โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ครส. ไต่สวนกรณี บ.ฝรั่งเศส เลิกจ้างคนงานหลังเป็นสมาชิกสหภาพฯ

Posted: 23 May 2011 08:58 AM PDT

คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) พิจารณานัดแรกกรณีการเลิกจ้างคนงานจำนวน 5 คนของบริษัทแอร์ลิควิท หลังเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนงานในกิจการประเภทเดียวกัน

23 พ.ค. 54 - นายสุทธิรักษ์ ยะโลมพันธุ์ ประธานสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ระบุว่าในวันนี้ (23 พ.ค.  54) คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ได้พิจารณานัดแรกกรณีการเลิกจ้างคนงานจำนวน 5 คนของบริษัทแอร์ลิควิท จำกัดจากการที่คนงานกลุ่มดังกล่าวได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนงานในกิจการประเภทเดียวกัน  โดยในวันนี้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้สอบปากคำคนงานที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 2 คนและยังไม่มีข้อสรุป

หนังสือร้องเรียนของคนงานต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ระบุว่า การเลิกจ้างดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตร 121 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้าง “เลิกจ้างหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพื่อเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน” รวมทั้งบัญญัติไว้อีกว่า ห้ามมิให้นายจ้าง “ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานหรือขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน”

กรณีการเลิกจ้างดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 13 ก.พ. 54 ภายหลังจากที่คนงานแอร์ลิควิทจำนวน 4 คนได้แจ้งให้นายจ้างทราบว่า พวกเขาได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแล้ว โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 54 ได้มีการเลิกจ้างคนงานที่เป็นสมาชิกสหภาพฯ 1 คนโดยนายจ้างให้เหตุผลว่า คนงานกระทำผิดข้อบังคับของบริษัทในการหลีกเลี่ยงการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ โดยคนงานถูกเลิกจ้างทั้งหมดความต้องการให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานเนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักหลังจากถูกเลิกจ้าง

นายสุทธิรักษ์ ให้ความเห็นว่า สิทธิการรวมกลุ่มของคนงาน นอกจากจะเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไทยแล้ว ยังเป็นการใช้สิทธิแรงงานตามมาตรฐานแรงงานสากลที่บริษัทต่างๆ ควรยอมรับโดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติในประเทศไทย มาตรฐานแรงงานสากลที่รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงานได้แก่ อนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยสิทธิในการรวมกลุ่ม รวมทั้งแนวปฎิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ต่อบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งบริษัทแอร์ลิควิทเป็นบริษัทจากประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของ OECD

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Enemies of the People ฉันอยู่นี่...ศัตรูที่รัก

Posted: 23 May 2011 08:44 AM PDT

Enemies of the People ฉันอยู่นี่...ศัตรูที่รัก [1]

(บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์)

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Enemies of the People [2] หรือชื่อไทยว่า ‘ศัตรูประชาชน’ เกิดขึ้นจากคำถามในใจของผู้กำกับร่วม เต็ต สมบัติ (Thet Sambath) ซึ่งเป็นคำถามเดียวกับคำถามที่คนทั้งโลกเฝ้าสงสัยมาเป็นเวลากว่าสามสิบปีว่า “ทำไมจึงมีผู้คนเสียชีวิตมากมายกว่าสองล้านคนในระยะเวลาเพียง 4 ปี (1975-1979) ที่เขมรแดง (Khmer Rouge) ปกครองกัมพูชา” เต็ต สมบัติในฐานะเหยื่อคนหนึ่งของระบอบเขมรแดง -เนื่องจากพ่อของเขาถูกทหารเขมรแดงฆ่าตาย แม่ถูกบังคับให้แต่งงานกับทหารเขมรแดงและตายเนื่องจากคลอดลูก อีกทั้งพี่ชายก็หายสาบสูญไปช่วงนั้น- เฝ้าเก็บความสงสัยและความเจ็บปวดไว้ในใจมาตลอดชีวิต จนเมื่อเขามีโอกาสใกล้ชิดกับนวน เจีย ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในนามพี่ชายหมายเลขสองของระบอบเขมรแดง (พี่ชายหมายเลขหนึ่งคือพอล พต) เต็ต สมบัติ ตัดสินใจว่า เขาต้องทำสารคดีเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ และส่วนหนึ่งเพื่อปลดปล่อยและเยียวยาบาดแผลในจิตใจของตัวเขาเอง [3]

เช่นที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “ภาพยนตร์สารคดีคือความจริงในสายตาผู้เล่าเรื่อง” เต็ต สมบัติพาคนดูติดตามระยะเวลากว่าสิบปีที่เขาร่วมงานกับนวน เจีย ในฐานะคนทำหนังสารคดีและบุคคลที่เป็นประเด็นของหนัง (Subject) พาไปดูกระบวนการทำงานและความยากลำบากที่เขาต้องเผชิญในฐานะคนทำหนังเมื่อบุคคลที่เป็นประเด็นของหนังอย่าง นวน เจีย ที่แม้จะสูงวัย แต่ยังคงมีลักษณะของนักการเมืองผู้ผ่านสนามมาอย่างโชกโชน เต็ต สมบัติ พาคนดูไปสัมผัสกับชีวิตของเขาหลังจากสูญเสียพ่อแม่และความรู้สึกของครอบครัวที่แม้จะไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่เคยคัดค้านตลอดเวลากว่าสิบปีที่เขาทุ่มเทให้กับการค้นหาความจริงมากกว่าสิ่งอื่นใด

เต็ต สมบัติพาคนดูไปพบไปพูดคุยกับอดีตนักฆ่าแห่งทุ่งสังหารผู้เคยปลิดชีวิตประชาชนชาวกัมพูชาศพแล้วศพเล่าในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ เหนือสิ่งอื่นใด คือคำบอกเล่าของนวน เจีย เกี่ยวกับการปกครองและอุดมการณ์ทางการเมืองของเขมรแดง ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสุดท้ายที่เหลืออยู่หลังการเสียชีวิตของพอล พต

ในแง่ของกลวิธีการเล่าเรื่อง Enemies of the People อาจจะไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก เมื่อเทียบกับสารคดียุคใหม่ แม้กระทั่งสารคดีเกี่ยวกับเขมรแดงอย่าง S-21: The Khmer Rouge Killing Machine ของผู้กำกับฤทธี ปาน (Rithy Panh) ที่นำผู้รอดชีวิต 2 คนจากคุกตวลสแลงหรือ Security Prison 21 มาเผชิญหน้ากับผู้คุม, ผู้ทำประวัติ, แพทย์ และช่างภาพที่เคยทำงานในคุกตวลสแลงภายใต้ระบอบเขมรแดง

การเล่าเรื่องของ Enemies of the People นั้นเรียบง่ายตรงไปตรงมา ผ่านมุมมองของเต็ต สมบัติ ในฐานะเหยื่อของระบอบเขมรแดง แต่สิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ในสารคดีเรื่องนี้คือข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากปากของผู้นำเขมรแดงระดับสูงอย่างนวน เจีย เพราะหลังจากยุคเรืองอำนาจของเขมรแดงสิ้นสุดลง มีหนังสือและตำราวิชาการมากมายที่เขียนและวิเคราะห์ถึงความโหดร้ายและความเป็นมาเป็นไปของระบอบเขมรแดง แต่ข้อมูลทั้งหมดล้วนแล้วแต่มาจากสองฝ่ายคือ 1) เหยื่อของระบอบเขมรแดงชาวกัมพูชา 2) นักวิชาการและนักเขียนต่างชาติ แต่ไม่เคยมีใครได้รับรู้ถึงอุดมการณ์เบื้องหลังและวิธีคิดของเหล่าผู้นำระดับสูงอันเป็นที่มาของปรากฏการณ์ทุ่งสังหาร

ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือการปฏิวัติในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นลาว, กัมพูชา หรือเวียดนามมักจะไม่ใช่การปฏิวัติตามอุดมการณ์ชนชั้นแบบมาร์กซ์หรือเลนิน แต่อาศัยประโยชน์จากลัทธิชาตินิยมมาเป็นฐานในการปฏิวัติ ในกรณีเขมรแดงก็เช่นกัน นอกจากการปลดปล่อยประชาชาติกัมพูชาจากจักรวรรดินิยมอเมริกาแล้ว หลังจากปฏิวัติกัมพูชาสำเร็จ นวน เจีย เล่าให้เต็ต สมบัติ ฟังว่า หลังจากปฏิวัติกัมพูชาสำเร็จ ตัวเขาและพอล พต พยายามสร้างสังคมที่เท่าเทียม ก้าวหน้า และสงบสุข แต่เขมรแดงทำพลาดเมื่อปล่อยให้ศัตรูแทรกซึมเข้ามาทำลาย ดังนั้นเขาจึงยืนยันว่าสิ่งที่เขาและพอล พต ทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะคนเหล่านั้นเป็น ‘ศัตรูของประชาชน’

นอกจากนวน เจีย แล้ว การติดตามไปสัมภาษณ์มือสังหารระดับหมู่บ้านและผู้นำระดับแขวงในยุคเขมรแดงก็เป็นส่วนที่น่าสนใจมากเช่นกัน มือสังหารในระดับหมู่บ้านอย่างลุงสูนและลุงคูนอาจจะฆ่าคนเพียงเพื่อเอาตัวรอดในยุคเขมรแดง แต่สิ่งที่น่าสนใจคืออุดมการณ์เบื้องหลังความคิดของผู้นำระดับแขวงอย่างป้าเอมที่กล่าวกับเต็ต สมบัติว่า เธอเสียใจเสมอเมื่อนึกว่าตัวเองอาจจะเคยออกคำสั่งสังหารผู้บริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเสียใจที่ออกคำสั่งสังหารผู้ทรยศชาติทรยศแผ่นดิน และแม้กระทั่งวันที่เต็ต สมบัติ พามือสังหารระดับหมู่บ้านทั้งสองคนไปพบกับนวน เจีย นวน เจียยังบอกกับมือสังหารทั้งสองคนว่า พวกเธอจงภูมิใจที่ได้มีโอกาสทำเพื่อชาติ

ความหมายของชาติในสายตาของป้าเอมและนวน เจีย นั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงในเวลานี้ แม้ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบต่างยุคต่างสมัยก็ตาม เพราะในยุคสมัยของเขมรแดง เป็นช่วงที่สงครามเย็นส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคเอเชีย และเป็นช่วงใกล้เคียงกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (1973) และ 6 ตุลาคม 2519 (1976) ในประเทศไทย ความหวาดระแวงการล้มครืนของโดมิโนและการปะทะกันของสองขั้วอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างจีนและโซเวียตได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนคนธรรมดาในกัมพูชาอย่างมหาศาล แต่ในยุคโพสต์โมเดิร์น-ในศตวรรษที่ 21-ในประเทศเพื่อนบ้านของกัมพูชา ไม่น่าเชื่อว่าอุดมการณ์ชนิดและรูปแบบเดียวกันยังสามารถทำงานรับใช้ผู้กำหนดนิยามคำว่า ‘ชาติ’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภายใต้อุดมการณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ (อุดมการณ์หลักของชาติ) เราสามารถมองดูเพื่อนร่วมชาติตายไปโดยไม่รู้สึกอะไรเพราะเขาและเธอเหล่านั้นเป็นศัตรูของชาติ ภายใต้อุดมการณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ เราต้องไล่ล่าและทำลายล้างผู้คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างเพราะเขาและเธอเหล่านั้นเป็นภัยต่อสถาบันหลัก ภายใต้อุดมการณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ เราสนับสนุนให้กองทัพทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้อุดมการณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ หลายคนเชื่อว่า ตนเองกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องในการปกป้องความเป็นชาติไทย ไม่ต่างกับที่นวน เจีย ยืนยันว่าเขาและพอล พตได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้กัมพูชาสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน
 

....................................

หมายเหตุ Enemies of the People เข้าฉายที่โรงเอสเอฟซีนีม่า เซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ในโครงการ Director’s Screen Project ของบริษัทเอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น http://www.extravirginco.com/enemiesofthepeople

อ้างอิง

  1. ชื่อหนังสือรวมเรื่องสั้นของ ส. เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
  2. ชมตัวอย่างภาพยนตร์ Enemies of the People และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://enemiesofthepeoplemovie.com/
  3. อ่านความคิดเห็นของผู้กำกับ “เสวนา : “Enemies of the people” ว่าด้วยเบื้องหลังการฆ่าล้างศัตรูประชาชน” http://www.prachatai3.info/journal/2011/05/34678
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุรพศ ทวีศักดิ์ : “ธรรมนิยม” ทางเลือกใหม่ของสังคมไทย?

Posted: 23 May 2011 08:34 AM PDT

กว่า 5 ปีมานี้ เรานำคำว่า “ธรรมะ” มาใช้จนสังคมเละตุ้มเปะกันหมดแล้ว

"ท่านพุทธทาสท่านพูดว่า ถ้ามีธรรมมะแล้ว ก็ไม่ต้องมีการเมือง ประเทศไทยภายใต้ธรรมนิยมคือ มีความเข้าใจในความเป็นจริง เข้าใจความเป็นไปของชีวิต เข้าใจความเป็นไปของโลก และเท่าทันมัน ในเชิงธรรมมะสุดท้ายแล้วชีวิตก็เป็นเรื่องชั่วคราว สุดท้ายตายแล้ว ก็เอาอะไรไปไม่ได้"
สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ (มติชนออนไลน์ 22 พ.ค.2554)

นี่คือคำอธิบายของ “เช็ค” สุทธิพงษ์ เมื่อเขาถูกซักว่า ประเทศไทยควรเป็นรูปแบบ "เสรีนิยม" ที่อาจมีช่องว่างระหว่างคนจน-คนรวย หรือเป็น "สังคมนิยม" ที่ทุกคนเสมอภาคกัน? และเขาเสนอ "ทางเลือกใหม่-ทางเลือกที่สาม" โดยเห็นว่า ประเทศไทยควรเป็น "ธรรมนิยม" เพราะ "ธรรมะ" อยู่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย

อ่านมุมมองนี้แล้ว ทำให้ผมรู้สึกว่า “ธรรมะ” อาจเป็นคำที่มีปัญหามากที่สุดคำหนึ่งในสังคมไทย ที่ว่ามีปัญหาไม่ได้หมายความว่าเป็นคำที่ไม่ดี แต่มันเป็นคำที่ถูกนำมาใช้อย่างครอบจักรวาล เป็นยาวิเศษรักษาทุกโรค สร้างความสับสน หรือถึงขั้นมั่วมากๆ เลยก็ว่าได้

ท่านพุทธทาสนิยาม “ธรรมะ” ว่า หมายถึง ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ การปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ และผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ ตามนิยามนี้ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ ฉะนั้นความหมายของธรรมะจึงครอบจักรวาล เวลาหยิบคำนี้มาใช้ก็ใช้เสมือน “เชื่อ” ว่า มันอธิบายปัญหาได้ครอบจักรวาลจริงๆ

เช่น ที่สุทธิพงษ์อ้างคำพูดของท่านพุทธทาสว่า “ถ้ามีธรรมะแล้ว ก็ไม่ต้องมีการเมือง” สมมติฐานนี้เป็นไปได้ทางเดียวเท่านั้น คือเป็นไปตามสมมติฐานทางปรัชญาการเมืองที่ว่า ในสภาพสังคมตามธรรมชาติเป็น “สังคมก่อนสังคมการเมือง” ที่คนอยู่กันอย่างไร้กฎกติกา แต่นั่นมั่นเป็นสมมติฐานทางปรัชญาการเมืองเพื่อใช้อธิบายว่าทำไม “สังคมการเมือง” หรือสังคมที่มีกติกามีสัญญาประชาคมในการอยู่ร่วมกันจึงเกิดขึ้น โดยข้อเท็จจริงแล้วสังคมก่อนสังคมการเมืองจะมีอยู่จริงหรือไม่นั้น ดูเหมือนจะไม่มีข้อพิสูจน์แน่ชัด

สังคมที่เรารู้จักกันจริงๆ คือ “สังคมการเมือง” ซึ่งเป็นสังคมที่มีกติกาบางอย่างในการอยู่ร่วมกันเสมอ ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสังคมซึ่งไม่มีการเมือง แม้แต่สมติให้คนไทยบรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์กันทุกคน สังคมไทยก็ต้องมีการเมือง หรือต้องเป็นสังคมที่ต้องอยู่กันด้วยระบบ/กติกาบางอย่างที่เป็นหลักประกัน “ความเป็นธรรม” ในการอยู่ร่วมกัน

ประเด็นสำคัญ ผมไม่รู้ว่าสุทธิพงษ์กำลังพูดถึง “ธรรมนิยม” ในฐานะเป็นหลักการของปัจเจกบุคคล หรือหลักการทางสังคมกันแน่?

เพราะเมื่อเขาใช้คำว่า “ประเทศไทยภายใต้ธรรมนิยม” ดูเหมือนเขากำลังเสนอหลักการทางสังคม แต่คำขยายความต่อมาที่ว่า “คือ มีความเข้าใจในความเป็นจริง เข้าใจความเป็นไปของชีวิต เข้าใจความเป็นไปของโลก และเท่าทันมัน ในเชิงธรรมมะสุดท้ายแล้วชีวิตก็เป็นเรื่องชั่วคราว สุดท้ายตายแล้ว ก็เอาอะไรไปไม่ได้” คำขยายนี้มันมีความหมายในเชิงเป็นหลักการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล

นี่คือตัวอย่างของความสับสนของการใช้คำว่า “ธรรมะ” ในสังคมไทย มันสับสนว่าในนามของ “ธรรมะ” คุณกำลังเสนอหลักการอะไรกันแน่เพื่อให้เป็น “ทางเลือกที่สาม” แทนเสรีนิยม และสังคมนิยม

กว่า 5 ปีมานี้ เรานำคำว่า “ธรรมะ” มาใช้จนสังคมเละตุ้มเปะกันหมดแล้ว มีการใช้ “ธรรมนำหน้า”ไปสู่รัฐประหาร สร้างอุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่งจนต้องรบกับประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่งธรรมนำหน้ามาถึงการประกาศชวน “ผบ.ทบ.ออกมารณรงค์โหวตโน” (เป็นคำเชิญชวนของพิภพ ธงไชย ประกาศผ่านทางเอเอสทีวี แสดงว่า “ธรรมนำหน้า” นี่ใช้ “บริการ” จาก ผบ.ทบ.ทุกเรื่องเลยว่ะ/ครับ)

ย้อนไปช่วงที่กระแสเสื้อเหลืองกำลังแรง เราได้ชมสปอร์ตของท่านพุทธทาสทางเอเอสทีวีทุกวันว่า “ประชาธิปไตย ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ต้องประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ หากประชาชนเป็นใหญ่ ถ้าประชาชนบ้าๆบอๆก็ฉิบหายกันหมด” (ประมาณนี้)

คำพูดแบบนี้มีปัญหามาก เพราะถามได้ว่านิยาม “ประโยชน์ของประชาชน” ใครควรเป็นผู้มีอำนาจนิยาม และมีอำนาจตัดสินว่าจะเลือกประโยชน์แบบไหน หากไม่ใช่ประชาชนต้องเป็นผู้นิยาม เป็นผู้เลือก และต่อให้ประชาชนบ้าๆบอๆกันทั้งประเทศเลย จะมีเทวดาที่ไหนมานิยามหรือเลือกประโยชน์ที่ดีที่สุดให้แก่ประชาชนได้จริง

ประเด็นคือ มันไม่จริงหรอกครับที่ประชาชนจะบ้าๆบอๆกันทั้งหมด (หรือบ้าๆบอๆกันตลอดไป) และมันเป็นไปไม่ได้ที่จะมี “อภิชน” มาคิดแทนว่าอะไรคือประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน โดยที่อภิชนเหล่านั้นไม่เอาเปรียบประชาชน ฉะนั้น ประชาธิปไตยที่บอกว่าประชาชนเป็นใหญ่มันจึงชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้วว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการนิยามประโยชน์และเลือกประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่พวกเขาเอง

ที่สำคัญ ประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่วางอยู่บนความเชื่อมั่นใน “ความเป็นมนุษย์” ของประชาชนในฐานะเป็น “สัตว์ที่มีเหตุผล” เมื่อประชาชนมีเสรีภาพในการใช้เหตุผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เขาย่อมสามารถเลือกประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ตนเองและส่วนรวมได้

แม้จะเป็นจริงว่า อาจมีประชาชนบ้าๆบอๆ แต่ในประวัติศาสตร์เราไม่เคยพบว่าประชาชนบ้าๆบอๆได้สร้างความเสียหายแก่สังคมมนุษย์เท่ากับ “อภิชนบ้าๆบอๆ” ฉะนั้น ข้ออ้างเรื่องประชาชนบ้าๆบอๆจึงไม่อาจหักล้างความหมายของประชาธิปไตยที่ถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้

ธรรมะนั้นดีแน่ ถ้าใช้ถูกเรื่อง ไม่มั่ว แต่ถ้าใช้ผิดเรื่องนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว การอ้างธรรมะอ้างศีลธรรมแบบครอบไปทุกเรื่อง บางทีมันก็ “บดบัง” ไม่ให้เราเห็นปัญหาที่แท้จริง

เพราะเราจะเห็นแต่ว่าคนนั้นคนนี้ไม่มีธรรมะ ไม่มีศีลธรรม มีอคติ โกรธกัน เกลียดกัน ฆ่ากัน เพียงเพราะไม่เข้าใจสัจธรรมของชีวิต ความเป็นไปของโลกตามที่ธรรมะสอน แต่มองไม่เห็นปัญหาเชิงระบบ เช่น ไม่เห็นปัญหาโครงสร้างอำนาจเผด็จการจารีตที่ครอบงำสังคมตลอดมา ไม่เห็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคมในมิติต่างๆ ที่สำคัญไม่เห็นแม้กระทั่ง “ความไม่ชอบธรรม” ที่รัฐกระทำต่อประชาชน ฯลฯ

เรามองเห็นแต่ความโลภ โกรธ หลง ในใจคน แล้วก็โหยหา "ธรรมะที่อยู่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย” และจินตนาการว่าจะมี “บุคคลแห่งธรรม” มาปลดเปลื้องความวุ่นวายนั้นๆ ให้กับคนทั้งหมด ซึ่งเป็น “มายาคติ” ที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึกของเรามานาน

ท่านพุทธทาส พระไพศาล พระ ว. วริรเมธี เป็นต้น ล้วนแต่เป็นพระที่ทำคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนาและสังคมไทยหลายด้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรตั้งคำถาม หรือวิพากษ์วิจารณ์ทัศนะทางสังคม-การเมือง หรือคำสอนบางอย่างของท่านเหล่านี้

และแม้แต่ธรมะที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็ควรตั้งคำถามด้วยเช่นกันว่า คำสอนในมิติทางสังคมและการเมืองนั้น จะถือว่ามีสถานะเป็น “อกาลิโก” เหมือนคำสอนเรื่อง “นิพพาน” หรือไม่

เพราะไม่มีทัศนะทางสังคม-การเมืองใดๆ ที่ไม่มีบริบท เมื่อบริบทเปลี่ยนไป จะเรียกหาคำสอนในบริบทเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วมาเป็น “สูตรสำเร็จ” หรือเป็น “ทางเลือก” ของสังคม-การเมืองในปัจจุบันได้อย่างไร !

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสนอ ‘ปัตตานีสันติธานี’ ในเวทีกระจายอำนาจดับไฟใต้

Posted: 23 May 2011 08:21 AM PDT

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี จังหวัดปัตตานี สมาคมปัญญาชนมุสลิมร่วมกับ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกลุ่มปัญญาชนมุสลิมเรื่อง “ไฟใต้ดับด้วยการกระจายอำนาจ?” มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน ประกอบด้วย ปัญญาชนมุสลิมหลายอาชีพ อุสตาซ(ครูสอนศาสนาอิสลาม) นักธุรกิจ สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคม

ในเวทีมีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ.... ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความเห็น และมีการเปิดประเด็นเรื่อง“ไฟใต้ดับด้วยการกระจายอำนาจ? โดย นายอุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายอัคคชา พรหมสูตร สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชค หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยาย

ตัวแทนกลุ่มปัญญาชนจากจังหวัดปัตตานี เสนอให้แก้ไขชื่อ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร เป็น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการปัตตานีดารุสสลามหรือปัตตานีสันติธานี รวมทั้งให้มีเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ส่วนสงขลากับสตูลถ้าเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ให้เพิ่มภายหลัง

“เพราะปัญหาหนักจริงๆตอนนี้อยู่ที่ 3 จังหวัดนี้ และให้แก้ไขให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาปัตตานีมหานครมีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมถึงต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาซูรอ (สภาที่ปรึกษา) ที่มีตัวแทนมาจากทุกภาคส่วนด้วย”

ส่วนตัวแทนกลุ่มปัญญาชนจากจังหวัดยะลา เสนอให้มีผู้ว่าการมหานครปัตตานีมาจากการเลือกตั้ง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาร่วมพิจารณาด้วย ส่วนรองผู้ว่าไม่ต้องระบุศาสนา

“ปัตตานีมหานครต้องประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ด้านงบประมาณให้คนในพื้นที่บริหารจัดการกันเอง ส่วนทรัพยากรนั้นให้มีการตกลงผลประโยชน์กับส่วนกลางให้ลงตัว”

นายอัคคชา กล่าวว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดในเรื่องการกระจายอำนาจคือการฝ่าด่านกระทรวงมหาดไทย ถ้าแนวคิดปัตตานีมหานครเป็นจริงได้ ก็จะเปรียบเสมือนโดมิโนที่จะติดต่อไปยังส่วนอื่นๆของประเทศไทย เพราะการให้อำนาจคนในท้องถิ่น สามารถปกครองด้วยกันเองได้ คือการกระจายอำนาจที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้คนในท้องถิ่นนั้น รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของบ้านไม่ใช่แค่เพียงผู้อาศัย

รศ.ดร.ฉันทนา กล่าวว่า รูปแบบการกระจายอำนายต้องเน้นในข้อตกลงร่วมกันระหว่างส่วนท้องถิ่นและส่วนกลาง ต้องอยู่ในจุดที่ยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย คือท้องถิ่นเปรียบเสมือนการต้องการรักษาการปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวของตัวเอง จะเกิดความมั่นใจในการอยู่ร่วมกันกับคนกลุ่มใหญ่ คือส่วนกลาง โดยรูปแบบต้องให้คนในท้องถิ่นกำหนดเองทั้งด้านการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ต้องให้คนในท้องถิ่นพิจารณากันเอง แต่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับส่วนกลางด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สงขลาสั่งเดินหน้าด่านใหม่สะเดา ชาวบ้านเมินเปิดเจรจารอบใหม่

Posted: 23 May 2011 08:17 AM PDT

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 ที่ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายพิศาล ทองเลิศ ทองเลิศ รองผู้ว่าจังหวัดสงขลา เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามพิจารณามติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเครือข่ายเพื่อการปฏิรูปสังคม และการเมือง โดยมี นายบุญเทียม โชควิวัฒน นายด่านศุลกากรสะเดา นายกำพล ภาคสุข ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาธาร ผู้ช่วยนายด่านศุลกากรสะเดา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

นายพิศาล เปิดเผยหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้หารือปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านชายแดนสะเดาแห่งใหม่ พื้นที่ 720 กว่าไร่ ไม่ยอมเจรจาไกล่เกลี่ยค่าผลอาสินกับนายนพดล สองเมือง นายอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งยังคัดค้านไม่ยอมให้สร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ด้วย

นายกำพล ภาคสุข ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือเพื่อหาทางออกจากมติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนฯ ที่มอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แจกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน( ส.ป.ก.4-01) ให้ชาวบ้านในกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก ซึ่งมติดังกล่าวขัดกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อเดือนธันวาคม 2545 สมัยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ให้กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ดำเนินการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่

"มติคณะรัฐมนตรี เป็นมติระดับนโยบายของประเทศ ซึ่งสำคัญกว่ามติของคณะกรรมการชุดนี้ ที่ดินบริเวณที่จะก่อสร้างด่านเป็นที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ในพื้นที่ แต่เมื่อรัฐต้องการใช้พื้นที่ หน่วยงานภาครัฐก็พร้อมจะเจรจาตกลงราคา เพื่อชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างของชาวบ้าน ตามระเบียบกฎหมาย ขนาดที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ รัฐก็สามารถเวนคืนได้เลย" นายกำพล กล่าว

นายบุญเทียม โชควิวัฒน นายด่านศุลกากรสะเดา เปิดเผยว่า ที่ประชุม มอบหมายให้นายอำเภอสะเดา ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง ไปเจรจากับชาวบ้านต่อไป เพื่อเดินหน้าก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่

นายบุญเทียม โชควิวัฒน นายด่านศุลกากรสะเดา เปิดเผยว่า เมื่อเดือนเมษายน 2554 กรมศุลกากร ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ วางระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย วางแผนการก่อสร้างอาคารด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลาง(HUB) ด้านโลจิสติกส์ สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียนได้ในปี 2558

นายบุญเทียม กล่าวว่า หากรัฐไม่สามารถสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่เสร็จทันปี 2558 จะทำให้เสียโอกาสมหาศาล จากการไม่ได้เป็นเป็นจุดศูนย์กลาง โครงการนี้ในระยะยาวชาวบ้านก็จะได้ประโยชน์ด้วย มีรายได้เพิ่มขึ้น ท้องถิ่นก็จะเจริญยิ่งกว่าอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เสียด้วยซ้ำ

"ที่ดินดังกล่าวเป็นของรัฐไม่ใช่ของชาวบ้าน รัฐแค่อนุญาตให้เข้าไปทำกิน แต่ชาวบ้านไม่ยอมเจรจา ชดเชยค่าอาสิน และยังออกมาคัดค้านการก่อสร้างโครงการ ที่ผ่านมาจังหวัดสงขลาได้มอบให้นายอำเภอสะเดา เป็นประธานคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง ไปเจรจากับชาวบ้านตามสมควรให้ได้ต่อไป เพื่อเดินหน้าก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่" นายบุญเทียม กล่าว

ต่อมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาธาร ผู้ช่วยนายด่านศุลกากรสะเดา ได้โทรศัพท์หานางชุลีกร ดิษโสภา หนึ่งในชาวบ้านกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก เพื่อขอเจรจากับกลุ่มชาวบ้านอีกครั้ง

นางชุลีกร เปิดเผยว่า ตนตอบกลับไปว่า ตนและชาวบ้านไม่ต้องการค่าอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง แต่ต้องการให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา แจกหนังสือ ส.ป.ก.4-01 ตามมติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนฯ ซึ่งมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

นางชุลีกร เปิดเผยต่อไปว่า นายอาทิตย์เสนอว่าจะจัดสรรที่ดินแห่งใหม่ให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ แต่ตนไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว นายอาทิตย์จึงขอนัดเจรจากับกลุ่มชาวบ้านในเครือข่ายฯอีกครั้งแต่ยังไม่ได้ระบุ วัน เวลาและสถานที่

"ตนและกลุ่มชาวบ้านไม่ยอมเจรจา ขอค่าอาสิน แต่ตั้งธงคัดค้านการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ บริเวณที่ดินของกลุ่มชาวบ้านที่ทำมาหากิน ทั้งที่จริงที่ดินของเอกชนที่มีเนื้อที่กว้างขวางที่ขึ้นป้ายเสนอขายเยอะแยะ ทำไมไม่ไปขอซื้อเพื่อก่อสร้างด่านใหม่" นางชุลีกร กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวเวียงชัยฟ้องศาลปกครองให้ระงับก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล

Posted: 23 May 2011 06:33 AM PDT

ประชาชนจาก อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เดินทางมายื่นเรื่องศาลปกครองให้มีคำสั่งให้ถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และให้มีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้โรงงานหยุดการก่อสร้าง โดยศาลกำลังตรวจหลักฐาน โดยจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 3 สัปดาห์

เมื่อ 23 พ.ค. 54 ประชาชนจาก อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เดินทางมาที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาล ให้มีการระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกะวัตต์ในพื้นที่

เมื่อ 23 พ.ค. 54 ประชาชนจาก อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เดินทางมาที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาล ให้มีการระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกะวัตต์ในพื้นที่

 

วันนี้ (23 พ.ค. 54) ที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ มีชาวบ้านจาก อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ประมาณ 200 คน เดินทางมายื่นเรื่องฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่

โดยการฟ้องดังกล่าว มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด และขอให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวเพื่อให้โรงงานหยุดดำเนินการก่อสร้างในระหว่างการพิจารณาคดี  นอกจากนี้ยังฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดี ด้วยเหตุออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งห้ามตั้งโรงงานทุกจำพวก และใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี  ประชาชนและชุมชนจำนวนมาก

นายร่วมบุญ โพธิ์ทอง ผู้กำกับดูแลช่วยงานตุลาการพร้อมองค์คณะ ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ออกมารับเรื่องพร้อมทั้งชี้แจงให้ชาวบ้านทราบว่า ทางศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเรื่องไว้พิจารณาตามขั้นตอน เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนในพื้นที่กับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากราชการ โดยจะแจ้งผลการดำเนินการให้ทราบภายใน 3 อาทิตย์ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

ด้านนางสุพรรณี แสงอรุณ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ผ่านมาในเฉพาะพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าแกลบมากถึง 11 โรง ซึ่งขาดการจัดการและควบคุมตรวจสอบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร การแย่งชิงน้ำภาคการเกษตร ปัญหาฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ จนกระทั่งมีการฟ้องร้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมา ความไม่ชัดเจนของนโยบายการกำกับดูแลการอนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้สร้างปัญหาความขัดแย้งอย่างกว้างขวางระหว่างชุมชนและบริษัทเอกชนหรือ หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้า

นางสุพรรณีเปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้ชาวบ้านในพื้นที่ 100 กว่าคน กำลังถูก อส. และตำรวจ เข้ามาเจรจาว่าในพื้นที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ถ้าใครขัดขวางจะดำเนินคดี ดังนั้น ชาวบ้านจึงเดินทางมาที่ศาลขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล และมีคำสั่งคุ้มครอง อย่าเพิ่งให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

ขณะเดียวกัน "เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน" ได้ออกคำแถลงในวันนี้ด้วย โดยมีใจความว่า "โรงไฟฟ้าชีวมวลที่เป็นพลังงานทางเลือกที่น่าจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยนั้น  ปัจจุบันได้สร้างปัญหาความขัดแย้งอย่างกว้างขวางระหว่างชุมชนและบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์  ซึ่งไม่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โรงไฟฟ้าดังกล่าวเกิดขึ้นจำนวนมากในชุมชนเกษตรกรรมหลายชุมชนทั่วทุกภาคของประเทศ  เนื่องจากในหลายพื้นที่ที่สร้างแล้วเกิดปัญหามากมายตามมาทั้งปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากภาคเกษตร ปัญหาฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศที่ก่อผลกระทบต่อสุขภาพ  และผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและทรัพยากรในชุมชน  เนื่องจากมาตรฐานในการจัดการและควบคุมตรวจสอบไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควร เฉพาะจังหวัดเชียงรายมีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบมากถึง 11 โรง จนกระทั่งปัญหาบานปลายเป็นความรุนแรงและเป็นคดีความฟ้องร้องสร้างภาระแก่ทุกฝ่าย  สร้างความแตกแยกขัดแย้งในชุมชน และประการสำคัญคือเกิดผลกระทบต่อวิถีชุมชนเกษตรกรรมอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน ประชาชน และสังคม"

"ความไม่ชัดเจนของนโยบายการกำกับดูแลการอนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกะวัตต์ ช่องว่างทางกฎหมาย เช่นร่างกฎหมายผังเมืองที่ยังไม่ประกาศใช้ และขาดนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมความเหมาะสมของพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลนี้  ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวคุกคามสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการกำหนดวิถีตนเอง"คำแถลงตอนหนึ่งของ "เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน" ระบุ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชนภายใต้บรรยากาศการหาเสียง

Posted: 23 May 2011 05:15 AM PDT

ภายใต้บรรยากาศการเลือกตั้งมีการแข่งขันหาเสียงดังที่ปรากฏเป็นข่าวกันอยู่ทุกวัน แต่สิ่งที่เราควรจะช่วยกันหยุดยั้งและต่อต้านคือวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชนที่แฝงมากับการหาเสียง

ฝ่ายผู้ใช้วาทกรรมเหล่านี้ต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางและนโยบายหาเสียงของตนเอง จึงพยายามป้ายสีแนวคิดหรือนโยบายที่ตรงกันข้ามให้กลายเป็น “เรื่องผิด” หรือเป็น “ความเขลา” ที่ประชาชนไม่ควรไปหลงตาม ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนี้จำเป็นต้องช่วยกันหยุดคิดและลดทอนพลังของวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาเหล่านี้

วาทกรรมเข้าข่ายดังกล่าวเท่าที่พอจะรวบรวมได้ในขณะนี้มีอยู่ 4 ข้อ คือ

1. ใช้ระบบบัญชีรายชื่อผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
นักวิชาการและนักวิเคราะห์บางท่านออกมาโจมตีบัญชีรายชื่อของบรรดาพรรคการเมืองทันที โดยชี้ว่าบัญชีรายชื่อที่จัดขึ้นมาเป็นเรื่องของการตอบแทนบุญคุณบ้าง หาที่ให้นายทุนบ้าง เป็นที่ที่พวก ส.ส. เขตถูกยัดเยียดให้อยู่บ้าง สรุปคือล้วนแต่เป็นเรื่องการจัดการผลประโยชน์ภายในพรรค มากกว่าจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อ “คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ” มาทำงานจริงๆ

ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ยังถือว่าไม่นานเกินกว่าจะจดจำ คือ การใช้ระบบบัญชีรายชื่อเพื่อดึง “คนทำงานฝีมือดี” เข้าสู่ระบบการเมืองนั้น บรรลุจุดสุดยอดของมันเองเมื่อครั้งที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 โดยเฉพาะกรณีของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง 2544

ปฏิเสธไม่ได้ว่าแวดวงการเมืองได้คนอย่างคุณปุระชัย คุณสุรเกียรติ์ นพ.สุรพงษ์ (30 บาท) หรือแม้แต่ “ไอ้ก้านยาว” คุณประพัฒน์ มาอยู่ใน ครม. กลายเป็นยุคที่บุคลากรจากแวดวงอื่นๆ ได้ก้าวเข้าสู่แวดวงการเมืองโดยอาศัยระบบบัญชีรายชื่อนั่นเอง แม้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในคราวเดียวกันนั้นเปิดช่องทางให้นายทุนพรรคจำนวนหนึ่งเข้ามาสู่บัญชีรายชื่อด้วย แต่เทียบกับปัจจุบันแล้ว ใครจะสามารถบอกได้บ้างว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ออกแบบมาให้เอื้อกับเจตนารมณ์เรื่องผู้มีความรู้ความสามารถ มากไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ตรงไหนบ้าง?

ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญ 2540 ประสบความสำเร็จในการดึงคนนอกสู่วงการการเมือง คำถามสำคัญคือ ใครเล่าที่ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ทิ้ง? เราเห็นแต่ภาพของกลุ่มหัวก้าวหน้ารวมทั้งชาวบ้านจำนวนไม่น้อยแสดงการต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยา ซึ่งฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กลุ่มชนชั้นนำกลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่เคยแยแส แถมเชื่อว่าต้องทำลายรัฐธรรมนูญ 2540 เสียด้วยซ้ำ

ดังนั้น การวิจารณ์ว่าพรรคการเมืองทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญโดยเอาระบบบัญชีรายชื่อไปใช้เพื่อสมประโยชน์กันและกันเท่านั้น แท้จริงแล้วผู้พูดควรศึกษาปะวัติศาสตร์และหันไปประณามฝ่ายที่ทำลายรัฐธรรมนูญ 2540 เสียมากกว่า รวมทั้งถามตัวเองอย่างซื่อสัตย์ด้วยว่า ไปอยู่ที่ไหนมาตอนชาวบ้านเขาต่อต้านรัฐประหารและลงมติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ถ้าเคยเห็นดีเห็นงามกับกระบวนการผลักประเทศให้ถอยหลังในคราวนั้น ก็ต้องซื่อสัตย์พอจะตอบตนเองว่า การที่สถาปัตยกรรมทางการเมืองปัจจุบันได้ทำลายประสิทธิภาพของระบบบัญชีรายชื่อไปเสียแล้ว เหตุสำคัญมาจากแนวคิดล้าหลังที่ต่อต้านการเมือง-นักการเมือง มากกว่าจะเป็นความผิดของฝ่ายการเมืองเองใช่หรือไม่

2. ทำงานเพื่อคนๆ เดียว
ความน่าประหลาดของวาทกรรมข้อนี้ คือ ในสังคมที่ซับซ้อนถึงเพียงนี้ ยังอุตส่าห์มีคนเอาประเด็นที่บิดเบือนข้อเท็จจริงมากขนาดนี้มาใช้โจมตีฝ่ายอื่น

วาทกรรมนี้พยายามสื่อเรื่องความขัดกันของผลประโยชน์ (Conflict of interest) ว่า ถ้าอีกฝ่ายเข้ามาและทำทุกอย่างเพื่อช่วยคนๆ เดียวเสียแล้ว ประชาชนจะเสียประโยชน์เพราะผลประโยชน์ของคนๆ เดียวนั้นจะทำลายสิ่งที่ประชาชนพึงจะได้รับ

ปัญหาคือ สิ่งที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ทำในช่วงที่ครองอำนาจใช่จะสามารถกล่าวได้เต็มปากว่าเป็นการทำเพื่อส่วนรวมไปเสียทุกเรื่อง เรื่องที่ชัดๆ อย่างการผลักดันให้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มเป็น 125 จากเดิม 80 ที่ ยังมีการถกเถียงจนบัดนี้ว่า ทำไมประชาชนต้องเสียสิทธิจากการมีผู้แทนแบบแบ่งเขตน้อยลง? เขาเสียประโยชน์ใช่ไหม? แล้วพรรครัฐบาลได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ใช่ไหม? ประเด็นง่ายๆ อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์เล็งเห็นว่าตนได้กำไรจากระบบบัญชีรายชื่อ จึงผลักดันให้เพิ่มจำนวน โดยเฉพาะ ส.ส. เขตที่หดหายไปส่วนมากมาจากภาคอีสาน เรื่องนี้ไม่ต้องบิดเบือนกันเพราะสื่อทุกสื่อวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันนี้อย่างไม่มีปิดบัง

จากย่อหน้าที่กล่าวมาเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณี Conflict of interest ล้วนๆ เพราะยังไม่มีความชัดเจนเลยว่าการลดจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตลงช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? ซึ่งเป็นอุทาหรณ์ว่า การเกิดความขัดกันของผลประโยชน์ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องขึ้นกับการทำอะไรบางอย่างเพื่อ “คนๆ เดียว” หรือไม่ การที่พรรคๆ หนึ่งแม้จะไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าทำเพื่อคนๆ เดียว ก็ไม่ได้แปลว่าพรรคนั้นจะมุ่งทำงานเพื่อประชาชนไปเสียทุกเรื่อง

เหมือนกับครั้งที่มีเสียงท้วงติงว่า พรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่งที่กินมูมมามมาก แล้วผู้จัดการรัฐบาลออกมาบอกว่า “ไม่มีเขา เราก็อยู่ไม่ได้” ประชาชนย่อมมีสิทธิถามเช่นกันว่า ในคำตอบนั้นผลประโยชน์ของประชาชนอยู่ตรงไหน? บทเรียนเหล่านี้จึงยืนยันว่า พรรคหนึ่งๆ ที่ไม่ได้ทำเพื่อคนๆ เดียว ก็อาจจะทำเรื่องต่างๆ เพื่อรักษาอำนาจตัวเองโดยไม่แยแสประชาชนได้เช่นกัน

ประเด็นแท้จริงอยู่ที่ว่า ประชาชนนั้นมีสติปัญญาพอที่จะประเมินผลประโยชน์โดยยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง หากมีนโยบายใดประชาชนรู้สึกว่าได้ประโยชน์และเผอิญมีคนอื่น (จะคนเดียวหรือมากกว่านั้น) ได้ประโยชน์ร่วมด้วย ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด

เช่น นาย ก. มีญาติซึ่งถูกขังมาเป็นปี เพียงเพราะดันไปยืนจุดไฟสูบบุหรี่แถวศาลากลางจังหวัดที่ถูกเผาอย่างไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่ จนบัดนี้ยังอยู่ในคุก เขาจึงประเมินว่าเขามีโอกาสได้ประโยชน์จากพรรคที่ประกาศเรื่องหลัก “นิติธรรม” อย่างชัดเจน และก็เลือกพรรคนั้นเพราะหวังจะได้หลักนิติธรรมไปช่วยญาติของตน หรือเพราะเล็งเห็นแล้วว่าหลักนิติธรรมของฝ่ายที่ครองอำนาจมากว่า 2 ปีนั้นมันเอนเอียงจนญาติต้องติดคุกฟรี ส่วนจะมีนักโทษอื่นอีกกี่คนได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูหลักนิติธรรมเป็นเรื่องรองไป โดยปกติประชาชนจะคิดเช่นนี้กับทุกๆ นโยบาย คือ เอาตนเองเป็นศูนย์กลางเสียก่อน

จะเห็นว่า ในประเด็นสาธารณะเช่นนี้ เป็นเรื่องแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นโยบายหนึ่งๆ จะถูกแปะป้ายว่า “เพื่อคนๆ เดียว” เพราะความซับซ้อนของผลประโยชน์มีมากกว่าเรื่องปากท้อง แต่ความรู้สึกอยุติธรรมต่างหากที่คั่งค้างในใจผู้คนจำนวนมากตั้งแต่ถูกปล้นอำนาจไปดื้อๆ ถือเป็นความต้องการที่ประชาชนจำนวนมากต้องการเรียกร้องกลับมา

ในอดีตเคยเกิดการบิดเบือนการใช้กฎหมายเพื่อทำลาย “คนๆ เดียว” และฝ่ายที่ลงมือทำก็ขาดปัญญาพอที่จะมองเห็นว่าผลกระทบเกิดในวงกว้างกว่านั้น เพราะมีคนอีกจำนวนมากรู้สึกว่าเขาถูกกระทำร่วมไปด้วย ประชาชนไม่น้อยที่รู้สึกว่าการปล้นอำนาจทำให้เขาเป็นตกเหยื่อพอๆ กับผู้นำรัฐบาลคนหนึ่งที่ถูกรัฐประหาร ดังนั้น ถ้าใครอุตริมาคิดแทนชาวบ้านว่า นโยบายหรือแนวทางใดแนวทางหนึ่งจะช่วยคนๆ เดียวจนทำลายประโยชน์ส่วนรวม โดยละเลยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ จะไม่ให้ประชาชนที่ถูกปล้นอำนาจรู้สึกว่าถูกดูแคลนสติปัญญาได้อย่างไร
 

3. ทำงานต่อเนื่องกับเริ่มนับหนึ่งใหม่
นี่เป็นวาทกรรมที่เอาชาวบ้านเป็นตัวประกัน โดยอ้างว่าหากเปลี่ยนไปเลือกอีกฝ่ายประเทศชาติจะนับหนึ่งใหม่หรือถอยหลังกลับ การอ้างวาทกรรมนี้มีปัญหาขาดการทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองระยะใกล้อีกนั่นเอง

ว่ากันเฉพาะหลังพฤษภาทมิฬเป็นต้นมา รัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยกลับมาด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งเลยหากไม่เกิดกรณีพิเศษ พรรคประชาธิปัตย์เคยแพ้พรรคชาติไทยหนึ่งครั้งและในคราวหลังแพ้พรรคความหวังใหม่ จนเมื่อเกิดวิกฤตการเงิน 2540 และตามด้วยกรณีกลุ่มงูเห่านั่นเอง คุณชวนถึงได้ขึ้นสู่อำนาจอีกครั้ง ส่วนในยุคไทยรักไทยต่อเนื่องจนถึง คมช. พรรคประชาธิปัตย์ยังแพ้อีกครั้งในการเลือกตั้ง 2550 แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะถูกบั่นทอนกำลังไปอย่างหนักแล้วก็ตาม การขึ้นสู่อำนาจภายใต้การนำของคุณอภิสิทธิ์เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกรณีงูเห่าอีกเช่นกัน

พรรคต่างๆ จึงควรตระหนักว่า รูปแบบการครองอำนาจทางการเมืองหลังเลือกตั้งเป็นความไม่ต่อเนื่อง (Discontinuity) มากกว่าจะเป็นความต่อเนื่อง (Continuity) ครั้งที่เกิดความต่อเนื่องมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือ เลือกตั้ง 2548 ซึ่งพรรคไทยรักไทยกลับมาได้ แต่ชัยชนะครั้งนั้นนำไปสู่การต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรงและกระแสขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยา

จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติมากของการเปลี่ยนฝ่ายครองอำนาจทางการเมืองและทิศทางนโยบาย ทั้งกรณีที่มีเลือกตั้งหรือมีรัฐประหาร กรณีไม่ต่อเนื่องอย่างครั้งที่พรรคไทยรักไทยมาแทนรัฐบาลคุณชวน แต่กลับได้รับความนิยมอย่างสูงก็เพราะได้สร้างความแปลกใหม่เชิงนโยบายเป็นสำคัญ ภายใต้การเปลี่ยนโฉมนโยบายและไม่เหลือความต่อเนื่องใดๆ (จากรัฐบาลก่อนหน้า) ประเทศชาติก็หาได้หยุดอยู่กับที่หรือถอยหลังแต่อย่างใด

ในส่วนนี้จึงคล้ายๆ กับประเด็นข้อที่ 2 คือ ประชาชนย่อมสามารถประเมินนโยบายด้วยวิจารณญาณของตนว่าเขาต้องการนโยบายแบบใด การพยายามอ้างว่า คนที่เลือก “ความต่อเนื่อง” นั้น มีวิสัยทัศน์ดีกว่าฝ่ายที่เรียกร้อง “ความเปลี่ยนแปลง” จึงเป็นเรื่องผิด ผิดทั้งวิธีคิดและผิดทั้งข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์การเมืองเอง

ที่สำคัญ ระบบเลือกตั้งถูกออกแบบมาให้ประชาชนตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนหรือจะใช้ของเดิมต่อไป โดยชั่งนำหนักจากผลลัพธ์ผลกระทบต่างๆ ที่ทุกคนได้รับภายใต้การบริหารประเทศในช่วงที่ผ่านมา ด้วยระบบเช่นนี้ การเลือกที่จะไม่เอาความต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องของการคิดผิดหรือขาดวิสัยทัศน์ แต่คือการให้คะแนนผลงานการบริหารมากกว่า คนชอบก็เลือกต่อคนไม่ชอบก็ขอเปลี่ยน ใจความหลักมีอยู่เท่านี้

อย่าดูแคลนประชาชนว่า การเลือกฝ่ายที่นำเสนอความเปลี่ยนแปลงจะทำให้บ้านเมืองหยุดชะงัก แต่ควรกลับไปถามตนเองว่าทำดีพอให้คนเขาอยากเลือกหรือไม่!

คำถามสำคัญอีกข้อ คือ เมื่อคราวเกิดรัฐประหาร 19 กันยา ซึ่งว่ากันว่าทำให้ประเทศถอยหลังอย่างมาก โดยเฉพาะได้สร้างสถาปัตยกรรมทางการเมืองที่เพิ่มอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและเอาใจพวกปฏิกิริยาล้าหลังนั้น พรรคการเมืองไหนบ้างที่ไปหามเสลี่ยงให้เผด็จการและมองดูกระบวนการทำลายความต่อเนื่องของความก้าวหน้าทางการเมืองไปต่อหน้าต่อตา ทั้งที่สิ่งนั้นต่างหากคือ “ความต่อเนื่อง” แบบที่ประชาชนอยากรักษาไว้!

4. จ้างมาก่อกวนการเลือกตั้ง
ถ้าความจำผมยังไม่ผิดเพี้ยนนัก จำได้ว่าการประท้วงต่อต้านคุณอภิสิทธิ์ตามโอกาสต่างๆ มีมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง กรณีคลาสสิคคือการชูป้าย “ดีแต่พูด” ของคุณจิตรา คชเดช (ที่จริง แวดวงการเมืองและหนังสือพิมพ์ได้ใช้งานวลีนี้กันถ้วนหน้า จนควรจะต้องขอบคุณคุณจิตราไว้ด้วย)

ดังนั้น ผมจึงไม่ค่อยเข้าใจว่า การประท้วงคุณอภิสิทธิ์ตามเวทีปลีกย่อยที่ดำเนินเรื่อยมาตั้งแต่หลังเหตุการณ์สลายชุมนุมนั้น เหตุใดเมื่อเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้ง กลับมีคำอธิบายออกมาทันทีว่าเป็นการเล่นเกมป่วนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามเพื่อก่อกวนการหาเสียง?

ผมเชื่อของผมเองว่า หากคุณทักษิณกลับประเทศไทยมาวันนี้ จะต้องมีคนที่แห่กันออกไปต่อต้านขับไล่จำนวนมหาศาล รวมทั้งใน Social media โดยที่คนเหล่านี้ไม่จำเป็นเลยจะต้องไปให้พรรคประชาธิปัตย์ไปจ้างมาจากไหน เพราะคนไม่เอาคุณทักษิณนั้น “มีอยู่เอง” แบบไม่ต้องว่าจ้าง

ฉันใดก็ฉันนั้น พรรคประชาธิปัตย์ควรจะตระหนักได้แล้วว่า ในสังคมนี้ต้องมีคนที่ไม่เอาคุณอภิสิทธิ์อยู่แน่ๆ และมีอยู่ในแบบที่ไม่ต้องไปจ้างวานมาแม้แต่น้อย เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “มันมีของมันเอง” แบบที่คุณทักษิณเผชิญ การมีอยู่ของกลุ่มผู้ต่อต้านเช่นนี้เป็นผลจากพฤติกรรมในอดีต จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงและเป็นความคิดที่ไร้เดียงสาอย่างยิ่งหากสรุปเอามั่วๆ ว่า พฤติกรรมในอดีตที่ผ่านของคุณอภิสิทธิ์มีแต่ “ทำให้คนรัก”

อย่างน้อย กรณีที่ครั้งหนึ่งคุณอภิสิทธิ์พูดกลางสภาว่า ศาลโลกตัดสินว่าเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร แต่ที่ดินใต้ปราสาทยังเป็นของไทยนั้น ก็ทำให้ผมคนหนึ่งที่รักในสติปัญญาของคุณอภิสิทธิ์ไม่ลงเอาเสียเลย นับประสาอะไรกับคนที่เขาต้องบาดเจ็บหรือสูญเสียญาติมิตรไปภายใต้การทำงานของ ศอฉ. และคุณอภิสิทธิ์ ย่อมไม่แปลกที่เขาจะ “รัก” คุณอภิสิทธิ์ไม่ลง และคนแบบนี้ไม่ต้องจ้างมาประท้วง การทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายต่อต้านโดยตราหน้าว่าทุกคนถูกจ้างมา รังแต่จะทำให้ความไม่ชอบของเขาเพิ่มขึ้นๆ

ต้องเข้าใจข้อเท็จจริงว่า ในการบริหารประเทศของผู้นำทุกคนจะมีทั้งกองเชียร์และผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากนโยบายหรือการทำงานใดๆ เสมอ ผู้นำทุกคนในอดีตจึงมีทั้งคนรักและคนชังอยู่คู่กันเป็นปกติ ถ้าชอบเจอแต่คนที่เข้ามาอวยก็ควรจะอยู่แต่ในเฟซบุ๊กของตนเอง ส่วนโลกของความเป็นจริงต้องยอมรับว่าคนรัก-คนชังเป็นสิ่งที่ปุถุชนไม่อาจจะควบคุมได้ตามใจตัว และความชังไม่จำเป็นต้องจ้างวาน

ดังนั้น ใครก็ตามที่เป็นบุคคลสาธารณะแล้วคิดว่าตนเองจะต้องมีแต่คนรัก ส่วนคนชังนั้นถูกจ้างมาทั้งสิ้น ย่อมเข้าข่ายดูแคลนสติปัญญาประชาชนอย่างรุนแรง

กล่าวโดยสรุป วาทกรรมต่างๆ ที่ยกมาเป็นตัวอย่างของการดูแคลนสติปัญญาประชาชน โดยไม่ตระหนักว่า วิจารณญาณของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นซับซ้อน มีพัฒนาการ และประเมินผลได้ผลเสียของเขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ คนที่ใช้วาทกรรมเหล่านี้มีแต่ภาพของต่างจังหวัดที่ “ขายเสียง-คิดไม่เป็น” จินตนาการไม่ออกว่าคนจำนวนมากที่โกรธแค้นในยามที่ถูกปล้นอำนาจไปอย่างอยุติธรรม จนสำคัญผิดว่าหว่านเงินเยอะๆ ก็ซื้อใจกันได้และเป็นที่มาของการดำเนินนโยบายแบบหวังเอาใจแต่ไม่เห็นหัวคน

การพยายามผูกขาดนิยาม “ความถูกต้องทางการเมือง” ไว้ฝ่ายเดียวด้วยวิธี “ดูแคลนสติปัญญาประชาชน” เป็นกลวิธีหลักที่ฝ่ายอนุรักษนิยม (ทั้งชนชั้นนำและฝ่ายการเมือง) ใช้กล่าวหาประชาชนว่า “ไม่พร้อม” มาโดยตลอด และนั่นเป็นสิ่งที่ควรจะหยุดได้แล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ความจริง” เรื่องการเผาศาลากลางอุบลฯ “ความจริง” ของสังคมไทย

Posted: 23 May 2011 01:54 AM PDT

 

 1

ภายหลังจากเพลิงพิโรธศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีมอดลงในบ่ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 วันเดียวกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น “ส่วนราชการและประชาชนชาวอุบลฯ” ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้กิจกรรมทั้งหลายนี้จะไม่ช่วยให้ศาลากลางกลับคืนสู่สภาพเดิม หรือแก้ปัญหาอะไรได้ แต่ความสำเร็จของมันก็คือ การประกาศความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในนามชาวอุบลราชธานี

ความรู้สึกที่กล่าวนี้ ประกอบกับการสนทนาวิสาสะกับผู้คนหลากหลายวงการในจังหวัดอุบลฯ คงจะไม่เกินเลยไปที่ผู้เขียนจะสรุปว่า ชาวอุบลฯ – อย่างน้อยก็ได้แก่ ข้าราชการ นักธุรกิจ ชนชั้นกลาง ชาวเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ “เสียงดัง” ที่สุดในสังคม - มีข้อสรุปต่ออัคคีภัยที่ผ่านมาว่า การเผาศาลากลางจังหวัดเป็นอาชญากรรมที่อุกอาจอย่างไม่ต้องสงสัย เหตุการณ์นี้ก่อขึ้นโดยอาชญากรที่คลุ้มคลั่งไร้สติ หรือไม่เช่นนั้น ก็เป็นการเตรียมตัวมาก่อนของขบวนการก่อการร้าย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไปในแบบใด ความผิดนั้นชัดแจ้ง และคนเหล่านั้นควรถูกนำตัวมารับอาญาแผ่นดินอย่างสาสม

เราอาจเรียกความรู้สึกนึกคิดที่กลายเป็นข้อสรุปนี้ว่า “ความจริง” กระแสหลักของชาวอุบลฯ ในการเข้าใจเรื่องราวศาลากลางจังหวัดที่ผ่านมา

แต่ก่อนที่จะยอมรับความจริงนี้อย่างง่ายๆ เราอาจจะเริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า ความจริงกระแสหลักในการมองเรื่องการเผาศาลากลางอุบลนั้นมาจากไหน? ผู้เขียนเสนอว่า ความจริงนี้ -ไม่มากก็น้อย - เป็นผลจากการปั้นแต่งขึ้นโดยรัฐ โดยหยิบยืมดัดแปลงทฤษฎีการเมืองมวลชนโบร่ำโบราณมาใช้กับสังคมไทยอย่างได้ผล ซึ่งจะขอกล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญ 2 ประการดังนี้

ประการแรก ทฤษฎีฝูงชนคลาสสิก ซึ่งเป็นทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่ดั้งเดิม ที่กำเนิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ในบริบทการตื่นตัวของขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน แต่เหตุการณ์นี้ถูกมองด้วยความตื่นตระหนกจากชนชั้นสูง ที่หวั่นเกรงว่าการกระทำเหล่านั้นจะกระทบต่อเสถียรภาพและประโยชน์สุขของตน การแสดงออกของมวลชนจึงถูกมองว่าเป็นการรวมตัวของผู้มีปัญหาในการอยู่ร่วมกับสังคม ฝูงชนอาจถูกมองว่าเป็นคนบ้า อาชญากร ไร้สติ ฝูงชนจึงหมายถึงกลุ่มชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ไร้เหตุผล จนอาจถึงขั้นคลุ้มคลั่ง การร่วมตัวของพวกเขาจึงมีพื้นฐานมาจากความไม่ปกติ และเมื่อมารวมตัวกันเข้า ความไม่ปกติยิ่งถูกปลุกปั่นจากบรรยากาศของการชุมนุม หรือจากนักปลุกปั่น/เจ้าลัทธิ จนกลายเป็นฝูงชนผู้คลุ้มคลั่ง ป่าเถื่อน และอันตราย [1]

แม้ว่าจะมีทฤษฎีฝูงชนแบบอื่นหลากหลายในเวลาต่อมา แต่ทฤษฎีคลาสสิกก็ยังคงอิทธิพลอย่างสูง ทั้งในแวดวงวิชาการและสาธารณชน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีกระแสหลักในเรื่องนี้ และน่าสังเกตว่าทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับอย่างไม่เสื่อมคลายในสังคมที่มีลักษณะอนุรักษนิยมสูง

สำหรับสังคมไทยเราจะเห็นอิทธิพลของทฤษฎีนี้ได้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปทัศนคติของคนไทยต่อการชุมนุมของชาวบ้านก็คือ พวก “ม็อบ” ที่ไร้เหตุผล ถูกปลุกปั่น มีผู้หนุนหลัง ในกรณีของคนเสื้อแดง เราจะพบแนวทางการอธิบายพฤติกรรมของคนเสื้อแดงที่ว่า เป็นพวกชาวบ้านที่ไม่ประสีประชา แต่ถูกจ้างวานมา หรือถูกเกณฑ์มาโดยหัวคะแนน เป็นพวกคลั่งผู้นำอย่างไม่ลืมหูลืมตา และต่อมาการชุมนุมของพวกเขาก็ไร้เหตุผลมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นพวกสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศ ท้ายที่สุดก็ลงเอยด้วยจลาจลเผาบ้านเผาเมือง

ประการที่สอง ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) ซึ่งเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ด้วยการเลือกปะติดปะต่อข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องเป็นราว แต่มักไม่มีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน ทฤษฎีนี้ซึ่งที่จริงควรจะเรียกว่าการคาดเดามากกว่า มักเริ่มจากการตั้งคำถามว่า เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นโดยใครเป็นต้นเหตุ และเกี่ยวข้องกับใคร หรือมีองค์กรอะไรอยู่เบื้องหลัง หลังจากนั้นก็พยายามโยงข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกันกลายเป็นเรื่องราว [2] ตัวอย่างเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นตามทฤษฎีสมคบคิดยอดนิยมในระดับโลก เช่น การมาเยือนของ UFO แผนยึดครองโลกของชาวยิว หรือเบื้องหลังกรณี 9/11 เป็นต้น เรื่องราวลึกลับน่าตื่นเต้นเหล่านี้ กลายเป็นที่นิยมข้ามยุคสมัย และมีกลุ่มคนที่เชื่อถือเรื่องราวเหล่านี้อย่างจริงจัง

คำอธิบายเรื่องราวตามทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งเกิดขึ้นบนสมมติฐานและข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้ ถูกมองจากวงวิชาการว่า เป็นปรากฏการณ์อุปาทานรวมหมู่ หรืออาจถูกอธิบายว่าเป็นไปตามหลักจิตวิทยาสังคม เนื่องจากคำอธิบายเป็นไปบนเรื่องราวลึกลับน่าตื่นเต้น ซึ่งการอธิบายสังคมแบบนี้ที่จริงได้ถูกตอกย้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจากนิยายหรือภาพยนตร์ ซึ่งคงจะไม่ผิดนักหากจะบอกว่า คนส่วนใหญ่ติดตามเรื่องราวทางสังคมเหมือนเสพนิยาย/ภาพยนตร์ โดยคอยดูว่าใครเป็นพระเอกผู้ร้าย และเรื่องราวจะถูกเปิดเผยอย่างไร อย่างไรก็ตามเราก็จะพบว่า การเข้าใจความเป็นไปทางสังคมตามทฤษฎีสมคบคิดจะเป็นที่นิยมมากที่สุด ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คือมีลำดับชั้นสูงต่ำในสังคม มีข้อห้ามรู้ ห้ามพูดถึง ห้ามวิจารณ์สูง

คำอธิบายเรื่องราวตามทฤษฎีสมคบคิด ไม่เพียงเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นปกครองด้วย นักปรัชญาชี้ว่า ในแง่หนึ่งทฤษฎีสมคบคิดมีความเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องอำนาจของบุคคลเหนือมนุษย์ เช่นความเชื่อทางศาสนา ที่เชื่อในพระเจ้า หรือตัวแทนของพระเจ้าที่มาปราบยุคเข็ญนำพามนุษย์ไปสู่แสงสว่าง บุคคลเหนือมนุษย์นี้เองคือผู้ชักนำความเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ โดยตรรกะนี้ พบว่าในหมู่ชนชั้นปกครองจะอาศัยคำอธิบายนี้ในการให้ความชอบธรรมแก่อำนาจของตน ในยุคโบราณเราพบว่าแนวคิดนี้เป็นเครื่องมือของระบอบกษัตริย์ ในการอธิบายบุญญาธิการและบารมีมากล้นของกษัตริย์เหนือหัวที่อุทิศแก่แผ่นดิน แต่ในยุคหลังจากนั้นพบว่าแนวคิดนี้มักเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองเผด็จการทั้งหลาย [3]

ประเด็นสำคัญที่ทฤษฎีสมคบคิดถูกวิจารณ์ในแวดวงวิชาการอีกก็คือ ทฤษฎีนี้ละเลยความสำคัญของเหตุปัจจัยทางสังคม ไม่ว่าในมิติประวัติศาสตร์ หรือมิติด้านโครงสร้างและสถาบัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขอันซับซ้อนของปรากฏการณ์หนึ่งๆ ซึ่งหมายความว่าความเป็นไปในสังคมย่อมอยู่เหนือการบงการของปัจเจกบุคคลตัวเล็กๆ ทว่าทฤษฎีสมคบคิดกลับทำในทางกลับกัน คือละเลยความสำคัญของเหตุปัจจัยทางสังคม แต่ไปให้ความสำคัญกับการกระทำของบุคคล ซึ่งเท่ากับยกให้ปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลถึงขนาดบงการความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ การกระทำเช่นนี้ผิดเป้าหมายของสังคมศาสตร์ เพราะแทนที่จะมุ่งอธิบายเงื่อนไขที่นำมาสู่การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ทางสังคม กลับไปทำงานสืบสวนสอบสวนแบบนักสืบ และเมื่อนำมาใช้ในการเข้าใจเหตุการณ์ทางสังคม ก็จะเป็นการลดทอนความซับซ้อนของเหตุปัจจัยอันหลากหลาย ให้เหลือแต่เรื่องการบงการของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

ในสังคมไทย ซึ่งเราท่านรับรู้กันดีถึงระดับความเป็นประชาธิปไตย และความสืบเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความแพร่หลายของข่าวลือ ข่าวลับเฉพาะ หรือข่าววงใน พร้อมกับเรื่องราวของมหาบุรุษ ช่างเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยจนดูเหมือนมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความเป็นไทย สำหรับในเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงในปีที่ผ่านมา ทฤษฎีสมคบคิดสำแดงตัวผ่านการอธิบายเรื่องราวการชุมนุมว่า เกิดจากการบงการของนักการเมืองบางคนบางกลุ่ม และในตอนสุดท้ายก็มีกลุ่มชายชุดดำเข้ามาแทรกแซงจนเหตุการณ์บานปลาย

เมื่อตระหนักถึงทฤษฎีการเมืองมวลชนทั้งสองประการ ซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐในการผลิต – ตอกย้ำความจริงแก่เราแล้ว เราอาจย้อนกลับไปทบทวนเหตุการณ์ในเดือนเมษายน นับจากรัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เราจะพบว่า การปิดกั้นข่าวสารจากสื่ออื่นๆ และผูกขาดการนำเสนอข่าวสารโดย ศอฉ. ก็คือการสร้างเรื่องราว “ความจริง” ภายใต้ทฤษฎีทั้งสอง ซึ่งมีโครงเรื่องที่ประกอบด้วยสองด้านหนุนเสริมกัน คือเป็นการชุมนุมของมวลชนที่ไร้สติ และมีการชักใยของไอ้โม่งเบื้องหลัง ที่หวังประโยชน์จากการสร้างสถานการณ์ ซึ่งในที่สุดเหตุการณ์ก็บานปลายจนทำให้ ศอฉ. ต้อง “กระชับพื้นที่” ในครั้งนั้นสิ่งที่ ศอฉ. ทำในฐานะกระบอกเสียงของรัฐก็คือ การผูกขาดคัดสรรดัดแปลงตีความสร้างเรื่องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตามโครงเรื่องดังกล่าว จนเกิดเป็น “ความจริง” ของคนส่วนใหญ่ในสังคม และนี้เองคือที่มาของความเข้าใจเหตุการณ์การเผาศาลากลางฯ ของชาวอุบลราชธานี

 

2

ผู้เขียนจะกล่าวถึง “ความจริง” อีกชุดหนึ่งของเหตุการณ์การเผาศาลากลางอุบลฯ พร้อมทั้งให้รายละเอียดเหตุการณ์นับจากเดือนมีนาคมจนถึงวันที่เพลิงถูกจุดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ในช่วงนี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นความจริงภายใต้กรอบการมองอีกแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ถือโอกาสนำเสนอบันทึกเรื่องราวที่แทบไม่มีโอกาสถูกนำเสนอในสื่อสาธารณะใดๆ

ก่อนอื่น เงื่อนไขเบื้องต้นในการเข้าใจความจริงกรณีศาลากลางอุบลฯ คือเราต้องมองเรื่องราวอย่างมีที่มาที่ไป ซึ่งจะพบว่าผู้ชุมนุมหาได้เป็นฝูงชนไร้สติ แต่พวกเขาคือมวลชนผู้นิยมพรรคไทยรักไทย ด้วยความชื่นชอบนโยบาย และการบริหารประเทศของหัวหน้าพรรค ในปี 2553 พวกเขามาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาแล้วจัดเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลในขณะนั้นมีที่มาไม่ชอบธรรม ซึ่งเป็นสิทธิทางการเมืองตามปกติในระบอบประชาธิปไตย (ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงที่มาของมวลชนคนเสื้อแดงมากไปกว่านี้เนื่องจากมีผู้กล่าวถึงไว้ไม่น้อยแล้ว)

สำหรับการเข้าใจเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง นับจากเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้าย เราควรจะมองเรื่องนี้อย่างมีพัฒนาการ และพัฒนาการการชุมนุมที่เข้มข้นขึ้นที่อุบลฯ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้เหตุผล หากแต่เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการใช้อำนาจของรัฐที่รุนแรงและป่าเถื่อนมากขึ้นในสายตาของพวกเขา เพื่อให้เห็นลำดับพัฒนาการผู้เขียนจะแบ่งเหตุการณ์ที่อุบลฯออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน [4]

ช่วงแรก นับจาก 12 มีนาคม - 6 เมษายน ช่วงนี้เริ่มจากกลุ่มคนเสื้อแดงอุบลฯเดินทางไปสมทบกับคนเสื้อแดงจากทั่วประเทศ เป้าหมายคือการชุมนุมที่กรุงเทพมหานคร ในเช้าวันเดินทางคนเสื้อแดงอุบลฯ ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 8 กลุ่ม ได้เคลื่อนไปสมทบกันขบวนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่มุ่งหน้าสู่เมืองหลวง การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถปิกอัพส่วนตัว ลงขันค่าน้ำมันกันเอง ขนของใช้เสบียงและผู้คนไว้บนปิกอัพ ในวันนั้นมีรถจากอุบลฯประมาณ 500 คัน มีมวลชนรวมประมาณ 5,000 คน นับเป็นการเปิดฉากการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ฮึกเหิมในความรู้สึกของประชาชนที่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัวมาตลอด

ในช่วงแรกมีการตั้งเวทีที่สะพานผ่านฟ้า ผู้ชุมนุมประเมินว่ามีการตอบรับจากประชาชนทั่วไปดีพอสมควร ข้อเรียกร้องคือให้รัฐบาลรีบยุบสภาโดยเร็ว มีการเจรจากับรัฐบาลซึ่งดูทีท่าว่าจะหาทางออกร่วมกันได้ ท่ามกลางความหวัง มีกิจกรรมที่สร้างความรู้สึกร่วมอย่างมากคือการ “เทเลือดไพร่” ในสถานที่สำคัญ แต่มีคนบางกลุ่มออกมาชี้ว่าเลือดอาจมีเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง นักการเมืองบางคนแสดงความสงสัยว่าอาจเป็นเลือดสัตว์ ผู้ชุมนุมรู้สึกเจ็บแค้นใจจากความรู้สึกถูกย้ำยีความเป็นมนุษย์ ในช่วงนั้นยังมีกลุ่มคนเสื้อสีชมพูออกมารวมตัวกันสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล

สำหรับมวลชนจากอุบลฯ มีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังคนไปกลับบ้านกับกรุงเทพฯ ที่อุบลฯ ประมาณวันที่ 17 มีนาคม เริ่มมีการตั้งเวทีชุมนุมใกล้ที่ทำการเทศบาลนครอุบลฯ มีการปราศรัยของแกนนำท้องถิ่นสลับกับการรับฟังการถ่ายทอดข่าวสารการชุมนุมของคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงในอุบลฯบางส่วนมาร่วมเวที ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารจากทีวีคนเสื้อแดงที่บ้าน ติดตามทางอินเทอร์เน็ต หรือโทรคุยกัน บรรยากาศเหมือนการติดตามข่าวสารและส่งกำลังใจไปยังตัวแทนที่เสียสละไปปฏิบัติภารกิจสำคัญยังแดนไกล

ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 - 25 เมษายน ช่วงนี้สถานการณ์กลับตึงเครียดขึ้นเป็นลำดับ การชุมนุม ปิดล้อมรัฐสภากลายเป็นเงื่อนไขให้รัฐบาลใช้เป็นโอกาสประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดตั้ง ศอฉ. คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งคิดว่านี่คือแผนของรัฐบาลที่เตรียมการจะใช้ความรุนแรง ดังนั้นผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็คือ ทำให้คนเสื้อแดงเกิดความรู้สึกถึงการต่อสู้อย่างแตกหัก

ในวันที่ 7 เมษายน ท่ามกลางข่าวลือว่ารัฐบาลจะใช้กำลังสลายการชุมนุม รัฐบาลมีคำสั่งให้ยุติการส่งสัญญาณ PTV ที่อุบลฯ การรับสัญญาณทีวีเริ่มขาดๆ หายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความวิตกร้อนรนใจ ในเย็นวันนั้นมีคนเสื้อแดงมารวมตัวกันและบุกเข้าไปภายในสนามหญ้าภายในรั้วศาลากลางฯ ผู้ชุมนุมกันในค่ำคืนจนค่อนคืนวันนั้นประมาณมี 2,000-3,000 คน ถัดจากวันนั้นมีการชุมนุมที่สนามหญ้าศาลากลางอย่างต่อเนื่องด้วยความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในกรุงเทพฯ

10 เมษายน มีการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ในขณะที่การปิดกั้นข่าวสารด้วยการบล็อคสัญญาณทีวีและอินเทอร์เน็ตของคนเสื้อแดง และ ศอฉ. ผูกขาดการให้ข้อมูลของตนแต่ฝ่ายเดียวทำให้สถานการณ์แย่ลงทุกขณะ ที่ชุมนุมบนถนนหน้าศาลากลางฯได้กลายเป็นจุดนัดพบของคนเสื้อแดงที่มาติดตามรับฟังข่าวสาร และส่งแรงใจถึงพี่น้องที่กรุงเทพฯ การสังหารโหดที่สี่แยกคอกวัวทำให้ผู้ชุมนุมที่อุบลฯ เกิดอาการช็อค ไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น ระคนกับโศกสลดใจ

สายๆ วันที่ 11 เมษายน ด้วยความคับแค้นใจ คนเสื้อแดงจัดขบวนแห่ประณามรัฐบาลฆาตกรทั่วเมืองอุบลฯ ในเวทียามเย็นมีตัวแทนจากเหตุการณ์ที่กรุงเทพฯขึ้นมาเล่าเหตุการณ์บนเวที มีการระดมอาสาสมัครเข้าไปต่อสู้จนถึงที่สุดที่กรุงเทพฯ ระดมเงินทองและข้าวของบริจาค การชุมนุมทางการเมืองอย่างสงบ ได้ยกระดับเป็นการต่อสู้กับฝ่ายตรงกันข้ามถึงขั้นเอาเลือดเนื้อเข้าแลก

ช่วงที่ 3 ระหว่าง 13 - 17 พฤษภาคม เมื่อ ศอฉ.ประกาศมาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อ “กระชับพื้นที่” เข้าไปยังแยกราชประสงค์ พร้อมกับข่าวการลอบยิง เสธ.แดง เวทีการชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลฯก็คลาคล่ำไปด้วยคนเสื้อแดงที่โกรธแค้นอีกครั้ง สำหรับคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง เสธ.แดง คือ นักรบของประชาชน ไม่ว่าฝ่ายใดทำร้ายเขา ผลก็คือเพิ่มความเกลียดโกรธแค้นของคนเสื้อไปอีกระดับหนึ่ง

ข่าวการสังหารโหดประชาชนในนามการกระชับพื้นที่ในแต่ละวันสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ชุมนุมมากขึ้นๆ แต่ก็ยิ่งกระตุ้นให้มีการระดมพลไปสมทบที่กรุงเทพฯอย่างไม่ขาดสาย คนที่ไปกรุงเทพฯและเข้าไปยังจุดเผชิญหน้ากับทหารโทรศัพท์กลับมารายงานยังเวที จุดสูงสุดของอารมณ์ของผู้ชุมนุมเกิดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม เมื่อร่างไร้วิญญาณของนายอินทร์แปลง เทศวงศ์ แท็กซี่ชาวอุบล ที่ถูกยิงจากเหตุการณ์กระชับพื้นที่มาถึงจังหวัดอุบลฯ ในค่ำคืนนั้นที่หน้าเวทีปราศรัยมีการจัดพิธีคารวะดวงวิญญาณของแท็กซี่วีรชน มีมวลชนล้นหลามและระดมเงินบริจาคได้มากกว่าทุกครั้ง ท่ามกลางบรรยากาศที่เศร้าสลด ยากจะทำใจ และความรู้สึกที่รอการระเบิด การจากไปด้วยของแท็กซี่มือเปล่าชาวอุบลฯด้วยคมกระสุนของทหาร คนจนๆ ที่ไปทำงานเก็บเงินเลี้ยงครอบครัว ที่ไปเรียกร้องสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เร้าความรู้สึกของการถูกกดขี่ขมเหงและได้รับแต่ความอยุติธรรม ความเกลียดชังรัฐบาลยกระดับไปอีกขึ้น รัฐบาลคือศัตรูที่ที่ป่าเถื่อน อำมหิต ทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจของตนเอง

บ่ายวันที่ 16 พฤษภาคม ด้วยความคับแค้นอัดแน่นใจ กลุ่มคนเสื้อแดงนัดทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ประณามสาปแช่งของรัฐบาล มีการเผายางรถยนต์ในสถานที่สำคัญ 7 แห่งในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มควันดำพวยพุ่งเหนือท้องฟ้า ส่วนราชการการจังหวัดวิ่งจ้าละหวั่น ท่ามกลางความตื่นตระหนกของชาวเมืองทั่วไป และก็ไม่ผิดไปจากการคาดการณ์ เย็นวันนั้นรัฐบาลประกาศให้อุบลราชธานีเป็นพื้นที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ช่วงสุดท้าย วันที่ 19 พฤษภาคม การประกาศพื้นที่ฉุกเฉินที่อุบลฯมีผลเพียงแต่การทำให้คนเสื้อแดงไม่ออกมาชุมนุมกันอย่างโจ่งแจ้ง ในช่วงนี้มีข่าวหน้าหูว่าทหารจะมาปิดสถานีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงซึ่งเป็นช่องทางสื่อสารสุดท้ายที่มี

เย็นวันที่ 18 พฤษภาคม คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งไปรวมตัวกันที่สถานีวิทยุทั้งสองแห่งเพื่อปกป้องสถานีวิทยุ และติดตามข่าวสารร่วมกัน ท่ามกลางข่าวทหารเตรียมใช้กำลังขั้นเด็ดขาดสลายการชุมนุม คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งมีความหวังกับการประสานงานของ ส.ว. ให้มีการเจรจาระหว่างแกนนำกับรัฐบาลอีกครั้ง ในคืนวันนั้นจนถึงนาทีสุดท้ายในรุ่งสางวันที่ 19 พฤษภาคม คนเสื้อแดงบางส่วนมีความหวังว่าคนสำคัญจะออกมาช่วยยุติเรื่องนี้ แต่ก็ผิดหวัง

รุ่งเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม คนเสื้อแดงที่สถานีวิทยุทั้งสองแห่งมีจำนวนมากขึ้น ข่าวสารที่ขาดๆ หายๆ แต่ก็พอรับภาพได้ เผยให้เห็นกองกำลังทหารเข้าเคลียร์พื้นที่ มีภาพคนเจ็บ คนเสียชีวิต สำหรับคนเสื้อแดงคนเหล่านั้นคือญาติพี่น้องของพวกเขา การดูการถ่ายทอดเป็นไปพร้อมกับเสียงวิจารณ์ สลับกับเสียงหวีดร้อง ร่ำไห้ โผเข้าปลอบใจกัน

เมื่อแกนนำที่เวทีราชประสงค์ประกาศยุติการชุมนุมและขอมอบตัว ความโกรธแค้นและเสียใจจากเหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ ทำให้ฝูงชนไปรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางฯ คนเสื้อแดงประมาณ 600 คน กระจายอยู่นอกรั้วศาลากลาง มีการจุดไฟเผายางรถยนต์ มีรถติดเครื่องเสียงและมีคนสลับกันขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่กรุงเทพฯอย่างเผ็ดร้อน

เหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นเมื่อคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งพังรั้วศาลากลาง และวิ่งกรูเข้าไปในสนามหญ้าหน้าศาลากลาง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของจังหวัดยิงปืนสวนออกมาหลายนัด มีคนถูกกระสุนบาดเจ็บ 5-6 คน หลังจากนั้นอีกหลายอึดใจมีข่าวลือว่าหนึ่งในผู้ถูกยิงเสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาล ความตื่นตระหนกกลับกลายเป็นความโกรธแค้น ณ จุดนั้นไม่มีใครบอกได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือความคลุ้มคลั่งไร้สติ หรือความรู้สึกถึงขีดสุดของความเจ็บแค้นจากการถูกย่ำยีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจรัฐอันป่าเถื่อนไร้ความชอบธรรมที่จะปกครองอีกต่อไป ฝูงชนจำนวนหนึ่งที่ไม่กลัวแม้กระทั่งความตาย บุกประชิดศาลากลางและจุดไฟเผาสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐที่กดขี่ข่มเหง เพื่อกอบกู้ความเป็นคนของพวกเขากลับคืนมา

เหตุการณ์ในวันนั้นถูกตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งที่ทางจังหวัดสามารถประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่การเตรียมการป้องกันกลับหละหลวม ทำไมจึงให้กำลังเจ้าหน้าที่กลุ่มแรกที่รับมือกับฝูงชนคือกลุ่มที่ไม่เคยถูกฝึกมาให้รับสถานการณ์การจลาจล จนมีการใช้อาวุธโดยไม่จำเป็น ทำไมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารจำนวนมากในวันนั้นใส่เกียร์ว่าง ทำให้คนไม่กี่คนบุกประชิดเข้าไปเผาอาคารได้ และทำไมไม่มีรถดับเพลิงมาเตรียมรับสถานการณ์ทั้งที่สถานีดับเพลิงอยู่หางออกไปไม่กี่กิโลเมตร

 

3

ผู้เขียนได้กล่าวถึงความจริง 2 แบบ เรื่องการเผาศาลากลางฯ จุดประสงค์ไม่ได้ต้องการชี้ว่า ความจริงชุดใด “จริง” กว่ากัน แต่ต้องการชี้ว่าเราต่างก็อยู่ภายใต้ความจริงคนละแบบ เข้าใจเหตุการณ์คนละอย่าง และตัดสินเรื่องราวหนึ่งๆ ด้วยทัศนะที่แตกต่างกันไป

ความจริงที่แท้นั้นคืออะไร หากจะมี ก็คงมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่รู้

สำหรับมนุษย์ปุถุชนอย่างเรา ที่อาจเอื้อมจะตัดสินความจริง สิ่งที่เราควรตระหนักก่อนอื่นใด คือเข้าใจความจริงเกี่ยวกับความจริง

เหตุการณ์การเผาศาลากลางจังหวัดอุบลฯ ไม่อาจถูกมองโดยแยกจากเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น ไม่อาจมองว่าเป็นเรื่องของพวกคลุ้มคลั่งเผาบ้านเผาเมือง แต่เหตุการณ์นี้เป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมือง ที่ต่างฝ่ายต่างใช้กลยุทธ์เพื่อเอาชนะคะคานกัน ดังนั้นหากจะถามว่าใครคือผู้เผาศาลากลางตัวจริง คำตอบอาจจะมีว่า ก็คือคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย รวมทั้งเราท่าน ผู้ชม ผู้เชียร์ ซึ่งต่างก็มีส่วนร่วมกันจุดไฟ หรือนัยหนึ่งสังคมไทยโดยร่วมจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ร่วมกัน

“ความจริง” เรื่องการเผาศาลากลางอุบลฯ “ความจริง” ของสังคมไทย
ภาพโดย ธีร์ อันมัย

ในโอกาสที่วันพิพากษาจำเลยคดีเผาศาลากลางอุบลฯ (อาจจะรวมจังหวัดอื่นด้วย) งวดเข้ามา ซึ่งมาอยู่ในช่วงเดียวกันการครบรอบปีของเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบไม่น้อยกว่ากัน ขออย่าปล่อยให้ผู้ต้องหาทางการเมืองที่อุบลฯหรือที่อื่นๆ กลายเป็นผู้รับบาปของเหตุการณ์ทั้งหมด ขออย่าให้ขวบปีต่อไปของเหตุการณ์พฤษภาคมเลวร้ายกว่าที่ผ่านมา.

อ้างอิง

  1. ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทที่ 1.
  2. Wikipedia. Conspiracy Theory. available at http://en.wikipedia.org/wiki/Conspiracy_theory
  3. Hugo Antonio Perez Hernaiz (2008) . The Used of Conspiracy Theories for the Construction of a Political Religion in Venezuela. in International Journal of Human and Social Sciences 3 : 4. 2008 . p. 241-252. available at www.waset.org/journals/ijhss/v3/v3-4-31.pdf สำหรับนักปรัชญาที่วิพากษ์ทฤษฎีสมคบคิด และเป็นผู้ชี้ว่าทฤษฎีนี้เป็นมักเป็นที่นิยมในผู้ปกครองอำนาจนิยมคือ Karl Popper (1902-1994) ใน Karl Popper. (1995). The Open Society and its Enemies. London : Routledge.
  4. ข้อมูลมาจากการสังเกตการณ์ของผู้เขียนในระหว่างการชุมนุม ประกอบกับติดตามสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ หลังจากนั้น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หลิ่มหลีว่า เรามา Together We Can กันเถอะ นะคะ นะคะ

Posted: 22 May 2011 11:59 PM PDT

หลิ่มหลีไม่ใช่คนรักเด็กค่ะ แล้วก็ไม่ใช่คนรักสัตว์ด้วย อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ ที่ทำให้หลิ่มหลีไม่มีโอกาสได้ไปประกวดนางงามเวทีไหน อือม ..อย่าพิจารณาถึงหุ่นอันอวบอั๋นกับส่วนสูงอันล่ำสันของหลิ่มหลีนะคะ ...

หลิ่มหลีแค่ .. อยากเข้ารอบ ห้าคนสุดท้าย เพราะแสดงออกถึงสติปัญญาของตัวเองว่า มีความสามารถในการตอบโจทย์ของเวทีนั้นๆอย่างไร เอ่อ..ประกวดนางงาม ก็ประกวดความสวย จะถามคำถามให้ดูฉลาดไปทำไม หลิ่มหลีก็ไม่ทราบ แต่หลิ่มหลีก็มั่นใจในมันสมองระดับหลิ่มๆของตัวเองอยู่พอประมาณ

คำถามส่วนใหญ่ก็ซ้ำๆ ถ้าคุณได้ตำแหน่ง คุณจะทำอะไร ..โอ้ย คำถามแม่ง โง่ๆ หลิ่มหลีก็จะตอบว่า ใช้เงินสิว่ะ หาผัวรวยๆจากการเป็นนางงามสิว่ะ แม่ง จะไปรักเด็ก รักวัว รักโลกทำ-่าอะไร

หลิ่มหลีก็คิดในใจแบบนี้ตลอด

(มิน่า กูไม่เคยมีแมวมองหมามองไปออกเวทีไหนเลย ฮ่าๆๆๆ)

เพราะความที่ไม่รักเด็ก เลยหาผัวไม่ได้
แต่ไม่รักสัตว์นี่ บอกได้ว่า เป็นเอามาก หลิ่มหลีไม่ชอบ แมว หมา กา ไก่ ปลาทอง หรืออะไรเลย
เวลาใครถาม ทำไมไม่รักสัตว์ หลิ่มหลีจะตอบว่า ต่างสปีชี่ ก็ต่างคนต่างอยู่ (ตอบดีไหมคะ อิอิ พอประกวดนางงามได้ไหมคะ อิอิ)

หลายๆ ครั้งที่หลิ่มหลีได้เห็น วัยรุ่น หรือคนไทยยุคใหม่ แสดงความรักกันในที่สาธารณะ จับมือกัน หอมแก้มกัน จูบกัน กอดกัน หลิ่มหลีก็มักจะอิจฉาริษยา อย่างรุนแรง ถึงขั้นด่าทอเสียๆหายๆ

ถ้าทำได้ อยากเข้าไปอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรม เพราะจัดระเบียบสังคมจริงๆเลย

คำด่าที่มักออกจากปากหลิ่มหลีก็ “ทำตัวเยี่ยงสุนัข แสดงความรักไม่เลือกที่”

หลิ่มหลีเนี่ยแหละค่ะ ... นักอนุรักษ์นิยมตัวยง

ถ้าคุณจะทำสิ่งเหล่านี้ กรุณาทำนอกประเทศไทยนะคะ ประเทศไทยนี้มีขนบธรรมเนียมความหวงแหนในเรือนร่างของหญิงสาวและมารยาทไทยอันงดงามอย่างหาใครเปรียบไม่ได้ จงปกป้อง..ร่วมกันค่ะ

ดังนั้น หลิ่มหลีเป็นคนหนึ่งที่พร้อมจะช่วยเหลือ กระทรวงวัฒนธรรมในทุกทางเพื่อให้หญิงไทยใจกล้าทุกคนจงเดินกลับมาเข้ากรอบแห่งขนบและมารยาทไทย

ประเทศไทย นอกจากมี ระเบียบรัตน์ มี ลัดดาแล้ว ก็จะมี หลิ่มหลี เนี่ยแหละค่ะ ... ที่มาช่วยจัดระเบียบสังคัง อิอิ

หลิ่มหลีคิดมาหลายวันแล้ว ว่าจะ เอาหนังสือสมบัติผู้ดีหลายๆเล่มมาเผาแล้วใส่น้ำ แล้วนำไปเทลงไปในคลองประปา เพื่อให้หญิงไทยและชายไทยทุกคนได้ดื่มน้ำต้มหนังสือสมบัติผู้ดี

เหมือนคนจีน จะเผาฮู้ หรือยันต์จีน แล้วให้พวกเด็กๆกินให้แข็งแรงนะค่ะ

คนไทยจะได้มีสมบัติผู้ดีที่แข็งแรงกันเหมือนเดิม

คนไทยพักหลังเป็นเอาหนัก แม้กระทั่งการแสดงความรักฉันหนุ่มสาวที่ประเจิดประเจ้อเข้าไปทุกวัน ยังพาลมะโลโฉเกไปถึงการแสดงความรักต่อชาติ ศาสนา ฯลฯ โดยไม่ได้ดูกาละเทศะ แถมยังทำหน้าเหยียดคนอีกแหละ เวลาที่คนอื่นเขามีกาละเทศะ

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนของหลิ่มหลีคนหนึ่ง เวลาขับรถผ่านไปไหน เจอวัด ยกมือไหว้ เจอศาลเพียงตา ศาลเจ้า ยกมือไหว้ เจอหุ่น-่าอะไร ยกมือไหว้ แม้แต่พระอภัยมณี ผีเสื้อสมุทร แม่งยังยกมือไหว้
มึงบ้า หรือ กูโง่

เอ้า ว่าจะไม่หยาบ หลุดจนได้ หลิ่มหลีเนี่ย จริงๆเลย

อีกตัวอย่าง คือ การยืนเคารพธงชาติ มันกลายเป็น Flash Mob ไปตั้งแต่เมื่อไร มันต้องหยุดกันขนาดนั้นเลยหรือไง

แดกข้าวอยู่ ก็ต้องลุกขึ้นมาเพื่อแสดงความเคารพ
เดินเข้าที่กั้นรถไฟฟ้า ก็ต้องค้างยืนเพื่อแสดงความเคารพ
กำลังxxxxสาวอยู่ ก็ต้องค้างคาไว้...........!??

แหม มันช่าง ...ช่าง...

แสดงความรักไม่เลือกที่

อ่ะน่า..นะ หลิ่มหลีก็เข้าใจจริงๆนะ

หลิ่มหลีก็เข้าใจว่า ในความรักชาติ รักศาสนาของเหล่านักเล่นFlash Mob ทั้งหลายหรอกนะคะ มันดูดี ดูเป็นคนดี แล้วมันก็สามารถนำพฤติกรรมดีดีของตัวเองไปประนามหรือเหยียดหยามคนที่ไม่กระทำได้ด้วย โดยไม่ต้องรับรู้ความจริงเลยว่า จริงๆแล้วมันเหมาะสมหรือไม่

สันดานสลิ่มไทยทุกวันนี้ ฮ่าๆๆๆ เรียกได้ว่า

คนส่วนใหญ่ทำอะไร กูทำตาม ใครไม่ทำ กูเหยียดหยาม
คนส่วนใหญ่คิดอะไร กูคิดตาม ใครไม่คิด กูเหยียดหยาม
คนส่วนใหญ่ชอบอะไร กูชอบตาม ใครไม่ชอบ กูเหยียดหยาม
คนส่วนใหญ่โชว์อะไร กูโชว์ตาม ใครไม่โชว์ กูเหยียดหยาม
คนส่วนใหญ่ด่าอะไร กูด่าตาม ใครไม่ด่า โง่กว่ากู

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนส่วนใหญ่ ทำ คิด ชอบ โชว์ ด่าอะไร ไม่ต้องห่วงค่ะ เรามีเวปบอร์ดพันทิพของแจ้งให้เราทราบ เรามีสื่อที่เลือกเรื่องเสือกบางเรื่องให้เราเสือก เรามีพี่สรยุทธ์จากครอบครัวข่าวสามคอยรายงานให้เรารู้ แล้วเราก็มีมอนิเตอร์จากศูนย์เฝ้าระวังความผิดเพี้ยนของคนไทยในด้านวัฒนธรรมจากกระทรวงวัฒนธรรมที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะ คัด เลือก สรร ห้าม ขู่ ฯลฯ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีการกระทำ คิด ชอบ โชว์ ด่า ไปในทางเดียวกัน

แต่มันก็งดงามที่จะทำตาม เพราะมันจะทำให้คุณดูดี ดูเป็นคนดี เป็นสลิ่มที่ดี

หลิ่มหลีว่า เพื่อความเป็นเอกภาพและเอกลักษณ์ของสังคังสลิ่มไทย เราอย่าไปต่อต้านเลยนะคะ เรามาร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อความปรองดองสมานฉันท์กันเถอะค่ะ

Together we can นะคะ

เรามา...

ทำตัวเยี่ยงสุนัข แสดงความรักไม่เลือกที่ ...กันเถอะค่ะ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น