โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เปิดคำสั่งศาลโดยย่อ ทำไม ‘6 ศพวัดปทุมฯ เสียชีวิตจากทหาร’

Posted: 06 Aug 2013 12:29 PM PDT

ชวนอ่านคำสั่งศาลคดี 6 ศพ วัดปทุมโดยย่อ แสดงเหตุผลว่าทำไมทั้ง 6 เสียชีวิตจากทหาร ในมือของทั้ง 6 ไม่มีเขม่าดินปืน ไม่เชื่อว่ามีการตรวจยึดอาวุธในวัดปทุมฯจริง และไม่มีชุดดำ ในคำสั่งศาลคดีดังกล่าว 

6 ส.ค.56 เวลา 9.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ช.5/2555 ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่อัยการได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลทำการไต่สวนการตายของ นายสุวรรณ ศรีรักษา ผู้ตายที่ 1 นายอัฒชัย ชุมจันทร์ ผู้ตายที่ 2 นายมงคล เข็มทอง ผู้ตายที่ 3 นายรพ สุขสถิต ผู้ตายที่ 4 นางสาวกมนเกด อัคฮาด ผู้ตายที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว ผู้ตายที่ 6 ศาลได้ประกาศไต่สวนตามระเบียบแล้วนับแต่ญาติของผู้ตายได้ยื่นคำร้องขออนุญาตซักถามและขอนำพยานนำสืบ โดยประชาไทสรุปคำสั่งที่ศาลได้อ่านในวันนี้เพื่อหาเหตุผลที่ศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายทั้ง 6 เสียชีวิตเนื่องมาจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 มม. ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหารและบริเวณถนนพระรามที่ 1 ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.

รวมไปถึงข้อสรุปของศาลที่ว่า ผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีคราบเขม่าดินปืนที่มือทั้งสองข้าง แสดงว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืนมาก่อนการเสียชีวิต การตรวจยึดอาวุธในวัดปทุมวนาราม ไม่น่าเชื่อว่ามีการตรวจยึดจริง และ กรณีชายชุดดำ ไม่ปรากฏว่ามีชายชุดดำอยู่ในบริเวณดังกล่าว ดังนี้

 

กว่าจะถึง 19 พ.ค. 53 ที่วัดปทุมฯ

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องและญาติของผู้ร้องโดยตลอดแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ใช้ชื่อว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ได้มีการจัดชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและได้มีการขยายบริเวณการชุมนุมตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศไปถึงบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนเพลินจิต ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 เพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยวันที่ 7 เมษายน 2553 นายกฯ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดปทุมธานี อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดนครปฐม อำเภอพุทธมณฑล และ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง ทั้งยังออกคำสั่งจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกฯ เป็นผู้อำนวยการ และมีข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนเป็นผู้ช่วย และยังแต่งตั้งนายสุเทพ เป็นผู้อำนวยการปฏิบัติการ และหัวหน้าผู้รับผิดชอบ

ปัญหาจะต้องวินิจฉัยประการแรกว่า ผู้ตายทั้ง 6 คือใคร ได้ความจากนายจ้างของผู้ตายทั้ง 6 ได้มีการนำสืบจากเอกสารใบมรณบัตร ประกอบกับการไต่สวน คดีจึงฟังได้ว่า ผู้ตายที่ 6 ชื่อนายสุวรรณ ศรีรักษา ผู้ตายที่2 ชื่อนายอัฒชัย ชุมจันทร์ ผู้ตายที่ 3 ชื่อนายมงคล เข็มทอง ผู้ตายที่ 4 ชื่อนายรพ สุขสถิต ผู้ตายที่ 5 ชื่อนางสาวกมนเกด อัคฮาด ผู้ตายที่ 6 อ นายอัครเดช ขันแก้ว

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า ผู้ตายทั้ง 6 ตายที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุการณ์ที่ตายเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้กระทำร้ายผู้ตายเท่าที่จะทราบได้ ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรค 5

 

ร่องรอย บาดแผล คราบเลือด วิถีกระสุน

สำหรับผู้ตายที่ 1, 3 ,4 ,5 ,6 ได้ความจากพยานหลายปาก รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญหลายปากเห็นว่า แม้ผู้ร้องและญาติของผู้ตายที่ 1,3 ถึงที่ 6 จะไม่ประจักษ์พยานในขณะที่ผู้ตายที่ 1,3 ที่ 6 ถูกกระสุนจากอาวุธจากผู้ใด แต่ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน และผู้ร้องมีพยานทุกปากซึ่งเป็นประจักษ์พยานเบิกความยืนยันถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการตายของผู้ตายที่ 1,3 ถึงผู้ตายที่ 6 อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้อย่างสอดคล้องต้องกัน เริ่มตั้งแต่จุดตำแหน่งของพยานแต่ละคนที่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งได้ยินเสียงปืนดังขึ้นมาบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมฯ กระทั่งจุดตำแหน่งของผู้ตายที่ 1 และผู้ตายที่ 3 ถูกยิง โดยเฉพาะพยานปากสำคัญ นายธวัช แสงทน และนายศักดิ์ชาย แซ่ลี้ ที่เข้าไปช่วยนำพผู้ตายที่ 1 และ 2 ตามลำดับ เข้ามาปฐมพยาบาลในเต็นท์ตามแผนที่เกิดเหตุในเอกสาร ส่วนพยานปากนางสาวนัฏธิดาและผู้ตายที่ 3 ได้ช่วยกันปฐมพยาบาลผู้ตายที่ 2 ก่อนถึงแก่ความตายภายในเต็นท์พยาบาล โดยจุดตำแหน่งที่ผู้ตายที่ 1, 3 ถึงผู้ตายที่ 6 ถูกยิงตามที่พยานทุกปากยืนยันสอดคล้องกับรายงานผลการตรวจที่เกิดเหตุของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่  20 พ.ค. พบคราบเลือดบนพื้นปูนซีเมนต์ด้านหลังสหกรณ์และบนพื้นใกล้ประตูทางออก  จากการตรวจพิสูจน์พบว่า คราบโลหิตดังกล่าวเป็นของผู้ตายที่ 4 กับคราบโลหิตบนฟูกนอนสีชมพู และคราบโลหิตติดอยู่ที่โทรโข่งบนโต๊ะสีขาวภายในเต็นท์ผ้าใบสีขาว จากการตรวจพิสูจน์พบว่า คราบโลหิตดังกล่าวเป็นของผู้ตายที่ 6 กับคราบโลหิตบนพื้นใกล้โต๊ะสีขาว ภายในเต็นท์ จากการตรวจพิสูจน์พบว่าคราบโลหิตดังกล่าวเป็นของผู้ตายที่ 3

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกไปตรวจที่เกิดเหตุคือวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 21 พ.ค.53 พบคราบโลหิตมนุษย์บริเวณถนนทางออกด้านหน้าวัด จำนวน 2 จุด แต่ละจุดห่างจากกำแพงแนววัด 5.3 และ 6.7 เมตรตามลำดับ และห่างจากแนวอาคารสหกรณ์ประมาณ 5.2 และ 3.2 เมตรตามลำดับ  กับพื้นที่เกิดเหตุด้านหลังสหกรณ์ใกล้ประตูทางออกด้านหน้าวัดจำนวน 1 จุด ห่างจากแนวรั้วกำแพงประมาณ 8 เมตร กับบริเวณพื้นขั้นบันไดคอนกรีตทางขึ้นสหกรณ์ใกล้ประตูทางออกหน้าวัดอีก 1 จุด ห่างจากแนวกำแพงหน้าวัดประมาณ 8 เมตร จุดตำแหน่งเหล่าตรงกับถ้อยคำของพยานผู้ร้องที่ยืนยันว่าผู้ตายถูกยิง ด้วยผลการตรวจคราบโลหิตของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แล้วเชื่อว่าผู้ร้อง พยานผู้ร้องทั้ง 6 ปากเห็นเหตุการณ์ในขณะที่ผู้ตายที่ 1,3 ถึงผู้ตายที่ 6 ถูกยิงจริง ส่วนทิศทางของวิถีกระสุนปืนที่ยิงผู้ตายที่ 1, 3 ถึงผู้ตายที่ 6 นั้น ได้ความจากพยานปาก พล.ต.ต.นพ.พรชัย สุธีรคุณสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เบิกความว่า พยานเป็นแพทย์ผู้ทำการผ่าพิสูจน์ศพผู้ตายที่ 3 ถึงที่ 6 เพื่อทำการหาสาเหตุการตาย ผลจากการตรวจพิสูจน์พบว่า

ผู้ตายที่ 3 มีบาดแผลฉีกขาดเป็นรูปทรงกลมบริเวณต้นแขนซ้าย 2 แห่ง ขนาด 1x2.5 ซม. และขนาด 0.8x0.5 ซม. บาดแผลทะลุผิวหนังบริเวณทรวงอกด้านซ้าย ขนาด 3.2x1 ซม. สาเหตุการตายเกิดจากบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด หัวใจ และตับ พบเศษทองแดงในเสื้อ เศษตะกั่วเล็กๆ ในปอดและหัวใจ ทิศทางมาทางซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง บนลงล่าง

ผู้ตายที่ 4 มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณต้นแขนขวาด้านนอก รูปลี ขนาด 0.6x5 ซม. ต่ำจากบ่า 17 ซม. บาดแผลต้นแขนขวาด้านใน และบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านขวา ขนาด 3.5x2.5 ซม. ต่ำจากบ่า 21 ซม. บาดแผลถลอกบริเวณกว้างหน้าท้องด้านขวา โหนกแก้มขวา ใต้คางขวา ริมฝีปากซ้าย สาเหตุการตายเกิดจากบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ตับ พบเศษทองแดง 2 ชิ้นบริเวณขั้วลิ้นลำไส้ ทิศทางขวาไปซ้าย หน้าไปหลัง บนลงล่าง

ผู้ตายที่ 6 มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณก้นด้านขวา 2 แห่งทะลุถึงกัน ขนาด 0.8x0.5 ซม.  และ 0.9x0.7 ซม. บาดแผลทะลุบริเวณก้นด้านซ้ายขนาด 0.8x0.4 ซม. บาดแผลผิวหนังทะลุหลังด้านซ้ายส่วนล่าง 2 แห่ง 0.7x 1.2 ซม. บาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณต้นแขน ขวาด้านนอก ขนาด 1x0.5 ซม. บาดแผลฉีกขาดบริเวณไหล่ขวา 4.5x3 ซม. บาดแผลฉีกขาดบริเวณใบหน้าด้านขวาขนาด 5.3 ซม. บาดแผลฉีกขาดบริเวณโคนนิ้วชี้ซ้าย สาเหตุการตายเกิดจากเลือดออกใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นนอก เนื้อสมองช้ำ  จากการถูกแรงกระแทกเกิดจากบาดแผลกระสุนปืนทะลุเข้าไปในช่องปาก ถูกยิง 2 นัด

และได้ความจากพยานปากแพทย์สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.นพ.ปกรณ์ วะศินรัตน์ ที่พิสูจน์ศพผู้ตายที่ 1 และ 5 พบว่า

ผู้ตายที่ 1 มีบาดแผลฉีกขาดรูปวงลี ขนาด .7x.5ซม. บริเวณไหล่ซ้ายด้านหน้า บาดแผลฉีกขาดรูปวงกลมขนาด .5 ซม.  บริเวณสะโพกด้านซ้าย บาดแผลฉีกขาดขอบไม่เรียบใกล้กับรูทวารหนักขนาด 1.7x0.5 ซม. บาดแผลฉีกขาดขนาด 0.7x0.5 ซม. บริเวณต้นขาซ้ายด้านนอก บาดแผลฉีกขาดขนาด 0.8x0.5 ซม. บริเวณขาหนีบด้านซ้าย บาดแผลฉีกขาดรูปขนาด ขนาด 4.3 ซม. บริเวณโคนอวัยวะเพศ และบาดแผลฉีกขาดรูปวงรีบริเวณโคนข้อเท้าขวาด้านในและด้านนอก และหลังเท้า สาเหตุการตายเกิดจากบาดแผลกระสุนปืนทะลุปอดและหัวใจ เสียโลหิตปริมาณมาก พบเศษโลหะคล้ายหัวกระสุนปืนทองแดงบริเวณกล้ามเนื้อชายโครงด้านขวา ทิศทางซ้ายไปขวา บนลงล่าง  หลังไปหน้าเล็กน้อย

ผู้ตายที่ 5 มีบาดแผลฉีกขาด ขนาด 0.7x0.5 ซม. บริเวณหลังด้านขวา บาดแผลฉีกขาดรูปวงรีขนาด 0.7x0.5 ซม. บริเวณสีข้างด้านขวา สาเหตุการตายเกิดจากบาดแผลกระสุนปืนทำลายสมองและบริเวณศีรษะ ตรงฐานกระดูกด้านซ้ายมีรูแตก ทะลุสมองฉีกขาดเล็กน้อยและสมองใหญ่ซีกซ้ายมีเลือดออกเป็นแผล พบชิ้นส่วนโลหะคล้ายลูกกระสุนปืนลูกทองแดง ในกระโหลกศีรษะด้านขวา ทิศทางจากล่างขึ้นบน หลังไปหน้า

ประเด็นเกี่ยวกับวิถีกระสุนนี้ได้ความจากพยานปาก พ.ต.ท.สุรนาท วงศ์พรหมชัย กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบิกความว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 21-29 พ.ค.53 พยานได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ ในวัดปทุมวนาราม พร้อมทั้งบริเวณด้านหน้าวัด พบรอยลักษณะคล้ายถูกยิงด้วยลูกกระสุนปืนบริเวณพื้นถนนทางออกและทางเข้าหน้าวัดจำนวนมาก

พ.ต.ท.ธีรนันท์ นคินทร์พงษ์ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจอาวุธและกระสุนปืน กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบิกความโดยสรุปว่าได้ตรวจรอยกระเทาะที่พื้นถนนดังกล่าว เชื่อว่ารอยทั้งหมดถูกยิงด้วยกระสุนปืนไม่ทราบชนิด จากด้านหน้าไปด้านหลัง จากขวาไปซ้าย ทำมุมกดลง ส่วนรอยถูกยิงที่บริเวณอาคารมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร เชื่อว่า ถูกยิงด้วยกระสุนปืนไม่ทราบชนิด จำนวน 2 นัด โดยยิงจากภายนอกเข้าสู่ภายในวัด จากด้านหน้าไปด้านหลัง 

จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุทั้งภายในวัดและบริเวณด้านนอกจนถึงบริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส พบว่าภายในวัดมีร่องรอยกระสุนปืน 23 รอย ร่องรอยกระสุนปืนบริเวณประตูทางออกวัดจำนวน 10 รอย ประตูทางเข้า 2 รอย บริเวณแผ่นป้ายโฆษณา 3 รอย ทั้งนี้ 15 รอยนั้น เกิดจากแนววิถีกระสุนที่ยิงมาจากบนลงล่าง  พยานยืนยันว่าน่าจะยิงลงมาจากบริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส ชั้นที่ 1 หรือ ชั้นที่ 2 ด้านหน้าวัด

เมื่อพิจารณาจากผลการผ่าพิสูจน์ศพผู้ตายของแพทย์ รายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับได้ความว่าด้านหลังของรางรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงข้ามกับวัดนั้น มีอาคารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงอาคารเดียว และอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าดังกล่าวประมาณ 100 เมตรเศษ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีบุคคลใดใช้อาวุธปืนยิงจากอาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มายังที่เกิดเหตุภายในวัดปทุมฯ เนื่องจากหากยิงมาจากอาคารดังกล่าว วิถีกระสุนจะต้องผ่านรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงเชื่อว่า ทิศทางของแนววิถีกระสุนที่ยิงผู้ตายที่ 1 ผู้ตายที่ 3-6  ยิงมาจากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมฯ ส่วนผู้ตายที่ 5-6 แม้แพทย์ผู้ผ่าพิสูจน์จะลงความเห็นว่า บาดแผลของผู้ตายที่ 5 มาจากทิศทางล่างขึ้นบน หลังไปหน้า บาดแผลของผู้ตายที่  6 ไม่สามารถระบุถึงทิศทางกระสุนปืนที่ยิงได้ก็ตาม เนื่องจากทางเข้าของกระสุนรวมถึงตำแหน่งพบตะกั่วในร่างกายสั้นมากก็ตาม

แต่เมื่อพิจารณาจากภาพถ่าย จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในขณะที่ผู้ตายที่ 5 และ 6 ถูกยิงนั้น ผู้ตายที่ 5 และ 6 กำลังคุกเข่า ก้มลงกับพื้นโดยหันหน้าเข้าไปในวัด จึงเป็นเหตุให้ดูเสมือนหนึ่งว่าทิศทางวิถีกระสุนที่ยิงมายังผู้ตายที่ 5 และ 6 นั้น ยิงมาจากล่างขึ้นบน  และหลังไปหน้า

 

เสียงปืนดังตรงจุดที่เจ้าพนักงานอยู่บนรางรถไฟฟ้า และไม่มีท่าทีหลบกระสุน

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า บุคคลใดที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมฯ ประเด็นนี้ได้ความจากพยานปาก   ส.ต.ท.อดุลย์ พรหมนอก เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด.ต.สุชาติ ขอมปวน เจ้าพนักงานตำรวจสังกัดกลุ่มงานบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด.ต.อานนท์ ใจก้อนแก้ว เจ้าพนักงานตำรวจ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน 31 พิษณุโลก เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 พยานได้รับคำสั่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยปราบจลาจล  กองกำลังสนับสนุน ขณะนั้นเวลา 17.30น. พยานทั้งสามอยู่ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชั้นที่ 12 อาคาร 19 ในส่วนดาดฟ้า พยานทั้งสามเห็นเหตุเกิดเพลิงไหม้ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมทั้งได้ยินเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะบริเวณหน้าวัดปทุมฯ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พยานได้ใช้กล้องถ่ายรูปบริเวณรางรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้น 1 และชั้น 2 บริเวณหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน้าวัดปทุมฯ เห็นเจ้าพนักงานบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งต่อมาใช้อาวุธปืนเล็งไปภายในวัด ในลักษณะเตรียมยิง โดยไม่มีเหตุการณ์ต่อสู้กับบุคคลใดๆ จากนั้น พยานทั้งสามได้ยินเสียงปืนดังตรงจุดที่เจ้าพนักงานอยู่บนรางรถไฟฟ้า และไม่มีท่าทีหลบกระสุน

 

ทหารบนราง BTS เบิกความรับยิงไปบริเวณวัดปทุมฯ

ประเด็นนี้ พยาน  พ.ท.นิมิตร วีระพงษ์  จ.ส.อ.สมยศ ร่มจำปา ส.อ.เดชาธร มาขุนทด  ส.อ.ภัทรนนท์ มีแสง ส.อ.สุนทร จันทร์งาม ส.อ.ญ.สาวตรี สีนวล  ส.อ.ชัยวิชิต สิทธิวงษา ส.อ.วิทูรย์ อินทำ  เจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี เบิกความว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 พยานกับผู้ใต้บังคับบัญชาทั้ง 8 รายได้รับคำสั่งจาก ศอฉ.ให้ไปประจำบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ โดยมีหน้าที่ระวังคุ้มกันเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 31 กองพันที่ 2 รักษาพระองค์ ประจำบริเวณพื้นถนนพระรามที่ 1 พ.ท.นิมิตร เป็นหัวหน้าชุดใช้อาวุธปืน M16A4 เป็นอาวุธประจำกาย ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้อาวุธปืน M16A2 พ.ท.นิมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชาอีกหนึ่งนายประจำอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่ 2 ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย  จ.ส.อ.สมยศ  ส.อ.เดชาธร  ส.อ.ภัทรนนท์  ส.อ.สุนทร   ส.อ.เกรียงศักดิ์  ส.อ.ชัยวิชิต  ส.อ.วิทูรย์  ประจำอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่ 1 ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าหน้าสนามกีฬาแห่งชาติถึงหน้าวัดปทุมวนารามด้วย กระทั่งเมื่อเวลา 15.00น. พ.ท.นิมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 บริเวณแยกปทุมวัน มุ่งหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ขณะนั้นมีชาย 2 คนใช้อาวุธปืนยิงใส่เจ้าพนักงานชุดของพยานโดยแจ้งว่า ทั้งสองคนยืนตรงแยกเฉลิมเผ่า ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่รถ 6 ล้อ ที่จอดอยู่ที่แยกเฉลิมเผ่าและบริเวณตอม่อเสารถไฟฟ้าบีทีเอสแยกเฉลิมเผ่า  เกาะกลางถนนพระรามที่ 1 ขณะนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 31 กองพันที่ 2  ประจำการอยู่ที่แยกปทุมวัน ถ.พระราม 1 ได้เคลื่อนกำลังพร้อมกับเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยของพยานบนพื้นถนนพระรามที่ 1 ในลักษณะพร้อมกัน

จนกระทั่งเวลา 18.00 พยานกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้เคลื่อนกำลังจากสถานีรถไฟฟ้าสยามเรื่อยไปจนบริเวณลานรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมฯ ผู้ใต้บังคับบัญชาของพยานจำนวน 7 นาย ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่ 1 หน้าวัดปทุม จ.ส.อ.สมยศ ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่บริเวณตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ตรงเกาะกลางถนนพระราม 1 จำนวน 4-5 นัด และบริเวณกำแพงด้านนอกวัดปทุม 1 นัด โดยอ้างว่าเห็นชายชุดดำบริเวณดังกล่าว ส.อ.เกรียงศักดิ์ ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่บริเวณที่สังเกตเห็นชายชุดดำยืนอยู่ จำนวน 14 นัด ส.อ.ชัยวิชิต ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงขึ้นฟ้าจำนวน 4 นัด ส.อ.วิทูรย์ ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงที่บริเวณตอม่อเสารถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมฯ 4-5 นัดและบริเวณท้ายรถยนต์ซึ่งจอดที่บริเวณลานจอดรถของวัด 1-2 นัด พร้อมทั้งตะโกนให้ออกมาจากใต้รถและถอดเสื้อ ส.อ.ภัทรนนท์ได้ใช้อาวุธปืนยิงที่บริเวณกำแพงด้านนอกของวัด ส.อ.เกรียงศักดิ์ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงที่บริเวณพื้นถนนหน้าวัด 4 นัด

ส.อ.ภัทรนนท์ ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่กำแพงด้านนอกของวัด ส.อ.เกรียงศักดิ์ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่บริเวณพื้นถนนหน้าวัดจำนวน 4 นัด นอกจากนี้เมื่อพิจารณาภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นว่าบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนารามไม่มีบุคคลใดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนอกจากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี โดยมีพ.ท.นิมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น เชื่อว่าพ.ท.นิมิตร วีระพงษ์ ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้าชั้นที่สอง โดยมีส.อ.สมยศ ร่มจำปา ส.อ.เดชาธร มาขุนทด ส.อ.ภัทรนนท์ มีแสง ส.อ.สุนทร จันทร์งาม ส.อ.เกรียงศักดิ์ สีบุ ส.อ.ชัยวิชิต สิทธิวงษา ส.อ.วิทูรย์ อินทำ ประจำการอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่หนึ่งตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีรถไฟฟ้าสยาม แยกเฉลิมเผ่าจนถึงหน้าวัดปทุมวนาราม รวมทั้งสะพานลอยทางเดินสกายวอล์คด้านล่างตั้งแต่รถไฟฟ้าบีทีเอสสยามเรื่อยมาจนถึงหน้าวัดปทุมวนารามเท่านั้น

 

ผ่าศพพบ เศษกระสุนปืนเล็กกลขนาด.223 หรือ 5.56 มม.

และเมื่อพิจารณาประกอบกับของกลางที่ได้มาจากการผ่าพิสูจน์ศพผู้ตายที่1 ผู้ตายที่ 3-5 ของแพทย์ผู้ผ่าพิสูจน์ศพ โดยพนักงานสอบสวนได้ส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลการตรวจพิสูจน์พบว่าวัตถุของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนโดยเป็นเศษรองกระสุนปืนเล็กกลหุ้มทองแดง ขนาด.223 หรือ 5.56 มม. เศษกระสุนปืนเล็กกลทองแดงหุ้มเหล็กและตะกั่วขนาด.223 หรือ 5.56 มม. สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตผู้อื่นและวัตถุได้

ประเด็นนี้ได้ความจากพ.ต.ท.ไพชยนต์ สุขเกษม สังกัดกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนได้เบิกความว่า อาวุธปืนเอ็ม16 ทุกรูปแบบอาทิเช่น เอ็ม16 เอ1-เอ4 และเอ็ม4จะต้องใช้กระสุนปืนขนาด.223 หรือ 5.6 มม. เศษรองกระสุนปืนและลูกกระสุนปืนตามภาพถ่ายนั้นเป็นเศษรองกระสุนปืนและเศษของกระสุนปืนเอ็ม16 เอ1-เอ4 เป็นอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงครามที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงและเป็นอาวุธประจำกายของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น เจ้าพนักงานทหาร เจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงแล้วว่าเมื่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันชุดจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี ประจำการอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ด้านหน้าวัดปทุมวนารามได้ใช้ประจำกายคืออาวุธปืนเอ็ม16 เอ2และเอ4 แม้หลังเกิดเหตุกรมสอบสวนคดีพิเศษจะส่งอาวุธปืนเล็กกลจำนวน 4 กระบอก และพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันจะส่งอาวุธปืนเล็กกลจำนวน 8 กระบอก ให้กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. ทำการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบเศษรองกระสุนและลูกกระสุนปืน ผลจากการตรวจพิสูจน์พบว่าเศษรองกระสุนและลูกกระสุนไม่ได้ใช้ยิงมาจากอาวุธปืนเล็กกลทั้ง 12 กระบอกก็ตาม ปรากฎว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้จัดส่งอาวุธปืนเล็กกลดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2553 และ 14 มี.ค. 2554 ซึ่งเป็นวันหลังจากเกิดเหตุเป็นระยะเวลานาน  ในประเด็นนี้ได้ความจาก พ.ต.อ.พิภพและพ.ต.ท.ไพชยนต์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืนสงครามยืนยันว่าอาวุธปืนเล็กกลนี้สามารถถอดประกอบชิ้นส่วนได้อาทิเช่นลำกล้อง ลูกเลื่อน เครื่องลั่นไก หากมีการถอดชิ้นส่วนดังกล่าวก่อนส่งไปตรวจพิสูจน์ก็ไม่สามารถตรวจเปรียบเทียบกับเศษรองกระสุนและลูกกระสุนปืน  ทั้งนี้ตามระเบียบการทำความสะอาดก่อนจะทำการเก็บทำความสะอาดอาวุธปืนที่ใช้  หลังจากการยิงอาวุธปืนที่ใช้หลังจากยิงทุกครั้งไม่ว่าจากการฝึกยิงหรือยิงในราชการอื่นใดจะต้องทำความสะอาดอาวุธปืนดังกล่าวทุกครั้ง การทำความสะอาดแต่ละครั้งย่อมทำให้ร่องรอยพยานหลักฐานอาวุธปืนกระบอกนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ไม่สามารถทำการตรวจพิสูจน์อาวุธปืนเล็กกลทั้ง 12 กระบอก เปรียบเทียบกับเศษรองกระสุนปืนและลูกกระสุนปืนตรงกับความเป็นจริงได้

 

ไม่มีน้ำหนักที่จะเชื่อถือได้ว่ามีชายชุดดำหรือเสื้อขาวถือ M16

และเมื่อพิจารณาจากจุดตำแหน่งเจ้าพนักงานซึ่งเป็นหน่วยทหารนี้ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่ประตูทางออกด้านในวัด บริเวณเต็นท์ด้านในวัด บริเวณกุฏิพระภายในวัดและกำแพงรั้วด้านนอกวัดบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับแนววิถีกระสุน  ซึ่งผู้ตายที่  1 ผู้ตายที่ 3-6 ถูกอาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย  ส่วนจ.ส.อ.สมยศ  ส.อ.เกรียงศักดิ์ ส.อ.ชัยวิชิต ส.อ.วิทูรย์ ส.อ.ภัทรนนท์ เบิกความว่ามีชาย 4 คนสวมชุดดำ ถืออาวุธปืนยาวบริเวณเสาตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอสด้านหน้าวัดปทุมฯ ยิงมายังเจ้าพนักงาน และมีชายสวมเสื้อสีขาวกางเกงลายพรางสวมหมวกไหมพรมถืออาวุธเอ็ม 16 หลบอยู่ข้างกุฏิวัดภายในวัด พร้อมเล็งมายังเจ้าพนักงานบนรางรถไฟฟ้าดังกล่าว จึงเห็นว่าขณะเกิดเป็นเวลากลางวันและบริเวณดังกล่าวมีผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาทำข่าวและบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  แต่กลับไม่ภาพถ่ายของชายชุดดำหรือบุคคลดังกล่าวมาแสดงแม้แต่ภาพเดียว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีเจ้าพนักงานได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตายจากการยิงต่อสู้

นอกจากนี้ยังได้ความจากปากส.อ.สุนทร จันทร์งามและส.อ.เดชาธร มาขุนทด เจ้าพนักงานทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ เบิกความว่าในวันที่เกิดเหตุประจำการอยู่ที่รถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่หนึ่ง หน้าวัดปทุม ได้ตอบทนายญาติผู้ตายที่ 1,4 ว่า ขณะที่พยานปฏิบัติหน้าที่ที่บริเวณดังกล่าวไม่มีภัยคุกคามเกิดขึ้นภายในวัดปทุมพยานจึงไม่ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิง แสดงให้เห็นว่าถอยคำของเจ้าพนักงานทหารขัดแย้งกันเองทั้งที่ประจำการอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ข้อกล่าวหานี้จึงไม่มีน้ำหนักที่จะเชื่อถือได้ว่ามีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น 

 

ช่างทำบั้งไฟปากคำไม่มีน้ำหนักเนื่องจากถูกจูงใจจากทหาร

แม้พยานปากนายอภิสิทธิ์ แสงแก้วจะเบิกความว่าพยานได้ถูกว่าจ้างให้มาทำบั้งไฟในบริเวณสี่แยกราชประสงค์  ขณะเกิดเหตุได้หลบภายในวัดปทุมวนาราม เห็นปากกระบอกปืนโผล่ออกมาจากกุฏิวัดภายในวัดและยิงไปยังเจ้าพนักงานทหารซึ่งประจำการอยู่บริเวณรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัด โดยมีการยิงตอบโต้ซึ่งกันและกัน ปรากฎว่าพยานปากนี้คำถามญาติผู้ตายที่ 1, 3, 4 ว่า ก่อนที่เจ้าพนักงานทหารจะนำตัวไปให้พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆทำการสอบปากคำ พยานถูกเจ้าพนักงานพาไปที่ค่ายทหารและรับเงินเจ้าพนักงานทหารเป็นค่าใช้จ่าย กรณีนี้ถือได้ว่าเจ้าพนักงานทหารเป็นผู้นำพยานไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำ มิใช่เป็นความสมัครใจของพยาน ทั้งที่เจ้าพนักงานที่ถูกกล่าวหาก่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการให้เงินพยานปากนี้ก็มีลักษณะเพื่อที่จะจูงใจดังนั้นถ้อยคำของพยานปากนี้จึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟัง

ข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานนำสืบว่ามีชายชุดดำถืออาวุธปืนยาวอยู่ภายในวัดปทุมฯแล้วใช้อาวุธปืนยิงมายังเจ้าพนักงานจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  ด้วยพยานหลักฐานของผู้ร้องประกอบด้วยประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวน ภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหว เชื่อว่าผู้ตายที่ 1, 3-6 ถึงแก่ความตายเพราะถูกกระสุนปืนของอาวุธปืนความเร็วสูงขนาด .223 หรือ 5.56 มม. จากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันจู่โจม กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ ที่ประจำการอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้นที่ 1 หน้าวัดปทุมวนาราม

ส่วนผู้ตายที่ 2 ได้ความจากพยานยืนยันทำนองเดียวกันว่าพยานได้เข้าไปร่วมชุมนุมตั้งแต่มี.ค. 2553 – 19 พ.ค. 2553 เวลา 13.00 น. แกนนำได้ประกาศยุติการชุมนุม ได้มีการสั่งให้ผู้ชุมนุมเดินทางไปสนามกีฬาแห่งชาติเพื่อขึ้นรถโดยสารประจำทางกลับภูมิลำเนา โดยให้เด็กและคนชราเข้าไปพักในวัดปทุมวนาราม ในขณะนั้นพยานทั้งสามได้เห็นผู้ตายที่ 2 ได้ถูกอาวุธปืนยิง โดยทิศทางกระสุนมาจากบริเวณ ถ.พระราม 1 ทางด้านห้างสรรพพสินค้าสยามพารากอน

แล้วศาลก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้นผู้ร้องและญาติผู้ตายที่ 2 จะไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงด้วยกระสุนปืนจากผู้ใด แต่ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน รวมทั้งประจักษ์พยานยืนยันถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับการตายของผู้ตายที่ 2 อย่างละเอียดทุกขั้นตอนได้อย่างสอดคล้องต้องกัน  โดยเริ่มตั้งแต่จุดที่พยานแต่ละคนเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้ยินเสียงปืนจากทิศทางแยกเฉลิมเผ่า บนถ.พระราม 1 หน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนกระทั่งถึงตำแหน่งที่ผู้ตายที่ 2 ถูกยิง โดยพยานทุกปากได้เข้าไปช่วยนำผู้ตายที่ 2 เข้าปฐมพยาบาลภายในเต็นท์ โดยเฉพาะพยานปากน.ส.ณัฎฐธิดา ผู้ตายที่ 3 และผู้ตายที่ 6 ช่วยกันปฐมพยาบาลด้วยการปั๊มหัวใจให้กับผู้ตายที่ 2 ก่อนสิ้นใจตายในเต็นท์พยาบาล

ประกอบกับได้ความจากพยานร.ท.พิษณุ ทัดแก้ว เจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารจากสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหาราบที่ 31 รักษาพระองค์ เบิกความว่า 19 พ.ค. 2553 เวลาประมาณ 13.00 น. เจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัด กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ นำโดยพ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ ได้รับคำสั่งจาก ศอฉ.  ให้เคลื่อนกำลังประมาณ 500 นาย จากแยกปทุมวัน เพื่อกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์โดยมาตามถ.พระราม 1 ทั้งฝั่งซ้ายและขวา พยานได้ใช้ปืนเล็กยาวทาโวร์ เป็นอาวุธปืนประจำกายพร้อมด้วยกระสุนปืนขนาด 5.56 มม.

จนกระทั่งเวลา 17.30 น. ของวันดังกล่าวขณะที่พยานประจำตำแหน่งอยู่เห็นชาย 2 คน ยืนอยู่ที่บริเวณขอบปูนกั้นเสาตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอสแยกเฉลิมเผ่า บุคคลดังกล่าวได้ใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงมาที่พยาน พยานจึงได้ใช้อาวุธปืนต่อสู้กับชายคนดังกล่าวจำนวน 10 นัด กระสุนปืนถูกที่ขอบปูนกั้น

 

หน้าวัดปทุมฯ เจ้าพนักงานควบคุมพื้นที่ไว้แล้วทั้งหมด

เมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ ร.ท.พิษณุกับ พลฯสมรักษ์ ส.อ.โสพล  ธีระวัฒน์ พลฯไกรสร เชื้อวัฒน์ ประจำการอยู่กับตำแหน่งที่ผู้ตายที่ 2 ถูกยิง และแนวกระสุนที่ ร.ท.พิษณุยิงไปที่บริเวณขอบกั้นเสาตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอสแยกเฉลิมเผ่า แล้วจะเห็นได้ว่าจุดที่ร.ท.พิษณุกับพวกอีกสามนายประจำการอยู่บนถ.พระราม 1 นั้น เป็นฝั่งเดียวกับผู้ตายที่ 2 ถูกยิง และแนววิถีกระสุนที่ร.ท.พิษณุยิงไปก็อยู่ในแนวระนาบกับแนววิถีกระสุนปืนซึ่งผู้ตายที่ 2 ถูกยิง  ซึ่งแนววิถีกระสุนนี้จากผลการตรวจศพของผู้ตายที่ 2 ตามรายงานการตรวจศพของแพทย์ผู้ผ่าพิสูจน์ ว่ามีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้ายส่วนบนเกิดจากกระสุนปืน ทิศทางหลังไปหน้า แนวตรง แนวระดับ  โดยเฉพาะพื้นที่ถ.พระราม 1 นั้นทั้งด้านซ้ายและด้านขวาตั้งแต่สนามกีฬาแห่งชาติจนถึงหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนไม่ปรากฎว่ามีบุคคลใดนอกจากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารหน่วยนี้ประจำการและเข้าไปควบคุมพื้นที่ถ.พระราม 1 ไว้ทั้งหมดแล้ว

ประกอบกับได้ความจาก น.ส.ผุสดี งามขำ พยานญาติผู้ตายที่ 2  ร่วมเบิกความสนับสนุนว่า ได้เข้ารวมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.- 19 พ.ค. 2553 ณ เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนถึงเวทีแยกราชประสงค์ จนกระทั่งถึงเวลา 13.00 น. ของวันที่ 19 พ.ค.2553 กลุ่ม นปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์และได้แจ้งให้ผู้ชุมนุมไปขึ้นรถโดยสารประจำทางที่สนามกีฬาแห่งชาติเพื่อกลับภูมิลำเนา ส่วนหนึ่งให้เข้าไปพักที่วัดปทุมวนารามซึ่งได้ประกาศเป็นเขตอภัยทาน พยานยังคงนั่งอยู่ที่หน้าเวทีและเดินรอบเวทีปราศรัย รวมทั้งเส้นทางของถ.พระราม 1 ขณะนั้นเวลาประมาณ 15.00 น. เศษ พยานได้เห็นเจ้าพนักงานเข้าควบคุมพื้นที่ทั้ง 4 ด้านล้อมรอบแยกราชประสงค์ไว้หมดแล้ว โดยเฉพาะบริเวณถ.พระราม 1 หน้าวัดปทุมวนารามเจ้าพนักงานได้เข้าควบคุมพื้นที่บริเวณดังกล่าวไว้แล้วทั้งหมดเช่นเดียวกัน 

 

ผู้ตายที่ 2 ตายจากกระสุนปืนของทหาร ร.31 พัน.2 รอ.

ส่วนร.ท.พิษณุเบิกความว่าเห็นชายสองคนอยู่บริเวรขอบปูนกั้นของตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอสแยกเฉลิมเผ่าได้ใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงมาจุดที่พยานประจำการนั้นเห็นว่าขณะเกิดเป็นเวลากลางวันและมีผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าไปทำข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่ไม่บันทึกภาพถ่ายของชายคนดังกล่าวมาแสดงซึ่งเป็นข้อพิรุธและสงสัย อีกทั้งถ้อยคำของ ร.ท.พิษณุ  ยังขัดแย้งกับเจ้าพนังงานทหารในหน่วยเดียวกันและประจำจุดเดียวกันและไม่ไกลกัน ตามแผนที่ในแผนผังประกอบการพิจารณา (หมาย ร.97)โดยเฉพาะ ส.อ.สมพงษ์ จินดาวัตน์ ซึ่งประจำการอยู่ใกล้กับ ร.ท.พิษณุ ตามปรากฏในแผนผังประกอบการพิจารณา กล่าวเบิกความว่าไม่มีบุคคลใดเคลื่อนไหวอยู่ที่บริเวณดังกล่าวแล้วไม่มีปลายกระบอกปืนพาดกับขอบตอหม้อรถไฟฟ้า BTS ตามภาพถ่ายเอกสารหมาย ร.100 พยานทั้ง 3 จึงไม่ได้ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงไปที่จบริเวณดังกล่าว หากชาย 2 คนบริเวณดังกล่าวใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับ ร.ท.พิษณุ ทัสแก้ว เจ้าพนักงานนายอื่นที่บริเวณดังกล่าวคงไม่ปล่อยให้ ร.ท.พิษณุ ใช้อาวุธปืนเพียงลำพังเพียงคนเดียวนานถึง 40 นาที

ด้วยพยานหลักฐานของผู้ร้องและญาติของผู้ตาย ประกอบกับประจักษ์พยายาน พยานแวดล้อมที่เกี่ยวข้องการตาย เชื่อว่าผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายเพราะถูกกระสุนปืนความเร็วสูงขนาด .223 ของเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่ประจำการอยู่ถนนพระรามที่ 1 หน้าห้างสรรพสินค้าพารากอน

 

ผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน

สำหรับการตรวจหาคลาบเขม่าดินปืนของมือผู้ตายทั้ง 6 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กับการตรวจของกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ความจาก พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เบิกความยืนยันว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ประสานมายังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ให้มาดูสถานที่เกิดเหตุภายในวัดปทุมฯ แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กับเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ได้เดินทางไปยังวัดปทุมฯ ขณะไปถึงเวลา 8.00 น. เศษ พบศพทั้ง 6 ศพ นอนเรียงอยู่ใกล้ศาลา แต่ละศพมีเสื่อคลุม พยานตรวจสถานที่เกิดเหตุ คลาบโลหิต รวมทั้งตรวจมือของผู้ตายทั้ง 6 เพื่อหาอนุภาคที่มาจากการยิงปืน ซึ่งผลการตรวจนั้นไม่พบอนุภาคที่มาจากการยิงปืนทั้ง 6 ศพ ตามรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และรายงานการตรวจพิสูจน์เอกสาร สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานราชการหน่วยแรกที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ตรวจสภาพศพทั้ง 6 ศพ รวมทั้งจัดเก็บหลักฐานการตรวจเม่าดินปืนบริเวณมือทั้ง 2 ข้างของผู้ตายทั้ง 6 ก่อนหน่วยงานอื่น โดยแสดงถึงวิธีการ จัดเก็บหลักฐานคลาบเขม่าดินปืนดังกล่าวตามหลักการวิทยาศาสตร์ไว้อย่างละเอียด ดังนั้นผลของการตรวจเขม่าดินปืนที่มือของผู้ตายทั้ง 6 ศพ ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ด้วยหลักฐานจึงเชื่อว่ามือทั้ง 2 ข้างของผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีเขม่าดินปืน แสดงว่าผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน

 

ไม่น่าเชื่อว่ามีการตรวจค้นอาวุธของกลางภายในวัดปทุมและพื้นที่บนถนนพระรามที่ 1

สำหรับอาวุธปืน กระสุนปืน และปลอกกระสุนปืน ลูกระเบิดชนิดต่างๆ ที่ตรวจยึด เห็นว่าหลังจากการตรวจยึดอาวุธปืนขอกางดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่หน่วยงานใดได้ส่งอาวุธของกลางไปส่งพิสูจน์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์หรือกองพิสูจน์หลักฐานกลางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตวรจหาลายนิ้วมือแฝงและสายพันธุกรรมดีเอ็นเอ ในการสืบหาคนร้ายที่ครอบครองของกลางดังกล่าว แม้กระทั้งปัจจุบันก็ไม่พบว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวกับของกลาง อีกทั้งของกลางดังกล่าวก็ไม่ได้ตรวจยึดในวันเกิดเหตุ คือวันี่ 19 พ.ค.53 ทันที ขณะนั้นเจ้าพนักงานทหารได้ควบคุมพื้นที่ด้านภายในวัดปทุมฯ และถนนพระรามที่ 1 ไว้หมดแล้ว ก่อนที่เจ้าหน้าที่กลุ่มงานกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เข้าไปตรวจที่เกิดเหตุ อีกทั้งการตรวจยึดของกลางก็ตรวจยึดหลังจากเกิดเหตุแล้วเป็นเวลาหลายเดือน การตรวจยึดของกลางดังกล่าวนั้นจึงมีข้อพิรุธ

ประกอบกับได้ความจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศอฉ. และ พ.ต.อ. ปรีชา เบิกความทำนองเดียวกันว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.53 ศอฉ. ได้มีคำสั่งจัดตั้งด่านแข็งแรงรอบพื้นที่การชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ จำนวน 6 จุด ต่อมาวันที่ 13 พ.ค.53 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ออกประกาศ ศอฉ. ห้ามใช้เส้นทางเข้าหรือออกเส้นทางที่กำหนดเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.53 เป็นต้นไป ในวันดังกล่าว พล.อ.อนุพงษ์ ได้ออกคำสั่งระงับการให้บริการเส้นทางคมนาคมทางน้ำ และในวันดังกล่าว พล.อ.อนุพงษ์ ได้ออกคำสั่งให้งดบริการรถไฟฟ้าสถานีราชดำริ สยาม ชิดลม รวมทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินในสถานีสีลม สถานีลุมพินี ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พ.ค.53 เป็นต้นไป นอกจากนี้วันที่ 13 พ.ค.53 กองบังคับการตำรวจนครบาลได้ออกคำสั่งกำหนดจุด 13 จุด โดยเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.53 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะเสร็จภารกิจ เจ้าหน้าที่หน่วยประจำหลักพกปืนพกประจำกาย การตั้งด่านดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ต้องการจัดการคนเข้าและออกในพื้นที่ดังกล่าวโดยห้ามไม่ให้บุคคลนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ รวมทั้งพื้นที่โดยรอบ แสดงให้เห็นว่าการตั้งด่านเข้มแข็งของเจ้าพนักงานในพื้นที่ดังกล่าวย่อมเป็นการยากที่บุคคลใดจะนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่วัดปทุมฯ และพื้นที่ถนนพระราม 1 รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ควบคุมได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานซึ่งเป็นทหาร จากพยานหลักฐานและเหตุผลดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อว่ามีการตรวจค้นอาวุธของกลางภายในวัดปทุมและพื้นที่บนถนนพระรามที่ 1

จึงมีคำสั่งว่าผู้ตายที่ 1 คือนายสุวัน ศรีรักษา ผู้ตายที่ 2 คือนายอัฐชัย ชุมจันทร์ ผู้ตายที่ 3 คือนายมงคล เข็มทอง ผู้ตายที่ 4 คือนายรพ สุขสถิต ผู้ตายที่ 5 คือ น.ส.กมนเกด อัคฮาด  ผู้ตายที่ 6 คือนายอัครเดช ขันแก้ว ถึงแก่ความตายภายในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เวลากลางวัน เหตุและพฤติการณ์การตาย สืบเนื่องมาจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 มม. ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหารและบริเวณถนนพระรามที่ 1 ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. เป็นเหตุให้ผู้ตายที่ 1 มีบาดแผลกระสุนปืนทะลุปอดและหัวใจ เสียโลหิตปริมาณมาก ผู้ตายที่ 2 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ผู้ตายที่ 3 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด หัวใจ ตับ ผู้ตายที่ 4 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ตับ ผู้ตายที่ 5 มีบาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง ผู้ตายที่ 6 มีบาดแผลกระสุนปืนทะลุเข้าไปในช่องปาก โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการอ่านคำสั่ง ศาลกล่าวสรุปประเด็นให้ผู้ที่เข้าร่วมฟังด้วยว่า 1.เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานทหาร 2.ผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีคราบเขม่าดินปืนที่มือทั้งสองข้าง แสดงว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืนมาก่อน 3.การตรวจยึดอาวุธในวัดปทุมวนาราม ไม่น่าเชื่อว่ามีการตรวจยึดจริง และ 4.กรณีชายชุดดำ ไม่ปรากฏว่ามีชายชุดดำอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยศาลมีคำสั่งให้นำคำสั่งนี้ส่งต่อให้พนักงานอัยการ เพื่อดำเนินการต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: กาฬปทุม

Posted: 06 Aug 2013 10:26 AM PDT

 

๐ ปทุมฯแดนพุทธถ้วน....พิงธรรม

อภัยทานเขตคำ............กล่าวเน้น

พุทธชนปฏิบัตินำ...........ยึดเหนี่ยว

ศานติสุขทุกข์เร้น...........ร่วมล้วนธรรมสถาน

 

๐ ใดหาญใดโหดเหี้ยม....ใดหา

ปืนส่องยิงประชา............ส่ำผู้

กากเดนนรกระอา...........สวรรค์โอด

ใครสั่งใครรับ,รู้..............นั่นแล้วทำไฉน

 

๐ อภัยเพียงเพราะพ้อง....ภัยเมือง

การณ์จบยุติเคือง...........ขุ่นแค้น

นำชาติจรุงเรือง.............คืนเหล่า

ยังสยามแสยะแม้น.........มากม้วยโดยประหาร

 

๐ หลักฐานมัดแน่นแท้.....ทหารยิง-

หกศพ,วันโหดสิง...........ห่าซ้ำ

ผิดบาป บ่ มีจริง.............จึงนิร- โทษฤา

ยุติธรรมยุติ,ย้ำ..............อยู่ใต้เมืองมาร ฯ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบช.น. เปิดเผยว่าได้เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

Posted: 06 Aug 2013 10:22 AM PDT

"พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง" เผย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รับสั่งให้ ผบ.ตร. และ ผบช.น. ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานสถานการณ์ เนื่องจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งมีอาณาบริเวณติดกับรัฐสภา

เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวานนี้ (6 ส.ค.) เมื่อเวลา 21.15 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับสั่งให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ตน และ พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต รอง ผบช.น. ที่รับผิดชอบด้านการวางกำลัง เข้าเฝ้าฯ และถวายรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันสมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ ประทับอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งมีอาณาบริเวณติดกับรัฐสภา

โดย ผบช.น. เปิดเผยว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเป็นห่วง ทั้งยังมีพระเมตตาแนะนำแนวทางการปฏิบัติ โดยทรงเป็นห่วงเจ้าหน้าที่ที่ได้ทำปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณดังกล่าว รวมถึงประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม

"เนื่องจากใกล้บริเวณที่พระองค์ท่านประทับอยู่ แล้วก็พระองค์ท่านก็จะออกมาทรงจักรยานออกกำลังพระวรกาย ซึ่งเราก็ยืนยันไปแล้วว่าทุกอย่าง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดจะไม่ทำให้ทุกอย่างระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท หากเกิดเหตุรุนแรง ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากตำรวจอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะต้องจบด้วยการเจรจา" ผบช.น. ระบุ

เมื่อผู้สื่อข่าวถาม ผบช.น. ว่า พระองค์ท่านทรงตรัสแสดงกังวลเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหรือไม่ ผบช.น. ตอบว่า พระองค์ท่านทรงห่วงใย หากเกิดการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น พระองค์จะไม่สบายพระหฤทัย

นอกจากรายงานของเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ แล้ว เดลินิวส์ ก็รายงานข่าวดังกล่าวเช่นกัน โดยรายงานคำพูดของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่กล่าวว่า พระองค์ท่านทรงห่วงใย หากเกิดการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น พระองค์จะไม่สบายพระหฤทัย และขอทุกอย่างจบด้วยการพูดคุยกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาให้ชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านพรสวรรค์ออกจากเขตป่าสงวน

Posted: 06 Aug 2013 10:08 AM PDT

กรณีชาวบ้านพรสวรรค์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ฟ้องข้อหาบุกรุกป่าเมื่อปี 2539 ล่าสุดคดีถึงชั้นศาลฎีกา ศาลมีคำสั่งให้ชาวบ้าน 1 รายออกจากพื้นที่ป่าสงวน ทั้งที่พื้นที่หมู่บ้านอยู่ในขั้นตอนออกโฉนดชุมชน โดนหลังศาลตัดสิน ชาวบ้านได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากผู้ว่าฯ แล้ว

ที่มาของภาพ: สำนักข่าวประชาธรรม

 

สำนักข่าวประชาธรรม รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 56 เวลา 10.00 น. ศาลฎีกานัดฟังคำพิจารณาคดีนายมานิตย์ อินตา ชาวบ้านพรสวรรค์ ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่กรณีบุกรุกที่ดินตัดฟันโค่นต้นไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติณศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยศาลฎีกายืนยันให้นายมานิตย์ อินตา ออกจากพื้นที่เขตป่าสงวน

สำหรับคดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก ปี 2539 ชาวบ้านพรสวรรค์กว่า 40 คนถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ควบคุมตัว และส่งสำนวนฟ้องศาลจังหวัดเชียงใหม่ในข้อหาบุกรุกก่อสร้าง แผ้วถาง ตัดฟันโค่นต้นไม้ในป่าจอมทองและแยกสำนวนการพิจารณาเป็นรายๆ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาว่าชาวบ้านมีความผิดจริงให้จำคุกทั้ง 40 ราย 6 เดือน แต่มีเหตุให้บรรเทาโทษลดโทษให้เหลือรอลงอาญาไว้ ปี 2542 ชาวบ้านได้เรียกร้องให้กรมป่าไม้จัดสรรพื้นที่ให้ทั้งนี้ ชาวบ้านไม่พอใจในการแก้ไขปัญหาล่าช้าและไม่มีความชัดเจนในการไขปัญหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวบ้านที่โดนฟ้องร้องคดีมีจำนวน 47 ราย แต่เสียชีวิตแล้ว 12 ราย เหลือ 35 รายล่าสุดวันนี้ศาลฎีกาได้นัดฟังคำพิจารณาคดีห้องพิจารณาคดีที่ 8 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยนายมานิตย์ อินตา ชาวบ้าน 1 ใน 35 รายที่ยังมีชีวิตศาลพิจารณาตัดสินให้นายมานิตย์ อินตาออกจากพื้นที่บ้านพรสวรรค์ ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

นางคำใส ปัญญามี ประธานโฉนดชุมชนบ้านพรสวรรค์ กล่าวว่า "ตนเป็นบุคคลที่สองที่ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ตนไม่รู้จะทำอย่างไรหากศาลตัดสินให้ออกจากพื้นที่ไม่รู้ว่าจะย้ายไปอยู่ไหนไม่มีที่ไปเพราะตนอยู่ในหมู่บ้านพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็พร้อมจะสู้ให้ถึงที่สุด"

ทั้งนี้ชาวบ้านประมาณ 50 คนได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ช่วยประสานงานและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชะลอและยุติการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่บ้านพรสวรรค์หมู่ที่ 14 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่โดยมีนายเจริญฤทธิ์ สงวนศักดิ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือและรับปากจะดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านต่อไป

สำหรับบ้านพรสวรรค์ ม.14 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทิศเหนือติดกับ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ทิศใต้ติดกับ บ้านอังครักษ์ ม.14 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดกับ ป่าสงวนแห่งชาติแม่วาง ทิศตะวันตกติดกับ บ้านอังครักษ์ (ใหม่) ม.15 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ชาวบ้านได้เริ่มเข้ามาแพ้วถางครั้งแรก 5 ครัวเรือน เมื่อปี พ.ศ.2517 จากนั้นก็มีครอบครัวในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอเข้ามาอยู่อีก 42 ครัวเรือน รวมเป็น 47 ครัวเรือนในปี 2526 ปัจจุบันมีทั้งหมด 62 ครัวเรือน เริ่มแรกชื่อบ้าน "ห้วยทางเลี้ยว" จากนั้นปี พ.ศ.2539 เปลี่ยนเป็นชื่อ "บ้าน 47 ราย" เนื่องจากในปีนี้ชาวบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านทั้ง 47 ครัวเรือนถูกจับดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก จากนั้นในปี พ.ศ.2542 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น "บ้านพรสวรรค์" และได้ทะเบียนบ้านชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในการเข้ามาแผ่วถางครั้งแรกนั้นเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม มีลักษณะเป็นที่รกร้าง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม ชาวบ้านที่เข้ามาครอบครัวแรกๆ นั้น เข้ามาแผ่วถางเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและปลูกพืชผักล้มลุก เช่น กล้วย พริก ฝ้าย ถั่วลิสง เป็นต้น โดยอาศัยน้ำฝน พอช่วงฤดูแล้งก็จะหยุดทำ

โดยปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าว อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาด้วยการดำเนินการตามนโยบายโฉนดชุมชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พฤกษ์ เถาถวิล: เชื้อเพลิงชีวภาพกับสังคมเกษตรกรรม

Posted: 06 Aug 2013 10:08 AM PDT

ตอนแรกของบทความชุดนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึง "คำถามว่าด้วยสังคมเกษตรกรรม" (Agrarian Questions) (http://prachatai.com/journal/2013/04/46329)  ซึ่งเป็นการพิจารณาว่า ระบบทุนนิยมได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมอย่างไร  

เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วทุกมุมโลกของพืชพลังงาน อาจกล่าวได้ว่าเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ/พืชพลังงาน เป็นกรณีดีที่สุดที่จะแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมในยุคโลกาภิวัตน์    

ในตอนนี้จะกล่าวถึง การขยายตัวของพืชพลังงาน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรม โดยนำเสนอกรณีศึกษาจากประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพระดับนำของโลกคือ ประเทศอินโดนิเซียและบราซิล เนื้อหาต่อไปนี้เรียบเรียงจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Peasant Studies ฉบับพิเศษ (Vol.37, No.4. October 2010) วารสารฉบับนี้ตีพิมพ์ชุดบทความเกี่ยวกับผลกระทบจากเชื้อเพลิงชีวภาพ  ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในวงวิชาการ  

บทความนี้จะนำเสนอกรณีศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยที่กำลังไต่อันดับขึ้นเป็นผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายสำคัญของเอเชีย การนำเสนอในบทความนี้ต่อเนื่องจากชิ้นก่อนหน้านี้ (http://prachatai.com/journal/2013/08/47977) ในประเด็นผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่ามีแนวโน้มทางลบมากกว่าบวก แต่จะแสดงให้เห็นว่า ภายใต้แนวโน้มยังมีผลลัพธ์ที่หลากหลาย  ไม่เพียงมีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนและต่อต้าน แต่ยังมีกรณีที่ได้ประโยชน์และสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพด้วย

 

การทำสวนปาล์มน้ำมันที่รุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ในประเทศอินโดนิเซีย 
ที่มาภาพ
http://news.mongabay.com

อินโดนิเซีย[1]

อินโดนิเซียเป็นประเทศอันดับหนึ่งของผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน (oil palm) สำหรับรัฐบาลอินโดนิเซียปาล์มน้ำมันคือโอกาสทางเศรษฐกิจ และหัวใจของการพัฒนาภาคเกษตร ในปี ค.ศ. 1996 รัฐบาลซูฮาร์โต วางแผนให้อินโดนิเซียขึ้นเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกแทนที่มาเลเซีย  โดยกำหนดว่าจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 5.5 ล้านเฮกตาร์ในปี  2000 ในปี 2007 บริษัทด้านพลังงาน 59 แห่งมีข้อตกลงจะลงทุนในกิจการเชื้อเพลิงชีวภาพ 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปีนั้นรัฐบาลอินโดนิเซียประกาศว่าได้เตรียมพื้นที่ "ว่างเปล่า" จำนวน  6.5 ล้านเฮกตาร์เพื่อรองรับการปลูกพืชพลังงาน  ในจำนวนนี้มีพื้นที่ 3 ล้านเฮกตาร์สำหรับปาล์มน้ำมัน และนับจากปี 2008 เป็นต้นมา อินโดนิเซียได้ขึ้นแท่นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอันดับหนึ่งของโลก

การส่งเสริมปาล์มน้ำมันของรัฐบาลอินโดนิเซีย เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาภาคเกษตร/ชนบท  ก่อนปาล์มน้ำมันก็มีการส่งเสริมพืชอื่นๆมาก่อน เช่น ยางพารา การส่งเสริมพืชเศรษฐกิจในอินโดนิเซีย เป็นไปในทำนองเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ตามทฤษฎีที่ว่า การปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นการนำเกษตรกรเข้าสู่ตลาด ซึ่งตลาดเป็นกลไกที่ให้โอกาสเกษตรกรยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และเป็นช่องทางถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และข่าวสารที่เป็นประโยชน์

การพัฒนาภาคเกษตรของอินโดนิเซีย ยังมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ คือ เริ่มจากการที่รัฐมีบทบาทและทุ่มงบประมาณสนับสนุนเต็มตัว จากนั้นภายใต้อิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ นับจากทศวรรษ 1990 โดยประมาณ  รัฐถูกตีกรอบให้ลดบทบาทและงบประมาณ เปิดให้ภาคเอกชนเป็นฝ่ายนำ  และปล่อยให้ตลาดทำงานอิสระ

กรณีศึกษาของเรา จะกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงในสุมาตรา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปลูกปาล์มน้ำมันของอินโดนิเซีย  โดยมุ่งไปที่จังหวัดจัมไบ (Jambi) ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา พื้นที่นี้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญ ในปี 2009 จังหวัดนี้มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 452,960 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 2.5 ไร่) และมีแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วและเพิ่งอนุมัติปลูกปาล์มน้ำมันอีกรวม  1,588,454 เฮกตาร์ การนำเสนอต่อไปนี้จะลำดับเวลาการส่งเสริมของรัฐซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง และกล่าวถึงกรณีศึกษาหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


ช่วงแรก เป็นช่วงที่รัฐมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนภาคเกษตร  ซึ่งอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของซูฮาร์โต (ค.ศ.1966—1998) นโยบายการเกษตรที่รัฐส่งเสริมธุรกิจการเกษตร (state agribusiness-driven) ในช่วงนี้ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์และชีวิตชนบทในสุมาตราและในพื้นที่อื่นในอินโดนิเซียอย่างมาก มีธุรกิจการเกษตรที่รัฐลงทุนเป็นเจ้าของ และที่ร่วมทุนกับเอกชนเกิดขึ้นแพร่หลาย ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเร่งรัดการเติบโตของปาล์มน้ำมัน  ได้เกิดโครงการพิเศษส่งเสริมให้บริษัทเอกชนลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมัน  

โคร่งการพิเศษฯ (ชื่อย่อว่า PIR-Trans) ดำเนินการระหว่างปี 1986 – 1994 ได้จัดเตรียมพื้นที่การเกษตรสำหรับนักลงทุน ได้แก่พื้นที่ที่เคยให้สัมปทานไม้ และเคยให้เช่าทำนิคมเกษตรกรรม (plantation) มาก่อน ซึ่งรัฐถือว่าเป็นที่ "ว่างเปล่า" พร้อมกันนั้นนักลงทุนจะได้รับสนับสนุนสินเชื่อ และรัฐจะทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น โครงการนี้ยังเกิดขึ้นพร้อมกับนโยบายส่งเสริมการย้ายถิ่นของชาวบ้านจากเกาะชวา เพื่อมาเป็นแรงงานในนิคมเกษตรกรรม  สำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของที่ดินหากต้องการเข้าร่วมโครงการก็สามารถทำได้ โดยจะได้รับสินเชื่อและการสนับสนุนในทำนองเดียวกัน   

ในขณะเดียวกัน เพื่อเตรียมที่ดินเพาะปลูก รัฐบาลได้ดำเนินโครงการจัดสรรที่ดินซึ่งเคยใช้กันบางแห่งในประเทศกำลังพัฒนาที่เรียกว่า "Nucleus Estate Schemes" โครงการนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกร (เพราะราคาปาล์มน้ำมันยังไม่สูงมาก และชาวบ้านยังมีพืชชนิดอื่นเป็นรายได้) โดยใช้พื้นที่ "ว่างเปล่า" ของรัฐ  ซึ่งที่จริงคือพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้และถือครองตามประเพณี เป็นพื้นที่จัดสรรให้แก่นักลงทุน (ที่ดินนี้เรียกว่า nuclease) ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการจัดสรรที่ดิน 2 เฮกตาร์ (เรียกว่า plasma) โดยมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและสินเชื่อสำหรับปลูกปาล์มน้ำมันของตน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเข้าเป็นแรงงานใน nuclease ด้วย สำหรับรัฐบาลโครงการนี้ให้ประโยชน์แก่นักลงทุนและชาวบ้าน แต่นักวิชาการบางคนเห็นว่ามันคือ "การแย่งยึดที่ดินสาธารณะไปให้แก่นายทุน"[2] นั่นเอง

ผลลัพธ์ในช่วงนี้คือ เกิดการขยายพื้นที่สวนปาล์มอย่างรวดเร็ว นักลงทุนได้ประโยชน์เป็นกอบเป็นกำ โครงการ PIR-Trans ถูกวิจารณ์ว่าเบื้องหลังคือผลประโยชน์ร่วมระหว่างนักลงทุนชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน (Sino-Indonesians) กับข้าราชการและนักการเมืองระดับสูง  แต่สำหรับชาวบ้าน ผู้ร่วมโครงการฯจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จ บางคนกล่าวว่าการทำงานใน nuclease ได้ค่าแรงต่ำมากจนอยู่ไม่ได้ (0.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน) หลายคนไม่สามารถรอจนถึงเวลาที่ปาล์มในแปลงของตนให้ผลผลิตจึงผละจากโครงการ บางคนขายที่ดินให้แก่คนมั่งมีในหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่บรรดาชนชั้นนำในหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น พ่อค้า ครู โครงการนี้จึงมีส่วนทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นและความแตกต่างทางเศรษฐกิจมากขึ้น        


ช่วงที่ 2 อยู่ระหว่างช่วงทศวรรษ 1990 โดยประมาณ รัฐเริ่มลดบทบาทนักพัฒนา ตามกระแสเสรีนิยมใหม่ บวกกับต้องการประหยัดงบประมาณ นโยบายในช่วงนี้คือสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำ ส่วนรัฐถอยไปสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ช่วงนี้ได้เกิดโครงการใหม่คือ "โครงการความร่วมมือเอกชน-ชุมชน"  โดยเปิดให้นักลงทุนทำความร่วมมือกับชุมชนเพื่อทำสวนปาล์ม (ชื่อย่อ KKPA) รัฐมีบทบาทสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่อแก่นักลงทุนผ่านธนาคาร นักลงทุนสนับสนุนทุนและปัจจัยการผลิตแก่ชุมชน  ชุมชนเตรียมที่ดินและแรงงาน เมื่อได้ผลผลิตเกษตรกรขายผลผลิตแก่นักลงทุน ส่วนรัฐจะให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตแก่เกษตรกร โครงการนี้อาจจัดเป็นระบบเกษตรแบบพันธะสัญญาประเภทหนึ่ง การดำเนินการช่วงนี้ต่างจากช่วงแรก เพราะราคาปาล์มน้ำมันกำลังพุ่งสูงขึ้น จึงได้รับความสนใจจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก  

ในแง่แนวคิด โครงการดูเหมือนจะเป็นไปง่ายๆ แต่ทางปฏิบัติกลับเป็นไปอย่างซับซ้อน  เพราะที่ดินในชุมชนมีการถือครองเหลื่อมซ้อนกันหลายระบบ ชุมชนมักถือครองที่ดินตามระบบประเพณี  ชาวบ้านส่วนใหญ่มีที่ทำกินคือ สวนยางพาราในเขตป่า และที่ทำไร่หมุนเวียน และชุมชนยังมีพื้นที่ป่าหรือที่สาธารณะของส่วนรวม พื้นที่เหล่านี้มักไม่ได้รับการรับรองสิทธิจากรัฐ ในบางชุมชนยังมีพื้นที่สัมปทานป่าของรัฐ และที่ดินที่ให้เอกชนเช่าทำนิคมเกษตรกรรม และบางชุมชนยังมีพื้นที่ตามโครงการ  "Nucleus Estate Schemes" ที่ดำเนินมาก่อน  ขณะที่ในชาวชุมชนก็มีฐานะแตกต่างกัน  มีทั้งกลุ่มชนชั้นนำของชุมชน เกษตรกรร่ำรวย ปานกลาง ยากจน แรงงานรับจ้าง มีทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม และกลุ่มที่ย้ายเข้ามาใหม่ตามโครงการส่งเสริมของรัฐ 

 ในการดำเนินการ นักลงทุน/บริษัทจะติดต่อกับผู้นำชุมชนให้เป็นตัวแทนจัดหาผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ  ตัวแทนชุมชนก็คือบรรดาผู้นำ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีฐานะดี ตัวแทนชุมชนจะถูกจัดตั้งเป็นกรรมการ ทำหน้าที่สำรวจที่ดิน เพื่อรวบรวมที่ดินและรายชื่อผู้ประสงค์จะเข้าร่วม แต่ปัญหาก็คือ ตัวแทนชุมชนซึ่งมีฐานะดีมักกระตือรือร้นจะเข้าร่วมโครงการ และมีผลประโยชน์กับโครงการ จึงเกิดการกระตุ้น หว่านล้อม ให้ชาวบ้านเข้าร่วมมากๆ หรือบางกรณีมีการนำพื้นที่สาธารณะของชุมชนมาเข้าโครงการ บางพื้นที่เกิดความขัดแย้งจากการอ้างพื้นที่ส่วนรวมเป็นของส่วนตัว และเกิดการอ้างระบบกรรมสิทธิ์แตกต่างกัน ปัญหายิ่งแย่ลงไปอีก เมื่อหน่วยงานรัฐสงวนท่าทีที่จะเข้ามาให้คำปรึกษา ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การขยายตัวของสวนปาล์มท่ามกลางความปั่นป่วนและขัดแย้งในชุมชน

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีหลากหลาย ขึ้นกับตัวแปรหลายประการ ในหมู่บ้านแห่งที่ 1 ท่ามกลางความปั่นป่วนและขัดแย้ง แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการทำสวนปาล์ม สามารถยกฐานะมีเงินทองร่ำรวยขึ้น หมู่บ้านแห่งนี้มีทำเลติดกับเส้นทางคมนาคมสายหลัก มีการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นมาก่อน และชาวบ้านจำนวนหนึ่งก็ได้เข้าโครงการ PIR-Trans มาก่อน ชาวบ้านมีความเท่าทันและมีอำนาจต่อรองกับคณะกรรมการสำรวจที่ดินชุมชน มีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนเข้ามาให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา การติดถนนใหญ่ทำให้มีแรงงานรับจ้างเข้ามาเป็นแรงงานในสวนปาล์ม  ชาวบ้านค้าขายพืชผลและติดต่อสัมพันธ์กับในเมืองมาก่อน ทำให้เข้าถึงข่าวสาร และมีเครือข่ายทางสังคมเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับตัว

หมู่บ้านแห่งที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างถนนใหญ่ออกมา ผลลัพธ์เป็นแบบผสมผสาน คือมีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ  และไม่ประสบความสำเร็จ คือทำแล้วไปไม่รอดต้องขายกิจการต่อให้กับคนรวย และมีทั้งกรณีที่ไม่ได้ทำสวนปาล์ม แต่ขายที่ดิน และกลายเป็นแรงงานรับจ้าง หมู่บ้านแห่งที่ 3 อยู่ในเขตป่าลึก ชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจน เข้าไม่ถึงข้อมูล แต่มีนายหน้าในหมู่บ้าน ทำงานรวมกับเกษตรกรฐานะดีจากหมู่บ้านอื่น มากว้านซื้อที่ดิน ที่ดินของชุมชนกลายเป็นพื้นที่สวนปาล์มของคนภายนอก ส่วนชาวบ้านจำนวนมากกลายเป็นแรงงานรับจ้างไร้ที่ดิน   


ช่วงที่ 3 ปลายทศวรรษ 1990 อินโดนิเซียเข้าสู่การเป็น "รัฐเสรีนิยมใหม่" (Neoliberal State)[3] เต็มตัว โดยหลักการคือ รัฐลดบทบาทนักพัฒนา และหันไปสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเสรีนิยม ภารกิจที่เด่นชัดคือ การสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบกรรมสิทธิ์เอกชน การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริการสาธารณะเข้าสู่ตลาด และส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ในช่วงเดียวกันนี้การเมืองการปกครองของอินโดนนิเซีย เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และได้ปฏิรูปไปสู่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการพัฒนาภาคเกษตรอาจนับได้ว่ารัฐส่วนกลางได้ถอนตัวออกจากภารกิจ รวมทั้งในกรณีปาล์มน้ำมันด้วย

การศึกษาในหมู่บ้านแห่งที่ 4 ซึ่งอยู่ไกลออกไปในพื้นที่ป่า พบผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป หมู่บ้านแห่งนี้ไม่ได้เข้าโครงการ PIR-Trans และ KKPA มาก่อน กระนั้นมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งทำสวนปาล์มมาก่อน ในช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก (โดยเฉพาะปี 2008 ราคาสูงเป็นประวัติการณ์)  ได้เกิดการตื่นตัวของตลาดซื้อขายที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน  ฝ่ายผู้ซื้อก็คือบรรดาชาวบ้านฐานะดีจากหมู่บ้านอื่นๆที่ประสบความสำเร็จจากการทำสวนปาล์มน้ำมันในช่วงก่อนหน้านั้น หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่สะสมทุนมาจากการค้าไม้เถื่อน ร่วมกับนายหน้าในหมู่บ้าน ฝ่ายผู้ขายก็คือชาวบ้านฐานะยากจน    

การซื้อขายที่ดินเกิดขึ้นบนระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินตามประเพณีของชุมชน โดยปกติชาวบ้านมีการซื้อขายในรูปการ "ขายสิทธิ" แต่ในกรณีสวนปาล์มผู้ซื้อต้องการกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายเพื่อความมั่นคงในการถือครอง ในทางปฏิบัติชาวบ้านสามารถร้องขอให้ทางการออกเอกสารรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ โดยการขอออกเอกสารสิทธิ์ ต้องให้ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอเป็นผู้รับรอง สถานการณ์นี้ทำให้ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอกลายเป็นผู้มีอำนาจ และสามารถมีผลประโยชน์จากกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ และในภาวะที่รัฐส่วนกลางมอบอำนาจแก่ท้องถิ่น ทำให้กลุ่มราชการท้องถิ่นกลายเป็นศูนย์รวมผลประโยชน์เรื่องที่ดิน

ผลลัพธ์ในหมู่บ้านนี้คือ เกิดกระบวนการเปลี่ยนมือที่ดินไปสู่คนนอกชุมชน ชาวบ้านยากจนขายที่ดินของครอบครัว พื้นที่สาธารณะถูกอ้างเป็นของส่วนตัวเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ ทำให้พื้นที่สาธารณะของชุมชนลดลง กระทบต่อการยังชีพของกลุ่มคนจน เกิดแรงงานรับจ้าง และแรงงานรับจ้างไร้ที่ดิน เกิดเจ้าของสวนปาล์มรวย และยากจน เนื่องจากการทำสวนปาล์มต้องลงทุนสูง ด้านปัจจัยการผลิต และการดูแลรักษา เกษตรกรที่มีเงินทุนมาก เข้าถึงสินเชื่อได้ มีเครือข่ายทางสังคมกว้างขวาง จะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ได้ประโยชน์จากตลาด แต่เกษตรกรที่ขาดความพร้อม  จะเผชิญปัญหาการผลิต  ขาดทุน เป็นหนี้ หรือต้องขายสวนปาล์มในที่สุด         

กล่าวโดยสรุป กรณีของอินโดนิเซียแสดงให้เห็น การขยายตัวของตลาดเสรี และการผนวก(inclusion) ชาวบ้านเข้าสู่ตลาด กระบวนการนี้มีความแยกแย้ง (paradox) ในตัวเอง ในด้านหนึ่ง เราคงไม่ปฏิเสธว่าชาวบ้านบางส่วนมั่งมีขึ้น และตลาดได้นำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆมาสู่ชีวิต แต่สำหรับชาวบ้านบางส่วนการเข้าสู่ตลาด คือการสูญเสียที่ดิน หนี้สิน และเป็นแรงงานราคาถูก แต่ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับชาวบ้านที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาด หรือถูกกีดกันจากตลาด (exclusion) ก็ตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ ไม่มีโอกาสพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ตัวเอง  ซึ่งไม่มีใครสมควรจะถูกทอดทิ้งเช่นนั้น

แต่การผนวกชาวบ้านเข้าสู่ตลาดก็ยังมีปัญหาอีกระดับคือ ความร่ำรวยของคนส่วนหนึ่งในชุมชน ต้องแลกกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น รวมทั้งการทำลายผืนป่า และการสูญเสียที่ดินของชุมชน หรืออาจเรียกว่าเป็นกระบวนการ "แย่งยึดที่ดิน" (land grabbing) ซึ่งตลาดทำหน้าที่ "ฟอก" ผืนป่าธรรมชาติ และที่ดินของคนจน ไปสู่มือของคนมั่งมีอย่างชอบธรรม

 

ขบวนการเกษตรกรปกป้องที่ดินทำกินในบราซิล
ที่มาภาพhttp://www.waronwant.org/

บราซิล[4]

บราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของโลก (อันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา) เศรษฐกิจของบราซิลอยู่บนฐานการเกษตรซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีการเกษตรในรูปแบบนิคมการเกษตรขนาดใหญ่ (plantation) มานาน บราซิลยังเป็นประเทศที่มีขบวนการมวลชน โดยเฉพาะเกษตรกรและแรงงานไร้ที่ดิน ที่เข้มแข็งมีชื่อเสียงระดับโลกด้วย

กรณีศึกษาต่อไปนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใน รัฐ เซา เปาโล (Sao Paulo State) ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญของประเทศ และได้กลายเป็นแหล่งปลูกพืชพลังงานป้อนอุตสาหกรรมเอทานอล และไบโอดีเซลที่คึกคักอย่างมาก กรณีศึกษามุ่งไปที่อำเภอพอนทอล (Pontal Region) ซึ่งเกิดการขยายตัวของพืชพลังงานภายใต้การส่งเสริมของบริษัทเชื้อเพลิงชีวภาพ ในขณะที่พื้นที่ส่วนหนึ่งในอำเภอนี้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินสำหรับเกษตรกรยากจน กระแสพืชพลังงานได้ทำให้เกิดการเผชิญหน้า ระหว่างบริษัทฯ กับชาวบ้านในโครงการปฏิรูปที่ดิน ฝ่ายแรกต้องการขยายพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวป้อนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่ฝ่ายหลังให้ความสำคัญกับการผลิตพืชอาหารหลากหลายชนิด

ท่ามกลางความขัดแย้ง ในปี ค.ศ. 1995 บริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่ง ได้เสนอโครงการพัฒนาการเกษตร เพื่อขอการสนับสนุนจากรัฐบาล  โครงการมีแนวคิดสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทกับเกษตรกรในโครงการปฏิรูปที่ดิน ให้เกษตรกรใช้ที่ดินของตนปลูกอ้อยให้แก่บริษัทเพื่อใช้ผลิตเอทานอล ซึ่งต่อมาโครงการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องรัฐบาลจากเห็นว่าโครงการจะสร้างงานสร้างรายได้แก่เกษตรกร เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงปัจจัยการผลิต และยังได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการนี้ โดยสนับสนุนให้เกษตรกรในโครงการปฏิรูปที่ดินเข้าร่วมโครงการ และให้สินเชื่อผ่านธนาคารแก่เกษตรกร แน่นอนว่าโครงการนี้ถูกต่อต้านจากเกษตรกรในโครงการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ  รัฐบาลประเมินว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างดี

ในปี 2002 ในขณะที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ และตลาดมีความต้องการพืชพลังงานมากขึ้น รัฐบาลได้ผลักดันโครงการในลักษณะเดียวกันอย่างจริงจังมากขึ้น ปรากฏว่าในระดับรัฐเซา เปาโล มีเกษตรกรในโครงการปฏิรูปที่ดินเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ในทำนองเดียวกับโครงการที่ผ่านมา รัฐบาลจะประเมินว่าโครงการประสบความสำเร็จ แต่การสำรวจข้อมูลจากชาวบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ  ชาวบ้านจำนวนมากที่แสดงความไม่พอใจว่า ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า เกษตรกรไม่มีโอกาสถือเงินกู้ที่ได้รับการสนับสนุน เพราะบริษัทเป็นผู้บริหารจัดการ ในบางกรณีบริษัทไม่ทำตามข้อตกลง ผัดผ่อน หรือให้ราคาไม่ตรงกับที่ตกลงไว้ ในขณะที่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และดินเสื่อมเต็มไปด้วยมลพิษ         

สถานการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นทั่วไปในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพของบราซิล แต่กรณีศึกษาในประเทศนี้มีประเด็นน่าสนใจคือ ปฏิกิริยาอันหลากหลายของขบวนการมวลชน คือแทนที่เราจะพบกับเรื่องราวแบบขาว-ดำ ที่ว่าเกษตรกรต้องต่อต้านทุนนิยมเสมอไป เรากลับพบว่าขบวนการมวลชนมีปฏิกิริยาทั้งในด้านที่ต่อต้าน ไปจนถึงสนับสนุน เข้าร่วม ใช้ประโยชน์ และต่อรองกับทุน      

สำหรับ  Via Campesina – Brazil ซึ่งเป็นองค์กรนำของเครือข่ายมวลชน (เกษตรกร แรงงาน แรงงาน คนจน) ที่รู้จักกันในระดับสากล มีจุดยืนคือคัดค้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่ก็น่าสนใจว่า  Via Campesina ไม่ได้คัดค้านอย่างปิดตาย  พวกเขาเห็นว่า แม้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นไปภายใต้ระบบอุตสาหกรรมที่ควบคุมโดยบรรษัทข้ามชาติ เพื่อสนับสนุนระบบบริโภคนิยม และปัจเจกชนนิยม และ ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ขูดรีดเกษตรกร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นสิ่งจำเป็น แต่ระบบการผลิตควรเป็นไปอย่างอย่างยืน และให้ประโยชน์แก่เกษตรกร ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่า Via Campesina ไม่ได้คัดค้านตัวเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่คัดค้านระบบอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่

ภายใต้ร่มธงนี้ ยังมีปฏิกิริยาที่แตกต่างออกไป ดังกรณีสมาพันธ์แรงงานภาคเกษตรแห่งชาติ (National Confederation of Agricultural Workers – CONTAG[5]) ซึ่งเป็นองค์กรดั้งเดิมระดับชาติของ แรงงานรับจ้างภาคเกษตร และเกษตรกรรายย่อย ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทต่อรองและมีอิทธิพลสูงต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ องค์กรสนับสนุนอย่างเต็มตัวต่อโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเห็นว่าโครงการดังกล่าวคือโอกาสที่ดีของเกษตรกร ที่จะยกระดับราคาผลผลิต และมีรายได้จากการจ้างแรงงาน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการดูแลจากองค์กรที่ทำหน้าที่เจรจาต่อรองกับรัฐให้ดูแลสภาพการจ้างและการทำตามสัญญาของบริษัทตามเงื่อนไขอย่างเป็นธรรม

กรณีสมาคมสมาพันธ์ครัวเรือนเกษตรกรในนิคมแห่งรัฐเซา เปาโลตะวันตก (Association  of Settled  Family Farmers Federation in Western Sao Paulo State – FAAFOP) เป็นอีกกรณีที่น่าสนใจ  องค์กรนี้ก่อตั้งโดย Jose Rainha Junior อดีตแกนนำคนสำคัญของขบวนการแรงงานไร้ที่ดิน (Landless Worker Movement – MST ซึ่งเป็นแนวร่วมสำคัญของ Via Campesina) Rainha  ขัดแย้งกับองค์กรเดิมจึงแยกตัวออกมาตั้งองค์กรใหม่  FAAFOP ได้ก่อตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตไบโอดีเซล และมีเกษตรกรเข้าร่วมค่อนข้างกว้างขวาง ในปี 2008 สหกรณ์ได้รวมกลุ่มขายวัตถุดิบแก่บริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลแห่งหนึ่ง  และสหกรณ์ประสบความสำเร็จในการต่อรองราคาผลผลิตและการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากบริษัท ในปี 2010 สหกรณ์มีโครงการที่จะใช้ผลผลิตวัตถุดิบจำนวนครึ่งหนึ่งของที่สมาชิกผลิตได้แปรรูปไบโอดีเซล โดยโรงงานขนาดเล็กในท้องถิ่นจะเป็นการร่วมหุ้นของสหกรณ์กับบริษัท ความฝันของ Rainha คือการที่สหกรณ์สามารถเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทข้ามชาติและรัฐบาล พร้อมกับความสามารถในการพึ่งตัวเอง ในพื้นที่การผลิตของเกษตรกรจะแบ่งพื้นที่ทำการผลิตพืชอาหารหลายชนิด สำหรับไบโอดีเซลที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งจะใช้สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรในฟาร์มของเกษตรกร ถึงแม้ว่าโครงการหุ้นส่วนกับบริษัทข้ามชาติจะยังห่างไกลความสำเร็จ แต่กิจการในด้านอื่นๆก็ก้าวหน้าไปไม่น้อย

อีกกรณีหนึ่งคือ ขบวนการเคลื่อนไหวของเกษตรกรรายย่อย (Movement of Small Farmers – MPA) ซึ่งแยกตัวออกมาจาก  MST เช่นกัน  การเคลื่อนไหวของ MPA ได้รับอิทธิพลแนวคิดสหกรณ์ตามแบบ  Rainha  จุดเน้นของกลุ่มคือการสร้างสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน เพื่อความยั่งยืนของชุมชน  สหกรณ์ของ MPA ขายวัตถุดิบแก่บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง และสามารถต่อรองให้บริษัทสนับสนุนการผลิตของสหกรณ์ได้ MPA ได้สร้างตัวแบบอุตสาหกรรมการเกษตรของสหกรณ์  โดยการผลิตอาหารควบคู่กับพลังงานจากพืชหลายชนิด ได้แก่ อ้อย มะเขือเทศ มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง สหกรณ์ผลิตสินค้าหลายอย่างเช่น น้ำตาล กากน้ำตาล(ทำปุ๋ยหรือทำเอทานอล) ขนมหวาน  สุรา อาหารสัตว์ ปุ๋ย และเอทานอล  สหกรณ์นำเสนอตัวตนในฐานะ องค์กรที่ก่อตั้งและควบคุมโดยกลุ่มครัวเรือนชาวนาระดับกลาง สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแบบประชาธิปไตย ในทุกขั้นตอนตั้งแต่แปลงการผลิตจนถึงตลาด สหกรณ์มีสาขาหลายแห่งกระจายในพื้นที่ของสมาชิก รับซื้อวัตถุดิบ และแปรรูปผลผลิตหลายอย่าง สมาชิกได้รับเงินปันผล และมีการจ้างงานสมาชิกด้วยกันหลายร้อยอัตรา 

สำหรับฝ่ายที่ยืนหยัดต่อต้านเชื้อเพลิงชีวภาพตามจุดยืนของ Via Campesina ได้แก่ MST ซึ่งเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีบทบาทสูง นอกจากนั้นยังมีกลุ่มย่อย เช่น ขบวนการเคลื่อนไหวชาวนาประชานิยม (Popular Peasant Movement – MCP) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ MPA และแตกตัวออกมาคัดค้านเชื้อเพลิงชีวภาพ  

ส่วน Via Campesina ในปี 2008 ด้วยการมุ่งมันคัดค้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ภายใต้คำประกาศ "ชาวนาผลิตอาหาร แต่เชื้อเพลิงชีวภาพให้ความหิวโหยและยากจน" ทว่าด้วยความตระหนักว่าเครือข่ายสมาชิกจำนวนหนึ่งผลิตพืชพลังงาน/เชื้อเพลิงชีวภาพ   Via Campesina ได้นำเสนอคำประกาศอย่างเป็นทางการว่าด้วย "แนวทางที่สมควรกระทำในการเข้าร่วมกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ" เป็นโครงการทดลอง 5 ปี ซึ่งนักวิชาการเห็นว่าคำประกาศนี้สะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของขบวนการไปสู่การประนีประนอมกับระบบทุนนิยม แต่ก็ยังคงสาระสำคัญของการปฏิวัติสังคม คำประกาศมีหลักการสำคัญ 6 ประการประกอบด้วย

(1) ในระหว่างที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ จะต้องได้รับการผัดผ่อนการชำระหนี้ที่เกิดจากการลงทุนเป็นเวลา 5 ปี (2) ต้องประเมินผลกระทบจากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อ ดิน และน้ำ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดโครงการ (3) การลงทุนจะต้องนำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมของชาวนา สนับสนุนเครือข่ายทางสังคม และลดการบริโภคนิยม (4) องค์กรชาวนาจะสนับสนุนรัฐบาลและสถาบัน ที่ส่งเสริมการผลิตและการกระจายอาหารที่ช่วยลด carbon footprint, ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน, เคารพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม และช่วยแกไขปัญหาโลกร้อน (5) นโยบายการเกษตรของรัฐควรมุ่งไปสู่การสร้างความยั่งยืนของชุมชน และวิถีชีวิต บนพื้นฐานของอธิปไตยทางอาหาร และการปฏิรูปที่ดินในความหมายที่แท้จริง (6) รูปแบบการพัฒนาและการบริโภคที่มีความรับผิดชอบควรได้รับการส่งเสริมให้ทั่วถึง.

 

การเปลี่ยนผ่านสังคมเกษตรกรรม ?

ในวงวิชาการและวงการพัฒนามีข้อถกเถียงระหว่างสองกระบวนทัศน์ซึ่งไม่เคยลดละ ฝ่ายหนึ่งคือ กระบวนทัศน์ทุนนิยมภาคเกษตร (agrarian capitalist paradigm) อีกฝ่ายคือ กระบวนทัศน์         คำถามว่าด้วยสังคมเกษตรกรรม (agrarian question paradigm) ฝ่ายแรกเห็นว่า การพัฒนาภาคเกษตรก็คือการพัฒนาไปสู่ระบบทุนนิยม โดยการผนวก (inclusion) เกษตรกรเข้าสู่ตลาด ตลาดคือสถาบัน/กลไกที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิต ชาวนาควรเปลี่ยนตัวเองไปสู่การเป็นเกษตรกร ทำการผลิตในระบบฟาร์ม ในฐานะผู้ประกอบการการเกษตร ใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในทุกสังคมจะมีช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นทุนนิยมการเกษตร ซึ่งอาจเกิดปัญหาไม่พึงประสงค์ แต่จะไปถึงจุดที่ก้าวหน้าได้ในที่สุด แต่ฝ่ายหลังซึ่งเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ กลับตั้งข้อสงสัยกับความเปลี่ยนแปลง โดยสนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมทางสังคมมากกว่า  เพราะเราไม่อาจบอกได้ว่าช่วงเปลี่ยนผ่านจะสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน  จึงสำคัญไม่น้อยกว่าปลายทางที่ต้องการไปให้ถึง 

กรณีศึกษาอินโดนิเซียและบราซิล มีจุดร่วมกันในประเด็นข้อถกเถียงระหว่าง 2 กระบวนทัศน์ โดยมีเชื้อเพลิงชีวภาพ/พืชพลังงานเป็นสื่อกลาง  และสถานการณ์ที่ร่วมกันอีกก็คือ การขยายตัวของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพภายใต้ระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่แผ่ขยายจากประเทศทุนนิยมศูนย์กลางแทรกซอนออกไปแสวงหาทรัพยากรและแรงงานราคาถูก ภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ และการอำนวยความสะดวกของรัฐประเทศกำลังพัฒนา แต่ในกรณีศึกษานี้ยังมีข้อค้นพบที่น่าสนใจมากกว่านั้นด้วย

กรณีอินโดนิเซีย การศึกษาทั้งสนับสนุนและล้มล้างสมมุติฐานว่าด้วยบทบาทของตลาด ของฝ่าย agrarian capitalist paradigm ในด้านสนับสนุน การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การไม่สามารถเข้าร่วมหรือถูกีดกันจากตลาด (exclusion) ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพัฒนาการผลิตและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ได้  แต่ในด้านที่คัดค้านสมมุติฐานก็คือ การเข้าร่วม (inclusion) กับตลาดไม่จำเป็นว่าจะทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้นเสมอไป หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็น การแบ่งแยกทางชนชั้น ความยากจน และการเสื่อมโทรมของทรัพยากร อย่างฉับพลัน

หากวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้การเข้าร่วมกับตลาดเป็นปัญหาอาจกล่าวได้ว่า  ในกรณีของหมู่บ้านศึกษาคือ ปัญหาความเข็มแข็งเชิงสถาบัน (institution) ดังที่ที่ดินของชุมชนได้หลุดจากการควบคุมตามประเพณี  กลายเป็น "สินค้า" ที่ถูกซื้อได้ด้วยเงินโดยไม่มีกฎเกณฑ์กำกับควบคุม การไม่สามารถปรับตัวเชิงสถาบัน อาจเกิดจากสาเหตุแตกต่างกันในแต่ละชุมชน และการไม่สามารถปรับตัวจะเลวร้ายมากขึ้นอีก ในเงื่อนไขที่รัฐไม่รับรองระบบกรรมสิทธิ์ตามประเพณี และการกระแทกเข้ามาอย่างรวดเร็วของตลาดที่ดิน ในกรณีชุมชนตัวอย่างยังเห็นอีกด้วยว่า ตัวแปรสำคัญที่ทำให้สถานการณ์แย่ลงก็คือ ชนชั้นนำในชุมชน ซึ่งแทนที่จะมีบทบาทสร้างความเข้มแข็งทางสถาบัน กลับกลายเป็นผู้หาประโยชน์จากตลาด       

กรณีของบราซิล  การต่อสู้ระหว่าง 2 กระบวนทัศน์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน  ในประเทศเกษตรกรรมขนาดใหญ่อย่างบราซิล สำหรับรัฐ การพัฒนาทุนนิยมภาคเกษตร คือคำตอบของการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในขณะที่ฝ่ายขบวนการเกษตรกรที่ผ่านประสบการณ์ และมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ก็ยืนหยัดวิพากษ์วิจารณ์และต่อรองเชิงนโยบายกับรัฐมานาน การต่อสู้ระหว่างสองกระบวนทัศน์สะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ผ่านการต่อสู้เรื่องอาณาเขตที่ดินระหว่างการใช้ที่ดินเพื่อผลิตพืชเชิงเดี่ยวป้อนอุตสาหกรรมเกษตร กับที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการยังชีพ และการผลิตที่หลากหลายของเกษตรกร กล่าวในเชิงทฤษฎี กระบวนการลบล้าง – สร้างใหม่ของเขตแดน (de and re – territorialization) เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและมีพลวัตในชนบท พร้อมกับกระบวนการสูญหาย – เกิดใหม่ของเกษตรกร (de and re – agrarianization) กระบวนทัศน์ที่ต่างกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างคิด กระทำการ สร้างความหมาย  และต่อสู้ในแนวทางที่ต่างกัน    

การต่อสู้ของขบวนการมวลชนยังทำให้เราเห็นอีกว่า สำหรับเกษตรกรในฐานะผู้กระทำการทางสังคม ก็มีความเห็นแตกต่างหลากหลาย และไม่ได้เป็นขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่เหมือนๆกันไปหมด พวกเขาบางกลุ่มไม่ได้เลือกระหว่างสองขั้วของสองกระบวนทัศน์ แต่พวกเขาสร้างพื้นที่ระหว่างกลางขึ้นมา และพยายามปรับตัวและต่อรองอย่างน่าสนใจ 

ประสบการณ์ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ที่กำลังถีบตัวขึ้นมาเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายสำคัญ.

 




[1] หัวข้อนี้เรียบเรียงจาก  McCarthy, John F., 2010. Process of inclusion and adverse incorporation : oil palm and agrarian change in Sumatra, Indonesia . The  Journal of Peasant Studies. Vol.37, No4. October. Pp. 821-850.  ในกรณีที่มีการอ้างอิงเพิ่มเติม ผู้เขียนต้องการเน้นให้เห็นแหล่งอ้างอิงที่สำคัญ เพื่อประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป

[2] "primitive accumulation by enclosure" Nevins, S. and N.L Peluso. 2008 Taking Southeast Asia to the market : communities, nature, and people in neoliberal age. Cornell University Press. Cited in McCarthy, John F., 2010 pp. 829.

[3] Harvey, D. 2005, A short history of neoliberalism. Oxford : Oxford University Press. pp 64 Cited in  McCarthy, John F., 2010.pp. 839.

[4] หัวข้อนี้เรียบเรียงจาก Fernandes, Bernado Mancano, Clifford Andrew Welch and Elienai Constantino Goncalves. 2010. Agrofuel policys in Brazil : paradamatic and territorial disputes. The  Journal of Peasant Studies. Vol.37, No4. October. Pp 793-819.

[5] อักษรย่อนี้และต่อไปข้างหน้า เป็นอักษรย่อตามภาษาโปรตุเกสซึ่งเป็นภาษาทางการของบราซิล   

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นอกลู่วิ่งของวัยรุ่น: จากพี่มาก ฮอร์โมน ถึงเนติวิทย์

Posted: 06 Aug 2013 09:18 AM PDT

เสียงซุบซิบทางไลน์ดังไปยันข่าวพาดหัวถึงบุคคลไฮไลท์ทั้ง 3 เรื่อง กับความ "เกินงาม" ในบางประเด็น ร้อนถึงแท่นปกครอง จนถึงกระทรวงอ่านเขียน ออกมาวิพากษ์กันทั่วหน้า
    
พี่มากบอกความในตอนไปรบว่า "ไม่เคยคิดถึง "สยามประเทศ" คิดถึงแต่ตะเอง (นางนาก)" ถูกโจมตีเรื่องความไม่รักชาติ จนหูชา หลังโกยรายได้ไปกว่าพันล้าน

หนังฮอร์โมน วัยว้าวุ่น กับฉากสาวสไปร์ทไฟแรงสูงตะโกนใส่เพื่อนชาย "อารมณ์น่ะมี แต่ถ้าไม่มีถุงยางก็อดโว้ย" แล้วผละตัวออกจากใต้โต๊ะห้องเรียนในเครื่องแบบ ม.5 ที่หลุดรุ่ย สร้างแรงสะเทือนไปถึงห้องประชุมรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ ที่มองเป็นการชี้นำเรื่องเพศ ขณะที่ channel one โกยเรทติ้งของยอดผู้ชมหลักล้าน

เนติวิทย์ นักคิดแนวเสรีนิยมชั้น ม.5 สวมวิญญาณหลาน ดร.ป๋วย แฉ "ปฏิวัติการศึกษาไทย เป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่แก้ปากท้องด้านเศรษฐกิจคนไทย เพราะเด็กๆ ยังต้องช่วยพ่อแม่ทำงานแทนที่จะอ่านหนังสือ ยกแนวคิด "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ฉีกกฎแรงโน้มถ่วงของผู้ใหญ่ จนเป็นเป้าสายตาในอีกหลายประเด็น

ทุกอารมณ์ในวัยรุ่น สามารถปะทุขึ้นได้

อารมณ์โดนๆ ที่จงใจกระแทกผู้ใหญ่ให้มองไปที่ "ความจริง" มากกว่า "สิ่งที่รับได้" เป็นโจทย์ให้ใครหลายคนฉุกคิด

หนึ่งในผลจากสังคมแห่งโซเชียลยุคที่ว่า ไม่มีอะไรที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีสิ่งใดที่ใครจะมองไม่เห็น ตั้งแต่การเมืองไปจนเรื่องในมุ้งของชาวบ้านล้วนถูกเปิดเผย ล้วงลึก แหวก "ขนบ" ออกมาให้โลกได้ประจักษ์ กรอบอำนาจที่ตกทอดกันมา เช่น กฎระเบียบในโรงเรียน ทรงผม การแต่งเครื่องแบบ กำลังถูกเด็กย้อนถามถึงเหตุผล ซึ่งอยู่ในหนังฮอร์โมนตอนแรก หรือการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กของเนติวิทย์ ผู้นำที่ทำให้เกิดการรวมตัวของนักเรียนหลายแห่งเป็น "แฟนเพจสมาพันธ์นักเรียนไทย" ร่วมขับเคลื่อนให้ยกเลิกระเบียบบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน หญิงสั้นเสมอติ่งหู หรือประเด็นหนัง "พี่มาก พระโขนง" ที่ทำให้พระเอกของเรื่อง (พี่มาก) กลายเป็นชายชาติทหารที่มีบุคลิกแบ๊วๆ ง๊องแง๊ง ปะทะกับคติความเชื่อเดิมที่ปลูกฝังว่า ชาย (ไทย) ต้องแข็งแกร่ง และรักชาติ ต้องผ่านการฝึกให้พร้อมรบเมื่อเกิดภาวะสงคราม ขณะที่ในสังคม หลายคนยังไม่ศรัทธา "หน้าที่พลเมือง" ดีพอ จึงเต็มไปด้วยการหมกเม็ดคดีหนีทหารที่มีมานาน แต่ไม่ถูกกล่าวถึง

ทว่า "ความจริง" มักปรากฏเป็นคลื่นใต้น้ำจนเรื่องแดงขึ้นมา สัญญาณเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยคงไม่มีแค่ลู่เดิมๆ อีกต่อไปแล้ว นอกเส้นที่ขีดกรอบ ยังมีทางเลือกใหม่ๆ ต่างเหตุ ต่างผล คำว่า "ถูก" "ผิด" "เหมาะ" "ควร" อาจใช้ไม่ได้ในยุคสมัยหนึ่ง เพราะทุกความคิด ล้วนมีค่าและมีความหมายในตัวมันเองทั้งสิ้น

กลับมาที่ 3 ความดังทะลุฟ้า พี่มาก ฮอร์โมน เนติวิทย์

จะดีกว่าไหม ถ้าเรานำ "จุดแข็ง" ของกระแสเหล่านี้ มาเป็นเครื่องมือดีๆ เพื่อไม่ให้มีอะไร "เสียของ"

ป้ามล หรือทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษกเป็นตัวอย่างของผู้ที่พยายามนำเรื่องรอบตัวมาประยุกต์เป็นเครื่องมือจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กก้าวพลาดที่ต้องโทษคดี มากว่าสิบปี ที่ทดลองกับโจทย์อันแสนยาก ป้ามักหยิบหนัง หรือข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มาให้เด็กๆ ช่วยกันคิด แสดงความเห็นกัน ตั้งบอร์ดกระทู้ รับฟังปัญหาบ้าง เขียนเป็นจดหมายบ้าง และอีกหลายวิธี ซึ่งป้าบอกเสมอว่า แรงกดดันทางสังคมทำให้เยาวชนเสียรูปทรงไปบ้าง แต่ป้าก็เชื่อว่า "เด็กน้อยย่อมโตเข้าหาแสง" หากผู้ใหญ่ช่วยสร้างกระบวนการให้เด็กเยาวชนได้คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตัวเอง รื้อฟื้นเกราะป้องกันในจิตวิญญาณของพวกเขา หรือที่เรียกว่า self-control ดึงแสงสว่างในตัวเด็กออกมา แล้วใส่การชื่นชมลงไปให้พวกเขาเห็นศักยภาพในตัวเขาเอง นั่นเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนา "เยาวชนเชิงบวก" ให้เด็กคืนรูปสู่ตัวตนแท้จริง ซึ่งป้าได้ทดลองกับเด็กมาแล้วหลายรุ่นอย่างอย่างได้ผล

ในกรณีหนังฮอร์โมนว้าวุ่น หากเราฉวยโอกาสกับกระแสนี้ ดึงบางตอนของหนังมา

ตั้งโจทย์ให้วิเคราะห์ในห้องเรียน ฉากที่ "สไปร์ทจะมีอะไรกับเพื่อน" นำขึ้นมาเป็นกระทู้ถกกัน

ว่า "มีเพศสัมพันธ์ตอนอายุเท่านี้ได้หรือไม่" โดยเปิดรับคำตอบทั้ง "ได้" "ใช่เลย" "มีก็ดี" "ห้าม"

"ไม่ควร" "แอบมีได้" "ยังไม่ถึงเวลา" ฯลฯ และเด็กอาจถามต่อว่า พวกเรามีประจำเดือนกันแล้วก็เป็นวัยที่พร้อมเจริญพันธุ์ซึ่งครูควรนิ่งฟัง อย่าเพิ่งดันเรื่อง "รักนวลสงวนตัว" ที่จับต้องไม่ได้เข้าไปให้พวกเขา ไม่ตำหนิ ตีกรอบ หรือชี้นำ ครูมีหน้าที่ให้ข้อมูลว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วบ้าง บอกผลลัพท์ของทุกทางเลือก ทุกคำตอบ แล้วช่วยเสริมประเด็นที่เด็กขาด และต้องไม่ลืมจัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กกล้าพูด กล้าถกกันด้วยเหตุผล "ใจครู" ต้องกล้าพอที่จะยอมรับคำตอบที่อาจไม่ตรงกับความรู้สึก อาจขัดกับความเชื่อเดิมของตัวเอง เช่น เด็กอาจตอบว่า มีเพศสัมพันธ์สนุกดี เพราะได้ปลดปล่อยอารมณ์เพศดีกว่าช่วยตัวเอง ฯลฯ แต่ต้องพาเด็กคิดต่อ ชวนคุยให้ลึกขึ้น เช่น ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงรู้เข้าจะเกิดอะไร เราต้องแต่งงานกับใครสักคนตอนนี้มีความพร้อมไหม ต้องเตรียมตัวเป็นพ่อ-แม่มือใหม่อย่างไร หรือการที่แฟนคนนี้อาจยังไม่ใช่เนื้อคู่ที่ต้องการในอนาคตจะทำอย่างไร เป็นต้น

เพราะวัยรุ่นมีโอกาสถลำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงเมื่อใดก็ได้ การเรียนรู้จากการ "ตอบคำถาม" และ "จินตนาการถึงประสบการณ์ที่ท้าทาย" จะช่วยสร้างทักษะการคิดให้พวกเขานำไปใช้ได้จริง เพราะเขาจะรอดได้อย่างไรหากไม่ซ้อม เช่น เมื่อเขาได้อยู่กับแฟนในบรรยากาศที่พร้อมจะมีอะไรกัน ถูกหลอกให้เจอผู้ชายที่ฉวยโอกาส ถูกล่วงละเมิด ฯลฯ เด็กต้องการการเตรียมพร้อมในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งเครื่องมือในอดีตที่ครูมักสรุปแทนว่า "เด็กยังไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กันในตอนนี้" ควรเปลี่ยนเป็นคำถามทัศนะว่ามองเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นแบบใด หากมีเพศสัมพันธ์ตอน (วัย) นี้ มีข้อดีอะไร ข้อเสียยังไง (ซึ่งเด็กอาจตอบตามแนวผู้ใหญ่ เช่น เสี่ยงท้องหรือติดโรค) แล้วจึงค่อยถามต่อว่า "หนูจะยอมรับโอกาสเสี่ยงได้แค่ไหน" "เชื่อมั่นว่าควบคุมตัวเองได้ 100% ทุกครั้งหรือเปล่า" คำถามแบบนี้จะช่วยสะกิดใจเด็กที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือยังลังเลให้หันมาชั่งน้ำหนักว่าเขาจะควบคุมความเสี่ยงนั้นได้ทุกครั้งจริงหรือ ส่วนเด็กที่มีประสบการณ์ทางเพศแล้วก็จะคิดทบทวนดูว่าการป้องกันที่มีอยู่เพียงพอหรือยัง รวมทั้งจัดให้เด็กได้เรียนรู้เรื่อง "ถุงยางอนามัย" การคุมกำเนิดในแบบต่างๆ ทางเลือกเมื่อเกิดพลาดตั้งครรภ์ขึ้น พวกเขาจะรับมือกับเรื่องเหล่านี้ในโจทย์ของตัวเองอย่างไร

"ไม่ใช่ว่า..เราจะให้เลิกสอนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องทักษะชีวิต ควรจัดเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญกับเด็กจริงๆ เพราะก่อนที่จะเก่งวิชาใดๆ พวกเขาต้องมีชีวิตรอดอย่างปลอดภัยให้ได้ก่อน" ป้ามลกล่าวบนเวทีวิชาการเพศศึกษาเพื่อเยาวชนภาคอีสาน "เพศวิถีศึกษากับการเรียนรู้และทักษะสำหรับโลกศตวรรษที่ 21" เมื่อวันที่  20-21 มิถุนายน 2556 จ.ร้อยเอ็ด ที่ผ่านมา

จุดเน้นคือกระบวนการถ่ายทอดที่ต่างไปจากวิธีเดิม เพราะปัจจุบันทางเลือกมีได้หลายทางมากขึ้น มีลู่วิ่งที่เพิ่มขึ้นตามยุคสมัย ครูจึงไม่จำเป็นต้องชี้นำว่า สิ่งใดควรหรือไม่ควรกระทำอีกแล้ว ไม่ตอกย้ำ "คุณค่าแห่งพรหมจรรย์"  (ที่อาจทำให้เด็กที่มีประสบการณ์ทางเพศแล้วถูกตีตรา) หรือขู่ว่า "เธออาจติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์" เพราะเด็กยังมองไม่เห็นว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างไร หรือการบอกว่า "รอให้โตกว่านี้ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องเพศ" ยิ่งสวนทางกับพัฒนาการทางร่างกายของพวกเขา มิหนำซ้ำเด็กบางคนเลี่ยงครูไปหันเข้าหาแหล่งข้อมูลเสี่ยง หรือความเชื่อแบบผิดๆ เมื่อขาดทักษะ โอกาสพลาดก็มีมากขึ้น และยังต้องฝ่าภัยมืดที่มากับสื่อออนไลน์รุกคืบผ่านสมาร์ทโฟนของพวกเขาอีกด้วย

การออกแบบการเรียนรู้ของ "เพศวิถีศึกษา" เป็นหลักการเดียวในข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมด และนี่เองเป็นเหตุผลของความพยายามในการผลักดัน "เพศวิถีศึกษา" เข้าไปในโรงเรียน โดยสำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การแพธ กำลังทำงานร่วมกันอยู่ ซึ่งประเทศไทยขณะนี้มีโรงเรียนราว 2,400 แห่งรวมทั้งอาชีวศึกษาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ที่เหลืออีกกว่า 20,000 แห่ง ยังคงรอการสนับสนุนจากแหล่งทุนที่เห็นความสำคัญ

"เพราะเราไม่ได้บอกถูก บอกผิด เวลาสอน บางทียังได้ความรู้จากเด็กอีก เด็กก็สามารถตอบโต้กับเราได้ ในเรื่องการใส่ถุงยางอนามัย การป้องกัน เด็กตอบได้ทันที เราคิดว่าเด็กมีความรู้จริง แต่ทำยังไงให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถวิเคราะห์ แยกแยะได้ ซึ่งที่ผ่านมา โรงเรียนสหศึกษาอย่างเรา พอนักเรียนชายหญิงชอบกัน ผู้ชายบอกเลิก ผู้หญิงมักไม่ยอมรับ มีเรื่องกันในโรงอาหาร เอาก๋วยเตี๋ยวราดกันบ้าง แต่เมื่อนำเพศวิถีศึกษาเข้าไป ก็ไม่เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทด้านชู้สาวอีกเลย หมดเลย หมายถึงพอใครเลิกกับใคร ก็ไม่มีใครเป็นใครตาย" อาจารย์นิภาดา ดำริห์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม ผู้ดูแลงานกิจการนักเรียน เล่าถึงผลจากการนำ "เพศวิถีศึกษา" เข้าไปในโรงเรียนมากว่า 8 ปีแล้ว จนทำให้สถานการณ์ของเด็กๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องท้องในวัยรุ่น ยังรวมถึงปัญหาความรุนแรง และยาเสพติด ให้คลี่คลายลงได้ด้วย*

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการหยิบบางประเด็นมาชี้ให้เห็นว่า กระแสข่าวแรงๆ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้เยาวชนได้ แต่ถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ทุกฝ่ายควรช่วยกันจัดสภาพสังคมที่เอื้อให้เด็กแสดงออกได้มากขึ้น ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ดึงความสนใจจากพลังอันเหลือเฟือของพวกเขา ใช้ "ทักษะชีวิตและการคิดวิเคราะห์" มากอบกู้จิตวิญญาณความเป็น "หนุ่มสาวรุ่นใหม่" ให้มีภูมิคุ้มชีวิตท่ามกลางกระแสโลกเสรีในขณะนี้ อย่าลืมว่าผู้นั่งแท่นบริหารประเทศต้องอ่านเกมให้ออก ไม่หันเข้าสู่ กับดักเดิมๆ ด้วยความหวังดีแบบ "คิดแทน" คงไม่ต้องดึงเนติวิทย์มาจัดค่ายปลุกพลังวัยรุ่น ไม่เลือกใช้วิธีตามอุด ด้วยมุข "กำกับ" "ระงับ" หรือ "คาดโทษ" หรือปล่อยปละจนเรื่องซาไปเอง เพราะสุดท้ายก็จะต้องวนอยู่กับปัญหาเดิมที่แก้ไม่ตก ขัดกับความหมายของการเป็นกำลังพัฒนาอย่างยิ่ง

ง่ายกว่าไหม ถ้าหันมาตั้งคำถามด้วยกัน แล้วเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเยาวชน..!!

 


หมายเหตุ  *เพราะการเรียนรู้พัฒนาการร่างกายที่มีในวิชาสุขศึกษา เป็นทฤษฎีบอกถึงการรักษาสุขภาพ ซึ่งไม่ครอบคลุมในหลายประเด็น เช่น สัมพันธภาพ พฤติกรรมทางเพศ ฯลฯ ต่างกับกระบวนการเรียนรู้ "เพศวิถีศึกษา" ที่เน้นสร้างการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ทั้งกายและใจที่ถูกต้องและรอบด้าน ฝึกทักษะจำเป็นในการดำเนินชีวิตที่ช่วยวัยรุ่นปลอดภัย ผ่านเกม กิจกรรม การตั้งคำถาม และกระบวนการอื่นๆ ที่เยาวชนจะคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ตามช่วงวัย พร้อมสื่อเรียนรู้ที่ตรงความสนใจของวัยรุ่น (ดาวน์โหลด คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้และสื่อที่เกี่ยวข้อง ได้ที่ www.teenpath.net)

 

ที่มา: โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ http://www.teenpath.net/content.asp?ID=17051#.UgEdUpJgfwh

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูเอ็น-ฮิวแมนไรท์วอทช์กังวลร่างนิรโทษฯยกผิดคนละเมิดสิทธิสลายชุมนุม 53

Posted: 06 Aug 2013 08:45 AM PDT

6 ส.ค. 56 - โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เซซิล ปุยอิลลิ แสดงความกังวลต่อร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่กำลังจะผ่านเข้าสภาในสัปดาห์นี้ในประเทศไทย โดยระบุว่าหากผ่านกฎหมายดังกล่าว จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการสลายการชุมนุมเดือนเม.ย. - พ.ค. 2553 ต้องพ้นความรับผิดชอบ
 
โฆษกข้าหลวงใหญ่ฯ เสนอแนะให้รัฐบาลทำตามข้อแนะนำของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และให้เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นการวางรากฐานที่ดีในประเทศไทย 
 
"เราเรียกร้องให้รัฐบาลทำให้แน่ใจว่า การนิรโทษกรรมครั้งไหนๆ ก็ตาม จะไม่รวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและต้องมีมาตรการที่จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำการดังกล่าว" ปุยอิลลิระบุในการแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 
ในขณะที่วานนี้ องค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์คัดค้านการนิรโทษกรรมทหารและผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง โดยระบุว่าการดำเนินคดีผู้กระทำผิด จำเป็นต่อการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และการปรองดองที่ยั่งยืนของประเทศไทย 
 
ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ได้อ้างคำพูดของวรชัย เหมะ ส.ส. พรรคเพื่อไทย จ.สมุทรปราการว่า ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมดังกล่าว ไม่ได้ระบุให้นิรโทษกรรมให้ทหารหรือเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากไม่เคยมีทหารเคยถูกดำเนินคดีเลยตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2554 เป็นต้นมา 
 
"ร่างของวรชัย ล้มเหลวในการพูดถึงความจำเป็นที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ทหารและบางส่วนในนปช. โดยเฉพาะกลุ่มติดอาวุธ "ชายชุดดำ" ที่สร้างความรุนแรงและละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงในปี 2553" แถลงการณ์ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุ และชี้ว่า รัฐบาลควรเอาผิดกับกลุ่มที่ใช้อาวุธ และแกนนำนปช.ที่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงด้วยการใช้คำพูด และสนับสนุนให้ผู้ชุมนุมเผาและปล้นทรัพย์สินด้วย 
 
ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า สถานะการสอบสวนการกระทำของ "ชายชุดดำ" ตอนนี้ยังคงไม่ชัดเจน และระบุว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่ได้ใช้ผังรายชื่อที่ระบุตัวผู้ต้องหากลุ่มชายชุดดำ และโยงความเกี่ยวข้องเข้ากับความรุนแรงในปี 2553 ดังที่เคยแสดงต่อสื่อบ่อยครั้งก่อนหน้านี้ 
 
"ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมของวรชัย นับเป็นการดูถูกต่อเหยื่อและครอบครัวของเหตุการณ์ความรุนแรงปี 2553" แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์ วอทช์กล่าว "มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่งที่คนที่กระทำผิดอย่างร้ายแรง รวมทั้งทหารที่ลั่นไกปืนและผู้สั่งการที่ออกคำสั่ง จะแตะต้องไม่ได้เนื่องจากการนิรโทษกรรม" 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หากกระบวนการยุติธรรมดี ไม่ต้องมีนิรโทษกรรม

Posted: 06 Aug 2013 08:43 AM PDT

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันสมัยกลับมาสู่ความตึงเครียดอีกครั้งหนึ่งเมื่อสภาได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมซึ่งมีหลายเวอร์ชัน บ้างเห็นด้วยบางฉบับ บ้างไม่เห็นด้วยบางฉบับ บ้างเห็นด้วยบางประเด็นไม่เห็นด้วยบางประเด็น บ้างไม่เห็นด้วยสักฉบับบอกว่าบ้านเมืองเราก็สงบดีอยู่แล้วทำไมต้องทำเรื่องให้มันยุ่งอีก บ้างก็บอกว่าลองเอ็งเป็นญาติโกโหติกาของพวกที่ติดคุกอยู่สิจะออกมาตะแบงคัดค้านกันไหม

แต่ละฝ่ายแต่ละคนออกมาให้เหตุผลก็ล้วนแล้วแต่น่าฟังไปหมด ขึ้นอยู่กับเขาหรือเธอผู้นั้นมีทัศนคติหรือความชอบทางการเมืองไปทางใด ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่หาเหตุผลมารองรับหรืออธิบายความชอบธรรมแก่ความเห็นของตนเองโดยลืมไปว่าทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ถ้าดับเหตุได้แล้ว ผลก็จะไม่มี

เราลองมาดูเหตุปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้

1) ศาลฎีกาไทยได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505 ที่ว่า"... หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชน ก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย …" และ คำพิพากษาดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นฐานในการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารในฐานะ       รัฏฐาธิปัตย์เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งในโลกนี้อาจจะนับได้ว่านอกจากศาลอียิปต์แล้วคงมีแต่เพียงศาลไทยเรานี่เองกระมัง

2)ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ปี 2547 ยกคำร้องด้วยมติ 8 ต่อ 7 ในคดี "ซุกหุ้น"ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนที่เคยลงมติว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ลงไปวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดี  แต่กลับมีการนำเอาคะแนนเสียง 2 เสียงนี้ไปรวมกับคะแนนเสียงอีก 6 เสียงที่วินิจฉัยยกคำร้อง ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ และ มิหนำซ้ำยังมีข่าวรั่วว่าตุลาการนายหนึ่งที่วินิจฉัยให้พ้นผิดนั้นด้วยเหตุเพราะประชาชนเลือกเข้ามาด้วยคะแนนเสียงเป็นล้านจะไปวินิจฉัยให้ออกจากตำแหน่งได้อย่างไรแทนการวินิจตามหลักกฎหมายเสียอีกแน่ะ

3)คณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยด้วยการออกกฎหมายย้อนหลังไปเอาผิด และไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์หลังจากสู้กันมาถึงการแถลงปิดคดีที่ผู้คนทั้งประเทศฟังแล้วว่าอย่างไรก็คงไม่รอดแต่การณ์กลับต้องมายกคำร้องด้วยเหตุว่า "นักมวยน้ำหนักเกิน"หรือ กกต.ส่งฟ้องเกินระยะเวลาเล่นเอาคณะตลกหากินไม่ได้ไประยะหนึ่ง

4)ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้อดีตนายกสมัคร สุนทรเวช ตกจากเก้าอี้ด้วยการเอาพจนานุกรรมมาตัดสินคดีและมิหนำซ้ำยังตัดสินคดีเกี่ยวข้อตกลงระหว่างไทยกัมพูชาว่า "อาจจะ"เป็นเหตุให้เสียดินแดนได้

5)ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้นำมติ ครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งที่องค์คณะเดิมมีมติเสียงข้างมากไม่รับไว้พิจารณาแล้วเพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทำให้เป็นเรื่องเป็นราวจน ปปช.มีมติรับเรื่องร้องเรียนไปตั้งแต่ 23 พ.ย.53 ว่ามีการสั่งเปลี่ยนองค์คณะในศาลปกครองสูงสุดโดยมิชอบ แต่ด้วยการไม่ได้รับความร่วมมือและอ้างว่าเป็นอำนาจตุลาการ ปปช.จึงเพิ่งมีมติเมื่อ 28พ.ค.56 นี้เองให้ตั้งอนุ กก.ไต่สวนอดีตประธานศาลปกครองสูงสุดในการกระทำดังกล่าว และต่อด้วยการรับฟ้องคดีจัดการน้ำของสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและพวกโดยตีความว่าเป็นผู้เสียหายอย่างกว้างมากๆจนมากที่สุด เล่นเอานักกฎหมายมหาชนพากันส่ายหน้ากันโดยถ้วนทั่ว

6)พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการส่งฟ้องผู้ต้องหาคดีเผาศาลากลางด้วยหลักฐานจากภาพถ่ายว่าไปยืนมุงดูจนศาลตัดสินจำคุกคนละเป็นหลายสิบปี

7)ศาลไม่ยอมให้ "อากง"ประกันตัวจนต้องตายในคุก ทั้งๆที่โดยรัฐธรรมนูญมาตรา39 วรรคสองและวรรคสามบัญญัติไว้ว่า "ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" และสิทธิการประกันตัวนี้เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคน จนหลายๆประเทศออกข้อความเตือนพลเมืองของตนเองเมื่อต้องเดินทางมาประเทศไทยว่านอกจากให้ระวังโจรผู้ร้ายโดยทั่วไปแล้วต้องระวังประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้ด้วยเช่นกัน

8)ศาลรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายทำหน้าที่นิติบัญญัติแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ อ้างว่าขัดต่อมาตรา 68 แต่พอจะมาแก้รายมาตราก็จะทำไม่ได้อีก จนเกิดการประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญด้วยเหตุทำเกินหน้าที่

                                           ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

มีอีกจนจาระไนไม่หมดถึงความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไทย

ควรจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่

ซึ่งเมื่อเรากลับไปพิจารณาถึงต้นเหตุของปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากบุคคลได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมในเบื้องหน้าของกฎหมาย(equal before the law) ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย(no one above the law) ไม่มีการรับรองว่าการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เหตุการณ์ความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ปี 2552 หรือ 2553 ก็จะไม่เกิดขึ้น

ฉะนั้น ตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมของเรายังบิดเบี้ยวอยู่เช่นนี้ผมจึงเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองอันเป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติขึ้น(mala prohibita) แต่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมการยึดทำเนียบปิดสนามบินหรือเผาอาคารสถานที่ไม่ว่าจะเป็นของราชการหรือเอกชนก็ตาม เพราะความผิดนี้เป็นความผิดในตัวเอง(mala inse)ไม่ว่าจะเกิดในรัฐไหนในโลก จะมาอ้างว่าเกิดจากเหตุจูงใจทางการเมืองให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้ และความผิดจากการยึดทำเนียบปิดสนามบินหรือเผาอาคารสถานที่นั้นก็ไม่มีเหตุอันใดที่จะไปงดเว้นโทษหรือนิรโทษกรรม แต่ต้องพิจารณาด้วยความรัดกุมและต้องเป็นผู้ที่กระทำความผิดอย่างแท้จริง มิใช่แค่เป็นเพียงไทยมุงก็โดนติดคุกคนละเป็นหลายสิบปีและตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุดต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหรือได้รับการประกันตัว

แน่นอนว่าประเทศเราเคยตัวกับการนิรโทษกรรมมาโดยตลอดและโดยเฉพาะอย่างเป็นการนิรโทษกรรมแก่ชนชั้นนำเสียเกือบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคณะปฏิวัติรัฐประหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปราบปรามประชาชน และกรณี 19 พฤษภา 53 นี้ผมจึงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อาวุธปราบปรามประชาชนจนเสียชีวิตและผู้สั่งการย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการนิรโทษกรรมแต่อย่างใดเช่นกัน

ถึงเวลาต้องสะสางกระบวนการยุติธรรมไทยกันแล้วล่ะครับ ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์การเผชิญหน้าจนถึงกับฆ่ากันตายแล้วมานั่งเถียงกันว่าจะนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมดังเช่นปัจจุบันนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นอีกไมรู้จักจบจักสิ้น

 

--------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2556

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเผยผลสำรวจพฤติกรรมอพยพหนีน้ำป่า แนะรัฐเพิ่มข้อมูลพื้นที่เสี่ยง

Posted: 06 Aug 2013 07:30 AM PDT

ทีดีอาร์ไอเผยผลสำรวจรูปแบบการเตือนภัยและพฤติกรรมของผู้ได้รับการเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน พบมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจอพยพ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการอพยพ สถานที่รองรับผู้อพยพในชุมชน ระบุผู้หญิงมีโอกาสตัดสินใจอพยพมากกว่าผู้ชาย

6 ส.ค.56 ทีดีอาร์ไอโดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากEconomy and Environment Program for Southeast Asia (EEPSEA) ทำการศึกษาปัจจัยและรูปแบบการเตือนภัยที่มีผลต่อการตัดสินใจอพยพของประชาชนในพื้นที่น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันโดยถอดบทเรียนจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใน 10 จังหวัดภาคใต้ โดยเลือกพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับผลกระทบรุนแรงเป็นพื้นที่กรณีศึกษา ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ใน 3 อำเภอ ได้แก่อำเภอนบพิตำ อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากการจัดประชุมกลุ่มย่อยและเก็บแบบสอบถามจากประชาชนในพื้นที่

การสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรก ถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจอพยพ และส่วนที่สอง ถามเกี่ยวกับรูปแบบสื่อเตือนภัยที่ทำให้ตัดสินใจอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัยมีจำนวนตัวอย่างที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 332 คน จาก 166 ครัวเรือน แยกเป็นผู้ประสบภัยในอำเภอท่าศาลา 120 คน อำเภอสิชล 122 คน และ อำเภอนบพิตำ 90 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละพื้นที่

ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 43 (144 คน) ของกลุ่มตัวอย่างตัดสินใจอพยพ โดยเหตุผลของการตัดสินใจไม่อพยพออกจากพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ เชื่อว่าอาศัยอยู่ในที่ที่ปลอดภัยเป็นห่วงที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินว่าจะถูกโจรกรรม ถนนถูกตัดขาด ไม่มีพาหนะในการอพยพ มีเด็กและผู้สูงอายุที่ต้องดูแล อยู่ช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอพยพประกอบด้วย การได้รับการเตือนภัย การมีสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อรองรับผู้อพยพ เพศ และ รายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเตือนภัย กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับทราบข้อมูลของตำแหน่งและเส้นทางในการอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย หรือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงมีโอกาสที่จะตัดสินใจอพยพมากกว่ากลุ่มตัวอย่างอื่นๆ เนื่องจากการเตือนภัยจะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาและความรุนแรงของภัยที่จะเกิดขึ้นและการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่ปลอดภัยทำให้กลุ่มตัวอย่างมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการอพยพ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง มีโอกาสตัดสินใจอพยพมากกว่าเพศชายเนื่องจากมีภาระหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยของบุตรหลาน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้สูง มีโอกาสตัดสินใจที่จะไม่อพยพออกจากพื้นที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำ ทั้งนี้ เนื่องจากมีความกังวลว่าบ้านและทรัพย์สินจะถูกโจรกรรมในระหว่างที่อพยพ

การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่า การได้รับการเตือนภัยผ่านสื่อเตือนภัยต่างๆ มีความสำคัญแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความกระชั้นชิดของภัยที่เกิดขึ้นและปัจจัยอื่นๆ โดยในระยะเวลากระชั้นชิดที่มีเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเกิดขึ้นนั้น สื่อเตือนภัยที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยมากที่สุดคือ วิทยุสื่อสารเนื่องจากก่อนเกิดเหตุการณ์มักจะมีฝนตกหนักและไฟฟ้าดับร่วมด้วย ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยจึงไม่สามารถรับการแจ้งเตือนทางโทรทัศน์หรือวิทยุได้ นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ สัญญาณโทรศัพท์มือถืออาจล่มติดต่อไม่ได้ และไม่สามารถชาร์ตแบตเตอรี่ได้ ดังนั้น สื่อเตือนภัยที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น คือ วิทยุสื่อสาร ซึ่งการชาร์ตแบตเตอรี่แต่ละครั้งสามารถใช้ได้หลายวัน อย่างไรก็ตาม ในยามฉุกเฉิน "เพื่อนบ้านหรือสมาชิกในครอบครัว" เป็นสื่อกระจายข่าวที่สำคัญเนื่องจากสามารถเข้าถึงตัวผู้รับการเตือนภัยได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการสำหรับการเตือนภัยผ่านทางโทรทัศน์หรือวิทยุนั้น พบว่ามีความเหมาะสมในกรณีที่เหตุการณ์ไม่กระชั้นชิด เป็นการเตือนภัยเพื่อให้ผู้ได้รับการเตือนภัยสามารถเตรียมตัวรับมือได้ล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบและความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าสิ่งที่ผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันต้องการในการอพยพประกอบด้วย เชือก เสื้อชูชีพและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่ให้การช่วยเหลือเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องข้ามลำคลองขณะที่อพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย สำหรับพื้นที่ที่ถนนหรือเส้นทางถูกตัดขาดซึ่งส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถอพยพออกจากที่อยู่อาศัยได้ การเตรียมความพร้อมทางด้านเสบียงอาหารมีความสำคัญ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีบางหมู่บ้านเริ่มมีการจัดตั้งธนาคารอาหารประจำหมู่บ้าน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ ภาครัฐต้องมีช่องทางการในการให้ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแก่ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และควรมีบทบาทในการจัดหาสถานที่รองรับผู้อพยพที่เหมาะสม ปลอดภัย และเพียงพอเพื่อรองรับผู้อพยพในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นสถานที่ที่คนในพื้นที่รู้จัก อาทิ โรงเรียน วัด ศาลาชุมชน ฯลฯ โดยจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนรับทราบโดยทั่วกัน และควรคำนึงถึงความสะอาดและความเพียงพอของเครื่องอุปโภคบริโภค และยารักษาโรคหน่วยงานภาครัฐควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ชุมชนต้องเผชิญ ถ้าเป็นไปได้ควรสนับสนุนและจัดเวทีให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผนการอพยพของชุมชนเตรียมแผนปฏิบัติการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในชุมชน มีการซักซ้อมแผนอพยพเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่นอกจากนี้ควรมีทางออกเพื่อลดข้อกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน เช่น ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ฝากสัตว์เลี้ยง และการจัดตำรวจออกตรวจพื้นที่เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ซึ่งจะทำให้ผู้ประสบภัยมั่นใจและยอมอพยพออกจากที่อยู่อาศัยควรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพสื่อเตือนภัยทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และวิทยุสื่อสาร โดยเฉพาะบทบาทการให้ข้อมูลที่สร้างองค์ความรู้ให้ผู้รับสารสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อช่วยเหลือตนเองและคนรอบข้างได้ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสำหรับวิทยุสื่อสารซึ่งเป็นสื่อที่ผู้ประสบภัยต้องการมากที่สุดในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินควรมีการกำกับดูแลให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดจริงๆ ซึ่งผู้ใช้ต้องผ่านการอบรมและมีใบอนุญาต

ทีดีอาร์ไอยังเสนอด้วยว่า น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเป็นภัยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่หากมีระบบการเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและความเสียหายลงได้แต่สิ่งสำคัญคือหลังจากภัยนั้นผ่านไปแล้ว ควรมีแผนฟื้นฟูและเตรียมพร้อมหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างยิ่งคือความเข้มแข็งของชุมชนและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ASEAN Weekly: อนุรัฐในพม่า: การเมืองและดุลอำนาจ

Posted: 06 Aug 2013 04:51 AM PDT

ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดยดุลยภาค ปรีชารัชช และพงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ สัปดาห์นี้ ร่วมกันมองภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศพม่า หรือมีชื่อประเทศที่ระบุอยู่รัฐธรรมนูญปี 2008 ที่ร่างสมัยรัฐบาลทหารว่า "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์"

โดยในประเทศพม่า ยังแบ่งออกเป็นรัฐของชนกลุ่มน้อย อันเป็นอนุรัฐหรือพหุรัฐที่หลากหลายถึง 7 รัฐ ได้แก่ รัฐคะฉิ่น รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี รัฐมอญ รัฐอาระกัน และรัฐชิน โดยมีตัวแสดงต่างๆ อยู่ในระบบการเมืองพม่ามากมายมหาศาล

โดยดุลยภาค กล่าวว่า การปรากฏตัวของพม่าซึ่งมีขนาดมหึมา เกิดจากการรวบรวมหน่วยการเมืองหรือรัฐเล็กรัฐน้อย ประกอบเข้ามาเป็นร่างกายของรัฐพม่า ทีนี้ในมุมมองของนักการทหาร หรือนักปกครองพม่า จะทำอย่างไรกับรัฐคะฉิ่นซึ่งมีขนาดทัดเทียมกับรัฐโปรตุเกสทั้งประเทศ แล้วมีเขตภูมิประเทศแบบหิมาลัย หรือสวิสเซอร์แลนด์ในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเท่ากับว่าปฏิบัติการทหารจะสร้างต้นทุนระดับสูง สร้างความเหนื่อยยากให้กับกองทัพพม่า เพราะฉะนั้นการพิชิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ท่ามกลางแรงโน้มถ่วงที่จะให้มาเจรจา จึงเป็นความใฝ่ฝัน หรือชดเชยข้อสูญเสียที่ผ่านมาของรัฐพม่าด้วย นี่จึงอธิบายได้ว่าทำไมสถานการณ์ของรัฐคะฉิ่นจึงเกิดการสู้รบแล้วก็รุนแรง

ขณะเดียวกัน ลักษณะอีกอย่างคือ อาณาเขตที่เป็นประเทศพม่าปัจจุบัน มีการจินตนาการของผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์บางส่วนที่อยากให้มีรัฐใหม่ ผุดขึ้นมาแล้วฉีกตัว อย่างเช่นในอดีตกลุ่มผู้นำชาวกะเหรี่ยงต้องการก่อตั้งรัฐกอทูเลที่กินอาณาเขตรวมรัฐกะเหรี่ยง เขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี และรัฐมอญบางส่วนเข้ามาด้วย นี่ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลพม่าไม่ยอม

ส่วนในรัฐฉาน ก็มีกลุ่มอดีตพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์พม่าแตกกระสานซ่านเซ็น ก็กลายเป็นกองกำลังกระจัดกระจาย 4-5 กลุ่มหลักๆ เช่น กลุ่มกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) กลุ่มโกก้าง (MNDAA) กลุ่มเมืองลา (NDAA) พวกนี้อยู่ด้วยการค้าชายแดน มีหลังยังพิงจีน

ดังนั้นในมโนทัศน์ของรัฐบาลพม่า แรงแยกออกจากศูนย์กลางยังสั่นสะเทือนแรงรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นการเปิดปฏิบัติการทหารของพม่า จึงยังอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ทัศนะของกองทัพพม่ายังเห็นว่า อำนาจกำลังรบเชิงเปรียบเทียบระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังต่างๆ ไม่ทัดเทียมกัน โดยพม่าถือว่ากองทัพของตนเป็น "อภิมหาอำนาจ" ทางการทหาร เพราะมีกำลังพล 3-4 แสนนาย และพอจัดลำดับรองๆ มาจะเห็นว่า กองทัพสหรัฐว้า กองทัพรัฐฉานภาคใต้ หรือกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น ก็มีอัตรากำลัง 10,000 - 30,000 นาย ก็เป็น "มหาอำนาจ" ที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาลพม่าอยู่ แต่ก็จะมีกองกำลังขนาด "มัธยะอำนาจ" เช่น กองทัพกะเหรี่ยง DKBA หรือกองทัพกะเหรี่ยง KNU ก็มีกองกำลังหลักพัน หรือ อนุอำนาจ" ที่มีกองกำลังหลักร้อย ที่เป็นของกลุ่มชาติพันธุ์ละหู่ ปะโอ ลีซอ

โดยแท็กติกของรัฐบาลพม่าก็คือ ดึงกลุ่มที่อ่อนกำลังวังชามาเจรจาหยุดยิง และยื่นข้อเสนอ เท่ากับว่าเพิ่มอำนาจการเจรจาของตน และหลังจากนั้นก็ไต่ระดับมาเจรจากับกลุ่มอำนาจระดับกลาง และใช้วิธียุแหย่ให้ตีกันเองในกลุ่ม ดังจะเห็นได้จากการแตกแยกของกองทัพกะเหรี่ยง DKBA และกะเหรี่ยง KNU ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กองทัพพม่าชิงค่ายมาเนอปลอได้ และเป็นการโดดเดี่ยวทางยุทธศาสตร์กับกลุ่ม KNU

หลังจากนั้นรัฐบาลพม่าก็ไต่ระดับขึ้นมาเจรจากับกลุ่มที่มีกำลังวังชา ดังจะเห็นในข่าวว่ากองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เพิ่งรับการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วๆ นี้

ทั้งนี้การเจรจาระหว่างรัฐบาลพม่า และกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังเลือกตั้งพม่าปี 2553 แต่การเจรจาเริ่มกระบวนการมายาวนานตั้งแต่ปี 2532 โดยเริ่มจากกองกำลังชาติพันธุ์กลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วอาศัยการชิงไหวชิงพริบ แล้วกองทัพพม่าเข้าไปควบคุุม

สิ่งสำคัญคือกองทัพพม่ามีการผลิตยุทธศาสตร์การทหาร ซึ่งใช้ได้ผลมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายพลเนวินแล้ว คือ"ยุทธวิธีตัดสี่" คือการตัดอาหาร กองกำลัง คลังวัสดุ และการข่าว ไม่ให้สี่องค์ประกอบรวมตัวกันได้ เพราะจะเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจรัฐ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลพม่าเข้าทำก็คือใช้วิธีกันไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ติดต่อกับกองกำลัง เพื่อให้แนวร่วมระส่ำระสาย มีการย้ายราษฎรในชนบทให้ไปอยู่ใกล้ทหารพม่า ยื่นเงื่อนไขว่าถ้าไม่ย้ายก็เท่ากับชาวบ้านอยู่ข้างกองทัพกลุ่มชาติพันธุ์ แล้วกองทัพพม่าก็จะกระทำการรุนแรง พอย้ายมาปุ๊บก็เท่ากับว่ารัฐบาลพม่ามีอำนาจควบคุมมากขึ้น แล้วไปโดดเดี่ยวกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์

นอกจากนี้กองทัพพม่าก็ใช้วิธีแบ่งพื้นที่ในประเทศออกเป็นสามสี คือพื้นที่สีดำ สีน้ำตาล สีขาว

สีดำ คือเป็นเขตของกองทัพกลุ่มชาติพันธุ์ สีน้ำตาล คือเขตที่ยังเผชิญกันระหว่างกองทัพรัฐบาล กับกองทัพกลุ่มชาติพันธุ์ และสีขาว คือเขตปลอดพื้นที่ผู้ก่อการ โดยกองทัพพม่าพยายามเปลี่ยนให้พื้นที่สีดำ และสีน้ำตาล กลายเป็นสีขาว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่าแม้มีการเจรจากันระหว่างรัฐบาลพม่า และกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ก็ยังมีปฏิบัติการทางทหารอยู่

ทั้งนี้ กรณีของพม่า ยังอยู่ในการปะทะประชันกันระหว่างคีย์เวิร์ด "การสร้างรัฐ" กับ "การสร้างสันติภาพ" ซึ่งไปกันไม่ได้ หากจะสร้างสันติภาพเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ มีสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ มักจะมีปัญหา เพราะเรื่องแรก พม่าถือว่าสร้างรัฐไม่จบ และการสร้างรัฐของพม่าก็คือการใช้โครงสร้างกองทัพบกอันมหึมาเข้าไปกวาดไล่ในพื้นที่ชนบท คือให้ทหารเข้าไปคุมพื้นที่ ใช้ความรุนแรง ส่วนหนึ่งก็คือพม่ากลัวว่าหลังเจรจาแล้วกลุ่มชาติพันธุ์จะเข้าไปเคลื่อนไหวในเมืองใหญ่ กรณีเช่นนี้พม่าเกรงว่าจะมีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เข้าไปในพื้นที่ๆ รัฐบาลคุมไม่ถึง กองทัพพม่าจึงเพิ่มกำลังทหารพม่าในพื้นที่ต่างๆ เพื่อปิดล้อมฐานที่มั่นของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อสะกดให้แต่ละกลุ่มถอยกลับไปสู่ที่ตั้ง

ดังนั้นในทางปฏิบัติทั้งสองฝ่ายไม่ยอมเสียเหลี่ยมกัน เพราะการสร้างรัฐของพม่ายังไม่จบ โดยการสร้างรัฐของพม่ามาจากการทำสงคราม

และเรื่องที่สอง การจัดประชุมต่างๆ อย่างการประชุมสมัชชาแห่งชาติ รัฐบาลพม่าก็ควบคุม และส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ พวกเขาก็ถือว่ายังสร้างชาติไม่จบ ยังถือว่าอยู่ในช่วงรวมชาติ เพราะยังไม่มีประเทศตามที่พวกเขาต้องการ ประชาชนถูกพม่ากลืน และต้องการให้กลุ่มชาติพันธุ์ของตนมีอิทธิพลมากกว่ากลุ่มอื่น

ข้อสุดท้ายที่สำคัญคือ รูปของรัฐที่ถูกออกแบบมาอย่างอิหลักอิเหลื่อ คือรัฐบาลพม่าอยากให้มีรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางกุมอำนาจการปกครอง Centralization หรือ รวมอำนาจผ่านกระทรวง ทบวง กรม แล้วแบ่งอำนาจให้ข้าราชการเข้าไปประจำในพื้นที่ต่างๆ แล้วกระจายอำนาจเพียงเล็กน้อย นี่คือระเบียบปฏิบัติของรัฐพม่า ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์อยากให้มี Decentralization มีการกระจายอำนาจในท้องถิ่นมากขึ้น แต่ตรงนี้ยังคุยไม่ได้ในเรื่องรายละเอียด ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์บางส่วนก็จินตนาการถึงการปรับโครงสร้างรัฐพม่าใหม่ จาก "เอกรัฐ" เป็น "สหพันธรัฐ"  ซึ่งเน้นกระจายอำนาจ เป็นสหภาพที่แท้จริง มีสิทธิเท่ากันตามรัฐธรรมนูญ หมุนเวียนกันเป็นประธานาธิบดี ซึ่งนักการทหารพม่าไม่ชอบ เพราะจะทำให้พม่ามีสภาพเหมือนสหภาพโซเวียต หรือยูโกสลาเวีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานหนีเข้าเมืองเฮ อยู่ต่อได้ 1 ปี รอปรับสถานะเป็นแรงงานถูกกฎหมาย

Posted: 06 Aug 2013 04:51 AM PDT

ครม.มีมติผ่อนผันแรงงานหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา ให้ทำงานและอยู่ต่อในประเทศไม่เกิน 1 ปี ให้ประเทศต้นทางออกเอกสารรับรองปรับสถานะเป็นแรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมาย

6 ส.ค.56 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ มีมติเห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงแรงงานในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อกับกรมการจัดหางานไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 มกราคม 2556 (เรื่อง การผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) แต่ยังไม่ได้การรับรองสถานะบุคคลจากประเทศต้นทาง ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้ชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับไม่เกิน 1 ปี โดยในระหว่างการผ่อนผัน อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานได้ และให้ประเทศต้นทางเข้ามาพิสูจน์สัญชาติและออกเอกสารรับรองสถานะบุคคล เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะเป็นแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย และสามารถขออนุญาตทำงานในประเทศได้

โดยทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลและกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมระหว่างประเทศให้ดีขึ้น และกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบดูแลและตรวจโรคให้แก่แรงงานต่างด้าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สงครามยังปะทุทางภาคเหนือของรัฐฉาน เหตุทหารพม่าไล่ล่าทหารไทใหญ่

Posted: 06 Aug 2013 03:27 AM PDT

มีรายงานว่า การปะทะระหว่างทหารพม่าและทหารไทใหญ่ SSA ในเมืองจ๊อกเม ทางเหนือของรัฐฉานที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีสาเหตุมาจากทหารพม่ายังคงไล่ล่าและเปิดฉากยิงทหารไทใหญ่และชนกลุ่มน้อย อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ทหารรายหนึ่งจากกองทัพรัฐฉานเหนือ SSPP/SSA เปิดเผยว่า หากทางทหารพม่าทราบข่าวความเคลื่อนไหวของทหารไทใหญ่ SSPP/SSA หรือ ทหารไทใหญ่ RCSS/SSA รวมถึงกองกำลังปลดปล่อยชาติปะหล่อง(TNLA) และทหารคะฉิ่น KIA ก็มักจะนำกำลังทหารราว 60 -80 นาย เข้าโจมตี ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่าและทหารชนกลุ่มน้อยในเขตเมืองจ๊อกเม 5 ครั้ง โดยพบปะทะกับทหารไทใหญ่  SSPP/SSA 2 ครั้ง ปะทะกับทหารไทใหญ่ RCSS/SSA 2 ครั้ง นอกจากนี้ปะทะกับทหารกองกำลังปลดปล่อยชาติปะหล่องอีก 1 ครั้ง 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทหารพม่าได้ยิงปืนใหญ่ราว 15 – 20 ลูก เข้าใส่ตามไร่ชาและสวนของชาวบ้าน รวมถึงป่าบริเวณใกล้เคียง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าออกไปทำงาน ขณะที่พบว่า พื้นที่ปะทะกันบางแห่งนั้นใกล้กับหมู่บ้าน ทำให้ทางทหารไทใหญ่ต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่ เนื่องจากหวั่นกลัวประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน ขณะที่ประชาชนในบางพื้นที่หวาดกลัวการสู้รบถึงขั้นสั่งปิดโรงเรียนไว้ชั่วคราว 

เจ้าหน้าที่ทหารไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA ยังเปิดเผยอีกว่า หากทางทหารพม่าทราบข่าวการเคลื่อนไหวของทหารไทใหญ่ก็จะส่งกำลังเข้ามาโจมตทันที ซึ่งทางทหารพม่าไม่ต้องการให้ทหารไทใหญ่และกลุ่มอื่นๆ เข้ามาเคลื่อนไหวในเขตเมืองจ็อกเม และถึงแม้ทางผู้นำทั้งสองฝ่ายได้เปิดการจรจา แต่ก็พบว่ายังคงมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่ทหาร SSPP/SSA กล่าวว่า ไม่ได้คาดหวังเกี่ยวกับการเจรจากับทหารพม่า 

มีรายงานว่า หลังถูกทหารพม่าเข้าโจมตีเอย่างต่อเนื่องเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทหารทหารไทใหญ่  SSPP/SSA ทหารคะฉิ่น KIA และทหารปะหล่อง TNLA ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันต่อสู้กับทหารพม่า หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถูกโจมตีจากทหารพม่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Prachatai Eyes View: ประมวลภาพอ่าวพร้าว 31 ก.ค.-1 ส.ค. 56

Posted: 06 Aug 2013 02:51 AM PDT

Prachatai Eyes View: ประมวลภาพอ่าวพร้าว 31 ก.ค.-1 ส.ค. 56

ประมวลภาพอ่าวพร้าว 31 ก.ค.-1 ส.ค. 56

ภาพโดย กานต์ ทัศนภักดิ์ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และประชาไท

 

กายาทรีย์ เวนกิตสวารัน

Posted: 06 Aug 2013 02:04 AM PDT

"ทางออกคือต้องให้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เผยแพร่ต่อสาธารณชน และยิ่งมีมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น การพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียถือเป็นการกระทำฉวยประโยชน์ทางการเมือง และเกินความจำเป็นของประโยชน์สาธารณะ"

ผู้อำนวยการองค์กรพันธมิตรเพื่อเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) แสดงความเห็นต่อกรณีที่รัฐเอาผิดคนโพสต์ข่าวลือปฏิวัติ

อภิสิทธิ์ขอพรรคเพื่อไทยเลื่อนกฎหมายนิรโทษกรรม แล้วจะไปคุยด้วย

Posted: 06 Aug 2013 12:37 AM PDT

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนิรโทษกรรมเพราะไม่ต้องการให้บ้านเมืองนั้นสร้างบรรทัดฐานว่า ใช้อาวุธ-ใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ใครมีอำนาจสามารถที่จะลบล้างความผิดให้เป็นความถูกได้ ซึ่งเป็นการทำลายพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานวันนี้ (6 ส.ค.) ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ถึงการเตรียมตัวก่อนถึงวันประชุมสภาพรุ่งนี้ (7 ส.ค.) ว่า วันนี้จะมีการประชุมวิปฝ่ายค้านในช่วงเช้า ในช่วงบ่ายจะมีการประชุม ส.ส. ของพรรคฯ และช่วงเย็นเริ่มต้นเวทีผ่าความจริงตามเวลาปกติ แต่จะเลิกในเวลาไม่ปกติ

อภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า "เวลานี้รัฐบาลเป็นคนสร้างความตื่นตระหนก หรือฝ่ายรัฐบาลสร้างความตื่นตระหนกทั้งหมด ผมยังบอกว่า วันก่อนนั้นที่เขาบอกว่า ใครไปสร้างความตื่นตระหนกนั้นมีโทษตามกฎหมายใช่มั้ย ผมก็ไม่เห็นไปจับคนที่บอกว่า จะมีการไปจับตัวนายกฯ จับตัวประธานสภา แล้วก็ประวัติของแกนนำเสื้อแดงที่พูดว่าจะมีการปฏิวัติ จะมีการทำสิ่งนั้นสิ่งนี้มาในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาเยอะแยะไปหมด ถ้าเกิดอยากจะไปจับคนที่ชอบสร้างข่าวให้ตื่นตระหนก น่าจะไปจับคนกลุ่มนั้น แล้วก็เมื่อวานนี้พอเริ่มจับจริงๆ ก็เจอจริงๆ ใช่มั้ย มีคนเสื้อแดงถูกจับอยู่ หรือว่าถูกดำเนินการอยู่ในเรื่องของการที่จะไปโพสต์ข้อความอ้างข่าวลือปฏิวัติอะไรต่างๆ ด้วย"

อภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า "รัฐบาลเป็นคนสร้างปมความขัดแย้งในบ้านเมือง ด้วยการผลักดันกฎหมายที่จะล้างผิดให้กับพรรคพวกของตนเอง แล้วก็ตรงนี้ก็ ทั้งๆ ที่ฝ่ายค้าน และหลายฝ่ายก็เปิดโอกาสแล้วบอกว่า มาพูดคุยกัน หยุดเรื่องนี้ไว้แล้วมาพูดคุยกัน แต่รัฐบาลไม่สนใจเพราะรัฐบาลต้องการที่จะเดินหน้า"

"แล้วก็เวลานี้ก็จะเห็นนะครับอย่างเมื่อวานนี้ไปทาบทามเชิญคุณอุทัย พิมพ์ใจชน ท่านก็แนะนำให้ถอน แต่ดูเหมือนว่า รัฐบาลก็ยังไม่ได้สนใจใยดีต่อสิ่งเหล่านี้ ไม่นำมาต่อสิ่งเหล่านี้ นายกรัฐมนตรีก็พยายามที่จะเบี่ยงเบนประเด็นไปบอกว่า คนอื่นอย่ามาตั้งเงื่อนไข ก็เงื่อนไขความขัดแย้งมันอยู่ที่การเริ่มของรัฐบาลในการผลักดันกฎหมายนี้ ทำไมไม่ปลดเงื่อนไขตรงนี้เสียก่อน แล้วบ้านเมืองนั้นจะได้มาคุยกันว่าเราจะเดินไปข้างหน้ากันอย่างไร"

"ก็ยืนยันนะครับว่า เงื่อนความขัดแย้งทั้งหมดอยู่ที่ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นผู้ก่อขึ้น ดังนั้นการที่จะพยายามไปเบี่ยงเบนว่า มาคุยกันนะ แต่อย่าคุยเรื่องนี้ ขอเดินหน้าเรื่องนี้ต่อ มันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความจริงใจในการที่จะลดความขัดแย้งในสังคมของรัฐบาล ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์นั้น ไม่ได้มีจริง ถ้ามีจริงนะ ง่ายๆ นะ คำเดียวเท่านั้นเอง วันนี้บอกว่า เอาละไปปรึกษากันในพรรคเพื่อไทย บอกเรื่องนี้ขอเลื่อนไปก่อน เพื่อรอการพูดคุยในการหาทางออกให้กับประเทศ พวกผมก็บอกพร้อมเลยที่จะเดินเข้าไปในการพูดคุยกัน ก็มีเท่านั้นเอง ไม่ได้ยากเย็นอะไร แล้วก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากมายเลย กับงานของรัฐบาล อย่าลืมว่ากฎหมายนี้ไม่ใช่แม้แต่กฎหมายของรัฐบาลนะ ถ้าเกิดสมมติบอกว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน ปรากฎว่า กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่ใช่กฎหมายของรัฐบาลนะครับ เป็นกฎหมายของ สส. ซึ่งเป็นแกนนำเสื้อแดงคนหนึ่ง เสนอเข้าสู่สภา แต่รัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับกฎหมายนี้มาก ถึงขั้นที่ว่าการจะหาทางออกให้กับประเทศนั้น แทนที่จะหากันอย่างจริงจัง ก็ต้องหลีก เพื่อที่จะให้กฎหมายฉบับนี้มันเดินหน้า นี่คือข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้น"

"ตอนนี้ผมเดินทางมา ขณะนี้ผมมาที่ศาลอาญาใต้ เพราะว่ามีการไต่สวน การเสียชีวิตของช่างกล้องชาวญี่ปุ่น คงนึกออก ในวันที่ 10 เมษายน ก็ถูกต้องละครับ กระบวนการยุติธรรมก็ต้องเดินอย่างนี้ ทีนี้ตอนนี้ก็แปลกมั้ยล่ะครับว่า ถ้าไต่สวนไป ไต่สวนมา บอกว่างานนี้ สมมติมาบอกว่า เป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ สมมตินะครับ ก็ต้องส่งไปให้ตำรวจดำเนินคดีอะไรต่างๆ ต่อไป เกิดสรุปออกมาว่า ทำไปทำมา ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ แต่ว่าเป็นชายชุดดำ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาบอก อย่างนี้ไม่ต้องไปดำเนินคดีกับชายชุดดำ นี่แหละครับ เรากำลังพาบ้านเมืองไปสู่จุดแบบนี้แหละครับ"

"การที่จะลดความขัดแย้ง การที่จะอำนวยความยุติธรรมก็คือการทำอย่างไรที่จะค้นหาความจริงออกมาเสียก่อน แล้วก็ให้แต่ละฝ่ายนั้นได้รับรู้รับทราบถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายของตนเอง แล้วก็เดินตามนั้นไป ถ้าจะมีการบอกให้อภัย หลักเมตตาธรรม ก็ไปว่ากันด้วยกระบวนการของการขอให้มีการอภัยโทษ หรือลดโทษ ถูกมั้ยครับ นี่คือหลักของมัน"

"แต่ขณะนี้รัฐบาลกำลังจะบอกว่า ถ้าเกิดเป็นชายชุดดำ ยิงใครตาย ไม่มีความผิด แต่ว่าถ้าทหาร ถ้าเกิดเป็นการยิงที่เกิดขึ้นจากทางทหาร ต้องดำเนินคดีต่อไป ก็แปลกมั้ยล่ะครับ"

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ที่ใช้คำว่าสุกดิบ เพราะว่า "วันพรุ่งนี้พวกเราก็ต้องไปทำหน้าที่กันในสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะระดมคนกันไปในการปราศรัย ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงเรียกว่าจนถึงการประชุมสภากันเลย เพราะฉะนั้นก็มี สส. ที่ต้องเตรียมตัวในการที่จะขึ้นพูดจาปราศรัยกันเยอะละครับ"

อภิสิทธิ์กล่าวถึงเหตุผลที่ฝ่ายค้านต่อสู้ในเวลานี้ว่า "พวกผมไม่ได้มีประโยชน์ได้เสียโดยตรงกับเรื่องนี้ พวกผมกำลังต่อสู้เพื่อรักษาหลักการของบ้านเมือง แล้วไม่ต้องการให้บ้านเมืองนั้นสร้างบรรทัดฐานว่า คนสามารถที่จะเอาอาวุธ แล้วก็มาใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ไม่ต้องการสร้างบรรทัดฐานว่า ใครมีอำนาจสามารถที่จะลบล้างความผิดให้เป็นความถูกได้ เกิดการเลือกปฏิบัติ แล้วก็ทำลายพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย"

"เมื่อวานนี้องค์กรสิทธิมนุษยชนของสากล Human Rights Watch ที่เป็น NGO เขาก็ออกแถลงข่าวมาจากสหรัฐฯ เลย ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับกฎหมายแบบนี้ เพราะมันเป็นการอยู่ดีๆ ไปล้างความผิดคนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดนี้ถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ประโยชน์อะไร จากการที่ต่อต้าน หรือคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ ไม่มีประโยชน์ได้เสียอะไรเลยในโดยตรง แต่เป็นการรักษาประโยชน์ของบ้านเมือง"

"ขณะที่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ ถามว่าทำเพื่ออะไร ก็คือทำเพื่อล้างความผิดพรรคพวกของตัวเอง เพราะเป็นคนยุยงส่งเสริมให้เขาทำ แล้วก็อาจจะอ้างว่ามีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้เข้ามา ซึ่งบอกว่าเหมือนเป็นตัวประกัน ซึ่งผมก็บอกแล้วว่า กรณีผู้ที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้น ถ้ามาตั้งโต๊ะคุยกัน ออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นไม่มีใครคัดค้านหรอก แล้วก็มิหนำซ้ำรู้สึกเมื่อวานนี้ก็เริ่มพูดกันอีกว่า แปรญัตตินั้น เดี๋ยวอาจจะมีกลับมาถึงทักษิณอีกใช่มั้ยครับ เพราะฉะนั้นมันก็ชัดว่าฝ่ายหนึ่งกำลังเดินเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง อีกฝ่ายหนึ่งก็กำลังเพียงแต่รักษาหลักการของบ้านเมือง"

"ถามว่าฝ่ายไหนล่ะที่ควรจะถอยได้ คุณต้องเลือกสิครับว่า วันนี้ผลประโยชน์ของพรรคพวกคุณต้องละไว้ก่อน แล้วก็จบ แล้วมาคุยกัน แล้วก็ทำกฎหมายนี้ให้มันถูกต้องตามหลักการ ซึ่งพวกเราก็พร้อมที่จะพูดคุยครับ" อภิสิทธิ์กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น