โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

จับตาภาคประชาชน: นภวรรณ งามขำ และเมธี สิงห์สู่ถ้ำ NGO รุ่นใหม่กับแนวความคิดการเป็นผู้หนุนเสริม

Posted: 13 Aug 2010 11:16 AM PDT

นภวรรณ งามขำ เครือข่ายเกษตรทางเลือก (รุ่นใหม่) และเมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นสากล เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ในซีรี่ส์ “NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน” โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย

 
ตอน 11 นภวรรณ งามขำ เครือข่ายเกษตรทางเลือก (รุ่นใหม่)
 
 
"ประชาชนคือคนทุกคนที่อยู่ในที่นี้ คือทั้งประเทศ แต่ว่าตัวภาคประชาชนที่มันเกิดขึ้นมามันอาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่ง คือเป็นแค่ตัวแทนของประชาชนบางกลุ่ม ในบทบาทของตัวเอ็นจีโอเอง... ในความคิด น่าจะเป็นแค่คนที่ทำอะไรร่วมกับชุมชน อาจจะมีข้อมูลให้กับชุมชนแต่ไม่ใช่การนำความคิด"
 
000
 
 
ตอน 12 เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นสากล เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
 
 
“ภาคประชาชนเข้าใจว่าน่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชน ที่กลุ่มประชาชนเหล่านั้นก็ยอมรับว่าเขาเป็นจริงๆ ไม่ใช่ว่าเราอ้างตัวเป็นตัวแทนภาคประชาชน ทำอะไรก็อ้างว่าเป็นตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาชนคิดอย่างนั้นอย่างนี้ อันนี้ไม่น่าจะใช่ ผมรู้สึกว่าต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนเหล่านั้นที่เขาพูดถึงด้วย”
 
“เอ็นจีโอควรจะมีส่วนในการเข้าไปสนับสนุนมากกว่าเป็นคนที่นำหน้า ... คือมันเหมือนเกี่ยวเนื่องกับภาคประชาชน คือภาคประชาชนคิดอย่างไร เอ็นจีโอก็น่าจะไปมีส่วนช่วยผลักดัน แล้วก็วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ภาคประชาชนต้องการจะไปจริงๆ มันน่าจะเป็นอย่างไรร่วมกับตัวประชาชนเอง ควรจะสนับสนุนเขาเหล่านั้น”
 
“ในอนาคตตัวชาวบ้านอาจจะเลิกพึ่งเอ็นจีโอได้ด้วยซ้ำ ถ้าชาวบ้านพัฒนาในลักษณะของเอาแกนนำที่เป็นเยาวชน ลูกหลานของชาวบ้านเอง มาผลักดันประเด็นงานของเขาจริงๆ มาทำงานแทนเขาจริงๆ แทนที่จะเอาคนข้างนอก เอาเอ็นจีโอข้างนอกมาทำงานแทนเขา”
 
.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กกต.พม่าประกาศวันเลือกตั้ง 7 พ.ย.

Posted: 13 Aug 2010 11:14 AM PDT

ทีวีพม่าแจ้งประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพ ระบุ 7 พ.ย. นี้เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดรับสมัคร ส.ส. 16 - 30 ส.ค. ทั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ขณะที่กฎหมายเลือกตั้งคุมเรื่องพรรคการเมืองหาเสียง แถมกัน "ออง ซาน ซูจี" และนักโทษการเมืองกว่า 2 พันคน พ้นเวทีเลือกตั้ง

วานนี้ (13 ส.ค.) ทางสถานีโทรทัศน์ MRTV ของรัฐบาลทหารพม่า มีการอ่านประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพ (The Union Election Commission) ฉบับที่ 89/2010 ลงวันที่ 13 ส.ค. ประกาศว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพจะจัดการเลือกตั้งในระบบหลายพรรคการเมือง เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาลุดด่อ หรือสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 7 พ.ย. 2553 โดยท้ายคำสั่งลงนามโดย ถั่น ซอ (Thein Soe) ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพ

นอกจากนี้ยังมีประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพ ฉบับที่ 90/2010 ลงวันที่ 13 ส.ค. โดยเนื้อหามี 4 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง วันที่จะลงทะเบียนรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาลุดด่อ คือวันที่ 16 ส.ค. 2553

สอง วันสุดท้ายของการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาลุดด่อ คือ วันที่ 30 ส.ค. 2553 สาม วันที่จะมีการพิจารณารายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งคือวันที่ 6 ถึง 10 ก.ย. 2553 สี่ วันสุดท้ายที่จะถอนรายชื่อผู้สมัคร หากผู้สมัครคนใดมีความต้องการคือวันที่ 3 ก.ย. 2553 คำสั่งลงนามโดย ถั่น ซอ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งแห่งสหภาพ

ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่ามีการผ่านกฎหมายและข้อบังคับหลายฉบับ ซึ่งถูกวิจารณ์จากนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ซึ่งถูกกักบริเวณ และนานาชาติว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นธรรม

โดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางออง ซาน ซูจี ได้ปฏิเสธร่วมการเลือกตั้ง และตามกฎหมายเลือกตั้งของรัฐบาลทหารพม่าทำให้พรรคถูกยุบโดยอัตโนมัติ เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียนพรรคการเมืองภายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ กฎหมายการเลือกตั้งฉบับใหม่ มีผลทำให้นักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังกว่า 2,000 คน ไม่สามารถร่วมการเลือกตั้งได้ โดยในจำนวนนี้มีนางออง ซาน ซูจี และ เจ้าขุนทุนอู ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยรัฐฉาน (เอสเอ็นแอลดี) พรรคการเมืองอันดับ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2533 รวมอยู่ด้วย

กฎหมายการเลือกตั้งที่เข้มงวด ยังได้ห้ามพรรคการเมืองตะโกน เดินขบวน หรือกล่าวถ้อยคำใดๆ ระหว่างเดินรณรงค์หาเสียงที่ทำให้ภาพพจน์ของประเทศเสื่อมเสีย

ขณะที่อดีตสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีส่วนหนึ่ง ได้แยกตัวออกจากพรรคเอ็นแอลดี ได้ไปตั้งพรรคใหม่ คือ พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ (the National Democratic Force) หรือ เอ็นดีเอฟ หวังนำภาพลักษณ์ของพรรคเดิมไปหาเสียง อย่างไรก็ตามนางออง ซาน ซูจี กล่าวผ่านทนายความส่วนตัว ว่านางไม่พอใจกับการแยกไปตั้งพรรคใหม่

ทั้งนี้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2533 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว พรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งท่วมท้นได้รับคะแนนเลือก 392 ที่นั่ง จากทั้งหมด 492 ส่วนพรรคเอสเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งทั่วรัฐฉานได้ ส.ส. ทั้งหมด 23 ที่นั่ง เป็นพรรคอันดับ 2 ขณะที่พรรคการเมืองที่หนุนหลังโดยทหารคือพรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party) หรือเอ็นยูพี ได้รับเลือก 10 ที่นั่งเท่านั้น แต่รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สวรส.หนุนกม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เน้นแก้ปัญหามากกว่าเพ่งโทษ

Posted: 13 Aug 2010 11:14 AM PDT

รายงานเสวนา กรณีการเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข นักวิชาการระบุ การขึ้นศาลหาคนผิดไม่ใช่คำตอบ ปัญหาอยู่ที่ระบบไม่ใช่คน จึงต้องแก้ด้วยระบบ ประสบการณ์ใช้ระบบไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด พบข้อดีชัดเจน

จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสาธารณสุข กับกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย ผู้บริโภค กรณีการเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ยังมีอีกหลายประเด็นที่เป็นประเด็นขัดแย้งและยังไม่มีผู้ใดให้ความกระจ่าง ชัดกับสังคมได้

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวร ส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านวิชาการ ติดตามศึกษาประเด็นต่างๆ ของนโยบายด้านสาธารณสุข ทั้งในแง่หลักการและผลที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จึงจัดงาน “กม.คุ้มครองผู้ป่วย!! ประสบการณ์ต่างแดน : เรียนรู้และเข้าใจก่อนตัดสินใจ” ขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553

หนึ่งในประเด็นคำถามที่สังคมยังคง สับสน คือ กฎหมายนี้กำหนดให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงิน ชดเชยได้ทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งฝ่ายที่คัดค้านมองว่าจะทำให้เกิดการร้องเรียนพร่ำเพรื่อ สร้างภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน และรัฐอาจจะต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็น

รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง

รศ.ดร.ลือ ชัย ศรีเงินยวง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้มา โดยตลอด อธิบายว่า ความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาความผิด พลาดทางการแพทย์ (medical error) และความผิดพลาดมากมายที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดพลาดของบุคคล แต่เป็นเรื่องของระบบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยความขัดแย้ง หรือการฟ้องร้อง

โดยที่ความเสียหายทางการแพทย์นั้น เกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่มีประเทศใดหรือองค์กรใดสามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ หรือหลายประเทศในยุโรปก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นประเด็นทางสังคมว่าเราจะจัดการอย่างไร

“สังคมทั้งสังคมเป็นสังคมแห่งการเพ่ง โทษและการหาแพะ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาก็ต้องหาว่าใครเป็นคนผิด เราไม่พูดกันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น แพะ ก็คือสังคมทั้งสังคม เพราะเรามีระบบที่มันไม่ปลอดภัย ระบบที่มันไม่สมบูรณ์ การมองว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องของระบบ หรือเป็นเรื่องของแพะ เป็นเรื่องที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในหลายประเทศมันเกิดวิกฤติการฟ้องร้องจนนำไปสู่ระบบการแก้ปัญหาโดยไม่ พิสูจน์ถูกผิด” รศ.ดร.ลือชัย กล่าว

การขึ้นศาลหาคนผิดไม่ใช่คำตอบ
รศ.ดร.ลือ ชัย อธิบายถึง หลักคิดเบื้องหลังของการฟ้องร้องว่า เชื่อกันว่าค่าใช้จ่ายที่แพทย์หรือโรงพยาบาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ป่วยเพื่อชด เชยนั้น จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดความระมัดระวังมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ตัวเลขในต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า คนไข้ที่เสียหายมีไม่ถึงร้อยละสิบที่มีโอกาสฟ้องร้องได้ และน้อยมากที่ได้รับการชดเชย นอกจากนี้กระบวนการฟ้องร้องยังใช้เวลานาน เงินที่จะได้รับมากกว่าครึ่งต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการฟ้องร้อง การฟ้องร้องยังนำไปสู่การไม่ไว้ใจกัน เกิดการปิดบังซ่อนเร้น เกิดความไม่โปร่งใสในระบบข้อมูล โอกาสที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดก็เสียไปด้วย

รศ.ดร.ลือ ชัย สรุปประเด็นนี้ว่า เกือบทุกประเทศที่เราศึกษามาเห็นว่า การฟ้องร้องไม่ใช่คำตอบ เพราะเป็นการทำลายระบบสุขภาพทั้งระบบ ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย การฟ้องร้อง เป็นวัฒนธรรมของการตำหนิเพ่งโทษ ไม่เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นกระบวนการเชิงลบ เน้นไปที่ความผิดของปัจเจก และนี่คือเหตุผลว่าทำไมหลายประเทศจึงเลือกระบบการชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก ผิด

ปัญหาอยู่ที่ระบบไม่ใช่คน จึงต้องแก้ด้วยระบบ
ส่วนหลักคิดของระบบไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดนั้น รศ.ดร.ลือ ชัย กล่าวว่า มาจากการมองว่า ความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ควรจะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม โดยต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเกิดมาจากการใช้บริการทางการแพทย์ไม่ใช่ พิสูจน์ว่าใครเป็นคนทำผิด เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความผิดพลาดของระบบไม่ใช่ ความประมาทเลินเล่อของปัจเจก ระบบจึงต้องเข้ามารับผิดชอบ การที่หมอคนหนึ่งทำงานหนัก ต้องอยู่เวร คนไข้เทกระจาดกันเข้ามาจึงเกิดความผิดพลาดได้ ตรงนี้เป็นปัญหาของระบบไม่ใช่ปัญหาของคน สังคมจึงต้องออกแบบระบบเข้ามารองรับ

“ลักษณะของกลไกแบบนี้จะทำให้รู้สึก ปลอดภัยจากการถูกคุกคาม คนที่ผิดพลาดจะมีความจริงใจมากขึ้นในการเอาความผิดพลาดมาเป็นทางแก้ไข นำไปสู่การสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ในระยะยาวจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย และเชื่อว่ากลไกแบบนี้จะเป็นทางเลือกให้คนไม่เลือกที่จะฟ้องร้อง” รศ.ดร.ลือชัย กล่าวสรุปถึงข้อดีของระบบการไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

ประสบการณ์ใช้ระบบไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด พบข้อดีชัดเจน
ขณะที่ทางด้าน นายวิญญู พิทักษ์ปกรณ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เล่าถึงประสบการณ์ของการใช้ระบบชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2546 ว่า ระบบนี้บรรเทาความเสียหายให้กับทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการไปควบคู่กัน ทางโรงพยาบาลเองสามารถยื่นคำร้องแทนผู้ป่วย และเมื่อผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือก็จะบรรเทาความเดือดร้อนทั้งสองฝ่าย เกิดความรู้สึกดีทั้งผู้ให้และผู้รับ

นายวิญญูได้เล่าถึงสถิติ การใช้ระบบการชดเชยตามมาตรา 41 ว่า จนถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้มีคำร้องยื่นมา 3,284 ราย และเข้าเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือถึง 2,719 ราย คิดเป็น 82.8 เปอร์เซ็นต์ โดยในปีแรกๆ จำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่มากนัก คือ 99 ราย แต่ในปี 2552 จำนวนพุ่งขึ้นไปถึง 810 ราย ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการจนกระทั่งผู้เสียหายได้รับเงินก็มีแนวโน้มจะใช้ เวลาน้อยลงเรื่อยๆ สำหรับเงินที่กันไว้ทุกปีเพื่อจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ยกเว้นปี 2551 ไม่ได้กันเพราะขณะนั้นมีเงินเหลือเยอะ คิดเป็นประมาณ 336 ล้านบาท และจ่ายไปแล้ว 296 ล้านบาท

ซึ่งนายวิญญูกล่าวอีกว่า สรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน ในฝ่ายผู้รับบริการพอใจกับระบบของการช่วยเหลือเบื้องต้นสูงมาก ผู้รับบริการได้รับความช่วยเหลือรวดเร็ว สามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากการสูญเสียได้ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการยังมีความสัมพันธ์ที่ดี ส่วนฝ่ายผู้ให้บริการตอนแรกเกิดปัญหาเยอะ ต่อมาเมื่อเข้าใจระบบมากขึ้นปัญหาก็คลี่คลาย และผู้ให้บริการจะตระหนักถึงคุณภาพมาตรฐานการบริการมากขึ้น

ที่มา: http://ilaw.or.th/node/517

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกษียร เตชะพีระ : ความตายที่รอคำตอบของฟาบิโอ

Posted: 13 Aug 2010 10:58 AM PDT

 

ภาพถ่ายหน้าศพฟาบิโอ โพเลนกีในงานฌาปณกิจศพที่วัดคลองเตยใน, ๒๔ พ.ค. ๒๕๕๓

รายงานพิเศษของ The Committee to Protect Journalists (CPJ คณะกรรมการปกป้องนักข่าว – อันเป็นองค์การอิสระที่ไม่แสวงกำไรเพื่อส่งเสริมเสรีภาพหนังสือพิมพ์ทั่วโลกด้วยการปกป้องสิทธิของนักข่าวที่จะรายงานข่าวโดยไม่ต้องกลัวถูกเล่นงานตอบโต้) เรื่อง “In Thailand unrest, journalists under fire” (ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่ – http://www.cpj.org/reports/2010/07/in-thailand-unrest-journalists-under-fire.php) เขียนโดย Shawn W. Crispin ผู้แทนอาวุโสของ CPJ ประจำเอเชียอาคเนย์และเผยแพร่เมื่อ ๒๙ ก.ค. ศกนี้ได้ระบุถึงกรณีสังหารฟาบิโอ โพเลนกีว่า: ‐

ในกรณีการยิงโพเลนกี, การสอบสวนที่อึมครึม

การตายของฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพชาวอิตาลี เป็นศูนย์รวมเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉบับต่าง ๆ ที่มาประชันขันแข่งกัน โพเลนกีวัย ๔๘ ปีถูกฆ่าด้วยกระสุนปืนเช้าวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ศกนี้ระหว่างรายงานข่าวปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่ผู้ชุมนุมออกจากบริเวณถนนราชดำริอันเป็นเขตพื้นที่การชุมนุมประท้วงที่ซับซ้อนพิสดารซึ่งนปช.ได้สร้างขึ้นในย่านการค้าสุดยอดของกรุงเทพฯ

แบรดลี คอกซ์ นักทำหนังสารคดีผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เล่าว่าเช้าวันนั้นก่อนเกิดเหตุทหารได้ยิงปืนประปรายจากด้านหลังเครื่องกีดขวางเข้าใส่พื้นที่ห่างออกไป ๒๐๐ เมตรซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของนปช. คอกซ์บอกว่าทั้งเขากับโพเลนกีได้บันทึกภาพผู้ประท้วงคนหนึ่งถูกยิงที่ขาเวลาประมาณ ๑๐.๔๕ น.

เวลา ๑๐.๕๘ น. เมื่อรู้สึกว่าการยิงสงบลงพักหนึ่ง คอกซ์เล่าว่าเขาก็ออกจากบังเกอร์ที่นปช.คุมอยู่ไปยังถนนที่เกือบโล่งร้างเพื่อสืบดูว่าความปั่นป่วนวุ่นวายในหมู่ผู้ประท้วงห่างไปราว ๓๐ – ๔๐ เมตรนั้นมันเรื่องอะไรกัน คอกซ์บอกว่าเขาเชื่อว่าโพเลนกีตามหลังเขาไปห่างกันไมกี่ก้าว ขณะวิ่งไปตามถนน คอกซ์รู้สึกปวดแปลบด้านข้างของขา ปรากฏว่ากระสุนนัดหนึ่งเฉี่ยวหัวเข่าเขาบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อเขาหันกลับไปมองในทิศทางของกองทหาร เขาก็เห็นโพเลนกีแผ่หราอยู่กับพื้นข้างหลังเขา ๒ – ๓ เมตร ตอนนั้นโพเลนกีสวมหมวกกันน็อคสีฟ้าเขียนคำว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” ทั้งหน้าหลังและติดปลอกแขนสีเขียวเพื่อบอกว่าเขาเป็นนักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่

“ตอนนั้นผมรู้สึกว่าเราถูกยิงพร้อมกันเป๊ะเลย บางทีอาจจะโดยกระสุนนัดเดียวกันด้วยซ้ำไป” คอกซ์กล่าวและเสริมว่าเขาไม่ได้ยินเสียงปืนหนึ่งหรือหลายนัดที่ยิงถูกเขาหรือโพเลนกี “ผมไม่รู้ว่าใครยิงผมหรือฟาบิโอ แต่ถ้าทหารกำลังพยายามยิงพวกเสื้อแดงละก็ มันไม่มีใครอยู่รอบตัวพวกเราเลยนี่ครับ … ทหารกำลังยิงใส่สิ่งของหรือผู้คนแบบไม่เลือก”

ภาพวีดิโอที่คอกซ์ถ่ายเหตุการณ์บรรดานักข่าวและผู้ประท้วงช่วยกันหามร่างโพเลนกีออกจากถนนขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ไปยังโรงพยาบาลแถวนั้นดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่ากระสุนเจาะเข้าตัวโพเลนกีทางใต้รักแร้ซ้ายและทะลุออกสีข้าง รายงานข่าวต่าง ๆ ระบุว่าเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อไปถึงโรงพยาบาลในท้องที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงานว่าพบหัวกระสุนใด ๆ

ครอบครัวของโพเลนกีได้แสดงความห่วงกังวลที่รัฐบาลสนองตอบต่อการตายของเขาอย่างอึมครึม อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขาบอก CPJ ว่าครอบครัวเธอได้ร้องขอรายงานชันสูตรพลิกศพทางการครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ยังไม่ได้รับ เธอกล่าวว่าตำรวจกับกระทรวงยุติธรรมบอกเล่าขัดกันว่าตำแหน่งบาดแผลของน้องชายเธออยู่ตรงไหนแน่ ซึ่งเธอเองก็ไม่ทันได้เห็นร่างเขาก่อนฌาปณกิจศพ เธอยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าทรัพย์สินส่วนตัวของโพเลนกีหลายรายการรวมทั้งกล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์หายไป ความขัดแย้งและคลุมเครือทำนองนี้ทำให้เธอยิ่งหวั่นวิตกว่าโพเลนกีอาจถูกหมายหัวในฐานที่เป็นนักข่าวก็เป็นได้

เธอกับเพื่อนร่วมงานของโพเลนกีกลุ่มหนึ่งจึงร่วมกันปะติดปะต่อวีดิโอคลิปต่าง ๆ ที่บ้างก็ได้จากนักข่าวผู้อยู่บริเวณข้างเคียงกับโพเลนกีและบ้างก็ดาวน์โหลดจากแหล่งไม่ทราบชื่อบนอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวก่อนและหลังการยิง เท่าที่ทราบไม่มีฟิล์มภาพตัวเหตุการณ์การยิงนั้นเอง วีดิโอคลิปอันหนึ่งแสดงภาพชายใส่หมวกกันน็อคสีเงินที่ไม่รู้ว่าเป็นใครเข้าถึงตัวโพเลนกีหลังถูกยิงเป็นคนแรก ฟิล์มภาพสั้น ๆ นั้นแสดงภาพเขาคลำไปรอบอกโพเลนกีและกระแทกเข้ากับกล้องถ่ายรูปของโพเลนกีอยู่ประเดี๋ยวหนึ่ง ขณะที่ชายใส่หมวกกันน็อคสีเหลืองที่ไม่รู้ว่าเป็นใครอีกคนคุกเข่าลงและถ่ายรูปโพเลนกีไว้

ฟิล์มภาพของคอกซ์ดูจะแสดงภาพชายคู่เดียวกันอยู่ในหมู่คนที่เคลื่อนย้ายร่างของโพเลนกีออกจากถนนไปขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ที่พาเขาไปโรงพยาบาล ภาพของชายใส่หมวกกันน็อคสีเงินถูกตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมติชน แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าเขากับชายใส่หมวกกันน็อคอีกคนหนึ่งนั้นเป็นใครกันแน่ อิซาเบลลา โพเลนกีกล่าว

นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาลไม่ตอบคำถามจาก CPJ เกี่ยวกับการยิงโพเลนกี รวมทั้งคำกล่าวอ้างที่ว่าตอนนั้นทหารยิงไม่เลือกหน้า หรือรายละเอียดของกรณีการยิงรายอื่น ๆ นายเสก วรรณเมธี อัครราชทูตของสถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตันตอบข้อห่วงใยของ CPJ กว้าง ๆในจดหมายลงวันที่ ๑๔ มิถุนายนว่ารัฐบาลเสียใจที่เกิดการสูญเสียชีวิตและยึดมั่นที่จะสืบสวนกรณีการตายทั้งหลายอย่างเต็มที่และเที่ยงธรรม…..”

ล่าสุด Shawn Crispin ยังได้รายงานความคืบหน้ากรณีนี้ไว้ในเว็บบล็อกของ CPJ เมื่อวันที่ ๒ ส.ค. ศกนี้ภายใต้หัวข้อ “In Polenghi case, autopsy shared but more needed” (ในคดีโพเลนกี เผยผลชันสูตรพลิกศพแล้ว แต่ต้องทำมากกว่านี้) http://cpj.org/blog/2010/08/in-polenghi-case-autopsy-shared-but-more-needed.php ว่า: ‐

…..อย่างไรก็ตาม กว่าสองเดือนต่อมา (หลังการตายของฟาบิโอ) มันก็ไม่ปรากฏชัดว่าทางการไทยกำลังพยายามทำดีที่สุดเพื่อไขคดีนี้ให้กระจ่างและนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

 

อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขา ได้แสดงความห่วงใยดังกล่าวนั้น ณ ที่แถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ (ที่ ๓๐ กรกฎาคม ศกนี้) ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ ทาง CPJ เราได้ร่วมขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง “ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่” ซึ่งสืบสวนกรณีการตายและบาดเจ็บต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้กับนักข่าวในประเทศไทย รวมทั้งการยิงโพเลนกีจนเสียชีวิตด้วย

ในบรรดาข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของเรา CPJ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยร่วมมือกับผู้สืบสวนอิสระและเปิดเผยผลการชันสูตรพลิก ศพทางการ รวมทั้งหลักฐานเชิงนิติเวชอื่น ๆ ปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้ตอบสนองผลการสืบสวนของเราอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แม้ว่าดูเหมือนทางราชการจะรับฟังข้อเสนอแนะของ CPJ ประการหนึ่ง

ในวัน พฤหัสบดี (ที่ ๒๙ กรกฎาคม ศกนี้) อันเป็นวันเผยแพร่รายงานของ CPJ ข้างต้น ตำรวจกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้พบกับอิซาเบลลา โพเลนกีเป็นการส่วนตัวและนำผลการชันสูตรพลิกศพคดีพี่ชายของเธออย่างเป็นทาง การให้เธอเป็นครั้งแรก ตำแหน่งบาดแผลที่แน่ชัดของโพเลนกีจะเป็นร่องรอยให้สืบเสาะได้ว่าเขาถูกยิง โดยทหารจากระดับพื้นถนนหรือโดยผู้ประท้วงที่อยู่บนตึกข้างเคียง

ในที่ แถลงข่าว อิซาเบลลา โพเลนกี ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการชันสูตรพลิกศพและเน้นว่าเป้าหมายของการพบปะกับทาง เจ้าหน้าที่ซึ่งสถานทูตอิตาลีช่วยจัดให้นั้นก็เพื่อ “ร่วมด้วยช่วยกัน”และหาทางประกันให้มั่นใจว่าการสืบสวนของของทางการ “กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษถือ การค้นหากล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์ของโพเลนกีที่หายไปคืนมาเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนอื่นทั้งด้วยเหตุผลทางนิติเวชศาสตร์และทางอารมณ์ความรู้สึก

อิซาเบล ลา โพเลนกีกล่าวว่าเธอเข้าใจว่าการ สืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ “อาจนานหลายปี”แต่ก็บอกว่าถ้าหากไม่มี “ความรุดหน้า” ใด ๆ ในสองเดือนข้างหน้าแล้วเธอก็คงจะกลับมาเมืองไทยอีกเพื่อกดดันในเรื่องที่เธอ ห่วงใย

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

พรรคพวกเพื่อนฝูง ของฟาบิโอซึ่งหลายคนเป็นนักข่าวชาวต่างชาติผู้มาหลงรักเมืองไทย อาศัยอยู่เป็นเหย้าและตั้งใจจะเอาเป็นเรือนตายเหมือนกัน ได้เล่าให้ฟังว่าพวกเขาพิศวงงงงันมากว่าเพราะเหตุใดก็ไม่รู้หน่วยราชการต่าง ๆ ไม่ว่าอำอวด, อีเอสไอ, หรืออ๋ออออ๋อ ต่างพากันยัวะเป็นฟืนเป็นไฟที่พวกเขาพยายามร่วมด้วยช่วยกันหาความกระจ่าง เกี่ยวกับสภาพการณ์การตายของฟาบิโอ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าใครเป็นคนเอาการ์ดบันทึกข้อมูล (memory card) และกล้องถ่ายรูปของฟาบิโอไป รวมทั้งช่วยกันจัดแถลงข่าวให้ อิซาเบลลา น้องสาวของฟาบิโอ

แล้วจู่ ๆ เพื่อนชาวอเมริกันที่นำภาพวีดิโอที่เขาถ่ายไว้ตอนฟาบิโอตายมาเปิดเผยก็ถูก ดำเนินการขับไล่ออกจากประเทศและข้างภรรยาที่เป็นคนไทยของเพื่อนคนนั้นก็ถูก คุมตัวด้วยอำนาจพิเศษ, โทรศัพท์บางเบอร์ที่เพื่อน ๆ ของฟาบิโอใช้ติดต่อประสานงานกันก็ชักมีอาการรบกวนแปลก ๆ, เวลาพวกเขาไปไหนมาไหนก็มีคนหน้าตาบ้องแบ๊วคอยติดตามยังกับนิยายสืบสวนสอบ สวน…..
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รัฐมนตรีองอาจ คล้ามไพบูลย์, อธิบดีธาริต เพ็งดิษฐ์, โฆษกปณิธาน วัฒนายากร, ผู้การสรรเสริญ แก้วกำเนิด – ไม่แปลกหรือครับที่หน่วยงานราชการซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบสืบสวนสอบสวนหาความ จริงทุกกรณีการตายที่เกิดขึ้นช่วงเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ผ่านมา – ทั้งการตายของฟาบิโอและคนไทยกับชาวต่างชาติอื่น ๆ อีก ๙๐ คน – ดูเหมือนจะพยายามนานัปการที่จะไม่ให้คนอื่นเขาทำความจริงให้ปรากฏต่อ สาธารณะ?

พวกคุณกลัวอะไรหรือครับ?

..................
ที่มา : เผยแพร่ครั้งแรก ในมติชนรายวัน 13 สิงหาคม 2553

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปัญหาชายแดนไทย-พม่า ทำการค้าหด 80 ล้านบาทต่อวัน

Posted: 13 Aug 2010 10:32 AM PDT

ผลกระทบทางการค้าจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีด่านชายแดนไทย พม่า ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ว่า ทำให้มูลค่าการค้าหดตัวลงถึงวันละ 80 ล้านบาท ซึ่งจากการปิดพรมแดนในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา

เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึงผลกระทบทางการค้าจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีด่านชายแดนไทย พม่า ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ว่า ทำให้มูลค่าการค้าหดตัวลงถึงวันละ 80 ล้านบาท ซึ่งจากการปิดพรมแดนในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยด่วน เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามไปยังเขตพรมแดนอื่น ๆ โดยเฉพาะด่านชายแดนไทย-กัมพูชา ที่แม้ตอนนี้จะยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็เป็นที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก

ด้านแพทย์หญิงประภา วงศ์แพทย์ ประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการสุขภาพ หอการค้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้หอการค้าอยู่ระหว่างเตรียมการสร้างโครงข่ายธุรกิจบริการสุขภาพด้วยการดึงภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเข้ามาทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ ซึ่งหากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันวางกลยุทธ์ ดึงผู้ป่วยต่างชาติให้เดินทางเข้ามารับบริการด้านสุขภาพในเมืองไทย ก็จะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนกระจายไปในภาคอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การท่องเที่ยว โรงแรม ศูนย์การค้า

ระหว่างนี้อยู่ในขั้นรวบรวมภาคีเครือข่าย ซึ่งหากสรุปได้ชัดเจนแล้วจะสามารถประมาณการรายได้ชัดเจน เบื้องต้นคาดว่าจะทำเงินเข้าประเทศได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 35,000 ล้านบาท

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ http://www.thannews.th.com

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานพิเศษ: คลี่ปมเยียวยา(ตอนที่3) สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง

Posted: 13 Aug 2010 09:59 AM PDT

เปรียบเทียบตัวเลขการเยียวยากลุ่มเสื้อแดงกับผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อผู้สูญเสียในทางการเมืองได้รับเงินช่วยเหลือสูงกว่าเท่าตัวถ้าเทียบกับประชาชนทั่วไปในชายแดนใต้

 

เทียบตัวเลขการเยียวยาเสื้อแดง

ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านจนมีผู้เสียชีวิตถึง 88 คน รัฐบาลได้ควักเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ด้วย ทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายและชดเชยเรื่องการประกอบอาชีพ

หากเปรียบเทียบการให้เงินช่วยเหลือเฉพาะผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกับการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าต่างกันเท่าตัว รัฐบาลได้มอบเงินชดเชยให้แก่ครอบครัวญาติผู้เสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร ศพละ 400,000 บาท และกระทรวงสาธารณสุขมอบให้อีก 50,000 บาท ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บรายละ 6 หมื่นบาท บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

ในขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้สำหรับประชาชนทั่วไป กรณีเสียชีวิตศพละ 100,000 บาท บาดเจ็บให้เงินช่วยเหลือตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 80,000 บาท ส่วนประชาชนที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือราชการในการรักษาความสงบในพื้นที่ที่เสียชีวิต ศพละ 200,000 บาท ส่วนบาดเจ็บให้การช่วยเหลือเหมือนประชาชนทั่วไป

ยกฟ้อง - แต่ไม่ได้รับเงินชดเชย

การใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และกฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายอาญา ส่งผลกระทบให้กับญาติพี่น้องพอสมควร เนื่องจากหลายคนเป็นกำลังหลักของครอบครัว จึงมีการเรียกร้องให้มีการชดเชยในส่วนนี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว

นายแพทย์สุภัทร กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเรียกร้องไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการชดเชยผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายปกติและกฎหมายพิเศษทั้งหลายที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธโดยระบุว่า ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องการช่วยเหลือเยียว แต่เป็นเรื่องกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

กล่าวสำหรับผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีคดีที่ขึ้นสู่ศาลและมีคำพิพากษารวม 216 คดี จากทั้งหมด 7,004 คดี แต่ศาลตัดสินลงโทษเพียง 130 คดี ยกฟ้องถึง 86 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ขอคดีที่ขึ้นสู่ศาล

ทั้ง 7,004 คดี แยกเป็นคดีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 1,388 คดี อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 562 คดี โดยในปี 2552 ปีเดียว มีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวมากถึง 548 คน

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา ไม่มีผู้ที่ถูกยกฟ้องแม้แต่รายเดียวในคดีความมั่นคงที่ได้รับการชดเชยในระหว่างถูกคุมขัง จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดยะลาให้เหตุผลว่า ศาลไม่ได้ยกฟ้องเพราะไม่ได้กระทำผิด แต่ยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานอ่อน จึงมีการอุทธรณ์ไปอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 จำนวนมาก แต่ยังไม่มีคำสั่งอุทธรณ์ใดๆ ออกมา

การเยียวยาของภาคประชาชน

ภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากนอกพื้นที่ ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อยู่ไม่น้อย ทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของฝ่ายรัฐด้วย ในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าเข้าไปทำงาน

นางเตะหาวอ สาและ หัวหน้าศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า หลายเรื่องที่องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่มีส่วนจุดประกายหลายเรื่องให้กับรัฐ จนกลายมาเป็นหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในปัจจุบัน

หลายองค์กรที่ลงไปทำงาน ไม่ว่าการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ชาวบ้าน การช่วยเหลือกลุ่มสตรีหรือเด็กกำพร้า ซึ่งหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งขึ้นมา จนสามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย

ตัวอย่างกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่สามารถรวมตัวขึ้นมาได้ เช่น กลุ่มสตรีสานสัมพันธ์สู่สันติสุข (สอซิกหรือ ส.6) ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้หญิงทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม มีนางณัฐกานต์ เต๊ะละ ผู้สูญเสียลูกชายการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นประธานกลุ่ม

กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้า เยี่ยมเยียนและฟื้นฟูจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งติดตามสิทธิอันควรจะได้รับของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาครัฐ และจัดหาและส่งเสริมอาชีพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ในขณะที่หลายองค์กรได้พัฒนารูปแบบขยายบทบาทและกิจกรรมออกไป

นายเตะหาวอ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมจำเป็นต้องทำงานเยียวยาอีกหรือไม่ ในเมื่อการเยียวยาได้เข้าสู้ระบบของราชการแล้ว บทบาทที่ดีที่สุดขององค์กรภาคประชาสังคมคือ การเป็นชุมทางในการนำผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่ระบบการเยียวยาของรัฐ เป็นเพียงผู้ประสานงาน

“อีกบทบาทที่สำคัญคือ การตรวจสอบเรื่องการใช้งบประมาณในการเยียวยา เนื่องมีงบประมาณจำนวนมากที่ลงมาในพื้นที่ งบเหล่านี้ถูกตัดตอนก่อนถึงมือผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ หรือไม่ มีการใช้งบประมาณอย่างไร ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องยอมให้มีการตรวจสอบด้วย” นางเตะหาวอ กล่าว

เยียวยาด้วยการให้ความยุติธรรม

กระบวนการยุติธรรมที่เป็นปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการก่อความไม่สงบ หลายคนปฏิเสธการช่วยเหลือเยียวยาจากจากรัฐ แต่ต้องการให้รัฐให้ความยุติธรรมมากกว่า

อย่างกรณีของนายนิเลาะ บาเห๊ะ อายุ 16 ปี ชาวบ้านตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งถูกอาสาสมัครทหารพรานยิงเสียชีวิตหลังเรียกตรวจ แต่นายนิเลาะขับรถจักรยานยนต์หนี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552กรณีนี้ฝ่ายทหารพรานเสนอชดใช้ 290,000 บาท

ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดยะลา เป็นโจทย์ยื่นฟ้องอาสาสมัครทหารพรานนิรันดร์ หนูเชื้อเป็นจำเลยในข้อหาทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายอัตราโทษจำคุก 3 – 15 ปี แต่นายนิแม พ่อของนายนิเลาะ ได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ โดยอ้างว่า ก่อนหน้านั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่า

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา กล่าวว่า พ่อของนายนิเลาะต้องการให้ตั้งข้อหาพยายามฆ่า ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาเช่นเดียวกับคดีความมั่นคงอื่นๆในพื้นที่ ไม่ใช่คดีทะเลาะกัน แล้วมีการทำร้ายร่างกาย

ต่อมาศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยสารภาพ จึงลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยช่วยเหลือราชการ และได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ญาติผู้ตายไปแล้ว รวมทั้งไม่เคยติดคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอไว้ก่อน 1 ปี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์

การเยียวยาคุณภาพ

จากปัญหาเรื่องเงินเยียวยาที่มีอยู่มากมายทำให้เกิดแนวคิดเรื่อง การเยียวยาคุณภาพขึ้นมาโดยการผลักดันของมูลนิธิเพื่อการเยียวและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้

นพ.สุภัทร กล่าวถึงถึง การเยียวยาคุณภาพว่า จุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้มาจากที่การให้เงินชาวบ้าน 1 แสนบาทขึ้นไปนั้น พบว่าใช้หมดไปภายในเดือนเดียว เช่น นำไปชำระหนี้ โอกาสที่เงินก้อนนี้จะถูกนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตน้อยมาก

“บทเรียนสำคัญที่ทีมผมได้สัมผัส คือบทเรียนของ อาจารย์ปิยะ กิจถาวร (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) ที่ช่วยเหลือคนยากลำบาก ด้วยการให้เงินทุน 5,000 บาท เพื่อพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน”

ยกตัวอย่างที่อำเภอจะนะ มีคนสานเศษกระจูด เดิมเขาซื้อกระจูดมาทีละนิด เนื่องจากไม่มีทุน สานเสร็จก็รอคนมารับซื้อผืนละ 40 บาท วันหนึ่งสานได้อย่างมากก็ 2 ผืน แต่พอได้เงินทุน 5,000 บาท เขาสามารถซื้อเศษกระจูดได้มากขึ้น สานเสร็จก็ไม่ต้องรีบขายเพราะมีทุนอยู่ รอเอาไปขายวันตลาดนัด จะราคาก็สูงขึ้น เป็นต้น

วงจรจากเงิน 5,000 บาท ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่เงินนี้ต้องชำระคืน รูปธรรมอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่น่าจะนำมาใช้กับงานเยียวยา ให้คนที่ยากลำบากทางเศรษฐกิจ สามารถใช้เงินจำนวนน้อยแต่ยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้ เราก็เลยเรียกแนวคิดนี้ว่า เยียวยาคุณภาพซึ่งมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ ได้รับแนวคิดนี้มาดำเนินการต่อไป โดยเน้นกลุ่มผู้หญิง กลุ่มสตรีหม้ายที่ยากจน เด็กกำพร้า ผู้หญิงที่สามีเสียชีวิต ทุพพลภาพ และมีลูกหลายคน

“การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนมันต้องเกิดจากความไว้วางใจและการเห็นอกเห็นใจกันของคนในชุมชน ซึ่งการเยียวยาคุณภาพแบบนี้จะช่วยได้เยอะ” นายแพทย์สุภัทร กล่าว

 มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง (วันที่ 26 พฤษภาคม 2553)

มาตรการ

                            มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

มาตรการช่วยเหลือจากภาคเอกชน

กลุ่มผู้ประกอบการ

ค้าขายรายย่อย

 

1.ครม.จ่ายเงินให้เปล่าช่วยเหลือให้เป็นกรณีพิเศษ รายละ 50,000 บาท

2.เจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่เก็บค่าเช่า 1 เดือนแล้วรัฐบาลจะไปเจรจากับผู้ให้เช่าว่าจะชดเชยช่วยเหลือกันอย่างไร

3. เงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารของรัฐเช่น SMEแบงค์ ธนาคารออมสิน ฯลฯ การกู้ทุกกรณีจะได้รับระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นเป็นเวลา 2 ปี โดยมีหลักดังนี้

· ผู้กู้ที่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้เต็มที่รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท

· ผู้กู้ไม่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท

· ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ร้านค้าถูกเพลิงไหม้ กรณีกู้เงินไม่เกิน 1ล้านบาท จะได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยช่วงการผ่อนชำระ

คืน 3 แสนบาทแรก ส่วนอีก 7แสนบาท จะ

คิดอัตราดอกเบี้ย3%

· หากเป็นกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับ

ผลกระทบจากการชุมนุม แต่กิจการไม่ได้ถูกไฟไหม้ ก็จะกู้ได้ในวงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% ไม่ต้องค้ำประกัน

4. ยกเว้นการชำระภาษี สำหรับผู้ประกอบการและห้างร้านที่มีการประกันอัคคีภัยแล้ว หากได้รับการชดเชย

สินไหม

5.จัดให้มีพื้นที่ค้าขายพื้นที่ชั่วคราว กทม.จะเปิดถนนคนเดิน รวมพลัง เพื่อวันใหม่ (Together We Can Grand Sale) ที่สีลม เพื่อช่วยผู้ค้ารายย่อยที่ไม่มีที่ขายสินค้าและมีรายได้น้อย 600 บู๊ธ ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม พื้นที่ค้าขายใหม่ ปิดถนนวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นถนน

คนเดินซึ่งจะมีหลายส่วนด้วยกัน

· ผู้ประกอบการสยามสแควร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีแผนรองรับ

โดยจะมีการกันพื้นที่บางส่วนในสยามส

แควร์ทำเป็นเต็นท์ขายชั่วคราว และระยะ

ถัดไปก็จะทำเป็นเต็นท์กึ่งถาวรก่อนที่จะ

กลับไปอยู่ที่เดิม

· ผู้ประกอบการพื้นที่อื่น ๆจะมีการหา

พื้นที่ใกล้เคียงโดยจะติดต่อไปยังเช่น ห้าง

ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น พื้นที่ของสำนักงาน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในบางส่วน

ซึ่งรัฐบาลกำลังจะเจรจาในการที่จะเช่าและ

เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ไปค้าขายได้

· ผู้ประกอบการจากเซ็นเตอร์วันอาจไป

ขายที่บางกอกบาร์ซาร์ ราชดำริ

· ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหา

ต้องปิดกิจการหรือค้าขายไม่ได้ในช่วงการ

ชุมนุม โดยรัฐบาลจะไปเจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่

เก็บค่าเช่า 1 เดือน

 

1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกาศงดเก็บค่าเช่า 3 เดือน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายจากเหตุชุมนุม รวมทั้งจะจัดหาที่สำรองให้ค้าขายชั่วคราวด้วย

2. เซ็นทรัล แบ่งพื้นที่ขายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยได้ถึง 3 ศูนย์ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 21-70 ตร.. ได้แก่

· ท็อปส์ มาร์เก็ต เพลส อุดมสุข ให้พื้นที่ขายฟรี 3เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

· ศูนย์การค้าพาวเวอร์เซ็นเตอร์ (บิ๊กซี) หัวหมาก ตั้งอยู่เยื้องมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เฉพาะศูนย์นี้คิดค่าเช่าในอัตราพิเศษตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไปต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

· ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ วังบูรพา ให้พื้นที่ขายฟรี 3 เดือน

3. ศูนย์การค้าสยามพารากอน มีแผนช่วยเหลือ

ร้านค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา

การเมืองในพื้นที่ราชประสงค์และพื้นที่อื่นๆ ด้วย

การ

· เปิดให้เข้ามาขายสินค้าในชั้น 5 โซน รอยัล พารากอน ฮอลล์ ที่มีพื้นที่รวม 12,000 ตร.. โดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่

· รวมทั้งมีแผนจัดคอนเสิร์ตด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานร่วมกับกทม.เพื่อทำแผนงานร่วมกัน คาดว่าจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ในเร็วๆนี้

· นอกจากนี้ สยามพารากอนยังมีพื้นที่ ลานพาร์คพารากอน ที่ติดกับศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ขนาดพื้นที่

3,500 ตร..ด้วย ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นพื้นที่ขายสินค้าได้เช่นกัน

4. The Mall Group เปิ ดพื้นที่ให้ร้านค้าที่

ได้รับผลกระทบจากย่านราชประสงค์ขายของที่

ซอยสุขุมวิท 35 ตั้งแต่วันที่2-6 มิถุนายน

5. ด้านผู้ค้าที่อยู่ห้างในเซ็นเตอร์วัน โดย1

เดือนนับจากนี้ จะให้ย้ายไปขายที่แฟชั่นมอลล์ ซึ่ง

อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเซ็นเตอร์วัน หรือที่เคยเป็นห้าง

โรบินสัน มี 2 ชั้น พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ซึ่งพอ

มาทำเป็นแฟชั่นมอลล์ มีปัญหาภาระหนี้สินกับ

ธนาคารเอสเอ็มอี โดยผู้ค้าตรงนี้จะไม่เก็บค่าเช่า 6

เดือน

6. กลุ่มคนรักจุฬาฯรักสยาม จัดกิจกรรม

กองทุนไทยไม่ทิ้งกัน ระดมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้

ที่รับผลกระทบย่านสยามสแควร์

7. ครอบครัว ตันสัจจา เจ้าของโรงหนังAPEX,

Siam Scala และ Lido เปิ ดพื้นที่ให้กลุ่มผู้ขายของ

ใต้โรงหนังสยามเข้าไปขายของใต้ lido ชั่วคราว

8. นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการบริษัท

โออิชิ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม

ในเครือโออิชิ กล่าวว่า บริษัทได้นำที่ดินจำนวน14

ไร่ ในพื้นที่สนามฟุตบอลอารีน่า ซอยทองหล่อ 10

โดยเปิ ดให้ทั้งผู้จำหน่ายสินค้าทั้งแบบแบกะดิน

และเปิดท้ายขายของโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเปิดให้

ผู้ประกอบการลงทะเบียนในวันที่ 25 .. นี้ เพื่อ

รับสิทธิจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา 11.00-17.00 .

โดยเปิ ดจำหน่ายสินค้าในระหว่างวันที่ 28..-6

มิ..นี้ ระหว่างเวลา 16.00-21.00

กลุ่มผู้ประกอบการ

ธุรกิจท่องเที่ยว

 

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

 

กลุ่มผู้ใช้แรงงาน

 

ลูกจ้างในระบบประกันสังคม

· ได้รับการชดเชยตามหลักเกณฑ์ของ

ประกันสังคม ไม่เกิน 6 เดือน

· รัฐบาลจสมทบให้อีก 7,500 บาท/

เดือน เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างยังไม่มีงาน

ทำ

 

 

ลูกจ้างที่ไม่ได้ผูกกับระบบประกันสังคม เช่น หาบเร่แผงลอยรัฐบาลจะชดเชยให้ 7,500 บาท/เดือน ระยะเวลา 3-6เดือน

หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการ

นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาลงในรายละเอียด และอยู่ระหว่างการสรุปขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบว่ามีทั้งหมดกี่ราย

 

นักเรียน

 

33 โรงเรียนเลื่อนการเปิดภาคเรียน

ถึงวันที่ 31 ..

 

นักศึกษา

· กระทรวงศึกษาธิการจะหยิบยก

โครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยโดยใช้

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง มาเป็นนโยบาย

สำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาให้คน

ในชาติ

 

ประชาชนทั่วไป

 

ด้านการลดภาระค่าใช้จ่าย

ขยายมาตรการภาษีภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมจดจำนองและค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01%ออกไปอีก 1 เดือน เป็น 30 มิ..53จากเดิมสิ้นสุด 31 ..53

ด้านจิตใจ

เปิดศูนย์ปฏิบัติการที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หมายเลข 02-2244680 หรือ 02-2212141-69 ต่อ

1462 Z โดยกทม.เปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือเยียวยา ด้านจิตใจ ผู้ได้รับ

ผลกระทบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะคนในครอบครัวผู้เสียชีวิต 88 ราย อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ จากการเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวน

29 ราย ในเหตุการณ์เมื่อวันที่10 เม..พบว่า 80 % มีปัญหาซึมเศร้าปานกลาง ถึงมาก ซึ่งจะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย ส่วนผู้บาดเจ็บมีปัญหาสุขภาพจิต 12 %

นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งมีรายชื่อแล้ว จำนวน 3,000 ราย และจะตามไปดูประชาชนใน 24 จังหวัด ที่มีการประกาศ พ...ฉุกเฉิน รวมทั้งในส่วน กทม. 23 ชุมชน ประมาณ 100,000 รายด้วย

สนับสนุนการเงินต่าง ๆ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยใช้ชื่อบัญชีรวมกัน เราทำได้เลขบัญชี 088 004 320 2

ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยศาลาว่าการ กทม.

1. พารากอนลดราคาตั๋วชมภาพยนตร์เริ่มต้น

ที่ 100 บาท ประเดิมเปิ ดวันแรกตั้งแต่วันนี้ถึง 31

..

2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือ

ธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับ

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การ

ดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น

พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วง

ระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงิน

ตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้

ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่

ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

3. 27 ..นี้ จุฬาฯจะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

ให้บริการตรวจร่างกาย ปอดจากการที่สูดควันยาง

ที่ถูกเผา การประเมินความเครียดและให้คำปรึกษา

ด้านจิตวิทยา ที่ชั้นใต้ดินอาคารวิทยกิตติ์หรือ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯสาขาสยามสแควร์

ผู้ได้รับบาดเจ็บ - ตาย

 

ผู้ตาย

รัฐบาลให้เงินค่าชดเชยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 400,000 บาท

กระทรวงสาธารณสุขชดเชยให้ 50,000บาท

ผู้บาดเจ็บ

ผู้บาดเจ็บ รายละ 6 หมื่นบาท

ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

 

 

ที่มา : สำนักนายกรัฐมนตรี, http://www.pm.go.th/blog/32058

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใจ อึ๊งภากรณ์: การปฏิรูปของอภิสิทธิ์คือ การเกี่ยวข้าวในทะเลทราย

Posted: 13 Aug 2010 09:29 AM PDT

สิ่งหนึ่งที่ขบวนการเสื้อแดงยืนยันและพิสูจน์ตลอดคือ พลเมืองธรรมดาไม่เคยโง่และไม่เคยที่จะไม่เข้าใจประชาธิปไตย ดังนั้นเวลาพิจารณาคำว่า ปฏิรูปเราควรนิยามตามความเข้าใจของคนทั่วไป ซึ่งย่อมจะมีความหมายในเชิงบวก คือเป็นกระบวนการที่จะ ทำให้สังคมดีขึ้นแต่บ่อยครั้งชนชั้นปกครองพยายามปล้นขโมยคำว่า ปฏิรูปนี้ไปใช้ในทางตรงข้าม เพื่อปกปิดวัตถุประสงค์แท้ของเขา

ตอนนี้ในอังกฤษ รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม ประกาศว่าจะ ปฏิรูประบบรัฐสวัสดิการ เวลาผมและประชาชนจำนวนมากฟังคำพูดแบบนี้ เราจะหนาว เพราะในความเป็นจริงข้อเสนอของเขาคือการทำลายมาตรฐานและการบริการประชาชนที่มาจากรัฐสวัสดิการ มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษในการตัดงบประมาณรัฐ กระทำไปเพื่อที่จะให้พลเมืองจ่ายหนี้ที่รัฐก่อขึ้นจากการพยุงธนาคารในวิกฤตเศรษฐกิจ มันเป็นการหลีกเลี่ยงการทวงเงินคืนจากธนาคารที่ปั่นหุ้นและเล่นการพนันจนเศรษฐกิจโลกพัง มันเป็นการหมุนนาฬิกากลับ มันควรจะเรียกว่าเป็นมาตรการถอยหลังที่ทำให้สังคมยาลง มากกว่าที่จะเรียกว่าเป็น การปฏิรูป

ในสังคมไทยปัจจุบันภายใต้ความมืดและการข่มเหงของอำมาตย์เผด็จการ มีการใช้คำว่า ปฏิรูปอีกครั้ง โดยนายกมือเปื้อนเลือดอภิสิทธิ์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนความหมายของคำว่า ปฏิรูปไป 180 องศาจากความหมายที่สังคมไทยยอมรับในยุคที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ในยุคนั้นแน่นอน มีการถกเถียงกันว่าจะปฏิรูปอะไรอย่างไร แต่สังคมโดยรวมมีการยอมรับว่าต้องเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นสำหรับคนธรรมดาหลังจากที่อยู่ภายใต้อำนาจทหารและอำนาจคนใหญ่คนโตมานานเกินไป นอกจากนี้เนื่องจากมันเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ หลายคนมองด้วยว่าโครงสร้างเก่าๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่กีดกันคนธรรมดา กลายเป็นอุปสรรค์ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยรวมแล้วการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่าเป็นความก้าวหน้าของสังคมไทย ทั้งในวิธีการร่าง และผลที่ได้มา อย่างไรก็ตามอิทธิพลของนักวิชาการที่สนับสนุนกลุ่มทุนใหญ่ (พวก เสรีนิยม”) มีมากกว่าอิทธิพลของประชาชนธรรมดา มีการให้ความสำคัญกับนักวิชาการ ผู้รู้มากเกินไป และรัฐธรรมนูญปี 40 ก็สะท้อนผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่และกลุ่มชนชั้นนำมากเกินไปด้วย เช่นในเรื่องการสนับสนุนกลไกตลาดแทนการบริการประชาชนโดยรัฐ หรือการเสนอให้ ส.ว. และองค์กรอิสระ ปลอดการเมืองซึ่งเป็นไปไม่ได้และเป็นเพียงหน้ากากปิดบังอิทธิพลของกลุ่มทุนและชนชั้นนำพวกที่ไม่เคยมาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้การเพิ่มอำนาจของนายกรัฐมนตรีและการเพิ่มอิทธิพลของพรรคเสียงส่วนใหญ่ในสภาที่มากับรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นสิ่งที่อาจไม่เป็นประโยชน์กับคนจน โดยเฉพาะในกรณีที่รัฐบาลใช้นโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์กับเขา เนื่องจากการมีรัฐบาลที่เข้มแข็งมากขึ้นอาจทำให้รัฐบาลไม่ฟังประชาชนก็ได้ และโอกาสของพรรคการเมืองใหม่ๆ ของคนจน (ถ้ามี) ก็จะน้อยลง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยาแต่อย่างใด

ใครที่ยังไม่ชัดเจนว่าแนว เสรีนิยมขัดขวางเสรีภาพของประชาชนคนธรรมดาแค่ไหน ควรตรวจดูว่าพวกนักวิชาการเสรีนิยมในไทยส่วนใหญ่ไปมีจุดยืนอะไรในปัจจุบัน คำตอบคือเกือบ 100% ต้อนรับรัฐประหาร 19 กันยา และเป็นเสื้อเหลืองที่ดูถูกและเกลียดชังคนจน ก่อนหน้านั้นพวกนี้ก็ได้แต่โจมตีโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค และการบริการคนจน ว่าเป็นการ ขาดวินัยทางการคลังทั้งๆ ที่เขาไม่เคยพูดแบบนี้กับเรื่องการขึ้นงบประมาณทหาร ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนหลังรัฐประหารและภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์

เราไม่จำเป็นต้องเรียนสูงจบปริญญาอะไรเพื่อเข้าใจว่า การปฏิรูปที่มาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์จะไม่มีเป้าหมายเพื่อทำให้สังคมดีขึ้นหรือเพื่อขยายสิทธิเสรีภาพ แค่ดูผลงานและที่มาในโลกจริงของรัฐบาลนี้ก็จะเข้าใจ เช่น เราทราบว่ารัฐบาลนี้มาจากการทำรัฐประหารโดยทหาร มาจากการบงการโดยทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพราะไม่เคยครองใจประชาชนส่วนใหญ่ เป็นรัฐบาลที่สั่งทหารฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยไปเกือบ 90 ศพ ทั้งๆ ที่ประชาชนเหล่านั้นไม่มีอาวุธ เป็นรัฐบาลที่ปกปิดเซ็นเซอร์สื่อทุกชนิดอย่างที่ไม่เคยเซ็นเซอร์มากก่อน เป็นรัฐบาลที่จำคุกคนที่มีความเห็นต่างภายใต้กฎหมายคอมพิวเตอร์ กฎหมายหมิ่นฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเป็นรัฐบาลที่ใช้สองมาตรฐานทางกฎหมายอย่างหน้าตาเฉย ใช้ระบบศาลอย่างลำเอียง ไม่คิดว่าตนต้องอธิบายอะไร โกหกไปเรื่อยๆ สร้างซีดี ออกรายการโทรทัศน์ ทำอย่างหน้าด้านๆ เพราะรู้ว่าไม่ต้องปรึกษาประชาชน ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง และเพราะมีกระบอกปืนและรถถังหนุนหลัง

ทุกอย่างที่รัฐบาลนี้และทหารที่หนุนหลังรัฐบาลทำไป ไม่ใช่ อุบัติเหตุไม่ใช่การ รู้ไม่ถึงแต่เป็นการจงใจทำ แถมผู้ที่อภิสิทธิ์แต่งตั้งมาเพื่อควบคุมดูแล การปฏิรูป” (นายอานันท์ ปันยารชุน) เป็นคนที่รับใช้เผด็จการทหาร ร.ส.ช. หลังการทำรัฐประหารปี 34 เขาเป็นคนที่มองว่าชนชั้นปกครองมือเปื้อนเลือดไม่ควรถูกจับมาลงโทษ (เพราะอภัยโทษให้สุจินดาที่ทำรัฐประหารและสั่งฆ่าคนในเหตุการณ์พฤษภา 35) เขาเป็นคนที่เคยแสดงความเห็นว่า ประชาธิปไตยไทยๆไม่ต้องเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เป็นคนที่คัดค้านสหภาพแรงงาน (ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง) เป็นคนที่เคยพูดว่าพี่น้องมุสลิมมาเลย์ในภาคใต้ควร ลืมเหตุการณ์นองเลือดตากใบ และเป็นคนที่มองว่าไม่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ

ดังนั้นใครที่คิดว่ารัฐบาลนี้จะผลักดัน การปฏิรูป” (ในความหมายที่คนธรรมดาเข้าใจ) มีแค่สองประเภทคือ คนโกหก กับคนปัญญาอ่อน .... แล้วทำไมนักวิชาการจำนวนมากจึงเข้าไปร่วมกับ กระบวนการปฏิรูปของอำมาตย์?? ส่วนใหญ่เป็นคนที่หวังได้ชื่อเสียง หวังได้หน้า หวังได้ผลประโยชน์ หรือเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองเกินเหตุ พวกนี้เป็นคนโกหกชัดๆ เป็นคนที่รับใช้ผู้เป็นใหญ่ไม่ว่าจะเป็นใคร และพร้อมจะเปลี่ยนจุดยืน แล้วแต่ว่าใครมีอำนาจ เขาเป็นคนที่จงใจปิดหูปิดตา และทำเป็นมองไม่เห็นสภาพสังคมไทยตอนนี้ และประกาศว่า ความเลวทรามทั้งหมดเป็นการกระทำของรัฐบาลทักษิณและคนเสื้อแดงเป็นคนจนโง่ๆ ที่ถูกหลอกถูกซื้อ

อีกส่วนหนึ่งของนักวิชาการที่เข้าร่วม อาจส่วนน้อย คือคนปัญญาอ่อนทางการเมือง ทำไมคนที่ไม่ได้สนับสนุนรัฐประหารหรือสนับสนุนพวกเสื้อเหลือง และมีประวัติของการยืนเคียงข้างคนจน จึงปัญญาเสื่อมจนเลือกไปร่วมกับอภิสิทธิ์? ไม่ใช่เพราะถูกซื้อ ผมรับรองว่าเขาบริสุทธิ์ใจ แต่ถ้าเราจะเข้าใจพฤติกรรมของเขา ต้องเข้าใจว่าเขาคิดว่าการล้มอำมาตย์และการสร้างรัฐไทยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย หรือการลดบทบาททหารโดยสิ้นเชิง ทำไม่ได้แต่ถ้าจะมีละครการปฏิรูปอย่างที่กำลังเกิด เขามองว่าถ้าเขาเข้าไปร่วมด้วย มันอาจมีประโยชน์บ้าง ดีกว่าไม่ร่วม แต่เขาเข้าใจผิดมหาศาล เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์ จะไม่มีอะไรเลยที่มีความหมายจริงๆ เกิดขึ้น และเขาจะถูกใช้เป็นไม้ประดับเพื่อให้ความชอบธรรมกับการโฆษณาชวนเชื่อของอำมาตย์ต่างหาก

บางคนอาจมองว่าเวลาผมใช้คำว่า ปัญญาอ่อนทางการเมืองมันแรงไปหน่อย ผมว่าไม่แรงไป เพราะใครที่ยอมคิดอะไรด้วยเหตุผลหรือด้วยวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ ย่อมเข้าใจว่าหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างในโลกมีเงื่อนไขจำเป็นก่อนที่มันจะเกิดขึ้นได้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Necessary Conditions ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะปลูกพืชผล ต้องมีน้ำมีแร่ธาตุมีแสงแดด หรือถ้าสัตว์กับมนุษย์จะมีชีวิตต้องมีออกซิเจนคือต้องสามารถหายใจได้ ในเรื่องสังคมศาสตร์ก็เหมือนกัน เราไม่สามารถปฏิรูปสังคมถ้าไม่มีประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพได้ การปฏิรูปจอมปลอมของอภิสิทธิ์ จึงเป็น การเกี่ยวข้าวในทะเลทรายเพราะในทะเลทรายปลูกข้าวไม่ได้แต่แรก มันเป็นภาพลวงตาประเภทที่เกิดขึ้นกลางทะเลทรายร้อนๆ

ถ้าเราจะปฏิรูปสังคมไทยให้ดีขึ้น เราจะต้องกำจัดลบทิ้งอิทธิพลของทหารในการเมืองและสังคมโดยสิ้นเชิง เหมือนที่เป็นอยู่ในประเทศประชาธิปไตยทั่วไป เราต้องสร้างเงื่อนไขไม่ให้ทหารทำรัฐประหาร ทหารต้องไม่คุมสื่อ ทหารต้องไม่มีส่วนในการควบคุมสังคม และทหารจะต้องไม่มีสิทธิ์อ้างสถาบันใดก็ตามเพื่อการทำลายประชาธิปไตย ทหารต้องรับใช้ประชาชนอย่างเดียว ไม่มีเจ้านายอื่น ดังนั้นการปฏิรูปบทบาททหารเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งในกระบวนการปฏิรูป โดยเฉพาะในบริบทที่ทหารแทรกแซงการเมืองและสังคมไทยมาตลอด การปฏิรูปทหารหมายถึงการลดงบประมาณทหารอย่างถอนรากถอนโคนด้วย แต่แน่นอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่บงการโดยทหาร และกรรมการปฏิรูปของอภิสิทธิ์ไม่มีวันพูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย

ขณะนี้เราเห็นความเสื่อมเสียของระบบ ยุติธรรมและกฎหมายในไทย ในระยะสั้นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเสื่อมเสียนี้คือทหารและรัฐบาลปัจจุบัน แต่ผู้พิพากษาและศาลก็มีส่วนสำคัญในการทำลายระบบยุติธรรม ดังนั้นถ้าจะปฏิรูปให้ไทยเป็นนิติรัฐ ต้องปลดผู้พิพากษาและศาลจำนวนมาก และเลือกตั้งคนที่มีอุดมการณ์ในความเป็นธรรมทางกฎหมายเข้ามาแทนที่ พร้อมกันนั้นต้องลดอำนาจเผด็จการของศาล โดยนำระบบลูกขุนมาใช้ตัดสินคดีต่างๆ และต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นศาลที่ทุกวันนี้ใช้ป้องกันความไม่เที่ยงธรรมของศาล อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือต้องยกเลิกความป่าเถื่อนของโทษประหาร และลดเวลาในการพิจารณาคดีต่างๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าคดีต่างๆ จะลากไปเรื่อยๆ เป็นปีๆ เพื่อให้โจรหากินกับกฎหมายและเพื่อข่มขู่คนที่ถูกกล่าวหา โดยที่เขามีเมฆดำลอยอยู่เหนือชีวิตเป็นปีๆ และเราต้องย้ำว่าผู้ถูกกล่าวหาย่อมบริสุทธิ์เสมอก่อนที่จะจบการพิจารณาคดี ยิ่งกว่านั้นนักโทษทุกคน ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการพิจารณาคดี จะต้องได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องไม่ถูกล่ามโซ่ และต้องไม่ถูกบังคับให้แต่งชุดนักโทษที่ทำลายความเป็นมนุษย์ เวลาขึ้นศาลไม่ควรแต่งชุดนักโทษ เพราะจะสร้างภาพล่วงหน้าว่าเป็นคนที่กระทำความ ผิด

 ถ้าจะปฏิรูปสังคม เราควรจะมาคุยกันว่าจะใช้กฎหมายและเรือนจำเพื่อปกป้องประชาชนและสังคม หรือเพื่อลงโทษแก้แค้น เพราะสังคมอารยะจะเน้นอันแรกเป็นหลัก การแก้แค้น โดยเฉพาะด้วยความรุนแรง ไม่ใช่พฤติกรรมของสังคมอารยะ อย่างที่มีคนอื่นพูดไปแล้ว การแลกตาต่อตา เพียงแต่ทำให้สังคมตาบอดสังคมอารยะต้องเข้าใจว่าทำไมคนบางคนกระทำความผิด และต้องพยายามแก้ที่ต้นเหตุในสังคม ดังนั้นสภาพของเรือนจำไม่ควรจะแย่อย่างในปัจจุบัน และไม่ควรจำคุกคนที่ไม่เป็นอันตรายจริงๆ กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น การปฏิรูปการเมือง จะต้องรวมไปถึงการลดจำนวนคนที่ถูกคุมขัง โดยเฉพาะคดีขโมยทรัพย์หรือยาเสพติด

ก่อนที่จะปฏิรูประบบยุติธรรมได้ สังคมเราจะต้องไม่มีนักโทษการเมือง เพราะนักโทษการเมืองเป็นคนที่ถูกคุมขังด้วยสาเหตุที่มีมุมมองทางการเมืองต่างจากชนชั้นปกครอง การมีนักโทษการเมืองพิสูจน์ว่าไม่มีประชาธิปไตย ดังนั้นใครที่อยากปฏิรูปสังคมไทย จะต้องมีส่วนในการรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษเสื้อแดงทั้งหมด และจะต้องรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ และกฎหมายคอมพิวเตอร์ และปล่อยคนอย่าง ดา ตอร์บิโด คุณจะปฏิรูปอะไรได้ ถ้าไม่มีสิทธิ์คิดต่างจากอำมาตย์?

ถ้าจะปฏิรูปสังคม เราต้องกล้าทบทวนความคิดหลายอย่างที่เคยถือว่า จารึกบนแท่นหินเช่นเรื่องรัฐชาติ ภาษา และพรมแดน หรือระบบการปกครอง ตอนนี้เรามีวิกฤตในภาคใต้ วิกฤตนี้มาจากท่าทีของรัฐรวมศูนย์ไทยที่มีต่อคนที่มีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และศาสนาที่ไม่เข้ากรอบ ความเป็นไทยการทหารแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ เหมือนกับที่การทหารสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ และการคลั่ง ชาติไทยเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความรุนแรง และการกดขี่คนอื่น เราน่าจะเรียนรู้ได้แล้วจากประสบการณ์ในภาคใต้ และจากประสบการณ์ความเลวทรามของพวกพันธมิตรฯ ที่พยายามก่อสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชาเรื่องเขาพระวิหาร จริงๆ แล้วเขาพระวิหารใช้เป็นประโยชน์ร่วมกันได้ในเรื่องการท่องเที่ยว ใช้มาอย่างนั้นในอดีตหลายปีแล้วด้วย เพียงแต่เกิดปัญหาจอมปลอมเมื่อพวกหัวเพี้ยนคลั่งชาติ ต้องการสร้างเรื่องเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นโจมตีรัฐบาลไทยรักไทยเท่านั้น

ประเด็นสำคัญๆ ที่ต้องพิจารณาในการปฏิรูปสังคมไทยมีอีกมากมาย และไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของบุคคลคนเดียวที่จะเสนอประเด็น เรื่องอื่นที่สำคัญเช่นเรื่องสื่อ โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพของวิทยุชุมชน สื่ออินเตอร์เน็ท และบทบาทอันสมควรของโทรทัศน์สาธารณะ เพราะปัจจุบันนี้โทรทัศน์ ไทย PBS นับว่าเป็นช่องที่น่าอับอายขายหน้าสากล เนื่องจากเข้าข้างอำมาตย์และรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้เราต้องกล้าตั้งคำถามว่า ทำไมทหารต้องมีสื่อของตนเองด้วย?

ถ้าจะปฏิรูปสังคม ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา และการเพิ่มสิทธิต่างๆ ของลูกจ้างในสหภาพแรงงาน... รวมถึงสิทธิในความหลากหลายทางเพศของพลเมืองอีกด้วย แต่นอกจากนี้เราต้องพูดกันถึงการกระจายรายได้และการสร้างความมั่นคงในชีวิตผ่านระบบรัฐสวัสดิการและการเก็บภาษีก้าวหน้า เพราะถ้าพลเมืองเราจะมีส่วนร่วมเต็มที่ในสังคม เราต้องลดความเหลื่อมล้ำและกำจัดความยากจน นี่คือแนวทางที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้ ดังนั้นการปฏิรูปจะขาดการพูดถึงรัฐสวัสดิการไม่ได้ แต่อย่าไปหวังว่ากระบวนการของอภิสิทธิ์จะลดความเหลื่อมล้ำเลย เพราะอำมาตย์ทำลายประชาธิปไตยตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา เพื่อปกป้องอภิสิทธิ์ของเขาจากการเปลี่ยนแปลงใดๆ

ในโลกแห่งความเป็นจริงของสังคมไทย ผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะมีส่วนสำคัญในกระบวนการปฏิรูป คือผู้ที่ใฝ่ฝันถึง รัฐไทยใหม่ที่ไม่มีอำมาตย์ในรูปแบบต่างๆ ไม่มีการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร มีประชาธิปไตยและเสรีภาพ และไม่มี ความเป็นเจ้าเป็นนายเหนือไพร่คือมีความเท่าเทียมระหว่างพลเมืองทุกคนนั้นเอง ความก้าวหน้าของสังคม ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากผู้นำไม่กี่คน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากนักวิชาการหรือนักกฎหมาย และเราหวังอะไรไม่ได้จากพรรคเพื่อไทยในแง่ของการปฏิรูปสังคมอย่างจริงจัง เพราะพรรคนี้เป็นเพียงแค่เงาจางๆ ของพรรคไทยรักไทย

การปฏิรูปเป็นสิ่งที่มาจากการเคลื่อนไหวของคนจำนวนมากในสิ่งที่เรียกว่า ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมคนเสื้อแดงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นขบวนการแท้จริงที่จะนำไปสู่การปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าจะปฏิรูปสังคมในรูปธรรมต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยน จัดตั้ง (อาจต้องสร้างพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่หลากหลาย) และการเรียนรู้ร่วมกันในขบวนการเสื้อแดง เพื่อให้เราเริ่มชัดเจนมากขึ้นว่าเราต้องการปฏิรูปสังคมไทยให้ไปในทิศทางใด 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ข่าวพม่า 11-13 ส.ค. 2553

Posted: 13 Aug 2010 04:52 AM PDT

พม่าออกบัตรปชช.ชาวจีนระบุสัญชาติลีซอ หวังลงคะแนนเลือกตั้ง, หญิงสติไม่สมประกอบ ในเมืองกุ๋นฮิง รัฐฉานภาคใต้ ถูกนายทหารพม่าลาดตระเวนไปพักค้างที่บ้านข่มขืน แถมข่มขู่จะฆ่าทิ้งหากเปิดโปงเรื่อง

นายทหารพม่าข่มขืนหญิงสติไม่สมประกอบในรัฐฉาน
หญิงสติไม่สมประกอบ ในเมืองกุ๋นฮิง รัฐฉานภาคใต้ ถูกนายทหารพม่าลาดตระเวนไปพักค้างที่บ้านข่มขืน แถมข่มขู่จะฆ่าทิ้งหากเปิดโปงเรื่อง

13 ส.ค. 2553 ศูนย์ข่าวคนเครือไทยรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา เกิดเหตุนายทหารพม่ายศร้อยโท ชื่อ เต็งอ่อง จากฐานส่วนแยกที่ 3 ประจำเมืองกุ๋นฮิง รัฐฉานภาคใต้ สังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 524 กระทำการข่มขืนนางหลู่ (นามสมมติ) อายุ 30 ปี หญิงสติไม่สมประกอบ ในหมู่บ้านเลาฝ่าย อยู่ทางทิศใต้เมืองกุ๋นฮิง

ทั้งนี้ เหตุเกิดขณะที่ทหารพม่าชุดของร้อยโทเต็งอ่อง ออกลาดตระเวนไปพักค้างที่หมู่บ้านเลาฝ่ายในคืนที่สอง และเป็นช่วงที่นางหลู่ ผู้เคราะห์ร้ายอยู่บ้านเพียงลำพัง โดยหลังก่อเหตุ นายทหารพม่าคนดังกล่าว ได้ข่มขู่เธอว่าจะฆ่าทิ้งหากนำเรื่องไปเปิดเผย

แหล่งข่าวเผยว่า เนื่องจากนางหลู่ มีสติไม่สมประกอบจึงนำเรื่องเปิดเผยให้กับชาวบ้าน ขณะไปร่วมทำบุญที่วัด จึงทำให้เรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่และชาวบ้านต่างพากันประณามการกระทำของนายทหารพม่า แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครกล้าไปแจ้งความหรือร้องเรียนเพื่อเอาผิดแต่อย่างใด และหลังเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ชาวบ้านต่างไม่กล้าให้บุตรสาวอยู่บ้านหรือออกนอกบ้านเพียงลำพัง

มีรายงานด้วยว่า ทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 524 เมืองกุ๋นฮิง มักก่อเหตุละเมิดสิทธิชาวบ้าน ทั้งการบังคับใช้แรงงาน รีดไถเอาทรัพย์ โดยเฉพาะ หมู่ ไก่ ไปทำอาหารเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังบังคับเกณฑ์ชาวบ้านไปเป็นลูกหาบอย่างต่อเนื่องด้วย

พม่าออกบัตรปชช.ชาวจีนระบุสัญชาติลีซอ หวังลงคะแนนเลือกตั้ง
11 สิงหาคม 2553 ศูนย์ข่าวคนเครือไทยรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนพม่าเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ ติดชายแดนจีน เริ่มออกบัตรประจำตัวประชาชน หรือ "มาดปุ่งติ่น" ให้แก่ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในภาคแหนือของรัฐฉาน เช่นเมืองหมู่แจ้และเมืองน้ำคำ โดยระบุสัญชาติในบัตรเป็นลีซอ

การออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ชาวจีน เนื่องจากเจ้าหน้าที่พม่าได้รับการร้องขอจากนายปานเซ จ่อมิ้น ชาวจีนเชื้อสายลีซอ ซึ่งเป็นหัวหน้ากองกำลังอาสาสมัคร และเป็นคณะกรรมการสมาคมสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDA สมาคมสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าประจำเมืองน้ำคำ ด้วยหวังให้ชาวจีนร่วมลงคะแนนเสียงให้เขา

แหล่งข่าวเผยว่า นายปานเซ จ่อมิ้น มีแผนสมัครเป็นตัวแทนชาติพันธุ์ลีซอร่วมการเลือกตั้ง โดยหวังรับเลือกเป็นตัวแทนชนเผ่าลีซอในสภาชนชาติ แต่เนื่องจากในพื้นที่รัฐฉานภาคเหนือมีชาวลีซอไม่มากพอ หรือมีจำนวนไม่ถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญที่จะมีตัวแทนอยู่ในสภา ดังนั้น เขาจึงขอความช่วยเหลือจากนายอูอ่านยิน หัวหน้าฝ่ายทะเบียนของพม่าประจำเมืองน้ำคำ ออกบัตรประชาชนให้ชาวจีนโดยระบุสัญชาติเป็นลีซอ เพื่อช่วยร่วมออกเสียงให้

หญิงชาวลีซอคนหนึ่งเปิดเผยว่า นายปานเซ จ่อมิ้น เคยกล่าวข่มขู่ให้ชาวลีซอทุกคนสมัครเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDA และมีกระแสข่าวว่า นายปานเซ จ่อมิ้น จะสนับสนุนจายทุนหม่อง หรือ จายคำอ่อน นักร้องชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นพี่ชายภรรยาของน้องชายเขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวลีซอด้วย

ทั้งนี้ มีข้อมูลข่าวว่า นายปานเซ จ่อมิ้น เป็นเจ้าพ่อยาเสพติดในรัฐฉานภาคเหนือ และเป็นเจ้าของ บริษัท ลีซอโขหลวงอัญมณี จำกัด (Kholong Lisu Gems Co.Ltd) อีกทั้งเป็นหัวหน้ากองกำลังอาสาสมัครในพื้นที่เมืองน้ำคำ หรือที่เรียกกันว่า อาสาสมัครปานเซ และเป็นคณะกรรมการสมาคมสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDA ประจำเมืองหมู่แจ้
--------
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาสนาของคำผกา ตอนที่ 3 : ศาสนาในฐานะต้นทุนทางสังคม

Posted: 13 Aug 2010 12:23 AM PDT

วิจักขณ์ พานิช สัมภาษณ์คำ ผกา ตอนที่ 3 มองศาสนาในฐานะตันทุนทางสังคม ความเป็นสถาบันของศาสนา การแบ่งแยกพระสองกระแสเป็นผู้ดี-ผู้ร้าย

 

 

 

วิจักขณ์: มองว่าสถานการณ์ของพุทธศาสนาในประเทศไทยตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

คำ ผกา: แขกมองว่ามันมีอยู่สองกระแส เหมือนผู้ดีกับผู้ร้าย มันก็จะมีคนด่าพุทธ เรื่องพระสงฆ์ไม่มีวินัย อย่างที่มีคนเอาไปทำเป็นหนังเรื่องอะไรนะ

วิจักขณ์: นาคปรก

คำ ผกา: เออ...นาคปรกอะไรแบบนั้น แล้วก็มีคนทำงานศิลปะที่สื่อเรื่องพระกินเหล้า พระมีแอฟแฟร์กับผู้หญิง พระสันดานกา ซึ่งนั่นก็อันหนึ่ง แล้วก็มีอีกขั้วแบบฝ่ายพุทธทาสคือสมบูรณ์แบบ แขกมองว่าภาพพุทธศาสนาในเมืองไทยมีสองอันนี้ มันก็คล้ายๆการเมืองไทยเลย คือ มีอภิสิทธิ์กับมีทักษิณ ก็จะมีพระเหี้ยๆเลวๆ แบบเจ๊ดาว (หัวเราะ) แล้วก็มีพระสายที่เป็นเทพมาเลย

แต่แขกมองว่า เราควรจะมองพุทธศาสนาให้ละเอียดอ่อนกว่านั้น คือมองทั้งในแง่ฟังก์ชั่นของสถาบันศาสนาที่มีต่อสังคม ในแง่ของ administration ก็ได้  ในแง่ที่เป็นองค์กรที่มา subsidize เรื่องการศึกษาที่รัฐให้ไม่ได้ก็ได้  คืออย่าไปมองมันเป็นความหวังว่าเราอยากจะ purify ศาสนาซะจนให้มันเป็นสถาบันที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง แล้วก็ต้องมองศาสนาในแง่ของความเป็นจริง ว่ามันเป็นองค์กรที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาล มีเงินอยู่ตรงนี้เยอะมาก เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีการเมืองในศาสนา เพราะฉะนั้นถ้าเรามองศาสนาแบบ realistic มากขึ้น มันจะทำให้เราวิพากษ์วิจารณ์ได้รอบด้านมากขึ้น แทนที่จะวิจารณ์แต่ในมุมมองทางศีลธรรมอย่างเดียว เช่นไปด่าพระกินเหล้า มันมีเรื่องอื่นให้วิจารณ์มากกว่านั้น เช่นระบบการบริหารของคณะสงฆ์ในเมืองไทย การซื้อขายตำแหน่งมีมั๊ย เงินทองของท่านเจ้าคุณทั้งหลายดูแลกันยังไง แล้วมันมีผลต่อคนอื่นๆที่อยู่ในองค์กรมากน้อยแค่ไหน เหมือนเรามองการเมือง ก็ไม่ต่างกัน

วิจักขณ์: คือ มองให้เห็นต้นทุนทางสังคมที่ศาสนามี

คำ ผกา: มองในแง่ที่มันเป็นสถาบันทางสังคม ไม่ได้มองในแง่ที่จะต้องเอาคนไทยทั้งหมดไปเป็นอรหันต์น่ะค่ะ
การมองศาสนาในแง่ของสถาบันทางสังคม จะทำให้เรามองได้ทุกมิติ ทั้งมิติทางธุรกิจ มิติขององค์กรการกุศล มิติที่เป็น public administration ด้วยตัวของมันเอง แขกว่าตอนนี้เราแทบจะไม่รู้เลยว่าเค้าบริหารจัดการอะไรกันยังไง เค้ามีเงินเท่าไหร่ ใครดูแลเงิน ใครเป็นอะไรยังไง การศึกษาที่จัดการในวัด เค้ามีระบบอะไรกันบ้าง

วิจักขณ์: แล้วถ้าตัวสถาบันศาสนาเองไม่ได้เปิดที่จะให้คนเข้าไปล้วงลึก หรือมีส่วนร่วมตรงนั้นล่ะ เพราะอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของพระไม่ใช่เรื่องของฆราวาส

คำ ผกา: ก็เพราะว่าฆราวาสมัวแต่ไปด่าพระกินเหล้า มัวแต่ไปนั่งสมาธิไง ก็เลยลืมมองไปว่า จริงๆแล้วศาสนาก็แค่สถาบันนึงทางสังคม ที่เราจำเป็นจะต้องเข้าไปดู เข้าไปตรวจสอบ แล้วเราก็ต้องใจกว้าง มองพระหลายๆแบบ ด้านหนึ่งพระก็เหมือนคนปุถุชน ใช่มั๊ย ก็ต้องมีพระที่เป็น intellectual  มีพระที่มุ่งไปเรื่องปฏิบัติ มีพระที่อยากทำงานกับชาวบ้าน มีพระที่อยากเป็นดารา และก็มีพระจำนวนมากที่ก็ไม่ได้เคร่งครัดในธรรมวินัยอะไรมาก แต่ว่า active กับการทำกิจกรรมทางการเมืองหรือว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน อย่าลืมว่าในสังคมพระก็มีความหลากหลาย เราอย่าเพิ่งไปติดป้ายว่าจะต้องให้พระเป็นอย่างงั้น อย่างงี้ สำรวม ม้วน ถืออะไร แบบว่าเกาะกุมจีวรตุ๋มติ๋มไว้ตลอดเวลา
แต่แขกมองว่า ในบรรดาพระสงฆ์ พระกลุ่มก้าวหน้าก็น่าจะมีเยอะ แต่ไม่ค่อยได้แสดงความคิดหรือแสดงบทบาท ไม่ค่อยได้พูด ได้เขียน ได้สื่อสารกับคนในสังคม และเราก็ไม่ค่อยได้ไปทำความรู้จักกับท่านเหล่านั้น แขกก็รู้จักพระเล็กพระน้อยจำนวนมากที่ทำเรื่องเด็ก ทำกิจกรรมในหมู่บ้าน ทำคุณประโยชน์อะไรเยอะแยะเลย และท่านก็มีความคิดดีๆ เพียงแต่ท่านไม่ได้มีชื่อเสียงเท่านั้นเอง และก็ไม่ใช่พระที่คนชั้นกลางจะชอบด้วยนะ เพราะก็จะหละหลวมสไตล์ลูกชาวบ้าน แต่ท่านก็ทำงานน่ะค่ะ

วิจักขณ์: เท่าที่ฟัง ก็ดูเหมือนจะไม่ได้มองว่าพุทธศาสนาอยู่ในวิกฤตอะไร

คำ ผกา: ไม่อ่ะค่ะ

วิจักขณ์: เพียงแต่อยากให้มองศาสนา และสัมพันธ์กับมันให้ practical มากขึ้น

คำ ผกา: มองมันหลายๆแบบน่ะค่ะ  พระที่จะไปนิพพานก็สกุลนึง พระปฏิบัติก็อีกสกุลนึง พระจะไปอยู่ป่าก็อีกสกุลนึง พระที่ทำงานก็อีกกลุ่มนึง พระที่เป็นแบบพระบ้านแขก คือ ชอบแต่สร้างโบสถ์วิหารก็อยู่ของเค้าอีกแบบนึง แต่ถามว่าเค้า function มั๊ย เค้าก็ function ดี มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านอีกกลุ่มนึง คือไม่อยากให้ไปขึ้นป้ายว่า อุ๊ย...ขอหวยผิด เว้นแต่ว่ามันได้สร้างความเดือดร้อน แล้วมันผิดมากๆ ก็ต้องจัดการเป็นคนๆไป แต่อย่าไปมองว่า โอ้โห เจอพระแบบเจ๊ดาวรูปนึง แล้วก็คิดว่านี่เป็นจุดตกต่ำของพุทธศาสนา แล้วก็เอาไปทำเป็นภาพ contrast กับพระสายปฏิบัติ ซึ่งมันคนละเรื่องกัน มันคนละ school  กันเลย

วิจักขณ์: คือมองให้เห็นเป็นกรณีๆศึกษาไป เห็นถึงคุณค่าของการมีอยู่ทางสังคมของพระแต่ละกลุ่ม ดูว่าเค้ามีข้อดียังไง ข้อเสียยังไง มีผลต่อชุมชนยังไง ไม่ใช่ว่าพระแบบนี้เลวหมด แบบนี้ประเสริฐหมด

คำ ผกา: ใช่ ใช่ ส่วนถ้ามีพระที่โกงเงินชาวบ้าน ก็จัดการไปตามกฎหมาย

วิจักขณ์: แต่ยังไงเท่าที่ฟังก็ไม่ได้มองว่าพุทธศาสนาในภาพรวมตกต่ำ

คำ ผกา: ไม่นะ มันขึ้นกับว่าเราอยากเห็นพุทธศาสนาเป็นอะไร คือถ้าคุณอยากเห็นพุทธศาสนา purify ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง คุณก็อาจจะมองว่ามันกำลังตกต่ำ แต่แขกก็แค่มองมันในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม ศาสนาก็อยู่กับสังคม ซึ่งสังคมเราก็ไม่ได้ดิบดีอะไร

วิจักขณ์: แล้วในเหตุการณ์วิกฤติทางการเมืองช่วงที่ผ่านมาล่ะ กับการที่พุทธศาสนาก็เป็นสถาบันทางสังคมอันนึงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองทั้งหมด มองบทบาทของพุทธศาสนายังไงบ้าง

คำ ผกา: คือแขกเห็นพระที่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ไปประท้วง เอาตัวไปเกี่ยวข้องโดยตรงค่อนข้างเยอะ แขกคิดว่าแขกตื่นเต้นนะ แล้วมันเป็นพระอย่างที่คนชั้นกลางดูถูกทั้งนั้นเลย พวกพระที่มาเข้าร่วมกับคนเสื้อแดง ในขณะที่พระ intellectual แขกค่อนข้างผิดหวัง เพราะบทบาทของท่าน play safe มากเลย แต่ละคนที่ออกมาพูด ไม่กระทบใครเลย พูดอีกก็ถูกอีก “อย่าใช้ความรุนแรง ขอให้อยู่อย่างสันติ ขอให้ทุกฝ่ายใช้เหตุใช้ผล” แขกว่าคำพูดเหล่านี้มันไม่ valid สำหรับแขก

วิจักขณ์: ไม่ valid ยังไง?

คำ ผกา: คนมันจะฆ่ากันอยู่แล้ว จะมานั่งเทศน์ “ขอให้ทุกคนหยุดก่อน ใช้เหตุผล”  มันลอยมาก คือถึงจุดนี้แล้ว คุณก็เห็นๆอยู่ว่าใครทำอะไร คุณต้องพูดเจาะจงลงไปในบริบทให้ได้ชัดกว่านี้

วิจักขณ์: การพูดแบบกระตุ้นเตือน เตือนสติแบบนี้ มันไม่มีผลดีอะไรเลยเหรอ

คำ ผกา: ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ แขกว่าถ้าจะพูดลอยๆแบบนี้ ไม่พูดซะจะดีกว่า ไม่ต้องออกมาพูดเลย ก็อยู่ที่วัดไป ทำหน้าที่ของท่านไปนั่นแหละ แต่ถ้าอยากจะออกมาพูด แล้วพูดแค่นี้ มันไม่ได้ส่งผลอะไรเลย นอกจากสร้าง popularity ให้กับตัวเอง

พูดแบบนี้ใครก็รักน่ะ แล้วพูดให้คนรัก แขกมองว่ามันไม่ค่อยมีความหมาย

วิจักขณ์: นี่เป็นการเรียกร้องให้ศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองมากขึ้นด้วยรึเปล่า

คำ ผกา: มันต้องยุ่งอยู่แล้ว ไม่มีศาสนาที่ไหนไม่ยุ่งกับการเมือง เพราะเราไม่ได้แบ่งแยกโลกศาสนจักร กับโลกของฆราวาสออกจากกันโดยสิ้นเชิง ใช่มั๊ยคะ

วิจักขณ์: ไม่รู้สึกว่าถ้าพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้วจะแปดเปื้อน

คำ ผกา: ถ้าคุณพูด คุณต้องยอมแปดเปื้อน (เน้นเสียง) แต่ถ้าคุณไม่อยากแปดเปื้อน คุณต้องไม่พูดเลย คนมาขอสัมภาษณ์ก็ต้องบอกว่าไม่ให้สัมภาษณ์ เพราะว่าไม่อยากยุ่ง ไม่อยากแปดเปื้อน อาตมาอยู่เหนือการเมือง ก็ต้องพูดแบบนี้ ไม่ต้องมาถาม อยากฆ่ากันก็ฆ่าไป อาตมาไม่เกี่ยว ถ้าจะออกมาพูดก็ต้องยอมแปดเปื้อน ถ้าออกมาพูดแล้วไม่ยอมแปดเปื้อน เอาแต่ play safe อย่างนี้ แขกว่าเห็นแก่ตัว

วิจักขณ์: แล้วคิดว่าในตัวศาสนา หรือสถาบันทางศาสนา มีศักยภาพมากกว่าสถาบันอื่นมั๊ย เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง

คำ ผกา: มีสิคะ เหมือนแขกบอกว่าเอาเจ้าอาวาสเข้าไปคุยกับนายอำเภอ มันมีน้ำหนักกว่าเอาชาวบ้านไปคุย สมมติว่ามีความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับราชการ คืออย่างน้อยมันมีทุนทางวัฒนธรรมที่มากกว่าชาวบ้านร้านช่อง เพราะฉะนั้นพระสงฆ์เองหรือศาสนาเองก็ต้องตระหนักในต้นทุนอันนี้ที่ตัวเองมีอยู่ แล้วก็ต้องคิดว่าตัวเองจะใช้ต้นทุนอันนี้ไปเพื่ออะไร จะใช้ต้นทุนอันนี้ไปเพื่อประโยชน์ของคนจำนวนมาก หรือจะใช้ต้นทุนอันนี้มาสร้าง popularity ให้กับตัวเอง สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง หรือจะใช้ต้นทุนอันนี้เพื่ออยากจะเป็น icon แห่งความเป็นปัญญาชนของตัวเองก็แล้วแต่ แต่ที่แน่ๆคุณมีต้นทุนอันนี้อยู่ เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้

วิจักขณ์: ซึ่งก็ต้องมองให้เห็นว่าคนที่อยู่ในสถาบันทางศาสนา เป็นครูบาอาจารย์ ธรรมาจารย์ในพุทธศาสนาเอง ด้วยสถานะของเค้า ไม่ว่าจะด้วยการปฏิบัติ ชื่อเสียง วัด หรือศูนย์ปฏิบัติธรรมที่เขาอยู่ก็ตามที ด้วยวัฒนธรรมที่ให้เครดิตกับพุทธศาสนามาก มันก็ทำให้เขามีต้นทุนที่มากกว่าคนทั่วไป

คำ ผกา: แน่นอนสิคะ ก็เรามีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ซึ่งคุณปฏิเสธตรงนี้ไม่ได้ เพราะมันคือสถาบันหลักของสังคมที่เราอยู่ ศาสนาได้ถูกสถาปนาให้เป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของประเทศ เพราะฉะนั้น คุณปฏิเสธต้นทุนอันนี้ไม่ได้เลย

วิจักขณ์: ซึ่งถ้าตระหนักแล้ว ก็ต้องรู้จักใช้...

คำ ผกา: อันนี้ก็เป็นสิทธิของพระแต่ละท่านแล้วล่ะว่าจะใช้ยังไง แล้วแขกก็ไม่มีสิทธิที่จะไปบอกใคร ว่าใครควรจะใช้ยังไง อันนี้ก็เป็นเรื่องของวิจารณญาณ เรื่องของจิตสำนึกของท่านเอง ว่าท่านจะใช้มันไปเพื่อการใด

วิจักขณ์: แต่ถ้าจะใช้มาเกี่ยวข้องกับสังคม เกี่ยวข้องกับการเมือง ก็...   

คำ ผกา: ก็ต้องรู้ว่าตัวเองจะแปดเปื้อน ต้องยอมเปื้อน ไม่ใช่แบบว่าจะลอยตัว หรือแค่จะมาพูดอะไรดีๆ พูดดีใครก็พูดได้ แขกก็พูดได้ (ดัดเสียง) “รักกกันนน อย่าใช้ความรุนนแรงง ให้ใช้เหตุผลล ให้มีสติ อย่าวู่วามม ให้มองเห็นทั้งจุดดี จุดด้อยของผู้อื่นน”

สัมภาษณ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553
ภาพจาก นิตยสาร woman and home
____________________________

บ้านตีโลปะ
www.tilopahouse.com

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น