โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักวิชาการสันติวิธีเสนอ-นำหลักสิทธิมนุษยชนในอิสลามมาใช้ในพื้นที่

Posted: 23 Sep 2010 09:11 AM PDT

"บุหงารายอนิวส์" รายงานจากเวทีสังคมวิทยาภาคใต้ นักวิชาการด้านสันติวิธีแนะนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนไคโร ซึ่งมีบทกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานนำมาใช้ เพื่อความเข้าใจของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น ชี้ที่ผ่านมาคนในพื้นที่ไม่เชื่อถือกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลมากนัก

โชคชัย วงศ์ตานี

ในงานประชุมทางวิชาการระดับชาติสาขาสังคมวิทยา  ครั้งที่ 4  ในหัวข้อ  “แผ่นดินเดียวกันแต่อยู่กันคนละโลก : สังคมวิทยากับจินตนาการเพื่ออนาคต” (เวทีสังคมวิทยาภาคใต้) เมื่อวันที่  22 – 23 ก.ย. ณ ห้องประชุมวิทยอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  อ.โชคชัย วงศ์ตานี อาจารย์ประจำศูนย์การจัดการความขัดแย้ง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  ได้กล่าวบรรยายกลุ่มย่อย  ในหัวข้อการศึกษามาลายาประวัติศาสตร์การเมืองใหม่ของเมืองปัตตานี

อ.โชคชัย ได้นำเสนอคู่มือปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน (Cairo Declaration of Human Rights) มี 25  มาตรา ปฏิญญาดังกล่าวมีการประชุมกันที่ประเทศอียิปค์ ที่เมืองไคโร มีทั้งสิ้น 25 มาตรา  ปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนนี้  มีการทำเป็นสองภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  และภาษาอาหรับ  และต่อมาก็ได้นำมาแปลเป็นภาษาไทย

และได้กล่าวเสริมว่าการที่ได้นำเอาหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้มีกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอาน และวัจนะของท่านศาสดา  เพราะว่ามุสลิมมีความเชื่อใน 2  หลักนี้ มากกว่ารัฐธรรมนูญ  และหลักสิทธิมนุษยชน   แต่ที่น่าสนใจคือจะทำอย่างไรให้หลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏ อยู่ใน อัลกุรอาน  และวัจนะของท่านศาสดา ถูกกล่าวถึงมากยิ่งขึ้น

คู่มือปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนนี้  ได้มีการรวบรวมปฏิญญาสากลที่ว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน 30 มาตรา เข้าไปด้วย เพื่อให้เปรียบเทียบและทำความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งของปฏิญญาสากล และปฏิญญาอิสลาม  เพราะว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความน่าเชื่อถือกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากลมากนัก  จึงต้องนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนที่มีกำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานนำมาใช้  จะมีการนำเอาปฏิญญาอิสลามว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนมาแปลเป็นภาษามลายู อักษรญายี  เพื่อความเข้าใจของคนในพื้นที่ให้มากขึ้น  และจะเกิดประโยชน์อย่างมาก เมื่อมีการนำเอามาใช้พื้นที่แห่งนี้  เพราะว่ามิใช่แค่เพียงหลักการนี้เท่านั้นที่นำเอามาแปลเป็นภาษามลายู  แบบฟอร์มหนังสือร้องเรียนต่างๆ  ก็มีการเอามาแปลด้วยเช่นเดียวกัน  เพื่อความเข้าใจอันง่ายต่อผู้ที่ทำงานกับชุมชนอย่างผู้นำศาสนาอีหม่าม คอตีบ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศปช.เปิดไต่สวนสาธารณะเหตุการณ์ 10 เม.ย.- 19พ.ค.53 เสาร์นี้ที่ มธ.ท่าพระจันทร์

Posted: 23 Sep 2010 08:43 AM PDT

ใครคือฆาตกร? เสื้อดำยิงเสื้อแดง? ศอฉ. ปฏิบัติตามหลักสากล? ทหารใช้กระสุนจริงหรือไม่? อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นใน "พื้นที่การใช้กระสุนจริง"? ไขปริศนาวัดประทุม? ฯลฯ

เสาร์ที่ 25 กันยายนนี้ ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)จัดกิจกรรมเวที  "ไต่สวนสาธารณะ" จากกรณีการสลายการชุมนุม 10 เม.ย. – 19 พ.ค. 53 ขึ้น  ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์    โดยในเวลา 09.00 น. จะมีการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง "การแสวงหาข้อเท็จจริงกับกระบวนการรับผิด: กรณีการสลายการชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53"  ซึ่งมีวิทยากร ได้แก่  อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ ม. เชียงใหม่  อ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์  และ พ.ต.ท. ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้กำกับการ ส่วนตรวจสอบสำนวนคดีอุทธรณ์และฏีกา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมอภิปราย   โดยมี อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์เป็น ผู้ดำเนินรายการ
              

จากนั้นเวลา13.00 น. จะเริ่มดำเนินกิจกรรม"เวทีไต่สวนสาธารณะ" กรณีการสลายการชุมนุม 10 เม.ย. – 19 พ.ค. 53   โดยจะมีการไต่สวนปากคำผู้อยู่ในเหตุการณ์ "การขอคืนพื้นที่" และ "การกระชับวงล้อม" 10 เม.ย. และ 13-19 พ.ค. 53: ในประเด็น  ใครคือฆาตกร? เสื้อดำยิงเสื้อแดง? ศอฉ. ปฏิบัติตามหลักสากล? ทหารใช้กระสุนจริงหรือไม่? อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นใน "พื้นที่การใช้กระสุนจริง"? ไขปริศนาวัดประทุม? ฯลฯ

              
สำหรับเวทีไต่สวนสาธารณะ ในครั้งนี้ประธานคณะกรรมการไต่สวนครั้งนี้คือ  อ.กฤตยา อาชวนิจกุล ม.มหิดล  โดยมี อ.ไชยันต์ รัชชกูล   อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์  อ.เบญจรัตน์ แช่ฉั่ว  อ.เกษม เพ็ญภินันท์, อ.สาวตรี สุขศรี, อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล ร่วมเป็นคณะกรรมการไต่สวน โดยมี  อ. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการ

             
หลังจากนั้น เวลา 17.00น.- 20.30 น. จะมีการแสดงดนตรี "เราไม่ทอดทิ้งกัน: ความจำ-ความรัก-ความจริง"  ซึ่งจัดขึ้นเพื่อ ระดมทุนสำหรับเป็นงบประมาณในการดำเนินงานขององค์กรญาติผู้เสียชีวิตจาก เหตุการณ์สลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 และ ระดมทุนสำหรับเป็นงบประมาณการดำเนินงานในส่วนของการช่วยเหลือทางกฏหมายของศูนย์ข้อมูลประชาชนฯ ( ศปช.)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปากซอยน่ะ พวกเราขอเลือกวิธีที่จะไปเองได้ไหม? : บทวิพากษ์ถึงวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ด้วยความปรารถนาดี

Posted: 22 Sep 2010 10:29 PM PDT

ปฏิกริยาต่อการแสดงออกทางการเมืองของวรรณสิงห์  ประเสริฐกุล จากรายการเชื่อมั่นประเทศไทยและบทความ“ปากซอยน่ะ เดินไปเองเถอะครับ: คำตอบในเบื้องต้น“จนถึงบทสัมภาษณ์ ” “สิงห์ลูกเสก” วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ขีดเส้นปฏิรูปทำแค่ในส่วนที่เข้าใจ”

หลังจากได้อ่านบทสัมภาษณ์ของคุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุลผ่านมติชนออนไลน์ในวันที่ 12 กันยายน 25531 ผม ใช้เวลาตัดสินใจนานพอสมควรที่จะเขียนอะไรบางอย่างเพื่อแสดงความคิดเห็นตอบ โต้ประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยกับวรรณสิงห์หรือไม่ ส่วนหนึ่งก็เพราะมีบางท่านได้แสดงความคิดเห็นไปบ้างแล้ว2 อีก ส่วนหนึ่งเพราะวรรณสิงห์แสดงออกอย่างค่อนข้างชัดว่าไม่ต้องการรับคำวิพากษ์ วิจารณ์เท่าใดนัก ทำให้ผมไม่แน่ว่าสิ่งที่ผมเขียนจะมีประโยชน์ต่อตัวรรณสิงห์หรือไม่ (ในกรณีที่เขายังโตไม่พอที่จะรับความคิดเห็นจากขั้วตรงข้ามแบบตรงไปตรงมา) แต่ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะผมพบว่าวรรณสิงห์ไม่ได้ออกมาชี้แจงประเด็นที่มีผู้ ติงถึงความบกพร่องในตรรกะทางความคิดของเขา ไม่แม้แต่จะแสดงออกว่ารับรู้ถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อพิจาณาถึงความอันตรายทางปัญญาที่จะมีต่อผู้ที่สมาทานแนวคิดของเขาซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและเยาวชนที่มีจิตใจหวังดีต่อประเทศชาติ การปล่อยให้ความหลงผิดทางปัญญาของเขาดำเนินต่อไปโดยที่เขาและแฟนคลับไม่รู้ ตัว อาจจะนำมาซึ่งความง่อยเปลี้ยทางปัญญาของบางส่วนสังคมได้ ผมจึงคิดว่าต้องแสดงความคิดเห็นบางอย่างเพื่อโต้แย้งวรรณสิงห์ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความงอกงามทางปัญญา ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัววรรณสิงห์, แฟนคลับของเขา รวมถึงตัวผมเองไม่มากก็น้อย

****
 
บทบาท ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในช่วงหลังของวรรณสิงห์เริ่มเด่นชัดขึ้นเมื่อเขา ได้รับโอกาสให้เข้าสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย3ในประเด็นเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยและการปรองดองหลังเกิดเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม(ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 91 รายภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ผู้ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองใดๆต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ทราบว่าวรรณสิงห์ได้เข้าไปสังฆกรรมกับรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี, โดย ส่วนตัวผมรู้จักวรรณสิงห์ผ่านทางสื่อต่างๆหลายปีแล้วในฐานะคนรุ่นใหม่ที่มี ความคิดความอ่าน และมีความตั้งใจดีที่จะช่วยแก้ปัญหาทางสังคม แม้งานเขียนที่แสดงความเห็นในประเด็นสาธารณะของเขาจะไม่ถูกจริตของผมนัก แต่ผมก็ชื่นชมเขาอยู่ห่างๆในความตั้งใจดีรวมถึงการลงมือทำในสิ่งที่ตัวเอง เชื่อ ดังนั้นเมื่อผมพบวาเขาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เบี่ยงประเด็น-ฝังกลบความจริง-ทำให้ลืมที่มีชื่อเก๋ๆของรัฐบาลว่า ปรองดอง-ปฏิรูปประเทศไทยโดย ส่วนตัวผมรู้สึกผิดหวังเล็กน้อย เพราะการที่เขาเข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวที่ตั้งขึ้นโดยผู้รับผิดชอบโดยตรง ต่อโศกนาฏกรรมที่ราชประสงค์ นัยหนึ่งคือเขาได้ยอมรับรวมถึงได้ให้ความชอบธรรมกับกระบวนการดังกล่าว ซึ่งผมถือว่ามันเป็นการขาด decencyพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่มีอารยะ
วรรณสิงห์ได้มองข้ามความตายของ คนไทยที่กำลังร้องหาผู้รับผิดชอบและความเป็นธรรม นอกจากจะมองข้ามความจริงดังกล่าวอย่างไม่ใยดีแล้ว(ผม พยามหาข้อเขียนหรือความเห็นของเขาที่แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และเรียกร้องให้มีผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่พบ นอกจากข้อเขียนสั้นๆประเภท แม้ไฟจะลุกไหม้ บ้านจะพัง ตึกจะถล่ม คนหลายๆคนจะเสียชีวิต แต่เรายังอยู่ที่นี่และคำพูดสวยหรูที่เสนอทางออกอย่างนามธรรมบางอัน) เขากลับเดินข้ามซากศพเหล่านั้นแล้วกระโดดเข้ามาเป็นพระเอกขี่ม้าขาวที่เข้ามาร่วมหาทางออก-แก้ปัญหา-ขอความสุขคืนกลับมาอย่างเท่ๆ เก๋ไก๋ ถึงจะผิดหวังต่อท่าทีของเขา แต่ด้วยความที่ผมเชื่อมั่นในความปรารถนาดีของเขา(อย่างที่พี่ที่เคารพของผมท่านหนึ่งยืนยัน) ผมจึงบอกตัวเองว่าจะรอดูแนวทางของเขาต่อไปอีกสักพักก่อนที่จะตัดสินเขา
*****
 
ต่อมาเขาได้โพสบทความที่เป็นข้อเสนอในการแก้ปัญหาทางสังคมปากซอยน่ะ เดินไปเองเถอะครับ: คำตอบในเบื้องต้น4พร้อม กับโฆษณาโครงการไอเดียประเทศไทยที่เขาดูแลอยู่ ในบทความนั้นวรรณสิงห์พยายามเสนอว่า ไม่ว่าการปกครองในระบบใดๆก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่มได้ ดังนั้นแทนที่เราจะหวังพึ่งพาตัวแทนในการจัดสรรทรัพยากร(เขาเปรียบกับคนที่ทำหน้าที่ไปซื้อกับข้าว) เรา ควรจะหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเองและช่วยกันบอกต่อถึงวิธีการเหล่านั้น แล้วในที่สุดตัวแทนก็จะค่อยๆลดความสำคัญลงไป ในบทความที่มีการใช้ analogy ที่คลุมเครือและผิดฝาผิดตัวนี้ วรรณสิงห์ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในระบบการจัดสรรทรัพยากร, โครง สร้างทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ผู้เขียนตีความว่าวรรณสิงห์เอนเอียงไปทางสำนักวัฒนธรรมชุมชน ที่ต้องการให้ประชาชนพึ่งตัวเองอย่ามัวแต่รอความช่วยเหลือจากรัฐ โดยที่วรรณสิงห์ลืม(หรือแกล้งไม่รู้)ถึงความอยุติธรรมของโครงสร้างทางสังคม-เศรษฐกิจ ของประเทศไทยที่กดคนจำนวนมากไว้ไม่ให้ลืมตาอ้าปากได้ด้วยตนเอง มิพักจะต้องพูดถึงข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงความเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนส่วน ใหญ่ของประเทศจะก้าวเข้ามาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยความพยายามของตน เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น การกระจายของถือครองที่ดิน, โครงสร้างภาษี, การผูกขาดของทุนขนาดใหญ่ที่อิงอยู่กับอำนาจของชนชั้นนำบางกลุ่ม ฯลฯ
 
การที่ไม่เข้าใจถึงปัญหาเชิงโครงสร้างเหล่านี้ทำให้วรรณสิงห์คิดแบบเด็กๆว่า ถ้าทุกคนมีสติปัญญา-มี ความพยายามก็จะสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตัวเองได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าระบบการปกครองจะเป็นอย่างไรหรือรัฐบาลจะเป็นใคร เมื่อนั้นความขัดแย้งรุนแรงก็จะไม่เกิดขึ้น ดูเหมือนซึ่งสิ่งที่เขาเสนอในครั้งนั้นไม่ได้มีอะไรมากกว่าการบอกให้ไม่ต้อง สนใจปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น(ที่มีคนตายถึง 91 คน) เพียงแต่ถ้าเรามีความตั้งใจดีๆ มีไอเดียเก๋ๆ ก็ลุกขึ้นมาทำเลย ไปออกค่ายปลูกป่า ถางหญ้า สายลม-แสงแดด เราก็สามารถเปลี่ยนประเทศไทยได้
 
สิ่ง ที่ผมแปลกใจต่อข้อเขียนนี้ของวรรณสิงห์ก็คือ มีวัยรุ่นจำนวนหนึ่งชื่นชมในข้อเสนอของเขา บางคนบอกว่าลึกซึ้งมาก บางคนเสนอว่าเขาควรจะเป็นนายกเสียเอง(เข้าใจว่าผู้แสดงความเห็นไม่ได้ประชด) ส่วน ใหญ่เห็นว่าข้อเสนอของวรรณสิงห์เป็นสิ่งที่ทรงภูมิและเป็นทางออกอย่างแท้ จริง นอกจากความแปลกใจที่พวกเขาเหล่านั้นอ่านบทความของวรรณสิงห์รู้เรื่องได้ อย่างไรทั้งๆที่การเปรียบเทียบต่างๆมั่วซั่วขนาดนั้น ผมยังแปลกใจในความหัวอ่อนของวัยรุ่นไทยที่พร้อมจะเชื่ออะไรที่ ดูเหมือนจะดีอย่างที่วรรณสิงห์เสนอ ….นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ผมเห็นความอันตรายในฐานะบุคคลสาธารณะผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ของเขา
****
 
มาถึงบทสัมภาษณ์ที่ทำให้ผมต้องลุกมาเขียนบทความชิ้นนี้ ….ในบทสัมภาษณ์ ” “สิงห์ลูกเสกวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ขีดเส้นปฏิรูปทำแค่ในส่วนที่เข้าใจซึ่งบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้เป็นจุดชี้ขาดว่าผมไม่ได้เข้าใจผิดในทัศนคติของเขาแม้แต่น้อย เขายังยืนยันแนวคิด ปากซอยน่ะ เดินไปเองเถอะครับของเขายังหนักแน่น ต่อคำถามที่ถามถึงทางแก้ไขปัญหาสังคมเขาตอบว่า

“การ สร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ ในการที่ทุกคนในสังคมจะแก้ปัญหากันเอง โดยที่เราไม่ต้องไปออกความเห็นให้ใครฟัง บอกมาอยากทำอะไรก็ทำเลย แล้วก็มีคนช่วยสร้างพื้นที่ให้ทำด้วย อย่างน้อยพวกเราก็ได้สร้างพื้นที่ (ไอเดียประเทศไทย) ให้ คนที่อยากทำอะไรด้วยตัวเองได้ทำเลย โดยไม่จำเป็นต้องออกความเห็นว่า รัฐบาลต้องทำแบบนี้ หรือรัฐมนตรีกระทรวงนี้ต้องเป็นคนนี้ หรืออะไรก็ตาม เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าไม่ก้าวผ่านตรงนี้ เราก็จะไม่สามารถไปต่อข้างหน้าได้

รัฐบาลที่ดี ทุกคนก็อยากมีกัน แต่ว่าเรารอรัฐบาลที่ดีมากี่ปีแล้ว ตอนนี้ก็ 78 ปี แล้ว ก็อาจจะมีรัฐบาลที่โดนด่าน้อย กับโดนด่ามาก ก็ว่ากันไป แต่รัฐบาลที่ดีสุดๆ ก็ยังไม่มี คำว่า “ดี” คือ ประเด็นหลักๆ ของการโต้เถียงกันทางการเมือง หลายๆ คนก็บอกว่าศีลธรรมคืออันนี้ ขณะที่อีกคนก็บอกว่าศีลธรรมคืออีกแบบ บางคนบอกว่าคนนี้คือฮีโร่ ขณะที่อีกคนก็อาจจะบอกว่าคนๆ นี้คือจอมมาร สลับกันไป (ตอบแบบเหนื่อยๆ) เราอยากก้าวผ่านความดีให้ได้ เพราะความดีเป็นเรื่องส่วนตัว“
 
วรรณสิงห์ยืนยันโลกทัศน์ที่ว่า “การเมืองเป็นมายา ชีวิตเป็นของจริง” มายาคติ ที่ครอบงำผู้ที่ผ่านการศึกษาในระบบอย่างฝังรากลึก ในโลกทัศน์แบบนี้จะมองการเมืองเรื่องเป็นไกลตัว มีแต่การทุจริตคอรัปชั่นมาทุกยุคทุกสมัย เราไม่เคยได้อะไรจากการเมืองเลย ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ไม่มีผลกับประชาชน อย่ากระนั้นเลยวรรณสิงห์เรียกร้องให้เราลุกขึ้นมาเปลี่ยนประเทศไทยด้วยตัว เอง อย่าหวังไปพึ่งพารัฐบาลหรือนักการเมือง “ถ้าไม่ก้าวผ่านตรงนี้ เราก็จะไม่สามารถไปต่อข้างหน้าได้” นี่เป็นอีกครั้งที่วรรณสิงห์บอกให้พวกเรามองข้ามความขัดแย้งทางการเมืองทั้งหลาย(ที่เพิ่งมีการฆ่ากันจนมีคนตายถึง 91 คน) เพื่อ “เดินต่อไปข้างหน้าด้วยตัวเอง” วรรณสิงห์เองคงจะไม่ทราบว่าทัศนคติแบบนี้มันน่ารังเกียจและอันตรายต่อการพัฒนา ประชาธิปไตยขนาดไหน การที่บอกว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่มีผลต่อชีวิตประจำวันนั้น มันเป็นทัศนคติแบบที่ด้อยพัฒนาที่สุด อีกครั้งที่ผมจะต้องบอกว่าวรรณสิงห์ไม่เข้าใจในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยเลย
 
ในระบบประชาธิปไตยที่มาของอำนาจ นโยบาย การต่อรอง-แบ่ง ปันทรัพยากร ล้วนมาจากประชาชนที่แสดงเจตน์จำนงค์ของตัวเองผ่านผู้แทนที่มาจากการเลือก ตั้ง การที่บอกว่าไม่ให้ไปใส่ใจการเมืองก็เหมือนบอกให้เราละทิ้งอำนาจการต่อรอง ที่มี แล้วรอว่าผู้ปกครอง “ที่แสนดีและมีคุณธรรม” มา จัดการบอกให้ว่าเราควรจะได้อะไร ควรจะมีชีวิตแบบไหน แน่ละ กับคนที่มีต้นทุนทางสังคมพอสมควรอย่างวรรณะสิงห์และชนชั้นกลางในเมืองนโยบาย ของรัฐจะเป็นอย่างไรเขาก็ไม่เดือดร้อน เขามีต้นทุนพอที่จะแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ได้ เพียงใช้ความพยายามในระดับหนึ่งก็สามารถมีชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดี แต่วรรณสิงห์จะอธิบายอย่างไรกับชาวบ้านที่ยังต้องพึ่งพิงนโยบายของรัฐในการ ประกอบอาชีพ กับเกษตรกรที่ ราคาปุ๋ย ราคาผลผลิต การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ฯลฯ ล้วนขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ จะบอกให้พวกเขาเหล่านั้นใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ขุดคลองส่งน้ำเอง ส่งพืชผลไปขายต่างประเทศโดยไม่ต้องง้อพ่อค้าคนกลางอย่างนั้นหรือ การมองโลกแบบนี้มีแต่คนที่ซาบซึ้งกับชีวิตพอเพียง-ปราชญ์ชาวบ้านแบบในนิยายซีไรต์บางเรื่องเท่านั้นแหละ ที่เห็นว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศจะทำแบบนั้นได้,  ”ไม่ต้องสนใจการเมืองหรอก เรามาทำกันด้วยตัวเองดีกว่า“ …ผมไม่ขำด้วยนะครับ
 
ยิ่ง ไปกว่านั้นในบทสัมภาษณ์ วรรณสิงห์ย้ำอย่างน้อยสามครั้งถึงทัศนคติที่เขามีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ เขาพยามเสนอว่ายุคนี้เป็นยุคที่มีความเห็น “มากจนไร้ราคา” แต่ไม่ค่อยมีคนลุกขึ้นมาทำอะไร เขายังกล่าวอีกว่า “เรื่องการปฏิรูปฯเยาวชนไทยอาจจะไม่ต้องทีส่วนร่วมก็ได้ แต่คุณต้องไม่วิจารณ์ทั้งวันโดยที่ไม่ทำ” รวมถึง “ไม่ใช่ว่าหยุดวิจารณ์แล้วจะเป็นคนไม่ฉลาดนะ… จริงๆคนส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้วิจาณ์อะไรมากมาย ลองมองดูว่าเราเป็นคนส่วนน้อยหรือเปล่า” ซึ่งผมคิดว่าเขากำลังจะบอกผ่านไปถึงคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรวมถึงคณะกรรมการปรองดอง-ปฏิรูป ทั้งหลายว่า ถ้าคุณไม่คิดจะช่วยทำอะไรเพื่อประเทศ คุณก็อย่าพูดมาก อย่าเอาเท้าราน้ำ สิ่งที่ควรทำก็คือให้ลองทบทวนตัวเองสิว่าจะช่วยอะไรได้บ้างต่างหาก
 
วรรณสิงห์คงลืมไปว่าก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีคนจำนวนมากลุกขึ้นมา “ทำ” ใน สิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นกันอย่าง ขนานใหญ่แบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศนี้ แต่ความตั้งใจนั้นก็ถูกทำลายไปอย่างเลือดเย็น (ส่งผลให้มีคนตายถึง 91 คน) เอา เถอะ ผมจะไม่พูดว่าใครเป็นฝ่ายที่ฆ่าพวกเขาเหล่านั้น แต่ปฏิเสธได้หรือไม่ว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงก็ คือรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ รัฐบาลที่ตั้งคณะกรรมการทั้งหลายแหล่ขึ้นมานี่ละ การที่ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ยอมรับกระบวนการดังกล่าวและมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์ต่อความชอบธรรมของรัฐบาล รวมถึงประนามคนที่เข้าไปร่วมกับคณะกรรมการทั้งหลายแหล่ที่ตั้งขึ้นมาโดย รัฐบาลนี้(ถ้าอยากทราบเหตุที่ควรประนามผู้ที่เข้าร่วมคณะกรรมการปฏิรูป อ่าน “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล:วิพากษ์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กรณีรับเป็น“กรรมการปฏิรูปประเทศ” ” 5 ) เพื่อ กดดันให้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากกระบวนการประชาธิปไตยรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น และคืนอำนาจการตัดสินทิศทางของประเทศให้เป็นของประชาชน วรรณสิห์เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ-ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์อย่างนั้นหรือ?
 
ยังไม่ต้องพูดถึงหลักทั่วไปของคนที่ทำ งานในประเด็นสาธารณะ การที่มีบทบาทในทางสาธารณะไม่ว่าใครก็ตามต้องได้รับทั้งเสียงชมและเสียงด่า อยู่แล้ว ถ้ารับตรงนี้ไม่ได้คนผู้นั้นก็ไม่สมควรที่จะเสนอตัวมาทำงานสาธารณะตั้งแต่ แรก การที่วรรณสิงห์เสนอความคิดเห็นแบบนี้ในมุมของผม ผมถือว่าเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนหุบปาก อย่าพูดอะไรกับการทำงานของรัฐบาลหรือคณะกรรมการทั้งหลาย ถ้าไม่คิดจะสนับสนุน ก็จงหุบปากไว้ แน่นอนว่าวรรณสิงห์อาจจะบอกไม่มีเจตนาแบบนั้นแต่ตัวบทที่เขาบอกผ่านบท สัมภาษณ์นั้น แปลเป็นอย่างอื่นได้ยากเต็มที
****
 
อันที่จริงยังมีอีกหลายประเด็นที่ผมเห็นไม่ตรงกับวรรณสิงห์ ทั้งเรื่องการเรียกร้องให้คนชนบทเข้าใจคนเมืองบ้าง(เหรอ?), เรื่องที่เขาพูดกับการกระทำของตัวเองในเรื่องการลืมความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น, ให้ ก้าวข้ามที่มาของประชาธิปไตยแล้วมาดูกันที่เนื้อหาสาระ ฯลฯ  แต่ประเด็นหลักๆที่ผมได้เขียนไปข้างต้นก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เขาพิจารณา ดูถึงสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อถึงเขาแล้ว หวังว่าคุณวรรณสิงห์จะสมารถแยก form (รูปแบบ) และ Content (สาระ) ของบทความนี้ออกจากกันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อถึงด้วยความปรารถนาดีได้ (อย่างที่คุณย้ำถึงบ่อยๆ)
*****
 
สุดท้ายผมอยากจะฝากถึงวรรณสิงห์ว่า สิ่งที่เขาทำอยู่ถ้าอยู่ในบริบทอื่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดีก็ได้ โครงการ “ไอเดียประเทศไทย” ของ เขาที่เขาบอกว่าเขาพยามจะสนใจประเด็นจุลภาค คือให้คนที่มีไอเดียที่จะช่วยพัฒนาประเทศมาร่วมกันคิดว่าจะช่วยพัฒนาสังคม ได้อย่างไรแล้วทำเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้จริง ผมมองว่ามันก็มีประโยชน์ เหมือนชมรมค่ายอาสา, การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกสบายใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกภูมิใจว่าได้ช่วยพัฒนาสังคม(แล้วนะ) แต่ในบริบททางการเมืองขณะนี้ ในขณะที่โครงสร้างทางอำนาจส่วนบนยังรวมศูนย์อย่างเข้มข้นที่สุด(ถ้าคุณมองไม่เห็น ลองอ่านหนังสือพิมพ์เรื่องการใช้อำนาจตามพรก.ฉุกเฉินดูบ้างก็ได้) ใน ขณะที่มาของอำนาจรัฐไม่ถูกตามหลักการประชาธิปไตย ในขณะที่ความตายของคนเกือบร้อยยังไม่ได้รับความเป็นธรรม การปฏิรูปใดๆ โครงการทางสังคมใดๆ ที่รัฐบาลชุดนี้จัดตั้งขึ้น ล้วนเป็นแค่ของเล่นที่รัฐโยนมาให้เล่นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเองในขณะ ที่อีกฟากก็ตามทำลายศัตรูทางการเมือง สร้างฐานอำนาจของตัวเองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
 
ผม อยากจะเรียนคุณวรรณสิงห์ว่าสิ่งที่คุณทำอยู่นอกจากจะไม่มีประโยชน์กับประเทศ ในบริบทแบบนี้เลยแล้ว คุณยังตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาล ในกระบวนการ “เบี่ยงประเด็น-ฝังกลบความจริง-ทำให้ลืม” แม้ คุณจะไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง แต่ปฏิเสธไม่ได้แน่ว่าคุณมีบทบาทในการให้ความชอบธรรมกับขบวนการนี้อย่างออก นอกหน้า ผมอยากให้คุณวรรณสิงห์ลองพิจาณาบทบาทของตัวเองดูอีกสักครั้ง ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศจริงหรือไม่ และเป็นไปตามหลักมนุษยธรรมพื้นฐานหรือเปล่า การมองข้ามซากศพ 91 ศพแล้วลอยหน้าลอยตาประดิษฐ์คำพูดเก๋ๆ โครงการเท่ๆ เพื่อ “ก้าวไปข้างหน้า-ขอความสุขกลับคืนมา” เป็น บทบาทของคนที่ถือตัวว่าปัญญาชนสาธาณะควรจะทำแน่หรือ  บอกตามตรงว่าผมยังหวังลึกๆว่าคุณจะเข้าใจว่าสิ่งที่คุณเสนอนั้น อันที่จริงมันก็เหมือนกับสิ่งที่คนเสื้อแดงพยามจะเรียกร้องนั่นแหละครับ… การต้องการกำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาด้วยตัวเอง
 
“ปากซอยน่ะ พวกเราขอเลือกวิธีที่จะไปเองได้ไหม“
 
Do you understand?
 
 
ด้วยความนับถือ
 
ธีรวัฒน์ นามสกุลเดียวกับพ่อแต่เป็นคนละคนกัน
 
*******************************************************
อ้างอิง

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพแรงงานทีไอจี เรียกร้องบริษัทรับอนุกรรมการสหภาพฯ กลับเข้าทำงาน

Posted: 22 Sep 2010 10:03 PM PDT

23 ก.ย. 53 - สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (TIGLU) ออกแถลงการณ์เรียกร้องบริษัทรับอนุกรรมการสหภาพฯ กลับเข้าทำงาน โดยรายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้

 

แถลงการณ์ สร.ที.ไอ.จี ฉบับที่ 003-2553

เรื่อง TIG-LINDE ยุติการละเมิดสิทธิแรงงานเสียที

TIG หรือบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด(มหาชน) มีนายจ้างหลักเป็นบรรษัทข้ามชาติจากประเทศเยอรมันคือ LINDE ที่ประกอบกิจการใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกด้านแก๊สอุตสาหกรรม สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สมีสมาชิกเป็นคนงานของ TIG-LINDE ในประเทศไทย

20 กันยาน 2553 บริษัทฯส่งจดหมายถึงสหภาพฯให้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการสอบสวนข้อเท็จจริงและการพิจารณาโทษทางวินัยคุณวสันต์ เรืองลอยขำ ซึ่งเป็นอนุกรรมการของสหภาพฯ ตามข้อตกลงสภาพการจ้างที่ระบุไว้ว่า “บริษัทฯตกลงให้สหภาพฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์และทบทวนในการพิจารณากรณีที่มีการลงโทษทางวินัยฯ”

22 กันยายน 2553 รองประธานสหภาพฯเป็นตัวแทนสหภาพฯไปเข้าร่วมดังกล่าว พบว่าไม่มีการสอบสวนใดๆ เอกสารที่บริษัทฯนำมาแสดงนั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตามระเบียบและขั้นตอนการสอบสวนความผิด มีการทำขึ้นมาใหม่ตามอำเภอใจและมิได้เป็นไปตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติกันมา รวมถึงได้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วยการบันทึกเสียงโดยไม่ขออนุญาตก่อน และบริษัทฯยืนกรานว่าจะเลิกจ้างคุณวสันต์ เรืองลอยขำ ให้มีผลตั้งแต่ 23 กันยายน 2553 เป็นต้นไป แม้ว่าผู้แทนของสหภาพฯจะขอให้มีการทบทวนตามที่ระบุในข้อตกลงฯ และเนื่องจากเรื่องนี้ยังมีทางออกอื่นๆอีกมากที่จะแก้ไขปัญหา แต่บริษัทฯปฏิเสธว่าจะไม่มีการทบทวนใดๆทั้งสิ้น!!!

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่บริษัทฯยืนยันและจงใจที่จะละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างโดยไม่ใยดี ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหภาพฯพยามสงบนิ่งเพื่อสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีตามหลักมาตรฐานแรงงานสากล แต่บริษัทฯกลับกระทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม นอกจากจะไม่เคารพในสิทธิสหภาพแรงงานแล้วยังเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนงานอย่างไร้เมตตาธรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก 

ดังนั้นสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จึงขอเรียกร้องให้บริษัทฯดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้

  1. รับคุณวสันต์ เรืองลอยขำ กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมโดยทันที

  2. จัดให้มีการประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันระหว่างผู้มีอำนาจตัดสินใจและคณะกรรมการของสหภาพฯ

  3. ยุติการละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างโดยทันที

  4. ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของผู้บริหารจากการสัมมนา Social Dialogue เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553

  5. จัดการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม มโนธรรม เมตตาธรรมให้กับฝ่ายบริหารของบริษัทฯเป็นการด่วน

**สหภาพฯต้องขออภัยอย่างยิ่งหากท่านไม่ได้รับความสะดวกจากการเคลื่อนไหวของสหภาพฯ แต่เราได้รับความเดือดร้อนและมีทุกข์จริงๆ การเคลื่อนไหวของเราเกี่ยวกับทุกข์ของคนงาน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการเมืองทั้งสิ้น** 

**** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือแสดงความคิดเห็นหรือติดต่อสหภาพฯได้ที่  TIG_LU@HOTMAIL.COM หรือ TIG_LU@YAHOO.COM หรือ TIG_LU@WINDOWSLIVE.COM หรือ 08-9830-9905 หรือ 08-6351-5737 หรือ 08-6832-5751 หรือ 08-9239-8666  ****

 

....เลิกจ้าง = ประหารชีวิต ใช้อะไรคิดจึงได้โหดร้าย...เยี่ยงนี้...... ( 23 ก.ย. 53 )

 

นอกจากนี้ทางสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ได้แจ้งข่าวว่าจะทำการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ตามสาขาต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 53 เป็นต้นไป เนื่องจากสหภาพฯ ถูกปฏิเสธที่จะมีการทบทวนตามข้อตกลง ดังนั้นสหภาพจะเคลื่อนไหวจนกว่าจะได้ข้อยุติจากการเจรจากับทางบริษัทฯ

โดยสหภาพฯ ระบุว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้บริษัทกลับมาพูดคุยเจรจากับสหภาพ และหากท่านใดประสงค์จะสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน โปรดส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากองค์กรของท่านไปที่

กรรมการผู้จัดการ TIG-LINDE ประเทศไทย Email
keerin.chutumstid@tig.boc.com และ keerin@yahoo.com

และโปรดสำเนาหรือ CC ไปที่เลขากรรมการผู้จัดการและสหภาพฯ
noranuch.prasertthum@tig.boc.com
TIG_LU@windowslive.com

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สร้อยแก้ว คำมาลา:ละครโรงหนึ่ง ตอน 2 แล้วผมจะกลับมา

Posted: 22 Sep 2010 09:41 PM PDT

บทบันทึกจากการสนทนากับคนเสื้อแดงหลังเหตุการณ์ล้อมปราบ19 พฤษภาคม 2553  ซึ่งไม่อาจเปิดเผยชื่อและที่อยู่ของแหล่งข่าวได้เนื่องจากความหวาดกลัวผลกระทบที่จะตามมา

ผมมาทำไม?
ผมเป่านกหวีด และตะโกนให้มวลชนวิ่งเข้าวัด วิ่ง วิ่ง วิ่ง วิ่งให้เร็วที่สุด ไม่ต้องหันหลังมานะ วิ่งไปสุดตีนเลย วิ่งไขว้วิ่งไขว้ วิ่งสลับ อย่าวิ่งตรงๆ ไม่งั้นโดนยิง วิ่งให้สุดชีวิตเลย ไม่ต้องห่วงผม แต่ขนาดนั้นมันก็ยังไล่ยิงประชาชน แล้วประชาชนมีอะไรล่ะ คนแก่นี่ผ้าถุงหลุดลุ่ยเลย ภาพวันนั้น ถามผมว่าชั่วชีวิตนี้ลืมได้ไหม ลืมไม่ได้ ไม่มีวันลืม

ผมเป็นการ์ด การ์ดมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของมวลชน ดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ชุมนุม เพราะเรารู้ดีว่า การที่มีคนเยอะขนาดนี้คนแปลกหน้าจะเข้ามาปะปน บางคนพกอาวุธ พกมีด เราต้องห้ามเอาเข้า บางคนมีพิรุธมาสอดแนม เราต้องคอยสอดส่อง อย่างการชุมนุมของเสื้อเหลืองเขาก็มีการ์ด แต่การ์ดของเขาไม่ได้เป็นผู้ร้ายเหมือนเรา เรานี่กลายเป็นผู้ก่อการร้ายไปเลย ทหารเขาเล็งยิงที่เราอันดับแรก

อย่างวันที่ ๑๐ เมษา โรงเรียนสตรีวิทย์มีแต่ทหารทั้งนั้น ผมไม่ใช่คนตาบอดครับ ผมมีความรู้สึก ผมมีความชัดเจน ผมไม่ใช่คนตาบอด ผมเห็น

ผมอยากให้เขายุบสภา ผมไปเพื่ออยากให้เขายิงหัวหรือ?

ผมไปในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่เรียกร้องสิทธิของตัวเอง เพื่อให้ประเทศกลับคืนสู่สภาวะการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราต้องการสิทธิของประชาชน สิทธิของเราเราต้องได้ เราเลือกใครเราต้องได้คนนั้น คุณจะมาเบรกเราว่าบ้านเมืองกำลังไปได้ดี ไม่ให้เราออกมา แล้วผมถามว่านายกฯ เคยออกมาดูคนบ้านนอกบ้างไหม เคยมาเห็นชะตาชีวิตคนตาดำๆ คนรากหญ้าบ้างไหม ว่าเขาอยู่กินยังไง

คุณจบอ๊อกซ์ฟอร์ดมาเหรอ คุณกินขนมปัง แต่เราชาวไร่ชาวนากินข้าว พวกคุณตื่นมามีไข่ดาว ขนมปัง เรามีน้ำพริก นี้คือความต่างของประเทศไทยเรา เราจึงอยากมีนายกเมืองไทยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่เห็นความทุกข์ยากของประชาชนคนท้องไร่ท้องนา ผมมาเรียกร้องสิทธิตรงนี้แค่นี้เอง เอาแค่มาเลือกตั้งกันใหม่ซิ คุณกับพวกเรา ดูซิว่าใครจะได้ ถ้าใครได้มาผมก็จะไม่มาคัดค้านอะไรอีกแล้ว ผมแพ้ผมก็ไม่เสียใจ ไม่มีใครหรอกอยากให้ประเทศถอยหลัง เราเพียงแค่ไม่อยากให้ประเทศอยู่ในระบอบเผด็จการ เพราะเผด็จการพูดอยู่ฝ่ายเดียว

แล้วทำไมต้องยิงเรา?

ผมบอกตรงๆ ว่าถ้านายกฯ ไม่สั่งให้ทหารออกมาจากกรมกอง เขาก็ออกมากันเองไม่ได้หรอก ใครจะไปสั่งได้ล่ะ ประชาชนสั่งทหารออกมาได้หรือ มันก็มีแต่นายกฯ เท่านั้นที่จะสั่งเขามาได้ ทหารเขามีหน้าที่ปกป้องประชาชน ไม่ใช่มาเข่นฆ่าประชาชน

 

สุขใจ
ภาพที่ผมประทับใจที่สุดในชีวิต คือ วันที่โกนหัว ๕๐๐ คน ผมเป็นคนหนึ่งที่โกนผม เราโกนผมกันวันนี้ พรุ่งนี้เราก็ไปขอบคุณประชาชนตั้งแต่ผ่านฟ้า คลองเตย สุขุมวิท รู้ไหมครับว่าประชาชนเขาออกมาต้อนรับพวกเรากันมาก เขาออกมาขอบคุณเรากันด้วยหยาดน้ำตาเลย ภาพทุกภาพที่เห็นมันตื้นตันใจมาก แต่สื่อของรัฐออกมาบอกว่า คนกรุงเทพฯ ไล่เรา ทั้งที่ทุกสะพานเลยที่คนโบกมือให้เรา บางคนอยู่บนตึกสูงก็เปิดกระจกออกมาโบกมือให้ มันตื้นตันใจ คนเสื้อแดงบางคนร้องไห้เลย ที่เห็นคนโบกมือให้ คนกรุงเทพฯ ไม่ได้เกลียดเรา

ตอนมาใหม่ๆ ผู้ชุมนุมแต่ละจังหวัดจะเอาข้าวสารติดไม้ติดมือมาด้วย แต่ตอนหลังเริ่มมีประชาชนคนกรุงเทพฯ เอาผลไม้ เอาอะไรๆ มาฝากเป็นถุงๆ ตอนหลังเป็นกระบะเลยครับ ข้าวสารเป็นคันรถ

ถ้าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เราชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ เราจะชนะ เพราะคนจะเข้าใจมากขึ้น คนมาชุมนุมเยอะขึ้นทุกวัน คนจะอยู่ข้างเรามากขึ้นเรื่อยๆ เขาถึงต้องสลายเรา เพราะเขากลัว

สื่อของรัฐชอบทำให้เสื้อแดงเหมือนไม่ใช่คนไทย ทั้งที่คนกรุงเทพฯ จริงๆ เขาไม่ได้เกลียดคนเสื้อแดง

 

เวทีเลิก
หลังเวทีเลิก แกนนำประกาศยุติการชุมนุม ผมก็คิดว่า ทำไมเราต้องสลาย ทำไมเราต้องเลิกสู้ มันไม่ใช่บรรยากาศว่าเลิกการชุมนุมแล้วนะ เอ้า! กลับกัน เราดีใจจะได้กลับบ้านกันแล้ว มันไม่ใช่บรรยากาศนี้ ขณะที่เราสงสัย เราก็โดนยิง ไม่ทันจะได้คิดอะไรมาก เพราะระเบิดลง กระสุนปืนดังแล้ว มันต้องหนีแล้ว เสียงปืนมันทำให้คนต้องหนีก่อน

ก่อนประกาศสลายคนก็ทยอยเข้าวัดกันตลอด หลังณัฐวุฒิไป สตช. (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ยิงกันตลอด ผมหนีไม่ได้หรอก เพราะผมเป็นห่วงเพื่อน เพื่อนที่เป็นการ์ดที่อยู่ที่นั่น เราต้องช่วยกัน ช่วยกันดูแลมวลชนและช่วยเพื่อน

เราต้องบอกมวลชนให้เข้าไปในวัด ห้ามออกมาเด็ดขาด ผมต้องอยู่ด้านหน้าคอยต้อนมวลชนให้วิ่งเข้าวัด เพื่อนโดนลูกปืนบ้าง มวลชนก็โดนลูกปืนบ้าง แต่เราก็ต้องอยู่และคอยหลบ เราต้องรอประชาชนเข้าให้หมด บางทีคนโดนยิงเจ็บ เราต้องไปช่วยเขา ดึงเขาเข้าวัด

การ์ดเราตายกันเยอะ เราเล่นเกมกับความตาย แต่เราตายเพราะฝีมือคนไทยกันเอง

ศพเพื่อน-หลบซ่อน

ผมเห็นศพหน้าพารากอน ศพพี่ดำ... (น้ำตาคลอ กลืนกล้ำ พูดอะไรไม่ออกอยู่นาน)

ผมวิ่งไปที่หน้าเวทีที่นั่นก็มีศพ ทั้งพารากอน ทั้งที่นี่...

ทุกวันนี้ภาพของเพื่อนที่โดนยิงยังติดอยู่ในตา ผมไม่เคยลืม (น้ำตาคลอ)

ผมต้องถอดเสื้อการ์ดออกแล้ว ต้องถอดออก เพราะมันตายกันเยอะ มันตายมากจนเราต้องถอด ต้องถอย ผมไปหลบอยู่ในวัด ถ้าเราไม่อยู่ในวัดก็คงไม่เหลือ

วันนั้นเสื้อผ้าผมไม่มี ได้กางเกงขาสั้นมีคนให้ เสื้อก็มีคนเอาให้ 

ทหารออกมากันเยอะมากครับ ตายเยอะที่สุดที่ดินแดง ดินแดงยิงกันเยอะที่สุด เพราะทหาร-รัฐบาลฉลาด เขาให้รถถังออกมาเหยียบสิ่งกีดขวางแล้วยิงการ์ด เหยียบยิงการ์ด เหยียบยิงการ์ด เหยียบทั้งเต็นท์ เหยียบทั้งคน จะมีหนึ่งกองพลเดินหน้ายิง คือถ้าคุณเห็นคุณก็ต้องถอย เขามากันขนาดนี้ เราอยู่ไม่ได้หรอก อยู่ก็ตาย

ทหารเข้ามายิงในวัดในระยะสิบเมตร ใส่ชุดทหาร เห็นครับเห็น หน้าวัดตายกันเยอะ ผมคิดว่าตายเยอะกว่านั้น

ผมกลัว
ผมเป็นการ์ดผมไม่ได้กลัวความตาย นิสัยผมกล้าได้กล้าเสีย แต่วันนั้นผมกลัว ช่วงที่เขายิงน้องพยาบาล ช่วงสี่โมงเย็น ผมกลัวตายมาก ถามว่าทำไมถึงกลัวตายตอนนั้น ผมไม่ได้กลัวความตาย แต่ผมกลัวตายอย่างไม่มีศักดิ์ศรี ตายในสภาพแบบนั้น ตายโดยคนไทยด้วยกันยิงเรา นี่คือความเสียใจ คือความกลัวของผม ผมกลัวค่าชีวิตของผมมันไม่มีเลย

การต่อสู้ผมไม่เคยกลัว แต่ผมกลัวว่าการต่อสู้ที่สู้มาตลอดมันจะสูญหายไปเปล่าๆ กลัวการต่อสู้มันจะสูญหายไปกับเรา หายไปกับความตายของเรา

วันนั้นผมกลัวมาก กลัวตายโดยที่เราไม่มีทางจะต่อสู้ ไม่มีคำจะร้องขอ ไม่มีคำจะพูด สิ่งที่เราทำมามันหายไปกับเรา หายไปกับการต่อสู้ ผมเห็นน้องพยาบาลตายแล้วผมกลัว

เงินสองร้อย
สามโมงเช้าวันที่ ๒๐ พ.ค. ทางผู้นำเรา ส.ส. เขาบอกว่าให้ออกมาเถอะ ตอนนั้นบอกตรงๆ ว่าสภาพจิตใจเราอยู่ในอาการหวาดผวา เราไม่กล้าออกมากันเลย ไม่มีใครกล้าออกมาจากวัด ทางตำรวจเขาก็เลยบอกเอางี้ละกัน เขาจะตั้งแถว ยืนเป็นแถวสองข้างให้เราเดินออกไป เราถึงค่อยกล้าเดินออกไป

เดินไปก็เห็นศพนอนกันตรงนั้น ไม่มีผ้าอะไรสักอย่างมาบัง มีสาด (เสื่อ) ที่มวลชนให้เอามาปกศพ ตำรวจตั้งแนวสองฝั่งจากศาลาจนข้ามไปถึงสำนักงานตำรวจ ตอนนั้นก็ยังมีทหารยืนเล็งปืนอยู่เลย แล้วอย่างนี้ทำไมจะไม่ให้ประชาชนกลัว
ตำรวจยศนายพลนายพันทั้งนั้นมาส่งประชาชน ถ้าไม่มีตำรวจเราไม่กล้าออกมากันหรอก มันมีแต่ทหารทั้งนั้น พวกนั้นก็ยังเล็งปืนใส่ แต่ถ้าเรายังอยู่ในวัดก็ไม่ปลอดภัยแล้ว อยู่วัดก็ไม่ปลอดภัย ชีวิตนี้ไม่รู้จะเอาอะไรมาอธิบายความเลวร้ายได้เท่า อยู่เราก็คงจะตายกันหมด เราต้องออกมาให้ได้

ส.ส.และตำรวจทำให้เราอุ่นใจขึ้น ตอนนั้นอภิสิทธิ์โทรมาบอกว่าจะให้เงินกลับบ้าน ให้คนละสองร้อย ทุเรศไหม ถุย! เงินสองร้อยกับชีวิตกู ชีวิตเพื่อนกู เงินมึงสองร้อยก็แค่กาแฟสตาร์บัคแก้วเดียว

ไม่มีวันลืม
พูดแล้วขนลุก...!!!

ตอนที่มวลชนมาส่งเช้าวันนั้น ซึ้งใจมาก มาส่งกันหลายร้อยหลายพัน ประชาชนในกรุงเทพฯ มาส่งด้วยหยาดน้ำตา พวกเขาโบกมือลา อย่าลืมพวกเรานะ อย่าทิ้งคนกรุงเทพฯนะ มาส่งที่ด่านตอนปล่อยออกจากวัดปทุมฯ

วันนั้นเราเหมือนไม่ใช่คนไทย อุปกรณ์ของเราเขากองไว้เป็นภูเขา พวกธง เสื้อแดง ตีนตบ อะไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เขายึดไว้ กองไว้ ทุกคนเห็นก็ร้องไห้ เราออกมาทั้งน้ำตา ทหารเขาจะพูดหยาบคายกับเรามาก กู มึง ไอ้เหี้ย เขาคิดว่าเราไม่ใช่คนไทย เราเป็นผู้ก่อการร้าย วันนั้นผมกลับมาด้วยความบอบช้ำที่สุดในชีวิต

ทุกวันนี้ภาพของเพื่อนที่โดนยิงยังติดอยู่ในตา ผมไม่เคยลืม (น้ำตาคลอ)

ผมไม่ได้กลับรถไฟ ผมเอารถมา ภาพเหล่านั้นมันไม่ได้หลอกหลอนผมนะ มันเป็นภาพแห่งความอาทร เพื่อนที่เสียชีวิต เพื่อนที่เสียชีวิต...

ภาพเหล่านั้นมันไม่ได้หลอกหลอนผมนะ มันเป็นภาพแห่งความอาทร...

ผมพูดไม่ได้สามสี่วัน เพราะคิดถึงทีไรมันก็อัดขึ้นมา เราเห็นกับตา เพื่อนโดนยิง ก่อนมาเราต่างคนต่างมา เราไม่ใช่เพื่อน เราไม่ใช่พี่น้อง เราไม่ใช่คนสายเลือดเดียวกัน เราต่างคนต่างมา ไม่ว่า อุบล อุดร ขอนแก่น มหาสารคาม คนปักษ์ใต้ต่างๆ แต่เราต้องเอาชีวิตมาจบบนผืนปูนซีเมนต์กรุงเทพมหานคร กลางใจเมืองหลวง

เขาตายโดยที่เขาไม่ได้สิทธิอะไรคืนไปสักอย่าง

ถามว่านี่คือภาพแห่งความเจ็บปวดไหม ไม่ใช่ครับ มันเป็นภาพของความอาทร บางคนก็กำลังจะแต่งงาน บางคนก็เพิ่งฐานะดีขึ้น บางคนก็มีลูก บางคนก็มีชีวิตที่อยู่ดีกินดีอยู่แล้ว แต่ต้องมาตายเพราะมาเรียกร้องสิทธิ เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างเดียว

ภาพที่ผมเห็นก่อนจะออกจากกรุงเทพ ผมยืนมองดูที่ถนน ผมเห็นศพนอนแผ่อยู่ตรงนั้น ตรงนั้นไม่มีศพแล้ว แต่ผมยังเห็นพวกเขาอยู่ เขาอยู่ที่นั่น ผมจำได้ ผมเห็นว่าศพนอนกันอยู่ตรงไหนบ้าง จำตำแหน่งได้ ผมบอกกับเพื่อนว่า ไปดีนะ เราจะกลับบ้านก่อน วันหนึ่งเราจะกลับมา

ส่งท้าย
อยากแก้แค้นไหม...???

ผมไม่ได้มีความคับแค้นนะ แต่อยากให้ภาครัฐรู้ว่านี่คือประชาชน นี่คือประชาชน เราคือประชาชน
จริงครับ นี่คือประชาชน

ผมอยากให้เขารู้ว่า ผมก็อยากให้ประเทศชาติบ้านเมืองมีความสุขสงบ กลับไปสู่ความเจริญ ไม่ต่างกับคุณ แต่คุณต้องเอาความจริงออกมาพูด นี่แหละสิ่งที่ผมต้องการ แล้วความปรองดองมันจะเกิดขึ้น แต่ถ้าคุณปกปิด คุณไม่เคยยอมรับความจริง ความปรองดองมันเกิดขึ้นไม่ได้

ต่อให้เวลาผ่านไปจนผมอายุหกสิบปีเจ็ดสิบปี ผมก็ไม่ลืมว่าครั้งหนึ่งผมเคยเห็นภาพที่ไม่มีวันลืม

เราเคยเห็นภาพนั้น

ชั่วชีวิตผม ผมไม่เคยรู้สึกขนาดนี้ ผมไม่ได้มีความแค้น ไม่ได้เย็นชา แต่ผมรู้สึกอาทร สงสาร เพราะคนที่ตายที่นี่เขาไม่มีอาวุธอะไรเลยสักอย่าง รัฐยิงเขาได้ยังไง แล้วรัฐยังประโคมข่าวว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย

แล้วผมจะจำไว้ด้วยว่าครั้งหนึ่งคุณอภิสิทธิ์เคยเป็นนายกฯ รัฐมนตรี แล้วคนไม่ได้ตายแค่ ๙๑ ศพ เพราะผมอยู่แนวหน้าผมรู้ คนตายมากกว่านั้น แต่ตอนนี้เรายังไม่มีหลักฐาน ผมไม่ต้องไปฟังใครพูดหรอก ใครจะพูดอย่างไร จะพูดยังไงไว้บ้าง ผมไม่จำเป็นต้องฟังหรอกครับ เพราะคนที่ออกมาพูดไม่เคยมีใครเห็น แต่ผมเห็น ผมรู้ว่าความจริงคืออะไร ข้อมูลทุกอย่างอยู่ในสายตา อยู่ในหัวสมองผม ข้อมูลเหล่านี้มันจะหายไปได้ก็คือวันผมตายเท่านั้นเอง

 

ฝากไว้
แต่ก่อนเวลาผมเห็นเขามาชุมนุมกันในกรุงเทพฯ ผมไม่เคยเข้าใจว่าทำไมเขาจะต้องมานอนกันกลางถนน แดดร้อน แต่เมื่อผ่านการชุมนุมครั้งนี้ ผมเข้าใจแล้วว่ามันเป็นสิทธิของประชาชน ถ้าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม เราย่อมออกมาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ต่อไปหากจะมีการชุมนุม เรียกร้องอะไรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิอะไรก็ตาม ผมอยากให้พวกเราไตร่ตรองก่อนที่จะไปชุมนุม และอ่านแนวทางการสลายม็อบให้ดีว่าเขาจะสลายยังไง และดูว่าเราจะป้องกันตัวอย่างไรได้บ้างเพื่อที่เราจะได้ปลอดภัย เราจะได้ไม่ต้องสูญเสียชีวิตในครั้งต่อไป

การสลายม็อบมันมีหลายระบบ มาตรฐานสากลมันอาจมีหลายขั้นตอนสำหรับการสลายม็อบ แต่เมืองไทยเรามันมีระบบเดียวคือ กูจะยิงมึงให้ตาย เพราะฉะนั้น ถ้าจะไปม็อบก็ไตร่ตรองให้ดี อ่านข้อมูลข่าวสารให้ดี ดูวิธีสลายของรัฐบาลด้วยว่ามันจะสลายยังไง

หากมีชุมนุมคนเสื้อแดงอีกผมก็จะไปอีก ผมอยากพบเพื่อน อยากอยู่กับเพื่อน อยากเจอ อยากสู้ร่วมกัน ภารกิจในการต่อสู้ของเรายังไม่เสร็จ ถึงระยะเวลามันไม่มากแค่สองเดือน แต่เราเหมือนอยู่ร่วมกันมาเป็นสิบปี ก่อนจากกันเรากอดกันร้องไห้
เราต้องการเสรีภาพ ต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและเดินต่อไปอย่างก้าวหน้า

หลายเดือนมาแล้วประชาชนเราได้หายไปจากประเทศ ถามว่ารัฐคิดอย่างไร เคยคิดไหมว่าเราอยู่กันยังไง -- เราอยู่กันด้วยคราบน้ำตา

ทุกวันนี้รัฐประโคมข่าวตลอดเกี่ยวกับบ้านเมืองถูกเผา ความสูญเสีย ประเทศเดินไปไม่สวย ผมไม่เถียง แต่ทุกวันนี้รัฐให้ความสำคัญกับภาคเกษตรแค่ไหน ผมจากบ้านนอกมา ผมเห็นใจพวกเขา

และผมก็อยากให้คนกรุงเทพฯ เขาอยู่ดีกินดี ก้าวสู่รอยยิ้ม กอดกันนะ ไม่อยากให้มีสี อยากให้คนไทยใส่เสื้อได้ทุกสี ไปทำบุญด้วยกัน ยิ้มให้กัน หัวเราะด้วยกัน
 

..............................................................................................................

 

หมายเหตุ: บทบันทึกนี้ มีทั้งสิ้น 5 ตอน ประชาไทจะทยอยนำเสนอต่อเนื่อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาติของใคร...???

Posted: 22 Sep 2010 08:54 PM PDT

“ชาติ” เป็นประดิษฐกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นควบคู่กับประดิษฐกรรมทางการ เมืองเช่น “รัฐ” สมัยใหม่ เพราะการใช้อำนาจเหนือชีวิตของผู้คนในเขตแดนไม่อาจอาศัยเฉพาะอาวุธ ยุทโธปกรณ์ กฎหมาย และระบบราชการ จำเป็นต้องอาศัยความยินยอมพร้อมใจของผู้คนที่จะอยู่ภายใต้การบริหารอำนาจดัง กล่าวด้วย ชาติจึงถูกสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นพื้นที่ในจินตนาการ ทาบซ้อนลงไปบนรัฐที่มีเขตแดนในเชิงกายภาพ ทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ผู้คนเชื่อมโยงถึงกันผ่านลักษณะร่วมบางอย่าง เช่น เผ่าพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ พร้อมกับสร้างความจงรักภักดีในหมู่ผู้คนในสังกัด จนกระทั่งพวกเขาไม่รู้สึกถึงปฏิบัติการอำนาจของรัฐ แต่สำคัญว่าเป็นพันธกรณีที่ตนเองต้องมีต่อชาติ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ในรูปของการอบรมสั่งสอน (เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ) การปฏิบัติตามกฎหมาย (วินัยจราจรสะท้อนวินัยของคนในชาติ) หรือว่าการป้องกันประเทศ (พลีชีพเพื่อชาติ)   

 
รัฐไทยอาศัยจินตนาการเรื่องชาติในการปกครองผู้คนมาแต่แรกตั้ง สยามใหม่สถาปนามรดกร่วมของคนในชาติขึ้นเหนือสายใยเฉพาะถิ่นเพื่อว่าจะได้ สามารถผนวกรวมผู้คนต่างเผ่าต่างภาษาและวัฒนธรรมเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ผู้คนไม่ว่าจะมีจำเพาะหรือแตกต่างอย่างไร หากอยู่ในราชอาณาจักรสยามและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักก็นับเป็นส่วน หนึ่งของรัฐไทยที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่นี้ ขณะที่รัฐไทยในยุคต่อมานิยามความหมายของชาติแคบลง เพราะนำไปผูกกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทเพียงกลุ่มเดียว โดยนอกจากจะดำเนินนโยบายกลืนกลายทางวัฒนธรรมและกีดกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ แล้ว รัฐไทยสมัยนี้ยังพยายามที่จะสถาปนามหาอาณาจักรไทยที่กินขอบเขตกว้างกว่า ประเทศไทยอีกด้วย
 
ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันรัฐไทยจะล้มเลิกความทะเยอทะยานที่จะสถาปนามหาอาณาจักรไทยรวมทั้ง ยกเลิกนโยบายการกลืนกลายทางวัฒนธรรมแกมบังคับ แต่ความคิดชาตินิยมไม่ได้หายไปไหน หากแต่แพร่กระจายและฝังลึกในวงกว้าง ซึ่งส่งผลให้ผู้มีบทบาทในการผลักดันความคิดเรื่องชาติ โดยเฉพาะชาตินิยม ไม่ได้จำกัดเฉพาะรัฐอีกต่อไป หากแต่หมายรวมถึงกลุ่มและองค์กรนอกภาครัฐจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะเคลื่อนไหวเรียกร้องภายใต้แนวคิดชาตินิยมอย่างเข้มข้น กลุ่มและองค์กรเหล่านี้ยังกดดันให้รัฐแสดงบทบาทปกป้องชาติอย่างเข้มแข็งใน เวลาเดียวกัน
 
ยกตัวอย่างกรณีปราสาทเขาพระวิหาร พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยความร่วมมือกับนักวิชาการและกลุ่มทางสังคมจำนวนหนึ่ง อาทิ สันติอโศก และกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ เรียกร้องให้ยกเลิกการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร ยกเลิกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา 2543 คัดค้านแผนการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนบริเวณรอบปราสาท รวมทั้งให้ขับไล่ชาวกัมพูชาออกนอกพื้นที่ดังกล่าว โดยนอกจาก UNESCO แล้ว รัฐบาลไทยเป็นอีกเป้าหมายสำคัญที่กลุ่มเหล่านี้เคลื่อนไหวกดดัน เพราะเห็นว่าไม่ได้แสดงบทบาทปกป้องผลประโยชน์ของชาติอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลประชาธิปัตย์ (ซึ่งสมาทานแนวคิดชาตินิยมเช่นกัน แต่ว่ามีข้อจำกัดในการแสดงออกเพราะอยู่ภายใต้แรงกดดันของกติการะหว่างประเทศ ) จึงไม่เพียงแต่จะยืนยันว่าจะไม่ยอมสูญเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้ว หากแต่ยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนพันธมิตรฯ และภาคีเข้าพบปะซักถามนายกรัฐมนตรีรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมกับ ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลตลอดรายการ
 
นอกจากนี้ ความคิดชาตินิยมยังแฝงฝังอยู่ในการเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาศัยความคิดเรื่องการปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นหนึ่งในปราการหลักใน การคัดค้านการรุกคืบของระบบทุนนิยมโลกและบรรษัทข้ามชาติในประเทศไทย พวกเขาเสนอว่าการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลกและบรรษัทข้ามชาติไม่เพียงแต่จะ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและชุมชนเกษตรกรรม หากแต่ยังคุกคามผลประโยชน์ของชาติโดยรวมอีกด้วย การพยายามเข้ามามีอิทธิพลเหนือนโยบายรัฐของบรรษัทข้ามชาติจึงถูกเปิดโปง และการลงนามของรัฐบาลในสนธิสัญญาทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศฉบับ ต่างๆ จึงถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ภายใต้ข้อวิตกกังวลว่ารัฐบาลอาจไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติเท่า กับผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ หรือว่าอาจเพลี่ยงพล้ำให้กับการปกป้องผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจต่างๆในเวทีการเจรจา
 
ประการสำคัญก็คือ  ความคิดเรื่องชาติได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เพราะสาเหตุหลักประการหนึ่งของการลุกฮือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อหลากสีในเวลาต่อมาคือความรู้สึกว่าสถาบันหลักของชาติกำลังถูกคุกคาม ชาติในความเข้าใจของกลุ่มคนเหล่านี้คือดินแดนที่ผู้คนอยู่รวมกันตามลำดับ ชั้นทางศีลธรรมอย่างเคร่งครัด แต่ละคนต่างมีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามที่ได้รับการจัดสรร การตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ระเบียบทางศีลธรรมโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในลำดับชั้นทางศีลธรรมที่สูงกว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ผู้ที่ละเมิดโดยเฉพาะผู้ที่สังกัดลำดับชั้นทางศีลธรรมระดับล่างๆ จำเป็นต้องได้รับการลงทัณฑ์อย่างสาสม
 
ความคิดเรื่องชาติในสังคมไทยจึงมีลักษณะเฉพาะและทำให้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนกว่าปกติ  เพราะโดยปกติแม้ชาติและรัฐจะหนุนเสริมกันแต่ก็มีความขัดแย้งรวมอยู่ด้วย  เพราะชาติเป็นพื้นที่ในจินตนาการที่มีการจัดความสัมพันธ์กันอย่างเสมอหน้า แต่ว่ารัฐเน้นการบังคับบัญชาอย่างเป็นลำดับขั้น  การนำชาติมารับใช้รัฐจึงจำเป็นต้องอำพรางความขัดแย้งดังกล่าวให้มิดชิด ทว่าความคิดเรื่องชาติกระแสหลักในสังคมไทยเน้นการจัดความสัมพันธ์เชิงสูงต่ำ มาตั้งแต่แรก โดยอาศัยระเบียบทางศีลธรรมเป็นกลไกในการสร้างความชอบธรรม รัฐไทยจึงไม่ต้องกังวลกับการปิดบังอำพรางในการอาศัยความคิดเรื่องชาติใน ลักษณะเช่นนี้จัดการกับชีวิตของผู้คน เพราะว่าผู้คนเหล่านี้ยินดีที่จะอยู่ภายใต้การจัดความสัมพันธ์อย่างเป็น ลำดับขั้นมาตั้งแต่ในชั้นของชาติ
 
เพราะเหตุที่รัฐจะยังมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับชีวิตของผู้คนต่อไปอีกนาน การสลัดความคิดเรื่องชาติจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยง่ายหรือว่าในระยะอันใกล้นี้ ภารกิจหลักจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้จินตนาการเกี่ยวกับชาติที่ประกอบด้วยผู้คนอันหลากหลายแต่ว่าสัมพันธ์กันอย่างเสมอหน้าได้มีพื้นที่สาธารณะมากขึ้น และทำอย่างไรให้จินตนาการชาติในลักษณะที่ว่านี้สามารถควบคุมการใช้อำนาจแนวดิ่งของรัฐให้ได้เพิ่มขึ้น เพราะหากปล่อยให้จินตนาการชาติชนิดที่วางอยู่บนลำดับชั้นทางศีลธรรมครองความเป็นใหญ่ การหยิบใช้ความคิดเรื่องชาติในการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะโดยพันธมิตรฯ หรือแม้กระทั่งองค์กรพัฒนาเอกชนโดยปราศจากการตั้งคำถามถึงการจัดระเบียบของชาติดังกล่าว ก็รังแต่จะเสริมความอยุติธรรมขึ้นในแผ่นดินนี้ก็เท่านั้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านรุกฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง แจงอีไอเอผ่านโดยไม่ชอบ

Posted: 22 Sep 2010 01:44 PM PDT

ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตเกษตรกรรม จ.สระบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา ฟ้องศาลปกครองกลาง ระงับและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าหนองแซง หวั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม แย่งน้ำใช้ภาคเกษตร อีกทั้งอีไอเอผ่านโดยไม่ชอบ

 
 
 
วันที่ 21 ก.ย. 2553 เวลา เวลา 10.00 น. ชาวบ้าน อ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางเข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ของโรงไฟฟ้า เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย  ซึ่งจะทำการก่อสร้างในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี
 
สืบเนื่องจากกรณี คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้มีโอกาสเข้าโต้แย้งและชี้แจงความไม่เหมาะสมของโครงการ อีกทั้งการออกใบอนุญาตในทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมต่อการประกอบกิจการโรงไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรอย่างมหาศาล
 
ทนายความจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้สรุปประเด็นคำฟ้องคดีเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โรงไฟฟ้า เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย (โรงไฟฟ้าหนองแซง) ที่ยื่นต่อศาลปกครองกลาง ดังนี้
 
ประชาชน อ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี  จ.พระนครศรีอยุธยา  ยืนยันใช้กระบวนการยุติธรรมต่อสู้ถึงที่สุดเพื่อปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ชนบทเกษตรกรรม ตามร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี รวมถึงตรวจสอบและพิสูจน์การบังคับใช้กฎหมายเชิงการป้องกันไว้ก่อนมิให้เกิดกิจกรรมหรือโครงการอันไม่เหมาะสมของพื้นที่ โดยการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานของรัฐ สองหน่วยงาน
 
ฐาน 1.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  โดย
 
1.1) ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้มีโอกาสเข้าโต้แย้งและชี้แจงเหตุแห่งความไม่ถูกต้องเหมาะสมของโครงการ
 
1.2) อาศัยมติเห็นชอบ EIA ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นฐานในการออกใบอนุญาต
 
1.3) ออกใบอนุญาตในทำเลที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมต่อการประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย อันขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่2 (พ.ศ.2535) ออกตามความของพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
 
1.4) ออกใบอนุญาตไปโดยขัดกับหลักความได้สัดส่วน เพราะเป็นมาตรการที่ไม่จำเป็น และเป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประชาชน ชุมชนและประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ที่เอกชนรายเดียวได้รับ
 
2.คณะกรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)  มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอาศัยฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพราะ EIA ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ที่กำหนดให้พื้นที่อำเภอหนองแซงซึ่งรวมถึงที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมและมีข้อกำหนดห้ามสร้างโรงไฟฟ้า อีกทั้งไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของพื้นที่ตั้งโครงการ และไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำป่าสัก
                    
คำขอท้ายคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีทั้ง 61 รายขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เพิกถอน
1.ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกให้แก่บริษัท เพาเวอร์ เจเนอ เรชั่น ซัพพลาย จำกัด  
 
2.มติคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ผู้ถูกฟ้องคดีที่2 ที่ได้มีมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง ของบริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ยื่นหนังสือสถานทูตสิงคโปร์

Posted: 22 Sep 2010 09:59 AM PDT

เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ยื่นหนังสือสถานทูตสิงคโปร์ ตรวจสอบเม็ดเงินสนับสนุนกลุ่มต่อต้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553  ณ ห้องประชุมนกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไทจัดเสวนาระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิฐและสังคม เจาะลึกเชิงประเด็นและนำเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด ร่วมกันเสนอแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน วิเคราะห์และสังเคราะห็ผลจากเวทีรับฟังความคิดเห็นประมวลสรุปในประเด็นการเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างความเป็นธรรมของสังคมเพื่อนำไปประกอบการจัดทำแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติและปฎิรูปประเทศ โดยมีการแยกเป็นกลุ่มประเด็นการจัดการแผนพัฒนาภาคใต้,การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัว และปัญหาความไม่เป็นธรรมและคุณภาพชีวิตคนในสังคม โดยมีนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวเปิดงาน

แหล่งข่าวเปิดเผยว่านายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวเปิดเวทีเสวนาดังกล่าวโดยมีเนื้อหาบางตอนพาดพิงว่าไม่รู้พวกไหนมารวมตัวกันคัดค้านขัดขวางความเจริญของจังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเคลื่อนไหวโดยนำชาวบ้านคัดค้านต่อต้านโครงการต่างๆ อีกทั้งได้ข่าวว่ามีกลุ่มกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากประเทศสิงคโปร์ให้มาเคลื่อนไหวต่อต้านท่าเรือน้ำลึกปากบาราซึ่งอาจเป็นคู่แข่งกับสิงคโปร์

นายจรัส งะสมัน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ2540 จ.สตูล กล่าวว่าคนสตูลจะต้องตื่นตัว  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจากการมีโครงการขนาดใหญ่ทะยอยลงพื้นที่ใน จ.สตูล โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมด้านข้อมูลข่าวสาร การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  หน่วยงานภาครัฐรับใช้แต่คนข้างบนชนชั้นปกครอง โดยไม่ดูแลสารทุกข์สุขดิบของคนสตูล เอาแต่เสี้ยมเขาให้วัวชนกันทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน รู้ๆกันอยู่ว่าผลประโยชน์ได้กับกลุ่มไหน ชาวบ้านได้อะไรบ้าง คนสตูลต้องรวมตัวกันให้แข้มแข็งเพื่อสตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ เป็นความจริงต่อไป

นายอุสมาน มะอะหมีน ประชาชนภาคพลเมือง จ.สตูล กล่าวว่า ปัญหาที่รัฐควรเร่งแก้ไข คือการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการที่เกี่ยวข้อง ที่ยังไม่มีความชัดเจนในการก่อสร้าง ซึ่งรัฐควรให้ความรู้พื้นฐานกับประชาชนก่อนเริ่มโครงการ

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี แกนนำเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า หลังจากที่เครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือเพื่อให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล และยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อให้ทบทวนโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการต่อเนื่อง ผ่านนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล 2-3 ครั้ง เครือข่ายฯได้เคลื่อนไหวโดยแสดงเจตจำนงชัดเจนขัดขวางโครงการที่รัฐผลักดัน เราไม่ต้องการโครงการที่รัฐยัดเยียดลงในพื้นที่โดยไม่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เราแค่ต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดรับกับศักยภาพของจังหวัดสตูล  ไม่ใช่ต่อต้านขัดขวางความเจริญอยากนุ่งใบไม้

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี เปิดเผยต่อว่า เครือข่ายฯดำเนินการให้ความรู้เผยแพร่ข้อมูลรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ที่ระบุผังเขตนิคมอุตสาหกรรม150,000 ไร่,แหล่งขุดทรายที่บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านปากละงู บ้านหัวหิน,ระเบิดหินที่ตำบลทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลง 4 ลูก ตำบลควนกาหลงอำเภอควนกาหลง 2 ลูก ตำบลป่าแก่บ่อหินอำเภอทุ่งหว้าและตำบลกำแพงคาบเกี่ยวกับตำบลเขาขาวแห่งละ 1 ลูก,ทางรถไฟรางคู่,แนวท่อขนถ่ายน้ำมันฯลฯ โดยเครือข่ายฯได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า และสภาองค์กรชุมชนอันเป็นภาษีของประชาชน โปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้

"เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล สงสัยและกังขาว่ามีบุคคลกลุ่มไหนที่ได้รับเม็ดเงินงบประมาณสนับสนุนจากประเทศสิงคโปร์เพื่อลงมาเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทางเครือข่ายฯเข้าใจว่าถ้าไม่มีข้อมูลน่าเชื่อถือผู้ว่าฯคงไม่พูดออกมา ดังนั้นเครือข่ายฯจะทำหนังสือยื่นไปยังสถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยผ่านนายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เพื่อให้สถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่าประเทศสิงคโปร์ได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อต่อต้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถอดบทเรียน: สมัชชาองค์การมุสลิมภาคใต้กับวิกฤตไทย-ซาอุดิอารเบีย

Posted: 22 Sep 2010 09:26 AM PDT

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด   ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุก

วันที่ 22 ก.ย. 2553  เมื่อเวลา 14.00 น.ที่มัสยิดกลางประจำ จ.สงขลา องค์กรมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ประกอบด้วย อิหม่าม และผู้บริหารมัสยิด ผู้ประกอบการกิจการฮัจญ์ ผู้นำกลุ่มฮัจญ์ ผู้แสวงบุญ สมาคมมุสลิม และกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กว่า 500 คน รวมแสดงพลังเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทย กับซาอุดีอาระเบีย จนส่งผลกระทบต่อการขอวีซ่าเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของผู้แสวงบุญชาวไทย

พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดเสวนาของกลุ่มนักวิชาการมุสลิมเกี่ยวกับความสัมพันธ์และต้นตอของปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทย กับซาอุดีอาระเบียซึ่งมีผู้เขียน  อาจารย์ ดร. วิสุทธิ์ บิลลาเต๊ะ หัวหน้าฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศสำนักงานกิจคณะกรรมการอิสลาม จ.สงขลา และหัวหน้าศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีภาคใต้ โดยมี ดร. อับดุลรอหมาน กาเหย็ม เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.สงขลาเป็นผู้ดำเนินรายการ

ดร. อับดุลรอหมาน กาเหย็มได้กล่าวถึงเหตุผลของการกิจกรรมในวันนี้ว่า เพื่อร่วมเสวนาหาทางออกและร่วมกันละหมาดฮายัตขอพรต่อพระเจ้าให้ปัญหากรณีความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย คลี่คลายไปในทางที่ดี และยุติโดยเร็วเสมือนเป็นการช่วยชาติไทยในภาพรวม ในขณะเดียวกันเพื่อให้ชาวไทยมุสลิมในประเทศไทยที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ในปีนี้ตามโควตา 13,000 คน สามารถเดินทางด้วยความสะดวกและสบายใจ เนื่องจากใกล้ถึงวันเดินทางเที่ยวแรกในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ ที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่
      
หลังจากนั้นผู้ดำเนินรายการให้ผู้เขียนได้กรุณาเท้าความปมความขัดแย้งเพื่อปูพื้นฐานให้กับผู้ฟังซึ่งผู้เขียนกล่าวแก่ผู้ฟังซึ่งพอจะสรุปได้ว่า  หากย้อนอดีตไปลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยราบรื่น คือ การที่เจ้าหน้าที่ทูตซาอุดีฯถูกลอบสังหารกลางเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2532 โดยตำรวจไทยไม่สามารถที่จะสืบสวนจับคนร้ายมาดำเนินคดีได้ซึ่งต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 คนร้ายได้ลงมือฆ่าเจ้าหน้าที่การทูตซาอุดีฯอีก 3 ศพ รวดในเวลาเดียวกัน รวมทั้งหมดเป็น 4 ศพ แต่ตำรวจไทยก็ไม่สามารถจับคนร้ายตัวจริงมาลงโทษได้ มีการจับตัวผู้ต้องหามาสอบสวนเหมือนกัน แต่ก็ผิดตัว

ในเดือนดังก่าว นายมุฮัมมัด อัลรูไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอารเบีย ได้หายตัวไปอย่างลึกลับ ต่อมาจึงมีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลชุดหนึ่ง ข้อหา "อุ้ม" นายมุฮัมมัด อัลรูไวรี่ไปหาข้อมูลเชิงลึกในรูปบบที่ไม่เหมาะสม ตามกระบวนการยุติธรรม เพราะเชื่อเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของเจ้าหน้าที่การทูตของซาอุดิอารเบียซึ่งส่งผลให้ทางการซาอุดีฯไม่พอใจอย่างยิ่ง จนถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนเดินทางมาประเทศไทย และลดระดับความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุดนี่ยังไม่นับรวมกรณีที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ลักลอบโจรกรรมเพชรกลับประเทศไทย แต่ตำรวจไทย สร้างวีรกรรมอันฉาวโฉ่ โดยเอาของปลอมไปคืนให้ซาอุดิอารเบีย

แต่ทางการซาอุดิอารเบียก็สนใจคดีอุ้มฆ่ามุฮัมมัดอัลรูไวรี่มากที่สุด เพราะตำรวจในฐานะผู้พิทักษ์สันติราชกลับไป"อุ้ม" "อัลรูไวรี่" ไปกักขังไว้และบีบบังคับให้สารภาพผิด แต่ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การเสียชีวิตของนักธุรกิจ ผู้นี้อย่างเป็นปริศนา

ที่สำคัญที่สุดอัลรูไวรี่เป็นหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์อัสสะอูด แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียโดยเฉพาะกับว่าที่กษัตรย์องค์ต่อไป ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของประเทศ

ซาอุดิอารเบียรอคอยด้วยความอดทนเป็นเวลาเกือบ 20 ปีเกี่ยวกับคดีนี้ จนกระทั่งก่อนหมดอายุคดีความเพียง 1 เดือนกล่าวคือ เดือนมกราคม 2553  กรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา อันประกอบไปด้วย พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภาค 5 และพวกอีก 4 คน ในคดีร่วมกันฆ่านายมุฮัมมัด อัลรูไวรี จนทำให้ฝ่ายซาอุดิอารเบียมองว่ารัฐบาลไทยมีความจริงใจในการแก้ปัญหา แต่แล้วความหวังดังกล่าวของซาอุดิอารเบีย จะไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ เมื่อมีการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ขึ้นไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ทั้งๆ ที่เป็นผู้ต้องหาคดีอัลรูไวรี และคดียังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในชั้นศาล จนทำให้รัฐบาลซาอุดิอารเบียเปิดไฟเขียวให้อุปฑูตนาบีล เดินเกมส์การเมืองและออกแถลงการณ์แสดงความไม่พอใจกรณีการแต่งตั้งดังกล่าว โดยอ้างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 95 ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา  เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 72 (ผบ.ตร.) หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนด
ในระเบียบ ก.ตร. มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัยได้   ไหนคือสิ่งที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะย้ำอยู่เสมอว่ารัฐบาลภายใต้การบริหารของท่านจะรักษามาตรฐานทางด้านจริยธรรมและ นิติรัฐแต่พฤติกรรมดังกล่าวได้แสดงว่ารัฐบาลกำลังจะอุ้มพรรคพวกเพราะสังคมทั้งประเทศไทยรวมทั้งรัฐบาลซาอุดิอารเบียย่อมทราบดีว่าพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม คือน้องชายแท้ ของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาฯ คมช.) ผู้มีบทบาทสำคัญในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ยึดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมพยานหลักฐานการทุจริตเลือกตั้งของแกนนำพรรคพลังประชาชน จนนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การสนับสนุนอย่างมั่นคงของทหาร
 
ความเป็นไปดังกล่าวทำให้เกมส์การเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าซาอุดิอารเบีย  รัฐบาลและฝ่ายค้านแต่ผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชนชาวไทยเพราะผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ไทยจะได้รับจากการจัดส่งแรงงาน ธุรกิจการท่องเที่ยวต้องสูญเสีย และลามปามไปสู่พิธีกรรมทางศาสนาของพี่น้องชาวบ้านที่สะสมเงินทั้งชีวิตที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ต้องสิ้นสลายดังนั้นกระบวนการที่จะช่วยกดดันทุกฝ่ายมุสลิมต้องใช่กระบวนการทางการเมืองอย่างสันติขับเคลือนเพราะโดยประวัติศาสตร์ประเทศไทยไม่ว่าปัญหาภาคใต้ ม๊อบเสื้อแดง เสื้อเหลือง เครื่อข่ายเกษตรกรก็ล้วนใช้มวลชนกดดันรัฐบาล

หลังจากนั้นอาจารย์ ดร. วิสุทธิ์ บิลลาเต๊ะ ได้อธิบายถึงความสำคัญระหว่างศาสนากับกระบวนการทางการเมืองที่อิสลามอนุมัติ

ซึ่งท่านกล่าวในตอนหนึ่งว่า การเมืองกับศาสนานั้นแยกกันไม่ออก เพราะการเมืองจะมีผลต่อการประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม ว่า จะทำให้สมบูรณ์แบบหรือไม่ โดยเฉพาะการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของศาสนาอิสลามข้อที่ 5 เพราะการเมืองที่ไร้ความยุติธรรม ไม่มีทางที่จะทำให้ศาสนาสมบูรณ์แบบได้ ที่สำคัญ ศาสนาต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ใช้เอาศาสนาไปรับใช้การเมือง
      
“กรณีความสัมพันธ์ไทยกับซาอุดีอาระเบีย จึงมีความพิเศษ เพราะเป็นเรื่องของจิตวิญญาณชาวมุสลิมที่จะต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์อันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศอันเป็นที่ตั้งของกะบะฮ์ และมัสยิดนาบาวีย์ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่งของมุสลิมเพราะทุกคนต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นั่น จึงจำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการเมืองของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะทำให้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยมุสลิมสะดวกยิ่งขึ้น”         

หลังจากนั้นท่านและคณะ ในนามของสมัชชาองค์การมุสลิมภาคใต้ และ นายอิบรอฮิม อาดำ นายกสมาคมผู้ประกอบการฮัจญ์ในภาคใต้ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 หลังทราบข่าวการประกาศไม่รับตำแหน่งของ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
      
โดยระบุว่า การประกาศไม่รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของ พล.ต.ท.สมคิด เป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการแสดงออกที่หวังว่าจะนำสู่ไปสู่ความปรองดองของไทย และซาอุดีอาระเบียได้ จึงเป็นความเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ควรแก่การชื่นชม พร้อมกับได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนในการสร้างความสงบร่วมเย็นความสมานฉันท์ปรองดอง ซึ่งจะต้องยืนอยู่บนความยุติธรรม และการเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก และควรตระหนักว่าการปกครองที่ไร้ความยุติธรรม คือ ชนวนสำคัญที่ทำให้สังคมขาดความสมดุลและนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงได้
      
อย่างไรก็ตาม ทางองค์กรมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประกาศยุติการเคลื่อนไหวทุกอย่างชั่วคราวหลังจากนี้ เพราะสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย และไม่ได้มีการละหมาดฮายัตตามกำหนดการที่ประกาศไว้ เพราะมองว่าพระเจ้าได้พระทานพรอันยิ่งใหญ่ให้กับชาวไทยมุสลิมแล้วซึ่งมุสลิมที่ร่วมประชุมครั้งนี้ได้ร่วมกันกล่าว อัลลอฮุอักบัร (พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่)แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่ออกเคล่อนไหวอีกตลอดการณ์แต่จะดูผลหลังจากนี้นี้ว่าจะคลี่คล้ายอย่างถาวรจริง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลื่อนนัดพร้อม “ทักษิณ” ฟ้อง “กษิต-เอเอสทีวี” หมิ่นประมาท

Posted: 22 Sep 2010 07:22 AM PDT

เลื่อนนัดพร้อม “ทักษิณ” ฟ้อง “กษิต-เอเอสทีวี” หมิ่นประมาท เหตุทนาย “ทักษิณ” เพิ่งยื่นคำร้องอุทธรณ์

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 22 ก.ย.นี้ ศาลนัดพร้อมคดีหมายเลขดำ อ.1037/2552 ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายกษิต ภิรมย์  รมว.ต่างประเทศ, บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด และบริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328

จากกรณีเมื่อวันที่ 3, 11 และ 29 พ.ย.2551 นายกษิต ได้ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ผ่านเครื่องขยายเสียงที่ทำเนียบรัฐบาล และมีการถ่ายทอดสดผ่านทีวีดาวเทียม สถานีโทรทัศน์ ASTV ทำนองว่า นักโทษชายชื่อทักษิณ ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมถอย และก็สู้ตาย พยายามทุกวิถีทางที่จะยึดประเทศไทยให้เป็นสมบัติส่วนตัว

สำหรับกรณีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ฟ้องนายกษิต ภิรมย์ ในความผิดฐานหมิ่นประมาท รวม 3 คดี ซึ่งศาลยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องไปแล้ว 1 คดี ส่วนอีก 2 คดี ยังไม่ได้นัดวันสืบพยาน เนื่องจากต้องรอว่าโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ในคดีที่ยกฟ้องไปแล้วหรือไม่

โดยวันนี้ เสมียนทนายทั้งสองฝ่ายมาดำเนินการแทน ส่วนจำเลยที่ 1-3 ไม่ได้มาศาล เนื่องจากศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังไว้แล้ว

ศาลเห็นว่า โจทก์เพิ่งยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลในคดีนี้ และขอแยกสำนวนส่งไปศาลอุทธรณ์เฉพาะบางส่วน ซึ่งศาลยังไม่ได้รับคำร้อง และอุทธรณ์ของโจทก์ เห็นควรพิจารณาคดีไปพร้อมกัน จึงให้เลื่อนนัดพร้อม เพื่อฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ และคำร้องของโจทก์ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้  เวลา 09.00 น.

ที่มาข่าว:

นัดพร้อม“แม้ว”ฟ้อง“กษิต-เอเอสทีวี” (เดลินิวส์, 22-9-2553)
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=93486

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่าทำร้ายชาวบ้านในเขตย่างกุ้ง

Posted: 22 Sep 2010 06:46 AM PDT

เกิดเหตุทหารพม่าบุกเข้าทำร้ายชาวบ้าน ย่านชานกรุงย่างกุ้ง หลังทหารและวัยรุ่นในพื้นที่เกิดทะเลาะกัน โดยกองทัพพยายามปิดปากไม่ให้ชาวบ้านปูดเรื่องดังกล่าว

ทหารพม่าราว 40 – 50 นาย เข้าบุกค้นและทำร้ายชาวบ้านในหมู่บ้านโตเนเซ พ้าวก์ เมืองเลกู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงย่างกุ้งไป 45 กิโลเมตร มีรายงานว่า ชาวบ้าน 22 ครอบครัวถูกทหารพม่าทำร้ายร่างกาย ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงและเด็ก สาเหตุมาจากการทะเลาะวิวาทระหว่างทหารและวัยรุ่นในพื้นที่ โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ ขณะที่กองทัพพม่าพยายามปิดปากชาวบ้านไม่ให้เปิดเผยเรื่องดังกล่าว

สืบเนื่องมาจากที่ทหารพม่ายศร้อยเอกคนหนึ่งชื่อ ซิตลินอ่องได้มีปากเสียงทะเลาะวิวาทกับนายจ่อลินตู วัยรุ่นในพื้นที่ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป จากนั้นในเย็นวันเดียวกัน นายทหารคนเดิมได้ย้อนกลับมาในหมู่บ้านและได้ถามหานายจ่อลินตู ซึ่งขณะนั้นนายจ่อลินตูได้หลบหนีไปแล้ว นางมอลี วิน ซึ่งเป็นพี่สาวจึงได้ออกไปคุยกับทหารคนดังกล่าวแทน ในเวลาต่อมา ร้อยเอกซิตลินอ่องและนายทหารอีกสองคนได้เรียกให้นางมอลี วินพาไปยังสถานที่เกิดเหตุที่ร้อยเอกซิตลินอ่องและน้อยชายของเธอมีปากเสียงกัน ทันใดนั้นมีรถบรรทุกทหารนำทหารประมาณ 40 – 50 นาย มาถึงยังที่เกิดเหตุ จากนั้นทหารได้วิ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายของนางมอลี วิน 

“พอทหารกระโดดลงจากรถ พวกเขาก็ตรงเข้ามาทำร้ายฉัน ฉันถูกต่อยที่ขมับและแขน ทหารอีกคนหนึ่งได้ใช้ปลายกระบอกปืนตีตรงหน้าอกด้านขวาของฉัน จากนั้นพวกทหารก็วิ่งไปยังบ้านหลังอื่นๆ พวกเขาเข้าตรวจค้นในแต่ละบ้านและทำร้ายร่างกายชาวบ้านคนอื่นๆด้วย” นางมอลี วินกล่าว

ด้านชาวบ้านอีกรายหนึ่งที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อเปิดเผยว่า “ทหารไม่เพียงแต่เข้าบุกค้นในบ้าน พวกเขายังนำตัวชาวบ้านออกมาข้างนอกบ้านและได้ทำร้ายร่างกายชาวบ้านอย่างหนัก มีชาวบ้านราว 22 ครอบครัวที่ถูกทำร้ายในครั้งนี้ พวกทหารเตะและต่อยทุกคน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กๆ” เขากล่าว 

นางมอลีวินกล่าวเพิ่มเติมว่า ต่อมาทหารได้ออกมาขอโทษต่อเหตุดังกล่าว และขอให้ชาวบ้านที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่าได้นำเรื่องที่เกิดขึ้นไปฟ้องร้อง ขณะที่นางมอลี วินต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการถูกทำร้ายเอง มีรายงานว่า ทางกองทัพพม่าพยายามที่จะขัดขวางไม่ให้ชาวบ้านนำเรื่องนี้ไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของกลุ่มทหารที่มาก่อเหตุยังบอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ห้ามดำเนินการใดๆให้กับชาวบ้านที่มาแจ้งความและร้องเรียน และจนถึงตอนนี้ คดียังไม่คืบหน้า

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนี้คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ทหารพม่าสังหารวัยรุ่นชายสองคนในเขตพะโคที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติ ขณะที่สื่อรัฐบาลพม่าเองพยายามลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อกองทัพพม่าโดยการบอกว่า การเสียชีวิตของสองวัยรุ่นในพะโคนั้น เป็นผลมาจากการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นและนายทหารพม่าที่ต่างอยู่ในอาการเมาด้วยกันทั้งคู่ และเป็นเหตุขัดแย้งส่วนตัวที่พบเห็นได้ทั่วไป 

(DVB 21 ก.ย.53)  

นักเรียนชั้นประถมออกโรงเรียนกลางคันเพิ่มขึ้นในรัฐอาระกัน

ตัวเลขนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ออกโรงเรียนกลางคันในรัฐอาระกัน เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะในเขตชานเมืองชิตต่วย เมืองหลวงของรัฐ สาเหตุมาจากผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในพื้นที่

ตามรายงานของท้องถิ่น ในเขต ซัด โรกยา เขตมินดรา ชิตและในเขตอ่อง ชัทตา ซึ่งตั้งอยู่นอกรอบของเมืองชิตต่วย ขณะนี้พบมีนักเรียนออกโรงเรียนกลางคันจำนวนกว่า 300 คนแล้ว ด้านดอว์ โซเมี๊ยะ ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนคนหนึ่งในเขต ซัด โรกยา เปิดเผยว่า เธออยากส่งลูกๆของเธอไปเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาล แต่แบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว  “ทุกวันนี้ แค่หาเลี้ยงชีพก็ลำบากแล้ว ดังนั้นฉันจึงไม่มีเวลามาคิดเรื่องการศึกษาของลูก” ดอว์ โซเมี๊ยะกล่าว

ดอว์ โซเมี๊ยะ เปิดเผยอีกว่า ถึงแม้รัฐบาลพม่าประกาศว่า จะไม่เก็บเงินเพิ่มจากนักเรียนผ่านทางครู แต่กลับพบว่า นักเรียนยังต้องจ่ายค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนพิเศษรวมถึงค่ากิจกรรมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ไหว ด้านชายคนหนึ่งในพื้นที่เปิดเผยว่า แม้ว่าจะเกิดปัญหานี้ขึ้น แต่ทางรัฐบาลพม่าก็ไม่มีแผนที่จะช่วยให้นักเรียนเหล่านี้กลับเข้ามาเรียนแต่ อย่างใด

ในอีกด้านหนึ่ง มีรายงานว่า นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าโรงเรียนของรัฐบาลได้และมีฐานะยากจน ขณะนี้กลับหันมาเข้าเรียนที่วัด ซึ่งเปิดสอนหนังสือให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะวัดซาบู ราตานา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่และได้รับเงินบริจาคจากชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม วัดดังกล่าวกำลังขาดแคลนครูและห้องเรียน ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองชิตต่วยส่วนใหญ่ทำงานในโรงงานปลา และรับจ้างดึงรถลาก โดยมีรายได้อยู่ที่ 20, 000 จั๊ต(ประมาณ 667 บาท)ต่อเดือน ซึ่งเพียงพอสำหรับค่าอาหารเป็นเวลา 1 เดือนต่อคนเท่านั้น มีรายงานเช่นเดียวกันว่า ผู้ปกครองในพื้นที่อื่นๆของรัฐอาระกันเองก็ให้บุตรหลานของตนออกโรงเรียนกลาง คันด้วยเช่นกัน เนื่องจากแบกรับค่าใช้จ่ายที่ทางโรงเรียนเรียกเก็บไม่ไหว ซึ่งตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลพม่าออกมาประกาศว่า ในปีการศึกษานี้มีนักเรียนทั่วประเทศเข้าเรียนมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์(Narinjara 20 ก.ย.53)

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: อีกครั้ง…กับเสียงจากภาคประชาชนชาวพม่าถึงปัญหาทุนข้ามชาติ

Posted: 22 Sep 2010 06:39 AM PDT

นี่มิใช่ครั้งแรกที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคม และการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวพม่าอันเกิดจากการเข้าไปลงทุนหาประโยชน์จากทรัพยากรของต่างชาติถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก

 

 

 

ในการประชุม ทุนข้ามชาติในพม่า: ภัยคุกคามความรับรู้และการแก้ปัญหาในกรอบอาเซียน วันที่ 18 กันยายน ที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯ เป็นอีกครั้งที่องค์กรภาคประชาชนทั้งชาวพม่า และไทย ส่งเสียงเรียกร้องให้นักลงทุน ประชาคมอาเซียน และสังคมโลกทบทวนบทบาทของตน ทั้งหวังว่า การจัดเวทีภาคประชาชนอาเซียนที่ฮานอย ประเทศเวียตนาม ซึ่งกำลังจะมาถึงใน 23-26 กันยายนนี้ จะเป็นโอกาสที่จะส่งผ่านประเด็นเหล่านี้ไปสู่ความรับผิดชอบและการผลักดันอย่างจริงจังของประชาคมอาเซียน

เปรมฤดี ดาวเรือง โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) เน้นถึงความจำเป็นที่ประเด็นสิ่งแวดล้อมมิอาจถูกพิจารณาแยกออก จากประเด็นวัฒธรรม สังคม และความมั่นคงทางการเมือง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอาเซียนจนปัจจุบันอาเซียนยังคงมุ่งเน้นประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานไม่ต่างจากเดิม โดยสนใจการจัดหาพลังงานเพิ่ม การดึงดูดการลงทุนด้านพลังงานยังคงเป็นทิศทางของรัฐบาลประเทศอาเซียน ทั้งโครงการเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงและสาละวิน โครงการเหมือง รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแม้กระทั่งโครงการถ่านหินสะอาด โดยใช้ประเด็นการแก้ปัญหาโลกร้อนมาเป็นเหตุผลอ้างสนับสนุน อาเซียนมุ่งหวังการพัฒนาดังกล่าวไปสู่การสร้างโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) จึงเป็นความจำเป็นที่ภาคประชาชนจะขอให้ผู้นำอาเซียนทบทวนวิเคราะห์โครงการขนาดใหญ่เหล่านั้นอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน อีกประเด็นที่อาเซียนสนใจ คือ การปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเและการเกิดพิบัติภัย ซึ่งประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวข้องกับเรื่องการใช้พลังงานของอาเซียนด้วย ทั้งนี้ สิ่งที่อาเซียนต้องคำนึงมิใช่เพียงเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติเท่านั้น แต่สิ่งที่ควรมองควบคู่กันไป คือเรื่องความยุติธรรมในการหาสาเหตุของปัญหาโลกร้อนว่ามาจากภาคส่วน หรือการลงทุนประเภทใด และใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ

ในขณะที่เวทีอภิปราย การลงทุนข้ามชาติในโครงการขนาดใหญ่ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ในพม่า

จ๋ามตอง จากเครือข่ายปฎิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ ให้ภาพของ โครงการเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้ามายกก ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐฉาน ตรงข้าม อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีประเด็นความขัดแย้ง (Conflict zone) ตั้งแต่ปี 2543 กองกำลังทหารพม่าเริ่มเข้าสู่พื้นที่ ทำการสำรวจ และให้ผู้คนอพยพโยกย้าย มีการใช้กำลังกับประชาชน รวมทั้งการยิงอย่างไร้เหตุผล โดย บริษัท สระบุรีถ่านหิน จำกัด ในเครือ บริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด ได้รับสัมปทานจากพม่า ในการขนส่งถ่านหินยังมีการปรับปรุงและใหม่ตัดถนนผ่านเขตป่าสงวนของไทย ทั้งนี้ การขนถ่ายถ่านหินยังเป็นยุทธศาสตร์ของพม่าที่จะลำเลียงทหารเข้ามาด้วยเพื่อจะควบคุมชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้มิใช่โครงการเหมืองอย่างเดียวแต่ยังมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 330 MW ซึ่งโครงการถูกบรรจุไว้ในแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของไทยแล้วด้วย จ๋ามตองทิ้งท้ายด้วยการเรียกร้องให้เพื่อนคนไทย ทั้งนักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อม ช่วยกันส่งเสียงไปสู่สังคมนานาชาติเพื่อกดดันรัฐบาลพม่า เพราะคนในพม่าไม่สามารถพูดอะไรได้

โครงการเหมืองเหล็ก Pinpet ในรัฐฉาน ซึ่งเสนอโดย Khun Chankhe จาก Pa-O Youth Organization เป็นแหล่งที่มีเหล็กมากเป็นอันดับสองของพม่า นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการสำรวจแร่ยูเรเนียมที่นี้ตั้งแต่ปี 2522 ทั้งรัสเซียยังได้ประกาศตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในปี 2550 โรงเหล็กแห่งนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากทั้งเขื่อน ก๊าซ และถ่านหิน ที่นี้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยชาวบ้านไม่ได้รับการชดเชยที่เพียงพอ บางคนถูกทรมาน และถูกจำคุก เกิดความสูญเสียทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ชาวบ้านไม่ได้รับอนุญาตให้หาของป่า ล่าสัตว์ สถูปเจดีย์ถูกทำลายเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงงาน เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มีการผันน้ำจากแหล่งใกล้เคียงมาใช้ และปล่อยน้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อลำน้ำตอนล่าง ทั้งป่า ลุ่มน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลาย Khun Chankhe สรุปสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากการไม่มีกฏหมายทำให้ผู้ลงทุนสามารถตักตวงผลประโยชน์ ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งสื่อยังถูกควบคุมอีกด้วย

Jockai จาก Arakan Oil Watch กล่าวถึง โครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมัน เป็นที่ซึ่งจะสร้างรายได้มากที่สุดให้แก่พม่า ก๊าซจะมาจากแหล่งก๊าซยานาดา และเยตากุน โดยบริษัทที่มาลงทุนจากทั่วโลกประมาณ 11 ประเทศ 22 บริษัทซึ่งรวมทั้ง ปตท. China National Petroleum Corporation (CNPC) โครงการฉ่วยก๊าซจะเริ่มส่งก๊าซไปจีนในปี 2556 และก๊าซจากซอติก้าจะส่งมาไทยในปี 2558 โครงการฉ่วยก๊าซบริษัท CNPC เป็นผู้ดำเนินการ ท่อน้ำมันและท่อก๊าซจะวางไปในทางเดียวกัน โดยท่อวางผ่านรัฐอารากันถึงคุนหมิง ทางฝั่งพม่าเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ขณะที่ทางฝั่งจีนมีพิธีเปิดวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ไม่มีกฎหมายปกป้องสิทธิมนุษยชน สังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทผู้ลงทุนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ไม่มีการตรวจสอบการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่มีการให้ข้อมูลแก่สาธารณะ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม วิถีชีวิตของชุมชนได้รับผลกระทบจากโครงการ เกิดการคุกคามสิทธิมนุษยชนโดยคนงานบริษัท และกองกำลังรักษาความปลอดภัย เกิดผลกระทบต่ออาชีพเกษตร ประมง ความหลากหลายทางชีวภาพ การถูกคุกคามเกิดขึ้นตลอดเส้นทางการก่อสร้าง 2,380 กิโลเมตร คือ การบังคับให้ย้ายถิ่น รุกที่ดิน ทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มกองกำลังทหาร บังคับใช้แรงงาน ทรมาน ข่มขืน ฆ่า เหล่านี้เพื่อนำรายได้ไปให้เผด็จการทหารพม่า

ตัวแทนจาก Human Right Foundation of Monland กล่าวถึง โครงการท่อก๊าซยานาดาไทย-พม่า ว่าการดำเนินสร้างความทุกข์ทรมานแก่ชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งนี้ โครงการถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนทางตอนใต้ของพม่า ส่วนแรกอยู่นอกชายฝั่งก๊าซมาจากแหล่งก๊าซยานาดา ท่อส่วนที่สองอยู่บนฝั่งจากชายฝั่งด้านตะวันตกมายัง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และมีการสร้างต่อไปยัง จ.ราชบุรีในภายหลัง บริษัทร่วมทุน ได้แก่ เชฟรอน (Chevron) ปตท.สผ. และรัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซของพม่า พม่าใช้กำลังทหาร 2,000 กองเพื่อโครงการนี้ ทั้งยัง มีการโจมตีโดยกองกำลัง และประชาชนกว่า 20 หมู่บ้านถูกย้ายออก มีการยึดที่ดิน ตั้งแต่ปี 2537 มีการบังคับให้ใช้แรงงานในการสำรวจเส้นทาง การสร้างถนน และการวางท่อ ขณะที่รัฐบาลพม่ามีรายได้ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่แรงงานประมาณ 200 คน ต้องเสียชีวิตขณะก่อสร้างทาง ชาวบ้านถูกบังคับให้ขนของหนักๆ บางคนถูกบังคับให้เป็นโล่มนุษย์เพื่อคุ้มครองทหารในพื้นที่อันตราย ถูกบังคับให้ถืออาวุธกระสุน รวมทั้งมีการลวงละเมิดทางเพศ หลายคนถูกฆ่าด้วยข้อหาก่อการกบฎ ชาวมอญเกือบ 7,000 คน และชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพหลั่งไหลลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย บ้างเข้ามาเป็นแรงงานอพยพ ดังนั้น ข้อเสนอของภาคประชาชนคือ ควรมีการทบทวนและระมัดระวังในการลงทุนร่วมกับรัฐบาลทหารพม่า การลงทุนในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาการคุกคามด้านสิทธิมนุษยชน การย้ายถิ่น ปัญหาการลี้ภัยและแรงงาน สงครามกลางเมืองในพม่าจะไม่สิ้นสุดลง และจะดำเนินต่อไป

Ah Nan จาก เครือข่ายปกป้องแม่น้ำพม่า เสนอ กรณีการลงทุนเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของจีนในรัฐคะฉิ่น ซึ่งมีโครงการเขื่อนในแผนทั้งหมด 7 แห่ง กำลังผลิตรวม 15,760 MW หนึ่งในนั้นคือ เขื่อนมิตโซน ซึ่งตั้งแม่น้ำอิระวดี โดยเป็นโครงการเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดขนาด 6,000 MW ทั้งนี้ ไฟฟ้าทั้งหมดจาก 7 เขื่อนจะถูกส่งไปจีน บริษัทจากจีนเป็นผู้ลงทุนกลุ่มหลัก รัฐบาลและบริษัทดำเนินการโดยไม่ให้ข้อมูลแก่ประชาชน และไม่เปิดเผยการประเมินผลกระทบ ขณะนี้ เขื่อนมิตโซนกำลังถูกเร่งสร้าง มีการประเมินว่า หากเขื่อนมิตโซนแตก เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่นจะจมอยู่ใต้น้ำ การสร้างเขื่อนย่อมกระทบต่อการวิถีชีวิตของประชาชนซึ่งขึ้นอยู่กับทรัพยากร รวมทั้งกระทบต่อโลมาอิระวดีซึ่งพบในเขตนั้น กว่า 15,000 คน ถูกบังคับให้ย้ายออกและรื้อทำลายบ้านเรือน รัฐจัดที่อาศัยไว้ให้ใหม่โดยชาวบ้านถูกห้ามไม่ให้ออกนอกพื้นที่ ไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ ไม่สามารถประกอบกิจกรรมวัฒนธรรม ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นที่อยู่ที่ต่ำ การศึกษา การสาธารณสุข และอาหารไม่เพียงพอ ประชาชนเรียกร้องให้หยุดการสร้าง แต่รัฐไม่เคยตอบสนองการเรียกร้อง เชื่อว่าประชาคมอาเซียน และเพื่อนบ้านในภูมิภาคจะสามารถบทบาทที่จะช่วยสนับสนุนสันติภาพ และวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชนชาวพม่า” Ah Nan กล่าว

มนตรี จันทวงศ์ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) สรุปภาพโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ทั้ง 6 แห่ง และเขื่อนบนแม่น้ำสาขา ดังนี้

เขื่อนฮัตจี (1,360 MW) เดิม กฟผ.เป็นรายเดียวที่เซ็นสัญญากับพม่า หลังจากนั้น บริษัท Sinohydro จากจีน เข้ามาลงทุนร่วมด้วย แต่การก่อสร้างยังดำเนินไม่ได้ จนกระทั่งในเดือน เม.ย. 2553 มีการลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อก่อสร้างพร้อมกันนั้นได้นำบริษัทอื่นเข้ามาร่วมทุนเพิ่ม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ คือ พื้นที่ทำกิน และป่าอย่างน้อย 2,000 ตร.กม. จะถูกน้ำท่วมกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ซึ่งรวมทั้งจะท่วมเข้าชายแดนจีนด้วย ปลาและสัตว์น้ำกว่า 170 ชนิดจะได้รับผลกระทบอย่างมาก บริเวณท้ายเขื่อนที่เมืองเมาะลำไยซึ่งมีความสมบูรณ์ การทำประมงหนาแน่น คาดว่าผู้คนซึ่งเป็นชาวมอญอาจต้องย้ายออกจากที่นั่นมาอยู่ จ.กาญจนบุรี หรือ จ.ระนอง นอกจากนี้ ยังมีการขับไล่คนออกจากบริเวณที่ติดตั้งสายส่ง สายส่งดังกล่าวจะเข้ามาไทยทาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

ปัญหาจากทุนข้ามชาติในพม่า คือ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม มีปัญหาเรื่องมาตรฐานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ รวมทั้งการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ ขณะที่การสร้างเขื่อนที่ทำในประเทศผู้ลงทุนเอง มาตรฐานกฎเกณฑ์การดำเนินการกลับแตกต่างออกไป สำหรับเขื่อนฮัตจี แม้ กฟผ.จะให้มีการดำเนินการศึกษา EIA แต่นั่นเป็นเพียงเพื่อเอาไว้อธิบายต่อกลุ่มเคลื่อนไหวในประเทศไทย โดยรัฐบาลพม่าเองยังไม่เห็น ความจำเป็นต้องทำ ทั้งเห็นเป็นการเสียเวลาด้วยซ้ำ

เขื่อนท่าซาง (7,110 MW) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในพม่า เดิมในปี 2550 บริษัท MDX ร่วมมือกับทางรัฐบาลทหารพม่าศึกษาความเป็นไปได้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังคือ กลุ่มบริษัทจีนเข้าถือหุ้นมากที่สุด คือ ร้อยละ 51 และ MDX ถือหุ้นเหลือเพียงร้อยละ 24 ทั้งนี้ ไฟฟ้าจะส่งให้ประเทศไทย โดยโครงการสายส่งถูกบรรจุไว้ในแผนของโครงการ Greater Mekong Sub-region (GMS) ด้วย อย่างไรก็ตาม กฟผ.ยังไม่ได้รับซื้อไฟ ดังนั้น ปัจจุบันเขื่อนท่าซางยังอยู่ในสถานะของการเตรียมการเท่านั้น

เขื่อนยะวาทิต (800 MW) บริษัทจากจีนได้รับสัมปทาน โครงการยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก

เขื่อนเว่ยจี (เขื่อนสาละวินชายแดนตอนบน: 4,000 MW) และ เขื่อนดากวิน (เขื่อนสาละวินชายแดนตอนล่าง: 500 MW) ปัจจุบันมีการชะลอโครงการไป โดยเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ไทยผลักดันโครงการเขื่อนเว่ยจี และดากวิน แต่พม่าสนับสนุนให้สร้างเขื่อนฮัตจีก่อน

เขื่อนบนแม่น้ำสาขา

เขื่อน แกนดอง (54 MW) ลงทุนโดยจีน เป็นเขื่อนน้ำตก โดยผันน้ำจากน้ำตกไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งหลังจากผันแล้วพบว่า น้ำตกมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปคือมีน้ำตกไหลลงมาเพียงเล็กน้อย

เขื่อนโมเบีย (168 MW) สร้างสมัยสงความโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นสร้างเพื่อชดเชยป็นค่าปฎิกรรมสงคราม ชาวคะเรนนีกว่า 12,000 คน ต้องอพยพโยกย้ายจากพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐบาลพม่ายังวางระเบิด 18,000 ลูกไว้รอบโรงไฟฟ้าเพื่อรักษาความปลอดภัย ประชาชนและทหารเองเหยียบกับระเบิดตาย

กรอบของประชาคมอาเซียน ทั้งกฎบัตรอาเซียนข้อที่ 1 (ว่าด้วยการให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาวัฒนธรรม) และ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ในเรื่องการขจัดความยากจนและความหิวโหย และการสร้างความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะไม่บรรลุเป้าหมายได้เลย หากอาเซียนละเลยประเด็นโครงการลงทุนดังกล่าวข้างต้น มนตรีเสนอให้มีการพัฒนากรอบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดให้บรรษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มข้น

วิเคราะห์การลงทุนข้ามชาติ และบทบาทของภาคประชาสังคม ในการติดตามตรวจสอบการลงทุนข้ามชาติในพม่า ซึ่งมี ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ จาก คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตยในพม่า ดำเนินรายการ เป็นอีกเวทีในการประชุมครั้งนี้ที่ผู้อภิปรายแต่ละท่านวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ จากเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEE Net) วิเคราะห์การลงทุนในพม่าโดยใช้ประเด็น ภูมิศาสตร์การเมืองประเทศจีนถือว่าได้เปรียบในลักษณะทางภูมิศาสตร์ จึงเป็นผู้ที่จะได้ผลประโยชน์มากที่สุด นอกจากนั้น ยังมีอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ด้วยเพราะพม่าเป็นประเทศสมาชิก สิ่งที่อาเซียนผลักดันและมีอิทธิพลมากต่อพม่าคือ ประเด็นพลังงาน ซึ่งวิสัยทัศน์อาเซียนคือต้องการสร้างโครงข่ายพลังงานระดับภูมิภาค ในขณะที่โครงการ GMS ของ ADB ก็มีแนวทางสอดรับกันกับอาเซียน โครงสร้างพื้นฐานเช่นก๊าซทำให้จีนและไทยเองยังคงรักษาความสัมพันธ์กับพม่า ในขณะที่รัฐบาลทหารพม่าก็ได้รับประโยชน์ ในส่วนของจีนได้ลงทุนสร้างท่อก๊าซจากพม่า ซึ่งมิใช่ได้ประโยชน์จากก๊าซฝั่งอันดามันเท่านั้น แต่จีนยังใช้เส้นทางท่อก๊าซเป็นทางลัดเอื้อประโยชน์ในการติดต่อขนถ่ายจากประเทศอื่นโดยไม่ต้องอ้อมผ่านมาเลเซีย ไทยเองเมื่อเริ่มสร้างท่อก๊าซจากแหล่งยานาดาใช้เหตุผลของความจำเป็นในการจัดหาความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ปัจจุบันมื่อรัฐต้องการลงทุนเพิ่มในโครงการอื่นกลับอ้างว่าการพึ่งพาก๊าซจากพม่านั้นอาจสร้างความไม่มั่นคงหากวันใดก๊าซเกิดถูกตัด แสดงให้เห็นว่า เมื่อรัฐจะลงทุนใหม่ไม่เคยพิจรณาเรื่องความมั่นคง โดยเฉพาะความมั่นคงทางการเมือง แต่จะนำเหตุผลทางการเมืองมาใช้อ้างเมื่อต้องการได้ผลประโยชน์ อันที่จริงแล้วมีหลายฝ่ายต้องการเข้าไปหาประโยชน์ในพม่าโดยอ้างว่าไม่มีความสัมพันธ์ด้วยแต่เบื้องหลังมีหลายบริษัทจากหลายประเทศเข้าไปติดต่อลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการความโปร่งใส วิฑูรย์กล่าวว่า หากโครงการขยายตัวมากขึ้นก็ยิ่งเพิ่มท่อน้ำเลี้ยงให้กับรัฐบาลทหารพม่า ตราบใดที่ระบบไม่เปิดให้มีการตรวจสอบ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวข้องที่ชัดเจน ไทยไม่ควรเข้าไปแสวงหากำไร โดยที่ประชาชนในพม่าไม่ได้มีส่วนร่วมในสิ่งเหล่านี้เลยนอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือ ภาคประชาชนจะต้องเข้มแข็ง องค์กรภาคประชาสังคมจากข้างนอกพม่าต้องสนับสนุนสาธารณชนในพม่า ขณะเดียวกัน องค์กรภาคประชาสังคมพม่าเองที่ต้องกลับไปทำงานกับสาธารณชนในประเทศตนเองให้เข้มแช็งขึ้นมา

พรพิมล ตรีโชติ จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเสียงของประชาชนพม่าที่ถูกละเลย โดยหลายสิบปีที่ผ่านมายังคงเป็นประเด็นเดิมที่ถูกยกมาคุยกัน ดังนั้น คำถามคือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้เสียงที่ยังได้ยินน้อยเช่นนี้ได้รับการตอบสนอง ให้เสียงถูกผลักเข้าไปในเวทีประชาคมอาเซียน และเวทีจีน-อาเซียน จีนเป็นตัวละครที่สำคัญในโครงการขนาดใหญ่ เช่นกรณีเขื่อนบนแม่น้ำอิระวดีเป็นที่รับรู้กันน้อยมาก ทั้งจีนยังมีแผนตัดถนนและสร้างทางรถไฟเข้าไปในพม่า และะมีนโยบายที่จะใช้แม่น้ำอิระวดีในการเคลื่อนย้ายสินค้ามาขึ้นที่ท่าเรือติวาลาซึ่งจีนจะเข้าไปลงทุนสร้าง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นแรงงาน เพราะในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่จีนมักจะนำแรงงานของตนเข้าไปในประเทศที่ลงทุน จึงเป็นสิ่งที่ต้องติดตามดูว่าหลังการเลือกตั้งของพม่า เมื่อโครงการขนาดใหญ่เข้าไปในพม่ามากขึ้น แรงงานพม่าจะเป็นอย่างไร

รสนา โตสิตระกูล คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กล่าวถึงการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถือเอาเพียงตัวเลขการเติบโตของ GDP เป็นตัวชี้วัดสำคัญ ทั้งที่ความพยายามเพิ่ม GDP นั้นต้องถลุงเอาทรัพยากร และยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจน การใช้ทรัพยากรทำให้ต้องไปเอาเปรียบชาวบ้าน เอาเปรียบสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาพลังงานของประเทศไทยซึ่งใช้ GDP เป็นปัจจัยพิจารณาตัวหนึ่ง แผนยังถูกกำหนดตามนักการเมืองผ่านการกำหนดตัวเลข GDP ฉะนั้น เราต้องท้าทายแนวคิดเรื่อง GDP นอกจากนี้ ขณะที่กระแสของโลกเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วจ่ายคืนทรัพยากรที่ใช้ไปมาก แต่ขณะเดียวกันประเทศเช่น จีน อินเดีย กลับดันตัวองขึ้นมาเพื่อถลุงทรัพยากรโลกแทน

การที่เรียกร้องให้อาเซียนเพิ่มเสาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะขณะนี้กำลังเข้าสู่ยุคล่มสลายทางด้านสิ่งแวดล้อม เราจะทำอย่างไรที่จะผลักดันให้การพัฒนาเศรษฐกิจนั้นต้องนึกถึงโลกและสิ่งแวดล้อมมาก่อน ไม่ใช่รับใช้มนุษย์เพียงอย่างเดียว โลกมีต้นทุนที่ต้องใช้อย่างรอบคอบไม่ใช่เพื่อกำไรเท่านั้น ประชาคมอาเซียนโดยรัฐเป็นพันธมิตรกันไม่ใช่ความหวัง แต่ต้องเป็นประชาคมอาเซียนโดยภาคประชาชน ที่ต้องเรียกร้องกับรัฐบาลอาเซียนให้พัฒนาเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ลดการทำลาย รสนากล่าว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น