โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

พม่าสั่งคุมเข้มเมืองต้างยาน ในรัฐฉาน หลังเกิดเหตุระเบิด

Posted: 18 May 2011 02:45 PM PDT

กองทัพพม่าสั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเมืองต้างยาน พื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" หลังมีเหตุระเบิดทำตำรวจเจ็บ 1 นาย

มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า หลังมีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในเมืองต้างยาน รัฐฉานภาคเหนือ หนึ่งในพื้นที่สู้รบระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ทางกองทัพพม่ามีคำสั่งให้กำลังพลรวมถึงกองกำลังอาสาสมัครเพิ่มมาตรการตรวจตราและรักษาความปลอดภัยมากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น 1 ครั้ง ที่ด่านตรวจของตำรวจแห่งหนึ่ง อยู่ทางตะวันออกตัวเมืองต้างยาน บนเส้นทางไปสู่ท่ากองแอ๊ด (ท่าข้ามแม่น้ำสาละวิน) ที่มุ่งหน้าไปยังเขตปกครองว้า ในภาคตะวันออกรัฐฉาน เหตุระเบิดทำให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นายได้รับบาดที่ใบหน้าและที่แขน โดยเจ้าหน้าที่ระบุ เหตุระเบิดเป็นการโจมตีจากกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (SSA/SSPP)

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุหนึ่งวัน พล.ต.อ่องจ่อซอ แม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือพม่า มีบก.ตั้งอยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ มีคำสั่งเรียกประชุมด่วนผบ.หน่วยต่างๆ รวมถึงผู้นำกองกำลังอาสาสมัครกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ โดยสั่งกำชับให้ทุกหน่วยเพิ่มมาตรการตรวจตราและร่วมกันรักษาปลอดภัยให้เข้มงวดมากขึ้น

"กองกำลังอาสาสมัครทุกหน่วย ซึ่งเป็นกองกำลังตั้งขึ้นจากพลเรือน ได้รับสั่งให้สอดส่องดูแลและอารักขาสถานที่ราชการและตรวจตราในตัวเมือง ขณะนี้พบเห็นทหารพม่าและทหารกองกำลังอาสาสมัครเคลื่อนไหวทุกหนแห่ง" แหล่งข่าวเผย

ทั้งนี้ เมืองต้างยาน เป็นเืมืองประวัติศาสตร์ด้านการสู้รบซึ่งเคยถูกกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ในอดีตยึดครองได้ครั้งหนึ่ง ปัจจุบันเมืองต้างยาน เป็นหนึ่งในพื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP ที่ถูกกองทัพพม่าโจมตีมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา โดยกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" มีพื้นที่เคลื่อไหวอยู่ใน 4 เมืองหลักของรัฐฉานภาคเหนือ ได้แก่ เมืองเกซี เมืองไหย๋ เมืองสู้ และเมืองต้างยาน

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านทางภาคเหนือรัฐกะเหรี่ยงเริ่มขาดแคลนอาหาร

Posted: 18 May 2011 02:40 PM PDT

ชาวบ้านเกือบ 9 พันคน ในเขตเมืองผาปูน ทางตอนเหนือของรัฐกะเหรี่ยงกำลังขาดแคลนอาหาร สาเหตุมาจากการถูกบังคับให้อพยพทิ้งบ้านเรือน นอกจากนี้ยังเป็นผลพวงมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน

เว็บไซต์สาละวินโพสต์ รายงานว่า องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group - KHRG) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ชาวบ้านเกือบ 9 พันคน จาก 118 หมู่บ้าน ในเขตเมืองผาปูน ทางตอนเหนือของรัฐกะเหรี่ยงกำลังขาดแคลนอาหาร สาเหตุมาจากการถูกบังคับให้อพยพทิ้งบ้านเรือน นอกจากนี้ยังเป็นผลพวงมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย รวมไปถึงสภาพดินที่มีปัญหา ทำให้ชาวบ้านผลิตพืชผลทางเกษตรได้น้อยลง

องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงยังเปิดเผยว่า อาหารที่ชาวบ้านเหลืออยู่ตอนนี้อาจเพียงพอถึงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้เท่านั้น ด้าน ซอ อัลเบิร์ต ผู้ประสานงานพื้นที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านเองเริ่มปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด เช่น การตัดอาหารจาก 3 มื้อเป็น 1 มื้อต่อวัน รวมถึงมีการนำผักต่างๆ มาหุงรวมกับข้าวเป็นต้น

ส่วน ซอ สตีฟ จากองค์กรคณะกรรมการเพื่อชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่นภายใน (Committee for Internally Displaced Karen People - CIDKP) ยอมรับว่า การขาดแคลนอาหารของชาวบ้านทางภาคเหนือของรัฐกะเหรี่ยงในปีนี้รุนแรงกว่าปีก่อนๆ และการสู้รบประปรายระหว่างกองทัพพม่าและทหารกะเหรี่ยงบริเวณรอบๆ พื้นที่ยังคงเป็นปัญหาต่อชาวบ้าน

ขณะที่หน่วยงานเอ็นจีโอท้องถิ่นเองก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ได้ เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทางและการขาดแคลนงบช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่า วิกฤติขาดแคลนอาหารครั้งนี้ เป็นผลมาจากที่กองทัพพม่าเข้าโจมตีชาวบ้านในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2540

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปาฐกถาสองแผ่นดิน: พุทธศาสนากับแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

Posted: 18 May 2011 02:17 PM PDT

ตัวแทนจากไทยและกัมพูชา สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และสุทธา โรส ร่วมกันปาฐกถาที่วัดใหม่ไทรงาม อรัญประเทศ เสนอนำหลักทางพุทธศาสนาแก้ปัญหาขัดแย้งไทย-กัมพูชา ตัวแทนชาวกัมพูชาเตือนไทยเป็นประเทศรุ่งเรือง แต่ถ้าไม่ระวังอาจเข้าสู่ “กัมพูชา 2”

17 พ.ค. 2554 เวลา 9.30 น. ที่วัดใหม่ไทรงาม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ตัวแทนประชาชนจากประเทศไทย และนายสุทธา โรส เครือข่ายพุทธศาสนิกกัมพูชา ตัวแทนประชาชนจากประเทศกัมพูชา ร่วมปาฐกถาในหัวข้อพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา โดยมีประชาชนไทยและกัมพูชาพร้อมด้วยนักกิจกรรมจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า ศรีลังกา อินเดีย ร่วมกิจกรรม

000

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

คนไทยจะญาติดีกับคนกัมพูชาได้ เราต้องขอโทษเขา เราดูถูกเขา ประวัติศาสตร์สอนว่าพระนเรศวรไปตัดหัวพระยาละแวกเป็นเรื่องเหลวไหลทิ้งสิ้น เป็นการสอนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม เป็นแบบวิหิงสธรรม เราต้องกลับมาเป็นอหิงสธรรม เราต้องขอโทษเขา เพื่อนเราก็จะยกโทษให้เรา ถ้าเราไม่ขอโทษเขา ก็เป็นแค่ของเล่น เหมือนที่ยะลาปัตตานี ถ้าไม่ขอโทษเพื่อนมุสลิม การเดินธรรมยาตราก็เป็นแค่ของเล่น

 

กิจกรรมธรรมยาตราเพื่อสันติภาพที่ประชาชนไทย-กัมพูชาจัดขึ้นร่วมกันวานนี้ (16 พ.ค.) คือการเดินโดยมีธรรมะเป็นหัวใจ และวันนี้เป็นวิสาขบูชา เมื่อ 2,600 ปีก่อน คนธรรมดาสามัญคนหนึ่งได้เปลี่ยนสภาพเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากนั้นเสด็จธรรมยาตราตลอดเวลาในชมพูทวีปเพื่อเผยแพร่ศาสนา

การเดินธรรมยาตรา คือการเดินบนแผ่นดินซึ่งก็คือพระแม่ธรณี แต่ปัจจุบันเวลาเห็นพระแม่ธรณีบีบมวยผม กลับเข้าใจว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ไป แต่พรรคนี้มันเ-ยสุดๆ เลย

เมื่อเดินบนแม่พระธรณี เราเคารพแม่พระธรณีซึ่งเป็นของเราทั้งหมด ไม่มีพระแม่ธรณีไทยหรือเขมร เราเดินบนพระแม่ธรณีเดียวกันหมด การแบ่งชาติ แบ่งชั้นเป็นเรื่องสมมติซึ่งให้โทษมากกว่าให้คุณ นี่คือข้อแรกที่ผมอยากจะพูด คือธรรมยาตรา คือการเดินโดยมุ่งไปที่ธรรมะ ด้วยความเคารพแม่พระธรณี ถ้าไม่เคารพ ที่เดินกันตลอด 3 วันที่ผ่านมาก็เป็นแค่ของเล่น

คนไทยจะญาติดีกับคนกัมพูชาได้ เราต้องขอโทษเขา เราดูถูกเขา ประวัติศาสตร์สอนว่าพระนเรศวรไปตัดหัวพระยาละแวกเป็นเรื่องเหลวไหลทิ้งสิ้น เป็นการสอนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม เป็นแบบวิหิงสธรรม เราต้องกลับมาเป็นอหิงสธรรม เราต้องขอโทษเขา เพื่อนเราก็จะยกโทษให้เรา ถ้าเราไม่ขอโทษเขา ก็เป็นแค่ของเล่น เหมือนที่ยะลาปัตตานี ถ้าไม่ขอโทษเพื่อนมุสลิม การเดินธรรมยาตราก็เป็นแค่ของเล่น

การถือตัวว่าเราไม่เป็นเมืองขึ้นฝรั่ง เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระที่สุด ไม่มีประเทศไหนจะเป็นเมืองขึ้นฝรั่งมากเท่าเมืองไทย เราเป็นทาสทางปัญญาของฝรั่ง

การแก้ไขความขัดแย้งเป็นเนื้อหาสาระของพุทธศาสนาเลย และประการแรกคืออย่าไปหาว่าคนอื่นเป็นเหตุ เพราะความขัดแย้งทั้งหมดอยู่ในตัวเราอง มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะเป็นเจ้าเรือน ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขที่ข้างใน เพระเราทุกคนมีพุทธภาวะ มีความเป็นพระตถาคตอยู่ในตัวเรา ตถาตะ คือความเป็นเช่นนั้นเอง เราต้องแก้ที่ตัวเราเอง มีโยมนิโสมนัสสิการ ลดละอคติในตัวเอง และจะเป็นได้ก็ต้องมีกัลยาณมิตรเพื่อเตือนสติให้เราแก้ไขความขัดแย้ง

ถ้าเราเริ่มเป็นกัลยาณมิตรกันระหว่างไทย-กัมพูชา ยอมรับความผิดพลาดและร่วมแก้ไขความขัดแย้งระหว่างเรา ไปสู่การแก้ปัญหาระหว่างประเทศ รัฐบาลไหนก็ไม่มีปัญญาแก้ ตอนนี้กำลังจะมีการเลือกตั้ง จะเป็นช่วงเวลาที่เขาจะฟังเสียงราษฎร อย่าไปเกลียดพรรคการเมือง ซึ่งเ-ยพอๆ กันนั่นแหละทั้งเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ แต่ต้องรักพรรคการเมืองเล่านี้เหมือนรักหมาที่บ้าน

สันติภาพในโลกจะมีไม่ได้ เว้นแต่เราแต่ละคนจะสร้างสันติภาวะขึ้นในตัวเรา เป็นสิ่งที่องค์ดาไล ลามะ ตรัสไว้

000

สุทธา โรส
เครือข่ายสังคมพุทธศาสนากัมพูชา

เท่าที่ผมเห็นประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองมากๆ ผมไม่อยากให้ประเทศไทยถอยหลังไป หากไทยไม่ระมัดระวังก็อาจจะเข้าสู่สงครามราวกับเป็นกัมพูชาที่สอง ผมเคยเสนอหนังสือร้องเรียนรัฐบาลไทยขออย่าให้ทำสงครามกันเลย ประชาชนชายแดนเดือดร้อนมาก

 

แนวทางของพุทธศาสนาคือ ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาอะไรเราต้องรู้ถึงสาเหตุของปัญหานั้นอย่างถ่องแท้เสียก่อน เมื่อเห็นปัญหาแล้วจึงนำไปสู่การแก้ไข ผมก็จะนำความรู้เล็กๆ น้อยๆ ของผมมาแลกเปลี่ยนกับพี่น้องชาวไทย ถ้าหากว่าเราเป็นพุทธศาสนิกชน ท่านก็คงจะใช้ปัญญาพิจารณาดูว่าชาวกัมพูชาอยู่ในสงครามมาเป็นระยะเวลายาวนาน หากเราเป็นกัลยาณมิตรกันต้องช่วยกันหาทางแก้ไข

เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่สอง สมเด็จสีหนุก็บอกว่า อย่าไปทับถมประเทศญี่ปุ่นเลย ญี่ป่นได้รับความเดือดร้อนมากมายแล้ว แถมยังได้ฝากบอกประเทศญี่ปุ่นช่วงนั้นว่าหากมาช่วยกัมพูชาระยะหลังได้ ผมก็รู้ว่าสมเด็จสีหนุเป็นพุทธศาสนิกชนผู้หนึ่ง มีความเป็นพุทธทั้งกายวาจาใจ

เท่าที่ผมเห็นประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองมากๆ ผมไม่อยากให้ประเทศไทยถอยหลังไป หากไทยไม่ระมัดระวังก็อาจจะเข้าสู่สงครามราวกับเป็นกัมพูชาที่สอง ผมเคยเสนอหนังสือร้องเรียนรัฐบาลไทยขออย่าให้ทำสงครามกันเลย ประชาชนชายแดนเดือดร้อนมาก

อีกประการคือ เราต้องศึกษาประวัติของประเทศทั้งสองให้ดี เราควรจะรู้ว่าเราเป็นพี่น้องกันฉันมิตร แม้แต่พระมหากษัตริย์ก็เกี่ยวข้องกัน

อีกข้อหนึ่งก็คือเราควรจะรู้ว่าพวกเราเองก็เป็นสรรพสัตว์ที่มีทุกข์สุขเช่นเดียวกัน กรณีที่เกิดที่ญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นสึนามิ หรือปัญหาปรมาณู ก็คือธรรมะที่แสดงให้เห็นว่า วันนี้เกิดที่ญี่ป่น อนาคตก็อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยก็ได้ ตามที่ผมเข้าใจคือ ชีวิตเราสั้นนัก พุทธพจน์ก็สอนว่าเราควรจะสั่งสมบุญกุศล ด้วยเหตุนี้เราก็ควรจะช่วยกันหาทางแบ่งเบาปัญหาซึ่งกันและกัน

อีกขอหนึ่ง เราควรร่วมกันสร้างเสริมสันติภาพ เราควรรักกัน และเราไม่อยากให้คนที่เรารักสูญเสียชีวิต เราจึงจะหาทางแก้ไขปัญหา

ทุกวันนี้เราเริ่มบ้างแล้วจากกลุ่มเล็กๆเราควรร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ มีแต่ศีลธรรมเท่านั้นที่จะแก้ปัญหา ขอเราอย่าลืมว่าการทำงานร่วมกัน เราต้องจับมือกันให้เหนียวแน่นอย่าแตกหัก

ผมก็เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งที่เข้าใจว่าจิตหรือใจนั้นเปราะบางมากแตกหักง่าย แต่ผมเชื่อว่าเราตะประสบความสำเร็จในอนาคตแน่นอน แม้แต่รัฐบาลไทยกมีความเห็นเช่นเดียวกัน รัฐบาลทั้งสองย่อมรักในสันติภาพเช่นกันเพียงแต่เราเดินไปผิดทาง

เพียงแต่ประชาชนสองประเทศจับมือกัน ทำงานร่วมกัน เราจะเดินร่วมกันได้แม้ความสัมพันธ์ของเราจะเปราะบางดั่งแก้ว ความสำเร็จในการรักษาแก้งไม่ให้แตกหักก็คือความอดทน ขันติเท่านั้น

ยาอีกเม็ดหนึ่งที่จะรักษาแก้วที่เปราะบางคือ ความอดทน และตั้งใจมากๆ ยาที่สำคัญที่สุดคือขณะที่เรามีความขัดแย้งกันเราต้องคิดถึงอนาคตให้มากที่สุด อนาคตที่เราต้องการสันติภาพ ความสุขสงบ เฉกเช่นกัน วิธีแก้ เราต้องหยุดยิงกันก่อน เราควรผ่อนคลายจากปัญหาก่อน อย่าใช่แนวรบเพื่อแก้ปัญหา ขอให้ถอยมาตั้งหลักแล้วสงบสติสักครู่

พุทธศาสนา คำสอนมี 84,000 พระธรรมขันธ์ แต่ถ้าสรุปสั้นๆ คือการเคารพซึ่งกันและกันและไม่มีความประมาท หลังจากนั้นเราจึงจะหาทางแก้ไขได้

อย่างที่อาจารย์สุลักษณ์ได้กล่าวมาแล้ว เราควรไปมาหาสู่กัน ครั้งนี้มีจำนวนน้อย ต่อไปก็คงจะมีมากขึ้น ด้วยการไปมาหาสู่กันนี่เอง วันหลังเราก็อยากจะเชิญครอบครัวของรัฐบาลมาเดินด้วยกัน เรายินดีที่จะออกค่าใช่จ่ายให้ครอบครัวของรัฐบาลมาเดินด้วยกัน ได้เห็นหน้า พูดคุย รับประทานอาหารด้วยกันในบรรยากาศฉันมิตร

เคยได้ยินมาว่าไทยกับลาวก็มีการใช้บรรยากาศเช่นนี้ในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชาต้องมีพุทธศาสนาเป็นแกนนำ เป็นที่น่าเสียดายที่การแก้ปัญหาที่ผ่านมาในระดับรัฐบาลไม่เคยมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธมาร่วมแก้ปัญหาด้วย หากไม่มีการนิมนต์พระสงฆ์เข้าไปร่วมแก้ปัญหา ก็อาจจะเชิญเครือข่ายชาวพุทธไปร่วมแก้ปัญหา

การแก้ไขวิธีนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วระหว่างที่กัมพูชามีปัญหา เวลามีการประชุมโดยมีพระสงฆ์อยู่ร่วมด้วย ความสงบก็เกิดขึ้น เป็นธรรมดาที่พวกเรามีอวิชชาไม่สามรรถแก้ปัญหาได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นเข้ามาร่วม

ผมพูดในนามโลกียชน เรามีชีวิตอยู่ในสังคมโลกนี้ก็จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และขอให้ทุกท่าน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิชาการดันกรรมการสิทธิฯ เจ้าภาพส่งศาล รธน.ตีความ ม.112-ประกันตัวผู้ต้องหา

Posted: 18 May 2011 01:26 PM PDT

 
18 พ.ค.54 ที่ห้อง 709 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการฯ มีการจัดการอภิปรายเรื่อง “การจัดการความรุนแรงในสังคมไทย: กรณีการบังคับใช้ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112” โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์ณวัชระ เป็นประธาน และมีนายสมชาย หอมลออ ,นายจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการเข้าร่วมรับฟังปัญหาและข้อเสนอจากผู้อภิปราย โดย นพ.นิรันดร์ระบุว่าการจัดอภิปรายครั้งนี้เกิดขึ้นจากเมื่อเร็วๆ นี้มีการร้องเรียนเรื่องนี้จากหลายองค์กรในกรณีของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
ทั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าฟังและร่วมแลกเปลี่ยนจำนวนมาก อาทิ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ , วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นิติศาสตร์ มธ., สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ศิลปศาสตร์ มธ., ปิยบุตร แสงกนกกุล นิติศาสตร์ มธ.,อธึกกิต แสวงสุข หรือคอลัมนิสต์ชื่อดัง “ใบตองแห้ง”, เดวิด สเตร็กฟัส นักวิชาการ ม.ขอนแก่น ซึ่งวิจัยและเขียนหนังสือเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, มารค ตามไท นักวิชาการด้านสันติวิธี จาก ม.พายัพ, สุณัย ผาสุก จาก Human Right Watch,กลุ่ม article 112 รวมถึงผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหานี้และผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ บัณฑิต อานียา นักเขียนนักแปล, เอกชัย หงศ์กังวาน ผู้ต้องหาจำหน่ายซีดีสารคดีสำนักข่าว ABC ที่ได้รับการประกันตัว, บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อดีตผู้ต้องขังที่เพิ่งพ้นโทษ, จีรนุช เปรมชัยพร จากเว็บไซต์ประชาไทที่กำลังถูกดำเนินคดี, จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ซึ่งถูกเลิกจ้างจากการกล่าวหาที่เกี่ยวพันกับข้อหานี้ เป็นต้น
 
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เริ่มต้นการอภิปรายโดยระบุว่าจะขอพูดในฐานจำเลยว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมีความละเอียดอ่อน คนต้องเข้าใจว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีไว้ทำไมในระบอบประชาธิปไตย คนไทยไม่เคยพูดเรื่องนี้กันจริงๆจังๆ และถ้ามีไว้จะอนุรักษ์สถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ของราษฎรส่วนใหญ่ได้อย่างไร
 
การจะรักษาสถาบันนี้ไว้ จะต้องมีผู้ซึ่งมีความกล้าหาญทางจริยธรรม เชื่อมั่นในระบบนี้จริงจังมาพูดคุยกัน เป็นตัวแทนองคมนตรี พระราชวัง หรือแม้แต่คณะกรรมการสิทธิก็ได้ ที่มีกึ๋น มีความกล้าหาญพอจะมาพูดเรื่องเนือ้หาสาระ แต่เมืองไทยปราศจากคนเหล่านี้ที่จะทำอะไรนอกระบบนอกแบบ ในกรณีของสื่อก็เห็นจะมีแต่สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันที่กล้าแสดงออก สื่อปัจจุบันกลัวเรื่องนี้กันไปหมด
 
สำหรับปัญหาที่ทุกคนเผชิญเรื่อง ม.112 นั้น สุลักษณ์กล่าวว่า เรื่องนี้ทำร้ายสถาบันยิ่งกว่าอุดหนุนสถาบัน และทุกคนที่เอามาตรานี้มาใช้จับคนอื่นๆ โดยอ้างว่ารักในหลวง อยากตั้งคำถามว่าทำไมไม่ฟังพระราชดำรัสที่ตรัสไว้ชัดเจนว่าใครฟ้องร้องเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการทำร้ายพระองค์เป็นส่วนตัว และทำให้สถาบันคลอนแคลน 
 
“ถ้าเราจะรักษาสถาบันฯ ไว้ต้องเลิกจับคนนู้นคนนี้ และหลายคนที่โดนจับเป็นคนที่หวังดีกับสถาบัน อย่างล่าสุด คุณสมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ผมก็ไม่ได้นับถืออะไรมากนัก และหมันไส้ในหลายกรณี แต่ทีคุณสมศักดิ์พูด โดยเฉพาะที่แจกกับฟ้าเดียวกันฉบับก่อน มันเต็มไปด้วยสติและปัญญา และความหวังดีต่อสถาบัน” สุลักษณ์กล่าว และว่า ในกรณีคดีของตนนั้นคดียุติไปเพราะเรื่องขึ้นถึงพระเนตรพระกรรณ จึงมีพระราชดำรัสชัดให้ยุติคดี แต่เวลานี้พระองค์ทรงประชวร และมีการกีดกันอย่างมากไม่ให้เรื่องต่างๆ ขึ้นไปแถึงพระองค์
 
เขากล่าวอีกว่า หากยังมี ม.112 อยู่จะเป็นขวากหนามที่สำคัญสุดในการรักษาสถาบัน เว้นแต่จะมีการปรับปรุง เช่นการฟ้องร้องควรให้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างสำนักราชเลขาธิการ หรือองคมนตรีเป็นผู้ฟ้อง มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา
 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งเพิ่งถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามความผิดมาตรา 112 เมื่อเร็วๆ นี้ เริ่มต้นกล่าวถึงผลกระทบที่นอกเหนือจากกฎหมายคือการคุมคามและการเพ่งเล็งจากส่วนต่างๆ แม้กระทั่งกรรมการหมู่บ้าน จนคนในครอบครัวซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองมาก่อนมีความวิตกกังวลอย่างมาก ก่อนหน้านี้มีมอเตอร์ไซด์เข้ามาตามหาสมศักดิ์ 2 ครั้งในหมู่บ้าน หนึ่งในสองคนที่มีการแลกบัตรกับ รปภ.ไว้เมื่อนำไปเช็คประวัติทะเบียนราษฎรพบว่ารับราชการทหาร
 
“มันกลายเป็นการกดดัน ตลอดเดือนที่ผ่านมาปรึกษาคนโน้นคนนี้ แต่ละคนประเมินว่าผมมีสิทธิโดนอุ้ม อาจารย์ระดับผู้บริหารมหาวิทยาลัยยังพูดด้วยซ้ำว่าสักวันอาจโดนเก็บ ผมก็กึ่งๆ กลัว แต่คนรอบข้างภรรยา ญาติพี่น้อง กลัวกว่ามาก”
 
“หลายคนคงรู้ว่า ล่าสุด ตำรวจเรียกตัวผมไป ผมได้ยินมาว่ามีหมายจับด้วยซ้ำ ได้ยินหลายหนมากในระยะไม่กี่เดือน ตำรวจบอกบ้าง ทหารบอกบ้าง แต่ผมไม่สามารถยืนยันได้ ในที่สุดเป็นหมายเรียก มีการยื่นคำแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งกองทัพให้พระธรรรมนูญกองทัพบกจัดการ โดยมีทหารยศพันตรีคนหนึ่งไปแจ้งความ” สมศักดิ์กล่าวและว่า ข้อกล่าวหามีความยาว 3 หน้า ยกบทความของเขา 2 ชิ้นที่เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ขณะนี้เขากำลังร่างคำแถลงอย่างเป็นทางการเพื่อชี้แจง แต่ก็รู้สึกค่อนข้างเซ็ง เพราะหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ยกมานั้นอ่อนมาก หากมันเป็นความผิดจริง ในห้องเรียนเรื่องการเมืองไทยสมัยใหม่คงไม่ต้องพูด ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรกันเลย ทุกอย่างต้องหยุดสอน
 
อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์หยิบยกรายละเอียดที่ถูกกล่าวหาในจดหมายฉบับแรกว่า มีการหยิบยกส่วนที่กล่าวทำนองว่า ...ตามหลักการที่ทั่วโลกอารยะถือกันในปัจจุบัน การที่บุคคลสาธารณะแสดงความเห็นในสาธารณะต้องเปิดโอกาสให้สาธารณชนโต้แย้งได้ ไม่อย่างนั้นถือว่าไม่ยุติธรรม บทบาทสาธารณะทุกอย่างในสาธารณะและการอบรมบ่มเพาะด้านเดียวที่ส่งเสริมบทบาทเหล่านั้นต้องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้งและให้เอาผิดได้ตั้งแต่แรก..ซึ่งสมศักดิ์เห็นว่าการกล่าวหาโดยยกข้อความนี้อ่อนมากจนทำให้ไม่รู้ว่าจะเขียนตอบอย่างไร การกล่าวหานั้นระบุว่าเขากำลังกล่าวหาว่าในหลวง พระราชินีว่ากำลังยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งที่ข้อความนี้ไม่ได้พูดถึงพระราชวงศ์เลย แต่พูดถึงกรอบที่ผู้คนยอมรับกันทั่วไป ในแง่บุคคลสาธารณะ ที่สำคัญไม่ใช้คำว่า “การเมือง” ด้วยซ้ำ แต่สมมติว่ามีการพูดว่าพระราชวงศ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองจริง อันนี้ก็เป็นการพูดซึ่งนักวิชาการที่สอนเกี่ยวกับการเมืองไทยสมัยใหม่ก็พูดในลักษณะนี้กันทั้งนั้น แต่เกี่ยวลักษณะไหนก็ว่ากันได้ ถึงจะมีการพูดแบบนั้นก็ไม่อาจนับเป็นหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายได้เลย
 
ส่วนบทความที่สองนั้น สมศักดิ์ใช้วิธีเปรียบเปรยเพื่อแสดงให้เห็นว่าในบทความเพียงแต่เขียนว่าใครพูดอะไร และมีใครแสดงความเห็นด้วยอย่างไร ซึ่งจะนับเป็นการวิจารณ์ก็ยังไม่ได้ด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่การหมิ่นประมาท  
 
“ถ้าเอากรณีผมเทียบกับสมยศ [พฤกษาเกษมสุข] ไม่ต้องพูดถึงคนอื่นๆ อีกหลายคนที่ไม่ได้ประกัน กรณีผมอาจเรียกว่าสบายกว่าเพื่อน โชคดีกว่าเพื่อน แต่ประเด็นผมมีสองประเด็นใหญ่ ในทางกฎหมายเคสผมไม่ควรเกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ เชื่อเลยว่าแม้คนไม่เห็นด้วยกับผมก็ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นการหมิ่นอย่างไร แต่มันเกิดขึ้นได้เพราะเป็นกระบวนการที่ไม่ใช่ normal legal process [กระบวนการปกติในทางกฎหมาย] มันเกิดจากกองทัพออกมาทุกวัน พูดโจมตีคนที่เขามองว่าหมิ่นฯ ไม่ใช่กระบวนการปกติตามกฎหมาย นี่เป็นการกดดันทางเมือง การเมืองติดอาวุธด้วยซ้ำ” สมศักดิ์กล่าว
 
สมศักดิ์กล่าวว่า สิ่งที่นักสิทธิมนุษยชนและสื่อมวลชนน่าจะช่วยได้คือการทำให้สังคมตระหนักว่าการพูดถึงสถาบันเฉยๆ ไม่ใช่การหมิ่น การวิจารณ์ก็ไม่ใช่การหมิ่น แต่ประเทศไทยมาถึงจุดว่า ถ้าใครพูดอะไรเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์หรือราชวงศ์ที่ผิดจาก official version จะถูกหาว่าหมิ่นได้ทันที
 
“ผมอยากจะเรียกร้องคนในวงการสิทธิออกมาพูดเรื่องนี้ ต่อให้เห็นด้วยหรือไม่กับ 112  หรือเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับผมก็ตาม ไม่อย่างนั้นสังคมไทยมันจะกลายเป็นสังคมอะไรไม่รู้ อีกหน่อยการสอนในห้องเรียน การวิเคราะห์การเมืองไทยจะทำกันไม่ได้เลย” สมศักดิ์กล่าว
 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า มาตรา 112 มีปัญหาทั้งเรื่องการบังคับใช้ และเรื่องตัวบทกฎหมาย กรณีของสมศักดิ์นั้นชัดเจนว่านำสู่ฐานความผิดยากเพราะมีความไม่ชัดเจน 2 ประการ คือ บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการเขียน จม.เปิดผนึกคือใคร ถ้าเป็นเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ก็ชัดว่าไม่อยู่ในความคุ้มครองของ ม.112  ถ้าไม่ใช่ แต่เป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์กับพระราชินี ในสำนวนของตำรวจก็ยังขาดความชัดเจนว่าเข้าข่าย ม.112 อย่างไร แม้คำว่าดูหมิ่นจะค่อนข้างกว้างในการตีความ แต่ถ้าไม่ใช่การทำลายเกียรติยศชื่อเสียง ลดสถานะความเป็นมนุษย์ของบุคคลย่อมไม่อาจตีความว่าดูหมิ่นได้
 
“ถ้าเราไม่สามารถพูดถึงเรื่องนี้ได้เลย สังคมเราจะอยู่ในความเงียบ ปัญหาก็จะยิ่งรุนแรง การบังคับใช้แบบนี้จะนำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆ ในที่สุดจะกระทบกับสถาบันโดยรวมด้วย” วรเจตน์กล่าว
 
เขากล่าวถึงปัญหาในทางตัวบทของม.112 ว่า เรื่องการกำหนดโทษสูงส่งผลต่อการไม่ได้ประกันตัวของผู้ถูกกล่าวหา และมีปัญหาเรื่องความพอสมควรแก่เหตุ โดยการกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูงจำคุก15 ปี ไม่ได้เกิดแต่แรกตอนประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อปี 2500 ตอนนั้นโทษไม่เกิน 7 ปี แต่มากำหนดแบบนี้โดยคณะปฏิวัติ หลังเหตุการณ์ตุลาคม 2519 และการไม่มีโทษปรับหมายความว่าต้องลงโทษจำคุกอย่างเดียวและต่ำกว่า 3 ปีไม่ได้
 
นอกจากนี้ตัวบทยังมีปัญหาการตีความ ปรับใช้ ซึ่งเกี่ยวพันกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของไทยที่ไม่มีความชัดเจนซึ่งรองรับตัวบทอยู่
 
ทางออกของปัญหาตัวบทอาจพูดได้ 2 อย่างคือ ยกเลิกไปเลย ให้การคุ้มครองแบบคนธรรมดา อีกแบบคือให้การคุ้มครองไว้เป็นพิเศษ การคุ้มครองพิเศษนั้นก็ต้องไม่ต่างจากบุคคลธรรมดามากเกินไป หลายคนอาจมองไม่เห็น หมิ่นประมาทคนธรรมดา ไม่เกิน 1 ปี ดูหมิ่นไม่เกิน 1 เดือน ไม่มีอาฆาตมาดร้าย มีแต่ทำให้ตกใจกลัว โทษ 1 เดือน แต่สำหรับองค์ประมุขโทษไม่เกิน 15 ปี เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะพบว่าไม่พอสมควรแก่เหตุ
 
สำหรับทางออกที่ประนีประนอมนั้น เคยมีการเสนอไปแล้วในเรื่องการดำเนินคดีว่า ควรให้สำนักราชเลขาธิการเป็นคนแจ้งความ นอกจากนี้ยังต้องทำอีกสองเรื่องเพื่อทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ คือ 1.ต้องยอมให้มีการกำหนดเหตุยกเว้นความผิดไว้ เหมือนกรณีการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ถ้าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ติชมโดยสุจริต เพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้มีการดำเนินคดีคนก็ไม่ถูกกลั่นแกล้ง 2.ต้องยอมให้มีเหตุยกเว้นโทษ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง คนที่พูดก็ไม่ควรถูกลงโทษ แต่หากเป็นเรื่องส่วนพระองค์โดยแท้นั้นไม่ควรมีเหตุยกเว้นโทษ
 
“ด้วยวิธีการอยางนี้เท่านั้นที่สาถบันฯ จะอยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริง” วรเจตน์กล่าว  
 
วรเจตน์กล่าวว่า แม้จะชื่นชมการจัดเวทีในครั้งนี้ แต่เท่านี้ยังไม่พอ เพราะเป็นการแก้ปัญหาจุลภาคเป็นรายกรณี คดีนี้เป็นเรื่องที่เกิดกับตัวคนเล็กคนน้อยทั่วไป คนไหนไม่มีชื่อเสียงในสังคมอาจไม่ได้รับการดูแล กรณีสมศักดิ์ถือเป็นนักวิชาการ เท่าที่ได้สัมผัสและอ่านงานของอาจารย์มาตลอดเห็นว่าการแสดงความเห็นค่อนข้างรัดกุม ทำภายใต้กรอบวิชาการ จึงถือเป็นการล่วงล้ำในแดนวิชการมาก แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีคนอื่นๆ ที่ต้องถูกคุมขังอยู่ เขาอาจกระทำความผิดจริง แต่รัฐต้องมองคนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ ต่อให้เขากระทำความผิดจริงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ สิทธิในการประกันตัว เป็นเรื่องต้องทำให้เสมอภาคกันในแง่การบังคับใช้กฎหมาย
 
อย่างไรก็ตาม กรณีอย่างนี้จะเกิดขึ้นตามมาอีกมากโดยเฉพาะในโลกออนไลน์  แม้แค่เฉียดๆ สังคมมองไม่เหมาะ แต่ไม่ผิดตามกฎหมายก็อาจโดนดำเนินคดีได้ ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิฯ อาจมีส่วนในการเสอนเรื่องนี้ไปยังรัฐบาลได้ว่า มันเป็นบทกฎหมายที่กระทบสิทธิ โทษจำคุกขนาดนี้น่าจะขัดรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ ยังไม่มีใครเสนอศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า ที่คณะปฏิรูปการปกครองปี 2519 กำหนดมาแบบนี้มันเหมาะสมไหม อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการบีบบังคับให้ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความเห็นทางกฎหมายขึ้นมา ถัดมา ต้องพูดถึงสถาบันในบริบทในกฎหมายทั้งหมด มีแต่แบบนี้ที่จะรักษาสถาบันให้เป็นประมุข ศูนย์รวมใจของชาติไว้ได้นาน
 
วรเจตน์กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาคือนอกจากเรื่องนี้จะไม่ได้รับการพูดในสื่อกระแสหลัก ในระดับการเมือง พรรคการเมืองก็ไม่ได้จับประเด็นเหล่านี้ ทั้งที่เป็นประเด็นที่ต้องทำและเป็นภารกิจอันหนึ่งในทางนโยบาย หลังเลือกตั้งองค์กรต่างๆ คงต้องหันมาดูเรื่องนี้มากขึ้น
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล นำเสนอปัญหาอีกประการเพิ่มเติมว่า เมื่อพูดถึงคดีนี้เราจะไม่รู้เลยว่าขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว สื่อไม่รายงาน เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผยให้เห็น คนที่โดนกล่าวโทษเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้เกือบทั้งหมดไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าอุดมการณ์กษัตริย์นิยมครอบงำทั้งหมดแม้แต่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรม มีโอกาสน้อยมากที่คนใช้กฎหมายจะบังคับให้เป็นคุณต่อผู้ถูกกล่าวโทษ พรรคการเมืองก็เช่นกัน ไม่มีใครกล้าพูด กลัวโดนยัดข้อหาล้มเจ้า ไม่ได้เป็นรัฐบาล
 
สำหรับข้อเสนอระยะสั้น ปิยบุตรระบุว่า 1.ให้ภาคประชาชนเสนอคำร้องให้คณะกรรมการสิทธิฯ เพื่อให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่า มาตรานี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน 2.เสนอให้กรรมการสิทธิฯเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหามาตรา 112 การที่กรรมการสิทธิฯ ไปประกันตัวเอง เป็นการส่งสัญญาณไปยังสาธารณะอย่างสำคัญ
 
สำหรับข้อเสนอระยะยาวคือ 1.เป็นครั้งแรกที่องค์กรภาครัฐหยิบยกเรื่องนี้มาพูด เราจะทำอย่างไรให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่เอามาอยู่บนโต๊ะ เป็นประเด็นสาธารณะ ทุกคนพูดได้โดยไม่ต้องกลัว อนาคตระยะยาวมีโอกาสถกเถียงเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้อย่างตรงไปตรงมา
 
ทั้งนี้ นิติราษฎร์เคยเสนอร่างกฎหมายนี้แล้ว สามารถดาวน์โหลดทั้งภาคไทยและอังกฤษได้จากเว็บไซต์นิติราษฎร์ หากนักการเมืองไม่นำเสนอ ภาคประชาชนก็สามารรวบรวมรายชื่อนำเสนอได้ บางคนบอกว่าทำไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายอาญา ทำได้เฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพเท่านั้น อยากจะบอกว่ามาตรานี้ทำได้ เพราะกระทบกระเทือนต่อการแสดงความคิดเห็น
 
‘ใบตองแห้ง’ ตั้งข้อสังเกตว่า น่าสนใจว่าทำไมสมศักดิ์จึงโดนข้อกล่าวหาช่วงนี้ทั้งที่น่าจะโดนมานานแล้วหากใช้มาตรฐานจากกรณีอื่นๆ นอกจากนี้การที่สมศักดิ์โดนจากบทความเกี่ยวกับฟ้าหญิงจุฬาภรณ์นั้นทำให้ค่อนข้างน่าประหลาดใจ เพราะน่าจะหยิบยกกรณีอื่นมากกว่า อาจสรุปได้ว่า การใช้กฎหมายนี้ใช้ตามอามรณ์ และใช้ตามการเมือง ไม่มีกฎเกณฑ์ และมุ่งเน้นที่จะหยุดตัวบุคคล เพราะกรณีของสมศักดิ์เจ้าหน้าที่ก็ไม่พูดถึงเว็บไซต์ที่เผยแพร่ กรณีของสมยศ ก็ไม่พูดถึงผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหรือคนเขียน แต่เล่นงานสมยศซึ่งเป็น บก.บห.
 
ใบตองแห้งระบุว่า คนที่โดนคดีนี้มี 2 ประเภท นักวิชาการ เช่น สมศักดิ์ ใจ อึ๊งภากรณ์ และอาจรวมจักรภพ เพ็ญแข ด้วยเพราะพูดเหมือนนักวิชาการพูด ทั้งก่อนและหลังโดนแจ้งความก็ยังมีคนพูดถึง “ระบบอุปถัมภ์” เหมือนจักรภพแต่ไม่โดนดคี แต่ในทางการเมืองนั้นโดนเล่นงานไล่มาเลยตั้งแต่ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, สมยศ, จตุพร พรหมพันธ์ เป็นการดำเนินคดีตามอารมณ์ อย่างสมยศไม่ยุติธรรมมาก ไปจับตอนเขาจะไปต่างประเทศแล้วหาว่าเขาหลบหนี ทั้งที่หมายจับออกนานแล้ว ก่อนหน้านั้นก็เข้าออกประเทศอยู่ น่าคิดว่าถ้ากรณีจีรนุช ผอ.เว็บประชาไทยโดนจับตอนขาออกไม่ใช่ขาเข้าบ้าง เธออาจโดนหาว่าหลบหนีแล้วไม่ได้ประกันตัวด้วยเช่นกัน
 
สำหรับเนื้อหาก็มีสองระดับคือ หนึ่งระดับนักวิชาการ กับระดับมวลชนที่แสดงอารมณ์ มวลชนใช้ถ้อยคำที่เป็นสัญลักษณ์ดังเช่นกรณีของดา ตอร์ปิโด อัยการก็ตั้งข้อหาทำนองว่าคำนี้ตีความได้ว่าหมิ่นสถาบัน ทั้งที่ในชั้นศาลฎีกายังไม่มีการตีความว่าการใช้สัญลักษณ์นั้นผิดจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้อุ้มว่าคนใช้ถ้อยคำสัญลักษณ์ว่าเป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่หมิ่น บางคนก็เข้าข่ายล่อแหลม แต่เราก็ต้องเข้าใจว่ามันเป็นการแสดงอารมณ์ทางการเมือง ในฐานะที่สถาบันฯ ถูกดึงเข้ามาในการเมือง
 
ใบตองแห้งระบุว่า กรณีอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง”ชายวัย 61 ปีทีโดนจับกรณีส่งเอสเอ็มเอสเข้าข่ายหมิ่นให้เลขาฯ นายกฯ ก็มีบันทึกของ กอ.รมน.ด้วยว่าขึ้นบัญชีดำ เป็นเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ ถ้าไม่มีบันทึก กอ.รมน. เขาอาจไม่ผิดใช่ไหม หรืออาจมีความเป็นไปได้อื่น แต่เพราะมีบันทึก กอ.รมน.จึงไม่ให้ประกันตัวทั้งที่แกเป็นมะเร็ง
 
“ในแวดวงสื่อก็เถียงกันมาก กรณีจักรภพว่า เขาพูดในสิ่งที่คนอื่นพูดทั้งนั้น มีคนเถียงผมว่าเพราะเขารู้ว่าจักรภพมุ่งหมายอะไร จะโค่นใคร เฮ้ย เอาอย่างนี้มาจับหรือ ในเมื่อถ้อยคำมันไม่ผิด เอาเจตนาที่คุณคิดเอาเองมาจับ คุณคิดผิดหรือถูกก็ไม่รู้” ใบตองแห้งกล่าว และว่า นอกจากนี้ยังเห็นชัดว่าการดำเนินคดีเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะการเป็นเสื้อแดง
 
จากนั้น นพ.นิรันดร์ ประธานในเวทีได้เชิญให้ มารค ตามไท พูดถึงเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งมารคระบุว่า ไม่ได้คิดโยงกับความขัดแย้ง แต่คิดเหมือนทุกคนที่พูดประเด็นนี้ว่ามันมีปัญหาบางประการ
 
“ผมรู้สึกว่า ทุกอย่างที่พูดถูกต้องสำหรับการเวลานี้ เช่น การบังคับใช้ คนบังคับใช้รู้เรื่องดีพอหรือเปล่า หรือตัวบทกฎหมายต้องเปลี่ยน ไม่ได้ปกป้องสถาบันฯ จริง แต่ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่ประเด็น มันยังพูดรอบๆ ประเด็นหลัก ประเด็นหลักที่กำลังจะมาถึง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของกรรมการสิทธิฯ อย่างเดียว แต่ของทั้งสังคมต้องคิดว่า คนที่ไม่ต้องการปกป้องสถาบันมีที่ยืนหรือเปล่าในสังคมไทย มันไม่จริงที่ทุกคนต้องจะต้องยอมรับ”
 
มารคระบุว่า สิ่งหนึ่งที่จะป้องกันความรุนแรงได้ดีที่สุดคือให้ความจริงออกมา แต่มันอาจไม่ใช่เวลาช่วงนี้ อย่างไรก็ดี ทุกคนก็เห็นว่ามันจะมาถึงคำถามนี้ในที่สุด เฉพาะหน้า คนโดนแกล้งมีเยอะก็ควรพูดถึงเรื่องนี้ แต่คำถามคือ ปกป้องสถาบันยังไง เขียนกฎหมายอย่างระมัดระวังได้หรือเปล่า ซึ่งเขามองว่า วิธีปกป้องที่ดีที่สุดคือไม่ห้ามให้คนไม่เห็นด้วยไม่ให้พูด จะให้ดีที่สุดคือให้คนนั้นออกมาในเวทีสาธารณะเลย ทั้งนี้ เขายังไม่รู้ว่าเหมือกันว่าควรทำอย่างไรเวลาประเด็นนี้มาถึง มันไม่เกี่ยวกับเรื่องหมิ่นแล้ว แต่เป็นเรื่องว่าอะไรดีสำหรับสังคม เป็นเรื่องว่าเราจะอยู่กันยังไง การคุยเรื่องวิธีอยู่ร่วมกันจะทำให้ปัญหามาตรา 112 แก้ไปได้ด้วยในตัว สุดท้าย มันอาจมีข้อห้ามบางอย่างว่า ห้ามทำลายสิ่งซึ่งสุลักษณ์พูดถึง คือ “ประโยชน์ต่อราษฎร” ถ้าใครทำลายมีความผิด มันอาจกลายเป็น 112 รูปแบบใหม่ก็ได้
 
“ตอนนี้คนกลัวที่จะพูด ถ้ากลัวก็ไม่เกิดอะไรที่จะแก้ไขความขัดแย้ง เราจะแก้ความขัดแย้งได้ยังไงถ้าคนไม่พูดถึงความขัดแย้งนั้น” มารคกล่าว
 
บัณฑิต อานียา ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นศาลฎีกา กล่าวถึงประวัติชีวิตอันโหดร้ายของเขา และว่าความโหดร้ายในครอบครัวเขา ทำให้เขากลัวพ่อจนรนราน เหมือนกันกับกฎหมายนี้ ทำให้คนไทยกลัวมาตรา 112 จนรนราน ไม่กล้าพูดความจริงออกมา เขากล่าวด้วยว่า ถูกจำคุกอยู่นานหลายสิบวันก่อนมีนักวิชาการต่างประเทศช่วยประกันตัว นอกจากนี้คดีของเขาก็ยังมีการพิจารณาแบบปิดลับด้วย
 
“เรื่องมาตรา 112 นั้นนอกจากเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว เรายังต้องเข้าใจเจตนาของผู้ออกกฎหมายด้วย” บัณฑิตกล่าว
 
จิตรา คชเดช กล่าวในฐานะผู้รับผลกระทบจากมาตรานี้ เนื่องจากบริษัทใช้ข้ออ้างความไม่จงรักภักดีจากการใส่เสื้อรณรงค์ “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากรรม คิดต่างไม่ใช่อาชญากร” ในกรณีของโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ต้องหาไม่ยืนในโรงภาพยนต์ ไปออกรายการทีวีและถูกทำให้เป็นประเด็นขบวนการล้มล้างสถาบัน ซึ่งศาลก็ตัดสินให้บริษัทเลิกจ้างได้ โดยให้เหตุผลว่าเพราะไม่มีจิตวิญญาณประชาชาติไทย ทั้งที่บริษัทไม่ได้นำเสนอความเสียหายของบริษัท แต่กลับนำเสนอว่าตนเองไม่ยอมใส่เสื้อสีเหลืองทุกวันจันทร์ เป็นต้น
 
“ดิฉันตกงานโดยไม่ได้รับค่าชดเชข ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงานใดๆ แรงงานก็ไม่กล้าออกมาต่อสู้ด้วย เพราะบอกว่ากลุ่มนี้ไม่จงรักภักดี ข้อหานี้มันกลายเป็นการทำลายสหภาพแรงงานไปด้วย เอามาอ้างกันแบบง่ายๆ ที่สำคัญ เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับรัฐด้วย เพราะตอนเราออกมาต้านรัฐประหาร ช่วงนั้น กอ.รมน.ทำจดหมายเวียนว่า สหภาพไม่ควรออกมายุ่งเกี่ยว” จิตรากล่าว และพูดถึงกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข ว่า สมยศถูกคุกคามมาโดยตลอด ปิดโรงพิมพ์ ถูกแจ้งจับ คุมขังที่ค่ายอดิศร ที่สุดเมื่อรัฐไม่มีเครื่องมืออะไรก็เอากฎหมายนี้มาเล่นงาน
 
“เราควรเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมาย เก็บไว้คนได้รับผลกระทบมีมาก คนที่เป็น “อำมาตย์” จะรอดพ้น แต่คนชั้นล่างลำบาก คนที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีต้นทุนทางสังคมอะไร เขาโดนกฎหมายนี้แล้วเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ยังไง” จิตรากล่าว
 
จีรนุช เปรมชัยพร กล่าวถึงการใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งปัจจุบันเหมือนภาคขยายของ มาตรา 112 และกล่าวถึงหลายกรณีที่ไม่ได้ประกันตัว พร้อมทั้งเสนอว่าอาจถึงเวลาที่สังคมไทยต้องพูดถึง “นักโทษทางความคิด” หรือ “อาชญากรทางความคิด” ซึ่งคิดต่าง ไม่สอดรับกับอุดมการณ์หลักของชาติ เพื่อให้เกิดวิธีการ หรือกระบวนการที่จะดูแลบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในทางความคิด จำได้ว่ายุค 6 ตุลา มีการจับกุมคนในความคิดทางการเมือง ความคิด จำนวนมาก ซึ่งสถานที่คุมขังก็ไม่ใช่ทัณฑสถาน
 
เดวิด สเตร็กฟัส กล่าวถึงสถิติของการถูกดำเนินคดีนี้เพื่อให้เห็นขนาดของปัญหาว่า จำนวนคดี 2535-2547 เฉลี่ยมี 5-10 คดีที่ถึงศาลชั้นต้น หลังจากนั้นปี 2548 มี 30 คดี หลังจากรัฐประหารปี 49 มีประมาณ 126 คดี ปีต่อมา มี 77 คดี ปี 2552 มี 164 คดี สูงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมี โดยคนส่วนมากรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดลง เพื่อจะขออภัยโทษ ที่จริงแล้วมีรุ่นใหม่ของจำเลยคดีหมิ่นฯ ที่ดูเหมือนไม่รับสารภาพ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มี 40 คดีอยู่ศาลอุทธรณ์ และมี 9 คดีค้างไว้ที่ศาลฎีกา หากเราดูว่าอัตราเอาผิดในคดีหมิ่นก่อน 47 ประมาณ 94% มีโอกาสแค่ 6% ที่จะรอด ดังนั้นน่าจะมี 200 กว่าคนอยู่ในคุกที่เป็นนักโทษการเมือง
 
เดวิดเสนอว่า กรรมการสิทธิอาจจะช่วยได้โดยการขอรายละเอียดเกี่ยวกับคดีต่างๆ กับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคนอื่นๆ เข้าไม่ถึง ไม่มีการเปิดเผย ถ้ามีข้อมูลชุดนี้ อาจทำให้เราเข้าใจคดีในชุดปัจจุบัน ศาลมองอย่างไร ตัดสินอย่างไร ถ้ามีโอกาสที่จะเปิดเผยให้สังคมเห็นจะเห็นปัญหาและนำไปสู่ทางแก้ปัญหา
  
 
สุณัย  ผาสุก กล่าวว่า Human Right Watch กังวลในเรื่องความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการใช้กฎหมาย ขาดความโปร่งใสในหลักเกณฑ์ความผิดว่าอย่างไรจึงจะดำเนินคดีได้ และเมื่อกเกิดคดีแล้วก็มีการตราหน้าไปแล้วจากสังคมในวงกว้างว่า เป็นภัยคุกคามต่อ “ความมั่นคง” ของชาติ เป็นการยากจะเรียกร้องความยุติธรรม แม้แต่ในองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายก็ตาม
 
 
บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อดีตนักโทษคดีหมิ่นฯ กล่าวถึงเหตุที่โดนคดีและเล่าถึงประสบการณ์ในเรือนจำ พร้อมทั้งระบุว่า ถ้าโดนคดีแล้วอย่าต่อสู้คดีเด็ดขาดเพราะจะโดนหนัก นี่เป็นการบอกกล่าวให้เตรียมตัวกันล่วงหน้า พร้อมมองไปยังสมศักดิ์ซึ่งนั่งฝั่งตรงกันข้าม เป็นที่ขำขันของผู้เข้าร่วมการอภิปราย
 
 
เอกชัย หงส์กังวาน  ผู้ต้องหาที่ถูกจับกรณีขายซีดีสารคดีของสำนักข่าว ABC ออสเตรเลียและเอกสารวิกิลีกส์ เล่าถึงเหตุการณ์ที่ถูกจับกุม และตั้งคำถามว่า เหตุใดการประกันตัวในคดีนี้ซึ่งส่วนใหญ่ทำผิดเพียงการพูดจึงมีความยากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับคดีอื่นๆ ที่น่าจะมีความผิดมากกว่าเช่น ฆ่าคนตาย หรือคดีก่อการร้าย ในกรณีของคดีก่อการร้ายที่โทษสูงสุดถึงประหารชีวิตนั้นใช้เงินประกันตัว 600,000 บาท แต่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีโทษสูงสุดเพียง 15 ปี ต้องใช้เงินประกันตัวในกรณีของตนถึง 500,000 บาท ซึ่งนับว่าสูงเกือบเท่าคดีก่อการร้าย
 
 
สมชาย หอมละออ อนุกรรมการสิทธิฯ และว่าที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกล่าวว่า ประเด็นอาจารย์มารคนั้นน่าสนใจ และเกี่ยวพันอย่างมากต่อการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงในสังคม การให้สังคมเปลี่ยนแปลง พัฒนาได้อย่างไม่ติดขัดในลักษณะที่เกิดความขัดแย้งรุนแรงเกินไป พื้นฐานนั้นอาจต้องพูดถึงเรื่องเสรีภาพที่สำคัญ 3 ประการ คือ เสรีภาพในความคิด การเชื่อถือลัทธิการเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นนี้ยังมีรายละเอียดว่าเสรีภาพชนิดนี้แค่ไหน ในทางวิชาการถือว่าเป็นเสรีภาพที่สัมบูรณ์ ไม่สามารถห้ามได้ ประเด็นคือให้คิดเฉยๆ หรือแสดงออกได้แค่บางระดับ , เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น , การรวมตัวเป็นกลุ่ม องค์กร และเสรีภาพในการชุมนุม ในบางช่วงอาจจำกัดได้ แต่ได้มากน้อยแค่ไหน สังคมไทยอาจต้องหาคำตอบจากจุดนี้ ถ้าส่วนเหล่านี้ไม่ได้รับการยึดถือปฏิบัติตามหลักการที่ถูกต้องมันก็จะเป็นปัญหาอย่างที่อาจารย์มารคว่า
 
นิรันดร์ ตอบคำถามเรื่องแนวทางการดำเนินการต่อจากนี้เป็นการทิ้งท้ายว่า เราคงทำหน้าที่ในการตรวจสอบ กรณีสมยศและสมศักดิ์ว่าการใช้มาตรานี้มีการละเมิดตรงไหน อันนี้เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของกรรมการสิทธิที่จะเชิญหน่วยงานของรัฐ และเรียกเอกสารได้ ส่วนงานวันนี้เรารับฟังความคิดเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย เห็นมุมมองในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย เป็นกระบวนการหนึ่งในการตรวจสอบเช่นกัน ไม่ใช่ตรวจสอบเพื่อเขียนรายงาน แต่จะหามาตรการป้องกันใช้มาตรานี้ในการละเมิดสิทธิ และเป็นอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของเราที่จะประสานหน่วยงานของรัฐที่ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิ เช่น สิทธิในการประกันตัว หรือการตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเกินไป
ประเด็นนี้ต้องทำให้ชัดในพื้นที่ ไม่ใช่ชัดในเรื่องการปกป้องสิทธิ แต่ชัดในแง่ที่ไม่ให้ประเด็นนี้ทำให้สังคก้าวไปสู่ความรุนแรง หรือความขัดแย้งหนักกว่าที่เป็นอยู่
 
ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุเวลาที่แน่ชัดในการดำเนินการได้ แต่เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ญาติผู้บาดเจ็บเสียชีวิตเมษา-พฤษภา53ฟ้องรัฐ!

Posted: 18 May 2011 01:25 PM PDT

พ่อน้องเฌอแม่น้องเกดและภรรยาลุงฐานุทัศน์ ฟ้องเรียกค่าเสียหายรัฐจากการใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมได้รับบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิต

18 พฤษภาคม 2554 เวลา 15.00น. นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดาของ นายสมาพันธ์ ศรีเทพ (น้องเฌอ) ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมบริเวณซอยรางน้ำ ในเวลาประมาณ 08.30 น.ของวันที่ 15 พ.ค. 2553 นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ภรรยาของ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ผู้ได้รับบาดเจ็บจนพิการตลอดชีวิตเนื่องจากถูกยิงโดยฝ่ายทหารจากการเข้าสลายผู้ชุมนุมบริเวณถนนพระราม4-ชุมชนบ่อนไก่ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2553 พร้อมด้วยนายอานนท์ นำภา จากสำนักทนายความราษฎรประสงค์  ได้เดินทางมายังศาลแพ่งรัชดา เพื่อเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง (จำเลยที่1) กองทัพบก (จำเลยที่2)และ กระทรวงกลาโหม (จำเลยที่3)ในข้อหาล่วงละเมิดตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐปี 2539 มาตรา 5 จากกรณีการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเหตุให้ นายสมาพันธ์ ศรีเทพ (น้องเฌอ)เสียชีวิต และนาย ฐานุทัศน์ต้องพิการตลอดชีวิต

โดยในกรณีนี้ทางบิดาของนายสมาพันธ์หรือน้องเฌอ และภรรยาของนายฐานุทัศน์ ได้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนื่องจากเป็นผู้มีรายได้น้อยซึ่งศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 23 พ.ค.54 เวลา 13.00น.

ในวันเดียวกัน นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามนับสิบนัดจนเสียชีวิต ภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ได้เดินทางมายังศาลแพ่งรัชดา เพื่อเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง เป็นจำเลยล่วงละเมิดตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐปี 2539 มาตรา 5 เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 8,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเหตุให้ น.ส.กมลเกด เสียชีวิต

สำหรับในกรณี นส.กมลเกด อัคฮาด ทางโจทก์ได้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนื่องจากเป็นผู้มีรายได้น้อยซึ่งศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 20 พ.ค.54

อนึ่งในก่อนหน้านี้ นายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความของมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ได้ยื่นฟ้องแพ่ง กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม และกองทัพบก เรียกค่าเสียหาย 40 ล้านบาท ให้กับพวกรวม 16 ราย ซึ่งเป็นญาติของผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บริเวณถนนราชดำเนินในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย. 2553
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

Posted: 18 May 2011 11:17 AM PDT

โครงการวางแนวสายส่งไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ น้ำพอง 2 – อุดรธานี 3 ของ กฟผ.สะดุด เหตุกลุ่มชาวบ้านคัดค้านแนวสายส่งไฟฟ้าฯ ร่วนกันขัดขวาง ชี้ กฟผ.เร่งให้มีการก่อสร้าง ไม่รับข้อเสนอให้คนกลางจัดเวทีหาทางออก

วันนี้ (18 พ.ค.54) เวลา 10.00 น.คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.) ได้รวมกันขัดขวางการดำเนินการของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ได้ร่วมกันกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาสาสมัครป้องกันจังหวัด (อส.) ลงพื้นที่แนวสายส่งไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ น้ำพอง 2 – อุดรธานี 3 เพื่อที่จะสร้างฐานรากและเสาไฟฟ้า บริเวณทุ่งนา บ้านเหล่ากล้วย อ.เสอเพลอ จ.กุมภวาปี

ชาวบ้านที่ต้องออกมารวมกลุ่มกันขัดขวางการดำเนินการของ กฟผ.ให้เหตุผลว่า เพราะการดำเนินการของ กฟผ. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานั้นขาดความชอบธรรม โดยกลุ่มชาวบ้านได้เสนอให้มีคนกลางมาจัดเวทีเพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ กฟผ. ไม่ยอมรับข้อเสนอจากกลุ่มชาวบ้าน แล้วเร่งดำเนินการให้มีการก่อสร้างฐานรากและเสาไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 มิ.ย.54 จึงนำมาซึ่งการกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ กฟผ.กับกลุ่มชาวบ้าน

ที่ผ่านมา กลุ่มชาวบ้านได้มีการทำหนังสือร้องเรียนไปยัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้เป็นคนกลางในการจัดการเจรจา/ไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทที่เกิดระหว่าง กฟผ. กับ กลุ่มชาวบ้าน เพื่อหาทางออกต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน โดยเมื่อวันที่ 12 พ.ค.54คณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีการทำหนังสือไปยัง กฟผ.และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้ชะลอการดำเนินการออกไปก่อน นอกจากนั้น กลุ่มชาวบ้านยังได้มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ กฟผ.เพิกถอนแนวสายส่งดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอคำตัดสินจากศาลปกครอง

ทั้งนี้ ตามกำหนดการณ์ของ กฟผ.ในวันที่ 18 พ.ค.54 เป็นต้นไป จะเริ่มทำการสร้างฐานรากเพื่อจะตั้งเสาไฟ ในเขตพื้นที่ บ้านเหล่ากล้วย ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี และบ้านแม่นนท์ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีกำหนดให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน โดย กฟผ.ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และมีหนังสือถึงผู้นำชุมชน พร้อมขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการดำเนินการดังกล่าว

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ กลุ่มชาวบ้านค้านแนวสายส่งไฟฯ ขวาง กฟผ.วางเสาไฟ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลนัดคดี‘พีรพลมายนิ่ง’ ระเบิดหินเขาคูหาบ้านร้าว

Posted: 18 May 2011 10:58 AM PDT

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 ที่โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา หมู่ที่ 9 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา นางสาวส.รัตมณี พลกล้า และนายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความจากศูนย์ข้อมูลชุมชน ได้ลงพื้นที่เพื่อเตรียมข้อมูลต่อสู้ในคดีนางราตรี มณีรัตน์ นางวรรณี พรหมดง นางเอื้ออารีย์ มีบุญ นางสาวธัชพัณณ์ ถิระผะลิกะ และนางศิริวรรณ ถิระผะลิกะ ฟ้องบริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัด ฐานความผิดละเมิด เรียกร้องค่าเสียหายจากผลกระทบจากการดำเนินการเหมืองหินเขาคูหา ซึ่งศาลนัดเบิกความ ระหว่างวันที่ 21 – 24 มิถุนายน 2554

ศาลนัดคดี‘พีรพลมายนิ่ง’ ระเบิดหินเขาคูหาบ้านร้าว
นางสาวส.รัตมณี พลกล้า และนายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความจากศูนย์ข้อมูลชุมชน ร่วมกับเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เตรียมข้อมูลในคดีชาวบ้านเขาคูหา ที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดหิน ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัด

ในการนี้ นางสาวส.รัตมณีและนายธีรพันธุ์ได้ร่วมกับเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา รวบรวมเอกสาร ข้อมูล หลักฐาน และรายละเอียดเกี่ยวกับการแตกร้าว ที่เกิดจากการระเบิดหินของบริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัดของบ้านแต่ละหลัง

นางสาวส.รัตมณี เปิดเผยว่า จากการลงสำรวจบ้านเของชาวบ้าน 6 หลังพบว่า แตกร้าวตรงบริเวณ เสา คาน ขอบประตู ขอบประตูหน้าต่าง จากแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดหิน คล้ายกันทุกหลัง ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ให้นายช่างวิศวกรรมโยธาเข้ามาตรวจสอบสภาพบ้าน ก่อนจะฟ้องเรียกค่าเสียหายมาก่อนแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสรีภาพสื่อ กับอำนาจจัดการ “ความจริง”

Posted: 18 May 2011 10:53 AM PDT

ในปาฐกถาชื่อ ฟังเสียงเต้นของ “ความจริง” ในสังคมไทย? ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ แสดงให้เห็นมุมมองที่ว่า ยุคสมัยใหม่เชื่อว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นอยู่เองหรือมิได้ถูกค้นพบ หากเป็นสิ่งที่ถูกผลิต (producted) โดยน้ำมือมนุษย์ (human mind) และแยก “ความจริง” ออกเป็นสองชนิดคือ “ความจริง” ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาซึ่งจัดว่าเป็น “ความจริงเชิงเหตุเชิงผล” (rational truth) ส่วน “ความจริง” อีกแบบหนึ่งเป็น “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” (factual truth)

หากใช้มุมมอง “ความจริง” ดังกล่าวมาอธิบายความจริงกรณีการสลายการชุมนุมช่วง เมษา-พฤษภา ปี 2553 จะเห็นว่า “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” คือความจริงเกี่ยวกับจำนวนคนบาดเจ็บล้มตาย สาเหตุการตายเกิดจากฝีมือทหารหรือชายชุดดำ วิธีสลายการชุมนุมทำอย่างไร ทำในเวลาไหน ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งการ การชุมนุมมีการปลุกเร้าความรุนแรงหรือไม่ ฯลฯ

ส่วน “ความจริงเชิงเหตุผล” คือความจริงเกี่ยวกับความถูกต้องและความยุติธรรมในมิติต่างๆ เช่น การสลายการชุมนุมควรเป็นไปตามหลักสากลอย่างไร ควรอยู่บนพื้นฐานการเคารพเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างไร เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งสลายการชุมนุมควรรับผิดชอบอย่างไร กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงควรอยู่บนหลักความยุติธรรมอย่างไร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความสูญเสียควรรับผิดชอบอย่างไร ฯลฯ

ความจริงเชิงข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น จากภาพข่าวของสื่อต่างๆ ทั้งไทยและเทศ ภาพถ่ายของทางราชการ ภาพถ่ายของผู้ชุมนุม พยานหลักฐานต่างๆ ของคณะกรรมการที่มีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริง ฯลฯ ส่วนความจริงเชิงเหตุผลอ้างอิงจากบทบัญญัติของกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และ/หรือหลักการกติกาประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองและหลักการสากลในการดูแล/แก้ปัญหาการชุมนุม ฯลฯ

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ความจริงทั้งสองความหมายดังกล่าว ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่อยู่นิ่งๆ รอให้คนทุกฝ่ายไปค้นพบและ “เห็นตรงกัน” ทว่าเป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับ/เป็นไปตาม “การจัดการความจริง” ที่ซับซ้อน เช่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การแสดงพยานหลักฐาน การตีความ วิเคราะห์ อรรถาธิบาย ขยายความ และนำเสนอ ฉะนั้น มันจึงเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับ “อำนาจ” ในการจัดการความจริงและเสนอความจริงแก่สาธารณะ

และเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจรัฐคือฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าอย่างเด่นชัดในการจัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริงและความจริงเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมช่วง เมษา-พฤษภา 53

กล่าวคือ ฝ่ายยึดกุมอำนาจรัฐ มีอำนาจเหนือกว่าทั้งในแง่เป็นผู้บอกกับสังคมว่า เกิดอะไรขึ้น และควรทำอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับมีสื่อของรัฐเป็น “กระบอกเสียง” ของตนเอง และมีอำนาจที่จะปิดปาก หรือปิดสื่อฝ่ายตรงข้าม ทั้งโดยการใช้กฎหมายหมิ่นฯ และวิธีอื่นๆ

คำถามคือ หนึ่งปีที่ผ่านมา “สื่อ” ได้ใช้เสรีภาพเพื่อ “ตรวจสอบ” อำนาจที่จัดการความจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมช่วง เมษา-พฤษภา 53 อย่างไรบ้าง?

หาก “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” เป็นเรื่องที่คนเสื้อแดงฆ่ากันเอง มีขบวนการล้มเจ้า มีขบวนการก่อการร้อยอยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดง ฯลฯ หนึ่งปีที่ผ่านมานี้สื่อกระแสหลัก สื่อของรัฐ และสื่อฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดงก็น่าจะโชว์พยานหลักฐานได้อย่างชัดแจ้งแดงแจ๋แล้วมิใช่หรือ เพราะไม่มีอำนาจใดๆ “ปิดกั้น” ไม่ให้สื่อใดๆ เสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

แต่หากข้อเท็จจริงไม่ใช่คนเสื้อแดงฆ่ากันเอง ไม่มีขบวนการล้มเจ้า ไม่มีขบวนการก่อการร้ายในกลุ่มคนเสื้อแดง ฯลฯ ถามว่าสื่อได้ตระหนักหรือไม่ว่า อำนาจในการจัดการความจริงอยู่ที่ฝ่ายใด และสื่อได้ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นอย่างไร ได้พยายามขุดคุ้ยความจริงที่ซุกอยู่ใต้พรมของอำนาจนั้นอย่างไร และตระหนักมากน้อยเพียงใดต่อการเรียกร้องให้อำนาจนั้นรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมที่ผิดพลาดจนทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

เพราะเวลาเราพูดว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ก็ไม่ต่างจากที่พูดว่า “ส.ส.คือผู้แทนปวงชน” ซึ่งเป็นคำพูดที่มีเงื่อนไขว่า ส.ส.ต้องทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนจริงๆ คำพูดนี้จึงจะจริง เช่นเดียวกันเสรีภาพสื่อจะหมายถึงเสรีภาพประชาชนจริง ก็ต่อเมื่อสื่อได้ทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง

และการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนที่สำคัญที่สุดในบริบทความขัดแย้งที่เป็นมาและเป็นอยู่นี้ ก็คือ การตั้งคำถาม ขุดคุ้ย วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าในการจัดการความจริง

ที่ Freedom House จัดอันดับสื่อไทยจาก “กึ่งเสรี” เป็น “ไม่มีเสรี” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อทางเลือกถูกอำนาจรัฐปิดปากเป็นว่าเล่น แต่อีกส่วนหนึ่งที่แย่กว่าคือสื่อกระแสหลักทำตัวเป็น “กระบอกเสียง” ของฝ่ายที่มีอำนาจจัดการความจริงอย่างน่าเกลียดหรือไม่? หรือทำหน้าที่เพียงสะท้อน “ความเห็น” ของคู่ขัดแย้งเท่านั้นหรือไม่?

โดยเฉพาะบนข้ออ้างที่ว่าการสะท้อนความเห็นของแต่ละฝ่ายอย่างสมดุลหมายถึง “ความเป็นกลาง” ของสื่อ หรือเป็น “จรรยาบรรณ” ของสื่อ แต่ถามว่า การยืนยันความเป็นกลางและจรรยาบรรณจำเป็นต้องละเลย “ปัญหา” แห่งอำนาจที่ไม่เป็นธรรมในการจัดการความจริงกระนั้นหรือ?

ความเป็นกลางและจรรยาบรรณต้องไม่สนใจปัญหาความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ ไม่สนใจลงลึกถึงเหตุผลของแต่ละอุดมการณ์ ไม่สนใจวิเคราะห์ วิพากษ์ ชั่งน้ำหนักและ/หรือ “ประเมินค่า” เหตุผลของแต่ละอุดมการณ์ในแต่ละฝ่ายกระนั้นหรือ?

เหนืออื่นใด ในความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ย่อมมี “นัยยะสำคัญ” ของ “การเปลี่ยนผ่าน” สังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในระดับที่แน่นอนหนึ่ง สื่อได้ใช้เสรีภาพอย่าง “รับผิดชอบ” ต่อนัยยะการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนี้อย่างไร?

และสุดท้าย หากการรำลึก “ประวัติศาสตร์ 19 พฤษภา” ยังคงเป็นการรำลึกเพื่อทวงถาม “ความจริง” และ “ความยุติธรรม” ก็ย่อมเป็นการทวงถามต่อสื่อด้วยเช่นกันว่า หนึ่งปีที่ผ่านมา สื่อได้ “ใส่ใจ” ทวงถามความจริงและความยุติธรรมจากฝ่ายผู้มีอำนาจในการจัดการความจริงและความยุติธรรมของประเทศนี้อย่างไร?

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครบรอบ 2 เดือน-ปิดศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา

Posted: 18 May 2011 10:44 AM PDT

ชื่อบทความเดิม:
ครบรอบ 2 เดือน-ปิดศูนย์ข้อมูลคนหาย “คนหายที่แจ้งรัฐ...ยังไม่สามารถติดตามได้ในขณะนี้”

16 พฤษภาคม 2554 เป็นวันครบรอบ 2 เดือนเต็ม ที่มูลนิธิกระจกเงา ได้ประกาศปิดตัวโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย ซึ่งเป็นโครงการที่ทำหน้าที่รับแจ้งเหตุ ให้คำปรึกษา และประสานงานติดตามคนหายทั่วทั้งประเทศเป็นเวลากว่า 9 ปีเต็ม

ก่อนการปิดตัวโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย ทีมงานมูลนิธิกระจกเงาได้ติดต่อขอเข้าพบเพื่อหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการแก่หน่วยงานภาครัฐว่า หน่วยงานเอกชนที่ทำงานเรื่องคนหายในประเทศไทย ไม่สามารถดำเนินการภารกิจนี้ได้ต่อ และจำเป็นต้องส่งมอบภารกิจดังกล่าวให้กับหน่วยงานภาครัฐรับไปดำเนินการอย่างเต็มตัว

ปัญหาเรื่องคนหายในสังคมไทยดูเหมือนยังเลือนลางและห่างไกลจากความจริงใจในการตอบโต้เพื่อเท่าทันปัญหาของหน่วยงานรัฐพอสมควร และนี่คือบทสรุปลำดับเหตุการณ์ภายในระยะเวลา 2 เดือนเต็มหลังการปิดศูนย์ข้อมูลคนหาย

(เหมือน)ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ

การเข้าพบหน่วยงานรัฐ ไม่ว่าหน่วยงานใดก็ตาม ดูเหมือนว่าจะได้รับการตอบสนองด้วยดีจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะการได้รับเกียรติให้เข้าพบผู้หลักผู้ใหญ่ในระดับหัวหน้าหน่วยงาน จึงทำให้สร้างขวัญกำลังใจได้เป็นอย่างดีกว่า “ผู้ใหญ่ ให้ความสำคัญ” กับปัญญาคนหายอย่างจริงจัง

ด้านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ส่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มานั่งหารือกับตัวแทนมูลนิธิกระจกเงา พร้อมรับปาก จะผลักดันให้สายด่วนศูนย์ประชาบดี 1300 พร้อมสำหรับการรับแจ้งเรื่องคนหายด้วย – ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาหารือ พร้อมรับปากเช่นกันว่า ตำรวจจะเต็มที่กับเรื่องนี้เช่นกัน

รูปธรรมในหน้ากระดาษ

ภายหลังตัวแทนมูลนิธิกระจกเงาเข้าพบอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยการหารือหลักๆ อยู่ที่การยกโปรแกรมฐานข้อมูลคนหาย (DATA BEST) ของศูนย์ข้อมูลคนหาย ให้กับหน่วยงานรัฐแบบให้เปล่า พร้อมทั้งข้อเสนอในการพัฒนาแบบฟอร์มฐานข้อมูลให้ตรงตามมาตรฐานของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้ฐานข้อมูลคนหายได้รับการติดตั้งไปยังศูนย์ประชาบดี ครบทั้ง 76 จังหวัดทั่วทั้งประเทศไทย สำหรับการรับแจ้งคนหายอย่างเป็นระบบ ซึ่งผ่านมาแล้ว 2 เดือน การถ่ายโอนฐานข้อมูลดังกล่าว ก็ยังไม่พร้อมใช้สำหรับการรับแจ้งคนหายของศูนย์ประชาบดี

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ออกหนังสือเวียนไปยังบ้านพักเด็กและครอบครัว 76 แห่งทั่วประเทศ ใจความระบุ ว่า ภารกิจการรับแจ้งเหตุคนหาย ต่อไป จะภารกิจหนึ่งของศูนย์ประชาบดี แต่ทว่า หนังสือเวียนฉบับดังกล่าว ก็ยังไม่ได้ระบุว่าศูนย์ประชาบดีแต่ละจังหวัดต้องทำอย่างไร ท้ายสุดอาจเป็นเพียงการเตรียมความพร้อมในกระดาษ เพราะหลายจังหวัด ไม่เคยมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเรื่องการติดตามคนหายแม้แต่รายเดียว

ส่วนด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายหลังจากรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สั่งทุบโต๊ะ ให้ งานคนหายพลัดหลง กองทะเบียนอาชญากร ติดตามรายงานเรื่องการรับแจ้งเหตุคนหายกับมูลนิธิกระจกเงา ปรากฏว่า หลังจากนั้น มีนายตำรวจท่านหนึ่ง โทรมา ของลิงค์เวปไซค์เข้าฐานข้อมูลคนหาย ของมูลนิธิกระจกเงา แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธการส่งข้อมูลทางอีเมล์ โดยเสนอว่า เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ยินดีเข้าไปติดตั้งโปรแกรมและอบรมการใช้ฐานข้อมูลคนหายให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่หลังจากนั้น นายตำรวจท่านนั้นก็มิได้ติดต่อมาอีกเลย เป็นอันว่า แนวทางความเชื่อมั่นที่น่าจะเกิดขึ้น หารูปธรรมยังไม่เจอเลยว่า หน่วยงานรัฐ จะรับมืออย่างไรกับเรื่องคนหายในประเทศไทย

ตรวจเช็คการรับมือปัญหาของหน่วยงานรัฐ

แม้ว่าแต่เดิม ศูนย์ประชาบดี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะมีภารกิจรับแจ้งเหตุคนหายเป็นปกติอยู่แล้วก็ตาม แต่ทว่า ภายหลังจากการปิดตัวโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย อาจทำให้ภารกิจของทั้งสองหน่วยงานมีภาระเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว โดยหลังจากการปิดตัวศูนย์ข้อมูลคนหาย ยังมีครอบครัวที่บุตรหลานสูญหายได้โทรมาแจ้งขอความช่วยเหลือยังมูลนิธิกระจกเงาอยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงาได้แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์ประชาบดี เพื่อให้ครอบครัวได้โทรไปร้องทุกข์เรื่องคนหายกับหน่วยงานของภาครัฐโดยตรง

หลังจากการแนะนำหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานรัฐให้กับครอบครัวคนหาย พบว่า หลายครอบครัว ต้องพบกับความผิดหวังในการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานศูนย์ประชาบดีในส่วนภูมิภาค ซึ่งให้คำปรึกษาเพียงแค่ให้ครอบครัวคนหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น นอกจากนี้ศูนย์ประชาบดีบางจังหวัด ยังได้ให้ครอบครัว คนหาย โทรกลับมาขอความช่วยเหลือที่มูลนิธิกระจกเงาอีกรอบ โดยมีบางกรณีให้เบอร์มือถือของเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา และบอกกับญาติคนหายว่า เป็นเบอร์โทรศัพท์ของหัวหน้าศูนย์ประชาบดี – นี่คือการสะท้อนภาพปัญหาสำคัญที่หน่วยงานรัฐ ยังไม่มีความพร้อมในการจัดการปัญหาเรื่องคนหายอย่างเป็นระบบ และมาตรการในการรับมือกับปัญหายังขาดองค์ความรู้ในการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเพื่อให้นำไปสู่แนวทางในการติดตามตัวคนหายให้เจอได้

แก้ไขปัญหาด้วยความ(ไม่)รู้

ปัญหาเรื่องคนหาย มีการทำงานในประเทศไทยมาแล้วหลายปี แต่ขาดการรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจัดการปัญหาคนหายอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้การให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ครอบครัวคนหาย อยู่ในวงแคบเพียงแนะนำให้ครอบครัวคนหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการปกติพื้นฐานที่ครอบครัวคนหายต้องทำอยู่แล้ว รัฐยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในระบบของหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง เพื่อตรวจสอบข้อมูลคนหายซึ่งอาจไปอยู่ในระบบต่างๆได้ ทั้งโรงพยาบาล เรือนจำ หรือแม้กระทั่งศพไม่ทราบชื่อ

แนวทางในการติดตามคนหายแต่ละสาเหตุ มีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การพบตัวคนหายอย่างปลอดภัย ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมายังไม่พบว่ารัฐได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการจัดการความรู้เรื่องคนหาย ครอบครัวคนหายจึงได้รับการคำแนะนำจากรัฐในลักษณะที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการแก้ไขปัญหา

ความจริงใจต่อปัญหาคนหาย

หลายครั้งเรามักได้ยินเจ้าหน้าที่รัฐ กล่าวอ้างเสมอว่า รัฐไม่สามารถจัดการปัญหาได้ เพราะไม่มีกฎหมายในการรองรับ เรื่องคนหายก็เป็นปัญหาที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการเฉพาะเช่นกัน ปัญหาเรื่องการไม่รับแจ้งความคนหาย ยังคงมีให้เห็นอยู่ทุกวัน ปัญหาเรื่องการรับเรื่องแล้วไม่มีแนวทางในการดำเนินงานต่อก็มักเกิดขึ้นเสมอ ถึงแม้ว่าหัวใจของการติดตามคนหายจะอยู่ที่ครอบครัวเป็นหลักก็ตาม แต่ทว่ารัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้บริหารจัดการแนวทางการช่วยเหลือของทุกภาคส่วน ปัจจุบัน พบว่า เคสคนหายที่เกินความสามารถในการติดตาม รัฐมักใช้วิธีการมอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวเบื้องต้นจำนวน 2,000 บาท ตามแบบวิธีของทางราชการเท่านั้น เมื่อมอบเงินให้กับทางครอบครัวคนหายแล้ว ดูเหมือนรัฐจะเข้าใจว่า การช่วยเหลือได้เกิดขึ้นและปิดการดำเนินการช่วยเหลือด้านอื่นๆ นับจากนั้นทันที

2 เดือนเต็ม สำหรับหน่วยงานรัฐในการรับมือกับปัญหาคนหายที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน บทสรุปในช่วงหลังการปิดตัวศูนย์ข้อมูลคนหาย ทำให้มองเห็นว่า ปัญหาอะไรดัง ปัญหานั้นได้รับการแก้ไขก่อน - วันนี้ต้องมีคำถามกลับไปว่า รัฐจะใช้เวลาอีกเท่าไหร่ สำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดการปัญหาคนหายอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างจริงจังเสียที อย่าให้ปลายสายโทรศัพท์ดังก้องหูประชาชนอยู่เสมอว่า “คนหายที่แจ้งรัฐ...ยังไม่สามารถติดตามได้ในขณะนี้” ....

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้ง voice TV: อุดมการณ์พฤษภา

Posted: 18 May 2011 10:29 AM PDT

ที่มา: ตัดตอนบางส่วนจาก บล็อก ‘ใบตองแห้ง’ ใน www.voicetv.co.th

ครบรอบปี 19 พฤษภา แม้อยู่ในบรรยากาศเลือกตั้ง แต่มวลชนเสื้อแดงก็คงไม่ละเว้นกิจกรรมร่วมรำลึกถึงพี่น้องที่สูญเสีย

เพียงเสียดายที่แกนนำ นปช.ไม่รู้จักแยกแยะระหว่างพรรคการเมืองกับขบวนการเคลื่อนไหวมวลชน ดันแห่ไปลง ส.ส.จนไม่เหลือใครนำเวที (แล้วเป็นไง จตุพรถูกถอนประกัน ก็เคลื่อนไหวอะไรไม่ออก) แต่ดีแล้วละครับ จะได้กลับสู่การเคลื่อนไหวแบบ “แกนนอน”

นัยสำคัญของวันครบรอบปี 19 พฤษภา ด้านที่น่ายินดีคือ มีการตีแผ่ความจริงมากขึ้น กระทั่งองค์การนิรโทษกรรมสากลยังต้องออกมาระบุว่า “การสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน – พฤษภาคม ปีที่แล้ว ถือเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตกว่า 70 คน รวมถึงทหาร อาสากู้ภัย และนักข่าว นอกจากนี้ การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังส่งผลให้ประชาชนกว่า 450 คนต้องถูกคุมขัง ซึ่งบางส่วนยังอยู่ในระหว่างดำเนินคดีและยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน”

ซึ่งเป็นอะไรที่ผมไม่คาดคิดว่าจะหลุดจากปากสมชาย หอมลออ นั่นแสดงว่าพวกเขาจำเป็นและจำใจต้องยอมรับความจริง ถ้ายังอยาก “ประกอบอาชีพนักสิทธิมนุษยชน” ต่อ

การต่อสู้ในสงครามข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีนักวิชาการและสื่อที่ยังรักความเป็นธรรมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง (ไม่ใช่แกนนำเสื้อแดงที่เอาแต่ตะแบง) สามารถแย่งยึดพื้นที่ความจริงคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสากล แล้วตีโอบกลับมาในประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น การเสนอข้อเท็จจริงโดยกลุ่ม "มรสุมชายขอบ" นำโดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งแยกแยะให้เห็นว่าประชาชนที่บาดเจ็บเสียชีวิตถูกยิงเข้าลำตัวช่วงบนมากที่สุด และส่วนใหญ่ก็เป็นเวลากลางวันแสกๆ (ไม่ใช่ช่วงเวลาค่ำมืดที่ทหารอาจเข้าใจผิดว่าประชาชนเป็นชายชุดดำ)

นี่แค่ปีเดียวนะครับ อย่าลืมว่า 6 ตุลา 19 ปีแรกต้องไปจัดงานรำลึกในป่า ผู้นำนักศึกษายังถูกจับติดคุก เราใช้เวลาต่อสู้ด้วยข้อเท็จจริงถึงสิบกว่าปีกว่าสังคมจะยอมรับว่ามีการตกแต่งภาพละครแขวนคอ อาจารย์ปรีดีท่านต้องต่อสู้อยู่เกือบ 30 ปีกว่าผู้คนจะเข้าใจและกลับไปยกย่องเชิดชู

ไม่แน่ อีกไม่กี่ปี เราอาจจะประณามได้เต็มปากว่าใครสั่งฆ่า ใครสั่งยิง

อ่านฉบับเต็มได้ที่: เว็บไซต์ voicetv.co.th

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศ.คณิต ณ นคร : ปาฐกถาในพิธีบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภา 2535

Posted: 18 May 2011 10:14 AM PDT

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพรักทั้งหลาย

ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาเป็นประธานในพิธีในวันนี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มาร่วมพิธีสำคัญครั้งนี้ด้วย

สำหรับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 นอกจากญาติมิตรของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจะเป็นผู้สูญเสียแล้ว ประชาชนทั่วไปผู้รักประชาธิปไตยและรักสันติก็ต้องร่ำให้กับผลของความรุนแรงในการห้ำหั่นกันของคนไทยด้วยกันเองในเหตุการณ์ครั้งนั้น เพียงเพราะความคิดเห็นที่ต่างกันในการปกครองบ้านเมือง ระหว่างผู้ใช้อำนาจปกครองกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง

ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมที่มีปัญญาจะต้องนำมาเป็นบทเรียนให้ได้ว่าการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเรียกว่า ปฎิรูป ปฎิวัติ อภิวัฒน์หรือคำอื่นใดก็แล้วแต่ สามารถเกิดขึ้นได้ตามวิถีทางที่เป็นอารยะ อย่างเช่นวิถีประชาธิปไตย และต้องใช้บทเรียนนั้นป้องกันมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ความรุนแรงขึ้นอีก

เป็นที่น่าเสียดาย ที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ ซึ่งผมเป็นกรรมการอยู่ด้วยได้รายงานผลการตรวจสอบต่อรัฐบาลไปแล้ว แต่ถูกเก็บเงียบไว้ที่กระทรวงกลาโหมไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ความสูญเสียของประเทศชาติและประชาชนในครั้งนั้นแทบจะสูญเปล่า

ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในแง่เป็นบทเรียน เพราะจากปี 2535 ถึงปี 2553 ความรุนแรงก็เกิดขึ้นอีกจนเป็นเหตุให้คนต้องล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก จากการห้ำหั่นของคนชาติเดียวกันนับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง

โดยปกติเมื่อมีเหตุสูญเสียบาดเจ็บล้มตายจากฝีมือของคนจะต้องมีผู้รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของรัฐ โดยกระบวนการยุติธรรมจะต้องค้นหาความจริงและจัดการกับผู้นั้น แต่บ้านเรากระบวนการยุติธรรมพิกลพิการประชาชนไม่เชื่อถือศรัทธา เพราะจนถึงขณะนี้ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ทั้งเหตุการณ์ปี 2535 และปี 2553 จนต่างชาติต้องทวงถาม

เมื่อกระบวนการยุติธรรมปกติไม่ทำงาน พึ่งไม่ได้ หลายมาตรฐานดังที่วิพากษ์วิจารณ์กัน ซึ่งคนที่ประสบหรือเกี่ยวข้องต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยตัวเองเท่านั้นจึงจะเห็นจริงว่ามาตรฐานขั้นสูงใช้กับผู้มีอำนาจและเงินตรา และก็จะลดระดับต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละคน ประกอบกับถูกกดดันจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากในและนอกประเทศ รัฐบาลก็ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาอีกเพื่อตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองในชาติ หรือ คอป. ซึ่งผมได้รับมอบหมายให้เป็นประธานด้วย และคราวนี้จะรายงานทุกขั้นตอน จะทำเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ เพื่อจะได้รู้ความจริงที่เกิดขึ้นจะได้เป็นบทเรียนที่มีคุณค่าของสังคมไทย

ท่านผู้มีเกียรติครับ เชื่อไหมครับว่างานนี้ไม่ง่ายเลย เพราะเราไม่ใช่เจ้าพนักงาน ไม่มีอำนาจ ไม่มีเครื่องมือเหมือนเจ้าพนักงาน เราได้แต่ขอร้องขอความร่วมมือ แม้บางหน่วยไม่ให้ความร่วมมือก็ตาม เราต้องการทำให้ทุกฝ่ายเชื่อว่าเราไม่ได้อยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เราต้องการค้นหาความจริงเพื่อสรุปบทเรียน และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่ความปรองดองของคนในชาติ เราไม่ต้องการค้นหาคนว่าใครผิดใครถูกเพราะไม่ใช่หน้าที่ แต่เราต้องการค้นหาความ คือความจริงว่าเหตุการณ์รุนแรงพัฒนามาจากเหตุอะไร อย่างไร จะได้แก้ไขได้ตรงจุด เพราะไม่ว่าความขัดแย้งของมนุษย์จะเกิดจากตัณหาหรือมานะ หรือทิฐิ ล้วนมีวิธีการแก้ไขที่ต่างกันไป ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาได้โดยไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง ซึ่งมักใช้กันในหมู่โจรและคนพาล ดังนั้นผู้ที่มีอาวุธอยู่ในมือ ถ้าใช้ปัญญาก็จะไม่แก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร

ที่ผ่านมา ข้อเสนอต่างๆ ที่คอป.ทยอยเสนอไปยังรัฐบาล แม้ไม่ได้รับการตอบสนองในทางที่ดีนัก เราก็จะทำต่อไปจนบรรลุภารกิจในการตรวจสอบและค้นหาความจริง ส่วนภารกิจในการสร้างความปรองดองของคนในชาติเป็นของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ โดยดับโมหะและโทสะก่อนแล้วให้อภัย ใช้ความจริงใจ และใช้เครื่องมือทั้งหลายที่มีอยู่มากมายทั้งคนและงบประมาณ เพื่อการนี้อย่างเอาจริงเอาจัง

ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ต้องพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชนว่าสามารถจัดการปัญหาคอร์รับชั่นได้ คนโกงต้องถูกลงโทษทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะระดับไหน ไม่ปากว่าตาขยิบ ไม่ลูบหน้าปะจมูก ไม่ลูกท่านหลานเธอ ยิ่งโทษหนักยิ่งต้องไม่มีนิรโทษกรรม ปัญหาการคอร์รัปชั่นจึงจะเบาบางลง ไม่เป็นเหตุให้อ้างเพื่อเปลี่ยนแปลงแบบอนารยะอีก

ในส่วนของประชาชนนั้น ถ้าท้องอิ่ม นอนหลับ มีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน และได้รับการปฎิบัติจากรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมและทั่วถึงแล้ว เขาก็ย่อมให้อภัยกันได้ เพราะเป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งใครๆ ก็อยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ สันติสุขก็เกิดในสังคมนี้ได้

สุดท้ายนี้ ขอให้ดวงวิญญาณของบรรดาผู้ล่วงลับในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬจงไปสู่สุขคติไม่ต้องกังวลห่วงใยประเทศชาติ เพราะคนที่อยู่ข้างหลังจะช่วยกันดูแลบ้านเมืองเอง ขอให้พวกเราตั้งจิตร่วมกันขอพรจากพระและสิ่งที่เคารพนับถือ ช่วยให้ชาติไทยสงบและเจริญรุ่งเรืองตลอดไป.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธิดา ถาวรเศรษฐ: “เพียงเรียกร้องให้ยุบสภา”

Posted: 18 May 2011 09:50 AM PDT

1 ปีผ่านไป หลังการฆ่าหมู่กลางถนน จาก 10 เมษาถึง 19 พฤษภา 2553 เราจึงได้ “ยุบสภา”ตามที่เรียกร้องไว้

การยุบสภาครั้งนี้ เพื่อจะให้มีการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 แลกกับอะไรบ้างจึงได้มา

  • ชีวิตคนไทย 92 ศพ และหลังจากนั้นอีกทั้งหมดร่วมร้อยศพ คนบาดเจ็บสองพันคน การจับกุมคุมขังโดยมิชอบ หลายร้อยคนอย่างยาวนาน จนบัดนี้ผ่านมา 1 ปี ยังถูกคุมขังอยู่กว่าร้อยคน
  • ข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายสำหรับฝ่ายผู้ชุมนุมที่มีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต จับกุมคุมขังโดยไม่มีการสืบสวนสอบสวนคดีอย่างที่กระบวนการยุติธรรมควรทำ มีแต่ข้อกล่าวหาที่ไม่เริ่มต้นพิสูจน์ความจริง แต่ใช้กระบวนการพิจารณามาลงโทษแทนคำพิพากษา ในฝั่งอำนาจรัฐยังไม่มีการสืบสวนสอบสวน ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและไม่มีการรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
  • ความตกต่ำของปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย และเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นที่ประจักษ์ชัดในสายตาชาวโลก การปิดเวบไซด์นับหมื่น การใช้อาวุธจริงกระสุนจริงปราบปรามประชาชนโดยไม่ใช้มาตรฐานสากล การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนักหน่วงสำหรับผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองที่ต่างจากแนวคิดของคนในระบอบอำมาตยาธิปไตย
  • ศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลดต่ำทั้งในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของสื่อ
  • ความเสื่อมทรุดในการเชื่อถือและยอมรับกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานความมั่นคงและกองทัพที่ถูกตั้งคำถามจากประชาชนไทยและสังคมโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พศ.2475 เป็นต้นมา
  • ความเจ็บแค้นร้าวลึกของประเทศไทยที่ถูกกระทำจากอำนาจรัฐอำมาตยาธิปไตย ทั้งการปราบปรามเข่นฆ่า การจับกุมคุมขังไม่เป็นธรรม มีลักษณะหลายมาตรฐานหรือมีความไม่เท่าเทียมกัน ในการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงของพัฒนาการสังคมที่อาจนำไปสู่การต่อสู้ของประชาชนแบบอนาธิปไตย ไร้การควบคุมขององค์กรจนสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดจลาจลและเกิดการเคลื่อนไหวที่มีความรุนแรง

มันร้ายแรงและดำดิ่งสู่หายนะ แบบนี้แล้ว จึงเพิ่งจะจัดให้มีการยุบสภา ตามคำเรียกร้องของประชาชนที่ผ่านมา 1 ปีแล้ว

แต่แน่นอน นี่เป็นด้านหายนะของสังคมไทย ของประเทศไทย แต่ระบอบอำมาตยาธิปไตยได้อะไรบ้าง หลังรัฐประหาร และหลังการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ระบอบอำมาตยาธิปไตยได้คือ

  • ได้แย่งยึดปล้นชิงอำนาจรัฐจากประชาชน กลับไปอยู่ในมือของกลุ่มอภิสิทธิชน”จารีตนิยม”
  • ได้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฏหมายสูงสุดฉบับอำมาตยาธิปไตยรวมทั้งกฎหมายอื่นๆและการนิรโทษกรรมผู้ทำการรัฐประหาร
  • ได้แย่งยึดอำนาจนิติบัญญัติผ่านการสรรหาวุฒิสมาชิกโดยคณะบุคคลเพียง 7 คน และผ่านพรรคการเมืองให้อยู่ภายใต้การกำกับของระบอบอำมาตย์
  • ได้ความมั่นคงของระบอบอำมาตย์ ผ่านอำนาจตุลาการและกลไกกองทัพ และความมั่นคงภายใน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจากคณะรัฐประหาร
  • ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเครือข่ายระบอบอำมาตย์

สำหรับสิ่งที่ประชาชนอันเป็นคู่ขัดแย้งกับระบอบอำมาตย์ได้มาก็คือ

  • ประชาชนเข้มแข็งขึ้น มีคนเสื้อแดงและแนวร่วมกว้างขวางมากขึ้น มีทุกชนชั้น ชั้นชน เข้าร่วมการต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค มากขึ้น และร่วมทางเพื่อให้ได้ระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริงมากขึ้น จึงเป็นการเติบใหญ่ทั่งปริมาณและคุณภาพ
  • บทเรียนในการต่อสู้ของประชาชนที่มีลักษณะยืดเยื้อ และเหตุผลที่ต้องใช้สันติวิธีเป็นหนทางในการต่อสู้
  • เข้าสู่การทดสอบยุทธศาสตร์ 2 ขา 2 แขน 5 เขตยุทธศาสตร์ และการจัดต้งองค์กรเพื่อปรับโครงสร้างการนำของ นปช.แดงทั้งแผ่นดินทีละก้าว

นี่จึงเป็นการปรับปรุงการนำและการจัดตั้งองค์กรที่ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งของฝ่ายประชาชน

สำหรับข้อเสียของระบอบอำมาตย์ที่ได้รับหลังการทำรัฐประหารและปราบปรามประชาชน

  • เกียรติภูมิของสถาบันหลักๆ ทางการเมืองการปกครองเสื่อมทรุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน
  • นำมาสู่การเสื่อมทรุดของระบอบอำมาตยาธิปไตยในทางความชอบธรรมและการครอบงำสังคมไทยมาช้านาน เพราะถูกเปิดเผยในการใช้อำนาจนอกระบบแอบแฝงมาปล้นทำลายแย่งชิงอำนาจประชาชนไป
  • เปิดเผยความสามารถและความซื่อสัตย์ในการบริหารประเทศทั้งด้านประสิทธิภาพ ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส ว่า ความหมายของ “คนดี มีศีลธรรม”คือคนดีของใครกันแน่ “คนดีของแผ่นดิน”ใช่ คนดีของประชาชนหรือไม่

ถ้าเราทบทวนทั้งหมด แน่นอน ฝั่งระบอบอำมาตย์ได้อำนาจรัฐและพยายามรักษาอำนาจรัฐและผลประโยชน์ในมือให้ได้แต่เสียความชอบธรรม และถูกกดดันจากประชาชนไทยและสังคมโลก จนต้องยอมให้ “ยุบสภา”เพราะไม่อาจทนอยู่ต่อไปได้

ฝ่ายประชาชน ถูกปล้นอำนาจ สิทธิ เสรีภาพไป ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จนถึงขื้นถูกปราบปรามเข่นฆ่าจับกุมคุมขัง นี่เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ แต่สิ่งที่ได้มาคือ ความชอบธรรมและการเติบโตของขบวนการประชาชน ที่กดดันให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยต้องคืนอำนาจให้ประชาชนจนได้ แม้จะเป็นเพียงขั้นต้นย่างก้าวแรกๆก็ตาม ยังมิได้หมายความว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมาได้หลังการเลือกตื้ง

ยังก่อน ยังมีอีกหลายตอน ที่เหล่าเครือข่ายระบอบอำมาตย์ไม่ยอมสูญเสียอำนาจการเมืองการปกครองและผลประโยชน์ง่ายๆ ประชาชน จึงต้องยืนหยัดอุดมการณ์ การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในสังคมไม่ว่าผลเลือกตั้งจะเป็นเช่นไร

เพื่อเป็นการคารวะดวงวิญญาณวีรชนประชาธิปไตย ตั้งแต่อดีตจนถึง 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ให้เขาเสียสละชีวิตโดยไม่คุ้มค่าสำหรับประเทศชาติประชาชนไทย พวกเราที่ยังทำงานได้จึงต้องสืบสานเจตนารมณ์สร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการประชาธิปไตยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้มแข็งของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จะเป็นส่วนสำคัญในการชี้อนาคตการเมืองไทยว่าจะได้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รบ.ภูมิใจ 2 ปี จัดตั้ง 'แหล่งข่าว' ติตตามข้อมูลและพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสถาบัน 70,886 หมู่บ้าน

Posted: 18 May 2011 09:35 AM PDT

สำนักนายกฯแจกรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวโนยบายพื้นฐานแห่งรัฐ อ้างผลงานปกป้องสถาบัน อาทิ จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสถาบันขึ้นใน 75 จังหวัด และจัดตั้งแหล่งข่าวทุกหมู่บ้าน

18 พฤษภาคม มติชนออนไลน์รายงานว่า สำนักนายกรัฐมนตรีได้นำรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ตามแนวโนยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่สอง ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2552-30 ธ.ค.2553 โดยจัดพิมพ์สี่สี บนกระดาษอาร์ตมัน หนา 422 หน้า เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก สถานการณ์การพัฒนาประเทศในช่วงปีที่สองของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ส่วนที่สอง ผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และส่วนที่สาม รายละเอียดการดำเนินการตามแนวนโยบายต่างๆ ทั้ง 9 ด้าน อาทิ ด้านความมั่นคงของรัฐ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ด้านกฎหมายและการยุติธรรม ด้านการต่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

ทั้งนี้ เนื้อหาที่เขียนไว้ในบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ระบุอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงานตามแนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ว่าเกิดจากการติดตามตัวผู้กระทำผิดที่อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่ยากต่อการขอความร่วมมือตรวจสอบข้อมูลและไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้รองรับ ขณะเดียวกันการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะยังไม่มีกฎหมายรองรับเช่นกัน รัฐบาลยังอ้างเรื่องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผลงานของรัฐบาล อาทิ จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสถาบันขึ้นใน 75 จังหวัด และจัดตั้งแหล่งข่าวประจำหมู่บ้านเพื่อติตดามข้อมูลและพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสถาบัน 70,886 หมู่บ้าน ชี้แจงทำความเข้าสาธารณชนต่างประเทศในประเด็นที่เข้าใจคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มิใช่การวิพากษ์วิจารณ์ส่วนบุคคล หรือ Lese Majeste อย่างที่เคยเข้าใจ

 

ที่มา: มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้านเบเกอรี่ในจินตนาการ(และรายการ “ฉันจะเป็นชาวนา”)...ภาพสะท้อนสุขนิยมใหม่

Posted: 18 May 2011 09:13 AM PDT

หากลองหันไปถามคนรอบๆ ตัว โดยเฉพาะคุณสาวๆ ว่า "อยากทำอะไรในอนาคต?” คำตอบที่มักจะได้รับส่วนใหญ่ก็คือ "อยากมีร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟเล็กๆ เก๋ๆ หรูๆ" ทำให้แอบตั้งข้อสงสัยว่าจริงๆ แล้วพวกเขาต้องการอะไรกันแน่?

ภาพที่ถูกสื่อออกมาตามนิตยสารหรือรายการโทรทัศน์ ก็คือร้านหรูๆ สไตล์วินเทจบ้าง สไตล์วิคตอเรียนบ้างที่มีพนักงานยกเค้กสไตล์ฝรั่งเศสฟิวชั่นกับญี่ปุ่น เสิรฟ์พร้อมชาเอิร์ลเกรย์หอมกรุ่น มีเจ้าของร้านนั่งสวยๆ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ เพื่อถ่ายทอดแรงบันดาลใจและสไตล์ที่ได้รับอิทธิพลในการตกแต่งร้าน

ดังนั้นหลายๆ คนจึงหันไปเรียนทำอาหาร ซื้อเตาอบหรูหรา (ซึ่งในความเป็นจริงพวกร้านค้าเขาก็ยังไม่ใช้อย่างดีขนาดนี้)เพียงเพื่อจะอบขนมไม่กี่ชิ้น ที่ชงกาแฟราคาแพง แล้วก็นั่งฝันถึงวันที่ร้านประสบความสำเร็จมีสื่อมาสนใจ แจกบัตร Privilege เพื่อให้เพื่อนสนิทมาทานและบอกด้วยความภูมิใจว่าฉันเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านเพื่อได้รับส่วนลด

จากประสบการณ์ที่บ้านผมเคยทำขนมเบเกอรี่ขาย พวกคนเหล่านี้ไม่เคยสัมผัสบรรยากาศที่ยืนหน้ามันแผล่บอยู่หน้าเตาอบ พวกเขาอาจจะไม่เคยพบประสบการณ์เวลาที่สินค้าขาดตลาดจนราคาแพงอย่างก้าวกระโดด หรือเวลาที่ต้องถูพื้นเวลาที่มันเลอะไปด้วยคราบไข่และแป้งนั้นมันไม่ได้ดูเก๋หรือหรูหราแบบที่วาดไว้เลย มีแต่ความเหนื่อยยากและความอดทนดุจดั่งอาชีพอื่นๆ ที่ต้องเอาเหงื่อแลกต่างน้ำในการประกอบอาชีพ

ผมเคยย้อนกลับไปถามว่า "ทำไมไม่เริ่มจากการเปิดร้านกาแฟเล็กริมทาง หรือเริ่มจากร้านรถเข็นก่อนล่ะจะได้สำรวจตลาด?” แต่คำตอบที่ได้รับมักจะเป็นสายตาที่ดูแคลนและคำพูดที่คิดว่าเป็นอาชีพที่ฉันไม่มีวันลดตัวไปทำแน่ๆ

เมื่อคุณลงทุนสูง และคุณอยากเป็นเจ้าของกิจการอะไรสักอย่างนั่นแปลว่าคุณพร้อมที่จะแบกรับความเสี่ยงที่ตามมาไม่ใช่เพียงแค่การชี้นิ้วสั่ง ทั้งค่าไฟที่เพิ่มจากตู้แช่เบเกอรี่เดือนละหลายพันบาทเอย เค้กที่เหลือค้างและจะต้องทิ้งเอย ค่าจ้างพนักงานทั้งฟูลไทม์และพาร์ทไทม์เอย ชีวิตจริงของเจ้าของมันไม่ได้สวยหรูแบบที่ฝัน หากถ้าไม่รักจริงๆ แล้วโอกาสล้มเหลวทางธุรกิจย่อมมากตามไปด้วย

พูดแล้วก็พลางคิดถึงรายการทางสถานีทีวีไทย ที่ชื่อว่า "ฉันจะเป็นชาวนา" ที่แพร่ภาพทุกวันจันทร์ เวลา 23.00น. ที่มี อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส เป็นผู้ดำเนินรายการ

สิ่งที่เป็นภาพสะท้อนของรายการคือภาพแบบ "สุขนิยม"ใหม่ และภาพชนบทแบบจินตนาการที่เห็นได้ตามภาพโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทุ่งข้าวสีเขียวขจี ดอกฝ้ายปลิวไสว ชุมชนเข้มแข็ง และการเกษตรแบบอินทรีย์ ภาพแบบนี้ดูจะเป็นการ "สต๊าฟ" ชาวชนบทให้อยู่ในแบบที่คนเมืองอย่างเรารู้สึกพึงใจที่จะได้เห็น

คุณจะไม่เห็นภาพชาวชนบทเรียกร้องอยากจะมีมือถือแบล็กเบอร์รี่ อยากมีมอเตอร์ไซค์ฟิโน่ หรือรถกระบะสักคัน เพราะมันดูจะเป็นสิ่ง "แปลกแยก" จากสังคมอุดมคติที่คิดว่าชาวชนบทนั้นต้องเป็นอยู่อย่างพอเพียง การใส่รองเท้าบูทลงไปย่ำทุ่งของคุณอุ้มไม่แตกต่างจากการปลีกตัว 2-3 วันไปนอนโฮมสเตย์และพูดอย่างซาบซึ้งว่า "ฉันจะเป็นชาวนา"

ภาพของชาวนาในรายการดูช่างเป็นสิ่งโรแมนติกและสวยงามเสมอๆ ภาพที่ชาวนาต้องทนทุกข์จากเพลี้ยกระโดด ภาพพื้นดินแตกระแหง ภาพของเกษตรกรแขวนคอตายจากหนี้ ธกส.จำนวนมากๆ จะไม่ถูกถ่ายทอดออกมาในรายการ เพราะมันรู้สึกไม่รื่นรมย์และขัดแย้งกับความรู้สึก Feel Good เก๋ๆ กับผู้ชมรายการ เหมือนมีคำตอบว่าถ้าชาวนานั้นไม่อยากอดตายก็ให้ทำตัวพอเพียง ใช้ชีวิตกับวิถีธรรมชาติและจงอย่าดิ้นรนให้มีวิถีชีวิตแบบคนเมืองมากนัก

บางทีก็แอบตั้งคำถามว่าถ้าคนในเมืองที่ฐานะปานกลางอยากจะมีรถหรูๆ สักคัน หรือบ้านเดี่ยวสวยๆ สักหลังเราเรียกสิ่งนี้ว่า "การยกระดับคุณภาพชีวิต" แต่เวลาเราเห็นคนชนบทอยากมีรถกระบะสักคัน หรือมือถือสักเครื่องกลับกลายเป็นว่า "ทำอะไรเกินตัวและไม่พอเพียง"

ผมจึงไม่ค่อยมั่นใจว่าการที่เรามองโลกในแบบนี้มันโรแมนติกเกินไปหรือเปล่า? สุขนิยมใหม่อาจจะเริ่มจากทัศนคติแบบนี้ก็ได้ เพียงแต่ว่าหากเราปล่อยไปเช่นนี้ทัศนคติดังกล่าวจะเป็นอันตรายหรือไม่? ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นไม่มีใครบอกได้นอกจากตัวของคุณเอง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ข้อเท็จจริงเบื้องต้น เกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมือง 13-20 พ.ค. 53

Posted: 18 May 2011 09:07 AM PDT

รายงานฉบับนี้เรียบเรียงและคัดสรรโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์ จากรายงานฉบับเต็ม ‘เอกสารข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553’ [1] จัดทำโดยดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ กลุ่มมรสุมชายขอบ มีความหนา 590 หน้า พร้อมลงรายละเอียดและลำดับเหตุการณ์ของความรุนแรงทางการเมืองระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม 2553

สถิติตำแหน่งบาดแผลของผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 13-19 พฤษภาคม 2553

เส้นทางความรุนแรงขอคืนพื้นที่ความจริง 13-19 พ.ค. 2553

ข้อสังเกตเรื่องกายภาพของความขัดแย้ง
และการยกระดับความรุนแรงในเหตุการณ์พฤษภาคม 2553

(คลิกเพื่อดูรูปภาพขนาดใหญ่)

 

ภูมิหลังของความขัดแย้ง

ความรุนแรงในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แต่มีระดับการใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายรัฐในเขตกรุงเทพมหานครในระดับสูงสุดตั้งแต่หลังเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 25353 หากนับจากจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เหตุการณ์นี้นับเป็นระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของไทย และเป็นการใช้กำลังทหารต่อพลเรือนในระดับปฏิบัติการรบ ดังปรากฏให้เห็นว่ารัฐบาลได้จัดกำลังรักษาความสงบถึง 47,202 นาย ซึ่งในการปะทะเมื่อ 10 เมษายนยังสะท้อนให้เห็นการตัดสินใจของรัฐบาลผ่าน ศอ.รส. และ ศอฉ. เลือกใช้กาลังทหารเข้าจัดการชุมนุมมากกว่าจะเป็นการใช้กาลังตำรวจปราบจราจลที่ผ่านการฝึกฝนมาโดยตรง ยังผลให้เกิดความสูญเสียถึง 25 คน (พลเรือน 20 คน ทหาร 5 นาย) บาดเจ็บกว่า 863 (พลเรือน 607 คน ทหาร 237 ตารวจ 19 คน)

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กับกลุ่ม นปช. มีความต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งสามารถย้อนกลับไปตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังเป็นคู่ขัดแย้งหลักกับกลุ่มเสื้อแดงซึ่งใช้ชื่อแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ในต่างจังหวัดมีการปะทะระหว่างกลุ่มคนทั้งสองจนบาดเจ็บล้มตายมาแล้วระยะหนึ่งนับตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช

เมื่อนายสมัครพ้นจากตาแหน่งด้วยปัญหาเรื่องคุณสมบัติตามคาตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ (29 มกราคม- 9 กันยายน 2551) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงได้รับการสนับสนุนจากพรรคพลังประชาชนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี (18 กันยายน 2551) แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคาสั่งยุบพรรคประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปีมีผลให้นายสมชายต้องพ้นจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ขณะที่อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ส่วนกลุ่มการเมืองของนายเนวิน ชิดชอบ แยกไปตั้งพรรคภูมิใจไทย

ในบริบทดังกล่าว แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ได้ยกระดับการเคลื่อนไหวเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

การเคลื่อนไหวของ นปช. ได้เปลี่ยนมาเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาโดยลำดับนับแต่เมษายน 2552 ซึ่งเป็นการปะทะกันอย่างชัดเจนกับรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลใช้กาลังจากกองทัพอย่างเข้มข้นมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าบทบาทของกองทัพ โดยเฉพาะกลุ่มบูรพาพยัคฆ์ พล.ร.2 รอ. ที่มีบทบาทสาคัญในการจัดการกับกลุ่ม นปช. ณ จุดสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อก่อนเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 จนถึงกับมีการระบุว่าเป็น “โจทก์เก่า” ของฝ่ายเสื้อแดง

ในการชุมนุมใหญ่ของ นปช. วันที่ 12 มีนาคม 2553 มุ่งกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ ยุบสภา กระทรวงมหาดไทยประเมินว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 70,000 คน และรัฐบาลตอบโต้ด้วยการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง และตั้ง ศอ.รส. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้อานวยการศูนย์ มีสถานที่บัญชาการที่กรมทหารราบที่11 รักษาพระองค์ และพักอาศัยในกรมทหารราบที่ 11 จึงทำให้ฝ่าย นปช. เคลื่อนขบวนไปกดดันหน้ากรมทหารราบที่ 11 และมีการระดมขอบริจาคเลือดกว่า 300,000 ซีซี นำไปเทยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และบ้านพักส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในระหว่างนั้นมีข่าวการยิงจรวดอาร์พีจีถล่มห้องทำงานในกระทรวงกลาโหม และกดดันฝ่ายรัฐบาล โดย นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาพร้อมกับกระจายการชุมนุมไปหลายจุด จนทำให้กองทัพกดดันรัฐบาลให้มีการเจรจา ภายหลังที่ นปช. ประกาศบุกกรมทหารราบที่ 11

ในที่สุด ในวันที่ 28 มีนาคม 2553 รัฐบาลจัดให้มีการเจรจาที่สถาบันพระปกเกล้า และถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ คณะเจรจาประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ และฝ่าย นปช. โดยนายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ใช้เวลากว่าสองชั่วโมงครึ่ง แต่ไม่บรรลุข้อตกลง และมีการเจรจาในวันต่อมาโดยฝ่ายรัฐบาลต้องการยุบสภาในกรอบเวลา 9 เดือน ขณะที่ฝ่าย นปช. ยืนยันว่าจะต้องยุบสภาผู้แทนราษฎรภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งไม่บรรลุข้อตกลง

ฝ่าย นปช. ประกาศระดมมวลชนในวันที่ 3 เมษายน แต่มีข่าวว่า นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่ารัฐบาลจะยุบสภาในวันที่ 6 ธันวาคม 2553 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 มกราคม 2554 อย่างไรก็ดี ไม่มีการยืนยันจากรัฐบาล ขณะที่กลุ่ม นปช. ยืนยันว่ารัฐบาลจะต้องประกาศให้ชัดว่าจะยุบสภาวันใด

นักสันติวิธีต่างเรียกร้องให้มีการเจรจารอบสาม โดยทางลับ แต่ไม่มีการสนองตอบจากท้งสองฝ่าย จึงทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ นปช. สายฮาร์ดคอร์อย่างนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรองเคลื่อนขบวนไปกดดันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ดำเนินคดีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ และกดดันฝ่ายตำรวจด้วยการใช้ยุทธการขนมชั้นเพื่อล้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารมิให้ขัดขวางการชุมนุม เป็นต้น

สถานการณ์พัฒนามาจนถึงจุดสาคัญคือการบุกยึดสถานีภาคพื้นดินของสถานีไทยคมเพื่อเปิดช่องสัญญาณของพีทีวีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลตัดสินใจยึดสถานีดาวเทียมไทยคมจากกลุ่มคนเสื้อแดงหรือ นปช. ในวันที่ 9 เมษายน 2553 โดยส่งกำลังทหารกว่า 30 กองร้อยจากกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม. 1 จากเพชรบูรณ์ น่าน อุตรดิตถ์) กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ. จากกรุงเทพฯ) กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9 จากกาญจนบุรี) และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ไปยึดสถานีดาวเทียมไทยคมจากกลุ่ม นปช. ที่ชุมนุมกันกว่า 1.5 หมื่นคน จึงนับเป็นการปะทะที่ทำให้ฝ่ายทหาร “เสียเกียรติเสียศักดิ์ศรีที่ทหารหลายพันคนต้องยอมวางโล่ กระบอง และอาวุธทุกอย่างที่มี ยอมแพ้ต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่เวลานั้นยังไม่มีกองกาลังติดอาวุธ ถูกผู้ชุมนุมยึดอาวุธ สั่งการไล่ต้อนให้เดินแถวออกไปสู่ทุ่งนา...”

อย่างไรก็ตามทางฝ่าย นปช. ได้สลายการชุมนุมก่อนที่กำลังหลักของพล. ร. 2 รอ. จะเข้ามายึดคืนในที่สุดในเช้าวันที่ 10 เมษายน ได้มีการส่ังการให้ขอคืนพื้นที่ถนนราชดำเนิน โดยนายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ. ศอฉ. ร่วมกับผู้นำกองทัพ โดยอนุญาตให้ “ใช้อาวุธได้เท่าที่จาเป็น” และ “ต้องจบก่อนสงกรานต์” ผลการปฏิบัติการทำให้ฝ่ายทหารถูกโจมตีจากกองกำลังลึกลับที่เรียกว่า “คนชุดดำ” ทาให้ฝ่ายทหารล้มตาย บาดเจ็บเช่นเดียวกับฝ่าย นปช.

ในปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ 10 เมษายน นั้นมีข้อสังเกตว่าความรุนแรงถูกยกระดับขึ้นเพราะการที่ตัดสินใจผิดพลาดของฝ่ายการเมือง การแทรกแซงของฝ่ายการเมืองในการปฏิบัติการทางทหาร ความผิดพลาดในยุทธวิธี เช่น การเลือกใช้กำลังทหารที่เป็นคู่ขัดแย้งของนปช. คือ พล. ร. 2 รอ. หรือบูรพาพยัคฆ์ที่เพิ่งรู้สึกเสียเกียรติเสียศักดิ์ศรีจากกรณีสถานีดาวเทียมไทยคม การตัดสินใจสลายการชุมนุมในช่วงเช้าแต่ปฏิบัติการยืดเยื้อถึงเวลาค่ำ โยนแก๊สน้ำตากว่า 200 ลูกจากเฮลิคอปเตอร์ แต่กระแสลมพัดกลับไปทิศที่ตั้งของฝ่ายทหาร การตัดสินใจถอนทหารเป็นไปอย่างล่าช้าจนเป็นผลให้ทหารในบังคับบัญชาของ พ.อ.กู้เกียรติ ศรีนาคา ล้มตายและบาดเจ็บกว่า 30 นาย ทหารจาก พล. ร. 9 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.อุทิศ สุนทร เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 188 คน

ในทางตรงกันข้าม ในหนังสือ “ลับ ลวง เลือด” ของวาสนา นาน่วมก็ตั้งข้อสังเกตว่าทหารพล. ร. 2 รอ. หรือบูรพาพยัคฆ์ที่ปฏิบัติการนั้นถูกชี้เป้าให้ถูกสังหารไม่ว่าจะเป็น พล.ต.วลิต โรจนภักดี พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม พ.อ. กู้เกียรติ ศรีนาคา (หน่วยแรกที่ “ตบเท้า” ปกป้องพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา หลังห้องทางานถูกยิงด้วยระเบิด M 79 และร่วมกับ พ.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ที่ออกมาปกป้องนายประนาม พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล) พ.ท. เกรียงศักดิ์ นันทโพธิเดช (ซึ่งถูกระบุว่าเป็นผู้จิกหัวสตรีกลุ่ม นปช. คนหนึ่งซึ่งต่อมาไม่พบว่าเป็นความจริง)

ในบริบทข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับฝ่าย นปช. มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน ขึ้น ก็เกิดความหวาดระแวงระหว่างรัฐบาลกับ นปช.แต่สถานการณ์ไม่ได้ดีขึ้น เพราะฝ่ายรัฐบาลได้ริเริ่มใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย” และแถลงโต้ว่าทหารไม่ได้ทำร้ายประชาชน แต่ในฝ่าย นปช. ยืนยันว่าการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นผลจากปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาล ระหว่างนั้นก็ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงเป็นระยะ เช่น การยิงระเบิด M79 ถล่มสีลมและศาลาแดงในวันที่ 22 เมษายน ขณะที่มีกลุ่มเสื้อหลากสีมาชุมนุมยังผลให้นางธัญนันท์ แถบทองเสียชีวิต และผู้บาดเจ็บกว่า 70 คน เมื่อกลุ่ม นปช. ได้เจรจากับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลโดยยื่นข้อเสนอให้ยุบสภาภายใน 30 วัน (23 เมษายน 2553) แต่นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธไม่ยอมรับเงื่อนไข ส่งผลให้ความตึงเครียดกลับมาอีก

หลังจากการรัฐบาลปฎิเสธเงื่อนไขของ นปช. กลุ่ม นปช.เริ่มปรับวิธีการในการต่อสู้โดยประกาศให้เลิกมวลชนเลิกใส่เสื้อแดง และเริ่มเกิดความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. ในต่างจังหวัดทั้งการปิดถนนพหลโยธิน และยึดรถตำรวจไว้นับสิบคันที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึง นปช.ในจังหวัดอื่นๆ ก็รวมตัวกันเพื่อปิดเส้นทางที่คาดว่ารัฐจะใช้เป็นเส้นทางลำเลียงทหารที่จะเข้ามาในกรุงเทพ

หลังจากเกิดการชุมนุมประท้วงหลายจุดในต่างจังหวัด มีการสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ที่ปิดถนนพหลโยธิน จังหวัดปทุมธานี และจับกุมผู้ร่วมชุมนุมไปจำนวนหนึ่ง ศอฉ. ได้ประกาศให้จัดการสลายการชุมนุมในทุกพื้นที่ที่มีการปิดถนน ในวันที่ 26 เมษายนวันที่ 28 เมษายน เกิดการปะทะกันระหว่าง นปช.ที่นาโดยนายขวัญชัย ไพรพนา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ - ทหาร บริเวณถนนวิภาวดีหน้าอนุสรณ์สถาน ดอนเมือง กลางสายฝน มีทหารเสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

วันที่ 29 เมษายน กลุ่ม นปช. ที่ถูกจับในกรณีปะทะกันหน้าอนุสรณ์สถานฯ บริเวณดอนเมือง ศาลตัดสินจำคุก 1 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ส่วนกลุ่มกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยื่นหนังสือให้หน่วยทหารในพื้นที่ในต่างจังหวัดให้มีการจัดการกับกลุ่ม นปช. ในวันเดียวกันก็มีการยกระดับความตึงเครียดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้นำการ์ด นปช. 200 คน บุกค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากมีข่าวลือว่ามีทหารซุ่มอยู่ในโรงพยาบาล ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

วันที่ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แถลงในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยถึงแผนปรองดองที่เสนอโดยรัฐบาล โดยชี้แจงว่าถ้าสถานการณ์ทางการเมืองสงบลงก็จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ภายในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ และมีการจัดตั้งกรรมการอิสระสอบสวนเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน, 22 เมษายน และ 28 เมษายน

 

การตัดสินใจของรัฐบาล ผ่าน ศอฉ. ในห้วงวิกฤต

นับแต่การเข้าจัดการกลุ่ม นปช. ที่สถานีไทยคม ศอฉ. ประกาศใช้มาตรการ 7 ข้อ จากเบาไปหนัก กฎการใช้กาลัง 7 ข้อ ได้แก่

  1. การชี้แจงทำความเข้าใจ
  2. แสดงกาลังให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความพร้อม
  3. ผลักดันด้วยโล่
  4. การใช้น้ำฉีด
  5. ใช้เครื่องขยายเสียง
  6. แก๊สน้าตา กระบอง
  7. กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซอง

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าแทบจะไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ดาเนินการตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งในแต่ละขั้นตอน โฆษก ศอฉ. ชี้แจงว่าจะพยายามให้ผู้ชุมนุมได้รับทราบความจำเป็นที่จะใช้กฎการใช้กำลัง ทั้ง 7 ข้อก่อน

ความเข้าใจสถานการณ์ในวันที่ 13 พฤษภาคม จึงนับเป็นรอยต่อที่สาคัญของการยกระดับสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น เพราะจากความตึงเครียดของทั้งฝ่าย นปช. และฝ่ายรัฐบาลทำให้ นปช. เกรงว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะเอนเอียงเข้าทางรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีการกดดันให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณเข้ามอบตัวต่อตารวจในฐานะผู้ต้องหา แต่นายสุเทพกลับ “เลือก” มอบตัวต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษและไปในฐานะรองนายกรัฐมนตรี จึงทำให้มวลชนฝ่าย นปช. ไม่พอใจอย่างยิ่ง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ศอฉ. เริ่มกดดันฝ่าย นปช. กลับ โดยแถลงมาตรการกระชับวงล้อมโดยโฆษก ศอฉ. พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด กล่าวว่าไม่สามารถเปิดเผยจานวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในการกระชับวงล้อมได้ และกล่าวต่อไปว่า ศอฉ. มั่นใจว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายอยู่ในที่ชุมนุมและมีอาวุธร้ายแรง หากผู้ก่อการร้ายยิงอาวุธสงครามเข้ามาปะทะกับเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องใช้อาวุธกระสุนจริงยิงสกัดใน 3 กรณี คือ 1. ยิงเพื่อข่มขวัญ ขึ้นฟ้า 2.ยิงป้องกันชีวิต และ 3. ยิงไปยังบุคคลที่มีอาวุธในมือ การประกาศของโฆษก ศอฉ. เป็นช่วงที่น่าสนใจ เพราะเกิดขึ้นก่อน พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผลจะถูกลอบสังหารเพียง 7 ชั่วโมงเศษเท่านั้น ประกาศดังกล่าวจึงเป็นสัญญาณรอการขับเคลื่อนเมื่อ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกลอบสังหารในเวลาประมาณ 19.00 น. และมีความตึงเครียดในกลุ่ม นปช. มากขึ้น และเริ่มมีการยิงพลุจากฝั่ง นปช. และมีเสียงระเบิด M79 เป็นระยะในเวลา 21.30 น. จึงเริ่มมีการใช้ลูกแก้ว หัวน๊อต ยิงไปยังฝ่ายทหาร ซึ่งทหารได้ใช้วิธีการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม การปะทะยกระดับความรุนแรงขึ้น จนนายชาติชาย ชาเหลาถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. และมีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่งจนทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม

 

ข้อสังเกตในตัดสินใจและปฏิบัติการของ ศอฉ. ระหว่าง 13-19 พฤษภาคม 2553

1. ในระหว่างการชุมนุมมีการสร้างภาพความขัดแย้งระหว่างทหารกับ นปช. โดยเฉพาะกองกาลังพล ร.2 รอ. ที่มีฉายาบูรพาพยัคฆ์ กับฝ่าย นปช. ถึงกับมีการบ่งชี้ว่าเป็น “โจทก์เก่า” ส่งผลต่อการตั้งคำถามต่อความรอบคอบเหมาะสมในการตัดสินใจของรัฐบาลและ ศอฉ. ว่ามีทางเลือกที่จะใช้กำลังหน่วยอื่น เช่น หน่วยอรินทราชเพื่อดำเนินการกับชายชุดดำหรือหน่วยปราบจราจลเพื่อดาเนินการกับผู้ชุมนุมทั่วไป นอกจากหน่วย พล ร.2 รอ. หรือไม่ เพราะขณะปฏิบัติการจะเห็นภาพการใช้รถสายพานหุ้มเกราะในวันที่ 19 ทั้งๆ ที่ฝ่ายทหารควบคุมพื้นที่ได้ตัง้แต่กลางดึกของวันที่ 18 พฤษภาคม เป็นต้น

2. ผลสืบเนื่องจากข้อ 1 ทาให้เกิดคาถามตามหลักสากล การกำหนดยุทธวิธีในการเข้าปะทะ (Rule of Engagement) จะต้องไม่ใช้หน่วยทหารที่ถึงขั้นละลายจากการปะทะครั้งก่อนหน้า หรืออาจมีอารมณ์ในการปะทะกับฝูงชนหรือประชาชน ซึ่งมีความโกรธแค้นอยู่เป็นทุนเดิม การเลือกใช้กำลังทหารที่มีการเผชิญหน้ากับ นปช. อย่างต่อเนื่อง สร้างความอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อยแก่กำลังพลจะส่งผลต่อวิธีการปฏิบัติการและปฏิกิริยาสนองตอบต่อประชาชนพลเมืองต่างไปจากหน่วยทหารที่ได้รับการ “พักหรือเว้นวรรค” จากการปฏิบัติหน้าที่ในสนาม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตารวจซึ่งมีการผัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามหน่วยต่างๆ สะท้อนให้เห็นความผิดพลาดของรัฐบาล และ ศอฉ. ในการตัดสินใจเลือกใช้กาลังพลที่มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียวกับประชาชน จนส่งผลให้เกิดอคติอย่างรุนแรง และปฏิบัติต่อประชาชนอย่างรุนแรงโดยลำดับ

สิ่งเหล่านี้น่าจะป้องกันบรรเทาได้ด้วยการใช้หน่วยทหารที่มีความชานาญเฉพาะ เช่น หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาทหาร หรือกลุ่มทหารพัฒนามากกว่าจะใช้หน่วยรบ ขณะเดียวกันปัญหาในการบังคับบัญชากองทัพก็เป็นเรื่องน่าสังเกตว่าสายการบังคับบัญชาในระหว่างก่อนเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าบทบาทของกองทัพในเดือนเมษายนที่กดดันให้รัฐบาลต้องเจรจามากกว่าจะใช้กาลังทหารคำถามสำคัญจึงอยู่ที่ระบบการตัดสินใจและสายการบังคับบัญชาว่ารัฐบาล กองทัพ และ ศอฉ. ใช้หน่วยทหารกลุ่มเดียวกัน นับตั้งแต่ เมษายน 2552, เมษายน 2553 และ พฤษภาคม 2553 สะท้อนการตัดสินใจแบบใด และเป็นการตัดสินใจที่แบบที่เล็งผลชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือหวังผลให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด หรือไม่ ทั้งนี้มีแรงกดดันใดจากภายนอกโครงสร้างรัฐหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาในระยะยาวที่สังคมไทยจะต้องขบคิดทบทวนปฏิบัติการของรัฐต่อประชาชนหรือไม่

3. การเคลื่อนกำลัง ในการเคลื่อนกำลังของกองทัพใช้รถสายพานและรถบรรทุกส่วนหนึ่งในการเคลื่อนกำลังรถสายพานดัดแปลงเพื่อสลายการชุมนุมเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังที่ปรากฏในวันที่ 10 เมษายน ว่าการใช้รถสายพานลำเลียงน่าจะก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาในการข่มขวัญฝ่ายผู้ชุมนุมและช่วยป้องกันนายทหารภาคสนามได้ แต่หลังจากวันที่ 10 เมษายนยุทธวิธีนี้ไม่น่าจะข่มขวัญได้และสร้างความโกรธแค้นมากกว่า

ในการใช้รถบรรทุกพบว่ามีความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพของทหาร เนื่องจากผู้ชุมนุมกระจายตัวไปตามจุดต่างๆ และมีปฏิกิริยาโกรธแค้นต่อการปฏิบัติการทางทหาร ดังจะเห็นจากการเข้าขวาง ทุบรถ ยึด ทำลาย หรือใส่ทรายลงในถังน้ามัน เป็นต้น ในบางกรณีมีการส่งตัวทหารขึ้นรถแท็กซี่ แต่ในบางกรณีทหารถูกทำร้ายจนต้องมีการกันตัวออกไปโดยเร็ว

4. การสื่อสารสั่งการตามสายการบังคับบัญชาในปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กาลังกว่าห้าหมื่นนาย ได้ใช้วิธีการสื่อสารใดในระหว่างปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย หนังสือราชการ สั่งการทางวิทยุ โทรศัพท์มีการสอบทวนคำสั่งที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะจากการที่โฆษก ศอฉ. ออกมาชี้แจงว่าจะยึดมาตรการ 7 ข้อ จากเบาไปหาหนักนั้น ได้มีการเน้นย้ำ และปฏิบัติจริง เพียงไร

ภาพรถจักรยานยนต์ที่ล้มลงพร้อมการเสียชีวิตของพลทหารณรงค์ฤทธิ สาระในวันที่ 28 เมษายน 2553 น่าจะเป็นบทเรียนสาคัญในการจัดการสื่อสารของกองทัพได้ไม่มากก็น้อย และได้แก้ไขปัญหานี้ก่อนจะเข้าขัดการกับ นปช. ในเดือนพฤษภาคม อย่างไร ในบางกรณีก็ยังเป็นปริศนา เช่น บุคลากรของกองทัพอากาศ 2 นาย ขับขี่รถยนต์กระบะเข้าพื้นที่ในวันที่ 17 พฤษภาคมและถูกยิง ทำให้ จ.อ.อ. พงศ์ชลิต พิทยานนทกาญจน์ เสียชีวิต เป็นต้น

5. ในทางยุทธวิธีว่าทหารได้รับคำสั่งให้ดาเนินการกับ นปช. และผู้ชุมนุมอย่างไร มีมาตรการแยกแยะผู้ชุมนุม ออกจากประชาชนทั่วไปและกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่ ทาง ศอฉ. ได้จัดทำแผนใดรับรองหรือไม่ ดังเช่น การดำเนินการกับพระภิกษุที่เข้าร่วมและสังเกตการชุมนุมได้ดำเนินการโดยละมุนละม่อมอย่างไร การปฏิบัติต่อเยาวชนและสตรี ได้กำกับแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมต่อผู้ปฏิบัติงานสนามโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายหรือไม่

6. ปฏิบัติการของ ศอฉ. เน้นการใช้วิธีการใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ เช่น การยิงปืนขึ้นฟ้าถูกใช้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 0.10 น. ซึ่งเป็นเวลากลางดึก จากนั้นก็ใช้วิธีการยิงกระสุนยางในตอนเช้าเวลา 7.00 น. เพื่อเปิดทางให้ทหารเข้าพื้นที่ควบคุม จากนั้นมีการใช้กระสุนยางยิงเปิดทางในเวลาประมาณ 12.00 น. แต่ก็มีการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญอีกในเวลา 12.30 น. มีการใช้แก๊สน้าตาและยิงปืนข่มขู่ควบคู่กัน จนกระทั่งมีการปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มกองกำลังในสวนลุมพินีมีการปะทะกันด้วยกระสุนจริงในช่วงเวลา 12.30-13.30 น. ส่วนการ์ด นปช. ในย่านถนนพระราม 4 ได้จำกัดการตอบโต้เพียงประทัดยักษ์ และพลุบั้งไฟ ในเวลาต่อมามีการปะทะกันระหว่างทหารกับการ์ด นปช. ที่ยิงน็อต หินและลูกแก้วพลุตะไล ขณะที่ทหารเลือกใช้กระสุนยางตอบโต้ การปะทะดาเนินไปจนถึงเวลา 14.00 น. จึงพบผู้เสียชีวิตศพแรกบริเวณริมบึงในสวนลุมพินี

ความรุนแรงจึงถูกยกระดับขึ้นด้วยอารมณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุมและทหารที่ปฏิบัติการ เช่น ที่แยกราชปรารภ เวลา 20.45 ผู้ชุมนุมด่าทอยั่วยุทหาร แต่ทหารยิงปืนขึ้นฟ้าตอบโต้ ผลก็คือมีผู้ชุมนุมถูกกระสุนปริศนายิงเข้าลำคอ ตัดเส้นเลือดใหญ่

ขณะที่ทางแยกมักกะสัน ทหารใช้วิธีเรียงแถวหน้ากระดานกดดันโดยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าและใช้กระสุนยางยิงไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม ความสับสนระหว่างการชุมนุมและการจัดการฝูงชนของ ศอฉ. มีข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 นั้น น่าจะเป็นบทเรียนที่ถูกนำมาพิจารณาก่อนใช้กาลังทหารจัดการฝูงชน เมื่อทหารไม่สามารถใช้วิธีกดดันโดยเริ่มจากการเข้าแถวเรียงหน้ากระดาน แล้วยิงกระสุนยางข่มขวัญ แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนมาใช้กระสุนจริง การดำเนินการเช่นนี้จึงน่าจะขึ้นกับผู้บังคับบัญชาภาคสนามในการตัดสินใจ

กรณีพฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 รัฐบาลเริ่มใช้กำลัง “กระชับวงล้อม” ตั้งแต่เวลา 03.00 น. ในวันที่ 18 พฤษภาคม บางส่วนไปจัดการที่ถนนราชดาเนินโดยใช้กำลัง 1 กองพัน “เรียงหน้ากระดานไปหากลุ่มม็อบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเริ่มเปิดฉากยิงเป็นชุดๆ โดยยิงเฉียงขึ้นฟ้า” ปฏิบัติการดังกล่าวไม่สามารถระงับฝูงชนที่โกรธแค้นได้และนำมาซึ่งความรุนแรงในการปะทะกัน ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของทหารที่ปฏิบัติการ ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติต่อประชาชนและคณะแพทย์ในโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็นภาพที่หลายคนน่าจะยังจดจำได้เป็นอย่างดี

ที่สาคัญคือเหตุใดทั้ง ศอฉ. และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ์ (หรือนายอภิสิทธิซึ่งเป็นผู้รู้เห็นในกรณีพฤษภาคม 2535 โดยตรง) จึงไม่มีการทบทวนบทเรียนจากเดือนพฤษภาคม 2535 ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด เพราะการยิงขึ้นฟ้าข่มขวัญด้วยกระสุนจริงก็เสี่ยงต่อความบาดเจ็บล้มตาย เมื่อกระสุนตกจากท้องฟ้าก็สามารถสร้างอันตรายถึงชีวิตในระดับเดียวกับการประทับเล็งยิงไปข้างหน้า

7. เมื่อรัฐใช้ทหารเข้าจัดการชุมนุมของพลเรือน เครื่องบ่งชี้ความรุนแรงอีกประการหนึ่งได้แก่การใช้กระสุนรบกับประชาชน หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ ์มีการเปิดเผยจานวนกระสุนที่ถูกเบิกจ่ายและใช้ไปในระหว่างการจัดการเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม2553 ยอดเบิกจ่ายกระสุนปืน ตั้งแต่ 11 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 น่าสะเทือนใจเพรา ะพล.อ.ดาว์พงษ์ ถึงกับอุทานว่า "ตัวเลขเป๊ะๆ" นั้น หลุดออกมาได้อย่างไร…”

ตามรายงานการใช้กระสุนปืนและ เครื่องระเบิด (สป.5) ของกรมสรรพาวุธ ทบ. ระบุว่ามีการเบิกกระสุนปืนลูกซองขนาด 12 เกจ เบอร์ 00 ไปทั้งหมดรวม 350,000 นัด แต่ส่งคืนคลังแค่ 301,271 นัด กระสุนปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 ม.ม. เอ็ม 193 ที่ใช้กับปืนเอ็ม-16 เอ 1 จา นวน 20,000 นัด แต่คืนคลัง 17,260 นัด กระสุนปืนเล็กยาว 5.56 เอ็ม 855 หรือที่เรียกกันว่า "กระสุนหัวสีเขียว" ที่ใช้กับปืนเอ็ม-16 เอ 2 จำนวน 150,000 นัด แต่ส่งคืนคลัง 105,268 นัด กระสุนปืนเล็กยาวซ้อมรบ 5.56 หรือกระสุนแบลงค์ 10,000 นัด คืนมาแค่ 3,380 นัด กระสุนปืนเล็กยาวแบบเจาะเกราะ 85,000 นัด ส่งคืน 5,500 นัด กระสุนปืนเล็กยาว 7.62 แมตช์ เอ็ม.852 ที่ใช้กับปืนเอ็ม-60 จำนวน 2,000 นัด ส่งคืน 860 นัด และ กระสุนปืนเล็กยาว 88 ราง 8 นัด จำนวน 50,000 นัด ส่งคืน 45,158 นัด

กระสุนปืนซุ่มยิง (สไนเปอร์) แบบ SG 3,000 ขนาด 7.62 ม.ม. ที่มีการเบิกไปถึง 3,000 นัด แต่มีการนำมาคืนคลัง 480 นัด ในรายงานของหนังสือพิมพ์มติชนถึงกับระบุว่าข้อมูลดังกล่าว “...สะท้อนว่าทหารได้ลั่นกระสุนสไนเปอร์ไปมากกว่า 2,000 นัด…”

8. การตั้งเขตยิงกระสุนจริง ในเขตราชปรารภ และซอยรางน้ำเป็นการสร้างข้อกังขาให้แก่ผู้ได้พบเห็นมาก เพราะเป็นจุดที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดจุดหนึ่ง ผู้ได้รับผลกระทบทั้งจากผู้ชุมนุมและประชาชน เยาวชน จนถึงประชาชนที่พักอาศัยในย่านดังกล่าวเขตยิงกระสุนจริงถูกประกาศในเวลา 11.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ถนนราชปรารภตัดกับแยกดินแดง แต่เพียงไม่นานก็ถูกถอดเปลี่ยนเป็นป้าย “บริเวณนี้ใช้เครื่องมือปราบจราจล” ในเวลา 16.20 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 รวมเวลาที่ใช้กระสุนจริงอย่างน้อย 29 .20 ชั่วโมง หรือหนึ่งวันกับ 5.20 ชั่วโมง

ตามรายงานของ คมชัดลึกระบุว่าประมาณ 11.00 น. มีการระดมยิง M79 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างการประกาศพื้นที่ยิงกระสุนจริงนั้นมีความตึงเครียดมาก เพราะการปะทะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถลำเลียงผู้บาดเจ็บได้ มีการตอบโต้จากผู้ชุมนุมโดยการเผาตู้โทรศัพท์ทำให้เกิดไฟลุกลามไปอาคารใกล้เคียง จากนั้นจึงยึดรถน้ำเพื่อขวางถนน อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าทหารสามารถยึดพื้นที่ ถ. ราชปรารภได้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม แต่การปะทะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีรายงานว่ามีการระดมยิงจากตึกสูงจากกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย วันที่ 15 พฤษภาคม ยังมีการตั้งเขตยิงกระสุนจริงยังขยายไปถึงบริเวณแยกพระราม 4 บ่อนไก่ และหน้าสนามมวยลุมพินีที่มีรายงานว่าทหารติดตั้งป้าย “เขตใช้กระสุนจริง” ในเวลา 18.05 น. และแจกจ่ายอาวุธ M16 ให้แก่ทหาร

เป็นที่น่าสังเกตว่าปฏิบัติการตั้งเขตยิงกระสุนจริงนั้นเป็นไปตามคำแถลงเรื่องมาตรการ 7 ข้อ ของ ศอฉ. หรือไม่? หรือมีคาสั่งในรูปอื่นใดที่อนุญาตให้ทหารปฏิบัติการยกระดับความรุนแรงเป็นการใช้กระสุนจริง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องรอตรวจสอบจากทหารปฏิบัติการจริงทั้งสัญญาบัตรและประทวนในพื้นที่ มิใช่ทหารฝ่ายธุรการที่ส่งมาให้ปากคำแก่สังคม

9. การจัดการหน่วยกู้ชีพ ความสูญเสียอาจลดได้มาก หากรัฐบาลได้จัดเตรียมกาลังและประสานงานกับหน่วยกู้ชีพ เว้นแต่มีความต้องการกำจัดผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 18.30 น. หน่วยกู้ชีพทุกหน่วยถูกสั่งให้ถอนกาลังออกจากพื้นที่ ผู้ชุมนุมรับภาระในการนาผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเอง, ในวันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 16.50 น.รถกู้ชีพไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะถูกทหารยิงสกัดเอาไว้ มีเพียงคันเดียวที่เข้าไปรับคนเจ็บ ได้ในวันนั้น กล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตการณ์ของหน่วยกู้ชีพ เพราะมีอาสาสมัครคือนายมานะ แสนประเสริฐศรี ถูกยิงเสียชีวิตที่ซอยงามดูพลีขณะที่นารถไปรับศพที่โรงพยาบาลเลิดสิน ทั้งๆ ที่เป็นเวลากลางวันประมาณ 17.05 น. มีแสงสว่างชัดเจนพอที่จะแยกแยะได้

10. การเจรจาเพื่อลดระดับความขัดแย้งให้เข้าสู่ภาวะปกติ ความพยายามในการเจรจาของฝ่ายรัฐบาลขึ้นกับบทบาทของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในขณะที่แกนนา นปช. มีบทบาทสำคัญในการเจรจาตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม และเมื่อการเจรจาล้มเหลวจะเห็นได้ว่ามีความพยายามของกลุ่มอื่น เช่น ฝ่ายวุฒิสภาที่เสนอตัวเข้ามาร่วมคลี่คลายวิกฤต ในวันที่ 17 พฤษภาคม เวลา 15.20 น. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี นำคณะมายื่นหนังสือเพื่อเสนอทางออก โดยกลุ่ม ส.ว. ได้ประชุมมีข้อเสนอยุติหาทางออกให้กับบ้านเมือง คือ

1. ขอให้รัฐบาลยุติการใช้กำลังสลายการชุมนุม 2. ขอให้กลุ่ม นปช. หยุดโต้ตอบการใช้ความรุนแรงและ 3. ขอให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทางวุฒิสภาพร้อมเป็นตัวกลางซึ่งกลุ่ม ส.ว. ยืนยันว่ายื่นข้อเสนอกับทางรัฐบาล และรัฐบาลพร้อมเจรจา แต่ที่ผ่านมาการเจรจามีปัญหา เพราะ นปช. มีการเปลี่ยนแปลงข้อเจรจาตลอดเวลา กระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 19.10 น. คณะตัวแทน 64 ส.ว. ประกอบด้วย พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี นางนฤมล ศิริวัฒน์ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ และนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ได้เข้าหารือกับแกนนา นปช. เพื่อยื่นข้อเสนอในการเจรจาปรองดองกับรัฐบาล พล.อ.เลิศรัตน์ แถลงว่า กลุ่ม ส.ว. มีความห่วงใยในสถานการณ์บ้านเมืองจึงมีมติมาช่วยคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมือง มีการส่งตัวแทนเพื่อเข้ายื่นข้อเสนอต่อนายกฯ และมาประชุมกับแกนนา นปช. ซึ่งได้รับข้อสรุปว่าแกนนา นปช.เห็นชอบข้อเสนอของ ส.ว. ที่จะให้ประธานวุฒิสภาเป็นทูตประสานการเจรจา โดยจะให้มีการหยุดยิงทั่ว กทม. ทั้งบ่อนไก่ ราชปรารภ และศาลาแดง ทั้งนี้แกนนา นปช. ยังเรียกร้องผ่านประธานวุฒิสภา ให้เจ้าหน้าที่เลิกใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมทุกกรณี ที่เกิดความรุนแรงตลอด 5 วัน เป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม และทำให้เกิดความรุนแรงโดยไม่เจตนา ในฐานะที่เป็นทหาร เชื่อว่าทหารไม่มีใครอยากฆ่าประชาชนคนไทยด้วยกัน และให้มีการยุติการใช้อาวุธและความรุนแรง

อย่างไรก็ดี ไม่มีคาตอบจากฝ่ายรัฐบาลจนวินาทีสุดท้ายที่เข้าสลายการชุมนุม ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งกรณี 6 ศพวัดปทุมวนารามอีกด้วยข้อเสนออื่นๆ

11. การละเลยรายละเอียดเล็กๆ แต่สาคัญในเทคนิคการเจรจาแบบสันติวิธี เช่น การจัดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนา นปช. เป็นจัดโต๊ะแบบประจันหน้า ที่กาหนดลำดับชั้น อาวุโส และการเป็นคู่ตรงกันข้าม น่าเสียดายว่าทีมสันติวิธีที่เป็นคนกลางน่าจะพิจารณาจัดโต๊ะแบบกลมเพื่อเลี่ยงความรู้สึกประจันหน้าระหว่างศัตรู นอกจากนี้ เราจะเห็นได้ว่าในช่วงท้ายๆ ของการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ได้มีความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาจานวนหนึ่งพยายามเสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่ทาง ศอฉ. ไม่สนองตอบแต่อย่างใด ยังคงรุกคืบเข้ากระชับพื้นที่ ถึงแม้ว่าจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาถึงตอนนี้อาจเป็นเรื่องไร้เดียงสาที่จะกล่าวว่ากระบวนการสันติวิธีในสังคมไทยล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ข้อสังเกตทั้ง 11 ข้อ เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเพื่อคลี่คลายปัญหาการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งบทเรียนน้ีจะได้ขยายการศึกษาในระยะยาวต่อไป

 

ข้อสังเกตว่าด้วยผู้ชุมนุมที่บาดเจ็บและเสียชีวิต

1. กลุ่มผู้บาดเจ็บ เอกสารที่ได้จากสถานพยาบาล ได้มีสถิติคนเจ็บระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พบว่ามีคนจ็บที่ถูกบันทึกเอาไว้จานวน 582 ราย เวลาที่ผู้บาดเจ็บถูกนาส่งโรงพยาบาลเป็นเวลาระหว่าง 12.00 - 18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุดถึงร้อยละ 30 เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นเวลากลางวันที่ผู้บาดเจ็บน่าจะเป็น “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนและผู้ยิงหรือสั่งการยิงมาสามารถ “เห็น” ได้เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดปกติ รองลงมาคือกลุ่มที่ถูกยิงระหว่างหลังเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้ากว่าร้อยละ 16 แต่กลุ่มผู้บาดเจ็บที่มากที่สุดไม่สามารถระบุเวลาแห่งอาการบาดเจ็บได้ถึงร้อยละ 41

ในกลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นพลเรือนถึงร้อยละ 90.2 ขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารตารวจร้อยละ 7.04
กลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นชายมากที่สุดคือร้อยละ 93.99 และเพศหญิงร้อยละ 5.84

ในการบาดเจ็บที่ระบุอาการได้ พบว่า ถูกกระสุนร้อยละ 45.36 สามารถจำแนกเป็น
บาดแผลที่ศีรษะร้อยละ 9.59 คอร้อยละ 2.24 ลำตัวร้อยละ 27.4 ช่วงแขนร้อยละ 22.26 ขาร้อยละ 28.77

2. กลุ่มผู้เสียชีวิตซึ่งนับเฉพาะบริเวณบ่อนไก่พระราม 4 ร้อยละ 20 สีลม (ศาลาแดง สวนลุมพินี และราชดำริ) ร้อยละ 22 รางน้าดินแดงร้อยละ 30 ราชปรารภ และซอยหมอเหล็งร้อยละ 7

รวมยอดผู้เสียชีวิตในเขตดังกล่าว ระหว่าง 13-19 พฤษภาคมมีจำนวน 55 ราย กลุ่มใหญ่ที่สุดคืออายุวัยฉกรรจ์จนถึงวัยกลางคน คือระหว่าง 20-49 ปี ในกลุ่มนี้เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ (รับจ้าง แท็กซี่ อาสาสมัครและค้าขาย) กว่าร้อยละ 61 เป็นทหารร้อยละ 6 ภูมิลาเนาของผู้เสียชีวิตมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 42 รองลงมาคือ กรุงเทพมหานครร้อยละ 35 ไม่สามารถระบุได้ร้อยละ 15

ตำแหน่งบาดแผลที่มีนัยสาคัญต่อการเสียชีวิต พบว่าร้อยละ 36 เป็นบาดแผลที่ศีรษะ ช่วงอกร้อยละ 27 ช่วงลำตัวร้อยละ 12 ลำคอร้อยละ 11 สาเหตุของการเสียชีวิตได้แก่อาวุธปืนถึงร้อยละ 78 ร้อยละ 9 เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

มีข้อสังเกตว่าอัตราส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่บาดเจ็บจากกระสุนปืน และน่าจะพิจารณาประกอบกับการปฏิบัติการของ ศอฉ. ว่าเป็นไปด้วยความละมุนละม่อมหรือไม่อย่างไร เพราะสัญญาณของความรุนแรงที่มากขึ้นน่าจะสัมพันธ์โดยตรงกับการห้ามรถกู้ชีพเข้าพื้นที่และมีเจ้าหน้าที่กู้ชีพถูกสังหาร

 

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม ได้ที่ : ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น