โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ข้อเสนอ TDRI ต่อกรณีรัฐเล็งยุบ พ.ร.บ.การออมแห่งชาติ

Posted: 22 Aug 2013 01:52 PM PDT

ขณะนี้ฝ่ายรัฐกำลังพยายามยุบเลิกพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 โดยโอนย้ายการออมของประชาชนที่ไม่ใช่ข้าราชการทั้งหมดให้ไปอยู่กับกองทุนประกันสังคม

พระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ เป็นผลผลิตร่วมกันของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่อำนวยการเรื่องวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุไทย เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และประชาชนอีกจำนวนมาก และพรรคเพื่อไทยเองเมื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านก็เป็นผู้เสนอกฎหมายบำนาญแห่งชาติเพื่อไปแข่งกับฉบับของรัฐบาลในอดีต

เหตุผลหลักของการยุบเลิกพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ คือ เรื่องความซ้ำซ้อนกับการสนับสนุนการออมผ่านมาตรา 40 ในกฎหมายประกันสังคม และเพื่อการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของสำนักงานประกันสังคมในการจัดเก็บเงินออม

แม้ว่าหลักการยุบเลิกจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน แต่ก็รัฐต้องคำนึงถึงหลักการของความเสมอภาค ความเป็นธรรม และแนวนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่กล่าวไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐ มีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง ในปัจจุบัน การได้มาของตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างก็มีปัญหาว่าเป็นตัวแทนที่แท้จริงของนายจ้างและลูกจ้างส่วนใหญ่หรือไม่

ในขณะที่เราจะรวมประชาชนอีกประมาณ 30 ล้านคนเข้ามาอยู่ภายใต้ระบบเดียวกันและเรียกว่าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของกฏหมายประกันสังคม คนเหล่านี้ไม่มีตัวแทนของตนที่จะไปมีส่วนร่วมในการตัดสินเพื่อประโยชน์ของตนในระบบประกันสังคมเลย คณะกรรมการประกันสังคมที่มีคนเพียง 15 คนเท่านั้นที่จะตัดสินประโยชน์ที่จะเกิดกับคน 30 ล้านคนนี้

การที่สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐ สินทรัพย์ทั้งหมดก็เป็นของรัฐด้วย การลงทุนต่างๆ ก็ถือว่าเป็นรัฐลงทุน ประชาชนที่รับเงินจากสำนักงานประกันสังคมก็ถือว่ารับเงินจากรัฐทั้งๆ ที่รัฐมีส่วนลงขันไม่ถึงหนึ่งในสามด้วยซ้ำ

การที่ประชาชนรับเงินสิทธิประโยชน์จากรัฐ จะทำให้หมดสิทธิการได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องด้วย ในระเบียบของการรับเงินเบี้ยยังชีพกล่าวไว้ว่าผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพต้องไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ด้วยเหตุนี้ประชาชนย่อมขาดแรงจูงใจในการออม เพราะออมแล้วก็จะไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ แถมเงินที่จะออมได้ยังอาจจะทำให้ได้รับบำนาญน้อยกว่าเงินที่จะได้รับจากเบี้ยยังชีพอีกด้วย

สิ่งที่รัฐควรทำโดยที่ยังสามารถยึดหลักของการส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ หลักความเสมอภาค ความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้วยน่าจะเป็นดังนี้

หนึ่ง แก้ไขพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ และพระราชบัญญัติประกันสังคม ในบางมาตรา โดยให้เรื่องการออมเพื่อการชราภาพของประชาชนทั้งหมด อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันคือ พระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ ให้ประชาชนทุกคนได้รับการสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพอย่างเสมอภาพ และรัฐสมทบอย่างเสมอภาค ถ้าผู้ประกันตน หรือข้าราชการอยากออมด้วยก็ไม่ควรไปกีดกัน และให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของสำนักงานประกันสังคมในการเก็บและจ่ายเงิน โดยคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการที่เหมาะสม

สอง ให้มีหน่วยงานดูแลการออมนี้เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ตามที่พระราชบัญญัติการออมแห่งชาติได้บัญญัติไว้แล้ว แต่ควรเพิ่มให้มีคณะกรรมการนโยบายบำนาญแห่งชาติเพื่อกำกับนโยบายที่สำคัญนี้อย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ

สาม ให้ผู้ประกันตนสามารถโอนย้ายเงินออมของตนจากกองทุนประกันสังคมมาไว้ในกองทุนการออมแห่งชาตินี้ได้เมื่อเห็นว่ากองทุนประกันสังคมบริหารจัดการได้ไม่ดีเท่ากองทุนการออมแห่งชาติ หรือเมื่อต้องการลาออกจากงานลูกจ้างไปทำงานอย่างอื่นและต้องการออมเงินต่อไปเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ยามแก่ชรา หรือในทางกลับกัน ถ้าคนทำอาชีพอิสระอยากไปเป็นลูกจ้างและออมกับระบบประกันสังคมก็ให้สามารถโอนย้ายเงินที่เคยออมไปสู่ระบบประกันสังคมได้

ทั้งสามข้อนี้เป็นหลักการที่อยากเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องและรัฐช่วยกันถกอย่างสร้างสรรค์และสานสนทนาอย่างมีเหตุมีผล ความสำเร็จที่เกิดจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐได้เลย

อย่าลืมว่าเราทุกคน (ถ้าไม่ตายซะก่อน) จะต้องเข้าสู่วัยชรา เราและรัฐควรเตรียมการ เพื่อให้เราสามารถแก่ชราได้อย่างไม่แร้นแค้น ในขณะเดียวกันเราก็อยากเห็นคนชราที่อยู่ข้างบ้านเราอยู่อย่างไม่แร้นแค้นเช่นกัน
 

 

หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม อย่ารังแกคนแก่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตชาวอิหร่าน คดีระเบิด ซ.ปรีดี

Posted: 22 Aug 2013 01:34 PM PDT


(22 ส.ค.56) เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่ห้องพิจารณา 505 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายอาญากรุงเทพใต้ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายซาอิด โมราดิ และนายมูฮัมหมัด ฮาซาอิ สัญชาติอหร่าน เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ในความผิดฐานก่อให้เกิดระเบิด ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เสียทรัพย์ พระราชบัญญัติอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน พ.ศ.2490 และพยายามฆ่าผู้อื่น รวม 6 ข้อหา

จากกรณีที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำให้เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณซอยปรีดีพนมยงค์ รวม 3 จุด เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2555 จำเลยทั้งสองคนประกอบระเบิดแสวงเครื่องใส่ในเครื่องรับวิทยุ จนทำให้นายซาอิด บาดเจ็บขาซ้ายขาดและตาขวาบอด และทรัพย์สินในที่เกิดเหตุได้รับความเสียหายจำนวนมาก ศาลพิพากษาว่า นายซาอิด โมราดิ จำเลยที่ 1 ตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 และมีความผิดในข้อหาใช้วัตถุระเบิดและทำให้เกิดระเบิด โดยพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่และผู้อื่น ให้จำคุกตลอดชีวิต

นอกจากนี้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัททรู 6,691 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2555 จนกว่าจะชดใช้หมด เนื่องจากระเบิดทำตู้โทรศัพท์สาธารณะเสียหาย และปรับเงิน 100 บาท ฐานพกพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร

ส่วนมูฮัมหมัด ฮาซาอิ จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 จำคุก 15 ปี และให้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายกับเจ้าของบ้านเป็นเงิน 2 ล้านบาท

ทั้งนี้ การพิพากษาในวันนี้มีเอกอัครราชทูตประเทศอิสราเอล เข้าร่วมฟังคำพิพากษาด้วย

สำหรับคดีนี้ อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลย 5 คน โดยมีผู้ต้องหา 2 คนหนีกลับประเทศอิหร่านก่อนเกิดเหตุระเบิด คือ นางไลล่า โรฮานี่ และนายนูโรซิ ซายัน อารี อัคบาร์ ส่วนนายซีดา การ์ด ซาเดด มะห์ซูด มาเซเดกัส ผู้ต้องหาที่ร่วมก่อเหตุถูกดำเนินคดีอยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยได้ประสานขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว และศาลชั้นต้นมาเลยเซียมีคำพิพากษาให้ส่งตัวมาดำเนินคดีในไทย แต่จำเลยอยู่ระหว่างอุทธรณ์คดี

ด้านนายกิตติพงษ์ เกียรติธนภูมิ ทนายความจำเลย กล่าวว่า ในเรื่องอุทรณ์จะยื่นหรือไม่โดยหลังจากนี้จะเข้าไปคุยกับจำเลยทั้งสองในเรือนจำ พร้อมทั้งปรึกษากับครอบครัวของจำเลยทั้งสองว่ามีความเห็นอย่างไร ซึ่งหากจะยื่นอุทรณ์ต้องทำภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ภายหลังทราบคำพิพากษา จำเลยที่ 2 รู้สึกดีใจในผลคำพิพากษา ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่มีปฏิกิรยาใดๆ อย่างไรก็ตาม ระหว่างไทยกับประเทศอิหร่าน มีสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนตัวนักโทษกันอยู่ ซึ่งสามารถประสานขอตัวจำเลยไปคุมขังประเทศบ้านเกิดได้

ส่วนเรื่องคดีก่อการร้าย อัยการไม่ได้ฟ้องข้อหานี้ เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างของตำรวจเท่านั้น
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพร้อยแก่นสารสินธุ์แจงผลงานรอบ 7 เดือน

Posted: 22 Aug 2013 12:43 PM PDT

ภาคประชาชนหลักประกันสุขภาพ 4 จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จัดแถลงผลงานรอบ 7 เดือน ปี 56 รับเรื่องช่วยเหลือกว่า 129 เรื่อง ชี้หากได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือได้
 
วันที่ 22 ส.ค.56 ที่โรงแรมสาเกตุนคร จ.ร้อยเอ็ด กลไกประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จัดการแถลงผลการดำเนินงานให้คำปรึกษา รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 4 จังหวัด ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2556 พบว่ามีผู้มาขอรับคำปรึกษาในเรื่องสิทธิหลักประกันสุขภาพ การรักษาพยาบาลทั้ง 4 จังหวัด รวม 129 เรื่อง
 
แบ่งเป็น 1.การขอรับความช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล จำนวน 9 เรื่อง ได้รับการช่วยเหลือ 4 เรื่อง 2.การร้องเรียนที่เกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการรักษาพยาบาล จำนวน 30 เรื่อง 3.พฤติกรรมบริการ ไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการ จำนวน 10 เรื่อง 4.การถูกเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลโดยไม่มีสิทธิเรียกเก็บ จำนวน 1 เรื่อง 5.การขอรับคำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ และอื่นๆ จำนวน 79 เรื่อง
 
นางอาภรณ์ อะทาโส ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้ประสานงานเพื่อขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จำนวน 3 เรื่อง ได้รับการช่วยเหลือทั้ง 3 เรื่อง โดยเรื่องที่ภาคภูมิใจคือได้ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิตในระหว่างการรักษา เนื่องจากความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จังหวัดขอนแก่น ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตจำนวน 360,000 บาท
 
นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ในส่วนของขอนแก่นนั้นก็มีกรณีการประสานงานเพื่อขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นฯ จำนวน 3 เรื่อง ได้รับการช่วยเหลือ 1 เรื่อง ไม่ได้รับการช่วยเหลือ 1 เรื่อง และอยู่ในช่วงของการรวบรวมเอกสารเพื่อส่งให้กรรมการพิจารณา 1 เรื่อง โดยเรื่องที่ได้รับการช่วยเหลือกรณีไปถอนฟันและใส่ฟันปลอมที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ผลจากการรักษาทำให้เกิดปากอาการเบี้ยว ขากรรไกรค้าง และติดเชื้อจนเสียชีวิต ทั้งที่ก่อนการรักษาผู้ป่วยซึ่งมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ญาติของผู้ป่วยจึงมาขอรับคำปรึกษาทางศูนย์จึงประสานงานเพื่อขอรับความช่วยเหลือให้ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จ.ขอนแก่น ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตจำนวน 320,000 บาท เช่นกัน
 
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพร้อยแก่นสารสินธุ์ ออกแถลงการณ์ ระบุด้วยว่า ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรคหากเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการเข้ารับบริการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็มีกลไกในการบรรเทาปัญหาและเยียวยาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ป่วยและ โดยการช่วยเหลือเป็นการเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
 
การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ระดับจังหวัด จะเป็นผู้พิจารณาว่าเข้าเกณฑ์ที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่ และหากเข้าเกณฑ์ จะจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนเท่าใด โดยแบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.กรณีเสียชีวิตหรือพิการถาวรช่วยเหลือตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2.กรณีบาดเจ็บร้ายแรงหรือพิการช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท 3.กรณีติดเชื้อรุนแรงและกรณีความเสียหายอื่นๆ ช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท
 
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ คือ ผู้ป่วย ทายาท ผู้อุปการะ หรือ โรงพยาบาลจะยื่นให้ก็ได้ แต่ต้องยื่นคำร้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทราบความเสียหาย อย่างไรก็ตามความเสียหายจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดการรักษาพยาบาล หรือเหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาลเท่านั้น และสามารถยื่นเรื่องได้ที่โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) หรือที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
 
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการสร้างหลักประกันสุขภาพ 1.ให้รัฐบาลเร่งออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ….. เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขทุกสิทธิ 2.ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว
 
ข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพในพื้นที่ 4 จังหวัด (กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และ ร้อยเอ็ด) 1.ขอให้หน่วยงานด้านสุขภาพในพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้การบริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ลดการรอคิวรักษาพยาบาล และขอให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนนโยบายจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาล และยังไม่สะท้อนให้เกิดการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาลอย่างแท้จริง
 
2.คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการให้บริการของโรงพยาบาลในพื้นที่ จะต้องทำหน้าที่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอนุกรรมการที่มาจากภาคประชาชน และต้องทำงานเชื่อมประสานกับคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด (มาตรา 41) เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาล
 
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ พร้อมยืนยันบทบาทของภาคประชาชนในการร่วมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลดความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล เร่งสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ที่เท่าเทียม ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
 
ทางกลุ่มยืนยันที่จะให้รัฐบาลและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐ ทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รวมเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้เกิดการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และกฎหมายที่ประชาชนได้ร่วมสร้างมาตั้งแต่ต้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร้องรับฟังความเห็นก่อนขึ้นค่าทางด่วน ด้าน กทพ.ยันทำตามสัญญาสัมปทาน

Posted: 22 Aug 2013 11:50 AM PDT

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจัดเวทีสาธารณะกรณีการขึ้นค่าทางด่วน เสนอ 7 ข้อ ร้อง กทพ.ทบทวนมติ ชี้เงื่อนไขสัญญาระบุบริษัทมีหน้าที่ทำให้การจราจรไหลเวียนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้าน กทพ.ยันปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน
 
 
วันที่ 21 ส.ค.56 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีการขึ้นค่าผ่านทาง ในหัวข้อ "ทางออกผู้บริโภค กรณีการขึ้นค่าผ่านทาง บทบาทองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
 
หลังจากที่ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคได้ทำหนังสือถึง ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เมื่อวันที่ 1 ก.ค.56 เพื่อขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณายุติการขึ้นค่าผ่านทาง และทบทวนการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษ รวมทั้งควรพิจารณาแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 โดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
 
ต่อมาคณะกรรมการ กทพ.ได้มีมติเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 17 ก.ค.56 จากผลการเจรจากับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) และบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ปรับอัตราค่าผ่านทางของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา ปี 2556 จำนวน 5 บาท และมีผลบังคับในวันที่ 1 ก.ย.โดยจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่มีอำนาจในการออกประกาศในขั้นตอนต่อไป
 
นายศิริศักดิ์ หาญชนะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวในการเสวนาว่า คณะกรรมการองค์การอิสระ ได้เสนอให้มีการยุติการขึ้นค่าผ่านทาง เนื่องจาก บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาข้อที่ 12.2 ที่กำหนดหน้าที่ให้ BECL ดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้การจราจรไหลเวียนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ปัจจุบันสภาพจราจรบนทางด่วน ยังมีการติดขัดอยู่ ดังนั้น จึงจะขอใช้ข้อกำหนดนี้มาเป็นเงื่อนไขไม่อนุญาตให้มีการปรับอัตราค่าผ่านทางในครั้งนี้
 
ส่วนนายสุเมธ องกิตติกุล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ  กล่าวว่า ปริมาณการจราจรในปัจจุบัน มีความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งในส่วนนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับเอกชน ในการบริหารจัดการ หากพิจารณาปริมาณรถที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้สภาพการจราจรติดขัดบ้างบางช่วงเวลา
 
ด้านนายเลิศศักดิ์ จิงหะรานนท์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า การลงทุนก่อสร้างทางพิเศษเป็นการลงทุนเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บค่าผ่านทางเพื่อให้หน่วยงานมีรายได้ที่เพียงพอสามารถนำมาใช้ในการชำระคืนเงินกู้ที่ใช้เป็นค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าบริหารจัดการอื่นๆ ทั้งนี้ กทพ.ได้พิจารณากำหนดอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสมและคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้ทางพิเศษและสังคมโดยรวมมากที่สุด
 
อย่างไรก็ตาม กทพ.ต้องมีการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางที่เป็นไปตามสัญญาที่ได้ร่วมลงนามในสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ที่กำหนดให้มีการปรับอัตราค่าผ่านทางทุกระยะ 5 ปี เพื่อเป็นการรักษาสัญญา
 
ขณะที่นายประสาท มีแต้ม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน กล่าวว่า ประเด็นหลักที่ คณะกรรมการองค์การอิสระเรียกร้อง คือต้องการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ยุติการขึ้นค่าผ่านทาง หรือชะลอการปรับขึ้น เนื่องจาก ปัจจุบัน กทพ.มีการบริหารงานที่ขาดคุณภาพการทำงาน ไม่มีความโปร่งใส ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนเรื่องรายได้ที่แท้จริง
 
อีกทั้ง ยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมา กทพ.มีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง แต่ไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนในการปรับขึ้นแต่ละครั้ง รวมไปถึงการใช้องค์ความรู้ที่แท้จริงในการตัดสินใจบริหารจัดการต่างๆ นอกจากนี้คณะกรรมการองค์การอิสระได้ยื่นหนังสือไปยังผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับกรณีการยุติหรือชะลอการขึ้นค่าผ่านทาง เพื่อพิจารณา แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด
 
ทั้งนี้ ผลการเสวนามีสาระสำคัญและข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐและรัฐบาล ดังต่อไปนี้ 1.ขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทบทวนและยุติ มติเห็นชอบในการขึ้นราคาค่าผ่านทางโดยใช้เงื่อนไขสัญญา ข้อที่ 12.2 ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ ในการทำให้การจราจรไหลเวียนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย   เช่น กรณีประเทศอาร์เจนตินา พบว่า ถ้ารถยนต์รอเป็นระยะทางเกินกว่า 20 เมตร จะไม่มีสิทธิเก็บค่าผ่านทางได้
 
2.ขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลกำไร นับตั้งแต่มีสัญญาสัมปทาน ต่อสาธารณะเพื่อความโปร่งใส และใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาของฝ่ายบริหารในการรับภาระแทนเอกชน หากไม่จำเป็นต้องขึ้นราคา
 
3.ขอให้ศึกษาผลกระทบการขึ้นราคาค่าผ่านทาง (Regulation Impact Assessment) อาทิ เช่น ผลกระทบต่อการขึ้นค่าบริการรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถตู้โดยสาร ขนส่งมวลชนกรุงเทพ
 
4.ก่อนตัดสินใจขึ้นราคาค่าผ่านทาง ขอให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและองค์กรผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 61
 
5.ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือคณะรัฐมนตรี ใช้ดุลยพินิจทางการปกครอง ในการชะลอการขึ้นราคาในครั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากสัญญาโครงการระบบขั้นที่ 2 เป็นสัญญาทางปกครองที่ให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคที่ใช้ทางดังกล่าว รัฐต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาปัญหาจราจรบนทางด่วนที่ไม่ไหลเวียนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
 
6.ขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ต่ออายุสัญญาสัมปทาน (หลัง ก.พ.2562) โดยให้เตรียมความพร้อมและวางแผนเพื่อบริหารจัดการทางพิเศษ ก่อนหมดสัญญาสัมปทานอย่างน้อย 5 ปี โดยต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
 
7.ในอนาคต ขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยศึกษารูปแบบการทำสัญญาที่ดีกว่าในปัจจุบันจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มเติม ในแง่ผลประโยชน์ตอบแทนต่อรัฐ และภาระของผู้บริโภคในระยะยาว หากมีการพิจารณาทำสัญญาสัมปทานโครงการอื่นๆ
 
 
ที่มา: เรียบเรียงบางส่วนจาก INN, ผู้จัดการออนไลน์
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สิบตรี แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง

Posted: 22 Aug 2013 10:43 AM PDT

"ในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญในช่วงชีวิตฉัน ฉันต้องการให้ทุกคนรู้จักตัวตนที่แท้จริงของฉัน ฉันคือเชลซี แมนนิ่ง ฉันคือผู้หญิง.."

22 ส.ค.56, ผู้ถูกตัดสินจำคุก 35 ปี จากการที่เขาส่งข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ ให้กับเว็บไซต์วิกิลีคส์ และเขาแถลงเปิดเผยความต้องการเข้ารับการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนและให้มีคนรู้จักเธอในฐานะผู้หญิงที่ชื่อ "เชลซี แมนนิ่ง"

วิกิลีกส์ออกแถลงการณ์กรณี 'แมนนิ่ง' ถูกตัดสินจำคุก 35 ปี

Posted: 22 Aug 2013 09:00 AM PDT

วิกิลีกส์ชี้ คำตัดสินจำคุก 35 ปี สิบตรี แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง  ฐานเปิดโปงเอกสารของรัฐบาล ก็จะยิ่งทำให้เกิด  "แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง" เพิ่มขึ้นอีกพันคน ส่วนเจ้าตัวประกาศอยากให้โลกรู้จักตัวตนที่แท้จริงในฐานะผู้หญิงชื่อ "เชลซี แมนนิง"

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมาศาลสหรัฐฯ ได้ตัดสินลงโทษสิบตรีประจำการแบรดลี่ย์ แมนนิง ให้จำคุกเป็นเวลา 35 ปีจากการที่เขาส่งข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ ให้กับเว็บไซต์วิกิลีคส์ ซึ่งถือว่าเป็นการต้องโทษจำคุกยาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับผู้เปิดโปงความลับของสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้

แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง อายุ 25 ปี ถูกดำเนินคดีตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาจากการที่เขาทำให้ข้อมูลเอกสารและวีดิโอของทางการสหรัฐฯ จำนวนมากกว่า 700,000 ชิ้นรั่วไหลออกไปสู่สาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นการรั่วไหลของข้อมูลทางการทหารของสหรัฐฯ ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์

แมนนิ่งถูกตัดสินให้มีความผิด 20 ข้อหา ซึ่งหกข้อหาอ้างตามกฎหมายการจารกรรม โดยแมนนิ่งพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการให้ความช่วยเหลือศัตรูมาได้

ในห้องพิพากษาที่ฐานทัพฟอร์ทมี้ด พันเอก เดนิส ลินด์ ผู้พิพากษาในคำตัดสินว่าแมนนิ่งจะถูกลงโทษจำคุก 35 ปี  ถูกลดขั้นกลายเป็นพลทหาร E1 ถูกระงับการได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนและถูกให้ออกเพราะประพฤติเสื่อมเสีย
หลังจากการตัดสินคดีในขณะที่แมนนิ่งถูกนำตัวออกจากศาล มีผู้ชุมนุมสนับสนุนแมนนิ่งอยู่ด้านนอกตะโกนให้กำลังใจว่า "พวกเราจะสู้เพื่อคุณต่อไปแบรดลี่ย์" และ "คุณคือวีรบุรุษของพวกเรา"

แมนนิ่งต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหนึ่งในสามของโทษที่ได้รับก่อนที่จะมีสิทธิเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวโดยมีการคุมความประพฤติและได้รับสิทธิลดโทษ 120 วันต่อปีหากมีความประพฤติที่ดี โดยก่อนหน้านี้แมนนิ่งมีโอกาสได้รับโทษสูงสุด 90 ปี ก่อนที่จะมีการลดโทษ โดยหากนับจากการดำเนินคดีที่ยาวนานและมีการกักขังแมนนิ่งไว้เป็นเวลา 3 ปีแล้ว แมนนิ่งจะต้องจำคุกสูงสุดในเวลาที่เหลือคืออีก 32 ปี

กลุ่มสิทธิพลเมืองวิจารณ์ ระบบศาลสหรัฐฯ มีปัญหา
อย่างไรก็ตามคำตัดสินในครั้งก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มเสรีภาพสื่อและกลุ่มเสรีภาพพลเมือง โดย เบน วิซเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายของกลุ่มสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกันกล่าวว่า "เมื่อทหารผู้เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อและสาธารณชนถูกลงโทษหนักกว่าคนอื่นๆ ที่เคยทรมานนักโทษและสังหารประชาชน อะไรบางอย่างในระบบศาลก็มีปัญหาอย่างมาก"

"ระบบกฎหมายที่ไม่แยกแยะระหว่างผู้ทำข้อมูลรั่วไหลไปสู่สื่อซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประชาชนกับผู้ที่เป็นผู้ทรยศต่อชาติไม่เพียงแค่ทำให้เกิดความอยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้สาธารณชนไม่ได้รับข้อมูลสำคัญที่มีความจำเป็นต่อระบอบประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้" วิซเนอร์กล่าว

ทางด้านลิซา โกทีน จากศูนย์เบรนแนนเพื่อเสรีภาพระบบตุลาการและโครงการความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่าคดีนี้มีการสั่งจำคุกนานที่สุดเมื่อเทียบกับคดีเปิดโปงข้อมูลคดีก่อนหน้านี้ที่มีการจำคุกเพียงสองปีเท่านั้น

วิกิลีกส์ออกแถลงการณ์
จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ออกแถลงการณ์ต่อกรณีนี้ว่า ถึงแม้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ จะได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในการที่แมนนิ่งถูกลงโทษแต่การดำเนินคดีกับแมนนิ่งถือเป็นการหยามเหยียดแนวคิดพื้นฐานของระบบยุติธรรมของโลกตะวันตก และหลังจากที่แมนนิ่งถูกจับกุมตัวเมื่อเดือน พ.ค. 2010 เขาก็ถูกทางการสหรัฐฯ กักขังทันที ซึ่งในกรณีถูกเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติมองว่าเป็น "ความโหดร้าย, ขาดมนุษยธรรม และลดทอนความเป็นมนุษย์" และแม้แต่ศาลกองทัพสหรัฐฯ ก็บอกว่าการทำเช่นนี้เป็นเรื่องผิดกฏหมาย

อัสซานจ์กล่าวในแถลงการณ์อีกว่า แม้ทางทนายความของแมนนิ่งจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มีการลดโทษ แต่ผลลัพธ์ที่มีความยุติธรรมจริงๆ คือการปล่อยตัวแมนนิ่งอย่างไม่มีเงื่อนไข มีการชดเชยจากการที่ปฏิบัติต่อเขาอย่างผิดกฏหมาย และนำตัวผู้กระทำผิดตามที่ถูกเปิดเผยในเอกสารออกมาดำเนินการไต่สวนโดยให้สาธารณะรับทราบ

แถลงการณ์ระบุว่า ในคดีแมนนิ่งทางการสหรัฐฯ ต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกเขานำ "ผู้กระทำผิด" มาลงโทษต่อหน้าสาธารณะ แต่วิธีการแบบนี้จะสร้างผลร้ายต่อพวกเขาเอง จากการที่รัฐบาลของโอบาม่าได้แสดงให้เห็นว่าในระบบของเขาไม่มีพื้นที่ให้กับ "บุคคลที่มีจิตสำนึกและหลักการ" และจะยิ่งทำให้เกิด "แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง" เพิ่มขึ้นอีกพันคน


แมนนิ่งเผยเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้หญิงที่ชื่อ "เชลซี"

ในวันที่ 22 ส.ค. แมนนิ่งได้ออกแถลงการณ์ของตนเองเพื่อเปิดเผยความต้องการเข้ารับการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนและให้มีคนรู้จักเธอในฐานะผู้หญิงที่ชื่อ "เชลซี แมนนิ่ง"

"ในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญในช่วงชีวิตฉัน ฉันต้องการให้ทุกคนรู้จักตัวตนที่แท้จริงของฉัน ฉันคือเชลซี แมนนิ่ง ฉันคือผู้หญิง นั่นคือสิ่งที่ฉันรู้สึกในตอนนี้และรู้สึกมาตั้งแต่ตอนยังเด็ก ฉันต้องการเข้ารับการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนให้เร้วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉันเชื่อว่าพวกคุณจะสนับสนุนให้ฉันเปลี่ยนแปลง" แมนนิ่งกล่าว

แม้แมนนิ่งจะเปิดเผยเรื่องเพศสภาพของตนเองหลังการตัดสินคดี แต่ทนายความของแมนนิ่งก็กล่าวเน้นย้ำว่าเรื่องเพศสภาพของแมนนิ่งไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เธอกระทำการเปิดโปงเอกสารสหรัฐฯ แต่การเปิดโปงของเธอมาจากแรงจูงใจทางจริยธรรมที่เข้มแข็งของเธอเอง

เรียบเรียงจาก

Bradley Manning given 35-year prison term for passing files to WikiLeaks, The Guardian, 21-08-2013

Statement by Julian Assange on today's sentencing of Bradley Manning, WikiLeaks, 21-08-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

INSouth เตรียมจัดวงกินข้าวยำระดมทุนซื้ออุปกรณ์สำนักงาน

Posted: 22 Aug 2013 08:29 AM PDT

INSouth กลุ่มสื่อ-ศิลปินอิสระชายแดนใต้ จัดงานกินข้าวยำ 25 สิงหาคมนี้ หวังระดมทุนซื้ออุปกรณ์ทำงานหลังจากสำนักงานถูกบงัดขโมยทรัพย์สินไปกว่า 210,000 บาท

เหตุโจรกรรมสำนักงาน  INSouth เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ส่งผลให้ INSouth ต้องสูญเสียวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม โดยเฉพาะ กล้องถ่ายวิดีโอ กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสต์ โปรเจกเตอร์ และเงินสด รวมจำนวนทั้งสิ้น 210,000 บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นบาท) ทำให้ INSouth ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายขององค์กรได้ สมาชิกของกลุ่มจึงจัดงาน "ข้าวยำสมทบทุน INSouth" เพื่อระดมทุนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรมต่อไป โดยจะจัดงานขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม 2556 นี้ ที่ รีสอร์ทชุมชนตะโละสะมิแล ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

INSouth เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของเครือข่ายบัณฑิตที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างพื้นที่การทำกิจกรรมทางสังคมเชิงสร้างสรรค์ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองตามหลักประชาธิปไตย อันจะเป็นการสร้างพื้นที่การพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพความแตกต่างทางความคิด เพื่อเป็นหนทางให้เกิดความร่วมมือในพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองในอนาคตอย่างยั่งยืน

สำหรับการจัดงานกินข้าวยำระดมทุนครั้งนี้ กลุ่ม Insouth วางเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประชาชนในพื้นที่ที่เคยเข้าร่วมการสัมมนา และติดตามข่าวสารผลงานของกลุ่ม

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือทางกลุ่ม สามารถโอนเงินสมทบทุนได้ผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธ. กรุงไทย สาขาเจริญประดิษฐ์ 929-0-10261-6  ชื่อบัญชี อับดุลฆอนีย์ มะนอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ จี้ยุติละคร 'ฟ้าจรดทราย' ชี้บิดเบือนหลักศาสนาอิสลาม

Posted: 22 Aug 2013 05:56 AM PDT

มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ยื่นหนังสือถึง ช่อง 7-รมว.ไอซีที- กสทช. เรียกร้องยุติการฉายละคร "ฟ้าจรดทราย" จวก เนื้อหา-บทบาทตัวละคร บิดเบือนหลักการศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง และใส่ร้ายชาวมุสลิมในทางเสื่อมเสียเป็นอย่างมาก


(22 ส.ค.56) มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ออกแถลงการณ์ เรื่อง "ขอให้ยุติการออกอากาศละครโทรทัศน์ เรื่อง ฟ้าจรดทราย" ถึง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รวมถึงสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีเนื้อหาระบุว่า ทางมูลนิธิฯ รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลามเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ ฟ้าจรดทราย ถึงความไม่เหมาะสมของเนื้อหา และบทบาทตัวละคร ซึ่งมีการบิดเบือนหลักการศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง และใส่ร้ายชาวมุสลิมในทางเสื่อมเสียเป็นอย่างมาก

ทางฝ่ายกฎหมายมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ตรวจสอบเนื้อหาและบทบาทของตัวละครในละครโทรทัศน์เรื่อง ฟ้าจรดทรายแล้ว ปรากฎว่ามีเนื้อหาบิดเบือนหลักการศาสนาอิสลาม และใส่ร้ายต่อหลักปฏิบัติที่ถูกต้องของมุสลิมเป็นอย่างมาก เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นลบหลู่ศาสนาอิสลาม การที่สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ออกอากาศถ่ายทอดละครโทรทัศน์ดังกล่าวออกสู่สาธารณะ ทำให้ผู้ชมละครโทรทัศน์เรื่องดังกล่าวมีความเข้าใจต่อหลักศาสนาอิสลามในทางที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ทำให้คนดูเข้าใจว่าอิสลามหรือคนมุสลิม โหดร้ายทารุณกรรมกับเด็กและสตรี ซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง และมีอีกหลายประการที่ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ทำการลบหลู่ ดูหมิ่นบิดเบือน ใส่ร้ายคนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม

"การกระทำดังกล่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่นำละครโทรทัศน์เรื่องฟ้าจรดทราย ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะนั้น ทำร้ายความรู้สึกของคนมุสลิม จนกลายเป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับชาวมุสลิม หากทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปล่อยให้ละครโทรทัศน์เรื่องดังกล่าวออกอากาศต่อไป เกรงจะเกิดผลกระทบในวงกว้างที่ไม่อาจคาดคิดได้ ดังนั้น ทางมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ โดยฝ่ายกฎหมายจึงเรียนมายังรัฐมตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อขอให้ดำเนินการยุติการถ่ายทอดออกอากาศละครโทรทัศน์เรื่อง ฟ้าจรดทรายของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยด่วนที่สุด" หนังสือร้องเรียน ระบุ

ก่อนหน้านี้ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล หรือ มะเดี่ยว ผู้กำกับชื่อดัง เขียนลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ละครเรื่องนี้มีความไม่สมจริงหลายประการ เช่น ฉากของเรื่องเป็นอาหรับ แต่สถานที่กลับเป็นสไตล์โรมัน ตัวละครเป็นมุสลิม แต่มีบทพูด "พระพุทธเจ้าข้า"

"ละครฟ้าจรดทราย Setting เป็นอาหรับ แต่ Art Direction เป็นงาน Roman หมด ไม่มีอะไรเป็น Muslim Art เลยทั้งบ้านช่องห้องหอ คฤหาสน์ นี่ล่ะบันเทิงไทย คุณชายนี่ถึงขั้นมีกระเป๋าโดโมะนี่ ดิชั้นเสื่อมศรัทธา เบะปากใส่พวกทำงานห่วยๆ ด้วย ละครอะไร มุสลิมมา 'พระพุทธเจ้าข้า' ดีเทลพวกนี้คือการใส่ใจ ไม่ใช่ยึดติด สิ่งเหล่านี้แยกมืออาชีพ ออกจากคนทำงานรับเงินไปวันๆ"

มะเดี่ยว เขียนในเฟซบุ๊กด้วยว่า "วังในยุโรปมันก็ไม่ใช่แบบนี้ อันนี้บ้านเศรษฐีแต่งด้วยสไตล์โรมันแบบไทยๆ ถามว่าศึกษามาไหม ... ศึกษามาเยอะ และต้องทำจริงๆ เพราะมันเป็นอาชีพการงานของผม ไม่ใช่อ่านแล้วมโนเอาเอง ที่วิจารณ์ก็ตามประสาดูแล้วไม่ชอบ ถ้าคุณชอบมันก็เรื่องของคุณ ผมก็ไม่ได้ไปบังคับให้คุณมาเกลียดละครเรื่องนี้ตามผม เอาผมไปด่าไปประจาน มันมีอะไรดีขึ้นเหรอ ละครก็เหมือนเดิม ผมจะด่าแรงกว่านี้ ก็ไม่ได้ทำให้ละครค่ายเขาถูกตัดจบ ก็ยังฉายให้ดูจนจบ จะเอาอะไรกะผม เป็นคนทำงานโปรดัคชั่น อย่าทำงานสุกเอาเผากิน อย่าดูถูกคนดู สมัยนี้คนดูไม่โง่ เขาจำใจดูละครเพราะมันไม่มีทางเลือกอื่น เรตติ้งที่ว่าดีๆ เพราะฟรีทีวีมันมีไม่ถึงสิบช่อง สัญญาณอนาลอกก็ไม่ครอบคลุมหรือคมชัดเท่ากันในแต่ละช่องสัญญาณ ไม่นานการแข่งขันใหม่จะเกิด จะดูดิ๊ว่าทำงานแบบห่วยๆเหมือนเดิมจะมีคนดูไหม ลูกค้าก็เท่าเดิม กำลังซื้อคนก็เท่าเดิม คงต้องแข่งที่ตัว content ล้วนๆ ไหนจะเคเบิลไหนจะอินเตอร์เนต มาช่วงชิงลูกค้าโฆษณา ถ้าคิดว่าดีก็ทำไป แต่อย่าดูถูกคนดู เพราะคนดูฉลาดๆก็ดูถูกคนทำงานห่วยๆได้เหมือนกัน ทางผู้จัดละคร ฟ้าจรดทราย ควรขอบคุณข้าพเจ้า ที่ทำให้รู้ว่ามีแฟนละครที่รักละครเรื่องนี้มากมายขนาดไหน"

อนึ่ง มีรายงานว่า ในทุกวันออกอากาศ ทางสถานีและทางผู้ผลิต ได้ขึ้นข้อความว่า "ละครเรื่องนี้ สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงจากบทประพันธ์อมตะ ของโสภาค สุวรรณ เป็นเรื่องราวของความรักที่เกิดขึ้นในดินแดนของชนชาติอาหรับ ตัวละคร พฤติกรรม สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ ในละครเป็นเรื่องสมมติทั้งสิ้น ซึ่งผู้ผลิตพยายามจะรักษาและทำตามบทประพันธ์ให้มากที่สุด โดยมิได้มีเจตนาจะลบหลู่ความเชื่อทางศาสนาใดๆ หากมีข้อผิดพลาด ผู้ผลิตขอน้อมรับทุกคำท้วงติงและแนะนำ เพื่อนำมาแก้ไขและจะระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก"

 


ที่มา: เพจมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เว็บไซต์ข่าวสด และโพสต์ทูเดย์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นัดพิพากษาคดี 112 พี่ฟ้องน้อง 13 ก.ย.นี้ ครอบครัวลุ้นประกันตัว

Posted: 22 Aug 2013 05:38 AM PDT



นางพะเยาว์ อัคฮาด และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ เซ็นค้ำประกันเงินประกันตัวจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ
ภาพจากเฟซบุ๊ค Nithiwat Wannasiri

 

22 ส.ค.56 ที่ห้องพิจารณาคดี 909 ศาลอาญารัชดา มีนัดสืบพยานคดีที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ฟ้อง ยุทธภูมิ (สงวนนามสกุล) ในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยพี่ชายของยุทธภูมิเป็นผู้กล่าวหาว่า ยุทธภูมิพูดถ้อยคำหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ขณะดูโทรทัศน์ในบ้าน และเขียนถ้อยคำหมิ่นฯ ลงบนแผ่นซีดี

โดยในวันนี้เป็นวันสืบพยานนัดสุดท้าย ก่อนศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 13 กันยายนนี้ สำหรับพยานจำเลยที่ขึ้นเบิกความในวันนี้ได้แก่ นายยุทธภูมิ จำเลย , นายสงบ โพธิ์ด้วง เพื่อนบ้านที่เช่าบ้านหลังเดียวกัน, และนางอ่อน มารดาของนายยุทธภูมิ

นายยุทธภูมิ เบิกความถึงความขัดแย้งระหว่างจำเลยกับพี่ชายที่มีมาตลอดหลายปีแม้จะทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ล้างรถด้วยกัน อยู่บ้านเดียวกัน จนกระทั่งพี่ชายย้ายออกจากบ้านไป 2 เดือนก่อนเกิดเรื่อง แล้วย้ายกลับเข้ามาใหม่ แต่ความสัมพันธ์ก็ยังตึงเครียดและไม่พูดคุยกัน  บ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านเช่าที่อยู่ด้วยกัน 9 คน ชั้นล่างเป็นสำนักงานส่วนชั้นบนเป็นห้องนอน 3 ห้อง ภายในบ้านมีทีวี 3 เครื่อง คือ ชั้นล่าง บนห้องนอนของจำเลย และบนห้องนอนของพี่ชาย โดยที่ผ่านมาจำเลยและพี่ชายไม่เคยดูทีวีร่วมกัน ปัญหาสำคัญที่ทะเลาะกันคือ หมาของทั้งสองมักกัดกัน อีกทั้งหมาของจำเลยเคยกัดพี่ชายและพี่ชายก็เกลียดหมาของจำเลย ทั้งคู่เคยทะเลาะกันถึงขั้นที่พี่ชายจะเอามีดปลอกผลไม้แทงจำเลย และจำเลยจะเอามีดแทงพี่ชาย ครั้งแรกมีเพื่อนบ้านมาห้ามไว้ หลังจากนั้นจำเลยได้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ครั้งที่สองพี่ชายโทรแจ้งตำรวจ และตำรวจแนะนำให้แยกกันอยู่ โดยเจ้าของบ้านเช่าเลือกที่จะต่อสัญญากับจำเลย พี่ชายจึงต้องย้ายออกไป

จำเลยเบิกความว่า จำเลยมีความจงรักภักดี ในบ้านของจำเลยมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยนำภาพสวยๆ มาจากปฏิทินหรือหนังสือพิมพ์ ส่วนซีดีของกลางนั้นเคยพบเห็นมาก่อนแต่ยังไม่มีข้อความตามฟ้องที่เขียนเพิ่มเติมแต่อย่างใด หน้าปกซีดีปรากฏเพียงตัวพิมพ์ว่า "หยุดก้าวล่วงพระเจ้าอยู่ เนวินขอทักษิณ" โดยพบซีดีนี้ในกล่องไปรษณีย์หน้าบ้าน จึงนำมาวางบนโต๊ะวางของในบ้านแล้วไม่ได้สนใจอีก ทั้งไม่เคยดูซีดีดังกล่าว

ยุทธภูมิเบิกความถึงขั้นตอนในชั้นสอบสวนด้วยว่า ตกใจมากเมื่อเห็นหมายเรียกแล้วจึงรีบไปพบพนักงานสอบสวนที่กองปราบ พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบว่าพี่ชายมาร้องทุกข์กล่าวโทษตัวเขาในคดีหมิ่นฯ และสั่งให้เขียนตัวหนังสือในกระดาษเพื่อส่งกองพิสูจน์หลักฐานโดยใช้ปากกาธรรมดา ซึ่งก็ยอมเขียนตามเนื่องจากตำรวจบอกว่าเขียนแล้วจะปล่อยกลับบ้านไม่ต้องประกันตัว จากนั้นไม่นานพนักงานสอบสวนก็ติดต่อให้ไปเขียนใหม่อีกครั้ง โดยระบุว่าให้เขียนด้วยลายมือหวัด และนำแผ่นซีดีซึ่งมีข้อความตามฟ้องที่เขียนด้วยปากกาเมจิกมาให้ดูพร้อมแจ้งว่า  "เขียนแบบนี้ อย่าตัวเล็กไป ใหญ่ไป" และกำชับด้วยว่า หากยังเขียนไม่เหมือนจะส่งไปเขียนต่อหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน ส่วนหน้าปกซีดีที่มีภาพหน้าบุคคลอยู่ 5-6 คนนั้นจำเลยก็รู้จักแต่ภาพของนายเนวิน ชิดชอบ และนายบุญจง ซึ่งจำเลยจำนามสกุลไม่ได้

จำเลยยังเบิกความเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับคนเสื้อแดงอีกว่า เห็นว่าคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่ผ่านมาไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเสื้อแดง แต่เคยไปซื้อเสื้อแดงที่วัดไผ่เขียวซึ่งอยู่ใกล้บ้านและเสื้อแดงมาจัดชุมนุมหนึ่งครั้ง โดยจะนำเสื้อไปเป็นของที่ระลึกลูกค้าที่เป็นเสื้อแดงซึ่งเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้พูดคุยธุรกิจกันง่ายขึ้น ส่วนสถานีโทรทัศน์เสื้อแดงนั้นเคยดูบ้าง และไม่เคยดูช่องเสื้อเหลือง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการกลั่นแกล้งของพี่ชาย

อัยการถามค้านเกี่ยวกับสถานที่ตั้งทีวี โดยจำเลยรับว่า ทีวีที่ชั้นล่างขนาดประมาณ 21 นิ้วตั้งอยู่ใกล้กับโต๊ะทำงานของจำเลย ซึ่งมีเอกสารและเครื่องเขียนวางอยู่ แต่ยืนยันว่าบนโต๊ะไม่มีปากกาเมจิก และที่บ้านไม่มีสัญลักษณ์ของกลุ่มเสื้อเหลือง มีแต่ของเสื้อแดง แต่เสื้อสีแดงที่ไปซื้อมาจากวัดไผ่ล้อมก็มีเพียง 2-3 ตัวและผ้าโพกหัวอีก 4-5 ผืนเท่านั้น ขณะคัดลายมือกับพนักงานสอบสวนไม่มีการบังคับขู่เข็ญ  จำเลยไม่รู้จักกับพนักงานสอบสวนรวมถึงพนักงานตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน ตัวจำเลยมีความจงรักภักดีและหากพบใครที่กระทำการหมิ่นสถาบันก็จะแจ้งความเช่นกัน

นายสงบ โพธิ์ด้วง อาชีพนักงานบริษัทซึ่งเป็นผู้แบ่งเช่าบ้านหลังเดียวกันกับจำเลยและพี่ชาย เบิกความว่ารู้จักทั้งสองคนมากกว่า 6 ปี ทั้งสองมักมีปากเสียงกันเรื่องหมา พี่ชายของจำเลยเป็นนักร้องมักจะอยู่บ้านซ้อมร้องเพลง ขณะที่จำเลยจะออกไปส่งของให้ลูกค้า ก่อนหน้านี้เคยเป็นคนกลางห้ามการทะเลาะครั้งใหญ่ของทั้งสอง 1 ครั้ง หลังจากนั้นก็ไม่เห็นอีก ขอยืนยันว่าจำเลยเป็นคนดี แม้จะชอบดื่มเหล้า โผงผาง เสียงดัง แต่ไม่เคยทำร้ายใคร นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจำเลยมีความจงรักภักดีเพราะพยานและจำเลยเคยร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหน้าโทรทัศน์ด้วยกัน ในบ้านของจำเลยก็มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ติดไว้

นางอ่อน  มารดาจำเลยและมารดาโจกท์ เบิกความว่า อายุ 67 ปี มีอาชีพทำนาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษไม่เคยเข้ามากรุงเทพฯ กระทั่งเกิดเรื่องนี้ขึ้น สามีหนีหายไปตั้งแต่ลูกยังเล็กมาก มีลูกทั้งหมด 3 คน โดยโจทก์เป็นลูกคนกลาง และจำเลยเป็นลูกคนสุดท้อง ที่ผ่านมาลูกคนกลางมักชอบเอาเปรียบลูกคนเล็ก ส่วนลูกคนเล็กนั้นโผงผาง พูดเสียงดัง แต่ซื่อและขี้เล่น ที่ผ่านมามีแต่ลูกคนเล็กที่ส่งเสียราวเดือนละ 2,000-3,000 บาท ส่วนลูกคนกลางนั้นไม่เคยส่งเสียสักครั้ง

มารดาของทั้งคู่กล่าวว่า  เมื่อทราบเรื่องคดีความที่เกิดขึ้นได้เดินทางไปพบลูกชายคนกลางที่แจ้งความจับน้องชาย 2 ครั้ง เพื่อถามถึงสาเหตุและขอร้องให้อภัยต่อกัน ถอนการแจ้งความ โดยลูกชายคนกลางกล่าวว่า น้องชายเป็นคนเลว สมควรติดคุก และมักจะเหยียดหยามดูถูกเขาเสมอ รวมทั้งมีการด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย และไม่สามารถถอนฟ้องได้ไม่เช่นนั้นเขาจะเดือดร้อนเอง เมื่อไปพบครั้งที่สอง ลูกคนกลางซึ่งเป็นโจทก์ได้ฝากจดหมายถึงลูกคนเล็ก เนื้อหาในจดหมายสรุปได้ว่าหากต้องการขอโทษที่เคยแสดงความเหยียดหยามกันไว้ให้มาขอขมาพร้อมด้วยเงิน 50,000 บาท

ในช่วงเย็น นางจงกล ภรรยานานยุทธภูมิ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้อนุมัติหลักทรัพย์เป็นเงินสด 600,000 บาทเพื่อยื่นประกันตัวนายยุทธภูมิ พร้อมกับมีนางพะเยาว์ อัคฮาจ แม่ของ 'น้องเกด' หรือ กมลเกด อัคฮาด ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมปี53 และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อของ 'น้องเฌอ' หรือสมาพันธ์ ศรีเทพ ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 53 มาเป็นบุคคลผู้ค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม การยื่นประกันตัวดำเนินการไม่ทันเวลาทำการ ทำให้ต้องดำเนินการและรอฟังผลอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (23 ส.ค.)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริหารไลน์ย้ำ จะขอข้อมูลผู้ใช้งานต้องมีคำสั่งศาลญี่ปุ่น

Posted: 22 Aug 2013 05:12 AM PDT

(22 ส.ค.56) เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า วันนี้ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายโมริคาว่า อาคิระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไลน์ คอเปอร์เรชั่น จำกัด เปิดเผยถึงกรณีตำรวจไทยจะขอเข้ามาตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและการสนทนาของผู้ใช้งานไลน์ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและการก่ออาชญากรรมว่า ไลน์ยังไม่ได้รับการติดต่อขอรายละเอียดอย่างเป็นทางการจากทางตำรวจไทย รวมถึงในประเทศอื่นด้วย

โดยไลน์จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้งาน ยกเว้นแต่ทางตำรวจไทยประสานมายังตำรวจญี่ปุ่น เพื่อขอคำสั่งศาล ทางบริษัทก็พร้อมจะปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ทางไลน์ไม่มีนโยบายเข้าไปแทรกแซงการใช้งานของผู้ใช้บริการ ซึ่งการติดต่อสื่อสารสนทนาเป็นระบบปิดจะไม่สามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาเปิดเผยหรือให้บุคคลอื่นได้ หากไม่มีคำสั่งจากศาล

ด้านนายลี จิน วู ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจ ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งดูแลธุรกิจไลน์ ในประเทศไทย กล่าวว่า ไลน์เข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศไหนก็จะเคารพกฎหมายของประเทศนั้น รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศด้วย ยืนยันว่า ไลน์ ประเทศไทยก็ยังไม่ได้รับการประสานใดๆ ซึ่งหากมีการประสานมาก็จะต้องมีขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ต้องใช้เวลา โดยตำรวจไทย ต้องขออำนาจศาลไทยและติดต่อไปยังรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อขอคำสั่งศาลญี่ปุ่น เพื่อให้ทางไลน์เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ซึ่งศาลญี่ปุน ก็จะต้องพิจารณาคำร้องขอว่า มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวกลุ่มเด็กและเยาวชน “ตะวันรอนที่ดอนฮังเกลือ”

Posted: 22 Aug 2013 04:46 AM PDT

กลุ่มเด็กเยาวชน "ตะวันรอนที่ดอนฮังเกลือ" พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างกระบวนการเรียนรู้ ทำความเข้าใจในวีถีชีวิตของชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คงอยู่ต่อไป
 
 
ศรายุทธ ฤทธิพิณ ผู้ประสานงานกลุ่มเด็กและเยาวชน "ตะวันรอนที่ดอนฮังเกลือ"  ในชุมชนดอนฮังเกลือ ต.บึงเกลือ อ.เสลภุมิ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า การจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวมีแนวความคิดเบื้องต้นที่ว่า เด็กแต่ละคนมีโอกาสและชีวิตแตกต่างกัน และในปัจจุบันพวกเขากำลังเผชิญอยู่กับปัญหาของสังคม บางครั้งอาจถูกครอบงำทางความคิด ถูกชักจูงให้ลุ่มหลงมัวเมาทั้งทางด้านวัตถุ รวมทั้งความเสื่อมทางศีลธรรม
 
"สิ่งที่ตนเชื่อมั่นที่สุดคือ เด็กเปรียบผ้าขาวที่บริสุทธิ์ เด็กดั่งดวงดาว เป็นวัยที่มีพลังทางความคิด เป็นขุมพลังของชุมชน จึงเป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ที่เด็กๆ และเยาวชนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า ย่อมควรได้รับการเรียนรู้และคำแนะนำที่ดีจากผู้ใหญ่ เพื่อที่พวกเขาจะได้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ทรงพลังทางความคิด เปี่ยมด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต" ศรายุทธกล่าว
 
ศรายุทธ กล่าวด้วยว่า กิจกรรมของกลุ่มตะวันรอนที่ดอนฮังเกลือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรัก เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทำความเข้าใจในวีถีชีวิตของชุมชน ทั้งการจัดการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รักศีลธรรมจริยธรรม พาเข้าวัด สวดมนต์ไหว้พระ รวมทั้งให้พวกเขาเหล่านั้นรู้จักการสื่อสาร ด้วยการสอดแทรกศิลปะ ในรูปแบบงานเขียน บทความ สารคดี เพื่อให้พวกเขาพร้อมที่จะเป็นนักเขียนตัวน้อยๆ ด้วยมือของพวกเขาเอง
 
 
ด้าน ศิริพงษ์ อุ่นทรวง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสลภูมิวิทยาสรรค์ เล่าถึงหลักของการทำกิจกรรมว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนถูกตั้งโจทก์ให้ร่วมกันคิด ออกแบบกันเองว่า หากเปรียบหัวใจของคนเรามี 4 ห้อง ฉะนั้นพวกเราจะแบ่งปันผูกใจ 4 ห้องหัวใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างไร ซึ่งเขาและเพื่อนๆ น้องๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันได้ดังนี้ 1.ห้องในด้านอารมณ์และจิตใจ คือจะจัดให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว เช่น เก็บขยะ เล่นดนตรี ออกกำลังกาย และท่องเที่ยวธรรมชาติ
 
2.ห้องในด้านสังคม คือ มีความรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาผู้ยากไร้ ไม่เอาแก่ใจตนเอง 3.ห้องในด้านสติปัญญา คือ ถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่ใช่สาระ แต่สิ่งที่พวกเขาทำคือความกล้าแสดงออก และ 4.ห้องในด้านศีลธรรมและจริยธรรม คือ เข้าวัด ฟังธรรม และร่วมงานตามจารีตประเพณีในท้องถิ่น
 
นั่นกลายมาเป็นหลักกิจกรรมทั้ง 4 อย่าง ซึ่งให้ความสำคัญทั้งทางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เด็กและเยาวชน กลุ่มตะวันรอนที่ดอนฮังเกลือ จะร่วมกันปฏิบัติ
 
 
ศิริพงษ์ ยังให้ข้อมูลถึงปัญหาของชุมชนด้วยว่า ชาวชุมชนดอนฮังเกลือนั้นมีความขัดแย้งกับ อบต.บึงเกลือ มาตั้งแต่ปี 2535 โดย อบต.บึงเกลือ พยายามขับไล่ออกจากพื้นที่ เพื่อจะทำบึงเกลือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวชุมชนจึงลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกิน และต่อมาได้รับการประกาศเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อปี 2551
 
"พวกเราอาศัยอยู่ที่นี่มาแต่เกิดแล้ว จึงไม่อยากเห็นการถูกอพยพไปจากที่อื่น อีกทางหนึ่งก็ได้ช่วยพ่อกับแม่ทำมาหากินในพื้นที่ด้วย และถือเป็นสิ่งที่ดีในการที่มีกลุ่มเด็กๆ เยาวชนมาร่วมกันจัดตั้งเพื่อรักษาชีวิตของพวกเรา ทั้งทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้อยู่ต่อไป " ศิริพงษ์กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดเวทีถก 'สาธารณะ รัฐ เซ็กส์' จะยอมให้รัฐมายุ่งกับเรื่องเพศได้แค่ไหน

Posted: 22 Aug 2013 04:20 AM PDT

วันนี้ (22 ส.ค.56) สมาคมเพศวิถีศึกษา จัดเวทีประชุมวิชาการเพศวิถีศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ร่วมกับ 15 องค์กรขับเคลื่อนเรื่องเพศวิถีในสังคมไทย ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม 150 คน ในงานมีการเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ "สาธารณะ รัฐ เซ็กส์" ถกเรื่องการควบคุมเพศวิถีของประชาชน

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความเชื่อมโยงระหวางเรื่องเพศ สาธารณะและรัฐ มีหลายมุมมอง คนส่วนมากมองว่าเซ็กส์ เป็นเรื่องส่วนตัวที่คนมีเสรีภาพเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับฐานความเชื่อแบบเสรีนิยมที่ให้คนเลือกใช้ชีวิตตามความพอใจแต่ในศตวรรษที่ 20 แนวคิดสตรีนิยมกล่าวถึงเรื่องนี้ใหม่ว่า "เรื่องส่วนตัวแท้จริงแล้วคือเรื่องการเมือง" ซึ่งเปิดโปงให้เห็นว่า ในพื้นที่ส่วนตัว มีเรื่องอํานาจและการกดขี่แฝงอยู่ ผลจากการเปิดโปงทําให้หลายกลุ่มหันไปพึ่งพารัฐให้เข้ามาคุ้มครองเรื่องส่วนตัวของพลเมือง เกิดเป็นมาตรการควบคุมกำกับเรื่องเพศเข้มข้นยิ่งขึ้นและเรื่องเพศถูกทําให้เป็นเรื่องสาธารณะจนในที่สุดความเป็นส่วนตัวหายไป โดยเฉพาะในกรณีของบุคคลสาธารณะ คําถามที่เกิดขึ้นคือความเป็นส่วนตัวควรมีอยู่หรือเปล่า? เราพร้อมจะให้ทุกคนรับรู้เรื่องส่วนตัวของเราทุกเรื่องได้หรือไม่? แล้วจะใช้อะไรกำหนด ระหว่างความเป็นส่วนตัว (privacy) กับความเป็นสาธารณะ (Public) และรัฐ (States) ควรเข้ามามีบทบาทแค่ไหน

สุภัทรา นาคะผิว นักสิทธิมนุษยชน จากมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า ความเกี่ยวข้องของเรื่องเพศกับรัฐ ถูกกำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า รัฐมีหน้าที่ 3 ข้อคือ รัฐต้องเคารพสิทธิมุนษยชนขั้นพื้นฐาน ต้องไม่ละเมิด รัฐต้องทําหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง และรัฐต้องส่งเสริม โดยสร้างกลไกที่เอื้อให้คนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว แต่ในสังคมไทย คนยังมีความเข้าใจเรื่องนี้ที่แตกต่างกัน ทางคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ทําโพลพบว่า คนยังมีทัศนะทางลบต่อเรื่องคนเพศเดียวกันจะจดทะเบียนสมรส เรื่องการยุติการตั้งครรภ์และการคุ้มครองผู้ขายบริการทางเพศภายใต้กฎหมายแรงงาน

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกตัวอย่างกรณีของการออกกฎหมายรับรองการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในประเทศฝรั่งเศสว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะอยางยิ่งประเด็นการให้สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมของครอบครัวเพศเดียวกันซึ่งคนฝรั่งเศสถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเพราะส่วนใหญ่มองว่า ครอบครัวทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์ของสังคม ทั้งที่ปัจจุบันคนนิยมเป็นโสดหรือแต่งงานแต่ไม่มีลูกกันมากขึ้น การผลักดันกฎหมายแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันในสังคมไทยจึงต้องระวังการใช้คําว่า ความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาให้ดี เพราะจะส่งผล
ให้เกิดปัญหาตามมาอีกหลายเรื่อง

โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการนิตยสารจีเอ็ม ชี้ว่า แม้แต่นโยบายเกี่ยวกับการวางผังเมืองของรัฐก็มีผลกระทบต่อเรื่องเพศของประชาชน ยกตัวอย่างกรณีของเมืองใหญ่ที่ออกแบบให้คนต้องซื้อบ้านชานเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ส่งผลให้ต้องมีรถยนต์ส่วนตัว เกิดเป็นวัฒนธรรมการขับรถจากบ้านชานเมืองเข้ามาทํางานในเมือง แต่ในอังกฤษ สํารวจพบว่ารถยนต์กว่าร้อยละ 70 เป็นของเพศชาย สะท้อนว่าการออกแบบเมืองมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อเสนอกำกับดูแล 'เนื้อหาต้องห้าม' โดยรัฐ: การสร้างสมดุลระหว่าง 'เสรีภาพสื่อ' และ 'การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ'

Posted: 22 Aug 2013 04:16 AM PDT

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556  ประกาศฉบับนี้เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง" โดย กสทช. อ้างว่าประกาศฉบับดังกล่าวจะช่วยอธิบายเพิ่มเติมว่าเนื้อหารายการในลักษณะใดที่เป็นการต้องห้ามมิให้มีการออกอากาศในวิทยุและโทรทัศน์

ร่างประกาศดังกล่าวถูกวิพากษ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและภาคประชาชนสังคมว่า กสทช. กำลังทำตัวเป็น กบว. (คณะกรรมการบริการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) ซึ่งทำหน้าที่เซ็นเซอร์เนื้อหาในสื่อ และถูกยกเลิกไปแล้วกว่า 20 ปี [1]  เนื่องจากการเซ็นเซอร์สื่อถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยสากล รวมถึงข้อวิจารณ์ว่าประกาศดังกล่าวสร้างความคลุมเครือในการตีความมาตรา 37 [2] มากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ กสทช. ใช้ดุลยพินิจมากเกินไป และเป็นการใช้อำนาจมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 37  ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน

นอกจากนั้น กรณีที่ กสทช. โดย พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เชิญผู้ผลิตละคร Hormones วัยว้าวุ่น เข้าพบ ด้วยเหตุผลว่าเนื้อหาของละครอาจละเมิดมาตรา 37 (กระทบกับศีลธรรมอันดี เข้าข่ายลามกอนาจาร หรือส่งผลก่อให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน) ก็ทำให้สังคมทวงถามถึงการใช้ "ดุลยพินิจ" ของ กสทช. และการใช้อำนาจที่มากเกินควร โดยไม่สนใจกระบวนการกำกับดูแลกันเองของภาควิชาชีพ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าข้อโต้แย้งของฝ่ายไม่เห็นด้วยต่อร่างประกาศฯ จะสมเหตุผลก็ตาม ทว่าก็มีความเห็นที่สื่อให้เข้าใจผิดว่า กสทช. ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดูแลเนื้อหา เพราะอันที่จริงไม่ว่าจะดูในข้อกฎหมายของไทยหรือหลักการสากล (เกือบทุกประเทศในโลกมีการกำกับดูแลเนื้อหาโดยภาครัฐ แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องเนื้อหาและวิธีการกำกับดูแล) [3] องค์กรกำกับดูแลอย่าง กสทช. มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหาบางประเภทเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสังคม เช่น การคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากภาพลามกอนาจาร หรือการคุ้มครองผู้บริโภคจากโฆษณาหลอกลวง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ คำถามสำคัญจึงน่าจะอยู่ที่อะไรคือเนื้อหาที่ควรกำกับดูแลและวิธีการกำกับดูแลควรเป็นอย่างไร ที่ด้านหนึ่งช่วยปกป้องประโยชน์สาธารณะ ในขณะเดียวกันก็ไม่เป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อและผู้ชมผู้ฟังในการเข้าถึงเนื้อหาบางประเภท

รายงานฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ร่างประกาศฉบับดังกล่าว พร้อมจัดทำข้อเสนอสำหรับการกำกับดูแลเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง การกำกับดูแลเนื้อหาโดยรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ สอง การออกแบบวิธีการแทรกแซงและลงโทษที่เหมาะสม และสาม การนำกลไกการกำกับดูแลกันเอง (self-regulation) และกำกับดูแลร่วม (co-regulation) มาใช้ควบคู่กับการกำกับดูแลโดยรัฐ (state regulation)

 

1. การออกแบบเนื้อหาต้องห้ามโดยรัฐ

แม้ กสทช. จะมีอำนาจตามมาตรา 37 ในการกำกับดูแลเนื้อหา แต่ กสทช. ต้องไม่ลืมว่า มาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เอาไว้ ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศเนื้อหาต้องห้ามตามมาตรา 37 ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นไม่ใช้หลักการใหญ่ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ จึงต้องมีความชัดเจนและคำนึงถึงการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจที่ลิดรอนเสรีภาพมากเกินไป

ตามหลักการสากลแล้ว การกำกับดูแลเนื้อหาโดยรัฐนั้นจะเป็นการบังคับเนื้อหาในเชิงบวก (positive content obligations) เป็นหลัก เช่น การกำหนดให้มีรายการเด็ก รายการข่าวสาร หรือละครที่ผลิตเองในประเทศ ฯลฯ ส่วนในกรณีการกำกับดูแลเนื้อหาต้องห้ามนั้น รัฐมีสิ่งต้องคำนึงถึงดังนี้:

  • ต้องเป็นการรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น ประโยชน์สาธารณะที่ต้องการคุ้มครองนั้นจึงต้องเป็นสิ่งที่สังคมส่วนมากเห็นพ้องกันอย่างชัดเจน เช่น ภาพลามกอนาจารเด็ก (child pornography) การยุยงให้เกิดความเกลียดชังบนฐานของความแตกต่าง เช่น ศาสนา สีผิว ชาติพันธุ์ ความเชื่อ  จนถึงขั้นใช้ความรุนแรง (hate speech) หรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว (privacy) หรือทำลายชื่อเสียงของผู้อื่น โดยไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ และต้องพิสูจน์ได้ว่าการเผยแพร่เนื้อหานั้นๆ ส่งผลในแง่ลบต่อประโยชน์สาธารณะจริง
  • ต้องมีความชัดเจน (clear) ให้รายละเอียดคำอธิบาย (detailed) กำหนดไว้ล่วงหน้า (pre-established) เพื่อป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิด และเพื่อให้องค์กรสื่อตัดสินใจได้ชัดเจนว่าเนื้อหาแบบไหนที่ถือว่าต้องห้าม โดยองค์กรกำกับดูแลควรต้องทำเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการตีความเนื้อหาต้องห้าม
  • ต้องเลือกคุ้มครองเฉพาะกลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงจะได้รับผลกระทบกับเนื้อหานั้นๆ โดยอาจใช้เครื่องมืออื่นๆ ในการคัดกรองผู้ชมผู้ฟังที่ต้องการคุ้มครอง เช่น การกำหนดเวลาในการออกอากาศ (watershed หมายถึงช่วงเวลาออกอากาศรายการสำหรับผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับชมของผู้เยาว์ ส่วนมากจะกำหนดที่ 22.00-5.00 น.)  การจัดทำเรทติ้งรายการ หรือการตั้งโปรแกรมการเข้าถึงโดยผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการรับชมโดยไม่ตั้งใจของผู้เยาว์ ฯลฯ
  • การแสดงออกทางการเมืองถือเป็นหัวใจของเสรีภาพในการแสดงความเห็น จึงควรได้รับการคุ้มครองจากการแทรกแซงของภาครัฐเป็นพิเศษ
  • การห้ามเผยแพร่เนื้อหาบนฐานของความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยนั้น ภาครัฐจะต้องแสดงให้เห็นได้ว่าเนื้อหานั้นเป็นภัยต่อความมั่นคงและนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยจริงๆ ไม่ใช่อ้างเพียงข้อกล่าวหากว้างๆ นอกจากนั้น หากข้อมูลที่อาจกระทบกับความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยถูกเผยแพร่ไปสู่สาธารณะชนแล้ว การเผยแพร่เพิ่มเติมจะไม่เป็นเหตุให้รัฐใช้อ้างในการแบนเนื้อหาหรือลงโทษผู้เผยแพร่เนื้อหานั้นๆ ได้
  • การห้ามเผยแพร่เนื้อหารายการที่อาจสร้างความเสื่อมทรามทางจิตใจนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเนื้อหานั้นมุ่งส่งเสริม ยกย่อง และให้รายละเอียดการก่ออาชญากรรม การอัตวินิบาตกรรม หรือการกระทำใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะ
  • การนิยามว่าอะไรคือศีลธรรมอันดี ความเสื่อมทรามทางจิตใจ รวมถึงความลามกอนาจาร เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ปทัสถาน และรสนิยม ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ความพยายามในการตีความแบบหยุดนิ่งโดยไม่สำรวจรสนิยมและวัฒนธรรมของผู้ชมผู้ฟังในสังคมย่อมทำให้เกิดการต่อต้าน
  • การห้ามออกอากาศเนื้อหาที่ผิดพลาดจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือการลงโทษการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดโดยอาจไม่ตั้งใจ (เช่น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก) โดยไม่พิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุผลของผู้ผลิตและกองบรรณาธิการ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม และส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการทำงานของกองบรรณาธิการ
  • การห้ามออกอากาศหรือการลงโทษด้วยเหตุผลว่าเป็นการนำเสนอที่ลำเอียงหรือขาดความเป็นกลางโดยไม่พิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุผลของผู้ผลิตและกองบรรณาธิการ เช่น ไม่สามารถเชิญแขกคู่ตรงข้ามได้ ฯลฯ ถือเป็นสิ่งไม่ชอบธรรม ในกรณีเช่นนี้ กระบวนการอื่นๆ ที่ให้ความเป็นธรรม (fairness) กับฝ่ายตรงข้ามหรือผู้เสียหาย เช่น การเปิดโอกาสให้มีการตอบโต้ได้ (rights of reply) น่าจะเหมาะสมกว่า

ในกรณีของร่างประกาศ "เนื้อหาต้องห้าม" ของ กสทช. ในหมวดที่ 1 ซึ่งเป็นการขยายความจากมาตรา 37 การวิเคราะห์พบว่า:

  • เนื้อหายังมีความไม่ชัดเจนและไม่มีการอธิบายเพิ่มเติมประกอบการตีความ ซึ่งเปิดให้มีการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้ทางการเมืองหรือการกีดกันเนื้อหาด้วยแนวคิดอนุรักษนิยมมากเกินไป
  • เนื้อหาต้องห้ามหลายข้ออาจไม่ได้เป็นประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง เช่น การห้ามเนื้อหาที่ดูหมิ่นเหยียดหยามประเทศชาติ ซึ่งหากปล่อยให้มีการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป การวิจารณ์ประเทศชาติอย่างสร้างสรรค์ก็อาจถูกแบนได้
  • ประกาศยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นเท่าที่ควร ซึ่งสะท้อนจากการออกแบบประกาศแบบครอบคลุมเกินไป เช่น ห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
  • การแสดงความเห็นทางการเมืองซึ่งเป็นหัวใจของเสรีภาพในการแสดงความเห็นยังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร เช่น การห้ามรายการที่อาจทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม หรือรายการที่อาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยให้ตีความโดยใช้ดุลยพินิจมากเกินไป ข้อห้ามเหล่านี้ก็อาจถูกนำมาใช้ปิดกั้นการแสดงความเห็นทางการเมืองได้
  • ประกาศยังไม่ได้มุ่งคุ้มครองผู้ที่ควรได้รับการคุ้มครองตามหลักการสากล นั่นคือ เด็กและเยาวชน ซึ่งมักยังไม่รู้เท่าทันเนื้อหาในสื่อ และอาจมีพฤติกรรมเลียนแบบจนนำไปสู่เหตุการณ์อันตรายได้
  • ประกาศยังไม่ได้คำนึงถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยคุ้มครองกลุ่มคนที่อาจได้รับผลกระทบจากการเข้าถึงเนื้อหา โดยไม่จำเป็นต้องกีดกันการเข้าถึงเนื้อหาสำหรับคนกลุ่มอื่นๆ เช่น watershed และการจัดเรทติ้งรายการ ตัวอย่างเช่นกรณีรายการเนื้อหาทางเพศ การจัดเรทติ้งรายการและการกำหนดให้รายการสามารถออกอากาศได้หลัง 22.00 น. น่าจะเป็นวิธีการที่ป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงเนื้อหาโดยไม่ต้องปิดกั้นเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่

(ดูการวิเคราะห์เนื้อหาประกาศฯ เพิ่มเติมได้ที่ภาคผนวก 1 หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน http://ilaw.or.th/node/2860)

นอกจากปัญหาในเรื่องการเขียนเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน ไม่คำนึงถึงประเด็นเสรีภาพในการแสดงความเห็น และอาจไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ในหมวดที่ 2 ของประกาศฯ ซึ่งว่าด้วยมาตรการในการออกอากาศรายการ โดยหลักใจความของหมวดนี้เป็นการก้าวล้ำเข้าไปสู่ "วิธีการทำงาน" ของผู้ผลิตเนื้อหาและกองบรรณาธิการที่จะต้องนำเสนอข้อมูลที่ "ถูกต้อง" "รอบด้านและสมดุล" "มีความเป็นกลาง" "ไม่แสดงความเห็นส่วนตน" "ไม่ฝักฝ่ายการเมือง" โดยเฉพาะการนำเสนอเนื้อหาทางการเมืองหรือประเด็นที่มีความเห็นต่างหรือความขัดแย้งสูง

แม้ในเชิงหลักการแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวจะถือเป็นหลักการสากลที่กำหนดไว้ในจริยธรรมวิชาชีพ แต่ในการปฏิบัติงานจริง กฎบางข้ออาจไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง หรืออาจถูกนำไปบังคับใช้ในทางที่ผิดจนส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการทำงานของสื่อได้ การตัดสินจึงต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นของผู้ผลิตหรือกองบรรณาธิการด้วย ตัวอย่างเช่น กฎการแบนหรือลงโทษการเผยแพร่ข่าวที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องอาจถูกนำไปใช้เพื่อปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลหรือความคิดเห็นที่มีความสำคัญต่อสาธารณะ แต่อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ (ซึ่งความจริงแท้คืออะไรก็เป็นแนวคิดที่โต้เถียงกันได้) นอกจากนั้น เนื้อหาที่อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอาจไม่ได้นำไปสู่ความเสียหายกับสังคมมากเท่ากับประโยชน์ที่สังคมได้รับจากการรายงานข่าว โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นจริงขึ้นมา รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก็สามารถจัดการได้ด้วยการลงชี้แจงขอโทษหรือให้พื้นที่กับผู้เสียหายในการแก้ต่าง หรือผู้เสียหายสามารถใช้กฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับ "ผลกระทบ" ที่เกิดขึ้นเฉพาะ เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การห้ามสถานีแสดงความเห็น มีความเป็นกลาง และต้องเปิดให้มีการแสดงความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ในการปฏิบัติงานจริง สถานีอาจไม่สามารถเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่มีความเห็นต่างมาได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถนำเสนอประเด็นดังกล่าวได้หากมีการบังคับใช้กฎอย่างตายตัว ดังนั้น สิ่งที่สถานีทำได้คือการให้สิทธิกับฝ่ายที่เห็นต่างชี้แจงได้หากมีการร้องขอมา หรือผู้ดำเนินรายการอาจต้องเล่นบทบาท "ฝ่ายตรงข้าม" เพื่อถามความเห็นแย้งกับอีกฝ่าย ซึ่งช่วยเพิ่มสมดุลให้กับรายการมากขึ้น (แม้ว่าอาจทำให้พิธีกรดูขาดความเห็นกลาง และอาจถูกตีความว่าเป็นการแสดงความเห็นของผู้ดำเนินรายการ) [4]

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการกำกับ "กระบวนการผลิตเนื้อหา" ถือเป็นการใช้อำนาจที่กว้างและคลุมเครือเกินไป รวมถึงไม่อาจทำได้แบบแข็งตัวโดยมิได้พิจารณาเหตุผลหรือความจำเป็นของกองบรรณาธิการประกอบ ด้วยเหตุนี้ แนวทางสากลมักจะปล่อยให้เป็นเรื่องของการกำกับดูแลกันเองซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการกำกับกระบวนการผลิตเนื้อหา ส่วนการกำกับดูแลโดยรัฐควรมุ่งไปที่ตัวเนื้อหาหรือ "ผลลัพธ์สุดท้าย" มากกว่า

 

2. การออกแบบวิธีการแทรกแซงและลงโทษโดยรัฐ

โดยหลักการสากลแล้ว การใช้อำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโดยรัฐจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิทธิเสรีภาพสื่อ ดังนี้

  • การแทรกแซงโดยรัฐจะต้องยึดหลัก "ค่อยเป็นค่อยไป" (graduated response) และ "เหมาะสม" (proportionate) กับความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นการใช้อำนาจมากไปจนอาจคุกคามเสรีภาพในการทำงานของสื่อได้ กล่าวคือ หน่วยงานกำกับดูแลต้องมีเครื่องมือในการแทรกแซงและลงโทษหลายระดับ เช่น การเตือน การปรับ การระงับการออกอากาศ และการยกเลิกใบอนุญาต โดยเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสังคม เช่น หากเป็นความผิดครั้งแรกและเกิดจากความไม่ตั้งใจของสถานี ก็ใช้แค่การเตือน ทว่าหากเกิดความผิดซ้ำหลายครั้ง พิสูจน์ได้ว่าตั้งใจ และเป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ก็อาจค่อยใช้การปรับจนไปถึงการยกเลิกใบอนุญาต ซึ่งอย่างหลังจะใช้ก็ต่อเมื่อมาตรการอื่นๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้วจริงๆ
  • หน่วยงานกำกับดูแลต้องมีกระบวนการในการรับและตัดสินเรื่องร้องเรียนที่โปร่งใส รวมถึงกำหนดขั้นตอนในการลงโทษที่ชัดเจน เช่น มีการจัดตั้งกรรมการสอบสวนและมีการตีพิมพ์ผลการสอบสวนพร้อมเหตุผลให้สาธารณะชนรับรู้ หรือมีกระบวนการในการอุทธรณ์ในกรณีที่ผู้ผลิตรายการหรือสถานีเห็นว่าคำตัดสินไม่ยุติธรรมและอาจเป็นการคุกคามเสรีภาพของสื่อมากเกินไป
  • การใช้อำนาจในการแทรกแซงเนื้อหาซึ่งถือเป็นการละเว้นหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพควรผ่านบททดสอบ 3 ประการ (three-part test) ตามหลักสากล นั่นคือ หนึ่ง การแทรกแซงต้องทำบนฐานอำนาจที่บัญญัติในกฎหมาย ซึ่งต้องมีความชัดเจนมากพอที่จะให้สื่อหรือประชาชนนำไปปฏิบัติ สอง การแทรกแซงต้องทำโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมเพียงพอ [ซึ่งแล้วแต่การกำหนดของแต่ละประเทศ แต่ในหลักสากลเช่นในสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant of Civil and Political Rights) เหตุผลที่ชอบธรรมมีเพียงการปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศของผู้อื่น และเพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยเท่านั้น] และสาม การแทรกแซงนั้นต้องทำในกรณีที่ "จำเป็น" เท่านั้น กล่าวคือ การแสดงสิทธิเสรีภาพนั้นก่อให้เกิดผลกระทบกับสังคมจริงๆ และสังคมส่วนมากเห็นว่าควรระงับการใช้เสรีภาพนั้นๆ
  • การใช้อำนาจของภาครัฐในการกำกับดูแลเนื้อหาโดยมากจะเป็นการกำกับดูแลหลังการออกอากาศ การใช้อำนาจในการห้ามเผยแพร่เนื้อหาทันทีก่อนที่จะผ่านกระบวนการสอบสวนที่โปร่งใสถือว่าละเมิดกฎพื้นฐานในการสันนิษฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์ (presumption of innocence) ดังนั้นจึงกระทำได้ก็ต่อเมื่อเนื้อหาดังกล่าวส่งผลร้ายแรงต่อสังคมอย่างมาก เช่น ภาพโป๊เด็ก หรือโฆษณาหลอกลวง ซึ่งควรมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้า และควรเป็นเพียงการระงับออกอากาศในเบื้องต้นก่อนผลการสอบสวนจะออกมา

เมื่อนำหลักการข้างต้นมาวิเคราะห์ประกาศฯ โดยเฉพาะในหมวดที่ 3 ว่าด้วยการกำกับดูแล จะพบว่า

  • ประกาศดังกล่าวอนุญาตให้ กสทช. มีคำสั่งด้วยวาจาหรือหนังสือให้ระงับการออกอากาศเนื้อหาต้องห้าม (ซึ่งนิยามไว้อย่างคลุมเครือ) ในส่วนที่เหลือได้ทันที จากนั้นจึงให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงในภายหลังได้ ซึ่งกระบวนการเช่นนี้ขัดกับหลักการสันนิษฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์ และคุกคามสิทธิเสรีภาพในการทำงานของสื่อ
  • ประกาศดังกล่าวไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการรับเรื่องร้องเรียนและกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ซึ่งอาจเอื้อให้ กสทช. ใช้อำนาจตรวจสอบโดยขาดขั้นตอนที่ชัดเจนและโปร่งใส ดังกรณีที่ กสทช. เรียกผู้ผลิตละครโทรทัศน์ Hormones วัยว้าวุ่น เข้ามาชี้แจง โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการที่เหมาะสม (เช่น ควรมีการร้องเรียนผ่านองค์กรวิชาชีพก่อน หรือมีการจัดตั้งกรรมการสอบสวนก่อนเรียกมาชี้แจง ฯลฯ) อาจถือเป็นการใช้อำนาจโดยขาดกระบวนการที่โปร่งใส และอาจส่งผลต่อในทางลบต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อ
  • ประกาศดังกล่าวไม่ได้กำหนดบทลงโทษและวิธีการลงโทษโดยคำนึงถึงหลักการ "ค่อยเป็นค่อยไป" และ "เหมาะสม" จากกรณีที่ผ่านมาจะเห็นว่า กสทช. มักใช้วิธีการปรับ เช่น การปรับช่อง 3 เป็นเงิน 500,000 บาท จากการเผยแพร่ภาพไม่เหมาะสมผ่านรายการ Thailand's Got Talent ทั้งที่อาจเลือกมาตรการตักเตือนก่อนได้ นอกจากนั้น ทาง กสทช. ก็ไม่ได้เปิดเผยผลการสอบสวนพร้อมเหตุผลในการใช้อำนาจแทรกแซงตามแนวทางสากลที่ควรจะเป็น

 

3. การใช้กลไกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วมในสื่อ

โจทย์สำคัญในการออกแบบวิธีการกำกับดูแลเนื้อหาเพื่อรักษาสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม คือ การสร้างกลไกที่ทำให้สื่อรักษามาตรฐานทางวิชาชีพในระดับสูงโดยที่รัฐไม่ต้องเข้าแทรกแซงมากเกินไปจนอาจเป็นการคุกคามเสรีภาพของสื่อ (เพราะโดยธรรมชาติแล้ว สื่อต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ จึงต้องระวังการใช้อำนาจที่มากเกินไปของภาครัฐ) ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มการกำกับดูแลเนื้อหาในประเทศพัฒนาแล้วจึงล้วนออกไปในแนวทางลดการกำกับดูแลโดยรัฐ และเพิ่มการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วม [5]

การกำกับดูแลกันเองเป็นการรวมตัวกันเองของภาควิชาชีพเพื่อหาแนวทางการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยปราศจากการแทรกแซงขององค์กรกำกับดูแลโดยรัฐ และไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับจรรยาบรรณที่ถูกร่างขึ้นกันเองในภาควิชาชีพ ส่วนการกำกับดูแลร่วมคือการผสมผสานองค์ประกอบของการกำกับดูแลโดยรัฐและการกำกับดูแลกันเองในภาควิชาชีพเข้าด้วยกัน โดยภาครัฐจะทำหน้าที่สนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจ ไม่ว่าจะผ่านอำนาจทางกฎหมายหรือการสนับสนุนเงินทุน เพื่อให้การกำกับดูแลกันเองทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะได้ดีขึ้น [6]

หากต้องการสนับสนุนกลไกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วมควบคู่กับการกำกับดูแลโดยรัฐ องค์กรกำกับดูแลของรัฐควรออกแบบวิธีการกำกับดูแลเนื้อหาโดยคำนึงถึงถึงหลักปฏิบัติดังนี้

  • กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเนื้อหาควรพัฒนาขึ้นโดยดึงการมีส่วนร่วมจากผู้ประกอบการ ผู้ผลิตเนื้อหา และองค์กรวิชาชีพ รวมถึงภาคประชาสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น สมาคมผู้ปกครอง มูลนิธิเด็ก สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ เพื่อให้กฎเกณฑ์ที่ออกมาคำนึงถึงความเป็นจริงในการปฏิบัติงานของสื่อและความต้องการของสังคม
  • การใช้อำนาจแทรกแซงเนื้อหาของภาครัฐจะทำได้ก็ต่อเมื่อกลไกการกำกับดูแลกันเองของภาควิชาชีพไม่ทำงานและอาจส่งผลร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ องค์กรกำกับของรัฐคงอำนาจในการเข้าแทรกแซงสุดท้าย (backstop power) เท่านั้น
  • กระบวนการในการรับและจัดการเรื่องร้องเรียนควรออกแบบให้เป็นกลไกการกำกับดูแลสองชั้น กล่าวคือ ชั้นแรกคือการกำกับดูแลกันเอง โดยผู้ร้องเรียนควรส่งคำร้องไปยังสมาคมวิชาชีพและให้สมาคมเป็นผู้ตัดสินและจัดการเยียวยาหรือลงโทษองค์กรสื่อที่กระทำผิด และหากผู้ร้องเรียนไม่พอใจคำตัดสิน จึงค่อยส่งเรื่องไปยังชั้นที่สอง คือองค์กรกำกับดูแลของรัฐ เพื่อสอบสวนและจัดการในขั้นต่อไป [7]
  • ภาครัฐอาจทำหน้าที่เฝ้าระวัง (monitor) เนื้อหาด้วยตนเองเฉพาะในกรณีที่เห็นว่าเนื้อหานั้นอาจส่งผลกระทบกับสังคมอย่างมาก เช่น คอยเฝ้าระวังรายการเด็กที่อาจมีเนื้อหากระทบกับเด็กและเยาวชน หรือเฝ้าระวังโฆษณาอาหารและยา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค
  • องค์กรกำกับของรัฐควรสร้างแรงจูงใจให้กลไกการกำกับดูแลกันเองทำงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น การสนับสนุนเงินทุนให้การทำงานของสมาคมวิชาชีพมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การให้อำนาจลงโทษบางส่วนกับสมาคมวิชาชีพ หรือการสร้างเงื่อนไขให้องค์กรสื่อสังกัดสมาคมวิชาชีพ (เช่นในกรณีออสเตรเลีย หากองค์กรสื่อไหนไม่สังกัดสมาคมวิชาชีพ จะต้องถูกกำกับภายใต้มาตรฐานที่เข้มงวดกว่าโดยองค์กรกำกับของรัฐ)

เมื่อวิเคราะห์ประกาศเนื้อหาต้องห้ามจะเห็นว่า ประกาศฯ ดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงกลไกการกำกับดูแลกันเองหรือกำกับดูแลร่วม มีเพียงแต่การใช้อำนาจรัฐในการกำกับดูแลทางเดียว กล่าวคือไม่ได้ถูกออกแบบมาบนพื้นฐานของแนวคิดที่จะให้กลไกของรัฐทำงานควบคู่กับการกำกับดูแลกันเองของภาควิชาชีพ ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนมากไม่ใช้กันแล้ว นอกจากนั้น ประกาศฯ ดังกล่าวยังถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะอนุกรรมการกำกับเนื้อหาและผังรายการของ กสทช. โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับสมาคมวิชาชีพ องค์กรสื่อ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง (แม้จะมีการเรียกองค์กรวิชาชีพสื่อเข้าไปให้ความเห็น แต่ก็มิได้นำความเห็นเหล่านั้นไปปรับแก้ประกาศเนื้อห้าต้องห้าม) [8] ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า กสทช. ออกประกาศดังกล่าวบนฐานคิดการกำกับดูแลโดยรัฐเท่านั้น

อันที่จริง มาตรา 39 และ 40 แห่ง พรบ. การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดให้ กสทช. ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในภาควิชาชีพ ซึ่งที่ผ่านมา กสทช. ก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง โดยมี กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ เป็นประธาน ทว่าประกาศเนื้อหาต้องห้ามที่มอบอำนาจให้กับ กสทช. มากเกินไป กลับเดินสวนทางกับทิศทางดังกล่าว ซึ่งชวนให้ตั้งคำถามถึงวิสัยทัศน์ในการกำกับดูแลเนื้อหาในภาพรวมของ กสทช. เอง

 

บทสรุป

กล่าวโดยสรุป ปัญหาหลักของประกาศเนื้อหาต้องห้ามสะท้อนให้เห็นผ่าน 1) การพัฒนาประกาศเนื้อหาต้องห้ามโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของสมาคมวิชาชีพ องค์กรสื่อ และภาคประชาสังคม 2) การนิยามเนื้อหาต้องห้ามอย่างคลุมเครือเกินไป และข้อห้ามบางประการก็อาจไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง 3) การก้าวล่วงเข้าไปกำกับดูแลกระบวนการทำงานของสื่อ ซึ่งเกินเลยกว่าข้อกำหนดตามกฎหมาย 4) การขาดกลไกการรับและตัดสินเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจนและโปร่งใส 5) การขาดกระบวนการแทรกแซงและลงโทษที่เหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไป และ 6) การไม่ให้ความสำคัญกับกลไกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วมควบคู่ไปกับการกำกับดูแลโดยรัฐ

ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากวิธีคิดของหน่วยงานรัฐที่พยายามใช้อำนาจกำกับเนื้อหาโดยไม่คำนึงหลักการรักษาสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพของสื่อและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ รวมถึงไม่ตระหนักถึงความสำคัญของกลไกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วมในการจัดการประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอย่างการกำกับเนื้อหา ซึ่งเป็นแนวทางที่นานาอารยประเทศพยายามส่งเสริมให้ไปในทิศทางนั้น

หากไม่ต้องการให้สังคมตีตรา กสทช. ว่าทำตัวเป็น กบว. อวตารเสียแล้ว กสทช. คงต้องปรับวิธีคิด รวมถึงศึกษาหลักการสากลและกลไกการกำกับดูแลเนื้อหาสื่อที่เข้ากับยุคสมัยให้มากขึ้น

หมายเหตุ

ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ http://nbtcpolicywatch.org/press_detail.php?i=1158

 

ภาคผนวก 1: ตัวอย่างบทวิเคราะห์ปัญหาของประกาศเนื้อหาต้องห้ามบนหลักการสากล

หัวข้อ มีความชัดเจนและอธิบายในรายละเอียด (ไม่ปล่อยให้ใช้ดุลยพินิจมาเกินไป) เป็นประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
รายการที่มีเนื้อหาอันเป็นการจงใจก่อให้เกิดการดูหมิ่นเหยียดหยามประเทศชาติ ไม่ชัดเจนว่าการกระทำอะไรคือการดูหมิ่นเหยียดหยามประเทศชาติ การวิพากษ์วิจารณ์ประเทศชาติอย่างสร้างสรรค์ (ซึ่งอาจถูกตีความว่าดูหมิ่น) อาจถือเป็นประโยชน์กับประเทศชาติก็ได้ เนื้อหาข้อห้ามมีความกำกวม เพราะการดูหมิ่นประเทศชาติอาจไม่ได้มีผลกระทบต่อความมั่นคงก็ได้ เช่น การวิจารณ์ระบบการปกครองของประเทศอาจเป็นไปเพื่อการแก้ไขปรับปรุง ฯลฯ นอกจากนั้นยังสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
รายการที่กระทบกระเทือน...ต่อประมุขของประเทศอื่นๆ อันจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คำว่า "กระทบกระเทือน" นั้นมีความหมายกำกวม ไม่รู้ว่าการกระทำเช่นใดถือเป็นการกระทบกระเทือน การวิพากษ์วิจารณ์ (ซึ่งอาจถูกตีความว่ากระทบกระเทือน) ประมุขประเทศอื่น อาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น วิจารณ์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการปกครองประเทศ ฯลฯ การวิพากษ์วิจารณ์ประมุขประเทศอื่นไม่ได้ส่งผลต่อความมั่นคงเสมอไป เป็นการปฏิเสธแนวโน้มที่โลกมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ และอาจถูกใช้ปิดกั้นความคิดเห็นทางการเมืองได้
รายการที่...ยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในสังคม... ส่งเสริมให้เกิด "ความแตกแยก" เป็นคำที่กำกวม รายการที่ส่งเสริม "แนวคิด" ที่แตกต่างและท้าทายแนวคิดกระแสหลักทางสังคมจะถือเป็นการสร้างความแตกแยกหรือไม่ ในกรณีที่เป็นการสนับสนุนความคิดต่างทางสังคม หรือส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงหรือทำความเข้าใจความแตกต่างทางความคิดในสังคม น่าจะถือเป็นประโยชน์สาธารณะ ความไม่ชัดเจนของคำว่า "ความแตกแยก" อาจถูกใช้ปิดกั้นความคิดต่างทางการเมืองได้ ในกรณีนี้ควรระบุว่าการเห็นต่างทางความคิดนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ในสังคมประชาธิปไตย แต่หากเป็นการสร้างความแตกแยกด้วยการยุยงให้เกิดความรุนแรง หรือการสร้างความแตกแยกบนฐานความแตกต่างบางอย่าง (hate speech) ไม่สามารถทำได้
การยุยง ส่งเสริม หรือก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมอันดีงามของประชาชนชาวไทยในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม ไม่ชัดเจนว่า กฎหมาย ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม "อันดีงาม" ของชาวไทยมีนิยามอย่างไรในความหมายของใคร? โดยเฉพาะขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมซึ่งมีการนิยามที่ไหลลื่นและมีความหลากหลาย การปกป้องขนมธรรมเนียมและวัฒนธรรม "อันดีงาม" ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ประโยชน์สาธารณะเสมอไป ในทางกลับกัน การท้าทายขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมบางอย่าง หรือกระทั่งกฎหมายบางข้อ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ถือเป็นประโยชน์สาธารณะ การท้าทายขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม หรือกระทั่งกฎหมาย ถือเป็นวิถีปกติของสังคมประชาธิปไตย การห้ามเผยแพร่เนื้อหาที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ขัดกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือข้อกฎหมาย ต้องมีการระบุลงไปให้ชัดเจนกว่านี้
เนื้อหารายการที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการร่วมเพศ การแสดงให้เห็นถึงอวัยวะเพศ หรืออวัยวะส่วนที่พึงสงวน ไม่ว่าด้วยภาพ วาจา หรือด้วยวิธีการใดๆ คำว่า "พฤติกรรมการร่วมเพศ" และ "อวัยวะส่วนที่พึงสงวน" นั้นกำกวม นอกจากนั้น การสื่อด้วย "วิธีการใดๆ" กำกวมและอาจจำกัดจินตนาการในการนำเสนอเรื่องเพศมากเกินไป แม้ว่าข้อกำหนดข้อนี้อาจช่วยคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากเนื้อหาทางเพศ แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่มีวิจารณญาณในการรับชมเพียงพอ การกีดกันการเข้าถึงเนื้อหาทางเพศแบบเหมารวมอาจขัดกับผลประโยชน์ในการรับชม นอกจากนั้น ประเด็นทางเพศถือว่าเป็นความรู้ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ควรห้ามเผยแพร่เนื้อหาทางเพศในลักษณะเหมารวม โดยเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่ที่มีวิจารณญาณในการรับชมแล้ว ควรใช้เครื่องมือ เช่น watershed หรือการตั้งรหัสโปรแกรมการรับชม ฯลฯ ในการคัดกรองเด็กและเยาวชนแทน
การแสดงให้เห็นถึงการกระทำที่มีลักษณะทารุณโหดร้ายไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ เนื้อหามีความหมายกว้างจนเกินไป ไม่ชัดเจนว่าการทารุณระดับไหนถึงทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจ "อย่างร้ายแรง" ได้ การทารุณคนหรือสัตว์ หากไม่ได้ทำโดยส่งเสริมหรือยกย่องพฤติกรรมดังกล่าว ก็ไม่น่าจะถือเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจ "อย่างร้ายแรง" ได้ กรณีนี้ไม่น่าจะถือเป็นเหตุผลในการห้ามเผยแพร่เนื้อหาได้ โดยอาจใช้เครื่องมืออย่างการจัดเรทติ้งรายการแทน

 

อ้างอิง:

  1. http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99/item/20749-censor-1-1.html
  2. http://ilaw.or.th/node/2860
  3. ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.acma.gov.au/webwr/_assets/main/lib310665/international_approaches_to_av_content_reg.pdf
  4. ประกาศหลักเกณฑ์เรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นระหว่างอเมริกัน (Inter-American Declaration of Principles on Freedom of Expression) บัญญัติว่า "การกำหนดเงื่อนไขในการแสดงความเห็นล่วงหน้า เช่น ความถูกต้อง การทันต่อเวลา หรือความเป็นกลาง ถือว่าไม่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ซึ่งได้รับการยอมรับในหลักการสากล"
  5. ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.acma.gov.au/webwr/_assets/main/lib310665/international_approaches_to_av_content_reg.pdf
  6. หากคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า กลไกการกำกับดูแลกันเองของภาควิชาชีพในประเทศไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควรและขาดอำนาจในการลงโทษองค์กรสื่อที่ละเมิดจริยธรรมวิชาชีพ รวมถึงสังคมโดยรวมก็อาจยังไม่เข้าใจความสำคัญของการที่องค์กรสื่อสังกัดองค์กรวิชาชีพดีพอ กลไกการกำกับดูแลร่วมน่าจะถือเป็นกลไกที่เหมาะสมในการรักษาเสรีภาพในการทำงานของสื่อ ขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้สื่อเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น
  7. หลักการการกำกับดูแลสองชั้นตามแนวทางการกำกับดูแลร่วมอาจประสบปัญหาทางข้อกฎหมายในกรณีของไทย เนื่องจาก พรบ. การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 40 กำหนดให้ผู้เสียหายจากการเผยแพร่เนื้อหาบางอย่างอาจร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ กสทช. จากนั้นคณะกรรมการจะส่งเรื่องไปให้องค์กรวิชาชีพเพื่อให้ดำเนินการเยียวยากับผู้เสียหาย
  8. http://www.thairath.co.th/content/tech/358024
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์เผย ปชช. 59.2% หนุนแก้ รธน.เลิก ส.ว.สรรหา

Posted: 22 Aug 2013 03:43 AM PDT

ผลโพลล์ระบุประชาชนร้อยละ 59.2 เห็นด้วย ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด  200 คน โดยไม่จำเป็น ต้องมี ส.ว. สรรหาอีกต่อไป ขณะที่ 36.8% ชี้การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. มีผลดีพอๆ กับผลเสีย
 
วันนี้ (22 ส.ค.56) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน  429 คน ในเรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว." โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่าความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ในประเด็น "ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด  200 คน โดยไม่จำเป็น ต้องมี ส.ว. สรรหาอีกต่อไป" ประชาชนร้อยละ 59.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 21.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 19.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
ส่วนประเด็น "ยกเลิกข้อความว่า คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ว. ห้ามเป็น บุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ประชาชน ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 38.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 15.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
สำหรับประเด็น "ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือ ส.ส. 5 ปีเสียก่อน" ประชาชนร้อยละ 55.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ 14.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับประชาชนร้อยละ 34.7 ที่เห็นว่าน่าจะเป็นการนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาจริงตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต ขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุว่าไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
 
สุดท้ายเมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยมากกว่ากัน ประชาชนระบุว่ามีผลดีและผลเสียพอๆ กัน (ร้อยละ 36.8) รองลงมาคือมีผลดีมากกว่าผลเสีย (ร้อยละ 25.4) และมีผลเสียมากกว่าผลดี (ร้อยละ 19.1)
 
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
 
1. ความเห็นเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ในประเด็นต่อไปนี้
 
ประเด็น
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
- ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด  200 คน คิดตามจำนวน
  ประชากร  (ประชากร 3  แสนต่อ ส.ว. 1 คน) โดยไม่จำเป็น
  ต้องมีส.ว.สรรหาอีกต่อไป
59.2
21.0
19.8
- ยกเลิกข้อความว่า "คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ว. ห้ามเป็น บุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
46.2
38.0
15.8
- ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็นสมาชิกพรรค การเมือง หรือ ส.ส. 5 ปีเสียก่อน
55.2
30.1
14.7
 
2. ความเห็นที่มีต่อการตั้งข้อสังเกตของฝ่ายค้านว่า การแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของส.ว. ว่า เป็นการหวัง
     "รวบอำนาจรัฐสภา"
 
- ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 35.5
- เป็นจริงตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต
ร้อยละ 34.7
- ไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
ร้อยละ 29.8
 
3. ความเห็นเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยมากกว่ากัน
 
- มีผลดีและผลเสียพอๆกัน
ร้อยละ 36.8
- มีผลดีมากกว่าผลเสีย                             
ร้อยละ 25.4
- มีผลเสียมากกว่าผลดี
ร้อยละ 19.1
- ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 18.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ           
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. ในด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์       ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 429 คน เป็นเพศชายร้อยละ 55.0 และเพศหญิงร้อยละ 45.0
     
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
           
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  21 สิงหาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  22 สิงหาคม 2556
 
 
ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ
 
 
            ชาย
236
55.0
            หญิง
193
45.0
รวม
429
100.0
อายุ
 
 
            18 ปี - 25 ปี
50
11.7
            26 ปี – 35 ปี
106
24.7
            36 ปี – 45 ปี
120
28.0
            46 ปีขึ้นไป
153
35.6
รวม
429
100.0
การศึกษา
 
 
            ต่ำกว่าปริญญาตรี
278
64.9
            ปริญญาตรี
133
30.9
            สูงกว่าปริญญาตรี
18
4.2
                                 รวม
429
100.0
อาชีพ
 
 
            ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
58
13.6
            พนักงานบริษัทเอกชน
87
20.3
            ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
81
19.0
              เจ้าของธุรกิจ
17
4.0
            รับจ้างทั่วไป
56
13.1
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
50
11.7
            นักศึกษา
18
4.2
            อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ เกษตรกร ว่างงาน ฯลฯ
62
14.1
รวม
429
100.0
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาพันธ์แรงงาน ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐจัดการปัญหาแรงงานข้ามชาติ

Posted: 22 Aug 2013 02:42 AM PDT

เมื่อวันที่ 21 ส.ค.56 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)  เครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติ (MWRN.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF.) ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จากกรณีที่กำหนดให้มีการสิ้นสุดระยะเวลาการทำงานของแรงงานข้ามชาติ

"ปี พ.ศ. 2555 มีการจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติ 7 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติย่อยๆ อีก 11 แห่ง พร้อมทั้งรัฐบาลได้ขยายกรอบของเวลาการพิสูจน์สัญชาติจนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมามีแรงงานข้ามชาติเพียง 750,000 คนเท่านั้นทำงานที่ถูกต้อง และในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติเพียงแค่ 200,000 คน ที่เข้าถึงหลักประกันสังคมและหลักประกันทางสุขภาพ ทั้งๆ ที่รัฐบาลพม่าได้ออกหนังสือเดินทางให้กับแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านคน ตามข้อตกลง MOU เมื่อปี พ.ศ. 2546 ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่อยู่ในประเทศไทยครบ 4 ปี จำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังประเทศพม่าเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนที่เดินทางกลับเข้ามาทำงานใหม่ในประเทศไทยได้ แต่นโยบายนี้ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น ตัวแรงงานเอง นายจ้าง หรือแม้แต่รัฐบาล เนื่องจากทุกฝ่ายคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก" แถลงการณระบุ

แถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ 1. ขอให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้น 2. ขอให้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU และแรงงาน ข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังจาก 4 ปี พร้อมทั้งรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน 3. ขอให้รัฐบาลสองประเทศดำเนินการจริงจังกับขบวนการนายหน้าค้าแรงงาน ข้ามชาติเพื่อให้แรงงานข้ามชาติไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

===============================

 

แถลงการณ์ให้รัฐบาลกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ

กรณีการสิ้นสุดระยะเวลาทำงานของแรงงานข้ามชาติ

 

ปัจจุบันมี จำนวนแรงงานข้ามชาติกว่า 3 ล้านคนทำงานอยู่ในประเทศไทย ในจำนวนนี้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ตั้งแต่ปี 2523 ที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้เดินทางเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยไม่มีเอกสาร แรงงานข้ามชาติส่วนมากทำงานประเภทงานสกปรกที่คนไทยปฏิเสธที่จะไม่ทำ และงานประเภทงานอันตราย พวกเขาถือ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทย แต่อย่างไรก็ตามคนงานเหล่านี้ยังคงเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบและนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ชัดเจน

เมื่อปี พ.ศ. 254 6 ได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล ( MOU) ในการยกสถานะแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย จนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2552 แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าได้รับโอกาสในการพิสูจน์สัญชาติ โดยแรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะต้องเป็นแรงงานข้าม ชาติที่มีเอกสารเป็นหนังสือเดินทางชั่วคราวประเภท 3 ปี ที่ใช้เดินทางได้เฉพาะในประเทศไทยและประเทศพม่าเท่านั้น วีซ่า 2 ปี ที่สามารถต่ออายุวีซ่าได้ทุกๆ สองปี และใบอนุญาตทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีแรงงานพม่ากว่า 70,000 คนเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยผ่านระบบ MOU

ปี พ.ศ. 2555 มีการจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติ 7 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์เพื่อพิสูจน์สัญชาติย่อยๆ อีก 11 แห่ง พร้อมทั้งรัฐบาลได้ขยายกรอบของเวลาการพิสูจน์สัญชาติจนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมามีแรงงานข้ามชาติเพียง 750,000 คนเท่านั้นทำงานที่ถูกต้อง และในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติเพียงแค่ 200,000 คน ที่เข้าถึงหลักประกันสังคมและหลักประกันทางสุขภาพ ทั้งๆ ที่รัฐบาลพม่าได้ออกหนังสือเดินทางให้กับแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านคน ตามข้อตกลง MOU เมื่อปี พ.ศ. 2546 ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่อยู่ในประเทศไทยครบ 4 ปี จำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังประเทศพม่าเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนที่เดินทางกลับเข้ามาทำงานใหม่ในประเทศไทยได้ แต่นโยบายนี้ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็น ตัวแรงงานเอง นายจ้าง หรือแม้แต่รัฐบาล เนื่องจากทุกฝ่ายคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก

กล่าวคือ แรงงานข้ามชาติจำเป็นต้องทำงานอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำงานหาเงินส่งกลับไปให้ครอบครัวที่ประเทศพม่า ส่วนนายจ้าง ไม่ต้องการสูญเสียคนงานที่มีทักษะในการทำงานอยู่แล้วโดยเฉพาะในช่วงขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่รัฐบาลพม่ายังไม่พร้อมที่จะรับแรงงานสัญชาติพม่ากลับบ้านเกิดในช่วงพัฒนาและการเปิดประเทศ แต่ในทางกลับกัน มีข้อมูลปรากฏออกมาว่าแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ทำงานในประเทศไทย ครบ 4 ปี จะต้องเดินทางกลับไปประเทศพม่า อาจจะเป็นระยะเวลา 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี หากพวกเขาต้องการที่จะเดินทางกลับมาเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีนโยบายหรือคำประกาศของรัฐที่ชัดเจนออกมาให้เห็นในขณะนี้ แรงงานข้ามชาติสัญชาติสัญชาติพม่าหลายแสนคน ทำงานครบและเกินกำหนด 4 ปีแล้ว และไม่สามารถต่อวีซ่าเพื่อที่จะทำงานได้อีก จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐทำให้แรงงานข้ามชาติหลายแสนคนจากประเทศพม่ากำลังเผชิญกับชะตากรรมที่ท้าทายอยู่ในประเทศไทย คนงานถูกหลอก ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกขมขู่จากนายหน้าทั้งชาวไทยและชาวพม่า หรือแม้แต่จากบริษัทจัดหางานและเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยการให้ข้อมูล ที่ไม่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับการต่ออายุวีซ่าหรือความจำเป็นในการเดินทางกลับไปประเทศพม่าแล้วกลับเข้าประเทศไทยใหม่อีกครั้งโดยผ่านขั้นตอนนายหน้าแบบระบบ MOU ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตอนนี้มีแรงงานข้ามชาติหลายคนยอมเสียค่าใช้จ่ายกว่า 15,000 บาท/ต่อคน (500 เหรียญสหรัฐ) ในการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือเพื่อเปลี่ยนชื่อและนามสกุลของตนเอง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะมีผลต่อการใช้สิทธิประกันสังคมที่คนงานเหล่านั้นถืออยู่จากการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ แต่ยังมีคนงานและนายจ้างเลือกที่จะใช้เอกสารปลอมและ ทิ้งหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานเล่มจริงเพื่อให้ตนเองมีสถานะผิดฏหมาย และในที่สุดนโยบายที่ให้คนงานอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องล้มเหลวต่อไป

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมดัวย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนามีความกังวลอย่างมากต่อการพัฒนาในเชิงลบที่เป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนต่อนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติของรัฐดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้รัฐบาลไทยมีการเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้นพร้อมทั้งให้มีความชัดเจนในการดำเนินการเกี่ยวกับประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ

2. ขอให้รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU และแรงงาน ข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังจาก 4 ปี พร้อมทั้งรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

3. ขอให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าดำเนินการอย่างจริงจังกับขบวนการนายหน้าค้าแรงงาน ข้ามชาติเพื่อให้แรงงานข้ามชาติไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

4. ขอให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบอย่างทั่วถึง

 

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

เครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติ (MWRN.)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF.)

วันที่ 21 สิงหาคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น