ประชาไท | Prachatai3.info |
- เครือข่ายนักวิชาการพร้อม ร่วมมือภาครัฐเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรอันตราย
- จดหมายจากผู้อ่าน: หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง …
- ศาลแพ่งเปิด “แผนกคดีสิ่งแวดล้อม” ประเดิมคดีชาวบ้านสระบุรีฟ้องบ่อขยะ
- “เนวิน” เชื่อแม้ “เพื่อไทย” ชนะ “ยิ่งลักษณ์” ก็เป็นนายกฯ ไม่ได้ เพราะจะทำให้สังคมแตกแยก
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "10=10"
- แกนนำสหภาพแรงงานเคเอฟซี เผยเจรจาไม่คืบ
- สัมภาษณ์ 4 นักเขียนรุ่นใหม่ กับ ม.112 : ถึงเวลาแล้วที่(เรา)จะต้องออกมาพูดเรื่องนี้
เครือข่ายนักวิชาการพร้อม ร่วมมือภาครัฐเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรอันตราย Posted: 25 May 2011 02:14 PM PDT วันนี้ (25 พ.ค.) – เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร (Thailand Pesticide Alert Network -ThaiPAN) นำโดยนพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ และคณะได้เข้าพบอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อสนับสนุนแนวทางการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ได้มาตรฐานและสามารถดำเนินการได้ภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้โดยนายจิรากร โกศัยเสวี ได้ให้ข้อมูลว่าขณะนี้มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกว่า 300 รายการที่ผ่านการประเมินแล้ว และคาดว่าจะมีถึง 1,000 ทะเบียนที่สามารถขึ้นทะเบียนได้ทันกำหนดในวันที่ 22 สิงหาคม 2554 นี้ นอกเหนือจากนี้ยังพบว่ามีการนำเข้ายาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากสำหรับจัดจำหน่ายหากไม่สามารถขึ้นทะเบียนสารเคมีได้ทัน โดยกฎหมายได้อนุโลมให้สามารถทำได้หากมีการนำเข้าและผลิตก่อนวันที่ 22 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม การนำเข้าดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ โดยกรมวิชาการเกษตรจะกำกับดูแลให้มีการจำหน่ายยาฆ่าแมลงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เครือข่ายวิชาการฯยังมีข้อกังวลเพิ่มเติมเรื่องการขึ้นทะเบียนของสารเคมีอันตรายที่อยู่ในบัญชีเฝ้าระวังเช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ซึ่งถูกยกเลิกการใช้แล้วในหลายประเทศเนื่องจากเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บที่สำคัญเช่นโรคมะเร็งและโรคต่อระบบประสาท โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรมีท่าทีเห็นชอบกับการแบนสารเคมีเหล่านี้และมีนักวิชาการของกรมที่กำลังศึกษาและเตรียมข้อมูลอยู่เช่นกัน แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย และอาจมีการขอข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งทำให้กระบวนการยกเลิกการขึ้นทะเบียนต้องใช้เวลานาน หลังจากได้ทราบเกี่ยวกับกระบวนการและกลไกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตรายดังกล่าวแล้ว เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตรจึงได้เสนอตัวเพื่อให้ความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรเพื่อรวบรวมผลการศึกษาทางวิชาการเพื่อใช้ในการดำเนินการแบนสารเคมีกลุ่มดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ทางเครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตรจะมีการจัดประชุมเชิงวิชาการในวันที่ 16-17 มิถุนายนนี้ เพื่อนำเสนอข้อมูลผลกระทบของสารเคมีอันตรายและส่งเสริมแนวทางการมีส่วนร่วมของภาควิชาการและประชาสังคมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จดหมายจากผู้อ่าน: หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง … Posted: 25 May 2011 02:11 PM PDT กระผมนายแดง ใบเตย เป็นผู้อ่านเว็บไซต์ประชาไท ขอเสนอข้อคิดเห็นว่าถ้ 1. นิรโทษกรรมคดีการเมืองหลังการรั หมายเหตุ: สำหรับการนิรโทษกรรมคดี 2. เอาผิดผู้มีส่วน “สั่งการ-รู้เห็น” การปราบปรามประชาชน ทั้งกรณี 7 ตุลา และการล้อมฆ่าคนเสื้อแดง - เอาผิดกับผู้สั่งการและรู้เห็ - เอาผิดกับผู้สั่งการและรู้เห็ ทั้งนี้การหาความจริงและหาคนผิ 3. ตั้งคณะกรรมการปกป้องสถาบั ในรายของผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวจะต้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ศาลแพ่งเปิด “แผนกคดีสิ่งแวดล้อม” ประเดิมคดีชาวบ้านสระบุรีฟ้องบ่อขยะ Posted: 25 May 2011 07:54 AM PDT อธิบดีฯ ชี้เปิดรับคดีความที่ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ ประเดิมคดีแรกเกษตรแก่งคอยฟ้องบริษัทฝังกลบขยะอันตราย เรียกค่าเสียหาย 2 พันล้าน เผยกฎหมายเปิดช่องยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล วันนี้ (25 พ.ค.54) ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานพิธีเปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง โดยมีนายเกษม เกษมปัญญา อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง นายศิริศักดิ์ เหมาะทอง รองอธิบดีฯ ข้าราชการ ลูกจ้าง ให้การต้อนรับ นายเกษมกล่าวว่า ปัจจุบันคดีสิ่งแวดล้อมเช่นมลพิษทางอากาศ กลิ่น เสียง รังสี น้ำ แรงสั่นสะเทือน สารเคมีปนเปื้อนเกิดขึ้นจำนวนมากมีความเสียหายรุนแรงทุนทรัพย์สูง มีได้ผลกระทบกว้างขวาง จึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ให้ศาลแพ่งนำร่อง เปิดพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมที่เกิดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเปิดทำการวันนี้วันแรก มีคดีสิ่งแวดล้อมมาฟ้องในศาลแพ่ง 3 คดี ทุนทรัพย์แต่ละคดีเป็นพันล้านบาท ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด นายเกษม ให้สัมภาษณ์ว่า การตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ในศาลแพ่ง ไม่ได้เป็นการแย่งงานศาลปกครองมาทำ เพราะคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง เป็นการฟ้องหน่วยราชการที่ปล่อยให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชาวบ้าน จึงฟ้องให้รัฐแก้ไขเยียวยา หรือเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีที่ฟ้องศาลแพ่ง เป็นคดีเสียหายจากการละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินโดยตรง ในเรื่องอำนาจฟ้องของประชาชนในคดีสิ่งแวดล้อมต่อศาลแพ่ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกล่าว่า ต้องเข้าใจว่าคดีสิ่งแวดล้อมผู้เสียหายคือคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบต่อมลพิษต่างๆ ในลักษณะละเมิดทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงิน ไม่ว่าจะเกิดที่เชียงใหม่ สงขลา นอกจากจะฟ้องคดีที่ศาลต่างจังหวัดแล้ว หากเห็นว่าจะไม่ได้รับความสะดวก หรือเกรงกลัวอิทธิพลท้องถิ่น ขอโอนคดีมาได้ ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมศาล เนื่องจากคดีลักษณะนี้มีผู้เสียหายจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านชาวนายากจน หากเรียกค่าธรรมเนียมศาลตามปกติ บางทีอาจต้องเสียรายละเป็นล้านบาทก็ได้ ดังนั้น กฎหมายจึงเปิดช่องให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแก่ชาวบ้านเป็นหลัก นายเกษม ยกตัวอย่าง คดีที่นางศรีวรินทร์ บุญทับ อาชีพเกษตรกรกับพวกรวม 124 คน เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทเบตเตอร์เวิลด์กรีน จำกัด เป็นจำเลย เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย 2,006 ล้านบาท ศาลมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แล้ว พร้อมกล่าวด้วยว่า คดีสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ฝ่ายผู้ก่อมลพิษมีหน้าที่นำสืบว่าได้ก่อมลพิษจริงหรือไม่ ผู้เสียหายได้รับความเสียหายตามฟ้องหรือไม่ โดยฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายก็ไม่ต้องสืบพยานทั้ง 124 คน แต่สามารถนำตัวแทนมาเบิกความแทนได้ ศาลจะใช้ดุลยพินิจประกอบคำเบิกความของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ขึ้นทะเบียนกับศาลไว้ จะแพ้ชนะต้องฟังผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก “อย่างไรก็ตามก่อนจะสืบพยาน ศาลจะให้คู่ความไกล่เกลี่ยกันก่อน เพื่อจะได้ลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และสร้างความรู้สึกที่ดีกับคู่ความทุกฝ่าย การตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ในศาลแพ่ง ไม่ได้เป็นการแย่งงานศาลปกครองมาทำ เพราะคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง เป็นการฟ้องหน่วยราชการที่ปล่อยให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชาวบ้าน จึงฟ้องให้รัฐแก้ไขเยียวยาหรือเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีที่ฟ้องศาลแพ่งเป็นคดีเสียหายจากการละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินโดยตรง” นายเกษมกล่าว ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นางศรีวรินทร์ ในฐานะโจทก์ระบุว่าเป็นเกษตรบริเวณบ้านหนองปลาไหล ต.กุดนก อ.เมือง จ.สระบุรี และ ต.ห้วยแท่ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เมื่อปี 2542 บริษัท เบตเตอร์เวิลด์ฯ จำเลยได้เปิดกิจการรับฝังกลบขยะอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายในพื้นที่ดังกล่าว แต่ภายหลังได้ขยายกิจการรับฝังกลบขยะอันตรายอีกด้วยกระทั่งเกิดมลพิษจากบ่อขยะ น้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ จนเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง ปลาที่เลี้ยงไว้ตาย ชาวบ้านเริ่มเจ็บป่วยมีอาการผิวหนังอักเสบ หายใจไม่ออก แสบตา ตาพร่ามัว จมูกอักเสบ เป็นซีตส์ เจ็บหน้าอก ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ คลื่นไส้ หัวตัว ปวดศีรษะ ตับอักเสบภูมิคุ้มกันลดลง ต่อมาได้ร้องเรียนส่วนราชการพบว่ามีสารแคดเมี่ยม สารปรอท แมงกานีส และสารอื่นๆในน้ำ อากาศ พืชผัก สัตว์เลี้ยง และในพื้นดิน โจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าขาดรายได้จากผลผลิตทางการเกษตร จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายในอนาคต ศาลรับฟ้องคดีไว้พิจารณาต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“เนวิน” เชื่อแม้ “เพื่อไทย” ชนะ “ยิ่งลักษณ์” ก็เป็นนายกฯ ไม่ได้ เพราะจะทำให้สังคมแตกแยก Posted: 25 May 2011 05:24 AM PDT เหมือนสมัยชู “สมชาย” เป็นนายกฯ ดังนั้นอาจต้องเปลี่ยนแคนดิเดตเป็นบุคคลอื่น ด้าน “มาร์ค” ไม่ห่วง “กรุงเทพโพลล์” ให้ “เพื่อไทย” นำ เพราะสำรวจทีไรก็ให้ตนสอบตก ด้านทีมหาเสียงพรรคเพื่อไทยแจ้งความหลังถูกคุณหญิงตบระหว่างหาเสียง เจ้าตัวเผยตบเพราะรำคาญเครื่องขยายเสียง คุณหญิงตบทีมหาเสียงพรรคเพื่อไทยระหว่างหาเสียงย่าน ถ.จันทน์ กทม. ข่าวสดออนไลน์ รายงานเมื่อเช้าวันนี้ (25 พ.ค.) ว่า นางอุดมลักษณ์ จันทร์มา อายุ 49 ปี ทีมงานหาเสียงของนายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย เขต 3 ยานนาวา-บางคอแหลม พา น.ส.ญาณี โมฮำมัสอีสสมาอีล อายุ 24 ปี เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.กฤษณะ จันทร์ประเสริฐ พงส.(สบ 2) สน.วัดพระยาไกร เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ว่าถูกคุณหญิงพวงทอง เกตุอังกูร วัย 62 ปี ใช้ฝ่ามือตบหน้า ขณะกำลังแจกใบปลิวช่วยนายพงษ์ พิสุทธิ์หาเสียง บริเวณตลาดสดกิ่งจันทร์ ถนนจันทน์ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม. เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เชิญคู่กรณี รวมทั้งพยานมาสอบปากคำ พร้อมทั้งไกล่เกลี่ยเพื่อให้เรื่องยุติลงด้วยความดี โดยทาง คุณหญิงพวงทอง ผู้ถูกกล่าวหา กล่าวว่าเป็นผู้ลงมือกระทำการดังกล่าวจริง เนื่องจากทนเสียงของเครื่องขยายเสียงไม่ไหว ทำให้เกิดความรำคาญ และตัวเองก็ไม่ได้เป็นพวกใครหรือชื่นชอบพรรคใดเป็นพิเศษ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ให้ น.ส.ญาณี ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเจริญกรุง และให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
มาร์คไม่ห่วง “กรุงเทพโพลล์” ให้ “เพื่อไทย” นำ เพราะสำรวจทีไรก็ให้ตนสอบตก ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าววันนี้ (25 พ.ค.) ถึงการทำผลสำรวจความคิดเห็นของกรุงเทพโพลล์ ที่ระบุว่าพรรคเพื่อไทยนำพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ กทม. ว่า ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะคนเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจ เมื่อถามว่า กระแสของโพลล์จะมีส่วนโน้มน้าวเรื่องการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่หรอก ตนไม่คิดว่าประชาชนจะไปเลือกตามโพลล์ โพลล์ต้องเป็นตัววัด สิ่งที่เป็นความคิดเห็นของประชาชน เพราะแต่ละคนก็มีดุลพินิจ และในช่วงสุดท้ายตามกฎหมายก็ไม่ให้ต้องเผยแพร่อยู่แล้ว ต่อข้อถามว่า อยากให้นายกรัฐมนตรี บอกข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างตนเองกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่ออันดับ 1 พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังมีเวลาอีก 10 วัน เมื่อถามว่า จุดอะไรที่ทำให้ผลสำรวจความเห็นที่ออกมาทุกครั้ง พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า ตลอดอย่างไร เอแบคโพลล์ก็บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์นำ ตนคิดว่าไม่หรอกครับ สลับไปสลับมา ผู้สื่อข่าวถามว่า มีจุดอะไรที่ทำให้ตามกันตลอด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันตลอดอย่างไรในเมื่อนำมีอยู่หลายโพลล์ กับ ดุสิตโพล และ เอแบคโพลล์ ซึ่งเวลาก็ใกล้เคียงกัน และเวลานำกันก็เพียงแค่ 4-5% ก็มีปัญหาในเรื่องของนัยยะสถิติ ซึ่งได้พูดแล้ว แล้วก็ตรงกับข้อมูลที่ตนเห็นมาจากทุกสำนัก ก็มีเพียงแต่โพลล์ของพรรคเพื่อไทยมีบอกว่าได้เกินครึ่ง และถามว่า มีโพลอื่นๆ ไหมที่ยืนยันว่าเขาได้เกินครึ่ง “อย่างกรุงเทพโพลล์ ให้ไปดูตัวเลขว่ามันยังบอกอะไรไม่ได้เลย เพราะคะแนนคนหนึ่งได้ 20 กว่า คนหนึ่งได้ 10 กว่า มันยังไม่ได้บอกอะไรเลย ยังมีคนที่บอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ 40-50% และจริงๆ กรุงเทพโพลล์ ผมก็สอบตกมาตลอด 2 ปี” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เนวินเชื่อแม้เพื่อไทยชนะเลือกตั้ง “ยิ่งลักษณ์” ก็เป็นนายกฯ ไม่ได้ เพราะจะทำให้สังคมแตกแยก เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานด้วยว่า นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เมื่อดูจากผลการสำรวจของสำนักต่างๆ พบว่า พรรคเพื่อไทยจะมีคะแนนนำพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์จะได้จำนวน ส.ส.ประมาณ 160 คน ส่วนพรรคเพื่อไทยจะได้ประมาณ 200 กว่าที่นั่ง แต่คิดว่าพรรคเพื่อไทยจะได้เสียงไม่ถึงครึ่ง เพราะยังมีกลุ่มพลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครมากถึง 50% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์หากย้อนกลับไปดูในการเลือก ตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์จะต้องหาวิธีการเพื่อช่วงชิงคะแนนเสียง จากคนกลุ่มนี้มาให้ได้ “หากเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 คงไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่สามารถฝืนกระแสสังคมได้ เพราะจะทำให้เกิดความแตกแยกได้เหมือนเมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชูนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น ผมคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณอาจตัดสินใจเปลี่ยนตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว เป็นบุคคลอื่น อย่างไรก็ตาม การที่ พ.ต.ท.ทักษิณชู น.ส.ยิ่งลักษณ์ขึ้นมาในตอนนี้ เพราะต้องการทำให้กระแสรวมทั้งคะแนนของพรรคเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง” นายเนวินกล่าวว่า ขณะที่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง ตนเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 จะต้องแสดงสปิริตออกซฟอร์ดด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะนายอภิสิทธิ์ไม่มีวันยอมนั่งอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไปอย่างแน่นอน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "10=10" Posted: 25 May 2011 04:43 AM PDT |
แกนนำสหภาพแรงงานเคเอฟซี เผยเจรจาไม่คืบ Posted: 25 May 2011 04:18 AM PDT สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทยและสหภาพธนาคารกรุงเทพ ร่วมแสดงความยินดีในการก่อตั้งสหภาพของพนักงานบริษัทยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ด้านแกนนำที่ถูกเลิกจ้างระบุการเจรจายังไม่คืบ ยันอยากกลับเข้าทำงานเพราะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
วันนี้ (25 พ.ค.54) เวลา 12.00น. ที่หน้าอาคารทูแปซิฟิกเพลส เขตคลองเตย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (ชั้น 15) ผู้ให้บริการ ผู้บริหาร และผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน เคเอฟซี และพิซซ่าฮัท ในประเทศไทย ตัวแทนสหภาพแรงงานอาหารและบริการ ประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งโดยพนักงานของบริษัทยัมฯ รับมอบดอกไม้แสดงความยินดีจากตัวแทนสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทยและสหภาพธนาคารกรุงเทพ ในโอกาสจดทะเบียนก่อตั้งสหภาพแรงงานได้สำเร็จ กฤษ สรวงอารนันท์ อดีตผู้จัดการเขต (area coach) ในฐานะประธานสหภาพแรงงานอาหารและบริการ ประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพแรงงานอาหารและบริการ ประเทศไทย ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีสมาชิกราว 200 กว่าคน จากพนักงาน 8,000 คน โดยสหภาพแรงงานที่ตั้งขึ้นเป็นสหภาพระดับผู้บังคับบัญชา ขณะนี้กำลังรับสมัครสมาชิกระดับผู้ปฏิบัติงานเพิ่ม เพื่อเปิดประชุมต่อไป ส่วนที่ก่อนหน้านี้ พนักงานบริษัท ยัมฯ จำนวนหนึ่งยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัท ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 โดยพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนัดทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น กฤษเปิดเผยว่า ฝ่ายนายจ้างได้ส่งตัวแทนมาแต่ยังไม่ได้มีการเจรจากันแต่อย่างใด แม้ครั้งนี้ถือเป็นการนัดไกล่เกลี่ยครั้งที่สี่แล้วก็ตาม เมื่อถามถึงกรณีที่เขาและเพื่อนพนักงานอีกสองคนคือ ศิวพร สมจิตร และอภันตรี เจริญศักดิ์ถูกเลิกจ้าง โดยนายมิลินท์ พันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยัมฯ เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า การที่ต้องให้พนักงานทั้งสามพ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน เนื่องจากทั้งสามคนละเมิดต่อกฎระเบียบของบริษัท โดยใช้อีเมลบริษัทส่งข้อมูลที่ผิดไปจากความเป็นจริงส่งไปยังพนักงานในระดับตำแหน่งต่ำกว่าเพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่ผิดๆ กฤษชี้แจงว่า พวกเขาเพียงแต่ใช้อีเมลในการส่งข้อเรียกร้อง 10 ข้อให้พนักงานทุกคนทราบเท่านั้น โดยข้อเรียกร้องเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เปิดเผยทั่วไป ไม่ว่าผู้บริหารหรือทางกระทรวงแรงงานเองก็มีข้อมูลนี้ พร้อมยืนยันว่าไม่ได้ส่งข้อมูลปลุกปั่นแต่อย่างใด โดยพวกเขายังยืนยันที่จะกลับเข้าทำงาน เพราะรู้สึกว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงานแล้ว กฤษ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ในบริษัทขณะนี้เป็นไปด้วยความตึงเครียด โดยมีการให้ข้อมูลเท็จกับพนักงาน ทำให้หวาดกลัวกับการมีสหภาพฯ สำหรับกรณีที่มีผู้ร่วมลงชื่อ 141 รายเพื่อขอให้บริษัทยัมฯ มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีนั้น กฤษกล่าวว่า ทราบข่าวแล้ว และรู้สึกดีใจที่หลายองค์กรรวมถึงนักวิชาการช่วยกันปกป้องสิทธิของพนักงานที่ไม่ได้รับการดูแล สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สัมภาษณ์ 4 นักเขียนรุ่นใหม่ กับ ม.112 : ถึงเวลาแล้วที่(เรา)จะต้องออกมาพูดเรื่องนี้ Posted: 24 May 2011 11:56 PM PDT นับตั้งแต่ที่เหล่านักเขียนพร้อมใจกันลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่อง ขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไข ม.112” ก็มีกระแสตีกลับจากหลายฝ่ายทั้งในทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาไทจึงเข้าไปพูดคุยกับ 4 นักคิด-นักเขียน ประกอบไปด้วย วาด รวี ธิติ มีแต้ม ณรรธราวุธ เมืองสุข และหนึ่งนักเขียนที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม ดังนี้ 0 0 0 วาด รวี “จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องของนักเขียนโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คนที่เดือดร้อนก่อนก็ต้องเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนคืออาชีพที่แสดงความเห็นอยู่แล้ว
เริ่มต้นจากการพุดคุยกับ วาด รวี กวีผู้มีผลงานในโลกออนไลน์อยู่พอสมควรและยังเป็นหนึ่งในตัวตั้งตัวตีในการเขียนแถลงการณ์นี้ เขาเล่าว่า ทำไมถึงมีจดหมายนี้ออกมา? บทบาทของนักเขียนมีความสำคัญต่อการที่จะบอกสังคมในเรื่องนี้? เราเห็นว่ามันเป็นปัญหาที่เราควรจะต้องอภิปรายกันได้แล้ว เพราะมีการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่น คดีของ ดา ตอปิโด ที่ไม่ให้ประกันตัวและมีการพิจารณาคดีอย่างปิดลับ และในอีกหลายๆ กรณีที่การบังคับใช้ไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่มีการทักท้วงใดๆ นอกจากนักเขียนและปัญญาชนไม่กี่คนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ถึงเวลาแล้วที่นักเขียนจะต้องออกมาบอกกับคนอื่นๆ ในสังคม ในแวดวงนักเขียนมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการที่เราออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ไหม? มีนักเขียนที่เห็นด้วยแต่ไม่กล้าลงชื่อบ้างไหม? สิ่งที่อยากจะฝากกับปัญญาชนที่ดูเหมือนไม่มีบทบาทกับเรื่องนี้นัก
0 0 0 ธิติ มีแต้ม “ถ้าเราไม่สามารถแสดงออกความเห็นที่แตกต่างได้
ตามด้วย ธิติ มีแต้ม นักเขียน –กวีหนุ่มไฟแรง อดีตบรรณาธิการหนังสือปาจารยสาร ขณะนี้กำลังเริ่มต้นเขียนหนังสืออิสระ เขากล่าวว่า คิดว่าในขณะนี้ปัญหาใดที่มีความสำคัญที่สุด ม.112 หรือ เสรีภาพในการแสดงออกที่ถูกลิดรอนไป? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? แต่การจะพูดเรื่องนี้ กลับถูกควบคุมด้วยจารีตแบบไทยๆ โดยมี ม. 112 เป็นเครื่องมือ จารีตแบบไทยๆ ก็คือ การพูดถึงสถาบันฯ ไปในเชิงที่เห็นต่างจากการสรรเสริญ แม้ไม่ได้เป็นการหมิ่น ดูถูก แต่กลับแสดงออกในที่สาธารณะไม่ได้ เพราะมีความกลัวที่ครอบงำไว้ การเห็นต่างจากการสรรเสริญ ไม่ใช่การหมิ่นฯ แต่เป็นความรู้สึกสามัญของมนุษย์ ถ้าเราไม่สามารถแสดงออกความเห็นที่แตกต่างได้ เราก็หมดความหมายของการเป็นมนุษย์ ซึ่งการเห็นต่างไม่ได้ส่งผลให้สถาบันฯ เสื่อมเสียแต่อย่างใด 0 0 0 ณรรธราวุธ เมืองสุข ทางด้าน ณรรธราวุธ เมืองสุข สื่อมวลชน-นักเขียนที่คลุกคลีอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งในภาคใต้ มีผลงานหนังสือชื่อ “เป็นเขาและเป็นแขก” เขาจะมีความคิดเห็นอย่างไรต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯขณะนี้
“จะเรียกผมว่าเป็นฝ่ายเอาเจ้าก็ได้ หรือพวกเฉยๆ ก็ได้ ผมพูดถึง "คุณ" ของสถาบันก็ได้
“เพราะคำว่าพันธกิจของนักเขียนในมุมของผม
ทำไมถึงลงชื่อในแถลงการณ์นี้? เพราะฉะนั้นคำถามคือ เหตุใดผมจึงร่วมลงชื่อ แน่นอน ไม่ใช่การโหนกระแสไปกับเพื่อนนักเขียน ผมว่ามันไร้สาระที่ใครวิจารณ์เช่นนั้น การลงชื่อไม่ทำให้หนังสือผมขายได้มากขึ้นหรือทำให้คนชื่นชมผมมากขึ้นแน่ แม้ว่าผมจะสนิทสนมกับหลายคนที่ร่วมลงชื่อเป็นเพื่อนพี่น้องที่มีความเข้มข้นในมิตรภาพมาก แต่ในระดับความคิดความเชื่อทางการเมืองมีความแตกต่างกันพอสมควร ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ผมแวะไปที่ออฟฟิศของไรเตอร์ นั่งดื่มนั่งคุยกันกับคุณวรพจน์ พันธุ์พงศ์ และคุณต้อ บินหลา(สันกาลาคีรี) รู้กันอยู่ว่าวรพจน์ พันธุ์พงศ์ ความคิดความเชื่อแกเป็นอย่างไร ผมเห็นต่างกับแกเยอะมาก แต่.. ความเป็นเพื่อนเป็นพี่น้องมันต้องคุยกันได้ คุณบินหลาเสียอีกที่เราคิดเห็นคล้ายกันหลายเรื่อง แต่ทั้งสองคนนั้นยังทำงานด้วยกันได้ในฐานะคณะ บ.ก.ไรเตอร์ ฉะนั้น ในความแตกต่างนี้มันจึงมีจุดเชื่อมถึงกันอยู่ สถานะคนในแวดวงวรรณกรรมนั่นคือหนึ่ง แต่สอง ผมว่าคือการมองเห็นผลร้ายของการใช้มาตรา 112 ที่ผ่านมา คนอย่างสมศักดิ์ เจียมฯ ไม่ควรใช้ ม.112 มาย่ำยีเสรีภาพของแก เพราะเรื่องที่แกพูดมันทำให้แกดูเป็นคนเหงามากพออยู่แล้ว แต่ความกล้าหาญทางจริยธรรมของนักวิชาการของแกไม่ควรทำลายกัน ซึ่งคนที่ทำลายไม่ใช่ใครที่ไหน มันดันเป็นทหาร มันย้ำภาพเดิมให้ชาวบ้านชาวช่องเขาด่าอีกว่า ทหารนี่มันใช้เท้ามากกว่าหัว เอะอะก็ตบเท้า ตบเท้า ผมเชื่อว่าในเกือบสองร้อยรายชื่อที่ลงไป ความเห็นทางการเมืองไม่เหมือนกันทั้งหมด บางคนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หลายคนคงจะออกตัวเหมือนกันผมคือ ลงชื่อเพื่อแก้ไขเพื่อป้้องกันการนำมาตรา 112 ไปใช้ทำลายกัน เพราะมองเห็นการใช้ 112 เพื่อทำลายกันที่ผ่านมา แต่บอกชัดเจนว่า ผมลงชื่อเพื่อการแก้ไขเท่านั้น หากเป็นการลงเพื่อยกเลิก หรืออนาคตใครจะเอาแถลงการณ์นี้ไปใช้ในการณ์อื่น ผมจะขอถอนชื่อและจะพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป คนทำงานสื่อมันมีความเป็นเสรีชนสูง วงการนี้ไม่มีใครจูงจมูกใครง่ายๆ หรอก เพราะฉะนั้นน่าจะเข้าใจกันได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่เราประชุมโต๊ะยาวๆ โยนเงินลงมาโครม! เอาชื่อเราไปใช้ ผมว่าคนคิดแบบนั้นมันโง่มากๆ คิดว่าประเด็นใดสำคัญที่สุดที่จะต้องมีการผลักดันเปลี่ยนแปลงแก้ไข ม.112 หรือ การลิดรอนเสรีภาพทางความคิด? หรือทั้งหมด? นับตั้งแต่หลังจากรัฐประหาร 19 กันยา ผมเห็นการใช้มาตรา 112 มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลแกโดน แล้วแกพูดถึงความกลัวของแก แกเป็นนักวิชาการ ใช้สมองและความรู้ ใช้การค้นคว้าเพื่อมาส่งเสียง คนที่ฟ้องต้องอ่านมาก ศึกษางานของแกมาก ไม่อย่างนั้นคุณไม่สามารถทะลุกรอบวิชาการเข้าไปตีโต้ได้เลย แต่สุดท้ายมาใช้อารมณ์ ใช้ความเชื่อ ไม่ได้ใช้ความรู้ กระทั่งอาจารย์สมศักดิ์เขาเริ่มโดนคุกคาม ผมจึงคิดว่าไม่ไหวแล้ว นี่มันไม่ได้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เลย แต่มันเป็นแค่ประชาชนเรานี่แหละ คือคนที่ตีกรอบบัญญัติกฏเกณฑ์ทางสังคมว่าอะไรได้ไม่ได้ ผมเรียกว่า “เผด็จการทางสังคม” เหมือนผู้คุมกฏ พอนานเข้ามันรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ ใช้สิ่งที่เหนือกฏหมายและจริยธรรมมาเล่นงานคนอื่นมากขึ้น ผมคิดว่าเราต้องล้างสิ่งนี้ ล้างคนทำตัวเป็นผู้คุมออกไป และทำให้มาตรานี้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ไม่มีใครกล้าทำตัวเป็นผู้คุมกฏ ทำให้ประชาชนที่เขาต้องการใช้เสรีภาพเรื่องนั้นไม่อึดอัด ที่ผมร่วมลงชื่อและรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้มาก แต่อย่างน้อยมันทำให้คนรู้ว่า คนที่เป็นนักเขียน เป็นสื่อเขาไม่ได้วางเฉยแขวนตัวเองไว้ในถ้ำอย่างเดียว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคิดว่าทำไมนักเขียน ปัญญาชนถึงหลบเงียบ ไม่ออกมาพูดเรื่องนี้? คือผมไม่ได้เชื่ออย่างที่นักเขียนหลายคนเชื่อ อย่างเรื่อง พันธกิจของนักเขียน หรือความรับผิดชอบต่อประชาชน อะไรก็แล้วแต่ คือถ้าหลายคนเงียบเรื่อง 112 ผมจะไม่โทษเลย เช่นเดียวกับการตายที่ราชประสงค์ ผมเชื่อว่าเขามีสภาวะหรือคำอธิบายของเขาอยู่ เพราะคำว่าพันธกิจของนักเขียนในมุมของผม ผมไม่ได้จำกัดแค่ประชาชนเท่านั้น โลก จักรวาล ต้นไม้ ใบหญ้า มันเป็นพันธกิจได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่านักเขียนจัดวางตัวเองไว้ในมุมไหน บางคนอาจไม่เข้าใจตรงจุดนี้ เหมือนผม เลือกที่จะตั้งคำถามในหลายเรื่อง ซึ่งรู้ว่าพูดไปก็โดนด่า อย่างเช่น ผมพูดถึงความตายของคนภาคใต้ 4,000 กว่าศพนะ ผมเอาตัวเองลงไปคลุกกับมัน แต่ที่ผ่านมาผมไม่ส่งเสียงเรื่องการตายที่ราชประสงค์ ผมเลือกจะไม่พูดถึงเอง เพราะคำถามในใจของผมมีเยอะ และมันยังไม่เจอคำตอบที่ดี ฝากอะไรถึงปัญญาชน นักเขียนรุ่นใหม่ไหม? เพราะฉะนั้น สำหรับผมต้องเปิดใจให้กว้างว่าสังคมเรามีคนเห็นต่างกันเยอะ มันไม่ใช่เรื่องที่เขาขี้ขลาดแอบอยู่หลังคำอธิบายแบบปัจเจกชน เพราะสิ่งที่คุณเรียกร้องอาจเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับอีกคน ผมเชื่ออย่างนั้น จะว่าผมวิพากษ์ทวนกระแส อ.ชูศักดิ์ก็ได้ เพราะผมไม่ได้เชื่ออย่างนั้น หลายคนอาจสะใจที่แกวิพากษ์กวี นักเขียน ในขณะที่ผมเศร้า เศร้าเพราะ มาตรา 112 มันจำกัดเสรีภาพของบางคนอยู่แล้ว ยังมีคนมาตีความจำกัดทางเดินให้นักเขียนหรือกวีอีก ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าเศร้า
0 0 0 นักเขียนผู้ไม่ประสงค์ออกนาม “จริงๆประเด็นที่ผมสนใจไม่ใช่ตัวกฏหมาย 112 ผมคิดว่าทางนิติราษฎร์พูดไว้ละเอียดแล้ว
“แต่ในทางกลับกันมันก็กลายเป็น 'การกระทำทางปัญญาของปัญญาชน'
นักเขียนผู้ไม่ประสงค์ออกนาม คิดอย่างไรกับการลงชื่อในแถลงการณ์นี้? แน่นอนว่าอย่างที่เราเห็นคือมันถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายผู้อื่น แต่สิ่งที่เราสนใจคือการที่เราไม่ตระหนักว่าแม้กฎหมายฉบับนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเราเลยไปตลอดทั้งชีวิต แต่การดำรงคงอยู่อย่างคลุมเครือ และการถูกนำมาใช้อย่างไม่มีทางตอบโต้ของมันนั้นขัดแย้งกันเองกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย การสร้างความกลัวถึงขนาดระดับที่แค่พูดถึงก็ไม่สามารถพูดได้ จะมีแต่ทำให้ทุกอย่างแย่ลง แม้กระทั่งการให้สัมภาษณ์นี้ถึงที่สุดก็ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด อันนี้คือบรรยากาศแห่งความกลัว ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีใครคิดร้ายต่อใครเลย จริงๆ ประเด็นที่ผมสนใจไม่ใช่ตัวกฏหมาย 112 ผมคิดว่าทางนิติราษฎร์พูดไว้ละเอียดแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือการเคลื่อนไหวของตัวจดหมาย การอธิบายจะทำให้ผมเสี่ยงทางวรรรกรรมมากเลยฮะ ฮา! คือคิดไว้ตั้งแต่ลงชื่อแล้วว่าจริงๆ ตัวจดหมายนี้ไม่ได้มุ่งหวังความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม ประเภทช่วยสมยศออกจากคุกอะไรแบบนั้น แต่เป็นการมุ่งหวังที่จะโยนหินลงไปในบึงของนักเขียน( ปัญญาชน?) ที่นิ่งสนิทมากกว่าครับ พลังของมันคือการก่อให้เกิดการถกเถียงในแวดวงมากกว่าพลังทางสังคมอื่นๆ ซึ่งจะว่าไปมีแถลงการณ์น้อยชิ้นมากที่จะส่งผลได้ไกลอย่างที่ตัวบทมันเขียน ส่วนการล่าแม่มดเป็น side effect ประการหนึ่ง ทีนี้ถ้าวิเคราะห์ตัวจดหมายดีๆ ผมเองเห็นว่ามันเป็นจดหมายที่เปิดพื้นที่กว้างพอสมควร คือไม่ว่าจะเป็นสายไหนสีไหนก็สามารถคิดเรื่องนี้ได้ แต่ในทางกลับกันมันก็กลายเป็น 'การกระทำทางปัญญาของปัญญาชน' ที่แยกตัวเอง ลอยตัวเองออกจากความขัดแย้งพื้นฐาน เพราะการต่อสู้ทางการเมืองเรื่องสีเป็นมวลชน แต่สิทธิเสรีภาพทางการพูดเป็นเรื่องของปัจเจกชน การลอยตัวอยู่หนือความขัดแย้งนี้จึงปรากฏให้เห็นว่าเรามีนักเขียนจากทั้งฝั่งแดง หรือฝั่งตึก (ไม่ใช่ฝั่งเหลือง) มาร่วมกันลงชื่ออย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้คำว่า “นักเขียน” เพราะจริงๆจดหมายนี้ไม่ได้แปดเปื้อนความป็นแดง ความเป็นขี้ข้าทักษิณหรืออะไร แต่อย่างที่บอกนี่้ไม่ใช่เรื่องดีหรือไม่ดี มันเป็นข้อขัดแย้งในตัวมันเอง แต่ก็ขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ครับ เห็นด้วยมากที่แถลงการณ์นี้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมกับคนที่อยู่นิ่งๆ เกิดการตั้งคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคนนอก Facebook ที่มีการตั้งคำถามว่า สิ่งที่เป็นอยู่ควรเปลี่ยนแปลงไหม แล้วทีนี้หลังจากที่เราโยนหินถามทางแล้ว แผนต่อไปคืออะไร? พูดถึงเรื่องการล่าแม่มดนี่ เราหรือเพื่อนนักเขียนเจอล่าแล้วหรือยัง? แล้วมีมาตรการรับมือ จัดการกับมันยังไง?
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น