โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

iLaw: 3G ความคืบหน้าที่ยังเป็นไปไม่ได้

Posted: 29 Sep 2010 11:32 AM PDT

รายงานจาก "iLaw" กรณีศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเรียกกันทั่วไปว่า 3G ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)เปิดประมูล

ที่มาภาพ : Gonzalo Baeza Hernández

ในที่นี้จะมาทำความรู้จักว่าเทคโนโลยี 3G เป็นอย่างไร และเหตุใดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับการประมูลชั่วคราว
 
หลายท่านอาจสงสัยว่า 3G คืออะไร คำว่า “G” หมายถึง “Generation” 3G จึงหมายถึง เทคโนโลยีการสื่อสารยุคที่ 3 ต่อจากยุคที่ 2 คือ 2G ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
ระบบเทคโนโลยีแบ่งได้เป็นตามยุค คือ         
       
1G - ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โทร.ออก - รับสายเท่านั้น ระบบ SMS ยังไม่มี
 
2G - ระบบ Digital เป็นการพัฒนาขึ้นมาสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดระบบ GSM ทำให้มีโทรศัพท์เครื่องเดียวใช้ได้ทั่วโลกหรือที่เรียกว่า Roaming ซึ่งยุคนี้เป็นยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ เริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
 
2.5G - เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G มีเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service)
 
2.75G – ก่อนถึงยุค 3G มีเทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ต่อยอดมาจาก GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
 
3G จึงเป็นเทคโนโลยีในยุคที่ 3 ที่พัฒนาต่อเนื่องจากปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยี 2G
 
การพัฒนาของ 3G จะช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น ทำให้การใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
 
เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
 
ความทันสมัยและอำนวยความสะดวกต่างๆ เหล่านี้ย่อมหนีไม่พ้นผลประโยชน์ที่มากมายมหาศาลจากการให้บริการที่จะเข้ามา จับจองประมูลเพื่อได้รับอนุญาตดำเนินกิจการ 3G
 
จากกรณีที่บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ฟ้องศาลปกครอง ให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ชั่วคราวนั้น
 
แต่เดิมการจัดสรรกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานซึ่งมีองค์กรที่ผูกขาดในประเทศไทยเพียง 2 องค์กรเท่านั้นนั่นคือ บริษัท ทศท. คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TOT (ซึ่งให้สัมปทานการใช้คลื่นความถี่แก่ AIS) และ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ซึ่งให้สัมปทานการใช้คลื่นความถี่แก่ DTAC และ TRUE)
 
ในรัฐธรรมนูญ พ. ศ.2540 ต้องการให้มีองค์กรอิสระเพื่อทำการจัดสรรคลื่นความถี่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 จึงเกิดขึ้นทำให้มี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)
 
แต่รัฐธรรมนูญ พ. ศ.2550 ให้เหลือองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นการควบรวมระหว่าง กทช. และ กสช.
 
ทั้งนี้เมื่อเกิด องค์กรอิสระอย่าง กทช. ทำหน้าที่นี่แทน CAT กับ TOT จะทำให้ CAT กับ TOT ที่แต่เดิมเป็นผู้ให้สัมปทานแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลายเป็นต้องแข่งกับผู้ให้บริการรายอื่น อันทำให้องค์กรดังกล่าวซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขาดรายได้ และเป็นผลเสียแก่รัฐ
 
บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จึงฟ้องคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต่อศาลปกครองให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ โดยอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้เปิดประมูล เนื่องจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2540 และหลังจากการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐธรรมนูญ 2540 ได้ถูกยกเลิกไป ทำให้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ สิ้นผลไปด้วย
 
และตามมาตรา 305 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็กำหนดไว้ว่า ไม่ให้นำมาตรา 47 วรรคสอง มาบังคับใช้ ยังไม่ให้มีองค์กรอิสระมาจัดสรรคลื่นความถี่ จนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่แถลงนโยบาย ซึ่งปัจจุบันล่วงเลยกว่า 180 วันแล้วยังไม่มีกฎหมายออกมาจัดตั้งดังกล่าวเลย
 
ทั้งนี้แม้ว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ยังบังคับใช้ได้ กทช.ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายเพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
 
เมื่อพิจารณาว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ. ศ.2543 เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคือพระราชบัญญัติที่ออกมาขยายความของรัฐ ธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เนื้อความมาตราในกฎหมายรัฐธรรมนูญมีมากเกินไป โดยปกติจะใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย...” เสมอ ไม่ใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติ...” เฉยๆ
 
โดยหลักแล้วเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใดถูก ยกเลิก พระราชบัญญัติที่ออกมาประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นย่อมสิ้นผลไปด้วย เว้นแต่ว่าจะมีประกาศของคณะปฏิรูปให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลต่อ ไป เช่น ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง การป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น มาบังคับใช้
 
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ. ศ.2543 จึงไม่ใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และยังมีผลบังคับใช้อยู่ดังเช่นพระราชบัญญัติทั่วไป ไม่ได้สิ้นผลไปตามรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกด้วย
 
ส่วนในประเด็นที่ว่าบทบัญญัติของ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 47 หรือไม่นั้น ยังเป็นข้อกฎหมายที่ต้องถกเถียงและรอการตีความกันต่อไป
 
ระหว่างที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้ ศาลปกครอง จึงสั่งระงับการประมูลไว้ชั่วคราวก่อน เพราะศาลปกครองเห็นว่าหากวินิจฉัยภายหลังว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 และ กทช. ไม่มีอำนาจจัดการประมูล แต่ในทางธุรกิจผู้ชนะการประมูลลงทุนไปมากและเปิดให้บริการกับประชาชนแล้ว ความเสียหายที่ตามมาอาจจะมากกว่าความเสียหายจากการที่ประชาชนต้องฝันค้างใน วันนี้ก็เป็นได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิธิ เอียวศรีวงศ์: รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม

Posted: 29 Sep 2010 11:24 AM PDT

ารชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้

จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด

คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน

ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร

ท่าทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ก็ต้องสร้าง สมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง

เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน  ดังที่กล่าวมา เป็นต้น

การตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือนพฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย"ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง

แต่ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า

อันที่จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำ ไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวางก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่ กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว

พรรคทายาทของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย(คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสพ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน

ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย

และเพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้า มาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก

ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้

ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ ในตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินแต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก

สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้

นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไปยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ

ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปีกว่าในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วยและเริ่มวิตกว่าการนำเอา สถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่นนี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า

นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุนเพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้

ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความ อ่อนแอของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)

ท่ามกลางสภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน

ควรกล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า,ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ,คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก

และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร

เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก,ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง"ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ

รัฐประหารอาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้ารัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ

รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย

ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศิลปินไทใหญ่ผลิตอนิเมชันรำลึก 3 ปีปฏิวัติชายจีวร

Posted: 29 Sep 2010 11:03 AM PDT

"หาญเลย์" นักวาดการ์ตูนล้อการเมืองไทใหญ่และเพื่อนผลิตอนิเมชั่นความยาว 3 นาที เพื่อรำลึก 3 ปีเหตุการณ์ทหารพม่าปราบปรามการชุมนุมพระสงฆ์พม่า

 
คลิปอนิเมชั่น โดย "หาญเลย์" หรือจายสายแหลด และ "จายจ่อข่าย" รำลึก 3 ปี การปราบปรามพระสงฆ์ในพม่า
 
คนเครือไท ซึ่งเป็นเว็บไซต์ภาคภาษาไทยของสำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์ทหารพม่าปราบปรามพระสงฆ์เดินขบวนประท้วงในนครย่างกุ้ง เมื่อปี 2550 ในโอกาสนี้ กลุ่มศิลปินไทใหญ่ มีจายสายแหลด หรือ หาญเลย์ นักวาดการ์ตูนให้กับหลายสำนักข่าวต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า และ จายจ่อข่าย ผู้ชื่นชอบการจัดทำการ์ตูนเคลื่อนไหว (Animation) ได้ร่วมกันจัดทำการ์ตูนล้อเลียนผู้นำรัฐบาลทหารพม่าเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
 
คลิปการ์ตูนเคลื่อนไหวดังกล่าวมีความยาว 3 นาที ในชื่อ "ฉันคือชาวพุทธ - แอนนิเมชั่นครบรอบการปฏิวัติชายจีวร" (I am Buddhist - Suffron Revolution Anniversary Animation) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูบ
 
คลิปการ์ตูนเป็นเรื่องของตัวการ์ตูนลักษณะคล้ายพลเอกอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่า และภริยา กำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่นั้น เกิดมีเสียงรบกวนจากกลุ่มพระสงฆ์ที่กำลังประท้วง ทำให้เขาไม่พอใจควักปืนวิ่งออกไปยิงกลุ่มพระสงฆ์ จากนั้นกลับเข้ามาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มพร้อมกับจีวรเปื้อนเลือด ขณะที่มีภริยาคอยชื่มชมอยู่ แต่ขณะที่ทั้งสองนั่งปฏิบัติธรรมต่อนั้น องค์พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าได้หายไป
 
จายสายแหลด กล่าวว่า การ์ตูนเคลื่อนไหวนี้ ตั้งใจทำขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์รัฐบาลทหารพม่าปราบพระสงฆ์ครบ 3 ปี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความประพฤติของผู้นำพม่าในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่ผ่านมาเคยวาดแต่การ์ตูนนิ่งล้อเลียนการเมืองพม่า ไม่เคยทำการ์ตูนเคลื่อนไหวมาก่อน
 
"นี่ถือเป็นการ์ตูนเคลื่อนไหวครั้งแรกของไทใหญ่ หรือ อาจรวมถึงพม่าด้วยก็ว่าได้ หลังได้ศึกษาวิธีทำการ์ตูนอนิเมชันรู้สึกชื่นชอบมาก การ์ตูนเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความสนุกสนานให้กับทุกคน รวมถึงเด็กๆ หากผู้นำรัฐบาลทหารพม่ายังไม่คิดเลิกหรือเปลี่ยนนิสัย พวกเขาอาจเจอดีมากกว่านี้" สายแหลด วัย 44 ปี กล่าว
 
สำนักข่าวฉานระบุเพิ่มเติมว่า จายสายแหลด เป็นชาวไทใหญ่ เกิดในรัฐฉานภาคใต้ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวิทยาลัยช่างศิลปย่างกุ้ง เคยร่วมขบวนการกู้ชาติของไทใหญ่ หลังจากกองทัพเมืองไตย MTA ที่นำโดยขุนส่า สวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลทหารพม่า เขาได้หันมาร่วมงานกับสำนักข่าวไทใหญ่ SHAN โดยทำหน้าที่วาดการ์ตูน และ ภาพต่างๆ ซึ่งผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ถึงกับหลายคนพูดเป็นเสียงเดียกันว่า แม้ไม่ได้ติดตามข่าวสารในพม่าต่อเนื่อง แต่หากเห็นการ์ตูนจายสายแหลดก็รับรู้ได้ทันทีว่าเหตุเป็นเช่นไร
 
เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา จายสายแหลด ได้รับรางวัล Hellman/Hammett grant จากผลงานที่เขาวาดการ์ตูนล้อเลียนการเมือง รวมถึงภาพที่แสดงถึงการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ปัจจุบัน จายสายแหลด เป็นนักวาดการ์ตูนให้กับสำนักข่าวต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าหลายแห่ง อาทิ Irrawaddy, Mizzima S.H.A.N. และ DVB เป็นต้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มีชัยระบุหมิ่นสถาบันฯในห้องน้ำปั๊มน้ำมัน เจ้าของปั๊มอาจมีความผิด

Posted: 29 Sep 2010 10:42 AM PDT

มีชัยระบุหมิ่นสถาบันฯในห้องน้ำ เจ้าของสถานที่มีผิดแนะผู้พบเห็นแจ้งเจ้าของสถานที่ให้ลบทิ้งหรือแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ผู้ใช้ชื่อว่า“ไกรวัลย์ เกษมศิลป์”ได้ตั้งกระทู้ถามนายมีชัย  ฤชุพันธุ์ ในคอลัมน์ถามตอบกับมีชัย เว็บไซต์มีชัยไทยแลนด์ ถึงกรณีการหมิ่นสถาบันกษัตริย์เมื่อ วันที่29 กันยายน 2553 ว่า "ผมได้เข้าไปใช้ห้องน้ำในปั๊มน้ำมััน พบเห็นการเขียนข้อความให้ร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ อยากจะถามว่าเจ้าของสถานที่จะมีความผิดไหมครับที่ปล่อยให้มีข้อความอย่างนี้ ถ้าหากจะเอาผิดกับเจ้าของสถานที่หรือให้เจ้าของสถานที่เขาลบข้อความเหล่านี้ เสีย จะทำอย่างไรครับ ถ้าหากว่าเจ้าของสถานที่ไม่ทำอะไรเลยแล้วก็ปล่อยให้มีข้อความอย่างนี้อยู่ ต่อไป จะไปแจ้งความเอาผิดกับเจ้าของสถานที่ได้ไหมครับ"

 

ซึ่งนายมีชัย  ฤชุพันธุ์ มือกฏหมายประจำรัฐบาลหลายชุด อดีตประธานวุฒิสภา และประธานกรรรมการกฤษฎีกา   ได้ตอบกระทู้ดังกล่าวเป็นข้อความดังต่อไปนี้"ถ้าเจ้าของเขารู้เห็นข้อความนั้นแล้วยังไม่ลบทิ้งเจ้าของสถานที่ก็อาจมีความ ผิดเสียเองได้  ถ้าใครพบเห็นก็ควรช่วยกันแจ้งให้เจ้าของเขาลบทิ้ง หรือแจ้งกับตำรวจให้ไปดู"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สารถึงอภิเชต ผัดวงศ์: สิ่งที่คุณเขียนนั้นมีค่าไม่เกินขยะในรูปอักษร (ตอนที่ 1)

Posted: 29 Sep 2010 09:56 AM PDT

"The important thing is not to stop questioning. Curiosity has its own reason for existing. One cannot help but be in awe when he contemplates the mysteries of eternity, of life, of the marvelous structure of reality. It is enough if one tries merely to comprehend a little of this mystery every day. Never lose a holy curiosity." (My Emphasis)

                                                                                                   -  Albert Einstein
 

เมื่อวานนี้ (23 กันยายน 2553) ผมได้พบบทความของคุณอภิเชต ผัดวงศ์ ที่เขียนถึงคำ ผกา เกี่ยวกับกรณีที่เธอวิพากษ์ศาสนา ผมชั่งใจอยู่นานว่าจะเขียนถึงกรณีนี้ไหม สุดท้ายเลยคิดว่าเขียนถึงสักหน่อยแล้วกัน เพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องย่ำต๊อกอยู่ในภาวะเดียวกับยุโรปในยุคกลางมากไปกว่านี้ แต่เขียนไปเขียนมากลับบานปลาย เพราะมีเรื่องต้องให้วิพากษ์ และด่าแทบทุกย่อหน้ากันเลยทีเดียว เนื่องจากเรื่องจะต้องว่ากันมีค่อนข้างเยอะ ผมเลยจัดให้ข้อความของคุณอภิเชตเป็นตัวเอน ในขณะที่ส่วนของผมเป็นตัวปกติ (อ้างอิงมาจาก http://prachatai3.info/journal/2010/09/31210 )

ท่านผู้อ่านคงพอทราบมาบ้าง เรื่องต้องห้ามในบทสนทนาคือเรื่องศาสนาและเรื่องการเมือง เพราะหากยกขึ้นมาเมื่อไหร่มักนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดได้ทุกที ในอีกด้านหนึ่งความขัดแย้งหากไม่ร่วมกันถกเถียงหาข้อสรุปที่แต่ละฝ่ายพอจะยอมรับกันได้ ให้ความรู้สึกนั้นทุเลาเบาบางลง ความขัดแย้งนั้นย่อมไม่สามารถนำประเทศไปสู่ความเจริญ และกลุ่มก้อนทางการเมืองที่เป็นปรปักษ์ต่อกันก็จะไม่มีที่ให้ยืน (เน้นคำโดยผมเอง)

ผมไม่แน่ใจนักว่าในชีวิตของคุณอภิเชตนั้นเคยทราบ หรือรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” หรือไม่ (ซึ่งไม่แปลกที่จะไม่รู้จัก เพราะประเทศนี้ไม่เคยมีสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยให้ได้ทดลองสัมผัสแต่แรก) แต่ผมอยากจะอธิบายมให้ทราบว่าหลักการขั้นพื้นฐานที่สุดของประชาธิปไตยนั้นก็คือการสร้างพื้นที่ทางความคิด ที่อนุญาตให้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยที่ต่างฝ่ายต่างยังคงมีที่ยืนอย่างสมบูรณ์ในสังคม

และก็ไม่แปลกอีกเช่นกันที่คุณอภิเชตจะคิดว่า “กลุ่มก้อนทางการเมืองที่เป็นปรปักษ์กันจะไม่มีที่ให้ยืน” นั่นเป็นเพราะประเทศที่เราอยู่นี้มีลักษณะเช่นนี้มาโดยตลอด อันเป็นลักษณะเฉพาะของระบบคิดแบบเผด็จการ ที่ต้องการให้ความคิดเห็นทุกอย่างในสังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่บิดพริ้วต่อมายาคติที่อำนาจนำในสังคมกำหนดขึ้น สภาพดังกล่าวนี้เองทวีปยุโรปก็เคยประสพพบเจอ ในช่วงยุคกลางที่ศาสนจักรเรืองอำนาจ และเกิดการปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่าง บิดเบือนไป จากมายาคติที่ศาสนจักรสร้างขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ซึ่งเป็นผู้นำโลกไปสู่ความเจริญ อย่างโคเปอร์นิคัส, กาลิเลโอ, โคลัมบัส, ฯลฯ

คงไม่ต้องอธิบายให้มากความถึงความเป็นเท็จทางคำพูดที่ว่า “ความขัดแย้งย่อมไม่สามารถนำประเทศไปสู่ความเจริญ” แต่ก็เช่นเคย ไม่แปลกที่คุณอภิเชตจะเข้าใจเช่นนั้น ในเมื่อประเทศเทวดาธิปไตยแห่งนี้พยายามผลิตซ้ำมายาคติแบบนี้มาโดยตลอด แม้แต่แผนปรองดองในขณะนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่ผมขอกล่าวอย่างชัดเจนเลยว่า หากไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความคิดที่แตกต่าง ย่อมไม่มีทางเกิดการพัฒนา อันนำไปสู่ความเจริญได้ ทั้งทางวิทยาศาสตร์, ปรัชญา, การเมือง, ศิลปะ, นวัตกรรม, ฯลฯ ทุกศาสตร์ ทุกสาขาวิชานั้นที่มันสามารถก้าวหน้าไปได้ล้วนเกิดจากการเริ่มคิดต่าง การท้าทายของเก่า การถามท้า (Questioning) ความเชื่อ และศรัทธาดั้งเดิม ประชาธิปไตย ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากไม่เกิดความสงสัยใคร่รู้ กล้าที่จะตั้งคำถาม และคิดต่างต่อระบอบการปกครองก่อนหน้า สำนักคิดทางปรัชญาใหม่ๆ ก็คงไม่เกิดขึ้นหากไม่ได้เกิดจากการพยายามคิดออกนอกกรอบเดิม แม้แต่ศาสนาพุทธเอง ก็เพราะเกิดจากการพยายามตั้งคำถามต่อคำสอนเดิมที่เป็นมายาคติอันยิ่งใหญ่ที่ครอบคลุมชมพูทวีป อย่างศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อยู่มิใช่หรือไร? ศาสนาพุทธเองก็เคยเป็นเพียงเสียงเล็กๆ เป็นแนวคิดกระแสรอง เป็นความปริปักษ์มิใช่หรือ จนกระทั่งขยายตัวออกมา กลายเป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญในปัจจุบัน

หากไม่ใช่เพราะความคิดอันแตกต่าง ปรปักษ์กับของเดิม ทุกวันนี้เราคงยังเชื่ออยู่ว่าโลกแบน, โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล, หนูเกิดจากกองผ้าขี้ริ้ว ทุกวันนี้เราคงยังได้ใช้คบไฟ หรือตะเกียงกันอยู่ ไม่ใช่หลอดไฟ เราคงยังต้องเดิน หรือใช้รถม้า แทนรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน หากยังมัวดักดานอยู่ในกรอบ “คิดอย่างเดิม ไม่แตกแยกทางความคิด ปลอดปฏิปักษ์” อย่างคุณว่ามา คนที่กลัวการมีศัตรูทางความคิดที่สุด ก็คือคนที่เป็นเผด็จการทางความคิดอย่างที่สุดนั่นแหละครับ

โดยส่วนตัว ผมมองว่าการดักดาน ย่ำต๊อกอยู่กับที่ การดูถูกการใช้ปัญญาญาณเพื่อความคิดใหม่ต่างหากล่ะที่ไม่น่าให้อภัย

000

หากย้อนดูเชิงลึกจะเห็นว่าการต่อสู้บนความขัดแย้งของความเชื่อทางศาสนามักมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง อยู่ที่ว่าบทบาทของความเชื่อที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั้น มีความเข้มข้นมากน้อยเพียงใด ในความสัมพันธ์ของบริบทต่อเหตุการณ์นั้น เช่นความขัดแย้งของผู้นับถือศาสนาอิสลามต่างนิกายในอิรัก-อิหร่านและอัฟกานิสถาน

ผมไม่ได้จะเถียงว่าอิหร่าน และอัฟกานิสถานนั้นไม่ได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นเพราะไร้ซึ่งอิทธิพลทางศาสนา แต่การกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่ทำความเข้าใจต่อบริบททั้งสิ้นทั้งมวลนั้นย่อมง่อยเปลี้ย (Lame) เพราะหากกล่าวเช่นนั้น ทุกวันนี้เราคงจะพบการรบพุ่งจะฆ่ากันตายในยุโรป ที่มีความแตกต่างทางนิกายศาสนา และผสมปนเปกันอาจจะมากมายกว่าแถบตะวันออกกลางเสียด้วยซ้ำ แต่นี่แหละครับคือประเด็นว่าทำไมยุโรปจึงไม่เป็นเช่นตะวันออกกลาง (หรือหากพูดให้ถูกขึ้นก็คือ ลักษณะของตะวันออกกลางในปัจจุบัน ใกล้เคียงกับยุโรปสมัยยุคกลางโน่น) จริงอยู่ว่ามีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่โดยมากก็ในระดับความคิด หรือสังคม ไม่ใช่สงครามฆ่าฟันระหว่างรัฐที่รุนแรง นั่นเป็นเพราะมันเกิด การแยกตัวรัฐ ออกจากศาสนา ครับ ซึ่งโดยมากจะเริ่มนับจาก วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1648 จากการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อจะบอกคุณว่าการกล่าวอ้างโดยเสมือนเอาเหตุการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มาเทียบกับตัวสังคมไทยนั้นเป็นการตอกย้ำรูปแบบความคิดของคุณที่ฝังแน่นอยู่กับ “โลกตะวันตกยุคกลาง” ที่ยังไม่เกิดระบบคิดในการแยกเรื่องรัฐ ออกจากศาสนาครับ นี่คือรูปแบบของพวกที่ยังอยู่ใต้มายาคติของสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ศาสนาจักรครอบงำรัฐ, เผด็จการความคิดนิยม ซึ่งหากคุณอยากจะเป็น ก็เรื่องของคุณครับ แต่อย่าได้มาห้ามคนอื่นวิพากษ์ด้วยการยัดตัวตนดึกดำบรรพ์ของคุณใส่คนอื่นเลย หากคุณคิดจะให้ประเทศไทยนี้ “ก้าวหน้า” ได้อย่างที่เกริ่นไว้แต่ต้นบทความของคุณจริงๆ แล้ว อย่ามาเที่ยวบ้าหลอกคนด้วยมายาคติแบบเมี่อ 600 – 700 ปีก่อนครับ แค่นี้ประเทศนี้ยังย่ำต๊อกอยู่ในยุคโลกแบนไม่พอ?

000

ดูอย่างกำแพงเบอร์ลินเคยเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งที่อ้างว่าเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาจนเกิดโศกนาฏกรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวร่วมหกล้านคน ผู้คนจำนวนอีกไม่น้อยที่ต้องจบชีวิตลงที่บริเวณกำแพงนี้ ที่ถูกขนานนามว่า Death Strip หรือเส้นทางแห่งความตาย

ส่วนนี้ผมเข้าใจว่าอาจารย์สมศักดิ์ได้ด่าไปแล้วในส่วนคอมเม้นต์ ผมคงไม่ด่าซ้ำมากให้ได้อายสองรอบ ถือเป็นการให้ข้อมูลคนที่ยังไม่ได้อ่านคอมเม้นต์อาจารย์สมศักดิ์แล้วกันว่า “กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นหลังโฮโลคอส (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี) ครับ มันเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งด้านการปกครองระหว่างฝ่ายโลกเสรี (คำเรียกตัวเอง) ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายสังคมนิยม นำโดยสหภาพโซเวียต แบ่งเบอร์ลินเป็นตะวันตก และตะวันออก ตะวันตกปกครองโดยโลกเสรี และตะวันออกโดยฝ่ายสังคมนิยม”

ไม่ได้เกี่ยว(ห่า)อะไรกับศาสนาเลยครับ

000

กรณี “The Troubles” เมื่อปี 1968 ในไอส์แลนด์เหนือมีประชากรโปรเตสแตนต์ประมาณร้อยละ 60 อีก 40 เป็นคาทอลิก กลายเป็นพื้นที่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม Unionist เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม รวมทั้งให้ยุติการกดขี่กีดกันชาวคาทอลิก เกิดการประทะกันสูญเสียชีวิตกว่า 3,600 คน ซึ่งต่อมาทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี

แม้ผมเองจะไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องความรุนแรงในไอร์แลนด์มากมายนัก แต่ที่จะพูดนี้โดยมากเป็นข้อถกเถียงเชิงตรรกะมากกว่าข้อเท็จจริง ฉะนั้นจึงไม่เป็นปัญหา

เหตุการณ์ The Troubles ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960s และจบลงในปี 1998 นั้น รากฐานสำคัญนั้นมาจากการพยายามเรียกร้อง “สถานะทางรัฐธรรมนูญ” เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์ขึ้น ระหว่างสองกลุ่มดังที่คุณอภิเชตได้กล่าวไป ซึ่งก็น่าสงสัยว่าหัวคุณอภิเชตโดนกระแทกอะไรเข้าหรือเปล่า จึงได้ยกประเด็นนี้มาพูด เพราะมันแสนจะไม่สนับสนุนงานเขียนคุณ นอกเสียจากว่าคุณจะมองว่าการเรียกร้องความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องที่ผิด ก็จะพอเข้าใจได้

หากเราเชื่อว่าการเรียกร้องความเป็นธรรม การถามหาความเท่าเทียมกันด้วยสถานภาพทางรัฐธรรมนูญว่าเป็น “ความก้าวหน้าของประเทศ และสังคม” อย่างหนึ่งแล้ว เหตุการณ์ The Troubles นี้ ไม่มีทางเลี่ยงได้เลยที่จะบอกว่ามันคือการปะทุขึ้นของความแตกต่าง อันนำไปสู่ความก้าวหน้า

ผมไม่ปฏิเสธว่ามันมีความรุนแรง ผมไม่ปฏิเสธถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของผู้ซึ่งเดิมพันชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเรียกร้อง แต่ในทำนองเดียวกัน เราไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกันว่า นี่คือความก้าวหน้า การปฏิวัติฝรั่งเศส, การเรียกร้องอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา, ฯลฯ ล้วนเกิดจากความคิดที่แตกต่าง การตั้งคำถามต่อระบบ ต่อผู้ปกครอง แล้วเรียกร้องให้ได้มาซึ่งความก้าวหน้าที่พวกเค้าวาดหวังไว้ มิใช่หรือไร? เหตุการณ์เหล่านี้มีผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่จำนวนมาก แต่เราไม่อาจจะไม่ยอมรับถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าของมัน

หากคุณจะมองแต่คำว่า “ปรองดอง สันติวิธี” ในตอนท้าย ผมก็มองว่าสิ้นคิด และเหยียดหยามความตายเหล่านั้นมากเกินไปหน่อยแล้ว หากไม่มีความรุนแรง การเรียกร้อง ความแตกต่าง และกล้าจะลุกขึ้นสู้แต่แรก มันจะมีอะไรให้ต้องมาปรองดอง แล้วก้าวหน้าไหม สนธิสัญญา Belfast Good Friday ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อะไรเลย นอกจากสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของการลุกขึ้นสู้ และความคิดต่างครับ

หากเค้าไม่ลุกขึ้นมาสู้แต่แรก ก็คงไม่ต้องมาสันติภาพบ้าบออะไรหรอกครับ เพราะมันก็จะโดนกดเป็นพลเมืองชั้นสองต่อไป โดยสงบเงียบงัน

อ่อ แล้วผมคงต้องบอกอีกอย่างสินะครับว่าเค้ามีกันแต่ประเทศไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ครับ เท่าที่ผมจำความได้ประเทศไอส์แลนด์เหนือ (Northern Iceland) นี่ไม่มีนะครับ ประเทศไอส์แลนด์เค้าอยู่เป็นประเทศเดียวของเค้า มีเมืองหลวงชื่อเรกยะวิกครับ เอ๊ะ หรือคุณอภิเชตเกิดอยากไปสร้างความขัดแย้งให้แยกประเทศกันหนอ

000

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา คนมุสลิมตกเป็นผู้ต้องหาในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในหลายประเทศ ความเข้าใจเหล่านี้นำไปสู่ความระแวง ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้เข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งความรุนแรง ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะมีศาสนาใดในโลกสอนให้ศาสนิกของตนใช้ความรุนแรงในการยุติความขัดแย้ง

นี่มันผิดหัวผิดหาง (Oxymoron) เลยนะเนี่ยตอนแรกคุณยกมาให้เห็นเรื่อง “ความขัดแย้งทางศาสนา” (อิหร่าน – อัฟกานิสถาน, The Troubles) แต่มาตอนนี้คุณเสนอว่า คุณไม่คิดว่ามีศาสนาใดสอนให้ศาสนิกของตนใช้ความรุนแรงยุติในความขัดแย้ง (ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่ได้จริงอ่ะนะ) แล้วมันจะหมายความว่าอย่างไร

นี่แทบจะเป็นการบอกจากตัวคุณเองเลยแท้ๆ ว่าที่คุณเขียนมาข้างบนทั้งหมดคือขยะ ก็ในเมื่อ (คุณเชื่อว่า) ศาสนาไม่สอนเช่นนั้น ฉะนั้นที่คนมันตีกันก็ไม่ใช่เรื่องศาสนาแล้วครับ! ในเมื่อคุณเสนอเองว่าศาสนาไม่ใช่ต้นตอ แล้วไอ้ที่พ่นเรื่อง “ความขัดแย้งทางศาสนา” ทั้งหมดก่อนหน้านั้นมันจะเป็นอะไรครับหากไม่ใช่ขยะ

และหากคุณเชื่อจริงๆ ว่าศาสนาไม่สอนให้คนใช้ความรุนแรงยุติความขัดแย้งกันจริงๆ แล้ว จะมานั่งห่วงเอี้ยอะไรแต่แรกครับเรื่องสันติ ปรองดอง กลัวกลุ่มก้อนปรปักษ์อะไรนั่น ก็ในเมื่อคุณเชื่อเองนี่ว่ามันจะไม่รุนแรง เพราะศาสนาคุณไม่ได้สอนอย่างงั้น ถ้าเป็นอย่างงั้นก็ยิ่งต้องปล่อยให้เค้าสามารถวิพากษ์ และปรปักษ์กันได้สิครับ ในเมื่อมันจะไม่นำมาซึ่งความรุนแรงอยู่แล้ว คือ หากศาสนาไม่ได้สอนให้รุนแรงการวิพากษ์ศาสนา หรือความแตกต่างในการตีความด้านศาสนาก็ย่อมเกิดขึ้นได้ โดยไม่นำไปสู่เรื่องที่มันรุนแรงสิครับ นอกเสียจากคุณเกิดคิดจะแหกหลักศาสนาที่คุณพร่ำอ้างว่าเชื่อนักหนาเสียเอง

คุณเห็นความผิดหัวผิดหางนี้หรือเปล่า? คือ ไม่ต้องให้คนมาเขียนแย้งคุณเลยก็ได้ (ซึ่งผมก็กำลังเริ่มชั่งใจแล้วว่าจะเปลืองเวลาต่อไปดีไหม) ในเมื่อคุณเขียนแย้งตัวคุณเองอยู่แล้ว!!!

000

ในขณะนี้สหรัฐเองก็กำลังมีประเด็นร้อนๆ ที่เชื่อมโยงกับความขัดแย้งที่อ้างว่ามีที่มาทางศาสนา กรณีการประท้วงต่อต้านโครงการ Park51 ที่จะก่อสร้างมัสยิด ศูนย์วัฒนธรรมมุสลิมใจกลางเมือง Manhattan New York City ใกล้กับ Ground Zero ที่เคยเป็นที่ตั้งของตึก World Trade Center ที่โดนเครื่องบินชน เมื่อ 11 กันยายน 2001 ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตร่วม 3,000 คน กระแสต่อต้านที่เกิดขึ้นก็ด้วยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอ้างว่าความสูญเสียเหล่านี้เป็นการกระทำของกลุ่มก่อการร้ายทหารมุสลิม หรือAI Qaeda

เหล่านี้คือบางเหตุการณ์ของความขัดแย้งที่โยงเข้าหาด้านลัทธิความเชื่อในต่างประเทศ ที่ต้องยกขึ้นมานี้ ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงการแสดงทัศนะทางการเมืองและทางศาสนา เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากไม่ทำความเข้าใจให้ครบถ้วนกระบวนความจะก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรืออาจถึงขั้นหลงประเด็นไป

เออ ตลกดี คนที่ป่าวประกาศบอกให้คนอื่นทำความเข้าใจให้ครบถ้วนกระบวนความกลับไม่เคยทำความเข้าใจให้ครบถ้วนเสียเอง แม้แต่ข้อเท็จจริงระดับการศึกษาภาคบังคับ ม.ปลาย อย่างเรื่องกำแพงเบอร์ลินยังมั่วหลุดโลก ดันมีหน้ามาบอกให้คนอื่นศึกษาให้ครบถ้วน ไม่เรียกหน้าด้านก็คงยากมากอ่ะนะครับ

นอกจากนี้เรื่องหลงประเด็น ก็อย่างที่ผมว่ามา คุณเองนั่นแหละ หลงแต่แรกแล้ว ผสมปนเป มั่วกันไปหมด เรียกได้ว่าหลงโคตรหลงเลย แต่อย่างน้อยย่อหน้านี้ของคุณก็มีความถูกต้องอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ “หากไม่ศึกษาให้ครบถ้วนกระบวนความ จะหลงประเด็นได้” จริงมากๆ ทีเดียว ตัวบทความคุณเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งต่อความหลงประเด็นอันมาจากการไม่ศึกษาให้ถี่ถ้วนที่ว่านี้

ผมอ่านย่อหน้านี้แล้วรู้สึกเหมือนโดนโนบิตะชี้หน้าบอกให้ขยันอ่านหนังสือพิกล คนที่หลงประเด็นได้ในระดับนี้ หันมาชี้บอกคนอื่นว่าอย่าหลงประเด็นนะ ฮ่าๆๆๆ

                                                                                              ด้วยความเคารพ

 

ปล. เนื่องจากระยะนี้ผมเหมือนจะไม่ค่อยสบาย เกรงจะส่งแบบอัพเดตหน่อยไม่ทัน เลยส่งตอนที่ 1 มาก่อน ตอนที่ 2 หากอาการดีขึ้นหน่อย และรู้สึกอยากจะเขียนต่อ เดี๋ยวจะตามมาครับ (ย้ำว่าหากรู้สึกอยากเปลืองเวลาต่อนะครับ)

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:
http://www.prachatai.com/journal/2010/09/31022
http://www.prachatai.com/journal/2010/09/31022
http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30688
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282225912&  grpid=no&catid=02

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สาวตรี สุขศรี:หลายคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมไทยกับเสรีภาพคนทำสื่อ

Posted: 29 Sep 2010 08:59 AM PDT

เย็นวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ชวนให้ผู้คนจำนวนมากในแวดวงสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อทางเลือก ต้องตระหนกตกใจเจือสมกับอาการเจ็บใจอีกครั้ง เมื่อพวกเขาทราบข่าวว่าจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซท์ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ฉบับแรก ๆ ของไทย โดนจับกุมตัวโดยตำรวจชุดสืบสวนปราบปราม บก.ตม.2 ด้วยข้อหาเผยแพร่ความคิดเห็น (ของผู้อื่น) ที่อาจผิดกฎหมาย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ภายหลังที่เธอพึ่งเดินทางกลับจากประเทศฮังการี เพื่อร่วมการประชุมเกี่ยวกับ "เสรีภาพอินเทอร์เน็ต" Internet at Liberty 2010 จีรนุชถูกควบคุมตัวไปยังสภ.เมืองขอนแก่น (จังหวัดที่เธอถูกกล่าวโทษ) ด้วยรถตำรวจในวันเดียวกัน ข่าวดังกล่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter มีการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง ถึงขนาดตั้งกลุ่ม Freejiew เป็นบล็อกเพื่อติดตามคดีของจีรนุชโดยเฉพาะ และแน่นอนที่ irony ในประเทศไทยครั้งนี้ถูกรายงานเป็นข่าวในสื่อต่างประเทศทันที

ที่ กล่าวว่าตกใจและเจ็บใจ "อีกครั้ง" ก็เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก (และคาดว่าอาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย) ที่จีรนุชถูกตำรวจจับด้วยข้อหาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน คือ เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่จงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้เกิดการกระทำความผิด (ตามมาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกรทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต่อไปจะเรียกว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) ในพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตของตนเอง ซึ่งเป็นข้อหาตามมาตรา 15 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ แต่การจับครั้งนี้จีรนุชมีข้อหาที่ถูกกล่าวโทษเพิ่มขึ้นจากฐานที่เธอ "คุ้นเคย" (แต่คงยากจะ "ชาชิน" ได้) อีกอย่างน้อย 3 เรื่องด้วยกัน คือ ร่วมกับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐ (มาตรา 83 ประกอบ 112 ประมวลกฎหมายอาญา), ทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตฯ (มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา) และเป็นผู้ประกาศโฆษณาให้ผู้อื่นกระทำความผิด (มาตรา 85 ประมวลกฎหมายอาญา) แม้ปัจจุบันจีรนุชจะได้กลับบ้านแล้ว เพราะเธอได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวนด้วยหลักประกันสองแสน บาทในราวตีสองของวันที่ 25 กันยายน 2553 ก็ตาม แต่ข้อสงสัยทีเกิดขึ้นกับจีรนุชเอง เพื่อนกองบก.ประชาไท และผู้ติดตามข่าวสารทั่วไปยังคงถูกกักขังไว้ที่สน.จังหวัดขอนแก่น  

หากกล่าวถึงแง่มุมในทางกฎหมาย รวมทั้งแง่มุมอื่นใดที่เกี่ยวพันกับการคุกคามเสรีภาพสื่อสารมวลชนในประเทศ ไทย สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นนี้ มีเรื่องน่าสนใจ และควรถูกตั้งคำถามหลายประเด็นด้วยกัน ดังนี้  

1. ข้อหาต่าง ๆ ดังกล่าวมาถูกประชาชนคนหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นกล่าวโทษไว้กับเจ้าพนักงาน ตั้งแต่ปี 2551 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน โดยศาลอนุมัติหมายจับตั้งแต่ปี 2552 (หมายจับลงวันที่ 8 ก.ย. 2552) แต่เหตุใดจีรนุชจึงถูกจับเมื่อระยะเวลาให้หลังหมายถึงเกือบหนึ่งปี (ตามคดีที่ 4371/2551 วันที่ 11 ส.ค. 51)

จริงอยู่ที่ว่าตาม มาตรา 68 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น "หมายจับ" คงมีผลบังคับอยู่ตลอดไปจนกว่าจะจับได้ หรือศาลถอนหมายคืน ดังนั้น ในทางกฎหมายแล้ว ย่อมไม่มีอะไรผิดแปลกหากเจ้าพนักงานผู้ปฎิบัติการตามหมายจะใช้เวลานานหลายปี กับหมายนั้น และตราบใดที่คดียังไม่หมดอายุความ หมายจับในคดีนั้นยังคงใช้บังคับได้ แต่ในทางปฏิบัติและปัญหาที่เกิดขึ้นกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลานาน หรือนานมากเพื่อกระทำตามหมายในคดีอื่นๆ มักเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐหาตัวผู้ต้องหาไม่พบ หรือพบ แต่จับตัวมาดำเนินคดีไม่ได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามหมายได้โดยเร็ว หรือภายในเวลาอันเหมาะสม ซึ่งกรณีของจีรนุช ไม่ใช่

ควรต้องยอมรับว่า ช่วงเวลากว่าสองสามปีที่ผ่านมา จีรนุช เปรมชัยพร เป็นคนในแวดวงสื่อมวลชนที่ปรากฎตัวในสื่อสาธารณะอยู่เนือง ๆ ทั้งนี้ เพราะประชาไทเป็นสื่อออนไลน์เว็บแรก ๆ ในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้บริโภคสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งใน และต่างประเทศ ประกอบกับบทบาทเกี่ยวกับการทำงานเรื่องเสรีภาพสื่อของตัวจีรนุชเอง เธอจึงมักได้รับเชิญไปพูดอภิปรายในงานสัมมนาหรือพูดคุยหัวข้อต่างๆ ในฟรีทีวี รวมทั้งการที่เธอถูกฟ้องคดีหลายข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และในคดีนั้นได้มีการสืบพยานเบื้องต้นในชั้นศาลไปแล้ว ฉะนั้น ย่อมไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรงเลยที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบในคดีที่ มีการจับกุมในครั้งนี้จะดำเนินการตามหมายจับได้ในเวลาพอสมควร อาจมีข้อเท็จจริงปรากฎว่าจีรนุช ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานประชุมด้านสื่อในระดับนานาชาติอยู่บ้างจนมีเหตุให้ ต้องเดินทางไปต่างประเทศ แต่ชีวิตจีรนุชกว่า 90% อยู่ในประเทศไทย และมีที่อยู่ ที่ทำงาน (สำนักข่าวประชาไท) เป็นหลักแหล่ง อนึ่ง สิ่งที่ทำให้ผู้ทราบข่าวแปลกใจยิ่งกว่า ก็คือ การจับตัวครั้งนี้ทำขึ้นภายหลังจีรนุช "กลับเข้ามา" ในประเทศ มิใช่กำลังจะ "เดินทางออก" นอกประเทศ

ด้วยช่วงเวลา รูปแบบและวิธีการจับกุม การกักตัวไว้ที่สนามบิน รวมทั้งการพาผู้ต้องหานั่งรถยนต์หลายชั่วโมงหลังการเดินทางไกล จากกรุงเทพฯ ไปขอนแก่น จากนั้นมีการสอบปากคำที่สถานีตำรวจขอนแก่นต่ออีกจนถึงเวลาเกือบตีสอง กว่าจะอนุญาตให้ประกันตัวจีรนุชได้ ซึ่งเป็นวันเสาร์ กรณีนี้จึงควรถูกตั้งคำถามว่า เจ้าหน้าของรัฐใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ? หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐที่รังแต่ต้องการให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่าง หนึ่งแก่ตัวผู้ต้องหาเท่านั้น อีกทั้งการไม่ปฏิบัติการตามหมายจับ ทั้ง ๆ ที่ทำได้ โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานกว่าหนึ่งปี จะถือได้หรือไม่ว่า เป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ ? ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่น่าจะเข้าองค์ประกอบความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาทั้งสิ้น    

2.  สืบเนื่องจากข้อเท็จจริงในข้อหนึ่ง จึงดูเหมือนว่าการจับตัวจีรนุชมิใช่เรื่องเร่งด่วน (เพราะปล่อยเวลาหมายจับไว้ได้นานถึงหนึ่งปี จีรนุชมีสถานะเป็นคนในข่าวมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีทีท่าว่าจะหลบหนีทั้งที่มีโอกาสทำได้) ย่อมเกิดคำถามขึ้นได้อีกว่า เหตุใดพนักงานสอบสวนจึงเลือกที่จะขอ "หมายจับ" จากศาลซึ่งมีผลกระทบกับสิทธิผู้ต้องหามากกว่าการออก "หมายเรียก" ให้ไปแสดงตัวเพื่อทำการสอบสวน

จากข่าวที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ พ.ต.ท.ชัชพงษ์ พงษ์สุวรรณ์ พนักงานสอบสวน (สบ.2) สภ.เมืองขอนแก่น หนึ่งในคณะพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า "คดีนี้เป็นคดีที่ไม่ต้องออกหมายเรียก เพราะมีอัตราโทษร้ายแรง" ถือเป็นคำให้สัมภาษณ์ที่น่าสนใจ เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้น ไม่มีบทมาตราใดเลยที่กล่าวว่า การจะออกหมายเรียกได้คดีนั้นต้องมีอัตราโทษไม่ร้ายแรง หรือแม้แต่หลักการที่ว่า หากคดีที่มีอัตราโทษร้ายแรงแล้ว ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องขอหมายจับเท่านั้น ก็ไม่ปรากฎอยู่ที่กฎหมายข้อใด

หลักเกณฑ์ในการออกหมายเรียก บัญญัติไว้ใน มาตรา 52 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์พื้น ๆ ที่ออกได้ไม่ยาก และสามารถออกโดยตัวพนักงานสอบสวนเอง พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือโดยศาล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้เมื่อมีเหตุให้ต้องสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นใดตามกฎหมาย โดยไม่ระบุข้อจำกัดในเรื่อง "อัตราโทษ" ไว้ จึงย่อมแสดงให้เห็นว่าการออกหมายเรียกนั้น แท้ที่จริงแล้วสะดวกและง่ายกว่าการขอออกหมายจับ ซึ่งต้องมีเหตุผลต่าง ๆ ตามมาตรา 66 แห่งกฎหมายฉบับเดียวกัน (จะได้กล่าวถึงต่อไป) ที่สำคัญ ก็คือ ในวรรคสองของมาตรา 52 นี้ ยังระบุด้วยว่า หากพนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เดินทางไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง (ไม่ได้เรียกผู้ต้องหา หรือพยานไปในที่ที่พนักงานสอบสวนอยู่) ย่อมมีอำนาจเรียกผู้ต้องหาหรือพยานมาให้ปากคำได้เลยโดยไม่ต้องออกหมาย เรียก  

สำหรับหมายจับนั้นตามมาตรา 66 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ต้องขอจากศาลเท่านั้น โดยต้องเหตุดังนี้

1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ

2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า บุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น 

วรรคสองยังระบุด้วยว่า ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี

เงื่อนไขข้อ 1 ของการขอออกหมายจับไม่ใช่ "บทบังคับ" ว่าถ้าคดีมีอัตราโทษร้ายแรง (จำคุกอย่างสูงเกินสามปี) เจ้าพนักงานต้องออกแต่หมายจับเท่านั้น (เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานหรือศาลผู้ออก) ตรงกันข้าม กฎหมายตั้งเป็นข้อห้ามไว้ต่างหากว่า ถ้าคดีใดที่มีอัตราโทษจำคุกต่ำกว่านั้น "ห้ามมิให้ออกหมายจับ" เว้นแต่มีเหตุที่เข้าเงื่อนไขที่อยู่ในข้อ 2  นอกจากนี้ หากพิจารณาถ้อยคำในวรรคสองด้วย ย่อมเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว หากไม่จำเป็นจริงๆ หมายจับควรเป็นเรื่องที่มาทีหลังหมายเรียกด้วยซ้ำไป เพราะการ "ไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร" ถือเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานร้องขอออกหมายจับกับศาลได้ ดังนั้น คำให้สัมภาษณ์ของพนักงานสอบสวนคนดังกล่าว จึงย่อมมีข้อชวนให้สงสัยอย่างยิ่ง และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับบุคคลผู้ไม่รู้กฎหมายด้วย

จริงอยู่ที่ว่า กรณีของคดีที่มีอัตราโทษร้ายแรง (ซึ่งหมายรวมถึงคดีที่จีรนุชถูกกล่าวโทษในครั้งนี้ด้วย) กฎหมายให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานหรือศาลเลือกได้ว่าจะออกเป็นหมายเรียก หรือหมายจับ แต่หากพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังจากที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540  มีผลบังคับใช้แล้ว จะพบว่าการใช้ดุลพินิจดังกล่าวมิใช่ไม่มี "กรอบคิด" กำกับไว้เลย กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายฉบับสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาคดีอาญา เพราะมีการปรับแก้ปรัชญาในการดำเนินคดีอาญาให้สอดคล้องกับหลักการ "ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำคามผิด และดังนั้น การดำเนินการต่าง ๆ เสมือนเขาเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว จึงกระทำไม่ได้"  ด้วยผลของการเพิ่มบทคุ้มครอง "สิทธิผู้ต้องหาและจำเลย" ไว้หลายมาตราในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอีกหลายมาตราเพื่อ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ทำให้จากที่ในอดีต กระบวนการดำเนินคดีอาญาในประเทศไทยมุ่งเน้นแต่เฉพาะมิติ "การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด" (The Crime Control Model) เพียงอย่างเดียว ก็เปลี่ยนไปสู่การให้ความสำคัญกับมิติ "การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลย" (The Due Process Model) ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้ควรส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบงานกระบวนการ ยุติธรรม รวมทั้งทัศนะคติของเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว หากพิจารณาจากอัตราโทษประกอบพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งสถานภาพและพฤติกรรมของผู้ต้องหาเองแล้วพบว่า ไม่เป็นการยากลำบากในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาดำเนินคดีได้ โดยหลักแล้ว เจ้าหน้าที่จึงควรใช้วิธีการที่มีผลลิดรอนสิทธิผู้ต้องหาน้อยที่สุดหรือ เพียงเท่าที่จำเป็นก่อน ดังนั้น ในกรณีของจีรนุชจึงอาจถือได้ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าการเลือกที่จะออกหมายจับแทนหมายเรียก หรือวิธีการ ช่วงเวลาในการปฏิบัติการตามหมาย ล้วนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายสำคัญทั้งสองฉบับเลย ที่สำคัญยังปรากฎข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า จีรนุชเป็นผู้ต้องหาที่ถูกเรียกไปให้ปากคำกับเจ้าพนักงานหลายครั้งแล้ว และไม่เคยมีพฤติกรรมขัดหมายเรียกเลย  

3. เนื้อหาที่ "น่าจะ" เป็นความผิดตามกฎหมาย (ตามคำกล่าวโทษ) อยู่ในส่วนของ "ความคิดเห็น" ซึ่งเป็นของผู้ใช้บริการประชาไท (ในบทความดังกล่าวมีมากกว่า 250 ความคิดเห็น) ไม่ใช่เนื้อหาใน"เนื้อข่าวที่ทีมข่าวประชาไทถอดจากบทสัมภาษณ์โชติศักดิ์ อ่อนสูง" ฉะนั้น ข้อหาเพิ่มเติมที่ว่าร่วมกันกระทำความผิดกับผู้ใช้บริการคนอื่นตามมาตรา 112, เจตนานำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญตาม 116 รวมทั้งความผิดในฐานผู้ประกาศโฆษณาให้ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นข้อหาที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่

สำหรับปัญหาข้อนี้มีผู้สงสัยจำนวนไม่น้อยรวมทั้งตัวจีรนุชเอง เพราะจีรนุชเป็นเพียง "ตัวกลาง" ผู้ให้บริการเว็บไซท์ข่าวสาร ซึ่งมีพื้นที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นเท่านั้น กรณีนี้ผู้เขียนคงไม่ฟันธง ณ วันนี้ว่า ในที่สุดแล้วจีรนุชต้องมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตราต่าง ๆ ดังกล่าวหรือไม่ ต้องให้ศาล "ยุติธรรม" พิจารณาเอง (หากมีการฟ้องคดีต่อศาล) แต่ผู้เขียนมีข้อสังเกตในแง่มุมกฎหมายต่อเรื่องนี้ ดังนี้

การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีความผิดและต้องรับโทษในฐาน "ร่วมกัน" กระทำความผิดด้วยการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐโดยอาศัยมาตรา 83 ประกอบมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาได้นั้น ต้องปรากฎว่ามีบุคคลผู้กระทำมากกว่าหนึ่งคน แต่การจะถือได้ว่าเป็น "ตัวการร่วม" ได้ ต้องมีข้อเท็จจริงเพิ่มอย่างสิ้นสงสัยด้วยว่า คนสองคนหรือมากกว่าที่ถูกกล่าวหานั้น กระทำการไปในลักษณะ "ร่วมใจ" หรือรู้เห็นเป็นใจกันมาตั้งแต่ต้น อีกทั้งยังได้ "ร่วมมือ" กันในขณะมีการกระทำความผิด กล่าวอีกอย่างก็คือ ผู้กระทำความผิดแต่ละคนได้ยอมรับตั้งแต่ต้น (ก่อนมีการทำผิด) เอาการกระทำของผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ๆ เป็นการกระทำของตนเอง และมีการร่วมลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อาจแบ่งหน้าที่กันทำ ฯลฯ) ในขณะความผิดเกิด

คีย์เวิร์ดสำคัญ ก็คือ "มีการยอมรับเอาการกระทำของคนอื่นเป็นของตัวเอง" และ "ในขณะกระทำความผิด"  หากพิจารณากรณีของจีรนุช (รวมทั้งผู้ดูแลกระดานข่าว กระดานสนทนาในสื่อออนไลน์อื่น ๆ) ประกอบกับธรรมชาติของเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต จำนวนและความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล รวมทั้งลักษณะการประกอบธุรกิจในบริการประเภทนี้ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่ผู้ดูแลพื้นที่เว็บไซท์ซึ่งเปิดให้แสดงความคิดเห็น หรือกระดานข่าวจะรู้เห็นเป็นใจมาตั้งแต่ต้นกับผู้โพสต์ข้อความ หรือยอมรับเอา "ความคิดเห็น" ที่แสดงโดยผู้เข้าชมเว็บไซท์จำนวนมหาศาลไว้เป็น "ความคิดเห็นของตัวเอง" และย่อมเป็นการยากที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกันที่ผู้ให้บริการพื้นที่เหล่านี้จะ สามารถรับรู้ หรือเห็นทุก ๆ ข้อความได้ "ในขณะ" ที่มีการโพสต์ อย่างมากก็เห็นเมื่อมีการโพสต์ไปแล้วระยะหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการในลักษณะ "ตัวกลางในสื่อ" อย่างแท้จริง อย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งแตกต่างจากบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นที่เป็นกระดาษ ที่เป็นผู้กลั่นกรองเนื้อหาก่อนพิมพ์เผยแพร่) แทบไม่มีทางเป็น "ตัวการร่วม" กับผู้แสดงความคิดเห็นในเว็บไซท์ของเขาได้เลย (แม้บางคนจะโต้แย้งว่ากรณีนี้เป็น "ความผิดต่อเนื่อง" แล้วก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือเป็นตัวการร่วมได้ ด้วยยังติดขัดประเด็นที่ผู้เข้ามาร่วมกันในภายหลัง ต้องรู้กันหรือรู้เห็นกับผู้กระทำความผิดในตอนแรกอยู่ดี)

มิเพียงเท่านั้น เพราะแม้แต่ในฐานะ "ผู้สนับสนุน" ให้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายมาตรา 86 ซึ่งต้องรับโทษเช่นกัน (แต่น้อยกว่าตัวการร่วมมาก) ก็ยังยากที่จะพิจารณาว่าผู้ให้บริการสื่อแบบนี้เข้าข่าย เพราะการจะเป็นผู้สนับสนุนได้นั้น ต้องมีการ "ให้ความสะดวกหรือช่วยเหลือผู้กระทำผิด" ทั้งนี้ในเวลา "ก่อนหรือขณะ" กระทำความผิดเท่านั้น แม้จะพิจารณาในฐานะที่การเผยแพร่ข้อความหมิ่นฯ ในสื่อเป็น "ความผิดต่อเนื่อง" แล้วก็ตาม ก็ต้องปรากฎว่าผู้ให้บริการฯ มีการกระทำในลักษณะช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกประการใดประการหนึ่งอย่างชัดเจน มิใช่เป็นแต่เพียงการไม่ลบข้อความ หรือยังเปิดให้บริการพื้นที่ต่อไปตามปกติ เรื่องทำนองนี้ เคยมีคำพิพากษาฏีกาที่ 766/2476 วางแนวไว้ถึงขนาดที่ว่า " ผู้ใดรู้ว่าจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แล้วเพิกเฉยเสียไม่ขัดขวาง หรือกระทั่งไม่ช่วยเหลือเมื่อผู้เสียหายร้องขอ ไม่เป็นผู้สนับสนุน และแม้แต่แนะนำไม่ให้ผู้อื่นไม่ขัดขวางการที่จะมีผู้กระทำความผิด ก็ไม่ถือเป็นผุ้สนับสนุนดุจกัน" สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจาก ผู้สนับสนุนไม่ใช่ผู้มีจิตใจชั่วร้ายถึงขนาดเดียวกันกับผู้กระทำความผิดเอง ที่ "ลงมือ" กระทำความผิด ดังนั้นการจะเอาเขามารับโทษ จึงควรต้องปรากฎแน่ชัดว่ามีการกระทำ "ให้เกิดความสะดวก" เกิดขึ้นจริง มิใช่แค่เพียงเพิกเฉยต่อความของคนอื่นเท่านั้น คำถามว่า จะถือเป็นการสนับสนุนด้วยการงดเว้นไม่กระทำการได้หรือไม่ นั้น คงมีปัญหาให้ต้องสงสัยอยู่ดีว่าในที่สุดแล้ว ประเทศไทยมีบทบัญญัติที่กำหนด "ภาระหน้าที่" ในเรื่องนี้ให้กับผู้ให้บริการสื่อ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสื่อออนไลน์ที่มีการโต้ตอบกันได้ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการซึ่งตรวจสอบได้ยาก) แล้วหรือไม่ เพื่อที่จะถือว่าผู้ให้บริการฯ มี "หน้าที่ต้องป้องกันผล"

ด้วยเหตุผลข้อขัดข้องในการปรับใช้กฎหมายอาญาดั้งเดิมเพื่อเอาผิดหรือลง โทษผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เหล่านี้เอง ในยุคที่การกระทำความผิดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น แต่รัฐไม่สามารถสืบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ จนมีแนวคิดดึงเอาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย ในหลายๆ ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) จึงต้องอาศัยวิธีการ "ออกเป็นกฎหมายพิเศษ" กำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะเท่านั้น และในปัจจุบันบทกฎหมายดังกล่าวก็คือ มาตรา 15 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ นั่นเอง ในกรณีนี้ หากผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจีรนุชเป็นแต่เพียงบุคคลทั่วไปที่ไม่รู้กฎหมาย ก็ยังอาจให้อภัยได้ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตามกฎหมายไม่รู้เรื่องรู้ราวในเรื่องเหล่า นี้เลย ก็ควรต้องมีการทบทวนการเรียนการสอนกฎหมายไทยด่วน

สำหรับข้อหาที่สอง มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา การทำให้ปรากฎซึ่งเนื้อหาในลักษณะที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยมีมูลเหตุจูงใจพิเศษ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกฎหมายแผ่นดินฯ, เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน หรือเกิดความไม่สงบในราชอาณาจักรฯ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินฯ นั้น ถือเป็นข้อกล่าวหาในความผิดที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง

ประเด็นแรก ที่ต้องพิจารณาก็คือคำว่า "เนื้อหา" ตามมาตรา 116  ในกรณีของผู้ทำการเผยแพร่ข่าวสารนี้ หมายถึงเนื้อหาในส่วนใดกันแน่ หากพิจารณาจากถ้อยคำและเจตนารมณ์ของกฎหมาย ย่อมหมายถึงเนื้อหาที่เป็นของผู้เผยแพร่ซึ่งเขาย่อมรับรู้เอง เท่านั้น มิได้หมายถึงการเผยแพร่เนื้อหาของผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ให้ บริการพื้นที่ไม่รู้ว่าเนื้อหาของผู้อื่นเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีของจีรนุช ก็คือ เนื้อหาที่ถูกกล่าวหาว่าอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรานี้ ไม่ใช่เนื้อหาในข่าวสัมภาษณ์ โชติศักดิ์ อ่อนสูง แต่เป็นเนื้อหาความคิดเห็นของคนอื่นที่มีต่อเนื้อข่าวอีกทีหนึ่ง

ประเด็นที่สอง ซึ่งสืบเนื่องจากประเด็นแรก คือ มาตรา 116 เป็นการกระทำความผิดที่ต้องมี "มูลเหตุจูงใจพิเศษ" ด้วย กล่าวคือ เผยแพร่ เพื่อ.... ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งมูลเหตุจูงใจนั้น ปกติแล้วต้องเกิดขึ้นจากภายในจิตใจของ "ตัวผู้กระทำความผิด" ที่สร้างเนื้อหาเพื่อการณ์เหล่านั้นเอง ณ เวลาก่อนที่จะมีการเผยแพร่ไป คำถามก็คือ ในเมื่อจีรนุช ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือสร้าง "ความคิดเห็น" ที่อาจมีปัญหาตามที่มีการกล่าวโทษขึ้นเอง (เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าจีรนุชเป็นคนโพสต์เอง) ประกอบกับตามกฎหมายแล้วเธอยังไม่ได้มีหน้าที่ต้องตรวจสอบเนื้อหาความคิดเห็น (ปัจจุบันเป็นเพียงหน้าที่ทางศีลธรรม) อีกทั้งยังไม่ปรากฎว่ามีผู้แจ้งให้จีรนุชทราบถึงเนื้อหาดังกล่าว เช่นนี้แล้วการกล่าวว่าจีรนุชมี "มูลเหตุจูงใจพิเศษ" เพื่อการณ์ใดๆ จาก "เนื้อหา" ที่จีรนุชไม่ได้เป็นผู้สร้าง และเกิดขึ้นภายหลังนำเสนอตัวข่าวสารจริง ๆ จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลยจริง ๆ ในกระบวนการพิจารณา

ข้อหา (เพิ่มเติม) สุดท้าย ซึ่งน่าสนใจยิ่ง คือมาตรา 85 ประมวลกฎหมายอาญา ในฐานที่เป็นผู้โฆษณาหรือประกาศแก่คนทั่วไปให้กระทำความผิดเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง หากท้ายที่สุดมีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นจริงตามที่ประกาศ ผู้ประกาศไปเช่นนั้นย่อมมีความผิดและมีโทษ (เรียกสั้น ๆ ว่าผู้ใช้ให้กระทำผิดด้วยการประกาศโฆษณา) คำถามก็คือ การเผยแพร่ข่าวสารซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์บุคคลคนหนึ่ง โดยที่ฝ่ายรัฐเองก็ไม่สามารถตั้งข้อหาใด ๆ กับ "เนื้อข่าว" นั้นได้โดยตรงว่ามีถ้อยคำเป็นความผิด แล้วจะถือเป็นการประกาศชวนให้คนอื่นกระทำความผิดกฎหมายได้อย่างไร ?

นอกจากนี้ ควรต้องทราบด้วยว่า ความรับผิดตามมาตรา 85 นี้ อิงอยู่กับ "ความผิด" ที่ประกาศให้กระทำ นั่นหมายความว่า การประกาศนั้นต้องมีความชัดเจนด้วยว่าผู้ประกาศมีเจตนาให้ผู้อื่นกระทำผิดใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชวนให้หมิ่นประมาทบุคคลอื่น ยุยงให้ทำร้ายผู้อื่น ตั้งรางวัลให้คนที่กระด้างกระเดื่องต่อประเทศ เป็นต้น (ลองเทียบเคียงเรื่องนี้กับถ้อยคำที่ประกาศชวนคนลงทัณฑ์คนอื่น ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งในกลุ่มล่าแม่มดออนไลน์ดู) ซึ่งหากใครได้อ่านเนื้อข่าวสัมภาษณ์ปัญหาซึ่ง ลงในเว็บประชาไทแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า ไม่มีถ้อยความในส่วนใดเลยที่ชัดเจนเพียงพอ หรือตีความได้ว่าจีรนุชและทีมงานประชาไทชี้ชวนให้ใครต่อใครกระทำการใด ๆ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นความผิดต่อกฎหมายข้อไหนไม่ว่าจะเป็น 112 หรือ 116

สรุปได้ว่าข้อหาต่าง ๆ ดังกล่าวมา แม้ผู้แจ้งความจะเป็นคนทั่วไปผู้ไร้เดียงสาทางกฎหมาย จนอาจไม่รู้ว่าองค์ประกอบความผิดที่เขากล่าวโทษคนอื่นนั้นมีอยู่อย่างไรบ้าง รวมทั้งอาจไม่รู้ด้วยว่าการตีความกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลเป็นการ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรงต้องกระทำการโดยเคร่งครัด แต่เจ้าพนักงานรัฐในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรมีความระมัดระวังเรื่องทำนองให้มากขึ้น ไม่ควรใช้อคติส่วนตนทำตัวเป็นเบี้ยหมากทางการเมือง จนไม่รู้หรือไม่ใส่ใจว่าการแจ้งข้อกล่าวหาซึ่งกันและกันโดยไม่มีมูลนั้น เกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์อันสุจริตหรือไม่อย่างไร หรือควรรับแจ้งหรือไม่ เพราะบางครั้งนอกจากอาจทำให้คดีไปรกโรงรกศาลแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับบุคคลอื่นใดโดยใช่เหตุด้วย

4. ข้อเท็จจริง (จากปากจีรนุชซึ่งเข้าใจว่าให้ไว้กับพนักงานสอบสวนด้วย) กล่าวว่า ความคิดเห็นในส่วนที่ถูกแจ้งความมีทั้งหมด 5 ความคิดเห็น ทั้งนี้มี 2 ความคิดเห็นที่ถูกลบไปก่อนหน้านี้นานมากแล้ว โดยไม่มีการบอกแจ้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ถูกลบเนื่องจากเป็นข้อความที่ค่อนข้างหมิ่นเหม่และเห็นได้ชัดเจน ในขณะที่อีก 3 ความคิดเห็นที่เหลือ จีรนุชพึ่งได้ทราบและดำเนินการลบเรียบร้อยแล้วโดยการบอกแจ้งจากตำรวจในวัน ที่มีการจับกุม

ประเด็นก็คือ เช่นนี้แล้วจะถือได้หรือว่าการปล่อยให้มีความคิดเห็นที่ "อาจจะ" ผิดกฎหมายดังกล่าวดำรงอยู่มาจนถึงวันนี้ (วันที่ถูกจับกุม) เกิดขึ้นโดยความจงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดในพื้นที่ให้บริการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15  พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้ต้องปรากฎชัดว่าผู้ให้บริการนั้นรู้ถึง "ข้อความ" และรู้ด้วยว่า "ข้อความนั้นเป็นความผิด" ในที่นี้คือมาตรา 14 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์) และยังคงปล่อยให้มีอยู่ต่อไป แต่ประเด็นสำคัญกว่าก็คือ ตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมใดที่จะบอกได้ว่า ผู้ให้บริการคนนั้นรู้หรือไม่รู้ 

ดังกล่าวไปบ้างแล้วว่า ปัจจุบันไม่ว่ากฎหมายของนานาประเทศ หรือกฎหมายของประเทศไทยเอง ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนด "ภาระหน้าที่" ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น ๆ ต้องตรวจสอบเนื้อหาใด ๆ ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่ถูกสร้างโดยบุคคลอื่น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลว่า ผู้บัญญัติกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เข้าใจข้อจำกัดที่ไม่มีใครสามารถสอดส่องดูแลอินเทอร์เน็ตได้ครบถ้วนทั่วถึง ได้ การกำหนดหน้าที่เช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีบทลงโทษด้วย นอกจากเป็นการสร้างหรือผลักภาระที่หนักเกินไปให้ผู้ประกอบการสื่อประเภทนี้ แล้ว ยังน่าจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการและความแพร่หลายของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตด้วย เนื่องจากคงไม่มีใครอยากเป็นผู้ประกอบการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เพื่อจัดหาเครื่องมือ หรือจ้างคนมาคอยดูแลพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นตนยังอาจต้องรับผิดแทนหรือร่วมกับผู้กระทำความผิดที่แท้จริงด้วย หากมีเนื้อหาหลุดรอดสายตาไป อาจกล่าวได้ว่า การตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้น (บ้าง) ในปัจจุบัน เป็นแต่เพียงมาตรการเบื้องต้น ที่แต่ละผู้ให้บริการสมัครใจกระทำกันเอง โดยเหตุผลหลักก็คือพยายามป้องกันไม่ให้ตนเองต้องมีความรับผิดในเนื้อหาของคน อื่นเท่านั้น หาใช่บทบังคับในทางกฎหมายไม่

ในที่สุดแล้ว ความรับผิดตามมาตรา 15 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จึงเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่มีการ "บอกแจ้ง" ถึงเนื้อหาที่เป็นความผิดไปยังผู้ให้บริการพื้นที่สื่อโดยตรงแล้ว เท่านั้น หรือมิเช่นนั้นก็ต้องมีข้อพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า ผู้ให้บริการพื้นที่แสดงความคิดเห็นนั้นรู้ถึงข้อความนั้นอย่างแน่นอน เช่น มีความคิดเห็นจำนวนน้อย ถ้อยคำชัดเจน เห็นได้โดยง่าย เป็นต้น หากข้อเท็จจริงปรากฎว่า ไม่ได้มีการบอกแจ้งแกผู้ให้บริการ อีกทั้งความคิดเห็นมีเป็นจำนวนมากยากแก่การตรวจสอบ รัฐหรือกฎหมายแห่งรัฐย่อมไม่มีสิทธิคาดหมายให้ผู้ให้บริการนั้น "ควรรู้" ได้เองและเมื่อไม่ดำเนินการแก้ไขก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย

อนึ่ง ควรต้องถามต่อไปด้วยว่า หากผู้แจ้งถึงความมีอยู่ของ "เนื้อหา" คือ "ผู้ใด" ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ และประสงค์ให้ผู้ให้บริการลบเนื้อหาที่ตนแจ้งออกไปทันที โดยที่ 1) ผู้แจ้งนั้นมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากเนื้อหาโดยตรง (อาทิ ไม่ใช่บุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาท ฯลฯ) หรือแม้กระทั่ง 2) ใช้สิทธิบอกแจ้งเนื้อหาตามมาตรา 112 ที่เปิดให้ใครก็ได้กล่าวโทษบุคคลต่อรัฐ ในทางกฎหมายแล้ว ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารเว็บไซท์หรือไม่ที่จะต้องลบเนื้อหานั้นเสมอ ในเมื่อยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าเนื้อหาดังกล่าวผิดกฎหมาย

หากคำตอบคือ ใช่ ต้องลบเสมอและทุก ๆ คนมีสิทธิแจ้งลบไปยังผู้ให้บริการ ย่อมก่อให้เกิดความวุ่นวายในรัฐขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นการเปิดช่องให้ประชาชนกลั่นแกล้งกันเองได้ อีกทั้งผู้ให้บริการแต่ละรายอาจต้องถูกฟ้องร้องให้รับผิดจากประชาชนทุก ฝ่ายอยู่เนือง ๆ ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ กรณีนี้หากพิจารณาพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า ในกฎหมายฉบับนี้มิได้กำหนดมาตรการในอันที่ผู้ให้บริการจะสืบ "แสดงถึงความบริสุทธิ์ว่าตนไม่ได้จงใจสนับสนุน หรือยินยอมให้เกิดเนื้อหาที่เป็นความผิด" ตามมาตรา 15 ไว้เลย จึงย่อมเกิดปัญหาในทางปฎิบ้ติได้เสมอว่า การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการอย่างไร หรือด้วยระยะเวลามากน้อยเพียงใดภายหลังได้รับแจ้ง ผู้ให้บริการจึงจะหลุดพ้นจากการถูกบุคคลอื่นแจ้งความกล่าวหา เพราะเพียงเท่านั้นก็นำความเดือดร้อนมาสู่ผู้ให้บริการแล้ว ยังมิพักต้องถึงชั้นศาลหรือถูกพิพากษาให้มีความผิดและรับโทษเลย 

หากประเทศไทยไม่ประสงค์ให้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวมาเกิดขึ้นจริง จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าบุคคลใดบ้างที่เมื่อแจ้งไปยังผู้ให้ บริการฯแล้วผู้ให้บริการนั้นมีหน้าที่ต้องลบเนื้อหา ภายในเวลากำหนดเท่าใด อีกทั้งเมื่อลบไปแล้ว หรือระงับการเผยแพร่ไว้ชั่วคราวแล้ว เพื่อความเป็นธรรมต้องเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบ ในที่นี้หมายรวมทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเองร้องขอให้คุ้มครองชั่ว คราวหรือขอความเป็นธรรมจากศาลได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นหากในท้ายที่สุด มีคำพิพากษาศาลตัดสินว่าเนื้อหาที่ถูกระงับการเผยแพร่ไปไม่เป็นความผิด รัฐรวมทั้งผู้กล่าวหาก็ควรต้องมีความรับผิดชอบอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยตาม กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่คงต้องขึืนอยู่กับความจริงใจของรัฐใน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน รวมทั้งความใจกว้างของผู้ปกครองประเทศ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เราแทบหามันไม่เจอ

บทสรุป กรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับจีรนุช เปรมชัยพร ถือเป็นอีกหนึ่งปรากฎการณ์ ที่สะท้อนให้เห็นสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็น และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในประเทศไทย ในยุคที่สื่อที่พยายามนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเป็นของหายากยิ่งกว่างม มหาสมุทรในเข็ม สื่อลักษณะดังกล่าวที่พอหลงเหลืออยู่บ้างก็กลับโดนปิดกั้นการเข้าถึง ผู้ให้บริการสื่อนั้นถูกคุกคามเสรีภาพด้วยข้อหาแปลกประหลาดเสมือนหนึ่งว่า เขาเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ทั้งที่เป็นการกระทำของบุคคลอื่น โดยรัฐมีวิธีการจัดการด้วยกระบวนการที่น่าสงสัยว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อกลั่น แกล้ง หรือแอบแฝงการคุกคามเสรีภาพสื่อมวลชนทั้งประเทศโดยรวม แต่สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่า ก็คือ ช่วงหลังมานี้ไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการคุกคามเสรีภาพ และทำตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามกับประชาชน แต่ประชาชนที่ควรหวงแหนเสรีภาพของตนก็กลับหันมาเล่นบทข่มขู่คุกคามซึ่งกัน และกันเองด้วย. 

 

"ขอบเขตแห่งเสรีภาพของสื่อมวลชนมิได้เป็นเพียงเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารโดยเสรีเท่านั้น หากแต่ได้ขยายความถึงเสรีภาพโดยปราศจากการลงโทษใด ๆ เมื่อสื่อมวลชนได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นเรื่องจริงและเกี่ยวข้องกับ ประโยชน์สาธารณะ"

New York Times Co.v.Sullivan, 1964

 หมายเหตุ:เผยแพร่ครั้งแรกที เว็บไซต์นิติราษฎร์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นปช.ภูพาน รำลึก อัครเดช ขันแก้ว อาสาพยาบาลเหยื่อกระสุนวัดปทุมฯ

Posted: 28 Sep 2010 08:51 PM PDT

คนเสื้อแดงกาฬสินธุ์-มุกดาหาร-สกลนคร-นครพนมหลายพันร่วมเวทีรำลึกวีรชนที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์  ประกาศเจตนารมณ์ “สืบสานปณิธานวีรชน ทวงอำนาจของปวงชนคืนกลับมา” 

 

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. กลุ่ม นปช.ภูพาน จัดงานบุญร้อยวันอุทิศส่วนกุศลแด่อัครเดช ขันแก้วและผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษา-พฤษภา 2553 ที่บ้านหนองผือ ต.หนองผือ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ อันเป็นบ้านของอัครเดช ขันแก้ว (อ๊อฟ) หรือชื่อ”ตัวเล็ก” อาสาสมัครพยาบาล หนึ่งในหกรายที่เสียชีวิตอยู่ในเขตอภัยทานวัดปทุมวนาราม ในคืนวันที่ 19 พฤษภาคม หลังการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ

ในช่วงกลางวันมีคนเสื้อแดงในเขตต่างๆ ทยอยเดินทางมา เพื่อนำซองบุญมามอบแก่คณะกรรมการจัดงาน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่าจะนำไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม และเป็นกองทุนการดำเนินกิจกรรมของ นปช.ภูพาน โดยบรรยากาศช่วงกลางวันประชาชนที่เดินทางมาพบปะกันก็นั่งล้อมวงคุยกัน ระบายความรู้สึก และแลกเปลี่ยนข่าวสารที่รับรู้มา โดยในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายในช่วงการเหตุการณ์สลายการชุมนุม และนิทรรศการสายธารประชาธิปไตย จัดโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.) ตลอดจนมีการเปิดให้พี่น้องประชาชนเขียนไว้อาลัยแด่วีรชนที่เสียสละชีวิตในช่วงเหตุการณ์ ทั้งนี้มีประชาชนที่มาร่วมงานให้ความสนใจพอสมควร

 

ช่วงเย็นเวลาของเวทีปราศรัย มีประชาชนมาร่วมมากขึ้นบรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก มีการแสดงดนตรีของนักศึกษาจากอุบลราชธานี สลับกับการปราศรัยของแกนนำจากอำเภอต่างๆ ของ จ.กาฬสินธุ์-สกลนคร-มุกดาหาร  โดยเฉพาะเมื่อแกนนำจากกรุงเทพฯ ได้แก่ จตุพร พรหมพันธ์ วรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ และสมหวัง อัสราษี เดินทางมาถึงและขึ้นเวทีปราศรัย มีเสียงโห่ร้องขานรับเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเมื่อแกนนำประกาศสู้ต่อไปจนกว่าบ้านเมืองจะมีความยุติธรรม ดังเป็นการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ตามเจตนารมณ์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “สืบสานปณิธานวีรชน ทวงอำนาจของปวงชนคืนกลับมา”

หลังการกล่าวปราศรัยของแกนนำ พิธีกรบนเวทีประกาศเชิญชวนให้ทุกคนจุดเทียนและยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่วีรชนที่เสียสละชีวิตในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้มีการจัดงานของคนเสื้อแดงในอีสานเหนือและกลางถึง 3 งาน นอกจากงานรำลึกวีรชนที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ แล้ว ก็มีเวทีสัมมนาที่ จ.ร้อยเอ็ด และงานคอนเสิร์ตที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีคนเข้าร่วมจำนวนมาก นับเป็นการกลับมาชุมนุมของคนเสื้อแดงในภาคอีสานรอบใหม่ หลังการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทความทีดีอาร์ไอ: โครงการความร่วมมือภายใต้ FTA ประโยชน์สองต่อของผู้ประกอบการไทย

Posted: 28 Sep 2010 08:10 PM PDT

 

นายสุนทร ตันมันทอง นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากโครงการความร่วมมือและโครงการความตกลงยอมรับร่วม (MRA) เปิดเผยว่า ผลจากความตกลงการค้าเสรีฉบับต่าง ๆ ที่ทยอยบังคับใช้มาต่อเนื่อง โดยในปี 2552 ทำให้ภาคส่งออกและภาคนำเข้าไทยประหยัดภาษีได้เกือบ 8 หมื่นล้านบาท (แม้ยังมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่) และนอกจากประโยชน์ด้านภาษี ผู้ประกอบการไทยยังจะได้ประโยชน์มากขึ้นจากโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ FTA ซึ่งเป็นความช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีจากประเทศคู่ค้า  จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ทั้งผู้ประกอบการส่งออกในการออกแบบ ผลิต และเจาะตลาดคู่ค้า และผู้ผลิตสินค้าในประเทศที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น

โครงการวิจัยเรื่อง ““การเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย” ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ได้มอบหมายให้ทีดีอาร์ไอดำเนินการวิจัย    จึงมีการศึกษาครอบคลุม การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากโครงการความร่วมมือภายใต้ความตกลงการค้าเสรีและความตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement : MRA)  เป็นช่องทางเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านความรู้และเทคโนโลยี  เพิ่มเติมจากประโยชน์ทางตรงที่ได้จากการประหยัดภาษี  

โดยศึกษานำร่องโครงการความร่วมมือภายใต้ JTEPA (ไทย-ญี่ปุ่น)ใน 4 สาขาอุตสาหกรรม คือ อาหาร เหล็ก ยานยนต์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  ความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบความช่วยเหลือด้านการเงินและบุคลากร ข้อมูล และเอกสารวิชาการต่าง ๆ  ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ และโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ผู้วิจัยโครงการนี้ เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือภายใต้ JTEPA เน้นการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาหลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมทุกปี ยกเว้นโครงการของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่งเริ่มต้น   

โครงการที่มีความคืบหน้าได้แก่  โครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก”ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการส่งออกและการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเจาะตลาดญี่ปุ่น ให้ตรงกับคุณภาพและมาตรฐานอาหารที่บังคับใช้ในญี่ปุ่น พบว่ามีการประชาสัมพันธ์เรื่องราวอาหารไทยในสื่อสาธารณะของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง  มีการถ่ายทอดความรู้ผ่านการอบรม สัมมนา เยี่ยมชมโรงงานและมีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการไทย  เนื่องจากญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับมาตรฐานอาหารจึงมีรายละเอียดมากและหลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำที่ผู้ประกอบการไทยควรรู้  ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยหลายรายสนใจเรื่องการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น  อีกจำนวนหนึ่งมองเห็นช่องทางธุรกิจ แต่ส่วนใหญ่ยังคงต้องการความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีการผลิตจากญี่ปุ่น

โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น  เป็นเรื่องการส่งเสริมความรู้และเทคโนโลยีด้านเหล็กให้แก่ไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมงานโครงสร้างเหล็ก และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาการใช้หัวเผาแบบรีเจนเนอเรทีฟ (Regenerative Burner) และการหลอมเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า (EAF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยด้านการประหยัดพลังงานในการหลอมเหล็ก มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเหล็กในอนาคต  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังมีความรู้และเทคโนโลยีด้านนี้น้อย โครงการนี้จึงสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้นำมาปรับปรุงมาตรฐานการผลิตเหล็กของตนเอง โดยปัจจุบันมี 2โรงงานเหล็กที่เข้าร่วมโครงการได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้มอบลิขสิทธิ์ในการแปลเอกสารทางวิชาการด้านวิศวกรรมเหล็กของญี่ปุ่นให้ไทยเพื่อเผยแพร่อีกด้วย

โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  เพื่อส่งเสริมการตลาดและการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของไทย  โครงการมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม มีการทำวิจัยทั้งการทำวิจัยเชิงลึกด้านตลาดสิ่งทอของญี่ปุ่น มีการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่สำคัญ คือ โครงการความร่วมมือด้านการฟอกย้อม และโครงการพัฒนาผ้าผืน/ผ้าสำเร็จรูปสู่ตลาดญี่ปุ่น ที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ในระดับที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าความรู้และเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเป็นประโยชน์แม้ว่าจะยังไม่ก่อให้เกิดผลทางการค้ามากนัก   โครงการพัฒนาผ้าผืนเกิดผลเป็นรูปธรรมคือ ชิ้นงานผ้าผืนซึ่งถูกนำไปจัดแสดงในงาน Biff&Bil 2010  มีผู้ซื้อจากญี่ปุ่นเดินทางมาเยี่ยมชม  และเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตคือต้องการให้มีกิจกรรมในลักษณะการจับคู่ธุรกิจ ให้ผู้ซื้อพบผู้ขายโดยตรง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือภายใต้ JTEPA ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กิจกรรมที่ดำเนินมาส่วนใหญ่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับที่น่าพอใจ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เห็นว่ากิจกรรมเป็นประโยชน์ แต่การนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องในธุรกิจของผู้ประกอบการยังมีเพียงบางกิจกรรมเท่านั้น  อุปสรรคในการใช้ประโยชน์มาจากทั้งในกระบวนการเจรจาและในการดำเนินโครงการ

ส่วนโครงการความตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement : MRA) เป็นอีกส่วนสำคัญที่มาช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ผ่านการ ยอมรับร่วมกันในมาตรฐานสินค้าและมีการจัดตั้งหน่วยงานรับรองมาตรฐานกลางดังกล่าวขึ้นมา ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายให้     ผู้ประกอบการได้มีความสะดวกมากขึ้น โดยทำการศึกษาเบื้องต้นกับสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กับอาเซียน และกับญี่ปุ่น

ปัจจุบันในอาเซียนมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองเพียง 13 แห่ง โดยเป็นห้องปฏิบัติการที่อยู่ในประเทศไทย 5 แห่ง  ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการยังมาใช้ประโยชน์น้อย เนื่องจากยังเป็นกรอบความร่วมมือยังไม่ครอบคลุมมากเท่าใดนัก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญและจำเป็น เนื่องจากในปี 2554 ในอาเซียนจะมีการบังคับใช้ความตกลง “AHEEER” ซึ่งก้าวไปอีกขั้น นั่นคือ การผสานกรอบมาตรฐานกลางกว้าง ๆ ที่ต้องการให้ประเทศในอาเซียนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้มากขึ้น   ขณะเดียวกันในส่วนของความตกลง JTEPA ผู้ประกอบการยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการเนื่องจากหน่วยงานรับรองของไทยยังไม่ได้รับการรับรองจากประเทศญี่ปุ่น

นายสุนทร กล่าวด้วยว่า หากผลประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีด้านภาษีเหมือนเป็นหน้าบ้านเพราะผลประโยชน์เป็นตัวเลขที่เห็นชัด แต่โครงการความร่วมมือเป็นเหมือนหลังบ้านที่ต้องพัฒนาคู่กันไป เป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้ประโยชน์ซึ่งหากไม่มี FTA แล้วก็ไม่แน่ใจว่า เราจะได้รับความช่วยเหลือแบบนี้หรือไม่ โครงการความร่วมมือจึงจำเป็นและควรต้องได้รับการส่งเสริม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น