ประชาไท | Prachatai3.info |
- "สุเทพ" ชี้มีบางพรรคการเมืองสร้างสถานการณ์ทำร้ายผู้สมัครพรรคตัวเอง
- “สุริยะใส” ชี้โหวตโนคือการสร้างทางสายที่สามเพื่อปฏิรูปประเทศ
- กลุ่มเสื้อแดงล้านนาเรียกร้องให้ช่อง 11 ยุติ “เจิมศักดิ์” จัดรายการ
- ผู้ใช้เน็ตวิจารณ์ “กนก” กรณีอ่านข่าวรถหาเสียง ส.ส. เปิดประตูชนมอเตอร์ไซค์
- ดีเอสไอเผย IP ผู้ต้องหาหมิ่นสถาบันสัญชาติไทย-อเมริกันเกี่ยวพันเว็บ นปช.ยูเอสเอ
- คอป.จัดเสวนาก่อนเลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยนิรโทษกรรม ดันทุกพรรคประกาศรูปธรรม “ปรองดอง”
- กัมพูชาแถลงต่อศาลโลกขอให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
- เยอรมันสั่งเลิกนิวเคลียร์ทศวรรษหน้า
- สุจิตต์ วงษ์เทศ: ปราสาทพระวิหารในอดีตและอนาคต
- อัยการยื่นฟ้องคนงานทีไอจี คดีหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯ
- กสม.เกาะติดชายแดนใต้ ตั้ง 3 ทีมจับตาละเมิดสิทธิ
- ประเมิน “เม็ดเงินสะพัด” การเลือกตั้งทั่วไปปี 2554
- จับนายหน้าแรงงานเถื่อน หลอกคนไทยและต่างชาติไปทำงานลิเบีย-โปแลนด์
- TCIJ สัมภาษณ์ พิรงรอง รามสูต รณะนันท์: “สื่อไม่ต่อสู้กับอำนาจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว”
- วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์: ความเสี่ยงของผู้ประกันตน
"สุเทพ" ชี้มีบางพรรคการเมืองสร้างสถานการณ์ทำร้ายผู้สมัครพรรคตัวเอง Posted: 30 May 2011 02:27 PM PDT รองนายกรัฐมนตรี ระบุมีบางพรรคการเมืองพยายามสร้างสถานการณ์ให้การเลือกตั้งเกิดความรุนแรง ด้าน "อภิสิทธิ์" ชี้ประชาชนต้องการให้เพื่อไทยส่ง "ยิ่งลักษณ์" มาดีเบต ส่วน"บรรหาร" ชู "สนั่น-สุเทพ" เหมาะนั่งนายกรัฐมนตรี สุเทพชี้มีบางพรรคการเมืองสร้างสถานการณ์ทำร้ายผู้สมัครพรรคตัวเอง และหากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงข้างมาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องเป็นนายกรัฐมนตรี ตามระบบพรรค ซึ่งต่างจากพรรคเพื่อไทย ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ตัดสินใจว่า จะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า พรรคขนาดเล็กไม่สามารถร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยไม่มีพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย เพราะไม่เสียงเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนการสำรวจผลโพลหลายสำนัก คะแนนพรรคประชาธิปัตย์น้อยกว่าพรรคเพื่อไทย นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ว่าผลโพลเป็นอย่างไร ก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน และยังมั่นใจว่า พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเหนือพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ นายสุเทพ ยังกล่าวถึงการเลือกตั้งที่มีความรุนแรงว่า ได้ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูแลผู้สมัครที่ขอความคุ้มครอง และสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดหากมีคดีเกิดขึ้น เพราะขณะนี้มีรายงานว่า พรรคการเมืองบางพรรค พยายามสร้างสถานการณ์ โดยการยิงรถ ปาระเบิดปิงปอง ปาปะทัดยักษ์ ผู้สมัครพรรคตัวเอง
ลั่นประชาชนต้องการให้พรรคเพื่อไทยส่ง "ยิ่งลักษณ์" มาดีเบต "บรรหาร" ชู "สนั่น-สุเทพ" เหมาะนั่งนายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ยังปฎิเสธไม่รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลสมัยหน้า ตามคำเชิญของนายสุเทพ หากพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ทวงสัญญาที่เคยรับปากก่อนหน้านี้ ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำตามสัญญา รวมทั้งหลังยุบสภาไม่เคยโทรศัพท์มาพูดคุย นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ต้องแก้ไขที่ตัวนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นิดหน่อย ส่วนที่นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เชื่อว่า พรรคขนาดกลางจะได้เสียงรวมประมาณ 100 เสียง นายบรรหาร เชื่อว่า พรรคที่จะได้ 20 เสียง ขึ้นไป น่าจะมี 3 พรรค คือ ชาติไทยพัฒนา ภูมิใจไทย และชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และวันจันทร์หน้าพรรคชาติไทยพัฒนาจะมีข่าวดี ด้านนายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา แถลงเปิดตัวนายพงศ์ชัย เจริญยศ อดีตนายกเทศมนตรีอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์ ลงสมัคร ส.ส.เขต 1 จังหวัดนนทบุรี โดยนายชุมพล ระบุว่า ผลสำรวจความนิยมพรรคได้คะแนนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายพรรค ที่เน้นความปรองดอง โดยเปรียบเทียบว่า เมื่อเสือ 2 ตัว แย่งชิงกัน แต่ทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุข อาจทำให้คะแนนเปลี่ยนมาทางนี้ ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ [1], [2]. [3] สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
“สุริยะใส” ชี้โหวตโนคือการสร้างทางสายที่สามเพื่อปฏิรูปประเทศ Posted: 30 May 2011 02:05 PM PDT ส่วน “การเมืองใหม่” ดอดส่ง ส.ส. กกต.กำลังวินิจฉัย พร้อมจวก “ประชาธิปัตย์” ใช้โอกาสเปลือง “ปล่อยให้มีเสื้อแดงเต็มบ้านเต็มเมือง” อัดเสื้อแดงหวังผลทางการเมืองตัดตอนบทสัมภาษณ์ตนไปใช้โจมตีสถาบันองคมนตรี ชี้ “พล.อ.เปรม” มีสิทธิ์สู้ เมื่อสถาบันถูกคุกคาม พร้อมย้อนถาม “ทักษิณ” จะฆ่า “ยิ่งลักษณ์” ด้วยการส่งมาชิงตำแหน่งนายกฯ หรือ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานวานนี้ (30 พ.ค.) ว่า นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ พรรคการเมืองใหม่ กล่าวในรายการ "ตอบโจทย์" ทางไทยพีบีเอสซึ่งออกอากาศเมื่อ 30 พ.ค. ถึงกรณีที่กลุ่ม นปช.อ้างถึงคำสัมภาษณ์ของนายสุริยะใสเกี่ยวกับบทบาท ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดย นปช. อ้างในการเคลื่อนไหวเพื่อโจมตีบทบาทของ พล.อ.เปรม โดยนายสุริยะใสเห็นว่าเป็นการตัดตอนบทสัมภาษณ์มาเฉพาะตอนใดตอนหนึ่ง ทำนองว่าประธานองคมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัฐประหาร ในวันที่ 19 ก.ย.49 วันนั้นผู้บัญชาการสี่เหล่าทัพอยู่ที่บ้านสี่เสา แต่ที่ผ่านมาพล.อ.เปรม ท่านบอกว่าท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง นายสุริยะใสกล่าวด้วยว่า ในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ การเมืองเมื่อก่อนรวบอำนาจ มีการคุกคาม แทรกแซงสื่อ ใช้อำนาจรัฐจัดการครอบงำประชาสังคม ตนจึงตีความ ว่า พล.อ.เปรมก็มีสิทธิสู้ เมื่อสถาบันองคมนตรีถูกคุกคาม หรือสถาบันถูกคุกคาม การที่ นปช.เอามาเคลื่อนไหวเพียงประเด็นเดียว เป็นการหวังผลการเมืองมากไป ซึ่งความจริงตนได้กล่าวในประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น และเมื่อปี 52 ที่ นปช.บุกบ้านสี่เสา พล.อ.เปรม ก็ออกมาปฏิเสธแล้วว่าท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง ตนเห็นว่า หากอำนาจรัฐจัดความสัมพันธ์กับสถาบันไม่ลงตัว มีการแทรกแซงคุกคามกัน ก็ลำบาก กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ พูดถึง ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ นายสุริยะใสกล่าวว่า เป้านั้นพุ่งไปที่อำนาจนอกระบบ ภายใต้การนำของ พล.อ.เปรม มีการผลิตซ้ำ เผยแพร่ในเครือข่ายเสื้อแดง ตนเห็นว่าเป็นความเห็นแก่ตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไปสรุปว่าองคมนตรีเป็นปัญหา แสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ยอมรับว่าตัวเองก็เป็นปัญหาเช่นกัน การดำเนินการต่างๆ ตอนนั้นต้องการไปแทนที่เขาหรือเปล่า การทำแบบนี้ถือว่าเป็นหลุมพราง กับดัก ที่ทำให้ปรองดองไม่ได้ สมานฉันท์ไม่ได้ แต่วันนี้พันธมิตรมองว่าปัญหามันใหญ่กว่าอยู่ที่ตัวบุคคล ปัญหาอยู่ที่ระบบการเมือง นายสุริยะใสกล่าวว่า กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถือเป็นนอมินีการเมือง ในยุคที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลปล่อยให้มีเสื้อแดงเต็มบ้านเต็มเมือง ถือว่าประชาธิปัตย์ใช้โอกาสเปลือง เมื่อตอนที่เพื่อไทยเป็นรัฐบาลตอนนั้น กลุ่มเสื้อเหลืองก็ไม่ได้หายไป ถือว่ารัฐบาลทำลายโอกาสตัวเองเช่นกัน การชู น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชิงตำแหน่งนายก เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่เคยลงเลือกตั้ง ต้องมาเล่นบทละอ่อนทางการเมือง ขณะที่โจทย์ที่ต้องแบกในตำแหน่งนายกฯถือว่าใหญ่มาก จะถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังจะฆ่า น.ส. ยิ่งลักษณ์หรือเปล่า ที่ส่งมาชิงตำแหน่งนายกฯ กรณีถ้าพรรคเพื่อไทยชนะ แล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ พันธมิตรฯจะทำอย่างไร นายสุริยะใส กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่ทำให้มีคนออกมาเคลื่อนไหว คือ โจทย์เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทยต้องสรุปบทเรียนที่ผ่านมา ที่เคยเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวก็ยังคว่ำมาแล้ว ต้องคิดว่าไม่ใช่เพียงชนะเลือกตั้งแล้วคิดจะทำอะไร ก็ได้ เพราะแรงต้านมันจะสูงขึ้น ต่อให้ตนอยู่เฉยๆ ถ้ามาพูดเรื่องเอาพ.ต.ท.ทักษิณกลับมา เสื้อเหลืองก็จะกลับมาอีกรอบ นายสุริยะใส ตอบคำถามในเรื่องการรณรงค์โหวตโนที่ถูกระบุว่าจะทำให้ พรรคประชาธิปัตย์แพ้ เพื่อไทยจะชนะ แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมา โดยนายสุริยะใสกล่าวว่า ตอนนี้เวทีชุมนุมที่สะพานมัฆวาน ก็ยังวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสองฝ่ายทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งระบอบทักษิณ ที่ผ่านมามีเพียงสองทางเลือก การรณรงค์โหวตโนเพื่อพยายามสร้างทางสายที่สามให้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาไม่มีพรรคทางเลือก ทางสายที่สามก็สร้างไม่ได้ การรณรงค์โหวตโน พยายามสร้างทางสายที่สาม เราได้เริ่มพูด และเริ่มคิด ถึงหนทางที่ต้องปฏิรูปประเทศไทย พรรคการเมืองใหม่ ตอนนี้ก็ไปลำบาก พรรคการเมืองใหม่เกิดจากพันธมิตรฯ เป็นเครื่องมือของพันธมิตรฯ เพราะกระบวนการภาคประชาชนถือว่ายืนยาวกว่าคำว่า พรรค เมื่อถึงจุดที่ คนในพรรคคิดแตกต่างกับพันธมิตรฯก็เป็นแบบนี้ ซึ่งพรรคตั้งโดยพันธมิตรฯ ควรจะทำตามมติของพันธมิตรฯ การไม่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสามารถเว้นได้ถึง 8 ปี สำหรับนายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ก็ยังถือเป็นพี่ชาย แต่เมื่อเห็นต่างกัน ก็ต้องปะทะกันตามกรอบของกฎหมาย ตอนนี้ ตนก็ได้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่พรรคการเมืองใหม่ไปสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งๆที่ยังไม่มีมติพรรค ตนเป็นเลขาธิการพรรค ยังไม่เคยมีเอกสารการ ประชุม ตนก็ทักท้วง โดยใช้ข้อกฎหมาย ทำตามข้อบังคับพรรค ซึ่ง กกต. อยู่ระหว่าง วินิจฉัย คาดว่าสัปดาห์นี้จะรู้ผล สำหรับเรื่องความตั้งใจของตนที่อยากไปเรียนต่อในต่างประเทศ ก็ได้ไปดูมาหลายที่ ทั้งที่ชิคาโก ฮาวาย นิวยอร์ก แต่สถานการณ์เปลี่ยนไป ตนมีคดีความมากมาย ตอนนี้ต้องขึ้นศาลเกือบทุกเดือน บางคดีต้องไปถึงจ.ชัยภูมิ ซึ่งพ่อแม่ก็มีความเข้าใจเพราะติดตามข่าวสารตลอด ส่วนกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ คนเหล่านี้ถือเป็นรุ่นพี่ ตนได้เข้าไปคลุกคลีในช่วงเหตุการณ์พฤษภา 35 ที่รามคำแหง วันนี้ก็ไม่ได้คุยกันเลย แต่ ไม่ว่าจะอยู่สีอะไร ต้องเข้าใจว่าความรุนแรงไม่เคยแก้ปัญหาได้ นักประชาธิปไตยจะเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย จะทำอย่างไรให้เป็นความหวังเพื่อประชาชน ตอนนี้ตนมาถึงวันนี้ ตนเลือกแนวทางนี้ ตอนนี้เป็นระหว่างทาง ไม่ช้าก็เร็วสังคมจะมาถึงจุดนี้ ความฝันที่ตนอยากเห็น คือ อยากให้สังคม มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกฎหมาย ตนอยากเห็นสังคมมีสิทธิเสรีภาพ คนตระหนักว่าการมีสิทธิก็มีความรับผิดชอบอยู่ สิทธิอะไรที่ทำแล้วเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคมต้องเรียนรู้อีกมาก นอกจากนี้ อยากเห็นการลดระดับ การปกครองโดยนักการเมือง อยากเห็นประชาชนเป็นผู้ชี้นำ สังคม ชุมชนในภาพใหญ่ อยากให้บทบาทของนักการเมืองลดลง ต่อจากนี้เมื่อพันธมิตรฯ รณรงค์โหวตโน คนที่ไปลงสมัครรับเลือกตั้งก็รอ กกต. ชี้ขาด หลังเลือกตั้ง พันธมิตรฯจะใช้การรณรงค์โหวตโน เพื่อนับหนึ่ง ตั้งต้นการปฏิรูปการเมือง เมื่อนั้นก็จะได้พันธมิตรฯใหม่ๆ ที่เห็นด้วยเข้ามาร่วมกระบวนการร่วมกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กลุ่มเสื้อแดงล้านนาเรียกร้องให้ช่อง 11 ยุติ “เจิมศักดิ์” จัดรายการ Posted: 30 May 2011 01:18 PM PDT เสื้อแดงล้านนายื่นหนังสือที่ช่อง 11 เชียงใหม่ โอด “เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง” ใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง เรียกร้อง “องอาจ คล้ามไพบูลย์” ระงับรายการที่เจิมศักดิ์จัดทุกรายการ โดยอีก 3 วันจะกลับมาทวงคำตอบใหม่ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่หน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.เชียงใหม่ หรือช่อง 11 คนเสื้อแดง นปช.แดงเชียงใหม่ และกลุ่มเสื้อแดงล้านนา หลายสิบคน นำโดย พ.ต.ท.สุพล ปูมูลเจริญ นายพิจักษณ์ ตระกูลจันทร์ผง จ.ส.ต.หาญศักดิ์ เบญจศรีพิทักษ์ นาย องอาจ ตันธนศิลป์ ได้เดินทางมาสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เพื่อขอให้ยุติการออกอากาศของรายการที่มีนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดำเนินรายการ โดยแถลงการณ์ตอนหนึ่งของ “กลุ่มเสื้อแดงล้านนา” กล่าวหาว่าการดำเินินรายการของนายเจิมศักดิ์ เป็นการหาเสียงให้แก่พรรคการเมืองหนึ่ง และโจมตีอีกพรรคการเมืองหนึ่ง ด้วยการใช้เล่ห์เพทุบายในการอธิบายความ โดยสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน ป้ายสีให้ร้ายต่อองค์กรประชาธิปไตยคนเสื้อแดง ซึ่งก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในทางการเลือกตั้ง อันเป็นการกระทำของสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐอย่างไม่เป็นธรรมในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง "เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและให้การเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย จึงขอให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT ช่อง 11 ยกเลิกรายการ ที่นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นผู้ดำเนินรายการทั้งหมดโดยทันที” แถลงการณ์ตอนหนึ่งระบุ โดยกลุ่มเสื้อแดงล้านนา ได้ยื่นหนังสือต่อ นางดวงมาลย์ ศรีกิจวิไลกุล ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.เชียงใหม่ ขอให้ทาง ช่อง 11 ประสานไปยังนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี และ สทท. ส่วนกลาง ในการได้ยกเลิกรายการของนายเจิมศักดิ์ ทุกรายการ โดยให้เวลา 3 วัน ในการถอดรายการและหากยังไม่ดำเนินการกลุ่มเสื้อแดงล้านนาจะกลับมาทวงคำตอบใหม่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ผู้ใช้เน็ตวิจารณ์ “กนก” กรณีอ่านข่าวรถหาเสียง ส.ส. เปิดประตูชนมอเตอร์ไซค์ Posted: 30 May 2011 01:05 PM PDT กระดานข่าวพันทิพตั้งกระทู้วิจารณ์ “กนก รัตน์วงศ์สกุล” อ่านข่าวโชเฟอร์รถหาเสียงผู้สมัคร ส.ส. จ.เพชรบุรีเปิดประตูด้านคนขับแล้วชนกับมอเตอร์ไซค์จนล้มคว่ำ แต่เอาไปอ่านข่าวกลายเป็น “รถเขาจอดอยู่เฉยๆ” แถมหัวเราะ ชาวเน็ตจี้ให้รับผิดชอบ ชี้รถจักรยานยนต์ขับมาถูกทางแล้ว แต่คนขับรถเปิดประตูแบบไม่ทันดูเอง แถมจอดในที่ห้ามจอด ถามกนกถ้าเป็นฝ่ายขับมอเตอร์ไซค์ จะหัวเราะออกไหม ตามที่เมื่อวันที่ 24 พ.ค. นายอลงกรณ์ พลบุตร แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นำผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง 3 เขต ออกหาเสียง แต่ระหว่างนั้นคนขับรถเปิดประตูไปชนรถจักรยานยนต์จนล้มคว่ำ ท่ามกลางความตกใจของผู้เห็นเหตุการณ์ โดย ผู้สื่อข่าว อสมท. รายงานว่า คนขี่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้รับบาดเจ็บนั้น ต่อมาในรายการข่าวค้นคนข่าว ออกอากาศในคืนวันที่ 24 พ.ค. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีของ อสมท. ได้รายงานข่าวและภาพข่าวดังกล่าว โดยเป็นภาพในจังหวะที่คนขับรถหาเสียงของนายอลงกรณ์เปิดประตูด้านคนขับ ระหว่างที่มีผู้ขับรถจักรยานยนต์เข้ามา ทำให้เกิดชนจนรถจักรยานยนต์ล้มคว่ำ โดยที่ด้านหลังของรถจักรยานยนต์มีรถตู้วิ่งตามมา แต่โชคดีที่รถตู้เบรกได้ทันก่อนที่จะพุ่งชนรถมอเตอร์ไซค์ที่ล้มคว่ำ นายกนก รัตน์วงศ์สกุล หนึ่งในผู้ประกาศข่าวของรายการ ได้อ่านข่าวดังกล่าวด้วยว่า "ขาออกมา ตอนที่จะออกไปแห่ ไปหาเสียง ตระเวนหาเสียงในพื้นที่จังหวัด ปรากฏว่ามีมอเตอร์ไซค์ของสาวสวยท่านหนึ่งมาชน รถของคณะของคุณอลงกรณ์และทีมผู้สมัคร ทางด้านของจักรยานยนต์พอชน นี่แหละฮะ เห็นเลยนะฮะ โอ้โฮ ดูอีกทีนะครับ ถ้าเป็นไปได้นะครับ อาจจะดูกันไม่ทัน" "รถเขาจอดอยู่เฉยๆ นะฮะ และกำลังรอผู้สมัครมาและจะแห่แหนไป จังหวะเหมือนกับเปิดประตู นี่ฮะดูนะฮะท่านผู้ชมฮะ โอ้โฮ ล้มเลย ไม่เป็นไรฮะ ผู้สมัครก็ลงมาขอโทษขอโพย เป็นสุภาพสตรีด้วย และไม่ใช่ขี้เหร่ด้วย นะฮะ สาวสวย ต่างคนต่างก็ไม่ถือโทษโกรธกัน นะฮะ ก็ไม่มีอะไร เธอก็ไม่ได้บาดเจ็บอะไรมาก เธอคงจำแม่นเลยล่ะพรรคนี้" โดยเมื่อนายกนกอ่านจบ มีเสียงหัวเราะของนายกนกและผู้ประกาศข่าวอื่นด้วย โดยในช่วงที่นายกนกอ่านข่าวได้มีผู้ใช้ชื่อว่า TungstenPalm นำคลิปไปโพสต์ในยูทิวป์ด้วย ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา และต่อมา ประเด็นที่นายกนกอ่านข่าวว่ารถคันดังกล่าวจอดอยู่เฉยๆ และกำลังรอผู้สมัคร ได้กลายเป็นประเด็นวิจารณ์โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งในเว็บไซต์ยูทิวป์ดังกล่าว และล่าสุดในกระดานข่าวพันทิพ ห้องรัชดา เมื่อ 27 พ.ค. มีผู้ตั้งกระทู้หัวข้อ "ใคร ผิด ครับ คุณ กนกๆๆๆๆๆๆๆ" โดยล่าสุดจนถึงวันที่ 31 พ.ค. มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้วมากกว่า 300 ราย โดยมีผู้แสดงความเห็นวิจารณ์ว่านายกนกรายงานข่าวพลาด หรือ แสดงความคิดเห็นชื่นชมจนออกนอกหน้า ทั้งที่รถหาเสียงคันดังกล่าวจอดในที่ห้ามจอด และเปิดประตูด้านคนขับโดยไม่ได้มองรถคันอื่น เป็นต้น เช่น ความคิดเห็นที่ 22 ระบุว่า "รถจักรยานยนต์ เค้าขี่มาถูกทางแล้วนี่ครับ คนเปิดประตูรถหาเสียงไม่ดูเอง เปิดมาชนจักรยานยนต์ ถ้าอยู่ใกล้ๆ จะ ... ปล.อยากรู้ว่า ทำไมตำรวจจราจรที่เดินแกว่งไปมา ไม่ออกใบสั่งให้รถหาเสียงที่จอดขาวแดงครับ" หรือความคิดเห็นที่ 60 ระบุว่า "ถ้ารถตู้เบรกไม่ทัน ยาวแน่ๆ ครับ แต่ภาพชัดขนาดนี้ยังพูดไม่คิดเลยครับ ยิ่งถ้าไม่เห็นภาพคงสนุกปากกว่านี้ ติดใจตรงที่คำพูดที่ว่า "รถเค้าจอดอยู่เฉยๆ" ไม่น่าเลยครับกนก มันหลายครั้งแล้ว" หรือความคิดเห็นที่ 73 ระบุว่า "ลองเป็นคุณกนก ไปเป็นน้องผู้หญิงคนนั้นดู จะหัวเราะออกไหม จะโทษน้องฝ่ายเดียวได้ไง เปิดประตู ก็ไม่มอง" นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่ารถหาเสียงคันดังกล่าวจอดอยู่ในบริเวณขอบทางทาด้วยสีขาวแดง ซึ่งเป็นที่ห้ามจอดด้วย สำหรับรายการข่าวข้นคนข่าว เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวิเคราะห์ข่าวประจำวัน ผลิตโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เนชั่นทีวี ออกอากาศ ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 21.50-22.45 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี มีผู้ประกาศข่าว 3 คนได้แก่ นายกนก รัตน์วงศ์สกุล นายธีระ ธัญไพบูลย์ และนายกำภู ภูริภูวดล สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ดีเอสไอเผย IP ผู้ต้องหาหมิ่นสถาบันสัญชาติไทย-อเมริกันเกี่ยวพันเว็บ นปช.ยูเอสเอ Posted: 30 May 2011 11:40 AM PDT 30 พ.ค.54 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการจับกุมผู้ต้องหาสัญชาติไทย-อเมริกัน อายุ 54 ปี ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่า ดีเอสไอมีหลักฐาน ทั้ง IP Address ทะเบียนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งชี้ชัดว่าคนทำเว็บไซต์ "นปช.ยูเอส" อยู่ในประเทศไทย นอกจากนี้หลักฐานการโพสต์ข้อความบนเว็บ "นปช.ยูเอสเอ" ผู้ต้องหาใช้ชื่อ "สิน แซ่จิ้ว" เนื้อหาบางข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบันชัดเจน ซึ่งดีเอสไอสืบสวนมานานกว่า 2 ปี นอกจากนี้ดีเอสไอออกหมายจับผู้ต้องหารายนี้ในฐานะเป็นคนไทย เพราะเขาขอทำบัตรประชาชนใหม่เมื่อปี 2552 ประกอบอาชีพเปิดโรงเรียนสอนภาษา และทำการค้าที่ อ.วังน้ำเขียว "XXยังรับเบี้ยเลี้ยงจากองค์การทหารผ่านศึกเดือนละ 500 บาท แล้วจะบอกไม่ใช่คนไทยได้อย่างไร แต่เมื่อถูกจับกุมก็อ้างไม่ใช่คนไทย ยังพยายามประสานให้สื่อต่างประเทศเผยแพร่ว่าเป็นชาวต่างชาติถูกดำเนินคดีในประเทศไทย ดีเอสไอจึงได้ประสานไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ข้อมูลและรายละเอียดแล้ว" พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวอีกว่า เครือข่ายนปช.ยูเอสเอ เป็นหนึ่งในกลุ่มของแผนผังล้มเจ้า แต่ไม่ได้ หมายความว่า คนที่ชื่ออยู่ในแผนผังจะถูกออกหมายจับกุมทั้งหมด เบื้องต้นหากพบความเชื่อมโยงจะออกหมายเรียก เมื่อมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ก็มีสิทธิได้รับการประกันตัว นอกจากนี้ดีเอสไอจะเร่งตรวจสอบเส้นทางการเงินเพื่อสอบสวนถึงแหล่งเงินสนับสนุนการทำเวบไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
คอป.จัดเสวนาก่อนเลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยนิรโทษกรรม ดันทุกพรรคประกาศรูปธรรม “ปรองดอง” Posted: 30 May 2011 11:24 AM PDT
30 พ.ค.54 ที่โรงแรมสยามซิตี้ มีการจัดเสวนา “แนวทางของพรรคการเมืองในการนำประเทศก้าวข้ามความขัดแย้งหลังการเลือกตั้ง” โดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พร้อมทั้งมีการนำเสนอข้อเสนอของ คอป.ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง พร้อมแจกรายงานความคืบหน้าการทำงานของ ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างวันที่ 17 ก.ค.53 – 16 ม.ค.54 ในเวทีมีการนำเสนอข้อเสนอแนะของ คอป.โดยตัวแทนคณะกรรมการคือ ดร.กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ และนายสมชาย หอมลออ กรรมการคอป. และมีการวิพากษ์ข้อเสนอ คอป. โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, สุรเกียรติ เสถียรไทย และพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้สังเกตการณ์จากสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ ครม.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติเห็นชอบในหลักการให้มี คอป. เมื่อ 8 มิ.ย.53 และตั้ง คณิต ณ นคร เป็นประธาน โดยให้ประธานไปสรรหากรรมการที่เหลือ กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี และต้องจัดทำรายงานความคืบหน้าทุก 6 เดือน ที่ผ่านมามีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ 5 คณะ ได้รับจัดสรรงบเบื้องต้น 32 ล้านบาท 6 เดือน คอป.ได้จัดทำข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีแล้ว 2 ครั้ง สำหรับงานเสวนาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ 8 ข้อ ได้แก่ 1.ทุกฝ่ายควรตระหนักว่ารากเหง้าของปัญหาครั้งนี้หยั่งรากลึกถึงระดับโครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างทางการเมือง ควรหาทางออกด้วยการรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย 2.เรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญสูงสุดกับการทำการเลือกตั้งปราศจากความรุนแรงและเป็นกลางอย่างแท้จริง และขอให้พรรคการเมืองทุกพรรคประกาศจุดยืนที่ชัดเจนก่อนการเลือกตั้งถึงกระบวนการที่เป็นรูปธรรมในการนำชาติบ้านเมืองก้าวข้ามความขัดแย้ง 3. การเสนอให้มีการนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ความรุนแรงทังที่เกิดความสูญเสียอย่างมากก็ดี การดำเนินการกับผู้ชุมนุมโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายอาญาอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความขัดแย้งทางการเมืองที่นำมาสู่ปัญหาการชุมนุมก็ดี ล้วนไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ทางที่ดีที่สุด คือให้สังคมทราบความจริงของสภาพปัญหาและให้ความสำคัญกับการนำหลักยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาใช้ เป็นกลไกเสริมกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก 4.รัฐบาลและผู้มีส่วนกี่ยวข้องพึงใช้กฎหมายอย่างระมัดระวัง ไม่ตั้งข้อหาเกินสมควร คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกฝ่าย 5. ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องมีความระมัดระวังและแสดงให้เห็นถึงการวางตัวเป็นกลาง 6. ทุกฝ่ายควรแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง และหน่วยงานรัฐพึงระวังการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในห้วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงเช่นนี้ 7. สื่อทุกแขนงต้องระวังและมีความรับผิดอบในการเสนอข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณชน 8. รัฐบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง นายสมชาย หอมลออ กล่าวว่า พรรคการเมืองควรมีนโนบายที่ชัดเจนเรื่องแนวทางการนำไปสู่ความปรองดอง และเชื่อว่าความปรองดองจะไม่เกิดขึ้นหากขาด 3 สิ่ง คือความจริงของสถานการณ์ ความยุติธรรม และการแก้ไขปรับปรุงสภาพโครงสร้างทางการเมืองในปัจจุบันตั้งแต่แนวคิดนิยามการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อหามติร่วม เพราะความแตกต่างอย่างที่เป็นอยู่ยากจะนำไปสู่การปรองดอง รวมถึงการตอบคำถามเกี่ยวกับบทบาทที่เหมาะสมของกองทัพ โครงสร้างองค์กรอิสระ รัฐสภา “ผมไม่เชื่อว่าจะมีใครอยากจะก้าวผ่านไปสู่การปกครองที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพียงแต่มีการนิยาม และความเข้าใจที่แตกต่างกันเท่านั้น” สมชายกล่าว ขณะเดียวกันในส่วนของภาคประชาสังคมก็ต้องหาจุดลงตัวใหม่ในหลายเรื่อง เช่น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพสื่อ เพราะต้องยอมรับว่าเสรีภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น “ถ้าไม่ปฏิรูปอาจนำไปสู่การปฏิวัติ ที่เป็นความขัดแย้งกันรุนแรง ในสถานการณ์ของการเลือกตั้ง ปัญหาเหล่านี้แบบอยู่ตรงหน้า และต้องการคำตอบของพรรคการเมือง รวมถึงผู้มีสิทธิลงคะแนน” สมชายกล่าว ในส่วนของผู้วิพากษ์รายงาน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เข้าใจว่าโจทย์ของ คอป.ในเวทีนี้คือ ต้องการยกระดับการสนทนาเรื่อง “การปรองดอง” ในสังคมไทยให้ดีขึ้น จากที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็พูดเรื่องนี้กันทั้งหมด ทั้งนี้ ขอตั้งข้อสังเกตว่า หากดูข้อเสนอของ คอป. จะพบว่าเป็น ข้อเสนอทางกฎหมาย 4 ข้อ ซึ่งนำไปสู่ข้อสังเกตว่าอาจจำเป็นต้องพูดเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หากพรรคการเมืองพูดเรื่องการปองดรอง สื่อก็น่าจะถามนโยบายที่เป็นรูปธรรมของพรรคเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เช่น ถามแนวทางของพรรคต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย มาตรา 112 ชัยวัฒน์กล่าวด้วยว่า หากกล่าวถึง “การปรองดอง” มีคำถามน่าสนใจอยู่ 3 ข้อ ประการแรกคือ อะไรคือสมมติฐานของการปรองดอง เมื่อคิดถึงเรื่องนี้มักมีฐานคิดว่า 1.มีความสามารถที่จะฟื้นคืนชีวิตทางการเมืองของตัวเองได้ แต่ถามว่าสังคมไทยมีความสามารถนี้หรือไม่ ไม่รู้ 2.ตัวอย่างหลายประเทศเวลาตั้งคณะกรรมการปรองดอง ส่วนมากทำหลังจากความขัดแย้งจบไปแล้ว ของไทยตั้ง “ท่ามกลาง” ความแตกแยก 3. วางอนาคตร่วมกัน สังคมไทยตอนนี้คิดถึงอนาคตต่างกัน เรามาถึงจุดนี้แล้วและไม่น่าจะหลอกตัวเองว่ามันยังเหมือนเดิม ประการที่สอง สมมติฐานเกี่ยวกับ “การลืม” และ “การจำ” การปรองดองอาจมีการใช้การลืมในบางลักษณะก็เป็นได้ เพราะการลืมอาจสำคัญต่อการดำเนินไปของความสัมพันธ์ แต่ถ้าพูดถึงการให้อภัยจะต้อง “จำ” เท่านั้น โดยชัยวัฒน์ขยายความว่า การลืมอาจไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด มีนักทฤษฎีแยกการลืมออกเป็น 7 ประเภท เช่น การลืมและลบทิ้ง ซึ่งมักทำในรัฐบาลเผด็จการ, การออกแบบให้ลืม ลืมเพื่อประโยชน์ของคนทั้งหลาย, ลืมบางอย่างที่มีผลต่ออัตลักษณ์ของเรา, ลืมเพราะข้อมูลมากเกินไป เป็นต้น แล้วรัฐบาลส่วนใหญ่ทำอย่างไร บางประเทศบอกว่าไม่เคยเกิดเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่ในไทยนั้นทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น บางประเทศก็เล่นงานเหยื่อ สร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง หรือบอกว่าเป็นปัญหาของบางคนไม่ใช่ทุกคน หรือลืมเพื่อเดินหน้า ฯลฯ ประการที่สาม สมมติฐานเกี่ยวกับ “การเลือกตั้ง” บางคนเชื่อว่าเหมือนครั้งอื่น บางคนเชื่อว่าไม่เหมือนครั้งใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ซึ่งสมมติฐานที่ต่างกันนี้นำสู่วิธีคิดเกี่ยวกับการปรองดองที่ไม่เหมือนกัน โดยสรุป ปัญหาของการเลือกตั้งครั้นี้ ไม่ใช่ส่วนของพรรคการเมืองเท่าไร แต่คือพลังที่อยู่นอกการเมือระบอบเลือกตั้ง และอาจมีผลหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจนำมาซึ่งความรุนแรง สิ่งสำคัญคือพรรคการเมืองคิดกับเรื่องเหล่านี้อย่างไร สื่อมวลชนน่าจะตั้งคำถามเหล่านี้กับแต่ละพรรค “เราควรหาโจทย์หลักของสังคมไทยมาคุยกัน บางเรื่องคุยได้ในสาธารณะ บางเรื่องไม่ได้ แต่อย่างไรมันก็ต้องคุยกัน” ชัยวัฒน์กล่าว สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวถึงความสำคัญของการปรองดองในเวลานี้ว่า เป็นเพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางการเมืองที่ต้องแก้ด้วยการเมือง การเลือกตั้งจึงเป็นจุดเปลี่ยนผานที่สำคัญ แต่การเลือกตั้งอย่างเดียก็ยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ซับซ้อน ต้องเป็นการเลือกตั้งที่นำไปสู่การปรองดอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ คอป.จะเสนอให้ทุกส่วนทั้งพรรคการเมือง สื่อ พูดเรื่องการปรองดองลงลึกในรายละเอียดที่แตกต่าง สุรเกียรติ์ กล่าวอีกว่ารากเหง้าของปัญหามี 2 เรื่อง เรื่องแรกคือสถาบันกษัตริย์ ซึ่งที่ผ่านมามีการโจมตีใส่ความจาบจ้วงมากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม นำสู่การตอบโต้หลายรูปแบบทั้งการเปลี่ยนรัฐบาลโดยการรัฐประหาร หรือการใช้กฎหมายมาตรา 112 ซึ่งมีการวิจารณ์เยอะว่าใช้โดยไม่แยกแยะคนที่จงรักภักดี เรื่องที่สองคือ เรื่องการใช้กฎหมายหรือการดำเนินกระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐาน จากที่คนเพียงรู้สึกก็เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น จนตอนนี้มีความเห็นที่แตกแยกกันเลยว่า อะไรคือ ความยุติธรรม กฎหมาย หรือความถูกต้อง รากเหง้าทั้งสองเรื่องนี้นำสู่ความขัดแย้งที่ยากจะพูดกันได้ สุรเกียรติ์ พูดถึงข้อเสนอว่า ควรเทิดทูนสถาบันให้อยู่เหนือการเมือง และหยุดอ้าถึงไม่ว่าจะทางใด ทั้งพวกล้มสถาบันซึ่งเป็นส่วนน้อย รวมถึงการอ้าง “สัญญาณ” จากเบื้องบน นักการเมืองและสังคมไทยควรจะโตเสียที ส่วนการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งหลายฝ่ายรู้สึกว่าเหวี่ยงแหนั้นต้องใชอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง แต่ผู้ผิดจริงก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย หากปัญหาอยู่ที่ว่าประชาชนไม่ได้รับรู้รับฟังว่าเขาผิดอย่างไร พูดอะไร เสียหายอย่างไร การดำเนินการควรให้ประชาชนได้รับทราบด้วย เพื่อลบล้างคำกล่าวหาว่ารัฐใช้อย่างเหวี่ยงแห ทั้งนี้ สุรกียรติ์ ได้หยิบยกพระราชดำรัสของในหลงที่ทรงเคยรับสั่งไว้ว่าไม่เห็นด้วยกับหลักการ The king can do no wrong ด้วย นอกจากนี้เขายังเห็นด้วยกับการการใช้กระบวนการยุติธรรมแบบพิเศษเพื่อจัดการกับความผิดเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งหลายประเทศแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองด้วยเส้นทางนี้ บางประเทศใช้ผสมผสานกับกฎหมายอาญา เขายังเสนอว่า สื่อมวลชนควรไปถามพรรคการเมืองต่างๆ ถึงนิยามและแนวทางรูปธรรมของการปรองดอง และคอป.ควรเป็นแกนกลางให้ทุกฝ่ายได้มาหารือร่วมกัน แม้จะจำกัดความเรื่องนี้ต่างกันก็ตาม “ความสำเร็จของการปรองดอง คือ จะต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ ก่อนการพูดคุยจะเกิดขึ้น ไม่มีคำว่า “ถ้า” ต่อท้าย การตั้งเงื่อนไขก่นอการปรองดอง คือ ไม่ต้องการปรองดอง อย่างไรขอให้มาพูดคุยกันก่อน” สุรเกียรติ์กล่าวและว่าสิ่งที่ต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นคือ การชูประเด็นเรื่องการปรองดองมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าแนวทางของฝ่ายตนนั้นถูกต้องกว่า
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กัมพูชาแถลงต่อศาลโลกขอให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร Posted: 30 May 2011 10:09 AM PDT นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาแถลงต่อศาลโลกขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวพร้อมร้องขอให้ไทยเคารพอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน มติชนออนไลน์รายงานโดยอ้างสำนักข่าวเอพี กรณีกัมพูชาร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกขอให้ศาลโลกตีความคำตัดสินปี 2505 เกี่ยวกับประสาทพระวิหารและเพื่อเรียกร้องให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่นอบประสาทพระวิหาร โดยวานนี้ (30 พ.ค.) เป็นวันแรกที่ประเทศกัมพูชาและไทยได้แถลงด้วยวาจาในเวลา 10.00-12.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น และให้ไทยแถลงในเวลา 16.00-18.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนในวันพรุ่งนี้กำหนดให้กัมพูชาแถลงในเวลา 10.30-11.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น และให้ไทยแถลงในเวลา 17.00-18.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น สำนักข่าวเอพีระบุว่า นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชาแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อหน้าคณะลูกขุนทั้ง 16 คนว่า กัมพูชาเตรียมร้องขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวจากศาล เพื่อปกป้องสันติภาพและหลีกเลี่ยงการยกระดับการปะทะระหว่างทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องถอนกำลังทหารในพื้นที่รอบปราสาท และยืนยันว่า"ทางการไทยต้องเคารพอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของกัมพูชา" คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างกัมพูชาและไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 1958 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ในปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในปี 1959 คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน การแถลงด้วยวาจาจะมีขึ้นที่มหาศาลาแห่งความยุติธรรม (The Great Hall of Justice) หลังจากที่เดือนที่แล้วศาลโลกรับคำร้องของกัมพูชาที่ร้องเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อขอให้ตีความคำตัดสินของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหารวันที่ 15 มิถุนายน 2505 เว็บไซต์เนชั่นแชแนล รายงานโดยอ้างเว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ ว่า ว่า ชาวกัมพูชาในต่างแดน ได้ส่งจหมายอิเล็กโทรนิกส์ (อีเมล์) รณรงค์ให้รวมตัวกันประท้วงประเทศไทยที่หน้าศาลโลก ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาแนะนำให้ชาวกัมพูชาในต่างแดนรวมตัวกันที่หน้าสถานทูตไทย ประจำกรุงเฮก เพื่อ เพื่อแสดงความเจ็บปวดของเขมรที่ถูกไทยรุกราน
ที่มา: มติชนออนไลน์, เนชั่นแชแนล
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
เยอรมันสั่งเลิกนิวเคลียร์ทศวรรษหน้า Posted: 30 May 2011 09:06 AM PDT กรุงเบอร์ลิน : เมื่อเช้าวันจันทร์นี้ (30 พ.ค.54) รัฐบาลเยอรมันได้แถลงผลการตัดสินใจที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในปี 2022 หรืออีกสิบเอ็ดปีข้างหน้า โดยหลังจากการประชุมยาวเหยียด ในที่สุดนาย นอร์เบิร์ต ร็อตต์เกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมก็ได้ออกมาแถลงว่า โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สามโรงงานสุดท้ายจะยุติการปฏิบัติงานภายในปี 2022 ในขณะที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เก่าที่สุดเจ็ดโรงซึ่งถูกสั่งระงับการปฏิบัติงานอย่างถาวร ภายหลังจากที่มีการยุติการปฏิบัติงานชั่วคราวหลังกรณีอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา จากคลื่นสึนามิถล่มที่ญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเยอรมันไม่น่าประสบปัญหาเช่นเดียวกับในญี่ปุ่น และยังมีความปลอดภัยในเชิงเทคนิคมากกว่ากันมาก อย่างไรก็ตามการตัดสินใจนี้ของรัฐบาลเยอรมันจะไม่รวมการยกเลิกการลดภาษีแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (fuel-rod tax) ซึ่งเพิ่งมีการประกาศใช้ในปีนี้ การยกเลิกภาษีดังกล่าวทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีของบริษัทผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ลดลงจาก 2.3 พันล้านยูโร เหลือเพียง 1.3 พันล้านยูโร บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์สี่บริษัทใหญ่ ได้แก่ RWE, Eon, Vattenfall และ EnBW จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาล CDU – FDP ในครั้งนี้ ภาพนี้ใช้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ CC ที่มา - http://www.flickr.com/photos/fotosderweltcom/5706865548/sizes/m/in/photostream/ ก่อนหน้านี้นางแองเจลา เมอร์เคล วางแผนเลื่อนการยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ออกไปจนถึงปี 2036 แต่ทว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ฟุกุชิมา ฝ่ายเคลื่อนไหวคัดค้านพลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมันสามารถรวมคนกันได้มากกว่า 100,000 คน เพื่อบีบให้รัฐบาลยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ผลการตัดสินใจครั้งนี้อาจสร้างรอยร้าวให้กับในพรรค CDU ของนางเมอร์เคลเอง เมื่อก่อนหน้านี้นาย สเตฟาน มัปปุส ผู้ว่าการรัฐ บาเดน-วือร์เตมเบิร์ก หนึ่งในผู้สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ตัวเอ้ของเยอรมัน เคยเคลื่อนไหวให้ยืดระยะการระงับใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมันออกไปให้นานที่สุด ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านเยอรมันที่ประกอบไปด้วย พรรคกรีน และพรรคโซเชียลเดโมแครต วิพากษ์ว่าการเคลื่อนไหวของรัฐบาลนางเมอร์เคลครั้งนี้อาจมีปัญหาทางการเมืองและมีปัญหาในเชิงเทคนิค ทั้งนี้ทั้งสองพรรคเคยจับมือกันประกาศนโยบายเลิกพลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมันเมื่อ 10 ปีก่อน อันดับประเทศ 10 อันดับแรกของประเทศที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มากที่สุด ตัวเลขร้อยละข้างหลังเป็นสัดส่วนที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าเมื่อเทียบกับพลังงานชนิดอื่นๆ เยอรมันใช้พลังงานนิวเคลียร์ราว 1 ใน 4 ของพลังงานทั้งหมด (เทียบกับฝรั่งเศสใช้พลังงานนิวเคลียร์ถึง 3 ใน 4) แม้ในระยะหลังจะมีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยังไม่อาจทดแทนปริมาณการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในระยะเวลาอันสั้นได้ โดยเฉพาะในเวลา 10 ปีข้างหน้า ยังคงเป็นปัญหาของเยอรมันที่จะหันไปหาพลังงานชนิดอื่นที่ไม่ใช่นิวเคลียร์มาใช้ ภายใต้โจทย์ที่จะต้องเป็นพลังงานที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ปลดปล่อยมลภาวะซึ่งสร้างปัญหาภาวะเรือนกระจกซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนด้วย สัดส่วนการใช้พลังงานประเภทต่างๆ ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี (ที่มา วิกิพีเดีย: http://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_power_in_Germany) บางทีพลังงานก๊าซธรรมชาติอาจเป็นคำตอบของเยอรมัน แต่นั่นก็จะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นด้วยเพราะเยอรมันจะต้องนำเข้าก๊าซจากรัสเซีย ผลในทางภูมิรัฐศาสตร์จะดึงให้เยอรมันที่เป็นศูนย์กลางของสหภาพยุโรปถอยออกจากขั้วนาโต้และสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่อ้อมกอดของรัสเซีย เผยแพร่ครั้งแรกใน: Siam Intelligence Unit สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
สุจิตต์ วงษ์เทศ: ปราสาทพระวิหารในอดีตและอนาคต Posted: 30 May 2011 09:05 AM PDT 1) สมัย ร.5 ปราสาทพระวิหารเป็นของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสยอมลงนามในสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 นี้ จึงเป็นครั้งแรกที่สยามได้อธิปไตยที่แน่ชัด (หรือที่มหาอำนาจรับรอง) บนดินแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐบาลสมัย ร. 5 น่าจะเห็นว่าเป็น “ความสำเร็จ” ที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่ง เพราะขณะนั้นยังไม่แน่ชัดว่ามหาอำนาจโดยเฉพาะฝรั่งเศสยอมรับการมีอยู่ของประเทศสยามแค่ไหน (เช่น ที่ราบสูงโคราชทั้งหมดเป็นของสยาม หรือเป็นดินแดนที่ยังต้องเจรจาต่อรองกันก่อน) เมื่อแผนที่แนบท้ายมีเส้นเขตแดนที่ลัดเลาะเลียบแม่น้ำโขง และเทือกเขาพนมดงเร็ก มีความชัดเจนแน่นอน และประกันความปลอดภัยของสยาม เป็นอันหมดกังวลเสียทีกับความเปราะบางของอธิปไตยสยามทางด้านนี้ ดังนั้น ย่อมมีความสำคัญกว่ากันอย่างเทียบไม่ได้กับปราสาทพระวิหาร ซึ่งขณะนั้นแทบจะไม่มีใครรู้จักเลย แผนที่แนบท้ายที่สยามให้คำรับรองไว้จะบิดเบี้ยวไปจากสันปันน้ำอย่างไร จึงไม่มีความสำคัญนัก ขณะนั้น พ.ศ. 2447 ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรี, ตราด, และเกาะในอ่าวไทยด้านตะวันออกไว้ทั้งหมด ด้วยข้ออ้างว่าเป็นหลักประกันใช้บังคับสยามให้ยอมทำตามสัญญา ร.ศ. 112 พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) 2) สมเด็จฯ เสด็จปราสาทพระวิหารของฝรั่งเศส สมเด็จฯ เสด็จยืนรับการถวายการต้อนรับ และคงจะทอดพระเนตรเห็นธงฝรั่งเศสซึ่งชักขึ้นเหนือเสาบนปราสาทอย่างชัดเจน นอกจากทรง “ตรวจ” โบราณวัตถุสถานบนปราสาทพระวิหารแล้ว ยังได้เสด็จประทับค้างแรมข้างบนนั้นอีกหนึ่งคืนด้วย สมเด็จฯ ทรงทราบอยู่แล้วว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตปกครองของอินโดจีนฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาซึ่งสยามและฝรั่งเศสทำขึ้นใน พ.ศ. 2447 ซึ่งถูกกำหนดรายละเอียดด้วยแผนที่แนบท้ายซึ่งสยามและฝรั่งเศสร่วมกันทำ (ตามความในสนธิสัญญา ม.3) และสยามได้ให้คำรับรองทั้งในทางปฏิบัติและอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2450 ทุกอย่างเป็นที่พอใจของชนชั้นนำขณะนั้นทุกคน 3) เริ่มแย่งปราสาทพระวิหาร ปราสาทพระวิหารกลับตกเป็นของไทย เพราะสงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส (ขึ้นอยู่ในจังหวัดนครจำปาศักดิ์) แต่เป็นการได้ที่ไม่มีมหาอำนาจใดรับรองนอกจากญี่ปุ่น ครั้นสิ้นสงครามไทยก็ต้องจำยอมประกาศสละดินแดนที่ยึดมาได้เหล่านี้คืนมหาอำนาจผู้ชนะสงครามหมด เหลือแต่ปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่เรามุบมิบเอาไว้ เราไม่อาจตัดสินการกระทำหรือความคิดของคนแต่ก่อนด้วยเงื่อนไขของปัจจุบันได้ เพราะเขาทำและคิดขึ้นจากเงื่อนไขในสมัยของเขา ซึ่งมาในภายหลังอาจเห็นได้ว่าผิดหรือถูกก็ตาม แต่อย่างน้อยก็มีเหตุผลรองรับ ทั้งเป็นเหตุผลที่มีประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วย ต่างจากการนำเรื่องปราสาทพระวิหารกลับมาใหม่ในสมัยปัจจุบัน เพราะกลายเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะตน หรือเฉพาะกลุ่มไปเสียหมด 4) เขมรฟ้องศาลโลก 5) ศาลโลกตัดสิน คำตัดสินตอนหนึ่งของศาลโลกมีอ้างถึงสมเด็จฯ ว่า ค.ศ. 1930 (ในวันที่ 30-31 มกราคม 2472) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและคณะได้เสด็จชมปราสาทพระวิหาร ผู้ว่าราชการเมืองกำปงธม ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส แต่งเครื่องแบบเต็มยศ มารับเสด็จที่ตีนบันไดขึ้นปราสาทพระวิหาร ด้านหลังมีธงชาติฝรั่งเศส มีการฉายพระรูป ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงส่งรูปถ่ายดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการเมืองกำปงธม และขอบใจที่เขาต้อนรับเป็นอย่างดี โดยมิได้ทักท้วงเรื่องฝรั่งเศสปักธงชาติฝรั่งเศสไว้ที่ปราสาทพระวิหาร 6) ปราสาทพระวิหาร มรดกโลก ปราสาทพระวิหารกลายเป็น “มรดกโลก” ไทยเองก็มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกับประเทศอื่นๆด้วย แต่เป็นเจ้าของในเชิงวัฒนธรรม ไม่ใช่การเมือง 7) ประชาคมอาเซียน อาเซียนพัฒนามาถึงความฝันเรื่อง “ประชาคม” อาเซียน แม้ยังไม่มีรูปธรรมมากนัก แต่อย่างน้อยก็กลายเป็นความฝันที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธอย่างเปิดเผยได้อีกต่อไป เห็นได้ชัดว่าเส้นเขตแดนในกลุ่มอาเซียนซึ่งหาความชัดเจนแน่นอนไม่ค่อยได้ในทุกประเทศ กำลังต้องถอยร่นให้แก่ความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง แม้แต่ปราสาทพระวิหารเอง 8 ) ปราสาทพระวิหาร ของ ประชาคมอาเซียน พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปราสาทพระวิหารจะมีทั้งคุณค่าและมูลค่าแก่เราผ่านความเป็นประชาคมของอาเซียน ไม่ใช่แสนยานุภาพของกองทัพ • • • ปรับปรุงแล้วเพิ่มเติมบางตอนขึ้นใหม่จากข้อเขียน เรื่อง อดีตและอนาคตของปราสาทพระวิหาร ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2554 หน้า 30-31 อ่านเพิ่มเติม 2. ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทย กับอาเซียนเพื่อนบ้านฯ โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก 2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
อัยการยื่นฟ้องคนงานทีไอจี คดีหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯ Posted: 30 May 2011 09:02 AM PDT นายฉัตรชัย ไพยเสน เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (30 พ.ค.54) อัยการนำตัวนายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร และอนุกรรมการของสหภาพฯ ส่งฟ้องต่อศาล จ.สมุทรปราการ ในคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน)(ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 โดยระบุว่า มีการส่งอีเมลร้องทุกข์ไปยังองค์กรต่างๆ นายฉัตรชัยระบุว่า เบื้องต้น นายสงครามปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และได้รับการประกันตัวในชั้นศาลแล้ว ด้วยหลักทรัพย์วงเงิน 50,000 บาท โดยมีนายเก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นนายประกัน นายฉัตรชัยเปิดเผยว่า รวมแล้วขณะนี้สหภาพฯ ถูกฟ้องทั้งสิ้น 5 คดี แบ่งเป็นฟ้องโดยผู้บริหารของบริษัท 3 คดีและฟ้องโดยบริษัท 2 คดี โดยผู้ที่ถูกฟ้องเป็นแกนนำหลักในการเคลื่อนไหวของสหภาพฯ ทั้งสิ้น ด้านผลกระทบ นายฉัตรชัย กล่าวว่า เนื่องจากผู้ที่ถูกดำเนินคดีเป็นพนักงานจัดส่ง ซึ่งจะมีรายได้จากการส่งของให้ลูกค้า หากต้องลางานไปสู้คดี ก็จะไม่ได้รายได้ส่วนนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นการแจ้งความที่สมุทรปราการ ทำให้คนงานต้องเดินทางจากที่พักที่ จ.สมุทรสาคร มาสู้คดีที่ จ.สมุทรปราการด้วย ขณะที่คนงานคนอื่นๆ ก็เริ่มไม่กล้าร้องทุกข์เพราะเกรงว่าจะถูกดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส กล่าวเพิ่มเติมว่า ระยะหลังมานี้ สหภาพแรงงานหลายแห่งประสบกับการดำเนินคดีลักษณะนี้มากขึ้น โดยนายจ้างจะไม่ชนกับสหภาพฯ โดยตรง แต่ใช้การดำเนินคดีอาญากับบุคคลอย่างแกนนำสหภาพฯ แทน ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะสายป่านของนายจ้างยาวกว่า พอโดนแบบนี้สหภาพฯ ก็เข้าขั้นวิกฤต เพราะมีทุนน้อย ขณะที่การกล่าวหานั้นทำได้ง่ายมาก แม้ว่าคนงานจะบริสุทธิ์ แต่ก็ต้องสู้คดียาวนานและใช้ทุนมหาศาลในการต่อสู้คดี และทำให้ไม่มีเวลาทำกิจกรรมสหภาพฯ ด้วย ทั้งนี้ ฉัตรชัยตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หลังจากมีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2551 ให้เลิกจ้างลูกจ้างที่มีความผิดตามคดีอาญาได้ ก็เริ่มมีการดำเนินคดีอาญากับลูกจ้างมากขึ้น อนึ่ง บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแก๊สอุตสาหกรรม แก๊สทางการแพทย์ แก๊สพิเศษต่างๆ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กสม.เกาะติดชายแดนใต้ ตั้ง 3 ทีมจับตาละเมิดสิทธิ Posted: 30 May 2011 08:38 AM PDT กรรมการสิทธิฯ เปิดเบอร์ 1377 กด 3 รับร้องเรียนในชายแดนใต้ ตั้งทีมงาน 3 จังหวัดจับตาปัญหาละเมิดสิทธิ พร้อมเปิด 18 รายชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เกาะติดพื้นที่ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 พฤษภาคม 255 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธ์ศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัวสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายเลข 1377 ก่อนการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้แถลง ศ.อมรา แถลงว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เปิดหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1377 กด 3 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2554 เนื่องจากที่ผ่านมาสายด่วน 1377 กด 3 ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่มากนัก และยังมีผู้เข้ามาใช้บริการน้อยมาก ศ.อมรา แถลงอีกว่า เมื่อมีการร้องเรียนผ่านสายด่วน 1377 กด 3 แล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ ศ.อมรา ได้แจกแผ่นพับแนะนำคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธ์ศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผ่นพับดังกล่าวระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการในช่วงปี 2554 – 2559 โดยมีจุดเน้นหลัก 1 พื้นที่ และ 5 ประเด็น คือ 1.พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม 3.สิทธิชุมชนและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม 4.สิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ขาดโอกาส ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม 5.สิทธิมนุษยชนกับบทบาทภาคธุรกิจ 6.สิทธิมนุษยชนกับการใช้หลักขันติธรรมในการจัดการความแตกต่างทางความคิดเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรง แผ่นพับดังกล่าวยังระบุอีกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม เพื่อเข้ามาช่วยดำเนินการในเชิงนโยบาย จำนวน 13 คน นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส เพื่อเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย จังหวัดละ 6 คน สำหรับรายชื่อ คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1. ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ 2. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ 3. นางสาวคอลีเยาะ หะหลี 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชิดชนก ราฮิมมูลา 5. นายดือราแม ดาราแม 6. นายประสิทธ์ เมฆสุวรรณ 7. นายประยูรเดช คณานุรักษ์ 8. นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ 9. นายสงวน อินทร์รักษ์ 10. นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ 11. นางอังคณา นีละไพจิตร 12. นางจิราพร บุนนาค 13. นายชูชัย ศุภวงศ์ คณะอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่หลายอย่าง เช่น ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงในการประนีประนอมหรือระงับข้อพิพาท และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมจัดทำข้อตกลง ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 6 คน ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี 1.นายประยูรเดช คณานุรักษ์ 2. นายปรัชญา คณานุรักษ์ 3. นายอังคาร กาญจนเพชร 4. นางปาริดา คำแพง 5. นายสุไลมาน เจ๊ะและ 6. นายนพปฏล วิเศษสุวรรณภูมิ จังหวัดยะลา 1. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ 2. นายหวังหะมะ บือนา 3. นางอังคณา แสงทอง 4. นายเล็ก สุขุมารพันธ์ 5. นางวันเพ็ญ แซ่แต้ 6. นางสมบูรณ์ สุวรรณราช จังหวัดนราธิวาส 1. นายสงวน อินทร์รักษ์ 2. นายณัฏฐ์พัชร์ ศรีสังข์ 3. นายประพนธ์ บุญคง 4. นายเชาลี เล๊าะยีตา 5. นางสาวปาตีละห์ อีซอ 6. นายเอกภพ บัวทวน พนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่กลุ่มนี้ มีอำนาจหน้าที่ คือ 1. รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส 2.ช่วยเหลือในการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ประเมิน “เม็ดเงินสะพัด” การเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 Posted: 30 May 2011 07:33 AM PDT กับแกล้มข่าวสำหรับคอการเมืองในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ เกร็ดย่นย่อว่าด้วยเม็ดเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง และประมาณการการหมุนเวียนของทุนในการเลือกตั้งครั้งนี้ สื่อเก่าอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ ยังคงเป็นสื่อหลักสำหรับการใช้รณรงค์หาเสียงของไทย โดยมีการประเมินกันว่าเม็ดเงินในอุตสาหกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นถึง 4,000 ล้านบาท ในการเลือกตั้งครั้งนี้ (ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กของ Bus Tewarit) สำหรับการเลือกตั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ประมาณการณ์ว่าน่าจะมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการเลือกตั้งในช่วงปี 2548 และ 2550 [1] ใกล้เคียงกับการประเมินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่คาดการตัวเลขอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท [2] ส่วนศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินไว้สูงกว่านั้น คือคาดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งน่าจะมีเม็ดเงินสะพัดเข้ามาในระบบ 4-5 หมื่นล้านบาท [3] ทางด้านศูนย์กสิกรไทยวิเคราะห์ว่าผลจากการรณรงค์หาเสียงช่วงเลือกตั้งน่ามีส่วนช่วยให้มูลค่าอัตราการเติบโต GDP ทางเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.9-1.4 เปรียบเทียบจากสถานการณ์ปกติที่ไม่มีการเลือกตั้ง ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐนั้น เช่น ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้เลือกตั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน [4] สื่อสิ่งพิมพ์เม็ดเงินเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ 4,000 ล้าน ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ สมาคมการพิมพ์ไทยคาดว่าพรรคการเมืองจะมีการสั่งพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ ใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ มากขึ้น คิดเป็นเม็ดเงินเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติประมาณ 4,000 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของโรงพิมพ์ต่าง ๆ จะดีขึ้นในช่วงเลือกตั้ง และครั้งนี้การสั่งพิมพ์กระจายออกไปทั่วประเทศในทุกภูมิภาคที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง [5]
สื่อทีวี “ช่อง 3” ไม่รับโฆษณา“พรรคการเมือง” ชี้ไม่มีเวลาเหลือ อสมท. กะฟัน 100 ล้าน ประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ทางสถานีไม่ได้เปิดรับโฆษณาของพรรคการเมือง เพราะจัดสรรยาก กกต.บอกว่าต้องจัดสรรเวลาอย่างยุติธรรม แต่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีงบประมาณไม่เท่ากัน กำลังซื้อไม่เท่ากัน นอกจากนี้ ใครที่จองก่อน ก็จะได้เวลาที่ดี เป็นเรื่องที่จัดสรรลำบาก และทางสถานีเอง ก็ไม่มีเวลาโฆษณาเหลือ นาทีโฆษณาใช้เต็มตลอด ส่วนที่รัฐต้องการให้สถานีจัดสรรเวลาให้กับแต่ละพรรค ในการประชาสัมพันธ์ ตรงนั้นสถานีสามารถจัดสรรให้ได้ เป็นไปตามที่ กกต.กำหนด ส่วนธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท ประเมินว่า อสมท. จะมีรายได้จากงบประมาณในช่วงเลือกตั้งราว 100 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งงบโฆษณาหาเสียงจากพรรคการเมือง และงบจากภาครัฐ (กกต.) ในการรณรงค์การเลือกตั้ง และงบกิจกรรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง [6]
ผู้สมัคร ส.ส. ต้องใช้เงินเท่าไรในการเลือกตั้ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า กกต. อนุญาตให้ผู้เลือกตั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการประเมินว่าการจะเป็น ส.ส. ต้องใช้เงินมากกว่านั้น โดยธนวรรษน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจประเมินว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับการเลือกตั้งจะต้องใช้เงินหาเสียงอย่างน้อยประมาณ 60-100 ล้านบาทต่อคน ส่วนคนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งก็จะอยู่ประมาณ 10-30 ล้านบาท หรือเฉลี่ยที่ประมาณ 60 ล้านบาทต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน [7] ที่มา: [1] เลือกตั้งเงินสะพัด 3 หมื่นล้าน (สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1204 ประจำวันที่ 25-5-2011 ถึง 28-5-2011) [2] ธปท.ตุนธนบัตรรับมือเลือกตั้งคึกคัก คาดเงินสะพัด2.4หมื่นล้าน-ของกิน-เหล้าขายดี (ข่าวสด, วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7487) [3] ศัลยา ประชาชาติ "เลือกตั้ง"เดิมพันสูง เงินสะพัด 5 หมื่นล้าน ธุรกิจคึก-กำลังซื้ออู้ฟู่ (มติชนออนไลน์, วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) [4] เลือกตั้งเงินสะพัด 3 หมื่นล้าน (สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1204 ประจำวันที่ 25-5-2011 ถึง 28-5-2011) [5] นายกสมาคมการพิมพ์ฯ คาดเลือกตั้งเงินสะพัดเพิ่มกว่าปกติ 4,000 ล้านบาท (สำนักข่าวไทย, วันพุธ ที่ 25 พ.ค. 2554) [6] สื่อโฆษณาคึกรับเลือกตั้งบิลบอร์ดเงินสะพัด (ฐานเศรษฐกิจ, วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2011) [7] Econ Focus เศรษฐศาสตร์ 'การเลือกตั้ง' เม็ดเงิน ป้ายหาเสียง และราคาหุ้น (เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 989 ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
จับนายหน้าแรงงานเถื่อน หลอกคนไทยและต่างชาติไปทำงานลิเบีย-โปแลนด์ Posted: 30 May 2011 04:10 AM PDT ดีเอสไอจับนายหน้าแรงงานเถื่อนเปิด บริษัทหลอกลวงชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายไปทำงานในโปแลนด์และลิเบีย พ.ต.ท.เชน กาญจนาปัจจ์ รองผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศ และคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับตำรวจนครบาล 4 จับกุมนายจิรเดช จันทะเสน อายุ 65 ปี จัดหาคนงานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่ลานจอดรถห้างโลตัส สาขารังสิต จ.ปทุมธานี เมื่อเย็นวันที่ 29 พฤษภาคม ทั้งนี้ ผู้ต้องหาได้อ้างว่า เป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท วีเนท จำกัด และบริษัท มิดเดิ้ล อิสท์ ครูทเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด ทำหน้าที่จัดหาคนงานไทยและต่างชาติ ไปทำงานในประเทศโปแลนด์และลิเบีย ซึ่งที่ผ่านมามีผู้หลงเชื่อส่งมอบเงินให้นายจิรเดชประมาณ 550,000 บาท จึงได้ประสานข้อมูลกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ เนื่องจากนายจิรเดช อยู่ในเครือข่ายบุคคลต้องสงสัย ชักชวนให้ชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และหลอกลวงว่า สามารถจัดหางานให้ไปทำงานในประเทศยุโรป คิดราคาคนละ 200,000 บาท แต่ไม่สามารถจัดหางานตามที่กล่าวอ้างได้ เพราะเอกสารที่ใช้ประกอบการเดินทางเป็นเอกสารปลอม และจากการสืบสวนทราบว่า มีชาวเวียดนามได้รับความเสียหาย 30 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 6 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ดีเอสไอกำลังประสานงานไปยังสถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม ประจำประเทศไทย ติดตามผู้เสียหาย แจ้งความดำเนินคดีนายจิรเดชแล้ว ที่มาข่าว: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
TCIJ สัมภาษณ์ พิรงรอง รามสูต รณะนันท์: “สื่อไม่ต่อสู้กับอำนาจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว” Posted: 30 May 2011 04:07 AM PDT ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สัมภาษณ์ พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยสถานการณ์สื่อ
ขอพูดเรื่องการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ก่อน เราพูดกันมาตั้งแต่ปี 2535 แล้วเรื่องการปกระจายคลื่น เพราะมันชัดเจนว่ามันถูกถือครองโดยรัฐและควบคุมโดยรัฐ แต่จนถึงปัจจุบัน หนึ่งคือยังไม่เกิด กสทช. สองคือมีการกลับเข้ามาของอำนาจเก่าและทุนที่กุมสื่อด้วย ยิ่งดูเส้นทางของ กสทช. ฝั่งของการสรรหา ก็จะเห็นตัวที่ถูกส่งมาโดยทหารและธุรกิจ ตัวเป้าหมายที่จะปฏิรูปเพื่อกระจายอำนาจออก ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะมีอำนาจเก่ากลับเข้ามาในพื้นที่อำนาจใหม่ การถือครองโดยรัฐ เป็นอุปสรรคตรงไหน ในเมื่อทุกวันนี้คนทำสื่อวิทยุโทรทัศน์ ก็แทบไม่รู้ตัวเลยว่าคลื่นของเขาถูกถือครองโดยรัฐ เพราะคลื่นมันถูกเช่าช่วงกันมาตั้งหลายทอด เขาก็ทำงานได้ แต่ทีวียังไม่หลุด ช่วงเวลาปกติเราก็ดูอะไรบ้าๆ บอๆ ไป แต่ในช่วงเวลาวิกฤต เราก็จะเห็นว่ามันกลับไป serve รัฐ ซึ่งรัฐก็สถาปนาอำนาจในแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน ใช้อำนาจต่างกัน อย่างตอนนี้เราก็รู้ว่าเรามีรัฐที่ back โดยทหาร ถ้าเราทลายอุปสรรคการถือครองโดยรัฐออกไปได้ ผลดีที่จะเกิดขึ้นคืออะไร การปฏิรูปโครงสร้าง จะเป็นหลักประกันอย่างหนึ่งว่า โอกาสใหม่ๆ มันจะเกิดขึ้น ขอโยงมาเรื่องที่ตัวเองกำลังทำอยู่ คือพยายามจะผลักดันให้ผู้ผลิตรายการ ทำเนื้อหาคุณภาพหน่อย จะเป็นละคร ข่าว สารคดี รายการเด็กก็ตาม ต้องรับผิดชอบในแง่ที่ว่า ทำให้มันเป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้างไม่มากก็น้อย นี่เป็นระดับปฏิบัติการ แล้วปัญหาของสื่อหนังสือพิมพ์ล่ะ อันที่จริง อุดมการณ์วิชาชีพเป็นอย่างหนึ่ง เป้าหมายการทำงานก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มันต้องไปด้วยกัน คือถ้าเขาไม่รู้สึกว่าสิ่งที่เคยทำมานั้นต้องเปลี่ยนแปลง เขาก็จะรักษาวิธีทำงานอย่างเก่านั้นไปเรื่อยๆ พูดอีกอย่างหนึ่งคือ อยู่ใน complacent รู้สึกพอใจภาวะที่เป็นอยู่ ไม่อยากตีขลุมนะ ก็มีความพยายามทำอะไรดีๆ จากสื่อจำนวนหนึ่ง เช่น สถาบันอิศรา แต่การเปลี่ยนแปลงภาพรวมของสื่อนี่ยังไม่เห็น แต่นั่นแหละ ก็มีคนพูดว่าต้องดูบริบทของแต่ละยุค อย่างยุคทักษิณ ก็จะเห็นว่าสื่อถูกกระทำเยอะ เช่น ตรวจสอบเจ้าของสื่อ ซื้อหุ้นมติชนโดย GMM ปลดนักข่าวที่เสนอเรื่องรันเวย์สุวรรณภูมิร้าว สร้างสื่อของตัวเองบ้าง ใช้ธุรกิจแทรกแซงต่างๆ นานา มันเป็น conflict ที่กระทบสื่อโดยตรง พอเกิดปฏิวัติ 2549 คมช.มาแนวใหม่ open กับข้อเสนอของสื่อมาก ให้เกียรติมาก ทำสิ่งที่ทักษิณไม่ทำ จำได้ไหม สมัยนั้นมีการแต่งตั้ง สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) จากหัวหน้าองค์กรสื่อ ตัวแทนสมาคมฯ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ คือดึงเอาแกนหลักของ Journalist ไป นี่คือการ co-optation ทางอำนาจ ไม่ใช่ co-operation นะ cooptation (ย้ำ) เปิดช่องให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายสื่อ เช่น พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ร.บ.ประกอบการ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ร.บ.สื่อสาธารณะไทยพีบีเอส ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่กฎหมายเป็นตัวกำหนดช่องทางอื่นๆ ภายในปีกว่าๆ สนช.ออกกฎหมายมา 5 ฉบับ เหมือนเปิดพื้น ที่เปิดเสรีภาพมาก สื่ออ่านไม่ออกหรือว่า co-optation นี้เพื่ออะไร เคยไปสัมมนางานหนึ่ง มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยภาคอิสาน ตั้งคำถามตรงๆ เลยว่า ทำไมสื่อสมคบกับทหาร อะไรอย่างนี้ แล้วก็มีตัวแทนสื่อตอบว่า คมช.น่ะเห็นความสำคัญของเสรีภาพสื่อมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง... นี่เลย quote ได้เลย มันเป็นปฏิกิริยาตามสถานการณ์หรือเปล่า คือเมื่อสื่อถูกกระทำ เขาก็จะต่อสู้ ซึ่งอ้างว่าสู้เพื่อเสรีภาพประชาชน พอถึงรัฐบาลที่ทำเนียนๆ เปิดพื้นที่ สื่อก็ complacent อย่างที่ว่า แล้วที่อาจารย์ว่าอุดมการณ์อย่างเก่ามันหายไป มันหายไปไหน แล้วสื่อตัวเป็นๆ หรือที่เป็นคนๆ ไป เขาก็มีสำนึกเรื่องอุดมการณ์วิชาชีพอยู่ แต่ก็ทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ จะอธิบายว่าอย่างไร เล่าสู่กันฟังเรื่องหนึ่ง คุณอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี เหมือนเป็นคนงานยุ้งยุ่งนะ แต่งานสื่อไม่เคยพลาดเลย ครั้งหนึ่งมีงานแจกรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่ไทยรัฐ ลูกศิษย์เราได้ โดยหน้าที่เราต้องไป แต่วันนั้นติดอะไรยุ่งจริงๆ ลูกศิษย์กลับมาบอกอาจารย์ไม่ไปน่ะดีแล้ว ไม่มีใครสนใจเราหรอก ต้องหาเก้าอี้นั่งเองด้วยซ้ำ เพราะนายกฯ ไป... สังเกตงานสื่อดูสิ นักการเมืองไม่พลาดหรอก เขาต้องอิงกันอยู่ เพราะฉะนั้นสรุปได้เลยว่า การต่อสู้กับอำนาจไม่มีแล้ว เพราะสื่อเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างอำนาจเสียแล้ว กลับมาพูดถึง landscape สื่อที่เปลี่ยนไป มันมีเรื่องเทคโนโลยีและสื่อใหม่ที่เป็นตัวขับดันด้วย internet user บ้านเราอาจจะยังไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้กว้างขวางแทบทุกครัวเรือนในต่างประเทศ เพราะการรับข่าวสารของเขา 80-90% มันผ่านอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์แทบไม่มีใครอ่าน นักธุรกิจใหญ่อยากได้ข้อมูลเชิงลึก เขาก็ไม่อ่านหนังสือพิมพ์แล้ว อย่างรอยเตอร์ สำนักข่าวระดับโลก ซึ่งเก่าแก่เป็นร้อยปี ยังหันมาทำ investigative ทำข่าวที่เป็น authoritative news ตอบสนองเฉพาะกลุ่ม เขาบอกเขาเป็นสื่อเขาขายข่าว ไม่ได้ขาย banner แล้วเขาก็ขายโดย subscription ตอนนี้ สื่อสารมวลชนที่เป็น authority แบบดั้งเดิม ก็ค่อนข้างหลุดๆ ไปจากคนรุ่นใหม่ เทรนมันเป็นแบบนี้ คนรุ่นใหม่อ่านแต่เฟสบุ๊ค คือเรื่องที่เพื่อนๆ เขาพูดกัน อยากรู้แค่นั้น อำนาจของข่าวสารก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ สื่อหนังสือพิมพ์อีกไม่นานก็จะพับฐาน เขาก็เตรียมตัวกันอยู่ คือย้ายฐานไปออนไลน์ เป็นจุดวิบัติของสังคมด้วย ในสังคมผิวเผินสั้นทันด่วน เว็บไซต์ข่าวเจาะอย่าง TCIJ. จะอยู่รอดไหม สวนกระแสหรือมีกระแสเล็กๆ กันแน่ เพราะมีคนต้องการทางเลือก อย่างรอยเตอร์หรือรูเพอร์ต เมอร์ด็อค เจ้าพ่อสื่อก็เคยพูดว่า หนังสือพิมพ์จะอยู่รอดได้ต้องทำข่าวเจาะลึก ในเมืองไทย ก็มีคนบอกว่า ข่าวเหตุการณ์รายวัน ทีวีวิทยุเขาเร็วกว่า เอาข่าวหนังสือพิมพ์ไปอ่านด้วยซ้ำ แล้วหนังสือพิมพ์จะเอาอะไรไปแข่งสู้ นอกจากจะต้องเจาะลึกกว่า ขอกลับมาที่เรื่อง citizen journalist หรือนักข่าวที่ไม่ใช่นักวิชาชีพ ข้ออ่อนคือการเสนอข่าวที่เป็นความเห็นเน้น what happen / what I think ไม่อธิบายตัวปรากฎการณ์ ซึ่งนักข่าวอาชีพเขาแย้งว่ามันไม่เป็น objective คุณมีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้ แต่ citizen journalist เขามีมุมมองที่ care กับปัญหาท้องถิ่นของเขา และเขามองว่าการ voice out นี่เป็นสิทธิ เขาต้องการสะท้อนสิ่งที่หายไปในสื่อกระแสหลัก ทุกวันนี้ บรรยากาศเลือกตั้งครอบงำสื่อ เราได้เห็นสื่อคอยวิ่งตามนักการเมืองทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก เพื่อจะรายงานข่าวว่า วันนี้นักการเมืองคนนี้ไปหาเสียงที่ไหน คนนั้นพาดพิงว่าคนนี้ว่าอย่างไร คนนี้ตอบโต้คนโน้นว่าอย่างไร ... มันต้องเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ ความจริง สื่อจัดดีเบตเองก็ได้ จัดเวทีนำเสนอวาระเชิงนโยบายของพรรคการเมืองก็ได้ จะทำให้ข่าวมีเนื้อหามากขึ้น นี่เป็นส่วนหนึ่งของการ frame ความรับรู้ของประชาชน สื่อไม่ค่อยยอมรับบทบาท framer แต่จริงๆ คือเป็น เขาบอกไม่ใช่หน้าที่ของ medium นี่ เขาเป็นตัวกลางนำส่งสารเท่านั้น อย่างเมื่อเช้านี้ ทีวีบอกว่าวันนี้คุณอภิสิทธิ์ไปหาเสียงกับกลุ่มวัยรุ่นที่นี่ๆ ถามว่าคุณเป็นสื่อ คุณนั่งอ่าน schedule ของพรรคนั้นพรรคนี้ คุณเป็นโฆษกของพรรคการเมืองไปแล้ว ทำไมไม่ติดตามนโยบายหรือข้อเสนอของเขาล่ะ ว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร จริงๆ แล้วประชาชนอยากได้อะไร ถามกว้างๆ เลย ...ปัญหาทั้งหมดที่เราคุยกันมา มันมาจากตัวคนหรือตัวระบบ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์: ความเสี่ยงของผู้ประกันตน Posted: 30 May 2011 12:45 AM PDT
ระบบประกันสังคมในประเทศต่างๆ ถือกำเนิดมาเพื่อจัดการความเสี่ยงให้กับลูกจ้างหรือผู้มีงานทำทั้งหลาย ความเสี่ยงที่ว่านี้ประกอบด้วย ความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ มีบุตร เป็นหม้าย ว่างงาน ชราภาพ และการสูญเสียชีวิต แต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของความครอบคลุมของความเสี่ยง วิธีการหาเงิน จ่ายเงิน และบริหารจัดการ ระบบประกันสังคมของไทยก็เช่นเดียวกัน ถือกำเนิดมาเพื่อช่วยลูกจ้างจัดการกับความเสี่ยงโดยตกลงว่าจะให้ความคุ้มครองหรือให้สวัสดิการ 7 ประเภทคือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิต ว่างงาน สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยเงินที่นำมาใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการเหล่านี้มาจาก 3 ฝ่ายคือ ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ในปัจจุบันลูกจ้างและนายจ้างสมทบเงินฝ่ายละ 5% ของเงินเดือนที่ไม่เกิน 15,000 บาท และรัฐบาลสมทบ 2.75% ของฐานเงินเดือนเดียวกัน เงินสมทบทั้งหมดถูกรวมในกองทุนประกันสังคม ซึ่งมี สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน กฏหมายประกันสังคมบัญญัติว่า เงินกองทุนเป็นของสำนักงานประกันสังคมไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ต้องขอย้ำว่าสำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ตึก ถ้าใช้เงินจากกองทุนฯ ซื้อก็ต้องเป็นสมบัติของรัฐ ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของผู้ประกันตน และไม่ใช่สมบัติของกองทุนประกันสังคม เพราะกองทุนไม่มีตัวตนตามกฎหมาย ไม่ใช่นิติบุคคล ประกันสังคมออกแบบมาเพื่อจัดการความเสี่ยงในชีวิตการทำงานให้กับผู้ประกันตน แต่ด้วยการบริหารจัดการภายใต้กฏหมายและระเบียบที่ล้าสมัยและไร้เดียงสา ทำให้ผู้ประกันตนต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เรื่องคือ เรื่องแรกเสี่ยงต่อการบริหารจัดการแบบราคาแพงและมีความขัดแย้งของผลประโยชน์มากมาย กฎหมายอนุญาตให้ใช้เงินได้ถึง 10% ของเงินสมทบเพื่อการบริหารจัดการและกฎหมายก็ไม่มีการกล่าวถึงการจัดการเรื่องความขัดแย้งของผลประโยชน์ในการบริหารจัดการกองทุน และเรื่องที่สองเสี่ยงว่าเมื่อถึงเวลาที่ผู้ประกันตนจะได้รับสวัสดิการชราภาพ ประกันสังคมกลับเหลือเงินไม่พอจ่ายให้กับผู้เกษียณอายุ
ในที่นี้ขอเน้นเฉพาะความเสี่ยงเรื่องที่สอง เมื่อต้นปี 2542 เป็นจุดเริ่มต้นที่สำนักงานประกันสังคมเริ่มเก็บเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ด้วยความที่สวัสดิการทั้งสองประเภทนี้เริ่มต้นเก็บเงินสมทบพร้อมกัน สำนักงานประกันสังคมจึงรวมเงินไว้ด้วยกันแล้วเรียกว่าเป็นเงินสำหรับ 2 กรณี ขอแวะข้างทาง ออกนอกเรื่องหน่อยเถอะ การรวมเงินสมทบ 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกันเป็นการบริหารแบบไร้เดียงสาและทำให้ผู้ประกันตนเสียประโยชน์ เงินส่วนที่ใช้สงเคราะห์บุตรเป็นสวัสดิการระยะสั้น รับเงินมาแล้วก็จ่ายไปตามภาวะการเกิดมากหรือเกิดน้อย ส่วนเงินสำหรับชราภาพ (ไม่ว่าจะเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ) เป็นสวัสดิการระยะยาว รับเงินมาแล้วต้องสะสม ลงทุน เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่ดีและมั่นคง เพื่อการใช้จ่ายในอนาคตอันยาวไกล หรือยามบั้นปลายของชีวิต ผู้ประกันตนเสียประโยชน์เพราะในปัจจุบันรัฐได้อ้างว่าได้สมทบเงิน 1% เพื่อการสงเคราะห์บุตรและชราภาพแก่ผู้ประกันตนแล้ว ดังนั้น ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับการสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพแบบอื่น เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ที่กำลังจะเริ่มต้นเก็บเงินสมทบในปีหน้า ถ้าไปดูระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่ผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปีขึ้นไป จะพบว่า ผู้ประกันตนได้รับเงินเฉพาะส่วนที่ตนและนายจ้างสมทบรวมกับผลตอบแทนการลงทุนเท่านั้น เท่านี้ก็พิสูจน์แล้วว่าส่วนที่รัฐให้ 1% นั้นแท้จริงแล้วใช้เพื่อการสงเคราะห์บุตร รัฐไม่ควรจำกัดสิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับสวัสดิการ กอช. เช่นเดียวกับที่รัฐให้การสนันสนุนประชาชนกลุ่มอื่นๆ ขอวกกลับเรื่องความเสี่ยงต่อ เงินที่ผู้ประกันตนและนายจ้างสมทบออมมา 10 กว่าปีนั้นยังไม่ครบกำหนดการจ่ายบำนาญ จนกระทั่งปี 2557 ในปีแรกๆ คนมีสิทธิรับบำนาญจะยังมีน้อย แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนไทยโดยรวมอายุยืนขึ้นและในที่สุดจำนวนผู้รับบำนาญก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหามันอยู่ที่ รายได้จากเงินสมทบกับรายจ่ายบำนาญไม่สมดุลกัน ซึ่งสร้างความเสี่ยงแก่ผู้ประกันตน ณ วันหนึ่งรายได้จะไม่เพียงพอกับรายจ่าย ณ วันนั้น ก็ไม่ได้ยาวไกลนักประมาณ 25-30 ปีเท่านั้น อัตราเงินสมทบเพื่อสวัสดิการชราภาพส่วนของผู้ประกันตนและนายจ้างรวมกันเท่ากับ 6% ของเงินเดือน ส่วนอัตราการจ่ายบำนาญขั้นต่ำเท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเดือน ถ้าส่งเงินสมทบเกิน 15 ปี ก็จะได้เพิ่มอีกปีละ 1.5% ต่อปีที่สมทบเพิ่ม ตัวอย่างเช่น ส่งเงินสมทบ 16 ปี จะได้บำนาญในอัตรา 21.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ ด้วยการเปรียบเทียบแบบง่ายๆ จะเห็นได้ว่าถ้าเราจ่ายเงินสมทบ 6% ต่อเดือนเป็นเวลา 15 ปี จะได้รับบำนาญเดือนละ 20% ไปจนตาย ในปัจจุบันนี้อายุเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 73 ปี ถ้าหากเกษียณตอนอายุ 55 ปี เราสามารถประมาณได้ว่าการรับบำนาญซัก 5 ปีก็จะคุ้มเงินที่จ่ายไปแล้ว ส่วนที่เหลือของการรับบำนาญอีก 13 ปีเป็นเงินของผู้อื่นทั้งนั้น ผู้อื่นคือใคร เขาก็คือผู้ประกันตนวัยทำงานที่กำลังส่งเงินสมทบอยู่และรอรับบำนาญในอนาคต ลองคิดดูว่าถ้าเราฝากเงินในธนาคารยังได้รับการประกันเงินฝาก อย่างน้อยก็ได้เงินคืน กรณีนี้ผู้ประกันตนวัยทำงานจะบอกไม่ได้เลยว่าสมทบไปแล้วจะได้อะไรกลับหรือไม่ ด้วยเหตุที่คนเกษียณอายุจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เงินที่สะสมเป็นล้านล้านบาทนั้นค่อยๆ จ่ายออกไปจนหมด และติดลบอย่างรวดเร็ว เช่น ในปีที่ 3 ของการติดลบนั้นกองทุนต้องการเงินถึงกว่า 8 แสนล้านบาทมาชดเชยส่วนที่ขาด คราวนี้ผู้ประกันตนจะทำอย่างไรต่อ สำนักงานประกันสังคมจะไปหาเงินมากมายมาจากไหน อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ปัญหาต้องมีทางแก้ ลองเลือกเอาจาก 3 แนวนี้ 1. ปล่อยไปเรื่อยๆ เงินหมดเมื่อไร ค่อยว่ากัน เรื่องของอนาคตคิดทำไม เราต้องอยู่กับปัจจุบัน Que Sera Sera แนวทางนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารประกันสังคมหรือกระทรวงแรงงาน และรัฐบาลในยุคปัจจุบัน ต้องกด Like 2. คำนวณอัตราเงินสมทบใหม่ ให้เกิดความสมดุลของรายได้และรายจ่ายที่จะเกิดในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกันตนจะต้องสมทบเงินเพิ่ม คนตายเร็วก็เอาเงินส่วนที่สมทบมากเกินไปช่วยจ่ายเป็นบำนาญให้แก่คนที่ตายช้า กระจายความเสี่ยงระหว่างผู้เกษียณทุกคนร่วมกัน 3. แก้กฎกระทรวงการจ่ายบำเหน็จบำนาญใหม่ แทนที่จะจ่ายเงินแบบตลอดชีวิตโดยไปเอาส่วนของคนอื่นมาใช้ ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายบำเหน็จบำนาญจากส่วนที่ตนและนายจ้างช่วยกันสมทบ ถ้าอยากได้บำนาญมากๆ ไปตลอดชีวิต ก็ต้องสมทบเพิ่ม โดยที่คนอื่นจะมาล้วงเอาส่วนของเราไปใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี หนทางที่ 2 และ 3 นั้นก็ช่างเป็นแค่แนวทาง เพราะที่จริงแล้วผู้ประกันตนแทบจะไม่มีช่องทางในการตัดสินเรื่องเหล่านี้เลย ตัวแทนลูกจ้างในคณะกรรมการประกันสังคมก็คงกด Like ข้อ 1 เหมือนกัน สุดท้ายไม่ว่าจะเลือก 1 หรือ 2 หรือ 3 ผู้ประกันตนก็หนีไม่พ้นความเสี่ยงเรื่องที่ 1 ที่กล่าวไว้ตอนต้น.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น