โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กวีศรีประชา: น้ำตาพ่อ

Posted: 05 Dec 2010 09:43 AM PST

 
 
 
 
 
ยืนดู ลูกน้อย หน้าผู้คุม
ไม่ยอมแม้ให้อุ้มไว้ในอก
ใจร้ายกว่ายมบาลในนรก
ทั้งติดคุกเพราะป้องปกประชาธิปไตย
พยายามหักห้ามน้ำตาพ่อ
ยังเห็นแววน้ำคลอเก็บกั้นไหล
ก้อนสะอื้นขึ้นสะอึกลึกข้างใน
เบือนหน้าแอบร้องไห้..หัวใจสะเทือน.
 
 
5 ธันวาคม 2553
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ว่อนเน็ต ภาพชุด ‘เวิร์ลเทรดฯ’ ก่อน-หลังเพลิงไหม้

Posted: 05 Dec 2010 09:11 AM PST

 
5 ธ.ค.53 รายงานข่าวแจ้งว่ามีการเผยแพร่ภาพชุดซึ่งอ้างว่าเป็นภาพที่ถ่ายภายในห้างเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์และบริเวณข้างเคียงในวันที่ 19 พ.ค.53 ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุมและเกิดเพลิงไหม้ห้างดังกล่าวในช่วงเย็น ในเฟซบุ๊ค ก่อนจะถูกนำมาเผยแพร่ต่อในเว็บบอร์ด Internet Freedom (http://www.internetfreedom.us/thread-4211-page-1.html) โดยผู้ใช้นามแฝงว่า “อหิงสา” ตั้งกระทู้ “ความจริงและศพสุดท้ายที่เวิร์ลเทรด...” พร้อมทั้งบรรยายเหตุการณ์ว่ามีภาพของกลุ่มบุคคลที่แต่งตัวคล้ายเจ้าหน้าที่ทหารปรากฏอยู่ภายในห้างก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีการยิงสกัดจากบุคคลไม่ทราบฝ่ายให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าของร้านค้าและบุคคลอื่นเร่งออกจากภายในห้างจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย รวมถึงภาพถ่ายสภาพศพของนาย กิตติพงษ์ สมสุข ที่เสียชีวิตอยู่ภายในห้างดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบนายกิตติพงศ์ถูกบันทึกอยู่ในรายชื่อผู้เสียชีวิตของศูนย์เอราวัณด้วย ข้อมูลของศูนย์เอราวัณระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ห้างดังเวิร์ลเทรดฯ 1 คน คือ นายกิตพงษ์ สมสุข อายุ 20 ปี พบศพในวันที่ 21 พ.ค.เวลา 15.00 น. ถูกส่งไปชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาลตำรวจ ทั้งนี้ ภาพชุดดังกล่าวยังไม่ได้รับการตรวจสอบหรือยืนยันจากหน่วยงานใด และได้รับการส่งต่อกันอย่างแพร่หลายในเว็บเครือข่ายทางสังคม เช่น facebook.com
 
 
 

 หมายเหตุ มีการแก้ไขเพิ่มเติมข่าว เวลา 1.37 น. (6 ธ.ค.)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลือกตั้งซ่อมหลายพื้นที่เงียบเหงา

Posted: 05 Dec 2010 08:29 AM PST

5 ธ.ค. 53 - เลือกตั้งซ่อมหลายพื้นที่เงียบเหงา อยุธยาคนใช้สิทธิบางตา/ขอนแก่นเงียบเหงา/ยอดผู้ใช้สิทธิลต.ซ่อมล่วงหน้า กทม.เขต 2 เพียง 4,124 คน

อยุธยา-เลือกตั้งซ่อมล่วงหน้าวันที่ 2 คนใช้สิทธิบางตา

ครอบครัวข่าวรายงานว่าวันที่ 2 ของการเปิดให้ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพระ นครศรีอยุธยา เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่างในช่วงเช้า ไม่คึกคักเหมือนเมื่อวาน เนื่องจากประชาชนต้องการอยู่กับครอบครัวในช่วงวันพ่อแห่งชาติ และบางคนถือโอกาสพาครอบครัวออกไปเที่ยวในต่างจังหวัด ทำให้บางหน่วยเลือกตั้งอย่างเช่น อ.นครหลวง ในวันนี้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งบางตาอย่างมาก ซึ่งเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมามีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในหน่วย อ.นครหลวง 132 คน

นายฐิติพล ทศรฐ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ภาพรวมการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวานนี้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,169 คน หน่วยที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ อ.พระนครศรีอยุธยา 680 คน รองลงมาคือ อ.เสนา 372 คน อ.บางบาล 215 คน อ.ผักไห่ 190 คน อ.มหาราช 181 คน อ.ท่าเรือ 155 คน อ.บางปะหัน 134 คน อ.นครหลวง 132 คน อ.บ้านแพรก 61 คน และ อ.บางซ้าย 49 คน ส่วนใหญ่ผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า คือ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งซ่อม วันที่ 12 ธันวาคม นี้ และบางส่วนเป็นประชาชนที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวในสัปห์ดาหน้าซึ่งเป็น วันหยุดยาว 3 วัน

เลือกตั้งซ่อมสส.ล่วงหน้าขอนแก่นเหงา

โพสต์ทูเดย์รายงานว่าบรรยากาศการลงคะแนนเลือกตั้งซ่อมสส.ขอนแก่น เขต 2ล่วงหน้าวันที่2 เงียบเหงา ประชาชนเดินทางไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งกลาง ทั้ง 9 จุดใน 9 อำเภอบางตา โดยเฉพาะภายในที่ว่าการ อ.พล และ อ.หนองสองห้อง ที่ยังคงมีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ไม่มากนัก ขณะที่หน่วยเลือกตั้งกลาง ภายในโรงเรียนบ้านไผ่ ยังคงมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในจำนวนที่น้อยเช่นกัน
        
นาย ประเสริฐ จันฤาไชย กรรมการด้านการเลือกตั้งประจำ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ยังไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด การเก็บรักษาหีบบัตรเลือกตั้งไว้ที่สถานีตำรวจใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย สูงสุด และตลอดทั้งสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งจริง ได้จัดส่งชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ตรวจสอบการกระทำความผิดของผู้สมัครภายในเขต เลือกตั้งทั้งหมด

ยอดผู้ใช้สิทธิ กทม.เขต 2 เพียง 4,124 คน

เนชั่นทันข่าวรายงานว่านายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำหรับภาพรวมการเลือกตั้งซ่อมล่วงหน้า ส.ส. กทม. เขต 2 ในระหว่างวันที่ 4-5 ธ.ค. การใช้สิทธิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ประชาชนออกมาใช้สิทธิค่อนข้างบางตา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็นช่วงวันหยุดยาว

โดยในวันที่ 5 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งวันสุดท้ายพบว่ามีผู้มาใช้สิทธิใกล้เคียงกับวันแรก (4) แบ่งเป็น เขตยานนาวา 448 คน เขตบางคอแหลม 464 คน เขตสาทร 44 คน เขตคลองเตย 287 คน และเขตวัฒนา 467 คน รวมมียอดผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในวันนี้ 2110 คน

ทั้งนี้เมื่อรวมยอดการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าทั้ง 2 วัน มีทั้งสิ้น 4124 คน แบ่งเป็น เขตยานนาวา 893 คน เขตบางคอแหลม 898 คน เขตสาทร 923 คน เขตคลองเตย 558 คน และเขตสาทร 852 คน คิดเป็น ร้อยละ 1.25 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 2 ที่มีกว่า 330,000 คน
 
ส่วนการเก็บรักษาหีบบัตรเลือกตั้งซ่อมล่วงหน้า ทั้ง 5 เขต ได้จัดเตรียมสถานที่ โดยมีการตั้งแผงเหล็ก และกล้องวงจรปิด รวมทั้งมีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจ และตำรวจจาก สน.ในพื้นที่ มาเฝ้ารักษาความปลอดภัย 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

อยุธยา-เลือกตั้งซ่อมล่วงหน้าวันที่ 2 คนใช้สิทธิบางตา (ครอบครัวข่าว, 5-12-2553)
http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/30506/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.html

เลือกตั้งซ่อมสส.ล่วงหน้าขอนแก่นเหงา (โพสต์ทูเดย์, 5-12-2553)
http://bit.ly/gqrz3o

ยอดผู้ใช้สิทธิลต.ซ่อมล่วงหน้า กทม.เขต2 เพียง4,124คน (เนชั่นทันข่าว, 5-12-2553)
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=483253&lang=T&cat=
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จ.ลำพูน ปล่อย 17 นักโทษรุกที่เอกชน

Posted: 05 Dec 2010 08:07 AM PST

ปล่อยตัวนักโทษข้อหาบุกรุกที่ดินของเอกชนเพื่อมาทำการเกษตรใน จ.ลำพูน จำนวน 17 คน โดยถูกจับกุมตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

5 ธ.ค. 53 - มติชนออนไลน์รายงานว่าคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และชาวบ้านท่าหลุก ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ประมาณ 300 คน ได้รวมตัวกันหน้าเรือนจำจังหวัดลำพูน เพื่อรอการปล่อยตัวนักโทษข้อหาบุกรุกที่ดินของเอกชนรายหนึ่งเพื่อทำการเกษตรกร จำนวน 17 คน โดยถูกจับกุมตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่เปิดประตูเรือนจำออก ญาติของผู้ถูกจับกุมหลายคนต่างร้องไห้พร้อมกับเข้าสวมกอดผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวอย่างดีใจ หลังจากการปล่อยตัวได้มีการทำพิธีถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และได้มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ

นางบัวคำ อุทเวียง อายุ 50 ปี ภรรยาของนายทอน อุทเวียง หนึ่งในนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว กล่าวว่า วันนี้ประทับใจมากที่สามีได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากนายทอนเป็นกำลังหลักของครอบครัว

"ระบบมันไม่เคยมีความยุติธรรม หลังจากนี้ต้องหาทางสู้ต่อให้ได้ เพราะเราคิดว่าที่ดินเป็นที่ที่ชาวบ้านอยู่กันอย่างสุจริตมานานกว่า 50-60 ปี คงต้องรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่ที่ดินนี้ได้อย่างถูกต้อง"

ขณะที่นายคำ ทาสมร อายุ 64 ปี ผู้ต้องหาบุกรุกที่ดิน กล่าวว่า รู้สึกดีใจมาก เพราะที่ผ่านมารอเวลานี้มาตลอด 6 เดือน ซึ่งหลังจากนี้คงเป็นโอกาสดีที่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว แต่ยังคงกังวลว่าหากกลับไปทำมาหากินบนที่ดินเดิม จะโดนข้อหาบุกรุกอีกหรือไม่ ขอ คปร.ฝากช่วยแก้ไขเรื่องนี้ด้วย

นายบัณฑร อ่อนดำ กรรมการ คปร. กล่าวว่า ต่อจากนี้ คปร.จะเชิญชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน เจ้าของโฉนดที่ดิน ตัวแทนกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันหารือ เพื่อออกนโยบายในการปฏิรูปที่ดินให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีในลักษณะนี้ต่อไป

ที่มา:

ญาติแห่รอปล่อย17นักโทษรุกที่เอกชน คปร.ยื่นมือหนุนปฏิรูปที่ดิน (มติชนออนไลน์, 5-12-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291548118&grpid=03&catid=&subcatid=

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาพข่าว:ในวันที่ไม่มีพ่อ

Posted: 05 Dec 2010 07:43 AM PST

ประชาไทถ่ายทอดภาพชีวิตของครอบครัวผู้ต้องขังเสื้อแดงมุกดาหาร ในวันที่พวกเขาขาดเสรีภาพ ในวันที่ครอบครัวไร้ผู้นำและในวันที่ลูกขาด"พ่อ"

 

ครอบครัวของทวีศักดิ์สามชีวิต

 

เมีย ลูก หลาน และแมว ขาดก็แต่พ่อ...นายทองดี

 

ย่า..หลาน ประคับประคองกันไป ไม่มีพ่อชื่อณัฐวุฒิ

 

พ่อของพระนมวัย 70 กว่า เป็นโรคหัวใจและหอบหืด ออกวิ่งสามล้อรับจ้างเลี้ยงตัวเอง

 


ครอบครัวที่ไร้พ่อ...นายแก่น หนองพุดสา

 

สองแม่ลูก(ในท้อง) ตะลอนไปขายลูกชิ้น เตรียมพร้อมวันลูกลืมตา แม้ไม่มีพ่อ(นายพระนม กันนอก)

 

เขียนโปสต์การ์ดส่งกำลังใจให้พ่อ...สู้เพื่อประชาธิปไตย

 

โอบอุ้มกันไว้

 

ไม้ใกล้ฝั่ง หากยังรอ ลูกพ่อกลับมา

 

ขนข้าว... หยุดเรียนมาช่วยกัน...สองพี่น้อง

 

มัดข้าว

 


ในวันที่ไม่มีพ่อ ไก่ต้องรับงานมาทำหารายได้เลี้ยงครอบครัว

 

อ้างว้างเหลือใจ บ้านที่ไร้พ่อ(ครอบครัวของนายนพชัย)

 

พ่อครับ ผมรอพ่ออยู่(ลูกของนายจันที)

 

พ่อของสมคิดวัย 60 ยังต้องออกไปดูแลนาด้วยตัวเอง

 


พ่อของไมตรี กับหนังสะติ๊กที่รอเจ้าของ

 


พ่อของจันทีที่ป่วยเป็นหอบหืดและแม่วัย 70กว่าที่ยังต้องหาของป่าไปขาย

 

ภรรยาและลูกสาววัย 3 ขวบของณัฐพลเฝ้ามองพ่ออยู่นอกห้องขัง

 

ทองมากป่วย เมียก็ป่วย ลูกก็ป่วย แต่ก็ยังไม่ได้อยู่พร้อมหน้า

 

นานเท่าไหร่??? ที่พ่อจะกลับมา.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม

Posted: 05 Dec 2010 07:17 AM PST

  
1. สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม มันคือคุก
2. รัฐเซ็นเซอร์หลายสิ่งหลายอย่างเพราะกลัว
กลัวว่าประชาชนจะมีวุฒิภาวะมากกว่าผู้ปกครองที่มองพลเมืองเป็นเพียงเด็ก
เป็นลูกที่ไม่มีวันโต และไม่จำเป็นต้องโต
หรือมิเช่นนั้นก็มองเป็นผู้ต้องถูกเอาเปรียบที่อาจลุกฮือ
หากเข้าใจความจริงบางอย่าง และตาสว่างขึ้นมา
3. ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่มีกี่คนต้องติดคุกเพราะความจริง
4. คนไทยเป็นไทเพียงแค่ชื่อ ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจว่า ความเป็น "ไท" คืออะไร
5. บางคนเซ็นเซอร์ผู้อื่น เพราะรู้สึกไม่มั่นคง เพราะไม่แน่ใจว่า
สิ่งที่ครอบงำประชาชน จะยังคงมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่
6. ถึงคราบางคน "ปลดรูป"
บางคนบอกไม่เคย "แขวนรูป"
รูปที่ไม่เคยแขวน บูชา ไม่จำเป็นต้องปลดลงมา
วิถีประชาธิปไตยไม่ควรบูชาใคร ไม่ว่ารูปทักษิณ หรือรูปผู้พิศดารใด
7. จะบูชาใคร ไปใยทำไมกัน ในเมื่อทุกคนก็คนเหมือนกัน
8. นี้หรือสังคมไทย สังคมที่อวดอ้าง ว่าเป็นดีเสรีหนักหนา
ดีจนความจริงหลายประการ ถูกทำให้เป็นสิ่งที่พูดเขียนไม่ได้ เป็นอาชญากรรม
ต้องโทษร้าย ยิ่งกว่าฆ่าคนตาย
9. คุณกล่าวหาว่าเขาไม่เป็น "ไทย"
คุณทำอย่างกับว่า ความเป็นไทยเป็นของพวกคุณเพียงกลุ่มเดียวในสังคม
10. ยิ่งคุณเซ็นเซอร์เขา เขาก็ยิ่งเกลียดคุณ
11. การเซ็นเซอร์ย่อมไม่ระงับด้วยการเซ็นเซอร์
12. การยัดเยียดข้อมูลเพียงด้านเดียว ย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมและอ่อนแอแก่สังคม
13. เขียนจดหมายถึงฟ้า มันก็หาว่าจาบจ้วง
พอจะจัดทอล์กโชว์ มันก็บอกว่าวันนี้ไม่เหมาะ
พอนายพลใหญ่บอกใครวิพากษ์กษัตริย์ต้องถูกจับ พวกมันกลับแซ่ซ้องสรรเสริญ
เขียนระบายในส้วมปั้มน้ำมันก็อาจทำให้เจ้าของต้องติดคุกได้
ระบายลงเน็ตก็ยังถูกไล่ล่าดั่งแม่มด
หรือพวกคุณจะให้ผมคิดว่า นี้คือสังคมในอุดมคติ
สังคมที่ผู้คนต่างต้องคิด เขียน และพูดเหมือนกันไปหมด พร้อมตะโกนโห่ร้องว่า
"ทรงพระเจริญ!"
"ทรงพระเจริญ!"
"ทรงพระเจริญ!"
14. คนไทยจำนวนหนึ่งต้องติดคุกเพราะวิพากษ์สถาบัน
 วันที่ 5 ธันวา วันที่คนจำนวนมากเฉลิมฉลองเทิดทูนกษัตริย์
ว่าพร้อมซึ่งทศพิศราชธรรม
 ผมกลับนึกถึงคนที่ต้องติดอยู่ในคุกเหล่านั้น
 ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยรู้จักพวกเขาด้วยซ้ำไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: ‘สาร’ (message) จากปรีดี พนมยงค์ ถึงในหลวง เมื่อปี 2516

Posted: 05 Dec 2010 07:07 AM PST

 
ชื่อบทความเดิม :
"สาร" (message) จากปรีดี พนมยงค์ ถึง ในหลวงภูมิพล เมื่อปี 2516: "พระราชปิตุลาทรงให้สัตยาธิษฐานไว้แล้วว่า พระราชปิตุลาและพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีองค์ต่อๆไปทุกพระองค์ จะต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และไม่ลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญที่ได้มาจากการยึดอำนาจที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ"
 
 
 
 
 
คำชี้แจง
 
ผมต้องขอชี้แจงอะไรเล็กน้อย เกี่ยวกับข้อเขียนนี้ ซึ่งผมใช้เวลา 10 ปีพอดีกว่าจะลงมือเขียน ในข้อเขียนข้างล่างนี้ ผมจะได้หยิบเอาข้อความบางส่วนของบทความเรื่อง "จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีระชน 14 ตุลาคม" ของปรีดี พนมยงค์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ เพียง 3 เดือนหลังกรณี 14 ตุลา (2516) มาเล่าให้เห็นว่า ในข้อความดังกล่าว มีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง ที่ปรีดี พนมยงค์ ต้องการจะส่ง "สาร" (message) กราบบังคมทูลแนะนำอย่างเป็นนัย (oblique advice) ต่อในหลวงองค์ปัจจุบัน เกี่ยวกับบทบาทและพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย
 
ผม "อ่าน" พบ "สาร" ดังกล่าวมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน ดังจะเล่าให้ฟังข้างล่าง แต่หลายปีมานี้ ลังเลที่จะเขียนถึง ด้วยความที่ไม่แน่ใจว่า การเขียนเฉพาะบางประเด็นหรือบางข้อความในบทความดังกล่าวของปรีดี พนมยงค์ อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ ในการประเมินหรือการมองของผมต่อบทความนั้นทั้งชิ้น ซึ่งผมเห็นว่า มองโดยรวมแล้วมีปัญหาที่สำคัญบางอย่าง (ในงาน "ปาฐกถา 6 ตุลา" ของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ที่ธรรมศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว ดร.ฐาปนันท์ ได้ใช้บทความนี้ของปรีดี เป็นแกนกลางของปาฐกถา ผมได้แสดงความเห็นวิจารณ์ไว้ในที่ประชุมด้วย ดูรายงานของประชาไทเกี่ยวกับความเห็นวิจารณ์ของผมในที่ประชุมนั้นได้ที่นี่ ผมเองได้ถือโอกาสเอาการแสดงความเห็นครั้งนั้น "ยกระดับ" การอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ของผมเองด้วย รายงานประชาไทไม่ได้สรุปส่วนที่ผมกล่าวประเมินบทความปรีดีนี้ไว้ ขอให้ดูตอนท้ายของข้อเขียนข้างล่างนี้)
 
ยิ่งกว่านั้น ผู้อ่านยังอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า ผมเห็นด้วยกับ stategy การเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ปรีดีใช้ในบทความนั้น (รวมถึงที่แสดงออกในข้อความที่ผมกำลังจะเล่าข้างล่างนี้) อันที่จริง ผมไม่เห็นด้วยเลยกับ strategy การเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของปรีดี ทั้งในบทความดังกล่าวและในบทความอื่นๆของปรีดี เช่นเรื่อง "มหาราชและรัตนโกสินทร์" (ปัญหา strategy การเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ - ปัญหาว่าเราควรอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ด้วยท่าทีอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากที่สุด - เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ผมตั้งใจจะเขียนเล่าใน "อภิปรายสถาบันกษัตริย์: ประสบการณ์ส่วนตัว" ที่เขียนค้างไว้ ที่ facebook ของผม)
 
แม้จะมีความลังเลเช่นนี้ แต่อีกใจหนึ่ง ก็คิดมาตลอดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าจะเล่า เพราะมีความน่าสนใจในแง่ประวัติศาสตร์อยู่ โดยเฉพาะในการศึกษาความคิดของปรีดี ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย
 
ดังนั้น ที่เขียนเล่าต่อไปนี้ ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ไม่ใช่เพราะผมเห็นด้วยกับปรีดีในเรื่องการประเมินสถานะและบทบาทสถาบันกษัตริย์ที่เป็นอยู่หรือควรจะเป็น (ความจริงคือผมเห็นว่าปรีดีประเมินผิดพลาดอย่างมหันต์ในปี 2516 ดูตอนท้ายข้อเขียนข้างล่าง) หรือท่าทีในการอภิปรายสถาบันกษัตริย์ แต่เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจในแง่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
 
 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
5 ธันวาคม 2553
 
 
...............................
 
 
1.
 
ในปี 2543 "สำนักพิมพ์สายธาร" ได้นำบทความเรื่อง "จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม" มาตีพิมพ์ซ้ำเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ โดยให้ เกษียร เตชะพีระ เขียน "คำนำเสนอ"
 
ใน "คำนำเสนอ" เกษียร ได้สรุปเนื้อหาสำคัญๆของบทความของปรีดีไว้ หลังจากผมได้อ่านการสรุปเนื้อหาบทความปรีดีของเกษียรแล้ว ผมก็สะดุดใจมากๆในเนื้อหาบางส่วนของบทความของปรีดี (ตามที่เกษียรสรุป) ซึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อผมอ่านบทความปรีดีดังกล่าวเอง เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น ผมไม่เคยมองเห็นมาก่อน
 
(ดาวน์โหลดในรูปไฟล์ pdf บทความเรื่อง "จงพิทักษณ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม" พร้อม "คำนำเสนอ" ของเกษียร ที่สำนักพิมพ์สายธารพิมพ์ พิมพ์เป็นเล่มในปี 2543 ได้ที่นี่ "คำนำเสนอ" ของเกษียร ชื่อ "ปรีดี กับ 14 ตุลาฯ" อยู่ที่หน้า 7-17)
 
กล่าวคือ ผมเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ในบทความปรีดีนั้นที่ตีพิมพ์ไม่กี่เดือนหลังการล้มเผด็จการถนอม-ประภาส ในเหตุการณ์ 14 ตุลา, ปรีดีกำลังพยายามจะส่ง "สาร" (message) บางอย่าง กราบบังคมทูลต่อในหลวงรัชกาลปัจจุบันว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกพระองค์ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีพระราชภาระสำคัญอย่างหนึ่งคือ จะต้องทรงพิทักษ์รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และหากมีผู้ทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอย่างไม่ชอบ จะต้องไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐธรรมนูญใหม่ที่คณะผู้ล้มล้างประชาธิปไตยนั้นจัดทำขึ้น ทั้งนี้ เป็น"ข้อตกลง" หรือกล่าวให้ชัดคือเป็น "พระราชสัตยาธิษฐาน" (คำให้สัตย์ปฏิณาณ) ที่พระราชปิตุลา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงทำขึ้นกับคณะราษฎร ซึ่งมีผลในลักษณะเป็นพระบรมราชโองการต่อเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระราชปิตุลาด้วย
 
ผมเขียนอีเมล์ถึงเกษียร เล่าเรื่องไอเดียที่ผุดขึ้นมาหลังอ่าน "คำนำเสนอ" ของเขาดังกล่าว เกษียรได้เขียนตอบมา แต่ผมไม่ขอเล่าในที่นี้ และขอย้ำว่า ที่ผมเล่าว่า ผมได้ "ไอเดีย" การ "อ่าน" หรือ "ตีความ" บทความปรีดีว่ามี "สาร" ที่พยายามกราบบังคมทูลในหลวงองค์ปัจจุบัน จากการอ่าน "คำนำเสนอ" ของเกษียรนี้ ก็เพียงเพื่อจะ acknowledge (กิตติกรรมประกาศ) ว่า ผมไม่ได้จู่ๆคิดขึ้นมาเอง แต่เป็นแรงกระตุ้นจากการอ่าน "คำนำเสนอ" ของเกษียร แต่การตีความนี้ย่อมเป็นความรับผิดชอบของผม เกษียรไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
 
ข้อความที่ปรีดีเขียน ที่ผมตีความว่า เป็นความพยายามจะส่ง "สาร" (message) กราบบังคมทูลในหลวงภูมิพล มีดังนี้ (ขอให้สนใจเป็นพิเศษข้อความที่ผมทำเป็นสีแดงไว้)
 
ในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. มีปัญหาว่า จะควรเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า พระมหากษัตริย์มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาพหลฯ และข้าพเจ้าเข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา มีพระราชกระแสรับสั่งว่า รัฐธรรมนูญของหลายประเทศที่ประมุขรัฐเป็นประธานาธิบดีนั้นได้เขียนไว้ว่า ประมุขแห่งรัฐมีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญและต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ว่า จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญไว้ ส่วนสยามนั้นรับสั่งว่าไม่จำเป็นต้องเขียน เพราะเมื่อพระองค์พระราชทานแล้วก็เท่ากับให้สัตยาธิษฐาน และยิ่งกว่านั้นตามพระราชประเพณีได้ทรงสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษก ข้าพเจ้ากราบทูลว่า เมื่อได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะโปรดเกล้าฯสำหรับพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป ให้มีความใดเติมไว้ในพระราชสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษกบ้าง รับสั่งว่า มีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ ในอันที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไป ก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
 
ครั้นแล้ว ได้รับสั่งให้มหาดเล็กนำราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ พ.ศ. 2468 มาพระราชทานให้ข้าพเจ้าอ่านดูความตอนพระราชสัตยาธิษฐานดั่งต่อไปนี้
 
"แล้วจึ่งมีพระบรมราชโองการเป็นคำไทย ตามความภาษามคธ ดั่งนี้"
 
"ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติเป็นที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบายเทอญ"
 
พระราชครูรับพระบรมราชโองการเป็นปฐมว่า
 
"ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบรมราชโองการพระบัณฑูรสุรสิงหนาทปฐมธรรมิกราชวาจา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
 
"เสร็จแล้ว.....
 
"ทรงตั้งสัตยาธิษฐานตั้งพระราชหฤทัยดำรงทศพิธราชธรรมจักรวรรดิวัตรจรรยาและอื่นๆตามพระบรมราชประสงค์"
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า พระราชประสงค์ตอนท้ายนี้ก็ชัดอยู่แล้ว คือพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปต้องรักษารัฐธรรมนูญ
 
ต่อมาพระราชพิธีราชาภิเษกนี้ได้มีขึ้นอีกในรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน
 
พระราชปรารภแห่งรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. 2475 มีความตอนท้ายว่า
 
"ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งทหารพลเรือนทวยอาณาประชาราษฎร จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ในอันจะรักษาปฏิบัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามนี้ ให้ยืนยงอยู่คู่กับสยามรัฐราชสีมา ตราบเท่ากัลปาวสาน สมดั่งพระบรมราชประณิธานทุกประการเทอญ"
 
พระยาพหลฯกราบบังคมทูลว่า การทรงพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้น จะทรงทำอย่างไร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯรับสั่งว่า ถ้ารัฐบาลเสนอเรื่องใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ส่งกลับคืนไปโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ พระยาพหลฯกราบทูลต่อไปว่า คณะราษฎรเป็นห่วงว่านายทหารที่ถูกปลดกองหนุนไปจะคิดล้มล้างรัฐบาลขึ้นมา แล้วทูลเกล้าถวายรัฐธรรมนูญใหม่ของเขาให้ทรงลงพระปรมาภิไธย จะโปรดเกล้าฯอย่างไร รับสั่งว่า พระองค์จะถือว่า พวกนั้นเป็นกบฏและในฐานะจอมทัพ พระองค์จะถือว่านั้นเป็นราชศัตรูที่ขัดพระบรมราชโองการ ถ้าพวกนั้นจะบังคับให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ก็จะทรงสละราชย์สมบัติให้พวกเขาหาเจ้านายองค์อื่นลงพระปรมาภิไธยให้ . . .
 
  
2.
 
หลังจากข้อความที่เพิ่งคัดมาข้างต้นนี้ ปรีดี ได้เขียนต่อทันทีว่า ไม่ควรลดอำนาจของพระมหากษัตริย์จากความเป็นประมุขและที่สำคัญคือจากความเป็น "จอมทัพ" โดยปรีดีเสนอว่า ในฐานะจอมทัพที่มีอำนาจสั่งการเหนือทหารทั้งปวง รวมทั้งเหนือผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย พระมหากษัตริย์สามารถหยุดยั้งหรือป้องกันไม่ให้เกิดเผด็จการทหารได้ ปรีดี ถึงกับเขียนว่า
 
ประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ปัจจุบันของหลายประเทศที่สถาปนาประมุขรัฐเพียงเสมือนเป็นรูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิ หรือศาลเจ้านั้น ก็เพื่อบุคคลอื่นมีอำนาจเผด็จการ
 
ปรีดียังได้ยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นในบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น อิตาลี มาเพื่อสนับสนุนว่า ต้องให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจแท้จริง (ไม่ใช่เป็นเพียง "รูปเทพารักษ์") โดยเฉพาะอำนาจแท้จริงในการ "สั่งทหารทั้งปวงได้" ตัวอย่างที่ยกมา ความจริง ออกจะ dubious (น่าสงสัย) อยู่ (เช่นเดียวกับการให้เหตุผลหรือ argument ทั้งหมดของเขา) ในความเห็นของผม ปรีดีผิดพลาดอย่างมหันต์ ที่ถึงขั้น ยกเอาเรื่องรัฐธรรมนูญของระบอบสฤษดิ์และถนอม หลัง 2500 มาเปรียบเทียบกับกรณีที่เขากล่าวว่าเกิดขึ้นในภูฐาน ในฐานะตัวอย่างของการกระทำผิดของผู้เผด็จการที่ "เทิด" กษัตริย์เป็นเพียง "ธรรมราชา" ที่ไม่มีอำนาจสั่งการทหาร (ปรีดีใช้คำว่าเป็นเพียง "พระราชลัญจกร" ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่แบบที่ ผู้จัดการ เคยใช้คือ "ตรายาง" นั่นเอง) เพื่อตัวผู้เผด็จการทหารนั้นเองจะได้เป็นใหญ่ เขาเขียนว่า
 
ประเทศภูฐาน (Bhutan) เมื่อก่อน ค.ศ. 1907 นั้น พระประมุขถูกเทิดขึ้นเป็น "ธรรมราชา" มีหน้าที่เพียงประกอบพิธีทางศาสนา และเป็นเสมือนพระราชลัญจกร อำนาจปกครองแผ่นดินตกอยู่ในมือของผู้เผด็จการ ซึ่งดำรงตำแหน่ง "เทพราชา" ชะรอยผู้ให้คำปรึกษาจอมพลสฤษดิ์ ในการร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับ 2502 ซึ่งเป็นแบบของฉบับ 2515 นั้นด้วย จะได้กระเส็นกระสายจากซากของราชอาณาจักรฮินดูบริเวณภูเขาหิมาลัยมาบ้าง จึงกระทำทำนองเดียวกัน หากแต่ว่าผู้เผด็จการเหล่านั้นของไทยไม่เรียกตัวเองว่า "เทพราชา" แต่ในการปฏิบัติก็เปรียบเสมือนเป็น "เทพราชา" ของภูฐานก่อน ค.ศ. 1907 นั่นเอง
 
ผมมองว่า ทัศนะที่ปรีดีแสดงออกนี้ เป็นการยืนยันว่า ในช่วงก่อนและหลัง 14 ตุลา ไม่นาน ปรีดี เช่นเดียวกับขบวนการนักศึกษาขณะนั้น มี illusion (มายา) เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ผิดพลาดอย่างแรง ("สถาบันกษัตริย์ในฐานะอำนาจต่อต้านเผด็จการทหาร") ความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ที่นำไปสู่กรณีนองเลือด 6 ตุลา ไม่ต้องพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองหลังจากนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์โดยรวม หรือความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับทหารโดยเฉพาะ จะได้พิสูจน์ให้เห็นความเป็นมายาของทัศนะเช่นนี้
 
  
ในส่วนของขบวนการนักศึกษานั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องพอเข้าใจได้ทีมี illusion ดังกล่าว แต่กรณีปรีดีผู้ผ่านเหตุการณ์ช่วงรัฐประหารของสฤษดิ์ในปี 2500 (แม้เขาจะอยู่ต่างประเทศ) การมีมายาเช่นนี้เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายสักหน่อย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แดงลำปางเคลื่อนขบวนเดินเทิดพระเกียรติ

Posted: 05 Dec 2010 06:08 AM PST

เสื้อแดงและเสื้อหลากสี จ.ลำปาง เคลื่อนขบวนเดินเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ออกจากหน้าสถานีรถไฟนครลำปางแล้ว ท่ามกลางตำรวจคุมเข้ม

5 ธ.ค. 53 - เว็บไซต์ไอเอ็นเอ็นรายงานเมื่อเวลา 18.52 น. ว่าขบวนเดินเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัดลำปาง ได้เคลื่อนขบวนออกจากหน้าสถานีรถไฟนครลำปางแล้ว ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองลำปาง ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย

ส่วนขบวนเดินเทิดพระเกรียติ ได้เดินทางไป สิ้นสุดที่สนามโรงเรียนเทศบาล 4 และมีกลุ่มคนเสื้อแดง เดินร่วมขบวน กว่า 100 คน โดยถือภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ธงชาติ และธงตราสัญลักษณ์ เฉลิมพระเกียรติ และยังมีอดีตข้าราชการทหาร นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรและกลุ่มคนเสื้อหลากสีร่วมเดินเทิดพระเกรียติในครั้งนี้ด้วย

ด้าน พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว อดีตผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชาชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นชาวจังหวัดลำปาง กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้จะใช้จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดนำร่องเพื่อให้ทางกลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัด และกลุ่มสีทุกกลุ่ม ได้ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อแสดงออกถึงพลังของความสามัคคี ซึ่งถือว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสมานฉันท์เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่มาข่าว:

แดงลำปางเคลื่อนขบวนเดินเทิดพระเกียรติ (ไอเอ็นเอ็น, 5-12-2553)
http://www.innnews.co.th/local.php?nid=258111

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์สุริยะใส "อย่าคิดว่าอำนาจพิเศษจะค้ำ ปชป.ได้ตลอดเวลา"

Posted: 05 Dec 2010 05:06 AM PST

ประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์ "สุริยะใส กตะศิลา" เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ชี้อย่าคิดว่าอำนาจพิเศษจะค้ำพรรคประชาธิปัตย์ได้ตลอดเวลา

เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ "สุริยะใส กตะศิลา" เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เครือข่ายคอนเน็กชั่นอำนาจพิเศษที่เคยสนับสนุนประชาธิปัตย์ ขณะนี้เขายังสนับสนุนอยู่ไหม

ถ้าให้ผมดูผมคิดว่าเขายังรักษาสัมพันธ์กับรัฐบาลชุดนี้อยู่ ตราบใดที่การเคลื่อนไหวของ นปช. ของคนเสื้อแดง ของพรรค เพื่อไทย ยังไม่ถูกปฏิรูป และมีความละเอียดอ่อนเป็นเรื่องของความมั่นคง และยังอ่อนไหวต่อสถาบันเบื้องสูง...อำนาจพิเศษก็จำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับ รัฐบาล ไม่เช่นนั้นเขาก็ต้องทำรัฐประหาร เขาก็ต้องแทรกแซงกระบวนการปกติ

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่ามันเป็น 2 ด้านของเหรียญที่มีด้านหัวกับด้านก้อย มีคนคิดล้มสถาบันก็มีคนปกป้องสถาบัน มีคนรักทักษิณก็มีคนเกลียดทักษิณเป็นธรรมดา มีแดงก็มีเหลือง ฉะนั้นผมคิดว่าถ้าสังคมยังคากันแบบนี้...โอกาสที่อำนาจพิเศษจะมีตัวตนและมี บทบาทตลอดเวลายังมีอยู่เสมอ ปฏิเสธไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะแสดงตนแค่ไหนอย่างไร

อำนาจพิเศษจะทำให้รัฐบาลอยู่แค่ ต้นปีหน้า หรืออยู่ครบเทอม

ผมคิดว่าตัวแปรอยู่ที่คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ถ้ายุบแล้วตัดสิทธิจนเกิดความวุ่นวายสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาล ผมว่าองค์อำนาจในปีกรัฐบาลอาจจะมีการจัดระเบียบกันใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่ามันคืออะไร การยุบสภาอาจจะเร็วกว่าที่คิดหรือถ้าไม่ยุบ ไม่ตัดสิทธิ การกระชับอำนาจอาจจะเข้มแข็งขึ้นก็ได้ อันนี้มันออกได้หลายทาง คิดว่าทางแพร่งของสถานการณ์อยู่ที่ระเบิดเวลาที่เรียกว่า คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะออกไปทางไหน

ต่อให้เป็นพรรคมีเส้นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะทำอะไรก็ได้งั้นหรือ

ถูก...อย่า ไปคิดว่าอำนาจพิเศษจะค้ำคุณได้ตลอดเวลา คือประชาชนไม่ว่าสีไหนก็ตามเขาก็ตื่นตัว เรียนรู้เท่าทัน ไม่ได้ชี้นำ หรือไม่ได้บิดเบือนกันง่าย ๆ หรอก ฉะนั้นผมคิดว่าวันนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์อำนาจชนิดใดก็ตามที่มีตัวตนอยู่ใน สังคมนี้ ถ้าคุณไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับความตื่นตัวของสังคม คุณก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นทุกองค์กร ทุกองคาพยพในสังคมไทยจึงถึงเวลาต้องปรับตัว อยู่ที่ว่าคุณจะกล้าปรับได้ช้าได้เร็วเท่าไร ถ้าปรับได้ช้าคุณก็จะเป็นจำเลยของสังคมได้ในวันหนึ่ง

รัฐบาลชุดนี้ ก็เหมือนกัน คุณอย่าคิดว่าทหารเอาคุณ หรืออำนาจพิเศษคุณยังคบหาสมาคมได้ มันไม่พอ ถึงเวลามันก็ช่วยคุณไม่ได้ เพราะอยู่ที่ความสามารถในการบริหารงานแผ่นดินของคุณด้วย

ขณะเสื้อแดงยังมีการเคลื่อนไหวที่หมิ่นเหม่ต่อข้อหามากมาย เป็นไปได้หรือไม่ ที่การเมืองใหม่ในฐานะเสื้อเหลืองจะผนึกกับประชาธิปัตย์อีกครั้ง

ไม่ แน่ใจว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปขนาดไหน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมองไม่เห็นว่าจุดคลี่คลายของเหลืองแดงอยู่ตรงไหนเหมือน กัน ตราบใดที่ฝั่งคุณทักษิณยังเคลื่อนไหว ฝั่งที่ไม่ชอบคุณทักษิณก็เคลื่อนไหวคู่ขนานไป มันเป็น 2 ด้านของเหรียญ ฉะนั้นโอกาสแบบที่ถามนั้นมีสิทธิเกิดไหม ก็มีความเป็นไปได้

แต่ขณะเดียวกัน ถ้าพรรคการเมืองใหม่มีที่ยืนในสภา การจะไปร่วมมือกับใคร การจะฟอร์มรัฐบาลกับใคร ก็ไม่ง่ายในพรรคเรา เพราะเมื่ออดีตที่แล้วเคยวิจารณ์พรรคเพื่อไทย ต่อต้านระบอบทักษิณ แต่วันนี้ ไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เนวิน แล้วเราจะอยู่ตรงไหน กลายเป็นว่าเราเป็นขั้วที่ 3 ที่จับมือกับใครลำบากเหมือนกัน

พันธมิตรฯเคยหนุนอภิสิทธิ์ให้เป็นนายกฯ แล้วต่อมามีการวิจารณ์อภิสิทธิ์ จะเป็นการซ้ำรอยกับตอนคุณสนธิเคยหนุนทักษิณและล้มทักษิณหรือไม่

ผมคิดว่ามันอาจจะไม่ต่างกันก็ได้ เพราะคุณสนธิและเอเอสทีวีในฐานะสื่อทิ้งบทบาทการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ รัฐบาลไปไม่ได้ ไม่ใช่อุ้มชูรัฐบาลทุกเรื่อง วันนี้เขาก็หยุดคิดและแสดงบทบาทให้เห็นแล้วว่าเขาไม่ใช่องครักษ์พิทักษ์พรรค ประชาธิปัตย์ หรือนายกฯชื่ออภิสิทธิ์

วันนี้คุณสนธิก็วิพากษ์ วิจารณ์ประชาธิปัตย์ เอเอสทีวีก็เริ่มตรวจสอบรัฐบาลเข้มพอ ๆ กับสื่อของคนเสื้อแดง ฉะนั้นมองมุมนี้ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องปกติในฐานะสื่อก็ควรจะเป็นอย่างนี้ เพราะถ้ารัฐบาลห่วยแตก คอร์รัปชั่นมากมาย แล้วเอเอสทีวียังไปอุ้มอยู่ก็จะทำให้อธิบายกับประชาชนได้ยาก

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุด นอกจากเรื่องยุบพรรคแล้วมีอะไรอีก

ความไม่เป็นเอกภาพในพรรคร่วมรัฐบาล ผมคิดว่าพรรคร่วมรัฐบาลชุดนี้เหมือนปูในกระด้ง แต่เผอิญว่ามีคนเฝ้ากระด้งอยู่...วันหนึ่งคนเฝ้ากระด้งอาจจะเหนื่อยกับ การจับปู หรือปูที่เคยสงบศึก หรือเคยอยู่ร่วมกันในกระด้งใบนี้ มันอาจจะรู้สึกว่าอยู่ด้วยกันไม่ได้ก็ไป เพราะธรรมชาติของพรรคการเมืองไทยไม่ได้มีจุดยืนอะไรมากมาย กลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์ ถ้าลงตัวก็อยู่ด้วยกัน

รัฐบาลชุดนี้ยิ่ง ชัดเจนว่า ข้อกล่าวหาที่บอกว่ามาจากค่ายทหารมีข้อเท็จจริงที่ฟังได้เช่นนั้นจริง ๆ ยิ่งทำให้เชื่อว่าการรวมกันของพรรคร่วมรัฐบาลชุดนี้ บนเงื่อนไขพิเศษแบบนี้ ในวันหนึ่งมันอาจจะทำไม่ได้ก็ได้ หรือเงื่อนไขที่ว่าหายไป ขั้วนี้ก็อาจจะแตกก็ได้ ก็เป็นไปได้

ที่มาข่าว:

สุริยะใส กตะศิลา "อย่าคิดว่าอำนาจพิเศษจะค้ำ ปชป.ได้ตลอดเวลา" (ประชาชาติธุรกิจ, วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4267 )
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02pol02021253&sectionid=0202&day=2010-12-02

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยาเบาหวานนอกบัญชียาหลักฯ ทำร้าย 2 เด้ง สุขภาพข้าราชการควบเศรษฐกิจชาติ

Posted: 05 Dec 2010 04:50 AM PST

5 ธ.ค. 53 - นพ. สัมฤทธิ์  ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เผยว่า ในรอบ 10 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา (2553) พบผู้ป่วยที่ใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 28 แห่ง คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ยาเหล่านี้เป็นยาใหม่ ที่มีราคาแพงและอาจไม่มีหลักฐานเรื่องความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว

ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ร้อยละ 3.4 ของข้าราชการที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ได้รับยาโรสิกลีตาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่กำลังจะถูกถอนทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากมีข้อมูลว่าทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และกระดูกหักง่าย จึงอยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ยาใหม่ราคาแพงไม่ได้หมายความว่าจะดีและปลอดภัยเสมอไป ปัจจุบันมียาในกลุ่มเดียวกันซึ่งปลอดภัยกว่าและอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ คือไพโอกลีตาโซน (Pioglitazone)

ในด้านเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสั่งใช้ยาโรสิกลีตาโซน สำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของโรงพยาบาลข้างต้นมีมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท หากเปลี่ยนเป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติในกลุ่มเดียวกัน คือไพโอกลีตาโซน จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณของประเทศได้ถึงเกือบครึ่งหนึ่ง      
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดข้อตกลงและผลเจราจา “สหภาพแรงงาน – บริษัท BMW”

Posted: 05 Dec 2010 04:30 AM PST

5 ธ.ค. 53 - สืบเนื่องจากเมื่อวันที 2 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา นายสมเจตน์ น้อยมณี ประธาน สหภาพแรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกสหภาพแรงงานและพนักงาน บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ที่นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ถึงการเจรจาข้อเรียกร้องปี พ.. 2553 ไม่คืบหน้าหลังจากได้มีการเจรจากันมา 3 ครั้ง

โดยการเจรจาครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 .. 53 ครั้งที่สองในวันที่ 30 .. 53 และครั้งที่สามในวันที่ 1 ธ.. 53 โดยข้อเรียกร้องและผลการเจรจามีดังนี้

 

อนึ่งในวันที่ 1 ธ.. 53 ที่ผ่านมานั้น ทางสหภาพแรงงานได้ตอบตกลงข้อเสนอของผู้บริหารบริษัทที่จะให้ยื่นหนังสือพิพาท และในวันที่ 2 ธ.. 53 เวลา 9.00 น. เลขาธิการสหภาพได้นำหนังสือพิพาทแรงงานไปยื่นที่ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดระยอง โดยมีการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยในวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานจังหวัดระยอง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ในหลวงทรงย้ำให้ทุกคนเที่ยงตรงต่อหน้าที่ มีสติ เพื่อประโยชน์สุขของชาติ

Posted: 05 Dec 2010 04:00 AM PST

5 ธ.ค.53 เวลาประมาณ 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟฟ้าพระที่นั่งลงจากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์เพื่อทรงออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมหาราชวัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากโรงพยาบาลศิริราช ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเข้าสู่ถนนราชดำเนินใน ซึ่งพสกนิกรต่างสวมเสื้อสีชมพูมาเฝ้าฯ รับเสด็จอย่างเนืองแน่น และเปล่งเสียง “ทรงพระเจริญ” ดังกึกก้องตลอดเส้นทางเสด็จฯ โดยทั้งสองพระองค์ทรงโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เฝ้าฯ รับเสด็จ ตลอดเส้นทางจนถึงประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวั

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร มหาดเล็กรัวกรับ ชาวม่านไขพระวิสูตร เจ้าพนักงานชูพุ่มดอกไม้ทองให้สัญญาณ ชาวพนักงานกระทั่งแตร มโหระทึก ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะนั้น ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ 21 นัด สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้นสุดเสียงประโคมแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลตามลำดับ

พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล พร้อมด้วยทหารทุกเหล่าทัพถวายคำสัตย์ปฏิญาณ

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ ความว่า

"ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด รวมทั้งให้คำมั่นสัญญาด้วยประการต่าง ๆ ข้าพเจ้าขอสนองพรและไมตรีจิตทั้งนั้นด้วยใจจริงเช่นกัน

บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่น มั่นคง และร่มเย็นเป็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติ และต่างร่วมแรงร่วมใจกันบำเพ็ญกรณียกิจต่าง ๆ ตามหน้าที่ โดยถือประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรจะได้ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างแล้วตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด มีความไม่ประมาทและด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพราะการกระทำโดยประมาท ขาดความรอบคอบ เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาด เสียหายในหน้าที่และการกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่มิใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจจะนำความเสีย เสื่อมสลายมาสู่ตนเองตลอดทั้งประเทศชาติได้ จึงขอให้ทุกคนได้สังวรณ์ระวังให้มาก และประคับประคองกาย ใจ ให้เที่ยงตรง หนักแน่น ในอันที่จะปฏิบัติภารกิจตามเหตุผลของตนให้ถูกต้องตามหน้าที่ เพื่อความมั่นคงและเพื่อสามารถประโยชน์สุขให้ยั่งยืนของชาติบ้านเมืองของเรา ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลให้สำเร็จผลแก่ท่านทั่วหน้ากัน"

เวลา 11.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงจากพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ประทับรถไฟฟ้าพระที่นั่ง ออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วเสด็จฯ ประทับรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินกลับยังโรงพยาบาลศิริราช

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใครว่างานหนักไม่เคยฆ่าคน - วารสารคนทำงาน พฤศจิกายน 2553

Posted: 04 Dec 2010 11:41 PM PST


Published under a Creative Commons License By attribution, non-commercial

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น