โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ยิงอิหม่ามมัสยิดกลางปัตตานีดับกลางตลาด ทั้งวันมีบึ้มทหาร-ชาวบ้านเจ็บ11

Posted: 05 Aug 2013 01:45 PM PDT

คนร้ายลอบยิงอิหม่ามมัสยิดกลางปัตตานีกลาง ขว้างระเบิดใส่ร้านอาหารที่มายอ และวางระเบิดชุดคุ้มครองครูยะลา

ชาวมุสลิมร่วมละหมาดศพของนายยะโก๊บ หร่ายมณี โต๊ะอิหม่ามมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ที่ถูกยิงกลางตลาดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 5 สิงหาคม 2556

เวลา 16.40 น.วันที่ 5 สิงหาคม 2556 คนร้ายยิงนายยะโก๊บ หร่ายมณี โต๊ะอิหม่ามมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีเสียชีวิตขณะเดินซื้ออาหารที่ตลาดจะบังติกอ เขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยคนร้าย 4 คนขับขี่รถจักรยานยนตร์ประกบยิงจนเสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาล วันเดียวกันเวลา 15.50 น. คนร้ายลอบวางระเบิดชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยครูโรงเรียนบ้านซาไก บ้านเจะซีโป๊ะ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา โดยนำระเบิดซ่อนในรถจักรยานยนตร์นำมาจอดไว้ข้างทาง แรงระเบิดทำให้ ร.ต.ต.อมร สุขเกษม ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย

ก่อนหน้านี้ เวลา 13.20 น. คนร้ายขว้างระเบิดใส่ร้านขายอาหารที่บ้านมายอ ต.มายอ อ.มายอ จ.ปัตตานี มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 รายคือ นายเจริญดำประเสริฐ เจ้าของร้าน นางขวัญกมล สิทธิเชน ผอ.โรงเรียนบ้านบูดน นายสุวิทย์ โรจน์สุวรรณ ผอ.โรงเรียนบ้านถนน นายสุทร ศรีสมปอง ครูโรงเรียนบ้านถนน และนายอนน ไชยบุราช พนักงานขับรถเทศบาลมายอ
เวลา 8.50 น.คนร้ายลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครูขณะปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเดินเท้าที่บ้านลำดา ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา โดนนำระเบิดซุกซ่อนริมถนน แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ 5 นายโดยบาดเจ็บสาหัส 2 นาย คือ ส.อ.อำนาจ คงมนต์ และพลทหารคมสันต์ ประดู่ และอีก 3 คนได้รับบาดเจ็บคือ พลทหารอิสมะแอ นิหวัง พลทหารอดิสรณ์ เกื้อขำ และ พลทหารชินชัย โสภา
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮัสซัน ตอยิบ ปัดถูกปลด ยันพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อ

Posted: 05 Aug 2013 01:37 PM PDT

แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ปฏิเสธถูกปลดจากหัวทีมพูดคุยสันติภาพ ชี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อฝ่ายไทยไม่ช่วยให้การพูดคุยสันติภาพสามารถเดินหน้าต่อไปได้ 

นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ให้สัมภาษณ์สื่อหลายสำนักจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อช่วงเย็นวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ที่ประเทศมาเลเซียว่า การปลดตนออกจากการเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไทยนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อฝ่ายไทยไม่ช่วยให้การพูดคุยสันติภาพสามารถเดินหน้าต่อไปได้ จะเป็นการปลดเพื่อตัดตอนไม่ให้สามารถเชื่อมต่อไปยังคนอื่นๆในขบวนการบีอาร์เอ็น หากจากมีการพูดคุยสันติภาพต่อไปฝ่ายไทยก็ต้องไปเริ่มต้นใหม่

นายฮัสซัน กล่าวต่อไปว่า เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพให้สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยสนับสนุนทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายบีอาร์เอ็นด้วย เพราะจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งการแก้ปัญหาไม่สามารถที่จะจบลงในสนามรบได้ แต่จะจบลงบนโต๊ะเจรจา พร้อมกับยืนยันว่าการพูดคุยสันติภาพจะดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ ในวันเดียวกันนั้น ได้มีกระแสข่าวจากสื่อหลายสำนักในกรุงเทพมหานครว่า นายฮัสซัน ตอยิบ ได้ถูกขบวนการบีอาร์เอ็นปลดออกจากการเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพกับฝ่ายไทย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลตุรกีตัดสินโทษสมาชิกกลุ่มสมคบคิดก่อรัฐประหาร

Posted: 05 Aug 2013 01:05 PM PDT

นายพลเกษียณอายุและผู้คนในอาชีพอื่นๆ 275 คน ในตุรกีผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับกลุ่ม "แอเกเนกอน" ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าเป็นกลุ่มสมคบคิดเบื้องหลังเพื่อล้มล้างรัฐบาล ขณะที่บางคนอาจจะเห็นว่ารัฐบาลฝ่ายอิสลามของพรรค AKP สามารถลดอำนาจกองทัพซึ่งเคยก่อการรัฐประหารไว้มากในตุรกีลงได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่พรรค AKP จะฉวยโอกาสกำจัดศัตรูทางการเมือง

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ศาลตุรกีดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหาสมคบคิดก่อการรัฐประหารในนามกลุ่ม "แอเกเนกอน" (Ergenegon) โดยศาลตุรกีได้ตัดสินให้ผู้ต้องหา 21 คนพ้นโทษ ขณะที่อดีตผู้นำกองทัพได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต หลังจากมีการดำเนินคดีกินเวลายาวนาน 5 ปี

BBC เปิดเผยว่าในกลุ่มผู้ที่ถูกตัดสินให้มีความผิดประกอบด้วยอดีตผู้นำกองทัพ นายพล อิลค์แกร์ บาซบูก์, เจ้าหน้าที่ทหารรายอื่นๆ, นักกฏหมาย, นักวิชาการ และนักข่าว รวม 275 คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมใน "แผนการแอเกเนกอน" ที่เป็นการสมคบคิดเพื่อล้มล้างรัฐบาลพรรค AKP โดยที่นายพลบาซบูก์ ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพตุรกีในช่วงปี 2008 ถึง 2010 ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด

ผู้ต้องหาในคดีนี้ถูกกล่าวหาในเรื่องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของแอเกเนกอน ซึ่งมีการอ้างว่าเป็นกลุ่มเครือข่ายก่อการร้ายใต้ดิน นอกจากนี้ยังมีข้อหามีอาวุธในครอบครองอย่างผิดกฎหมาย และยุยงให้เกิดการปฏิวัติด้วยกำลังอาวุธเพื่อโค่นล้มพรรค AKP ทางอัยการได้เรียกร้องให้มีการตัดสินให้อดีตผู้นำกองทัพและผู้ต้องหาอีก 63 คนรวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารอีก 9 รายถูกสั่งจำคุกตลอดชีวิต

โดยก่อนหน้าที่จะมีการตัดสินคดี ทางการตุรกีสั่งห้ามไม่ให้มีการประท้วงที่ศาลซึ่งตั้งอยู่ที่ทำการเรือนจำซิลิวรี ทางฝั่งตะวันตกของเมืองอิสตันบูลโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดกั้นไว้ โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา มีการบุกจับกุมที่ทำการพรรคการเมืองและสถานีโทรทัศน์ฝ่ายฆราวาสนิยม และจับกุมบุคคล 20 คนฐานเรียกร้องให้มีการชุมนุม

แต่ในวันจันทร์ที่มีการตัดสินคดีก็ยังคงมีผู้ชุมนุมราว 10,000 คน ชุมนุมใกล้กับศาล ผู้ชุมนุมได้ขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจปราบจลาจล ทำให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่โต้ตอบด้วยปืนน้ำ แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง เพื่อสลายการชุมนุมที่กีดขวางทางจราจร โดยในระหว่างที่ผู้ชุมนุมเดินขบวนไปยังศาล พวกเขาพากันตะโกนคำขวัญว่า "พวกเราคือทหารของมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก" ผู้ก่อตั้งตุรกียุคใหม่

นอกจากนายพลบาซบูก์แล้ว ยังมีผู้ต้องหาอีกหลายคนทั้งนักข่าว ทนายความ และนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน ถูกตัดสินต้องโทษจำคุก และมีส่วนหนึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ในข้อหาอย่าง "การต่อต้านความเป็นตุรกี" หรือข้อหายุยงโดยนำเอาหลักการสังคมนิยมมาผสมกับแนวคิดชาตินิยมจัด

เจมส์ เรย์โนลด์ ผู้สื่อข่าว BBC ในตุรกี กล่าวว่าคดีนี้เกิดจากความเชื่อว่ามีเครือข่ายของกองทัพ นักธุรกิจ นักฆราวาสนิยม และกลุ่มชาตินิยมจัด สมคบคิดกันเพื่อก่อความไม่สงบซึ่งจะนำพาไปสู่การรัฐประหาร และการตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารอย่างหนักแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพเปลี่ยนไป

"หลายทศวรรษที่ผ่านมากองทัพทำตัวเป็นผู้ชี้ขาดขั้นสุดท้ายในการเมืองของตุรกี โดยตั้งแต่ปี 1960 ถึง 1997 กองทัพได้โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชน 4 ครั้ง แต่เออร์โดแกนได้ทำให้อำนาจของพลเรือนอยู่เหนือกองทัพ" เจมส์ เรย์โนลด์กล่าว


การลดอำนาจกองทัพ หรือ "การล่าแม่มด" ?

BBC กล่าวว่าคดีนี้เป็นบททดลองสำคัญของนายกรัฐมนตรี เรเซป ตอย์ยิป เออร์โดแกน ในการเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งเป็นกลุ่มกองทัพและกลุ่มฆราวาสนิยม นับตังแต่เออร์โดแกนได้รับตำแหน่งในปี 2002 ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนมากถูกสั่งจับกุมตัว โดยกองทัพของตุรกีมองว่าตัวเองเป็นผู้รับรองรัฐธรรมนูญแบบฆราวาสนิยม

อย่างไรก็ตาม มีนักวิจารณ์กล่าวว่าการดำเนินคดีในครั้งนี้มีหลักฐานเพียงน้อยนิด ซึ่งรัฐบาลอาจพยายามทำให้ผู้ต่อต้านกลุ่มฆราวาสนิยมเงียบเสียง และการสืบสวนคดีแอเกเนกอนของรัฐบาลก็มีการมุ่งเป้าไปที่ศัตรูของพรรคการเมือง AKP ซึ่งเป็นพรรคนิยมอิสลาม แต่ทางรัฐบาลปฏิเสธว่าไม่ได้มีแรงจูงใจอย่างที่ถูกวิจารณ์

ผู้สื่อข่าว BBC ภาคตุรกี กูนีย์ ยิลดิซกล่าววิเคราะห์ว่า สำหรับบางคนคดีในครั้งนี้อาจเป็นก้าวสำคัญในการทำให้กองทัพซึ่งเคยทำตัวอยู่เหนือกฎหมายมาอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชน อย่างไรก็ตามมีบางคนคิดว่าคดีนี้ถูกทำให้กลายเป็น "การล่าแม่มด" เพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล

ยิลดิซกล่าวอีกว่า มีบางคนคิดว่าจำเลยส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากในช่วงทศวรรษ 1990 แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวนเรื่องการละเมิดสิทธิในอดีตเลย ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลเรื่องการกักขังผู้ต้องหาก่อนการดำเนินคดีเป็นเวลานานเกินไปก่อนที่จะมีการดำเนินคดีจริง

ก่อนหน้านี้ในปี 2012 ศาลตุรกีก็เคยตัดสินจำคุกเจ้าหน้าที่ทหารมากกว่า 300 นายด้วยข้อหาวางแผนก่อการรัฐประหารนายกฯ เออร์โดแกนในปี 2003

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก

Turkey Ergenekon case: Ex-army chief Basbug gets life, BBC, 05-08-2013
http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-23571739

Conspiracy trial verdict due in Turkey, Aljazeera, 05-08-2013
http://www.aljazeera.com/video/europe/2013/08/201384172910303684.html

Clashes erupt after Turkey trial verdicts, aljazeera, 05-08-2013
http://www.aljazeera.com/news/europe/2013/08/201385145137288375.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักโทษคดี 112 หนุนนิรโทษกรรมรวมคดีทางมโนธรรม ทุกฝ่ายได้ประโยชน์

Posted: 05 Aug 2013 11:27 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 5 ส.ค.56   ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อดีตผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ระบุว่าหลังจากไปเยี่ยมเพื่อนผู้ต้องขังคดี 112 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในวันนี้  พวกเขาได้ฝากจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนรัฐบาลในการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยระบุว่าคดี 112 เป็นคดีทางมโนธรรมไม่ใช่อาชญากร เป็นแต่เพียงการแสดงความคิดเห็น หากรัฐสภาไทยนิรโทษกรรมให้กับคดีเหล่นี้ด้วยทุกฝ่ายจะได้รับความชื่นชมจากนานาอารยประเทศ  

ทั้งนี้ ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 4 ราย ได้แก่ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ โทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน อยู่ระหว่างขอพระราชทานอภัยโทษ, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โทษจำคุก 10 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์, นายเอกชัย หงส์กังวาน โทษจำคุก 3 ปี 4 เดือน อยู่ระหว่างอุทธรณ์, นายยุทธภูมิ (สงวนนามสกุล) คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จะมีการสืบพยานในวันที่ 20 ส.ค.นี้ที่ศาลอาญา รัชดา  นอกจากนี้ยังมีผู้ต้องขังหญิงในคดีนี้อีก 1 คนที่ถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง คือ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นจำคุก 15 ปี ขณะนี้เตรียมทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ

 

รายละเอียดจดหมาย มีดังนี้

เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ - 5 สิงหาคม 2556

 ตามที่สภาผู้แทน ราษฎร จะได้มีการพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม แก่ผู้กระทำความผิด อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมือง ของประชาชน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2556 นี้ พวกเรา ผู้ต้องขังตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีส่วนได้เสียตามร่างกฎหมายฉบับนี้ ใคร่ขอเสนอความคิดเห็นต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศ กล่าวคือ

 พวกเราขอสนับสนุนการ นิรโทษกรรม เพราะเป็นความผิดที่ไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง เป็นคดีทางมโนธรรม อันเป็นสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงขอเสนอความคิดเห็นให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาอย่างมีเหตุผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน ดังนี้

1. ถ้าสภาผู้แทนราษฎร ผ่านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยกีดกันยกเว้นผู้ต้องขังมาตรา 112 สภาผู้แทนราษฎรไทย จะได้รับการชื่นชมจากชาวโลก ผู้มีมนุษยธรรม นักสิทธิมนุษยชน และอารยประเทศทั่วโลกหรือไม่ รัฐบาลไทย ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน จะได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศทั่วโลกหรือไม่ สถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จะได้รับการแซ่ซ้อง สรรเสริญหรือไม่ พระเกียรติยศ และพระบารมี ในฐานะที่เป็นกษัตริย์ผู้มีทศพิธราชธรรม และเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา อันปวงชนชาวไทย ให้ความจงรักภักดีเสมอมา จะได้รับการกระทบกระเทือนหรือไม่

2. การพิจาณา พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ที่เป็นกฎหมายระดับประเทศ ที่กำลังถูกจับตาจากชาวโลก แต่กลับกีดกันคนเพียง 4-5 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุก เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่

จึงขอฝากข้อคิดเห็นดังกล่าว ในการพิจาณาเห็นชอบต่อพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองให้หมดไป เพื่อให้ทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

 

ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112

5 สิงหาคม 2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ลุ้นตัดสินคดีรถดับเพลิงวันนี้ อ.จุฬาฯ ชี้เป็นโอกาสศาลปฏิเสธอำนาจรัฐประหาร

Posted: 05 Aug 2013 10:58 AM PDT

ในวันที่ 6 ส.ค.56  เวลา 9.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายธานิศ เกศวพิทักษ์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมองค์คณะผู้พิพากษารวม 9 คน ไต่สวนนัดสุดท้าย คดีหมายเลขดำ อม.5/2554 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย , นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย, นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ , พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. , บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จำกัด หรือ STEYR-DAIMLER-PUCH Spezial fahrzeug AG&CO KG (ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ) และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่ากรุงเทพมหานคร  เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกทม.มูลค่า 6,687,489,000 บาท

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเวทีเสวนา "หลักนิติรัฐนิติธรรมกับการวางรากฐานประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาชนธิปไตย ว่า คำพิพากษาคดีนี้สำคัญมากเพราะเป็นโอกาสที่ศาลจะสามารถปฏิเสธการรัฐประหารได้ โดยรื้อแนวศาลฏีกาที่เคยวางไว้ในปี 2502 ที่ใช้ในการรองรับรัฐประหารเรื่อยมา

ทั้งนี้ แนวศาลฎีกาดังกล่าวคือคำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2502 ระบุว่า "ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2502 "ศาลฎีกาเห็นว่าคณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนต้องถือว่าเป็นกฎหมาย"

นันทวัฒน์กล่าวว่า คดีรถดับเพลิงเกิดขึ้นในปี 2546 เริ่มต้นจากการร้องเรียนผ่านดีเอสไอ ป.ป.ช. ในปี 2549  ดีเอสไอส่งเรื่องกลับมาให้ ป.ป.ช. แล้วก็เกิดการรัฐประหาร มีการตั้ง ป.ป.ช.ชุดใหม่ รวมถึงคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ที่มาทำประเด็นรถดับเพลิง เมื่อครบวาระ คตส.ได้ส่งเรื่องกลับไปให้ ป.ป.ช.ทำต่อเมื่อส่งให้อัยการ อัยการส่งกลับโดยระบุว่าข้อเท็จจริงไม่ครบ แต่ ป.ป.ช.ก็ให้สภาทนายความเป็นผู้ฟ้องร้องเอง จะเห็นว่าคณะรัฐประหารไปเกี่ยวข้องทั้งกับการตั้ง คตส. และป.ป.ช.

เขากล่าวด้วยว่า แนวคำพิพากษาในการรองรับรัฐประหารไม่เคยเปลี่ยน จนกระทั่งในปี 2552 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินคดีของคุณยงยุทธ ติยะไพรัช ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญา 9 คน มีผู้พิพากษาอยู่ 1 คนที่เสียงแตกออกไป โดยมีประเด็นหลักที่น่าสนใจในคำวินิจฉัยส่วนตัว 5 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่

ประเด็นที่ 1 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรค์ในการวินิจฉัยคดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากศาลไม่รับใช้ประชาชนย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน  

ประเด็นที่ 2 การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไต

ประเด็นที่ 3 หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์แล้วเท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักษ์รักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักนิติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตัวเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ

ประเด็นที่ 4 ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้น เมื่อกาละและเทศเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ศาลจึงไม่อาจรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์

ประเด็นที่ 5 ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครอง คือคณะของ คปค. แต่คปค.เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังหาได้ก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดๆ อย่างรัฎฐาธิปัตย์

"ทั้งห้าประการนี้อยู่ในคำวินิจฉัยส่วนตัวของผู้พิพากษาท่านหนึ่ง ตอนที่เห็นหนแรกเราก็มีความรู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้เพราะว่าเรายืนหลักการเดิมมาตลอด แต่พอเห็นความเห็นนี้ก็มานั่งนึกดูว่าทำไมแค่หนึ่ง ถ้าเป็นสองเป็นสามหรือเป็นสี่ แล้วถ้าเป็นห้า มันจะเกิดอะไรขึ้น....ในคำวินิจฉันส่วนตนเราก็จะเห็นแล้วว่าศาลสามารถเลือกที่จะเดินไปในช่องทางที่จะคุ้มครองประชาธิปไตยได้ เพราฉะนั้นถ้าในวันอัที่ 6 สิงหาคม เราเห็นคำพิพากษาออกมาปฏิเสธเรื่องการรัฐประหารก็น่าจะดีใจ เพราะว่าต่อจากนี้ไปการรัฐประหารก็จะถูกรับรองโดยศาลว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้วก็กระทบกับระบบประชาธิปไตยของประเทศ" นันทวัฒน์ กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผอ.ซีป้าแนะ รบ.หยุดเอาผิดคนโพสต์ข่าวลือปฏิวัติ

Posted: 05 Aug 2013 10:04 AM PDT

ปธ.สภาการ นสพ. แนะ 'เสริมสุข' ปฏิเสธการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ยืนยันเสรีภาพสื่อ ส่วนเครือข่ายพลเมืองเน็ต ย้ำ แชร์-ไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม ด้าน 'ธิดา' ฟ้องแกนนำกลุ่มกองทัพปชช.โค่นทักษิณด้วยพ.ร.บ.คอม-ม.112

(5 ส.ค.56) พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) นำรายชื่อ 4 บุคคล ที่เป็นผู้โพสต์ข้อความในลักษณะจะมีการปฏิวัติรัฐประหารและขอให้ประชาชนกักตุนน้ำและอาหารให้พร้อม  ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก มาเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยรายชื่อ ประกอบไปด้วย

1.นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
2.นางสาววารุณี คำดวงศรี ใช้นามแผง warunee khamduangsri
3.Yo onsine เคยร่วมงานทำรายการ แดดร่มชมตลาด
4.นายเดชา ธีรพิริยะ แกนนำ นปช.ชลบุรี นามแฝง ปุ๊ชลบุรี นักสู้ธุลีดิน

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ บุคคลทั้ง 4 เป็นผู้โพสข้อความด้วยตนเองและในวันนี้จะออกหมายเรียก ทั้ง 4 คน มาสอบสวน หากพบว่ากระทำผิดจริงทางพนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหา ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ต้องระวางโทษไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000บาท และความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 116 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่กฏหมายแผ่นดิน เกิดความปั่นป่วน ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร

นอกจากนี้จากการตรวจสอบยังพบว่า มีผู้ใช้นามแผงว่า เดอะ เลดี้  และคณะเสนาธิการร่วม ได้โพสข้อความดังกล่าวและอยู่ระหว่างพิสูจน์ตัวบุคคล พร้อมฝากเตือนไปยังประชาชนห้ามโพส กดไลค์ หรือส่งต่อข้อความที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะจะถือผู้ว่าเป็นผู้กระทำผิดร่วม

วันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เปิดเผยว่า ทาง ศอ.รส.ได้รับรายงานจาก พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผบก.ปอท.ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์ หรือส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จ หรืออันจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาชน หรือน่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านเสรีภาพสื่อ แนะรัฐหยุดเอาผิดคนใช้เน็ต
กายาทรีย์ เวนกิตสวารัน ผู้อำนวยการองค์กรพันธมิตรเพื่อเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยมีพลวัตและแปรเปลี่ยนไม่หยุดนิ่ง มีคนกลุ่มต่างๆ ที่แสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลผ่านการประท้วง และก็เห็นเป็นที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การที่คนกลุ่มหนึ่งแสดงความเห็นทางโซเชียลมีเดีย และถูกมองว่าเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดหรือก่อความวุ่นวายนั้น นับเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล และวิธีการเช่นนี้ ก็เป็นวิธีที่รัฐต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมือกับโซเชียลมีเดีย ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

เธอกล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน แน่นอนว่าประชาชนต้องการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และรัฐควรมองว่าการแสดงออกนั้นเป็นสิทธิพื้นฐาน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติเช่นนี้

"ทางออกคือต้องให้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เผยแพร่ต่อสาธารณชน และยิ่งมีมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น การพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียถือเป็นการกระทำฉวยประโยชน์ทางการเมือง และเกินความจำเป็นของประโยชน์สาธารณะ" กายาทรีย์กล่าว


ปธ.สภาการ นสพ. แนะ 'เสริมสุข' ปฏิเสธการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ยืนยันเสรีภาพสื่อ  
จักรกฤษ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีที่ เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถูก ปอท. เตรียมแจ้งข้อกล่าวหาว่า ไม่ว่าคำสั่งแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังพนักงานสอบสวน ที่ระบุความผิดของเสริมสุข จะมาจากผู้ใด แต่มีความเห็นทั้งในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ยืนยันว่า เสริมสุขต้องปฏิเสธการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบในครั้งนี้ทุกกรณี และยืนยันว่านี่เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสื่อ ไม่ใช่บุคคลใด โดยมีเหตุผล ได้แก่
     
1.ความผิดที่พนักงานสอบสวน ใช้เป็นฐานในการเตรียมแจ้งข้อหากับเสริมสุข คือ ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2) ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าข้อความใดที่นายเสริมสุขโพสต์จะเป็นความผิด เพราะเป็นการอ้างถ้อยคำจากแผ่นปลิว ซึ่งนายเสริมสุข ขยายความต่อมาว่า เขาไม่เห็นด้วย กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบ คือทั้งเจตนาภายนอกในการแสดงออกซึ่งข้อความ และเจตนาภายในในการแพร่กระจายข้อความอันจะกระทบต่อความมั่นคง
      
2.เมื่อมีความชัดเจนว่า การกระทำดังกล่าวไม่เข้าองค์ประกอบความผิด และโดยสามัญสำนึกพนักงานสอบสวนย่อมรู้ดีว่ากรณีมิใช่การกระทำความผิด กรณีจึงน่าจะเป็นตรงกันข้าม คือพนักงานสอบสวนกำลังกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 200 คือการกระทำที่จะแกล้งให้บุคคลต้องรับโทษ ซึ่งมีโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งกฎหมายต้องการคุ้มครองผู้สุจริต เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าคิดว่า ผู้ถูกกระทำจะต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองในเรื่องนี้ได้หรือไม่ อย่างไร
     
3.พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับ กรณีที่มีหมายเรียกสองครั้งแล้ว ผู้ต้องหายังไม่ได้มารายงานตัว และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงจะไปขออำนาจศาลออกหมายจับ แต่อาการลุกลี้ลุกลน คล้ายจะออกหมายจับในทันทีโดยยังไม่มีเหตุตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับ และไม่ควรปฏิบัติตามอำนาจที่ไม่ชอบธรรม
      
4.หากพนักงานสอบสวน ยืนยันที่จะทำตามหน้าที่ ก็ขอให้มาสอบสวน ณ ที่ทำการของผู้ต้องหา ต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ทนายความ และเพื่อนสื่อมวลชน เพื่อให้กระบวนการยุติธรรม ดำเนินไปด้วยความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถทำได้


รมว.ไอซีที เตือนอีก ระวัง ไลค์-แชร์ ข้อความเท็จ อาจผิด พ.ร.บ.คอม
ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีในโซเชียลมีเดีย โพสต์ข้อความปลุกระดมหรือสร้างกระแสเกี่ยวกับการเมืองว่า ในการโพสต์ข้อความลักษณะดังกล่าว เข้าใจว่ามีความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งตามหลักการแล้วการกระทำใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงจะมีเจ้าหน้าที่ผู้รักษาการตามกฎหมายยับยั้งข้อความและดำเนินคดีต่อบุคคลดังกล่าวทันที

ทั้งนี้ การกระทำความผิดดังกล่าวจะมีตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ทำงานร่วมกับกระทรวงไอซีทีดูแลอยู่แล้ว โดยหากเจ้าหน้าที่มองว่าข้อความที่โพสต์ และเผยแพร่มีผลกระทบต่อความมั่นคงก็ถือว่ามีความผิดทาง พ.ร.บ.ความมั่นคง และยังต้องตรวจสอบอีกว่ามีความผิดใน พ.ร.บ.อื่นๆ อีกหรือไม่ โดยสุดแล้วแต่ว่าเจ้าหน้าที่สอบสวนจะระบุว่ามีความผิดอะไร

"กระทรวงไอซีทีไม่ได้มีหน้าที่ระบุความผิดโดยตรง แต่เป็นผู้ให้ข้อมูล เพราะศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) มีหน่วยงานตรวจสอบครอบคลุมทุกด้านอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากมีการพิจารณาว่ามีความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ร้ายแรง เจ้าหน้าที่จะต้องเสนอนิติกรกระทรวงไอซีที เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายพิจารณาขอความเห็นชอบจากรมต.ไอซีที ขออำนาจศาลเพื่อออกคำสั่งปิดเว็บเพจของผู้โพสต์" น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว           

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวถึงกลุ่มคนที่กดไลค์ หรือ กดแชร์ข้อความดังกล่าว อาจเข้าข่ายมีความผิดเช่นเดียวกับผู้โพสต์ แต่ต้องดูที่เจตนา ที่ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งถ้าไม่ต้องการให้เกิดความยุ่งยาก ควรระมัดระวังเพราะ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จะมีมาตรการควบคุมการนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จ ดังนั้น จึงอยากฝากไปยังประชาชนในเรื่องของการแสดงความเห็นทางการเมืองที่เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนสามารถแสดงสิทธิหรือข้อคิดเห็นได้ แต่ต้องคำนึงข้อกฎหมาย เพราะการใช้สิทธิช่องทางดังกล่าวไปละเมิดและขัดต่อกฎหมายก็ไม่ควรกระทำ ตอบ ส่งต่อ

 

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ย้ำ กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม
ด้านเครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุในเพจเฟซบุ๊ก ถึงกรณี รมว.ไอซีที ออกมาเตือนผู้ใช้เน็ต ไม่ให้กดถูกใจหรือแบ่งปันลิงก์ข่าวลือรัฐประหาร เพราะอาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยนำแถลงการณ์ของกลุ่ม เรื่อง "กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม" ที่เผยแพร่ครั้งแรกปี 2554 มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าเหตุใดการกดไลค์ไม่ควรผิดกฎหมาย

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว ออกเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 54 สืบเนื่องจากกรณี น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรี ไอซีที ระบุว่า การกดถูกใจ หรือแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก ถือเป็นการเผยแพร่เนื้อหาทางอ้อม อาจต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้เขียน และกล่าวด้วยว่า ทางกระทรวงกำลัง "ขอความร่วมมือ" ไปยังเฟซบุ๊กและยูทูบ เพื่อปิด "เพจหมิ่น" "วิดีโอหมิ่น" และสืบหาตัวผู้เขียนเนื้อหา และต่อมา มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้เสนอให้ปิดเฟซบุ๊กและยูทูบทั้งเว็บไซต์ หากกระทรวงไอซีทีไม่สามารถจัดการไม่ให้มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ในเว็บไซต์ดังกล่าวได้

โดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุว่า ท่าทีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีและรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ มีปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้เน็ตหลายประการ

เครือข่ายพลเมืองเน็ตแสดงจุดยืนว่า การกดไลค์ไม่ใช่อาชญากรรม โดยรัฐธรรมนูญไทยได้รับรองสิทธิของประชาชนในการแสดงออกถึงความคิดความรู้สึก นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตนั้นคือการลิงก์ รัฐต้องไม่เอาผิดการแบ่งปันลิงก์ รวมถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่สามารถล่วงรู้และควบคุมการใช้งานได้ทั้งหมด ดังนั้น การระวางโทษกับการกดถูกใจ แสดงความเห็น หรือการกระทำอื่นใด ซึ่งผู้ใช้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าจะทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อหรือไม่ จึงขัดกับธรรมชาติของระบบ ทำให้ผู้ใช้ตกอยู่ในความกลัว และไม่สามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างปกติ

 

'ธิดา' ฟ้อง พ.ร.บ.คอม-112 แกนนำกองทัพปชช.โค่นระบอบทักษิณ
ด้าน ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช.  อารี ไกรนรา ที่ปรึกษา รมช.พาณิชย์ และแกนนำส่วนกลาง พร้อมทีมทนายความ นปช. เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผบก.ปอท. ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร B ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ ไทกร พลสุวรรณ คณะเสนาธิการร่วม ในฐานะโฆษกกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ กับพวกรวม 7 คน ในข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

โดยกรณีดังกล่าว มีบุคคลโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของคณะเสนาธิการร่วม กล่าวหา ธิดาและกลุ่ม นปช. ด้วยถ้อยคำว่า "ธิดาเรียกร้องเปลี่ยนการปกครองไทยให้เป็นคอมมิวนิสต์ไร้กษัตริย์" ซึ่งเป็นเท็จโดยสิ้นเชิง และยังมีการโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊คกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ กล่าวหา ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และ อารีย์  ไกรนรา ว่ามีพฤติกรรมไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง อันเป็นการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนเพื่อที่จะดำเนินคดีกับบุคคลที่ดำเนินการเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า การโพสต์ข้อความดังกล่าว เป็นการปลุกระดมให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ เพื่อสร้างสถานการณ์ดังกล่าว

 

 

บางส่วนจาก แนวหน้าเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์บล็อก นปช., เดลินิวส์ และ เพจเครือข่ายพลเมืองเน็ต 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช. เตรียมยุทธศาสตร์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

Posted: 05 Aug 2013 08:39 AM PDT

มติบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ ตั้งเป้าทุกชุมชน/สถานพยาบาลมีระบบรองรับเตรียมเสนอครม.พิจารณาเห็นชอบก่อนเดินหน้าปี 57

 
มติบอร์ดสปสช.เห็นชอบยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว แจงสัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้น ต้องมีการจัดระบบการดูแลที่เหมาะสม ตั้งเป้าผู้สูงอายุได้รับการดูแลในชุมชน สถานพยาบาลมีระบบรองรับ  ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดระบบในชุมชน ภาครัฐสนับสนุน เตรียมเดินหน้าปี 57 ทั้งจัดชุดสิทธิประโยชน์ พัฒนาบุคลากร และงบประมาณ คาดใช้งบพัฒนาระบบบริการ 2,109 ล้านบาท และพัฒนาระบบตามยุทธศาสตร์ 2,701 ล้านบาท เตรียมเสนอครม.ให้ความเห็นชอบต่อไป
 
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่อง แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 
 
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กล่าวว่า จากสถานการณ์ของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 12.2 ในปี 2554 อาจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18 และ 24 ของประชากรรวมในอีก 10 ปีและ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งระดับรายได้ต่อหัวที่จะลดลง การออมลดลงจากภาระการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนการลงทุนของภาครัฐเพื่อจัดบริการด้านสังคมให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯได้จัดทำยุทธศาสตร์ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีเป้าประสงค์ คือ บุคคล ครอบครัวและชุมชน ได้รับการสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในครอบครัวและชุมชน โดยเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพและบริการทางสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ
 
"เป้าหมาย ผู้สูงอายุทุกคน ได้รับการคัดกรอง และมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลระยะยาวในชุมชน มีระบบการเงินการคลังที่ยั่งยืนในการดูแลครบวงจร ทุกชุมชนมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข เช่นมี nursing home สถานพยาบาลทุกแห่งมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและครอบครัว ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีระบบข้อมูล ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น มีกองทุนในระดับท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยบูรณาการแหล่งเงินต่างๆ ที่ลงไปในชุมชน"
 
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการคือ การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนเพื่อการส่งเสริมป้องกัน การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และ ชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนากำลังคนเพื่อการจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/ มาตรฐาน และการบริหารจัดการ งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ เริ่มจากในปี 2557 งบพัฒนาระบบตามยุทธศาสตร์ 2,701 ล้านบาท และงบบริการดูแลระยะยาว 2,109 ล้านบาท
 
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและได้มอบสปสช.และอปท. ดำเนินการโดยใช้งบค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มผู้สูงอายุและงบกองทุนท้องถิ่น ในการตรวจคัดกรองและทำทะเบียนเพื่อจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ตลอดจนจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะทุพลภาพ ขณะเดียวกันเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา จัดสรรงบเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบบริการตามแผนยุทธศาสตร์ จัดให้มีแหล่งการคลังสำหรับจัดบริการดูแลระยะยาวที่ยั่งยืน และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สันติภาพของยะโก๊ป หร่ายมณี

Posted: 05 Aug 2013 05:17 AM PDT

มุมมองต่อความขัดแย้งและข้อเสนอสุดท้ายของ อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานีก่อนที่จะถูกสังหารใจกลางเมืองปัตตานีในเวลาต่อมา


ยะโก๊ป หร่ายมณี กับมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีที่ตระหง่านอยู่ด้านหลัง
 
ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา โดย แวลีเมาะ ปูซู ได้สัมภาษณ์ ยะโก๊ป หร่ายมณี โต๊ะอีหม่าม มัสยิดกลางปัตตานี ในประเด็นสันติภาพและศาสนาโดยเผยแพร่ในเว็บไซต์ http://www.isranews.org เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2556 และต่อมาในวันที่  5 สิงหาคม 2556 เวลา 16.35 น. ยะโก๊ป หร่ายมณี ได้ถูกผู้ก่อเหตุสองคนสังหารด้วยอาวุธปืน ย่านชุมชน ใจกลางเมืองปัตตานี
 
ข้อความดังต่อไปนี้เป็นทัศนะและข้อเสนอด้านสันติภาพของผู้นำทางศาสนที่ได้จบชีวิตลงด้วยความรุนแรง
 
*****************************************************************
 
@ รอมฎอนกับการเจรจาสันติภาพ การหยุดความรุนแรง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีหรือไม่?
 
          ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกฝ่ายจะสงบ แต่ตามหลักของศาสนาอิสลาม ใครก็ตามที่เป็นอิสลามแล้ว ด้วยจิตสำนึกและวิญญาณความเป็นมุสลิมเต็มร้อย ต้องหยุดหมดโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องไปต่อรอง เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่พระเจ้าทรงให้ความโปรดปรานกับมนุษย์ ผมพูดตามหลักศาสนา แต่ใครจะไปพูดคุยให้เกิดความสงบสุขก็เป็นการดี แต่ด้วยจิตสำนึกความเป็นอิสลามที่แท้จริงเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่าลืมว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ เป็นเดือนที่ทำความดี ฉะนั้นเรื่องที่ไม่ดีก็ไม่ต้องไปทำ การคุยเพื่อให้เกิดสันติภาพในเดือนรอมฎอนถือเป็นเรื่องดี ขอสนับสนุนให้เกิดการพูดคุย
 
@ มีความเห็นอย่างไรบ้างกับข้อเรียกร้องแต่ละข้อของฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ และรัฐเองควรมีท่าทีอย่างไรเพื่อนำไปสู่การพูดคุยและสันติสุข?
 
          จริงๆ ในส่วนของรัฐเอง ผมว่าน่าจะเอาคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงไปคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ประเภทต่อรองกันได้แล้วจบ ไม่ใช่พูดเสร็จแล้วกลับมาถามพี่น้องประชาชนอีก แต่ทุกอย่างต้องจบบนโต๊ะ ถือเป็นการให้เกียติรซึ่งกันและกัน
 
          ข้อเสนอบางข้อ (เงื่อนไขแลกยุติเหตุรุนแรงของบีอาร์เอ็น มี 7-8 ข้อ) อย่างกรณีให้อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) กระทำละหมาด คนเหล่านี้ก็ละหมาดเป็นปกติอยู่แล้ว หรือไม่ให้ขายเหล้า ถ้ามุสลิมขายเหล้าก็หะรอมอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่ใช่มุสลิมกระทำได้ เนื่องจากเราอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลาย คนพุทธห้ามขายหมูมันไม่ใช่ เราต้องเข้าใจว่าอัตลักษณ์ของศาสนาเป็นอย่างไร ศาสนาของเขาก็ของเขา ของเราก็ของเรา ในเรื่องวิถีชีวิต สังคม เราอยู่ร่วมกันได้ อันไหนที่ทำได้ก็ทำ อันไหนที่ขัดกับระบบอิสลามกำหนดก็มาว่ากันไป
 
@ อิหม่ามเห็นด้วยกับการเจรจาหรือไม่?
 
          เห็นด้วย นั่นคือการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ศาสนาอิสลามเน้นย้ำเรื่องการพูดคุย ตักเตือนซึ่งกันและกัน ศาสดามูฮำหมัดไม่เคยไปรุกรานใคร การใช้กำลังถือเป็นเรื่องสุดท้าย ผมจึงบอกว่าไปศึกษาประวัติศาสตร์อิสลามให้ดี อิสลามสอนอะไรกับเรา
 
@ คิดว่าบีอาร์เอ็นสามารถคุมสถานการณ์ในพื้นที่ได้จริงหรือไม่?
 
          ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีหลายมิติ และมีหลายกลุ่มเกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มบีอาร์เอ็น กลุ่มอาร์เคเค เป็นต้น ถามว่าคนที่มีผลประโยชน์แต่ไม่มีอักษรย่อ พวกเรารู้จักหรือไม่ เขาจะยอมหรือเปล่าในเมื่อมีผลตอบแทนมหาศาล บางครั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐก็เข้าไปมีส่วนเสียเอง ตราบใดที่น้ำข้างบนขุ่น สกปรก กรองมากี่ชั้น เมื่อลงมาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คงขุ่นอยู่วันยังค่ำ
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
 

หมายเหตุ: อ่านทัศนะของ ยะโก๊ป หร่ายมณี ในด้านศาสนาวัฒนธรรมเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isranews.org
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคมจี้ประเด็นปตท.ต้องตอบสาธารณะ

Posted: 05 Aug 2013 04:22 AM PDT

องค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม 25 องค์กร แถลงปตท. ต้องแสดงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานต่อสาธารณะ ทั้งปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล การตอบสนองภาวะฉุกเฉิน การใช้สารเคมี 

 
5 ส.ค. 56 - องค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม 25 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตอบคำถามในประเด็นที่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่ระยอง โดยเฉพาะปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล สาเหตุและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น
 
0000
 
"คำถามที่ พีทีที โกลบอล เคมิคอล ต้องตอบต่อสาธารณะ:
กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลระยอง"
 
5 สิงหาคม 2556
 
จากกรณีน้ำมันดิบจากท่อส่งน้ำมันของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีซีจี รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 และในวันนี้ (5 สิงหาคม 2556) ซึ่งคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะมีการประชุมนัดพิเศษ เพื่อซักถามฝ่ายจัดการของพีทีทีซีจีถึงกรณีดังกล่าว
 
องค์กรภาคประชาสังคมที่ลงนามท้ายแถลงการณ์นี้มีความกังวลอย่างยิ่งต่อความไม่ชัดเจนของข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ จึงขอเรียกร้องให้ พีทีทีจีซี ตอบคำถามในประเด็นต่อไปนี้ด้วยข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานต่อสาธารณะ โดยด่วนที่สุด
 
ประเด็นปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล
1. ปริมาณที่แท้จริงน้ำมันดิบที่รั่วไหลเท่ากับเท่าไหร่ (แสดงหลักฐาน)
2. ปริมาณที่แท้จริงน้ำมันดิบที่คงเหลือในเรือ (แสดงหลักฐาน)
3. เหตุใดน้ำมันดิบจึงเข้าสู่อ่าวพร้าว (อธิบายโดยละเอียด)
4. น้ำมันดิบทั้งหมดที่รั่วไหล ได้ถูกกำจัดและแพร่กระจายไปยังที่ใดบ้าง เป็นปริมาณเท่าใด อาทิ ปริมาณที่ถูกกำจัดโดยการโปรยสารเคมี ปริมาณที่เก็บกู้ได้ ปริมาณที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (แสดงหลักฐานและอธิบายโดยละเอียด)
 
ประเด็นสาเหตุและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน
5. ที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลทั้งหมดกี่ครั้ง มีการจัดการอย่างไร
6. การรั่วไหลในครั้งนี้มีสาเหตุจากอะไร เช่น เป็นอุบัติเหตุ หรือเกิดจากอุปกรณ์เสื่อมคุณภาพ
7. ระบบการควบคุมการปิดวาว์ลแบบอัตโนมัติเป็นอย่างไร วาล์วถูกปิดหลังจากการรั่วไหลเป็นเวลานานเท่าใด
8. นับแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ตลอดปฏิบัติการ ทั้งในทะเลและบนฝั่ง ได้มีการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอย่างไรบ้าง เมื่อใด ใครเป็นผู้ควบคุม/สั่งการ
9. ที่ผ่านมาบริษัทมีแผนการจัดการอุบัติภัยหรือไม่ และเคยมีการซักซ้อมหรือไม่ อย่างไร เหตุใดอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการอุบัติภัยของบริษัทจึงมีน้อยมาก
10. เหตุใดจึงต้องใช้บุคลากรจากหน่วยงานนอกเครือ ปตท. (เช่น กองทัพเรือ จิตอาสา) เข้าไปปฏิบัติการแทน เจ้าหน้าที่ของบริษัทเอง ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในการรับมือต่อเหตุ
11. บุคลากรจากภายนอกมทั้งหมดได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการรับมือต่อเหตุ และการจัดการสารอันตรายหรือไม่ อย่างไร และได้รับการควบคุมดูแลความปลอดภัยในการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
12. ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปฏิบัติการนี้ (รวมถึงการยืมตัวบุคลากรจากหน่วยงานราชการต่างๆ)
13. บริษัทต้องเปิดเผยและชี้แจงว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการลดและขจัดมลพิษจากการรั่วไหลของน้ำมันที่ระบุไว้ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ หรือไม่
 
ประเด็นขั้นตอนการระงับเหตุก่อนนำไปสู่การตัดสินใจใช้สารเคมี
 
14. เหตุใดจึงใช้ทุ่นขนาดสั้น (120 เมตร) เพื่อบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันก่อนใช้สารเคมีโปรยเท่านั้น – เหตุใดจึงไม่มีการใช้ทุ่น "ขนาดยาว" ล้อมคราบน้ำมันที่รั่วไหลเพื่อ "ดูดกลับ" (ดังตัวอย่างการซ้อมรับมือเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเลอลาสก้า ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีมาทำลายสิ่งแวดล้อม)
15. การกำจัดคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ควรใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายเมื่อไม่มีแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่าเท่านั้น – บริษัทควรชี้แจงเหตุผลและที่มาของการตัดสินใจลัดขั้นตอนโดยใช้สารเคมีตั้งแต่เริ่มต้น และใช้ในปริมาณที่มากถึง 32,000 ลิตร
 
ประเด็นสารเคมีที่ใช้ในการสลายคราบน้ำมัน
16. การขออนุญาตใช้สารเคมีจำนวน 25,000 ลิตร จากกรมควบคุมมลพิษ มีการคำนวณหรือประมาณการณ์อย่างไร
17. ปริมาณสารเคมีที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้คือ 5,000 ลิตร แต่ระบุว่าใช้ไปทั้งหมด 32,000 ลิตร – เหตุใดจึงมีการใช้โดยไม่มีการขออนุญาต
18. สารเคมีทั้งหมดที่ใช้มีกี่ชนิด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีปริมาณเท่าใด ได้มาจากแหล่งใดบ้าง – (แสดงหลักฐานการได้มา ทั้งใบเสร็จและใบยืม)
19. ขั้นตอนการใช้สารเคมีทั้งหมด อาทิ วันและช่วงเวลาที่โปรย สถานที่โปรย ลักษณะวิธีการโปรยเป็นอย่างไร
20. ต้องแสดงข้อมูลความเป็นพิษและความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ และผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
21. น้ำมันที่เก็บกวาดไปจากอ่าวพร้าว ซึ่งแจ้งว่าถูกนำไปจัดการที่มาบตาพุด ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะนำไปกำจัดที่ไหนและอย่างไรบ้าง
 
การเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงในรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม และมีความสำคัญยิ่งต่อการหาสาเหตุการปนเปื้อนที่แท้จริง การประเมินผลกระทบและความเสียหาย การฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในระยะยาว การเยียวยาความเสียหายที่ถูกต้องและเป็นธรรม รวมถึงมาตรการป้องกันการเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
 
 
ลงชื่อ
1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
3. กรีนพีซเอเชีตะวันออกเฉียงใต้ (Greenpeace Southeast Asia)
4. คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม
5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 
6. สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
7. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
8. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
9. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
10. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
11. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
12. เครือข่ายพลังงานยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์
13. มูลนิธิพัฒนาอีสาน
14. เครือข่ายผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี
15. สมาคมผู้บริโภคสงขลา 
16. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้
17. ศูนย์สร้างจิตสำนีกนิเวศวิทยา (สจน.)
18. สหพันธุองค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก
19. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
20. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
21. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
22. คณะกรรมการบริหารสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)
23. มูลนิธิอันดามัน
24. เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม (Civil Society Planning Network)
25. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 30 ก.ค. - 5 ส.ค. 2556

Posted: 05 Aug 2013 04:10 AM PDT

ตัวแทนแรงงานไม่เห็นด้วย รมว.แรงงาน นั่งควบ ปธ.บอร์ดประกันสังคม

30 ก.ค. 56 - คสรท. คัดค้าน รมว.แรงงาน เป็นประธานบอร์ดประกันสังคม ยืนยันต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานอื่นเพื่อคานอำนาจ พ้อนายกรัฐมนตรีไม่เห็นความสำคัญของแรงงานไทย ส่งรัฐมนตรีมาทำงานไม่ตรงจุด ย้ำ 2 เดือน ไม่เห็นผลงานเตรียมยกระดับการชุมนุม
  
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ จัดเวทีเสวนา "กฎหมายประกันสังคม กับอนาคตผู้ประกันตน?" ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยมีตัวแทนกลุ่มแรงงานจากหลากหลายพื้นที่ อาทิ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กลุ่มสหภาพแรงงานตะวันออก นักวิชาการ ร่วมงานเสวนาจำนวนมาก

นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. กล่าวถึงความคืบหน้าร่างกฎหมายประกันสังคม ที่ผ่านกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ว่าขณะนี้มีประเด็นที่ไม่เห็นด้วยอย่างมากคือ ประเด็นแก้องค์ประกอบกรรมการ-สิทธิประโยชน์ ด้วยการให้รัฐมนตรีแรงงานรับตำแหน่งประธานบริหารประกันสังคม จะถือเป็นการยึดอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ ง่ายต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ในเงินประกันสังคม หากประธานกรรมการเป็นรัฐมนตรีเกรงว่าอาจจะมีปัญหาในการบริหารได้ เพราะรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะตัดสินบริหารนโยบายได้เอง และอาจใช้อำนาจหน้าที่ในการแทรกแซงการบริหาร จึงต้องการให้เปลี่ยนประธานกรรมการ ต้องการให้เป็นการสรรหามากกว่า โดยมาจากกระทรวงอื่นๆ หรือผู้ทรงคุณวุฒิน่าจะดีกว่ารัฐมนตรีแรงงาน เพราะต้องการหาคนมาคานอำนาจการดูแลสิทธิของแรงงานที่จ่ายค่าประกันสังคมกว่า 10 ล้านคน

ขณะเดียวกันประชาชนผู้ใช้แรงงานควรจะต้องเข้ามามีบทบาทในคณะกรรมการ ประกันสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้เหมือนโดนจำกัดสิทธิอย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการเลือกตั้งตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างควรจะเป็นรูปแบบ 1 คนต่อ 1 เสียง ไม่ใช่จำกัดสิทธิ 1 สหภาพต่อ 1 เสียง

นายชาลีกล่าวถึง รมว.แรงงานคนใหม่ว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นผลงานที่ได้กล่าวออกตามสื่อต่างๆ อาทิ โรงงานสีขาว การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการอยู่แล้ว มองว่า รมว.แรงงาน ยังทำงานไม่ถูกจุด และยังไม่ทำงานในส่วนที่เดือดร้อนตามความต้องการจริงๆ ของแรงงาน เช่น ปัญหาโรงงานที่กำลังปิดตัวลงผู้ใช้แรงงานมีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้างอีกเป็น จำนวนมาก โดยที่ผ่านมาตนได้ทำหนังสือเพื่อขอเข้าพบและทราบถึงนโยบายการทำงานของ รัฐมนตรีคนใหม่ แต่เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมาได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากรัฐมนตรีติดประชุม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการตอบรับกลับมาว่าจะให้เข้าพบเมื่อไร ดังนั้น กลุ่มตัวแทนแรงงานจะขอดูผลงาน 2 เดือน หากยังไม่คืบหน้าก็จะรวมตัวเคลื่อนไหว

"รัฐมนตรีคนใหม่เหมือนถูกส่งลงมา ไม่ถูกจุด ตนคงจะไม่โทษในส่วนของ ร.ต.อ.เฉลิม ถ้าจะกล่าวโทษจะโทษนายกรัฐมนตรีที่ไม่เห็นความสำคัญของกระทรวงแรงงาน เหมือนดูถูกผู้ใช้แรงงานกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ตอนนี้มีกระทรวงแรงงานก็เหมือนไม่มีเปลี่ยนเป็นกรมดีกว่า" นายชาลี กล่าว

(สำนักข่าวไทย, 30-7-2556)

 

กลุ่มแรงงานออกแถลงการณ์ค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาล

30 ก.ค.-กลุ่มแรงงานออกแถลงการณ์ค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาล และ ส.ส.เรวัต อารีรอบ กับคณะ เพราะถือว่าเป็นกฎหมายที่มีสาระสำคัญหลายอย่างไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ ประกันตน

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวแถลงการณ์กำหนดมาตรการผลักดันเพื่อไม่ให้รัฐสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาล และ ส.ส.เรวัต อารีรอบ กับคณะ ออกมาบังคับใช้ เพราะถือว่าเป็นกฎหมายที่มีสาระสำคัญหลายอย่างไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ ประกันตน โดยกำหนดมาตรการเคลื่อนไหวดังนี้

1.จะยื่นหนังสือให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญด้านสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา เพื่อตรวจสอบที่สภาผู้แทนราษฎรไม่รับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับภาคประชาชน เข้าพิจารณาในสภา

2.จะยื่นหนังสือให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่รับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับภาคประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิทางการเมืองภาคพลเมืองของประชาชนตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ และ

3.จะนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับเข้าชื่อของภาคประชาชน ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง และหากระหว่างนี้มีการนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาล และ ส.ส.เรวัต อารีรอบ กับคณะ เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และเครือข่ายภาคประชาชน จะไปชุมนุมหน้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านไม่ให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านสภาผู้แทนราษฎร

(สำนักข่าวไทย, 30-7-2556)

 

บุรีรัมย์เตือนแรงงานถูกหลอกเชิดเงิน อ้างส่งไปทำงานญี่ปุ่น-อิสราเอล

จัดหางานบุรีรัมย์เตือนแรงงานระวังตกเป็นเหยื่อสายนายหน้าเถื่อน และแก๊งมิจฉาชีพ หลอกลวงเรียกรับเงินค่าหัวอ้างสามารถจัดส่งไปทำงานประเทศญี่ปุ่น และอิสราเอลที่กำลังเปิดรับสมัครได้ หากพบให้แจ้ง จนท.ตรวจจับดำเนินคดีตาม กม.ทันที

วันนี้ (30 ก.ค.) นายอนันต์ กลั่นขยัน จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ได้แจ้งเตือนแรงงานและผู้ที่สนใจจะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ ให้ระมัดระวังจะตกเป็นเหยื่อสายนายหน้าเถื่อน หรือกลุ่มแก๊งมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสในช่วงที่รัฐบาลไทย โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กับรัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลอิสราเอล ได้เปิดรับสมัครคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อจัดส่งไปฝึกงานด้านเทคนิค ในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 15 ก.ค.-6 ส.ค. 2556 และรับสมัครบุคคลเพื่อสุ่มคัดเลือกคนหางานไปทำงานภาคเกษตรที่ประเทศอิสราเอล ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2556 ที่จะถึงนี้

โดยกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวจะใช้ทั้งกลอุบาย เล่ห์เหลี่ยม หรือวิธีการต่างๆ เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อก่อนจะเรียกเงินค่าหัวในอัตราที่สูงตั้งแต่ รายละ 200,000-300,000 บาท โดยอ้างว่าจะสามารถจัดส่งหรือช่วยเหลือให้ผ่านการคัดเลือกไปทำงานที่ประเทศ ญี่ปุ่น และประเทศอิสราเอลที่กำลังเปิดรับสมัครได้ ซึ่งยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะโครงการดังกล่าวเป็นการจัดส่งระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศได้รับความเป็นธรรมด้านค่า ใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังป้องกันการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย

"หากแรงงานรายใดพบเห็นสายนายหน้าเถื่อน หรือผู้ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ถูกต้องให้แจ้ง เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวตาม กฎหมาย ซึ่งจากสถิติทุกปีที่ผ่านมามีแรงงานตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงไปขายแรงงานต่าง ประเทศหลายราย และสูญเงินไปรายละหลายแสนบาท" นายอนันต์กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 30-7-2556)

 

ก.แรงงาน ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานเก็บค่าใช้จ่ายเกิน 6 บริษัท

31 ก.ค.-ก.แรงงาน ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ 6 บริษัท โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เนื่องจากจัดเก็บค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนด

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศรายงานว่า กรมการจัดหางานแจ้งว่านายทะเบียนจัดหางานกลางได้พิจารณายกเลิกใบอนุญาตจัดหา งานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 6 บริษัท โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกอบด้วย บริษัทจัดหางาน พี.อาร์.รีครูทเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทจัดหางาน เอม อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส จำกัด, บริษัทจัดหางาน ดีไลท์ มาเนจเมนท์ จำกัด, บริษัทจัดหางาน สยาม แอดว๊านซ์ เซอร์วิชเซส จำกัด, บริษัทจัดหางาน นิวไทยชาญ เซอร์วิส จำกัด และบริษัทจัดหางาน เทวาสหพัฒน จำกัด รวมถึงสั่งพักใบอนุญาตบริษัทจัดหางาน ไทยโกลบอลเมริท จำกัด บริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เนื่องจากมีหลักฐานยืนยันว่าบริษัทได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากคนหางานเป็น จำนวนเงิน 45,000-71,500 บาทต่อคน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เกินกว่าอัตราที่กำหนด เป็นเวลา 120 วัน

นอกจากนี้ยังมีบริษัทจัดหางาน ซุปเปอร์จ๊อบ 1999 จำกัด สิ้นสภาพการเป็นบริษัทจัดหางานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 เพราะไม่ได้มีการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงาน ต่างประเทศตามกำหนด

ทั้งนี้ หากผู้ใดมีเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับบริษัทจัดหางานของทั้ง 6 บริษัทดังกล่าวสามารถแจ้งนายทะเบียนจัดหางานกลางให้ทราบภายใน 30 วัน เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และหากต้องการหางานสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง หรือโทร.สายด่วน 1694

(สำนักข่าวไทย, 31-7-2556)

 

"เฉลิม" รับช่วยขยายโครงการโรงงานปลอดเหล้า

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.  นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยนายจ้างและกลุ่มสหภาพแรงงานกว่า 30 คน จากจ.สมุทรสาคร จ.นครปฐม และจ.นนทบุรีร่วมกันยื่นหนังสือให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน เรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน ร่วมกันบังคับใช้กฎหมายห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบ การอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมขอให้กระทรวงแรงงานร่วมรณรงค์ให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานงดเหล้าเข้าพรรษาใน ช่วง 3 เดือน

นายจะเด็จ กล่าวว่า แอลกอฮอล์เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับการทำงาน โดยจากข้อมูลปี 2553  พบว่าแรงงานกว่าร้อยละ  39.2 เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1,000 บาท และแรงงานกว่าร้อยละ60 ยังสามารถหาซื้อเครื่องดื่มได้ตลอดเวลา ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายบังคับห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถาน ประกอบการจึงอยากให้กระทรวงแรงงานขยายผลโครงการโรงงานปลอดเหล้าที่ปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการในหลายจังหวัด เช่น สมุทรสาคร นนทบุรี  ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหายาเสพติดด้วย รวมทั้งรณรงค์ให้แรงงานงดเหล้าเข้าพรรษา นอกจากนี้อยากให้ร.ต.อ.เฉลิมเป็นต้นแบบของผู้ใช้แรงงานในการไม่ดื่มเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ยินดีที่จะเป็นต้นแบบให้แก่ผู้ใช้แรงงานในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานแล้ว หากเป็นสมัยก่อนคงทำได้ลำบาก ขณะเดียวกันจะให้กระทรวงแรงงานรณรงค์ให้สถานประกอบการปลอดจากการขายและดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ทั้งนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ประชาชนต้องประสบ อุบัติเหตุจนบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิตและเสียทรัพย์สิน ส่งผลให้รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลและดูแลเป็นจำนวนมากโดย เฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์.

(เดลินิวส์, 31-7-2556)

 

ขรก.ไทยรอบำนาญไร้แผนออม กบข.เผยปีเดียวใช้เงินก้อนหมด เตือนวางแผนลงทุนหลังเกษียณ

นางโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง บี-ซีเนียร์ ชีวิตดีๆ ยามเกษียณ ที่จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง จำกัด ว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเกษียณอายุน้อยมาก โดยเฉพาะข้าราชการที่หวังว่าจะเข้ามารับราชการและจะได้รับเงินบำนาญหลังจาก อายุ 60 ปี การรักษาพยาบาลหลังจากเกษียณอายุโดยหวังว่าจะมีความมั่นคง แต่แท้จริงแล้วอาจไม่มีความมั่นคงอย่างที่คิด โดยมีตัวอย่างในประเทศกลุ่มยุโรป ที่มีปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและรัฐบาลต้องตัดลดบำนาญไปมาก ทำให้เห็นถึงความไม่แน่นอน ซึ่งข้าราชการจะต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนการเกษียณอายุมากขึ้น

นางโสภาวดีกล่าวว่า จากการสำรวจของ กบข.พบว่า ข้าราชการวัยเกษียณ มักจะใช้บำนาญที่ได้รับเป็นเงินก้อนที่ได้รับหลังจากการเกษียณอายุหมดภายใน 1 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ข้าราชการเหล่านี้ไม่มีความพร้อมและวางแผนที่จะเกษียณอายุ ดังนั้น ผู้ที่รับราชการจะต้องวางแผนการเกษียณอายุ และมีการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีหลังเกษียณด้วย

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในส่วนพนักงานบริษัทเอกชนนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรับมือแรงงานภาคเอกชนที่จะเกษียณ ซึ่งมีความแตกต่างจากข้าราชการอย่างมาก ทั้งที่ภาคเอกชนเป็นผู้เสียภาษีสูงมากแต่กลับได้แค่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาทเท่านั้น แม้บริษัทเอกชนจะเริ่มมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออมให้พนักงาน แต่หลายบริษัทไม่มีการตั้งกองทุนดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญในส่วนนี้มากขึ้น

นายสันติกล่าวว่า ขณะที่พนักงานเอกชนเอง ควรมีการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ เช่น การลงทุนในตลาดทุน เพราะที่ผ่านมาตลาดทุนพิสูจน์แล้วว่า ให้ผลตอบแทนดีที่สุด รวมถึงกองทุนอย่างกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ซึ่งจะช่วยให้มีเงินเพียงพอในการดำรงชีพหลังเกษียณได้

(ประชาชาติธุรกิจ, 1-8-2556)

 

พนง.มหาวิทยาลัยจี้ สธ. ตั้งกองทุนรักษาพยาบาล

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ นำตัวแทนกว่า 20 คน เข้าพบ นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อหารือถึงแนวทางการตั้งกองทุนรักษาพยาบาลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย เนื่องจากต้องการให้ได้สวัสดิการเหมือนกองทุนค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัว หรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

รศ.วีรชัย เปิดเผยว่า เมื่อปี 2542 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบ ส่งผลให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเดิมมีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนต้องปรับเปลี่ยนสถานะตั้งแต่นั้น แต่ยังมีบางส่วนที่เป็นข้าราชการเดิมและถูกปรับสถานะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ก็ยังคงได้รับสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเดิม เพียงแต่กลุ่มที่เป็นนักเรียนทุน ซึ่งต้องบรรจุใหม่จะไม่ได้สิทธิรักษาแบบข้าราชการ แต่จะเป็นสิทธิรักษาตามกองทุนประกันสังคม ซึ่งยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก

"จากข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา (สกอ.) มีจำนวน 165,341 คน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 16 แห่ง 63,415 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ สกอ.14 แห่ง 59,848 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง 28,592 คน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง 13,486 คน ทั้งนี้ ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมี 65,992 คน คิดเป็นร้อยละ 39.91 ของบุคลากรทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่มีโรงเรียนแพทย์อยู่ในสังกัด มักไม่มีปัญหา เพราะใช้สิทธิรักษาได้ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยที่ไม่มีโรงเรียนแพทย์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้ง 40 แห่ง จะมีปัญหา เพราะไม่ได้สิทธิรักษาแบบข้าราชการ" รศ.วีรชัยกล่าว และว่า เบื้องต้นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมดขอมีกองทุนสิทธิรักษาพยาบาลเหมือนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือพนักงาน อปท. โดยมี สปสช.เป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งจากการหารือกับ สธ. และ สปสช. เบื้องต้นจะตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งกองทุนสำหรับ พนักงานมหาวิทยาลัย และในวันที่ 6 สิงหาคม จะขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการ สธ. เพื่อยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พนักงานมหาวิทยาลัยจะให้ สปสช.บริหารและจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาลขัดกับกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย หรือไม่ รศ.วีรชัยกล่าวว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้ปิดกั้น แต่ในส่วนของพนักงานมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะเข้าร่วมหรือไม่ต้องสอบถามอีกครั้ง

ด้าน นพ.วินัยกล่าวว่า ต้องมีการสอบถามพนักงานมหาวิทยาลัยทั่วประเทศว่า มีผู้สนใจเข้ากองทุนมีจำนวนเท่าใด และเงินที่จะมาใช้ในกองทุนจะมาจากแหล่งใด

(มติชนออนไลน์, 1-8-2556)

 

วอน สปส.เพิ่มสิทธิ-รัฐจ่ายสมทบ 5%

น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เปิดเผยว่า กลุ่มได้สำรวจความคิดเห็นของแรงงานเกี่ยวกับการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของ ระบบประกันสังคม 6 กรณี โดยมีกลุ่มตัวอย่างใน จ.สมุทรปราการ สระบุรี ชลบุรี และระยอง รวมทั้งหมด 2,100 คน ช่วงเดือน มิ.ย.-ธ.ค.2555 ซึ่งผลสำรวจสรุปว่า โดยภาพรวมผู้ประกันตนเสนอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อย ละ 2.75 เพิ่มเป็นร้อยละ 5 เท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง อยากให้สิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ เกิดขึ้นทันทีเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ตายนอกจากนี้ อยากให้เพิ่มสิทธิกลไกคุ้มครอง มีกลไกการให้ความรู้แก่ผู้ประกันตนที่ไม่ใช้การอบรมแบบเดิม รวมทั้งกรณีพิเศษ เช่น กรณีพิพาทหรือหยุดงานเพราะมีเหตุวิกฤตให้คงสิทธิประกันสังคมไว้ และมีการแจ้งสิทธิประโยชน์ เช่น การคำนวณเงินชราภาพ เงินสะสมหรือดอกเบี้ยที่ประกาศแต่ละปี อยากให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระและให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมในการดูแลกองทุนประกันสังค มมากกว่าเดิม
       
น.ส.ธนพร กล่าวอีกว่า หากแยกเป็นรายสิทธิประโยชน์ได้แก่ 1.กรณีการรักษาพยาบาลต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันกับระบบสุขภาพอื่นๆ และการทำฟันต้องไม่กำหนดเพดานและเงื่อนไขให้เป็นไปตามความจำเป็นและบัตร รับรองสิทธิใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับโรงพยาบาลคู่สัญญาของ สปส.ทุกแห่ง รวมทั้งเพิ่มเวลาการให้บริการที่สอดคล้องกับชีวิตแรงงาน ทั้งนี้ ถ้า สปส.สามารถดำเนินการได้ อยากให้เก็บเงินสมทบในส่วนของการรักษาพยาบาลแต่ให้นำไปใช้เงินสมทบในส่วนนี้ ไปสมทบและเพิ่มสิทธิอื่นๆ 2.กรณีคลอดบุตรนั้น สปส.ควรจ่ายตามความจำเป็นและคงเงินการคลอดบุตรไว้ที่ 1.3 หมื่นบาท 3.กรณีสงเคราะห์บุตรให้เพิ่มวงเงินเป็น 3 พันบาทต่อเดือนจากปัจจุบันเดือนละ 400 บาทต่อคน โดยให้คราวละไม่เกิน 2 คน และให้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ขยายอายุบุตรเป็น 12 ปี หรือ 16 ปี หรือ18 ปี ไม่จำกัดจำนวนบุตรที่รับสิทธิและสิทธิให้เกิดสิทธิตามจำนวนพ่อแม่โดยไม่ จำกัดแค่ให้พ่อหรือแม่เป็นผู้รับสิทธิ 4.กรณีตายขอให้เพิ่มเงินสงเคราะห์เป็น 1 แสนบาทยกเลิกเงื่อนไขส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 ปีถึงเกิดสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 5.กรณีว่างงานขอให้ไม่นำเรื่องความผิดจากการถูกสถานประกอบการลงโทษมาเป็น เงื่อนไขจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ เปิดช่องทางรายงานตัวแบบใหม่โดยไม่ต้องให้ผู้ประกันตนมาแสดงตัวที่สำนักงาน สปส.จังหวัดและเมื่อส่งเงินสมทบ 1 เดือนก็ให้เกิดสิทธ์และ6.กรณีชราภาพขอให้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ไม่มีเพดานการจ่ายเงินสมทบ เงื่อนไขการรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญเป็นสิทธิของผู้ประกันตน หากผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินชราภาพเสียชีวิตก็ให้ขยายผู้รับประโยชน์ หรือเขียนพินัยกรรมให้ใครก็ได้ รวมทั้งการคำนวณบำนาญให้ใช้เงินเดือนในเดือนสุดท้ายโดยไม่ต้องคำนวณจาก 60 เดือนสุดท้าย และแก้ไขสูตรคำนวณ นอกจากนี้ ในส่วนของแรงงานต่างด้าวเมื่อครบกำหนดทำงานในไทยครบ 4 ปีต้องกลับประเทศควรจ่ายให้เป็นเงินบำเหน็จ

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 1-8-2556)

 

ชี้แรงงานฝีมือ 3 จว.ใต้หายสิ้น

นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ประธานคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจ สภาที่ปรึกษาบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนในภาคใต้ยังมีกำลังซื้ออยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะอ่อนตัวลงมากก็ตาม การลงทุนกันเองของคนในพื้นที่ขยายตัวได้ดี แต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ไม่ได้เกิดขึ้น แต่ที่สวนทางคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย ที่ดิน ราคาค่อนข้างดี เพราะมีการซื้อสะสม

ขณะเดียวกันด้านแรงงานค่อนข้างขาดแคลน เพราะแรงงานฝีมือหันเข้าภาครัฐสมัครเป็น อส. ทหารพรานและตำรวจกันมาก โดยผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีได้หันไปเป็นลูกจ้างในโครงการของรัฐ เป็นบัณฑิตอาสาในโครงการต่างๆ ไม่ได้เกิดทักษะกับที่เรียนมาในสาขานั้น ส่วนวัยเข้าสู่แรงงานที่มีอยู่จำนวนมาก เมื่อไม่มีการลงทุนรายใหม่เกิดขึ้นมารองรับ จึงหันไปทำงานในประเทศมาเลเซียที่ได้อัตราค่าแรงที่สูงกว่า ซึ่งปัญหานี้จะต้องเร่งแก้ไข เพราะจะเกิดผลกระทบทางด้านนี้ในระยะยาวอีก 10-20 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน.

(โพสต์ทูเดย์, 1-8-2556)

 

นครปฐมเปิดคัดแรงงานภายใต้โครงการ "ความร่วมมือ ไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน ครั้งที่ 4"

นางศุภนา คุ้มวงศ์ดี จัดหางานจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อสุ่มคัดเลือกให้ไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอล ภายใต้โครงการ "ความร่วมมือ ไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน ครั้งที่ 4" โดยเปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 9 ส.ค. นี้ มีคุณสมบัติดังนี้ 1.สัญชาติไทย กรณีผู้สมัครเป็นผู้ชายต้องพ้นภาระการรับราชการทหาร 2.อายุระหว่าง 23-39 ปี ผู้สมัครที่โครงการได้รับลงทะเบียนและบันทึกไว้ในฐานข้อมูลแล้ว จะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนของโครงการจนอายุครบ 41 ปีบริบูรณ์ 3.ไม่มีประวัติอาชญากร ไม่เคยทำงานในประเทศอิสราเอล 4.คู่สมรส บุตร บิดา หรือมารดา ไม่พำนักอยู่ในประเทศอิสราเอล 5.สุขภาพแข็งแรง พร้อมทำงานภาคเกษตร ไม่ตาบอดสี และไม่เป็นโรคติดต่อ ได้แก่ วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี โรคเอดส์ กามโรค ซิฟิลิส และโรคเบาหวาน

นางศุภนากล่าวต่อว่า แรงงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวที่สนใจจะไปทำงาน ขอให้ส่งหลักฐานการสมัคร ได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน เขตดินแดง กรุงเทพฯ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครปฐม เลขที่ 898/7-9 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัครคัดเลือก หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือก รวมทั้งค่าตอบแทนที่จะได้รับจากการทำงาน สามารถดาวน์โหลดได้ทาง www.overseas. doe.go.th หรือสอบถามได้ที่ โทร.0-3425-0861-2 ต่อ 23

(ข่าวสด, 2-8-2556)

 

ชง ครม.เปิดทางลูกจ้างใช้บำเหน็จค้ำเงินกู้

รายงานข่าว จากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่าในการประชุมครม.วันที่ 6 ส.ค.ทางกระทรวงการคลังจะเสนอเรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะ รัฐมนตรีตรวจพิจารณาและดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ให้เหตุผลเสนอเรื่องร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ให้ครม.พิจารณาว่า เนื่องจากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552 กำหนดให้ลูกจ้างประจำขอรับบำเหน็จรายเดือน หรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนแล้วแต่กรณีได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อให้ผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือบำนาญพิเศษ รายเดือนดำรงชีพอยู่ได้โดยเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ

การดำเนินการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือลูกจ้างประจำ ผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือลูกจ้างประจำผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนได้เพียง บางส่วน เนื่องจากยังมีลูกจ้างประจำผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือลูกจ้างประจำผู้รับ บำเหน็จพิเศษรายเดือนจำนวนมาก ที่ได้รับบำเหน็จรายเดือนในอัตราต่ำ จึงมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ สมควรกำหนดให้ลูกจ้างประจำผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือลูกจ้างประจำ ผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน สามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการ เงินได้ ทั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อภาระงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. เป็นการเพิ่มเติมหมวด 3/3 การนำสิทธิในบำเหน็จตกทอด ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน ดังนี้ 1. กำหนดกรณีผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนสามารถนำ สิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด

2.กำหนดกรณีผู้รับบำเหน็จรายเดือน หรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน ที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินถึงแก่ความ ตายหรือผิดสัญญากู้เงิน จนต้องบังคับเอาสิทธิในบำเหน็จตกทอด ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินเท่ากับจำนวนที่ถูกบังคับ แต่ไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน ทั้งนี้ การจ่ายเงินให้สถาบันการเงินดังกล่าวให้กระทรวงการคลังจ่ายจากงบประมาณที่ ตั้งไว้สำหรับการเบิกจ่ายบำเหน็จตกทอด

3.กำหนดกรณีกระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินแก่สถาบันการเงิน เนื่องจากผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความ ตายหรือผิดสัญญาเงินกู้ ให้กระทรวงการคลัง หักจำนวนเงินนั้นออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่จ่ายให้สถาบันการ เงิน หากกระทรวงการคลังไม่สามารถหักเงินจำนวนดังกล่าวจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดได้ ให้กระทรวงการคลังเรียกเงินคืนจากผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จ พิเศษรายเดือนหรือจากกองมรดกของผู้นั้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด

4.กำหนดกรณีที่การกู้เงินตามสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง โดยไม่มีการบังคับเอาสิทธิในบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตายทายาทมี สิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเต็มตามจำนวนที่มีสิทธิ แต่หากผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย ก่อนหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง แล้วมีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอด ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่เหลือหลังจากที่กระทรวงการ คลังได้หักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอด แล้ว

(กรุงเทพธุรกิจ, 2-8-2556)

 

หามาตรฐานกลางดูแล 'ความปลอดภัยในการทำงาน'

อาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการบริหารกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างยั่งยืนว่า กรมจะดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน ภายใต้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ.2554 โดยไม่แยกว่า เป็นแรงงานประเภทไหน รวมถึงต่างด้าวด้วย โดยเฉพาะอีก 2 ปีข้างหน้า ที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีการค้าอาเซียน (เออีซี) กรมต้องเตรียมความพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงทางด้านแรงงานด้วย
              
"ประเทศไทยประชุมหารือร่วมกับประเทศในกลุ่มเออีซี เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องแรงงาน ซึ่งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา กรมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อหารือร่วมกันด้านแรงงาน ซึ่งมีการประชุมทุกปี และเชิญ 3 ประเทศที่มีความพร้อมทางด้านความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มาเป็นผู้สังเกตการณ์ ปีนี้ประเทศไทยรับผิดชอบด้านสื่อประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ไทยได้เสนอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนจัดกิจกรรมเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ เข้ากับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หรือ บาลานซ์สกอร์การ์ด ให้เป็นรูปธรรมด้วย"
              
การทำบาลานซ์สกอร์การ์ด คือ การหาข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน เช่น กำหนดตัวเลขอันตรายจากการทำงาน เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน หากมีการไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นผู้กำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในเรื่องการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน เช่น จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน การหยุดงานที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น จากนั้นจะนำไปหารือร่วมกันเพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจนอีกครั้ง
              
ทางด้านสวัสดิการของแรงงาน ณ ปัจจุบัน มีสถานประกอบการประมาณ 4 แสนกว่าแห่ง มีลูกจ้างคนไทยประมาณ 10 ล้านกว่าคน และแรงงานต่างด้าวประมาณ 2 ล้านคน มีเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานประมาณ 200 คนทั่วประเทศ แต่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน กรมได้ทำเรื่องขออัตรากำลังคนอีก 300 คน เสนอไปยังรัฐบาล อยู่ระหว่างการพิจารณา เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปในสถานที่ ประกอบการที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน ความไม่เข้าใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปอธิบาย ไปชี้แจงให้เข้าใจตรงกัน
              
สำหรับ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อธิบดีกรมส่งเสริมและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ยังต้องมีการพิจารณายกร่างอีกหลายฉบับหลายเรื่อง เช่น การทำงานก่อสร้าง การทำงานที่เสี่ยงอันตราย เพื่อให้ออกเป็นกฎหมายลูกที่สมบูรณ์ มีบทลงโทษสูงสุดสำหรับนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไม่ต่ำกว่า 4 แสนบาท มีการแบ่งนายจ้างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในการทำงาานมากที่สุด กลุ่มสถานประกอบการระดับกลาง ที่มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงานไม่มากนัก ต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้ด้านกฎหมายเพิ่มเติม และกลุ่มที่ทำความผิดด้านความปลอดภัยในการทำงานบ่อยครั้ง กลุ่มนี้ต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ตักเตือนอย่างเข้มงวด และให้ความรู้การบังคับใช้ข้อกฎหมายอย่างจริงจัง หรือเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น สถานประกอบการที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตราย เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
              
"การเร่งรัดการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มีการเข้มงวดในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ปีนี้มีการดำเนินการปรับนายจ้างที่ไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ.2554 ไปแล้ว จำนวน 240 ราย เป็นเงินค่าปรับประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงานเน้นย้ำอย่างมาก นายจ้างส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจทำผิดกฎหมาย แต่อาจจะมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเหล่านี้น้อยไป จึงต้องให้เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงานลงไปตรวจสอบ และให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่นายจ้าง"
              
อธิบดีอาทิตย์ ยกตัวอย่างมาตราสำคัญใน พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ให้ฟังว่า มาตรา 24 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 8 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน รวมทั้งชุดจำนวน 29 คน ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงมา เช่น ให้คำปรึกษาการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในที่สูง มีความเสี่ยงสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยในแต่ละจังหวัด และนำเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อหามาตรการดูแลความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน
              
ส่วน มาตรา 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน และแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคน ก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน มาตรานี้ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องใส่ใจลูกจ้าง ต้องเน้นถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานให้แก่ลูกจ้างสวมใส่ขณะทำงาน ขั้นตอนการทำงาน การย้ายสถานที่ทำงานของลูกจ้าง เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบจนกระจ่างทุกครั้ง เช่น ช่างซ่อมบำรุง ช่างก่อสร้าง ส่วนงานที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรอันตราย เป็นต้น
              
อีกมาตราที่มีความสำคัญ คือ มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน เป็นหลักสูตร 1-2 วัน แล้วแต่ความเหมาะสม
              
ทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
              
อธิบดีกรมส่งเสริมและคุ้มครองแรงงาน กรมตั้งเป้าการลดจำนวนอุบัติเหตุจากการทำงานว่า ตั้งเป้าไว้ที่จะลดลงปีละประมาณ 2% เพราะถือเป็นตัวชี้วัดในการทำงานของกรมตัวหนึ่ง นอกจากนี้ยังมี กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกองทุน ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ โครงการส่งเสริมความปอลดภัยของลูกจ้าง และโครงการสนับสนุนกิจกรรมของนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างกู้เงินไปปรับปรุงการทำงานให้ปลอดภัย โดยกองทุนนี้รัฐบาลมอบเงินให้ 80 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งมาจากกองทุนประกันสังคม และอีกส่วนหนึ่งมาจากค่าปรับสถานประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย
               
"ขอฝากถึงผู้ใช้แรงงานด้วยว่า หากพบว่าสถานประกอบการใดไม่มีความปลอดภัยในการทำงาน หรือเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย ให้แจ้งไปทำกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สายด่วนผู้ใช้แรงงาน 1546 ทางกรมจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงานทันที"

(คมชัดลึก, 4-8-2556)

 

ตั้งเป้าดึงผู้พิการเข้า รร. 1 ล้านคน คุยผู้ประกอบการรับแรงงานพิการเข้าทำงาน

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รมว.ศธ.ได้เรียกองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง มาหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการจัดการศึกษาพิเศษให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมอบการบ้านให้ทุกองค์กรหลักกลับไปหาแนวทางคือ 1.ทำอย่างไรถึงจะผลิตครูสายการศึกษาพิเศษให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง 2.ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอิสระ หรือการทำงานในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ 3.ทำอย่างไรให้ผู้พิการวัยเรียนทั่วประเทศที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านคน แต่เข้ารับการศึกษาแค่ 340,000 คน โดยเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ได้มีโอกาสได้เรียนมากขึ้น และ 4.ทำอย่าง ไรให้ผู้พิการที่ไม่ได้อยู่ในวัยเรียนได้รับการส่ง เสริมให้ประกอบอาชีพได้

เบื้องต้นในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เสนอในที่ประชุมว่าจะประสานกับสถานประกอบการรายใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 100 คน เพื่อส่งเสริมให้รับผู้พิการเข้าไปทำงาน ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่การบีบสถานประกอบการ เนื่องจาก กม.แรงงานกำหนดให้สถานประกอบการที่มีคนงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องมีสัดส่วนพนักงานที่เป็นผู้พิการ 100:1 หากไม่มีต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ส่วนผู้พิการที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเอง สอศ.จะส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ซึ่งรายละเอียดต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นแกนหลัก จะจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าอีกครั้งในวันที่ 19 ส.ค.นี้.

(ไทยโพสต์, 5-8-2555)

 

สภาอุตฯเผยใน 5 ปีต้องการแรงงานอีกเกือบ 7 แสน

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(กช.) ได้หารือร่วมกับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และคณะจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศ ซึ่ง ส.อ.ท.ได้ให้ข้อมูลความต้องการแรงงานใน 14 กลุ่มอุตสาหกรรม ช่วง 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2556-2560) ประกอบด้วยกลุ่มพลาสติก เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร กลุ่มชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องปรับอากาศ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มเครื่องจักรกลและโลหะการ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ กลุ่มเซรามิก และกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ว่า ในปีนี้มีจำนวนแรงงานใน 14 กลุ่มดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 3,399,922 คน แต่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นถึง 681,836 คน ในจำนวนนี้เป็นความต้องการของแรงงานที่จบไม่เกิน ม.6 จำนวน 395,772 คน หรือ ร้อยละ 11.64 รองลงมาคือ ระดับ ปวช./ปวส. 199,395 คน คิดเป็นร้อยละ 5.86 และระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 86,669 คน คิดเป็นร้อยละ 2.55

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า เมื่อแยกเป็นรายสาขา พบว่า ระดับอาชีวศึกษา สาขาที่เป็นความต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ช่างกลโรงงาน 50% ช่างเชื่อม 20% และสาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์ และแม่พิมพ์ สาขาละ 10%  ส่วนระดับอุดมศึกษา สาขาที่เป็นความต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ วิศวกรรม 70% การตลาด และคอมพิวเตอร์ 20% บัญชีการเงิน กฎหมายและธุรการทั่วไป 10% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจำเป็นที่ผู้ผลิตกำลังคนของภาครัฐ เช่น  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ต้องมาวางแผนทำงานร่วมกับภาคเอกชนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งควรทบทวนกฎระเบียบกติกาต่างๆ ให้ผ่อนคลายลง เพื่อเอื้ออำนวยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานใน 5 ปีข้างหน้าให้ได้มากที่สุด

"ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ด้านการจัดทำหลักสูตร การฝึกอบรมและพัฒนา จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ ให้มาร่วมกันกำหนดหลักสูตร คุณลักษณะ สมรรถนะหลัก และมาตรฐานฝีมือของแรงงานที่ต้องการในสาขาต่างๆ  รวมถึงสร้างเครือข่าย เพื่อให้บริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมทำงานด้วยกันมากขึ้น จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ Workshop เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยเน้นให้สังคมตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการเรียนสายอาชีพในอนาคต ที่จบแล้วมีงาน มีรายได้สูง โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครอง ซึ่งจะส่งผลต่อสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรง งานได้"นายจาตุรนต์กล่าว

(เดลินิวส์, 5-8-2556)

 

ม็อบลูกจ้างบุก สธ.ขอเพิ่มค่าจ้าง หลังถูกจ่อปรับเป็น พนง.แล้วเงินเดือนลด

วันนี้ (5 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.สมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย (สสลท.) ประมาณ 200 คน รวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดย นายโอสถ สุวรรณ์เศวต รองประธาน สสลท.กล่าวว่า สมาพันธ์ฯขอเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ปัญหาลูกจ้างชั่วคราว สธ.4 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างปัจจุบันและบวกค่าประสบการณ์ตามอายุ การทำงาน 2.ผู้ที่ทำงานมาก่อนจะมีระเบียบว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) บังคับใช้ต้องมีการคุ้มครองเฉพาะ เช่น กรณีพนักงานคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้จบมาตรงสายก็ต้องได้รับการคุ้มครอง 3.เพิ่มกรรมการบริหาร พกส.จาก 12 คน เป็น 15 คน และต้องมีฝ่ายลูกจ้างเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการด้วยจำนวน 7 คน โดยต้องเป็นคนที่ สสลท.เป็นผู้สรรหา และ 4.ลูกจ้างชั่วคราวทุกคนต้องได้ปรับเป็น พกส.ทั้งนี้ หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องก็จะไม่เลิกชุมนุมและจะมีคนเดินทางมาร่วมชุมนุม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังหารือร่วมกับตัวแทน สสลท.ว่า การหารือเป็นไปด้วยดีและและมีข้อสรุปร่วมกันว่า สธ.จะดำเนินการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในสังกัด สธ.ให้เป็น พกส.ควบคู่กับการขอรับการบรรจุเป็นข้าราชการ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนด ในการขอตำแหน่งข้าราชการเพิ่ม และจะพยายามบรรจุลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด 128 สายงาน ให้เป็น พกส.ให้เสร็จภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดยอมสลายการชุมนุม
      
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สธ.รับรู้มาโดยตลอด แต่เรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และถ้า สธ.จะทำทุกเรื่องทั้งที่บางเรื่องยังไม่ชัดเจนก็จะทำให้คนส่วนใหญ่เสียโอกาส เพราะฉะนั้นจึงมีการตกลงกันว่าจะมีการแก้ไขโดยค่อยๆ แก้ไขที่ละเรื่อง ซึ่งในการบรรจุเป็น พกส.ก็มีคณะกรรมการที่คอยดูแลอยู่แล้วนั้น แต่ในเมื่อมีการเรียกร้องว่าค่าตอบแทนลดลงกว่าเดิม ทาง สธ.ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นอีกชุด โดยจะให้มีตัวแทนของ พกส.เข้ามาร่วมในคณะกรรมการชุดนี้ ซี่งจะมาคอยดูแลในเรื่องของมาตรการเยียวยาโดยเฉพาะ เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน ก.ย.นี้ และให้สามารถเดินหน้าเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ใน 1 ต.ค.
      
"หากลูกจ้างชั่วคราวคนใดไม่มั่นใจที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ก็สามารถเลือกดำรงสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวไปก่อนได้ โดยได้รับสิทธิเดิม อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการเรียกร้องพร้อมกล่าวว่าผมรับปากเรื่องค่าตอบแทน อยากให้มองว่าการรับปากก็ต้องมีการกลับไปคิดทบทวนต่อด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต แต่ สธ.ก็เชื่อว่าถ้าได้รับผลกระทบก็จะต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขอยู่แล้ว" รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า สำหรับกรณีการขอเพิ่มค่าตอบแทน สธ.ต้องไปดูเรื่องระเบียบกระทรวงการคลังด้วย เนื่องจากหากผิดระเบียบของกระทรวงการคลังก็คงทำไม่ได้ แต่ก็ต้องหาวิธีเยียวยารูปแบบอื่น เช่น การให้ค่าครองชีพเฉพาะกาล แต่ตรงนี้ก็ต้องมีการมาหารือกันอีกครั้ง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 5-8-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตอบ “ลม เปลี่ยนทิศ”: รถไฟความเร็วสูงคืออนาคตของประเทศจริง

Posted: 05 Aug 2013 02:40 AM PDT

 
ไม่ทราบว่า เมื่อคุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" ฟังท่านรัฐมนตรีคมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เดินสายพูดถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" แอบหลับไปช่วงไหนบ้างหรือไม่? ทั้งตัวโครงการและรัฐมนตรีคมนาคมพูดชัดเจนว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หากโครงการนี้ผ่านรัฐสภา การรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อพัฒนารถไฟธรรมดา(Conventional Train) หรือที่เรียกกันติดปากว่า "รถไฟรางคู่" ทั้งประเทศ เพราะฉะนั้น ความสำคัญของรถไฟธรรมดานั้นไม่ได้ตกหล่นหดหายไปไหน หรือหากจะมองภาพรวมของโครงการนี้แล้ว รถไฟธรรมดาต่างหากที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
 
หรือหากจะพลิกไปดูไทยรัฐ หน้า 8 ฉบับเดียวกัน จะเห็นความคืบหน้าของโครงการรถไฟทางคู่("รฟท. เล็งเพิ่มความถี่การเดินรถ 15 นาทีต่อขบวน เดินหน้ารถไฟรางคู่เต็มสูบ")
 
คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" สับสนแน่นอนเมื่อเขียนบทความนี้ คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่ารถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นอนาคตหรือไม่ กลับจบบทความด้วยการบอกว่ารถไฟความเร็วสูงนั้นอาจจะไม่ "คุ้มทุน" คำถามว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นอนาคตจริงหรือไม่? กับรถไฟความเร็วสูงนั้น"คุ้มทุน" หรือไม่? เป็นคนละคำถามกัน
 
 
อนาคตของการส่งสินค้า
 
ข้อเสนอทางนโยบายของรัฐบาลนี้ที่จะใช้รถไฟความเร็วสูงขนของขนาดเบา (Light Cargo) นั้นวางอยู่บนการมองอนาคตว่า การให้บริการขนส่งของขนาดเล็กที่ต้องการความรวดเร็วนั้นจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมาก การขนส่งของขนาดดังกล่าวผ่านระบบไปรษณีย์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากไปรษณีย์ไทยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การส่ง EMS จาก 64 ล้านชิ้นในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 78 ล้านชิ้นในปี 2554 ซึ่งการเจริญเติบโตดังกล่าวเกิดขึ้นจากการขยายตัวของ E-Commerceด้วย ดังนั้น ศักยภาพของรถไฟความเร็วสูงที่ในฐานะส่วนสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนาดเล็กขนาดกลาง ไปจนถึง OTOPs ทั้งหลายจึงเห็นได้ชัดอย่างยิ่ง การขนส่งสินค้าประเภทดังกล่าวผ่านรถไฟความเร็วสูงจึงสามารถเข้าแทนที่การใช้รถบรรทุกซึ่งช้ากว่าและเครื่องบินซึ่ง
ราคาแพงกว่าได้
 
รถไฟความเร็วสูง ซึ่งวิ่งอยู่บนราง Standard Gauge ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในจีนและยุโรปนั้น ไม่ได้เชื่อมต่อแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ต้องชื่นชมคุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" ที่มีวิสัยทัศน์เห็นศักยภาพการเชื่อมต่อรางกับประเทศจีน บทความ "ไปดูรถไฟจีน" วันที่ 29 มิถุนายน 2552 คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" เขียนไว้อย่างถูกต้องว่า ถ้าประเทศไทยไม่
ลงทุนระบบรางเพื่อที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีน ประเทศไทยจะโดนโดดเดี่ยว"ไปเยือนจีนครั้งนี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ ได้ชักชวน บริษัทไชน่า เรลเวย์ เอ็นจิเนียร์ คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจเจ้าของกิจการรถไฟส่วนใหญ่ของจีน ให้มาลงทุนระบบรางในไทย เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟไทยกับภูมิภาค ซึ่งจีนได้ลงทุนสร้างทางรถไฟลงมาเชื่อมต่อกับเวียดนามและกัมพูชาไปแล้ว ก่อนที่ไทยจะกลายเป็นผู้โดดเดี่ยวแห่งภูมิภาค"
 
แน่นอนว่า การเชื่อมต่อดังกล่าวไม่สามารถใช้รางขนาด 1 เมตรของรถไฟธรรมดาปัจจุบันได้แต่ต้องใช้รางขนาด 1.435 เมตรหรือ Standard Gauge ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่มหาศาลนั้น จึงเป็นอนาคตในประเทศอย่างแน่นอน หากการขนส่งสินค้าขนาดเบาผ่าน E-Commerce ในประเทศไทยนั้นเป็นศักยภาพของผู้ประกอบการไทยแล้ว การขนส่งสินค้ากับ 3 มณฑลภาคใต้ของประเทศจีนนั้นยิ่งเป็นศักยภาพทางธุรกิจที่น่าสนใจขึ้นไปอีก McKinsey รายงานว่าธุรกิจ E-Commerce ในจีนนั้นโตขึ้นกว่า 100 เปอร์เซนต์โอกาสที่จะเชื่อมต่อการขนส่งทางรางเข้ากับตลาดขนาดใหญ่อย่างจีนนั้น น่าจะเป็นอนาคตของประเทศไทยที่คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" ต้องเห็นด้วยแน่ ๆ
 
ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันมีโครงการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างจีนและยุโรปด้วย เส้นทางสายไหมใหม่ (The New Silk Road) บริษัท Hewlett-Packard ใช้รถไฟขนส่งของจากแหล่งผลิตในจีนมายังยุโรปตะวันตก ในขณะที่สินค้าจากยุโรปไปจีนมักจะเป็นชิ้นส่วนรถยนต์, ไวน์ และสินค้าหรูหราอื่น ๆ จะเห็นว่า การเชื่อมต่อรางผ่าน Eurasian Land Bridge นั้น อาจจะไม่ใช่การฝันเฟื่องจนเกินไปนัก และจากที่คณะทำงานของประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีไทยได้พบปะพูดคุยกับที่ปรึกษาของประธานาธิบดีจีนและรัสเซียนั้น ประเทศทั้งสองต่างเห็นศักยภาพของการเชื่อมต่อสิงคโปร์-กรุงเทพ-ปักกิ่ง-มอสโคว์-ปารีส ตรงกัน
 
 
อนาคตของการขนส่งคน
 
เป็นที่น่าประหลาดใจนักที่คุณ "ลม เปลี่ยนทิศ" ในบทความในปี 2552 เห็นความก้าวหน้าในการเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ของรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนแล้ว ใน พ.ศ. นี้กลับไม่เห็นอนาคตของประเทศไทยในการเชื่อมต่อชุมชนเมืองใหญ่ในประเทศไทย ในปี 2012 สถานีรถไฟซึ่งบริษัท Japan Rail East (JR East) เป็นเจ้าของนั้นมี "คนธรรมดา" ใช้งาน 4 แสนกว่าคนต่อวัน เช่นเดียวกัน ในปัจจุบัน การเชื่อมต่อเมืองใหญ่ในประเทศไทยนั้นวางอยู่บนการใช้ถนนและเครื่องบิน Low Cost เป็นส่วนใหญ่ "คนธรรมดา" จำนวนมากจึงต้องไปแออัดกันอยู่ในรถและสนามบิน
 
หากคุณ "ลม เปลี่ยนทิศ"ยังมีจินตภาพ "คนธรรมดา" ของไทยว่ายังคงเป็นไพร่ฟ้าหน้าใสใช้ชีวิตกันอย่างพอเพียง ทางเราวิงวอนให้หันมาดูสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจว่า "คนธรรมดา" ในปัจจุบันนั้นมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นขนาดไหน
และมีศักยภาพที่จะใช้รถไฟความเร็วสูงในชีวิตประจำวันหรือไม่? (HINT: ลองไล่ดูการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ดูย้อนหลัง 10 ปีขึ้นมา)
 
อนาคตของ "คนธรรมดา" ในไทยที่จะเดินทางหรือส่งของ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-อุดรฯ ได้ภายใน 3 ชั่วโมงครึ่ง กรุงเทพ-หาดใหญ่ภายใน 4 ชั่วโมงนั้น น่าจะเป็นอนาคตของประเทศด้วยศักยภาพที่จะเดินทางจากจังหวัดรอบข้างเพื่อเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ภายในหนึ่งชั่วโมงโดยแทนที่จะรถติดอยู่ในเมืองด้วยระยะเวลาเดียวกันนั้น น่าจะสามารถสร้างอนาคตใหม่ให้กับ "คนธรรมดา" จำนวนมหาศาล จะน่าเสียดายยิ่งถ้าอนาคตเหล่านี้จะถูกปฏิเสธไปในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 10 สายนั้นไม่มีใครตั้งคำถามอย่างจริงจังด้วยตรรกะเดียวกันว่า "คนธรรมดา" จะได้ใช้
หรือไม่? จะ "คุ้มทุน" หรือไม่?
 
ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงในฐานะอนาคตของประเทศไทยจึงไม่ใช่แค่อนาคตของคนซื้อตั๋ว แต่อนาคตของเมืองและชุมชนต่าง ๆ ที่รถไฟความเร็วสูงตัดผ่านจะมีโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในแง่การท่องเที่ยว, การพัฒนาพื้นที่, ไปจนถึงธุรกิจท้องถิ่นที่อาจได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อของคนและสิ่งของ รถไฟความเร็วสูงคืออนาคตของประเทศไทยจริง
 
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพ: โค่นระบอบทักษิณ 2556

Posted: 05 Aug 2013 12:59 AM PDT

 



ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ยื่นข้อเสนอนายกฯ แก้ไขรธน.ม.68, ม.237

Posted: 05 Aug 2013 12:51 AM PDT

คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ทำข้อเสนอหลังศึกษาร่างฯ-ฟังความคิดเห็นประชาชน ชงยกเลิกม.237 ยุบพรรคการเมือง-แก้ไขยื่นเรื่องอสส.ศาลรธน.

5 สิงหาคม 2556 - นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคปก. เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี  ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ หลังจากคปก.ได้พิจารณาศึกษาร่างฯ ทั้งจากข้อมูลทางวิชาการและการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน
 
คปก.มีความเห็นว่า ในกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการอันเชื่อว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้ผู้ที่ทราบการกระทำต้องเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำนั้นย่อมมีสิทธิเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยตรงได้    อย่างไรก็ตามคปก.มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรกำหนดระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ โดยขอเสนอให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณาและยื่นคำร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง
 
ทั้งนี้ คปก. เห็นชอบกับหลักการที่ให้ยกเลิกวรรคท้ายของมาตรา 68 ที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบ เนื่องจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 วรรคห้า และพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98  อีกทั้ง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอาจกระทบต่อคดีอาญา เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่น ตามมาตรา 216 วรรคห้าของรัฐธรรมนูญ
 
ขณะเดียวกันคปก.เห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 237 เนื่องจากบทบัญญัติมุ่งลงโทษพรรคการเมืองด้วยเหตุจากการกระทำผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพรรคการเมืองเท่านั้นการยุบพรรคการเมืองทั้งพรรค มีผลทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น และประชาชน    ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นจากสถานภาพของพรรคการเมืองนั้นไปด้วย เป็นการลงโทษคนกลุ่มใหญ่ซึ่งไม่ได้ร่วมรู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมและไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง
 
อีกทั้ง บทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้กำหนดไว้แล้วในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบัญญัติดังกล่าวไว้อีก  คปก. ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 237 โดยแก้ไขร่างมาตรา4 จาก "ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็น "ให้ยกเลิกมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียกร้อง กสทช.แก้กฎระเบียบที่สร้างปัญหาก่อนลามถึงดิจิตอลทีวี

Posted: 04 Aug 2013 09:53 PM PDT

ประชาชนและผู้ประกอบการจะประสบปัญหาในยุคทีวีดิจิตอลที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้นี้ หาก กสทช.ไม่ยกเลิกหรือแก้ไขประกาศ 2 ฉบับ คือ must carry และ must have  

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)  กล่าวว่า  ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรปีที่ผ่านมา  ซึ่งบริษัทแกรมมี่ได้รับลิขสิทธิ์ แล้วนำรายการส่วนหนึ่งมาถ่ายทอดทางฟรีทีวี แต่ไม่อนุญาตให้เคเบิ้ลทีวีนำไปถ่ายทอดต่อ จนทำให้เกิดปัญหา "จอดำ" นั้น   กสทช.ได้แก้ปัญหาซึ่งยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้นด้วยการออกกฎ  2 ข้อ คือ กฎที่เรียกกันผิดๆ ว่า must carry ซึ่งกำหนดให้ฟรีทีวีต้องเปิดรายการของตนให้ทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีเอาไปถ่ายทอดต่อ และกฎ must have ที่กำหนดให้กีฬาสำคัญๆ ที่กำหนดไว้ต้องถ่ายทอดผ่านเฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น
 
 
กฎ must carry ในต่างประเทศจะกำหนดให้ผู้ให้บริการเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมรายใหญ่ ต้องรับสัญญาณจากช่องฟรีทีวีที่กำหนดไปถ่ายทอดต่อ แต่กฎที่เรียกว่า must carry ของไทยกลับกำหนดฝ่ายเดียวให้ฟรีทีวีจะต้องยิงสัญญาณไปไว้ที่ทีวีดาวเทียม     แต่ไม่ได้บังคับให้เคเบิ้ลทีวีต้องรับสัญญาณของรายการของทีวีธุรกิจไปถ่ายทอดต่อ   กฎ must carry แบบไทยๆ จึงทำให้เกิดปัญหามากมายคือ  นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาจอดับ-จอดำได้  เพราะขัดกับกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว  ยังทำให้ฟรีทีวีมีต้นทุนสูง โดยในหลายกรณีก็เป็นการลงทุนที่ต้นทุนสูญเปล่า เพราะไม่ได้กำหนดให้เคเบิ้ลทีวีจะต้องนำสัญญาณไปถ่ายทอดต่อ     ปัญหาความสูญเปล่าดังกล่าวจะเกิดขึ้นมากในอนาคตอันใกล้เมื่อเกิดทีวีดิจิตอลธุรกิจจำนวนถึง 24 ช่อง   ในขณะที่ ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากกฎดังกล่าวคือผู้ให้บริการดาวเทียมของไทย ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่เพียงรายเดียว  
 
ส่วนกฎ  must have ที่กำหนดให้รายการกีฬาสำคัญ ๆ จะต้องถ่ายทอดทางฟรีทีวีเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดปัญหาเช่นกัน  เพราะกีฬาต่างๆ ทั้งซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิก มีรายการกีฬาที่แข่งขันกันจำนวนมาก จนฟรีทีวีไม่สามารถถ่ายทอดได้หมด     การจำกัดให้ถ่ายทอดกีฬาดังกล่าวเฉพาะฟรีทีวีจะทำให้ประชาชนไม่ได้ดูกีฬาเหล่านั้น จากเดิมเคยสามารถดูได้ทางเคเบิ้ลทีวีหรือทีวีดาวเทียม    นอกจากนี้ กฎดังกล่าวยังจะทำให้ทีวีช่องใหม่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น กรณีบริษัทอาร์เอสซึ่งได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก และเดิมต้องการที่จะถ่ายทอดทางทีวีดาวเทียมของตน แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะขัดกับกฎของกสทช.ดังกล่าว จนอาร์เอสก็ต้องล้มเลิกแผนการเดิมของตนและมีปัญหาฟ้องร้องกับ กสทช.อยู่ขณะนี้
 
เท่าที่ศึกษาดูพบว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีกฎระเบียบการถ่ายทอดรายการทีวีที่แปลกพิสดารเหมือนกับประเทศไทย   เนื่องจาก หากประเทศใดมีกฎบังคับให้ฟรีทีวีต้องเปิดสัญญาณให้เอารายการของตนไปถ่ายทอดต่อแล้ว ก็จะต้องมีกฎ must carry บังคับให้เคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมมีหน้าที่ต้องนำเอาสัญญาณดังกล่าวไปถ่ายทอดต่อ     นอกจากนี้ ไม่พบว่ามีประเทศใดในโลกที่บังคับให้ถ่ายทอดรายการกีฬาสำคัญ ๆ เฉพาะทางฟรีทีวีอย่างเดียวเท่านั้น   อย่างมากจะกำหนดว่า ถ้ามีการถ่ายทอดรายการกีฬาสำคัญทางเคเบิ้ลหรือทีวีดาวเทียมแล้ว จะต้องยอมให้ถ่ายทอดทางฟรีทีวีด้วย
 
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า กฎที่กสทช.ออกมาเป็นกฎที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้ทั้งประชาชนในฐานะผู้ชมและผู้ประกอบการเสียประโยชน์   ข้อเสนอก็คือ ควรยกเลิกประกาศ must carry และ must have ทั้งสองฉบับ   ทั้งนี้ ในระยะยาว ประกาศ must carry ไม่จำเป็นเพราะทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นจะถูก กสทช. กำหนดให้ต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่ไปกำหนดให้รายการของฟรีทีวีจะต้องไปออกเคเบิ้ลทีวีหรือทีวีดาวเทียมอีก  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเปลี่ยนผ่าน หากจะมีกฎ must carry ก็สมควรยกร่างให้ถูกต้อง เหมือนในต่างประเทศเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างที่เป็นอยู่
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิวาทะว่าด้วย “รัฐไทย” ในหมู่ปัญญาชนฝ่ายซ้ายหลัง “ป่าแตก”

Posted: 04 Aug 2013 05:49 PM PDT

ในวาระครบรอบ "วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม" นี้ คงเป็นการดียิ่งที่จะกล่าวถึงผลสะเทือนที่เกิดขึ้นจากการล่มสลายของ พคท. ในช่วงปี 2524 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลสะเทือนที่มีต่อความคิดเกี่ยวกับ "รัฐ" ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทย ซึ่งแสดงออกในลักษณะของการวิวาทะอย่างเปิดเผยระหว่างปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยที่มีชื่อเสียงแห่งยุคสมัย 2 คน นั่นคือ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ และ เกษียร เตชะพีระ ผ่านทางวารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทรงอิทธิพลมากในช่วงทศวรรษ 2520 ดังที่จะได้เห็นข้างหน้า สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการวิวาทะในหมู่ปัญญาชนฝ่าซ้ายเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงรูปโฉมของ "รัฐไทย" ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาได้หันเหไปสู่ "ทฤษฎีการเมือง" ชนิดใหม่ที่แตกต่างออกไปจากก่อนหน้านั้นแล้วด้วย ซึ่งในที่นี้ก็คือ ลัทธิมาร์กซคลาสสิค กับ ลัทธิมาร์กซตะวันตก นั่นเอง

กระนั้น วิวาทะว่าด้วย "รัฐไทย" ก็เป็นเพียง "กรณีเล็กๆ" กรณีหนึ่งท่ามกลางหลายหลากกรณีซึ่งเกิดขึ้นในช่วง "รอยต่อ" ของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาครั้งใหญ่ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยภายหลังการล่มสลายของ พคท. เท่านั้น และแน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงทางความคิดครั้งใหญ่นี้จะส่งผลสะเทือนต่อการให้ความหมายและแสดงออกต่อวันที่ "7 สิงหา" อย่างไพศาลด้วย

 

ความรุ่งโรจน์และเสื่อมสลายของกระแส "ลัทธิเหมาเจ๋อตุง" หลังกรณี 14 ตุลาคม 2516

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีภายหลังการระเบิดขึ้นของกรณี 14 ตุลาคม 2516 กระแสความคิด "ลัทธิเหมาเจ๋อตุง" ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[๒] ก็ได้เติบโตขึ้นและแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในหมู่นักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้าไทยอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จาก การให้ความสนใจอย่างมากต่อ "จีนคอมมิวนิสต์" ผ่านการจัด "นิทรรศการจีนแดง" ของ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในต้นปี 2517, การตีพิมพ์หนังสือในแนวสังคมนิยมออกจำหน่ายจำนวนมาก, การตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และวารสารในเชิงก้าวหน้าออกมาเป็นจำนวนมาก เช่น ประชาชาติ, ประชาธิปไตย, เสียงใหม่, The Nation,  อธิปัตย์, มหาราษฎร์, จตุรัส, เอเชียวิเคราะห์ข่าว, สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ปุถุชน และ อักษรศาสตร์พิจารณ์, การที่หนังสือแนวสังคมนิยมยังคงถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องและครอบครองส่วนใหญ่ของตลาดหนังสือในช่วงระหว่างปี 2518 – 2519, การที่แม้แต่สำนักพิมพ์ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้มีหัวก้าวหน้าก็ตีพิมพ์หนังสือซึ่งเสนอความรู้เกี่ยวกับจีนและแนวทางสังคมนิยม, การที่เอกสารภายในของ พคท. หลายชิ้นถูกนำมาตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเปิดเผย การที่มีการก่อตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมที่ถูกกฎหมายขึ้น 3 พรรค ได้แก่ พรรคแนวร่วมสังคมนิยม, พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย และพรรคพลังใหม่ ไปจนถึงการที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นมีหัวอนุรักษ์นิยมประกาศว่าจะใช้นโยบาย "สังคมนิยมอ่อนๆ"[๓]

ทว่าในช่วงไม่กี่ปีต่อมา กระแสความคิดสังคมนิยมของ พคท. ที่กำลังพุ่งขึ้นสู่กระแสสูงอย่างรวดเร็วก็เกิดวิกฤตการณ์และตกต่ำอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้นำนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายค้านไทยที่เคยยืนอยู่แถวหน้าสุดในแนวร่วมซึ่งนำโดย พคท. กลับกลายเป็นผู้ยืนอยู่แถวหน้าสุดในการวิพากษ์วิจารณ์ พคท. อย่างไม่ปราณี บุญส่ง ชเลธร ประกาศ "ลาก่อนแนวทางชนบทล้อมเมืองและยึดเมืองในที่สุด" ยุค ศรีอาริยะ เขียน บันทึกกบฏ ประกาศว่า "ผมออกมาเพื่อท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของพรรค" และเปิดฉาก "วิพากษ์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการปฏิวัติของ พคท." อย่างรุนแรง แต่ยืนหยัดพิทักษ์ความถูกต้องของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน เสกสรรค์ ประเสริฐกุล วิจารณ์ พคท. ว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตย" และประกาศว่า "ผมต้องการที่จะเลิกปฏิวัติ" ธีรยุทธ บุญมี ประกาศแยกทางกับ พคท. อย่าง "สุภาพบุรุษ" เกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ อนุช อาภาภิรม ชำนิ ศักดิเศรษฐ์, วิสา คัญทัพ พีรพล ตริยะเกษม ชัยวัฒน์ สุรวิชัย และสมาชิกพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยคนอื่นๆ ประกาศตัดความสัมพันธ์ทั้งปวงที่เคยมีกับขบวนการปฏิวัติ ปรีดี บุญซื่อ เสนอว่า ลัทธิมาร์กซ์อับจนแล้วและมิใช่อะไรอื่นนอกจาก ปีศาจวิทยาแห่งการเปลี่ยนแปลง ปี 2525 "กลุ่มเพื่อนไทยในยุโรป" ตีพิมพ์ วิกฤตการณ์ฝ่ายก้าวหน้าไทยในปัจจุบัน ขณะที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ และ เหวง โตจิราการ ประกาศว่า "ป่าแตก" แล้วในปี 2526 วิกฤตและความขัดแย้งภายในขบวนการฝ่ายซ้ายไทยดังกล่าวนี้ลงเอยด้วยการล่มสลายของ พคท. ในช่วงปี 2525[๔]

การล่มสลายของ พคท. และ "ลัทธิเหมาเจ๋อตุง" ได้เปิดพื้นที่ให้อุดมการณ์ทางการเมืองชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นความคิดทางการเมืองแบบพุทธศาสนา วัฒนธรรมชุมชน หรือแม้แต่ลัทธิมาร์กซ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ลัทธิเหมาเจ๋อตุง ได้ก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทสำคัญบนเวทีการเมืองแทนที่ ดังที่จะได้เห็นข้างหน้าว่า ในช่วงที่ พคท. กำลังตกต่ำนี้ ก็ได้มีนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายส่วนหนึ่งพยายามหันไปรื้อฟื้นเอา "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" (Classical Marxism)[๕] ซึ่งปรากฏอยู่ในสังคมไทยมาก่อน 14 ตุลาคม 2516 แล้วกลับมาใช้วิเคราะห์สังคมและการเมืองไทยอีกครั้ง โดยมองว่า "ลัทธิเหมาเจ๋อตุง" ไม่ใช่อันเดียวกันกับ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ซึ่งเป็นลัทธิมาร์กซ์ที่แท้จริงมากกว่า ขณะเดียวกัน ก็ได้มีปัญญาชนอีกส่วนหนึ่งหันไปหาหยิบฉวยคว้าเอา "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" (Western Marxism)[๖] จากต่างประเทศเข้ามาปรับใช้วิเคราะห์สังคมและการเมืองไทยโดยมองว่า "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" เก่าแคบจำกัดอยู่แต่เรื่องทางเศรษฐกิจเกินไปจนใช้การไม่ได้แล้ว ขณะที่ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องอุดมการณ์ วัฒนธรรม จิตสำนึก น่าจะมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์สังคมการเมืองไทยมากกว่า  

อย่างไรก็ตาม การปรากฏตัวขึ้นของกระแส "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" และ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ในช่วงหลัง "ป่าแตก" ในท้ายที่สุดก็ได้ก่อให้เกิดการวิวาทะครั้งสำคัญขึ้นระหว่าง 2 กระแสคิดนี้ ดังจะเห็นว่า ในช่วงปลายปี 2528 เมื่อ วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง อันโด่งดังได้ตีพิมพ์ฉบับเดือนตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529 ออกเผยแพร่ต่อแวดวงวิชาการและคนทั่วไป สิ่งที่ทำให้ วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับนี้เป็นที่สนใจของปัญญาชนไทยในเวลานั้น ก็คือ บทความที่เขียนขึ้นเพื่อเปิดฉากวิวาทะกันโดยตรงระหว่างปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยรุ่นใหม่ 2 คน คนแรกคือ ลิขิต อุดมภักดี ผู้เป็นเจ้าของบทความเรื่อง "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์" และ "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)" ส่วนคนหลังคือ อาคม ชนางกูร ผู้เป็นเจ้าของบทความเรื่อง "รัฐทุนนิยมระบบราชการไทย: บทเสนอว่าด้วยรัฐกับประชาสังคมในระบบทุนนิยมไทย" และ "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี" โดยที่วิวาทะของทั้งคู่นี้ถูกปิดท้ายด้วย "บันทึกการอภิปราย" เรื่อง วิวาทะว่าด้วย "รัฐไทย" ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายที่โด่งดังแห่งยุคอีกจำนวนหนึ่ง[๗] แต่ทว่าการวิวาทะในครั้งนี้ก็หาใช่อะไรอื่นไม่ หากแต่เป็นการวิวาทะกันครั้งสุดท้ายระหว่าง "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" และ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" นั่นเอง

เนื่องจากการวิวาทะครั้งนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ความคิดของขบวนการฝ่ายซ้ายไทยอย่างมาก ดังจะเห็นว่า ในปี 2545 เมื่อ นภาพร อติวานิชยพงศ์ เขียนบทความเรื่อง "ภารกิจทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง" ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือที่จัดพิมพ์ในวาระ 60 ปีของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เธอเสนอว่า การวิวาทะในครั้งนี้คือ "วิวาทะครั้งสุดท้าย" ของ "วิวาทะทฤษฎีมาร์กซิสต์และแนวคิดสังคมนิยม" เพราะหลังจากนี้ไปแล้ว ก็ "ไม่มีการวิวาทะทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้ลัทธิมาร์กซ์และสังคมไทยเกิดขึ้นอีก"[๘] ดังนั้น ในบทความชิ้นนี้ นอกจากผู้เขียนจะพยายามแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการวิวาทะว่าด้วย "รัฐ" ระหว่าง ลิขิต อุดมภักดี และ อาคม ชนางกูร นั้นคือการวิวาทะระหว่าง "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" และ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" แล้ว ยังจะแสดงให้เห็นว่า การวิวาทะในครั้งนี้ยังได้นำไปสู่ความพ่ายแพ้และอวสานของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ในสังคมไทยอีกด้วย

 

การวิพากษ์ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" โดยใช้ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" ของ เกษียร เตชะพีระ

ขณะเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้เข้าใจวิวาทะว่าด้วย "รัฐไทย" ระหว่าง ลิขิต อุดมภักดี และ อาคม ชนางกูร ได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้อนรอยกลับไปสู่เหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงของมันด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ กรณี "วิกฤตการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2526 โดยเริ่มต้นจากการที่ "นายทหารกลุ่ม 66/2523" ซึ่งนำโดยพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก พลตรีพิจิตร กุลละวาณิชย์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 และ พลโทชวลิต ยงใจยุทธ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการได้พยายามเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ประเด็น คือ ให้ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรีได้ ให้คงอำนาจของวุฒิสภาเอาไว้ และให้ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบเรียงเบอร์ โดยนายทหารกลุ่มนี้ได้ใช้สถานีวิทยุในเครือข่ายกองทัพบกออกอากาศโจมตีพรรคการเมือง และกลุ่มพลังที่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกหนังสือปกขาวแถลงท่าทีและจุดยืนของกองทัพบกในเรื่องนี้ รวมทั้งการแสดงท่าทีต่อสาธารณะของทหารฝ่ายคุมกำลังเพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา โดยอ้างคำสั่งนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 66/2523 เป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหว แต่พวกเขาก็ต้องประสบกับความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อการลงมติของสมาชิกรัฐสภาในวาระที่สามปรากฏผลออกมาว่ามีเสียงรับรองไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด อันมีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวต้องตกไป[๙]

ในเวลาไม่นาน หลังจากเกิดกรณี "วิกฤตการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ขึ้น เกษียร เตชะพีระ ก็ได้เขียนบทความขึ้นมาหนึ่งชิ้นชื่อ "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของลัทธิมาร์กซกับพัฒนาของรัฐชนชั้นนายทุนในรอบ 25 ปี" ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในหนังสือ คลื่นแห่งทศวรรษ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นเล่มเมื่อปี 2526[๑๐] โดยในบทความ เกษียร ได้เปิดฉากวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" อย่างรุนแรงว่า "ความเข้าใจเรื่องรัฐของลัทธิมาร์กซ์แบบทางการดั้งเดิม (orthodox marxism) ว่าคือเครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นของชนชั้นปกครอง ตำแหน่งในรัฐบาลต้องกุมด้วยสมาชิกของชนชั้นปกครองล้วนๆ หรือที่ว่ารัฐเป็นสิ่งสะท้อนเจตนารมณ์บริสุทธิ์ทางอัตวิสัยของชนชั้นปกครองนั้น ไม่อาจประยุกต์ใช้ได้กับการอธิบายรัฐโดยทั่วไปในยุคทุนนิยมและรัฐไทยในช่วง 25 ปีโดยเฉพาะอย่างน่าพึงพอใจอีกต่อไป" โดยทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังการวิพากษ์ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ของ เกษียร ดังกล่าว ก็คือ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ นิคอส ปูแลนท์ซัส (Nicos Poulantzas) ดังที่ เกษียร กล่าวว่า แม้ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ เลออน ทรอตสกี้ (Leon Trotsky) จะสามารถ "ประยุกต์ใช้ได้กับรัฐทุกรัฐ" ก็ตาม[๑๑] แต่ในโลกที่เป็นจริง ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ ปูลานซาส ที่ว่า "รัฐเป็นผลผลิต เป้าหมาย และตัวกำหนดความขัดแย้งทางชนชั้น" และรัฐ "มีอำนาจกำกับตัวเองโดยสัมพัทธ์" ใช้ได้มากกว่า[๑๒]

อย่างไรก็ตาม ในปี 2528 เมื่อ เกษียร เตชะพีระ ภายใต้นามปากกา "ประเสริฐ คงธรรม" นำเสนอบทความเรื่อง "ยุทธศาสตร์เชิงซ้อนในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบปัจจุบัน"[๑๓] แม้เขาจะยังคงวิพากษ์ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ที่มองว่า "รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองและถูกกำหนดจากฐานเศรษฐกิจ" อยู่ก็ตาม แต่ เกษียร ก็ได้กล่าวยอมรับอย่างเปิดเผยว่า ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ นิคอส ปูแลนท์ซัส (Nicos Poulantzas) ที่เขาเห็นดีเห็นงามด้วยในบทความเรื่อง "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของลัทธิมาร์กซกับพัฒนาของรัฐชนชั้นนายทุนในรอบ 25 ปี" นั้น ยังมี "ขีดจำกัด" อยู่บางประการ นั่นคือ "ยังตกอยู่ในความตึงเครียดของคำอธิบายรัฐเชิงอภิทฤษฎีที่แก้ไม่ตกอยู่" ซึ่ง เกษียร มองว่า การที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดทางทฤษฎีนี้ไปได้จะต้องนำเอามโนภาพ "ประชาสังคมกระฎุมพี" เข้ามาช่วยอธิบาย[๑๔] เกษียร เปิดเผยว่า เขาได้รับอิทธิพลมาจากความคิด "ประชาสังคม" ของ อันโตนิโอ กรัมชี่, หลุยส์ อัลธูแซร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด "ประชาสังคม" ของ "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์บางคน" ดังที่เขากล่าวว่า

 

มาร์กซิสต์หลังมาร์กซได้รับเอาความคิดเรื่องประชาสังคมไปใช้ในความหมายต่างๆ กันไปเพื่อประกอบการอธิบายรัฐกระฎุมพีสมัยใหม่ เช่น แกรมชี่ อธิบายว่าประชาสังคมหมายถึงสถาบันเอกชนนอกรัฐในโครงสร้างส่วนบน (ยังมีการตีความแย้งกันอยู่ว่า แกรมชี่รับเอาเศรษฐกิจไว้ในมโนภาพประชาสังคมของเขาหรือไม่) ส่วนอัลทุสแซร์อธิบายว่าประชาสังคมของมาร์กซหมายถึงเฉพาะภาคเศรษฐกิจล้วนๆ เท่านั้น (ส่วนโครงสร้างส่วนบนทั้งหมด อัลทุสแซร์จับไปรวมเข้ากับรัฐ) ล่าสุดได้มีนักสังคมวิทยามาร์กซิสต์บางคนพยายามขยายความประชาสังคมไปโดยพิสดารและเราจะขอถือเป็นฐานในการเอามโนภาพประชาสังคม มาประกอบการวิเคราะห์รัฐไทยในที่นี้[๑๕]

 

ดังที่จะได้เห็นต่อไปข้างหน้า "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์บางคน" ที่ เกษียร เตชะพีระ กล่าวถึงข้างต้นนี้ แท้จริงแล้วก็คือ จอห์น ยูร์รี่ (John Urry) "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์" ที่พัฒนามาจากทฤษฎี "ประชาสังคม" ทั้งของ คาร์ล มาร์กซ์ และ "นักลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" คนสำคัญอย่าง อันโตนิโอ กรัมชี่ และ หลุย อัลธูแซร์ นั่นเอง[๑๖] ในงานสัมมนาทางวิชาการที่จัดเมื่อกลางปี 2526 โดย "กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษียร เตชะพีระ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" หมายถึง "งานเขียนและความคิดของลัทธิมาร์กซ์ในภาคพื้นยุโรปตะวันตกรุ่นหลังการปฏิวัติรัสเซียลงมาจนถึงราวปลายทศวรรษ 1960 – ต้นทศวรรษ 1970 เมื่อกระแสการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างใหญ่โตของชนชั้นกรรมาชีพยุโรปตะวันตกพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ เช่น กรณีการลุกฮือของนักศึกษาฝรั่งเศสปี 1968 และการนัดหยุดงานทั่วไปของกรรมกรอิตาลี ปี 1969 (ทั้งนี้ยึดตามนิยามของ Perry Anderson ใน Consideration on Western Marxism) นักลัทธิมาร์กซ์คนสำคัญในกลุ่มนี้ก็ เช่น แกรมชี่, เดลลา วอลเป้, คอลเลติ แห่งอิตาลี, มาร์คุส, ฮอร์คไอเมอร์, อาดอร์โน แห่งสำนักแฟรงค์เฟิร์ต, อัลทุสแซร์, บาลิเบอร์ แห่งสำนักลัทธิมาร์กซ์แบบโครงสร้าง เป็นต้น"[๑๗] หากถือเอาตามคำอธิบายของ เกษียร ข้างต้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกินเลยไปนักที่จะถือว่า จอห์น ยูร์รี่ ก็คือ "นักลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" อีกคน

 

การตอบโต้ เกษียร เตชะพีระ และการยืนยันในความถูกต้องทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" โดย พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ หรือ "ลิขิต อุดมภักดี"

ในช่วงปลายทศวรรษ 2520 หลังจากที่ปล่อยให้ เกษียร เตชะพีระ ภายใต้นามปากกา "อาคม ชนางกูร" เปิดฉากวิพากษ์วิจารณ์ "ลัทธมาร์กซ์คลาสสิค" อย่างรุนแรงมาได้ระยะหนึ่ง ในที่สุด พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ภายใต้นามปากกา "ลิขิต อุดมภักดี" ก็เปิดฉากตอบโต้กลับทางทฤษฎี ด้วยการนำเสนอบทความ 2 ชิ้นพร้อมกันใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับเดือนตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529 นั่นคือ "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์" และ "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)"[๑๘] โดยในบทความ 2 ชิ้นนี้ พิชิต ได้ประกาศยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลต้นตำรับของ "ลัทธมาร์กซ์คลาสสิค" (Classical Marxism) อย่างเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา

 

ลัทธิสังคมนิยมนานาสำนักต่างๆ เสนอเหตุและผลมากมายในการสนับสนุนท่าทีดังกล่าวของตนต่อรัฐและต่อระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในทรัพย์สิน แต่ทว่า มีแต่มาร์กซ์และเองเกลส์ เท่านั้นที่ได้พัฒนา "จิตสำนึก" ขึ้นเป็น "ทฤษฎี", อรรถาธิบายการปฏิเสธและการสูญสลายของรัฐและระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิตบนพื้นฐานของปรัชญาที่คงเส้นคงวา และของการสรุปพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาของความขัดแย้งภายในสังคมปัจจุบันที่นำไปสู่การสูญสลายของรัฐและระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิตในที่สุด และเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ใหม่ของมนุษย์ที่บงการชะตากรรมของตนเองโดยเสรี นี่จึงทำให้ลัทธิสังคมนิยมของมาร์กซ์และเองเกลส์ เป็นทฤษฎีที่ยืนหยัดวิพากษ์รัฐและระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิตอย่างถึงที่สุดและอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ขณะที่ลัทธิสังคมนิยมอื่นๆ บ้างก็พ่ายแพ้ บ้างก็ยอมจำนนต่อรัฐและทุนนิยมไปแล้ว[๑๙]

 

นอกจากจะออกมาประกาศยืนยันในความถูกต้องของ "ลัทธิสังคมนิยมของมาร์กซ์และเองเกลส์" แล้ว พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ยังได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิสังคมนิยมของมาร์กซ์และเองเกลส์" ด้วย ดังจะเห็นว่า ในบทความเรื่อง "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)" นั้น เขาเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า ตามทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ คาร์ล มาร์กซ์ นั้น ในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว "รัฐ" เป็นผลผลิตโดยตรงของของชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น โดยทั่วไปแล้วรัฐคือเครื่องมือแห่งการปกครองของชนชั้น เป็นเครื่องหมายแห่งการแบ่งแยกและขัดแย้งต่อสู้กันเองระหว่างสมาชิกของสังคม ชนชั้นที่เหนือกว่าย่อมมีฐานะครอบงำในรัฐและใช้ประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากการปฏิบัติของรัฐในการรักษาปกป้องกรรมสิทธิ์ของตนในปัจจัยการผลิต และทำให้ผู้ใช้แรงงานยอมอยู่อย่างสงบภายในกรอบของความสัมพันธ์ทางการผลิตนั้นๆ ในสังคมทุนนิยมนั้น ด้านหนึ่ง รัฐสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาใหญ่โตซับซ้อนและแบ่งงานกันทำอย่างละเอียดได้ขยายบทบาทหน้าที่ของมันออกไปสู่ทุกซอกทุกมุมของสังคม, มีฐานของการผลิตซ้ำตัวมันเองอย่างกว้างขวาง ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ก็มีความไม่สม่ำเสมอของการพัฒนาทุนนิยมและภายในหมู่ชนชั้นนายทุนเอง มีการแข่งขันแก่งแย่งกันเองระหว่างปีกต่างๆ ของชนชั้นนายทุน ซึ่งทำให้สภาพการณ์ที่ "ปีกชนชั้นนายทุน" เข้ากุมรัฐเพื่อปีกของตนเองเกิดขึ้นได้ยากและสภาพการณ์เช่นนี้จะเป็นผลร้ายต่อชนชั้นนายทุนและรัฐโดยรวมในระยะยาว[๒๐]

ไม่เพียงแต่อธิบายสาระสำคัญของทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ คาร์ล มาร์กซ์ ดังข้างต้นเท่านั้น หากแต่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ยังได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังกล่าวมาวิเคราะห์ "รัฐไทย" และ "เนื้อแท้แห่งระบอบสภาไทย" ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีด้วย (ปี 2523 – 2528) โดยเขาได้ให้คำอธิบายว่า ในช่วงเวลานี้ ผู้ปกครองได้มีการสรุปบทเรียนและปรับขบวนกันใหม่และนำไปสู่การปรับปรุง "ระบอบอำนาจรัฐ" ในบางส่วน จนทำให้ "รัฐ" ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

 

1) กลไกรัฐเดิม ซึ่งเป็นกลไกแห่งการใช้กำลังรุนแรง อันประกอบด้วยสามขาหยั่ง คือ ระบบราชการ กองทัพกับตำรวจ และระบบศาลคุกตาราง สามขาหยั่งของรัฐเป็นเครื่องมือการใช้กำลังรุนแรงและการกดขี่ที่เปิดเผย แต่รัฐไทยมีลักษณะพิเศษเชิงประวัติศาสตร์ คือการมีธงนำเป็นสถาบันอนุรักษ์ที่มีความยืนยงเป็นอมตะ หน้าที่ในเงื่อนไขประวัติศาสตร์ อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์เป็นต้นมาก็คือ ปฏิบัติการเชิงอุดมการณ์แก่รัฐในรูปการที่นุ่มนวล และ ละเอียดอ่อน ละมุนละไมกอร์ปไปด้วย "ความกรุณาปรานีที่หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ" สามขาหยั่งใช้ "พระเดช", ส่วนสถาบันอนุรักษ์ใช้ "พระคุณ" การดุลกันอย่างเหมาะสมที่สุดระหว่างพระเดชกับพระคุณนี้แหละ คือ เคล็ดลับของความแข็งแกร่งที่แท้จริงในรัฐไทยปัจจุบัน 

2) กลไกรัฐสภา นี่เป็นไม้ประดับ เป็นเสื้อคลุมอันงดงาม (ที่สุดเท่าที่พอจะสวมได้ในขณะนี้) โดยเนื้อแท้แล้วมันก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบอำนาจรัฐ มันเป็นเกราะอ่อนนุ่มที่หุ้มห่อกลไกรัฐเดิมไว้, เป็นกันชนที่ลดความรุนแรงจากการปะทะและความขัดแย้ง มันเป็นเวทีที่แต่เดิมชนชั้นนายทุนขุนนางบรรจงสร้างขึ้นให้ชนชั้นนายทุนใหญ่ นายทุนน้อย ปัญญาชน ได้ขึ้นไปแสดงออกเพื่อระบายความเก็บกดทางจิตและภาพมายาว่าอำนาจได้มีการผ่านมือแล้วเป็นบางส่วนไปสู่ชนชั้นนายทุนใหญ่และชนชั้นอื่นๆ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว "อำนาจรัฐ" ยังคงอยู่ที่ชนชั้นนายทุนขุนนางที่นำโดยกลุ่มอนุรักษ์ "ธุรกิจที่แท้จริงยังคงตกลงกันใน 2 ส่วน" "ความขัดแย้งและการต่อสู้กันที่สำคัญในสภาและทำเนียบรัฐบาลยังคงไปตัดสินกันใน 2 ส่วน"

กล่าวสั้นๆ, ระบอบรัฐสภาปัจจุบันเป็นรูปการปกครองชนิดหนึ่งของชนชั้นนายทุนขุนนาง นั่นเอง, เป็นอาวุธในมือพวกเขาในการต่อกรกับชนชั้นอื่นๆ, เป็นการใช้อาวุธประชาธิปไตยนายทุนไปสู้กับนายทุนเอง[๒๑]

 

จากที่กล่าวมา อาจสรุปได้ว่า ในการเปิดฉากวิวาทะว่าด้วย "รัฐไทย" กับ เกษียร เตชะพีระ หรือ "อาคม ชนางกูร" ซึ่งมีจุดยืนแบบ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" ในช่วงปลายทศวรรษ 2520 นั้น พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ภายใต้นามปากกา "ลิขิต อุดมภักดี" ได้ใช้ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของของ คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) ซึ่งเป็นต้นตำรับของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ที่อธิบายว่า ในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว "รัฐเป็นผลผลิตโดยตรงของของชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น โดยทั่วไปแล้วรัฐคือเครื่องมือแห่งการปกครองของชนชั้น" เป็นทฤษฎีหลัก และนี่ก็คือ เหตุผลสำคัญที่ทำให้ลักษณะของ "รัฐไทย" ตามแนวการวิเคราะห์ พิชิต แตกต่างจาก เกษียร โดยเกือบจะสิ้นเชิง

 

เกษียร เตชะพีระ และการวิพากษ์ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" อีกครั้ง

ไม่นานหลังจากที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ออกมาตอบโต้เขาด้วยบทความ 2 ชิ้นข้างต้น เกษียร เตชะพีระ ก็ลุกขึ้นมาตอบโต้ พิชิต อีกครั้ง โดยการหยิบเอาบทความเรื่อง "ยุทธศาสตร์เชิงซ้อนในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบปัจจุบัน" มาปรับปรุงและนำมาตีพิมพ์ซ้ำใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับเดือนตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี"[๒๒] แต่ทว่าในครั้งนี้ เกษียร ได้กล่าวอย่างเปิดเผยว่า แท้จริงแล้ว "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์บางคน" ที่เขาพูดถึงนั้น คือ จอห์น ยูร์รี่ (John Urry) "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์" ที่พัฒนามาจากทฤษฎี "ประชาสังคม" ทั้งของ คาร์ล มาร์กซ์ และ นักลัทธิมาร์กซ์ตะวันตกอย่าง อันโตนิโอ กรัมชี่ และ หลุย อัลธูแซร์[๒๓]

นอกจากนี้ เกษียร เตชะพีระ ยังได้ยอมรับอย่างเปิดเผยด้วยว่า ทฤษฎีที่เขาใช้วิเคราะห์ "รัฐ" ในบทความเรื่อง "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี" นั้น ก็คือทฤษฎี "ประชาสังคมกระฎุมพี" ของ จอห์น ยูร์รี่ อีกเช่นกัน โดยเขาอธิบายว่า สาระสำคัญของทฤษฎี "ประชาสังคมกระฎุมพี" ก็คือ (1) การเกิดขึ้นของประชาสังคม – สังคมการเมือง ในกระบวนการแปลกแยกตัวเอง ออกจากกันของสังคมสมัยก่อน เป็นผลิตผลโดยตรงของการปฏิวัติกระฎุมพี, (2) "ประชาสังคม" ทำหน้าที่เป็น "สื่อประสาน" ระหว่าง "เศรษฐกิจ" กับ "รัฐ" ในสังคมทุนนิยม และ (3) ประชาสังคมประกอบด้วย (ก) ภาคการหมุนเวียน (ข) ภาคการผลิตซ้ำ และ (ค) ภาคการต่อสู้[๒๔] อย่างไรก็ตาม เกษียร เรียกทฤษฎีนี้ในอีกชื่อว่า "องค์รวมของทฤษฎีสังคมทุนนิยม" ซึ่งหมายถึงองค์รวมทางทฤษฎี "เศรษฐกิจ/ประชาสังคม/รัฐ" ส่วน "ประชาสังคม" ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วนนี้ (ก) ภาคหมุนเวียน เป็นตัว "เชื่อมโยงประชาสังคมกับเศรษฐกิจและเป็นส่วนหนึ่งของทั้งเศรษฐกิจและประชาสังคม", (ข) ภาคการผลิตซ้ำ หมายถึง "การผลิตซ้ำแรงงานในสังคมทุนนิยมขึ้นมาด้วยกลไกการอบรม ขัดเกลาทางสังคมนอกรัฐและเศรษฐกิจรัฐ ซึ่งได้แก่ สถาบันครอบครัว ศาสนา เชื้อชาติ การศึกษา การสันทนาการ ฯลฯ อันเป็นปริมณฑลทางอุดมการณ์และวัฒนธรรม ซึ่งประกอบตัวขึ้นเป็นองค์อัตวิสัยของแรงงาน ทำให้ 'สัญชาตญาณดิบ' ของทารกถูกขัดเกลาอบรมเติบใหญ่ขึ้นเป็นอัตตาบุคลากรสังคมผู้ทำหน้าที่อยู่ในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมด้านด้านต่างๆ ในตำแหน่งต่างๆ" และ (ค) ภาคการต่อสู้ "ซึ่งมีชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้นเป็นสาระสำคัญ แต่ไม่ใช่มีเพียงเท่านั้น ยังมีการต่อสู้ของกลุ่มทางสังคมที่รวมตัวบนพื้นฐานอื่นๆ อีก เช่น ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ฯลฯ และปฏิสัมพันธ์อันจะมีมากหรือน้อยระหว่างการต่อสู้ของกลุ่มทางสังคมเหล่านี้กับชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น"[๒๕]

ไม่เพียงเท่านั้น ในบทความชิ้นเดียวกันนี้ ก่อนที่ เกษียร เตชะพีระ จะใช้ทฤษฎี "ประชาสังคมกระฎุมพี" ของ จอห์น ยูร์รี่ มาวิเคราะห์อธิบาย "รัฐไทย" เขาก็ได้ใช้ทฤษฎีดังกล่าว มาวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ หรือ "ลิขิต อุดมภักดี" นำมาใช้ในการวิเคราะห์ "รัฐไทย" อย่างรุนแรงว่า พิชิต ยังคงหลงติดอยู่ใน "กรอบกระบวนทัศน์ลัทธิมาร์กซ์จารีตกลไก" ตามคำของ เกษียร

 

เมื่อได้อ่านบทวิจารณ์ทั้งบทของผู้วิจารณ์แล้ว ผู้เขียนยังพบว่า กล่าวในเชิงทฤษฎีรัฐ ผู้วิจารณ์ยังคงติดกรอบกระบวนทัศน์เศรษฐกิจกำหนด หรือจะเรียกว่าเศรษฐการปกาศิตนิยมอยู่ไม่หาย ตรรกบทในการคลี่คลายคำอธิบายเรื่องรัฐของผู้วิจารณ์ยังคงเป็นเศรษฐกิจ สะท้อนโดยตรงไปที่ชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น สะท้อนโดยตรงไปที่รัฐ เช่นเดิม การทำกับชนชั้นและรัฐ เสมือนหนึ่งว่าเป็นกระจกที่สะท้อนผลประโยชน์และแนวคิดทางเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นขั้นๆ (2 ขั้น) นั้น ยังเป็น และยังคงเป็นการมองข้ามละเลย บทบาทที่แทรกแซงและเป็นองค์ประกอบของอุดมการณ์และวัฒนธรรม, ลักษณะอิสระโดยสัมพัทธ์อันเกิดจากวัตถุภาวะอันมิอาจลดทอนได้ของรัฐ อันเป็นเชื้อมูลที่ผู้เขียนพยายามผนวกสังเคราะห์เข้ามาในการเสนอทฤษฎีรัฐ/ประชาสังคมโดยตรง ในบรรดาหลักการของวิภาษวิธีที่สำคัญๆ นั้น หาได้มีแต่เพียงการกำหนด ความขัดแย้ง และการปฏิเสธไม่ หากแต่ยังมี "การสื่อประสาน" ด้วย ข่าวสารที่ผู้เขียนพยายามจนแล้วจนรอดที่จะสื่อถึงผู้อ่านแต่ดูเหมือนว่าผู้วิจารณ์จะละเลยไปเสียก็คือ บทบาทอันเป็นสื่อประสานระหว่างเศรษฐกิจกับรัฐของอุดมการและวัฒนธรรมหนึ่ง และวัตถุภาวะอันมิอาจลดทอนได้ของรัฐอันเป็นฐานที่มาของลักษณะอิสระโดยสัมพัทธ์ของรัฐอีกหนึ่ง เส้นทางเดินจากการกำหนดของเศรษฐกิจมายังปริมณฑลรัฐในสังคมทุนนิยมนั้น มิใช่ทางตรงง่ายๆ ดังที่ลัทธิมาร์กซ์จารีตกลไกเข้าใจเด็ดขาด หากแต่ผ่านบทบาทการสื่อประสานของอุดมการและวัฒนธรรมที่กระทำต่อชนชั้นต่างๆ ของสังคม ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อมาถึงรัฐ รัฐก็มิใช่กระจกกลวงเปล่าที่คอยรับเติมเนื้อหาหรือสดับตรับฟังคำบัญชาจากชนชั้นและดุลกำลังทางชนชั้น หากแต่รัฐ ที่ในรัฐยังมีกลไกรัฐ ระบบราชการ ชนชั้นนำทางการเมือง องค์การจัดตั้งและวิสาหกิจจำนวนมากซึ่งเป็นสถาบันการปฏิบัติที่มีวัตถุภาวะโดยเฉพาะ มีแก่นสารเฉพาะของมันเองด้วย ใช่ทีเดียวรัฐแยกไม่ออกจากเศรษฐกิจและชนชั้น การวิเคราะห์เข้าใจรัฐทั้งในแง่อำนาจรัฐและกลไกรัฐจะแยกขาดจากพื้นฐานการผลิตของสังคมและตัวชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้นไม่ได้ แต่รัฐก็มีความเป็นองค์ภาวะต่างหาก มีชีวิตของมันต่างหาก ที่จะลดทอนลงมาอธิบายด้วยเศรษฐกิจและชนชั้นล้วนๆ เท่านั้น ไม่ได้เช่นเดียวกัน

การยืนกรานในเศรษฐการปกาศิตนิยมของผู้วิจารณ์สะท้อนให้เห็นว่าผลจากการอ่านบทความทั้งบทของผู้เขียนจากกรอบกระบวนทัศน์ลัทธิมาร์กซ์จารีตกลไกของผู้วิจารณ์ ได้คุมขังความรับรู้ของผู้วิจารณ์ไว้ จนไม่เข้าใจรัฐ ลักษณะอิสระโดยสัมพัทธ์ของรัฐ และประชาสังคม ที่ผู้เขียนพยายามสื่อถึงเลย...[๒๖]   

 

ส่วนรูปโฉมของการเมืองไทยในสมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ปี 2523 – 2528) ซึ่งเกิดจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎี "ประชาสังคมกระฎุมพี" ของ จอห์น ยูร์รี่ นั้น เกษียร เตชะพีระ อธิบายว่า รัฐไทยตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมามีบทบาทเอาการเอางานที่เป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่งในการแทรกแซงจัดสรรการผลิตทางเศรษฐกิจของสังคม ในกระบวนการนี้ รัฐไทยได้ให้กำเนิด "กลุ่มทุนขุนนาง" ขึ้นจริง แต่ "กลุ่มทุนขุนนาง" ดังกล่าวก็หาได้อยู่คู่กับรัฐไทยอย่างยั่งยืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชนิดแยกกันไม่ออกไม่ พวกเขาเข้ากุมอำนาจระยะหนึ่งแล้วก็จากไปเมื่อพ้นตำแหน่ง หากแต่ "กลไกรัฐ" ยังคงดำรงอยู่อย่างยั่งยืนโดยมีกลไกมโหฬารของมันทำงานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีผลประโยชน์เฉพาะของมันที่แยกอยู่ต่างหากจาก "กลุ่มทุนขุนนาง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การแยกตัวของ "ทุนขุนนาง" ออกจาก "กลไกรัฐ" โดยการเข้าแทรกแซงควบคุมของ "นายทุนใหญ่" มีลักษณะเป็นระบบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นั้น แท้จริงแล้วก็คือการที่ "กลไกรัฐ" และ "นายทุนขุนนาง" กลุ่มหนึ่งร่วมมือกันยุติ "ประชาธิปไตยของนายทุนใหญ่" ลงไปโดยที่ "นายทุนใหญ่" ก็เพิกเฉยไม่คัดค้าน เพราะขณะนั้น "เห็นภัยแดงที่อันตรายกว่า" นั่นเอง แต่ทว่าต่อมาตัวแทนทางการเมืองของ "นายทุนใหญ่" และ "กลไกรัฐทหาร" กลุ่มหนึ่งนั่นเองที่เป็นผู้กะเทาะล้วงเอา "รัฐบาลหอย" ของ "กลุ่มทุนขุนนางอนุรักษ์" ทิ้งไป ดังนั้น การเมืองไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523 – 2528) จึงเป็นภาพของการที่ "ชนชั้นปกครองของไทย" สัมพันธ์กันในลักษณะ "พลังสามเส้า ระหว่าง กลไกรัฐ ระบบราชการ นายทุนขุนนาง และนายทุนใหญ่"[๒๗]    

อย่างไรก็ตาม เกษียร เตชะพีระ ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า ท่ามกลางความสัมพันธ์ของ "ชนชั้นปกครองของไทย" ในลักษณะ "พลังสามเส้า" ดังกล่าว "ทุนขุนนางอนุรักษ์" เป็น "พันธมิตร" กับ "กลไกรัฐระบบราชการ" ซึ่งเขาอธิบายว่า "เป็นพันธมิตรของพลังการเมือง 2 กลุ่มที่แยกต่างหากจากกัน มีผลประโยชน์เฉพาะและจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ต่างกัน แต่รวมกันในการคะคานอำนาจนำของนายทุนใหญ่ เงื่อนไขของความเป็นพันธมิตร เป็นเงื่อนไขของทุนขุนนางอนุรักษ์ มากกว่าเงื่อนไขของระบบราชการ" ส่วนรูปธรรมของการเมืองไทยภายใต้ความสัมพันธ์ของ "ชนชั้นปกครองของไทย" ในลักษณะดังกล่าว ก็คือ

 

การแสดงออกอย่างรวมศูนย์ของดุลกำลัง 3 เส้านี้ก็คือ คณะรัฐมนตรีและตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องพึ่งพาความเห็นชอบจากกองทัพ พรรคการเมืองชนชั้นนายทุนใหญ่และสถาบันประเพณีหลัก การใช้อำนาจรัฐของพวกเขาในแง่การดำเนินนโยบายจึงลักลั่น และย่อหย่อน เพราะความไม่เด็ดขาดในทางอำนาจนำของกำลังการเมืองแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนายทุนใหญ่ นายทุนขุนนางอนุรักษ์ หรือกลไกรัฐระบบราชการ ในเมื่อชัยชนะทางการเมืองที่เด็ดขาดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ปรากฏขึ้น พวกเขาจึงเป็นกรรมการประนีประนอมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเมืองของทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ทำอะไรให้ชัดเจนเด็ดขาดลงไปเสียที จะพัฒนาประเทศเป็นอุตสาหกรรมใหม่แต่ก็ไม่กล้าปฏิรูประบบราชการอย่างเด็ดเดี่ยว จะแก้ปัญหาดุลการค้าด้วยการลดค่าเงินบาทแต่ก็ต้องออกมาตรการตามหลังเป็นข้อแม้เงื่อนไขมากมายที่สวนทางกับผลลัพธ์ที่คาดหมายของการลดค่าเงินบาทนั้นเอง บ่นไม่ขาดปากเรื่องขาดดุลการค้าและให้ช่วยซื้อสินค้าไทยแต่ก็ต้องให้หลักประกันอย่างมั่นคงกับกองทัพว่าจะเพิ่มงบประมาณการทหารพิเศษให้เพื่อซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ ประกาศจะขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชนแต่ก็คลุมเครือและลังเลจนไม่มีทีท่าว่าจะทำจริง ฯลฯ ทั้งหมดนี้ทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า ขาดเค้าโครงการระยะไกลในการพัฒนาประเทศ ห่วงแต่จะรักษาอำนาจในตำแหน่งไว้ให้นานที่สุด แน่นอนว่ารัฐบาลไม่มีทางทำอะไรมากไปกว่านี้ นอกจากประนีประนอมกับพลังการเมืองทั้ง 3 เส้า เพราะในเมื่อไม่มีพลังการเมืองกลุ่มใดชนะเด็ดขาด โอกาสที่จะอยู่ในอำนาจของพวกเขาจึงขึ้นอยู่กับการต่อรองและเอาใจพลังการเมืองทั้ง 3 ฝ่ายไปวันต่อวัน[๒๘]

 

จากวิวาทะว่าด้วย "รัฐไทย" ระหว่าง พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ และ เกษียร เตชะพีระ ถึง วิวาทะระหว่าง "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" และ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" ในปลายทศวรรษ 2520

มาถึงตรงนี้ คงสรุปได้แล้วว่า ทฤษฎีการเมืองที่อยู่เบื้องหลังบทความเรื่อง "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี" ที่ เกษียร เตชะพีระ เขียนขึ้นเพื่อวิวาทะกับบทความเรื่อง "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์" และ "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)" ของ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ หรือ "ลิขิต อุดมภักดี" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉบับเดือนตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529 นั้น แท้จริงแล้วก็คือ ทฤษฎี "ประชาสังคมกระฎุมพี" ของ จอห์น ยูร์รี่ (John Urry) "นักสังคมวิทยามาร์กซิสต์" ซึ่งพัฒนาความคิด "ประชาสังคม" ต่อจาก "นักลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" คนสำคัญอย่าง อันโตนิโอ กรัมชี่ และ หลุยส์ อัลธูแซร์ นั่นเอง ขณะเดียวกัน ทฤษฎีการเมืองที่อยู่เบื้องหลังบทความทั้ง 2 ชิ้นของ พิชิต ก็คือ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของ คาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งถือเป็นต้นตำรับของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" โดยแท้ ด้วยเหตุนี้ การวิวาทะว่าด้วยรัฐไทยระหว่าง พิชิต หรือ "ลิขิต อุดมภักดี" และ เกษียร หรือ "อาคม ชนางกูร" ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 2520 จึงไม่ได้มีความหมายแต่เพียงแค่การมองเห็น "รัฐไทย" แตกต่างกันของพวกเขา หรืออาจจะไม่ได้หมายความแต่เพียงว่ามุมมองต่อรัฐที่แตกต่างกันนี้เกิดขึ้นจากการที่ "รัฐไทย" ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจริงๆ เท่านั้น หากแต่การวิวาทะนี้ ยังสะท้อนเห็นถึง การตกต่ำลงของกระแส "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" และการก้าวขึ้นมามีอิทธิพลมากขึ้นของ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" ในหมู่ปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยด้วย ดังนั้น การวิวาทะครั้งนี้ก็มิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นการปะทะกันทางทฤษฎีระหว่าง "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" และ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" นั่นเอง

 

 

 




[๑] ตบทความชิ้นนี้ปรับปรุงมาจากบทความที่เคยตีพิมพ์ใน วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่เนื่องจากวารสารถูกพิมพ์ในจำนวนที่จำกัดและไม่ค่อยแพร่หลายออกนอกมหาวิทยาลัยมากนัก ดังนั้น ผู้เขียน จึงถือโอกาสปรับปรุงบทความชิ้นนี้มาเผยแพร่ในงานสัมมนาของ FOP ที่จัดขึ้นในวาระครบรอบ "วันเสียงปืนแตก" 7 สิงหาคม ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเรื่องทำนองนี้มากกว่า

[๒] ต่อไปนี้จะใช้คำว่า "พคท." แทน "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย"

[๓] ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และ คณะ, อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, 2544, หน้า 63 – 166.

[๔] ธิกานต์ ศรีนารา, หลัง 6 ตุลาฯ : ว่าด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างขบวนการนักศึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2552. 

[๕] อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะอธิบายว่า พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ใช้ทฤษฎีว่าด้วย "รัฐ" ของ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" (Classical Marxism) เป็นทฤษฎีหลักในการวิเคราะห์ "รัฐไทย" อย่างไรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นก่อนว่า "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ที่กล่าวถึงในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนถือเอาตามคำนิยามของ เกษียร เตชะพีระ ที่ให้ไว้เมื่อปี 2527 ว่า "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค หมายถึงนิพนธ์ของมาร์กซ์ เองเกลส์ และนักลัทธิมาร์กซ์ในยุคต่อมาในสากลที่สองและสามซึ่งได้รับการยอมรับทั่วไป" (ดูใน เกษียร เตชะพีระ. "วิกฤตอุดมการสังคมนิยมในหมู่นักศึกษาปัญญาชนไทย" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 3 เล่ม 3 มกราคม – มีนาคม, 2527, หน้า 79 – 80)

[๖] เช่นเดียวกันกับกรณี "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ก่อนที่จะอธิบายว่า เกษียร เตชะพีระ ใช้ "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" มาวิพากษ์ "ลัทธิมาร์กซ์คลาสสิค" ของ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อย่างไรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก" (Western Marxism) ที่กล่าวถึงในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนถือเอาตามคำนิยามของ เกษียร เตชะพีระ ที่เคยให้ไว้อย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี 2526 ที่ว่า "ลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก หมายถึงงานเขียนและความคิดของลัทธิมาร์กซ์ในภาคพื้นยุโรปตะวันตกรุ่นหลังการปฏิวัติรัสเซียลงมาจนถึงราวปลายทศวรรษ 1960 – ต้นทศวรรษ 1970 เมื่อกระแสการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างใหญ่โตของชนชั้นกรรมาชีพยุโรปตะวันตกพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ เช่น กรณีการลุกฮือของนักศึกษาฝรั่งเศสปี 1968 และการนัดหยุดงานทั่วไปของกรรมกรอิตาลี ปี 1969 (ทั้งนี้ยึดตามนิยามของ Perry Anderson ใน Consideration on Western Marxism) นักลัทธิมาร์กซ์คนสำคัญในกลุ่มนี้ก็ เช่น แกรมชี่, เดลลา วอลเป้, คอลเลติ แห่งอิตาลี, มาร์คุส, ฮอร์คไอเมอร์, อาดอร์โน แห่งสำนักแฟรงค์เฟิร์ต, อัลทุสแซร์, บาลิเบอร์ แห่งสำนักลัทธิมาร์กซ์แบบโครงสร้าง เป็นต้น (ดูใน เกษียร เตชะพีระ. "วิกฤตอุดมการสังคมนิยมในหมู่นักศึกษาปัญญาชนไทย"  ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 3 เล่ม 3 มกราคม – มีนาคม, 2527, หน้า 81)

[๗] วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529)

[๘] นภาพร อติวานิชยพงศ์, ประวัติศาสต์ความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2545, หน้า 165 – 166.

[๙] "จงยอมรับกติกาประชาธิปไตย" ใน สยามใหม่ ปีที่ 2 ฉบับที่ 71 (มีนาคม 2526) หน้า "บทนำ"

[๑๐] พรรคแสงธรรม อมธ. "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของลัทธิมาร์กซกับพัฒนาของรัฐชนชั้นนายทุนในรอบ 25 ปี" ใน บัณฑิตย์ ธรรมตรีรัตน์ (บรรณาธิการ). คลื่นแห่งทศวรรษ: รวมทัศนะ ความคำนึง และจินตนาการของนักวิชาการ นักการเมืองและนักเขียนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอดิสันเพรส โพดักส์, 2526, หน้า 363 – 371. ต่อมาในปลายปี 2528 บทความชิ้นนี้ก็ได้ถูกนำมาพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองในหนังสือชื่อ วิพากษ์ทรรัฐ ที่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ร่วมกันทำขึ้นในเดือนตุลาคม 2528

[๑๑] พรรคแสงธรรม อมธ. "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของลัทธิมาร์กซกับพัฒนาของรัฐชนชั้นนายทุนในรอบ 25 ปี" ใน บัณฑิตย์ ธรรมตรีรัตน์ (บรรณาธิการ). คลื่นแห่งทศวรรษ: รวมทัศนะ ความคำนึง และจินตนาการของนักวิชาการ นักการเมืองและนักเขียนร่วมสมัย, หน้า 364.

[๑๒] พรรคแสงธรรม อมธ., "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของลัทธิมาร์กซกับพัฒนาของรัฐชนชั้นนายทุนในรอบ 25 ปี", หน้า 18.

[๑๓] ประเสริฐ คงธรรม (เกษียร เตชะพีระ). "ยุทธศาสตร์เชิงซ้อนในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบปัจจุบัน" ใน ปรีชา ธรรมวินทร (บรรณาธิการ). วิพากษ์ทรรัฐ. กรุงเทพฯ: สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.), 2528, หน้า 29 – 30.

[๑๔] ประเสริฐ คงธรรม, "ยุทธศาสตร์เชิงซ้อนในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบปัจจุบัน", หน้า 29 – 31.

[๑๕] ประเสริฐ คงธรรม, "ยุทธศาสตร์เชิงซ้อนในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบปัจจุบัน", หน้า 34.

[๑๖] ดูคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎี "ประชาสังคม" ทั้งของ เฮเกล และ มาร์กซ์ ได้ใน อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐทุนนิยมระบบราชการไทย: บทเสนอว่าด้วยรัฐกับประชาสังคมในระบบทุนนิยมไทย", หน้า 23 – 24.

[๑๗] เกษียร เตชะพีระ. "วิกฤตอุดมการสังคมนิยมในหมู่นักศึกษาปัญญาชนไทย"  ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 3 เล่ม 3 (มกราคม – มีนาคม, 2527) หน้า 81.

[๑๘] ลิขิต อุดมภักดี. "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529) หน้า 1 – 18. และ "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)", หน้า 32 – 44.

[๑๙] ลิขิต อุดมภักดี. "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529) หน้า 32 – 33.

[๒๐] ลิขิต อุดมภักดี. "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529) หน้า 32 – 34.

[๒๑] ลิขิต อุดมภักดี. "รัฐ: สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์ (อีกครั้ง)", หน้า 39 – 40.

[๒๒] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529), หน้า 49.

[๒๓] ดูคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎี "ประชาสังคม" ทั้งของ เฮเกล และ มาร์กซ์ ได้ใน อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐทุนนิยมระบบราชการไทย: บทเสนอว่าด้วยรัฐกับประชาสังคมในระบบทุนนิยมไทย", หน้า 23 – 24.

[๒๔] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐทุนนิยมระบบราชการไทย: บทเสนอว่าด้วยรัฐกับประชาสังคมในระบบทุนนิยมไทย", หน้า 25.

[๒๕] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 – 2 (ตุลาคม 2528 – มีนาคม 2529), หน้า 49.

[๒๖] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี", หน้า 47.

[๒๗] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี", หน้า 60.

[๒๘] อาคม ชนางกูร (เกษียร เตชะพีระ). "รัฐกับประชาสังคมไม่ใช่สิ่งปฏิกูลทางทฤษฎี", หน้า 61 – 62.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น