โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

“คนเสื้อแดง” เดินหน้าจัดตั้ง “สมัชชาปฏิรูป” คู่ขนาน “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย”

Posted: 16 Aug 2010 01:30 PM PDT

กลุ่ม “24 มิถุนาประชาธิปไตย” เดินหน้าตั้ง “สมัชชา 19 พฤษภาคม” เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยจากคนเสื้อแดงและตัวแทนประชาชนหลากสาขาอาชีพประกบคณะกรรมการปฏิรูปชุด “อานันท์” ส่วน “ดีเอสไอ” สั่งฟ้องคดีเผาที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรฯ ส่วนแดงเชียงใหม่ เตรียมเปิดเวทีบนถนนคนเดินรับเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

 
วานนี้  (16 ส.ค.53) นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิป ไตย ในฐานะประธานคณะทำงานเตรียมการจัดตั้ง “สมัชชา 19 พฤษภาคม” เปิดเผยถึงเตรียมการจัดตั้งสมัชชา 19 พฤษภาคม เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่มาจากคนเสื้อแดงและตัวแทนประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อทำงานประกบคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธานว่า จากการจัดการประชุมหารือตัวแทนคนเสื้อแดง 4 ภาคและกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ เมื่อวันที่ 24 ก.ค.53 ที่โรงแรมริเวอร์ จ.นครปฐม ที่ประชุมกำหนดประเด็นเร่งด่วนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย อาทิเช่น การปฏิรูปศาลยุติธรรมให้เชื่อมโยงกับประชาชน การปฏิรูประบบภาษีเพื่อการจัดตั้งรัฐสวัสดิการและกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัย การประกันรายได้เกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน
 
นายสมยศ กล่าวด้วยว่า จากการประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาจังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดแรกในวันที่ 21 ส.ค.53  นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดง จ.สมุทรสาครได้มีการประชุมแกนนำจากทุกอำเภอ จำนวนกว่า 50 คน และมีมติเข้าร่วมการจัดตั้งสมัชชา โดยจะเปิดการประชุมใหญ่เป็นทางการอีกครั้งในเดือนกันยายน
 
นายสมยศ กล่าวประชาสัมพันธ์การทำกิจกรรมอีกว่า เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นจึงจะจัดให้มีการระดมทุนด้วยการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ก้าวต่อไปคนเสื้อแดง” ในวันที่ 28 ส.ค.53 ที่สมาคมศิษฐ์เก่าอำนวยศิลป์ ถนนประชาชื่น โดยมีการจำหน่ายบัตรและเปิดจองบัตรล่วงหน้าที่สำนักงานนิตยสาร Red Power ซึ่งรายได้จากการเสวนาครั้งนี้จะไปสนับสนุนการดำเนินงานของสมัชชาฯ
 
ทั้งนี้ การสัมมนาวิชาการดังกล่าว มีวิทยากร ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มคนเสื้อแดง และดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักวิชาการประวัติศาสตร์  ดำเนินรายการ 
 
 
“ดีเอสไอ” สั่งฟ้องคดีเผาที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรธานี
  
เนชั่นทันข่าว วานนี้ (16 ส.ค.53) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยว่า ได้มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาคดีวางเพลิงเผาที่ว่าการอำเภอเมือง จ.อุดรธานี ตามที่ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน หัวหน้าชุดพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย สรุปความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาและส่งสำนวนให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อไป 
 
ด้าน พ.ต.ท.พเยาว์ กล่าวว่า ในส่วนคดีวางเพลิงที่ว่าการอำเภอเมือง จ.อุดรธานี มีผู้ต้องหา 4 คน รู้ชื่อ 1 คน คือนายอาทิตย์ ทรงเดช ส่วนอีก 3 ราย เป็นการออกหมายจับตามภาพที่ปรากฏ ซึ่งผู้ต้องหาส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จ.อุดรธานี โดยคดีดังกล่าวพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษจะส่งต่อสำนวนไปให้สำนักงานอัยการจ.อุดรธานี พิจารณาสำนวนต่อไป สำหรับคดีวางเพลิงเผาห้างเซ็นทรัลเวิล์ด คาดว่าสัปดาห์นี้จะสามารถสรุปสำนวนสั่งฟ้องได้ โดยคดีดังกล่าวมีผู้ต้องหา 7 คน รู้ชื่อ 3 คน คือนายสายชล แพบัว, นายพินิจ จันทร์ณรงค์ และนายภาสกร ไชยสีเทา ส่วนผู้ต้องหารายอื่นเป็นการออกหมายจับตามภาพที่ปรากฏ ส่วนคดีการปล้นทรัพย์ภายในห้างได้สั่งฟ้องไปก่อนหน้านี้แล้ว 
 
ทั้งนี้ ในส่วนของคดีวางเพลิงในต่างจังหวัด ดีเอสไอได้ทยอยสั่งฟ้องทั้งหมดแล้ว เหลือเพียง 2 คดี คือคดีวางเพลิงร้านเซเว่นกับธนาคารในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
 
 
"พร้อมพงศ์" พร้อมญาติเหยื่อ 10 เมษา บุกผู้ตรวจการทวงความคืบคดีหน้าสลายแด
 
เนชั่นทันข่าว ในวันเดียวกัน (16 ส.ค.53) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยญาติผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ทหารใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ประมาณ 20 คน เข้ายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และขอให้เร่งรัดดำเนินการไต่สวนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐกรณีการกระทำอันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) 
 
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า เคยยื่นหนังสือร้องเรียนให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รักษาการ ผบ.ตร. ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่สั่งการให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยขณะนี้เวลาผ่ายมาเป็นเวลากว่า 4 เดือนแล้ว แต่ผลการดำเนินการตรวจสอบยังไม่มีความคืบหน้าจึงได้เดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้ากรณีดังกล่าวอีกครั้ง หลังจากที่ได้มายื่นให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมาหลังจากที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณแยกคอกวัว ในวันที่ 10 เม.ย.
 
แต่หลังจากยื่นหนังสือกลับพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐยังใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีเหตุการณ์ในวันที่ 19 พ.ค. 53 เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมกลุ่มนปช. ทหาร เจ้าหน้าที่อาสาพยาบาล เจ้าหน้าที่กู้ภัย และ สื่อมวลชนต่างประเทศ เสียชีวิตรวม 91 ราย อีกทั้งมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ในอำนาจหน้าที่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244 ( 1 ) เพื่อสอบสวนว่าใครเป็นผู้สมควรต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ดังกล่าว
 
 
แดงเชียงใหม่เฮ นัดเปิดเวทีไฮปาร์คถนนคนเดินรับเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
 
เนชั่นทันข่าว รายงานว่า นายพิชิต ตามูล แกนนำนปช.แดงเชียงใหม่ เปิดเผยถึงการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งที่ เชียงใหม่ เชียงรายและอุบลราชธานีว่า เป็นเรื่องดีต่อการท่องเที่ยว ในส่วนของภาคการเมืองนั้น คนเสื้อแดงก็ยังคงต้องขับเคลื่อนและต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยต่อ ซึ่งหลังจากนี้ไปการเผยแพร่ข่าวสารให้มวลชนได้รับทราบก็จะทำได้ง่ายขึ้นหลังถูกข้อจำกัดของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขีดกรอบ ทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพียงด้านเดียวมานาน 
 
"สิ่งที่เราจะเริ่มแสดงออกหลังประกาศยกเลิกพ.ร.ก.คือ วันอาทิตย์ที่ 22 ส.ค.นี้ จะร่วมกับ บก.ลายจุด จัดกิจกรรมแดงสัญจรที่เชียงใหม่ ที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมถนนคนเดินเป็นเวทีแรก เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนเสื้อแดงในพื้นที่เป็นอย่างมากที่จะมาร่วมกิจกรรมกันอย่างคึกคักมากขึ้น ซึ่งเราได้รณรงค์ให้มวลชนจากทั่วประเทศใส่เสื้อสีแดงมายังจ.เชียงใหม่ เพื่อมาร่วมงาน " นายพิชิต กล่าว
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"กวี จงกิจถาวร" หวังสื่อช่วยสร้างประชาคมอาเซียน ติงยังขาดคุณภาพ

Posted: 16 Aug 2010 01:00 PM PDT

"กวี จงกิจถาวร" เชื่อสื่อช่วยให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีคุณภาพได้ แต่มองสื่อไทยยังไม่มีความรู้อาเซียน ซ้ำเสนอข้อเท็จมากกว่าจริง ด้าน "วีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์" เอ็นจีโอด้านผู้ลี้ภัย มองประชาสังคมไทยจะช่วยแก้มายาคติเรื่องผู้ลี้ภัยได้

(16 ส.ค.53) ในการประชุมเครือข่ายอาเซียนครั้งที่ 2/2553 ของมูลนิธิศักยภาพชุมชน ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กวี จงกิจถาวร บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นและคมชัดลึก กล่าวในหัวข้อ "ประเด็นท้าทายการรวมตัวประชาคมอาเซียน" ว่า ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมไทยมีแต่ยุทธศาสตร์เชิงรุก ต้องมีเชิงรับด้วยนั่นคือ ต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน รู้ทั้งข้อจำกัดตลอดจนกฎบัตรอาเซียน

ทั้งนี้ เขาได้วิจารณ์ภาคประชาสังคมไทยด้วยว่า หากจะมีข้อเสนอควรเสนอในกรอบระยะสั้น เช่น 5 ปีเพราะอาเซียนจะไม่มองยาวไปกว่านี้ และย้ำว่า อย่าเว่อร์ เช่น ที่ภาคประชาสังคมเสนอว่าอยากให้อาเซียนเป็นแบบสหภาพยุโรป เขามองว่ามันเป็นไปไม่ได้ และผู้เสนอไม่มีความเข้าใจดีพอ  

กวี กล่าวด้วยว่า ในแต่ละปี อาเซียนจัดประชุมจำนวนมาก ปีหนึ่งเจอกันพันกว่าครั้ง หรือประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งเหนื่อย ดังนั้น ภาคประชาสังคมต้องช่วยกันสื่อสารปัญหาที่สนใจหรือที่ไปเจอด้วย นอกจากนี้ สำหรับภาคประชาสังคมไทยถือว่าค่อนข้างทันสมัย เพราะมีเสรีภาพ สามารถตั้งประเด็นได้ ไม่มีใครว่า โดยเปรียบเทียบว่า หากเป็นที่เวียดนาม ทำแบบนี้อาจจะติดคุก ขณะที่ที่สิงคโปร์จะไม่สนใจภาคประชาสังคม โดยอ้างว่ารัฐบาลทำงานเหล่านั้นหมดแล้ว

กวี ระบุว่า ทั้งนี้ สื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การรวมตัวของประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะไทยซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 5 ประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ สื่อไทยเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และยังมักรายงานข้อเท็จมากกว่าเรื่องจริง และไม่กล้าท้าทายอีกด้วย ขณะที่ด้านคุณภาพ กวีวิจารณ์ว่า ปัจจุบัน คนยิ่งโง่ยิ่งออกทีวี คนโง่ๆ บางคนเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ บางครั้งสื่อกระแสหลักไม่มีข่าวเขียน ก็นำความเห็นสุดขั้วมาตีพิมพ์ นอกจากนี้ เวลาจะปฎิรูปสื่อ สื่อเอกชนก็ไม่ยอมปฎิรูปตัวเองแต่พุ่งไปที่สื่อรัฐแทน

นอกจากนี้ กวียังเสนอว่า จากกรณีความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ทำให้เห็นว่า เราควรต้องมีกลไกแก้ไขและป้องกันความขัดแย้ง เช่นเดียวกับในยุโรปด้วย

ด้านวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ คณะกรรมการอเมริกันเพื่อผู้ลี้ภัยและการย้ายถิ่นฐาน ประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในอาเซียนว่า นอกจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในกันแล้ว แต่ละประเทศก็ยังมีความขัดแย้งภายในอยู่ ซึ่งนั่นทำให้เกิดผู้ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านขึ้น

เขาระบุว่า ขณะที่สหภาพยุโรปมีการกำหนดกรอบกฎหมาย-ข้อตกลงสำหรับผู้ที่จะลี้ภัยในประเทศสมาชิก แต่อาเซียนยังไม่ได้ตกลงกันว่า หากมีผู้ลี้ภัยจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่ง จะทำอย่างไร โดยปัจจุบัน มีเพียง 2 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์และกัมพูชาเท่านั้นที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ปี 1951 ขณะที่ในไทย ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกค่าย ไม่สามารถทำงานหรือเข้าเรียนได้ตามหลักสูตรปกติ ส่วนคนที่อยู่นอกค่ายก็เป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย

วีรวิชญ์ ระบุว่า ภาคประชาสังคมจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่จะสร้างความเข้าใจเรื่องผู้ลี้ภัยเสียใหม่ ทั้งนี้มีอุปสรรค 2 เรื่องนั่นคือวาทกรรมเรื่องประวัติ ศาสตร์ไทยกับพม่า ที่มีอยู่ในหนังอย่างนเรศวร หรือสุริโยทัย ว่าพม่าเป็นศัตรูของชาติ รวมถึงวาทกรรมโดยรัฐอีกมาก เช่น คนพม่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด ก่ออาชญากรรม และนำโรคระบาดมาด้วย

เช่นเดียวกับกรณีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาจำนวนมากซึ่งรัฐบาลไทยยังไม่เปิดให้เข้ามาลี้ภัยในประเทศ โดยปีที่ผ่านมา มีการหยิบเรื่องนี้มาคุยนอกรอบ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ และปีนี้ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ ก็คงจะยากขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เขามองว่า นอกจากการพึ่งพารัฐ ที่มักอ้างผลประโยชน์ของคนไทยและอ้างความมั่นคงของชาติ หากสังคมไทยบอกกับรัฐและสังคมโลกว่า คนไทยไม่ได้รังเกียจจะดูแลพวกเขาเหล่านั้น ความชอบธรรมของรัฐที่อ้างว่าทำเพื่อคนไทยก็จะหมดไป

ด้านสุรีพร ยุพา จากองค์กรคนพิการสากลประจำภูมิภาค เอเซียแปซิฟิค กล่าวว่า ขณะที่มีคนพิการอยู่ถึง 10 เปอร์เซ็นของประชากรโลก โดย 60 เปอร์เซ็นหรือราว 400 ล้านคนอยู่ในอาเซียน แต่รัฐบาลหลายแห่งยังจัดลำดับความสำคัญของปัญหาคนพิการไว้หลังปัญหาความยากจน ทำให้ประเด็นคนพิการถูกห้อยไว้ท้ายๆ เป็นคนชายขอบอีกกลุ่ม ไม่ต่างจากกลุ่มโรฮิงยา ชาวเขา หรือผู้ลี้ภัย ดังนั้น คนพิการจึงพยายามออกมาแก้ปัญหาของตัวเอง เพราะคิดว่าน่าจะเข้าใจปัญหาของกลุ่มได้ดีที่สุด

สุรีพร เล่าถึงความพยายามผลักดันดังกล่าว อาทิ การเข้าไปมีส่วนร่วมกับการประชุมต่างๆ เพื่อให้คนอื่นๆ เห็นว่าปัญหาคนพิการมีอยู่จริง มีการรวมตัวของคนพิการจากประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเขียนข้อตกลงร่วมกันที่กรุงเทพฯ หรือ Bangkok Decoration เมื่อวันที่ 26-29 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการอาเซียน ให้กำหนดทศวรรษคนพิการแห่งอาเซียนสู่การมีส่วนร่วมกับประชาคมอาเซียน เพื่อให้คนพิการมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วม-ความเข้มแข็งในกลุ่มคนพิการ ให้เข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ งานด้านไอซีที เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีแผนตั้งสมัชชาคนพิการในอาเซียนภายใน 5 ปี เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมผลักดันการพัฒนาเรื่องต่างๆ สำหรับคนพิการ และผลักดันให้มีประชุมเชิงปฎิบัติว่าด้วยสิทธิคนพิการในอาเซียนด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ปฏิรูปสื่อ (1)

Posted: 16 Aug 2010 12:46 PM PDT

 
น่าแปลกใจที่ในความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปทั้งหลาย รัฐบาลนี้รวมเอาการปฏิรูปสื่อไว้ด้วย
 
รัฐมีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้สื่อไร้คุณภาพ ไม่เฉพาะแต่ในสังคมไทย แต่ในอีกหลายสังคมทั่วโลก ในเมืองไทยเวลานี้ เสรีภาพของสื่อถูกลิดรอนอย่างร้ายกาจ ด้วย พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลคงมองไม่เห็นเป็นธรรมดา แต่สื่อเองเล่า มองเห็นหรือไม่ และถ้ามองเห็น จะร่วมมือกับรัฐบาลชุดที่ลิดรอนเสรีภาพของตนอย่างร้ายกาจนี้ได้ลงคอหรือ
 
เราน่าจะเริ่มต้นคิดจากปัญหาของสื่อเวลานี้ว่าคืออะไร ใครจะเป็นผู้นำการปฏิรูป และจะปฏิรูปอย่างไร แน่นอนว่าคำตอบของสื่อซึ่งกลายเป็นธุรกิจเต็มตัวแล้ว คงมีหลายอย่างหลายประการ แต่หากจะมองคำถามนี้จากสังคม และให้สังคมเป็นผู้ตอบ ก็คงได้คำตอบที่ต่างกันมาก
 
ผมจะพยายามมองปัญหาของสื่อปัจจุบันจากสังคม
 
ในสังคมที่ใหญ่ซับซ้อนอย่างสังคมปัจจุบัน การไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลไม่ได้เปิดกว้างให้แก่ทุกคน อย่างในชุมชนหมู่บ้านโบราณ ในทุกสังคมปัจจุบัน การไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลล้วนมีช่วงชั้น (hierachy) หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง อะไรจะเป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าว ถูกกำหนดขึ้นโดยพีระมิดของการไหลเวียนอันหนึ่ง อำนาจในการกำกับไหลเวียนกระจุกตัวอยู่กับคนจำนวนน้อยข้างบน แล้วก็ค่อยๆ ทอนลงมาข้างล่างตามลำดับ จนถึงคนส่วนใหญ่ข้างล่าง แทบไม่มีอำนาจอะไรในการกำหนดการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลเลย
 
ในเมืองไทย คนจำนวนน้อยที่อยู่สุดยอดพีระมิดนั้นประกอบด้วยใครและอะไรบ้าง
 
รัฐ ซึ่งใช้ในที่นี้ให้รวมถึงตัวละครทางการเมืองทั้งหมด นักการเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งแน่นอน แต่นอกจากนักการเมืองยังมีระบบราชการซึ่งเป็นผู้สร้าง "ข่าว" (หรือญัตติสาธารณะ) ที่ใหญ่มากในเมืองไทย เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในโลก นอกจากนี้ก็มี "นักวิชาการ" ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นสถาบัน ก็ได้เปิดพื้นที่ให้ตนเองในการกำหนดการไหลเวียนของข่าวมากขึ้นตามลำดับ และยังรวมถึงสถาบันทางวัฒนธรรมต่างๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ กลุ่มบุคคลและสถาบันที่รวมกันเป็น "ชนชั้นนำ" ของประเทศนั่นเอง
 
ทุน ได้เข้ามามีส่วนในการกำกับการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล ทั้งโดยเปิดเผยผ่านองค์กรของตนเอง และโดยลับๆ ผ่านการกดดันสื่อในฐานะผู้ลงโฆษณา หรือผ่านการ "ซื้อตัว" ผู้ทำสื่อ
 
เมื่อพูดถึงทุนก็ต้องพูดถึงเจ้าของสื่อด้วย เพราะสื่อกระแสหลักในทุกวันนี้เป็นธุรกิจไปหมดแล้ว แม้ว่าสื่อจำนวนมากได้จดทะเบียนธุรกิจของตนในตลาดหลักทรัพย์ แต่หุ้นก็ยังกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ราย ฉะนั้น เจ้าของสื่อจึงมีอำนาจในการควบคุมการไหลเวียนของข่าวสารในสื่อของตนอย่างมาก นี่คือเหตุผลที่นักการเมืองมักพยายามใกล้ชิดกับเจ้าของสื่อ
 
นอกจากบุคคลแล้ว กึ๋นของคนทำสื่อก็มีส่วนอย่างมากในการกำกับการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล เช่นนักข่าวไม่มีกึ๋นพอที่จะรายงานความเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิด "ปรากฏการณ์" ที่เป็นข่าว ได้แต่รายงานข่าว "ปรากฏการณ์" ไปวันๆ คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่สามารถสร้าง "ปรากฏการณ์" ที่เป็นข่าวได้ จึงถูกตัดออกไปจาก "ข่าว" ที่ผู้รับสื่อจะได้รับเป็นธรรมดา
 
ข่าวสารข้อมูลภายใต้โครงสร้างการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลเช่นนี้ จึงมีลักษณะไหลจากบนลงล่างเสมอ และอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย
 
แม้ไม่มีกฎหมายสักฉบับ (รวมทั้ง พ.ร.ก.การบริหารราชการฯด้วย) ที่ลิดรอนเสรีภาพของสื่อ โดยโครงสร้างของการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลดังกล่าว ก็เกิดการเซ็นเซอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเซ็นเซอร์ตามบัญชาของโครงสร้าง และเซ็นเซอร์ตนเอง เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งของสื่อและคนทำสื่อ
 
ขอยกตัวอย่างรูปธรรม เช่น เวลาผ่านไปหลังการสังหารหมู่กลางเมืองไปเกือบสามเดือนแล้ว ในขณะที่การทำข่าวเจาะลึกเหตุการณ์ในหลายมิติได้มีการรายงานในสื่อต่างชาติมากขึ้น สื่อกระแสหลักไทยยังไม่ได้ขยับที่จะเจาะลึกเรื่องนี้สักชิ้นเดียว พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างเดียวอธิบายการละเลยหน้าที่อย่างน่าละอายนี้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลที่อ่อนแอด้านความชอบธรรมเช่นรัฐบาลนี้ ย่อมไม่กล้าพอจะปิดสื่อใดด้วยข้อหาก่อการร้ายอย่างแน่นอน อย่างมากก็ได้แต่ส่งหนังสือเตือนซึ่งจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ แต่เพราะสื่อเป็นธุรกิจ การเจาะข่าวเรื่องนี้ไม่ทำให้เพิ่มส่วนแบ่งในตลาดได้มากนัก หรือได้ไม่คุ้มกับความเสี่ยงด้านอื่น นับตั้งแต่การถูกรัฐวิสาหกิจถอนโฆษณา ไม่เป็นที่พอใจของพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่มีและไม่คิดสร้างกึ๋นของนักข่าวให้มากพอจะเจาะลึกได้ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผลมาจากโครงสร้างของการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลที่ได้กล่าวแล้วนั่นเอง
 
โครงสร้างเช่นนี้ ทิ้งใครไว้นอกการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลบ้าง คำตอบคือคนส่วนใหญ่ เช่นประชาชนระดับล่างซึ่งไม่ใช่ลูกค้าทั้งของสื่อและของโฆษณาในสื่อ พวกเขาไม่สามารถสร้าง "ญัตติสาธารณะ" ได้ด้วยตัวเอง ยกเว้นการเดินขบวนยึดท้องถนนในกรุงเทพฯ ในขณะที่ข่าวสารข้อมูลที่ไหลเวียนในสังคมนั้น ไม่ได้รวมเอามุมมองของเขาไว้ด้วยเลย ผู้ปลูกกระเทียมก็อยากต่อรองเหมือนผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในการทำเอฟทีเอเช่นกัน แต่เพราะเขาอยู่นอกการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล เขาจึงไม่มีพื้นที่
 
ความไม่สนใจของสื่อกระแสหลักที่จะทำข่าวเจาะหรือข่าวสืบสวน ทำให้สังคมไม่มีทางเข้าใจความเชื่อมโยงของคนกลุ่มนี้กับนโยบายสาธารณะ หรือ "ปรากฏการณ์" ระดับต่างๆ ที่เป็นข่าวได้
 
ดังนั้น การไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลในสังคมไทย จึงไม่เคยมีการไหลขึ้นจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนเลย
 
ผมคิดว่า นี่คือปัญหาใหญ่ของสื่อกระแสหลักในประเทศไทย หากจะมีการปฏิรูปสื่อโดยไม่เข้าไปจัดการกับปัญหานี้ ก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย และรัฐเพียงอย่างเดียว ไม่พอที่จะทำอะไรได้มากนัก
 
ข้อบกพร่องที่เกิดจากโครงสร้างของการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลดังที่กล่าวข้างต้นนั้น หลายอย่างด้วยกันเป็นเรื่องที่เกิดในสังคมอื่นๆ เช่นเดียวกัน และมีความพยายามหลากหลายรูปแบบในโลก ที่พยายามจะแก้ปัญหานี้ (อันเราอาจเรียนรู้ได้)
 
ทางออกโดยสรุปก็คือ การสร้างทางไหลขึ้นของวงจรไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล
 
สิ่งหนึ่งที่ทำกันมาก ทั้งในต่างประเทศและในไทย ก็คือการใช้สื่อทางเลือกที่มีขนาดเล็ก ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการได้ง่าย (จึงเกิดอำนาจในการควบคุมการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลมากขึ้น)
 
สื่อทางเลือกที่ใช้กันมากคือสื่อ "ออนไลน์" ทั้งหลาย ศักยภาพของสื่อประเภทนี้มีสูงมาก สำนักข่าวอัลจาห์ซีราเป็นตัวอย่างที่ดีว่า ประสบความสำเร็จในการสร้างสมดุลของข่าว จากที่เคยถูกครอบงำโดยสำนักข่าวตะวันตกเพียงฝ่ายเดียว และความสำเร็จที่สำคัญไม่แพ้กัน คือสามารถเชื่อมโยงกับสื่อกระแสหลักได้ เพราะกลายเป็นแหล่งข่าวที่สื่อกระแสหลักในหลายสังคมต้องรวมไว้ในการรายงานข่าวของตนด้วย
 
ในเมืองไทย เว็บไซต์ เช่น ประชาไท, ไทยอีนิวส์ ฯลฯ สร้างความสมดุลของข่าวได้มากขึ้น และค่อยๆ แพร่หลายมากขึ้น ยิ่งในช่วงที่ข่าวสารข้อมูลถูกปิดกั้น เว็บไซต์เหล่านี้ก็ยิ่งมีผู้นิยมอ่านหรือดูมาก เช่นเดียวกับ ASTV และทีวีของฝ่ายเสื้อแดง
 
แต่น่าเสียดายที่การเติบโตของสื่อทางเลือกเช่นนี้ในเมืองไทย กลับถูกขวางกั้นด้วย พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (บวกกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปัจจุบัน) โอกาสที่จะค้นหาศักยภาพของสื่อทางเลือก เพื่อทำให้วงจรการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลได้มีส่วนไหลจากข้างล่างขึ้นบน จึงเหลือแคบลง (โดยส่วนตัว ผมรู้สึกว่าหน้าด้านเกินไปที่จะพูดถึงการปฏิรูปสื่อ ท่ามกลาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)
 
ในทางตรงกันข้าม จนถึงนาทีนี้ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อกระแสหลักมีความสำคัญ เพราะมีผู้รับข่าวสารข้อมูลผ่านสื่อประเภทนี้อยู่มากในเมืองไทย (รวมวิทยุและทีวีด้วย) ฉะนั้น การปฏิรูปสื่อจึงต้องหมายรวมถึงการเชื่อมโยงสื่อทางเลือกกับสื่อกระแสหลักเข้าหากันได้ด้วย (ดังเช่นความสำเร็จของอัลจาห์ซีรา)
 
ในเมืองไทย มีความพยายามไปในทิศทางนี้อยู่บ้าง ผมขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจคือการเพาะ "นักข่าวพลเมือง" ของทีวีไทย ซึ่งได้เปิดอบรมการทำข่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้ข่าวซึ่งประชาชนทำได้ออกอากาศ
 
แต่นี่เป็นความพยายามที่ไม่นำไปสู่อะไรได้มากนัก อยู่ที่ว่าจะให้เวลาได้มากน้อยเพียงไรเท่านั้น ที่น่าจะทำมากกว่าก็คือการทำให้นักข่าวพลเมืองมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำข่าวของสถานี (ไม่ใช่ได้เวลาปิดท้ายข่าว 3 นาที) ทางสำนักข่าวของสถานีต้องมีโจทย์อยู่ในใจ สามารถติดต่อนักข่าวพลเมืองได้ทันที เมื่อต้องการได้ภาพและรายงานข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั่วประเทศไทย สถานีมีหน้าที่เลือกสรรคลิปที่ส่งเข้ามา และรวบรวมจนเป็นประเด็น "ข่าว" ขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่นการจัดการน้ำโดยชุมชน สถานีอาจรับคลิปวิดีโอจากนักข่าวพลเมืองทั่วประเทศ แล้วสร้าง "ข่าว" ขึ้นจากคลิปเหล่านี้ แน่นอนต้องรวมถึงจากการบ้านที่สถานีต้องทำ ทั้งผ่านเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคล จนเกิดความกระจ่างแจ้งและเป็นความรู้แก่สาธารณชน
 
หากโจทย์ของการปฏิรูปสื่อคือโครงสร้างการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูล เส้นทางปฏิรูปควรเป็นอย่างไร?
 
ผมขอพักเรื่องนี้ไปต่อในสัปดาห์หน้า
 
 
........................................................................
 
เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 16 ส.ค.2553
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาชน 58.5% ตั้งตารอใช้ 3G

Posted: 16 Aug 2010 11:27 AM PDT

กรุงเทพโพลล์ เผยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พร้อมเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G แทน 2G หากมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ร้อยละ 48.5 มีความรู้ระดับปานกลาง รู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง เผยเน้นใช้ประโยชน์เพื่อการบันเทิงเป็นหลัก 

 16 ส.ค.53 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “จาก 2G สู่ 3G สังคมไทยพร้อมแค่ไหน?” โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถืออายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,143 คน ผลการสำรวจพบว่า 
 
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พร้อมที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G แทน 2G หากมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 36.3 ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 1 ปี ส่วนที่เหลือร้อยละ 16.7 และร้อยละ 5.5 ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 3 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังคงมีประชาชนอีกร้อยละ 41.5 ที่ยังไม่มีแผนจะใช้ระบบ 3G ภายใน 5 ปี (ในจำนวนนี้ร้อยละ 29.6 คิดว่าจะไม่เปลี่ยนไปใช้เลย) นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบโทรศัพท์ 2G ยังคงมีความจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอายุ 46 ปีขึ้นไป โดยคนกลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 58.1 ไม่คิดจะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G เลยโดยให้เหตุผลว่าระบบ 2G เดิมก็ดีอยู่แล้ว
 
เมื่อสอบถามถึงความรู้ความเข้าใจในระบบ 3G พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.5 มีความรู้ในระดับปานกลางเท่านั้น (คือรู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง) ส่วนร้อยละ 37.6 ไม่มีความรู้เลย และร้อยละ 13.9 มีความรู้ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะประชาชนที่ระบุว่าจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G พบว่าร้อยละ 58.9 ของคนกลุ่มนี้ก็มีความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G เพียงในระดับปานกลางเท่านั้น นอกจากนี้ เมื่อทำการศึกษาลงลึกถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน (ระบบ 2G) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะเน้นใช้ประโยชน์เพื่อการบันเทิงเป็นหลัก (นอกเหนือจากการพูดคุยสนทนาตามปกติ) ขณะที่พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์หลังจากการเปิดใช้ระบบ 3G ประชาชนที่ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G ร้อยละ 31.1 ระบุว่าจะใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าสาระความรู้หรือเพื่อประโยชน์ในการทำงาน ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประโยชน์ของระบบ 3G ในช่วงเริ่มแรกของการเปิดใช้ จะยังคงมีอยู่อย่างจำกัดเท่านั้น แต่คาดว่าประโยชน์จะเพิ่มขึ้นในอนาคตหากประชาชนมีความคุ้นเคยและมีความรู้ในระบบ 3G มากขึ้น
 
สำหรับการปรับเปลี่ยนโทรศัพท์จากระบบ 2G มาเป็นระบบที่รองรับ 3G กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia คิดเป็นร้อยละ 56.2 รองลงมาเป็นยี่ห้อ iPhone ร้อยละ 17.4 และ Blackberry ร้อยละ 11.8 ส่วนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการซื้อโทรศัพท์ระบบ 3G อยู่ที่ 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 37.0) 10,001-15,001 บาท (ร้อยละ 26.9) และไม่เกิน 5,000 บาท (ร้อยละ 18.5) ส่วนค่าใช้บริการ 3G ต่อเดือนสูงสุดที่ประชาชนรับได้อยู่ที่ 401-600 บาทต่อเดือน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
 
1. รูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เพื่อพูดคุย/SMS/MMS
ร้อยละ
100.0
เพื่อฟังเพลง/ฟังวิทยุ/ดูหนัง
ร้อยละ
58.3
เพื่อใช้เป็นนาฬิกาปลุก/เครื่องคิดเลข/ปฏิทิน
ร้อยละ
52.4
เพื่อถ่ายรูป/ถ่ายคลิป
ร้อยละ
51.9
เพื่อเล่นเกมต่างๆ             
ร้อยละ
40.4
เพื่อเล่น Internet/Chat/สังคมออนไลน์                    
ร้อยละ
24.5
อื่นๆ เช่น Bluetooth GPS Dictionary
ร้อยละ
3.4
 
2. ความรู้ความเข้าใจในระบบ 3G ของประชาชน
ไม่มีความรู้เลย ไม่เข้าใจว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ร้อยละ
37.6
มีความรู้ปานกลาง เช่น รู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง
ร้อยละ
48.5
มีความรู้มาก เช่น นอกจากเร็วขึ้นแล้วยังสามารถรับ-ส่ง File
ที่มีขนาดใหญ่, Video Call, Download เพลง, ดู TV เป็นต้น
ร้อยละ
13.9
 
3. หากมีการเปิดให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบ ท่านจะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G หรือไม่
เปลี่ยนไปใช้ ระบบ 3G
·         เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 1 ปี  ร้อยละ   36.3      
·         เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 3 ปี      ร้อยละ 16.7
·         เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 5 ปี      ร้อยละ   5.5
ร้อยละ  
58.5
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ ระบบ 3G ภายใน 5 ปี
ร้อยละ  
11.9
ไม่เปลี่ยนไปใช้ เพราะระบบเดิม(2G) ก็ดีอยู่แล้ว
ร้อยละ  
29.6
 
4.หากมีการเปิดใช้ 3G ท่านจะใช้ประโยชน์ด้านใดมากที่สุด (คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)
เพื่อความบันเทิง
  • Download เพลง                                      ร้อยละ 15.0
  • ดู TV ออนไลน์                                        ร้อยละ 11.3
  • เล่นเกมส์                                                ร้อยละ 3.7
  • ฟังเพลงออนไลน์                         ร้อยละ 1.1
ร้อยละ
31.1
เพื่อติดตามข่าวสาร หาความรู้
  • ค้นหาข้อมูลต่างๆ ทางระบบอินเตอร์เน็ต         ร้อยละ 22.8
  • Download ข้อมูลข่าวสารต่างๆ                    ร้อยละ 2.4
ร้อยละ
25.2
เพื่อการติดต่อสื่อสาร
  • ใช้บริการ Video Call                                 ร้อยละ 18.2
  • เพื่อการพูดคุยทั่วไป                                  ร้อยละ 5.9
  • การเช็คเมลล์ ส่งเมลล์                                ร้อยละ 0.5
ร้อยละ
24.6
เพื่อการทำงานและ การประกอบธุรกิจ
  • รับ/ส่ง ไฟล์งานไฟล์ข้อมูลต่างๆ                   ร้อยละ   13.4
  • ทำให้สามารถทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น              ร้อยละ 1.3
ร้อยละ
14.7
อื่นๆ เช่น เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และคนรัก
ร้อยละ
4.4
 
5. หากท่านเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ค่าใช้บริการต่อเดือนสูงสุดที่ท่านรับได้ไม่ควรเกินกี่บาท
ต่ำกว่า 200 บาท
ร้อยละ
16.8
201-400 บาท
ร้อยละ
28.5
401-600 บาท
ร้อยละ
29.6
601-800 บาท
ร้อยละ
1.5
801-1,000 บาท
ร้อยละ
15.4
1,000 บาท ขึ้นไป
ร้อยละ
8.2
 
6. หากท่านจะเปลี่ยนโทรศัพท์จากระบบ 2G มาเป็นระบบที่รองรับ 3G ได้ ท่านจะเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์ยี่ห้ออะไร
Nokia
ร้อยละ
56.2
iPhone
ร้อยละ
17.4
BlackBerry
ร้อยละ
11.8
Samsung
ร้อยละ
6.6
iMobile
ร้อยละ
4.3
Sony Ericsson
ร้อยละ
1.5
Motorola
ร้อยละ
0.3
อื่นๆ เช่น HTC jPhone
ร้อยละ
1.7
 
7. งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการซื้อโทรศัพท์ระบบ 3G คือเท่าใด
ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ
18.5
5,001-10,000 บาท      
ร้อยละ
37.0
10,001-15,000 บาท                    
ร้อยละ
26.9
15,001-20,000 บาท
ร้อยละ
11.0
20,001-25,000 บาท        
ร้อยละ
4.1
25,001-30,000 บาท        
ร้อยละ
1.7
30,001-35,000 บาท                    
ร้อยละ
0.8
35,001 บาท ขึ้นไป
ร้อยละ
0.2
 
8. ร้อยละของผู้ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G จำแนกตามอายุ

การตัดสินใจ
เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G

อายุ

รวม

18-25 ปี

26-35 ปี

36-45 ปี

46 ปีขึ้น
เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี

72.8

69.4

53.9

31.5

58.5
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี

12.1

11.1

13.9

10.4

11.9
ไม่เปลี่ยนไปใช้เลย

15.1

19.5

32.2

58.1

29.6

รวม

100.0

100.0

100.0

100.0

100.0
 
 
9. ร้อยละของผู้ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G จำแนกตามระดับความรู้เรื่อง 3G

การตัดสินใจ
เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G

ระดับความรู้ 3G

รวม

ไม่มีความรู้เลย

มีความรู้ปานกลาง

มีความรู้มาก
จะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี

21.9

58.9

19.2

100.0
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี

40.4

51.5

8.1

100.0
จะไม่เปลี่ยนไปใช้เลย

67.8

26.6

5.6

100.0

รวม

37.7

48.5

13.8

100.0
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมเอาผิดนายจ้างกรณีตึก ม.บูรพาถล่มทับคนงาน

Posted: 16 Aug 2010 10:53 AM PDT

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกโรงเตือนบริษัทก่อสร้างเพิ่มความระมัดระวัง-ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ชี้หากสถิติการประสบอันตรายเพิ่ม นายจ้างก็ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพิ่ม  ด้านรมช.ศึกษาธิการ ส่งหนังสือแจ้งสถานศึกษาคุมเข้มการก่อสร้างอาคาร

 
วันนี้ (16 ส.ค.53) นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าเหตุอาคารก่อสร้างคณะศึกษาศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ถล่มลงมาทับคนงาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 8 คน ว่า จากรายงานของผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานและทีมวิชาการ ที่ไปตรวจที่เกิดเหตุตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา พบว่านั่งร้านของอาคารดังกล่าวไม่สามารถรับน้ำหนักคอนกรีตได้ ประกอบกับคอนกรีตยังไม่แห้งสนิทแล้วเทคอนกรีตซ้ำ จึงพังถล่มลงมาทับคนงาน ซึ่งมีทั้งหมด 35 คน และส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งหลังเกิดเหตุได้หลบหนีไป 
 
สำหรับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวมีบริษัทบิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 53/9 ม.2 แขวงบางพรหม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง นายกฤษฎา ปฏิยัตต์โยธิน เป็นวิศวกร และนายสำเรียง โพศรีทัศ เป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่เตรียมเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวน เบื้องต้นนอกจากมีความผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิตแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 41 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการจัดการด้านความปลอดภัยฯเกี่ยวกับการใช้ค้ำยัน ที่ต้องมีวิศวกรรับรอง และห้ามเข้าไปพักอาศัยอยู่ใต้คอนกรีตที่ก่อสร้าง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 
 
นางอัมพร กล่าวอีกว่า ฝากเตือนบริษัทก่อสร้างต่างๆ ให้เพิ่มความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันหากสถิติการประสบอันตรายเพิ่มขึ้น นายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
 
ด้านนายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวถึงกรณีอาคารหอประชุมคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ถล่มในระหว่างการก่อสร้างว่า หลังจากตรวจสอบที่เกิดเหตุและประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชลบุรี ได้สั่งการให้รื้อถอนซากต่างๆ ภายใน 7 วัน จากนั้นให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และกรมโยธาธิการ เข้าตรวจสอบการก่อสร้าง ทั้งแบบโครงสร้าง วัสดุ ต่างๆ ว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่ คาดว่าใช้เวลาตรวจสอบ 2-3 สัปดาห์ 
 
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า จากเหตุตึกถล่มในสถานศึกษานี้ ได้ส่งหนังสือเวียนถึงสถานศึกษาทุกแห่งและทุกระดับของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งปีนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างค่อนข้างมาก ให้ระมัดระวังการก่อสร้าง โดยประสานคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเข้าไปดูแล ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยมีการก่อสร้างเกือบทุกแห่ง ส่วนโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ให้ประสานมหาวิทยาลัยใกล้เคียงที่มีคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าไปตรวจสอบและดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด
 
ขณะที่ พล.ต.ต.ธเนศ พิณเมืองงาม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี กล่าวในการแถลงข่าวในช่วงเช้าวานนี้ (16 ส.ค.53) ว่า เบื้องต้นได้กั้นที่เกิดเหตุไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไป พร้อมกับ จะมีการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นว่า มีผู้เสียชีวิต ที่แท้จริงกี่ราย สำหรับ ผู้บาดเจ็บ 4 คน รอดตายมา 3 คน ซึ่งก่อนเกิดเหตุในการก่อสร้างนั้นมีการเทปูน 2 ชั้น เป็นเหตุให้พื้นถล่มลงมา ตอนเกิดเหตุมีคนงานประมาณ 7 คน ขณะนี้ ตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานในซากอาคาร เก็บรวบรวมสถานที่เกิดเหตุ และสอบสวนผู้กระทำความผิด ที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต คาดว่า ใช้เวลาประมาณ 7 วันในการจัดการทุกอย่าง 
 
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะนี้ยังคงยืนยันผู้เสียชีวิต 1 ราย ทราบชื่อว่านายรุ่ง แพสา อายุ 49 ปี คนงานก่อสร้างชาว จ.เพชรบูรณ์ และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 ราย คือ นางเรือน อายุ 39 และ นายนะ อายุ 26 ปี ยังนอนรักษาตัวที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 
 
 
ที่มา: เรียบเรียงจาก เนชั่นทันข่าวและเว็บไซต์สยามรัฐ
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปรับ 2 แสน พนักงานเก็บขยะเก็บ VCD เก่าไปตั้งแผงขาย

Posted: 16 Aug 2010 10:23 AM PDT

พนักงานเก็บขยะ กทม.ตั้งแผงลอยขายวีซีดีหนังเก่าที่ชาวบ้านทิ้ง แผ่นละ 20 บาท โดนฟ้องผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ปรับ 200,100 บาท กู้เงินแสนมาประกันตัว พร้อมอุทธรณ์สู้คดีต่อ
 
วันนี้ (16 ส.ค.53) ศาลมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.3060/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนาย สุรัตน์ มณีนพรัตน์สุดา เป็นจำเลย ในความผิดฐาน ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำนำภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 
 
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.51จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำนำภาพยนตร์ ที่เป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์อันเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดจำหน่ายเป็นแผงลอย ไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ริมบาทวิถี ในตลาดนัดใกล้สี่แยกกรุงเทพกรีฑา เขตบางกะปิ กทม.และได้รับเงินตามราคาแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ที่ได้จำหน่ายในราคาแผ่นละ 20 บาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาต 
 
เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน ขณะที่ชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ โดยมีเพื่อนพนักงานขับรถขยะ และหัวหน้างาน มาเบิกความนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยเป็นพนักงานเก็บขยะประจำเขตสะพานสูง กองรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว เก็บขยะระหว่างเวลา 04.00-10.00น. เมื่อเก็บขยะแล้วจะแยกขยะที่พอขายได้ไปขายที่ แผงลอย ตลาดหน้าหมู่บ้านนักกีฬา โดยขายปะปนกับหม้อหุงข้าว และรองเท้าเก่า ต่อมาถูกตำรวจ สน.หัวหมากจับ โดยยอมรับว่าขายจริงแต่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ
 
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลย นำสืบแล้ว เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษาให้ ปรับ 200,100 บาท แต่คำรับสารภาพจำเลยในชั้นสอบสวนมีประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงปรับเป็นเงิน 133,400 บาท หากจำเลยไม่ชำระให้กักขังแทนค่าปรับ 
 
ภายหลัง นางส้มโอ ภรรยาของนายสุรัตน์ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ 100,000 บาทขอประกันตัว เพื่อต่อสู้คดีอุทธรณ์ต่อไป 
 
น้องสาวของนายสุรัตน์ กล่าวว่า ยอมรับว่านำวีซีดีมาขายจริงแต่ที่ทำไปเพราะไม่รู้กฎหมาย พี่ชายไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิด เพราะปกติเมื่อเก็บขยะแล้วก็จะนำของเก่ามาขายเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ เนื่องจากลำพังรายได้จากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่เพียงพอ ขณะที่เงินประกันนั้นก็ต้องขอกู้บุคคลอื่นมา ซึ่งเวลานี้ไม่รู้ว่าจะหาเงินมาชำระค่าปรับได้อย่างไร
 


 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม.ผ่าน กม.นิรโทษกรรมคนเอาปืนมาคืนทางการ-ขึ้นเงินเดือน ขรก.กำหนดฐานใหม่เท่าเอกชน

Posted: 16 Aug 2010 09:36 AM PDT

ครม.เห็นชอบ กม.ไม่เอาผิดอาญากับผู้นำอาวุธปืนมาคืนราชการ พร้อมไฟเขียวขึ้นเงินเดือน ขรก.ล่อใจสตาร์ทตามฝีมือ ส่วน ก.พ.ไฟเขียวให้ ขรก.อายุเกิน 60 ทำงานต่อได้ถ้ามีความจำเป็น อีกทั้งยังแต่งตั้งกรรมการเปิดเผยข่าวสาร 5 คณะ

 
ครม.ผ่าน กม.นิรโทษกรรมคนเอาปืนมาคืนทางการ
 
ไทยรัฐออนไลน์  รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.53 นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาแก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด หรือยุทธภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต มามอบให้แก่ทางราชการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป 
 
โดยสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คือการยกเว้นความรับผิดทางอาญาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนนำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด หรือยุทธภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตมามอบแก่ทางราชการ โดยที่รัฐจะไม่ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ หากนำสิ่งดังกล่าวมามอบแก่นายทะเบียนท้องที่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดที่ถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือคดียังไม่ถึงที่สุด ทั้งนี้ มอบให้รมว.กลาโหม รมว.มหาดไทย รักษาการร่วมกันตามพ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกประกาศกระทรวงเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
 
 
ครม.ขึ้นเงินเดือน ขรก.กำหนดฐานใหม่เท่าเอกชน
 
เว็บไซต์คมชัดลึก  รายงานด้วยว่านายศุภชัย กล่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบร่าง กฎสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ซึ่งในกฎดังกล่าว ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 50 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยกฎ ก.พ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ 1. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส หรือเทียบเท่าระดับ 7 - 8 ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 37,830 บาท หรือ ที่ก.พ.กำหนด สำหรับผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงนี้ ให้รับเงินเดือนตามที่รับอยู่
 
นายศุภชัย กล่าวอีกว่า 2.ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือเทียบเท่าระดับ 10 - 11 ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 67,560 บาท หรือ ที่ก.พ.กำหนด สำหรับผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่านี้ ให้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ และ 3.ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทสายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.กำหนดให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.กำหนด
 
รองโฆษกสำนักนายกฯ แถลงด้วยว่า ครม.ได้เห็นชอบในหลักการเรื่องที่สำนักงาน ก.พ.เสนอให้มีการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการให้ทัดเทียมหรือใกล้เคียงกับภาคเอกชน และดึงข้าราชการที่มีความสามารถให้ทำงานให้กับหน่วยงานราชการ ทั้งนี้นายศุภชัย เปิดเผยภายหลังว่าหลังจากนี้ ทาง ก.พ.ต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์การปรับฐานะเงินเดือนแรกเข้าของข้าราชการ โดยจะนำหลักเกณฑ์ของภาคเอกชนเป็นหลัก และพิจารณาฐานเงินเดือนให้เหมาะสมกับบุคคล ความสามารถและวุฒิการศึกษา เบื้องต้นข้าราชการที่บรรจุใหม่จะไม่ได้รับเงินเดือนที่เท่ากัน เช่น ผู้ที่จบจากสถาบันในต่างประเทศ มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาจะได้รับเงินเดือนแรกเข้าสูงกว่าผู้ที่จบจากสถาบันในประเทศ ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาเป็นต้น ทั้งนี้อัตราเงินเดือนแรกเข้าที่ไม่เท่ากันดังกล่าว จะต้องมีความต่างไม่เกินร้อยละ 10
 
รองโฆษกสำนักนายกฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับการพิจารณาฐานเงินเดือนแรกเข้า ทาง ก.พ.ได้กำหนดให้ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ทุกๆ ปี ซึ่งในปีแรกของการปรับฐานเงินเดือนนั้น ก.พ.เป็นผู้กำหนด และหลังจากนั้นจะให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้พิจารณา สำหรับเป้าหมายการปรับฐานะเงินเดือนดังกล่าวได้ตั้งเป้าว่าจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณเพื่อปรับฐานเงินเดือนแรกเข้าประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี ส่วนการปรับฐานเงินเดือนดังกล่าวกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.54
 
 
ก.พ.ไฟเขียวให้ ขรก.อายุเกิน 60 ทำงานต่อได้ถ้ามีความจำเป็น
 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ครม.อนุมัติปรับบัญชีเงินเดือนตามค่าครองชีพให้มีผลในเดือน เมษายน 2554 รวมทั้งมีการปรับระบบการให้เงินเดือนข้าราชการที่บรรจุเป็นครั้งแรก โดยเพิ่มความยืดหยุ่นให้สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนที่สามารถจะเทียบเคียงกับ ภาคเอกชนได้ หลักคือมีการปรับขึ้นเงินเดือนแรกบรรจุ และยังเปิดโอกาสให้เงินเดือนแรกบรรจุเป็นช่วง แทนที่จะเป็นอัตราที่ตายตัว เพราะฉะนั้นถ้าเป็นกรณีของผู้ที่ซึ่งมีความสามารถพิเศษ มีประสบการณ์ หรือเข้ามาในตำแหน่งวิชาชีพที่มีความขาดแคลน จะสามารถได้เงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่าเงินเดือนเริ่มต้นขั้นต่ำ
 
นายกฯ กล่าวว่า จะมีการออกประกาศของ ก.พ.ว่า กรณีของข้าราชการซึ่งอายุ 60 ปี และทางหน่วยราชการมีความจำเป็นให้ทำงานต่อในบางตำแหน่งซึ่งไม่ได้ กำหนดไว้เป็นการทั่วไป เช่น ในบางสาขาที่เรากำหนดเป็นการทั่วไปแล้ว ก็สามารถจะต่ออายุราชการได้ แต่ต้องเป็นกรณีซึ่งมีเหตุผลที่ชัดเจนว่ามีการขาดแคลนอย่างไร โดยขณะนี้มีบุคคลอยู่ประมาณ 20 รายที่ขออยู่ ทั้งนี้ เป็นหลักการว่านอกจากสาขาซึ่งเคยประกาศไปแล้ว อาจจะสามารถขอได้เป็นบุคคล แต่จะไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร
 
 
ครม.อนุมัติส่งทัพไทยร่วมปราบโจรสลัดโซมาเลีย
 
เนชั่นทันข่าว รายงานว่า นายศุภชัย แถลงด้วยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กองทัพเรือจัดหมู่เรือปราบปรามโจรสลัดไปปฏิบัติงานในอ่าวเอเดน และชายฝั่งโซมาเลียร่วมกับกองกำลังผสมทางทะเล โดยจะส่งกำลังพลรวม 171 นาย ไปปฏิบัติงานตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.53 นี้ รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจ 98 วัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ไปทำหน้าที่ได้รับสิทธิ์นับเวลาราชการเป็นทวีคูณ ตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 รวมถึงสิทธิ์ในการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาฉุกเฉิน พ.ศ.2529 นอกจากนั้นแล้วได้อนุมัติให้ สำนักงบประมาณ สนับสนุนงบประมาณเพื่อการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว เป็นเงินจำนวน 270 ล้านบาท
 
 
ครม.ไฟเขียวร่วมมือจีเอ็มเอส สร้างทางรถไฟ
 
เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ รายงานวันเดียวกัน (16 ส.ค.53) ว่านายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรมต. 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และเอกสาร 6 ฉบับที่จะได้รับการอนุมัติในการประชุมรมต. 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส ครั้งที่ 16 ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ ที่ประเทศเวียดนาม โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุม รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมได้ในกรณีที่ไม่ใช่การ เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในการหารือการประชุมคณะทำงานและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 
 
ทั้งนี้ ในสาระสำคัญของ 6 ฉบับที่จะได้รับการลงนามในครั้งนี้ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและความเห็นชอบ จากคณะทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องและที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสจีเอ็มเอสแล้ว ประกอบด้วยกรอบยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางรถไฟในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง ซึ่งจะร่วมกันผลักดันให้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟในจีเอ็มเอส 1 เส้นทาง ภายใน 10 ปีและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านอื่น ๆ ของการพัฒนารถไฟของประเทศ รวมถึงการประเมินปริมาณการขนส่ง ตันทุนค่าก่อสร้างและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
 
นอกจากนี้ยังมีแผนปฏิบัติการ การอำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่งข้ามพรมแดน ความช่วยเหลือด้านวิชาการเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนเชื้อเพลิงสะอาดและ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แผนการสนับสนุนความร่วมมือด้านการเกษตร (2554-2558) แผนงานหลักด้านสิ่งแวดล้อมระยะที่ 2 (2555-2559) รวมถึงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตอนใต้
 
 
ครม.รับทราบการช่วยเหลือเหยื่อม็อบเสื้อแดง
 
เนชั่นทันข่าว รายงานว่านายวัชระแถลงมติครม.ว่า ครม.รับทราบรายงานความก้าวหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองตามที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยฯ(คชส.) เสนอดังนี้ คชส.ได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยไปแล้ว 6 ครั้ง ผู้ได้รับความช่วยเหลือ 2,970 ราย วงเงิน 148,500,000 บาท และครั้งที่เจ็ดนั้นจะจ่ายให้แล้วเสร็จในวันที่ 27 ส.ค.จำนวน 3,061 ราย จำนวน 15,3050,000 บาท และมอบให้กทม.รับเรื่องขอความช่วยเหลือฯเฉพาะรายที่เพิ่งเข้าตรวจสอบพื้นที่ภายหลังได้และผู้ที่ร้องเรียนมาที่หมายเลข 1111 สำนักปลัดสำนักนายกฯเสนอคชส.ในการประชุมครั้งต่อไป 
 
 
ครม.อนุมัติเคลียร์หนี้โคล้านตัว แนะประนีประนอมมากกว่าฟ้อง
 
ด้านมติชนออนไลน์ รายงานนายวัชระ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้องเกษตรกรที่ลักลอบนำโคในโครงการโคล้านครอบครัว ไปจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 11,722 ตัว หลังจากที่ ครม.มีมติให้ยุบเลิกบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด (สธท.) ไปตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2552 ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า หากเกษตรกรที่ชำระค่าเสียหายเกินจำนวนร้อยละ 50 ของราคาโค ไม่ต้องชำระค่าเสียหายส่วนที่เหลือ และจะไม่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา ส่วนเกษตรกรที่ยังชำระค่าเสียหายไม่ครบร้อยละ 50 ของราคาโค หรือไม่ได้ชำระค่าเสียหายใดๆ หากนำค่าเสียหายมาชำระครบร้อยละ 50 ของราคาโค จะไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญาเช่นเดียวกัน
 
"หากฟ้องคดีกับเกษตรกร จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 23,550 บาทต่อเกษตรกร 1 ราย หากเกษตรกรไม่ต่อสู้คดี จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน แต่หากต่อสู้คดีจะใช้เวลาดำเนินการมากกว่า 1 ปีขึ้นไป การฟ้องร้องจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี ควรใช้วิธีการประนีประนอมมากกว่า" นายวัชระ กล่าว
 
 
ครม.ตั้ง กก.เปิดเผยข่าวสาร 5 คณะ
เนชั่นทันข่าว รายงานว่า นพ.มารุต มัสยวานิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ 5 สาขา ได้แก่ 1.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายจรัส สุวรรณมาลา นายแสวง บุญเฉลิมวิภาส นายอาวุธ ศรีศุกรี นายบุญศรี มีวงศ์อุโฆษ และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ 2.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ 4 คน ประกอบด้วย นายนรนิต เศรษฐบุตร นางจิราพร บุนนาค นายประวิทย์ สุขวิบูลย์ และนายพรชัย ด่านวัฒน์ 
 
3.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร 5 คน ประกอบด้วย นายเกษม จันทร์แก้ว นายไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล นายสมชาติ โสภณรณฤทธิ์ นายสุนทร มณีสวัสดิ์ นายสันทัด โรจนสุนทร 4.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ 6 คน ประกอบด้วย นายชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ นายนิพนธ์ พัวพงศกร นายสหธน รัตนไพจิตร นายธวัชชัย สุวรรณพาณิช น.ส.ภัทรา สกุลไทย และนายวีระชัย เตชะวิจิตร์ 
 
5.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย จำนวน 20 คน อาทิ พล.อ.วิชิต บุณยะวัฒน์ นายเรวัติ ฉ่ำเฉลิม นายมนตรี รูปสุวรรรณ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ นางมัลลิกา คุณวัตน์ นายสมยศ เชื้อไทย เป็นต้น
 
 
ที่มา: มติชนออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์ เนชั่นทันข่าว และคมชัดลึกออนไลน์
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวสลัมโอดแก้ 'ชุมชนแออัด' ไม่คืบ ชี้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ คาราคาซังสร้างปัญหา

Posted: 16 Aug 2010 08:39 AM PDT

นักวิชาการชี้การวางผังเมืองแบบที่ไม่ให้ชุมชนไปมีส่วนร่วม ทำสังคมอยู่ไม่เป็นสุข ด้าน ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ เผยคณะปฏิรูปฯ ชุดนายอานันท์เน้นเรื่องที่ดินก่อนเรื่องอื่นๆ ขณะที่ กทม.เดินหน้าเวนคืนป้อมมหากาฬ ทวงคืนที่ดิน 5 ไร่ ชดเชย 70 ล้านบาท เนรมิตสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ

 
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.53 เครือข่ายสลัม 4 ภาค สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และชุมชนแออัดที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะเรื่อง "จะปฏิรูปประเทศไทยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาท้องถิ่น" เพื่อติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร ที่สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ เขตพระนคร ก่อนรวบรวมเสนอต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางผู้จัดงานได้ส่งจดหมายเชิญผู้ว่าฯ กทม.รวมทั้งเชิญตัวแทนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเข้าร่วมเวทีด้วย
 
มติชนออนไลน์ รายงานว่า นางประทิน เวคะวากยานนท์ ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค เปิดเผยในเวทีพูดคุยว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ที่แก้ไขตั้งแต่ปี 2550 ก่อให้เกิดปัญหาคาราคาซังมานาน แม้พี่น้องชุมชนต่างๆ จะร่วมกันผลักดันให้ร่นพื้นที่จากรั้วเข้ามาตัวบ้านให้ขยายกว้างขึ้น แต่การแก้ไขก็ไม่เป็นรูปธรรม สุดท้ายสร้างบ้านดีแค่ไหนก็ยังปลูกผิดกฎหมาย ขณะนี้ยังหวังกฎกระทรวงที่จะมาใช้ระหว่างรอ พ.ร.บ. แต่ดูเหมือนกระทรวงมหาดไทยไม่สนใจประกาศใช้จนล่วงเลยมากว่า 1 เดือน หากภายใน 2 สัปดาห์ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เครือข่ายจะไปถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยตรง
 
นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ปัญหาที่ยืดเยื้อ เนื่องจากฝ่ายการเมืองขาดความชัดเจนในการบริหารว่า จะทำอย่างไรให้ชุมชนอยู่ได้ แต่กลับใช้วิธีซื้อเวลาตั้งคณะกรรมการต่างๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ดำเนินการ เช่น ปัญหา พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ที่คนมีที่ดินหน้ากว้าง 4 เมตร แต่ปักเสากินพื้นที่แล้ว 2 เมตร แบบนี้ต้องแก้กฎหมายให้ผ่อนปรนด้วย การวางผังเมืองแบบที่ไม่ให้ชุมชนไปมีส่วนร่วม จะทำให้สังคมอยู่อย่างไม่เป็นสุข
 
นายธวัชชัย วรมหาคุณ ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวว่า ขอเสนอ กทม.ให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเวนคืนชุมชนป้อมฯ ให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ดูแลสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นชุมชนใกล้เคียง
 
ขณะที่ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ กรรมการปฏิรูป กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยโดยประชาชนมีส่วนร่วมว่า ปัญหาในประเทศไทยรุนแรงมาก และคณะปฏิรูปฯ ชุดนายอานันท์ ปันยารชุน เน้นเรื่องที่ดินก่อนเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินในชนบทหรือในเมืองโดยเฉพาะกรณีถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้เสนอให้กรุงเทพมหานครจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนใน กทม.โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานและมีชาวชุมชนร่วมเป็นกรรมการ ภายหลังการจัดตั้งคณะกรรมการตั้งวันที่ 19 ม.ค.2553  มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ผู้ว่าฯ กทม.ไม่เคยมาร่วมประชุม นอกจากนี้ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาก็ยังไม่เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการหยุดไล่รื้อชุมชนในที่สาธารณะและเร่งออกโฉนดชุมชนตามนโยบายรัฐบาล, การผ่อนปรน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารในโครงการบ้านมั่นคง, การชะลอการดำเนินคดีกับชาวชุมชน, การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองของชุมชน รวมไปถึงนโยบายเกี่ยวกับคนไร้บ้าน
 
ทุบทิ้ง 65 หลังคาเรือน 'ป้อมมหากาฬ'
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ กทม.เตรียม เข้ารื้อย้าย อาคารบ้านเรือนซึ่งเป็นชุมชนอยู่อาศัยบริเวณป้อมมหากาฬ บนที่ดินของ กทม.ย่านถนนราชดำเนิน ที่เหลือ จำนวน 65 หลังคาเรือน เพื่อนำที่ดินจำนวน 5 ไร่ มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญ ถนนราชดำเนิน และพื้นที่ใกล้เคียง บริเวณป้อมมหากาฬ เป็นเขตโบราณสถาน ซึ่งจะต้องปรับทัศนียภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีและสวยงาม โดยจะเริ่มเปิดเวที ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่และสมาชิกประชาชนสลัม4ภาค เพื่อหาข้อยุติ พร้อมทั้งจัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ให้ชาวบ้าน ใกล้แหล่งงานที่สะดวกสบายบริเวณย่านดังกล่าว
 
อย่างไรก็ดีที่ผ่านมา ที่ดินแปลงดังกล่าวบริเวณป้อมมหากาฬ เมื่อปี 2503 หรือ 50 ปีก่อน ได้มีแผนพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ ได้มีชาวบ้านทยอยบุกรุกจนกลายเป็นชุมชนเต็มพื้นที่ จำนวน 102 หลังคาเรือน แต่ กทม.ได้เจรจากับชาวบ้านเพื่อขอพื้นที่คืนมาโดยตลอด โดยใช้วิธีประนีประนอมแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาในปี 2535 กทม.ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินและชดเชยกรรมสิทธิ์ให้ ซึ่งมีชาวบ้านครึ่งหนึ่งยอมรื้อย้ายออก และคืนพื้นที่ 2 ไร่ ให้ กทม.
 
ส่วนที่เหลืออีก 65 หลังคาเรือนไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ และที่ผ่านมา ได้มีการเจรจากันอย่างต่อเนื่อง และ ล่าสุด กทม.ขีดเส้นที่จะขอพื้นที่คืน โดยมีมติเข้ารื้อย้ายทันที เพราะ ได้ออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินและมีงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยจำนวน 60-70 ล้านบาท เพื่อขอคืนพื้นที่ที่เหลือ อีก เกือบ 3 ไร่ คืน เพื่อนำไปพัฒนาสวนสาธารณะดังกล่าวต่อไป
 
"กทม.ซื้อที่ดินมา สมัย ปี 2503 เพื่อพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ กว่า 50ปีหรือครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ชาวบ้านบุกรุกกลายเป็นชุมชนใหญ่ นับ100 หลังคาเรือน มีชาวบ้านอยู่อาศัย ไม่ต่ำกว่า 400-500คน และไม่ยอมรื้อย้าย หากวันที่ 15 สิงหาคม ยังไม่ได้ข้อยุติ กทม.จะ เข้ารื้ออาคารสิ่งปลูกสร้างทันที" 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตือนการใช้บริการรับฝากข้อความเสียงวางสายช้าจะถูกคิดค่าบริการ

Posted: 16 Aug 2010 07:37 AM PDT

สบท.เตือน ผู้บริโภคใช้บริการรับฝากข้อความเสียงผ่านมือถือ แจงแต่ละเครือข่ายหน่วงเวลาให้ 6 วินาทีตัดสินใจ ดังนั้นหากไม่ฝากข้อความให้รีบวางสายมิฉะนั้นจะถูกคิดค่าบริการ

 
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในบริการเสริมต่างๆของโทรศัพท์มือถือ จะมีการให้บริการรับฝากข้อความเสียง หรือ voice mail box รวมอยู่ด้วย ซึ่งผู้บริโภคจำนวนหนึ่งก็หันมาใช้บริการเพื่อไม่ให้พลาดการติดต่อในกรณีที่ผู้โทรเข้าแล้วโทรไม่ติด เนื่องจาก คู่สายปิดเครื่องหรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ เลขหมายปลายทางไม่ว่างรับสาย หรือถูกตัดสายทิ้ง บริการเสริมประเภทนี้ผู้ให้บริการแต่ละรายมีเงื่อนไขการให้บริการที่แตกต่างกันไป ผู้บริโภคควรทำความเข้าใจ หรือศึกษาให้ชัดเจน
 
ผอ.สบท.กล่าวว่า ค่าบริการที่เกิดขึ้นในการฝากข้อความเสียงเกิดได้ทั้งจากผู้โทรเข้าและผู้รับสาย ในกรณีไม่สามารถติดต่อได้ เครื่องของผู้รับจะตัดเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความ ซึ่งจากการตรวจสอบ สำหรับโทรศัพท์มือถือ จะมีการหน่วงเวลาให้ผู้โทรเข้าประมาณ 6 วินาที เพื่อให้วางสายก่อนหากไม่ต้องการฝากข้อความ หากเลยจากนั้นจะถูกคิดค่าบริการ โดยของบริษัทดีแทคเป็นเช่นนั้นอยู่ ส่วนของบริษัท ทรูมูฟ จะเริ่มในวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมาจะหน่วงเวลาให้ผู้ใช้บริการ 6 วินาที แต่มีบริการของบริษัทเอไอเอส ที่จะคิดค่าบริการหลังจบประโยคว่า กรุณาฝากข้อความหลังได้ยินเสียงสัญญาณ
 
“โดยปกติถ้าโทรไม่ติด เครื่องจะตัดเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความ แล้วจะมีประโยคว่า ท่านกำลังเข้าสู่ระบบรับฝากข้อความของ 08xxxxx กรุณาฝากข้อความของท่านหลังจากได้ยินเสียงสัญญาณ... ซึ่งหากผู้โทรเข้าไม่ต้องการฝากข้อความจะต้องวางสายไปภายใน 5-6 วินาที มิฉะนั้นจะถูกคิดเงินทันทีตามโปรโมชั่นที่ผู้โทรเข้าใช้บริการอยู่” ผอ.สบท.กล่าว
 
สำหรับผู้รับสาย จะถูกคิดค่าบริการเมื่อต้องการฟังเสียงข้อความที่ฝากไว้โดยโทรไปตรวจสอบที่ กล่องรับฝากข้อความเสียงของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการตามโปรโมชั่นที่ใช้บริการอยู่ มีเพียงของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่คิดแตกต่างคือ สำหรับลูกค้าระบบเติมเงินจะคิดค่าบริการนาทีละ 4 บาท โดยคิดค่าบริการเป็นวินาที ส่วนลูกค้าระบบรายเดือนจะคิดค่าบริการนาทีละ 3 บาทโดยคิดค่าบริการเป็นวินาทีเช่นกัน 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สนธิปฏิเสธ “หมิ่นเบื้องสูง” ศาลนัดสืบพยานโจทย์ปากแรกปลายปีหน้า

Posted: 16 Aug 2010 07:27 AM PDT

"สนธิ" ขึ้นศาลยืนกรานปฏิเสธข้อหาหมิ่นเบื้องสูง จากกรณีนำคำปราศรัยของ “ดา ตอร์ปิโด” ไปพูดเผยแพร่ซ้ำที่ปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ ศาลนัดสืบโจทก์ปากแรก ในวันที่ 1 พ.ย.ปีหน้า

 
ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขดำ อ.2066/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือ พระราชินี กรณีเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2551 กรณีจำเลยนำคำปราศรัยของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือดา ตอร์ปิโด จำเลยคดีดูหมิ่นสถาบัน ที่ศาลอาญา พิพากษาจำคุกแล้ว 18 ปี ไปพูดเผยแพร่ซ้ำที่ปราศรัยบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์
 
วันนี้นายสนธิ เดินทางมาพร้อมนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ขณะที่ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้วสอบคำให้การว่าจะรับสารภาพหรือปฏิเสธ ซึ่งนายสนธิให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ฝ่ายอัยการโจทก์ แถลงศาลนำพยานเข้าสืบจำนวน 14 ปาก ใช้เวลา 6 นัด ขณะที่จำเลยแถลงนำพยานสืบจำนวน 10 ปาก ใช้เวลา 4 นัด 
 
ทั้งนี้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ปากแรก ในวันที่ 1 พ.ย.2554 เวลา 09.00 น.
ที่มา: เรียบเรียงจากSpring News และเนชั่นทันข่าว 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Emo-Journalism : เมื่อนักข่าวไม่เพียงแต่แสดงอารมณ์แต่ลงไปเล่นเอง

Posted: 16 Aug 2010 04:02 AM PDT

ชื่อบทความเดิม : เมื่อนักข่าว “ดราม่า” Emo-Journalism ไม่เพียงแต่แสดงอารมณ์แต่ลงไปเล่นเอง

 

 

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือได้ก้าวล้ำผนวกรวมอุปกรณ์หลากหลายชนิดเข้าไปอยู่ในเครื่องเล็กๆเครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ เกมส์ ฯลฯ ทำให้โทรศัพท์มือถือขยายขีดความสามารถของตนเองมากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว

ยิ่งราคาของโทรศัพท์มือถือแบบอัจริยะเหล่านี้ถูกลง ผู้คนก็สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น

จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลยเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญใดๆเกิดขึ้น เราจะเห็นคนอยู่ในเหตุการณ์ต่างควักโทรศัพท์มือถือของตนเองขึ้นมาถ่ายรูป ถ่ายคลิปวีดีโอ จากนั้นก็ส่งผ่านสัญญาณ wi-fi หรืออินเตอร์เน็ตไร้สายไปปรากฏใน Social media หรือเวบประเภทต่างๆ

โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) รวมทั้งนักข่าวมืออาชีพ (Professional Journalist) ในการถ่ายทอดข่าวสาร เรื่องราว ภาพเหตุการณ์ที่สดใหม่ รวดเร็ว

ในแวดวงวิชาวารสารศาสตร์ เรียกคนที่ใช้เฉพาะโทรศัพท์มือถือในการรายงานข่าวว่าMojo ซึ่งย่อมาจากคำว่า Mobile Journalist

Mojo จัดเป็นนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ แตกต่างจากนักข่าวมืออาชีพแบบดั้งเดิม เพราะธรรมดาแล้ว การทำข่าวโทรทัศน์แบบมืออาชีพจะต้องใช้ทีมงานไม่น้อยกว่า 3 คน

แต่ Mojo สามารถทำข่าวทั้งกระบวนการจบสิ้นได้โดยคนคนเดียว ผ่านโทรศัพท์มือถือประเภท Smart Phone ใช้ Free software เป็นตัวช่วยในการตัดต่อ ก่อนจะเผยแพร่ผ่านสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย

Mojo กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของแวดวงนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวพลเมือง ซึ่งเน้นความดิบ สดใหม่ รวดเร็ว

การแพร่ขยายของ Mojo เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้นักข่าวมืออาชีพ โดยเฉพาะนักข่าว ช่างภาพโทรทัศน์ ต้องปรับตัวเพื่อดึงเรตติ้งคนดูของตนเอง

ก่อให้เกิดปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า Emo-Journalism ซึ่งย่อมาจาก Emotion Journalism อันหมายถึง วารสารศาสตร์ที่ขับเน้นแต่อารมณ์ ความรู้สึกของผู้เสพข่าวสารเป็นหลัก

บทบาทของนักข่าวในแนวของ Emo-Journalism ผิดแผกแตกต่างจากนักข่าวในแบบเดิมที่ได้รับการสั่งสอน บ่มเพาะให้นำเสนอข่าวด้วยความเป็นกลาง เที่ยงตรง เป็นธรรม พยายามดึงตัวเองออกจากเรื่องราวข่าวสารที่กำลังนำเสนอ

ที่สำคัญคือ นักข่าวรวมทั้งผู้ประกาศข่าวต้องไม่แสดงอารมณ์รัก ชอบ เกลียด โกรธ ผ่านออกมาทางการรายงานข่าว

แต่นักข่าว หรือผู้รายงานข่าวในแนว Emo-Journalism ไม่เพียงแต่แสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านการรายงานข่าวเท่านั้น หากแต่ยังกระโดดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในตัวละครข่าว

พูดง่ายๆว่า ข่าวกลายเป็นเรื่อง “ดราม่า”มากๆ โดยมีนักข่าวเป็นตัวละครเอกคนหนึ่งในข่าว

รูปธรรมที่ชัดเจนของ Emo-Journalism เกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่เฮติ (Haiti) ต้นปี 2553 ทีมข่าว CNN ได้ส่งผู้ประกาศข่าวชื่อดังของเขาชื่อ Anderson Cooper ลงพื้นที่ รายงานข่าวภัยพิบัติครั้งสำคัญ ระหว่างการรายงานข่าวปรากฏว่าเกิดจลาจลขึ้นท่ามกลางซากปรักหักพังของเมือง มีเด็กชายคนหนึ่งได้ได้รับบาดเจ็บ

ทันทีที่เห็นเหตุการณ์ Anderson Cooper ผละจากการทำหน้าที่รายงานข่าวไปช่วยเด็กชายผู้มีเลือดอาบศีรษะ โดยมีกล้องทีวีของ CNN ถ่ายทอดสดภารกิจครั้งนี้ของเขาตลอดเวลา (ผู้สนใจดูคลิปเหตุการณ์ครั้งนี้ สามารถสืบค้นดูได้จาก www.youtube.com ด้วยคำสำคัญ “CNN: Anderson Cooper Carries Bloody Child Away From Haiti Looters” หรือคลิ๊กดูจาก http://www.youtube.com/watch?v=N-P5D887IcI )

นอกจาก Anderson Cooper แล้ว Dr.Sanjay Gupta ผู้เป็นทั้งศัลยแพทย์และผู้สื่อข่าวยังได้แสดงการ “ผ่าตัดสมอง” เด็กหญิงชาวเฮติถ่ายทอดออกอากาศมาแล้ว (ผู้สนใจดูคลิปเหตุการณ์ครั้งนี้ สามารถสืบค้นดูได้จาก www.youtube.com ด้วยคำสำคัญ “CNN reporter dr.Sanjay Gupta operates on 12 year-old girl” หรือคลิ๊กดูจาก http://www.youtube.com/watch?v=-dnLMMQpIdo )

นอกจากคลิปข่าวทั้ง 2 ที่ผมนำมาเสนอแล้ว หากสืบค้นดูใน Youtube จะพบว่า นักข่าวทั้ง 2 คน “ดราม่า” มากๆ เล่นกับอารมณ์ของคนดูรายการข่าว จนไม่แน่ใจว่าเขาเป็นนักข่าวหรือดารากันแน่

อ้อ...ต้องบอกก่อนนะครับว่าการทำข่าวในแนวของ Emo-Journalism ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาตินะครับ ทุกอย่างล้วนผ่านการกลั่นกรอง คัดสรร

หลายๆข่าวในแนว Emo-Journalism ผ่านการจัดฉาก เลือกมุมกล้อง เฟ้นตัวละครมาร่วมซีนข่าว

Mike Lyons นักวิชาการจาก Saint Joseph′s University ระบุว่า Emo-Journalism เป็นเทรนด์ใหม่ในแวดวงสื่อสารมวลชน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประเด็นถกเถียงสาธารณะถึงความเหมาะสมของบทบาทนักข่าว รวมถึงจริยธรรมของนักสื่อสารมวลชน

นอกจาก Emo-Journalism แล้ว ในแวดวงวารสารศาสตร์ยังมีอีกปรากฏการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ทั้ง“ดราม่า”และเร้าอารมณ์ผู้เสพสื่อคล้ายคลึงกัน

นั่นคือ “Cinematic Journalism”

อันเป็นการผนวกรวมของ 2 ศาสตร์เข้าหากัน ได้แก่ศาสตร์แห่งภาพยนตร์ กับวารสารศาสตร์

Dan Chung ช่างภาพฝีมือเยี่ยมจาก The Guardian กล่าวบนเวทีอภิปรายของ The Konrad Adenauer Asian Center for Journalism ที่ มหาวิทยาลัย Ateneo de Manila เมื่อกลางปี 2553 ว่า

นักข่าว หรือช่างภาพมืออาชีพจำต้องพัฒนาฝีมือการเล่าเรื่องของตนเองให้เหนือกว่าข่าวที่ปรากฏตามสื่อโทรทัศน์ในทุกวันนี้ เพราะในอนาคต Mojo หรือ “นักข่าวมือถือ” จะเหนือนักข่าวมืออาชีพตรงที่สามารถนำเสนอข่าวได้สด และไวกว่า เนื่องเพราะอยู่ในสถานที่เกิดเหตุการณ์ ดังนั้นนักข่าวมืออาชีพต้องสู้ด้วยการนำเสนอข่าวที่มีคุณภาพทั้งภาพและเสียง

“...ต้องขอขอบคุณการพัฒนาเทคโนโลยี่ของกล้อง DSLRs ซึ่งสามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ชัดเจน มีคุณภาพเหมือนกล้องถ่ายภาพยนตร์ราคาแพง ดังนั้นนักข่าวหรือช่างภาพสามารถใช้แสง ภาพ เสียงเพลงประกอบ รวมทั้งการตัดต่อแบบภาพยนตร์มาช่วยทำให้งานแบบ Cinematic Journalism มีคุณค่าขึ้น...” Dan Chung กล่าว

ความเร้าอารมณ์ในรูปแบบของ Cinematic Journalism สามารถดูได้จากผลงานของ Khalid Mohtaseb ที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เฮติ (Haiti) ด้วยกล้อง Canon5D Mask2 ได้หดหู่ใจยิ่งนัก (ผู้สนใจดูคลิปเหตุการณ์ครั้งนี้ สามารถสืบค้นดูได้จาก www.youtube.com ด้วยคำสำคัญ “Haiti Earthquake Aftermath Montage” หรือคลิ๊กดูจาก http://www.youtube.com/watch?v=nXUMuGXCDRk )

หรือผลงานของ Dan Chung ในการถ่ายทอดพิธีเดินสวนสนามฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อย่างงดงามแปลกตายิ่ง แตกต่างจากข่าวสวนสนามของทีวีทุกช่อง

(ผู้สนใจดูคลิปเหตุการณ์ครั้งนี้ สามารถสืบค้นดูได้จาก www.youtube.com ด้วยคำสำคัญ “China National Day parade + TheGuardian” หรือคลิ๊กดูจาก http://www.youtube.com/watch?v=vo242-rYv0g )

เทรนด์ของนักข่าวสายพันธุ์ใหม่แบบ Cinematic Journalism และ Emo-Journalism เกิดขึ้นแล้วในซีกโลกตะวันตก เชื่อแน่ว่าอีกไม่นานคงแพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทย

ปัญหาสำคัญคือ การขับเน้นแต่รูปแบบการนำเสนอข่าว เหนือกว่าข้อมูล ข้อเท็จจริงของข่าวด้วยหวังดึงความสนใจของคนเสพสื่อโดยกลวิธีการเร้าอารมณ์แบบดราม่าสุดๆเช่นนี้

ใช่หรือไม่ว่า มันอาจกลายเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อชิ้นสำคัญของทั้งนักการเมือง และนายทุนโฆษณาสินค้าที่จะมอมเมาผู้บริโภคสื่อ

ครับ...ขนาดเรายังไม่มี Emo-Journalism และ Cinematic Journalism สื่อบ้านเรายังก่อปัญหาให้กับสังคมมากมาย ยิ่งถ้าเรามีนักข่าว ช่างภาพสายพันธุ์ดราม่าเช่นนี้ สังคมไทยจะเป็นอย่างไร อืม...ผมมิกล้าคาดเดา

หนทางรอดเดียว คือการสร้างพลังถ่วงดุลจากผู้บริโภคสื่อ ให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลื่ยม นัยยะที่ซ่อนเร้นผ่านเปลือกสวยงามของความเป็นดราม่าในข่าวนั้นๆว่า แก่นแท้แล้วงานข่าวชิ้นนั้นต้องการโน้มน้าวใจเรื่องอะไร อะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือการปรุงแต่งขึ้น

สุดท้ายคงต้องพึ่งปัญญาแห่งการรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) เท่านั้นแหละครับ ที่พอจะทัด ทานความเป็น “ดราม่า” ของสื่อได้บ้าง

ว่าแต่เรามีปัญญาแห่งการรู้เท่าทันสื่อในสังคมไทยหรือยังละ

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: เหตุผลของคนแพ้ (คดีปราสาทพระวิหาร)

Posted: 16 Aug 2010 03:24 AM PDT

 
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่มีการโต้เถียงเรื่องปราสาทพระวิหารขึ้นมาอีกในระยะนี้ และล่วงเลยไปถึง บันทึกความเข้าใจเรื่องการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาที่ทำขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ได้ยุติลงไปแล้ว รัฐสภาคงจะได้มีการถกเถียงเรื่องนี้อีกในสัปดาห์นี้ เมื่อมีการพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่ว่าน่าสนใจก็อยู่ตรงที่ว่า มีการหยิบเอาชุดเหตุผลที่เคยถูกตีโต้ตกไปแล้วโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการพิพากษาคดีในปี 2505 ขึ้นมากล่าวอีก ราวกับว่ามันเป็นเรื่องใหม่ ที่จะมีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยที่โลกนี้ได้กระทำลงไปแล้วต่อกรณีปราสาทพระวิหาร
 
ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีกเมื่อปรากฏว่า รัฐบาลชุดนี้ ก็ยอมรับเอาเหตุผลเหล่านี้ (บางส่วน) มารองรับจุดยืนของตัวเอง ทั้งๆ ที่มันขัดกันอย่างมีนัยสำคัญ และผลจากการยอมรับเหตุผลบางตอนอย่างคัดสรรนี่เอง ทำให้คำอธิบายจุดยืนเรื่องปราสาทพระวิหารและกรณีของบันทึกความเข้าใจ 2543 ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะ มีตรรกะที่ขัดแย้งกันไปมา จนไม่น่าเชื่อว่า เขาเรียนจบจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลก
 
มูลฐานของการถกเถียงเรื่องปราสาทพระวิหารในยุคสมัยปัจจุบันนี้ มีอยู่เรื่องเดียวเท่านั้นคือ แผนที่มาตราส่วน 1:200000 ระวางดงรัก ที่จัดทำโดยคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม
 
ฝ่ายที่เรียกร้องสิทธิในการทวงคืนพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารและเสนอให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจ 2543 นั้น อ้างว่า ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับดังกล่าวนั้นเลย เพราะมันชี้เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับอินโดจีน (ในเวลานั้น) หรือ ประเทศไทยกับกัมพูชาในเวลานี้ ไม่ตรงกับแนวสันปันน้ำที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ปี ค.ศ.1904 และ 1907 ดังนั้น ในยุคสมัยปัจจุบันก็ไม่ควรที่จะมีเอกสารความตกลงฉบับใดๆ ที่ทำกับกัมพูชาไปให้การยอมรับแผนที่เจ้าปัญหานั้นอีก เพราะเดี๋ยวจะโดนหลักกฎหมายปิดปากหลอกหลอนเอาอีก
 
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ ก็เชื่อเช่นนั้นด้วยว่า ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับนั้นเลยจริงๆ แต่โชคไม่ค่อยเข้าข้างนักในกรณีนี้ ที่บังเอิญ บันทึกความเข้าใจฉบับปี 2543 เซ็นโดยหม่อมราชวงสุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย ได้ระบุถึงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และแผนที่เจ้าปัญหาเอาไว้ด้วย หาไม่แล้ว รัฐบาลนี้คงไม่ลังเลที่จะบอกเลิก เหมือนกับที่ได้ทำกับ บันทึกความเข้าใจเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลที่ได้เซ็นโดย นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในปี 2544 ในสมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ความอีหลักอีเหลื่อเช่นว่านั้นเองเป็นเหตุให้ตรรกะและการให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องสองเรื่องของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทยจึงโอนไปเอียงมา ไม่สมฐานะคนมีการศึกษาสูง จากสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก
 
ข้อที่พิจารณาคือ ประเทศไทย ไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับดังกล่าวจริงๆ หรือ ? 
 
คำตอบคือ ประเทศไทยได้เป็นผู้ร้องขอให้ฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำแผนที่ฉบับนั้น และได้ให้การยอมรับมาแล้ว รวมทั้งได้ใช้ประโยชน์มาแล้วเป็นเวลา 50 ปีก่อนคดีปราสาทพระวิหาร และหากนับถึงปัจจุบันก็ปาเข้าไปกว่า 100 ปีมาแล้ว
 
หลักฐานอ้างอิงว่าประเทศไทยเคยยอมรับแผนที่ฉบับนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทพระวิหาร ปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) คำพิพากษาหาอ่านได้ทั่วไป ทั้งในต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/45/4873.pdf หรือภาษาไทยที่แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคนที่เห็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดแปลเวลานั้น ก็คือ คนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการคัดค้านเรื่องปราสาทพระวิหารและบันทึกความเข้าใจในเวลานี้นั่นเอง (จึงเป็นเรื่องประหลาดว่า เขาจะอ่านมันไม่เข้าใจ ทั้งๆที่เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ เว้นเสียแต่ว่าจะมีเจตนาเป็นอย่างอื่น) แต่ถ้าหาฉบับนั้นไม่พบ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต ก็ได้อนุเคราะห์รวบรวมขึ้นมาอีกครั้งและตีพิมพ์ใหม่ในปี พ.ศ.2551 โดยสำนักพิมพ์มติชน น่าจะยังพอหาอ่านได้
 
ในคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศปีนั้น ได้กล่าวถึง แผนที่เจ้าปัญหานี้เอาไว้อย่างมาก และ โดยละเอียด และใช้มันเป็นหลักฐานสำคัญในการตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
 
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อ้างถึงการทำงานของคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม และในขั้นสุดท้ายของการดำเนินการปักปันเขตแดนนั้นคือ การจัดพิมพ์แผนที่ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณาบริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็นได้จากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุดแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 คำร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความดำรินี้ เพราะว่าในหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1908 อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ได้ติดต่อแจ้งผลงานเกี่ยวกับการทำแผนที่ไปยังรัฐบาลของตน มีความตอนหนึ่งอ้างถึง คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม โดยคำขอร้องของกรรมการฝ่ายสยามได้มอบหมายให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสจัดทำแผนที่บริเวณเขตแดนส่วนต่างๆ ขึ้น”
 
กัมพูชาได้นำเอาแผนที่ฉบับนี้ ระวาง ดงรัก แนบเข้าไปเป็นภาคผนวก 1 (Annex I) ในคำฟ้องต่อศาลในคดีพระวิหาร ฝ่ายไทยในเวลานั้นได้โต้แย้งต่อศาลว่า แผนที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสม เพราะว่าคณะกรรมการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงหลายเดือนก่อนที่แผนที่จะได้จัดทำขึ้น 
 
ศาลให้เหตุผลว่า สยามเป็นผู้ขอให้จัดทำขึ้นมาเอง และรัฐบาลสยามได้รับเอาแผนที่นั้นมาใช้ โดยมิได้โต้แย้งเรื่องนี้เลย ก็ถือว่ายอมรับไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น แผนที่ชุดนี้ ได้รับการโฆษณา แพร่หลายในวงการวิชาการที่สนใจ โดยส่งไปให้สมาคมภูมิศาสตร์ที่มีชื่อในประเทศสำคัญๆและในวงการอื่นๆที่สนใจภูมิภาคนี้ ตลอดจนสถานอัครราชทูตไทย ณ ประเทศอังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งสมาชิกทุกคนในคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม การแจกจ่ายในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 160 ชุด ชุดละ 11 แผนที่ แผนที่ 50 ชุดส่งไปยังรัฐบาลสยาม 
 
หนังสือจากสถานทูตไทยในปารีส ส่งไปยังกระทรวงต่างประเทศสยามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1908 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ในเรื่องที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมตามคำร้องขอของคณะกรรมการฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่เขตแดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว” อัครราชทูตกล่าวด้วยว่า ได้มีผู้นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยังเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสยาม อัครราชทูตได้ให้รายชื่อแผนที่ทั้ง 11 แผ่น รวมทั้ง แผนที่บริเวณทิวเขาดงรักด้วยในจำนวนอย่างละ 50 ชุด อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตอย่างละ 2 ชุด และได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน เทศรัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา
 
ในเวลาต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงขอบพระทัยอัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้นและได้ทรงขอแผนที่ต่ออัครราชทูตเพิ่มเติมอีกอย่างละ 15 ชุดเพื่อทรงจัดส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม
 
ข้อโต้แย้งของทนายความฝ่ายไทยว่า มีแต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเท่านั้นที่ได้เห็นแผนที่จึงฟังไม่ขึ้น ด้วยว่า สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ วโรปกรณ์ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมาชิกคณะกรรมการผสม และ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแผนที่นั้นด้วยเช่นกัน ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ นั้น ทรงเชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ทรงสนพระทัยเรื่องเขตแดนเป็นอย่างมาก ศาลจึงเห็นว่า ข้ออ้างของทนายฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น  
 
ข้อโต้แย้งของฝ่ายไทยที่ว่า  แผนที่นั้นมีความผิดพลาด ด้วยว่ากำหนดเส้นเขตแดนไม่ตรงกันสันปันน้ำที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญา แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ประเทศไทยไม่เคยได้โต้แย้งความผิดพลาดเช่นว่านั้นเลย ทั้งๆที่มีโอกาสหลายครั้งหลายคราที่จะขอแก้ไขความผิดพลาดนั้น ในปี ค.ศ. 1937 ในการลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อยืนยันเขตแดน ฝ่ายไทยก็ยังคงยืนยันตามแผนที่ ระวางดงรัก ในปี ค.ศ.1947 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งไทยจะต้องคืน พระตะบอง เสียมเรียบ และ จำปาสัก ให้ฝรั่งเศส ก็โอกาสอันดีที่จะแก้ไขเรื่องเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย ก็ปรากฏว่า ประเทศไทยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีก 
 
ในคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศระบุว่า “ข้ออนุมานธรรมดาจากการที่ประเทศไทยมิได้กล่าวถึงพระวิหารในโอกาสนี้อีก จึงมีอยู่ว่า ประเทศไทยได้ยอมรับเส้นเขตแดนตรงจุดนี้ดังที่ลากไว้บนแผนที่ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นตรงกับเส้นสันปันน้ำหรือไม่”
 
ความข้อนี้ ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุด ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถโต้แย้งอย่างใดได้อีก ที่สำคัญสามารถตีความล่วงเลยไปได้ด้วยซ้ำไปว่า เขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น ก็เป็นไปตามแผนที่มาตราส่วน 1:200000 ระวางดงรัก นั่นเอง และก็เป็นข้อควรระวัง สำหรับใครก็ตามที่คิดจะเอาเรื่องนี้กลับไปให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยความหมายและขอบเขตคำพิพากษา ตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพราะมีความเสี่ยงอย่างสูงที่ศาลจะวินิจฉัยว่า “อาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นย่อมจะต้องเป็นไปตามแผนที่ ซึ่งไทยได้เคยให้การยอมรับและใช้งานมาแล้วนั่นเอง” ถึงเวลานั้นแล้ว หมายความว่า ไทยต้องเสียดินแดนจากที่เคยครอบครองอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน
 
ศาลได้เคยลงความเห็นไปแล้วว่า ข้อยึดถือที่ว่า เขตแดนบริเวณนั้นเป็นไปตามสันปันน้ำนั้น เป็นอันละทิ้งไปได้ “เพราะตามความเห็นของศาล แผนที่นั้น ไม่ว่าจะถูกต้องตรงกับเส้นสันปันน้ำทุกประการหรือไม่ก็ตาม ได้รับการยอมรับจากคู่กรณีใน ค.ศ.1908 และภายหลังจากนั้นแล้วว่า เป็นผลมาจากการตีความการปักปันเขตแดนตามวัตถุประสงค์สนธิสัญญาโดยรัฐบาลทั้งสอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือว่า คู่กรณีขณะนั้นได้รับเอาการตีความข้อตกลงโดยสนธิสัญญา ซึ่งเป็นผลให้เส้นเขตในแผนที่เท่าที่ผิดแผกจากเส้นของสันปันน้ำไปมีความสำคัญเหนือกว่าข้อบัญญัติของสนธิสัญญาในเรื่องนี้”
 
เรื่องที่มันชวนสงสัยในยุคปัจจุบันนี้ เหตุใดคณะผู้รักชาติ และนักกฎหมายที่อ้างว่าเคยร่วมคณะทนายความผู้เคยใช้เหตุผลต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งคดีความในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจนแพ้คดีความมาแล้ว จึงกล้าหยิบเหตุผลชุดเดิมมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนอีกครั้ง โดยมีความหวังว่ารัฐบาลจะเอาเหตุผลชุดนี้ไปโต้แย้งกับกัมพูชาอีก 
 
เพราะขืนเอาไปใช้อีก มันก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมา นอกเสียจาก ความพ่ายแพ้ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า      
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 3 จังหวัด "อภิสิทธิ์" ปัดตั้งธงคงกฎหมายยาวข้ามปี

Posted: 16 Aug 2010 01:42 AM PDT

'อภิสิทธิ์' เซ็นเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เชียงใหม่ เชียงราย อุบลฯ แล้ว ปัดตั้งธงลากยาวกฎหมายนานข้ามปี เผยพื้นที่กรุงเทพฯ ยังยกเลิกยาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของหลายๆ อย่าง ชี้ 'อำพน' เหมาะนั่งเลขาครม. 
 
มติชนออนไลน์ รายงานว่าวันนี้ (16 ส.ค.53) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้ลงนามในคำสั่งยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย และอุบลราชธานี ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เสนอมา และได้แจ้งให้ ครม.รับทราบแล้ว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า ห่วงหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นอีก เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการลอบวางระเบิดที่ จ.เชียงใหม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ก็ต้องใช้กฎหมายปกติ เพราะจะบอกให้ทุกพื้นที่หมดความเคลื่อนไหวเลยแล้วค่อยยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คงเป็นไปได้ยาก เพราะอย่างไรก็ตามบ้านเมืองต้องกลับเข้าสู่ภาวะที่สามารถใช้กลไกและกฎหมายปกติได้ หากตรงไหนเจ้าหน้าที่มีความพร้อม สถานการณ์มีความสงบมากขึ้น แม้จะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองบ้าง แต่ไม่ใช่การใช้ความรุนแรงก็จะยกเลิก กอปรกับใน จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงรายก็มีการร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบทางลบต่อเรื่องการท่องเที่ยวด้วย ส่วนกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงเตรียมนัดชุมนุมที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ในวันที่ 21 ส.ค.นี้นั้น ถือเป็นสิทธิที่ทำได้ หากเป็นการชุมนุมโดยสงบ
 
“พื้นที่ที่ยังยากที่สุดคือกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทยอยยกเลิกต่อไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าเหตุที่รัฐบาลทยอยยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการใช้เป็นข้ออ้างคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในกทม.และปริมณฑลไว้ข้ามปี นายอภิสิทธิ์ย้อนถามว่า “ทำไมล่ะครับ ผมยังไม่เข้าใจตรรกะ เราดูตามความเป็นจริง”
 
เมื่อถามย้ำว่า ในส่วนของ กทม.มีโอกาสจะต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปเรื่อยๆ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้เพิ่งต่อไปครั้งเดียว และหลายจังหวัดก็ได้ทยอยยกเลิกก่อนครบกำหนด รัฐบาลไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องต่ออายุกี่รอบ เราต้องการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ตรงไหนมีความพร้อมก็ยกเลิก ตรงไหนยังมีปัญหา และเจ้าหน้าที่ต้องการเครื่องมือ ก็ต้องคง พ.ร.ก. เอาไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้ยอมรับว่าในส่วนของกรุงเทพฯ มีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของหลายๆ อย่าง
 
เมื่อถามว่า ขณะนี้ตำรวจมีความพร้อมต่อการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินมากน้อยแค่ไหน นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ใน 17 จังหวัดที่ยกเลิกไป ก็เห็นว่าการทำงานเรียบร้อยดี
 
ส่วนกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมออกหมายในคดีก่อการร้ายล็อต 2 นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เราอยากเห็นความก้าวหน้าของคดี และเป็นกระบวนการที่ให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย เพราะสุดท้ายมันต้องกลับมาที่กระบวนการการเมือง และกระบวนการกฎหมายในการคลี่คลายทุกอย่าง หากทำได้รวดเร็วน่าจะเป็นผลดี
 
 
ครม.ตั้ง "อำพน กิตติอำพน" นั่งเลขาฯ ครม. 
มติชนออนไลน์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมครม.วันนี้ (16ส.ค.) มีมติแต่งตั้ง นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ (สศช.) เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ รองปลัดแรงงาน เป็นปลัดกระทรวงแรงงาน และ นายเฉลิมพร พิรุณสาร เลขาธิการ ส.ป.ก.เป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
 
ด้าน เนชั่นทันข่าว รายงานว่านายอภิสิทธิ์ แถลงภายหลังการประชุม ครม.ถึงเหตุผลในการตั้งนายอำพน กิตติอำพน เป็นเลขาธิการครม.ว่า ท่านเป็นเลขาธิการ สศช.ครบ 6 ปี เพราะฉะนั้นเห็นว่าน่าจะไปทำงานในตำแหน่งระดับเดียวกันและยังเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูงในหลายเรื่องเพราะนั่งร่วมประชุมครม.และเสนอความเห็นต่าง ๆ ในครม.จึงเหมาะสมกับตำแหน่งนี้
 
 
หนุนรัฐสภาตั้ง กมธ.ร่วมศึกษาผลประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา
เนชั่นทันข่าว  รายงานด้วยว่าวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณารายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ซึ่ง ส.ว.เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นมาก่อนว่า ครม.ไม่ขัดข้อง และตนเองได้ขอว่าเรื่องที่เกี่ยวกับเจบีซีนั้น น่าจะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาก่อนให้ความเห็นชอบ 
 
กรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย จะนำปัญหาเรื่องปราสาทพระวิหารเข้าหารือในที่ประชุมร่วมรัฐสภาด้วย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้าใจว่าที่ผ่านมาเราประชุมลับ และครั้งนี้ก็น่าจะเป็นการประชุมลับ ส่วนที่กัมพูชาส่งหนังสือถึงอาเซียนและประเทศเวียดนามที่เป็นประธานอาเซียนเพื่อให้เข้ามาสะสางข้อพิพาทไทย-กัมพูชานั้น กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนดแนวทางเรื่องนี้ อะไรที่เห็นว่าควรชี้แจงตอบโต้ก็ให้ดำเนินการ แต่อาจไม่ใช่ทุกกรณี ซึ่งจะดูถึงผลประโยชน์ของประเทศในเชิงการทำความเข้าใจ หรือจะใช้หรือไม่ใช้เวทีใด
 
ดูเหมือนไทยตามหลังการเคลื่อนไหวของกัมพูชา แทนที่จะเดินหน้าการต่างประเทศในเชิงรุก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ ปัญหาตอนนี้ต้องยอมรับว่ากัมพูชาเห็นว่ากระบวนการของเขาได้รับผลกระทบเรื่องมรดกโลก จากการเลื่อนการพิจารณาไปปีหน้า เขาจึงกังวลว่าไทยจะใช้กำลังหรือไม่ อย่างไร และอาจเป็นแนวทางที่เขาอาจต้องการทำให้เกิดภาพลักษณะเช่นนั้นอยู่แล้ว เขาก็ต้องเดินอย่างนั้น แต่เรามีหน้าที่บอกว่าข้อเท็จจริงคืออะไร และเราได้ปูทางมาก่อนหน้านี้แล้ว เพราะช่วง 1 ปีกว่าที่ผ่านมา ตนเอง นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวัฒนธรรม ได้ปูทางแล้วว่าข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่มีปัญหานั้นเป็นอย่างไร การชี้แจงเรื่องนี้ถือว่าง่ายกว่าปีที่แล้วมาก 
 
ส่วนที่กัมพูชาดึงต่างชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เขามองว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขาเป็นฝ่ายที่ทำความเข้าใจกับประชาคมโลกมากกว่าในเกือบทุกเวที จึงมองว่าเขาได้เปรียบตรงนั้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องรอบคอบในการดำเนินการทุกเรื่องทุกขั้นตอน ว่าเราได้รับความเข้าใจจากประชาคมโลกด้วย ส่วนที่ไทยยังไม่ชี้แจงกับอาเซียน เพราะเห็นว่าอาเซียนเข้าใจไทยดี
 
 
เรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์ และเนชั่นทันข่าว 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รอลงอาญา 2 ปี หนุ่มพันธมิตรฯ พยายามฆ่าตำรวจเข้าสลายม็อบ 7 ต.ค.โทษคุก 3 ปี

Posted: 16 Aug 2010 12:29 AM PDT

มติชนรายงาน วันนี้ (16 ส.ค.53) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 911 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลพิพากษาจำคุก นายปรีชา ตรีจรูญ อายุ 53 ปี ผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไต่ตรองไว้ก่อน เป็นเวลา 3 ปี แต่จำเลย ไม่เคยต้องโทษอาญามาก่อน ประกอบกับจำเลยมีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดี โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี โดยให้จำเลยรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี และให้ทำงานสาธารณะประโยชน์บริการสังคมเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สรุปว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกเป็นกลุ่ม พธม. ไปร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปิดล้อมถนนและทางเข้าออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้ ส.ส.และ ส.ว.ออกจากรัฐสภา โดยจำเลยมีเจตนาฆ่า ร.ต.ต.เกียงไกร กิ่งสามี, ส.ต.ท.พงษ์ไท เชื้อชุมสุข ส.ต.ต.พีรเชษฐ์ ธราปัญจทรัพย์, ส.ต.ท.เศรษฐวุฒิ บัวทุม และส.ต.ท.วุฒิชัย คำปงศักดิ์ ผู้เสียหายที่ 1-5 เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมของกลุ่ม พธม. โดยวางแผนล่วงหน้าเตรียมรถกระบะโตโยต้า สีน้ำเงิน ทะเบียน วพ-1968 กรุงเทพมหานคร จำเลยได้ขับรถดังกล่าวไล่ชนผู้เสียหายทั้งห้าอย่างแรง จนผู้เสียหายล้มลง จากนั้นจำเลยขับรถกระบะถอยหลังทับผู้เสียหายที่นอนบาดเจ็บอยู่ จำเลยกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เมื่อผู้เสียหายไม่เสียชีวิต เหตุเกิดที่แขวงและเขตดุสิต กทม. ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215,288,289,297
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์–จำเลย แล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลย ร่วมชุมุมกับกลุ่มพันธมิตร ฯ และวันเกิดเหตุ ช่วงเวลา 06.00 น. จำเลยออกมาจากบริเวณรัฐสภาเพื่อหาอาหารรับประทาน แต่ขณะนี้เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก บางรายขาขาด ซึ่งจำเลยมองเห็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน ขณะที่จำเลยได้รู้สึกว่ามีสิ่งมากระทบที่บริเวณใบหน้า เมื่อลูบใบหน้ามีเลือดไหลออกมา จึงขึ้นรถขับรถยนต์กระบะ ของจำเลย โดยขณะนั้นมีผู้ชุมนุมได้กระโดดขึ้นมาท้ายรถด้วย แต่จำเลยไม่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ด้านข้างรถ ซึ่งเวลาดังกล่าวจำเลย เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายที่ภายหลังพบว่าตาขวาของจำเลยได้รับบาดเจ็บจนตาบอดจากสิ่งที่มากระทบใบหน้า จึงเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เพราะบันดาลโทสะที่ได้รับบาดเจ็บและเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แม้จำเลยไม่มีเจตนาฆ่า ที่ขับรถพุ่งชนเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้ง 5 คน แต่การที่จำเลยขับรถพุ่งชน เป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลที่จะให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย และเมื่อผู้เสียหาย เป็นเจ้าหน้าที่ที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ขณะเกิดเหตุ จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่โดยบันดาลโทสะ จึงพิพากษา ว่า จำเลย กระทำผิดฐานพยายามฆ่า ฯ ตามมาตรา 289 ลงโทษดังกล่าว ส่วนความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่  10 คนขึ้นไป ฯ นั้น แม้จำเลยจะเข้าร่วมชุมนุม แต่โจทก์ ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ร่วมกับบุคคลใดในการวางแผนก่อความวุ่นวาย พฤติการณ์ของจำเลย ยังมีเหตุที่น่าพิรุธสงสัยตามสมควร จึงพิพากษายกฟ้องข้อหานี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายปรีชา ไม่ได้ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด  
 

ปล่อยตัว"วีระ"ชั่วคราว คดีก่อการร้าย "
17 แกนนำ นปช."ปฏิเสธทุกข้อหาพร้อมสู้คดีต่อ

วันเดียวกัน มติชนรายงานว่า เวลา 10.00 น. ที่ห้องเวรชี้ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลสอบคำให้การจำเลยคดีดำ อ.2542 / 2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระ มุสิกพงศ์ อายุ 62 ปี ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กับพวกซึ่งเป็นแกนนำ และแนวร่วม นปช.รวม 19 คนเป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา
 
กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 20 พฤษภาคม  2553 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดกับพวกที่ยังหลบหนีไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกับ พล.ต.ขัตติยะ  หรือเสธ.แดง อดีตผู้คุณวุฒิ กองทัพบก ซึ่งถึงแก่ความตายแล้ว ได้กระทำความผิดกฎหมายโดยนายวีระ จำเลยที่ 1 – 11 แกนนำ นปช. ได้ยุยงปลุกปั่นประชนทั่วราชอาณาจักรไทยให้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและบังคับขู่เข็ญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่  อ้างว่าเป็นนายกฯโดยมิชอบ และให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยพวกจำเลยได้ร่วมกันจัดการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหลายหมื่นคนที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถ.ราชดำเนิน ตั้งแต่สี่แยกคอกวัวถึงสี่แยกมิสกวันและถนนพิษณุโลกจากสะพานชมัยมรุเชษฐถึงสี่แยกวังแดง และแยกราชประสงค์ เดินขบวนไปปิดล้อมสถานที่ต่างๆทั้งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) รัฐสภา กรมทหารราบที่ 22 และบ้านพักของ นายกรัฐมนตรี ซ.สุขุมวิท 31  และมีการใช้อาวุธเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 79 ยิงใส่บ้านพักประชาชน
 
นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังได้สะสมกำลังพลและอาวุธสงครามร้ายแรง มีการฝึกกำลังคนและฝึกการใช้อาวุธใช้ชื่อกลุ่มนักรบพระเจ้าตาก กลุ่มนักรบโรนิน และกลุ่มนักรบพระองค์ดำ เพื่อการก่อการร้าย สร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน โดยใช้ยานพาหนะเคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมไปตามถนนในกรุงเทพแบบดาวกระจาย ประมาณ 1 หมื่นคันเศษ สร้างความปั่นป่วนให้เกิดความเสียหายแก่การคมนาคมทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน พวกจำเลยและกลุ่มผู้ชุมนุมยังได้ใช้เลือดจำนวนมากไปเทราดที่หน้าทำเนียบรัฐบาล หน้าพรรคประชาธิปัตย์ และบ้านพักนายกรัฐมนตรี และมีการใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่กองรักษาการณ์ของกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กระทรวงสาธารณสุขซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ยิงใส่กองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยมีทหารได้รับบาดเจ็บ ใช้เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี ยิงใส่กระทรวงกลาโหม ขว้างระเบิดใส่กรมบังคับคดี, อาคารมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ยิงปืนใส่ธนาคารกรุงเทพ ขว้างระเบิดใส่ประตูทางเข้าทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการต่างๆ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของรัฐและผู้อื่น เพื่อบีบบังคับกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้อง
 
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี ได้อาศัยอำนาจตามความใน ม.5 และ 11 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548  โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกันเกิน 5 คน ขึ้นไปหรือกระทำการอันใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย, กีดขวางการจราจร, ปิดทางเข้าออกอาคารหรือสถานที่อันเป็นการขัดขวางการปฎิบัติงาน หรือประกอบกิจการหรือการใช้ชีวิตโดยปรกติสุขของประชาชนทั่วไป, ประทุษร้ายหรือใช้กำลังทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหายเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินโดยจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรม ซึ่งรัฐบาลสั่งให้ยุติการชุมนุมแล้ว แต่จำเลยกับพวกไม่ยุติ มีการนำกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปที่ทำการรัฐสภาทำร้ายร่างกายทหารและแย่งชิงอาวุธปืนเอ็ม 16 ไป 1 กระบอก, บุกรุกไปในสถานีดาวเทียมไทยคม 2 อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
 
ต่อมา วันที่ 10 เมษายน 2553 จำเลยกับพวกและผู้ชุมนุม ได้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฎิบัติการกดดันผู้ชุมนุมเพื่อขอเพื่อที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และแยกราชประสงค์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนสงคราม ระเบิดขว้าง เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่ทหารประชาชน เป็นเหตุให้ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวกรรม และประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก หลังจากนั้นมีการลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อต้องการให้ไฟฟ้าดับทั่วกรุงเทพฯ อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
 
ต่อมา วันที่ 14 เมษายน 2553 จำเลยกับพวกได้ไปรวมตัวชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ปิดเส้นทางการจราจร สร้างเครื่องกีดขวางรอบพื้นที่ชุมนุม โดยดัดแปลงใช้ไม้ไผ่ ไม้ปลายแหลม ยางรถยนต์ปิดกั้นเส้นทางบริเวณแยกศาลาแดง แยกหลังสวน แยกเพลินจิต แยกชิดลม แยกประตูน้ำ แยกปทุมวัน และแยกเฉลิมเผ่า มีการยิงระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม และสาขาอื่นๆ และสถานที่ต่างๆไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวแก่ประชาชนและระบบเศรษฐกิจ วันที่ 28 เมษายน จำเลยกับพวกยุยงให้ผู้ชุมนุมไปที่ตลาดไท และใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ทหารที่บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานและสนามบินดอนเมือง ใช้อาวุธยิงทหารเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 2 คน มีผู้อื่นบาดเจ็บอีก 16 คน และในต่างจังหวัดได้ทำการปิดถนนตั้งด่านตรวจพาหนะ บังคับให้ขบวนรถไฟที่บรรทุกยุทธภัณฑ์ทางทหารไม่ให้เดินทางต่อ วันที่ 29 เม.ย.จำเลยกับพวกยังได้นำผู้ชุมนุม 200 คน ไปตรวจค้นรพ.จุฬาลงกรณ์ ทำให้แพทย์ พยาบาลไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความวุ่นวาย นำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ  ยุยงให้ประชาชนชุมนุมโดยมิชอบ มีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนาบิดเบือนให้เกิดการเข้าใจผิดเพื่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆทั่วราชอาณาจักร กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
 
ต่อมา วันที่ 19-20  พฤษภาคม รัฐบาลได้ดำเนินการกระชับพื้นที่และกดดันให้จำเลยกับพวกผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่และยุติการชุมนุม แต่จำเลยกับพวกมีการสะสมกำลังพลและมีอาวุธสงครามร้ายแรงต่อสู้ขัดขวางใช้ปืนยิงต่อสู้เจ้าพนักงาน และวางเพลิงเผาทรัพย์สินของรัฐและเอกชน เผาห้างสรรพสินค้าและอาคารพาณิชย์ต่างๆทั่วกรุงเทพ เผาศาลากลางและสถานที่ราชการต่างจังหวัดหลายแห่ง เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานยึดอาวุธปืน กระสุน และวัตถุระเบิดซึ่งเป็นของจำเลยกับพวกได้หลายรายการ
 
ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้นายวีระ มุสิกพงศ์  ประธาน นปช. ซึ่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลเพียงคนเดียวได้เดินทางด้วยรถตู้ พร้อมครอบครัวมาถึงศาลประมาณเวลา 08.30 น. โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงราว 30 คน เดินทางมาให้กำลังใจ ส่วนแกนนำคนอื่นๆ  อีก 16 คนอาทิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ  นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก  นายขวัญชัย ไพรพนา  ถูกนำตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
 
สำหรับแกนนำอีก 2 คน นายจตุพร พรหมพันธุ์  ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และนายการุณ หรือเก่ง โหสกุล สส.กทม. พรรคเพื่อไทย  ไม่ได้เดินทางมาศาลเนื่องจากติดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ
 
สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร , พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์, นายอริสมันต์ หรือกี้ พงษ์เรืองรอง  , นายอดิศร เพียงเกษ , นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์  หรือแรมโบ้อิสาน และนายพายัพ ปั้นเกตุ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอีก 6 คนนั้น อัยการมีคำสั่งฟ้องไว้เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากยังผู้ต้องหาทั้งหมดอยู่ระหว่างการหลบหนีหมายจับ ยังไม่ได้ตัวมา อัยการจึงยังไม่สามารถยื่นฟ้องได้ จึงได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอไปดำเนินการติดตามจับกุมตัวมาส่งฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในภายหลัง
 
โดยศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยทั้ง 17 คนฟังจนเข้าใจ แล้วสอบถาม ปรากฎว่าจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี และได้จัดเตรียมทนายความไว้พร้อมแล้ว ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 27 กันยายน นี้ เวลา 09.00 น.
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับจำเลยคดีร่วมกันก่อการร้ายอีก 18 คน ประกอบด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ อายุ 44 ปี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อายุ 35 ปี นายเหวง โตจิราการ อายุ 59 ปี นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 45 ปี นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อายุ 58 ปี นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก อายุ 52 ปี นายนิสิต สินธุไพร อายุ 54 ปี นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล  อายุ 42 ปี ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 58 ปี  นายภูมิกิติ หรือพิเชษฐ์ สุจินดาทอง อายุ 52 ปี แกนนำ นปช.  นายสุขเสก หรือสุข พลตื้อ อายุ 34 ปี นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล อายุ 39 ปี การ์ด นปช. นายอำนาจ อินทโชติ อายุ  54 ปี นายชยุต ใหลเจริญ อายุ37 ปี หัวหน้าการ์ด นปช.  นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง อายุ 48 ปี นายสุรชัย หรือหรั่ง เทวรัตน์ อายุ 25 ปี คนสนิทพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก นายรชต หรือกบ วงค์ยอด อายุ 29 ปี และ นายยงยุทธ ท้วมมี  อายุ 54 ปี แนวร่วม นปช.
 
ด้านนายคารม พลทะกลาง ทนาความ นปช. กล่าวว่า ยังรู้สึกสงสัยว่าเหตุใดอัยการจึงเร่งรัดรีบฟ้องกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ทั้งที่ยังมีเวลาพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนจนถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งตนหมดความน่าเชื่อถือในตัวของอัยการสูงสุด  ไม่ทราบว่า เป็น 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะคดีปิดล้อมสนามบินที่กลุ่มพันธมิตรฯ เป็นผู้ต้องหา ยังยืดเยื้อมานานนับปี อย่างไรก็ตามตนเชื่อมั่นกลุ่ม นปช.จะได้รับความเป็นธรรมจากศาลต่อไป
              
 
ที่มา: มติชนออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วีรพงษ์ รามางกูร: กรณีเขาพระวิหาร

Posted: 16 Aug 2010 12:06 AM PDT

เมื่อปี พ.ศ. 2505 ขณะนั้นยังเป็นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดูจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกปราศรัยทางโทรทัศน์เรื่อง คำพิพากษาของศาลโลก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พูดไปควักผ้าเช็ดหน้าออกมาเช็ดน้ำตาว่าเราจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกโดยการถอนกำลังออกจากพระวิหาร และต้องคืนโบราณวัตถุกลับไปให้กัมพูชา พร้อมกันนั้นก็ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาและมอบหมายให้สหภาพพม่าเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของทางราชการไทยในพนมเปญและที่เมืองอื่น ๆ

ทางรถไฟที่ทอดยาวจากหัวลำโพงไปถึงกรุงพนมเปญก็เป็นอันต้องหยุด ประเทศไทยประกาศปิดชายแดน ตั้งแต่นั้นมาทั้ง 2 ประเทศก็หมดความเป็นมิตรต่อกัน แต่ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศตามชายแดน ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันต่างก็ยังไปมาหาสู่ติดต่อค้าขายกันตามปกติ จนนายพลลอนนอลรัฐประหารขับไล่ สมเด็จพระเจ้าสีหนุออกไปร่วมกับฝ่ายเขมรแดง เราจึงรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชาขึ้นมาใหม่ แล้วข่าวคราวเรื่องเขาพระวิหารก็เงียบหายไป

เมื่อปี 2506 พวกเรานิสิตรัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง ต้องเรียนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 ว่าด้วยครอบครัวและมรดกกับท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ร่วมอยู่ในคณะทนายของฝ่ายไทย หัวหน้าคณะทนายความของไทยเป็นฝรั่งเข้าใจว่าเป็นอเมริกัน ส่วนหัวหน้าทนายความของฝ่ายกัมพูชาเป็นชาวฝรั่งเศส

พวกเราก็กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ว่า ประเด็นที่ต่อสู้กันนั้นว่าอย่างไร ท่านก็บอกให้พวกเรากลับไปอ่านคำพิพากษาของศาลโลกเสียก่อนแล้วท่านจะอธิบายให้ฟัง

เมื่ออ่านจบแล้วเราก็เข้าใจขึ้นเป็นอันมาก เพราะคำพิพากษาเขียนเหตุผลไว้อย่างละเอียด ทั้งคำฟ้องร้องของกัมพูชาและคำแก้คดีของฝ่ายไทย รวมทั้งเอกสารสนธิสัญญาแผนที่แนบท้ายสัญญา ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงมีไปถึงข้าหลวงฝรั่งเศสประจำกัมพูชา เรื่องขออนุญาตเสด็จไปเยี่ยมชมเขาพระวิหาร ภาพถ่ายสมเด็จกับ ม.จ.พูนพิศมัย พระธิดาเสด็จเขาพระวิหาร

ประเด็นที่ต่อสู้กันก็คือ แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับปี 1904 ที่ให้เอาสันปันน้ำเป็นเขตแดน แต่แผนที่แนบท้ายใช้มาตราส่วน 1 : 200,000 ขีดมาตามสันปันน้ำ แล้วมาวกเอาปราสาทเขาวิหารไปเป็นของกัมพูชา แล้วจึงวกกลับมาบนสันปันน้ำอีกทีหนึ่ง

เรารู้ว่าแผนที่นั้นผิดไม่ตรงกับตัวหนังสือในสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ค.ศ. 1904 อีกทั้งไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศส ทำฝ่ายเดียวแล้วส่งมาให้ไทย ไทยรับรองให้ความเห็นชอบเพราะฝ่ายไทยไม่ได้ส่งตัวแทนไปร่วมคณะปักปันเขตแดนตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา

แต่ในที่สุดศาลโลกตัดสินว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เพราะแผนที่ แนบท้าย ค.ศ. 1904 เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญาทั้งในแง่เอกสารและข้อเท็จจริงที่ทางไทยไม่ได้ทักท้วงภายใน 10 ปี อีกทั้งหัวหน้าคณะปักปันเขตแดนของฝ่ายไทยจะเสด็จเยี่ยมปราสาทพระวิหารก็ทรงมีลายพระหัตถ์ขออนุญาตข้าหลวงฝรั่งเศส ข้าหลวงฝรั่งเศสก็ออกมารับเสด็จพร้อมกับชักธงชาติฝรั่งเศสขึ้นสู่ยอดเสา มีการถ่ายรูปร่วมกัน

อาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ท่านเล่าให้พวกเราลูกศิษย์ฟังว่า ท่านรู้แต่แรกแล้วว่าเราคงจะแพ้คดี แต่โดยหน้าที่ที่เป็นคนไทยและจรรยาบรรณของทนายความก็ต้องทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างถึงที่สุด

ท่านเล่าว่าทางที่ถูกเราไม่ควรตกลงให้กัมพูชานำคดีขึ้นศาลโลก เพราะคดีที่จะขึ้นสู่ศาลโลกได้ทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมให้ศาลโลกพิจารณา

แต่จอมพลสฤษดิ์ท่านต้องการรักษาเกียรติภูมิของชาติว่าเราเป็นชาติอารยะ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ และทนายฝรั่งเชื่อว่าฝ่ายเราจะเป็นฝ่ายชนะ อาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ท่านเป็นเสียงข้างน้อย เมื่อนายกรัฐมนตรีตัดสินใจแล้วท่านก็ต้องทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในฐานะที่มีอาชีพทนายความและเป็นคนไทย

เมื่อฝ่ายเราแพ้คดีแล้ว ก็แปลว่าเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับว่า แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา มีผลบังคับใช้เหมือนกับกรณีเจดีย์สามองค์ ที่ด่านเจดีย์สามองค์ที่อังกฤษขีดวกเข้ามาทางฝ่ายไทยเป็นปากนกแก้วให้เป็นของพม่า

ปัญหาก็คือ ความชัดเจนว่าขอบเขตปราสาทพระวิหารนั้นกินขอบเขตพื้นที่ไปถึงไหน เพราะแผนที่ที่ฝรั่งเศสส่งมาให้ไทยเรารับรองหรือทักท้วงนั้นใช้มาตราส่วนย่อมาก ดูได้ไม่ชัด

คณะรัฐมนตรีในสมัยจอมพลสฤษดิ์จึง ตีความคำพิพากษาว่า ขอบเขตของปราสาทพระวิหาร หรือ "The Temple of Pra Vihar" (สื่อมวลชนไทย สะกดภาษาอังกฤษตามสำเนียงเขมรว่า The Temple of Preach Vihear ซึ่งไม่ควรสะกดอย่างฝรั่ง ควรสะกดตามสำเนียงไทย หรือสำเนียงแขกเจ้าของภาษาสันสกฤตว่า The Temple of Pra Vihar อาจจะเพราะความไม่รู้หรือไม่ก็เพราะเห่อฝรั่ง) มีขอบเขตแค่ไหน

ทางฝ่ายกัมพูชาก็ว่า "สระตาล" ห่างออกมาไกลสองสระที่เป็นที่สรงน้ำของกษัตริย์ขอมข้างหนึ่ง และเป็นที่อาบน้ำชำระร่างกายของพราหมณ์ข้างหนึ่งก่อนขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรที่ปราสาท เป็นส่วนหนึ่งของเทวสถานแห่งนี้

นอกจากนั้น ไกลออกมาถึงสถูปคู่ ซึ่งคงจะหมายถึงประตูทางเข้าพระวิหาร ซึ่งไกลออกมาถึง 2 ก.ม. เป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตของพระวิหาร

รวมทั้งหมดจึงจะเป็นเทวสถานหรือ พระวิหารแห่งพระอิศวรเจ้าที่สมบูรณ์ เหมือนกับอาณาเขตของวัดคงไม่ใช่เฉพาะพระอุโบสถภายในเขตที่ลงลูกนิมิตและ ใบเสมา คงเริ่มจากซุ้มประตูภายในกำแพงทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีศาลาราย วิหารคต ศาลา กุฏิพระ ฯลฯ ด้วยประกอบเข้าจึงเป็นวัด หรือ "พุทธสถาน" หรือ "พระวิหาร"

ทางเราก็ตีความว่า คำพิพากษาหมายถึงเฉพาะตัวพระวิหารสิ้นสุดที่บันไดขึ้นวิหารเท่านั้น ดังนั้นพื้นที่รอบพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรจึงยังเป็นของไทย เขมรบอกไม่ใช่ของไทย กัมพูชาไม่เคยรับรู้ ดังนั้นต่างคนต่างอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ ดังกล่าวจนทางฝ่ายกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทางยูเนสโกจึงขอให้เขมรเจรจากับไทยว่าจะร่วมกันพัฒนาอย่างไรให้เป็นเทวสถานที่สมบูรณ์ เพราะทางขึ้นอยู่ทางฝั่งไทย

หนังสือช่วยจำที่ลงนามโดย รมต. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ปี 2543 ก็ถูกต้องแล้ว หนังสือช่วยจำลงนามโดย รมต.นพดล ปัทมะ ที่ทำให้เขมรยอมรับว่าพื้นที่ 4.6 ตร.ก.ม เป็นพื้นที่ทับซ้อนก็ถูกต้อง หนังสือของ รมต. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เพื่อ ปูทางไปในการปักปันเขตแดน ส่วนของ รมต.นพดล ปัทมะ ก็เพื่อนำไปสู่การขึ้นทะเบียนมรดกโลก และร่วมกันพัฒนาให้เป็นมรดกโลก ทั้ง 2 บันทึกมีประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศและของโลกในแง่สันติภาพและวัฒนธรรมร่วมกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะนักการเมืองที่ไม่รับผิดชอบใช้ประเด็นความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองใช้ประหัตประหารกันทางการเมือง โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของชาติ แท้จริงแล้วก็เพื่อประโยชน์ของตนเอง เมื่อฝ่ายหนึ่งทำเรื่องให้ง่ายให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน อีกฝ่ายต้องการให้เป็นเรื่องยากให้เป็นโทษกับประเทศชาติ อีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นนักการเมืองเหมือนกัน มีพรรคฝ่ายค้านเหมือนกัน ก็ใช้กรณีนี้เล่นงานผู้นำของตน เอาอย่างประเทศไทยเรื่องก็เลยทำท่าจะบานปลายไปกันใหญ่

ดีที่ทหารทั้ง 2 ฝ่ายมีความเป็นอารยะพอ ไม่เถื่อนกระโจนไปตามการเมือง ซึ่งต้องชมเชยกองทัพของทั้ง 2 ประเทศ มิฉะนั้นก็ต้องรบกัน พาลูกหลานชาวบ้านไปตายโดยเปล่าประโยชน์

สื่อมวลชนของทั้ง 2 ประเทศก็พลอยไปเล่นการเมืองกับเขาด้วย ไม่ทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ ไม่เคยศึกษา ไม่อ่านบันทึกของอาจารย์ ดร.บวรศักดิ์ ดร.ชาญวิทย์ คำพิพากษาของศาลโลกก็คงไม่อ่านอยู่แล้ว

ถ้าเรื่องไปถึงคณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีความมั่นคงไม่มีทางเลือกต้องกลับไปที่ศาลโลกให้ตัดสินให้ชัดเจนว่าพื้นที่ 4.6 ตร.ก.ม.เป็นส่วนหนึ่งของปราสาทหรือไม่ เราก็ไม่มีทางเลือกเพราะได้เคยตกลงให้ศาลโลกพิจารณามาแล้ว

คิดอย่างสามัญสำนึก โอกาสที่เราจะแพ้น่าจะสูงกว่าโอกาสที่จะชนะ ทางที่ดีปล่อยให้คลุมเครือดีกว่าให้ศาลโลกตัดสินอีกครั้ง โดยถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน น่าเสียใจที่เราไปเล่นการเมืองกันจนวิถีทางการแก้ปัญหาที่พัฒนามาด้วยดีนั้นกำลังพังทลายลง พอรัฐบาลจะลงก็ต้องหาบันไดลง

แต่ก็มีคนกำลังจะชักบันไดออกไม่ให้ลง

 
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น