โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กรรมการสมัชชาปฏิรูปฯ เผย เตรียมเสนอเพิ่มภาษีถ้วนหน้า เพื่อสวัสดิการถ้วนหน้า

Posted: 25 Aug 2010 11:02 AM PDT

กรรมการคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูปหมอประเวศ เผยอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ โดยภาษีตัวแรกที่อยู่ระหว่างการศึกษาขณะนี้คือภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คาดว่าจะเพิ่มจาก 7% เป็น 10%

25 ส.ค. 53 - นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการ คณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป(คสป.) ที่มี นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต ภาษีทรัพย์สินและที่ดิน ภาษีการซื้อขายหุ้น โดยภาษีตัวแรกที่อยู่ระหว่างการศึกษาขณะนี้คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับโยบายการจัดระบบสวัสดิการสังคม ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้นโยบายชัดเจนที่จะให้เกิดขึ้นให้ได้ในอนาคต
 
"ในเมื่อสวัสดิการสังคมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ภาษีแวตก็เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เช่นกัน ทั้ง 2 ส่วนนี้น่าจะมารวมกันได้ ภายใต้แนวคิดว่าเมื่อคุณต้องการให้รัฐบาลดูแลสวัสดิมากขึ้น ก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนอัตราการเรียกเก็บแวตที่จะเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะเป็น 3% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 7%  รวมเป็น 10% โดยในอัตรานี้ก็ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือจึงได้ปรับลดลงมา" นายนิพนธ์กล่าวและว่าการศึกษาเรื่องการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มและสวัสดิการสังคมดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจะแล้วเสร็จ และเสนอรัฐบาลพิจารณาต่อไปได้
 
นายนิพนธ์กล่าวว่า สำหรับภาษีตัวที่เหลือจะมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดเก็บภาษี และการขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น โดยในส่วนของคนที่ไม่เคยเสียภาษีมาก่อน จะมีการวางกติกาให้เข้ามาอยู่ในระบบการเสียภาษี เพื่อขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น เช่น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงเกษตรกร ส่วนวิธีการที่จะทำให้คนกลุ่มนี้เข้ามาสู่ระบบภาษีคือการกำหนดให้ทุกคนต้องยื่นแบบการเสียภาษีตั้งแต่วันแรกที่ได้รับบัตรประชาชน ส่วนจะมีรายได้เพียงพอที่จะต้องถูกประเมินภาษีหรือไม่ ค่อยมาว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง
 
นายนิพนธ์กล่าวว่าในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ด้านส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยมีแนวคิดว่าการให้สิทธิทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุน ไม่ควรจะให้เป็นการทั่วไป แต่จะต้องมีการเฉพาะเจาะจงเงื่อนไขสำคัญ เช่น การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา(อาร์แอนด์ดี) เป็นต้น เมื่อได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้วต้องถูกประเมินด้วยว่า ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขขอรับส่งเสริมหรือไม่ ขณะที่บริษัททั่วไปซึ่งปัจจุบันถูกจัดเก็บในอัตรา 30% อาจจะเสนอให้ปรับลดอัตราภาษีลงแบบขั้นบันได โดยมีเป้าหมายให้เหลือที่อัตรา 20%แทน
 
"ในกระบวนการจัดทำกฎหมายทุกประเภทคณะกรรมการฯจะมองเรื่องผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับเป็นหลัก  และถ้ากฎหมายฉบับใดจัดทำแล้วเสร็จก็จะมีการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเป็นช่วงๆ แต่ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่" นายนิพนธ์ระบุ
 
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทสไทย(ธปท.)เคยมีข้อเสนอแนะในลักษณะเช่นเดียวกัน โดยเห็นว่าการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ อาจจำเป็นต้องมีการปรับอัตราเพิ่มขึ้น ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ที่มาข่าว:

"สมัชชาปฎิรูป"ชงเก็บแวต10%ลดเหลื่อมล้ำปท. ดึง"เอสเอ็มอี-พ่อค้า-เกษตร"สู่ระบบภาษี (มติชน, 25-8-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282751189&grpid=03&catid=
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แดงโคราชจัดผ้าป่า โวย ศอฉ.ส่อคุกคาม

Posted: 25 Aug 2010 10:45 AM PDT

"บิ๊กจิ๋ว" แจ้งยกเลิกเป็นประธานผ้าป่ากระทันหัน อ้างติดงานและสุขภาพไม่ดี ผู้จัดระบุถูกคุกคาม มือมืดปล่อยข่าวว่ายังเป็นพื้นที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน - เจ้าหน้าที่รัฐเก็บภาพตามคำสั่ง ศฮฉ.

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 25 ส.ค. 53 ที่สถานีวิทยุชุมชนไทยสินธนา ความถี่ เอฟเอ็ม 93.25 mhz  เลขที่ 564 หมู่บ้านสินธนา หมู่ 10 อ.โคกกรวด อ.เมือง นครราชสีมา ได้มีชมรมคนรักย่าโม นำโดยนายประยูร  จันทรุสอน นายกสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ประธานชมรม ฯ เจ้าของสถานีวิทยุชุมชนไทยสินธนา ได้ใช้พื้นที่บริเวณลานกว้างหน้าบ้าน จัดงานทอดผ้าป่ารวมใจโครงการ " ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดินแม่ ให้ร่มเงาแผ่คลุมแผ่นดินไทย " โดยมีพระครูปลัดสุพันธุ์ อธิติตโต เจ้าอาวาสวัดใหม่บ้านดอน เจ้าคณะตำบลโคกกรวด เขต 1 อ.เมือง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายอุบล  เอื้อศรี อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่ปรึกษา นายก อบจ.นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นประธานฝ่ายฆราวาส แทน พล.อ ชวลิต  ยงใจยุทธ ที่แจ้งยกเลิกกำหนดการเนื่องจากติดภารกิจ

ภายในงานมีการถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป และทำบุญ กรวดน้ำ อุทิศ ส่วนบุญ ส่วนกุศล ให้กับเจ้ากรรมนายเวร และผู้ล่วงลับ โดยรอบ จากนั้นได้แจกพันธุ์กล้าไม้ยืนต้น ที่ได้รับการอนุเคราะห์ จากศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้ นครราชสีมา จำนวนหลายพันต้น ให้กับตัวแทน ซึ่งเป็นแกนนำเครือข่ายคนเสื้อแดงในแต่ละอำเภอ ท่ามกลางประชาชน กว่า 400 คน และ จนท.หน่วยข่าวกรอง จากองค์กรต่างๆ หลายสิบคน ที่มาเฝ้าสังเกตการณ์ อย่างใกล้ชิด หลังเสร็จพิธีการ ผู้เข้าร่วมงานต่างแยกย้ายกันเดินทางกลับทันที

นายประยูร กล่าวว่า ชมรมคนรักย่าโม ได้ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้ให้กับสถานีวิทยุ ฯ จุดประสงค์สำคัญต้องการเสริมสร้างสิ่งดีงามให้กับสังคม และประเทศชาติ หล่อหลอมพลังสามัคคี อุทิศส่วนกุศลให้กับวีรชนผู้กล้าปกป้องประชาธิปไตยของยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา ตามกำหนดการประธานในพิธี พล.อ ชวลิต  ยงใจยุทธ ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาชมรมรักย่าโม จะต้องเดินทางมาทำหน้าที่เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และขึ้นปราศรัย ใหโอวาส แต่ได้รับแจ้งว่า พลเอกชวลิตติดภารกิจสำคัญ และมีปัญหาสุขภาพ จึงขอยกเลิกกะทันหัน

นายประยูร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามขอยืนยันอีกครั้ง การจัดงานครั้งนี้ ไม่ใช่การแสดงสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง และคณะกรรมการที่ร่วมจัดงาน ก็มิได้มีตำแหน่ง หรือเกี่ยวข้องกับ นปช. ตามที่หน่วยข่าวกรองระบุตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่มีคนร่วมงานบางตา เนื่องจากมีคนปล่อยข่าวสร้างสถานการณ์ อ้างว่ายังมีการประกาศ พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ คนที่อยู่ต่างอำเภอจึงแจ้งยกเลิกการเดินทางกันจำนวนมาก

"ขอยืนยันว่าการจัดงานครั้งนี้ ไม่ใช่การแสดงสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง และคณะกรรมการที่ร่วมจัดงานก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ นปช. ตามที่หน่วยข่าวกรองระบุ สาเหตุที่พี่น้องมาร่วมงานค่อนข้างบางตา ทั้งที่เตรียมสถานที่รองรับไว้หลายพันคน เนื่องจากมีผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวสร้างสถานการณ์ อ้างว่ายังมีการประกาศ พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อ้างได้รับคำสั่งจาก ศอฉ.มาเก็บข้อมูลบันทึกภาพ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคุกคาม ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด" นายประยูรกล่าว

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

"บิ๊กจิ๋ว"ไม่ร่วมงานเสื้อแดงโคราชคนบางตา (คมชัดลึก, 25-8-2553)
http://www.komchadluek.net/detail/20100825/71076/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.html

"แดงโคราช"โวยศอฉ.ส่อคุกคามส่ง จนท.บันทึกภาพทำคนร่วมทอดผ้าป่าน้อย "บิ๊กจิ๋ว"ไม่ไปอ้างป่วย (มติชน, 25-8-2553)
http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282746415&grpid&catid=19

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“คณิต” ลั่นไม่ตั้งตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศร่วมเป็นกรรมการปรองดอง

Posted: 25 Aug 2010 10:33 AM PDT

“คณิต” ลั่นไม่ตั้งผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศร่วมเป็นคณะทำงานของกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เผย “ยูเอ็น-อียู” เสนอตัว ช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา  

25 ส.ค. 53 - ที่สำนักงานกิจกายุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3 / 2553 ซึ่งใช้เวลาในการประชุมกว่า 3 ชั่วโมง ภายหลังการประชุม นายคณิต แถลงผลการประชุมว่า ประเด็นที่ข้องกับองค์กรระหว่างประเทศที่จะเข้าร่วมกับการทำงานของคอป.ซึ่งแนวทางการดำเนินงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ ทางคอป.จะไม่แต่งตั้งผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศร่วมเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรม หรือคณะทำงานของ คอป. เช่นองค์กรสหประชาชาติ, (ยูเอ็น) สหภาพยุโรป(อียู), สภากาชาดสากล และองค์กรนิรโทษกรรมสากล เป็นต้น

"เราจะไม่แต่งตั้งผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศเข้าเป็นคณะทำงาน แต่จะเข้าร่วมในฐานะผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการทำงานของคอป.  ขณะเดียวกันการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งที่ในประเทศไทยไม่มีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ก็ขอให้มาเป็นที่ปรึกษาคอป ทั้งนี้จะจัดให้มีกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่นการศึกษาวิจัย ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถทำงานค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองให้มีมาตรฐานและสอดคล้องกับหลักสากลมากขึ้น”นายคณิต กล่าว

ทั้งนี้ คอป.ตั้งคณะกรรมการ  2 ชุดประกอบด้วยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง โดยมีนายสมชาย หอมละออ เป็นประธานคณะกรรมชุดดังกล่าว โดยนายสมชาย กล่าวว่า ได้ตรวจสอบในประเด็นต่างๆที่เป็นที่สนใจกรณีผู้เสียชีวิต 6 ศพ ที่วัดปทุมวนาราม และกรณีที่ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นและอิตาลีเสียชีวิต  กรณีฆาตกรรมพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ ขณะนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆได้สัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พร้อมกันนี้ได้เชิญนักนิติวิทยาศาสตร์เข้าร่วมตรวจสอบ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอาสาสมัครจะจัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ในการสัมภาษณ์ สอบถามข้อมูลข้อเท็จจริง  

ด้านนายสมชาย กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า ยังต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นความรู้ด้านการตัดต่อวิดิโอ ว่าเป็นคลิปวิดิโอแท้หรือตัดต่อขึ้น รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านวิถีกระสุน พร้อมกับเทียบเชิญนักวิชาการไทยไว้แล้วพร้อมติดต่อประสานงานกับองค์การที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญต่อไป

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์  กล่าวถึงมาตรการการเยียวยาว่าคณะกรรมการชุดเยียวยา ได้ดำเนินการพร้อมกับกรมส่งเสริมสุขภาพจิตได้ไปทำงานร่วมกันเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ ขณะเดียวกันจัดทำแผนงาน และสร้างบรรยากาศการปรองดอง พร้อมจะเดินทางไปพบผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีต่อไป

นายคณิต กล่าวถึงการจัดกิจกรรมทางวิชาการและการศึกษาวิจัย ว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญในจุดเบื้องต้นในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยคอป. จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการวิจัยและศึกษาปัญหาโดยมี นายสุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล เป็นประธาน ส่วนการเดินทางลงพื้นที่จ. อุดรธานี ขณะนี้ได้สั่งให้คณะกรรมการเยียวยาและป้องกันความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องดำเนินการ และหากมีความพร้อมตนจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อประสานกับภาคส่วนต่างๆ ที่ผ่านมาจากการเดินทางไปพบประชาชนทั้ง 2 กลุ่มในจังหวัดเชียงใหม่ผลตอบรับเป็นไปได้ด้วยดี  ในช่วงเช้าได้เดินทางไปพบกลุ่มคนเสื้อแดงและช่วงบ่ายพบกลุ่มคนเสื้อเหลือง และหากเป็นไปได้ถ้าทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงสามารถเข้าพบได้พร้อมๆกัน ตนก็จะเดินทางไปหารือด้วยอีกครั้ง

นายกิตติพงษ์ กล่าวเสริมว่า กลุ่มเสื้อแดงและเสื้อเหลืองมีความคิดเห็นที่ต่างกัน แต่จุดร่วมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันคือ มีความรักจังหวัดเชียงใหม่ และรักประเทศไทย คิดว่าหากก้าวข้ามประเด็นความขัดแย้งเหล่านี้ไปได้ก็จะนำไปสู่ความปรองดองมากยิ่งขึ้น

ที่มาข่าว:

“คณิต”ลั่นไม่ตั้งผู้แทนองค์กรระหว่าง ปท.ร่วมเป็น กก. เผย“ยูเอ็น-อียู”เสนอตัว ช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา (แนวหน้า, 25-8-2553)
http://www.naewna.com/news.asp?ID=225158

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"เตงเส่ง" ใช้ตำแหน่งนายกฯ ชวนประชาชนพม่าเลือกคนดี-เก่ง-รักชาติ ไม่บ่อนทำลายสหภาพ

Posted: 25 Aug 2010 10:22 AM PDT

หัวหน้าพรรครัฐบาลทหารพม่า ใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกาศผ่านสื่อว่าในวันเลือกตั้ง 7 พ.ย. ให้ประชาชนพม่าเลือกคนดี-ฉลาด-รักชาติ ไม่บ่อนทำลายสหภาพ มารับใช้ผลประโยชน์ประเทศ


นายกรัฐมนตรีเตงเส่งของพม่า ระหว่างเปิดเส้นทางรถไฟที่สถานีชเวดากา
เมืองแปร เมื่อ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: นิวไลท์ออฟเมียนมาร์, 23 ส.ค. 53)

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ของรัฐบาลทหารพม่า ฉบับวันที่ 23 ส.ค. รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา นายเตงเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีพม่า เดินทางไปที่สถานีรถไฟชเวดากา (Shwedaga) ที่เมืองแปร (Pyay) เพื่อเปิดเส้นทางรถไฟสถานีชเวดากา (Shwedaga) จากเมืองแปร - ถึงสถานีปอกกอง (Pyakkaung) ระยะทาง 32 กม. โดยรถไฟสายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างทางรถไฟสายแปร- - ตองอู - เนปยิดอ เมืองหลวงใหม่ของพม่า ก่อสร้างโดยกระทรวงขนส่งทางรถไฟ

ในช่วงหนึ่งของการกล่าวเปิดเส้นทางรถไฟ นายเตงเส่งระบุว่า พล.อ.อาวุโสตานฉ่วยกล่าวว่าโครงการก่อสร้างทั้งหมดจะสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ และจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ และนายเตงเส่งยังกล่าวด้วยว่า ในการเลือกตั้งระบบหลายพรรคในวันที่ 7 พ.ย. นี้ มีความสำคัญมากสำหรับประชาชนทุกคน ดังนั้นเราต้องช่วยกันป้องกันกระบวนการบ่อนทำลายการเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งประสบความสำเร็จ โดยนายเตงเส่งย้ำเตือนให้ประชาชนเลือกคนดี ฉลาด รักชาติ (good, smart, patriotic) มารับใช้ผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้นโยบายไม่บ่อนทำลายสหภาพพม่า

ทั้งนี้พม่าจะมีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ในวันที่ 7 พ.ย. นี้ โดยที่ระเบียบการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเข้มงวด และไม่มีพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของนางออง ซาน ซูจี ลงเลือกตั้งด้วย ขณะที่นายเตงเส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า ยังมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party) หรือ USDP ซึ่งเป็นพรรคที่เปลี่ยนสถานภาพมาจาก สมาคมเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association) หรือ USDA ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งและใช้งบประมาณของรัฐบาลทหารพม่า โดยมีนายพลหลายคนในรัฐบาลทหารพม่ารวมทั้งพลเอกอาวุโสตานฉ่วยเป็นผู้อุปภัมภ์และสนับสนุน

ที่มาของข่าว:

แปลและเรียบเรียงจาก November election important to all citizens PM urges people to choose good, smart, patriotic persons who want to serve national interest, New Light of Myanmar, 23 Aug 2010

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สภาผ่านงบฯ 54 วาระ 3 แล้ว 253 ต่อ 178

Posted: 25 Aug 2010 04:08 AM PDT

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 สิงหาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 วาระ 2 และ 3 เป็นวันที่ห้า ต่อจากการประชุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม โดยเริ่มพิจารณาที่ มาตรา 29 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้รับการจัดสรรจำนวน 18,000,000,000 บาท

นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย สงวนคำแปรญัตติ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดต้องมีแผน โดยต้องสอดคล้องกับสภาพจริงของพื้นที่ ปรากฏว่า จังหวัดภาคเหนือและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน งบ 70 % เอาไปอบรมและดูงาน ทั้งที่ภาคเหนือตอนบนมีอาชีพเกษตรกร ต้องการนิคมอุตสาหกรรมจังหวัด ต้องการที่เก็บพืชผลเป็นห้องเย็น ต้องการตลาดกลางเพื่อการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้งบอบรมยังนำไปซื้อกระเป๋า รูป เอกสารแจก อบรมเสร็จก็จัดงานเลี้ยง ตั้งวงไพ่ หรือโครงการก่อสร้างก็ไม่ได้สร้างจริง ทั้งนี้งบผู้ว่าซีอีโอใช้ง่าย ดึงไปดึงมาใกล้เดือนกันยายนก็ขออนุมัติด้วยวิธีพิเศษ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณให้ผ่านไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าปล่อยปละละเลย

นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย สงวนคำแปรญัตติ กล่าวว่า จังหวัดจัดทำโครงการไม่ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ เช่น สกลนคร งบ 188 ล้านบาท ไม่มีงบไปพัฒนาเอาไปพัฒนาหนองหานที่เป็นแหล่งน้ำจืดอันดับ 3 ของประเทศ แต่เอาไปตั้งสำหรับฝึกอบรมถึง 110 ล้านบาท ตนคิดว่า งบซีอีโอควรยกเลิกได้แล้วและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำ เพราะงบราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นทับซ้อนกันอยู่ ควรยกเลิกอันใดอันหนึ่งทิ้ง

นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย กรรมาธิการสงวนความเห็น กล่าวว่า งบกลุ่มจังหวัด บางครั้งมีจังหวัดหนึ่งเป็นเจ้าภาพงานทั้งที่จังหวัดอื่นๆมาเห็นด้วย การจัดทำแผนก็ไม่บูรณาการในกลุ่มจังหวัดทำให้ภารกิจล้มเหลว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ไม่เป็นพี่เลี้ยงในการทำแผนเท่าที่ควร บางครั้งงานของจังหวัดก็ทับซ้อนกับท้องถิ่น เช่น เมื่อเกิดภัยพิบัติ ก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะติดกรอบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด(ก.น.จ.)กำหนด

นายประจักษ์ แก้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย กรรมาธิการ ชี้แจงยอมรับว่า งบอบรมสัมมนายังมีอยู่บ้างในบางจังหวัด แต่กรรมาธิการสอบถามแล้วพบว่า มีความจำเป็นที่ต้องจัดอบรม ส่วนการของบสำหรับกลุ่มจังหวัดสำหรับทำโครงการ มีเกณฑ์อยู่ 6 ข้อ หากขอมาไม่เข้าเกณฑ์ ก.น.จ.ก็ไม่อนุมัติ แต่รับในข้อสังเกตเรื่องการทำแผนของกลุ่มจังหวัดอย่างบูรณาการไปปรับปรุง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ประชุมอภิปรายนาน 1 ชั่วโมงครึ่ง ได้มีมติเห็นชอบตามร่างของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 248 ต่อ 166 งดออกเสียง 6 ไม่ลงคะแนน 20 เสียง

สภาฯ ผ่านงบรัฐวิสาหกิจแสนกว่าล้าน ติง "ไทเกอร์แอร์" ไม่ต่างกับการขายสมบัติชาติให้ต่างชาติ

จากนั้น ที่ประชุมสภาฯ ได้พิจารณา มาตรา 30 งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงิน 115,501,489,700 บาท โดยนายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายว่า ตนขอเจาะลงในประเด็นของหน่วยงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ที่ปีงบประมาณ 2554 ได้รับการจัดสรรมากถึง 5.7 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ปีงบประมาณ 2553 ได้เพียง 5,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยทางธกส.อ้างว่าที่ของบเพิ่มจากปีที่แล้วจำนวนมาก เนื่องจากต้องนำมาใช้ในแผนงานสร้างระบบประกันความเสี่ยงและระบบกระจายสินค้า เดิมทีในวาระ 1 ตนได้ขอปรับลด 1 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อได้ฟังคำอธิบายของธกส. และข้อมูลจากกมธ.งบประมาณฯ คนอื่นๆ ก็เห็นควรว่าควรปรับลด 20 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็นจำนวนเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท

ด้านนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนขอให้ตัดงบลดงบของรัฐวิสาหกิจ เพราะมีการทำโครงการที่ส่อว่าจะทุจริต โดยเฉพาะกรณีที่การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินของชาติจะไปจดทะเบียนร่วมกับไทเกอร์แอร์ของสิงคโปร์ ซึ่งตนอยากถามว่าเรื่องดังกล่าวได้มีการผ่านบอร์ดแล้วหรือยัง ถึงได้ไปเซ็นต์เอ็มโอยูกัน ทางกมธ.งบประมาณฯ ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วหรือยัง รวมทั้งมีการเรียกการบินไทยมาไต่ส่วนหรือไม่ เพราะไม่ต่างอะไรกับการขายสมบัติชาติ เอาเส้นทางการบินของไทยไปให้ต่างชาติมาลงทุน

นายสถาพร กล่าวว่า ส่วนที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติให้ลงทุนในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 กว่า 6 หมื่นล้านบาทนั้น อยากถามว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถึงต้องมีการลงทุนด้วยงบประมาณมากขนาดนี้ เพราะหากบริหารจัดการดีๆ  ก็จะมีกำไร ดังนั้น ตนอยากให้มีการตรวจสอบบอร์ดของรัฐวิสาหกิจว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่ เพราะมีการแต่งตั้ง โยกย้ายผู้อำนวยการฝ่าย มีการขึ้นเดือน แจกโบนัสกันโดยไม่ต้องผ่านครม. ซึ่งคิดแล้วมีค่าตอบแทนต่างๆ มากกว่าเอกชน และข้าราชการถึง 30 เปอร์เซ็นต์ วันนี้รัฐวิสาหกิจมีเสือหิว เสือโหย คอยโกงกินงบประมาณที่ผ่านสภาฯ กันอย่างสบายๆ ตนจึงอยากให้รัฐบาลเข้าไปตรวจสอบด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมใช้เวลาอภิปรายในมาตรานี้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นได้ประธานในที่ประชุมได้ให้สมาชิกกดบัตรแสดงซึ่งที่ประชุมแสดงตัว 453 เห็นชอบ 249 เสียง ไม่เห็นด้วย 179 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง ไม่ลงคะแนน 20 เสียง

สภาผ่านงบฯ 54 วาระ 3 ฉลุย 253 ต่อ 178 อภิปรายกว่า 60 ชม.

จากนั้นเป็นการพิจารณา มาตรา 31 งบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย จำนวน 3,637,321,700 บาท ไม่มีผู้ใดติดใจ ที่ประชุมจึงเห็นชอบตามร่างกรรมาธิการฯ ด้วยเสียง 251 ไม่เห็นด้วย 120 งดออกเสียง 54 ไม่ลงคะแนน 22

ต่อมาเป็นการพิจารณาใน มาตรา 32  งบกองทุน และเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 127,853,543,000 บาท  มีสมาชิกอภิปรายเพียงเล็กน้อย โดยที่ประชุมเห็นชอบตามร่างกรรมาธิการฯ ด้วยเสียง 249  ไม่เห็นด้วย 178  งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน  20

จากนั้นพิจารณาต่อใน มาตรา 33-35 ไม่มีการแก้ไข ประธานในที่ประชุมจึงไม่มีการขอมติ ถือว่าผ่านตามร่างกรรมาธิการฯ

สำหรับการลงมติในวาระ 3 ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554  ด้วยเสียง 253 ไม่เห็นด้วย 178 งดออกเสียง 14 ไม่ลงคะแนน 21 

โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ระบุว่าถือว่างบประมาณฯ ผ่านการพิจารณาของสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป

จากนั้นเป็นการลงมติเห็นชอบข้อสังเกตของกมธ.เพื่อส่งไปยังรัฐบาล ด้วยเสียง 419 ไม่เห็นด้วย 6 งดออกเสียง 9 ไม่ลงคะแนน 21

นายกฯ ยัน จะใช้งบฯด้วยให้เกิดประสิทธิภาพ-เป็นธรรม-โปร่งใส

โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอบคุณสภาฯ และกรรมาธิการฯ ที่ใช้เวลาในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 โดยรัฐบาลก็จะนำงบประมาณไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศ อย่างมีประสิทธิ์ภาพ เป็นธรรมและโปร่งใส

จากนั้นนายชัย ได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 12.45 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 ทั้ง 5 วันร่วมเวลา 60 ชั่วโมง

ที่มาข่าว:

สภาผ่านงบฯ54วาระ3ฉลุย 253ต่อ178 อภิปรายกว่า60ชม. นายกฯยันเน้นประสิทธิภาพ-เป็นธรรม-โปร่งใส (มติชนออนไลน์, 25-8-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282716404&grpid=00&catid=

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

16 องค์กรประชาชนใต้ค้าน (ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2562

Posted: 25 Aug 2010 03:58 AM PDT

 

25 ส.ค. 53 - ที่บริเวณหน้าโรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี มีชาวบ้านประมาณ 800 คน จากตัวแทน 16 เครือข่ายองค์กรภาคเอกชนภาคใต้ที่ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชุมนุมบริเวณหน้าโรงแรมพร้อมชูป้ายผ้าคัดค้านการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)แผนแม่บทรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2562 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมไดมอนด์

ตามสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศ ในการดำเนินการตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนของภาคใต้และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวม 15 จังหวัด

ขณะที่ในห้องประชุมแผนแม่บทมีตัวแทน นักวิชาการและองค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน กำลังดำเนินการประชุมในช่วงแรก โดยมีนายจิรวัช สิงห์ดี รอง ผวจ.สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดต้องดำเนินการไปอย่างเร่งรีบก่อนที่จะปล่อยให้มีการประชุมในส่วนของนักวิชาการ

ในขณะที่ผู้ชุมนุมได้ชูป้ายผ้าแสดงข้อความต่าง ๆ ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แผนพัฒนาภาคใต้ที่มีอุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี ที่รัฐบาลอ้างเป็นการนำร่องพัฒนาก็ตาม ผู้ชุมนุมอ้างว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทำให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมากและมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะคนในพื้นที่ต้องแลกกับความเสี่ยงกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าและกากนิวเคลียร์

โดยผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้หยุดการดำเนินงาน และทบทวนการร่างแม่บทดังกล่าว และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะต่อการดำเนินการ

ออกแถลงการณ์ค้าน ย้ำกระบวนการไม่โปร่งใส

ทั้งนี้ความเห็นของ 16 องค์กรภาคประชาชนใต้ที่ออกมาคัดค้านแผนแม่บทนี้นั้นได้ให้เหตุผลว่า ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ.2553-2562  (พฤษภาคม 2552) โดยใช้งบประมาณเบื้องต้น 9,942 ล้านบาท  เครือข่ายประชาชนภาคใต้มีความเห็นร่วมกันต่อกระบวนการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ แนวคิดและเนื้อหาของแผนแม่บทฯ และโครงการต่างๆที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ดังนี้ 

1) กระบวนการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ
เป็นร่างแผนแม่บทที่ไม่มีความโปร่งใสในการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ที่ให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   และผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมในการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ 
การจัดทำร่างแผนแม่บทฯจัดทำโดยเฉพาะส่วนราชการ นักวิชาการและองค์กรเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  แต่ประชาชนคนยากจน ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ได้รับรู้ข้อมูลอย่างเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ และพัฒนาโครงการต่างๆ
ร่างแผนแม่บทฯ จึงมีเนื้อหาและข้อเสนอของโครงการที่ไม่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สาเหตุของปัญหา แต่ไปเน้นการซื้อขายคาร์บอน ที่จะได้เงินจากกองทุนต่างๆมาพัฒนาโครงการ  

ดังนั้นเครือข่ายประชาชนภาคใต้ไม่เห็นด้วยกับร่างแผนแม่บทฯทั้งฉบับ  จนกว่าจะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดทำแนวคิด เนื้อหา และโครงการทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของโลกร้อนที่มาจากทิศทางการพัฒนาประเทศของการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  การส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาครัฐลงทุนการปลูกป่าซื้อขายคาร์บอนเครดิต และละเลยการแก้ไขปัญหาของชาวประมงพื้นบ้าน และเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงใจ และต้องมีการทบทวนแผนแม่บทฯทุกๆ 2 ปี

2) แนวคิด เนื้อหา และโครงการของร่างแผนแม่บทฯ
งานศึกษาของสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ได้ชี้ให้เห็นของสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิดหลัก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์    ตามข้อมูลของสถาบันทรัพยากรโลก หรือ World Resources Institute (WRI) ในปี พ.ศ. 2548 ภาคเศรษฐกิจของไทยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ได้แก่
• ภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันคิดเป็นร้อยละ 72.47 โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 เป็นหลัก
• ถัดมาคือภาคการเกษตร ซึ่งปล่อยก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์เป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 25.28 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย
• และสุดท้ายคือกิจกรรมกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูลซึ่งปล่อยก๊าซมีเทนและ CO2 คิดเป็นร้อยละ 2.3 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด
ในร่างแผนแม่บทฯ ได้สรุปประเด็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานงานไว้ดังนี้
 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องปรับตัวต่อความเสี่ยงและผลกระทบ ที่อาจจะเกิดต่อฐานทรัพยากร และต่อระบบนิเวศน์และภาคเศรษฐกิจต่างๆ โดยให้ความสำคัญต่อแนวทางการรักษาความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเตรียมความพร้อมด้านการสาธารณสุข 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งจากมุมมองของการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมโลก และการรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการท่องเที่ยว ประเทศไทยต้องเพิ่มศักยภาพและโอกาสให้แก่ภาคเศรษฐกิจรายสาขา ให้สามารถเป็นหนึ่งในผู้นำในภูมิภาคในการเข้าสู่การผลิตคาร์บอนต่ำ ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดำรง การผลิตอย่างยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการกับปัญหาดังกล่าว ต้องมีการบูรณาการเฝ้าระวังการป้องกัน และการจัดการปัญหา ที่ต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน

แต่เมื่อมาพิจารณาแผนงานและโครงการแล้ว  เครือข่ายประชาชนภาคใต้มีความเห็นว่าไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ต้นเหตุ  และสร้างความไม่เป็นธรรมต่อชาวประมงพื้นบ้าน เกษตรกรรายย่อย และชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและพลังงานขนาดใหญ่  ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และผลกระทบจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น   เครือข่ายฯจึงมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอดังนี้
1) แผนงานและโครงการที่เกี่ยวกับ REDD ในการใช้กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อการปลูกป่า  ไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิทธิของประชาชนและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่า และได้รับผลกระทบจากคดีเพ่งและคดีอาญา   ข้อหาชาวบ้านบุกรุกทำลายป่าอันเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน เช่น กรณีชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง ซึ่งทำกินในพื้นที่ดั้งเดิมที่ตกทอดมรดกมา  แต่ต้องเสียค่าชดใช้ให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นจำนวนเงินกว่าล้านบาท  ในทางตรงกันข้ามโครงการที่ระบุในร่างแผนแม่บทฯ ได้ให้หน่วยงานของรัฐ เช่น กรมอุทยานฯและกรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการโครงการทั้งการปลูกป่า และพื้นฟูป่า  ทั้งที่ประสบการณ์ของประเทศไทยสรุปได้ว่าหน่วยงานของรัฐและภาคธุรกิจเอกชนไม่สามารถดูแลรักษาป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   นอกจากประชาชนในชุมชนที่รวมกลุ่มปกป้องดูแลป่าชุมชนไปพร้อมกับการได้รับการรับรองสิทธิทำกินอย่างมั่นคง 
2) ผู้ที่ถูกลืมในร่างแผนแม่บทฯ คือชาวประมงขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจภาคบริการและการท่องเที่ยว และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ในร่างแผนแม่บทฯ แผนงานและโครงการไม่ได้มุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวประมงขนาดเล็กต้องเตรียมความพร้อมในการปรับตัวและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างไร  ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาปัจจัยคุกคามทรัพยากรประมงและชายฝั่งทะเล  ที่มีผลกระทบต่อชาวประมงขนาดเล็ก เช่น เครื่องมือประมงทำลายล้าง   การพัฒนาอุตสาหกรรมประมง  และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง  เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อการปรับตัวและเสริมศักยภาพของชาวประมงขนาดเล็กในการรับมือกับภัยพิบัติด้วยภูมิปัญญาของชุมชนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างยั่งยืน
3) แผนงานและโครงการของร่างแผนแม่บทฯไม่ได้นำไปสู่การยกเลิกการลงทุนด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมพลังงานและไฟฟ้า   เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมี อุตสาหกรรมในกลุ่มธุรกิจพลังงาน หรือโครงการตามแผนพัฒนาภาคตะวันออก และแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้  รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูงสุด คือร้อยละ 72.47 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  และมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก    

ดังนั้นเครือข่ายประชาชนภาคใต้จึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งของรัฐและเอกชนที่มีผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเล   ควรเปิดเผยโครงการสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในทะเลที่มีผลกระทบต่อการประมง  และการท่องเที่ยว  ตลอดจนให้นิคมอุตสาหกรรมมีการบำบัดน้ำเสียให้หมดก่อนปล่อยน้ำลงสู่ทะเล และกระทบต่อชุมชน

4)  ร่างแผนแม่บทฯ ไม่ได้ให้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเกษตรกรรายย่อยและประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่เป็นผลิตอย่างยั่งยืนเพื่อบริโภคตามความต้องการในประเทศ  และไม่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรที่จะรับมือกับภัยพิบัติและสภาวะโลกร้อน  ในขณะที่ร่างแผนแม่บทฯ กลับให้ความสำคัญกับการปรับตัวของภาคเกษตรในเชิงพาณิชย์และเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพันธ์พืชเศรษฐกิจ (เพื่อการส่งออก) ไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และ ข้าวโพด  และมีแนวโน้มสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยด้านการปรับตัวในแง่ของการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น   ซึ่งจะนำไปสู่การผูกขาดการจัดการเมล็ดพันธุ์โดยบรรษัทการเกษตรขนาดใหญ่ และการใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมพืชซึ่งยังคงเป็นประเด็นถกเถียงและไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย

โดยสรุปเครือข่ายประชาชนภาคใต้มีความเห็นว่ารัฐบาลและภาครัฐต้องตระหนักในการรับรองสิทธิชุมชนของเกษตรกรรายย่อย ชาวประมงขนาดเล็ก กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเป็นประชาชนกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ที่ไม่มีทางเลือกของการดำรงชีวิตและเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งจากนโยบาย กฎหมาย โครงการพัฒนา และร่างแผนแม่บทฯฉบับนี้ 

เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของประเทศไทย   จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่สาเหตุของโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งนโยบายของรัฐมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมธุรกิจพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรมเพื่อการส่งออก ที่ได้ทำลายความมั่นคงทางอาหาร ฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศตังแต่ป่าต้นน้ำจนถึงชายฝั่งทะเล 
ประเทศไทยมีส่วนร่วมต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็นได้จริงคือรัฐบาล และภาครัฐต้องตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว  ให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง คือ เกษตรกรรายย่อย ชาวประมงขนาดเล็ก และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ   ในการปรับตัวและร่วมแก้ไขปัญหาจากฐานความรู้และภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น  โดยภาครัฐมีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการกับชุมชนอย่างจริงจัง

 
หยุด!...แผนพัฒนาภาคใต้.....หยุด!โลกร้อน
หยุด!ตอแหล................แผนแก้โลกร้อน
ปัญหาโลกร้อนเป็นของคนทั้งโลก....ความยากลำบากของการแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน....ทั้งในเวทีระดับโลกและระดับประเทศมีความเหมือนกัน ตรงที่กลไกการเจรจาในเวทีโลกและกลไกของรัฐบาลไทยไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาทั้งๆที่รู้ปัญหาดี
   แผนแม่บทแก้โลกร้อนที่ปัดความรับผิดชอบ ทำหน้าที่ ปกป้องอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าที่ปล่อย  
คาร์บอนฯสูง ก็ยากที่จะฝันถึงว่า...เราจะแก้ปัญหาโลกร้อนได้จริง
70กว่า%ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯในประเทศไทย มาจากภาคพลังงานและอุตสาหกรรม น่าเสียดายที่เรากำลังเสียงบประมาณมากมายกับการทำแผนแม่บทที่ไม่ได้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง เพราะทั้งรัฐบาลและสภาพัฒน์ฯต้องการให้ แผนพัฒนาภาคใต้ที่มีอุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี นำร่องการพัฒนา ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรสิ้นเปลือง ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงถูกปักธงสร้างในพื้นที่ภาคใต้เป็นหลัก โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกเลือกให้มาเป็นทางออกในการแก้โลกร้อน แต่คนในพื้นที่ต้องแลกกับความเสี่ยงจากกัมมันตภาพรังสีทั้งจากโรงไฟฟ้าและกากนิวเคลียร์ ( 500,000 ปี)
แผนพัฒนาภาคใต้ และแผนพีดีพี.   เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายฐานเศรษฐกิจ ทำลายฐานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของชาวใต้ ที่ส่วนใหญ่ทำเกษตร ประมง ท่องเที่ยวมายาวนาน ชาวมาบตาพุต ชาวบ้านแม่เมาะและอีกหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับแผนพัฒนาที่ไม่เป็นจริง ที่ถูกกำหนดโดยคนที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของชีวิตคนและสิ่งแวดล้อม ...พร้อมเอาชีวิต ทรัพยาการ และอนาคต ไปแลกกับตัวเลขจีดีพี.ในกระดาษ
อย่าโม้...ว่าจะแก้โลกร้อนด้วยการจับชาวบ้านออกจากป่า...ค้าคาร์บอนเครดิต
อย่าโม้...ว่าเราจะสร้างสังคมที่เป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำ ลดความขัดแย้ง
ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ทบทวนทิศทางของแผนพัฒนาภาคใต้ และแผนพีดีพี....และยืนยันที่จะเดินหน้าผลักดัน นั้นหมายถึง รัฐกำลังจุดไฟแห่งความขัดแย้งกองใหม่ด้วยมือของรัฐเอง
               ..หยุดแผนพัฒนาภาคใต้   หยุดโลกร้อน ....
                   หยุดตอแหล...แผนแก้โลกร้อน
                       เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมอย่างแท้จริง
                                                                  
                                                                                                25 สิงหาคม 2553
                                                                                        ประชาชนต้องกำหนดอนาคตเอง
 
 
1.     เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราชเครือ
2.     ข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง 
3.     เครือข่ายองค์กรชุมชนจัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำ จ.สุราษฎร์ธานี - ชุมพร  
4.      เครือข่ายรักษ์ละแม จ.ชุมพร  
5.     กลุ่มประทิวรักษ์ถิ่น จ.ชุมพร  
6.     เครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี 
7.     ศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน    
8.     เครือข่ายคัดค้านโครงการท่อก๊าชจะนะ จ.สงขลา 
9.     เครือข่ายปกป้องและคุ้มครองสุขภาวะจากผลกระทบ  จ.นครศรีธรรมราช
10. กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นครศรีธรรมราช 
11.  เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ นครศรีธรรมราช  
12. สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล 
13. เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบฯ 
14. เครือข่ายองค์กรประชาชน จ. สุราษฎร์ธานี
15. โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.)
16. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้
 
 

ที่มาข่าวบางส่วนจาก:

16 เครือข่ายฯภาคใต้ต้านประชุมแผนแม่บทภูมิอากาศ (เนชั่นทันข่าว, 25-8-2553)
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=464900&lang=T&cat=

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แกนนำเสื้อแดงป่วยมะเร็งเข้ามอบตัวคดีเผาศาลากลางอุบลฯ

Posted: 25 Aug 2010 03:32 AM PDT

นายประยุทธ มูลสาร อายุ 54 ปี แกนนำคนเสื้อแดง จ.อุบลราชธานี ผู้ต้องหาคดีร่วมกันวางเพลิงเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เข้ามอบตัวในชุดผู้ป่วยพร้อมใบรับรองแพทย์ ก่อนประกันตัว 200,000 บาท

ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย

25 ส.ค. 53 - นายประยุทธ มูลสาร อายุ 54 ปี แกนนำคนเสื้อแดง จ.อุบลราชธานี ผู้ต้องหาคดีร่วมกันวางเพลิงเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เข้ามอบตัวกับ พ.ต.อ.ไอศูนย์ สิงหนาท รอง ผบก.ภ.จว.อุบลราชธานี โดยนายประยุทธ ซึ่งอยู่ในชุดผู้ป่วย รพ.สรรพสิทธิประสงค์ กล่าวว่า วันเกิดเหตุ 19 พฤษภาคม 2553 ตนปราศรัยอยู่บนรถปราศรัยเคลื่อนที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเพียงครู่เดียว ก็มีอาการปวดท้องเนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกลับไปอยู่ที่สถานีวิทยุคนเสื้อแดง กระทั่งตอนบ่ายทราบว่ามีการเผาศาลากลาง จึงหลบหนีไปกบดานอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม จึงเข้ารักษาตัวที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ และประสานขอมอบตัวกับตำรวจในวันนี้

ด้าน พ.ต.อ.ไอศูนย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตำรวจไม่ให้ประกันผู้ต้องหาในคดีนี้ เพราะถือเป็นคดีร้ายแรง แต่นายประยุทธ ป่วยมาก่อนตั้งแต่ปี 2552 และมีใบรับรองจากแพทย์ว่าต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด จึงแจ้งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ )ทราบ ซึ่งทางดีเอสไอก็ไม่ขัดข้อง ต่อมานายสมบัติ รัตโน อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย นำเงินสดจำนวน 200,000 บาท มายื่นขอประกันตัว ซึ่งพนักงานสอบสวนอนุญาตให้ประกันตัวไป หลังสอบปากคำเสร็จ

ที่มาข่าว:

แกนนำเสื้อแดงเข้ามอบตัวคดีเผาศาลากลางอุบลฯ ในชุดผู้ป่วย (สำนักข่าวไทย, 25-8-2553)
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/94411.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ชี้จัดเอ็กซ์โป 2020 กรุงเทพฯ พร้อมกว่าภูมิภาค

Posted: 25 Aug 2010 03:04 AM PDT

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ชี้ถ้าไทยจะจัดเวิร์ลเอ็กซ์โปในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) กทม. เหมาะสมกว่าภูมิภาค ทั้งด้านคมนาคมและโครงสร้างการอำนวยความสะดวก

 

 

25 ส.ค. 53 - ตามที่รัฐบาลไทยมีดำริที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิร์ลเอ็กซ์โปในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) นั้น นับเป็นวิสัยทัศน์ที่ดีต่อประเทศไทย เพราะการจัดงานขนาดใหญ่ จะสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้เป็นอย่างดี
 
อย่างไรก็ตาม ทางราชการได้พยายามศึกษาที่ตั้งของงานเวิร์ลเอ็กซ์โปเป็นในจังหวัดภูมิภาค เช่น อยุธยา ชลบุรี ภูเก็ต เพชรบุรี เชียงใหม่ และจันทบุรี  ในฐานะที่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) ได้สำรวจข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่อง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดภูมิภาคทั่วประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ.2537  ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA จึงเสนอแนวคิดต่อที่ตั้งการจัดงาน

ดร.โสภณ ซึ่งได้เดินทางไปดูงานเวิร์ลเอ็กซ์โป ณ นครเซี่ยงไฮ้ 3 หนในปี 2553 นี้ เสนอให้จัดงานในเขตกรุงเทพมหานคร แทนที่จะเป็นในจังหวัดภูมิภาค ทั้งนี้เช่นเดียวกับนครเซี่ยงไฮ้ ที่จัดงานในเขตใจกลางเมือง ไม่ใช่ในเขตชานเมืองหรือในจังหวัดห่างไกล เพราะเมื่อหมดงานแล้ว พื้นทีเหล่านี้ก็คงปล่อยร้างไว้หรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังต้องลงทุนทางด้านสาธารณูปโภคภายนอกหรือ Off-site infrastructure เป็นการสิ้นเปลืองมหาศาล

ในกรณีของจีนนั้น ใช้พื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองมากนัก เพียง 9 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 17 นาทีมาเป็นสถานที่จัดงาน โดยรื้อย้ายท่าเรือและครัวเรือนที่อยู่ในบริเวณนั้นออกไปนับหมื่นครอบครัว และใช้เวลาเตรียมการประมาณ 8 ปี
 
อย่างไรก็ตามในกรณีของประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย เสนอให้ใช้พื้นที่ท่าเรือคลองเตย รวมกับพื้นที่ถังเก็บน้ำมันเชลล์ ถนน ณ ระนอง พื้นที่ถนนพระราม 3 และพื้นที่ตลาดคลองเตย รวมกันเป็นพื้นที่ 4.72 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,950 ไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับพื้นที่ของเวิร์ลเอ็กซ์โป นครเซี่ยงไฮ้ที่มีขนาด 5.28 ตารางกิโลเมตร  หากเรานำพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของคุ้งบางกระเจ้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์ลเอ็กซ์โป โดยเป็นการนำเสนอพื้นที่สีเขียวเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริด้วยแล้ว ขนาดของพื้นที่เวิร์ลเอ็กซ์โปที่เสนอโดยรัฐบาลไทย น่าจะมีขนาดใหญ่กว่าของนครเซี่ยงไฮ้อีกมากเลยทีเดียว
 
ท่าเรือคลองเตยก็มีโครงการย้ายออกไปสู่แหลมฉบัง ส่วนพื้นที่เก็บน้ำมันและขนส่งน้ำมันของการรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีโครงการรื้อย้ายทั้งหมดแล้ว ดังนั้นหากใช้พื้นที่ดังกล่าวนี้ ก็จะเกี่ยวข้องกับการเวนคืนจำนวนครัวเรือนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับกรณีนครเซี่ยงไฮ้
 
หลังจากการจัดงานเวิร์ลเอ็กซ์โปแล้ว พื้นที่ส่วนนี้ยังสามารถนำมาสร้างศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมือง การจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับคนที่ทำงานในใจกลางเมือง ทั้งระดับผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลางและรายได้สูง โดยดำเนินการพัฒนาเป็นอาคารสูง เพื่อการประหยัดการใช้ที่ดินให้กับลูกหลานในอนาคต และการพัฒนาที่ดินใจกลางเมืองยังจะช่วยในการประหยัดต้นทุนการเดินทางขนส่งต่างๆ ยิ่งหากจัดสภาพแวดล้อมที่ดีด้วยแล้ว

หากมีการวางแผนการใช้ที่ดินที่ดี ยิ่งจะทำให้สึกโปร่งสบายในการอยู่อาศัย เช่นเดียวกับกรณีของสิงคโปร์ผ ที่มีความหนาแน่นของประชากร 10,000 คนต่อตารางกิโลเมตร ยังรู้สึกไม่หนาแน่นเท่ากับกรุงเทพมหานครที่มีความหนาแน่นของประชากรเพียง 4,000 คนต่อตารางกิโลเมตร

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวสรุปว่า การจัดงานเอ็กซ์โปในกรุงเทพมหานครยังทำให้เกิดการจัดระบบขนส่งมวลชนที่ดีด้วย ทำให้กรุงเทพมหานครสามารถทำการหน้าที่ของการเป็นเมืองศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของทั่วประเทศอีกด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พงศ์เทพ เทพกาญจนา: "มองคดีพันธมิตรฯ – คิดถึงคดี นปช."

Posted: 24 Aug 2010 11:34 PM PDT

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม2553 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฟ้องผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่หน้ารัฐสภาในเหตุการณ์ล้อมรัฐสภาเมื่อวันที่7 ตุลาคม 2551  ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อน มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ ซึ่งโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกไปร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาล ปิดล้อมถนนและทางเข้าออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้ส.ส.และ ส.ว.ออกจากรัฐสภา จำเลยมีเจตนาฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ5 นายซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย โดยวางแผนล่วงหน้า  จำเลยขับรถไล่ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าอย่างแรงจนผู้เสียหายล้มลงจากนั้นจำเลยขับรถถอยหลังทับผู้เสียหายที่นอนบาดเจ็บอยู่ จำเลยกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เมื่อผู้เสียหายไม่เสียชีวิต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 288, 289, 297

ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ วันเกิดเหตุช่วงเวลา 06.00 น.จำเลยออกมาจากบริเวณรัฐสภาเพื่อหาอาหารรับประทาน แต่เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มได้รับบาดเจ็บจำนวนมากบางรายขาขาด จำเลยมองเห็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน ขณะที่จำเลยรู้สึกว่ามีสิ่งมากระทบที่บริเวณใบหน้า เมื่อลูบใบหน้ามีเลือดไหลออกมาจึงขึ้นรถขับรถยนต์กระบะของจำเลยโดยมีผู้ชุมนุมกระโดดขึ้นมาท้ายรถด้วย จำเลยไม่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ด้านข้างรถซึ่งเวลาดังกล่าวจำเลย เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ทำให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายที่ภายหลังพบว่าตาขวาของจำเลยได้รับบาดเจ็บจนตาบอดจากสิ่งที่มากระทบใบหน้า ศาลจึงเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เพราะบันดาลโทสะที่ได้รับบาดเจ็บและเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าที่ขับรถพุ่งชนเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้งห้า แต่การที่จำเลยขับรถพุ่งชนเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลที่จะให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายและเมื่อผู้เสียหายเป็นเจ้าหน้าที่ที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ขณะเกิดเหตุ จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่โดยบันดาลโทสะ

พิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289, 80, 72 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี แต่จำเลย ไม่เคยต้องโทษอาญามาก่อน ประกอบกับจำเลยมีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดีโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี โดยให้จำเลยรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี และให้ทำงานสาธารณประโยชน์บริการสังคมเป็นเวลา48 ชั่วโมง   ส่วนความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่10 คนขึ้นไป นั้น แม้จำเลยจะเข้าร่วมชุมนุม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับบุคคลใดในการวางแผนก่อความวุ่นวายพฤติการณ์ของจำเลย ยังมีเหตุที่น่าพิรุธสงสัยตามสมควร จึงพิพากษายกฟ้องข้อหานี้

ข้อมูลข้างต้นได้มาจากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 17สิงหาคม 2553  โดยผมได้เติมบทมาตราที่อย่างไรศาลก็ต้องเขียนไว้ในคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏในข่าวของมติชนเพื่อความสมบูรณ์ นอกจากมติชนแล้วก็มีสื่ออื่นที่เสนอข่าวในทำนองเดียวกัน

1. ความเห็นประการแรกของผมเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวคำพิพากษาของศาลของสื่อมวลชนไทย   สื่อมวลชนมักเสนอแต่เนื้อหาหรือผลของคำพิพากษาแต่ไม่ค่อยเสนอชื่อผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะในการตัดสินคดีการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายตุลาการนั้นนอกจากระบบตรวจสอบภายในของตุลาการและระบบตรวจสอบภายนอกโดยองค์กรอื่นของรัฐแล้วระบบตรวจสอบโดยสาธารณชนก็มีความสำคัญ นี่เป็นที่มาของหลักในกฎหมายวิธีพิจารณาที่กำหนดให้การนั่งพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผยประชาชนมีสิทธิเข้าฟังได้ แม้ในคดีที่ศาลสั่งให้พิจารณาลับการอ่านคำพิพากษาก็ต้องอ่านโดยเปิดเผย การตรวจสอบที่ว่านี้ไม่ใช่การตรวจสอบศาลในฐานะสถาบันแต่มุ่งตรวจสอบการทำงานของตุลาการแต่ละท่าน การที่สาธารณชนทราบชื่อตุลาการที่ตัดสินคดีจึงมีความสำคัญดังนั้นหากสื่อมวลชนเสนอข่าวคำพิพากษาโดยระบุชื่อผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะตัดสินคดีให้สาธารณชนทราบด้วยก็จะทำให้ระบบการตรวจสอบฝ่ายตุลาการโดยสาธารณชนสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายมากขึ้น

2. ความเห็นประการที่สองเกี่ยวกับการตัดสินของศาล โดยเป็นการให้ความเห็นจากข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอ ผมจึงไม่ได้ลงไปวิเคราะห์ละเอียดเหมือนได้อ่านสำนวนคดีเอง

2.1  คดีนี้ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289  ประกอบมาตรา 80 ซึ่งมีโทษสถานเดียวคือจำคุกตลอดชีวิตแต่ศาลลงโทษจำคุกเพียง 3 ปี ก็เพราะศาลเห็นว่าจำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
2.2  การกระทำโดยบันดาลโทสะเป็นการที่ผู้กระทำบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น

คดีนี้ศาลคงไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งห้าเป็นผู้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมเพราะหากศาลฟังข้อเท็จ จริงเช่นนั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่และศาลต้องไม่ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289  แต่จะต้องลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา288 แทน

หากเจ้าพนักงานตำรวจทั้งห้าไม่ได้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้วการที่จำเลยขับรถชนก็ไม่ได้เป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง  เหตุใดศาลจึงเห็นว่าจำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ  จากข้อมูลที่มติชนนำเสนอศาลคงฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมโดยทำให้จำเลยได้รับอันตรายที่ตา และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจกระทำด้วย  การสำคัญผิดนั้นกฎหมายให้พิจารณาจากความเข้าใจของผู้กระทำทว่าไม่ใช่จะฟังเฉพาะคำเบิกความของผู้กระทำคือจำเลยว่าเข้าใจว่าอย่างไรเท่านั้นแต่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้วจึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ศาลเชื่อว่าจำเลยเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างไร  ปัญหาว่าจำเลยสำคัญผิดเช่นนั้นหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในแต่ละคดี  น่าสนใจว่าหากอัยการอุทธรณ์ประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์จะเห็นเช่นเดียวกับศาลอาญาหรือไม่ เพราะสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมการปะทะและมีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการอยู่ในกรอบของกฎหมายมิใช่กระทำนอกอำนาจหน้าที่ เช่นเอาปืนไปไล่ยิงผู้คนโดยผิดกฎหมายซึ่งถือว่านอกอำนาจหน้าที่  ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงพิเศษที่ทำให้น่าเชื่อว่าผู้กระทำสำคัญผิดเช่นนั้นโดยแน่แท้การฟังว่าผู้กระทำสำคัญผิดซึ่งทำให้ผู้กระทำสามารถอ้างว่าการกระทำของตนเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสบอุปสรรคที่สำคัญในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม

อนึ่งการกระทำโดยบันดาลโทสะนั้นกฎหมายยอมรับเฉพาะในกรณีที่จำเลยกระทำต่อผู้ข่มเหงเท่านั้น  ในคดีนี้การบาดเจ็บที่ตาของจำเลยเกิดจากการกระทำของผู้ใดผู้หนึ่งแต่แน่นอนว่าไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกๆคนในห้าคนที่จำเลยขับรถชนหากถือว่าการขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะทั้งสิ้นเท่ากับต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสำคัญผิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าร่วมกันทำให้จำเลยบาดเจ็บโดยไม่มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าร่วมกับผู้อื่นทำให้จำเลยบาดเจ็บโดยไม่มีอำนาจด้วย

ดุลพินิจในการกำหนดโทษและการรอการลงอาญาเป็นความเห็นของผู้พิพากษาแต่ละท่านซึ่งมีความแตกต่างกันได้เป็นปัญหาในระบบตุลาการของทุกประเทศ และเป็นเรื่องปกติที่จะมีการเปรียบเทียบการใช้ดุลพินิจของศาลในคดีต่างๆ ยิ่งในยามที่ประเทศมีความขัดแย้งแบ่งเป็นสีแบ่งเป็นฝ่าย และกระบวนการยุติธรรมกำลังถูกตั้งข้อสงสัยศาลซึ่งเป็นองคาพยพหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมก็ย่อมถูกจับตามองและเปรียบเทียบมากกว่าในยามปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองคล้ายๆกัน

ในช่วงเดียวกับที่มีการตัดสินคดีนี้ซึ่งจำเลยคือผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ  มีคำพิพากษาของศาลหลายศาลที่ตัดสินคดีที่จำเลยคือผู้ร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ถูกฟ้องว่าชุมนุมโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 มาตรา18 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ต่ำกว่าโทษในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานมาก และทุกคดีจำเลยให้การรับสารภาพ  คดีที่หนึ่งผู้ร่วมชุมนุม นปช. ถูกฟ้องกรณีเดินทางจากราชประสงค์ไปยังตลาดไทเมื่อวันที่28 เมษายน 2553 ศาลพิพากษาจำคุก 4 เดือน ลดโทษกึ่งหนึ่งเพราะรับสารภาพ เหลือจำคุก2 เดือน แต่ไม่รอลงอาญา   คดีที่สองพราหมณ์ศักระพีพรหมชาติ ถูกฟ้องว่าฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม2553 ในการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่จังหวัดสกลนคร ศาลพิพากษาจำคุก 8เดือนโดยไม่รอลงอาญา  คดีที่สามชาวออสเตรเลียถูกฟ้องว่าร่วมชุมนุมกับ นปช.ที่ราชประสงค์ ศาลพิพากษาจำคุก 3 เดือนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 เดือน 15 วัน โดยไม่รอลงอาญา

นอกจากนี้ ยังมีอีกคดีหนึ่งถึงแม้ไม่เกี่ยวกับการชุมนุมแต่ก็คงถูกนำมาเปรียบเทียบอยู่เสมอคือ คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกฟ้องเนื่องจากลงนามยินยอมให้ภริยาซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 100 และมาตรา 122  ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้เป็นคดีแรกที่ศาลนำมาตรา100 และมาตรา 122 มาใช้บังคับนักกฎหมายยังเข้าใจขอบเขตการใช้บังคับและความหมายของมาตราทั้งสองแตกต่างกันแม้แต่องค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ มีผู้พิพากษาถึง 4 ท่าน ที่เห็นว่าจำเลยไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้พิพากษาอีก5 ท่าน เห็นว่าจำเลยมีความผิด แต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุกพ.ต.ท.ทักษิณถึง 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

หากนำคดีผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. และคดี พ.ต.ท.ทักษิณที่กล่าวมาทั้งหมดให้นักกฎหมายหรือผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายใช้ดุลพินิจว่าคดีใดควรถูกลงโทษจากหนักไปหาเบาและคดีใดควรรอการลงอาญา ผมเชื่อว่าความเห็นคงไม่ต่างกันนักแต่จะตรงกับคำพิพากษาที่ออกมาแล้วหรือไม่เชิญท่านผู้อ่านลองใช้ดุลพินิจของท่านแล้วเทียบกับคำพิพากษาเองครับ

 
พงศ์เทพ  เทพกาญจนา
20 สิงหาคม 2553
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ปรียานุช" ต้าน "ลิกไนต์" พร้อมชาวเชียงราย หวั่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

Posted: 24 Aug 2010 11:20 PM PDT

 

25 ส.ค. 53 - ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย ผู้นำท้องถิ่นต่างๆ รวมถึง "ปรียานุช ปานประดับ" ดารานักแสดงชื่อดัง และชาวบ้านกว่า 30 คน นำป้ายข้อความในการต่อต้านบริษัทเอกชนที่จะได้ทำการขนย้ายถ่านหินลิกไนต์จากประเทศพม่า ผ่านเข้ามาใน จ.เชียงราย เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ตามแนวชายแดน พร้อมกับได้ทำการขอพรจากอนุสาวรีย์พ่อขุนฯ

นายสุเวช ภูมิรัตน์ นายกอบต.ม่วงคำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย กล่าวว่า จากการที่บริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด ได้รับสัมปทานจากแหล่งถ่านหินแอ่ง เมืองก๊ก รัฐฉาน ประเทศพม่า เป็นเวลา 10 ปี เริ่มเมื่อปี 2551 โดยใช้เส้นทางขนส่งออกจากพม่าผ่านหมู่บ้านม้งเก้าหลัง ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายน และมีแผนนำเข้าถ่านหินวันละ 5,000 ตัน หรือปีละ 1.5 ล้านตัน คิดเป็นปริมาณรถบรรทุกขนถ่าย 200 เที่ยวต่อวัน โดยถ่านหินทั้งหมดจะนำไปพักไว้บริเวณ ต.ป่าซาง อ.แม่จัน ก่อนที่จะได้มีการลำเลียงด้วยรถพ่วง 18 ล้อ ไปยังถนนพหลโยธิน สายเอเชีย จ.เชียงราย เพื่อนำถ่านหินไปใช้ในอุตสาหกรรมยัง จ.สระบุรี โดยแผนนั้นไม่ได้รับคำยินยอมหรือการทำประชาพิจารณ์ของประชาชนในพื้นที่แต่อย่างไร

เบื้องต้นประชาชนต้องการเพียงรับรู้ข่าวสาร หรือข้อมูลที่แท้จริงในการทำกิจกรรมดังกล่าวเนื่องจากการขนย้ายถ่านหินลิกไนต์จะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่ว่าเป็นสิ่งแวดล้อม สุขภาพของชาวบ้านวิถีชีวิตของชุมชน ความปลอดภัยในการคมนาคม การท่องเที่ยว รวมถึงการลักลอบขนยาเสพติด ตามแนวชายแดนที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหากมีการขนย้ายดังกล่าวจะต้องมีการเปิดเส้นทางใหม่ในการขนย้ายถ่านหิน สิ่งแวดล้อมจะถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ส่งผลถึงปัญหาน้ำท่วมหรือโลกร้อน และรวมถึงปัญหายาเสพติดที่อาจจะมีการลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยได้ง่าย โดยปัญหาดังกล่าวหากเกิดขึ้นแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ด้าน ปรียานุช ปานประดับ กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวในฐานะที่ตนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ จ.เชียงราย จึงได้ออกมาทำการร่วมต้านการขนย้ายถ่านหินจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในพื้นที่เนื่องจากทราบว่ามีการทำสัญญาการขนย้าย 30 ปี ฝุ่นละอองของถ่านหินจะได้มีการปกคลุมพื้นที่และส่งผลต่อทางด้านสุขภาพต่อประชาชนและเยาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกมาชี้แจงถึงการแก้ไขหรือเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง

ที่มาข่าว:

ชาวเชียงราย-ปรียานุช ต้านขนถ่านหินลิกไนต์ (เนชั่นทันข่าว, 25-8-2553)
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=464913&lang=T&cat=

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรแรงงานหนุนพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า

Posted: 24 Aug 2010 10:49 PM PDT

แถลงการณ์ร่วมเพื่อผลักดัน
การดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า
และนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ

 

กำหนดเวลาการพิสูจน์สัญชาติ กระบวนการพิสูจน์สัญชาติและการส่งกลับ

1. รัฐบาลควรขยายระยะเวลาการพิสูจน์สัญชาติออกไป เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และเพื่อยุติการส่งกลับครั้งใหญ่ เพราะจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ

2. ภาครัฐควรควบคุมบริษัทเอกชนที่ช่วยดำเนินการในการพิสูจน์สัญชาติให้กับนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้ได้แสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติโดยเรียกเก็บค่าบริการสูงเกินสมควร  และภาครัฐควรบังคับให้บริษัทเอกชนเหล่านี้ต้องจดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน และควรจัดตั้งเครื่องมือในการรับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานข้ามชาติในแง่ของการแสวงหาประโยชน์

3. รัฐบาลควรเจรจาอย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลพม่าในการให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย เพื่อให้กระบวนการทำได้ง่ายขึ้นและใช้ระยะเวลาน้อยลง รวมทั้งเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับแรงงานข้ามชาติและจูงใจแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ในการเข้าสู่การพิสูจน์สัญชาติ

4. กระทรวงแรงงานควรหารือกับองค์กรที่ทำงานสนับสนุนแรงงานข้ามชาติเพื่อกระตุ้นการสร้างความตระหนักเรื่องการพิสูจน์สัญชาติให้กับแรงงานข้ามชาติ โดยจะต้องทำสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจทั้งในภาษาของแรงงานข้ามชาติและภาษาไทย มีเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย การทำงานร่วมกันกับองค์กรที่มีประสบการณ์และทำงานใกล้ชิดกับชุมชนแรงงานข้ามชาติเพื่อหาช่องทางในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

5. รัฐบาลควรหาวิธีการจัดการพูดคุยเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และควรเปิดให้ทุกฝ่ายได้ร่วมในการจัดทำแนวทางการจัดการและเสนอข้อคิดเห็นต่อแนวทางดังกล่าว รวมทั้งควรจะต้องคำนึงถึงพันธกรณีตามกติกาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อแรงงานข้ามชาติเหล่านี้

การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ

6. รัฐบาลควรเปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติอีกครั้งเพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ ทั้งนี้ประมาณการณ์ว่ายังจะมีแรงงานข้ามชาติอย่างน้อย 1 ล้านคน ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ การเปิดจดทะเบียนผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้อาศัยอยู่และทำงานในประเทศไทยได้จะทำให้ช่วยจัดการระบบให้แก้ปัญหาได้มากขึ้น

แรงงานภาคบังคับ

7. แรงงานข้ามชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยควรมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างเพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์และการตกเป็นแรงงานภาคบังคับ  และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้เกิดผลอย่างแท้จริง

แถลงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น