ประชาไท | Prachatai3.info |
- ความยากยิ่งในการพยากรณ์การเมืองอียิปต์
- ประมงท่าศาลาจี้ ‘เชฟรอน’ ถอน EHIA ด้านบริษัทฯ ยันซ้ำล้มโครงการ ‘ชอร์เบส’ แล้ว!
- ว.วชิรเมธี กับข้อเสนอ “องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา”
- ว.วชิรเมธี กับข้อเสนอ “องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา”
- เป้าหมายที่ดีงามให้ความชอบธรรมแก่วิธีการที่ต่ำช้า (The End justify the means)
- นิรโทษกรรมแบบณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กับละครลิงหลอกเจ้า
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "มติประชาธิปไตย"
- หมอวิทิตยื่นเอกสารเพิ่มฟ้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
- การให้อภัยที่ไม่สิ้นสุด ฮารีรายอจากใจในเรือนจำคดีไฟใต้
- ไฟใต้เริ่มกลับมาแรง วันเดียว 5 เหตุ เจ็บ 11 ชาวบ้านตาย 5
- พีมูฟประณามผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทุบตีเกษตรกรชาวสวนยาง-สวนปาล์ม
- สปสช.ศึกษาแนวทางญี่ปุ่นปรับการจ่ายชดเชยค่ารักษา
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อเปิดตัวหนัง 'LOVE+ รักไม่ติดลบ'
- สภาทนายความเสนอให้รัฐมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาโรฮิงญา
- ผอ.กรุงเทพโพลล์เผยเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะถดถอยในลักษณะชะลอตัวไม่ใช่หดตัว
ความยากยิ่งในการพยากรณ์การเมืองอียิปต์ Posted: 25 Aug 2013 10:21 AM PDT อนาคตอาจจะมีคนอียิปต์จำนวนมากอาจเข้าสู่ภาวะนิ่งเฉยในเรื่องการเมือง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งที่รุนแรงมากกว่านี้อาจนำอียิปต์ไปสู่ความเป็นรัฐล้มเหลว จนถึงวินาทีนี้อาจมีคนอียิปต์เสียชีวิตเพราะถูกกองทัพปราบปรามอย่างหนักหน่วงถึงหรือกว่า 1,000 ศพไปแล้ว ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงตอนปี 2553 ที่มีคนไทยเสียชีวิตไปเกือบร้อยศพกลางเมืองหลวงด้วยสถานการณ์เดียวกัน ข้อกล่าวหาแบบเดียวกัน และสิ่งที่น่าสลดหดหู่เช่นเดียวกันระหว่างไทยกับอียิปต์คือความนิ่งเฉยจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ อาจมีคนบางกลุ่มประท้วงรัฐบาลบ้าง อันนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจแต่ที่แน่ชัดก็คือไม่มีคนอียิปต์ออกมาประท้วงการสังหารหมู่เช่นนี้เป็นเรือนล้านเหมือนกับตอนขับไล่นายมอร์ซีเมื่อก่อนวันที่ 3 กรกฏาคม อันสะท้อนภาพให้เห็นได้ว่าคนอียิปต์โดยเฉพาะพวกเสรีนิยมมีความหวาดกลัวต่ออิทธิพลของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหัวอนุรักษ์นิยมและนิยมความรุนแรงเสียจนต้องไปซุกปีกอันอบอุ่นของทหาร แม้อาจจะเป็นเพียงชั่วคราวก็ตามแต่คงมีคนอียิปต์จำนวนมากถือสุภาษิตว่า "ศัตรูของศัตรูคือมิตรของเรา" อย่างน้อยทหารถึงแม้จะเป็นอภิสิทธิ์ชนแต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนอียิปต์จำนวนมากชื่นชอบคือการไม่ข้องเกี่ยวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเขา เพราะประธานาธิบดีอียิปต์ที่ผ่านมาหลายคนพยายามสร้างลัทธิฆารวาสนิยม (Secularism) เพื่อคานอำนาจกับพวกมุสลิมหัวรุนแรง เมื่อมีนักวิชาการแนวสังคมนิยมบางคนจะพยายามวิเคราะห์เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของชนชั้นและบทบาทของมวลชนคือชนชั้นแรงงาน แต่ดูเหมือนท่านจะไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามในอียิปต์และทั่วโลกซึ่งมีความหลากหลายคือเป็นไปได้ตั้งแต่หัวรุนแรง หัวปฏิรูป หัวปานกลางจนเป็นไปถึงหัวอ่อนหรือฆารวาสที่เน้นทางโลก หรืออาจจะไม่นับถือศาสนาอะไรเลยดังที่เรียกว่าพวก Atheist (แต่ในบริบทของสังคมอิสลามแบบตะวันออกกลาง เป็นการเสี่ยงเกินไปที่ ประกาศตนอย่างชัดเจน) นักวิชาการท่านนี้จึงไม่สามารถพยากรณ์เหตุการณ์การสังหารโหดเช่นนี้ได้ในบทความแรก (และผู้เขียนบทความนี้เองก็ยอมรับเหมือนกันว่ามองข้ามบทบาทของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมเหมือนกันอาจเพราะข้อมูลเกี่ยวกับอียิปต์มีไม่เพียงพอ) ท่านได้สรุปเพียงว่าเพราะคนไม่พอใจการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐที่หันไปซบกับเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ทำให้มวลชนออกมาประท้วงซึ่งดูเหมือนจะจงใจเน้นบทบาทของชนชั้นกรรมาชีพ จนลืมไปว่าผู้ออกมาประท้วงนายมอร์ซีนั้นมีชนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่ได้พอใจความไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของนายมอร์ซีเพียงอย่างเดียว เพราะถ้านายมอร์ซีมาจากพรรคการเมืองธรรมดาเป็นพวกเสรีนิยม ประชาชนก็คงไม่ออกมาประท้วงเป็นจำนวนมากและรวดเร็วเช่นนี้เพราะได้ดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี (หากมองให้เป็นกลาง อาจเป็นไปได้ว่านายมอร์ซีไม่ได้ตั้งใจแช่แข็งการเมืองยุคมูบารักเสมอไป แต่เพราะเขาเข้ามาดำรงตำแหน่งบนเงื่อนไขและสภาพของสังคมที่ระบอบเก่ายังคงทรงอิทธิพลอยู่ และอำนาจของเขาก็ยังคงมีจำกัด จึงน่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาเห็นว่าการสร้างอิทธิพลของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมย่อมทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งให้นานเสียก่อนที่จะมีการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น) การที่นักสังคมนิยมท่านนี้พยายามผูกขาดคำว่ามวลชนเป็นชนชั้นกรรมาชีพโดยเฉพาะในบทความแรกทำให้มองข้ามสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมว่าแท้ที่จริงพวกเขาก็เป็นมวลชนเหมือนกันที่ยึดครองพื้นที่ในการเมืองอียิปต์ที่เหนียวแน่นกว่ากลุ่มสังคมนิยมเพราะตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์กรตั้งแต่ปี 1928 แม้ว่าจะถูกรัฐบาลทหารพยายามกวาดล้างเพียงใด องค์กรนี้ก็ยังคงดำรงอยู่และเฟื่องฟูในยุคท้ายๆ ของนายมูบารักจนได้เป็นรัฐบาลในที่สุด สมาชิกขององค์กรนี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นกลางค่อนล่าง แต่น่าจะมีอีกมากที่เป็นชนชั้นรากหญ้า ประกอบอาชีพเป็นกรรมกร เป็นช่างฝีมือต่างๆ ที่ก็หวังถึงชีวิตที่ดี สวัสดิการที่ดี และคิดว่านายมอร์ซีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอียิปต์คงจะนำเศรษฐกิจของประเทศหรืออย่างน้อยก็กลุ่มของตัวเองให้ดีขึ้น สิ่งที่แตกต่างจากกลุ่มสังคมนิยมคือคนพวกนี้ยึดมั่นในศาสนาและองค์การแบบขวาจัดอย่างเหนียวแน่น (ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้ว่าเป็นคนดีเสมอไปเพราะไปก่อกวนและทำร้ายกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายคอปติก) ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับการตัดความสำคัญของศาสนาออกไปโดยเฉพาะบริบทของภูมิภาคตะวันออกกลางดังเช่นการเมืองอียิปต์นั้นเราไม่สามารถวิเคราะห์ได้โดยชนชั้นและผลประโยชน์ของชนชั้นเช่นเรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวเพราะสังคมอียิปต์คือความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอัตลักษณ์อันหลากหลายซึ่งถูกกดทับในยุคของนายมูบารัก โดยเฉพาะกลุ่มทางศาสนาคงไม่ได้มีแค่ภราดรภาพมุสลิมแต่ก็คงกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงกลุ่มอื่นเช่นกลุ่มนูร์ที่นับถือนิกายซาลาฟิสต์ พวกนิกายชีอะห์ กลุ่มศาสนาคริสต์นิกายคอปติก ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ หรือแม้แต่กลุ่มสตรีซึ่งเสียเปรียบมาตลอดไม่ว่ายุคไหน แม้แต่ตอนออกมาประท้วงก็โดนล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งนี้ไม่นับชนชั้นกลางจำนวนหลายล้านคนซึ่งต่อต้านนายมูบารักและนายมอร์ซีเพราะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและคุณภาพของชีวิตในภาพรวม จำนวนมากคงไม่ใส่ใจเรื่องเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่หรือบางทีไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำนอกจากเรื่องปากท้องของตน คงมีจำนวนมากที่สนใจในเรื่องประชาธิปไตยผสมทุนนิยมทั่วไปไม่ได้สนใจแนวคิดสังคมนิยมหรืออาจจะต่อต้านเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่คนเหล่านั้นจะสามารถเป็นพันธมิตรกันได้ไปตลอดแม้ว่าปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจะได้รับการแก้ไขอย่างน่าพอใจในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีตัวแปรสำคัญคือสหรัฐฯ และโลกตะวันตกซึ่งวิตกกังวลอยู่เรื่องเดียวคือความมั่นคงของอียิปต์ที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมุสลิมหัวรุนแรงหรืออยู่ในภาวะไร้ขื่อไร้แปรเหมือนซีเรีย นักสังคมนิยมท่านนั้นอาจมองการเมืองอียิปต์ในด้านดี เชื่อมั่นในพลังมวลชนที่สามารถคลี่คลายไปทางเดียวในอนาคตคือการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการและนายทุนได้ในที่สุด สารภาพว่าตามจริงแล้วผู้เขียนก็อยากจะให้เป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เขียนเห็นว่าอียิปต์ในยุคหลังมอร์ซีได้เข้าสู่ภาวะที่พยากรณ์ได้ยากยิ่งเพราะการเมืองอียิปต์เข้าสู่ภาวะแบบแตกเป็นเสี่ยงๆ (Fragment) เกินกว่าจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายแบบง่ายๆ มีชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครองที่ร่วมใจกันประท้วง แต่ผู้เขียนขอเสี่ยงตายทำนายว่าในอนาคตไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่ ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจทับซ้อนกับรัฐบาลอย่างเช่นทหารและตุลาการก็ยังได้รับการสนับสนุนจากมวลชนอย่างล้นหลามไม่ว่าจะมีจำนวนผู้ประท้วงมากเท่าใดก็ตาม ปัจจัยหนึ่งก็เพราะความกลัวต่อความขัดแย้งของกลุ่มทางศาสนา (Sectarian rift) ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเปิดประตูให้กับผู้ก่อการร้ายและความวุ่นวายสับสนในสังคมอียิปต์มากขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เกิดมาแล้วกับอิรักที่ใครหลายคนเชื่อว่ากำลังมุ่งหน้าสู่สงครามกลางเมืองหลังจากกองทัพสหรัฐฯ กำจัดซัดดัม ฮุสเซนออกไปในปี 2003 ผู้เขียนยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอาจจะมีคนอียิปต์จำนวนมากอาจเข้าสู่ภาวะนิ่งเฉยในเรื่องการเมือง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งที่รุนแรงมากกว่านี้อาจนำอียิปต์ไปสู่ความเป็นรัฐล้มเหลว ตัวอย่างที่น่าสลดของซีเรียอาจจะทำให้คนอียิปต์จำนวนมากหวาดกลัวและต้องการกลับไปอยู่ในยุคของมูบารักอีกก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามบทความชิ้นนี้จะถูกต้องหรือไม่ก็ต้องดูสถานการณ์กันต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประมงท่าศาลาจี้ ‘เชฟรอน’ ถอน EHIA ด้านบริษัทฯ ยันซ้ำล้มโครงการ ‘ชอร์เบส’ แล้ว! Posted: 25 Aug 2013 10:20 AM PDT วันที่ 23 ส.ค.56 เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตัวแทนประมงพื้นบ้าน จ.สุราษฎร์ธานี และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมแถลงแถลงข่าว กรณีการประกาศยกเลิกโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการการปฏิบัติงานในอ่าวไทย หรือ ชอร์เบส ของบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในพื้นที่ ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ยืนยันเจตนารมณ์คุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหาร และความไม่ชอบด้วยกฎหมายในกระบวนการพิจารณา รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA) โครงการท่าเรือเชฟรอน สืบเนื่องจาก เมื่อเดือน ธ.ค.55 บริษัทเชฟรอนได้ประกาศยุติโครงการก่อสร้างศูนย์ดังกล่าว แต่ได้ส่งหนังสือคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ยืนยันให้พิจารณารายงาน EHIA ของโครงการฯ ต่อ และขณะนี้ รายงาน EHIA ได้ถูกส่งเข้ากระบวนการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นประกอบของคณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม (กอสส.) เพื่อให้ กอสส.ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาซึ่งต้องแล้วเสร็จใน 27 ก.ย.นี้ แล้วส่งต่อให้กรมเจ้าท่าเพื่อออกใบอนุญาต คำถามที่ประชาชนในพื้นที่และสาธารณะสงสัย คือ เมื่อบริษัทได้ประกาศยุติโครงการแล้ว เหตุใดหน่วยงานของรัฐจึงต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแผ่นดิน เพื่อพิจารณารายงาน EHIA ต่อไป และเหตุใดบริษัทจึงไม่แสดงเจตนาในการยุติโครงการโดยการถอนรายงาน EHIA จาก กอสส.และยกเลิกคำขออนุญาตดำเนินโครงการจากกรมเจ้าท่า "เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความลักลั่น และเชื่อได้ว่าบริษัทเชฟรอนมีเจตนาแอบแฝง หลอกหลวง ไม่เคารพสิทธิชุมชน ซึ่งชุมชนไม่อาจยอมรับพฤติกรรมนี้ได้ และจะเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องท้องทะเลและชายฝั่งท่าศาลาทุกวิถีทาง ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น ขอให้บริษัทเชฟรอนถอนรายงาน EHIA ออกไป ซึ่งไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่บริษัท และจะตรงตามเจตนารมณ์ของบริษัทที่ประกาศไว้กับสาธารณะว่าจะยุติโครงการ" คำประกาศของชุมชนท่าศาลา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค.56 บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แจ้งข่าวระบุ ยืนยันยุติการดำเนินงานโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานในอ่าวไทย หรือ ชอร์เบส ในเขตพื้นที่บ้านบางสาร ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่แน่นอน แม้ว่ารายงาน EHIA จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 11 ก.ย.55 ไปแล้วก็ตาม สำหรับในกรณีที่ สผ.ได้ยื่นรายงาน EHIA ดังกล่าวต่อให้กับ กอสส.เมื่อวันที่ 27 ก.ค.56 นั้น เป็นกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น บริษัทเชฟรอนชี้แจงด้วยว่า ส่วนสาเหตุที่บริษัทฯ ไม่ได้ขอถอนรายงานฯ จาก สผ.หลังจากที่บริษัทฯ ประกาศยุติโครงการฯ นั้น เนื่องจากบริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะให้สาธารณชนได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่สมบูรณ์ของรายงานฯ อันเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ โดยไม่ได้มุ่งหวังเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตก่อสร้างแต่อย่างใด นอกเหนือจากนั้นรายงานฯ ดังกล่าวก็ยังจะช่วยยืนยันความโปร่งใสในขั้นตอนการทำและการจัดเตรียมข้อมูลของรายงานฯ ที่ได้ถูกดำเนินการไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายเกี่ยวกับการยุติโครงการชอร์เบสนั้น วันนี้ (21 ส.ค.56) บริษัทฯ จึงได้มีหนังสือถึง สผ.เพื่อขอให้แจ้งความประสงค์ไปยัง กอ.สส.ให้ยุติกระบวนการในการพิจารณารายงาน EHIA ฉบับดังกล่าวในขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อคืนพื้นที่โครงการฯ ที่เคยได้ทำการเช่าซื้อไว้ในช่วงของการศึกษาโครงการฯ ให้กับเจ้าของที่ดินอีกด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของบริษัทฯ ในการยุติโครงการฯ อย่างแท้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ว.วชิรเมธี กับข้อเสนอ “องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา” Posted: 25 Aug 2013 10:10 AM PDT
คำให้สัมภาษณ์นิตยสาร Way (ฉบับสิงหาคม 2556) ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดียอีกครั้ง เมื่อท่านเสนอให้
เมื่อพิจารณาจากที่ท่านให้เหตุผลต่อมาว่า
จากเหคุผลนี้จะเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวก็คือข้อเสนอให้มี "องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา" นั่นเอง ผมคิดว่าข้อเสนอนี้สะท้อนอะไรหลายๆอย่าง ที่ว่ากันว่าพระทุกวันนี้สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ไม่รู้เรื่อง แต่พระ ว.วชิรเมธีเป็นพระทันสมัย สื่อสารกับคนรุ่นใหม่รู้เรื่องจนเป็นพระเซเลบของคนชั้นกลางนั้น เอาเข้าจริงแล้วหากตัดลีลา สำนวนโวหาร การเอาคำพูดของผู้รู้อื่นๆ มาตัดต่อประดิษฐ์ใหม่ หรือทักษะการเล่นกับกระแสได้เก่งแล้ว น่าคิดว่าอะไรคือ "เนื้อหา" ความคิดของพระ ว.วชิรเมธีที่เข้ากันได้กับคุณค่าสมัยใหม่ หรือสนับสนุนความเป็นมนุษย์ที่มีความเสมอภาค มีเสรีภาพที่จะเลือกการกระทำหรือวิถีชีวิตด้วยการใช้เหตุผลหรือวิจารณญาณของตนเอง คุณค่าสมัยใหม่วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันในทางศีลธรรม" แน่นอนว่าในรายละเอียดปลีกย่อย คนเราย่อมมีความแตกต่างทางฐานะเศรษฐกิจ การงาน เพศ ผิว เชื้อชาติ ศาสนา ความโง่ ฉลาด ฯลฯ แต่ในทางศีลธรรมทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน คิดแบบอิมมานูเอล ค้านท์ นักปรัชญาชาวเยอรมันก็คือ มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าหรือศักดิ์ศรีในตัวเองที่ต้องได้รับการเคารพอย่างเสมอภาค เราไม่สามารถใช้เพื่อมนุษย์เป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมายของตัวเราเองได้ เพราะเราต้องเคารพความเป็นอิสระในตัวเอง (autonomy) ของแต่ละคนที่จะใช้เหตุผลอย่างเป็นตัวของตัวเองในการตัดสินถูกผิด หรือการเลือกชีวิตที่ดีของตนเอง สำหรับค้านท์ เงื่อนไขของความเป็นไปได้ในการมีศีลธรรมบนพื้นฐานของความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์คือ "เสรีภาพ" หมายความว่า เราต้องมีเสรีภาพจากอิทธิพลครอบงำ การบังคับของอำนาจ องค์กรทางศาสนา จารีตประเพณี และอื่นๆ เสียก่อน การมีชีวิตที่มีค่าอย่างเป็นตัวของตัวเองจึงจะเป็นไปได้ หากเราจะยอมรับหรือทำตามคุณค่าหรือค่านิยมใดๆ ก็ต่อเมื่อได้ใช้เหตุผลของตนเองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าการยอมรับหรือทำตามคุณค่าหรือค่านิยมนั้นๆจะไม่เป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ของตัวเองและคนอื่นๆ ฉะนั้น เราจึงต้องตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกเรื่องก่อนที่จะยอมรับหรือปฏิเสธ สังคมไทยที่มักอ้างอิงความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรมอันดี (?) อ้างอิงสถาบันกษัตริย์มาเซ็นเซอร์ความคิดและการแสดงออกของประชาชน จึงเป็นสังคมที่ลดทอนความเป็นคนของประชาชน เป็นสังคมที่ทำลายศักยภาพที่แตกต่างหลากหลายที่แฝงอยู่ในปัจเจกภาวะของประชาชน จึงเป็นสังคมที่ไม่เปิดกว้างสำหรับการสร้างสรรค์ที่อาจเป็นไปได้อย่างไม่จำกัด ข้อเสนอให้มีองค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนาของพระ ว.วชิรเมธี จึงเป็นข้อเสนอเชิงอำนาจที่เป็นการลดทอนความหลากหลายของการตีความพุทธศาสนาให้สนองตอบต่อความหลากหลายของทุกข์ในชีวิตปัจเจกและทุกข์ทางสังคม และอันที่จริงแล้วก็เป็นข้อเสนอที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะจะตัดสินอย่างแน่นอนตายตัวลงไปได้อย่างไรว่าใคร "สอนตรงตามพระพุทธเจ้า" จริงๆแม้จะอ่านหรืออ้างพระไตรปิฎกจากข้อความเดียวกัน หรือพระสูตรเดียวกันก็เป็นไปได้เสมอที่จะมีการตีความต่างกัน เป็นแบบนี้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แต่สังฆะหรือสังคมชาวพุทธก็ใช้วิธีตักเตือนกันอย่างกัลยาณมิตร ใช้วิธีแก้ไขด้วยวัฒนธรรมปรึกษาหารือของสังฆะกลุ่มต่างๆเอง ไม่เคยมีองค์กรระดับชาติจะมีอำนาจเซ็นเซอร์คำเทศนาพระสงฆ์ทั้งหมด หากมีองค์กรอย่างที่ว่าจริง ถามว่าจะจัดการอย่างไรกับคำสอน "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" เพราะไม่มีหลักอ้างอิงในพระไตรปิฎกรองรับว่าตรงตามพุทธะสอนอย่างไร และหากจะว่าไปคำพูดนี้ไม่ว่าจะพูดในบริบทความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ ไม่ว่าผู้พูดจะมีเจตนาสนับสนุนความรุนแรงหรือไม่ จะมีประวัติการศึกษาพุทธศาสนามาอย่างไร เป็นพระที่มีคนนับถือมากหรือไม่ แต่คำพูดที่ว่า "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" ก็เป็นคำพูดที่มีความหมายรุนแรงในตัวมันเองอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ นึกถึงที่ผมสัมภาษณ์อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ เมื่อเร็วๆนี้ ตอนหนึ่งเราพูดถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้พุทธศาสนาในสังคมไทย อาจารย์ประมวลตั้งข้อสังเกตว่า "การเรียนรู้พุทธศาสนาเถรวาทไทยเป็นการปลูกฝังการคิดเรื่องผิดเรื่องถูก และการคิดเรื่องผิดเรื่องถูกนี้เป็นการคิดเชิงอำนาจ ก็คือพยายามใช้อำนาจของความคิดว่าดีเพื่อไปลงโทษหรือกำกับกระทำของคนที่คิดว่าไม่ดี แม้กระทั่งในคนคนเดียวกันนี่แหละถ้าเราพูดในเชิงความหมายที่ละเอียดลึกซึ้ง ผมสารภาพตรงๆเลยนะครับว่าในสมัยที่ผมปฏิบัติธรรมแบบเถรวาทและมีความคิดว่า กิเลสเป็นมลทินต้องขจัดให้หมดสิ้นเป็นความคิดที่ผิด ในความรู้สึกของผมนะ แต่ผมไม่พูดสิ่งนี้กับคนอื่นนะครับ" ซึ่งผมมองว่า "การคิดในกรอบศาสนาเรื่องผิดเรื่องถูกเชิงอำนาจ" ดังกล่าวมันเป็นฐานของความรุนแรงในสังคม และอาจารย์ประมวลเสริมว่า "เป็นความรุนแรงในตัวเองด้วย เป็นความรุนแรงในตัวเองเลย" ในความเห็นของอาจารย์ประมวลการเรียนรู้พุทธศาสนาควรเป็นเรื่องของวิถีชีวิตที่ฝึกฝนบ่มเพาะสิ่งที่เรียกว่า "โพธิจิต" ให้เกิดขึ้นในตัวเราแต่ละคน หมายความว่า เราควนเปิดพื้นที่ทางจิตใจให้ปัญญาและกรุณาได้งอกงามขึ้นผ่านการใช้ชีวิตจริงๆ ปัญญาคือการเลิกคิดเรื่องผิดถูกเชิงอำนาจ แต่พยายามมองความเป็นจริงอย่างเปิดกว้างไม่พิพากษาตัดสินผิดถูก นี่ไม่ใช่การไม่เคารพหลักการกติกาผิดถูกที่ชอบธรรมทางสังคม แต่หมายความว่าไม่ติดอยู่กับการคิดในกรอบผิดถูกตามความเคยชิน แต่เปิดให้กับความเป็นไปได้ที่เราจะเข้าใจความเป็นมนุษย์ในมิติต่างๆ ทั้งด้านดี ด้านร้าย ด้านที่เข้มแข็งและอ่อนแอเป็นต้นด้วยจิตใจที่มีกรุณาคือความรัก ความปรารถนาดี และแสดงออกต่อบุคคล ต่อบริบทต่างๆ รวมทั้งการต่อสู้เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยจิตใจที่ประกอบด้วยเมตตาธรรม นี่คือความหมายที่ผมสรุปจากการสนทนากับอาจารย์ประมวล เราเห็นสอดคล้องกันว่าแม้การเรียนรู้พุทธศาสนาในบ้านเราจะมีประโยชน์อยู่ส่วนหนึ่งก็จริง (เช่นให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชนบทอย่างผมเป็นต้น) แต่การเรียนรู้ในระบบพุทธศาสนาแห่งรัฐได้สร้างฐานวัฒนธรรมตัดสินผิดถูกเชิงอำนาจขึ้นมาในสังคม จนถูกนำไปอ้างอิงสนับสนุนความรุนแรงบ่อยๆ ในนามปกป้องอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นต้น ที่สำคัญระบบการเรียนรู้พุทธศาสนาดังกล่าวยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุจุดหมายทางพุทธศาสนาเอง ดังอาจารย์ประมวลเล่าว่ามีพระราชาคณะท่านหนึ่งอายุประมาณ 90 ปีแล้ว รำพึงกับอาจารย์ว่า "โลกียสุขก็ไม่ได้เสพ โลกุตตรสุขก็ไปไม่ถึง" อาจารย์ประมวลบอกว่า "ผมสะเทือนใจมากเลยว่า นี่หรือภาพรวมของนักบวชไทยที่เป็นผลผลิตของระบบการเรียนรู้พุทธศาสนาไทย" ผมอ่านข้อเสนอเรื่ององค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนาของพระ ว.วชิรเมธีแล้ว ก็อดสะเทือนใจ (ต่อระบบและผลผลิตของการเรียนรู้พุทธศาสนาไทย) ไม่ได้เช่นกันครับ หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข, 24-30 ส.ค.2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ว.วชิรเมธี กับข้อเสนอ “องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา” Posted: 25 Aug 2013 10:10 AM PDT
คำให้สัมภาษณ์นิตยสาร Way (ฉบับสิงหาคม 2556) ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดียอีกครั้ง เมื่อท่านเสนอให้
เมื่อพิจารณาจากที่ท่านให้เหตุผลต่อมาว่า
จากเหคุผลนี้จะเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวก็คือข้อเสนอให้มี "องค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนา" นั่นเอง ผมคิดว่าข้อเสนอนี้สะท้อนอะไรหลายๆอย่าง ที่ว่ากันว่าพระทุกวันนี้สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ไม่รู้เรื่อง แต่พระ ว.วชิรเมธีเป็นพระทันสมัย สื่อสารกับคนรุ่นใหม่รู้เรื่องจนเป็นพระเซเลบของคนชั้นกลางนั้น เอาเข้าจริงแล้วหากตัดลีลา สำนวนโวหาร การเอาคำพูดของผู้รู้อื่นๆ มาตัดต่อประดิษฐ์ใหม่ หรือทักษะการเล่นกับกระแสได้เก่งแล้ว น่าคิดว่าอะไรคือ "เนื้อหา" ความคิดของพระ ว.วชิรเมธีที่เข้ากันได้กับคุณค่าสมัยใหม่ หรือสนับสนุนความเป็นมนุษย์ที่มีความเสมอภาค มีเสรีภาพที่จะเลือกการกระทำหรือวิถีชีวิตด้วยการใช้เหตุผลหรือวิจารณญาณของตนเอง คุณค่าสมัยใหม่วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันในทางศีลธรรม" แน่นอนว่าในรายละเอียดปลีกย่อย คนเราย่อมมีความแตกต่างทางฐานะเศรษฐกิจ การงาน เพศ ผิว เชื้อชาติ ศาสนา ความโง่ ฉลาด ฯลฯ แต่ในทางศีลธรรมทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน คิดแบบอิมมานูเอล ค้านท์ นักปรัชญาชาวเยอรมันก็คือ มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าหรือศักดิ์ศรีในตัวเองที่ต้องได้รับการเคารพอย่างเสมอภาค เราไม่สามารถใช้เพื่อมนุษย์เป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมายของตัวเราเองได้ เพราะเราต้องเคารพความเป็นอิสระในตัวเอง (autonomy) ของแต่ละคนที่จะใช้เหตุผลอย่างเป็นตัวของตัวเองในการตัดสินถูกผิด หรือการเลือกชีวิตที่ดีของตนเอง สำหรับค้านท์ เงื่อนไขของความเป็นไปได้ในการมีศีลธรรมบนพื้นฐานของความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์คือ "เสรีภาพ" หมายความว่า เราต้องมีเสรีภาพจากอิทธิพลครอบงำ การบังคับของอำนาจ องค์กรทางศาสนา จารีตประเพณี และอื่นๆ เสียก่อน การมีชีวิตที่มีค่าอย่างเป็นตัวของตัวเองจึงจะเป็นไปได้ หากเราจะยอมรับหรือทำตามคุณค่าหรือค่านิยมใดๆ ก็ต่อเมื่อได้ใช้เหตุผลของตนเองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าการยอมรับหรือทำตามคุณค่าหรือค่านิยมนั้นๆจะไม่เป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ของตัวเองและคนอื่นๆ ฉะนั้น เราจึงต้องตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกเรื่องก่อนที่จะยอมรับหรือปฏิเสธ สังคมไทยที่มักอ้างอิงความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรมอันดี (?) อ้างอิงสถาบันกษัตริย์มาเซ็นเซอร์ความคิดและการแสดงออกของประชาชน จึงเป็นสังคมที่ลดทอนความเป็นคนของประชาชน เป็นสังคมที่ทำลายศักยภาพที่แตกต่างหลากหลายที่แฝงอยู่ในปัจเจกภาวะของประชาชน จึงเป็นสังคมที่ไม่เปิดกว้างสำหรับการสร้างสรรค์ที่อาจเป็นไปได้อย่างไม่จำกัด ข้อเสนอให้มีองค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนาของพระ ว.วชิรเมธี จึงเป็นข้อเสนอเชิงอำนาจที่เป็นการลดทอนความหลากหลายของการตีความพุทธศาสนาให้สนองตอบต่อความหลากหลายของทุกข์ในชีวิตปัจเจกและทุกข์ทางสังคม และอันที่จริงแล้วก็เป็นข้อเสนอที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะจะตัดสินอย่างแน่นอนตายตัวลงไปได้อย่างไรว่าใคร "สอนตรงตามพระพุทธเจ้า" จริงๆแม้จะอ่านหรืออ้างพระไตรปิฎกจากข้อความเดียวกัน หรือพระสูตรเดียวกันก็เป็นไปได้เสมอที่จะมีการตีความต่างกัน เป็นแบบนี้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แต่สังฆะหรือสังคมชาวพุทธก็ใช้วิธีตักเตือนกันอย่างกัลยาณมิตร ใช้วิธีแก้ไขด้วยวัฒนธรรมปรึกษาหารือของสังฆะกลุ่มต่างๆเอง ไม่เคยมีองค์กรระดับชาติจะมีอำนาจเซ็นเซอร์คำเทศนาพระสงฆ์ทั้งหมด หากมีองค์กรอย่างที่ว่าจริง ถามว่าจะจัดการอย่างไรกับคำสอน "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" เพราะไม่มีหลักอ้างอิงในพระไตรปิฎกรองรับว่าตรงตามพุทธะสอนอย่างไร และหากจะว่าไปคำพูดนี้ไม่ว่าจะพูดในบริบทความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ ไม่ว่าผู้พูดจะมีเจตนาสนับสนุนความรุนแรงหรือไม่ จะมีประวัติการศึกษาพุทธศาสนามาอย่างไร เป็นพระที่มีคนนับถือมากหรือไม่ แต่คำพูดที่ว่า "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" ก็เป็นคำพูดที่มีความหมายรุนแรงในตัวมันเองอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ นึกถึงที่ผมสัมภาษณ์อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ เมื่อเร็วๆนี้ ตอนหนึ่งเราพูดถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้พุทธศาสนาในสังคมไทย อาจารย์ประมวลตั้งข้อสังเกตว่า "การเรียนรู้พุทธศาสนาเถรวาทไทยเป็นการปลูกฝังการคิดเรื่องผิดเรื่องถูก และการคิดเรื่องผิดเรื่องถูกนี้เป็นการคิดเชิงอำนาจ ก็คือพยายามใช้อำนาจของความคิดว่าดีเพื่อไปลงโทษหรือกำกับกระทำของคนที่คิดว่าไม่ดี แม้กระทั่งในคนคนเดียวกันนี่แหละถ้าเราพูดในเชิงความหมายที่ละเอียดลึกซึ้ง ผมสารภาพตรงๆเลยนะครับว่าในสมัยที่ผมปฏิบัติธรรมแบบเถรวาทและมีความคิดว่า กิเลสเป็นมลทินต้องขจัดให้หมดสิ้นเป็นความคิดที่ผิด ในความรู้สึกของผมนะ แต่ผมไม่พูดสิ่งนี้กับคนอื่นนะครับ" ซึ่งผมมองว่า "การคิดในกรอบศาสนาเรื่องผิดเรื่องถูกเชิงอำนาจ" ดังกล่าวมันเป็นฐานของความรุนแรงในสังคม และอาจารย์ประมวลเสริมว่า "เป็นความรุนแรงในตัวเองด้วย เป็นความรุนแรงในตัวเองเลย" ในความเห็นของอาจารย์ประมวลการเรียนรู้พุทธศาสนาควรเป็นเรื่องของวิถีชีวิตที่ฝึกฝนบ่มเพาะสิ่งที่เรียกว่า "โพธิจิต" ให้เกิดขึ้นในตัวเราแต่ละคน หมายความว่า เราควนเปิดพื้นที่ทางจิตใจให้ปัญญาและกรุณาได้งอกงามขึ้นผ่านการใช้ชีวิตจริงๆ ปัญญาคือการเลิกคิดเรื่องผิดถูกเชิงอำนาจ แต่พยายามมองความเป็นจริงอย่างเปิดกว้างไม่พิพากษาตัดสินผิดถูก นี่ไม่ใช่การไม่เคารพหลักการกติกาผิดถูกที่ชอบธรรมทางสังคม แต่หมายความว่าไม่ติดอยู่กับการคิดในกรอบผิดถูกตามความเคยชิน แต่เปิดให้กับความเป็นไปได้ที่เราจะเข้าใจความเป็นมนุษย์ในมิติต่างๆ ทั้งด้านดี ด้านร้าย ด้านที่เข้มแข็งและอ่อนแอเป็นต้นด้วยจิตใจที่มีกรุณาคือความรัก ความปรารถนาดี และแสดงออกต่อบุคคล ต่อบริบทต่างๆ รวมทั้งการต่อสู้เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยจิตใจที่ประกอบด้วยเมตตาธรรม นี่คือความหมายที่ผมสรุปจากการสนทนากับอาจารย์ประมวล เราเห็นสอดคล้องกันว่าแม้การเรียนรู้พุทธศาสนาในบ้านเราจะมีประโยชน์อยู่ส่วนหนึ่งก็จริง (เช่นให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชนบทอย่างผมเป็นต้น) แต่การเรียนรู้ในระบบพุทธศาสนาแห่งรัฐได้สร้างฐานวัฒนธรรมตัดสินผิดถูกเชิงอำนาจขึ้นมาในสังคม จนถูกนำไปอ้างอิงสนับสนุนความรุนแรงบ่อยๆ ในนามปกป้องอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นต้น ที่สำคัญระบบการเรียนรู้พุทธศาสนาดังกล่าวยังเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุจุดหมายทางพุทธศาสนาเอง ดังอาจารย์ประมวลเล่าว่ามีพระราชาคณะท่านหนึ่งอายุประมาณ 90 ปีแล้ว รำพึงกับอาจารย์ว่า "โลกียสุขก็ไม่ได้เสพ โลกุตตรสุขก็ไปไม่ถึง" อาจารย์ประมวลบอกว่า "ผมสะเทือนใจมากเลยว่า นี่หรือภาพรวมของนักบวชไทยที่เป็นผลผลิตของระบบการเรียนรู้พุทธศาสนาไทย" ผมอ่านข้อเสนอเรื่ององค์กรเซ็นเซอร์คำเทศนาของพระ ว.วชิรเมธีแล้ว ก็อดสะเทือนใจ (ต่อระบบและผลผลิตของการเรียนรู้พุทธศาสนาไทย) ไม่ได้เช่นกันครับ หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข, 24-30 ส.ค.2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เป้าหมายที่ดีงามให้ความชอบธรรมแก่วิธีการที่ต่ำช้า (The End justify the means) Posted: 25 Aug 2013 10:02 AM PDT ในการต่อสู้แบบสันติวิธี ผ่านการใช้เหตุผลและความคิด ด้วยวิธีการสื่อสารนั้น ย่อมต้องคำนึงถึงการให้โอกาสถกเถียงกันอย่างเสมอภาค หรือหลักการให้อาวุธอย่างเสมอภาคกัน (Equal of Weapons Theory) ในการต่อสู้ถกเถียงเพื่อให้ได้มาซึ่ง เหตุผล ที่ดีและตอบกับเงื่อนไขทางสังคมที่มี ดังนั้นในหลายประเด็นที่มีความเห็นไม่ลงรอยกัน แต่ละฝ่ายจึงได้ทุ่มเทความสามารถและทรัพยากรในการสนับสนุนความคิดและเหตุผลของตนเอง เพื่อให้ความชอบธรรมกับสิ่งที่ตนต้องการกระทำ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมระหว่างรัฐใหญ่รัฐกับรัฐเล็ก ฝ่ายรัฐความมั่นคง กับ องค์กรภาคประชาชน โดยเฉพาะเมื่อเป็นการขับเคี่ยวกันรัฐกำลังพัฒนาที่มีความเหลื่อมล้ำทางอำนาจสูง รัฐและฝ่ายความมั่นคงมีอำนาจในการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อผสมและช่องทางที่หลากหลาย เช่น ภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ แผ่น และฉายซ้ำตามความต้องการได้ผ่านอินเตอร์เน็ต ช่องทางที่เข้าถึงได้ไม่ยาก และเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เร้าให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมอย่างแรงกล้า จนกลบทับความจริงอื่น ได้แพร่ไปยังมวลชนวงกว้างจนทำให้ความน่าเชื่อถือของเหตุผลอยู่นอกการรับรู้ของอารมณ์ความสึกรุนแรงดังกล่าว ฝ่ายสิทธิมนุษยชนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากมีทรัพยากร เครื่องมือผลิตเนื้อหา และช่องทางในการสื่อสาร น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะฉะนั้น เนื้อหาที่ออกมาจึงอยู่ในลักษณะของข้อเท็จจริง เหตุผล ที่จริงจังจนถึงขั้น เครียด และน่าเบื่อไปสำหรับผู้รับสื่อ และไม่อาจแพร่ไปในวงกว้างเพราะต้องใช้พลังงานในการย่อยข้อมูลเป็นอย่างมาก และฝ่ายรณรงค์ประเด็นสิทธิมนุษยชนจำนวนไม่น้อยก็ติดกับตัวเองโดยคิดว่าจะต่อสู้ด้วยเหตุผลโดยพยายามไม่เร้าอารมณ์ความรู้สึก ทั้งที่เรื่องชีวิตมนุษย์นั้นเกี่ยวพันกับจิตวิญญาณ ซึ่งบุคคลทั่วไปอาจจะรับรู้ เข้าถึง เข้าใจ กลุ่มเสี่ยงที่ถูกละเมิดสิทธิได้ผ่านการบอกเล่า ประสบการณ์จริงที่สั่นสะเทือนความรู้สึก มากกว่าเหตุผลที่เข้าใจแต่ไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลก กระแส หรือ Trend หนังของวงการ Hollywood ในยุคของ Barack Obama นั้นสะท้อนความรักชาติในแนวทางใหม่ Patriotism in new wave กล่าวคือ แต่เดิมจะเป็น Super Hero หรือวีรบุรุษผู้แข็งแกร่งและเก่งไปซะทุกอย่างแบบเหนือมนุษย์ เป็นคนที่มีชีวิตจิตใจ มีข้อบกพร่องในชีวิต หรือครอบครัว และไม่ได้เก่งกล้าไปเสียทุกอย่าง แต่มีความสามารถบางอย่างแล้วทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานที่ตนทำ จนสูญเสียชีวิตส่วนตัวไป แต่ก็สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายโดยอาจไม่ได้รับความนิยมชมชอบจากสังคมวงกว้าง ดุจดัง "พระมหาชนกที่ว่ายน้ำแบบไม่เห็นฝั่ง" โดยเชื่อว่าสิ่งที่ตนนั้นเป็นประโยชน์แม้ไม่มีใครเห็นค่า เฉกเช่น "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ"นั่นเอง ตัวอย่างภาพยนตร์ในแนวทางนี้ได้แก่ บทบาทนำของตัวแสดงนำ จากหนัง James Bond ซึ่งมีสายลับ 007 ที่เป็นสายลับ MI6 แห่งสหราชอาณาจักรประเทศพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกา เจมส์เป็นสายลับที่มีข้อบกพร่อง ผิดพลาด ไม่พร้อม แต่ก็สามารถทุ่มเททำงานในส่วนของตนจนประสบความสำเร็จ และทำงานร่วมกับทีมได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนการทำงานที่ใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริงมากขึ้น แต่สิ่งที่ซ่อนมาในนัยยะดังกล่าว คือ การกระทำจำนวนมากของสายลับ และองค์กรนั้น เต็มไปด้วยการฝ่าฝืนและละเมิดกฎหมาย แต่อ้างว่ากระทำไปเพื่อ "เป้าหมายที่ดีงาม" นั่นคือทำเพื่อความอยู่รอดของรัฐ ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกเรื่องมาจากหนังเรื่อง Zero Dark Thirty ซึ่งสร้างจากชีวิตจริงของสายลับ CIA ซึ่งมีบทบาทในการเสาะแสวงหาตัวผู้ก่อการร้ายสำคัญ โอซาม่า บินลาเด็น ที่เป็นภัยคุกคามหลักของสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นของเรื่องหนังแสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีโหดร้ายป่าเถื่อน คุกคาม ทรมาน และทำร้ายชีวิตมนุษย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่นำไปสู่ บิน ลาเด็น ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ ในทางกลับกันวิธีการที่สำเร็จกลับเป็นการใช้เทคโนโลยีและความสามารถด้านสารสนเทศและจารกรรมจนนำไปสู่การบ่งชี้ว่า บิน ลาเด็น อยู่ ณ ที่ใด อย่างไรก็ดี วิธีการที่ใช้แม้จะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีหลายส่วนที่ละเมิดต่อกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เช่น การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วยการใช้เทคโนโลยีสอดส่องจารกรรม และการใช้อาวุธเข้าประหัตประหารจน บิน ลาเด็น ตาย ในท้ายที่สุด แม้จะดูดีกว่าในช่วง จอร์จ บุช ที่ทรมานแต่ล้มเหลว แต่ก้ได้สะท้อนนัยยะให้ความชอบธรรมแก่การกระทำของตนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้าย เพื่อเรียกคะแนนนิยมในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความมั่นคงเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึง "การทำให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นเรื่องปกติ" (Normalize the illegal behaves) โดยทำเรื่องที่กฎหมายและหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อต้าน เช่น การทรมาน torture, กระบวนการยุติธรรมที่ดีประกันสิทธิของประชาชน due process และ กฎแห่งการใช้กำลัง (rule of engagement) ซึ่งมีส่วนสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจในทางลับของฝ่ายมั่นคง แม้จะมีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายด้วยก็ตาม ในช่วงที่เริ่มเขียนบทความนี้เมื่อครึ่งปีก่อน ผู้เขียนคิดว่า การใช้เทคโนโลยีในการดัก แชร์ ล้วง และสืบข้อมูล โดยมิชอบจะมีมากขึ้น และเรื่องดังกล่าวก็ถูกยืนยันด้วย เหตุอื้อฉาวที่นายสโนว์เดน อดีตลูกจ้างบริษัทเอกชนที่รับจ้างสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เข้าสอดส่องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในโลกออนไลน์ และมีหลักฐานเพิ่มเติมจากการมอบรางวัลพลเมืองผู้ช่วยเหลือ CIA ให้กับ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ที่ องค์กร CIA ถึงกับกล่าวยกย่องว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใน Facebook คือ สิ่งที่ CIA ปรารถนามาตลอดนั่นคือ การมีเครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและวิถีชีวิตของประชาชนที่มีการปรับให้ทันสมัยตลอดเวลา (Real-time Updated) โปรแกรมสื่อสารในโลกออนไลน์จึงกลายมาเป็นเครื่องมือการข่าวที่สำคัญของฝ่ายมั่นคง (Social Media as a new spy) และที่ยังพูดถึงไม่มากนักคือ พลังของเครื่องมือ Search Engine ที่ให้บริการหลากหลายครอบคลุมวิถีชีวิตหลากแง่มุมมากขึ้นของ Google ที่มีทั้งการเก็บข้อมูลว่าเราค้นหาอะไร สนใจอะไร แผนที่และรูปถ่ายสถานที่ต่างๆ การอ่านงานทั้งหลาย เรื่อยไปถึง อีเมลล์ส่วนบุคคล ซึ่งรวบรวมข้อมูลของบุคคลและอาจนำไปใช้อย่างมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องมือด้านการสื่อสารแบบเครือข่ายสังคมยังถูกยกให้เป็นอาวุธสำหรับการปฏิวัติที่ทรงพลังมากที่สุดในยุคของประธานาธิบดีโอบาม่า (Social Media as a gift to the whole resistant groups in developing countries) ดังที่ปรากฏในกระแสอาหรับสปริงส์ที่มีการชุมนุมสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ผ่านโปรแกรมเครือข่ายทางสังคมเหล่านี้ (Social Networks) แต่สิ่งที่พึงระลึกเช่นกัน คือ ข้อมูลเหล่านั้นย่อมอยู่ในการควบคุมของบรรษัทผู้ให้บริการ และอาจถูกแทรกแซงจากรัฐมหาอำนาจในการใช้ข้อมูลในทางปริปักษ์หรือส่งเสริมกลุ่มขบวนการต่างๆ แล้วแต่จุดยืนของมหาอำนาจ เช่น หนุนให้โค่นผู้นำที่ตนไม่ชอบใน ลิเบีย แต่เอาข้อมูลไปหนุนรัฐบาลซีเรีย หรือกองทัพในอียิปต์ เป็นต้น จุดเด่นอีกประการ คือ การสื่อสารของผู้ใช้ผ่านเครือข่ายทางสังคมนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ทันต่อสถานการณ์ หลากหลาย เสมือนจริงมาก จึงมีลักษณะกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้รับและส่งสารอย่างแรงกล้า เนื่องจากมีลักษณะเป็นเรื่องเล่าด้วยสื่อหลากหลายรูปแบบ อาทิ คลิปเหตุการณ์เคลื่อนไหว ภาพถ่ายจากสนาม เสียง และการพาดหัวอธิบายเรื่องราว หรือการบรรยายประกอบทั้งหลาย ดังนั้นสื่อเหล่านั้นจึงกระตุกเร้าคนจำนวนมากให้มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวที่บอกเล่า (Dramatization) โดยอาจขาดสติยั้งคิดเรื่องข้อเท็จจริง เหตุผล หลักการ หรือสูญเสียความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ไป กลายเป็นการกระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกรุนแรง (Passion) เรื่อยไปจนเกิดการแสดงออกอย่างรุนแรงและเหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ผู้อื่นแบบ ผู้เผยแผ่ความเกลียดชัง (Hate Spreaders) อย่างไรก็ดี อารมณ์และความรู้สึก เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ไม่อาจขจัดหรือทำลาย หรือห้ามมิให้มนุษย์เกิดอารมณ์ได้ ทางออกของ ภาวะ Dramatization แบบไร้สติ จึงมิใช่การปฏิเสธการใช้อารมณ์ แต่ต้องปอกเปลือก Dramatize ของผู้ที่เผยแพร่ความเกลียดชัง และโฆษณาชวนเชื่อของรัฐและฝ่ายความมั่นคงเพื่อให้เห็น "ความจริงที่ถูกกลบซ่อน" ไว้ ให้เหตุผลที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขข้อเท็จจริง และฝึกการนำเสนอบอกเล่าประสบการณ์จริงของเหยื่อให้มวลชนเข้าถึงง่าย และเข้าใจได้ ผ่านการเล่าเรื่องที่กระตุกอารมณ์ความรู้สึกด้วยกระบวนการ Dramatization แทน ดังที่กลุ่มขบวนการภาคประชาชนรุ่นใหม่พยายามทำผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ และการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ นอกจากนี้การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรจากทุกหน่วยงานองค์กรที่นำทรัพยากรส่วนกลางไปใช้ ก็มีความสำคัญยิ่ง การปฏิเสธและปล่อยให้ฝ่ายรัฐและฝ่ายความมั่นคง ยึดครองทรัพยากรในการสื่อสาร ก็เท่ากับปล่อยให้อาวุธอยู่กับคนอื่น ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสและความเป็นไปได้ที่จำนำเสนอปัญหาของกลุ่มให้มวลชนรับรู้ และเข้าใจเป็นวงกว้าง เพื่อนำไปสู่การสร้างกระแสสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลง การวิพากษ์วิจารณ์ หรือด่าทอ และไม่เข้าแย่งทรัพยากรในการสื่อสาร อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป และวิธีในการแย่งชิงก็ไม่จำเป็นต้องแตกหักแต่สามารถซึมลึกเข้าไปยึดครองและเปลี่ยนสัดส่วนเนื้อหาไปเรื่อยๆก็ได้ ตราบใดที่ยังมีความเชื่อมั่นว่ามนุษย์เปลี่ยนความคิด อารมณ์และความรู้สึกได้ แต่ถ้าหากคิดว่าคนอื่นไร้สติปัญญาเสียแต่ต้นและป่วยการที่จะเปลี่ยน ก็เท่ากับปล่อยให้รัฐและฝ่ายความมั่นคงยึดครองจิตใจมวลชนต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยจะมีคนรุ่นถัดๆไปที่คิดไปแนวเดียวกับรัฐและฝ่ายความมั่นคง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิรโทษกรรมแบบณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กับละครลิงหลอกเจ้า Posted: 25 Aug 2013 09:50 AM PDT ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมของนายวรชัย เหมะ ได้ผ่านการพิจารณาในวาระที่หนึ่งด้วยคะแนนเสียง 300 ต่อ 125 งดออกเสียง 14 ไม่ออกเสียง 2 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา มีการตั้งคณะกรรมาธิการ 35 คน เพื่อไปลงมติวาระสอง และสามก่อนไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภาภายใน 60 วัน ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ทำการคัดค้านทุกรูปแบบทั้งในสภาและนอกสภา โดยอ้างว่าเป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิดอาญาในคดีเผาบ้านเผาเมือง และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งเป็นการลบล้างความผิดให้กับทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่นายณัฐวุฒิ ไสสเกื้อ ได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ว่าร่าง พรบ.นิรโทษกรรมไม่รวมถึงผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 1. ต้านนิรโทษกรรมประชาชนเพื่อใคร ? นี่คือพรรคประชาธิปัตย์ที่อ้างนักหนาว่าเทิดทูนประชาธิปไตย และประชาชนต้องมาก่อน แต่ในความเป็นจริงไม่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาก่อนเลยในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา ในบางสถานการณ์ยังสร้างเงื่อนไขไปสู่การรัฐประหารเสียเอง แม้ได้เป็นรัฐบาลก็มักเอื้อประโยชน์ให้กับเผด็จการทหาร ดังเช่น รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อการรัฐประหารในปี่ 2488 และ ปี 2490 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยนิรโทษกรรมให้กับการรับประหารของกลุ่มยังเตริก หรือล่าสุดในยุคของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งมาตรา 390 ได้นิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ดังนั้นการที่พรรคประชาธิปัตย์ทำการต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่กระทำความผิดอันเนื่องมาจากการชุมนุม และความขัดแย้งทางการเมือง จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นรักษาผลประโยชน์ให้กับเผด็จการอย่างไม่ลืมหูลืมตาเลยทีเดียว 2.กลยุทธตีปลาหน้าไซสู่เป้าหมาย อันที่จริงพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2533 เป็นผู้กระทำความรุนแรงต่อประชาชนทั้งการเข่นฆ่าอย่างป่าเถื่อน การอาศัยสถาบันกษัตรย์ให้ร้ายป้ายสีดำเนินคดีตามมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรม ในจณะที่กระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงปัญหาสองมาตรฐาน ไม่อาจเป็นหลักประกันความยุติธรรมได้ มีผู้ถูกกล่าวหาหลายคนถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวตามกฎหมาย รวมทั้งถูกบังคับให้ต้องรับสารภาพแทนการต่อสู้คดีให้ถึงที่สุดในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่มีความชอบธรรมในการเป็นกรรมาธิการแปรญัตติ พรบ.นิรโทษกรรม โดยเนื้อแท้แล้วการต่อต้านนิรโทษกรรมหัวชนฝาของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะไม่ให้รวมถึงผู้ต้องขังตามมาตรา 112 จึงเป็นเกมการเมืองสกปรกที่มีวาระซ่อนเร้นหวังผลเป็นการตีปลาหน้าไซ และตีวัวกระทบคราดอย่างชาญฉลาดด้วยเล่ห์เพทุบายเยี่ยงสุนัขจิ้งจอก 3.ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว การกระทำความผิดอาญาด้วยเหตุแรงจูงใจทางการเมืองไม่ใช่อาชญากรทั่วไป จำนวนมากเป็นเพียงแพะรับบาปตามความถนัดแบบไทย ๆ หรืออาจเกิดจากการที่ศาลตีความกฎหมายเกินขอบเขต กระทั่งไปจำกัดสิทธิตามกระบวนการยุติธรรม ในกรณีความผิดตามมาตรา 112 เสียเอง ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกประณามรัฐบาลไทย และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเหล่านี้ ทั้งหมดจึงควรได้รับการนิรโทษกรรมเป็นอันดับแรก การจำกัดสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติย่อมขัดกับหลักนิติธรรม หากพิจารณาจากโทษผู้กระทำความผิดในมาตรา 112 มีโทษระหว่าง 3 – 15 ปี ส่วนใหญ่ศาลตัดสินให้มีโทษหนึ่งกรรมไม่เกิน 5 ปี แต่ถ้าเป็นความผิดกรณีเผา หรือทำลายสถานที่ราชการ หรือเอกชน หรือมีอาวุธปืน วัตถุระเบิด มีโทษสูงระหว่าง 20 – 30 ปี หรือการก่อการร้ายยึดทำเนียบรัฐบาล และสนามบิน โทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิต การนิรโทษกรรมที่ไม่รวมคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีโทษน้อยกว่า และเป็นเพียงความผิดจากการแสดงความคิดเห็น จึงปราศจากเหตุผล และความชอบธรรมในแง่หลักนิติธรรม และความเสมอภาคโดยสิ้นเชิง หากพรรคเพื่อไทยจะตอบสนองตามความต้องการของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะไม่รวมคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สุดท้ายพรรคเพื่อไทยก็จะถูกตำหนิติเตียน อีกทั้งยังมีนักโทษการเมืองดรงอยู่อีกต่อไป หากเป็นเช่นนี้ย่อมหนีไม่พ้นจะถูกพรรคประชาธิปัตย์โจมตีว่าเป็นพรรคการเมือง เผาบ้าน เผาเมือง เพราะการเมืองแบบไทย ๆ ไร้ซึ่งจริยธรรม และพร้อมที่จะระยำสุนัขกันได้ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจตอกลิ่มให้คนเสื้อแดงแตกแยกกันเอง เท่ากับว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว แต่ถ้าพวก Hyper - Royalist และพวกค้านหัวชนฝาทั้งหลาย อาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้อีกก็ขอให้ไปอ่านพระราชดำรัสของในหลวงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ทรงตรัสไว้ว่า "ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุกตั้งแต่สมัยรัชการก่อน ๆ เป็นกบฏยังไม่เคยจับใส่คุก ไม่ลงโทษ รัชการที่ 6 ท่านไม่ลงโทษ ไม่ลงโทษผู้ที่เป็นกบฏ มาจนกระทั่งถึงต่อมารัชกาลที่ 9 นี่ ใครเป็นกบฏ ซึ่งไม่เคยมี แท้ ๆ ที่จริงก็ทำ ทำแบบเดียว ไม่ให้เข้าคุกให้ปล่อย หรือถ้าเข้าคุกแล้วก็ให้ปล่อย ถ้าไม่เข้าคุกก็ไม่ฟ้อง เพราะว่าเดือดร้อนผู้ที่ถูกด่าเป็นคนเดือดร้อน อย่างที่คนที่ละเมิดพระมหากษัตริย์นั่นแล้วก็ถูกทำโทษ ไม่ใช่คนนั้นเดือนร้อน พระมหากษัตริย์เดือดร้อนนี่ก็แปลก คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้อง ให้จับเข้าคุก อันนี้นักกฎหมายก็สอน สอนนายกบอกว่าต้องฟ้อง ต้องลงโทษ นี่ก็ขอสอนนายกว่าใครบอกให้ลงโทษ อย่าลงโทษเขา ลงโทษไม่ดี ลงท้ายไม่ใช่นายกเดือดร้อน แต่พระมหากษัตริย์เดือดร้อน" การกระทำความผิดด้วยเหตุมาจากแรงจูงใจทางการเมืองไม่ใช่อาชญากรทั่วไป จำนวนมากเป็นเพียงแพะรับบาปตามแบบฉบับไทย ๆ หรืออาจเกิดจากศาลตีความกฎหมายเกิดขอบเขตไปจำกัดสิทธิเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมในกรณีมาตรา 112 เสียเอง จนทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกประนามประเทศไทย และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้หมดไป การดำรงอยู่ของนักโทษการเมืองตามมาตรา 112 ไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยฉันใด การออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยไม่รวมเอาความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ฉันนั้น อีกทั้งยังทำให้การนิรโทษกรรมครั้งนี้ไม่มีคุณค่าความหมายต่อระบอบประชาธิปไตยแม้แต่น้อย การนิรโทษกรรมที่ไม่รวมความผิดตามมาตรา 112 จึงขัดแย้งกับคำพูดของ นายวรชัย เหมะ ที่ประกาศอย่างหนักแน่นว่าต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ติดคุกให้หมดไป ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดงที่ประกาศเป็นกฏิญาณร่วมกันที่โบนันซ่าเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ต่างอะไรจากละครลิงหลอกเจ้า ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือกลุ่มคนเสื้อเหลือง ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล และยึดสนามบิน ได้รับการประกันตัว และการดำเนินคดีที่ยืดเยื้อยาวนาน ด้วยความเมตตาจากศาล นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่นิรโทษกรรมครอบคลุมถึงพวกเขา ส่วนคนเสื้อแดงติดคุกติดตะรางกันจนชีวิตวอดวายไปหลายคนแล้ว การอภิปรายของนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ในกรณีนิรโทษกรรมไม่รวมมาตรา 112 นั้น อาจตีความด้วยนัยยะหลายประการ กล่าวคือ หนึ่ง...นายณัฐวุฒิ ไร้เดียงสา ไม่เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของพรรคประชาธิปัตย์ สอง...นายณัฐวุฒิ กำลังประจบสอพลอ เพราะได้เป็นอำมาตย์แล้ว สาม...นายณัฐวุฒิ ไม่เข้าใจแก่นสารการนิรโทษกรรม เพราะไม่มีเวลาศึกษาการนิรโทษกรรมในอดีต สี่...นายณัฐวุฒิ แกล้งโง่ เพื่อให้การอภิปรายในวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ยุติโดยเร็ว อย่างไรก็ตามขอให้ตระหนักกันว่า ไม่ว่าจะเป็นคดีเผาบ้าน เผาเมือง หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการต่อต้านการรัฐประหาร ด้วยความรักชาติ รักประชาธิปไตย การนิรโทษกรรมจึงต้องไม่มีข้อยกเว้นที่เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือกีดกันใด ๆ ทั้งสิ้น ความสงบสันติสุข และการปรองดองจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "มติประชาธิปไตย" Posted: 25 Aug 2013 04:56 AM PDT |
หมอวิทิตยื่นเอกสารเพิ่มฟ้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง Posted: 25 Aug 2013 01:57 AM PDT 25 ส.ค. 56 - หมอวิทิตพร้อมทนายความและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ฤกษ์เตรียมเดินทางไปศาลปกครองเช้าวันที่ 26 สค. 2556 ยื่นเอกสารคำชี้แจงเพิ่มเติมขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้ยกเลิกมติ ครม.ที่ให้เลิกจ้าง โต้มติบอร์ดองค์การเภสัชกรรมทุกประเด็น แจงศาลจากข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การให้อภัยที่ไม่สิ้นสุด ฮารีรายอจากใจในเรือนจำคดีไฟใต้ Posted: 25 Aug 2013 01:47 AM PDT การให้อภัยที่ไม่สิ้นสุด ฮารีรายอของผู้ต้องขังคดีไฟใต้ สิ่งที่ฉันเห็น คือภาพความเคลื่อนไหวแห่งสายใยผูกพัน คงมีไม่กี่ครั้งที่พวกผู้ชายสวมเสื้อที่มีหมายเลขกำกับอยู่ด้านหลังได้ทำหน้าที่นี้ มันช่างน่าเศร้าเหลือเกิน
แล้วคนที่มีวิถีชีวิตที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่น วันรายอของพวกเขาจะเป็นอย่างไร อย่างผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวของกับเหตุรุนแรงต่างๆนาๆ ในชายแดนใต้ สิ่งที่ฉันเห็น พวกเขายิ้มได้ หัวเราะเฮฮาดังๆ ทั้งที่พวกเขาอยู่ในโลกหนึ่งที่จำกัดสิทธิเสรีภาพบางอย่างไว้ มันช่างเป็นอะไรที่ขัดแย้งกับภาพในความรับรู้ของคนทั่วไปอย่างฉันเสียเหลือเกิน "Ma-af Zahir dan Batin" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไฟใต้เริ่มกลับมาแรง วันเดียว 5 เหตุ เจ็บ 11 ชาวบ้านตาย 5 Posted: 25 Aug 2013 01:41 AM PDT
เหตุเกิดขณะทั้ง 3 คน กำลังดื่มน้ำชาที่ร้านหน้ามัสยิดในหมู่บ้าน โดยมีคนร้ายประมาณ 7-8 คน แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ อ.ส. ขับรถยนต์กระบะมาจอดหน้าร้านและใช้อาวุธสงครามยิงหลายนัดหลังจากเกิดเหตุคนร้ายได้นำอาวุธของผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 3 กระบอกไปด้วย จากการตรวจสอบพบปลอกกระสุนปืน M 16 จำนวน 16 ปลอกตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เหตุเกิดขณะทั้งสองขับรถกระบะมาจากส่งบุตรสาวที่ปอเนาะลาลอวิทยา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี โดยคนร้ายขับรถกระบะขับแซงแล้วใช้อาวุธปืนสงครามยิงใส่ ทำให้รถกระบะของนายอับดุลเลาะเสียหลักพุ่งชนท้ายรถกระบะที่จอดอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้าม จากนั้นคนร้ายได้จอดรถก่อนลงไปยิงซ้ำจนทั้งสองเสียชีวิต ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พีมูฟประณามผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทุบตีเกษตรกรชาวสวนยาง-สวนปาล์ม Posted: 25 Aug 2013 01:36 AM PDT
แถลงการณ์ฉบับที่ 35
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สปสช.ศึกษาแนวทางญี่ปุ่นปรับการจ่ายชดเชยค่ารักษา Posted: 25 Aug 2013 01:26 AM PDT สปสช.ศึกษาระบบการจ่ายตามรายการของญี่ปุ่น หวังประยุกต์ใช้จ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศ หลังพบสถานการณ์ไทยตามรอยญี่ปุ่น ทั้งการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แนวโน้มของโรคเปลี่ยนไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเปิดตัวหนัง 'LOVE+ รักไม่ติดลบ' Posted: 25 Aug 2013 01:21 AM PDT เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เปิดตัวหนัง "LOVE+ รักไม่ติดลบ" หวังสร้างความเข้าใจกับสังคมเพื่อลดการตีตราผู้ติดเชื้อ ด้านเยาวชนย้ำ ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2556 เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ จัดงานเปิดตัวภาพยนตร์ "LOVE+ รักไม่ติดลบ" ขึ้น ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน โดยในงานมีการเสวนา "เบื้องหลังหนัง มีชีวิต(บวก)" ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สภาทนายความเสนอให้รัฐมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาโรฮิงญา Posted: 25 Aug 2013 01:14 AM PDT กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ เสนอให้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเกือบ 2,000 คน โดยระบุว่าที่ผ่านมาไม่มีนโยบายแก้ไขปัญหาทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผอ.กรุงเทพโพลล์เผยเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะถดถอยในลักษณะชะลอตัวไม่ใช่หดตัว Posted: 25 Aug 2013 01:08 AM PDT 25 ส.ค. 56 - นายกิตติศักดิ์ พรหมรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจที่มีการถกเถียงกันว่า "เศรษฐกิจปัจจุบันถดถอย หรือไม่ถดถอย" ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เศรษฐกิจถดถอยกับวิกฤติเศรษฐกิจเป็นคนละเรื่องกัน แต่ถ้าหากเศรษฐกิจถดถอยกินเวลานานเราอาจมองเป็นวิกฤติเศรษฐกิจก็ว่าได้ การถดถอยทางเศรษฐกิจ(Recession) หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าเศรษฐกิจขาลง ส่วนด้านตรงข้ามของเศรษฐกิจช่วงนี้คือ เศรษฐกิจขยายตัว(Recovery) หรือเรียกว่าเศรษฐกิจขาขึ้น ซึ่งภาวะเศรษฐกิจทั้งสองด้านนี้นักเศรษฐศาสตร์เรียกรวมว่าวัฎจักรเศรษฐกิจ(Economic Cycle) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น