ประชาไท | Prachatai3.info |
- แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลยุตินโยบายเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
- ฟังสัมภาษณ์+ซับไตเติ้ล ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์: ข้อมูลที่ลงทุนปกปิดคือข้อมูลที่ควรเปิดเผย
- มาร์คปาฐกถาย้ำรัฐบาลมุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกด้าน
- ก.ยุติธรรมเตรียมจัดอบรม "ลูกเสือไซเบอร์"
- ล่ารายชื่อกดดัน รบ.ไทยหนุนสิทธิ "ผู้มีความหลากหลายทางเพศ" ในมติยูเอ็น
- ศาลอาญาออกหมายจับ 5 แกนนำ นปช. ข้อหาก่อการร้าย
- รายงานเสวนา: สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย ตอนที่ 4
- ILO เผยอัตราขยายตัวค่าแรงทั่วโลกลดลงกว่าครึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
- โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยเสนอยุทธศาสตร์สหภาพไทยกับแรงงานข้ามชาติ
- ศาลยกเลิกนัดพิพากษา “จตุพร” นัดสืบพยานจำเลยเพิ่ม 25 ม.ค. ปีหน้า
- วิกิลีคส์แพร่เอกสารทูตสหรัฐฯ สนทนากับ "เปรม-สิทธิ-อานันท์"
แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลยุตินโยบายเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ Posted: 17 Dec 2010 11:46 AM PST สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติทั้งหมด พร้อมเรียกร้องให้สมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัว
รายละเอียดดังนี้ เนื่องในวันเเรงงานข้ามชาติสากล วันที่ 18 ธันวาคม 2553 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติทั้งหมด ทบทวนนโยบายกวาดล้างแล้วผลักดันเเรงงานข้ามชาติกลับประเทศต้นทาง ให้หน่วยงานองค์การสหประชาชาติร่วมตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ยกเลิกกฎหมายและนโยบายเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติและการหักเงินค่าจ้างเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับ ตลอดจนกำหนดนโยบายจัดการเเรงงานข้ามชาติระยะยาวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของการย้ายถิ่นและความต้องการเเรงงานของประเทศ และให้ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัว การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามชาติของเเรงงานไม่ใช่เรื่องใหม่ของประเทศไทย จากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่อนผันให้ขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพื่อให้แรงงาน "อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้ชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ" โดยเปิดให้ขึ้นทะเบียนเป็นรายปีตลอดช่วงระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ต่อมาจึงกำหนดนโยบายการจัดการเเรงงาน โดยทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศลาว กัมพูชา และพม่า ในปี 2545 และ 2546 เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำเข้าเเรงงานจากทั้งสามประเทศอย่างถูกกฎหมายและเพื่อดำเนินการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการแล้ว ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุจำนวนเเรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนไว้ในปี 2553 มีกว่า 1.3 ล้านคน ขณะที่ประมาณการตัวเลขที่เเท้จริงของเเรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่า80 % เป็นเเรงงานจากประเทศพม่า การที่มีแรงงานจากประเทศพม่าหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยจำนวนมหาศาลนั้น นอกจากภาวะกดดันทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศดังกล่าวจะเป็นเเรงผลักสำคัญก็ตาม ความต้องการเเรงงานในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ต้องทำงานหนัก สกปรก เสี่ยงต่ออันตรายและมีปัญหาสุขภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และแรงงานไทยมีจำนวนน้อย ทั้งไม่นิยมทำงานดังกล่าวเช่น งานประมง งานเกษตร และงานก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งความต้องการก็มีแนวโน้มสูงยิ่งขึ้น จากผลวิจัยชี้ว่า อัตราการพึ่งพิงเเรงงานข้ามชาติในภาคการผลิตไทยคิดเป็น 9% ของแรงานทั้งหมด และหากคิดเฉพาะสำหรับงานที่กล่าวข้างต้น มีอัตราการพึ่งพิงเเรงงานข้ามชาติสูงถึง16% ของกำลังเเรงงานทั้งหมด โดยกำลังแรงงานข้ามชาติได้สร้างผลผลิตมวลรวม (GDP) ให้กับเศรษฐกิจไทยมากมายมหาศาล รัฐบาลได้แถลงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและการจ้างเเรงงานข้ามชาติว่าจะดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังเเรงงานของประเทศและความสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงของชาติ แต่ในความเป็นจริงการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวยังมีปัญหามากมาย 1.กระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่ล่าช้าและไม่สามารถเข้าถึงเเรงงานได้อย่างทั่วถึงทำให้มีเเรงงานที่แสดงความจำนงเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติเพียง 1 ล้านคน เเรงงานข้ามชาติจำนวนอีกกว่าล้านคนต้องตกเป็นเป้าของนโยบายการกวาดล้างจับกุมเพื่อส่งกลับ นโยบายดังกล่าวที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางอาจถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้เจ้าหน้าที่บางคนใช้อำนาจโดยมิชอบ แสวงหาประโยชน์จากแรงงาน ทั้งยังมีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติระหว่างการถูกผลักดันกลับ เช่นกรณีการผลักดันแรงงานกลับไปในช่องทางที่ควบคุมโดยกองกำลังกระเหรี่ยง DKBA เป็นต้น แม้หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนจะได้ร้องเรียนรัฐบาลแต่ก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบและนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด 2. การขาดการทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เลือกปฏิบัติส่งผลให้เเรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ เช่น ประกาศสำนักงานประกันสังคมที่ยังคงกีดกันเเรงงานข้ามชาติที่อยู่ระหว่างรอการพิสูจน์สัญชาติและเเรงงานข้ามชาติที่เหลือที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนจากการเข้าถึงกองทุนเงินทดเเทน กฎกระทรวงฉบับที่ระบุให้เเรงงานภาคการเกษตรและประมงทะเลไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองเเรงงาน ซึ่งภาคการผลิตดังกล่าวใช้กำลังเเรงงานข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ระเบียบห้ามมิให้เเรงงานข้ามชาติเปลี่ยนนายจ้าง และการไม่อนุญาตให้เเรงงานข้ามชาติทำใบขับขี่ เป็นต้น 3. การกำหนดให้ต้องหักเงินจากค่าจ้างเเรงงานข้ามชาติเพื่อนำส่งกองทุนเพื่อการส่งกลับซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับเเรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา โดยที่มิได้มีผลบังคับใช้กับเเรงงานสัญชาติอื่น อันเป็นการเลือกปฏิบัติและสร้างภาระอันเกินควรให้กับเเรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีรายได้น้อย และมีรายจ่ายสูงอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สัญชาติที่ต้องจ่ายให้นายหน้าที่เรียกค่าบริการสูงเกินจริงและดำเนินกิจการโดยขาดการควบคุมเท่าที่ควรจากภาครัฐ ค่าขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตทำงาน ค่าหลักประกันสุขภาพ นอกจากนี้เเรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วยังต้องถูกหักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคม แต่ได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 4. การนำเข้าเเรงงานตาม MOU ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่เป็นระบบ และไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์จริงของการย้ายถิ่นและความต้องการเเรงงาน เห็นได้จากสถิติแรงงานนำเข้าตลอดระยะเวลา 7 ปี เพียง 24,000 คน ซึ่งมีเเรงงานพม่าเพียง 700 คน เพื่อให้นโยบายแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลไทยดำเนินไปในทิศทางที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานบนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทุจริตคอร์รัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชน สรส. มสพ. และ คสรท. จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาลควรทบทวนนโยบายการกวาดล้างจับกุมและการผลักดันเเรงงานข้ามชาติกลับ และเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติทั้งหมดใหม่โดยครอบคลุมถึงผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้เเรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งหมดได้เเสดงตนและเเสดงความจำนงในการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ตลอดจนควบคุมการให้บริการและอัตราค่าบริการของนายหน้าพิสูจน์สัญชาติให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อการแก้ปัญหาสถานะของเเรงงานข้ามชาติได้อย่างครอบคลุมและยังป้องกันการนำนโยบายดังไปอ้างเพื่อเเสวงประโยชน์โดยมิชอบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติในระหว่างที่รอการพิสูจน์สัญชาติ 2. เร่งตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้องอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้นโยบายกวาดล้างและส่งกลับเเเรงงานข้ามชาติและเพื่อประกันให้เกิดการตรวจสอบที่เป็นอิสระ โปร่งใส โดยคำนึงถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศตามเเนวโนบายการบริหารราชการเเผ่นดินและตามคำมั่นที่ให้ไว้กับนานาประเทศในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงควรเชิญผู้รายงานพิเศษเเห่งสหประชาชาติเข้ามาร่วมการตรวจสอบด้วย 3. ยกเลิกกฎหมายและระเบียบที่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้เเรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามมาตรฐานสิทธิเเรงงานและควรทบทวนนโยบายการหักเงินค่าจ้างเเรงงานข้ามชาติเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับเเรงงานข้ามชาติ 4. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมการอพยพ การนำเข้าเเรงงานอย่างเป็นระบบ ต้องสามารถป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน การละเมิดต่อกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายระยะยาว ให้มีหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่บริหารการอพยพย้ายถิ่นอย่างบูรณาการ โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวเเรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายตามเเนวนโยบายการบริหารเเรงงานที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ ตลอดจนเร่งรัดให้รัฐบาลพม่าร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งด้านการิสูจน์สัญชาติ การป้องกันการหลอกลวงแรงงาน และการปราบปรามการค้ามนุษย์ 5. รัฐสมาชิกอาเซียนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างจริงจัง โดยให้ถือเป็นวาระของอาเซียน และขอให้รัฐบาลไทยและรัฐสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัว คุณูปการของกำลังเเรงงานข้ามชาติต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่เเรงงานข้ามชาติกลับถูกมองเป็นเพียงปัจจัยการผลิตและมองข้ามความเป็นมนุษย์ นโยบายจึงถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของการแบ่งแยกและการกดขี่จนก่อให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติ เเรงงานจำนวนมากตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ วาระครบรอบ 20 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัวและในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้พิจารณาข้อเสนอข้างต้นเพื่อการจัดการเเรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและเพื่อปฏิบัติตามคำมั่นของรัฐบาลในการสงเสริมการมีบทบาทรวมกับประชาคมโลก เพื่อสงเสริมและคุมครองคานิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนรวมมือในการแกไขประเด็นปญหาขามชาติทุกดานที่สงผลกระทบตอความมั่นคงของมนุษย์ต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ฟังสัมภาษณ์+ซับไตเติ้ล ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์: ข้อมูลที่ลงทุนปกปิดคือข้อมูลที่ควรเปิดเผย Posted: 17 Dec 2010 11:30 AM PST จูเลียน แอสเซนจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ จวกสื่อกระแสหลักทำงานแย่กว่านักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ เผยหลักการเปิดโปงข้อมูล โดยถือว่าข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหากข้อมูลนั้นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ และนี่คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว ผู้ใช้นามแฝงว่า gigcode แปลคำสัมภาษณ์จูเลียน แอสเซนจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เป็นภาษาไทยและนำเสนอผ่านเว็บไซต์ยูทูปว์เมื่อคืนวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผู้สัมภาษณ์คือ คริส แอนเดอร์สัน ผู้ก่อตั้งวารสารด้านไอที และเว็บไซต์ www.ted.com สัมภาษณ์จูเลียน แอสเซนจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นความยาวทั้งสิ้น 19.14 นาที โดยแอสเซนส์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อกระแสหลัก พร้อมกล่าวถึงเทคนิคและวิธีการปกป้องแหล่งข่าวผู้เปิดเผยข้อมูลลับให้แก่วิกิลีกส์
คำถามแรก คริส แอนเดอร์สัน ถามว่าจริงหรือไม่ที่ในช่วงปีที่ผ่านมา วิกีลิกส์ได้เปิดเผยเอกสารลับมากกว่าสื่อทั่วโลกรวมกันได้นำเสนอ โดยแอสเซนจ์ ตอบว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สื่อหลักทำหน้าที่ได้แย่มากขนาดที่ว่านักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ ยังสามารถเปิดเผยข้อมูลลับๆ นั้นได้มากกว่าสื่อมวลชนทั่วโลกที่เหลือทั้งหมดเสียอีก เมื่อคริส แอนเดอร์สันถามว่า คนทีเผยแพร่เอกสารต้องทำอย่างไร และวิกิลีกส์ปกป้องคนที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างไร แอสเสนจ์ตอบว่าแหล่งข่าวมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ เพื่อส่งข้อมูลให้กับวิกิลีกส์ โดยทางวิกีลีกส์ใช้การเข้ารหัสที่ทันสมัยที่สุดกระจายข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเพื่อปกปิดร่องรอย และทำการส่งต่อข้อมูลในเขตประเทศที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเช่น สวีเดนและเบลเยียม ส่วนข้อมูลจากแหล่งข่าวนั้นก็อาจใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ตามปกติ และจากนั้นก็ตรวจสอบข้อมูลเหมือนกับสำนักข่าวทั่วไป ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ยากในกรณีที่ต้องใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สำหรับการปกป้องตัวคนทำงานของวิกิลีกส์เองนั้น แอสเสนจ์กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะปกป้องตัวเองจากการถูกฟ้องร้อง และการโจมตีทางการเมือง แอสเสนจ์ยอมรับด้วยว่า บางครั้งเขาก็ไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามของแหล่งข่าวที่ส่งข้อมูลให้เขา และหากเขาได้รู้ว่าผู้ส่งข้อมูลเป็นใคร แม้จะโดยบังเอิญ เขาก็จะทำลายข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข่าวโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แอสเสนจ์ยกตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลลับเกี่ยวรายงานของรัฐบาลเคนยา ต่อกรณีการคอรัปชั่นในยุคที่ แดเนียล อรัป มอย อดีตประธานาธิบดีประเทศเคนยาซึ่งเป็นเผด็จการเสียงข้างมากปกครองอยู่เป็นเวลา 18 ปี อย่างไรก็ตามรัฐบาลเคนยาเก็บรายงานนี้ไว้ใช้ต่อรองกับอดีตประธานาธิบดี ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเคนยา และแอสเสนจ์ได้รายงานชิ้นนี้มาก่อนการเลือกตั้งในเคนยาในปีพ.ศ. 2547 เมื่อวิกิลีกส์ปล่อยรายงานชิ้นนี้ออกมา ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ คิบากิ ประธานาธิบดีคนใหม่กำลังผู้สัมพันธ์ทางการเมืองกับแดเนียล อรัป มอย ซึ่งเดิมนั้นคิบากิต้องการจะกวาดล้างอำนาจ ทำให้คิบากิตกอยู่ในสภาพสภาพเขวี้ยงงูไม่พ้นคอ และกลายเป็นจุดพลิกผันของการเลือกตั้ง ซึ่งกรณีของเคนยานั้นเป็นการรั่วไหลของข้อมูลจากภายนอกประเทศ สื่อต่างประเทศ เช่น เดอะการ์เดี้ยนนำเสนอประเด็นดังกล่าวก่อน ตามาด้วยสื่อในประเทศเพื่อนบ้านของเคนยา เช่น แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้ 2 วันต่อมาสื่อในประเทศเคนยา จึงกล้าจับกระประเด็นดังกล่าวมานำเสนอโดยเฉพาะข่าวทางโทรทัศน์นำเสนอข้อมูลดังกล่าวติดต่อกันถึง 20 วัน ส่งผลให้การเลือกตั้งเปลี่ยนข้างไปถึง 10 เปอร์เซ็นต์ แอสเสนจ์กล่าวต่อไปว่า หากเขาได้รับข้อความทางการทูตเขาก็จะเผยแพร่ต่อ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงในหลายๆ เรื่อง เช่น การคุกคามสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศอาหรับแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ คริส แอนเดอร์สันถามต่อไปว่า มีหลักการอะไรที่ทำให้ข้อมูลลับเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แอสเสนจ์ตอบว่า ยังเป็นเรื่องที่สงสัยกันอยู่ว่าข้อมูลแบบไหนกันแน่ที่สำคัญสำหรับโลก ข้อมูลแบบไหนที่ทำให้เกิดการปฏิรูปได้ ขณะที่ข้อมูลก็มีอยู่มากเหลือเกิน แต่สำหรับเขา ข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด นั่นก็เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าหากข้อมูลนั่นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ ข้อมูลนั่นจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ เพราะหน่วยงานที่ทำการปกปิดข้อมูลรู้ดีชนิดที่เรียกว่า ทุกแง่ทุกมุม และนี่แหละ คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว แอนเดอร์สันถามว่า ไม่กลัวว่าการเปิดเผยข้อมูลจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกล่าวถึงหรือ แอสเสนจ์ตอบว่า เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีกรณีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความลับตามกฎหมายที่ต้องยอมรับอยู่ เช่นประวัติการพบแพทย์ แอนเดอร์สันยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดต่อทหารสหรัฐ เมื่อวิกิลีกส์เผยแพร่ข้อมูลลับเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารออกไปแล้วทำให้ผู้ชมวีดีโอเกิดทัศนคติทางลบต่อทหารสหรัฐว่าไร้มนุษยธรรมและเกิดผลกระทบทางใจต่อญาติพี่น้อง แอสเสนจ์ตอบว่า “จำไว้นะครับว่าคนในแบกแดด อิรัก หรือชาวอัฟกานิสถาน ไม่จำเป็นต้องดูวิดีโอเหล่านี้ เพราะเขาเห็นภาพเหล่านี้อยู่ทุกวัน ฉะนั้น การเผยแพร่วิดีโอไม่มีผลต่อความรับรู้และทัศนคติของคนเหล่านั้น แต่วิดีโอจะเปลี่ยนทัศนคติและความรับรู้ของคนที่จ่ายเงินให้มีการทำเรื่องพรรค์นี้แทน และนั่นคือความหวังของเรา”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
มาร์คปาฐกถาย้ำรัฐบาลมุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกด้าน Posted: 17 Dec 2010 09:10 AM PST นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ให้แก่ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ย้ำรัฐบาลมุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกด้าน วันที่ 17 ธ.ค. 2553 เวลา 11.45 น. ณ ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมและกล่าวมอบนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย แก่ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการประชุมมอบนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย "นายกรัฐมนตรีพบ CGEOs" จัดโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวมอบนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย สรุปสาระสำคัญว่า ประเด็นปัญหาในเรื่องของการส่งเสริมสถานสภาพสตรี ความเสมอภาคหญิงชาย และการพัฒนาในภาพรวม ไม่ใช่เป็นปัญหาซึ่งมีอยู่เฉพาะในสังคมไทย แต่เป็นปัญหาซึ่งขณะนี้ได้รับความสนใจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของทางสหประชาชาติ ที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกได้ให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาในสหัสวรรษ ที่มีเป้าหมายให้กระบวนการการพัฒนาในแต่ละประเทศสามารถที่จะตอบสนองประชากรได้ทุกกลุ่ม และสามารถกระจายประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการจัดการประชุมเพื่อประเมินความก้าวหน้าในเรื่องของการบรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ที่สหประชาชาติเมื่อประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในส่วนของประเทศไทยเราสามารถที่บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ได้เป็นส่วนใหญ่ และยังมีเวลาในการที่จะพยายามทำให้เกินเป้าหมายที่เป็นเป้าหมายพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเป้าหมายแห่งสหัสวรรษบวก ทั้งนี้ ในการรายงานผลของการประเมิน และการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในเรื่องนี้ มีการพัฒนาทางด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคของหญิงชาย ที่ปรากฏว่าประเทศไทยยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่การบรรลุเป้าหมายในด้านอื่นค่อนข้างที่จะทำได้ดีมาก จึงเป็นจุดหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนในส่วนของผู้ที่รับผิดชอบทั้งในภาครัฐ และในภาคเอกชนในสังคมด้วย ว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคทั้งหญิงชาย และการสร้างโอกาสให้แก่สตรี ยังคงเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนมีความจำเป็นที่จะต้องระดมกำลังและประสานความร่วมมือกันเพื่อที่จะแก้ไขในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยได้ตระหนักถึงประเด็นของความเสมอภาคของหญิงชายและสิทธิของสตรีมาโดยลำดับ นับตั้งแต่บทบัญญัติที่บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 หรือฉบับปัจจุบัน จนถึงการที่ประเทศไทยมีการรับรองอนุมัติกรณีระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการผลักดันเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ โดยได้มีบทบาทมีส่วนร่วมในการทำงานทางด้านนี้ เมื่อมีพันธกรณีที่เกิดขึ้นทั้งในอนุสัญญาระหว่างประเทศ และจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมาย หรือตรากฎหมายใหม่ ซึ่งนำไปสู่เรื่องการพัฒนาความเสมอภาคของหญิงชายและการให้โอกาสและสิทธิของสตรีมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันนี้คณะรัฐมนตรีได้รับหลักการร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างประเทศ พ.ศ. .... โดยอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมไปถึงการที่เรายังคงดำรงข้อสงวนในอนุสัญญา ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการที่จะมีการยกเลิกข้อสงวนต่าง ๆ ดังนั้น เรื่องการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อเป็นการรองรับ ยืนยัน และแสดงเจตนารมณ์ในการที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคของหญิงชายนั้น เป็นนโยบายที่มีความชัดเจน และยังมีความต่อเนื่อง และจะมีการผลักดันต่อไปในอนาคต นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงปัญหาหนึ่งของสังคม ที่ตนได้พยายามกระตุ้นทุกหน่วยงานให้ตื่นตัว ในเรื่องของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหรือโดยไม่มีความพร้อม ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งตนยังรู้สึกดีใจว่าเริ่มได้ยินเสียงของสังคมดังขึ้นว่า ปัญหาเช่นนี้เป็นปัญหาที่ผู้ชายจะต้องมีส่วนรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น แทนที่จะมองว่าเป็นเพียงปัญหาของผู้หญิงเท่านั้น และจะมีปัญหาอีกมากซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ตนได้เข้ามาทำงาน 2 ปีนี้ได้พยายามที่จะผลักดันเพื่อให้เกิดความเริ่มต้นจากการรับรู้ ไปสู่ความเข้าใจ ไปสู่การตื่นตัวเพื่อที่จะนำไปสู่มาตรการที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเรื่องหนึ่งที่ได้มีการพยายามผลักดันมากเป็นพิเศษและจะอยู่ในแผนของการปฏิรูปประเทศไทยต่อไป คือการเอื้ออำนวยต่อผู้หญิงที่ทำงานและมีภาระในเรื่องของการเลี้ยงดู ซึ่งนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดัน คือการมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กำหนดเป้าหมายว่าจะต้องมีครบทุกตำบล และการผลักดันให้มีการดูแลเรื่องนี้ในสถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการ ซึ่งได้เริ่มต้นแล้วครับแต่ว่ายังไปได้ช้ากว่าที่หลายฝ่ายต้องการจะเห็น และในส่วนที่ยังไม่สามารถผลักดันได้ดังใจคือการที่จะทำให้มีการยกเว้นภาษีอากร หรือให้สิทธิประโยชน์จูงใจทางด้านภาษีอากร เพื่อให้ผู้ประกอบการสร้างศูนย์ดูแลเด็กเล็ก หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ทำงานและมีภาระทางด้านนี้ ฉะนั้นจากนี้เราจะพิจารณาเพียงแต่ภาพใหญ่ของกฎหมาย หรือกฎระเบียบไม่ได้ แต่ถึงเวลาที่จะต้องทำงานลึกลงไปในรายละเอียดมากขึ้น ดูความเป็นจริงในทางปฏิบัติ เพื่อที่จะเดินหน้าในการกำจัดข้อจำกัดเรื่องของโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตรี ซึ่งสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมของผู้คนในสังคม ที่จะประสบความสำเร็จได้คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องครอบคลุมให้ได้ทุกภาคส่วน " ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้จะมีบทบาทสำคัญทั้งสิ้น ในการที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นจากการถูกกำหนดให้เป็นผู้บริหารทางด้านนี้ คือจะต้องสามารถนำไปสู่เรื่องของการกำหนดนโยบาย ควบคุมดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี แล้วก็ทำให้มีการดำเนินงานไปในทางทิศทางเดียวกัน คือการเสริมสร้างปรับเปลี่ยนเจตคติด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ทั้งในหน่วยงาน แล้วก็ในภารกิจการงานซึ่งหน่วยงานของท่านมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปหรือบุคคลภายนอก ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างความตื่นตัว ความเข้าใจก็คงยังเป็นหน้าที่หลักที่ต้องดำเนินการ แล้วจะต้องให้สภาวะแวดล้อมทั้งหลายนั้นเอื้อต่อการคำนึงถึงมิติหญิงชาย และเอื้อต่อประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุด ทั้งนี้ ในเรื่องของการมีสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่รับเลี้ยงเด็กเล็ก ห้องให้นมหรืออะไรก็ตาม ถ้าหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเริ่มต้นผลักดันได้เป็นรูปธรรม นอกจากเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานแล้วนี้ จะเป็นรูปธรรมที่ทำให้คนมีความตระหนักในมิติในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น ในการสร้างความเข้าใจในวงกว้าง" นายกรัฐมนตรีกล่าว พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงประเด็นหลักที่จะต้องถือเป็นนโยบายสำคัญ นอกเหนือจากที่เป็นนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับท่านผู้บริหารหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการเสริมสร้างความเสมอภาค ขอให้ได้ทำความเสมอภาคทั้งสองส่วน คือความเสมอภาค ความเป็นธรรมของข้าราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในหน่วยงาน และส่วนที่สองความเสมอภาคหรือความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ได้รับผลจากการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานด้วย โดยผู้บริหารหน่วยงานจะต้องมีหน้าที่นำเอาเรื่องมิติของหญิงชายและความเสมอภาค เข้าไปอยู่ในการทำงานด้วย ทั้งนี้ ที่สุดแล้ว ความสำเร็จของงานทางด้านนี้จะอยู่ที่การที่ผู้ปฏิบัติเปิดใจยอมรับเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และนำไปสู่การสามารถที่จะเปิดใจคนอื่น ที่ยังอาจจะไม่ตระหนักหรือยังขาดทัศนคติที่สอดคล้องกับเรื่องของความเสมอภาค ซึ่งทั้งหมดต้องยึดมั่นในเรื่องหลักการของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายที่เท่าเทียมกัน และความรักความห่วงใยในเพื่อนมนุษย์ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงละเมิดต่อกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมให้เป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมดีงาม มีความเป็นธรรม มีความสงบสุข มีความสมานฉันท์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ก.ยุติธรรมเตรียมจัดอบรม "ลูกเสือไซเบอร์" Posted: 17 Dec 2010 08:49 AM PST กระทรวงยุติธรรมจะจัดการอบรม โครงการลูกเสือบนเครือข่ายคอมพิ เว็บไซต์โครงการลูกเสือบนเครื โดยในการอบรมดังกล่าว ประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อ "การร่วมกันพิทักษ์ และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์" โดย บวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาป้องกั ผศ.ดร.นวลวรรณ สุนทรภิษัช อาจารย์ประจำภาควิชาวิ สถาบันพระมหากษัตริย์กั โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ล่ารายชื่อกดดัน รบ.ไทยหนุนสิทธิ "ผู้มีความหลากหลายทางเพศ" ในมติยูเอ็น Posted: 17 Dec 2010 08:44 AM PST นักกิจกรรมล่ารายชื่อออนไลน์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุนการเพิ่มคำว่า "วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ" ในมติยูเอ็นว่าด้วยการประหัตประหาร นอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ฯ 20 ธ.ค.นี้ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ก่อนหน้านี้ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้มีการลงคะแนนในคณะกรรมการชุดที่สามแห่งสหประชาชาติ เพื่อถอดคำว่า "วิถีทางเพศ" ออกจากมติสหประชาชาติว่าด้วยการประหัตประหาร นอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ (UN Resolution on Extrajudicial, Summary or Arbitrary Executions) ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ นักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ แสดงความเห็นว่า "ถ้ามตินี้ผ่าน ก็จะทำให้กลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่อยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับความคุ้มครองจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงลักษณะนี้อีกต่อไป ซึ่งในประเด็นนี้ ตัวแทนของประเทศไทยกลับงดออกเสียงทั้งๆ ที่มันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่สุด อาจจะไม่แตกต่างจากกรณีคนยิวถูกจับเข้าห้องรมแก๊ส เพราะว่าเป็นยิว" แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาได้มีความพยายามในระดับระหว่างประเทศที่จะให้มีการเพิ่มคำว่า "วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ" (sexual orientation and gender identity) เข้าไปในมติดังกล่าว ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในวันที่ 20 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ด้านโครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ และองค์กรภาคี ระดมล่ารายชื่อผ่านทาง http://www.ipetitions.com/petition/thailandsogivote/ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุนการเพิ่มคำว่า "วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ" เข้าไปในมติสหประชาชาติว่าด้วยการประหัตประหาร นอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในวันที่ 20 ธันวาคมที่จะถึงนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธะกิจภายในประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพันธกิจด้านการต่างประเทศตามที่ได้ลงนามไว้ในตราสารระหว่างประเทศต่างๆ และแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนอันเท่าเทียมกัน โดยล่าสุด มีผู้ร่วมลงชื่อแล้ว 31 ราย (เนื้อหาจดหมาย) เรื่อง ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุนการเพิ่มคำว่า วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ เข้าไปในมติสหประชาชาติว่าด้วยการประหัตประหาร นอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ เรียน ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี เนื่องด้วยในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้มีการลงคะแนนในคณะกรรมการชุดที่สามแห่งสหประชาชาติ เพื่อถอดคำว่า "วิถีทางเพศ" ออกจากมติสหประชาชาติว่าด้วยการ ประหัตประหาร นอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ (UN Resolution on Extrajudicial, Summary or Arbitrary Executions) โดยที่ตัวแทนของประเทศไทยงดออกเสียง ทำให้กลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่อยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับความคุ้มครองจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงลักษณะนี้อีกต่อไป อย่างไรก็ดี ต่อมาได้มีความพยายามในระดับระหว่างประเทศที่จะให้มีการเพิ่มคำว่า "วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ" (sexual orientation and gender identity) เข้าไปในมติดังกล่าว ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในวันที่ 20 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีการลงบันทึกเจตนารมณ์เอาไว้เกี่ยวกับมาตรา 30 วรรค 3 ว่าการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศจะกระทำมิได้ โดยได้อธิบายคำว่าเพศไว้ว่า “ยังหมายรวมถึงความแตกต่างของบุคคล ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ (sexual identity) หรือเพศสภาพ (Gender) หรือความหลากหลายทางเพศ (Sexual diversity) แตกต่างจากเพศที่ผู้นั้นถือกำเนิดอยู่ด้วย” นอกจากนี้ในมาตรา 82 มีการกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ และองค์กรภาคี จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศออกเสียงสนับสนุนการเพิ่มคำว่า วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ (sexual orientation and gender identity)เข้าไปในมติดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจภายในประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพันธะกิจด้านการต่างประเทศตามที่ได้ลงนามไว้ในตราสารระหว่างประเทศต่างๆ และแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนอันเท่าเทียมกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลอาญาออกหมายจับ 5 แกนนำ นปช. ข้อหาก่อการร้าย Posted: 17 Dec 2010 08:35 AM PST วันที่ 17 ธ.ค. ศาลอาญามีคำสั่งให้ออกหมายจับ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้อิสาน , นายอดิศร เพียงเกษ , พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ และ นายพายัพ ปั้นเกตุ แกนนำและแนวร่วมกลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายและสนับสนุนการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/2 โดยก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ยื่นคำร้อง วันที่ 17 ธ.ค.เพื่อขอออกหมายจับ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง , นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ , นายอดิศร เพียงเกษ , พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ , นายพายัพ ปั้นเกตุ , นายชินวัตร หาบุญพาด , นายอารี ไกรนรา , ว่าทีร้อยตรีสุรภัศ จันทิมา , นายอรรณพ แซ่ตัน , นายศักดา แก้วผูกนาค และ นายมงคล สารพัน ผู้ต้องหาที่ 1 - 11 ตามลำดับ เนื่องจากรัฐบาลกำลังจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งจะส่งผลให้หมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถูกยกเลิกด้วย อาจส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 11 คน ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 140 - 141 เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จสิ้นมีความเห็นสั่งฟ้อง และส่งสำนวนให้อัยการพิจารณา ต่อมาอัยการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา 35 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ต้องหาที่ 1 - 5 รวมอยู่ด้วย อัยการมีคำสั่งฟ้องและให้พนักงานสอบสวนจัดการเอาตัวผู้ต้องหาที่ 1 - 5 มาเพื่อฟ้องศาล ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนมาขอหมายจับผู้ต้องหาที่ 1 - 5 ต่อศาล ศาลจึงมีคำสั่งออกหมายจับผู้ต้องหาที่ 1 - 5 ตามคำขอ และเมื่อดำเนินการตามหมายจับแล้ว ให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอในฐานะผู้ร้องทำบันทึกยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน ส่วน นายชินวัตร หาบุญพาด ผู้ต้องหาที่ 6 , ว่าที่ร้อยตรีสุรภัศ จันทิมา ผู้ต้องหาที่ 8 , นายอรรรณพ แซ่ตัน ผู้ต้องหาที่ 9 , นายศักดา แก้วผูกนาค ผู้ต้องหาที่ 10 และ นายมงคล สารพัน ผู้ต้องหาที่ 11 ศาลเห็นว่า แม้พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนสั่งฟ้องให้อัยการแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการว่าจะมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ กรณียังไม่มีเหตุจำเป็น จึงให้ยกคำร้อง สำหรับผู้ต้องหาที่ 7 ศาลเห็นว่าขณะนี้คดีอยู่ในชั้นของการสอบสวน กรณีจึงยังไม่มีเหตุตาม ป.วิอาญา ม.66 พยานหลักฐานของผู้ร้องยังไม่เพียงพอ จึงให้ยกคำร้อง ภายหลัง พ.ต.ท.ถวัล กล่าวว่า ในส่วนของผู้ต้องหาที่ 6 , 8 -11 ที่ถูกศาลยกคำร้องเพราะอัยการยังไม่สั่งคดีนั้น หากอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีเมื่อใด ก็จะมาขอหมายจับอีกครั้ง ส่วนผู้ต้องหาที่ 7 ก็จะรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอเพื่อขอหมายจับอีกครั้ง
ที่มา: http://www.naewna.com สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงานเสวนา: สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย ตอนที่ 4 Posted: 17 Dec 2010 08:19 AM PST วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิติราษฎร์ นำเสนอปัญหาหมวดสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญที่ไม่มีใครกล้าแตะ ระบุเป็นแก่นแกนที่สังคมไทยต้องถกเถียงกำหนดขอบเขตให้ชัด สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย พร้อมยกหลากตัวอย่างรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ วอนสื่อทำให้เป็นประเด็นสาธารณะถกเถียงอย่างมีเหตุผล หยุดป้ายสีไม่มีใครเสนอระบอบสาธารณรัฐ
ที่จะพูดต่อไปนี้เป็นเรื่องหลักการที่ควรจะเป็นต่อไปข้างหน้า เวลาเราพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของเราคือ เมื่อพูดถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญจะมีหมวดหนึ่งที่เราไม่สามารถไปแตะต้องได้ จริงๆ การเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนในช่วงหลังก็จะเป็นแบบนี้เหมือนกัน เวลาพูดเรื่องรัฐธรรมนูญก็จะยกเว้นการพูดถึงหมวดพระมหากษัตริย์
ผมมีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญของเราตั้งแต่ช่วงหลังปี 2489 เป็นต้นมา ถ้าจะทำให้เข้ารูปเข้ารอยที่นานาอารยประเทศนับถือกัน เราคงไม่สามารถที่จะยกเว้นการแก้ไขหมวดใดหมวดหนึ่งได้เลย นั่นหมายความว่า การพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ข้อสรุปนี้อาจไม่ใช่ข้อสรุปที่เกิดจาการฟังอาจารย์สมศักดิ์พูดเพียงอย่างเดียว เราอาจเห็นข้อสรุปนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถ้าลองดูลักษณะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆ ที่เขามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วเราลองย้อนกลับมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญของไทยเราว่ามีจุดที่เหมือนหรือแตกต่างกันไป เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญจะได้มีหลักการที่ถูกต้องและน่าจะใช้กันไปได้ตลอด
ผมคิดว่าคุณลักษณะของการปกครองที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์เทียบกับประมุขของรัฐที่เป็นประธานาธิบดี มันมีความแตกต่างกัน 3-4 ประการที่เป็นฐานของความเข้าใจในการสร้างประชาธิปไตย
ประการที่หนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าการปกครองในระบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะอยู่ในตำแหน่งตราบจนกระทั่งสวรรคต อันนี้แตกต่างจากการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ การที่พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งตราบจนกระทั่งสวรรคตนั้นอาจมีข้อตำหนิว่าไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เนื่องจากหลักอันหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือ ผู้ปกครองจะต้องดำรงตำแหน่งโดยมีวาระ และเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญว่าด้วยความสอดคล้องของสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย แต่ถามว่าทำไมหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจึงยินยอมให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ข้อนี้อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผลบางประการ เหตุผลอันหนึ่งที่พูดกันก็คือว่า การให้พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งจนสวรรคตนั้นอาจไม่สอดคล้องอย่างถึงที่สุดกับหลักการประชาธิปไตย มิหนำซ้ำอาจมีข้อเสียตามมาคือ เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งยาวนานนั้นก็อาจมีอิทธิพลทางการเมืองสูง แต่มีเหตุผลอันหนึ่งที่สนับสนุนว่า การที่พระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งจนสวรรคตนั้นก็น่าจะทำให้เป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชาติได้ดีกว่าตำแหน่งประธานาธิบดี และอาจจะทำให้พระองค์ทรงมีเรื่องราว มีประสบการณ์ในทางการเมืองสูงซึ่งในบางโอกาสนั้นอาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาของชาติได้ นี่คือข้อสนับสนุนที่บอกว่าแม้ว่าพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งตราบจนสวรรคตอาจมีปัญหาความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยแต่ในที่สุดระบอบประชาธิปไตยก็อนุญาตให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา
ในทางตำรามีการพูดถึงขนาดว่า แม้แต่พระมหากษัตริย์ซึ่งมีสติปัญญาปานกลางเมื่อพระองค์อยู่ในตำแหน่งยาวนานและทรงล่วงรู้ราชกิจหรือกิจการต่างๆ ของรัฐได้ดีก็อาจมีความเชี่ยวชาญในทางการเมืองการปกครอง รอบรู้ปัญหาภายนอกและภายในได้ นี่เป็นคำอธิบายทางตำราที่สนับสนุนความคิดแบบนี้
ประการที่สอง พระมหากษัตริย์นั้นเข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบสายโลหิต หลักการอันนี้ก็อาจเป็นหลักการที่เป็นปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าวิเคราะห์จากรัฐธรรมนูญของเราในปัจจุบัน หลักการนี้สืบเนื่องจากหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงสวรรคต หมายความว่า ตัวสถาบันกษัตริย์ไม่เคยตาย คือ อยู่สืบเนื่องได้ต่อไป แน่นอน คุณลักษณะนี้เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ในตำแหน่งโดยไม่ผ่านกลไก หรือกระบวนการเลือกตั้งจึงขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย แต่ว่าในทางกลับกัน เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ทรงถูกเลือกจากผู้ใด พระองค์ก็อาจเป็นอิสระและเป็นกลางได้ดีกว่าการที่ให้ประชาชนได้เลือกหรือในบางกรณีอาจเป็นการดีกว่าประธานาธิบดี เพราะประธานาธิบดีได้รับการเลือกโดยเสียงข้างมากของคนในชาติ แต่อาจมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เลือก คำอธิบายสนับสนุนการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในระบอบประชาธิปไตยก็คือว่า พระองค์อาจเป็นกลางทางการเมืองได้ดีกว่า
แน่นอน การที่พระมหากษัตริย์เข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบสายโลหิตและขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยอันนี้ จึงทำให้เกิดหลักการอย่างหนึ่งตามมาโดยทันทีว่า พระมหากษัตริย์ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะไม่สามารถกล่าวปาฐกถาหรืออภิปรายความคิดเห็นต่อสาธารณะได้ ถ้าไม่มีรัฐมนตรีลงนามกำกับ ประเพณีนี้ได้เกิดขึ้นในอังกฤษตั้งแต่ปี 1710 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เราอาจกล่าวถึงคุณลักษณะเพิ่มเติมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในส่วนที่เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยได้ต่อไปอีกว่า พระมหากษัตริย์นั้นจะเป็นคนแสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ เรื่องนี้ตัวบทบัญญัติรัฐธรรมนูญจะกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละประเทศ และอันนี้อาจจะตอบคำถามส่วนหนึ่งที่อาจารย์สุธาชัยได้ตั้งเอาไว้เมื่อสักครู่ด้วย รัฐธรรมนูญที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะกำหนดเอาไว้ว่าอำนาจรัฐเป็นของประชาชน มีรัฐธรรมนูญบางประเทศที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของอำนาจรัฐร่วมกับประชาชน แต่โดยปกติทั่วไปแล้วรัฐธรรมนูญทุกๆ ฉบับที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยเท่าที่ได้ศึกษามาจะเขียนไว้ค่อนข้างชัดเจนว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจรัฐ อำนาจรัฐมาจากประชาชน
ทีนี้เวลาพระมหากษัตริย์แสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะสามารถกระทำการได้โดยพระองค์เอง ดังที่บอกไว้แล้ว โดยที่พระองค์ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การแสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐจึงต้องแสดงออกโดยผ่านองค์กรของรัฐและต้องมีคนลงนามรับรองพระบรมราชโองการ การที่พระมหากษัตริย์ทรงแสดงออกซึ่งอำนาจในลักษณะนี้อาจจะมีความคาดหวังในตัวพระมหากษัตริย์เองว่าในยามขับคันพระองค์ต้องทรงแสดงออกซึ่งอำนาจที่เป็นกลาง
อำนาจที่เป็นกลางคืออะไร มีคำอธิบายแบบนี้และเป็นคำอธิบายที่เราอาจคิดไม่ถึงว่าอันนี้อธิบายจากฐานที่บอกว่าพระมหากษัตริย์แสดงออกซึ่งอำนาจแห่งรัฐ คือ ในยามขับคันนั้นพระมหากษัตริย์ต้องแสดงออกซึ่งอำนาจในทางปกป้องและพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลไม่อยู่ในฐานะที่จะบริหารได้ หมายความว่าเกิดกลไกหรือกระบวนการในการขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เช่น โดยกองกำลังของทหาร เป็นต้น ในแง่นี้พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะต้องแสดงออกซึ่งอำนาจรัฐที่เป็นกลาง โดยการระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าวนั้น พร้อมๆ กับพิทักษ์และปกป้องรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างอันโด่งดังของพระมหากษัตริย์ที่ปฏิบัติภารกิจนี้ เช่น ในปี 1981 ที่ประเทศสเปน กรณีนี้คงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่้วไปแล้ว
ลักษณะถัดไป อันนี้อาจไม่ได้มีในทุกประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ คือ พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ในทางรัฐธรรมนูญที่จะต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หลายประเทศกำหนดคุณสมบัตินี้ให้กับพระมหากษัตริย์ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน ซาอุดิอารเบีย โมรอกโค ซึ่งแม้จะอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็กำหนดหน้าที่แบบนี้ ในญี่ปุ่นองค์จักรพรรดิถือเป็นสังฆราชาแห่งศาสนาชินโต แต่อันนี้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ประการถัดไป คือ พระมหากษัตริย์จะมาจากราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่ง ในรัฐธรรมนูญบางประเทศอาจกำหนดให้คนในราชวงศ์นั้นดำรงตำแหน่งในองค์กรของรัฐได้ ถ้ายังไม่เข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เช่น ในเบลเยี่ยมกำหนดให้ราชโอรส ราชธิดา ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาโดยตำแหน่ง เป็นต้น
ลักษณะอันสุดท้ายซึ่งอาจเป็นที่ถกเถียงกันได้มาก และเราอาจต้องอภิปรายกันต่อไปในการกำหนดคุณลักษณะคือ องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ การกำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้เป็นลักษณะทั่วไปของรัฐธรรมนูญในประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศ
ในบ้านเรา มาตรา 8 กำหนดไว้ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผมไปสำรวจตรวจสอบดูตัวรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยหลายสิบประเทศ พบว่า ในรัฐธรรมนูญในประเทศเหล่านั้นจะกำหนดเพียงว่าพระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ การกำหนดว่าพระมหากษัตริย์มีฐานะศักดิ์สิทธิ์นั้น เท่าที่พบมีอยู่ 2 ประเทศคือ นอร์เวย์ และ ไทย ที่กำหนดให้เป็นที่เคารพสักการะ
ปัญหาคือว่า เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนแบบนี้หรือกำหนดกติกาแบบนี้ลงในรัฐธรรมนูญว่าพระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้นั้นหมายความว่ายังไง หมายความว่าการที่รัฐธรรมนูญกำหนดอย่างนี้เพื่อปกป้องประมุขของรัฐจากข้อโต้แย้งต่างๆ โดยพระมหากษัตริย์จะต้องอยู่ในฐานะซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาก่อหน้านี้ทั้งหมด การกระทำการต่างๆ ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ หรือก็คือการกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์นั่นเอง การที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้ย่อมหมายความต่อไปว่า การปลดพระมหากษัตริย์โดยวิธีการทางกฎหมายจะกระทำมิได้ ฉะนั้น การปลดพระมหากษัตริย์ออกจากตำแหน่งถ้าจะกระทำคงต้องเป็นวิธีการในทางการเมืองหรือข้อเรียกร้องในทางจริยธรรมเท่านั้น คือ อำนาจในทางสังคมจะบังคับให้พระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ แต่จะไม่มีกลไกของการฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ต่อศาล ทำนองเดียวกับประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีอาจจะมีกลไกในทางฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล
ทีนี้เรามาดูหลักเกณฑ์ในทางประชาธิปไตยที่กำหนดเกี่ยวกับเรื่องพระมหากษัตริย์เอาไว้แล้วลองดูว่าหลักเกณฑ์อันไหนเป็นหลักเกณฑ์ซึ่งมีในระบบของเรา อันไหนไม่มีในระบบของเราและเป็นหลักเกณฑ์ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นดำรงอยู่สถิตสถาพรต่อไปน่าจะรับเอามาบัญญัติในรัฐธรรมนูญของไทย
ผมจะลองยกตัวอย่างดูซึ่งอาจไม่เป็นระบบมากนัก แต่ชี้ให้ท่านเห็นถึงกฎเกณฑ์ในทางรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญสเปน ในมาตรา 56 วรรค 3 บอกว่า องค์พระมหากษัตริย์ถูกล่วงละเมิดมิได้ และพระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดชอบ แต่บรรดาพระบรมราชโองการทั้งหลายจะต้องได้รับการลงนามกำกับโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ อันนี้เป็นไปตามมาตรา 64 วรรค 1 มเหสีของพระมหากษัตริย์ หรือพระสวามีของพระราชินีจะไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ตามรัฐธรรมนูญได้ อันนี้บัญญัติในมาตรา 58 พระมหากษัตริย์ได้รับเงินในการดูแลราชวงศ์จากงบประมาณแผ่นดิน การใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย อยู่ในมาตรา 65 กำหนดให้อำนาจตุลาการมาจากประชาชน แต่ให้ผู้พิพากษาใช้อำนาจดังกล่าวในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ อันนี้เป็นตัวอย่างรัฐธรรมนูญสเปน
รัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์มีบทบัญญัติบางมาตราที่น่าสนใจมากๆ เช่น มาตรา 36 กำหนดว่ารัฐสภาอาจตรากฎหมายห้ามพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งได้ ถ้ามีกฎหมายเช่นนั้น และพพระมหากษัตริย์ต้องการกลับมามีอำนาจในรัฐธรรมนูญอีก พระมหากษัตริย์สามารถเสนอกฎหมายอีกฉบับเพื่อให้สภาพิจารณา อันนี้หมายความว่าตัวรัฐธรรมนูญให้น้ำหนักกับผู้แทนปวงชนว่าในบางกรณีแม้ไม่สามารถให้พระมหากษัตริย์สละราชสมบัติได้ แต่ว่าสามารถออกกฎหมายห้ามพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
รัฐธรรมนูญบางประเทศจะกำหนดเกี่ยวกับการวีโต้ไว้ในอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่เรื่องนี้มีอยู่น้อยมาก รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ในประเทศประชาธิปไตยไม่ได้ให้อำนาจแบบนี้กับพระมหากษัตริย์ไว้เลย คงมีรัฐธรรมนูญนอร์เวย์เท่านั้นในมาตรา 78 ที่เปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์ทรงสามารถระงับยับยั้งการบังคับใช้กฎหมายได้ อีกประเทศหนึ่งก็คือไทยนี่เองที่เมื่อกฎหมายผ่านสภาแล้ว พระมหากษัตริย์ก็มีอำนาจวีโต้และถ้าสภายืนยันด้วยคะแนนเสียงมติพิเศษกฎหมายจึงผ่านไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแม้พระมหากษัตริย์จะไม่ลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายฉบับนั้น แต่ในทางประวัติศาสตร์ บางท่านคงทราบว่าเรื่องนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎรอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่พระองค์ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญเป็นว่าในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงวีโต้กฎหมายนั้นให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นอันยุบไปนั่นเอง
รัฐธรรมนูญของเดนมาร์กกำหนดหน้าที่ที่พระมหากษัตริย์ต้องสาบานว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร จริงๆ หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนหรือปฏิญาณตนก่อนเข้าสู่ราชบัลลังก์นั้นมีลักษณะเป็นสากลมากๆ ผมพบบทบัญญัติทำนองนี้ในรัฐธรรมนูญหลายประเทศมาก แต่ที่ชัดที่สุด เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็คือ เดนมาร์ค ส่วนประเทศอื่นๆ กำหนดให้พระมหากษัตริย์นั้นทรงสาบานหรือปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญก่อนเข้าสู่การสืบราชสมบัติ รัฐธรรมนูญเดนมาร์คยังบัญญัติเรื่องค่าตอบแทนเรื่องทรัพย์สิน คือ กำหนดให้สมาชิกราชวงศ์ได้รับ 1 ปี แต่ห้ามโอนเงินดังกล่าวไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทนราษฎร
ในขณะที่รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นบัญญัติห้ามไม่ให้สมาชิกราชวงศ์รับเงินบริจาคหรือของกำนัลใดๆ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา ส่วนรัฐธรรมนูญเบลเยี่ยมนั้นบัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจบริหารตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญผ่านตัวรัฐมนตรี ศาลใช้อำนาจตุลาการ กำหนดให้ความเป็นบุคคลหรือองค์พระมหากษัตริย์นั้นถูกล่วงละเมิดมิได้และให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของพระมหากษัตริย์ มาตรา 105 บัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีอำนาจอื่นใด นอกจากอำนาจที่บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 106 อันนี้คล้ายๆ กับบทบัญญัติในธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวของเรา กำหนดว่าการกระทำของพระมหากษัตริย์ย่อมมีผลต่อเมื่อมีรัฐมนตรีคนหนึ่งลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และรัฐมนตรีผู้นั้นย่อมเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำนั้น
ประเด็นเรื่องการลงนามกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์อันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่องสากล หมายความว่าเท่าที่สำรวจตรวจสอบมารัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเกือบทุกฉบับจะมีบทบัญญัติทำนองนี้เอาไว้ว่า ให้การการกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีการลงนามกำกับ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นชัดเจนที่สุด โดยกำหนดว่า การกระทำทั้งปวงของจักรพรรดิเกี่ยวกับกิจการของรัฐ ต้องได้รับคำแนะนำและยินยอมจากคณะรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวนั้น ในมาตรา 4 บอกว่าจักรพรรดิจะกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของรัฐได้ก็แต่โดยเฉพาะที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และจักรพรรดิย่อมไม่มีอำนาจใดๆ เกี่ยวกับกิจการรัฐหรือรัฐบาล
เราได้เรียนรู้อะไรจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เราพบว่า เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการปกครองแล้วกำหนดให้การปกครองนั้นเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข มันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ อันแรกคือพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด อันนี้ในยุโรปเกิดขึ้นในประมาณศตวรรษที่ 16-17 และอาจจะเลยมาถึง 18 ในบางประเทศ
หลังจากนั้นลักษณะการกำหนดรูปแบบการปกครองที่ยังคงพระมหากษัตริย์เอาไว้ก็จะกลายเป็นการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ หมายความว่า พระมหากษัติย์ถูกจำกัดอำนาจลงโดยรัฐธรรมนูญแต่ยังมีอำนาจอยู่ ในทางรัฐธรรมนูญยังถือว่าพระองค์ทรงเป็นรัฐฏาธิปัตย์อยู่ รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้แก้ไขยาก และจะแก้ไขคืนอำนาจจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ การบัญญัติกฎหมายต้องให้สภาผู้แทนราษฏรร่วมมือกับพระมหากษัตริย์ หมายถึงการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับพระมหากษัตริย์ แต่ลักษณะที่สำคัญของรัฐธรรมนูญในกลุ่มนี้ก็คือ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี โดยสภาผู้แทนราษฎรจะเอารัฐมนตรีออกจากตำแหน่งไม่ได้ และถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารแต่เพียงผู้เดียว หลักเกณฑ์อันนี้ปรากฏประมาณศตวรรษที่ 19 ในประเทศภาคพื้นยุโรปที่ยังคงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้
เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 สถานะสถาบันพระมหากษัตริย์เปลี่ยนไป บางทีภาษาวิชาการเรื่องนี้มันไม่ค่อยลงรอยกัน คำว่า Constitutional Monarchy คำอธิบายในตำราบางเล่มอธิบายว่า พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์เป็นรัฐฏาธิปัตย์อยู่ แต่ถ้าเป็นกรณีที่อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลายแล้ว บางทีเราเรียกว่า Parliamentary Monarchy คือเป็นระบบกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งในระบบนี้อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจเฉพาะที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแต่เพียงในนาม การกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการซึ่งหมายถึงการลงนามกำกับการกระทำของพระมหากษัตริย์ รัฐมนตรีนั้นอยู่โดยความไว้วางใจของสภา พระมหากษัตริย์ในทางพิธีจะเป็นคนแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีได้ แต่ต้องคำนึงถึงเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วย และในระบบนี้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจอย่างหนึ่งที่ผมได้อธิบายไปคือ พระราชอำนาจที่เป็นกลาง ซึ่งในทางตำราอธิบายไปถึงอำนาจในการพิทักษ์ปกปักรักษารัฐธรรมนูญด้วย
คำถามคือ บ้านเราที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นระบบไหน (ผู้ฟังหัวเราะ) นี่คือคำถามที่เราต้องตอบกัน อาจารย์ณัฐพลได้พูดถึงลักษณะอันนี้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่ามันมีช่วง 15 ปีแรกที่ประกาศชัดเจนว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย อาจารย์สมศักดิ์ได้ชี้ให้เห็นโดยยกเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีมานี้มาวิเคราะห์และวิจารณ์
ผมอธิบายอย่างนี้ได้ไหมว่า จริงๆ แล้วในช่วงก่อน 2475 ความจริงมันมีคำอธิบายเรื่องการที่พระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่ มีการพูดกันว่าในหลวงรัชกาลที่ 7 นั้นทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ว่าหน้าตารัฐธรรมนูญอันนั้นเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่เท่าที่เห็น มันมีรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งที่หลายคนคงทราบแล้วแต่ผมอ้างอิงถึงเพื่อให้การอภิปรายนี้สมบูรณ์ คือ ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี ฟรานซิส บี แซร์ นั้นมาตรา 1 บัญญัติไว้ซึ่งแปลจากตัวภาษาอังกฤษได้ว่า อำนาจสูงสุดตลอดทั่วราชอาณาจักรนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ มาตราอื่นๆ ที่น่าสนใจก็อย่างเช่น อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อพระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง และให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตามพระราชอัธยาศัย อาจกล่าวได้ว่านี่คือรัฐธรรมนูญในจินตนาการของชนชั้นนำไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง และจินตนาการนี้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 ที่บัญญัติมาตรา 1 ไว้ขัดแย้งอย่างชัดเจนกับมาตรา 1 ของร่างรัฐธรรมนูญของเจ้าพระยากัลยาณไมตรี เป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ทรงอำนาจรัฐหรือผู้ถืออำนาจรัฐว่าเป็นของราษฎรทั้งหลาย หรือสามัญชนทั้งหลาย บางคนอาจจะพอใจใช้คำว่า ไพร่ แต่ผมก็ไม่มีอะไรที่จะขัดข้อง
เราผ่านความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสำคัญในช่วงทศวรรษ 2490 และเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ คำถามก็คือในปัจจุบันนี้ รัฐธรรมนูญ 2550 ของเราที่มีการบัญญัติขึ้นมาส่วนหนึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญช่วง 2490 เรื่อยมา อีกส่วนหนึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังบทบัญญัติบางมาตราก่อนรัฐธรรมนูญ 2490 คือเชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญ 2475 และรัฐธรรมนูญ 2489 แต่ไม่เชื่อมโยงกลับไปยังรัฐธรรมนูญฉบับแรก นี่คือปัญหา ความไม่เชื่อมโยงนี้ ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องประหลาด เพราะในแง่อุดมการณ์ การประกาศว่ารัฐธรรมนูญของเราดำรงอยู่เมื่อไรนั้น มักจะได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่ามันเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นการตัดขาดกับอุดมการณ์ในเชิงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในช่วงรัฐธรรมนูญ 2475 กับ 2489 แม้มันจะขยับออกมาจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกอยู่บ้าง แต่หลักการหลายประการน่าจะเป็นหลักการที่พอจะไปได้กับประชาธิปไตยแม้จะมีบางมาตราที่ต้องถกเถียงกัน แต่อย่างน้อยที่สุด เรื่องของการวีโต้กฎหมาย ระยะเวลาของการวีโต้กฎหมายของพระมหากษัตริย์ก็ค่อนข้างสั้น มติที่สภาต้องใช้ก็ไม่มาก ไม่มีองคมนตรีในรัฐธรรมนูญฉบับเหล่านั้นก่อน 2490
แต่นับจาก 2490 เรื่อยมา เราเริ่มขยับผ่านจากอุดมการณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และผ่านไปมากขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป หมายความว่าทุกๆ รัฐธรรมนูญที่มีการจัดทำขึ้นหลังจากนั้น เริ่มถอยห่างจากแนวความคิดที่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยอยู่ในรัฐที่มีรูปแบบของราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น หลักการบางประการที่บัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับแรกก็เลือนหายไป เช่นหลักการที่กำหนดให้การกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีรัฐมนตรีนายหนึ่งลงนามรับสนอง มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ นี่เป็นหลักการที่สำคัญมากๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งซึ่งขาดหายไป อาจจะมีคนเถียงผมว่าก็มีเหมือนกันในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ยังมีอยู่ในมาตรา 195 แต่ถ้าไปอ่านตัวบทนั้นมันจะไม่ได้ความหมายแบบเดียวกันกับรัฐธรรมนูญฉบับแรก และถ้าไปดูรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ จะเขียนชัดว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ที่ไม่มีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระราชโองการ ไม่มีผลทางกฎหมาย ก็คล้ายๆ ที่บัญญัติเอาไว้ว่าเป็นโมฆะในรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่ง เมื่อถามว่าหลักการอะไรที่ขาดหายไป หลักการอะไรที่ขัดแย้งกับรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่ามีอยู่บางประการที่จะอธิบายเป็นประเด็นเบื้องต้นดังนี้
ประการแรก รัฐธรรมนูญในช่วง2534, 2540, 2550 มีการบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ รัฐธรรมนูญก่อนปี 2534 ในส่วนที่ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้กระทำด้วยวิธีการเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมายความว่าอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เป็นของรัฐสภา แน่นอนยังไม่ต้องอภิปรายว่ารัฐบาลนั้นมีความชอบธรรมแค่ไหน แต่ในทางหลักการ เป็นของรัฐสภา
รัฐธรรมนูญปี 2534 เรื่อยมาได้เปลี่ยนหลักการดังกล่าวนี้ แล้วหลักการดังกล่าวนี้ ในปัจจุบันได้กลายเป็นเรื่อง taboo หรือเรื่องต้องห้ามเมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ในตอนที่ทำรัฐธรรมนูญ 2550 มีส.ส.บางท่านต้องการอภิปรายในประเด็นเหล่านี้ แต่ก็ถูกตัดบทโดยประธานคณะกรรมาธิการยกร่างว่าประเด็นพวกนี้ไม่ต้องอภิปรายในการจัดทำรัฐธรรมนูญ จึงมีการรับเอาบทบัญญญัติแบบนี้สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญปี 2534
ทีนี้ถามว่าบทบัญญัตินี้ไม่สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตยยังไง และมันเป็นบทบัญญัติที่มีหรือไม่ในประเทศอื่น ถ้าเราลองดู มันไม่มีในที่อื่นๆ ในรัฐธรรมนูญของเราเองเราก็บอกเอาไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐ ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจโดยตรงด้วยตัวพระองค์เองไม่ได้ แต่ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็บัญญัติในลักษณะที่ขัดแย้งกัน โดยบัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียนบาลให้เป็นอำนาจเฉพาะของพระมหากษัตริย์ เมื่อพระองค์มีพระราชดำริประการใด ให้องคมนตรียกร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ขึ้นถวาย และเมื่อพระองค์ทรงมีพระราชกระแสเห็นชอบแล้ว ก็ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ โดยให้รัฐสภาลงนามสนองพระราชโองการ อันนี้เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย คืออำนาจในการตรากฎหมายโดยตรงโดยพระองค์เอง และแน่นอนว่าถ้ากระบวนการในการแก้ไขกฎหมายมันไม่สอดคล้องกับหลักการทางประชาธิปไตยแล้วนั้น จะวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไร แล้วจะทำให้พระมหากษัตริย์อยู่พ้นไปจากการเมืองได้อย่างไร นี่คือประเด็นที่ต้องคิดกัน
ประเด็นที่สอง คือ กรณีของการกำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์กำหนดให้การสืบราชสมบัตินั้น ถ้ามีการตั้งรัชทายาทเอาไว้แล้ว การขึ้นครองราชย์นั้นก็ให้รัฐบาลมีหน้าที่แต่เพียงรับทราบเท่านั้น
เราคงเห็นว่าจุดอ่อนสำคัญหนึ่งของการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยคือเรื่องฐานความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย นี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของระบบที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเข้าสู่ตำแหน่งและอยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีระยะเวลา การเข้าสู่ตำแหน่งไม่ผ่านกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้น ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายในโลกทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์จะต้องประกอบด้วยความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งสิ้น เพื่ออย่างน้อยที่สุด เป็นการสร้างความชอบธรรมในการเป็นประมุขของรัฐผ่านตัวผู้แทนของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2534 เลิกหลักการนี้แล้วไปใช้หลักการครองราชย์โดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง
นั่นคือสองอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าขัดกับกฎเกณฑ์ประชาธิปไตย มีบทบัญญัติบางมาตราที่อาจจะเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าขัดหรือไม่ขัดแค่ไหน เช่นมาตรา 8 คือเรื่องที่กำหนดให้องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และบัญญัติในวรรคถัดมาว่าห้ามมิให้มีการฟ้องร้องพระมหากษัตริย์
ผมเรียนอย่างนี้ว่า บทบัญญัติแบบนี้มันมีอยู่ในรัฐธรรมนูญยุคสมัยเมจิของญี่ปุ่น มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิเยอรมัน ในช่วงที่มีการรวมชาติเยอรมันค.ศ. 1871 ในปัจจุบัน การกำหนดให้พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือละเมิดไม่ได้นั้น ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทั่วไป คงมีปรากฏเฉพาะในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ดังที่พูดไปแล้ว แต่ประเทศอื่นๆ ไม่มี
แต่ความที่กำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะล่วงละเมิดไม่ได้ หรือบางประเทศก็บอกว่าไม่ให้แตะต้องนั้น มีในรัฐธรรมนูญเกือบทุกประเทศ คำถามคือบทบัญญัติแบบนี้ ถ้าเกิดมันมี การใช้นั้นใช้อย่างไร หรือการตีความนั้นตีความอย่างไร
ผมมีความเห็นซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวผมว่าการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ มันเป็นการบัญญัติลึกเข้าไปในจิตใจของผู้คน คือมันเป็นการบัญญัติกฎหมายบังคับตัวคนเข้าไปถึงภายใน ซึ่งมันไม่สามารถบังคับได้ พระมหากษัตริย์จะเป็นที่เคารพสักการะหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การบัญญัติกฎหมายซึ่งจะเป็นไปได้ในทัศนะผมมากที่สุดก็คือบัญญัติกำหนดกฎเกณฑ์ภายนอก คือกำหนดสถานะของการล่วงละเมิดมิได้ ซึ่งก็ต้องตีความต่อไปด้วยว่าการล่วงละเมิดมิได้นั้นหมายความว่าอะไร ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เวลาที่เขาพูดว่าล่วงละเมิดมิได้ เขาไม่ได้เข้าใจเหมือนกับบริบทการตีความกฎหมายแบบบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงมาตรา 8 เข้ากับบทบัญญัติมาตรา 112 ซึ่งผมค่อนข้างเห็นพ้องด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์ในประเด็นนี้ ว่าถ้ากำหนดเรื่อง 112 โดยที่บทบัญญัติในมาตรา 8 ยังคงอยู่และได้รับการตีความในลักษณะเดิม มันก็สามารถเอาไปผ่านกลไกในการตีความในการปรับใช้กฎหมายกับองค์กรของรัฐได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นนี่เป็นปัญหาของความเข้าใจในสถานะพระมหากษัตริย์ ถามว่าทำไมในหลายประเทศซึ่งกำหนดบทบัญญัติลักษณะนี้เอาไว้จึงไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ก็เพราะว่าองค์กรบังคับใช้กฎหมายเขาเข้าใจสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าพระองค์จะต้องอยู่พ้นไปจากการเมือง และการกระทำใดๆ ของพระมหากษัตริย์ จะกระทำอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนลงนามสนองพระบรมราชโองการถ้าเป็นการกระทำในกิจการของรัฐ หรือเรื่องส่วนพระองค์ซึ่งกระทบกับกิจการของรัฐ สภาก็มีสิทธิ์อภิปรายได้ด้วย ในประเทศเหล่านั้นมันไม่ใช่เรื่องประหลาด
ในส่วนที่ขาดหายไปในระบบของเรา คือการบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของเงิน เรื่องเงินปีที่จ่ายให้แก่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ว่าจะจ่ายให้แค่ไหน อย่างไร กติกาในการใช้เงินจะเป็นอย่างไร ใช้ตามอัธยาศัย จะโอนเงินได้ไหม รัฐธรรมนูญบางประเทศจะเขียนเอาไว้ชัดว่าการโอนเงินนั้นจะทำไม่ได้ อันนี้คือส่วนที่ขาดหายไปที่ต้องทำ การกำหนดเรื่องนี้เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ จะทำให้การกำหนดหลักเกณฑ์ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มันถูกผูกมัดโดยเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันมันไม่มี และตามที่เรารู้กันว่าหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานที่มีปัญหาในทางกฎหมายมากในการให้สถานะทางกฎหมายแก่หน่วยงานนี้ว่าเป็นหน่วยงานอะไร ระบบการควบคุมและตรวจสอบนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ขาดหายไปและผมเห็นพ้องว่าควรจะต้องเขียนเสียให้ชัดเจน
อีกอันหนึ่งคือเรื่องการรับเงินบริจาคต่างๆ การรับของกำนัลต่างๆ นี่เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันและทำให้ชัดว่ารัฐธรรมนูญจะกำหนดเรื่องนี้กันอย่างไร นี่ต้องพูดกันว่าจะให้มีได้อย่างไร แค่ไหน รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีที่กำหนดกฎเกณฑ์ กติกา เรื่องนี้เอาไว้ค่อนข้างชัดเจนทีเดียว
หลักการอีกอันหนึ่งคือเรื่องของการที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ในราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญบางประเทศกำหนดเอาไว้ด้วยว่าถ้าพระมหากษัตริย์ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน ให้พ้นจากราชสมบัติ (มีเสียงฮือฮาจากผู้ฟัง) กติกาแบบนี้ก็เป็นกติกาที่ต้องพูดกันในรัฐธรรมนูญด้วย ว่าควรจะกำหนดเอาไว้แค่ไหนอย่างไร
เรื่องอื่นๆ นั้นมันเป็นพระราชอำนาจในทางสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้ภายใต้กรอบกติกาในทางกฎหมายที่ชัดในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกันมาถึงตรงนี้ ผมจึงคิดว่า การอภิปรายวันนี้ น่าจะไม่มีเวลาไหนที่จำเป็นยิ่งไปกว่าเวลานี้แล้ว ที่จะต้องพูดถึงการปรับเปลี่ยนกลไกกติกาในรัฐธรรมนูญให้มันรับกับกฎเกณฑ์ที่เป็นสากล ภายใต้ดีเบตที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร อันนี้เป็นฐานก่อน อำนาจสูงสุดเป็นของใครก่อน เอาให้ตรงนี้มันยุติก่อน ถ้ามันยังคลุมเครืออยู่มันจะไม่สามารถวางกติกาในรัฐธรรมนูญให้ถูกต้องได้ รัฐธรรมนูญเราเขียนไว้ชัดเจนแล้ว แล้วผมว่าประเด็นนี้น่าจะยุติแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ทีนี้พอเป็นแล้ว การเชื่อมโยงประมุขของรัฐกับการใช้อำนาจนั้นเป็นอย่างไร อาจารย์สุธาชัยตั้งคำถามไว้ว่า ถ้าอำนาจเป็นของปวงชนแล้วพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้ มันใช่ไหม คืออันนี้มันเป็นวิธีการเขียนและวิธีการตีความรัฐธรรมนูญ ถ้าถามผม ผมว่าวิธีการเขียนเพื่อขจัดปัญหาให้ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกัน และทำให้พระมหากษัตริย์ทรงพ้นไปจากการเมืองจริงๆ ก็น่าจะบัญญัติแบบนี้ เป็นข้อเสนอของผมว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย หรืออำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรไทย" และหลังจากนั้นก็บัญญัติว่า "วิธีการใช้อำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้" แล้วก็จบ เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ เวลาอำนาจถูกใช้ออกไป มันก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ ในแง่นี้เราอาจกล่าวได้ว่า เป็นการกันพระมหากษัตริย์ออกไปไม่ให้พระองค์ทรงเข้ามาเกี่ยวพันกับการเมือง อันจะส่งผลให้สถานะของพระองค์สั่นคลอนลงไป
คำถามก็คือ เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ มันต้องรักษายังไง ผมคิดว่า วิธีการในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ง่ายที่สุด ก็คือให้อำนาจพระมหากษัตริย์เยอะๆ ถวายพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์มาก พระมหากษัตริย์ก็จะต้องเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองมาก เมื่อเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองมาก ถึงแม้จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้พระองค์พ้นไปจากการล่วงละเมิดมิได้หรืออะไรก็ตาม แต่ในความเป็นจริงมันจะไม่เป็นแบบนั้น เพราะว่าที่สุดเมื่อจะต้องตัดสินใจเกี่ยวพันกับกิจการบ้านเมืองแล้ว ก็จะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และก็จะกระทบกับพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ และยิ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมากเท่าไร ก็จะยิ่งกระทบหรือสั่นคลอนกับพระราชสถานะของพระองค์มากเท่านั้น ถ้าใครต้องการให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ต่อไปยาวนานก็ต้องทำในทางกลับกัน เรื่องนี้ผมพูดฝากไปยังหลายๆ คนที่กำลังคิดประเด็นเหล่านี้อยู่รวมทั้งคนที่เคลื่อนไหวโดยอ้างอิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยว่าต้องคิดให้ดี
ถ้าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเท่าที่จำเป็นในรัฐธรรมนูญ แล้วที่เหลือมันเป็นเรื่องจัดการกับกิจการบ้านเมือง ซึ่งองค์กรที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยก็จะเข้าจัดการเอง อันนี้พระมหากษัตริย์ก็จะหลุดพ้นไปจากการเมือง พระองค์ก็จะมีอำนาจเฉพาะในยามคับขัน พระราชอำนาจที่เป็นกลางในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญเอาไว้เท่านั้น แบบนี้ก็จะดำรงต่อไปถาวร ถ้าพ้นไปจากนี้ก็จะเป็นปัญหากับตัวสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลา
ทีนี้ถามว่าทำไมบ้านเรามันมีปัญหาแบบนี้ ผมคิดว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้น มันไม่ได้เกิดขึ้นลำพังแต่ตัวบทรัฐธรรมนูญอย่างเดียว คือในทางตัวบทกฎหมายมันก็มีปัญหาในทางหลักการหลายเรื่องดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามันมีความไม่ถูกต้อง แต่ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สนับสนุนทำให้เกิดปัญหาและเราต้องมานั่งพูดกัน มันคือการตีความหรือการอธิบายความของบรรดาบุคคลซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องอำนาจของรัฐ อาจจะพูดว่าเป็นเรื่องชนชั้นนำของรัฐ ส่วนหนึ่งอาจเป็นชนชั้นนำที่รายล้อมสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ด้วย ส่วนหนึ่งมาจากการอธิบายความซึ่งเบี่ยงเบนจากกฎเกณฑ์กติกา ซึ่งจริงๆ มันกำลังลงตัวแล้วเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และดำเนินมาค่อนข้างต่อเนื่องในช่วง 15 ปีแรก คำอธิบายนี้มันถูกอธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าในส่วนหนึ่งในตัวบทของรัฐธรรมนูญก็เขียนความเอาไว้ด้วย และคำว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมันเกิดขึ้นเมื่อปี 2534 และถูกอธิบายเป็นลักษณะพิเศษไปแล้ว หรือบทบัญญัติอื่นๆ ที่เขียนเติมขึ้นมาในช่วงแรก อันนี้ส่งผลให้สถานะของพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญในด้านหนึ่งบางคนก็บอกว่ามันมั่นคงขึ้น แต่เวลาที่เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง สถานะที่ดูเหมือนอาจจะมั่นคงนั้น อาจจะถูกสั่นคลอนอย่างยิ่งก็ได้ ภายใต้กรอบการตีความแบบหนึ่ง
เพราะฉะนั้น วันนี้ เพื่อให้ตัวรัฐธรรมนูญดำเนินไป ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญกันอยู่นั้น มันเป็นเรื่องไร้สาระทั้งสิ้น (เสียงปรบมือ) ที่ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งหรือเรื่องอะไร ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญไม่ควรจะแก้นะครับ ท่านก็ทราบจุดยืนผมอยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มันจะสร้างปัญหาให้กับระบบของเรา
แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดกันและทำให้ชัด และเป็นประเด็นสาธารณะ ก็คือการอภิปรายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ผมเห็นพ้องกับอาจารย์สมศักดิ์ ว่าในเวทีที่จะจัด ซึ่งครั้งนี้ผมเห็นว่าเป็นการชิมลาง แต่ในเวทีที่จะมีต่อไป มันคงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเอาคนที่เห็นต่างกันในเรื่องนี้มานั่งคุยกัน อาจจะภายใต้ข้อเสนอหรือโมเดลบางอย่างที่มีการเสนอออกมาและมีเหตุผลรองรับและสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขในรัฐราชอาณาจักรอย่างไร คงจะเป็นเรื่องที่ต้องทำกันต่อไป
ผมไม่ทราบว่าประเด็นที่อภิปรายกันในวันนี้ ในห้องแบบนี้ จะเป็นเรื่องสู่สาธาณะแค่ไหนอย่างไร ผมพบอย่างนี้นะครับว่า ผมอภิปรายเรื่องในทางหลักการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ชัดๆ อยู่สองสามครั้ง ไม่เคยปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์เลยแม้แต่ครั้งเดียว หมายความว่าสื่อมวลชนเองก็เซ็นเซอร์ตัวเองในการเสนอประเด็นเหล่านี้ ทั้งที่มันเป็นประเด็นซึ่งแสดงออกไปด้วยความหวังดีจริงๆ กับบ้านเมือง กับตัวระบอบ และคนพูดทุกคนก็มีความเสี่ยงอยู่ที่มาพูดเรื่องนี้ในสังคมไทยในเวลาแบบนี้ แต่เราเห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญในสังคมไทยที่ต้องพูดกัน เสี่ยงมากเสี่ยงน้อยท่านก็เห็นอยู่ในแต่ละท่านว่าเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้ก็มีสื่อมวลชนอยู่ในที่แห่งนี้ ทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นสาธารณะเถิด แล้วก็พูดกันอย่างมีเหตุผล อย่าได้กล่าวร้ายป้ายสีคนที่เขายกประเด็นเหล่านี้ว่าเป็นพวกล้มสถาบันเลย เพราะวันนี้ทีพูดกันทั้งหมด ทุกคนที่อยู่ในเวทีแห่งนี้ ไม่มีใครเสนอการปกครองในระบอบสาธารณะรัฐแม้แต่คนเดียว (เสียงปรบมือดังนาน) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ILO เผยอัตราขยายตัวค่าแรงทั่วโลกลดลงกว่าครึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ Posted: 17 Dec 2010 06:22 AM PST เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) รายงานว่าอัตราการขยายตัวของค่าแรงทั่วโลกลดลงถึงครึ่งหนึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 และ 2009 รายงานแบับดังกล่าวซึ่งทำการสำรวจครอบคลุมข้อมูลจาก 115 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ที่มีสัดส่วน 94% ของผู้ที่ได้รับค่าแรง 1.4 พันล้านคนทั่วโลก ระบุว่าค่าแรงทั่วโลกขยายตัวช้าลงจาก 2.8% ในปี 2007 เหลือเพียง 1.5% ในปี 2008 และ 1.6% ในปี 2009 หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยไม่เพียงส่งผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคนที่ต้องตกงานเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อผู้ที่ยังไม่ตกงานด้วยเช่นกัน โดยทำให้พวกเขามีกำลังซื้อลดลงและมีสภาพความเป็นอยู่แย่ลง" ฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่ของ ILO กล่าว ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้ที่ได้รับค่าแรงต่ำ (น้อยกว่าสองในสามของค่าฐานกลาง) มีจำนวนเพิ่มขึ้นในกว่าสองในสามของประเทศทั่วโลกนับตั้งแต่ 15 ปีก่อน ทั้งนี้ ILO เชื่อว่าค่าแรงที่มีอัตราลดลงในระยะยาวรวมถึงสัดส่วนของค่าแรงต่อรายได้ทั้งหมดที่ ลดลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างผลิตผลที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่ลดลง "เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคต้องหันมาสนใจเรื่องของการจ้างงานและค่าแรงเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น และแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาว" โซมาเวีย กล่าว พร้อมย้ำว่าการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและค่าแรงที่สมดุลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ที่มาข่าว: Financial crisis halves world wage growth: ILO (AFP, 16-12-2010) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยเสนอยุทธศาสตร์สหภาพไทยกับแรงงานข้ามชาติ Posted: 17 Dec 2010 03:50 AM PST
17 ธ.ค. 53 - เนื่องในวันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปี ทางองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น “วันแรงงานข้ามชาติสากล” โดยในปีนี้ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign: TLC) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ได้เสนอรายงาน "ยุทธศาสตร์สหภาพไทยกับแรงงานข้ามชาติ" โดยในรายงานได้ระบุว่าประเด็นการทำงานระหว่างสหภาพแรงงานและแรงงานข้ามชาติในระดับสถานประกอบการณ์นั้น จะต้องมีการสำรวจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาวางกรอบและยุทธวิธีในการนำไปปฏิบัติการจริง (Guide line) โดยสหภาพแรงงานในสถานประกอบการณ์แต่ละที่ โดยมีตัวอย่างแนวทางเช่น - สหภาพแรงงานต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการรับแรงงานข้ามชาติเข้าสู่สถานประกอบการณ์ เช่น การกำหนดสัดส่วนแรงงานข้ามชาติในแต่ละปี อ่านรายงานฉบับเต็ม: http://www.thailabour.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=623&auto_id=3&TopicPk= สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลยกเลิกนัดพิพากษา “จตุพร” นัดสืบพยานจำเลยเพิ่ม 25 ม.ค. ปีหน้า Posted: 17 Dec 2010 02:16 AM PST
ที่ห้องพิจารณาคดี 906 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (17 ธ.ค.) ศาลมีคำสั่งยกเลิกนัดพิพากษาคดีหมายเลข ดำ อ.404/2552 ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา กรณีเมื่อวันที่ 13 ม.ค.52 นายจตุพร แถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ กระทำการมิบังควรตีตนเสมอพระเจ้าแผ่นดิน โดยนั่งเก้าอี้เทียบเสมอพระเจ้าแผ่นดินในการถวายรายงานราชการ โดยก่อนหน้านี้ ทนายความของ นายจตุพร จำเลย ได้ยื่นคำร้องคัดค้าน นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา เจ้าของสำนวนเดิม ซึ่ง นายจตุพร ได้ยื่นฟ้องคดีอาญา ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไว้ต่อศาลอาญา พร้อมทั้งร้องขอความเป็นธรรมในการสืบพยาน ภายหลังที่องค์คณะได้สืบพยานจนเสร็จสิ้น และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 17 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนนัดฟังคำพิพากษา นายสมศักดิ์ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ได้ทำบันทึกเสนอต่อ นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้วินิจฉัยการคัดค้านผู้พิพากษาแล้ว ต่อมาจึงได้มีการโอนสำนวนคดีดังกล่าวให้องค์คณะใหม่ รับผิดชอบสำนวนแทน และได้สอบถามความจำเป็นในการสืบพยานเพิ่มเติมของฝ่ายจำเลยแล้ว นายจตุพร และทนายความได้แถลงขอสืบพยานจำเลยอีก 6 - 7 ปาก โดยใช้เวลา 3 นัด ส่วนทนายความโจทก์ ไม่ติดใจสืบพยานเพิ่ม ศาลจึงให้เลื่อนนัดพิพากษาออกไปก่อน เพื่อเริ่มกระบวนการสืบพยานจำเลยเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยศาลนัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจความพร้อมการเตรียมพยานและกำหนดวันสืบพยาน ในวันที่ 25 ม.ค.54 เวลา 10.00 น. และอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลยด้วย ทั้งนี้ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายจตุพร กล่าวถึงพยานที่จะนำสืบว่า จะประสาน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และประธานพรรคเพื่อไทย , นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยรับราชการผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงต่างๆ นอกจากนี้จะมีนักวิชาการ และข้าราชการสำนักพระราชวัง ที่มา: http://www.naewna.com สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
วิกิลีคส์แพร่เอกสารทูตสหรัฐฯ สนทนากับ "เปรม-สิทธิ-อานันท์" Posted: 17 Dec 2010 02:04 AM PST “วิกิลีคส์” ปูดเอกสารล่าสุด บันทึกทูตสหรัฐสนทนากับ เปรม ติณสูลานนท์ - สิทธิ เศวตศิลา - อานันท์ ปันยารชุน เป็นการสนทนากันต้นปีนี้ โดยเปรมกล่าวว่าอภิสิทธิ์ “หนุ่มไป” และ “ไม่เข้มแข็งพอ” แต่ยังเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกฯ ส่วน พล.อ.อ.สิทธิ บอกว่ามาร์คเกาะโพเดียมมากไป พร้อมเผยไม่ไว้ใจ “เสธ.แดง” กังวล “อนุพงษ์” มั่นใจ “ประยุทธ์” เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 21.00 น. ตามเวลาสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้เผยแพร่เอกสารลับ หมายเลข “S E C R E T SECTION 01 OF 03 BANGKOK 000192” ซึ่งเป็นบันทึกทางการทูตของนายอีริคส์ จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ลงวันที่ 25 ม.ค. 53 โดยบันทึกซึ่งถูกแบ่งเป็น 15 ย่อหน้า หัวข้อแรกเป็นบทสรุป รายละเอียดเป็นบันทึกของทูตภายหลังจากพบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ทูตระบุว่าได้สนทนากับ พล.อ.เปรม ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน วันที่ 13 ม.ค. 53 ส่วนทูตสหรัฐฯ สนทนากับ พล.อ.อ.สิทธิ ที่บ้านพักของ พล.อ.อ.สิทธิ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 53 ส่วนอานันท์สนทนากับทูตสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 52 ในรายงานส่วนใหญ่เป็นบันทึกความเห็นของ พล.อ.เปรม กับ พล.อ.อ.สิทธิ เป็นส่วนใหญ่ มีความเห็นของนายอานันท์ประกอบเล็กน้อย ในรายละเอียดของเอกสาร มีการสนทนาหัวข้อสำคัญหลายหัวข้อ ทั้งเรื่องการตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความท้าทายที่มาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
บันทึกระบุ “เปรม” เห็นว่า “อภิสิทธิ์” หนุ่มไปและไม่เข้มแข็ง แต่เปรมยังไม่มีตัวเลือก ในย่อหน้าที่ 3 ของบันทึก ระบุว่า พล.อ.เปรม เห็นว่านายกรัฐมนตรี “หนุ่มเกินไปและไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่ยากลำบาก” อย่างไรก็ตาม พล.อ.เปรม รู้สึกว่าสิ่งที่อภิสิทธิ์ถูกทดสอบในปี 2552 ก็คือ การถูกท้าทายการทำงานในการขับเคลื่อนรัฐบาลผสมที่มีหลายค่าย ซึ่งไม่ใช่งานง่าย พล.อ.เปรม ยังเสริมว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนที่ดูมีหลักการและมีความซื่อสัตย์มากกว่าอภิสิทธิ์ และประเทศไทยต้องการมีผู้นำเช่นนี้ พล.อ.เปรม มีความหวังว่าชาวไทยและชาวต่างประเทศจะเพิ่มความอดทนกับอภิสิทธิ์ ซึ่ง พล.อ.เปรม เชื่อว่า เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พล.อ.อ.สิทธิเห็นว่าอภิสิทธิ์ใช้เวลาบนโพเดียมมากไป ในย่อหน้าที่ 4 บันทึกระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ วิจารณ์อภิสิทธิ์ มากกว่า พล.อ.เปรม โดย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าว่าได้บอกบิดาของนายอภิสิทธิ์แล้วว่าในปี 2553 ลูกชายควรเป็นคนกล้าตัดสินใจมากกว่านี้ และมีเพื่อนมากกว่านี้ พล.อ.อ.สิทธิ ยังวิจารณ์ว่าอภิสิทธิใช้เวลาอยู่บนโพเดียมมากเกินไป ไม่มีเวลาที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้อภิสิทธิ์สามารถมอบหมายนโยบายและคิดริเริ่มเรื่องนโยบาย อภิสิทธิ์จำเป็นต้องไปมีส่วนร่วมกับคนรากหญ้า ซึ่งสิ่งนี้เป็นด้านหนึ่งของจุดแข็งทักษิณ ในความคาดหวังของ พล.อ.อ.สิทธิ ยังหวังให้อภิสิทธิ์ตั้ง พล.ต.อ.ประทีป (ตันประเสริฐ) เป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างถาวร หวังให้อภิสิทธิ์ใช้อำนาจที่มีเหนือพรรคร่วมรัฐบาลโดยการขู่ว่าจะยุบสภาถ้าพวกเขาออกนอกแถว และบอกให้กองทัพดำเนินการขับ “ทหารนอกแถว” อย่าง พล.ต.ขัตติยะ (สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง) แม้ว่า พล.อ.ประวิตร (วงศ์สุวรรณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปฏิเสธคำสั่งปลด พล.ต.ขัตติยะ ในย่อหน้าที่ 5 รายงานว่า พล.อ.เปรมสอบถามเกี่ยวกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ป่วนการทำงานของรัฐบาลและชีวิตประจำวันของประชาชน ทูตอธิบายว่าระบบของสหรัฐอเมริกาให้สิทธิผู้ชุมนุมในด้านเสรีภาพการแสดงความเห็น แต่ไม่สามารถไปชุมนุมได้ทุกที่ ทูตยังแสดงความไม่พอใจในการตัดสินใจที่ส่งผลลบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุน อย่างเช่น มาบตาพุด การยกเลิกหวยออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมายที่มีความไม่เป็นธรรม การฝ่าฝืนข้อตกลง และการควบคุมเคลื่อนย้าย มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนมากกว่าความยุ่งเหยิงทางการเมือง
ไม่ไว้ใจ “เสธ.แดง” กังวล “อนุพงษ์” มั่นใจ “ประยุทธ์” ในย่อหน้าที่ 6 ทูตสหรัฐบันทึกว่า พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลมากกว่า พล.อ.เปรม ในเรื่องสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปี 2553 โดยเสนอว่า ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ (เผ่าจินดา) ไร้ความสามารถในการควบคุมพล.ต.ขัตติยะ “นายพลหัวแข็ง ซึ่งอยู่ในเครือของเสื้อแดง” ซึ่ง พล.อ.อ.สิทธิกล่าวหาว่า เป็นผู้ยิงระเบิดเอ็ม-79 ใส่ผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง และ พล.ต.ขัตติยะ ยังได้ไปพบกับทักษิณในต่างประเทศด้วย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ใช่ผู้หาข่าวที่ดี ในบันทึกของทูตอีริค ยังวงเล็บด้วยว่า สามวันถัดจากการคุยกับ พล.อ.อ.สิทธิ มีผู้โจมตีห้องทำงานของ พล.อ.อนุพงษ์ในช่วงกลางคืนด้วยเอ็ม-79 และ พล.ต.ขัตติยะ ถูกสงสัยอย่างมาก โดยในย่อหน้าที่ 6 บันทึกของอีริค จี จอห์น ระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ มีความหวังกับรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ (จันโอชา) มากกว่า โดยคาดหมายว่าจะได้มาแทนตำแหน่งของ พล.อ.อนุพงษ์ ในเดือนตุลาคม [...] พล.อ.อ.สิทธิอ้างด้วยว่า พล.อ.เปรม ได้ส่งสัญญาณว่าไม่พอใจ พล.อ.อนุพงษ์ โดยแสดงอาการดูแคลนในระหว่างที่บรรดานายพลเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านพักเพื่ออวยพรวันเกิด โดย พล.อ.เปรม ไม่พูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์เป็นการส่วนตัว ระหว่างที่ พล.อ.อนุพงษ์ยืนอยู่กับกลุ่มผู้บัญชาการทหารคนสำคัญๆ นอกจากนี้ในบันทึกยังกล่าวถึงทัศนะของ พล.อ.เปรม พล.อ.อ.สิทธิ และนายอานันท์ ต่อเรื่องการสืบราชสมบัติด้วย […]
ทักษิณยังเป็นประเด็นสำหรับเปรม-สิทธิ-อานันท์ ส่วนในย่อหน้าที่ 13 บันทึกของทูตยังระบุด้วยว่า ทักษิณยังคงเป็นประเด็นสำหรับสามบุคคลสำคัญนี้ (เปรม-สิทธิ-อานันท์) อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์กล่าวถึงพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว […] และการท้าทายของทักษิณเป็นต้นเหตุต่อเรื่องเสถียรภาพของประเทศนี้ พล.อ.เปรมถามต่อทูตสหรัฐฯ ว่าสหรัฐอเมริกาควรทำอย่างไรต่อสถานการณ์ของไทย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้แต่งตั้งอดีตผู้นำรายนี้ (หมายถึงทักษิณ) ขึ้นเป็นที่ปรึกษา ซึ่งบุคคลนี้มีความแน่วแน่ในการโค่นล้มรัฐบาล ทูตสหรัฐฯ ตอบว่าขณะที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐจะกล่าวสุนทรพจน์ถึงประเด็นในประเทศอื่นเป็นบางครั้งคราว แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับรัฐบาลประเทศอื่น แต่ทูตสหรัฐ ได้แนะนำ พล.อ.เปรม และเจ้าหน้าที่ไทยให้ใช้วิธีให้ความเห็นต่อสาธารณะในเรื่องกัมพูชา และไม่ควรเล่นเกมตาต่อตาฟันต่อฟันกับทักษิณและฮุนเซ็น ในบันทึกของทูตวงเล็บว่าดูเหมือนว่า พล.อ.เปรม จะรำพึงถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ก็มีความชัดเจนว่า พล.อ.เปรม มุ่งไปที่ความรับรู้ต่อเรื่องการคุกคามโดยทักษิณ และการที่ฮุนเซ็น อำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมของทักษิณ
พล.อ.อ.สิทธิ ไม่ไว้ใจกัมพูชา บรูไน ลาว เวียดนาม หนุนหลัง “ฮุนเซ็น” ในย่อหน้าที่ 14 พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เพิ่งมาเยี่ยมเขาในวันคล้ายวันเกิดครบ 90 ปี และชี้ให้เห็นว่าอีกไม่นานไทยจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อภิสิทธิ์จะมีข้อจำกัดน้อยลงในการตอบโต้ด้วยฝีปากกับฮุนเซ็น พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลเพิ่มเติมต่อกรณีของกัมพูชา และบรูไน ว่าน่าจะอยู่ในฝ่ายทักษิณ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของทักษิณ กับฮุนเซ็น และสุลต่านบรูไน ลาว และเวียดนาม ซึ่งน่าจะหนุนหลังฮุนเซ็น ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทย-กัมพูชา ขณะนี้ ในย่อหน้าที่ 15 พล.อ.อ.สิทธิ โจมตีทักษิณว่า พยายามใช้เงิน, ผู้ชุมนุมเสื้อแดง และ ฮุนเซ็น เพื่อ “ทำลายประเทศของเรา” แต่เขาทำนายว่าทักษิณจะทำไม่สำเร็จ ทักษิณไม่เคยพยายามเจรจา พล.อ.อ.สิทธิแนะนำว่า ข้อเรียกร้องทักษิณจะได้รับการตอบสนอง ถ้าเขากลับเข้าประเทศ และรับโทษในคุกพอเป็นพิธี ทักษิณก็น่าจะได้รับการอภัยโทษอย่างรวดเร็ว และได้รับการปล่อยตัวในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ตอนนี้ทักษิณพยายามก่อความยุ่งเหยิง จุดชนวนโดยใช้กำลัง ในขณะที่ พล.อ.อ.สิทธิ ยังคาดด้วยว่า ทักษิณจะแพ้คดีในวันที่ 26 ก.ย. (ปี 53) ต่อกรณีเงินที่ถูกอายัดเงินจำนวน 76,000 ล้านบาท แต่ พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่าจากข้อมูลของเขาแสดงให้เห็นว่าทักษิณยังคงมีเงินราว 240,000 ล้านบาทในต่างประเทศ ทักษิณแทนที่จะอยู่ต่างประเทศเงียบๆ แต่ทักษิณได้ตัดสินใจสู้ โดย พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่า ทักษิณได้ให้ทุนสนับสนุนบรรดาเว็บไซต์โจมตีพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อจุดชนวนต่อทัศนะการต่อต้านสถาบันกษัตริย์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น