเดียวกันจำนวนมากที่ ได้รับการประกันตัวอย่างไม่มีปัญหา และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งรัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้น ก็ได้เสนอความเห็นมาโดยตลอดว่า ควรให้มีการประกันตัวผู้ต้องขังคนเสื้อแดง รวมทั้งนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เห็นด้วยกับแนวทางการให้ประกันตัวโดยเร็วที่สุด

- กระบวนการยุติธรรมของไทย จักต้องคืนความยุติธรรมสู่สังคม คืนผู้ต้องขังเสื้อแดงให้กับครอบครัว

 อย่าลืมว่าพวกเขาถูกขัง อย่าขังพวกเขาจนลืม
กลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมือง เสื้อแดงอุบลราชธานี

 

 

ที่มาข่าวและภาพประกอบ: เฟซบุ็กของธีร์ อันมัย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทกวี: คำถามเดือนพฤษภา

Posted: 20 May 2011 09:54 AM PDT

เวียนบรรจบครบรอบการเข่นฆ่า
ขวบปีผ่านพ้นมายังเงียบหาย
คำถามเดิมคั่งค้างอยู่ในใจ
เข่นฆ่าเราทำไมใครสั่งการ

เพียงเราสามัญชนคนชั้นต่ำ
คนรากหญ้าหากินเช้าค่ำต้องการเห็น
เสรีสิทธิประชาธิปไตยอย่างที่ป็น
สวรรค์รู้ไหม? – คนลำเค็ญเต็มแผ่นดิน

เพียงเราประชาชนคนบ้านนอก
เดินทางมาร้องบอกตามสิทธิเสียง
ยุบสภาเลือกตั้งอย่าโอนเอียง
คืนเสียงประชาชนกำหนดเอง

เพียงเท่านี้ข้อเรียกร้องเพียงเท่านี้
ไม่เคยมีสิ่งอื่นปนเจือไม่
ยุบสภาฟังเถิดได้ยินไหม
แต่ผลลัพธ์ตอบกลับไปคือความตาย

ประเทศนี้เต็มไปด้วยอยุติธรรม
ความเหลื่อมล้ำลุกลามทุกหย่อมหญ้า
สองมาตรฐานเห็นอยู่เต็มสองตา
อำมาตย์ศักดินาเที่ยวเข่นฆ่าคุกคามคน

เหมือนข่มเขาวัวควายให้กินหญ้า
เชื่องๆช้าๆอย่าได้แย้ง
พลไพร่ริอวดมากำแหง
พวกกบฏหัวรุนแรงเผาบ้านเมือง

อันธพาลจึงเรียงหน้าเข้าล่าไล่
ลั่นกระสุนสาดใส่อย่างคลั่งบ้า
ที่ล้มตายนั่นคนใช่ผักปลา
การสังหารหมู่เข่นฆ่าใจกลางเมือง

พฤษภาพฤษภา…
เลือดหลั่งรินน้ำตานองหน้าไหล
ซากศพแน่นิ่งเกลื่อนความตาย
อีกกี่รายถึงจะพอสาแก่ใจ

เวียนบรรจบครบรอบสักกี่รอบ
ถึงจะมีคำตอบการเข่นฆ่า
หรือเลือดเนื้อความตายและน้ำตา
เขาไม่ใช่เกิดมาเป็นคนไทย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ธรรมะขาว-ดำ’ ไม่ควรยุ่งกับเรยาและการเมือง

Posted: 20 May 2011 09:02 AM PDT

เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์มั้งครับ ที่พอละครตอนอวสานจบลงแล้ว มีพระออกมาแสดงธรรมต่อว่า ผู้ชมควรจะได้ ธรรมะ อะไรจากละคร

อาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้กระทรวงวัฒนธรรมออกมาโชว์ผลงานเซ็นเซอร์ ความเลว ของ เรยา แห่ง ดอกส้มสีทอง ทว่าเกิดปรากฎการณ์ที่คาดไม่ถึง คือกระแสเชียร์เรยาพุ่งแรงแซงกระแส สะแกนกรรม  จนเกิดคำถามย้อนศรเช่นว่า ทำไมกระทรวงวัฒนธรรมไม่สั่งเซ็นเซอร์ ฉากรุนแรง เลวร้าย ของ ผู้ชายอย่างเจ้าสัว บ้าง (เช่น ฉากเจ้าสัวสั่งให้ลูกน้องเอาผ้าพันตัวคุณนายสี่แบกไปโยนลงในบ่อน้ำทั้งเป็น ฯลฯ)

จึงเกิดคำถามตามมาว่า กระทรวงวัฒนธรรมมีหน้าที่รักษา สองมาตรฐานทางศีลธรรมระหว่างเพศ ด้วยหรือ?

กระนั้นก็ตาม หลายคนคงนึกไม่ถึงว่า จะได้ฟัง ธรรมะจากเรยา โดย ท่าน ว. วชิรเมธี พระนักคิดนักเขียนชื่อดังแห่งยุค เจ้าของวาทประดิษฐ์ สนุกเฉพาะที่ แต่เสียหายระดับสากล กรณีเด็กโชว์นมเมื่อสงกรานต์สีลมที่ผ่านมา (โปรดรับชมและรับฟัง)

 

 

สังเกตนะครับ แม้ว่าท่านจะพยายามชี้ให้คนดูเข้าใจที่มาที่ไปของพฤติกรรมที่มีปัญหาของเรยา แต่ วรรคทอง อยู่ที่ข้อความที่มีสาระสำคัญ ว่า เพราะมีดำจึงขับเน้นให้เห็นขาวได้ชัดเจน เพราะมีขาวจึงทำให้รู้ดำ นั่นคือเรื่องราวของเรยาถูกใส่เข้าไปในกรอบแคบๆ ของ ธรรมะขาว-ดำ หรือเรื่องดีกับเลว แล้วก็สรุปธรรมะจากละครทำนองว่า เราเรียนรู้จากคนดีเพื่อเอาเยี่ยง และเรียนรู้จากคนชั่วเพื่อไม่เอาอย่าง

ปัญหาของ ธรรมะขาว-ดำ คืออะไร?

1. ทำให้เรามองเห็นแต่ความหมายของถูกกับผิด ดีกับเลว แต่ไม่ได้เห็นความหมายของ ความเป็นคน ที่ซับซ้อนและมีบริบทหลากหลาย หากแต่ความเป็นคนจะมีความหมายก็ต่อเมื่อเขาเป็น คนดี ตาม นิยามแห่งวาทกรรม ธรรมะขาว-ดำเป็นหลัก

2. ความหมายของ คนดี-คนเลวตามนิยามของธรรมะขาว-ดำ ที่เป็นอิทธิพลทางความคิดของพุทธศาสนาเถรวาทคือ คนดีสมบูรณ์แบบ-คนเลวสมบูรณ์แบบเช่น ดีสมบูรณ์แบบอย่างพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า และเลวสมบูรณ์แบบอย่างพระเทวทัต (กระทรวงวัฒนธรรมควรเสนอให้ตัดเรื่องประวัติพระเทวทัตออกจากพระไตรปิฎกด้วยนะครับ เพราะพฤติกรรมของพระเทวทัตเลวและแรงกว่าเรยาเป็นร้อยๆ เท่า)

3. ฉะนั้น คนที่มีความเป็น คนที่สมบูรณ์ ก็คือ คนดีสมบูรณ์แบบ คนเลวไม่มีความเป็นคน หรือมีความเป็นคนที่ บิดเบี้ยว ไป เช่น เป็น มนุษย์ดิรัจฉาน (มนุสฺสติรจฺฉาโน) มนุษย์เปรต (มนุสฺสเปโต) ฯลฯ

4. เมื่อคนเลวไม่มีความเป็นคนตามนิยาม ธรรมะขาว-ดำ สังคมก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อคนเลวอย่างที่ควรปฏิบัติต่อมนุษย์ก็ได้ เช่น ไม่ต้องปฏิบัติต่อเขาบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนเป็นต้นก็ได้ สังเกตไหมครับคนที่กล่าวหาว่า ทักษิณเป็นคนเลว คนเสื้อแดงเป็นคนเลว เรียกร้องให้ทำรัฐประหารและสะใจกับการใช้ สองมาตรฐาน ครั้งแล้วครั้งเล่า กับทักษิณและพรรคการเมืองฝ่ายทักษิณ คือคนที่อ้างว่าตนเป็นคนดีมีคุณธรรม อ้างพุทธศาสนา อ้าง พ่อแม่ครูบาอาจารย์ กันทั้งนั้น

และที่เชียร์ให้ล้อมปราบคนเสื้อแดง (หรือ วางเฉย) ก็มีตั้งแต่ ชาวพุทธที่เคร่งครัด กินมังสวิรัติ ชาวพุทธดาราไฮโซที่ชอบอวดการเข้าวัดทำบุญ การเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม การจาริกแสวงหา แก่นพุทธปรัชญา ชาวพุทธที่ เฝ้าดูจิต ระแวดระวังกิเลส ปล่อยวางความเห็นแก่ตัว หรือตัวกู ของกู ไปจนถึงชาวพุทธที่ซาบซึ้งในรสพระธรรมที่นิยมกด “like” สาธุๆ คมจริงๆ เจ้าค่ะ/ขอรับ ขอแชร์ด้วยคนนะเจ้าค่ะ/ขอรับ (เจริญพร, D จ้าโยม, น่ารักจริงๆ อ่ะ ฯลฯ)

5. ลองนึกย้อนหลังดูนะครับ เริ่มจาก ธรรมะตอนอวสานของเรยา ย้อนไปถึงช่วงเริ่มต้นของความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการสร้างวาทกรรม เราจะสู้เพื่อในหลวง ธรรมนำหน้า จะเห็นภาพชัดเจนว่า ธรรมะขาว-ดาว ถูกนำมาทาบทับ เป็นเกณฑ์ตัดสิน และขับเคลื่อนความขัดแย้งอย่างมีนัยสำคัญ

หนึ่ง มันนำเอาการเมืองซึ่งมีมิติที่ซับซ้อนเข้ามาอยู่ในกรอบแคบๆ ทางศีลธรรมคือ ดี-เลว และเพื่อปกป้องดี ขจัดเลว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณค่าเชิงระบบ และ/หรือหลักการอื่นๆ เช่น หลักเสรีภาพ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ ฯลฯ

สอง โชคร้ายอ่างยิ่งที่ ธรรมะขาว-ดำ มันคลุมเครือมาก เช่น ประชาธิปไตยต้องมีธรรมาธิปไตย ถามว่า ธรรมาธิปไตย คืออะไร? งง! บ้างว่าคือ ความถูกต้อง ตามหลักการประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล (ถ้ามันใช่แบบนี้แล้ว จะใช้ ธรรมาธิปไตย ให้ มึน กันทำไม) บ้างว่าคือ ความถูกต้อง ตามคำสอนพุทธศาสนาอีกต่างหากที่ต้องอยู่เหนือ หรือคอยกำกับชี้นำประชาธิปไตยอีกที (อ้าว! แล้วเราจะปกครองด้วยระบอบอะไรกันล่ะ!)

ฉะนั้น เอาเข้าจริงๆ เมื่อธรรมะขาว-ดำ มายุ่งกับการเมืองมันเลยมั่วมากๆ ไม่รู้จะก้าวไปทางไหน หรือถอยกลับดี ไปๆ มา ก็เลยชวนรบกับเพื่อนบ้านดีกว่า โหวตโนเพื่อ ปฏิรูปการเมือง ดีกว่า!

สาม แล้วถึงที่สุดของ ธรรมะกับการเมือง ก็มาลงเอยที่ สันติวิธี ในความหมายที่ว่าทุกฝ่ายต้องปล่อยวางอคติ ความเกลียดชัง ละตัวกู พวกของกู หันหน้ามาปรองดอง ปฏิรูปประเทศไทย โดยไม่ลงลึกถึงปัญหา ความจริง และ ความยุติธรรม ไม่สนใจอำนาจอันอยุติธรรมในการจัดการความจริงและความยุติธรรม แถมยอมรับ เส้นสนกลใน ในการตั้งรัฐบาลอำมาตย์ว่า มี ความชอบธรรมระดับหนึ่ง

และยอมรับว่า รัฐบาลหลังสลายการชุมนุมปี 53 มี ความชอบธรรมระดับหนึ่ง (=มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปและแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ฯลฯ นั่นแหละ) ด้วยการอ้าง ตรรกะทางคณิตศาสตร์ ที่ว่า ตราบใดที่ยังแยกแยะไม่ได้ว่า ประชาชนที่ตาย กี่คนตายเพราะฝีมือชายชุดดำ กี่คนตายเพราะฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ

นี่คือตรรกะที่ผมคิดว่า สุดปลายทางแห่งธรรมะกับการเมือง แล้ว ในบริบทความขัดแย้งที่เป็นมาและเป็นอยู่

เรื่องตัวบุคคล ใครจะเป็นกลาง ไม่เป็นกลาง จะ แอ๊ปฝ่ายไหน ไม่แอ็ปฝ่ายไหน ผมไม่อยากพูดถึง

เพราะสาระจริงๆ ก็คือว่า เมื่อธรรมะขาว-ดำไปยุ่งกับเรยา ความเป็นคน ในมิติที่ซับซ้อนและแปรผันไปตามบริบทหรือเงื่อนไขต่างๆ ก็ถูกลดทอนเหลือเพียงความเป็นคนในความหมายของ ดี-ชั่ว เมื่อไปยุ่งกับการเมืองก็ ดูด มิติที่หลากหลายของการเมืองเข้าไปในมิติแคบๆ ของ ขาว-ดำ

และสุดปลายทางแห่งธรรม เมื่อต้องเผชิญกับ โจทย์ความชอบธรรม-ไม่ชอบธรรม ของรัฐบาลที่สั่งสลายการชุมนุม ผิดหลักสากล จนประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นเบือ ธรรมะก็หันไปพึ่งพา ตรรกะคณิตศาสตร์ เอาดื้อๆ

ฉะนั้น ถ้าเข้ามายุ่งแล้วมันทำให้เกิดการบิดเบี้ยว  และบิดเบือน เช่นนี้ ผมว่าธรรมะอย่ามายุ่งกับ ความเป็นมนุษย์ ของ คนอย่างเรยา และการเมือง น่าจะดีกว่านะครับ!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้ค้าราชประสงค์เผยอยากชุมนุมบ้าง ชี้ตำรวจหมดปัญญาจัดการเสื้อแดง

Posted: 20 May 2011 08:36 AM PDT

"ชาย ศรีวิกรม์" ตัวแทนเครือข่ายประชาธิปไตยไม่ละเมิดขู่ ตร.จัดการเสื้อแดงชุมนุมไม่ได้ เอกชนจะชุมนุมปิดสี่แยกบ้าง ดูน้ำยาตำรวจจัดการได้ไหม

20 พ.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายชาย ศรีวิกรม์ ตัวแทนเครือข่ายประชาธิปไตยไม่ละเมิด เปิดเผยว่า จากกรณีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากชุมนุมปิดถนนบริเวณสี่แยกราชประสงค์ โดยปิดเส้นทางจราจรเพื่อตั้งเวทีปราศรัย ส่งผลให้รถเมล์ต้องเปลี่ยนเส้นทาง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสารจำนวนมาก และผู้ประกอบการ บริษัท ห้างร้าน พ่อค้าแม่ค้าบริเวณดังกล่าวต้องปิดร้านและต้องประกาศเลิกงานก่อนเวลา โดยโรงแรมรอบราชประสงค์ทั้งหมดได้รับผลกระทบรุนแรง ต่างยกเลิกเข้าห้องพักทุกห้องรวม 1,500 ห้อง ยกเลิกงานสัมมนาและงานเลี้ยงประมาณ 3,000 ราย ส่วนร้านค้าในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าบริเวณใกล้เคียงต้องปิดก่อนเวลา ทั้งห้างเกสร เซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี โรงเรียนมาร์แตเดอี และบริษัทต่าง ๆ ต้องเลิกงานกระทบต่อการทำงานและการค้าบริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้ ทางกลุ่มไม่ได้คัดค้านการชุมนุมหรือการประท้วงใด ๆ แต่ต้องการรณรงค์ให้มีการจัดระเบียบชุมนุม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และขอเรียกร้องให้การชุมนุมของทุกกลุ่มยกเลิกวัฒนธรรมการชุมนุมที่นิยมชุมนุมบริเวณย่านธุรกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น โดยไม่รับผิดชอบจากการชุมนุม และขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชี้แจงเหตุผลการไม่สามารถบริหารจัดการการชุมนุม แม้ภาคเอกชนจะมีข้อเสนอและพร้อมร่วมมือในหลายด้าน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถควบคุมได้ ไม่เช่นนั้นบริษัทห้างร้านบริเวณแยกราชประสงค์จะขอระดมพนักงาน ผู้ค้านับหมื่นคนเดินทางไปปิดแยกไฟแดงแยกใดแยกหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจะบริหารจัดการได้หรือไม่

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: นักกิจกรรม-เสื้อแดงรำลึก 1 ปี การเสียชีวิตชายชุดดำนิรนาม

Posted: 20 May 2011 08:21 AM PDT

 
วานนี้ (19 พ.ค.54) เวลา 23.00 น. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและคนเสื้อแดงประมาณ 30 คน ร่วมจุดเทียนรำลึกการเสียชีวิตของชายชุดดำนิรนาม บริเวณป้ายรถแท็กซี่อัจฉริยะที่อยู่ระหว่างแยกศาลาแดง-แยกสารสินติดกับสวนลุมพินี ซึ่งเป็นจุดที่ชายดังกล่าวเสียชีวิตในช่วงเช้าของวันที่ 19 พ.ค.53 ในระหว่างที่กองกำลังทหารบุกเข้ามาเพื่อสลายการชุมนุม
 
(ภาพเปรียบเทียบวันเกิดเหตุ 19 พ.ค.53 กับกิจกรรมรำลึก 19 พ.ค.54 ภาพโดย: หงส์ศาลาแดง และพระอินทร์)
 
 (คลิป นักสู้นิรนามศาลาแดง โดย prainn2011 )
 
โดยกิจกรรมนอกจากจุดเทียนสีแดงที่เรียงกันเป็นรูปตัวคนแล้ว ยังมีการอ่านบทกวี และร่วมกันร้องเพลงนักสู้ธุลีดินร่วมกันก่อนแยกย้ายกันกลับ
 
ทั้งนี้ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อรัฐสภากรณีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในวันที่ 19 พ.ค.53 ว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตก่อนหน้าการปฏิบัติการของทหารเนื่องจากเลือดได้แห้งหมดแล้ว โดยนายสุเทพ ระบุว่า ".. มีคนเสียชีวิตจริงๆ 6 คน นับรวมคนที่เสียชีวิตมาก่อนตอนที่เราเข้าไปถึงตอน 7-8 โมงเช้า เห็นนอนอยู่แล้ว ที่ข้องเต้นที่สวนลุมพินีเลือดแห้งหมดแล้ว 2 คนด้วย.." (ดูได้จาก VDO Clip นี้ในนาทีที่ 1.25.12 ประกอบ http://www.youtube.com/watch?v=gjrw_GkzewY )
 
ในขณะที่มีภาพชุดที่แสดงให้เห็นชายชุดดำคนดังกล่าวก่อนเสียชีวิตและหลังถูกยิงที่มีชายชุดดำจำนวนหนึ่งพยายามเข้าไปช่วย โดยมีการใช้โต๊ะเป็นโล่กำบังกระสุนที่คาดว่าน่าจะมาจากแนวสวนลุมพินี แต่ผู้ที่เข้าไปช่วยกลับถูกยิงซ้ำ สามารถดูภาพชุดดังกล่าวที่ถ่ายโดย "หงส์ศาลาแดง" ได้ที่https://picasaweb.google.com/lek2508/NewFolder
 
อีกทั้งมีภาพเคลื่อนไหวที่แสดงให้เห็นการพยายามเข้าไปช่วยคนที่ถูกยิงในจุดดังกล่าว สามารถดูได้ที่ VDO Clip นี้ http://www.youtube.com/watch?v=LrXx0l_2BzE  
 
 
ในภายหลัง ศพดังกล่าวอาสาพยาบาลที่มากับทหารได้เก็บศพไป สามารถดูได้ตาม clip นี้ นาทีที่ 0.44 http://www.youtube.com/watch?v=1DDYTfsEdEA
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แดงไร่ขิงประท้วง-ฮือไล่ "มาร์ค" หาเสียงนครปฐม

Posted: 20 May 2011 07:55 AM PDT

"แดงไร่ขิง" ประท้วง-ฮือไล่ "มาร์ค" หาเสียงนครปฐม สาวใหญ่จี้ขอโทษสลายม็อบ "ถ้าจะขอคะแนนประชาชน ควรจะขอโทษพวกเราก่อนดีไหม" นายกฯ เชิญจับเข่าคุย

20 พ.ค. 54 - มติชนออนไลน์รายงานว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เดินทางไปที่โรงเรียนวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เพื่อช่วยนายมารุต บุญมี ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครปฐม เขต 5 ของ ปชป.หาเสียง และขณะที่นายอภิสิทธิ์ปราศรัยได้เกิดเหตุไม่คาดคิด สตรีวัยกลางคนรายหนึ่ง ทราบชื่อภายหลังว่า นางมนัชญา สุรีพงษ์ อายุ 44 ปี อ้างตัวว่า ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง 10 เมษายน 2553 ได้ลุกขึ้นตะโกนโหวกเหวกโวยวาย พร้อมชูสำเนาใบแจ้งความ จับใจความได้ว่า "ถ้าจะขอคะแนนประชาชน ควรจะขอโทษพวกเราก่อนดีไหม" เป็นเหตุให้กองเชียร์ ปชป.โห่ฮาขับไล่ จนวงปราศรัยแตกกระเจิง โดยชายสูงอายุรายหนึ่งเดินอ้อมวงปราศรัย พยายามเข้าให้ถึงตัวนางมนัชญา แต่ทีมรักษาความปราชัยนายกฯกันตัวออกทันควัน ก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะขอพูดคุยเป็นการส่วนตัว

เมื่อนางมนัชญา นั่งพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ นางมนัชญากล่าวว่า ไม่เคยได้รับการเยียวยา ทำให้นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ควรจะปล่อยให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ทำงานไปก่อน หากพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐรายใดปฏิบัติเกินหน้าที่พร้อมดำเนินการ ส่วนการเยียวยาจะขอรับเรื่องไว้ตรวจสอบว่าคืบหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว จากนั้นต่างฝ่ายต่างเดินทางกลับ

ทั้งนี้ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์หาเสียงอยู่ภายในโรงเรียนวัดไร่ขิง มีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนราว 30 คน เดินทางมารวมตัวที่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนวัดไร่ขิง เพื่อโห่ร้อง ขับไล่และโบกธงประท้วง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมไม่ให้กลุ่มคนเสื้อแดงดังกล่าวเข้ามาบริเวณงาน ทำให้ไม่มีเหตุวุ่นวายใดๆ เกิดขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ

Posted: 20 May 2011 07:27 AM PDT

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ..
ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น
รอยเลือด คนตาย กองไฟ เปลวควัน
กลางนครดื้อรั้นเมืองหลอกลวง

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ
ว่าผู้คนมากมายหลั่งไหลสู่เมืองหลวง
นอนบนถนน ก่นกู่ประท้วง
มาเรียกร้องทวงสิทธิเท่าเทียม

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ
ว่าใครปล้นใครทำลายใครเสี้ยม
ใครอยู่เบื้องหลัง คอยสั่งตระเตรียม
บงการโหดเหี้ยมฆ่าผู้คน

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ
ว่าไม่มีแสงไฟในคืนมืดหม่น
ประชาธิปไตย พิการพิกล
หยามเหยียดชั้นชนแบ่งชนชั้น

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ
ว่าถูกอาฆาตมาดร้ายหมายให้หวาดหวั่น
ห้ามพูดวิจารณ์ ห้ามรู้เท่าทัน
ใช้โทษฉกรรจ์กดกราบเท้า

เราต่างรู้อยู่แก่ใจ
หนึ่งปีผ่านไป..กับนิยายเรื่องเก่า   
ลมแล้งพฤษภา พัดพาความเศร้า
ความเจ็บปวดร้าว..เราไม่ลืม
(ใครฆ่าพวกเรา..รู้แก่ใจ)
............................................................

ขอร่วมไว้อาลัยและรำลึกถึงผู้สูญเสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษา - พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวอาระกันเริ่มอพยพไปรัฐคะฉิ่น - เหตุไม่มีพื้นที่จับปลา / KIA และกองทัพพม่าส่อเค้าตึงเครียดรอบใหม่

Posted: 20 May 2011 07:17 AM PDT

ชาวอาระกันเริ่มอพยพไปรัฐคะฉิ่น - เหตุไม่มีพื้นที่จับปลา

มีรายงานว่า ผู้ประสบภัยพิบัติไซโคลน “กิริ” ในเมืองมินบยาและเมืองเพาก์ตอว์ รัฐอาระกัน ภาคตะวันตกของประเทศเป็นจำนวนมากกำลังมุ่งหน้าสู่รัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือเพื่อหางานทำเลี้ยงปากท้อง เนื่องจากนับตั้งแต่ประสบภัยพิบัติจนถึงตอนนี้พบว่า ชาวบ้านยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ หนำซ้ำยังไร้ที่ทำกิน

“ทุกๆวัน ชาวบ้านหลายครอบครัวได้ย้ายออกไป สิ่งที่พวกเราทำได้ก็คือ นั่งมองด้วยความเจ็บปวด เพราะเราไม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ ผมได้นำเรื่องนี้ไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า” นายทัตทูนอ่อง ส.ส.จากพรรคพัฒนาชนชาติยะไข่ (Rakhine Nationalities Development Party) ในเมืองเพาก์ตอว์กล่าว

นายทัตทูนอ่องเปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มีชาวบ้านจากหมู่บ้านงาพีทัต เพานาจี เชาเซาท์และหมู่บ้านทิตโพค ในเขตเมืองเพาก์ตอว์ทยอยย้ายออกจากรัฐอาระกันเพื่อไปหางานทำที่อื่น เช่นเดียวกับชาวบ้านหลายร้อยครอบครัวในเมืองมินบยาเองได้มุ่งหน้าสู่รัฐคะ ฉิ่นเพื่อหางานทำ โดยมีรายงานว่าชาวบ้านเหล่านี้จะไปเป็นแรงงานรับจ้างในไร่มันสำปะหลังและสวน ยางของบริษัทยูซานา เต ของนายเทมิ้น นักธุรกิจผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่า

ด้านชาวบ้านรายงานว่า เหตุภัยพิบัติไซโคลนกิริพัดถล่มชายฝั่งรัฐอาระกันเมื่อวันที่ 22 เดือนตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ แม้จะผ่านไปกว่า 6 เดือนแล้ว แต่ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่พักอาศัยและอาหาร เนื่องจากยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขณะที่บ้านเรือนและไร่นาของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างหนักจากภัยพิบัติ ในครั้งนั้น

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนและเริ่มอพยพออกจาก รัฐอาระกันก็คือ รัฐบาลท้องถิ่นได้ประมูลขายพื้นที่ทำธุรกิจประมงกว่า 200 แห่งตามแม่น้ำและชายฝั่งทะเลใน 14 เมืองให้กับบริษัทเอกชน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประมงของชาวบ้านในพื้นที่

“ไซโคลนกิริไม่เพียงแต่ทำลายไร่นาเท่านั้น แต่ยังทำลายเครื่องมือจับปลา ในขณะเดียวกัน รัฐบาลท้องถิ่นกลับขายพื้นที่จับปลาให้กับบริษัทเอกชน ทำให้ตอนนี้เราไม่เหลือพื้นที่สำหรับจับปลาแล้ว แต่ผมจะไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น ผมจะหาเช่าเรือสักลำไว้ทำมาหากิน” ชาวประมงจากเมืองเพาก์ตอว์กล่าว

ด้านเอทาอ่อง ประธานกรรมการพรรค Arakan League for Democracy (ALD) กล่าวว่า รัฐบาลท้องถิ่นและพรรคการเมืองฝ่ายค้านควรหันมาร่วมมือกันพัฒนาความเป็นอยู่ ของชาวบ้านและชุมชนชาวประมง โดยเขากล่าวเพิ่มเติมว่า อีกสาเหตุที่ชาวอาระกันย้ายไปอยู่ต่างประเทศหรือย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่น เป็นเพราะขาดการได้รับการดูแลในด้านสุขภาพ การศึกษาและในด้านเศรษฐกิจ

นายเอทาอ่องยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเลขคนต่างด้าวอาจสูงกว่าคนในพื้นที่หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข เช่นเดียวกับ ส.ส.พรรคพัฒนาชนชาติยะไข่ที่เห็นว่า การย้ายออกไปอยู่ที่อื่นของชาวบ้านถือเป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อรัฐอาระกันเป็น อย่างมากและจะส่งผลกระทบต่อในพื้นที่ โดยทางพรรคพัฒนาชนชาติยะไข่กำลังศึกษาหาแนวทางเพื่อป้องกันปัญหานี้เกิดขึ้น อีกในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลให้จัดสรรพื้นที่ทำประมงให้กับชาวบ้าน  (Irrawaddy 19 พ.ค.54)

KIA และกองทัพพม่าส่อเค้าตึงเครียดรอบใหม่

กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Army) สั่งทหารเตรียมพร้อมปะทะกับกองทัพพม่า หลังทั้งสองฝ่ายส่อเค้าตึงเครียดรอบใหม่ หลังกองทัพพม่าเข้าไปสร้างถนนใกล้กับเขตควบคุมของ KIA

มีรายงานว่า ทหารพม่ากองพันที่ 320 ได้ยิงปืนครกใส่กองพันที่ 25 ของ KIA ซึ่งประจำอยู่ในเมืองบาหม่อถึง 3 ครั้งเมื่อเย็นวันพุธ (18 พ.ค.)ที่ผ่านมา แต่ไม่มีรายงานความสูญเสียจากฝั่งทหาร KIA และหลังเกิดเหตุ ทหารทั้งสองฝ่ายได้สั่งการให้ทหารของตัวเองเตรียมพร้อมหากมีการปะทะกันรอบ ใหม่ โดยทหารพม่ายังได้เคลื่อนพลประชิดรอบฐานที่มั่นของกองพันที่ 1  ของ KIA ในอำเภอมันเจ่ ในเขตเมืองบาหม่อด้วย

ขณะที่ทหาร KIA กองพันที่ 5 ซึ่งประจำอยู่รอบนอกเมืองซินโบ ทางตอนใต้รัฐคะฉิ่นเองก็ถูกทางกองทัพพม่าสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายในวัน ที่ 25 ของเดือนนี้ และขณะนี้ทหารพม่าได้เข้ามาประจำใกล้กับฐานที่มั่นของกองพันที่ 5 โดยอ้างว่า เข้ามาประจำเพื่อสร้างถนน แต่ KIA ปฏิเสธที่จะย้ายฐานที่มั่น ซึ่งสถานการณ์ระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ยังตึงเครียดอย่างหนักด้าน เจ้าหน้าที่ KIA ระบุ หากทหารพม่ายังเข้ามาใกล้กับฐานที่มั่นของตนเชื่อว่า สงครามระหว่างทั้งสองฝ่ายจะเกิดขึ้นในไม่ช้า

มีรายงานว่า  เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นที่เมืองโก้ดข่าย ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมของกองพลที่ 4 ของ KIA โดยทหารพม่าได้เข้ามาสร้างถนนในพื้นที่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งทหาร KIA ได้ขอร้องให้พม่ายุติสร้างถนนดังกล่าวหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล โดยเจ้าหน้าที่ KIA กังวลว่า การสร้างถนนเชื่อมต่อกับกองพลที่ 4 ของ KIA อาจเป็นแผนยุทธศาสตร์ทางทหารที่ต้องการยึดฐานที่มั่นกองพลที่ 4

เจ้าหน้าที่ KIA กล่าวว่า หากรัฐบาลกลางพม่ายังคงกดดัน KIA ต่อไป เชื่อว่าจะนำไปสู่การขัดแย้งระหว่างทหารทั้งสองฝ่าย และจะก่อให้เกิดสงครามการเมืองในที่สุด (KNG 18 พ.ค.54)

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านภาชีแจ้งความ กฟผ. อีกหลังยังรุกที่นาต่อเนื่อง

Posted: 20 May 2011 06:50 AM PDT

ผู้รับเหมาของ กฟผ. ยังคงดำเนินการบุกรุกทำลายที่นาของชาวนา หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างต่อเนื่องแจ้งความอีกไร้ผลเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาให้ได้

 

วันนี้ (20 พ.ค. 54) นักข่าวพลเมืองรายงานว่า ผู้รับเหมาของ กฟผ. ยังคงดำเนินการบุกรุกทำลายที่นาของชาวนา หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กลุ่มชาวนาได้เดินทางไปแจ้งความอีกครั้งที่ สภอ.ภาชี แต่ก็ยังได้รับคำตอบเช่นเดิมจากเจ้าหน้าที่ว่าไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาให้ได้

 


 

ความเป็นมาของการคัดด้านการก่อสร้างสถานีส่งไฟฟ้าภาชี ๒ ของ กฟผ.
 
กฟผ.ได้ซื้อที่ดิน ๒๐๓ ไร่ไว้ที่หมู่ ๓ ต.โคกม่วง อ.ภาชี  เพื่อก่อสร้างสถานีส่งไฟฟ้าภาชี ๒ ซึ่งเป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงขนาดใหญ่ ที่จะรับกระแสไฟจากหลายแห่งเกือบทั่วประเทศ และจะเริ่มลงมือปรับถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสถานีส่งไฟฟ้าย่อยภาชี ๒ 
 
สาเหตุของการคัดค้านของชาวบ้านคือ:
 
๑.      ชาวนาที่เช่านาในที่ กฟผ.ไม่ยินยอมและอ้างสิทธิตาม พ..บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๒๕๒๔ ที่คุ้มครองผู้เช่านาให้สามารถทำนาต่อไปได้ แม้จะมีการเปลี่ยนมือเจ้าของที่ดิน ซึ่งผู้เช่านาที่ทำนาในที่ดิน กฟผ.ได้ทำนาต่อเนื่องกันมากว่า ๑๐ ปีแล้วสามารถอ้างสิทธิในการเช่านาได้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งใน พ..บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๒๕๒๔  ยังระบุว่า การเช่านาแต่ละครั้งมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี  ดังนั้น กฟผ.ไม่สามารถไล่ผู้เช่านาออกไปได้ในขณะนี้ จึงไม่สามารถก่อสร้างได้
 
๒.      สถานีไฟฟ้าย่อยภาชี ๒ จะก่อให้เกิดเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าตลอด ๒๔ ชั่วโมงซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงอาจก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งอื่น ๆ ได้
 
๓.      ที่ดิน ๒๐๓ ไร่เมื่อมีการถมสูงเพื่อการก่อสร้างจะปิดกั้นการระบายน้ำในหน้าน้ำ หรือเมื่อมีฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมที่ของชาวบ้านและบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงได้
 
๔.     จะมีเสียงดังรบกวนชุมชนจากการก่อสร้าง เพราะบริเวณโดยรอบมีเกษตรกรเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก ซึ่งจะกระทบอย่างร้ายแรง และรบกวนนกที่อยู่ในระบบนิเวศน์ของชาวนาที่มาช่วยกินหอยในนาข้าว
 
๕.     จะมีการขุดดินเป็นบ่อขนาดใหญ่เพื่อเอาดินไปถมสูงเพื่อก่อสร้างสถานีส่งไฟฟ้าย่อยภาชี ๒ และน้ำในบ่อน้ำจะเป็นน้ำเสีย น้ำกร่อย น้ำเปรี้ยว ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ และถ้าน้ำล้นบ่อไปเข้านาชาวบ้าน นาจะเสียหาย

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สร. ไทยอินดัสเตรียลแก๊สขอเลื่อนไกล่เกลี่ย วอนบริษัทเผยข้อมูลก่อน

Posted: 20 May 2011 06:16 AM PDT

สร. ไทยอินดัสเตรียลแก๊สขอเลื่อนไกล่เกลี่ย ที่บริษัทฯ ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพฯ ระบุบริษัทยังไม่เปิดเผยข้อมูลอันจะนำมาสู่การเจรจาต่อรอง รวมถึงคดีความที่ยังค้างกับสหภาพฯ

19 พ.ค. 54 - สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สเปิดเผยว่า ตามที่บริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด(มหาชน) หรือ TIG ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพฯและได้ยื่นเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งได้มีการนัดหมายเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 3 ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 นั้น

ทั้งนี้ทางสหภาพฯ ได้ส่งหนังสือถึงบริษัทฯ เพื่อขอให้เปิดเผยข้อมูลอันจะนำมาสู่การเจรจาต่อรองในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ทางบริษัทฯก็ยังไม่มีการตอบรับหรือส่งข้อมูลให้กับทางสหภาพฯแต่อย่างใด กอปรกับการที่บริษัทฯดำเนินคดีทางศาลกับแกนนำของสหภาพ, ดำเนินคดีทางศาลเรียกค่าเสียหายกับสมาชิกที่ถูกเลิกจ้าง รวมถึงผู้บริหารของบริษัทฯแจ้งความดำเนินคดีอาญากับสมาชิกสหภาพฯ 15 คนและผู้บริหารบริษัทฯยังดำเนินการฟ้องร้องคดีทางศาลกับสมาชิกของสหภาพฯอีก 12 คนและยังแจ้งความดำเนินคดีกับสมาชิกสหภาพฯที่ยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อบริษัทฯอีก 1 คน ทำให้สหภาพฯต้องระดมเวลา ระดมทุนและสำรองเงินเพื่อการต่อสู้คดีดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นอุปสรรคและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินกิจการของสหภาพฯ เช่น การจัดประชุมใหญ่ อันเป็นผลมาจากการดำเนินการของบริษัทฯและผู้บริหารของบริษัทฯที่กระทำกับสหภาพฯ

ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาต่างคลี่คลายลงก่อนและเพื่อให้สหภาพฯ สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สหภาพฯจึงขอเลื่อนการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานออกไปอย่างน้อย 90 วันหรือหลังจากวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ไปแล้ว

อนึ่งสำหรับกรณียื่นเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊สนั้น ในส่วนที่สหภาพแรงงานยื่นต่อบริษัทสามารถเจรจาข้อตกลงกันได้แล้ว เหลือในส่วนที่บริษัทยื่นต่อสหภาพแรงงาน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ชาวบ้านมะต้องสู้” ร้องพ่อเมืองกาญฯ จี้แก้ปัญหาที่ดินค้างคากว่า 25 ปี

Posted: 20 May 2011 02:53 AM PDT

ชาวบ้านมะต้องสู้ 6 ครอบครัว ประกาศยอมตายในที่ดินของตนเอง เดินหน้าทวงถามการแก้ไขปัญหาที่ดินกับผู้ว่าฯ ใหม่ แจง 25 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านเหมือนไม่มีตัวตน ถูก กบร. เพิกเฉย ทหารยึดพื้นที่ทำกินอ้างปลูกป่า แต่ให้นายทุนเช่าเต็มพื้นที่

 
 
 
วันนี้ (20 พ.ค.54) นายปาเค ม่วงทอง วัย 81 ปี อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่หมู่ 3 บ้านมะต้องสู้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และชาวบ้านบ้าน 6 ครอบครัว พร้อมตัวแทนจากสภาทนายความ และองค์กรภาคประชาชน ขอเข้าพบและติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินบ้านมะต้องสู้กับผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี หลังถูกทหารบังคับข่มขู่ออกจากชุมชนตนเอง 25 ปี ที่ผ่านมาไร้การเหลียวแลจากหน่วยงานรัฐ 3 ปีของการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินตามแนวทางรัฐโดยผ่าน กบร. (คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ) จังหวัดกาญจนบุรี แต่ไร้มีความคืบหน้า ประชาชนต้องดำเนินการเองส่อลางเรื่องถึงศาลปกครอง และ ปปช.
 
จากประวัติ ชาวบ้านมะต้องสู้เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงได้ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ อ.ไทรโยคมาก่อนปี พ.ศ.2412 และมีกำนันคนแรกของตำบลไทรโยคอยู่ที่หมู่บ้านมะต้องสู้ ชื่อนายประสิทธิ์โพ ติจา อยู่ในตำแหน่งช่วงปี พ.ศ.2444 – 2450 ซึ่งชาวบ้านทั้งหมดมีอาชีพเกษตรกรรมและอยู่กันมาอย่างสงบสุข ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2528 ทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 โดยศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ หน่วยเฉพาะกิจโครงการทุ่งก้างย่าง อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ได้มีหนังสือสัญญาที่อ้างถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอ และเจ้าหน้าที่อำเภอไทรโยคได้ร่วมกับหน่วยเฉพาะกิจโครงการทุ่งก้างย่างทำสัญญากับชาวบ้านมะต้องสู้หมู่ที่ 3 อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
 
เนื้อหาหลักในหนังสือสัญญาเป็นสัญญาฝ่ายเดียวที่ทหารกดดันให้ชาวบ้านเซ็นต์ยอมรับว่าเป็นผู้บุกรุกที่ดินราชการในความดูแลของกองทัพบก โดยแต่ละครอบครัวอยู่อาศัย และทำกินต่อได้อีก 1 ฤดูกาล และต้องย้ายออกทันทีเมื่อสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 1 ก.พ.2530 ซึ่งในหนังสือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดมีเพียงลายเซ็นต์ไม่มีการระบุชื่อจริงกำกับ และทหารได้ปฏิบัติการกดดันข่มขู่ชาวบ้านทั้งการ ใช้รถแทรคเตอร์ดันพืชไร่ทิ้ง ปล่อยวัว 400 ตัวกินพืชไร่ ยิงปืน ปาระเบิดในยามวิกาลในหมู่บ้าน แจ้งเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ปิดทางเข้าออกหมู่บ้าน และขู่จะฟ้องศาลเป็นต้น เพื่อให้ออกจากพื้นที่ จนถึงเดือน พ.ค.2547 ได้เหลือพ่อเฒ่าปาเค และลูกหลานรวม 6 ครอบครัวที่ประกาศยอมตายในบ้านเกิดของตนเอง
 
ตลอดเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านแจ้งความดำเนินคดีกับทหาร แต่ตำรวจก็ไม่มีการดำเนินการ และได้ร้องเรียนรัฐไปหลายที่อย่างสำนักนายกแต่ไม่สามารถพึ่งหน่วยงานใดได้ และล่าสุดชาวบ้านได้เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาที่ดินจังหวัดกาญจนบุรีที่สนับสนุนโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) โดยชาวบ้านได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาในชุมชนอย่างครบรอบด้าน แต่หลังจากการส่งให้ กบร. จังหวัดกาญจนบุรีกลับพบว่า 4 ปีที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น และทาง พอช. ก็ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เกี่ยวกับเรื่องของชาวบ้านมะต้องสู้
 
นายสมชาติ ม่วงทอง แกนนำชาวบ้านแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวว่า การดำเนินการสนับสนุนของ พอช.ควรดำเนินการด้วยความจริงใจ และควรมีการผลักดันปัญหาให้มากกว่านี้ มิใช่ให้ความหวังชาวบ้านแล้วทำตัวเป็นไปรษณีย์ได้ข้อมูลแล้วส่งต่อก็จบ และในส่วน กบร.จังหวัดกาญจนบุรีหากข้อมูลของชุมชนยังไม่ชัดเจนทำไมไม่มีการแจ้ง และให้ชาวบ้านทำข้อมูลเพิ่มเติม แต่ กบร.จังหวัดกาญจนบุรีเลือกที่นิ่งเชยทำตัวลอยอยู่เหนือปัญหาชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า กบร. จังหวัดมีความสนิทสนมกับกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการขับไล่ชาวบ้านหรือไม่ จึงไม่ดำเนินการใดๆ การปล่อยเฉยถือว่าทำให้รัฐเสียหายอย่างมาก เพราะการยึดที่ที่ผ่านมาได้มีการให้เช่าช่วงต่อโดยไม่มีใบเสร็จจากไร่ละ 30 บาทต่อปี เป็นไร่ละ 300 – 600 บาทต่อปี และนายทุนให้รายใหญ่เช่าตั้งแต่ 100 ไร่ขี้นไปเท่านั้น ถามว่าเงินส่วนนี้ได้เข้าไปในราชการทหารจริงหรือไม่
 
“วันนี้ชาวบ้านที่ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะถูกคุกคามไล่ออกด้วยวิธีการใดจากทหารก็ยังไม่รู้ วันนี้จึงต้องออกมาทวงถามกับผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กบร. จังหวัดว่าการแก้ไขปัญหาดำเนินการไปมากน้อยเพียงใด” นายสมชาติกล่าว
 
ด้านตัวแทนจากสภาทนายความ และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคกาญจนบุรีเห็นตรงกันว่าจากเอกสารหลักฐานที่มี และที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอที่ห้องประชุมกองทัพบกแล้วเมื่อ 18 ก.ย.2551 ทางกองทัพบกก็รับทราบดีว่าการกระทำของทหารเป็นอย่างไร และหากการดำเนินการแก้ไขปัญหาของที่ดินของชาวบ้านมะต้องสู้ไม่มีความคืบหน้าในแนวทางของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ในฐานะ ผบ.ทบ.ควรจะให้ความสำคัญ เพราะอาจมีคนนำข้อมูลนี้ไปเล่นการเมืองกับทหารได้ ซึ่งยิ่งจะตอกย้ำเรื่องชนชั้น และลดความน่าเชื่อถือของกองทัพ และหากปล่อยให้พื้นที่แก้ไขปัญหา ชาวบ้านไม่น่าจะได้รับการคุ้มครองแต่อย่างใด
 
การแก้ปัญหาจากเบื้องบนยิ่งช้าเท่าใด ชุมชนยิ่งถูกยำยี และจะมีการละเมิดสิทธิชุมชนทั้งสิทธิในที่ทำกินและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการที่ทหารให้นายทุนเช่าพื้นที่ นายทุนจะไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ทุกวันนี้ทั้งที่ดิน น้ำ ป่า และสัตว์ป่ามีแต่คนเข้าไปกอบโกยโดยไม่มีการรักษา ชาวบ้านทำได้เพียงมองตาปริบๆ
 
ตัวแทนจากสภาทนายความ ระบุด้วยว่าต่อจากนี้ไป หากการแก้ไขปัญหาตามคำเรียกร้องของชาวบ้านไม่มีความคืบหน้า ชาวบ้าน สภาทนายความ และเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิ์ทั้งพื้นที่ และส่วนกลางจะร่วมกันรณรงค์ตีแผ่การกระทำของทหาร ธนารักษ์จังหวัด และการละเลยของหน่วยงานปกครอง ในทุกๆ ทางทั้งใน และต่างประเทศ โดยจะมีการดำเนินการทั้งทางสังคม และทางกฎหมายโดยจะส่งเรื่องให้ ปปช.และดำเนินการทางศาลไปพร้อมๆ กัน เพราะทุกแนวทางที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับคนเล็กคนน้อย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข' เป็นองคมนตรี

Posted: 20 May 2011 01:40 AM PDT

 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ 8 เมษายน 2551 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควร แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 ประกอยมาตรา13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2552 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นองคมนตรี
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์
 
 
ประวัติ องคมนตรีคนล่าสุด
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ รักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
 
โดย นายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ เลขาธิการคณะองคมนตรี ได้นำพระราชโองการแต่งตั้งไปมอบให้ พลอากาศเอกชลิต ถึงกลับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ด้วยความปลาบปลื้มที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งนี้ พลอากาศเอกชลิตได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีแทน นายสันติ ทักราน อดีตองคมนตรี และอดีตประธานศาลฏีกา ที่เสียชีวิต
 
พลอากาศเอกชลิต เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2491 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ปีการศึกษา 2505 จบจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 13 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 40 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 27 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41
 
ผ่านหลักสูตรครูการบินไอพ่น (PILOT INSTRUCTOR T- 38) โดยทุน IMETP ที่ซานอันโตนิโอ มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
 
เริ่มรับราชการในตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้บังคับการฝูงบิน 231 กองบิน 23, เสนาธิการกองบิน 23, รองผู้บังคับการกองบิน 1, ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ, ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย, รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ, ผู้บัญชาการกองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ, เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ, ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายกำลังพล, รองเสนาธิการทหารอากาศ, ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ, ราชองครักษ์เวรในปี 2531 และราชองครักษ์พิเศษในปี 2546
 
พลอากาศเอกชลิต เป็นนายทหารที่มีความรู้ ความสามารถสูงในสายงาน"ยุทธการ" ผลงานที่สำคัญ คือ เป็นหัวหน้าชุดภารกิจรับคนไทยและชาวต่างประเทศกลับจากกัมพูชา ใน พ.ศ.2540
 
เคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นายกสมาคมโดดร่มแห่งประเทศไทย นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ ประธานคณะกรรมการบริหารชุมนุมนักเรียนนายเรืออากาศ
 
เคยรับรางวัลบุคคลดีเด่นการบิน 2 พันชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย) พ.ศ.2528 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ฝูงบิน 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานี
 
นอกจากนี้ ยังเป็นนักบินทดสอบเครื่องเอฟ 5 ซี ของกองทัพอากาศ ซึ่งมีตัวเดียวในประเทศไทย และจอดเสียอยู่ในโรงซ่อมมากกว่า 5 ปี จากนั้นขับเครื่องบินเป็นเครื่องสุดท้ายของฝูง 103 ย้ายจากกองบิน 1 จากสนามบินดอนเมืองไปไว้กองบิน 1 จ.นครราชสีมา จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ทำการบินเครื่องบินรุ่นเอฟ 5 ซี ที่จอดเสียนานที่สุด ไม่เกรงกลัวอันตราย สามารถนำเครื่องบินกลับมารับใช้ชาติได้อีก กระทั่งเครื่องลำดังกล่าวปลดประจำการในเวลาต่อมา
 
เริ่มทำการบินเอฟ 5 มาตลอด จนได้ชั่วโมงการบินถึง 1 พันชั่วโมง (เป็นคนที่ 5 ของประเทศไทย) และทำการบินต่อจนครบ 2 พันชั่วโมง (เป็นคนแรกของประเทศไทย)
 
ในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ได้รับมอบหมายบินลาดตระเวนในพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และยังเคยผ่านประสบการณ์บินลาดตระเวนชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ สระแก้ว รวมทั้งภารกิจนำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้าถึง 3 รอบ ขณะประจำการอยู่กองบิน 23 จ.อุดรธานี
 
เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ.2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ และภายหลังเหตุการณ์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
 
เป็นผู้ดูแลการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ และเป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ(กดส.)

พ.ศ.2550 เมื่อพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เกษียณอายุราชการไป พลอากาศเอกชลิต จึงรับตำแหน่ง รักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น