โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เชิญคนขับรถ 'กูเกิลสตรีทวิว' สาบานว่าไม่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

Posted: 13 Aug 2013 11:41 AM PDT

หลังสำรวจมาแล้ว 3,000 เมืองรอบโลกรวมทั้งขั้วโลกใต้ ล่าสุดชาวบ้านสะเอียบ จ.แพร่ ล้อมรถ 'กูเกิลสตรีทวิว' คนขับรถอธิบายว่ามาสำรวจเส้นทางท่องเที่ยว ชาวบ้านยังไม่เชื่อ-ต้องนำตัวไปสาบานต่อหน้าพระประธานว่าไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน

"Google Maps Camera Car" หรือที่เรียกกันติดปากว่า รถกูเกิลสตรีทวิว จอดหน้าที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ วานนี้ (13 ส.ค.) หลังชาวบ้านได้เชิญตัวคนขับรถมาที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ ให้ชี้แจงการนำรถติดกล้องเข้ามาสำรวจในพื้นที่

รถกูเกิลสตรีทวิว และนายดีพร้อม ฟูฟอง คนขับรถ ขณะจอดอยู่ภายในพื้นที่บ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยเมื่อวันที่ 13 ส.ค. ได้ขับรถเข้ามาสำรวจในเขตแก่งเสือเต้น และ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ก่อนถูกชาวบ้านได้เชิญตัวมาชี้แจง ณ ที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ ก่อนพาไปสาบานต่อหน้าพระประธาน วัดบ้านดอยชัย ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน

หลังการชี้แจง ณ ที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ นายดีพร้อม ฟูฟอง คนขับรถกูเกิลสตรีทวิว ได้สาบานต่อหน้าพระประธาน ที่วัดบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน มีชาวบ้านดอนชัยร่วมเป็นสักขีพยาน

 

ชาวบ้านสะเอียบล้อมรถกูเกิลสตรีทวิว พร้อมให้สาบานว่าไม่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อน

เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (13 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านสะเอียบกว่า 20 คน ได้ล้อมรถติดกล้องบนหลังคาที่ถ่ายภาพรอบทิศทางของบริษัทกูเกิล หรือ "Google Maps Camera Car" ซึ่งเป็นรถยนต์ติดกล้องบันทึกภาพสำหรับให้บริการกูเกิลสตรีทวิว (Google Stree View) โดยชาวบ้านได้เชิญตัวนายดีพร้อม ฟูฟอง เจ้าหน้าที่บริษัทกูเกิล อายุ 27 ปี ชาว จ.เชียงใหม่ คนขับรถติดกล้องคันดังกล่าว มายังที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เพื่อให้มาชี้แจงจากการที่นำรถติดกล้องเข้ามาสำรวจในเขตแก่งเสือเต้น และ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยนายดีพร้อมอธิบายว่าได้เข้ามาสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อนำข้อมูลส่งไปยังบริษัทกูเกิล สหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม หลังจากนายดีพร้อม คนขับรถกูเกิลสตรีทวิวดังกล่าวชี้แจง ชาวบ้านสะเอียบยังไม่เชื่อ เกรงว่าจะเกี่ยวข้องกับการสำรวจเพื่อการสร้างเขื่อน จึงเชิญตัวนายดีพร้อมมาสาบานต่อหน้าพระประธาน วัดบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ และขอร้องว่าอย่าได้เข้ามาอีก เพราะพื้นที่สะเอียบกำลังเดือดร้อนจากแผนการสร้างเขื่อนของรัฐบาลอยู่

ทั้งนี้ผู้ที่ขอให้เจ้าหน้าที่บริษัทกูเกิลสาบาน คือ นายวิชัย รักษาพล ประธานคณะกรรมการการคัดค้านเขื่อน บ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยนายวิชัยได้ขอให้นายดีพร้อม คนขับรถยนต์ติดกล้องคนดังกล่าวสาบานว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเขื่อน และขอร้องให้อย่าเข้ามาในพื้นที่อีก เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาได้

"เราประกาศให้รู้โดยทั่วกันแล้วว่า ห้ามใคร ผู้ใด หน่วยงานใด ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง เข้ามาในพื้นที่โดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะไม่รับรองความปลอดภัย" นายวิชัยกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดีพร้อม ได้ยอมสาบานแต่โดยดี และอธิบายด้วยว่าไม่รู้ว่าพื้นที่นี้มีปัญหา "ผมขอให้กำนัน ต.สะเอียบ เซ็นต์รับรองให้ผมด้วยว่าชาวบ้านไม่ยินยอมให้สำรวจ ผมจะได้นำหนังสือไปให้บริษัท และอธิบายกับบริษัทได้" นายดีพร้อมกล่าว

หลังสาบานต่อหน้าพระประธานแล้ว ชาวบ้านได้ขอให้นายดีพร้อมออกนอกพื้นที่โดยเร่งด่วน ซึ่งนายดีพร้อมก็ทำตามและขับรถกูเกิลสตรีทวิวออกจากพื้นที่สะเอียบ เพื่อไปดำเนินการสำรวจยังจังหวัดน่าน ต่อไป

 

ภาพจาก maps.google.com พื้นที่ซึ่งกูเกิลให้บริการมุมมองแบบ "สตรีทวิว" จะปรากฏขึ้น เมื่อคลิกที่ไอคอน "Pegman" หรือมนุษย์หมุด แล้วลากมาที่แผนที่ พื้นที่สีน้ำเงินในแผนที่หมายถึง พื้นที่ซึ่งมีการสำรวจ และให้บริการมุมมองแบบ "สตรีทวิว" โดยเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2555 กูเกิลประกาศว่าได้บริการข้อมูลแล้ว 3,000 เมืองใน 39 ประเทศทั่วโลก รวมระยะทาง 8.045 ล้านกิโลเมตร คิดเป็นความจุในฮาร์ดดิสก์รวม 20 ล้านจิกะไบท์ (ที่มา: Google Maps)

 

มุมมองสตรีทวิว จาก สถานีวิจัยขั้วโลกใต้ ที่ทวีปแอนตาร์กติกา (ที่มา: Google Street View)

มุมมองสตรีทวิว จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงรอยต่อ อ.ลอง จ.แพร่ และ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ในภาพมุงหน้าไปทาง อ.ลอง จ.แพร่ โดยภาพนี้เป็นภาพปลายสุดของทางหลวงในช่วงเข้าสู่ จ.แพร่ เท่าที่กูเกิลสตรีทวิวให้บริการในขณะนี้ (ส.ค. 2556) ทั้งนี้รถสำรวจ "Google Maps Camera Car"  ได้เริ่มขับตระเวนขับไปตามเส้นทางต่างๆ ทั่วประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2554 และในเดือนมีนาคม 2555 ได้เริ่มให้บริการ Google Street View ที่ กทม. เชียงใหม่ และภูเก็ต และต่อมาเดือนตุลาคม 2555 ได้ให้บริการเพิ่มอีก 7 จังหวัด และกูเกิลยังมีแผนสำรวจทางหลวงสายหลักของประเทศไทยอีกด้วย (ที่มา: Google Maps/Google Street View)

 

กูเกิล สตรีท วิว และการสำรวจ 8 ล้านกิโลเมตรรอบโลก

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า กูเกิล สตรีท วิว (Google Street View) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Google Maps และ Google Earth ของบริษัทกูเกิล เพื่อบริการภาพแบบพานอรามาจากตำแหน่งต่างๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาและขยายไปยังหลายเมืองทั่วโลก โดยในเดือนมิถุนายนปี 2555 กูเกิลประกาศว่าได้บริการข้อมูลกูเกิล สตรีท วิวแล้ว 3,000 เมืองใน 39 ประเทศทั่วโลก รวมระยะทาง 5 ล้านไมล์ หรือประมาณ 8.045 ล้านกิโลเมตร หรือเท่ากับการเดินทางรอบโลกประมาณ 201 รอบ คิดเป็นความจุในฮาร์ดดิสก์รวม 20 เพตะไบท์ หรือ 20 ล้านจิกะไบท์ และในปีนี้กูเกิลประกาศอย่างเป็นทางการว่าอยู่ระหว่างสำรวจอีก 13 ประเทศ ได้แก่ สวาซิแลนด์ บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินโดนีเซีย ออสเตรีย กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สโลวาเนีย โคลัมเบีย เปรู เอกวาดอร์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ซึ่งมีการสำรวจไปแล้ว แต่ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการอีก 6 พื้นที่ รวมเขตเวสแบงก์ในพื้นที่ของปาเลสไตน์ด้วย

ทั้งนี้กูเกิล สตรีท วิว ยังเน้นเก็บภาพพานอรามาของแหล่งมรดกโลก และเมืองท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญสำคัญในโลก แนวปะการังยักษ์ใกล้ชายฝั่งออสเตรเลีย ไปจนถึงขั้วโลกใต้อีกด้วย โดยรายงานใน Blognone เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ระบุด้วยว่ากูเกิลเปิดให้ลงชื่อเพื่อยืม "Trekker" กล้องถ่ายภาพรอบตัว 360 องศาโดยอัตโนมัติเพื่อทำ "สตรีทวิว" ที่ถูกติดตั้งในกระเป๋าสะพายหลัง ไปถ่ายรูปในที่ต่างๆ ทั่วโลก และภาพเหล่านั้นสามารถที่จะถูกเพิ่มลง Google Maps ได้ในอนาคต (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

และเมื่อปี 2554 กูเกิลร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เริ่มถ่ายรูปเส้นทางต่างๆ และสถานที่สำคัญในประเทศไทยเพื่อทำ Google Street View ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพแบบเคลื่อนที่ติดตั้งบนรถยนต์ "Google Maps Camera Car" รุ่น Subaru Impreza จำนวน 15 คัน ขับตระเวนขับไปตามเส้นทางต่างๆ ทั่วประเทศไทย และในเดือนมีนาคม 2555 ได้เริ่มให้บริการ Google Street View ที่ กทม. เชียงใหม่ และภูเก็ต และต่อมาเดือนตุลาคม 2555 ได้ให้บริการเพิ่มอีก 7 จังหวัดได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครนายก และเชียงราย

นอกจากนี้กูเกิลยังมีแผนสำรวจทางหลวงสายหลักของประเทศไทยด้วย ก่อนที่ล่าสุด ชาวบ้านสะเอียบ จ.แพร่ ได้พาคนขับรถ "กูเกิลสตรีทวิว" ไปสาบานต่อหน้าพระประธานดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัตราการจ้างงานชั่วคราวในสหราชอาณาจักรเพิ่มสูงขึ้น

Posted: 13 Aug 2013 10:15 AM PDT

สภาสหภาพแรงงานศูนย์กลางแห่งชาติ (TUC) เผยการจ้างงานชั่วคราวในสหราชอาณาจักรสูงขึ้น ทั้งที่สมัครใจทำและไม่สมัครใจทำ รวมถึงตัวเลขคนงานประจำก็ลดลงด้วยเช่นกัน 

 
 
TUC เผยงานประจำในสหราชอาณาจักรหาได้น้อยลงทุกที (ที่มาภาพ: walesonline.co.uk)
 
13 ส.ค. 56 - เมื่อเร็วๆ นี้สภาสหภาพแรงงานศูนย์กลางแห่งชาติ (Trades Union Congress: TUC) ออกมาระบุว่าอัตราการจ้างงานชั่วคราว (Temporary employment) ในสหราชอาณาจักรสูงขึ้นถึง 6% โดยกว่าครึ่งหนึ่งทำงานแบบไม่มั่นคงนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 แล้ว 
 
ทั้งนี้มีตำแหน่งงานชั่วคราวในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจาก 88,000 ตำแหน่ง ไปแตะที่ระดับ 1,650,000 ตำแหน่ง จากการเก็บสถิติในระหว่างเดือนธันวาคมปี ค.ศ.2010 ถึงสิ้นปี ค.ศ.2012 ซึ่งTUC ยังได้ระบุว่ามีการจ้างงานแบบไม่มั่นคงนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 เป็นต้นมา และขณะเดียวกันตัวเลขของคนงานประจำก็ลดลงถึง 8,000 ตำแหน่ง
 
ในปี ค.ศ.2005 ตัวเลขของคนงานชั่วคราวที่ไม่สมัครใจและสมัครใจ มีจำนวนที่ไม่ต่างกันนักคือ 263,298 ตำแหน่งและ 243,703 ตำแหน่งตามลำดับ แต่ในช่วงสิ้นปี ค.ศ.2012 นั้นจำนวนของคนงานชั่วคราวที่ไม่สมัครใจได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวถึง 655,000 ตำแหน่ง ในขณะที่จำนวนของคนงานชั่วคราวที่สมัครใจมีเพิ่มขึ้น 42% คือ 345,000 ตำแหน่ง
 
โดยจากการเก็บข้อมูลของ TUC ยังได้ระบุว่าคนงานถูกบังคับให้สมัครใจทำงานที่ไม่มั่นคง เนื่องจากตำแหน่งงานแบบคนงานประจำหาได้น้อยลงทุกที และกว่า 80% ของผู้ที่ได้งานตั้งแต่สิ้นปี ค.ศ.2010 ก็ยังได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย
 
 
ที่มา:
http://www.walesonline.co.uk/news/wales-news/temporary-employment-rates-soar-unions-5697907
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: ชาวอเมริกันเดินขบวนในวัน ‘1984’

Posted: 13 Aug 2013 09:54 AM PDT

ประมวลข่าวสารลิขสิทธิ์กับ 'อธิป จิตตฤกษ์' นำเสนอข่าวแอคทิวิสต์อเมริกันเดินขบวน "วัน 1984" ต้านการสอดส่องของรัฐ, รายงานชี้บริการให้ฟังดนตรีที่สะดวกจะช่วยลดก๊อปเพลงเถื่อน, พรรคไพเรตสวีเดนแจ้งความรมต.ไอทีละเมิดลิขสิทธิ์

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก
 

 

 

30-07-2013

พนักงาน Apple อเมริกาฟ้อง Apple ฐานค้นตัวพนักงานนานเกินไปทำให้เสียเวลาทำงานประมาณวันละ 30 นาที

เนื่องจากทาง Apple Store ในอเมริกามีนโยบายค้นตัวพนักงานทุกครั้งที่ออกจากร้านตอนพักกลางวัน รวมถึงช่วงเปลี่ยนกะ/เลิกงานเพื่อป้องกันการนำสินค้าออกจากร้านโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ในช่วงพักกลางวันและเลิกงาน พนักงานเหล่านี้ที่ต้องการจะออกจากร้านพร้อมๆ กัน จึงต้องต่อแถวให้ค้นก่อนออกจากร้านได้ ซึ่งแถวมักจะยาว และทำให้พนักงานต้องสูญเสียเวลาทำงานไปราววันละ 30 นาทีทีเดียว การเสียเวลาดังนี้ เมื่อคำนวนแล้ว ทำให้พนักงานสูญเสียเวลาทำเงินไปเป็นมูลค่าราว 1,500 ดอลลาร์ต่อปีทีเดียว จึงนำมาสู่การฟ้องร้องครั้งนี้

อนึ่ง คดีนี้ฟังโดยสองอดีตพนักงาน Apple จากนิวยอรค์และแคลิฟอร์เนีย แต่เป็นการฟ้องในนามของพนักงาน Apple จำนวนมาก

News Source: http://gigaom.com/2013/07/29/apple-workers-file-lawsuit-for-lost-wages-due-to-bag-searches/

 

ยอดขายของ "ร้านแผ่นอิสระ" ในอังกฤษขึ้นมาร้อยละ 44 ในปีนี้

นี่เป็นการสวนกระแสยอดขายงานดนตรีในอังกฤษที่ตกไปร้อยละ 1.5 ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะร้านแผ่นอิสระของอังกฤษมีสินค้าหลักคือแผ่นเสียงไวนีลที่กลับมาได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งทำให้แม้ว่ายอดขายของร้านแผ่นอิสระในอังกฤษจะคิดเป็นเพียง 3.2 % ของยอดขายงานดนตรีทั้งหมดในอังกฤษ แต่ยอดขายแผ่นเสียงไวนีลจากร้านเหล่านี้กลับคิดเป็นกว่า 50% ของยอดขายแผ่นเสียงไวนีลในอังกฤษ

News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130729ukindie

 

หน่วยงานสืบราชการลับในโลกตะวันตกแบนการใช้คอมพิวเตอร์ของ Lenovo ซึ่งเป็นของจีนเนื่องจากกลัวรัฐบาลจีน "แฮ็ค" ข้อมูลผ่านฮาร์ดแวร์

ทั้งนี้ ความหวาดกลัวศักยภาพในการดักข้อมูลของสินค้า ICT จากจีนไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้โลกตะวันตกก็เคยระแวงสงสัยศักยภาพการดักข้อมูลของผลิตภัณฑ์ของ Huawei มาแล้ว

News Source: http://www.popsci.com/technology/article/2013-07/spy-agencies-have-banned-lenovo-computers-because-theyre-chinese

 

The Pirate Bay พยายามจะระดมทุนงานฉลองครบ 10 ปี แต่คนลงเงินสนันสนุนน้อยมากๆ ขนาดลดงบลงกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว เงินสนับสนุนก็ยังไม่ถึง 1 ใน 3 ของเป้า

ในตอนแรกทีมจัดงานตั้งเป้าระดมทุนไว้ 450,000 โครเนอร์ (ราว 2,160,000) บาท แต่ผู้สนับสนุนระลอกแรกนั้นสนับสนุนเป็นเงินรวมไม่ถึงร้อยละ 10 ทางทีมก็เลยลดเป้ามาเหลือ 200,000 โครเนอร์ (ราว 960,000 บาท) แต่ยอดการสนับสนุนก็ยังอยู่เพียง 53,319 โครเนอร์ (ราว 255,931 บาท) เท่านั้น

ที่ดูน่าสนใจคือการ "สนับสนุน" งานนี้มีหลากหลายมากๆ เช่นเดียวกับโครงการระดมทุนจากฝูงชนทั่วไป และในจำนวนนั้นมันก็มีการขายบัตรเช่นเดียวกับเทศกาลทั่วไปด้วย และที่น่าตกใจพอสมควรก็คือแม้แต่บัตรราคาถูกที่มีจำกัดเพียง 250 ใบ อันมีมูลค่าเพียง 100 โครเนอร์ (ราว 460 บาท) ก็ยังมีผู้สนับสนุนไม่ถึง 50 คนด้วยซ้ำ และผู้สนับสนุนทุกรูปแบบก็ยังมีไม่ถึง 100 คน ซึ่งนี่น่าใจหายแน่นอนสำหรับงานเทศกาลที่วางไว้ว่าจะมีผู้มีส่วนร่วมหลายพันคน

อย่างไรก็ตาม ก็ยังสรุปไม่ได้อยู่ดี เพราะผู้คนจำนวนมากก็อาจจะไปซื้อบัตรเข้าร่วมเทศกาลในราคามาตรฐาน (200 โครเนอร์ หรือราว 920 บาท) ที่ "หน้างาน" ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี ทางคณะผู้จัดงานกล่าวว่า หากระดมทุนได้ต่ำกว่า 150,000 โครเนอร์ (ราว 720,000 บาท) พวกเขาจะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าต่างๆ รวมไปถึงระบบแสงเสียงสำหรับการแสดงสดของวงดนตรีในงานด้วย แต่ก็ยืนยันว่างานปาร์ตี้ฉลองจะดำเนินต่อไปได้ แต่จะมีการตัดสิ่งต่างๆ ออกจากงานมากมายแน่นอน

ไปช่วยสนับสนุนงานวันเกิด The Pirate Bay ได้ที่ http://crowdculture.se/en/projects/the-pirate-bay-10-years-party

News Source: http://torrentfreak.com/pirate-bay-10-year-bash-on-the-brink-through-lack-of-cash-130730/

 

01-08-2013

นักเคลื่อนไหวในอเมริกาเดินขบวนรำลึก "วัน 1984" ทั่วอเมริกาเพื่อต่อต้านการสอดส่องอันละเมิดรัฐธรรมนูญของรัฐในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2013

หลังจากมีการประท้วงในวันชาติสหรัฐเมื่อ 4 กรกฎาคมเพื่อรักษาบทบัญญัติแก้รัฐธรรมนูญครั้งที่ 4 (Fourth Amendment) ไว้ กลุ่มนักเคลื่อนไหวเดิมก็กลับมาเล่นกับวันที่อีกครั้งโดยเลือกประท้วงในวันที่ 4 เดือน 8 เพื่อเล่นล้อกับวรรณกรรมเรื่องดังของ Georges Orwell อย่าง 1984 ที่ว่าด้วยโลกที่รัฐมีการสอดส่องเผ้าดูประชาชนอย่างเบ็ดเสร็จ

ทั้งนี้การประท้วงนี้ก็อาจได้รับการโหมกระแสมากขึ้นกับเรื่องราวการสอดส่องของทาง NSA ที่เผยมามากขึ้น ไปจนถึงคำตัดสินศาลอุทธรณ์ภาคที่ห้าที่ยืนยันว่าการออกหมายดักฟังโทรศัพท์มือถือที่ไม่ระบุพื้นที่และเวลาการดักฟังชัดเจนนั้นไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญด้วย

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/07/august-4th-day-rallies-protest-unconstitutional-surveillance

 

คนในอุตสาหกรรมดนตรีนอร์เวย์ตั้งข้อสังเกตว่าบริการดนตรีที่ถูกกฎหมายและสะดวกสบายจะสามารถกำจัดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งยืนยันข้อสังเกตจากประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ในนอร์เวย์มีรายงานว่าในปี 2008 มีการทำการสำเนาเถื่อนทางดนตรีถึงกว่า 1,160 ล้านสำเนาในปี 2008 แต่ปริมาณก็ลดลงฮวบฮาบในปี 2009 และลดลงมาเหลือเพียง 210 ล้านสำเนาในปี 2012

ที่น่าสังเกตคือในช่วงเวลาเดียวกัน การทำสำเนาเถื่อนทั้งภาพยนตร์และซีรีส์โทรทัศน์นั้นแทบจะเสถียรทั้งหมด

ซึ่งคำอธิบายที่ดูจะสมเหตุสมผลที่สุดของการลดลงของการทำสำเนาเถื่อนทางดนตรีดังกล่าว ก็น่าจะเป็นเพราะบริการฟังเพลงออนไลน์ หรือบริการ "สตรีมมิ่ง" อย่าง Spotify ได้เปิดตัวในนอร์เวย์เมื่อปี 2008

และนี่ดูจะตอกย้ำข้อสังเกตก่อนหน้านี้ทั้งจากในสวีเดน ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ที่ภายหลังจากในประเทศมีบริการ Spotify แล้ว ยอดการทำสำเนาเถื่อนทางดนตรีในประเทศก็ลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น

News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130730norway

 

07-08-2013

"ซุปเปอร์กรุ๊ป" ของนักดนตรี "เมทัล" ระดมทุนจากฝูงชนเพื่อทำอัลบั้มผ่าน Indiegogo สำเร็จอย่างล้นหลาม

Jeff Loomis (กีต้าร์ อดีตวง Nevermore), Keith Merrow (กีต้าร์ นักดนตรีห้องบันทึกเสียงที่สร้างชื่อจากการเป็นนักดนตรีทดลองเสียงให้กับยี่ห้อปิ๊กอัพกีต้าร์ชื่อดังอย่าง Seymour Duncan), Alex Webster (เบสจาก Cannibal Corpse) และ Alex Rudinger (กลองจากวง The Faceless) ระดมทุนทำอัลบั้มที่ไม่มีค่ายเพลงสนับสนุนสำเร็จแล้ว โดยตอนแรกพวกเขาระดมแค่ 15,000 ดอลลาร์ (ราว 450,000 บาท) แต่ ณ ปัจจุบันพวกเขาได้ไปกว่า 30,000 ดอลลาร์ (ราว 900,000 บาท)

บรรดา "รางวัล" (reward) ของผู้สนับสนุนมีหลากหลายมากๆ มันมีตั้งแต่พื้นฐานแบบสิทธิในการโหลดอัลบั้ม เสื้อยืด แผ่นเสียงพร้อมลายเซ็น DVD เบื้องหลังการทำอัลบั้ม ไปจนถึงสิทธิในการเรียนตัวต่อตัวออนไลน์กับนักดนตรี สิทธิในการให้ Loomis ไปเป็นแขกรับเชิญบันทึกเสียงโซโล่กีต้าร์ในเพลงอะไรก็ได้ ปิ๊กอัพกีต้าร์รุ่นที่ใช้ในอัลบั้ม เอฟเฟคกีต้าร์รุ่นของ Merrow สิทธิในการให้ Merrow และ Loomis แต่งเพลงให้ และรางวัลที่มูลค่าสุดคือกีต้าร์ที่ใช้บันทึกเสียงในอัลบั้มพร้อมลายเซ็น

กระบวนการทั้งหมดดูจะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับนักดนตรีว่า "รายได้" ของอัลบั้มนั้นมาจากทางอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการ "ขาย" อัลบั้มอีกมากมาย และวิธีทางที่นักดนตรีจะได้เงินสนับสนุนจากนักฟังเพลงมากที่สุดก็คือการแบ่งการสนับสนุนและผลตอบแทนการสนับสนุนไปเป็นหลายลำดับขั้นตามความสามารถในการสนับสนุนของนักฟังเพลงแต่ละคน ซึ่งเป็นกลวิธีที่แตกต่างจากมาตรการที่จะให้นักฟังเพลงทุกคนสนับสนุนเท่าๆ กันอย่างการขายอัลบั้ม (แม้จะมีสินค้าเสริมก็ตาม)

และนอกจากนี้กระบวนการ "ระดมทุนก่อนแล้วจึงค่อยผลิต" หรือแนวทางแบบฝูงชนอุปถัมป์ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นแนวทางที่หลายๆ ฝ่ายสนับสนุนและหลายๆ ฝ่ายก็เห็นว่าเป็นทางออกที่สวยงามของการปราบการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไร้วี่แววความก้าวหน้าในภาพรวม กล่าวคือถ้า "ลิขสิทธิ์" เป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่รัฐสร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการชดเชยตอบแทนผู้ผลิตศิลปวัฒนธรรมภาย "หลัง" การผลิต แต่การระดมทุนจากฝูงชนนั้นเป็นการชดเชยและตอบแทน "ก่อน" การผลิต ดังนั้นนี่จะเป็นการแก้ปัญหาการผลิตศิลปวัฒนธรรมที่ตลาดไม่ต้องการออกมา และทำให้ "นายทุน" ที่มักจะเป็นผู้ลงทุนในการผลิดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นด้วย เพราะการระดมทุนจากฝูงชนจะทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบพันธสัญญาระหว่างผู้ผลิตศิลปวัฒนธรรมและผู้บริโภคศิลปวัฒนธรรมโดยตรง

ทั้งนี้ อัลบั้มดังกล่าวมีชื่อว่า Conquering Dystopia และกระบวนการผลิดทั้งหมดน่าจะเสร็จสิ้นช่วงต้นปี 2014

News Source: http://www.indiegogo.com/projects/conquering-dystopia

 

09-08-2013

Pirate Party สวีเดน "แจ้งตำรวจ" ว่ารัฐมนตรีด้าน IT ของสวีเดนได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

Pirate Party ได้ติดตามกิจกรรมบน Instagram ของรัฐมนตรีผู้นี้มานานแล้ว และพบว่ารัฐมนตรีไอทีหญิงนาม Anna-Karin Hatt ผู้นี้ก็น่าจะได้โพสต์ภาพมีลิขสิทธิ์ของ Calvin and Hobbes ไปจนถึงภาพจากภาพยนตร์อย่าง The Lord of the Rings, The Da Vinci Code, and Monty Python and the Holy Grail โดยไม่ได้รับอนุญาต

แน่นอนว่าทาง Pirate Party ไม่ได้ต้องการให้มีการดำเนินคดีใดๆ ทั้งสิ้นกับรัฐมนตรีผู้นี้ การแจ้งตำรวจที่ทางพรรคได้ทำไปก็เพื่อเป็นกิจกรรมทางสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนระดับรัฐมนตรีเองก็ไม่สามารถจะใช้ชีวิตดิจิทัลร่วมสมัยได้ตามปกติโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมันก็เกิดจากกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ล้าสมัยและต้องการการแก้ไขโดยด่วนนั่นเอง

News Source: http://torrentfreak.com/pirate-party-reports-it-minister-to-the-police-for-copyright-infringement-130808/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ร่อนหนังสือแนะนายกฯ ชี้ช่องโหว่ร่างนิรโทษฯ ฉบับวรชัย

Posted: 13 Aug 2013 09:39 AM PDT

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายส่งหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมและการปรองดองถึงนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา ชี้ช่องโหว่ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย และความเห็นต่อการนิรโทษกรรมให้กลุ่มต่างๆ

13 ส.ค.56 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ส่งหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมและการปรองดอง ลงนามโดยนายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เสนอต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ

ในหนังสือดังกล่าว คปก.มีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของนายวรชัย เหมะ ว่าไม่สอดคล้องกับหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) เพราะสาระสำคัญของร่างกฎหมายมุ่งเน้นเพียงการนิรโทษกรรมแบบครอบคลุมทั่วไป โดยกำหนดให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามมาตรา 3 และมาตรา 4 เป็นการมุ่งผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมโดยไม่ดำเนินกระบวนการเพื่อความปรองดองอื่นๆ ตามหลักความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านควบคู่ไปด้วย การเสนอและพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นโดยไม่ได้นำกระบวนการยุติธรรมปกติมาใช้เพื่อสร้างความยุติธรรมและลดความขัดแย้งอย่างจริงจังเสียก่อน และดำเนินไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมและการเห็นพ้องต้องกันของฝ่ายอื่นๆ ที่อยู่ในวังวนของความขัดแย้งเช่น ฝ่ายค้าน ภาคประชาสังคม และแม้แต่ญาติของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่มีความเหมาะสมทั้งในด้านเวลาและสถานการณ์ ทั้งจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมให้ร้าวลึกยิ่งขึ้น

คปก.ยังมีความเห็นด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ดังกล่าว ยังมีลักษณะเปิดช่องให้มีการตีความและการบังคับใช้ให้มีผลเป็นการยกเว้นบุคคลให้ไม่ต้องรับโทษแบบเหมารวมครอบคลุม เพราะยังไม่ได้กำหนดชัดเจนถึงลักษณะความผิดที่สมควรได้รับการนิรโทษกรรม การบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะกว้างเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการสากล อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ก่อความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ต้องรับผิด และจะมีการใช้ความรุนแรงต่อกันขึ้นอีกในอนาคต จึงมีความเห็นให้ทบทวนการกำหนดลักษณะความผิดที่ควรได้รับการนิรโทษกรรมอีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ กลไกและกระบวนการที่ชัดเจนในการกลั่นกรองและนิรโทษกรรม

นอกจากนี้ ในหนังสือของ คปก.ได้ระบุความเห็นของ คปก.ต่อการตั้งข้อกล่าวหาต่อผู้ชุมนุมในฐานความผิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงปี 2549-2553 เช่น ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ความผิดอาญาฐานต่างๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงาน ควรอยู่ในข่ายได้รับการนิรโทษกรรม

การตั้งข้อกล่าวหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น ความผิดตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 คปก.เสนอว่า ควรได้รับการนิรโทษกรรมหากเป็นการกระทำไปโดยมุ่งไปในทางการเมืองหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีข้อสังเกตว่า "ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา มีการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตน รวมทั้งใช้เป็นประเด็นโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกันอยู่เสมอ การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เข้ามาเป็นประเด็นในทางการเมืองเช่นนี้ เป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเข้ามาอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้ง และถูกผลักให้ต้องกลายไปเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยปริยาย"

ส่วนข้อกล่าวหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ความรุนแรงในพื้นที่การชุมนุมและการสลายการชุมนุม คปก.มีความเห็นว่า ไม่ควรให้นิรโทษกรรม เพราะเป็นการละเมิดต่อสิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งไม่สามารถพรากไปได้แม้ในยามฉุกเฉินต่อความอยู่รอดของประเทศชาติ และควรให้มีการชดเชยเยียวยาแก่ผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียชีวิต รวมทั้งการเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพทางร่างกายและจิตใจจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง

ส่วนการนิรโทษกรรมกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง คปก.มีความเห็น ดังนี้

ประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางการเมืองทั้งที่ร่วมชุมนุมและไม่ได้ร่วมชุมนุม ที่ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ส่วนใหญ่เกิดจากความเชื่อที่ต้องการปกป้องความเชื่อทางการเมือง และคุณค่าที่แต่ละฝ่ายยึดถือ คปก.เห็นว่าควรนิรโทษกรรม

เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หากการปฏิบัติหน้าที่เกินสมควรแก่เหตุและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในชีวิตและร่างกาย คปก.เสนอให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนและนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หากทำความผิดจริงต้องมีการลงโทษอย่างเหมาะสม เพื่อจะได้ไม่สร้างวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิดหรือผู้กระทำผิดลอยนวล และเป็นการสร้างบทเรียนให้การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนในอนาคตให้เป็นไปโดยระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงเกินสมควร

บุคคลระดับผู้นำ ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้สั่งการที่มีอำนาจตามกฎหมาย และผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น ผู้นำในการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ รวมทั้งผู้นำฝ่ายรัฐซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชน กลุ่มบุคคลเหล่านี้ต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าปกติ เพราะไม่สามารถดูแลให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองให้เป็นไปโดยสงบ ตลอดจนกลุ่มที่สร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงด้วย จนเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียอย่างมากมาย ทั้งต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน จึงไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม แต่ควรนำบุคคลกลุ่มดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

โดยทั้งนี้ คปก.เสนอว่า การนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ควรมีความสอดคล้องกับหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial) รับรองสิทธิในการต่อสู้คดี สิทธิที่จะมีทนายความที่มีคุณภาพในการให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันตามหลักการว่าด้วยสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและแนวนโยบายแห่งรัฐด้านกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

AttachmentSize
ต่อร่างกฎหมายนิรโทษกรร มและการปรองดอง.doc217.5 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ชาวเมืองอัล-รัคคา ประเทศซีเรีย ประท้วงขับไล่กลุ่มติดอาวุธ

Posted: 13 Aug 2013 08:15 AM PDT

เมืองอัล-รัคคา ทางตอนเหนือของซีเรีย ถูกยึดครองโดยกลุ่มติดอาวุธที่พัวพันกับกลุ่มอัล-เคด้า มาเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว แต่ประชาชนในเมืองก็ไม่พอใจที่กลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ใช้อำนาจในทางที่ผิด ทำตัวไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการ และพยายามทำให้เมืองของพวกเขากลายเป็นรัฐอิสลาม

13 ส.ค. 2013 - สำนักข่าวอัลจาซีร่าเปิดเผยว่าชาวซีเรียในเมืองอัล-รัคคา ได้ออกมาประท้วงต่อต้านผู้นำคนใหม่ของเมือง โดยที่เมืองอัล-รัคคา เป็นฐานที่มั่นของกลุ่มติดอาวุธที่มีส่วนพัวพันกับกลุ่มอัล-เคด้า โดยผู้ประท้วงกล่าวว่ากลุ่มนักรบดังกล่าวมีแนวคิดแบบสุดโต่ง ใช้อำนาจในทางที่ผิดและมีการกักขังผู้คนอย่างไม่มีเหตุชอบธรรม

อัล-รัคคา เป็นเมืองทางตอนเหนือของซีเรียที่ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและดินแดนตะวันออก (The Islamic State of Iraq and the Levant) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอัล-เคด้า ที่เข้ามาปฏิบัติการในซีเรีย ตั้งแต่ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา

ผู้ประท้วงรายหนึ่งกล่าวว่า กลุ่มนักรบที่ยึดครองพื้นที่เมืองนี้ทำตัวไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการของ ปธน. บาชาร์ อัล อัสซาด

คาเล็ด ซัจจาร์ นักกิจกรรมชาวซีเรียกล่าวว่า ผู้คนถูกรังแกและถูกจับที่ด่านตรวจ มีบางคนถูกจับโดยถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับรัฐบาล

ผู้ประท้วงยังเชื่อว่า กลุ่มนักรบติดอาวุธที่ควบคุมเมืองอัล-รัคคา ได้กักขังนักบวชชาวอิตาลีชื่อเปาโล เนื่องจากเขาหายตัวไปหลังจากถูกกลุ่มนักรบเรียกตัวเข้าพบเมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าวว่า กลุ่มติดอาวุธที่พัวพันกับอัล-เคด้า ไม่ได้แค่ต่อสู้กับรัฐบาลซีเรียร่วมกับกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลกลุ่มอื่นๆ พวกเขาหันมาจัดตั้ง 'รัฐเล็กๆ' ทางตอนเหนือของซีเรีย และมีการปะทะกับกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กลุ่มย่อยจากกลุ่มกบฏปลดปล่อยชาติซีเรีย (Free Syrian Army) ที่อยู่ในพื้นที่อัล-รัคคา ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นในพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนในอัล-รัคคาไม่ต้องการ

ผู้ประท้วงในอัล-รัคคาพากันเดินขบวนตามท้องถนนและตะโกนคำขวัญว่า "รัฐอิสลามออกไป" โดยมีการประท้วงของประชาชนที่ปราศจากอาวุธถี่ขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นทีนี้ และมีบางคนเรียกการประท้วงนี้ว่าเป็น "การปฏิวัติครั้งที่สอง"


เรียบเรียงจาก

Syrians protest against al-Raqqa's new rulers, Aljazeera, 13-08-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. ชี้ 'เอกยุทธ' เสียชีวิตเพราะมืออาชีพทำให้ขาดอากาศหายใจโดยใช้กระบวนท่าพิเศษ

Posted: 13 Aug 2013 07:44 AM PDT

ผลสอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระบุ 'เอกยุทธ อัญชันบุตร' ไม่ได้เสียชีวิตเพราะถูกรัดคอหรือบีบคอตามที่พนักงานสอบและผู้ต้องหาระบุ แต่ถูกกระทำให้ขาดอากาศหายใจโดยมืออาชีพที่ไม่ใช่ผู้ต้องหา และการเคลื่อนย้ายศพจากกรุงเทพฯ มาพัทลุงเป็นกระบวนการที่เตรียมล่วงหน้าจากผู้ชำนาญการฆ่าคน

วันนี้ (13 ส.ค.) ข่าวสด รายงานว่า นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แถลงผลการตรวจสอบกรณีการเสียชีวิตของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร โดยระบุว่า ตามรายงานของแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพพบว่า นายเอกยุทธ์ไม่ได้ถูกฆ่ารัดคอหรือถูกบีบคอตามที่พนักงานสอบสวนและผู้ต้องหาได้ระบุไว้ หากแต่เป็นการถูกกระทำให้ขาดอากาศหายใจโดยใช้กระบวนท่าพิเศษ ซึ่งเป็นกระบวนการของบุคคลที่เป็นมืออาชีพนอกเหนือจากผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม

โดยแพทย์พบร่องรอยบาดแผลจากการชันสูตร 3 แห่ง คือ ปลายจมูก โคนลิ้นและลิ้นด้านซ้าย เนื้อเยื่อลำคอด้านขวา ซึ่งไม่พบรอยบีบรัดคอแต่อย่างใด แต่มีการกดบีบลำคอกับปิดกั้นจมูกทำให้ขาดอากาศหายใจ และท่านี้สามารถทำให้เสียชีวิตโดยใช้ระยะเวลาไม่นาน นอกจากนี้ยังพบบาดแผลบริเวณหัวไหล่ขวา สะบักซ้ายด้านหลังซึ่งเกิดจากการกระทำของผู้ที่อยู่ด้านหลังนายเอกยุทธ โดยนายเอกยุทธ์ต่อสู้จึงทำให้กล้ามเนื้อคอด้านหลังฟกช้ำ ดังนั้นนายเอกยุทธ์จึงไม่ได้ถูกฆ่ารัดคอหรือบีบคอ ส่วนบาดแผลอีก 2 แห่ง ที่ข้อมือและส้นเท้าเกิดจากการถูกพัธนาการในบริเวณจำกัด ทำให้นายเอกยุทธ์ไม่สามารถต่อสู้ดิ้นรนได้

การเปลี่ยนแปลงสภาพศพหลังเสียชีวิต ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายศพจากกรุงเทพฯไป จ.พัทลุง และเคลื่อนจากเขาจิ้งโจ้ จ.พัทลุง มาตรวจพิสูจน์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าจากผู้ชำนาญในการฆ่าคน  โดยมีเหตุผลสนัสนุนคือ 1.การเตรียมวัสดุอุกรณ์ห่อศพและลำเลียงศพจากรุงเทพฯ มาพัทลุง  2.หลังเสียชีวิตมีการถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับออก เหลือแต่เสื้อกล้ามกับกางเกงบ็อกเซอร์ ลักษณะการห่อศพซึ่งรัดด้วยวัสดุผูกมัด เป็นเทคนิควิธีการเฉพาะของผู้มีความรู้และความชำนาญ และ 3.มีความเชื่อว่าศพถูกเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด คือ ถูกเก็บในรถตู้ไม่เกิน 3 วัน  โดยไม่พบหนอนในศพ แสดงว่าสภาพศพถูกห่อหุ้มเป็นอย่างดี ส่วนการขุดหลุมฝังก็ไม่ลึกไม่เกิน 50 ซ.ม. และถูกฝังไม่เกิน 1 วัน  แสดงเจตนาว่าไม่ต้องการปกปิดศพ จึงสันนิษฐานได้ว่าผู้ลงมือไม่ต้องการปิดบังศพ แต่ต้องการเปิดเผยเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงไม่อยากให้ตำรวจเร่งสรุปสำนวนว่าเป็นคดีฆ่าชิงทรัพย์

"ทั้งหมดคือสิ่งที่อนุกรรมการด้านสิทธิการเมืองและสิทธิพลเมือง ตรวจสอบพบซึ่งสอดคล้องกับแพทย์ที่พบศพเป็นคนแรกที่ จ.พัทลุง ล่าสุดญาติของนายเอกยุทธไม่เชื่อมั่นในการทำงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาลเพราะเคยมีประเด็นขัดแย้งกับนายเอกยุทธอยู่เดิมซึ่งในช่วงเช้าวันนี้ (13ส.ค.) ญาตินายเอกยุทธได้แจ้งความต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อขอเปลี่ยนคณะพนักงานสอบสวน" น.พ.นิรันดร์ กล่าว

นพ.นิรันดร์ กล่าวด้วยว่า กสม. ไม่ได้รับความร่วมมือจากตำรวจให้ตรวจสอบพยานหลักฐาน เช่น ไม่ให้เข้าตรวจสอบรถตู้ โดยตำรวจยังมอง กสม.ว่าจะไปจับผิด แต่ขอยืนยันว่า กสม.ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญให้อำนาจ ในการประสานหน่วยงานให้ปฏิบัติที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกร้อง ซึ่งการตรวจสอบครั้งนี้ไม่ใช่การสอบสวนหาตัวคนร้าย  แต่เป็นการตรวจสอบกระบวนการทำงานของตำรวจว่าได้มาตรฐานในการบอกความจริงต่อสังคมหรือไม่ โดยกสม.จะทำรายงานเสนอความเห็นดังกล่าวต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อให้ไปพิจารณา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 แต่ทั้งนี้ตามอำนาจของกสม.ไม่มีอำนาจบังคับหรือสั่งการตำรวจ แต่เป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะนำไปพิจารณาว่าข้อเสนอของ กสม.สมควรนำไปประกอบในสำนวนการสอบสวนหรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรมควบคุมมลพิษแนะเลี่ยงลงเล่นน้ำในอ่าวพร้าว หลังตรวจพบสารปรอทเกินมาตรฐาน

Posted: 13 Aug 2013 07:12 AM PDT

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษทดสอบคุณภาพน้ำทะเลเกาะเสม็ด ระบุที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิมยังมีค่าสารปรอทเกินมาตรฐาน แนะประชาชนหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำชั่วคราว เพราะสารปรอทก่อโรคมะเร็งหากสะสมเป็นเวลานาน

สำนักข่าวไทย รายงานวันนี้ (13 ส.ค.) ว่า นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวหลังเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเลเกาะเสม็ด จ.ระยอง ทั้งหมด 12 จุด และตรวจสอบในห้องทดสอบคุณภาพ โดยพบว่า น้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีปัญหาบริเวณอ่าวพร้าวและอ่าวทับทิม ที่มีค่าโลหะหนักบางชนิดเกินมาตรฐาน โดยอ่าวพร้าวตรวจพบสารปรอทปนเปื้อน 2.9 ไมโครกรัม/ลิตร เกินค่ามาตรฐานที่ต้องไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัม/ลิตร และอ่าวทับทิม วัดสารปรอทได้ 0.25 ไมโครกรัม/ลิตร ส่วนสารแคดเมียมและสารหนู พบว่ายังไม่เกินค่ามาตรฐาน

นายวิเชียร กล่าวว่า สำหรับสารปรอทที่พบนั้นเกินมาตรฐานอยู่มาก แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าวชั่วคราว เนื่องจากสารปรอทมีอันตรายต่อร่างกาย มีสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หากสะสมเป็นเวลานาน ซึ่งกรมฯ จะตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และหากพบว่าสารปรอทมีค่าที่ปลอดภัยจะแจ้งให้ประชาชนทราบ และจะนำข้อมูลรายงานให้กรมเจ้าท่า กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและหาทางป้องกันแก้ไขต่อไป

ส่วนผลตรวจวัดโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน อยู่ในระดับไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ไม่ส่งผลต่อสัตว์น้ำในพื้นที่ แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ผลการตรวจวัดปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ยังอยู่ในขั้นตอนวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะทราบผลในวันที่ 15 สิงหาคมนี้

ทั้งนี้ จะต้องลงตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันรั่วไหลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัย และสามารถประเมินความเสียหายได้ถูกต้อง โดยเฉพาะชายหาดจะต้องได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างถูกขั้นตอน ใช้รูปแบบสากล ซึ่งมีตัวอย่างจากต่างประเทศ โดยแบ่งเป็นรูปชีวภาพ และสารเคมีในการบำบัดทรายทั้งหาดให้กลับคืนสภาพปกติ ไม่มีสารปนเปื้อนอันตรายตกค้าง โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดผู้ก่อความเสียหายจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณี 'ไลน์' รมว.ไอซีทียันไม่ละเมิดเสรีภาพสื่อสาร-ปชป.จวกละเมิดเสรีภาพปชช.

Posted: 13 Aug 2013 03:46 AM PDT

จากกรณี พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) กล่าวถึงแผนการตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า ปอท.จะเลือกตรวจสอบข้อมูลการสื่อสารของบุคคลที่มีแนวโน้มจะกระทำการที่กระทบต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อย และอ้างว่าผู้ให้บริการ 'ไลน์' ตอบรับยินดีให้ความร่วมมือ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ระบุผ่านเพจเฟซบุ๊กว่า ไม่ได้มีการติดต่อหรือความร่วมมือกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในการเข้าตรวจสอบข้อมูลและการใช้งานโปรแกรมแชทไลน์ของประชาชน พร้อมยืนยันว่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้ไลน์ ยังสามารถใช้งานพูดคุยสื่อสารได้ตามปกติ โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปละเมิดสิทธิเสรีภาพและตรวจสอบการใช้งานใดๆ

น.อ.อนุดิษฐ์ ระบุด้วยว่า เนื่องจากไลน์ถือเป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้กันทั่วโลกและเป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ไม่ควรถูกละเมิด ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบการใช้งานใดๆ และเซิร์ฟเวอร์หลักที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้งานไลน์ก็เป็นของบริษัทผู้ผลิตประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตไลน์จะอนุญาตหรือไม่ด้วย

ด้าน อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ให้สัมภาษณ์ประชาไท ว่า ข้อมูลของ "ไลน์" ถูกเข้ารหัส ถ้าจะค้นหรือตรวจคำ ต้องถอดรหัสได้ก่อน ซึ่งกรณีนี้ การบอกว่าขอความร่วมมือให้ไลน์แชร์รหัสกับ ปอท. ซึ่งขอขนาดนี้ คิดว่าไลน์ไม่น่าจะให้ เพราะเยอะเกินไป ตามกรอบของกฎหมาย การดักฟังต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะดักฟังใคร ระยะเวลาเท่าไหร่  ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องหลัก การดักฟังเป็นเรื่องยกเว้น

อาทิตย์ กล่าวต่อว่า แม้ ณ ขณะนี้การดักฟังหรือการขอข้อมูลยังไม่ได้เกิดขึ้น แต่ก็เห็นความพยายามว่าในอนาคต ตำรวจอาจจะทำแบบนี้ และที่อาจต้องกังวลมากกว่าคือ ที่สุดแล้วต่อให้ "ไลน์" ไม่ให้ความร่วมมือ ก็ไม่รู้ว่ามีผู้ให้บริการคนอื่นให้ความร่วมมือบ้างหรือไม่ เช่น ผู้ให้บริการในประเทศ ซึ่งอาจมีความสามารถในการปฏิเสธตำรวจน้อยกว่าผู้ให้บริการต่างประเทศ เมื่อถึงตอนนั้นจะทำอย่างไร

ขณะที่ ศรีสุดา วินิจสุวรรณ ผู้สื่อข่าวสายไอที ช่อง 9 ทวีตผ่าน ‏@sresuda ว่า บริษัทประชาสัมพันธ์ของไลน์แจ้งว่าผู้บริหารทั้งที่ญี่ปุ่นและเกาหลีเตรียมส่งคำแถลงประเด็นดังกล่าวมาให้สื่อไทย ภายในวันนี้

ด้านพรรคประชาธิปัตย์  น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นกังวลในเรื่องดังกล่าวเพราะเป็นการสกัดกั้นเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน ขายหน้าประชาคมโลกมากอยากถามไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ว่า ได้มอบนโยบายนี้ให้ ปอท. หรือใครมีใบสั่งให้ดำเนินการ หรือ ผบก.ปอท.ทำเอง ทั้งนี้ชมรม FifhtBadWeb หรือชมรมนักรบไซเบอร์ ที่คอยติดตามการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันฯ พยามเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการกับเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ แต่รัฐบาลไม่มีการดำเนินการ แต่ ปอท.กลับมากระทำเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่เหมาะสม ดังนั้น หลังจากที่ตัวแทนปอท.เดินทางกลับจากการพบกับโปรแกรมเมอร์ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ทางชมรมจะขอเข้าพบกับ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ และคณะทำงานดังกล่าวเพื่อสอบถามข้อมูลที่แท้จริง เพราะขณะนี้ประชาชนรู้สึกหวาดหวั่น แม้กระทั่งไลน์ของกลุ่มส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่พากันเลี่ยงไม่โพสต์ข้อความที่สำคัญ เนื่องจากเกรงว่าปอท.จะเข้าตรวจสอบ
    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พลเมืองเน็ต' จี้ ปอท.เปิดข้อมูลส่อง 'ไลน์' ประชาชน

Posted: 13 Aug 2013 03:31 AM PDT

ต่อกรณี พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) กล่าวถึงแผนการตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์  เครือข่ายพลเมืองเน็ต ออกแถลงการณ์ เรื่อง รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น โดยยืนยันว่า การติดต่อระหว่างบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นอยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 35, 36 และ 45 ที่ว่าด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยไม่ถูกเปิดเผย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พร้อมมีข้อเรียกร้อง ดังนี้ 

1. ปอท.ต้องให้ความชัดเจนว่า การขอข้อมูลที่ ปอท.กล่าวถึงนั้น มีข้อมูลอะไรบ้าง

2. ผู้บริการการสื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

3. ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการตามที่ระบุในกฎหมาย และหยุดการ "ขอความร่วมมือ" อย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ

4. ตำรวจและรัฐบาลไทย ต้องหยุดการกระทำที่ทำให้เกิดความกลัวในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งหยุดการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อย่างพร่ำเพรื่อ

5. ในการรับมือกับข่าวลือซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือรัฐบาล ควรจะเคารพวิจารณญาณ และความสามารถในการพิจารณาของประชาชนว่า ข้อความใดจริง ข้อความใดเท็จ แทนที่จะใช้มาตราการการสอดส่องที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิ

 
 
00000

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น


จากกรณี พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) กล่าวถึงแผนการตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทูบ (YouTube) วอทซ์แอพ (WhatsApp) และไลน์ (LINE) ซึ่ง พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวว่า ปอท.จะเลือกตรวจสอบข้อมูลการสื่อสารของบุคคลที่มีแนวโน้มจะกระทำการที่กระทบต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อย และอ้างว่าผู้ให้บริการ LINE ตอบรับยินดีให้ความร่วมมือ เครือข่ายพลเมืองเน็ตยืนยันว่า การติดต่อระหว่างบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นอยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 35, 36 และ 45 ที่ว่าด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยไม่ถูกเปิดเผย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลไทยพยายามสอดส่องประชาชน เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้พูดถึงแผนการจัดซื้ออุปกรณ์ดักข้อมูล เพื่อดักข้อมูลที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

จากแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อกังวลและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ปอท.ต้องให้ความชัดเจนว่า การขอข้อมูลที่ ปอท.กล่าวถึงนั้น มีข้อมูลอะไรบ้าง

ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ปอท.ไม่มีสิทธิในการดักฟังการสื่อสารของประชาชน การดักฟังจะทำได้ ก็ต่อเมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสืบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งดีเอสไอจะดักฟังได้โดยอาศัยคำสั่งศาล สำหรับคดีบางประเภทเท่านั้นเท่านั้น

เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีความสงสัยว่า การขอ "ตรวจสอบข้อมูลการสนทนา" ของปอท. นั้นหมายถึงการ ดักฟัง หรือ การขอบันทึกการสนทนา (chat log) หรือ ข้อมูลผู้ใช้ (user's data)

ในกรณีที่เป็นการดักฟังนั้น เครือข่ายพลเมืองเน็ตเห็นว่า ปอท. ไม่มีสิทธิที่จะทำการดังกล่าว

นอกจากนี้ แม้รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 มาตรา 36 ซึ่งระบุว่า " การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารท้ังหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกันจะกระทํามิได้" มีข้อยกเว้นสำหรับการดักฟังหรือสอดส่องการสื่อสารของประชาชนอยู่สำหรับเรื่องความมั่นคง และการรักษาศีลธรรมอันดี แต่เนื่องจากข้อยกเว้นดังกล่าวสามารถตีความได้อย่างกว้างขวาง การอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของเจ้าหน้าที่รัฐจึงควรจะมีคำอธิบายที่มีรายละเอียดและชัดเจนต่อประชาชน  การเปิดโอกาสให้เกิดการดักฟังนั้นยังเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิประชาชนในด้านอื่นๆ ด้วย  ดังนั้นแม้จะมีการดักฟังซึ่งชอบด้วยกฎหมายก็ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

2. ผู้บริการการสื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

ตามนโยบายของไลน์นั้น ได้ระบุข้อยกเว้นของการให้ข้อมูลแก่บุคคลที่สามไว้คือข้อหนึ่งคือ

"เมื่อบริษัทถูกร้องขอให้ความร่วมมือจากสถาบันของรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น หรือบุคคล หรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ และเมื่อการให้ผู้ใช้ยินยอมก่อนจะเป็นการกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ" (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

ขณะเดียวกันไลน์ก็ได้ระบุไว้ในหน้าความช่วยเหลือต่อคำถามที่ว่าบุคคลที่สามสามารถ "แอบดู" เนื้อหาของการสนทนาได้หรือไม่ว่า "ไม่ได้ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในการสนทนาไม่สามารถเห็นสิ่งที่คุณพิมพ์ได้ ไลน์ปลอดภัย"

ในประเทศไทยนั้น ไลน์เป็นที่นิยมมาก และมีผู้ใช้ในประเทศไทยกว่ามากกว่าสิบห้าล้านคนเครือข่ายพลเมืองเน็ตขอเรียกร้องให้บริษัท Naver Japan ผู้ให้บริการไลน์ ปกป้องสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ชาวไทย และต้องไม่ยินยอมให้ข้อมูลหรือบันทึกการสนทนาของผู้ใช้ต่อรัฐไทยโดยไม่มีเหตุผลหรือทำตามกระบวนการทางกฎหมายที่โปร่งใส

3. ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการตามที่ระบุในกฎหมาย และหยุดการ "ขอความร่วมมือ" อย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ

วัฒนธรรมการ "ขอความร่วมมือ" อย่างไม่เป็นทางการ ส่งผลเสียในทางปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากหลักฐานการขอความร่วมมือและข้อมูลที่ได้ จะไม่ถูกจัดเก็บในสารบบของราชการ ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิ เช่น สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอข้อมูลเพื่อตรวจสอบการทำงาน ทำให้การพิทักษ์สิทธิของประชาชนเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีของบริษัท Naver นั้น แม้ผู้ให้บริการจะอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และไม่ได้มีภาระหน้าที่ต้องตอบสนองต่อกฎหมายไทย ซึ่งปอท. อาจสามารถเลือกวิธีการ "ขอความร่วมมือ" แทนที่จะใช้วิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายเช่น การใช้คำสั่งศาล การกระทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิตา มพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ  มาตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า ข้อมูลที่ขอไปนั้นมีอะไรบ้าง เครือข่ายพลเมืองเน็ตเห็นว่า เพื่อความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ขอเรียกร้องให้ ปอท.ใช้วิธีการตามกฎหมาย และหยุดการใช้วิธีขอความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ

4. ตำรวจและรัฐบาลไทย ต้องหยุดการกระทำที่ทำให้เกิดความกลัวในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งหยุดการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อย่างพร่ำเพรื่อ

เครือข่ายพลเมืองเน็ตมองว่า การะกระทำของรัฐบาล ทั้งการให้ข่าวว่าจะทำ หรือการกระทำจริงๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการทำให้เกิดผลเสียต่อบรรยากาศโดยรวมของกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้เน็ตตกอยู่ในความกลัว และความไม่แน่ใจว่า สิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้

นอกจากนี้ รัฐบาลควรหยุดการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างพร่ำเพื่อและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิม ที่ต้องการ ซึ่งจากสถิติคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะเห็นได้ว่า คดีส่วนใหญ่นั้น ไม่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทหรือการปล่อยข่าวลือ บนระบบอินเทอร์เน็ต ที่ล้วนแล้วแต่มีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว

การใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ อย่างพร่ำเพื่อเช่นนี้ จะเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวแก่ผู้ใช้เน็ตโดยรวม

5. เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อเสนอแนะในการรับมือกับข่าวลือซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือรัฐบาล

มีวิธีการอันเป็นสากลมากมายในการรับมือกับข่าวลือ โดยที่ไม่ต้องใช้มาตรการอันจะไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัว เช่น การชี้แจงข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อแก้ไขข่าวลือต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชน ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยควรจะเคารพวิจารณญาณ และความสามารถในการพิจารณาของประชาชนว่า ข้อความใดจริง ข้อความใดเท็จ แทนที่จะใช้มาตราการการสอดส่องที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิ

อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางสังคมที่เราทุกคนอยู่ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ผู้ให้บริการ และพลเมืองเน็ตจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการรักษาพื้นที่นี้เพื่อประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของการรักษาสิทธิพลเมืองและปกป้องสิทธิมนุษยชน การกระทำที่ทำให้เกิดการตื่นตระหนก และความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่เป็นส่วนตัว จะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจ และกิจวัตรประจำวันของผู้คนที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตได้

เปิดเน็ต เปิดใจ

เครือข่ายพลเมืองเน็ต

13 สิงหาคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองพิษณุโลกนัดพิพากษาคดีแคดเมียมแม่ตาวพรุ่งนี้

Posted: 13 Aug 2013 01:58 AM PDT

ศาลปกครองพิษณุโลกนัดพิพากษาคดีแคดเมียมแม่ตาววันพรุ่งนี้ หลังชาวบ้านเจ็บป่วยเป็นโรคพิษแคดเมียมมานานนับสิบปี ชาวบ้านมั่นใจศาลปกครองจะประสาทความยุติธรรมให้หวังเกิดการแก้ไขฟื้นฟูอย่างจริงจัง

นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าในวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2556 นี้ เวลา 9.30 น. ศาลปกครองพิษณุโลกได้นัดหมายคู่กรณีมาฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 398/2552 ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ 1 กับพวกรวม 32 คน ที่ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ 1 คณะกรรมการควบคุมมลพิษที่ 2 คณะกรรมการพัฒนาที่ดินที่ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่ 5 อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ 6 เป็นคดีฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งคดีดังกล่าวได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลกมาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2552 หลังจากที่หน่วยงานภาครัฐที่ถูกฟ้องคดีดังกล่าว ปล่อยปละละเลย และใช้อำนาจอนุญาตให้มีเหมืองแร่สังกะสี ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชาวบ้าน จนทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารแคดเมียมกระจายไปในพื้นที่นาข้าวของชาวบ้านใน 3 ตำบล คือ ตำบลแม่ตาว ตำบลแม่กุ และตำบลพระธาตุผาแดง ทำให้ผลผลิตนาข้าวของชาวบ้านปนเปื้อนด้วยสารแคดเมียม จนไม่สามารถทำนาได้ตามปกติ

กรณีดังกล่าวชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลกว่า 800 คนได้ร่วมกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินกว่า 3,000 ล้านบาทกับผู้ประกอบการเหมืองแร่ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ไว้แล้ว ส่วนในคดีปกครองได้มอบอำนาจให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ฟ้องร้องหน่วยงานภาครัฐที่ใช้อำนาจอนุมัติอนุญาตให้มีการประกอบการเหมืองแร่ในพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว จนก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชาวบ้านจำนวนมาก ซึ่งในการอ่านคำพิพากษาในวันดังกล่าว ตัวแทนชาวบ้านจะเหมารถบัสมาฟังคำพิพากษากันเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่าศาลปกครองจะประสาทความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน และนำไปสู่การดำเนินการแก้ไขและฟื้นฟูสภาพที่ดินและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อให้ชาวบ้านปลอดภัยและกลับมาใช้วิถีชีวิตได้ตามปกติต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เก็บตกเสวนา : ‘รัฐหมอๆ’ ปัจเจกชน และนโยบาย (งด) บุหรี่

Posted: 13 Aug 2013 01:44 AM PDT

สรุปเสวนารัฐกับการแทรกแซงสุขภาพของปัจเจกชนผ่านการรณรงค์งดสูบบุหรี่ ที่ Reading Room โดย 2 วิทยากรรุ่นใหม่ ไล่เรียงประวัติศาสตร์นโยบายบุหรี่ทั้งของไทย-เทศ บนคำถามใหญ่พื้นที่ทับซ้อนรัฐและปัจเจก พร้อมบทสนทนาที่ลากไปไกลถึงแวดวงหมอและ สสส.


 

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา The Reading Room จัดเสวนาหัวข้อ  "จากพืชศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าบาป: รัฐกับการแทรกแซงสุขภาพของปัจเจกชนผ่านการรณรงค์งดสูบบุหรี่"  โดยมีวิทยากร 2 คนคือ ภาคภูมิ แสงกนกกุล (PhD candidate มหาวิทยาลัย Paris Descartes) และ ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ (ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

ประชาไทสรุปความการสนทนา โดยแยกเป็น 4 ส่วนหลักคือ 1.ว่าด้วยรากฐานแนวคิดเรื่องสุขภาพ-สุขภาวะ และคำถามถึงพื้นที่ทับซ้อนระหว่างปัจเจกชนกับสังคม 2.ประวัติศาสตร์ยาสูบในประเทศไทย 3.ยุคที่หมอและองค์กรอย่าง  สสส. มีบทบาทในการออกแบบ "สุขภาพสังคม" และ 4.โควทเด็ดท้ายเสวนา เก็บความการแลกเปลี่ยน วิพากษ์วิจารณ์รัฐแบบหมอๆ

 

Part I  :  รากฐานแนวคิด สุขภาพ –สุขภาวะ
พื้นที่ทับซ้อนระหว่างปัจเจก-สังคม

 


ธีรวัฒน์ (ซ้าย) ภาคภูมิ (ขวา)


ภาคภูมิ เริ่มต้นการเสวนาด้วยการนิยามคำว่า "สุขภาพ"ว่า สามารถนิยามได้ทั้งกว้างและแคบ แต่หลังจากมีการประกาศเรื่อง "สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" ในปี 1791 ก็ทำให้เกิดการก่อร่างขอบเขตของปัจเจกชนบนหลักเสรีนิยม ที่เชื่อเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ วิธีการมองแบบเสรีนิยมสุดโต่งเชื่อว่า ร่างกายของเราเป็นของเรา ชีวิตเป็นของเรา เราสามารถทำอะไรก็ตามแต่เจตจำนงเสรีของเรา และรับผิดชอบการกระทำของเราเอง แต่การมองแบบนี้ไม่อิงความเป็นจริงของมนุษย์ เพราะเราต้องเจ็บป่วย และต้องการการรักษา และมนุษย์ก็ไม่สามารถกีดกันปัจจัยอื่นๆ เข้ามากระทบสุขภาพเราได้ สุขภาพจึงไม่มีทางมีมิติทางปัจเจกชน 100% แต่มีมิติทางด้านสังคมด้วย

ในศตวรรษที่ 17 เกิดทฤษฎีเชื้อโรคของหลุยส์ ปาสเตอร์ จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนต้องรักษาสุขภาพของตัวเอง ไม่ใช่เฉพาะกับตัวเองแต่เพื่อไม่ให้โรคร้ายระบาดสู่คนอื่น สะท้อนว่า สุขภาพปัจเจกไม่สามารถแยกตัวเป็นเอกเทศจากคนอื่นได้ เชื่อมโยงกันเป็นสุขภาพสังคม จุดสำคัญอีกอย่างคือ ศตวรรษที่ 18 มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์สาธารณสุขขึ้น มุ่งเน้นการป้องกันโรค ใช้แนวคิดอัตถประโยชน์นิยม ความสุข ความทุกข์สามารถหักล้างจากกันได้ บวกลบได้ ความสุขของสังคมโดยรวม เกิดจากความสุขของทุกคนรวมกันแล้วหารเฉลี่ย แนวคิดนี้มองว่าสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี เป็นตัว generate ความสุขขึ้นมา จึงสร้างตัวชี้วัดสุขภาพสังคม หรือของประชาชนขึ้นมาได้ เช่น อายุขัยเฉลี่ย อัตราการตายเฉลี่ย ฯ  นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า สุขภาวะ หรือ well-being  ซึ่งคำว่า Health กับ well-being ต่างกันมาก อันหลังกว้างกว่ามาก

คำถามที่ตามมาคือ  พื้นที่ส่วนไหนของสุขภาพเป็นของปัจเจก ส่วนไหนเป็นของสังคม ส่วนไหนที่ปัจเจกต้องรับผิดชอบ ส่วนไหนสังคมต้องรับผิดชอบ หากมองสุดโต่ง สุขภาพเป็นของปัจเจก 100% รัฐไม่ควรเข้ามาแทรกแซง แต่การมองแบบปัจเจก มีข้อเสียและส่วนที่ไม่น่าเห็นด้วย เพราะอย่างไรเสียก็ต้องมีส่วนรวมเข้ามาแทรกแซงสุขภาพมนุษย์ ความคิดที่เก่าแก่ที่สุดคือความคิดด้านศาสนา คริสตศาสนาสอนว่าต้องช่วยคนที่ยากจนกว่า มีสุขภาพแย่กว่า ในยุคกลางศาสนจักรจึงผูกขาดการรักษาคนไข้ หรือคำว่า โรงพยาบาล ในภาษาฝรั่งเศสก็ใช้คำที่แปลว่าที่พำนักของพระเจ้า จนกระทั่งมีการแยกรัฐออกจากศาสนา

อย่างไรก็ตาม การมองว่าสุขภาพเป็นหน้าที่ของรัฐทั้งหมดก็อันตราย เช่น กรณีนโยบายของนาซี ซึ่งไปโยงกับการทำให้เชื้อชาติบริสุทธิ์ นโยบายเชื่อว่ารัฐต้องมีหน้าที่ทำให้สุขภาพของชาวเยอรมันดีขึ้น รัฐสามารถออกนโยบายได้ว่า คุณต้องออกกำลังกายกี่ชั่วโมง ต้องกินอาหารอย่างไร โดยละเลยมิติของปัจเจก และโหดร้ายถึงขั้นว่าทำอย่างไรก็ได้ให้อัตราค่าเฉลี่ยสุขภาพประชากรดีขึ้น อะไรถ่วงความเจริญก็กำจัดเสีย เช่น มีคนเกิดมาปัญญาอ่อน ก็จับทำหมันเพื่อไม่ให้ขยายพันธุกรรมที่ไม่ดี และมองว่าชาติพันธุ์อื่นเช่น "ยิว" เป็นเชื้อโรค ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

มีการเกิดขึ้นขององค์กรระหว่างประเทศที่ทำเรื่องสุขภาพ คือ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในปี 1947 สะท้อนว่า ต่อไปนี้นอกจากรัฐแล้วยังมีองค์กรเหนือรัฐที่จะเข้ามาแทรกแซงสุขภาพของปัจเจกชนได้ แทรกแซงตรงไม่ได้แต่มีอิทธิพลด้านวิชาการและการให้ทุน

การนิยามสุขภาพของ WHO สำคัญ เพราะเป็นการนิยามแบบผูกขาด มีการอ้างอิงและใช้มากที่สุด ซึ่งมีข้อวิจารณ์ว่าการนิยามนั้นกว้างมาก ส่งผลเป็นดาบสองคม เปิดโอกาสให้รัฐและองค์กรเหนือรัฐเข้ามาแทรกแซงสุขภาพประชาชนได้มากขึ้น มีความเป็นอุดมคติมากเกินไป และจะมีปัญหากับประเทศที่ระบบกฎหมายไม่มีเสถียรภาพ

"ในเมื่อมีคนเคยฟ้องศาลรัฐธรรมนูญปลดนายกฯ จากการไม่ทำตามหน้าที่ปล่อยให้น้ำท่วม ไม่แน่อาจมีคนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ปลดนายกฯ เพราะไม่ได้ประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานให้ประชาชนทุกคน" ภาคภูมิกล่าว

ในช่วง 30 ปีหลังสงครามโลก มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งวางบนฐานคิดแบบเคนเซียน คือ รัฐต้องลงทุนแทนเอกชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ใช้เงินภาษีในการอุดหนุน สะท้อนว่านโยบายสุขภาพจะเข้าไปแนบแน่นกับนโยบายด้านเศรษฐกิจการเงินของชาติ

หลังจากเกิดสงครามเย็น เกิดการแข่งขันรุนแรงระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งร่วมถึงการแข่งด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนาเร็ว และยังแข่งขันกันด้านสุขภาพด้วย เพราะเป็นตัวชี้วัด well-being ของประชากร เพื่อให้เห็นว่าระบบไหนดีกว่า

อย่างไรก็ตาม การลงทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็มีด้านลบ เพราะลงทุนด้านการรักษามากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้นตามมาด้วย เท่ากับกีดกันไม่ให้คนจนเข้าถึง กลายเป็นสุขภาพที่ดีขึ้นนั้นกระจุกเฉพาะกลุ่มประชากรกลุ่มเดียว ไม่ใช่ทั้งระบบ หลังปี 1990 เทรนด์ของประเทศต่างๆ จึงเปลี่ยนเป็นเรื่องการป้องกันโรคแทน ซึ่งนั่นเท่ากับขยายขอบเขตไปที่ด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย

ปี 1991 WHO เสนอโมเดลขึ้นมาใช้จนปัจจุบัน คือ ปัจจัยทางด้านสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คอนเซ็ปท์นี้ทำให้พื้นที่ social ขยายกว้างกว่า individual หลายเท่า สะท้อนว่า สังคมต้องรับผิดชอบสุขภาพมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ใช้นโยบายสาธารณะเข้ามาแทรกแซงได้มากขึ้น รัฐหรือสังคมจะเพิ่มความเข้มข้นทางมาตรการเข้ามาแทรกแซงปัจเจกบุคคลมากขึ้น

"คำถามคือ ปัจเจกจะรับมืออย่างไร การแทรกแซงแบบไหนจึงจะถูกต้องชอบธรรม ยอมรับได้ ไม่แน่ว่าในอนาคต หลังจากมีการเพิ่มภาษีบุหรี่ เหล้า อย่างชัดเจน ในอนาคต ความอ้วนอาจเป็นอาชญากรรมแบบหนึ่ง อาจมีการเก็บภาษีความอ้วนตามมาก็ได้" ภาคภูมิกล่าว

ธีรวัฒน์ นำเสนอเรื่องนี้จากมุมมองบุคลากรทางสาธารณสุขว่า ตัวละครในแวดวงสาธารณสุขมองว่าตัวเองมีบทบาทอย่างไรในเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะบุหรี่ ทั้งนี้ หากจะแบ่งประเภทของหมอแล้ว ก็สามารถแบ่งได้เป็น  สาย technician  คือ หมอผ่าตัด หมอยาฯ , สาย researcher คือหมอที่วิจัยหายาใหม่ๆ แนวทางการรักษาใหม่ๆ , สาย public health หมอที่ดูเรื่องสาธารณสุข เน้นคนไม่ป่วยให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จากคอนเซ็ปท์เดิมวงการหมอจะดูชีวกลไก แต่ช่วงหลังก็จะหันดูสุขภาพทางสังคมด้วย การนิยามคนที่มีสุขภาพทางสังคมดีก็คือ คนที่ functionได้ ทำงานได้ปกติ

แนวคิดทำนองนี้เกิดแรกๆ ในประเทศแคนาดา ในการจัดสวัสดิการสาธารณสุขช่วงปี 1960-1970 โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ 50% ต่อมาเมื่อต้องใช้งบประมาณสูงขึ้นเรื่อย จึงเริ่มมาคิดว่ารักษาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีด้วย เช่น การออกกำลังกาย กลายเป็น "ทศวรรษแห่งไลฟ์ สไตล์" มุ่งทำให้คนมี life style ที่ดี เรื่องนี้เริ่มที่แคนาดาแล้วลามไปที่อังกฤษ อเมริกา ยุโรป ราวปี 1980 มีการประชุมและพยายามจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุขภาพ เดิมจะเน้น การป้องกันโรค ให้เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยเอง มีไลฟ์สไตล์ที่ดี มุมมองต่อคนป่วยเปลี่ยนจากเป็นคนๆ กลายเป็นเรื่องของสังคม ความรับผิดชอบร่วมกันของคนในสังคม เพราะจะก่อปัญหาในภาพรวม

ช่วงเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้ การประชุมครั้งสำคัญคือที่ออตตาวาในปี 1986  WHO ออกกฎบัตรอันหนึ่งเกี่ยวกับ Health Promotion คือทำอย่างไรให้คนในสังคมมีสุขภาพที่ดี มีกลยุทธหนึ่งที่สำคัญนั่นคือ ให้สร้าง Healthy Public Policy (คนละอย่างกับ Public Health policy หรือนโยบายสาธาณสุข) คือ รัฐต้องมีนโยบายสาธารณอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น ห้ามกินเหล้าขณะขับรถ ใส่หมวกกันน็อค

หมอแทบทุกคนต้องเรียนเรื่องกฎบัตรนี้ คือ การส่งเสริมสุขภาพ พยายามเข้าไปสู่ชุมชน มีจัดโครงการให้ชุมชนดูแลสุขภาพตัวเอง บุคลากรทางการแพทย์ข้ามมาทำเรื่องเหล่านี้เยอะ นำโดยนพ.ประเวศ วะสี จนกระทั่งมีการผลักดันกฎหมายต่างๆ จากเดิมที่แค่เพียงให้ความรู้คนเรื่องสุขภาพ ตอนหลังก็ออกเป็นกฎหมายจำกัดเลยเช่น กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่  แล้วก็พบว่าอัตราคนสูบบุหรี่ก็ลดลง

"ชีวิตที่ดี หมอก็จะมีภาพของหมอในใจ และการปฏิบัติอาจจะ dictate (บงการ) นิดหนึ่ง มันก็เป็นอันตรายอยู่ว่า ถ้าบุคลากรทางการแพทย์ไม่เข้าใจสังคมพอ ถูกผูกด้วย discipline (หลักวิชา) ทาง medical science มากไปมันก็จะไปกำหนดสังคมไปในทางที่เขาอยากให้เป็นมากเกินไป"  

 

Part II : ประวัติศาสตร์ยาสูบ

 

ภาคภูมิ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของยาสูบ และการณรงค์เรื่องยาสูบ ว่า

ยาสูบเป็นพืชพื้นเมืองที่ปลูกในทวีปอเมริกาตั้งแต่สมัยก่อนค้นพบทวีปอเมริกา คนพื้นเมืองใช้ยาสูบในพิธีกรรมทางศาสนา สูบให้เกิดความสุข สูบเพราะเป็นยา ยาสูบเริ่มแพร่เข้าทวีปยุโรปเมื่อค้นพบทวีปอเมริกา มีการนำเอามาขายในยุโรปในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเริ่มใช้ยาสูบกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้เพื่อเป็นยากล่อมประสาท ทำให้คนรู้สึกมีความสุข จนเมื่อศตวรรษที่ 18 ยาสูบถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค เป็นยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาขับปัสสาวะ ยาแก้หอบหืด ยาฆ่าเชื้อ ฯ

ปัญหาที่ตามมาคือปี 1828 ซึ่งค้นพบการสกัดสารนิโคตินออกจากยาสูบได้ และพบว่าสารนี้ก่อโรคต่างๆ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก , ส่งผลต่อหัวใจ เป็นการค้นพบโดยการทดลองโดยการสังเกตของแพทย์  และปี 1929 เป็นหมุดหมายหลักของการณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ มีการค้นพบว่าสารนิโคติน สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เราจะพบว่า เริ่มมีนโยบายเกี่ยวกับบุหรี่ด้วย เช่นในปี 1950 พระสันตะปาปา ห้ามสูบบุหรี่ในวัด แต่เมื่อเปลี่ยนสันตะปาปาองค์ใหม่ใหม่ก็ยกเลิก เพราะตัวโป๊บก็สูบเสียเองด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการสั่งห้ามสูบบุหรี่ แต่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ แต่เป็นเรื่องความเชื่อทางศาสนาบ้าง ป้องกันอัคคีภัยบ้าง เรื่องของภาษีบ้าง  เช่นในปี 1624 พระสัตตะปาปาก็สั่งห้ามการสูบบุหรี่ในวัดเพราะเชื่อว่าเหมือนการยั่วยวนทางเพศ 

นโยบายการห้ามสูบหรี่ที่สำคัญมากคือ ในปี 1930 ในสมัยนาซีเยอรมัน เป็นครั้งแรกที่มีนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก คือ ห้ามทั้งประเทศ และมีมูลเหตุสัมพันธ์กับการเกิดโรค ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องศาสนา หากสังเกตดูจะพบว่า ฮิตเลอร์เป็นคนไม่สูบบุหรี่ มุสโสลินี ก็ไม่สูบบุหรี่ แต่พวกเชอร์ชิล รุสเวลล์ สูบบุหรี่จัดทุกคน , ฮิตเลอร์กล่าวว่า บุหรี่เป็นสิ่งชั่วร้าย เหมือนอินเดียแดงมานำเสนอเหล้าให้คนขาว บุหรี่ชั่วร้ายส่งผลต่อระดับเซลล์ เป็นตัวทำให้เกิดการแปดเปื้อนของชาวอารยัน จึงสั่งห้ามสูบบุหรี่ แต่สภาพตอนนั้นยุโรป อเมริกา ธุรกิจบุหรี่กำไรมากและมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ รวมถึงเยอรมันด้วย มีอิทธิพลมากขนาดที่สามารถจ่ายภาษีให้รัฐได้ถึง 30% ของภาษีทั้งหมด ดังนั้น ในช่วงแรกที่นาซีครองอำนาจจึงไม่สามารถออกฎหมายห้ามได้เด็ดขาดเสียทีเดียว แต่อาศัยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อก่อนในช่วงปี 1930-1936


 

การโฆษณาชวนเชื้อนี้ไม่ได้ผลเลย เพราะพบว่าจากการที่คนเยอรมันเคยสูบบุหรี่ 510 มวนต่อคนต่อปี ก็กลายมาเป็น 900 มวนต่อคนต่อปี เปรียบเทียบกับฝรั่งเศสที่ไม่มีโฆษราชวนเชื่อพบว่าการเพิ่มของมวนน้อยกว่ามาก จากเดิม  530 ต่อคนต่อปี เป็น 630 มวนต่อคนต่อปี

ต่อมาปี 1938 นาซีออกกฎหมายห้ามสูบในสถานที่ราชการ และต่อมาก็ขยายกฎเป็นห้ามสูบในที่ทำงาน ห้ามสูบบุหรี่ในเวลาทำงาน (ตำรวจ-ทหาร) นโยบายนี้สัมพันธ์กับการสร้างอากาศบริสุทธิ์ให้ชาวเยอรมัน  ปี 1940 มีการเพิ่มภาษีบุหรี่ 100% กำหนดโควตาให้ซื้อได้ 50 มวนต่อคนต่อเดือน ปี 1941 มีการประกาศห้ามสูบบุหรี่บนถนน ห้ามแจกคูปองบุหรี่ให้หญิงตั้งครรภ์ ให้ผู้หญิง ให้เด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี

ผลของการออกกฎหมายอย่างเด็ดขาดนี้มีประสิทธิภาพชัด เพราะสถิติการสูบลบลงตามลำดับ จาก 1022 มวน เป็น 743 มวน เป็น 460 มวนต่อคนต่อปี

แต่เมื่อฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม นโยบายเหล่านี้ก็ถูกยกเลิกหมด ธุรกิจบุหรี่กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ทั้งในตลาดมืด ตลาดปกติ ดังนั้นในปี 1963 สถิติของผู้สูบบุหรี่ก็สวิงกลับเป็น 1563 มวนต่อคนต่อปี

ในปี 1950-1980 เป็นการต่อสู้กันระหว่างหมอกับพวกขายยาสูบ นักธุรกิจไปล็อบบี้นักการเมือง มีการอัดแคมเปญโฆษณาบุหรี่ ลดความน่าเชื่อถือของงานวิจัยทางการแพทย์

ในทศวรรษ 1990 มีงานวิจัยหลุดรอดออกมา แสดงให้เห็นว่าบุหรี่เป็นปัจจัยการเกิดโรคชัดเจน จึงเกิดเทรนด์ในการต่อต้านบุหรี่ในประเทศเจริญแล้ว บริษัทผลิตบุหรี่ย้ายไปทุ่มการขายในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับประเทศไทย งานวิจัยทุกชิ้นต่างยกย่องว่าเป็นประเทศที่ออกนโยบายห้ามสูบบุหรี่ได้เข้มแข็งที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ

 

Part III : ยุคหมอ(และสสส.) มีบทบาท
ตัวอย่างความสำเร็จ "ห้ามสูบบุหรี่"

 

ธีรวัฒน์   กล่าวว่า เมื่อมีการเน้นเรื่อง Healthy Public Policy ในโรงเรียนหมอ การเรียนการสอนเรื่องนี้ส่วนใหญ่ก็จะยกแต่ตัวอย่างความสำเร็จของกฎหมายบุหรี่

อันที่จริง หากย้อนดูในประวัติศาสตร์ จะพบว่าประเทศไทยผลิตบุหรี่เป็นล่ำเป็นสันครั้งแรก สมัย ร.5 ส่วนสมัย ร.6 ก็มีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต จนปีพ.ศ.  2475 บริษัท British American Tobacco เริ่มผลิตเองในไทย ช่วงปีพ.ศ. 2484 ปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ซื้อ BAT ก่อนญี่ปุ่นบุกไทย  2 วัน เพื่อตั้งเป็นโรงงานยาสูบกลาง จากนั้นปี 2486 ก็ออก พ.ร.บ.ยาสูบ คุมการผลิตยาสูบให้เป็นของรัฐเจ้าเดียว และขายดิบขายดี ช่วงปี 2523 รายได้จากบุหรี่ที่เข้ารัฐนั้นสูงถึงราว 5% ของจีดีพี ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการตระหนักพิษภัยบุหรี่ การห้ามขายบุหรี่ เริ่มจริงๆ ในปี 2516 คือ ห้ามขายแก่เด็กต่ำกว่า 16 ปี


 

เราจะเห็นว่า ช่วงแรกๆ จะประกาศห้ามสูบบุหรี่ในขอบเขตแคบๆ เช่น พื้นที่ปลอดบุหรี่ในกระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ต่อสู้กันเยอะคือในราวปี 2530 โครงการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ล่ารายชื่อ 5.9 ล้านรายชื่อ ยื่นให้กับชวน หลีกภัย ผลักดันให้ออก พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งผลักดันเป็นกฎหมายได้จริงในปี  2535 ในสมัยอานนท์ ปันยารชุน นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเพราะเริ่มมีกฎหมายควบคุม อีกส่วนหนึ่งที่เป็นหมุดหมายสำคัญ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ จากนั้นก็มีการขึ้นภาษีบุหรี่ มาโดยตลอดจาก 60% เป็น 70% ปัจจุบันอยู่ที่ 85% ของราคาขายปลีก อย่างไรก็ตาม โรงงานยาสูบ ยังคงทำรายได้สูงถึง 56,000 ล้านในปี 2554

"การออกกฎควบคุมต่างๆ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับวงการสุขภาพ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าใจสำหรับคน 11 ล้านคนที่สูบบุหรี่อยู่เหมือนกัน" ธีรวัฒน์กล่าว

จากนั้นมีการผลักดันให้เกิดกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ปี 2544 โดยเอารายได้ 2% มาจากภาษีบุหรี่กับเหล้า ซึ่งปัจจุบันงบแต่ละปีตกราว 4,000-5,000 ล้านบาท กองทุนนี้เป็นกองทุนใหญ่ที่ทำให้เอ็นจีโอ หมอ มีเงินในการดำเนินงานเยอะ ดังจะเห็นว่าตั้งแต่ช่วงปี 2545 เป็นต้นมามีการปฏิรูประบบสุขภาพทั่วประเทศ โดยการขับดันของ สสส. ทำให้เกิดโครงการต่างๆ อย่างมาก 

ปี 2447 มีคำเตือนเป็นรูปภาพ

ปี 2548 ห้ามโฆษณา ณ จุดขาย (ห้ามตั้งแต่ 32-33 แล้ว)

ปี 2549 ห้ามตั้งขายเปิดเผย

ปี 2551 ห้ามสูบในผับบาร์

 ปี 2553 คำเตือนบนซองกินพื้นที่ 55%  ล่าสุด 85% แล้ว

การห้ามตั้งขายเปิดเผย ถามว่าเวิร์คไหม งานวิจัยทางการแพทย์ก็เคลมว่ามันเวิร์คในการลดนักสูบหน้าใหม่ เพราะซื้อยากขึ้น ดูเป็นอะไรที่ต้องหลบซ่อน



 

โดยสรุป ทางบุคลากรทางการแพทย์และเครือข่ายสังคม ผลักดันจนเกิดกฎหมายควบคุมยาสูบ (ห้ามขายเด็กต่ำว่าสิบแปด, ห้ามโฆษณา ส่งเสริมการขาย , ต้องมีคำเตือน)  , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่, พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเด็ก, อนุสัญญาควบคุมยาสูบ

"การเคลื่อนไหวเช่นนี้วางแผนกันนานมาก เขาบอกว่าสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนวัฒนธรรมเลย ทำให้การสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องปกติ ต้องหลบๆ ซ่อนๆ น่าอาย เลวร้าย มันก็เป็นฝีมือของบุคลากรทางการแพทย์ที่สร้างค่านิยมเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้การสูบบุหรี่เปลี่ยนไป ไม่ดี เป็น evil และมีมาตรการทางกฎหมายตามมา" ธีรวัฒน์กล่าว

"ใคร argue (โต้แย้ง) อะไรไป ก็มีงานวิจัยรองรับตลอด พูดเรื่องเกษตรกร ก็พบว่าคนปลูกยาสูบน้อยอยู่แล้ว ทุกคำถามมีคำตอบตลอด เรื่องพื้นที่โฆษณาหน้าซองที่เพิ่มขึ้นก็มีงานวิจัยรองรับว่าลดการสูบบุหรี่ได้จริง" ธีรวัฒน์กล่าว

ปัจจุบันองค์กรที่มีบทบาทสำคัญ คือ สสส. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ (กรมควบคุมโรค) เมื่อก่อนห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะแต่ก็ยังมีที่จัดสูบบุหรี่จัดไว้ให้ ตอนนี้ผลักดันกันไม่ให้จัดพื้นที่แบบนั้นแล้ว อนุญาตให้มีที่เดียวคือ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ

กรณีของเหล้า ก็พยายามห้ามโฆษณา ห้าม CSR ตลอด สำหรับบริบทในประเทศไทยนั้น  เรื่องการจำกัดหล้ากับบุหรี่ ต่างกัน เพราะเหล้ามีเอกชนเป็นเจ้าของ แต่บุหรี่มีเจ้าเดียว เลยควบคุมได้ง่ายกว่าและดีกว่า  แต่ในฝั่งอเมริกากฎหมายการควบคุมบุหรี่ไม่ก้าวหน้าเท่าไทย เพราะอุตสาหกรรมบุหรี่เป็นทุนใหญ่ สามารถล็อบบี้นักการเมืองได้   
 


 

สำหรับการณรงค์จะพบว่า แบบเก่านั้นเน้นรณรงค์กับคนสูบ แต่ตอนหลังจับคนรอบตัวเป็นตัวประกัน และจากการศึกษาก็พบอีกว่าคนจนสูบบุหรี่มากกว่าคนรวยหรือมีการศึกษา 2.6 เท่า

ภาคภูมิ  เสริมว่า ปัจจุบันยังไม่มีคำว่า "สุขภาพ" ในรัฐธรรมนูญไทย แต่ก็มี ม.54 ในหมวดสิทธขั้นพื้นฐาน ที่บอกว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ มีสิทธิในการป้องกัน ขจัดโรคติดต่อจากรัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แล้วก็ยังมี ม.80 (2) เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน อยู่ในนโยบายแนวทางของรัฐ หมายความว่ารัฐควรจะดำเนินนโยบายในแนวทางนี้ แต่ไม่ได้เป็นข้อผูกมัด

"ถ้าเอานิยามของบรรดาหมอยัดใส่ในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องส่งเสริมสุขภาพ จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ซึ่งยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อคนด้วย" ภาคภูมิกล่าว

สำหรับกฎหมายลูกนั้นมีการออก พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ในสมัยรัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยกำหนดให้ไปสร้างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งออกมาในปี 2552 กำหนดเลยว่า สุขภาพหมายถึง ภาวะร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน หมายความว่ารัฐต้องเข้าแทรกแซงอำนวยให้สุขภาพของประชาชนดีทั้ง 4 มิติ ถ้าไม่ทำแสดงว่ารัฐละเมิดรัฐธรรมนูญเอง

"นิยามนี้อยู่ใน สสส.ด้วย และให้งบกับทุกอย่าง good governace, เกษตรกรออกแกนิกส์ , นั่งสมาธิขึ้นปีใหม่  เป็นรัฐซ้อนรัฐ ยุ่งเกี่ยวกับประชาชนในทุกเรื่อง เพียงแต่แค่ไม่มีอำนาจสั่งการ ทำได้เพียง propaganda กับการให้ทุน" ภาคภูมิกล่าว  

จากนั้นเขาหยิบยกข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิไม่สูบบุหรี่ ที่ระบุว่า

 

"อย่างฝรั่งเศสมีการณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ติดโปสเตอร์ได้วันเดียวแล้วถูกฟ้อง เพราะรูปเข้าข่ายหมิ่นเหม่ sexual harassment  ไม่ใช่ว่าการณรงค์ถือว่าทำความดีแล้วไม่ต้องสนใจเรื่องอื่น" ภาคภูมิกล่าวพร้อมยกตัวอย่างการรณรงค์ที่สร้างสรรค์ กรณีบาเซโลน่าร่วมกับอียู โดยนำนักบอลทั้งหมดมาโฆษณาตั้งแคมป์รณรงค์การเลิกบุหรี่ นักบอลบอกพร้อมเป็นกำลังใจให้คนเลิกสูบบุหรี่" ภาคภูมิกล่าว

 "เวลาขับเคลื่อนอะไรในไทย มีสามกลุ่มที่มีอิทธิพลมากๆ คือ หมอ ซึ่งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รู้เรื่องหมด สองคือพระ สามคือ เจ้า จะเห็นว่าสามากลุ่มมีพลังมากในการขับเคลื่อนทางสังคม ทางสุขภาพเองก็เช่นนั้น จะเห็นว่าเป็นเรื่อง elite หมดเลย แต่กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนจน แต่เรื่องบุหรี่เราโชคดีว่าศาสนายังเข้ามาเกี่ยวค่อนข้างน้อยกว่าเหล้า" ธีรวัฒน์กล่าว

"งานด้านสุขภาพการแพทย์ ไม่มีทางเป็น pure science ได้ แต่มันเกี่ยวกับการเมือง เช่น คนเราควรกินไข่วันละกี่ฟอง ยังโต้กันจนทุกวันนี้ งานวิจัยพวกนี้ มันมีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่งคือ sample ของเขาจะน้อย สิบยี่สิบก็ถือว่า valid แล้ว แต่ร่างกายคนเราไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่มัน complex มาก ..สุดท้าย มันจึงโดนครอบงำโดยกระบวนทัศน์ของโลกในช่วงเวลานั้นๆอีกที" ภาคภูมิกล่าว

"จริงๆ มันก็มีงานโต้ในสเปนทำวิจัยว่า กฎหมายการห้ามสูบบุหรี่ในบาร์โหดเกินไปหรือเปล่า มันยิ่งทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ และไม่ได้ช่วยลดภาวะนักสูบมือสอง ปัญหาการณรงค์ของไทยคือ ขณะในประเทศอื่น สามารถเห็นการณรงค์โต้กันไปมาระหว่างคนสูบและไม่สูบ ประเทศที่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มีความหลากหลายจะยิ่งมีการโต้เถียงมาก แต่ของไทยไม่มี" ธีรวัฒน์กล่าว

"ฝรั่งเศสปี 2012 สมาคมผู้ไม่สูบบุหรี่ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ คือ ลานนอกบาร์ที่มีกันสาด ซึ่งสภาพกึ่งปิดกึ่งเปิด สมาคมผู้ไม่สูบบุหรี่พยายามจะให้ศาลตีความว่าสถานที่แบบนี้เป็นสถานที่ปิดต้องห้ามสูบบุหรี่ ปรากฏว่าการศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าไม่ผิด ถือว่าสถานที่นี้สูบได้ อย่างน้อยก็ยังสงวนพื้นที่บางส่วนให้คนเห็นต่างได้สูบบุหรี่ คำถามคือ ถ้าเกิดกรณีเมืองไทย มีคนไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยแบบฝรั่งเศสไหม จะมาในแนวทางรักษาความหลากหลายหรือเปล่า ปัญหาสำคัญในเมืองไทยคือ กำปั้นของคนไม่เท่ากัน ฝ่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ มีทุกอย่าง มีเครือข่าย มีเงิน เงินก็เอามาจากภาษีคนสูบุบหรี่ด้วย เป็นกำปั้นคุณธรรมที่เข้าไปยัดปากอีกฝ่ายไม่ให้พูดด้วย" ภาคภูมิกล่าว

 

Part IV : โควทเด็ดท้ายเสวนา
เมื่อเราอยู่ในรัฐหมอ

 


ในช่วงท้ายมีการร่วมแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนา ซึ่งมีประเด็นน่าสนใจหลายประการ เช่น ผู้เข้าร่วมรายหนึ่งระบุว่า เคยทำงานกับ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นหมอยุคแรกๆที่ทำงานรณรงค์คุ้มครองคนไม่สูบบุหรี่ และเคยถามหมอชูชัยว่าถึงที่สุดอะไรที่เป็นเป้าหมายรูปธรรมว่าการณรงค์ไม่สูบบุหรี่จบสิ้นแล้ว คำตอบคือ การไม่ให้สูบในที่พัก ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนาให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องเกินพอดี เป้าหมายไม่ได้คุ้มครองคนไม่สูบหรือคนสูบ แต่เป้าหมายจริงๆ คือ การสถาปนารัฐของหมอ เหมือนมีรัฐทหาร รัฐตำรวจ กับรัฐหมอ

"ทั้งโลกเรามีงานวิจัยที่เราเดินตามฟูโกต์น้อยมาก เราไม่ค่อยวิจารณ์หมอ หมอพูดอะไรถูกหมด หมอเป็นได้ทุกอย่าง หมอสามารถทำงานคุ้มครองเด็กได้ หมอทางด้านสังคม ผมสนใจว่าจริงๆ แล้วมีพัฒนาการมายังไง มันเป็นเรื่องที่ถึงที่สุดเราต้องวิพากษ์รัฐหมอๆ ให้ถึงที่สุด ไม่อย่างนั้นมันจะมาแทรกแซงไปหมด เวลาหมอพูดถึงฟูโก ไม่ได้พูดในเชิงวิพากษ์ตัวเอง แต่พูดในทางศีลธรรม มีอำนาจมากกว่าคนไข้ และยังมีความตระหนักรู้ว่าฉันกำลังใช้อำนาจ คนไข้สบายใจไดว่าฉันระวังการใช้อำนาจ นั้นอยู่"ผู้ร่วมฟังเสวนาอภิปราย

ภาคภูมิแลกเปลี่ยนว่า การที่หมอเข้ามายุ่มย่ามทุกอย่างในชีวิตของชีวิตประจำวันในปัจเจกบุคคลได้ เพราะตัวเขาบัญญัติคำว่าสุขภาพว่าประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ มันครอบคลุมทุกอย่างของมนุษย์แล้ว

"อำนาจของหมอในเมืองไทย มาจากการแพทย์ตะวันตก สัมพันธ์กับระบบเดิมของเรา ทำให้อำนาจหมอได้รับการสถาปนาให้สูงมากๆ ที่ตลกมากคือ พอมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ มาสู่การเมืองมากๆ หมอที่ศึกษาเรื่องนี้ก็เข้าใจว่ามันมีอำนาจอยู่ แต่แทนที่จะวิพากษ์ตัวเอง กลับเอาจริยธรรมเข้ามาจับ ทำอย่างไรให้ใช้อำนาจไปในทางที่ดี ความผิดพลาดของหมอเกิดขึ้นไมได้ ไม่มีพื้นที่ให้ความผิดพลาด ช่วงหลังๆ ที่เกิดกระแสคุ้มครองผู้บริโภค จะเห็นชัดว่าการปะทะกันด้านอำนาจระหว่างคนไข้กับหมอในเมืองไทยก็ยังล้าหลังมาก" ธีรวัฒน์กล่าว

"หมอประเทศไทยมีคาแรกเตอร์ส่วนตัวของเขาอยู่ แต่หมออย่างฝรั่งเศสก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ ปัญหาของหมอไทยคือ ในขณะที่ตัวเองสวมหัวหมอ และเสื้อกราวน์ แต่ตัวเองก็มีอีกหัวหนึ่งคือเป็นนักการเมือง แต่ไม่ออกหน้า ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ให้นักการเมืองมันรับแทน" ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน

"มีกฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพออกสมัยรัฐบาลรัฐประหารจำนวนมากที่พวกเราไม่รู้ เช่น กฎหมายที่ให้เรามีสิทธิที่จะตายได้ อันนี้ไม่มีความเห็นว่าถูกหรือผิด แต่ขั้นตอนของมันมีการดีเบตกันหรือเปล่า ออกสื่อสาธารณะหรือเปล่า ในฝรั่งเศสเวลาจะออกกฎหมายอะไรจะตระเวนดีเบตกันเป็นปีๆ ดีเบตกันออกทีวีสาธารณะ ลากมาตั้งแต่นักปรัชญา นักการศาสนา แทบทุกสายวิชามาดีเบตกันและสุดท้ายต้องลงประชามติว่าจะเอาหรือไม่เอา ประเด็นนี้ถ้าจะพูดใน bioethics ก็ถูกจำกัดในวงวิชาการมาก ไม่ได้ถูกกระจายไปสู่แวดวงอื่นเลย" ภาคภูมิกล่าว

"กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์ออกสมัยสุรยุทธ์ ดู มาตรา27 ห้ามขายเครื่องมือแอล สถานที่ต่อไปนี้ วัด สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาล สถานที่ราชการ หอพัก สถานศึกษา สถานีบริการน้ำมัน สวนสาธารณะราชาการ วรรคแปด สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หมายความว่า รัฐจะประกาศสถานที่ใดก็ได้ แค่ประกาศก็พอ ผมสงสัยว่าคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติที่มีอำนาจเยอะๆ แบบนี้มาจากไหน ไปดูหมวดสาม สำนักงานคณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดสำนักนายกฯ ปลัดต่างๆ วรรคสี่ คณะกรรมการ ผู้แทนองค์กรเอกชนจำนวน 3 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไร และรณรงค์การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เด็ก สตรี สรุปก็เป็นคณะกรรมการเหล่าคนดี คุณสมบัติของกรรมการคือ ไม่เป็นผู้ประกอบกิจการแอลกอฮอล์ ไม่เป็นผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉะนั้นแล้วไม่มีทางที่จะมีเสียงส่วนน้อยในคณะกรรมการนี้ อำนาจก็มีเยอะมาก มาตรา 28 กำหนดว่าวันไหนควรงดดื่มเหล้า รัฐมนตรีต้องเห็นด้วย และไม่ต้องฟังความเห็นประชาชน" ภาคภูมิกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก

Posted: 13 Aug 2013 01:27 AM PDT

"โดยส่วนตัวให้ความเคารพ BRN มาก เพราะ BRN มีจุดยืนที่ชัดเจนที่อยากเห็นความสงบสุขในพื้นที่ ซึ่งนายฮัสซัน ก็ยืนยันทุกครั้งในที่เวทีพูดคุยสันติภาพ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเสียงของประชาชนคือพลังสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดสันติภาพในพื้นที่ และการพูดคุยนั้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่ที่ดีที่สุด"

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

ประชาไทการ์ตูน: อะไรกระทบความมั่นคงของชาติ

Posted: 13 Aug 2013 01:24 AM PDT

คลิ๊กดูภาพขนาดใหญ่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Katherine Bowie: ข้อท้าทายของประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยสิทธิการเลือกตั้งสตรีไทย

Posted: 13 Aug 2013 12:23 AM PDT

ศาสตราจารย์ แคเธอรีน บาววี อภิปรายในหัวข้อ  "Thailand's Unique Challenge to the Historiography of Women's Suffrage" ที่ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา

วิดีโอการบรรยายหัวข้อ "Thailand's Unique Challenge to the Historiography of Women's Suffrage" โดยศาสตราจารย์แคเธอรีน บาววี (Katherine A. Bowie) ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการบรรยายดังกล่าว จัดโดย สมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม ร่วมกับ โครงการปริญญาโทสาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Studies) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ช่วงหนึ่งของการบรรยาย อาจารย์แคเธอรีน บาววี ได้แสดงหลักฐาน "พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.116" (พ.ศ. 2440) ที่ระบุให้สิทธิทั้งชายและหญิงในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นหลังรัชกาลที่ 5 ปฏิรูปการปกครอง เรื่องนี้เป็นเหตุทำให้อาจารย์สนใจจะศึกษาต่อไปว่า เหตุใดรัฐไทย จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้งของผู้หญิงมาก่อนนานแล้ว ต่างกับในประเทศตะวันตกทั้งในยุโรป และอเมริกา ที่สิทธิการเลือกตั้งสตรีเริ่มมีเพียงราว ค.ศ. 1950 หรือ ราว พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา

อ่านรายละเอียดของการเสวนา คลิกที่นี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระแสภาพยนตร์ขนาดเล็ก (Micro Movies) สู้กองเซ็นเซอร์ในจีน

Posted: 13 Aug 2013 12:00 AM PDT

ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฉายโรงใหญ่ต้องผ่านกองเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีนและถูกควบคุมทางสุนทรียะ ชาวจีนเริ่มนิยมเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นผ่านเว็บไซต์และมีกลุ่มผู้ชมจำนวนมากจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และวิถีชีวิตในเมืองที่ทำให้คนหันมาฆ่าเวลาด้วยการชมภาพยนตร์ผ่านเว็บ

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2013 สำนักข่าว BBC กล่าวถึงช่องทางการนำเสนอภาพยนตร์รูปแบบใหม่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้กำกับรุ่นใหม่ได้หันมาใช้วิธีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กแบบที่เรียกว่า 'Micro Movies' และนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน

BBC ได้กล่าวถึงภาพยนตร์ที่ชื่อ "My Way" ซึ่งกล่าวถึงประเด็นคนข้ามเพศในฮ่องกงที่ต้องเผชิญกับความวิตกกังวลด้านต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่การผ่าตัดแปลงเพศ การเผชิญหน้ากับอดีตคนรัก และการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศที่คนยังไม่เข้าใจบุคคลข้ามเพศมากนัก ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่ในเทศกาลภาพยนตร์ของฮ่องกงในปี 2012 ที่ผ่านมา

BBC ระบุว่า ฮ่องกงซึ่งปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่ปกครองพิเศษของจีนมีเสรีภาพสื่อและการแสดงออกทางศิลปะมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้นโยบาย "หนึ่งประเทศ สองระบบ" แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้น้อยที่ภาพยนตร์ขนาดสั้น 20 นาที เรื่อง My Way จะได้ฉายบนจอใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทางการจีนยังคงไม่อนุญาตให้นำเสนอประเด็นเรื่องบุคคลข้ามเพศหรือ LGBT มากนัก และเทศกาลภาพยนตร์อิสระก็มักจะถูกสั่งปิด

ภาพยนตร์เรื่อง "My Way" จึงไปเผยแพร่ผ่าน Youku ซึ่งเป็นเว็บไซต์อัพโหลดวิดีโอแบบยูทูบของจีน ไม่นานนักก็มีคนเข้าไปชมมากกว่า 4 ล้านครั้ง มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในพื้นที่แสดงความคิดเห็น

แอน ฮุย ผู้กำกับเรื่อง "My Way" กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หาคนให้ทุนได้ยากในตลาดภาพยนตร์กระแสหลัก และทำให้เขาไม่ต้องกังวลกับการพยายามทำให้ภาพยนตร์เน้นขายได้และนำเสนอประเด็นได้อย่างเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีนเติบโตมากถึงราวร้อยละ 36.2 ต่อปี โดยรายได้ผู้ซื้อตั๋วเข้าชมภาพยนตร์เมื่อช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 อยู่ที่ 1,790 ล้านดอลลาร์ (ราว 5 หมื่นล้านบาท) แต่ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือที่ชาวจีนเรียกว่า "Micro Movies" เพิ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นที่เน้นช่องทางรับชมผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐและการครอบงำของสตูดิโอ

โลกออนไลน์ของจีนจึงเป็นพื้นที่ของสื่อที่เป็นข้อถกเถียง และการแสดงออกอย่างกล้าหาญในทางศิลปะ ขณะที่สำหรับผู้ชม ภาพยนตร์ขนาดเล็กเหล่านี้ถือเป็นการผ่อนคลายจากโฆษณาชวนเชื่อของสื่อพรรคคอมมิวนิสต์ที่แฝงมาในรูปแบบของความบันเทิง โดยเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลจีนก็ได้สั่งให้ถอดผังรายการโทรทัศน์ที่ถูกกล่าวหาว่า "หยาบคาย" และ "ผิดศีลธรรม" โดยมีการนำรายการ "สร้างเสริมศีลธรรม" มาใส่ผังแทน


วิถีชีวิตการชมสื่อบันเทิงแบบพกพา

นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้มีคนหันมาชมสื่อจากโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้นเนื่องจากประเทศจีนมีการจราจรที่คับคั่งและการเดินทางด้วยรถประจำทางที่ใช้เวลานานผู้คนจึงใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อฆ่าเวลา

"การจราจรแย่มาก ผู้คนต้องต่อคิวทุกที่ ต้องรออะไรสักอย่าง การชมภาพยนตร์เล็กๆ ทำให้พวกเขาหนีจากวิถีชีวิตอันวุ่นวายได้ชั่วคราว" แอนนา ชี ผู้กำกับภาพยนตร์กล่าว

BBC เปิดเผยว่าในปี 2011 มีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กในจีนมากกว่า 2,000 เรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฟอร์มยักษ์มีเพียง 500 เรื่อง

ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนระบุว่า ในปี 2012 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศ 591 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 20 จากการที่ประชาชนจีนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางเครื่องมือแบบพกพาได้ และในจำนวนนั้นมีผู้ดูวิดีโอออนไลน์จำนวน 452 ล้านคนในเดือน ม.ค. 2013

บริษัทการตลาดทางอินเทอร์เน็ตของจีนที่ชื่อ iResearch กล่าวว่าที่ภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นที่นิยมเนื่องจากมันสามารถแชร์และส่งต่อได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับเรื่อง My Way ที่มีการส่งต่อกันจนกลายเป็นการแพร่กระจายในวงกว้างระดับไวรัล

BBC ระบุว่าภาพยนตร์ Micro movie เรื่องแรกของชื่อเรื่อง "Old Boys" ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อปี 2010 มีความยาว 43 นาที ซึ่งมีจำนวนการเข้าชมแล้ว 60 ล้านครั้ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนมัธยมฯ ที่มีความฝันในทางดนตรี แต่พอโตขึ้นก็ต้องเผชิญโลกความจริงโดยการทำงานธรรมดาๆ ทั่วไป เช่น คนจัดงานแต่งงานหรือช่างตัดผม จนกระทั่งหลายปีต่อมาพวกเขาก็สามารถปลุกเร้าความฝันให้กลับมาได้อีกครั้งจากการเข้าประกวดร้องเพลง

เรื่อง Old Boys อาจจะเล่าถึงความฝัน แรงบันดาล และความผิดหวัง ของคนยุคทศวรรษ 1980 และ 1990 แต่ภาพยนตร์ขนาดเล็กของจีนจำนวนมากมีเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เด็กกว่านั้น โดยพูดถึงเรื่องความรัก ความสัมพันธ์ การเรียนจบและหางานทำ และส่วนใหญ่มีฉากอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท เนื่องจากชาวจีนส่วนใหญ่ที่เข้าสู่โลกออนไลน์อาศัยอยู่ในเมือง

โดยนอกจากภาพยนตร์แล้ว ในจีนยังมีผู้สร้าง Micro web serials หรือละครซีรีส์ขนาดเล็กบนเว็บ เช่น ละครซิทคอมเรื่อง "Hip-Hop Office Quartet" เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงานในออฟฟิศ มีผู้เข้าชมใน Youku มากกว่า 200 ล้านครั้ง และเพิ่งฉายฤดูกาลที่ 5 ไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดย เจียน เชา ตัวแทนจากเว็บ Youku แสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ว่ามันเป็นเรื่องที่สื่อว่าหนุ่มสาวสมัยนี้มีความเป็นอยู่อย่างไรและมีการใช้ภาษาอย่างไร มันเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถเห็นได้จากช่อง CCTV ของรัฐบาลจีน


โอกาส กับการแสดงพลังศิลป์

ชาวจีนหนุ่มสาวในยุคนี้มีโอกาสในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ขนาดเล็กมากขึ้น จากการที่ใครก็ตามที่มีกล้องวิดีโอก็สามารถถ่ายทำภาพยนตร์และนำเสนอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ช่องแสดงความเห็นในเว็บก็ทำให้ผู้กำกับได้รับการตอบรับโดยทันที และสตูดิโอภาพยนตร์ก็มองเห็นผลงานของพวกเขา ขณะเดียวกัน คนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เริ่มมีการจัดเทศกาลให้กับภาพยนตร์ประเภทนี้ แม้แต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง Tencent และ Youku ก็สร้างภาพยนตร์ของตัวเอง

"ก่อนหน้านี้ทุกคนต้องทำงานอยู่ในเงามืดก่อนที่จะมีสตูดิโอมองเห็นผลงานของคุณ และให้เงินทุนคุณ แต่ในตอนนี้คุณแค่อัพโหลดงานของคุณ คุณก็อาจจะได้รับข้อเสนอดีๆ ได้" เจียน เชา กล่าว

แต่ ลู เยือ นักสร้างภาพยนตร์ในวงการผู้เคยทำงานร่วมกับผู้กำกับจาง อี้โหมว กลับคิดว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นเรื่องของการพยายามสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าเป็นการพยายามสร้างฐานผลงาน ลู เองก็มีผลงานภาพยนตร์ขนาดสั้นชื่อ 1 Dimension หรือ หนึ่งมิติ ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Beautiful ปี 2013

ผลงานของลู เป็นภาพยนตร์ขาว-ดำ เล่าเรื่องผ่านโครงร่างเงาของตัวละคร ลูบอกว่าเขาต้องการสร้างภาพยนตร์ที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับกระแสภาพยนตร์สามมิติซึ่งเป็นที่นิยมในจีน ทำเงินอย่างมหาศาล แต่ก็ทำให้ความงดงามของภาพยนตร์ลดลง

นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าเมื่อภาพยนตร์ขนาดเล็กได้รับความนิยมในกระแสหลักมากขึ้น พวกมันก็เริ่มสูญเสียคุณค่าในตัวเอง มีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาให้ทุนกับภาพยนตร์ขนาดเล็กเพื่อการวางสินค้าประชาสัมพันธ์ (Product placements)

ขณะที่การเซ็นเซอร์ก็เริ่มคืบคลานเข้ามาสู่วงการภาพยนตร์ขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว เมื่อปีที่ผ่านมาสำนักงานสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์ของรัฐบาลจีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเซ็นเซอร์ได้ประกาศมาตรการใหม่สำหรับภาพยนตร์ขนาดเล็กและวิดีโออื่นๆ โดยให้เว็บไซต์วิดีโอเซ็นเซอร์เนื้อหาที่มี "การชักจูงไปในทางที่ผิด"

แต่การพยายามต่อสู้เพื่อควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนก็ไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีภาพยนตร์จำนวนมากถูกโพสต์ในโลกออนไลน์ และดูเหมือนจะยังไม่ซาลง จนผู้ใช้เว็บล็อก Sina Weibo ซึ่งเปรียบเสมือนทวิตเตอร์ของจีนกล่าวไว้ว่า ถ้าหากกองเซ็นเซอร์ของจีนยังคงพยายามไล่ควบคุมภาพยนตร์ขนาดเล็กอยู่ พวกเขาคงไม่กลัวเหนื่อยตายไปก่อน

 


เรียบเรียงจาก

Micro movies beat China's censors, BBC, 12-08-2013
http://www.bbc.com/culture/story/20130812-micro-movies-beat-chinas-censors

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น