ประชาไท | Prachatai3.info |
- สิทธิมนุษยชนและการจัดการความจริงกรณีการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
- เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ติด 1 ใน 10 ข่าวเด่นรอบโลกปี 2010 ของ Times
- จี้ "กรมทรัพย์สินทางปัญญา" อย่าง้อสหรัฐปลดจากบัญชีดำ
- 15 ปี "สมัชชาคนจน" ขบถรุ่นแรกสถาปนา "สิทธิชุมชน" เบื้องหลังแบกคดีอาญาอื้อ
สิทธิมนุษยชนและการจัดการความจริงกรณีการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี Posted: 14 Dec 2010 03:34 AM PST เรื่องที่จะพูดไม่ได้เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่จะพูดถึง บริบทของความไร้สิทธิมนุษยชน ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมองผ่านเรื่องการเผาศาลากลางจังหวัด ขอกล่าวถึงข้อเท็จจริงกรณีการเผาศาลากลางอุบลฯก่อน โดยจะเน้นไปที่ปฏิกิริยาของชนชั้นกลางชาวเมืองอุบลฯ (อุบลเป็นเมืองใหญ่ คนเหล่านี้ได้แก่ข้าราชการ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการค้า ส่วนใหญ่อยู่ในตัวอำเภอเมือง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เสียงดังกว่าชาวบ้านทั่วๆไป) ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ หลังจากเผลิงสงบลงในเย็นวันที่ 19 พ.ค. 53 ซึ่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงอุบลฯมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัคคีภัยครั้งนี้ แน่นอน ปฏิกิริยาจากชนชั้นกลางชาวเมือง คือความตื่นตระหนก ระคนกับความเสียใจ และโกรธแค้น หลังจากนั้นมีเหตุการณ์น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ -เช้าวันรุ่งขึ้นหน่วยราชการจังหวัด ทำพิธีทำบุญตักบาตร ที่หน้าสถานที่เกิดเหตุ มีข้าราชการและประชาชนมาร่วมคับคั่ง หลังจากนั้นอีก 2-3 วัน มีการทำบุญสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาเมืองครั้งใหญ่ -ในแต่ละวัน โดยเฉพาะตอนเย็น มีประชาชนจำนวนมากแวะเวียนมาดูซากเถ้าถ่านศาลากลาง หลายคนโพสท์ท่าถ่ายรูป ณ สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ระลึก ในขณะที่ในเวปไซต์ท้องถิ่นมีการแสดงความเห็นในกระทู้แสดงความเห็น คนส่วนใหญ่ ประณามสาปส่งผู้เผาศาลากลางอย่างสาดเสียเทเสีย -กลุ่มประชาสังคมชาวอุบล จัดการเสวนาร่วมกันออกแบบศาลากลางหลังใหม่ ควรกล่าวด้วยว่า วงเสวนานี้หลีกเลี่ยงอย่างสิ้นเชิงที่จะทำความเข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังการเผาศาลากลาง -ในเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากเคลียร์พื้นที่ซากศาลากลางหมดจรด จะด้วยเหตุบังเอิญหรือไม่ไม่แน่ชัด มีการใช้สถานที่ตรงนั้น จัดงานส่งมอบอาคารพิพิธภัณฑ์จังหวัด ในงานที่ต่อเนื่องกันนั้น มีการจัดงานพิธีกรรมรำลึกประจำปีถึงบรรพชนผู้ก่อตั้งเมืองอุบล ในนาม “วันแห่งความดี” ควรกล่าวอีกด้วยว่า เรื่องศาลากลางจังหวัดถูกเผา กลายเป็นเรื่องเงียบที่ไม่มีการพูดถึง ทั้งที่ส่วนหนึ่งของสถานที่จัดงานเกิดขึ้นบนพื้นที่ตั้งของศาลากลางที่ถูกเผา -ในขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่ง การจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับการเผาศาลากลางเกิดขึ้นอย่างเอาการเอางาน ตำรวจได้ออกหมายจับทั้งที่ระบุชื่อและใช้ภาพถ่ายแบบไม่ระบุชื่อ จำนวนกว่า 242 ราย ต่อมามีการติดตามจับกุมและมีผู้เข้ามอบตัวบางส่วน มากขึ้นเป็นลำดับ จนตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 42 ราย ปัญหาที่ทราบในเวลาต่อมาก็คือ ว่าผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามหลักกระบวนการยุติธรรม เช่น บางคนไม่เกี่ยวข้องก็ถูกจับ ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาสูงเกินจริง ไม่มีโอกาสพบทนายความ จึงไม่มีโอกาสชี้แจง กระบวนการส่งฟ้องศาลเป็นไปอย่างล่าช้า มีการฝากขังไปเรื่อยๆ การประกันตัวเป็นไปได้ยาก และค่าประกันสูงลิ่ว เหตุการณ์ทั้งหมดหลังเผลิงพิโรธ ในสายตาของชนชั้นกลางชาวเมือง อาจดูเป็นเรื่องปกติ หรือ เรื่องที่สมควรจะต้องเกิดขึ้น แต่สิ่งที่จะต้องเตือนสติกันแบบขีดเส้นใต้ก็คือ เรื่อง การเผาศาลากลางเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างรัฐบาล (หรือกล่าวอย่างครอบคลุมคือ รัฐ) กับผู้ชุมนุม เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการตอบโต้กันระหว่างสองฝ่าย เราไม่อาจมองเหตุการณ์ใดๆแยกจากพัฒนาการของความขัดแย้งทางการเมืองได้ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อุบลฯหลังเพลิงไหม้เมื่อรวมกันเข้า ได้สื่อความหมายว่า การเผาศาลากลาง เป็นโศกนาฏกรรมของชาวอุบลฯโดยรวม เป็นเหตุร้ายที่เกิดจากการกระทำของ พวกเผาบ้านเผาเมือง พวกมวลชนคลุ้มคลั่งผู้ไร้สติ เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่ผิดอย่างไม่ต้องสงสัย และผู้ก่อเหตุก็คือผู้ที่สมควรถูกนำตัวมาลงโทษอย่างสาสม ความคิดและความรู้สึกที่ตลบอบอวลของชาวเมืองอุบลฯเช่นนี้ มีส่วนทำให้การตามจับคนเสื้อแดงที่อุบลเป็นไปอย่างกระตือรือร้น คือสิ่งที่ทำให้คนเสื้อแดง ถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่ยุติธรรมแต่ก็ไม่มีใครใยดีอย่างที่ผ่านมา และหากมองไปข้างหน้า ทั้งผู้ที่ยังอยู่ในเรือนจำและผู้ที่ประกันตัวออกมาสู้คดี น่าจะเจอศึกหนักในการต่อสู้ให้ตัวเองพ้นผิด จึงขอสรุปไว้ในขั้นนี้ก่อนว่า ที่ผ่านมาในกรณีที่อุบลฯ - ซึ่งก็สามารถเทียบเคียงได้กับที่กรุงเทพ หรือจังหวัดอื่นๆ - คือ ได้เกิดกระบวนการ (ซึ่งไม่ว่าจะมีผู้กระทำด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม – ดังจะกล่าวในประเด็นต่อไป) ที่พิพากษาความผิดของคนเสื้อแดงไปแล้ว สำหรับคนที่อยู่ในเรือนจำ ได้ประกันตัวออกมาแล้ว และที่จะสู้คดีในชั้นศาลต่อไป สิ่งที่พวกเขาจะต้องต่อสู้เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสมากก็คือ การฝ่าต่อสู้เพื่อเอาชนะพล๊อตเรื่องที่สังคมได้เขียนไว้แล้วว่าพวกเขาเป็นผู้ร้าย นี่คือ ประเด็นแรกของผม ประเด็นที่สอง เป็นเรืองสืบเนื่องกัน พล๊อตเรื่องที่ว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียวนั้นมาจากไหน ในระดับที่หนึ่ง เมื่อย้อนมองความขัดแย้งทางการเมืองกรณีการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ผ่านมาอย่างพินิจพิเคราะห์ เราจะพบว่า มีแนวคิดสำคัญที่รัฐใช้ลดทอนความชอบธรรมของคนเสื้อแดง 2 แนวคิด แนวคิดหนึ่ง คือ การอธิบายว่าคนเสื้อแดงเป็นมวลชนที่ไร้สติไร้อุดมการณ์ ดังจะเห็นจากการอธิบายว่า เป็นพวกที่ถูกจ้างวานมา เป็นสมุนนักการเมือง อีกแนวคิดหนึ่ง ก็คือทฤษฎีสมคมคิด ดังการอธิบายว่าพวกเขาคิดการใหญ่ คิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน มีนักการเมืองใหญ่บงการอยู่ต่างประเทศ มีกองกำลังติดอาวุธคุ้มกัน แนวคิดทั้งสองถูกใช้ประกอบกัน อธิบายการกระทำของคนเสื้อแดงครั้งแล้วครั้งเล่า จนการชุมนุมตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง กลายเป็นขบวนการก่อการร้ายในสายตาของสาธารณชน ควรกล่าวด้วยว่า กระบวนการให้ร้ายคนเสื้อแดงนี้ เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จของรัฐ ด้วยการบิดเบือนตอกย้ำข่าวสารผ่านฟรีทีวี ในขณะที่ปิดทีวีของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการตั้ง ศอฉ. ทีวีของรัฐได้กลายเป็นกระบอกเสียงเพื่อการบิดเบือนความจริงอย่างชัดเจน การสร้างความหมายให้คนเสื้อแดงเป็นคนผิดแต่ฝ่ายเดียว อาจเห็นได้ในปฏิบัติการระดับที่สอง คือการจัดกิจกรรมและการแสดงความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นกลางชาวเมืองอุบลฯ ผมไม่ได้กำลังบอกว่ากลุ่มคนเหล่านั้นมีเจตนาโดยตรงที่จะทำกิจกรรมเพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของคนเสื้อแดง ตรงกันข้ามกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็นต่างๆเป็นไปอย่างธรรมชาติ กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นไปตามจริตของพวกเขาโดยแท้จริง แต่บรรดากิจกรรมทั้งหลายที่อุบล หากพิจารณาอย่างวิพากษ์วิจารณ์เราจะพบว่า มันคือเครื่องมือในการจัดการความจริง กล่าวคือ กิจกรรมทั้งหลายกำลังทำให้เรื่องเผาศาลากลาง กลายเป็นเรื่องที่ควรถูกลืมไปเสีย “การลืม” คือวิธีการหนึ่งที่รัฐไทยใช้มาตลอดในการจัดการกับความจริงที่ยังไม่ลงตัว การลืมที่อุบล ไม่ได้มีความหมายว่าลืมไปให้สิ้น แต่มันมีความหมายว่าเรามาลืมเรื่องเลวร้ายที่ทำให้เราขุ่นข้องหมองใจ ซึ่งมันแสดงนัยของความหมายในทางกลับกันว่า เรื่องเผาศาลากลางคือเรื่องเลวร้ายที่กระทำไปโดยผู้ก่อการร้าย มันคือการสรุป ว่าเรื่องที่ผ่านมาเลวร้ายอย่างไม่ต้องสงสัยและเราไม่ควรไปเสียเวลากับมันอีก (ปล่อยให้พวกมันติดคุกให้สาสม) การสร้างความหมายต่อเหตุการณ์เผาศาลากลางแบบนี้ ไม่โจ่งแจ้ง แต่มีประสิทธิภาพสูงมากเพราะมันซึมลึกเข้าไปความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนอย่างไม่รู้ตัว หากเราพิจารณาการจัดกิจกรรมต่างๆอีกซักนิด โดยใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์มาช่วยอธิบาย เราก็จะเห็นว่า การจัดกิจกรรมต่างๆ มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด กับสำนึกความเป็นตัวตนของชาวจังหวัดอุบลฯ หรือ อัตลักษณ์จังหวัดอุบลฯ เช่นการจัดพิธีกรรมเนื่องใน “วันแห่งความดี” การบูชาบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมือง การเฉลิมฉลองการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จังหวัด ฯลฯ เมื่อขยายขอบเขตการพิจารณาออกไปอีกเราจะพบอีกว่า สำนึกดังกล่าวนี้มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์การสร้างรัฐชาติไทย ที่เป็นกระบวนการรวมหัวเมืองอีสานเข้ากับส่วนกลาง และก็จะพบว่า รัฐชาติไทย ผูกโยงอยู่กับลัทธิชาตินิยมไทย ที่มีอุดมการณ์หลักคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ภายใต้อุดมการณ์หลักของชาตินิยมไทย สังคมไทยจึงไม่ค่อยมีที่ว่างให้กับความคิดเรื่อง ความเสมอภาค ความยุติธรรม หรือสิทธิมนุษยชน เพราะอุดมการณ์ของเราเน้นไปที่ ความสงบ (ด้วยการข่มใจ) ความสามัคคี(แบบไม่ต้องตั้งคำถาม) และการมีระเบียบสังคม(ที่มีลำดับชั้นทางอำนาจ) อุดมการณ์หลักนี้เองที่เป็นแก่นแกนหลัก ที่คอยให้จังหวัดต่างๆสร้างอัตลักษณ์โดยผูกโยงตัวเองเข้ากับแก่นแก่นหลักนั้น กิจกรรมที่อุบลโดยเฉพาะวันแห่งความดี ผูกโยงและสวมเข้ากับอุดมการณ์หลักอย่างแนบสนิท วันแห่งความดี คือความดีที่กระทำเป็นคุณประโยชน์แก่ชาติ (ตามที่ถูกนิยามไว้) การจัดกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะวันแห่งความดีภายใต้อุดมการณ์หลัก ได้ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีอยู่ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี) เป็นเรื่องที่ควรถูกลืม เพราะมันรบกวนระเบียบสังคมที่ดีอยู่แล้ว ลัทธิชาตินิยมที่คับแคบนี้เอง ที่เป็นกรอบกำหนดกิจกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้คน กรณีที่อุบลก็คือกิจกรรมและความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นกลางชาวเมืองที่เกิดขึ้น และให้ความหมายกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในกรณีนี้ สุดท้ายแล้วลัทธิชาตินิยมคับแคบนี้เอง คือ เครื่องมือที่ซ่อนอยู่ลึกๆแต่สำคัญยิ่งในการให้ความหมายว่า กลุ่มคนเสื้อแดงคือผู้ก่อการร้ายคือผู้กระทำผิด ... ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่จะต้องพูดกันละเอียดกว่านี้ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ในเวลาจำกัดนี้ จึงขอกล่าวไว้โดยสังเขป ดังนั้นผมจึงมาถึงประเด็นที่ 3 ซึ่งจะเป็นการสรุปที่พูดมาทั้งหมด ว่าด้วยความไร้สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับคนเสื้อแดงที่อุบล ทั้งๆที่เรื่องเผาศาลากลาง สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นการกระทำโต้ตอบกันระหว่างสองฝ่าย แต่มันกลับถูกสรุปว่า คนเสื้อแดงมีความผิดแต่ฝ่ายเดียวอย่างไม่ต้องสงสัย เหตุที่ทำให้ความไร้สิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นที่อุบลฯ ประการแรกมาจากเงื่อนไขในภาวะเฉพาะหน้าในปัจจุบัน ก็คือการคงอยู่ของรัฐบาล (รวมทั้ง ศอฉ.) ที่เป็นคู่กรณีกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานนะผู้มีส่วนได้เสีย พวกเขาก็ยังคงตอกย้ำความหมาย ในการให้ร้ายคนเสื้อแดง และทำทุกอย่างให้ตนเองเป็นฝ่ายบริสุทธิ์ ทั้งนี้ด้วยกลไกรัฐทั้งมวลที่ควบคุมอยู่ เหตุที่ทำให้ความไร้สิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นที่อุบลฯ ประการต่อมา มาจากเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง นั่นก็คือลัทธิชาตินิยมอย่างคับแคบ ที่ตีกรอบความคิดและการแสดงออกของชนชั้นกลางชาวเมืองให้หมกมุ่นอยู่กับวิถีจารีตนิยม ขณะที่มองผู้ต้องการความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าในสังคมไทยว่า เป็นฝ่ายผิดไม่คุ้มคลั่งบ้าไร้สติก็เป็นพวกคิดล้มล้างทำการใหญ่ และข้อย้ำไว้เป็นประโยคสุดท้ายว่า สิทธิมนุษยชน วางอยู่บนหลักการพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่สังคม ที่ยังให้ความสำคัญหรือเฉลิมฉลองความไม่เท่าเทียมกันของคนอย่างเอิกเกริก ไม่มีทางมีสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นได้ . หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาประกอบการอภิปราย หัวข้อการเสวนา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย และสิทธิมนุษยชนอีสาน 10 ธ.ค. 53 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ติด 1 ใน 10 ข่าวเด่นรอบโลกปี 2010 ของ Times Posted: 14 Dec 2010 03:00 AM PST ข่าวการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงเมื่อเดือน มี.ค.- พ.ค. ที่ผ่านมา ติด 1 ใน 10 อันดับข่าวเด่นรอบโลกปี 2010 โดยเว็บไซต์นิตยสาร Times ซึ่งข่าวเด่นอันดับอื่น ๆ ได้แก่ แผ่นดินไหวเฮติ, WikiLeaks, คนงานเหมืองชิลี, ฟุตบอลโลกแอฟริกาใต้ ฯลฯ เว็บไซต์นิตยสาร Times มีการจัด 10 อันดับข่าวเด่นทั่วโลกของปี 2010 (Top 10 World News Stories) โดย ISHAAN THAROOR ซึ่งหนึ่งในข่าวเด่นติดอันดับมี ซึ่งการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้ Times รายงานอีกว่า กลุ่มเสื้อแดงทำการประท้วงเชิ เว็บไซต์นิตยสาร Times ระบุว่า ขณะที่เหตุการณ์ดูเหมือนจะสงบลง แต่ยังคงมีอารมณ์ความรู้สึกเจ็ โดย 10 อันดับข่าวเด่นทั่วโลกปี 2010 ของนิตยสาร Times มีดังนี้ อันดับ ที่ 1 คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเฮติ เมื่อเดือน ม.ค. 2010 ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง มีประชาชนราว 230,000 ราย เสียชีวิต และอีกนับล้านไม่มีที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังเกิดเหตุวุ่ อันดับที่ 2 คือ กรณี WikiLeaks องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่ อันดับที่ 3 คือ กรณีการช่วงเหลือคนงานเหมื Times รายงานอีกว่า การช่วยเหลือคนงานเหมืองมีการถ่ อันดับที่ 4 คือ เหตุอุทกภัยในปากีสถาน เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ชาวปากีสถานกว่า 20 ล้านคน ต้องอพยพ 2,000 คนเสียชีวิต และสัตว์เลี้ยงทางการเกษตรเสี อันดับที่ 5 คือ เหตุความขัดแย้งของประเทศเกาหลี อันดับที่ 6 คือ ฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดฟุ อันดับที่ 7 คือ สงครามต่อต้านกลุ่มก่อการร้ อันดับที่ 8 คือ มาตรการตัดงบประมาณของยุโรป จนทำให้เกิดการประท้ อันดับที่ 9 คือ สงครามกับยาเสพติดในเม็กซิโก อันดับที่ 10 คือ การชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงในไทย (ดังรายละเอียดช่วงต้นของข่าว) ที่มา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
จี้ "กรมทรัพย์สินทางปัญญา" อย่าง้อสหรัฐปลดจากบัญชีดำ Posted: 13 Dec 2010 11:53 PM PST ภาคประชาสังคมด้านการเข้าถึงยา ดันหลังกรมทรัพย์สินทางปัญญา อย่าอ่อนข้อต่อผู้แทนการค้าสหรัฐฯ จนเกินพอดี
ตามที่ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม นี้ นายจาเร็ด แรคแลนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เดินทางมาประเทศไทยเพื่อพบนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามการทบทวนนอกรอบเพื่อพิจารณาว่าจะยังคงจัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) หรือไม่นั้น (14 ธ.ค.53) นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่ติดตามปัญหาระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยากล่าวว่า อยากสนับสนุนให้กรมทรัพย์สินทางปัญญายึดประโยชน์ของประชาชนคนไทยเป็นที่ตั้ง โดยไม่ยอมอ่อนข้อต่อข้อเรียกร้องที่ “เกินไป” ของผู้แทนการค้าสหรัฐ “ที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญามีท่าทีดีในหลายเรื่อง เช่นความพยายามแก้ปัญหาการจดสิทธิบัตรไม่มีคุณภาพด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมทำงานวิจัยประเมินผลกระทบจากสิทธิบัตรแบบ evergreening กับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และพยายามปรับปรุงฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อเอื้อให้ผู้ผลิตยาชื่อสามัญสามารถเตรียมการผลิตเมื่อยาใดใกล้หมดสิทธิบัตร แม้จะยังมีความล่าช้าอยู่บ้าง แต่ถือว่า กรมฯเดินมาถูกทางแล้ว จึงอยากให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ระบุว่า จะเห็นได้ว่า ทางผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และบริษัทยาข้ามชาติไม่เคยหยุดที่จะกอบโกย เรียกร้องประโยชน์และเอาเปรียบประเทศพัฒนามาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่สถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.จัดรับฟังความคิดเห็น ทางฟาร์ม่า (PhRMA) สมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ก็มีท่าทีแข็งกร้าวต้องการให้ผู้แทนการค้าสหรัฐคงอันดับไทยไว้ที่ประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) โดยนางแนนซี่ อดัม ผู้แทนฟาร์ม่า ไม่พอใจที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาพยายามแก้ปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่วันตาย (evergreening patent) โดยอ้างว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของอุตสาหกรรมยาที่จะทำกำไร ต้องการกดดันไทยให้มีการผูกขาดข้อมูลทางยา และที่สำคัญต้องการให้ขยายนิยามยาปลอมให้ครอบคลุมยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย “กรมทรัพย์สินฯจะต้องไม่ยอมอ่อนข้อ ไม่ควรไปร้องขอกราบกรานให้ผู้แทนการค้าสหรัฐฯปลดไทยออกจาก PWL โดยเอาอะไรต่อมิอะไรไปแลก เพราะผลเสียหายจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อสังคมโดยรวม อีกทั้งที่ผ่านมา การติดอยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษตั้งแต่ปี 2550 ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกและฐานะทางเศรษฐกิจของไทย ที่มีศักยภาพมากกว่าที่จะพึ่งสิทธิพิเศษที่ต้องแลกด้วยชีวิตผู้คนเยี่ยงนี้ และหากไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ จะทำให้สูญเสียงบประมาณมากกว่า 8 แสนล้านบาทใน 20 ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ ภาคประชาสังคมไทยได้ทำหนังสือถึงผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ให้ยุติการกดดันประเทศไทยโดยใช้มาตรพิเศษ 301 และขอให้การพิจารณาแผนปฏิบัติการเพื่อการทบทวนการจัดอันดับระหว่างสหรัฐฯและไทยเป็นไปด้วยความโปร่งใส
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
15 ปี "สมัชชาคนจน" ขบถรุ่นแรกสถาปนา "สิทธิชุมชน" เบื้องหลังแบกคดีอาญาอื้อ Posted: 13 Dec 2010 08:39 PM PST นักนิติศาสตร์ชี้ "สมัชชาคนจน" เคลื่อนไหวมีพลัง-ท้าทาย เปลี่ยนนโยบายรัฐ แต่โดนฟ้องกลับเพียบ ด้านทนายคนจนแนะฟ้องคดีเชิงรุก ตั้งคณะทำงานร่วมสู้คดี นักสิทธิฯ เสนอตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาล วานนี้ (13 ธ.ค.53) นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม” ในวาระครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งสมัชชาคนจน ณ ห้องแอลที 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา การที่สมัชชาคนจนปะทะกับนโยบายและกฎหมายของรัฐ โดยใช้รูปแบบที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย มีลักษณะท้าทายและไม่ค่อยได้เห็นกันนักอย่างการปิดถนนหรือยึดเขื่อนนั้นมีพลัง ทำให้รัฐบาลและสังคมเห็นถึงความไม่ยุติธรรมของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล ก่อให้เกิดการปรับตัวตั้งแต่ระดับรัฐ ที่มีการพูดถึงสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญ 2550 มีการเพิ่มกลไกรัฐอย่างการแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนมากขึ้นมาแก้ปัญหา รวมถึงมีการปรับนโยบายสาธารณะบางส่วนด้วย อย่างไรก็ตาม เขามองว่า การต่อสู้ดังกล่าวได้ก่อภาระตามมา นั่นคือการต้องเข้าสู่กระบวนการอาญา ไม่ว่าจะในขั้นของตำรวจ อัยการและศาล โดยยกตัวอย่างกรณีคดีบุกรุกที่ดินของชาวบ้าน 19 คนที่บ้านท่าหลุก จ.ลำพูน ซึ่งต้องโทษจำคุก 6 เดือนและพ้นโทษออกมาเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยหนึ่งในนั้นเสียชีวิตในคุก ขณะที่คนที่เหลือก็ต้องกลับมาอยู่ในที่ดินที่ผิดกฎหมายอีก เพราะไม่มีที่อยู่ นอกจากนี้ ยังมีกรณีคนงานโรงงานทอผ้ากรุงเทพ ที่ฟ้องคดีมาตั้งแต่ปี 2538 และมีการพิพากษาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยจากค่าเสียหายที่คนงานเรียกร้องไป 2 ล้านบาท สุดท้ายศาลตัดสินให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยคนงานราว 110,000 บาทต่อคน ขณะที่หากเป็นคดีของชนชั้นนำในสังคมไม่ว่าฝ่ายไหนก็มักหลุดคดีด้วยเทคนิคทางกฎหมาย อาทิ กรณีที่มีผู้กล่าวหาว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ครอบครองพื้นที่ป่าสงวนเขายายเที่ยง ปปช. ระบุว่าไม่สามารถสอบสวนคดีที่มีอายุเกิน 2 ปีหลังจากเกษียณได้ หรือคดีทุจริตที่ดินอัลไพน์ของนายเสนาะ เทียนทอง ที่ศาลยกฟ้องเนื่องจากหมดอายุความ นอกจากนี้ นายสมชายยังยกตัวอย่างกรณีชาวบ้านคนหนึ่งในภาคเหนือที่มีคดีทั้งสิ้น 49 คดี โดยหลุดไปแล้ว 47 คดี ซึ่งทำให้เห็นว่ากระบวนการอาญาทำให้คนในสังคมหรือคนตัวเล็กๆ ต้องแบกรับสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่เป็นธรรม ดังนั้นแล้ว นอกจากการต่อสู้กับนโยบายและคดีต่างๆ เรื่องสำคัญที่ต้องผลักดันก็คือ การยกเครื่องกระบวนการอาญา เพื่อให้ประชาชนสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่มีภาระหนัก ซึ่งหากผลักดันสำเร็จไม่เพียงแต่สมัชชาคนจนจะได้ประโยชน์ แต่ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ด้วย "กระบวนการทางอาญาเป็นกระบวนการที่ปรับตัวช้าที่สุดในทัศนะผม ช้ากว่าการต่อรองนักการเมือง" นายสมชายกล่าวและว่า การจะผลักดันเรื่องนี้ต้องอาศัยการรวมตัวจากประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อทำให้เป็นประเด็นที่กว้างขวาง รวมถึงสถาบันทางวิชาการต่างๆ และสภาทนายความต้องช่วยกันชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมามีผู้ถูกกระทำจากกระบวนการนี้มากเท่าใดด้วย ด้านนายสุรชัย ตรงงาม ทนายความจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ที่ผ่านมาเมื่อมีผู้ถูกดำเนินคดีมักถูกแยกส่วนไปจากขบวนการเคลื่อนไหว ซึ่งเขามองว่า ควรนับคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเสียสละเพื่อขบวน รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือครอบครัวของพวกเขาด้วย นอกจากนี้ นายสุรชัยแสดงความเห็นว่า การต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมของขบวนการประชาชนยังขาดการฟ้องคดีในเชิงรุก โดยที่ผ่านมา จะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการเยียวยาที่ปลายเหตุ เขาได้ยกตัวอย่างการฟ้องร้องในเชิงรุก เช่น กรณีที่มีการฟ้องคดีในข้อหาทำให้โลกร้อน ซึ่งมีการนำแบบจำลองมาใช้คำนวณค่าเสียหายซึ่งสูงเกินจริง อาจดำเนินการฟ้องร้องให้เพิกถอนการใช้แบบจำลองที่ไม่เป็นธรรมนี้ หรือกรณีพื้นที่ประมงที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์อาจผลักดันให้มีการประกาศ "พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม" ซึ่งจะช่วยยับยั้งการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ นายสุรชัยกล่าวถึงคดีต่างๆ ที่ขบวนการประชาชนต่อสู้อยู่ว่าจะสำเร็จได้ ต้องมีกฎหมายที่สนับสนุนการใช้สิทธิของประชาชน โดยหากกฎหมายใดไม่เปิดช่องดังกล่าวก็ควรได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ เสนอให้มีคณะทำงานเชิงคดี ที่เป็นการทำงานร่วมกันของชาวบ้าน ทนายความ เอ็นจีโอ และนักวิชาการ เพื่อร่วมมือกันใช้ข้อมูลของแต่ละฝ่ายในการต่อสู้คดีด้วย ขณะที่นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กล่าวว่า เมื่อเป็นคดีความกันแล้ว การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของคนจนนั้นเป็นเรื่องยากตั้งแต่การหาหลักทรัพย์ประกันตัว ตลอดจนหาเงินจ้างทนายสู้คดี เหมือนกับประชาชนแพ้ตั้งแต่ต้นเพราะไม่มีอำนาจต่อรอง ดังนั้น รัฐที่เป็นธรรมจะต้องทำให้คนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น นายไพโรจน์วิจารณ์ด้วยว่า กฎหมายที่มีอยู่นั้นไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้น โดยเมื่อกฎหมายเข้าข้างรัฐ ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษาก็มีความโน้มเอียงที่จะเข้าข้างรัฐตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ เมื่อชาวบ้านใช้พื้นที่ป่า โดยไม่มีเอกสิทธิ์ก็ตีความว่าเป็นการบุกรุกตามกฎหมาย โดยไม่พิจารณาถึงความเป็นมาของชุมชนในบริเวณนั้นๆ ด้านแนวทางแก้ไข เขาเสนอให้ประชาชนที่ต่อสู้ในประเด็นต่างๆ รวมตัวกันเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่างๆ โดยไม่ต้องรอ ส.ส.หรือรัฐบาลเสนอให้ สร้างกลไกระงับข้อพิพาทเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อให้มีมาตรการบางอย่างรองรับนอกจากการพิจารณาแต่ข้อกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ เขาระบุด้วยว่าคดีความต่างๆ นั้น ที่จริงแล้วสามารถระงับไม่ให้ไปถึงชั้นศาลได้ ซึ่งเป็นกระบวนการกฎหมายปกติที่ทำได้ เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรมได้จริง แต่ที่ผ่านมา กระบวนการเช่นนี้ไม่เกิดขึ้น ต่อคำถามเรื่องการตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาลนั้น นายไพโรจน์แนะนำว่า สามารถทำได้โดยการเข้าสังเกตการณ์การพิจารณาคดีในศาล เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลด้านคดีทั้งในชั้นตำรวจ อัยการและศาลต่อสาธารณะ ว่ามีการสั่งฟ้อง-ไม่ฟ้องกี่คดี ด้วยเหตุผลใด และมีการตัดสินจำคุกแล้วกี่ราย เพื่อให้เกิดการวิจารณ์ได้ รวมถึงควรมีการวิจารณ์คำพิพากษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการปรับตัวด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น