โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

สหภาพแรงงานในเนปาลเรียกร้อง “อภิสิทธิ์” ให้ปลดปล่อย “สมยศ”

Posted: 05 May 2011 12:34 PM PDT

สมาพันธ์สหภาพแรงงานกลางเนปาล ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีไทยเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขทันที ชี้การไม่ยอมให้ประกันตัวนายสมยศเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไม่อาจยอมรับได้

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา สมาพันธ์สหภาพแรงงานเนปาล (General Federation of Nepalese Trade Unions - GEFONT) นำโดยนายอุเมศ อุปัทยา (Umesh Upadhyaya) เลขาธิการทั่วไปของสมาพันธ์ GEFONT ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวเรื่อง “ปล่อยตัวสมยศ”

โดยเนื้อความในจดหมายระบุว่า ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกจับเมื่อ 30 เม.ย. และถูกควบคุมตัวที่เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพฯ ทันที

ในจดหมายระบุว่าทางสหภาพแรงงานรู้จักนายสมยศผ่านบทบาทของเขาในขบวนการสหภาพแรงงานในระดับสากล และผ่านบทบาทของนายสมยศที่ทำกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานโดยตลอด นอกจากนี้นายสมยศยังเป็นพลเมืองที่มีความเชื่อมั่นต่อหลักการสิทธิมนุษยชน ดังจะเห็นได้จากบทบาทสื่อมวลชนอิสระและผลงานทางวิชาการของเขา

พวกเราทราบว่านายสมยศถูกจับในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์ราชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งนายสมยศปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ นอกจากนี้นายสมยศยังไม่ทราบว่าก่อนหน้านี้มีการออกหมายจับ และปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเขาไม่ได้ขัดขืนหมายจับ

ในจดหมายเปิดผนึกของสหภาพแรงงาน ยังระบุด้วยว่า พวกเขาทราบว่า ศาลอาญาได้เห็นด้วยกับคำสั่งของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่ให้ขยายเวลาควบคุมตัวนายสมยศไปอีก 12 วัน โดยในจดหมายของสหภาพแรงงานเนปาลกล่าวด้วยว่า นี่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อนายสมยศอย่างไม่อาจยอมรับได้ โดยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศทันที และอนุญาตให้เขาเตรียมการต่อสู้ข้อกล่าวหาทางคดี

 

ที่มา: ประชาไทแปลและเรียบเรียงจาก Release Somyot Now!, General Federation of Nepalese Trade Unions – GEFONT, 04/05/2011 http://www.gefont.org/activity_detail.php?flag=3&id=712

ฉยับ pdf http://www.gefont.org/uploads/activities/712_gefont%20%20Protest%20letter.pdf

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ASEAN People’s Forum เรียกร้องอาเซียนแสดงบทบาทจัดการปัญหาไทย-กัมพูชา

Posted: 05 May 2011 11:45 AM PDT

ภาคประชาชนอาเซียน เตรียมเสนอผู้นำในภูมิภาคกำหนดบทบาทอาเซียนต่อประเด็นไทย-กัมพูชา หวังจัดการปัญหาความขัดแย้ง ภาคประชาชนไทย-กัมพูชา เรียกร้องรัฐบาลทั้งอย่าทำปัญหาการเมืองให้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ พร้อมเรียกร้องสื่อทำหน้าที่สื่อสารสันติภาพมากกว่ากระพือความขัดแย้ง

วานนี้ (5 พ.ค. 2554) ภาคประชาชนไทย-กัมพูชา หวังอาเซียนแสดงบทบาทจัดการปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เรียกร้องรัฐบาลทั้งอย่าทำปัญหาการเมืองให้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ พร้อมเรียกร้องสื่อทำหน้าที่สื่อสารสันติภาพมากกว่ากระพือความขัดแย้ง

การปะทะกันระหว่างไทยและกัมพูชาดำเนินต่อเนื่องมาสู่สัปดาห์ที่สอง และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงด้วยการเจรจาระหว่างสองรัฐบาล ขณะเดียวกันภาคประชาชนของทั้งสองประเทศซึ่งได้ร่วมประชุมอาเซียนภาคประชาชน ที่กรุงจาการ์ตา ได้ร่วมแถลงข่าวร่วมกันวานนี้ เรียกร้องให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายยุติความขัดแย้งอย่างสันติ

สมศรี หาญอนันทสุข เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หนึ่งในตัวแทนภาคประชาสังคมไทยเรียกร้องต่อสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศให้ทำหน้าที่สื่อสารโดยไม่เพิ่มระดับความขัดแย้ง สร้างความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อที่เพื่อนบ้านจะอยู่ร่วมกันด่วยความรักและไม่เกลียดชัง

“เพื่อนบ้านก็คือเพื่อนบ้าน เราไม่ควรทำให้การเมืองของทั้งสองฝ่ายก่อปัญหาระหว่างเพื่อนบ้าน”

ทุน ซเรย์ ผู้อำนวยการของสมาคมการพัฒนาและสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (The Cambodian Human Rights and Development Association-ADHOC) แสดงความหวังว่าอินโดนีเซียในฐานะประธานอาจเซียนจะสามารถเข้ามามีบทบาท ต่อกรณีการปะทะกันระหว่างไทยและกัมพูชา

โดยเขาให้ความเห็นเพิ่มเติมกรณีที่กัมพูชานำกรณีพิพาทเขตแดนเขาพระวิหารไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง ว่าเมื่อเรื่องดำเนินไปเช่นนี้ อาเซียนอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้นอกจากจะนั่งลงเจรจากัน ทั้งนี้ นับจากการมีคำตัดสินของศาลโลกให้ปราสาทประวิหารตกอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา ไทยก็ไม่เคยโต้แย้ง การจะทำโต้แย้งตอนนี้ก็สายเกินไปแล้ว

สุนทรี เซ่งกิ่ง จากคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) แสดงความเห็นว่า ไม่ได้อยากให้จำกัดประเด็นอยู่ที่ความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหารเท่านั้น แต่ต้องการเรียกร้องสันติภาพสำหรับชาวบ้าน ผู้หญิงและเด็กที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่เรียกร้องต่ออาเซียนให้แสดงบทบาทที่จะมาสู่ความสงบในแนวชายแดน และอีกประเด็นคือขอเรียกร้องให้หยุดการยิงปะทะ เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติอีกครั้ง

ทั้งนี้ ผู้ร่วมการแถลงข่าวทั้งฝายไทยและกัมพูชาเห็นพ้องกันว่า ประเด็นความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ไม่ใช่แค่ประเด็นเขาพระวิหารเท่านั้น แต่ประเด็นการเมืองของทั้งสองประเทศ และภาคประชาชนนั้นเคารพในคำตัดสินของศาลโลก และที่ผ่านมาก็มีความพยายามที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างไทยและกัมพูชา และต้องการสื่อสารไปยังทั้งสองรัฐบาลว่าประชาชนไม่ต้องการการปะทะ และทำให้เห็นว่าประชาชนในสองประเทศนั้นอยู่ด้วยความกลัว

“เราพบกับหญิงคนหนึ่งที่เพิ่งคลอดได้สามเดือน และเด็กก็ไม่ยังไม่เห็นหน้าพ่อเลย หญิงคนนั้นต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหานี้อย่างสันติเพราะว่าพวกเขาอยู่อย่างหวาดกลัว เราควรจะดำเนินการแก้ปัญหาด้วย และรัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ต้องรับฟังประชาชน ไม่ใช่แค่สำหรับพวกเราเท่านั้น แต่สำหรับผู้หญิงและเยาวชนด้วย”ตัวแทนภาคประชาชนไทยกล่าว

ในช่วงท้ายของการประชุมอาเซียนภาคประชาชน ประจำปี 2554 ภาคประชาชนอาเซียนยังได้นำเอาประเด็นความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาบรรจุไว้ในข้อเสนอที่จะนำเสนอต่อผู้นำประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในวันที่ 7 พ.ค. นี้

โดยองค์กรภาคประชาชนอาเซียนเรียกร้องให้อาเซียนก่อตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่จัดการปัญหาความขัดแย้งเรื่องเส้นเขตแดนในภูมิภาค พร้อมทั้งเรียกร้องต่อรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนให้แสดงบทบาทมากขึ้นในการเข้าแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา และต้องแสดงความใส่ใจต่อประเด็นความขัดแย้งเรื่องเส้นเขตแดนในบรรดาประเทศสมาชิกด้วยเช่นกัน ทั้งต้องรับฟังแนวทางแก้ปัญหาจากประชาชนทีได้รับผลกระทบ

อาเซียนภายใต้องค์กรที่ทำหน้าที่จัดการปัญหาความขัดแย้งเส้นเขตแดน ชี้ขาดกรณีความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยต้องส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้อาเซียนกำหนดบทลงโทษเพื่อปกป้อง ส่งเสริมและเติมเต็มสิทธิผู้หญิงในสถานการณ์และพื้นที่ที่มีความขัดแย้งโดยใช้กำลังทหารด้วย 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กทช.แคนาดาตั้งเป้าให้ประชาชนมีเน็ตใช้ 5 เม็กเป็นอย่างต่ำภายในปี 2015

Posted: 05 May 2011 08:01 AM PDT

 

เว็บไซต์ blognone รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. CRTC หรือ กทช. ของแคนาดา ประกาศว่าชาวแคนาดาทุกคนจะต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วดาวน์โหลด 5Mbps และอัพโหลด 1Mbps ภายในปี 2015 ซึ่งมากกว่าที่ FCC ของสหรัฐได้เคยประกาศไว้สำหรับสหรัฐอเมริกาที่ 4 Mbps โดยความเร็วนี้จะต้องเป็นความเร็วแท้จริง ไม่ใช่ความเร็วที่ได้โฆษณาไว้ และหวังว่ากลไกของตลาดจะสามารถทำให้ความเร็วถึงขั้นนี้ได้โดยไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง

ก่อนหน้านี้ ประเทศฟินแลนด์เคยออกมาประกาศว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1Mbps ถือว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะได้รับ แม้ว่าประเทศอื่นๆ ยังไม่ได้ออกมาประกาศในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่องค์กรที่มีความรับผิดชอบเรื่องโทรคมนาคมในหลายๆ ประเทศก็ได้เริ่มออกมาประกาศเป้าหมาย "ความเร็วขั้นต่ำ" ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกันแล้ว

ขณะที่ประเทศไทย ด้วยกลไกตลาดทำให้ความเร็วตามที่โฆษณาไว้ ในแพ็กเกจที่ถูกสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 6 Mbps ขณะที่ภาครัฐหรือองค์กรอิสระยังไม่ได้ออกมาประกาศเป้าหมายอะไรไว้แต่อย่างใด

 


ที่มา:
http://www.blognone.com/news/23471

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาสนากับ ‘บาดแผลแห่งยุคสมัย’

Posted: 05 May 2011 07:56 AM PDT

ศาสนาอาจมีคุณูปการต่อชีวิตและโลกไม่น้อย แต่อีกด้านหนึ่งศาสนาก็ได้สร้างบาดแผลในประวัติศาสตร์มนุษยชาติตลอดมา

แม้ว่าในด้านหนึ่งศาสนาอาจมีคุณูปการต่อชีวิตและโลกไม่น้อย แต่อีกด้านหนึ่งศาสนาก็ได้สร้างบาดแผลในประวัติศาสตร์มนุษยชาติตลอดมา อาจจะตั้งแต่มีศาสนาขึ้นมาในโลกจวบปัจจุบัน และกระทั่งจะมีต่อไปในอนาคต

เช่น การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม การครอบงำทางความคิดความเชื่อ ตั้งแต่การสวมขื่อคาพันธนาการชีวิตปัจเจกบุคคลให้ติดอยู่ในกับดักแห่งศรัทธาที่งมงาย การเข้าไปแทรกแซงตีกรอบพื้นที่ความเป็นมนุษย์แทบทุกมิติ การวางกรอบประเพณีรองรับสถานะที่ไม่เท่าเทียมของมนุษย์และการจำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ การสร้างความแตกแยกแบ่งเป็นเขาเป็นเรา การก่อการร้ายและสงครามในนามศาสนา เป็นต้น คือตัวอย่างของบาดแผลที่ศาสนาสร้างขึ้น

เพราะมองเห็นอันตรายที่เป็นไปได้อย่างไม่จำกัดดังกล่าวของศาสนา พระพุทธองค์จึงเตือนให้ระมัดระวังในการนับถือศาสนา โดยเปรียบเทียบว่าการนับถือศาสนาต้องระมัดระวังเหมือนกับการจับใบหญ้าคา

ใบหญ้าคาที่คมกริบหากใช้มือกำรวบถอนขึ้นอย่างไม่ระมัดระวังอาจถูกหญ้าคาบาดมือเลือดสาดได้อย่างง่ายดาย การนับถือศาสนาอย่างขาดการไตร่ตรองหรือเลือกเฟ้น “แก่นสาร” อย่างรอบคอบ อาจทำให้เกิดบาดแผลในชีวิตและบาดแผลทางสังคมได้ง่ายๆ เช่นกัน

วันหนึ่งผมเห็นนักศึกษาชมรมพุทธนั่งท่องบทสวดก่อนรับประทานอาหารกลางวัน เมื่อเรานั่งคุยกันผมจึงทราบว่านี่เป็นกิจวัตรที่เขาทำกันเป็นประจำก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ เขาเล่าเรื่องการไปปฏิบัติธรรมให้ผมฟัง และชวนผมไปร่วมกิจกรรมด้วย จะว่าไปแล้วผมค่อนข้างคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มนี้ พวกเขาเป็นเด็กดี ว่านอนสอนง่าย อยู่ในกฎระเบียบ เป็นเด็กกลุ่มที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชื่นชม

พอคุ้นเคยกันได้ระยะหนึ่ง ผมลองชวนพวกเขาคุยเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง เช่น เรื่องรัฐประหาร การสลายการชุมนุม เรื่องความเป็น-ไม่เป็นประชาธิปไตย ฯลฯ

ปรากฏว่าพวกเขามองว่าเป็นเรื่องทางโลกไม่เกี่ยวกับทางธรรม ถ้าจะปฏิบัติธรรมก็ไม่ควรไปสนใจการเมือง ยิ่งกว่านั้นพวกเขายังมองว่าคนดีๆ จะไม่ไปยุ่งกับการเมือง พวกที่ลงเล่นการเมืองส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นพวกที่ไม่มีธรรมะ เป็นพวกมุ่งแต่อำนาจและผลประโยชน์ของตนเอง สรุปแล้วการเมืองเป็นเรื่องของความวุ่นวาย คนเราจะสนใจศาสนาสนใจการปฏิบัติธรรมไปพร้อมๆ กับสนใจการเมืองไม่ได้

แน่นอนว่า ผมย่อมเคารพความคิดความเชื่อของพวกเขา แต่วันหนึ่งเมื่อเราคุยกันเรื่องเสรีภาพกับความเป็นมนุษย์และเสรีภาพทางการเมือง ปรากฏว่ามีนักศึกษาคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “ความคิดเรื่องเสรีภาพก็เป็นแค่ความคิดของนักปรัชญา เป็นแค่สมติสัจจะเป็นความจริงสมมติที่หักล้างได้ ไม่ใช่ปรมัตถสัจจะที่โต้แย้งไม่ได้เหมือนคำสอนของพุทธศาสนา”

คำพูดดังกล่าว (และท่าทางของผู้พูดที่ดูมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าตนเองพูดถูกต้อง) ยังติดอยู่ในความทรงจำของผม ทำให้ผมอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า ทำไมนักศึกษาที่เข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นประจำ เมื่อออกมาอยู่นอกวัดแล้วพวกเขาจึงเอา “กำแพงวัด” มาด้วย

มันคือกำแพงที่ปิดกั้นไม่ให้พวกเขาเปิดใจเรียนรู้ความคิดอื่น ภูมิปัญญาอื่นที่ต่างออกไป มันคือกำแพงที่ปิดกั้นพวกเขาจากความดีงามในความหมายอื่นๆ เช่น ความดีงามในความหมายของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความเป็นธรรมทางสังคม-การเมือง เป็นต้น

มองอย่างผิวเผิน เด็กกลุ่มนี้คือเด็กดี เข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นประจำ พวกเขากระตือรือร้นรับใช้วัด มีกฐิน ผ้าป่า งานบวชระดับชาติ หรือโครงการปฏิบัติธรรมใหญ่ๆ พวกเขาก็ส่งข่าว และแวะเวียนมา “บอกบุญ” กับผมและอาจารย์คนอื่นๆ เป็นประจำ

แต่หากมองลึกลงไป ผมรู้สึกถึง “บาดแผล” บางอย่างที่ศาสนาได้สร้างขึ้น นั่นคือบาด “แผลแห่งมโนธรรมทางสังคม” ศาสนาได้สร้างให้เยาวนชกลุ่มหนึ่งเชื่ออย่างฝังหัวว่า การรับใช้วัดคือการรับใช้สังคม คำสอน ความเชื่อตามแนวทางของวัดคือสัจธรรมหนึ่งเดียวที่ประเสริฐสุด ส่วนความรู้อื่น ภูมิปัญญาอื่น หรือมโนธรรมทางสังคม เช่น ความรักเสรีภาพ รักประชาธิปไตย รักความเป็นธรรม ตลอดถึงความรู้สึกสะเทือนใจต่อการที่รัฐใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชน กลายเป็นเรื่องที่ไม่ควรใส่ใจ ไม่มีคุณค่าที่ควรนำมาไตร่ตรอง เพราะไม่ใช่เรื่องทางธรรม ไม่เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีเพื่อการมีชีวิตที่ดี (ส่วนตัว)

และหากจะว่าไปแล้ว ระบบการปลูกฝังศีลธรรมแบบพุทธในบ้านเราไม่ใช่ระบบศีลธรรมที่สอนให้เราเชื่อมั่นในเสรีภาพ เหตุผล หรือวิจารณญาณของตนเอง หากแต่เป็น “ระบบศีลธรรมอำนาจนิยม” หมายถึง ระบบศีลธรรมที่สอนให้เชื่อฟังผู้มีอำนาจ ไม่ว่าผู้มีอำนาจนั้นจะเป็นผู้มีอำนาจรัฐ ผู้มีอำนาจเหนือรัฐ พระสงฆ์ นักเทศน์ นักวิชาการ ปัญญาชนที่สังคมยกย่องกันว่าเป็น “คนดีมีคุณธรรม” หรือ “ปูชนียบุคคล”

ทว่าในวิกฤตกว่า 5 ปีที่ผ่านมา บรรดาผู้มีอำนาจในความหมายต่างๆ ดังกล่าวล้วนแต่ถูกตั้งคำถาม ถูกท้าทายอย่างถึงราก ทำให้ “พระชื่อดัง” ออกมาบ่นว่า ยุคนี้เป็นยุคแห่งความสับสน เป็นยุคที่ศีลธรรมเสื่อม ผู้คนไม่เคารพ “คนดี” ไม่เคารพ “ความดี” หรือบ้างก็ออกมาพูดกันว่า “ยุคนี้เป็นยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม...”

คำถามคือ หากความสับสนคือบาดแผลอย่างหนึ่งของยุคสมัยของเรา ศาสนามีส่วนสร้างบาดแผลนี้หรือไม่? เมื่อ “พระชื่อดัง” โยนธรรมะใส่สังคม เช่น “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” หรือ “เป็นกลางหมายถึงเลือกข้างความถูกต้อง ธรรมอยู่ฝ่ายไหนต้องเลือกฝ่ายนั้น” หรือ “ตราบใดที่นักการเมืองยังคอร์รัปชันก็ต้องมีรัฐประหารเพราะมันเป็นเหตุปัจจัยตามกฎอิทัปปัจจยตา” ฯลฯ

ธรรมะที่โยนใส่สังคมดังกล่าว (เป็นต้น) ทำให้สังคมหายสับสน หรือทำให้สังคมเกิด enlightenment อย่างไรไม่ทราบครับ?

ประชาชนจำนวนมากเขาชัดเจนอยู่แล้วว่า รัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ถูกต้อง สองมาตรฐานไม่ถูกต้อง ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนไม่ถูกต้อง อำนาจนอกระบบที่แทรกแซงการเมืองไม่ถูกต้อง ระบบอำนาจนิยมแบบจารีตที่ปิดกั้นเสรีภาพและขัดแย้งกับหลักความเสมอภาคในความเป็นคนไม่ถูกต้อง ฯลฯ และจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่เคารพเสียงส่วนใหญ่

ลองทบทวนดูให้ดี อย่างไม่มี “อคติ” (เห็นพระนักเทศนาชอบใช้คำนี้) ว่าระบบการปลูกฝังศีลธรรมแบบอำนาจนิยมของศาสนา และผู้มีอำนาจชี้ถูกชี้ผิดทางสังคมในความหมายต่างๆ ดังกล่าวมาใช่หรือไม่ ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้าง “บาดแผลแห่งความสับสน”

จนกลายเป็น “บาดแผลแห่งยุคสมัย” ที่ยากจะลบเลือนไปจากประวัติศาสตร์สังคมไทย! 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวรัฐฉานหวั่นผลกระทบหลังเหมือนถ่านหินเมืองก๊กบริษัทไทยเดินหน้า

Posted: 05 May 2011 07:47 AM PDT

สำนักข่าว SHAN รายงานเมื่อวันที่  4 พ.ค.54 บริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด กำลังเร่งก่อสร้างโครงการขุดถ่านหินลิกไนต์ในเมืองก๊ก จ.เมืองสาด ทางภาคตะวันออกของรัฐฉาน ตรงข้าม อ .แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายอย่างต่อเนื่อง แม้ชาวบ้านทั้งในรัฐฉานและฝั่งไทยจะแสดงความกังวลและคัดค้านโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2552 ก็ตาม ส่วนสถานการณ์ล่าสุด มีรายงานว่า โครงการดังกล่าวกำลังทำให้ไร่นาของชาวบ้านถูกทำลายเป็นวงกว้าง

“ทางบริษัทเริ่มเคลียร์พื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา พวกเขาทำลายทุกอย่างที่อยู่ในพื้นที่โครงการ พื้นที่ซึ่งไม่กำหนดอยู่ในโครงการก็ถูกทำลายด้วยเช่นเดียวกัน” แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าว

ตามข้อมูลของชาวนาในพื้นที่ระบุว่า ทางบริษัทสระบุรีถ่านหินได้จ่ายเงินให้กับชาวนาจำนวน 20, 000 บาทต่อพื้นที่ 2.5 ไร่ เพื่อเป็นเงินชดเชยให้กับชาวนา อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ทางการพม่ากลับจ่ายเงินให้กับชาวนาเพียง 20,000 จั๊ต (ประมาณ 733 บาท) เท่านั้น

“ด้วยเงินเพียงจำนวนน้อยนิด เราจะอยู่ในระยะยาวได้อย่างไร? เจ้าหน้าที่บริษัทสระบุรีถ่านหินบางคนแนะนำให้เราย้ายไปอยู่ประเทศไทย หากเราไม่มีที่ให้อยู่และไม่สามารถทำมาหากินที่บ้านเกิดได้ พวกเขายังบอกอีกว่า ที่ประเทศไทยมีงานเยอะแยะให้เราทำ” หญิงคนหนึ่งกล่าว

ทั้งนี้ บริษัทสระบุรี จำกัด มีแผนสร้างถนนเพื่อลำเลียงถ่านหินจากเมืองก๊ก ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการถ่านหินสู่ชายแดนไทยด้านบ้านแม่โจ๊ก (พม่า) – บ้านม้งเก้าหลัง (ไทย) อ .แม่ฟ้าหลวง จ .เชียงราย อย่างไรก็ตาม ถูกต่อต้านคัดค้านจากชาวบ้านใน อ.แม่ฟ้าหลวง เพราะกังวลว่า การลำเลียงถ่านหินผ่านหมู่บ้านจะส่งผลกระทบต่อดำรงชีวิตของชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษของถ่านหิน

นอกจากนี้ชาวบ้านยังวิตกว่า เส้นทางที่บริษัทสระบุรีถ่านหินจะก่อสร้างนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งยังมีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่ม รวมไปถึงขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งอาจส่งผลกระทบในด้านความมั่นคงด้วย

ขณะที่ บริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด ได้รับสัมปทานขุดถ่านหินลิกไนต์ในเมืองก๊กจากรัฐบาลพม่าเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ขณะที่ถ่านหินจากเมืองก๊กนั้นจะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ที่จังหวัดสระบุรี

 

.................................................

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายผู้หญิงฯ เปิดผนึกถึงนายกฯ ยุติสงครามกัมพูชา

Posted: 05 May 2011 07:41 AM PDT

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยในความสูญเสียของประชาชนทั้งสองฝ่ายกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและกัมพูชากรณีพื้นที่ชายแดน โดยจดหมายดังกล่าวเรียกร้องให้ยุติการใช้อาวุธสงครามทันทีโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ ยุติการใช้เขาพระวิหารเป็นเงื่อนไข เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองภายในของแต่ละฝ่าย ให้ใช้แนวทางแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี โดยเคารพในสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทั้งสองประเทศจะต้องได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม รวมถึงกลุ่มผู้หญิง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ชายแดน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง รวมทั้งยื่นเรื่องให้ UNESCO ยืดเวลาการพิจารณาเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อลดทอนบรรยากาศความขัดแย้งและตึงเครียดของทั้งสองฝ่าย

0 0 0

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ
เรื่องข้อเสนอแนะกรณีความขัดแย้งไทย-กัมพูชาโดยเครือข่ายผู้หญิงฯ

4 พฤษภาคม 2554

สืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและกัมพูชากรณีพื้นที่ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร จ. ศรีสะเกษ และที่บริเวณปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย จ.สุรินทร์และชายแดนจ.บุรีรัมย์ ที่ได้ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กุมภาพันธ์  2554 ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ  มีผู้ที่สูญเสียชีวิต บาดเจ็บ จำนวนมาก คนชรา เด็ก และผู้หญิงต้องอพยพจากหมู่บ้านและที่พักอาศัย เพื่อหลบหนีภัยจากอาวุธสงครามที่ทั้งสองฝ่ายตอบโต้กัน   ประชาชนกว่า 40,000 ชีวิต ต้องตกอยู่ในสภาวะยากลำบากไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ได้ก่อให้เกิดความสะเทือนใจแก่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกเป็นอย่างยิ่ง    

เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรผู้หญิงจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีความห่วงใยในชีวิตของประชาชนทั้งสองฝ่ายที่ต้องพลัดที่อยู่ บาดเจ็บ และสูญเสียชีวิต  อันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งจากกรณีพิพาทบริเวณชายแดนดังกล่าว  ทั้งที่ประชาชนทั้งสองฝ่ายเคยถ้อยทีถ้อยอาศัยและอยู่อย่างปกติสุขมายาวนาน จึงขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการโดยเร่งด่วน ดังนี้

-ยุติการใช้อาวุธสงครามทันทีโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ

-ยุติการใช้เขาพระวิหารเป็นเงื่อนไข เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองภายในของแต่ละฝ่าย               

-ใช้แนวทางแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี โดยเคารพในสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทั้งสองประเทศจะต้องได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ตามพันธสัญญาของกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกฎบัตรอาเซียนที่เน้นถึงการอยู่ร่วมเป็นประชาคมอาเซียนอย่างมีสันติภาพและความสงบสุข

-สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม รวมถึงกลุ่มผู้หญิง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ชายแดน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งตามมติขององค์การสหประชาชาติที่ 1325 (UN Resolution No 1325) โดยรับฟังเสียงสะท้อนและความต้องการของประชาชนและกลุ่มผู้หญิง ตลอดจนให้การเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้น

-ยื่นเรื่องให้ UNESCO ยืดเวลาการพิจารณาเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อลดทอนบรรยากาศความขัดแย้งและตึงเครียดของทั้งสองฝ่าย

เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้า  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ฯพณฯ จะเร่งดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้น เพื่อให้เกิดสันติภาพและสันติสุขแก่ประชาชนทั้งสองประเทศและในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืนสืบไป 

                                                                      ขอแสดงความนับถือ
                                                เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ

        

รายชื่อเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ
มูลนิธิผู้หญิง
กลุ่มหญิงสู้ชีวิต
มูลนิธิเพื่อนหญิง
มูลนิธิพิทักษ์สตรี
มูลนิธิศูนย์ธารทิพย์
สมาคมสตรีตาบอด
กลุ่มผู้หญิงอันดามัน
เครือข่ายสตรีภาคใต้
องค์การคนพิการสากล
กลุ่มแรงงานทำงานบ้าน
เครือข่ายภาคประชาชนกรุงเทพฯ
เครือข่ายผู้ด้อยโอกาสชุมชนเมือง
เครือข่ายประชาชนเขตภาษีเจริญ
กลุ่มแรงงานนอกระบบหนองจอก
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสิทธิผู้หญิง
สมาคมเพื่อความก้าวหน้าคนตาบอด
เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย
มูลนิธิเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชน
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย
มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)
ศูนย์ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กเครือข่ายแม่หญิงล้านนา เชียงใหม่
เครือข่ายวิจัยและรณรงค์เพื่อสตรี มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม
ศูนย์พิทักษ์เด็กและสตรี มูลนิธิเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชน
คณะทำงานวาระทางสังคม  สถาบันวิจัยสังคม  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ชมรมอาสาสมัครกฎมายเพื่อผู้หญิง ศูนย์สตรีศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มด้วยใจ กลุ่มครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ว่าด้วยทวิตเตอร์แอคเคาท์ @PM_Abhisit สมบัติส่วนตัวหรือของรัฐบาล?

Posted: 05 May 2011 07:22 AM PDT

บล็อกเกอร์ตั้งข้อสังเกตหลังทวิตเตอร์แอคเคาท์ @PM_Abhisit รีทวีตข้อความประชาสัมพันธ์ ปชป.-เว็บประจำตัวนายกฯ ทำลิ้งก์ไปทวิตเตอร์อภิสิทธิ์ ถามความชัดเจน "สมบัติสาธารณะ" หรือ "สมบัติส่วนบุคคล"

 

บล็อก www.ipattt.com ของพัชร เกิดศิริ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดออนไลน์ บริษัทไทเกอร์ไอเดีย เรื่อง "ของรัฐบาลหรือของส่วนตัว ? จับตาดู account @PM_Abhisit" เมื่อวันที่ 3 พ.ค.54 ซึ่งระบุว่าเขียนร่วมกับวรงค์ หลูไพบูลย์ ตั้งข้อสังเกตจากกรณีทวิตเตอร์แอคเคาท์ @PM_Abhisit รีทวีตข้อความจากทวิตเตอร์แอคเคาท์ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งมีเนื้อหาประชาสัมพันธ์นโยบายพรรค รวมทั้งพาดพิงถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทยในเชิงเปรียบเทียบด้วย

เนื้อหาของบล็อกย้อนรอยไปถึงช่วงที่มีการตั้งคำถามจากสาธารณะว่า แอคเคาท์ @PM_Abhisit นั้นทวีตโดยนายอภิสิทธิ์จริงหรือไม่ หลังจากที่มีการอวยพรวันเกิดไปยัง @thaksinlive (ทวิตเตอร์แอคเคาท์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) โดย ปชป.เคยชี้แจงว่าทวิตเตอร์แอคเคาท์ดังกล่าวทวีตโดยอาสาสมัครที่ไม่ได้รับเงินเดือน ก่อนจะออกมาแถลงข่าวว่าตัดสินใจใช้แอคเคาท์ดังกล่าวเป็นแอคเคาท์ทางการของนายอภิสิทธิ์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เมื่อลองดูในหน้าโปรไฟล์ของแอคเคาท์ @PM_Abhisit พบว่าคำอธิบายค่อนข้างกำกวม โดยระบุว่า เป็นแอคเคาท์ทางการของนายกรัฐมนตรีของไทย

บล็อกดังกล่าวตั้งคำถามถึงบทบาทในฐานะบุคคลและผู้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่

"เมื่อคุณอภิสิทธิ์สวมบทบาทเป็นประชาชนคนหนึ่ง ย่อมมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรได้ดังเช่นคนปรกติทั่วๆ ไป เช่นการสนทนาพูดคุยเล่นหัวกับผู้อื่น หรือการหาประโยชน์ส่วนตัวหรือพรรคพวก ดังเช่นการโฆษณาหาเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ที่คุณอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้านั้นย่อมไม่เป็นปัญหาอันใด แต่เพราะคุณอภิสิทธิ์ยังมีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย เมื่อคุณอภิสิทธิ์สวมบทบาทนี้ หรือใช้ทรัพยากรในฐานะนายกรัฐมนตรี (อันหมายถึงเป็นของสาธารณะ) จำเป็นต้องระมัดระวังและเคร่งครัดที่จะไม่ใช้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ของคุณอภิสิทธิ์เองหรือพรรคการเมืองที่คุณอภิสิทธิ์สังกัด

"ดังนั้นคำถามที่น่าสนใจก็คือ: แอคเคาท์ @PM_Abhisit นั้นเป็นแอคเคาท์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย หรือ แอคเคาท์ส่วนตัวของคุณอภิสิทธิ์เอง ซึ่งทั้งสองแบบนี้ย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในบทบาทและการบริหารจัดการ"

นอกจากนี้ มีการยกตัวอย่างเว็บไซต์ทางการประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (http://www.pm.go.th) ซึ่งมีการเชื่อมต่อไปที่ทวิตเตอร์แอคเคาท์ ทั้งนี้ การที่เว็บลงท้ายด้วย .go.th บ่งบอกว่าเป็นเว็บไซต์ของทางราชการ ซึ่งใช้เงินภาษีของประชาชนในการสร้าง การเชื่อมต่อไปที่ทวิตเตอร์แอคเคาท์ดังกล่าว ย่อมส่งผลให้เข้าใจว่าแอคเคาท์ @PM_Abhisit เป็นทวิตเตอร์แอคเคาท์ทางการประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อมีการทวีตข้อความประชาสัมพันธ์ ปชป. ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น จึงควรมีการอธิบายความคลุมเครือนี้ต่อสาธารณชน

ทั้งนี้ บล็อกดังกล่าวได้หยิบยกเว็บไซต์ของทำเนียบขาวของสหรัฐฯ มาเปรียบเทียบด้วย โดยระบุว่า การเชื่อมต่อทวิตเตอร์แอคเคาท์นั้นเชื่อมต่อไปที่ทวิตเตอร์แอคเคาท์ของทำเนียบขาว ด้านเนื้อหา เว็บไซต์ทำเนียบขาว มีข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ การบริหารจัดการ และทำเนียบประธานาธิบดีทุกคนในอดีต ขณะที่เว็บไซต์นายกรัฐมนตรี ข้อมูลเกือบทั้งหมดอิงอยู่กับตัวนายอภิสิทธิ์ โดยไม่มีเรื่องของนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ในอดีต อย่างไรก็ตาม ทิ้งท้ายไว้ว่า อาจไม่มีนโยบายในการพัฒนาหรือไม่มีเวลาเพียงพอก็เป็นได้

ตอนท้าย บล็อกนี้สรุปถึงพื้นที่ออนไลน์และความชัดเจนของตำแหน่งและบทบาท โดยชี้ให้เห็นว่า ความพยายามแยกให้ชัดเจนระหว่างสมบัติสาธารณะกับสมบัติส่วนบุคคลเป็นหลักการหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ อันนำไปสู่เส้นทางของการต่อต้านคอร์รัปชัน ในพื้นที่ใหม่อย่างโลกออนไลน์ของไทยที่ยังปราศจากความชัดเจนที่ว่านี้ สาธารณชนผู้ประกาศตัวว่ารังเกียจการคอร์รัปชันและการเอารัดเอาเปรียบ จึงควรให้ความสนใจประเด็นนี้เช่นกัน

 

บทสรุป: พื้นที่ออนไลน์และความชัดเจนเรื่องตำแหน่งบทบาท
ทรัพยากรในโลกออนไลน์ในฐานะสมบัติสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และคงเช่นเดียวกับบรรดาสิ่งเกิดใหม่ทั้งหลายที่อาจจะยังไม่มีบรรทัดฐานที่ ชัดเจน ดังเช่นทรัพยากรกายภาพในแบบที่เราคุ้นเคย

หากลองสำรวจตัวอย่าง อื่นๆ ให้กว้างไปจากเดิม ในเว็บของกระทรวงการคลัง เราจะพบส่วนประชาสัมพันธ์ Social media ไปยังแอคเคาท์ @PM_abhisit , เว็บไซต์ส่วนตัวของคุณกรณ์ และพรรคประชาธิปปัตย์ด้วย

ในหน้าเว็บไซต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรายังได้พบคลิปวีดีโอ ใครคนนั้น อันเป็นมิวสิควีดีโอประชาสัมพันธ์คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะปรากฏอยู่ คลิปวีดีโอนี้ออกมาในช่วงกำลังจะเข้าสู่การหาเสียงเลือกตั้ง ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ตัวคลิปโฆษณาคุณอภิสิทธิ์ในช่วงท้าย ให้ข้อมูลแว่บหนึ่งว่าเป็นงานของสำนักนายกรัฐมนตรี อันน่าจะมาจากงบประมาณสาธารณะ ภาษีประชาชน ซึ่งควรจะใช้งานได้ในระยะเวลาพอควร โดยไม่ผูกติดอยู่เพียงตัวคุณอภิสิทธิ์เท่านั้น

แต่คลิปวิดีโอนี้ออกมาในช่วงคุณอภิสิทธิ์กำลังจะพ้นจากตำแหน่ง นั่นหมายถึงอายุใช้งานอาจจะสั้นนิดเดียวก็เป็นได้

 

ความพยายามแยกให้ชัดเจนระหว่างสมบัติสาธารณะกับสมบัติส่วนบุคคลเป็นหลักการหนึ่ง ที่เป็นพื้นฐานของความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ อันนำไปสู่เส้นทางของการต่อต้านคอร์รัปชัน ในยุคสมัยที่คนไทยกำลังตื่นตัวและให้ความสนใจกับประเด็นคอร์รัปชัน พื้นที่ใหม่อย่างโลกออนไลน์ของไทยยังปราศจากความชัดเจนที่ว่านี้ สมควรที่สาธารณะชนผู้ประกาศตัวว่ารังเกียจการคอร์รัปชันและการเอารัด เอาเปรียบ ควรให้ความสนใจประเด็นนี้ในระดับที่เหมาะสมของแต่ละท่านต่อไป โดยไม่ตั้งแง่ว่าผู้ใดกำลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่

 

จาก http://www.ipattt.com/2011/personal-government/

 

 

---------------------
อ่านบล็อกเรื่อง  "ของรัฐบาลหรือของส่วนตัว ? จับตาดู account @PM_Abhisit" ที่ http://www.ipattt.com/2011/personal-government/
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พวงทอง ภวัครพันธุ์: นัยของการยื่นศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ของกัมพูชา

Posted: 04 May 2011 11:36 PM PDT

 

ในที่สุดสิ่งที่ผู้เขียนเคยคาดการณ์ไว้ก็เป็นจริง เมื่อรัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจยื่นให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหารปี 2505 เพราะเห็นว่าไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาข้อพิพาทเหนือพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารโดยลำพังสองประเทศอีกต่อไป รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่รังเกียจบทบาทของบุคคลที่สามมาตลอด ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป เพียงแต่เมื่อถึงตอนที่กระบวนการตีความเริ่มขึ้น อาจไม่มีรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว แต่เป็นรัฐบาลอื่นที่ต้องมารับปัญหาต่อไป

การยื่นขอให้ศาลโลกตีความนี้ กัมพูชาอาศัยมาตรา 60 ของธรรมนูญศาลโลก ที่ระบุว่า “ในกรณีที่มีข้อพิพาทว่าด้วยความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลพึงตีความตามคำร้องของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” โดยมาตรา 60 อนุญาตให้กัมพูชายื่นได้โดยลำพัง ไม่จำเป็นต้องได้รับการสมยอมจากไทย ไม่ได้กำหนดว่าต้องยื่นภายในระยะเวลาเท่าไร (อันนี้คนละเรื่องกับการอุทธรณ์คำพิพากษา ที่ต้องกระทำภายใน 10 ปีหลังมีคำพิพากษา) แต่เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ฝ่ายไทยก็ต้องตั้งทีมกฏหมายเพื่อไปโต้แย้งข้อกล่าวหาและคำร้องของกัมพูชาอย่างแน่นอน เพราะถ้าไม่ไป ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงกับศาลโลกอยู่ฝ่ายเดียว เสียเปรียบแน่นอน

เรื่องกัมพูชายื่นให้ศาลโลกตีความนี้ เป็นข่าวอยู่หลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ แต่ไม่มีความชัดเจนว่าจะยื่นให้ศาลตีความประเด็นอะไร จนกระทั่งวันจันทร์ที่ 2 พ.ค.นี้ เว็บไซต์ของศาลโลกก็ตีพิมพ์ใบแถลงข่าว ทำให้มีรายละเอียดมากพอที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ จะเข้าใจประเด็นที่กัมพูชายื่นให้ตีความ เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปดูคำพิพากษาปี 2505 เสียก่อน

ข้อวินิจจัยเรื่องเส้นเขตแดนปี 2505
ความพ่ายแพ้ของไทยในคดีปราสาทพระวิหาร เป็นผลจากคำพิพากษาของศาลโลก 3 ข้อด้วยกันคือ
1. ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
2. ไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา
3. รัฐบาลไทยมีพันธะที่จะต้องส่งคืนโบราณวัตถุต่างๆ ที่ฝ่ายไทยได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทพระวิหาร

กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลตีความคำพิพากษาข้อ 2 ข้อเดียว โดยขอให้ศาลวินิจฉัยและชี้ขาดว่าประเด็นที่ว่า “พันธะที่ประเทศไทยจะต้อง “ถอนกำลังทหาร หรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงในอาณาเขตของกัมพูชา (ตามข้อ 2 ของบทปฏิบัติการของคำพิพากษาเมื่อปี 2505) เป็นผลโดยตรงของการที่ไทยมีพันธะที่จะต้องเคารพต่อบูรณภาพของดินแดนของกัมพูชา ทั้งนี้ ดินแดนดังกล่าว อันเป็นที่ตั้งของปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ได้ถูกปักปันตามเส้นเขตแดนที่ลากไว้บนแผนที่ (ซึ่งศาลได้เคยวินิจฉัยไว้ในหน้า 21 ของรายงานคำพิพากษา)”

แปลข้อความดังกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ กัมพูชาต้องการให้ศาลชี้ชัดว่า ที่ศาลเคยพิพากษาว่าไทยจะต้องถอนกองกำลังออกจากปราสาทพระวิหารและ “บริเวณใกล้เคียง” (vicinity) ในเขตกัมพูชานั้น ขอบเขตของ “บริเวณใกล้เคียง” ถูกกำหนดด้วยเส้นเขตแดนที่ปรากฎในแผนที่ใช่หรือไม่

ทั้งนี้ กัมพูชาถือว่าศาลโลกได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าเส้นเขตแดนในบริเวณพิพาทคือเส้นที่ลากไว้บนแผนที่ อันเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส (หรือแผนที่ 1: 200,000) ดังนี้

"ประเทศไทยใน ค.ศ.1908-1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไป การกระทำต่อๆ มาของไทยมีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน"

แม้ว่าศาลโลกได้ระบุไว้ว่าข้อวินิจฉัยเรื่องเส้นเขตแดนนี้ จะไม่ถูกรวมไว้ใน “บทปฏิบัติการ” (operative clause) ของคำพิพากษา แต่เป็น “การให้เหตุผล” เพื่อใช้ตัดสินสามประเด็นที่ยกมาข้างต้นเท่านั้น แต่ฝ่ายกัมพูชามองว่านี่คือจุดแข็งของตนเอง เพราะศาลระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเส้นเขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร คือเส้นที่ปรากฏในแผนที่ ขณะที่ศาลไม่เคยวินิจฉัยยอมรับว่าเส้นสันปันน้ำ คือเส้นเขตแดนในบริเวณพิพาทเลย แต่ศาลยังเห็นว่า “ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดเส้นเขตแดนในแผนที่ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท”

นัยของการตีความข้อนี้คือ หากศาลตีความเป็นคุณให้กับฝ่ายกัมพูชา ก็หมายความว่าไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม.ให้หมดนั่นเอง

มาตรการเฉพาะกาล (Provisional measures)
กัมพูชายังได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติมว่า ในระหว่างรอผลการตีความของศาลนี้ ขอให้ศาลได้ออกมาตรการเฉพาะกาล (provisional measures) เป็นการเร่งด่วน ดังต่อไปนี้

1. ให้กองกำลังทั้งหมดของไทยถอนตัวออกจากดินแดนของกัมพูชาในบริเวณปราสาทพระวิหาร
2. ห้ามไทยกระทำกิจกรรมทางทหารทุกชนิดในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
3. ให้ประเทศไทยยุติการกระทำใดๆ ที่อาจเป็นการแทรกแซงสิทธิของกัมพูชา หรือทำให้สถานกาณ์เลวร้ายลง

กัมพูชาให้เหตุผลประกอบคำร้องดังกล่าวว่า เป็นผลจากการปะทะกันอย่างรุนแรงของกำลังทหารในบริเวณปราสาทพระวิหารและชายแดนจุดอื่นๆ จนนำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การบาดเจ็บ และผู้คนจำนวนมากต้องอพยพออกจากที่พัก มาตรการเฉพาะกาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับปกป้องอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของกัมพูชา ทำให้ไทยยุติการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น และป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม

ในกรณีนี้ กัมพูชาอ้างมาตรา 41 ของธรรมนูญศาลโลกที่บัญญัติว่า “หากศาลพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นในทางสถานการณ์ ศาลพึงมีอำนาจที่จะกำหนดให้ใช้มาตราการเฉพาะกาลที่จะช่วยพิทักษ์สิทธิของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” นี่จึงเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ฝ่ายไทยจะต้องโต้แย้งอีกเช่นกัน เพราะหากศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาร้องขอ ก็จะนำไปสู่คำถามที่สำคัญอีกว่า อาณาบริเวณที่กองกำลังของไทยจะต้องถอนตัวออกมานี่ มีขอบเขตแค่ไหน ใช้อะไรเป็นเกณฑ์

ผู้เขียนเห็นด้วยกับอ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ที่ว่าเป็นการยากที่จะคาดคะเนว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะ แพ้ หรือเสมอ และศาลอาจรับหรือไม่รับคำร้องขอให้ตีความของกัมพูชาก็ได้ การอ่านผลของคดีเก่าๆ อาจช่วยให้เราคาดคะเนทิศทางการวินิจฉัยคดีของศาลได้บ้าง แต่ก็เป็นได้แค่การประเมินเท่านั้น เพราะแต่ละคดีมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การตีความเหตุการณ์และตัวกฎหมายยังขึ้นกับตัวผู้พิพากษาเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือ ทีมกฎหมายของไทยมีงานหนักที่จะต้องโต้แย้งคำร้องของกัมพูชาอยู่หลายข้อทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังอดรู้สึกผิดหวังไม่ได้ที่ในที่สุดกรณีปราสาทพระวิหารต้องเดินมาถึงจุดนี้ เพราะในความเป็นจริง ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปราสาทพระวิหาร สามารถเจรจาจนรัฐบาลกัมพูชายอมรับที่จะให้มีการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารร่วมกัน แต่ความพยายามนี้ก็ต้องถูกทำลายลงด้วยกระแสคลั่งชาติ จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายหลายครั้งหลายครา ปัญหาคือ การยื่นตีความนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะ ก็จะไม่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้น มีแต่จะเป็นเหตุแห่งการเพิ่มพูนความเกลียดชังซึ่งกันและกันยิ่งขึ้นไปอีก
 



*ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันอยู่ระหว่างเป็น Visiting research fellow, the Shorenstein Asia Pacific Research Center, Stanford University

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ฮิวแมนไรต์ วอต์ช"

Posted: 04 May 2011 10:42 PM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ฮิวแมนไรต์ วอต์ช"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น