โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ปปง.ชดใช้ 5 เอ็นจีโอ ฐานเชื่อบัตรสนเท่ห์สั่งตรวจสอบการเงิน

Posted: 19 May 2011 12:38 PM PDT

 
 
18 พ.ค.54 เวลา 10.30 น. ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ชดใช้ค่าค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่นักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ผู้ฟ้องคดี 5 คน ในกรณีการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมของทั้ง 5 คน โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัว ซึ่งรัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ โดยศาลพิพากษาให้ชดใช้เงินแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า คนละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 50,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคดี
 
ทั้งนี้ คดีนี้มีสุรชัย ตรงงาม และส.รัตนมณี พลกล้า เป็นทนายความผู้รับผิดชอบคดี
 
คำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.46/2554 ระหว่างนายชัยพันธ์ ประภาสะวัต ผู้ฟ้องคดีที่ 1, นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ที่ 2, นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ 3, นายนันทโชติ ชัยรัตน์ ที่ 4, และนายประยงค์ ดอกลำใย ที่ 5 ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 คน กับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่1, เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ 2, สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสืบสวนทางการเงิน (ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล เดิม)ที่ 3 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ไปยังสถาบันการเงินต่างๆ โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
 
ศาลปกครองพิพากษาให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า คนละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้องคดี
 
โดยศาลสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องอ้างว่าอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการออกคำสั่งตรวจสอบการทำธุรกรรมของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 คน โดยมีที่มาจากการได้รับบัตรสนเท่ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ปปง.ไม่มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งต้องพิจารณาว่าบัตรสนเท่ห์จะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใด ต้องตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อความอันเป็นข้อกล่าวหาตามบัตรสนเท่ห์ต่อไป มิใช่อาศัยบัตรสนเท่ห์นั้นเป็นฐานในการใช้อำนาจตามกฎหมายได้เลยทันทีเนื่องจากการใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นกฎหมายที่จำกัด และกระทบสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้ การตีความบทบัญญัติและการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว จึงต้องเคร่งครัดกับถ้อยคำ และหลักการในกฎหมายอย่างยิ่ง เหตุอันควรสงสัยว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ ต้องมีข้อเท็จจริงภายนอกอันแสดงหรือบ่งชี้ให้เห็น มิใช่สงสัยไปเองว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน แล้วดำเนินการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามบัตรสนเท่ห์ ไม่เป็นเงื่อนไขเพียงพอที่ ปปง.จะใช้อำนาจเพื่อสั่งให้ตรวจสอบข้อมูล ธุรกรรมของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า
 
“การกระทำดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เสียหายต่อสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในความเป็นอยู่ส่วนตัว อีกทั้งยังเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งห้า”
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอาชญากรสงครามสั่งจำคุก30 ปี อดีต ผบ.กองทัพ ฐานบัญชาการฆ่าหมู่ในรวันดา

Posted: 19 May 2011 11:08 AM PDT

เมื่อวันที่ 18 พ.ค.54 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ศาลอาชญากรรมสงครามรวันดาแห่งสหประชาชาติ หรือไอซีทีอาร์ (ICTR) ได้ตัดสินจำคุกพล.ต.ออกุสติน บิซิมุนกู อดีตผู้บัญชาการกองทัพของรวันดา เป็นเวลา 30 ปี ในความผิดฐานบัญชาการให้เกิดการสังหารหมู่ทางเชื้อชาติในรวันดา เมื่อปีพ.ศ.2537 เป็นเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สะเทือนขวัญไปทั่วโลก ท่ามกลางการแบ่งแยกชนเผ่าของรวันดา ระหว่างเผ่าตุตซี และฮูตู มีผู้เสียชีวิตถึง 800,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวตุตซี ส่วนจำเลยอีก 2 ราย ซึ่งเป็นทหารระดับสูง ถูกตัดสินจำคุกคนละ 20 ปี
 
มาร์ติน เอ็นโกกา อัยการในคดีนี้ กล่าวว่า ยินดีต่อคำตัดสินของศาลซึ่งมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าคนทั่วไปจะเห็นว่าบทลงโทษจะน้อยเกินไปสำหรับนายบิซิมุนกูที่น่าจะรับโทษสูงสุด
 
 
สำหรับคำตัดสินของศาลเห็นว่านายบิซิมุนกูมีอำนาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการควบคุมกองกำลังเมื่อปีพ.ศ.2537 และเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทหารสังหารประชาชนชาวตุตซี อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ศาลอ่านคำตัดสินนายบิซิมุนกูไม่แสดงอาการใดๆ

 
ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มองต่าง ‘สมชัย สุวรรณบรรณ’ : บทบาทสื่อใหม่กับการเลือกตั้ง

Posted: 19 May 2011 10:56 AM PDT

แน่นอนว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ คือหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศในระยะยาว และสื่อจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนำพาข่าวสารไปให้ประชาชนประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนตามวิถีทางประชาธิปไตย

เมื่อสมชัย สุวรรณบรรณ เขียนบทความเรื่อง “การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press)” และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย ของสถาบันอิศรา เมื่อ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ผู้เขียนย้อนนึกถึงบรรดาปัญหาอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงสื่อให้เป็นประชาธิปไตยตลอดระยะเวลากว่าสิบปี เพราะเมื่อมีวาระทางสังคมคราวใด สื่อมักถูกตั้งคำถามถึงบทบาทและการทำหน้าที่เสมอมา แต่ก็น่าแปลกที่ไม่มีการปฏิรูประบบหรือโครงสร้างสื่อที่รัฐผูกขาดกรรมสิทธิ์อยู่ เพื่อให้สื่อทุกประเภทได้เกิดขึ้นและทำหน้าที่สนองตอบสาธารณะตามบริบทของตน ซ้ำเสียงของสื่อกระแสหลักที่อยากเห็นการปฏิรูประบบกลับแผ่วเบาจนน่าใจหาย

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในหนนี้ก็เช่นกัน สมชัย สุวรรณบรรณ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการนโยบายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และอดีตหัวหน้าแผนกภาษาไทยของบีบีซี ได้ขมวดปมปัญหาของสื่อไปถึงสิ่งที่เรียกว่า “สื่อชนเผ่า” หรือ partisan press โดยให้นิยามความหมายที่จำกัดและมุ่งเป้าไปที่สื่อใหม่ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นประเด็นที่สาธารณชนควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนและไม่หลงลืมด้านที่ไม่ถูกพูดถึง ไม่เช่นนั้นแล้วอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าสื่อที่เกิดขึ้นใหม่เป็นสิ่งที่ทำลายประชาธิปไตย  

พิจารณาจากข้อเขียนดังกล่าวอาจสรุปมุมมองของสมชัยได้ว่า “สื่อชนเผ่า” หมายถึง สื่อเฉพาะกลุ่มที่มีวาระทางการเมืองและอาจนำพาประเทศไปสู่ระบอบอำนาจนิยมที่มีลักษณะการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ สื่อสารครอบงำด้วยข้อมูลด้านเดียวจนอาจนำไปสู่การชักชวนให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือให้กระทำผิดกฎหมาย โดยมีบุคคลคอยบงการหรือควบคุมสื่อเหล่านี้  และท้ายสุดระบุว่า ปัจจุบันอยู่ในรูปของทีวีดาวเทียม สื่อออนไลน์ และวิทยุชุมชนหรือวิทยุขนาดเล็กของกลุ่มการเมือง

แน่นอนเช่นกันว่าสื่อที่นำพาประเทศไปสู่ระบอบเผด็จการหรือยอมรับอำนาจของผู้ทำรัฐประหาร ครอบงำความคิดประชาชน ชักชวนให้ไปทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น รวมทั้งการสื่อสารด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังทั้งหลาย ย่อมเป็นสื่อที่เป็นปฏิปักษ์กับสังคมประชาธิปไตยและสาธารณชนไม่ควรยอมให้เกิดขึ้น

หากแต่ข้อเขียนชิ้นนี้ได้ระบุเจาะจงและมุ่งเป้าไปเฉพาะสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ โดยหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงสื่อกระแสหลักอย่างสื่อของรัฐและสื่อที่เอกชนได้รับสัมปทานและดำเนินการเชิงพาณิชย์ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องหมายรวมถึงสถานีโทรทัศน์สาธารณะอย่างทีวีไทยที่เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยา ด้วย เพราะสื่อกระแสหลักเองก็อาจตกอยู่ในฐานะของสื่อชนเผ่าในนิยามของสมชัยได้เช่นกันเมื่อพิจารณาในมิติของเนื้อหา และก็ปรากฏให้เห็นชัดเจนในบางรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11  กรมประชาสัมพันธ์

การเกิดขึ้นและแพร่หลายของสื่อใหม่อย่างวิทยุขนาดเล็ก สื่อออนไลน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมในปัจจุบัน  นอกจากเหตุผลในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเข้าถึงโดยง่ายแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งคือการที่สื่อกระแสหลักไม่สามารถทำหน้าที่ตอบสนองในด้านข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะได้ครบถ้วน และประการหลังนี้คือประเด็นใหญ่ที่สะท้อนปัญหาเรื่องสิทธิการสื่อสารในสังคมไทยตลอดมา ทั้งที่จริงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ดังนั้นการอ้างถึงหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อกระแสหลักเข้าเทียบกับสื่อใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นจึงเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัว เพราะสิทธิในการสื่อสารของประชาชนในสื่อใหม่เป็นคนละเรื่องกับหลักเกณฑ์ของนักวิชาชีพในสื่อกระแสหลักที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ที่มีต่อสังคม แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะใช้สิทธิในการสื่อสารโดยไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบ

กล่าวโดยสรุปได้ว่า การที่ข้อเขียนเรื่อง“การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press)” ของสมชัย สุวรรณบรรณ หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวพาดพิงหรือนับรวมเอาสื่อกระแสหลักว่าอาจอยู่ในสถานะ “สื่อชนเผ่า” ได้ตามนิยามที่เสนอ ซ้ำยังนำเอามาตรฐานทางวิชาชีพของสื่อมวลชนหรือสื่อกระแสหลักมาเป็นเครื่องมือในการมองสื่อใหม่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความระแวดระวังที่มาจากอคติของสื่อกระแสหลัก

และหากเปรียบการสื่อสารเป็นสนามหรือเป็นพื้นที่สาธารณะที่แต่เดิมสื่อกระแสหลักเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยอ้างพันธะหน้าที่ที่มีต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เมื่อประชาชนพร้อมที่จะลุกขึ้นมาใช้สิทธิการสื่อสารในทางตรงย่อมควรต้องได้รับสิทธิในทันทีโดยไม่มีการบ่ายเบี่ยงจากผู้ใช้ประโยชน์เดิม ซึ่งอันที่จริงสื่อกระแสหลักควรต้องมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และร่วมปกป้องเสรีภาพของสื่อใหม่ เพราะการที่สื่อกระแสหลักจะอ้างเสรีภาพในการแสดงออกของตนเพียงฝ่ายเดียวและสกัดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ก็อาจไม่ต่างจากการผูกขาดอำนาจในการสื่อสารเช่นเดียวกับที่รัฐปฏิบัติเสมอมา

แต่ประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่ามีความสำคัญในช่วงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งนี้ คือการตั้งคำถามถึงบทบาทของทั้งสื่อใหม่และสื่อกระแสหลัก ว่าจะมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยที่มีคุณภาพได้อย่างไร  และจะทำเช่นไรให้ประชาชนทุกกลุ่มอุดมการณ์ที่แตกต่างกันได้มีพื้นที่และมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ และการใช้สื่อในทางการเมืองจะมีกรอบกติกาที่ชัดเจนและทุกฝ่ายพอจะยอมรับร่วมกันได้อย่างไร

ท้ายสุดในภาวการณ์ที่ยังไม่มีกลไกอิสระอย่าง กสทช. เข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อทั้งวิทยุและโทรทัศน์ กระทั่งออกใบอนุญาตให้กับสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างวิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจขนาดเล็ก เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งเป็นปมปัญหาตลอดมาในการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างสื่อในสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตย แต่วาระเฉพาะหน้ากับการเลือกตั้งที่ใกล้จะมาถึงนี้กลับเป็นโจทย์ท้าทายสื่อใหม่ให้แสดงคุณค่าต่อสาธารณะ แล้วเราจึงอาจตอบได้ว่าสื่อใหม่เกิดมาเพื่อธำรงประชาธิปไตยได้มากน้อยเพียงใด

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้ต้องหาป่วนใต้ชุดแรกเข้าอบรมแทนถูกขัง ประเดิมมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง

Posted: 19 May 2011 10:45 AM PDT

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ที่หน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.)สงขลา ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ศูนย์รับรายงานตัวข้างต้น ประจำหน่วยเฉพาะกิจสงขลาได้รับการรายงานตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคง 4 ราย ที่สมัครใจเข้ารับการอบรมตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แทนการถูกจำขัง ซึ่งทั้ง 4 ราย เป็นผู้ต้องหาชุดแรกที่เข้ารับการอบรมตามมาตรา 21 นับตั้งแต่มีการบังคับใช้ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา

ผู้ต้องหาป่วนใต้ชุดแรกเข้าอบรมแทนถูกขัง ประเดิมมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง
รายงานตัว - เจ้าหน้าที่ทหารรับการรายงานตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดสงขลา
ที่เข้ารายงานตัวเพื่อเข้าอบรมแทนการถูกจำขังตามมาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง
ที่หน่วยเฉพาะกิจสงขลา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ผู้ต้องหาป่วนใต้ชุดแรกเข้าอบรมแทนถูกขัง ประเดิมมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง
สอบสวนพิเศษ – บรรยากาศในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนพิเศษ
ตามมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง ภายในหน่วยเฉพาะกิจสงขลา

โดยในช่วงเช้าวันเดียวกัน ผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย พร้อมญาติ ได้เดินทางมารายงานตัวที่ศูนย์รับรายงานตัวข้างต้น จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำเข้ากระบวนการ โดยเริ่มจากการลงทะเบียน จากนั้นซักประวัติการกระทำความผิด โดยมีตรวจสอบหมายจับของแต่ละคน ต่อด้วยการทำความเข้าใจกับผู้ต้องหาและญาติเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการการดำเนินการตามมาตรา 21

ทั้ง 4 ราย มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นผู้ต้องหาในคดีลอบวางระเบิดตลาดนัดนิคมเทพา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2554 โดย 3 คนถูกจับกุมและได้ประกันตัวเพื่อปล่อยตัวชั่วคราว ส่วนอีก 1 คน ถูกซัดทอด จึงติดขอรายงานตัวพร้อมกัน ทั้งนี้ ในพื้นที่ของหน่วยเฉพาะกินสงขลาได้มีการจัดแบ่งพื้นที่ไว้เป็นสัดส่วนสำหรับกระบวนการรายงานตัวและการสอบสวน

หลังรับการรายงานตัว เจ้าหน้าที่จึงได้พิจารณาคัดแยกผู้รายงานตัวทั้ง 4 คน ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศเรื่องการกำหนดลักษณะฐานความผิดตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 จากนั้นนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนพิเศษทันที ซึ่งมีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีเป็นเลขานุการ สลับกับนำผู้ต้องหาแต่ละคนมาตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะและเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยใช้เวลาทั้งวัน ก่อนจะแยกย้ายกลับบ้านในเวลาประมาณ 16.00 น.

นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เปิดเผยว่า การพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนพิเศษ จะทำงานควบคู่กับคณะกรรมการช่วยเหลือด้านคดีและชดเชยค่าเสียหาย ระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน แต่สามารถขอขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน

นายกิตติ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับผู้ที่คณะกรรมการสอบสวนพิเศษเห็นว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ได้ประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ก็จะส่งกลับภูมิลำเนา หรือส่งเข้าอบรมโครงการอื่น หรือถูกส่งตัวดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยคณะกรรมการสอบสวนพิเศษจะพิจารณาว่า ผู้ต้องหากระทำผิดโดยหลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงหรือไม่

นายกิตติ เปิดเผยต่อไปว่า ขณะเดียวกันก็จะส่งสำนวนให้คณะกรรมการช่วยเหลือด้านคดีและชดเชยค่าเสียหาย พิจารณาช่วยเหลือผู้ที่ถูกผู้ต้องหากระทำหรือช่วยเหลือตามความต้องการของชุมชน และเจรจาไกล่เกลี่ยว่าจะยอมให้ผู้ต้องหาเข้ารับการอบรมแทนการถูกดำเนินคดีหรือไม่ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นต้องเป็นที่พอใจของผู้ถูกกระทำ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบด้วยผู้นำในหมู่บ้าน ผู้นำศาสนาด้วย เป็นต้น

นายกิตติ เปิดเผยต่อไปว่า จากนั้นจึงมีการสรุปสำนวนทั้งหมดว่า ผู้ต้องหารายนี้มีความผิดจริงและสมควรเข้ารับการอบรมแทนการฟ้องร้องดำเนินคดี โดยส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองผู้เข้ารับการอบรมแทนการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป จากนั้นจึงส่งให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พิจารณา หากเห็นด้วยก็จะส่งต่อไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้จำเลยเข้ารับการอบรมแทนการถูกดำเนินคดี โดยเข้าอบรมไม่เกิน 6 เดือนตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อครบ 6 เดือนแล้ว กฎหมายระบุว่า สิทธิในการฟ้องร้องเป็นอันระงับ หมายถึงไม่ต้องดำเนินคดีต่อไป

นายกิตติ เปิดเผยต่อไปว่า ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีผู้ต้องหาที่เข้าข่ายที่สามารถดำเนินการตามมาตรา 21 มีอีก 25 คน แต่ยังไม่มีใครสมัครใจเข้ามา แม้ว่าที่ผ่านมาได้มีการติดต่อผ่านทางญาติและมีการส่งข่าวเรื่องการอบรมแทนการถูกฟ้องดำเนินคดีมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครกล้าเข้ามารายงานตัว โดยบางคนให้เหตุผลว่า ไม่รู้ว่าตัวเองมีหมายจับกี่คดี

นายกิตติ เปิดเผยด้วยว่า การที่ผู้ต้องหาจะเข้ามารายงานตัวครั้งนี้ ได้มีการติดต่อพูดคุยกับญาติมาหลายครั้งแล้ว รวมทั้งการเข้าไปพูดคุยกับคนในหมู่บ้าน เพื่อให้เข้าใจนโยบายและการดำเนินการตามกระบวนการนี้ เพื่อให้คนที่จะมารายงานตัวมีความมั่นใจและเข้าใจจริงๆ และเพื่อให้สังคมรับรู้และยอมรับได้ว่า จะให้คนที่เคยทำผิดอย่างการฆ่าคน มาเข้ารับการอบรมแทนการถูกฟ้องดำเนินคดี ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะคนทั่วไปยอมรับ

“ดังนั้น เมื่อเข้ามารายงานตัวแล้ว จึงต้องมีกระบวนการกลั่นกรองที่ละเอียดหลายขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด” นายกิตติ กล่าว

พล.ต.ธฤทธิ์ สุนทร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจสงขลา เปิดเผยว่า ผู้ต้องหาอีก 25 คน เป็นผู้ที่ถูกออกหมายจับมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ได้ไปเยี่ยมที่บ้านทุกวัน เพื่อบอกให้ออกมารายงานตัวเพื่อเข้าอบรมแทนการถูกฟ้องดำเนินคดี แต่ยังไม่มีใครออกมา คิดว่าน่าจะรอดูทั้ง 4 รายนี้ก่อนว่าการดำเนินการจะเป็นอย่างไร

“ผู้ที่มารายงานตัวตามมาตรา 21 นี้ ต้องสมัครใจและสำนึกผิดจริงๆ ไม่ใช่มาเพื่อฟอกตัว เช่น ไปก่อเหตุนอกพื้นที่ 4 อำเภอของสงขลาด้วย แล้วมารายงานตัวเพื่อไม่ให้ถูกจับเข้าคุกอันนี้ไม่ได้ มาแล้วก็ต้องบอกให้หมดว่าตัวเองทำอะไรบ้าง และต้องเป็นประโยชน์กับความมั่นคงด้วย เช่น สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายกลุ่มก่อความไม่สงบ เป็นต้น”พล.ต.ธฤทธิ์ กล่าว

พล.ต.ธฤทธิ์ กล่าวว่า ส่วนในกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมแล้ว ไม่กล้ากลับบ้านเพราะกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยนั้น ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่คงจะไปดูแลให้อย่างเต็มที่จริงๆ คงไม่ได้ เพราะบางคน หากเป็นคดีที่ไม่มีผู้ถูกกระทำ เช่น เผาโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเป็นของรัฐ รัฐคงไม่โกรธ แต่ถ้ามีผู้ถูกกระทำด้วยอันนี้อันตราย เพราะฉะนั้นคณะกรรมการช่วยเหลือด้านคดีและชดเชยค่าเสียหาย จึงต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลจนพอใจ และไม่ถือโกรธแล้ว

พล.ต.ธฤทธิ์ กล่าวว่า แต่หากผู้เข้ารับการอบรมยังไม่กล้าที่จะกลับไปอยู่ที่บ้าน ทางเจ้าหน้าที่จะมีเซฟเฮาส์ให้ ชื่อว่า บ้านควนดิน อยู่ตรงข้ามกับค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ถ้ายังไม่กล้าอีกก็จะสถานที่รองรับไว้ ซึ่งทางศอ.บต.ได้จัดเตรียมไว้แล้ว ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ พร้อมจัดหาอาชีพให้ทำด้วย

ผู้ต้องหารายหนึ่งที่เข้ารายงานตัวครั้งนี้ด้วย เปิดเผยว่า ตนเองสมัครใจที่จะเข้ารับการอบรมแทนการถูกฟ้องดำเนินคดี เพราะไม่อยากหลบหนี โดยที่ผ่านมามีการติดต่อมาหลายครั้งผ่านคนในหมู่บ้าน เหตุที่ตนก่อเหตุเพราะได้เข้าขบวนการโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากได้เข้าไปศึกษาที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งที่นั่นมีการจัดของขบวนการก่อความไม่สงบ โดยตนไม่ทราบมาก่อน จึงทำให้ต้องเข้าไปอยู่ในขบวนการด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ข้อคิดสั้นๆ ที่ (ไม่) เกี่ยวกับผู้ว่า ปตท. คนใหม่

Posted: 19 May 2011 10:41 AM PDT

            การคัดสรรกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ CEO ปตท. แทนที่คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่กำลังจะเกษียณในเดือนกันยายน ดูจะเป็นข่าวใหญ่ในวงการธุรกิจไทยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และอาจเป็นข่าวที่สำคัญต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน

            ผู้เขียนมิใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานหรือคลุกคลีอยู่ในวงธุรกิจพลังงาน หากแต่เป็นนักเรียนประวัติศาสตร์ที่สนใจและค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับธุรกิจ/อุตสาหกรรมน้ำมันมาบ้างพอสมควร จึงอยากจะขอเท้าความให้เห็นที่มาที่ไป แรงผลักดัน และเงื่อนไขทางสังคมการเมืองและประวัติศาสตร์อันนำไปสู่การแจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่กลายมาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเวลาต่อมา เพื่อเป็นการสะท้อนอีกมุมมองหนึ่งจากข่าวใหญ่ ข่าวสำคัญขององค์การทางด้านน้ำมันและพลังงานที่ทรงอิทธิพลและยิ่งใหญ่ที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน อันอาจทำให้เห็นความมุ่งหมายในยุคอรุณรุ่งขององค์กรแห่งนี้

            สำหรับผู้เขียนแล้ว แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อดูแล จัดการ และควบคุมด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศเป็นสิ่งที่เกิดมาจากเงื่อนไข 4 ประการหลักด้วยกัน อันมีความสอดคล้อง เชื่อมโยงและสืบเนื่องกัน (เนื่องด้วยพื้นที่มีจำกัดผู้เขียนจึงทำได้แต่ให้ข้อมูลโดยสังเขปเท่านั้น)

            ประการแรก ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับความคิดการพัฒนา รวมถึงเงินทุนประเภทต่างๆ จากต่างประเทศ (โดยเฉพาะจากองค์กรระหว่างประเทศและสหรัฐอเมริกา) ในช่วงเวลาดังกล่าว  ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการผลิตอย่างสำคัญ

          ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน “ถนน” ได้กลายมาเป็นระบบการขนส่งและคมนาคมหลักของประเทศ รัฐบาลไทย (ภายใต้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ) ได้ทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากไปกับการสร้างระบบถนน โดยความยาวของถนนทั้งประเทศ (ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด) ได้เพิ่มจากระยะทางไม่ถึง 8,000 กิโลเมตรในช่วงก่อนปี พ.ศ.2500 เป็น 10,700 13,410 และ 17,686 กิโลเมตรในปี พ.ศ. 2504 2510 และ 2515 ตามลำดับ

           การขยายตัวของระบบถนนนี้เองดูจะทำให้จำนวนรถยนต์และจักรยานยนต์รวมของประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณ 124,358 คันใน พ.ศ.2502 เป็น  427,739 และ 736,804 คันใน พ.ศ.2510 และ 2515 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าในระยะเวลา 10 กว่าปี นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว แบบแผนการผลิตของประเทศยังได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมในอัตราส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แห่งชาติและแผนงานการส่งเสริมการลงทุนฯ

            จากสภาวะดังกล่าวของสังคมไทยนี้ดูจทำให้ “น้ำมัน” กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของประเทศในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและเกี่ยวเนื่องกับสินค้าและชีวิตของผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย และมีอัตราความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและระบบขนส่ง อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การสนับสนุนสร้าง/ดำเนินการโรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่งของไทยในช่วงกลางทศวรรษ 2500 อย่างไรก็ดี น้ำมันเชื้อเพลิงเวลานี้ทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูป (ประเภทที่ไม่พอกับความต้องการ) ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันออกกลางแทบทั้งสิ้น

            ประการที่สอง เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของสังคมไทยล้วนต้องเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งทางตรงและทางอ้อม หากแต่น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศเกือบทั้งหมดล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในแง่นี้การเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันและความตึงเครียดทางการเมืองในตะวันออกกลางในช่วงกลางทศวรรษ 2510 ที่ส่งผลอย่างสำคัญต่อการผลิตและราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของสังคมไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง และในช่วงเวลานี้เองที่ความขัดแย้งระหว่างบริษัทโรงกลั่นน้ำมันเอกชนใหญ่ 3 แห่งของไทยกับรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาด้านการขึ้นราคาน้ำมันทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการประท้วงที่จะงดการกลั่นน้ำมันจากเอกชนด้วย

             ภาวการณ์ของวิกฤติน้ำมันนี้ ในทางหนึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความคิด “ชาตินิยม” ในกิจการน้ำมันขึ้นดังปรากฎในข้อเขียนทางหนังสือพิมพ์จำนวนมากในช่วงเวลานั้นแล้ว ในอีกทางหนึ่ง ชนชั้นนำทางการเมืองและภาคราชการจำนวนหนึ่งยังได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้ง “บริษัทน้ำมันแห่งชาติ” “ทบวงน้ำมันแห่งชาติ” หรือ “องค์กรน้ำมันแห่งชาติ” ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดการ ดูแล และควบคุมตั้งแต่แผนงาน การผลิต และการค้าน้ำมันของประเทศด้วย

            ประการที่สาม แม้จะมีหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศอยู่แล้วในช่วงเวลานั้น คือ องค์กรเชื้อเพลิง ภายใต้สัญลักษณ์ “สามทหาร” หากแต่ก็มีอำนวจในการดูแล ควบคุม และจัดการด้านน้ำมันของประเทศในวงจำกัด อีกทั้งภาพขององค์กรยังถูกมองจากสื่อมวลชนและสังคมไทยในช่วงเวลานั้นด้วยว่ามีความเป็นราชการสูง มีระเบียบทางราชการและความล่าช้า ไม่เท่าทันกับการจัดการธุรกิจน้ำมันในสถานการณ์ที่มีความผันแปรสูง อีกทั้งยังมีข่าวความไม่ชอบมาพากลด้านการค้าน้ำมันปรากฎให้เห็นผ่านหนังสือพิมพ์ ทำให้เป็นเงื่อนไขที่มีการเรียกร้องให้ตั้งองค์กรด้านน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นมาใหม่

            ประการที่สี่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงของประเทศไทยตั้งแต่การวางแผนทางนโยบาย การควบคุม การผลิต/จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงเวลานั้นอยู่กระจัดกระจาย/แยกย้ายไปตามกระทรวง/กรมที่แตกต่างกัน อาทิ การขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมอยู่ในอำนาจการดูแลของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติและย้ายมาเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา ภาษีเงินได้จากปิโตรเลียมมีกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ การค้าขายและสำรองน้ำมันอยู่ในการดูแลของกระทรวงเศรษฐการ และกิจการน้ำมันบางส่วนอยู่ในความครอบครองดูแลของกระทรวงกลาโหม (รายงานข่าวใน สยามรัฐ, 30 มีนาคม 2517) ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมทับทางด้านหน้าที่และอำนาจหน้าที่ และที่สำคัญประสิทธิภาพในการจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์น้ำมันที่ต้องการความรวดเร็วและเอกภาพ

             จากสี่ประการที่กล่าวมาข้างต้นดูจะชี้ให้เห็นสภาพและเงื่อนไขด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2521 โดยที่มีการผลักดันและแนวคิดมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2510 ด้วยความคาดหวังที่ว่าจะเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ดูแลด้านพลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศอย่าง “ครอบคลุม” ครบวงจรตั้งแต่แผนงานทางนโยบาย จนถึงการผลิตและการจำหน่าย ภายใต้การบริหารงานที่ “คล่องตัว” มีเอกภาพและอิสระพอสมควรจากภาครัฐและภาคการเมือง นี่คือตัวแทนภาพความคิดของอรุณรุ่งแห่ง ปตท. ที่ปัจจุบันได้มาเป็น “เรือธง” ไม่เพียงแต่วงการพลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย หากแต่รวมไปถึงภาคเศรษฐกิจและสังคมของไทย ภายใต้รูปแบบการบริหารงานที่ปรับเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจมาสู่บริษัทมหาชนที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อันมีอิสระและประสิทธิภาพในการบริหารเพิ่มมากขึ้น

             ผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของปตท. จะสามารถรักษาและขยายงานจากพื้นฐานความคิดอันสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันขององค์กรแห่งนี้ได้หรือไม่? ดูจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามคำตอบในอนาคตข้างหน้าอยู่ไม่น้อย

 

 

......................................
ตีพิมพ์ครั้งแรกที่มุมมองบ้านสามย่าน วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2554

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม้หนึ่ง ก.กุนที: วันนั้น วันนี้ ปีนี้ ปีกลาย

Posted: 19 May 2011 10:39 AM PDT

 
 
1.
ผ่านคืนวันหวั่นหวาดราชดำริ
ผ่านสันติวิธีทาสราชประสงค์
ผ่านศาลาแดงที่ยังเด่นดำรง
ผ่านสวนลุม สีลมหลงดงคนดี
 
2.
ผ่านเพลินจิต มิตรต้านยันวิทยุ
ผ่านประตูน้ำเกือบเป็นประตูผี
ผ่านรางน้ำกลางวงอ้อมเขาล้อมตี
ผ่านบดขยี้ไปถึงทางด่วนดินแดง
 
3.
ผ่านคลองเตย บ่อนไก่ คนใจสู้
เผายางรถพรางศัตรู,หลั่งเลือดแห้ง
เหมือนเป็ดไก่หมูหมา..มันฆ่าแกง
ไม้ไผ่พุ่ง แทงไม่ถึงเทพซาตาน !
 
4.
วัดปทุมฯ คุ้มเป็นอภัยเขต
พุทธสังเวชไม่พ้นกระสุนสังหาร
ผู้สั่งฆ่าช่างต่ำช้าช่างสามานย์
ธรรมสถานร่ำร้องก้องระงมปืน..
 
5.
เสียหลายศพเราจึงได้รู้เดียงสา
เสียหลายปีผ่านมากว่าจะตื่น
เสียศรัทธาโสมมเมื่อวานซืน
ที่สุดเราพร้อมกันยืนกล้าเป็นตาย !!
 
6.
เลือดเคยหลั่ง..แห้งกรังเปียกหยดน้ำตา
เราพบหน้ากันไม่ใช่เพื่อร้องไห้
เรามารวมกันเพื่อหลอมดวงใจ
สร้างมหาชนด้วยมหาชนคนเสื้อแดง !!!
 
19 MAY 2011
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสื้อแดงรำลึก 1 ปีสลายการชุมนุมแยกราชประสงค์

Posted: 19 May 2011 10:33 AM PDT

 
 
 
19 พ.ค.54 ที่บริเวณแยกราชประสงค์ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้รวมตัวกันชุมนุมเพื่อรำลึกครบรอบ  1 ปี เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 92 รายและบาดเจ็บอีกจำนวนมาก โดยมวลชนที่สวมเสื้อสีแดงเริ่มเดินทางมายังเวทีปราศรัยตั้งแต่ช่วงบ่าย  เบื้องต้นตำรวจสันติบาลประเมินว่า มีผู้ชุมนุมประมาณ 1 หมื่นคน แม้ฝนจะตกหนักในช่วงเย็น แต่ก็ยังมีคนทยอยมาเรื่อยๆ มีการนิมนต์พระสงฆ์ 92 รูปมาสวดหน้าเวทีเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต รวมทั้งมีการเปิดวีดิโอเหตุการณ์ปีที่แล้วด้วย
 
ในช่วงเย็นบรรดาแกนนำ นปช. ได้นำกลุ่มคนเสื้อแดง วางดอกไม้ ธูปเทียน ที่วัดปทุมวนาราม สดุดีดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุมในเขตวัดปทุมวนาราม ซึ่งขณะนั้นถูกใช้เป็นเขตอภัยทานให้ผู้ชุมนุมใช้หลบอันตราย ท่ามกลางความโศกเศร้าของคนเสื้อแดงที่ร่วมพิธี
 
ด้านแกนนำ นปช. อย่างณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ส่วนตัวคงต้องยุติบทบาทในฐานะ นปช. เพราะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทยแล้ว แต่จะไปขึ้นเวทีหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ส่วนการแสดงจุดยืนนั้นยังเหมือนเดิม คือ เพื่อไทยเป็นรัฐบาล และทวงหาความยุติธรรมให้กับ 92 ศพ
 
ส่วนนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำชมรมคนรักอุดร ว่าที่ผู้สมัครส.ส.จ.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีว่า 1 ปีที่แล้วตนยืนอยู่บนเวทีคนเดียว เพราะมีความเป็นห่วงประชาชน วันนี้ตนจะสมัครส.ส. แต่ได้ถูกจับตาเป็นพิเศษ เพราะจังหวัดอุดรเป็นจังหวัดเมืองหลวงจของคนเสื้อแดง ซึ่งพรรคเพื่อไทยจะชนะยกจังหวัด พวกเคารพกติกา แต่ยังมีความพยายามทำให้พวกตนไปอยู่ในคุกให้ได้ ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ 3 ก.ค. เราได้ประชาธิปไตยเมื่อใด เราก็ชนะ แต่จะต้องดูว่าเราจะโดนโกงด้วยวิธีใดบ้าง ดังนั้นจึงอยากจะขอให้คนเสื้อแดงไปเฝ้าทุกหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ คำว่าสยามเมืองยิ้มจะกลับมาหลังวันที่ 3 ก.ค. เราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่สู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ความจริงจะปรากฎหลังวันที่ 3 ก.ค. ว่า ฝ่ายอำมาตย์ หรือฝ่ายประชาธิปไตยจะชนะ
 
ผู้ประกอบการราชประสงค์โอด "แดง"ชุมนุมสูญเงินแล้ว 7 ล้าน
นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับขณะนี้พบว่า ลูกค้ายกเลิกเข้าพักตามโรงแรมรอบแยกราชประสงค์ 1,100 ห้อง มูลค่าความเสียหาย 5,180,000 บาท และมีการขอยกเลิกการจัดงาน  คิดเป็นความเสียหายอีก 1,740,000 บาท รวมความเสียหาย วงเงิน 7,000,000 บาท
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: "เราแคล้วคลาดกันวันเดินขบวนใหญ่"

Posted: 19 May 2011 10:21 AM PDT

 แ ด่ ค ว า ม ต า ย เ มื่ อ เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ า ค ม  2553

 

-อีซา[1]-
                                   

วันที่พี่ชาย หายไปจากบ้าน
ดอกตะแบกบาน นานแล้วใช่ไหม
กาเหว่าหลังบ้าน ส่งเสียงพิไร
เขาเดินขบวนใหญ่ ผ่านหน้าบ้านเรา

ข่าวร้ายเดินทาง มาจากทิศใด
หนักหน่วงห้วงใน ให้ได้โศกเศร้า
เสียงปืนเปรี้ยงปร้าง ตะแบกร้างเงา
ไม่ไกลบ้านเรา เขายิงกันตาย

อาบูบาร์ก! กลับมา, อาบูบาร์ก! กลับมา
น้องร้องเรียกหา พี่ได้ยินไหม
ผมชื่ออีซา มาตามหาพี่ชาย
ถนนทุกสาย ช่างไร้วี่แวว

พี่ออกจากบ้าน วันเดินขบวนใหญ่
ติดตามเขาไป รั้งท้ายปลายแถว
ธงแดงแกว่งไกว สุดสายปลายแนว
ลับตาโน่นแล้ว เราแคล้วคลาดกัน

ทหารถือปืน ยืนเต็มถนน
รถถังปืนกล ขนมาเลื่อนลั่น
ผู้ก่อการร้าย ตายลงทุกวัน
ชีวิตแสนสั้น อย่าเพ้อฝันใด

เขาบอกพี่ชาย ไปเก็บของเก่า
เขตแดนสีเทา ห้ามใครเข้าใกล้
พี่ไม่รู้หรอก ประชาธิปไตย
ตามกลิ่นขยะไป เก็บขายแลกเงิน

ในวันฟ้าแดง แข่งแสงตะวัน
พี่บอกทหาร หุ้มเกราะเหาะเหิน
แล้วร้องเพลงเศร้า ก่อนออกก้าวเดิน
“ประชาชนยับเยิน ท.ทหารเพลินใจ”

 

-อาบูบาร์ก[2]-

วันที่น้องชาย หายไปจากบ้าน
เสียงปืนที่นั่น ดังขึ้นใช่ไหม
โธ่เอ๋ย! อีซา ตามหาพี่ชาย
เดินสู่ความตาย ถนนสายนั้น

ข่าวร้ายเดินทาง มาถึงล่าช้า
น้องชายถูกฆ่า ในเขตสังหาร
เจ้าจากไปแล้ว เราแคล้วคลาดกัน
วันคืนแสนสั้น ไม่พอฝันใด

อีซา! กลับมา, อีซา! กลับมา
พี่ร้องเรียกหา เจ้าได้ยินไหม
เขาชื่ออีซา เดินตามหาพี่ชาย
แล้วถูกยิงตาย กลางสายลมแล้ง

ตะแบกดอกนั้น บานแล้วร่วงหล่น
ทิ้งกลีบลงบน แผ่นดินโหยแห้ง
เลือดบนถนน แม้ข้นขื่นแดง
ก็มิเปลี่ยนแปลง ชะตากรรมใด

พระเจ้ากำหนด อนาคตเรา
เดินทางเปลี่ยวเหงา เจ้าอย่าร้องไห้
คืนสู่โลกหน้า อย่างผาสุกใจ
พระเจ้าบอกร่างกาย...ไม่ใช่ของเรา

หลังรอยเลือดแห้ง ชะแรงลมฝน
หางนกยูงหม่น ปนกลิ่นแดดเศร้า
เหลือรู้สึกใด ที่เป็นของเรา
ซาบซึ้งนั้นเล่า แปลว่า “เหงาจับใจ”

กาเหว่าหลังห้อง คิดถึงน้องเช่นกัน
มันร้องเพลงหวาน แต่บางวันร้องไห้
คอยเหลียวมองทาง อยู่อย่างห่วงใย
อีซาไปไหน ทำไม...ไม่กลับมา

 

 

 


[1] อีซา -  เด็กชายกำพร้าแห่งสถานสงเคราะห์ชาวมุสลิม  หนึ่งในผู้เสียชีวิตในโศกนาฏกรรมกลางเมือง เดือนพฤษภาคม 2553

[2] อาบูบาร์ก  - พี่ชายของอีซา  ผู้หลบหนีออกจากสถานสงเคราะห์ไปร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'เครือข่ายประชาธิปไตย' จัดเวทีรำลึก 19 พ.ค.ที่สวนลุม ทำพิธีสาปแช่งผู้บงการสังหารหมู่ปชช.

Posted: 19 May 2011 10:21 AM PDT

เครือข่ายประชาธิปไตย จัดเวทีรำลึก 1 ปี 19 พ.ค. ที่สวนลุม ทำพิธีเผาพริก-เกลือสาปแช่งผู้บงการสังหารหมู่ประชาชน รณรงค์ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ปล่อยนักโทษการเมือง

(19 พ.ค.54) เวลา 18.00 น. เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.) ตั้งเวทีปราศัยบริเวณลานพระบรมรูป ร.6 สวนลุมพินี โดยมีประชาชนเสื้อแดงทยอยเข้าร่วมราว 500-600 คน กิจกรรมบนเวทีประกอบด้วยพิธีเผาพริกเผาเกลือสาปแช่งผู้บงการและผู้กระทำการสังหารหมู่ประชาชนในการชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็นพิธีตามภาคต่างๆ ทั้งภาคกลาง ภาคอีสาน ตะวันตก เหนือ รวมถึงภาษาเขมร พร้อมให้เหตุผลว่าต้องใช้วิธีนี้เพราะวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว

นอกจากนี้ยังมีการปราศัยจากนักวิชาการ อาทิ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ สุดา รังกุพันธุ์ โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเล่นงานฝ่ายตรงข้าม โดยยกกรณีของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษการเมืองรายอื่นๆ ที่ปัจจุบันยังถูกคุมขัง พร้อมแจ้งว่าวันที่ 22 พ.ค.นี้ แดงสยามจะจัดกิจกรรมรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองที่หน้าเรือนจำ ในเวลา 16.00น. ด้วย

ขณะที่บริเวณข้างเวทีมีการตั้งโต๊ะเพื่อให้ประชาชนเข้าชื่อ 10,000 ชื่อเพื่อยกเลิกมาตรา 112 และกฎหมายด้านความมั่นคง 3 ฉบับ (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน. พ.ร.บ.ความมั่นคง และกฎอัยการศึก) ผ่านทางรัฐสภา

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมดนตรีจากศิลปินต่างๆ อาทิ วัฒน์ วรรลยางกูรและวงท่าเสา ชาย อิสระชน การร้องเพลงประสานเสียงจากจิ้น กรรมาชน สมบัติ บุญงามอนงค์และคณะ รวมถึงละครเล่าเหตุการณ์ช่วง 13-19 พ.ค.ปีที่แล้วจากกลุ่มประกายไฟการละครด้วย ขณะที่กิจกรรมโดยรอบ มีผู้ชุมนุมบางส่วนนำสีชอล์กมาวาดรูป-เขียนข้อความที่พื้น จำลองเหตุการณ์การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 พร้อมตะโกน "ที่นี่มีคนตาย" ด้วย

สำหรับเครือข่ายประชาธิปไตย เปิดตัวเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยผู้ต้องหาที่ต้องโทษกฎหมายหมิ่นฯ ให้ได้รับเสรีภาพหรือการประกันตัว โดยประกอบด้วยกลุ่มเสื้อแดงจากจังหวัดสตูล พัทลุง ราชบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี ตราด ลพบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง เชียงราย กลุ่ม 24 มิถุนา แดงสยาม แดงตะวันออก สมัชชาสังคมก้าวหน้า พลังแดงชะอำ พลังหญิง สหายสีแดง ตัวแทนจากสหภาพแรงงาน สหภาพครู ทนายความ กลุ่มศิลปิน พระสงฆ์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย แนวร่วม LA และแดงเสรีชนเยอรมัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่อง ขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไข ม.112

Posted: 19 May 2011 09:51 AM PDT

 

เรื่อง
ขอเชิญร่วมลงชื่อในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112
และยุติการใช้ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

เพื่อนนักเขียนทุกท่าน เรา - นักเขียนผู้มีรายชื่อในท้ายจดหมายฉบับนี้ เชื่อว่าท่านคงเห็นด้วยว่า เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น คือหัวใจสำคัญของการเป็นนักเขียนในสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนผู้ทำงานเขียนเพื่อเลี้ยงชีพ หรือเป็นนักเขียนผู้ผลิต “งานสร้างสรรค์” ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนผู้มีอุดมการณ์ ศรัทธา และความเชื่อส่วนตัวเช่นไร เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น ถือเป็นพื้นฐานสำคัญเบื้องต้นที่เอื้อให้นักเขียนทุกคนทุกแขนงในสังคม ได้มีพื้นที่ มีอิสรภาพ และมีโอกาสในการพัฒนาทั้งคุณภาพผลงานและทั้งคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยเท่าเทียมกัน

เมื่อใดก็ตามที่เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นตกอยู่ในสภาวะบอบบาง อ่อนแอ และสั่นคลอน สถานภาพของการเป็นนักเขียนในสังคมประชาธิปไตยย่อมตกอยู่ในสภาวะบอบบาง อ่อนแอ และสั่นคลอนไปด้วย ผลกระทบเบื้องต้น คือการหยุดชะงักของโอกาสในการพัฒนาความรู้ ความคิด และการสร้างสรรค์งานเขียน เนื่องเพราะถูกจำกัดขอบเขตการแสดงออกและการสานต่อทางปัญญา ผลกระทบขั้นรุนแรงกว่าคือการต้องใช้ชีวิตและทำงานภายใต้บรรยากาศอันมืดมิด ภายใต้ความหวั่นวิตกถึงการสูญเสียสิทธิ สูญเสียอิสรภาพอย่างไม่เป็นธรรม และหวาดกลัวต่ออันตรายที่อาจเกิดกับตนเองและครอบครัว

สังคมไทยขณะนี้ มีการนำกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยคนหลายกลุ่มหลายฝ่าย มีการใช้มาตราดังกล่าวในการข่มขู่คุกคาม กระทั่งฟ้องร้องดำเนินคดี คุมขังและริดรอนอิสรภาพของประชาชนผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก ทำให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังก้าวล่วงสู่สภาวการณ์ที่เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นถูกคุกคามอย่างอยุติธรรมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือไปจากความกังวลในฐานะประชาชนที่อาจต้องเผชิญกับการคุกคาม เราในฐานะนักเขียน ย่อมมิอาจนิ่งดูดายและปล่อยให้หัวใจสำคัญของการเป็นนักเขียนและการทำงานเขียนภายใต้สังคมประชาธิปไตย ต้องตกอยู่ในวิกฤตเช่นนี้

ข้อความสั้น ๆ ของกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่กล่าวว่า: “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ได้ถูกนำมากล่าวอ้างกล่าวหาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพื่อข่มขู่ ฟ้องร้อง และคุมขังประชาชน หลายครั้งเป็นการตีความกฎหมายโดยกว้าง เช่น แม้แต่การไม่ยืนถวายพระพรเมื่อมีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีก็กลายเป็นความผิดฐานดูหมิ่นได้ นอกจากนั้น กระบวนการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้ ยังได้ฉวยใช้ความรู้สึกต่อองค์พระมหากษัตริย์ของคนทั่วไป มารวบรัดขั้นตอนการดำเนินคดี ไม่ดำเนินคดีตามกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎหมาย หากแต่เป็นการดำเนินคดีตามอำเภอใจ เช่นสั่งให้มีการไต่สวนโดยปิดลับ และห้ามสื่อมวลชนทำข่าวจนกระทั่งบัดนี้ แม้แต่สื่อมวลชนและนักวิชาการที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐบาล ซึ่งอภิปรายเรื่องการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นวิชาการ ยังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรา 112 เช่นกัน 

หลายกรณีที่เกิดขึ้น เราไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” อย่างไร นอกจากเป็นเพียงแต่การพยายามนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ด้วยเหตุผลและข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยกิริยาและวาจาที่อยู่บนมาตรฐานของมนุษย์ผู้มีอารยธรรม อีกทั้งยังเป็นการแสดงทัศนะที่เกิดจากเจตนารมณ์อันดีต่อสถาบันกษัตริย์และสังคมไทย เป็นการนำเสนอแนวทางที่จะสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับสถาบันกษัตริย์ในระยะยาว มิได้ลบหลู่ล่วงเกิน หรือต้องการ “ล้ม” สถาบันแต่ประการใด

บรรยากาศของความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นในสังคม และพฤติกรรมคุกคามโดยคนบางกลุ่ม เช่น ทหารไทยที่ออกมาตบเท้าข่มขู่ประชาชนและฟ้องร้องนักวิชาการ ตอกย้ำให้เราตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมต้องนำกฎหมายอาญามาตรา 112 มาเป็นประเด็นทบทวนพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นของประชาชนถดถอยล้าหลัง ก้าวย่างไปสู่ยุคมืด หรือถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงในที่สุด

ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องแยกแยะ “การล้มสถาบัน” ออกจากการอภิปรายเพื่อนำไปสู่เสถียรภาพทางสังคมในระยะยาว และการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดของประชาชน ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในฐานะประชาชนชาวไทยผู้มีความเป็นห่วงและกังวลต่อสภาวการณ์บ้านเมืองภายใต้บรรยากาศของความหวาดกลัว และในฐานะนักเขียนไทยผู้หวงแหนเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น เราต้องการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเร็วที่สุด และสนับสนุนการนำแนวทางที่ปัญญาชนบางกลุ่มบางท่าน (เช่น กลุ่มนิติราษฎร์ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และกลุ่มอื่นๆ) ได้เสนอแนะไว้ในหลายวาระ ขึ้นมาพิจารณาประกอบกัน เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่เป็นธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมไทย

นอกจากนี้ เราต้องการเรียกร้องให้ผู้ใช้สถาบันกษัตริย์เป็นข้ออ้างในการแสดงบทบาทและวางอำนาจทางการเมือง เช่น ทหาร ได้ยุติพฤติกรรมดังกล่าว และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง หากความสงบสุข ความสามัคคี และความเป็นธรรม คือสิ่งที่ท่านต้องการให้เกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ใจ

ในสังคมประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยความแตกต่างหลากหลาย การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเชื่อและความคิดเห็นที่แตกต่าง คือกระบวนการที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการอยู่ร่วมกัน และช่วยบรรเทาความรุนแรงของความขัดแย้งที่สามารถบังเกิดตามธรรมชาติของสังคม การประนีประนอมนั้นมิได้เกิดจากความกลัว หากแต่เกิดจากการฝากความหวังไว้กับการเรียนรู้ของประชาชน และฝากความเชื่อมั่นไว้กับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน หากเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นของประชาชนถูกคุกคามและสั่นคลอน ความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อระบอบประชาธิปไตยและต่อประเทศของตน ย่อมสั่นคลอนเสื่อมถอยอย่างไม่ต้องสงสัย

เพื่อนนักเขียนที่เคารพทุกท่าน เรา - นักเขียนผู้มีรายนามในท้ายจดหมายนี้ ต้องการเรียกร้องให้มีการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อความมั่นคงของประชาธิปไตย เพื่อความเป็นธรรมในสังคม เพื่อความยืนยงของสถาบันกษัตริย์ และเพื่ออนาคตของประเทศชาติ 

เรา - นักเขียนผู้มีนามต่อท้ายจดหมายฉบับนี้ มั่นใจว่าเพื่อนนักเขียนทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น และหากท่านเห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง เห็นด้วยว่าต้องยุติการใช้ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เราขอเรียนเชิญให้ท่านร่วมแสดงออกกับเราในครั้งนี้ ด้วยการลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวในฐานะนักเขียน เราย้ำว่าเสียงของท่านมีความสำคัญกับผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรมทุกคน ทั้งในอดีต และในอนาคต เราขอให้ท่านสละเวลาลงชื่อเพื่อร่วมเรียกร้องด้วยกันกับเรา ตามช่องทางที่ระบุไว้ท้ายจดหมายฉบับนี้

                                                               19 พฤษภาคม 2554

                                                                บินหลา สันกาลาคีรี
                                                                    ปราบดา หยุ่น
                                                                   ทราย เจริญปุระ
                                                             ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
                                                                ซะการีย์ยา อมตยา
                                                               กิตติพล สรัคคานนท์
                                                                 วรพจน์ พันธุ์พงศ์
                                                                        วาด รวี

อัพเดทรายชื่อผู้ร่วมลงนาม

 

1. กฤช เหลือลมัย
2. สุเจน กรรพฤทธิ์
3. กวีอราสุ
4. ธีรภัทร เจริญสุข
5. พรสุข เกิดสว่าง
6. สานุ อร่ามเอกวนิช
7. สรายุทธ์ ธรรมโชโต
8. นงลักษณ์ หงส์วิเศษชัย
9. เฉลิมพันธุ์ หวันชิตนาย
10. เดือนวาด พิมวนา
 
11. ประกาย ปรัชญา
12. นพดล ปรางค์ทอง
13. นพรุจ หิญชีระนันทน์ 
14. กิตติกา บุญมาไชย
15. ภาณุ มณีวัฒนกุล
16. วิจักขณ์ พานิช
17. เกียรติศักดิ์ ประทานัง (ปั้นคำ)
18. สฤณี อาชวานันทกุล
19. ชญานิน เตียงพิทยากร
20. ทองธัช เทพารักษ์
 
21. “ผาดไหม”
22. อธิฌลา (อันธิฌา ทัศคร)
23. ดาราณี ทองศิริ
24. นิติพงศ์ สำราญคง
25. ศรัทธา แสงทอน  
26. สหรัฐ พัฒนกิจวรกุล
27. วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
28. ปราย พันแสง
29. คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์
30. บุญชิต ฟักมี
 
31. สิทธา วรรณสวาท
32. นิศากร แก่นมีผล
33. อาทิชา ตันธนวิกรัย
34. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ (มน. มีนา)
35. การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์)
36. วรัญญู อินทรกำแหง

หมายเหตุ – ท่านสามารถติดต่อลงชื่อได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

1. ติดต่อกับเจ้าภาพทั้งแปดโดยตรง
2. อีเมล thaiwriteranti112@rocketmail.com
3. www.thaipoetsociety.com กระทู้นี้
4. แฟกซ์: ถึง วาด รวี ที่เบอร์ 02 439 3536 
5. จดหมาย: วารสารหนังสือใต้ดิน 825/666 หมู่ 1 ประชาอุทิศ ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
6. facebook: Underground Buleteen

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นศ. นักกิจกรรมเชียงใหม่เยี่ยมผู้ต้องขัง รำลึก 19 พ.ค.53

Posted: 19 May 2011 09:32 AM PDT

19 พ.ค. 54 กลุ่มแนวร่วมนักเรียน นิสิต นักศึกษาเสรีชนล้านนา นักกิจกรรมในเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมือง (เสื้อแดงเชียงใหม่-อุบลฯ) ร่วมจัดงานนิทรรศการรำลึกพฤษภา 53 ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีกิจกรรมอธิบายภาพเหตุการณ์ทางการเมืองจากยุค 14 ตุลาคม 2516 กับ 6 ตุลาคม 2519 พฤษภาคม 2535 จนกระทั่ง เหตุการณ์เมษา-19 พฤษภา 53 สะท้อนความรุนแรงทางความขัดแย้งของประชาธิปไตยไทยที่มีผู้สูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ ซึ่งกิจกรรมภาพนิทรรศการ จัดแสดงบอร์ด หน้าอาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษา ผู้สนใจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้รับชมภาพขาว-ดำ เพื่อร่วมรำลึกอดีตที่ผ่านมา

ต่อมา กลุ่มแนวร่วมนักเรียน นิสิต นักศึกษาเสรีชนล้านนา ร่วมกับนักกิจกรรมในเชียงใหม่ พร้อมกลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมืองเสื้อแดงเชียงใหม่ ซึ่งประสานงานนัดเยี่ยมผู้ต้องขังพร้อมญาติของผู้ต้องขัง โดยได้มอบเงินบริจาค และเงินที่ได้จากการขายหนังสือ ขายเข็มกลัดการกุศล สมทบทุนให้ญาติผู้ต้องขังคนละ 1,000 บาท เป็นเงินจำนวนทั้งหมด 6,000 บาท

ทั้งนี้ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมนักเรียน นิสิต นักศึกษาเสรีชนล้านนา นักกิจกรรมในเชียงใหม่  ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับญาติผู้ต้องขัง และอดีตผู้ต้องขัง พร้อมอ่านบทกวี รำลึกถึงเหตุการณ์พฤษภา 53 และร่วมกันแถลงว่า หนึ่งปีที่ผ่านมา เรื่องราวความจริงของความรุนแรงไม่คลี่คลาย ไม่มีคนขอโทษ ซึ่งจะรอดูรัฐบาลหน้าว่าจะคืนความเป็นธรรมอย่างไร ตัวแทนกลุ่มดังกล่าวทิ้งท้ายไว้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ชาวนาอยุธยาหว่านข้าวทั้งน้ำตา ผู้รับเหมา กฟผ. รุกที่นา

Posted: 19 May 2011 07:24 AM PDT

ชาวนาอยุธยาเผยหว่านข้าวทั้งน้ำตาและความหวาดกลัว เพราะถูก กฟผ.ใช้รถแบคโฮและรถไถดินขุดดินกลบทำลายข้าวที่ชาวนาหว่านไว้แล้วต่อหน้าต่อตา แจ้งความตำรวจไร้ผลอ้างเกินอำนาจสั่งการ

19 พ.ค. 54 – นักข่าวพลเมืองอยุธยาเผยว่าที่ หมู่ที่ 3 ต.โคกม่วง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ชาวนาหว่านข้าวทั้งน้ำตาและความหวาดกลัว เพราะถูก กฟผ.ใช้รถแบคโฮและรถไถดินขุดดินกลบทำลายข้าวที่ชาวนาหว่านไว้แล้วต่อหน้าต่อตาชาวนาและชาวบ้านโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย และทำลายสิ่งที่ชาวไทยทุกคนกราบไหว้บูชาในวันพืชมงคล รวมทั้งถูกขัดขวางไม่ให้เข้าพื้นที่ทำนาโดยกลุ่มคนที่ กฟผ.จ้างมากว่า 100 คน โดยชาวนาและชาวบ้านรอบข้างที่ทราบข่าวต่างรวมตัวกันออกมาด่าสาปแช่งการกระทำของ กฟผ.และกลุ่มคนดังกล่าวที่ทำลายข้าวทำร้ายแม่โพสพในวันพืชมงคล

ทั้งนี้ชาวนาและชาวบ้านที่ทราบข่าวได้ทำการร้องเรียนไปยัง สภอ.ภาชี และสถานีตำรวจประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว เพื่อให้มาทำการหยุดยั้งการกระทำดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ได้รับการช่วยใดๆ โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจในการสั่งการ

ลำดับเหตุการณ์

วันที่ 11 พ.ค. 54  ที่ผ่านมาชาวนาได้คลาดนา พร้อมหว่านข้าว ถูกผู้รับเหมาของ กฟผ. บุกรุกที่ทำนา และได้ทำลายพื้นนาอย่างบ้าระห่ำ เพื่อให้เกิดความเสียหายให้มากที่สุดโดยผู้รับเหมาของกฟผ. ได้เอารถแบคโฮลงไปในพื้นนา และทำการขุดจกพื้นนาที่ชาวนาได้ คลาดพร้อมหว่านข้าวไว้ จนเสียหาย ชาวนาได้แจ้งความแล้วที่ สภอ.ภาชี แต่ไม่ได้รับการช่วยใดๆเลย

วันที่ 12 พ.ค. 54  ชาวนาได้ทำการหว่านข้าวซ้ำอีก เนื่องจากชาวนาถือว่ายังมีสิทธิการเช่านาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทางผู้รับเหมาของ กฟผ. ก็นำรถแม็คโครลงไปในนา พร้อมกับขุดจกกลบข้าว ที่ชาวนาหว่านไว้ ชาวนาได้แจ้งความแล้วที่ สภอ.ภาชี แต่ไม่ได้รับการช่วยใดๆเลย

วันที่ 13 พ.ค. 54  ชาวนาถือว่าเป็นวันดี วันพืชมงคล ชาวนาหว่านข้าวเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย แต่ถูกทางผู้รับเหมาของ กฟผ. ได้นำรถแทรคเตอร์ไถกลบเมล็ดข้าวอีก ชาวนาได้แจ้งความแล้วที่ สภอ.ภาชี แต่ไม่ได้รับการช่วยใดๆเลย
   
วันที่ 15 พ.ค. 54  ชาวนา ยื่นเรื่องต่อ คชก. ตำบล ให้พิจารณาด่วน เพื่อให้ กฟผ. หยุดการยำยีผืนนา แต่ไม่ได้รับความสนใจ

วันที่ 17 พ.ค. 54  ทางผู้รับเหมาของ กฟผ. ได้ล้อมรั้ว เพื่อที่จะปิดกั้นไม่ให้ชาวนาเข้าทำนา ชาวนาได้แจ้งความแล้วที่ สภอ.ภาชี แต่ไม่ได้รับการช่วยใดๆเลย

วันที่ 19 พ.ค. 54 ชาวนาเข้าแจ้งความกับผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่กลับได้รับคำตอบว่าสั่งการไม่ได้ และพูดจาเสียงดังตะโคกใส่ชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หมายเลขของพรรคการเมือง หลังรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อวันแรก

Posted: 19 May 2011 02:19 AM PDT

28 พรรคการเมืองสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งเปิดรับสมัครเป็นวันแรก โดยเพื่อไทยได้เบอร์ 1 ประชาธิปัตย์ได้เบอร์ 10 ภูมิใจไทยได้เบอร์ 16 ด้านพรรคการเมืองใหม่ได้เบอร์ 20

วันนี้ (19 พ.ค.) ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง มีการเปิดรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นวันแรก และมีการจับสลากหมายเลขของพรรคการเมือง โดยมีพรรคการเมืองมาลงทะเบียนก่อนเวลา 08.30 น. ทั้งหมด 28 พรรค ดังนั้นจึงถือว่าพรรคการเมืองที่มาก่อนเวลา ถือว่ามาพร้อมกัน ตาม พ.ร.บ.ประกอบการเลือกตั้ง

โดยผลการจับสลาก ผลการจับสลากผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) เรียงลำดับตามหมายเลขมีดังนี้

พรรคเพื่อไทย หมายเลข 1, พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หมายเลข 2, พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 3, พรรคประชากรไทย หมายเลข 4, พรรครักประเทศไทย หมายเลข 5, พรรคพลังชล หมายเลข 6, พรรคประชาธรรม หมายเลข 7, พรรคดำรงไทย หมายเลข 8, พรรคพลังมวลชน หมายเลข 9, พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 10

พรรคไทยพอเพียง หมายเลข 11, พรรครักษ์สันติ หมายเลข 12, พรรคไทยเป็นสุข หมายเลข 13, พรรคกิจสังคม หมายเลข 14, พรรคไทยเป็นไทย หมายเลข 15, พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 16, พรรคแทนคุณแผ่นดิน หมายเลข 17, พรรคเพื่อฟ้าดิน หมายเลข 18, พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย หมายเลข 19, พรรคการเมืองใหม่ หมายเลข 20

พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 21, พรรคเสรีนิยม หมายเลข 22, พรรคชาติสามัคคี หมายเลข 23, พรรคบำรุงเมือง หมายเลข 24, พรรคกสิกรไทย หมายเลข 25, พรรคมาตุภูมิ หมายเลข 26

ส่วนพรรคชีวิตที่ดีกว่าและพรรคพลังคนกีฬา ไม่มีสิทธิ์จับสลากหมายเลขพรรคเนื่องจากเอกสารหลักฐานไม่ครบ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย กล่าวหลังจับสลากได้หมายเลข 1 ว่า ดีใจที่ได้หมายเลข 1 เพราะเป็นหมายเลขที่จำง่าย ส่วนภารกิจงานแรก คือ การแก้ปัญหา เรื่องปากท้องของประชาชน ทั้งค่าครองชีพ การเป็นหนี้สิ้น การเพิ่มรายได้ระยะยาว และเดินหน้าเรื่องความปรองดอง ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มองว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์จับสลากได้หมายเลข 10 นั้น ไม่ได้ส่งผลต่อการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ เพราะเชื่อว่าประชาชนจะสามารถติดตามข่าวสารและรับรู้ถึงหมายเลขของผู้ลง สมัครในแต่ละพรรคได้อยู่แล้ว

ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ซึ่งระบุว่า มั่นใจว่าระบบสัดส่วนของพรรคจะได้ถึงลำดับที่ 20 ซึ่งนางศุภธินันท์ ไถวสินธ์ หรือ ป้าสะอิ้ง ตัวแทนเกษตรกร ลำดับที่ 15 ถือว่ามีโอกาสสูงในการเข้าสภา ส่วนระบบเขต พรรคจะส่ง 180 เขต กรุงเทพฯ ส่งเฉพาะเขตหลักสี่ แต่จะมีการติดป้ายหาเสียงทั้งประเทศ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'อานันท์' แจงนักข่าวตปท. ม.112 มีปัญหาที่การบังคับใช้

Posted: 19 May 2011 12:28 AM PDT

 

(18 พ.ค. 54) เมื่อเวลา 20.00 น. อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) แถลง ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ถ.เพลินจิต ถึงการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป ชี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมมาจากโครงสร้างทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มต่างๆ

อานันท์ ปันยารชุน กล่าวถึงข้อสรุปที่ได้จากการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป ซึ่งสิ้นสุดการทำงานไปเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า โครงสร้างทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และทรัพยากร เป็นสาเหตุหลักของปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดย คปร.ได้ผลิตข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป เช่น ลดอำนาจและบทบาทกองทัพ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปฏิรูปที่ดิน ซึ่งบรรจุอยู่ในรายงาน “แนวทางปฏิรูปประเทศไทย – ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” มีความยาว 38 หน้า

อานันท์กล่าวว่า เหตุที่ตนเองและคณะลาออกจากการทำงาน เพราะเป็นมารยาททางการเมือง และพรรคการเมืองในรัฐบาลใหม่มีสิทธิที่จะกำหนดและดำเนินการปฏิรูปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะทำตามรูปแบบเดิมหรือไม่ทำเลยก็ตาม แต่ในช่วงก่อนเลือกตั้ง อยากให้สาธารณะตั้งคำถามเรื่องการปฏิรูปต่อผู้สมัครเลือกตั้งและพรรคการเมือง และช่วยกันผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อที่จะนำไปการความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน และลดอำนาจรัฐ เป็นต้น

ต่อมา ผู้สื่อข่าวจากไฟแนนเชียล ไทมส์ถามเรื่องกฎหมาย“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่าควรมีการปฏิรูปหรือไม่ อานันท์ตอบว่าการดำรงอยู่ของกฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือการบังคับใช้ และเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้ เนื่องจากใครก็ได้มีสิทธิกล่าวโทษ ซึ่งเปิดโอกาสให้คนใช้ประโยชน์จากตัวกฎหมายและสถาบันกษัตริย์เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หากแก้ปัญหาดังกล่าวได้ก็คงจะลดปัญหาที่เกิดขึ้น เขายังเสริมว่า คนไทยส่วนใหญ่รัก เคารพ และเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ซึ่งคนจากประเทศอื่นๆ อาจมองว่าคนไทยรักและเคารพสถาบันกษัตริย์แบบแปลกๆ แต่ไม่ว่าภายนอกจะมองว่าอย่างไร แต่นี่เป็นวัฒนธรรมของเรา เช่นเดียวกับในหลักการพหุวัฒนธรรม ผู้อื่นก็ควรจะเคารพในความหลากหลาย และไม่ควรตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี

“เช่นเดียวกัน มันก็ไม่ใช่หน้าที่ของผมที่ต้องไปตัดสินสถาบันกษัตริย์ในที่อื่นๆ เช่น ในอังกฤษ หรือนอร์เวย์ เพราะเป็นกษัตริย์ของเขา ประชาชนของเขา ผมคิดว่าการใช้กฎสากลกับระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในทุกที่ๆ นั้นไม่ถูกต้องเพราะมีรายละเอียดต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่ก็ควรมีมาตรฐานหนึ่งๆ ที่กำหนดไว้ซึ่งยอมรับได้ร่วมกัน”

ผู้สื่อข่าวจากคริสเตียน ไซเอนซ์ มอนิเตอร์ ถามถึงการปฏิรูปอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ อานันท์กล่าวว่า อำนาจของกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่าใช้อำนาจผ่านทางสถาบันหลักๆ คือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการตามรูปแบบทั่วไป แต่หลายคนมองว่ากษัตริย์ใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

“อำนาจของพระมหากษัตริย์นี้ไม่ได้มาจากการเรียกร้อง แต่เขาได้เองผ่านทางประชาชนและในรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ และผมพร้อมจะปกป้องสถาบันกษัตริย์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญว่าไม่ได้มีอำนาจมากกว่าสถาบันกษัตริย์ของประเทศอื่นๆ ในโลก ผมไม่คิดว่าอำนาจของสถาบันกษัตริย์จัดอยู่ในส่วนความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมดังกล่าวที่ไม่เท่าเทียม”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อัจฉรา รักยุติธรรม:เรยา หญิงไพร่ไม่เจียม

Posted: 18 May 2011 10:37 PM PDT

เรยา ถูกสร้างให้มีชาติกำเนิดต้อยต่ำ เป็นลูกสาวของหญิงรับใช้ที่แอบได้เสียกับแขกยาม โดยไม่ผ่านพิธีตบแต่ง ค่าที่เธอทะเยอทะยาน “เกินตัว” เกินฐานะลูกคนรับใช้ ที่มาและที่ไปของเรยาจึงแตกต่างเหลือเกินกับนางเอกในพล็อตผู้ดีตกยากตามแบบ ฉบับละครไทย

 
นอกจากชาติกำเนิดที่ต่ำเตี้ยติดดินแล้ว เรยายังไม่ใช่หญิงไทยใจงามที่ยึดมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี แต่เธอปากร้าย ใจชั่ว เมามัวในกามารมณ์ ผิดศีลข้อกาเมและมุสา จะบวกข้อหาลักขโมย (สามีชาวบ้าน) มาด้วยอีกก็ยังได้
 
เรตติ้ง ละคร “ดอกส้มสีทอง” ที่พุ่งกระฉูด ไม่เพียงสะท้อนความนิยมในบทละคร แต่เสียงเชียร์และชื่นชม เรยา ถึงกับทำให้ “ผู้ใหญ่” ในบ้านเมืองของเราตบอกเต้นผาง ออกมาชี้แนะห้ามปราม แทนที่จะพยายามทำความเข้าใจว่าละครเรื่องนี้สะท้อนอารมณ์ของสังคมอย่างไร 
 
 
เรยา มนุษย์จริงในโลกสมัยใหม่
 
เรยาเป็นภาพสะท้อนของมนุษย์ในโลกสมัยใหม่ที่ดิ้นรน ไล่ล่า ไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งสิ่งพึงประสงค์ บุคลิกอย่างเรยาเป็นบุคลิกร่วมของผู้คนในยุคปัจจุบันที่เชื่อว่ามนุษย์เป็น ผู้กำหนดชะตากรรมของตนเอง และอาจยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย กำลังความสามารถ สติปัญญา หรือแม้แต่ไหวพริบเล่ห์เหลี่ยมของตน
 
เรยาเป็นหญิงสาวต้นทุนต่ำที่ไม่ได้พิรี้พิไรอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัวแบบ หญิงสาวในอุดมคติอย่างเช่น “พจมาน” ที่ยอมเข้าไปเป็นคนรับใช้ในคฤหาสน์หลังใหญ่อยู่กับความทุกข์ระทมขมขื่นแสน นานก่อนความจริงจะเปิดเผยว่าหล่อนเป็นทายาทผู้ดีมีมรดกตกทอดมหาศาล แล้วครอบครัวของชายกลางจึงค่อยยอม เพราะหล่อน “ผ่าน” มาตรฐานทั้งชาติตระกูล นิสัยใจคอ และทรัพย์ศฤงคาร
 
สังคมไทยหมดยุคขุนน้ำขุนนางไปนานแล้ว และคงมีโอกาสเพียงเศษเสี้ยวของความเป็นจริงที่จะมีคนเดินเข้ามาบอกว่า “คุณครับ ๆ คุณต้องไปรับมรดกพันแปดร้อยล้าน เพราะคุณคือลูกหลานของท่านเจ้าคุณ หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ฯลฯ” เมื่อโอกาสที่บุญพาวาสนาส่งเช่นนั้นคงไม่มี จะให้อดทนอดกลั้นอยู่กับความอดอยาก ก็คงจะอยู่ไม่รอดท่ามกลางภาวะแข่งขันในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เป็นอยู่
 
พฤติกรรมการต่อสู้แย่งชิงของเรยาจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ สมัยนี้ แต่ไม่ใช่สำหรับ “ผู้ใหญ่” ที่เชิดหน้าชูตาอยู่ได้เพราะมีฐานชาติตระกูลหรือฐานะทางเศรษฐกิจที่ตกทอดมา จากบรรพบุรุษเป็นบุญเก่าเกื้อหนุน
 
นอกจากต่อสู้ช่วงชิงสิ่งที่ต้องการมาให้ได้แล้ว เรยา ยังขบถต่อคุณค่าจารีตหรืออุดมคติบางอย่างที่ “ไร้ความหมาย” ในโลกปัจจุบัน เธอไม่ใช่ “ดาวพระศุกร์” ที่เพียรรักษาเยื่อพรหมจรรย์ไว้ด้วยชีวิตเพื่อแลกกับ “รักแท้”  หนึ่ง เดียว ซึ่งในที่สุดรักนั้น “แท้” หรือไม่ก็ไม่ทราบ ดาวพระศุกร์กลับถูกคุณภาคย์พระเอกที่ขี่ม้าขาวไปช่วยเธอมาจากซ่องข่มขืนเธอ เสียเอง หลังจากแต่งงานอยู่กินกันแล้ว คุณภาคย์จะไปมีเมียน้อยเมียมากอีกเท่าไรก็ไม่มีการเปิดเผย
 
การเทิดทูนค่านิยมแบบไทย ๆ เช่นนั้น ไม่ใช่ลักษณะของเรยา ในทางกลับกันเธอเป็นฝ่ายไล่ล่าด้วยการขุดหลุมพราง ยั่วยวน “ฟัน” และทิ้ง ผู้ชายเสียเอง เมื่อเห็นว่าเขาหมดประโยชน์และเธอหมดเสน่หา  นี่ เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้เรยาได้รับเสียงเชียร์จากหญิงยุคใหม่นอกจอที่ อึดอัดกับการถูกกดทับด้วยวัฒนธรรมจารีตแบบชายเป็นใหญ่ที่ฝังตรึงแนบแน่นอยู่ ในสังคมไทยมาเนิ่นนาน
 
ความชื่นชอบและเสียงเชียร์เรยาไม่ควรถูกดูเบาว่าเกิดจากความ “เขลา” ไร้วิจารณญาณของผู้ชม แต่ควรเข้าใจว่าเรยาเป็นภาพสะท้อนบุคลิกและตัวตนของมนุษย์เดินดินแบบหนึ่ง ที่มีอยู่จริงและมากมายในโลกปัจจุบัน 

ไม่ว่าจะอยากเอาเรยาเป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่ก็ตาม การแสดงออกของเรยาได้ช่วยปลดปล่อยความเครียดและความอึดอัดของคนรุ่นใหม่ที่ อยู่ทนและทนอยู่ในสังคมไทยที่ทั้งทันสมัยใหม่และคร่ำครึในคราวเดียวกัน

 
 
ยิ่งกว่ารัก มากกว่าเงิน
 
ผู้ประพันธ์สร้างให้ดูเสมือนว่าเรยากำลังไขว่คว้าหา “รักแท้” แต่ความรักของเธอที่มีต่อบรรดาสามีกลับวาบไหววูบวาบ พลุ่งพล่านเพียงชั่วแล่น อะไรกันแน่คือสิ่งที่เรยาต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาอย่างแท้จริง คำถามนี้ท้าทายการตีความของผู้ชม
 
กับสามีคนแรก เรยาไม่ยอมรับข้อเสนอที่เขาจะปรนเปรอเธอด้วยทรัพย์สินเงินทองและรับเลี้ยง โดยที่เธอไม่ต้องทำงาน แต่เรยากลับขอแลกพรหมจรรย์กับการได้เป็นแอร์โฮสเตสแบบลัดขั้นตอน กับสามีคนที่สองเรยาตั้งอกตั้งใจ “จับ” เขาจนถึงกับยอมตั้งท้องและมีลูก แม้สามีคนนี้จะร่ำรวยแต่เรื่องราวความเป็นไปก็สะท้อนว่าสิ่งที่เรยาต้องการ ไม่ใช่เพียงแค่ทรัพย์สินเงินทอง กับผู้ชายคนสุดท้ายที่เรยาพลาดไปเสียก่อนจะที่เขาจะยอมตกลงปลงใจกับเธอ ก็ไม่มีสิ่งใดชี้ชัดอีกว่าเรยาต้องการเขาเพราะเงิน  
 
ความสัมพันธ์ของเรยากับผู้ชายทุกคนในเรื่องชี้ชัดว่าเงินไม่ใช่เป้าหมายหลัก หรือไม่ใช่เป้าหมายเดียวที่เรยาต้องการ และผู้หญิงอย่างเรยาก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อไขว่คว้าหา “รักแท้”  มิเช่นนั้น เธอคงเลือก “นัท” เพื่อนที่ดีที่สุดที่มีรักเธอมั่นคงเสมอมา
 
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเรยาเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่ไม่ได้ยึดติดอยู่กับค่านิยม อุดมคติเรื่อง “รักแท้” ที่ดูเพ้อฝันเลื่อนลอยเพียงอย่างเดียว  เช่น เดียวกับที่เธอไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษศีลธรรมจรรยา ความเป็นเรยาจึงท้าทายคุณค่าศีลธรรม “ถูก” “ผิด” “ดี” “เลว” ตามเป็นบรรทัดฐานคุณค่าทีฝังตรึงอยู่ในสังคมไทย
 
หากไม่ใช่เงินทอง ไม่ใช่รักแท้ ผู้หญิงอย่างเรยาต้องการอะไร ?
 
 
ทุนของไพร่
 
ตั้งแต่เล็กจนโตแม่ผู้ให้กำเนิดดูแลใกล้ชิดและให้ความรักต่อเรยาจนล้นเกิน การไขว่คว้าหาความรักจึงไม่ใช่แรงผลักดันที่ทำให้เรยากระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เรามองเห็นเพียงผิวเผิน
 
หากพฤติกรรมของเรยาถูกมองว่าเป็นความบกพร่อง พฤติกรรมนั้นก็เป็นผลผลิตจากความบกพร่องของสังคม
 
เรยามีปมกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่ไม่ได้วัดได้ด้วยเงินทองหรือฐานะทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนที่เธอรู้สึกว่าตนเองถูกเหยียด ถูกเหยียบย่ำมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต
 
เด็กลูกครึ่งผมหยิกที่ถูกแม่ค้าในตลาดจิกเรียก “อีแขก ๆ” และการเป็นลูก “คนใช้” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ขี้ข้า” ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีไม่อาจเทียบค่ากับ “คุณหนู” ไฮโซในบ้านผู้ดีที่เธอไปอาศัยอยู่
 
นี่คือภาพอดีตที่ผลักดันให้เรยา ตะเกียกตะกายพาตัวเองให้พ้นไปจากฐานะคนชั้นล่าง
 
สำหรับ เรยา แอร์โฮสเตสเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีหน้ามีตาในสังคม อาชีพนี้จะช่วยกลบเกลื่อนรอยด่างพร้อยในเรื่องชาติกำเนิดว่าคนอย่างเธอก็ สามารถกินหรูอยู่สบายใช้ของแบรนด์เนมเทียมหน้าเทียมตาบรรดา “ผู้ดี” ทั้งหลายได้เช่นกัน
 
แต่เพราะเกิดมาในชนชั้นล่างที่ยากไร้ทุนทรัพย์ อับจนทุนวัฒนธรรมในเรื่องชาติตระกูล และไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องทุนทางสังคมเพราะไม่มีวุฒิการศึกษาและเครือ ข่ายอุปถัมภ์ใด ๆ  “อีลูกคนใช้กับ แขกยาม” อย่างเธอจึงเดิมพันด้วยทุนเท่าที่มีอยู่คือรูปร่างหน้าตาที่สวยสะและ พรหมจรรย์สดซิง แถมด้วยความสามารถทางภาษาอังกฤษอันเป็นผลพลอยได้จากการที่แม่ไปเป็นคนรับใช้ ในบ้านแหม่ม ทุนสองอย่างนี้กลายเป็นทางลัดช่วยให้เรยาขยับฐานะมาเป็นผู้ดี “ใหม่” ได้ฉับพลัน
 
กระนั้น ก็ตาม เรยายังคงไม่พอใจเพราะทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นไฮโซสมบูรณ์แบบ ไม่ได้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเทียมเท่ากับคนชั้นสูงแบบที่เธอต้องการ แต่เธอยังคงต่ำต้อยด้อยค่าเมื่อเทียบกับเมียผู้ดีของสามีคนแรกที่เป็นลูก มาเฟียใหญ่ หลังจากจบกับชายคนแรก ชายคนที่สองและสามถูกหมายตาเพราะพวกเขา “เพียบพร้อม” ในแบบที่เธอต้องการ
 
 
เรยา = หญิงชั่ว ?
 
เรยาเป็นไพร่ขบถที่ไม่ยอมเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่ในที่อันควรของตัวเองกลับตะเกียกตะกาย “อัพ” ฐานะมาอยู่ในโลกของ “ผู้ดี”  ที่ร้ายยิ่งกว่าคือเธอมาพร้อมกับวัฒนธรรมไพร่แบบไม่กระมิดกระเมี้ยน ยามอารมณ์ดีก็ร่านโลกีย์ยั่วยวนชวนสามีเล่นบทรักตลอดเวลา ยามปรี๊ดขึ้นมาก็พูดจาหยาบคายจิกด่าทั้งอีเมียหลวงและผัว (ทึ่ม ๆ) ของตัวเอง
 
แม้เรยาจะทัดเทียมผู้ดีทั้งหลายหากวัดกันด้วยทรัพย์สินเงินทอง หน้าที่การงาน และรูปร่างหน้าตา (ที่ดูดีกว่าบรรดาผู้ดีนอกจออีกจำนวนมาก) แต่ศักดิ์ศรีความเป็นคนของเธอก็ไม่อาจเทียบเทียมกับคนชั้นสูงได้จริง ๆ เสียที
 
ความไม่ไฮโซตั้งแต่ชาติกำเนิดถูก “เด่นจันทร์” ลูกสาวมาเฟียขุดขึ้นมาเยาะเย้ยถากถางซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขณะที่มารยาทไพร่เอะอะระรานของเธอก็ทำให้ลูกสาวท่านทูตอย่าง “คุณดี๋” ไม่ยอมลดตัวไปเกลือกกลั้วให้เสียเกียรติ ความโผงผางหยาบคายของเรยายังทำให้สามีทั้งสองรับไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเธอตามด่าราวีเมียผู้ดีของพวกเขาอย่างไม่ลดราวาศอก
 
การผิดศีลธรรม ความร้ายกาจ และมารยาทแบบไพร่ ถูกใช้เป็นเกณฑ์วัดคุณค่าความเป็นคนของเรยา จนผู้ชมอาจคล้อยตามไปว่ามันถูกต้องแล้วที่ในที่สุดหญิง “ร้าย” อย่างเรยาจะพลาดจากทุกสิ่ง
 
แต่โปรดอย่าลืมว่าพฤติกรรมเดียวกันนั้น “คนชั้นสูง” ทั้งหลายในเรื่อง (รวมทั้งนอกเรื่อง?) ต่างก็ประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน นับจาก “เจ้าสัว” ที่มีเมียห้าคน “หมวยใหญ่” ที่แอบลักลอบได้เสียกับคู่หมั้นโดยที่ยังไม่แต่งงาน ส่วนพ่อคู่หมั้นของหมวยใหญ่ก็ไปกิ๊กกั๊กกับแม่เลี้ยงสุดเซ็กซี่จนเกือบจะ กรึ๊บกัน “คุณชายใหญ่” แม้จะเพียรโบยตีมโนสำนึกตนเองด้วยแส้ศีลธรรมแต่ก็ยังทำผิดทางมโนกรรมมาโดย ตลอดเพราะมีใจต่อ “คุณนายที่สี่” ซึ่งเป็นแม่เลี้ยงของตนเอง และยังเอาความใคร่ของตัวเองไปบำบัดปลดปล่อยกับเกย์หนุ่มซึ่งตนไม่ได้รัก แม้แต่ไฮโซอย่าง “เด่นจันทร์” ก็ยังเอาลูกน้องนักเลงไปตามคุกคามราวีเรยาร้ายและ “รุนแรง” กว่าที่เรยาเคยทำกับเธอและ “คุณดี๋”
 
ด้วยมาตรฐานทางศีลธรรมเดียวกัน จึงบอกไม่ได้ว่าบรรดา “คนชั้นสูง” นั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง และควรค่าต่อชัยชนะมากกว่าไพร่อย่างเรยา เพียงแต่เหล่าผู้ดีทำความผิดแบบเดียวกันได้แนบเนียนกว่า และใช้อำนาจทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตนเอง ได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกันแล้วเรยาต้องแลกด้วยชีวิตเพื่อพาตนเองไปอยู่ในสังคมชนชั้นสูง แต่ชนชั้นสูงเพียงขยับนิ้วก็สามารถดีดเรยากระเด็นไปจากสังคมที่พวกเขากุม อำนาจได้อย่างง่ายดาย
 
หากจะเรียกสิ่งที่เรยาทำว่าความผิด มันจึงผิดแค่ที่ว่าหล่อนโจ๋งครึ่ม ชัดเจน ตรงไปตรงมาเกินไปหน่อย อยากได้อะไรก็ต่อสู้ดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้มา ไม่ถูกต้องตามครรลองของสังคมผู้ดีที่ควรแอบฉกแอบชิงมาอย่างเนียน ๆ
 
หรือจะว่าไปแล้ว เรยาก็ผิดที่หลงเข้าใจไปว่าคนชั้นล่างอย่างเธอจะมีคุณค่าความเป็นคนได้เทียม เท่ากับผู้ดี ในโลกที่บรรดาผู้ดียังเป็นผู้กุมอำนาจและชี้ชะตาบรรดาคนไพร่ ๆ อย่างเธอ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น