โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

โสภณ พรโชคชัย: คุ้มหรือที่จะอนุรักษ์ต้นจามจุรี อายุ 100 ปี

Posted: 03 Dec 2010 11:53 AM PST

ตามที่มีข่าวว่าจะมีการตัดต้นจามจุรี (ก้ามปู ฉำฉา) ยักษ์อายุนับร้อยปีจำนวนหลายต้นและต้นไม้ขนาดใหญ่อื่น ในพื้นที่ใกล้ปากซอยสุขุมวิท 35 และก็มีกลุ่มคน Bigtrees Project ที่มีสมาชิก 5,723 ราย (นับถือขณะเขียนบทความ) ออกมาปกปักรักษาต้นไม้กันใหญ่ ก่อนที่จะคิดทำอะไรต่อ ผมในฐานะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจึงขอประมาณการต้นทุนการอนุรักษ์ต้นจามจุรีดังกล่าว เพื่อให้ทุกฝ่ายได้พิจารณา

ที่ดินแปลงนี้ตั้งอยู่ห่างจาก ถ.สุขุมวิท 35 ตรงข้ามห้างเอ็มโพเรียมประมาณ 100 เมตร มีสภาพทิ้งรกร้างเป็นป่า มีต้นไม้ใหญ่อายุนับร้อยปีอยู่หลายต้น ตามข่าวบอกว่าเจ้าของที่ดินคือกลุ่มไบเทค และจะนำที่ดินดังกล่าวไปสร้าง ‘เอ็มโพเรียม 2’

ได้มีข้อเสนอให้ย้ายต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ออกนอกพื้นที่แทนที่จะตัดทิ้ง อย่างไรก็ตาม หากจะย้ายต้นไม้จริง ต้องริดกิ่งที่แผ่กิ่งก้านในรัสมี 30 เมตร เหลือสภาพคล้าย ‘ธูป’ การย้ายต้นไม้เช่นนี้ ต้นไม้มีโอกาสรอด 20% และหากต้นไม้รอดตาย ก็เสียกิ่งก้านที่สวยงาม และต้องใช้เวลานานนับเดือน

หนทางเดียวที่จะรักษาต้นไม้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ก็คือการไม่ตัดต้นไม้ ซึ่งหมายความว่าต้องมีการซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาทำเป็นป่าหรือสวนสาธารณะ และปรับปรุงทัศนียภาพ ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามในการนี้ ต้องมีต้นทุนค่าดำเนินการ ซึ่งต้นทุนหลักคงเป็นต้นทุนด้านที่ดิน ส่วนต้นทุนการปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้เป็นเช่นสวนสาธารณะ ค่าดำเนินการ สิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลรักษา คงเป็นเงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับค่าที่ดิน
จากการสำรวจต่อเนื่องของ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ซึ่งดำเนินการสำรวจราคาที่ดินต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 พบว่า ราคาที่ดินติดถนนสุขุมวิทในบริเวณติดรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์นี้ เป็นเงินตารางวาละ 800,000 บาท

สำหรับที่ดินในซอย เช่นที่ดินแปลงนี้อาจเป็นเงินตารางวาละประมาณ 500,000 บาท อย่างไรก็ตามหากสามารถนำมาเชื่อมต่อกับแปลงหน้าเพื่อก่อสร้างเป็น ‘เอ็มโพเรียม 2’ ราคาที่ดินทั้งผืนที่ติดถนนและผืนที่เป็นป่ารวมกันคงเป็นเงินไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 600,000 บาท หากที่ดินแปลงนี้มีขนาด 1,000 ตารางวา มูลค่าที่ดินหรือต้นทุนที่ดินในการทำสวนสาธารณะคงเป็นเงินประมาณ 500 ล้านบาท

เงิน 500 ล้านบาทนี้ ใครควรเป็นผู้จ่าย ชาวบ้านหรือเจ้าของที่ดินใกล้เคียงที่จะได้รับประโยชน์โดยตรง จะยินดีจ่ายหรือไม่ ชาวกรุงเทพมหานครหรือกลุ่มอนุรักษ์จะสามารถระดมเงินมาจ่ายหรือไม่ กรุงเทพมหานครสมควรจ่ายหรือไม่ เพราะผู้ได้ประโยชน์อาจอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตยและเขตวัฒนาเป็นสำคัญ

หากรัฐบาลส่วนกลางเป็นผู้จ่าย ก็เท่ากับการจ่ายเงินจากภาษีอากรของประชาชนคนไทยทั่วประเทศ เพื่อคนที่ได้รับประโยชน์จำนวนหนึ่งเป็นสำคัญ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมในอีกแง่หนึ่ง ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ

อย่างไรก็ตามปัญหานี้เป็นผลของปัญหาการไม่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะหากมีภาษีประเภทนี้ เจ้าของที่ดินก็คงไม่เก็บที่ดินให้รกร้างว่างเปล่ามานับร้อยปีจนต้นไม้มีอายุนับร้อยปี เพราะจะต้องเสียภาษีอย่างน้อย 0.5% ต่อปี ยิ่งในต่างประเทศก็คงเสียภาษีมากกว่านี้คือประมาณ 1-2% ต่อปี

หากมีกฏหมายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเจ้าของที่ดินไม่ได้จ่ายภาษีมาถึงทุกวันนี้ ก็เท่ากับที่ดินแปลงนี้น่าจะตกเป็นของรัฐ หรือของประชาชนโดยรวมไปแล้ว ไม่ใช่กลายเป็นการทิ้งไว้ให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นและได้ประโยชน์เฉพาะเจ้าของที่ดิน (โดยเฉพาะรายใหญ่) เช่นที่เกิดขึ้นเช่นนี้

อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่หนึ่งต้นจามจุรีนี้ใช่ว่าจะมีแต่ประโยชน์ เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งหักง่าย เป็นอันตรายต่อคนอยู่ใกล้ เรียกว่าเป็นต้นไม้สง่างามที่ ‘สวยแต่รูป จูบไม่หอม’ ถ้าเราคิดจะอนุรักษ์ไว้โดยไม่ใช้เงินจากกระเป๋าของเรา ก็อาจถือเป็นความดีที่ไร้รากนะครับ

อ้างอิง:
ชาวเฟซบุ๊กโวยต้านนายทุนตัด"ต้นจามจุรี100ปี"
คนออนไลน์ฮึดหนุน โปรเจ็กต์"BIGtrees" ยื้อชีวิตต้นไม้ใหญ่ใน กทม.
“Pmoi Chuchu” มิตรใน facebook ของผมเขียนว่า “หนูไปได้ข้อมูลจากกรมป่าไม้ มาว่า พบข้อเสียของต้นจามจุรีว่า 1. จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นไม้เนื้ออ่อนแตกกิ่งก้านสาขามาก ระบบรากไม่ลึก อาจล้มได้ จึงไม่ควรปลูกใกล้ๆบ้านเรือนที่พักอาศัย 2. ใบมีพิษ ประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นน้ำมันซึ่งสามารถใช้ เป็นยาสลบที่มีคุณสมบัติไปทำลายปลายประสาท 3. ดอก มีเกสรที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้. . . แต่ไม่ใช่ว่าจามจุรี จะไม่มีประโยชน์ซะทีเดียว คุณประโยชน์ของจามจุรีก็มีมากมายเหมือนกัน . . . หนูจำได้ว่าหลายปีก่อน ต้นจามจุรีแถวถนนหน้าโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามเคยล้ม เนื่องภายในลำต้นเป็นโพรง พอพายุฝนฟ้าคะนองมา ก็ล้ม รู้สึกจะทับเด็กเสียชีวิตด้วยค่ะ”
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: เหมืองทองวังสะพุง เมื่อผู้อารักษ์เป็นผู้บุกรุก?

Posted: 03 Dec 2010 11:35 AM PST

รายงานจากพื้นที่ เมื่อ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 8 คนและผู้นำชุมชนอีก 1 ถูกฟ้องข้อหาบุกรุกโดยบริษัทเหมืองทอง เนื่องจากไปสำรวจบ่อน้ำและบ่อเก็บกักแร่หลังพบแหล่งน้ำของชุมชนขุ่นข้นผิดปกติ

000

ผ่านวันที่ 16 มีนาคม 2553 มาได้สองเดือน นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 8 คน และพ่อสมัย ภักดิ์มี ส.อบต.เขาหลวง แกนนำกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด เพิ่งทราบแน่ชัดว่าพวกเขาถูกฟ้องดำเนินคดีข้อหาบุกรุกจาก บริษัท ทุ่งคำ จำกัด

ย้อนกลับไปก่อนวันเกิดเหตุ 18 ปี เมื่อ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เข้ามาเจาะสำรวจและกว้านซื้อที่ดินของชาวบ้านในเขตตำบลเขาหลวง ก่อนจะเริ่มทำเหมืองแร่ทองคำในเวลาต่อมา ตอนนั้นบ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ยังคงสงบสุขเหมือนที่เป็นมากว่าร้อยปี ด้วยวิถีชีวิตในหมู่บ้านท่ามกลางภูเขาสลับซับซ้อน บนพื้นที่ราบมีนาข้าวเขียวขจี มีสวนยางพารา ปลูกถั่วเหลือง ลูกเดือย งา น้ำท่าอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำฮวย ห้วยผุก ห้วยลิ้นควาย ห้วยดินดำ ห้วยเหล็ก เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ 5 สายที่ไหลผ่านพื้นที่ มีพื้นที่ในบ้านนาหนองบงเป็นทั้งแหล่งต้นน้ำ เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ อยู่ในเขตป่าสงวน มีป่าไม้ ป่าไผ่ รวมถึงพืชสมุนไพร ที่ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านดำรงอยู่ด้วยความมั่งคงทางอาหาร และทรัพยากรที่ดูแลใช้สอยมาอย่างยั่งยืนของชาวบ้าน 13 หมู่บ้าน ในตำบลเขาหลวง

แผนที่ผลกระทบ

เมื่อเหมืองทองเริ่มเปิดเหมืองขุดแร่ บนพื้นที่ 1,160 ไร่ ในปี 2549 ผลกระทบต่างๆ เริ่มปรากฎในหมู่บ้านรอบๆ เหมือง 6 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยผุก หมู่ 1 บ้านกกสะทอน หมู่ 2 บ้านนาหนองบง หมู่ 3 บ้านแก่งหิน หมู่ 4 บ้านโนนผาพุงพัฒนา หมู่ 12 และบ้านภูทับฟ้าพัฒนา

“เมื่อก่อนชาวบ้านตามบ้านไร่บ้านนาไม่มีเวลาหาความรู้ มีเหมืองมาตั้งในพื้นที่ก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาของเรา ผู้นำไม่เอาความรู้มาขยายให้พี่น้อง สิทธิของเราไม่ได้รับการดูแลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราถูกหลอกด้วยคนของเราเอง โดยบอกว่าชาวบ้านอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ดังนั้นให้รับค่าชดเชยจากบริษัท 2,000 บาทต่อไร่ ทั้งๆ ที่ที่ดินของเราอยู่ใกล้เทศบาลแค่ไม่กี่กิโล เราถูกหลอกโดยเจ้าหน้าที่รัฐว่าเราไม่มีสิทธิในที่ดินของเราเอง” สำรวย ทองจันทร์ เครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ จ.เลย เล่าเหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อน

1.	เหมืองทองคำของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด พื้นที่พื้นที่ทำเหมือง 1,160 ไร่ กำลังขอประทานบัตรเพิ่ม 13,000 ไร่

เหมืองทองคำของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด พื้นที่พื้นที่ทำเหมือง 1,160 ไร่ กำลังขอประทานบัตรเพิ่ม 13,000 ไร่

พ่อสมัยเป็นอีกคนหนึ่งในชาวบ้านรุ่นแรกที่เฝ้ามองปัญหาที่ตามมาด้วยความเจ็บปวด ชาวบ้านต้องเผชิญกับฝุ่นละอองจากการขนสินแร่ เสียงและแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดหิน และการประกอบกิจการในโรงงาน ซึ่งส่งเสียงดังรวบกวนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

ความเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว มีการผังทลายหน้าดินลงสู่พื้นที่การเกษตร ลำน้ำธรรมชาติปนเปื้อนโลหะหนัก ปลาตาย ในพื้นที่ใกล้ๆ บ่อเก็บกากแร่ในเขตหมู่บ้านกกสะทอนข้าวในนาของชาวบ้านตาย ชาวบ้าน 54 คน เกิดผดผื่นคัน และตรวจพบสารไซยาไนด์ในเลือด น้ำฝนไม่สะอาด บริโภคไม่ได้เหมือนเดิม ชาวบ้านต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้ ชุมชนแตกแยกด้วยการชักนำและผลประโยชน์ที่โปรยหว่านลงในพื้นที่ การทำเหมืองทองได้ทำลายสุขภาพ เศรษฐกิจ ทรัพยากร และความสงบสุขของชาวบ้าน 3,625 คนใน 6 หมู่บ้าน

พ่อสมัย เล่าว่า ที่ผ่านมาชุมชนได้ติดต่อทั้งหน่วยงานราชการ และนักวิชาการหลายแห่งให้เข้ามาตรวจสอบผลกระทบจากการทำเหมือง โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับบ่อเก็บกากแร่ ซึ่งโรงงานสร้างขึ้นขวางทางต้นน้ำธรรมชาติ โดยผลสำรวจคุณภาพน้ำของกองวิเคราะห์น้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาลดาล พบสารหนู แคดเมียม และแมงกานิส มากผิดปกติในลำห้วย โดยเฉพาะในแม่น้ำฮวยซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่นำไปใช้ทำน้ำประปาของตำบล และนำไปสู่การประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ห้ามใช้น้ำดื่มน้ำกิน ห้ามกินปลา หอยขม ในล้ำห้วย ในกุมภาพันธ์ – มีนาคม ปี 2551

แต่ความพยายามทั้งหลายของชาวบ้านก็สูญเปล่า ทุกข์ร้อนของชาวบ้านยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

เมื่อพึ่งใครไม่ได้ชาวบ้านจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชื่อ “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ในปี 2550 และเลือกตั้งให้ พ่อสมัย เป็นประธานกลุ่ม โดยสมาชิกทุกคนมีบทบาทและภาระหน้าที่ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบเหมือง รวมถึงการเฝ้าระวังเตือนภัยเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน

การดำเนินงานของกลุ่มชาวบ้านได้กระทำร่วมกันเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนวันที่ 16 มีนาคม 2553 วันเกิดเหตุ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8 คน ได้เดินทางมายังบ้านนาหนองบง เพื่อสำรวจพื้นที่และศึกษาระบบนิเวศชุมชน สำหรับการจัดกิจกรรมค่าย ชื่อ “โครงการศึกษาระบบนิเวศบนเส้นทางการพัฒนาอีสาน” ของกลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) ที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายน

พวกเขาได้รับฟังจากปากคำของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทอง และรับรู้ถึงสถานการณ์ที่ชาวบ้านเพิ่งตรวจพบบ่อน้ำในที่นาที่อยู่ติดกับเหมืองทองคำมีความขุ่นข้นผิดปกติ และกังวลว่าแหล่งน้ำจะมีสารพิษจากการทำเหมือง

ด้วยความสนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ธนดล คงเกษม และเพื่อนนักศึกษา ขอให้พ่อสมัยพาไปสำรวจพื้นที่ โดยมีเยาวชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ไปร่วมสำรวจด้วย

ธนดล เล่าว่า กลุ่มสำรวจที่มีพ่อสมัยเป็นผู้นำทางได้เดินศึกษาระบบนิเวศรอบๆ พื้นที่ สำรวจบ่อน้ำ และบ่อเก็บกากแร่ โดยไม่รู้ว่าอาณาเขตของเหมืองแร่อยู่ตรงไหนเพราะไม่มีรั้วหรือป้ายบอก ในขณะที่พวกเขากำลังดูบ่อเก็บกากแร่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทมาพบ จากนั้นมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ของเหมือง 2 คนเข้ามาเจรจากับพ่อสมัย โดยในระหว่างการพูดคุยเจ้าหน้าของเหมืองได้ถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวระหว่างการพูดคุยไว้ด้วย

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทได้เข้ามาสอบถามนักศึกษา ม.ขอนแก่น และเยาวชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด

หลังเหตุการณ์นั้น บริษัท ทุ่งคำ ได้ดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกกับพ่อสมัย รวมถึงนักศึกษา 8 คนที่ลงสำรวจพื้นที่ แต่หลังจากการต่อสู้คัดค้านการทำเหมืองมายาวนานถูกข่มขู่ใส่ร้ายมาหลายครั้ง ข้อกล่าวหาทางกฎหมายนี้สำหรับพ่อสมัยคงไม่ได้แปลกใจเท่าไหร่นัก

แต่กับ ธนดล และเพื่อน ในฐานะนักศึกษานิติศาสตร์ที่ได้เห็นพ่อสมัยและชาวบ้านผู้ทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากร และเฝ้าระวังตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบเหมือง ซึ่งเป็นการใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ปมใหญ่ที่เกิดขึ้นในใจ คือ ชาวบ้านเหล่านี้กับกฎหมายกำลังกลายเป็นปฎิปักษ์กันไปได้อย่างไร...

“เราลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่และระบบนิเวศบริเวณพื้นที่นั้น โดยพ่อสมัยได้พาลงสำรวจ พอเกิดเรื่องขึ้น ความรู้สึกของผมตอนนั้นคือ นักศึกษาลงไปศึกษาในถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเองไม่ได้หรือ แล้วอีกอย่างพ่อสมัยก็เป็นสมาชิกอบต.ที่ตำบลนั้นและมีลูกบ้านมาแจ้งว่าเกิดสิ่งผิดปกติที่บริเวณนั้น จะไปตรวจไม่ได้เลยหรือ และที่สำคัญที่สนใจมากก็คือ รัฐปล่อยให้ใครก็ไม่รู้มาทำลายทรัพยากรธรรมชาติได้ง่ายๆ เลยเหรอ แล้วในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่เขียนไว้ วาดไว้ ศักดิ์สิทธิจริงหรือ ใช้ได้จริงหรือ ทำไมชาวบ้านถึงทำไม่ได้ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ” ธนดล กล่าวด้วยความไม่เข้าใจ

กลุ่มนักศึกษาและเยาวชนกำลังสำรวจพื้นที่

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 เหล่านิสิต นักศึกษา กลุ่มดาวดิน พร้อมจะยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับพ่อสมัยและชาวบ้าน พวกเขาออกแถลงการณ์ ขอให้ บริษัท ทุ่งคำ ยุติการดำเนินคดีกับพ่อสมัย รวมทั้งเยาวชน นักศึกษา และให้หยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการยกเลิกการทำเหมืองแร่ทองคำ

เหล่านักศึกษา 8 คน และเพื่อนได้แสดงจุดยืนว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาทำได้ในเบื้องต้น แต่รัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิอันชอบธรรมในการปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง ตามที่พวกเขาได้เรียนมาจะเป็นสาระสำคัญในการดำเนินคดีจริงหรือไม่ ...พวกเขายังมีคำถาม

สำหรับพ่อสมัยไม่ว่าจะต้องต่อสู้อีกมากน้อยแค่ไหนยังคงยืนยันเจตนารมณ์ของชาวบ้านว่า ‘ไม่เอาเหมือง’ ยิ่งเมื่อรู้ว่า ปัจจุบันบริษัทกำลังขอประทานบัตรขยายพื้นที่ทำเหมืองเพิ่มขึ้นอีก 13,000 ไร่ ที่ภูเหล็ก ใกล้ๆ กับโรงถลุงเหล็กภูทับฟ้า

“เราอยากให้ทุกคนรับรู้ว่าการสร้างเหมืองมีผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างไร มันไม่สมควรที่จะมีในประเทศไทยเลย ทรัพยากรธรรมชาติควรจะให้ชุมชนนั้นๆ เป็นคนกำหนดขึ้นมาว่าจะใช้อย่างไร”

ต่อกรณีที่กลายเป็นผู้ต้องหา พ่อสมัยกล่าวว่า “พ่อมีความรู้สึกว่า ถูกคนมีอำนาจใช้อำนาจข่มเหงรังแกชาวบ้าน แต่ไม่ว่าอย่างไรในส่วนงานของกลุ่มเราก็ทำงานต่อไป เพราะคืองานส่วนรวม กระบวนการต่อสู้ข้างหน้าเราจะเชื่อมกับเครือข่ายผู้รับผลกระทบจากเหมืองทั่วประเทศ ต้องกระจายปัญหาการทำเหมืองไปสู่สาธารณะว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการต่อสู้เรื่องคดีก็มีเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิเข้ามาช่วยเหลือในการจัดทางรูปคดี”

ที่วังสะพุงวันนี้ และกรณีเดียวกันในอีกหลายพื้นที่ สำหรับเหล่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเมือง หรือแม้แต่นักศึกษานิติศาสตร์ที่เพิ่งถูกฟ้องข้อหาบุกรุกจากกรณีของการเป็นผู้ตรวจตรารักษาทรัพยากร พวกเขาเกิดความสงสัย ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุไว้ชัดเจนตามมาตรา 66, 67 และมาตรา 85 ถึงสิทธิของชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรในแผ่นดิน แต่คงจะเป็นจริงไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

หากผู้มีอำนาจ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ถือกฎหมายอยู่ในมือ ไม่เคยมีความเข้าใจเรื่อง “สิทธิชุมชน” และความแตกต่างระหว่าง “ผู้ปกป้องทรัพยากร” กับ “ผู้บุกรุก”
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สังคมไทยกับคน (ที่ถูกทำให้) ผิดปกติทางศีลธรรม

Posted: 03 Dec 2010 10:53 AM PST

ข่าวการพบศพเด็กที่เสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการทำแท้ง ที่วัดไผ่เงินจำนวนมากกว่าสองพันศพ[i] สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในสังคมไทยเป็นอย่างมากหรืออาจจะมากที่สุด การพบหลักฐานของการกระทำที่ "ผิดศีลธรรม" มากถึงขั้นหลักพันนั้น มันไปกระตุ้นต่อมพุทธศาสนิกชนอย่างรุนแรงจนฉุดไม่อยู่ และทำให้การทำแท้งที่เคยผ่านตามาในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาสามัญสำหรับคนไทยในขณะนี้ 

กระแสของการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา กระแสเกี่ยวกับการไม่คุมกำเนิดของเด็กวัยรุ่น ใจแตก ที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งมากที่สุด รวมถึงกระแสของการออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจที่จะทำแท้งได้โดยมีกฎหมายรองรับจึงเริ่มต้นขึ้นราวกับน้ำไหลบ่า 

ความคิดเห็นกลุ่มหนึ่งคัดค้านกฎหมายนี้อย่างถึงที่สุด โดยอ้างว่าจะยิ่งทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันเพิ่มมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น เพราะโอกาสที่จะสามารถยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนานั้นสามารถทำได้ง่ายดายกว่าเดิม ในขณะที่ความเห็นอีกกลุ่มกลับโต้แย้งว่าเป็นสิทธิของผู้หญิงที่สามารถจะมีเหนือร่างกายของตัวเธอเอง มากกว่าที่จะให้สังคมมาเป็นผู้ตัดสินใจให้ 

จะอย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องของศีลธรรมในด้านเพศก็ได้ถูกจุดขึ้นมาในสังคมไทยอีกครั้ง ไม่เพียงแต่พุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง แต่ได้รวมไปถึงกลุ่มเพศที่สาม ที่ในขณะนี้ข้อมูลล่าสุดออกมาว่าจำนวนของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีสัดส่วนของกลุ่มเพศที่สามเป็นจำนวนมากที่สุด[ii] สืบเนื่องมาจากการไม่ป้องกันโดยใช้ถุงยางอนามัยเป็นสาเหตุหลัก ประเด็นในเรื่องที่ว่าเพศที่สามได้ทำให้สภาวะของการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยจึงได้ "ถูกจุด" ขึ้นมาพร้อมกับกระแสของการทำแท้งโดยผู้หญิงที่ "ขาดจริยธรรม" และ "ความเป็นแม่" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วสภาวะเสี่ยงที่จะติดเชื้อดังกล่าวอาจจะมาจากกลุ่มคนรักร่วมเพศ หรือกลุ่มคนรักต่างเพศได้เท่ากัน แต่จากมุมมองของคนปกติแล้ว กลุ่มชายรักชายก็ดูจะเป็นเพศผิดธรรมชาติที่ส่งผลต่อสังคมทั้งทางจริยธรรมและสุขอนามัย จนต้องกลายมาเป็นกลุ่มคนที่สังคมจะต้องช่วยกันจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยอย่างแข็งขัน 

อีกกรณีที่เกี่ยวกับเรื่องเพศที่กำลังเป็นหัวข้อความสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเรียกร้องให้ทบทวนการจัดการความรู้ให้กับนักเรียนในเรื่องของเพศศึกษา บางความเห็นเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้เหมาะสมกับโลกที่ก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีอย่างเต็มตัว เพราะไม่ว่าอย่างไร ประเทศไทยคงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงจากกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้เด็กวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจที่จะทำให้เด็กจำกัดการเรียนรู้ในเรื่องของเพศได้อีกต่อไป หรือบางความเห็นก็ได้เสนอให้สถาบันครอบครัวและโรงเรียนเป็นตัวตั้งตัวตีในการทำความเข้าใจด้านเพศศึกษาให้กับเด็กนักเรียนที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไปข้างหน้า เพราะสถาบันเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับกลุ่มวัยรุ่นทั้งสิ้น 

ทั้งหมดทั้งสามกรณีที่เอ่ยมานั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาศีลธรรมและเรื่องของคนที่ผิดปกติ (สำหรับสายตาของคนในสังคมไทยส่วนใหญ่) ทั้งสิ้น ภาพของเมืองไทยที่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม สถานที่สำคัญทางศาสนาและมีประเพณีที่ยืนยาวงดงามเป็นที่น่ายกย่องไปทั่วโลก ในขณะนี้กลับกลายเป็นเมืองที่มีอัตราการทำแท้งเพิ่มขึ้นจากอดีตอย่างรวดเร็ว เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเพศที่สามอันเป็นต้นเหตุของโรคร้ายที่ไม่อาจจะรักษาให้หายขาด อันเนื่องมาจากการขาดความรู้หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ปราศจากการป้องกันตัวเอง เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยการ (คิดว่า) ขาดความรู้ทางเพศศึกษาในหมู่เด็กนักเรียนจะทำให้เกิดปัญหาทางสังคม ศีลธรรมและทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติดูย่ำแย่ 

เรามองเห็นอะไรบางอย่างในกรณีเหล่านี้หรือไม่? 

ในขณะที่ประชาชนจากประเทศโลกเสรีทั้งหลายทั่วโลกก้าวไกลไปถึงเรื่องของสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล การฟ้องร้องเนื่องจากการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การฟ้องร้องบริษัทหรือโรงงานที่เข้ามามีผลกระทบต่อมลพิษต่างๆในชีวิตของพวกเขา การเดินขบวนหรือถือป้ายแสดงเจตนาความเชื่อมั่นของพวกเขาที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเต็มเปี่ยม หรือแม้แต่กรณีของหญิงชาวเสปน ที่ในขณะนี้ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นเจ้าของดวงอาทิตย์กับเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นไปแล้วเรียบร้อย เพราะเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าตนเองมีสิทธิที่จะกระทำเรื่องดังกล่าวได้ แต่ในทางกลับกัน ประเทศไทยยังคงสาละวนอยู่กับการรักษาภาพลักษณ์ความเป็นเมืองพุทธที่เต็มไปด้วยศีลธรรมของตนเอง 

ผู้หญิง เพศที่สาม และเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มคนที่แทบจะไร้อำนาจในการต่อรองทั้งพื้นที่ทางการเมืองและพื้นที่ทางสังคมของไทยอยู่เสมอมา สำหรับผู้หญิง วาทกรรมที่ว่าผู้หญิงที่ดีควรจะเป็นแม่ เป็นภรรยาที่ดีนั้นทำให้พวกเธอไม่อาจจะกระดิกตัวไปจากบ่วงที่รัดแน่นจากสังคมได้เลย เพียงทำตัวฉีกกรอบที่ว่านี้ ก็จะพบกับการดูถูกจากคนในสังคมทันที หรืออาจจะถึงขั้นถูกประณาม อย่างที่กลุ่ม "เด็กวัยรุ่นใจแตกที่ทำแท้ง" กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ในกรณีของเพศที่สาม การถูกกีดกันไม่ให้ใช้พื้นที่สาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่จัดการรื่นเริงในกลุ่มของตนเอง เพียงเท่านี้ก็คงจะยืนยันได้เป็นอย่างดี ว่าในสังคมไทยนั้น พื้นที่ที่จะยืนของพวกเขามีน้อยเหลือเกิน (นั่นไม่นับรวมกับพื้นที่ในภาพยนตร์ที่จัดวางพวกเขาให้อยู่ในสภาพตัวตลกหรืออะไรก็ตามที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เอาไว้ประดับฉากเท่านั้น เพราะถ้าหากเป็นได้มากกว่านี้ ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Insect in the backyard คงไม่ถูกห้ามฉายอันเนื่องมาจากขัดต่อศีลธรรมอันดีงามอย่างแน่นอน) และสำหรับกลุ่มเด็กนักเรียนนั้น แม้ว่าพวกเขาจะมีพลังต่อการแสดงเจตจำนงในการเข้าเรียนต่อทางด้านการศึกษาในมหาวิทยาลัยมากเพียงใด จนสามารถกดดันให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถยอมทำตามข้อตกลงได้มาหลายต่อหลายครั้ง แต่สำหรับการเข้ามาเกี่ยวพันในทางการเมืองและสังคมก็เป็นสิ่งที่ดูจะไกลเกินเอื้อมเหลือเกิน เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจจะได้เห็นแล้วว่าเรื่องของทรงผมนักเรียนที่ถูกต่อต้านกันมาหลายปีนั้นสำเร็จลงโดยการยินยอมจากรัฐบาลในท้ายที่สุด หรือกรณีของการต่อต้านไม่ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบโดยเหล่านิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนทั้งสามกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีลักษณะร่วมกันไปเสียทั้งหมด เราจึงยังสามารถเห็นผู้หญิงที่ดีพร้อมสำหรับเป็นตัวอย่างในสังคม เช่น ตำแหน่งแม่ดีเด่นแห่งชาติ หรือจะเป็น ชาย/หญิงเพศที่สามที่สามารถทำประโยชน์ให้กับวงการต่างๆ และเด็กนักเรียนที่สามารถคว้ารางวัลการแข่งขันวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โอลิมปิคหรือสร้างความภูมิใจให้กับสังคมได้อยู่เสมอมา และในขณะเดียวกัน เราก็ยังสามารถพบเห็นบางสิ่งบางอย่างที่หมิ่นเหม่ต่อคำถามทางศีลธรรมอยู่เสมอจากคนกลุ่มอื่นในสังคม แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ได้ถูกเพ่งเล็งหรือจัดว่าเป็นกลุ่มผิดปกติที่ควรจะถูกจัดระเบียบให้เรียบร้อยแต่อย่างใด 

ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะแบ่งแยกได้อย่างไร ว่าใครเป็นผู้ที่แปลกแยกจากสังคม และใครกันที่ควรจะเป็นผู้ถือตราชั่งแห่งความปกติและความเป็นคนไทยที่สมบูรณ์? 

บางทีเราควรจะเลิกใช้คำว่า "ศีลธรรม" มาเป็นข้ออ้างบอกว่าจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างน่าภาคภูมิใจ เพราะคำประเภทนี้เป็นเรื่องที่ยากจะจำกัดความอย่างยิ่ง เราไม่อาจจะบอกได้เลยว่าใครคือผู้ที่มีศีลธรรมเหนือกว่าใคร หรือใครควรจะเป็นผู้ที่ถูกขัดเกลาให้มีคุณธรรมจริยธรรมเท่าเทียมกับคนอื่นในสังคม 

มิเช่นนั้นไม่กลายเป็นว่า ผู้ที่เปรียบตนเองเป็นผู้มีศีลธรรมสูง ก็คือผู้ที่สามารถควบคุมทุกคนได้อย่างนั้นหรือ? 

การทำเช่นนี้เปรียบเสมือนการทำให้คนกลุ่มหนึ่งไร้อำนาจในการต่อรองทางสังคมลดลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ความผิดปกติของพวกเขา ทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว วิธีการเดียวที่จะทำให้สังคมยอมรับก็คือการทำให้ตัวเองไม่แปลกแยก และการไม่แปลกแยกในความหมายของรัฐก็คือเป็นประชาชนที่ว่าง่าย ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม การใช้คำว่า น่าวิตกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงอาจจะมีนัยยะที่สำคัญว่ารัฐกำลังวิตกจริงๆว่า ทั้งสามกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่ตัดสินใจทำแท้งทั้งๆที่ผิดกฎหมาย กลุ่มคนรักร่วมเพศ และเด็กนักเรียนที่ริจะลองมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั้น กำลังอยู่ในพื้นที่นอกเหนืออำนาจที่รัฐจะเข้าไปควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการตัดสินใจเหนือร่างกายตัวเอง สิทธิที่จะมีเพศสัมพันธ์ในแบบที่สังคมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องปกติ ทั้งหมดนี้เป็นการท้าทายอำนาจของรัฐอย่างยิ่งและทำให้รัฐเริ่มหมดบทบาทหน้าที่ที่จะควบคุมคนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ 

ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์อันสลับซับซ้อนที่ผู้มีอำนาจใช้ควบคุมสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ การท้าทายจากประชาชนจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าพึงปรารถนาอย่างที่สุด เราจึงจะเห็นมาตรการการป้องกันทุกวิถีทางที่จะทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่นอกอำนาจรัฐในขณะนี้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ไม่ต่างอะไรจากเรื่องทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ รัฐบาลพยายามจะ ประนีประนอม” “รอมชอม” “ป้องกัน ไม่ว่าจะเพื่อบ้านเมืองหรือเพื่อใครก็ตาม แต่นั่นเป็นสิ่งที่เราควรจะตั้งคำถามต่อเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง เพราะการที่คนกลุ่มหนึ่งมีอภิสิทธิ์ที่จะชี้นิ้วไปยังคนกลุ่มใดก็ได้ บอกว่าพวกเขานั้นผิดปกติและควรจะถูกจัดการอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ตนเองกลับเป็นผู้ลอยตัวเหนือจากกฎเกณฑ์ทั้งมวล ภายใต้คำพูดที่ว่า "เป็นคนมีศีลธรรม" นั่นไม่ใช่เรื่องปกติอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นในสังคมใดก็ตาม 

ในขณะที่โลกกำลังก้าวไปไกลเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ แต่คนไทยกลับเลือกที่จะเอ่ยอ้างว่าความเป็นไทยนั้นไม่เหมือนชาติใดในโลก และเราควรจะรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ แต่เราก็เลือกที่จะกดขี่และสร้างให้คนกลุ่มที่ไร้อำนาจในการต่อรองเป็นเป้าหมายในการโจมตีของเรา จนหลงลืมไปว่าเรากำลังโยนความผิดบาปไปให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคมโดยใช้ความมีศีลธรรมของตนเองกดทับไม่ให้คนกลุ่มอื่นได้มีสิทธิเหนือตัวของตัวเองหรือไม่? 

รัฐประหารแบบไทยๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ประเพณีวัฒนธรรม ศีลธรรม พุทธศาสนาของไทย ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่สามารถเอ่ยอ้างต่อเวทีโลกได้อย่างน่าภาคภูมิใจ  

แต่หากเราจะลองนึกย้อนกลับมา ไม่แน่ว่าเราอาจจะได้เห็นประเทศไทยในอีกมุมหนึ่ง 

มุมที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยก ประณาม และกดทับ ต่อผู้ที่ "ไม่ปกติ" ในสังคม โดยใช้คำว่า "ศีลธรรม" เป็นข้ออ้าง! 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ป้ายจราจรเพี้ยน แสดงภาพชูนิ้วกลาง

Posted: 03 Dec 2010 08:47 AM PST

 

ป้ายไฟจราจรในเขตเมืองสโปเคน กรุงวอชิงตัน อยู่ ๆ ก็แสดงภาพคล้ายโชว์นิ้วกลางใส่ ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ซึ่งเดิมทีสัญญาณไฟดังกล่าวควรจะเป็นรูปมอที่สื่อถึงการ "ห้ามเดินข้าม"

 

2 ธ.ค. 2553 - ป้ายไฟจราจรในเขตเมืองสโปเคน กรุงวอชิงตัน อยู่ ๆ ก็แสดงภาพคล้ายโชว์นิ้วกลางใส่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ซึ่งเดิมทีสัญญาณไฟดังกล่าวควรจะเป็นรูปมอที่สื่อถึงการ "ห้ามเดินข้าม"

มาร์ลีน เฟียสท์ โฆษกของเมืองสโปเคนกล่าวโดยอ้างความเห็นจากพนักงานที่ดูแลด้านการจราจรว่า เหตุที่ป้ายแสดงภาพเช่นนี้อาจเป็นเพราะมีหิมะไปเกาะส่วนอื่น ๆ ของมือจนเหลือเพียงรูปมือที่ชูนิ้วกลาง

โดยมาร์ลีนย้ำอีกว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยจงใจ

ที่มา

Sign gives pedestrians the middle finger, RTE News, 02-12-2010

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ.ก.ลายจุด ประกาศยกเลิกทอล์กโชว์ 5 ธ.ค.

Posted: 03 Dec 2010 08:37 AM PST

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊กยกเลิกการทอล์กโชว์ “วอน นอน คุก” ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธ.ค. นี้ ระบุเหตุ ได้รับคำแนะนำจาก “ผู้ใหญ่” เผยโกรธได้รับคำขู่ M26 อาจตกหลังเวที

เวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 3 ธ.ค. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊กยกเลิกการทอล์กโชว์ “วอน นอน คุก” ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธ.ค. นี้ โดยระบุว่าได้รับคำแนะนำจาก “ผู้ใหญ่” พร้อมเผยโกรธได้รับคำขู่ M26 อาจตกหลังเวที

สำหรับผู้ที่ซื้อตั๋วการแสดงในรอบดังกล่าว สามารถคืนบัตรได้ที่หน้างาน หรือ ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว โดยนายสมบัติกล่าวขออภัยและชี้แจงว่า หากผู้มีบัตรแล้วจะเปลี่ยนมาชม การแสดงในวันที่ 6 ธ.. ก็จะขอบพระคุณอย่างสูง

นายสมบัติกล่าวด้วยว่า รายละเอียดเกี่ยวกับการยกเลิกทอล์กโชว์ดังกล่าว จะมีการแถลงโดยทีมงานในวันพรุ่งนี้ (4 ธ..)

 เวลา 13.00 น. ที่ hall ชั้น 6 อิมพีเรียล ลาดพร้าว

รายละเอียดการประกาศยกเลิกการแสดง

สำหรับคนทำงานละครเวที พวกเรามีคำพูดหนึ่งคือ The Show Must Go On ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ การแสดงต้องเดินต่อไป นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้และใช้เป็นหลักการในการทำละครเวทีมา 10 ปี

 

ไม่ น่าเชื่อว่า การแสดง Talk Show วอน นอน คุก จะต้องทบทวนหลักการเบื้องต้น มันมีเรื่องมากมายที่ขัดแย้งกันภายในความคิด ของพวกเราทีมงาน ที่ตั้งใจที่จะทำให้ วันอาทิตย์สีแดงในสัปดาห์นี้ เป็นอาทิตย์ที่พิเศษ เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และ ความสุข

 

ผมออกจะแปลกใจที่อยู่ดี ๆ การแสดงชุดนี้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อ ผบ.ทบ. พูดถึงและตามด้วย ผบ.ตร. ในวันต่อมา

 

ผมทราบดีว่า วันที่ 5 ธ.. คือวันอะไร แต่ผมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นข้อจำกัดในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ผิดกฎหมาย

หากการแสดงครั้งนี้เป็นการแสดงของ โน๊ต อุดม เรื่องนี้ไม่มีปัญหา แต่เรากำลังอยู่ในสภาวะพิเศษที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในสังคมไทย

 

เรื่องแบบนี้ผมสัมผัสได้ และผมยินดีรับฟัง Comment ต่าง ๆ ที่ทั้งแนะนำ และ ตำหนิ

 

บอก ตรง ๆ ว่าผมโกรธมากที่มีนายทหารนอกราชการคนหนึ่งข่มขู่ผมเรื่องอาจมีระเบิด M26 มาตกหลังเวทีการแสดง และผมตอบโต้ด้วยการยืนยันว่าจะยังจัดการแสดงต่อไป

 

แต่ เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้ใหญ่หลายท่านที่โทรมาแนะนำ ผมจำนนด้วยสถานการณ์ ผมไม่อยากให้ผู้ชมและทีมงานต้องตกอยู่ในเป้าหมายของคนที่สูญเสียความเป็น มนุษย์ และไม่มีประโยชน์ที่จะดื้อดึง

 

ผมกราบขออภัยพี่น้อง เพื่อนฝูงที่สนับสนุนบัตร และ คอยให้กำลังใจตลอดมา ผมน้อมรับการวิจารณ์จากทุกฝ่าย และแน่นอนว่า สำหรับพี่น้องเสื้อแดง ผมน้อมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว

 

บัตรท่านสามารถคืนได้ที่หน้างาน หรือ ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว หรือจะเปลี่ยนมาชม การแสดงในวันที่ 6 ธ.. ก็จะขอบพระคุณอย่างสูง

 

รายละเอียดในเรื่องนี้ ทีมงานจะขอแถลงในวันที่ 4 ธ.. เวลา 13.00 น. ที่ hall ชั้น 6 อิมพีเรียล ลาดพร้าว

 



สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

น้องสาว‘ฟาบิโอ’ ตอกไทยคดีไม่คืบ หลังทูตไทยเชิญร่วมงานมหามงคล

Posted: 03 Dec 2010 05:55 AM PST

 
 
 
 
2 ธ.ค. 53  อลิซาเบตต้า โปเลนกิ น้องสาวของนายฟาบิโอ โปเลนกี ช่างภาพอิสระชาวอิตาเลียนที่ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ทำหนังสือตอบกลับถึงนายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยได้ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในจดหมายดังกล่าว แต่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมงานเลี้ยงตามที่สถานทูตไทยได้ส่งจดหมายเชิญไป โดยให้เหตุผลพร้อมแสดงความผิดหวังกับทางการไทยว่า จนถึงปัจจุบันไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับการตายของพี่ชายแม้แต่น้อย อีกทั้งยังไม่ได้รับการตอบสนองกรณีร้องขอให้มีการสร้างแผ่นโลหะเล็กๆ ไว้ในที่ๆ ฟาบิโอถูกสังหาร
 
 
00000
 
 
มิลาน, 2 ธันวาคม 53
 
ถึง: นายสมศักดิ์ สุริยวงศ์
สถานเอกอัครราชทูตไทย
Via Nomentana, 132
00162, โรม ประเทศอิตาลี
 
เรียน ฯพณฯ สมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูตไทย
 
 
ฉันมีความประหลาดใจมากเมื่อเห็นจดหมายเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองเนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 83 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ที่เป็นที่เคารพสักการะสำหรับพวกคุณ หลังจากที่เปิดตู้จดหมายในวันนี้
 
ฉันมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ฉันจะต้องปฎิเสธการเข้าร่วมงานครั้งนี้ เหตุผลที่ปฏิเสธ ฉันคาดหวังว่าคงเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย
 
แม้ว่าเราได้มีการร่วมมือกันเป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นสัญญลักษณ์แห่งความไว้วางใจ เพื่อที่จะไปถึงคำตอบเกี่ยวกับประเด็นนี้ผ่านกระบวนการทางการทูตและเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม ประกอบกับความมุ่งมั่นและความไว้วางใจที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ แต่การร่วมมือที่ผ่านมานี้ไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการเลย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความจริงที่ขมขื่น และเมื่อผสมกับจดหมายเชิญของคุณ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ฝ่ายคุณมีความเข้าใจน้อยมากถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ที่ฉันและครอบครัวกำลังดำเนินชีวิตอยู่
 
เป็นเวลามากกว่า 6 เดือนแล้วที่เราไม่ได้รับข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของฟาบิโอและผลลัพธ์จากการตรวจสอบที่ได้ดำเนินการโดยทางการไทย “ความพยายาม” ของทางการไทยในความหมายนี้ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นที่น่าพอใจหรือละเอียดถี่ถ้วนเพียงพอ
 
ด้วยความเคารพอย่างสูง เราอยากทราบว่า เราจะสามารถมีส่วนร่วมกับความปิติยินดีกับพวกคุณได้อย่างไร โดยที่ยังไม่ได้คำตอบเกี่ยวกับของใช้ส่วนตัวของฟาบิโอเลย ของใช้ส่วนตัวของพี่ชายดิฉันได้หายไปอย่างแน่ชัด คล้ายกับว่าของใช้เหล่านั้นได้กลายเป็นสุญญากาศไปแล้ว คล้ายกับว่ากล้องถ่ายรูปของฟาบิโอไปถูกขโมยโดยผู้ชายคนหนึ่งที่ทางการยังหาไม่พบ แม้ว่าทางเราได้ให้รูปภาพหลายรูปแก่พวกท่านในทันทีแล้วก็ตาม นอกจากนี้เรายังไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลเกี่ยวกับคำขอร้องในการสร้างแผ่นโลหะเล็กๆ ไว้ในที่ๆ ฟาบิโอถูกสังหาร ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมาพวกเรามีความคาดหวังที่จะได้รับการตอบจากคุณในประเด็นสุดท้ายนี้ ถ้าหากคุณมีมารยาทต่อครอบครัวของเรา
 
เป็นที่แน่นอนว่า คุณได้ทราบว่าองค์กรทางการเมืองต่างๆ ได้เสนอให้การตอบแทนทางการเงินกับครอบครัวเรา พวกเราเชื่อว่าข้อเสนอต่างๆ นี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกกาละเทศะอย่างมาก และไม่ต้องพูดถึงความไม่เหมาะสม แม้ว่าพวกเราไม่มีความสงสัยถึงความบริสุทธิ์ใจของฝ่ายคุณ แต่เราเชื่อว่านี่เป็นการพยายามอย่างชัดเจนที่จะปิดปากพวกเราและคืนศักดิ์ศรีของฟาบิโอของพวกเราด้วยเงินอันน้อยนิด ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจนับว่าเป็นเรื่องรองอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับประเด็นการพยายามค้นหาความจริงของการเสียชีวิตของสมาชิกอันเป็นที่รักในครอบครัว การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมหลักการด้านความยุติธรรมและประชาธิปไตยที่ทั่วโลกให้การเคารพ และเป็นหลักการที่ฟาบิโอเสียสละชีวิตของตนให้
 
ฉันขอถวายพระพรให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาและขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ฉันจินตนาการว่าหลังจากการนองเลือดที่เกิดขึ้นช่วงการจลาจล พระองค์จะทรงรอคอยความยุติธรรมสำหรับประชาชนไทย และต่างก็จะดำรงชีวิตในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมาน และความอับอายกับวิธีที่ทางการไทยได้ปฎิบัติต่อญาติพี่น้องของเหยื่อหลายคน
 
ฉันสงวนสิทธิในการให้ข้อมูลกับนักข่าวในประเด็นนี้
 
ฉันคอยที่จะได้รับข่าวจากคุณอย่างเร็วที่สุดเกี่ยวกับรายละเอียดการเสียชีวิตของพี่ชายของฉัน พร้อมทั้งการพิสูจน์ให้เห็นความร่วมมืออย่างกระตือรือร้นจากทางฝั่งของคุณในการค้นหาความจริงเกี่ยวกับประเด็นนี้
 
ด้วยความเคารพ
 
เอลิซาเบตต้า โปเลนกี

 

AttachmentSize
Letter of Elisabetta Polenghi.pdf51.46 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

สหภาพแรงงาน-บ.บีเอ็มดับเบิลยูประเทศไทย เจรจา 3 ครั้งไม่คืบ ยื่นพิพาทแรงงานไกล่เกลี่ย 7 ธ.ค.

Posted: 03 Dec 2010 12:21 AM PST

สหภาพแรงงานบีเอ็มดับเบิ้ลยู ประเทศไทย และบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู เจรจาข้อเรียกร้องประจำปี 3 ครั้งไม่คืบ ยื่นข้อพิพาทแรงงานโดยนัดไกล่เกลี่ย 7 ธ.ค. 53 นี้

เมื่อวันที 2 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา นายสมเจตน์ น้อยมณี ประธาน สหภาพแรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกสหภาพแรงงานและพนักงาน บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ที่นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ถึงการเจรจาข้อเรียกร้องปี พ.ศ. 2553 ไม่คืบหน้าหลังจากได้มีการเจรจากันมา 3 ครั้ง

โดยการเจรจาครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 53 ครั้งที่สองในวันที่ 30 พ.ย. 53 และครั้งที่สามในวันที่ 1 ธ.ค. 53  โดยวันที่ 1 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมานั้น ทางสหภาพแรงงานได้ตอบตกลงข้อเสนอของผู้บริหารบริษัทที่จะให้ยื่นหนังสือพิพาท และในวันที่ 2 ธ.ค. 53 เวลา 9.00 น. เลขาธิการสหภาพได้นำหนังสือพิพาทแรงงานไปยื่นที่ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดระยอง โดยมีการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยในวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานจังหวัดระยอง

จากข้อมูลของสหภาพแรงงาน แจ้งว่าผลประกอบการของบริษัทมียอดขายมากกว่า ปี พ.ศ. 2552 (100 เปอร์เซ็นต์) และกำไรเพิ่มขึ้น สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมากที่สุดในรอบ 10 ปี พนักงานให้ความร่วมมือผลิตอย่างเต็มที่ เปิด OT ตลอดรวมทั้งในวันเสาร์ เพื่อทำให้บริษัทมีสินค้าส่งลูกค้าได้ แต่บริษัทตอบว่าไม่มี (budget) เพียงพอสำหรับข้อเรียกร้อง
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิติราษฎร์ฉบับที่ 9 วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ตุลาการภิวัตน์กับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการ

Posted: 03 Dec 2010 12:10 AM PST

เผยแพร่ครั้งแรกที่ เว็บไซต์นิติราษฎร์

ตุลาการภิวัตน์ในความหมายที่ให้ศาลแผ่ขยาย บทบาทมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ที่นำเสนอความคิดนี้ได้พยายามนำเอาหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารโดยองค์กรตุลาการอันเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครอง ในนิติรัฐมาอธิบายสนับสนุนบทบาทของศาลในการตัดสินคดีสำคัญ ๆ ซึ่งกระทบกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันที่จริงแล้ว การที่องค์กรตุลาการทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารโดย เกณฑ์ในทาง “กฎหมาย” โดยตระหนักรู้ถึงขอบเขตแห่งอำนาจของตน ตระหนักรู้ถึงภารกิจและความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยของตนย่อมไม่ใช่เรื่อง ประหลาด การตีความกฎหมายไปในทางสร้างสรรค์ สนับสนุนสิทธิเสรีภาพของราษฎร การตีความกฎหมายให้คุณค่าต่าง ๆ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยปรากฏขึ้น เป็นจริงย่อมเป็นสิ่งที่วิญญูชนได้แต่สนับสนุน

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ (หรือที่บางท่านเรียกว่า ตลก.ภิวัตน์) ในประเทศไทยก็คือ...

การตัดสินคดีหลายคดีในช่วงระยะเวลานับ ตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อยมาจนกระทั่งหลังการรัฐประหาร ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นการตัดสินคดีที่องค์กรตุลาการ (ผู้พิพากษา ตุลาการ) เข้าทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรือตรวจสอบบรรดาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในทางการเมืองโดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ที่ถูกต้องเป็นธรรมจริงหรือไม่ การกล่าวอ้างสิ่งที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการให้คุณค่า ในถ้อยคำดังกล่าวด้วยว่าเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นตัวแทนของคุณธรรมความดีงามทั้งปวง (ดังที่ภิกษุบางรูปเปรียบเทียบตุลาการภิวัตน์ว่าคือธรรมาธิปไตย) ในที่สุดแล้วจะมีผลเป็นการปิดปากผู้คนไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์การใช้ อำนาจตุลาการซึ่งแสดงออกในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลหรือไม่ ผู้ที่เสนอหรือสนับสนุนกระแสความคิดเรื่องตุลาการภิวัตน์ในบริบทของการ ต่อสู้ทางการเมืองที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุกอณูของสังคมดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้แน่ ใจได้อย่างไรว่าการเรียกร้องให้ศาลขยายบทบาทออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการ ทางการเมืองของตนนั้นจะไม่ทำให้ศาลใช้โอกาสนี้ปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความ ผูกพันต่อกฎหมายและความยุติธรรมไปด้วย และในที่สุดแล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าตุลาการภิวัตน์ไม่ใช่เสื้อคลุมที่สวม ทับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

ในระบบกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความผิดฐานบิดเบือนหรือบิดผันการใช้อำนาจ ตุลาการ (ตลอดจนความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย) เอาไว้ การบิดเบือนหรือการบิดผันการใช้อำนาจตุลาการ คือ การที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมายไปในทางที่ผิดโดยเจตนา พิพากษาคดีไปในทางให้ประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร้ายแก่คู่ ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การใช้หรือการตีความกฎหมายไปทางที่ผิดอย่างประสงค์จงใจดังกล่าวถือว่าเป็น อาชญากรรมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามพึงเข้าใจว่าการที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมาย อย่างไม่ถูกต้องหรือยากที่คล้อยตามได้ยังไม่พอที่จะถือว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วย่อมจะกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการ และอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องผู้พิพากษาหรือตุลาการโดยง่ายอันจะทำให้ในที่ สุดแล้ว บรรดาคดีความต่าง ๆ จะหาจุดสิ้นสุดไม่ได้

การวินิจฉัยว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้อำนาจ ตุลาการอย่างบิดเบือนในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นผลร้ายแก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่อย่างใดก็ตามการพิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ตลอดจนเหตุผลที่ปรากฏในคำพิพากษาก็สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมายหรือใช้อำนาจตุลาการอย่างบิดเบือนหรือไม่ กรณีที่ปรากฏในต่างประเทศ เช่น ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาเพื่อ ประโยชน์แก่บุตรสาวของตนทั้ง ๆ ที่คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและผู้พิพากษาผู้นั้นไม่สามารถ ตัดสินคดีได้ เนื่องจากถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี

ในทรรศนะของผู้เขียน การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้พิพากษาหรือ ตุลาการถูกสั่งการให้พิจารณาพิพากษาคดีไปทางใดทางหนึ่ง และผู้พิพากษาหรือตุลาการยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้น ทั้ง ๆ ที่การปรับบทกฎหมายหรือการตีความกฎหมายเช่นนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดพลาดอย่าง ชัดแจ้ง หรือผู้พิพากษาตุลาการมีอคติ เกิดความเกลียดชังคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอคติหรือความเกลียดชังดังกล่าวอาจเป็นมาจากอิทธิพลหรือกระแสความรู้สึก นึกคิดของคนในสังคม หรืออิทธิพลจากสื่อมวลชนก็ได้ ภายใต้อิทธิพลหรือกระแสดังกล่าวดังกล่าวนั้น ผู้พิพากษาหรือตุลาการจึงดำเนินกระบวนพิจารณาโดยคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานที่สอดคล้องกับผลของคดีที่ตนต้องการเข้าสู่การพิจารณา ตัดข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานตลอดจนพยานบุคคลที่จะทำให้เห็นความจริงของคดี ออกไปโดยอำเภอใจ และในที่สุดแล้วจึงพิพากษาคดีไปตามที่ตนต้องการนั้น

ปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในการ วินิจฉัยว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ ก็คือกรณีที่การดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีนั้นกระทำในรูปขององค์คณะ และปรากฏว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการบางท่านในองค์คณะนั้นได้ออกเสียงไปในทาง คัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการ ใช้อำนาจตุลาการ แต่ในที่สุดแล้วก็ร่วมลงชื่อในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นด้วย ในกรณีเช่นนี้จะถือว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการผู้นั้นบิดเบือนการใช้อำนาจ ตุลาการด้วยหรือไม่ เรื่องนี้มีความเห็นในทางตำราแตกต่างกันออกเป็นสองแนว แนวแรกเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ออกเสียงคัดค้านผู้พิพากษาหรือ ตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการไม่มี ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายและไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุน ถึงแม้ว่าจะร่วมลงชื่อเป็นองค์คณะด้วยก็ตาม เพราะได้ออกเสียงคัดค้านไปแล้ว อีกแนวหนึ่งเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวกระทำความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการบิดเบือนกฎหมาย แม้ว่าจะออกเสียงคัดค้านฝ่ายข้างมากไว้ก็ตาม เนื่องจากหากผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยไม่ร่วมลงชื่อในคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยด้วยแล้ว คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่บิดเบือนกฎหมายย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นหลัง เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการในองค์คณะที่เห็นการบิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือน การใช้อำนาจตุลาการซึ่งเป็นการกระทำความผิด ย่อมต้องมีหน้าที่ต้องปฏิเสธการกระทำความผิดนั้น (ส่วนประเด็นที่ว่าผู้พิพากษาตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวสมควรถูกลงโทษหรือ ไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) อย่างไรก็ตามความผิดฐานนี้ไม่ได้รับการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาของไทย และหากจะมีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวขึ้นในอนาคต ก็ควรที่จะบัญญัติประเด็นที่กล่าวถึงนี้เสียให้ชัดเจน

ควรตั้งไว้เป็นข้อสังเกตด้วยว่าการป้องกันไม่ ให้ผู้พิพากษาตุลาการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการนั้น ไม่ได้อยู่ที่การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวไว้ แต่อยู่ที่การจัดการปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยและการจัดโครงสร้าง องค์กรตุลาการที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวย่อมจะไร้ประโยชน์ หากผู้พิพากษาตุลาการไม่ได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลาให้เห็นในคุณค่าของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากยังปรากฏว่าการจ่ายสำนวนเข้าองค์คณะนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หากปรากฏว่ากลไกการคัดเลือกผู้พิพากษาตุลาการนั้นยังเป็นระบบปิด ฯลฯ ด้วยเหตุนี้การอภิปรายถึงความชอบธรรมทางประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการจึงเป็น ความจำเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้

การแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการ ไม่ว่าจะในลักษณะของการเป็นองค์กรคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ธรรมนูญ (ศาลรัฐธรรมนูญ) องค์กรตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองหรือการคุ้มครองสิทธิ ของปัจเจกบุคคลจากการล่วงละเมิดโดยอำนาจปกครอง (ศาลปกครอง) หรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่น (ศาลยุติธรรม) ผู้พิพากษาหรือตุลาการไม่อาจแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการตามอำเภอใจเพื่อตอบสนอง ข้อเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงได้ ไม่ว่ากลุ่มผลประโยชน์นั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใดก็ตาม การใช้อำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาคดี ผู้พิพากษาตุลาการจะต้องผูกพันตนต่อกฎหมายและความยุติธรรม และต้องสำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่าอำนาจตุลาการที่ตนกำลังใช้อยู่นั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็นของประชาชน

หากข้อเสนอที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ หน้าฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลแผ่ขยายบทบาทเข้าไปแก้ปัญหาทางการเมือง โดยอ้างอิงหลักการจากประเทศที่เป็นนิติรัฐ หลังฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลใช้อำนาจทางกฎหมายเข้าจัดการกับปรปักษ์ทางการ เมืองของตนโดยอ้างหลักกฎหมายจากต่างประเทศอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่ได้คำนึงถึงลักษณะโครงสร้างของอำนาจตุลาการของไทยว่ามีพัฒนาการมา อย่างไร ตลอดจนไม่ได้คำนึงถึงโครงข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับบนแล้ว คำว่า “ตุลาการภิวัตน์” คงมีความหมายเท่ากับ “การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการ” ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายถือว่าเป็นความผิดอาญาเท่านั้น
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พธม.เลิกชุมนุม 11 ธ.ค. เลื่อนเป็นปีหน้า จำลองเผยอยากให้เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความสุข

Posted: 02 Dec 2010 10:53 PM PST

พันธมิตรเลื่อนการชุมนุมเป็น 25 ม.ค. ปีหน้า "เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสมบูรณ์" จำลองลั่นจะมีการปักหลักพักค้างเพิ่มจำนวนคนให้มากกว่าเดิม เพื่อเรียกร้องรัฐบาลถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก ยกเลิกเอ็มโอยู 43

ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อเวลา 12.20 น.วันนี้ (3ธ.ค.) ว่า ที่บ้านพระอาทิตย์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงมติที่ประชุมแกนนำพันธมิตรฯ ซึ่งสรุปได้ว่า จะมีการเลื่อนการชุมนุมใหญ่จากวันที่ 11 ธ.ค.ไปเป็นวันที่ 25 ม.ค.2554 เวลา 10.00 น.ที่ถนนราชดำเนินนอก ด้านกองบัญชาการกองทัพบก

พล.ต.จำลองกล่าวว่า การเลื่อนการชุมนุมดังกล่าวก็เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่พันธมิตรฯ เคยเรียกชุมนุมด่วนเมื่อวันที่ 2 พ.ย.เนื่องจากรัฐบาลได้นำญัตติการรับรองบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน ไทย-กัมพูชา(เจบีซี)เข้าสภา ทั้งที่ยังมีน้ำท่วมใหญ่ในภาคใต้ ซึ่งเราเห็นว่าถ้ารัฐสภาเห็นชอบ เราจะเสียดินแดนทันที เราจึงชุมนุมคัดค้าน ทำให้รัฐบาลยอมเลื่อนการพิจารณาไปก่อน แต่เราเห็นว่าการเลื่อนไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงเรียกร้องให้ถอนญัตติออกไป ไม่เช่นนั้นจะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 11 ธ.ค. ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือนเศษ รัฐบาลก็ไม่ยอมถอน

พล.ต.จำลองกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่า วันที่ 11 ธ.ค.เพิ่งจะผ่านการฉลองวันมหามงคล 5 ธันวาคม ไปไม่นาน และเราอยากจะให้เดือนธันวาคมเป็นเดือนแห่งความสุข และภาคใต้ยังมีน้ำท่วม เราจึงกำหนดวันชุมนุมใหม่เป็นวันที่ 25 ม.ค.ปีหน้า และหลังจากนี้ เราจะเดินสายทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ประชาชน ให้ตระกว่าถ้าเราอยู่เฉยๆ เราจะเสียดินแดนให้เขมรเป็นพื้นที่ทางบก 1.8 ล้านไร่ และเสียทรัพยากรทางทะเลอีกจำนวนมาก

พล.ต.จำลองย้ำว่า ขอยืนยันเจตนารมณ์เดิมว่า การปกป้องไม่ให้เสียดินแดนนั้นไม่มีวิธีใดดีไปกว่าการชุมนุมกดดันให้รัฐบาล ทำหน้าที่ โดยในวันที่ 25 ม.ค. เราจะเรียกร้องให้รัฐบาลถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก ยกเลิกเอ็มโอยู.2543 พร้อมยกเลิกเอกสารประกอบทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ทำ เราจำเป็นต้องชุมนุมใหญ่ เพราะในชั่วอายุของเรา ไม่มีอะไรร้ายแรงเท่ากับการที่เราจะเสียดินแดนให้เขมรอีกแล้ว วันที่ 25 ม.ค.เราจะชุมนุมเต็มที่ มีการปักหลักพักค้างเพิ่มจำนวนคนให้มากกว่าเดิม เพื่อให้รัฐบาลทำหน้าที่ให้ได้ ถ้ายังไม่ทำเราก็จะชุมต่อไปไม่เลิก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น