โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

แกนนำเสื้อแดงอุบลฯ ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 3 ร้องขอความช่วยเหลือ พร้อมเตรียมมอบตัว

Posted: 19 Aug 2010 02:17 PM PDT

ศปช.เผย “นายประยุทธ” แกนนำเสื้อแดงอุบลฯ ติดต่อขอความช่วยเหลือด่วน ต้องการเงินรักษาอาการป่วยที่กำเริบหนัก เหตุไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องต้องหลบซ่อนตัวกลัวถูกจับกุม ชี้ถูกขู่โดนคดีโทษถึงประหารชีวิต พร้อมเผยต้องการเข้ามอบตัวกับตำรวจ พุธที่ 25 ส.ค.นี้ 

 
น.ส.ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน อาสาสมัครศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) ให้ข้อมูลในการแถลงข่าวความคืบหน้าการทำงาน 1 เดือน ศปช. ถึงกรณีนายประยุทธ มูลสาร อายุ 54 ปี แกนนำคนเสื้อแดงในจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ระยะที่ 3 และถูกออกหมายจับในหลายข้อหา ทั้งยั่วยุ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และปลุกระดมผ่านวิทยุชุมนุม นอกจากนี้เขายังเคยถูกข่มขู่ว่าจะถูกจำคุกและประหารชีวิตด้วย ทั้งนี้นายประยุทธได้ติดต่อกับ ศปช.เพื่อขอความช่วยเหลือเนื่องจากอาการป่วยของเขากำเริบหนัก เพราะไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้องหลบหนีการจับกุม โดยเบื้องต้นเขาต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องการเข้ามอบตัวกับตำรวจ
 
น.ส.ขวัญระวี กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือของศูนย์ในกรณีดังกล่าวว่า เป็นเรื่องของสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ใครจะมาละเมิดไม่ได้ ไม่สามารถผ่อนผันได้ แม้ว่าคนคนนั้นจะถูกหมายจับ เป็นแกนนำ หรือเข้าร่วมการชุมนุมจริงหรือไม่ สิทธิของเขาต้องได้รับการปกป้อง โดย ศปช.ยึดหลักการทำงานในลักษณะนี้
 
น.ส.ขวัญระวีกล่าวด้วยภายหลังการสลายการชุมนุมทางรัฐบาลไม่ได้มีการเปิดเผยถึงตัวเลขคนหาย ตาย เจ็บ หรือข้อมูลการจับกมดำเนินคดี ทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถสืบหายผู้สูญหายได้ และถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถระบุว่าใครคือผู้กระทำผิดหรือเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำอย่างชัดเจนได้  
 
 
บันทึก ศปช.: กรณี นายประยุทธ มูลสาร
 
นายประยุทธ มูลสาร อายุ 54 ปี อาชีพ ข้าราชการบำนาญ ภรรยา เปิดร้านเสริมสวย จังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปก. ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549 ในฐานะแกนนำจังหวัดอุบลราชธานี และประธานกลุ่มอุบลรักทักษิณ กระทั่งมาเป็น นปช.
 
ช่วงชุมนุมใหญ่เดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2552 นายประยุทธในฐานะแกนนำเขตภาคอีสาน หัวหน้าโซน 4 จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ นำชาวบ้านจากจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 300 คน เดินทางเข้ามาชุมนุมที่กรุงเทพฯ และคอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านที่มาชุมนุม ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลฯ อยู่ตลอดช่วงเวลาของการชุมนุม กระทั่งมีการสลายการชุมนุมในวันที่ 13-14 เมษายน ที่เรียกว่า “เมษาเลือด”
 
นายประยุทธเริ่มมีอาการป่วย โดยมีเลือดออกทางทวารหนัก ตั้งแต่ปี 2551 และอาการเรื้อรังมาเรื่อยๆ กระทั่งไปเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2552 แต่ทางโรงพยาบาลมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่กรุงเทพฯ นายประยุทธเดินทางมาตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พบว่า ตนป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ทีแรกตั้งใจจะรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนั้น แต่ไม่มีเงินค่ารักษา จึงเดินทางกลับมารักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี หมอนัดทำคีโม 9 ครั้ง จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา แต่นายประยุทธเข้ารับการทำคีโมได้เพียง 7 ครั้ง ก็มีการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ (ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553) นายประยุทธตัดสินใจนำชาวบ้านเข้ามาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง “ตอนนั้นคิดว่าไหวอยู่ คิดว่ายังไงคงไม่ถึงตายหรอก”
 
การชุมนุมเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้า นายประยุทธคอยดูแลอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้ชาวบ้านในพื้นที่ของตนที่มาร่วมชุมนุม จนผ่านเหตุการณ์ 10 เมษายน นายประยุทธยังคงปักหลักอยู่ที่สะพานผ่านฟ้ากับชาวบ้านในพื้นที่ที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาช่วยกันรักษาพื้นที่ในการชุมนุม เมื่อการชุมนุมเคลื่อนย้ายไปที่แยกราชประสงค์ นายประยุทธก็ยังคงนำชาวบ้านจากพื้นที่ที่ตนดูแลอยู่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาร่วมชุมนุมอยู่ตลอดเวลา จนวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 อาการป่วยของเขากำเริบหนัก เพราะไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง นายประยุทธจึงตัดสินใจเดินทางกลับอุบลราชธานีเพื่อเข้ารับการรักษา ช่วงเวลานี้หมอตรวจพบวัณโรคระยะ 3 แทรกซ้อนขึ้นมาอีก ต้องใช้เวลาในการรักษา 6 เดือน จึงจะหายขาด แต่นายประยุทธรักษาไปได้เพียง 3 เดือน ร่างกายก็รับไม่ไหว
 
ระหว่างนี้ การชุมนุมที่กรุงเทพฯ ยังคงดำเนินไป จนเหตุการณ์ตึงเครียด มีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายประยุทธซึ่งยังต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล ไม่สามารถเดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ได้ จึงตั้งเวทีขึ้นบริเวณข้างศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี มีการชุมนุมและปราศรัยตั้งแต่ 5 โมงเช้า ถึงเที่ยงคืน เป็นประจำทุกวัน
 
กระทั่งวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ เวทีปราศรัยที่จังหวัดอุบลฯ ของนายประยุทธก็ยังคงทำหน้าที่คู่ขนานกับเวทีที่กรุงเทพฯ จนสี่ทุ่ม ผู้ชุมนุมก็แยกย้ายกันกลับ วันรุ่งขึ้น คือวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 มีการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายประยุทธยืนยันว่า เขาไม่รู้เรื่องการเผานี้ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย
 
แต่หลังจากนั้นเขาก็ถูกออกหมายจับในหลายข้อหา ทั้งยั่วยุ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และปลุกระดมผ่านวิทยุชุมนุม นอกจากนี้เขายังเคยถูกข่มขู่ว่าจะจำคุกและประหารชีวิตด้วย
 
ช่วงเวลานั้น นายประยุทธได้รับแจ้งจากเพื่อนว่าเขามีชื่ออยู่ในบัญชีที่จะถูกเก็บด้วย “เขาว่าผมจะโดนเป่าเหมือนอ้วน บัวใหญ่” นายประยุทธจึงเดินทางหลบหนี “หนีหัวซุกหัวซุน เร่ร่อนไปจังหวัดละ 5-6 วัน ก็ต้องย้าย ขึ้นรถก็ต้องใส่วิก ใส่แว่นตาดำตลอดเวลา พอลงรถก็ต้องเข้าที่พักเลย ร่างกายก็ไม่ไหว ย่ำแย่มาก ตอนให้สัมภาษณ์อยู่นี่ก็เหนื่อยมาก”
 
หลังหลบหนีไปได้เพียง 2 วัน นายประยุทธได้รับแจ้งจากภรรยาว่า ศอฉ. มีหมายเรียกมาที่บ้าน ให้ไปรายงานตัวที่นครราชสีมา พร้อมกับ ส.ส.สุพล ฟองงาม และ ส.ส.ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ทีแรกเขาตั้งใจจะไปรายงานตัวกับ ศอฉ. “แต่ที่อุบลมีหมายจับด้วย ข้อหาเผาศาลากลาง เลยไม่กล้าไป เพราะเขาบอกว่า ถ้าไปก็ถูกจับหมด ประกันตัวไม่ได้ เราป่วยอยู่ เลยไม่กล้าไปรายงานตัว กลัวถูกจับแล้วไม่ได้รักษา”
 
ปัจจุบันนายประยุทธยังคงอยู่ระหว่างการหลบหนี เขาบอกว่า ที่พักหายากขึ้นทุกขณะ เบอร์โทรศัพท์ก็ต้องคอยเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ขณะที่อาการป่วยก็ทรุดหนักลงเรื่อยๆ ทำได้เพียงกินยาแก้ปวดระงับอาการ “กินแต่ยาแก้ปวดวันละ 4 เม็ด ให้หายปวดชั่วครั้งชั่วคราว จนจะติดมอร์ฟีนแล้ว”
 
นายประยุทธติดต่อ ศปช.เพื่อขอความช่วยเหลือ เบื้องต้นเขาต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องการเข้ามอบตัวกับตำรวจ โดยเขาแจ้งว่า จะเข้ามอบตัวในวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 นี้
 
บริจาคเงินช่วยเหลือ
บัญชีออมทรัพย์ เลขบัญชี 915-205911-1
นางบุญเทียม แสนสุข
ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาตลาดบ้านคู่ชื่อ
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ศปช."เผยตัวเลข 168 เสื้อแดง โดนจับใน 5 จังหวัดอีสาน

Posted: 19 Aug 2010 01:44 PM PDT

แถลงทำงาน 1 เดือน เผยพบปัญหาทั้งเหวียงแหจับ-ข่มขู่ให้สารภาพ-เข้าไม่ถึงทนาย-ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมเสนอ 5 แนวทางการแก้ไข จี้รัฐเปิดเผยข้อมูลการจับกุม ด้านทนายชี้การไม่ให้ประกันตัวโดยอ้างเหตุเกรงไปกระทำความผิดซ้ำ เท่ากับเชื่อว่าผู้ต้องหากระทำความผิดจริง ขัดหลักสากลพิสูจน์ความบริสุทธิ์

 
วันนี้ (19 ส.ค.53) ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) โดยเครือข่ายสันติประชาธรรม ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดแถลงข่าวการทำงานครบรอบ 1 เดือน เปิดเผยภาพรวมสถานการณ์การจับกุมดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ในพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ขอนแก่น มุกดาหาร อุดรธานี และมหาสารคาม พบไม่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
 
ศปส.ก่อตั้งขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเข้าร้องเรียน และให้ข้อมูล ทั้งในกรณีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญหาย ผู้ถูกจับกุม ผู้ถูกดำเนินคดี และผู้ถูกคุกคาม โดยต้องการทำงานคู่ขนานกับคณะกรรมกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งเสนอโดยรัฐบาล สืบเนื่องจากการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐต่อผู้สูญเสียจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมยังไม่ครอบคลุม อีกทั้งยังพบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกจับกุมคุมขังอีกนับไม่ถ้วน
 
 
 
5 จังหวัดอีสาน ถูกจับรวมกว่า 168 คน
 
นายชัยธวัช ตุลาธน อาสาสมัคร ศปช. กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์การจับกุมในพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด จากตัวเลขล่าสุดของ ศปช.จำนวนรวมกว่า 168 คน ว่า ใน จ.อุบลราชธานี มีผู้ถูกจับกุมดำเนินคดี 60 คน เป็นชาย 53 คน และหญิง 7 คน ข้อหากระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน บุกรุก วางเพลิงเผาทรัพย์ ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และถูกแจ้งข้อหาเพิ่มจากดีเอสไอ 19 คน เป็นข้อหาก่อการร้าย 1 คน และสนับสนุนก่อการร้ายอีก 18 คน ผู้ต้องหาบางรายได้รับประกันชั่วคราว นอกนั้นขาดหลักทรัพย์ประกันตัว 
 
ที่ จ.ขอนแก่น มีผู้ถูกจับกุมทั้งหมด 14 คน เป็นชาย 8 คน และหญิง 2 คน ในข้อหาวางเพลิง ร่วมกันวางเพลิงและเผาทรัพย์ บุกรุกสถานที่ราชการ มีผู้ถูกจับกุมจำนวนหนึ่งที่ทราบว่าคดีของตนอยู่ระหว่างการสอบสวนของตำรวจ แต่ผู้ถูกจับกุมจำนวนหนึ่งไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของคดี ผู้ถูกจับกุม 6 คน ยังไม่ได้รับการประกันตัว 
 
ส่วนที่ จ.มหาสารคาม ผู้ถูกจับดำเนินคดีเป็นชายทั้งหมด 12 คน ข้อหาวางเพลิง และผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมดอยู่ระหว่างการฝากขังและสอบสวน ขณะที่ จ.มุกดาหารมีผู้ถูกจับกุม 28 คน เป็นชาย 27 คน และหญิง 1 คน โดยมีข้อหาวางเพลิงเผาศาลากลางและบุกรุกสถานที่ราชการ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการฝากขัง
 
นายชัยธวัชกล่าวต่อมาว่า ใน จ.อุดรธานี มีผู้ถูกจับกุมทั้งหมด 54 คน มีข้อหาพยายามวางเพลิง ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยกเว้น 3 รายที่เป็นดีเจวิทยุชุมชน ปล่อยตัวออกมา 29 คนเนื่องจากครบกำหนดผัดฟ้องและเป็นข้อหาเบา คือ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชุมนุมเกิน 5 คน และมีการทยอยส่งฟ้องคดีเผาสถานที่ราชการ
 
อาสาสมัคร ศปช.กล่าวด้วยว่าพบปัญหาในเรื่องผู้ถูกออกหมายจับไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมายในหลายจังหวัด กระทั่งถูกจับกุม บางรายไปร่วมชุมนุม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเผาศาลากลาง แต่กลับถูกแจ้งว่าเผาศาลากลาง ที่สำคัญบางรายไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่อย่างใดแต่ในวันเกิดเหตุ ได้เข้าไปยืนสังเกตการณ์ เดินผ่าน ห้ามปราม หรือจอดรถไว้บริเวณใกล้เคียง กลับตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกออกหมายจับ
 
 
เผยพบปัญหาเหวียงแหจับ-ข่มขู่ให้สารภาพ-เข้าไม่ถึงทนาย-ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
 
ส่วนสภาพปัญหาของผู้ถูกจับกุมที่พบจากการทำงาน 1 เดือนที่ผ่านมา นายชัยธวัช กล่าวว่า มีอยู่ 7 ข้อ คือ 1.มีการแจ้งข้อกล่าวหาและการออกหมายจับแบบเหวี่ยงแห โดยหลักฐานในการแจ้งจับไม่ชัดเจน และผู้ถูกออกหมายจับบางคนไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมาย 2.การปฏิบัติไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐขณะจับกุมและควบคุมตัว โดยมีทั้งการใช้กำลังทำร้ายขณะจับกุมและควบคุมตัว และพูดข่มขู่รวมทั้งใช้กำลังบังคับให้รับสารภาพ อีกทั้งยังพบว่ามีการยึดทรัพย์ด้วย 
 
3.ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงทนายความ 4.ปัญหาเรื่องสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว 5.สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ 6.ผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว และ 7.ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมและในบางรายที่เจ็บป่วยในขณะถูกควบคุมตัว ซึ่งในเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวด้วย
 
 
จี้เปิดเผยข้อมูลการจับกุม-หาหลักฐานให้พร้อมก่อนออกหมายจับ
 
ด้านนายอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 ข้อ คือ 1.รัฐบาลต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ที่ถูกออกหมายจับและถูกจับกุมในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา 2.เรื่องสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม หากผู้ต้องหามีความจำเป็นที่จะได้รับการรักษาพยาบาลที่เกินกว่าเรือนจำจะสามารถให้บริการได้ ก็ควรได้รับสิทธิในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับการประกันตัวเพื่อออกมารักษาตัวภายนอก
 
3.คดีที่สืบเนื่องจากการชุมนุมเป็นคดีการเมือง ประกอบกับมีการประกาศจับผู้ต้องหาอย่างเหวี่ยงแหและคลุมเครือส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ดังนั้นควรพิจารณากระบวนการออกหมายจับ โดยให้หาหลักฐานให้พร้อม และสามารถฟ้องคดีได้ทันทีก่อนออกหมายจับ เมื่อจับมาแล้วให้ส่งฟ้องทันทีโดยไม่ต้องฝากขังอีก 84 วัน 4.จากการตั้งราคาประกันตัว 100,000 – 500,000 บาทต่อราย แต่เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่มีหลักทรัพย์หรือเงินประกันตัว ดังนั้น ศาลควรสั่งปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องอาศัยหลักประกัน 
 
และ 5.ศาลควรปฏิบัติตามหลักสากลว่าต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด การออกหมายจับ ให้ออกหมายจับได้เมื่อมีหลักฐานพร้อมฟ้องคดีเท่านั้น ส่วนการปล่อยชั่วคราวจะต้องเป็นหลักว่าศาลต้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวทุกคดี ทุกคน และการเรียกหลักประกันต้องเรียกตามฐานะของผู้ต้องหาหรือจำเลย
 
 
ทนายชี้ผู้ชุมนุมถูกจับกุม เป็น “แพะ” หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตีความ
 
นายประเวศ ประภานุกูล ทนายความซึ่งได้ร่วมลงพื้นที่ดูข้อมูลการจับกุมดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.กล่าวว่า ตามหลักกฎหมายเรื่องการออกหมายจับโดยทั่วไปจะต้องมีการออกหมายเรียก 2 ครั้งแล้วจึงออกหมายจับ แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นในกรณีความผิดร้ายแรง ให้สามารถออกหมายจับได้เลยโดยไม่ต้องมีหมายเรียก ซึ่งในความผิดตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คดีการเมือง และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ถูกตีความเป็นความผิดร้ายแรง และมีการหยิบข้อยกเว้นนี้มาใช้ออกหมายจับเป็นกรณีทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาคนไม่รู้ว่าตัวเองถูกออกหมายจับจำนวนมาก ทั้งที่การบังคับใช้กฎหมายตามข้อยกเว้นควรใช้ให้น้อย ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาของข้อกฎหมายที่เขียนไว้กว้างจนเกินไป  
 
นายประเวศกล่าวถึงกรณีการตั้งคำถามว่าผู้ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำผิดหรือเป็นเพียงแพะรับบาปว่า ขึ้นอยู่กับการให้ความหมาย ซึ่งหากจะให้ความหมายอย่างแคบก็จะพบว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีผู้ที่ได้ลงมือเผาจริงอยู่ แต่ในความหมายอย่างกว้าง จากตัวอย่างที่ได้ลงพื้นที่ไปดูคดีการจับกุมที่จังหวัดอุบลราชธานีพบว่า ก่อเกิดการเผา ได้มีการยั่วยุจากเจ้าหน้าที่โดยการยิงปืนเข้าหาผู้ชุมนุม และมีการปล่อยข่าวว่ามีผู้ชุมนุมถูกทหารยิงเสียชีวิต นอกจากนั้นยังมีข้อสังเกตว่าอาคารที่ถูกเผานั้นไม่มีข้าราชการคนอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานอยู่เลย อีกทั้งเอกสารสำคัญต่างๆ ได้ถูกขนย้ายออกจากอาคารดังกล่าวก่อนหน้านั้นแล้ว
 
“ผู้ชุมนุมถูกยั่วยุ และหลอกล่อให้จุดไฟเผา ให้กระทำ ตามความหมายอย่างกว้างตรงนี้คือแพะทั้งหมด” นายประเวศกล่าว 
 
นายประเวศกล่าวด้วยว่า กรณีที่ศาลไม่ให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องร้ายแรง และเกรงไปกระทำความผิดซ้ำ เท่ากับเชื่อว่าผู้ต้องหากระทำความผิดจริง แต่หากเชื่อว่าบริสุทธิ์ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ การไม่ให้ประกันตัวโดยอ้างเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเหตุผลไม่ได้วางอยู่บนความเป็นกลางในการพิจารณาคดี และขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด
 
“ตามหลักสากล ปล่อยคนผิด 10 คน ดีกว่าประหารคนถูก 1 คน แต่ของบ้านเราคิดกลับกันเป็นประหารคนถูก 10 คนดีกว่าปล่อยคนผิด 1 คนเอาไว้” นายประเวศแสดงความเห็น
 
ด้านน.ส.ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงการทำงานของ ศปช.ว่า ขณะนี้มีผู้โทรมาแจ้งเรื่องกับทางศูนย์เป็นระยะ โดยเฉลี่ยเดือนที่ผ่านมาราว 20 ราย มีทั้งในกรณีของการข่มขู่คุกคามโดยการที่เจ้าหน้าที่ไปหาถึงที่บ้าน และในกรณีแม่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เมษา โทรมาให้ข้อมูลว่ายังไม่ได้ทำการเผาศพลูก แต่ทั้งนี้ ไม่นับร่วมการโทรมาระบายอารมณ์ หรือโทรมาให้กำลังใจ นอกจากนี้ทาง ศปช.ยังได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในระดับพื้นที่ด้วย ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะถูกรวบรวมจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อนำมายันกับข้อมูลของ คอป.และจะมีการอัพเดตข้อมูลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปอีก   
 
ทั้งนี้ ผู้เดือดร้อนจากการชุมนุม หรือผู้ที่ต้องการช่วยเหลือ สามารถแจ้งรายละเอียดหรือติดต่อได้ที่ ศปช.ฮอตไลน์ 08-6060-5433 หรืออีเมล์: peopleinfocenter@gmail.com อีกทั้งมีบัญชีรับบริจาค เลขที่บัญชี 645-2-02766 -4 ธนาคารกสิกรไทย สาขา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชื่อบัญชี "น.ส.กฤตยา อาชวนิจกุล และนายอภิชาต สถิตนิรามัย และ น.ส.ขวัญระวี วังอุดม และ นายชัยธวัช ตุลาธน" 
 
ส่วนข้อมูลและข้อเท็จจริงจะมีการนำเสนอรายงานต่อสาธารณชนเป็นระยะๆ โดยผู้สนใจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สันติประชาธรรม www.peaceandjusticenetwork.org หรือติดตามได้ใน Facebook ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)
 
 
 
 
 
000
 
 
ภาพรวมสถานการณ์การจับกุมดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการชุมนุมของ นปช.
ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประมวลกฎหมายอาญา
ในพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด (อุบลราชธานี ขอนแก่น มุกดาหาร อุดรธานี และมหาสารคาม) [1] 
 
1. จ.อุบลราชธานี รวม 60 คน (ชาย 53 คน หญิง 7 คน)
ข้อหา: กระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ก่อให้เกิดความวุ่นวาย บุกรุก วางเพลิงเผาทรัพย์ มั่วสุม ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีการแจ้งข้อหาเพิ่มจากดีเอสไอ 19 ราย เป็นข้อหาก่อการร้าย 1 ราย และสนับสนุนก่อการร้ายอีก 18 ราย
สถานะทางคดี: ผู้ต้องหาบางรายได้รับประกันชั่วคราว (ไม่สามารถระบุตัวเลขที่แน่ชัดได้ ณ ขณะนี้) ขณะที่บางราย (5 ราย) ขาดหลักทรัพย์ประกันตัว ส่วนผู้ต้องหาข้อหาวางเพลิงไม่มีใครได้รับอนุญาตประกันตัว
 
2. จ. ขอนแก่น รวม 14 คน (ชาย 8 คน หญิง 2 คน)
ข้อหา: วางเพลิง/ร่วมกันวางเพลิงและเผาทรัพย์ บุกรุกสถานที่ราชการ มีอาวุธปืนในครอบครอง ประทุษร้ายเจ้าพนักงาน หนีการจับกุม
สถานะทางคดี: ขณะนี้มีผู้ถูกจับกุมจำนวนหนึ่งที่ทราบว่าคดีของตนอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ผู้ถูกจับกุมจำนวนหนึ่งไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของคดี ผู้ถูกจับกุม 6 ราย เคยขอยื่นประกันตัวแล้ว ในจำนวนนี้มี 1 ราย เท่านั้นที่ได้รับการประกันตัวแล้ว และมี 1 ราย เคยยื่นขอประกันตัว 2 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการประกันตัว ผู้ถูกจับกุมอีก 4 ราย ไม่เคยยื่นขอประกันตัว ซึ่งในจำนวนนี้มี 2 รายที่ให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว
หมายเหตุ: ผู้ถูกจับกุม 1 ราย ได้รับการประกันตัวแล้ว ยังไม่มีข้อมูลด้านคดี
 
3. จ. มหาสารคาม รวม 12 คน (ชายทั้งหมด)
ข้อหา: วางเพลิง ออกนอกเคหะสถาน (ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) มีอาวุธ (มีกรณีผู้ต้องหารายหนึ่งมีเสื้อกันกระสุนโดยไม่มีใบอนุญาต)
สถานะทางคดี: ทั้งหมดอยู่ระหว่างการฝากขังและสอบสวน
หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.ค.53
 
4. จ. มุกดาหาร รวม 28 คน (ชาย 27 คน หญิง 1 คน) 
ข้อหา: วางเพลิงเผาศาลากลางและบุกรุกสถานที่ราชการ
สถานะทางคดี: อยู่ระหว่างสอบสวน (17 รายฝากขังครั้งที่ 5) และส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการฝากขัง จำนวนหนึ่งอยู่ระหว่างทยอยส่งฟ้อง ผู้ต้องหาบางรายไม่มีทนาย หรือสับสนว่ามีทนายหรือไม่ และ 10 รายระบุว่าต้องการความช่วยเหลือทางคดี ด้านการประกันตัว ผู้ต้องหาคดีบุกรุกเคหะสถานจำนวน 8 รายได้รับการประกันตัว ในขณะที่คดีเผาศาลากลางไม่มีใครได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
 
5. จ. อุดรธานี รวม 54 คน
ข้อหา: พยายามวางเพลิง ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
สถานะทางคดี: ยกเว้น 3 ราย (ดีเจวิทยุชุมชน) ถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน และ 1 ปี 6 เดือน (ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ปลุกระดมให้คนมาชุมนุม) และอยู่ระหว่างอุทธรณ์คดี ปล่อยออกมา 29 คนเนื่องจากครบกำหนดผลัดฟ้องและเป็นข้อหาเบา (ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ชุมนุมเกิน 5 คน) ทยอยส่งฟ้องคดีเผาสถานที่ราชการ ถูกฟ้องคดีเผาศาลากลาง 11 คน เผาที่ว่าการอำเภอ 15 คน หรืออยู่ระหว่างสอบสวน
 
หมายเหตุ: ตัวเลขของผู้ถูกจับกุมดำเนินคดี ไม่ใช่ผู้ที่ออกหมายจับทั้งหมด
 
 
 
 
 
000
 
 
สภาพปัญหา
 
1.   การแจ้งข้อกล่าวหาและการออกหมายจับแบบเหวี่ยงแห
1.1          หลักฐานในการแจ้งจับไม่ชัดเจน
บางหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี (เช่น อำเภอสว่างวีรวงศ์) ชาวบ้านจำนวนกว่าครึ่งถูกออกหมายจับ โดยหลักฐานที่ใช้เป็นเพียงภาพถ่ายซึ่งเห็นใบหน้าของผู้ถูกออกหมายจับไม่ชัดเจน บางรายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแล้วนำรูปมาให้ชี้ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่รูปตนเองเลยต้องปล่อยตัว
 
ในจังหวัดอุดรราชธานี ผู้ถูกจับกุมข้อหาวางเพลิงเผาศาลากลางรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าขณะที่มีการชุมนุม เขาแวะไปดูเพราะอยากรู้ว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไรบ้าง จู่ๆพอมีการสลายชุมนุม “(ผม) ไม่รู้ทิศทางที่จะวิ่ง เพราะทหารตะโกนว่าใครไม่ได้ทำผิดอย่าหนี ก็เลยนั่งอยู่ที่เดิม”ก่อนถูกจับในที่สุด
 
1.2          ผู้ถูกออกหมายจับไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมาย
ในหลายจังหวัด ผู้ถูกออกหมายจับไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมายจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุม บางรายไปร่วมชุมนุม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเผาศาลากลางจังหวัด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำรูปถ่ายจากคนละเหตุการณ์มาเชื่อมโยงว่าเป็นเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัด หรือบางรายไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่อย่างใด แต่ในวันเกิดเหตุเข้าไปยืนสังเกตการณ์หรือถ่ายรูป บางรายแค่เดินผ่าน หรือมีรถของตนจอดอยู่บริเวณใกล้เคียงทำให้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกออกหมายจับ
 
 
ชาวบ้านรายหนึ่งปรากฏในรูปถ่าย [2] ตามหมายจับของตำรวจข้อหาวางเพลิง ทั้งๆ ที่เขาพยายามห้ามไม่ให้วางเพลิง คล้ายกับกรณีจับกุมผู้ใหญ่บ้านที่ขอนแก่น ซึ่งระบุว่าตนเองไปในที่เกิดเหตุเพื่อห้ามผู้ชุมนุมไม่ให้วางเพลิงและเผาทำลายสถานที่ราชการ (ที่มา: มติชนออนไลน์)
 
2.   การปฏิบัติไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐขณะจับกุมและควบคุมตัว
2.1          ใช้กำลังทำร้ายขณะจับกุมและควบคุมตัว
ในจังหวัดมุกดาหาร ผู้ต้องหาทั้งหมด 16 รายที่อยู่ในที่ชุมนุมวันที่ 19 พฤษภาคม เล่าว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายขณะสลายการชุมนุมและจับกุมตัวแม้ไม่ได้ต่อสู้ขัดขวาง ยกตัวอย่าง ผู้ต้องหาชื่อนาย ก. เล่าว่าเขาไม่ได้ร่วมชุมนุมแต่ทราบว่ามีการเผาศาลากลางจึงมายืนดู เมื่อเห็นผู้ชุมนุมวิ่งหนีขณะมีการสลายการชุมนุม จึงวิ่งตามแต่ถูกตำรวจตีศีรษะแตกก่อนจะจับกุมตัวไว้ บางรายถูกตำรวจเตะด้วยร้องเท้าคอมแบตเลือดไหลออกจมูก และยังมีอาการเวียนศีรษะจนกระทั่งปัจจุบัน
 
นอกจากนั้นกรณีของจังหวัดเดียวกัน หลังการสลายชุมนุม ผู้ถูกจับกุมทั้งหมดถูกนำตัวไปโรงพักก่อนจะถูกนำตัวกลับไปบริเวณศาลากลางอีกครั้งและถูกคุมขังอยู่ในรถขนผู้ต้องหา 2 คัน ทุกคนให้การว่าขณะถูกคุมขังอยู่บนรถ พวกเขาต้องฉี่ใส่ถุง จะได้รับอนุญาตให้เข้าห้องน้ำได้เฉพาะเวลาถ่ายหนัก และไม่ได้อาบน้ำตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 คืน (จนกระทั่งวันที่ 21 พ.ค. เมื่อถูกย้ายมาฝากขังในเรือนจำกลางจังหวัด) การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นการทรมานและลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจับกุมอย่างชัดเจน
 
อีกจังหวัดผู้ถูกจับกุมรายหนึ่งซึ่งถูกจับกุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ถูกเจ้าหน้าที่แต่งชุดทหารทำร้ายร่างกายหลังนำตัวผู้ถูกจับกุมไปยังด้านหลังศาลากลางจังหวัด แล้วลงมือซ้อม โดยถีบที่ใบหน้า 4-5 ครั้ง ระหว่างนั้นมีการเอาปืนหลายกระบอกและหลายชนิดจ่อหัว จนผู้ถูกจับกุมกรามขวาหักและหมดสติ
 
2.2 พูดจูงใจ/ขู่/ ใช้กำลังบังคับให้รับสารภาพ
กรณีนาย ว. ผู้ต้องหาเล่าว่าถูกจูงใจให้รับสารภาพว่ามีส่วนร่วมในการเผาศาลากลางจังหวัดแห่งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เหตุผลว่าหากรับสารภาพจะได้รับโทษเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อรับสารภาพกลับถูกขังและต้องคดีอาญา
 
หรือกรณีของนาย ส. เล่าว่าตำรวจบอกว่าหากไม่รับสารภาพว่าเผาศาลากลางจังหวัดแห่งหนึ่ง หรือชี้รูปอาจต้องติดคุกหลายสิบปี เขาจึงรับสารภาพแต่ไม่ได้ชี้รูปใคร และยังมีบางรายที่เล่าว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังบังคับให้รับสารภาพ [3]
 
ในอีกจังหวัด ผู้ต้องหารายหนึ่งเล่าว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้แสดงหมายจับก่อนจับกุม แต่กลับระบุในหนังสือลงนามรับทราบข้อกล่าวหาว่าได้แสดงหมายจับแล้ว เมื่อเขาทักท้วง เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่า ได้แสดงหมายจับแล้ว เมื่อผู้ถูกจับกุมยืนยันอีกว่าไม่มีการแสดงหมายจับกลับถูกข่มขู่ว่า “จะเซ็นต์หรือไม่เซ็นต์ ในเมื่อเขาบอกว่าเอาให้ดูแล้ว เดี๋ยวกูจะคัดค้านมึงไม่ให้ประกันตัวเสียเลย” ผู้ถูกจับกุมเกรงจะไม่ได้รับการประกันตัว จึงยอมเซ็นชื่อในที่สุด
 
2.3 ยึดทรัพย์
ในทั้ง 5 จังหวัดมีการรายงานจากผู้ถูกจับกุมเกี่ยวกับการยึดทรัพย์โดยเจ้าหน้าที่รัฐขณะควบคุมตัว ยกตัวอย่างกรณีนาย ส. ถูกซ้อมจนสลบ เมื่อรู้สึกตัวก็พบว่าพระเครื่องของเขาหายไป บางรายถูกยึดทรัพย์สินหลายรายการ อาทิ เสื้อแดง 1 ตัว หนังสือเดินทาง โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง กระเป๋าเงิน และกุญแจบ้าน 1 ดอก
 
3.   สิทธิในการเข้าถึงทนายความ/ ปัญหาทนายความไม่เพียงพอ
มีทนายความท้องถิ่นเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาในเรือนจำ 5 จังหวัด แต่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ยังไม่มีทนายความและไม่รู้สถานะทางคดีของตน หลายรายเข้าใจว่าพวกเขายังอยู่ในระหว่างฝากขัง ในขณะที่ความเป็นจริงกำลังจะถูกสั่งฟ้องในอีกไม่กี่วัน ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัญหาจำนวนทนายความไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่ถูกจับกุม นอกจากนั้นผู้ต้องหาบางรายปฏิเสธความช่วยเหลือจากทนายความสิทธิมนุษยชนที่ไปจากส่วนกลางบางส่วนเนื่องจากความไม่ไว้วางใจในตัวบุคคลและองค์กร
 
ยกตัวอย่างในขอนแก่น ผู้ถูกจับกุมมีการแต่งตั้งทนายความแล้ว 2 ราย แต่รายหนึ่งเพิ่งได้พบทนายความของตนเพียงครั้งเดียวคือครั้งแรกที่ทนายความเดินทางมาเยี่ยม อีก 6 ราย ยังไม่มีการแต่งตั้งทนายความ ในจำนวนนี้มีผู้ถูกจับกุม 2 ราย ให้ข้อมูลว่า ไม่มีเงินจ้างทนายความ และผู้ถูกจับกุม 1 ราย ให้ข้อมูลว่า ไม่สามารถติดต่อใครได้ ในจำนวนนี้มี 9 ราย ต้องการความช่วยเหลือทางคดี
หมายเหตุ: ผู้ถูกจับกุม 1 ราย ได้รับการประกันตัวแล้ว ยังไม่มีข้อมูลด้านคดี
 
4.   สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) เนื่องจากศาลเกรงว่าจะหลบหนี หรือกลับมาก่อเหตุไม่สงบ ในขณะที่ความเป็นจริงผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไม่ได้มีความพยายามหลบหนีการจับกุมใดๆตั้งแต่แรก แต่เป็นเพราะไม่ทราบมาก่อนว่าพวกเขาโดนหมายจับของทางราชการจึงไม่ได้ไปมอบตัว หรือมีภาระทางครอบครัวที่ต้องดูแลเพราะเป็นเสาหลักของครอบครัว ไม่สามารถหนีไปไหนได้
 
นอกจากนั้น แม้บางกรณีในบางจังหวัดศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แต่ปัญหาหลักทรัพย์หรือเงินประกันสูง (ตั้งแต่ 200,000 – 500,000 บาท) เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ต้องหาที่มีฐานะยากจนไม่ได้รับการประกันตัว
 
5.   สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ
สภาพในเรือนจำกลางของทั้ง 5 จังหวัดค่อนข้างแออัด ส่วนหนึ่งมาจากระเบียบเกี่ยวกับการสร้างอาคารห้ามไม่ให้สร้างสูงเกินรั้ว ทำให้เรือนจำหลายแห่งไม่สามารถขยายพื้นที่เพื่อรองรับนักโทษได้ หนึ่งในผู้ต้องหาอธิบายสภาพที่นอนในเรือนจำว่า “นอนเท่าหมอนกว้าง”
 
บางรายเล่าว่า “การถูกควบคุมตัวในเรือนจำนั้นมีความกดดันมากมาย เราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้ต้องขังคดียาเสพติด หรือคดีฆ่า อีกทั้งยังมีสายตาของผู้ต้องขังที่ไม่เคยรู้ข่าวคราว ข้อเท็จจริงภายนอก รับข่าวสารบิดเบือนจากรัฐบาลมาตลอด พวกเขามองว่าเราเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง เจ็บปวดมาก ผู้ถูกกล่าวหาหลายคนเริ่มมีอาการทางประสาท มีความหวาดระแวงและขาดความไว้วางใจซึ่งกันละกัน อีกทั้งการกินอยู่หลับนอนก็แออัดยัดเยียด อาหารผู้ต้องขังยิ่งไม่ต้องบรรยาย”
 
มีเพียงเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานีเท่านั้นที่สามารถแยกผู้ต้องหาชายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองออกจากผู้ต้องหาคดีอื่นๆ
 
6.   ผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว
6.1 ขาดโอกาสศึกษาต่อและแบ่งเบาภาระครอบครัว
ยกตัวอย่างนักศึกษารายหนึ่ง เขาถูกทหารจับตัววันที่ 19 พ.ค. และตั้งข้อหาฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไป เขาเคยยื่นขอประกันตัวแต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะศาลเกรงว่าจะหลบหนี “ผมไม่ได้ทำผิดอะไร อยากออกไปดูแลพ่อแม่ซึ่งมีโรคประจำตัว และออกไปศึกษาต่อเพราะผมเพิ่งสอบติด”
 
6.2 ครอบครัวขาดเสาหลักในการทำมาหากินและที่พึ่งทางจิตใจ
ครอบครัวของผู้ต้องหาหลายรายได้รับผลกระทบจากการที่คนในครอบครัวของพวกเขาถูกจับกุม ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อรายได้ ชีวิตครอบครัว สูญเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ทำลายสภาพจิตใจสมาชิกในครอบครัว หลายครอบครัวต้องอยู่อย่างลำบากเนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเสาหลักของครอบครัว
 
ยกตัวอย่าง กรณีนาย ม. ภรรยามีอาการทางประสาท ไม่มีใครหาเลี้ยงลูกสามคนซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียนหลังจากที่เขาถูกจับ หรือกรณีสองสามีภรรยาถูกจับกุมขณะเข้าไปดูการเผาศาลากลาง โดยปัจจุบันจากการสอบถามญาติยังไม่ทราบข้อกล่าวหาที่แน่ชัด และยังไม่มีทนายดูแล ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คนกำลังอยู่ในวัยเรียน และต้องเลี้ยงดูยายชราและตาที่ป่วยเป็นโรคอัมพาต “ผมและภรรยาต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพราะครอบครัวเดือดร้อนอย่างสาหัส ลูกชาย 2 คนต้องไปโรงเรียนไม่มีเงิน ทราบว่าไม่ค่อยยอมไปโรงเรียนเพราะคิดถึงพ่อแม่ที่ต้องมาติดคุก ตายายต้องเลี้ยงดู โดยเฉพาะตาป่วยเป็นอัมพาตได้ 2 ปี มียายชราดูแลตาคนเดียว เมื่อขาดผมกับภรรยาที่เป็นคนทำงานหาเงิน ทำให้เดือดร้อนมากๆ ผมมีความทรมานจิตใจอย่างมากที่โดนกักขังร่วม 3 เดือนแล้ว คิดถึง เป็นห่วงลูกชาย 2 คนมากและห่วงตายาย มีปู่แก่ๆมาเยี่ยม”
 
7.   มีโรคประจำตัวหรือได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม
มีผู้ต้องขังในเรือนจำกลางทั้ง 5 จังหวัดป่วยเป็นโรคประจำตัวซึ่งต้องการการดูแลทางการแพทย์ที่เชียวชาญเฉพาะด้านอย่างใกล้ชิดและต้องการยาที่เฉพาะด้าน อาทิ ในเรือนจำจังหวัดอุดรฯมีผู้ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ และโรคไต เรือนจำจังหวัดอุบลฯผู้ต้องขังจำนวน 23 ราย จากทั้งหมด 45 รายมีโรคประจำตัวอาทิ ความดันสูง เบาหวาน ลมชัก มีปัญหาทางจิตหวาดระแวง เลือดจาง ไทรอยด์ หรือได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม เช่น โดนยิงและถูกอายัตตัวจากโรงพยาบาล และอาการยังไม่ทุเรา
 
 
...................................................................
 
[1] ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2553 จำนวนผู้ต้องหาและสถานะทางคดีในเรือนจำทั้งหมดนำมาจากเอกสารการเข้าเยี่ยมเรือนจำกลางของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8 – 11 กรกฎาคม 2553 ขอขอบคุณคณะอนุฯที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ส่วนข้อมูลที่เหลือมาจากการลงพื้นที่ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายชุมนุม เม.ย.–พ.ค. 53 ซึ่งทั้งหมดทำการอัพเดท ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2553
 
ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลและการบันทึกปากคำบางส่วนจำเป็นต้องตัดออกเพื่อความปลอดภัยของผู้ถูกจับกุมและเพื่อไม่ให้กระทบรูปคดีที่ยังดำเนินการอยู่
 
[2] เว็บไซด์ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี, หมายจับผู้กระทำผิดห้วงรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่อุบลราชธานี http://www.ubonratchathani.police.go.th/1_1_new_ubon/tung2010/tung-new/chukchen/Cho7.html
 
[3] ไม่สามารถใส่รายละเอียดได้เพื่อความปลอดภัยของผู้ต้องหา
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บก.ลายจุด เตรียมจัด “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” ย้ำ “เราไม่ลืม”

Posted: 19 Aug 2010 07:44 AM PDT

กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงผูกผ้าแดงราชประสงค์ 19 ก.ย.ชวนเสื้อแดงทั่วโลกใส่เสื้อสีแดงรำลึกครบรอบ “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” บอกรัฐบาลว่า “เราไม่ลืม”

 

 

 

19 ส.ค.53 เวลา 11.30 น. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง พร้อมกับสมาชิกกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง นำผ้าแดงมาผูกที่เสาของป้ายแยกราชประสงค์และร่วมกันปักกุหลาบแดง และชูป้าย “พบกัน 19 ก.ย.ราชประสงค์”

นายสมบัติกล่าวว่า เนื่องจากวันที่ 19 ก.ย.2553 ตรงกับวันอาทิตย์และตรงกับวาระ “4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์” กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงจึงเตรียมจัดกิจกรรม “แดงอะราวด์เดอะเวิลด์” โดยเชิญชวนคนเสื้อแดงทั่วโลกใส่เสื้อสีแดงและร่วมกันออกแบบกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงในวันดังกล่าว

ส่วนกิจกรรมในวันที่ 19 ก.ย.ที่กรุงเทพฯ นายสมบัติกล่าวว่า จะจัดขบวนจักรยานปั่นจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน ตระเวนไปรอบบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชน และขบวนจักรยานจะมาหยุดที่แยกราชประสงค์ในเวลา 17.00 น. จากนั้นจะเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง จึงขอเชิญชวนคนเสื้อแดงร่วมรำลึกเหตุการณ์ทั้งสองในวันที่ 19 ก.ย.นี้ และเชิญชวนคนเสื้อแดงสวมเสื้อสีแดงพร้อมกันทั่วประเทศ และสำหรับผู้ที่จะเดินทางมาร่วมกิจกรรมที่ราชประสงค์ นายสมบัติได้ขอให้นำเทียนสีแดงและผ้าแดงมาด้วย

“เรานัดหมายให้คนกลับมาที่ราชประสงค์ เพื่อมารำลึกและมาถามหาความเป็นธรรมในสังคม รัฐบาลอาจจะแกล้งลืมหรือพยายามทำให้ประชาชนลืม แต่เราจะบอกว่าเราไม่ลืม ทุกเดือนเราจะมาที่นี่” นายสมบัติกล่าว

หลังจากนั้น นายสมบัติและสมาชิกกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงได้ร่วมกันเก็บผ้าแดงและดอกกุหลาบแดงออกจากแยกราชประสงค์ โดยนายสมบัติกล่าวว่าไม่อยากให้เป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงแยกย้ายกันกลับไป

อนึ่งในตอนสายของวันเดียวกัน มีการจัดพิธีทำบุญให้แก่ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค.ที่วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน มีการถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ผู้ที่มาทำบุญรับประทานทานอาหารกลางวันร่วมกัน โดยในวันนี้มีประชาชนเดินทางมาร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมาก
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส.ส. เพื่อไทยอุดรฯ ฟ้อง 'จรัญ ภักดีธนากุล' ข้อหากบฏ ร่วมยึดอำนาจ

Posted: 19 Aug 2010 06:48 AM PDT

"มติชนออนไลน์" รายงาน "เกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์" ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทยแจ้งความตำรวจกองปราบ ให้ดำเนินคดี "จรัญ ภักดีธนากุล" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญข้อหากบฎและซ่องโจร

19 ส.ค. 2553 - เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานว่า ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต 2 พรรคเพื่อไทย พร้อมนายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย เข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.ชวลิต หาญเสน่ห์ลักษณ์ พนักงานสอบสวน (สบ 3) บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในข้อหากบฏและซ่องโจร

นายเกียรติอุดมกล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ตามคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ว่านายจรัญเข้าร่วมประชุมเพื่อทำการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นหัวหน้าได้ใช้กำลังทหารยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนการปกครอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ถือเป็นการกระทำความผิด ต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร คือผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 นายจรัญร่วมประชุมที่บ้านนายปีย์ มาลากุล และไม่เคยออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว จึงถือได้ว่านายจรัญมีส่วนร่วมในการยึดอำนาจครั้งนี้ด้วย และเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 201 ฐานความผิด ซ่องโจร

ด้าน พ.ต.ท.ชวลิตกล่าวว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องเอาไว้ก่อน ส่งให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป

 

ที่มา - เว็บไซต์มติชนออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพแรงงานภาครัฐแอฟริกาใต้ประท้วงทั่วประเทศ ต่อรองเงินเดือน-สวัสดิการ

Posted: 19 Aug 2010 06:09 AM PDT

 

 

19 ส.ค. 53 - สหภาพแรงงานภาครัฐของแอฟริกาใต้มีแผนการที่จะประท้วงหยุดงานในวันนี้ (19 ส.ค. 53) เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ตัดสินใจไม่รับข้อเสนอปรับปรุงสวัสดิการให้แรงงาน ตามข้อเสนอของกลุ่มสหภาพฯ

สหภาพแรงงานของคนทำงานภาครัฐเริ่มสไตรค์เพื่อประท้วงรัฐบาลมาตั้งแต่วันพุธ โดยหัวเรียวหัวแรงคือสหภาพแรงงานอาจารย์ประชาธิปไตย (Sadtu) และสหภาพพันธมิตรสุขภาพแห่งชาติ (Nehawu) โดยนอกเหนือจากนี้ยังมี สหภาพ Hospersa และกลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมประท้วง
ทั้งนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมารัฐบาลแอฟริกาใต้ได้อนุมัติที่จะขึ้นเงินเดือนให้ 7% และค่าสวัสดิการบ้านพักอีก 700 Rand ขณะที่กลุ่มแรงงานยื่นข้อเสนอการขึ้นเงินเดือนไปที่ 8,6% และสวัสดิการบ้านพักเพิ่ม 1,000 Rand
อนึ่งการหยุดงานประท้วงครั้งนี้อาจมีแรงงานภาครัฐเข้าร่วมถึง 90% จากที่มีอยู่ทั้งหมด 1.3 ล้านคน และอาจเป็นการเริ่มต้นการหยุดงานของแรงงานภาครัฐครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี โดยคนงานที่เข้าร่วมการหยุดงานมีทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และเจ้าหน้าที่ศุลกากร ส่วนงานภาคบริการสำคัญคาดว่าจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้การประท้วงอาจยืดเยื้อไปจนกว่ารัฐบาลจะรับข้อเสนอของกลุ่มสหภาพแรงงาน
ที่มาข่าวบางส่วนจาก:
Nationwide strike set to intensify (BEN MACLENNAN, mg.co.za, 19-8-2010)
http://www.mg.co.za/article/2010-08-19-nationwide-strike-set-to-intensify
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพแรงงานโลกสนับสนุนสหภาพแรงงานคนทำยางยื่นข้อเรียกร้อง

Posted: 19 Aug 2010 02:56 AM PDT

19 ส.ค. 53 – สหพันธ์แรงงานนานาชาติของคนงานในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยาง, พลังงาน, เหมืองแร่ และคนงานทั่วไป (ICEM) และ United Steelworkers (USW) รวมถึงสหภาพแรงงานต่างๆ ทั่วโลก ส่งจดหมายเปิดผนึก สนับสนุนสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้องคุ้มครองแรงงานชั่วคราว และข้อเรียกร้องด้านการประกันสุขภาพหลังการเกษียณอายุ
  

 
เจนีวา, 10 สิงหาคม 2553
 
ประธานอัครพล ทองดีเลิศ
เลขาธิการสมยศ บุญเนตร
สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย
 
จดหมายสมานฉันท์จาก ICEM
 
จดหมายฉบับนี้ส่งมาถึงสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย จาก ICEM สหพันธ์แรงงานนานาชาติของคนงานในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยาง, พลังงาน, เหมืองแร่ และคนงานทั่วไป สำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เป็นตัวแทนของคนงาน 20 ล้านคนทั่วโลกซึ่งอยู่ในสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม 467 องค์กร ใน 132 ประเทศ
 
เราทราบว่าสหภาพแรงงานคนทำยางฯ ซึ่งมีสมาชิก 600 คน กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองร่วมกับบริษัท Goodyear เพื่อการทำข้อตกลงสภาพการจ้าง ซึ่งการเจรจาได้ดำเนินมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553  สหภาพแรงงานคนทำยางฯ ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานของสมาชิก ข้อเรียกร้องหมวดทั่วไป คำนิยาม ‘พนักงาน’ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานในประเทศไทย เป็นข้อเรียกร้องที่มีความสำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีข้อเรียกร้องเรื่องการประกันสุขภาพหลังการเกษียณอายุ และข้อเรียกร้องเรื่องการจ่ายเงินพิเศษตามอายุงานปีละ 30 วัน การทำงานเพื่อปกป้องสิทธิแรงงานของคนงานสัญญาระยะสั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในขณะที่มีการเลิกจ้างเพื่อเปลี่ยนไปสู่ระบบการจ้างงานแบบชั่วคราว 
 
ในนามของสมาชิก ICEM ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพแรงงานของคนงาน Goodyear ในประเทศต่างๆ  ผมขอส่งความสมานฉันท์และการสนับสนุนการเจรจาต่อรองร่วมในครั้งนี้ ขอให้สหภาพแรงงานคนทำยางฯ แจ้งความคืบหน้าของการเจรจาให้ ICEM ทราบเป็นระยะๆ เพื่อเราจะได้แจ้งสมาชิก ICEM ทั่วโลกเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
 
ด้วยความสมานฉันท์
 
แมนเฟรด วาดา
เลขาธิการ ICEM
 
 
 
                                                                11 สิงหาคม 2553
 
ประธานอัครพล ทองดีเลิศ
เลขาธิการสมยศ บุญเนตร
สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย
 
 

 
 
 

 
จดหมายสมานฉันท์จาก USW
 
จดหมายฉบับนี้ส่งมาถึงสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย จาก USW – United Steelworkers สหภาพแรงงานของคนงาน Goodyear ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอรุบา
 
เราได้รับแจ้งจาก ICEM ว่าสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยในนามของสมาชิก 600 คนที่บริษัท Goodyear ประเทศไทย กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองร่วมเพื่อการทำข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับใหม่ 
 
สหภาพแรงงานคนทำยางฯ ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานของสมาชิก ข้อเรียกร้องหมวดทั่วไป คำนิยาม ‘พนักงาน’ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานในประเทศไทย เป็นข้อเรียกร้องที่มีความสำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีข้อเรียกร้องเรื่องการประกันสุขภาพหลังการเกษียณอายุ และข้อเรียกร้องเรื่องการจ่ายเงินพิเศษตามอายุงานปีละ 30 วัน การทำงานเพื่อปกป้องสิทธิแรงงานของคนงานสัญญาระยะสั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในขณะที่มีการเลิกจ้างเพื่อเปลี่ยนไปสู่ระบบการจ้างงานแบบชั่วคราว 
 
ในนามของสมาชิก 850,000 คนในประเทศสหรัฐอมริกา แคนาดา และอรุบา โดยเฉพาะสมาชิกUSW ที่ทำงานในบริษัท Goodyear ผมขอส่งความสมานฉันท์และการสนับสนุนสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยในการเจรจาต่อรองร่วมครั้งนี้
 
ด้วยความสมานฉันท์
 
ลีโอ เจอราด
ประธาน USW สากล
 
 
 

 

 
Jakarta, 13 August 2010
Bro Aukaphol Thongdeeleard, President
Bro Somyos Boonnet, General Secretary
Goodyear Tire and Rubber Union
Thailand
 
Re: Solidarity Message from the ICEM
 
Dear Brothers,
 
I am writing this letter to you on behalf of FSP KEP (Federation of Chemical, Energy, Mine, Oil and Gas and General Workers Unions based in Indonesia) JI. Duren Tiga No.9 Pancoran, Jakarta Selatan.
 
We are aware that your union, on behalf of its 600 members, has been in the process of negotiations with Goodyear for a collective agreement since 16 July as the current one expires today, 10 August. During the negotiation rallies your union has demanded protection and promotion of the fundamental rights of your members. In this regard, your demand for redefinition of the concept of the “employee” for transposition of the relevant Thai Labor Law is vitally important and significant. It also applies to your expectations for healthcare and severance payments. It should also be noted that your struggle against contract and agency labor practices of the company has a great and specific importance, particularly following the dismissal of 128 workers who are replaced by agency workers at this stage.
 
On behalf of our union} I cordially extend to you our heartfelt solidarity and support at these negotiations.
 
In solidarity,
 
 
 
Sjaiful DP
President of FSP KEP
 
 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จาตุรนต์ ฉายแสง : กรณีปราสาทเขาพระวิหาร

Posted: 19 Aug 2010 01:57 AM PDT

 

วันที่ 19 ส.ค. 2553 จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยเขียนบทความแสดงความเห็นต่อกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ผ่านบล็อก  http://chaturon.posterous.com/ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร (1)

เมื่อไม่กี่ปีก่อนรัฐบาลไทยเคยมีนโยบายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยความคิดทางยุทธศาสตร์ว่า การช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเป็นการช่วยเหลือประเทศไทยเองด้วย

ภายใต้นโยบายนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน  ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และต่อมามีเวียดนามด้วย มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้นและมีความร่วมมือ คบค้าสมาคมกันมากขึ้น

มีคนเคยคิดกันว่าวันหนึ่ง ถ้ามีการพัฒนาปราสาทพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทั้งกัมพูชาและไทยจะได้ประโยชน์ และความจริงแล้วไทยจะได้ประโยชน์มากกว่ากัมพูชามาก เพราะทางขึ้นไปชมปราสาทที่สะดวกอยู่ทางฝั่งไทย

แต่จากกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และความขัดแย้งแตกต่างระหว่างไทยกับกัมพูชาในเรื่องนี้ ทำไปทำมากลับกลายเป็นว่าทั้ง 2 ประเทศต่างฝ่ายต่างกำลังชี้แจงข้อมูลต่อสหประชาชาติ ในขณะที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังเตรียมพร้อมในการใช้กำลังทหารมากขึ้น   พร้อมๆกับข่าวที่หลายประเทศกำลังพลอยวิตกไปด้วยว่าเรื่องนี้อาจพัฒนาไปสู่การสู้รบกันระหว่าง 2 ประเทศ

คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่กรกฎาคม 2551 และกำลังจะพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร  เพียงแต่วันเวลาที่จะอนุมัตินั้นถูกเลื่อนจากปีนี้ไปเป็นปีหน้า

ไม่ว่าจะไปเวทีไหน  การที่ไทยหวังจะขอความเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน หรือการที่ไทยจะคัดค้านการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารนั้น  คงต้องยอมรับว่าเลยขั้นตอนไปแล้ว  เมื่อปราสาทพระวิหารได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วจะคัดค้านเรื่อยไป ไม่ให้มีแผนบริหารจัดการก็ย่อมเป็นไปไม่ได้อีก

ปัญหาที่อาจจะยังแตกต่างกันในรายละเอียดก็คือพื้นที่ที่จะบริหารจัดการจะครอบคลุมแค่ไหน

เท่าที่ฟังการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ รัฐบาลไทยคงจะคัดค้านแผนบริหารจัดการนี้ โดยยืนยันว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทเป็นของไทย หากจะมีแผนบริหารจัดการ  ก็ให้บริหารจัดการได้เพียงตัวปราสาท พื้นที่โดยรอบปราสาททั้งหมดไม่สามารถอยู่ในแผนบริหารจัดการได้

เฉพาะเรื่องแผนบริหารจัดการนี้จะครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ถ้าดูตามคำพิจารณาของศาลโลกและการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว  ก็จะเห็นว่าประเทศไทยเสียเปรียบ  เพราะไทยเคยปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่ให้เอาเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและกำลังทหารออกจากบริเวณปราสาทมาแล้ว การจะอ้างว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทเป็นของไทยเพื่อคัดค้านแผนบริหารจัดการนี้ก็คงจะไม่สำเร็จ

แต่ปัญหาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารได้ลุกลามไปไกลกว่าประเด็นเหล่านี้อีกมาก นั่นคือกำลังมีความเสี่ยงที่ 2 ประเทศจะรบกันหรือปะทะกันด้วยกำลังเพราะเรื่องนี้ประการหนึ่ง  กับอีกประการหนึ่งคือ ข้อพิพาทในเรื่องนี้กำลังถูกหยิบยกขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรระหว่างประเทศอย่างอาเซียนและสหประชาชาติ

ที่ผ่านมาไทยกับกัมพูชา เช่นเดียวกับประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันอีกจำนวนมาก เคยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนมาเป็นเวลานาน เกิดการปะทะและสู้รบกันมาแล้วก็มี แต่ในที่สุดไทยกับกัมพูชาก็ตกลงที่จะแก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาปักปันเขตแดน เพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติ ด้วยการเจรจาหารือ เพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน โดยประเทศทั้ง 2 เอง

วันนี้กลับมาพูดเรื่องอาจจะต้องรบกัน กับการหาทางออกโดยอาศัยสหประชาชาติเข้ามาช่วย

เราก้าวมาสู่จุดนี้กันได้อย่างไร

ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการปลุกกระแสชาตินิยม-คลั่งชาติ ที่หวังประโยชน์ทางการเมืองของพันธมิตรฯ  ที่มีการผสมโรงอย่างแข็งขันโดยพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยคุณอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคเอง

การปลุกกระแสชาตินิยม คลั่งชาติของพันธมิตรนี้เริ่มแรกก็เพื่อใช้เป็นประเด็นในการปลุกระดมคนมาต่อต้านรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช  แต่มาถึงตอนนี้จุดมุ่งหมายหลักดูเหมือนจะเป็นการรักษาและฟื้นการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ  กับการสร้างกระแสความนิยมให้เกิดขึ้นแก่พรรคการเมืองที่ชื่อว่า “พรรคการเมืองใหม่”

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเคลื่อนไหวเรื่องนี้เพื่อล้มรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช  และในปัจจุบันก็พยายามยืนยันความคิดท่าทีเดิมแบบคลุมๆเครือๆ  เพื่อดึงความสนับสนุนจากผู้ที่มีความคิดในทางเดียวกันไว้ แต่ก็กำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะไม่สามารถทำอย่างที่พูดได้แล้ว เนื่องจากรู้ดีอยู่ว่าไม่สามารถทำอะไรสุดโต่งอย่างที่พวกพันธมิตรกำลังเสนอได้

รัฐบาลนี้ไม่ได้อธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้วิธีทำเป็นขึงขังขู่ว่าไทยอาจลาออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลก  หรืออาจถึงขั้นลาออกจากภาคียูเนสโก ซึ่งมีแต่จะแสดงถึงความขาดวุฒิภาวะให้เป็นที่อับอายไปทั่ว

สิ่งที่นายกอภิสิทธิ์ทำได้มากที่สุดขณะนี้คือการยืดเวลาออกไป  กับการโยนความผิดทั้งหมดไปให้รัฐบาลคุณสมัคร โดยเฉพาะที่คุณนพดล ปัทมะ

ทั้งๆที่ความจริงแล้ว สิ่งที่คุณนพดล  ปัทมะ พยายามทำไปนั้นคือ การกันเรื่องพื้นที่พิพาทออกจากการจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร  เพื่อป้องกันมิให้ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนี้ไปอย่างเป็นทางการเสียเปล่าๆ

แต่รัฐบาลกลับสรุปง่ายๆว่าหากจะมีความผิดพลาดอะไร ก็อยู่ที่แถลงการณ์ร่วมระหว่างกัมพูชากับไทยที่คุณนพดลไปลงนามไว้  ทั้งๆที่แถลงการณ์ร่วมฉบับนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารก็ดี  หรือการจัดทำแผนบริหารจัดการก็ดี ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ฉบับนั้นเลย

พันธมิตรและผู้สนับสนุนมีความเห็นโดยสรุปคือ การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นให้ใช้เส้นสันปันน้ำตลอดแนว ซึ่งหมายความว่าตัวปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบปราสาท  รวมทั้งพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นล้วนเป็นของไทย

พันธมิตรและผู้สนับสนุนเห็นว่าคำพิพากษาศาลโลกมีผลต่อตัวปราสาทเท่านั้น ไม่มีผลต่อพื้นที่โดยรอบปราสาท ซึ่งพวกเขาเห็นว่ายังเป็นของไทย ในส่วนคำพิพากษาของศาลโลก พวกเขาก็ยืนยันว่าประเทศไทยยังคงสงวนสิทธิที่จะคัดค้านคำพิพากษานี้อยู่ โดยความหมายแล้วก็คือ “พวกเขา” ถ้าไม่ใช่ทั้งหมดก็คงเป็นหลายส่วน  ยังเห็นว่าแม้ตัวปราสาทเองก็ยังเป็นของไทยอยู่

พันธมิตรและผู้สนับสนุนประกาศจุดยืนชัดเจนคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการจัดทำแผนบริหารจัดการ  พวกเขายังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกบันทึกข้อตกลงหรือ MOU ปี2543 เสีย  พร้อมๆกับเสนอให้รับบาลไทยใช้กำลังทหารขับไล่ชาวกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรออกไป  พร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายออกไปจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย

โดยสรุปก็คือ  ให้ยกเลิกการแก้ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนโดยการเจรจาหารือ  แล้วให้หันมาใช้กำลังทหารเข้าจัดการนั่นเอง

สำหรับนายกฯอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์นั้น เห็นว่าศาลโลกพิพากษาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ประเทศไทยยังสงวนสิทธิ์ที่จะคัดค้านอยู่ ยังไม่เคยยอมรับคำพิพากษาของศาลโลก

คุณอภิสิทธิ์เคยอภิปรายในสภาขณะเป็นผู้นำฝ่ายค้านว่า เราใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนยกเว้น “ตัวปราสาท”   ซึ่งก็ได้มี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์บางคน ได้ช่วยขยายความเพิ่มเติมว่า พวกเขาเห็นว่าเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่เป็นของกัมพูชา นอกจากนั้นอย่าว่าแต่พื้นที่รอบๆปราสาทเลย แม้แต่พื้นที่ใต้ปราสาทก็เป็นของไทยทั้งสิ้น

เมื่อคุณอภิสิทธิ์มาเป็นนายกฯแล้วได้ยืนยันความเห็นนี้ในโอกาสต่างๆรวมทั้งในการอภิปราย หรือชี้แจงร่วมกับพันธมิตรเมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์ก็ยังย้ำอย่างหนักแน่นว่า สิ่งที่เขาพูดไว้ในขณะเป็นผู้นำฝ่ายค้านนั้น ถึงวันนี้ก็ยังยืนยันเหมือนเดิม

ไม่มีใครไปถามย้ำว่าหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ยังคงเห็นว่า พื้นที่ใต้ปราสาทเป็นของไทยใช่หรือไม่

แต่ถึงแม้คุณอภิสิทธิ์จะไม่พูดเรื่องนี้ออกมาให้ชัดเจน ใครที่ติดตามการใช้ตรรกะ เหตุผลของคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ก็คงไม่อาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์เองยังคงยืนยันว่าพื้นที่ใต้ปราสาทพระวิหารเป็นของไทยด้วย

โดยรวมๆแล้ว นายกฯอภิสิทธิ์กับพันธมิตรมีความเห็นต่อกรณีปราสาทพระวิหารใกล้เคียงกันมาก จุดต่างที่สำคัญตอนนี้ก็คือ  ในขณะที่พันธมิตรเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 2543 แต่นายกฯอภิสิทธิ์กลับเห็นว่า MOU ปี 2543 นี้เป็นประโยชน์และควรคงไว้ต่อไป

การใช้เวลาทางทีวี 3 ชั่วโมงของรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรเพื่ออภิปราย  หรือควรจะใช้คำว่าร่วมกันชี้แจงกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ทำให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความคิดเห็น จุดยืนที่ใกล้เคียงกัน ประเด็นที่ยังแตกต่างกันมากก็คือ การยกเลิก MOU ปี 2543

เมื่อรัฐบาลไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก MOU ปี 2543 เช่นนี้แล้วพันธมิตรจะชุมนุมกดดันรัฐบาลอีกหรือไม่ หรือจะดำเนินการอย่างไรต่อไปก็ไม่มีใครทราบ เข้าใจว่าอย่างน้อยในระหว่างที่ยังมีการหาเสียงเลือกตั้งสก. สข.กันอยู่ พันธมิตรคงไม่หยุดการเคลื่อนไหวไปง่ายๆ  เพราะการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ดูจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งพันธมิตรเองและต่อการหาเสียงของพรรคการเมืองใหม่อยู่ไม่น้อยทีเดียว

แต่ความต่างระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรยังไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับความเหมือนกัน หรือสิ่งที่พวกเขาเห็นตรงกัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นสาเหตุทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เป็นประโยชน์กับใคร โดยเฉพาะไม่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยแต่อย่างใดเลย

ถ้าจะทำความเข้าใจว่าเราจะเอาอย่างไรกันดีกับกรณีปราสาทพระวิหารและเรื่องที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งจะต้องศึกษาประวัติความเป็นมาและรายละเอียดข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เราอาจต้องตั้งคำถามใหญ่ๆ มากๆ เสียก่อนว่า ประเทศไทยเราจะอยู่ในโลกนี้อย่างไร เราจะอยู่อย่างไรในเอเชีย จะเอาอย่างไรกับอาเซียน ประเทศเพื่อนบ้าน  และกัมพูชา

ในยุคปัจจุบันการเป็นมิตรกับประเทศต่างๆ  อยู่ร่วมในกระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การคบหาสมาคมกับมิตรประเทศ สร้างสรรค์พัฒนาร่วมกันในเวทีโลก  เป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างยิ่ง

ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของโลก เอเชียกำลังเป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะกำลังมีศักยภาพในการฟื้นตัว กระทั่งเป็นกำลังสำคัญในการฉุดให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเร็วขึ้นด้วย   ประเทศไทยเคยมีบทบาทริเริ่มหลายๆอย่างในเอเชีย  จนเป็นที่ยอมรับและทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในเอเชียมาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะลดบทบาท  หรือทำลายศักยภาพของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียที่กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นทุกที

ที่ผ่านมาประเทศต่างๆในอาเซียนพยายามผลักดันให้มีการกระชับความสัมพันธ์ภายในอาเซียนให้แน่นแฟ้นขึ้น และไทยก็เคยถูกมองว่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการพัฒนาอาเซียนให้ก้าวหน้าไป  อาจต้องใช้เวลาอีกนานมากกว่าอาเซียนจะพัฒนาไปถึงจุดที่คล้ายหรือใกล้เคียงกับยุโรป  แต่ความคิดที่ต้องการขับเคลื่อนอาเซียนไปในทิศทางนั้นก็นับว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้

ในส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน คงต้องเริ่มจากความคิดพื้นฐานง่ายๆว่า การเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้การอยู่ใกล้กันหรือติดกัน เมื่อประเทศหนึ่งมีปัญหา  ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศข้างเคียง การช่วยเหลือซึ่งกันและกันยิ่งมีความจำเป็น
 
การช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน จริงๆแล้วก็คือการช่วยเหลือตัวเราด้วยนั่นเอง

สิ่งที่ควรทำก็คือจับมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่น เพิ่มบทบาทการสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน มีบทบาทในเอเชียร่วมกับประเทศอื่นๆ  เพื่อยืนอยู่ในเวทีโลกอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ร่วมในกระบวนการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ประเทศต่างๆ  โดยหลีกเลี่ยงและพยายามลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการโลกาภิวัตน์

เมื่อมามองปัญหากรณีปราสาทพระวิหาร เราก็ควรเริ่มจากวิสัยทัศน์พื้นฐานอย่างนี้ อะไรที่เป็นการสวนทางกับวิสัยทัศน์อย่างนี้จึงไม่ควรทำ และต้องหาทางระงับยับยั้งเสีย

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร (2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน  ตอนที่มีข่าวว่ารัฐบาลกัมพูชาอาจจะนำเรื่องพิพาทกรณีปราสาทพระวิหารเสนอไปยังอาเซียนและสหประชาชาติ  รัฐบาลไทยนำโดยนายกฯอภิสิทธิ์ได้แสดงความเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สหประชาชาติ  แต่มาสัปดาห์นี้ท่าทีของนายกฯอภิสิทธิ์และรัฐบาลดูเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือบอกว่าไม่ต้องการให้เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาหารือที่มีประเทศที่ 3  หรือองค์กรระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ต้องการให้เป็นทางออกโดย 2 ประเทศคู่กรณี  คือไทยและกัมพูชาเท่านั้น

มีเสียงประสานจากนายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  ผู้ที่เคยทำงานเรื่องนี้มานาน  บ่นเสียดายที่รัฐบาลมีมติบอกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับพื้นที่ในอ่าวไทย  และยืนยันประโยชน์ของบันทึกข้อตกลงดังกล่าว  รวมทั้งบันทึกข้อตกลงปี 2543  พร้อมกับการอธิบายว่ากว่า 2 ประเทศจะมาถึงจุดที่สามารถมีบันทึกข้อตกลงร่วมว่าจะหาทางออกด้วยการเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศได้นั้นต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี และต้องผ่านการพิพาท ขัดแย้ง  หรือแม้กระทั่งปะทะกันด้วยกำลังอาวุธมาแล้ว  ท่านยังได้ย้ำว่าทางออกสำหรับกรณีปราสาทพระวิหารและกรณีขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาก็คือการเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงที่มีอยู่แล้วนี้เอง

ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อเสนอจากบางฝ่ายให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงปี 2543 บ้าง ให้ใช้มาตรการเชิงรุกบ้าง หรือกระทั่งให้ใช้กำลังผลักดันประชาชนและอาคารทรัพย์สินต่างๆของกัมพูชาออกไปจากพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรเสีย 

ที่เลยเถิดไปกว่านั้นคือ  ถึงขั้นเสนอให้ทวงปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นของไทยเลยก็มี   พร้อมกันนั้นก็มีข่าวการเตรียมพร้อมบ้าง เพิ่มกำลังหรือถอนกำลังของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือของทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นประจำ มีการพูดถึงความเสี่ยงที่ 2 ประเทศจะปะทะกันด้วยกำลังอาวุธบ่อยขึ้น ในขณะที่การปลุกกระแสชาตินิยมคลั่งชาติยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดคุณประสงค์ สุ่นศิริ ก็ได้เสนอให้ทหารไทยกระชับพื้นที่  ผลักดันคนกัมพูชาออกไปจากพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งของรัฐบาลไทย

ถ้าหากมีการปะทะกันด้วยกำลังทหารจะมีผลดีหรือไม่ดีกับไทยอย่างไร

ถ้ามีการนำเรื่องปราสาทพระวิหารเข้าสู่การพิจารณาของอาเซียนหรือสหประชาชาติจะมีผลดีหรือไม่มีกับไทยอย่างไร

สองเรื่องนี้สัมพันธ์กันเสียด้วย คือถ้ามีการสู้รบกันเกิดขึ้น  โอกาสที่เรื่องนี้จะไปสู่การพิจารณาของที่ประชุมใดที่ประชุมหนึ่งของสหประชาชาติก็จะมีสูงขึ้นทันที

ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ลุกลามบานปลายไปถึงขั้นนั้น  ผู้ที่จะเสียเปรียบอย่างมากก็คือ  ประเทศไทย

ต้องย้ำว่าทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยคือการเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการเจรจา

การที่รัฐบาลไทยมีมติให้ยกเลิกข้อตกลงว่าด้วยการแบ่งพื้นที่ในอ่าวไทย  หรือความคิดที่มีการเสนอให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงปี 2543  ล้วนเป็นความคิดที่มีแต่จะนำความเสียหายมาสู่ประเทศไทยทั้งสิ้น

หากมีการนำเรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่พิพาท รวมทั้งเรื่องเขตแดน เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาเซียนหรือสหประชาชาติ ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่ไทยจะสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการ  ทั้งบริเวณปราสาทและพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร 

ดีไม่ดี ถ้ามีการยกเรื่องเขตแดนขึ้นมาพิจารณา  ไทยเราอาจเสียดินแดนมากกว่านั้นอีกด้วยก็ได้

ทั้งนายกฯอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์  และพันธมิตร พยายามจะทำให้คนเข้าใจเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่มีคำพิพากษาของศาลโลกให้ตกเป็นของกัมพูชา  ซึ่งในข้อนี้นายกฯอภิสิทธิ์เคยอภิปรายในสภาฯไว้ว่า รัฐบาลไทยยังสงวนสิทธิ์ที่จะคัดค้านเรื่องนี้  ไม่เคยสละสิทธิ์นี้ไป

พวกเขายังไปไกลกว่านี้ถึงขั้นแสดงความเห็นให้คนเข้าใจว่าตัวปราสาทเท่านั้นที่ตกเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่ใต้ปราสาทยังเป็นของไทย  เหมือนปราสาทพระวิหารจู่ๆก็ลอยมาตกในเขตแดนของไทย

แต่ถ้าเราพิจารณาเรื่องนี้โดยไม่บิดเบือน หรือไม่แกล้งทำเป็นไม่รับรู้ข้อเท็จจริง เราก็จะพบว่าศาลโลกได้พิพากษาไปเมื่อปี พ.ศ. 2505 แล้วว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และยังมีมติด้วยว่าให้ฝ่ายไทยถอนกำลังและผู้ดูแลออกจากปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชาด้วย
   
ที่นายกฯอภิสิทธิ์  พรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร พยายามอธิบายว่าเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่เป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่รอบตัวปราสาทหรือแม้แต่พื้นที่ใต้ปราสาทเอง ล้วนเป็นของไทย   จึงเป็นการจงใจแกล้งทำเป็นไม่รับรู้ข้อเท็จจริงเพื่อหวังที่จะปลุกความคิดชาตินิยมแบบคลั่งชาติขึ้นมา โดยไม่คำนึงว่าจะเกิดผลเสียหายตามมามากน้อยเพียงใด
   
สำหรับปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใคร  และเส้นเขตแดนระหว่างประเทศอยู่ตรงไหนกันแน่นั้น หากพิจารณาคำพิพากษาของศาลโลกก็จะพบว่า แม้ว่าศาลโลกจะไม่ได้ชี้ว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใคร แต่ศาลโลกก็ได้มีคำพิจารณาชี้ขาดไว้ว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในเขตพิพาทในบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นเขตที่ลากไว้บนแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนกับสยาม ที่เรียกกันว่าภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา
   
ไม่ใช่เส้นสันปันน้ำที่ฝ่ายไทยยกขึ้นต่อสู้ในสมัยนั้น หรือที่พยายามยกมาอ้างกันในขณะนี้

คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ได้มีผลไปแล้ว คือการที่รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยได้ถอนกำลังทหารออกจากปราสาทประวิหารและบริเวณใกล้เคียงมาแล้ว แม้ต่อมาจนถึงปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการ ไม่เป็นที่ยุติว่าคำพิพากษาของศาลโลก ได้รับรองแผนที่ที่กัมพูชาอ้างว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ และมีสถานะทางกฎหมายเพียงใดแน่ก็ตาม แต่ถ้าเรื่องนี้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมองค์การระหว่างประเทศเมื่อไร ประเทศไทยย่อมเสียเปรียบกัมพูชาอย่างแน่นอน
   
การพิจารณาขององค์การระหว่างประเทศใดๆก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นการย้อนไปดูคำพิพากษาของศาลโลกปี 2505 ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะสามารถแก้คำพิพากษาเสียใหม่ว่า ปราสาทพระวิหารไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของกัมพูชาแต่อยู่ในเขตไทย 

ปัญหาที่จะต้องมีการพิจารณาต่อไปก็คือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของใครและเส้นเขตแดนที่ถูกอยู่ตรงไหน การจะตอบคำถามนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องถามต่อไปว่า การที่ศาลโลกพิจารณาว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชานั้น ศาลโลกใช้เส้นใดเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา คำตอบที่ปรากฏในคำพิพากษาก็คือ  เส้นเขตแดนที่ปรากฏใน ภาคผนวก 1 ที่กัมพูชานำมาอ้าง
   
ในการพิจารณาของศาลโลกในครั้งนั้น เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ร้องให้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน  แต่ร้องว่าปราสาทอยู่ในเขตแดนของใคร   ศาลจึงไม่ได้ตัดสินเรื่องของเขตแดนโดยตรง  แต่ในการจะต้องตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนของใคร   ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน ซึ่งปรากฏในคำพิพากษาว่าศาลไม่ถือเอาเส้นสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน   แต่ถือเอาเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาเสนอ

ถ้ามีการตัดสินอย่างเป็นทางการว่า นั่นเป็นเส้นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศเมื่อใด ก็หมายความว่าไทยเราจะเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรอย่างเป็นทางการทันที  

ผู้ที่ได้โต้แย้งไม่ยอมรับเรื่องนี้ เช่น พวกพันธมิตรก็จะบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ต้องยอมรับความเห็นของที่ประชุมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของใคร รวมทั้งสหประชาชาติด้วย พร้อมกับอาจจะเสนอให้ฝ่ายไทยใช้กำลังทหารเข้าผลักดันประชาชนและทรัพย์สินของชาวกัมพูชาออกไปจากพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเสีย  เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าว  พวกนั้นบางคนก็ไปไกลถึงขั้นอาจเสนอให้ฝ่ายไทยยึดปราสาทพระวิหารมาเป็นของไทยเสียเลยด้วย

หากมีการใช้กำลังทหารเข้าจัดการแก้ปัญหา ก็จะยิ่งเป็นเหตุผลให้นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มากขึ้นไปอีก เรียกว่ามีแต่เสียกับเสียสำหรับฝ่ายไทย

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ก็คือ  หันกลับมาใช้การเจรจาหารือระหว่าง 2 ประเทศ โดยอาศัยบันทึกข้อตกลงที่เคยมีมาแล้วเป็นพื้นฐานเงื่อนไขในการเจรจา หลีกเลี่ยงการที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมหารือในที่ประชุมองค์กรระหว่างประเทศใดๆ  เพื่อจะให้การหาทางออกในเรื่องนี้เป็นไปได้  และยังเกิดผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศ 

ทั้งรัฐบาลไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรจะต้องหยุดความพยายามที่จะปลุกกระแสชาตินิยมคลั่งชาติ  หยุดการบิดเบือนข้อเท็จจริงและการเคลื่อนไหวใดๆที่หวังผลประโยชน์ทางการเมืองของพวกตน  โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศอย่างที่ทำมาตลอดเสียที

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: ผ้าป่าสิ่งแวดล้อม ก้าวแรกสถานีวิทยุชุมชนคนบางสะพาน 'ป่าพรุสู้เหล็ก'

Posted: 19 Aug 2010 01:36 AM PDT

  
 
ร่ ว ม เ ป็ น เ จ้ า ภ า พ ท อ ด ผ้ า ป่ า สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ผ่ า น ท า ง บั ญ ชี
ชื่อบัญชี : เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
ธนาคารออมสิน สาขาบางสะพาน
0-2002119730-4
  
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคมนี้ ชาวบ้านบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะจัด “ทอดผ้าป่าเพื่อสิ่งแวดล้อม” เพื่อระดมทุนสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านใน “การสื่อสาร” ข้อมูลภายในชุมชน โดยเฉพาะการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน
 
อย่างที่ทราบกันดีว่า พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้นมีประวัติการต่อสู้ยาวนาน ระหว่างชาวบ้านในพื้นที่กับกลุ่มทุนอุตสาหกรรม ตั้งแต่ครั้งโรงไฟฟ้าบ่อนอก บ้านกรูด กระทั่งล่าสุดคือกรณีโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าพรุแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จนอาจเรียกได้ว่าจังหวัดที่มีชายทะเลยาวเหยียดนี้มีกลุ่มอนุรักษ์ผุดขึ้นมามากมายหลายกลุ่ม และทั้งหมดก็มักเชื่อมประสานคอยชั่วเหลือกันยามเคลื่อนไหวประท้วง ตรวจสอบโครงการลงทุนในพื้นที่
 
‘วิทยุชุมชน’ เป็นช่องทางหนึ่งที่พวกเขากำลังเริ่มต้นนำมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยระดมทุนผ่านระบบผ้าป่าซึ่งเคยดำเนินการมาแล้วเมื่อปี 2544 ครั้งจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนของกลุ่มบ่อนอก เพื่อต่อสู้ (เชิงข้อมูลข่าวสาร) กับโครงการโรงไฟฟ้า หากแต่ครั้งนั้นเป็นการระดมทุนในวงแคบ  
 
                                   

จินตนา แก้วขาว ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หนึ่งในผู้ร่วมต่อสู้คัดค้านโรงไฟฟ้าบ้านกรูด เล่าให้ฟังว่าชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ในพื้นที่บางสะพานเริ่มมีแนวคิดจัดตั้งวสถานีวิทยุชุมชนกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสถานทีวิทุยชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีอยู่ราว 10 แห่งล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยสปอตโฆษณาและรายการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มทุนในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านอยากจะเผยแพร่ข้อมูลของตนเองบ้าง จึงดิ้นรนหาทางตั้งสถานีวิทยุเพราะเห็นว่าเป็นช่องทางที่เหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด โดยในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนจากคุณลุงสุรัตน์ ร่วมดี สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มอนุรักษ์
 
“ลุงแกเอาที่ดินไปจำนองกับ ธกส. เอามาให้ใช้ลงทุนทำสถานีวิทยุชุมชนก่อนเลย แล้วเราก็พยายาระดมทอดผ้าป่าเพื่อเอาไปปลดหนี้ให้แก ไม่รู้จะได้แค่ไหน”
 
เมื่อถามว่าเหตุใดลุงสุรัตน์จึงยอมทำเช่นนั้น จินตนาตอบว่า “ก็ที่แกติดกับที่โรงถลุงแค่ก้าวขาก็ข้ามเขตแล้ว อยู่ในพรุนั่น แกเป็น 2-3 เจ้าสุดท้ายที่ยังไม่ยอมขายที่ให้บริษัท”
 
 
 
นิรันดร์ แสงทอง หรือดีเจโก๋ บอกว่าหลังจากได้เงินกู้มาก็เริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน คลื่น 100.75 MHz โดยขอใบอนุญาตกับ กทช. เป็นแบบวิทยุเชิงประเด็น รัศมีออกอากาศ 40 กิโลเมตร เน้นข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้คนในชุมนุมเข้ามาวางผังรายการด้วย ปัจจุบันมีดีเจอาสาสมัครประมาณ 10 กว่าคน ซึ่งรวมไปถึงเยาวชนในพื้นที่ด้วย มีค่าใช้จ่ายเพียงค่าไฟและค่าหนังสือพิมพ์เดือนละ 3,000 กว่าบาทซึ่งอาศัยเงินบริจาคจากผู้ฟังบ้าง คนในเครือข่ายอนุรักษ์บ้างตั้งแต่คนละ 5 บาท 10 บาท จนถึงหลักหลายร้อย
 
“วิทยุชุมชนเป็นช่องทางที่ดี ชาวบ้านท้องที่ห่างไกลเขาก็อยากได้รับข่าวสารด้วย โดยเฉพาะในเขตอิทธิพลซึ่งเราเข้าไปเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยตรงไม่ได้ มีช่องทางนี้เขาก็เข้าถึงข้อมูล ส่วนใหญ่ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดี ยังไม่มีใครโทรมาด่า” ดีเจโก๋แก่หัวเราะ
 
“อย่างตัวผมเองก่อนไปทำงานช่วงหกโมงเช้าถึงแปดโมงเช้าก็จะเข้ามาจัดรายการวิทยุก่อน เน้นการสรุปข่าวด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป อ่านหมด อย่างเรื่องที่ระยอง หนองแซง แม่มูล เซ้าเทิร์นซีบอร์ด เพื่อให้ได้รู้ข้อมูลของพื้นที่อื่นๆ”
 
“สถานีเราเป็นแบบเนื้อหา 70 เพลง 30 ไม่รับโฆษณา แต่ช่วยประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ในชุมชนหมด ผมว่ามันก็เป็นสื่อทางเลือกนะ คลื่นอื่นๆ เขามีเป็นแบบพาณิชย์ไปหมด มีแบบที่แตกต่างบ้างคนจะได้มีอะไรเลือกฟังมากขึ้น” ดีเจโก๋แก่สรุปในตอนท้าย
 
แน่นอนว่า งานนี้ชาวชุมชนบางสะพานทุ่มเทเต็มที่ พวกเขาจัดเตรียมงานล่วงหน้าหลายวัน และพร้อมเปิดรับการสนับสนุนจากมิตรสหายต่างถิ่นผู้สนับสนุนแนวทางนี้ด้วยเช่นกัน
 

 
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าเพื่อสิ่งแวดล้อม (จำนวน ๕,๐๐๐ กอง กองละ ๑๐๐ บาท)
ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านหนองมงคล
หมู่ ๗ ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙)
 
เนื่องจากเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน และเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความจำเป็นในการจัดสร้างสถานีวิทยุชุมชน เครื่องขยายเสียงและเอกสารในการรณรงค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอบางสะพาน
 
โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเพาะพันธุ์ปลาทู แหล่งปะการัง แหล่งอาหารของประเทศ แนวชายหาด อีกทั้งยังได้เป็นแหล่งฝึกฝนให้ชาวบ้านกล้าคิด กล้าทำ กล้าพูดในสิ่งที่ถูกต้องตามขบวนการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และยังเป็นสื่อสร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชนบางสะพานให้เชื่อมร้อยเครือข่ายกับชุมชนอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งทางเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน และเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีความจำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก ในการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงใคร่ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านมาร่วมอนุโมทนา และทำบุญทอดผ้าป่าเพื่อสิ่งแวดล้อมให้กับชาวบางสะพานและชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในครั้งนี้
 
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ตรงกับขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ทำบุญเลี้ยงพระ
เวลา ๑๓.๐๐ น. ทอดผ้าป่าสามัคคี
 
ประธาน**
เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน **
ประกอบด้วย
๑. ชาวตำบลแม่รำพึง ๒. ชาวตำบลกำเนิดนพคุณ ๓. ชาวตำบลพงศ์ประศาสน์
๔. ชาวตำบลธงชัย ๕. ชาวตำบลชัยเกษม ๖. ชาวตำบลร่อนทอง ๗. ชาวตำบลทองมงคล

รองประธาน**

เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ **
กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
,
กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก,
กลุ่มอนุรักษ์ฯ ทับสะแก,
กลุ่มรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย,
กลุ่มอนุรักษ์ฯ กุยบุรี-สามร้อยยอด**
ร่วมกับพี่น้องชาวอำเภอบางสะพานและชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุกท่าน **

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"วีระศักดิ์ เครือเทพ" แจงไม่ให้นิสิตชูป้าย เพราะเป็นการเล่นใต้ดิน-ใช้เสรีภาพแบบไม่รับผิดชอบ

Posted: 19 Aug 2010 12:21 AM PDT

อาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ แจง "ข่าวสด" กรณีห้ามนิสิตชูป้าย ยันไม่ได้ฉุดกระชาก แต่จะโชว์ป้ายอะไรขอให้ตนดูก่อน ถ้าไม่เปิดเผยตัวก็ไม่ใช่สุจริตชน จึงไม่ให้แสดงป้าย เชื่องานนี้มีคนหนุนหลัง ท้าให้นิสิตมาแสดงตัวจะพร้อมขอโทษ

ตามที่วานนี้ (18 ส.ค.) มีข่าวนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง เตรียมทำกิจกรรมถือป้ายข้อความเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ก่อนถูกยึดป้ายและถูกนายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขัดขวาง แต่สามารถยื่นจดหมายให้นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชนนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)

อาจารย์จุฬายันไม่ได้ฉุดกระชาก แต่นิสิตจะโชว์ป้ายอะไรขอให้ตนดูก่อน
ล่าสุด "นสพ.ข่าวสด" ฉบับวันนี้ (19 ส.ค.) สัมภาษณ์นายวีระศักดิ์ เครือเทพ ซึ่งระบุว่า นิสิตกลุ่มนี้เข้ามาบริเวณงานโดยไม่เปิดเผยตัวว่าเป็นใคร ตนไม่ได้ฉุดกระชาก เพียงแต่บอกว่า ถ้านิสิตจะโชว์ป้ายอะไร ขอให้ตนดูก่อน แต่นิสิตกลุ่มนั้นไม่ยอม ตนเห็นว่า ถ้าไม่เปิดเผยตัวตน ก็ไม่ใช่แนวปฏิบัติของสุจริตชน จึงไม่ให้แสดงป้ายดังกล่าว

"ผมถามว่า นั่นคือป้ายอะไร เขาไม่เปิดเผย ไม่บอก ในฐานะคนรับผิดชอบงานคงยอมให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนั้นไม่ได้ ประเด็นที่ 2 คือ นี่คืองานวิชาการ ถ้าใครมาผิดเวที นี่ไม่ใช่สถานที่เรื่องการเมือง ที่ทำผมต้องการดูแลความสงบเรียบร้อยของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะของนายกฯ" นายวีระศักดิ์ กล่าวและว่า หากมองว่าตนจำกัดสิทธิเสรีภาพ อยากถามว่าคนเหล่านี้ใช้สิทธิอย่างรับผิดชอบหรือไม่ ถ้ารับผิดชอบ และแสดงตัวเองก็เข้ามาคุยได้เลย ตนพร้อมขอโทษ แต่ถ้าไม่เปิดเผยตัว เล่นใต้ดิน ถือว่าไม่ใช่วิธีสุจริตชน การใช้เสรีภาพแบบไม่รับผิดชอบ ไม่ใช่เสรีภาพจริงๆ ตนไม่คิดไปตรวจสอบว่านิสิตกลุ่มนี้เป็นใคร เพราะไม่ได้อาฆาตแค้น แต่เรื่องนี้ทราบว่ามีคนหนุนหลัง

อดีตโฆษกศูนย์ขาสั้นชี้เกินเหตุ แนะถ้านิสิตหยาบค่อยจัดการ ตอนนี้มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว
ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ (19 ส.ค.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ เผยแพร่คำสัมภาษณ์ นายภัทรนันท์  ลิ้มอุดมพร นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอดีตโฆษกกลุ่มนักเรียนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งแสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า มองว่าอาจารย์ทำเกินกว่าเหตุ ในฐานะผู้รับผิดชอบงาน ควรมีการจัดพื้นที่ให้นิสิตได้ประท้วงและชูป้ายประท้วงอย่างสงบ ถ้านิสิตอยู่ในความไม่เรียบร้อยหรือใช้ถ้อยคำหยาบคายก็ค่อยเข้าไปจัดการซึ่ง ตอนนี้เรามี พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามเห็นด้วยกับการที่ รปภ.ล็อกตัวนิสิตหญิงไม่ให้เข้าถึงตัว นายกฯ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ผู้นำประเทศ เพราะเราไม่รู้ว่าใครไว้ใจได้หรือไม่ การขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวจึงเป็นสิ่งที่รับได้และเข้าใจได้ สมัยเป็นพันธมิตร และร่วมประท้วงกับกลุ่มเสื้อเหลือง ก็ถูกรัฐบาลลิดรอนสิทธิ์ ซึ่งรู้ถึงความเจ็บปวด จึงไม่อยากให้มีการลิดรอนสิทธิ์เกิดขึ้นอีก ไม่ว่ากับเสื้อสีอะไร อยากเรียกร้องให้อาจารย์ออกมาชี้แจงกับเรื่องที่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ควรตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อทำให้เรื่อง นี้ให้กระจ่างต่อสาธารณชน

นายภัทรนันท์กล่าวว่าเวลานี้ทั้งนิสิตเก่า ประชาคม วิพากษณ์วิจารณ์อาจารย์ รวมถึงสังคมก่นด่าอาจารย์ในเว็บไซต์ต่างๆ ฉะนั้นอาจารย์จึงควรมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ ไม่ใช่บอกกับเพื่อนอาจารย์ด้วยกันแค่ว่า “ไม่มีอะไร เป็นเรื่องไร้สาระ” อ่านจากข่าว อาจารย์พูดว่า “นี่ที่เป็นของผม มาฟ้องผมได้” ไม่รู้ว่าอาจารย์พูดจริงหรือไม่ ถ้าพูดจริง ก็รู้สึกตกใจ ช็อก คิดว่าประเทศนี้เพี้ยนไปใหญ่แล้ว เพราะที่นี่เป็นจุฬาฯ ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทาน ไม่ใช่ที่ดินของอาจารย์วีระศักดิ์

วีระศักดิ์ยันเรื่องไม่มีสาระ รองอธิการฯ ยังไม่มีข้อมูล ส่วนคณบดียังไม่ให้สัมภาษณ์ยกเหตุติดสอน
ด้านนายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย ไร้สาระ ไม่มีสาระอะไร ส่วน ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทย์ รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวสั้นๆ ว่า เพิ่งทราบข่าว ยังไม่มีข้อมูล จึงไม่ขอให้สัมภาษณ์ ขณะที่นายจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยให้เหตุผลว่า ติดสอน

ล่าสุดในช่วงข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี วันนี้ (19 ส.ค.) มีรายงานว่าผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีโทรศัพท์เพื่อติดต่อขอสัมภาษณ์นายวีระศักดิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีแจ้งว่าในวันพรุ่งนี้ (20 ส.ค.) จะเข้าไปที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อติดต่อขอสัมภาษณ์อีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม : "การแสดงออกทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน" ประสบการณ์จากนักศึกษาเชียงราย

Posted: 18 Aug 2010 11:03 PM PDT

ท่ามกลางหมอกดำของพรก.ฉุกเฉินฯ ที่ค่อยๆ จางลงจากการกดดันของสังคม เด็กนักเรียนนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เคย ออกมาแสดงสิทธิขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยการชูป้ายว่าไม่เห็นด้วยกับการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการกระทำอีกหลายอย่างของรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพวกเขาเหล่านั้นโดนจับในข้อหาละเมิดพ.ร.กฉุกเฉินฯ ซึ่งสร้างความฉงนงงงวยให้แก่สังคมไทยจนเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ

หลังจากการแสดงออกการกระทำในครั้งนี้ มีความพยายามที่จะทำให้เด็กเหล่านี้ กลายเป็น "เด็กมีปัญหา" ต้องเข้ารับการบำบัด หรือแม้แต่ความพยายามที่จะโยงเด็กเหล่านี้เข้ากับกลุ่มแกนนำ นปช. การพยายามกีดกันให้คนออกจากความเป็นเป็นปรกติเพื่อลดความน่าเชื่อถือ เป็นวิธีที่แยบยลของระบอบเผด็จการ ถ้าใช้กับคนในระดับเดียวกัน แต่การกระทำกับคนต่างระดับกันด้วยวัยวุฒิย่อมถูกสังคมมองว่า "ผู้ใหญ่รังแกเด็ก" จนทำให้รัฐต้องปล่อยเด็กเหล่านี้ไป

แต่ทว่าไม่นานหลังจากมรสุมทางสังคมที่ปล่อยให้ "ผู้ใหญ่รังแกเด็ก" ผ่านพ้นไป มรสุมลูกใหม่ก็เข้ามาท้าทายต่อสังคมอีก คือกรณี อ.จุฬายื้อแย่งป้ายแสดงความคิดเห็นของนิสิตนศ.จุฬา ที่เตรียมแสดงออกต่อนายอภิสิทธิ์ที่จะไปกล่าวปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ ที่จุฬาฯ แล้วแสดงอำนาจ วางกล้ามใหญ่โตว่า ""นี่ไม่ใช่ที่จุฬาฯ นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย"

นักเรียน-นักศึกษาที่ในยุคหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นอำนาจบริสุทธิ์ที่ก่อให้เกิดการฟูมฟักประชาธิปไตย กลับกลายเป็น "เด็ก" ที่ไม่ควรแสดงออกทางการเมือง เพราะจะบิดเบือนข้อเท็จจริงทั้งที่การแสดงออกทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีแบ่งชั้น ไม่มีเด็ก ไม่มีผู้ใหญ่

การแสดงออกทางการเมืองของนักเรียน-นักศึกษายุคใหม่ หลังจากที่วงการนี้แห้งแล้งทางการเมืองมาอย่างยาวนาน เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่า พวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ เบื้องหลังความคิดภายใต้โฉมหน้าที่ปี่ยมไปด้วยพลังนั้นคืออะไร

นายกิตติพงษ์  นาคะเกศ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีชื่อเล่นว่า ปริ๊นซ์ อายุ 22 ปี เป็นนักศึกษาที่ออกไปชูป้ายแสดงสิทธิจนถูกกล่าวหาว่าละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประสบการณ์ของเขาอาจพอที่ทำให้ใครหลายคนได้เข้าใจ นักเรียน-นักศึกษายุคใหม่มากขึ้น

นายกิตติพงษ์  หรือปริ้นซ์ เป็นนักศึกษาคนหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตอย่างนักศึกษาทั่วไป จนกระทั่งหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ทำให้เขาเริ่มศึกษาเรื่องการเมืองอย่างจริงจังมากขึ้น ประกอบกับความสนใจประวัติศาสตร์ยุค 14 ตุลา หล่อหลอมความคิดของเขา จนทำให้เขาออกมาแสดงสิทธิว่าไม่เห็นด้วยกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพราะจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พวกเขาคิดอย่างไรกับการแสดงออกทางสัญญาลักษณ์ ท่ามกลางกฎหมายที่จำกัดสิทธิของพวกเขาอยู่ ในขณะที่คนอื่นๆไม่กล้าทำ  ชีวิตหลังจากถูกข้อกล่าวหาว่าผิด พรก.ฉุกเฉินเป็นอย่างไร  ติดตามได้ดังนี้

ความตื่นตัวทางการเมืองของปริ้นซ์ เริ่มมาจากอะไร
แต่ก่อนก็ไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองสักเท่าไหร่ แต่ก็ชอบอ่านหนังสือจำพวก 14 ตุลา ฯลฯ ชอบนะ แต่ไม่ค่อยได้ติดตาม จนมาถึงวันที่ 19 กันยายน 2549 จำได้เลยว่าวันนั้นผมกำลังนั่งเล่นเกมส์อยู่ในหอพัก เพื่อนที่เล่นเกมส์ด้วยกันซึ่งอยู่ที่กรุงเทพบอกว่า มีทหารขี่รถถังอยู่เต็มถนน ผมก็เลยเปิดดูทีวี เห็นแต่เพลง ก็เลยคิดว่า เกิดการปฏิวัติขึ้นมาแน่ๆ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมสนใจและติดตามการเมืองนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งการเข้าไปดูในอินเตอร์เน็ต อ่านตามหนังสือพิมพ์บ้าง ดูทีวีบ้างครับ ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ก็แค่เข้าไปยืนดูคนที่เขามาชุมนุมกันแค่นั้นเอง
 
คิดอย่างไรกับการแบ่งสีเสื้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ผมคิดว่า หากไม่เกิดเสื้อเหลือง ก็ไม่เกิดเสื้อแดง ในตอนนั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 19 ล้านเสียง ถูกคนกลุ่มเล็กๆในสังคมมาไล่เขาไป แล้วคนที่ออกเสียง 19 ล้านเสียงที่สนับสนุนรัฐบาลช่วงนั้น เขาก็ต้องไม่พอใจก็เลยเกิดเสื้อแดงขึ้นมาเหมือนกัน

ทำไมจึงไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ให้อำนาจรัฐมากเกินไป มันจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พ.ร.ก.ฉบับนี้มันจะใหญ่ไปกว่ารัฐธรรมนูญเกินไปหรือเปล่า ทำไมอำนาจบางอย่าง ข้อกฎหมายบางอย่างมันขัดกับรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป ซึ่งทำให้คนที่คิดต่างกับรัฐบาลไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งไม่เหมือนกับรัฐบาลอื่นที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย ที่เขายังให้พูดกันได้ คนที่คิดต่างก็สามารถพูดกันได้ แต่รัฐบาลนี้ไม่เลย สื่อฝ่ายตรงข้ามก็ปิด ปิดทั้งหู ปิดทั้งตาประชาชน ผมก็เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง จึงไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.กฉบับนี้

ด้วยเหตุนี้หรือเปล่า จึงออกมาชูป้ายกัน 5 คน  หรืออะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจอย่างนั้น
คือ ได้แนวคิดมาจากเฟสบุ๊คที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เขาเอาผ้ามาปิดปาก เอาป้ายมาติดข้างหลัง แล้วก็เดินไปเดินมาและรับประทานอาหารกันในโรงอาหาร ทำกันในเชิงสัญลักษณ์ ผมเห็นว่ามันขำดี (หัวเราะ) จึงเป็นการจุดประกายให้เราว่า สามารถทำได้  ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และต้นทุนต่ำด้วย แต่ก็มีการคิดกันมาหลายอาทิตย์เหมือนกันว่าจะทำดีหรือไม่ ลองถามเพื่อนๆดูว่าจะทำดีหรือไม่ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจทำเลยดีกว่า เดี๋ยวจะมันช้าเกินไป ตอนแรกก็ได้ไปชวนเพื่อนๆที่อยู่มหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่หากเป็นอย่างนั้นก็จะมีแค่มหาวิทยาลัยเดียว ก็เลยชวนน้องๆที่ได้คุยกันผ่านทางเฟสบุ๊ค ก็นัดกันเลยคืนนั้น มาเดินชูป้านกันประมาณ 10 - 20 นาทีก็กลับแล้ว

แล้วคิดมาก่อนไหมว่า อาจจะมีผลตามมาแบบนี้
ในเรื่องการโดนคดี ผมก็ได้คิดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้คิดว่าจะรุนแรงและเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศขนาดนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจเหมือนกัน

หลังโดนข้อหา ชีวิตเปลี่ยนไปหรือเปล่า
ถ้าตามส่วนตัวของผมแล้วก็เหมือนเดิม แต่เวลาในการใช้ชีวิตก็ต้องจัดสรรให้ดี เพราะหลังจากที่โดนคดีแล้วก็กลายเป็นที่ต้องการของคนจากหลายๆส่วนไป มีคนมารุมล้อม มาให้กำลังใจ ส่วนครอบครัว ก็ไม่มีผลกระทบอะไร เพราะทางครอบครัวก็รู้ดีว่าผมเป็นอย่างไร ก่อนจะทำอะไรผมก็บอกแม่ไว้ก่อนว่า หากมีหมายเรียกอะไรมา ก็ไม่ต้องตกใจนะ เพราะมันก็แค่หมายเรียก ซึ่งคนรอบข้างส่วนใหญ่ก็มีความคิดเห็นคล้ายๆกับผม ยิ่งผมออกมาแล้วโดนกระทำอย่างนี้ เขาก็ยิ่งเห็นว่า มีการปลดปล่อยออกมาทีละนิด ทั้งความรู้สึกของคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและการกระทำของรัฐบาลที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมและสองมาตรฐาน

ความรู้สึกก่อนและหลังการออกมาชูป้ายล่ะ
ความรู้สึกของผมในตอนนี้ก็ไม่ต่างกับก่อนทำเลย เพราะผมคิดว่าผมทำเพื่อส่วนรวม คนเราก็มีเพียง 2 ประเภท คือ คนที่เห็นแก่ตัว และคนที่ไม่เห็นแก่ตัว หากคนที่เห็นแก่ตัวก็คิดแต่จะเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง แต่ผมคิดว่าผมเห็นพี่น้องที่ถูกรัฐใช้สองมาตรฐาน ใช้ความอยุติธรรมในการปกครอง ผมก็เลยออกมาทำให้มันเปิดเผยกันเลย ดีกว่าที่จะไปทำกันแบบใต้ดิน ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย

คนที่เห็นต่างกับรัฐบาลส่วนมากก็เหมือนไม่ได้รับรู้ข่าวสาร ถูกปิดกั้นสื่อ มันอัดอั้นนะ ตอนนี้ก็ไม่ดูฟรีทีวีกันแล้ว เพราะเขาเลือกสื่อที่จะเสพย์ได้ ไปซื้อจานดาวเทียมมาดูกันเป็นส่วนมาก ผมคิดว่าการที่ผมได้ออกมาทำกิจกรรมแล้ว และเป็นข่าว ก็เหมือนเป็นการได้ปลดปล่อยให้กับประชาชน เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้หายไปไหน เรายังอยู่

ขณะนี้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐพยายามเอาพวกเราไปบำบัด ปริ้นเห็นอย่างไรกับการกระทำของรัฐบาล ซึ่งพยายามที่จะทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นเรื่องของ "เด็กมีปัญหา" และเราเป็นเด็กมีปัญหาจริงหรือเปล่า
หากทางรัฐบาลเห็นว่า พวกเราเป็นเด็กมีปัญหา ผมว่ารัฐบาลนั่นเองเป็นคนที่มีปัญหา ก่อนที่จะเอาเด็กเข้าไปตรวจสุขภาพจิต นายกฯและรัฐบาลน่าจะไปตรวจสุขภาพจิตกันก่อน ซึ่งพวกคุณเองก็บอกว่า อยากให้ประชาชน อยากให้นักเรียน นักศึกษา ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ต่างกัน เพื่อที่จะได้รับฟัง ซึ่งพวกผมก็ทำกันแค่นี้เอง แต่พวกคุณก็มาไล่บี้ ไล่ฆ่ากัน ซึ่งมันขัดกับที่คุณได้พูดออกมา

หลังจากที่ได้ไปหากรรมการสิทธิฯมาแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง
ในช่วงเช้า คณะกรรมการฯเขาก็ซักถามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เขาเชิญไปก็มีผู้ว่าฯ แต่ก็ส่งรองผู้ว่าฯไปแทน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำคดีของพวกผม คณะกรรมการฯก็ซักถามว่า ทำไมถึงไปตั้งข้อหาว่าเยาวชนกลุ่มนี้มีความผิด ทั้งๆ ที่การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่ทำกันทั่วประเทศ ตามจังหวัดใหญ่ๆ นั้น ยังไม่เห็นมีการทำอะไรกันเลย แต่ทำไมเยาวชนกลุ่มนี้กลับโดนตั้งข้อหา แล้วมีการคุกคามกันไหม เขาก็ถามกันประมาณนี้ พอตอนบ่ายก็มาซักถามพวกผมว่า ถูกคุกคามกันไหม หลังจากโดนกล่าวหาแล้วเป็นอย่างไรกัน

อยากฝากอะไรถึงรัฐบาลและสังคมไทย
หากคิดถึงหลักปรองดองที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นมาน่ะ ผมคิดว่าคงจะปรองดองไม่ได้หรอก เพราะคณะกรรมการเป็นคณะกรรมการที่คุณตั้งขึ้นมาฝ่ายเดียว ซึ่งก็เหมือนการตบมือข้างเดียว ตบอย่างไรมันก็ไม่ดังหรอก การที่จะปรองดองกันได้นั้น คุณจะต้องเอาทั้งคนที่มีความคิดเห็นต่างกันและคนกลางเข้ามาตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้น แล้วก็นั่งคุยกัน ลดทิฐิกันลง แล้วหันกลับไปมองปัญหาที่ได้เกิดขึ้นมา กลับมาคุยกันว่าจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้อย่างไร

มีอะไรที่อยากบอกอีกไหม
ขอเสริมในเรื่องที่ สกอ.ออกหนังสือแจ้งเวียนไปยังสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศ ให้ควบคุมนักเรียนและนักศึกษาที่จะออกมาทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ผมอยากจะฝากถึงนายกฯและสกอ.ว่า สิ่งที่คุณออกคำสั่งมานั้น เปรียบเสมือนคุณได้ออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหมือนรัฐบาล การจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็ก - เยาวชนที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น มันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ไม่ควรที่จะมีคำสั่งแบบนี้ออกมาด้วยซ้ำ

ตามความคิดเห็นของผมนะ ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยเลย อย่างมากก็ได้แค่ครึ่งใบ คนแค่ไม่กี่คนสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงเสียงส่วนใหญ่ของประเทศได้ นี่แหละคือประชาธิปไตยของประเทศไทย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรุงเทพโพลล์ : ชาว กทม. ส่วนใหญ่ทราบ และจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ก.

Posted: 18 Aug 2010 10:28 PM PDT

 

19 ส.ค. 2553 - ด้วยวันที่ 29 สิงหาคมที่จะถึงนี้ตรงกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเรื่อง “คนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,351 คน เมื่อวันที่ 12 - 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนร้อยละ 95.8 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ก. ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคมนี้ มีเพียงร้อยละ 4.2 ที่ไม่ทราบ
โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 18-25 ปีถึงร้อยละ 40.4

ประชาชนร้อยละ 81.9 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 9.7 ที่จะไม่ไปเนื่องจากต้องทำงาน ติดธุระ
ไปต่างจังหวัด (ร้อยละ 4.1)  เบื่อหน่ายการเมือง (ร้อยละ 2.6)  และไม่รู้ว่าเลือก ส.ก.ไปทำหน้าที่อะไร (ร้อยละ 1.0) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งพบว่าเป็นกลุ่มเยาวชนมากที่สุด (ร้อยละ 26.7)

ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันดับแรกคือ เลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน (ร้อยละ 43.4) รองลงมาคือ เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (ร้อยละ 18.2) และเลือกจากพรรคการเมืองเป็นหลัก (ร้อยละ 18.0)   

สำหรับคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต พบว่า พรรคที่ได้คะแนนนิยมมากที่สุดได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 26.3) รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 20.4) และพรรคการเมืองใหม่ (ร้อยละ 3.8) อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 44.9 ที่ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร

ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า ร้อยละ 55.4 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 44.6 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก

โปรดพิจารณารายละเอียดใน รายละเอียดต่อไปนี้   

 

1. การรับทราบถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า

- ทราบ        ร้อยละ    95.8   
- ไม่ทราบ                            ร้อยละ    4.2   

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า
    เป็นผู้ที่มีอายุ    18-25 ปี    ร้อยละ    40.4       
        26-35 ปี    ร้อยละ    24.6       
        36-45ปี    ร้อยละ    19.3       
        46 ปีขึ้นไป    ร้อยละ    15.7       

2. ความคิดเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า

- ตั้งใจว่าจะไป                                ร้อยละ    81.9
- ตั้งใจว่าจะไม่ไป    ร้อยละ    9.7
   โดยสาเหตุที่คิดว่าจะไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)
    - ทำงาน ติดธุระ ไป ต่างจังหวัด                       ร้อยละ 4.1
    - เบื่อหน่ายการเมือง                        ร้อยละ 2.6
    - ไม่รู้ว่าเลือกไปทำหน้าที่อะไร                    ร้อยละ 1.0
    - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย                    ร้อยละ 0.9
    - อื่นๆ อาทิเช่น ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ไม่มีผู้สมัครที่สนใจจะเลือก    ร้อยละ 1.1       
- ไม่แน่ใจ    ร้อยละ    8.4

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า
       เป็นผู้ที่มีอายุ    18-25 ปี    ร้อยละ    26.7   
            26-35 ปี    ร้อยละ    23.7   
            36-45 ปี    ร้อยละ    24.4   
            46 ปีขึ้นไป    ร้อยละ    25.2   

3. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า

- เลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน                        ร้อยละ    43.4
- เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล                ร้อยละ    18.2
- เลือกจากพรรคการเมืองเป็นหลัก        ร้อยละ    18.0
- เลือกผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริต         ร้อยละ    11.3
- เลือกตามพ่อแม่ ญาติพี่น้อง    ร้อยละ    3.3
- อื่นๆ อาทิเช่น เลือกตามความชอบในตัวบุคคล เลือกผู้ที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด    ร้อยละ    5.8

4. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 เขต พบว่า

- จะเลือกผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์    ร้อยละ    26.3
- จะเลือกผู้สมัครพรรคเพื่อไทย    ร้อยละ    20.4
- จะเลือกผู้สมัครพรรคการเมืองใหม่    ร้อยละ      3.8
- จะเลือกผู้สมัครกลุ่มอิสระ / ไม่สังกัดพรรค    ร้อยละ    2.1
- จะไม่เลือกใครเลย    ร้อยละ    2.5
- ยังไม่ตัดสินใจ    ร้อยละ    44.9

5. ความเห็นต่อการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ของคนกรุงเทพฯ ในครั้งนี้ (พ.ศ. 2553)เปรียบเทียบกับครั้งที่แล้ว (พ.ศ. 2549) ที่มีผู้ไปใช้สิทธิ์เพียง 41.94 เปอร์เซนต์  พบว่า

- เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์พอๆ กับครั้งที่แล้ว    ร้อยละ    42.2
- เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์น้อยลง
  (โดยให้เหตุผลว่า เบื่อหน่ายการเมือง เลือกไปก็เหมือนเดิมไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ)    ร้อยละ    29.6
- เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น
  (โดยให้เหตุผลว่า มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ มีการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร ฯลฯ)    ร้อยละ    28.2
     
6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า
       

- ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
   (โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 40.8 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 14.6)    ร้อยละ    55.4
- เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
    (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 28.3 และเชื่อมั่นมากร้อยละ 14.6)    ร้อยละ    44.6

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ติช นัท ฮันห์ นำคณะนักบวชหมู่บ้านพลัมเยือนไทย ต.ค. นี้

Posted: 18 Aug 2010 10:00 PM PDT

มูลนิธิหมู่บ้านพลัม 16 สิงหาคม 2553 - พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระเถระแห่งพุทธศาสนานิกายเซน นำคณะนักบวชหมู่บ้านพลัม 80 รูป จาริกธรรมมายังเมืองไทยระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายนศกนี้ โดยการนิมนต์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จัดกิจกรรมภาวนาและปาฐกถาธรรม ภายใต้ชื่อ “จิตสงบ ใจเปิดกว้าง” เชื่อมสัมพันธ์เถรวาท-มหายาน

“เราให้ชื่อของการจาริกธรรมครั้งนี้ว่า จิตสงบ ใจเปิดกว้าง เพราะแนวทางปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัมเน้นที่การฝึกสติในชีวิตประจำวัน เมื่อเราฝึกจนจิตใจของเราเข้าถึงความสงบสันติ หัวใจของเราจะเปิดออกทำให้เรามองเข้าไปเห็นสิ่งที่อยู่ในใจของเราได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถเปิดใจรับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาอย่างที่เป็นได้” ภิกษุณีนิรามิสา พระธรรมจารย์รูปหนึ่งของหมู่บ้านพลัมซึ่งขณะนี้ประจำอยู่ที่ประเทศไทย เล่าให้ฟังถึงที่มาของชื่อการจาริกธรรมครั้งนี้

การเดินทางมายังประเทศไทยของคณะนักบวชหมู่บ้านพลัมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจาริกธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2553 (Thich Nhat Hanh Southeast Asia Tour 2010) โดยเริ่มจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก่อนที่จะมายังประเทศไทย และไปสิ้นสุดที่ฮ่องกง

ในช่วงเวลาเกือบเดือนที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์และสังฆะหมู่บ้านพลัมอยู่ที่ประเทศไทย ท่านจะแสดงปาฐกถาธรรม 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ในหัวข้อ “ปาฏิหารย์แห่งปัจจุบันขณะ” ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ประตูเปิดเวลา 17:00 น.) และครั้งที่สอง วันที่ 23 ตุลาคม 2553 ภายใต้หัวข้อ “สันติคือหนทาง” ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จ.อยุธยา ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานปาฐกถาทั้งสองงานได้โดยไม่เสียค่าลงทะเบียนแต่อย่างใด หรือสามารถบริจาคได้ตามจิตศรัทธา

นอกจากนั้น วันที่ 24-28 ตุลาคม 2553 จะมีงานภาวนา 5 วันสำหรับครอบครัวและบุคคลทั่วไป ที่วังรีรีสอร์ท จ.นครนายก งานภาวนานี้รับสมัครตั้งแต่เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยมีข้อกำหนดว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปีจะต้องมีผู้ปกครองมาด้วย (มีค่าลงทะเบียน)

กิจกรรมสุดท้ายก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศฮ่องกง พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ จะเป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่า ซึ่งจัดขึ้นโดยสังฆะหมู่บ้านพลัม*ในประเทศไทย ในวันที่ 30 ตุลาคม ณ สถานปฏิบัติธรรมชั่วคราวหมู่บ้านพลัม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ออนไลน์ได้ทาง www.thaiplumvillage.org หรือ สอบถามรายละเอียดได้ที่อีเมล์ awakeningsource@yahoo.com โทร 085-318-2939, 086-688-4984 ในเวลา 8:00 น. – 17:00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์ เท่านั้น
 

ดูกำหนดการกิจกรรมได้ที่
http://prachatai.com/activity/2010/08/30760

 

 

 


หมายเหตุ
*คำว่า “สังฆะ” ตามความหมายของหมู่บ้านพลัม หมายถึง พุทธบริษัทสี่ผู้ปฏิบัติร่วมกัน ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คปท.ร้องมีส่วนร่วม หลังพบรัฐให้สัดส่วน ปชช.ต่อราชการแค่ 1:17 ในอนุกก.ทำโฉนดชุมชน

Posted: 18 Aug 2010 03:23 PM PDT

ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินยื่นหนังสือ "สาทิตย์" ถึงรัฐสภา จี้เพิ่มชื่อร่วมอนุกก.สำรวจที่ดินทำโฉนดชุมชน-อนุกก.ด้านกฎหมายฯ หลังประชุมคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนนัดแรก ตั้งอนุกก.2 คณะ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมแค่คณะละ 1 คน ขณะส่วนราชการมีชุดละ 17 คน
 
วานนี้ (18 ส.ค.53) ที่รัฐสภา ชาวบ้านตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) และเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) นำโดยนางนุชนารถ แท่นทอง จำนวนประมาณ 50 คน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ประท้วงมติการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยขอให้เพิ่มสัดส่วนภาคประชาชนในคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือ อนุกรรมการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน และอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ
 
อารีวรรณ คูสันเทียะ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้สืบเนื่องมาจากคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุดที่จะมีการแต่งตั้งขึ้นใหม่นี้ มีตัวแทนภาคประชาชน เพียงชุดละ 1 คน ขณะที่มีตัวแทนจากส่วนราชการชุดละ 17 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่สมดุล และสมเหตุสมผล อีกทั้งยังขัดต่อหลักการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคประชาชนอย่างมีส่วนร่วม
 
ทั้งนี้ ในหนังสือระบุว่า จากการทำงานเสนอความเห็นเรื่องหลักเกณฑ์ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจและคัดเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการจัดให้มีโฉนดชุมชน ซึ่งกระจายอยู่จำนวนมากในแต่ละภาคเป็นงานที่สำคัญ จึงสมควรให้ภาคประชาชนที่มาจากหลายภาค ร่วมเป็นอนุกรรมการฯ ในสัดส่วนที่มากพอและสมดุล จึงขอเสนอเพิ่มสัดส่วนตัวแทนของภาคประชาชนอีก 11 คน เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน และขอเพิ่มสัดส่วนตัวแทนของภาคประชาชนอีก 5 คน เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ โดยขอให้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการจากภาคประชาชน ในคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ด้วย
 
"คปท. คปสม.และ พอช.เห็นว่า การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและรัฐบาลในเรื่องการจัดให้มีโฉนดชุมชน ที่ผ่านมากำลังจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และหวังว่ารัฐบาลจะยังคงรักษาหลักการการทำงานร่วมกัน บนพื้นฐานของการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนเสนอความคิดเห็น และทำงานร่วมกับภาครัฐอย่างสมศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกัน จึงขอให้ประธานกรรมการ และคณะกรรมการ ปจช. ทบทวนและพิจารณาเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง ตามข้อเสนอของภาคประชาชน" หนังสือดังกล่าวระบุ
 
 
 
 
17 สิงหาคม 2553
 
 
เรื่อง ขอเพิ่มรายชื่อภาคประชาชนในอนุกรรมการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มี
       โฉนดชุมชน และอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ
 
เรียน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) ในฐานะประธาน
       กรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายชื่อภาคประชาชนที่ขอเสนอเพิ่มในอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด
 
 
ตามที่คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนได้จัดให้มีการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553 และได้มีมติที่ประชุมให้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน มีอำนาจหน้าที่ในการสำรวจตรวจสอบ และคัดเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการจัดโฉนดชุมชน และคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ มีอำนาจหน้าที่ในเสนอความเห็นเรื่องหลักเกณฑ์ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดโฉนดชุมชน
 
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ซึ่งมีองค์ประกอบตัวแทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถึงชุดละ 17 คน ในขณะที่มีการแต่งตั้งตัวแทนภาคประชาชนเพียงชุดละ 1 คน เป็นองค์ประกอบ เป็นสัดส่วนที่ไม่สมเหตุผล และขัดต่อหลักการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างการทำงานของภาครัฐและภาคประชาชน
 
เนื่องจากการทำงานเสนอความเห็นเรื่องหลักเกณฑ์ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจและคัดเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการจัดให้มีโฉนดชุมชน ซึ่งกระจายอยู่จำนวนมากในแต่ละภาค เป็นงานที่สำคัญ จึงสมควรให้ภาคประชาขนที่มาจากหลายภาค ร่วมเป็นอนุกรรมการฯ ในสัดส่วนที่มากพอและสมดุล คปท. คปสม.และ พอช. จึงขอเสนอเพิ่มสัดส่วนตัวแทนของภาคประชาชนอีก 11 คน เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน และขอเพิ่มสัดส่วนตัวแทนของภาคประชาชนอีก 5 คน เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ ทั้งนี้โดยขอให้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการจากภาคประชาชน ในคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ด้วย
 
            คปท. คปสม.และ พอช. เห็นว่า การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและรัฐบาลในเรื่องการจัดให้มีโฉนดชุมชน ที่ผ่านมากำลังจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และหวังว่ารัฐบาลจะยังคงรักษาหลักการการทำงานร่วมกัน บนพื้นฐานของการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนเสนอความคิดเห็น และทำงานร่วมกับภาครัฐอย่างสมศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกัน จึงขอให้ประธานกรรมการ และคณะกรรมการ ปจช. ทบทวนและพิจารณาเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง ตามข้อเสนอของภาคประชาชน
 
จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการ
 
ขอแสดงความนับถือ
 
(นางนุชนารถ แท่นทอง)
ตัวแทนคณะกรรมการ
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
 
(นายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ์)
ตัวแทนเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
 
(นายกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน)
ตัวแทนชุมชนในเครือข่ายสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น