ประชาไท | Prachatai3.info |
- แคเธอรีน บาววี: ข้อท้าทายของประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยสิทธิการเลือกตั้งสตรีไทย
- นายกนอร์เวย์ ขับรถแท็กซี่ ฟังความเห็นปชช.
- ‘แวหะมะ แวกือจิก’ กับพื้นที่สันติภาพของ‘Media Selatan’
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 12 ส.ค. 2556
- ความเรียงวันแม่ จากคนที่กำพร้าแม่แต่เด็ก
- บันทึกลับเรื่อง "ศรีบูรพา" ครึ่งศตวรรษในจีน (3)
- สัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช วิกฤติพุทธศาสนา: ถึงเวลาแยกรัฐกับศาสนา
- 'ไอแอลโอ' จี้ไทยยกเลิก-แก้ไขกม.หมิ่นฯ- พ.ร.บ. คอมพ์
- นักปรัชญาชายขอบ: "แปลก" (ความแปลกเชิงโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรม)
- พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก : หากต้องการสันติภาพก็ต้องฟังเสียงประชาชน
- ศิลปินเพลง‘สันติภาพปาตานี’หงอย สำนักงานถูกยกเค้า กีตาร์คู่ใจหาย
แคเธอรีน บาววี: ข้อท้าทายของประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยสิทธิการเลือกตั้งสตรีไทย Posted: 12 Aug 2013 09:45 AM PDT เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ผู้หญิงไทยได้สิทธิการเลือกตั้งมาพร้อมๆ กับชายไทย เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่จากการอ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของ "แคเธอรีน บาววี่" แสดงให้เห็นว่ารัฐไทย ให้สิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน แก่ชายหญิงพร้อมกันอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2440 ซึ่งเร็วกว่าประเทศตะวันตกที่ต้องผ่านการต่อสู้ของขบวนการสตรีอย่างหนัก ราว 30-40 ปี ศาสตราจารย์ แคเธอรีน บาววี อภิปรายในหัวข้อ "Thailand's Unique Challenge to the Historiography of Women's Suffrage" ที่ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา "พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.116" (พ.ศ. 2440)" ในมาตรา 9 กำหนดให้ทั้งชายและหญิงมีสิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน (ที่มา: เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา) และต่อมา ผู้หญิงจะสามารถรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ใน พ.ศ. 2525
เมื่อพูดถึงสิทธิการเลือกตั้งพลเมืองสตรีไทย เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ผู้หญิงไทยได้สิทธินั้นมาพร้อมๆ กับพลเมืองชาย เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราษฎร์ มาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อปี 2475 อย่างไรก็ตาม การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของ แคเธอรีน บาววี่ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่ารัฐไทยให้สิทธิการเลือกตั้งชายหญิงอย่างเท่าเทียมกันแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ต่างกับประเทศในตะวันตกที่การได้มาซึ่งสิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิง ช้ากว่าผู้ชายอย่างน้อยราว 30-40 ปี หลังการต่อสู้ของขบวนการสตรีอย่างหนักหน่วง การค้นพบหลักฐานคือ "พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.116" (พ.ศ. 2440) ที่ระบุให้สิทธิทั้งชายและหญิงในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นหลังรัชกาลที่ 5 ปฏิรูปการปกครอง ทำให้อาจารย์บาววี่สนใจจะศึกษาต่อไปว่า เหตุใดรัฐไทย จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้งของผู้หญิงมาก่อนนานแล้ว ต่างกับในประเทศตะวันตกทั้งในยุโรป และอเมริกา ที่สิทธิการเลือกตั้งสตรีเริ่มมีเพียงราว ค.ศ. 1950 หรือ ราว พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในหัวข้อ "สิทธิการเลือกตั้งของสตรีในประเทศไทย: ความท้าทายด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ( "Thailand's Unique Challenge to the Historiography of Women's Suffrage") ซึ่งอาจารย์แคเธอริน ได้มาบรรยายให้นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจได้ฟังไปเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์แคเธอริน บาววี่ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ในหมู่ลูกศิษย์ของเธอว่า 'อาจารย์แคท' อธิบายที่มาของความสนใจการศึกษาประเด็นนี้ว่า ด้วยความที่เธอมีแม่เป็นคนสวิส ทำให้ได้เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวฝ่ายแม่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์บ่อยๆ ครั้งหนึ่งเธอได้เดินทางกลับไปช่วงราวทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่สวิตเซอร์แลนด์กำลังถกเถียงกันว่าควรจะให้สิทธิการเลือกตั้งแก่สตรีดีหรือไม่ หนึ่งในความคิดเห็นที่มาจากญาติผู้หญิงของเธอที่คิดว่า ผู้หญิงไม่ควรได้รับสิทธิการเลือกตั้ง เพราะควรทำงานบ้าน ดูแลสามีมากกว่า ทำให้เธอรู้สึกแปลกใจอย่างมาก และเริ่มคิดถึงเรื่องผู้หญิงในพื้นที่การเมืองตั้งแต่นั้นมา การค้นพบเอกสาร "พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.116" (พ.ศ. 2440)" ที่ระบุให้สิทธิชายหญิงในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้การบันทึกประวัติศาสตร์เลือกสิทธิการเลือกตั้งสตรีเปลี่ยนไป เนื่องจากหลักฐานดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกๆ ในโลก ที่ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิง ทำให้อาจารย์แคทตั้งคำถามต่อไปว่า ผู้ปกครองไทยในสมัยนั้น เป็นเฟมินิสต์ หรือได้รับอิทธิพลจากอะไร จึงทำให้สตรีสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก่อนยาวนานแล้ว แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จประภาสไปยังประเทศรอบข้างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่บ่อยๆ และนำเอาตัวอย่างการปกครองของอังกฤษหลายด้านมาใช้ แต่บาววี่ก็ชี้ว่า รัฐไทยไม่น่าจะได้รับแบบกฎหมายดังกล่าวจากพม่าและอังกฤษ เนื่องจากสมัยนั้นสตรีในประเทศดังกล่าวยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
บทบาทของมิชชันนารีหัวก้าวหน้าในไทย บาววี่ได้ศึกษาบทบาทของมิชชันารีที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย และพบว่ามิชชันนารีสตรีที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาและสอนหนังสือในไทย ต่างมาจากกลุ่มที่มีความคิดหัวก้าวหน้า เช่น Mary Clement Leavitt ที่เดินทางมาไทยปี พ.ศ. 2428 เธอเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Women Christian Temprance Union (WCTU) ซึ่งรณรงค์เรื่องการงดเหล้าและยาเสพติดเป็นหลัก แต่ก็สนับสนุนการให้สิทธิเลือกตั้งแก่สตรีด้วย หรือแม้แต่ภรรยาของหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีที่เป็นที่รู้กันว่ามีบทบาทในการบุกเบิกการแพทย์สาธารณสุขและหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม WCTU รวมถึงสตรีที่เข้าไปสอนภาษาอังกฤษในวังอย่าง 'แหม่มมัตตูน' สตีเฟ่น เมตตูน หรือแอนนา เลียวโนเวนส์ ก็ต่างเป็นสตรีที่เชื่อเรื่องสิทธิสตรีและสิทธการเลือกตั้งของผู้หญิง และเคยไปรณรงค์เรื่องนี้ในประเทศต่างๆ แล้วก่อนที่จะมาประเทศไทย บาววี่เสนอว่า ด้วยความใกล้ชิดระหว่างมิชชันนารีกลุ่มนี้กับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเวลานั้น) รวมถึงรัชกาลที่ 5 ทำให้ผู้ปกครองไทยได้รับอิทธิพลเรื่องสิทธิการเลือกตั้งของสตรี โดยเฉพาะข้อถกเถียงในประชาคมโลก จึงอาจเป็นไปได้ว่า รัชกาลที่ 5 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงตัดสินใจให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้หญิงไปด้วยเลย อย่างไรก็ตาม การค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้ปรากฎการถกเถียงสิทธิการเลือกตั้งของสตรีมากมายใหญ่โต จึงคาดเดาไปได้อีกว่า สิทธิของสตรีเป็นเรื่องปรกติธรรมดาสามัญในสังคมไทย รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประเพณีแต่โบราณให้ผู้หญิงเป็นใหญ่ โดยบาววี่พิจารณาเรื่องนี้จากการสืบทอดเชื้อสาย การส่งต่อมรดก สิทธิในทรัพย์สินและที่ดินของสตรี และการที่ผู้ชายย้ายเข้าบ้านผู้หญิงเมื่อแต่งงาน นอกจากประเพณีดังกล่าว บาววี่ยังศึกษาบทบาทของสตรีที่อยู่ในวัง ทั้งที่เป็นพระมเหสี ราชินี รวมถึงนางในที่รับใช้ราชวงศ์ และพบว่า บทบาทของสตรี ไม่ว่าจะระดับใดในวัง ก็มีความรู้ความสามารถมาก จากการได้รับการศึกษาทั้งทางด้านวิชาการและทักษะในครัวเรือน นอกจากนี้ บาววี่ยังชี้ว่า การที่รัชกาลที่ 5 ทรงให้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) พระอัครราชเทวี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็แสดงให้เห็นด้วยว่า ฐานะสตรีทรงมีอำนาจและถูกให้ความสำคัญพอสมควร
การบันทึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้งสิทธิสตรีที่ต้องเปลี่ยนโฉมหน้า ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่องสิทธิการเลือกตั้งของผู้หญิงส่วนใหญ่ จะถูกบันทึกโดยมีประเทศในตะวันตกอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยถูกยกให้เป็นตัวอย่างของการได้มาซึ่งความเป็นพลเมือง แล้วค่อยๆ กระจายออกไปที่อื่นๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม บาววี่ชี้ว่า การเขียนประวัติศาสตร์ที่เอาตะวันตกเป็นศูนย์กลาง ทำให้ละเลยความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่า ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างให้สิทธิการเลือกตั้งของสตรีที่ล่าช้ากว่าของผู้ชายถึง 30-40 ปี เช่นในฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) เบลเยี่ยม ปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) กรีซ ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) และสวิตเซอร์แลนด์ ปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นอกจากนี้ ยังละเลยการศึกษาสถานะของสตรีที่มีอำนาจมากในเอเชียอาคเนย์ด้วย นอกจากนี้ การศึกษาระบอบการปกครองอาณานิคมหลายชิ้น ก็ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า แทนที่ระบอบอาณานิคม จะส่งเสริมสิทธิสตรี แต่กลับเข้ามาบั่นทอนอำนาจของสตรีที่มีอยู่ในสังคมอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นในเกาะไมโครนีเซีย ในหมู่เกาะแปซิฟิก หลังจากที่ชาวเยอรมันเข้ามาปกครองเป็นอาณานิคม ก็พบว่าได้เปลี่ยนสายการส่งทอดมรดก จากที่สตรีเป็นใหญ่ ก็เปลี่ยนมาสืบทอดทางผู้ชายแทน หรือในประเทศตองกา ทางแอฟริกา การปฏิรูปที่ดินที่ได้อิทธิพลจากตะวันตก ก็ได้ทำให้สตรีต้องสูญเสียสิทธิในการถือครองที่ดินไปมากมาย นอกจากนี้ในพม่าเอง ยังมีหลักฐานด้วยว่า ชาวพม่าได้พยายามผลักดันเรื่องสิทธิการเลือกตั้งที่เท่าเทียมระหว่างชายหญิง แต่ถูกเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษต่อต้าน งานวิจัยของบาววี่จึงชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาบทบาทของผู้หญิงในการเมือง ที่มีความซับซ้อน ซึ่งสามารถฉายภาพของมิติใหม่ๆ ให้เราเห็นได้อย่างน่าสนใจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
นายกนอร์เวย์ ขับรถแท็กซี่ ฟังความเห็นปชช. Posted: 12 Aug 2013 08:10 AM PDT เจนส์ สตอลเทนเบิร์ก นายกนอร์เวย์ ขับแท็กซี่ฟังเสียงสะท้อนประชาชน เตรียมศึกเลือกตั้งกันยานี้ ชี้ แท็กซี่เป็นพื้นที่ที่ประชาชนแสดงความเห็นอย่างแท้จริง บีบีซีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ เจนส์ สตอลเทนเบิร์ก ทดลองเป็นคนขับเแท็กซี่ในกรุงออสโล ในช่วงบ่ายวันหนึ่ง โดยให้เหตุผลที่ทำเช่นนั้นเพราะอยากได้ยินเสียงสะท้อนจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของคะแนนเสียงจริงๆ และแท็กซี่ ก็เป็นสถานที่ที่คนเปิดเผยความคิดเห็นของตัวเอง เขาเข้ากะในบ่ายวันหนึ่งของเดือนมิถุนายน และการปลอมตัวเป็นแท็กซี่ครั้งนี้ เขาสวมแว่นตาและเครื่องแบบของแท็กซี่และเปิดเผยตัวเมื่อผู้โดยสารแสดงออกว่าจำเขาได้ การสนทนาแลกเปลี่ยนกันระหว่าบงนายกรัฐมนตรีและผู้โดยสารถูกบันทึกด้วยกล้องที่ซ่อนเอาไว้ ภาพที่บันทึกไว้ถูกนำมาตัดต่อเป็นภาพยนต์โดยความร่วมมือของบริษัทโฆษณา และถูกโพสต์ขึ้นบนเฟซบุ๊กเพจของนายกรัฐมนตรีและจะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ "การฟังสิ่งที่ประชาชนคิดจริงๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผม" สตอลเทนเบิร์กกล่าวกับสื่อนอร์เวย์ และเสริมต่อไปว่าถ้าหากจะมีที่ไหนสักที่ที่ประชาชนจะพูดในสิ่งที่เขาคิดจริงๆ ที่นั่นก็คือในรถแท็กซี่ ผู้โดยสารที่ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์นี้ บางคนจะถูกบอกให้รอแท็กซี่โดยไม่ได้บอกว่าใครเป็นคนขับ ขณะที่บางคนก็ถูกรับขึ้นรถแบบสุ่มรับ และบางคนก็ขึ้นจากจุดรอแท็กซี่ ผู้โดยสารจำนวนมากแสดงออกให้เห็นอย่างรวดเร็วว่าพวกเขาจับสังเกตลักษณะของคนขับแท็กซี่ได้ ผู้โดยสารรายหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า "จากมุมนี้ คุณดูเหมือนสตอลเทนเบิร์ก" และผู้โดยสารสตรีรายหนึ่งก็บอกว่าเธอโชคดีที่ได้เจอนายกรัฐมนตรีเพราะเธออยากจะส่งจดหมายให้เขาอยู่แล้ว และจากนั้นผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็จะเริ่มสนทนาในประเด็นการเมือง สำหรับแท็กซี่เที่ยวพิเศษนี้ ผู้โดยสารทุกคนไม่ต้องจ่ายค่าโดยสาร อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการขับรถด้วย เพราะว่ามีครั้งหนึ่งที่เขาเหยียบเบรกของรถยนต์เกียร์ออโต้เพราะคิดว่าเป็นคลัทช์และเขายอมรับว่าเขาไม่ได้ขับรถยนต์มาเป็นเวลากว่าแปดปีแล้ว นายสตอลเทนเบิร์กนั้นเป็นที่นิยมในประเทศนอร์เวย์ แต่โพลล์หลายสำนักระบุว่าความนิยมของเขาตามหลังฝ่ายค้านอยู่มาก ที่มา: http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-23655675 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
‘แวหะมะ แวกือจิก’ กับพื้นที่สันติภาพของ‘Media Selatan’ Posted: 12 Aug 2013 05:11 AM PDT สัมภาษณ์พิเศษ แวหะมะ แวกือจิก ผู้อำนวยการมีเดียสลาตัน สื่อวิทยุเริ่มดังในชายแดนใต้ เจ้าของรายการโลกวันนี้ กับบทบาทการสร้างพื้นที่กลางเพื่อสันติภาพที่ฟาฏอนีย์ แวหะมะ แวกือจิก ผู้อำนวยการมีเดียสลาตัน ในความพยายามสร้างสันติภาพที่ฟาฏอนีย์ มีรายการวิทยุในพื้นที่ไม่กี่แห่งที่กล้าเปิดข้อมูลเชิงลึกและให้คนแสดงความเห็นผ่านรายการได้ หนึ่งในนั่นคือรายการ "โลกวันนี้" (Dunia Hari Ini) ของ "สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน" หรือ "มีเดียสลาตัน" ที่ออกอากาศครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของสงขลา ในเวลา 2 ทุ่มทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ หากจัดรายการแบบนี้ก่อนหน้านี้ อาจถูกมองว่าจะกระทบกับความมั่นคงของชาติได้ แต่ตอนนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว เพราะอะไร นายแวหะมะ แวกือจิก ผู้อำนวยการมีเดียสลาตันจะอธิบายเรื่องนี้ ดังนี้ รายการโลกวันนี้ รายการ Dunia Hari Ini เริ่มออกอากาศวันที่ 1 มีนาคม 2556 หลังจากการลงนามการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เหตุที่จัดรายการนี้ขึ้นมา เนื่องจากการพูดคุยสันติภาพดังกล่าว มีเพียงฝ่ายรัฐไทย (Party A) กับบีอาร์เอ็น (Party B) เท่านั้น แต่ที่จริงในกระบวนการการพูดคุยสันติภาพนั้น คนที่สำคัญมากที่สุดคือประชาชน (Party C) ดังนั้นผมจึงทำรายการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพดังกล่าว ทำให้เป็นรายการที่ประชาชนสนใจมาก ช่วงแรกๆ ผมดำเนินรายการคนเดียว ต่อมามีคุณอัสโตรา โต๊ะราแม อดีตนักข่าวและคอลัมนิสต์ในประเทศมาเลเซีย มีความสัมพันธ์กับคนมาเลเซียอย่างดี มาเป็นผู้ดำเนินรายการคู่กับผม บางครั้งมีการเชิญคนอื่นมาร่วมรายการด้วย ในช่วงแรกๆ มีข้อผิดพลาดบ้าง เพราะเป็นเรื่องใหม่ของสังคมที่นี่ เราจึงพยายามจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยพัฒนาความรู้ไปด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด เราพยายามให้ทุกฝ่ายมาพูดคุยในรายการนี้ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชน รวมทั้งผู้ที่คิดเห็นต่างจากรัฐ แม้กระทั่งฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น(ยูแว) เพราะเราเชื่อเสมอว่า การมีส่วนร่วมของทุกๆฝ่ายในการพูดคุย นำเสนอและรับฟัง สุดท้ายจะได้กระบวนการสันติภาพที่เป็นจริงมากที่สุด การสัมภาษณ์ฮัสซัน ตอยิบ – พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร หลังจากนั้นมีเดียสลาตันได้สัมภาษณ์สด พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ด้วยเพื่อการถ่วงดุลกันทั้ง 2 ฝ่าย ทำไมถึงกล้าจัดรายการลักษณะนี้ ? ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้ประชาชนรับรู้เรื่องสันติภาพมากขึ้น รู้ว่าอะไรคือการพูดคุยเพื่อสันติภาพ และรู้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายมีข้อตกลงอะไรบ้าง โดยประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะเพื่อให้การพูดคุยสันติภาพมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือเราต้องมีการถ่วงดุลกันระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้ถูกมองเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หลังจากออกอากาศไประยะหนึ่งถูกมองอย่างไร ? ตัวอย่างเช่น ถ้าประชาชนที่นี่ต้องการเอกราชอย่างเดียว พวกเขาก็ไม่เอาอย่างอื่นเลย ผมจึงจัดรายการนี้ เพื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้คนมีที่แสดงความคิดเห็นได้ ก็จะเป็นการเทน้ำในแก้วออกมานิดหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำน้ำใหม่ใส่เข้าไปได้บ้าง ไม่อย่างนั้นจะเหมือนกับน้ำในบึง ถ้าไม่มีน้ำใหม่มาเปลี่ยนมันก็จะเน่าเสียไป ความคิดของคนก็เช่นกัน ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของเขาได้ มันก็อันตรายมาก ส่วนฝ่ายบีอาร์เอ็น ผมก็ตอบไปว่า หากการพูดคุยสันติภาพมีแต่ฝ่ายบีอาร์เอ็นกับรัฐไทยเท่านั้น โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ ผมคิดว่า บีอาร์เอ็นเองนั่นแหละที่กดขี่ประชาชนปาตานี เพราะไม่เปิดโอกาสให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมเลย ผู้ฟังส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นอย่างไรในรายการ? ในช่วงแรกๆ บางคนพูดแรงมาก ต้องการเอกราชอย่างเดียว ผมจึงบอกไปว่า เราต้องมีความฉลาดในการสื่อสารผ่านรายการวิทยุ ทำให้ช่วงหลังๆ ประชาชนเข้าใจมากขึ้น คนพูดแรงๆ ลดลง มีมารยาทมากขึ้น ที่สำคัญมีหลายข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อการพูดคุยสันติภาพอย่างมาก อยากให้สถานีวิทยุอื่นๆ จัดรายการลักษณะนี้มากขึ้น เพื่อช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาในหนทางสันติภาพ เพราะสันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมกับการพูดคุยสันติภาพ มีคนที่พูดผ่านรายการแล้วได้รับอันตรายหรือไม่?
ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2547 หลังเกิดเหตุไม่สงบแล้ว สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นเห็นว่าสื่อจะนำเสนอข่าวสารที่ประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ได้ จึงขยายให้ครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จึงย้ายไปเช่าเวลาของสถานีวิทยุทหาร 3 สถานี โดยมีสถานีวิทยุ กวส7.ยะลาเป็นแม่ข่าย เชื่อมสัญญาณไปยังสถานีวิทยุ กอ.รมน.ภาค 4 สน.ที่จังหวัดปัตตานีและ กวส.6 ที่จังหวัดนราธิวาส ภารกิจหลักๆ ของรายการ คือ 1.ลดความหวาดระแวงของคนในพื้นที่ 2.ขจัดความยากจน 3.ลดช่องว่างทางความรู้ที่จะเป็นอุปสรรคต่อพัฒนา ตอนนั้นได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดีและเป็นรายการวิทยุแห่งแรกในพื้นที่ที่มีการสื่อสาร 2 ทาง คือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถโทรศัพท์แสดงความคิดเห็นผ่านรายการได้ แทนที่จะให้ผู้ดำเนินรายการพูดอยู่คนเดียว จุดเด่นของวิทยุร่วมช่วยกันในตอนนั้น คือการทำหน้าที่ประสานระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งถึงประสานภาคธุรกิจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย แต่น่าเสียดาย เมื่อปี 2552 อุดมการณ์ของสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นเปลี่ยนไปเน้นหากำไรมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์ในพื้นที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ รายการนี้จึงถูกยุบไป จากนั้น จึงเรียกแกนนำสมาชิกประมาณ 350 คน มาประชุมกันที่จังหวัดยะลา เพื่อชี้แจงถึงความจำเป็นในการยุบรายการ แต่ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ต้องการให้มีรายการวิทยุร่วมด้วยกันต่อไป จึงก็กลายเป็นภาระหนัก ประกอบวิทยุชุมชนเกิดขึ้นมาพอดี ทำให้เรามีทางออก จึงตั้งสถานีวิทยุชุมชนเป็นสถานีวิทยุร่วมช่วยกันและเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน" โดยตั้งสถานีวิทยุชุมชนครั้งแรกที่จังหวัดยะลา แต่วิทยุชุมชนไม่คลอบคลุมพื้นที่ ทำให้คนในจังหวัดปัตตานีบางส่วนไม่สามารถรับฟังได้ จึงแก้ปัญหาโดยเชื่อมสัญญาณกับสถานีวิทยุ กอ.รมน.ภาค 4 สน.ที่ปัตตานี แต่ไม่สามารถเชื่อมสัญญาณกับสถานีวิทยุ กวส.6 นราธิวาสได้ จึงเช่าสัญญาณของสถานีวิทยุชุมชนต่างๆ ในจังหวัดนราธิวาส ทำให้สามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่ง ต่อมา ปี 2553 ได้ย้ายสถานีแม่ข่ายมาตั้งที่ปัตตานี แล้วเชื่อมสัญญาณไปที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส โดยยกเลิกสัญญากับสถานีวิทยุกอ.รมน.ภาค 4 สน. การทำงานของมีเดียสลาตันต้องประคับประคองมาตลอด เนื่องจากมีงบประมาณไม่มาก แต่ทุกคนยึดมั่นในอุดมการณ์ทำให้สามารถอยู่ได้ ต่อมาปี 2555 ด้วยความประสงค์ของพระเจ้า มีทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนมีเดียสลาตัน ในภารกิจ 2 หลัก คือ 1.ธรรมาธิบาล 2.ประชาธิปไตยและมีการส่วนร่วมของประชาชน ทำให้มีเดียสลาตันมีสีสันมากขึ้น กลายเป็นสื่อวิทยุที่สำคัญในพื้นที่ เป้าหมายของมีเดียสลาตัน สิ่งที่ตระหนักอยู่ตลอดเวลา คือ มีเดียสลาตันภาวนาตัวเองเสมอว่า เป็นสื่อของคนในพื้นที่ อะไรที่สามารถตอบโจทย์แก่พื้นที่ได้ สิ่งนั้นคือภารกิจของเรา เพราะเราตระหนักเสมอว่า คนที่แก้ปัญหาได้ที่สุดคือประชาชนในพื้นที่ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธคนนอก ปัจจุบันคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันเกือบคลอบคลุมทุกพื้นทีแล้ว ยกเว้นบางพื้นที่ของอ.บันนังสตา อ.เบตง จ.ยะลา ส่วนที่จ.นราธิวาส มี 4 อำเภอที่ยังไม่สามารถรับฟังได้ คือ อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.แว้ง อ.สุไหงปาดี อ.สุคิริน อ.เจาะไอร้อง ซึ่งสถานีกำลังระหว่างติดตั้ง ส่วน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาสามารถรับฟังได้ หมายเหตุ :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 12 ส.ค. 2556 Posted: 12 Aug 2013 03:55 AM PDT โอทอปเหนือโดนเต็มๆ ค่าแรง 300 บาท ทำวัตถุดิบ-ค่าแรง-ค่าขนส่งพุ่ง
เตรียมชง ครม.ขยายเวลาออกเอกสารให้ "แรงงานต่าวด้าว" อีก 1 ปี
กอศ.เร่งแก้ครูอาชีวะขาดแคลน
สปส. เผยแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคม ม.40 พุ่ง 1.4 ล้าน
สปส.ส่งรถโมบายแจ้งสิทธิประโยชน์
มรธ. ปรับอัตราค่าตอบแทนพนักงานมหาวิทยาลัย
สื่อนอกเผย แรงงานไทยในไนจีเรีย 4 รายถูกลักพาตัว คาดเรียกค่าไถ่ ยังไม่ทราบชะตากรรม
เร่งประสานไนจีเรียติดตาม 4 แรงงานไทยถูกจับ
กลุ่มผู้ใช้แรงงานทยอยเดินทางกลับหลังร่วมเทศกาลฮารีรายอ
'สุรพงษ์' เผยนายจ้าง 4 แรงงานไทยเหยื่อถูกลักพาตัว รุดเจรจาขอคืนตัวประกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ความเรียงวันแม่ จากคนที่กำพร้าแม่แต่เด็ก Posted: 12 Aug 2013 03:11 AM PDT Anna Jarvis ชาวสหรัฐ ผู้ให้กำเนิดวันแม่คนแรกของ
************************************************** แม่ : A discourse รัฐประสบความสำเร็จอย่างมากในระยะหลังในการประสานแม่ของปัจเจกเข้ากับแม่แห่งชาติ ด้วยการจัดประกวดแม่ลูกดีเด่นดัง บรรดาแม่ๆเหล่านั้นก็อาจจะเลี้ยงลูกแบบที่คนทั่วๆไปเขาเลี้ยงกันนั่นแหละ (หลายท่านดูๆไปแล้วไม่น่าจะเลี้่ยงลูกเป็นด้วยซ้ำไป) แต่ท่านจะกลายเป็นแม่ดีเด่นหากว่าลูกท่านโดดเด่นอะไรสักอย่างขึ้นมา อาจจะด้วยตัวเขาเองหรือแม่หรือใครส่งเสริมก็ตามที แต่แม่ดีเด่นจะหมดความดีไปในบัดดลหากว่าท่านเหล่านั้นเอ่ยวาจาใดที่ไม่แสดงถึงความภักดีต่ออุดมการณ์หลักของชาติ น้องเมย์ได้เป็นแชมป์โลกก็เป็นเรื่องที่น่าดีใจสำหรับเพื่อนร่วมชาติ แต่ชัยชนะของเธอมีประโยชน์ทางการเมืองอย่างมาก เพราะมันมาในโอกาสวันแม่แห่งชาติ แม่ของเธอซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เป็นโคชแบดมินตันแต่อย่างใด ย่อมเป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ รางวัลที่เธอได้มาจะเอาไปตั้งโชว์ไว้ที่บ้านก็ไม่เป็นการสมควร แม้จะมีใครดักคอไว้ก่อนว่าให้เก็บรางวัลนั้นเป็นความภูมิใจของตัว แต่เธอก็ทำเช่นนั้นไม่ได้
หมายเหตุ: เพิ่มเติมส่วน "แม่ : A discourse " เมื่อ 19.20น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
บันทึกลับเรื่อง "ศรีบูรพา" ครึ่งศตวรรษในจีน (3) Posted: 12 Aug 2013 02:09 AM PDT ความในใจ ชนิด สายประดิษฐ์ หลักฐานที่ดีอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความผูกพันระหว่าง สุชาติ ภูมิบริรักษ์ และศรีบูรพา ก็คือข้อความในจดหมายล่าสุดถึง สุชาติ ภูมิบริรักษ์ จาก "ชนิด สายประดิษฐ์" ภริยาของศรีบูรพา ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2547 ความว่า
ประโยคของ ชนิด สายประดิษฐ์ ที่ว่า "คุณสุชาติเคยร่วมกินร่วมอยู่รู้เห็นกันแทบตลอด 24 ชั่วโมงมาตั้งแต่คุกบางขวางเกือบห้าปี ที่จีนอีกหลายปี..." จึงน่าจะเป็นหลักฐานที่อาจกล่าวได้ว่า ข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ เกี่ยวกับช่วงชีวิตในจีนของศรีบูรพา รวมถึงช่วงชีวิตในไทยบางส่วน ครั้งเคยร่วมวงการหนังสือพิมพ์ ร่วมเป็นผู้ต้องหาในคดี "กบฏสันติภาพ" อยู่ในคุกบางขวางด้วยกัน และช่วงชีวิตก่อนตัดสินใจไปจีนในวาระเดียวกันของศรีบูรพาผ่านมุมมองของ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ นั้นย่อมมีคุณค่าน่าศึกษาเพียงใดสำหรับผู้สนใจชีวประวัติในจีนของศรีบูรพา รวมถึงสภาพการเมืองไทยและสภาพความสัมพันธ์ไทย-จีนในยุคนั้น ผู้เขียน ขณะเป็น"ผู้ประกาศข่าว"ประจำสถานีวิทยุซีอาร์ไอ หรือ China Radio International ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน 16 ปีแห่งความหลัง ชีวิตของศรีบูรพาหลายแง่มุมเคยได้รับการเผยแพร่มาบ้างแล้วไม่น้อยทั้งในหนังสือหรือบทความที่เขียนแนะนำ เชิดชูหรือยกย่องศรีบูรพาในโอกาสต่างๆ จากนักเขียนหรือผู้ใกล้ชิดบางส่วน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หากแต่ "ช่วงชีวิตในจีน" ร่วม 16 ปีจวบจนถึงลมหายใจสุดท้ายของชีวิตศรีบูรพานั้นกลับดูเหมือนจะเลือนรางห่างเหินจากการรับรู้ของผู้อ่านชาวไทยมานับนาน แม้กระทั่งผู้ใกล้ชิดบางท่านที่ไม่ได้รับทราบข่าวคราวหรือชะตากรรมของศรีบูรพาอีกหลังจากเดินทางเข้าสู่ผืนแผ่นดินสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว ด้วยปัญหา "ระยะห่าง" ระหว่างสองผืนแผ่นดินคือประเทศไทยกับประเทศจีน ซึ่งหากนับเป็นจำนวนกิโลเมตรก็อาจไม่กี่ชั่วโมงบิน แต่ด้วยเงื่อนไขทางสังคมและการเมืองในช่วงเวลาที่ศรีบูรพาพำนักอยู่ในจีนระหว่างปี พ.ศ.2501 ถึง พ.ศ.2517 นั้น ทำให้ดูเหมือนศรีบูรพาจะอยู่ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเสียเหลือเกิน... และสำหรับนักอ่านแล้วก็แทบจะไม่เห็นผลงานของเขาอีกเลยนับแต่บัดนั้น ทั้งที่ความจริงจากข้อมูลของผู้ใกล้ชิดคือ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ แจ้งว่า "ศรีบูรพาเขียนหนังสือตลอดเวลาที่อยู่ในจีน" เนื่องในวาระการเฉลิมฉลองรำลึกครบรอบ 100 ปีศรีบูรพา ผู้เขียนจึงเห็นสมควรเผยแพร่ข้อเขียนผ่านการบอกเล่าเรื่องราวย้อนรำลึกความทรงจำจากอดีตร่วม 50 ปีในจีนของ "สุชาติ ภูมิบริรักษ์" อดีตนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และผู้เชี่ยวชาญอาวุโส "นิตยสารภาพจีน" (CHINA PICTORIAL) ของกรมการพิมพ์ภาษาต่างประเทศแห่งชาติจีน ซึ่งได้เดินทางไปจีนในนามของ "คณะส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย" ภายใต้การนำของหัวหน้าคณะคือศรีบูรพาและคณะ และได้ใช้ชีวิตในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชนิด "ร่วมหลังคาเดียวกับศรีบูรพา" ในฐานะมิตรสนิทจวบจนศรีบูรพาอำลาบรรณพิภพ และจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ ปัจจุบันวัย 80 ปี เกิดเมื่อวันที่ 31 มิถุนายน พ.ศ.2470 ที่จังหวัดชัยภูมิ เขาเคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "อิสรภาพ" มีผลงานแปลเด่นหลายเรื่อง ทั้งเรื่องยาวและเรื่องสั้นที่ฝากไว้ในแผ่นดินจีน เช่น "หมิงกูเหนียง" "คลื่นลมวันวิวาห์" "รังว่าง" "ชุมนุมนิทานชนชาติไทยยูนนาน" เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานอีกมากมายหลายเรื่องที่ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ เป็นบรรณาธิการ เช่น "ชุมนุมเรื่องสั้นของหลู่ซิ่น" "ศึกซังกำเลียง" "หวนระลึกการเดินทัพทางไกล" "สงครามฝิ่น" "การปฏิวัติซินไฮ่" "ขบวนการจี้เหอถวน" "เกาอี้เป่า" และอื่นๆ คือ "อีสาน ดินแดนแห่งเลือดและน้ำตา" และหนังสือเชิงประวัติศาสตร์ "สืบประวัติชาติไทย น่านเจ้า อาณาจักรของใคร" ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างในยุคนั้น นอกจากนั้น ยังเขียนและแปลผลงานภาษาไทยฝากไว้ในประเทศจีนอีกบางส่วน โดยใช้นามจริงบ้างและไม่ลงชื่อบ้าง ผลงานเรื่องนี้จึงเป็นการรำลึกความทรงจำผ่านการบอกเล่าเรื่องราวสดๆ และผ่านการทบทวนข้อมูลจากสมุดบันทึกหลายเล่มที่เคยได้รับการบันทึกไว้ในช่วงเดินเคียงคู่กับศรีบูรพา ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ของมิตรสนิทศรีบูรพานาม "สุชาติ ภูมิบริรักษ์" และยังมีบางมุมมองเสริมจากผู้ใกล้ชิดบางท่านประกอบ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ เคยกล่าวเอาไว้เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล "ช่วงชีวิตในจีน" ร่วม 50 ปีของเขาที่ทำให้มีโอกาสได้ "ร่วมหลังคาเดียว" กับศรีบูรพาอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า เป็นเรื่องที่ใช้เวลาทบทวนยาวนานอย่างรอบคอบ และในที่สุดก็ได้ตัดสินเปิดเผยความจริงเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
สุธาทิพย์ โมราลาย ผู้เขียนขณะเป็น"ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ" สังกัดประจำกระทรวงวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์แห่งชาติจีน ณ กรุงปักกิ่ง ฉลองความสัมพันธ์ไทย-จีน นับวันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนจะมีความกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นตามกาลเวลา รวมถึงความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือต่างๆ ในวงกว้าง และการไปมาหาสู่กันระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศ อันเป็นช่วงที่กล่าวได้ว่าสะท้อนความสัมพันธ์ที่เจริญงอกงามที่สุดช่วงหนึ่งเท่าที่ได้สืบทอดมายาวนานจากอดีตของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ.2547 ก็ได้เวียนมาบรรจบครบวาระการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างเป็นทางการครบรอบ 30 ปี โดยผู้นำทั้งสองประเทศได้ดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น ประกอบกับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2547 ที่ผ่านมา ตรงกับวาระครบรอบวันเกิด 100 ปีของศรีบูรพา และเพื่อเป็นการแสดงคารวะอาลัยและเชิดชูผลงานของนักเขียนไทยผู้มีแบบอย่างการใช้ชีวิตดีงามและรังสรรค์ผลงานทรงคุณค่าไว้ประดับวงวรรณกรรมไทยจนได้รับการยกย่องในวงกว้าง รวมถึงมีบทบาทสำคัญเป็นผู้หนึ่งที่ย่างก้าวกรุยทางอยู่เบื้องหลังการบุกเบิกความสัมพันธ์ไทย-จีนในยุคที่ยังต้องระหกระเหินและบุกบ่าฝ่าฟันกับอุปสรรคบางประการอย่างลำบากยากเย็นนั้น ข้อเขียนนี้จึงน่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งในการศึกษาด้านความสัมพันธ์ไทย-จีนในช่วงระยะครึ่งศตวรรษนี้ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาชีวิต แนวคิด และผลงานของนักประพันธ์ไทยนาม "ศรีบูรพา" ที่สังคมและโลกยกย่องให้เป็น "บุคคลดีเด่นของโลก" เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ใช้ประกอบการศึกษาต่อไป หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช วิกฤติพุทธศาสนา: ถึงเวลาแยกรัฐกับศาสนา Posted: 12 Aug 2013 01:42 AM PDT a day bulletin สัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช ว่าด้วยความสัมพันธ์และปัญหาของรัฐไทยกับพุทธศาสนาในปัจจุบัน + คุณคิดว่า ศาสนา ไม่ว่าจะยุคไหน โดยเฉพาะยุคนี้ ควรจะทำหน้าที่อะไร คำถามยากมาก (หัวเราะ) คือผมว่าศาสนามีหลายฟังก์ชั่น แต่ฟังก์ชั่นที่ผมสนใจมากที่สุดและคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตัวศาสนา คือการที่ศาสนาสะท้อนถึงการแสวงหาคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มันตอบโจทย์ที่ลึกที่สุดของมนุษย์ในเชิงคุณค่า หรือเรื่องที่ว่า เราเกิดมาทำไม ความหมายของการมีชีวิตอยู่คืออะไร โลกนี้คืออะไร การอยู่ร่วมกันมันมีความหมายเช่นไร คำสอนทางศาสนาเสริมสร้างให้คนแต่ละคนได้เติบโต ค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเอง ยอมรับตัวเอง และคลี่คลายตัวเองได้ นำไปสู่การปลดปล่อยศักยภาพอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นเรื่องความรัก สติปัญญา ความกล้าหาญ หรืออะไรก็ตาม ผมว่าศาสนาตอนแรกมันตอบโจทย์ทางจิตวิญญาณนี้ มันเลยมีอิมแพ็คกับคนมาก มันช่วยปลดปล่อยคน เพียงแต่ว่าระยะหลัง ศาสนาก็มีวิวัฒนาการจากจุดเริ่มต้นต่อๆไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างพิธีกรรม การสร้างศาสนสถาน เรื่องของการที่ชุมชนหรือสังคมเอาศาสนามาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกฏเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน …ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นศาสนาในรูปแบบสถาบัน แต่จุดเริ่มต้นของศาสนา ผมเชื่อว่ามันตอบโจทย์เรื่องการปลดปล่อยศักยภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ + แล้ววิวัฒนาการที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ กำลังไปในทิศทางไหน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออะไร อืม… มันก็ซับซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถามว่าน่าเป็นห่วงไหม ก็น่าห่วงว่าคนพุทธกำลังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการฆ่ากัน แต่ถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์ ก็ไม่มีอะไรน่าตกใจ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในปริมณฑลของศาสนาตอนนี้มันเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในโลกนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วได้มากน้อยแค่ไหน มันก็มีหมดทั้งตัวอย่างที่ดีและไม่ดี ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการก่อสงคราม ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่ากัน เป็นส่วนหนึ่งของการหักหลัง ขัดแย้งกัน ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมไพร่พลทางการเมือง… เรื่องคอรัปชั่นในวงการนักบวช มันก็เคยมีมาก่อนหมดแล้ว อย่างในตะวันตก ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ขึ้นมา ก่อนจะเกิดยุคเรอเนซอง หรือยุคของการปฏิวัติทางสติปัญญา ยุคแสงสว่างหรือ enlightenment ก่อนที่เราจะมีเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือศาสตร์อะไรต่างๆ ที่เราเรียนกันอยู่ทุกวันนี้ ก่อนหน้านั้นมันก็คือยุคมืด หรือ dark age คือยุคที่ศาสนาในเชิงสถาบันรุ่งเรืองมากที่สุด มีอำนาจมากที่สุด คนใช้วิธีคิดหรือกรอบคิดทางศาสนาในการปกครอง และในการมองโลก มองจักรวาล ศาสนานี่ใหญ่สุดเลย อธิบายได้ทุกเรื่อง ตอบคำถามสังคมได้ทุกเรื่อง พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก พระคัมภีร์มีอำนาจ นักบวชหรือคนที่อยู่ในปริมณฑลของศาสนาก็มีอำนาจ ซึ่งศาสนาแบบอำนาจนิยมนี้ได้สร้างยุคมืดขึ้นมา คือยุคที่คนไม่สามารถตั้งคำถามกับอะไรได้เลย คุณจะตั้งคำถามกับพระเจ้า คุณจะตั้งคำถามกับกษัตริย์หรือผู้ปกครองไม่ได้ ถ้าทำคุณก็จะถูกจับเข้าคุก คุณจะถูกเผาทั้งเป็น นี่คือยุคมืด และแน่นอนว่าในยุคมืดนักบวชก็มีการคอรัปชั่น แสวงหาผลประโยชน์ นักบวชก็แอบมีเมีย พูดอย่างทำอย่าง มันเกิดมาก่อนแล้วทั้งนั้น ซึ่งนัยหนึ่งนี่ก็อาจะเป็นประสบการณ์ที่สังคมเรากำลังเผชิญกันอยู่ ศาสนามันมีอำนาจสะกดคนให้เชื่อ ถ้าผู้ปกครองยึดอำนาจของความเชื่อได้ ก็คุมคนให้เดินไปทางไหนได้ อย่างเราดูหนังฝรั่ง มันก็มีเรื่องแบบนี้ตลอด เช่นเรื่องพระโกง พระมีอำนาจ พระเป็นส่วนหนึ่งของการก่อสงคราม กษัตริย์จะทำสงครามก็ต้องมีพระอนุมัติ มีพระถือธงอยู่ข้างหลัง ยืนยันว่ากองทัพนี้มีความชอบธรรมในนามพระผู้เป็นเจ้า เป็นกองทัพธรรมปราบอธรรม ถ้าคุณก่อสงครามในนามของพระเจ้า คุณจะไม่ตกนรก ซึ่งตัวอย่างแบบนี้ก็มีให้เห็นในช่วง 6 ตุลา อย่างที่มีพระออกมาพูดว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ใช่ไหม? ที่มันเป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมไทยตอนนี้ ก็เพราะว่าทุกอย่างมันอิหลักอิเหลื่อไปหมด คือเราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เราไม่รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในยุคไหน เราไม่รู้ว่าเราเป็นประชาธิปไตยหรือยัง เราไม่รู้ว่าเราเป็นเผด็จการหรือเปล่า เราไม่รู้ว่าเรามีสิทธิเสรีภาพจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรได้จริงหรือเปล่า จะว่าไปเราเรียนเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิชาการพวกนี้มันก็เลยยุคเรเนอซอง เลยยุค Enlightenment ไปหมดแล้วนะ แต่กลายเป็นว่าจิตสำนึกของคนยังไม่ไปไหน เรายังล่าแม่มด ยังกล่าวหาคนว่าล้มเจ้าแล้วพร้อมจะไปรุมกระทืบเขา เรายังอ้างเรื่องศีลธรรมและความดีงามของรัฐ แล้วปิดปากไม่ให้คนพูดความจริง ซึ่งนี่มันเป็นจิตสำนึกแบบยุคกลางทั้งนั้นเลย ก็เลยไม่รู้ว่าตกลงเมืองไทยเราจะเอายังไงกันแน่ +คุณคิดว่าหลายๆ เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นกับวงการศาสนาทุกวันนี้ มันคือยุคเสื่อมของศาสนาหรือเปล่า ถามว่ามันสะท้อนอะไรดีกว่า …คือผมไม่ได้แคร์เรื่องพระมีเมีย หรือพระจะสึก คือส่วนใหญ่เวลาสื่อออก ก็มักจะด่าไปที่คน โจมตีว่าเขาเป็นพวกมีกิเลส เลว ต่ำช้า คนพวกนี้ไม่ควรจะอยู่ในพระศาสนา ไรงี้ แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คุณจะคาดหวังให้ศาสนาขาวสะอาด มนุษย์ก็คือมนุษย์ มนุษย์ก็มีกิเลส พระก็มีกิเลส ถ้าศาสนาเสริมสร้างมนุษย์ก็ต้องยอมรับความจริงข้อนี้ไม่ใช่ปฏิเสธ เพียงแต่ผมมองว่าสิ่งที่มันตูมตามขึ้นมานั้นแสดงให้เห็นว่า ระบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มีปัญหา การวางตำแหน่งแห่งที่ของศาสนาพุทธในสังคมไทยมีปัญหา พูดตรงๆ คือสถานะของสถาบันสงฆ์มีปัญหาและมีปัญหามานานแล้วด้วย + พอจะแจกแจงออกมาได้ไหมว่ามีปัญหาอย่างไร ในยุคสมัยที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมประชาธิปไตย ที่มีการเปิดกว้างทางความคิด มีความพยายามในการพัฒนาจิตสำนึกของพลเมืองให้เปิดรับความหลากหลายในการอยู่ร่วมกันได้ แต่โครงสร้างของสถาบันสงฆ์เป็นโครงสร้างที่มีความเผด็จการ เป็นโครงสร้างกาฝากที่ตกค้างมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พรบ.สงฆ์หรือโครงสร้างคณะสงฆ์แบบที่เป็นอยู่ เป็นโครงสร้างแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลย มันวิวัฒนาการขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่มาก่อรูปเป็นคณะสงฆ์ของรัฐในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคณะสงฆ์ของรัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นมาเพื่อการปกครองแบบอำนาจรวมศูนย์ และโครงสร้างแบบนี้ก็ยังคงอยู่มาโดยตลอดแม้จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไปแล้วก็ตาม คณะสงฆ์ของรัฐก็มีสังฆราชาที่อยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ผู้เป็นพุทธมามกะ ศาสนาพุทธในแบบนี้จึงเป็นศาสนาพุทธที่รับใช้อุดมการณ์แบบราชาชาตินิยมมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นจะสังเกตได้ว่าพระที่อยู่ในระบบเป็นพระที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อให้เขาเป็นเจ้า สร้างพระให้เป็นเหมือนพระราชา ศรัทธาแบบไม่ลืมหูลืมตาทำให้พระสูงส่งเสียเหลือเกิน พระไม่ใช่สมณะแต่เป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่พึ่งทางใจ ซึ่งความจริงแล้วสมัยก่อน พระไม่ได้เป็นแบบนี้เลยนะ สังคมไทยมีจินตนาการกับพระในอีกแบบหนึ่ง คือพระก็เป็นคน พระคือลูกชาวบ้านที่มาบวช เป็นพระแบบลูกทุ่งๆ อยู่กับชาวบ้านและอยู่แบบชาวบ้าน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนในชุมชน พระไม่ใช่มนุษย์เปอร์เฟ็ก พระหยอกล้อกับชาวบ้านได้ เป็นเรื่องธรรมดา ของการเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างโลกกับธรรม ชาวบ้านก็มีทั้งส่วนที่สนับสนุนพระ และเกลียดพระ มีผู้หญิงที่อยากได้พระเป็นสามี เป็นเรื่องธรรมดา ปะปนกันอยู่ในสังคม ผมจึงมองว่าการจินตนาการว่าพระเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเอามากในยุคนี้ เป็นผลมาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ตกค้างอยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด และในปัจจุบันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการชักกะเย่อทางอุดมการณ์ที่ทำให้สังคมไทยไม่ก้าวต่อไปข้างหน้า ไม่เปิดไปสู่สังคมประชาธิปไตยแบบโลกวิสัยเสียที + ระบบนี้มันก่อให้เกิดปัญหาอะไรที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ถ้าหากจะเชื่อมโยงกันได้อย่างที่คุณพูด คือว่าทุกวันนี้สังคมเราเป็นประชาธิปไตยใช่ไหม ถ้าเป็นประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่ทุกวันนี้มันไม่ใช่ไง มันมีหลายอย่างในสังคมไทยที่ยังต้องต่อสู้กันเพื่อการผลักดันไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนจริงๆ ผมคิดว่าอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งก็คือศาสนานี่แหละ เพราะโครงสร้างสถาบันศาสนามันไม่เป็นประชาธิปไตยเลย โครงสร้างคณะสงฆ์ไม่ใช่โครงสร้างที่มาจากประชาชน เราไม่สามารถตรวจสอบได้ คือเขาใช้ภาษีของประชาชนนะ โดยบทบาทพระนี่ก็เหมือนกับข้าราชการเลย แต่กลับไม่มีอะไรยึดโยงอยู่กับประชาชน วัดมีรายได้มากมายมหาศาลแต่ไม่ต้องเสียภาษีสักบาท โครงสร้างแบบนี้จึงเป็นกาฝาก คือรากของมันไม่ได้อยู่กับดิน แต่เป็นรากที่เกาะอยู่กับสิ่งที่เจริญอยู่ ต้นไม้มีรากที่ติดอยู่กับดินใช่ไหม แต่โครงสร้างศาสนาเป็นสิ่งที่เกาะห้อยอยู่ โครงสร้างมันเป็นแบบนั้นจริงๆ เราไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับวัดเลย แถมหากเราตั้งคำถามกับพระก็กลายเป็นว่าต้องระวังตกนรก ระบบที่เป็นแบบนี้จึงเป็นปัญหาไง เพราะมันหล่อหลอมให้คนที่อยู่ในโครงสร้างแบบนี้ไม่มีการเรียนรู้อะไรเลย รักษาภาพลักษณ์ของตนเอง ต้องให้ตัวเองดูดี ต้องให้คนชื่นชม ต้องสูงส่ง พอมีอะไรเกิดขึ้นก็ปกป้องตัวเองและพวกพ้อง และไม่เปิดรับคำวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ปรับตัวอะไรทั้งนั้น + แล้วปัญหาที่พระเอาเงินไปใช้ เช่น กรณีเณรคำ ที่มีเงินไหลเข้ามา แล้วก็ใช้กันกระหน่ำ ซึ่งก็คงไม่ใช่วัดเดียวหรอกในประเทศนี้ สิ่งเหล่านี้มันเกิดจากอะไร เพราะโครงสร้างมันเป็นแบบนี้ ผลจึงออกมาแบบนี้ วัดจึงกลายที่ฟอกเงินอย่างดี เป็นตลาดมืดอย่างดี แล้วถามว่าเงินพวกนี้มาจากไหน …ชาวบ้านเขาก็ทำงานหาเงินมา ปากกัดตีนถีบต่อสู้เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองอยู่รอด ต่อสู้ทางการเมือง นั่นคือเรื่องทางโลก สุดท้ายผลผลิต เงิน หรือรายได้ เขาก็นำไปหล่อเลี้ยงสังคมให้อยู่รอด ถ้าเอาไปบริจาคให้มูลนิธิ เงินก็จะไหลเข้าไปแล้วไหลออกมาเป็นประโยชน์ที่กลับคืนสู่สังคม แต่กับวัดแล้ว เงินพวกนี้มันไหลเข้าอย่างเดียวเลยนะ ถามว่าเงินพวกนี้เราเคยได้ตรวจสอบไหมว่ามันกลับคืนสู่สังคมอย่างไรบ้าง เราเคยรู้ไหมว่าพระแต่ละวัด เอาเงินพวกนี้ไปทำอะไร เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน หรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ทุกอย่างเรามอบให้เป็นไปตามดุลยพินิจของพระทั้งหมด ซึ่ง สุดท้ายมันจะไปตกอยู่ภายใต้วาทกรรม "เพื่อประโยชน์ของพระศาสนา" ซึ่งก็ไม่รู้หมายความว่าอะไร + แล้วการที่บอกว่าเอาเงินไปสร้างโบสถ์ สร้างพระประธาน สร้างอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งปลูกสร้างในวัด สิ่งเหล่านี้ผิดไหม มันไม่ผิดในยุคหนึ่ง เพราะเงินมันก็ไม่ได้เยอะ นี่พูดในกรณีที่พุทธศาสนาเป็นพุทธศาสนาในชุมชนของชาวบ้าน เงินพวกนี้ก็จะไม่เยอะอะไร เป็นเงินของชุมชน เป็นเรื่องที่สอดรับกันคือ ชุมชนมีอยู่เท่านี้ ศรัทธาก็มีอยู่เท่านี้ พระก็โอเค ทำไปตามกำลังที่มี คือมันจะไม่แยกจากกัน พระก็จะไม่สร้างอะไรเลยเถิด แต่ศาสนาทุกวันนี้เป็นเหมือนศาสนาของพระที่ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชน เราต้องเข้าใจว่ามันเป็นศรัทธาของรัฐ ศรัทธาพวกนี้จึงเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐได้สร้างภาพ จินตนาการของพุทธศาสนาแบบรัฐขึ้นมา และเวลาคนศรัทธาก็ศรัทธาอะไรที่มันนามธรรมมากๆ ศรัทธาว่าเป็นศาสนาประจำชาติงี้ วัดทุกวัดถูกทำให้ตกอยู่ภายใต้โครงสร้างคณะสงฆ์แบบนี้ วัดจึงพยายามจะสร้างอะไรบางอย่างเพื่อตอบสนองจินตนาการแบบนี้ ผมจึงมองว่าทุกอย่างมันล่องลอย ถามว่าคุณจะสร้างไปถึงเมื่อไหร่ วัดจะต้องสูงยี่สิบชั้นหรืออย่างไร สิ่งเหล่านี้มันต้องมีจุดสิ้นสุดหรือไม่? คือสังคมพุทธทุกวันนี้มันมีอะไรเยอะเกินไปแล้วนะ พอเรามีอะไรที่มันเยอะเกินมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็จะไม่มีค่าแล้ว ถ้าอยากจะมีค่า โดยเฉพาะในทางจิตวิญญาณ คุณต้องสร้างสรรค์แล้วว่าจะทำอย่างไรให้เงินจำนวนจำกัดเท่านี้ นำไปทำประโยชน์ให้มากที่สุด แต่พระไม่ได้คิดแบบนั้น เขาจะคิดว่ายิ่งเยอะเท่าไหร่ยิ่งดี ญาติโยมศรัทธามากเท่าไหร่ยิ่งดี สร้างกุฏิวัดวาอารามยิ่งทองอร่ามเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของเราแล้วไง โจทย์ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว โจทย์เชิงคุณค่าแบบโลกๆ ก็คือว่าคุณจะทำประโยชน์อย่างไรให้กับสังคม และเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ทางสติปัญญา คือทุกวันนี้เราไม่ได้ตั้งคำถามกันตรงนั้นเลยนะ เราเคยถามไหมว่าพระมีเงินเท่าไหร่ คนบริจาคเท่าไหร่ วัดควรจะต้องเสียภาษีไหม แล้วการทำบุญกับพระกับวัดได้ทำประโยชน์คืนให้แก่สังคมมากน้อยเท่าไหร่กัน เราไม่ค่อยได้ถามกันนะ ถ้าวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ วัดทุกวันนี้เจ๊งหมด ล้มเหลวหมด ว่าไหม? + ดูเหมือนเป็นการหากินกับความศรัทธาของคนแบบนั้นหรือเปล่า มันเป็นเรื่องต่างตอบแทน เอาจริงๆ แล้วคนก็ต้องการแบบนั้นด้วย เรากำลังส่งเสริมให้คนต้องการ "ที่พึ่ง" คือโครงสร้างสังคมแบบนี้ โครงสร้างศาสนาแบบนี้ ทำให้คนอ่อนแอง่อยเปลี้ยหมด พระก็อ่อนแอ ฆราวาสก็อ่อนแอ มันเป็นโครงสร้างที่ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง อย่างที่บอกว่าเป็นโครงสร้างของกาฝาก เป็นโครงสร้างที่ไม่ยึดโยงอยู่กับความเป็นจริง สังคมทุกวันนี้เป็นประชาธิปไตยแล้ว เป็นสังคมที่ต้องดูแลตัวเอง ทุกคนต้องพึ่งพาตัวเอง ทุกคนต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองให้ได้ ประชาธิปไตยเป็นแบบนี้นะ แต่โครงสร้างของคณะสงฆ์ โครงสร้างของศาสนา มันเป็นโครงสร้างที่เหมือนกับว่าพระเองก็ไม่ได้พึ่งตัวเองแล้ว โอเค ไม่พึ่งตัวเองก็ไม่เป็นไร แต่ศรัทธาและผลประโยชน์ที่เข้าไปสู่ระบบแบบนี้มันกลับไม่ได้คืนกลับมาสู่ประโยชน์ต่อสังคมเลย เพราะฉะนั้นโครงสร้างบุญนิยมแบบนี้มันเหมือนกับว่า คุณยิ่งมีอำนาจและสถานะสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ถ้าสูงแล้วคุณก็ไม่ต้องสนใจใคร ไม่มีใครตรวจสอบคุณได้ ทำอะไรก็ไม่ผิด ไม่ต้องสนใจสังคมด้วย + หรือเขาคิดว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของพระ ที่จะมาทำประโยชน์ให้แก่สังคม ก็คิดกันแบบนั้นพระถึงเสียคน แล้วทำไมพระถึงไม่ไปอยู่ป่าให้หมดล่ะ แล้วถ้าคิดแบบนั้น จะมีโครงสร้างคณะสงฆ์แบบรัฐไปทำไม ทำไมไม่ยกเลิกให้หมด สุดท้ายเราต้องการอะไรกันแน่ พระไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับสังคม พระไม่ต้องทำอะไร แค่มีพระไว้รับสังฆทานอย่างเดียวแบบนั้นเหรอ นี่แหละ พระเลยเสียหมด วิธีคิดแบบนี้มันเป็นวิธีคิดที่ทำลายพระ เราไม่มองพระเป็นมนุษย์ที่เป็นตัวของตัวเองเลย เราสร้างระบบต่างตอบแทนอย่างที่ผมบอก คือ คุณทำให้ฉันรู้สึกดี ฉันก็จะทำให้คุณรู้สึกดี ฉันเลี้ยงคุณไว้ คุณก็ช่วยทำให้ฉันรู้สึกดี ฆราวาสที่ไปหาพระก็เพราะทำให้ตนเองรู้สึกดี คล้ายๆกับว่า รู้เขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก หลอกกันไปหลอกกันมา แต่ถ้าเรามองปัญหานี้แตก เราก็จะเข้าใจว่าปัญหาของศาสนาพุทธทุกวันนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เพราะฉะนั้นผมก็จะคิดว่า ถ้าจะแก้ปัญหานี้มันต้องแก้ในเชิงโครงสร้างก็คือทำอย่างไรให้ศาสนาพุทธในเมืองไทยถูกมองในแง่ที่จริงมากขึ้น ในแง่นี้ก็ต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้ศาสนามันแตกออกมา ไม่ได้เป็นโครงสร้างแบบกาฝากอย่างที่เป็นอยู่ + คือเราไม่ควรแก้ปัญหาที่หยุดบริจาคเงิน คือการจะบริจาคหรือไม่บริจาคเงินมันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ไม่งั้นเราก็จะวนอยู่รอบปัญหาเดิมๆ แบบนี้ไปเรื่อยๆ + แล้วการทะลุกรอบไปต้องมองอย่างไร มองศาสนาในแง่จริง มองว่าศาสนาต้องสัมพันธ์อยู่กับคน สัมพันธ์อยู่กับชุมชนตามที่เป็นจริง ถ้าคนนับถือพระแบบไหนก็ให้เขานับถือพระแบบนั้นไป เพราะฉะนั้นความเชื่อต้องแตกออก ศาสนาไม่ได้มีแบบเดียว ไม่มีศาสนาแบบรัฐที่ครอบจินตนาการทางศาสนาทั้งหมด แบบที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ ปัญหาคือการที่มีโครงสร้างศาสนาแบบรัฐครอบวิธีคิดทางศาสนาทั้งหมดของพลเมืองอยู่ เราถูกสอนตั้งแต่ในโรงเรียน เราถูกสอนทางสื่อ เราถูกสอนทางวิธีคิดทุกอย่าง มันเป็นพุทธศาสนาแบบรัฐทั้งหมด พิธีกรรมเข้าพรรษาเอย การงดเหล้าเข้าพรรษาเอย การงด การห้าม การแบนทุกอย่าง พวกนี้มันผูกโยงอยู่กับแนวคิดของพุทธศาสนาแบบรัฐแทบทั้งหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถจะล้มเลิกวิธีคิดแบบพุทธศาสนาแบบรัฐได้ มันก็จะตกร่องแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ + คือหมายความว่า ให้คนศรัทธาพระแบบไหนก็ศรัทธาไปแต่ว่าหลักก็คือมีศาสนาได้หลายแบบ แล้วมันอย่างไรต่อ ก็ยกเลิกมหาสมาคม ยกเลิกคณะสงฆ์ ไม่ต้องให้รัฐสนับสนุนด้านศาสนาใดๆ ทั้งนั้น ศาสนาเป็นเรื่องของประชาชน เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ศาสนาเป็นเหมือนรสนิยม เป็นเหมือนคุณจะชอบอะไร คุณจะกินกาแฟรสอะไร มันเป็นเรื่องรสนิยมแบบนั้นเลย คือคุณไม่ต้องไปเสือกเรื่องของคน เรื่องของประชาชนใดๆ ทั้งสิ้น คุณไม่ต้องไปเสือกว่าเขาจะกินเหล้า เมื่อไหร่ อย่างไร ยกเว้นเรื่องนั้นจะไปกระทบสิทธิเสรีภาพของคนอื่น หรือมันไปสร้างความเดือดร้อนอะไรให้กับคนอื่น คุณแคร์เรื่องกินเหล้าแล้วขับรถ แบบนี้โอเค หรือถ้าคุณนับถือศาสนาสักอย่างแล้วกล่อมให้คนกระโดดตึก โอเค แบบนี้ถือว่ากระทบกับสวัสดิภาพของคนอื่น ต้องมีกฎหมายเขามาควบคุมกำกับ แต่กฎหมายพวกนี้ต้องมีมาตรฐานเดียวแล้วก็ปล่อยอิสระไปเลย ให้ศาสนาเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลไปเลย คุณจะศรัทธาอย่างไรก็ได้ คุณจะศรัทธาไสยศาสตร์หรือจะนับถืออะไรก็แล้วแต่คุณ รัฐไม่มีหน้าที่มาเทศนาสั่งสอน พระวัดไหนจะทำธุรกิจ จะทำพระเครื่องขาย จะทำอย่างไรก็ได้เป็นเรื่องของเขา + แล้วมันไม่เสื่อมเข้าไปใหญ่เหรอ ไม่เสื่อมเลยครับ แบบนี้ทุกคนจะมีสติปัญญาของตนเองในการเลือก ศาสนาก็จะเป็นเหมือนศาสตร์อื่นๆ ในสังคมนี้ มันเป็นเหมือนทุกอย่างในโลกสมัยใหม่ คุณรับผิดชอบในสิ่งที่คุณซื้อ คุณรับผิดชอบในสิ่งที่คุณเลือก ที่สำคัญคือคุณรับผิดชอบตัวเอง ในยุคของบริโภคนิยม ไม่ว่าจะบริโภคทางวัตถุหรือบริโภคทางศรัทธา ความคิด ความเชื่อ การศึกษา คุณรับผิดชอบในสิ่งที่คุณบริโภค แนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดที่ empower เลยนะ คือเราก็ไม่ได้คิดแทนคนอื่นไง แล้วเราปกป้องนะ ปกป้องในระดับหนึ่งในเชิงของกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยที่สนับสนุนเรื่องสิทธิเสรีภาพ แล้วมันไม่อีหลักอีเหลื่อไง คือด้านหนึ่งคุณบอกว่าคุณเป็นประชาธิปไตย คุณสนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ทุกวันนี้มันคืออะไร มันไม่ได้สนับสนุนให้คนฉลาดขึ้นเลย รัฐกลับทำหน้าที่ไปเป็นคนที่บอกว่าอันนี้ถูก อันนี้ผิด ศาสนาพุทธต้องเป็นแบบนี้ คุณต้องนับถือศาสนาพุทธสิ ไม่นับถือไม่ได้ พุทธศาสนามันถึงได้เสื่อมลงๆ รัฐไม่เคยเชื่อมั่นว่าประชาชนฉลาด มีสติปัญญาคิดเองได้ + ในยุคนี้ อะไรควรจะเป็นที่พึ่งทางใจของคน ตัวเอง ยุคนี้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน... จริงๆ แล้ว จิตวิญญาณทางสังคมแบบประชาธิปไตยเนี่ยไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ นะ คนทุกคนกลัว เราเกิดมาด้วยความกลัว แรกๆ เราก็ต้องการพ่อแม่ เป็นที่พึ่งให้กับเรา ปกป้องเราจากความทุกข์ เพราะฉะนั้นรัฐสมัยก่อนก็ทำหน้าที่เป็นพ่อเป็นแม่ให้เรา ผู้ปกครองได้แก่ พวกกษัตริย์ ก็คือคนที่ช่วยรบให้เราหน่อย ช่วยปกป้องเราที คิดแทนเราที เราก็มีหน้าที่แค่ทำมาหากิน มีลูก ผลิตไพร่พล แต่เราไม่ได้มีหน้าที่คิดว่าเราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร เราไม่มีเสรีภาพอะไร เราก็ทำไปอย่างนั้น เพราะเรากลัว ขอให้ใครก็ได้มาปกครองเราที เป็นแบบอย่างให้เราที เป็นทึ่พึ่งทางใจให้เราที แต่ทุกวันนี้เราเรียกร้องเองนะ ว่าเราขอคิดเอง เราขอมีชีวิตที่เราเลือกเอง และเราขอรับผิดชอบชีวิตนี้ด้วยตัวของเราเอง นั่นคือความเป็นปัจเจกบุคคล และในทางสังคมเรายังบอกว่าเราขอมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของสังคมที่เราอยู่ด้วย เราขอเป็นคนที่มีส่วนร่วมในการกำหนดว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรเป็นศีลธรรม อะไรไม่เป็นศีลธรรม เราขอมีเสรีภาพในการคิดต่าง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในสังคมประชาธิปไตย ถ้าเราเป็นเกย์ สมัยก่อนเราอาจจะถูกเผา ผู้ปกครองอาจบอกว่า มึงเป็นเกย์ มึงตายซะเถอะ เราก็ต้องยอม ทำอะไรไม่ได้ เราอาจจะต้องปกปิดความเป็นเกย์ของเรา ไม่ให้สังคมรับรู้ เพราะว่าเราไม่มีสิทธิกำหนดเลยว่า สังคมที่เราอยากจะอยู่ควรเป็นยังไง + ที่พึ่งทางใจ ตกลงคือตัวเอง? มันพอหรือสำหรับคนในสังคมที่บางคนคิดเองก็ยังแปลกๆอยู่ โอเค เราจะคาดหวังให้คนทุกคนพึ่งตัวเองก็เป็นไปไม่ได้ บางคนก็ต้องการที่พึ่งทางใจ สมัยก่อน มันง่ายมากเลยนะ มีต้นตะเคียน เราก็ไหว้ต้นตะเคียน จริงๆ ผมว่าการไหว้ต้นตะเคียน เป็นสิ่งที่คุ้มในทางเศรษฐศาสตร์มากเลย (หัวเราะ) เพราะมันไม่ต้องลงทุน ต้นตะเคียนใหญ่ๆ เนี่ย มันขึ้นเอง ไม่ต้องลงทุนอะไร แล้วทุกวันนี้เราก็ยังไม่ไปไหนไกลเท่าไหร่ ที่เป็นอยู่ในวัดทุกวันนี้ จริงๆ วัดหลายๆ วัดก็พยายามทำตัวเองเป็นต้นตะเคียนเหมือนกันนะ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านี่คือสิ่งที่คนจำนวนไม่น้อยต้องการ เพียงแต่ว่าต้นตะเคียนนี้มันมีปัญหามาก เพราะมันเป็นต้นตะเคียนที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมที่ใหญ่กว่าคือถ้ามันเป็นแค่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ถ้าล้มก็ล้มไป แต่นี้ผลกระทบมันเยอะมาก มันค้ำกันไปค้ำกันมา โยงกันเป็นโครงสร้าง ตั้งแต่เรื่องการศึกษา การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ มันมีผลต่อชีวิตเรามาก เพราะฉะนั้นผมถึงรู้สึกว่า การที่เราจะให้พุทธศาสนาเป็นอย่างที่เป็นอยู่เนี่ย ผมไม่โอเค มันสิ้นเปลืองเกินไป และที่สำคัญคือมันกลายเป็น "คุณค่ากระแสหลัก" ที่ส่งเสริมให้คนกราบไหว้ต้นตะเคียน ซึ่งไม่น่าจะดีละ เพราะฉะนั้นเราในฐานะนักวิชาการ ก็เสนอว่าถ้าสังคมจะเคลื่อนไปข้างหน้า เป็นสังคมแห่งสติปัญญา คุณต้องแยกศาสนากับรัฐออกจากกัน เพราะรัฐเนี่ย เราต้องการผลักดันให้เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตยที่เปิดกว้างทางความคิด ส่วนศาสนา ก็ควรเอาออกมาให้เป็นเรื่องของการลองผิดลองถูกของปัจเจกบุคคลไป รับผิดชอบกันเอง ถ้าคุณอยากสนับสนุนวัดที่ปลูกต้นตะเคียนให้คนกราบไหว้ คุณก็สนับสนุนเลย ไม่มีปัญหาอะไรนี่ คุณจะสนับสนุนวัดที่สร้างพระพุทธรูปใหญ่โต อลังการ เพื่อจะเป็นที่พึ่งทางใจให้คนมากราบไหว้ คุณก็สนับสนุนโดยตรงไปเลย ไม่มีปัญหา เพราะคุณแน่ใจแล้วว่าวัดนี้ได้สร้างในสิ่งที่คุณต้องการ เพราะฉะนั้นแต่ละวัดก็จะมีคาแรคเตอร์ต่างกัน แล้วก็จะมีคนที่สนับสนุนแต่ละวัดนั้นอย่างชัดเจน แล้วคนกลุ่มนั้นก็จะมีส่วนร่วมในการตรวจสอบแล้วก็รับผิดชอบ มันเรียลลิสติก บางคนก็จะกังวลว่า การเปิดเสรีทางศาสนาโดยที่รัฐไม่เข้ามาควบคุมเลย แล้วจะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมลง บางคนกลัวนะ แต่จริงๆ แล้วผมว่ามันตรงกันข้าม มันจะทำให้พลวัตต่างๆ ดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะมันจะทำให้คนที่ศรัทธา เขาได้รู้ว่าเขาศรัทธาอะไร แล้วมันจะทำให้วัดที่ร้างๆ ทุกวันนี้ ผมว่านะ วัดที่มันร้างๆอยู่ทุกวันนี้ ให้เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะให้หมด ให้รัฐยึดคืนมาเลย เก็บเอาไว้เฉพาะแต่วัดที่มีคนศรัทธาจริงๆ แล้วคนที่สนับสนุนจริงๆ ทำให้สินทรัพย์นั้นเป็นของเอกชน เป็นเชิงมูลนิธิ หรือองค์กรเอกชนที่ตรวจสอบได้ในมาตรฐานเดียว แล้วพลวัตพวกนี้ก็จะอยู่กับประชาชนจริงๆ อะไรที่อยู่ไม่รอดก็ตายไป แค่นั้นเอง แล้วพุทธก็จะเป็นพุทธจริงๆ คือเกิดการเรียนรู้ เกิดการปฏิบัติ เกิดการตั้งคำถาม ว่าสำนักนั้นสอนยังไง สำนักนี้ทำอะไร การตีความคำสอนก็เปิดเสรีไปเลย เพราะการตีความคำสอนทางศาสนาก็คือการเรียนการศึกษา คุณก็ต้องใช้สติปัญญาของคุณเอง คุณจะรู้ได้ไงว่าคำสอนนี้ผิด คำสอนนี้ถูก คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนของธรรมกายมันผิดหรือถูก หรือมันดีกว่าที่มหาเถรสมาคมสอนหรือเปล่า แล้วสำนักพุทธที่กล่อมเกลาเราอยู่ทุกวันนี้มีเนื้อหาสาระหรือเปล่า ก็ต้องเปิดให้ตั้งคำถาม ถกเถียง ลองผิดลองถูก จะได้รู้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นก็ debate กันเลย สู้กันเลยทางสติปัญญา มันก็เปิดหมด เปิดทั้งด้านการศึกษา ทั้งด้านความเชื่อ ทั้งด้านการอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ซึ่งโครงสร้างทางศาสนาที่มันปฏิรูปแบบนี้ มันก็จะสอดรับกับความเป็นจริง พอมันสอดรับกับความเป็นจริงปุ๊บ มันก็จะตั้งอยู่บนความเป็นจริง มันก็จะติดดิน มันจะไม่ลอยเป็นกาฝาก แค่นี้เองครับ secularization นี่คือการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง + ตอนนี้ที่คนตั้งคำถามกัน ว่าหาพระดีๆ นับถือยาก แล้วเกณฑ์ของพระดีๆ คืออะไร? ตกลงคำถามนี้มันมีคำตอบไหม? ต้องถามกลับว่า ที่บอกว่าพระดีเนี่ยคุณต้องการอะไรล่ะ คุณต้องการพระแบบพระพุทธรูปเหรอ หรือคุณต้องการต้นตะเคียน (หัวเราะ) ถ้าถามว่าทำไมทุกวันนี้ไม่มีพระที่ดี ผมก็จะถามว่าแล้วพระดีของคุณเป็นแบบไหนเหรอ แล้วคุณมีส่วนช่วยในการสร้างพระที่ดีของคุณยังไง ทุกวันนี้ ถ้าให้คนเดินไปเลือกพระดี เขายังไม่รู้เลยว่าจริงๆ เขาต้องการอะไรกันแน่ เลยกลายเป็นว่าขอให้คุณเป็นพระที่ดัดจริตนิดหนึ่ง สร้างภาพได้ เขาก็มองว่าเป็นพระดี หรือขอให้พระไม่มีเมีย ไม่มีเซ็กส์ให้รู้ต่อหน้า ลับหลังเป็นยังไงไม่รู้นะ ก็เออ แค่นี้ก็เป็นพระดี คือคนรู้แค่นี้ ก็เอากันแค่นี้เอง + แต่เราจะเห็นข่าวคราวของพระไม่ดีในสื่อมากขึ้น ใช่ สื่อทุกวันนี้ก็กลายเป็นสื่อที่โจมตีเรื่องไม่ดีแบบนี้มากขึ้นด้วยนะ เพราะมันง่าย ง่ายที่จะดึงเคสที่หวือหวามาทำข่าว ทุกอย่างเลยเป็นขาว-ดำ ไปหมด นี่คือปัญหาเรื่องการมองกรอบธรรมวินัยภายใต้โครงสร้างศาสนาแบบรัฐ ที่ทั้งพระ ฆราวาส สื่อ ตกร่องการมองแบบนี้หมด พูดง่ายๆ ทุกวันนี้ กรอบธรรมวินัยถูกตีความในกรอบของคณะสงฆ์ของรัฐ มันก็จะเป็นการตีความในแง่จับผิดหมดเลย เป็นธรรมวินัยแบบอำนาจนิยมที่ตีความแบบบนลงล่าง ไม่ได้ส่งเสริมจากรากฐานขึ้นมา คือธรรมวินัย โดยความตั้งใจเดิม มันมีเพื่อการสร้างคน สร้างชุมชน สร้างกฏเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน ที่ทำให้คนไว้วางใจซึ่งกันและกัน กฏเกณฑ์ของมันจะเหมือนกันว่าพระต้องทำยังไงในการอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะมีเรื่องของการฉัน การนอน การอยู่ร่วมกัน ฯลฯ เป้าหมายคือเพื่อให้ชุมชนผู้ปฏิบัติธรรมตรวจสอบตัวเองและตรวจสอบกันเอง แล้วชุมชนนั้นก็จะเป็นชุมชนในอุดมคติ เป็นแบบอย่างให้กันและกัน แต่พอทุกวันนี้มันกลายเป็นจินตนาการแบบคณะสงฆ์ของรัฐ ซึ่งมันล่องลอยมาก มันไม่ได้เป็นชุมชนอะไรเลย กฎเกณฑ์เหล่านี้จึงถูกตีความในแง่ของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายแบบนี้ก็คือการจับผิด เหมือนทุกคนช่วยกันเป็นตำรวจธรรมวินัย คือไปจ้องจับผิดว่าพระจะผิดเมื่อไหร่ พระก็จ้องจับผิดกันเอง ซึ่งมันทำให้บรรยากาศในคณะสงฆ์หรือบรรยากาศของชุมชนทางศาสนา เป็นบรรยากาศที่ระแวดระวังกันไปหมด ส่วนคนที่ประพฤติปฏิบัติดีก็ระแวดระวังตัวเองด้วย ไม่มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติแบบเอื้อเฟื้อ เป็นมิตรไว้วางใจ หรือเปิดกว้างต่อกันเลย ซึ่งเมื่อแยกรัฐกับศาสนาออกจากกัน ผมว่ามันจะเปลี่ยน อำนาจจากศูนย์กลางจะกระจายออกไปไม่รวมศูนย์ ไม่มีการควบคุมบังคับทางศาสนา บรรยากาศจะกลับมาเปิดกว้างอีกครั้ง พุทธศาสนาจะกลับไปอยู่กับท้องถิ่น ประชาชนเป็นเจ้าของศาสนาและจะช่วยกันดูแลศาสนาในชุมชนของตัวเอง ที่สำคัญจิตวิญญาณของธรรมวินัยก็จะกลับคืนสู่ชุมชนผู้ปฏิบัติ ส่งเสริมให้มีผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยอย่างจริงจังมากขึ้นและเกิดสังฆะอิสระที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น + ก็ถ้าสมมติว่ามันผิดล่ะ เช่นเคสที่เราเห็นๆอยู่ ผิดก็ผิด พระผิดศีล พระปาราชิก จริงๆก็เรื่องธรรมดา แต่ทุกวันนี้มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ กลายเป็นปัญหาสังคมที่สื่อชอบนำมาเล่น แล้วคนก็ชอบเสพกัน จนมันส่งผลต่อจิตสำนึกของคนมากกว่าแค่ พระต้องอาบัติธรรมดาๆ …ที่มันไม่ปกติขับเน้นเป็นขาว-ดำ อย่างรุนแรงก็เพราะมันอยู่ในโครงสร้างที่รวมศูนย์แบบนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าจินตนาการในการตีความธรรมวินัยแบบนี้มันเสียหายตั้งแต่แรกแล้วนะ คือยังไงมันก็ผิด เพราะว่าแม้แต่พระเอง ที่ใช้จินตนาการในการมองธรรมวินัยแบบนี้ ก็ยังมองธรรมวินัยเป็นกฏหมายเสียเองเลย แถมเป็นกฏหมายที่มีร่องของการตีความแคบๆ แบบปกป้องตัวเองด้วย เพราะฉะนั้นเขาก็จะมองในแง่ที่ว่า หนึ่ง คุณจะทำยังไงก็ได้ อย่าให้ผิดธรรมวินัย อย่างที่สองคือ ถ้าผิด ก็ตีความเข้าข้างตัวเองให้ไม่ผิด มันเลยมีปัญหาที่ว่า เณรคำผิดไหม ว.วชิรเมธี ผิดไหม หลวงตามหาบัวผิดไหม ก็ไม่ผิดหมดน่ะ เพราะเขาตีความยังไงก็ได้ให้ตัวเองไม่ผิดไง ถามว่าทำไมเณรคำถึงเปรี้ยวมาก ทุกวันนี้ ถึงขั้นจะจ้างทนายมาสู้คดีแล้ว เพราะกรอบการตีความธรรมวินัยแบบรัฐ มันเป็นแบบนี้ พระมองวินัยเหมือนเป็นกฏหมาย ถ้าเป็นแบบนี้พระก็ต้องจ้างทนายมาสู้คดี เพื่อให้ตัวเองไม่ผิด วิธีการมองปัญหาของพุทธศาสนาแบบรัฐ มันเป็นการมองที่ผิดแต่แรก + แล้วจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ควบคุมถ้าไม่ใช่ธรรมวินัยหรือกรอบแบบนี้ อย่างเช่น เพราะกฎเกณฑ์บางอย่างมันก็ดีอยู่แล้ว ที่พระจะปฏิบัติตามกรอบธรรมวินัยนี้ หรือมันไม่ดี ดีแน่หากพระปฏิบัติตามกรอบธรรมวินัย แต่ธรรมวินัยที่พระปฏิบัติตัว มันก็ต้องมีบริบทที่มันติดดิน เรียบง่าย และเป็นกันเอง แล้วการปฏิบัติตัวตามธรรมวินัยต้องสัมพันธ์กับโลกของความเป็นจริง สัมพันธ์กับมนุษย์ สัมพันธ์กับคน ทำไมพุทธทาสถึงแยกทางกับการเรียนแบบคณะสงฆ์แล้วไปตั้งสวนโมกข์ ก็เพราะท่านรู้ว่าธรรมวินัยที่แท้มันไม่ใช่แบบนี้ ถ้ากรอบธรรมวินัยที่ตีความแบบรัฐ พระก็ไม่เป็นพระ สถานะก็เลื่อนลอย ไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างที่เห็นทุกวันนี้ ธรรมวินัยชุดนี้ไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากใช้ปกป้องสถานะของตัวเองไปวันๆ คือคุณจะตีความธรรมวินัยถูกยังไง มันก็เป็นแค่ธรรมวินัยที่จับผิดพระมีเซ็กส์ คือธรรมวินัยทุกวันนี้มีหน้าที่อะไรในแง่ของรัฐ ในแง่กฎหมาย ก็คือมีหน้าที่แค่จับพระสึก หากจับได้ว่ามีเซ็กส์ แต่คุณไม่ได้สนใจเลยว่าพระปฏิบัติตัวในด้านอื่นๆ ยังไง หากสนใจก็สนใจกันแบบหยุมหยิมเกินไป ซึ่งบ่งบอกว่าในโครงสร้างแบบนี้ ระยะห่างระหว่างพระกับฆราวาสมีมาก + แล้วมีเซ็กส์มันผิดไหม? ตามธรรมวินัย พระจะมีเซ็กส์ไม่ได้ แต่คุณจะสนใจแค่พระมีเซ็กส์อย่างนั้นเหรอ สุดท้ายแล้วสื่อทุกวันนี้ก็ตกร่องอยู่ในธรรมวินัยแบบนี้ทั้งหมดเลยนะ ข่าวเกี่ยวกับพระก็มีอยู่เรื่องเดียวคือพระมีเซ็กซ์ (หัวเราะ) จะเอาแบบนี้กันจริงๆ เหรอ วัฒนธรรมพุทธแบบจ้องจับผิดนี้ไม่มีทางเจริญรุ่งเรืองได้เลย ผมถึงบอกไงว่า โครงสร้างแบบนี้มันมีปัญหา ถ้าคุณไม่หลุดจากโครงสร้างแบบนี้ มันก็จะวนในอ่างไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมพยายามจะยืนยันมาตลอดคือ คุณต้องให้ศาสนาพุทธมันหลุดออกจากอำนาจรัฐ แล้วธรรมวินัยจึงจะกับมาฟังก์ชั่นได้ สิ่งมีค่าที่สุดที่รัฐไทยจะทำให้กับพระศาสนาได้มากที่สุดในยุคสมัยนี้ คือปลดปล่อยพุทธะให้เป็นอิสระ ทีนี้สังฆะก็จะแตกออกไป เป็นชุมชนจริงๆ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์อยู่กับผู้ศรัทธา แล้วคนก็จะตรวจสอบพระกันจริงๆ เพราะนี่คือพระที่เขาศรัทธา เป็นพระที่เขาแคร์ ที่เขาใส่ใจจริงๆ จะมีความใกล้ชิดกันระหว่างฆราวาสกับพระ ระหว่างพระกับพระ ระหว่างฆราวาสกับฆราวาส มันจะเกิดเป็นชุมชนของผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติตามเนื้อหาสาระของธรรมวินัย ซึ่งเป็นธรรมวินัยที่มีความเป็นมนุษย์ มีความเอื้อเฟือต่อกัน แล้วก็ตรวจสอบตัวเอง ไม่ใช่ตรวจสอบโดยสื่อ หรือโดยอำนาจจากภายนอก จากกฎหมาย จากคณะสงฆ์ หรือเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด ไม่ได้ตรวจสอบจากมหาเถรสมาคม ไม่ได้ตรวจสอบจากสรยุทธ์ หรือจากอะเดย์บูเลติน… สุดท้ายมันจะกลับคืนสู่จิตวิญญาณของธรรมวินัย ที่เป็นพุทธ คือคุณตรวจสอบตัวเองและตรวจสอบกันเอง พระทุกวันนี้ดูตัวเองบ้างไหม ซื่อตรงกับตัวเองจริงไหม? ลองเดินเข้าไปตามวัดต่างๆ วัดหลวง วัดราช พระเป็นพระที่ไหน มีรถเบนซ์ทั้งนั้นครับ มีกุฏิใหญ่โตทั้งนั้น แล้วนี่ไง ก็ไม่ผิดธรรมวินัยใช่ไหม แต่บอกตรงๆ แบบนี้เขาเรียกว่าไม่มีสมณสารูปเลย แล้วคุณยังมาบอกว่าธรรมวินัยแบบนี้ใช้การได้ มันใช้การไม่ได้เลยนะ เพราะธรรมวินัยแบบนี้ พระไม่ผิด (ตามตัวบท)ไม่มีบัญญัติไว้ว่าผิด นี่ไงพระไทยอยู่ในกรอบคิดแบบนี้ แล้วเราก็สนับสนุนโครงสร้างทางความคิดแบบนี้ด้วยวาทกรรมทำนุบำรุงพระศาสนา + พูดถึงการตรวจสอบ ในแง่ของความศรัทธาของเราเอง เราจะสามารถตรวจสอบได้ไหม ควรตรวจสอบอย่างไร เพื่อไม่ให้กลายเป็นความงมงาย ในสภาพที่เป็นอยู่ ผมก็แนะนำว่า ทุกคนควรมองศาสนาด้วย วิจารณญาณมากขึ้น คือกล้าที่จะตั้งคำถามแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์มัน อาจจะแบบพื้นๆเลย เช่น เราให้เงินพระไป แล้วพระเอาไปทำอะไร วัดนี้มีเงินเป็นร้อยล้าน เขาเอาไปทำอะไร แล้วเงินเหล่านี้ได้ประโยชน์กับสังคมบ้างหรือเปล่า พระเสียภาษีหรือเปล่า ซึ่งถ้าพระไม่ต้องเสียภาษี วัดก็กลายเป็นที่ฟอกเงินเลย แล้วเรารู้ไหมเนี่ย เราควรตั้งคำถามแบบนี้เลย แล้วการตั้งคำถามแบบนี้ก็จะช่วย มันเป็นการสร้างความตื่นตัวให้เกิดขึ้นไปในตัว แต่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดเลย คือศาสนาต้องเป็นอิสระจากรัฐ ศาสนาควรเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง มากกว่านั้นคือในเรื่องของคำสอน ต้องเปิดกว้างให้กับการศึกษาและตีความอย่างเป็นอิสระ ซึ่งก็จะสอดรับกับบรรยากาศการเปิดกว้างทางความคิดของสังคมประชาธิปไตยด้วย ทุกวันนี้โครงสร้างคณะสงฆ์แบบรัฐ ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาร้อยปีนี่เอง แต่แค่ร้อยกว่าปีเนี่ย มันก็ได้ทำลายจินตนาการอื่นๆ ของการตื่นรู้แบบพุทธ ที่เรามีเกือบหมดแล้ว ทุกวันนี้ที่เราเรียนพุทธศาสนามาตั้งแต่ในโรงเรียน เราถูกกล่อมเกลามาในแบบของรัฐทั้งนั้นเลย ดังนั้นถ้าคนจะนับถือศาสนาพุทธทุกวันนี้ ผมก็อยากแนะนำว่า หนึ่ง มองศาสนาด้วย critical mind ลองศึกษาศาสนาพุทธหลายๆแบบ นับถือครูบาอาจารย์ที่มีการตีความคำสอนหลายๆแบบ หลายๆคนก็ได้ แล้วก็อ่านหนังสือหลายๆประเภท ไม่ใช่แค่อ่านธรรมะเป็นการชโลมใจ ไม่ใช่อ่านแต่สิ่งที่เราชอบ ลองอ่านสิ่งที่เราไม่ชอบดูบ้าง ลองอ่านหนังสือธรรมะแปลกๆ ลองอ่านหนังสือธรรมะที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ที่แปลมาจากภาษาอื่นๆ เพื่อที่จะให้เรามีจินตนาการที่กว้างไกลมากขึ้น มากกว่าที่รัฐมอบให้เรา สอง ลองออกไปนอกประเทศ แล้วไปดูพุทธศาสนาในประเทศอื่นๆ ในสังคมอื่น ที่เขาไม่ได้มีการควบคุมของรัฐ ดูสิว่าเขาเติบโตไหม ดูว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆเขามีคนศรัทธาไหม ดูว่าเขาปฏิบัติกันได้จริงไหม ดูว่าพุทธศาสนาที่ไปรุ่งเรืองในโลกตะวันตก เขาอยู่กันยังไง เขาจัดการกันยังไง มันรุ่งเรืองยังไง มีคนปฏิบัติธรรมเยอะมากในอเมริกา ในยุโรป ดูว่าเขาทำกันยังไง แล้วสุดท้าย มันอาจทำให้เรามีจินตนาการว่า จริงๆแล้ว มันน่าจะดีหรือเปล่า ที่รัฐไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับศาสนาของเรา เราไม่ต้องเรียนจากในโรงเรียน เราเรียนรู้กันเอง เรียนเพราะเราสนใจจริงๆ เรียนเพราะเราเลือกเองว่าอยากจะเรียน อ่านเพราะเราเลือกเองว่าอยากจะอ่าน ศรัทธาเลือกเรียนกับพระรูปนี้ เพราะเราสนใจคำสอนแนวทางนี้ + แต่สังคมเราก็ยังมีคนที่อยากทำบุญ ทีนี้คำว่าทำบุญ มันก็นำมาสู่ปัญหาต่างๆ อย่างที่เห็นด้วย อยากทราบว่าแล้วการทำบุญสำหรับคุณมันคืออะไร การทำบุญแปลว่า สิ่งที่ทำแล้วจิตใจเราสูงขึ้น จริงๆแล้วการทำบุญมันทำให้ใจเราสบาย เหมือนคุณทำอะไรก็ได้ที่ทำแล้วสบายใจ ปลูกต้นไม้ก็ถือว่าทำบุญ จริงๆการทำบุญมีหลายแบบมาก แล้วบุญก็มีหลายแบบ ทั้งบุญที่หยาบๆ หรือบุญที่ละเอียดขึ้นไป ถ้าเป็นบุญที่ละเอียดขึ้นไปก็จะเรียกว่าบุญกุศล บุญกุศลก็คือเป็นบุญแล้ว ก็เป็นกุศลด้วย เราได้ขัดเกลาจิตใจตัวเอง ขัดเกลาตัวตน ให้เราเล็กลง ชีวิตเราเบาสบายมากขึ้น นำไปสู่การเสียสละเพื่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วบุญมันมีความหลากหลาย แล้วถ้าคุณใช้สติปัญญาในการทำบุญไปด้วย มันก็จะทำให้เ็ห็นว่าบุญมันทำได้เยอะมาก แล้วก็เชื่อมต่อกับคนในบริบทความทุกข์ได้หลากหลายมาก แต่ทุกวันนี้ปัญหาของการทำบุญ เพราะเราถูกครอบโดยความคิดของพุทธศาสนาแบบกาฝาก มันไม่ได้ตั้งอยู่บนความเป็นจริงเลย เราไปทำบุญในแง่ที่เราศรัทธาว่าสิ่งนี้มันศักดิ์สิทธิ์ มันสูงส่ง แล้วสิ่งนี้จะเป็นที่พึ่งทางใจของเรา เพราะฉะนั้นการทำบุญของเรามันจะตื้นเขินมาก ก็คือคุณทำบุญแล้วคุณก็เอาไปให้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซื้ออะไรไป ถวายเงินไป แล้วคุณก็สบายใจว่าคุณทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นปกป้อง คุ้มครองคุณไปยั้งยืนนาน มันก็เหมือนการไหว้ต้นตะเคียนน่ะ เราทำบุญกันแบบนี้ ซึ่งมันไม่ได้จรรโลงอะไรเลย มันน่าเศร้ามาก ที่เอาเงินเยอะขนาดนั้นไปทำอะไรที่มีเป้าหมายแค่ทำใ้ห้ตัวเองสบาย ผมเชื่อว่าการทำบุญ มันต้องนำไปสู่กุศล แล้วกุศลนั้นมันทำเพื่อสละ ละตัวตน ทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มันทำเพื่อกระจายความเมตตากรุณาไปสู่ความทุกข์ของคนในสังคมจริงๆ ตรงนี้มันก็ต้องมองแล้วว่ารอบตัวเรามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สติปัญญาจึงเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาบุญกุศลด้วย + อย่างมีคนบอกว่า จะไปสนใจทำไมว่าจะเอาเงินไปบริจาคที่ไหน ถ้าทำแล้วมันสบายใจ ก็ใช่ แต่มันเป็นบุญที่แบบ… คือจริงๆ แล้วบุญมันทำให้เราใจสูงนะ มันทำให้ใจเราลอยด้วย สะสมบุญมากๆ มันก็จะทำให้คุณสบายใจ มันก็จะเบาสบาย แต่ว่าพอคุณลอยไปมากๆ มันก็ทำให้คุณโง่เหมือนกันนะบางที เพราะว่ามันไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง สุดท้ายมันก็ไม่ส่งเสริมสติปัญญาของคุณต่อไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นผมมองว่าบุญต้องนำไปสู่กุศล คือบุญมันเป็นแค่ขั้นต้นเท่านั้น กุศลมันเป็นขั้นของสติปัญญา เราจะมองในแง่ปัจเจกก็ได้ แต่สุดท้ายผมว่าเราก็ต้องมองในแง่สังคมด้วย อย่างที่เราคุยกัน เราช่วยกันตั้งคำถามว่าทำไมโครงสร้างสถาบันคณะสงฆ์ของรัฐทุกวันนี้จึงไม่เป็นกุศล การส่งเสริมอัตลักษณ์ของความเป็นพุทธทำไมจึงไม่เป็นกุศล อัตลักษณ์แบบนี้ก็คืออัตตา ทำให้คนคลั่งและล้าหลัง ทุกวันนี้เราแตะพุทธศาสนาไม่ได้นะ มีคนคลั่ง คุณจะถูกเผาเอานะเนี่ย เพราะมันมีแต่บุญที่นำไปสู่ความไม่มีสติปัญญาทั้งนั้นเลย แล้วโครงสร้างคณะสงฆ์แบบนี้ไม่ได้นำไปสู่กุศลเลย ไม่ได้มีส่วนช่วย คนที่ตกทุกข์ได้ยากเลย ไม่ได้มีส่วนช่วยในการทำให้สังคมมีบุญมีกุศลมากขึ้นต่อไปเป็นพลวัตเลย เพราะฉะนั้น ผมจึงอยากให้ล้มเลิกโครงสร้างคณะสงฆ์แบบรัฐแบบนี้ซะ เปิดศาสนาให้เป็นอิสระ อยู่ในโลกของความเป็นจริง โลกแบบประชาธิปไตย ที่ส่งเสริมสติปัญญา ให้คนรู้จักดูแลตัวเอง พึ่งพาตัวเอง รวมทั้งทางจิตวิญญาณด้วย + เมื่อแยกรัฐกับศาสนาออกจากกันแล้ววัดจะมีหน้าตาเป็นยังไง ก็เหมือนเป็นองค์กรเอกชน เป็นสถาบันการศึกษา เป็นบริษัท เป็นมูลนิธิในแบบของตัวเอง ทำไมเราไม่สามารถมองพระ มองวัด เป็นเหมือนสื่อสำนักต่างๆ เป็นอะเดย์ เป็นเวย์ เป็นมติชน เป็นผู้จัดการ …ทำไมเราไม่สามารถมองว่าเป็น ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ เกษตรฯ รามฯ ม.กรุงเทพฯ เป็นอะไรที่คนเลือกสนใจเอง ทำไมรัฐต้องมากด ควบคุม คอยชี้นำตลอด ทำไมพุทธศาสนาต้องมีแบบเดียว ...คือผมมองว่าถ้าคนมองศาสนาในแง่จริงแบบนี้ คนก็จะฉลาดขึ้น ตัวศาสนาก็จะฉลาดขึ้น ทุกคนจะฉลาดขึ้นหมดเลย + คนอาจกลัวว่าถ้าทำแบบนั้นศาสนาจะไม่บริสุทธิ์ การสร้างภาพศาสนาที่บริสุทธิ์ มีค่าใช้จ่ายคือการดูถูกความเป็นมนุษย์ (dehumanization) เราเชื่อว่าศาสนาเสื่อมเพราะพระเลว คนเลว มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับศาสนา เราเอาแต่ด่ามนุษย์ว่าเลว สกปรก มีกิเลส แต่ศาสนาบริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อน ผมคิดว่าการอธิบายแบบนี้มันเลวร้ายมากเลยนะ ไม่ช่วยให้คนคิดเองเป็น ไม่ส่งเสริมเสรีภาพในการลองผิดลองพลาดของคนเลย กลายเป็นว่าศาสนาบริสุทธิ์ูสูงส่ง แต่ว่าเราไปด่าคนน่ะ แล้วศาสนาก็หากินแบบนี้ คือเป็นศาสนาที่ ดูถูกความเป็นคน ลดทอนความเป็นมนุษย์ มันง่ายที่จะย้อนกลับไปนับถือลัทธิบูชายัญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเราก็จับความเป็นมนุษย์นี่แหละเป็นเครื่องบูชายัญ เหมือนเราด่านักการเมืองว่านักการเมืองเลว คอรัปชั่น มันง่ายนะที่จะด่าความเป็นมนุษย์ แทนที่จะมองว่าระบบที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ควรมีหน้าตาเป็นยังไง จะทำอย่างไรให้มีระบบที่ดีที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งเสริมเขาในสิ่งที่ควรส่งเสริม ไม่ส่งเสริมเขาในสิ่งที่ไม่ควรส่งเสริม วิพากษ์วิจารณ์ได้ ด่าได้ ฉลาดไปด้วยกันกับนักการเมือง โง่ไปด้วยกันกับนักการเมือง ผมว่าศาสนาก็เหมือนกัน เราก็โง่ไปด้วยกันกับพระ ฉลาดไปด้วยกันกับพระ หากนักการเมืองคือตัวแทนของเรา พระก็คือตัวแทนของเราเช่นเดียวกัน เราไม่ได้มองว่าพระเป็นผู้บริสุทธิ์สมบูรณ์แบบ พระไม่ได้เลวบริสุทธิ์หรือดีบริสุทธิ์ แต่ทำยังไงให้เราเห็นพระเป็นมนุษย์ เราสามารถเข้าใกล้พระได้ เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ตักเตือนกันได้ ไม่ใช่ปล่อยให้พระลอยอยู่เหนือผู้เหนือคน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามโครงสร้างคณะสงฆ์ของรัฐในแบบที่เป็นอยู่
ที่มา: นิตยสาร a day bulleten ฉบับ 263
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
'ไอแอลโอ' จี้ไทยยกเลิก-แก้ไขกม.หมิ่นฯ- พ.ร.บ. คอมพ์ Posted: 12 Aug 2013 01:21 AM PDT องค์การแรงงานระหว่างประเทศ จี้ประเทศไทยต้องยกเลิก/แก้ไขม.112 และมาตรา 14,15 ของพ.ร.บคอมพิวเตอร์ ชี้เป็นการลงโทษจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ขัดกับอนุสัญญาของ ILO ซึ่งไทยเป็นภาคี 12 ส.ค. 56 - รายงานประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization- ILO) ซึ่งประมวลการใช้อนุสัญญาและรวมข้อเสนอแนะ ฉบับล่าสุด ได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงมาตรา 14 และ 15 ของพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องจากพบว่ามีผู้ที่ถูกดำเนินคดีและคุมขังด้วยกฎหมายดังกล่าวจากการแสดงออกทางการเมือง รายงานระบุว่า กฎหมายดังกล่าว ขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกการบังคับใช้แรงงานปี 1975 มาตราที่ 1(a) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่รัฐไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ มาตรา 1(a) ระบุว่า ห้ามประเทศที่เป็นภาคี กระทำการกดขี่ หรือใช้การแรงงานบังคับเพื่อเป็นการการบังคับขู่เข็ญทางการเมือง หรือเป็นการให้การศึกษาทางการเมือง หรือเป็นการลงโทษต่อการแสดงออกทางการเมือง หรือทัศนะที่มีอุดมการณ์ขัดจากระบบทางการเมือง สังคม หรือเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ คณะกรรมการซึ่งจัดทำรายงานดังกล่าว ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายจำนวน 20 คน จากหลากหลายภูมิภาค ยังอ้างถึงรายงานของผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ที่ได้เดินทางมาเยือนไทยเมื่อต้นปีที่แล้ว ที่มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยจัดเวทีสาธารณะเพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ประกอบกับการรวบรวมข้อมูลจากรายงานของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อนำเสนอในเวที Universal Periodic Review (กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ จึงเรียกร้องให้รัฐไทยยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ "คณะกรรมการจึงเสนอแนะให้รัฐบาลใช้มาตรการที่จำเป็นในการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 14-15 ของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อให้บุคคลที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสันติ จะไม่ถูกลงโทษจำคุก ซึ่งจะมีการบังคับใช้แรงงาน" รายงานระบุ "คณะกรรมการขอให้รัฐบาลให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่กระทำไปในเรื่องนี้ในรายงานครั้งต่อไปด้วย" หมายเหตุ: สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับดังกล่าวได้ที่ท้ายข่าวนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
นักปรัชญาชายขอบ: "แปลก" (ความแปลกเชิงโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรม) Posted: 11 Aug 2013 10:57 PM PDT โครงสร้างทางการเมืองและวัฒนธรรมที่แปลก ความเป็นประชาชนที่แปลก และวิธีคิดในแวดวงวิชาการที่แปลก คือสาเหตุหลักของการแสดงออกทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง การใช้สองมาตรฐานทางศีลธรรมและกฎหมายในสังคมไทย อ่านข่าวจากประชาไทที่ว่า "เอเชียบุ๊คส์ ซึ่งส่งถึงสาขาต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการเก็บคืนหนังสือ 3 รายการ ภายในวันที่ 10 ส.ค. ประกอบด้วยนายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อฯ ทั้งฉบับปกแข็งและปกอ่อน ด้วยเหตุผลว่า หนังสือภาษาไทยดังกล่าวมีเนื้อหาค่อนข้างเปราะบางกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงขอเรียกเก็บคืนหนังสือทั้ง 3 รายการ…" ทำให้สัมผัสชัดเจนถึง "ความแปลก" ในสังคมนี้ ที่ว่าแปลกไม่ได้หมายความว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เหนือความคาดหมาย ที่จริงมันคาดหมายได้อย่างเป็นปกติ แต่มันเป็นความปกติที่แปลกในวิถีของโลกสมัยใหม่ และในสังคมที่นิยามตนเองว่า "ปกครองด้วยระบบอบประชาธิปไตย" พูดตรงๆ คือ ความแปลกตามนิยามของผมหมายถึง 1. ความแปลกเชิงโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรมในสังคมที่นิยามตนเองว่าปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่ยอมรับ ไม่เคารพเสรีภาพของประชาชนที่เขามีสิทธิ์จะรู้เรื่องอะไรก็ได้ที่เขาอยากรู้ มีสิทธิที่จะพูด จะอภิปรายถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลในเรื่องอะไรก็ได้ หรืออยากศึกษาเรื่องอะไรก็ได้ที่เขาอยากศึกษา ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิในชีวิตร่างกาย หรือไม่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล 2. ความแปลกข้อ 1 ทำให้เกิดความแปลกตามมาคือ ที่พูดกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน เป็นคำพูดที่ไร้ความหมาย เพราะนอกจากอำนาจสูงสุดจะไม่เคยเป็นของประชาชนจริง ยังถามได้ว่า "ประชาชน" มีอยู่จริงหรือเปล่า เพราะการจะเป็นประชาชนได้ต้องมีสิทธิ์เป็น "คน" ได้ก่อน คนนั้นต้องมีเสรีภาพในการใช้เหตุผลคิดในเรื่องที่อยากคิด พูด อภิปรายถกเถียงในเรื่องใดๆ ที่ตนเองสนใจได้ เพราะเสรีภาพและเหตุผลเป็น "เนื้อหา" (essence) ของความเป็นคน เมื่อโครงสร้างเชิงอำนาจและวัฒนธรรมดังกล่าวปิดกั้นลดทอนเสรีภาพในการใช้เสรีภาพและเหตุผลก็เท่ากับปิดกั้นลดทอนความเป็นคน เมื่อคนไม่ใช่ "เสรีชน" ก็เป็นประชาชนไม่ได้จริง 3. เป็นประชาชนไม่ได้เพราะเป็นเสรีชนไม่ได้ เพราะที่จริงเราอยู่ในประเทศ "ไม่เสรี" (not free) ดังคำแถลงขององค์กรฟรีดอมเฮ้าส์แถลงไปเมื่อต้นปีนี้ว่า เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า "กฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ" และการใช้มาตรา 112 ใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน แต่ทั้งๆ ที่ในสังคมนี้ไม่มีเสรีภาพในการแสดงออก หรือไม่มี freedom of speech แต่เมื่อนักวิชาการบางคนเช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลชี้ว่า "สังคมไทยไม่มีเสรีภาพทางวิชาการอยู่จริง" แต่กลับแปลกอย่างยิ่งที่นักวิชาการหลายคน (อย่างน้อยที่เถียงกับ อ.สมศักดิ์ในหลายที่) พยายาม defend ว่าสังคมไทยมีเสรีภาพทางวิชาการ เพราะถึงไม่มีเสรีภาพศึกษาประเด็นสถาบันกษัตริย์ในมาตรฐานเดียวกับศึกษาเรื่องอื่นๆ ก็ถือว่าสังคมไทยมีเสรีภาพทางวิชาการในการศึกษาเรื่องอื่นๆ แต่ที่จริงผู้โต้แย้งไม่เข้าใจว่าเสรีภาพทางวิชาการในการศึกษาเรื่องอื่นๆ โดยห้ามศึกษาประเด็นสถาบันในมาตรฐานเดียวกันได้นั้นไม่ได้อิงอยู่กับ "กรอบเสรีภาพทางวิชาการ" ตามนิยามของโลกสมัยใหม่ มันเป็นเพียงเสรีภาพทางวิชาการที่ชนชั้นปกครองอนุญาตให้มีได้ ไม่ต่างจากที่ชนชั้นปกครองอนุญาตให้คุณมีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองและบุคคลสาธารณะอื่นๆได้หมดเลยแต่ห้ามแตะเรื่องสถาบันกษัตริย์ เสรีภาพที่ชนชั้นปกครองอนุญาตดังกล่าวนี้ไม่ใช่เสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนสากลที่อยู่บนพื้นฐานการยอมรับความเสมอภาคของมนุษย์ ยอมรับเสรีภาพที่เท่าเทียมในการคิด การพูด การเขียน อภิปราย ถกเถียงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ก็ได้ที่แต่ละคนสนใจ การแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นแค่เสรีภาพตามการอนุญาตของชนชั้นปกครอง อะไรเป็นเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนจึงเป็นความแปลกอย่างยิ่งในวงวิชาการ และเป็นความแปลกที่ทำให้ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังยืนยันการคงอยู่ของเสรีภาพตามการอนุญาตของชนชั้นปกครอง และกำลังปฏิเสธข้อเสนอของสมศักดิ์ที่ยืนยันว่าเสรีภาพทางวิชาการไม่มี เพื่อที่จะเรียกร้องให้ต่อสู้ร่วมกันเพื่อให้มีเสรีภาพทางวิชาการตามมาตรฐานโลกสมัยใหม่ที่ยืนยันประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนทั้งในเชิงโครงสร้าง วัฒนธรรมทางสังคมการเมือง และวิถีชีวิตประจำวัน โครงสร้างทางการเมืองและวัฒนธรรมที่แปลก ความเป็นประชาชนที่แปลก (เพราะไม่ใช่คนที่เป็นเสรีชน) และวิธีคิดในแวดวงวิชาการที่แปลก (แปลกแยกจากหลักประชาธิปไตย/สิทธิมนุษยชนในโลกสมัยใหม่) ดังกล่าว คือสาเหตุหลักๆ ของการแสดงออกทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง การใช้สองมาตรฐานทางศีลธรรมและกฎหมาย เป็นต้นทั้งหลายทั้งปวงในสังคมไทย เช่น นึกถึงวิธีต่อต้านอำนาจรัฐบาลกรณีค้านกฎหมายนิรโทษกรรมของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่พยายามใช้วิธีให้ม็อบเดินเข้าไปส่งในสภา ทำให้นึกถึงตอนที่เขาก้าวสู่อำนาจอย่างลุกลี้ลุกลนและทุลักทุเล ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารก็เอา ประชุมโหวตเลือกนายกฯ นอกทำเนียบรัฐบาลก็เอา ยอมที่จะใช้ทหาร รถถัง ปืน กระสุนจริงรักษาอำนาจ โดยทั้งหมดนั้นเขาอธิบายว่าทำไปบน "จุดยืนแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งแตกแยกของบ้านเมือง" โดยยืนยันว่า "ตัวเขาและพรรคการเมืองของเขาไม่ใช่เงื่อนไขความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น" วิธีคิดและการกระทำของคุณอภิสิทธิ์ในหน้าประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน ต้องนับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมากว่าเป็นแบบนี้ไปได้อย่างไร หากเทียบกับประวัติการศึกษาและภาพพจน์นักการเมืองรุ่นใหม่ที่เขาพยายามสร้างขึ้นตั้งแต่แรก แต่ในสังคมนี้ก็มีเรื่องแปลกอีกมาก เช่น คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็โชว์ความสามารถบางอย่างได้เกินคาด เช่น บทบาทที่ "นิ่งทางการเมือง" (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการแสดงภาวะผู้นำแก้ปัญหาประชาธิปไตย) ไม่โต้ตอบ ไม่ต่อล้อต่อเถียง ไม่ตกไปในเกมการเมืองแบบเก๋ากึ๊กของประชาธิปัตย์ ราวกับว่าคุณยิ่งลักษณ์ก็เก๋าเกมทั้งที่เป็นนักการเมืองสมัยแรก และอันที่จริงเธอก็เป็นนายกฯที่แปลกที่สุดของสังคมไทย เพราะลงเลือกตั้งครั้งแรกก็ได้เป็นนายกฯเลย และคุณทักษิณนี่ก็แปลก ทั้งที่อยู่นอกประเทศ ไม่มีอำนาจตามกฎหมายเลย แต่ก็ยังมีอำนาจรูปธรรมในการตั้งรัฐบาล กำหนดเกม และทิศทางการเมืองในประเทศ มีอิทธิพลสูงต่อนักการเมืองทั้งในพรรคนอกพรรค มีอิทธิพลต่อประชาชนจำนวนมาก ทำให้ผู้มีอำนาจในประเทศหนักใจ แต่ความแปลกตามตัวอย่างที่ยกมา และความแปลก ฯลฯ ในทางการเมืองของประเทศ ที่จริงแล้วมีรากฐานมาจากความแปลกเรื่องเดียวคือ "ความแปลกที่มีการอ้างสถาบันในทางการเมืองตลอดมา อ้างสถาบันทำรัฐประหารตลอดมา แต่ห้ามแตะห้ามอภิปรายประเด็นสถาบันเหมือนกับอภิปรายนักการเมือง" นี่อาจเรียกว่าเป็น "ความแปลกเชิงโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรม" ที่เป็นมูลเหตุที่มาของความแปลกทางสังคมการเมือง อุดมการณ์ วิธีคิด การแสดงออกทางการเมืองทั้งหลายทั้งปวงในบ้านเรา ล่าสุดรัฐบาลจะมีการเชิญบุคคลสำคัญต่างๆ มาพูดคุยกันหาทางออกให้กับประเทศ แต่นี่ก็เป็นการพูดคุยที่แปลกอีก เพราะเป็นการพูดคุยภายใต้การขีดเส้น "ห้ามแตะ" เหมือนเดิม ซึ่งเราก็รู้ว่าเส้นห้ามแตะนี้มันก่อให้เกิดความผิดปกติทุกเรื่อง เช่น มันทำให้นักโทษการเมือง (112) ไม่ใช่นักโทษการเมือง มันทำให้คนด่านักการเมืองไป อวยเจ้าไปรู้สึกว่าตนเองเป็นคนดีมีความกล้าหาญทางจริยธรรมรับผิดชอบสูงต่อบ้านเมือง มันทำให้นักศาสนา นักศีลธรรมดูดีที่อ้างศีลธรรมอวยเจ้าไป พิพากษาตัดสินนักการเมือง และคนธรรมดาไป ฯลฯ แล้วล่าสุดมันก็แปลกที่ยังมีนักวิชาการออกมาพูดแบบเดิมๆว่า คนไทยพูดกันไม่รู้เรื่องเพราะอารมณ์โกรธ เกลียดกัน ทั้งๆที่ก็รู้ๆกันอยู่ว่าปัญหาจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ "คนไทยโกรธเกลียดกันจนไร้ความสามารถจะพูดคุยกันให้รู้เรื่อง" แต่อยู่ที่ "การขีดเส้นห้ามพูดเรื่องสำคัญ" ต่างหาก มันจึงไม่มีทางจะพูดรู้เรื่องกันจริงๆ ได้สักที แล้วมันก็ยิ่งแปลกเข้าไปอีกที่สังคมนี้ยอมรับ "ความแปลกเชิงโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรม" กันอย่างปกติ ทั้งๆ ที่ยืนยันว่าสังคมไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือยอมรับเรื่องแปลกเป็นเรื่องปกติไป (แต่ซีเรียสกับเรื่องปกติเช่นคนโกรธกันเกลียดกัน ฯลฯ ว่าเป็นเรื่องผิดปกติ) แปลกจริงๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก : หากต้องการสันติภาพก็ต้องฟังเสียงประชาชน Posted: 11 Aug 2013 09:40 PM PDT บทสัมภาษณ์พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ถอดประสบการณ์สันติภาพที่อาเจะห์ อินโดนีเซีย ยอมรับรัฐเริ่มรับบางข้อเสนอของ BRN และย้ำเสียงของประชาชนตัวสำคัญที่จะให้เกิดสันติภาพ เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม 2556 รายการโลกวันนี้ (Dunia Hari Ini) ทางสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน (Media Selatan) ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และทางเว็บไซต์ www.rdselatan.com ได้สัมภาษณ์สด และ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ พร้อมกับการเปิดคลิปเสียงสัมภาษณ์ของนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ในรายการช่วงดังกล่าว โดยทีมงาน Media Selatan ได้สรุปประเด็นดังนี้ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก: "เสียงประชาชนคือพลังให้เกิดสันติภาพ" พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวถึงการพูดคุยสันติภาพว่า เป็นแผนใหญ่ของประเทศ เป็นเรื่องที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง อดทน เข้าใจ และต้องฟังเสียงจากพี่น้องในพื้นที่เป็นหลักในการร่วมกันออกแบบการพูดคุยสันติภาพ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์ของตนที่ทำงานด้านสันติภาพที่จังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีปัญหาคล้ายๆ กับเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และมีการต่อสู้กันมา 30 ปี วิธีการแก้ปัญหาด้วยการระดมกำลังทหาร ตำรวจ ลงมาแก้ปัญหานั้นทำให้เห็นว่ามีแต่การสูญเสีย โดยเฉพาะพี่น้องประชาชน พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวต่อไปว่า จากตัวอย่างความสำเร็จของประเทศอินโดนีเซีย ในสมัยประธานาธิบดี สุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน ที่ได้ให้คำมั่นตอนที่หาเสียงก่อนการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ว่าท่านจะใช้วิธีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาต่ออาเจะห์ ซึ่งชาวบ้านชอบใจมาก เพราะอินโดนีเซียเสียกำลังพล และงบประมาณมหาศาล เมื่อได้รับเลือกตั้ง ท่านได้ดำเนินการตามที่สัญญาไว้ ถึงแม้ว่าก่อนที่ท่านจะได้รับการเลือกตั้ง กระบวนการพูดคุยสันติภาพล้มเหลวถึง 5 ครั้งก็ตาม "ยาดีที่สุดที่ทำให้อาเจะห์กลับมาสงบสุข เกิดจากการมีเอกภาพของประชาชนชาวอาเจะห์ ที่ส่งเสียงออกไปว่าพอแล้ว เลิกฆ่าเลิกระเบิดเสียที" พล.อ.นิพัทธ์ กล่าว พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวด้วยว่า ขอยืนยันถึงความตั้งอกตั้งใจและความร่วมไม้ร่วมมือในการทำงานของฝ่ายไทย แต่ต้องใช้เวลาและความอดทนและสถานการณ์ในตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการริเริ่ม เริ่มสร้างความไว้วางใจ ใครเป็นตัวจริง มีอำนาจแค่ไหน อย่างไร พล.อ.นิพัทธ์ เปิดเผยถึงข้อเสนอ 5 ข้อของ BRN ว่าขณะนี้ทางรัฐบาลได้ขอให้ BRN ชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องข้อเสนอ 5 ข้อ ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะข้อ 4 ในประเด็นสิทธิความเป็นเจ้าของ ที่กินความหมายที่กว้าง ซึ่งทางรัฐบาลอยากรู้ว่าขอบเขตคืออะไร หรืออยากให้มีความชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่ฝ่ายไทยจะรับไปดำเนินการ และต้องพิจารณาในแง่มุมทางกฎหมายด้วย และที่สำคัญขณะนี้ทางรัฐบาลได้เริ่มตอบรับข้อเสนอบางข้อในทางปฏิบัติบ้างแล้ว "โดยส่วนตัวให้ความเคารพ BRN มาก เพราะ BRN มีจุดยืนที่ชัดเจนที่อยากเห็นความสงบสุขในพื้นที่ ซึ่งนายฮัสซัน ก็ยืนยันทุกครั้งในที่เวทีพูดคุยสันติภาพ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเสียงของประชาชนคือพลังสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดสันติภาพในพื้นที่ และการพูดคุยนั้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่ที่ดีที่สุด" พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวทิ้งท้าย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี: "การเจรจาครั้งต่อไปสำคัญมาก" ผศ.ดร.ศรีสมภพ ได้กล่าวถึงสถิติการก่อเหตุรุนแรง รวมถึงยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับช่วงเดือนรอมฎอนด้วยนั้น มีตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เป็นความพยายามของรัฐและ BRN ที่จะพยายามลดความรุนแรง นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ยังเป็นข้อกังขาของประชาชน โดยต้องตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นการก่ออาชญากรรมหรือเรื่องส่วนตัวหรือไม่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า การพูดคุยสันติภาพในครั้งต่อไปมีความสำคัญมาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแม้มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่เป็นเรื่องคลุมเครือ แต่เท่าที่ประเมินมีแนวโน้มที่ดีจากทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะมีการพูดคุยในครั้งต่อไป ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวต่อไปว่า อุปสรรคของการพูดคุยสันติภาพ คือการไม่เข้าใจกระบวนการของหลายฝ่ายๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสาร การทำความเข้าใจกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลา และกระบวนการสันติภาพจำเป็นต้องมีพื้นที่กลางให้ทุกฝ่ายได้พูดคุย และแสดงความคิดเห็น "มันอาจจะมีคนที่ไม่เข้าใจกระบวนการสันติภาพ แต่มีไม่มาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องออกมาพูดกันด้วย และเราควรจะรับฟังความเห็นที่ต่างกัน นอกจากนี้พื้นที่กลางจะต้องมีการถ่วงดุลให้กับทุกฝ่ายได้แสดงความเห็น ต้องเปิดใจให้กว้าง และให้พื้นที่กลางเป็นพื้นที่ปลอดภัยจริงๆ" "ไม่อยากเห็นการฆ่ากันในแผ่นดินของเรา สันติภาพจะต้องเกิดขึ้นจริง ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ" ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวทิ้งท้าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ศิลปินเพลง‘สันติภาพปาตานี’หงอย สำนักงานถูกยกเค้า กีตาร์คู่ใจหาย Posted: 11 Aug 2013 09:09 PM PDT ตีนแมวฉวยจังหวะหยุดรายอ งัดสำนักงาน Insouth Patani กวาดทรัพย์ไปหลายรายการ ทั้งกล้องวิดีโอ โน้ตบุ๊ค เงินสด รวมทั้งกีตาร์คู่ใจของบูดูลิตเติ้ล ศิลปินที่ร้องเพลงมะรอโซและเพลงเกี่ยวกับสันติภาพปาตานีภาษามลายูหายไปด้วย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556 เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองปัตตานี เข้าตรวจสอบบ้านเลขที่ 108/59 ในชุมชนปาการอ ซอยปีนัง ถนนโรงเหล้า ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นสำนักงานของเครือข่ายบัณฑิตอาสาปาตานี หรือ Insouth Patani หลังจากได้รับแจ้งว่าถูกคนร้านงัดแงะเข้าไปขโมยทรัพย์สินภายในสำนักงานหลายรายการ จากการตรวจสอบพบสภาพภายในสำนักงานซึ่งมี 2 ชั้น มีสิ่งของกระจัดกระจายเสียหาย มีสภาพเลอะเทอะ รวมทั้งตู้เอกสาร ตู้เก็บเงินและสิ่งของต่างๆถูกงัด บริเวณหลังคาและฝ้าเพดามีร่องรอยถูกรื้อ และมีเหล็กแชลงที่คาดว่าจะเป็นของคนร้ายทิ้งไว้ภายในสำนักงานด้วย สภาพสำนักงานอินเซาท์ โดยคาดว่าคนร้ายเข้ามาโจรกรรมในช่วงวันรายอวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานปิดทำการและสมาชิกทั้งหมดได้กลับไปฉลองวันสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ทำให้ไม่มีใครอยู่ที่สำนักงาน นายชารีฟ สะอิ เลขาธิการ Insouth Patani เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นมีทรัพย์สินหลายรายการสูญหายไป เช่น กล้องวิดีโอ 4 ตัว กล้องถ่ายรูป 2 ตัว เครื่องอัดเสียง 2 เครื่อง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 2 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง เครื่องเล่นกีตาร์ 2 ตัว เงินสด 16,500 บาท โดยเป็นเงินสำนักงาน 9,500 แหวน 3 วง และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ 1 ตัว นายชารีฟ เปิดเผยต่อไปว่า หลังทราบว่าสำนักงานถูกโจรกรรมจึงได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคิดว่าหลังจากนี้จะเชิญเครือข่ายของ Insouth Patani มาพูดคุยเรื่องความปลอดภัยทั้งข้อมูลและทรัพย์สิน นายชารีฟ เปิดเผยด้วยว่า การโจรกรรมครั้งนี้นอกจากจะทำให้สำนักงานเสียหายแล้ว สิ่งที่ทำให้เสียความรู้สึกก็คือ เครื่องเล่นกีตาร์ที่ถูกขโมยไปด้วย 2 ตัว เป็นของบูดูลิตเติ้ล หรือนายซุลกิฟลี บินอับดุลเราะห์มาน ศิลปินนักร้องแนวสันติภาพภาษามลายูของ Insouth Patani "แฟนคลับบูดูลิตเติ้ลว่า คงจะไม่ได้ฟังบูดูร้องเพลงอีกนานเพราะกีตาร์ได้หายไป" นายชารีฟ กล่าว สำหรับเพลงที่บูดูลิตเติ้ลร้อง เช่น เพลง 13 FEB ซึ่งเกิดขึ้นหลังการตายของนายมะรอโซ จันทรวดี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 และเพลงแนวสันติภาพอื่นๆอีกหลายเพลง จนทำให้บูดูลิตเติ้ลมีชื่อเสียงโด่งดังในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายชารีฟ กล่าวด้วยว่า อยากให้ทุกคนช่วยกันระวัง เพราะการขโมยลักษณะนี้กำลังระบาดมากขึ้น จึงเตือนให้ทุกคนได้ระวัง โดยเฉพาะคนทำงานเพื่อสังคม เพราะคนร้ายคงจะทราบดีว่ามีสิ่งของเครื่องมือที่ใช้งานเยอะ "ขอฝากไปถึงคนที่โจรกรรม ขอให้ส่งของคืนด้วย ยินดีแม้จะต้องซื้อคืน เพราะเข้าใจว่าคนที่โจรกรรมก็คงไม่มีเงินเหมือนกัน จึงต้องมาขโมยของไป และขอฝากไปยังคนที่ทำงานเพื่อสังคมทั้งหลาย ขอให้รักษาทรัพย์สินและข้อมูลไว้ให้ดีด้วย และฝากให้ทุกคนช่วยเป็นหูเป็นตาให้ด้วย" นายชารีฟ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น