โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

วันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53: กองทัพรัฐฉานเหนือ-ใต้ ประกาศรวมกำลังต่อสู้กองทัพพม่า

Posted: 21 May 2011 08:01 AM PDT

กองทัพรัฐฉาน SSA จัดสวนสนามในวันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53 โดยรองผู้บัญชาการของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย พร้อมประกาศร่วมกับกองทัพรัฐฉาน “ใต้” ต่อสู้กับกองทัพพม่า โดยจะไม่มีการกลับไปเจรจาอีก “เจ้ายอดศึก” เผยจะรวมเป็นกองทัพเดียวกันภายใต้สภากอบกู้รัฐฉานภายในปีนี้ 

นายทหารในกองทัพรัฐฉาน (SSA) และกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พันธมิตรฯ เข้าร่วมพิธีวันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53

ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ระหว่างพิธีวันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53 ที่ดอยไตแลง เมื่อ 21 พ.ค. โดยวันนี้เมื่อ 53 ปีที่แล้ว หรือในปี พ.ศ. 2501 ชาวไทใหญ่กลุ่มหนึ่งได้ตั้งกองกำลัง “หนุ่มศึกหาญ” เพื่อเรียกร้องเอกราชจากพม่า และวันนี้ยังเป็นวันครบรอบ 11 ปี การก่อตั้งสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองของกองทัพรัฐฉานด้วย

ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ระหว่างพิธีวันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53 ที่ดอยไตแลง เมื่อ 21 พ.ค.

พล.ต.เจ้าจายยี่ รองประธานสภากอบกู้รัฐฉานคนที่ 1 ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ในงาน ทั้งนี้ เจ้าจายยี่เป็นอดีตนายทหารในกองทัพแห่งชาติรัฐฉาน (Shan State National Army – SSNA) ซึ่งได้นำกองกำลังมาเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน (SSA) ของ เจ้ายอดศึก เมื่อปี 2548

พล.ท.เจ้ายอดศึก (ซ้าย) ประธานสภากอบกู้รัฐฉาน และผู้นำกองทัพรัฐฉาน (SSA) และเจ้าจายทู รองผู้บัญชาการกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” (SSA/SSPP) ในงานวันปฏิวัติประชาชนรัฐฉานปีที่ 53 ที่ดอยไตแลง รัฐฉาน เมื่อ 21 พ.ค.

โดยกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ได้ส่งเจ้าจายทูเป็นตัวแทนร่วมงานดังกล่าว และได้ประกาศว่าจะเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน (SSA) และสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ด้วย โดยถือเป็นการประกาศต่อต้านกองทัพพม่าอย่างเป็นทางการ หลังจากถูกกองทัพพม่าโจมตีอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ไม่ยอมเปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์พื้นที่ (HGF)

ทหารกองทัพรัฐฉานเตรียมพวงมาลา เพื่อนำไปวางไว้อาลัยให้กับทหารในกองทัพซึ่งเสียชีวิตระหว่างการสู้รบ

 

ช่วงเช้าวันนี้ (22 พ.ค. 53) กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army – SSA) และสภากอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of the Shan State - RCSS) ได้จัดงาน “วันปฏิวัติประชาชนรัฐฉาน” (Shan State People Resistance Day) ครบรอบปีที่ 53 ที่ฐานที่มั่นดอยไตแลง รัฐฉาน ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ในงานมีการสวนสนามของทหารไทใหญ่ที่สำเร็จการฝึกทหาร 

นอกจากนี้ในวันนี้ยังเป็นวันครบรอบ 11 ปีการก่อตั้งสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองของกองทัพรัฐฉานด้วย

โดยการจัดงานในปีนี้ กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” (SSA/SSPP) ภายใต้การนำของพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progress Party – SSPP) ได้ส่งเจ้าจายทู รองผู้บัญชาการกองทัพคนที่ 2 เป็นผู้แทนมาร่วมงานดังกล่าวด้วย และมีการประกาศเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน (SSA) และ สภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ด้วย

ทั้งนี้ ถือเป็นการประกาศเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทั้งด้านการเมืองและการทหารกับกองทัพรัฐฉาน (SSA) อย่างเป็นทางการ และถือเป็นการประกาศต่อต้านกองทัพพม่าอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ทำสัญญาหยุดยิงกันเมื่อปี 2532

เจ้าจายทู รองผู้บัญชาการคนที่ 2 กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ให้สัมภาษณ์หลังพิธีสวนสนามว่า กองทัพรัฐฉานเหนือมีการหยุดยิงมาตั้งแต่ปี 2532 โดยหวังจะเอาการเมืองมาแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่กองทัพพม่าไม่รับฟัง มีการใช้กำลังทหารข่มขู่ และมีการปะทะกับกองทัพรัฐฉานเหนือตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยกองทัพรัฐฉานเหนือยืนยันว่าจะไม่มีการเจรจากับกองทัพพม่าอีก “ต่อสู้ก็คือต่อสู้ ไม่มีเจรจา เพราะกองทัพเราอยู่กับสภากอบกู้รัฐฉานแล้ว”

ด้าน พล.ท.เจ้ายอดศึก ประธานสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) และผู้นำกองทัพรัฐฉาน (SSA) กล่าวว่า ประชาชนในรัฐฉานอยากเห็นกองทัพในรัฐฉานแต่ละกองทัพ หันมาปรองดอง สามัคคีกัน โดยการรวมกองทัพระหว่างสองกองทัพรัฐฉาน จะมีการรวมกันอย่างจริงจังโดยภายในปีนี้จะเห็นความชัดเจน ส่วนรูปธรรมขณะนี้ทั้งเราทั้งสองกองทัพพูดคุยกัน เข้าใจกัน โดยจะมีการลงรายละเอียดอีกทีในเรื่องระเบียบวินัยของกองทัพ และไม่ว่ากลุ่มไหนในรัฐฉาน ตอนนี้เราสามัคคีกันทุกกลุ่ม

สำหรับวันที่ 21 พ.ค. ของทุกปี ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าถือเอาวันนี้เป็นวันรำลึกการต่อต้านทหารพม่า โดยวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะได้ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าในนามกลุ่ม "หนุ่มศึกหาญ" ขึ้นที่เมืองหาง เขตอำเภอเมืองโต๋น ในรัฐฉานตอนใต้ ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน โดยเริ่มต้นมีกำลังพล 30 นาย

โดยในปี 2501 ดังกล่าว ถือเป็นปีครบกำหนดที่ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานและชนกลุ่มน้อยในรัฐอื่นของพม่า สามารถใช้ “สิทธิแยกตัว” (Right of Secession) ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ระบุว่าหลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษไปแล้ว 10 ปี หากรัฐของชนชาติต่างๆ ในสหภาพพม่าต้องการแยกตัวเป็นเอกราช โดยสามารถจัดการลงประชามติขึ้นในรัฐนั้น หากได้รับเสียง 2 ใน 3 จึงจะสามารถแยกตัวเป็นเอกราชได้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาลพม่าอีกที อย่างไรก็ตามไม่มีชนกลุ่มน้อยรัฐใดในรัฐฉานมีโอกาสใช้สิทธิดังกล่าว เนื่องจากปัญหาสงครามกลางเมืองระหว่างชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกเป็นอิสระ และทหารพม่ารุกคืบเข้าไปในพื้นที่ของรัฐชนกลุ่มน้อย

000

 

การรวมกันเป็นหนึ่งกองทัพในรัฐฉาน

ปัจจุบันในรัฐฉาน มีกองกำลังที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าคือกองทัพรัฐฉาน หรือ SSA (Shan State Army) นำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ซึ่งแยกออกมาตั้งกลุ่มใหม่ หลังจากที่ขุนส่านำกองทัพเมืองไต (Mong Tai Army หรือ MTA) วางอาวุธแก่รัฐบาลพม่าในเดือนมกราคมปี พ.ศ.2539

ต่อมาเมื่อเดือน พ.ค. ปี 2548 มีกองกำลังมาเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน SSA เพิ่ม คือ กองทัพแห่งชาติรัฐฉาน (Shan State National Army – SSNA) ซึ่งได้แยกตัวจากขุนส่า เมื่อปี 2538 และทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่านั้น ได้เลิกสัญญาหยุดยิงและ พ.อ.เจ้าจายยี่ ผู้นำ SSNA ได้นำกำลังมารวมกับกองทัพรัฐฉาน SSA

ในบางกรณี ผู้สังเกตการณ์ภายนอกขนานนามกองทัพรัฐฉานที่นำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึกว่า กองทัพรัฐฉาน ใต้” (Shan State Army – South / SSA-S) เนื่องจากมีอีกกองกำลังหนึ่งในรัฐฉาน ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า “Shan State Army” เหมือนกัน แต่เนื่องจากเป็นคนละกองทัพกัน และมีพื้นที่เคลื่อนไหวอยู่ในตอนเหนือรัฐฉาน จึงถูกผู้สังเกตการณ์ขนานนามว่า กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” (Shan State Army - North) เพื่อจำแนกสองกองกำลังดังกล่าว

แต่ล่าสุด กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ที่นำโดย พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน ได้ถือเอาวันครบรอบปีที่ 53 วันปฏิวัติประชาชนรัฐฉาน ประกาศเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน “ใต้” ที่นำโดยสภากอบกู้รัฐฉาน

โดยกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ก่อตั้งในปี 2507 หนึ่งในผู้ก่อตั้งคือมหาเทวีเฮือนคำ อดีตชายาเจ้าฟ้าส่วยแต้ก (Sao Shew Thaik) แห่งเมืองหยองห้วย ประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า (ผู้เป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2491 จนถึงปี 2495 และในเดือนมีนาคมปี 2505 หลังการรัฐประหารของนายพลเนวิน ได้ถูกควบคุมตัวและเสียชีวิตในคุก ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน)

โดยกองทัพรัฐฉาน ที่ตั้งในปี 2507 นี้ต่อมาได้เจรจาหยุดยิงเมื่อปี 2532 โดยแบ่งกำลังเป็น 3 กองพลน้อย คือ กองพลน้อยที่ 1, 3 และ 7

ต่อมาในเดือนเมษายนปี 2553 พล.ต.หลอยมาว ผู้นำสูงสุดของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ตัดสินใจรับข้อเสนอรัฐบาลทหารพม่า นำกำลังพลในกองพลน้อยที่ 3 และ 7 เปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์พื้นที่ (Home Guard Force – HGF) และมีการเปลี่ยนชุดเครื่องแบบตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2533

ขณะที่กองพลน้อยที่ 1 ภายใต้การนำของ พล.ต.ป่างฟ้า ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการเปลี่ยนสถานะกองกำลังไปอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพพม่า

ต่อมาในเดือนธันวาคมปี 2553 กองพลน้อยที่ 1 ดังกล่าว ได้มีการประชุมใหญ่ทั้งระดับผู้บังคับบัญชาหน่วย ที่ปรึกษา และฝ่ายปกครอง ที่ฐานบัญชาการบ้านไฮ อำเภอเกซี จังหวัดดอยแหลม รัฐฉานภาคเหนือ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ปีนี้ โดยมีมติให้ฟื้นฟูจัดตั้งองค์การเมืองในชื่อ“พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน” (Shan State Progress Party - SSPP) ซึ่งเป็นองค์กรการเมืองเดิมของกองทัพ แต่ได้ยุติบทบาทมาตั้งแต่ปี 2538 พร้อมกันนั้น กองพลน้อยที่ 1 ได้มีมติเห็นชอบใช้ชื่อกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army - SSA) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของกลุ่ม แทนชื่อกองพลน้อยที่ 1

โดยพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (SSPP) ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่นี้ มี พล.ต.ป่างฟ้า ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 1 ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ มีการปรับโครงสร้างใหม่แบ่งกำลังพลออกเป็น 5 กองพลน้อย คือ กองพลน้อยที่ 1, 27, 72, 36 และ 74 แต่ละกองพลน้อยมีกำลังทหาร 3 กองพัน นอกนั้นได้จัดตั้งหน่วยรบพิเศษ หน่วยปืนใหญ่ และหน่วยสารวัตรทหารด้วย

กระทั่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กองทัพพม่าได้เสริมกำลังเข้าไปประชิดพื้นที่เคลื่อนไหวของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ดังกล่าว และเริ่มโจมตีมาตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” ได้ออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลพม่าว่า เคยเสนอให้แก้ปัญหาการเมืองด้วยวิธีเจรจาทางการเมืองมาแล้วหลาย แต่รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้ให้ความสำคัญ มุ่งแต่สร้างความแตกแยกและกำจัดกลุ่มชาติพันธุ์ โดยยังคงยึดนโยบายตัด 4 ละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวรัฐฉานต่อเนื่อง และยังส่งกำลังทหารเข้ากดดันกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" จนเกิดการสู้รบกัน

ล่าสุดกองทัพรัฐฉาน เหนือ” ภายใต้การนำของพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (SSPP) จึงประกาศเข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน “ใต้” (SSA) และสภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ที่มี พล.ท.เจ้ายอดศึกเป็นผู้นำ ดังกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา : “Enemies of the people” ว่าด้วยเบื้องหลังการฆ่าล้างศัตรูประชาชน

Posted: 21 May 2011 05:59 AM PDT

วานนี้ (20 พ.ค.) กลุ่มฟิล์มกาวัน และบริษัทเอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด ร่วมด้วยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาเรื่อง “เพื่อความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้าน ASEAN กับ Enemies of people” จัดขึ้น ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

จุดประสงค์ของงานเสวนานี้เพื่อบอกเล่า ถกประเด็น และสร้างความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในยุคเขมรแดงผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Enemies of people (ศัตรูประชาชน) เสวนาโดย เต็ด สัมบัท ผู้กำกับภาพยนตร์ นักข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยมหิดล และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักข่าวอาวุโสจาก The Nation ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งและความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินรายการโดย กฤตยา ทรงประโคน ผู้สนใจประวัติศาสตร์และสังคมกัมพูชา จากกลุ่มฟิล์มกาวัน

เสวนา : “Enemies of the people” ว่าด้วยเบื้องหลังการฆ่าล้างศัตรูประชาชน

ภาพยนตร์เรื่อง Enemies of people หรือ “ศัตรูประชาชน” ซึ่งกำลังเข้าฉายอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ เป็นภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยเบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุคเขมรแดง โดยฝีมือการสร้างของร็อบ เลมกิน ผู้กำกับชาวอังกฤษ และเต็ด สัมบัท นักข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าประวัติศาสตร์ระบอบเขมรแดงในมุมมองของประชาชน โดยเล่าถึงเบื้องหลังความเป็นมาของเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงปี 1975-1979ผ่านบทสัมภาษณ์ของนวล เจีย หนึ่งในผู้นำระดับสูงของกลุ่มเขมรแดงในอดีต และเป็นอดีตผู้นำเพียงคนเดียวที่ยังคงมีชีวิตอยู่

Enemies of people ใช้เวลาในการถ่ายทำนานกว่าสิบปี เพื่อที่จะได้นำเสนอข้อจริงและเยียวยาความรู้สึกของเพื่อนร่วมชาติทั้งสองฝ่ายให้ได้ตรงความจริงที่สุด แต่ท้ายที่สุดแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถูกคำสั่งห้ามฉายในประเทศกัมพูชา

 

นวล เจีย ผู้นำเขมรแดงที่ใช้ชีวิตวัยเรียนอยู่ในประเทศไทยนานกว่าสิบปี

กฤตยา ทรงประโคน เล่าถึงประวัติของนวล เจีย อดีตผู้นำเบอร์สองของกลุ่มเขมรแดง ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า นวล เจีย ได้รับตำแหน่งเลาขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาในปี พ.ศ. 2500 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2521 กองกำลังของเวียดนามบุกเข้ากัมพูชา นวล เจีย และพอล พต อดีตผู้นำหมายเลขหนึ่งจึงต้องหนีถอยไปยังพื้นที่ชนบท ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 หลังจากที่ พอล พตเสียชีวิตลง นวลเจีย และเขียวสัมพันธ์ อดีตผู้นำระดับสูงอีกคนหนึ่งได้ทำหนังสือถึงนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยขอยอมแพ้และแสดงเจตจำนงว่าจะขออยู่ในประเทศต่อไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 นวลเจียถูกจับกุมในฐานะผู้ต้องหาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และขณะนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างรอการไต่สวนโดยศาลพิเศษที่สหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชาร่วมกันจัดตั้งขึ้น

กฤตยาเล่าต่อไปอีกว่าเรื่องราวของ นวล เจียนั้น มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเขาเคยเข้าศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 ในโรงเรียนมัธยมเบญจมบพิตร โดยเขาใช้ชื่อไทยว่า “รุ่งเลิศ เหล่าดี” จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขากฎหมาย ในปี พ.ศ. 2498 ในระหว่างนั้นก็เข้าทำงานเป็นข้าราชการกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และเข้าเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ต่อมาก็ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ แผนกอินโดจีน แต่หลังจากทำงานได้เพียงหนึ่งเดือนเขาก็ลาออกและไม่ได้เรียนต่อจนจบการศึกษา นวล เจียลาออกจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเข้าเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่เวียดนาม และเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดในปี พ.ศ. 2489 หนึ่งปีหลังข้อตกลงหยุดยิงเจนีวา และได้พบกับพอล พตและสหายร่วมอุดมการณ์ต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศส

 

ไม่ได้สร้างภาพยนตร์ด้วยความแค้นแต่เพื่อ “ปลดปล่อย”

นายเต็ต สัมบัท ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวกัมพูชากล่าวว่า ตนไม่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาเพียงเพราะครอบครัวของตนหรือครอบครัวของคนอื่นเท่านั้นที่ได้รับผลจากเหตุการณ์สังหารประชาชนในอดีต สัมบัทเห็นว่าครอบครัวของตนเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มเล็กๆที่เป็นเหยื่อ เขาจึงอยากที่จะศึกษาและนำเสนอเรื่องราวของเขมรแดงที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบและความเจ็บปวดมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเขายังกล่าวด้วยว่า ฆาตกรหรือผู้สังหารก็เป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้ด้วยเช่นกัน เขากล่าวว่าคนกัมพูชารุ่นหลังไม่รู้รายละเอียดลึกๆว่ายุคนั้นเกิดอะไรขึ้น เขาเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสามารถทำให้คนรุ่นหลังสามารถเรียนรู้เรื่องราวของความเจ็บปวดในอดีต และจะช่วยเยียวยาบาดแผลของคนทั้งสองฝ่ายได้

สัมบัทเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ในอดีต แต่ด้วยความที่เขาเป็นนักข่าว เขาจึงต้องยืนอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝ่าย เพื่อที่จะได้สามารถเขียนงานออกมาได้เป็นกลางและเป็นประโยชน์ต่อชาวกัมพูชาให้ได้มากที่สุด สัมบัทมองว่าถ้าต่างฝ่ายต่างมีแต่ทัศนะที่ต้องการแก้แค้น ก็ไม่ได้ช่วยให้มีพัฒนาการอะไรที่ดีขึ้น เขากล่าวว่า จนถึงทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์เขมรแดงถูกเก็บอยู่กับพอล พต และนวล เจียเพียงสองคนเท่านั้น เขาจึงต้องการที่จะเก็บเกี่ยวประวัติศาสตร์ของเขมรแดงให้ได้มากที่สุด เพราะไม่ต้องการให้คนรุ่นใหม่เดินตามหลังในสิ่งที่อดีตผู้นำทั้งสองคนได้ทำเอาไว้

สัมบัทกล่าวทิ้งท้ายถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เขาต้องการนำเสนอว่ากลุ่มเขมรแดงมีทรรศนะอย่างไรจึงทำให้สามารถเกิดการสังหารครั้งใหญ่นี้ได้ สัมบัทกล่าวว่าในภาคสองของภาพยนตร์เรื่องนี้จะให้คำตอบทั้งหมดว่าความเป็นมาของการฆ่าเกิดจากอะไร เพราะอะไร ทำไมพวกเขาเหล่านี้จึงสามารถทำสิ่งเหล่านี้กับคนร่วมชาติได้ และประชาชนที่ชมภาพยนตร์จะเป็นผู้ตัดสินเองว่าสาเหตุของการฆ่ามาจากอะไร และต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

 

ไทยก็มีส่วนร่วมกับการสังหารในกัมพูชา

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี เป็นผู้หนึ่งที่สนใจและติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ของกัมพูชามาตลอด สุภลักษณ์กล่าวว่าในยุคนั้น เราไม่เคยรู้เลยว่าอะไรเกดขึ้นกับกัมพูชา ภาพที่ไทยนำเสนอนั้นมีเพียงข่าวว่ากัมพูชาบุกไทย คอมมิวนิสต์จะยึดไทย แต่ไม่เคยนำเสนอข่าวในมุมมองที่สร้างความเข้าใจต่อเพื่อนบ้านเลย สุภลักษณ์กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้ได้คำตอบว่าสาเหตุของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุคเขมรแดงนั้นเกิดจากสาเหตุใด และกัมพูชาจะกลั้นกลืนความเจ็บปวดนี้ได้อย่างไร

สุภลักษณ์มองว่าการปฏิวัติของเขมรแดงนั้นไม่ได้เดินตามแบบลัทธิมาร์กซิสต์ หรือเลนิน แต่เป็นการแก้แค้นของขบวนการชาวนาในกัมพูชาที่ถูกขูดรีดทั้งจากชาวต่างชาติและคนในชาติเดียวกัน จนกลายเป็นความแค้นที่ถูกสั่งสมมาเป็นเวลานาน หลังการปฏิวัติของเขมรแดง ทุกคนในกัมพูชาต้องทำนา สังคมกัมพูชาถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสังคมบุพกาล เพื่อนำไปสู่ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ผู้ที่เป็นศัตรูของประชาชนต้องได้รับการลงโทษ สุภลักษณ์เห็นว่างานของสัมบัทเป็นงานที่เจาะลึกถึงเรื่องราวของเขมรแดงได้มากกว่างานชิ้นอื่นที่ผ่านมา

นักข่าวอาวุโสผู้นี้กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กัมพูชา ทางไทยเองก็ทำผิดไม่น้อย “เพราะเรากลัวเวียดนาม กลัวกัมพูชา กลัวว่าทฤษฎีโดมิโนจะมาถึงไทย เราจึงส่งเสริมเขมรแดงมานานกว่า ๑๐ ปี ชีวิตปกติของชาวกัมพูชาในตอนนั้นคืออยู่กับเสียงกระสุนปืน ชีวิตปกติของชาวกัมพูชาในปัจจุบันคืออยู่กับกับระเบิด” สุภลักษณ์กล่าวด้วยว่าอาเซียนในตอนนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากแถลงโจมตีเวียดนาม และไทยเองก็มีส่วนร่วมต่อสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในกัมพูชา

 

ไม่ใช่ตั้งศาลเพียงแค่เพื่อหาข้อเท็จจริงแต่ต้องสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นจริง

ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี เล่าถึงตอนที่เธอได้เข้าไปทำงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในช่วงยุคเขมรแดง ศรีประภากล่าวว่าผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาทุกคนต่างก็ต้องการปลดปล่อยตนเองออกจากความเจ็บแค้นที่ตนถูกกระทำจากฝ่ายเขมรแดง ศรีประภากล่าวในมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีความรุนแรงที่สุด เธอเห็นว่าในเอเชียตะวันออกเฉยงใต้มีเพียงกัมพูชาที่เดียวเท่านั้นที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ชัดเจนที่สุด เธอยกตัวอย่างต่อไปว่าในแอฟริกา เช่นในซูดาน และรวันดาก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้เช่นกัน แม้ว่าปัจจุบันจะมีการตั้งศาลอาญาชั่วคราวโดยองค์กรสหประชาชาติเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็พยายามทำการเยียวยาบาดแผลของคนร่วมชาติที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ศรีประภาเล่าถึงความร่วมมือของอาเซียนในสมัยนั้นว่า ต่างก็ร่วมมือสามัคคีกันต่อต้านเวียดนาม และสนับสนุนการขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มเขมรแดง ศรีประภากล่าวด้วยว่า ประเทศที่เคยให้การสนับสนุนควรมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัมพูชาด้วย และเธอจึงมองว่าเพราะเหตุนี้จึงทำให้เรื่องดังกล่าวไม่ค่อยถูกนำกลับมาพูดถึงมากนัก ศรีประภามองว่าแม้ตอนนี้กัมพูชาจะมีการตั้งศาลแสวงหาข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่ได้ทำเพื่อการปรองดอง เธอจึงเสนอว่าควรมีกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง และมีการปรองดองเกิดขึ้นดังเช่นในแอฟริกา

สำหรับชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้ ศรีประภากล่าวว่า “ศัตรูประชาชน” หมายถึงผู้ที่ “ถูกฆ่า” ในยุคเขมรแดง เมื่อเป็นศัตรูประชาชนก็แสดงว่าผู้ที่ฆ่านั้นไม่ได้มีความผิดเพราะเขาช่วยประชาชนฆ่าศัตรู แม้แต่นายเขียว สัมพันธ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำระดับสูงเอง ก็ยังเคยให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าตนทำในสิ่งที่ถูกต้อง ศรีประภามองว่าคนที่มองเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปลดปล่อยอะไร ศรีประภาเมองว่านายเต็ต สัมบัทสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่เพราะความแค้น แต่เพราะเพื่อต้องการอธิบายความจริงโดยไม่ต้องให้รัฐเข้ามามีส่วน ซึ่งเธอเห็นว่ากรณีของสังคมไทยเองก็สามารถทำได้เช่นกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สั่งบริษัทมือถือให้สิทธิผู้บริโภคแยกสมัครบริการเสียงและข้อมูล

Posted: 21 May 2011 05:35 AM PDT

เผยผู้บริโภคร้องถูกเก็บค่า”เน็ตผ่านมือถือ” กว่าสามแสนบาท รักษาการกสทช. สั่งบริษัทมือถือให้สิทธิผู้บริโภคเลือกสมัครบริการเสียงและข้อมูล ชี้ อย่าเหมารวมบริการ พร้อมเตือนผู้บริโภคปิดการเชื่อมต่อที่เครือข่ายป้องกันปัญหาเน็ตรั่ว

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.สบท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2553 สบท.ได้รับเรื่องร้องเรียนการคิดค่าบริการผิดพลาดจากการที่โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง การคิดค่าบริการผิดพลาดจากบริการระหว่างประเทศและการใช้ภายในประเทศ ปัญหาครึ่งหนึ่งเกิดจากการใช้เกินโปรโมชั่นและการเชื่อมต่ออัตโนมัติทั้ง WIFI EDGE และ GPRS อีกส่วนหนึ่งมาจากการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยเฉพาะในกรณีการเชื่อมต่อในต่างประเทศเมื่อผู้บริโภคขอเปิดใช้บริการโรมมิ่งเสียง แล้วบริษัทเปิดบริการโรมมิ่งดาต้าให้ด้วย ทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้ขอเปิดใช้บริการ ทำให้เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ถูกเรียกเก็บค่าบริการในอัตราสูง จำนวนเงินสูงสุดที่ถูกเรียกเก็บจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ คือสามแสนกว่าบาท นอกจากนี้ยังมีกรณีการสมัครใช้บริการในประเทศและโทรศัพท์มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอัตโนมัติให้ตลอด ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจใช้

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า จากการร้องเรียนของผู้บริโภครายหนึ่ง ทำให้เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. มีมติ ให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ถูกร้องเรียนจัดให้มีระบบขอเปิดใช้บริการข้อมูล (DATA) ที่แยกออกจากการให้บริการเสียง (VOICE) เพื่อแก้ปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ

“ในการเปิดให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ผู้ใช้บริการควรมีโอกาสได้แจ้งความจำนงกับบริษัทว่าต้องการใช้บริการหรือไม่ หากผู้ใช้บริการไม่แสดงความจำนงเข้ามา แต่เปิดให้บริการเองย่อมเป็นการยัดเยียด อีกทั้งการที่ผู้บริโภคสมัครใช้บริการเสียง จะเหมารวมว่าผู้บริโภคขอใช้บริการข้อมูลไปด้วยคงไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีของการสมัครใช้บริการโรมมิ่งควรมีการแยกสมัครระหว่างเสียงและข้อมูลให้ชัดเจน” ผอ.สบท.กล่าว

ผอ.สบท. กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ยังได้มีมติให้บริษัทที่ถูกร้องเรียนคืนเงินค่าบริการและยุติการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้บริโภคด้วย เนื่องจากบริษัทไม่แสดงหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน ตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม

นายประวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน ต้องระมัดระวังในการใช้บริการ และควรศึกษาระบบเครื่องโทรศัพท์ให้ดี ตรวจสอบการใช้บริการเป็นระยะ และสามารถป้องกันปัญหาเน็ตรั่วได้โดยปิดการเชื่อมต่อที่เครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ ควรปิดการเชื่อมต่อที่ระบบเครือข่ายผู้ให้บริการด้วย ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะมีเบอร์ตรงในการปิด-เปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ทั้งนี้การปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละเครือข่าย เอไอเอส กด *129* กด 1 กด # และกดโทรออก หากต้องการเปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยกด *129* กด 2 กด # และกดโทรออก (ฟรีไม่คิดค่าบริการ)    ดีแทค เปิดและปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยกด *1004 กดโทรออก กด 7(ฟรีไม่คิดค่าบริการ) ทรูมูฟ เปิดและปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดย *9399 กดโทรออก (คิดค่าบริการครั้งละ 1 บาท)
     
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จวก กกต. คุมใช้เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์หาเสียงไร้สาระ - ปชป.ทำแอพบนมือถือ

Posted: 21 May 2011 05:28 AM PDT

ว่าที่ผู้สมัครส.ส.ตรัง ฉะ กกต.คุมใช้เฟซบุ๊ค-ทวิตเตอร์หาเสียง ไร้สาระ แนะให้เอาเวลาไปตรวจสอบการซื้อสิทธิ์ขายเสียงดีกว่า เย้ยแม้แต่มีกระทรวงไอซีทียังจัดการพวกหมิ่นสถาบันไม่ได้ ปชป.รุกโซเชียลเน็ตเวิร์คทำแอพบนมือถือ

ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า วันนี้ (21 พ.ค.) นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ตรัง เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ กล่าวว่า จากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกกฎเหล็กควบคุมการหาเสียงของพรรคการเมือง ผ่านทางระบบโซเชียลมีเดีย หรือระบบสังคมออนไลน์ ทั้งอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ต้องคิดรวมค่าใช้จ่ายด้วยนั้น ตนเห็นว่าปัจจุบันระบบโซเชียลมีเดียเป็นสื่อออนไลน์ช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส.ทั้งนี้ เพื่อใช้สำหรับการนำเสนอผลงานและหาเสียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและทันสมัย หากใครที่ไม่เคยใช้ช่องทางดังกล่าวในการติดต่อสื่อสารก็ถือว่าล้าหลัง ในยุคสมัยที่โลกมีวิวัฒนาการที่เจริญพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ส่วนการคิดค่าใช้จ่ายทางระบบโซเชียลมีเดียของทาง กกต.นั้น ตนยังมองไม่ออกว่าจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างไร นอกจากจะเรียกเก็บเป็นค่าบริการทางอินเตอร์เน็ตรายเดือนตามความเป็นจริง ไปรวมกับค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ได้เท่านั้น
      
นายสมบูรณ์ กล่าวอีกว่า ตนจึงไม่เห็นด้วยที่ทาง กกต.จะมาออกกฎเหล็กดังกล่าว เพื่อควบคุมการหาเสียงของผู้สมัคร ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ และจะกลายเป็นการสร้างภาระให้กับทาง กกต.ด้วย ควรจะเอาเวลาที่จะมาจับผิดผู้สมัครเรื่องดังกล่าว ไปตรวจสอบการทุจริตซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต่างๆ ที่ยังมีอีกหลายพื้นที่ จะดีกว่าการมาเสียเวลาตั้งบุคลากรเพิ่ม เพื่อติดตามตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะขนาดกระทรวงเทคโนโลยีและสาระสนเทศ (ICT) ที่ว่าเก่งและมีเครื่องมือที่ทันสมัยแล้ว ก็ยังไม่สามารถจัดการพวกหมิ่นสถาบันตามเว็บไซต์ต่างๆ ได้ แล้วทาง กกต.จะเก่งกว่าได้อย่างไร
      
"ถ้าทาง กกต.ออกกฎเหล็กสั่งห้ามไม่ให้ผู้สมัครเล่นเฟซบุ๊ค หลังเวลา 18.00 น.ในวันที่ 2 ก.ค.นั้น ถือเป็นเรื่องไร้สาระมาก ซึ่งผมเห็นว่าการใช้ช่องทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้บอกกล่าวแจ้งเตือนสมาชิกคนอื่นให้ออกไปใช้สิทธิ์ และอย่านอนหลับทับสิทธิ์ได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ การใช้ระบบโซเชียลมีเดีย ถือเป็นช่องทางสื่อสารที่เปิดเผย ดังนั้น ทาง กกต.ไม่ควรจะมาจับผิดอย่างไร้สาระ ควรเอาเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า" อดีต ส.ส.ตรัง พรรค ปชป.3 สมัย และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ตรัง พรรค ปชป.เขต 4 กล่าว

ปชป.รุกโซเชียลเน็ตเวิร์คทำแอพบนมือถือ

ที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 20 พ.ค. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้อำนวยการเลือกตั้งภาคกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าว เปิดตัวช่องทางการหาเสียงประชาสัมพันธ์ข่าวสารของพรรค ผ่านระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค ว่า ระบบดังกล่าวถือเป็นยุทธศาสตร์ที่จะรุกใช้ในการหาเสียงออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้ขณะนี้ประมาณ 9 ล้านคน โดย 60 % อายุเฉลี่ย 18-35 ปี ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค จะเริ่มพบปะพูดคุยกับประชาชนและแฟนเพจกว่า 6 แสนคนแบบสด ๆผ่านระบบ “Livestream” ผ่านเฟซบุ๊กของนายอภิสิทธิ์ www.facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva “Ch.10” ซึ่งจะใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารโดยตรงถึงนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค โดยใช้สโลแกนว่า อยากถามอภิสิทธิ์ ฮิต ชาแนล 10 โดยจะเริ่มครั้งแรกในวันที่ 22 พ.ค. เวลา 20.10 น.

นายอภิรักษ์ กล่าวจต่อว่า ส่วนในอีกช่องทาง จะใช้สื่อผ่านเฟซบุ๊กของพรรคประชาธิปัตย์ที่ www.facebook.com/DemocratPartyTH ในช่อง “DEM10” ซึ่งจะมีไฮไลท์การลงพื้นที่ประจำวันของผู้สมัครในส่วนต่างๆ ของพรรค ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกคืนเช่นกัน โดยจะเริ่มต้นในวันอาทิตย์ ที่ 22 พ.ค.นี้เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ตั้งแต่เวลา 20.10 น. ทั้งนี้ จุดเด่นของช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่นี้ คือ จะเป็นการเปิดช่องทางการสื่อสารกับแฟนคลับ หรือ แฟนเพจ ของพรรคเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับนโยบายของพรรค อีกทั้งสามารถโพสต์ข้อความเข้ามาถามตอบ ได้แบบสด ๆ ได้โดยตรงถือเป็นการติดต่อสื่อสาร 2 ช่องทาง

นอกจากนี้ ยังสามารถเชิญชวนเพื่อน ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายออนไลน์ให้สามารถเข้ามาติดตาม และ ร่วมการสนทนาได้ ซึ่งระบบนี้ถือเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดในสังคมออนไลน์ ที่ทั้งคนในประเทศ และ ต่างประเทศ สามารถติอต่อได้ และ แตกต่างจากระบบสไกป์และวีดิโอลิงค์ และ ทวิตเตอร์ ที่เป็นการสื่อสารช่องทางเดียว เน้นเจาะฐานคนรุ่นใหม่เพดิ่งมีสิทธิ์โหวตครั้งแรกกว่าเสียง

นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์ในระบบสมาร์ทโฟน อาทิ ไอโฟน เพื่อให้สื่อสารกับพรรคได้ โดยมีการสร้าง “DEMOCRAT Application” ที่จะสามารถติดตาม ทวิตเตอร์ของพรรค รูปภาพกิจกรรม นโยบาย และ ที่สำคัญจะฟังเสียงนายกฯ ด้วยการเขย่าเครื่องไอโฟน แล้วฟังเสียงการปราศัย หรือ ข้อความที่ต้องการสื่อ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามนโยบายของพรรค ซึ่งยุทธศาสตร์ถือเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่ม “เฟิร์สโหวต” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งแรก ของวัยรุ่นผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 1 ล้านคน เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลและออกมาใช้สิทธิ์ เพราะพบว่ากลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ออกมาใช้สิทธิน้อย และ ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากในชีวิตประจำวัน ไม่หวั่นคู่แข่งโพสข้อความป่วน ขอสู้เชิงสร้างสรรค์

ผอ.ศูนย์การเลือกตั้ง ภาคกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า การหาเสียงผ่านช่องทางนี้ จะไม่มีปัญาเรื่องการชี้แจงค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะได้สอบถามจากทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว และได้รับการยืนว่าไม่มีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่าย ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย และแอดเข้ามาโจมตีระหว่างการสนทนาจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ไม่เคยปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น แต่อยากให้เป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ และต่อสู้กันในเชิงนโยบายมากกว่า

คุมเข้มหาเสียงโซเชียลมีเดีย

อนึ่งเมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงเรื่องการหาเสียงผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ค ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงได้หารือกับตัวแทนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า การหาเสียงผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์นั้นกฎหมายไม่ได้ห้าม แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะต้องคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงของพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยหากมีการโพสต์ข้อความในช่วงที่ พ.ร.ฏ.เลือกตั้งผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์คจะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ และหากมีค่าใช้จ่ายจะมีวิธีการนำมาคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งได้อย่างไร ในขณะเดียวกันผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้คอการเมืองจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการแสดงความเห็นทางการเมือง โดยอาจจะเชิญชวนให้คนในเครือข่ายมาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแม้เป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ แต่การเชิญชวนให้เลือกผู้สมัครหลังเวลา 18.00 น.ก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน หรือแสดงความเห็นในลักษณะเข้าข่ายการหาเสียงใส่ร้ายก็ถือว่ามีความผิด จะขัดต่อกฎหมาย ทางกระทรวงไอซีทีจะทำอย่างไรจึงจะเป็นการป้องปรามการกระทำผิดในโลกไซเบอร์ ไม่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือผู้สมัครกระทำความผิด

ด้านนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงไอซีที ได้ชี้แจงว่า ทางกระทรวงฯ ก็มีความเป็นห่วงเรื่องการแอบอ้างตัวว่าเป็นผู้สมัครและไปโพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ต่างๆ แต่ในกรณีนี้สามารถตรวจสอบได้จากประวัติการใช้งานและสภาพแวดล้อม แต่ในส่วนของโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ที่มีเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหากจะตรวจสอบจะต้องทำเรื่องร้องขอความร่วมมือไปยังต่างประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร นอกจากนี้ เฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์ ยังเป็นระบบที่เปิดให้ใช้บริการฟรี หากจะคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ในเบื้องต้นต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ผู้ใช้เป็นเจ้าของจริงหรือไม่ หรือมีใครสมัครให้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก ดังนั้น จึงขอให้ กกต.มอบนโยบายกับผู้สมัครและพรรคการเมืองว่า ห้ามหาเสียงผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์หลังเวลา 18.00 น. ก่อนวันเลือกตั้ง

“ขอเสนอให้ กกต.และกระทรวงไอซีที ตั้งทีมงานทางด้านเทคนิคขึ้นมาตรวจสอบการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คหาเสียงหลัง เวลา 18.00 น. ก่อนวันเลือกตั้ง และต้องมีการทำประชาสัมพันธ์อย่างหนักเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ รวมถึงการออกกฎบังคับให้คอบคุมสื่อวิทยุชุมชนที่ออกอากาศผ่านทางออนไลน์ หากมีการโพสต์ข้อความใส่ร้ายป้ายสีและมีผู้ร้องเรียนเข้ามาจะได้ตรวจสอบได้ ซึ่งเราต้องเขียนเสือให้วัวกลัว” นายธานีรัตน์ กล่าว

ที่มาข่าว: บ้านเมือง, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 พ.ค. 2554

Posted: 21 May 2011 05:06 AM PDT

ส.อ.ท.แนะรบ.ใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

วันนี้ 16 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามความเหมาะสม เพราะหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละ ประเภท จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้า ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำควรดำเนินการในรูปแบบของค่าจ้างแรกเข้าของแรงงานแต่ละ สาขา และกำหนดให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ อาจจะกำหนดให้มีการปรับขึ้นทุก 2-3 ปี และการปรับขึ้นค่าจ้างนั้นควรทำในรูปแบบของค่าจ้างประจำปี โดยไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี ด้วยการกินอัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง โดยเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐ นายจ้างและลูกจ้างจะมาตกลงกัน
      
ส่วนสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งดำเนินการคือ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้แรงงงานที่มีฝีมือในสาขาต่างๆ ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เพราะในปี 2558 จะเกิดประชาคมอาเซียน เกรงแรงงานไทยอพยพไปทำงานต่างประเทศ.

(เดลินิวส์, 16-5-2554)

ผู้นำแรงงานยื่นข้อเรียกร้องพรรคการเมือง

นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงนโยบายคุณภาพชีวิตแรงงานที่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งดำเนินการหลัง ได้รับการเลือกตั้งว่าต้องการให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี โดยปีนี้ขอปรับขึ้นก่อนร้อยละ 13 และให้กำหนดโครงสร้างค่าจ้างประจำปี รวมทั้งดูแลแรงงานนอกระบบให้ได้สิทธิรักษาพยาบาล และจัดตั้งกองทุนภาคประชาชนเพื่อให้มีเงินออมในวัยเกษียณคณะกรรมการ สมานฉันท์แรงงานไทย องค์กรด้านแรงงานอีกแห่งก็เห็นด้วยให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งปรับขึ้นค่าจ้างขั่น ต่ำอีกรอบ โดยสัปดาห์หน้าจะนำข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานไปยื่นต่อพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการยกคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน

ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า ควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 - 3 ปีต่อครั้ง แต่การปรับขึ้นค่าจ้างควรทำในรูปแบบค่าจ้างประจำปี และไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี พร้อมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อป้องกันแรงงานไหลออกไปทำงานต่างประเทศมากในปี 2558 รวมทั้งเสนอแยกเงินบางส่วนจากกองทุนประกันสังคมเพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ให้กับแรงงาน ได้กู้ยืมเงินในกรณีจำเป็น เช่น รักษาพยาบาลพ่อแม่ที่ป่วย สร้างบ้าน และส่งลูกเรียนหนังสือ

(ช่อง 7, 16-5-2554)

เตรียมตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบอนุมัติงบดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ของกระทรวงแรงงานเป็นเงิน 377 ล้านบาท จากที่เสนอของบประมาณไป 400 ล้านบาท แต่เนื่องจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งดูแลโครงการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐพิจารณาแล้วขอให้ลด งบลงเหลือ 377 ล้านบาท โดยเป็นงบดำเนินการในปี 2554 จำนวน 100 ล้านบาท ที่เหลืออีก 277 ล้านบาท เป็นงบประมาณผูกพัน ซึ่งสำนักงบประมาณต้องจัดสรรให้แก่กระทรวงแรงงานในปี 2555 โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ18 เดือนนับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำสัญญาจ้างกับเอกชน ในการจัดทำโปรแกรมข้อมูลแรงงานแห่งชาติ

ผมคาดว่า จะใช้วิธีการประกวดราคาเพื่อให้เอกชนมาดำเนินการจัดทำโปรแกรมข้อมูลแรงงาน แห่งชาติ เนื่องจากกระทรวงไอซีทีไม่รับที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทำสัญญาจ้างบริษัทเอกชนรักษาการ รมว.แรงงาน กล่าว

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาตินี้อยู่ในความดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จะรวบรวมข้อมูลจากกรมต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยจะมีทั้งข้อมูลจำนวนแรงงานในประเทศไทย ผู้ที่ว่างงาน ตำแหน่งงานว่าง แรงงานที่มีทักษะฝีมือในสาขาต่างๆ แรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ เชื่อว่าศูนย์ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อฝ่ายแรงงานและนายจ้าง เพราะนายจ้างสามารถมาค้นหาข้อมูล เพื่อจ้างงานแรงงานที่มีฝีมือในสาขาต่างๆ หรือแรงงานที่เคยไปทำงานในต่างประเทศมาแล้ว ขณะเดียวกัน คนที่ว่างงานอยู่ก็หาข้อมูลตำแหน่งงานที่ว่างได้ด้วย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-5-2554)

สมานฉันท์แรงงานไทยเตรียมยื่นข้อเรียกร้องต่อทุกพรรคการเมือง

นางวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงนโยบายของพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันเลือกตั้งในครั้งนี้ว่า นโยบายของแต่ละพรรคที่เกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานเท่าที่ได้ติดตามมีเพียงประเด็น เดียวคือ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งที่เรื่องแรงงานมีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญหลากหลาย เช่น เรื่องเสรีภาพในการเจรจาต่อรองในเรื่องของค่าจ้างให้เกิดความเป็นธรรม, เรื่องสวัสดิการแรงงาน, ความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน, สิทธิทางการเมืองที่ให้ผู้ใช้แรงงานสามารถเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว.ในพื้นที่ที่ทำงาน เป็นต้น
      
ผู้ใช้แรงงานฐานะเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ยังไม่เห็นพรรคการเมืองใดหยิบยกข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ได้มีการ เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิมาโดยตลอด ดังนั้นวันที่ 18 พ.ค. เวลา 13.00 น. ทางเครือข่ายผู้ใช้แรงงานจะแถลงข้อเรียกร้องที่จะส่งผ่านไปยังทุกพรรคการ เมือง ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน จากนั้นจะมีเครือข่ายยื่นข้อเสนอไปยังทุกพรรคการเมือง หากนักการเมืองอยากได้คะแนนเสียงจากผู้ใช้แรงงานไม่ควรละเลยข้อเสนอนางวิไลวรรณกล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-5-2554)

สกัด "วีซ่ามาดาม" ไปสวีเดนเก็บผลไม้ป่า 3 เดือนมีเงินแสน

นายจักร บุญ-หลง อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับผู้แทนองค์กรแรงงานระหว่างประเทศผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้แทนกรมการจัดหางาน เดินทางเยือน จ.ชัยภูมิเพื่อร่วมจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพื่อป้องกันปัญหาการถูกหลอกลวงไปทำงานในต่าง ประเทศ ณ โรงแรมสยามริเวอร์รีสอร์ท จ.ชัยภูมิ

โครงการเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยเพื่อไปทำงานต่างประเทศจัดโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดชัยภูมิ

ทั้งนี้อธิบดีกรมการกงสุลได้บรรยาย ให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของแรงงานไทย ก่อนการเดินทางและการปฏิบัตัวเมื่อไปใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศรวมทั้ง ช่องทางการขอรับความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหา ตลอดจนบทบาทและภารกิจของกรมการกงสุลในการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศด้วย

อธิบดีกรมการกงสุล เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับสถานทูตสวีเดนในประเทศไทย เพื่อหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นเมื่อแรงงานไทยเดินทางไปถึงสวีเดน หรือฟินแลนด์แล้ว พร้อมกันนั้น ยังได้พบกับนายจรินทร์ จักกะพากผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ที่ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยและการหลอกลวงหญิงไทยไปทำงาน ต่างประเทศรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่ต้นทางโดยเฉพาะ จ.ชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่มีแรงงานไปเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดนและฟินแลนด์จำนวนมาก พร้อมกันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิได้กล่าวสนับสนุนและพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ทั้งนี้ ในช่วงหน้าร้อนของยุโรประหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี เป็นช่วงที่ผลไม้ป่าลูกเบอร์รี่กำลังออกผล จึงต้องการแรงงานเก็บตามพื้นที่ป่าเขา นำมาทำเป็นอาหารและแยมแรงงานไทยได้รับความนิยมมากและมีความสามารถในเก็บได้ สูง ทำรายได้ในช่วง 3 เดือนนี้ กลับบ้านมีเงินเก็บเป็นแสนบาท จึงเกิดปัญหา "วีซ่ามาดาม" เกิดขบวนการนายหน้า เก็บค่าอาหารระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ประกอบกับมีผู้เดินทางไปมาก เพราะขาดการควบคุมโควตา เก็บได้น้อย รายได้ไม่พอหรือภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอากาศ ต้องเสี่ยงกับลูกเบอร์รี่ ออกผลน้อย รายได้น้อยไปด้วย ดังนั้น จึงแนะนำให้ผ่านกรมแรงงาน และให้แจ้งให้สถานทูตทราบเมื่อเดินทางไปถึง จะแก้ไขปัญหาได้ก่อนไปตกค้างอยู่ในแต่งแดน

(คมชัดลึก, 17-5-2554)

แฉนายจ้างเบี้ยวจ่ายประกันสังคมกว่า 2 พันล้าน

นายพีรพัฒน์  พรศิริเลิศกิจ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดให้นายจ้างร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ร้อยละ 5 ของอัตราค่าจ้างในแต่ละเดือน จนถึงปัจจุบันมีนายจ้างที่ค้างจ่ายเงินสมทบคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของจำนวนที่ต้องจ่ายเงินสมทบทั้งหมด ซึ่งเป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท โดยมียอดค้างชำระวงเงินตั้งแต่กว่า 100 บาท ไปจนถึงไม่เกิน 10 ล้านบาท มีสถานประกอบการที่ค้างชำระเงินสมทบจำนวน 32,600 แห่ง จากทั้งหมด 47,123 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน มีจำนวนถึง 29,467 แห่ง รองลงมาคือ สถานประกอบที่มีลูกจ้าง 10-19 คน จำนวน 1,107 แห่ง และสถานประกอบที่มีลูกจ้าง 20-49 คน จำนวน 959 แห่ง ขณะที่สถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้าง 1,000 คนขึ้นไป มี 4 แห่ง
      
นายพีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม สปส.จะออกหนังสือเตือนให้จ่ายเงินสมทบที่ค้างอยู่ภายใน 30 วัน แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะออกหนังสือเชิญให้มาพบ แต่หากไม่ยอมจ่ายเงินสมทบอีก จะแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และดำเนินคดีอาญา รวมทั้งจะไปตรวจสอบที่สถานประกอบการ ทั้งในเรื่องของบัญชีเงินฝาก และทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน อาคารสถานที่ เครื่องจักร โดยภายใน 90 วัน หากไม่จ่ายเงินสมทบ จะยึดทรัพย์ไว้แล้วขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นเงินสมทบที่ค้างอยู่ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการถูกยึดทรัพย์จำนวน 1,805 แห่ง ส่วนมากเป็นสถานประกอบการที่เลิกกิจการและล้มละลาย อย่างไรก็ตาม ในกรณีมีปัญหาด้านการเงิน ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบที่ค้างอยู่ได้ทันที สามารถผ่อนจ่ายเงินสมทบเป็นงวดๆ ได้
      
เงินที่ค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของสถานประกอบการ ถือว่าไม่มาก เพราะเป็นยอดที่ค้างจ่ายสะสมมานานหลายปี และเป็นยอดเงินที่มาจากการคิดค่าปรับ ซึ่งในเดือนแรกจะอยู่ที่ร้อยละ 2 จากยอดที่ค้างจ่าย เดือนที่ 2 ร้อยละ 4 และเดือนที่ 3 ร้อยละ 6 โดยบวกเพิ่มในอัตราร้อยละ 2” นายพีรพัฒน์ กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-5-2554)

คสรท. เสนอนโยบายด้านแรงงาน 9 ข้อให้พรรคการเมือง

พิพิธภัณฑ์แรงงานฯ 18 พ.ค. - คสรท.เสนอนโยบายด้านแรงงาน 9 ข้อ ให้พรรคการเมือง หวังบรรจุเป็นนโยบายพรรคและรัฐบาล เผยปัจจุบันแรงงานมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย เฉลี่ยเกือบ 20 เท่า

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นประธานแถลงข้อเสนอนโยบายด้านแรงงานต่อพรรคการเมืองต่างๆ โดยระบุว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ สหภาพเอกชน ผู้ใช้แรงงานจากกลุ่มย่านต่างๆ ได้ร่วมกันทำนโยบายจำนวน 9 ข้อ เพื่อนำเสนอต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพราะปัจจุบันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยากจนและความเหลื่อมล้ำของคนงานใน ระบบและนอกระบบ รวมทั้งคนงานในภาคเกษตรกรรมมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนกว่า 20 เท่า ขณะที่นโยบายแต่ละพรรคที่ออกมาดูจะมุ่งแต่เรื่องการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดย คสรท.จะยื่นข้อเสนอด้านนโยบายต่อพรรคการเมืองทุกพรรค เพื่อให้บรรจุเป็นนโยบายของพรรคและนโยบายของรัฐบาล

สำหรับนโยบายทั้ง 9 ข้อที่ต้องการให้พรรคการเมืองนำไปเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ ประกอบด้วย 1.การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 2.แก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้สอดคล้องอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน 3.การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม และปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานระบบประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม โปร่งใสตรวจสอบได้

4.ค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทางสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และโครงสร้างค่าจ้างเพื่อให้มีหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปี 5.พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนและยกเลิกนโยบาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในกิจการสาธารณูปโภค 6.สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. รวมถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกระดับในเขตพื้นที่สถานประกอบการของคนงาน เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่

7.จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 8.จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน เพื่อคุ้มครองสิทธิคนงานให้ได้รับค่าชดเชยที่เป็นธรรมและเป็นหลักประกันความ มั่นคงในการทำงาน จากกรณีเจ้าของสถานประกอบการปิดกิจการและเลิกจ้าง และ 9.การคุ้มครองสิทธิแรงงานนอกระบบ และสิทธิแรงงานข้ามชาติ

(สำนักข่าวไทย, 18-5-2554)

ศาลสหรัฐสั่งจ่ายค่าจ้างย้อนหลังแรงงานไทยในฮาวาย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวัน ศุกร์ (20 พ.ค.) ว่าผู้พิพากษาศาลสหรัฐได้ตัดสินให้บริษัทโกลบอล ฮอไรซันส์ บริษัทจัดหาแรงงานภาคการเกษตรในนครลอสแองเจลิสจ่ายค่าแรงย้อนหลังให้แก่แรง งานไทย 88 คน ที่ถูกหลอกไปทำงานเยี่ยงทาสในไร่อ้อย 2 แห่งในรัฐฮาวายเมื่อปี 2546 โดยไม่ได้ค่าจ้าง รวมเป็นเงิน 153,000 ดอลลาร์ หรือราว 4 ล้าน 6 แสนบาท และอีก 194,000 ดอลลาร์ หรือ 5.8 ล้านบาท เป็นค่าปรับ ถือเป็นกรณีล่าสุด ที่บริษัทเอกชนถูกรัฐบาลกลางสหรัฐตรวจสอบฐานละเมิดกฎหมายค้ามนุษย์

กระทรวงแรงงานสหรัฐแถลงว่า แรงงานไทยเหล่านี้ต้องละทิ้งครอบครัวและบ้าน ด้วยความคาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติและได้ค่าจ้างอย่างเป็นธรรม แต่กลับถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับค่าแรงซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย

กระทรวงแรงงานสหรัฐยังแถลงด้วยว่า ประธานและเจ้าหน้าที่ของบริษัทแห่งนั้นกำลังถูกดำเนินคดีอาญาในรัฐฮาวาย ฐานเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทย ซึ่งสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ(เอฟบีไอ) ถือว่า เป็นคดีค้ามนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ

นอกจากนี้ บริษัทแห่งนี้ยังถูกสอบสวนในคดีแรงงานอีกอย่างน้อย 4 คดี ก่อนจะถูกคณะกรรมการกำกับดูแลโอกาสในการจ้างงานอย่างเท่าเทียมยื่นฟ้อง ดำเนินคดีเมื่อเดือนที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม นายมอร์เดไค โอเรียน ประธานบริษัท ปฏิเสธข้อกล่าวหาและยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลแล้ว

(คมชัดลึก, 20-5-2554)

พบบริษัทข้ามชาติตบตาใช้ไทยเป็นแหล่งกำเนิดสินค้า 

นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องถิ่นกำเนิด สินค้าและมาตรการตอบโต้ทางการค้า ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ มีนักธุรกิจ ตัวแทนภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจจำนวนมาก เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ด้านการค้าต่างประเทศ เช่น มาตรการปกป้องและมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า ความสำคัญของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า รวมทั้งกระบวนการป้องกันสินค้าต่างชาติที่แอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าไทย ทั้งนี้เพื่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาที่อยู่ในส่วนภูมิภาค ได้รับทราบความเป็นไปในเวทีการค้าโลก อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่า ปี 2558 ประเทศไทยจะเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน แต่คาดว่ายังมีอีกหลายประเทศยังไม่พร้อม ซึ่งต้องช่วยกันในกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ขณะที่พบว่ามีประเทศเพื่อนบ้านได้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่แก้แหล่ง กำเนิดสินค้า เนื่องจากถูกมาตรการ AD Safe Guard ของสหรัฐอเมริกา โดยอาจไม่ได้ใช้ไทยเป็นฐานผลิตจริง ซึ่งต้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศไทยถูกติดรายชื่อแบล็คลิสต์ ด้วย

ล่าสุดมีข้อมูลว่าในจังหวัดเชียงใหม่ มีบริษัทของประเทศเพื่อนบ้านได้มาเปิดฐานผลิตสินค้า ที่อาจจะเสี่ยงต่อมาตรการ AD Safe Guard เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่โดยแอบอ้างไทยเป็นแหล่งกำเนิดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเทียนไขและเครื่องเงิน ซึ่งอาจจะไม่ได้ผลิตในพื้นที่จริง ใช้วัตถุดิบไม่ได้รับมาตรฐานหรือใช้แรงงานไม่ถูกต้อง ซึ่งต้องเข้าไปตรวจสอบด้วย

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 20-5-2554)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านร้องน้ำเสียโรงงานญาตินักการเมือง ทำปลาตายอื้อ

Posted: 21 May 2011 04:51 AM PDT

ชาวบ้าน ต.ไร่ใต้ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี อึ้ง ปลาลอยคอตายกลางลำโดม ร้องลั่น เกิดมาไม่เคยเห็น เชื่อเกิดจากน้ำเสียจากโรงงานของญาตินักการเมืองดัง เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบด่วน

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.54 เวลาประมาณ 09.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากประชาชนบ้าน ต.ไร่ใต้ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ว่ามีเหตุการณ์ปลาในลำโดมลอยตายเป็นจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พบว่า บริเวณลำโดม ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดเล็กที่ไหลผ่าน ต.ไร่ใต้ มีปลาลอยตายอยู่ นอกจากนี้ยังมีปลาจำนวนมากลอยอยู่ผิวน้ำและใกล้ตายเพราะขาดออกซิเจน ส่วนบริเวณผิวน้ำมีคราบมันคล้ายกับคราบแป้งลอยอยู่เป็นบริเวณกว้าง

จากการสอบถามชาวบ้านที่มามุงดูเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ทราบว่า เหตุการณ์ปลาลอยตายเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 17 โดยปลาเริ่มลอยตายในลำน้ำโดมในเขต หมู่ที่ 10 บ้านแก้งกรอบ ที่อยู่ถัดไปทางต้นน้ำ และเริ่มทยอยตายมาเรื่อยๆ ในหมู่บ้านที่ลำน้ำโดมไหลผ่าน ได้แก่ หมู่ที่ 8 บ้านโนนสุข หมู่ที่ 15 บ้านสร้างคำ หมู่ที่ 11 บ้านลุคุ หมู่ที่ 7 บ้านโนนค้อ หมู่ที่ 6 บ้านไร่เหนือ หมู่ที่ 9 บ้านไร่โดม หมู่ที่ 5 บ้านไร่กลาง หมู่ที่ 4 บ้านไร่ใต้ และหมู่ที่ 2 บ้านผักกะย่า

นายบุญมี ผลขาว สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใต้ หมู่ที่ 6 บ้านไร่เหนือให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “ตั้งแต่เกิดมาตนปลาลอยตายมากขนาดนี้ ตนและชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเพราะน้ำเสียจากโรงงานอุบลเกษตรพลังงานที่ผลิตแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งตั้งอยู่เหนือหมู่บ้านไปทางต้นน้ำไหลลงในแม่น้ำ เนื่องจากมีปลาลอยตายในบริเวณหมู่บ้านที่อยู่ถัดจากโรงงานดังกล่าวมาทางปลายน้ำ ส่วนหมู่บ้านที่อยู่เหนือโรงงานขึ้นไปไม่มีปลาตายแต่อย่างใด ซึ่งตนและชาวบ้านจะเร่งประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริง”

สำหรับโรงงานของบริษัทอุบลเกษตรพลังงาน ซึ่งชาวบ้านสงสัยว่าจะเป็นที่มาของน้ำเสียที่ทำให้ปลาตายนั้น ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแปน ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ทำการผลิตแป้งมันจากมันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วย ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีเครือญาติของนักการเมืองท้องถิ่นในระดับจังหวัดเป็นเจ้าของ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จีนตามล่า "นักศึกษา" ปารองเท้าใส่ "นักเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต"

Posted: 21 May 2011 03:52 AM PDT

ปักกิ่ง – เจ้าหน้าที่รัฐตามนักศึกษามหาวิทยาลัยมือบอน อุกอาจแอบเข้าห้องบรรยายของมหาลัย พร้อมปาไข่และรองเท้าใส่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นตัวพ่อของระบบเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตจีน

ทวิตเตอร์ของชายที่อ้างว่าก่อการโพสต์ว่า ถึงแม้จะปาไข่พลาด แต่รองเท้าหนึ่งข้างก็ยังถูกเป้าหมายที่เล็งไว้ คือ ฟาง บิงซิง (Fang Binxing) หรือที่รู้จักกันในนามว่า “บิดาแห่งกำแพงไฟร์วอลล์” ซึ่งในวันพฤหัสที่ผ่านมานายฟางได้ไปบรรยายเรื่องความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยหวูฮานในจังหวัดหูเป่ย และนักศึกษาผู้นั้นที่รู้จักกันเพียงชื่อในทวิตเตอร์ว่า @hanunvi ก็สามารถหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุไปได้ด้วยสองตีนเปล่า

ถึงแม้ว่าทางการจะยังไม่ให้ความคิดเห็นใดๆต่อเหตุการณ์ดังกล่าว แต่สำนักข่าวเอพีได้ข้อมูลจากตำรวจในพื้นที่ว่ากรณีนี้กำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

โพสต์ในทวิตเตอร์ของ @hanunyi และของนักศึกษาคนอื่นๆที่อยู่ในเหตุการณ์ กล่าวว่า ยังมีนักศึกษาอีกสามคนที่ตอนแรกจะร่วมประท้วงด้วย เนื่องจากเห็นโพสต์ในทวิตเตอร์ประกาศว่านายฟางจะมาบรรยายที่คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่แล้วสุดท้ายก็ถอนตัว หนึ่งในสามคนนั้นเขียนในทวิตเตอร์ว่า “พอเราเห็นพวกอาจารย์และเหล่าอาจารย์ที่ปรึกษาของเรานั่งอยู่ในนั้น ก็รู้สึกปอดแหกขึ้นมาทันที”

ในระหว่างการบรรยาย เมื่อนายฟางถูกขัดจังหวะโดยเหตุการณ์และความวุ่นวายที่เกิดขึ้น เขาก็รีบตัดบทและเดินทางออกไปยังสนามบินทันที

ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ก็มีกระแสสนับสนุนการกระทำดังกล่าวพรั่งพรูในหมู่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจีน แต่ข้อความส่วนใหญ่ก็ถูกลบโดยกองเซ็นเซอร์ของรัฐทันที มีข้อความมากมายยกย่อง @hanunyi หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮัวซ่งผู้นี้ว่าเป็นฮีโร่ และมีคนยื่นข้อเสนอให้มากมาย ตั้งแต่จะให้ไอแพด รองเท้าดีไซเนอร์ ไปจนถึงสตรีนางหนึ่งที่ปลาบปลื้มและเสนอรางวัลเป็นเรือนร่างของตนเอง ซึ่งเหล่าผู้พิทักษ์ศีลธรรมทางอินเตอร์เน็ตทั้งหลายในจีนคงไม่ชอบใจนัก

มีข้อความหนึ่งในเว็บบอร์ดมหาวิทยาลัยหวูฮานกล่าวว่า “คุณคนที่ปาร้องเท้าน่ะ ถ้าถูกไล่ออกจากมหาลัยเมื่อไหร่ บริษัทเราจะจ้างคุณทันที”

นอกเหนือจากความอาจหาญของการประท้วงนี้ ความรู้สึกของสาธารณชนก็ยังแสดงให้เห็นถึงความชิงชังที่มีต่อนายฟาง ซึ่งไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับบทบาทของตนเองในการสร้างระบบที่เซ็นเซอร์เว็บไซต์ไปแล้วหลายพันแห่ง ในขณะที่เว็บหลายแห่งถูกปิดเพราะเป็นเว็บโป๊ แต่เว็บอื่นๆเช่น ยูทูป และเฟซบุ๊ก ก็ถูกปิดกั้นเช่นเดียวกันเนื่องจากทางการจีนมองว่าเป็นภัยปลุกปั่นต่อกฎของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

มาตรการการเซ็นเซอร์ในจีนเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากทางการจีนจับตามองการลุกฮือที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ และพยายามจะกำจัดเค้าต่างๆในประเทศที่ส่อให้เห็นถึงการประท้วง

นายฟาง ในฐานะประธานของมหาวิทยาลัยการสื่อสารและโทรคมนาคมแห่งปักกิ่ง มองว่าการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตเป็นมาตรการที่จำเป็นของประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลตะวันตกและต่อต้าน “นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย” ที่ตั้งใจจะทำลายจีนด้วยข้อมูลข่าวสารที่ยั่วยุและปลุกปั่น

 “พวกนั้นก็ดีแต่นั่งเป็นนักรบไซเบอร์อยู่ที่บ้าน และคิดว่าทำยังไงให้ประเทศจีนเกิดความวุ่นวายโดยการใช้อินเตอร์เน็ต” เขากล่าวในสุนทรพจน์งานรับปริญญาของมหาวิทยาลัย  และนักเรียนหลายคนก็ดูสนับสนุนด้วยการปรบมืออย่างกระตือรือร้น

แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนายฟาง ก็ใช่ว่าจะน้อยหน้า ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่นายฟางได้เล่นกับไมโครบล็อกได้สักระยะ เขาก็ต้องปิดบัญชีผู้ใช้ของตนเองบน sina.com เพราะถูกถล่มด้วยคำก่นด่าหลายพันข้อความ เขายังถูกวิจารณ์เทสาดเทเสียในที่สาธารณะหลังจากออกมายอมรับว่าเขาใช้บริการของเครือข่ายเสมือนส่วนตัว หรือ VPN ถึง 6 แห่งเพื่อเจาะไฟร์วอลล์ที่เขาได้สร้างขึ้นเอง และยืนยันว่าการใช้นี้เป็นเหตุผลทางการวิจัย เขาแจงกับผู้สื่อข่างโกลบอล ไทมส์ว่า “ผมแค่จะทดลองเฉยๆว่าตกลงข้างไหนแข็งแรงกว่ากัน”

ถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้เห็นการประท้วงที่ก้าวร้าวในจีนมากนัก แต่ เซียว เขียง (Xiao Qiang) ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์ปารองเท้าและไข่ที่เกิดขึ้นก็ไม่น่าแปลกใจสักเท่าไร
 
“นโยบาย ‘กำแพงไฟร์วอลล์’ นี้เป็นนโยบายของรัฐก็จริง แต่ฟางก็ได้กลายเป็นตัวแทนของระบบที่สร้างความโกรธแค้นอัดอั้นให้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก” ศาสตราจารย์เซียวกล่าว “ถ้ามองในแง่นั้น อาจบอกว่าเขาเป็นเป้านิ่งที่เหมาะสมแล้วก็ว่าได้”

ที่มา:
Chinese Student Takes Aim, Literally, at Internet Regulator (ANDREW JACOBS, nytimes.com, 19-5-2011) http://www.nytimes.com/2011/05/20/world/asia/20china.html?_r=2

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ญาติผู้ต้องขังวอนอัยการสูงสุดถอนฟ้องตั้งข้อหาแรงเกินจริงยันเจตนาสู้เพื่อประชาธิปไตย

Posted: 20 May 2011 10:46 PM PDT

ญาติผู้ต้องขังแดงเรียกร้องความเป็นธรรมต่อกรรมการสิทธิฯ และอัยการสูงสุด พร้อมอ่านแถลงการณ์พวกเขาถูกขังเพียงเพราะมาเรียกร้องประชาธิปไตย 

20 พ.ค. 2554 เวลาประมาณ 11.00 น.กลุ่มญาติผู้ต้องขังคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ประมาณ 20 คน  ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกกุมขังทั่วประเทศที่ยังไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว  ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคารบี  โดยมีนายมานพ กระจ่างภักตร์ เจ้าหน้าสำนักงานฝ่ายตรวจสอบด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นผู้ลงมารับเรื่องหนังสือแทน  พร้อมกันนี้ กลุ่มญาติได้มอบข้อมูลผู้ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 118 คน เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาทั้งในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ โดยไม่ได้รับการประกันตัว 97 ราย ทั้งนี้ นายมานพกล่าวว่า จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการฯ แต่อาจล่าช้าสักนิด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ 

จากนั้น  กลุ่มญาติฯ ได้เดินทางต่อไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด  อาคารหลักเมือง สนามหลวง กทม. เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม แต่เนื่องจากห้องทำงานของอัยการสูงสุดได้ย้ายไปที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายธนิตศักดิ์ พิศาลกุลพัฒน์ ผู้ช่วยเลขานุการรองอัยการสูงสุด จึงเป็นตัวแทนลงมารับหนังสือ โดยมีตัวแทนกลุ่มญาติกล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่มายื่นหนังสือ เพื่อมาขอความเป็นธรรมให้อัยการสูงสุดถอนฟ้องในคดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหารและอุดรธานี เนื่องจากครอบครัวต่างได้รับผลกระทบและยากลำบาก อีกทั้ง จำเลยเป็น เพียงผู้ร่วมการชุมนุมเท่านั้น หาใช่เป็นผู้กระทำผิดจริง การจับกุมจำเลยบางรายก็ไม่มีหลักฐานชัด นอกจากนี้  ในส่วนของจังหวัดมุกดาหาร พนักงานอัยการยังมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องเป็นบางราย

 
นายธนิตศักดิ์ กล่าวว่า "สนง.อัยการสูงสุดและพนักงานอัยการมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของบ้านเมืองและผลประโยชน์ของชาวบ้านด้วย ดังนั้น จะนำเรื่องร้องเรียนของญาติในวันนี้ไปให้ทางฝ่ายบริหารพิจารณาและดำเนินการต่อไป" จากนั้น กลุ่มญาติฯได้มอบพวงกุญแจเป็นรูปแพะสิแดง เขียนว่า "รณรงค์ปล่อยแพะทางการเมือง" และโปสเตอร์ “อย่าลืมว่าพวกเขาถูกขัง อย่าขังพวกเขาจนลืม” ให้แก่นายธนิตศักดิ์เป็นที่ระลึก 

 

ทั้งนี้ ในระหว่างที่รอตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุดลงมารับหนังสือ กลุ่มญาติได้ยืนถือแผ่นป้ายที่มีเรื่องของนักโทษการเมืองในจังหวัดต่างๆ พร้อมทั้งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งมีใจความว่า หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2553 มีประชาชนถูกจับกุมคุมขังจำนวนมาก โดยกระบวนการจับกุมจนถึงการพิจารณาคดีมีความไม่เป็นธรรมโดยตลอด คนที่ถูกจับกุมมีทั้งจับผิดตัว ยัดข้อหา ตั้งข้อหาร้ายแรง จนถึงไม่ได้รับการประกันตัว ในโอกาสครบ 1 ปี ของการถูกกักขัง กลุ่มญาติจึงมาเพื่อร้องขอความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ผู้ต้องขังเหล่านั้นถูกขังเพียงเพราะพวกเขามาเรียกร้องประชาธิปไตย  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรมชลฯ โมเมอ้างพระราชดำริ ราชเลขาฯยัน‘เขื่อนทุ่งนุ้ย’ไม่ใช่

Posted: 20 May 2011 03:29 PM PDT

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ที่ห้องโต๊ะพญาวัง ศาลากลางจังหวัดสตูล นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร จัดประชุมรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง (เขื่อนทุ่งนุ้ย) ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล โดยมีชาวบ้านร่วมรับฟังประมาณ 100 คน

โดยที่ประชุมได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงตามลำดับ โดยตัวแทนกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า พื้นที่ก่อสร้างไม่ใช่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A และไม่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะเป็นโครงการขนาดกลาง และอยู่นอกเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง โดยยืนยันว่าเป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กรมชลฯ โมเมอ้างพระราชดำริ ราชเลขาฯยัน‘เขื่อนทุ่งนุ้ย’ไม่ใช่
หนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงจากสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง
ยืนยันว่า โครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้าง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ไม่ใช่โครงการในพระราชดำริ

นายไซนาฮำซะ แสงนวล ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งนุ้ย หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งนุ้ย ผู้ล่ารายชื่อยื่นถวายฎีกาต่อสำนักพระราชเลขาธิการ เพื่อขอให้สร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง เปิดเผยในที่ประชุมว่า ในปี 2552 ชาวบ้านตำบลทุ่งนุ้ย หลายหมู่บ้านขาดแคลนน้ำในการทำนา เกษตรกรรม และตนเห็นว่า จังหวัดสตูลขาดแคนน้ำในการอุปโภค บริโภค ขาดแคลนน้ำประปา ตนจึงล่ารายชื่อชาวบ้าน เพื่อถวายฎีกาไปยังราชเลขาธิการ โดยส่งไปทางไปรษณีย์ ตนไม่เข้าใจว่า เหตุใดเมื่อมีโครงการขึ้นมา จึงมีการต่อต้าน

นายยุทธนา มรรคาเขต สารวัตรกำนันตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ในใบล่ารายชื่อเพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำต่อสำนักพระราชเลขาธิการ ปรากฏชื่อชาวบ้าน 2 คน คือ นางสาวฉารีดา หยาหลี และนายซักเกรียะ ดาแลหมัน ทั้งที่ไม่ได้ลงชื่อ

นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยในที่ประชุมว่า สำนักงานราชเลขาธิการ พระบรมราชวัง กรุงเทพมหานคร ได้ส่งหนังสือชี้แจงมายังตนว่า โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง ไม่ใช่โครงการในพระราชดำริ โดยระบุสรุปว่า นายไซนาฮำซะได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำจริง โดยพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงเชือกช้าง ทับซ้อนกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จึงจำเป็นต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งกรมชลประทานได้ตั้งงบประมาณทำ EIA ในงบประมาณปกติปี 2553 โครงการดังกล่าวจึงไม่ใช่โครงการในพระราชดำริ

นายแพทย์นิรันดร์ กล่าวว่า การระบุว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ไม่ควรนำมาแอบอ้าง เนื่องจากเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากมีเอกสารและแผนงานที่ชัดเจนออกมา

“อนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร สรุปว่า กรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงบริษัทที่ศึกษา EIA ควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และควรเคารพสิทธิชุมชน ไม่ใช่ละเมิดชาวบ้านและชุมชนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง” นายแพทย์นิรันดร์ กล่าว

สำหรับหนังสือสำนักราชเลขาธิการดังกล่าว เลขที่ 0008.5/6775 ลงวันที่ 27 เมษายน 2554 ลงนามโดยนายจรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการ

ตัวแทนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ยืนยันว่า พื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตพื้นที่ชุมน้ำชั้น 1A ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ การเข้าสำรวจพื้นที่ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมก่อน จากนั้นจึงจะลงพื้นที่สำรวจพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืชด้วย ที่ผ่านมามีการลงสำรวจโดยพละการ ยังไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืช

นายเทิดไท ขวัญทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ในฐานะตัวแทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืช กล่าวว่า การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องขอเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น