โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กฤษฎา บุญราช: สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย

Posted: 10 Jul 2017 11:02 AM PDT

ปลัดกระทรวงมหาดไทยปาฐกถา "สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย" ชี้ความสำเร็จในการแก้ปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืน กฎหมาย/นโยบายต้องเปิดโอกาสให้ดำเนินการได้อย่างเหมาะสมเป็นธรรม - หลักเกณฑ์ต้องยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ – สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ แต่ต้องไม่เป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ไปแสวงหาประโยชน์มิชอบ - ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับความสะดวกไม่ใช่สร้างภาระ

11 ก.ค. 2560 เมื่อวานนี้ (10 ก.ค.) ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย" จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติ (กสม.) ร่วมกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่าย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ภายหลังประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถวายรายงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสเปิดการสัมมนา และประทับฟังการบรรยาย โดย กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปาฐกถาหัวข้อ "สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย"

กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย"

ตอนหนึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวบรรยายว่า เมื่อจะพูดถึงปัญหาของคนไร้รัฐไร้สัญชาตินั้นขออันเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยมีพระราชทานพระราชดำรัสเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2544 ใจความตอนหนึ่งว่า "ประชาชนที่อยู่ในประเทศเขา มีมานานแล้ว แต่ก็ไม่เป็นคนไทย คือเขาไม่ถือว่าเป็นคนไทยแท้จริง เขาอยู่และเกิดในเมืองไทย แต่ก็ไม่ได้รับประโยชน์ของความเป็นไทย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติเหมือนกัน เพราะว่าถ้าหากว่ามีคนอยู่ในเมืองไทย และก็มีความน้อยใจมาก ไม่มีใครเอาใจใส่ ก็จะทำให้ความมั่นคงของประเทศด้อยไป"

ปลัดกระทรวงมหาดไทยผู้ซึ่งในอดีตเคยเป็นนายอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ และได้ขึ้นศาลปกครองในฐานะผู้แทนของชาวบ้านแม่อาย เพื่อแถลงปิดคดีในกรณีที่ชาวบ้านแม่อาย 1,243 รายถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรและเรียกบัตรประชาชนคืน จนกระทั่งชาวบ้านชนะคดีได้รับสัญชาติคืน ได้กล่าวถึงนิยามคนไร้รัฐไร้สัญชาติกรณีของไทยว่า นักวิชาการด้านสถานะบุคคลของไทยได้แยกคำดังกล่าวออกเป็นสองคำ และกำหนดนิยามคำว่า "คนไร้รัฐ" หรือ Stateless persons ว่าหมายถึง คนที่ไม่ถูกบันทึกรายการบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก ส่วนคำว่า "คนไร้สัญชาติ" หรือ Nationalityless persons หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการบันทึกในสถานะคนถือสัญชาติของรัฐใดเลยบนโลกใบนี้ กล่าวคือ ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนชาติของรัฐใดเลย บทนิยามดังกล่าวจะแสดงผลลัพธ์ต่อกระบวนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมาย

โดยที่มาของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกลุ่มคนที่เกิดในประเทศไทย แต่ตกเป็นคนไร้สัญชาติโดยผลของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

สถานการณ์ปัจจุบันของการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยนั้นรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการจัดการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมอบหมายให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช) และกระทรวงมหาดไทยสำรวจ จัดเก็บทำทะเบียนประวัติกลุ่มคนดังกล่าวทั้งเพื่อให้เข้าสู่ระบบทะเบียนราษฎรและกำหนดเลขประจำตัวสำหรับคนต่างด้าว

เด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้แห่งหนึ่งใน ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ภาพถ่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ)

โดยข้อมูลจากฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 มีคนต่างด้าวที่ได้รับการจดทะเบียนและขึ้นทะเบียนราษฎรมีเลขประจำตัว 13 หลัก ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ชัดเจนจำนวน 2,586,089 ราย จำแนกเป็นกลุ่มตามสถานการณ์อยู่อาศัยในประเทศไทยต่างได้ 6 กลุ่มประกอบด้วย

1. กลุ่มคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย คือถือใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือ ต.ม.16 และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ทำให้มีสถานะเป็นผู้ได้รับสิทธิอาศัยถาวรในประเทศไทย หรือเทียบกับกรีนการ์ดของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 65,559 ราย

2. กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือถือหนังสือเดินทาง โดยคนกลุ่มนี้สถานะผู้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวอาจเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองได้ถ้าไม่เดินทางออกนอกประเทศเมื่อการอนุญาตสิ้นสุดลง โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คนกลุ่มนี้มีชื่อในทะเบียนบ้าน 45,331 ราย

3. กลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม รวมถึงบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนซึ่งรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติอีก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนไร้รากเหง้าไม่ปรากฏบุพการีหรือถูกบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ และกลุ่มคนที่ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ

กลุ่มนี้เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวรอการส่งกลับประเทศเดิมหรือรอการกำหนดสถานะ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 488,105 ราย แบ่งเป็น

3.1 คนที่อพยพเข้ามาอยู่ประเทศไทยเป็นเวลานาน และบุตรที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 400,731 ราย แบ่งเป็นคนอพยพเข้ามา 290,269 รายและบุตรที่เกิดในไทยจำนวน 110,462 ราย

3.2 เด็กและบุคคลที่กำลังศึกษาเล่าเรียน 78,676 ราย

3.3 กลุ่มไร้รากเหง้าจำนวน 8,670 ราย

และ 3.4 คนที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศจำนวน 28 ราย

4. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง โดยใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันมีแรงงานที่จดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำงานรวมถึงบุตรที่ติดตาม มีอายุไม่เกิน 15 ปีจำนวน 1,588,914 ราย

5. กลุ่มผู้ลี้ภัยจากการสู้รบประเทศพม่า อยู่ในที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตากกาญจนบุรี และราชบุรี กลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง การให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยจำนวน 101,713 ราย และบุตรที่เกิดในประเทศไทยได้รับการจดทะเบียนการเกิด 16,716 ราย ที่ผ่านมาส่งไปประเทศที่ 3 ประมาณ 30,000 กว่ารายส่วนที่เหลือยังอยู่ในการดูแลของ UNHCR

6. กลุ่มบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การได้สัญชาติโดยการเกิดตามหลักดินแดนตั้งแต่มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ในปี พ. ศ 2515 จนถึงปัจจุบันโดยมีคนที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่ได้รับการจดทะเบียนการเกิดคือมีสูติบัตรจำนวน 316,748 รายไม่รวมบุตรแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติและบุตรของผู้ลี้ภัยในการสู้รบในพักพิงชั่วคราวการ อาศัยอยู่ในประเทศไทยของกลุ่มนี้เป็นไปตามบิดามารดา

สำหรับนโยบายการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ สำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศไทย กฤษฎาเสนอว่า มีคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำทะเบียนราษฎรไว้ 488,105 ราย และมีปัญหาแตกต่างกัน เช่น บางกลุ่มไม่มีเอกสารทางทะเบียน บางกลุ่มเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานานแล้วแต่ไม่มีสิทธิอาศัยตามกฎหมาย ในขณะที่บางกลุ่มเพิ่งเข้ามาในประเทศไทย ทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ได้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย มาตรการและวิธีการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติกลุ่มต่างๆ ได้แก่

1. การแก้ไขปัญหาบุคคที่ไม่มีเอกสารทะเบียนราษฎร โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้นายทะเบียนสามารถจัดทำทะเบียนราษฎรให้กับคนไร้รัฐไร้สัญชาติได้เหมือนประชาชนไทยทั่วไป คือ 1) รับแจ้งเกิดหรือจดทะเบียนการเกิดและออกสูติบัตรให้กับคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยทุกคน ไม่ว่าบิดามารดาของเด็กจะเป็นคนต่างด้าวประเภทใด มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่ก็ตาม 2) การจัดทำทะเบียนประวัติคนไร้รัฐไร้สัญชาติตามมติคณะรัฐมนตรี และตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร (มาตรา 38 วรรคสอง) 3) การจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

2. การแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิอาศัยในประเทศไทย เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ซึ่งมีสถานะเป็นคนที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจึงได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกมติคณะรัฐมนตรีให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติ สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้โดยถูกต้อง เช่น การได้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวในระหว่างรอการดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น การดำเนินการให้สถานะบุคคล หรือรอการส่งกลับประเทศเดิมตามข้อตกลงระหว่างประเทศ การให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ขอใบสำคัญถิ่นที่อยู่)

3. การแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติสำหรับบุตรของคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายกรณีขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้

โดยกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติข้างต้นรวมถึงบุตรของคนเหล่านี้ที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทยในขณะนี้มีจำนวน 488,105 ราย

ขณะที่ผลการให้สัญชาติไทยและสถานะคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึงมิถุนายน 2560 ให้สัญชาติไทยแก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 255,893 ราย ให้สถานะคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 30,881 ราย

นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่จำเป็น นอกเหนือจากการได้รับสถานะบุคคลตามกฎหมาย ประกอบด้วยสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรักษาพยาบาล 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการประกอบอาชีพ ทำให้สามารถทำงานได้ทุกประเภท 4) ด้านการอยู่อาศัยและการเดินทาง ให้ออกนอกเขตจังหวัดได้และย้ายภูมิลำเนาได้หากจำเป็น รวมทั้ง 5) ด้านการก่อตั้งครอบครัว ทั้งจดทะเบียนสมรส และการรับบุตรบุญธรรม

ในช่วงท้ายปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคว่า การเคลื่อนย้ายประชากรข้ามชาติยังมีอย่างต่อเนื่อง กฎหมายและนโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะ

โดยข้อเสนอก็คือ ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายและนโยบายของรัฐโดย 1) กฎหมายและนโยบายต้องเปิดโอกาสให้ดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เป็นธรรม 2) หลักเกณฑ์ต้องยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ด้านความมั่นคงของชาติและสิทธิมนุษยชน 3) ต้องสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ดุลยพินิจ และไม่เป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ใช้นโยบายหรือระเบียบกฎหมายไปแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายจากคนไร้รัฐไร้สัญชาติ 4) ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับความสะดวกอย่างเหมาะสม ไม่สร้างภาระให้กับประชาชน และเคารพสิทธิของประชาชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ชนบทของเสื้อแดง

Posted: 10 Jul 2017 10:02 AM PDT




อีสานเรคคอร์ด ได้ลงบทความเกี่ยวกับคุณเดี่ยว ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ใกล้จะเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 36 ปี เหมือนคนอีสานอีกมาก คุณเดี่ยวต้องออกไปหาเงินนอกบ้านเกิดหลายต่อหลายที่ รวมทั้งไปรับจ้างพ่นสารเคมีในไร่อ้อยที่สุพรรณบุรีด้วย ในที่สุดก็เกิดอาการไตล้มเหลว และต้องกลับบ้านเกิดที่อำนาจเจริญ เพื่อรับสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทองของตน แต่ไร่อ้อยก็ตามมาถึงอำนาจเจริญจนได้ ในทุกวันนี้อำนาจเจริญมีโรงงานน้ำตาลมากกว่า 10 แห่ง

ผมอ่านเรื่องของคุณเดี่ยวแล้ว ก็อดคิดถึง "แรงงาน" อีสานอีกจำนวนมากไม่ได้ เพราะแรงงานอีสานคือแรงงานกลุ่มแรกที่เข้าไปทดแทนกุลีจีน เมื่อประเทศไทยจำกัดจำนวนผู้อพยพเข้าชาวจีนลงหลังสงคราม และกุลีจีนเลื่อนสถานะตนเองไปตามบันไดทางเศรษฐกิจสู่ผู้ค้ารายย่อยไปจนถึงเจ้าสัว

หลายคนคงประสบชะตากรรมในทำนองเดียวกับคุณเดี่ยว… สูญเสียสุขภาพ, ติดยา, ติดเหล้า, มีหนี้สินล้นพ้นตัว, ถูกบีบเข้าสู่อาชญากรรม ฯลฯ

ต่างประสบชะตากรรมที่เลวร้ายต่างกัน แต่ที่เหมือนกันและเหมือนคุณเดี่ยวก็คือ ต่างเข้าไปเป็นแรงงานในสภาพหรือเงื่อนไขที่ไร้อำนาจต่อรองโดยสิ้นเชิง เช่น เป็นคนใช้ในบ้านเรือนคนชั้นกลาง, เป็นแรงงานก่อสร้างรายวัน, เป็นแรงงานภาคเกษตรที่มีงานทำเป็นฤดูกาล, เป็นแรงงานรายวันในร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

คุณเดี่ยวรับจ้างพ่นสารเคมีในไร่อ้อย อย่างที่เรารู้อยู่แล้วว่าไร่อ้อยต้องการแรงงานมาก แต่เป็นแรงงานชั่วคราวเท่านั้น รับจ้างพ่นสารเคมีก็คือรับจ้างเสี่ยงอันตรายให้แก่เจ้าของไร่อ้อย ได้ค่าจ้างงานเหมาเป็นรายๆ ไป โดยนายจ้างไม่มีสวัสดิการใดๆ ให้ (และยังไม่ต้องดูแลด้านสวัสดิภาพด้วย) ไม่อาจสร้างสำนึกเป็นปึกแผ่น (solidarity) ร่วมกับใครได้ แม้แต่แรงงานตัดอ้อยซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนอีสานด้วยกัน เพราะแรงงานตัดอ้อยก็เป็นแรงงานชั่วคราวเหมือนกัน ตัดเสร็จ รับค่าแรงแล้วก็เคลื่อนย้ายไปยังไร่อ้อยอื่น นับว่าแตกต่างอย่างยิ่งจากแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม

แม้แต่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมหรือหัตถอุตสาหกรรมเอง งานศึกษาที่ผมได้อ่านก็บอกตรงกันว่า ในความคิดความฝันของพวกเขา ชีวิตไม่ได้ฝากไว้กับโรงงาน ต่างใฝ่ฝันที่จะกลับไป "ตั้งตัว" ในบ้านเกิดในวันหนึ่งข้างหน้า แม้แต่คนที่ทำงานโรงงานมาอย่างต่อเนื่องถึง 20 ปีแล้ว ก็ยังคิดฝันอย่างเดียวกัน

แรงงานอีสานจึงแตกต่างจากแรงงานอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 เพราะยังมี "บ้าน" ให้กลับ ในขณะที่ "บ้าน" ของแรงงานอังกฤษถูกเจ้าที่ดินยึดไปหมดแล้ว ไม่มีที่อื่นไปได้อีกเลย จะรอดหรือจะตายก็อยู่ที่ต้องต่อรองกับเจ้าของโรงงานให้ชนะจนได้

แม้กระนั้น แรงงานอีสานที่ไร้อำนาจต่อรองเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะประสบชะตากรรมอย่างเดียวกับคุณเดี่ยวไปทุกคน อีกหลายคนประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง นับตั้งแต่มีรายได้เป็นเงินสดส่งกลับมาพยุงครอบครัวในอีสาน ไปจนถึงกำลังไต่บันไดเศรษฐกิจไปสู่สถานะที่สูงขึ้น

อีสานเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วกว่าที่ภาพยนตร์, นวนิยาย, ละครทีวี หรือแม้แต่เพลงลูกทุ่งจะตามทัน จนผมสงสัยว่าหาก คุณลำไย ไหทองคำ ไม่ใช่คนอีสาน ก็อาจไม่มีใครมองการแต่งกายในการแสดงของเธอว่า "โป๊" หรืออุจาดก็ได้

มีงานศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในอีสานอยู่พอสมควร สถิติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวก็ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันไพศาลที่เกิดขึ้นในอีสานแล้ว ยังไม่พูดถึงความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ซึ่งสามารถชี้ให้ดูได้หลากหลายด้าน รวมถึงความสัมพันธ์ทางสังคมบางด้านด้วย

แต่เรื่องของคุณเดี่ยว ทำให้ผมคิดถึงชะตาชีวิตของคนอีสานซึ่งอยู่ใน "ระบบแรงงานโลกาภิวัตน์" (ตามคำของศาสตราจารย์ชาลส์ คายส์) เกิดอะไรขึ้นในชีวิตของพวกเขา ทั้งลบและบวก และความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอีสาน

(ซึ่งผมสงสัยว่าอาจมีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่าการกระทำของรัฐเสียด้วยซ้ำ)

ความคิดคำนึงของผมทำให้ต้องกลับไปอ่านทบทวนงานจำนวนมากของท่านอาจารย์คายส์ (Charles F. Keyes) ที่ต้องเป็นท่านอาจารย์คายส์ก็เพราะในบรรดานักวิชาการที่ศึกษาอีสาน (หรือแม้แต่เมืองไทย) ทั้งหมด ไม่มีใครที่เกาะติดกับพื้นที่หรือแม้แต่ "หมู่บ้านของตน" มากไปกว่าท่าน ในบางช่วงของชีวิต ท่านกลับไปบ้านหนองตื่นซึ่งท่านฝังตัวศึกษาตั้งแต่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทุกปี แถมเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างละเอียด (แทบจะรู้ว่าครอบครัวใครเพิ่งซื้อทีวีใหม่บ้าง) ฉะนั้น คงจะหานักวิชาการที่ติดตามความเปลี่ยนแปลงของอีสานตลอดเวลาที่ผ่านมาเกือบครึ่งศตวรรษอย่างใกล้ชิดเท่ากับท่านอาจารย์คายส์ได้ยาก ไม่ว่าฝรั่งหรือไทย

อีกเหตุหนึ่งที่ต้องเป็นอาจารย์คายส์ก็เพราะท่านเป็นครูที่มีเมตตาอย่างกว้างขวางโดยไม่เลือกหน้า ท่านได้กรุณาเผยแพร่งานเขียนของท่าน (คงจะเกือบทั้งหมด) เป็นเอกสารดิจิตอลให้ผู้คนได้อ่านฟรีในอินเตอร์เน็ต ฉะนั้น การกลับไปทบทวนงานของท่านจึงเป็นเรื่องง่ายมาก โดยไม่ต้องเข้าห้องสมุดหรือรื้อหนังสือของตนเองสักเล่มเดียว

คงด้วยความรู้ของผมเองเกี่ยวกับอีสานและมานุษยวิทยาไม่เพียงพอ หลังจากอ่านทบทวนงานของท่านอาจารย์คายส์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบแก่ความคิดคำนึงของผมอยู่นั่นเอง แต่ไปได้ความคิดบางอย่างที่ต่อยอดมาจากความคิดของท่านอีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นคำตอบโดยตรง แต่เป็นคำตอบโดยอ้อม (และคงอ้อมอยู่หลายชั้น)

ความเปลี่ยนแปลงในภาคอีสานทำให้คนในชนบทอีสานกลายเป็นชาวนาที่อาจารย์คายส์เรียกว่า cosmopolitan peasants หรือชาวนาที่ "รู้สึกในโลกกว้าง" (คำแปลบทความในนิตยสารฟ้าเดียวกัน ที่เข้าใจว่าท่านยอมรับรอง) ปรากฏการณ์ทำนองเดียวกันที่ แอนดรูวส์ วอล์กเกอร์ พบในภาคเหนือเหมือนกันคือ ผู้คนในชนบทภาคเหนือกลายเป็น "ชาวนาการเมือง" หรือ political peasants

ดูเหมือนอาจารย์คายส์จะเห็นว่า คนสองกลุ่มนี้เหมือนกัน เพราะในบทความหนึ่งท่านเติมอนุประโยคขยายความ cosmopolitan peasants ของท่านว่า หรือที่ แอนดรูวส์ วอล์กเกอร์ เรียกว่า political peasants ในภาคเหนือ

คนสองกลุ่มนี้คงเหมือนกันในหลายด้าน แต่ที่ไม่เหมือนกันในบางด้านนั้น ผมคิดว่าสำคัญ เพราะสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในชนบทที่แตกต่างกันระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ

ชาวนาในสองภาคนี้ต้องเผชิญสิ่งที่อาจารย์คายส์เรียกว่า "วิกฤตชนบท" เหมือนกัน ที่สำคัญคือการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว การลดลงของพื้นที่เพาะปลูกพืชเลี้ยงตนเอง ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติแวดล้อมที่พยุงเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง การเข้ามาของรัฐทั้งในเชิงควบคุมและการให้บริการ การขยายตัวของตลาดและการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนเศรษฐกิจเงินตราในชีวิตของผู้คน

ชีวิตจะดำเนินต่อไปได้จำเป็นต้องมีรายได้เป็นเงินสดเพิ่มขึ้น จะอยู่ในเศรษฐกิจเลี้ยงตนเองเป็นสัดส่วนที่สูงอย่างเดิมไม่ได้แล้ว ต้องใช้เวลาไปในการทำเงิน ควบคู่กันไปกับการทำอะไรเพื่อเลี้ยงตนเองไปด้วย

จากการอ่านของอาจารย์คายส์และงานศึกษาชนบทภาคเหนือของหลายท่าน ทำให้ผมเข้าใจอย่างไม่รู้ว่าถูกหรือผิดว่า ชาวนาภาคเหนือและภาคอีสาน ตอบสนองต่อวิกฤตต่างกัน สรุปสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายก็คือ ชาวนาในภาคเหนือหาเงินสดจากในหมู่บ้านหรือในละแวกไม่ไกลจากหมู่บ้าน ในขณะที่ชาวนาอีสาน ออกจากหมู่บ้านไปหาเงินในแดนไกล ทั้งในเขตเมืองของไทยและข้ามไปสู่ดินแดนอื่นๆ ครึ่งโลก

(แน่นอนมีข้อยกเว้นเป็นกรณีไป แต่ภาพรวมของสองภาคแตกต่างกันอย่างนี้)

คนอีสานถือว่า การออกจากบ้าน (ทั้งในความหมายหมู่บ้านและครอบครัว) เป็นส่วนสำคัญของการศึกษาของผู้ชาย นับตั้งแต่ออกบวชสักหนึ่งสองพรรษา "ไปเที่ยว" ไกลๆ สักปีหรือสองปีหรือหลายปี รวมทั้งทำงานหาเงินไปด้วย การออกจากบ้านคือการสั่งสมประสบการณ์ชีวิต ทั้งยังได้ฝึกวินัย ฝึกให้รับผิดชอบต่อหน้าที่ ฝึกให้อดทน ภายใต้ระบบทุนนิยม ทั้งหมดเหล่านี้คือทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า enterprising spirit ในหมู่ชาวอีสาน ในที่แห่งหนึ่ง อาจารย์คายส์เปรียบเทียบการปฏิบัติศาสนาของคนอีสานกับนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่ง แมกซ์ เวเบอร์ เห็นว่าช่วยหนุนให้เกิดทุนนิยมในยุโรปด้วยซ้ำ

ดังนั้น คนอีสานจึงเผชิญกับวิกฤตชนบทด้วยการออกจากหมู่บ้านไปหารายได้ที่เป็นเงินสด แน่นอนส่วนใหญ่คือขายแรงงาน เพราะไม่มีทุนอื่นใด สั่งสมประสบการณ์ เช่น ขับรถเป็น จึงเช่าแท็กซี่เขาหากิน มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากอาชีพ คือรู้ช่องเล็กรูน้อยของกรุงเทพฯ จนช่ำชอง สามารถเผชิญกับจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ได้ จนมีกำไรกว่าแท็กซี่คันอื่น สั่งสมกำไรนั้นจนเป็นเจ้าของรถแท็กซี่ของตนเอง และกลายเป็นเจ้าของอู่แท็กซี่ในบั้นปลาย

ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงอีกจำนวนมากที่ออกไปขายแรงงานในต่างประเทศ มากขนาดที่ในงานของอาจารย์คายส์พูดถึงบางหมู่บ้าน มีผู้ชายวัยทำงานเคยมีประสบการณ์ออกไปทำงานต่างประเทศเกิน 50%

ด้วยเหตุดังนั้น พวกเขาจึงเป็น "ชาวนาผู้รู้สึกในโลกกว้าง" หรือ cosmopolitan peasants

แต่ในภาคเหนือกลับเป็นตรงกันข้าม ชาวนาในภาคเหนือหารายได้จำนวนหนึ่งจากกิจกรรมในหมู่บ้านมาแต่โบราณ งานศึกษาของนักมานุษยวิทยาบางท่านที่ชี้ให้เห็นว่า การทอผ้า (ทั้งฝ้ายและไหม) ในภาคเหนือ มีฐานการผลิตที่การแลกเปลี่ยน จากวัตถุดิบถูกแปรรูปเป็นสินค้า จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งหลายทอด กว่าจะกลายเป็นผ้าที่ทอสำเร็จทั้งผืน

เมื่อเศรษฐกิจตลาดเริ่มขยายตัวทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวนาแทรกการปลูกพืชเศรษฐกิจลงไปในที่นาของตนหลังเก็บเกี่ยว นับตั้งแต่ยาสูบ, กระเทียม, หอม ฯลฯ และพร้อมจะรับพืชเศรษฐกิจใหม่ๆ เข้าไปแทนที่ได้เสมอ เช่น หญ้าหวานซึ่งนิยมอยู่พักหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการทำสวนลำไย, การเลี้ยงหมูเป็นเงินเก็บ ฯลฯ

กิจกรรมเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการจ้างงานเฉพาะฤดูกาลขึ้นในหมู่บ้านหรือละแวกใกล้เคียง เช่น ปลูกหอม-กระเทียม ก็ต้องการแรงงานเพื่อถอนหอม-กระเทียม ลำไยต้องการแรงงานเพื่อเก็บและ "ไซ้" ลำไย (คัดเลือก), โรงบ่มใบยาต้องใช้แรงงานเพื่อซอยใบยา

ภาคเหนือได้รับอานิสงส์ของการท่องเที่ยวก่อนหัวเมืองภาคอื่น เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหมู่บ้านขึ้นได้หลายอย่าง นับตั้งแต่การเข้าเมืองเพื่อขายแรงงาน (จากงานก่อสร้างไปจนขายผ้าไหมหรือล้างชามในร้านก๋วยเตี๋ยว) แม้ต้องออกจากหมู่บ้าน แต่ก็สามารถกลับมาเยี่ยมบ้านได้แทบทุกสัปดาห์ (หรือกลับกันคืออุ๊ยเข้าเมืองจึงแวะหา) สินค้าพวกไม้แกะสลักทำให้ต้องมีการ "เคี่ยน" ไม้ (ตัด-ถาก) ในหมู่บ้าน ความนิยมใน "ล้านน้า-ล้านนา" ยังทำให้เกิดตลาดใหญ่สำหรับสินค้าและบริการอีกหลายอย่าง ซึ่งชาวบ้านสามารถเข้ามาร่วมหารายได้ (เช่น เป็นแรงงานในโรงงานทำแหนม, โรงงานทำกระเบื้องปูนที่ดูคล้ายแป้นเกล็ด, ทำตุงผ้าส่ง, เย็บเสื้อผ้าที่ "สมมติ" ว่าเป็นเครื่องแต่งกายล้านนา ฯลฯ)

โดยสรุปก็คือ ชาวนาภาคเหนือเผชิญกับวิกฤตชนบท โดยการทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจตลาดที่ตัวต้องทำอยู่บ้าง เข้มข้นขึ้นและขยายไปยังกิจกรรมใหม่ๆ อีกหลายอย่าง ดังนั้น เราจึงไม่อาจเรียกชาวนาภาคเหนือว่า cosmopolitan ได้แท้จริง เพราะเขายังอยู่ในหมู่บ้าน หรือไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก (ผมไม่ปฏิเสธว่า เขาก็มีสำนึกต่อ "โลกกว้าง" เหมือนกัน ผ่านการสื่อสารคมนาคมสมัยใหม่และการศึกษา แต่ "โลกกว้าง" ไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ชีวิตเหมือนชาวนาอีสาน)

งานศึกษาของ Andrew Walker จึงเรียกพวกเขาว่าเป็น "ชาวนาการเมือง" ในทัศนะของผมคือมีทัศนะทางการเมืองที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นชาวนาเลี้ยงตนเองตรงชายขอบของรัฐอีกแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทั้งชาวนาอีสานและชาวนาภาคเหนือ ต่างต้องการรัฐที่ตัวควบคุมได้ในระดับหนึ่งเหมือนกัน แต่ต้องการรัฐเพื่อมาทำอะไรต่างกัน

ในส่วนภาคเหนือ Walker ชี้ให้เห็นบทบาทของรัฐหลายอย่างในการทำให้หมู่บ้านสามารถเผชิญกับวิกฤตชนบทได้ดีขึ้น ทั้งทำโดยอ้อม เช่น สร้างถนนหนทางหรือโครงข่ายชลประทาน, ต่อไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน ฯลฯ และทั้งการกระทำโดยตรง คือการนำโครงการเข้าสู่หมู่บ้าน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้หลายทาง นับตั้งแต่เข้าถึงเงินกู้ไปจนถึงจ้างงานในหมู่บ้าน ผมคิดว่ารัฐบาลไทยรักไทยเข้าไปปรากฏตัวในหมู่บ้านเข้มข้นกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา และนั่นเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ชาวนาภาคเหนือต้องการรัฐบาลอย่างนั้น

แต่จะอธิบายความนิยมทักษิณ หรือรัฐบาลแบบทักษิณในภาคอีสานอย่างไร?

ผมขอ "ฟันธง" (ซึ่งในทัศนะของผมแปลว่ามั่ว กล่าวคือ ไม่ได้ใช้เหตุผลบนฐานของข้อมูลที่ได้รวบรวมมาอย่างดี) ว่า ชาวนาอีสานต้องการรัฐบาลที่เปิดให้บรรยากาศของการต่อรองกับนายจ้างเป็นไปได้สะดวกขึ้น แกนนำของพรรค ทรท. เป็นนายทุนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานซึ่งมีทักษะ (โทรคมนาคม, หรือประกอบชิ้นส่วนรถยนต์, ผลิตอาหารสำเร็จรูปบางอย่าง ฯลฯ) ซึ่งถึงอย่างไรก็พอมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างระดับหนึ่ง รัฐบาล ทรท. จึงไม่ห่วงกับการต่อรองของแรงงานไร้ทักษะ เช่น โรงงานทอผ้า, โรงงานบะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ และไม่พร้อมจะเอาตำรวจไปตีแรงงานสไตรก์หน้าโรงงาน

ความคิดเรื่องเถ้าแก่น้อยและส่งเสริมเอสเอ็มอี เมื่อมองจากสายตาแรงงาน คือโอกาสเขยิบฐานะของตนเองทางหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เกิดการจ้างงานที่เปิดบรรยากาศของการต่อรองได้ง่ายขึ้น (อย่างน้อยนายจ้างก็ไม่ใช่ absentee industrial lords)

ผม "ฟันธง" ในแง่นี้แหละครับ คือรัฐของไทยรักไทยตอบสนองต่อแรงงานรับจ้างมากกว่ารัฐของประชาธิปัตย์หรือของทหาร แต่จะพิสูจน์ได้ ก็ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามจริงจัง ซึ่งผมไม่ได้ทำและคงไม่ได้ทำไปตลอดชีวิต

โดยสรุปก็คือ COSMOPOLITAN PEASANTS ต้องการรัฐที่ตัวควบคุมได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน (แต่ต้องการทำไมผมไม่แน่ใจ) POLITICAL PEASANTS ก็ต้องการ แต่ต้องการด้วยเหตุต่างกันแน่

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2560
ที่มา: Matichonweekly.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเปิดงานสัมมนาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติฯ

Posted: 10 Jul 2017 09:59 AM PDT

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย" จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติ (กสม.) ร่วมกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาและประทับฟังการบรรยาย

10 ก.ค. 2560 เมื่อเวลา 09.01 น. วันนี้ ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย" จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติ (กสม.) ร่วมกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่าย

ภายหลังจากวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวถวายรายงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาและประทับฟังการบรรยาย ประกอบด้วย การปาฐกถาเรื่อง "สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย" โดย กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย และการบรรยายเรื่อง "ปัญหาการกำหนดสถานะของบุคคลและแนวทางการแก้ปัญหาสถานะของบุคคลในยุโรป" โดย Jean-Pierre Theron ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Toulouse 1 University Capitole และ Henning Glaser อาจารย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์ (CPG) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผลงานของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมชง ครม. ซื้อบินขับไล่ 8 ลำให้ 8.8 พันล้าน - ศรีสุวรรณ ชี้อาจขัด รธน. จ่อฟ้องศาล

Posted: 10 Jul 2017 08:30 AM PDT

ครม.เตรียมพิจารณาการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อีก 8 ลำ วงเงิน 8,800 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพอากาศ ด้านศรีสุวรรณ ชี้อาจขัด รธน. จ่อฟ้องศาล

 
 KAI T-50  เป็นเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูงที่ บริษัท KAI ของเกาหลีใต้ พัฒนาขึ้น ที่มาภาพประกอบ http://rach1968.blogspot.com/2015/09/t-50th.html

10 ก.ค.2560 รายงานข่าวจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยกับทาง "เดลินิวส์ออนไลน์ " ซึ่งสอดคล้องกับช่อง 7 สี ระบุว่า ในการประชุม ครม. วันที่ 11 ก.ค.นี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม จะนำเรื่องการจัดหาเครื่องบิน T-50TH จำนวน 8 เครื่อง เพื่อให้ครบ 12 เครื่อง วงเงินประมาณ 8,800 ล้านบาทเศษ ผูกพัน 3 ปี ให้กับกองทัพอากาศ เสนอเข้าที่ประชุม ครม. ซึ่งเป็นการจัดหาต่อเนื่องในระยะที่ 2 หลังจากที่ ครม.อนุมัติ เมื่อ 2 ปีที่แล้วไว้จำนวน 16 เครื่อง โดยจัดหา 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 จำนวน 4 เครื่อง ระยะที่ 2 จำนวน 8 เครื่อง และ ระยะที่ 3 จำนวน 4 เครื่อง ให้กับกองทัพอากาศ

รายงานข่าวระบุอีกว่า การจัดหา T-50TH มาเป็นเครื่องฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น เพื่อทดแทนเครื่อง L-39 ที่เก่าใช้งานมานาน ใช้เทคโนโลยีเก่า และใกล้สิ้นสภาพ เป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง นอกจากนำมาเป็นเครื่องฝึก แล้วยังสามารถใช้ปฏิบัติการทางอากาศได้หลากหลาย มีเทคโนโลยีทันสมัย ผลิตจากประเทศในเอเซีย มีใช้งานอยู่ใน 4ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย คาดว่าในอนาคตมีอีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติ และภูมิภาคอาเซียน
 
ทั้งนี้ T-50TH เป็นเครื่องบินขับไล่ สมรรถนะน้องๆ F-16s มีระบบเครื่องช่วยฝึกในอากาศ ที่เรียกว่า Embedded Trainning Systems ที่เหมาะสมที่จะใช้ นบ.ขับไล่ขั้นต้น ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการเสนอให้ครม.รับทราบแล้ว คาดว่าวันที่ 29 ก.ค.นี้ จะเซ็นสัญญาผูกพันระหว่าง ทอ.กับ KAI ได้ 
 

ศรีสุวรรณ ชี้อาจขัด รธน. จ่อฟ้องศาล

ขณะที่ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เผยแพร่แถลงการณ์ของสมาคมฯ ระบุว่า การจัดหาเครื่องบินดังกล่าวอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 62 ประกอบมาตรา 75 และมาตรา 76 เพราะขณะนี้ประเทศชาติกำลังเผชิญปัญหากับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของการบริหารราชการแผ่นดินของแต่ละรัฐบาลที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมและคณะรัฐมนตรีควรจะมีสำนึกถึงความยากแค้นของพี่น้องประชาชนที่ต้องทนทุกข์ทรมาณกับการขายสินค้าทางการเกษตรในราคาที่ตกต่ำสุด ๆ อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการบริหารงานของข้าราชการระดับสูง รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล เช่น ราคาข้าวโพดตกต่ำ ราคายางพาราตกต่ำ ราคาสับปะรดตกต่ำ ราคามันสำปะหลังตำต่ำ ราคาข้าวตกต่ำ ฯลฯ แต่ทว่ากระทรวงกลาโหมกลับมาเสนอจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มูลค่าหลายพันหลายหมื่นล้าน เช่น การซื้อเรือดำน้ำ การซื้อรถถัง และการซื้อเครื่องบินขับไล่ ฯลฯ จึงขัดต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไร้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ซึ่งจะถือได้ว่ารัฐบาลไม่รักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ

แถลงการณ์สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ระบุด้วยว่า แม้ข้อกล่าวอ้างเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหมจะมีความสำคัญแต่สถานการณ์รอบบ้าน รอบประเทศของเราไม่มีปัญหาความขัดแย้งถึงขั้นสู้รบกันแต่อย่างใด การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงยังไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดและประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน ยังมีชาวบ้านที่ถูกบังคับให้จนและถูกบังคับให้เป็นหนี้ยังมีอยู่อีกมากมาย การอนุมัติให้มีการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มากมายทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศในขณะนี้ จึงเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ถูกกาละเทศะอย่างรุนแรง

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงขอเรียกร้องมายังคณะรัฐมนตรีได้โปรดอย่าตามใจกระทรวงกลาโหมไปหมดเสียทุกอย่าง ขอได้โปรดมีความกล้าหาญในการสั่งชะลอการจัดซื้อเครื่องบิน T-50TH ให้กับทอ. เสียและนำเงินดังกล่าวไปพยุงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำในขณะนี้จะดีกว่า และหากประเทศไทยร่ำรวยชึ้นมาเมื่อไรค่อยไปจัดซื้อจัดหาก็คงไม่สายหรือเสียหน้าแต่อย่างใด แต่หากคณะรัฐมนตรียังคงเดินหน้าอนุมัติให้กระทรวงกลาโหมจัดซื้อเครื่องบิน T-50TH ให้กับทอ.ได้ต่อไปโดยไม่สั่งให้มีการทบทวนหรือชะลอโครงการนี้ สมาคมฯจำต้องนำความขึ้นฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ประกอบมาตรา 51 ต่อไปแน่นอน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: กลอนสู่ขวัญเกษตรกรของทั่นผู้นำ

Posted: 10 Jul 2017 08:16 AM PDT



 

ชวนเกษตรกรอ่านกลอนสู่ขวัญ     ถ้อยคำทั่นผู้นำลึกล้ำเหลือ

กวีใดก็ไม่สู้ตู่เหลือเฟือ     อ่านดูเนื้อเหนือคนเคยยลคำ

จะขออวยด้วยรู้การอยู่เป็น     บ้านเมืองเช่นที่เห็นอยู่รู้มืดค่ำ

โจรมันชุมยุ่มย่ามยุงยุ่งระยำ     ลุงตู่นำน้อง ๆ หนู ๆ คู่คนดี

เครื่องนำทางอย่างที่ฝันมันไม่ใช่     หากฝันใฝ่แต่ไร้ความรู้จะยู่ยี่

ต้องทนทุกข์ทรมานนานหลายปี     ด้วยศักดิ์ศรีไม่มีบ่นอดทนมา

มาวันนี้รัฐแน่วแน่เร่งแก้ไข     ไม่ทันใจไม่เสียขวัญเรื่องปัญหา

คนเลวที่เคยชี้ทำอย่านำพา     อย่าทิ้งนาไร่สวนชวนรวนเร

ทำกิจการพอเพียงเถียงนาน้อย     รัฐจะคอยดูราคาถ้าหักเห

พัฒนาสหกรณ์กลางอย่างทุ่มเท     สมคะเนไม่เอ้โอ้โอกาสตน

ทุกท่านถ้วนล้วนอดทนคนเข้มแข็ง     แม้น้ำแล้งนาล่มจมไม่บ่น

ยางพารานาไร่สวนของมวลชน     ปลูกขายปนหลายสาขาอย่าอย่างเดียว

ทนเหนื่อยกายเหนื่อยใจไปอีกนิด     มาตรการผิดท่าอย่าฉุนเฉียว

คนเลวที่ชี้ทำมายากยาเยียว     ประชารัฐประเดี๋ยวเดียวจะเยียวยา

เป็นระบบครบวงจรอย่าร้อนใจ     ทุนภายนอกภายในในภายหน้า

เลิกทำกินถิ่นสลัวมั่ว ๆ มา     ครอบครัวน่าเวทนาหนาคนดี

ขอลุงตู่อยู่เป็นให้เย็นหัว     ไม่ต้องกลัวสิ่งใดในโลกนี้

ซ้อมเขียนกลอนเรื่อยไปได้เป็นกวี     ยุทธศาสตร์ 20 ปี ซีไรต์เอย.

                                                           

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จตุพรแนะอย่าปฏิรูปแต่ตำรวจต้องทหารด้วย 'โฆษก ทบ.' สวนกองทัพปฏิรูปตนเองตลอด

Posted: 10 Jul 2017 07:55 AM PDT

'จตุพร' ชี้อย่าปฏิรูปเฉพาะตำรวจเพียงหน่วยงานเดียว เมื่อให้ทหารเป็นหัวแถว ก็ต้องปฏิรูปด้วย 'โฆษก ทบ.-พล.อ.สรรเสริญ' สวนทุกวันนี้กองทัพก็มีการปฏิรูปตัวเองอยู่แล้ว

แฟ้มภาพ

10 ก.ค.2560 วันนี้ (10 ก.ค.60) จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์แฟนเพจในหัวข้อเรื่องอย่าปฏิรูปเฉพาะตำรวจเพียงหน่วยงานเดียว เมื่อให้ทหารเป็นหัวแถว การปฏิรูปตำรวจก็ควรจะให้ตำรวจเป็นหัวแถวในการปฏิรูปทหารตอนหนึ่ง ว่า ความจริงไม่ใช่เป็นเรื่องของการประชดประชันแต่เป็นเรื่องที่เราต้องยอมรับความเป็นจริง ว่าทุกองค์กรในประเทศไทยเป็นปัญหาไม่ใช่เฉพาะตำรวจเพียงองค์กรเดียว ทหารข้าราชการ พรรคการเมืองหน่วยงานต่างๆ แม้กระทั่งภาคประชาชนเราก็ต้องปฏิรูปกันทั้งนั้น ฉะนั้นเวลานี้สิ่งที่แต่ละฝ่ายพยายามจะพูดกัน ดูเสมือนหนึ่งประเทศไทยนั้นมีปัญหาเฉพาะหน่วยงานเดียวเท่านั้น คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)  ซึ่งตนมองว่า เรื่องคนดี คนไม่ดีมีทุกองค์กร และบางหน่วยงานแตะต้องไม่ได้ 
 
จตุพร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันตำรวจก็อยู่ภายใต้การควบคุมของทหารอยู่แล้ว ซึ่งในแต่ละส่วนงานก็มีทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ในแต่ละพื้นที่ในทางปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ถ้าหากจะแก้ไขการปฏิรูปตำรวจในทุกมิตินั้น สิ่งหนึ่งที่คนไทยอยากจะเห็นนั้นก็คือว่าเราจะได้หน่วยงานที่มีธรรมาภิบาลที่ดีและถูกต้อง แต่ตำรวจได้รับการปฏิรูปเพียงองค์กรเดียวก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไร ทหารเองควรเปิดกว้างเช่นเดียวกัน เมื่อกล้าที่จะปฏิรูปตำรวจก็ควรจัดจะให้มีการปฏิรูปทหารเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่าทหารก็มีปัญหา ทหารก็มีคนดีและคนไม่ดีเหมือนกับทุกหน่วยงานตนจึงอยากเห็นการปฏิรูปทหาร ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปทุกหน่วยงานราชการ

โฆษก ทบ.ยันกองทัพปฏิรูปตนเองตลอด

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพได้ปรับตัวเรื่อยมาตามลำดับ เวลา ในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ภารกิจทางการทหาร และภารกิจทางการทหารที่ไม่ใช่สงคราม โดยเฉพาะบทบาทในการช่วยเหลือและพัฒนาประเทศที่ระยะหลังได้รับสัญญาณค่อนข้างบวก แม้ว่าภารกิจของทหารในภาวะปกติ ไม่ใช่การให้บริการในลักษณะสัมผัสตรงกับประชาชนเหมือนหลายๆ องค์กร แต่ทุกหน่วยงานในสังกัดยังคงมีการสำรวจเพื่อปรับตัวให้งานในแต่ละด้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับความต้องการในภาพรวมของประเทศ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการเวลาที่เปลี่ยนไป
แฟ้มภาพ
 
พ.อ.วินธัยกล่าวต่อว่า สำหรับเสียงเรียกร้องของจตุพรนั้น เราพร้อมรับฟังอย่างมีเหตุมีผล แต่ไม่อยากให้จำกัดอยู่เฉพาะบางกลุ่มบางพวก ที่สังคมส่วนใหญ่มองไปว่าอาจเป็นเรื่องของการเมือง หรือเข้าใจว่าเป็นข้อเรียกร้องจากกลุ่มที่เสียประโยชน์จากการทำหน้าที่ของทหารในช่วงภาวะพิเศษช่วงนี้เท่านั้น
 
"ขอให้มั่นใจ หลายหน่วยงานในสังกัดกองทัพ ยังคงต่อเนื่องที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อนำไปสร้างพัฒนาการใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาติในแต่ละพื้นที่อยู่เสมอ จากข้อมูลที่ได้รับภาพรวมยังไม่พบเรื่องที่น่ากังวลอะไร" โฆษกกองทัพบกกล่าว

สรรเสริญ แจงทุกวันนี้กองทัพก็มีการปฏิรูปตัวเองอยู่แล้ว

เดลินิวส์ รายงานความเห็นของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้วย โดย พล.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ทุกวันนี้กองทัพก็มีการปฏิรูปตัวเองอยู่แล้ว จึงต้องย้อนถามนักการเมืองเช่นกันว่า การที่กองทัพต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองในครั้งนี้ เพราะความไม่สงบเรียบร้อยที่นักการเมืองก่อเอาไว้ ส่งผลให้กองทัพมีความจำเป็นต้องเข้ามาหรือไม่ แต่ถ้าหากบ้านเมืองมีความสงบและเรียบร้อยปกติสุข ไม่ทะเลาะเบาะแว้งฆ่าฟันกันทั้งเมือง ทหารจะเข้ามาทำไม 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับผกก.เอ็มวี ‘เผด็จเกิร์ล’ เบลอเส้นต้องห้าม -เพิ่มพื้นที่สื่อสารทางศิลปะ

Posted: 10 Jul 2017 03:07 AM PDT

เบนซ์- นิษฐกานต์ แก้วปิยสวัสดิ

มาตรา 44, ซิงเกิลเกตเวย์, ปรับทัศนคติ, เรือดำน้ำ ฯลฯ

คีย์เวิร์ดเหล่านี้เราอาจเห็นจนชินตาตามหน้าข่าวการเมือง แต่เมื่อมันถูกนำมาใส่ในเอ็มวีเพลง 'เผด็จเกิร์ล' ของวงชื่อดังอย่าง Tattoo Colour ซิงเกิ้ลแรกของอัลบั้ม 'สัตว์จริง' ที่แค่ปกอัลบั้มก็ไม่ธรรมดาแล้ว เมื่อสมาชิกวงต่างแต่งหน้าเป็นสัตว์ต่างๆ ยืนเรียงกันและชูสามนิ้ว เปิดโอกาสกว้างแก่การตีความ

ปกอัลบั้ม 'สัตว์จริง' ของ Tattoo Colour

หลังจากที่เอ็มวี 'เผด็จเกิร์ล' ถูกปล่อยออกมา ก็ได้รับกระแสตอบรับจากโลกโซเชียลอย่างกว้างขวาง ทั้งเพลงที่ฟังง่าย ติดหู และเนื้อหาของเอ็มวีที่ใช้อารมณ์ขันสะท้อนทั้งความสัมพันธ์ชายหญิงและสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันอย่างแยบคาย

ใครจะรู้ว่าผู้อยู่เบื้องหลังเอ็มวีเพลงฮิตนี้คือ ผู้กำกับสาววัยเพียง 23 ปี เบนซ์- นิษฐกานต์ แก้วปิยสวัสดิ ที่จบโดยตรงมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิตอลมีเดีย แม้โดยตำแหน่งแล้วเธอทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้กำกับให้กับ Dylan Film (ดีแลนฟิล์ม) แต่ด้วยผลงานที่ผ่านมาของเธอแม้ยังมีไม่มากแต่มักเป็นงานแนววิชวลจัด ตรงกับความต้องการของวง Tattoo Colour ที่ต้องการเอ็มวีที่แปลกใหม่ และด้วยการเปิดโอกาสของ Dylan Film รวมถึงค่ายเพลงและสมาชิกวง เราจึงได้เห็นฝีมือคนรุ่นใหม่ที่น่าจับตา

ประชาไท ชวนผู้กำกับเอ็มวีสาวคุยถึงที่มาที่ไป เบื้องหลังกระบวนการทำเอ็มวี  ไปจนถึงทัศนคติเรื่องศิลปะกับการเมือง

ความสนใจในด้านฟิล์ม?

เริ่มมาจากอยากเรียกอินทีเรีย แต่สอบไม่ติด เลยเข้ามาเรียนฟิล์ม ในระหว่างนั้นก็ไม่ชอบเลย เรารู้สึกว่าการทำหนังมันไม่จบในตัวเราคนเดียว แต่ต้องไประรานชาวบ้าน (หัวเราะ) แต่เราสนใจแฟชั่น จนได้ลองเข้าไปทำโปรเจคของ Elle Magazine ทำนิตยสารเล่มเล็กของ Elle เดือนนั้น ช่วงที่ทำมีอีเว้นท์ Elle Fashion Film Festival ก็มีโอกาสได้ไปดู แล้วก็ เออว่ะ จริงๆ แล้วมันมีหนังหลายแบบ มันมีหนังสไตล์ หนังที่เล่นกับวิชวล หนังอื่นๆ ที่ทำให้คิดว่าเราทำได้ คิดว่าตัวเองว่าจะเหมาะกับหนังแบบนี้แหละ ก็เลยอยากเป็นผู้กำกับมาตั้งแต่ตอนนั้น

ตัวเนื้อหาเอ็มวีเริ่มจากเราเลยมั้ย? เห็นมีทั้ง ม.44 ซิงเกิลเกตเวย์ เรือดำน้ำ กระทั่งวันที่ 20 พฤษภาคม (วันประกาศกฎอัยการศึก ก่อนหน้ารัฐประหารปี 57 สองวัน)

เริ่มมาจากคอนเซปต์หลักของเพลงก่อน คือจากเนื้อหาของเพลงที่พูดถึงเรื่องความรักที่ผู้ชายต้องยอมตลอดแล้วในความสัมพันธ์ผู้หญิงมักจะเป็นเผด็จการ มีอำนาจเหนือเหตุผลประมาณนึง เลยกลายเป็น 'เผด็จเกิร์ล' ซึ่งเรามองว่าเผด็จการในความสัมพันธ์ของคนสองคน กับเผด็จการที่เราเผชิญอยู่มีบางอย่างคล้ายคลึงกัน แต่เป็นการดึงเข้ามาขำๆ ล้อกับความเป็นคู่รัก เราก็มาคิดว่าเหตุการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เรานึกถึงความเผด็จการ ที่เล่าไปแล้วคนดูจะเข้าใจและรู้สึกตรงกับชีวิตพวกเขา

แสดงว่าเป็นคนสนใจการเมืองประมาณหนึ่ง?

ก็ประมาณนึง แต่เราไม่ได้เป็นคนอ่านเยอะหรือรู้ลึกเรื่องประวัติศาสตร์ขนาดนั้น แต่ตอนนี้เราเห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างกับประเทศของเรา เราว่าที่เอ็มวีนี้มัน touch นอกจากมันจะตรงกับประสบการณ์คู่รักหลายๆ คู่ รวมถึงตัวเราเองด้วย มันยัง touch คนเพราะทุกคนรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่ทุกคนไม่รู้จะพูดออกไปยังไง เอ็มวีนี้เหมือนเป็นตัวช่วยแบบ เฮ้ย พูดแทนเราแล้ว

อย่างเราทำสื่อ เราจะเห็นสิ่งที่เขาพยายามจะทำ เช่นก่อนหน้านี้มี ซิงเกิลเกตเวย์ หรือมีกฎหมายคุมสื่อออนไลน์ เราว่ามันเป็นการบีบคนทำอย่าคิดอย่าทำอะไรไปมากกว่านี้ ควบคุมทุกอย่าง มันเลยทำให้เราอิน เพราะเรารู้สึกว่าจริงๆ มันใกล้ตัว

อย่างที่บ้าน เราชอบคุยเรื่องนี้กันนะ เราก็อยู่ฝ่ายหนึ่ง พ่อแม่ฝ่ายหนึ่ง น้องฝ่ายหนึ่ง คนละฝ่ายหมดเลย  แต่มันดีตรงที่เราเอาเหตุผลมาสู้กัน เด็กรุ่นเราคิดแบบนี้ รุ่นพ่อแม่คิดแบบนี้ คิดไม่เหมือนกัน เขาก็มีเหตุผลของเขา เราก็มีเหตุผลของเรา  ซึ่งในเหตุผลของแต่ละคนก็มีข้อดีข้อเสียหรือจุดอ่อนของแนวคิดทั้งคู่  สุดท้ายเราไม่รู้ว่าการเมืองแบบไหนจะดีเหมาะกับสังคมที่สุด อาจจะต้องลองหาตรงกลางมั้ง แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นการเมืองในรูปแบบไหน สิทธิและเสรีภาพทางความคิดเป็นสิทธิที่ทุกคนควรได้รับ

เอ็มวีเซ็นเซอร์ตัวเองมั้ย?

ส่วนใหญ่เราจะคิดไปขายพี่โต (ธนิษฐ์ พิณทอง เจ้าของ Dylan film) ก่อน ซึ่งพี่โตจะเป็นคนเซ็นเซอร์ทุกอย่างก่อน คือพล็อตแรกที่เราขายไปมันเครียดกว่านี้ แล้วเราต้องมาเตือนตัวเอง อ๋อ เล่าเรื่องความรักอยู่เนอะ ถ้าเล่าเรื่องแบบนั้นต้องดูก้าวร้าวแน่ๆ พี่โตก็จะคอยบอกว่าประมาณนี้กำลังดีแล้ว หรือ แบบนี้ดูไม่ก้าวร้าวเกินไป

พล็อตแรกเป็นไง?

เป็นแบบนี้แหละ แต่มันก็จะมีอย่างคูหาเลือกตั้งมาตั้งเลย มีใบเลือกตั้ง ที่เราอยากเอามันมาใส่ในเหตุการณ์ของคู่รัก มันก็จะล้อเลียนกับเหตุการณ์ที่ผู้ชายมักจะเผชิญ อย่างการถูกแฟนถามว่าวันนี้จะกินอะไร ให้เลือกอาหาร แล้วผู้ชายกากบาทไป สุดท้ายผู้หญิงก็ฉีกใบเลือกนั้นทิ้ง อารมณ์แบบ สุดท้ายก็ไม่ให้เลือกอยู่ดี ฉันอยากทำอะไรให้เธอกินก็ได้ จากซีนนี้ก็เปลี่ยนมาเป็นซีนเลือกแว่นแทน ตัดอะไรที่มันดูชัดๆ ออกไป แต่เราว่าก็ยังได้คอนเทนท์นั้นอยู่นะ

เห็นว่าคอนเซปต์หลักเอามาจากประเทศเกาหลีเหนือ?

เราเอามาเป็น reference (การอ้างอิง) ในด้านวิชวล ที่มันมีความแข็งๆ ความเป็นแพทเทิร์นซ้ำๆ ความเป็นผู้นำแบบนี้ ทุกอย่างดูเหมือนกันไปหมด เพราะบ้านเรามันไม่ได้มีอาร์ตไดเรคชั่นของความเป็นเผด็จการที่ชัดเจนขนาดนั้น 

ตั้งใจให้ดูย้อนยุค?

ก็ตั้งใจให้มันดูล้าหลังหน่อยๆ ให้ความรู้สึกแบบไม่พัฒนาไปไหนสักที อยู่กับสิ่งเดิมๆมา 20-30 ปีแล้วอะไรแบบนั้น

มีนัยซ่อนอยู่ในเครื่องแต่งกายและพร็อบไหม?

ก็มีบ้าง อย่างเสื้อผ้า พร็อพบางอย่าง แต่ที่มีคนโยงไป อย่างเช่น พระเอกตัดผมเกรียนนี้มีนัยหรือเปล่า จริงๆ คือตอนแคสนักแสดง พระเอกเขาส่งรูปมาเป็นตอนเขาสกินเฮด แล้วเราก็ชอบพระเอก Trainspotting (1996) มาก ก็รู้สึกเข้าดีกับเอ็มวี ไม่ได้จะโยงการเมืองทุกจุดขนาดนั้น เป็นเรื่องของสไตล์ ภาพรวมของทั้งเอ็มวีมากกว่า

หรืออย่างซีนที่ใช้คอมแมคอินทอช มีคนไปตีความว่า ที่เอ็มวีใช้คอมแมคอินทอชรุ่นนี้ เพราะมันเปิดตัวในปี 1984 แล้วก็เชื่อมโยงกับคำว่า "I'm watching you" ไปถึงเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออเวลด้วย

ทั้งที่จริงๆ เราแค่คิดว่ามันควรเป็นคอมเก่าที่เป็นจอตู้ ไม่ใช่แบบ LED ในปัจจุบัน แล้วเราก็คิดได้ว่ามันมีคอมแมคอินทอชแบบนี้อยู่ พี่ทีมงานก็หามาให้จนได้ 5 เครื่อง

ส่วนตัวประโยค "I'm watching you" เราไม่เคยดูหนังเรื่อง big brother 1984 มาก่อน แต่ด้วยสถานการณ์ในซีนนั้นเราคิดว่าผู้หญิงควรตอบข้อความกลับไป เราเลยคิดถึงประโยคนี้เพราะดูดุและกระชับและเล่าเรื่อง

เมื่อวานเราเลยไปหาหนังเรื่อง Big Brother 1984 ดูแล้วเราก็เข้าใจเลยว่าทำไมคนโยงไป เพราะมันมีความคล้ายกันมาก ซึ่งด้วยความที่มันเหมือนทำให้เรามาคิดว่าคนทำหนังในยุคนั้นกับเราตอนนี้อาจมองเห็นภาพของความเผด็จการคล้ายๆกันมั้ง

เราชอบมากที่คนดูโยงงานของเราไปสู่เรื่องต่างๆ จากงานเราที่คิดว่ามีแค่นี้ แต่พอคนมาดูแล้วมันได้อะไรมาอีกเยอะ เราว่าการที่คนดูดูแล้วตีความมันเติมเต็มทำให้งานเราดูมีมิติมากขึ้น ต้องขอบคุณคนดูจริงๆ

เบนซ์- นิษฐกานต์ แก้วปิยสวัสดิ

กระแสตอบรับด้านลบ?

ก็มีคนที่มาคอมเมนต์ว่าทำไมต้องโยงไปการเมือง แต่เราก็รู้สึกว่าแล้วแต่คนจะคิด อยู่ที่คุณจะมองว่ามันเป็นเรื่องความรักหรือการเมือง

ตอนคุยงาน พี่ๆ วง Tattoo Colour และค่ายเพลงโอเคกับบทของเรามั้ย?

จากดราฟต์แรกมันจะเป็นการเมืองกว่านี้ มี Symbolic เยอะ พี่ดิม (นักร้องนำ วง Tattoo Colour) ก็กลัวว่าเดี๋ยวมันจะเครียดไป และเขายังอยากให้มันเป็นเอมวีที่แฟนส่งให้กันฟังได้ มีความหยอกล้อกันน่ารักๆอยู่ ขอปรับมาเป็นแบบแมสกว่านี้ เราก็ปรับให้มันมีความเป็นคู่รักสูงมาก แต่สุดท้ายทุกคนลงความเห็นว่ามันครึ่งๆ กลางๆ

อาจจะเพราะเราไม่ถนัดการเล่าเรื่องแบบนั้นด้วย เขาก็เลยบอกว่ามันคงจะต้องสุดไปทางใดทางนึง เอาที่เบนซ์ถนัดเลย เพราะมันจะถ่ายแล้ว เหลืออีก 10 วัน พอปล่อยเรา เราก็ทำสิ่งที่อยากทำ ตรงไหนใส่อะไรได้เราก็ใส่ไป เพราะถ้าจะเล่าคอนเซปต์ความเป็นเผด็จเกิร์ลมันก็ต้องใส่ภาพของความเผด็จการเข้าไปที่คนเห็นแล้วแบบเข้าใจตรงกัน อย่างช็อตที่เป็นเลโก้ คือเราจะเล่าความ "อยากได้อะไรก็ต้องได้" ของผู้หญิง และก็ไม่รู้จะใช้ Situation แบบไหน แต่พอเป็นเรือดำน้ำมันคือเฟรมเดียวจบ เข้าใจรู้เรื่อง

พอออกมาเป็นเอ็มวีแล้วพอใจมั้ย?

ค่อนข้างพอใจนะ มันเป็นเหมือนที่เราคิดไว้ตอนแรก คล้ายๆ ดราฟต์แรกแต่ปรับให้ซอฟท์ลง แต่ก่อนออนแอร์เราเครียดมากคือดูอยู่หลายรอบก่อนออนแอร์แล้วคิดว่ามันดีหรือยังวะ แล้วก็กดดันตัวเองว่ามันน่าจะได้ดีกว่านี้หรือเปล่าตลอดเวลา แต่พอออนแอร์แล้วเห็นฟีดแบคจากคนดูมันก็โล่งใจว่าแบบเออมันก็ไม่ได้แย่แบบที่เราคิดนะ คลายความกดดันไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีความกดดันต่อไปอีกว่างานต่อไปต้องทำให้ดีกว่านี้ อะไรแบบนั้น

ทีมงาน และพี่ๆ วง Tattoo Colour พอใจมั้ย?

เมื่อวานเราเพิ่งจะได้รับโทรศัพท์จากทางวง พี่ๆโทรมาขอบคุณ ทุกคนชอบ พี่รัฐ (ร้องนำ, กีตาร์ วง Tattoo Colour) โทรมาหาเรา ใครจะรู้ว่าเราจะได้รับสายพี่รัฐ โอ้มายก้อด ความติ่งสมัยเด็กอ่ะ (สีหน้าดีใจสุดๆ) เสียงสั่นอ่ะ พี่รัฐโทรมา เขาบอก ทุกคนชอบมาก แม่พี่รัฐก็ชอบแต่ถามว่า แล้วน้องเขาจะไม่เป็นไรใช่ไหม (หัวเราะ)

แล้ววงก็บอกว่าเราซื่อสัตย์กับ Reference มาก คือเราขายอะไรไป แล้วมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ พี่จั๊มป์ (กีตาร์เบส, ร้องประสาน วง Tattoo Colour) ก็บอกว่าตอนดูครั้งแรกเขาตกใจมาก เขาไม่เคยเห็นเอ็มวี Tattoo Colour แบบนี้มาก่อน เขาก็ไม่ชิน แต่พอดูไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกยิ่งดูชอบมันมากขึ้นๆ มันทลายความกดดันทั้งหมดที่เราเก็บมาตั้งแต่ต้นเลย

เราว่าดีนะ พอมีคนเปิดให้เราทำอะไรแบบนี้ หรือมีค่ายที่เปิดโอกาสให้วงได้พูดความคิดตัวเอง มันโคตรดีเลยที่จะมีอะไรแบบนี้ออกสู่สังคมบ้าง เหมือนตอนนี้ทุกคนไม่ค่อยกล้าขยับตัวทำอะไร แต่พอมันมีอะไรแบบนี้ออกมามันก็อาจจะทำให้คนอื่นกล้าออกมาลองอะไรสนุกๆ หรือปลดปล่อยความรู้สึกถูกกักขังของเขา เหมือนเราพยายามเบลอเส้นที่ดูเหมือนต้องห้าม ให้พื้นที่ในการสื่อสารของเรามันมีมากขึ้น แต่เราคงจะเป็นกระบวนการแบบซึมๆ ไป คงไม่ใช่แบบโจ่งแจ้ง ถ้ายังต้องอยู่ในระบบแบบที่เป็นอยู่นะ

ข้อดีของศิลปะคือมันทำให้เราอยากพูดเรื่องที่เราอยากพูด มันอยู่ที่คนเสพจะตีความ มันค่อนข้างกว้าง และปลอดภัย ไม่ก้าวร้าวแบบใช้กำลัง ยิ่งถ้าเมื่อไหร่ที่งานมันเข้าไปเปลี่ยนความคิดคนได้เราว่ามันเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพเหมือนกัน

งานเอ็มวีไปจนกระทั่งงานศิลปะมันเชื่อมโยงกับการเมืองได้ไหม ยังไง?

เราว่าศิลปะกับการเมืองมันเป็นเหมือนสงครามเย็นอ่ะ

ยังไงนะ?

คือมันแยบยล เหมือนค่อยๆ ซึม คือถ้าคนเสพไปเรื่อยๆ คอนเทนท์ในตัวมันทำให้คนเปลี่ยนความคิดได้เลยนะ ศิลปะและคอนเซปต์ในเนื้อหาเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ สำหรับเรานะ ยิ่งเป็นวิดีโอเป็นภาพ พอคนเห็นคนได้ยิน และด้วยความที่มันย่อยง่ายด้วย มันก็ซึมไปสู่ความคิดคนได้

ถ้างั้นอาจจะไม่ใช่ศิลปะอารมณ์แบบ Conceptual Art ที่คนทั่วไปเข้าใจยาก แต่เป็นศิลปะเพื่อความบันเทิง?

อืม แต่เราว่าเอาจริงถ้ามันจะเป็น Conceptual Art แล้วคนพยายามจะทำความเข้าใจ มันก็ยังเข้าถึงคนทั่วไปได้อยู่ดี

คิดว่าจะทำงานที่เกี่ยวกับการเมืองอีกมั้ย?

เราไม่ได้ตั้งเป้าไว้แบบนั้น เอ็มวีนี้ก็ไม่ได้ตั้งเป้ามาเล่นการเมืองขนาดนั้น เราอาจไม่ได้เล่นอีกก็ได้ เพราะสุดท้ายมันขึ้นอยู่กับงาน คือจะให้ทุกงานมาโยงเรื่องการเมืองก็ไม่ได้เพราะถ้ามันไม่เกี่ยวแล้วจะโยงไปทำไม เหมือนเป็นการคิดอะไรสุดโต่งเกินไปเหมือนยัดเยียดให้คนดู สุดท้ายแล้วอยู่ที่ว่าจุดประสงค์ของงานนั้นต้องการบอกอะไรคนดูมากกว่า

คำว่า 'Fake Woke' จากบทความของ The Matter คิดว่ากระแสความตื่นตัวทางการเมืองจะกลายมาเป็นแฟชั่นในอนาคตมั้ย?

เราว่ามันก็อาจจะเป็นแฟชั่น แต่เรารู้สึกว่ามันก็เป็นแฟชั่นที่ดี อย่างน้อยมันทำให้คนหันมาสนใจด้านนี้ ต่อให้มันเป็นแฟชั่นแป๊บเดียว แต่จากคนที่ไม่เคยคิดอะไรเลย แล้ว เฮ้ย เทรนด์นี้มันมาว่ะ แล้วเขาก็อ่านทำความเข้าใจ อย่างน้อยเขาก็ซึมซับเข้าไป เขาก็ได้รู้อะไรบางอย่าง แล้วก็อยู่ที่ตัวเขาจะคิดยังไงต่อกับมัน

จริงๆ เราว่าไม่ควรแบ่งว่าคนนี้แม่งสนใจจริงๆ หรือคนนี้แม่งแค่เกาะกระแส คือเราจะไปแบ่งแบบนั้นทำไมไม่รู้ เราว่าถ้าเขาจะสนใจแค่นี้เพราะมัน impact กับชีวิตเขาแค่นี้ เขารู้แค่นี้ก็ได้ มันก็เป็นสิทธิ์ของเขา

แต่สุดท้ายเราว่าถ้าอยากให้อะไรมันเปลี่ยนมันต้องเริ่มจากกลุ่มคนที่เขาสนใจมากๆ แล้วเราก็ไปทำความเข้าใจกับคนที่เขาอาจจะสนใจแค่นิดเดียว แลกเปลี่ยนกันว่าถ้าคุณรู้เพิ่ม มันเปลี่ยนอะไรได้อีกเยอะนะ ดีกว่าการไปแยกเขาว่า คุณแม่งทำตามกระแส ฉันสิรู้จริง ไม่มีประโยชน์ใดๆ ในการทำแบบนั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง: ที่ตื่นตัว เพราะกลัวไม่ฮิป : Fake Woke และการตาสว่างทางสังคมแบบ 'ปลอมๆ' 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'จัดหางาน' เตือนแรงงานข้ามชาติเดินทางตรวจสัญชาติต้องขอหนังสือออกนอกเขตพื้นที่ก่อน

Posted: 10 Jul 2017 02:01 AM PDT

รมว.แรงงาน สั่งการผู้บริหารลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ขอความร่วมมือนายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติปฏิบัติให้ถูกต้อง 'จัดหางาน' แจงแรงงานที่มาตรวจสัญชาติเพื่อขอรับเอกสารรับรองบุคคลต้องขอหนังสือรับรองออกนอกเขตพื้นที่ที่ สนง.จัดหางานจังหวัดในเขตพื้นที่ก่อน 

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (แฟ้มภาพ)

10 ก.ค. 2560 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สุทธิ สุโกศล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ. ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้สัมผัสและรับรู้แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะด้านกัมพูชามาหลายสิบปี โดยเฉพาะเมื่อปี 57ได้เริ่มเข้ามาจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ ได้สั่งการผู้บริหารระดับสูงลงพื้นที่พบผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ ที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 เพื่อขอความร่วมมือปฏิบัติการจ้างแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปอย่างถูกต้องทั้งกระบวนการ บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย  นอกจากนี้  กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งประกอบด้วยส่วนบัญชาการ ส่วนติดตามและรายงานผลส่วนวิเคราะห์ข่าวสารส่วนรับเรื่องร้องทุกข์  ส่วนประชาสัมพันธ์ และส่วนปฏิบัติการ  เพื่อให้อำนวยการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง มีแนวปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน นำประเทศเข้าสู่มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากลในระยะยาว รวมทั้งให้เป็นแนวปฏิบัติของอาเซียน ซึ่งไทยเราได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนในการดำเนินงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศอยู่ในขณะนี้

"ผลการเจรจากับประเทศกัมพูชา และเมียนมา ที่ผ่านมา สามารถตกลงวางแนวปฏิบัติและคืบหน้าไปได้ด้วยดี  โดยกระทรวงแรงงานจะเร่งชี้แจงทำความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ และกำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความสุจริตเสมอภาคและโปร่งใส ไร้ทุจริต มีจิตบริการ เพื่อให้การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้ นายจ้าง/ผู้ประกอบการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10  หรือ โทร.สายด่วน 1694  และโทรศัพท์หมายเลข 0 2232 1467 " สุทธิ กล่าว

แจงแรงงานข้ามชาติ ตรวจสัญชาติ ทำ CI ต้องขอหนังสือรับรองออกนอกพื้นที่ก่อน

ขณะที่ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า คนต่างด้าวที่จะตรวจสัญชาติเพื่อรับ CI จากประเทศต้นทาง หากเป็นแรงงานเมียนมาและมีบัตรชมพูซึ่งยังไม่หมดอายุให้ไปขอหนังสือรับรองการออกนอกพื้นที่เพื่อไปตรวจสัญชาติที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในเขตพื้นที่ทำงานของแรงงานก่อน และถือหนังสือเป็นหลักฐานระหว่างการเดินทางไปศูนย์ตรวจสัญชาติ ซึ่งมีอยู่ 6 ศูนย์ 5 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดสมุทรสาคร ที่เทศบาลนครสมุทรสาคร ต.มหาชัย อ.เมือง และ สถานีขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร เทศบาลตำบลท่าจีน อ.เมือง 2) จังหวัดสมุทรปราการ เลขที่ 1467 หมู่ 1 ต.เทพารักษ์ อ.เมือง 3) จังหวัดเชียงราย เลขที่ 889/6 และ 889/7 หมู่ 9 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 4) จังหวัดตาก เลขที่ 298 หมู่ 2 ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก  5) จังหวัดระนอง เลขที่ 89/150 ต.ปากน้ำ อ.เมือง  ส่วนคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและลาวที่ถือบัตรชมพูที่ยังไม่หมดอายุ สามารถเดินทางกลับประเทศเพื่อไปทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ประเทศของตนออกให้ได้ โดยต้องขอหนังสือรับรองการออกนอกพื้นที่เพื่อไปตรวจสัญชาติที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในเขตพื้นที่ทำงานของแรงงานก่อน และถือหนังสือเป็นหลักฐานระหว่างการเดินทางกลับประเทศด้วยเช่นกัน จากนั้น เมื่อ กลับเข้ามาต้องขอวีซ่าและขออนุญาตทำงานในประเทศไทยต่อไป 
 
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ที่ไม่มีเอกสารแสดงตนหรือมีแต่หมดอายุแล้วให้นายจ้างรับคำขอจ้างคนต่างด้าวที่ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งกำหนดกำหนดจัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัด  ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม 2560 โดยคนต่างด้าวจะได้รับหนังสือรับรองการไปตรวจสัญชาติในประเทศไทย กรณีเป็นแรงงานเมียนมา หรือในประเทศต้นทางสำหรับแรงงานลาวและกัมพูชา เนื่องจากประเทศต้นทางยังไม่เข้ามาตรวจสัญชาติในประเทศไทย เมื่อแรงงานได้รับเอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้แล้วให้มาขอรับวีซ่า และขออนุญาตทำงานที่ประเทศไทย ซึ่งจะได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 วรานนท์ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์แจงราคายางตกเป็นไปตามตลาดโลก เชื่อผ่านวิกฤตแล้ว สั่งเคลียร์เกษตรกรลดกังวล

Posted: 10 Jul 2017 12:40 AM PDT

พล.อ.ประยุทธ์ แจงราคายางมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงตามวงจรของเศรษฐกิจของโลก เชื่อผ่านวิกฤตอย่างรุนแรงไปแล้ว พร้อมสั่งการให้ ก.เกษตรฯ -การยางฯ เร่งสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรให้ลดความกังวลลง ขอให้พิจารณาหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน 

10 ก.ค. 2560 จากสถานการณ์ราคายากพาราตกต่ำจนมีการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข เช่น ถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส.และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จ.สงขลา เสนอทางออกในการแก้ไขปํญหาราคายางพาราตกต่ำเพื่อนำเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. โดยเรียกร้องตลาดใหม่ในประเทศจีน และวิธีการเสนอขายแบบใหม่ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) นั้น

ล่าสุดวันนี้ (10 ก.ค.60) เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำถึงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้ว่า ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงตามวงจรของเศรษฐกิจและปัจจัยต่าง ๆ ของโลก เช่น อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางเป็นการเฉพาะ ทั้งการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรผู้รวบรวมยางพารา และผู้ประกอบการกิจการยาง เพื่อใช้รับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรโดยตรง ช่วยแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางที่ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ ยังขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร และจัดทำโครงการมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น ตั้งกองทุนพัฒนายางพารา เพื่อให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับยางพาราทั้งระบบ ขณะเดียวกันขอให้เกษตรกรพิจารณาหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน โดยเฉพาะพืชที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปีและมีรายได้ดีกว่า และเรียนรู้จากตัวอย่าง ของ Smart Farmer ที่ประสบความสำเร็จแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันตลาดโลกยังมีความต้องการใช้ยางพาราเป็นอย่างมาก แต่ประเทศไทยส่งออกยางพายาในรูปแบบของวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของโลก ดังนั้น จึงต้องส่งเสริมให้มีการแปรรูปโดยใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่ายาง ที่ผ่านมารัฐบาลสนับสนุนการจัดตั้งเมืองยางพาราและกระตุ้นให้มีการใช้ยางภายในประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนการพึ่งพาการส่งออก

พล.อ.ประยุทธ์ ยังเชื่อมั่นว่าขณะนี้ได้ผ่านวิกฤตความผันผวนด้านราคายางอย่างรุนแรงไปแล้ว โดยการส่งออกและราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้การส่งออกยางพาราธรรมชาติ ทั้งยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น และยางอื่น ๆ มีมูลค่า 2,834.06 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.55 ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางล้อรถยนต์ ถุงมือยาง มีมูลค่า 4,066 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.98 ซึ่งคาดว่าแนวโน้มจะยังคงขยายตัวได้ดีขึ้น เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และการยางแห่งประเทศไทยเร่งสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง และทำความเข้าใจแก่พี่น้องเกษตรกรให้ลดความกังวลลง พร้อมกำชับกระทรวงพาณิชย์ให้ใช้โอกาสนี้เร่งเจรจาจับคู่ธุรกิจการค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง และจัดคณะผู้แทนการค้ายางพาราออกไปเจรจาขายยางพาราและผลิตภัณฑ์ในตลาดต่างประเทศ ควบคู่กับการใช้ยางภายในประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ลาตินอเมริกา บังคลาเทศ และอิหร่าน ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นราคายางภายในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้นได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรมทั่วโลกร้องทางการตุรกีปล่อยตัว ผอ.-ประธาน กก.แอมเนสตี้ฯ

Posted: 10 Jul 2017 12:15 AM PDT

นักกิจกรรมกว่า 30 ประเทศ เตรียมร่วมประท้วงหน้าสถานทูตตุรกี เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้อำนวยการและประธานกรรมการแอมเนสตี้ฯ ประเทศตุรกี รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ท่ามกลางการปราบปรามอย่างกว้างขวาง

10 ก.ค. 2560 รายงานข่าวจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แจ้งว่า วันนี้(10 ก.ค.60) นักกิจกรรมกว่า 30 ประเทศทั่วโลกจะเข้าร่วมการประท้วงหน้าสถานทูตตุรกี เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้อำนวยการและประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศตุรกี รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สำคัญคนอื่นๆ ที่ถูกควบคุมตัวไว้ท่ามกลางการปราบปรามอย่างกว้างขวาง

การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นในโอกาสครบรอบหนึ่งเดือน หลังจากทางการได้สั่งควบคุมตัว ทาเนอร์ คีลิช (Taner Kiliç) ประธานกรรมการของแอมเนสตี้ตุรกีไว้ชั่วคราวระหว่างรอการสอบสวนในข้อหาที่ไม่มีมูลความจริง และเป็นโอกาสครบห้าวันหลังจาก ไอดิล อีเซอร์ (Idil Eser) ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ตุรกีถูกควบคุมตัวพร้อมกับนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนคนสำคัญอีก 7 คน ทั้งหมดถูกดำเนินคดีอาญา โดยตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกของหน่วยงานก่อการร้ายติดอาวุธ 

ในขณะเดียวกันเลขาธิการและผู้อำนวยการแอมเนสตี้อีก 16 ประเทศ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการของสำนักข่าวทั่วโลกเปิดเผยถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศตุรกี โดยเรียกร้องให้ผู้นำในที่ประชุมสุดยอดประเทศอุตสาหกรรม 20 ประเทศ (G20) ช่วยกันส่งเสียง โดยต้องบอกกับประธานาธิบดีเออโดวานว่าให้ปล่อยตัวทาเนอร์ คีลิช ไอดิล อีเซอร์ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกควบคุมตัวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้ยุติการปราบปรามที่มีต่อภาคประชาสังคมในตุรกี

ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ในขณะที่ใกล้ถึงวันครบรอบหนึ่งปีของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในตุรกี การดำเนินคดีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการปราบปรามที่เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเป็นการกระทำตามอำเภอใจและก้าวร้าว โดยพุ่งเป้าไปที่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลที่แท้จริงหรือเพียงเพราะรัฐบาลคิดว่าเขาเป็นฝ่ายตรงข้าม ในแต่ละวันที่ผ่านไป เสียงเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเพื่อนร่วมงานของเราโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไขดังมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีทางที่จะถูกทำให้เงียบลงได้

"เราจะไม่ยอมนิ่งดูดายในขณะที่แชมเปี้ยนด้านสิทธิมนุษยชนที่มีคนเคารพนับถือถูกจับขังคุก ในข้อหาที่กุขึ้นมา และสะท้อนถึงเจตนาร้ายอย่างชัดเจนเพื่อข่มขู่ผู้ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกล้าหาญในตุรกี โดยพวกเขาไม่ยอมเงียบเสียงตามคำสั่ง ในขณะที่พวกเขาถูกควบคุมตัว เราจะเดินขบวนเพื่อพวกเขา ในขณะที่พวกเขาถูกห้ามพูด เราจะพูดเพื่อพวกเขาเอง"

ทางการตุรกีพยายามใช้อำนาจอย่างมิชอบต่อนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ที่ผ่านมามีการควบคุมตัวประชาชนกว่า 50,000 คนภายหลังการทำรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว ทางการกำลังพุ่งเป้าโจมตีเพื่อไม่ให้มีองค์กรภาคประชาสังคมเหลืออยู่ เพื่อไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และเพื่อไม่ให้มีการตรวจสอบรัฐบาลของ เออโดวาน (Erdoğan)

 

รายละเอียดจดหมายเปิดผนึก : 

เรียน บรรณาธิการข่าวที่เคารพ

เมื่อเช้าวันพุธที่ผ่านมา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนแปดคน รวมทั้งไอดิล อีเซอร์ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ตุรกี และผู้อบรมด้านไอทีสองคนจากประเทศสวีเดนและเยอรมนี ได้ถูกตำรวจควบคุมตัวที่โรงแรมในกรุงอิสตันบุล ระหว่างเข้าร่วมการอบรม

การควบคุมตัวไอดิล เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังจากทาเนอร์ คีลิช ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ตุรกี ได้ถูกควบคุมตัวระหว่างรอการไต่สวนในข้อหาที่ปราศจากมูลความจริง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเราที่ทั้งผู้อำนวยการและประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ต่างถูกควบคุมตัวในเวลาเดียวกันและในประเทศเดียวกัน

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกควบคุมตัวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้ถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจสี่แห่งในชานกรุงอิสตันบุล และได้ถูกสอบปากคำในฐานะเป็นสมาชิก "หน่วยงานก่อการร้ายติดอาวุธ" ข้อกล่าวหาที่ไร้สาระนี้ ไม่อาจปิดบังภัยคุกคามที่ร้ายแรงของการโจมตีที่พุ่งเป้าไปยังหน่วยงานภาคประชาสังคมที่สำคัญหลายแห่งในตุรกี

 การใช้อำนาจอย่างมิชอบครั้งนี้ชี้ให้เห็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมที่เกิดขึ้นกับนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในตุรกี ซึ่งที่ผ่านมามีการควบคุมตัวประชาชนกว่า 50,000 คนภายหลังการทำรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว หากใครยังสงสัยว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการปราบปรามภายหลังรัฐประหารของตุรกีคืออะไร ตอนนี้พวกเขาคงหายสงสัยแล้ว ทางการกำลังพุ่งเป้าโจมตีเพื่อไม่ให้มีองค์กรภาคประชาสังคมเหลืออยู่ เพื่อไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และเพื่อไม่ให้มีการตรวจสอบรัฐบาลของนายเออโดวาน (Erdoğan)

เราจะไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย ในขณะที่เพื่อนร่วมงานและมิตรสหายของพวกเราถูกคุมขัง เราขอเรียกร้องให้ผู้นำในที่ประชุมสุดยอดประเทศอุตสาหกรรม 20 ประเทศ (G20) ให้ช่วยกันส่งเสียง โดยต้องบอกกับประธานาธิบดีเออโดวานว่าให้ปล่อยตัวทาเนอร์ คีลิช, ไอดิล อีเซอร์ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกควบคุมตัวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้ยุติการปราบปรามที่มีต่อภาคประชาสังคมในตุรกี

 

Salil Shetty เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

Mariela Belski, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อาร์เจนตินา

Claire Mallinson แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย

Jurema Werneck, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล บราซิล

Alex Neve, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แคนาดา (ส่วนที่พูดอังกฤษ)

Béatrice Vaugrante, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แคนาดา (ส่วนที่พูดฝรั่งเศส)

Sylvie Brigot-Vilain แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฝรั่งเศส

Markus Beeko, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เยอรมนี

Aakar Patel, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเดีย

Usman Hamid, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินโดนีเซีย

Gianni Rufini, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อิตาลี

Taro O'Sullivan, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ญี่ปุ่น

Catherine Kim, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกาหลี

Tania Reneaum Panszi, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เม็กซิโก

Shenilla Mohamed, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แอฟริกาใต้

Kate Allen, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหราชอาณาจักร

Margaret Huang, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐอเมริกา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาฟเตอร์ช็อค ก.ม.แรงงานข้ามชาติใหม่ ไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงป่วน

Posted: 09 Jul 2017 11:51 PM PDT

ผลกระทบ ก.ม.แรงงานข้ามชาติใหม่ แรงงานกลับประเทศไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงป่วน  'จัดหางาน' เตือน นายจ้างอย่าใช้โบรกเกอร์เถื่อน เสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เผยแนวคิดแก้ ก.ม.แรงงาน ให้แรงงานข้ามชาติสามารถจัดตั้งสหภาพได้เอง

สถานการณ์ชายแดนด้าน จ.สระแก้ว (แฟ้มภาพประชาไท)

10 ก.ค. 2560 จากกรณีเมื่อเดือนที่ผ่านมารัฐบาลออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 จนสร้างผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติและนายจ้างในวงกว้าง แรงงานจำนวนมากเดินทางกลับประเทศ ก่อนที่วันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 33/2560 เลื่อนใช้บทลงโทษ 4 มาตราใน พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ให้นายจ้างและลูกจ้างดำเนินการตามกฎหมายใหม่ภายใน 1 ม.ค. 2561 แทน

ไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงป่วน

ล่าสุดวันนี้ (10 ก.ค.60) ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวทำให้แรงงานต่างด้าวที่แฝงตัวในไซต์ก่อสร้างแตกตื่นแห่กลับประเทศเห็นภาพชัดไซต์รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ติดตามงานจากผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญา ปรากฏว่าสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักรของกลุ่มซิโน-ไทยฯ และยูนิคฯ วงเงิน 34,118 ล้านบาท งานเริ่มชะงัก

"หารือกับผู้รับเหมา พบปัญหายูนิคฯมีแรงงานพม่ากลับประเทศไปดำเนินการต่าง ๆ ให้ถูกกฎหมาย เพราะตกใจคิดว่าใบสีชมพูใช้ไม่ได้ จะกลับมา 10-20 วัน มีผลกระทบระยะสั้น ๆ ส่วนสัญญาที่ 2 ของอิตาเลียนไทยฯ ไม่มีปัญหา แรงงานที่ใช้ถูกกฎหมาย"

จากรถไฟฟ้าสายสีแดง ถามไปยังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย "ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง กล่าวว่า ทั้งสายสีน้ำเงินต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค และสีเขียวต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ก่อสร้าง จึงไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีใบอนุญาตที่ถูกกฎหมายอยู่แล้ว

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  รายงานอีกว่า ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหลายปี ทุกปีขอโควตาไว้ล่วงหน้า ปัจจุบันมีแรงงานเมียนมา 2,000 คน กัมพูชา 1,000 คน และได้ตั้งศูนย์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายมาร่วม 3 ปีแล้ว

"พ.ร.ก.ฯไม่ส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง จะกระทบรับเหมารายกลางและรายเล็ก เพราะดำเนินการไม่ทันเวลา ต้องเสียค่าปรับและเกิดแรงงานขาดแคลนขึ้น"

และอาจกระทบต่อผู้รับเหมาช่วงหรือต่อเนื่องถึงโครงการก่อสร้างในมือของบริษัทได้ จะรีบหามาตรการป้องกันให้เร็วที่สุด และการที่รัฐขยายเวลาจะช่วยประคับประคองสถานการณ์ไปได้บ้าง

เตือน นายจ้างอย่าใช้โบรกเกอร์เถื่อน เสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์

ขณะที่วานนี้ (9 ก.ค.60) วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศเพื่อไปดำเนินการตรวจสัญชาติและกลับเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในช่วง 180 วันที่ชะลอบทลงโทษนายจ้างและคนต่างด้าวใน 4 มาตราคือ 101 102 119 และ 122 ดังนั้นจึงส่งผลให้นายจ้าง/สถานประกอบการต่างๆ เช่น กลุ่มโรงสี กลุ่มแรงงานเกษตร เป็นต้น ขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องนำเข้าแรงงานเข้ามาใหม่โดยใช้บริการของนายหน้าและโบรกเกอร์ ด้วยเหตุนึ้จึงเป็นช่องทางให้กระบวนการนายหน้าอ้างกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการว่าสามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศได้ โดยเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงแรงงานขอเรียนชี้แจงว่าผู้ที่จะดำเนินการนำเข้าแรงงานได้นั้นมี 2 กลุ่มคือ 1) นายจ้างนำเข้าด้วยตนเอง และ 2) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (บริษัทนำเข้า) ซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขอย้ำเตือนว่าหากผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000 บาท ถึง 1,000,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ

วรานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศจำนวน 81 แห่งทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯ จำนวน 38 แห่ง ส่วนภูมิภาค จำนวน 43 แห่ง และขอย้ำเตือนกับนายจ้างและผู้ประกอบการให้ใช้บริการของผู้รับอนุญาตฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น หากผู้ใดพบเห็นหรือถูกกระบวนการนายหน้าเถื่อนหลอกลวงดังกล่าว ขอให้แจ้งสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในพื้นที่โดยทันที ซึ่งกรมการจัดหางานจะดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 1729 , 0 2354 1386 หรือโทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694

เผยแนวคิดแก้ ก.ม.แรงงาน ให้แรงงานข้ามชาติสามารถจัดตั้งสหภาพได้เอง

นอกจากนี้ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานด้วยว่า แหล่งข่าวจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการด้านแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าฯ ได้หยิบยกประเด็นที่ภาครัฐอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับขึ้นหารือ เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไข เนื่องจากเอกชนกังวลว่า หากกฎหมายประกาศบังคับใช้จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว

โดยภาครัฐให้เหตุผลว่า การผลักดันยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเข้าร่วมอนุสัญญาด้านแรงงานสากล ฉบับที่ 87 เกี่ยวกับการรวมตัวจัดตั้งสหภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่สหรัฐเรียกร้องผ่านการประชุมกรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐ (TIFA) ก่อนหน้านี้ และฉบับที่ 98 เกี่ยวกับการให้สิทธิเสรีภาพในการเจรจาต่อรอง ทั้งนี้ นอกจากร่างกฎหมายที่กระทรวงแรงงานยกร่างขึ้นจะผ่านการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ให้ความเห็นชอบด้วย

ในส่วนของสภาหอการค้าฯไม่รู้เรื่องมาก่อน เพิ่งจะทราบจากกรรมาธิการ สนช. ซึ่งเป็นช่วงที่กระทรวงแรงงานดึงกฎหมายกลับมาแก้ไขบางประเด็นที่ยังเห็นต่างกันอยู่ สิ่งที่ภาคเอกชนกังวลมาก คือ มาตรา 91 และมาตรา 101 วรรค 2 ซึ่งจะทำให้บทบาทของแรงงานต่างด้าวมีมากขึ้น เดิม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ไม่ได้มีการจำกัดสิทธิของแรงงานต่างด้าวในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน แต่ฉบับใหม่กลับกลายเป็นว่า มีความพยายามให้แรงงานต่างด้าวสามารถจัดตั้งสหภาพได้เอง หรือให้สิทธิในการเป็นกรรมการสหภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2560 เวลา 07:35

    รับเงินกู้เร่งด่วนในวันนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับการรับประกันและลูกค้าที่เชื่อถือได้ทั่วโลก เรามีสินเชื่อทุกประเภทตั้งแต่ 20,000 ถึง 10,000,000.00 เหรียญคุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจใหม่ในวันนี้และชำระหนี้ของคุณได้ทันที

    อีเมลติดต่อ: liongateloanfirm452@gmail.com

    ชื่อ: -------
    เพศ: -----------
    ประเทศ: -------------
    ที่อยู่ติดต่อ: ----------
    จำนวนเงินกู้ที่ต้องการ: -------------
    รายได้ต่อเดือน: ------------
    อาชีพ: ----------------
    วัตถุประสงค์ของการกู้ยืม: ----------
    โทรศัพท์บ้าน:--------------
    โทรศัพท์: -----------------
    คุณเคยยื่นขอสินเชื่อก่อนหรือไม่?

    อีเมลติดต่อ: liongateloanfirm452@gmail.com

    โปรดกรอกแบบฟอร์มสั้น ๆ และติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด


    ขอแสดงความนับถือ
    บริษัท Lion Gate Loan Investment LTD

    ตอบลบ