โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ใจ อึ๊งภากรณ์: นักปฏิวัติสังคม หันหลังให้กับการปฏิรูปไม่ได้

Posted: 18 Aug 2010 08:51 AM PDT

 

ชื่อบทความเดิม: นักปฏิวัติสังคม หันหลังให้กับการปฏิรูปไม่ได้ ข้อเสนอรูปธรรมสำหรับการต่อสู้ของคนเสื้อแดง

นักปฏิวัติสังคม ที่ต้องการโค่นอำมาตย์ และสร้างระบบประชาธิปไตยแท้กับสังคมนิยม จะต้องลงไปคลุกคลีกับมวลชนเสื้อแดงตลอด จะต้องร่วมสู้ ร่วมเรียกร้อง เคียงข้างเพื่อนเสื้อแดง โดยไม่ตั้งเงื่อนไขในการเข้าร่วม และจากการร่วมสู้ร่วมทุกข์แบบนี้ เราจะมีสิทธิ์เสนอแนวทางการต่อสู้เพื่อบรรลุชัยชนะ ยิ่งกว่านั้นเราจะมีโอกาสในการเสนอรูปธรรมของสังคมใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและสังคมนิยม

นักสังคมนิยมมีจุดเริ่มต้นในความมั่นใจว่า พลเมืองทุกคนมีวุฒิภาวะและสิทธิที่จะปกครองตนเองและกำหนดอนาคตของตนเอง เราเชื่อมั่นว่าไม่มีใครมีสิทธิ์ผูกขาดทรัพยากรของโลก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตที่ดีและมั่นคง ไม่ควรมีความอดอยากในโลกปัจจุบันแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่

ที่แล้วมาในอดีต คำว่า “สังคมนิยม” ถูกบิดเบือนจนมีภาพของการเป็นเผด็จการ ภาพแบบนี้มาจากการกระทำของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ สตาลิน ขึ้นมาทำลายประชาธิปไตยของการปฏิวัติรัสเซียหลังจากที่ เลนิน เสียชีวิตไป

“สังคมนิยม” สำหรับพวกเราในยุคนี้ หมายถึงสังคมที่ประชาชนเป็นใหญ่ มีการวางแผนการผลิตร่วมกันด้วยกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อให้มีการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของพลเมืองทุกคน ไม่ใช่การผลิตเพื่อสร้างกำไรและตอบสนองอำนาจเงิน อย่างที่เราเห็นในระบบทุนนิยม สังคมนิยมเป็นสังคมที่ยกเลิกชนชั้น ทุกคนเป็นพลเมือง ไม่มีเจ้านายและลูกน้อง ไม่มีนายทุนและลูกจ้าง ไม่มีอภิสิทธิ์ชนหรืออำมาตย์

ทุกวันนี้นักสังคมนิยมทั่วโลกได้เข้าใจ วิจารณ์ และปฏิเสธ แนวเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ “สายสตาลิน” ไปนานแล้ว ซึ่งต้องรวมถึงการวิจารณ์แนวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ด้วย สำหรับคนที่พูดว่า “สังคมนิยม” แบบนี้เป็นแค่อุดมคติที่เป็นไปไม่ได้ เราจะตอบว่า ในอดีตหลายคนมองว่าการเลิกทาส การมีรัฐสวัสดิการ หรือการมีประชาธิปไตย เป็นแค่อุดมคติที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน แต่ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว

เวลาเราพูดว่าเราเป็นนักปฏิวัติสังคมนิยม มันไม่ได้แปลว่าเราไม่สนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวันเลย ตรงกันข้าม นักปฏิวัติอย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค หรือ เลนิน หรือแม้แต่ คาร์ล มาร์คซ์ จะลงมือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่ออิสรภาพ หรือเพื่อสวัสดิการภายใต้ระบบทุนนิยม เพราะถ้าเราไม่สู้ในเรื่องแบบนี้ เราไม่มีวันฝึกฝนสร้างพลังมวลชนเพื่อเดินหน้าสู่การพลิกสังคมในการปฏิวัติได้ ดังนั้นนักสังคมนิยมจะเป็นเสื้อแดง จะร่วมสู้เพื่อให้อำมาตย์ยุบสภา ทั้งๆ ที่เราทราบดีว่าการเลือกตั้งจะไม่ล้มอำมาตย์ และเราจะเรียกร้องให้ชาวเสื้อแดงออกมาสู้เพื่อรัฐสวัสดิการแบบ “ถ้วนหน้า-ครบวงจร-ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย” ทั้งๆ ที่มันเป็นระบบสวัสดิการในระบบทุนนิยมเท่านั้น นอกจากนี้เราจะสู้เพื่อสิทธิแรงงาน เราจะสู้เพื่อสิทธิสตรีและคนรักเพศเดียวกัน หรือสิทธิของคนงานจากพม่าและที่อื่น และเราจะสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของชาวมาเลย์มุสลิมในภาคใต้ ฯลฯ เพราะเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ เป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างสังคมนิยม และถ้าเราไม่ร่วมสู้ในเรื่องแบบนี้ เราจะไม่สามารถชักชวนเพื่อนๆ เสื้อแดงให้สู้ต่อไปกับเราเพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า

ดังนั้นจุดยืนพื้นฐานของเรานักสังคมนิยมปฏิวัติ คือต้องสมานฉันท์และสนับสนุนการต่อสู้ของคนเสื้อแดงในอดีตที่ราชประสงค์ ต่อจากนั้นเราต้องสนับสนุนรณรงค์เพื่อให้มีการปล่อยตัวและช่วยเหลือนักโทษการเมือง เราต้องเรียกร้องให้หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉิน และเราต้องสนับสนุนงาน “วันอาทิตย์สีแดง” ฯลฯ อีกด้วย

เราเป็น “นักปฏิวัติ” เพราะเราไม่เชื่อว่าอำมาตย์จะยอมสละอำนาจเผด็จการง่ายๆ เราทราบดีว่าเขาฆ่าประชาชนชาวเสื้อแดง 90 ศพที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า เพื่อปกป้องระบบเผด็จการและระบบที่ไม่มีความเป็นธรรม และเราทราบว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาทำแบบนั้น ดังนั้นในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยม จะมีวันหนึ่งที่มวลชนจะต้องยึดสถานที่ทำงาน สถานที่ราชการ รถถัง ค่ายทหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ โรงไฟฟ้า และระบบการขนส่ง ฯลฯ เพื่อให้ฝ่ายประชาชนมีอำนาจพอที่จะโค่นเผด็จการอำมาตย์ได้ นั้นคือการปฏิวัติ

เราเป็น “นักปฏิวัติสังคมนิยม” เพราะเรามองว่าแค่การล้มอำมาตย์หรือระบบเก่าไม่พอ เราต้องมีข้อเสนอที่ชัดเจนว่าจะเอาระบบอะไรมาแทนที่ เราเสนอระบบ “สังคมนิยม” ที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ เรามองว่าสังคมไทยต้องเดินหน้าเกินเลยขั้นตอนประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลไทยรักไทย อย่างที่เคยมีในอดีตก่อนรัฐประหาร ๑๙ กันยา ตรงนี้พวกแกนนำเสื้อแดง นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ที่เป็นแนว “ปฏิรูป” เขาอาจไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นไร เราเถียงกันและแลกเปลี่ยนกันได้ในขณะที่เราสามัคคีในการต่อสู้เฉพาะหน้า

แต่ “การปฏิวัติ” ไม่ใช่ละครหรือเกมเด็กเล่น คนอย่าง อ. สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ จาก “แดงสยาม” ทำตัวเหมือนการปฏิวัติเป็นเกมเด็กเล่น เวลาออกโทรทัศน์หรือจัดงานชอบใส่หมวกดาวแดงจากยุคพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต มันเป็นแค่การสร้างภาพ ในช่วงปี ๒๕๕๒ อ.สุรชัยชอบประกาศว่าจะจัดกองกำลังติดอาวุธแบบ พคท. โดยลืมว่าแนวทางนี้ของ พคท. พ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง แต่กองกำลังของ “แดงสยาม” ไม่ปรากฏเป็นจริงสักที ก็ดีแล้วที่ไม่เป็นจริง เพราะการสร้างกองกำลังแบบนั้นยิ่งเปิดโอกาสให้อำมาตย์ตั้งข้อกล่าวหา “ก่อการร้าย” และที่สำคัญกว่านั้น มันทำให้มวลชนเสื้อแดงนับล้านไม่มีบทบาทอะไรต่อไป เพราะคนส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการลงใต้ดินและการจับอาวุธ เพราะเขาต้องเลี้ยงชีพในสังคมเปิด เราควรเข้าใจว่าการปฏิวัติสังคม ไม่ใช่สิ่งที่คนมืออาชีพจำนวนไม่กี่คนจะทำได้ มันต้องมีส่วนร่วมจากมวลชนเป็นล้านๆ

“แดงสยาม” ของ อ.สุรชัย ไม่ได้ทำแค่นั้น มีการใช้คำว่า “ปฏิวัติ” เพื่อให้ดูดีก้าวหน้า แต่พอมวลชนออกมาสู้ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ ก็ได้แต่วิจารณ์ ไม่ยอมร่วมสู้ ยิ่งกว่านั้นเวลาอภิสิทธิ์และทหารฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็น แทนที่ อ.สุรชัย จะวิจารณ์โจมตีอำมาตย์ เขาหันมาด่าแกนนำ นปช. ว่า “พาคนไปตาย” ซึ่งเป็นคำพูดที่เลวทรามที่สุด เพราะปล่อยให้ฆาตกรอำมาตย์ลอยนวล วิจารณ์การประท้วงของมวลชน และดูถูกมวลชนคนเสื้อแดงว่า “ถูกหลอก” สุดท้าย อ.สุรชัยเสนอทางออกที่ประนีประนอมอย่างถึงที่สุดกับอำมาตย์ คือเสนอให้มีการตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ซึ่งแน่นอนย่อมประกอบไปด้วยพรรคพวกของอำมาตย์ นักการเมืองและข้าราชการเผด็จการที่อ้างตัว “เป็นกลาง” อย่างอานันท์ ปันยารชุน บวกกับนักการเมืองเสื้อแดงบางคน ไปๆ มาๆ “นักปฏิวัติน้ำนม” กลายเป็นฝ่ายปฏิกิริยา พรรคพวกของ อ.ชูพงษ์ กับ นปช. U.S.A. ที่ชอบด่าเจ้าเกินความจริง ก็คล้ายๆ กัน ในที่สุด อ.ชูพงษ์ บอกว่าไม่อยากล้มเจ้า และไม่เคยเสนอแนวทางต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมเลย เราต้องสรุปว่าพวกนี้เป็นแนว “ปฏิวัติไร้เดียงสา” พูดเอามัน แต่ไร้สาระ หรืออาจเป็นไปได้ว่าบางคนหวังร้าย อยากสร้างความสับสนหรืออยากช่วยทหารบางส่วนก็ได้

จริงอยู่ เสื้อแดงทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันทบทวนบทเรียนจากเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า สำหรับเสื้อแดงสังคมนิยม เราขอเสนอว่าจุดอ่อนสำคัญของฝ่ายเราคือการไม่ขยายองค์กรไปสู่สหภาพแรงงาน เพื่อให้มีการนัดหยุดงานหนุนการชุมนุม และเราขอเสนอว่าเราไว้ใจ “ทหารแตงโม” ระดับสูงมากเกินไป เราต้องขยายองค์กรในหมู่ทหารเกณฑ์ระดับล่าง ที่มาจากครอบครัวเสื้อแดงมากกว่า แต่เราจะไม่มีวันพูดว่าแกนนำ นปช. “พาคนไปตาย” เราจะเสนอแทนว่าเราต้องชัดเจนแล้วว่าทุกส่วนของอำมาตย์ป่าเถื่อนพอที่จะฆ่าเรา อย่าไปตั้งความหวังกับเทวดาอีก แต่สำหรับคนเสื้อแดงจำนวนมาก เราเข้าใจดีว่าเขาต้องผ่านประสบการณ์โลกจริง เขาถึงจะสรุปแบบนี้ได้

จริงอยู่อีก... พรรคเพื่อไทย ขาดคุณสมบัติหลายอย่างที่จะโค่นอำมาตย์หรือแม้แต่จะปฏิรูปสังคม แต่ในขณะเดียวกันพรรคสังคมนิยมหรือกลุ่มซ้ายๆ ก็เล็กเกินไปที่จะก้าวเข้ามาแทนพรรคเพื่อไทย ในสถานการณ์แบบนี้ เราต้องเน้นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือขบวนการเสื้อแดงนั้นเอง เราต้องปกป้อง พัฒนาขบวนการเสื้อแดงด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่มีหลายรูปแบบ เช่นวันอาทิตย์สีแดง แต่งานสำคัญอีกอันหนึ่งที่เราต้องทำคือร่วมกันกำหนดนโยบายทางการเมืองของขบวนการเสื้อแดงที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและครองใจประชาชน ดังนั้นงาน “สมัชชา ๑๙ พฤษภาคม” ที่เสนอโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมปฏิรูปสังคมและการเมืองของคนเสื้อแดง เพื่อประกบคณะกรรมการจอมปลอมของอภิสิทธิ์ เป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อดีตคนงานไทรอัมพ์ฯบุก ก.แรงงานทวงคืนจักร พร้อมสมัชชาสหภาพแรงงานขอปรับเพิ่มสิทธิประกันสังคม

Posted: 18 Aug 2010 08:46 AM PDT

 

Clip รายงานจาก DNN THAILAND
 
วานนี้ (17 ส.ค.53) เวลา 10.00 น. กลุ่มอดีตคนงานบริษัทบอดี้ แฟชั่น ประเทศไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทเครือผู้ผลิตชุดชั้นในไทรอัมพ์ฯ) นำโดยคณะกรรมการติดตามการยื่นร้องเรียนความเป็นธรรมต่อกระทรวงเศรษฐกิจของสวิสเซอร์แลนด์(หรือคณะกรรมการติดตาม NCP) และกลุ่ม Try Arm ประมาณ 200 คน ได้เข้ายื่นหนังสือติดตามความคืบหน้ากรณีจักรที่ทางกระทรวงได้รับบริจาคมากรณีคนไทรอัมพ์ฯอีก 150 ตัว ที่ยังไม่ได้รับมอบ ต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน  โดยมีนายชีวเวช เวชชาชีวะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้ารับหนังสือแทน
 
พร้อมกันนั้นในเวลาเดียวกันที่กระทรวงแรงงาน สมัชชาสหภาพแรงงานซึ่งประกอบด้วยสหภาพแรงงานแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย กลุ่มคนงาน Try Arm สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส กลุ่มสตรีสู้แสรีภาพและกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้เข้ายื่นหนังสือขอเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมีนายชีวเวช เวชชาชีวะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้ารับหนังสือแทนเช่นกัน โดยประเด็นที่ขอเพิ่มสิทธิประโยชน์ดังกล่าวประกอบด้วย 
            1.ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนกรณีสงเคราะห์บุตรจากเดือนละ 350 บาทเป็น 600 บาท และขยายอายุบุตรจาก 6 ปีเป็น 12 ปี
            2.ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์การคลอดบุตร โดยให้คลอดบุตรฟรี ครอบคลุมตั้งแต่การฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝากครรภ์ การคลอดบุตร และการอภิบาลบุตร และให้ได้รับเงินช่วยเหลือการครองชีพระหว่างการตั้งครรภ์อีกคนละ 12,000 บาท
 
ซี่งสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนดังกล่าวไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นเลยในช่วง 5ปีที่ผ่านมา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เคยแถลงนโยบายเร่งด่วนในข้อที่ 3.2.2 ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จะขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วยรวม ทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน
 
ภาพจิตรา คชเดชกำลังชี้แจงผู้ชุมนุมบริเวณใต้ถุนกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน (กระทรวงแรงงาน)
 
โดยหลังจากเข้ายื่นหนังสือและการประชุมร่วมกับที่ปรึกษา รมต.แรงงานแล้ว ทางตัวแทนของทั้ง 2 คณะ คือ นางสาวจิตรา คชเดช ได้ชี้แจงต่อผู้ชุมนุมบริเวณได้ถุนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่า “หลังจากที่ได้พบที่ปรึกษารัฐมนตรี นายชีวเวช เวชชาชีวะ เรื่องแรกที่เราขอไปคือเรื่องจักร 150 ตัว เขาขอเวลาถึงสิ้นเดือนนี้ จะให้คำตอบว่าจักรอยู่ที่ไหน เอาไปทำอะไร แล้วพวกเราจะได้หรือไม่ ภายในสิ้นเดือนนี้จะมีคำตอบให้กับพวกเรา เรื่องที่ 2 เรื่องประกันสังคมที่มีกลุ่มสมัชชาสหภาพแรงงานไปยื่นนั้น ท่านก็รับปากว่ากำลังจะมีการพูดคุยกันและเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้อย่างเต็มที่ คือกรณีขยายสงเคราะห์บุตรจากเดือนละ 350 บาทเป็น 600 บาท และเรื่องค่าคลอดบุตร 12,000 บาท จะเอาไปพิจารณาแล้วก็จะแจ้งความคืบหน้าให้กับพวกเราทราบต่อไป”
 
นอกจากนี้ จิตรายังได้ชี้แจงเรื่อง NCP ที่มีความคืบหน้าหลังจากการเจรจาผ่านเอกสารมาหลายรอบจนที่สุดแล้วบริษัทไทรอัมพ์ฯได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการ NCP (ที่กระทรวงเศรษฐกิจสวิสเซอร์แลนด์) ซึ่งจิตรา ได้อ่านจดหมายดังกล่าวให้ผู้ชุมนุมฟังว่า “เหมือนจะเป็นที่ตกลงแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเปิดโรงงาน นั่นหมายความว่าที่ฟิลิปปินส์จะไม่มีการเปิดโรงงานใหม่อีก แล้วในไทยก็จะไม่มีการพูดเรื่องการขอรับกลับเข้าทำงานอีก และยืนยันเงื่อนไขเดิมในเรื่องการบริหารการปรับโครงสร้างบริษัททั้งไทยและฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศจริง ซึ่งได้รับการรับรองจากกฎหมายของทั้ง 2 ประเทศแล้ว และตามคำสั่งศาลในประเทศไทยด้วย และเป็นที่ชัดเจนว่า บ.ไทรอัมพ์ฯ ได้ดำเนินการมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ กรอบของ OECD (องค์กรความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา) ไม่ได้ครอบคลุมเรื่องค่าตอบแทน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะคุยในประเด็นนี้   รวมถึง บ.ไทรอัมพ์ฯไม่ได้ต่อต้านการรวมตัวของคนงาน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนงานและสหภาพ   รวมถึงจากจดหมาย บ.ไทรอัมพ์ฯระบุอีกว่า บริษัทให้การเจรจาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายและปิดประเด็นอย่างสมบูรณ์เรากำลังรอเข้ารวมการเคลื่อนไหวในครั้งต่อไปและขอบคุณในความพยายามไกล่เกลี่ย
 
“แต่ในความเป็นจริงสหภาพแรงงานก็ยืนยันว่ายังไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับบริษัท และจากจดหมายฉบับนี้ของทางบริษัทหมายความว่า จะมีการเจรจากับบริษัทที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่ห้ามไม่ให้รับการสนับสนุนจากองค์กรอื่นๆ การเจรจาจะต้องเป็นไปอย่างมืออาชีพ และในระหว่างการเจรจาห้ามรณรงค์สาธารณะใดๆหรือโจมตีบริษัทอีก ซึ่งตอนนี้เรากำลังมานั่งคุยกันอีกว่าจะทำหนังสือถึงบริษัทว่าเราจะไม่มีการรณรงค์ในที่สาธารณะอีกถ้าการเจรจาคืบหน้า การเจรจาของเราเน้นให้บริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างที่ทำไว้กับสหภาพแรงงานและสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือบริษัทต้องยอมรับสหภาพแรงงาน ข้อนี้ที่เราจะคุยกับบริษัท   ส่วนความคืบหน้าจะเป็นอย่างไรเราจะส่งข้อความแจ้งให้ทุกท่านทราบเพื่อนัดวันให้มาเจอกันแบบวันนี้อีกที” จิตรากล่าวสรุปหลังอ่านจดหมายฉบับดังกล่าว
 

ที่สำนักงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
7/76 หมู่ 7 หมู่บ้านร่มโพธิ์ 2 ถ.เทพารักษ์ อ.เมือง
จ.สมุทรปราการ โทร 087-0206672
 
17 สิงหาคม 2553
 
เรื่อง       ติดตามทวงถามตามหนังสือเลขรับที่ 518 สำนักงานรัฐมนตรี
เรียน       รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย
 - สำเนาหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2553
 
ด้วย พวกเราคืออดีตคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงความช่วยเหลือกับกระทรวงแรงงานไปแล้วนั้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 โดยกระทรวงมอบจักรให้กับพวกเรา 250 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2553
 
ต่อมาพวกเราทราบภายหลังว่าผู้บริจาค คือบริษัทบอดี้ แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด เป็นผู้บริจาคให้จักรเย็บผ้าให้กับกระทรวงแรงงาน 400 ตัว ซึ่งหลังการมอบจักรให้กับพวกเรา กระทรวงได้นำจักร 150 ตัว มาเก็บไว้ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1
 
พวกเราได้ติดตามสอบถามขอจักร เพิ่มจากที่ปรึกษารัฐมนตรี นายพงศักดิ์ เปล่งแสง มาโดยตลอด ซึ่งนายพงศักดิ์แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวต้องให้รัฐมนตรีตัดสินใจ และให้รอสถานการณ์ทางการเมืองสงบ
 
ต่อมาวันที่ 14 มิถุนายน 2553 พวกเราได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ดำเนินในเรื่องดังกล่าว เพราะยังมีคนงานที่เดือดร้อนยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ตกงานจำนวนมากและขณะนี้ยังมามีความคืบหน้าใดๆ
 
ในฐานะที่ท่านเป็น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานที่เข้ามารับงานต่อจึงขอให้ท่านดำเนินการช่วยเหลือพวก เราสนับสนุนให้คนงานสามารถประกอบอาชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงจึงจะได้เป็นตามเจต จำนงของผู้บริจาค
 
            ฉะนั้นพวกเราอดีตคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย) จำกัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อที่คนงานจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
 
จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้
 
ขอแสดงความนับถือ
 
...................................................                              .........................................................                     (นางสาวบุญรอด สายวงค์)                                                ( นางสาวจิตรา คชเดช)
 
.....................................................                        ...........................................................
(นางวิภา มัจฉาชาติ)                                                ( นางจิตตินันท์ สุขโน)
 
ตัวแทนอดีตคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย) จำกัด ที่ถูกเลิกจ้าง
 
 

 
 
หนังสือขอเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมของสมัชชาสหภาพแรงงานที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
 

สมัชชาสหภาพแรงงาน
 
วันที่ 17 สิงหาคม 2553
 
เรื่อง การเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคม
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
 
                 ตามที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แถลงนโยบายเร่งด่วนในข้อที่ 3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จะขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วยรวม ทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน
 
                  บัดนี้กองทุนประกันสังคมมีจำนวนถึง 707,730 ล้านบาทมีการนำเงินจากกองทุนไปลงทุนถึง 140,000 ล้านบาทแล้ว มีผลตอบแทนการลงทุนในปี 2553 จำนวน 15,223 ล้านบาท นับได้ว่ามีความเข้มแข็งมั่นคงและมีจำนวนมากมายจนสามารถนำเงินไปลงทุนแสวงหา กำไรได้มาก
 
                 แต่สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นเลยในช่วง 5ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิประโยชน์การคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร ทำให้ผู้ใช้แรงงานสตรีทุกข์ยากเดือดร้อนแสนสาหัส การดำเนินงานของกองทุนประกันสังคมภายใต้การกำกับดูแลของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แถลงต่อรัฐสภา พวกข้าพเจ้าในนามของสมัชชาสหภาพแรงงาน ซึ่งเข้าร่วมในกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยจึงขอเรียกร้องดังต่อไปนี้
 
             1.ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนกรณีสงเคราะห์บุตรจากเดือนละ 350 บาทเป็น 600 บาท และขยายอายุบุตรจาก 6 ปีเป็น 12 ปี
 
             2.ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์การคลอดบุตร โดยให้คลอดบุตรฟรี ครอบคลุมตั้งแต่การฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝากครรภ์ การคลอดบุตร และการอภิบาลบุตร และให้ได้รับเงินช่วยเหลือการครองชีพระหว่างการตั้งครรภ์อีกคนละ 12,000 บาท
 
              จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ.โดยเร่งด่วนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมกันนี้ขอให้นัดหมายรัฐมนตรีพบปะกับผู้แทนของกลุ่มเพื่อร่วมกันดำเนิน การเป็นไปตามข้อเรียกร้องดังกล่าว
 
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
 
    (นางจิตตินันท์ สุขโน)                                                     (นางสาวจิตรา คชเดช)
 
ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ                                         กลุ่มคนงาน Try Arm
 
(นาย ฉัตรชัย ไชยเสน)                                                      (นางสาวเยาวภา ดอนเส)
เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส                       กลุ่มคนงานสตรีสู้เสรีภาพ
 
 (นางสาวสุวรรณา ตาลเหล็ก) 
 กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย 
 

 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สรรเสริญ" พบอัยการขอเป็นทนายแก้ต่างคดี "สุธาชัย" ฟ้องหมิ่นประมาทว่าอยู่ในเครือข่ายล้มเจ้า

Posted: 18 Aug 2010 08:32 AM PDT

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. เข้าพบพนักงานอัยการ ชี้แจงคดีที่ถูก นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ยื่นฟ้องฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบและหมิ่นประมาท กรณีอ้างว่านายสุธาชัยอยู่ในกลุ่มเครือข่ายที่มีพฤติการณ์จาบจ้วงล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

18 ส.ค. 53 - พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เข้าพบพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 1 เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงในคดีที่ถูก นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และหมิ่นประมาท กรณีที่พ.อ.สรรเสริญแถลงข่าว อ้างว่านายสุธาชัยอยู่ในกลุ่มเครือข่ายที่มีพฤติการณ์จาบจ้วงล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งคดีอยู่ในชั้นการไต่สวนมูลฟ้องและตรวจความพร้อมคู่ความของศาลอาญา โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง พร้อมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผ่นพับและใบปลิวที่นำมาแถลงข่าว

ภายหลัง พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ตนมาชี้แจงเรื่องที่ถูก นายสุธาชัย ฟ้อง เป็นจำเลยร่วมกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งคดีไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ แต่การที่มาพบพนักงานอัยการก็เพื่อให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นผู้แก่ต่างคดีให้นายกรัฐมนตรี รองนายกฯ และตน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรของรัฐ เชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรม

สำหรับคดีนี้ นายสุธาชัยได้ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ นายกฯ ,นายสุเทพ รองนายกฯ และ พ.อ.สรรเสริญ โฆษก ศอฉ. ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 , 157 กรณีมื่อวันที่ 27 -28 เม.ย. 53 ได้มีการจัดทำแผ่นใบปลิวโฆษณา แสดงแผนผังของ ศอฉ. แสดงเครือข่ายกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์จาบจ้วงและร่วมกันดำเนินการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นบุคคลหนึ่งในเครือข่ายขบวนการดังกล่าวด้วย และแจกจ่ายให้กับผู้สื่อข่าว และสื่อมวลชน โดยศาลนัดไต่สวนและตรวจความพร้อมของคู่ความในวันที่ 23 ส.ค. นี้ เวลา 09.00 น.

ที่มาข่าว:
สรรเสริญเข้าพบอัยการขอเป็นทนายแก้ต่างคดีอ.จุฬาฟ้องหมิ่นฯ (เนชั่นทันข่าว, 18-2-8-2553)
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=463694&lang=T&cat=
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โหวตงบประมาณ 2554 มาตรา 3 ผ่าน 239 ต่อ 147

Posted: 18 Aug 2010 08:08 AM PDT

เพื่อไทยซัดงบแก้ใต้กระจุกที่กลาโหม แถมปรับยังได้เพิ่ม เตือนส่งออกเพิ่มจริงแต่เป็นสินค้าต่างประเทศตั้งฐานผลิตในไทย ส่วนสินค้าเกษตรส่งออกลดลง โหวตผ่านมาตรา 3 หลังอภิปรายนาน 9 ชม.

18 ส.ค. 53 - มติชนออนไลน์รายงานว่า การพิจารณาในช่วงเย็นยังอยู่ที่มาตรา 3 งบปี 54 ตั้งไว้จำนวน 2.07 ล้านล้านบาท มีที่น่าสนใจ อาทิ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กมธ. สงวนความเห็น อภิปรายติติงการจัดงบของรัฐบาลที่กระจุกตัวในพื้นที่ของรัฐบาลโดยเฉพาะพื้นที่ของเจ้ากระทรวง เพื่อเป้าหมายทางการเมือง นอกจากนี้ แผนงานการแก้ปัญหาชายแดน 5 จังหวัดแดนใต้ งบกระจายอยู่ทุกหน่วยงานรวมยอดแล้ว 19,101 ล้านบาท แต่ไม่บูรณาการ โดยอยู่ในทั้งกระทรวงมหาดไทย กอ.รมน. กระทรวงกลาโหม ศึกษาธิการ เกษตรฯ หากดูลึกๆกลายเป็นงบผูกพัน รวมๆแล้วเป็นแสนล้านบาทและผูกพันเป็นปีๆ สิ่งที่ชาวภาคใต้ต้องการ ไม่ใช่เรื่องงบประมาณ แต่คือความเป็นธรรมความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน แต่งบแก้ใต้ส่วนใหญ่กลับกระจุกตัวในกระทรวงกลาโหม

ด้านนายชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง ส.ส.ชัยนาท พรรคเพื่อไทย สงวนคำแปรญัตติ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่งบที่ปรับเพิ่ม ไปอยู่ในส่วนการจัดซื้ออาวุธให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ 750 ล้านบาท รวมถึงให้ กทม.ในการซ่อมถนน 796 ล้านบาท ทั้งๆที่ กทม.มีงบประมาณของตนเองมากอยู่แล้ว

โหวตผ่านมาตรา 3 ด้วยคะแนน 239 ต่อ 147 หลังอภิปรายนาน 9 ชม.

ขณะที่นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย สงวนคำแปรญัตติ อภิปรายว่า ไม่มั่นใจว่า รัฐบาลจะหารายได้มาชดใช้หนี้ได้ แม้ยอดการส่งออกมีมูลค่า 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เกินดุล แต่สินค้านั้นเป็นสินค้าของต่างประเทศที่ตั้งฐานการผลิตในไทยซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้สรุปยอดว่า ต่างประเทศนำรายได้ออกไปปีละไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ที่น่าตกใจคือ ยอดการส่งออกข้าว ผลผลิตการเกษตรหลักลดลงอย่างมาก มีราคาตกต่ำ ไม่รู้ว่าค้างในสต็อกจำนวนเท่าไหร่ จึงไม่ควรสนใจเฉพาะยอดส่งออกเพราะสินค้าหลักการเกษตรกลับยอดลดลง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมอภิปรายมาตรา 3 นานกว่า 9 ชั่วโมง นายชัย สั่งตรวจสอบองค์ประชุม ปรากฏว่า มีสมาชิกแสดงตน 271 จาก 474 คน เกินกึ่งหนึ่งที่ 237 คน จากนั้นจึงมีมติเห็นชอบตามร่างของกมธ. ด้วยคะแนน 239 ต่อ 147 งด 3 ไม่ลงคะแนน 20 เสียง 

สภาฯถกงบ′54วันแรก "ไตรรงค์"ไม่สนฝ่ายค้านขอเอกสารเพิ่ม

ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 18 สิงหาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 จำนวน 2,070,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2 และ 3 โดยจะเป็นการพิจารณารายมาตรารวม 35 มาตรา ซึ่งมีการถ่ายทอดสดการประชุมทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีช่อง 11 และวิทยุโทรทัศน์ของรัฐสภา โดยนายชัย แจ้งว่า ประธานพร้อมจะทำหน้าที่ 2 วัน คือวันที่ 18 – 19 สิงหาคม วันละ 24 ชั่วโมง เนื่องจากวันที่ 20 สิงหาคม รัฐสภาจะจัดงานออกศีลอดรอมฎอน 

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ประธานกมธ. ชี้แจงว่า กมธ.พิจารณางบประมาณปีนี้อย่างละเอียดและเข้มงวด มีการปรับลดงบประมาณ จำนวน 33,449,343,100 บาท โดยพิจารณาจากการดำเนินงานจริง ความพร้อมในการดำเนินงานของหน่วยงาน โครงการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ โครงการที่ดำเนินงานไปแล้วแต่มีการโอนงบประมาณ โครงการที่มีเป้าหมายไม่ชัดเจน มีความจำเป็นน้อย ไม่ประหยัด โครงการที่ดำเนินงานล่าช้ากว่าเป้าหมาย และบางรายการที่ปรับได้อีก เช่น ครุภัณฑ์บางประเภทที่สามารถปรับลงได้ตามราคาตลาดที่มีแนวโน้มจะลดลง ส่วนการเพิ่มงบประมาณ เพิ่มในวงเงินเท่ากับจำนวนที่ปรับลด เพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของรัฐบาล อาทิ โครงการประกันรายได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม แหล่งน้ำ การท่องเที่ยวและกีฬา และเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากนั้น มีการถกเถียงถึงเอกสารรายละเอียดงบประมาณในโครงการที่ปรับเพิ่ม โดยส.ส.ฝ่ายค้าน นำโดย นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ทักท้วงว่า ปีนี้เป็นปีที่สองที่รายการปรับเพิ่ม ไม่ส่งรายละเอียดของโครงการว่า ปรับเพิ่มให้โครงการใด ในพื้นที่ใด มีเพียงเอกสารภาพรวมเพียงเล่มเดียวทำให้อาจขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ทราบว่า มีการกระจายงบอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงทุกพื้นที่หรือไม่ จังหวัดบุรีรัมย์ของประธาน เม็ดเงินรวมทุกกระทรวงลงไปเท่าไหร่หากเทียบกับจังหวัดอื่น ซึ่งจะทำให้งบที่สภาอนุมัติ ไม่ได้ใช้ไปตามจริงเนื่องจากมีการสับเปลี่ยนโยกย้าย เพราะเป็นเงินก้อนเดียว ไม่มีรายละเอียดแผนงานโครงการมารองรับ สมัยงบปี 52 ที่รัฐบาลนี้เข้ามาปี 53 และใช้งบดังกล่าว ก็มีการทำแบบนี้ จึงสงสัยว่า คราวนี้ไม่ทำรายละเอียดอีกเพราะต้องการหมกเม็ด หรือรับเม็ดเงินไปขายต่อ

ด้านนายไตรรงค์ ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 167 บัญญัติให้การพิจารณางบประมาณต้องมีเอกสารประกอบ ประมาณการรายรับ วัตถุประสงค์ กิจกรรมแผนงานให้ชัดเจน ซึ่งรายการปรับลดมีรายละเอียดแต่ละโครงการแล้ว ส่วนรายการปรับเพิ่มมีรายละเอียดรายการที่ปรับเพิ่มเกิน 10 ล้านบาท แต่ถ้าต่ำกว่า 10 ล้านบาท หากทำรายละเอียดทุกโครงการเจาะทุกพื้นที่จะมีเอกสารเยอะมากหลายคันรถบรรทุก และไม่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว ซึ่งคราวที่แล้วตนบอกให้ไปฟ้องศาล ฝ่ายค้านก็ไปดำเนินการซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า ไม่รับคำร้อง ทั้งนี้รายละเอียดยิบที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำคือ ขั้นตอนจัดทำงบของสำนักงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลทำแล้ว   

"ประยุทธ"แฉ ปรับลดไปกองรวมแล้วหยิบแจกคนละ 10 % ปธ."ชัย" ตัดบท ให้กมธ.แจงเฉพาะรายการสงสัย

หลังการชี้แจง ส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงทักท้วง โดยนายประยุทธ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รู้ว่าใครนำงบไปขาย ที่นั่งอยู่บนที่ชี้แจงนั้นก็มีบ้าง แต่ตนไม่อยากหัก ทั้งนี้การปรับลด กลับตัดไปกองไว้ลอยๆแล้วหยิบไปแจก ในชั้นกมธ.มีคนมาวิ่งกวาดไผ่เต็มไปหมด คนละ 10 % ประธานกมธ.ก็รู้ ส่วนนายเจริญ กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ควรทำรายละเอียดทุกโครงการ จะได้รู้ว่า รถถัง 6,200 ล้านบาท หรือฝูงบินกริพเพน 1.6 หมื่นล้านบาท กมธ.ไม่ให้ แล้วมีเงินกลับมาอีกได้อย่างไร ขอเป็นซีดี 1 แผ่นก็ได้ ด้านนพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โครงการไทยเข้มแข็งมีข่าวว่า กินกันถึง 50 % ของโครงการ นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ (ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ประธานกมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต) ยังออกมาให้สัมภาษณ์เองว่ามีจริง หรือพบว่า เสาธงราคา 4.9 แสนบาท รถออโต้ไมโครบัสคันละ 3 ล้านบาทเป็นไปได้อย่างไร

ขณะที่นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ข่าวเรื่องงบกระจุกตัวบางจังหวัด นายไตรรงค์ ก็นำไปจัดการใหม่แล้ว แต่ส.ส.จะเชื่อว่า กระจายจริงก็ต่อเมื่อมีการแจกเอกสารโครงการของท้องถิ่นแบบละเอียด ข้อครหาซื้อขายโครงการก็จะหมดไป ทั้งนี้หลังการทักท้วงนานประมาณ 1 ชั่วโมง นายชัย ที่พยายามไกล่เกลี่ยเป็นระยะ ตัดบทว่า หากส.ส.สงสัยรายละเอียดของโครงการใดเป็นพิเศษ ให้กมธ.นำเอกสารมาชี้แจง เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว และนำเข้าสู่การพิจารณารายมาตราต่อไป

"เพื่อไทย"ฉะ"มาร์ค"สองปีมีเงินให้ผลาญกว่า1.3ล้านล้าน แต่แก้ความยากจนไม่ได้

จากนั้นเป็นการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา เริ่มที่ มาตรา 3 ภาพรวมงบปี 2554 จำนวน 2,070,000 ล้านบาท โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย สงวนคำแปรญัตติปรับลด 30 % อภิปรายว่า การปรับลดดังกล่าวเป็นเงิน 6 แสนล้านบาท มีเหตุผล 5 ข้อคือ

1.นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง บอกว่า ปี 53 สามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มมากกว่าที่ตั้งเป้าถึง 3 แสนล้านบาท จากเป้า 1.35 ล้านล้านบาท ต่อมาวันที่ 12 สิงหาคม สำนักงานเศรษฐกิจการคลังยืนยันตามตัวเลขนี้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลนี้บริหารเงินไม่เป็น แต่ กมธ.งบฯ กลับไปสนับสนุนให้มีการใช้เงินอย่างอีลุ่ยฉุยแฉกด้วยการกู้เงิน

2.ปี 53 มีงบลงทุน 1.5 แสนล้านบาท บวกกับการออก พ.ร.ก.กู้เงินอีก 3.5 แสนล้านบาทเป็นเงินรวม 5 แสนล้านบาท บวกกับเงินที่ได้จากการจัดเก็บภาษี 3 แสนล้านบาท และเงินที่ยึดได้จากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีก 4.6 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินลงทุนทั้งหมด 8.5 แสนล้านบาท ปี 54 มีงบลงทุน 4.7 แสนล้านบาท รวมปี 53 และ 54 รัฐบาลมีงบลงทุนถึง 1.32 ล้านล้านบาท เมื่อหาร 2 เท่ากับมีเงินปีละประมาณ 600,000 แสนล้านบาทเศษ เป็นจำนวนเงินลงทุนมากที่สุดเท่าที่ตั้งประเทศไทยมา

3.รัฐบาลนี้มีเงินจำนวนมาก แต่ไม่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น คนยังจนอยู่เยอะ ดูจากหนี้นอกระบบมี 1.18 ล้านคน ยอด 1.22 ล้านล้านบาท รัฐบาลช่วยได้ 2.6 แสนราย วงเงินช่วยเหลือ 1.7 หมื่นล้านบาท ถือว่า สัดส่วนน้อยมาก

4. หนี้สาธารณะตอนนี้ 4.1 ล้านล้านบาท รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก่อหนี้มากถึง 2.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น สมัยรัฐบาลชวน 2 มีหนี้เงินกู้ 1.1 ล้านล้านบาท รัฐบาลนี้ปี 52 ก่อหนี้ 3.4 แสนล้านบาท ปี 53 ก่อหนี้ 3.5 แสนล้านบาท ปี 54 คาดว่าจะก่อหนี้ 4.2 แสนล้านบาท การกู้เงิน 4 แสนล้านบาท รวมเป็น 1.5 ล้านล้านบาท จึงไม่เชื่อว่า จะจัดทำงบสมดุลได้ใน 5 ปี การจัดทำงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลนี้จึงทำแบบเด็กประถม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังต้องปรับลดเงินเดือน เพราะทำงานมั่วตั้งแต่มีรัฐบาลนี้

5.จะทำรัฐสวัสดิการ แต่เก็บภาษีได้เพียง 16- 18 % ของจีดีพี ถือว่าเพ้อฝัน เพราะประเทศรัฐสวัสดิการอย่างสวีเดนเก็บได้ถึง 50 %

นายกฯโต้ มั่วข้อมูล โว ศก.ขยายตัวมากที่สุดในโลก คุย แก้หนี้นอกระบบเกินเป้า

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ผู้อภิปรายดูหมิ่นดูแคลน ทั้งที่ข้อมูลผิดอยู่ตลอดซึ่งพิสูจน์มาแล้วหลายครั้ง เช่น เคยบอกว่า คลังจะไม่สามารถหารายได้ได้ตามเป้า และเศรษฐกิจจะไม่ดีขึ้น แต่ข้อเท็จจริง รัฐบาลทำงานมี 1 ปีครึ่งทำได้เกินเป้าครึ่งปีนี้ เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่ไม่ได้ใช้งบประมาณมากเพราะไม่ใช่ทุกปัญหาจะแก้ได้โดยการทุ่มงบ

ส่วนรัฐบาลนี้มีแผนกู้เงินมากเพราะมีวิกฤตเศรษฐกิจโลกรุนแรงครั้งหนึ่ง แต่สุดท้ายรัฐบาลก็บริหารได้ จึงลดการกู้ไปได้ครึ่งหนึ่ง และอันที่จริง การกู้สามารถทำได้หากมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในระดับเหมาะสมคือไม่ให้เกิน 60 % ซึ่งสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเคยออก พ.ร.ก.กู้รวดเดียว 7 แสนล้าน ฝ่ายค้านในตอนนี้ที่ตอนนั้นเป็นรัฐบาลก็ไม่เห็นว่าอะไรกัน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนที่บอกว่า รัฐบาลจะสร้างรัฐสวัสดิการ รัฐบาลไม่เคยบอกว่าจะทำรัฐสวัสดิการ แต่บอกว่า จะทำสวัสดิการสังคม ให้คนได้เรียน มีการประกันรายได้ คนพิการและผู้สูงอายุได้เบี้ยรายเดือน ใครไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร แต่รัฐบาลนี้เห็นว่าสำคัญ ส่วนการทำงบสมดุลใน 5 ปี แนวโน้มการทำงบปีนี้ก็ใกล้งบสมดุลมากแล้ว ฉะนั้นใน 5 ปี มั่นใจว่าทำได้แน่ ส่วนหนี้นอกระบบ ไม่ได้โม้ แต่ทำได้เกินเป้า เพราะขึ้นทะเบียน 1.2 ล้าน คน เป้าหมายแก้ไข 2 แสนราย แต่ตอนนี้แก้ได้ 4 แสนรายแล้ว และคาดว่าจะแก้ได้ 6 แสนราย ขณะที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งเป้าไว้ 1.7 แสนราย แต่แก้ปัญหาได้แค่ 8 หมื่นราย

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงว่า การเก็บภาษีปี 53 ที่เพิ่มขึ้นจากเป้าเป็น 1.65 ล้านล้านบาท เพราะตัวเลขเปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตรทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการประมาณการจัดเก็บภาษีของงบปี 54 ที่ตั้งไว้ 1.65 ล้านล้านบาท ก็เป็นตัวเลขเบื้องต้น แต่เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้อัตราการจัดเก็บภาษีสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นข่าวดีของประชาชน ที่ผู้ประกอบการมีผลประกอบการที่ดีขึ้น

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ถึง 4 แสนราย วันนี้ทุกคนมีเงินอยู่ในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1 พันบาท ซึ่งไม่ได้มาจากการทุ่มงบประมาณเข้าไป หรือเป็นเงินภาษีของประชาชน แต่เป็นการใช้ธนาคารประชาชนเข้าเพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหา ซึ่งรัฐบาลยืนยันเดินหน้าดำเนินนโยบายนี้ต่อไป ส่วนปัญหาหนี้สาธารณะ ยอมรับว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ต้องดูว่า เงินที่กู้มาสุดท้ายแล้วเป็นภาระของประเทศอย่างไร ซึ่งจากฐานเดิมที่มีหนี้สาธารณะ 8.5 % แต่การกู้เงินมาแก้ไขปัญหาทำให้สัดส่วนของหนี้ลดลง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้จีดีพีของหนี้ลดลงมาจาก 44 % อยู่ที่ 42 % ขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่มั่วตัวเลขอย่างที่กล่าวหา แต่ผู้อภิปรายมั่วข้อมูล ไม่ทำการบ้านมาก่อนอภิปราย

หลังการชี้แจง นายสุรพงษ์ ลุกขึ้นใช้สิทธิ์พาดพิงด้วยความไม่พอใจว่า “ยืนยันว่าผมไม่ได้มั่วข้อมูล  ถ้ายังไม่รู้ว่าคนใช้เอาเอทีเอ็มไปเบิกเงินก็อย่ามาบริหารประเทศดีกว่า”

ที่มาข่าว:

โหวตงบฯ′54 มาตรา 3 ผ่านฉลุย 239ต่อ147 หลังอภิปรายนาน 9 ชม. พท.ซักงบฯใต้กระจุกกห. ปรับแล้วแต่ยังได้เพิ่ม (มติชนออนไลน์, 18-8-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282105329&grpid=00&catid=

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานพิเศษ: ‘จังหวัดระนอง’ ตะเข็บชายแดน พื้นที่นำร่องสู่ “การจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า”

Posted: 18 Aug 2010 07:37 AM PDT

ระนอง จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีชาวต่างชาติ และชาวไทยพลัดถิ่น อาศัยอยู่และเดินทางข้ามพรมแดนไทย-พม่าอยู่บ่อยครั้ง ชาวต่างชาติหลายคน หลายคู่ตัดสินใจเดินทางข้ามเส้นพรมแดนมาเพื่อเริ่มต้นชีวิต มาเพื่อใช้ชีวิต หรือกระทั่งมาให้กำเนิดชีวิตตัวน้อย ๆ ในประเทศไทยดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าระนองเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายของกลุ่มคน ทั้งคนไทย คนต่างชาติซึ่งเราเรียกกันเป็นปกติว่า คนต่างด้าว

สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ร่วมกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น (NCCM) จังหวัดระนอง ได้จัดเวทีรวบรวมสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องในพื้นที่จังหวัดระนอง (พื้นที่ต้นแบบ) เพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา ในเรื่องการจดทะเบียนการเกิดในพื้นจังหวัดระนองด้วยเล็งเห็นว่าระนองเป็นพื้นที่ชายแดนที่ประสบปัญหาเรื่องการจดทะเบียนรับรองการเกิดของเด็ก และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาการตกอยู่ในภาวะไร้รัฐของบุคคลได้ง่าย แต่จังหวัดระนองโดยความร่วมมือของภาคราชการ ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลับมีสถิติในการแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นหากสามารถรวบรวมปัญหาที่มีอยู่ และแนวทางวิธีแก้ปัญหาที่ผ่านมาก็อาจส่งผลให้จังหวัดระนองกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบ นำร่องสู่ การจดทะเบียนการเกิดที่ถ้วนหน้า ครบขั้นตอนและถูกต้องได้
 
และการดำเนินการเพื่อสำรวจสถานการณ์การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัดระนองนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการทำงานเครือข่ายด้านสถานะบุคคล และสิทธิเพื่อผลักดันการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)
 
เวทีดังกล่าวนี้จัดขึ้นในวันที่ 29 กรกฏาคม 2553 ณ เฮอริเทจ แกรนด์ คอนแวนชั่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ซึ่งมีตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานด้านสถานพยาบาลในจังหวัดระนอง เทศบาล อำเภอต่าง ๆ และตัวแทนผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสถานะบุคคลเข้าร่วม ประมาณ 20 คน
 
ดรุณี  ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ กล่าวในเวทีว่า มนุษย์ทุกคน นอกจากการมีตัวตนในทางข้อเท็จจริงแล้ว การจดทะเบียนการเกิด จะช่วยให้เด็กหรือคนๆ หนึ่งถูกมองเห็นโดยสายตาของกฎหมาย โดยรับรู้การมีตัวตนของเขาผ่านทางระบบการบันทึกทะเบียนราษฎรของรัฐ ทำให้บุคคลไม่ตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐ และบุคคลผู้นั้นจะมีเอกสารระบุทราบตัวบุคคลของตนเพื่อเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ทั้งสิทธิการศึกษา สิทธิในการสุขภาพ ประกอบกับฐานข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการประชากร และอาจถูกใช้เพื่องานความมั่นคงของรัฐ เพราะเมื่อรัฐทราบจำนวนคนเกิดก็ย่อมง่ายต่อการจัดระเบียบประชากร
 
อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนการเกิดประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1.ถ้วนหน้า คือ เด็กและอดีตเด็กทุกคนที่เกิดและปรากฏตัวในประเทศไทยจะต้องได้รับการจดทะเบียนการเกิด โดยจะต้องเป็นไปตามข้อ 2. คือ ครบขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือ การได้รับหนังสือรับรองการเกิด การแจ้งเกิด และการมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ และข้อ 3. ถูกต้อง คือ การจดทะเบียนการเกิดและการได้รับเอกสารระบุทราบตัวบุคคลจะต้องถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงของเด็กหรือบุคคลนั้นๆ
 
“นอกจากนี้ เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ได้รับจากการจดทะเบียนการเกิด หรือแม้กระทั่งหนังสือรับรองการเกิด จะเป็นเอกสารที่ทำให้บุคคลตามเอกสารเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะบุคคลได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการตกอยู่สถานะคนไร้สัญชาติ โดยทุกภาคส่วนของสังคมจำต้องทำความเข้าใจว่า สิทธิในการจดทะเบียนการเกิด และ สถานะทางกฎหมายบุคคลเป็นคนละเรื่องกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด” ดรุณี กล่าว
 
กิติวรญา รัตนมณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สิทธิในการได้รับการจดทะเบียนการเกิด กับ สถานะทางกฎหมายบุคคลเป็นคนละเรื่องกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด แต่ใช่ว่ามนุษย์ทุกตนที่ได้รับการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทย จะมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทย เพราะในเรื่องสถานะทางกฎหมายว่าเป็นคนสัญชาติใดจะต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของบุคคลนั้นประกอบ เช่น ข้อเท็จจริงเรื่องวันเวลาที่เกิด บิดา มารดา และกฎหมายสัญชาติแห่งรัฐที่บังคับใช้ในช่วงเวลาที่เกิด สำหรับประเทศไทยได้จำแนกบุคคลโดยอาศัยสถานะทางกฎหมายของบุคคลเป็น 5 กลุ่ม คือ คนไร้รัฐหรือไร้เอกสารระบุทราบตัวบุคคล คนซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นคนสัญชาติไทยแต่ได้รับการบันทึกผิด คนต่างด้าวเกิดในประเทศไทย คนต่างด้าวเกิดนอกประเทศไทย และคนซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ
 
ในช่วงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานและปัญหาที่พบนั้น ตัวแทนจากโรงพยาบาลจังหวัดระนอง ได้เล่าถึงการทำงานของโรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลระนองจะมีบันทึกหน้าห้องคลอด หรือ “ทะเบียนคนคลอด” ที่บันทึกว่ามีใครมาคลอดบุตรที่โรงพยาบาล บันทึกนี้จะไม่มีการทำลายเว้นแต่สูญหายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ย้ายตึก ปลวกกิน โดยของโรงพยาบาลระนองนั้นด้วยเหตุที่มีการย้ายตึกประมาณ ปี พ.ศ. 2542-2543 ทะเบียนคนคลอดบางส่วนจึงหายไป เหลือเพียงส่วนที่บันทึกปลายปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา
 
 
สำหรับแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลระนองในการที่จะออก ท.ร.1/1และลงลายมือชื่อผู้ทำคลอดให้ก็ต่อเมื่อมารดาของเด็กได้มาตัดสายสะดือที่โรงพยาบาลระนอง หากตัดสายสะดือมาแล้วแต่ให้โรงพยาบาลเป็นผู้ทำความสะอาดรก เช่นนี้ ก็ไม่อาจจะออก ท.ร.1/1 ให้ได้ในกรณีที่ทำ ท.ร.1/1 หาย หรือ อำเภอ เทศบาลมีหนังสือส่งมาขอให้ออก ท.ร.1/1 ให้ โรงพยาบาลก็ยินดีออก ท.ร.1/1 ให้ใหม่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเกิดที่โรงพยาบาลจริง
 
ปัญหาที่พบในเรื่องการออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. 1/1) ของโรงพยาบาลระนองก็คือ มารดาเด็กซึ่งเป็นชาวพม่าไม่นำ ท.ร.1/1 ไปแจ้งเกิด หรือลืมรับ ท.ร.1/1 หรือจงใจไม่รับเนื่องจากไม่ทราบว่าต้องนำไปแจ้งเกิดเด็ก แต่เมื่อโรงพยาบาลชี้แจงให้ทราบว่าต้องรับไปเพื่อแจ้งเกิดเด็กที่เทศบาล หรือ อำเภอ ก็ยังไม่ยอมรับเช่นเดิม ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 100 ราย สันนิษฐานว่าเป็นเพราะมารดา บิดาชาวพม่าอาจจะยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการแจ้งเกิดเด็ก หรืออาจกลัวการที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการไทย เพราะเกรงว่าจะโดนจับ ส่วนใหญ่ของการขอ ทร. 1/1 ย้อนหลังนี้มักจะแจ้งชื่อบิดา มารดา ของเด็กไปตรงกับที่แจ้งไว้คราวที่คลอด กรณีนี้โรงพยาบาลแก้ปัญหาโดยให้ผู้ขอไปแจ้งความก่อน แล้วจึงมาดำเนินการขอท.ร.1/1
 
อย่างไรก็ตามตัวแทนจากโรงพยาบาลกระบุรีได้เล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องการออก ท.ร. 1/1 บางส่วนเพื่อแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาลอื่น ๆ คือ โรงพยาบาลกระบุรีจะเย็บ ท.ร.1/1 ติดกับสมุดแม่และเด็กเพื่อให้มารดาเด็กนำกลับไป และในกรณีที่ชื่อบิดามารดาซึ่งแจ้งไว้ในสมุดสีชมพูแม่และเด็กไม่ตรงกับที่แจ้งใน ท.ร.1/1 ทางโรงพยาบาลจะเขียนตามที่แจ้งไว้ในท.ร.1/1 โดยเขียนกำกับท้ายชื่อว่า “เขียนตามคำบอกเล่าของพ่อแม่” และสำหรับค่าบริการทางการแพทย์นั้นคิด 300 บาทต่อวัน แต่ถ้ามารดานำสูติบัตรเด็กมาแสดงแก่โรงพยาบาลภายใน 7 วัน ก็จะได้รับเงิน 300 บาทคืน โดยวิธีคืนเงินนี้ใช้ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ แต่จะไม่ใช้กับมารดาเด็กที่ไม่มีบัตรอะไรเลย เป็นการกระตุ้นให้มารดานำทร.1/1 ไปจดทะเบียนการเกิด ซึ่งโรงพยาบาลระนองก็ใช้วิธีนี้เช่น กันแต่เปลี่ยนเป็นเก็บเงินไว้ก่อน 704 บาท เมื่อเด็กมีสูติบัตรแล้วก็จะมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ จึงไม่จำเป็นต้องจ่าย 704 บาท จึงได้รับเงินกลับคืนไป
 
ทางด้านเทศบาลเมืองระนองก็ได้นำเสนอปัญหาที่พบ คือ กรณีมาแจ้งเกิดแล้วชื่อบิดามารดาที่แจ้ง ไม่เหมือนกับใน ท.ร. 1/1 หากผิดเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่ถ้าแตกต่างในลักษณะที่อาจเป็นชื่อใหม่เลย เช่นนี้ ก็จะแจ้งกลับไปให้ทางโรงพยาบาลแก้ไข และถ้าบิดามารดามีเลขประจำตัว 13 หลัก แต่ถูกระงับเคลื่อนไหวทางทะเบียน เทศบาลก็จะรับจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็ก โดยจะกำหนด เลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 0 คือ บุคคลซึ่งไม่สถานะทางทะเบียน
 
ตัวแทนจากอำเภอเมืองระนอง กล่าวว่าการทำงานของอำเภอนั้นอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงแห่งรัฐ ได้ยืนยันว่าหากมีท.ร.1/1 มาแสดง อำเภอก็รับฟังและจดทะเบียนการเกิดให้แน่นอน แต่ในกรณีที่นำมาเพียงสมุดแม่และเด็กนั้นไม่อาจยืนยันได้ว่าเด็กเกิดในโรงพยาบาล เพราะอาจจะเป็นแค่การฝากครรภ์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เช่น พยานบุคคล 5-6 คนที่เห็นการเกิด ทั้งนี้ทางอำเภอเคยพบปัญหาการสวมตัว นำ ท.ร. 1/1 ของผู้อื่นมาแจ้งการเกิดของตนเอง
 
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะจากตัวแทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเสนอให้มีการทำความเข้าใจกับบิดา มารดา เด็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นชาวต่างชาติให้เข้าใจถึงการจดทะเบียนการเกิด โดยอาจจะต้องจัดทำคู่มือจดทะเบียนการเกิดเป็นภาษาต่างประเทศ
 
และ ชาติชาย อรเลิศวัฒนา นักกฎหมาย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น จังหวัดระนองซึ่งได้ติดตามและทำงานในประเด็นการจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ได้นำเสนอสถานการณ์ภาพรวมของการจดทะเบียนการเกิด ซึ่งพบว่ามีเด็กทั้ง 6 กลุ่ม คือ หนึ่ง-เด็กเกิดในสถานพยาบาล สอง-เด็กเกิดนอกสถานพยาบาล สาม-เด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง สี่-เด็กที่เกิดในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ห้า-เด็กไทยที่เกิดในต่างประเทศ และหก-กรณีการจดทะเบียนการเกิดภายหลังการมีชื่อในทะเบียนราษฎร ได้รับการจดทะเบียนการเกิด ทั้งนี้ในทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าวที่สำเร็จลุล่วงเกิดจากการประสานงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเพื่อให้การจดทะเบียนการเกิดในพื้นที่จังหวัดระนองสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบได้ก็ยังต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตาภาคประชาชน: ศยามล ไกยูรวงศ์ และพูลทรัพย์ สวนเมือง มุมมอง NGO ต่ออนาคต NGO

Posted: 18 Aug 2010 07:32 AM PDT

ศยามล ไกยูรวงศ์ NGO ผอ.โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา และพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ NGO มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ในซีรี่ส์ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย
 
 
ตอน 17 ศยามล ไกยูรวงศ์ NGO ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา 
 
 
"ตอนนี้ภาคประชาชนในสังคมไทยมีความเข้มแข็ง แล้วก็มีการรวมกลุ่มที่จะแก้ปัญหาตนเองค่อนข้างหลากหลาย เพราะฉะนั้นจะมีบทบาทที่กว้างไปกว่าบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาท แต่ตอนนี้ภาคประชาชนแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ก็เป็นพัฒนาการของสังคมไทยที่ดีขึ้น แล้วก็มีความหลากหลาย"
 
"ถ้าในช่วงเริ่มแรกของการพัฒนา... เอ็นจีโอค่อนข้างเป็นเหมือนปัญญาชน ที่เรียกว่าอาจจะมีโอกาสเข้าถึงของมูลข่าวสาร เข้าไปช่วยให้ประชาชนโดยเฉพาะในชนบทได้เท่าทันกับสถานการณ์ แล้วก็เป็นที่ปรึกษาของการรวมกลุ่มทำให้เกิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง" 
 
"แต่ว่าในยุคสมัยนี้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ง่าย แล้วก็สังคมค่อนข้างเปิด และที่สำคัญคือประชาชนเขามีศักยภาพในการพัฒนา และสังคมเปิดโอกาสให้เขาจัดการได้ เพราะว่ารัฐบาลเราอ่อนแอ แม้ว่าดูเหมือนจะเป็นเผด็จการแต่ความจริงแล้วรัฐบาลเราอ่อนแอ และยังคุมประชาชนไม่ได้ ดังนั้นประชาชนก็เลยแสดงศักยภาพของตนเองในการแก้ปัญหา"
 
"เพราะฉะนั้นเอ็นจีโอในยุคสมัยนี้จะต้องปรับบทบาทตัวเองในแง่นโยบาย ในเชิงที่จะนำข้อมูลข่าวสารให้ภาคประชาชนเท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์โครงสร้างปัญหาที่ชาวบ้านประสบปัญหามันมีโครงสร้างมาจากไหน และเขาจะร่วมกันขับเคลื่อนภาคประชาชนในการแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร" ศยามล ไกยูรวงศ์ NGO ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     
 
  
 000
 
ตอน 18 พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ NGO มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
 
 
“ภาคประชาชนก็คือกลุ่มประชาชนที่เขาทำงาน ไม่ใช่เอ็นจีโอ แล้วตัวแทนของกลุ่มภาคประชาชนในภาคต่างๆ ไม่ว่าเกษตร แรงงาน พี่ก็เรียกว่าภาคประชาชน”
 
“บทบาทของเอ็นจีโอที่มีต่อภาคประชาชน เราก็น่าจะเป็นตัวที่ซับพอร์ท หรือเป็นตัวที่ช่วยไปเติมเต็ม เพราะภาคประชาชนก็มีข้อจำกัดในแง่ของการรับรู้ การเชื่อมโยง การวิเคราะห์ แล้วก็การขับเคลื่อน”
 
“ถ้าภาคประชาชนสามารถเข้มแข็งได้จริง ส่วนสนับสนุนเขาก็ เอ็นจีโอเป็นฝ่ายสนับสนุน และเป็นฝ่ายวิชาการที่เชื่อม คือนักวิชาการกับประชาชนห่างกันมาก เอ็นจีโอจะเป็นส่วนที่จะมาอยู่ตรงกลาง ที่จะช่วยเชื่อมระหว่างในส่วนมิติทางวิชาการ และในส่วนตัวชาวบ้าน ภาคประชาชน”
 
“มองว่าบทบาทที่น่าจะทำของเอ็นจีโอคือ มิติเชิงวิชาการ แต่ว่าเป็นวิชาการเชิงแอคชั่น” พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ NGO มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
 
.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาคประชาชนจี้นายกรับผิดชอบ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

Posted: 18 Aug 2010 07:30 AM PDT

 
 
18 ส.ค. 53 -ภาคประชาชนส่งจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความรับผิดชอบเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
จดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แสดงความรับผิดชอบเรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...
โดย ประชาชนหนึ่งหมื่นคนที่ร่วมลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ เวทีสาธารณะสถานการณ์สุขภาพและความเป็นธรรมด้านสุขภาพ
โรงแรม ที เค พาเลส กรุงเทพฯ
………………………………………………………………………………………
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
            ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นำเสนอ(ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับรัฐบาล ที่ได้พิจารณาปรับแก้เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยคณะกรรมการกฤษฏีกาและรัฐบาลเองได้เสนอเข้าสู่วาระการประชุมรัฐสภาแล้วนั้น ขณะนี้รออยู่ในระเบียบวาระเพื่อพิจารณา อย่างไรก็ตามได้มีกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มหนึ่ง ได้ออกมาคัดค้านไม่ให้มีการพิจารณาร่าง พรบ.ฉบับนี้ ขณะที่มีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อีกหลายกลุ่มให้การสนับสนุน และท่านได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งคณะกรรมการ ๓ ฝ่ายเพื่อพิจารณาทำความเข้าใจและปรับปรุงร่าง พรบ.ให้เหมาะสมที่สุดตามข้อคัดค้านและข้อสนับสนุนของทุกภาคส่วนแล้วนั้น ทางตัวแทนประชาชนผู้เสนอกฎหมายได้เข้าร่วมกับคณะกรรมการนี้อย่างเต็มที่ในขณะที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ
            ประชาชนผู้ร่วมลงชื่อหนึ่งหมื่นชื่อเพื่อเสนอร่างพรบ.นี้เข้าสู่รัฐสภาด้วยเช่นกันนั้น จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี แสดงความรับผิดชอบด้วยการเดินหน้าให้มีการพิจารณา ร่าง พรบ.นี้ตามวาระอย่างรวดเร็ว เพื่อให้กระบวนการรัฐสภาทำหน้าที่ในการพิจารณาปรับแก้ ร่าง พรบ.นี้ให้เหมาะสม สอดคล้อง และเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณารับหลักการ การปรับแก้ในชั้นกรรมาธิการ การตรวจสอบปรับแก้ในชั้นวุฒิสภา ยังต้องดำเนินการโดยใช้เวลาอีกพอสมควร และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถชี้แจง ให้ข้อมูล เพื่อปรับแก้ร่าง พรบ.นี้ได้ในทุกขั้นตอนเช่นเดียวกัน
            จึงกราบเรียนมาเพื่อให้ท่านได้พิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร่งด่วน เพื่อให้เป็นไปตามที่ท่านได้สัญญากับประชาชนเสมอมาว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” 
ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
ประชาชนหนึ่งหมื่นชื่อผู้เสนอ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (ฉบับประชาชน)
๑.      เครือข่ายประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและรัฐสวัสดิการ
๑.๑ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
๑.๒ เครือข่ายผู้สูงอายุ 
๑.๓ เครือข่ายผู้พิการ 
๑.๔ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเรื้อรัง ไต มะเร็ง หัวใจ โรคจิต
๑.๕ เครือข่ายเกษตรทางเลือก กลุ่มเกษตรกรรายย่อย 
๑.๖ เครือข่ายเด็ก เยาวชน และการศึกษา      
๑.๗ เครือข่ายผู้หญิงกับสุขภาพ  
๑.๘ เครือข่ายชุมชนแออัด สลัม๔ ภาค 
๑.๙ เครือข่ายชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์  
๑.๑๐ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ 
๑.๑๑ เครือข่ายผู้บริโภค 
๒. เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข 
๓. คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ..)
 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักสิทธิมนุษยชนรัฐฉานหวั่นพม่าขยายทางรถไฟยุทธศาสตร์เร่งสงครามปราบชนกลุ่มน้อย

Posted: 18 Aug 2010 07:14 AM PDT

นักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน เผยแพร่รายงานด่วน ระบุโครงการสร้างทางรถไฟ “เมืองนาย-เชียงตุง” ของรัฐบาลพม่าจะเป็นเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย เชื่อมฐานทัพใหญ่พม่าจากตองยีและเชียงตุงเข้าด้วยกัน และจะเร่งให้เกิดสงครามปราบชนกลุ่มน้อยมากกว่าประโยชน์ด้านการขนส่ง เผยมีการเวนคืนที่หลายพันเอเคอร์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและห้ามชาวบ้านทดน้ำเพื่อเพาะปลูกสองข้างทางรถไฟ

 

ภาพจากหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลทหารพม่า ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 53 เป็นภาพโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเมืองนาย-เชียงตุง ช่วงสถานีเชียงตุง (Kengtung) ถึงสถานียางลือ (Yanglu) ใต้ภาพมีคำบรรยายว่า "รัฐมนตรีกระทรวงขนส่งทางรถไฟก่อสร้างเส้นทางรถไฟช่วงเชียงตุง-ยางลือ โดยใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อการเดินทางที่ดีขึ้นของประชาชนท้องถิ่น" อย่างไรก็ตามจากรายงานล่าสุดของนักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน ระบุว่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อชาวบ้านสองข้างทาง และเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของกองทัพพม่าในการกดดันกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพ้นที่
 
 
 
ภาพจากหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลทหารพม่า ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 53 ในภาพ พล.ท.มิน ออง หล่าย (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 เยี่ยมห้องสมุดของกรมข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ ที่เมืองโต๋น เมื่อ 16 ก.พ. โดยในวันเดียวกันนี้หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ยังรายงานด้วยว่า พล.ท.มิน ออง หล่าย ยังเดินทางไปตรวจการโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเมืองนาย-เชียงตุง ที่สถานีเมืองกก และสถานีเมืองโต๋นด้วย
 
 
 
ภาพกราฟฟิคแสดงแผนที่การก่อสร้างทางรถไฟเฉพาะช่วงเมืองนายจากรายงาน "เส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมภาคตะวันออกของรัฐฉานจะยิ่งเร่งให้เกิดสงคราม" ของกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน ในภาพจะเห็นว่าเส้นทางรถไฟ (เส้นสีแดง) ตัดผ่านที่ลุ่มเกษตรกรรมของเมือง และพื้นที่สองข้างทางรถไฟเป็นที่ตั้งฐานทัพของทหารพม่า
 
 
วันนี้ (17 ส.ค.) กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน สหภาพพม่า ได้แก่ เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ (SWAN) และมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) เผยแพร่รายงานด่วนเรื่อง "เส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมภาคตะวันออกของรัฐฉานจะยิ่งเร่งให้เกิดสงคราม" (Burma Army tracks across Shan State) โดยเผยแพร่ทั้งภาษาไทใหญ่ ภาษาพม่า ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีเนื้อหาคัดค้านโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเมืองนาย-เชียงตุง ของรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีระยะทางกว่า 361 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกจากรัฐฉานภาคตะวันตกที่จะตัดข้ามแม่น้ำสาละวินเข้าสู่รัฐฉานภาคตะวันออก
 
 
ชี้สร้างทางรถไฟหวังใช้ขนอาวุธหนัก-กดดันกองกำลังชนกลุ่มน้อย
โครงการดังกล่าวเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2552 เริ่มก่อสร้างจากเมืองนาย ซึ่งเป็นปลายทางของเส้นทางรถไฟที่มาจากเมืองตองยี เมืองหลวงของรัฐฉาน โดยเส้นทางรถไฟที่จะมีการก่อสร้างมีเส้นทางขนานชายแดนไทย-พม่า มีสถานีย่อยจากเมืองนาย ลางเคอ เมืองปั่น เมืองโต๋น เมืองสาด และเชียงตุง ทั้งหมด 18 แห่ง มีการสร้างสะพาน 461 แห่ง โดยกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเห็นว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าว เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ในการกดดันกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพื้นที่
 
ทั้งนี้ในการก่อสร้างทางรถไฟ รัฐบาลได้ยืดที่เวนคืนที่ทำกินของชาวบ้านจำนวนหลายพันเอเคอร์ มีการแจ้งให้ชาวนาในพื้นที่ทราบว่าเป็น “โครงการของทหาร” และขู่จะขังคุกถ้าไม่ให้ความร่วมมือ
 
จายปืนคำ นักวิจัยของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) ระบุว่าการสร้างทางรถไฟสายดังกล่าว เป็นไปเพื่อการขนส่งอาวุธของกองทัพพม่า จะทำให้ทหารพม่าสามารถเคลื่อนปืนใหญ่จากที่ตั้งทางทหารในเขตรัฐฉานตอนใต้ เข้าสู่พื้นที่รัฐฉานทางตะวันออกได้
 
ทั้งนี้ในรายงานของนักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน ยังระบุด้วยว่า เส้นทางรถไฟตัดผ่านอาณาเขตทั้งตอนเหนือและใต้ของกองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) ซึ่งเป็นกลุ่มหยุดยิงใหญ่สุดที่ปฏิเสธจะเข้าร่วมในกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force - BGF) ซึ่งจะอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารพม่า ทางรถไฟสายใหม่เส้นนี้จะช่วยให้สามารถลำเลียงอาวุธหนัก ทั้งรถถัง ปืนใหญ่ จรวด เข้าสู่พื้นที่ภูเขาอันห่างไกลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อต่อสู้กับกองทัพสหรัฐว้า หรือกองกำลังชนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ
 
ทางรถไฟเส้นนี้ยังตัดผ่านเหมืองถ่านหินที่เมืองกก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายของไทยในพื้นที่ดังกล่าวรัฐบาล โดยทหารพม่าและนักลงทุนจากไทยวางแผนขุดแร่ลิกไนต์หลายล้านตัน ที่ต้นแม่น้ำกก แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ จ.เชียงราย และยังมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าส่งขายให้ไทย ขณะเดียวกันทางรถไฟยังผ่านที่ตั้งของโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าซาง เขื่อนกั้นแม่น้ำสาละวินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
 
 
ชี้มีการเวนคืนไม่จ่ายค่าชดเชย แถมห้ามชาวบ้านใกล้ทางรถไฟเพาะปลูก
ในรายงานระบุด้วยว่า เมืองนาย เคยไปเขตอู่ข้าวอู่น้ำซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของรัฐฉาน แต่ผลจากการบังคับย้ายถิ่นที่อยู่ขนานใหญ่ระหว่างปี 2539-2541 การยึดที่ดินของกองทัพและนโยบายด้านการเกษตรที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ผลผลิตข้าวและพืชผลอื่นๆ ลดลงมาก การตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายใหม่ผ่านไร่นาที่เหลือน้อยเหล่านี้ ย่อมทำให้ชาวนาไม่พอใจ
 
โดยตอนแรก ทหารบอกชาวนาในพื้นที่และผู้ใหญ่บ้านว่าจะยึดที่ดินเพียงเล็กน้อย โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นที่ดินอุดมสมบูรณ์ที่จะนำมาใช้สร้างเส้นทางรถไฟ ทางการอ้างว่าจะไม่มีผลกระทบต่อที่ดินส่วนอื่นอีกและจะมีการขนดินจากที่อื่นเพื่อมาทำไหล่ทางรถไฟเท่านั้น ชาวบ้านจึงยอมรับข้อต่อรอง อย่างไรก็ตามรัฐบาลพม่าไม่ได้ทำตามที่ระบุไว้
 
โดยหญิงหาญฟ้า จากเครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ (SWAN) ระบุว่า โครงการดังกล่าวละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนรอบพื้นที่ก่อสร้างทางรถไฟ โดยมีการบังคับเวนคืนโดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชย มีการยึดที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่นาในเมืองนาย ราว 1,000 เอเคอร์ และที่นาในเชียงตุง 2.000 เอเคอร์ เพื่อสร้างสถานีรถไฟโดย นอกจากนี้การเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ยังมีการเวนคืนที่ดินมากเกินกว่าที่โครงการจำเป็นต้องใช้ และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการห้ามชาวบ้านทดน้ำเข้านา ตลอดพื้นที่สองข้างทางรถไฟ ถ้าพบว่ามีผู้ปล่อยน้ำเข้านา จะถูกจับกุม และมีการนำคนงาน 150 คน พร้อมรถแทรกเตอร์และรถสิบล้อเข้าไปขุดที่นาและนำดินมาสร้างไหล่ทางรถไฟ
 
นอกจากนี้ในฤดูแล้งที่ผ่านมา การที่ชาวบ้านไม่สามารถทดน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกได้ ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชฤดูแล้งเช่น ถั่วเหลือง มะเขือเทศ แตงโม และแตงกวา และรถแทรกเตอร์ที่นำมาใช้ขุดดินจากที่นาข้างเคียงเพื่อก่อสร้างไหล่ทางรถไฟได้ทำให้เกิดร่องลึกจำนวนมาก ทั้งนี้จากการยึดที่ดินในเมืองนายเพื่อสร้างทางรถไฟ คิดเป็นประมาณร้อยละ 13 ของพื้นที่ลุ่มเพื่อการเพาะปลูกรอบๆ เขตเมืองนาย และชาวบ้านสูญเสียรายได้จากการไม่สามารถปลูกถั่วเหลืองในช่วงฤดูแล้งราว 25 ล้านจั๊ต หรือ750,000 บาท
 
โดยในรายงานของกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน ระบุว่า “ทางรถไฟสายใหม่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่านายพลทหารในพม่า วางแผนที่จะควบคุมประชากรและทรัพยากรของรัฐฉานในระยะยาว ไม่ว่าภายหลังการเลือกตั้งปี 2553 จะมีรัฐบาลเป็นพลเรือนขึ้นมาปกครองประเทศก็ตาม แต่โครงสร้างการกดขี่ของทหารจะยังคงเหมือนเดิม และประชาชนจะทนทุกข์ยากต่อไป”
 
โดยข้อเรียกร้องของรายงานระบุว่า หนึ่ง กองทัพรัฐบาลทหารพม่าจะต้องยุติการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเชียงตุง-เมืองนายทันที และสอง  เส้นทางรถไฟสายใหม่ควรก่อสร้างก็ต่อเมื่อตอบสนองประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟ
 
"รัฐบาลทหารพม่าบอกกับนานาชาติว่า การเลือกตั้งในปี 2553 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในพม่าแต่ในความเป็นจริงพวกเขายังคงมุ่งทำสงครามต่อไป ประเทศเพื่อนบ้านของพม่าควรคิดให้รอบคอบก่อนลงทุนในพื้นที่ซึ่งเป็นสมรภูมิเหล่านี้” จายปืนคำ นักวิจัยของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ กล่าว
 
 
เส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมฐานทัพพม่าจากเมืองหลวงรัฐฉานถึงสามเหลี่ยมทองคำ
นอกจากนี้ เว็บไซต์นิตยสารอิรวะดี ยังระบุว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟในรัฐฉานที่เพิ่งแล้วเสร็จช่วงแรก คือเส้นทางระหว่างเมืองตองยี-เมืองนาย ขณะที่โครงการปัจจุบันนี้หากแล้วเสร็จก็จะเป็นครั้งแรกที่กองบัญชาการทหารพม่า สังกัดกรมทหารภาคตะวันออกรัฐฉาน (the Eastern Regional Military Command in Taungyi) ที่ตองยี เมืองหลวงรัฐฉาน จะสามารถติดต่อโดยเส้นทางรถไฟกับกองบัญชาการของกรมทหารภาคสามเหลี่ยมในรัฐฉาน (the Triangle Regional Military Command) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่เชียงตุง
 
และหลายเดือนก่อนหน้านี้ ในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียมาร์ของรัฐบาลทหารพม่า ฉบับวันที่ 19 ก.พ. 53 ยังมีการรายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. พล.ท.มิน ออง หล่าย (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 (the chief of the Bureau of Special Operations-2) ซึ่งเป็นหน่วยบัญชาการทหารภาครัฐฉาน พร้อม พล.ต.ยา ปแย (Ya Pyae) ผู้บัญชาการกรมทหารภาคตะวันออกรัฐฉาน และ พล.ต.จ่อ เพียว ผู้บัญชาการกรมทหารภาคสามเหลี่ยม ได้เดินทางมาตรวจโครงการก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าว โดยมาตรวจสถานีรถไฟเมืองกก เมืองโต๋น และนากองมู ซึ่งอยู่ในเส้นทางก่อสร้างทางรถไฟสายเมืองนาย-เชียงตุงด้วย
AttachmentSize
report: Burma Army tracks across Shan State1.32 MB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

คิดใหม่สำหรับการวางผังเมืองกรุงเทพมหานคร

Posted: 18 Aug 2010 07:05 AM PDT

ดร.โสภณเสนอ การวางผังเมืองในเชิงรุกและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและ กทม.โดยรวมก็คือ การเน้นการพัฒนาเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ไปรุกหรือทำลายพื้นที่โดยรอบ จัดการขนส่งมวลชนระบบรางใจกลางเมือง จัดหาพื้นที่พัฒนาเมืองอย่างมีการวางแผนล่วงหน้า

18 ส.ค. 53 - ในขณะนี้ผังเมืองกรุงเทพมหานครกำลังจะหมดอายุลง และได้ทราบว่ากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้จัดทำผังเมือง จะขอยืดอายุผังเมืองปัจจุบันไปอีก 1 ปี เพราะต้องใช้เวลาในการปรับปรุงผังเมืองใหม่  ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส  ในฐานะที่บริหารศูนย์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมการเติบโตของชุมชนเมืองจากการเกิดขึ้นของโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ขอเสนอแนวคิดสำคัญในการปรับปรุงผังเมือง

1. ทำเมืองให้แน่น  ปกติแนวคิดในการทำผังเมืองกรุงเทพมหานครก็คือ การทำเมืองให้หลวม นัยว่าเพื่อเก็บพื้นที่ไว้ให้ลูกหลานพัฒนา แต่ ดร.โสภณ เชื่อว่านี่เป็นแนวคิดที่ผิดพลาด กรุงเทพมหานครควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาที่ดินให้หนาแน่นในเขตใจกลางเมือง เพื่อไม่ต้องไปขยายเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในเขตชานเมืองเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังส่งผลให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายสูงในการจัดหาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการออกสู่นอกเมือง อีกทั้งยังเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมรอบนอกของเมือง

โดยนัยนี้รัฐบาลควรเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio หรือ FAR) ในเขตใจกลางเมืองให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดการลงทุนสร้างอสังหาริมทรัพย์ใจกลางเมืองมากขึ้น  รัฐบาลยังสามารถหารายได้จากการนี้ เช่น ในบางพื้นที่ FAR เท่ากับ 10:1 หรือสร้างได้ 10 เท่าของขนาดที่ดิน  ก็กำหนดให้สร้างได้มากขึ้นเป็น 20:1 ส่วนที่เพิ่มขึ้นให้เสียภาษีสมมติเท่ากับ 5,000 บาท/ตร.ม. ของพื้นที่ที่เพิ่ม เช่น พื้นที่หนึ่งมีขนาด 4,000 ตร.ม. หรือ 1,000 ตร.ว. (2.5 ไร่) แต่เดิมอาจสร้างได้เพียง 40,000 ตร.ม. หากกำหนดให้สร้างได้ เป็น 20 เท่า ก็จะสร้างได้ 80,000 ต.รม.

ในกรณีข้างต้นนี้ หากอาคารแต่เดิมมีพื้นที่ขาย 60% หรือ 24,000 ตร.ม. และขายได้ 80,000 บาทต่อ ตร.ม. ก็จะเป็นเงิน 1,920 ล้านบาท  แต่หากสามารถสร้างขายได้ 48,000 ตร.ม. ก็จะได้เงินถึง 3,840 ล้านบาท ในขณะที่เจ้าของโครงการจะเสียภาษีในส่วนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น 200 ล้านบาท (ตร.ม.ละ 5,000 บาท สำหรับ 40,000 ตร.ม. ที่เพิ่มขึ้น) หรือเพียง 2.5% ของมูลค่าที่ได้รับเพิ่มขึ้น เป็นต้น  รายได้นี้สามารถรวบรวมนำมาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหรือการพัฒนาเมืองในด้านอื่นเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

 อย่างไรก็ตามกรณีนี้บางท่านอาจเป็นห่วงว่า อาจทำให้บ้านเมืองดูแออัดเกินไป ดร.โสภณ กล่าวว่า กรณีนี้ไม่เป็นความจริง เพราะสิงคโปร์และเกาะแมนฮัตตันในนครนิวยอร์กล้วนมีความหนาแน่นกว่าประเทศไทยมาก แต่ผู้อยู่อาศัยก็ยังรู้สึกโล่งกว่าการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครปัจจุบัน เพราะนครอื่น ๆ มีการบริหารและจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพกว่านั่นเอง

2. การสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง  ในปัจจุบันมีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าออกสู่ชานเมือง ซึ่งเป็นการสวนกระแสกับแนวคิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่เดิม และแนวคิดการสร้างรถไฟฟ้าในเชิงสากลเป็นอย่างมาก เพราะยิ่งจะทำให้เกิดการขยายเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และทำให้จำนวนประชากรผู้ใช้รถไฟฟ้ามีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้การดำเนินการรถไฟฟ้าขาดทุนและไม่มีความเป็นไปได้ทางการเงินเท่าที่ควร

กรณีดังกล่าวนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จึงเสนอให้สร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เพื่อให้เกิดความคุ้มทุนในการก่อสร้าง และเป็นการสอดรับกับแนวคิดการทำเมืองให้แน่น และทำให้เมืองเติบโตในแนวดิ่งมากว่าแนวราบ ซึ่งทำให้เมืองขยายออกไปอย่างไร้ระเบียบ และสร้างปัญหาให้กับประชากรในเมืองอีกต่างหาก

การสร้างรถไฟฟ้านี้อาจทำเป็นแบบรถใต้ดิน ซึ่งสภาพดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็ไม่มีปัญหาในการก่อสร้างแต่อย่างใด หรืออาจเป็นแบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail) ก็ได้ เส้นทางสำคัญที่ควรดำเนินการ ได้แก่ ถนนกรุงเกษม ถนนจรัลสนิทวงศ์ ถนนจันทน์-สาธุประดิษฐ์ ถนนเจริญกรุง  ถนนนราธิวาสราชนครินทร์  ถนนพระรามที่ 3  ถนนพระรามที่ 4 – ปรีดี พนมยงค์ – รามคำแหง  ถนนพระรามที่ 9  ถนนลาดพร้าว  ถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ถนนสามเสน  ถนนอิสรภาพ เป็นต้น

3. การวางแผนพัฒนาเมืองเชิงรุก ทั้งนี้ได้แก่ การศูนย์ธุรกิจเสริมใจกลางเมือง หรือการสร้างเมืองใหม่ เป็นต้น  การสร้างธุรกิจเสริมใจกลางเมือง ก็เช่น การนำที่ดินของทางราชการ เช่น ค่ายทหารใจกลางเมือง มาสร้างเป็นศูนย์ธุรกิจใหม่ เช่น ถนนพหลโยธิน-วิภาวดี (ช่อง 5 – สนามกีฬากองทัพบก)  ถนนโยธี หรือถนนทหาร เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจเสริมใจกลางเมือง 

นอกจากนี้พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ถนนสรรพาวุธ ถนนทางรถไฟสายเก่า ท่าเรือคลองเตย จนถึงถนนพระรามที่ 3 จรดถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ยังสามารถนำมาสร้างพื้นที่ World Expo หรือการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนนับล้านของล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินไทยในหนึ่งปี

ส่วนพื้นที่รอบนอก เช่น หนองจอก ลาดกระบัง ยังสามารถเวนคืนที่ดินมาเพื่อการก่อสร้างเมืองใหม่ที่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ แล้วจัดสรรที่ดินแปลงให้นักพัฒนาที่ดินเข้าทำการพัฒนาในราคาที่ต่ำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน  อย่างไรก็ตามในการเวนคืนเพื่อการนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องเวนคืนในราคาที่สูงกว่าราคาท้องตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกเวนคืน

การวางแผนพัฒนาเมืองเชิงรุกนี้ จะทำให้การพัฒนาเมืองอย่างไร้ทิศทางชะลอหรือหยุดลง เพราะรัฐบาลจัดหาพื้นที่เพื่อการพัฒนาพร้อมสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชนให้แล้ว  อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรพัฒนาเมืองเพื่อการรวบรวมที่ดินและบริหารจัดการพัฒนาในระยะยาว
 
โดยสรุปแล้ว การวางผังเมืองในเชิงรุกและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและกรุงเทพมหานครโดยรวมก็คือ การเน้นการพัฒนาเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ไปรุกหรือทำลายพื้นที่โดยรอบ การจัดการขนส่งมวลชนระบบรางใจกลางเมือง และการจัดหาพื้นที่พัฒนาเมืองอย่างมีการวางแผนล่วงหน้า เป็นต้น
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ลุง 60 ปีถูกขังข้อหาส่ง sms หมิ่นเบื้องสูงให้นายกฯ ยันส่ง sms ไม่เป็น

Posted: 18 Aug 2010 12:53 AM PDT

18 ส.ค.53 รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้ากรณี นายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 60 ปี ผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วยการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีถึง 4 ครั้ง โดยนายอำพลถูกตำรวจจับกุมและควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลอาญา ระบุว่าได้อนุมัติการฝากขังผลัดที่ 3 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 ส.ค.แล้ว โดยมีกำหนดฝากขังตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค.-8 ก.ย. 53

นายอำพลปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และกล่าวระหว่างถูกควบคุมตัวว่า ได้ใช้โทรศัพท์เครื่องนี้มาราว 2-3 เดือน เครื่องเป็นของลูกเขยจำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไร รุ่นไหน ส่วนซิมการ์ดนั้นเป็นของตนเองซึ่งลูกซื้อมาให้ใช้ปีกว่าแล้ว เป็นระบบเติมเงินของบริษัทผู้ให้บริการรายหนึ่ง แต่ไม่เคยส่งเอสเอ็มเอสเลย เพราะส่งไม่เป็น เอาไว้โทรออกอย่างเดียว

เขากล่าวด้วยว่าเขาอาศัยอยู่กับภรรยาในบ้านเช่า ในอดีตมีอาชีพขับรถส่งของ แต่ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร เนื่องจากอายุมากแล้วและพูดก็ไม่ชัดจากการผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้น ลูกๆ จึงเป็นผู้ส่งเสียให้อยู่บ้านเลี้ยงหลานๆ ในวันที่ตำรวจเข้าจับกุมทุกคนตกใจมากและพากันร้องไห้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าลูกชายซึ่งทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทแห่งหนึ่งคงกำลังพยายามหาทนายให้ แต่ไม่ทราบว่าเดินเรื่องเรียบร้อยหรือยัง

เมื่อถามถึงกรณีที่เขาถูกตำรวจระบุว่าเป็นกลุ่มฮาร์ดคอร์ของ นปช. นายอำพล กล่าวว่า เขาเคยไปเดินเที่ยวในที่ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่ถนนราชดำเนินในช่วงเย็นๆ หลายครั้ง รวมทั้งในสมัยที่ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมก็เข้าไปเดินเที่ยวหลายต่อหลายครั้งด้วยเช่นกัน ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายไหนมากเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ กรณีของนายอำพล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 3 ส.ค. โดย พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศรัตรู ผบช.ก. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รรท.ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รอง ผกก.1 บก.ป. และ พ.ต.ท.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน สว.กก.1 บก.ป. นำกำลังจับกุม นายอำพล ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญารัชดา ที่ 1659 /2553 ลงวันที่ 29 ก.ค.53 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตาม ป.อาญา มาตรา 112 มีโทษจำคุก 3-15 ปี โดยจับกุมได้ที่ห้องเช่าไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ระหว่างซอยวัดด่านสำโรง 17/1 และซอยวัดด่านสำโรง 19 หมู่ที่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโมโตโรล่า 2 เครื่อง และยี่ห้อเทเลวิช อีก 1 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า

ก่อนหน้านี้ พล.ต.ท.ไถง ได้รับแจ้งว่า มีบุคคลลึกลับส่งข้อความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสถาบันไปยังบุคคลสำคัญระดับประเทศหลายคน โดยมีการส่งข้อความดูหมิ่นสถาบันไปให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นากยกรัฐมนตรี ถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 9 -12 พ.ค.ที่ผ่านมา รวมทั้ง นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสีอีกด้วย จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท.ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ร่วมกันสืบสวนหาตัวคนร้าย จากการตรวจสอบบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายบริษัทพบว่า มีการใช้ซิมการ์ดแบบเติมเงิน เมื่อส่งข้อความเสร็จแล้วก็จะหักซิมการ์ดทิ้ง จึงติดตามข้อมูลการใช้โทรศัพท์จนทราบว่านายอำพล เป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวจึงเข้าจับกุมมาสอบสวน เชื่อว่าผู้ต้องหารายนี้น่าจะมีผู้สนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่า นายอำพล เป็นฮาร์ดคอร์กลุ่มคนเสื้อแดง จ.สมุทรปราการ ที่ กอ.รมน. ขึ้นบัญชีดำไว้ด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เด็กจุฬาฯ โดนยึดป้ายประท้วงนายกฯ อาจารย์กร้าว “นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย”

Posted: 18 Aug 2010 12:19 AM PDT

(18 ส.ค.53) กลุ่มนิสิตกลุ่มหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจ้งว่า วันนี้ นิสิตจุฬาฯ ประมาณ 7-8 คน ซึ่งทำกิจกรรมถือป้ายข้อความเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ถูกยึดป้ายและถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยใช้กำลังขัดขวาง ก่อนจะยื่นจดหมายให้นายกฯ เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชน

กลุ่มนิสิต ระบุว่า ในงานวันครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ไปกล่าวปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ ที่จุฬาฯ โดยนิสิตจุฬาฯ กลุ่มนี้ ต้องการยื่นจดหมายร้องเรียนถึงปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และความหวาดกลัวของประชาชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยกลุ่มนิสิตได้เตรียมแผ่นป้ายกระดาษแข็ง 7 ใบ มีข้อความ ดังนี้

“จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

"ผมอยากเห็นรัฐบาลมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

"ยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วพังไปเรื่อยๆ" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

“หยุดปิดกั้นความคิด หยุดใช้ พ.ร.ก.”

“Political action is the highest responsibility of a citizen.” John F. Kennedy

“Justice delayed is democracy denied.” John F. Kennedy

“Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable.” John F. Kennedy และ

“Forgive your enemies, but never forget their names.” John F. Kennedy

รายงานข่าวแจ้งว่า นักศึกษายังไม่ทันจะได้แสดงข้อความ แผ่นป้ายส่วนหนึ่งก็ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยึดไป หลังจากนั้น แผ่นป้ายอีกส่วนหนึ่งก็ถูกนายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยึดไป โดยมีการยื้อแย่งกับนิสิตพักใหญ่ โดยนายวีระศักดิ์ไม่ยอมให้นิสิตแสดงความคิดเห็นโดยการชูป้าย และได้กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ที่จุฬาฯ นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย”


นายวีระศักดิ์ ขณะโต้เถียงกับนิสิต
 

ในเวลาเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ได้เดินลงจากอาคารหลังจบการปาฐกถา นิสิตหญิงคนหนึ่งในกลุ่มได้พยายามนำจดหมายไปยื่นให้นายกฯ แต่ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกักตัว ด้วยการเหนี่ยวแขนไว้อย่างรุนแรง และดันตัวไปจนชิดบันได จนนิสิตต้องตะโกนออกมาว่า “ท่านนายกฯ คะ!” เจ้าหน้าที่จึงปล่อยตัว ทำให้ยื่นจดหมายได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถชูแผ่นป้ายอย่างสงบในมหาวิทยาลัยที่ตนเองศึกษาอยู่ได้


ร้องเลือกตั้งใหม่ เป็นการฟังเสียงประชาชนที่ง่ายที่สุด

สำหรับเนื้อหาของจดหมายเปิดผนึก นิสิตกลุ่มนี้ได้เสนอให้รัฐบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เนื่องจากมองว่าการเลือกตั้งจะเป็นการกระจายอำนาจ และการรับฟังความเห็นประชาชนที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชนด้วย

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า ความปรองดองสามัคคีไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาโฆษณาหรือบอกให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดจากการยอมรับความต่าง พร้อมกับการยอมรับผิดต่อการกระทำกับประชาชน การปราบปรามความเห็นต่าง และการโฆษณาชวนเชื่อผ่านกลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็น คุก ศาล ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่มีแต่สร้างความขัดแย้งและเพิ่มพูนความโกรธแค้นแก่ประชาชน

จดหมายระบุว่า การปฏิรูปการเมืองบนกองเลือดเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และย้ำว่า ไม่จำเป็นต้องคิดถึงกระบวนการรับฟังความเห็นที่ซับซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ ทางออกง่ายๆ ตรงไปตรงมา สามารถดำเนินการได้ผ่านการเลือกตั้ง อันถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ง่ายที่สุด

 
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และจรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

---------------------------------------------
(จดหมายเปิดผนึก) 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 18 สิงหาคม 2553
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

วันที่ 18 สิงหาคม 2553 ขณะที่ท่านผู้ทรงคุณวุฒิกำลังแสดงปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ พร้อมทั้งโวหารที่สวยงามเกี่ยวกับการคืนอำนาจให้กับประชาชน ณ ประเทศนี้เมื่อไม่นานมานี้มีประชาชนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาล คืนอำนาจให้แก่พวกเขา การชุมนุมเรียกร้องที่ยาวนาน จบลงด้วนการนองเลือด การปราบปรามของรัฐบาลยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งร้อยชีวิต เวลาล่วงมาเป็นเวลากว่าสามเดือนแล้ว...ดูเหมือนรัฐบาลจะลืมไปแล้วว่า ได้ทิ้งบาดแผลอะไรไว้กับประชาชนผู้สูญเสีย ที่ซึ่งไม่มีถ้อยคำแสดงความเสียใจใดๆ จากผู้นำรัฐบาล

หลังการสูญเสีย รัฐบาลพยามรณรงค์เรื่องความสมานฉันท์ และสามัคคีแบบที่ผู้นำไทยในอดีตเคยทำหลังจากมีการสังหารหมู่ประชาชนใจกลางมหานครแห่งนี้ แต่ความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อรัฐบาลยังคงปราบปรามผู้ที่เห็นต่าง ด้วยเครื่องมืออย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมถูกควบคุมตัว รวมถึงประชาชนธรรมดาที่มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ยังคงถูกคุกคามและจับกุมอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อหาการเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติและรัฐบาล

การดำเนินการของรัฐบาลมีแต่สร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนให้ทวีคูณขึ้น นายกรัฐมนตรีลืมสัญญาเรื่องการคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านการเลือกตั้ง แนวทางการสร้างความสามัคคีผ่านการปราบปราม และไม่ให้พื้นที่ความเห็นที่แตกต่างกันในสังคม จะนำสู่การล่มสลายของสังคมในที่สุด ล่าสุดเพื่อนเยาวชนนักกิจกรรมของเราที่เชียงราย ถูกควบคุมตัว จากการถือป้าย “ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์” การควบคุมความเห็นที่แตกต่างกันในฐานะเป็นอาชญากรรมที่รุนแรงและมีความบกพร่องทางจิตนั้น ไม่สามารถเป็นทางออกให้แก่สังคมได้อย่างแน่นอน

รัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ในประเทศที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และไร้หลักประกันใดๆ ในชีวิต ประชาชนใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกไร้ซึ่งอดีต ปัจจุบันและอนาคต พวกท่านตอบสนองข้อเรียกร้องเรื่องการยุบสภาอันถือเป็นข้อเรียกร้องอันน้อยนิดของพวกเขาด้วยกระสุนปืน และการปราบปราม หลังจากพวกท่านสังหารญาติพี่น้องและมิตรสหายของพวกเขาแล้ว พวกท่านยังคงปราบปรามพวกเขาและโฆษณาชวนเชื่อให้พวกเขาหลงลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา....ความสามัคคีย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นในสังคมแห่งการปราบปราม

เพื่อพิสูจน์ความจริงใจของพวกท่าน ที่กำลังพูดด้วยโวหารที่สวยงามเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ และการรับฟังความเห็นของประชาชน พวกเราในฐานะตัวแทนของกลุ่มกิจกรรมเยาวชน มีข้อเสนอดังต่อไปนี้

1.การกระจายอำนาจ และการรับฟังความเห็นประชาชนที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้ง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมที่ดี แม้ท่านจะนำเสนอคุณธรรมที่สูงส่งแต่สังคมปราศจากเสรีภาพในการรับฟังความเห็น คุณธรรมของท่านก็ไม่ต่างจากข้ออ้างของเผด็จการ....ดังนั้นรัฐบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันทีพร้อมดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชน

2.ความปรองดองสามัคคี ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาโฆษณาหรือบอกให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดจากการยอมรับความต่าง พร้อมกับการยอมรับผิดต่อการกระทำกับประชาชน การปราบปรามความเห็นต่าง และการโฆษณาชวนเชื่อผ่านกลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็น คุก ศาล ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่มีแต่สร้างความขัดแย้งและเพิ่มพูนความโกรธแค้นแก่ประชาชน

3.การปฏิรูปการเมือง บนกองเลือดเป็นสิ่งที่ไร้ค่า การตั้งคณะกรรมาธิการที่มิได้มีความเห็นชอบจากประชาชนด้วยหมู่คณะอภิสิทธิ์ชนที่เห็นดีเห็นงามกับการสังหารหมู่ประชาชน....ท่านไม่จำเป็นต้องคิดถึงกระบวนการรับฟังความเห็นที่ซับซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ ทางออกง่ายๆ ตรงไปตรงมา สามารถดำเนินการได้ผ่านการเลือกตั้ง อันถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ง่ายที่สุด

จงคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็วไวขณะนี้ประชาชนจำนวนมหาศาลยังคงเชื่อมั่นวิธีการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทางทางประชาธิปไตย เพราะพวกเขายังคงเชื่อว่าเป็นหนทางที่ยังคงรับประกันซึ่งอำนาจของพวกเขา หากรัฐบาลยังคงรีรอและปฏิรูปการเมืองเพื่อสนองประโยชน์ต่อชนชั้นอภิสิทธิ์ชนเพียงลำพัง ท้ายที่สุดแล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถแก้ไขได้ผ่านช่องทางรัฐสภาในที่สุด
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น