ประชาไท | Prachatai3.info |
- “ราชินี” ตรัส “ในหลวง” ทรงแข็งแรงดี ทรงห่วงปัญหาน้ำ ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน
- อัยการส่งฟ้องศาลแล้ว 19 นปช.คดีก่อการร้าย
- จดหมายเปิดผนึก "อนุดิษฐ์" จี้ "ธาริต" แจงไม่สั่งฟ้อง “ประชัย”
- รายงานพิเศษ: คลี่ปมเยี่ยวยาใต้ (ตอนที่1) สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง
- "ไพบูลย์" สำนึกผิดเปรียบนายกเป็น "อภิสิทธัตถะ" เตรียมขอขมามหาเถระสมาคม
- รายงานพิเศษ ‘จังหวัดระนอง’ ตะเข็บชายแดน พื้นที่นำร่องสู่ “การจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า”
- สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์จี้รัฐเร่งออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
- นักข่าวพลเมือง: กรมชลแหกตาประชาชนรับฟังฯ ผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูน
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แถลงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ
- จับตาภาคประชาชน:คำ ผกา และจินดา บุญจันทร์ ทัศนะต่อ NGO ในขบวนภาคประชาชน
- กรีนพีซย้ำวิกฤตปัญหาสารพิษในคลองเชื่อมเจ้าพระยา
- เทศกาลรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย : ไม่ใช่เพื่อตัวบุคคล
- NGOs กับการเมือง
- สกอ.ยินดียกเลิกหนังสือสั่งมหาวิทยาลัยคุมเข้มละครเวทีการเมือง
- ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ 46,000 ล้าน “พ.ต.ท.ทักษิณ”
“ราชินี” ตรัส “ในหลวง” ทรงแข็งแรงดี ทรงห่วงปัญหาน้ำ ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน Posted: 11 Aug 2010 07:04 AM PDT สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีพระราชดำรัสต่อคณะบุคคลผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงเผยถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงดีแล้ว รอกายภาพบำบัด ก่อนออกจากโรงพยาบาล ตรัสปลื้มใจประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร ทรงย้ำ"ในหลวง"ห่วงปัญหาน้ำ ทรงติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา ชวนคนไทยช่วยกันปลูกต้นไม้ ลดภาวะโลกร้อน พร้อมทรงชื่นชมสาวท้องแก่ใจเด็ดช่วยจับโจรขโมยรถ ที่มาข่าว: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัยการส่งฟ้องศาลแล้ว 19 นปช.คดีก่อการร้าย Posted: 11 Aug 2010 06:54 AM PDT 11 ส.ค. 53 - อัยการนำสำนวนคดีก่อการร้ายส่งฟ้องต่อศาลอาญาแล้ว ประกอบด้วยผู้ต้องหา 19 คน รวมถึง "วีระ มุสิกพงษ์-จตุพร พรหมพันธุ์-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-นพ.เหวง โตจิราการ" พร้อมกับสำนวนคดียุยงปลุกปั่น มี 1 ผู้ต้องหา คือ "สมชาย ไพบูลย์" ซึ่งครบกำหนดฝากขังในวันนี้ โดยศาลนัดสอบคำให้การในวันที่ 16 ส.ค. ทั้งนี้ในคดีก่อการร้าย ดีเอสไอส่งฟ้องต่ออัยการมีผู้ต้องหาทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งเหตุที่อัยการส่งฟ้องศาล 19 คน เนื่องจากที่เหลืออีก 6 คน ยังไม่ได้ตัวผู้ต้องหา จึงยังไม่ส่งฟ้อง จตุพรซัด อสส.รับใบสั่งลั่นชุมนุมหน้าอัยการแน่ ที่รัฐสภา นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวถึงกรณีที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดเพื่อให้เร่งรัดสั่งฟ้องคดีของแกนนำนปช.ว่า ล่าสุดอัยการสูงสุดก็เร่งรัดคดีและน่าจะสั่งฟ้องภายในเย็นวันนี้ ทั้งที่ยังไม่ถึงวันครบกำหนดฝากขัง 84 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 7 ก.ย. และที่ผ่านมาก็ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถึงกล่าวหา ไม่มีการสอบพยานทั้งชั้นพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ เป็นคนละมาตรฐานโดยสิ้นเชิงกับคดีของกลุ่มพันธมิตรฯ อัยการสูงสุดวันนี้กลายเป็นองค์กรทาส ประชาชนพึ่งหวังไม่ได้ และไม่แน่ใจว่าต่อไปศาลจะพึ่งได้หรือไม่ สำนวนคดีก่อการร้ายที่เขียนไว้ตนนำมาเปิดเผยไม่ได้ แต่เห็นแล้วต้องบอกว่าโหลยโท่ย กุข่าวสร้างพยานเท็จอย่างเลวร้ายที่สุด เป็นมนุษย์ไม่น่าจะใส่ร้ายกันได้ถึงเพียงนี้ หน่วยงานที่ทำถือว่าเลวทรามต่ำช้า ปั้นพยานเท็จมาเดินเรื่องใส่ร้ายกันในหลายกระบวนการ อย่างนี้จะปรองดองกันได้อย่างไร จะปฏิรูปด้วยการบีบให้คนจนตรอกไม่มีทางเลือกอย่างนั้นหรือ นายจตุพร กล่าวว่า กรณีที่จะชุมนุมหน้าสำนักงานอัยการสูงสุด ก็เพื่อทวงถามความเป็นธรรม และต้องการทราบเหตุผลการกระทำต่างๆของอัยการสูงสุด นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ควรลาออกได้แล้ว เพราะตัวเองเป็นตัวประกันคดีขายสินทรัพย์ ปรส. กว่า 8 หมื่นล้านบาท ถูกต่อรองในการทำหน้าที่จนขายความสง่างาม ส่วนจะเดินทางไปชุมนุมวันไหนนั้น ขอให้พวกเราได้คิดกันให้ตกผลึกเสียก่อน ตราบใดที่แผ่นดินยังไม่กลบหน้าต้องสู่ต่อไป อย่างไรก็ตามการไปชุมนุมที่อัยการสูงสุด คงไม่มีประโยชน์อะไรต่อรูปคดีแล้ว แต่จะไปเพื่อทวงถามเกียรติภูมิของอัยการสูงสุด ไปถามว่ายังเป็นองค์อิสระหรือเป็นองค์กรทาสในเรือนเบี้ย หรือตกเป็นตัวประกันของใคร พร้อมทั้งถามถึงการปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐานที่ทำกับนปช.และกลุ่มพันธมิตรฯ นายจตุพรกล่าวว่า สำหรับนายพีระพันธุ์ ได้ดำเนินการหลายอย่างที่ไม่ชอบมาพากล ซึ่งก็ขอให้เตรียมตอบกระทู้ของตนในสัปดาห์หน้า นอกจากนายพีรพันธุ์จะแทรกแซงอัยการแล้ว ยังโทรศัพท์ไปถึงนายประจวบ สังข์ขาว ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่รู้ว่าโทรไปหาเพื่ออะไรและโทรไปในฐานะอะไร ตนมีพร้อมหมดแล้วทั้งเบอร์โทร วันเวลาในการโทร ซึ่งตนจะนำเบอร์โทรศัพท์มาเปิดเผยในวันถามกระทู้ นอกจากนี้ยังสั่งให้ดีเอสไอนำข้อมูล และคำให้การพยานซึ่งอยู่ในขั้นตอนการคุ้มครองพยานตามพรบ.คุ้มครองพยาน ให้กับทีมกฎหมายในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการช่วยเหลือกันให้พรรคประชาธิปัตย์รู้ข้อสอบก่อน และเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม ต่อไปใครจะกล้ามาเป็นพยาน หากถูกนำความลับมาเปิดเผย จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้องกระทำเกินเลย เป็นพฤติกรรมมดลอบกัด ผิดทั้งมิติทางกฎหมายและทางจริยธรรม เบื้องต้นนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ไปร้องต่อปปช.ว่านายพีรพันธุ์ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบข้อหาดำเนินการเร่งรัดให้อัยการสั่งฟ้องคดีของแกนนำนปช.แล้ว ส่วนกรณีการสั่งดีเอสไอให้เอาข้อมูลและคำให้การพยานมาให้ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ในคดียุบพรรค ตนก็จะดำเนินคดีต่อไป นายจตุพร กล่าว ถึงกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯว่า เรื่องนี้เมื่อศาลมีมติชัดเจนแล้วก็ถือเป็นข้อยุติที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และคงไม่ได้ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงเกิดอาการขวัญเสีย และไม่มีผลต่อการดำรงอยู่ของคนเสื้อแดง เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่ได้มีการใช้เงินของอดีตนายกฯ การดำเนินการหรือเคลื่อนไหวใดๆ ก็เป็นการนำเงินมาจากการระดมทุนกันเองทั้งการจัดคอนเสิร์ต จัดกิจกรรม ขายของที่ระลึก ฉะนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: จตุพรซัดอสส.รับใบสั่งลั่นชุมนุมหน้าอัยการแน่ (เดลินิวส์, 11-8-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จดหมายเปิดผนึก "อนุดิษฐ์" จี้ "ธาริต" แจงไม่สั่งฟ้อง “ประชัย” Posted: 11 Aug 2010 06:12 AM PDT 11 ส.ค. 53 - น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 5 พรรคเพื่อไทย ส่งจดหมายเปิดผนึก ถึงนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้พิจารณาตอบข้อซักถามกรณีที่ดีเอสไอสั่งไม่ฟ้องกรณีที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานพิเศษ: คลี่ปมเยี่ยวยาใต้ (ตอนที่1) สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง Posted: 11 Aug 2010 05:54 AM PDT รายงานชุดคลี่ปมเยี่ยวยา สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง นำเสนอภาพรวมและปัญหาเรื่องการใช้เงินงบประมาณในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเดือนมกราคม 2547 เป็นต้น รัฐบาลไทยได้ทุ่มงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผละกระทบไปแล้วมากกว่า 2,225 ล้านบาท งานกับเงินเยียวยาวันนี้ยังมีปัญหามากมาย ในขณะที่สถิติผู้ได้รับผลกระทบทั้งเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย ถูกจับกุม ควบคุมตัวดำเนินคดีก็ยิ่งพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถิติความไม่สงบภาคใต้ยังพุ่ง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้รายงานว่า ช่วง 73 เดือนตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงมกราคม 2553 เกิดเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 9,446 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,100 คน บาดเจ็บ 6,509 คน รวม 10,609 คน มีผู้ได้รับผลกระทบจากความสูญเสียประมาณ 53,045 คน ในกลุ่มผู้เสียชีวิตเป็นคนมุสลิมมากกว่าพุทธ คิดเป็นร้อยละ 58.95 (2,417 คน) ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นคนพุทธมากกว่ามุสลิม คิดเป็นร้อยละ 59.82 (3,894 คน) งบประมาณเยียวยา แต่ละปีรัฐได้เพิ่มงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นในปี 2552 ที่ลดลง แต่ก็เชื่อว่าในปี 2553 นี้ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์รุนแรงมาตั้งแต่ต้นปี ทว่า งบประมาณ 2,225 ล้านบาทดังกล่าว ก็น้อยนิดถ้าเทียบกับงบประมาณในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด ซึ่งตลอด 5 ปีงบประมาณที่ผ่านมาที่สูงถึง 109,396 ล้านบาท ขณะที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 ที่ผ่านวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ได้จัดสรรมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 19,102 ล้านบาท หากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ผ่าน จะทำให้มีการใช้งบประมาณดับไฟได้พุ่งไปถึง 1.25 แสนล้าน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจกแจงงบประมาณในการเยียวยาแยกเป็นรายปีตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 จนถึงสิ้นเดือน กันยายน 2552 รวมทั้งสิ้น 2,225,318,527 บาท กลไกการเยียวยา ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2550 รัฐบาลไทยมีมติเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาคนของรัฐที่ได้รับผลกระทบจนรวม 14 ครั้ง เมื่อสถานทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก รัฐบาลไทยได้เพิ่มการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนเข้าไปด้วย มติคณะรัฐมนตรีครั้งสำคัญคือ การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กยต. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง จนได้หลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน กยต.ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 5 ชุด หนึ่งในนั้น คือ คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และอำนวยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธาน สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ คือ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนหน่วยงานสำคัญในพื้นที่ คือ ศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ จังหวัดทั้ง 4 จังหวัดคือ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส และศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ ประจำอำเภอทุกอำเภอใน 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตในพื้นที่ (สพท.) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.จ.) สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด และผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (กสส.) กระทรวงยุติธรรม ประเภทเงินเยียวยา สำหรับเงินช่วยเหลือเยียวยาของทางราชการ ได้แบ่งประเภทของเงินออกเป็น 10 กลุ่ม ดังนี้ (ดูตารางหลักเกณฑ์การเยียวยา) - เงินช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ โดยให้เป็นเงินก้อนครั้งเดียว - เงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อการประกอบอาชีพใหม่ แต่ต้องยื่นความจำนงเฉพาะ - เงินฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้บาดเจ็บหรือทุพพลภาพ - เงินช่วยเหลือผู้พิการ จ่ายเป็นรายเดือนตามระดับความพิการ - เงินยังชีพรายเดือน จ่ายให้กับเด็กที่ประสบเหตุและบุตรของผู้ได้รับผลกระทบที่เสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสหรือทุพพลภาพ เพื่อให้สามารถยังชีพได้ระหว่างการศึกษา โดยจ่ายเป็นรายเดือนจนจบการศึกษา - เงินสงเคราะห์ครอบครัว จ่ายครั้งเดียว - เงินครอบครัวอุปถัมภ์ จ่ายให้กับครอบครัวที่อุปถัมภ์เด็กกำพร้า เนื่องจากบิดาและมารดาเสียชีวิตทั้งคู่จากเหตุการณ์ไม่สงบ โดยได้รับเป็นรายเดือน - เงินทุนการศึกษาเป็นรายปีต่อเนื่อง สำหรับเด็กที่ประสบเหตุ เด็กกำพร้า หรือเด็กที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากบิดามารดาหรือผู้อุปการะเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส ทุพพลภาพระยะยาว โดยจ่ายเป็นรายปีจนจบการศึกษา เงินเยียวยาไม่ใช่มรดก นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะกรรมการมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ หรือ มยส. กล่าวว่า เงินช่วยเหลือเยียวยา มีเป้าหมายเพื่อให้คนที่อยู่ข้างหลังมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความยากลำบากน้อยที่สุด ดังนั้นเงินดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดก “ผู้นำศาสนาแจ้งชัดว่า ไม่ใช่เงินมรดก และไม่ต้องแบ่งตามกฎหมายมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม อีกทั้งต้องไม่นำไปจ่ายหนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ก่อนจัดสรรให้ทายาทด้วย” นายแพทย์สุภัทร กล่าว ใครคือผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อมีนโยบายและหลักเกณฑ์การเยียวยาแล้ว ก็จำเป็นต้องมีผู้ได้รับการเยียวยา แล้วใครคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่ทำให้ต้องได้รับการเยียวยาจากความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นบ้าง ในกรณีนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และอำนวยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ ได้ระบุประเภทผู้ได้รับผลกระทบอย่างกว้างๆ ดังนี้ 1.คนไทยที่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน 2.บุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 3.ผู้มาประสบเหตุจากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา 4.เหตุการณ์ที่ทำให้เสียชีวิต บาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย เฉพาะทรัพย์สินที่ไม่ได้ทำประกันภัย ขณะเดียวกัน มีการกำหนดระดับความเสียหายที่เกิดจากความไม่สงบด้วย ซึ่งมีหลายระดับความรุนแรง ทั้งการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย กล่าวสำหรับความเสียหายต่อร่างกาย กยต.ได้มีการแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งจะทำได้รับสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน ได้แก่ 1.เสียชีวิต 2.ทุพพลภาพ หมายถึง พิการหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น 3.บาดเจ็บสาหัส ใช้ระยะเวลาพักรักษาเกิน 20 วัน 4.บาดเจ็บธรรมดา ใช้ระยะเวลาพักรักษา 8 – 20 วัน และ 5.บาดเจ็บเล็กน้อย ใช้เวลาพักรักษาตัว ไม่เกิน 7 วัน การรับรอง 3 ฝ่าย หลักเกณฑ์สำคัญอีกประการหนึ่งที่คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และอำนวยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ กำหนดขึ้นในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบคือ การรับรอง 3 ฝ่าย เยียวยาคือ หมายความว่า จำเป็นต้องมีเอกสารรับรองเหตุการณ์ไม่สงบจากทั้งตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครอง อันเป็นการรับรองเพื่อยืนยันว่า เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จริง ซึ่งจะดำเนินการภายใน 7 วัน โดยผู้ลงนามในใบรับรอบ 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ในพื้นที่ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร และนายอำเภอ หากมีการรับรองเพียง 2 ฝ่าย ก็จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ครบ 100 % ทันที แต่หากมีการรับรองเพียงฝ่ายเดียว หรือ ไม่มีใครรับรองเลย ก็จะไม่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือหรือหากมีการจ่ายไปก่อน 25 % ในเบื้องต้นก็ให้ยุติการจ่าย โดยไม่เรียกเงินคืน แต่หากเป็นทรัพย์สินที่เสียหาย ก็จะมีการประชุมประเมินราคาทรัพย์สินก่อน จากนั้นก็ให้รอผลการตัดสินสุดท้ายว่า เป็นคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ หากความสูญเสียที่เกิดขึ้น เป็นคดีความมั่นคงก็ให้จ่ายเงินช่วยเหลือจนครับ 100 % ต่อไป โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการมอบเงินเยียวยาคือผู้ว่าราชการจังหวัด ในการรับรอง 3 ฝ่ายนั้น เป็นปัญหาพอสมควร เนื่องจากบางเหตุการณ์มีความคลุมเครือ เจ้าหน้าที่ไม่กล้ารับรอง แต่ญาติผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บเชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ไม่สงบ ทำให้คำร้องเรียนค้างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และอำนวยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ เป็นจำนวนมาก นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีเรื่องค้างพิจารณา 492 เรื่อง ซึ่งเป็นกรณีผู้ได้รับผลกระทบที่ตกสำรวจด้วย คิดเป็น 1 ใน 3 ของคำร้องทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีอีก 89 เรื่องต้องนำมาทบทวนคำรับรอง 3 ฝ่าย ใหม่ โดยในการพิจารณาหรือทบทวนคำรับรองใหม่นั้น ก็ต้องเชิญหน่วยงานในพื้นที่พิจารณาร่วมกัน
หลักเกณฑ์การเยียวยา ตารางหลักเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวดชายแดนภาคแดน ตามมติ คณะรัฐมนตรีและระเบียบรกระทรวงการคลัง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ไพบูลย์" สำนึกผิดเปรียบนายกเป็น "อภิสิทธัตถะ" เตรียมขอขมามหาเถระสมาคม Posted: 11 Aug 2010 05:41 AM PDT เมื่อวันที่ 11 ส.ค. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณากรณีคำพูดที่ไม่เหมาะสมของ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่กล่าวเปรียบเทียบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสมือน "อภิสิทธัตถะ" โดยนายไพบูลย์ได้เดินทางมาชี้แจงด้วยตัวเอง โดยมีพระเทพดิลก เลขาธิการศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยและประธานศูนย์พิทักษ์ พระพุทธศาสนา ผู้เสนอญัตติเข้าร่วมรับฟังด้วย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่ได้ มีเจตนาจะลบหลู่พระพุทธศาสนา ยอมรับว่าคำพูดของตนได้สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย ซึ่งตนก็รับรู้ถึงความกังวลเหล่านี้ และยินดีที่จะขอโทษในสิ่งที่ได้กระทำลงไป ขณะที่พระเทพดิลก กล่าวว่า เมื่อนายไพบูลย์สำนึกผิด ในสิ่งที่ได้กระทำผิดพลาดไปแล้วก็ไม่ติดใจอะไร เพียงแต่อยากให้ นายไพบูลย์ ไปขอขมาต่อมหาเถระสมาคมที่รู้สึกกังวล และไม่สบายใจในเรื่องนี้อย่างมาก ซึ่งนายไพบูลย์ ตอบรับว่าพร้อมจะไปขอขมาต่อมหาเถระสมาคมด้วยตัวเองในวันที่ 20 ส.ค. นี้ ที่มาข่าว: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานพิเศษ ‘จังหวัดระนอง’ ตะเข็บชายแดน พื้นที่นำร่องสู่ “การจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า” Posted: 11 Aug 2010 05:33 AM PDT สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น (NCCM) จังหวัดระนอง ได้จัดเวทีรวบรวมสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องในพื้นที่จังหวัดระนอง (พื้นที่ต้นแบบ) เพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา ในเรื่องการจดทะเบียนการเกิดในพื้นจังหวัดระนองด้วยเล็งเห็นว่าระนองเป็น พื้นที่ชายแดนที่ประสบปัญหาเรื่องการจดทะเบียนรับรองการเกิดของเด็ก และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาการตกอยู่ในภาวะไร้รัฐของบุคคลได้ง่าย แต่จังหวัดระนองโดยความร่วมมือของภาคราชการ ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลับมีสถิติในการแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นหากสามารถรวบรวมปัญหาที่มีอยู่ และแนวทางวิธีแก้ปัญหาที่ผ่านมาก็อาจส่งผลให้จังหวัดระนองกลายเป็นพื้นที่ ต้นแบบ นำร่องสู่ การจดทะเบียนการเกิดที่ถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องได้ และการดำเนินการเพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัด ระนองนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการทำงานเครือข่ายด้านสถานะ บุคคล และสิทธิเพื่อผลักดันการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) เวทีดังกล่าวนี้จัดขึ้นในวันที่ 29 กรกฏาคม 2553 ณ เฮอริเทจ แกรนด์ คอนแวนชั่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ซึ่งมีตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานด้านสถานพยาบาลในจังหวัดระนอง เทศบาล อำเภอต่าง ๆ และตัวแทนผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสถานะบุคคลเข้าร่วม ประมาณ 20 คน ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ กล่าว ในเวทีว่า มนุษย์ทุกคน นอกจากการมีตัวตนในทางข้อเท็จจริงแล้ว การจดทะเบียนการเกิด จะช่วยให้เด็กหรือคนๆ หนึ่งถูกมองเห็นโดยสายตาของกฎหมาย โดยรับรู้การมีตัวตนของเขาผ่านทางระบบการบันทึกทะเบียนราษฎรของรัฐ ทำให้บุคคลไม่ตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐ และบุคคลผู้นั้นจะมีเอกสารระบุทราบตัวบุคคลของตนเพื่อเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ทั้งสิทธิการศึกษา สิทธิในการสุขภาพ ประกอบกับฐานข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการประชากร และอาจถูกใช้เพื่องานความมั่นคงของรัฐ เพราะเมื่อรัฐทราบจำนวนคนเกิดก็ย่อมง่ายต่อการจัดระเบียบประชากร อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนการเกิดประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1.ถ้วนหน้า คือ เด็กและอดีตเด็กทุกคนที่เกิดและปรากฏตัวในประเทศไทยจะต้องได้รับการจด ทะเบียนการเกิด โดยจะต้องเป็นไปตามข้อ 2. คือ ครบขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือ การได้รับหนังสือรับรองการเกิด การแจ้งเกิด และการมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ และข้อ 3. ถูกต้อง คือ การจดทะเบียนการเกิดและการได้รับเอกสารระบุทราบตัวบุคคลจะต้องถูกต้องตรงตาม ข้อเท็จจริงของเด็กหรือบุคคลนั้นๆ “นอกจากนี้ เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ได้รับจากการจดทะเบียนการเกิด หรือแม้กระทั่งหนังสือรับรองการเกิด จะเป็นเอกสารที่ทำให้บุคคลตามเอกสารเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะบุคคลได้ ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการตกอยู่สถานะคนไร้สัญชาติ โดยทุกภาคส่วนของสังคมจำต้องทำความเข้าใจว่า สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด และ สถานะทางกฎหมายบุคคลเป็นคนละเรื่องกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด” ดรุณี กล่าว ในช่วงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานและปัญหาที่พบนั้น ตัวแทนจากโรงพยาบาลจังหวัดระนอง ได้เล่าถึงการทำงานของโรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลระนองจะมีบันทึกหน้าห้องคลอด หรือ “ทะเบียนคนคลอด” ที่บันทึกว่ามีใครมาคลอดบุตรที่โรงพยาบาล บันทึกนี้จะไม่มีการทำลายเว้นแต่สูญหายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ย้ายตึก ปลวกกิน โดยของโรงพยาบาลระนองนั้นด้วยเหตุที่มีการย้ายตึกประมาณ ปี พ.ศ. 2542-2543 ทะเบียนคนคลอดบางส่วนจึงหายไป เหลือเพียงส่วนที่บันทึกปลายปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สำหรับแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลระนองในการที่จะออก ท.ร.1/1และลงลายมือชื่อผู้ทำคลอดให้ก็ต่อเมื่อมารดาของเด็กได้มาตัดสายสะดือ ที่โรงพยาบาลระนอง หากตัดสายสะดือมาแล้วแต่ให้โรงพยาบาลเป็นผู้ทำความสะอาดรก เช่นนี้ ก็ไม่อาจจะออก ท.ร.1/1 ให้ได้ในกรณีที่ทำ ท.ร.1/1 หาย หรือ อำเภอ เทศบาลมีหนังสือส่งมาขอให้ออก ท.ร.1/1 ให้ โรงพยาบาลก็ยินดีออก ท.ร.1/1 ให้ใหม่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเกิดที่โรงพยาบาลจริง ปัญหาที่พบในเรื่องการออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. 1/1) ของโรงพยาบาลระนองก็คือ มารดาเด็กซึ่งเป็นชาวพม่าไม่นำ ท.ร.1/1 ไปแจ้งเกิด หรือลืมรับ ท.ร.1/1 หรือจงใจไม่รับเนื่องจากไม่ทราบว่าต้องนำไปแจ้งเกิดเด็ก แต่เมื่อโรงพยาบาลชี้แจงให้ทราบว่าต้องรับไปเพื่อแจ้งเกิดเด็กที่เทศบาล หรือ อำเภอ ก็ยังไม่ยอมรับเช่นเดิม ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 100 ราย สันนิษฐานว่าเป็นเพราะมารดา บิดาชาวพม่าอาจจะยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการแจ้งเกิดเด็ก หรืออาจกลัวการที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการไทย เพราะเกรงว่าจะโดนจับ ส่วนใหญ่ของการขอ ทร. 1/1 ย้อนหลังนี้มักจะแจ้งชื่อบิดา มารดา ของเด็กไปตรงกับที่แจ้งไว้คราวที่คลอด กรณีนี้โรงพยาบาลแก้ปัญหาโดยให้ผู้ขอไปแจ้งความก่อน แล้วจึงมาดำเนินการขอท.ร.1/1 อย่างไรก็ตามตัวแทนจากโรงพยาบาลกระบุรีได้เล่าถึงวิธี การแก้ปัญหาในเรื่องการออก ท.ร. 1/1 บางส่วนเพื่อแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาลอื่น ๆ คือ โรงพยาบาลกระบุรีจะเย็บ ท.ร.1/1 ติดกับสมุดแม่และเด็กเพื่อให้มารดาเด็กนำกลับไป และในกรณีที่ชื่อบิดามารดาซึ่งแจ้งไว้ในสมุดสีชมพูแม่และเด็กไม่ตรงกับที่ แจ้งใน ท.ร.1/1 ทางโรงพยาบาลจะเขียนตามที่แจ้งไว้ในท.ร.1/1 โดยเขียนกำกับท้ายชื่อว่า “เขียนตามคำบอกเล่าของพ่อแม่” และสำหรับค่าบริการทางการแพทย์นั้นคิด 300 บาทต่อวัน แต่ถ้ามารดานำสูติบัตรเด็กมาแสดงแก่โรงพยาบาลภายใน 7 วัน ก็จะได้รับเงิน 300 บาทคืน โดยวิธีคืนเงินนี้ใช้ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ แต่จะไม่ใช้กับมารดาเด็กที่ไม่มีบัตรอะไรเลย เป็นการกระตุ้นให้มารดานำทร.1/1 ไปจดทะเบียนการเกิด ซึ่งโรงพยาบาลระนองก็ใช้วิธีนี้เช่น กันแต่เปลี่ยนเป็นเก็บเงินไว้ก่อน 704 บาท เมื่อเด็กมีสูติบัตรแล้วก็จะมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ จึงไม่จำเป็นต้องจ่าย 704 บาท จึงได้รับเงินกลับคืนไป ทางด้านเทศบาลเมืองระนองก็ได้นำเสนอปัญหาที่พบ คือ กรณีมาแจ้งเกิดแล้วชื่อบิดามารดาที่แจ้ง ไม่เหมือนกับใน ท.ร. 1/1 หากผิดเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่ถ้าแตกต่างในลักษณะที่อาจเป็นชื่อใหม่เลย เช่นนี้ ก็จะแจ้งกลับไปให้ทางโรงพยาบาลแก้ไข และถ้าบิดามารดามีเลขประจำตัว 13 หลัก แต่ถูกระงับเคลื่อนไหวทางทะเบียน เทศบาลก็จะรับจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็ก โดยจะกำหนด เลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 0 คือ บุคคลซึ่งไม่สถานะทางทะเบียน ตัวแทนจากอำเภอเมืองระนอง กล่าวว่าการทำงานของอำเภอนั้นอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงแห่งรัฐ ได้ยืนยันว่าหากมีท.ร.1/1 มาแสดง อำเภอก็รับฟังและจดทะเบียนการเกิดให้แน่นอน แต่ในกรณีที่นำมาเพียงสมุดแม่และเด็กนั้นไม่อาจยืนยันได้ว่าเด็กเกิดในโรง พยาบาล เพราะอาจจะเป็นแค่การฝากครรภ์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เช่น พยานบุคคล 5-6 คนที่เห็นการเกิด ทั้งนี้ทางอำเภอเคยพบปัญหาการสวมตัว นำ ท.ร. 1/1 ของผู้อื่นมาแจ้งการเกิดของตนเอง นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะจากตัวแทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเสนอให้มีการทำความเข้าใจกับบิดา มารดา เด็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นชาวต่างชาติให้เข้าใจถึงการจดทะเบียนการเกิด โดยอาจจะต้องจัดทำคู่มือจดทะเบียนการเกิดเป็นภาษาต่างประเทศ และ ชาติชาย อรเลิศวัฒนา นักกฎหมาย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น จังหวัดระนองซึ่ง ได้ติดตามและทำงานในประเด็นการจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ได้นำเสนอสถานการณ์ภาพรวมของการจดทะเบียนการเกิด ซึ่งพบว่ามีเด็กทั้ง 6 กลุ่ม คือ หนึ่ง-เด็กเกิดในสถานพยาบาล สอง-เด็กเกิดนอกสถานพยาบาล สาม-เด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอด ทิ้ง สี่-เด็กที่เกิดในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ห้า-เด็กไทยที่เกิดในต่างประเทศ และหก-กรณีการจดทะเบียนการเกิดภายหลังการมีชื่อในทะเบียนราษฎร ได้รับการจดทะเบียนการเกิด ทั้งนี้ในทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวที่สำเร็จลุล่วงเกิดจากการประสาน งานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเพื่อให้การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัดระนองสามารถเป็น พื้นที่ต้นแบบได้ก็ยังต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต่อไป ที่มา: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์จี้รัฐเร่งออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ Posted: 11 Aug 2010 03:39 AM PDT เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 53 ที่ผ่านมา สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ รัฐบาลต้องเร่งออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ กระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งทำความเข้าใจ ผู้คัดค้านต้องหยุดเฉไฉ โดยมีเนื้อหาดังนี้ แถลงการณ์ จากการที่รัฐบาลได้เสนอร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. .... ต่อรัฐสภา แต่ได้มีการรวมตัวของของบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งเพื่อคัดค้านร่าง พรบ.นี้ โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆนานา อาทิเช่น จะทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ จะเกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น หรือว่าโรงพยาบาลจะต้องจ่ายเงินสมทบต้องกลายเป็นภาระของโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเหตุผลของฝ่ายที่คัดค้านนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลเดิม ๆ ที่ฝ่ายประชาชนผู้เสนอกฎหมายได้ทำการชี้แจงข้อเท็จจริง ไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ฝ่ายผู้คัดค้านกลับไม่ยอมรับฟัง ยังคงย้ำคิดย้ำพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องอยู่เช่นเดิม ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนหรือออกมาทำความเข้าใจกับบุคลากรของกระทรวงแต่อย่างใด สมัชชาคนจนเป็นองค์กรชาวบ้านองค์กรหนึ่งที่ร่วมเคลื่อนไหวผลักดันในการเสนอร่าง พรบ.นี้ เนื่องจากเราเห็นว่าที่ผ่านมามีผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนไม่น้อย ไม่เคยได้รับการดูแลทำให้เป็นภาระแก่ครอบครัวเป็นอันมาก จนกระทั่งมี พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ที่มีบทบัญญัติในมาตรา ๔๑ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายและครอบครัวเป็นอันมาก และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ดีขึ้น ดังนั้นหากมี พรบ.นี้ ที่มีการช่วยเหลือมากกว่าเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น สมัชชาคนจนจึงใคร่ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล หน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน เพราะเรื่องนี้เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้อย่างชัดเจน ๒.ขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งทำความเข้าใจกับบุคคลากรที่ออกมาคัดค้าน ๓.ขอให้ผู้คัดค้านหยุดเฉไฉปล่อยข่าวใส่ร้ายทำลายความชอบธรรม แต่ได้โปรดหันหน้ามาทำความดีร่วมกันจะเป็นการสมานฉันท์อย่างแท้จริง ด้วยจิตคารวะ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักข่าวพลเมือง: กรมชลแหกตาประชาชนรับฟังฯ ผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูน Posted: 11 Aug 2010 03:20 AM PDT เมื่อวันที่ 10 ส.ค.53 ที่ผ่านมา ณ ห้องเจริญศรี 2-4 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี กรมชลประทานได้จัดการประชุมกลุ่มจังหวัดอุดรธานี เลย หนองคาย และหนองบัวลำภู (ยุทธศาสตร์) ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบถึงขั้นตอนการทำงาน แนวทางการศึกษา ทางเลือกของการพัฒนา และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างภาพว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมกับโครงการดังกล่าวนั้นเอง นายปัญญา โคตรเพชร ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งอุดรธานี ตั้งข้อสังเกตของการจัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นฯในวันนี้ว่า เป็นการผลาญงบศึกษาหรือไม่ เพราะองค์ประกอบของการจัดขาดการมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากและคนที่ได้ประโยชน์คือบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับงบศึกษาไปเต็ม ทั้งๆที่รู้มาโดยตลอดว่าโครงการฯแบบนี้ไม่มีวันที่จะทำได้สำเร็จและต้องมีคนขึ้นมาคัดค้านแน่นอน ยกตัวอย่างโครงการโขง-ชี-มูน ทุกวันนี้ก็ล้มไม่เป็นท่าประเทศชาติสูญเสียงบประมาณหลายพันล้านมีใครออกมารับผิดชอบบ้าง สิ่งต่างๆเหล่านี้ภาครัฐควรจะกลับไปทบทวนศึกษาให้รอบด้านเสียก่อนที่จะผลักดันต่อไป ที่กล่าวอ้างว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้เป็นการพูดเท็จทั้งสิ้น..นายปัญญา กล่าว นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า การจัดรับฟังความเห็นชองประชาชนที่กรมชลประทานจัดขึ้นในวันนี้ เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้นและแหกตาคนทั่วในสังคมว่าได้จัดรับฟังความคิดเห็นเรียบร้อยแล้วผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฯ ผม...ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้เวลาแค่ 3-4 ช.ม.มันเป็นการรวบรัด และ SEA ที่กรมชลทาน และบริษัทที่ปรึกษานำเสนอนั้นเป็นเส้นทางผันน้ำที่เลือกไว้แล้วว่าต้องเกิดขึ้นและกรมชลได้ตั้งธงไว้เรียบร้อยแล้วดังนั้นการจัดเวทีวันนี้ ทางเราจึงเห็นว่าไม่มีความเป็นธรรม ยอมรับไม่ได้ และไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า “คำถามที่ต้องค้นก็คือว่าการที่อีสานมีน้ำแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้จริงหรือไม่ ปัญหาดินเค็ม ปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชน หรือความไม่เป็นธรรมทางสังคม จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช้มีน้ำแล้วจะทำให้ปัญหาทุกอย่างหมดไปอย่างที่รัฐบาล และกรมชลประทานตั้งธงไว้ โดยไม่คิดจะศึกษาหรือสร้างความเข้าใจในมติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม” นายสุวิทย์กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แถลงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ Posted: 11 Aug 2010 03:08 AM PDT 11 ส.ค. 53 - เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เรียกร้อง “สนับสนุนร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ “เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีฯและเครือข่ายองค์กรด้านเอดส์ จากการเสนอร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่เข้าสู่วาระการพิจารณาสมัยนิติบัญญัติถึง 7 ร่าง เมื่อดูจากเจตนารมณ์และหลักการของร่างพรบ.ฉบับดังกล่าว ที่เน้นหลักการ 3 เรื่องคือ มีการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและผู้ได้รับความเสียหาย มีระบบพัฒนาป้องกันความเสียหาย และสนับสนุนผู้ให้บริการทำงานอย่างมีความสุขไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง จะเห็นว่าหลักการของ พรบ.ฉบับดังกล่าว เป็นกฏหมายที่ตั้งอยู่บนฐานของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยการให้สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากรัฐ หากประสบความเสียหายจากการมารับบริการสาธารณสุข โดยที่ผู้ป่วย หรือผู้ประสบความเสียหาย และญาติ ไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการเพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากสถานบริการนั้นๆหรือ แพทย์ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องและได้รับการสนับสนุนทั้งจากนักวิชาการอิสระ นักวิชาการด้านการแพทย์ สถาบันการศึกษา และสถาบันที่เป็นแนวหน้าในการพัฒนาระบบสาธารณสุข รวมถึงการสำรวจความเห็นของประชาชนที่ได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จากช่องทางต่างๆ เช่น การสำรวจของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หรือ “หาดใหญ่โพล” ที่พบว่า 82.5% ของประชาชนเห็นด้วยให้มี พรบ.ดังกล่าว และ 32.4% เห็นว่าแพทย์จะได้รับประโยชน์จาก พรบ. ฉบับนี้ ดังนั้นการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์ในขณะนี้ เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของใคร โดยเจตนาเพื่อปกป้องสิทธิของแพทย์ หรือเพื่อผลประโยชน์ในแพทยสภา 1. ให้รัฐบาลทำตามการประกาศของนายกรัฐมนตรีที่ให้ไว้กับตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ว่าจะไม่มีการถอนร่าง พรบ. และให้ดำเนินการพิจารณาการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขตามวาระของการพิจารณากฏหมายในสมัยประชุมนิติบัญญัติ และต้องไม่ดำเนินการใดๆที่นำไปสู่การชะลอการพิจารณาร่าง พรบ. ฉบับดังกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จับตาภาคประชาชน:คำ ผกา และจินดา บุญจันทร์ ทัศนะต่อ NGO ในขบวนภาคประชาชน Posted: 11 Aug 2010 03:01 AM PDT “ภาคประชาชน” ที่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสายตา “จินดา บุญจันทร์” และวิพากษ์ “การปฏิรูปประเทศไทย” อีเวนท์ใหม่ของภาคประชาชนโดยคำ ผกา ในซีรี่ส์ “NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน” โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย ตอน 9 คำ ผกา นักเขียนอิสระ “ขบวนการภาคประชาชนเริ่มหมดพลังของมันไปตั้งแต่ อาจจะเป็นปัญหาเรื่องที่ทุนด้วย ที่ทำให้ขบวนการภาคประชาชนเข้ามารับทุนจากภาครัฐเข้าไปทำงานเคลื่อนไหวมากขึ้น ก็เลยทำให้หมดพลังที่จะตรวจสอบถ่วงดุลนโยบายของรัฐ ในขณะเดียวกันภาคประชาชนมองผลประโยชน์ระยะสั้น คือในแง่ที่จะลอบบี้เพื่อที่จะบรรลุผลในโครงการหรือพื้นที่ที่ตนลงไปทำงานมากกว่าจะมองปัญหาในเชิงโครงสร้าง” “ปัญหาของเอ็นจีโอ อันแรกเลยคือ Romanticize ชนบทกับ Romanticize ชาวบ้าน อันที่สองคือไป Dramatize ทุนกับโลกาภิวัตน์ คือมองทุนกับโลกาภิวัตน์เป็นผู้ร้ายหมดแล้วก็มองชาวบ้านเป็นพระเอกนางเอกหมด ในขณะเดียวกันก็ใช้ชาวบ้านในฐานะเป็น Object of Sympathy คือเป็นวัตถุที่รอรับความช่วยเหลือเป็นวัตถุที่รอรับความสงสารเห็นใจ แล้วก็เป็นวัตถุแห่งความจรรโลงใจในทางสุนทรียศาสตร์ของการโหยหาชนบทใน fantasy ของชนชั้นกลางด้วย” “มันเป็นเรื่องหน่อมแน้มไร้เดียงสามาก มันเป็นเรื่องอัปยศอดสูของขบวนการภาคประชาชนอย่างที่สุด เพราะคุณก็รู้ว่าที่มาของรัฐบาลนี้เป็นอย่างไร คุณก็ยังไป สังฆกรรมกับมัน คุณไม่ควรจะอยู่สู้หน้าประชาชน และไม่ควรที่จะเรียกตัวเองว่าขบวนการภาคประชาชนอีกต่อไป” ทัศนะต่อการร่วมขบวนปฏิรูปประเทศไทยของภาคประชาชน โดยคำ ผกา นักเขียนอิสระสาว 000 ตอน 10 จินดา บุญจันทร์ แกนนำชาวบ้านเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ชุมพร “ภาคประชาชนมันไม่ได้เป็นเรื่องใหม่หรอก เป็นเรื่องของกลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยวิถีวัฒนธรรม โดยการประกอบอาชีพ หรือโดยอะไรก็ตาม มันเป็นกลุ่มคนที่ไม่ว่าโดยธรรมชาติหรือการจัดตั้งก็ตามก็ตาม แต่ว่าเป้าหมายของภาคประชาชนก็คือ เขารวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาของเขาที่ใกล้ตัวที่สุด ที่เขาประสบอยู่” “บทบาทของพี่น้องประชาชนเป็นบทบาทคู่ ถ้าไม่มีภาคประชาชนก็ไม่มีเอ็นจีโอ” “ช่วงแรกๆ บทบาทของเอ็นจีโอค่อนข้างจะแข็งตัวอยู่กับการทำงานเต็มเวลา มีองค์กรที่ตัวเองทำและรับผิดชอบ แล้วก็ค่อนข้างยึดติดกับองค์กร ในขณะที่ขบวนการภาคประชาชนยังมีความหลากหลายและซับซ้อนอยู่ในพื้นที่ ถ้าขบวนการเอ็นจีโอปรับเปลี่ยนวิถีในการทำงาน ไปทำงานร่วมกับภาคประชาชน และเป็นเนื้อเดียวกับภาคประชาชนมากขึ้น” “ถ้าเขาสามารถสร้างให้คนที่อยู่ในชุมชนทำหน้าที่เสมือนเอ็นจีโอ หรือเป็นเอ็นจีโอในพื้นที่ได้ กระบวนการเอ็นจีโอก็ต้องเปลี่ยนไป” จินดา บุญจันทร์ แกนนำชาวบ้านเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ชุมพร คณะกรรมการประสานงานองค์กรชุมชนภาคใต้ (คปอ.ใต้) และผู้แทนบอร์ดภาคใต้ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ............................................................. หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรีนพีซย้ำวิกฤตปัญหาสารพิษในคลองเชื่อมเจ้าพระยา Posted: 11 Aug 2010 02:54 AM PDT หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำของกรีนพีซย้ำวิกฤตปัญหาสารพิษในคลองเชื่อมเจ้าพระยา เรียกร้องภาครัฐนำมาตรการควบคุมมลพิษเชิงรุกมาใช้ สมุทรปราการ, 10 สิงหาคม 2553 นักกิจกรรมรณรงค์ของกรีนพีซลงพื้นที่คลองสำโรงซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งพบการปนเปื้อนสารพิษอันตราย พร้อมติดป้ายเตือนชุมชนเกี่ยวกับสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำ กรีนพีซรณรงค์ผลักดันรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมให้เร่งนำระบบรายงานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษมาใช้ รวมถึงตั้งเป้าหมาย “มลพิษเหลือศูนย์” เพื่อลดการปล่อยสารเคมีในน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง (1) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เทศกาลรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย : ไม่ใช่เพื่อตัวบุคคล Posted: 11 Aug 2010 02:47 AM PDT หลังจากรางวัลซีไรต์ประจำปี 2553 นี้ มีการประกาศผลรอบแรกในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา มีหนังสือกวีนิพนธ์เข้ารอบแรกจำนวน 6 เล่ม เรียงตามลำดับอักษรดังนี้
จากผลงานกวีนิพนธ์ที่ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ทั้งหมดจำนวน ผลงาน ดังรายนามต่อไปนี้ 1 เดิน ๓๘ ก้าว ถึงนิพพาน ฉมณคิด แผนสมบูรณ์ จงเจริญการพิมพ์ 2 เดินตามรอย วันเนาว์ ยูเด็น แพรว 3 เทวาลัยมนสิการ พันดา ธรรมดา นกเช้า 4 เพลงใฝ่เงาฝัน วัฒนา ธรรมกูร สาระตน 5 เพียงเสียงนกบนดาวเคราะห์น้อย แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า ชายขอบ 6 เพียงฝุ่นทรายว่ายล่วงถึงดวงดาว ศิลาดล นกเช้า 7 เมล็ดฝัน พันธุ์กวี สิทธิเดช กนกแก้ว ร้อยแก้ว 8 เมืองในแสงแดด โกสินทร์ ขาวงาม ใบไม้ป่า 9 ตกต้องตามฤดูกาล ยอดฉัตร บุพศิริ ไม่ประสงค์ 10 เหมือนหนึ่งมนุษย์ มีเลือดคนละสี ธาร ธรรมโฆษณ์ ข้าวเจ้า 11 แผ่นดินที่ฉันมีวิถีจิตนิยม ชูชาติ ครุฑใจกล้า ธรรมเมธี 12 โลกแห่งเวลาอาลัย ภูวดล ภูภัทรโยธิน สมุดไทย 13 โลกแห่งรัก กานติ ณ ศรัทธา รูปจันทร์ 14 โลกยนิทาน ธีรภัทร เจริญสุข นานมีบุ๊คส์ 15 โลกหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม กฤตย์ดิศร กรเกศกมล นานมีบุ๊คส์ 16 ใต้ดวงตะวันสีดำ เชาว์ศิลป์ จินดาละออง ดาริกา 17 ในความไหวนิ่งงัน ทิวา ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด 18 ในท้องปลาวาฬ มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ไม่ประสงค์ 19 ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ซะการีย์ยา อมตยา หนึ่ง 20 ไฮกุ อยู่ในหัวใจเธอ เมธา เมธี อมตะสตูดิโอ 21 กระจกเงา-เกิดเพื่อแพ้ รุ่งฟ้า ตะวันออก ------ 22 กรีดลงแก้ม ลัดดา สงกระสินธ์ ลูกข่าง 23 กวีนิพนธ์ของคนบ้า กิติคุณ คัมภิรานนท์ นานมีบุ๊คส์ 24 กวีนิราศแฟนตาเซีย เชษฐภัทร วิสัยจร สามสี่ศูนย์ 25 กอปร อุเทน มหามิตร ชายขอบ 26 กาพย์ห่อโคลงนิราศแม่ฮ่องสอน ภักดี ชมภูมิ่ง พี วาทิน พริ้นติ้ง 27 ขวดใสใบเล็กทั้งสี่ใบ นิศรัย หนูหล่อ นาคร 28 ขวัญแม่น้ำมูล ไศล ภูลี้ เข้มข้น 29 คณะสัตว์ประหลาด อาณัติ แสนโท ไม่ประสงค์ 30 คนกับโลก สองขา มติชน 31 คนทางนี้ ไวกูณฐ์ มาลาไทย ข้าวเจ้า 32 คำแพงรุ่นสุดท้าย ธรรม ทัพบูรพา ข้าวเจ้า 33 คือตัวตนของคนนี้ บัวกันต์ วิลามาศ ขอบประเทศ 34 ฉันรักเธอ ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร หนึ่ง 35 ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง ศิริวร แก้วกาญจน์ ผจญภัย 36 ดินแดนไม่มหัศจรรย์ พจนาถ พจนาพิทักษ์ รากแก้ว 37 ทอรัก ถักโลก วรภ วรภา ยิปซี 38 ทะเล่อทะล่า 2-3 บรรทัด อุเทน มหามิตร ชายขอบ 39 นาฎกรรมแห่งการเฝ้ามอง เจริญขวัญ หัวใจเดียวกัน 40 นิราศในร้านเสริมสวย สิงหา สัตยนนท์ ภาพคำ 41 นิราศยุโรป สฤณี อาชวานันทกุล ชายขอบ 42 นิราศรัฐ ก. ไก่ กานต์ ณ กานท์ คอมมอนเซ็นต์ กรุ๊ป 43 นิราศหาดหินงาม เดชา สามารถ เม็ดทราย พริ้นติ้ง 44 บทเพลงของการโบกบิน ชัยพร ศรีโบราณ ราชพฤกษ์ 45 บทเพลงลมบ้าหมู สุพัฒน์ คำย้าว ใต้ดินศยาม 46 บทกวีแห่งคืนค่ำ กิติคุณ คัมภิรานนท์ ลายสือ 47 บทกาพย์พระรัตนตรัย กัญญา เชื้อพุก --- 48 บนพื้นผิวแผ่นดินที่กำลังแตกกระจาย อรอาย อุษาสาง ตากับยายในพระจันทร์ 49 บันไดดาว กฤษณพล ศรีบูรพา ข้าวเจ้า 50 บางโทนสีแห่งชีวิต โสตถิเทพ แสวงประเทือง แพรว 51 ประเทศของเราและเรื่องเล่าหลายๆเรื่อง อภิชาติ จันทร์แดง ชายขอบ 52 ปรากฎการณ์ พลัง เพียงพิรุฬห์ สกอร์ปิโอ พับลิชชิ่ง 53 ผรุสวาทคำฉัน (ท์) อินเดียน อิงค์ จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ 54 ผืนแพรแรทอง วันเนาว์ ยูเด็น กุลสตรี 55 ฝั่งฟ้าประกายดาว โรม ลาวัณย์ สิยา วรรณราชู 56 ฝากแผ่นดิน ก้องภพ รื่นศิริ นัดพบ 57 ฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ กอนกูย ข้าวเจ้า 58 พงศาวดารพิภพ ธีรภัทร เจริญสุข นานมีบุ๊คส์ 59 พระจันทร์ทอเหนือทุ่งข้าว พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์ ประกายพรึก 60 พิราบสีเหลือง ภู-ติ-รัก โฟ-บาร์ด 61 มกรา"52 ตุล ไวฑูรเกียรติ ชายขอบ 62 มรสุมประเทศนี้ยังยาวนาน วิสุทธิ์ ขาวเนียม ลายแฝด 63 มหาวิหารแห่งสุวรรณภูมิ บัญชา อ่อนดี พิมพ์ไพร 64 รูปฉาย ลายชีพ โชคชัย บัณฑิต มิ่งมิตร 65 ลมใต้ไฟ สายธารสิโป หัวใจเดียวกัน 66 ลมมลายู วิสุทธิ์ ขาวเนียม นาคร 67 ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หทัยภรณ์ กสิกิจนำชัย ------ 68 สวนสงบ พรชัย แสนยะมูล ไม้ยมก 69 สัมผัสบำบัด อรุณวดี อรุณมาศ วิศัลยา 70 สายรุ้ง รุ่งเยือน ณรงค์ยุทธ โคตรคำ เคล็ดไทย 71 หนทางและที่พักพิง อังคาร จันทาทิพย์ ผจญภัย 72 หนามที่บ่งไม่ออก สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล ใบตอง 73 หยาดน้ำรำพึงฝัน ชาคร บัวเกตุ ธรรมเมธี 74 อุดมคติแห่งสยาม สายฝน ตรีณาวงษ์ จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ คณะกรรมการคัดเลือก ๑.อาจารย์วรรณา นาวิกมูล ๒.อาจารย์พวงแก้ว ลภิรัตนกุล ๓.ผศ.ดร.ญาดา อารัมภีร ๔.นายโกศล อนุสิม ๕.นายสุภาพ พิมพ์ชน ๖.อาจารย์ ดร. อารียา หุตินทะ ๗.อาจารย์ ดร. ปรมินท์ จารุวร คณะกรรมการตัดสิน ๑.รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ๒.นางชมัยภร แสงกระจ่าง ๓.นายอดุล จันทรศักดิ์ ๔.นายประภัสสร เสวิกุล ๕.รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ ๖.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสาวณิต วิงวอน ๗.ประธานคณะกรรมการคัดเลือก หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นจาก http://www.thaipoetsociety.com/index.php?topic=2002.0 พร้อมกันนี้ยังมีข้อสังเกตของคณะกรรมการคัดเลือก ที่มีต่อหนังสือเข้ารอบแรกดังกล่าว และมีข้อสังเกตถึงภาพรวมของหนังสือที่ส่งเข้าพิจารณาคัดเลือก ซึ่งข้อสังเกตของคณะกรรมการนี่เองที่สร้างความคลางแคลงใจต่อ “สาธารณชน” ทั้งในเรื่องที่เป็นหลักการและเหตุผล และเป็นคำครหาบรรดามี ที่คณะกรรมการหรือกรรมการบางท่านถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการตัดสินการประกวดทุกอย่าง แต่ข้อสำคัญที่สมควรจะกล่าวถึงมากที่สุด นอกเหนือจากพวกคำครหาเกี่ยวกับการเล่นพรรคเล่นพวก หรือผู้มีบารมีมากอำนาจที่สามารถเขียนใบสั่งให้ดันเล่มไหนเข้า ดึงเล่มไหนออกได้ตามอำเภอใจ ซึ่งดารากวีรุ่นใหญ่ไม่เคยรู้สึกรู้สาอะไร นอกจากจะยิ้มหัวพลางบ่นทีเล่นทีจริงไปทำนองว่า พอไม่ได้รางวัลก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หากว่ากันตามมารยาทแล้ว เป็นคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ และไม่สมควร แต่เราจะไม่สนใจมันล่ะไอ้พวกคำครหาเหล่านี้ ที่จะกล่าวนั้นคือ ปัญหาของคำว่า “สร้างสรรค์” ที่ต่างฝ่ายที่ร่วมสังฆกรรมกันล้วนบิดเบือนด้วยหลักการและเหตุผลอย่างผู้เชี่ยวชาญ เคยรู้สึกไหมว่า ซีไรต์แต่ละปีที่มีการส่งประกวด ตัดสินใจ และยกยอปอปั้นกันหน้าสื่อแล้ว ค่าคุณอะไรในทางจรรโลงใจแก่สังคมนั้นหาได้ยากเต็มที ทั้งที่บางครั้งเนื้อหาของผลงานซีไรต์ปีนั้นก็บรรยายถึงความเป็นไปของสังคมอย่างแยบคาย ลุ่มลึก และชวนให้ครุ่นคิด นี่ไม่นับประเด็นทางการตลาดที่มีการสั่งซื้อสั่งพิมพ์หนังสือรางวัลซีไรต์ให้นักอ่านที่เชื่อมั่นในกระบวนการตัดสินรางวัลซื้อนะ และยังไม่ต้องนับรวมไปถึงการยอมรับในผลงานของหนังสือรางวัลซีไรต์ในวงวรรณกรรมด้วยกันเอง พอมีประกวดที ตัดสินกันทีก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกันที เหมือนรางวัลซีไรต์ได้ลดทอนคุณค่าของคำว่า “สร้างสรรค์” ลงทุกครั้ง ทั้งโดยหลักการและหลักปฏิบัติ หลักการ ฝ่ายที่ร่วมสังฆกรรมรางวัลซีไรต์มีใครบ้าง 1.ผู้ส่งผลงาน 2.สำนักพิมพ์ 3.คณะกรรมการที่รวมถึงสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย 4.ผู้สนับสนุนรางวัล ประเด็นก็คือ เราคุยกันไม่จบไม่สิ้นสักที เพราะประเด็นย่อยมันแยะไปหมด ทั้งที่คุยกันทุกปี ไม่รู้เป็นยังไง แต่ประเด็นสำหรับบทความนี้ คือ ปัญหาทางเทคนิคของคำว่า “สร้างสรรค์” อันเป็นใบหน้าของรางวัล ซีไรต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รางวัลซีไรต์ มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน เรามาดูคำว่า “สร้างสรรค์” กันก่อน เพื่อคิดร่วมกันว่า อย่างไรจึงจะเป็นการสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้มีความหมายตรงตามตัวอักษร ปัญหาก็คือ มีบางคนให้คำจำกัดความของคำนี้ว่า เป็นการสร้างขึ้นใหม่ ไม่เหมือนใคร ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อย่างกรณีมีบางคนแสดงทัศนะว่า บทกวีฉันทลักษณ์ ไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์ เพราะรูปแบบฉันทลักษณ์นั้นมีมาแต่โบราณกาลแล้ว มันไม่ใหม่นี่หว่า ของเก่าดุ้น ๆ หรือบางคนว่า กลอนเปล่า หรือบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ ไม่ถือเป็นกวีนิพนธ์ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ห่างไปหน่อย แต่มันน่าขำดีที่ยังมีการพูดเรื่องอย่างนี้อยู่ในทศวรรษนี้ แล้วคำว่า “สร้างสรรค์” มันคืออะไร คำจำกัดความที่ว่า เป็นการสร้างขึ้นใหม่นั้น ใช้อธิบายได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนอื่นมาดูกันว่า ถ้าเราใช้คำจำกัดความว่า เป็นการสร้างขึ้นใหม่ ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เป็นคำอธิบายตั้งต้น ถามว่า ภาษาที่เราใช้หรือรูปแบบการประพันธ์นั้น คุณสร้างมันขึ้นมาเองหรือ คุณไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์อักษร นี่ตื้น ๆ และถามว่า สิ่งที่คุณยืนยันว่าสร้างขึ้นใหม่และยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนนั้น มีสิ่งใดมายืนยันได้อย่างเป็นข้อเท็จจริงว่าคุณสร้างมันขึ้นจริง ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เพราะโลกของข้อเท็จจริงมันไม่ได้พิสูจน์อยู่แล้วว่า คุณสร้างหรือคุณแค่ก๊อปปี้ หรือประยุกต์มา เพราะฉะนั้นปัญหาก็คือ คำว่า “สร้างสรรค์” ไม่ได้หมายถึง การสร้างขึ้นใหม่ ไม่เหมือนใคร ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อย่างตายตัว เพียงแต่นัยยะของคำ อาจหมายถึง การนำปัจจัยที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยน ดัดแปลง หรือสานต่อ ต่อยอดขึ้นมาก่อให้เป็นความงามประการหนึ่ง ที่ดึงดูดใจ อะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ใช่ใหม่ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์และใหม่ถอดด้ามโดยปัจเจกบริสุทธิ์ เห็นไหมล่ะว่า มีคำว่าปัจเจกเสนอหน้ามาด้วย ทั้งที่ปัจเจกบุคคลทำหน้าที่นำเอาปัจจัยที่มีอยู่มาสานต่อ ต่อยอด ไม่ได้สร้างใหม่ทั้งหมด ดังนั้น คำว่า “สร้างสรรค์โดยปัจเจก” เป็นคำที่สื่อความผิดพลาดอย่างร้ายแรงและก่อปัญหาตามมา คราวนี้มาดูอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินรางวัลซีไรต์ เห็นไหม มีคำว่า “ตัดสิน” นี่แหละคือคำที่มีปัญหาและลดทอนคุณค่าอีกคำหนึ่ง หลักปฏิบัติ ลองจินตนาการดูว่า ถ้ารางวัลซีไรต์ (อาจหมายถึงรางวัลอื่นด้วย) มีกระบวนการอย่างอื่นที่จะประเมินว่าหนังสือที่ได้รางวัลคือเล่มใด โดยไม่ใช่คำว่า “ตัดสิน” คงเป็นเรื่องยาก... เพราะเราต่างเคยชินอยู่กับการยกอำนาจให้ผู้อื่นตัดสินอยู่ชั่วนาตาปีแล้ว ยกตัวอย่างคณะกรรมการรอบคัดเลือกได้เลือกสรรมาแล้วว่า มีหนังสือที่มีสมควรผ่านเข้ารอบมาจำนวนหนึ่ง ถามว่า คณะกรรมการใช้หลักการประเมินคุณค่าของงานอย่างไร มีกรอบมีหลักการอยู่ก่อนแล้ว อันนี้ไม่ได้แตะเรื่องรสนิยมนะ แล้วจึงนำมาประเมินโดยการคัดผลงานที่คุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ออกไป เลือกหยิบผลงานที่เข้ากรอบให้ผ่านรอบแรกมา ใช่หรือไม่ ตอบตามตรงว่า นี่มันผิดมหันต์ นี่ไม่ใช่กระบวนการประเมินคุณค่างานศิลปะ แต่เป็นการลดทอนคุณค่างานศิลปะอย่างไม่น่าเชื่อว่ามันจะต่ออายุให้ตัวเองได้ยาวนานปานนี้ แต่ประธานคณะกรรมการรอบคัดเลือกและต้องทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการรอบตัดสินคนหนึ่งก็ได้ออกมาชี้แจงอย่างซื่อตรงว่า การประเมินคุณค่าของงานศิลปะไม่ว่าแขนงใด ย่อมไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนสูตรเคมีหรือคณิตศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์ตายตัว อันที่จริง คำกล่าวในข่ายเดียวกันนี้ของคณะกรรมการล้วนฟังดูมีเหตุผลแต่มันใช้การไม่ได้ ข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่ที่เขาต้องการคำตอบไม่ใช่หลักการที่คุณพูด เขาต้องการตรวจสอบจิตสำนึกของคนที่เป็นคณะกรรมการว่า มีสำนึกในกระบวนการสร้างสรรค์แค่ไหน เพราะกระบวนการประเมินคุณค่างานศิลปะอย่างสร้างสรรค์นั้น มันต้องยกเอาผลงานออกมาวางก่อน ใช้งานศิลปะเป็นสิ่งตั้งต้นในการประเมิน ไม่ใช่เอากรอบของตัวเองไปประเมินงานศิลปะ ที่เขาแสดงความกังวลกันหลายคนนั้น มันอยู่ตรงนี้ จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการนั่นเองที่เป็นอุปสรรคในกระบวนการสร้างสรรค์ เช่นนี้เราจะพอเห็นได้บ้างแล้วว่า ปัญหาของกระบวนการประเมินงานศิลปะโดยเฉพาะรางวัลซีไรต์ มีการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการซึ่งก็ถูกบิดเบือนอีกทอดหนึ่ง โดยเฉพาะตรงการเลือกใช้คำว่า “ตัดสินรางวัล” นั่นเอง นี่อาจเป็นเพียงปัญหาทางเทคนิคเท่านั้นแหละ แต่มันกลับไม่หยุดอยู่แค่เรื่องทางเทคนิค... เพราะเมื่อคณะกรรมการรอบตัดสินเป็นผู้ตัดสินว่าหนังสือเล่มใดจะได้เป็นเดอะวินเนอร์ ทันทีทันใดกระบวนการสร้างสรรค์อย่างที่มันควรเป็นก็ตายลงทันที เนื่องจากโดยนัยยะของคำว่า “ตัดสิน” แล้ว มันได้อำนาจดุจเดียวกับผู้พิพากษา ชี้ถูกผิดดีชั่ว และยังเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ถูกหลักการดังกล่าวข้างต้นอีกด้วย และขณะเดียวกันนั่นเอง คณะกรรมการก็ยังมีหน้ามาบอกให้อ่านเล่มที่ไม่ได้เป็นเดอะวินเนอร์อย่างหน้าชื่นตาบาน จะบ้าหรือเปล่า คนอ่านที่เขาคาดหวังกับกระบวนการตรงนี้ไว้สูง เขาจะไปแสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่ทำไมกัน เสียเวลาเปล่า.. เขาก็รอสิ รอเล่มเดียวนั่นแหละ สำหรับปัญหาที่แท้จริง ที่คอยรังควานและสร้างความด่างพร้อยให้รางวัลนี้คือ คำว่า “สร้างสรรค์” นี่แหละ ในเมื่อเราต่างตระหนักตรงกันว่า ไม่มีปัจเจกใดที่จะสร้างสรรค์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือไม่มีปัจเจกใดจะสร้างสรรค์ได้เทียบเท่าพระเจ้า (อันนี้ค่อนข้างงมงาย) เหมือนกับถ้าไม่มีสุนทรภู่ คงไม่มีเนาวรัตน์ ถ้าไม่มีเนาวรัตน์ จะมีจิระนันท์ไหม จะมีไพวรินทร์ไหม ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีจิตร ภูมิศักดิ์ โองการแช่งน้ำจะยังเป็นที่รู้จักมาถึงทศวรรษนี้หรือไม่ ฉะนั้นเราจะเห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์ที่ถักทอต่อยอดซึ่งกันและกันมาอย่างต่อเนื่อง หรือจะกล่าวอย่างเป็นอุดมคติหน่อยว่า สายธารแห่งการสร้างสรรค์ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้น เดอะวินเนอร์ซีไรต์ที่แท้จริง ไม่ใช่เจ้าของผลงานกวีนิพนธ์เล่มนั้นเล่มนี้ หากแต่เป็นทุก ๆ องคาพยพต่างหากเล่า สรุปอย่างคร่าวได้ว่า รางวัลซีไรต์ต้องเป็นรางวัลของกระบวนการสร้างสรรค์ แม้นว่าเดอะวินเนอร์จะมีเพียงเล่มเดียว แต่ขอให้สาธารณชนตระหนักว่าเป็นรางวัลแห่งกระบวนการ หาใช่รางวัลของปัจเจกบุคคลเท่านั้น ลองจินตนาการดูว่า ถ้ามีผลงานส่งเข้าประกวดรางวัลนี้แค่สามเล่ม คงน่าเกลียดตายเลย เพราะฉะนั้น ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรางวัลซีไรต์ จึงเป็นองคาพยพหนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์นี้ด้วยเช่นกัน และที่อยากเสนออีกข้อหนึ่งคือ คณะกรรมการควรตระหนักด้วยว่า เจ้าของผลงานที่ตกรอบ รวมถึงสาธารณชนย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องให้คณะกรรมการชี้แจงรายละเอียดในกระบวนการประเมินคุณค่าผลงานด้วย เขามีสิทธิ์จะซักถามจนกว่าจะพอใจ ว่าทำไมอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่พอเห็นเป็นเล่มที่ตกรอบ กรรมการก็จะชี้แจงแบบเหมารวม ไม่กล้าแม้จะเอ่ยชื่อผลงาน อธิบายมาเลยไม่ได้หรือว่าผลงานเล่มนั้นบกพร่องตรงไหน เล่มนี้เขียนไม่ถูกฉันทลักษณ์ (ซึ่งเรื่องฉันทลักษณ์นี่ เท่าที่อ่านข้อสังเกตของคณะกรรมการรอบคัดเลือก ก็ชวนให้เป็นที่สงสัยอยู่หลายประการ) แต่พอเป็นเล่มที่เข้ารอบก็จะชี้แจงเป็นเล่ม ๆ เป็นเอกเทศไปอย่างชัดเจน ไม่ทราบว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคณะกรรมการหรืออย่างไร นอกจากนี้ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ก็ควรจัดงานพบปะนักเขียนทุกคนที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด เพื่อมาแสดงความยินดีร่วมกัน หรือเพื่อซักถามกันอย่างเป็นหลักเป็นฐาน ไม่ใช่เชิญแต่นักเขียนที่ได้เข้ารอบคัดเลือกเท่านั้น มันลดทอนคุณค่าต่าง ๆ นานาที่นักเขียน กวีพึงมีร่วมกันอย่างน่าขมขื่น อีกข้อหนึ่ง คือ หนังสือที่เป็นเดอะวินเนอร์จะต้องมีการจัดพิมพ์เนื้อหาในส่วนที่ให้รายละเอียดของชื่อและเจ้าของผลงานที่ส่งประกวดทุกเล่มในปีนั้น ๆ อยู่ด้วย เช่นปีนี้ ต้องมีรายชื่อผลงานและเจ้าของผลงานทั้ง 74 ผลงานพิมพ์เพิ่มเข้ามาในเล่มที่เป็นเดอะวินเนอร์ด้วย เพราะเราพึงตระหนักว่า ถ้าไม่มีผู้ตกรอบ ก็ย่อมปราศจากเดอะวินเนอร์ นี่เป็นชะตากรรมร่วมกัน หาใช่เป็นพื้นที่ให้ใบหน้าปัจเจกบุคคลงอกงามแต่เพียงผู้เดียว ปัญหาเฉพาะหน้านี้ก็คือ คณะกรรมการรอบตัดสินควรสรรหากรรมวิธีที่จะนำมาซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์ที่เอื้อประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ยกตัวอย่าง ถ้าท่านเห็นว่า หนังสือที่ผ่านรอบแรกเข้ามานั้น ยังไม่เป็นตอบคำถามจิตสำนึกของคำว่าสร้างสรรค์ของท่านไม่ได้ ควรมีข้อยกเว้นให้ คณะกรรมการชุดหนึ่งชุดใด กลับไปสู่กระบวนการประเมินคุณค่าในรอบคัดเลือกใหม่ได้ ไม่ใช่ว่าเขาคัดเลือกมาให้เลือกตัดสิน 6 เล่ม ท่านก็งมอยู่กับแค่ 6 เล่มนั้น โดยไม่ไยดีเล่มที่ตกรอบ เพราะไม่ใช่หน้าที่ แล้วจะมีหน้าออกมาบอกสาธารณชนอีกหรือว่า ควรอ่านทุกเล่ม ไม่ใช่รออ่านเฉพาะเดอะวินเนอร์เท่านั้น. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 11 Aug 2010 02:39 AM PDT NGOs หรือ Non Government Organizations คือ องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ หรือจะเรียกองค์กรนอกรัฐก็ได้ แต่ในประเทศนี้ เราเรียกตัวเองและถูกเรียกว่า “องค์กรพัฒนาเอกชน” แรกเริ่มเดิมทีเป็นองค์กรที่เข้ามาสนใจงานสงเคราะห์คนยากคนจน รวมถึงครอบครัวผู้พิการและทหารผ่านศึกจากสงคราม ต่อมาก็พัฒนาการเรื่อยมาสอดประสานไปกับเงื่อนไขการเมือง เศรษฐกิจ ประชาคมโลก ที่เปิดมากขึ้น ทำให้นักพัฒนาเอกชนเพิ่มมากขึ้น เริ่มสนใจปัญหาเชิงลึกของสังคม การแก้ไขไปที่ต้นตอ ซึ่งก็คือปัญหาในระดับโครงสร้าง ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม และพลังอำนาจต่อรองในทางการเมือง ซึ่งต่อมานำมาสู่การเคลื่อนไหวมากขึ้น ใหญ่ขึ้น หลากหลายขึ้น อาทิ เคลื่อนไหวต่อรองหรือประกันราคาข้าว เคลื่อนไหวสวัสดิภาพแรงงาน เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ยิ่งเมื่อขบวน NGOs เติบโตเข้มแข็งในลักษณะรวมประเด็นปัญหา ทำงานเป็นขบวนแล้วร่วมขบวนเสนอแนวทางแก้ไขในระดับนโยบายการเมือง การแก้ไขกฎหมาย การเรียกร้องมาตรการต่างๆ และการร่วมกำหนดนโยบายแผนพัฒนาในอนาคต ก็ยิ่งทำให้ขบวนการ NGOs จำนวนหนึ่งทำงานและร่วมมือกันเป็นขบวนมากขึ้น มีศูนย์ประสานงานแต่ละภาค และกระจายกันลงพื้นที่ทำงานในด้านต่างๆ จากนั้นก็นำปัญหามาเคลื่อนไหว เรียกร้อง รณรงค์ให้สังคมรับรู้ ตระหนักและร่วมแก้ไขปัญหา ส่งผลให้ด้านหนึ่งหลายๆ ปัญหาได้รับการแก้ไข หลายๆ ปัญหาถูกรับรู้มากขึ้น แต่ที่น่าสนใจคือ สร้างประสบการณ์ให้ประชาชน คนรากหญ้ารู้จักและสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง กดดันทิศทางนโยบายการเมือง ผลักดันกฎหมาย นโยบายที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์ประชาชนในระดับล่าง และตรวจสอบบทบาทการเมืองตัวแทน เป็นต้น พัฒนาการเหล่านี้ ใช้เวลาเดินอยู่หลายสิบปี กว่าจะเห็นภาพประชาชนแห่แหนมาเดินร่วมกันบนท้องถนน ซึ่งภาพเหล่านี้หากย้อนไปสัก 7-8 ปี ขึ้นไป หลายคนคงคุ้นหูคุ้นตาขบวนประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ปรากฏออกมาบนสื่ออาทิ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ภาคอีสาน (สกอ.ย.) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายป่าชุมชน สหภาพแรงงาน สมัชชาคนจน (สคจ.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ จากนั้น ก็ถูกเรียกบทบาทและพัฒนาการนี้ในทางการเมืองว่า “การเมืองภาคประชาชน” ซึ่งต้องยอมรับว่าพัฒนาการทางการเมืองที่เข้มแข็งมากขึ้นของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ที่ได้เดินทางมาถึงจุดนี้ จุดที่ประชาชนสนใจตื่นตัวและกล้าที่จะออกมามีส่วนร่วม แสดงจุดยืนและชูมือบนท้องถนนนั้น คุณูปการส่วนหนึ่งมาจากการสร้างและส่งเสริมโดยงานพัฒนาเอกชนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ผลพวงจากการสะสมงานปัญหาในระดับโครงสร้างพบว่า นโยบายการเมืองและกลไกทำงานแบบภาครัฐที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน นั่นเองที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม การช่วงชิงและปล้นทรัพยากรมโหฬาร ตลอดจนการถูกละเมิดสิทธิชุมชนเรื่อยมา ทำให้ขบวน NGOs เป็นคู่ต่อสู้คู่ปรับกับรัฐบาลเรื่อยมา แทบทุกรัฐบาล โดยเฉพาะในยุคที่ผู้นำรัฐบาลเป็นนักธุรกิจใหญ่ สามารถควบคุมการบริหารงานรัฐผ่านกลไกราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ขยายขนาดเศรษฐกิจแบบทุนนิยมออกสู่ตลาดและการค้าอย่างเต็มกำลัง ในระหว่างที่ฝ่ายการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ มีอำนาจ ก็นำมาสู่การสูญเสียอำนาจ ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม จึงเกิดขบวนการขับไล่รัฐบาล ที่มีหลายกลุ่มเข้ามาร่วมมือ ในขณะที่ขบวน NGOs ร่วมในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อมาก็เรียกกันง่ายๆ รวมๆ ว่า “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” และจากนั้นก็นำมาสู่เหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจ โดย คมช. ตลอดระยะเวลาในการขับไล่รัฐบาลทุนนิยมครั้งนั้นนอกจากบทบาท นายสนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว บทบาท NGOs ค่อนข้างโดนเด่นสำคัญ นำโดย 5 เสือพันธมิตร จำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย, สุริยะไส กตะศิลา, สมศักดิ์ โกศัยสุข, และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการสายประชาชนอีกนับพันชีวิต จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมลงชื่อสนับสนุนขบวนการขับไล่อดีตนายกฯ คนนี้ เพราะเชื่อว่า นี่คือประชาธิปไตยทางตรง หลังรัฐประหารความคิด NGOs และนักวิชาการเสื้อเหลืองก็แตกโพล๊ะ จำนวนหนึ่งยุติบทบาทเนื่องจากรับสภาพความจริงเรื่องการรัฐประหารไม่ได้ เพราะถือว่านี่คือการฆาตกรรมอำพรางจิตวิญญาณประชาธิปไตย อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นร่วมในการขับไล่ระบอบนายทุนมาแต่ต้นเพราะเห็นว่า การขับไล่เช่นนี้ เป็นการไม่เคารพระบบ กติกาและกลไกการเมืองแบบตัวแทน ซึ่งก็เสมือนทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน ในขณะที่ NGOs และนักวิชาการบางส่วนคิดว่า ต้องถอนรากถอนโคนลุยและกำจัดต่อจึงร่วมงาน ร่วมมือ ร่วมคิดกับรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยต่อ ส่วน NGOs และนักวิชาการเสื้อแดง กลับโดดเด่นชัดขึ้น เคลื่อนไหวทิ่มแทงแรงขึ้น ชัดเจนขึ้น รวดเร็วลุกลามเหมือนไฟลามทุ่ง โดยเฉพาะจากโซนภาคอีสานและเหนือ จนมาสู่การรวมพลคนเสื้อแดงครั้งใหญ่ เมื่อเดือนเมษา ต้นปี 2552 จากนั้นขบวนการ NGOs เมืองไทยก็เริ่มแตกแยกทางความคิดกันชัดเจนมากขึ้นๆ โดยเฉพาะช่วงระหว่างหลังจากฝ่ายพรรคการเมืองนายทุนเก่าชนะการเลือกตั้ง เมื่อปี 2550 เป็นต้นมา ทำให้ขบวนการ NGOs เสื้อเหลือง เสื้อแดง ควานหาพื้นที่สื่อทุกรูปแบบเพื่อต่อสู้และจัดตั้งมวลชนไว้เผชิญหน้า เกิดขบวนการ coppy ชี้นำขึ้นมากมายในสังคม ทุกอย่างระบาด แรง เร็ว อลหม่าน จนมาสู่การปะทะกัน ในสนามความคิดต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเมษา-พฤษภาเดือดปีนี้เอง (2553) ภาพสะท้อนที่มองเห็น คือบังเกิดกองทัพตัวแทน เสื้อเหลือง เสื้อแดง ออกมาระดมข่าว ข้อมูล โจมตี ใส่กันอย่างดุเดือด แม้ว่า ที่สุดแล้วสถานการณ์เสื้อแดงจะด้อยกำลังกว่ามากก็ตาม แต่การปรากฏตัวเคลื่อนไหวของ NGOs เสื้อแดงชัดเจนขึ้นและภาพก็ใหญ่ขึ้นซึ่งจริงๆ ก็เนื่องจากสะสมตกผลึกทางความคิดร่วมกันเรื่อยมา ตั้งแต่การประกาศตนเป็นแนวร่วมไม่เอารัฐประหาร จนมา กลุ่ม นปช. สามารถปลุกพลังประชาชนให้ลุกขึ้นอย่างรวดเร็วๆ ท่ามกลางการกีดกัน ก่นด่า วิจารณ์แทบทุกวิถีทางจากอำนาจฝ่ายรัฐ สื่อบางหัวและขบวนการ NGOs สายเหลืองขวาจัด นิยมเจ้า ในขณะที่ NGOs สายแดงเริ่มเสียงแผ่วในการปฏิเสธว่าไม่ได้มีจุดยืนสนับสนุนอดีตผู้นำรัฐบาลนายทุน จนในที่สุด สงครามทั้งสองสีก็เหมือนสงครามจริงๆ ต่างสร้างวาทกรรมรายวัน โจมตี และที่สำคัญมีขบวนการดึงเอาสถาบันมาเป็นเครื่องมือ แต่ข้อเสนอว่าแท้ที่จริง ว่าสาเหตุที่เคลื่อนไหวต่อสู้ เฉกเช่นเมื่อครั้งพยายามสร้าง การเมืองภาคประชาชนกลับหลุดหายไป จากนั้น ขบวนการพัฒนาประชาธิปไตยจริงๆ จังๆ เกี่ยวกับการเมืองเพื่อให้ประชาชนเลือกนั้น ก็ค่อยๆ น้อยลง มีแต่ภาพรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคายไปทั่วพื้นที่สื่อ ซึ่งสิ่งที่พบมากขึ้นกลับเป็นข้อเสนอในเชิงจุดยืนความคิดตน จนถึง ณ วันนี้ บทบาท NGOs กับการทำงานพัฒนาสังคมแผ่วลง เสียงกู่ก้องร้องเรียนสะท้อนปัญหาชาวบ้าน ปัญหาจากพื้นที่ ความเดือดร้อนของคนชายขอบ ล้วนแต่แผ่วเบาลง NGOs หลายคนหันไปละเลงปั่นข่าว สร้างกระแสสังคมโจมตีรายวันอยู่บนพื้นที่สื่อหรือในไซเบอร์เน็ต อาทิ ใน Facebook Hi5 Blog จนเปรอะเปื้อน !! ส่งผลให้บรรยากาศงานพัฒนาเต็มไปด้วยความอึมครึม ปิดเงียบ เก็บงำ เพราะไม่มีใครอยากก้าวล่วงออกมาจากกลุ่ม จากองค์กรของตน อยากให้ย้อนไปยืนมองจุดยืนเดิมเมื่อครั้งตอกย้ำหนักแน่นเรื่องขบวนการการเมืองภาคประชาชน คือกระตุ้นให้ประชาชน เข้าใจ รู้สึก มีสำนึกและมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อสร้างวัฒนธรรม สร้างกลไก สร้างพื้นที่ให้ประชาชนคนชั้นล่าง สร้างช่องทางสื่อสารให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้มีโอกาสมาร่วมกำหนด ตรวจสอบ มากขึ้น ทำให้ระบอบประชาธิปไตยได้เดินมาสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง เพื่อกระจายผลประโยชน์ได้ทั่วถึงมากขึ้นแต่สภาพวันนี้ไม่ใช่เช่นนั้นอีกแล้ว หลายคนก้าวมาเป็นผู้ชี้นำสังคมการเมือง บ้างนำฐานมวลชนมาเคลื่อนไหวกดดัน หลายคนผันตัวเองขึ้นไปเป็นเครื่องมืออำนาจรัฐ ไปเป็นสมุนแกนนำ หลายคนไปเป็นกลไกแก้ปัญหาภาพลักษณ์มากกว่าหาทางออก หรือ ทำหน้าที่กำจัดฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หรือคอยส่งกระแสเสียงให้ปรองดองสันติ อหิงสา และหลายคนหันหลังให้ขบวนการ NGOs ไปเสียเลย คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้า NGOs เมืองไทยจะมีหรือแสวงหาจุดยืนทางความคิด จุดยืนทางการเมือง แต่กระนั้นก็ต้องถามแนวความคิดเมื่อครั้งหนึ่งว่า คนทำงานพัฒนาเอกชนสนใจที่จะเน้นไปที่กระบวนการสร้างพลัง สร้างพื้นที่ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักในสิทธิ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง มากกว่า หรือจะพาสังคมถาโถม พาประชาชนเล่นการเมือง โดยตรง ที่สำคัญ ปัจจุบันนี้ NGOs คิดก้าวไปไกลถึงขนาดวางยุทธวิธีช่วงชิงหรือยึดอำนาจรัฐกันไปแล้ว หรือบ้างคนก็คิดตั้งพรรคการเมืองเพื่อลงแข่งขัน แต่ทุกๆทางเลือก ล้วนแต่เป็นสิทธิ เสรีภาพ ที่ NGOs ไทยสามารถเลือกได้เพียงแค่อยากถาม ลงไปตรงๆ กลางใจในฐานะนักพัฒนาสังคม ว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เราจะพาสังคมเดินร่วมกันได้อย่างไร อย่าบอกนะว่าคำตอบ นั้นอยู่ในสายลม .... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกอ.ยินดียกเลิกหนังสือสั่งมหาวิทยาลัยคุมเข้มละครเวทีการเมือง Posted: 11 Aug 2010 01:32 AM PDT รมช.ศึกษาธิการ เผยพร้อมยกเลิกหนังสือเวียนหากเนื้อหาทำให้มหาวิทยาลัย-นศ.ไม่สบายใจ ยืนยันไม่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของ นศ. นายก อมธ.ชี้หนังสือ สกอ.ไม่จำกัดสิทธิ นศ.แสดงออก
เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2553 นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.)ส่งหนังสือเวียนไปยังสถาบันอุดมศึกษา เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของนักศึกษานั้น ตนยังไม่เห็นจดหมายเวียนฉบับดังกล่าว แต่หลังจากนี้จะให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ส่งมาให้ดูเนื้อหาสาระ ซึ่งหากมีการเนื้อหาที่ทำให้มหาวิทยาลัยตีความไปในทางที่ไม่ดี สร้างความไม่สบายใจแก่นักศึกษา และมหาวิทยาลัย อันนำไปสู่การจำกัดสิทธิ์ของนักศึกษา อาจจะให้มีการยกเลิกจดหมายเวียนฉบับดังกล่าว "เชื่อว่าจดหมายเวียนฉบับดังกล่าวเกิดจากการได้รับเรื่องร้องเรียน ไม่น่าจะเกิดจากนโยบายของรัฐบาล หรือกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือสกอ. เพราะรัฐบาล หรือศธ. ไม่มีนโยบายปิดกั้นความคิดเห็นของนักศึกษา มีแต่นโยบายที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของบ้านเมือง มากขึ้น" รมช.ศธ. กล่าว นายกอมธ.ชี้หนังสือสกอ.ไม่จำกัดสิทธินศ.แสดงออก นายธนพล ทายะติ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร(อมธ.) กล่าวว่า เรื่องที่มีการส่งจดหมายเวียนไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้คอยสอดส่องดูแลในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษานั้น โดยส่วนตัวมองว่าหากเนื้อหาสาระในจดหมายดังกล่าว ไม่มีการจำกัดสิทธิ์ เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรต่อการแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรมของนักศึกษา เพราะตอนนี้แม้นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการแสดงความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับบ้านเมืองมากขึ้น แต่พวกตนก็มีแนวคิดว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อีกทั้งเข้าใจเจตนารมณ์ของสกอ.ที่ต้องออกจดหมายเวียน เนื่องจากมีกรณีร้องเรียนเข้ามา "เรื่องนี้ไม่น่าจะก่อให้เกิดความแตกแยก หรือการร้องเรียนใดของกลุ่มนิสิต นักศึกษา เนื่องจากจดหมายดังกล่าว ไม่น่าจะเป็นการกีดกัน หรือปิดกั้นไม่ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น หรือจัดกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง" นายธนพล กล่าว สกอ.ยินดียกเลิกหนังสือสั่งม.เข้มละครเวทีการเมือง ดร. สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.)ได้ทำหนังสือถึงสถาบันต่างๆให้ดูแลการจัดแสดงละครเวทีของนักศึกษา ไม่ให้สร้างความแตกแยกว่า ว่า ตนได้รายงานนายไชยยศด้วยวาจา ในฐานะกำกับสกอ.ไปแล้วว่าเป็นเรื่องที่เราขอให้มหาวิทยาลัยใช้ดุลพินิจแต่ ถ้ารัฐมนตรีช่วยว่าการศธ.เห็นว่าเป็นการไปลิดรอนสิทธิของนิสิตนักศึกษา สกอ.ก็ยินดียกเลิก "โดยส่วนตัวผมมองว่าเรื่องนี้ไม่มีอะไรเลย เป็นแค่การออกหนังสือเวียนถึงมหาวิทยาลัยทั่วไปเพื่อเตือนให้ใช้ดุลพินิจใน การดูแลการจัดแสดงละครเวที แต่ไม่ใช่การห้ามแต่อย่างใด ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็เข้าใจดีว่าควรจะทำอย่างไร" เลขาธิการกกอ. กล่าว ที่มาข่าว: สกอ.ยินดียกเลิกหนังสือสั่งม.เข้มละครเวทีการเมือง (คมชัดลึก, 11-8-2553) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ 46,000 ล้าน “พ.ต.ท.ทักษิณ” Posted: 11 Aug 2010 12:53 AM PDT ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติไม่รับอุทธรณ์คดียึดทรัพย์46,000 ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว 11 ส.ค. 53 - ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกาเป็นประธานประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 ระหว่างอัยการสูงสุด ผู้ร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 1 กับพวก รวม 22 คน ผู้คัดค้าน เรื่องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (ชั้นพิจารณาอุทธรณ์) ว่า จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ โดยพิจาณาจากคำร้องอุทธรณ์ใน 5 ประเด็น ทำนองว่า จำเลยมีพยานหลักฐานใหม่สมควรให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากลับคำวินิจฉัย ปรากฏว่าการประชุมครั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 142 คน มาประชุมเพียง 119 คน ขาดประชุม 23 คน เนื่องจากบางท่านป่วยหรือ ลากิจล่วงหน้า จึงมีมติเสียงข้างมากดังนี้ กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ไม่เห็นควรให้รับอุทธรณ์ 103 เสียง (จากยอด 119 เสียง) เห็นควรให้รับอุทธรณ์ 4 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง กรณีของคุณหญิงพจมาน ผู้คัดค้านที่ 1 เห็นควรไม่รับอุทธรณ์ 101 เสียง เห็นควรให้รับ 4 เสียง ส่วนกรณีนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สมควรรับอุทธรณ์ 99 คน เห็นควร 2 เสียง เป็นต้น
ที่มาข่าว: คดียุติ! ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ค้านยึดทรัพย์ทักษิณ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-8-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น