โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กงสุลอเมริกาและญี่ปุ่นประจำเชียงใหม่เตือนพลเมืองเรื่องคนเสื้อแดงเตรียมชุมนุมวันอาทิตย์

Posted: 20 Aug 2010 12:01 PM PDT

เว็บไซต์กงสุลสหรัฐอเมริกาประจำ จ.เชียงใหม่ แจ้งเตือนว่าคนแดงเตรียมจัดชุมนุมในวันอาทิตย์นี้ ที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ และแนะนำพลเมืองให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม ขณะที่กงสุลญี่ปุ่นมีการแจ้งข่าวเช่นเดียวกัน โดยแจ้งว่านอกจากการชุมนุมที่ เชียงใหม่แล้ว คนเสื้อแดงจะชุมนุมทั้งที่พะเยาและเชียงรายด้วย

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. เว็บไซต์สถานกงสุลสหรัฐอเมริกา จ.เชียงใหม่ มีการประกาศแจ้งข่าวหัวข้อ “มีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในภาคเหนือ, เสื้อแดงวางแผนชุมนุม” (WARDEN MESSAGE: STATE OF EMERGENCY LIFTED IN NORTH, RED-SHIRTS PLAN DEMONSTRATION) โดยมีเนื้อหาว่า ข้อความนี้แจ้งเตือนไปยังพลเมืองสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ด้วยรัฐบาลไทยได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และอุบลราชธานี สื่อมวลชนรายงานด้วยว่าผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) วางแผนชุมนุมใกล้กับประตูท่าแพ กลางเมืองเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 22 ส.ค. ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอยู่บริเวณนั้นรวมทั้งชาวอเมริกัน และมีความเป็นไปได้ว่ากลุ่ม นปช. จะจัดการชุมนุมในพื้นที่อื่นของภาคเหนือ ในประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวที่มุ่งหมายจัดอย่างสงบ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเผชิญหน้า และมีความเป็นไปได้ที่จะยกระดับไปสู่ความรุนแรงโดยที่ไม่มีการแจ้งเตือนหรือแจ้งเตือนเล็กน้อย ท่านควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็นเป้าหมายของการชุมนุมและเคลื่อนไหว และระมัดระวังถ้ามีการชุมนุมใหญ่ในพื้นที่ใกล้เคียง ท่านควรติดตามสื่อท้องถิ่นเพื่อติดตามข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการชุมนุม และพื้นที่พึงหลีกเลี่ยง

กระทรวงการต่างประเทศแนะนำอย่างยิ่งให้พลเมืองสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ลงทะเบียนกับแผนกกงสุลที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพ หรือลงทะเบียนการเดินทางในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรับข้อมูลเรื่องอาชญากรรมทั่วไปและประเด็นด้านความปลอดภัย พลเมืองสหรัฐอเมริกาควรปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยและคำเตือนทั่วโลก ซึ่งอยู่ในหน้าเว็บไซต์ของกรมกิจการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

ขณะที่เมื่อวันที่ 20 ส.ค. สถานกงสุลญี่ปุ่น ประจำเชียงใหม่ มีประกาศแจ้งข่าวแก่พลเมืองของตน ดังนี้ “ข่าวจากกงสุล” วันที่ 20 ส.ค. 2010 แจ้งเตือนเรื่องแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดการชุมนุม

หนึ่ง วันที่ 22 ส.ค. คนเสื้อแดงจะจัดการชุมนุมที่ข่วงประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ ขณะที่วันที่ 21 ส.ค. คนเสื้อแดงที่ จ.พะเยา มีกำหนดจะจัดชุมนุม สอง ในเดือนกันยายน มีข้อมูลด้วยว่า คนเสื้อแดงใน จ.เชียงราย จะจัดการชุมนุมขนาดใหญ่ สาม มีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงรายแล้ว สำหรับประชาชนที่พำนักหรือเดินทางในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยโปรดติดตามข้อมูลล่าสุดด้วย ประกาศในเว็บไซต์สถานกงสุลกงสุล จ.เชียงใหม่ ระบุ

ทั้งนี้ในวันที่ 22 ส.ค. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง และผู้สนับสนุนจะมาจัดกิจกรรมสัญจรที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ โดยที่ จ.เชียงใหม่ เพิ่งยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปเมื่อ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สนธิ ลิ้มทองกุล" ระบุต้องการตัดหัวเสียบประจานผู้นำกัมพูชา

Posted: 20 Aug 2010 09:47 AM PDT

แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเตรียมตั้งกองทุนทวงคืนเขาพระวิหาร พร้อมกล่าวหาชาวกัมพูชาไม่รู้บุญคุณของกษัตริย์ไทยที่เคยช่วยเหลือ แต่ก็ยังทรยศ จึงไม่แปลกที่ "พระนเรศวร" เอาเลือดมาล้างพระบาท ขู่ลั่น "ฮุนเซน" "อย่าว่าแต่เอาเลือดมาล้างเท้า ต้องตัดหัวเสียบประจานด้วย"

ช่วงค่ำวานนี้ (20 ส.ค.) ในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ออกอากาศสดทางเอเอสทีวี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการตั้งกองทุนเพื่อทวงคืนเขาพระวิหารว่า กองทุนนี้จะตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ให้กับประชาชน ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาใหญ่มาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิชีนาถเคยมีพระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2551 ทรงเป็นห่วงที่คนไทยไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียน ซึ่งทำให้คนไทยไม่รู้จักรากเหง้าที่มาของตัวเอง

นายสนธิกล่าวต่อว่า กองทุนดังกล่าวจะมีการเปิดบัญชีรับบริจาคเป็นกองทุนหนึ่งที่อยู่ภายใต้ มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินเหมือนกับกองทุนอื่นๆ เช่น กองทุนพันธมิตรฯ สู้คดี กองทุนช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ชุมนุม 193 วัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การรับบริจาคมีหลักฐานและเป็นไปด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยเงินที่ได้รับบริจาคจะนำไปใช้ในกิจกรรมการทวงคืนปราสาท พระวิหาร เช่น เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนา ให้นักวิชการ อาทิ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นายศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ดร.สมปอง สุจริตกุล ไปหาเอกสารหลักฐานนำไปสู่การทำคดีทวงคืนปราสาทพระวิหาร หรือใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ปลุกสำนึกรักชาติรักแผ่นดินเกิด ให้การศึกษาคนรุ่นใหม่ให้รู้จักประวัติศาสต่ไทยให้ถูกต้อง ซึ่งงานเหล่านี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เขาไม่สอนแล้ว เราอาจจัดรถเคลื่อนที่ไปสอนประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปของจังหวัดเขา เพื่อให้ประชาชนมีสำนึกทางประวัติศาสตร์ หรือถ้ามีเหลือก็อาจจะช่วยทหารที่บาดเจ็บจาการสู้รบ โดยจะมีการชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายทางเว็บไซต์ ให้สามารถตรงจสอบและยืนยันได้ว่าเงินก้อนนี้จะไม่เข้ากระเป๋าส่วนตัวใคร

นายสนธิกล่าวอีกว่า การสัมมนาเรื่องชายแดนเขาพระวิหารนั้น อาจจะจัดพร้อมกันหลายภูมิภาค ถ้ามีเงินมากพอก็อาจจัดหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เราไม่ได้ทวงปราสาทพระวิหารด้วยการโกง แต่เป็นการทวงสิทธิอันชอบธรรมที่เรา เป็นเจ้าของ เราไม่ได้โกงแบบนายฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา พันธมิตรฯ เรียกร้องเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2551 จนมาถึงรัฐบาลนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำอะไร แม่ล่าสุดนายอภสิทธิ์ได้บอกว่าจะใช้ทั้งวิธีการทูตและการทหาร แต่จนขณะนี้ก็ยังม่ได้ทำอะไร เพราะฉะนั้นพวกเราต้องมาทำเอง

นายสนธิย้ำว่า การที่เราไม่รู้ประวัติศาสตร์ไม่รู้รากเหง้าที่มาของตัวเอง ทำให้ไม่รู้บุญคุณของบรรพบุรุษ เหมือนเขมรที่ไม่รู้บุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตที่เคยช่วยเหลือหลาย ครั้งแต่ก็ยังทรยศ จึงไม่แปลกที่สมเด็นพระนเรศวรมหาราชทรงเอาเลือดมาล้างพระบาท ในสมัยที่เกิดสงครามในกัมพูชาและมีคนเขมรอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศษนุวงศ์ไปเยี่ยมดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ก็ยังไม่สำนึกในบุญคุณ นายฮุนเซนยังสร้างความแตกร้าวให้คนในประเทศไทย ด้วยการให้ที่พึ่งพิงแก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คนที่ไม่เคยสำนึกอย่างนายฮุนเซนอย่าว่าแต่เอาเลือดมาล้างเท้า ต้องตัดหัวเสียบประจานด้วย

 ที่่มา: เรียบเรียงจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตาภาคประชาชน: "อรรคพล"กลุ่มอิสระคนรุ่นใหม่ และ"สุนทรี"NGO รุ่นเก๋า ในต่างมุมมองต่อภาคประชาชน

Posted: 20 Aug 2010 03:55 AM PDT

อรรคพล สาตุ้ม กลุ่มอิสระคนรุ่นใหม่ เชียงใหม่ และสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง NGO กรรมการ กป.อพช.อีสาน และฝ่ายวิชาการ กป.อพช.(ระดับชาติ) ในซีรี่ส์ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย

ตอน 19 อรรคพล สาตุ้ม

"ขบวนการภาคประชาชนที่ผ่านมา เราพยายามจะทบทวนและนิยามตัวเองว่านอกจากกลุ่มของทุนและรัฐ ซึ่งมันก็มีปัญหาว่า ตอนนี้ในภาคประชาชนเรานี้มันแยกแตกต่างเป็นหลายฝ่าย ซึ่งมีฝ่ายหนึ่งก็เข้ากับฝ่ายที่เราเรียกง่ายๆ ว่าฝ่ายเหลือง ซึ่งฝ่ายเหลืองเราก็รูว่ามันเป็นเรื่องที่ผิด แต่ก็ยังไม่มีการยอมรับผิด การที่มันทำร้ายระบบประชาธิปไตยอย่างมาก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังไปสู่การรัฐประหาร เหมือนกับการพยายามดึงเรื่องเขาพระวิหาร หรือการที่เราพยายามจะกู้ชาติ การพยายามจะล้าหลังคลั่งชาติกันต่อไป มันก็ยังเป็นปัญหาที่ท้าทายและต้องทบทวนขบวนการภาคประชาชน"

"เอ็นจีโอ ซึ่งก็คือพวกที่ทำงานภาคประชาชน พยายามทำให้คนเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย แต่ปัญหาในเรื่องหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง และปัญหาพื้นฐานทางประชาธิปไตยก็ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ถูกลืมไป ทั้งที่ความเป็นจริงประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเรายังไปสนับสนุนรัฐบาลที่สนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับทหารและระบอบอำมาตยาธิปไตย จะทำให้คนเกิดอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง และไม่มีทางออกในการแก้ปัญหาอย่างนี้ต่อไป"

"ในการทบทวนและรัฐตัวของภาคประชาชน เราจะต้องเริ่มรู้สึกว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ถูก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ว่าปัญหาในปัจจุบันนี้คือบางคนไม่ยอมรับว่าตัวเองทำสิ่งที่ผิดไป จึงดันทุรังที่จะทำผิดต่อไปอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก"

"ผิดต่อประชาธิปไตย และผิดต่อคนที่ตายไป โดยไม่ยอมรับผิดชอบต่อคนที่เสียชีวิตและคนที่บาดเจ็บ แล้วไปเห็นด้วยกับการไล่ฆ่าสังหารคน ปล่อยให้คนบาดเจ็บเป็นผู้ก่อการร้ายไป" อรรคพล สาตุ้ม กลุ่มอิสระคนรุ่นใหม่ เชียงใหม่

000

ตอน20 สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง

"หลายคนอาจจะบอกว่ามันมีคนจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่าเอ็นจีโอมาเคลมตัวเองว่าเป็นภาคประชาชน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับฉันทานุมัติ บางทีก็มีคำถามว่าประชาชนคนไหนเลือกคุณมาเป็นตัวแทน แต่เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น"

"คำว่าภาคประชาชนในความหมายของเรา ที่เราเข้าใจ คำว่าภาคประชาชน หมายถึง ไม่ใช่ประชาชนคนทั่วไป 63 ล้านคนในประเทศไทยนะ แต่มันคือคนที่เข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิของตัว เข้าใจว่าตัวเองจะต้องมามีส่วนกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศ มาตรวจสอบควบคุมรัฐ สิ่งเหล่านี้แหละ องค์กรเหล่านี้และที่เรียกว่าภาคประชาชน"
 
"เอ็นจีโอน่าจะมีบทบาท 2 อันแรกคือตัวเองเป็นหนึ่งในภาคประชาชน เราเชื่อว่าเอ็นจีโอก็ส่วนที่จะแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อที่จะทำให้สังคมมันดีขึ้น เอ็นจีโอก็เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาชน ในขณะเดียวกันเอ็นจีโอ ถ้า สมมติเรามองว่ามาจากคนชั้นกลางที่อาจจะเรียนหนังสือเยอะหน่อย มีประสบการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมมากหน่อย เอ็นจีโอก็น่าจะมีบทบาทในทางเป็นพี่เลี้ยง ช่วยสนับสนับสนุนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนกลุ่มอื่นๆ"

"ตราบใดที่มันยังมีรัฐและยังมีผู้ที่ถูกผลกระทบจากการพัฒนา หรือการดำเนินการของรัฐที่ทำให้เขาเสียหาย เราคิดว่าบทบาทของเอ็นจีโอไม่น่าจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรนะ 1.ก็เป็นปากเป็นเสียงในฐานะที่ตัวเองก็เป็นภาคประชาชน 2.ก็คือสนับสนุนกลุ่มและองค์กรอื่นๆ ของภาคประชาชนที่กำลังทำงานปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง” สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง NGO กรรมการ กป.อพช.อีสาน และฝ่ายวิชาการ กป.อพช.(ระดับชาติ)

.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปล่อยแล้ว ‘เพอร์เซลล์’ ฝรั่งขึ้นเวทีนปช. หลังให้การรับสารภาพ

Posted: 20 Aug 2010 12:52 AM PDT

คอเนอร์ เพอร์เซลล์ เดวิด ชาวออสเตรเลียที่ร่วมชุมนุมเสื้อแดง ระบุการต้องอยู่ในเรือนจำในเวลานานทำให้ตัดสินใจรับสารภาพ ศาลตัดสินลดโทษเหลือจำคุก 1 เดือน 15 วัน ปล่อยตัววันนี้ เจ้าตัวเปิดใจสิ่งที่ได้เห็นภายใต้ระบบการเมืองไทย คือ ความอบอุ่น ความกล้าหาญ และความจริงใจของประชาชน

20 ส.ค.53 ที่ศาลแขวงปทุมวัน เวลาประมาณ 9.00 น.มีการเบิกตัวนายคอเนอร์ เพอร์เซลล์ เดวิด สัญชาติออสเตรเลีย ผู้ต้องหาในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาขึ้นศาลเพื่อนัดหมายการสืบพยาน
ก่อนหน้านี้ พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ได้ควบคุมตัวนายเพอร์เซลล์มาขออำนาจศาลฝากขังเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พ.ค.53 โดยแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยการขึ้นเวทีปราศรัยของ นปช. โดยนายเพอร์เซลล์ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาโดยตลอด

ทั้งนี้ เขายืนยันว่า การชุมนุม การแสดงออกทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชนทุกคน และเห็นว่าการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลเป็นสิ่งที่ให้อำนาจกับรัฐบาลมากโดยไม่มีการตรวจสอบ ทั้งยังมีการเลือกปฏิบัติ เช่น กรณีที่มีการชุมนุมที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ระหว่างประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับไม่มีใครโดนจับกุม นอกจากนี้การที่เขาขึ้นเวทีปราศรัยของ นปช.นั้นเป็นเพราะต้องการปกป้องประชาชนผู้มาชุมนุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและคนแก่จากการฆาตรกรรมหมู่ เนื่องจากในวันที่ 10 เม.ย.เขาได้เห็นเหตุการณ์ที่มีการยิงประชาชน และเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยาง 2 นัด บริเวณเอวด้วย

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (20 ส.ค.) นายเพอร์เซลล์ได้ขอให้ศาลอธิบายสิทธิของผู้ต้องหาและกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งศาลได้อธิบายและเปิดโอกาสให้นายเพอร์เซลล์ซักถามจนเข้าใจ ท้ายที่สุด นายเพอร์เซลล์ตัดสินใจกลับคำให้การจากการปฏิเสธเป็นรับสารภาพโดยระบุว่าการหารือกับญาติและเพื่อนๆ รวมทั้งการต้องอยู่ในเรือนจำในเวลานานทำให้ตัดสินใจในทางดังกล่าว หลังจากนั้นผู้พิพากษาได้หารือกับองค์คณะประมาณ 30 นาที และกลับขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดี

คำพิพากษาระบุว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย.53 จำเลยกับพวกที่ยังหลบหนียังนำตัวมาฟ้องไม่ได้ ได้ร่วมกันชุมนุมมั่วสุมกับ นปช. กีดขวางการจราจรจนไม่อาจสัญจรได้ตามปกติ และกีดความทางเข้าออกสถานที่อันเป็นการกีดขวางการปฏิบัติงาน การประกอบกิจการหรือการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป และจำเลยได้ขึ้นเวทีปราศรัยกับกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุเกิดที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

ศาลพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลยแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าในการร่วมกระทำผิดตามฟ้อง จำเลยมิได้มีหรือใช้อาวุธ และนอกจากกระทำผิดตามฟ้องแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการกรทำอื่นอันส่อแสดงว่ามีความมุ่งหมายจะใช้ความรุนแรงถึงขนาดให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน นับได้ว่าพฤติการณ์ยังไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง และเมื่อคำนึงว่ามูลเหตุการเข้าร่วมกระทำความผิด สืบเนื่องจากความเชื่อพื้นฐานอันเกิดจากความคิดที่จำเลยเข้าใจว่า การแสดงออกดังกล่าวเป็นการแสดงออกตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่สามารถกระทำได้ อันถือเป็นบริบทด้านความคิดในโลกเสรีประชาธิปไตยโดยทั่วไป ซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเหตุอันควรปราณีลงโทษจำเลยสถานเบา แต่เพื่อให้หลาบจำไม่กระทำความผิดซ้ำอีกจึงไม่รอการลงโทษจำเลย พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 9 (2) (4) มาตรา 18 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ลงโทษจำคุก 3 เดือน จำเลยรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 1 เดือน 15 วัน และเหตุที่จำเลยถูกคุมตัวตั้งแต่ 27 พ.ค.รวมเป็นเวลา 89 วันแล้ว ศาลจึงออกหมายปล่อยตัวในวันนี้

นายเพอร์เซลล์กล่าวภายหลังการพิจารณาคดีว่า แม้เขาจะมีประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์หลายอย่างในเมืองไทย แต่สิ่งที่ได้เห็นภายใต้ระบบการเมืองของไทยคือ ความอบอุ่น ความกล้าหาญ และความจริงใจของประชาชนไทย

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากสถานทูตออสเตรเลียระบุว่า ทางสถานทูตจะรับตัวเขานำส่ง ตม. เพื่อส่งตัวกลับประเทศภายใน 1-2 วันนี้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาสนาของคำผกา ตอนที่ 4 : ลอกคราบวาทกรรมทางศาสนา

Posted: 19 Aug 2010 10:19 PM PDT

วิจักขณ์ พานิช สัมภาษณ์คำ ผกา ตอนที่ 4 พูดถึงวาทกรรมเรื่องพระแบบบ้าน ๆ กับพระแบบปัญญาชน 'ธรรมะ' ที่รับใช้รสนิยม และเสรีนิยมประชาธิปไตยกับความเปิดกว้างทางศาสนา

 

 

วิจักขณ์: งานของคำ ผกา กระตุ้นให้คนอ่านตั้งคำถาม และวิพากษ์สังคมอย่างไม่ประนีประนอม ลักษณะของการเขียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาที่สูงหรือไพเราะ ตรงกันข้ามกลับใช้คำที่แรงในความรู้สึกอย่างไม่มีอาย หลายคนรับไม่ได้และมองว่าเธอช่างดูไร้มนุษยธรรม หรือปราศจากจิตวิญญาณใดๆทั้งสิ้น เธอช่างปากคอเราะร้าย ด่าคนเค้าไปทั่ว ไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้า

คำ ผกา: จริงเหรออออ 555

วิจักขณ์: ก็สังคมไทยอ่ะนะ อ่ะ อย่างพระ ครูบาอาจารย์ หรือคนทำงานเรื่องจิตใจ จะเป็นแรงบันดาลใจอะไรให้ใคร มันก็มักจะมีภาพที่พูดจาดี นุ่มนวล อ่อนโยน มีทักษะการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาในแบบนึง ที่ทำให้คนรู้สึกดีขึ้น แต่การวิพากษ์การเมืองผสมการมุ้ง ผสมแง่มุมทางจิตใจ ทางสิทธิมนุษยชนที่ดิบแรว็งส์ขนาดนี้ คนก็ยังไม่ค่อยคุ้นเคยมั๊ย และบางครั้งถึงขั้นรับไม่ได้ จนคนก็อาจจะตั้งคำถามว่า คำ ผกา นี่เค้ายังไง ไร้หัวจิตหัวใจ เป็นคนไม่มีศาสนารึเปล่า
 
คำ ผกา: อันแรกคือไม่มีศาสนาแล้วไง จริงๆแล้วการที่ไม่มีศาสนาก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร อันนี้ก็เลยไม่ควรตั้งคำถามว่าคนนี้เค้ามีศาสนารึเปล่า และอันที่สองทำไมแขกถึงพูดจารุนแรงนัก คือแขกคิดว่าคนพูดดีๆมีเยอะแล้ว อือ..แล้วโดยนิสัยแล้วแขกก็พูดเพราะๆไม่เป็นนะ ถ้าจะวิจารณ์ก็อยากพูดให้ตรงที่สุด ไม่ต้องไปตีความหรือคิดอ้อมไปอ้อมมา

วิจักขณ์: งานเขียนมันเป็นการสื่อสารกับคนมากๆด้วยรึเปล่า มันก็ต้องปลุกเร้าบ้างอะไรบ้าง คุยกับเพื่อนก็เห็นคุยปกติดี

คำ ผกา: (หัวเราะ) ใช่ ใช่ สำหรับแขกมันเป็นอย่างงี้นะ สมมติว่าเราเขียนงานออกไป เราเขียนในที่แจ้ง งานชิ้นนั้นมันจะถูกเขียนและถูกอ่านโดยคนอ่านแล้ว มันจะไม่ใช่อำนาจของแขก เพราะฉะนั้นคุณอ่านให้แรงก็เป็นเรื่องของคุณ คุณอ่านให้เข้าใจสิ่งที่มันหลุดจากความรุนแรงทางภาษามันก็เป็นเรื่องของคุณ คุณอ่านแล้วได้อะไร มันเป็นเรื่องของคนอ่าน ถ้าคุณอ่านแล้วได้แต่ความหยาบคาย อันนั้นเป็นปัญหาของคุณ ถ้าคุณอ่านแล้วคุณได้อื่นๆที่มากไปกว่าความหยาบคาย มันก็เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เป็นเรื่องของแขก แต่แขกอยากพูดให้ตรงที่สุด ตรงตามที่แขกคิดมากที่สุด จะวิจารณ์ใคร แขกก็อยากให้เค้ารู้ว่าแขกวิจารณ์เค้า เอาให้ชัดๆ ไม่ต้องอ้อมว่านาย ก. นาย ข. อะไรงี้

วิจักขณ์: ก็คือไม่ได้มองว่า ถ้าเราถ่ายทอดอะไรออกไป คนรับเค้าก็อาจจะได้รับสิ่งที่ไม่เหมาะสม

คำ ผกา: อันนั้นมันเป็นเรื่องของคนรับนะ มันก็ขึ้นกับเค้าด้วยว่าเค้ารับได้แค่ไหน แล้วจะรับอะไรในนั้น

วิจักขณ์: ไม่มองว่าถ้านักเขียนเขียนด้วยถ้อยคำก้าวร้าว ก็จะส่งผ่านความก้าวร้าวออกไปในสังคม เด็กเยาวชน หรือคนที่ยังไม่มีวิจารณญาณมากพอก็จะซึมซับเอาความก้าวร้าวทางวาจานั้น ไปแสดงออกต่อๆกัน ส่งผลเสียหายต่อสังคม ครอบครัว เด็กและเยาวชนในวงกว้าง (หัวเราะ)

คำ ผกา: เอิ่ม... ถ้ามึงเกิดจะเป็นอย่างนั้น ก็ปัญหาของมึงแล้วล่ะ (หัวเราะ) ถ้าอยากได้ความก้าวร้าวมันก็เรื่องของคุณ คุณเลือกที่จะไม่รับได้นี่

วิจักขณ์: หนึ่งในจุดแข็งของงานเขียนของคำ ผกา ก็คือการตีประเด็นเรื่องวาทกรรม โดยเฉพาะวาทกรรมทางการเมือง ทางสังคม แล้วสำหรับเรื่องศาสนาล่ะ คิดว่าวาทกรรมมีความเกี่ยวข้องความเป็นไปของศาสนาในสังคมไทยยังไงบ้าง

คำ ผกา: มันคงเกี่ยวอยู่แล้วล่ะค่ะ แต่แขกไม่ค่อยรู้เยอะ เพราะว่าค่อนข้างจะอยู่นอกความสนใจ ก็เหมือนอย่างที่บอกตะกี๊ ว่าเราก็จะมีภาพพระ ประมาณพระพยอม คือบ้านๆ แบบหลวงพ่อคูณ ตีหัว แล้วก็มีพระอย่างที่ปัญญาชนชอบ ก็รู้ๆกันอยู่

วิจักขณ์: ซึ่งภาพพระแบบบ้านๆนี้ คุณแขกเองก็ไม่ได้ตัดสินเลยว่า สูงกว่าหรือต่ำกว่าพระปัญญาชน

คำ ผกา: แขกมองเท่ากันหมด แล้วแขกก็มองว่านี่เป็นวาทกรรมที่มัน contest กันอยู่ในสังคม และมันก็คือการ contest กันของ audience ที่เป็นสาวกของพระในแต่ละกลุ่ม แล้วมันก็ bluff กัน ใช่มั๊ยคะ คนที่ชอบพระปัญญาชนก็จะบอกว่าพระพยอมไม่ดียังไง หรือว่าหลวงพ่อคูณเป็นแบบอภินิหาร ไร้สาระ ชาวบ้านงมงาย ซึ่งมันก็เป็นภาพคู่ขนานกับวาทกรรมทางการเมือง

แล้วพระแบบที่กินเหล้า ล่อสีกา ส่วนนี้ก็พระชาวบ้านทั้งนั้น แล้วสมมติว่าอย่าง case พระกับสีกาขึ้นมาซัก case นึง สมมติว่ามันเป็นหนึ่งในล้าน case เนี่ย มันจะถูกทำให้เป็นภาพหนึ่งล้านภาพ ด้วยอคติทางความคิดที่เรามีอยู่ในหัวอยู่แล้ว เหมือนเราเห็นกรรมกรเป็นฆาตกรข่มขืนน่ะ เพราะว่าเค้าเป็นกรรมกร ก็จะถูกอธิบายแบบนึง แต่ถ้าเป็นหมอ มันก็จะถูกอธิบายอีกแบบนึง ถ้าคนที่ข่มขืนคนนั้นเป็นหมอก็จะถูกอธิบายแบบจิตวิทยาอะไรไป แต่พอเป็นกรรมกรปุ๊บ ก็ตบหัวเข่าฉาด “ใช่เลย กูว่าแล้ว”

วิจักขณ์: ตรงนี้อย่างน้อยถ้าเราเข้าใจวาทกรรมตรงนั้นเนี่ย ก็จะลดอคติในการตัดสินของเราไปได้บ้าง

คำ ผกา: เราจะได้เข้าใจ และเราจะได้ไม่กระโดดไปอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งแบบไม่ลืมหูลืมตา เราจะไม่ไปอยู่กับพุทธทาสแบบว่าพุทธทาสพูดอะไรก็ถูก แล้วถ้าใครประกาศว่าเป็นลูกศิษย์พุทธทาสก็จะถูก

วิจักขณ์: แต่สำหรับบางคน เค้าก็ยินยอมนะ มันอาจจะเป็นความรู้สึกที่ว่าถ้าเค้าเลือกคนถูก เค้าก็จะเดินไปในทางที่ถูกไง

คำ ผกา: ก็เหมือนกับคนเชื่อว่ายังไงอภิสิทธิ์ก็ต้องเป็นคนดี หรือคุณอานันท์จะต้องเป็นคนดี เพราะว่ามันเหมือนมาจากความชอบธรรมที่ไม่ต้องตั้งคำถาม

วิจักขณ์: แต่สำหรับคนอย่างท่านพุทธทาสนี่ไม่ต่างเหรอ คนก็อาจจะมองว่าท่านเป็นบุคคลทาง “จิต-วิญ-ญาณ” (หัวเราะ)

คำ ผกา: เหอะ เหอะ แล้ว (หัวเราะ) แล้ว จิต-วิญ-ญาณ แปลว่าอะไรเหรออออ 555

วิจักขณ์: (หัวเราะ)

...คุณแขกก็ยังยืนยันว่าการที่คนจะเชื่อครูบาอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างท่านพุทธทาสอย่างไม่ตั้งคำถาม เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะโอเค

คำ ผกา:  เราไปจัดกลุ่ม เรามองว่าถ้าพระสายปฏิบัติต้องดีเสมอ ถ้าพระแบบว่าดิบๆสุกๆต้องเลวเสมอ แขกไม่เห็นด้วยกับอันนี้ไง แต่ตอนนี้วาทกรรมที่มันปฏิบัติการอยู่ในความคิดของชนชั้นกลาง มักจะไปให้คุณค่ากับพระสายปฏิบัติว่าบริสุทธิ์กว่า ดีกว่า ถูก contaminate น้อยกว่า ในขณะที่พระดิบๆสุกๆซึ่งเป็นพระส่วนใหญ่เนี่ย จริงๆแล้วเค้าอาจจะทำอะไรมากกว่าที่คุณคิด หรือน้อยกว่าที่คุณคิด หรืออะไรก็ตามแต่ ก็จะมองว่าพวกนี้ไม่ pure พวกนี้ถูก contaminate โดยบริโภคนิยม พระพวกนี้แอบเล่นเกมแชท (หัวเราะ) ซึ่งสำหรับแขก พระก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิต ในเมื่อเค้ามีความต้องการที่จะทำงานกับสังคมแบบหนึ่ง แล้วคุณจะให้พระเข้าป่าไปปฏิบัติหมดเหรอ ซึ่งมันก็ไม่ใช่ไง
แล้ววาทกรรมอันนี้พอเล่นแล้วมันกู่ไม่กลับเลยนะ เหมือนกับว่าตอนนี้ ถ้าใครมีหนังสือพุทธทาสอยู่ที่บ้านก็จะดูเป็นคนดี ใครบอกว่าเป็นลูกศิษย์พุทธทาสก็ดูเป็นคนดี ใครไปสวนโมกข์ก็ดูเป็นคนดี

วิจักขณ์: การเชิดชูในความสมบูรณ์แบบท่าเดียว มันก็ได้ปิดกั้นความเป็นไปได้ของการงอกงามต่อไปด้วย

คำ ผกา: ใช่ ใช่ ก็อย่างที่แขกเคยคุยกับตั้มน่ะค่ะ แทนที่จะมองไปที่ความสมบูรณ์แบบ อย่างคำสอนของท่านพุทธทาส จริงๆแล้วเราก็น่าจะนำคำสอนของท่านมาศึกษา มาวิจารณ์กันในแง่สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ในแง่ของประวัติศาสตร์ ว่าแต่ละช่วงของบริบท ของสิ่งที่ท่านพูดออกมาเนี่ย มันสัมพันธ์กับบริบทของเหตุการณ์ของเมืองไทยตอนนั้นยังไงบ้าง เกิดอะไรขึ้นในเมืองไทย ท่านถึงพูดสิ่งเหล่านั้นออกมา แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไปบูชาท่านพุทธทาสตอนนี้ ก็คือไม่ตั้งคำถามแล้ว อะไรที่พุทธทาสพูดดีหมด อะไรที่พุทธทาสพูดถูกหมด คือแขกไม่ได้มองว่าท่านดีหรือไม่ดี ถูกหรือไม่ถูก แต่แขกอยากเห็นการที่เราจะไปทำความเข้าใจ text เหล่านั้นให้มันลึกซึ้งมากขึ้น

วิจักขณ์: หรือว่ารู้ตัว รู้บริบทเวลาเอาไปใช้

คำ ผกา: ช่ายยย...มันขึ้นกับการ quote น่ะ การ quote มันคือการดึง text นั้นออกมาจากบริบทของมันทั้งหมดใช่มั๊ยคะ แล้วทุกวันนี้ที่เราทำกับงานท่านพุทธทาส คือการ quote มีแต่ quotation เต็มไปหมด แต่ไม่รู้ว่าพูดเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร 

วิจักขณ์: อืม..ซึ่งจริงๆ แม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า ทุกพระสูตรก็จะต้องขึ้นต้นด้วยการบอกบริบทว่าพระพุทธเจ้าแสดงคำสอนนี้กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะทุกคำสอนเกิดขึ้นในบริบทเฉพาะ ซึ่งต้องทำความเข้าใจบริบทควบคู่ไปด้วยจึงจะเข้าใจนัยที่ลึกซึ้งของคำสอน ไม่ใช่ว่าจู่ๆนึกชอบก็ดึงเอาไป quote เพื่อไปอธิบายในแบบของตัวเอง

คำ ผกา: มันกลายเป็นวัฒนธรรมของการ quote เรี่ยราด แล้วที่แย่กว่านั้นคือ quote แล้วก็เข้าใจตามพื้นความรู้ของตัวเองอีกนะ แล้วส่วนใหญ่คนเราก็มีแนวโน้มที่จะตีความคำพูดเหล่านั้นไปในทิศทางที่เรายินดีจะเชื่อ หรือชอบมันเป็นพิเศษอยู่แล้ว เหมือนตีความให้เข้าทางตัวเอง แล้วไอ้ quotation นี่มันมีแนวโน้มที่คนจะตีความเข้าทางตัวเองค่อนข้างเยอะ แล้วก็แห่แหนบูชากันไป คราวนี้ก็กู่ไม่กลับเลย อันนี้แหละหายนะ

วิจักขณ์: เรื่องวาทกรรมนี้รึเปล่า ที่เป็นสาเหตุทำให้คุณแขกสนใจพูดถึงพระแบบท่านพุทธทาส แม่ชีศันสนีย์ ว.วชิรเมธี ค่อนข้างเยอะ

คำ ผกา: แขกสนใจเพราะว่าเค้าเป็น icon ของชนชั้นกลาง จะว่าไปแล้ว แขกคิดว่าแขกสนใจชนชั้นกลางมากกว่า อือ สนใจว่า มันขับเคลื่อนด้วยอะไรวะคนกลุ่มนี้

วิจักขณ์: หมายถึง อะไรคือพลังที่เค้าใช้ในการดำเนินชีวิตใช่มั๊ย ซึ่งดูๆแล้วพลังทางศาสนาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตของคนกลุ่มนี้ ความเชื่อ ความชื่นชอบกับอะไรซักอย่าง ซึ่งในที่นี้ที่ฮิตกันมาก คือธรรมะ

คำ ผกา: ใช่ ใช่ แล้วมันเยอะมาก ในช่วงสี่ห้าปีมานี้ พลังทางศาสนามันมาแรงกว่าพลังด้านอื่นๆ แล้วมันกลมกลืนไปกับรสนิยมการบริโภคของเค้ายังไง เหมือนเครื่องสำอาง shisedo กับสโลแกน “Purify Your Mind and Body  ซึ่งสามารถไปเปิดตัวในเสถียรธรรมสถานได้

ความสนใจของแขกก็คือว่า ธรรมะมันถูก commodify ยังไง คือครั้งหนึ่งมันถูก commodify มาแล้วและชนชั้นอย่างในหมู่บ้านแขกแบบเนี้ยะ เอาเงินไปสร้างกุฏิวิหาร แล้วสุดท้ายเงินก็ไปสู่มือผู้รับเหมา หรือพ่อค้าไม้เถื่อน มันถูก commodify แบบนี้มาโดยตลอด แล้วก็ถูกดูถูกด้วย ถูกประณาม ก่นด่าด้วยแหละ ประมาณว่ามีพระแบบนี้ ศาสนาแบบนี้ ไม่ได้เรื่อง ตกต่ำ แต่ครั้นมันถูก commodify โดยชนชั้นกลาง แล้วถูกทำแบบเนียนๆ เออ แล้วมันทำไปได้ยังไง มีกระบวนการยังไงบ้าง อันนี้น่าจะเป็นความสนใจของแขก เป็นสาเหตุว่าทำไมแขกถึงไปหมกหมุ่นกับมันมาก (หัวเราะ)

วิจักขณ์:  เรียกว่าเป็นการมองพลวัตของศาสนาในแบบโลกโลกย์ได้มั๊ย

คำ ผกา:  (หัวเราะ) เป็นการมองแบบนักสังคมวิทยามากกว่า

วิจักขณ์:  แต่ถ้าเรามองในแง่ดี อย่างที่คุณแขกว่า พระก็มีหลายแบบ พระอย่างว.วชิรเมธี ที่ได้กลายเป็น icon พระ intellectual ของชนชั้นกลาง ท่านก็สร้างแรงบันดาลใจให้คนเยอะนะ สิ่งที่ท่านสอนก็ถูกจริตกับคนกลุ่มหนึ่ง งานหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คมากมายของท่านก็ทำให้คนรู้สึกดี อิ่มเอม มีความสุข ได้แง่คิด แบบนี้ปล่อยท่านทำไป ไม่ต้องไปจิกกัดท่านไม่ได้เหรอ

คำ ผกา: แต่แขกมองว่างานของว.วชิรเมธีมันเป็นยากล่อมประสาท หลอกขายกันไปวันๆ ไม่ได้ทำให้คนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มันเป็นการเอาตัวรอดคนเดียว

วิจักขณ์: แล้วมันต่างอะไรกับนักวิชาการที่พูดอะไรแบบเป็นทฤษฎีวิชาการมากๆ โดยที่ไม่ได้สนใจชาวบ้านหรือปัญหาสังคมอะไรจริงๆจังๆ

คำ ผกา: แต่ว่าคำพูดของนักวิชาการด้วยความที่มันไม่ได้อิงอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ มันไม่ได้อิงกับสิ่งที่เรียกว่าเป็น absolute truth นี่ นักวิชาการจึงโดนด่าตลอดเวลา แต่พอมันออกมาจากปากของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพระ อย่างที่แขกบอกว่าคุณต้องตระหนักว่าต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มากับสถานะทางสังคมของคุณคืออะไร แล้วสิ่งที่คนเชิดชูคุณ คือ absolute truth คือสัจจะ แล้วการที่คุณบอกว่าได้มอบในสิ่งที่คุณเรียกว่าเป็นสัจจะ แต่สิ่งที่คุณให้มันไม่ใช่สัจจะเลย แขกเลยมองว่ามันเป็นการมอมเมาทางปัญญา สอนให้คนหลีกหนีปัญหา แล้วก็ทำให้มืดบอดต่อปัญหาของคนอื่นในสังคมด้วย คำพูดของว.วชิรเมธี มีอะไรที่ลึกซึ้งบ้าง ไม่มี แต่ทำไมคนถึงให้ความสำคัญ เพราะมันออกมาจากพระที่บอกว่าตัวเองอ่านพระไตรปิฎกเจนจบ เป็นศิษย์พุทธทาส แล้วตอนนี้ก็จะเป็นศิษย์อะไรนะ สวนพลัม ใช่มั๊ย  แล้วล่าสุดอมรินทร์ก็ยกให้เป็นหนึ่งในอริยบุคคลของสังคมไทย นี่ก็ยิ่งเป็นการเชิดชูกันหนักเข้าไปอีก

วิจักขณ์: แล้วอย่างท่านพุทธทาส มองท่านอย่างนั้นด้วยรึเปล่า

คำ ผกา: อ๋อ ไม่ค่ะ แขกไม่ได้มองว่าท่านมอมเมา แต่แขกมองว่าท่านพุทธทาสเนี่ย หนังสือหรือคำสอนของท่านหลายๆอันมันอยู่ในช่วงที่ critical มาก เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไทย แล้วมันควรจะถูกเอามามองกับการเมืองตอนนั้นด้วย ไม่ใช่ไปมองแค่ในสถานะที่เป็นคำสอนล้วนๆ

วิจักขณ์: คืออยากให้คำนึงถึงช่วงเวลาที่คำสอนนั้นเกิดขึ้นด้วย เพื่อที่จะเข้าใจถึงบริบทของการนำมาใช้ให้ถูกต้องมากขึ้น

คำ ผกา: ใช่ ใช่ ...กับ motivation ที่ทำให้ท่านพูดคำสอนนั้นออกมา ในแต่ละช่วงเวลา

วิจักขณ์: แล้วเวลาวิพากษ์พระแบบนี้ สนใจที่จะเข้าไปรู้จักตัวบุคคลบ้างมั๊ย

คำ ผกา: แขกคิดว่าตัวบุคคลกับ text เป็นคนละคนกัน

วิจักขณ์: คุณแขกวิพากษ์ text  วิพากษ์งาน และอาจรวมถึงวิพากษ์ท่าที IMAGE ที่ท่านเหล่านี้แสดงต่อสังคม

คำ ผกา: ใช่ ใช่ ไม่ได้วิพากษ์ในตัวบุคคล ก็เลยไม่ได้มีความสนใจที่จะเข้าไปทำความรู้จัก  คือเรารู้จักกันเป็นคนๆแบบนี้ เราต้องดีต่อกันอยู่แล้ว ถ้าเป็นเพื่อนกันแล้ว ไม่มีใครไม่ดีต่อกันหรอก แต่ในความเป็นเพื่อนนั้น มันก็ยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับ text ที่เราวิจารณ์ คือถ้าแขกรู้จักท่าน แขกอาจจะชอบท่านก็ได้ ในฐานะที่ท่านเป็นคนดี มีน้ำใจ อะไรแบบนั้น

วิจักขณ์: แต่ก็ยังจะวิพากษ์งานท่านอยู่ดี 

คำ ผกา: ใช่ ใช่ เพราะความเป็นคนดี มีน้ำใจของท่าน มันไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ท่านเขียน

วิจักขณ์: คุณแขกคิดยังไงกับกระแสคลั่งอัตลักษณ์ทางศาสนา กับความพยายามที่จะบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่แม้แต่ชาวบ้านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคมเอง ก็ยังมีเห็นด้วยเลยนะ

คำ ผกา: อือ..ก็เป็นธรรมดา เป็นกระแสชาตินิยม polular nationalism ทั่วๆไป ซึ่งอันนี้มีหลายคนที่วิจารณ์ว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ร่วมกันทั้งคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดง ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่ว่าทำไมคนเห็นด้วย

วิจักขณ์: แล้วส่วนตัวล่ะเห็นยังไง

คำ ผกา: ไม่ควรอ่ะค่ะ ในทางการเมือง ยังไงก็ไม่ควร

จุดยืนของแขกคือ เสรีนิยมประชาธิปไตย ก็คือเปิดกว้างให้กับความหลากหลายทุกอย่าง รวมทั้งศาสนาด้วย เรื่องชาติพันธุ์ก็แน่นอนอยู่แล้ว

เรื่องจะเอาพุทธศาสนาไปใส่ในรัฐธรรมนูญ สำหรับจุดยืนของนักเสรีนิยมยังไงมันก็ผิด เพราะว่าโดยสิทธิมนุษยชนแล้วเนี่ย ทุกคนมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ โดยที่ไม่มีศาสนาใดศาสนาหนึ่งถูกสถาปนาให้อยู่เหนือศาสนาอื่นๆ

วิจักขณ์: แล้วมองว่าโดยตัวของพุทธศาสนาเองเป็นเสรีนิยมมั๊ย

คำ ผกา: อืม...แขกว่าแล้วแต่ คือการตีความพุทธศาสนาเนี่ย มันเยอะอ่ะ จะตีความเป็นฟิสิกส์ เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งแขกคิดว่าใครจะตีความยังไงก็ได้ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณไปเลือกตรงไหนมาอ้าง ถ้าคุณ quote ตรงที่มันส่อไปในทางอำนาจนิยม มันก็เป็นอำนาจนิยม ถ้าคุณจะ quote ไปในทางที่มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันก็เป็นวิทยาศาสตร์ คุณไป quote ตรงที่เป็นประชาธิปไตย มันก็เป็นประชาธิปไตย

พุทธศาสนาก็เหมือนเป็นทะเลวาทกรรมเหมือนกันนะ เพราะมันมีปลาให้จับเยอะแยะไปหมด ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตกได้อะไรขึ้นมา

วิจักขณ์: แล้วเห็นอะไรในทะเลนั้นบ้าง ที่มีคุณค่าพอที่ควรจะคงอยู่

คำ ผกา: ไม่เห็นอะไรเลยอ่ะ มองเป็นกลางๆมากเลย แขกมองแค่ว่าการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ก็แค่เคารพในสิทธิของคนอื่น ง่ายๆเลย

วิจักขณ์: (หัวเราะ) เท่าที่คุยกันมาตั้งแต่ต้น ผมรู้สึกได้เลยว่า คุณแขกไม่ได้มองว่า อะไรที่เป็นศาสนาแล้วจะวิเศษกว่าอันอื่น

คำ ผกา: ช่ายยย (เน้นเสียง)  เพราะฉะนั้นแขกก็มองว่า การที่เราไม่ไปฆ่าคนอื่นก็เพราะเราเคารพชีวิตของเค้า มันก็ไม่ต้องศีล ๕ อะไร แขกมองมันเป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่แบบนี้เลย เราไม่ละเมิดสิทธิของใคร เราก็ไม่ไปขโมยของคนอื่น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้แปลว่าเราจะเคารพได้ตลอดเวลา (หัวเราะ) ในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชน เฮอะ เฮอะ(หัวเราะแบบนางร้าย)

วิจักขณ์: แล้วอย่างนั้นทำไง

คำ ผกา: ก็ทำไป (หัวเราะ) ถ้าอยากทำก็ทำ ทำแล้วก็แก้ปัญหาไป ถ้าทำแล้วมีปัญหา ใช่มั๊ยคะ สมมติว่าทำแล้วมีปัญหา ทำแล้วโดนตำรวจจับ อ้าวแล้วจะโอเคกับการติดคุกมั๊ยล่ะ

วิจักขณ์: คือถ้าไม่ทำก็ดี ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยากทำก็ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำ

คำ ผกา: ใช่ ก็รับผิดชอบไป รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ

วิจักขณ์: ถ้าอยากจะไปเป็นกิ๊กกับแฟนชาวบ้าน ก็...

คำ ผกา: ก็ถ้ามันจะสาดน้ำกรด ก็ต้องรับผิดชอบกับน้ำกรดอันนั้น (หัวเราะ) หรือพยายามเอาตัวรอด หรือจะอยู่ให้ได้ โดยจะปิดบังให้ได้ตลอดรอดฝั่งมั๊ย หรือจะไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ของทั้งสามฝ่ายให้ลงตัวได้ยังไง อันนั้นก็เป็นการแก้ไขปัญหา เหมือนที่แขกบอกว่ามีปัญหาอะไรก็แก้ไปตามเนื้อผ้า (หัวเราะ)

สัมภาษณ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553
ภาพจาก นิตยสาร volume
____________________________

บ้านตีโลปะ
www.tilopahouse.com
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น