โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รายงาน: ‘ระนอง’ ตะเข็บชายแดนพม่า พื้นที่นำร่องการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า

Posted: 22 Aug 2010 12:30 PM PDT

 
ระนอง จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีชาวต่างชาติ และชาวไทยพลัดถิ่น อาศัยอยู่และเดินทางข้ามพรมแดนไทย-พม่าอยู่บ่อยครั้ง ชาวต่างชาติหลายคน หลายคู่ตัดสินใจเดินทางข้ามเส้นพรมแดนมาเพื่อเริ่มต้นชีวิต มาเพื่อใช้ชีวิต หรือกระทั่งมาให้กำเนิดชีวิตตัวน้อย ๆ ในประเทศไทยดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าระนองเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหลาก หลายของกลุ่มคน ทั้งคนไทย คนต่างชาติซึ่งเราเรียกกันเป็นปกติว่า คนต่างด้าว
 
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น (NCCM) จังหวัดระนอง  ได้จัดเวทีรวบรวมสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องในพื้นที่จังหวัดระนอง (พื้นที่ต้นแบบ) เพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา ในเรื่องการจดทะเบียนการเกิดในพื้นจังหวัดระนองด้วยเล็งเห็นว่าระนองเป็น พื้นที่ชายแดนที่ประสบปัญหาเรื่องการจดทะเบียนรับรองการเกิดของเด็ก และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาการตกอยู่ในภาวะไร้รัฐของบุคคลได้ง่าย แต่จังหวัดระนองโดยความร่วมมือของภาคราชการ ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลับมีสถิติในการแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นหากสามารถรวบรวมปัญหาที่มีอยู่ และแนวทางวิธีแก้ปัญหาที่ผ่านมาก็อาจส่งผลให้จังหวัดระนองกลายเป็นพื้นที่ ต้นแบบ นำร่องสู่ การจดทะเบียนการเกิดที่ถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องได้
 
และการดำเนินการเพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัด ระนองนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการทำงานเครือข่ายด้านสถานะ บุคคล และสิทธิเพื่อผลักดันการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

เวทีดังกล่าวนี้จัดขึ้นในวันที่ 29 กรกฏาคม 2553 ณ เฮอริเทจ แกรนด์ คอนแวนชั่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ซึ่งมีตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานด้านสถานพยาบาลในจังหวัดระนอง เทศบาล อำเภอต่าง ๆ และตัวแทนผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสถานะบุคคลเข้าร่วม ประมาณ 20 คน

ดรุณี  ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ กล่าว ในเวทีว่า มนุษย์ทุกคน นอกจากการมีตัวตนในทางข้อเท็จจริงแล้ว การจดทะเบียนการเกิด จะช่วยให้เด็กหรือคนๆ หนึ่งถูกมองเห็นโดยสายตาของกฎหมาย โดยรับรู้การมีตัวตนของเขาผ่านทางระบบการบันทึกทะเบียนราษฎรของรัฐ ทำให้บุคคลไม่ตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐ และบุคคลผู้นั้นจะมีเอกสารระบุทราบตัวบุคคลของตนเพื่อเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ทั้งสิทธิการศึกษา สิทธิในการสุขภาพ ประกอบกับฐานข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการประชากร และอาจถูกใช้เพื่องานความมั่นคงของรัฐ เพราะเมื่อรัฐทราบจำนวนคนเกิดก็ย่อมง่ายต่อการจัดระเบียบประชากร

อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนการเกิดประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ  1.ถ้วนหน้า คือ เด็กและอดีตเด็กทุกคนที่เกิดและปรากฏตัวในประเทศไทยจะต้องได้รับการจด ทะเบียนการเกิด โดยจะต้องเป็นไปตามข้อ 2. คือ ครบขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือ การได้รับหนังสือรับรองการเกิด การแจ้งเกิด และการมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ และข้อ 3. ถูกต้อง คือ การจดทะเบียนการเกิดและการได้รับเอกสารระบุทราบตัวบุคคลจะต้องถูกต้องตรงตาม ข้อเท็จจริงของเด็กหรือบุคคลนั้นๆ

“นอกจากนี้ เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ได้รับจากการจดทะเบียนการเกิด หรือแม้กระทั่งหนังสือรับรองการเกิด จะเป็นเอกสารที่ทำให้บุคคลตามเอกสารเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะบุคคลได้ ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการตกอยู่สถานะคนไร้สัญชาติ โดยทุกภาคส่วนของสังคมจำต้องทำความเข้าใจว่า สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด และ สถานะทางกฎหมายบุคคลเป็นคนละเรื่องกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด” ดรุณี กล่าว
 

กิติวรญา รัตนมณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สิทธิในการได้รับการจดทะเบียนการเกิด กับ สถานะทางกฎหมายบุคคลเป็นคนละเรื่องกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด แต่ใช่ว่ามนุษย์ทุกตนที่ได้รับการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทย จะมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทย เพราะในเรื่องสถานะทางกฎหมายว่าเป็นคนสัญชาติใดจะต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จ จริงของบุคคลนั้นประกอบ เช่น ข้อเท็จจริงเรื่องวันเวลาที่เกิด  บิดา มารดา และกฎหมายสัญชาติแห่งรัฐที่บังคับใช้ในช่วงเวลาที่เกิด สำหรับประเทศไทยได้จำแนกบุคคลโดยอาศัยสถานะทางกฎหมายของบุคคลเป็น 5 กลุ่ม คือ คนไร้รัฐหรือไร้เอกสารระบุทราบตัวบุคคล คนซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นคนสัญชาติไทยแต่ได้รับการบันทึกผิด คนต่างด้าวเกิดในประเทศไทย คนต่างด้าวเกิดนอกประเทศไทย และคนซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ

ในช่วงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานและปัญหาที่พบนั้น ตัวแทนจากโรงพยาบาลจังหวัดระนอง ได้เล่าถึงการทำงานของโรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลระนองจะมีบันทึกหน้าห้องคลอด หรือ “ทะเบียนคนคลอด” ที่บันทึกว่ามีใครมาคลอดบุตรที่โรงพยาบาล บันทึกนี้จะไม่มีการทำลายเว้นแต่สูญหายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ย้ายตึก ปลวกกิน โดยของโรงพยาบาลระนองนั้นด้วยเหตุที่มีการย้ายตึกประมาณ ปี พ.ศ. 2542-2543 ทะเบียนคนคลอดบางส่วนจึงหายไป เหลือเพียงส่วนที่บันทึกปลายปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

สำหรับแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลระนองในการที่จะออก ท.ร.1/1และลงลายมือชื่อผู้ทำคลอดให้ก็ต่อเมื่อมารดาของเด็กได้มาตัดสายสะดือ ที่โรงพยาบาลระนอง  หากตัดสายสะดือมาแล้วแต่ให้โรงพยาบาลเป็นผู้ทำความสะอาดรก เช่นนี้ ก็ไม่อาจจะออก ท.ร.1/1 ให้ได้ในกรณีที่ทำ ท.ร.1/1 หาย หรือ อำเภอ เทศบาลมีหนังสือส่งมาขอให้ออก ท.ร.1/1 ให้ โรงพยาบาลก็ยินดีออก ท.ร.1/1 ให้ใหม่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเกิดที่โรงพยาบาลจริง

ปัญหาที่พบในเรื่องการออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. 1/1) ของโรงพยาบาลระนองก็คือ มารดาเด็กซึ่งเป็นชาวพม่าไม่นำ ท.ร.1/1 ไปแจ้งเกิด หรือลืมรับ ท.ร.1/1 หรือจงใจไม่รับเนื่องจากไม่ทราบว่าต้องนำไปแจ้งเกิดเด็ก แต่เมื่อโรงพยาบาลชี้แจงให้ทราบว่าต้องรับไปเพื่อแจ้งเกิดเด็กที่เทศบาล หรือ อำเภอ ก็ยังไม่ยอมรับเช่นเดิม ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 100 ราย สันนิษฐานว่าเป็นเพราะมารดา บิดาชาวพม่าอาจจะยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการแจ้งเกิดเด็ก หรืออาจกลัวการที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการไทย เพราะเกรงว่าจะโดนจับ ส่วนใหญ่ของการขอ ทร. 1/1 ย้อนหลังนี้มักจะแจ้งชื่อบิดา มารดา ของเด็กไปตรงกับที่แจ้งไว้คราวที่คลอด กรณีนี้โรงพยาบาลแก้ปัญหาโดยให้ผู้ขอไปแจ้งความก่อน แล้วจึงมาดำเนินการขอท.ร.1/1

 
อย่างไรก็ตามตัวแทนจากโรงพยาบาลกระบุรีได้เล่าถึงวิธี การแก้ปัญหาในเรื่องการออก ท.ร. 1/1 บางส่วนเพื่อแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาลอื่น ๆ คือ โรงพยาบาลกระบุรีจะเย็บ ท.ร.1/1 ติดกับสมุดแม่และเด็กเพื่อให้มารดาเด็กนำกลับไป และในกรณีที่ชื่อบิดามารดาซึ่งแจ้งไว้ในสมุดสีชมพูแม่และเด็กไม่ตรงกับที่ แจ้งใน ท.ร.1/1 ทางโรงพยาบาลจะเขียนตามที่แจ้งไว้ในท.ร.1/1 โดยเขียนกำกับท้ายชื่อว่า “เขียนตามคำบอกเล่าของพ่อแม่” และสำหรับค่าบริการทางการแพทย์นั้นคิด 300 บาทต่อวัน แต่ถ้ามารดานำสูติบัตรเด็กมาแสดงแก่โรงพยาบาลภายใน 7 วัน ก็จะได้รับเงิน 300 บาทคืน โดยวิธีคืนเงินนี้ใช้ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ แต่จะไม่ใช้กับมารดาเด็กที่ไม่มีบัตรอะไรเลย เป็นการกระตุ้นให้มารดานำทร.1/1 ไปจดทะเบียนการเกิด ซึ่งโรงพยาบาลระนองก็ใช้วิธีนี้เช่น กันแต่เปลี่ยนเป็นเก็บเงินไว้ก่อน 704 บาท เมื่อเด็กมีสูติบัตรแล้วก็จะมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ จึงไม่จำเป็นต้องจ่าย 704 บาท จึงได้รับเงินกลับคืนไป
 
ทางด้านเทศบาลเมืองระนองก็ได้นำเสนอปัญหาที่พบ คือ กรณีมาแจ้งเกิดแล้วชื่อบิดามารดาที่แจ้ง ไม่เหมือนกับใน ท.ร. 1/1 หากผิดเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่ถ้าแตกต่างในลักษณะที่อาจเป็นชื่อใหม่เลย เช่นนี้ ก็จะแจ้งกลับไปให้ทางโรงพยาบาลแก้ไข และถ้าบิดามารดามีเลขประจำตัว 13 หลัก แต่ถูกระงับเคลื่อนไหวทางทะเบียน เทศบาลก็จะรับจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็ก โดยจะกำหนด เลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 0 คือ บุคคลซึ่งไม่สถานะทางทะเบียน

ตัวแทนจากอำเภอเมืองระนอง กล่าวว่าการทำงานของอำเภอนั้นอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงแห่งรัฐ ได้ยืนยันว่าหากมีท.ร.1/1 มาแสดง อำเภอก็รับฟังและจดทะเบียนการเกิดให้แน่นอน แต่ในกรณีที่นำมาเพียงสมุดแม่และเด็กนั้นไม่อาจยืนยันได้ว่าเด็กเกิดในโรง พยาบาล เพราะอาจจะเป็นแค่การฝากครรภ์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เช่น พยานบุคคล 5-6 คนที่เห็นการเกิด ทั้งนี้ทางอำเภอเคยพบปัญหาการสวมตัว นำ ท.ร. 1/1 ของผู้อื่นมาแจ้งการเกิดของตนเอง

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะจากตัวแทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเสนอให้มีการทำความเข้าใจกับบิดา มารดา เด็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นชาวต่างชาติให้เข้าใจถึงการจดทะเบียนการเกิด โดยอาจจะต้องจัดทำคู่มือจดทะเบียนการเกิดเป็นภาษาต่างประเทศ

และ ชาติชาย อรเลิศวัฒนา นักกฎหมาย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น จังหวัดระนองซึ่ง ได้ติดตามและทำงานในประเด็นการจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ได้นำเสนอสถานการณ์ภาพรวมของการจดทะเบียนการเกิด  ซึ่งพบว่ามีเด็กทั้ง 6 กลุ่ม คือ หนึ่ง-เด็กเกิดในสถานพยาบาล สอง-เด็กเกิดนอกสถานพยาบาล สาม-เด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอด ทิ้ง สี่-เด็กที่เกิดในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ห้า-เด็กไทยที่เกิดในต่างประเทศ และหก-กรณีการจดทะเบียนการเกิดภายหลังการมีชื่อในทะเบียนราษฎร ได้รับการจดทะเบียนการเกิด ทั้งนี้ในทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวที่สำเร็จลุล่วงเกิดจากการประสาน งานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเพื่อให้การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัดระนองสามารถเป็น พื้นที่ต้นแบบได้ก็ยังต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต่อไป
 
ที่มา: http://www.statelesswatch.org/node/215
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์ : ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน

Posted: 22 Aug 2010 11:56 AM PDT

ช่วงวันหยุดยาวที่แล้ว ผมพาลูกไปเที่ยวเมืองกาญจน์กับวงศาคณาญาติ เมืองกาญจน์มีอะไรน่าเที่ยวเยอะเลย เช่น ได้ไปดูสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งล้อมรอบไปด้วยตลาดขายพลอยและของกินของฝาก แบบว่าพื้นที่สะพานจริงๆ เหลือราว 10% อีก 90% เป็นแผงขายของ ฮิฮิ นี่แหละการท่องเที่ยวแบบไทยๆ

เนื่องจากมีเด็กๆ ไปหลายคน ก็เลยต้องพาไปดูกองถ่ายหนังพระนเรศวร ซึ่งกลายเป็นความภาคภูมิใจของคนเมืองกาญจน์ไปแล้ว จำได้ว่าหลายปีก่อนเคยสัมภาษณ์พี่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แกยืนยันว่าพระนเรศวรไม่ได้ทำยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์ แต่เป็นที่เมืองกาญจน์ต่างหาก ตอนนี้คงไม่ต้องเถียงกัน พระนเรศวรอยู่เมืองกาญจน์แหงๆ

ค่าตั๋วผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท เอาก็เอาวะ เพื่อปลูกฝังเลือดรักชาติ (ได้ข่าวว่าภาค 3 จะมีเรื่องพระยาละแวกด้วย เขากำลังสร้างฉากวังพระยาละแวกอยู่) น่าเสียดาย งบ 100 ล้านที่จะได้จากกระทรวงวัฒนธรรม ถูกตัดไปเกินครึ่ง ไกด์นำชมกองถ่ายบอกว่าฉากที่จะใช้ในหนังภาค 3 ภาค 4 เราจะใช้ปูนจริงๆ แล้วนะ ไม่ใช่โฟม

ถึงตอนนั้นอาจจะขึ้นค่าตั๋วเข้าชมได้ เพราะ 100 บาทเนี่ยยังเป็นแค่ค่าชมโฟม

ทำไมหนอ อภิชาติพงศ์ไม่ขายตั๋วเข้าชมกองถ่าย “ลุงบุญมีระลึกชาติ” มั่ง นั่นหนังรางวัลเมืองคานส์เชียวนะ รางวัลสูงสุดที่หนังไทยเคยได้รับ

ขากลับจากกองถ่าย รถเลี้ยวผิดไปผ่านกองพล 9 ถนนยาวเหยียดผ่านกรมผ่านกองพันอะไรมั่งก็ไม่รู้ โห ใหญ่โตมโหฬารจริงๆ เขตทหาร แต่ละกองพันมีตึก 3-4 หลัง เนื้อที่หลายร้อยไร่ อดคิดไม่ได้ว่า ผบ.กรมยศพันเอก ผบ.พันยศพันโท แต่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดบังคับบัญชาทหารหลายร้อยคน มีอาวุธพรั่งพร้อม มีวัสดุอุปกรณ์ ยุทธบริการ งบประมาณไม่อั้น ข้าราชการอื่นที่อายุราชการเท่ากันเทียบไม่ติด

ถ้าเทียบกับตำรวจที่เรียนเตรียมทหารมาด้วยกัน พ.ต.ท.เนี่ยกิ๊กก๊อกมากนะครับ ต้อง พ.ต.อ.ถึงได้เป็นผู้กำกับคุมเขตหรืออำเภอ แล้ว สน.หรือ สภ.ก็มักจะโทรมๆ เทียบไม่ได้กับกองพันที่ใหญ่โตกว้างขวางมีบ้านพักพรั่งพร้อมลงไปถึงนายสิบ

ที่จริงทุกประเทศก็ยกให้ทหารมี “อภิสิทธิ์” ในฐานะรั้วของชาติ ต้องได้รับการสนับสนุนขั้นสูงสุด ดีสุด สะดวกรวดเร็วที่สุด เพื่อความพร้อมที่จะทำศึกสงครามป้องกันประเทศ แต่ทหารไทยเรามี “อภิสิทธิ์” มากกว่าเขา (เพราะจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์-ฮา) จากการมีอำนาจปกครองยาวนานในยุคเผด็จการ กระทั่งประชาธิปไตยครึ่งใบ แม้จะถูกไล่กลับกรมกองหลังพฤษภา 35 ก็ยังคงอภิสิทธิ์ที่ไม่มีใครกล้าแตะอยู่มากมาย กระทั่งคนชั้นกลางไปเชิญกลับมาใหม่ ทหารยุค 19 กันยา รู้จักปรับตัวให้ดูสุภาพ น่ารัก ตามหน้าเฟซบุคสำหรับคนชั้นกลาง แต่โทษที “อภิสิทธิ์” เนี่ยขอเต็มๆ แบบงบประมาณทหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

ทหารมักจะคิดว่าตัวเองต้องมีอภิสิทธิ์มากกว่าประชาชนหรือข้าราชการทั่วไป เพราะรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เสียสละเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มากกว่าคนทั่วไป จึงควรมีบทบาทอำนาจเหนือคนอื่น กระทั่งก้าวล่วงเข้ามายึดอำนาจเพื่อ “ปกป้องสถาบันสำคัญของชาติ” เนื่องจากไม่มีใครแล้วที่จะผูกพันกับ “สถาบันสำคัญของชาติ” เท่ากู ไม่ว่าประชาธิปไตยหรือประชาชน ยังสำคัญเป็นรอง

อภิสิทธิ์ของทหารจึงผูกพันกันเป็นชั้นๆ ไปจนถึงความผูกพันสูงสุด กลายเป็นระบอบอำนาจที่อยู่เหนือประชาธิปไตย เหนือประชาชน โดยที่ทหารลืมไปแล้วว่า การที่สังคมมอบอภิสิทธิ์และให้เกียรติยศ เพราะคุณมีหน้าที่ “รับจ้างตาย” แทนประชาชน ไม่ใช่เพราะคุณมีความรู้ความสามารถหรือมีจิตใจสูงส่งเหนือชาวบ้าน

ว่างๆ ผมชอบดูข่าวช่อง 5 เพราะตลกดี เวลาที่มีพวกแม่ทัพหรือ ผบ.พล มาให้โอวาทแสดงวิสัยทัศน์ (โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร มีบ่อย) ฟังแล้วขำกลิ้งเลย เพราะมันเป็นการขยายขี้เท่อมากกว่าแสดงวิสัยทัศน์ บางครั้งก็ได้ดูข่าวประเภทท่านผู้การนำกำลังพลปลูกต้นไม้ เรียงแถวกันเป็นร้อยๆ หลุม ท่านผู้การน่ะไม่ต้องปลูกเองหรอก มีลูกน้องสาวๆ ช่วยยกกระถาง ท่านก็เอามือแตะๆ พอเป็นพิธี เสร็จแล้วก็นั่งยิ้มย่องปลื้มปิติบนโซฟา นึกฉากต่อไปได้เลยว่า หลังจากนั้นแม่-ก็คงไม่ทำงานทำการอะไรกันทั้งวัน เพราะไม่ค่อยมีงานทำอยู่แล้ว

ในระบบราชการที่ว่าล้าหลัง คร่ำครึ ที่จริงหลายหน่วยงานก็พยายามปรับตัวให้ทันสมัย บริการประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว (หน่วยงานหนึ่งที่ยอดมากส์คือกรมการขนส่งทางบก ซึ่งใช้ระบบไดรฟ์อินเข้าไปต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว) น่าจะเหลือทหารนี่แหละ ที่ยังจมปลักอนุรักษ์นิยมยึดจารีตคร่ำครึกว่าเพื่อน

การปฏิรูปกองทัพ จึงเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสที่คงต้องอาศัย timing ในอนาคต เกิดอะไรซักอย่างเป็นชนวนให้รื้อระบบกันครั้งใหญ่ ซึ่งคงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แบบ “สภาปฏิรูป” (สภาโจ๊กยุคใหม่) เพราะคงต้องรื้อทุกอย่าง ตั้งแต่ระบบแต่งตั้งโยกย้าย ให้เป็น “ทหารอาชีพ” ไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซง ไม่มีอำนาจอื่นใดเข้าไปแทรกแซง แยกทหารออกมาจากอำนาจบางอย่างให้เป็น “ทหารของประชาชน ทหารของประชาธิปไตย” ลดเลิกอภิสิทธิ์ ให้สังคมตรวจสอบได้ รวมถึงการปฏิรูปกองทัพให้กะทัดรัด มีประสิทธิภาพ

กองทัพไทยเนี่ยน่าจะเป็นกองทัพที่มีสัดส่วนของพลเอกอัตราจอมพลสูงที่สุดในโลก มีสัดส่วนของนายพลที่ไม่ได้คุมกำลัง กับนายพลที่คุมกำลังรบจริงๆ สูงที่สุดในโลก และน่าจะมีสัดส่วนของหน่วยงานฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายยุทธบริการ ฝ่ายสัพเพเหระ ฝ่ายเฮโลสาระพา กับกองพลกองพันที่เป็นกำลังรบจริงๆ สูงที่สุดในโลก

แม้แต่งบประมาณก็เช่นกัน เงินเดือนของทหารที่ไม่ได้อยู่หน่วยรบ ปีๆ หนึ่งอาจจะซื้อฝูงบินกริพเพนได้ทั้งฝูง แถมสวัสดิการ เบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่ารักษาพยาบาล จิปาถะ ที่พิเศษกว่าข้าราชการอื่นๆ (รพ.ค่ายทหารทุกแห่งเป็นที่นิยมของข้าราชการ เพราะจ่ายยานอกบัญชียาหลักให้ง่าย ไม่เรื่องมาก แพงกว่า รพ.จังหวัด แต่เบิกได้หมด)

กองทัพเดินได้ด้วยท้อง แต่กองทัพไทยท้องกาง เพราะหนักกำลังพลที่ไม่ได้อยู่หน่วยรบจริงๆ และไม่เคยมีรัฐบาลไหนลดกำลังพลสำเร็จ นายทหารจบ จปร.ทุกคนต้องได้นายพล ทักษิณยังบอกเพื่อน ตท. 10 ให้สำรวจซิว่าใครยังไม่ได้นายพล ฉะนั้นเราจึงมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายเสธ หัวหน้าฝ่ายเสธ ฝ่ายเสธของหัวหน้าฝ่ายเสธ ฯลฯ เต็มไปหมด

รัฐบาลชอบบอกว่าสมองไหลออกจากระบบราชการ แต่ทหารไม่เคยสมองไหล ผมก็ไม่ทราบว่าระบบทหารอเมริกันเป็นอย่างไร แต่เท่าที่รู้ พอไปถึงระดับหนึ่งเขาให้ลาออก พันโทพันเอกลาออก โดยให้บำเหน็จบำนาญอย่างจุใจ เพราะถือว่าไปรบเพื่อชาติมา แต่ระบบไทยไม่ใช่อย่างนั้น เพราะการเป็นนายพลมีอภิสิทธิ์มากมาย เช่น นายพลทำผิดวินัยลงโทษได้แค่ว่ากล่าวตักเตือน (จึงเล่นงานเสธแดงไม่ได้) พลเอกเกษียณจะมีพลขับตามรับใช้ตลอดชีวิต ร.พ.ทหารมีห้องวีไอพีสำหรับชั้นนายพล ใครมันจะยอมลาออก
 

คนดีคนเก่ง?
พูดถึงทหารซะยาว เพราะทหารเป็นแกนหลักของ “รัฐราชการ” ที่จะต้องปฏิรูปและลดอำนาจ กระจายอำนาจให้ประชาชน เป็น “ประชาธิปไตยทางตรง” มากขึ้นตามทฤษฎีหมอประเวศ (ฮิฮิ) 

แต่แนวโน้มที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็คือความพยายามเพิ่มความเข้มแข็งของ “รัฐราชการ” เสริมสร้างอำนาจและความใหญ่โตของระบบราชการ

“ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน ต้องเป็นคนดีคนเก่ง” ผมเห็นคำขวัญนี้ติดท้ายรถมากขึ้นเรื่อยๆ จนชักจะเกร่อ แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า ตัวคำขวัญน่ะดีหรอก ถ้าถือว่าเป็นการเรียกร้องข้าราชการ แต่ตัวข้าราชการที่เอาคำขวัญนี้มาอวด เขาคิดอย่างไร เผลอๆ จะคิดว่าตัวเองเป็นคนดีคนเก่งเหนือชาวบ้านหรือเปล่า

แล้วก็อดคิดลึกไม่ได้ว่า คำขวัญเดิมๆ ที่ว่าข้าราชการกินเงินเดือนจากภาษีของประชาชน ต้องรับใช้ประชาชน เนี่ยยังอยู่ไหม หรือว่าเป็น “ข้าของแผ่นดิน” แล้วโยนคำขวัญยุคประชาธิปไตยทิ้งเหอะ

หรืออีกนัยหนึ่งจะตีความได้ไหมว่าข้าราชการเป็น “ข้าของแผ่นดิน” นะ ไม่ใช่ข้าของนักการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้งมานะ

จะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ คำขวัญนี้สอดคล้องจังกับการปลุกระบบราชการให้กลับขึ้นมาอยู่เหนือ “ราษฎรผู้หลงผิด” ที่กำลังเรียกร้องหาเสรีประชาธิปไตย โดยเน้น “ความดี ความเก่ง”

ซึ่งมติ ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ก็ให้ปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ เพื่อให้แข่งขันกับเอกชนได้ (แล้วจะปรับคนใหม่ยังไงถ้าไม่เพิ่มให้คนเก่า ที่สุดก็คือขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ)

บอกก่อนว่าผมก็โตมาในครอบครัวข้าราชการ พ่อแม่เป็นครู พี่สาวเป็นครู น้องเป็นข้าราชการ น้าเป็นข้าราชการ ผมยังคิดว่าข้าราชการส่วนใหญ่ก็เป็นคนดี แต่ระบบราชการสิมีปัญหา ความล้าหลังคร่ำครึ ระบบอุปถัมภ์ วิ่งเต้นเส้นสาย ทำให้คนมีความสามารถ คนที่รักอิสระ ในรุ่นหลังๆ ไม่อยากรับราชการ

รุ่นพ่อรุ่นแม่ หรือรุ่นพี่ผมอาจจะไม่มีทางเลือก แต่คนรุ่นผมเป็นต้นมา (ที่ตอนนี้อายุ 50 กว่า) มีทางเลือกมากขึ้น รักอิสระมากขึ้น จึงเข้ารับราชการน้อยลงๆ เพื่อนร่วมรุ่นผมถ้ายังรับราชการก็มีแต่หมอ กับทหาร พวกที่เรียนอย่างอื่นทำงานเอกชนหรือทำธุรกิจกันหมด มันไม่ใช่แค่ความอยากรวยหรืออยากได้เงินเดือนมากกว่า เพราะเป็นข้าราชการ เงินเดือนเริ่มต้นน้อยกว่าเอกชน 30-40% แต่มั่นคงกว่านะครับ เงินเดือนขึ้นทุกปี มีบำเหน็จบำนาญสวัสดิการรักษาพยาบาลจนวันตาย

เพื่อนร่วมรุ่น มศ.3 มีรายหนึ่ง ไม่เจอกัน 30 กว่าปี เป็นผู้ว่าฯ ไปแล้ว ดาวรุ่งซะด้วย สมัยก่อนเพื่อนเรียก “ไอ้ลาว” สมัยนี้คงต้องเรียก “ท่านลาว” ไม่ใช่คนเรียนเก่งที่สุด เอนท์ไม่ติดด้วยซ้ำ จบรามฯ แต่จำได้ว่าเป็นคนพูดเก่ง เข้าคนเก่ง และน่าจะเป็นคนทำงานเก่ง เพราะสมัยเรียนด้วยกันก็หนักเอาเบาสู้

ผมกำลังจะบอกว่านั่นคือคุณสมบัติของข้าราชการที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องมีทั้งสองอย่าง ทำงานเป็น เข้าคนเป็น ประสานผลประโยชน์เป็น ระบบราชการปัจจุบันอาจจะดีกว่าสมัยก่อน ตรงที่คนขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ต้องมีความสามารถด้วย พวกประจบสอพลอวิ่งเต้นเส้นสายหาเงินจ่ายนาย อย่างเดียวอยู่ยากส์ แต่ถ้าคุณมีแค่ความสามารถอย่างเดียว ก็อยู่ได้ แต่แป๊ก

ระบบราชการทุกวันนี้จึงไม่ใช่ระบบของ “คนดี คนเก่ง” (คนดีคนเก่งที่ไหนกระโดดพรวดจากผู้ว่าบุรีรัมย์เป็นปลัดมหาดไทยในเวลาไม่ถึง 2 ปี) แม้จะมีคนดีคนเก่งอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ก็ถูกหมกอยู่ข้างใต้ จนท้อแท้ อ่อนล้า เฉื่อยชา ระบบราชการจริงๆ กลายเป็นระบบอภิสิทธิ์ชนที่มีสวัสดิการดีที่สุดในโลก (รองจากคุณพ่อรัฐวิสาหกิจ) กลายเป็นเกราะพึ่งพิงของคนที่ไม่อยากกระโดดเข้าไปต่อสู้แข่งขันในระบบทุนนิยม ซึ่งถ้าไม่แน่จริง คุณตาย!

ที่มักจะพูดกันว่าระบบราชการยังคงไว้ซึ่งระบบคุณธรรม จริงๆ ก็คือคนที่อยู่ในระบบราชการ หรือรัฐวิสาหกิจนี่แหละครับ เป็นคนชั้นกลางที่มีความมั่นคงในชีวิต จนมีเวลาว่างไปบวชชีพราหมณ์ ศึกษาธรรมะ ใฝ่หาความสงบ อย่างไม่ต้องอนาทรร้อนใจต่อดัชนีเศรษฐกิจ (พลังศีลธรรมเสื้อเหลืองจึงได้แรงหนุนจากข้าราชการส่วนใหญ่)

ปชป.เป็นพรรคขุนนาง จึงพยายามเพิ่มความใหญ่โตเทอะทะของระบบราชการ ชูคำขวัญ “คนดี คนเก่ง” เพิ่มคน เพิ่มเงินเดือน ทั้งที่ทิศทางของประเทศต้องลดขนาดของระบบราชการ กระจายอำนาจให้ประชาชนปกครองตัวเอง ในทางธุรกิจก็ปล่อยเอกชนไป โดยรัฐแค่กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมเท่านั้น

การเพิ่มเงินเดือนจึงไม่ใช่แรงจูงใจให้คนดีคนเก่งเข้ารับราชการ เป็นแค่เพิ่มอภิสิทธิ์ ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่คัดค้านการขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ขึ้นทีไรก็กระทบชิ่งทั้งระบบ ขึ้นหมด โดยไม่ดูความเป็นธรรมของระบบอัตราเงินเดือนข้าราชการที่ปัจจุบันลักลั่นกันยุ่งเหยิงไปหมด

สิ่งที่รัฐควรทำมากกว่าขึ้นเงินเดือน คือการปฏิรูประบบเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมาก ระหว่างเงินเดือนข้าราชการตาดำๆ ทำมะดาๆ กับข้าราชการตุลาการ อัยการ องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน หรือหน่วยงานพิเศษต่างๆ

ข้าราชการตุลาการ สมัยประมาณ ชันซื่อ เป็นประธานศาลฎีกา ขอแยกบัญชีเงินเดือน จนเงินเดือนตุลาการสูงลิบลิ่ว โดยอ้างว่าประธานศาลฎีกาควรได้เท่านายกฯ ซึ่งก็น่าจะถูกหลัก แต่พอไล่ลงมาสิครับ ปรากฏว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเงินเดือนมากกว่าผู้ว่าฯ ลิบเลย

อันที่จริงตามหลักการเราถือว่าผู้พิพากษาต้องเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการอื่น เพราะมีข้อห้ามข้อจำกัดเยอะ เช่น ห้ามเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ ห้ามมีรายได้อื่นยกเว้นค่าเขียนหนังสือตำรับตำราทางวิชาการ

แต่ที่ขึ้นครั้งนั้นกลายเป็นสูงลิบ อย่าถามว่าทำไมรัฐบาลและรัฐสภาถึงยอม ไปถามจรัญ ภักดีธนากุล ดีกว่าว่าประมาณ ชันซื่อ เป็นใคร

สมัยทักษิณเคยไปพูดที่ศาล บอกว่าเงินเดือนศาลสูงกว่าแพทย์มากมายไม่ถูกต้อง เพราะคนเรียนเก่งที่สุดสอบเข้าแพทย์ โห! ถ้าผมเป็นผู้พิพากษาคงโกรธหน้าเขียวหน้าดำ

เงินเดือนศาลฝ่ายเดียวยังพอทำเนา ถ้าไม่เกิดลูกช่วงมาถึงฝ่ายอื่นๆ เช่น องค์กรอิสระ พอจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 40 ประธานก็ต้องได้เงินเดือนใกล้เคียงนายกฯ ใกล้เคียงประธานศาลฎีกา แล้วข้าราชการล่ะ ข้าราชการล่างๆ ลงมาก็ได้เงินเดือนและสวัสดิการสูงกว่าข้าราชการตาดำๆ ทำมะดา ต่อมาก็เกิดองค์กรพิเศษ เช่น DSI นิติวิทยาศาสตร์ ปปง.รวมทั้ง สสส.ทั้ง 4 ส.ของหมอประเวศ องค์กรมหาชนทั้งหลาย เอากันเข้าไปใหญ่ ใครเป็นข้าราชการน่าจะรู้ดี ลองเอาบัญชีมาเทียบดูก็ได้ ตั้งองค์กรพวกนี้แต่ละที ข้าราชการวิ่งเต้นขอโอนย้ายอุตลุด

นอกจากนี้ยังมีอัยการ ซึ่งเรียกร้องโวยวายจนได้เงินเดือนใกล้เคียงศาล โดยหลักก็น่าจะถูกอีกนั่นแหละ แต่อย่าลืมว่าข้อห้ามของศาลกับอัยการต่างกัน อัยการหารายได้พิเศษได้ เป็นที่ปรึกษาธุรกิจได้ คบพ่อค้า พาพวกกินเหล้าเมาเฮฮาตามสวนอาหารจนเลยตีสองก็ยังได้ ขณะที่ผู้พิพากษาเขาทำไม่ได้

ร้ายกว่านั้นอีกนะครับ มันยังกระทบชิ่งมาถึงนิติกร ตามหน่วยงานราชการทั่วไป อ้างว่ากลัวสมองไหล พวกนิติกรจะไปสอบอัยการสอบผู้พิพากษากันหมด ก.พ.เลยกำหนดว่าเป็นวิชาชีพขาดแคลน เพิ่มเงินประจำตำแหน่งให้

ไอ้บ้าเอ๊ย นิติกรเนี่ยนะวิชาชีพขาดแคลน คนจบนิติปีๆ หนึ่งไม่รู้เท่าไหร่ น้องผมทำราชการ บอกว่านิติกรที่สำนักงานวันๆ ไม่ทำอะไร เอาแต่ดูหนังสือรอสอบอัยการสอบผู้พิพากษา ยังได้เงินเพิ่มอีกต่างหาก

อย่าแปลกใจที่เด็กสอบได้ที่หนึ่งประเทศไทยปีหลังๆ เลือกคณะนิติฯ ถ้าลองไปถามว่าหนูอยากเป็นผู้พิพากษาเพราะเงินเดือนงาม มีอำนาจบารมี มีแต่คนยำเกรง หรือหนูอยากเป็นผู้พิพากษาเพราะอยากมีชีวิตสงบ สมถะ ยึดมั่นในความยุติธรรม

ร้อยทั้งร้อยต้องตอบข้อหลัง!
 

278 มาตราลวงโลก
ก่อนวันหยุดยาว ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติ 103 ต่อ 4 ไม่รับอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ทักษิณ 4.6 หมื่นล้าน (ไม่รู้เป็นไง ตอนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองตัดสินก็ก่อนวันหยุดยาว)

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลย ไม่มีใครตื่นเต้น ถ้าผมเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ก็ต้องลงมติไม่รับอุทธรณ์ เพราะมาตรา 278 กำหนดว่าให้ยื่นอุทธรณ์ได้ในกรณีที่มี “หลักฐานใหม่”

ใครมันจะไปหาหลักฐานใหม่ได้ในเวลา 30 วัน เว้นเสียแต่จะมีพจนานุกรมออกใหม่ ยืนยันว่าคำว่า “ไม่สมควร” ไม่ใช่ความผิดที่มีผลตามกฎหมาย

อ.วรเจตน์เคยชี้ไว้นานแล้ว ตั้งแต่ให้สัมภาษณ์ผมเมื่อปีที่แล้ว ว่ามาตรา 278 เป็นกลไกที่ซ่อนปม เพราะไม่ใช่การอุทธรณ์ที่แท้จริง แต่เอาการอุทธรณ์กับการขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ มายำรวมกัน ให้ดูเหมือนว่าเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ ไม่ใช่ศาลเดียวจบนะ

ทั้งที่การอุทธรณ์ที่แท้จริง คือการโต้แย้งคำพิพากษาในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต่อศาลที่สูงกว่าเพื่อให้วินิจฉัยอีกครั้ง โดยใช้พยานหลักฐานเดิมนั่นแหละ แต่แย้งว่าศาลตีความกฎหมายไม่ถูก หรือแย้งว่าศาลฟังข้อเท็จจริงผิด

แต่กรณีนี้ไม่ใช่เลย เพราะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่สามารถลงไปวินิจฉัยใหม่ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ขณะที่การรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ อย่างเช่น พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 หมายถึงถ้าศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว ถึงฎีกา จำเลยติดคุกไปแล้วเพิ่งพบหลักฐานใหม่ว่า อ้าว ฆาตกรตัวจริงโผล่มา หรือยุคสมัยนี้มีการตรวจ DNA แล้วพบว่าจำเลยไม่ได้ฆ่า ก็นำเสนอหลักฐานใหม่มาขอรื้อฟื้นคดีได้ โดยไม่จำกัดเวลาว่าต้อง 30 วัน จะ 5 ปี 10 ปีก็ได้

มาตรา 278 ไปเอา 2 อย่างนี้มายำรวมกัน เพื่อ “ลวงโลก” ว่านี่ไง เขาให้อุทธรณ์นะ มีหลักประกันเรื่องสิทธิเสรีภาพนะ เป็นธรรมนะ ไม่ใช่ศาลเดียวเบ็ดเสร็จนะ แต่ความจริงหาใช่ไม่

ตรงกันข้ามเวลาตีข่าวไปทั่วโลก ถ้าพาดหัวข่าวสั้นๆว่า ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ คดียึดทรัพย์ทักษิณถึงที่สุด คนอ่านไม่ละเอียดก็จะเข้าใจว่าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นพ้องกับคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่เลย (เหมือนตอนศาลพิจารณาคดีทักษิณใหม่ๆ ข่าวฝรั่งชอบบอกว่าทักษิณต้องขึ้น “ศาลคอรัปชั่น” แต่ต่อมาฝรั่งคงเข้าใจเลยไม่ค่อยใช้คำนี้อีก)

ในระบบกฎหมายที่ดำรงอยู่ คดีทักษิณคงจบแค่นี้ ไม่มีทางที่จะหา “หลักฐานใหม่” ต่อให้อีก 5 ปี 10 ปี 20 ปี ก็อ้างหลักฐานใหม่มารื้อฟื้นคดีไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งคดีที่ดินรัชดา ทั้งคดียึดทรัพย์ ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่พยานหลักฐาน แต่อยู่ที่การตีความข้อกฎหมาย

คดีที่ดินรัชดาคือการตีความมาตรา 100 กฎหมาย ปปช.ให้มีความผิดอาญา ลงโทษจำคุกได้โดยไม่ต้องมีองค์ประกอบของการทุจริตประพฤติมิชอบ (ถ้ามีการทุจริต เช่นทักษิณสั่งให้แบงก์ชาติช่วยเอื้อประโยชน์ ป่านนี้หม่อมอุ๋ยคงติดคุกหัวโต ไม่ได้จัดงานแต่งคุณปลื้ม)

ส่วนคดียึดทรัพย์คือการตีความกฎหมาย ปปช.ว่าด้วยความร่ำรวยผิดปกติ ว่าสามารถยึดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องมีความผิดอาญา จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าได้ทรัพย์สินมาจากการทุจริตประพฤติมิชอบ เพียงวินิจฉัยว่า “ได้มาโดยไม่สมควร” ก็ยึดทรัพย์ได้แล้ว

ถามว่าจะไปโต้แย้งที่ไหน อย่างไร เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ที่น่าสนใจคือทักษิณจะทำอย่างไรต่อไปต่างหาก บางคนลือว่าทักษิณถอดใจ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดี สำหรับขบวนประชาธิปไตย แต่ถ้าทักษิณยังคิดจะมานำขบวนการต่อสู้อีก เหมือนที่นำคนเสื้อแดงพ่ายแพ้มา 2 ครั้ง ก็ต้องบอกว่ายังไม่สรุปบทเรียนอีกหรือ ทักษิณควรรู้ตัวและถอยไปอยู่ท้ายแถว ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ร่วมแต่ต้องลดบทบาทไปอยู่ท้ายแถว แล้วสักวันหนึ่งอะไรที่ไม่ได้รับความยุติธรรมค่อยได้คืน

ผมคิดว่าคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือแม้แต่คนเสื้อแดง ก็ลดความต้องการหรือความจำเป็นที่จะต้องมีทักษิณมาเป็นตัวกระตุ้นในเรื่องความยุติธรรมหรือความรู้สึก “สองมาตรฐาน” อีกแล้ว เนื่องจากการต่อสู้ที่พัฒนามา ทำให้พวกเขาเจอเอง รู้สึกเอง ถูกกระทำเอง โดยเฉพาะถูกจับกุมคุมขังและถูกลงโทษอย่างรุนแรงหลังพฤษภาอำมหิต... ขณะที่พวกม็อบมีเส้นทำผิดกฎหมายร้ายแรง กลับได้รับ “ความปราณี” อย่างแตกต่างกันสิ้นเชิง

บทบาทของทักษิณจากนี้ไปจึงเป็นแค่ “ตัวพ่วง” (และถ้าเป็นตัวถ่วงก็ต้องปลดทิ้ง) แต่ขบวนประชาธิปไตยจะต้องเดินไปด้วยตัวเอง ต่อให้ทักษิณไม่สู้ เราก็สู้ โดยไม่ต้องสนใจทักษิณ ไม่ต้องใส่ใจกับพรรคเพื่อไทย (ที่ยังไง้ยังไงก็ไม่มีทางชนะเลือกตั้ง)

ผมสนใจปรากฏการณ์ที่ สกอ.ร่อนหนังสือห้ามกิจกรรมนักศึกษา หรืออาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ห้ามนิสิตชูป้ายประท้วงอภิสิทธิ์มากกว่า นี่แหละคือ “บรรยากาศก่อน 14 ตุลา” ของจริง

             

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำบุญ100วัน‘เบิร์ด’อาสากู้ชีพ-‘แม่น้องเกด’นำทีมบุกดีเอสไอฟังผลชันสูตร-ทวงค่าชดเชยคนเจ็บ

Posted: 22 Aug 2010 11:50 AM PDT

 

 
22 ส.ค.53 ที่ศาลา3 วัดคลองเตยนอก ครอบครัวแสนประเสริฐศรี จัดงานทำบุญครบรอบ 100 วันการเสียชีวิตของนายมานะ แสนประเสริฐศรี หรือเบิร์ด อายุ 21 ปี อาสาสมัครกู้ชีพที่ถูกยิงเข้าที่ศีรษะระหว่างเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 บริเวณซอยงามดูพลี บ่อนไก่ โดยมีญาติมิตรเพื่อนฝูง รวมทั้งนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของนางสาวกมนเกด อัคฮาด หรือเกด อายุ 25 ปี พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ร่วมงานด้วย
นางนารี แสนประเสริฐศรี มารดาของเบิร์ดกล่าวว่าแม้จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แล้ว 4 แสนบาท แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับการสูญเสียลูกชายคนเล็กของบ้านไป และสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือให้ผู้กระทำผิดไม่ว่าจะเป็นใครถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
สำหรับประวัติของเบิร์ดนั้น นางนารี กล่าวว่า เบิร์ดเป็นลูกชายคนเล็กในบรรดาลูก 4 คน และมีนิสัยชอบช่วยงานอาสาสมัครมาตั้งแต่ยังเล็ก อายุ 10 กว่าปีก็ไปนั่งเฝ้าดูรถดับเพลิงที่สถานีดับเพลิงใกล้บ้าน และเมื่อโตขึ้นก็มักติดตามไปช่วยงานดับเพลิงเป็นประจำ รวมทั้งงานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจนกระทั่งเรียนหนังสือไม่จบ และออกมาทำงานรับจ้างขนของ ขายขนมปัง ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ขับแท็กซี่ ในช่วงเหตุการณ์สึนามิเบิร์ดก็ลงพื้นที่ไปเป็นอาสาสมัคร และเมื่อสอบเข้าเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิปอเต๊กตึ๊งเต็มตัวเบริ์ดรู้สึกภูมิใจมาก และไม่คิดว่าเขาจะถูกยิงขณะที่เข้าไปช่วยเหลือคนอื่นๆ แบบนี้
เบส พี่ชายของเบิร์ดกล่าวว่า น้องชายเป็นคนที่มีจิตอาสามาตั้งแต่ยังเด็ก สมัยที่ขับแท็กซี่ก็มีชุดอาสาสมัครติดรถ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเขาถึงกับเคยขอให้ผู้โดยสารลงก่อนถึงที่หมายโดยไม่คิดเงิน เนื่องจากต้องการไปช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ
นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของเกด กล่าวว่า ตนเองและบรรดาญาติผู้เสียชีวิต รวมถึงผู้บาดเจ็บ จะเดินไปยังกรมค้มครองสิทธิและเสรีภาพในวันพรุ่งนี้ (23 ส.ค.) เพื่อทวงถามความช่วยเหลือ การเยียวยาให้กับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกคน เนื่องจากทราบว่าคณะกรรมการฯ ที่ติดตามเรื่องนี้ได้เลื่อนประชุมจากเดือนที่แล้วเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบและเกรงว่าในเดือนนี้จะมีการเลื่อนประชุมอีก จึงต้องการทวงถามและเรียกร้องหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลเรื่องนี้ว่าควรจะกระตือรือร้นในการให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะกับผู้บาดเจ็บจำนวนมากที่ยังไม่ได้ค่าชดเชย เพราะพวกเขาประสบความยากลำบากอย่างมากเพราะขาดรายได้และต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
“ที่สำคัญ พวกเราอาจแวะไปที่ดีเอสไอด้วย เพื่อร่วมฟังการแถลงข่าวผลการชันชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร และอยากรู้ว่าในฐานะญาติผู้สูญเสียเขาจะให้เราเข้าฟังด้วยหรือไม่” นางพะเยาว์กล่าวก่อนเดินทางไปเยี่ยมนายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง อายุ 54 ปีซึ่งได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน 3 นัดบริเวณบ่อนไก่วันที่ 15 พ.ค.ปัจจุบันยังไม่สามารถเดินและขยับท่อนล่างของร่างกายได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พื้นที่เสรีภาพและสิทธิทางการเมืองใน 'คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ'

Posted: 22 Aug 2010 10:54 AM PDT

ประเด็น “วิวาทะ” เรื่องนิสิตชูป้าย “เตือนความจำ” และขอยื่นหนังสือประท้วง นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มาปาฐกถา ในงานครบรอบ 60 ปีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 18 ส.ค. นั้น เป็นประเด็นที่ “น่าสะเทือนใจ”

1. สะเทือนใจที่นักศึกษาถูกยึดป้าย “เตือนความจำอภิสิทธิ์” ด้วยข้อความ เช่น “จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "ผมอยากเห็นรัฐบาลมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "ยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วพังไปเรื่อยๆ" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “หยุดปิดกั้นความคิด หยุดใช้ พ.ร.ก.”

แต่น่าสะเทือนใจยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อได้อ่านคำให้สัมภาษณ์ของ นายจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ว่า “...นายวีระศักดิ์หวั่นว่าจะเป็นป้ายที่เขียนด้วยถ้อยคำหยาบคาย ด่าพ่อล้อแม่ เหมือนที่ประท้วงของกลุ่มเสื้อแดง จึงได้ยึดมา”

นี่คือทัศนคติที่ตัดสินล่วงหน้าว่า ถ้าคุณอยู่ฟากเสื้อแดงต้องไม่มีสมองคิด แม้คุณจะเป็นถึง “นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาฯ” ที่ผมสอนคุณมาดีแล้วก็ตาม แต่ถ้าคุณประท้วงอะไรเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของคนเสื้อแดง คุณอาจหยาบคาย สูญเสียความเป็น “สุภาพชน” ไป

ทว่าเมื่อได้รู้ข้อความ “เตือนสติ” นายกฯ ตรงๆ ที่แสนสุภาพและสละสวยยิ่งกว่าข้อความ เช่น “กระชับพื้นที่” เพื่อ “คืนความสุข” ให้ “คนกรุงเทพฯ” ในป้ายประท้วงของนักศึกษาแล้ว ไม่เห็นอาจารย์ท่านนั้น “ขอโทษ” นักศึกษา ที่ตนเองเข้าใจผิด มองนักศึกษาต่ำๆ เหมือนที่มองคนเสื้อแดง

2. เหตุผลของอาจารย์สับสนครับ เช่น คำให้สัมภาษณ์ที่ว่า “แล้วสิ่งที่ต้องคิดนะ สิ่งที่ต้องคิดก็คือ นี่คือนิสิตกลุ่มหนึ่ง นิสิต 3-4 คนก็แล้วแต่ แล้วเคยถามประชาคมจุฬาฯ ไหม...เคยถามเขาไหมว่า เรามาแสดงออกในเวทีนี้ เขาจะผลักดันนโยบายนี้ ถูกที่ไหม เคยถามหรือเปล่า หรือว่าเอะอะปาวๆ ก็จะแสดงออก แสดงออก ผมก็ถามกลับว่า อยากแสดงออกแล้วทำไมต้องเลือกแค่ช่วงที่บุคคลสำคัญมา ช่วงที่คุณจาตุรนต์อยู่ ช่วงต่อจากนั้น ทำไมไม่แสดงออก.. เอ๊ะ เป็นการแสดงออกแบบเลือกที่มักรักที่ชังหรือเปล่า อย่างนี้เรียกเสรีภาพที่แท้จริงหรือ..."

ก็นิสิตเขาต้องการประท้วงนายกฯ เขาก็ต้องแสดงออกเวลาที่นายกฯ มาซิครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณจาตุรนต์ เขาจะไปยืนชูป้ายใน “ช่วงที่คุณจาตุรนต์อยู่” ให้เมื่อย “จุดยืน” (ส้นเท้า) ทำไมครับ? แล้วทำไมการชูป้ายประท้วงนายกฯ การยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายกฯ ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน และรับผิดชอบต่อการปราบปรามประชาชนที่มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จำเป็นที่นิสิต (จะ 1 คน หรือกี่คนก็ตาม) จะต้องถาม “ประชาคมจุฬาฯ” ด้วยหรือครับ?

ประชาคมจุฬาฯ ยิ่งใหญ่คับฟ้าเลยหรือครับ? ทำไมนิสิตจะแสดงสิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญ จะต้องไป “ถาม” ประชาคมจุฬาฯก่อนด้วย!

ที่จริงประชาคมจุฬาฯ ควรจะขอบคุณนิสิต 3- 4 คน นะครับ ที่พวกเขาแสดงออกให้สังคมไทยและสังคมโลกได้เห็นว่า ในจุฬาฯ ยังมีคนที่ “สามารถเข้าใจได้” ว่า รัฐบาลที่ทำให้คนตาย 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และยังบังคับใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐาน ปิดกั้นสิทธิทางการเมืองของประชาชนต่างๆ นั้น เป็นรัฐบาลที่ไม่เหลือ “ความชอบธรรม” อยู่อีกแล้ว!

3. ที่อาจารย์บอกว่า “...เราไม่ใช่แสดงเสรีภาพโดยไม่มีขอบเขตอะไรเลย นิสิตอยากแสดงออกแล้วสิทธิของผมในฐานะคนจัดงานประชุมอยู่ตรงไหน สิทธิของผมคือทำให้งานมันเรียบร้อยใช่ไหมครับ” สิทธิที่อาจารย์ต้องจัดงานให้เรียบร้อยนิสิตก็ควรเคารพครับ เหมือนสิทธิการจราจรของคนทั่วไปที่ผู้ประท้วงบนท้องถนนก็ควรเคารพ แต่บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องเลือกว่าสิทธิอันไหนสำคัญกว่า หากการแสดงออกซึ่งสิทธิทางการเมืองมันมีค่าต่อสาธารณชนหรือสังคมโดยรวม หรือความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า สิทธิที่รองลงมา เช่น สิทธิการจราจรในบางช่วงเวลา หรือสิทธิความสะดวกกายสบายใจส่วนบุคคลอื่นๆ ก็อาจต้องเสียสละกันบ้างใช่ไหมครับ! (ภายใต้ “เงาอำมหิต” ของอำนาจนิยม นิสิตเขาคงกลัวว่าถ้าแจ้งให้อาจารย์ทราบล่วงหน้าก่อน คงไม่ได้ชูป้ายประท้วง)

4.การตบท้าย “คำอธิบายตัวเอง” ด้วย “ภาษาอำนาจนิยม” สะท้อนถึงทัศนคติของอาจารย์... "นี่เวทีวิชาการ ผมเป็นคนรับผิดชอบงานนี้ นี่เป็นที่ของผม ถ้ามีปัญหาค่อยฟ้องทีหลัง " ...คำพูดผมหมายถึงสถานที่จัดงาน เป็นความรับผิดชอบของผม ไม่ได้หมายถึงว่าจุฬาฯ เป็นที่ของผม เป็นการตีความที่ผิดความหมาย ใครเรียนจุฬาฯ จะรู้ว่าที่จุฬาฯเป็นที่พระราชทาน"

สรุป ปัญหาอยู่ที่ทัศนคติและท่าทีของอาจารย์ เช่น ตัดสินล่วงหน้าว่าคำประท้วงจะหยาบคายเหมือนคนเสื้อแดง (ไม่ชอบคนเสื้อแดงไม่ว่า แต่ไม่ให้เกียรตินิสิตของตัวเองบ้างเลย!) จะแสดงออกทางการเมืองแบบนี้เคยถามประชาคมจุฬาฯ บ้างไหม คุณเคารพสิทธิของผมไหม และ “ท่วงทำนอง” ของคำพูด “ใครเรียนจุฬาฯ จะรู้ว่าที่จุฬาฯเป็นที่พระราชทาน" นั้น แสดงถึง “ระบบความนึกคิด” (ideology) แบบอำนาจนิยมอยู่ในที

และกล่าวอย่างถึงที่สุด ด้วยทัศนคติของคนที่เป็นถึงอาจารย์รัฐศาสตร์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า “พื้นที่เสรีภาพและสิทธิทางการเมือง” ใน “พื้นที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ” ถูกจำกัด (อย่างน้อยก็สำหรับนักศึกษา 3-4 คนนั้น) และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่เสรีภาพและสิทธิทางการเมืองใน “มโนสำนึก” หรือ “ระบบความนึกคิด” ของนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศอย่างน่าสลดหดหู่

 

ปล. อ่านข่าวประกอบที่ http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30744 http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30765 http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30783 และ http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/307686    

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จัด "วันอาทิตย์สีแดง" ถนนคนเดินเชียงใหม่หลังเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 22 Aug 2010 08:02 AM PDT

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้ริเริ่มกิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" และคนเสื้อแดงทั้งจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงประมาณ 300 คน ร่วมกันจัดกิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" สัญจรที่ถนนคนเดิน จ.เชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกวันอาทิตย์

นายสมบัติ กล่าวว่า การมาจัดกิจกรรมสัญจรที่ จ.เชียงใหม่วันนี้ เพื่อขยายและขายความคิดเรื่องการต่อสู้โดยใช้สัญลักษณ์ กิจกรรมวันนี้จะไม่เน้นการปราศรัย จะใช้กิจกรรเชิงการใช้สัญลักษณ์ สร้างวัฒนธรรมใส่เสื้อแดงทุกวันอาทิตย์ โดยครั้งนี้การจัดกิจกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังการเลิกใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ แต่ไม่ใช่การชุมนุมเป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ โดยหวังให้เกิดแรงกดดันให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจใช้เป็นเงื่อนไขใช้ความรุนแรงได้ และหวังว่าจะสามารถขยายแนวร่วมออกไป และพยายามพัฒนารูปแบบการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ให้มีพลังมากขึ้น

โดยกิจกรรมเริ่มต้นที่ ถ.พระปกเกล้า ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. โดยผู้ชุมนุมได้ล้มตัวลงนอนบนพื้นถนนและตะโกน "ที่นี่ มีคนตาย" จากนั้นได้ร่วมกันผูกผ้าแดงบริเวณโคนต้นไม้และเสารอบบริเวณ จากนั้นนายสมบัติได้นำผู้ชุมนุมเที่ยวชมถนนคนเดิน มีการผูกผ้าแดงที่ป้ายถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกกลางเวียง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของถนนคนเดิน จากนั้นผู้ชุมนุมเลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าสู่ถนนราชดำเนินและมุ่งไปที่ข่วงประตูท่าแพ เพื่อนอนลงบนพื้นถนนและตะโกน "ที่นี่ มีคนตาย" อีกครั้ง ก่อนเดินกลับมายัง ถ.พระปกเกล้า ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย

โดยในเวลา 18.30 น. กลุ่ม นปช.แดงเชียงใหม่ ได้นำรถเข็นติดเครื่องเสียงมาดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยชั่วคราว มีแกนนำสลับกันขึ้นปราศรัยในช่วงเวลาหนึ่งก่อนสลายตัวในเวลาประมาณ 20.00 น. เศษ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"มาร์ค" ระบุไทยกำลังก้าวเข้าสู่รัฐสวัสดิการ

Posted: 22 Aug 2010 03:50 AM PDT

วันนี้ (22 ส.ค.) เวลา 09.00 น. ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกับพี่น้องประชาชนในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" เป็นครั้งที่ 82 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้  

ช่วงที่ 1

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุ ฮ.ตก

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่เคารพรักครับ กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับทุกเช้าวันอาทิตย์ เพื่อที่จะรายงานเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาขอเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ที่ผมคิดว่าทำให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ รู้สึกสะเทือนใจ นั่นคือเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรวมทั้งผู้ที่ได้ทำงานเพื่อที่จะผลักดันโครงการตามแนวพระราชดำริ อยากจะขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของผู้เสียชีวิตทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง และขอเรียนครับว่าการเสียชีวิตครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการเสียชีวิตในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วก็คือการไปติดตามโครงการปิดทองหลังพระ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญในแง่ของการเผยแพร่งานที่เป็นงานที่สืบเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ และมีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนที่ยากจนและอยู่ในชนบทที่ห่างไกล  สำหรับตัวท่านปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช) นั้น ผมเองได้มีโอกาสทำงานกับท่าน ซึ่งท่านก็อยู่ในช่วงที่ต้องมาเผชิญกับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งถือว่ายากพอสมควร ทั้งในเรื่องของการทำงานภายในประเทศเอง เช่น ปัญหาของมาบตาพุด ไปจนถึงเรื่องระหว่างประเทศ เรื่องของการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภาวะโลกร้อน ก็ขอแสดงความเสียใจมายังครอบครัวของผู้เสียชีวิตทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ  

เชิญเที่ยวงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ และงาน OTOP

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ยังมีงาน 2 งานที่ขอถือโอกาสประชาสัมพันธ์   วันนี้เป็นวันสุดท้ายของมหกรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำอยู่ที่ไบเทค บางนา และเป็นวันที่จะเริ่มต้นงาน OTOP ที่เมืองทองธานี สำหรับงานของ OTOP นั้นจะจัดได้อีกหลายวัน 21-29 ในเดือนนี้ ส่วนงานของมหกรรมวิทยาศาสตร์ที่ไบเทคนั้น จะจบลงวันนี้ครับ เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน  ผมไปเกือบทุกปี และได้มีโอกาสในการที่จะเห็นถึงความสามารถของคนไทย และสถาบันต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งเอกชนด้วย ที่ได้มีการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ก็อยากจะเชิญชวนพี่น้องประชาชน ถ้ามีเวลาวันนี้เป็นวันสุดท้ายครับ คงถึงประมาณสองทุ่ม อยากจะให้เผื่อเวลาสัก 2-3 ชั่วโมงครับเป็นอย่างน้อยในการที่จะไปเยี่ยมชมงานต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ทั้งที่เป็นงานวิจัยที่ทางด้านการเกษตรก็ดี ทางด้านอื่น ๆก็ดี ทางด้านอุตสาหกรรมไปจนถึงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติด้วยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

การเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนาของภาครัฐเข้ากับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

ซึ่งเมื่อวานนี้นอกจากที่ผมจะได้ไปเยี่ยมชมงานแล้ว ก็เลยได้ใช้โอกาสนั้นพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้มีการพูดถึงปัญหาของงานวิจัย และการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งต้องยอมรับว่าในการประเมินของสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ นั้นก็ยังจัดประเทศไทยให้อยู่ในอันดับที่ไม่ดี และเห็นได้ชัดว่าการเติบโตหรือการขยายตัวของการวิจัย และการพัฒนานั้นยังน้อยเกินไป ส่วนหนึ่งรัฐบาลก็พยายามที่จะผลักดันโดยการแก้ไขในเรื่องของสัดส่วนงบประมาณ ในเรื่องของการทุ่มเทไปยังบางโครงการ เช่น โครงการมหาวิทยาลัยวิจัย แต่ว่าปัญหาพื้นฐานจริง ๆ ก็ยังเป็นเรื่องซึ่งสัปดาห์ที่แล้วก็ได้พูดคุยกับทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองในเรื่องของการที่จะสนับสนุนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มาตั้งแต่การเรียนการสอนในโรงเรียน และที่สำคัญคือว่าการเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนากับทางด้านของภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจหรือภาคสังคม ยังมีน้อยเกินไป  

สิ่งที่ได้มีการปรึกษาหารือกันเมื่อวานนี้ และคิดว่าต่อจากนี้ไปจะเป็นการผลักดันอีกขั้นหนึ่ง ก็คือว่าเราจะเริ่มต้นจากการที่จะให้ทุกหน่วยงาน ที่ทำงานทางด้านการวิจัย และมีโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย  โครงสร้างพื้นฐานที่ว่าก็หมายถึงในเรื่องของอุปกรณ์ ในเรื่องของบุคลากรต่าง ๆ ต้องจัดทำฐานข้อมูลทั้งหมด แล้วก็ส่งข้อมูลนี้มารวบรวมไว้ ก็ตั้งใจว่าจะมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้รวบรวมฐานข้อมูลตรงนี้ไว้ แล้วเสร็จจากนั้นจะให้ฐานข้อมูลนี้สามารถที่จะเปิดไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมได้ ในหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง ก็จะเป็นกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ หรือหน่วยงานกลางอย่างสำนักงบประมาณ แล้วก็จะมีในส่วนของภาคธุรกิจเอกชน เช่น ในส่วนของสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และก็ไปถึงเรื่องของภาคประชาสังคมด้วย ในแง่ของชุมชนต่าง ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สิ่งที่เราคาดหวังคือว่าเมื่อภาคส่วนต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะรับทราบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานทางวิจัยตรงไหน เช่น มีเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ใด ๆ แล้วอยากจะใช้ก็สามารถที่จะติดต่อใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น หลายเรื่องซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทางหน่วยงานของทางด้านวิจัย หรือหน่วยงานภาครัฐมีอยู่ อาจจะใช้เฉพาะในเวลาราชการ แต่ว่าถ้าเรามีข้อมูลตรงนี้ และมีความต้องการที่จะใช้ เราก็จะเปิดโอกาสให้ใช้นอกเวลาราชการได้  

เช่นเดียวกันนะครับการมีฐานข้อมูลตรงนี้ ก็จะทำให้พี่น้องประชาชนหรือเอสเอ็มอี ภาคธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาบางอย่าง โดยต้องการที่จะให้มีการวิจัยเข้ามาสนับสนุนในเรื่องกิจการของตัวเอง ก็จะมีโอกาสทราบว่ามีนักวิจัย หรือมีผู้เชี่ยวชาญทำงานทางด้านที่คาบเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองอยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาอยู่ที่ไหน อย่างไร หลังจากนั้นผมคิดว่าเมื่อเราเริ่มต้นจากก้าวแรกก้าวนี้แล้ว การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมก็ดี ภาคสังคมก็ดี กับงานวิจัยต่าง ๆ ที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น  และจะเป็นการส่งเสริมในที่สุดต่อไปว่าภาคเอกชนกับภาครัฐจะสามารถเข้ามาทำงานทางด้านการวิจัยร่วมกันได้ จะไปดูในเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้นักวิจัยที่จะเป็นนักวิจัยที่สังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานภาครัฐ ไปจนถึงนักเรียนที่กลับมาใช้ทุนในภาครัฐ สามารถไปทำงานร่วมกับภาคเอกชนได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดเราก็หวังว่าจะนำไปสู่การที่เราจะเอางานวิจัยและพัฒนาไปใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง 

เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนามากขึ้น 

ซึ่งคาบเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีสิ่งที่รัฐบาลจะผลักดันอีก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือการที่จะใช้เครื่องมือของการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องของการที่มีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนามากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในสาขาที่มีความจำเป็นในการที่จะต้องนำเอานักวิจัยมาจากต่างประเทศ เพื่อที่จะมาถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งกำลังจะมีการผลักดันให้มีมาตรการใหม่ออกมา เรื่องที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น คือว่าเราจะมีการทำในเรื่องของโครงการที่อยู่ในโครงการการปฏิรูปประเทศ ที่เน้นบทบาทของสถาบันการศึกษา ที่เคยได้ปรารภเอาไว้ในความคิดในเรื่องของ 1 จังหวัด 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งความจริงแล้วคงจะไม่ใช่ 1 มหาวิทยาลัย แต่หมายความว่าในทุกจังหวัดนั้นจะมีการระดมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่นั้น ๆ โดยมี 1 สถาบันที่จะเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบหลัก ในการที่จะเชื่อมโยงเอาความรู้และความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าไปสู่การพัฒนาชุมชนหรือการพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นงานสำคัญที่เราจะได้มีการผลักดันให้เกิดการนำเอางานวิจัย รวมทั้งงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง 

การปรับค่าตอบแทนของภาคราชการให้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน

สัปดาห์ที่ผ่านมามีงานที่อยากจะรายงานให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบอยู่ เรื่องแรกคงจะเป็นเรื่องของระบบราชการ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไม่เพียงแต่เรื่องของการที่จะปรับบัญชีเงินเดือนราชการ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนเมษายนอย่างที่ได้เคยเล่า และพี่น้องประชาชนคงทราบอยู่แล้ว  แต่ว่าได้มีการอนุมัติในโครงการซึ่งจะช่วยปรับในเรื่องของค่าตอบแทนของภาคราชการให้มีความใกล้เคียงกับภาคเอกชนมากขึ้น โดยจุดแรกที่เราเข้าไปดูคือจุดของการบรรจุข้าราชการที่รับเข้าไปเป็นครั้งแรก พูดง่าย ๆ คือว่าบรรดาผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ตัดสินใจที่จะก้าวเข้ามาสู่ระบบราชการ ปัจจุบันเราพบว่าช่องว่างระหว่างเงินเดือนของคนที่จบใหม่เข้ารับราชการกับภาคเอกชน ห่างกันพอสมควร เข้ารับราชการก็ไม่ถึงหมื่น และเราก็มีการดูตัวเลขและกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่จะลดช่องว่างตรงนี้ พยายามจะทำให้เท่าเทียมกันให้ได้ภายใน 5 ปี สิ่งแรกที่เราได้อนุมัติไปคือว่าจะมีการปรับเรื่องของเงินเดือนสำหรับคนที่แรกเข้า หรือเข้ารับบรรจุเป็นครั้งแรกขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท  นั่นเป็นประเด็นแรก  

แต่ว่าที่เราทำมากกว่านั้นคือว่าเราต้องการที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นในเรื่องของการที่จะรับคนเข้าสู่ระบบราชการตั้งแต่แรกเลย ความยืดหยุ่นที่ว่าก็คือว่าปัจจุบันนี้เวลาที่มีการบรรจุเข้ารับราชการ เงินเดือนไม่ว่าจะจบมาจากสถาบันไหน ไม่ว่าจะมีความสามารถพิเศษหรือไม่อย่างไร ก็จะเท่ากันหมด ซึ่งตรงนี้ก็เป็นปัญหาเพราะว่าทำให้แรงดึงดูดของคนที่จะเข้าระบบราชการน้อยเกินไป  สิ่งที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบคือว่านอกเหนือจากการที่จะเพิ่มเงินเดือนที่บรรจุในครั้งแรกแล้ว ยังกำหนดให้มีความยืดหยุ่นคือเป็นช่วง นั่นหมายความว่าจะมีเงินเดือนขั้นต่ำ แล้วก็จะสามารถที่จะมีการเพิ่มให้เงินเดือนที่แรกรับเพิ่มขึ้นได้จากเงินเดือนขั้นต่ำนี้ โดยจะมีการกำหนดปัจจัยสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะไปพิจารณา เช่น ถ้าสมมติว่ามาทำงานในสาขาที่ขาดแคลน ก็จะมีโอกาสได้เงินเดือนสูงขึ้น  ถ้าสมมติว่ามีความสามารถพิเศษ เช่น อาจจะมีความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศที่เป็นที่ต้องการ ก็จะได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง หรือดูจากคะแนนในการสอบ เพราะฉะนั้นคนที่เก่งจริง ๆ เก่งมาก ๆ สามารถที่จะทำคะแนนได้ มีความโดดเด่น ก็จะมีส่วนเพิ่มเข้าไปเป็นเงินเดือนที่เข้ารับราชการตอนแรกแล้วสูงกว่าเงินเดือนขั้นพื้นฐาน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อพยายามที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เราสามารถที่จะดึงดูดให้คนเก่ง ๆ คนดี ๆ เข้ามารับราชการมากขึ้น  และทำให้การรับราชการนั้นมีค่าตอบแทน มีความก้าวหน้า ที่จะเหมาะสม เพราะว่าเมื่อเราปรับเงินเดือนเมื่อแรกรับเข้าแล้ว ในที่สุดแล้วจะมีการไล่ปรับในระดับอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต อันนี้ก็เป็นความพยายามที่จะให้ระบบราชการนั้นยังคงความดึงดูดในการที่จะได้คนดีคนเก่งเข้ามาทำงานเพื่อรับใช้บ้านเมือง ก็เป็นงานสำคัญงานหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไปราคาข้าวน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

เรื่องที่ 2 ที่อยากจะขอใช้เวลาตรงนี้ก็เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาและเรื่องของข้าว เพราะว่าจริง ๆ ขณะนี้สถานการณ์ทางด้านการเกษตรในปีนี้  จะพบว่าราคาสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นยางพารา  มันสำปะหลัง  ข้าวโพด ค่อนข้างจะดีมาก แต่ว่าผลผลิตได้รับผลกระทบจากเรื่องของภัยแล้งอยู่บ้าง รวมทั้งเรื่องของผลไม้ด้วย แต่ว่ามีข้าวครับที่เป็นปัญหาในเรื่องของราคา ซึ่งอันนี้ก็มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่ได้มีการพิจารณากันไปในคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ส่วนหนึ่งก็คือยอมรับครับว่าปัญหาของราคาข้าวที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ก็สืบเนื่องมาจากปัญหาของการแทรกแซงในอดีตของรัฐบาล ในเรื่องของโครงการที่มีการจำนำ และเก็บเอาข้าวมาอยู่ในสต็อกของรัฐบาลจำนวนมาก ก็ขอเรียนว่าขณะนี้แนวทางของรัฐบาลก็ชัดเจนครับคือเร่งระบายข้าวส่วนนี้ออก แต่เป็นการระบายซึ่งจะไม่ให้มีข่าวคราว หรือมีผลกระทบต่อเรื่องของราคาในตลาด ผมอยากจะเรียนเพียงสั้น ๆ ว่าได้มีการดำเนินการไปพอสมควรแล้ว และคิดว่าแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากการมีสต็อกข้าวที่มีผลกระทบต่อราคาในส่วนนี้ เมื่อเข้าสู่ประมาณช่วงปลายปีจะลดลงไปมาก  ซึ่งผมคิดว่าจะมีโอกาสทำให้ราคาข้าวกระเตื่องขึ้นมา พร้อมๆ  กันนั้นก็จะเห็นว่าภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายต่อหลายประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าว ก็คงจะทำให้ความต้องการเทียบกับปริมาณข้าวที่ออกมาสู่ตลาด ตั้งแต่ช่วงปลายปีเป็นต้นไป น่าจะทำให้ราคาข้าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 

ขณะเดียวกันการแทรกแซงในรูปแบบของการประกันรายได้ซึ่งทำมา ก็ได้มีการประเมินผลอย่างกว้างขวาง ก็ขอเรียนว่าในภาพรวม การใช้นโยบายการประกันรายได้ของเกษตรกรก็ได้ช่วยให้การช่วยเหลือของรัฐบาลมีความทั่วถึงมากขึ้นอย่างชัดเจน และไม่เป็นการไปบิดเบือนกลไกตลาด และเป็นแนวทางที่เรามั่นใจว่ามาในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว  เพราะฉะนั้นในฤดูกาลนี้ที่กำลังมีการเพาะปลูกอยู่ ก็มีการเดินหน้าในโครงการของการประกันรายได้ โดยคงในเรื่องของราคาและปริมาณที่เป็นสิทธิที่ให้กับพี่น้องเกษตรกร พี่น้องชาวนา แต่ว่าเรื่องของจำนวนผลผลิตต่อไร่ ที่ใช้คำนวณในการที่จะจ่ายเงินชดเชยนั้นก็มีการปรับขึ้นทั้งในพื้นที่ในและนอกเขตชลประทาน ส่วนปัญหาที่มีอยู่บ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงการประกันรายได้ ก็จะมีการแก้ไขไปโดยลำดับ ประการแรกคือสำหรับกรณีของข้าวนาปรัง และช่วงที่ผ่านมาที่ปรากฏว่าหลายพื้นที่ยังมีการร้องเรียนเข้ามาว่ายังไม่ได้รับราคา หรือการชดเชยที่เป็นธรรม ทางคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามันมีช่วงรอยต่อระหว่างวันที่ 25 กับวันที่ 26 เมษายน ซึ่งทางการไปเปลี่ยนสูตรในการคำนวณราคาอ้างอิง เพราะฉะนั้นทำให้พี่น้องเกษตรกรที่ได้รับเงินชดเชยก่อนวันที่ 26 เมษายนได้รับในอัตราค่อนข้างต่ำ สิ่งที่เป็น มติของคณะกรรมการฯ ขณะนี้ก็คือให้มีการไปคำนวณ โดยใช้สูตรคำนวณราคาอ้างอิง ที่ใช้หลังจากวันที่25 เมษายน ย้อนกลับไปคำนวณ และมีการเพิ่มเงินชดเชยให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ได้ใช้สิทธิ์ก่อนวันที่ 25 เมษายน ซึ่งกำลังจะไปคำนวณตัวเลขในรายละเอียด และคงจะได้มีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจะได้มีการชดเชยเพิ่มเติมต่อไป   

รัฐผลักดันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา

ผมขอเรียนว่านอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว ในส่วนของสวัสดิการของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนาทาง กขช. ก็ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการเช่นเดียวกันครับ ที่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้นไปยกร่างกฎหมายที่จะมาทำในเรื่องของกองทุนสวัสดิการชาวนา หลักคิดตรงนี้ก็คงจะเหมือนกับที่รัฐบาลได้มีการผ่านกองทุนเงินออมแห่งชาติ และกำลังจะนำเสนอเข้าสู่สภาฯ คือจะเปิดโอกาสให้ชาวนา สามารถที่จะนำเงินที่ได้จากการขายข้าว หักออกมาสมทบเข้าเป็นกองทุน และได้รับการสมทบจากรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง เพื่อจะนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชาวนา อันนี้ก็จะเป็นการเพิ่มหลักประกัน และเป็นไปตามแนวทางที่ผมได้พูดตลอดเวลาว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่จะมีระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งพี่น้องเกษตรกรและพี่น้องชาวนาด้วย อันนี้ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ได้มีการผลักดันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

สภาฯ พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ 54 ต่อวันอังคารนี้

สุดท้ายครับสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกันครับ สภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาในเรื่องของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ในวาระที่ 2 แต่ปรากฏว่าหลังจากพิจารณาไปได้ประมาณ 3 วัน ปรากฏว่ายังไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ครบทุกมาตรการ ตรงนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรครับ  เพราะว่าตามกฎหมายนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีเวลาในการพิจารณาเรื่องนี้ถึงวันที่ 26 สิงหาคม ท่านประธานรัฐสภาก็จะนัดให้มีการประชุมต่อในวันอังคาร และถ้ามีความจำเป็นก็เป็นวันพุธอีก 1 วัน  ผมขอเรียนว่าบรรดาประเด็นที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หยิบยกขึ้นมา  โดยเฉพาะในกรณีที่มีความห่วงใยว่ามีโครงการใดหรือการใช้งบประมาณในส่วนไหน ซึ่งขาดความโปร่งใส และก็จะการดำเนินการตรวจสอบ และข้อคิดข้อเสนอแนะหลายอย่างจากสมาชิก ก็เป็นประโยชน์ในการที่จะทำให้เราสามารถปรับปรุงในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณในปีต่อ ๆไปได้ด้วย  ก็ขอความร่วมมือจากเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าคงจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนวันพุธนี้ และรัฐบาลจะได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีฯ เสนอต่อวุฒิสภาต่อไป สำหรับสัปดาห์นี้คงจะใช้เวลาเพียงเท่านี้ เดี๋ยวกลับมาเราจะมาพูดคุยกับทางพิธีกรรับเชิญในเรื่องของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องของการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ซึ่งก็มีความคืบหน้าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกันครับ

ช่วงที่ 2

ผู้ดำเนินรายการ (นายวีระ ธีรภัทร) สวัสดีครับคุณผู้ชมครับ กลับมาพบกับรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ วันนี้ผมได้เป็นพิธีกรรับเชิญที่มาพูดคุยในการรายการนะครับ ก็คงจะมีหลายเรื่องที่จะพูดคุยรวมทั้งที่ท่านนายกฯ ทิ้งท้ายไว้ว่าจะคุยเรื่องหนี้นอกระบบด้วย รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจเรื่องอะไรทั้งหลายทั้งปวงที่จะต้องคุยกัน สวัสดีครับท่านนายกฯ ครับ

นายกรัฐมนตรี สวัสดีครับ

ผู้ดำเนินรายการ เกือบปีนะครับไม่ได้เจอกัน ครั้งที่แล้วไปสหรัฐอเมริกา

นายกรัฐมนตรี สหรัฐอเมริกาก็เกือบ ๆ ปีพอดีครับ

ผู้ดำเนินรายการ คนก็ไม่คิดว่ารัฐบาลจะอยู่กันได้ยาวนานขนาดนี้ ขนาดนี้ก็เป็นอีกบรรยากาศหนึ่งครับ ก่อนที่จะไปคุยเรื่องหนี้นอกระบบนี้ เมื่อกี้นี้ท่านนายกฯ ทิ้งท้ายไว้เรื่องเกี่ยวกับงบประมาณ ในการพูดคุยเรื่องงบประมาณผมก็เข้าใจว่ามีหลาย ๆ คนพูดถึงเรื่องหนี้เหมือนกัน

นายกรัฐมนตรี หนี้สาธารณะ

ผู้ดำเนินรายการ หนี้สาธารณะ ผมคิดว่าถ้าอย่างนี้เราแบ่งออกเป็น 3 ก้อนนะครับ

นายกรัฐมนตรี ได้ครับ

ผู้ดำเนินรายการ ก้อนหนึ่งเรื่องหนี้สาธารณะ ก้อนหนึ่งอาจจะเป็นหนี้ของธุรกิจ และอีกก้อนหนึ่งจะเป็นหนี้ของครัวเรือนหรือประชาชนซึ่งจะมีส่วนหนึ่งเป็นหนี้นอกระบบ และส่วนหนึ่งเป็นหนี้ในระบบ ผมจะค่อย ๆ ไล่ไปนะครับ เพราะส่วนของหนี้นอกระบบผมเข้าใจว่าท่านนายกฯ ได้มีแคมเปญใหม่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เอาเรื่องหนี้นอกระบบก่อน ผมฟังแล้วได้เกิดความสับสน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณรายจ่ายปี 54

นายกรัฐมนตรี หนี้สาธารณะก่อน

ผู้ดำเนินรายการ หนี้สาธารณะ ในงบประมาณรายจ่ายปี 54 ที่รัฐบาลตั้ง เป็นงบประมาณใช้คืนเงินกู้ แล้วก็ใช้คืนเงินต้นด้วย ส่วนที่เป็นเงินกู้นี้ใช้คืนเงินต้นแค่ประมาณสัก 30,000 กว่าล้านถ้าผมจำไม่เป็นนะครับ และที่ใช้คืนเป็นดอกเบี้ยแต่ละปีที่เกิดขึ้นประมาณเกือบ ๆ 180,000 ล้านบาท คำถามที่คนถามคือว่า ทำไมรัฐบาลจ่ายดอกเยอะจัง ทำไมไม่ใช้ต้นเลย มันมีกฎเกณฑ์อะไรที่มันเกี่ยวข้องในงบประมาณรายจ่าย

นายกรัฐมนตรี คือเอาตัวดอกเบี้ยที่เยอะก่อนนะครับ หลายคนทราบว่าจริง ๆ แล้วดอกเบี้ยของเงินกู้ก้อนใหญ่ตรงนี้มาจากวิกฤตเศรษฐกิจรอบที่แล้ว คือปี 2540 ซึ่งระบบสถาบันการเงินทั้งหมดมีปัญหา และสุดท้ายหนี้ตัวนี้ก็เข้ามาสู่การเป็นหนี้ของรัฐบาล และเป็นเงินก้อนใหญ่ เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็ค่อนข้างจะเยอะนะครับ จริง ๆ แล้วทางกระทรวงการคลังเขาก็จะมีหน้าที่ในการที่จะคอยดูอยู่ตลอดเวลา ว่าตรงไหนจะสามารถที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อจะนำไปสู่การบริหารหนี้ไม่ให้เป็นภาระมากจนเกินไป เพราะฉะนั้นส่วนไหนนะครับที่สามารถที่จะชำระต้นเงินได้เร็วขึ้น มีประโยชน์ ถามว่าทำได้ สัญญาหรือตัวมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องนี้อนุญาตให้ทำได้เขาก็จะทำนะครับ พร้อม ๆ กันไปนี้

ผู้ดำเนินรายการ คล้าย ๆ กับว่าชำระก่อนกำหนด

นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ๆ เพราะฉะนั้นก็จะทำตลอดเวลานะครับในการที่จะลดภาระตรงนี้ เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่ที่มาถกเถียงกันนี้ ก็คือความคิดที่ว่าหนี้ตรงนี้มาจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย จะรับกลับคืนไปได้ไหมอย่างไร ก็เป็นที่ห่วงใยกันในเรื่องของ ใช้คำว่าคลังหลวงบ้าง อะไรบ้างนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ยังไม่ได้มีการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไร

ผู้ดำเนินรายการ เงินต้นที่เป็นยอดคงค้างอยู่นี้ยังไม่มีการชำระสะสาง เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็จะต้องเกิดขึ้นแต่ละปี ๆ

นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ๆ ทีนี้ก็เมื่อพูดถึงตรงนี้ก็ดีแล้วนะครับ เพราะว่าคำว่าหนี้สาธารณะนี้หลายคนก็มีความวิตกกังวลกันมากนะครับว่า เกิดมาแล้วมีหนี้เท่าไรอะไร เกิดขึ้นมาปั๊บรับหนี้ไปแล้วจะต้องใช้เงินกันเมื่อไรอย่างไร

ผู้ดำเนินรายการ เอาหนี้สาธารณะเป็นตัวตั้งปั๊บ เอาจำนวนประชากรหารว่ามีคนหัวละ 80,000 - 100,000 อะไรอย่างนี้

นายกรัฐมนตรี สิ่งที่ผมอยากจะเรียนก็คือว่า อันนี้เป็นเรื่องของการบริหารงบประมาณนะครับ ผมว่าไม่มีประเทศไหนในโลกที่ไม่มีหนี้สาธารณะนะครับ เพราะว่ารัฐบาลจะมีบทบาทอยู่เรื่อย ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจบ้าง เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ รวมไปถึงการลงทุนของรัฐบาลเอง ในโครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง รถไฟ ซึ่งอาจจะมีเอกชนเข้ามาร่วมบ้าง แต่ว่ายังมีอีกหลายส่วนนะครับ อย่างน้อยโรงเรียนโรงพยาบาลอะไรต่าง ๆ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนไปก่อน เพราะฉะนั้นหนี้ตรงนี้จะเกิดขึ้น รัฐบาลทุกรัฐบาลจะมีหนี้ ถามว่ารัฐบาลเอาเงินที่ไหนมาใช้หนี้ ผมก็พูดมาตลอดครับรัฐบาลไม่มีเงินของตัวเองหรอก รัฐบาลก็เก็บจากประชาชน เก็บจากอะไร จากภาษีอากร ทีนี้ถามว่าหนี้สาธารณะนี้ถ้ามันมีมากขึ้น ๆ ๆ มันไปอันตรายตอนไหน 1. ก็คือบอกว่าถ้าหนี้มันเริ่มเพิ่มเร็วกว่ารายได้ของรัฐ ก็เหมือนกับตัวคนหรือเหมือนกับองค์กร ในที่สุดก็เหมือนกับล้มละลายนะครับ หรือ 2.

ผู้ดำเนินรายการ คือหามาเท่าไรก็ใช้แต่หนี้ก็หมด

นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเอาเงินมาใช้อย่างอื่นแล้ว และก็ไม่พอด้วยอะไรอย่างนี้นะครับ ซึ่งพอเกิดอย่างนั้นปั๊บนี้หมายความว่าเจ้าหนี้เขาก็จะเริ่มมีปัญหากับเรา เขาก็จะไม่ให้เรากู้เพิ่ม ไม่ให้อะไรต่าง ๆ นะครับ 2. นี้ถ้าหากว่าหนี้สาธารณะมันเพิ่มขึ้นรวดเร็วนะครับ จนกระทบกับความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นนี้ก็หมายความว่าจะทำให้เจ้าหนี้บอก อย่างนี้ประเทศนี้ไม่น่าให้กู้แล้ว

ผู้ดำเนินรายการ หนี้ใหม่ไม่ให้กู้ หนี้เก่าหรือว่า

นายกรัฐมนตรี หรือว่าคิดดอก ดอกขึ้น หรือเรียกเงินกลับคืนเร็วขึ้นหรืออะไรต่าง ๆ อันนี้ก็จะเป็นปัญหา ทีนี้ผมก็ขอยืนยันนะครับ หลายคนบอกรัฐบาลชุดนี้เข้ามากู้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ที่จริงไม่ใช่หรอกครับ ไม่ใช่หรอกครับ ผมยกตัวอย่างว่า เดิมนี้เราเจอวิกฤตที่ต้องถือว่าแรงที่สุด เราก็คิดว่าต้องกู้เยอะ เราก็บอกว่าประกาศว่าเราพร้อมจะกู้ 800,000 ความจริงถึงกู้ครบ 800,000 นะครับ และหนี้สาธารณะอาจจะขึ้นไปแตะเกือบจะ 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ผลิตภัณฑ์มวลรวมนี้ก็ถือว่าอยู่ในระดับซึ่งสากลยอมรับได้นะครับ และก็เวลานี้บอกได้เลยว่าปีที่ผ่านมาในที่สุดนี้ พอเศรษฐกิจฟื้นเร็วกว่าที่คิด เราก็บอก 400,000 หลังไม่กู้ ลดมาครึ่งหนึ่งแล้ว และก็แถมที่เราบอกว่าต้องกู้มาชดเชยงบประมาณขาดดุล เดิมนี้งบไม่ใช่ที่พูดกันในสภาฯ นะ งบที่ใช้อยู่ขณะนี้ จะขาดดุล 350,000 ล้านนะครับ แต่พอผ่านมาจะครบ 12 เดือนนี้ปรากฏว่าจัดเก็บรายได้เกินเป้า อาจจะขาดดุลไม่กี่หมื่นล้าน หรือถ้าโชคดีจริง ๆ อาจจะกลายเป็นงบประมาณสมดุลก็ได้

ผู้ดำเนินรายการ อันนี้อาจจะเกี่ยวกับเรื่องส้มหล่นได้เงินมาอีก 40,000 กว่าล้าน

นายกรัฐมนตรี นั่นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งนะครับ แต่ว่าเรื่องใหญ่ก็คือว่าฐานะในเรื่องของหนี้มันดีกว่าที่หลายคนคาดการณ์เอาไว้นะครับในช่วงที่เกิดวิกฤต และก็เสร็จสรรพขณะนี้ก็บอกว่าหนี้สาธารณะเพิ่มจากประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์มาเป็น 42 -43 -44 ไม่น่าจะเกินนี้มากนัก ซึ่งใครที่อ่านข่าวเศรษฐกิจระหว่างประเทศนี้จะทราบ ประเทศในภูมิภาคขณะนี้ปวดหัวกันหมด ของเขาขึ้นไปเกิน 100 ก็มี 80 - 70 -60 และไม่มีประเทศไหนปีที่ผ่านมาไม่เพิ่มขึ้นสักประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ละครับ เพราะว่าทุกคนจำเป็น

ผู้ดำเนินรายการ ก็ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้ตังค์

นายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่ารัฐบาลได้ดูอยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าหนี้ตรงนี้กำลังจะทำให้ประเทศล้มละลาย หรือลูกหลานเราเกิดขึ้นมาแล้วไม่มี โอ้โหต้องมาปวดหัว ไม่มีปัญหาในการที่จะมาใช้หนี้ ไม่มีกรณีอย่างนั้น มันเป็นเรื่องการบริหารปกติของรัฐบาลครับ

ผู้ดำเนินรายการ ถ้าหนี้สาธารณะหรือหนี้ของรัฐบาลไม่เป็นปัญหานี้ ขณะนี้ที่มาโพกัสกันหรือมาให้ความสนใจกันนี้ ผมเข้าใจว่าคงจะเป็นหนี้ของประชาชน

นายกรัฐมนตรี ก่อนไปถึงตรงนั้นอีกนิดเดียวก็คือว่าอย่างที่บอกว่าเงินที่จะเอามาใช้หนี้ในที่สุดก็คือภาษี สิ่งที่ยืนยันว่าไม่ต้องกังวลก็คือ ขณะนี้รัฐบาลไม่มีความคิดว่าจะต้องเพิ่มภาษีเพราะมีปัญหาเรื่องการขาดดุล

ผู้ดำเนินรายการ เคยเก็บเท่าไรก็เก็บเท่านั้น

นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ คือเก็บเท่าไรนี้อัตรานะครับ แต่ว่าการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้นเพราะยังมีคนจำนวนเยอะซึ่งไม่ได้เสียและควรจะเสียนี้นะครับ นั่นก็ส่วนหนึ่งที่จะต้องทำ กับเรื่องของแม้กระทั่งภาษีที่เราจะปรับโครงสร้าง เช่น ภาษีที่ดินทรัพย์สินนี้ เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ว่าอยากจะได้เงินเข้ามาเพิ่ม เป้าหมายอยู่ที่ว่าลดความเหลื่อมล้ำ อยู่ที่เรื่องของการปล่อยให้ทางท้องถิ่นเขามีรายได้ของตัวเองมากขึ้น มีภาษีอยู่สองตัวเท่านั้นที่ผมพูดมาตลอดว่าผมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือเหล้ากับบุหรี่ อันนี้ก็เพื่อเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าเราไม่สนับสนุนในเรื่องของเหล้ากับบุหรี่

ผู้ดำเนินรายการ แต่ที่ท่านนายกฯ พูดถึงก่อนจะไปหนี้นอกระบบ  หนี้ประชาชน ท่านนายกฯ พูดอย่างนี้ก็ดีแล้วนะครับ คือขณะนี้รัฐบาลท่านนายกฯ เข้ามานี้มันมีหลาย ๆ อันซึ่งผมคิดว่ามันเป็นค่าใช้จ่ายประจำ อันเกิดจากการให้สวัสดิการคนมีรายได้น้อย ยกตัวอย่างเช่น 500 บาท เบี้ยยังชีพ หรือโครงการเรียนฟรี พวกนี้พอเข้าเป็นงบประมาณแล้วมันเลิกไม่ได้ ส่วนใหญ่มันจะเลิกไม่ได้

นายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่จะเลิกไม่ได้

ผู้ดำเนินรายการ รัฐบาลไหนมาถ้าเกิดอีกหน่อยเลิกจ่ายเงิน 500 บาทให้กับคนผู้สูงอายุ ผมคิดว่าเสร็จแน่นอนนะครับ เพราะฉะนั้นพวกนี้มันเป็นรายจ่ายที่อยู่ในนั้น ฝังอยู่ แล้วมันก็จะเพิ่มพูน ๆ ถ้าต่อไปเพิ่มจาก 500 เป็น 600 / 800 จำนวนคนเพิ่มขึ้นอย่างนี้ แบบนี้ในระยะยาวถ้ารัฐบาลอื่นมาทำอย่างอื่นอีก ไปแจกอย่างอื่นอีกหรือไปเพิ่มอย่างอื่นอีกนี้ พวกนี้มันจะทำให้ภาระที่เป็นงบประจำนี้มันมากขึ้น ๆ ๆ ถ้ารายได้มันไม่สัมพันธ์กันอย่างนี้มันก็จะเป็นปัญหาได้

นายกรัฐมนตรี เราดูล่วงหน้าครับ เราดูล่วงหน้า อย่างสิ่งที่ผมพูดถึงว่าเกี่ยวข้องกับสวัสดิการทั้งหมดนี้ เราก็ตั้งใจว่าพอถึงปี 2559 ทุกอย่างเข้าระบบ คำว่าเข้าระบบนี้ พูดฟังเหมือนน่ากลัวว่าเอามาเข้าระบบทำไม จริง ๆ ยังไงก็มันมาจากตรงนี้อยู่แล้ว เพียงแต่เดิมค่อนข้างจะเป็นนโยบายประเภทที่ว่าเฉพาะกิจบ้างอะไรบ้างนะครับ และก็มีความไม่แน่นอน และก็สุดท้ายนี้ผมว่ามันไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดหลักประกันความมั่นคงนะครับ ทีนี้เราก็เอาให้ชัดนะครับว่าต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือว่าโครงการเรียนฟรีมันเป็นบริการพื้นฐานที่รัฐต้องให้ โดยส่วนตัวนี้ผมมองว่ารูปแบบของโครงสร้างเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายทางสังคมยังไงก็ต้องเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามเราจะมองว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ ระยะหลังเราจะเห็นว่าภาครัฐจะทำน้อยลง เพราะเอกชนสามารถที่จะเข้ามาทำได้ เพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องปรับเหมือนกันว่า พูดง่าย ๆ คนที่รับภาระกับการลงทุนทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ใช่ผู้เสียภาษีทั้งหมด อาจจะต้องแบ่งกันบ้างกับคนที่ใช้บริการ คนที่ได้ประโยชน์โดยตรง ใช่ไหมครับ เหมือนกับว่า สมมติเราเอาเงินไปสร้างทางด่วน คนเขาก็ถามอยู่เสมอ หรือแม้กระทั่งรถไฟฟ้านี้ อ้าวแล้วถ้าเกิดผมไม่ได้ใช้ทำไมผมต้องเสียภาษีด้วย เราก็ต้องหาความพอดีตรงนี้ ซึ่งผมคิดว่าในอนาคตนี้คนที่ใช้บริการคงต้องรับในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ภาษีอากรน้อยลง แล้วเอาภาษีนี้มาทำงานทางด้านสังคมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนี้ผมคิดว่าเรื่องของการที่บอกว่ามันจะบานปลายหรือเปล่า แนวทางรัฐบาลนี้ก็ถือว่าเราจะใช้ระบบที่เอาเรื่องอื่นเข้ามาเสริมได้ อย่างผู้สูงอายุ ก็คือคนที่พูดง่าย ๆ เกษียณอายุแล้ว บอกว่าอยากจะมีบำนาญ แต่ตอนนี้ได้เบี้ยยังชีพ 500 บาท เราก็ไม่ได้กระโดดไปเพิ่มเป็น 800 / 1,000 บาท ความจริงตอนนี้ถ้าเริ่มเจออสม. เริ่มเจอผู้สูงอายุ เขาบอกแหมเมื่อไรจะขึ้น แต่เราก็จะพยายามบอกว่า

ผู้ดำเนินรายการ บางคนเป็นทั้งอสม.ด้วยทั้งสูงอายุด้วย

นายกรัฐมนตรี ใช่ ๆ คือเราจะดูตัวเลขของจำนวนคนครับ และเรารู้ล่วงหน้าด้วยพอสมควรว่าผู้สูงอายุจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร ๆ นี้ เราก็จะต้องคำนวณอยู่ตลอดเวลาให้มันพอดีกับเรื่องสถานะทางการคลัง กับสองก็คือว่า จะเห็นว่ารัฐบาลก็เริ่มผลักดันกองทุนเงินออมแห่งชาติ เมื่อกี้ก็พูดกองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อส่งสัญญาณว่าอะไร ว่าในที่สุดแล้วไม่ใช่ว่าอายุ 60 แล้วคิดว่า

ผู้ดำเนินรายการ รอรัฐบาลจ่ายเงินอย่างเดียวไม่ได้

นายกรัฐมนตรี คุณต้องออมด้วย

ผู้ดำเนินรายการ เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนยังไม่ 60

นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ 18 ปีอะไรนี้ต้องเริ่มออมเลย แล้วออมแล้วรัฐบาลช่วยสมทบเงินให้

ผู้ดำเนินรายการ เป็นแบบ Counter Fund คนออมก้อนหนึ่ง รัฐบาลจ่ายเงินให้อีกก้อนหนึ่ง อายุ 60 ก็รับเงิน

นายกรัฐมนตรี เพราะเวลานี้คนที่เป็นข้าราชการเขาก็มี กบข. คนที่อยู่ในประกันสังคม เขาก็มีประกันสังคม นายจ้างจ่าย ลูกจ้างจ่าย เราจ่าย รัฐบาลจ่าย ทำไมเราไม่ให้ชาวนา ทำไมเราไม่ให้คนประกอบอาชีพอิสระ นี่ก็คือแนวคิดรัฐบาล ต่อไปนี้ทุกคนมีอย่างนี้หมด พอทุกคนมีอย่างนี้หมด แรงกดดันต่อไปในอนาคตเรื่องเบี้ยยังชีพ ก็จะเบาลงครับ

ผู้ดำเนินรายการ อันนี้จะได้เห็นในรัฐบาลชุดนี้ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี กองทุนเงินออมแห่งชาติขณะนี้

ผู้ดำเนินรายการ อยู่ที่กฤษฎีกา

นายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วครับ เสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นก็เสนอเข้าสภาฯ ในสมัยประชุมนี้ ส่วนจะได้เห็นไหมอยู่ที่สภาฯ ว่าจะออกมาให้ผมก่อนหรือเปล่านะครับ ส่วนกองทุนสวัสดิการชาวนาก็ตามหลังไป ยังช้าอยู่เพราะว่าอยู่ในขั้นของการยกร่าง

ผู้ดำเนินรายการ ที่จริงคุยเรื่องหนี้มันก็มีหลายมิติ อย่างหนี้สาธารณะ สังเขปอย่างนี้ กลับมาทางหนี้ ผมจะข้ามหนี้ภาคเอกชนไปเลยเพราะคิดว่าหนี้ภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจเขากู้สถาบันการเงิน เขาอาจจะมีปัญหาหลักประกันกู้ไม่ได้อะไรก็สุดแท้แต่

นายกรัฐมนตรี แต่ความจริงก็มันแยกกันเสียทีเดียวก็ไม่ได้นะครับ เพราะเวลาเราพูดหนี้ หนี้ครัวเรือนหรือหนี้นอกระบบ เราจะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว หลายคนก็คือหนี้ ธุรกิจน่ะแหละ เพียงแต่เขาเป็นเอสเอ็มอี เล็กมาก ๆ เท่านั้นเอง

ผู้ดำเนินรายการ ก็เลยไปกู้หนี้ยืมสินตั้งวงแชร์ ทีนี้ถ้าเป็นของเอกชน ผมคิดว่าประชาชนขณะนี้มีปัญหาเรื่อง ถ้าพูดถึงหนี้นอกระบบ คือไม่ได้กู้กับสถาบันการเงิน ผมเข้าใจว่ารัฐบาลนี้พยายามทำอะไรในช่วงตั้งแต่ปีที่แล้ว มีการให้ไปลงทะเบียน มีคนมาลงทะเบียน 1,200,000 ราย เสร็จแล้วไปกรองไปคัด ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พูดคำว่า Kick off เริ่มจัดระบบว่าถ้าเกิดคนชำระหนี้ ให้กู้ไป 400,000 กว่าคนเป็นเงินประมาณ 40,000 กว่าล้าน แล้วเริ่มชำระหนี้ รัฐบาลก็พยายามจะจัดระบบ มีที่เรียกว่า ลดหนี้ มีวินัย ใช้การเงินอะไรประมาณอย่างนี้ นี่เป็นแคมเปญที่ท่านนายกฯ ออกไปเมื่อวันจันทร์ อะไรครับนี่ คำถามคืออะไรครับนี่

นายกรัฐมนตรี กระโดดไปถึงตรงนั้นเลยหรือ ผมนึกว่าจะคุยตั้งแต่ว่าแก้ไปกี่คน

ผู้ดำเนินรายการ ได้ ๆ แล้วผมจะตัดกลับมาอีกที

นายกรัฐมนตรี ได้ครับ เอาอย่างนี้ดีกว่าว่า พอเราเริ่มโอนหนี้ของคนซึ่งเป็นหนี้นอกระบบ ให้ธนาคารแล้ว คือหมายความว่าตอนนี้ปลดปล่อยเขาออกจากเจ้าหนี้นอกระบบ ซึ่งมาทวงเงินกันทุกวัน ๆ ดอกเบี้ยมหาโหดอะไรนี้นะครับ เข้ามาสู่ระบบแล้ว อาจจะเป็นธนาคารออมสิน ธนาคาร ธ.ก.ส. หรืออะไรก็ตามนี้นะครับ เราก็จะออกบัตรอันนี้ให้นะครับ ถามว่าบัตรอันนี้ให้เพื่ออะไร คำตอบคือเราย้ำมาตลอดว่า การแก้หนี้นอกระบบนี้ไม่ใช่โอนเงินแล้วก็จบ

ผู้ดำเนินรายการ ไม่ใช่ใช้หนี้แทนด้วย

นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ใช้หนี้แทนด้วยนะครับ แล้วโอนเข้ามามันอาจจะไม่จบ ไม่จบเพราะอะไร เพราะว่าถ้าเขาเป็นลูกหนี้ไม่ดี ก็กลายเป็นหนี้เสียอีก วันข้างหน้าเดี๋ยวก็ต้องมาเรียกร้องอีกว่าทำอย่างไร ปลดหนี้ พักหนี้ แฮร์คัทอะไรต่าง ๆ ใช่ไหมครับ กับสองนี้ก็คือว่า พอเขาโอนเข้ามาแล้วคงไม่ได้หมายความว่าเขาอาจจะไม่มีความต้องการในการที่จะได้วงเงินเพิ่ม เราจะส่งสัญญาณอย่างไร เราก็คิดกันว่าถ้าอย่างนั้นเมื่อโอนเข้ามาแล้วให้เขาเป็นลูกหนี้ที่ดี ถึงใช้คำว่า นายหรือนางสาวนะ คนไทย วินัยดี วินัยดีคือะไร หมายความว่าพอโอนหนี้เข้ามาแล้วนี้คุณส่งเงิน ดอกเบี้ยทุกงวด ทุกเดือนอะไรนี้นะครับได้ครบตามที่ตกลงกันไว้ พอถ้าครบตรงนี้ บัตรนี้ คือใครเข้าโอนปั๊บ เข้ามาสู่ระบบปั๊บได้บัตรนี้ แล้วก็มีบาร์โค้ด พอชำระหนี้เสร็จปั๊บครบทั้งปี เราก็บอกเลยว่าธนาคารจะมีวงเงินให้กู้เพิ่ม ครึ่งหนึ่งของที่เขาจ่ายเข้าไป อันนี้เพื่ออะไร เพื่อส่งเสริมว่าเมื่อคุณเข้ามาแล้วนี้ถ้าคุณมีวินัย วินัยดีอย่างที่ว่านี้ก็จะได้รับการลดหนี้ มีวงเงินอย่างที่ว่า แล้วตรงนี้ก็จะมีเรื่องสิทธิ เรื่องประกันชีวิต เรื่องอะไรต่าง ๆ อีกนะครับ เพื่อที่จะบอกอะไรครับ เพื่อที่จะบอกว่าการที่เราจะแก้ปัญหาหนี้สินให้มันยั่งยืนนี้ สุดท้ายยังต้องกลับมาในเรื่องของวินัย และเรามีแต่ คือเรามักจะเห็นแต่บทลงโทษใช่ไหม มีค่าปรับฟ้องร้องอะไรต่าง ๆ แต่ขณะนี้เรากำลังจะจูงใจว่า ถ้าคุณมีวินัย มันมีสิ่งตอบแทน

ผู้ดำเนินรายการ ผมถามอย่างนี้ดีกว่าว่า วิธีการแก้หนี้ ผมจำสมัยรัฐบาลทักษิณ ก็คือพักหนี้ 3 ปี รัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยส่วนต่างให้กับเจ้าหนี้ ของรัฐบาลท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวลามองหนี้ประชาชน ซึ่งผมคิดว่าเป็นกว้าง ๆ นี่นะครับ ซึ่งที่มันมีซอยแยกย่อยเยอะนี้ บางคนกู้ไม่ได้ก็เป็นปัญหาหนึ่ง บางคนกู้มาแล้วใช้ไม่ได้ก็เป็นปัญหาหนึ่ง บางคนกู้ในระบบไม่ได้ก็ต้องไปกู้นอกระบบ ก็เป็นปัญหาหนึ่ง อันนี้เวลาเราเข้าไปรับกับปัญหาเรื่องหนี้ของภาคครัวเรือนแบบนี้ อีรุงตุงนังสังขยาแบบนี้ มันต่างจากที่สมัยรัฐบาลเดิมเขาทำอย่างไร

นายกรัฐมนตรี คือรัฐบาลเดิมมีพักหนี้ด้วยนะครับ แล้วก็เคยมีขึ้นทะเบียนแบบนี้

ผู้ดำเนินรายการ ขึ้นทะเบียนคนจน เขาใช้คำว่าขึ้นทะเบียนคนจน

นายกรัฐมนตรี แต่เขาจะแยกว่าคนจนมีปัญหาเรื่องที่ดิน ปัญหาเรื่องอะไร ขึ้นไปแล้วตอนนั้น 1.7 ล้าน แล้วก็แก้ไปได้ประมาณ 80,000 คน แต่ว่าเรื่องพักหนี้ก็หมายความว่า 3 ปีนั้นรัฐบาลก็ช่วย แต่ว่าพอครบ 3 ปีก็กลับไปเป็นสาธารณะเดิม ทีนี้ที่เราแก้นี้ขณะนี้คือหนี้นอกระบบนี้ คือพวกที่ไปกู้เงินจากในชุมชน จากใครต่อใคร แล้วดอกเบี้ยโหดมาก ๆ นะครับ แล้วก็ทวงกัน แล้วก็มีปัญหาอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามา เราก็เริ่มต้นจากการให้มาขึ้นทะเบียนก่อน ก็ขึ้นมา 1.2 ล้าน เราก็คิด จริง ๆ ตอนนั้นเราคิดว่าแก้ได้สัก 200,000 - 300,000 คนก็ถือว่าเยอะแล้วนะครับ แต่หลักคิดของเราคืออะไร ไม่ใช่รัฐบาลไปจ่ายหนี้ให้ ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ไม่เป็นไรผมรับหนี้มา

ผู้ดำเนินรายการ รัฐล้างหนี้ให้ ไม่ใช่

นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ เราเพียงแต่บอกว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะมานั่งจ่ายดอกเบี้ยกัน 5 เปอร์เซ็นต์ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน และวันจันทร์ที่ผมไปงานเขานี้ เจอคนที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน นะครับ กู้มา 200,000 จ่ายวันละ 2,000 มันเป็นไปไม่ได้หรอก เราก็บอกว่าอย่างนี้มันไม่ไหว แล้วสุดท้ายนี้ก็ครอบครัวล่มสลาย ค่าตัวตาย หรือว่าทวงหนี้กันแล้วก็ต้องไปฆ่าแกงกัน

ผู้ดำเนินรายการ ลงไม้ลงมือกัน

นายกรัฐมนตรี ใช่ เราก็บอกว่าว่าไม่เอาแล้ว อยู่กันแบบนี้ สิ่งแรกที่เราทำก็คือว่า ให้ฝ่ายปกครอง มหาดไทย และตำรวจเขาช่วยด้วย เอาเจ้าหนี้ ลูกหนี้ มาประนีประนอมกัน คุณอย่าอยู่อย่างนี้เลย เจ้าหนี้คุณก็ได้ไปพอสมควรแล้ว

ผู้ดำเนินรายการ จะผ่อนผันผ่อนเกณฑ์อะไรก็ทำ

นายกรัฐมนตรี หรือประนอมหนี้กันได้ไหม ขั้นตอนนี้จาก 1.2 ล้าน ก็ได้ประมาณสัก คือก่อนจะถึงตรงนี้ก็มาตกลงกันประมาณ 700,000 ราย แล้วก็ตกลงกันได้ 600,000 อีก 500,000 ที่หายไปนี้ผมก็พยายามให้เขาไปไล่ดูเพราะอะไร มีอย่างที่คุณวีระพูดนะครับ ส่วนหนึ่งบอกว่าเข้าใจว่ารัฐบาลจะจ่ายให้อะไรอย่างนี้

ผู้ดำเนินรายการ จะล้างหนี้ให้

นายกรัฐมนตรี จะล้างหนี้ให้ รัฐบาลไม่ล้างให้ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการอะไรอย่างนี้มี แต่ว่าสุดท้ายพอ 600,000 ตกลงกันได้ เราก็บอกว่าหนี้อันนี้ให้ธนาคารเขาไปเอามาจากเจ้าหนี้นั่นแหละ แล้วก็จะได้เข้ามาสู่ระบบที่มันพอไหวหน่อย อัตราดอกเบี้ยที่มันสมเหตุสมผล

ผู้ดำเนินรายการ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน หรือว่าจะเป็น 0.75 สุดแท้แต่ว่า คือมันลดลงไปเยอะ

นายกรัฐมนตรี ลดลงไปเยอะนะครับ อย่างรายที่ผมพูดเมื่อกี้ 200,000 เคยจ่ายวันละ 2,000 ตอนนี้จ่ายเดือนละ 3,800 เท่านั้น อย่างนี้เขาก็จะลืมตาอ้าปากได้นะครับ ก็เอาเข้ามา ทีนี้ตอนเอาเข้ามามันก็ต้องมีหลักเกณฑ์บ้างนะครับ เราจะไปบังคับธนาคารบอกว่าคุณต้องรับมามันไม่ได้ เพราะเขาก็ต้องดูฐานะ

ผู้ดำเนินรายการ เขาเป็นคนปล่อยกู้ ถ้าเกิดเขาตึงเกินไป เสียหายเขาก็แย่อีก

นายกรัฐมนตรี ครับ หรือว่าสุดท้ายถึงเขาเสียหายเขาก็คงวิ่งมาขอรัฐละครับ ถ้ารัฐไปทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเขาก็จะวางหลักเกณฑ์เรื่องว่า มีคนมาค้ำประกันมาอะไร ทีนี้บางทีก็เข้าใจผิด หรืออาจจะไม่ผิดแต่ไม่อยากให้กู้หรืออย่างไรไม่ทราบ ทั่วประเทศที่ร้องผมมามากที่สุดตอนนั้นก็บอกว่า ต้องไปหาข้าราชการมาค้ำ ความจริงไม่ใช่ข้าราชการ เราก็กำหนดหลักเกณฑ์ว่าใครก็ได้ แต่ว่ามีรายได้ รู้สึกว่าจะ 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้ ก็ทำกันมา แล้วก็ช่วงหนึ่งก็ปรากฏว่ามีหลายคนบอกหาคนค้ำประกันไม่ได้ เราก็วิ่งไปเอา บสย. มาช่วยค้ำประกันให้ ตอนนี้ก็เลยทำไปได้เกิน 400,000 รายแล้ว เข้ามาสู่แล้วก็จะมีบัตรอย่างนี้ครับ 400,000 ราย แล้วก็คิดว่าน่าจะเดินต่อไปได้อีกประมาณสักเกือบ 100,000 เหมือนกัน

ผู้ดำเนินรายการ ที่ตกค้างหรืออาจจะมี

นายกรัฐมนตรี ที่ยังอยู่ในกระบวนการ

ผู้ดำเนินรายการ ถ้าเกิดอย่างนี้พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเริ่มสตาร์ทจาก 1.2 ล้าน ตัดคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรออกไปเสียส่วนหนึ่ง รัฐบาลสามารถช่วยคนที่เป็นหนี้นอกระบบนี้ 500,000 คน แล้วก็จะเกี่ยวข้องกับเงินประมาณ 40,000 - 50,000 ล้านบาท

นายกรัฐมนตรี แล้วตอนนี้ก็คิดว่าคงจะเปิดรอบสองในอนาคตอาจจะไม่ไกลเกินไป ให้มาขึ้นทะเบียนสำหรับคนอื่น ๆ เพราะมีหลายคนบอกรอบแรกไม่ได้ขึ้น ไม่เชื่อว่าจะทำได้ อะไรอย่างนี้นะครับ

ผู้ดำเนินรายการ ทั้งหมดนี้รัฐบาลไม่ได้ใช้ตังค์จากงบประมาณแม้แต่บาทเดียว

นายกรัฐมนตรี ถูกต้องครับ อันนี้เป็นการโอนเข้ามา ทีนี้สิ่งที่ผมหวังมากไปกว่านั้นขณะนี้นะครับ อาจจะเล็งผลไปไกลอีกก็คือว่า ธนาคารที่เข้ามาในโครงการนี้ครับ โดยเฉพาะถ้าตัวนี้ไปได้ดีนะครับ คือหมายความว่าเขาได้ลูกค้าดี ๆ เข้ามา ผมว่าเขาจะเริ่มคิดเรื่องที่เราเรียกว่า Micro Finance กันมากขึ้นนะครับ ความหมายก็คือว่า คนมองว่าลูกหนี้นอกระบบ คนไม่มีสตางค์คนไม่มีอะไร แต่คุณวีระมานั่งคิดดูนะครับ ถ้าเราต้องจ่ายเงินวันละ 2,000 อย่างที่ผมว่า เรามีปัญหาไหมครับบางที ไม่มีหรอก แสดงว่าคนเหล่านี้เขามีศักยภาพนะ เขามีศักยภาพ

ผู้ดำเนินรายการ ที่จะหาตังค์

นายกรัฐมนตรี ใช่ เพียงแต่ว่าเขาขอให้เขามีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง เพียงแต่ว่ามันเป็นระบบซึ่งอาจจะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ได้รู้จักคนที่จะมาค้ำประกันอะไรต่าง ๆ ต้องไปช่วยคนเหล่านี้ ทีนี้กลุ่มที่เหลือที่ยังมีปัญหา แก้ยากสุดคือไม่มีรายได้ อย่างนี้ยากแล้ว พอไม่มีรายได้ใครเขาจะปล่อยให้กู้ เราก็เลยบอกว่าสำหรับกลุ่มนี้ให้กระทรวงแรงงานเข้ามาอีกทางหนึ่ง สร้างอาชีพ

ผู้ดำเนินรายการ สร้างอาชีพ ให้เกิดรายได้อะไรก็ว่ากันไป

นายกรัฐมนตรี ทีนี้มาถึง Micro Finance ก็คือว่า พอคนกลุ่มนี้เข้ามาเป็นลูกหนี้ของธนาคาร เราก็หวังว่าธนาคารจะเริ่มคิดระบบที่ปล่อยกู้ ที่มันสอดคล้องกับความเป็นจริงของคนเหล่านี้ แต่คนเหล่านี้ถ้าไปใช้แบบระบบปกติไม่มีทางผ่าน ใช่ไหมครับ บังเอิญเรามีนโยบายนี้ และก็มีการมาประนีประนอมหนี้อะไรต่าง ๆ และก็พูดง่าย ๆ คือตามติด และยิ่งตอนหลังมีสายด่วน 1689 คนชอบโทรมาฟ้อง ว่านี่ไปติดต่อธนาคารอะไรอย่างนี้ จี้เข้าไป มันก็ช่วยกระตุ้นอะไรหลายอย่าง ตอนนี้ผมเข้าใจว่าการคิดเรื่องของระบบสินเชื่อสำหรับรายย่อยจริง ๆ Micro Finance นี้ไปได้ดี ธ.ก.ส. ก็ไปทำที่ศรีสะเกษ เป็นธนาคารชุมชน ธนาคารศรีฐานอะไรต่าง ๆ นี้ เราก็หวังว่าตัวนี้จะเป็นการเติบโตขึ้นมา ทำให้คนเข้าถึงแหล่งทุน ก็ไปนึกถึงว่าตอนที่เขาไปสำรวจความคิดเห็นในโครงการปฏิรูปประเทศนี้นะครับ ว่าปัญหาความยากจนแน่นอนมาอันดับ 1 เสมอนี้ อะไรสาเหตุความยากจน มากสุดก็บอกว่าเข้าไม่ถึงแหล่งทุน คือเขามีความเชื่อว่าจริง ๆ ขอให้เขาได้มีการเข้าถึงแหล่งทุนที่มันสมเหตุสมผล

ผู้ดำเนินรายการ ถ้าได้กู้เสียหน่อยมันก็จะสามารถ

นายกรัฐมนตรี ในเงื่อนไขที่มันเป็นไปได้ มันก็จะ
 

ผู้ดำเนินรายการ ผมฟังท่านนายกฯ พูดเรื่องหนี้คล้าย ๆ กับว่าพอเขาเห็นรายละเอียดเยอะ ถามเป็นเรื่องส่วนตัวนิด ตัวท่านนายกฯ มีหนี้ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี  ผมนี่มนุษย์เงินเดือน และครอบครัวผมก็มนุษย์เงินเดือน มันก็มีความง่ายอย่างหนึ่ง ก็คือว่ามันมีความแน่นอนของมันอยู่ว่ารายได้เราเท่าไหร่ มันสำคัญที่สุดคือว่าเมื่อเรารู้ว่ารายได้เราเท่าไหร่ ต้องอย่าให้รายจ่ายเรามันเกินรายได้ ก็จะไม่มีหนี้ และหนี้ที่มีก็จะมีเฉพาะเรื่องผ่อนรถ

ผู้ดำเนินรายการ ผมถามต่ออีกนิดหนึ่ง เพราะท่านนายกฯ พูดถึงเรื่องรายได้ คือแต่ละคนก็มีภาระครอบครัว เงินเดือนท่านนายกฯ บวกเงินเดือนภรรยาท่าน ซึ่งรับราชการทั้งคู่  และท่านนายกฯ มีลูกต้องเลี้ยงดู คุณพ่อคุณแม่ต้องเลี้ยงดู  ผมถามจริง ๆ ตำแหน่งนายกฯ เงินเดือนนายกฯ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนพอเลี้ยงครอบครัวไหมครับ

นายกรัฐมนตรี  ถ้าบอกว่าพอ จะบอกว่าพอ ไม่พอ ก็คงไม่ใช่นะครับ  คือผมจริง ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังพอมีฐานะมีรายได้อยู่  ครอบครัวก็มีฐานะอยู่  คือถ้าพูดตรง ๆ มาทำงานการเมืองและหวังว่าจะรวยขึ้นอย่าหวังเลย และก็ไม่ควร ถ้าคิดว่าเข้ามาทำงานการเมืองแล้วรวยขึ้น แต่ว่าเงินเดือนนายกฯ แสนกว่า ๆ พอหักภาษีไป และผมอยู่พรรคซึ่งหักผมอีกเดือนละ 20,000 อีก พูดตรง ๆ ไม่น่าพอ จริง ๆ ถามว่าคุ้มกับการทำงาน  มันไม่น่าจะคุ้ม แต่ว่าเราไม่ได้มาทำเพื่อตรงนี้  เราก็คิดว่าเงินเดือนราชการ ซึ่งพูดไปเมื่อช่วงต้นรายการเหมือนกัน เราก็เห็นว่าต้องผลักดัน  แต่ว่าราชการโชคดีเรื่องของสวัสดิการของการรักษาพยาบาล อันนี้ใครอย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ความจริงแต่ละปีเราก็ใช้เงินเยอะมาก สวัสดิการราชการ และค่าใช้จ่ายของบุคคล โดยเฉพาะยามเจ็บป่วยในยามชราเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งสูงมากและมีผลกระทบ

ผู้ดำเนินรายการ ผมอยากจะข้ามไปอีกสักเรื่องหนึ่ง ปีนี้ท่านนายกรัฐมนตรีจะพูด แล้ววันจันทร์นี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ จะแถลงตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งปีแรกของปี 2553 ท่านนายกฯ พูดว่าประมาณบวกลบ 10 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งแรกปีนี้ 

นายกรัฐมนตรี  บวกไม่ลบครับ

ผู้ดำเนินรายการ ประมาณบวก 10 เปอร์เซ็นต์หรือ 8 เปอร์เซ็นต์ 9 เปอร์เซ็นต์ ก็สุดแล้วแต่ ทั้งปี 6-7 เปอร์เซ็นต์ มองแบบนี้เทียบกับคนอื่นในว ๆ นี้เราเป็นอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี  ดีครับ อาจจะมีสิงคโปร์กับไต้หวันที่อาจจะสูงกว่าเรา แต่ว่านอกนั้นต้องถือว่าเราอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก และเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งติดลบหนักหนาสาหัส จนกระทั่งมาตีตื้นเอาตอนปลายปี ก็ถือเป็นการฟื้นตัวที่เร็วกว่าที่หลายคนคาด แม้กระทั่งเทียบย้อนกลับไปปี 2540 ต้องถือว่าครั้งนี้เราฟื้นตัวได้เร็วกว่า และที่ผมคิดว่าหลายคนก็เข้าใจด้วยก็คือว่านอกจากวิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้เราเจอวิกฤตการเมืองด้วย ก็ปรากฏว่าตัวผลกระทบตรงนั้นที่ชัดเจนที่สุด ก็จะอยู่ที่ภาวะการท่องเที่ยว แต่แม้กระทั่งภาวะการท่องเที่ยวขณะนี้จะฟื้นตัวขึ้นมาค่อนข้างเร็วกว่าคิด นักท่องเที่ยวที่เข้ามาสุวรรณภูมิ เราใช้เกณฑ์มาตรฐานว่า 30,000 คน ถือว่าปกติ ขณะนี้ได้กลับมาเกิน 30,000 แล้ว โรงแรมในกรุงเทพฯ จริง ๆ พื้นที่อย่างราชประสงค์ ตอนนี้ดีมาก แต่ว่าข้างนอกต่างจังหวัดยังเป็นปัญหาอยู่  ก็บางจังหวัดเขาก็คิดว่าเป็นเรื่องพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  ก็ยกเลิกให้แล้วนะครับ

ผู้ดำเนินรายการ ตอนนี้เหลือแค่ 7 จังหวัดแล้ว

นายกรัฐมนตรี เหลือแค่ 7 จังหวัด ส่วนใหญ่ก็กรุงเทพฯ ปริมณฑล และมีจังหวัดในอีสานอยู่ ซึ่งจะทยอยยกเลิกไป นอกเหนือจากการท่องเที่ยว การขยายตัวภาคอุตสาหกรรม การส่งออก รายได้ภาคการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพราะฉะนั้นก็เป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างจะสมดุลด้วย

ผู้ดำเนินรายการ แต่ว่าเรื่องส่งออกที่โตเยอะ ๆ ช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวสูง พอถึงช่วงครึ่งหลังที่จะไหลเข้าไป มีปัญหาเรื่องค่าเงินบาทแข็งอีกแล้ว ผู้ส่งออกบ่นหลายคน

นายกรัฐมนตรี ความจริงค่าเงินบาท ตอนที่เข้ามาก็ถกเถียงกันเยอะ เพราะตอนนั้นแนวโน้มว่าเงินบาทจะแข็งตัวขึ้นมาตลอด พอไปศึกษาดูค่าเงินบาทกระทบกับการส่งออกน้อยกว่ารายได้ของลูกค้าเรา พูดง่าย ๆ คือว่าถ้าเศรษฐกิจข้างนอกดี แม้ของ ๆ เราอาจจะแพงขึ้นผู้ดำเนินรายการ แต่เขาก็ซื้อ

นายกรัฐมนตรี เขาก็ซื้อ แต่ว่าถ้าเกิดข้างนอกไม่ดี คือเขาไม่ใช้จ่าย อันนี้ต่อให้ค่าเงินอ่อนอย่างไรก็ลำบาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมกลัวมากกว่าอาจจะเป็นผลกระทบจากเรื่องของยุโรป ถ้าตรงนั้นบายปลาย ผมคิดว่าจะกระทบชัดเจนกว่า แต่ก็เข้าใจและเห็นใจ เพราะว่าคนที่เป็นผู้ส่งออกรายได้ที่เข้ามาเป็นเงินเหรียญ และมาเปลี่ยนเป็นเงินบาทมันก็ลดลง เราทำได้ก็คือไม่ให้มันผันผวนจนเกินไป แต่ถามว่าของเราแข็งขึ้น  คู่แข่งเราโดยเฉพาะในแถบนี้ก็แข็งขึ้นเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันไม่มาก ก็จะมีคนพูดถึงเวียดนาม  เพราะเวียดนามค่าเงินลด แต่ค่าเงินลดของเวียดนาม เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อเขาสูงกว่าเรา  เราก็จะพยายามดูตรงนี้ว่ามีอะไรที่จะไม่ให้กระทบกระเทือนหรือผันผวนจนเกินไป  แต่ผมคิดว่าเราปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ เราเกินดุลเยอะมาก ดุลบัญชีเดินสะพัด คือตราบใดก็ตามที่เราส่งออกได้มากกว่านำเข้า รวมบริการ รวมอะไรด้วยแล้ว และเงินมันเข้ามา ค่าเงินเราก็ต้องแข็งขึ้น

ผู้ดำเนินรายการ ท่านนายกฯ เป็นนายกฯ ไม่กี่คนที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์โดยตรง เรียนเศรษฐศาสตร์ เป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ แต่ว่าสิ่งที่ผมเห็นท่านนายกฯ เกือบ ๆ 2 ปี ส่วนใหญ่เป็นทักษะ หรือใช้ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ ทางด้านการเมือง คือคนที่เป็นนายกฯ ที่เก่งเรื่องการเมือง ก็อยากจะมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากเลย คนที่เก่งเรื่องเศรษฐกิจกลับต้องมาแก้ปัญหาการเมือง มันเกิดอะไรกลับตาลปัตร

นายกรัฐมนตรี เราไปเลือกไม่ได้ละครับ ว่าเราจะต้องแก้ปัญหาอะไร เพราะมันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ความจริงไม่ใช่หรอกครับ ผมก็ทำงานทางด้านเศรษฐกิจต่อเนื่อง และผมยืนยันว่าถ้ารัฐบาลเสียสมาธิกับเรื่องการเมือง และไม่แก้เศรษฐกิจ  ผมยืนยันไม่มีทางที่เศรษฐกิจจะฟื้นมาได้อย่างนี้ การวางแผนแต่ละอย่าง อย่างช่วงแรกก็เถียงกันเยอะ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก ถึงวันนี้ทุกคนบอกเช็ค 2,000 บาทอะไรต่าง ๆ ตรงนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมาก

ผู้ดำเนินรายการ  ที่ดึงอำนาจซื้อกลับมาเร็ว

นายกรัฐมนตรี  ถูกต้องครับ พลิกกลับมาเร็ว และอันนี้ก็เป็นเรื่องซึ่งหลายประเทศมาดูว่าเราใช้นโยบายซึ่งมุ่งไปที่ตรงนี้มากกว่าที่จะไปทำตามปกติ คือคิดสร้างถนนหนทางลงทุน ซึ่งความจริงใช้เวลานานมาก และการกระจายตัวตรงนั้นกว่าจะไปเกิดผลก็ค่อนข้างจะช้า อันนี้เป็นสิ่งที่เราพยายามดูในทางเศรษฐศาสตร์มาตลอด ผมก็ประชุมไม่ครม.เศรษฐกิจ ก็ กรอ. เกือบทุกอาทิตย์ ก็ให้ความสำคัญกับตรงนี้ด้วย แต่ว่าธรรมดาครับ สื่อก็สนใจเรื่องการเมืองมากกว่า เศรษฐกิจอยู่หน้าใน ๆ และตัวเลขเยอะ

ผู้ดำเนินรายการ อีกอันคือเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในประเทศ ผมคิดว่าสถานการณ์การเมืองคลี่คลายไปตามลำดับ ขณะนี้ก็รอว่าจะยุบสภา จะเลือกตั้ง อะไรต่ออะไรก็ว่ากันไป แต่ข้างนอกผมเข้าใจว่าความที่เราติดหล่มในประเทศ เราไม่มีโอกาสไปเวทีต่าง ๆ หรือแม้แต่ประชุมบางอัน ท่านนายกฯ ก็ติดอยู่ในประเทศไปไม่ได้ ตรงนี้จะมีการเปลี่ยนภูมิทัศน์  Land Scape ออกไปข้างนอกกันบ้างไหมครับ 

นายกรัฐมนตรี  ที่จริงเราก็ไปพอสมควร  ผมก็ไปไล่ดูเหมือนกันว่าไม่ได้ไปน้อยนะครับในช่วงปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา ก็จะมีช่วงเมษายน พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ว่าต้องไปแบบเร็ว ๆ ไปเช้าเย็นกลับเหมือนไปเที่ยวบางแสน ก็ไม่เป็นไรครับ ผมคิดว่าอันนี้ก็อยู่ในฐานะที่เราประคับประคองมาได้โดยตลอด เพราะเราจะเห็นว่าความสนใจในเรื่องการลงทุนก็เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จริง ๆ มาสะดุดก็จะเป็นเรื่องมาบตาพุด เรื่องอะไรต่าง ๆ ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะมีการประชุมครั้งสุดท้าย เรื่องของบัญชีกิจการอะไรต่าง ๆ หรือมีประกาศอะไรที่จะต้องออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาไป แต่ว่าการออกไป รัฐมนตรีก็ออกไป รัฐมนตรีคลังก็ไป รัฐมนตรีท่องเที่ยว รัฐมนตรีพาณิชย์ ก็ออกไปอย่างต่อเนื่อง ความจริงเฉพาะเรื่องการประชุมเยอะมากเดี๋ยวนี้  ปลายปีนี้ผมมีทั้งเอเปค อาเซ็ม อาเซียน ยูเอ็น ก็ถือว่าเยอะพอสมควร

ผู้ดำเนินรายการ  ช่วงครึ่งหลังไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ท่านนายกฯ คงจะอยู่ต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี และก็แม้กระทั่งการค้าชายแดน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) ก็เข้ามาเดินสายอะไรต่าง ๆ ทำงานอยู่พอสมควร และจริง ๆแล้วยกเว้นกรณีการปิดด่านที่แม่สอด ต้องบอกว่าอย่างกับกัมพูชา  คนมีความเป็นห่วงว่าความสัมพันธ์ตึงเครียดขึ้นมา มีประเด็นขึ้นมา การค้าชายแดนจะกระทบไหม ไม่ใช่นะครับ การค้าชายแดนไปได้ดีหมด ก็จะมีเรื่องของแม่สอด ซึ่งกำลังเร่งแก้ไขกันอยู่

ผู้ดำเนินรายการ ผมมีคำถามสุดท้าย อาจจะเป็นเรื่องทางด้านสถานการณ์การเมือง  คือขณะนี้ความไม่มั่นใจของคนส่วนหนึ่ง คือว่าชะตากรรมของพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ตกลง Land Scape ปีหน้าจะเลือกตั้ง อะไรพวกนี้  ความไม่มั่นใจปัญหาทางการเมือง รวมทั้งเรื่องที่ความครุกรุ่นมันยังอยู่  ความขัดแย้งอาจจะมีอยู่ มันซ่อนอยู่  ภาพพวกนี้จะกลับเข้าที่เข้าทาง  ท่านนายกฯ ใกล้ข้อมูลมากที่สุด คือท่านนายกฯ ไปหาเสียงต่างจังหวัดได้ ไปแคมเปญ สมมติอย่างนี้นะครับ ภาพแบบนั้นจะกลับมาอีกนานไหม

นายกรัฐมนตรี คือผมแยก 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือความไม่แน่นอนทางการเมืองที่มีอยู่โดยปกติธรรมดา หรือโดยระบบของมัน  ผมว่าเราต้องยอมรับอันนี้ เราเป็นสังคมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจะไปบอกคาดคั้นว่ารัฐบาลต้องมั่นคงอยู่ 4 ปีอะไรต่าง ๆในระบบรัฐสภามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างเล่น ๆ ตอนที่ผมเข้ามา เมื่อสักครู่คุณวีระก็แซวตอนต้นว่าไม่นึกว่าทริปนี้ก็ยังอยู่  ผมดูประเทศอย่างอังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น

ผู้ดำเนินรายการ  ก็ไปง่าย ๆ เหมือนกัน

นายกรัฐมนตรี  ไปกันง่าย ๆเลย มันเกิดขึ้นได้ เราอย่าไปมองว่าเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป และความเป็นจริงเราอาจจะชอบพรรคไหน ไม่ชอบพรรคไหน แต่ภาพรวมของนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ทำให้จะต้องตกอกตกใจกัน ไม่ค่อยมีรัฐบาลไหนเข้ามาถึงและบอกว่าเอกชนห้ามทำธุรกิจหรือจะปิดประเทศ ไม่ค่อยมีหรอกครับ เพราะฉะนั้นในภาพรวมเราต้องยอมรับความเสี่ยงตรงนี้ เพราะฉะนั้นถ้าจะยุบสภา หรือเกิดคดียุบพรรคมันออกมาอย่างไร ผมถือว่าเราก็ต้องว่าไปตามระบบของมัน ไม่ควรจะไปกังวลตรงนั้นมากจนเกินไป แน่นอนครับดีที่สุด ผมก็ยังยืนยันว่าอยากให้มีความต่อเนื่อง แต่เป็นมุมมองของผมก็ว่ากันไป แต่เราก็ต้องยอมรับกระบวนการ

ผู้ดำเนินรายการ สมมติว่ายุบพรรคประชาธิปัตย์ ท่านนายกรัฐมนตรีจะถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4 ปี 5 ปี เหมือนพรรคอื่นที่เขายุบอย่างนั้นใช่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี  อยู่ที่ศาลครับ คือถ้าเป็นคดี มันมี 2 คดี

ผู้ดำเนินรายการ กรณี 29 ล้านกับคดี 258 ล้าน

นายกรัฐมนตรี  คดี 29 ล้านบังเอิญเป็นการขอให้ยุบตามกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งตรงนั้นรู้สึกว่าถ้ายุบไปแล้วจะถูกห้ามหรือไม่ กฎหมายจะยืดหยุ่นหน่อยว่าคล้าย ๆ ว่าให้เอาคนที่เกี่ยวข้องอะไรต่าง ๆ แต่ว่าคดีที่ 2 เป็นการยุบตามรัฐธรรมนูญ พูดง่าย ๆ ถ้าอย่างนั้นก็ไปแน่นอน เพราะอันนั้นก็ไปในฐานะรองหัวหน้าพรรคสมัยก่อน ถ้ายุบนะครับ ก็ว่ากันไปอย่างนั้น  ทีนี้ส่วนที่ 2 มันไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ อย่างที่คุณวีระพูดว่ามันรุนแรงขึ้นอีกหรือเปล่า ไปหาเสียงแล้วมันมีการผิดปกติ ตรงนี้มันอยู่ที่พวกเราทุกคนผู้ดำเนินรายการ ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาล

นายกรัฐมนตรี ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล และผมก็พยายามอย่างเต็มที่ดึงเอาทุกภาคส่วนเข้ามา ผมก็ทราบดีว่ายังมีกลุ่มคนซึ่งอาจจะไม่ยอมรับ ยังหวาดระแวง  แต่ยืนยันว่าจริง ๆ แล้วเราต้องช่วยกัน ให้มันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เหตุผลก็คือถ้าเราคิดว่าเราไปใช้วิธีการแบบรุนแรง ข่มขู่ อะไรกัน มันไม่จบหรอกครับ  ฝ่ายหนึ่งทำได้อีกฝ่ายหนึ่งก็ทำได้ มันก็ไม่จบ และสุดท้ายอันนั้นก็ทำร้ายประชาธิปไตย  เพราะฉะนั้นถ้าเราสนับสนุนช่วยประชาธิปไตย ผมก็อยากจะกลับไปสู่ความปกติที่ว่า และผมได้บอกแล้วว่าถ้าเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองสงบเรียบร้อยดีทุกอย่าง จะเลือกตั้งกันใหม่   ผมก็ไม่ว่าอะไร

ผู้ดำเนินรายการ วันนี้ขอบพระคุณท่านนายกฯ มากครับ  ท่านผู้ชมครับเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์วันนี้ก็คงหมดเวลาด้วยเวลาเพียงเท่านี้นะครับ  แต่ว่าตอนท้ายของรายการจะมีสกู๊ป 3 ชิ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบโทรศัพท์เข้ามาสอบถามในช่วง 6 วัน 63 ล้านความคิด ไปติดตามกัน แต่สำหรับวันนี้ผมและท่านนายกฯ ต้องลาคุณผู้ชมด้วยเวลาเท่านี้ครับ 

ที่มาข่าว:
นายกรัฐมนตรีย้ำเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่จะมีระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม (www.thaigov.go.th, 22/8/2010)
http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=48042

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16-22 ส.ค. 2553

Posted: 22 Aug 2010 02:25 AM PDT

แบ่งกลุ่มจ่ายค่าจ้างแรงงาน  ส.อ.ท.ปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมสู่ระดับสากล

นายสมพงศ์ นครศรี รองประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างค่าแรงในภาคอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของแรงงาน ว่า ขณะนี้ ส.อ.ท.ได้เริ่มมีการศึกษาโครงสร้างค่าแรงในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม และเรื่องความต้องการแรงงาน รวมทั้งลักษณะงานของแรงงานในแต่ละกลุ่มอาชีพ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการจ่ายค่าแรง เหมือนกับการจ่ายค่าจ้างแรงงานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีรายได้จากการส่งออกสินค้าภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก

"ส.อ.ท.คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถสรุปข้อมูลได้ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การปรับค่าจ้างแรงงาน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เพื่อดึงให้แรงงานที่มีอยู่ในระบบมีความต้องการอยู่ในระบบจ้างงานต่อไป ไม่หันเหไปประกอบอาชีพอื่น และยังกระตุ้นให้แรงงานที่จบการศึกษามีความต้องการเข้ามาทำงานในภาคแรงงานมากขึ้น"

ขณะเดียวกัน ในระยะยาว ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาแรงงานที่ไร้ฝีมือให้เป็นแรงงานมีฝีมือให้มากขึ้นเพ่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ซึ่ง ส.อ.ท. ได้เริ่มศึกษาการปรับโครงสร้างแรงในกลุ่มช่างฝีมือ 10 กลุ่มคือกลุ่มช่างก่อสร้างไม้ และปูน ช่างเชื่อม และช่างไฟฟ้าเป็นต้น คาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีช่างฝีมือเพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าแรงก็จะปรับสูงขึ้นตามความสามารถด้วย

นายสมพงศ์กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานในกลุ่มช่างทองและช่างอัญมณี มีการทดสอบวัดระดับฝีมือเพื่อจ่ายค่าแรงตามความสามารถในการทำงานแล้วส่วนกลุ่มช่างไม้ จะมีการทดสอบวัดระดับฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเป็นระดับๆ เช่น ระดับ 1 สามารถวัดไม้ได้ ระดับ 2 ใช้เครื่องมือช่างได้ และระดับ 3 แค่เห็นแบบก่อสร้าง แล้วก็สามารถทำงานได้เลย ซึ่งในแต่ละระดับจะได้ค่าแรงต่างกันไป

นายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยกล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกสิ่งทอในปีหน้าจะไม่มีการเติบโต โดยมูลค่าการส่งออกจะคงที่ระดับ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะประเทศไทยขาดแคลนแรงงาน ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอขาดแคลนแรงงาน 30,000 ราย ทำให้ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อที่เข้ามาจากทั่วโลกได้ ในปีหน้ากลุ่มสิ่งทอจะยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอีก 60,000 ราย

"กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของ ส.อ.ท.ได้เข้าหารือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน ด้วยการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานของ 1 คน ให้สามารถทำงานได้หลายอย่างมากขึ้น จากเดิมที่มีความสามารถทำได้เพียงด้านเดียวโดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถแรงงานให้แรงงาน 1 คน ให้สามารถทำงานได้หลายอย่างมากขึ้น จากเดิอมที่มีความสามารถทำได้เพียงด้านเดียวโดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถแรงงานให้แรงงาน 1 คน ให้สามารถทำงานได้เท่ากับ 3 คน หรือเท่ากับสามารถเพิ่มสัดส่วนแรงงานได้ 30% ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขาดแคลนแรงงานได้"


(ไทยรัฐ, 16-8-2553)

แรงงาน-ไอซีทีผนึกกำลังรับรองคนไอที

นางเมธินี เทพมณี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เตรียมจัดทำระบบรับรองแรงงานวิชาชีพไอทีระดับอาเซียน รองรับอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2558 ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปในบรรดาประเทศสมาชิก ด้วยมาตรฐานความรู้ความสามารถ และค่าแรงที่ยอมรับได้

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะจัดทำระบบการสอบ และออกใบรับรองกลางที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งต้องเริ่มจากการจัดทำมาตรฐานในประเทศก่อน เริ่มด้วย 3 ตำแหน่ง คือ ผู้จัดการโครงการ (โปรเจค แมเนเจอร์) นักวิเคราะห์ระบบ (ซิสเต็ม อนาลิสต์) และผู้ดูแลความปลอดภัยระบบ

"กระทรวงแรงงานจะใช้เวลา 2 เดือน หากมาตรฐานผ่าน ก็จะเสนอเข้าคณะกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานชุดใหญ่ และต้องมี ก.พ.รับรอง" นางเมธินี กล่าว

นายมนู อรดีดลเชษฐ์ คณะทำงานร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 (ไอซีที 2020) กล่าวว่า แนวทางดำเนินการดังกล่าวจะเป็นเพียงการส่งเสริมสนับสนุนให้สอบใบรับรอง ไม่ได้เป็นข้อบังคับ ซึ่งยังเป็นห่วงอนาคตที่จะมีเอาท์ซอร์สงานไอที แต่ไทยจะไม่มีอำนาจต่อรอง จึงต้องสร้างมาตรฐานขึ้นมา สามารถรับรองได้

"อนาคตยังมีอันตรายจากเว็บเครือข่ายสังคม (โซเชียล เว็บ) ที่จะมีคนทำงานจากโซเชียล เว็บ มีเฮด ฮันเตอร์บนเว็บ ก็จะเลือกบุคลากรไอทีจากประเทศอื่น ยกเว้นถ้าไทยมีเซอร์ติฟิเคต ก็จะสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือตลาด ซึ่งทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เหมือนกัน ต้องสร้างมาตรฐานที่ยอมรับ และมีรัฐบาลรับรอง" นายมนู กล่าว

ส่วนร่างกรอบนโยบายไอซีที 2020 ที่กระทรวงไอซีที มอบหมายศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดทำเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาไอซีทีของไทยในระยะเวลา 10 ปีนั้น ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน มิ.ย.2552 มีกำหนดเสร็จภายในเดือน ส.ค.2553 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอนาคต ไอซีทีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทุนมนุษย์ไอซีทีสำหรับปี 2020 การพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีที ไอซีทีเพื่อการให้บริการของภาครัฐ ไอซีทีเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม และไอซีทีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

(กรุงเทพธุรกิจ, 16-8-2553)

กรมสวัสดิการฯ เตรียมแจ้งข้อหาผู้เกี่ยวข้องเหตุอาคารก่อสร้าง ม.บูรพาถล่ม

ก.แรงงาน 16 ส.ค.- นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าเหตุอาคารก่อสร้างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ถล่มลงมาทับคนงานทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 8 คนว่า จากรายงานของผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน และทีมวิชาการ ที่ไปตรวจที่เกิดเหตุตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา พบว่านั่งร้านของอาคารดังกล่าวไม่สามารถรับน้ำหนักคอนกรีตได้ ประกอบกับคอนกรีตยังไม่แห้งสนิทแล้วมีการเทคอนกรีตซ้ำ จึงพังถล่มลงมาทับคนงาน ซึ่งมีทั้งหมด 35 คน และส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งหลังเกิดเหตุได้หลบหนีไป สำหรับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวมีบริษัท บิลเลี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 53/9 ม.2 แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ มีนายกฤษฎา ปฏิยัตต์โยธิน เป็นวิศวกร และนายสำเรียง โพศรีทัศ เป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่เตรียมเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนโดยเบื้องต้นนอกจากข้อหาทำการประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิตแล้ว ยังมีความผิดฐาน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 41 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการจัดการด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับการใช้ค้ำยันที่ต้องมีวิศวกรรับรองและห้ามเข้าไปพักอาศัยอยู่ใต้คอนกรีตที่มีการก่อสร้าง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมฝากเตือนบริษัทก่อสร้างต่าง ๆ ให้เพิ่มความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

(สำนักข่าวไทย, 16-8-2553)

ครม.ทุ่มซื้อใจขรก.ใหม่ ปรับฐานงด.เท่าเอกชน

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติให้มีการปรับฐานระบบเงินเดือนของข้าราชการเป็นครั้งแรกให้มีความยืดหยุ่นเท่ากับเอกชน โดยเริ่มในส่วนของเงินเดือนแรกเข้าและปรับเงินเดือนแรกเข้าให้เป็นช่วงสำหรับตำแหน่งที่มีความสามารถพิเศษ รวมถึงการออกกฎก.พ. สำหรับข้าราชการที่อายุครบ 60 ปี และหน่วยงานภาครัฐ ที่ไม่ใช่การประกาศใช้ทั่วไป สามารถต่ออายุได้ แต่ต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 20 ราย เช่น นายช่างกรมที่ดิน ที่ยังทำโครงการค้างอยู่

 ต่อมา ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลง โดย นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกฯ กล่าวว่า กพ.ให้เหตุผลการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อจูงใจให้มีข้าราชการเข้ามาอยู่ในระบบ ป้องกันสมองไหลไปยังภาคเอกชน สำหรับแนวทางการปรับอัตรเงินเดือนแรกบรรจุ กำหนดให้ เพิ่มความถี่ในการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ ในชั้นต้นให้ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำให้สูงขึ้น โดยลดความแตกต่างของภาคราชการและภาคเอกชนลงประมาณครึ่งหนึ่งของความแตกต่างเดิม โดยกพ.วางเป้าทยอยปรับฐานเงินเดือนให้เทียบเท่าเอกชนภายใน 5 ปี อย่างไรก็ตาม กพ.ขออนุมัติงบประมาณ 200 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าชดเชยให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนแรกบรรจุเดิมโดยมีผลภายในวันที่ 1 ต.ค. 53 เพื่อป้องกันปัญหาความลักลั่นกับข้าราชการแรกบรรจุใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 เม.ย. 2554

 พร้อมกันนี้ ครม.เห็นชอบให้แก้กฎกระทรวงว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน โดยกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 37,830 บาท หรือที่กพ.กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่า 37,830 บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ นอกจากนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 67,560 บาท หรือที่ ก.พ.กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา 67,560 ให้ได้รับเงินตามที่ได้รับอยู่ ส่วนผุ้ดำรงตำแหน่งประเภทสายงาน และระดับอื่นที่ก.พ.กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ก.พ.กำหนด

 ข่าวแจ้งด้วยว่า ครม.เห็นชอบการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนบุคลากรภาครัฐ ซึ่งครม.เคยรับหลักการไปแล้วให้ปรับขึ้น 5 เปอร์เซนต์ โดยมีผลวันที่ 1 เม.ย. 54 โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 วงเงิน 13,000 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการแนบเอกสารร่างพระราชกฤษฏีกาการปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการ บุคลากรภาครัฐทั้งระบบเข้ามาด้วย อาทิ ข้าราชการพลเรือน ครู ตำรวจ ทหาร อัยการ ศาลยุติธรรม องค์กรอิสระ โดยเฉพาะในส่วนของประธานสภาผู้แนทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการอ้างว่าขอปรับอัตราเงินเดือนเกิน 5 เปอร์เซนต์ เพือรักษาจุดยึดโยงของค่าตอบแทน

 วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงาน "ก้าวที่ยั่งยืนสู่ชีวิตใหม่ปลอดหนี้นอกระบบ" และเปิดตัว" บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงิน" โดยนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแบบยั่งยืน

 ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยอดลูกหนี้ที่ขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 และวันที่ 1-29 มกราคม 2553 มีจำนวน 1,183,355 ราย จำนวนมูลหนี้ 122,672.19 ล้านบาท เจรจาประนอมหนี้สำเร็จจำนวน 602,803 ราย เจรจาไม่สำเร็จจำนวน 182,862 ราย และ ยุติเรื่องจำนวน 397,690 ราย ธนาคารและสถาบันการเงินชุมชนอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 412,741 ราย อยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 75,066 ราย

 กระทรวงการคลังต้องการช่วยเหลือไม่ให้ลูกหนี้กลับไปใช้หนี้นอกระบบอีกครั้ง และเพื่อเป็นการเสริมสร้างวินัยในการใช้เงินและการผ่อนชำระเงินกู้รายเดือน จึงจัดให้มีบัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงิน ซึ่งเมื่อธนาคารอนุมัติเงินกู้แล้ว ธนาคารจะมอบบัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงิน เป็นบัตรสำหรับสมาชิกซึ่งเข้าร่วมโครงการหนี้นอกระบบของกระทรวงการคลัง ซึ่งบัตรมีรหัสแท่ง (barcode) สำหรับใช้ในการชำระเงินกู้รายเดือนผ่านเคาน์เตอร์ของทุกธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกหนี้และหากลูกหนี้จ่ายผ่อนชำระเงินกู้รายเดือนตรงตามกำหนด เป็นระยะเวลา 1 ปี ธนาคารจะมีวงเงินสำรองฉุกเฉินให้ในเดือนที่ 13 ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปกดเอาเงินสดจากตู้ atm ของทุกธนาคารที่ร่วมโครงการ (ยกเว้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์) ได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อ 1 ปี

 นอกจากนี้บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงินยังเป็นบัตรเพื่อแสดงสิทธิการประกันชีวิตที่ทางธนาคารที่อนุมัติเงินกู้ได้จัดให้แก่ลูกหนี้ทุกคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวผู้ถือบัตรสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนหนี้นอกระบบกับกระทรวงการคลังแต่ไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อเนื่องจากไม่มีรายได้ ไม่มีอาชีพ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอนั้น กระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงแรงงานในการ ช่วยจัดหางานในพื้นที่ของลูกหนี้ เพื่อลูกหนี้จะสามารถสร้างศักยภาพในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบต่อไปในอนาคต

 นอกจากโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบนี้แล้ว กระทรวงการคลังจะศึกษาเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนอย่างยั่งยืนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระบบการเงินระดับฐานรากจะเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินและแหล่งเงินทุน

(แนวหน้า, 17-8-2553)

ดันตั้งศูนย์ข้อมูลพัฒนาแรงงานทั้งระบบ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมว่า ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือตรวจสอบข้อมูลกับทางสภาอุตสาหกรรม เพื่อขอทราบจำนวนตัวเลขการว่างงานที่แท้จริงในภาคอุตสาหกรรมว่ามีการขาดแคลนแรงงานกลุ่มไหนบ้าง จำนวนเท่าใด โดยแยกเป็นแรงงานที่มีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานที่มีความสามารถเฉพาะด้าน จากนั้นจะนำตัวเลขมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป เพราะจากข้อมูลที่พบนั้นยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก แต่อีกด้านก็พบว่ามีคนตกงานมากเช่นกัน จึงอยากให้ทุกภาคส่วนเอาตัวเลขที่แท้จริงมาพูดคุยกัน

 นอกจากนี้กระทรวงได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการฝึกวิชาชีพทางอาชีวศึกษา และลงบันทึกความร่วมมือกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อให้ผู้ว่างงานมีโอกาสทำงานและเปลี่ยนอาชีพไปสู่ภาคเกษตรกรรม

 อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้นำเรื่องกระบวนการแก้ไขปัญหาแรงงานเข้าหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงาน ซึ่งจะใช้ข้อมูลของกระทรวงแรงงานทั้งหมด พร้อมด้วยอาสาสมัครแรงงาน (อสร.) ให้ตรวจสอบทุกพื้นที่ทุกตำบลว่ามีแรงงานเท่าไหร่ ชำนาญด้านไหน มีผู้ประกอบการต้องการแรงงานประเภทไหน จำนวนเท่าไหร่ จากนั้นให้รวบรวมข้อมูลไปที่แรงงานจังหวัดเพื่อส่งต่อมายังศูนย์ข้อมูลแรงงานของกระทรวงแรงงาน ซึ่งศูนย์นี้จะสามารถตรวจเช็กข้อมูลเรื่องแรงงานในจังหวัดต่างๆ ได้ครอบคลุมทั่วประเทศได้ทันที

 “การตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานเหมือนการรวมศูนย์ของทุกกรมมาอยู่ที่นี่ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลด้านแรงงานในแต่ละพื้นที่ ต่อไปไม่สามารถหลอกได้ว่ามีแรงงานว่างงานเท่าใด  ข้อมูลที่กล่าวอ้างมานั้นจริงหรือไม่ โดยหากมีข้อมูลที่สมบูรณ์การทำงานเชื่อมโยงของทุกกรมก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้การทำงานด้านนโยบายเดินหน้าไปได้อย่างเต็มที่ สามารถพัฒนาแรงงานที่ตรงต่อความต้องการของตลาดได้ทันที โครงการนี้น่าจะเริ่มได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้ โดยจะนำงบประมาณส่วนกลางของปี 2554 มาใช้ดำเนินการ” นายเฉลิมชัย กล่าว

(คม-ชัด-ลึก, 17-8-2553)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดเกี่ยวกับการใช้ชื่อทางธุรกิจ ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน การโฆษณาการจัดหางาน และการแต่งตั้งพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานเพื่อให้มีอำนาจฟ้องคดีให้แก่คนหางานหรือทายาทโดยธรรม (ร่างมาตรา 6-ร่างมาตรา 9)

2. กำหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลาง สำนักงานทะเบียนจัดหางานจังหวัด และสำนักจัดหางาน (ร่างมาตรา 10-ร่างมาตรา 11)

3. กำหนดให้การจัดหางานต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ ใบอนุญาตจัดหางานมี 3 ประเภท คือ ใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ ใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ และใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ โดยผู้ขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดและต้องวางหลักประกันอันสมควรเพื่อประกันความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินการของผู้ขออนุญาต จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาทหรือไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทแล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 12-ร่างมาตรา 14 และร่างมาตรา 21)

4. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศเรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างรับคนหางานเข้าทำงานแล้ว ในกรณีที่คนหางานไม่ได้งานตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน ผู้รับใบอนุญาตไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและต้องจัดการให้คนหางานเดินทางกลับ หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนจัดการให้คนหางานเดินทางกลับโดยใช้จ่ายเงินจากหลักประกันที่ ผู้รับใบอนุญาตได้วางไว้ แต่ในกรณีที่คนหางานไม่ประสงค์จะเดินทางกลับ ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องรับผิดชอบในการจัดการให้คนหางานเดินทางกลับ (ร่างมาตรา 30-ร่างมาตรา 31)

5. กำหนดห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศประกอบธุรกิจตามที่กำหนด และจะรับสมัครหรือประกาศรับสมัครคนหางานเป็นการล่วงหน้าได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ร่างมาตรา 33-ร่างมาตรา 34)

6. กำหนดแนวทางปฏิบัติและการดำเนินการให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศในเรื่องการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ การจัดให้นายจ้างในต่างประเทศส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อ ช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ และการเรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางาน (ร่างมาตรา 35-ร่างมาตรา 36)

7. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องให้ความช่วยเหลือคนหางานในกรณีที่คนหางานไม่ได้ทำงานตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน และกำหนดสิทธิเรียกร้องของคนหางานในกรณีที่คนหางานได้ทำงานแล้วแต่ได้ค่าจ้างต่ำกว่าหรือได้ตำแหน่งงานหรือสิทธิประโยชน์อื่นไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน (ร่างมาตรา 40)

8. กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตในกรณีที่คนหางานได้ค่าจ้าง ตำแหน่งงาน และสิทธิประโยชน์อื่นตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน แต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือคนหางานได้ทำงานจนสัญญาจัดหางานสิ้นสุดลงแล้ว แต่คนหางานไม่ยอมเดินทางกลับภายในระยะเวลาที่กำหนด และกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เรียกเก็บจากคนหางาน ตามอัตราส่วนหรือความรับผิดชอบของผู้รับใบอนุญาตที่มีต่อคนหางาน (ร่างมาตรา 45)

9. กำหนดแนวทางปฏิบัติและการดำเนินการให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดหาคนหางานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศในเรื่องการประกอบธุรกิจอื่น การแจ้งและชำระค่าธรรมเนียมการจ้างคนต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดส่งคนหางานต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอาจตกแก่นายจ้าง ผู้รับใบอนุญาต หรือนายทะเบียน แล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 47-ร่างมาตรา 50)

10. กำหนดให้การดำเนินการทดสอบฝีมือคนหางานต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกำหนดแนวทางปฏิบัติหรือการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาตดำเนินการทดสอบฝีมือคนหางานในเรื่องการแสดงใบอนุญาตดำเนินการทดสอบฝีมือคนหางาน การทดสอบฝีมือคนหางาน ผู้ควบคุมการทดสอบ ค่าทดสอบฝีมือ การจัดให้มีสมุดทะเบียนบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับกิจการของตน รวมทั้งกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตฯ มีสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานกรณีที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาตดังกล่าวได้ (ร่างมาตรา 52-ร่างมาตรา 57)

11. กำหนดแนวทางปฏิบัติหรือการดำเนินการของผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศด้วยตนเองโดยมิได้ทำสัญญาจัดหางานกับผู้รับใบอนุญาต  การพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศของนายจ้าง การส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศของนายจ้าง และการรับสมัครเพื่อหาลูกจ้างในประเทศเพื่อไปทำงานในต่างประเทศของนายจ้างในต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดให้คนหางานมีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานแรงงานไทยในประเทศที่คนหางานไปทำงาน สถานทูตไทย สถานกงสุลไทยที่รับผิดชอบในการดูแลคนไทยในประเทศนั้น หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลคนหางาน แล้วแต่กรณีทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดนับแต่วันที่คนหางานเดินทางไปถึง (ร่างมาตรา 59-ร่างมาตรา 63)

12. กำหนดให้มี “กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ” ในกรมการจัดหางาน เพื่อใช้จ่ายในกิจการที่กำหนด กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนฯ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง องค์ประชุมและอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 64-ร่างมาตรา 70)

13. กำหนดให้มี “คณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน” กำหนดอำนาจหน้าที่ และให้อำนาจคณะกรรมการในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (ร่างมาตรา 75-ร่างมาตรา 77)

14. กำหนดอำนาจของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมทั้งกำหนดให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการควบคุมหรือกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น การยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางาน (ร่างมาตรา 79-ร่างมาตรา 80)

15. กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 88-ร่างมาตรา 111)

16. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนและคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกำหนดให้ใบอนุญาตและใบอนุญาตดำเนินการทดสอบฝีมือคนหางานมีผลใช้ต่อไป รวมทั้งกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับบรรดาคำขอและคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคำขอหรือคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 112-ร่างมาตรา 116)


(ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, 17-8-2553)

หนุน ร่าง พ.ร.บ.กองทุนการออมฯ ช่วยแรงงานมีเงินออมช่วงสูงวัย

กรุงเทพฯ 17 ส.ค.- เครือข่ายบำนาญภาคประชาชนรวมตัวหนุน ร่าง พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ  เพราะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานทั้งในและนอกระบบ  มีเงินเก็บสะสมสามารถนำมาใช้ได้เมื่อถึงวัยสูงอายุ เรียกร้องรัฐบาลผลักดันให้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยเร็ว

เครือข่ายบำนาญภาคประชาชนจัดเสวนา "บำนาญแห่งชาติถ้วนหน้าที่ไม่เหลื่อมล้ำ" มีนักวิชาการ เอ็นจีโอ แรงงานอิสระเช่น วินรถจักรยานยนต์ แท็กซี่ เข้าร่วม เพื่อรวมตัวเรียกร้องรัฐบาลออกกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ 

รศ.วรเวศม์ สุวรรณรดา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กองทุนการออกแห่งชาติ ในทางปฏิบัติดีมากแต่ให้กับแรงงานระบบเท่านั้น ที่ปัจจุบันมีอยู่ 2 ใน 3 ของแรงงานทั้ง 35 ล้านคนในประเทศ ถือว่าเป็นกฎหมายที่มาทันเวลาและเหมาะสม จากการศึกษาพบยังมีข้อจำกัดสำหรับแรงงานที่ต้องโยกย้ายงานทำให้แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมต้องออกจากระบบเนื่องจากตกงานมาประกอบอาชีพอิสระและหางานทำได้ย้ายกลับเข้าสู่ระบบอีกครั้ง โดยคนกลุ่มนี้จะย้ายสิทธิไปมา เงินสะสมที่เกิดจากการย้ายงานเปลี่ยนไปมาอาจไม่เพียงพอในบั้นปลายชีวิต  ทางเครือขายจึงเสนอให้รัฐบาลมอบสิทธิตามร่าง พ.ร.บ.นี้เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิแม้จะเป็นแรงงานในระบบก็สามารถจะออมเงินเข้ากองทุนนี้ได้ ซึ่งเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น ออมเงินเดือนละ 50 บาท รัฐบาลสนับสนุนตั้งแต่ร้อยละ 25 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ตามขั้นของอายุถึง 60 ปี และนำเงินมาใช้เป็นบำนาญได้ ส่วนคนที่เป็นแรงงานในระบบที่สะสมเข้ากองทุนประกันสังคมนั้นแรงงานสะสม นายจ้างสมทบ ซึ่งกลุ่มในระบบจะไม่ได้สิทธิเงินส่วนของรัฐบาล มองว่าตรงนี้ไม่เท่าเทียม โดยจะเสนอให้มีความเท่าเทียมกันหมด

นายสำเร็จ มูระคา รองประธานชมรมเพื่อนบนท้องถนน อายุ 38 ปี อาชีพขับแท็กซี่ กล่าวว่า ในกลุ่มแท็กซี่ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ได้รับสวัสดิการจากรัฐเพียง 2 อย่างคือ สวัสดิการรักษาพยาบาล 30 บาท และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท ซึ่งพบว่าคนขับแท็กซี่เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 20 จากทั่วประเทศ กว่า 100,000 คน  ไม่มีหลักประกันในชีวิตจึงสนับสนุนให้รัฐออกกฎหมายนี้ ทั้งนี้ หลังการเสวนาวันนี้ ตัวแทนเครือข่ายฯ จะประสานงานขอเข้าพบ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เพื่อยื่นหนังสือผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายนี้โดยเร็ว

(สำนักข่าวไทย, 17-8-2553)

กงสุลพม่าวอนนายจ้างไทย แจ้งสิทธิ-ข้อมูลแก่ลูกจ้างชาวพม่า

กงสุลพม่าประจำประเทศไทยขอความร่วมมือกับนายจ้างให้แจ้งข้อเท็จจริงกับแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า เพื่อที่แรงงานต่างด้าวจะได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระบบแรงงานต่างด้าว และตัวแรงงานต่างด้าวเองก็ควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎที่ตั้งขึ้น พร้อมขอบคุณประเทศไทยที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าได้อยู่ทำงานในประเทศไทย

MR.WIN ZEYAR TUN กงสุลพม่าประจำประเทศไทย ได้พูดคุยกับนายจ้าง/สถานประกอบการในพื้นที่อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในการประชุมพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ที่อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ผ่านMR.SAW AUNG ZAW HTWE ล่ามประจำจำสถานทูตพม่า ว่าการพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ได้เริ่มโครงการมาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ปี 2552 ทางการพม่าได้ออกเล่มพาสปอร์ตสำหรับแรงงานต่างด้าวไปแล้วเกือบแสนเล่ม แต่ในความเป็นจริงถือว่ายังน้อยอยู่มากถ้าเทียบกับจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ในขณะนี้ โครงการนี้จะสำเร็จได้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ซึ่งกรมการจัดหางานและสถานทูตพม่าก็ได้ร่วมมือกันมาโดยตลอด ส่วนปัญหาที่พบมากในขณะนี้คือ แรงงานต่างด้าวได้รับข่าวสารแบบผิดๆจนทำให้กลัวไม่กล้าไปทำพาสปอร์ต เพระเกรงว่าหากให้ข้อมูลที่แท้จริงไปแล้วทางการพม่าจะไปเก็บเงินกับครอบครัวหรือญาติที่อยู่ในประเทศพม่า อีกปัญหาหนึ่งคือแรงงานต่างด้าวกลัวว่าหลังจากที่ทำเล่มพาสปอร์ตไปแล้วตนต้องไปจ่ายภาษีให้กับทางการพม่า ดังนั้นในนามสถานทูตพม่าประจำประเทศไทยขอยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บภาษีหรือมีเจ้าหน้าที่ไปเก็บเงิน

กับครอบครัวของแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศพม่า แต่อย่างใด และขณะนี้ก็ยังไม่พบว่ามีใครมาฟ้องร้องกรณีดังกล่าวกับทางการมาก่อน ทั้งนี้อยากจะขอความร่วมมือให้นายจ้าง/สถานประกอบการพูดคุยชี้แจงถึงข้อเท็จจริงกับแรงงานต่างด้าวให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง รวมทั้งตัวแรงงานต่างด้าวก็ขอให้กรอกข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อที่ทางการพม่าจะได้ไปทำการพิสูจน์สัญชาติได้อย่างถูกต้องต่อไป นอกจากนี้ MR.WIN ZEYAR TUN กงสุลพม่าประจำประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าทำงานอยู่ในประเทศไทยได้

(สำนักประชาสำพันธ์เขต 3, 18-8-2553)

ปธ.อุตดันตั้งรง.ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์

นายสุรศักดิ์ ลิ่มวิไลกุล" ประธานสภาอุตสาหกรรมบุรีรัมย์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจจ.บุรีรัมย์ ในช่วงนี้ว่า ชาวบ้านใน จ.บุรีรัมย์ ต้องการให้เกิดการจ้างงาน โดยจะต้องสนับสนุนและจัดให้มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งในเขตพื้นที่จังหวัด เพราะส่วนใหญ่ประชาชนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากกว่า 80 % เพื่อรองรับแรงงานภาคการเกษตรในฤดูว่างงาน ลดปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานอพยพไปทำงานยังต่างจังหวัด และที่สำคัญหากประชาชนระดับรากหญ้าจะได้มีอาชีพ มีงานทำ และ มีรายได้ ก็จะมีกำลังซื้อทำให้ส่งผลดีกับทุกภาคธุรกิจสามารถอยู่รอดได้เช่นกัน

ในส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ภาวะเศรษฐกิจ เริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเห็นได้จากโครงการก่อสร้างบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ พบว่าการก่อสร้างมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แรงงานในพื้นที่มีงานหรือการใช้แรงงานมากขึ้นหลังจากที่ซบเซาต่อเนื่องในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การใช้แรงงานภาคเกษตรและภาคการก่อสร้าง ก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการจ้างแรงงานวันละ 150 -170 บาท

อย่างไรก็ตาม มูลค่ามูลรวมของเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ยังต้องรอเม็ดเงินอัดฉีดจากภาครัฐเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม หรือการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรมีมากกว่าที่ผ่านมา ส่วนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด มีพื้นที่ปลูกทั้งข้าว อ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง ภาครัฐควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักดังกล่าว เพื่อให้จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งผลิตพืชอาหาร พืชพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และก้าวเข้าสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรต่อไป

(เนชั่นแชนแนล, 19-8-2553)

เอกชนโวยรัฐขยับค่าแรง ดันต้นทุนพรวด-เสี่ยงเจ๊ง

นายทวี ปิยะวัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายจะปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับล่าง จะทำให้ภาคเอกชนต้องปรับขึ้นเงินเดือนตามไปด้วย รวมถึงรัฐบาลยังเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นไม่ต่ำกว่าวันละ 250 บาท ที่จะมีผลในเดือนเมษยายน 2554 นั้น ถือเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนสูงขึ้น เพราะปัจจุบันมีการใช้แรงงานทั่วประเทศราว 15 ล้านคน และอยู่ในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมากราว 70-80% โดยแต่ละปีผู้ประกอบการก็จะมีการปรับค่าแรงปกติทุกปี เมื่อมีนโยบายดังกล่าวก็จะทำให้การปรับเงินเดือนเพิ่มเป็นปีละ 2 ครั้ง

"รัฐบาลควรพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงตามทักษะความสามารถ และฝีมือของแรงงาน ไม่ใช่ปรับขึ้นให้เท่ากันทั้งหมด ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อแรงงานที่อยู่มาก่อน นโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถือเป็นการทำให้นายจ้างต้องปรับขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้างถึง 2 เด้ง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีก ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการคงเจ๊งกันพอดี" นายทวี กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ก็มีการจ่ายค่าแรงให้กับแรงงานตามระดับฝีมืออยู่แล้ว เช่น ช่างเชื่อมที่มีฝีมือดีจะได้รับค่าแรงถึงวันละ 600 บาท เป็นต้น ถ้ามีนโยบายดังกล่าวออกมาอีก ก็ต้องปรับขึ้นให้อีก ซึ่งจะทำให้ค่าแรงของแรงงานเหล่านี้สูงขึ้นอีก และขณะนี้ ส.อ.ท.ได้มีการตั้งคณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างค่าแรง ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของแรงงานอยู่แล้ว เพื่อหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการจ่ายค่าแรง เมื่อรัฐบาลมีนโยบายดังกล่าวออกมาก็ถือเป็นการซ้ำซ้อนกันอีก

(แนวหน้า, 19-8-2553)

ยังไม่มีข้อสรุปแก้ปัญหาแรงงานประมง เตรียมหารือต่อก่อนเสนอนายกฯ

กรุงเทพฯ 18 ส.ค.- หลังจากผู้เกี่ยวข้องในกิจการด้านประมง ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาด้านแรงงานประมงวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่จะนำไปเสนอนายกรัฐมนตรีได้ เนื่องจากมีการเสนอแนวทางที่น่าสนใจจำนวนมาก เตรียมตั้งกรรมการชุดเล็กพิจารณาข้อสรุป ด้านนักวิชาการแนะควรสรุปแนวทางเสนอรัฐบาลให้ได้ภายใน 6 สัปดาห์

นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังจากปิดการสัมมนาผู้ประกอบการภาคประมง เพื่อพิจารณารูปแบบและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานประมง ว่าสถานการณ์และปัญหาการค้ามนุษย์รูปแบบของแรงงานประมง เป็นเรื่องที่น่าห่วงใย และกำลังเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อการค้าของไทย รวมถึงการถูกกีดกันทางการค้าในสินค้าประเภทประมง หากพบว่ามีการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก รวมถึงการใช้แรงงานบังคับ จึงสนับสนุนให้มีการเร่งทำงานของผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนวดังกล่าวต่อรัฐบาลต่อไป
   
ด้าน ดร.สายสุรี จุติกุล กรรมการที่ปรึกษาอนุกรรมการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รูปแบบของแรงงานประมง ว่า ที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อยุติเพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีผ่านรัฐมนตรีว่าการ พม.ได้ เนื่องจากมีความเห็นและข้อเสนอที่น่าสนใจหลากหลาย อาทิ เสนอให้มีการตั้งศูนย์ดูแลแรงงานประมงในพื้นที่ที่มีการทำประมง ดังนั้น จะเสนอตั้งชุดทำงานชุดเล็กเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอและรายละเอียดที่ได้จากการประชุมวันนี้ก่อน โดยจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้ต่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พิจารณา และเริ่มทำงาน อย่างไรก็ตาม ควรจะสรุปข้อเสนอเพื่อให้ พม.เสนอต่อนายกรัฐมนตรีได้ภายใน 6 สัปดาห์

(สำนักข่าวไทย, 19-8-2553)

สหภาพแรงงานโลกสนับสนุนสหภาพแรงงานคนทำยางยื่นข้อเรียกร้อง

19 ส.ค. 53 – สหพันธ์แรงงานนานาชาติของคนงานในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยาง, พลังงาน, เหมืองแร่ และคนงานทั่วไป (ICEM) และ United Steelworkers (USW) รวมถึงสหภาพแรงงานต่างๆ ทั่วโลก ส่งจดหมายเปิดผนึก สนับสนุนสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้องคุ้มครองแรงงานชั่วคราว และข้อเรียกร้องด้านการประกันสุขภาพหลังการเกษียณอายุ

 

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หนุนรถเมล์ NGV

รัฐสภา-นายวีระพงษ์วงแหวนรองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค. สหภาพได้ประชุมถึงเรื่อง การเช่าซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน และมีมติว่าจะทำหนังสือเปิดผนึกเสนอให้แก่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะทำงานพิจารณาโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน โดยมีข้อเรียกร้องของพนักงาน 3 ข้อ คือ 1.สหภาพยืนยันให้รัฐบาลเช่าซื้อรถเมล์เท่านั้น 2.ขอให้รัฐบาลเร่งทยอยนำเข้ารถเมล์ครั้งละ 500-600 คัน เพื่อนำมาใช้แทนรถเมล์ที่หมดสภาพการใช้งานก่อน ซึ่งจะลดปัญหาการนำรถเถื่อนมาให้บริการ และชะลอการใช้ตั๋วโดยสารอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าจะได้รับมอบรถเมล์ครบตามจำนวน เพื่อลดการปรับลดพนักงานอย่างกะทันหัน 3.การเออร์ลี รีไทร์พนักงานขอให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีการข่มขู่

(สยามรัฐ, 19-8-2553)

มะกันสุ่มตรวจโรงงานไทยใช้แรงงานเด็ก-ผิดกฎหมาย

นายอาทร พิบูลธนพัฒนา เลขาธิการ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคมศกนี้ ทางกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาโดยการประสานงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) จะเข้ามาสุ่มตรวจอุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งโรงงานแปรรูป(ห้องเย็น)สถานแปรรูปกุ้งเบื้องต้น(ล้ง)ฟาร์มเลี้ยงกุ้งรวมถึงตลาดกลางซื้อขายกุ้งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อตรวจสอบว่าอุตสาหกรรมกุ้งของไทยมีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานผิดกฎหมายหรือไม่

เรื่องดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หลังจากในเดือนเมษายน 2551 สื่อต่างประเทศได้ประโคมข่าวว่าอุตสาหกรรมกุ้งในเอเชียมีการทารุณกรรมแรงงานเป็นเรื่องปกติ พบเห็นได้ใน2 ประเทศคือไทย และบังกลาเทศโดยมีการประณามอุตสาหกรรมกุ้งของไทยว่ามีการใช้งานเยี่ยงทาสอ้างแหล่งที่มาจากองค์กรโซดาลิตี้เซ็นเตอร์ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอองค์กรหนึ่งต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันทางสหรัฐฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงในไทยในลักษณะสุ่มตรวจโรงงานไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแต่ไม่พบมีการกระทำผิดตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดีในเดือนกันยายน 2552 สำนักกิจการแรงงานระหว่างประเทศของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงาน 3 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละเมิดและการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานผิดกฎหมายในการผลิตสินค้า 122 รายการ ใน58 ประเทศทั่วโลก โดยระบุในส่วนของประเทศไทยมีอุตสาหกรรมกุ้ง และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทยมีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานผิดกฎหมาย ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำตาลและหนังสือ/ภาพยนตร์ลามกมีการละเมิดแรงงานเด็กซึ่งรัฐบาลไทยได้ชี้แจงทำความเข้าใจไปแล้วว่าอุตสาหกรรมไทยไม่มีการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานผิดกฎหมาย

"แม้เราจะชี้แจงไปแล้ว รวมทั้งร่วมสุ่มตรวจโรงงาน ประชุมร่วมกันก็หลายครั้งแต่เขายังข้องใจ ซึ่งในรอบนี้ทางเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานท่านทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยและทีมงานด้านเศรษฐกิจของสถานทูตจะลงสุ่มตรวจอีกครั้ง ซึ่งทางเราก็พร้อมให้ตรวจเพื่อแสดงความบริสุทธิ์เบื้องต้นได้ให้สมาชิกของสมาคมประสานไปยังสถานแปรรูปกุ้งเบื้องต้นหรือล้งเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการลงบัญชีจ่ายค่าจ้างแรงงานให้ถูกเพราะหากไม่เคลียร์จะมีปัญหาได้"นายอาทร กล่าวและว่า

ทางสมาคมยังมั่นใจว่าการตรวจสอบครั้งนี้จะผ่านไปด้วยดีและไทยจะสามารถรักษาตลาดสหรัฐฯที่เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งในสินค้ากุ้งของไทยมีสัดส่วนประมาณ50%ของการส่งออกในภาพรวมเอาไว้ได้ แต่หากไม่ผ่านอาจเกิดปัญหาตามมาเช่นในชั้นแรกรัฐบาลสหรัฐฯอาจสั่งห้ามหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจซื้อกุ้งไทยจากบริษัทที่ตรวจพบมีการละเมิดแรงงาน แต่คงไม่แบนทั้งประเทศ

ด้านนายกาสชัย แจ่มขจรเกียรติอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยกล่าวว่าในครั้งนี้ทางกระทรวงแรงงานสหรัฐฯและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ จะมาสุ่มตรวจเรื่องการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มด้วยซึ่งโรงงานสมาชิกของสมาคมก็พร้อมที่จะให้ตรวจ ซึ่งเชื่อว่าจะพ้นข้อครหา และยังสามารถรักษาฐานการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐฯที่เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกกว่า40% เอาไว้ได้เพราะที่ผ่านมาโรงงานเครื่องนุ่งห่มของไทยซึ่งผลิตสินค้าป้อนให้กับแบรนด์ดังๆปกติทางเจ้าของแบรนด์จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบมาตรฐานแรงงานและมาตรฐานโรงงานทุก 6 เดือน หรือทุก 1 ปีอยู่แล้ว

อนึ่ง ช่วงเวลาใกล้เคียงกันคือระหว่างวันที่ 16-22  สิงหาคมศกนี้ คณะเจ้าหน้าที่รัฐสภาสหรัฐฯได้เดินทางเยือนประเทศไทยส่วนหนึ่งมีกำหนดการเยี่ยมชมโรงงานผลิตสินค้าสำคัญ เช่นสิ่งทอ เครื่องประดับเงิน และโรงงานแปรรูปกุ้งเพื่อรับทราบข้อมูลนำไปประกอบการพิจารณาในการปฏิรูปโครงการจีเอสพี(สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร)ของรัฐสภาสหรัฐฯและส่วนหนึ่งเพื่อการตรวจสอบข้อมูลว่าประเทศไทยให้ความคุ้มครองและบังคับใช้แรงงานตามมาตรฐานสากลหรือไม่

(ฐานเศรษฐกิจ, 19-8-2553)

ประกาศคำเตือนเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงไปทำงานที่ประเทศเฮติ

ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับการสอบถามและตรวจสอบจากประชาชนทางโทรศัพท์ว่า มีกลุ่มบุคคลชักชวนให้สมัครไปทำงานที่ประเทศเฮติ โดยอ้างว่า สหประชาชาติได้มอบหมายให้กองทัพไทยจัดกำลังพลเพื่อเดินทางไปช่วฟื้นฟูเฮติ จึงต้องการหาคนงานไปทำงานก่อสร้าง โดยมีค่าตอบแทนที่สูง แต่ผู้สนใจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครงานก่อน กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และได้รับแจ้งว่า ไม่มีบริษัทจัดหางาน บุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด ขออนุญาตจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศเฮติ อีกทั้งยังไม่มีบุคคล หรือบริษัทเอกชน หรือส่วนราชการใด ๆ ของไทย ได้รับอนุญาตให้รับสมัครหรือจัดหาคนเข้าไปทำงานฟื้นฟูในเฮติแต่อย่างใด

กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประกาศเตือนคนไทยที่ถูกชักชวนได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศเฮติ ให้ตรวจสอบข้อมูลก่อนการสมัครงาน โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ที่ www.doe.go.th หรือโทรสายด่วน 1694 และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเดินทางได้ที่เว็บไซต์กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ที่ www.consular.go.th

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th

(RYT9, 20-8-2553)

12 แรงงานลำปางถอนแจ้งความ บ.เอกชน

นางสาวลักษณา สิริเวชประเสริฐ จัดหางานจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ คนหางานในพื้นที่ อ.เถิน และ อ.แม่พริก ถูกนายหน้าจัดหางานของบริษัทแห่งหนึ่ง เข้ามาหลอกว่า จะสามารถนำคนหางานไปทำงานในเหมืองแร่ ประเทศลาวได้ โดยได้เรียกเก็บเงินก่อน รายละ 15,000 - 20,000 บาท โดยมีแรงงานชาวลำปาง จำนวน 25 ราย ถูกหลอกเก็บเงิน ไปกว่า 350,000 บาท ล่าสุดขณะนี้ ตนได้รับรายงานมาว่า แรงงานจำนวน 12 ราย ได้ไปถอนแจ้งความที่ สภ.แม่พริกและ สภ.เถิน ลำปางแล้ว หลัง บริษัทดังกล่าวได้ชดใช้เงินคืนให้ครึ่งหนึ่งของยอดเงินที่จ่ายไป ส่วน คนงาน อีก 13 ราย ทางสำนักงานแรงงานจังหวัดลำปาง จะได้ดูแลและให้ความช่วยเหลือต่อ ซึ่งหาก นายหน้า ยังไม่มีการตกลงกับคนหางานที่เหลือเพื่อคืนเงิน ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย หรือ ส่งฟ้องดำเนินคดีต่อไป

(ไอเอ็นเอ็น, 20-8-2553)

ร้อง "ชินวรณ์" เลิกประกาศปิดหลักสูตร ป.ตรีต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ ยื่นหนังสือจี้ เสมา 1 ยกเลิกประกาศ ศธ.ว่าด้วยการปิดหลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง และร้องเรียนปัญหาการเทียบโอนหน่วยกิต......

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 19 ส.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีอาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง และหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง (เทียบโอน) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหการคอมพิวเตอร์และเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ ประมาณ 150 คน มายื่นหนังสือถึง นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้ ยกเลิกประกาศ ศธ.ว่าด้วยการปิดหลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง และร้องเรียนปัญหาการเทียบโอนหน่วยกิต โดยนายวีระชัย ถาวรทนต์ เลขานุการ รมว.ศธ. ได้รับหนังสือร้องเรียนแทน พร้อมทั้งให้ตัวแทนนักศึกษาเข้าไปหารือที่ห้องประชุม ศธ. โดยนายตฤณ ดิษฐลำภู อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

มทร.พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2518 เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ที่จบ ปวส.ได้เรียนต่อถึงระดับปริญญาตรี แต่ล่าสุดนายชินวรณ์ได้ออกประกาศ ศธ. เมื่อเดือน มิ.ย. ปี 2553 สั่งปิดปริญญาตรีต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการปิดกั้นสิทธิทางการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ทำให้ผู้ที่เรียนจบ ปวส. และแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 200,000 คน หมดโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรี ซึ่งหากนายชินวรณ์ยังไม่ พิจารณายกเลิกประกาศดังกล่าว หรือไม่ดำเนินการใดๆใน 15 วัน จะยื่นเรื่องฟ้องศาลปกครองต่อไป

นายตฤณกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้าที่นักศึกษาจะมาร้องเรียนที่ ศธ. อธิการบดี คณบดี และอาจารย์ ได้ขู่นักศึกษาว่าจะให้ติด F ตนและนักศึกษาต่างกังวลในเรื่องนี้ จึงอยากให้ ศธ.ช่วยดูแลด้วย อย่าให้ เกิดปัญหากับนักศึกษา

(ไทยรัฐ, 20-8-2553)

แห่แจ้งจับนายหน้าอ้างบ.เชฟร่อนฯตุ๋นทำงานนอก

ประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 40 คน ได้เดินทางเข้าร้องเรียนสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีถูกนายวีรศักดิ์ เพ็ชรแกมแก้ว อ้างว่าเป็นผู้บริหารของบริษัท เคซีเอ ดอยแท็ก ดริลลิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัทเชฟร่อน สำรวจและผลิตประเทศไทย จำกัด
 
โดยผู้ร้องเรียนแจ้งว่าโดนนายวีรศักดิ์ฯ มาเปิดจุดรับสมัครคนงาน บริเวณตึกแถวหน้า รพ.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช อ้างว่าจะส่งไปทำงานที่ประเทศแอฟริกา มีรายได้สูงเดือนละหลายแสนบาท ก่อนจะเรียกค่าดำเนินการเบื้องต้นคนละ 35,000 บาท มีผู้สนใจสมัครงานกับบริษัทและเสียค่าใช้จ่ายให้กับนายวีระศักดิ์ฯ ไปแล้วแต่เรื่องก็เงียบหายไปหลายเดือน จนมีการตรวจสอบพบว่าเป็นการแอบอ้างหลอกลวงต้มตุ่น

ต่อมาในวันที่ 10 ส.ค.53 ผู้เสียหาย 11 คน ได้เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ. วิโชติ ศรีทองฉิม ร้อยเวร สภ.เชียรใหญ่ ให้ดำเนินคดีกับนายวีรศักดิ์ฯ และในวันนี้ (20 ส.ค.53) ผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความและให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน อีก 29 คน รวมผู้เสียหาย 40 คน รวมเงินค่าเสียหายที่โดนต้มตุ๋นมูลค่า 1,400,000 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาท)

หลังจากลงบันทึกประจำวันเรียบร้อยแล้ว ร.ต.อ. วิโชติ ศรีทองฉิม พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้แนะนำให้ผู้เสียหายทั้งหมดเดินทางเข้าร้องเรียนกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นหลักฐานและขอความช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง โดยตำรวจจะทำการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอขออนุมัติหมายจับนาย วีระศักดิ์ เพ็ชรแกมแก้ว พร้อมพวกในข้อหาร่วมกันหลอกลวงประชาชนต่อไป

สำหรับการตรวจประวัติของนายวีระศักดิ์  พบว่าเคยทำงานเป็นคนขับรถจักรกลหนักของบริษัทบริษัท เคซีเอ ดอยแท็ก ดริลลิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัทเชฟร่อน สำรวจและผลิตประเทศไทย จำกัด จริง แต่ได้ลาออกไป 8 เดือนแล้ว ภูมิลำเนาเดิมอยู่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช และเคยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ จ.สงขลา ก่อนจะมาได้ภรรยาที่ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช และแอบอ้างบริษัทเคซีเอ ดอยเทค จำกัด เปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในประเทศแอฟริกาในลักษณะการหลอกลวงต้มตุ่นดังกล่าว

นายอุทัย กาญจนโรจน์ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 207/1 ม.7 ต.ทุ่งใส่ อ.สิชล นครศรีธรรมราช 1 ในผู้เสียหาย แจ้งว่า เรียนจบระดับ ปวส.จากสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อทราบข่าวการเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในประเทศแอฟริกาตนจึงปรึกษากับอาจารย์ที่สอนในสถานศึกษารวมทั้งเพื่อน ๆ ที่จบในรุ่นเดียวกันก่อนจะตัดสินใจทั้งตน อาจารย์ และเพื่อน ๆ ไปสมัครงานและจ่ายเงินคนละ 35,000 บาท เพื่อเป็นค่าดำเนินการในการจัดทำหนังสือเดินทาง ค่าฝึกอบรมก่อนเดินทาง โดยจะส่งหลักฐานของผู้สมัครทั้งหมดไปให้สำนักงานใหญ่ของบริษัท เคซีเอ ดอยแท็ก ดริลลิ่ง (ประเทศไทย) จำกัดดำเนินการให้
 
“แต่เวลาผ่านมาหลายเดือนกลับไม่มีการดำเนินการใด ๆ เลย ผู้เสียหายจึงตรวจสอบกับบริษัท เคซีเอ ดอยแท็ก ดริลลิ่ง (ประเทศไทย) จำกัดจึงทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นการแอบอ้างชื่อบริษัทที่นายวีระศักดิ์ฯ เคยทำงานอยู่มาหลอกลวงต้มตุ๋นเปิดรับสมัครคนงาน และทางบริษัทฯ ดังกล่าวแจ้งว่านายวีระศักดิ์ฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอำนาจในบริษัท เคซีเอ ดอยแท็ก ดริลลิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด แต่อย่างใด เมื่อรู้ภายหลังว่าเป็นการหลอกลวงต้มตุ๋น จึงเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เชียรใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันมาร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย” นายอุทัยฯ กล่าว

(โพสต์ทูเดย์, 21-8-2553)

คกก.ความปลอดภัยในการทำงานฯ พบ รมว.แรงงานจันทร์นี้รับนโยบายปี 54

กรุงเทพฯ 21 ส.ค.- คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เตรียมเข้าพบ รมว.แรงงาน วันจันทร์ 23 ส.ค.นี้ เพื่อรับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ สำหรับปี 2554 หลังกฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยในการทำงานมีผลบังคับใช้ 5 ม.ค.2554

นางอัมพร นิติศิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะกรรมการคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กล่าวถึงกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาตรงกับวันที่ 5 มกราคม 2554 ว่า สาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการ

นางอัมพร กล่าวว่า ปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นมักเป็นปลายเหตุและการวินิจฉัยปัญหามีความซับซ้อนในเชิงวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ทำให้บางกรณีไม่สามารถระบุถึงปัญหาต้นเหตุแท้จริงเพื่อการเตรียมป้องกันปัญหา สำหรับปี 2554 คณะกรรมการฯ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า หน่วยงานภาครัฐในคณะกรรมการชุดนี้ เช่น กรมควบคุมโรค กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมควบคุมมลพิษ ควรมีการบูรณาการทำงานด้วยกันในลักษณะคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ที่จะร่วมกันออกปฏิบัติการเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เพื่อค้นหาสาเหตุจากมิติการมองปัญหาตามวิชาชีพที่แตกต่าง จะช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาสารเคมีรั่วไหล อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรภาครัฐด้วย

ทั้งนี้ ในวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 เวลา 14.00 น. ผู้แทนคณะกรรมการความปลอดภัยฯ จะเข้าพบนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อรับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อไป

(สำนักข่าวไทย, 21-8-2553)

เหยื่อทางแรงงานในลิเบีย แฉเล่ห์บริษัทจัดหางาน ไม่กลัวคุกท้าฟ้อง “ก.แรงงาน”

ความคืบหน้ากรณีผู้ใช้แรงงานไทยที่ไปตกระกำลำบากทำงานเยี่ยงทาส แต่ไม่ได้รับเงินเดือน ไม่ได้รับสวัสดิการโดยเฉพาะเรื่องที่พักอาศัยแร้งแค้น กินอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ซึ่งได้ร้องเรียนถึงความเดือดร้อนมายัง นายชัชวาล คงอุดม อดีตส.ว.กรุงเทพมหานคร และคอลัมนิสต์อาวุโส นสพ.สยามรัฐ ตามที่เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้นั้น


ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ส.ค.53 นายวรวุฒิ วิชัย อายุ 49 ปี ภูมิลำเนาเดิมอยู่ ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์ หนึ่งในแรงงานไทยที่ถูกหลอกไปทำงานที่ประเทศลิเบีย เปิดเผยกับ สยามรัฐ ว่า  การตัดสินใจไปทำงานที่ประเทศลิเบีย กับบริษัท ARSEL-BENA WA TASHEED JOINT VENTURE ผ่านบริษัท จัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด  เนื่องจากมีนายหน้ามาติดต่อ โดยเสนอเงินเดือนในอัตราที่สูงประมาณ 20,400 บาท และยังมีค่าทำงานล่วงเวลาอีก  ซึ่งเห็นว่าเป็นรายได้ที่ดี จึงยอมจ่ายค่ารายหัว เป็นเงินก้อนโตถึง 1.3 แสนบาท เมื่อเดือนพ.ค.52 ในช่วง 3 เดือนแรกที่ไปทำงานนั้นได้รับเงินเดือนตามที่ตกลงในสัญญาคือ 600 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 20,000 บาท) แต่หลังจากนั้นเงินเดือนที่ได้รับถูกเปลี่ยนสกุลเป็นเงินดีน่าห์ของลิเบีย  ทำให้ได้รับเงินเดือนลดน้อยลงมาก และจ่ายไม่ตรงตามเวลาตลอด  อีกทั้งแต่ละวันต้องทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง ตามสัญญาแค่ 8 ชั่วโมง  โดยไม่ได้รับเงินล่วงเวลา


“เวลาที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานก็ไม่ได้รับการดูแลแต่อย่างใด โดยบริษัทนายจ้างได้บอกมาว่า ทำงานที่นี่ ห้ามป่วย ห้ามหยุด ห้ามลา หากหยุดงาน 1 วัน ถูกหักค่าแรง 3 วัน ผมทำงานเป็นช่างปูน เพื่อก่อสร้างบ้านจัดสรร เมื่อได้รับอุบัติเหตุจากการแบกปูนจากชั้น 1 ขึ้นไปชั้น 4 ส่งผลทำให้บริเวณสันหลังทรุดกระดูกทับเส้นประสาท ทางบริษัทกลับไม่เหลียวแล เพียงแค่พาไปเอกซเรย์ แต่ไม่ได้ช่วยเหลือค่ารักษาแต่อย่างใด ยาก็ต้องซื้อกินเอง นอกจากจะไม่ได้เงินยังต้องควักเงินซื้อยาเองด้วย”  เหยื่อแรงงานทาส ระบายความรู้สึก


นายวรวุฒิ  ระบุอีกว่า หลังจากประสบอุบัติเหตุได้โทรศัพท์ไปขอรับความช่วยเหลือที่บริษัทจัดหางาน เงินและทองพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดส่งตนไปทำงานที่ประเทศลิเบีย กลับถูกปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือ  จึงขอความช่วยเหลือไปยังสถานทูตไทยประจำประเทศลิเบีย ก็ได้รับคำตอบว่า จะต้องรอคิว  ซึ่งมีจำนวนมาก แล้วเรื่องก็เงียบหายไป  ก็ไม่ได้ติดตามต่อ เพราะมีกรณีที่เพื่อนแรงงานไทยด้วยกัน เข้าไปปรึกษาที่สถานทูตกรณีดังกล่าวแล้วถูกส่งตัวกลับทันที โดยทางบริษัท อ้างเหตุผลว่า เพราะมีปัญหากับทางสถานทูต จึงต้องถูกส่งตัวกลับ ทั้งนี้ตนมั่นใจว่าจะได้รับเงินเดือนจึงไม่อยากมีปัญหา แต่เมื่อทำงานจนครบกำหนดสัญญาจ้าง 1 ปี กลับไม่ได้รับค่าจ้างที่ค้างอยู่ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 47,000 บาท โดยทางบริษัทของประเทศลิเบีย อ้างว่าขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะรัฐบาลลิเบียติดค้างเงินบริษัท ส่งผลให้การจ่ายเงินมีความล่าช้า


อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว ได้ดำเนินการติดตามทวงถามเงินค้างจ่ายไปที่บริษัท จัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด  กลับได้รับคำตอบว่า ในเมื่อทำงานครบตามสัญญาจ้างแล้ว จะเอาอะไรอีก จึงได้แจ้งเรื่องไปที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ ปรากฏว่า เมื่อเรื่องไปถึงบริษัทจัดหางานดังกล่าวแล้ว ได้มีการติดต่อขอเจรจา โดยบริษัทยื่นข้อเสนอว่าจะให้เงินจำนวน 5,000 บาท เพื่อให้ถอนเรื่องจากสำนักงานจัดหางาน แต่ตนไม่ยอม เพราะเห็นว่าเราต้องเสียค่าหัวจำนวนมากและยังค้างเงินเดือนอีก บริษัทจึงยื่นข้อเสนอใหม่ว่า ให้เงินเพิ่มอีก 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 15,000 บาท  แต่ตนได้ปฏิเสธ ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวยังท้าทายด้วยว่าจะร้องต่อกระทรวงแรงงานก็แจ้งไปได้เลย เพราะกระทรวงแรงงานไม่สามารถทำอะไรบริษัทได้ อย่างมากก็แค่ถอนใบอนุญาต ตนจึงได้ยื่นเรื่องไปยังกรมการจัดหางานเมื่อวันที่ 11 ส.ค.53


“ผมและเพื่อนแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบ คิดว่าเรื่องน่าจะไม่มีความคืบหน้า จึงได้รวมกลุ่ม โดยยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือมายังนสพ.สยามรัฐ   เพื่อขอให้มีการติดตามเรื่องดังกล่าว อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผมมีหนี้สินจากการกู้ยืนเงินนอกระบบเพื่อเดินทางไปทำงานที่ประเทศลิเบียเป็นเงิน 1.3 แสนบาทโดยต้องเสียดอกเบี้ยถึงร้อยละ 3 และเพื่อปลดหนี้จากการกู้เงินไปทำงานที่ลิเบีย  ผมจึงได้เข้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจาก ธกส. จำนวน 1 แสนบาท แต่ยังไม่เพียงพอ”


นายวรวุฒิ กล่าวว่า ขณะนี้ชีวิตลำบากมาก สืบเนื่องจากเคยได้รับอุบัติเหตุขณะที่ทำงานแบกปูนจากชั้น 1 ไปยังชั้นที่ 4 ทำให้กระดูกเอวเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ทำงานไม่ได้กว่า 1 เดือน ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อรับการรักษาจากโรงพยาบาลศิริราช  อีกทั้งมีบุตรอีก 2 คน ที่ต้องรับผิดชอบ แม่ยายก็เป็นอัมพาต ต้องอาศัยภรรยาเป็นผู้หาเงินมาเลี้ยงครอบครัวคนเดียว  จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องเงินที่ยังค้างจ่าย เพื่อนำเงินตรงนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวต่อไป

(สยามรัฐ, 21-8-2553)

แรงงานไทยกลับจากกาต้าร์สุดช้ำ นายจ้างเลื่อนจ้างเงินเดือนหลังกลับไทย

แรงงานไทยทั้ง 18 คน เดินทางไปทำงานรับเหมาก่อสร้างและช่างไฟฟ้าที่ประเทศกาตาร์ และเป็นแรงงานล็อตแรกที่ได้เดินทางกลับมาถึงไทย หลังหมดสัญญาว่าจ้าง แต่บริษัทยื้อตัวไม่ให้กลับ อ้างว่าไม่มีเงินจ่าย แต่แรงงานไทยไม่ยอม เพราะจ่ายเงินเดือนไม่ตรงเวลา และไม่มีสวัสดิการแรงงาน โดยให้พักในตู้คอนเทรนเนอร์ ท่ามกลางอุณหภูมิความร้อนที่สูงกว่า 60 องศาเซลเซียส บางคนถึงกลับ เป็นโรคประสาท ล่าสุดยังมีแรงงานไทยอีกกว่า 200 คนที่ต้องการกลับประเทศ

(ช่อง 7, 21-8-2553)

สปส.แนะนายจ้างขึ้นทะเบียนและนำส่งเงินสมทบลูกจ้าง

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีภารกิจหลักในการให้ความคุ้มรองดูแลลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) ในสถานประกอบการทุกแห่งที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ในการแจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างและแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างครบทุกคน "ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าการจ้างนั้นจะเป็นช่วงทดลองงานหรือไม่" หากนายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะทำให้ฐานข้อมูลของลูกจ้างที่เป็นข้อมูลหลักในการใช้ปฎิบัติงานไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือได้รับประโยชน์ทดแทนที่ล่าช้า ดังนั้นนายจ้างมีหน้าที่ต้องหักเงินสมทบจากค่าจ้างของลูกจ้างทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง พร้อมจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างให้กับสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เพื่อที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม

ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม ขอความร่วมมือให้นายจ้างแต่ละสถานประกอบการนำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดให้ รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง จะต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม สำหรับเงินสมทบส่วน ของนายจ้างและลูกจ้าง จะต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามความเป็นจริงซึ่งฐานค่าจ้างที่นำมาคำนวณเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หากนายจ้างหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติถือว่ามีความผิดฐานขัดคำสั่วของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น. ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการ 24 ชั่วโมง)

(บ้านเมือง, 22-8-2553)

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น