โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รายงาน: รวมบรรยากาศวัฒนธรรมลูกผสม งาน “เราไม่ทอดทิ้งกัน”

Posted: 27 Sep 2010 02:32 PM PDT

 

  

 
ผ่านไปแล้วสำหรับงานเวทีไต่สวนสาธารณะเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53 และคอนเสิร์ต “เราไม่ทอดทิ้งกัน: ความจำ ความรัก ความจริง” เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2553 ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักยิ่ง
งานนี้เป็นเวทีระดมทุนเพื่อช่วยเหลือการจัดตั้งกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต-ผู้ได้รับบาดเจ็บการสลายการชุมนุม และสนับสนุนการทำงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53 หรือ ศปช.
จะว่าไปก็เป็นงานที่ให้ภาพ “แปลก” ในหลายประการ
อย่างหอประชุมศรีบูรพา หรือ “หอเล็ก” แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ว่างเว้นจากฝูงชนผู้หลั่งไหลมาร่วมงานทางการเมืองมานาน คราวนี้กลับเต็มแน่นจนล้นทะลัก แบบที่คนจัดงงงวยว่า “มาจากไหนกัน” แม้ว่ามวลชนส่วนใหญ่ที่ยึดกุมพื้นที่นั้นจะเป็นคนเสื้อแดงก็ตาม
อาจเพราะพวกเขาถูก “กระชับพื้นที่” ทางการเมืองและทางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มวลชนที่มีความคับแค้นและมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงต่างกระตือรือร้นในการสื่อสารกันภายใน จากข่าวสารในอินเตอร์เน็ต สู่โลกของการบอกเล่าปากต่อปาก สังเกตได้ไม่ยาก เพราะผู้คนที่มาร่วมงานมีการบอกกล่าวนัดแนะกันตลอดเวลาว่าโปรแกรมกิจกรรมคนเสื้อแดงเดือนนี้ เดือนหน้า มีอะไร ที่ไหนบ้าง  
เรื่องสถานที่ก็ดูผิดแผกไปจากเดิม จากที่เคยเห็นแต่การรวมตัวกันตามสถานที่กลางแจ้ง ฝนตก มีปลักโคลน ขายของกันมากมายคล้ายตลาดนัดตามงานวัด งานนี้กลายเป็นห้องประชุมโอ่โถง ติดแอร์อย่างดี ในรั้วสถานบันการศึกษาชั้นนำ
บรรยากาศของงานก็หาดูได้ยาก โดยเฉพาะงานคอนเสิร์ตในช่วงเย็น ซึ่งเป็นกลิ่นของวัฒนธรรมลูกผสมแบบลูกทุ่งอย่างที่เคยเห็นๆ ทั่วไปในเวทีเสื้อแดง กับการแสดงแนวอาร์ต แนวทดลอง การอ่านบทกวีอันลึกซึ้งแบบคนชั้นกลาง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชมส่วนใหญ่ ซึ่งคะเนหยาบๆ จากสายว่าเป็นคนชั้นล่างและคนชั้นกลางระดับล่าง แม้แต่การแสดงแนวทดลองจากผู้แสดงที่ “ไม่แดง” ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักกิจกรรมเสื้อแดงกันเยอะ ก็กลับได้รับการยอมรับจากชาวบ้านที่นั่งดูอยู่ด้านนอก ในฐานะ “ของแปลก”
“ชอบนะ ชอบทุกรายการเลย มันเหมือนเขาเปิดจินตนาการให้เราคิดไปได้ไม่จำกัด ไปมาทุกงาน ไม่เคยได้เจอแบบนี้” คนขายซีดีเสื้อแดงกล่าวขณะตั้งใจดูกิจกรรมจากจอโปรเจ็กเตอร์ด้านนอก
ตั้งประเด็นเช่นนี้มิได้จงใจดูแคลนคนยาก หากแต่พูดไปตามสมติฐานลึกๆ ในใจของผู้คนในสังคมเพื่อจะบอกว่างานนี้พลิกโผ
ขณะเดียวกันคนชั้นกลางทั้งหลายที่แดงบ้าง ไม่แดงบ้างภายในงานก็คงได้ซึมซับบรรยากาศแบบลูกทุ่งซึ่งมีสีสันและลูกเล่นอย่างน่ามหัศจรรย์ การวิพากษ์วิจารณ์ผลิดอกออกผลอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน สัญญะมากมายถูกสอดใส่ไว้ตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยอย่างนึกไม่ถึง ภาพที่คนทั้งฮอลล์ลุกขึ้นเต้น ร้องเพลงเพื่อชีวิต “แบบใหม่” กันดังสนั่นแทนเพลงเพื่อชีวิตที่เคยคุ้นชินให้อารมณ์คล้ายงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกลายๆ
รวมทั้งวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ไม่มีภาพผู้ฟังที่สงบเสงี่ยมแสดงความรู้สึกผ่านการปรบมืออย่างเดียว แต่งานนี้ ตะโกนกันโหวกเหวกหนุนเสริมเนื้อหาบนเวทีเวลาถูกใจและไม่ถูกใจ
และด้วยอารมณ์ตรงไปตรงมาเช่นนี้อาจทำให้ผู้อภิปรายซึ่ง(อยาก)เน้นการตั้งคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง ขยาดกับการแสดงทัศนะดังกล่าว ท่ามกลางอารมณ์รวมหมู่ซึ่งคับแค้นต่อความอยุติธรรมใหม่หมาด ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลและแขนขาของภาครัฐ แม้แต่เวทีไต่สวนสาธารณะโดยนักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรมเองก็ดูเหมือนจะเกรงใจต่อผู้ฟังอยู่มาก จนบางคนแอบกระซิบว่าทำหน้าที่ได้เพียงผู้รับฟัง
อย่างไรก็ตาม ยังมีหน่วยกล้าตายทดลองความใจกว้างของคนเสื้อแดงให้เห็นอยู่บ้าง เช่น บทกวีของ กฤช เหลือละมัย ซึ่งก็มีเสียงสะท้อน (ส่วนใหญ่ในเฟซบุ๊ก) ทั้งชื่นชมความกล้าหาญในการกระตุกเตือนสติอย่างสำคัญ หรือวิพากษ์วิจารณ์ว่าเรียกร้องอย่างไม่เหมาะสมเอากับผู้ถูกกระทำ เป็นต้น
ไม่ว่าจะอย่างไร งานนี้ก็น่าจะถือเป็นครั้งแรกของการพบกันระหว่างนักวิชาการ นักกิจกรรม นักศึกษา ที่กล่าวรวมๆ ได้ว่า “ไม่เห็นด้วยการปราบปรามคนเสื้อแดง” กับมวลชนเสื้อแดงขนานแท้จำนวนมาก และอย่างน้อยที่สุด งานนี้ก็ทำให้เห็นภาพรวมคร่าวๆ ของเหตุการณ์ความรุนแรงจากปากคำของฝ่ายผู้ได้รับบาดเจ็บหลายต่อหลายราย แต่น่าเสียดายที่ดูเหมือนประเด็นแก่นแกนนี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการชิงพื้นที่ข่าวสารในสังคมอยู่นั่นเอง
 

 
..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป
 
 
เมื่อเราผ่านการต่อสู้                       เราย่อมตระหนักรู้ ว่าตัวเราเปลี่ยนไป
มันอาจจะเพียงไม่นาน                    และเราไม่ได้ถูกจ้างวานให้มาโดยใคร
เราสุขเราทุกข์มาด้วยกัน                 ผ่านคืนและวันที่เราต่างลุกเป็นไฟ
ไฟบางกองวูบวับดับลง                   หากที่เหลือยังคงเป็นไฟกองใหม่
แม้ล่วงเข้าปลายฤดูฝน                   มันยังลุกอยู่บนสิ่งที่ควรลุกไหม้
เพื่อนเอ๋ย..เราไม่อาจปล่อยวาง        จุดหมายปลายทางยังอีกยาวไกล
.......
 
ระหว่างเส้นทางสายนี้,                    เราเริ่มรู้ว่ามีเรื่องราวมากมาย
มีชุมชน และผู้คนเหล่านั้น               ในตรอกซอยตัน และถนนสายใหญ่
บนทางลอยฟ้า หน้าห้างฯ               ลานสนามกว้างขวางมีเวทีอภิปราย
วิทยุ, ทีวี, หนังสือ ฯลฯ                  บอกเราให้ยึดถือหลักการฯ ทั้งหลาย
การเผชิญหน้าปากกระบอกปืน         ช่วยให้เราหยัดยืนได้มั่นคงกว่าใครๆ
และการล้อมปราบครั้งนั้น                ไม่ทำให้เราพรั่นพรึงแต่อย่างใด
........
 
เพื่อนเอ๋ย เราผ่านมันมา                  และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป
เราเริ่มพูดจาเหมือนกัน                   ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องอะไร
คิดและทำสิ่งเดียวกัน                     ตั้งเข็มมุ่งมั่นโดยมิต้องนัดหมาย
ไม่ต้องมัวตั้งคำถาม                       เพราะทุกอย่างเป็นไปตามชุดคำอธิบาย
การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ ทุกเรื่องเราคิดคำตอบได้ง่ายดาย
เรารักคนคนเดียวกัน                      และเกลียดคนคนนั้นเหมือนๆ กันใช่ไหม ?
ทุกคน ทุกเรื่องที่เรารัก                   ทำไมเรามักไม่มีคำถามใดๆ ?
และทุกคน ทุกเรื่องที่เราเกลียด        เราก็ยิ่งยัดเยียดความเกลียดชังลงไป  
เราอนุโลมให้กับความผิดพลาด        ในทุกๆ โอกาสของพวกเราใช่หรือไม่ ?
เราจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน          ท่ามกลางความเงียบงันของ “คำถาม” ได้อย่างไร ?
หรือนี่คือสิ่งที่เรากำหนด              ให้เป็นอนาคตของ“สังคมไทย” ..?                                                            
.........
 
แน่นอน..เราถูกกระทำ                   ถูกเหยียดถูกย่ำอย่างกับวัวกับควาย
เสียงเราไม่ถูกได้ยิน                      เลือดเราไม่มีกลิ่นเหมือนพวกเขาทั้งหลาย
ศพเราไม่ถูกมองเห็น                     เหมือนว่าเรานั้นเป็น “ผู้ไม่มีร่างกาย”
แต่แล้ว ในเวลาเดียวกัน                  เรากำลังทำอย่างนั้นกับคนอื่นอยู่หรือไม่ ?
เราคิดว่า ข้างนอกนั่น                     มีแต่ “พวกมัน” เท่านั้นหรืออย่างไร ?
หลายคนคงยังพอนึกออก               ถึงตอนที่อยู่ “ข้างนอก” ยังไม่เข้ามา “ข้างใน”
ก่อนจะมาถึงวันนี้                          เราต่างก็เคยมีเมื่อวานนี้ ใช่หรือไม่ ?
เราเคยเห็นแย้งเห็นต่าง                  อคติ – เป็นกลาง กับเรื่องราวหลากหลาย
เคยถกเถียงหน้าดำคร่ำเครียด          แต่ไม่เคยโกรธเกลียดกันแบบเอาเป็นเอาตาย 
เคยได้ยินคำพูดทุกคำ                    แถมยังจดยังจำหน้าตากันได้
เราลองคิดว่า “พวกเขา”                  ก็คือพวกเราในวันเก่าๆ ได้หรือไม่ ?
คือ “เรา” ที่เคยมีโอกาส                 ก้าวข้ามความผิดพลาด กลายมาเป็นคนใหม่..
แล้วทำไมเราจะฉวยโอกาส             รับฟังข้อผิดพลาดจากพวกเขาบ้างไม่ได้ ?
บางที หลายคนในพวกเขา              อาจไม่ใช่ศัตรูเรา อย่างที่เราเข้าใจ...
.........
 
เพื่อนเอ๋ย เราเพิ่งผ่านมันมา             ภาพยังติดตา เรื่องยังคาใจ
คนตายต้องไม่ตายเปล่า                 ความตายของเขาต้องมีความหมาย
แน่นอน, เราไม่อาจปรองดอง           กับคนที่มือทั้งสองเปื้อนเลือดพวกเราได้ !
แต่หากเราต้องเป็นเหมือนกัน -        กับคนเหล่านั้น มันมีประโยชน์อะไร ?
เราอาจต้องสนใจปัญหา                  ในระดับลึกกว่า “อำนาจของตีนใหญ่”
สนใจเครือข่ายกลุ่มก้อน                 ที่ลึกลับซับซ้อนกว่าเส้นสนกลใน
ทำความรู้จักกับทุกคน                    เพื่อเข้าใจว่า “ประชาชน” นั้น หมายถึงใคร ?
กล้าพูด กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ทุกๆ หลักการที่เริ่มล้าสมัย
ทบทวนวิธีต่อสู้                             ที่มุ่งโค่นศัตรูอย่างเอาเป็นเอาตาย
เราก็เห็น ว่าคนเหล่านั้น                  ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน..จะเอาอย่างไปทำไม ?
โลกมีพื้นที่กว้างขวาง                     ผู้คนถูกสร้างให้มีความหลากหลาย
เรา, ฉัน, ท่าน, เขา – แต่ละคน         ต่างมีตัวตนแตกต่างกันไป
แต่เสียงเราต้องเป็นที่ได้ยิน             เลือดเราต้องมีกลิ่นเหมือนพวกเขาทั้งหลาย
และมันคือเลือดสีแดง                    เหมือนเลือดสีแดงของผู้คนทั่วไป
ตัวตนเราต้องถูกมองเห็น                เพราะชีวิตเราเป็นสิ่งที่มีความหมาย
พลังแห่งปัจเจกภาพ                      ย่อมไม่ใช่การหมอบราบ – รอฟังคำสั่งใคร !
เพื่อนเอ๋ย..เราจงมากำหนด             สิ่งที่เป็นอนาคตของสังคมไทยใหม่
ถ้าไม่อยากย่ำอยู่ที่เก่า...
ถ้าไม่อยากย่ำอยู่ที่เก่า...                ตัวตนของเรา จะต้องเปลี่ยนต่อไป
 
                                                            กฤช เหลือลมัย
                                                            อ่านในงานคอนเสิร์ต “เราไม่ทอดทิ้งกัน”
                                                            หอประชุมเล็ก ม.ธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ , ๒๕ ก.ย. ๕๓
 

หมายเหตุ - สามารถติดต่อสั่งจองซีดีบันทึกกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ ศปช. เร็วๆ นี้ โทร 086 060 5433
                  - ขอบคุณภาพถ่ายจากกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงสี 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สหภาพนักแสดงนานาชาติ" ขอสมาชิกอย่าเล่นหนัง "เดอะ ฮ็อบบิท" เหตุกดค่าแรงนักแสดง

Posted: 27 Sep 2010 02:26 PM PDT

"สหภาพนักแสดงนานาชาติ" เรียกร้องให้สมาชิกอย่าเล่นภาพยนตร์ "เดอะ ฮ็อบบิท" ภาคขยายของ "เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง" เหตุภาพยนตร์ซึ่งถ่ายทำในนิวซีแลนด์ กำลังกดค่าแรงนักแสดงนิวซีแลนด์

 
 
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 27 พ.ย.ว่า สหภาพนักแสดงนานาชาติ ซึ่งมีดาราฮอลลีวูดชื่อดังอย่าง แคท แบลนเชตต์,เซอร์เอียน แม็คเคลเลน ได้แจ้งข้อเรียกร้องให้สมาชิกของสหภาพอย่าเล่นภาพยนตร์เรื่องเดอะ ฮ็อบบิท"ซึ่งเป็นภาพยนตร์ภาคขยายของเดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง กำกับโดยปีเตอร์ แจ๊คสัน
 
ข้อเรียกร้องกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ภาพยนตร์ซึ่งถ่ายทำในนิวซีแลนด์ ได้ทำการจ้างงานโดยไม่มีการทำสัญญาต่างๆ กับนักแสดงนิวซีแลนด์  เช่น การรับประกันว่าจะจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ หรือรับประกันสภาพการทำงานที่ปลอดภัย ไม่มีการจ่ายเงินรายได้จากยอดรายได้หนัง และจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเงื่อนไขปฎิบัติของข้อตกลงภายใต้กลุ่มสหภาพนักแสดงนานาชาติ
 
รายงานระบุว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวมีบริษัท "นิวไลน์" และสตูดิโอ "เอ็มจีเอ็ม" ให้เงินทุนสนับสนุน โดยปีเตอร์ แจ๊คสัน ได้เข้ามาเป็นโปรดิวเซอร์ แทนกิลเลอร์โม เดล โทโร ผู้กำกับชาวเม็กซิโก ซึ่งถอนตัวไป เนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้กำหนดจะถ่ายทำตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แต่จะล่าช้าไปจนถึงปี 2011
 
ทั้งนี้ บริษัท "นิวไลน์" สตูดิโอ "เอ็มจีเอ็ม" และทีมงานผู้จัดทำเดอะ ฮ็อบบิทยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์พิเศษ: หรือท่าเรือปากบาราจะฆ่าหมู่เกาะตะรุเตา?

Posted: 27 Sep 2010 01:47 PM PDT

สัมภาษณ์ว่าที่ ร.อ.ไพโรจน์ หอมช่วย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ถึงผลกระทบต่อขุมทรัพย์ธรรมชาติหากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เมื่อเส้นทางเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่ ผ่ากลางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา 
 
 
ถึงวันนี้ จะมีสักกี่คนรู้ว่า หากท่าเรือน้ำลึกปากบาราเกิดขึ้นจริง เส้นทางเดินเรือตามแนวร่องน้ำทะเลสตูล จะผ่ากลางอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เรือขนส่งสินค้าจะกระจายอยู่รอบๆ หมู่เกาะอาดัง–ราวี ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ธรรมชาติที่พระเจ้าประทานมาให้กับคนสตูลโดยเฉพาะ
 
ไม่ว่าจะเป็นขุมทรัพย์จากการทำประมง หรือขุมทรัพย์จากนักท่องเที่ยวที่แห่มาชื่นชมท้องทะเลที่อุดมไปด้วยปะการังแสนสวยแห่งนี้ ต่างล้วนได้รับผลกระทบอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น
 
ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ “ว่าที่ ร.อ.ไพโรจน์ หอมช่วย” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา
 
 
ว่าที่ ร.อ.ไพโรจน์ หอมช่วย
 
.........................................
 
ขอทราบความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ปี 2479 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้าย กรมราชทัณฑ์ได้เลือกเกาะตะรุเตาเป็นทัณฑสถาน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2480 ต่อมา ปี 2517 มีการประกาศให้พื้นที่เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในบริเวณเดียวกัน เป็นอุทยานแห่งชาติตะรุเตา รวมเนื้อที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 1,230 ตารางกิโลเมตร ที่เหลือเป็นพื้นดิน
 
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วย 3 หมู่เกาะคือ หมู่เกาะตะรุเตา หมู่เกาะกลาง มีเกาะที่มีชื่อเสียงคือ เกาะไข่ อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาประมาณ 20 กิโลเมตร และหมู่เกาะอาดัง–ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาประมาณ 40 กิโลเมตร มีเกาะที่มีชื่อเสียงคือ เกาะหินงาม เกาะยาง เกาะจาบัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ และเกาะดง
 

 
เฉียดทางเดินเรือสินค้า – หินโค้งบนเกาะไข่ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดสตูล อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา 
 
แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติตะรุเตามีอะไรบ้าง
มีอ่าวพันเตมะละกา ผาโต๊ะบู ถ้ำจระเข้ อ่าวเมาะ อ่าวสน น้ำตกลูดู น้ำตกโละโปะ อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง อ่าวตะโละวาว อ่าวฤๅษี เกาะไข่ มีประตูหินโค้งธรรมชาติ เป็นสถานที่จัดงานวิวาห์เกาะไข่ทุกปี เกาะอาดัง มีน้ำตกโจรสลัด ผาชะโด เกาะหินงาม เกาะยาง เกาะจาบัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ และเกาะดง
 
ปี 2552 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เป็นชาวไทย 10,068 คน ต่างชาติ 7,801 คน เรามีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยวประมาณ 3,160,000 บาท ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตาส่วนใหญ่เป็นคนยุโรปได้แก่ เยอรมัน อังกฤษ นอร์เวย์ และอเมริกา นักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง จะมานอนที่เกาะอาดัง และที่อ่าวเมาะ บนเกาะตะรุเตา ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ตอนนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นทุก
 
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จะปิดอุทยานเฉพาะหมู่เกาะอาดัง–ราวี ช่วงวันที่ 15 พฤษภาคมถึง 15 พฤศจิกายนของทุกปี แต่ยังคงมีเรือโดยสารไปยังเกาะหลีเป๊ะทุกวัน เนื่องจากที่นั่นเป็นชุมชนใหญ่
 
ถ้ามีท่าเรือน้ำลึกปากบารา ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอละงู จังหวัดสตูล เส้นทางเดินเรือจะอยู่ตรงไหน จะส่งผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติตะรุเตาหรือไม่
บริเวณที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ด้านทิศเหนือของเกาะตะรุเตา เมื่อดูจากร่องน้ำ คาดว่าจะมีแนวเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ 2 แนว
 
แนวแรก อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา เป็นแนวเหนือ–ใต้ จากท่าเรือน้ำลึกปากบาราไปสิงคโปร์
 
แนวที่สอง อยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะอาดัง เป็นแนวตะวันออก–ตะวันตก จากท่าเรือน้ำลึกปากบาราไปยังตะวันออกกลาง
 
สำหรับแนวเหนือ–ใต้ เส้นทางเดินเรือจะอยู่ระหว่างเกาะไข่กับเกาะหลีเป๊ะ นั่นหมายถึงผ่ากลางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา แนวร่องน้ำที่เรือสินค้าวิ่งผ่านจะอยู่เฉียดๆ กับเกาะไข่ ห่างออกไปแค่ 8–10 กิโลเมตร
 
ส่วนแนวตะวันออก–ตะวันตก เฉียดหมู่เกาะอาดัง–ราวี ห่างออกไปแค่ 5–6 กิโลเมตร ใกล้กว่าแนวที่ผ่านเกาะไข่เสียอีก
 
ไม่ว่าจะเดินเรือแนวไหน เกาะที่อยู่บริเวณนี้ได้รับผลกระทบทั้งนั้น
 
สำหรับพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ หมู่เกาะอาดัง–ราวี เพราะได้รับผลกระทบจากการเดินเรือทั้งเส้นทางเดินเรือทิศเหนือและทิศตะวันออกของหมู่เกาะ ผมไม่มีข้อมูลว่า เขาจะวิ่งทางไหน แต่คงต้องใช้ร่องน้ำใน 2 เส้นทางนี้ นั่นหมายความว่า หมู่เกาะอาดัง–ราวี จะถูกล้อมด้วยขบวนเรือขนส่งสินค้าแน่นอน
 
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
1. ฝุ่นใต้น้ำจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่เคลื่อนไปตามกระแสน้ำ จะส่งผลกระทบต่อปะการัง ผมไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ฝุ่นละอองจะเดินทางไปไกลกี่กิโลเมตร แต่คิดว่าน่าจะเกิน 1–2 กิโลเมตร ตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อปะการังกับหญ้าทะเล อย่างน้อยก็ในระหว่างการก่อสร้าง
 
2. เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ใบจักรเรือก็ต้องใหญ่มีแรงขับดันสูง รวมทั้งคราบน้ำมันจากเรือ พวกนี้จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรในทะเล ไม่ว่าปะการัง หญ้าทะเล และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณเรือวิ่งผ่าน โดยเฉพาะรอบๆ เกาะไข่ ที่มีปะการังจำนวนมาก
 
ส่วนแนวตะวันออก–ตะวันตก จะกระทบหนักกับเกาะบิสซี่ เกาะอาดัง ตรงนี้มีปะการังสวยงาม โดยเฉพาะรอบเกาะอาดัง ชุมชนชาวเลที่อ่าวแม่ม่ายก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
 
นี่ยังไม่พูดถึงทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว ที่จะสูญเสียความสวยงามไปด้วย จากการวิ่งผ่านไปมาของเรือขนส่งสินค้า
 
แสดงว่าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก
แน่นอน นี่คือสิ่งที่กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงการต้องประเมินให้ชัดเจน ข้อมูลในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ผมก็ไม่แน่ใจว่าถูกต้องแค่ไหน แต่การสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผมว่าไม่เหมาะสม ต้องหาสถานที่ที่ไม่มีผลกระทบมากนัก
 
ทรัพยากรธรรมชาติที่อ่อนไหวที่สุด ที่จะได้รับผลกระทบถ้ามีการเดินเรือสินค้า
ถ้าเป็นฝุ่นละอองกับสารแขวนลอยใต้น้ำ พวกที่อ่อนไหวที่สุดคือ ปะการัง ขนาดปี 2553 อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลง ยังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวประมาณ 80% แค่อุณหภูมิของน้ำยังส่งผลขนาดนี้ พวกสารแขวนลอยต่างๆ ที่อยู่ในคราบน้ำมันจากเรือ จะส่งผลกระทบกับปะการังขนาดไหน ถ้าปะการังได้รับผลกระทบ มันจะสร้างความเสียหายไปทั้งระบบนิเวศ
 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จึงไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา
ใช่ เพราะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา มีศักยภาพสูงพอที่จะพัฒนาให้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว ไม่แพ้ภูเก็ตหรือกระบี่ เพราะสามารถเชื่อมเส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวในทะเลอันดามัน ตั้งแต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หมู่เกาะตะรุเตา ไปเกาะสุกร ไปหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง จนถึงกระบี่และภูเก็ต
 
ผมมองว่า เราสามารถทำได้เหมือนฝั่งอ่าวไทย ที่มีเรือท่องเที่ยววิ่งจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ตั้งแต่เกาะนางยวน เกาะเต่า ไปถึงเกาะพะงัน และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
ผมคิดว่าทางฝั่งอันดามัน เรือท่องเที่ยวน่าจะวิ่งตั้งแต่ภูเก็ตลงมาที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ มาเกาะไหง เกาะหลีเป๊ะ เข้าเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางด้านการท่องเที่ยวได้อีกมหาศาล
 
ฝั่งอ่าวไทย นักท่องเที่ยวจะไปตอนไหนก็ได้ มีเรือท่องเที่ยววิ่งทั้งอ่าวไทย มีผู้ประกอบการท่องเที่ยวถึง 3 บริษัทดำเนินการอยู่ แต่ฝั่งอันดามันยังไม่มี ผมไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะนักธุรกิจยังไม่กล้าเข้ามาลงทุนหรือไม่
 
บางทีเขาอาจยังไม่เห็นความสวยงามของหมู่เกาะตะรุเตาก็เป็นได้ ผมเคยเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรมาก่อน ผมเห็นว่าความสวยงามสู้ที่นี่ไม่ได้ ที่นี่มีความหลากหลายทางธรรมชาติมากว่า
 
ถ้ามีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ มีเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่วิ่งขวางไปขวางมา ศักยภาพตรงนี้ก็จะหมดไป เพราะภูมิทัศน์ทางทะเลเสียหาย ถึงแม้วัตถุประสงค์การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จะเพื่อการอนุรักษ์ เพื่อการนันทนาการ และการพักผ่อน แต่พอไปเที่ยว โน่นมีเรือสินค้ามาขวาง มองแล้วไม่สวยเท่าไหร่
 
ที่นี่เรามีชุมชนชาวเลหลายครอบครัวที่อ่าวแม่ม่าย บนเกาะอาดัง มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ เราสามารถนำวัฒนธรรมมาขายได้ ไม่ใช่เฉพาะขายธรรมชาติอย่างเดียว คล้ายกับหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ขายพวกมอแกน ที่นี่เราขายชาวเล เพราะพวกเขามีวัฒนธรรม มีการตั้งบ้านเรือน การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ แม้จะเปลี่ยนไปบ้างแล้ว แต่ประเพณียังเหมือนเดิม อย่างประเพณีลอยเรือในคืน 15 ค่ำ เดือน 6 เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาเข้าไปส่งเสริมอยู่
 
เคยประเมินหรือไม่ว่า เมื่อมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะมีเรือสินค้าวิ่งผ่านอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตากี่ลำ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคิดเป็นตัวเลขเท่าไหร่
ตอนนี้ข้อมูลยังน้อย กรมเจ้าท่าไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้เลยว่า จะมีท่าเรือน้ำลึก ท่าเรือนี้จะเหมือนกับที่ภาคตะวันออกหรือไม่ ชาวบ้านรู้ไม่มาก มันจะเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าอะไรบ้าง ผมเองก็ยังไม่รู้ ข้อมูลที่กรมเจ้าท่าให้ก็เป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ การเข้าถึงชุมชนก็น้อย
 
ทำให้ประเมินไม่ได้ว่าผลกระทบจริงๆ จะขนาดไหน
ใช่ เท่าที่ผมฟังข้อมูลมาจากการเข้าร่วมประชุมเรื่องนี้หลายครั้ง เส้นทางรถไฟที่จะก่อสร้าง นำมาใช้ขนส่งอะไรก็ยังไม่ชัดเจน ชาวบ้านก็เลยรู้สึกรัฐไม่จริงใจ บอกว่าจะทำโครงการอย่างนี้ แต่ให้ข้อมูลที่ชาวบ้านไม่เต็มที่ เราจึงไม่รู้ว่าหลังจากสร้างท่าเรือน้ำลึกแล้ว ชาวบ้านจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
 
กรมเจ้าท่าไม่ได้ชี้แจงให้ชาวบ้านฟังข้อดี ข้อเสียของท่าเรือน้ำลึกมีอะไรบ้าง เช่น ข้อดีคือ ทำให้มีงานทำ มีโรงงานมากขึ้น จะมีอุตสาหกรรมหนัก หรือทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น มีเส้นทางคมนาคมสะดวกขึ้น คุณไม่เคยชี้แจงให้ชาวบ้านฟังเลย
 
สถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ก็ยังไม่ได้กำหนดพิกัดให้ชาวบ้านเห็นเป็นรูปธรรม เพียงแต่บอกว่า ต้องการใช้พื้นที่ 4,700 ไร่ สถานที่สร้างท่าเรือน้ำลึกอยู่กลางทะเลตรงนี้
 
ผมคิดว่าเรื่องที่มีผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างนี้ มันต้องกำหนดจุดให้ชัดเจน แล้วเปิดให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ
 
ท่าทีของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต่อการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราบางส่วน เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นอย่างไร
ผมคุยกับหัวหน้าสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์นครศรีธรรมราช ที่รับผิดชอบอุทยานแห่งชาติแห่งชาติตะรุเตา เห็นว่าการสร้างท่าเรือในเขตอุทยานแห่งชาติ ผิดวัตถุประสงค์การตั้งอุทยานแห่งชาติ
 
เรื่องนี้มีการคุยกันในระดับกรมแล้ว ข้าราชการในกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย การเพิกถอนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ยังต้องใช้เวลาอีกนาน
 
ขอทราบขั้นตอนการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ
การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติมี 15 ขั้นตอน ในการเพิกถอนต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในส่วนประชาชนคือ ขั้นตอนที่ 6 เป็นขั้นตอนที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ นำผลการสำรวจพื้นที่เข้าที่ประชุมสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความเห็นชอบ ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบทุกอย่างก็จบตรงนี้
 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ต้องนำเรื่องการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ขอความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
 
หลังจากได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมได้อีกครั้ง ในขั้นตอนที่ 11 ขั้นตอนนี้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ซึ่งจะมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียไปชี้แจง ถ้ามีการคัดค้านในขั้นตอนนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาจะตกไป ไม่สามารถเพิกถอนอุทยานแห่งชาติพื้นที่นั้นได้
 
นโยบายให้ตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีที่มาอย่างไร
เรื่องนี้เป็นนโยบายของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องการให้ตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติทั้ง 148 แห่งทั่วประเทศ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ได้ส่งรายชื่อให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาแล้ว มีนายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลอยู่ด้วย ต่อไปจะทำอะไรในอุทยานแห่งชาติ ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ผมจะตัดสินใจอะไรคนเดียวไม่ได้อีกแล้ว
 
กรณีนี้เป็นคนละประเด็นกับการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายประมง-เกษตรอันดามัน อ่าวไทย ประกาศประชาชนต้องมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร

Posted: 27 Sep 2010 12:36 PM PDT

เครือข่ายประชาชนประกาศในงานสัมมนาวิชาการต้องต่อสู้เรื่องสิทธิและการจัดการทรัพยากรให้มีผลจริงในทางปฏิบัติ ดีเอสไอเปิดตัว www.dsimap.or.th เว็บไซต์ใหม่ช่วยตรวจสอบการบุกรุกป่าไม้ที่ดิน

 
 
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 53 เวลา 09.00 น. เครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งพังงา-ภูเก็ตร่วมกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) และคณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ประจำภาคใต้ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้าจัดงานสัมมนาวิชาการสิทธิชุมชนกับธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งและที่ดิน ที่ห้องประชุมปีกผีเสื้อ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาบุกรุกป่าไม้ที่ดินของรัฐ ตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และจัดทำข้อเสนอต่อการปฏิรูปการเมืองประเทศไทย
 
การสัมมนาเริ่มด้วยการชี้แจงสถานการณ์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าไม้ ที่ดินของเครือข่ายภาคเกษตรและประมง โดยนายสวัสดิ์ ถิ่นเกาะยาว ตัวแทนจากบ้านย่าหมี จ.พังงา นายอนุชา อาจหาญ ตัวแทนจากบ้านกู้กู จ.ภูเก็ต นางทัศนา นาเวศ ตัวแทนจากบ้านทับยาง จ.พังงา และนายบุญฤทธิ์ ภิรมย์ ตัวแทนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี
 
หลังจากนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษโดยพ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และนายรุจน์ เสาวภานันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดิน กรมสอบสวนคดีพิเศษและที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาบุกรุกป่าไม้ที่ดินของรัฐในภาคใต้ 
 
ก่อนพักเที่ยงเครือข่ายชุมชนชายฝั่งอันดามัน /อ่าวไทย โดยนางทัศนา นาเวศและนายบุญฤทธิ์ ภิรมย์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ได้แถลงเจตนารมณ์สะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรมและความไม่มีประสิทธิภาพของนโยบายและกลไกของรัฐในการแก้ไขปัญหาที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติดิน น้ำ ป่า ชายฝั่ง และทะเล พร้อมประกาศต่อสู้สิทธิและอำนาจการจัดการทรัพยากรให้มีผลจริงในทางปฏิบัติ ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ 
 
1. เครือข่ายประชาชนผู้ต้องประสบกับปัญหาที่ดิน การจัดการที่ดินที่ไม่เป็นธรรมขอยืนยันสิทธิของตนด้วยการสร้างกระบวนการจัดการดูแลรักษาที่ดิน ป่าไม้ และทะเลโดยกระบวนการจัดการร่วมกันของชุมชนในพื้นที่ จะไปยอมจำนนต่อการอ้างสิทธิ การอ้างข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การใช้อำนาจโดยไม่สุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ร่วมกันกับกระบวนการแสวงหากำไรอย่างไร้ หิริ โอตะปะ ของกลุ่มทุน ทั้งนี้ไม่ว่าจะต้องถูกกลั่นแกล้งฟ้องร้อง จับกุม ดำเนินคดีในรูปแบบต่างๆ 
 
และ 2.เครือข่ายประชาชนเราขอยืนยันว่ากระบวนการจัดการทรัพยากร ที่ดิน ป่า ทะเลดังกล่าวโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหนทางเดียวในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรให้ยั่งยืน เป็นหนทางเดียวในการรักษาวิถีชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนและในที่สุดแล้วจะเป็นประโยชน์โดยรวมของสังคมให้มีการสร้างสรรค์พัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอย่างสอดคล้องกับการรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นหนทางรอดที่แท้จริงของสังคมไทยต่อกระบวนการพัฒนาที่ผิดพลาดมาตลอดหลายสิบปี ที่กำลังจะทำให้สังคมไทยต้องกระทบกระเทือนเสียหายจนถึงขั้นรากฐาน
 
ปิดท้ายด้วยนางกานดา โต๊ะไม ตัวแทนองค์กรชุมชนประมง-เกษตรฝั่งอ่าวไทยและอันดามันกล่าวให้กำลังใจในการทำงานของ พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ที่ช่วยทำคดีให้กับชาวบ้านในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งชาวบ้านได้มอบพวงมาลัยดอกไม้สดให้กับพ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิลเพื่อเป็นกำลังใจในการต่อสู้คดีที่ถูกนักวิชาการคนหนึ่งฟ้องร้องเป็นคดีความ
 
ในช่วงบ่าย พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษเปิดตัวพร้อมทั้งนำเสนอเว็บไซต์ใหม่ล่าสุดของกรมสอบสวนคดีพิเศษ คือ www.dsimap.or.th เพื่อช่วยในการตรวจสอบการบุกรุกป่าไม้ที่ดิน โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษจัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนก่อนและสามารถเข้าถึงข้อมูลช่วยกันตรวจสอบการบุกรุกป่าไม้ ที่ดินจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่อพม่าถูกโจมตีจนเว็บล่มช่วงครบ 3 ปี ปฏิวัติชายจีวร พบศูนย์กลางถล่มอยู่จอร์เจีย

Posted: 27 Sep 2010 12:28 PM PDT

เว็บไซต์ของสื่อพม่าภายนอกประเทศถูกโจมตีเซอร์เวอร์จนล่ม ในช่วงครบรอบ 3 ปีเหตุการณ์ทหารพม่าปราบปรามพระสงฆ์ชุมนุม "ดีวีบี" เผยศูนย์กลางการโจมตีกระจายใน 20 ประเทศทั่วโลก ฐานหลักอยู่ที่จอร์เจีย รัสเซีย เวียดนาม อิสราเอล คาซัคสถาน

ภาพกราฟฟิคจากดีวีบี แสดงศูนย์กลางการโจมตีเว็บไซต์สื่อพม่านอกประเทศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เว็บไซต์ "อิระวดี" ล่ม โดยการโจมตีเกิดช่วงครบรอบ 3 ปีปฏิวัติชายจีวร โดยศูนย์กลางหลักอยู่ที่จอร์เจีย รัสเซีย เวียดนาม อิสราเอล คาซัคสถาน และพื้นที่อื่น 20 ประเทศทั่วโลก ศููนย์กลางการโจมตีจำนวนนี้รวมทั้งพม่า ไทย และมาเลเซีย รวมอยู่ด้วย

แม้จะถูกโจมตีจนเว็บหลักใช้ไม่ได้ แต่ "อิระวดี" ได้ใช้เว็บบล็อกเป็นพื้นที่สำรองในการรายงานข่าวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หาญเลย์ นักเขียนการ์ตูนประจำอิระวดี ได้วาดการ์ตูนล้อการโจมตีเว็บไซต์ของสื่อพม่าพลัดถิ่นในครั้งนี้ด้วย

เว็บไซต์ของนิตยสาร "อิระวดี" ถูกโจมตีเซอร์เวอร์ในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา (27 ก.ย.) ทำให้เว็บไซต์ทั้งภาคภาษาอังกฤษและพม่าต้องปิดตัวลง โดยทีมงานอิระวดีได้แจ้งผ่านเว็บบล็อกสำรองว่ากำลังพยายามแก้ไขเพื่อให้เว็บกลับมาดำเนินการได้

ทั้งนี้ การโจมตีเกิดขึ้นในช่วงครบรอบ 3 ปี ของการปฏิวัติชายจีวร (the Saffron Revolution) หรือการประท้วงของพระสงฆ์พม่าที่เกิดขึ้นในปี 2550 ซึ่งจบด้วยการปราบปรามของทหารพม่า

ทั้งนี้ผู้ดูแลเซอร์เวอร์ในสหรัฐอเมริกาส่งอีเมล์แจ้งเว็บมาสเตอร์ของอิระวดีว่าถูกโจมตีด้วยการเรียกข้อมูลเกินขนาด หรือ DDoS attack (Distributed Denial of Service) โดยการเรียกข้อมูลเกินขนาดมีเป้าหมายให้ระบบชัตดาวน์หรือปิดตัวลงและขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้งานปกติสามารถเข้าถึงเว็บได้

ทั้งนี้ วินตู่ (Win Thu) ผู้อำนวยการทั่วไปของอิระวดีเปิดเผยว่า เว็บไซต์อิระวดีเคยถูกโจมตีเช่นนี้ในเดือนกันยายนปี 2551 ขณะที่การโจมตีรอบล่าสุดมีขนาดของ DDoS attack ที่ 2 กิกกะไบท์ ซึ่งใหญ่กว่าการโจมตีเมื่อปี 2551 ที่ 1 กิกกะไบท์

วินตู่ คาดการว่าการโจมตีจะเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ แต่จะรบกวนการรายงานข่าวประจำวันของอิระวดีและการเข้าใช้งานของผู้อ่าน ทั้งนี้แฮกเกอร์ได้เริ่มโจมตีเว็บอิระวดี www.irrawaddy.org ทั้งภาคภาษาอังกฤษ และภาคภาษาพม่าในเวลา 1.00 น. ของเช้าวันจันทร์ และตามมาด้วยการโจมตีเว็บไซต์สำรองอีกแห่งคือ www.irrawaddymedia.com

ทั้งนี้จากข้อมูลของฝ่ายเทคนิคของอิระวดี ระบุว่าขณะนี้ทีมงานกำลังพยายามกู้ระบบให้สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ โดยเมื่อปี 2551 อิระวดีใช้เวลา 3 วันในการกู้ระบบ

ทั้งนี้เว็บไซต์ข่าวของพม่่าอีกสองแห่งคือ มิซซิมา และ เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ ดีวีบี ก็ถูกโจมตีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อปี 2551 ในช่วงครบรอบการปฏิวัติชายจีวร เว็บไซต์อิระวดี ดีวีบี มิซซิมา และนิว เอรา ต่างถูกโจมตีแบบ DDos เช่นกัน

จ่อ ซวา โม (Kyaw Zwa Moe) บรรณาธิการบริหารของเว็บไซต์อิระวดี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวดีวีบีว่าการโจมตีเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าวิตก เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งใน 5-6 สัปดาห์ข้างหน้า และการโจมตีครั้งนี้สาหัสกว่าการโจมตีที่เคยเกิดก่อนหน้านี้ "ผมเชื่อว่าพวกเขาจัดการโจมตีเว็บในช่วงนี้ เพื่อเตรียมโจมตีอีกทีในช่วงการเลือกตั้ง เพราะสื่อพม่านอกประเทศเตรียมรายงานการเลือกตั้งครั้งนี้ และการโจมตีครั้งนี้เพื่อเป็นการทดสอบระบบของสื่อพม่านอกประเทศ"

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ดีวีบี ระบุว่า การโจมตีเกิดขึ้นจาก 20 แหล่งทั่วโลก ศูนย์กลางการโจมตีที่สำคัญได้แก่ รัสเซีย จอร์เจีย เวียดนาม อิสราเอล และคาซักสถาน และพื้นที่อื่นๆ โดย เอ ชาน หน่าย (Aye Chan Naing) ผู้อำนวยการของดีวีบี เชื่อว่าจะมีการโจมตีเช่นนี้อีก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: ดาบที่ประหารเสรีภาพ

Posted: 27 Sep 2010 10:35 AM PDT

สิ่งที่จริงกว่าคำขวัญที่ว่า “เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพประชาชน” นั่นคือ “เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพของสื่อ” แต่เมื่อสื่อที่พยายามให้พื้นที่เสรีภาพต้องถูกละเมิดเสรีภาพ สื่อทั้งหลายทำอะไรกัน?

 
คำขวัญที่ว่า “เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพประชาชน” อาจไม่จริง เพราะที่จริงกว่าคือ “เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพของสื่อ” เนื่องจาก
 
ประการแรก สื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อของรัฐหรือของเอกชนก็ล้วนแต่เป็นสื่อที่มี “เจ้าของ” สื่อของรัฐตามหลักการแล้วประชาชนคือเจ้าของ แต่โดยพฤตินัยรัฐบาลคือเจ้าของ ฉะนั้น สื่อของรัฐจึงถูกใช้เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และมันก็ไม่มียุคไหนที่สื่อของรัฐจะถูกใช้เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างน่าเกลียดเท่ากับยุคนี้ 
 
ส่วนสื่อของเอกชน ถ้าเจ้าของสื่อพยายามรักษาอุดมการณ์และจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ ก็เป็นไปได้ว่าเสรีภาพของการเสนอและวิเคราะห์ข่าวสาร หรือแสดงความคิดเห็นอื่นๆ จะดำเนินไปในทิศทางที่ปกป้องเสรีภาพของประชาชน แต่ถึงอย่างไรสื่อก็เป็นธุรกิจที่ทำธุรกิจโฆษณากับทั้งธุรกิจภาคเอกชน และงบโฆษณาของภาครัฐ เงื่อนไขทางธุรกิจก็อาจจำกัดเสรีภาพของสื่อได้ โดยเฉพาะในสงครามแห่ง “สี” สื่อที่ต้องคำนึงถึงลูกค้าจากทุกสีอาจไม่กล้าพอที่จะเปิดพื้นที่ให้กับ “ความจริง” หรือ “ความเห็น” ของสีใดสีหนึ่ง หรือเปิดพื้นที่ให้ทั้งสองสีโต้แย้งกัน
 
ข้อจำกัดอีกอย่างคือ สื่อเป็น “พื้นที่ความเห็น” ของคนเพียงไม่กี่คน คือคอลัมนิสต์ไม่กี่คน แม้พื้นที่เปิดนอกเหนือจากคอลัมนิสต์ก็เป็นพื้นที่ความเห็นของคนมีชื่อเสียง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าคนธรรมดาสามัญ โนเนม หรือคนชั้นล่างแทบไม่ได้มีโอกาสใช้พื้นที่สื่อเหล่านี้เสนอความเห็นของตัวเอง
 
ที่แย่กว่านั้นคือ สื่อบางสื่อถึงขนาดมีกฎว่า ห้ามเสนอข่าว ความคิดเห็น บทความของบุคคลชื่อนั้นชื่อนี้ หรือของคนสีนั้นสีนี้ และที่แย่หนักเข้าไปอีกคือเวลาสื่อบางสื่อลงข้อคิดเห็น หรือบทความวิพากษ์วิจารณ์บุคคลใดบุคคลหนึ่งไปแล้ว พอมีบทความหรือข้อคิดเห็นอีกด้านที่อธิบายข้อเท็จจริงและเหตุผลของผู้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความเสียหายไปแล้วนั้น สื่อ (ที่อ้างว่าเป็น “สื่อคุณภาพ” ด้วยซ้ำ) ก็ไม่นำเสนออีกด้านเฉยเลย ซึ่งตัวอย่างพื้นๆ เหล่านี้มันแสดงให้เห็นว่า “เสรีภาพสื่อ” ไม่อาจแทน “เสรีภาพประชาชน” ได้
 
ประการที่สอง ที่ว่าการปฏิรูปสื่อต้องให้สื่อตรวจสอบกันเองนั้น ก็มีข้อจำกัดมาก เพราะวัฒนธรรม “แมลงวันย่อมไม่ตอมแมลงวัน” เป็นวัฒนธรรมที่แข็งของวงการสื่อ ไม่ต่างจากวงการอื่นๆ คนในวงการสื่อวิจารณ์คนอื่นได้หมดนอกจากคนในวงการตนเอง ปัจจุบันนี้เห็นมีวิจารณ์กันบ้าง แต่วิจารณ์ด้วยเงื่อนไขแห่ง “สี” ไม่ใช่วิจารณ์ด้วยเงื่อนไขของการปกป้อง/ไม่ปกป้องเสรีภาพประชาชน
 
ที่น่าเศร้าคือ เวลาที่สื่อด้วยกันถูกคุกคามเสรีภาพ มีสื่อฉบับไหนบ้างที่ “ทำข่าว” เชิงเจาะลึกในเรื่องดังกล่าว ที่เห็นกันอยู่คือเสนอข่าวแบบผ่านๆ ไม่ขึ้นหน้าหนึ่งเหมือนข่าวดาราทำผู้หญิงท้องด้วยซ้ำ! 
 
ผมแปลกใจมากว่า ทำไมเมื่อสื่อถูกคุกคามเสรีภาพ เช่น กรณี ผอ.ประชาไท ถูกจับด้วยข้อกล่าวหาทำผิดกฎหมายหมิ่นฯ ทำไมสื่อที่ต่างก็ชูคำขวัญว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ไม่ทำข่าวแบบเจาะลึก เช่น ไปสัมภาษณ์ผู้ถูกจับกุม องค์กรสิทธิมนุษย์ชน ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ว่ามีความเห็นอย่างไรกับกฎหมายหมิ่นฯ เอาเนื้อหากฎหมายหมิ่นฯ มาวิพากษ์ว่ามันเป็นกฎหมายละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่จะพูดความจริงของประชาชนหรือไม่?
 
หรือไปถามนักนิติปรัชญาว่า กฎหมายเช่นนั้นเป็นกฎหมายที่ยุติธรรมหรือไม่? ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปถามใคร ก็ไปถามคณะกรรมการปฏิรูประเทศ เช่น คุณอานันท์ ปันยารชุน คุณหมอประเวศ วะสี นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็ได้ว่า สมควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นหรือไม่? เพราะคนเหล่านี้ต่างก็เคยเรียกร้อง “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง” มาเป็นสิบๆ ปี แล้วการปฏิรูปประเทศถ้าไม่เปลี่ยน “โครงสร้างอำนาจ” หรือกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพูดความจริงของประชาชน ภาษีประชาชนที่เป็นค่าปฏิรูปฯ 60 ล้านบาท จะเสียเปล่าไหม?
 
สื่ออย่างประชาไทพยามเป็นอิสระจาก “ทุน” หรือไม่สังกัดนายทุนใดๆ ที่จะมีอำนาจบงการทิศทางการทำหน้าที่สื่อ และพยายามเปิดพื้นที่เสรีภาพสำหรับทุกความเห็นจริงๆ นำเสนอข้อเท็จจริงบางเรื่องที่สื่อกระแสหลักไม่กล้าเสนอ ฯลฯ ซึ่งความพยายามเหล่านี้คือความพยายามขยายพื้นที่เสรีภาพของประชาชน
 
“การขยายพื้นที่เสรีภาพ” มันต่างจากการพยายาม “ให้ปัญญา” ตรงที่อย่างหลังคุณรวบเสรีภาพไว้ที่ตัวคุณ แล้วก็ใช้เสรีภาพในการนำเสนอความคิดของคุณอย่างเต็มที่ และเสนออย่างผู้อบรมสั่งสอนราวกับว่าเป็น “สื่อศาสดา” ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้าง “กลุ่มศาสนิกสื่อ” ที่เลื่อมใสศรัทธาในสื่อนั้นๆ แต่การขยายพื้นที่เสรีภาพคือการขยายพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ใครก็ได้เข้ามาใช้พื้นที่ดังกล่าวได้ 
 
แต่ความเสี่ยงที่หนักหนาสาหัสของสื่อที่มุ่งขยายพื้นที่เสรีภาพคือ การถูกลงดาบด้วยกฎหมายหมิ่นฯ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ดาบดังกล่าวนี้มีไว้ใช้เพื่อฟาดฟันฝ่ายที่มีความเห็นต่างทางการเมือง และข้อเท็จจริงก็คือว่าประชาไทเป็นพื้นที่เปิดสำหรับทุกสี เพียงแต่ว่าสีแดงอาจเข้ามาใช้มากกว่า สีเหลืองที่เข้ามาก็ด่าสีแดงได้เต็มที่ นี่คือ “เสรีภาพ” แต่ในที่สุดแล้วคนที่มาใช้พื้นที่ตรงนี้ก็จะรู้เองว่าการใช้เหตุผลน่าสนใจกว่าการด่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะค่อยๆ พัฒนาไป ไม่ใช่เถียงด้วยเหตุผลไม่ได้ ด่าสู้ไม่ได้ แล้วจะเรียกหาดาบมาฟาดฟันอีกฝ่าย หรือผู้รับผิดชอบเว็บฯ
 
แต่ก็นั่นแหละครับ ตราบที่ยังมีดาบอยู่ มันก็ต้องมีผู้ใช้ดาบอยู่วันยังค่ำ คำถามคือ ถ้าสังคมสังคมหนึ่งอนุญาตให้มีดาบเล่มหนึ่งที่ใครจะใช้มันฟาดฟันคนอื่นๆ ได้เลย หากเขาเชื่อว่า ตีความว่า เห็นว่า บุคคลคนนั้น (ที่ทำมาหากิน มีภาระรับผิดชอบจิปาถะ) เหมือนเขานี่แหละไปพูดความจริงด้านที่ไม่บวกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สังคมนี้นับถือ และมันก็เป็นไปได้สูงมากว่าดาบอันนี้จะถูกใช้ฟาดฟันศัตรูทางความคิด ศัตรูทางการเมือง และ ฯลฯ สังคมเช่นนี้จะเป็นสังคมที่น่าอยู่ไหม? การที่รัฐยื่นดาบให้ประชาชนทุกคนใช้ประหัตประหารเสรีภาพกันได้ มันคือการยื่นหลักประกันความสงบสุขของสังคมหรือ?
 
หรือหากมองลึกลงไปถึง “แก่นสาร” (essence) ความเป็นคนคือ “การมีเสรีภาพ” กฎหมายหมิ่นฯ เป็นกฎหมายที่ขัดแย้งกับ “ความเป็นคน” ดังกล่าวนี้หรือไม่? สื่อหากจะยังยืนยันคำขวัญ “เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ได้ต่อสู้เพื่อปกป้องความเป็นคนดังกล่าวนี้อย่างหนักแน่นเพียงใด? 
 
โดยเฉพาะเมื่อสื่อด้วยกันเองที่พยายามยืนยันเสรีภาพของประชาชน ต้องถูกละเมิดเสรีภาพ สื่อทั้งหลายทำอะไรกันอยู่???! 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แกนนำ นปช.ขึ้นศาลนัดแรกคดีก่อการร้าย ศาลนัดตรวจหลักฐานอีกครั้ง 27 ธ.ค.นี้

Posted: 27 Sep 2010 09:21 AM PDT

ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การจำเลย ในคดีที่อัยการยื่นฟ้องแกนนำ นปช.ในความผิดฐานก่อการร้ายวันเดียวไม่เสร็จสิ้น นัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ด้าน "จตุพร"เผยเร่งนำคดีคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตฟ้องศาลโลกให้ทันเดือน ต.ค.นี้

 
เนชั่นทันข่าว : วันนี้ (27 ก.ย.2553) ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การจำเลย คดีหมายเลขดำ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย, น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย กับพวกซึ่งเป็นแนวร่วม นปช. รวม 19 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย และมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้น กระทำการเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินและก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งอัยการยื่นฟ้องคดี เมื่อวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ 
 
ขณะที่วันนี้ นายวีระ ประธาน นปช. จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับการประกันตัวเพียงคนเดียว ได้เดินทางมาศาล โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงเกือบ 100 คน เดินทางมาให้กำลังใจ ขณะที่นางกุลรัตน์ พิกุลทอง ภรรยาของนายก่อแก้ว พิกุลทอง อุ้มบุตรสาวมาให้กำลังใจนายก่อแก้วจำเลยร่วมด้วย ส่วน นายจตุพร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และนายการุณ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย จำเลยร่วมไม่ได้เดินทางมาศาล เนื่องจากติดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ 
 
ทั้งนี้ ในการตรวจพยานหลักฐาน ทั้งอัยการโจทก์ และทนายจำเลยทั้งหมด ได้ทำการตรวจเอกสารหลักฐาน พร้อมทั้งบัญชีรายชื่อพยาน มาตลอดทั้งวันจนถึงเวลา 16.30 น. แต่การตรวจสอบยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากคู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างบัญชีรายชื่อพยานที่จะเข้านำสืบจำนวนมาก ศาลจึงมีคำสั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายทำบัญชีรายชื่อพยานส่งศาลภายในกำหนด 30 วัน โดยศาลจะพิจารณาตรวจดูรายชื่อพยานก่อนมีคำสั่งว่าจะอนุญาตให้แต่และฝ่ายนำพยานสืบได้กี่ปาก ซึ่งศาลนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งวันที่ 27 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. 
 
 
"จตุพร" เร่งฟ้องศาลโลกให้ทันเดือน ต.ค.นี้
 
เนชั่นทันข่าว: ในวันเดียวกัน (27 ก.ย.2553) นายจตุพร พรมพันธ์ แกนนำ นปช.กล่าวถึงกรณีที่ดีเอสไอออกมาระบุว่าคดีของเสื้อแดงใช้เวลา 45 วันเพื่อชันสูตรศพว่า เรื่องนี้เป็นการตอแหลทั้งหมดเพราะไม่มีทางทำเสร็จเพราะ 9 ศพที่อยู่วัดหัวลำโพงวันนี้ก็กำลังรอคำสั่งศาลว่าจะอนุญาตให้มีการชันสูตรพลิกศพหรือไม่ และก่อนหน้านี้ที่มีการยิงกันนั้นก็ไม่ได้มีการชันสูตรพลิกศพตามกระบวนการพิจารณาความอาญา แม้กระทั่งบนรางรถไฟฟ้าก็เพิ่งไปดูสองวันที่แล้ว ปัญหาคือว่าคำสั่งฟ้องพวกตนได้อย่างไรว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทำให้ตาย 91 ศพ ก็หลักฐานพวกคุณก็เพิ่งขึ้นไปที่รถรางไฟฟ้า ชันสูตรพลิกศพ 45 วันก็ไม่ทันและก็ไม่รู้ว่าจะทันเมื่อไร เพราะเขารู้ว่าเมื่อชันสูตรพลิกศพตามคดีอาญาจะต้องนำผลไปให้อัยการนำไปไตร่สวนในศาล ซึ่งจะระบุสาเหตุของการตายและคนร้าย ซึ่งนายธาริตไม่มีทางทำอย่างนั้น ดังนั้นจะฟ้องศาลโลกให้ทันภายในเดือน ต.ค.และถ้าจะล่าช้าก็จะไม่ให้เกินต้นเดือน พ.ย.นี้
 
 
บก.ลายจุดเยี่ยมนปช.ในเรือนจำอุดรฯ หวังหาทางช่วย
 
เนชั่นทันข่าว: นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนำ นปช.รุ่นที่ 2 ได้เดินทางมายังเรือนจำกลางอุดรธานี เพื่อเข้าเยี่ยมคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังอยู่ ในคดีเผาศาลากลางจังหวัด และเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา รวม 28 คน โดยกลุ่มคนเสื้อแดง พร้อมญาติของผู้ที่ถูกจับกุม จำนวนกว่า 60 คนมารอเข้าเยี่ยมด้วย โดย นปช.ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำมีความผิดในข้อหา โฆษณาชักชวนให้กระทำผิดกฎหมาย, บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, วางเพลิงเผาสถานที่ราชการ และทำให้เสียทรัพย์อันเป็นสาธารณประโยชน์ และร่วมกันพยายามเผาที่ว่าการ อ.เมืองอุดรธานี ในความผิดร่วมกัน ชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน, บุกรุกสถานที่ราชการมีอาวุธ และพยายามวางเพลิงสถานที่ราชการ 
 
หลังจากที่นายสมบัติฯ ออกมาจากห้องเยี่ยมผู้ต้องขัง ได้เชิญญาติของผู้ถูกจับกุมมาพูดคุย ที่ศาลาพักญาติภายในเรือนจำ โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงเข้ามาร่วมสมทบ ซึ่งนายสมบัติฯ ได้สอบถามความเป็นอยู่ของครอบครัว พร้อมอธิบายถึงแนวทางการที่จะช่วยเหลือเยียวยา และแนวทางการจะดำเนินกิจกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดงในภายหน้า 
 
นายสมบัติ กล่าวว่า มาให้กำลังใจทั้งคนเสื้อแดงที่อยู่ในเรือนจำและญาติพี่น้องที่อยู่ภายนอก ซึ่งบางคนที่มีอายุถึง 70 กว่า ได้รับความลำบากเพราะลูกชายและลูกสะใภ้ ถูกควบคุมตัวอยู่ต้องเลี้ยงหลานอีก 2 คน ซึ่งตนก็ได้มารับฟังและหาทางที่จะช่วยเหลือดูแลพี่น้องเหล่านี้อย่างไร รวมถึงมาดูลักษณะของคดี และสถานการณ์ใน จ.อุดรธานี เพราะที่นี่ช่วงหลังไม่ปรากฎมีความเคลื่อนไหวใดๆ ออกมา หลายคนคิดว่าพวกที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในขณะนี้เป็นพวกแกนนำ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ คนพวกนี้เป็นชาวบ้านจริงๆ 
 
“ต่อไปผมจะต้องหาทางเชื่อมโยงกับพี่น้องที่อุดรธานี ที่บางคนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ผมจึงขอให้ทำระบบข้อมูล และจะให้ตั้งกลุ่มอาสาสมัครจัดกิจกรรมเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องของคนที่ถูกคุมขัง เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปยังส่วนกลาง โดยผมจะระดมทุน โดยการจัดหาสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจเป็นของใหม่และของมือสองมาขายแบบตลาดนัด ที่รับบริจาคจากคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ มาขายในแต่ละจังหวัด และตั้งเป็นกองทุนในจังหวัดนั้นๆ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา และถูกดำเนินคดี ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้เป็นปัญหาสังคมต่อไป” 
 
ส่วนจังหวัดต่อไปที่กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงจะเดินทางไปจัดกิจกรรม โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า “ยึดรถไฟไปอยุธยา” คำว่ายึดคือ รถไฟที่จะไปเป็นรถไฟฟรี โดยเราจะไปรวมตัวกันที่หัวลำโพง เพื่อตีตั๋วรถไฟฟรี และไปปั่นจักรยานกันที่บึงพระราม
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ในหลวง" รับสั่ง คนมีมากควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันคนไม่มี

Posted: 27 Sep 2010 08:43 AM PDT

"ในหลวง" มีพระราชดำรัสต่อคณะองคมนตรีและภริยา ซึ่งเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ เกี่ยวกับหลักการที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข คนมีมากควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันคนไม่มี ส่วนผู้ที่ไม่มี ก็ควรพยายาม ไม่ควรรอคอยแต่ความช่วยเหลือ

 
เวลา 17.33 น. วันที่ 27 กันยายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นำคณะองคมนตรี และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นการส่วนพระองค์
 
โอกาสนี้ มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับหลักการที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขว่า "บุคคลที่นับได้ว่า มีสิ่งต่างๆ มากกว่าผู้อื่น สมควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือแบ่งปันแก่ผู้ไม่มี อย่างพอเหมาะพอสม และตนเองไม่เดือดร้อน ส่วนผู้ที่ไม่มี ก็ควรพยายาม ไม่ควรรอคอยแต่ความช่วยเหลือ หรือคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ หากช่วยเหลือกันดังนี้แล้ว บ้านเมืองก็จะสงบสุข ... "
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"อภิสิทธิ์"ย้ำบอร์ดสิ่งแวดล้อมไม่ทบทวนประเภทกิจการรุนแรง ชี้จะ 11 หรือ 18 ไม่แตกต่าง

Posted: 27 Sep 2010 08:26 AM PDT

"อภิสิทธิ์" ย้ำหลังประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อม ไม่ทบทวนประเภทกิจการรุนแรง ยันไม่ว่าจะ 11 หรือ 18 ประเภทกิจการไม่มีสิ่งใดแตกต่างในพื้นที่มาบตาพุด ขณะคณะอนุกรรมการฯ เตรียมลงพื้นที่มาบตาพุดครั้งแรก 29 ก.ย.นี้

 
วันที่ 27 ก.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ว่าที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงหรือทบทวนการประกาศประเภทกิจการรุนแรง 11 ประเภทกิจการ ซึ่งแตกต่างจากที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหามาบตาพุด เสนอมา 18 โครงการ และยืนยันว่า ไม่ว่าจะ 11 หรือ 18 ประเภทกิจการไม่มีสิ่งใด ที่แตกต่างในพื้นที่มาบตาพุดเลย ส่วนการนัดดีเบทกับ นายสุทธิ อัชฌาศัย ประธานผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ทางนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยังจัดเวลาให้ไม่ได้ และ ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ ทางเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะได้ลงพื้นที่เพื่อไปติดตามความคืบหน้าโครงการขจัดมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดด้วย 
 
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและเต็มเติมทางเทคนิค เพื่อลดและขจัดมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียง ว่า คณะอนุกรรมการจะเริ่มลงพื้นที่มาบตาพุดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ จากที่ก่อนหน้านี้นัดกันวันที่ 30 ก.ย. แต่เห็นว่าจะปิดทางเข้าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 29 ก.ย.นี้แทน เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของแต่ละโครงการที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาขจัดมลพิษในมาบตาพุด พร้อมทั้งติดตามโครงการลงทุนต่างๆ ที่ศาลเห็นชอบให้เดินหน้าต่อไปได้ว่า มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงโครงการลงทุนที่ไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านใดเลย แต่มีการปล่อยสารพิษ จะต้องควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวดด้วย ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินงานจะมีการแบ่งกลุ่มโครงการเหล่านี้อย่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบด้วย
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรแรงงานไทย-สากล จี้รัฐรับอนุสัญญา ILO 87-98

Posted: 27 Sep 2010 07:03 AM PDT

27 ก.ย. 53 – เวลาประมาณ 9.30 น. ตัวแทนองค์กรแรงงาน อาทิ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย, สภาองค์การลูกจ้างสภาอุตสาหกรรมภาคเอกชน, สภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์, สมาพันธ์แรงงานโลก-ประจำประเทศไทย (ITUC-TC), สมาพันธ์แรงงานโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ITUC-AP), สหพันธ์แรงงานโลก (GUF), สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมเหล็กโลหะระหว่างประเทศ (IMF) และแรงงานกว่า 50 คน ได้ยื่นหนังสือถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98

ทั้งนี้ในหนังสือระบุว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ILO จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานต่างๆ ที่มีการจัดทำขึ้นอย่างเคร่งครัด โดยการมีสหภาพแรงงานในประเทศไทยนั้นจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคม คนงานควรจะได้รับเสรีภาพในการรวมตัวกันและสิทธิการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (ซึ่งเป็นเจตนารมของอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 89)

รัฐบาลจึงต้องเข้าร่วมประสานงานกับองค์กรประชาคมโลก เพื่อทำให้คนไทยได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมีการสร้างงานที่มีความยั่งยืน มีหลักประกันความคุ้มครองทางสังคม ขึ้นค่าแรง สร้างอำนาจในการซื้อ ลดความยากจน และสร้างความมั่นคง

โดยองค์กรแรงงานไทยและสากลจึงขอเรียกร้องให้รับบาลไทยรับรองอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เพื่อนำสู่การปฏิรูปกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สรุปข่าวพม่า 17 - 25 ก.ย.53

Posted: 27 Sep 2010 04:17 AM PDT

 
20 ก.ย.53 
 
สมาชิกเอ็นแอลดีเสี่ยงถูกจับ เคลื่อนไหวต่อต้านการเลือกตั้ง
สมาชิกพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจียังคงเคลื่อนไหวในหลายเมืองทางภาคกลางของประเทศ พร้อมส่งสาส์นจากนางซูจีไปยังประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะไม่โหวตในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง อ่องติ่น หนึ่งในสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีที่เดินทางไปพบปะกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆระบุว่า พรรคเอ็นแอลดีได้พยายามอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงจะไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากเป็นเพราะรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบธรรม และรัฐสภาจะไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เว้นเสียแต่ว่า ประธานธิบดีให้อำนาจในการจัดตั้งรัฐบาล
 
ด้านสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีบางส่วนที่แยกออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองเองต่างหากกลับมองว่า การเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีครั้งนี้ จะยิ่งทำให้ผู้ไปใช้สิทธิน้อยลง และนั่นจะยิ่งทำให้พรรคที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลพม่าสามารถชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงกว่าพรรคอื่นๆ ทั้งนี้ สมาชิกพรรคเอ็นแอลดีกำลังเสี่ยงที่จะถูกจับกุม หากยังเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ต่อไป เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่า หากใครขัดขวางการเลือกตั้งจะถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี (Irrawaddy)
 
 
เกิดเหตุปะทะระหว่างทหารพม่าและ SSA – เหนือ
เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่าและทหารจากกองพันที่ 1 ของกองกำลัง SSA –เหนือ (Shan State Army - North) ในเมืองใหย ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ภายหลังเกิดเหตุพบมีทหารพม่าเสียชีวิต 1 นาย ขณะที่ไม่พบความเสียหายทางฝ่ายทหาร SSA – เหนือ โดยทหาร SSA – เหนือสามารถยึดอาวุธได้จำนวนหนึ่ง แต่ภายหลังถูกผู้บัญชาการสั่งให้คืนอาวุธแก่กองทัพพม่า มีรายงานว่า ทหารพม่าเปิดฉากซุ่มโจมตีทหาร SSA – เหนือก่อน ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองแล้ว ที่เกิดการปะทะกันจากทั้งสองฝ่าย ก่อนหน้านี้ ทหารพม่าได้โจมตีทหาร SSA – เหนือ และต่อมา ได้ออกมากล่าวคำขอโทษ โดยอ้างว่าเป็นการเข้าใจผิด
 
ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่าย SSA – เหนือเชื่อ กองทัพพม่าต้องการที่จะยั่วยุกองพันที่ 1 ของกองกำลัง SSA – เหนือ และเหตุการณ์ปะทะกัน ทางพม่าก็ได้วางแผนที่จะโจมตีไว้ก่อนแล้ว หลังจากที่กองพันที่ 1 ของ SSA – เหนือ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force) และวางอาวุธ (S.H.A.N)
 
 
23 ก.ย.53 


องค์การนิรโทษกรรมสากลร้อง ปล่อยนักโทษการเมืองพม่าด่วน
เนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีการปราบปรามพระสงค์พม่าประท้วง องค์การนิรโทษกรรมสากล(Amnesty International) ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้นำโลกกดดันรัฐบาลพม่าปล่อยนักโทษการเมืองที่มีกว่า 2,200 คนอย่างเร่งด่วน โดยองค์การนิรโทษกรรมอ้างว่า การจัดเลือกตั้งในรอบ 20 ปีของรัฐบาล พร้อมกับการกักขังนักโทษการเมืองต่อไปเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ตามหลักประชาธิปไตยที่แท้จริง ขณะที่นับตั้งแต่การประท้วงใหญ่เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยถูกจับเพิ่มขึ้น (www.burmanet.org)
 
 
24 ก.ย.53 


พม่าพบช้างเผือกตัวใหม่
มีรายงานว่า กรมป่าไม้ของพม่าร่วมกับทหารพม่าสามารถจับช้างเผือกตัวใหม่ได้ในป่าแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน หลังจากที่ใช้เวลาติดตามนานกว่า 5 วัน โดยช้างเผือกดังกล่าวมีอายุราว 18 ปี และกำลังจะถูกส่งตัวไปยังกรุงเนปีดอว์ในไม่ช้านี้ แหล่งข่าวรายงานว่า รัฐบาลในกรุงเนปีดอว์ได้สั่งการมาอย่างเคร่งครัดว่าให้จับช้างเผือกตัวดังกล่าวให้ได้
 
การจับช้างเผือกมีขึ้น หลังชาวบ้านเห็นช้างเผือกตัวดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้านรัฐบาลพม่าเชื่อว่า การพบช้างเผือกตัวใหม่เป็นสัญญาณแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ยังระบุว่า การพบช้างเผือกตัวใหม่นี้ ชี้ให้เห็นว่าประชาชนในพม่าจะพบกับความสุขและความเจริญรุ่งเรืองในการปกครองของรัฐบาลพม่าชุดใหม่ (Narinjara / เอเอฟพี/มติชน) 
 
 
25 ก.ย. 53


คลินิกในค่ายผู้ลี้ภัยปฏิเสธรับทำคลอดหญิงท้องแก่ สลด ทารกเสียชีวิต
คลินิกชื่อ Research Training and Management International ซึ่งตั้งอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยนายาพารา ในบังกลาเทศ ปฏิเสธที่จะตรวจรักษาและทำคลอดให้แก่นางโซบีกัน นาเฮอ ชาวโรฮิงยา วัย 35 ซึ่งเป็นหญิงท้องแก่ นายคาซิม สามีของนางโซบีกันเปิดเผยว่า หมอและนางพยาบาลในคลินิกดังกล่าวปฏิเสธที่จะทำคลอดให้นางโซบีกัน และบอกให้นางโซบีกันเดินทางกลับบ้านไป
 
แต่ในระหว่างทาง นางโซบีกันเกิดปวดท้องขึ้นมา และได้คลอดทารกออกมา แต่โชคร้ายทารกเสียชีวิต เนื่องจากไม่ได้รับการทำคลอดที่ถูกวิธี ขณะที่สมาชิกในครอบครัวของนางโซบีกัน รวมไปถึงผู้นำในค่ายผู้ลี้ภัยดังกล่าวต่างออกมาโจมตีและแสดงความไม่พอใจต่อการกระทำของหมอและนางพยาบาลในคลินิกดังกล่าว (Kaladan)
 
 
.................................................................................................................................. 
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.orgเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แถลงการณ์เครือข่ายนักสิทธิฯ ร้องยุติการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม ผอ.เว็บประชาไท

Posted: 27 Sep 2010 02:50 AM PDT

ชี้การจับกุมส่อให้เห็นว่าประเทศยังถูกรัฐปิดกั้นและละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงออก ร้องตำรวจแห่งชาติทบทวนวิธีการการออกหมายจับในทันที โดยไม่ออกหมายเรียกก่อน พร้อมเสนอรัฐบาลทบทวนแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผลักภาระความรับผิดให้ “ผู้ให้บริการ” 

 
 
แถลงการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
 
 
แถลงการณ์องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท 
เผยแพร่วันที่ 27 กันยายน 2553
 
ตามที่นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทได้ถูกควบคุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศในวันที่ 24 กันยายน 2553 ตามหมายจับ ศาลจังหวัดขอนแก่น โดยกล่าวหาว่านางสาวจีรนุช เปรมชัยพรได้กระทำความผิดฐานเป็นตัวการ, ร่วมกันประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดในระบบคอมพิวเตอร์ในความควบคุมของตนเองซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 83, 85, 112 และมาตรา116 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 มาตรา15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 
 
องค์กรดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวต่อไปนี้
 
1. สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิ่งสำคัญและเป็นหลักการซึ่งยอมรับตามหลักสากล พื้นที่เว็บไซต์ประชาไทเป็นพื้นที่ซึ่งเปิดให้ประชาชนซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายได้เข้ามาใช้พื้นที่ดังกล่าวแสดงความเห็นต่อประเด็นต่างๆ โดยที่ผ่านมาเว็บไซต์ประชาไทพยายามจัดระบบในการดูแลข้อความไม่เหมาะสมดังกล่าว หากมีการแสดงข้อความไม่เหมาะสมสมาชิกเว็บไซต์สามารถตรวจสอบและแจ้งลบได้ แต่เว็บไซต์ประชาไทยังคงถูกปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชนหลายครั้ง รวมถึงความจำเป็นในการปิดตัวของเว็บบอร์ดประชาไท และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังถูกรัฐปิดกั้นและละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงออกอันเป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
 
2. การจับกุมนางสาวจีรนุชในฐานะ “ผู้ให้บริการ” ตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 83 , 85 , 112 ฐานความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมาตรา 116 ฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยที่นางสาวจีรนุชเป็นเพียงผู้อำนวยการเว็บไซต์ ไม่ใช่ผู้จัดทำข้อความ ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดโดยตรง มิได้มีเจตนาในการกระทำความผิดย่อมเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้ให้บริการให้ต้องรับผิดทางอาญาต่อเนื้อหาซึ่งผู้ให้บริการไม่ได้เป็นผู้โพสต์หรือเป็นผู้ผลิตขึ้น ประกอบกับวิธีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ไม่มีขั้นตอนการแจ้งเตือนข้อความดังกล่าวแก่ผู้ให้บริการ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการรับทราบและลบข้อความทิ้งโดยเป็นการแสดงเจตนาว่าไม่ได้ยินยอมให้มีการโพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายได้ การตีความและการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะเป็นการผลักภาระความรับผิดทางอาญามาให้แก่ผู้ให้บริการดังกล่าวจึงเป็นการขัดกับหลักนิติธรรมอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นการตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้ซึ่งไม่ได้กระทำความผิด
 
 3. การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าดำเนินการออกหมายจับกุม นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร โดยไม่เปิดโอกาสให้เข้ามอบตัวโดยกระบวนการปกติ คือ ออกหมายเรียกให้ไปรายงานตัว เป็นการดำเนินการที่เกินกว่าเหตุ และไม่มีมาตรฐาน เพราะ นางสาวจีรนุช ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจะหลบหนี หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด 
 
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นองค์กรที่มีรายนามข้างท้ายขอเรียกร้องให้
 
1. ให้พนักงานสอบสวนยุติการดำเนินคดีนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร โดยพิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดีในทันที เพราะนางสาวจีรนุช เพียงผู้อำนวยการเว็บไซต์ ไม่ใช่ผู้จัดทำข้อความ ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดโดยตรง มิได้มีเจตนาในการกระทำความผิด และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินคดี เช่น ก่อนจะดำเนินคดีพนักงานสอบสวนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้ให้บริการก่อน หากผู้ให้บริการไม่ดำเนินการใด ๆ เจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจดำเนินการมาตรการต่อไป เป็นต้น
 
2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทบทวนการออกหมายจับในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ต้องหาและจำเลยเกินสมควร และควรสืบสวนเพื่อให้ข้อเท็จจริงเพียงพอโดยการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามาให้ปากคำก่อนไม่ใช่เพียงมีผู้กล่าวหาว่าผู้ต้องหากระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษสามารถออกหมายจับได้ จะออกหมายจับในทันที เนื่องจากวิธีปฏิบัติดังกล่าวนำมาสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอันกระทบต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
 
3. ให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เป็นการผลักภาระความรับผิดทางอาญามาให้ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
 
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: เมื่อกรมเจ้าท่าเดินหน้าเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ แลกท่าเรือปากบารา

Posted: 26 Sep 2010 01:05 PM PDT

 
 
 
 
เส้นทางเดินเรือ – แผนที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูลจะมีแนวร่องน้ำที่คาดว่าจะเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าออกท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประกอบด้วยแนวตะวันออก – ตะวันตก อยู่เหนือเกาะราวีราว 5 – 6 กิโลเมตร และแนวเหนือ – ใต้ อยู่ระหว่างเกาะไข่กับเกาะหลีเป๊ะ ห่างจากเกาะไข่ 8 – 10 กิดลเมตร
 
 
 
เฉียดทางเดินเรือสินค้า – หินโค้งบนเกาะไข่ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดสตูล อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะมีแนวร่องน้ำที่คาดว่าจะเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่ เฉียดเกาะแห่งนี้ 8 – 10 กิโลเมตร ขณะที่อีกแนวเส้นทางหนึ่งเฉียดหมู่เกาะอาดัง – ราวี แค่ 5 – 6 กิโลเมตร
 
 
 
ใครจะรู้บ้างว่า หากท่าเรือน้ำลึกปากบาราเกิดขึ้นจริง จะส่งผลต่ออุทยานแห่งชาติตะรุเตามากขนาดไหน เพราะแนวเส้นทางเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่จะเข้าออกท่าเรือแห่งนี้ จะผ่ากลางอุทยานแห่งชาติตะรุเตา แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย ผลกระทบดังกล่าวอาจปรากฏให้เห็นในไม่ช้า ไม่มากก็น้อย
 
เพราะหลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกและถมทะเล ระยะที่ 1 บริเวณปากคลองปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการก็เดินหน้าขอให้มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเพื่อสร้างท่าเรือดังกล่าวทันที
 
เนื่องจาก คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติด้วยว่า ในขั้นตอนการขออนุญาตใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรานั้น ให้กรมเจ้าท่าเสนอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
กรมเจ้าท่า จึงได้มีหนังสือที่ คค 0318/817 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2553 แจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แจ้งถึงมติดังกล่าวของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ต้องสร้างท่าเรือดังกล่าวด้วย โดยจำเป็นต้องเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จำนวน 4,734 – 0 – 62 ไร่
 
ต่อมาสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) มีหนังสือด่วนที่สุดที่ 0915.5/2528 ลงวันที่ 9 เมษายน 2553 ถึงอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณา เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานอย่างมาก
 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) ระบุในหนังสือฉบับเดียวกันว่า โครงการดังกล่าวมีพื้นที่ก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกถึง 4,734 - 0 - 62 ไร่ มีแนวร่องน้ำเดินเรือเข้าท่าเทียบเรือตัดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ระยะทาง 5 กิโลเมตร จึงขอกันพื้นที่ในทะเลตลอดความยาวของร่องน้ำที่ผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษาทุ่นเครื่องหมายช่วยในการเดินเรือและจะมีการถมเกาะในทะเล 3 เกาะ โดยแบ่งระยะการพัฒนาโครงการ 3 ระยะในเวลา 5 – 15 ปี
 
กระทรวงคมนาคม มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ คค 0804.3/3456 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 ถึงปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า กระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบในหลักการให้กรมเจ้าท่าดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราแล้ว และได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไปแล้ว
 
ต่อมานายชาตรี ช่วยประสิทธิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ส่งหนังสือด่วนที่สุดที่ ทส(ปคร.) 1009.4/3557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2553 ตอบไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อแจ้งความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า ให้กรมเจ้าท่า แจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ล่วงหน้าในการขอใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเท่าที่จำเป็น เพื่อประกอบการเพิกถอนพื้นที่โครงการออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ
 
กรมอุทยานฯเจ้าภาพเพิกถอน
 
ขณะเดียวกันสำนักนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชดำเนินการในเรื่องการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติและแจ้งความเห็นโดยตรงต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป
 
ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักอุทยานแห่งชาติ ได้ทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่ ทส 0910.802/10507 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ถึงปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ลงชื่อโดยนายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยระบุข้อเท็จจริงที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตรวจสอบแล้ว สรุปได้ดังนี้
 
1.พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ไม่มีบทบัญญัติให้มีการอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
 
2.โครงการท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ 100 เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งอีไอเอโครงการนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552
 
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงเห็นว่า หากมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือในเขตอุทยานแห่งชาติ ก็จะต้องกันพื้นที่ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เสียก่อน
 
โดยการเพิกถอนดังกล่าวต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน โดยมีขั้นตอนตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
 
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ว่า ได้จัดเตรียมเอกสารกรณีที่กรมเจ้าท่า ร้องขอให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติกว่า 4,000 ไร่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ถ้าที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นชอบให้เพิกถอน ขั้นตอนต่อไปก็คือนำเสนอคณะรัฐมนตรีออกพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จากนั้นกรมเจ้าท่าสามารถขออนุญาตกรมป่าไม้เข้าไปพัฒนาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราได้
 
“คณะรัฐมนตรีเพิ่งแต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติชุดปัจจุบัน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ล่าสุดรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องการให้จัดประชุมคณะกรรมการชุดใหม่ เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่คั่งค้างมาจากคณะกรรมการฯ ชุดก่อน และจะนำเรื่องการขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรากว่า 4,000 ไร่ เข้าพิจารณาในที่ประชุมครั้งนี้ด้วย” นายจตุพร กล่าว
 
ขนาดโครงการในอีไอเอ
 
ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกและถมทะเล ระยะที่ 1 บริเวณปากคลองปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยบริษัท เซ้าท์อี๊สท์เอเชียเทคโนโลยี่ จำกัด และบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด ระบุรายละเอียดโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราดังนี้
 
ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราและลานกองสินค้า เป็นพื้นที่ถมทะเล อยู่ใกล้แนวน้ำลึก 4.2 กิโลเมตร โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ
 
ระยะที่ 1 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วน
 
ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าคอนเทนเนอร์ 2 ท่า ความยาวหน้าท่า 750 เมตร และท่าเทียบเรือบริการ ความยาว 212 เมตร ลานกองสินค้าตู้ ขนาดกว้าง 280 เมตร ยาว 350 เมตร อาคารต่างๆ 26 อาคาร ถนนภายในท่าเทียบเรือและลานจอดรถบรรทุกสินค้า ระบบสาธารณูปโภค สะพานและถนนเข้าสู่ท่าเทียบเรือ การขุดลอกร่องน้ำ แอ่งกลับเรือและที่จอดเรือบริเวณหน้าท่า ทางรถไฟเข้าท่าเทียบเรือและลานขนส่งตู้สินค้าจากรถไฟ
 
ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย ลานกองเก็บตู้สินค้า กว้าง 280 เมตร ยาว 35 เมตร และระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม
 
พื้นที่ท่าเทียบเรือระยะที่ 1 ตั้งอยู่บนพื้นที่ถมทะเลขนาด 430 X 1,086 เมตร คิดเป็น 198 – 3 – 50 ไร่ พื้นที่ด้านหน้าเป็นท่าเทียบเรือสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ด้านข้างเป็นท่าเทียบเรือบริการ และด้านหลังเป็นลานกองตู้สินค้าและรางรถไฟ
 
การพัฒนาระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นหลังจากท่าเรือระยะที่ 1 เปิดใช้งานไปแล้ว 6 ปี ต้องก่อสร้างเพิ่มด้วยการถมทะเลส่วนปลายด้านที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง เป็นรูปตัว L ทำเป็นท่าเทียบเรือความยาวหน้าท่า 500 เมตร พร้อมลานกองตู้สินค้าและอาคารประกอบ
 
การพัฒนาระยะที่ 3 ทำต่อจากระยะที่ 2 โดยก่อสร้างท่าเทียบเรือดานทิศตะวันออกของท่าเรือเดิมหลังเปิดใช้งานแล้ว 12 ปี โดยให้มีความยาวหน้าท่า 1,000 เมตร
 
ขั้นตอนเพิกถอน
 
สำหรับขั้นตอนในการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ว่าที่ร.อ.ไพโรจน์ หอมช่วย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เปิดเผยว่า ต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ โดยมีทั้งหมด 15 ขั้นตอน
 
“ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชนในพื้นที่คือขั้นตอนที่ 6 คือขั้นตอนที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติที่จะมีการเพิกถอนนั้น นำผลการสำรวจพื้นที่ที่จะเพิกถอนเข้าที่ประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ พิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบ เพราะถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบทุกอย่างก็จบลงตรงนี้”
 
“ถ้าผ่านความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นแล้ว จะมีอีกขั้นหนึ่งที่ภาคประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้อีก คือขั้นตอนที่ 11 คือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ซึ่งจะมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้เสียไปชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง ถ้ามีการคัดค้านในขั้นนี้อีก ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ก็จะตกไป ไม่สามารถเพิกถอนอุทยานแห่งชาตินั้นได้”
 
ผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติ
 
สำหรับผลกระทบที่มีต่อพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา หากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราแล้ว สำหรับเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา นอกจากการสูญเสียพื้นที่อุทยานไป 4,700 กว่าไร่แล้ว ยังมีพื้นชายฝั่งบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู และชายฝั่งบ้านปากบาง ตำบลละงู ที่จะมีการขุดทรายชายฝั่งเพื่อนำไปถมทะเลบริเวณที่จะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราด้วย
 
โดยอาจส่งผลไปถึงสภาพพื้นที่ชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลงไป การประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน รวมทั้งส่งผลไปถึงการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วย
 
แต่สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาแล้ว น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่กำลังจะมีเส้นทางเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่วิ่งผ่ากลางถึง 2 เส้นทาง เพื่อไปยังท่าเรือน้ำลึกปากบารา
 
 
ว่าที่ร.อ.ไพโรจน์ หอมช่วย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เปิดเผยว่า บริเวณที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราอยู่อยู่ด้านทิศเหนือของเกาะตะรุเตา คาดว่าจะมีแนวเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ไปยังท่าเรือแห่งนี้ 2 เส้นทาง โดยพิจารณาจากร่องน้ำ
 
แนวแรก คือ แนวเหนือ – ใต้ไปยังประเทศสิงคโปร์ จะผ่ากลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ระหว่างเกาะไข่ กับเกาะหลีเป๊ะ โดยแนวร่องน้ำอยู่เฉียดๆ กับเกาะไข่ห่างประมาณ 8 – 10 กิโลเมตร
 
แนวที่สอง คือแนวตะวันออก – ตะวันตกไปยังตะวันออกกลางอยู่ด้านทิศเหนือ เฉียดหมู่เกาะอาดัง – ราวี ประมาณ 5 – 6 กิโลเมตร แต่ไม่ว่าเรือจะวิ่งทางไหน เกาะที่อยู่บริเวณนี้จะได้รับผลกระทบทั้งหมด
 
ว่าที่ร.อ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ผลกระทบที่จะมีต้องมี คือ 1.ฝุ่นจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่อยู่ใต้น้ำ 2.แรงขับดันสูงจากใบจักรเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ รวมทั้งคราบน้ำมันจากเรือ และ 3.ทัศนียภาพในแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่สวยงาม เพราะมีเรือสินค้าวิ่งผ่านไปมา
 
สำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่อ่อนไหวที่สุดที่จะได้รับผลกระทบคือแหล่งปะการังที่มีอยู่หลายแห่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา และหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูน ซึ่งมีกระจายอยู่หลายแห่งทั้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
 
 
ว่าที่ร.อ.ไพโรจน์ ยืนยันว่า ถ้าปะการังได้รับความเสียหายแล้ว มันก็จะสร้างความเสียหายไปทั้งระบบนิเวศน์” ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบไปถึงแหล่งท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูลด้วย
 
 
รายได้ปีละพันล้านท่องเที่ยวสตูล
 
แน่นอนว่า รายได้การท่องเที่ยวหลักของจังหวัดสตูล มาจากแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอย่างอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ที่มีเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เป็นพระเอกหลัก
 
ข้อมูลจากจังหวัดสตูล ระบุรายได้จากการท่องเที่ยวของสตูลในปี 2550 ว่า ระบุว่า มีสูงถึง 1,798.20 ล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยว ในปี 2550 รวม ทั้งสิ้น 743,233 คน แยกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 698,521 คน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 44,712 คน
 
หากพิจารณาจากรายได้การท่องเที่ยวของสตูลตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
ส่วนในรายงานประจำปี 2552 ของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ระบุว่า ปี 2552 มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้ามาเที่ยวในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา 10,068 คน ต่างชาติ 7,801 คน สร้างรายได้ให้กับอุทยานแห่งชาติตะรุเตา 3,169,190 บาท แต่ถ้าเป็นรายได้รวมจากการท่องเที่ยวแล้ว น่าจะมีมูลค่าอีกมหาศาล
 
นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล กล่าวในงานเปิดฟ้าอันดามัน สวรรค์สตูล ประจำปี 2553 ซึ่งเป็นกิจกรรมการเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ทางทะเลประจำปี 2553 ของจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 ว่า ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูลในปี 2552 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนสตูลประมาณ 700,000 คนโดยคาดว่าในปี 2553 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน
 
ปฏิกิริยาฝ่ายต่อต้าน
 
ส่วนความเคลื่อนไหวในการคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมีมาอย่างต่อเนื่อง
 
โดยเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ถึงกับตั้งโต๊ะล่ารายชื่อให้ได้อย่างน้อย 10,000 ราชชื่อ เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและรัฐบาล เพื่อคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา พื้นที่กว่า 4,700 ไร่
 
ก่อนหน้านี้ นายอารีย์ ติงหวัง ตัวแทนเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติดังกล่าว ให้แก่ นายอดิศักดิ์ ภูสิทธิ์วงศานุยุต ตัวแทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ขณะดินทางมาที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ผ่านไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไปแล้ว
 
นายดินันท์ พัทลุง สมาชิกเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล จากเครือข่ายมัคคุเทศก์ กล่าวว่า หากต้องเสียพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราให้กับการสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึก พวกตนซึ่งเป็นคนท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพนำเที่ยวขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
 
“ที่เป็นเช่นนั้น เพราะปะการังสวยงามที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ทั้งในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราและอุทยานแห่งชาติตะรุเตาจะได้รับความเสียหาย ซึ่งคงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากมาดูท่าเรือน้ำลึกมากว่าปะการังแน่นอน”
 
นั่นคือคำทิ้งท้ายของนายดินันท์ พัทลุง ที่เปรียบเสมือนคำเตือนถึงหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นจากท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ก็เป็นได้
 
 
 
15 ขั้นตอนเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ
 
1.     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติหรือผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือจะเพิกถอนอุทยาน แล้วรายงานผลการสำรวจเบื้องต้นพร้อมด้วยแผนที่ 1 :50,000 และความคิดเห็นเสนอกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
 
2.     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตรวจสอบพิจารณาความเหมาะสม แล้วออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ ควบคุมพื้นที่ และทำหน้าที่หัวห้าอุทยานแห่งชาติพร้อมกับให้สำรวจรายละเอียดเพิ่มเติม
 
3.     ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินั้น ประชุมร่วมกับราษฎร ผู้นำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อกำหนดขอบเขตอุทยานแห่งชาติพร้อมกับตีป้ายหมายแนวเขต
4.     ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยของราษฎร สปก. หรือหน่วยงานอื่นๆ
 
5.     ทำการรังวัดพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
 
6.     ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินำผลการสำรวจพื้นที่เข้าที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบพื้นที่ที่จะดำเนินการประกาศจัดตั้ง
 
7.     สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในห้องที่นำความเห็นชอบ 6 นำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการป้งกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบ
 
8.     สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในท้องที่ นำเรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบแล้ว นำเสนอกรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณานำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบ
 
9.     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ จัดทำแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา และให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินั้น ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมกับลงแนวเขตการปกครอง
  1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักอุทยานแห่งชาติ จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา แผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกา พร้อมกับบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาเสนอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติหลักการร่างพระราชากฤษฎีกา พร้อมแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน 40 ชุด ซึ่งเป็นการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1  
  2. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมชี้แจงรายละเอียด
  3. อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยืนยันความถูกต้องของแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแห้ไขแล้ว
  4. เลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้จัดพิมพ์แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา จำนวน 2,500 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปทราบ
  5. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบพระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
  6. นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนางาน ‘เราไม่ทอดทิ้งกัน’ : กระบวนการรับผิด กรณีสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ย.

Posted: 26 Sep 2010 12:27 PM PDT

 
 
เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) จัดกิจกรรม "เราไม่ทอดทิ้งกัน" ตลอดวัน โดยในช่วงเช้า มีการจัดอภิปรายทางวิชาการเรื่อง “การแสวงหาข้อเท็จจริงกับกระบวนการรับผิด: กรณีการสลายการชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53” ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ.
 
จวก "รบ.อภิสิทธิ์" ไร้ความรับผิดทางการเมือง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ความรุนแรงในบ้านเมืองที่มีคนตายจำนวนมากกลางเมืองหลวงเกิดขึ้นหลายครั้ง มักจบลงด้วยการไม่พูดถึงความจริง ทั้งนี้ เมื่อเราพูดถึงการค้นหาความจริง คือเราพยายามทำประโยชน์ให้สังคมไทยโดยรวม ไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงเราไม่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์แบบ 6 ตุลา 19, พฤษภา 35 และ 53 อีก เราต้องไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกไม่ว่าคนถูกกระทำเป็นใคร
 
หากดูความรุนแรงกลางเมืองหลวง จะพบว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนตายแต่ไม่มีความรับผิดใดๆ ที่ผ่านมา ตั้งแต่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มีความรับผิดคืออย่างน้อยรัฐบาลต้องออกไป ความต่างของประชาธิปไตยกับระบบการปกครองอื่นๆ คือความรับผิด รัฐบาลต้องมีความรับผิดเมื่อทำอะไรไม่ได้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แทบจะไม่มีเลย
 
สมชายขยายความว่าความรับผิดทางการเมืองหมายถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาลที่อาจไม่ต้องผิดกฎหมายก็ได้ แต่สังคมการเมืองไม่โอเค เช่น รมว.วัฒนธรรมเที่ยวหมอนวด ไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่เหมาะสม ก็ต้องมีการรับผิดด้วย คำถามคือ เมื่อมีการใช้อำนาจรัฐแล้วมีคนตายอย่างน้อย 91 ศพ โดยยังไม่รู้ว่าใครทำ ถามว่ารัฐบาลมีความรับผิดทางการเมืองไหม ดูเหมือนรัฐบาลนี้จะไม่มีแสดงความรับผิดทางการเมืองเลย ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้กระทำเป็นใคร รัฐบาลก็ปฏิเสธความรับผิดในฐานะหน่วยงานที่ต้องรักษาความปลอดภัยมั่นคงไม่ได้
 
อาจารย์คณะนิติศาสตร์มองว่า สาเหตุที่ความรับผิดทางการเมืองไม่เกิดขึ้นเป็นเพราะพลังทางสังคมในการกำกับรัฐบาลหรือการเมืองอ่อนแรง โดยชี้ว่าในเหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภา 35 สังคมมีความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวในการกดดันต่อรัฐบาล ขณะที่เหตุการณ์ล่าสุดนี้ จะเห็นว่าชนชั้นกลางในเมือง ชนชั้นนำ พลังของระบบราชการไม่สนใจสร้างแรงกดดัน หลังเหตุการณ์นี้จึงเห็นการเยียวยาภาคธุรกิจอย่างกว้างขวาง ห้างที่ถูกเผาไปกำลังจะเปิด แต่เมื่อถามถึงชีวิตคนกลับไม่เห็นความคืบหน้าเลย
 
ชี้รัฐประชาธิปไตยใหม่ใช้กฎหมายจัดการฝ่ายตรงข้าม
สมชายระบุถึงการสลายการชุมนุมที่ผ่านมาว่า โดยทั่วไปเพื่อหาความรับผิดชอบทางกฎหมาย จะต้องมีกระบวนการสืบหาความจริงว่าเกิดอะไร ใครทำอะไร ละเมิดกฎหมายขนาดไหน ที่ผ่านมา ไทยมีกระบวนการเช่นนี้ แต่ไม่มีความคืบหน้าปรากฎ ทั้งนี้ สิ่งที่อยากชวนมองคือ ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะสังคมไทย นักกฎหมายในละตินอเมริกาพบว่า ประเทศประชาธิปไตยใหม่ การพยายามสถาปนากระบวนการทางกฎหมายให้ตรงไปตรงมามีปัญหาอย่างมาก ผู้มีอำนาจรัฐพยายามใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับศัตรูทางการเมือง เพราะยุคนี้ส่งคนไปยิงไม่ได้แล้ว โดยมีสโลแกน "For my friends, anything - for my enemies, the law." แสดงให้เห็นว่า กระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้ในประเทศประชาธิปไตยใหม่พร้อมจะบิดเบี้ยว รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐได้ โดยเฉพาะการผนวกตัวของรัฐกับระบบราชการทำให้การใช้กฎหมายไม่สม่ำเสมอ
 
สมชายเตือนว่า สังคมไทยต้องระวังเวลาจะการสร้างกลไกหลายอย่างในขณะที่เรายังสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ดีไม่ได้ กลไกพวกนี้พร้อมจะบิดเบี้ยวตลอดเวลา โดยในช่วง 10-20 ปีหลังเราเห็นการสร้างหน่วยงานใหม่ๆ ในกระบวนการยุติธรรม และคาดหวังว่าจะมีประสิทธิภาพ แต่หน่วยงานหลายหน่วยเช่น กรมสืบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ถูกสร้างเพราะมองว่ามีคดีบางอย่างที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เรากลับเห็นดีเอสไอสืบสวนคดีเป็นพิเศษในกรณีของผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล
 
บทเรียนจากพฤษภา 35
สมชาย กล่าวว่า จากบทเรียนพฤษภา 35 ด้วยแรงกดดันสังคม อย่างน้อยจากชนชั้นกลาง นักการเมืองและชนชั้นนำ ทำให้รัฐบาลสุจินดาพ้นตำแหน่ง มีการพูดเรื่องการใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนและตั้งกรรมการขึ้นอย่างน้อยแปดชุด ตั้งแต่หลังพฤษภา 35 ถึงรัฐบาลทักษิณเป็นต้นมา สุดท้าย ไม่มีข้อสรุปอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในการควบคุมอำนาจรัฐ ทั้งนี้ หมายเหตุว่าประธานคณะกรรมการชุดหนึ่งคือ นายอานันท์ ปันยารชุน มีกรรมการคือ นพ.ประเวศ วะสี และนายคณิต ณ นคร ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกับคณะกรรมการปฏิรูปทั้งหลายในปัจจุบัน ดังนั้น จึงเสนอว่า อย่าคาดหวังอะไรจากคณะกรรมการเหล่านี้ เพราะขณะนั้นมีแรงสนับสนุนทางสังคมอย่างเข้มแข็ง ยังเปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้วในชุดปัจจุบันที่ค่อนข้างง่อนแง่นจะคาดหวังอะไรได้
 
ความรับผิดทางกฎหมาย
ในส่วนความรับผิดทางกฎหมาย หลังเหตุการณ์ทางการเมือง มักมี พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงไม่ว่ารัฐหรือประชาชนพ้นผิด อย่างไรก็ตาม แทบทุกครั้ง ที่มีการประกาศนิรโทษกรรมคือการยุติไม่ให้มีการค้นหาความจริงเกิดขึ้น สมัย 6 ตุลา หลังสืบพยานในศาล ได้ข้อมูลตรงข้ามกับข้อมูลจากรัฐ โดยพบว่าความรุนแรงมาจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ต่อมามีการประกาศนิรโทษกรรม ทำให้ความจริงยุติ ไม่มีใครรู้เกิดอะไรขึ้น สมัยพฤษภา 35 เมื่อรัฐบาลสุจินดาจะพ้นจากตำแหน่ง ก็มีการนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย ศาลชั้นต้นจึงยกฟ้องคดีที่คณะกรรมการญาติวีรชนฟ้องไปโดยไม่ไต่สวน ทำให้บุคคลพ้นจากความรับผิด ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินยืนตามกัน
 
สมชายสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรมในสังคมไทยจึงแปลว่า ความจริงถูกปิด กฎหมายนิรโทษกรรมจะไม่เป็นประโยชน์กับคนในสังคมไทยเลย จะออกกฎหมายนี้ก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องให้ความจริงทั้งหมดปรากฎขึ้นก่อน
 
เขาแสดงความเห็นว่า ที่ผ่านมา ไม่เห็นความรับผิดทางการเมือง และมักได้ยินคำอธิบายจากอภิสิทธิ์ว่า "ผู้ก่อการรัาย" ซึ่งนี่ไม่ต่างเวลาที่อเมริกาถล่มอิรัก ด้วยเหตุผลว่าอิรักมีอาวุธทำลายล้างสูง แต่จนสิบปีแล้วก็ยังไม่เจออาวุธ ในกรณีรัฐบาลไทย ขอเรียกร้องให้หาผู้ก่อการร้ายตัวเป็นๆ มาให้ดูหน่อย 
 
สมชายเสนอว่า จะต้องเรียกร้อง คือความรับผิดทางกฎหมาย โดยต้องรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมด แม้จะใช้เวลา แต่หากทำข้อมูลเป็นระบบ ถ้าเรายังมีลมหายใจต้องได้เห็นการรับผิดเกิดขึ้น
 
 
ตร. เผยมีการพิสูจน์กระสุนในวัดปทุมฯ แต่แถลงข่าวไม่ได้
พ.ต.ท.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้กำกับการ ส่วนตรวจสอบสำนวนคดีอุทธรณ์และฏีกา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า ถึงเวลาต้องปฏิรูปแนวความคิดของกระบวนการยุติธรรม เพราะทุกวันนี้กระบวนการยุติธรรมถูกครอบงำโดยอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ทำให้หลักวิชาชีพของผู้ที่ทำงานในด้านนี้หายไป โดยเฉพาะตำรวจที่ควรปกป้องสิทธิของประชาชน ไม่ให้ถูกละเมิดโดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิตและแสดงความเห็น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคน
 
พ.ต.ท.ศิริพล กล่าวว่า สาเหตุที่ชนชั้นกลางไม่ออกมาแสดงความเห็นหรือสร้างแรงกดดัน ส่วนหนึ่งเพราะสื่อสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคม ให้รู้สึกว่าคนที่มาเรียกร้องเป็นเศษสวะของสังคม เมื่อเป็นเพียงเศษสวะ จะทำอะไรก็ผิดและเมื่อสิทธิเป็นศูนย์ก็สมควรตาย สร้างความเชื่อให้สังคมรู้สึกว่าคนพวกนี้สร้างความเดือดร้อน และกรุงเทพฯ เป็นของคนกรุงเทพฯ ดังนั้น สื่อมวลชนที่มีส่วนก่อให้เกิดความรุนแรง รวมทั้งชนชั้นกลางที่สนับสนุนการฆ่าก็ต้องมีส่วนรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือสื่อและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีความเป็นอิสระทางการเมือง ปลอดจากอิทธิพลทั้งหลาย และมีความเป็นวิชาชีพมากขึ้น
 
พ.ต.ท.ศิริพล กล่าวยอมรับด้วยว่าในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตำรวจเองไม่มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนเลย แม้กระทั่งผลพิสูจน์ในวัดปทุมฯ ที่ได้ทำอย่างตรงไปตรงมาว่าพบกระสุนประเภทไหน หัวสีอะไร มีเฉพาะในหน่วยงานไหน ก็ไม่มีสิทธิที่จะพูด เพราะหน่วยงานที่มีอำนาจแถลงถูกไม่ให้พูด
เขากล่าวว่า ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งไทยได้ยอมรับกติกานี้มานานนับสิบปี รัฐต้องระวังอย่างยิ่งยวดที่จะรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะสิทธิในชีวิต แม้ในภาวะการชุมนุม การใช้อาวุธทั้งหลายไม่อาจทำได้ เว้นแต่เพื่อป้องกันตัวจากการกระทำอันละเมิดกฎหมายโดยผู้ชุมนุมที่มีอาวุธและเตรียมทำร้ายเจ้าหน้าที่ แต่จากบันทึกวิดีโอ เราไม่พบว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายต่อเจ้าหน้าที่ได้ พบแต่เจ้าหน้าที่รัฐเล็งยิงไปที่ผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก และแม้จะผ่านมาสี่เดือนแล้วก็ไม่มีคนรับผิดชอบ
 
ซัดมีแต่ประเทศเผด็จการใช้ทหารคุมฝูงชน
พ.ต.ท.ศิริพล กล่าวว่า ความรับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไม่สามารถอ้างให้พ้นได้ ไม่ว่าพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะบอกให้หามาว่าใครเป็นคนสั่ง เพราะมีสิ่งที่ในภาษากฎหมายเรียกว่า สิ่งนั้นมันฟ้องตัวมันเอง หรือ The thing speaks for itself. โดยจากการที่สื่อมวลชนรายงาน มีการใช้ทหารคุมฝูงชน ซึ่งทั่วโลกไม่มีใครทำกัน ยกเว้นประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร โดยจะใช้ตำรวจเพราะตำรวจได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าทหาร นอกจากนี้ ในการสลายการชุมนุมที่ควรจะเป็นจากเบาไปหาหนัก ก็กลับเป็นจากหนักแล้วก็ตายเลย
 
เขาชี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการขัดทั้งหลักกฎหมายภายในและระหว่างประเทศอย่างมาก โดยการชุมนุมของ นปช. ที่ผ่านมา แม้จะมีการปิดถนน ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถจัดการโดยใช้ระเบิดหรือปืนยิงได้ หลักการของสหประชาชาติก็ระบุไว้ว่าการใช้อาวุธกับการชุมนุมที่ไม่ชอบก็กระทำไม่ได้ รัฐบาลจะต้องพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาโดยสันติวิธี การสลายการชุมนุมต้องเป็นวิธีสุดท้ายจริงๆ ซึ่งเขามองว่าในช่วงดังกล่าว การสลายการชุมนุมก็ยังไม่ใช่วิธีสุดท้ายเพราะในคืนวันที่ 18 พ.ค. ยังผู้พยายามเข้าไปเจรจา แต่ปรากฎว่า เช้าตรู่วันที่ 19 พ.ค. กลับมีการนำกำลังสลาย ขณะที่การสลายการชุมนุมก็มีขั้นตอนจากเบาไปหนัก โดยต้องแจ้งเตือนก่อน ใช้น้ำฉีด ไปจนถึงใช้กำลังเข้าจับกุม แต่ที่ผ่านมา พบว่าไม่สลายการชุมนุมตามขั้นตอน แต่คล้ายประกาศภาวะสงคราม โดยมีการประกาศเขตการใช้กระสุนจริง ซึ่งทำไม่ได้เด็ดขาด เพราะแม้จะเป็นความขัดแย้งของกลุ่มชนกับรัฐบาล ก็จะมีกฎหมายมนุษยธรรมกำกับ ไม่ให้รัฐบาลเอารถหุ้มเกราะ มายิงพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ
 
ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะบอกว่าผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้ายมีอาวุธ ก็ให้ดูศพคนตายว่า มีอะไรในมือหรือไม่ ตามหลักแล้ว ทหารใช้อาวุธได้เมื่อประชาชนจะทำร้ายทหารหรือทำร้ายคนอื่น ในกรณีนี้จึงไม่เห็นข้ออ้างให้รัฐบาลพ้นความรับผิดได้ และแม้จะอ้างการก่อการร้าย ก็ยังเข้าหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ห้ามรัฐบาลใช้อาวุธกับพลเรือน อีกทั้งหลังจากสลายการชุมนุมแล้ว ยังมีการไล่ล่าติดตาม คุกคาม จับกุมผู้ชุมนุมตามกฎหมายพิเศษอีก ซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเต็มที่
 
พ.ต.ท.ศิริพล กล่าวเสริมด้วยว่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาคจะก่อให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เกิดการเลียนแบบ และก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงอย่างมากมายตามมา โดยรัฐใดที่เคารพกฎหมายจริง จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และเสมอภาคกับทุกฝ่าย
 
 
แนะช่องทางดำเนินคดีเจ้าพนง.-นายกฯ
สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า คำว่า นิติรัฐ ก็คือประเทศที่กฎหมายที่ยุติธรรมเป็นใหญ่ แต่ทุกครั้งที่นายอภิสิทธิ์ใช้กลายเป็นว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างนายอภิสิทธิ์ หรือ ศอฉ.เป็นใหญ่ โดยชี้ให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมในมาตรา 17 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจำกัดการฟ้องคดีของประชาชน โดยระบุว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่" แปลว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐที่มาปฎิบัติการดำเนินการต่างๆ โดยอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่หรือคำสั่ง ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเจ้าหน้าที่กระทำการโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติและเป็นการกระทำที่เกินสมควรกว่าเหตุ ทั้งนี้ สังเกตว่าการเขียนกฎหมายมุ่งเน้นที่การปราบปราม ไม่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ถูกกระทำ ทั้งที่หลายมาตราก็ลิดรอนสิทธิของประชาชนอยู่แล้ว เช่น เจ้าพนักงานสามารถขอหมายศาลจับบุคคลที่เพียงต้องสงสัยว่าจะกระทำการได้ ขณะที่กฎหมายปกติ เจ้าหน้าที่จะจับใครได้ต้องมีหมายศาล โดยต้องมีพยานหลักฐานอันพอสมควรไปยื่นต่อศาลพิจารณา
 
นอกจากนี้ ด้านการควบคุมตัว กฎหมายยังกำหนดว่า เจ้าพนักงานของรัฐควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องตั้งข้อหาได้ถึง 30 วันและหากเจ้าพนักงานอยากคุมตัวนานกว่านี้ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา คุมขังเพิ่มเติม ซึ่งสำรวจพบว่า สามารถควบคุมตัวบุคคลโดยไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลได้ 84 วัน เมื่อรวมกับ 30 วันแรก เท่ากับบุคคลอาจถูกควบคุมตัวโดยไม่มีข้อหาได้เกือบ 4 เดือน
 
สาวตรีชี้ว่า ขณะที่มีความไม่ยุติธรรมใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินหลายมาตรา พอมาตรา 17 ก็ยังตัดสิทธิฟ้องวินัย อาญา และแพ่งกับเจ้าพนักงาน และแม้หาพยานหลักฐานมายืนยันว่าเจ้าพนักงานทำการเกินกว่าเหตุได้ ก็ยังต้องฝ่าด่านตุลาการภิวัตน์ที่อาจแย่กว่ากระบวนการสอบสวนด้วยซ้ำ
 
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. แนะนำการต่อสู้ทางกฎหมายสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นช่วงสลายการชุมนุมและหลังสลายการชุมนุม โดยวาง พ.ร.ก.ฉุกเฉินเอาไว้ก่อนว่า กรณีแรก การสลายการชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย ถ้าพิจารณาตามองค์ประกอบการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าหน้าที่อาจมีความผิด ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามทำร้าย ทำร้ายจนบาดเจ็บ และปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และหากมีบุคคลนั้นอ้างว่า ได้กระทำเพื่อป้องกันตัว ก็ควรหาพยานหลักฐานคัดง้าง โดยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า วิถีกระสุนมาจากทางด้านหลัง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นอ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันไม่ได้ นอกจากนี้ ผลการชันศตรพลิกศพว่า มีอาวุธหรือไม่ มีเขม่าของอาวุธหรือไม่ ถูกกระสุนเท่าไหร่ ก็เป็นหลักฐานได้เช่นกัน และแม้ที่สุด เจ้าพนักงานจะยืนยันว่าป้องกัน อาจบอกว่าเป็นการป้องกันสมควรเกินแก่เหตุ เพราะกฎหมายอาญาระบุว่า หากกระทำเกินสมควรกว่าเหตุ ก็ยังต้องรับผิด อาทิ อาวุธที่ใช้ หนังสติ๊ก ถุงปลาร้า ขวดน้ำพลาสติก คงสู้กับปืนกลไม่ได้ ตรงนี้คงต้องแสดงหลักฐาน เช่น ภาพถ่าย ให้ชัดเจน
 
ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่ากระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ ศาลจะชั่งน้ำหนักระหว่างอันตรายที่จะเกิดกับผู้กระทำโดยป้องกันกับฝ่ายตรงข้าม หากเจ้าพนักงานหัวแตก เจ็บตา เจ็บแขน แต่ยิงอีกฝ่ายจนถึงแก่ความตาย ศาลที่ยุติธรรมก็จะพิจารณาได้ว่าเป็นการป้องกัน แต่เกินกว่าเหตุ ก็ต้องรับโทษ และแม้จะการอ้างว่า กระทำโดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้ แต่สิทธิในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิพิเศษที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ แม้กฎหมายระหว่างประเทศระบุไว้ว่า สิทธิชุมนุมอาจถูกจำกัดได้โดยรัฐ แต่ต้องแยกว่า สิทธิชุมนุมและสิทธิทางการเมืองเป็นคนละเรื่องกับสิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิชุมนุมและสิทธิทางการเมืองอาจถูกจำกัดได้บางสถานการณ์ แต่สิทธิในชีวิตและร่างกายไม่อนุญาตให้ทำลายได้ ตรงนี้จึงฟังไม่ขึ้น
 
สาวตรี กล่าวต่อว่าในส่วนความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น หลังสลายการชุมนุม ซึ่งมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุกคาม คนที่เห็นด้วยหรือสนับสนุนคนเสื้อแดง ตามกฎหมายอาญา เป็นการละเมิดสิทธิในการกระทำผิดต่อเสรีภาพในด้านต่างๆ แต่เรื่องนี้อาจสู้ยาก เพราะมาตรา 11 และ 12 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ยกเว้นความผิดให้เจ้าพนักงานเอาไว้ เขาจึงอาจอ้างอำนาจกระทำได้ ดังนั้น อาจสู้ในประเด็นเรื่องความสมควรแก่เหตุได้ เพราะแม้เจ้าพนักงานรัฐจะใช้อำนาจจับกุมควบคุม ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่วิธีการจับ ควบคุม เกินสมควรแก่เหตุ โดยจากคลิป ภาพข่าว จะเห็นทั้งการกระทำต่อผู้หญิง มีพระสงฆ์ถูกมัดมือไพล่หลัง ผูกตา มัดขา มีข่าวที่พระภิกษุสงฆ์โดนจับ มัดมือมัดขาตั้งแต่สิบโมงเช้า นอนรวมกับคนอื่นๆ และได้รับการปล่อยพันธนาการตอนสองทุ่ม ซึ่งสามารถเอาความผิดตามมาตรา 157 ได้ ว่ากระทำการโดยไม่สุจริต มุ่งหมายให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกจับ
 
ในส่วนการฟ้องร้องนายกฯ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอัยการสูงสุดและ ปปช. เป็นผู้มีฟ้อง โดยที่ประชาชน ผู้ได้รับความเสียหาย หรือญาติ พี่น้อง บิดามารดา สามีภรรยา หรือบุตรของผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องทุกข์กับ ปปช. ได้ ถ้า ปปช.รับเรื่องจะสอบสวน หลังจากสอบสวนจะส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดจะนำขึ้นศาลต่อไป
 
สาวตรี อธิบายว่า แม้ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับหลักการที่ให้ ปปช. เป็นผู้ฟ้อง แต่เมื่อจะสู้ ก็ต้องยึดตามหลักการ โดยที่มาของการมีศาลพิเศษนี้ที่สอบสวนโดย ปปช. เพราะในคดีอาญาปกติ ผู้สอบสวนคือตำรวจ ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ ที่ข้าราชการการเมืองให้คุณให้โทษได้ การมีศาลพิเศษและให้ผ่านองค์กรอิสระ ที่เคยเชื่อว่าดีในขณะนั้น จึงเป็นเจตนารมณ์ดี หากคิดว่าไม่ถูกต้องก็ต้องแก้ที่กฎหมาย สอง กระบวนการต่างๆ ในศาลนี้ จะรวดเร็ว รวบรัดกว่าปกติ เพราะมีคดีไม่มาก ความเป็นธรรมอาจจะเร็วขึ้น และเขตอำนาจในการรับคดี หากเป็นเรื่องความผิดต่อหน้าที่ที่เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลนี้เป็นเขตเดียวที่มีอำนาจ ศาลอื่นรับไม่ได้
 
สาวตรี กล่าวว่า รัฐต้องให้ความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายไม่ว่า กฎหมายภายในหรือระหว่างประเทศก็ผ่อนคลายลงไม่ได้ รัฐไม่มีสิทธิอันชอบธรรมทำลายชีวิตและร่างกาย เพื่อยืนยันในเรื่องนี้ จึงต้องนำผู้ที่กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการเสวนา มีการเปิดให้แสดงความคิดเห็น ผู้ฟังการเสวนาหลายคน แสดงความผิดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม บ้างมองว่า เป็นเพราะมีมือที่ไม่มองเห็นเข้ามาช่วยเหลือพรรคการเมืองบางพรรค
 
พ.ต.ท.ศิริพล อธิบายว่า แม้ตอนนี้จะไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม แต่หากสามารถสร้างความคิดที่ตกผลึกให้สังคมกระแสหลักเข้าใจว่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมก่อให้เกิดรอยร้าวในสังคมอย่างไร ก็จะนำไปสู่มติของสังคมเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้
 
ขณะที่สมชาย เสนอว่า ในขณะที่สังคมมองคนเสื้อแดงอีกด้าน จะโต้แย้งการมองแบบนี้ด้วยการด่าคงไม่ได้ สังคมคงไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการด่าและประณาม แต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงเบื้องต้น ค่อยๆ ต่อภาพความจริง เพื่อทำให้คนในสังคมค่อยๆ หันกลับมา
 
สาวตรี กล่าวว่า การมาพูดเรื่องช่องทางต่างๆ ทางกฎหมายในวันนี้ไม่ได้เพื่อแก้ตัวให้กฎหมาย แต่แม้ว่าความยุติธรรมไม่มีแล้ว ก็ต้องพยายามยืนยันสิทธิและหาความยุติธรรมต่อไป โดยใช้ทุกช่องทางที่มี ไม่ว่าการต่อสู้บนท้องถนน หรือด้วยกฎหมาย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายชุมชนอีสาน 7 จังหวัด เสนอโมเดลปฏิรูปประเทศไทย

Posted: 26 Sep 2010 11:47 AM PDT

 
26 ก.ย.53 เครือข่ายชุมชนภาคอีสาน 7 จังหวัดจัดเวที  เวทีประสบการณ์ชุมชนโมเดลปฏิรูปประเทศไทย “นี่คือโอกาสสุดท้ายของประเทศไทย”โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 400 คนจาก 200 กว่าเครือข่าย ได้ข้อสรุปเป็นจดหมายเปิดผนึกพร้อมข้อเสนอการปฏิรูปแก่ นายอานันท์ ปันยารชุน น.พ.ประเวศ วะสี และนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ มีรายละเอียดดังนี้
 
 
จดหมายเปิดผนึก
เวทีประสบการณ์ชุมชนโมเดลปฏิรูปประเทศไทย
“นี่คือโอกาสสุดท้ายของประเทศไทย”
 
ถึง
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป
นพ.ประเวศน์ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
วันที่ 26 กันยายน 2553
 
สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชน เพื่อการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนพึ่งพิงนับวันจะมีความรุนแรงขึ้น เป็นสิ่งที่สะท้อนทำให้เห็นว่าเป็นความล้มเหลวของการเมืองระบบตัวแทนและระบบราชการ ในการช่วยปกป้องสิทธิชุมชน ตามรัฐธรรมนูญมาตา 66 และ 67 ที่ระบุชัดเจนว่าชุมชนมีสิทธิในการปกป้องดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน แต่จากแผนการพัฒนาและปัญหาที่เกิดขึ้น กลับตอกย้ำว่าชุมชนทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศถูกละเมิดสิทธิ และผู้อยู่เบื้องหลังการทำลายวิถีวัฒนธรรมชุมชน คือ นักการเมือง และทุนที่ทำธุรกิจเน้นการใช้ค้าทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแทบทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ชุมชนต้องลุกขึ้นมารวมกลุ่ม และทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเครือข่ายชุมชน ได้มีกระบวนการพัฒนาและแก้ปัญหาภายในชุมชนอย่างสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดสุรินทร์ มากกว่า 400 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากเครือข่ายกว่า 200 ชุมชนต้นแบบ
 
บทสรุปจากการแลกเปลี่ยนที่ถือว่าเป็นทางรอดของประเทศไทย มีดังนี้ (1)  เรื่องความมั่นคงทางอาหาร คือ การที่ชุมชนมีอาหารอย่างเพียงพอ ให้ความสำคัญกับการเกษตรปลอดสารเคมี การมีส่วนร่วม รวมกลุ่มผลิต รวมกลุ่มขาย การอนุรักษ์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ดั้งเดิมของท้องถิ่น แทนการผูกขาดของบริษัท  (2) ปัญหาที่ดิน ระบบนิเวศของพี่น้องชาวอีสาน ในมิติของชุมชน ห้วย หนอง คลองบึง ดินน้ำป่า นั้น เป็น แหล่งอาหาร เป็นทรัพยากรของชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องเข้าถึงได้ ไม่ใช่เป็นของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในขณะนี้เป็นปัญหาจากเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม และเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มเดียว รวมทั้งกลไกของรัฐ แก้ไขปัญหาที่ล่าช้า ไม่จริงใจ ทำให้ชาวบ้านเห็นว่ารัฐไม่เคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน ผูกขาดการพัฒนาและรวมศูนย์อำนาจที่กรุงเทพ ฯ  (3) การศึกษาทางเลือก ต้องสร้างคนให้เป็นคนมีคุณธรรมชั้นสูง ไม่หลอกหลวงประชาชน โรงเรียนต้องพัฒนาคนให้เป็นคนดีของสังคม การศึกษาต้องใช้เพื่อชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญคือ การเรียนรู้เรื่องศีลธรรม  (4) สุขภาพทางเลือก ชุมชนยังมีระบบการดูแลสุขภาพกับหมอพื้นบ้านและใช้ความรู้เหล่านี้ในการรักษา ต้องสนับสนุนสิทธิหมอพื้นบ้าน และสร้างเครือข่ายหมอพื้นบ้าน (5) การสื่อสารของชุมชน ความสำคัญคือการยกระดับให้สังคมและสื่อมวลชนเข้าใจเรื่องชุมชนโดยช่องทางสื่อชุมชนหลากหลายรูปแบบ  (6) การพัฒนากลุ่มเยาวชน ปัจจุบันเยาวชนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมาก ควรสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับการแสดงออกของเยาวชน สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ด้วยคุณธรรมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมของคนทุกวัย
 
จากประสบการณ์ทั้งหมดที่สั่งสมมาของคนอีสาน จึงมีข้อเสนอต่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยมีรูปธรรมที่ชุมชน ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่โครงสร้างเพียงอย่างเดียว ดังข้อเสนอต่อไปนี้
 
การแก้ปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของชุมชน
 
1.กรณีความเดือดร้อนเรื่องที่ดินจากข้อพิพาทระหว่างชุมชนกับรัฐ มีการจับกุมดำเนินคดีตัดฟันต้นไม้ และการลงพื้นที่รังวัดแนวเขต โดยชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม ของเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยาน กรมป่า ฯลฯ ให้รัฐยุติการจับกุมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน และช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกจับกุมดำเนินคดีอย่างเร่งด่วน
 
ให้มีนโยบายคุ้มครองพื้นที่การทำเกษตรโดยการรับรองสิทธิให้มีความมั่นคง โดยให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนก่อนสิทธิของเอกชน กรณีปัญหาที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่มีบุคคลเข้าไปใช้ประโยชน์หรือออกโฉนดทับพื้นที่สาธารณะ ให้มีการตรวจสอบและยกเลิกทั้งประเทศ
 
2.กรณีการสำรวจพื้นที่ตามแผนการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดอุบลราชธานีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และมีกระบวนการสร้างความแตกแยกในชุมชนท้องถิ่น โดยวิธีการต่างๆ เสนอให้รัฐยุติกระบวนการดังกล่าว กรณีปัญหาเขื่อนปากมูลให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาตามข้อตกลงที่วางไว้ กรณีเขื่อนในลำน้ำโขงให้ยกเลิกทั้งหมดเพราะกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนอย่างมหาศาล การสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงให้ยกเลิกและให้ยึดหลักเคารพในสิทธิชุมชน กล่าวคือ ให้ยกเลิกสัมปทานของรัฐในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ซึ่งชุมชนใช้ประโยชน์
 
3. ให้แก้ปัญหากรณีสัญชาติในพื้นที่ซึ่งมีความกลมกลืนทางวัฒนธรรมโดยเร่งด่วน เช่น กรณีคนไร้รัฐในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว
 
ข้อเสนอระยะกลาง
 
1.ให้มีการส่งเสริมการเกษตรผสมผสานโดยใช้วิถีวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง เน้นเรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ คุ้มครองอาชีพที่หลากหลาย โดยเฉพาะพันธุ์ข้าว และจัดสรรให้มีปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะที่ดินทำกินอย่างเท่าเทียม โดยประกาศพื้นที่นำร่องเป็นเครือข่ายฯ จังหวัด ป่าชุมชน หรือชุมชนต้นแบบและสนับสนุนงบประมาณโดยตรงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน
 
2.ให้ใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการแก้ปัญหาที่ดิน และปฏิรูปกฎหมายที่ดินที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาคนจน เช่น ยกระดับระเบียบโฉนดชุมชนเป็น พรบ.โฉนดชุมชน ฯลฯ โดยต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าควบคู่กับการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
 
3.กำหนดเขตนิเวศวัฒนธรรมเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ตามวิถีดั้งเดิมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
 
4.ให้ยกเลิกโครงการที่มีผลกระทบต่อสิทธิชุมชนชัดเจน เช่น โครงการเหมืองแร่โปแตช และต้องจัดให้มีการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพประชาชน โดยการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนอย่างเปิดเผยรอบด้าน
 
5.ให้มีการส่งเสริมสวนสมุนไพรชุมชนและรับรองหมอพื้นบ้าน เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างเอื้ออาทร โดยประกาศเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ รัฐต้องสนับสนุนด้านทรัพยากร และงบประมาณตรงที่ชุมชน ให้ออกใบประกอบโรคศิลป์กับหมอพื้นบ้านที่ชุมชนรับรอง
 
6.ให้มีการตั้งหน่วยงาน หรือกรมสื่อสารชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีพื้นที่ในการเผยแพร่สาธารณะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการผลิตสื่อชุมชนในหลากหลายรูปแบบเช่น เพลงพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น หนังสร้างสรรค์สังคม หรือเรื่องสั้นสารคดี โดยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรชุมชนอย่างเป็นระบบโดยงบประมาณของรัฐอย่างเพียงพอ
 
7.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โรงเรียนต้องสร้างคนให้เป็นคนมีคุณธรรมชั้นสูง ไม่หลอกหลวงประชาชน ต้องสร้างคนมีคุณธรรมให้มากที่สุด โรงเรียนต้องพัฒนาคนให้เป็นคนดีของสังคมก่อนที่จะเป็นคนเก่ง การศึกษาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญคือ การเรียนรู้เรื่องศีลธรรม และส่งเสริมให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตน โดยใช้วัฒนธรรมชุมชน ได้แสดงความสามารถ ได้ฝึกทักษะ ด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬาที่สร้างสรรค์
 
8.ให้มีการกระจายอำนาจสู่ประชาชนโดยตรง ประชาชนต้องมีสิทธิในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยให้จัดสรรงบประมาณของรัฐในการสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชุมชนโดยตรง ให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนอยู่ในระบบประชาธิปไตย ควบคู่ไปกับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา
 
การสรุปบทเรียนชุมชนเพื่อหาทางออกประเทศไทยครั้งนี้เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมรอบด้านที่สุดซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ และรัฐบาลนำข้อมูลไปใช้เพื่อการปฏิรูปได้ในทันที โดยไม่มีความจำเป็นต้องทำเหมือนกันทั่วประเทศอย่างไม่ต้องรอผลจากการประชุมของกรรมการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คณะกรรมการฯควรฟังเสียงและข้อเสนอของคนจนเพื่อตอบโจทย์ในการปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่คนจนเป็นเพียงองค์ประกอบในการปฏิรูปประเทศไทย
                                                              ด้วยความเคารพ                                                                
เครือข่ายชุมชนภาคอีสาน 7 จังหวัด
วันที่ 26 กันยายน 2553
ณ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จังหวัดอุบลราชธานี(คปสม.อบ.)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น