โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

แคเธอรีน บาววี: ทำความเข้าใจชีวประวัติครูบาศรีวิชัยและผลจากการก่อรูปรัฐไทย

Posted: 15 Jul 2017 02:00 PM PDT

เปิดการประชุมไทยศึกษาครั้งที่ 13 แคเธอรีน บาววี ยกกรณีศึกษา 'ครูบาศรีวิชัย' เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบจากการก่อรูปรัฐไทยที่มีต่อผู้คนธรรมดาซึ่งยังส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน ชี้ไม่มีบุคคลใดที่จะมีความสำคัญมากไปกว่า "ครูบาศรีวิชัย" ในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ภาคเหนือในห้วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะช่วงของการผนวกดินแดนล้านนาเข้าสู่ส่วนกลาง

นอกจากนี้แคเธอรีนยังเสนอการกำหนดช่วงเวลาการผนวกภาคเหนือเข้าสู่ส่วนกลางประสบผลอย่างจริงจังเสียใหม่ โดยเสนอว่าแรงต่อต้านช่วงท้ายๆ จบลงหลัง 21 เมษายน พ.ศ. 2479 เมื่อครูบาศรีวิชัยซึ่งถูกควบคุมตัวในวัด รวมทั้งถูกส่งตัวมาสอบสวนที่กรุงเทพฯ หลายครั้งหลายครา ยอมลงนามเอกสารว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายลักษณะการปกครองคณะสงฆ์

ปาฐกถา "Khruba Srivichai: From Sacred Biography to National Historiography" (แปลอย่างไม่เป็นทางการ - "ครูบาศรีวิชัย: จากชีวประวัติตนบุญ สู่ประวัติศาสตร์นิพนธ์แห่งชาติ") โดย แคเธอรีน บาววี (Katherine A. Bowie) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา โดยการปาฐกถาเป็นส่วนหนึ่งช่วงพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ครั้งที่ 13 "Globalized Thailand?" Connectivity, Conflict, and Conundrums of Thai Studies" เมื่อ 15 ก.ค. 2560 ที่ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (CMECC) จ.เชียงใหม่

(ซ้าย) แคเธอรีน บาววี (ขวา) ครูบาศรีวิชัยและคณะศิษย์ ถ่ายภาพที่เชิงบันไดขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2478

ช่วงแรกของการนำเสนอแคเธอรีนกล่าวว่าสาเหตุที่ต้องศึกษาเรื่องดังกล่าวเป็นเพราะไม่มีบุคคลใดที่จะมีความสำคัญมากไปกว่า "ครูบาศรีวิชัย" ในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ภาคเหนือของไทยในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งพระสงฆ์รูปนี้ถูกขนานนามว่าเป็น "ตนบุญ" ของล้านนา มากไปกว่านั้นก็คือเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบจากการก่อรูปรัฐ (State Formation) ของรัฐไทย ที่มีต่อผู้คนธรรมดา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังคงมีผลมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันกองทัพ ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์และรัฐ และบทบาทของระบบการศึกษา คำถามเกี่ยวกับกระบวนการของประวัติศาสตร์นิพนธ์ของไทย ว่าประวัติศาสตร์ไทยจดจำหรือหลงลืม หรือจดบันทึกช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างไร

แคเธอรีนกล่าวด้วยว่า ในการนำเสนอเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัย ก็จะได้เห็นว่าชีวิตของครูบาศรีวิชัยเกี่ยวข้องกับหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมไทยศึกษาครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา สถาปัตยกรรม เศรษฐกิจ การศึกษา ภาษา และการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม

ในบทคัดย่อตอนหนึ่งนำเสนอว่า ครูบาศรีวิชัย (ค.ศ.1878-1939/ พ.ศ.2421-2482) เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือของไทย ทั้งยังสร้างถนนขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยมีส่วนร่วมในการก่อสร้างหรือบูรณะวัดกว่า 100 แห่งทั่วภาคเหนือ แม้ว่าครูบาศรีวิชัยในปัจจุบันถูกรับรู้อย่างกว้างขวางในเชิงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ด้านคาถาอาคมและการทำสมาธิ แต่ในช่วงชีวิตของครูบาศรีวิชัยถูกจับและนำไปกักขังไว้ภายในวัดครั้งแล้วครั้งเล่า ครูบาศรีวิชัยถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯ เพื่อสอบสวนในช่วงทศวรรษ 1920 และถูกส่งตัวมาอีกครั้งในปี 1935-1936 และไม่ได้รับอนุญาตให้กลับภาคเหนือในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) จนมีพระสงฆ์กว่า 400 รูปและสามเณรถูกจับสึก และครูบาศรีวิชัยเองยอมที่จะลงนามในเอกสารที่จะปฏิบัติตามกฎมหาเถระสมาคมของส่วนกลาง เมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2479

การศึกษาก่อนหน้านี้มักเสนอว่าการที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมตัวไว้ในวัดเป็นเพราะไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อแรกใช้บังคับไม่ได้นำมาใช้ในภาคเหนือจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) และนอกจากนี้ก็ไม่มีคำอธิบายต่อกรณีที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมตัวหลายครั้งหลายครา จนนำมาสู่การถูกสอบสวนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) นอกจากนี้ยังมีความสนใจทางวิชาการน้อยมากต่อสาเหตุแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมตัวครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้นไม่นานหลังการยึดอำนาจของคณะราษฎรเมื่อ ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475)

งานวิจัยของแคเธอรีนเสนอว่าการใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารเมื่อ ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในภาคเหนือเมื่อ ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) และภายหลังพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ซึ่งยิ่งมีการขยายตัวของการจัดการศึกษาหลังปี พ.ศ. 2475 ซึ่งสองสิ่งนี้มีคำอธิบายที่น่าสนใจ โดยทั้งการเกณฑ์ทหารและการศึกษาภาคบังคับเป็นปัจจัยสำคัญของการกระบวนการก่อรูปรัฐสมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์มักเสนอว่าการผนวกดินแดนทางตอนเหนือเริ่มมีผลตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แต่แคเธอรีนระบุว่าขอท้าทายประวัติศาสตร์นิพนธ์นี้เสียใหม่ โดยขอโน้มน้าวว่าเหตุการณ์สำคัญที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อ 21 เมษายน ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) เมื่อครูบาศรีวิชัยยอมลงนามในเอกสารดังกล่าว

โดยการนำเสนอของแคเธอรีนจะวางชีวประวัติอันชวนถกเถียงของครูบาศรีวิชัยกับบริบทของการก่อรูปรัฐไทยและแรงกดดันของบริบทโลกในช่วงชีวิตของครูบาศรีวิชัย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้โหวตกับเพจ 'ประชาไท' ส่วนใหญ่ 'ไม่เห็นด้วย' ปมศาลนักการเมืองไต่สวนคดี 'ลับหลัง' จำเลย

Posted: 15 Jul 2017 03:20 AM PDT

15 ก.ค. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านา ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นสมควรประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 176 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี และงดออกเสียง 3 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 179 คน ซึ่งมีประเด็นของการกำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาคดีลับหลังได้ แก้ปัญหาจำเลยหลบหนี และให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นคดีได้ตามสมควรนั้น ต่อมามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน

วานนี้ (14 ก.ค.60) เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ประชาไท Prachatai.com' ได้ตั้งโหวตเพื่อสอบถามความคิดเห็นต่อประเด็น 'ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาคดีลับหลังได้' ปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ตอบไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว ประมาณ 1,00 โหวต ขณะที่มีผู้โหวตเห็นด้วยเพียง 23 เท่านั้น โดยมีผู้แสดงความเห็นประกอบโหวตเกือบ 300 ความเห็น 

ตัวอย่างความเห็นประกอบโหวต

"เรื่องทางการเมือง ผู้ฟ้องต้องมีหลักฐานที่แน่นอนและเชื้อถือได้ ใช่ว่ารวมหัวกัน กันทำแบบนี้แสดงว่าผู้ฟ้องไม่คำนึงถึงตัวบทกฏหมายที่ใช้อยู่...จะข้ามขั้นมิได้."

"กล้า ปฎิรูป ศาลให้มี ลูกขุณ ไหมละจึงจะน่าเชื่อถือได้บ้าง ไม่ใช่คนสอง สามคนชี้เป็นตายได้ตลอด บ่อยๆที่มีพลาด คือจำเลยไม่ผิดจริง"

"ถ้ามีอีกตัวเลือก คือ ไม่ต้องมีหรอกค่ะ #ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"

"ผมไม่เห็นด้วยทั้งหมดทุกเรื่องที่ำกัน
เริ่มที่ตัว รธน. ทั้งฉบับ ในฐานะ ปชช.คนไทย
เต็ม 100 % ทุกอย่างที่ทำ จะต้อง โมฆะ หมด
ความเสียหายต่อชาติแผ่นดิน ต้องมีคนรับผิดชอบ"

"นักการเมือง เลวหมด แล้วทหารดีหมด ไม่เห็นโดนยึดทรัพย์เลย แม่ทัพนายกองทั้งหลาย"

ฯลฯ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กสทช.' ติง 'ดีอี' ประสาน 'เฟซบุ๊ก-ยูทูบ' ปิดเนื้อหาไม่เหมาะสมช้า

Posted: 15 Jul 2017 03:06 AM PDT

เลขาธิการ กสทช. ระบุ 'เฟซบุ๊ก' และ 'ยูทูบ' ให้ความร่วมมือปิดเนื้อหาไม่เหมาะสมเป็นอย่างดีเพียงแต่ต้องมีหมายศาล ที่ผ่านมาปิดได้เกือบหมดเพราะส่งหมายศาลให้สมาคมไอเอสพีช่วยประสานให้ แต่ช่วงหลังพอกระทรวงดีอีทำเองทางเฟซบุ๊กกับยูทูบกลับบอกว่าไม่ได้คำสั่งศาล

 
15 ก.ค. 2560 เว็บไซต์ แนวหน้า รายงานว่า นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการตรวจสอบและระงับการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางอินเตอร์เนต ที่ส่งผลกระทบอันอาจทำลายความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชนว่า ได้มีรายงานตรวจสอบผลการระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมตามคำสั่งศาลในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-9 กรกฎาคม 2560 พบว่ามีเว็บไซต์ที่ถูกปิดตามคำสั่งศาลมีจำนวนลดลงอย่างมาก โดยเพจในเฟซบุ๊กที่มีคำสั่งศาล 1,471 ยูอาร์แอล มีการดำเนินการปิด 156 ยูอาร์แอล, เพจในยูทูบทีมีคำสั่งศาล 622 ยูอาร์แอล มีการปิดไป 9 ยูอาร์แอล เท่านั้น
 
ทั้งนี้เมื่อทำการตรวจสอบจากสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เนตประเทศไทย (ไอเอสพี) แล้วพบว่าคำสั่งศาลจำนวนดังกล่าวสมาคมฯ ไม่ได้เป็นผู้ส่ง แต่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ทำงานร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ดำเนินการส่งคำสั่งศาลไปยังเฟซบุ๊กและยูทูบ โดยตรง จึงทำให้ผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย ไม่ได้รับคำสั่งศาล ไม่เหมือนกับที่ กสทช.ประสานให้สมาคมฯ ส่งให้ในกรณีที่ผ่านมาซึ่งสามารถปิดลงได้เกือบทั้งหมด
 
"อย่างที่บอกคือทั้งเฟซบุ๊กและยูทูบเขาให้ความร่วมมือดี เพียงแต่ต้องมีหมายศาล ที่ผ่านมาก็ปิดได้เกือบหมด เพราะเราส่งหมายศาลให้สมาคมไอเอสพี ไอไอจี ช่วยดำเนินการประสานให้ แต่คราวนี้ไม่รู้เป็นเพราะอะไร กระทรวงดีอีทำเอง แต่ทางเฟซบุ๊คกับยูทูบบอกว่าไม่ได้คำสั่งศาล"
 
นายฐากรกล่าวว่าดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา หากกระทรวงดีอี และ ปอท. ส่งสำเนาคำสั่งศาลไปยังเฟซบุ๊กและยูทูบแล้วให้ส่งสำเนาคำสั่งศาลมายัง กสทช.เพื่อส่งต่อให้สมาคมฯ ดำเนินการประสานกับเฟซบุ๊กและยูทูบอีกทางหนึ่งด้วย พร้อมกันนี้ กสทช.จะเชิญจะสมาคมฯ และผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (ไอไอจี) มาร่วมประชุมและรับคำสั่งศาลที่ กสทช.ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลสำรวจ พนง.ออฟฟิศ 11 ประเทศ 'สิงคโปร์' ใช้เวลาทำงานหลักน้อยสุด

Posted: 15 Jul 2017 02:30 AM PDT

บริษัทซอฟต์แวร์สำรวจผลผลิตการทำงานของพนักงานออฟฟิศ 11 ประเทศพัฒนาแล้ว พบ 'พนักงานสิงคโปร์' ใช้เวลาทำงานในออฟฟิศทำงานหลักของตนเองน้อยสุด 60% จากค่าเฉลี่ย 72%

 
 
 
15 ก.ค. 2560 เว็บไซต์ straitstimes.com รายงานว่าบริษัทซอฟต์แวร์ Unit4 ได้ทำการสำรวจพนักงานออฟฟิศ 1,500 คน จาก 11 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, สเปน, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี, นอร์เวย์ และสวีเดน ซึ่งผลการสำรวจพบว่าพนักงานสิงคโปร์ใช้เวลาทำงานในออฟฟิศเพื่อปฏิบัติหน้าที่หลักของตนเองน้อยสุด 60% จากค่าเฉลี่ย 72% ของทั้ง 11 ประเทศ 
 
การสูญเสียชั่วโมงการทำงานถึง 380 ชั่วโมงต่อปีดังกล่าวทำให้สิงคโปร์สูญเสียผลผลิตในอุตสาหกรรมการบริการไปกว่า 36,500 ล้านเหรียญสิงคโปร์ต่อปี นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่าพนักงานที่มีอายุมากกว่า 41 ปีขึ้นไป ใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ยมากกว่าพนักงานที่มีอายุระหว่าง 26-30 ปี
 
ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสิงคโปร์กำลังลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีอายุมากขึ้น นอกจากนี้พบว่าพนักงานออฟฟิศในสิงคโปร์มีภารกิจการทำงานจากหน้าที่หลักหลากหลายหรือมีการทำงานซ้ำมากเกินไป ซึ่ง Unit4 ระบุว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นผู้ช่วยดิจิตอลหรือแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะช่วยให้พนักงานสามารถจัดการงานที่ทำซ้ำ ๆ และช่วยให้พนักงานใช้เวลาในการทำงานหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
อนึ่งจาก การสำรวจของ Unit4 พบว่าประเทศที่พนักงานใช้เวลาทำงานหลักของตนเองในออฟฟิศมากที่สุดเรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 นอร์เวย์ 81% อันดับ 2 สวีเดน 78% อันดับ 3 ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย 76% อันดับ 5 เยอรมนีและสหรัฐฯ 72% อันดับ 7 แคนาดา 71% อันดับ 8 เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสเปน 70% อันดับ 11 สิงคโปร์ 60%
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพจดังแฉ! ทร.จัดทริปออนเซ็น-เล่นสกี-กินปูยักษ์ ที่ญี่ปุ่น ทหารเรือโต้ทำงานเหนื่อยเสี่ยงภัย

Posted: 15 Jul 2017 12:22 AM PDT

เพจ 'ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน' เผยกรณีเสนาธิการทหารเรือ 77 จัดทริปออนเซ็น เล่นสกี กินปูยักษ์ ที่ญี่ปุ่น เก็บเกือบครบแหล่งเที่ยวกิจกรรมขึ้นชื่อ ด้านทหารเรือโต้ทำงานเหนื่อยเสี่ยงภัย การใช้งบเที่ยวเชิงสัมมนาก็พึงได้ พร้อมย้อนดู 'ทริปดูงานเที่ยวยุโรป' แวะดูบอล-ล่องเรือ กองทัพสอบแล้ว ยันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

15 ก.ค. 2560 ผู้สือข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ก.ค.60) เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน' ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผย กรณีเสนาธิการทหารเรือ 77 จัดทริปออนเซ็น เล่นสกี กินปูยักษ์ ที่ญี่ปุ่น โดยระบุว่า ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาเกิดกระแสใคร ๆ ก็ไปญี่ปุ่นจนภาพเที่ยวญี่ปุ่นล้นฟีด หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือก็ไม่น้อยหน้าจัดทริปศึกษาดูงานญี่ปุ่นร่วมสัปดาห์ช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เก็บเกือบครบแหล่งเที่ยวกิจกรรมขึ้นชื่อ 

โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ให้กับนักศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 77 ข้อมูลที่ตรวจพบมีการดูงานอย่างน้อย 2 สาย ใช้เวลาสายละสัปดาห์ กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการเที่ยวชมสถานที่สำคัญ แหล่งเที่ยวชื่อดัง แล้วรับฟังบรรยายเกี่ยวกับประเทศนั้น ๆ ที่สถานทูตซึ่งเป็นสูตรมาตรฐานการดูงานของหน่วยงานราชการไทย

สายแรกจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ 2560 ออกเดินทางช่วงวันที่ 18 ถึงสนามบินนาริตะเช้าวันอาทิตย์ที่ 19 คณะเริ่มต้นแบบเบา ๆ ไปไหว้พระที่วัดเซนโซจิ (วัดอาซากุซะ) แล้วต่อด้วยเดินช็อปปิ้งในย่านชินจุกุ

จันทร์ที่ 20 ก.พ. ปล่อยอิสระ หลายคนตื่นตั้งแต่เช้ามืดไปต่อคิวทานซูชิร้านในตำนานอย่าง Sushi Dai ที่ตลาดปลาซึกิจิ (Tsukiji) แห่งกรุงโตเกียว ตลาดปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อังคารที่ 21 ก.พ. สเต็ปมาตรฐานเข้าเยี่ยมและฟังบรรยายที่สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารประจำกรุงโตเกียว แล้วเดินทางไปฟูจิ เล่นสกีที่ Fujiten Snow Resort ระหว่างทางแวะจิบเบียร์ชิล ๆ ที่โรงเบียร์ Asahi Beer Factory จบจากสกีเข้าพักที่ Tominoko Hotel โรงแรมหรูสำหรับแช่ออนเซ็นพร้อมชมวิวภูเขาไฟฟูจิ จบด้วยกินขาปูยักษ์อันเลื่องชื่อ

23 ก.พ. เดินทางไป "วัดคิโยมิสึเดระ" ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ "วัดน้ำใส" ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานแห่งเกียวโตโบราณ และวัดคิงกะกุที่มีศาลาทองเป็นจุดเด่นของวัด แล้วไปต่อถนนสายช้อปปิ้ง Shinsaibashi-Suji เมืองโอซาก้า เข้าพักที่ Plaza Osaka Hotel

วันสุดท้ายออกเดินทางไปพิพิธภัณฑ์เเผ่นดินไหวฮันชิน (Disaster Reduction and Human Renovation Institution) จากนั้นเข้าชมปราสาทโอซาก้า แล้วเดินทางไปสนามบินคันไซโอซาก้าเพื่อกลับประเทศไทย

สายสองศึกษาดูงานระหว่าง 21 - 27 กุมภาพันธ์ 2560 ออกเดินทางช่วงดึกวันอังคารที่ 21 ถึงสนามบินนาริตะเช้าวันรุ่งขึ้นเปิดกิจกรรมดูงานจิบชิมเบียร์ที่โรงงานเบียร์ Sapporo Beer Chiba Factory

วันพฤหัสที่ 23 ก.พ. ทัวร์ปล่อยอิสระตามชอบ บางส่วนเข้าไปที่เกาะโอไดบะ (Odaiba) ชมสะพานสายรุ้ง (Rainbow Bridge) เทพีเสรีภาพจำลอง (Statue of Liberty) Aqua city และ History Garage บางส่วนเดินทางเข้าโตเกียวไปไหว้พระวัดอาซากุสะ ชมหอคอย Tokyo Skytree เดินย่านชินจูกุ ฮาราจูกุ เป็นต้น

24 ก.พ. เข้ารับฟังบรรยายเรื่องเกี่ยวกับภาพรวมทางการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่นที่สถานทูตไทยประจำกรุงโตเกียวตามสเต็ป จากนั้นเดินทางไปเล่นสกีหิมะที่ Fujiten Snow Resort แหล่งสกีดังบริเวณทะเลสาบฟูจิทั้งห้า และเข้าพักที่ Jiragonno Fuji No Yakata Hotel

25 ก.พ. เข้าชม Suzuki Motor Corporation และต่อที่พิพิธภัณฑ์รถไฟญี่ปุ่น (JR Railway Museum Nagoya) เมืองนาโกย่า วันรุ่งขึ้นเข้าชมวัดคิโยมิสึ (วัดน้ำใส) และวัดคิงกะกุ (วัดศาลาทอง) ดูงานย่านช็อปปิ้งที่ Shinsaibashi-Suji เมืองโอซาก้า ส่วนวันสุดท้ายเข้าชมปราสาทโอซาก้า และเดินทางกลับไทย

ดูงานหนักขนาดนี้มีเบี้ยเลี้ยงวันละ 2,100 บาท แถมโรงเรียนเปิดโอกาสให้พาคนติดตามได้ด้วยจ่ายหัวละ 6x,xxx

เพจ 'ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน' โพสต์ทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า หลักสูตรอบรมมากมายของหน่วยงานราชการบ้านเรา มักจบด้วยการศึกษาดูงานต่างประเทศ อ้างเรื่องประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ที่คนทั่วไปสรุปมานานแล้วว่าไปเที่ยว ทำกันจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เป็นสิ่งถูกต้อง ธรรมดา

ทหารเรือโต้ ทำงานเหนื่อยเสี่ยงภัย ใช้งบเที่ยวเชิงสัมมนาก็พึงได้

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากกรณีดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก โดยมีผู้แชร์ไปเกือบ 1000 แชร์แล้ว ขณะที่มีเกือย 500 ความคิดเห็นประกอบโพสต์นี้

นอกจากนี้ กระปุกดอทคอม รายงานด้วยว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ระบุว่าเป็นทหารเรือ เข้ามาชี้แจงดังนี้

"ก่อนพูดกรุณาพิจารณาสักนิดด้วยครับ พวกผมทำงานกันด้วยความเหนื่อยยาก ปฏิบัติภารกิจที่เสี่ยงอันตรายทั้ง 3 จว.ภาคใต้โดยที่พวกคุณ ๆ ทั้งหลาย นอนหลับอยู่บ้าน เสพข่าวมั่วซั่ว แล้วประณามคนที่คุ้มกะลาหัวพวกคุณ เราฝึกกันหนัก เสี่ยงกันมามาก ทหารย่อมต้องได้รับการพัก งปฯที่ได้เป็นงบที่เราพึงมีและพึงได้

ผมยอมรับว่านี้คือการไปเที่ยวเชิงสัมมนา เราต้องผ่อนคลาย เราต้องเที่ยวบ้างเป็นเรื่องธรรมดา นานๆจะมีสักครั้ง ไม่ได้บ่อย เป็นผม ผมก็คงอิจฉา คนโพสผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเคยผ่านการเป็นทหารมาบ้างรึป่าว อย่าดีแต่เห่า เสียดสีไปเรื่อย แต่ใจป๊อด ทหารเค้ามีระบบระเบียบ ถึงเวลาเค้ามีสิ่งหนึ่งนั่นคือความเสียสละและยอมตายเพื่อชาติ นั่นคือสิ่งที่พวกคุณไม่มี น้องผมพี่ผม เพื่อนผม ต้องไปตายที่ภาคใต้เพื่อให้พวกคุณนอนหลับสบาย ไปเที่ยว กินเหล้ากันสบาย ที่พวกเขาไปเที่ยวก็ถือว่าเป็นการให้พวกเค้าได้พักผ่อนเถอะคับ คุณ ๆ สิงห์นักเลงคีย์บอร์ด"

ย้อนดู 'ทริปดูงานเที่ยวยุโรป' แวะดูบอล-ล่องเรือ 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา 'ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน' ได้เปิดข้อมูลทริปศึกษาดูงานของวิทยาลัยเสนาธิการทหาร (วสท.) สถาบันการศึกษาชั้นสูงทางทหารขึ้นตรงกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย จัดทริปนำนักศึกษาและคณาจารย์ในหลักสูตรเสนาธิการร่วม รุ่น 57 รวม 107 คน ไปดูงานต่างประเทศ แบ่ง 3 สาย แต่ละสายใช้เวลาเกือบครึ่งเดือน ช่วงเดือนมี.ค. 2559 ซึ่งรายละเอียดการเดินทางส่วนมากเป็นการท่องเที่ยว ช็อปปิ้ง รวมทั้งชมการแข่งขันฟุตบอล (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

โดยในครั้งนั้นมีกระบวนการสอบสวน ซึ่ง 26 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.อ.สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.)  เป็นผู้ชี้แจงว่าการตรวจสอบทริปหลักสูตร 13 วันของ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรายละเอียดส่งให้กรมกิจการพลเรือน ทหาร เพื่อรวบรวมทำการชี้แจงเมื่อสื่อต้องการ

ทางพล.อ.อ.สุทธิพันธ์ ยังชี้แจงต่อว่า ภาพที่เผยแพร่ในโซเชียลมีเดียดังกล่าวเป็นภาพที่เกิดขณะหลังกิจกรรมดูงาน และขอยืนยันว่าไม่มีการนำงบประมาณไปใช้แต่อย่างใด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการพร้อมบินรับตัว 'เณรคำ' หลังศาลสหรัฐฯ สั่งส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

Posted: 14 Jul 2017 11:40 PM PDT

อธิบดีอัยการต่างประเทศพร้อมบินรับตัว 'เณรคำ' ที่สหรัฐฯ หลังศาลแคลิฟอร์เนียสั่งส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน แต่ต้องรอดูว่าจะใช้สิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นหรือไม่

 
15 ก.ค. 2560 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่านายอำนาจ โชติชัย อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ เปิดเผยว่าทีมงานอัยการทราบผลคำสั่งของศาลแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สั่งให้ส่งตัว นายวิรพล สุขผล หรือ อดีตพระภิกษุชื่อพระวิรพล ฉัตติโก ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ 'เณรคำ' อดีตประธานสงฆ์สำนักสงฆ์วัดป่าขันติธรรม จ.ศรีสะเกษ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้กลับไทยแล้ว 
 
ทางอัยการได้มีการเตรียมพร้อมทีมงานของอัยการเองและกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ที่จะเดินทางไปรับตัวเณรคำ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ทั้งนี้ต้องดูว่า เณรคำ จะใช้สิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นของแคลิฟอร์เนียหรือไม่ คาดว่าในสัปดาห์หน้าน่าจะทราบผล และทีมอัยการจะมีการแถลงชี้แจงขั้นตอนต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชนต่อไป 
 
สำหรับเณรคำนั้น เป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับของศาลในคดีฉ้อโกงกระทำชำเราผู้เยาว์ และฟอกเงิน และอัยการสูงสุดได้ประสานงานกับทางการสหรัฐฯ ตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 เพื่อขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 ตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งล่าสุด ศาลสหรัฐได้มีคำสั่งให้ส่งตัวเณรคำเป็นผู้ร้ายข้ามแดน กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9-15 ก.ค. 2560

Posted: 14 Jul 2017 11:12 PM PDT

 
เตือนนายจ้างอย่าใช้โบรกเกอร์เถื่อนเสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
 
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เตือนนายจ้าง/ผู้ประกอบการ อย่าใช้บริการจากนายหน้าเถื่อน เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ย้ำนายจ้างสามารถนำเข้าได้ด้วยตนเองหรือใช้บริการผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศเพื่อไปดำเนินการตรวจสัญชาติและกลับเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในช่วง 180 วันที่ชะลอบทลงโทษนายจ้างและคนต่างด้าวใน 4 มาตราคือ 101 102 119 และ 122 ดังนั้นจึงส่งผลให้นายจ้าง/สถานประกอบการต่างๆ เช่น กลุ่มโรงสี กลุ่มแรงงานเกษตร เป็นต้น ขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องนำเข้าแรงงานเข้ามาใหม่โดยใช้บริการของนายหน้าและโบรกเกอร์ ด้วยเหตุนึ้จึงเป็นช่องทางให้กระบวนการนายหน้าอ้างกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการว่าสามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศได้ โดยเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงแรงงานขอเรียนชี้แจงว่าผู้ที่จะดำเนินการนำเข้าแรงงานได้นั้นมี 2 กลุ่มคือ 1) นายจ้างนำเข้าด้วยตนเอง และ 2) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (บริษัทนำเข้า) ซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขอย้ำเตือนว่าหากผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000 บาท ถึง 1,000,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
นายวรานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศจำนวน 81 แห่งทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯ จำนวน 38 แห่ง ส่วนภูมิภาค จำนวน 43 แห่ง และขอย้ำเตือนกับนายจ้างและผู้ประกอบการให้ใช้บริการของผู้รับอนุญาตฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น หากผู้ใดพบเห็นหรือถูกกระบวนการนายหน้าเถื่อนหลอกลวงดังกล่าว ขอให้แจ้งสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในพื้นที่โดยทันที ซึ่งกรมการจัดหางานจะดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 1729 , 0 2354 1386 หรือโทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694
 
ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 9/7/2560
 
SUPER POLL เผยผู้ประกอบการส่วนใหญ่กังวลผลกระทบกม.แรงงานต่างด้าวใหม่-บทลงโทษสูง
 
นายนพล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ร่วมกับ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และอดีตรองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยผลโพล กฎหมายแรงงานต่างด้าว และแนวคิดวิเคราะห์สถานการณ์ เรื่อง ผลกระทบจากกฎหมายแรงงานต่างด้าวต่อผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวและมุมมองของประชาชนทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น 1,150 คน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 – 8 ก.ค. 60 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ก่ำกึ่งกันหรือร้อยละ 50.4 ระบุ กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจกิจการ ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุ ไม่มีผลกระทบ และประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า ประชาชนทั่วไปกลับมองว่า กฎหมายที่เข้มงวดจะส่งผลดีต่อแรงงานไทยเพื่อคนไทยมีงานทำและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศโดยส่วนรวม โดยมองว่า การไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายที่ออกมาได้เป็นเพราะขาดการเตรียมการที่ดีในการเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่าง ๆ
 
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.4 กังวลว่า โทษปรับที่สูงมากจะเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการ แต่ ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 กลับไม่กังวล และเมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการออกตามขนาดธุรกิจ พบว่า ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและ ขนาดจิ๋ว กังวลมากที่สุด คือร้อยละ 71.1 ร้อยละ 62.1 และ ร้อยละ 60.2 ซึ่งมากกว่า กลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีอยู่ร้อยละ 55.6 ตามลำดับ
 
ที่น่าพิจารณาคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.6 ไม่มีแผนที่จะใช้แรงงานไทยทำงานแทนแรงงานต่างด้าวในอนาคต
 
ในขณะที่ นาย วินัย ลู่วิโรจน์ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผลกระทบต่อสถานประกอบการต่างๆ มีข้อเท็จจริงมาจากปัญหาคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งเป็นความจำเป็นของนายจ้างที่รัฐยังไม่ได้พูดถึง และบทลงโทษของกฎหมายควรทำให้เห็นก่อนว่าเป็นบทลงโทษที่สมเหตุสมผล แต่การว่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเป็นการกระทำความผิดต่อนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเท่านั้นไม่ใช่ความผิดในตัวมันเอง เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ วางเพลิง และการค้ามนุษย์ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องทบทวนมูลเหตุจูงใจของนายจ้างและความรุนแรงของการกระทำผิด เพราะส่วนใหญ่ นายจ้างจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเพราะต้องการลดต้นทุน ไม่ต้องมีสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ให้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ประกอบการและออกมาคัดค้านโทษปรับที่สูง
 
"ทางออกคือ รัฐต้องจัดระบบการทำงานของคนต่างด้าว เพราะการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การมีทางเลือกให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้แรงงาน และควรมีหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายเข้ามาดูแลคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานในกิจการเป็นพิเศษ เพื่อทำให้เกิดการยอมรับความจำเป็นของกฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่" อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
 
ในขณะที่ นาย ธนิช นุ่มน้อย อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และ อดีตรองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ คือ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง ผลดีผลเสียของการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวและความไม่พร้อมของผู้ประกอบการในการรองรับการเปลี่ยนแปลง เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว การออก พรก.ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และป้องกันการทุจริตคอรับชั่นนั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ ที่สำคัญคือฝ่ายผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวที่ต้องเตรียมความพร้อมทั้งแง่ความรู้ความเข้าใจและการรองรับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย
 
"ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาได้ครบถ้วนจะทำให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติของประเทศ แต่เนื่องจากมีขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานจึงพร้อมบริการด้วยจิตอาสาร่วมกับ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) โทร 02.308.0444 หรือ 02.308.0995 เปิดศูนย์ให้คำแนะนำปรึกษากฎหมายแรงงานต่างด้าวฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อหนุนเสริมธุรกิจและนโยบายรัฐบาล น่าจะช่วยให้การดำเนินการเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าว สำเร็จตามเจตนารมย์ของกฎหมายที่ออกมา" อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานกล่าว
 
 
22 องค์กรมัคคุเทศก์ ออกโรงต้านต่างด้าวขึ้นทะเบียนไกด์ ชี้ต้นเหตุให้คนไทยตกงาน
 
ที่ศูนย์ประสานงานสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย อาคารฟอร์จูน ตัวแทนจากสมาคมและชมรมด้านมัคคุเทศก์ต่างๆ รวม 22 องค์กร จัดประชุมและก่อตั้งสมาคมสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศ โดยนายจารุพล เรืองเกตุ ประธานสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนแถลงว่า การก่อตั้งสมาพันธ์ฯ เพื่อต้องการแสดงจุดยืนคัดค้านนโยบายรัฐที่เปิดโอกาสให้บุคคลต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพมัคคุเทศก์(ไกด์)ในไทยได้ เพราะไกด์ไทยสามารถพูดภาษาจีนกลางได้จำนวนเพียงพอที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเที่ยวในไทยได้ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวน แม้รัฐบาลจะอ้างว่าเพื่อให้มัคคุเทศก์ต่างด้าวมาสอนภาษาหลัก 3 ภาษา คือ จีน เกาหลี และรัสเซีย แต่ในความเป็นจริงแล้วมัคคุเทศก์ต่างด้าวไม่ช่วยสอนภาษาแต่อย่างใด
 
อีกทั้ง คนต่างด้าวที่มาทำหน้าที่ไกด์ผิดกฎหมายในไทย ส่วนใหญ่มาจากบริษัทนำเที่ยวและทำหน้าที่เป็นไกด์จีน เป็นเรื่องที่รัฐบาลละเลย ควรตรวจสอบคนกลุ่มนี้ แต่กลับเลือกตรวจสอบและจับกุมไกด์ไทยที่มีบัตรประจำตัวสีชมพู หรือบัตรไกด์นำเที่ยวเฉพาะพื้นที่จังหวัดที่ระบุไว้บนบัตรและพื้นที่ติดต่อ โดยมักถูกจับกุมผิดฐานปฏิบัติงานข้ามจังหวัด
 
นายชาติ จันทนประยูร นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลระบุว่าไกด์ไม่เพียงพอ แต่สมาคมอยากให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้คนที่ทำงานไกด์จริงๆได้แสดงความคิดเห็นบ้าง ตอนนี้ไกด์คนไทยพูดภาษาจีนตกงานถึง 50-60% เพราะบริษัทจีนที่มาเป็นนอมินีในไทย จะใช้ไกด์คนจีน เพราะบริษัทต้องการยอดรายได้ และไกด์คนจีนมีกลยุทธ์ขายในลักษณะบังคับ เพื่อให้ได้ยอดรายได้ สุดท้ายผลประโยชน์ตกกับบริษัทคนจีน และอยากให้รัฐบาลหาโครงการช่วยเหลือไกด์ที่ตกงาน เช่น โครงการช่วยสอนภาษาอื่นแบบพื้นฐาน เพิ่มจากภาษาอังกฤษ รวมถึงสวัสดิการต่างๆ เช่น ประกันสังคม โดยภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จะนำปัญหาและข้อเสนอไปหารือนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
 
 
แรงงานต่างด้าวกลับถิ่น ไซต์รถไฟฟ้าสายสีแดงป่วน
 
กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ต่อรับเหมาก่อสร้าง หลังรัฐบาล คสช. ประกาศ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ทำให้แรงงานต่างด้าวที่แฝงตัวในไซต์ก่อสร้างแตกตื่นแห่กลับประเทศเห็นภาพชัดไซต์รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ติดตามงานจากผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญา
 
ปรากฏว่าสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักรของกลุ่มซิโน-ไทยฯ และยูนิคฯ วงเงิน 34,118 ล้านบาท งานเริ่มชะงัก
 
"หารือกับผู้รับเหมา พบปัญหายูนิคฯมีแรงงานพม่ากลับประเทศไปดำเนินการต่าง ๆ ให้ถูกกฎหมาย เพราะตกใจคิดว่าใบสีชมพูใช้ไม่ได้ จะกลับมา 10-20 วัน มีผลกระทบระยะสั้น ๆ ส่วนสัญญาที่ 2 ของอิตาเลียนไทยฯ ไม่มีปัญหา แรงงานที่ใช้ถูกกฎหมาย"
 
จากรถไฟฟ้าสายสีแดง ถามไปยังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย "ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง กล่าวว่า ทั้งสายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค และสีเขียวต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ก่อสร้าง จึงไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีใบอนุญาตที่ถูกกฎหมายอยู่แล้ว
 
ขณะที่บิ๊กรับเหมาที่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว แม้จะดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย แต่ลึก ๆ ก็กังวลใจ
 
"ภาคภูมิ ศรีชำนิ" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหลายปี ทุกปีขอโควตาไว้ล่วงหน้า ปัจจุบันมีแรงงานเมียนมา 2,000 คน กัมพูชา 1,000 คน และได้ตั้งศูนย์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายมาร่วม 3 ปีแล้ว
 
"พ.ร.ก.ฯไม่ส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง จะกระทบรับเหมารายกลางและรายเล็ก เพราะดำเนินการไม่ทันเวลา ต้องเสียค่าปรับและเกิดแรงงานขาดแคลนขึ้น"
 
และอาจกระทบต่อผู้รับเหมาช่วงหรือต่อเนื่องถึงโครงการก่อสร้างในมือของบริษัทได้ จะรีบหามาตรการป้องกันให้เร็วที่สุด และการที่รัฐขยายเวลาจะช่วยประคับประคองสถานการณ์ไปได้บ้าง
 
 
กระทรวงแรงงาน ยืนยันไม่แยกกลุ่มรับใช้ในบ้าน จากการจัดระเบียบแรงงานเพื่อนบ้าน
 
หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานรับใช้ในบ้าน และดูแลผู้สูงอายุในเมืองไทย จะได้รับการอำนวยความสะดวก ทำให้ถูกกฎหมาย ในขั้นตอนการเปลี่ยนนายจ้าง และตรวจพิสูจน์สัญชาติ เพื่อออกเอกสารรับรองบุคคล หรือซีไอ แต่คงไม่สามารถแยกแนวปฏิบัติให้แตกต่างจากกรรมกรทั่วไปได้ กรณีไม่มีเอกสาร ไม่เคยจดทะเบียนขอใบอนุญาตทำงานมาก่อน ต้องเข้าสู่ระบบ ที่นายจ้างลูกจ้างต้องไปแจ้งศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งการทำงานของแรงงานต่างด้าวเช่นกัน
 
ขณะที่แรงงานเมียนมาวัย 38 ปี ที่เข้ามาอยู่ในไทยนานแล้ว ตอนนี้ ทำงานรับใช้ตามบ้าน รับจ้างทำความสะอาดบ้าน บอกว่า แม้จะมีมาตรการผ่อนผัน ไม่จับกุม ไม่ลงโทษ ตาม พ.ร.ก.การบริหารการจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ไปอีก 6 เดือน แต่ก็ไม่ได้ลดความกังวล เพราะตอนนี้ ไม่มีนายจ้างประจำ อยากเป็นแรงงานถูกกฎหมาย ในกรุงเทพมหานครต่อไป เพื่อหารายได้มาเลี้ยงลูกและจุนเจือครอบครัว
 
ขณะที่นายสมพงศ์ สระแก้ว เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN เสนอแนวคิดแยกประเภทแรงงานรับใช้ในบ้าน และดูแลผู้สูงอายุออกจากกรรมกรทั่วไป เพราะมีความแตกต่างเฉพาะ ทั้งรูปแบบการทำงานที่ใกล้ชิดนายจ้าง ความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่อยากได้คนเก่ากลับคืนมา และขอให้ภาครัฐปิดช่องโหว่การมีนายหน้า หรือ บริษัท เรียกรับผลประโยชน์จากการจัดหา และฉวยโอกาสตัดทอนค่าจ้างแม่บ้านแรงงานเพื่อนบ้านด้วย
 
 
คลังคาดเงินสะสมกบช.ปีแรก "6 หมื่นล้าน" เปิดช่องกองทุนเลี้ยงชีพที่มีเงินสะสมและสมทบ
 
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังคาดการณ์ในปีแรกของการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) จะมีเงินสะสมในส่วนของสมาชิกและนายจ้างรวมราว 6 หมื่นล้านบาท และ จะทะลุเกิน 1 แสนล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีนับจากเริ่มจัดตั้งกองทุน
 
ปัจจุบันมีแรงงานที่อยู่ในระบบราว 16 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้ มีลูกจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจเพียง 3 ล้านคน ซึ่งมีเงินกองทุนรวมกันราว 9 แสนล้านบาท ที่เหลือราว 12-13 ล้านคน ไม่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้ง กบช.
 
ปัจจุบันร่างกฎหมาย กบช.ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตัวบทกฎหมายโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ จะกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างต้องเข้าเป็นสมาชิก กบช.โดยลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี สามารถสมัครเป็นสมาชิก กบช.ได้
 
สำหรับอัตราส่งเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง จะใส่เข้ากองทุนฝ่ายละเท่าๆ กัน โดยปีแรกของการบังคับใช้ จะเริ่มในอัตรา 3% และทยอยปรับขึ้น เป็น 5% ,7% และ 10% ตามลำดับ ภายใน 10 ปี โดยกำหนดเงินนำส่งเข้ากองทุนสูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อเดือน และเพดานเงินเดือนที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสะสมและสมทบ จะอยู่ที่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน,สำหรับลูกจ้างที่มีเงินเดือนไม่เกิน 1 หมื่นบาทซึ่งมีสัดส่วนราว 50% ของแรงงานภาคเอกชน ไม่ต้องจ่ายเงินสะสม แต่ให้นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนฝ่ายเดียว
 
ทั้งนี้ ในปีแรกการบังคับใช้กฎหมาย จะกำหนดให้กิจการขนาดใหญ่ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป กิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ, กิจการที่ได้รับบีโอไอ, บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์, รัฐวิสาหกิจหรือกิจการที่ประสงค์จะสมัครเข้ากบช.เอง
 
สำหรับในปีที่ 4 ใช้กฎหมายนี้ จะกำหนดให้กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องเข้าเป็นสมาชิก กบช. และในปีที่ 6 เป็นต้นไป กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก
 
บริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ภาคสมัครใจ) อยู่แล้ว หากอัตราการส่งเงินสะสมและสมทบเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมาย กบช.กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องโอนเข้ามาเป็นสมาชิกของกบช. โดยยังคงอยู่ในระบบเดิมได้ แต่หากอัตราเงินสะสมและสมทบต่ำกว่าที่ กบช.กำหนดหากสมัครใจเพิ่มเงินสะสมและสมทบให้เท่ากับหรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะไม่ถูกบังคับให้ต้องเข้ากบช.
 
หลังจากกฎหมายได้รับความเห็นของจาก สนช.และประกาศบังคับใช้ กระทรวงการคลัง จะมีเวลา 1-2 ปี จัดตั้งสำนักงาน และวางระบบการบริหารจัดการ ก่อนที่จะเริ่มเดินระบบ กบช.
 
ส่วนการรับเงินหลังเกษียณของ กบช.นั้น จะให้สมาชิกเลือก ระหว่างการรับเป็นเงินก้อน (บำเหน็จ) หรือจะรับเป็นบำนาญ ซึ่งให้ทยอยรับในเวลา 20 ปีหลังจากเกษียณ สาเหตุที่ให้ทยอยรับ 20 ปี เนื่องจาก มีสมมุติฐานว่า คนไทยที่มีอายุเกิน 80 ปี มีเพียง 10% เท่านั้น
 
ทั้งนี้ จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่า รายได้หลังเกษียณที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ อย่างน้อย จะต้องอยู่ที่ 50-60% ของรายได้ก่อนเกษียณแต่ในปัจจุบัน แรงงานในระบบ ที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่ได้เป็นข้าราชการที่มี กบข.หรือบำนาญ มีเพียงการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพียงอย่างเดียว จะมีรายได้หลังเกษียณ เพียง 19% ของเงินเดือนสุดท้าย
 
สำหรับข้าราชการเป็นกลุ่มที่ถือว่ามีระบบการออมเพื่อชราภาพที่ทำให้ชีวิตหลังเกษียณ มีรายได้เพียงพอ โดยมีรายได้หลังเกษียณในอัตรา 70% ของเงินเดือนสุดท้าย
 
 
สธ.เร่งตั้ง "กองทุนเยียวยา" จ่ายเงินผู้เสียหายจากการรักษาทุกสิทธิครอบคลุม 67 ล้านคน
 
(11 ก.ค.) นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ. เยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ว่า จากการทำงานที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาแล้วว่า มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนเรื่องนี้ด้วยการตั้งเป็น "กองทุนเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข" ซึ่งจะดูแลทั้งผู้ให้บริการ หรือบุคลากรทางการแพทย์ และผู้รับบริการหรือประชาชนที่เข้ารับบริการ ครอบคลุม 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งมีประมาณ 67 ล้านคน เบื้องต้นจะเป็นในสถานพยาบาลภาครัฐก่อน ส่วน รพ.เอกชนจะเป็นไปด้วยความสมัครใจ
 
"ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ป่วย หากได้รับผลกระทบจะมีการเยียวยาช่วยเหลือ โดย สบส.จะทำหน้าที่เป็นธุรการในการเบิกจ่าย คล้ายเป็นหน่วยงานกลางคอยทำงาน โดยรับงบประมาณในการเยียวยาช่วยเหลือจากแต่ละกองทุนมาไว้ส่วนกลาง หากใครได้รับผลกระทบก็จะนำงบส่วนนี้มาดำเนินการ ซึ่งจะไม่แบ่งว่าใครอยู่สิทธิใดใน 3 สิทธิสุขภาพ เรียกว่าเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ส่วนอัตราเท่าไรนั้นต้องมีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขอีกครั้ง" อธิบดี สบส. กล่าวและว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เสนอต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อพิจารณาแล้ว หากเห็นชอบอาจปรับแก้ไม่มาก เพื่อเสนอตามขั้นตอนเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการตั้งกองทุนต้องมีการแก้กฎหมายของแต่ละกองทุนรักษาพยาบาลหรือไม่ นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า ต้องมีการแก้ไข คือ มาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ. กองทุนประกันสังคม ส่วนสิทธิข้าราชการไม่ต้องแก้ไข เนื่องจากไม่มีในเรื่องการเยียวยาอยู่แล้ว แต่จากการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเดิมไม่มีหน่วยงานกลางทำให้ เมื่อเกิดความเสียหายทางสาธารณสุขใดๆ ก็จะเป็นแต่ละสิทธิสุขภาพ การเจราจาช่วยเหลือก็ไม่มีคนกลางมาทำให้ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ดังนั้น หากมีกองทุนนี้ขึ้นมาจะช่วยแก้ปัญหาและลดเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขได้ เพราะกองทุนนี้จะไม่มีการไล่เบี้ยใด ๆ
 
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจแทนผู้ป่วยและประชาชนที่ สบส. และ สธ. ขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพียงแต่อยากได้การยืนยันจาก รมว.สาธารณสุข ว่า จะขับเคลื่อนและกฎหมายจะประกาศใช้ได้จริง เพราะตลอด 15 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามให้ออกกฎหมายมาตลอด แต่ไม่สำเร็จ ทุกยุคทุกสมัยจะมีการคัดค้านของกลุ่มหนึ่งเสมอ ตนจึงอยากเชิญชวนประชาชนที่เห็นด้วยและเห็นความสำคัญกับร่าง พ.ร.บ. นี้ ที่จะมาช่วยกรณีเกิดความเสียหายทั้งแพทย์และคนไข้ โดยขอเชิญชวนช่วยกันลงชื่อผ่าน www.change.org/injuryact เพื่อจะรวบรวมรายชื่อเสนอต่อ นพ.ปิยะสกล เพื่อช่วยขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้ออกเป็นกฎหมายได้จริงๆ เสียที
 
ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะนายกแพทยสภา กล่าวว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว หลักการเบื้องต้นตนเห็นด้วย เพราะในเรื่องของการรักษาไม่ควรมีการไล่เบี้ยเอาความผิดกับใคร
 
 
เกิดเหตุแก๊สรั่วในโรงงานอุตหกรรมเคมีจ.ระยองอพยพพนักงานจ้าละหวั่น
 
เมื่อเวลา15.00น. วันที่12 กรกฎาคม 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งสารเคมีรั่วไหล บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)สาขาที่5 ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ถนนสาย3191 ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง จึงได้รุดไปตรวจสอบโดยได้สั่งอพยพพนักงานและผู้รับเหมาอยู่ในจุดรวมพลจากนั้นได้ใช้สเปย์น้ำหรือม่านน้ำฉีดควบคุมไม่ให้ฟุ้งกระจายและเพื่อไม่ให้กลิ่นสารเคมีที่รั่วไหลออกไปภายนอกใช้เวลากว่า 30นาทีจึงสามารถควบคุมไว้ได้โดยไม่มีใครได้รับบาดเจ็บอันตรายแต่อย่างใดและได้ตรวจวัดปริมาณก๊าซที่รั่วไหลในอากาศมีค่าปกติในเกณฑ์มาตรฐาน
 
ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กรบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)ได้ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากเวลาประมาณ13.00น.ได้เกิดเหตุวาว์ลรั่วสารพาราไซลีนรั่วไหลระหว่างเริ่มเดินเครื่อง โรงอะโรเมติกส์ 2 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ถนนสาย 3191 ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยองทีมชำนาญการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของบริษัทฯ สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้ม่านน้ำควบคุมไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายออกไป และส่งเจ้าหน้าที่เข้าปิดวาล์วและสามารถหยุดการรั่วไหลได้แล้ว จากการส่งเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพอากาศบริเวณชุมชนโดยรอบ พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 
อย่างไรก็ตามทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัดจะชี้แจงเป็นทางการที่สำนักงานอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลในวันรุ่งขึ้นต่อไป
 
 
ก.แรงงาน เร่งออก "อาชีพสงวน" ใหม่ ยัน "ต่างด้าว" ทำงานก่อสร้างได้
 
(12 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการและสมาคมต่างๆ เช่น คณะกรรมการร่วม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมภัตตาคารไทย นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายกสมาคมผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย เป็นต้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจถึงมาตรการดำเนินการภายหลังมีคำสั่งมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วยผ่อนคลายบทลงโทษตาม พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ออกไปเป็นเวลา 180 วัน
 
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวว่า การหารือวันนี้ก็ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับทางผู้ประกอบการ สมาคมต่างๆ ถึงแนวปฏิบัติในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว หลังจากมีประกาศกระทรวงแรงงานที่ออกมารองรับมาตรา 44 ซึ่งหากพูดให้เข้าใจง่าย คือ จะแบ่งต่างด้าวออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผิดนายจ้าง สามารถมาแจ้งปรับเปลี่ยนนายจ้างได้เลยที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ที่ทำงาน 2. กลุ่มมีพาสปอร์ต มีวีซ่า แต่ยังไม่ขอใบอนุญาตการทำงานภายใน 15 วัน ก็สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้เลย 3. กลุ่มนายจ้างขอโควตาเพื่อนำเข้าตาม MOU ก็ดำเนินการตามปกติได้ และ 4. กลุ่มแรงงานผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารอะไรเลย หรือมีบางส่วนแต่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมากที่สุดและเป็นกลุ่มใหญ่ จะให้มายื่นเอกสารที่ศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งการทำงานต่างด้าว ระหว่างวันที่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค. เพื่อมาพิสูจน์ความเป็นนายจ้างลูกจ้าง และออกเอกสารรับรองให้ไปทำเอกสารรับรองบุคคล (ซีไอ) และเข้าสู่ระบบการขออนุญาตทำงานตามปกติ คือขอวีซ่า การตรวจสุขภาพ และใบอนุญาตทำงาน ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่นานและค่าใช้จ่ายไม่มาก ก็เข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้มาก
 
"นายจ้างที่รับฟังหรือลูกจ้างที่ยังผิดกฎหมายอยู่ อยากให้รีบเข้าสู่ระบบ เพราะถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่ทำงานถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ส่วนการตั้งศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว จะเร่งประกาศในเร็วๆ นี้ ว่า ใช้สถานที่ใด แต่เบื้องต้นการขอเอกสารต่างๆ จากทางกระทรวงแรงงานสามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมีการหารือกับทางกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ตำรวจ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในการจัดทำศูนย์วันสตอปเซอร์วิส ทั้งเรื่องการขอรับซีไอ ขอวีซ่าทำงาน การตรวจโรค และขอใบอนุญาตทำงานในพื้นที่เดียว ซึ่งอยู่ระหว่างการกำหนดรายละเอียด" ปลัดแรงงาน กล่าว
 
เมื่อถามถึงข้อกังวลของนายจ้าง ม.ล.ปุณฑริก กล่าวว่า นายจ้างก็มีข้อกังวลบ้าง ซึ่งหลายเรื่องเป็นเรื่องที่หาทางออกได้ เช่น ข้อกังวลเรื่องพื้นที่รับอนุญาตทำงาน ซึ่งพื้นที่อนุญาตอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่มีการทำงานที่อีกจังหวัดหนึ่งด้วย ตรงนี้กฎหมายก็เปิดช่องไว้อยู่แล้วว่าสามารถทำได้ ส่วนเรื่องข้อกังวลอาชีพสงวนที่ห้ามต่างด้าวทำ ซึ่งเดิมมี 39 อาชีพ ตามกฎหมายนี้ก็กำหนดให้มีการปรับปรุงอาชีพสงวนโดยการออกเป็นกฎหมายลูกด้วย ซึ่งสมาคมต่างๆ ก็ขอเข้ามารับฟังว่า อาชีพอะไรควรยกเลิกการสงวน หรืออาชีพใดที่ควรสงวนเอาไว้ ซึ่งอาชีพที่กังวล เช่น งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ก็มีการตีความรวมไปถึงธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูป (การ์เมนต์) ซึ่งอาจจะต้องมีการมาทำให้คำต่างๆ นั้นชัดเจนขึ้น โดยอาจห้ามเฉพาะเรื่องของประดิษฐ์เสื้อผ้าชุดไทยในเชิงอนุรักษ์หรือไม่
 
"ส่วนกรณีอาชีพกรรมกรที่ ก.แรงงาน ปลดล็อกอนุญาตให้ต่างด้าวสามารถทำได้ ก็มีการตีความว่าต้องเป็นเรื่องแบกหามอย่างเดียว ห้ามแตะงานฝีมือเช่น ช่างอิฐ ฉาบ เชื่อม เป็นต้น จริงๆ การเปิดช่องก็เขียนอธิบายไว้แล้วว่า งานกรรมกรในงานก่อสร้าง ซึ่งหากพิจารณาแล้วก็ดูครอบคลุมสามารถทำได้ โดยจะให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง ส่วนระหว่างที่ยังไม่ประกาศอนุบัญญัติเรื่องอาชีพสงวนใหม่นั้นก็ไม่ต้องกังวล ยืนยันว่าต่างด้าวสามารถทำงานด้านก่อสร้างได้ ซึ่งอนุบัญญัติทั้งหมด 39 ฉบับ รวมเรื่องอาชีพสงวนด้วยนั้น จะต้องออกภายใน 120 วัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ" ปลัดแรงงาน กล่าว
 
เมื่อถามถึงเรื่องการรีดไถแรงงานต่างด้าว ม.ล.ปุณฑริก กล่าวว่า กรณีข่าวต่างด้าวสัญชาติลาวที่ร้องเรียนต้องมีการตรวจสอบแน่นอน อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้เสียหายให้เบาะแสเพื่อให้เกิดการดำเนินการตรวจสอบได้ แต่เท่าที่มีการแจ้งเบาะแสมา เช่น กรณีสัปดาห์ก่อนมีเคสต่างด้าวประมาณ 200 คน ที่ระนองถูกกักตัวและเรียกเงินก็ตรวจสอบทันที โดยพบว่าจริงๆ แล้วเรือรับกลับประเทศสามารถบรรทุกคนได้ 150 คน ทำให้เหลืออีก 50 คนที่ต้องพักในฝั่งไทยก่อน จากการตรวจสอบก็พบว่า เจ้าหน้าที่มีการอำนวยความสะดวกในการจัดหาที่พัก และไปปรากฏเรื่องการกักตัวและเรียกเงิน ทั้งนี้ หากมีการรีดไถจริงให้แจ้งเข้ามาได้เลย เพราะนายกฯ ก็กำชับอยู่แล้ว ว่า เจ้าหน้าที่หน่วยไหนที่ทำเช่นนั้น จะมีโทษทั้งทางอาญา วินัย และทางแพ่ง
 
 
อดีตพนักงานบริษัทจิวเวอรี่โวยถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 
ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ Aor Sunisa หรือนางสุนิสา สุขสมธรรม อดีตพนักงานบริษัทจิวเวลรี่แห่งหนึ่ง โพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ ว่าอดีตเคยเป็นพนักงานที่บริษัทจิวเวลรี่แห่งหนึ่งต่อมาได้ถูกเลิกจ้าง แต่ปรากฎว่า กรรมการบริษัทไม่ดำเนินการจ่ายเงินชดเชย และเงินเดือนค่าจ้างที่ค้างจ่ายมาเป็นเวลากว่า 3ปี ขณะที่อดีตพนักงานกว่า 20คน ได้รวมตัวฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางสมุทสาคร เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2558
ก่อนหน้าที่จะมีการฟ้องร้อง ทางบริษัทแห่งนี้เคยได้ทำบันทึกกับพนักงานบริษัทก่อนที่จะมีการเลิกจ้างว่า ตกลงจะยินยอมที่จะจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนที่มีการเลิกจ้าง ค่าชดเชยตามกฎหมาย โดยบริษัทขะแบ่งชำระจ่ายเป็นงวด รวมทั้งหมดเป็นเงิน 418,000บาทแต่ต่อมาบริษัทไม่ดำเนินการตามสัญญาที่ตกลงกัน จึงนำไปสู่การฟ้องร้องดังกล่าว
 
ทั้งนี้หลังจากที่มีการแชร์เรื่องราวนี้ ออกไปปรากฎว่าอดีตพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในคราวเดียวกัน ได้แชร์เรื่องราวดังกล่าวส่งต่อกันไป เพื่อหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาหาทางให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 
 
เหยื่อแรงงานลิเบียร้องทหารช่วยถูกเบี้ยวค่าจ้าง
 
นายพิสิษฐ์ หรือมานะ พึ่งกล่อม พร้อมด้วยนายสามารถ ท้าวชัยวงษ์ ชาว อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย และตัวแทนผู้ใช้แรงงานจากแพร่, ลำปาง, ตาก และสุโขทัย รวม 20 คน ได้เข้ายื่นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานขอความช่วยเหลือจาก พล.ต.ทรงวุฒิ จิตตานนท์ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.สุโขทัย เมื่อเร็วๆ นี้ หลังได้รับความเดือดร้อนจากการไปทำงานในประเทศลิเบีย แต่ไม่ได้รับเงินค่าแรงตามสัญญาจ้างงาน
 
นายพิสิษฐ์กล่าวว่า เมื่อปลายปี 2552 ตน และพี่น้องแรงงานไทยหลายจังหวัดรวมหลายพันคนได้เดินทางไปทำงานที่ลิเบีย ทันทีที่ไปถึงทางบริษัทจัดส่งก็นำเอกสารภาษาแขกมาให้เซ็นสัญญาจ้างงานใหม่ทันที โดยไม่รู้ว่าถูกเอาเปรียบ และตำแหน่งงานกับเงินเดือนก็ไม่ตรงกับที่คุยไว้ในตอนแรก แต่ก็ต้องจำยอมเพราะกลัวไม่ได้งานทำ กระทั่งผ่านไป 3 เดือนเงินไม่ออก ก็เดือดร้อนกันหมด
 
เนื่องจากไม่มีเงินส่งกลับมาผ่อนชำระหนี้ที่กู้ยืมมาจ่ายเป็นค่าเดินทาง ซึ่งบางรายต้องเอาบ้าน ที่ดิน ที่นา และรถยนต์ไปจำนองกู้เงินมาจ่ายค่าหัวคิวเพื่อให้ได้เดินทางมาทำงานที่ลิเบีย โดยมีเสียเงินตั้งแต่รายละ 68,000 บาท ไปจนถึงเกือบ 200,000 บาท ทว่าทำงานกันได้ไม่กี่เดือนก็ต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพราะเกิดภัยสงครามขึ้นภายในประเทศลิเบีย
 
นายพิสิษฐ์กล่าวอีกว่า เมื่อตน และเพื่อนๆ ผู้ใช้แรงงานด้วยกันกลับมาถึงบ้าน แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าแรงตามสัญญาจ้าง 2 ปี แถมโดนบริษัทจัดส่งฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทซ้ำอีก แต่ก็สู้กันจนชนะคดีมาได้ แล้วตนก็ฟ้องกลับในเรื่องของการกระทำผิดสัญญาจ้าง, เงินเดือน-โอทีค้างจ่าย, เรียกเก็บค่าบริการ (หัวคิว) เกินกว่ากฎหมายกำหนด และค่าเสียโอกาส ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ตนเป็นผู้ได้รับค่าชดเชย
 
"ก่อนหน้านี้ผมไปร้องขอความเป็นธรรมมาแล้วหลายแห่ง แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ทหารจึงเป็นความหวังสุดท้าย จึงได้พากันมาขอความช่วยเหลือประสานไปยังเหยื่อแรงงานลิเบีย ซึ่งเฉพาะใน อ.ทุ่งเสลี่ยม ก็มีกว่า 100 คน และอีก 35 จังหวัดรวมกันก็หลายพันคน เพราะพวกเขาควรได้สิทธิในการรับเงินค่าชดเชย ให้ต้องเร่งรวบรวมเอกสารหลักฐานยื่นฟ้องเพิ่มโดยเร็ว เพราะคดีจะหมดอายุความภายใน 2 ปีนี้ หรือติดต่อมาที่ 06-1317-6092 และ 08-7841-1741 ก็ได้" นายพิสิษฐ์กล่าว
 
 
พีทีที โกลบอล เคมิคอล เข้าควบคุมสถานการณ์กรณีเหตุสารไซลีนรั่วไหลที่โรงอะโรเมติกส์ 2 ที่จังหวัดระยองได้แล้ว
 
วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.18 น. ตามที่เกิดเหตุสารไซลีนรั่วไหลของโรงอะโรเมติกส์ 2 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5 จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560 เวลา 12.39 น. บริษัทฯ ขอสรุปสถานการณ์ล่าสุด ซึ่งบริษัทฯ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ดังนี้
 
บริษัทฯ ขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอชี้แจงว่า สาเหตุเกิดจากการรั่วไหลบริเวณกระจกช่องมองของไหล (Flow Sight Glass) ระหว่างการระบายของเหลวจากหอกลั่นไปยังถังพักใต้ดินซึ่งเป็นระบบปิด และเป็นกระบวนการตรวจสอบการไหลของของเหลวบริเวณด้านข้างหอกลั่นภายในโรงงานอะโรเมติกส์ โดยทีมระงับเหตุได้ดำเนินการปิดวาล์ว ของท่อส่งสารไซลีนเพื่อหยุดการรั่วไหล และเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของสารออกไปภายนอกโรงงาน และใช้น้ำดับเพลิง ฉีดเป็นละอองน้ำ เพื่อไม่ให้แพร่กระจายไปในอากาศ
 
หลังเกิดเหตุ บริษัทฯ ได้แจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามแนวทางปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อาทิ ศูนย์สื่อสารนิคมอุตสาหกรรม RIL กนอ. มาบตาพุด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองมาบตาพุด
 
ด้านผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมโดยทีมสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่ตรวจสอบรอบโรงงาน โดยผลการตรวจวัดค่า VOCs หรือ สารอินทรีย์ระเหยง่าย ทั้ง 12 จุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยหลังเกิดเหตุ บริษัทฯ ได้ทำความสะอาดพื้นที่กระบวนการผลิต ตรวจสอบอุปกรณ์กระจกช่องมองของไหล และนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ รวมถึงลงพื้นที่ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทีมชุมชนสัมพันธ์ลงพบปะชุมชนพื้นที่โดยรอบนิคม RIL อย่างต่อเนื่อง
 
สารไซลีนที่รั่วไหลจากเหตุการณ์นี้ อ้างอิงจากข้อมูลขององค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ACGIH) องค์กรอนามัยโลก (WHO) และศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตราย ภาคตะวันออก โรงพยาบาลระยอง ทั้งนี้ สารไซลีนเป็นสารอินทรีย์กลุ่มอะโรเมติกส์ มีสถานะเป็นของเหลว ไม่มีสี น้ำหนักเบากว่าน้ำ ระเหยง่าย ได้จากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หากสูดดมเข้าไปอาจก่อให้เกิดความรำคาญและระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ไม่จัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง
 
บริษัทฯ ขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนและบริษัทใกล้เคียง
 
 
แพทย์ให้พนักงานที่สูดดมแก๊สรั่วในโรงงาน จ.ระยอง กลับบ้านแล้ว
 
บ่ายวานนี้ (12 ก.ค.) เกิดเหตุสารพาราไซลีนในโรงงานของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5 จ.ระยอง รั่วไหล โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเปิดแถลงข่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดๆ ส่วนพนักงานที่ได้รับผู้บาดเจ็บ แพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว
 
เมื่อวานนี้ (12 ก.ค.2560) หลังเกิดเหตุสารพาราไซลีนรั่วไหล ระหว่างการเดินเครื่องของโรงงานในความรับผิดชอบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5 ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ถนนสาย 3191 ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สั่งอพยพพนักงานและผู้รับเหมาอยู่ในจุดรวมพลตามแผนความปลอดภัยที่ได้ฝึกซ้อมไว้ จากนั้นได้ใช้สเปรย์น้ำหรือม่านน้ำฉีดควบคุมไม่ให้สารเคมีฟุ้งกระจายและเพื่อไม่ให้กลิ่นสารเคมีที่รั่วไหลออกไปภายนอกใช้เวลากว่า 30นาที จึงสามารถควบคุมไว้ได้
 
ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของบริษัทฯ ว่า สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้ม่านน้ำควบคุมไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายออกไป ส่วนเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพอากาศบริเวณชุมชนโดยรอบแล้ว พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยคนงานที่เกิดการวิงเวียน แพทย์ตรวจร่างกายแล้วให้กลับบ้านได้
 
 
พนง.วิทยาลัยเอกชนที่อุบลฯ ร้องถูกเบี้ยวค่าจ้างตะลอนหาเด็กเข้าเรียน
 
อุบลราชธานี - พนักงานลูกจ้างตำแหน่งแนะแนวการศึกษาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในเมืองอุบลฯ เกือบร้อยชีวิต ตบเท้าร้องขอความเป็นธรรมจาก ผบ.มทบ.22 ช่วยเจรจาถูกวิทยาลัยเบี้ยวไม่จ่ายเงินตามสัญญาจ้างทำงาน จึงให้พนักงานทั้งหมดรวบรวมเอกสารได้รับความเสียหายเป็นปริมาณเงินเท่าไหร่ ก่อนนัดแนะ 4 หน่วยงานหลักประชุมหาทางออกให้กับลูกจ้างกลุ่มนี้ในวันรุ่งขึ้น
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานสวนสนามในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ มณฑลทหารบกที่ 22 จ.อุบลราชธานี กลุ่มพนักงานลูกจ้างของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี นำโดยนายบริบูรณ์ แสนดวง อายุ 26 ปี รวมตัวกันร้องเรียนให้ พล.ต.อชิร์ฉัตร โรจนะภิรมย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ช่วยเหลือกรณีเข้าทำงานกับวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองอุบลราชธานี ในตำแหน่งแนะแนวการศึกษา โดยมีหน้าที่ไปชักชวนเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายตามชนบทให้เข้ามาศึกษากับวิทยาลัยแห่งนี้ โดยจะได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 8,000 บาท ระหว่างสมัครเข้าทำงานได้วางเงินมัดจำค่าสมัครงานรายละ 3,000 บาท และเงินค่าตัดเสื้อสูทคนละ 1,500 บาท พร้อมให้เริ่มทำงานวันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยใช้วิธีเรียกให้เข้ามาทำงานเป็นบางวัน ตามที่วิทยาลัยสั่ง ทำให้พนักงานสงสัยได้สอบถามผู้บริหารก็ได้รับแจ้งว่า แม้ไม่ได้ทำงานเต็มเดือน ก็จะจ่ายเงินเดือนให้ตามที่สัญญาไว้
 
แต่เมื่อถึงวันจ่ายเงินเดือนเมื่อวันที่ 10 ก.ค. ปรากฏวิทยาลัยดังกล่าวได้จ่ายเงินค่าจ้างให้เป็นรายวันๆ ละ 266 บาท ทำให้ได้เงินเดือนไม่เท่ากัน โดยได้รับรายละ 500-2,000 บาท และระหว่างให้มารับเงินเดือนวิทยาลัยได้เอาใบลาออกให้พนักงานลงชื่อ เพื่อขอรับเงินค่ามัดจำจำนวน 3,000 บาท
 
ส่วนเงินค่าตัดเสื้อสูทคนละ 1,500 บาท ยังไม่ได้รับคืน ทำให้กลุ่มพนักงานไม่พอใจรวมตัวมาร้องขอให้ พล.ต.อชิร์ฉัตร ช่วยเหลือ
 
เบื้องต้นได้ให้กลุ่มพนักงานที่เข้าร้องเรียนในวันนี้ประมาณ 80 คน รวบรวมเอกสารการรับและจ่ายเงินของวิทยาลัย เพื่อดูรายละเอียดของความเสียหาย โดยจะมีการนัดผู้ประกอบการของวิทยาลัยมาหาข้อสรุปร่วมกับ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และตัวแทนของพนักงาน เพื่อเจรจาหาทางออกให้กับพนักงานที่ได้รับความเดือดร้อนในสายของวันที่ 14 ก.ค.ที่มณฑลทหารบกที่ 22
 
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์กับนายภัทรพงศ์ บวรโชติยานนท์ เจ้าของและเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งสถานศึกษา แต่ไม่มีใครรับสาย เมื่อโทรศัพท์เข้าไปที่วิทยาลัยรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ชื่อ น.ส.จันนิภา พันเสาร์ว่า ผู้บริหารไม่อยู่ที่วิทยาลัย
 
ส่วนเรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้พนักงาน มีการจ่ายเงินให้แก่พนักงานที่ทำงานตามความเป็นจริง และมีหลักฐานการจ่ายเงิน ไม่ได้ติดค้างแต่อย่างใด
 
ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวต่ออีกว่า ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 และ 12 ก.ค. กองอำนวยการความมั่นคงภายในจังหวัดอุบลราชธานี (กอ.รมน.) ร่วมกับศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัดได้ทำการไกล่เกลี่ยให้วิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ จ่ายเงินเดือนและเงินค่ามัดจำคืนให้กับพนักงานที่สมัครเข้าทำงานในรุ่นเดียวกันนี้ไปแล้วเกือบ 20 ราย ซึ่งวิทยาลัยยินดีคืนเงินค่ามัดจำค่าเข้าทำงาน 3,000 บาท และจ่ายเงินให้ตามที่มาทำงานจริงเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่มาร้องเรียนวันนี้ เป็นพนักงานอีกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน
 
 
ชาวมอแกนเกาะเหลารับจ้างดำปลิงเดือนละ 5 พันแต่ถูกจับแถมไร้บัตรประชาชน
 
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2560 นางเนาวนิตย์ แจ่มพิศ สมาชิกสภาเทศบาลปากน้ำท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 นี้ ชาวเลมอแกนเกาะเหลา 4 คน ที่ถูกจับกุมและคุมขังข้อหาบุกรุกอุทยานและดำปลิงบริเวณเกาะแรด หมู่ที่ 6 ตำบลหาดทรายรี อำเภอปากน้ำ จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานหมู่เกาะชุมพร จะขึ้นศาลจังหวัดชุมพรเป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านบางส่วนอาจจะเดินทางไปให้กำลังใจแต่ยังไม่ทราบว่าชะตากรรมของชาวเลกลุ่มดังกล่าวจะเป็นอย่างไร 
 
นางเนาวนิตย์ กล่าวว่า ชาวเลทั้งหมด 4 คนล้วนอยู่ในสถานะบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และมีเพียง 1 รายเท่านั้นที่มีบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตรเลข 0) ซึ่งได้ขอเลขประจำตัว 13 หลักมาแล้ว และรอวันจะไปถ่ายบัตรประชาชนในเร็วๆ นี้ชื่อว่านายเล็ก ประมงกิจ ส่วนที่เหลือทั้ง 3 คนอยู่ระหว่างการดำเนินการพิสูจน์เอกสาร หลักฐานและสอบพยานเพิ่มเติมแต่กลับถูกจับดำนินคดีและซึ่งขณะนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินการขอเงินประกันตัวจากกองทุนยุติธรรม และการช่วยเหลือของเครือข่ายภาคีอื่นๆ ทราบว่าจะส่งทนายมาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่าการจับกุมคดีดังกล่าว กระบวนการยุติธรรมจ้องจับผิดเพียงชาวเลมอแกนเท่านั้น แต่นายทุนเจ้าของเรือกลับรอดไม่ถูกดำเนินคดีด้วย ทั้งที่อาชีพและรายได้ก็จำกัด ทำให้ต้องเจอกับความลำบากหลายด้าน 
 
"อย่างนายเล็กเขาอายุราว 20 กว่ามีลูกหนึ่งคนอายุ 2 ปีเอง ป่วยแขนขาลีบอยู่เลย พอพ่อถูกจับ มันลำบากไง พ่อเขาเป็นกำลังหลักและกำลังจะได้บัตรประชาชน ได้เป็นคนไทยก็ต้องมาถูกจับกุมก่อน ปัญหาแบบนี้เราเจอเราไปไม่เป็นเลย แล้วถ้าศาลตัดสินให้ติดคุกยาว เด็กคนหนึ่งก็กลายเป็นคนด้อยโอกาส เพราะเมียและลูกของนายเล็กก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรไปขอสัญชาติไทยเลย" นางเนาวนิตย์ กล่าว 
 
สมาชิกสภาเทศบาลปากน้ำท่าเรือ กล่าวด้วยว่า นอกจากข้อหาบุกรุกอุทยานแห่งชาติแล้ว ชาวเลทั้ง 4 รายยังถูกแจ้งข้อหาต่างด้าวที่เดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย แต่ตนยืนยันว่าหนังสือข้อหาดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะชาวเลมีนายจ้างที่มีเรือมีทะเบียนถูกต้อง และเมื่อมีการจ้างงานชาวเล นายจ้างต้องรู้เห็นการทำหนังสืออยู่แล้วซึ่งหนังสือดังกล่าวออกโดยอำเภอเมืองระนอง และหนังสืออนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวเป็นการชั่วคราวของนายจ้างผู้ว่าจ้าง ซึ่งเอกสารดังกล่าวตนและญาติผู้ต้องหาได้นำไปมอบให้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สภ.ปากน้ำชุมพร เพื่อประกอบหลักฐานในการสอบสวนดำเนินคดีเรียบร้อยแล้วต้องมาลุ้นว่าจะมีการพิจาณาเอกสารหรือไม่ ไม่เช่นนั้นชาวเลจะลำบากฝ่ายเดียว
 
"การรับจ้างดำปลิงหรือไปหาปลากับนายจ้างนั้นถ้าเกิดคดีแบบนี้เชื่อไหมว่า ชาวเลไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งหากทำงานเสร็จเรียบร้อย รายได้พวกเขาจะอยู่ที่ราวเดือนละ 5,000 บาท มันไม่มากมายนักแต่ต้องยอมรับ ว่ามีสิทธิแค่นี้เพราะบางคนพูด อ่าน เขียนไทยไม่ได้ บางคนไร้การศึกษา แถมยังไม่มีบัตรประชาชนด้วย งานอะไรที่พอจะทำได้ต้องคว้าไว้ก่อน ตอนนี้บนเกาะเหลามีชาวเลเพียง 35 คนเท่านั้นที่ได้บัตรประชาชนสมบูรณ์ ที่เหลือราว 240 ที่ยังมีปัญหาสัญชาติและอยู่ระหว่างการช่วยเหลือของหลายภาคส่วน" สมาชิกสภาเทศบาลปากน้ำท่าเรือ กล่าว
 
 
กระทรวงแรงงาน เผยล่าสุดไม่พบแรงงานต่าวด้าวเดินทางออกไทยแล้ว มองกระทบอุตสาหกรรม- ธุรกิจระยะสั้น
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ล่าสุดไม่พบแรงงานต่างด้าวเดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว โดยตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่เดินทางออกไทยก่อนหน้านี้ คาดว่าอยู่ที่ 60,000 คน และตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณการณ์เท่านั้น เนื่องจากคาดว่ามีบางส่วนที่แอบลักลอบเดินทางออกตามแนวเขตชายแดน โดยวันที่ 24 กรกฎาคม ที่จะมีการเปิดศูนย์รับเรื่องแรงงานต่างด้าว เชื่อว่าสถานการณ์แรงงานจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ พร้อมขอชื่นชมนายจ้างบางส่วนที่มีการส่งแรงงานกลับประเทศ เพื่อให้กลับไปทำประวัติและดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย ส่วนผลกระทบกับอุตสาหกรรม หรือธุรกิจนั้นมีผลระยะสั้น
 
นายวรานนท์ กล่าวเสริมว่า ความคืบหน้าการเบิกจ่ายงบประมาณของกรมการจัดหางาน เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์เผยคนอยากให้แยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ

Posted: 14 Jul 2017 10:24 PM PDT

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจระบุประชาชน 87.5% คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ว่า จะเห็นการทำงานของตำรวจที่เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด 59% เห็นควรแยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ

 
 
 
15 ก.ค. 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "การปฏิรูปตำรวจกับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ"โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,084 คน พบว่า เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.5 ระบุว่า อยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน (ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ) รองลงมา ร้อยละ41.8 อยากเห็นการสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส และร้อยละ 35.8 อยากเห็นการโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม
 
เมื่อถามถึง 3 ประเด็น ที่พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้มอบให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ประชาชนมีความเห็นดังนี้
 
ประเด็นที่1 "ด้านโครงสร้างองค์กร"ประชาชนร้อยละ 26.5 ระบุว่าให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)รองลงมา ร้อยละ 24.4 ระบุว่า ให้กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และ ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เห็นควรย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
 
ประเด็นที่ 2 "ด้านกระบวนการยุติธรรม" ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ระบุว่า ควรแยกอำนาจการสอบสวนให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นเหมือนในต่างประเทศขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่า ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิมที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
ประเด็นที่ 3 "ด้านการบริหารบุคลากร" ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 ระบุว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจาก ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่า ควรพิจารณาจากผลงานและความดีความชอบ มีเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ควรพิจาณาจากระดับอาวุโส
 
ส่วนการปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร 2-3-4 หรือ 9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวางกรอบไว้หรือไม่ นั้น ประชาชนร้อยละ 42.3 คิดว่าได้ ขณะที่ ร้อยละ 37.7 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาชนเนเธอร์แลนด์ลากรัฐบาลมาขึ้นศาลได้ กรณีขุดเจาะก๊าซใต้ผืนดินทำแผ่นดินไหว

Posted: 14 Jul 2017 09:48 PM PDT

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 ประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์สามารถทำให้รัฐบาลขึ้นศาลสูงสุดของประเทศได้โดยมีการกล่าวหาว่าการขุดเจาะก๊าซใต้ผืนโลกในแหล่งก๊าซโกรนิงเงินทำให้เกิดแผ่นดินไหวสร้างความเสียหายในพื้นที่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว

 
ประชาชนทางตอนเหนือของจังหวัดโกรนิงเงิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และกลุ่มด้านสิ่งแวดล้อมต่างก็เรียกร้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตัดสินให้ปิดการขุดเจาะก๊าซในแหล่งก๊าซโกรนิงเงินทั้งหมดซึ่งในปัจจุบันเป็นแหล่งที่ขุดเจาะก๊าซได้ 21,600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
 
ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนเธอร์แลนด์ลดปริมาณการผลิตก๊าซลงอย่างมากจากเดิมที่ผลิตราว 42,500 ล้านลูกบาสก์เมตรในปี 2558 เมื่อไม่นานมานี้ เฮงค์ กอมป์ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ประกาศเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาว่าจะมีการปรับลดจาก 24,000 ลบ.ม. ต่อปีจนเหลือราว 21,600 ลบ.ม. ต่อปี โดยที่ก่อนหน้านี้มีการประกาศปรับเปลี่ยนหลายครั้งมาก
 
ชาวเมืองทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์ฟ้องร้องต่อศาลหลังจากที่พวกเขาต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้งจากการถล่มของโพรงใต้พื้นดิน แผ่นดินไหวเล็กๆ เหล่านี้สร้างความหวาดผวาให้กับผู้อยู่อาศัยและสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน ไร่นา และอาคารสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวจะยังคงเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่แต่ก็เข้าใกล้พื้นผิวโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
 
เวนดี ฟอน เดอ สลาอิส โฆษกของศาลในเมืองเฮกผู้พิพากษาสามนายในศาลพร้อมกับตัวแทนจากบริษัทพลังงานเอ็นเอเอ็ม (NAM) ที่มีส่วนรับผิดชอบในการขุดเจาะก๊าซร่วมรับฟังทนายความพูดถึงสาเหตุที่ควรมีการปิดการขุดเจาะก๊าซในแหล่งก๊าซโกรนิงเงิน
 
เอ็นเอเอ็นเป็นบริษัทที่มีบรรษัทเชลล์และเอ็กซอนโมบิลร่วมเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งพวกเขาทำการขุดเจาะก๊าซจากแหล่งก๊าซโกรนิงเงินมาตั้งแต่ปี 2506 แล้ว ซึ่งทางตัวแทนเอ็นเอเอ้มเรียกร้องให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์มีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการปรับระดับความต้องการขุดเจาะก๊าซที่ปรับเปลี่ยนไปมา ซึ่งเจอราล์ด โชตมาน ผู้อำนวยการของเอ็นเอเอ็มกล่าวว่าพวกเขาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
 
อย่างไรก็ตามนักการเมืองพรรคสังคมนิยม เอลโก อีคนาร์ ก็กล่าวให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ว่าผู้อยู่อาศัยในโกรนิงเงินกล่าวหาว่าเอ็นเอเอ็มมองเรื่องกำไรมาก่อนความปลอดภัยของพวกเขา
 
คดีดังกล่าวนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและยังไม่มีการตัดสิน โดยที่ก่อนหน้านี้ในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาศาลอีกแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์สั่งให้อัยการภาครัฐสืบสวนว่าบริษัทเอ็นเอเอ็มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดแผ่นดินไหวจริงหรือไม่
 
ในหน้าข้อมูลบริษัทของเว็บไซต์เอ็นเอเอ็มระบุว่าแหล่งก๊าซโกรนิงเงินเป็นแหล่งพลังงานสำหรับประชากรชาวเนเธอร์แลนด์ถึงร้อยละ 98 อย่างไรก็ตามในเว็บไซต์ของพวกเขาก็ยังระบุในเชิงข้อมูลว่าการผลิตก๊าซในโกรนิงเงินก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและกระทบต่อชีวิตของผู้คนในชุมชนจริง โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์วันที่ 16 ส.ค. 2555 ใกล้กับเมืองไฮซิงงะ ที่มีแผ่นดินไหววัดความแรงได้ 3.6 จากมาตรริกเตอร์สเกล และประชากรในพื้นที่ก็รู้สึกถึงแผ่นดินไหวแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Angry Dutch people are suing their national government over earthquakes linked to gas extraction, PRI, 13-07-2017
 
ข้อมูลบริษัท NAM
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น