โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

แม่ทัพภาค 1 เผยที่ผ่านมาได้ประโยชน์จาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 13 Dec 2010 09:03 AM PST

ผบ.สส.ชี้เสียเวลามาหลายปีแล้ว อยากให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปด้วยความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ห่วงเรื่อง "จตุพร" ชี้แจง ด้านแม่ทัพภาค 1 ไม่ห่วงหากเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วแต่จะพิจารณา แต่ที่ผ่านมาได้รับประโยชน์จากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 
ผบ.สส.เผยเราเสียเวลามาหลายปีแล้ว อยากให้ประเทศเดินหน้า
วันนี้ (13 ธ.ค.) เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานโดยอ้างคำพูดของ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ซึ่งกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแนวโน้มจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ในส่วนของกองทัพคงไม่ต้องมีการปรับลดกำลัง หรือเปลี่ยนแผนการอะไร เราทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งหากประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ยังมีหน่วยงานด้านความมั่นคงอื่นๆ หรือกฎหมายปกติดูแลอยู่ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า หากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปแล้วก็ไม่ได้ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำงานยากขึ้น เพราะตามปกติก็ดูแลกันได้
 
“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการนำกฎหมายหลายๆ กระทรวง อำนาจแต่ละกระทรวงมารวมกันอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งให้มีผู้ดูแลในนาม ศอฉ.โดยนำเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ทั้งทหาร ตำรวจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เมื่อสถานการณ์กลับไปอยู่ในทิศทางที่ดี หรือไม่มีเหตุฉุกเฉินแล้ว หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.อำนาจต่างๆ เหล่านั้นก็กลับเข้ามาสู่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เหมือนเดิม และถ้าจะมีการร้องขอกำลังนอกเหนืออำนาจของแต่ละกระทรวง ก็จะมีการประสานงาน โดยมอบงานเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งมีภารกิจที่ดูแลเรื่องความมั่นคงภายใน ก็จะเป็นหน่วยงานหลักที่จะประสานการดำเนินการในโอกาสต่อไป”
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า วันที่ 19 ธ.ค.คนเสื้อแดงจะนัดชุมนุมทางการเมือง กองทัพมีความเป็นห่วงหรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่เป็นห่วง เพราะถ้าการชุมนุมเป็นลักษณะเพื่อการแสดงออก และอยู่ในกรอบของกฎหมาย ถ้าทุกคนเข้าใจว่าประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อไปและเคารพสิทธิของผู้อื่นก็ สามารถชุมนุมได้ ไม่มีปัญหา
 
“การแสดงออกมีทั้งการแสดงออกในสภา ในระบบของรัฐสภา และนอกสภา ซึ่งนอกสภานั้นก็ขอให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ไม่ไปรบกวนสิทธิ์ของผู้อื่น ส่วนกรณีที่อาจจะมีกลุ่มที่ต้องการป่วนหรือสร้างสถานการณ์นั้นก็คงต้องเตรียมการในเรื่องกำลังเพื่อป้องกันเหตุ ประชาชนทุกคนก็ต้องช่วยกันสอดส่องดูแล ผมคิดว่าทุกคนในชาติอยากจะให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไป อยากจะอยู่อย่างมีความสุข อยากจะมีปีใหม่ที่แจ่มใส ไม่ใช่ปีใหม่ที่สลัวๆ ถ้าเราอยากจะให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปเราก็ต้องทำ คิด ในสิ่งที่ดี ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันเหตุ ทั้งตำรวจ ทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำอยู่แล้ว”
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ภารกิจหนักจะอยู่ที่ กอ.รมน.หรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่มีใครมีภารกิจหนัก ภารกิจของคนไทยต้องเดินไปด้วยกันทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่ทิศทางที่ดีของประเทศชาติ จะปีใหม่แล้วพยายามมองประเทศชาติให้สดใสหน่อย
       
“ไม่ได้อยากฝากอะไรถึงใคร แต่อยากบอกแค่ว่าเราเสียเวลามาหลายปีแล้ว ตนอยากให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปด้วยความสามัคคีและอยากให้ทุกคนร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราช้ามาหลายปีแล้วที่จะก้าวหน้า ไม่ใช่หยุดแต่ไม่ก้าวหน้า แล้วเราทำไมจะต้องหยุด เราควรจะก้าวหน้าต่อไปเพื่ออนาคตของเรา อนาคตของลูกหลาน และอนาคตของประเทศไทย” พล.อ.ทรงกิตติ กล่าว
       
ส่วนที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ออกมาอ้างว่า ทหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของกลุ่มคนเสื้อแดง พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ตนไม่มีอะไรจะชี้แจง เพราะสังคมไทยอยู่ในการกล่าวหาและพูดจาในลักษณะนี้มานานแล้ว ตนก็มีหน้าที่ทำงานของตนอยู่ในกรอบของกฎหมายตามข้อบังคับต่างๆ ถ้าหากเราทำในสิ่งที่ดีแล้ว ประชาชนก็คงจะเข้าใจว่าเราทำอย่างไร ซึ่งตนคงไม่หวั่นไหว
 
ส่วนที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำหลักฐานไปเรียกร้องที่หน้าสถานทูต ญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยอ้างว่า ทหารเป็นคนทำให้นักข่าวชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า มีกระบวนการตรวจสอบ มีกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเลย ส่วนจะมีการชี้แจงหรือไม่นั้น ตอนนี้สถานทูตก็ยังไม่ได้เชิญให้กองทัพไปชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าว ซึ่งตนคิดว่า สถานทูตเข้าใจ
       
ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงและความ ร่วมมือในยุโรป (ซีเอสซีอี) ของสหรัฐอเมริกานั้น ผบ.สส.กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางไปหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเหมือนการพยากรณ์ว่าเรื่องนี้ เรื่องนั้นจะเกิดขึ้น มันยังไม่ได้เกิด จะห่วงอะไรไปถึงไหน ทั้งนี้ ข้อมูลต่างๆ ที่ออกมาก็พูดกันมาตลอด แล้วแต่จะมองในแต่ละแง่ แต่ตนใช้ข้อเท็จจริงมาใช้ในอนาคต
 
แม่ทัพภาคหนึ่งชี้ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ด้าน พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวถึงการดูแลความเรียบร้อยในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ และสถานการณ์ช่วงปีใหม่ หากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า ไม่มีปัญหาอะไร สุดแล้วแต่ผู้บังคับบัญชาจะพิจารณา หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะสะดวกในการปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลประกาศ เราได้ใช้ให้อยู่ในความเหมาะสมไม่กระทบกระเทือนประชาชนทั่วไป แต่กลับให้ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและความเรียบร้อย และส่งผลดีด้วยซ้ำไป แต่คงเป็นเรื่องความเหมาะสมที่รัฐบาลจะพิจารณาต่อไป ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 1 ได้นำข้อมูลเรียนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ไปแล้ว ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ ผ่านมานั้น คิดว่า ไม่น่ามีปัญหาอะไร ทางกลุ่มผู้ชุมนุมคงได้รับการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีความเข้าใจแล้ว ซึ่งคิดว่า จะสามารถผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย
       
ส่วนที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง จะนำเรื่องที่ทหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนไปร้องต่อคณะ กรรมาธิการของสหรัฐอเมริกานั้น พล.ท.อุดมเดช กล่าวว่า ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงพูดชัดเจนแล้ว เราพยายามอธิบายว่า ในการปฏิบัติทุกอย่าง ไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้น เรามีแต่จะปกป้องชีวิต ทรัพย์สินประชาชน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น ตนเชื่อว่า ประชาชนจะมีความเข้าใจ แต่บางส่วนที่อาจไม่เข้าใจ ต้องพยายามอธิบายให้เข้าใจ แต่สุดท้ายหวังว่า สิ่งที่ดีจะปรากฏขึ้น และทุกส่วนจะเข้าใจ ขอให้มั่นใจว่า ทางผู้บัญชาการทหารบก เป็นห่วงประชาชน ไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อน การปฏิบัติอยู่ในความรอบคอบ และอยู่ในกรอบที่เหมาะสม
       
ส่วนถึงความเหมาะสมกรณีที่กลุ่มเสื้อแดงไปยื่นข้อมูลพร้อมนำนกกระดาษ สีแดงไป ที่สถานทูตญี่ปุ่น เพื่อแสดงว่า ทหารมีส่วนทำให้นักข่าวญี่ปุ่นเสียชีวิต พล.ท.อุดมเดช กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะไปสื่ออย่างนั้น เพราะที่ผ่านมาได้ถูกพิสูจน์แล้ว และกำลังจะได้รับการพิสูจน์ต่อไป ตนยังยืนยันว่า ไม่มีสิ่งที่เกิดขึ้นจากทางทหาร เรารักประชาชน และเราคือประชาชน เราจะทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อประชาชนทำไม ผู้สื่อข่าวทั้งหมดร่วมกันติดตามข่าวสารเพื่อให้ความจริงปรากฏ ซึ่งทหารต้องดูแลทุกส่วนทั้งประชาชนและผู้สื่อข่าว ดังนั้น สิ่งที่ออกมาไม่เป็นความจริง ไม่ถูกต้อง ต่อไปคงจะได้รับการพิสูจน์
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ทีโอที" เปิดประมูล 3G ขายซอง 14-27 ธ.ค.นี้ เคาะราคา 28 ม.ค.ปีหน้า

Posted: 13 Dec 2010 08:46 AM PST

ทีโอทีประกาศเปิดขายซองประกวดราคาโครงการ 3G TOT ระหว่างวันที่ 14-27 ธ.ค.53 ให้ยื่นข้อเสนอ 10 ม.ค.2554 เคาะราคาอี-ออคชัน 28 ม.ค. 54 ก่อนเซ็นสัญญา 15-18 ก.พ. 54 หลังจากนั้น 180 วันใช้งานได้ทุกพื้นที่กทม.และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจรวมทั้งพิษณุโลก

 
วันที่ 13 ธ.ค.2553 นายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ประกาศร่างหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) โครงการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ทั่วประเทศแล้ว โดยเปิดขายซองเข้าร่วมประกวดราคา ตั้งแต่วันที่ 14 – 27 ธ.ค.นี้ และให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 10 ม.ค.2554 พร้อมวางเงินค้ำประกันซองหรือแบงการันตี 3% ของโครงการหรือประมาณ 500 กว่าล้านบาท โดยใช้วิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชัน) ในวันที่ 28 ม.ค.54 และคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ประมาณวันที่ 15-18 ก.พ. 2554 
 
สำหรับโครงการ 3G TOT ทั่วประเทศมูลค่า 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็นการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 17,440 ล้านบาท งบสำรองโครงการมูลค่า 540 ล้านบาท และการปรับปรุงโครงข่ายเดิมของเอทีซี โมบายจาก 2G เป็น 3G มูลค่า 2,000 ล้านบาท
       
ทั้งนี้การประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ประกอบด้วย ระบบโครงข่ายหลักจำนวน 1 ระบบ (Core Network) ระบบสถานีฐาน (UTRAN) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) และอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย โดยสถานที่ติดตั้งเซลไซต์มาจาก 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นโครงข่ายเดิมของทีโอทีที่มีอยู่แล้ว 2.เป็นการใช้โครงข่ายร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น (Co-Network) และ 3.เป็นโครงข่ายที่สร้างใหม่
 
นายกำธรกล่าวถึงเงินกู้ในโครงการนี้ว่า จะเลือกแหล่งเงินกู้ที่ดีที่สุดระหว่าง 1.ทีโอทีกู้เองจากสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนธุรกิจเสนอต่อแหล่งเงินกู้ 2.เป็นข้อเสนอที่มากับข้อเสนอเทคนิคของผู้เข้าประมูล แต่จะไม่นำข้อเสนอด้านเงินกู้มาพิจารณาประกอบ หากเทคนิคผ่านตามข้อกำหนดก็จะเข้าสู่ขั้นตอนอี-ออกชั่นต่อไป โดยคาดว่าจะมีซัปพลายเออร์ 4-5 รายให้ความสนใจคือโนเกีย-ซีเมนส์ อีริคสัน อัลคาเทล หัวเว่ย แซดทีอี
 
ทั้งนี้ ภายหลังจากการเซ็นสัญญากับผู้ที่ชนะการประมูล เฟสแรกและเฟสที่ 2 จะต้องเปิดให้บริการภายใน 180 วันหรือราวเดือน ส.ค.2554 ในกรุงเทพฯ ทุกพื้นที่ ปริมณฑล 4 จังหวัด และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย ส่วนเฟสสุดท้ายจะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ อีก 59 จังหวัด ภายใน 360 วัน โดยทีโอทีจะพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและมีศักภาพในการสร้างรายได้
 
นายกำธรกล่าวถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นผู้ขายส่งบริการ (MVNO) ว่านอกจาก 5 รายเดิมที่เซ็นเอ็มโอยูรายละ 6 เดือนและเริ่มทำตลาดมาได้สักระยะมีลูกค้าในระบบแล้วประมาณ 2.4 แสนรายแล้วทีโอทียังอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัท สวัสดี ที่จะมาเป็น MVNO รายที่ 6 นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างคัดเลือกที่ปรึกษาด้าน MVNO ให้ทีโอที ซึ่งคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จในไตรมาสแรกปี 2554 และหลังจากนั้นก็จะทำสัญญาระยะยาวกับ MVNO
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"กอ.รมน." ประชุมถกแผนรักษาสงบแทน "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

Posted: 13 Dec 2010 08:28 AM PST

“ผบ.ทบ.” เรียก “กอ.รมน.” ถกแผนรักษาความสงบแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หวังดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงปีใหม่ ด้าน ผบ.ตร.เข้าหารือ “สุเทพ” ก่อน ครม.พิจารณายกเลิกประกาศ พ.ร.ก. ขณะ “ปณิธาน” เผยรัฐบาลเล็งตั้งกรรมการหรือศูนย์ฯ หลังยุบ ศอฉ.เพื่อความมั่นใจให้ประชาชนที่ยังกังวลใจเรื่องการชุมนุมทางการเมือง 

 
ไทยรัฐออนไลน์  รายงานวันนี้  (13 ธ.ค.53) ว่า ภายหลังจากที่ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีมติเสนอให้รัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (รอง ผอ.รมน.) และพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน.ได้เรียกเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.เข้าประชุมเพื่อหารือในการจัดทำรายละเอียดแผนรักษาความสงบเรียบร้อย ก่อนเสนอให้คณะกรรมการ กอ.รมน.ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน.เป็นประธานมีมติเห็นชอบ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงมาตรา 7 วรรค 2 ที่ให้ กอ.รมน.มีอำนาจวินิจฉัยสถานการณ์ เสนอแนะมาตรการ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อเสนอต่อครม.ให้ความเห็นชอบเพื่อให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น 
 
สำหรับแผนดังกล่าวจะกำหนดให้ กอ.รมน.เป็นกลไกในการบูรณาการแผนของส่วนราชการต่างๆ ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่ให้ กอ.รมน.มีบทบาทเป็นองค์กรกลางในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติ ในการนำนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ และวาระเร่งด่วนแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ในแผนดังกล่าวจะกำหนดไว้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในพื้นที่สำคัญๆ การใช้กำลังจากทุกส่วนราชการในการดูแลรักษาความสงบในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ขั้นที่ 2 คือการประกาศพื้นที่ความมั่นคง และมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) มีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามกฎหมายกำหนด และขั้นตอน 3.ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ให้มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางกอ.รมน. ต้องการให้แผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบก่อน จึงจะมีการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน 4 จังหวัดที่เหลือ คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี หรือ เป็นการเสนอให้ ครม.เห็นชอบในคราวเดียวกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงปีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อนหรือไม่ เพราะถือเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี
 
 
วิเชียรเผยหารือ “สุเทพ” เรื่องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เนชั่นทันข่าว  รายงานว่า วันเดียวกัน (13 ธ.ค.53) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.เดินทางเข้าพบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ตึกบัญชาการหนึ่ง ทำเนียบรัฐบาลโดยใช้เวลาเข้าพบหนึ่งชั่วโมง จากนั้นเวลา 16.30 น.พล.ต.อ.วิเชียรให้สัมภาษณ์ว่า ตนเข้าพบนายสุเทพเพื่อรายงานและหารือสถานการณ์ต่างๆ ก่อนที่ ครม.จะพิจารณายกเลิกการประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กทม.และจังหวัดใกล้เคียง เพราะนายสุเทพเป็นห่วงเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ และการจัดงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ที่แยกราชประสงค์นั้นในปีนี้จะจัดงานแน่นอน ซึ่งได้มีการเตรียมแผนการไว้แล้ว เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้หารือกับฝ่ายความมั่นคง รวมทั้งประสานกับภาคเอกชนแล้ว โดยนายสุเทพกำชับว่า สามหน่วยงานจะต้องร่วมกันจัดแผนการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 25 ธ.ค. 
 
เมื่อถามว่าการสรุปแผนการในวันดังกล่าวนั้นจะทันหรือไม่ ผบ.ตร.กล่าวว่า ตอนนี้กำลังดำเนินการและน่าจะเสร็จก่อน เพราะตนสั่งการตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วและมีการประชุมเบื้องต้นแล้วว่าจะดำเนินการอย่างไร 
 
“แผนรักษาความปลอดภัยเดิมนั้นใช้ตำรวจ 4,000-5,000 นายส่วนใหญ่เป็น ตชด., กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, ภาค 2, ภาค 7 ส่วนจะขอกำลังเสริมจากทหารหรือไม่นั้น ได้หารือกับ ผบ.ทบ.บ้างแล้วในการประชุม ศอฉ.ซึ่งอาจขอกำลังสำรองจากกองทัพภาคที่ 1 รวมทั้งวัตถุอุปกรณ์ เช่นเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ซึ่งได้แจ้ง รมว.กลาโหมเพื่อขอยืมเครื่องมือจากศรภ.แล้ว” ผบ.ตร.กล่าว 
 
เมื่อถามว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่มากมายแบบนี้ บรรยากาศจะน่ากลัวหรือไม่ ผบ.ตร.กล่าวว่า ยืนยันว่าจะไม่ทำให้บรรยากาศการเคานต์ดาวน์น่ากลัว เพราะประชาชนที่มาร่วมงานนั้นมีนับแสนคนและเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนคงจะไม่ใส่เครื่องแบบ และจะไม่มีการพกพาอาวุธไปในพื้น
 
 
"รัฐบาล" เล็งตั้งกรรมการหรือศูนย์ฯ หลัง ยุบศอฉ.
เนชั่นทันข่าว  รายงานด้วยว่า นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ตนยืนยันว่าการยกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นไปตามสถานการณ์ที่ดีขึ้นแต่เพื่อความมั่นใจให้ประชาชนที่ยังกังวลใจเรื่องการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนว่ามีการชุมนุมเป็นระยะๆ ดังนั้นทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กำลังพิจารณาและเสนอกลไกเพื่อการเฝ้าระวัง ทั้งนี้ อาจจะมีการคณะกรรมการหรือศูนย์ขึ้นมาแก้ไขสถานการณ์ให้เป็นไปตามหมวด 1 ของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ต้องมีการเผ้าระวังและป้องกันให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อกลไกรองรับสถานการณ์ต่างๆ เรียบร้อย 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สมยศ” เล็งแจ้งความ “อภิชาต” ทำผิดกฎหมายคดียุบ ปชป.

Posted: 13 Dec 2010 07:34 AM PST

“สดศรี” โยน “อภิชาต” ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตัดสินยื่นซ้ำคดียุบ ปชป.หรือไม่ ชี้กกต.ไม่มีอำนาจแล้ว ส่วน “สมยศ” แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เตรียมแจ้งความกองปราบฟ้อง “อภิชาต” ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ 16 ธ.ค.นี้

วันนี้ (13 ธ.ค.2553) นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยอาจยื่นคำร้องมายังกกต.เพื่อให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคประชาธิปัตย์ในคดีเงินบริจาค 258 ล้านอีกครั้ง ว่า เป็นเรื่องของนายทะเบียนพรรคการเมือง เพราะพวกตนเป็นแค่ลูกน้องของนายอภิชาต สุขัคคานนท์  ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งกกต. 4 คนเป็นแค่ กกต.ตัวเล็กๆ เท่านั้นคงไม่มีอำนาจอะไร ดังนั้นนายอภิชาตจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งรับรองอำนาจในการยุบพรรคเป็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้แล้ว 
 
นางสดศรี กล่าวว่า ในการประชุมกกต.ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ไม่ได้มีวาระเพื่อหารือภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากข้อกล่าวหารับเงินบริจาค 258 ล้านบาทแต่อย่างใด เพราะต้องขึ้นอยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองว่าจะว่าอย่างไร เพราะทาง กกต.ไม่มีอำนาจแล้ว 
 
เมื่อถามว่า หากศาลมีคำวินิจฉัยในคดี 258 ล้านบาททั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจะถือว่ายุติเรื่องหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า เดี๋ยวต้องรอดูคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการก่อน ส่วนขั้นตอนจากนี้ในส่วนของ กกต.นั้นคงต้องถามนายทะเบียนพรรคการเมืองเพียงผู้เดียว เพราะมติของ กกต.ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรแล้วจึงขึ้นอยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมือง 
 
เวลา 18.00 น.ในวันเดียวกัน นายสมยศ พฤษาเกษมสุข แกนนำ 24 มิถุนาประชาธิปไตย เปิดเผยว่า กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย โดยตนเองพร้อมทนายความ จะเดินทางเข้าแจ้งความที่กองบังคับการกองปราบปราม ในเวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 16 ธ.ค.นี้ เพื่อฟ้องร้องนายอภิชาติ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ถูกศาลวินิจฉัยว่ากระทำผิดขั้นตอน ไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ก่อนส่งให้ กกต.พิจารณา คดีกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท และคดีรับเงินบริจาค จำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัททีพีไอฯ ซึ่งถือเป็นความผิดในข้อหาปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบผิดกฎหมายอาญา มาตรา 157
 
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทั้ง 2 คดี เนื่องจากศาลเห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองกระทำการผิดขั้นตอนของกฎหมาย ไม่มีความเห็นให้ยุบพรรค ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ผิดพลาดของนายอภิชาต
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“จตุพร” ฟ้องผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่มิชอบ คดีหมิ่น “อภิสิทธิ์”

Posted: 13 Dec 2010 07:03 AM PST

“จตุพร” ส่งทนายฟ้อง “ผู้พิพากษาอาวุโส” ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เหตุไม่ให้โอกาสในการอ้างพยานบุคคลเข้าสืบ คดี “อภิสิทธิ์” ฟ้องหมิ่น ศาลนัดฟังคำสั่งจะรับคดีไว้ไต่สวนหรือไม่ 22 ธ.ค.นี้

 
วันนี้ (13 ธ.ค.2553) เมื่อเวลา 16.20 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มอบอำนาจให้ นายคารม พลทะกลาง ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมศักดิ์ วงศ์ยืน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200             
 
คำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องนายจตุพร ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา รวม 3 สำนวน และคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายจตุพร กับพวกรวม 3 คน ในคดีหมายเลขดำที่ อ.177/2551 ในความผิดฐานร่วมกันดักฟังโทรศัพท์ ซึ่งคดีดังกล่าวศาลได้กำหนดวันนัดสืบพยานไว้แล้ว 
 
คำฟ้องระบุด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 แต่ระหว่าง กรกฎาคม 2552-ธันวาคม 2553 จำเลยในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ได้มีเจตนาพิเศษในการพิจารณาคดี โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2547 จำเลยเชิญนายอภิสิทธิ์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้น กล่าวคำอวยพรในงานมงคลสมรสของบุตรสาวจำเลย ที่แสดงออกถึงความสนิทสนมกันระหว่างนายอภิสิทธิ์กับจำเลย อันเป็นการมีอคติและลำเอียงให้แก่นายอภิสิทธิ์ ที่เป็นคู่ความกับโจทก์ ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกับโจทก์ต้องเสียไป ซึ่งการพิจารณาคดีที่นายอภิสิทธิ์ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยได้ตัดสิทธิไม่ให้โจทก์เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ ไม่ให้โอกาสโจทก์ในการอ้างพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างตามสมควรในแต่ละประเด็น ทั้งที่เป็นคดีอาญาซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 
   
ทั้งนี้ โจทก์ได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อประธานศาลฎีกา และยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้เปลี่ยนผู้พิพากษาแล้ว แต่จำเลยยังคงปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาอยู่ จึงนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาล
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีดังกล่าวศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดฟังคำสั่งว่าจะรับคดีไว้ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ วันที่ 22 ธ.ค.นี้ ส่วนคดีที่ นายจตุพร ถูกนายอภิสิทธิ์ฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาทนั้น ศาลนัดฟังคำตัดสินในวันที่ 17 ธ.ค.53 
 
สำหรับคดีที่ที่นางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ ภรรยานายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจตุพร ฐานหมิ่นประมาท กรณีระหว่างวันที่ 23-25 ก.ค.53 นายจตุพรให้สัมภาษณ์ทำนองว่าโจทก์ใช้อำนาจของสามีเรียกรับเงินจากนักธุรกิจคนหนึ่งจำนวน 150,000 บาท โดยรับปากว่าจะช่วยเหลือคดีที่นักธุรกิจคนดังกล่าวถูกเรียกคืนภาษีย้อนหลัง 1.7 ล้านบาท ทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะเข้าไกล่เกลี่ย โดยนัดเจรจาอีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.54 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“กองทุนพัฒนาสื่อ” ขจัดสื่อตัวร้ายให้เป็นสื่อสร้างสรรค์

Posted: 13 Dec 2010 04:03 AM PST

หลากความเห็นต่อความสำคัญ และการดำเนินการที่ควรจะเป็นของ “(ร่าง) พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ซึ่งผ่านมติรัฐมนตรีเข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว

 
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางในปัจจุบัน สร้างทั้งโอกาสและผลกระทบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนกว่า 26 ล้านคนในวันนี้ และเป็นอนาคตของประเทศในวันหน้า แต่สถานการณ์ปัจจุบัน พื้นที่ “สื่อ” ที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนยังมีอยู่น้อยเกินไป จากมุมมองและข้อจำกัดของผู้เกี่ยวข้อง คนหลายภาคส่วนของสังคมจึงร่วมกันผลักดันให้มี “กองทุนพัฒนาสื่อ” เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสรรค์สื่อดีที่เหมาะสมให้เพิ่มมากขึ้น ลบภาพสื่อตัวร้ายให้เป็นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย สำหรับเยาวชนและคนไทย 
 
ขณะนี้ “(ร่าง) พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ผ่านมติรัฐมนตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว และไม่ว่ากองทุนนี้จะออกมาในชื่ออะไร มีหลายเสียงของผู้ร่วมผลักดันและผู้ที่ต้องการเห็นสื่อดีเพื่อสังคมให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญและการดำเนินการที่ควรจะเป็นเมื่อกองทุนนี้เกิดขั้นได้จริง อาทิเช่น
 
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันโอกาสที่จะเกิดสื่อดีๆ มีน้อยมากเพราะกลไกตลาดเข้าไปทำให้สื่อนั้นไปตอบสนองเรื่องการขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาต่างๆ อยู่เต็มไปหมด จึงต้องอาศัยกลไกอื่น และไปได้แนวคิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์มาจากโมเดลของประเทศเกาหลีและอีกหลายๆ ประเทศ โดยกองทุนสื่อสร้างสรรค์เป็นกลไกหนึ่ง ที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่มาเป็นตัวหนุนให้เกิดการผลิตเนื้อหา หรือเป็นตัวหนุนให้เกิดคนที่จะมาร่วมพัฒนาเนื้อหาให้เกิดขึ้นจำนวนมาก เน้นบทบาทในการหนุนเสริมและสนับสนุนขบวนการ ส่วนบทบาทในเชิงของการควบคุม การกำกับดูแลเนื้อหา ควรเป็นบทบาทของส่วนราชการที่มีหน้าที่ควบคุมกฎหมาย หลักเกณฑ์ ซึ่งตัวอย่างทั้งในเกาหลี หรือในอังกฤษ ชัดเจนว่า กองทุนสื่อสร้างสรรค์มักอยู่นอกภาคราชการ เพราะในระยะยาวบทบาทภาครัฐควรต้องโปร่งใส รัฐทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบาย การติดตามหรือการใช้บังคับกฎหมาย ทีนี้ในแนวคิดของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ เป็นการไปทำงานของภาคสังคม ไปทำงานกับภาคผู้ผลิต เพราะฉะนั้นสองส่วนนี้ไม่น่าจะอยู่ในส่วนของราชการ
 
สิ่งที่ต้องตระหนักในปัจจุบัน คือ สื่อได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเด็ก เยาวชน หรือสังคมโดยรวมมากขึ้น สื่อไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการพัฒนาสังคมหรือการเรียนรู้ กองทุนสื่อสร้างสรรค์จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะเข้ามาต่อทำให้กระบวนการขับเคลื่อนไปได้ การสร้างสื่อการเรียนรู้ในสังคมเป็นเรื่องใหญ่ อยากให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมและผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ปล่อยให้ทางหน่วยงานราชการหรือหน่วยใดหน่วยหนึ่งเป็นผู้ผลักดัน ทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะประสบความสำเร็จ
 
ในมุมของคนผลิตสื่อ “พี่ซุป” นายวิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ ผู้ผลิตรายการ ซูเปอร์จิ๋ว กล่าวว่า จากที่ทำงานตรงนี้มา 20 ปี เข้าใจความยากลำบากของคนที่อยู่ตรงนี้คือ สวนทางกันระหว่างความเป็นจริงกับสิ่งที่อยากให้เป็น แม้เราอยากทำรายการที่ให้เด็กมีคุณภาพที่ดีหรือว่าทำรายการที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก แต่รายการที่ไม่มีเรทติ้งก็ไม่มีคนซื้อโฆษณา เมื่อไม่มีโฆษณาจะเอางบที่ไหนมาทำรายการให้ได้ดี มันก็เป็นวังวนที่ยากลำบาก ถ้ามีกองทุนสื่อเกิดขึ้นจะทำให้ความกังวลตรงนี้เบาบางลง ทำให้คนทำรายการมีพลังคิดงานอย่างสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ในมุมมองของคนทำสื่อเชื่อว่ากองทุนนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในกระบวนการผลิตสื่อ พัฒนาคุณภาพสื่อ และแก้ปัญหาช่องทางในการออกอากาศด้วย และเห็นด้วยที่กองทุนนี้จะออกมาในรูปแบบหน่วยงานอิสระ ที่มีคณะกรรมการจากกลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์ตรงและมีความเข้าใจในวิชาชีพนี้โดยตรงมาทำหน้าที่ เพื่อพิจารณาคุณภาพให้ออกมาตรงตามใจของผู้บริโภคด้วย
 
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ให้มุมมองว่า อยากเห็นกองทุนนี้มีอิสระ มาจากคนหลายกลุ่ม และทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ชื่อกองทุนมีคำสำคัญอยู่ 2 คำ คือ คำว่า ปลอดภัยและคำว่าสร้างสรรค์ สองคำมีน้ำหนักและแนวทางในอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน คำว่า “สร้างสรรค์” ลักษณะของกองทุนนี้จะออกมาในลักษณะของทุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ให้มีสื่อดีมากยิ่งขึ้น สื่อดีที่ว่านี้คงหมายถึงสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เยาวชน และสังคม เพื่อให้เกิดค่านิยมแบบใหม่ในการรณรงค์ทางวัฒนธรรมในรูปของการส่งเสริม แต่ถ้ากองทุนมีน้ำหนักไปทางสื่อปลอดภัย คำว่า “ปลอดภัย” เป็นคำที่มีความคิดเห็นสูง ปลอดภัยนั้นหมายถึงใคร เป็นคำที่เปิดช่องทางให้เกิดการเซ็นเซอร์ ปิดกั้นการแสดงความแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี คำว่าปลอดภัยและสร้างสรรค์ถ้าจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม อยากให้คำว่าปลอดภัยตัวเล็กๆ คำว่าสร้างสรรค์ตัวใหญ่ๆ ก็น่าจะดี เพราะในยุคสมัยนี้เราไม่สามารถปิดกั้นสื่อได้ 
 
ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีทัศนคติเชื่อว่าต้องกรองข่าวสารในอินเทอร์เน็ต เพราะว่าสื่อบางอย่าง เนื้อหาบางเรื่องเป็นพิษเป็นภัยต่อเยาวชน เช่น เป็นเรื่องของการลามกอนาจารชัดเจน เป็นเรื่องของการละเมิดความมั่นคงของรัฐ ก็สามารถมีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจนได้ แต่หากเป็นเรื่องที่ใช้ดุลยพินิจมาก ก็จะมีปัญหาว่าใครคือผู้ใช้ดุลพินิจ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็แปลว่า ประชาชนหรือสังคมกำลังยกให้รัฐเป็นคนมาตัดสินแทนประชาชน ถ้าดุลยพินิจของรัฐออกมาในทางรัฐนิยมมากๆ ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย แต่ถ้าเน้นหนักคำว่าสร้างสรรค์ แปลว่าเรายอมรับที่จะมีสื่อจำนวนหนึ่งที่เราอาจจะตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสื่อที่ปลอดภัยหรือไม่สำหรับประชาชน โดยเราเลือกที่จะไม่ปิดกั้น แต่เลือกที่จะใช้อีกวิธีหนึ่งคือ สนับสนุนสื่อที่เป็นทางเลือกสำหรับครอบครัว สำหรับเด็กและเยาวชน เลือกสรรเสพสื่อที่จะทำให้เกิดจินตนาการ เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาตนเองและสังคม น้ำหนักของคำจึงเป็นหัวใจ คำว่าสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทิศทางที่จะนำพาประเทศ นำพาสังคมไทยไปสู่จุดหมายได้ 
 
ประเด็นสำคัญ กองทุนนี้ควรปลอดการแทรกแซงจากรัฐ ในเรื่องของตัวองค์กร ถ้าอยู่ภายใต้ภาครัฐต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหาร แต่ก็อาจถูกแทรกแซงโดยรัฐได้ง่าย แต่ถ้าอยู่นอกภาครัฐ ต้องตั้งคณะกรรมการอิสระโดยมีกลไกในการคัดเลือกคนที่จะมาทำหน้าที่จากหลายฝ่าย เช่น เสียงของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เสียงของภาคธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ จะทำให้ได้คณะกรรมการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น มีความเป็นอิสระและมีความเป็นเสรีจากรัฐ และในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นที่จะต้องออกจากกฎระเบียบในการจัดสรรเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับสื่อนี้ให้มีลักษณะการจัดการบริหารเงินทุนอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
 
อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่า “กองทุนพัฒนาสื่อฯ” น่าจะเกิดขึ้นได้ในไม่ช้า และหากเราทุกคนต้องการให้กองทุนนี้เกิดขึ้นอย่างที่ทุกคนต้องการในฐานะ “ผู้บริโภค” และต้องการขจัดสื่อตัวร้ายให้เป็นสื่อสร้างสรรค์ ก็ควรร่วมกันจับตา ติดตาม และแสดงความคิดเห็นเสียงดัง ๆ ไปถึงผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายนี้ ซึ่งล่าสุด กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในขบวนการผลิตสื่อทุกภาคส่วนจะได้มาร่วมกันระดมความคิดเห็นใน เวทีสาธารณะ จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ ที่ โครงการจับตากองทุนสื่อฯจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมเอเชีย
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: ตอนที่ 5 ระบบศาลไม่มีใบสั่งจริงหรือ?

Posted: 13 Dec 2010 03:50 AM PST

ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม ตอนที่ 5 ระบบศาลไม่สามารถมีใบสั่งจริงหรือ?

จากโครงสร้างของผู้พิพากษานอกจากจะเกิดเครือข่ายของผู้พิพากษาแล้ว โครงสร้างและการเลื่อนตำแหน่ง ได้ก่อให้เกิด "สายการบังคับบัญชา" ขึ้นในโครงสร้างผู้พิพากษาของศาลไทย ในโครงสร้างนี้ ได้ทำให้ประธานศาลฎีกา เป็นส่วนยอด ไม่ใช่ส่วนยอดของศาลฎีกาเท่านั้น หากแต่เป็นส่วนยอดของศาลทั่วประเทศ ทุกชั้นศาล
 
ดังที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ศาลมี 3 ชั้น ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ศาลชั้นต้นแบ่งเป็นศาลจังหวัดและศาลแขวง มีหัวหน้าศาลเป็น "ผู้บริหาร" ผู้พิพากษาอื่นเรียกว่า "ลูกศาล"
 
ในส่วนของศาลชั้นต้นซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ ได้แบ่งเป็นภาค ดูเหมือนจะมีอยู่ 8 หรือ 9 ภาคกระจายอยู่ทั่วประเทศ อยู่ภายใต้ "อธิบดีภาค" แต่ละภาค ส่วนในกรุงเทพฯ ศาลใหญ่ 6 ศาล ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี ศาลใหญ่เหล่านั้นไม่มีหัวหน้าศาล ผู้บริหารของศาลเป็น "อธิบดี" เป็นอธิบดีที่ตำแหน่งสูง(ทางศาลเรียก "อาวุโสสูง")กว่าอธิบดีภาค กล่าวกันว่า อธิบดีศาลใหญ่เหล่านั้น มีตำแหน่งเทียบเท่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ การบริหารภายในศาลใหญ่เหล่านั้น แบ่งผู้พิพากษาเป็นคณะ หัวหน้าคณะมีตำแหน่งสูงหรืออาวุโสสูงกว่าหัวหน้าศาลจังหวัด
 
ในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็แบ่งเป็นคณะ มีหัวหน้าคณะเช่นกัน สำหรับศาลฎีกา ได้มีการแบ่งแผนกด้วย เช่น แผนกคดีแรงงาน ฯลฯ เป็นต้น จึงมีหัวหน้าแผนกเป็นผู้ควบคุม หัวหน้าคณะอีกที
 
ในการพิจารณาคดี ตลอดจนการทำคำพิพากษา กม.กำหนดให้ต้องมีองค์คณะ เป็นจำนวนผู้พิพากษาที่ประกอบกันขึ้นเป็นศาล หรือจะเรียกอีกอย่างว่า "องค์ประชุม" ก็คงไม่ผิด ในศาลชั้นต้นต้องมีอย่างน้อย 2 คน ส่วนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาต้องมีอย่างน้อย 3 คน ในศาลจังหวัดคณะหนึ่งจึงมีผู้พิพากษา 2 คน แต่ศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ คณะหนึ่งมีผู้พิพากษา 3 คนเป็นอย่างน้อย ส่วนใหญ่จะมีไม่ต่ำกว่า 5 คน เพราะมีผู้พิพากษาฝึกงาน(ผู้ช่วยผู้พิพากษา)ด้วย 
 
ในการพิจารณาคดี หัวหน้าศาลจังหวัด จะเป็นผู้แจกสำนวนให้ผู้พิพากษาลูกศาลแต่ละคนเป็นผู้พิจารณาคดีในแต่ละคดี คดีความแต่ละคดีจึงเกิดผู้พิพากษา 2 ประเภทในคดีเดียว คือ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะ แต่หัวหน้าศาลสามารถเป็นองค์คณะของผู้พิพากษาในศาลจังหวัดตนได้ทุกคณะ หรือจะพิจารณาคดีนั้นๆ เองก็ได้โดยถือว่าหัวหน้าศาลเป็นเจ้าของสำนวน
 
ศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ อธิบดีหรือรองฯ(คนที่อธิบดีมอบหมาย--รองอธิบดีมีได้หลายคน) จะเป็นคนแจกสำนวนส่งไปให้แต่ละคณะ แล้วให้หัวหน้าคณะจัดสรรเอง
 
เมื่อเกิดปัญหา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสามารถขอคำปรึกษาได้ ในศาลจังหวัดจะปรึกษาหัวหน้าศาล ในกรุงเทพฯเท่าที่เคยเห็น เป็นการปรึกษาอธิบดี
 
ในการพิพากษาคดี (เจ้าของสำนวนจะเป็นคนร่างคำพิพากษา แล้วให้องค์คณะดู หากเห็นด้วยก็ลงชื่อในต้นร่าง จากนั้นก็ให้เจ้าหน้าที่ศาลพิมพ์ส่งให้เจ้าของสำนวนตรวจทานอีกที) กม.กำหนดให้ถือเอาเสียงข้างมากของ ผู้พิพากษา แต่ก็ให้สิทธิเสียงข้างน้อยทำความเห็น "แย้ง" ได้ ยกเว้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ห้ามทำความเห็นแย้ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีองค์คณะเพียง 2 คน เสียงข้างมากจึงไม่ต่างจากเสียง เอกฉันท์ จึงมักจะไม่ค่อยเห็นความเห็นแย้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรืออย่างน้อยผมก็ไม่เคยเห็น
 
ในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา กม.กำหนดให้เป็นอำนาจของประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลฎีกา ที่จะสั่งให้คดีใดพิพากษาโดยผู้พิพากษาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ทุกคน เต็มทั้งศาลก็ได้ ในกรณีศาลฎีกา เรียกคำพิพากษาแบบนี้ว่า "ฎีกาประชุมใหญ่"
 
ในอีกด้าน ผู้พิพากษาแต่ละคน (อันนี้ไม่เว้นแม้แต่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา) ต่างก็มีสำนวนคดีของตนเองที่ต้องเขียนคำพิพากษา และต่างก็เป็นองค์คณะของผู้พิพากษาคนอื่น
 
เช่นนี้ การทำความเห็นแย้งจะไม่เสียความสัมพันธ์กับผู้พิพากษาคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เป็น เจ้าของสำนวน และจะมีผลกระทบอะไรต่อสำนวนของตนที่เขาเป็นองค์คณะบ้าง??

การที่หัวหน้าศาลจังหวัดหรือหัวหน้าคณะของศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ เป็นคนแจกจ่ายสำนวนให้ผู้พิพากษาคนใดทำในฐานะเจ้าของสำนวน และยังสามารถเป็นองค์คณะของผู้พิพากษาในสำนวนคดีใดก็ได้ ไม่ได้มีส่วนต่อคำพิพากษาของศาล???

ในโครงสร้างของศาลชั้นต้นที่แบ่งเป็นภาค มีอธิบดีคุมหัวหน้าศาล อธิบดีสามารถเรียกตรวจสำนวนคดีใดก็ได้ที่อยู่ในภาคของตน สั่งให้ผู้พิพากษาส่งร่างคำพิพากษาให้ตรวจก่อนได้ ไม่ใช่สายการบังคับบัญชา??

หัวหน้าศาลจังหวัดหรือหัวหน้าคณะไม่ใช่ ผู้บังคับบัญชาของผู้พิพากษาระดับล่างของตน???
 
เช่นนี้ ผู้พิพากษาแต่ละคนอิสระจริง??

ผู้พิพากษาแต่ละคนมีดุลพินิจอิสระจริง???

หากถือว่าหัวหน้าศาลจังหวัด หัวหน้าคณะของศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ ตลอดจนอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้พิพากษาระดับล่าง แล้วผู้พิพากษาระดับสูงกว่า อย่าง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา หัวหน้าคณะในศาลฎีกา หัวหน้าแผนกในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา จนถึงประธานศาลฎีกา

ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของผู้พิพากษาระดับล่างในศาลจังหวัดและศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ????
 
เมื่อย้อนกลับไปดูถึงสายใยเครือข่ายผู้พิพากษาประกอบ ย่อมเกิดคำถามคือ
 
หากผู้พิพากษาระดับสูงเหล่านี้ มีคำสั่งลงมา ผู้พิพากษาระดับล่างกล้าไม่ปฏิบัติตาม????

ในระบบเช่นนี้ องค์คณะของผู้พิพากษา สามารถถ่วงดุลและตรวจสอบ ดุลพินิจ ของเจ้าของสำนวน????

ในระบบเช่นนี้ หากหัวหน้าศาลจังหวัดหรืออธิบดีศาลใหญ่ในกรุงเทพฯ ต้องการกำหนดผลคดีล่วงหน้า จะไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและองค์คณะที่อยู่ในเครือข่ายของตน

ไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและองค์คณะที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ที่สามารถ "สั่งได้"

ผู้พิพากษาระดับล่างที่เป็นเจ้าของสำนวนและองค์คณะ สามารถคัดขืนไม่ปฏิบัติตาม "คำสั่ง"??
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้พิพากษาคนนั้นๆหวังจะได้รับการ "เลื่อนตำแหน่ง" 

ระบบเช่นนี้ แตกต่างอะไรกับกระทรวงอื่นที่มีสายการบังคับบัญชาจากยอดที่ ปลัดกระทรวง ลงมาจนถึงเสมียนซี 1
 
สุดท้ายคงต้องถามว่า
ในระบบเช่นนี้ องค์กรศาลไม่สามารถมี "ใบสั่ง" จริงหรือ???
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม: "แดงฝาง" ฉลองวันรัฐธรรมนูญ ร้อง "ประชาธิปไตย" ไว้อาลัยรัฐธรรมนูญ

Posted: 13 Dec 2010 03:14 AM PST

ชมรมคนรักฝาง แม่อาย ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญ ที่สถานีวิทยุชุมชน 93 MHZ บ้านสันทรายคลองน้อย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา

 
งานนี้มีทั้งการติดตามการถ่ายทอดสด การอภิปราย ชุมนุมที่ กทม.พร้อมทั้งกินข้าว สังสรรค์ ปราศรัย จุดเทียน และปล่อยโคมลอย
 
 
 
 
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประมวลภาพ: งานปีใหม่ไต "เมืองลา" รัฐฉานตะวันออก

Posted: 13 Dec 2010 02:40 AM PST

วันนี้ (13 ธ.ค.53) เว็บไซต์คนเครือไท เผยแพร่ภาพบรรยากาศงานปีใหม่ไต 2105 "เมืองลา" เมืองหลวงเขตปกครองพิเศษที่ 4 กองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา NDAA อยู่ในภาคตะวันออกของรัฐฉาน ติดชายแดนจีน เมื่ิอวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา ที่สนามต้นรุง ทางเข้าตัวเมือง

งานฉลองรับปีใหม่ไตครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของเมืองลา มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเข้าร่วมนับหมื่นคน โดยมีกองกำลังหยุดยิงในรัฐฉาน เช่น กองทัพสหรัฐว้า UWSA และ กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA-N ได้รับเชิญเข้าร่วมด้วย 
 
(ภาพโดย : Arntai / SHAN)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิเชต ผัดวงศ์ : ขึ้นค่าตอบแทน อบต. ใครได้ประโยชน์

Posted: 13 Dec 2010 01:48 AM PST

 
  
 
เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างคึกโครมทั่วทุกตำบลไปทั้งประเทศ เมื่อนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามอนุมัติปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้ผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการขึ้นค่าตอบแทนฯ พ.ศ. 2553 ซึ่งอยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2554 แต่กลับถูกติดดิสเบรกจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยให้นำเสนออีกครั้งในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 ธันวาคม นี้
 
หากดูข้อเท็จจริงจะเห็นว่า ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น    7,853 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 75 แห่ง เทศบาล 2,006 แห่ง แยกเป็นเทศบาลนคร 23 แห่ง เทศบาลเมือง 142 แห่ง เทศบาลตำบล 1,841 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 5,770 แห่ง และรูปแบบพิเศษคือกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา 2 แห่ง
 
กระทรวงการคลังได้ประมาณการรายได้รัฐบาล เพื่อใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 ประมาณการรายรับ2,070,000 ล้านบาท เป็นรายได้สุทธิ 1,650,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นรายได้จากกรมสรรพากร 1,305,600 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 387,100 ล้านบาท กรมศุลกากร 88,400 ล้านบาทรัฐวิสาหกิจ 84,400 ล้านบาท หน่วยงานอื่น 93,000 ล้านบาท ซึ่งต้องหักคืนภาษีของกรมสรรพากร และจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 308,500 ล้านบาท
 
รายได้ขององค์กรปกครองท้องถิ่นหากรวมรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองอีกกว่า 29,500 ล้านบาท นับว่าท้องถิ่นมีภาระรับผิดชอบบริหารงบประมาณในการพัฒนาประเทศเพื่อให้บริการสาธารณะอย่างมหาศาล อีกทั้งมีพื้นที่บริการกระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ถือเป็นองค์กรมีบทบาทในการสร้างความเจริญรุดหน้าเป็นมือไม้สำคัญของรัฐบาล
 
สำหรับค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้ว่าฯ กทม.ได้รับค่าตอบแทน 104,330 บาท นายกพัทยาได้รับ 66,280 บาท นายก อบจ.ได้รับ 66,280 บาท นายกเทศมนตรีชั้นรายได้ 300 ล้าน(สูงสุด) ได้รับ 66,280 บาท ขณะที่นายก อบต. ชั้นรายได้ 50 ล้านบาท (สูงสุด) ได้รับเพียง 13,200 บาท ยิ่งถ้ากล่าวถึงค่าตอบแทนรายเดือนของนายก อบต.ที่มีรายได้ต่ำสุดจะได้รับเพียงแค่ 7,900 บาท เท่านั้น
 
สมาชิกสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 41,000 บาท สมาชิกสภาเขต กทม. (ส.ข.)ได้รับ 10,070 บาท สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับ 16,200 บาท สมาชิกสภาพัทยาได้รับ 16,200 บาท แต่สมาชิกสภา อบต. ชั้นรายได้เกิน 50 ล้าน (สูงสุด) ได้รับเพียง 6,600 บาทเท่านั้น
                                                                                                                                   
องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผลมาจากแนวคิดหลักการกระจายอำนาจเป็นการสนับสนุนการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย เพราะยึดถือเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ โดยให้ประชาชนมีอิสระตามสมควรในการดำเนินงานปกครอง และจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ ได้
 
องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การอาชีพ สาธารณูปโภคต่าง ๆ การจัดทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นฯ ตามเจตนาของประชาชนในท้องถิ่น สนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพราะเป็นองค์กรฐานรากที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด
 
ที่สำคัญนับแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กระทรวง กรม ราชการส่วนกลางและภูมิภาคได้ถ่ายโอนภารกิจกว่า 250 ภารกิจให้ อบต.ดำเนินการ แต่ อบต.ได้ปรับปรุงค่าตอบแทนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2547 หลังจากนั้นไม่มีการปรับปรุงอีก เลย เงินที่ใช้ในการปรับปรุงค่าตอบแทนก็เป็นเงินของ อบต.เอง
 
องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลมีบทบาทภาระหน้าที่เหมือนกันและอยู่ระนาบเดียวกัน แต่ค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภา อบต.ต่ำกว่าเทศบาล ประมาณ 200-300 %
 
องค์การบริหารส่วนตำบลกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำงาน เป็นคู่ขนานในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ราษฏรในพื้นที่เดียวกัน พ.ศ.2552-2553 กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้รับการปรับค่าตอบแทน 100 %
อีกทั้งมีวาระดำรงตำแหน่งถึงอายุ 60 ปี กอปรกับหากมีการปรับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิก อบต. เพราะที่ผ่านมาหากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ใดครบวาระมักมีสมาชิกสภา อบต.ลาออก เพื่อไปลงสมัครเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า
 
เมื่อพูดถึงค่าตอบแทนของผู้อาสามาทำงานเป็นผู้แทนชาวบ้าน บางฝ่ายอาจโต้แย้งว่าทำไมต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นเรื่องจิตอาสาเป็นสำคัญ ในฐานะที่ผู้เขียนคลุกคลีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมา 10 กว่าปี มีความเห็นว่าเรื่องจิตอาสาเป็นปัจจัยหลักก็จริงอยู่ แต่ต้องคำนึงว่าทุกคนที่จะทำงานดูแลปกครองรับผิดชอบผู้คนในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ได้ ย่อมต้องมีความพร้อมในการดูแลเรื่อง กิน ยา ผ้า บ้าน สำหรับครอบครัวของตนเป็นประการแรก
 
อีกทั้งหากรัฐต้องการส่งเสริมให้คนดีมีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง ก็ต้องมีปัจจัยหนุนเอื้อให้เขาพออยู่พอกิน โดยไม่ต้องไปแสวงหาลาภอันไม่พึงได้ ซึ่งนับเป็นอันตรายต่อการกระจายอำนาจอย่างที่เป็นห่วงกัน
 
เมื่อผู้บริหารและสมาชิกสภา อบต. มีสวัสดิการประคองตนอยู่ได้ เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในครอบครัวตนและภาษีสังคม เพราะพวกเขาก็ถูกจำกัดสิทธิ์ในการประกอบอาชีพเช่นเดียวกับนักการเมืองระดับชาติ ถึงตอนนั้นคนดี ๆ ทั้งที่เป็นชาวบ้านธรรมดา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เกษียณอายุราชการ คนในท้องถิ่นจะอาสามาทำงานเพื่อท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริหารท้องถิ่นเป็นไปด้วยความโปร่งใส การปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องตามความต้องการของคนในท้องถิ่น โดยมีประชาชนในท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง นี่จึงเป็นผลดีของการปรับค่าตอบแทน
 
มองกันว่าการขึ้นค่าตอบแทน อบต. ครั้งนี้ หากเป็นไปโดยสะดวกโยธิน เสียงแซ่ซ้องพร้อมดอกไม้ช่อโตผูกโบว์สีน้ำเงินจาก อบต. ย่อมทุ่มไปที่พรรคภูมิใจไทยอย่างไร้ข้อกังขา อีกทั้งยังหมิ่นแหม่ต่อการกระทบฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขยับปักธงตอกเสาเข็มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องเพราะมหาดไทยยุคนี้เมินที่จะขยิบตาเหลือบดูสภาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต (ส.ข.)
 
ยิ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมาว่าค่าตอบแทน ส.ก.และ ส.ข. ก็มีข้อเสนอให้ขึ้นมานานแล้ว แต่ ครม.สมัยนั้นบอกว่าถ้าขึ้นแล้วจะกระทบกับเทศบาลและ อบต.เลยไม่ได้ขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการขึ้นให้ อบต. ครม.จึงถามว่าแล้วไปดูให้ ส.ก. ส.ข. และเทศบาลต่างๆ หรือยัง เพราะเราถือหลักการว่าทำอะไรต้องยึดโยงกันหมด ยิ่งทำให้ภาพต่างๆ ที่ขมุกขมัวร่วม 3 วันกระจ่ายชัดขึ้น นี่ยังไม่รวมกระแสข่าวการแลกกับสมาร์ทการ์ดที่ผู้คนตั้งข้อกังขาก่อนหน้านี้
 
การขึ้นค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิก อบต. ที่ถูกเบรกครั้งนี้ บ้างมองว่าเป็นการแย่งกันหาเสียง ในแง่การช่วงชิงความนิยมทางการเมือง แต่หากหันมองในด้านโครงสร้างและความเหมาะสมกับบทบาทการทำงานของ อบต. แล้ว เชื่อว่าทุกฝ่ายย่อมเห็นพร้องกับการปรับค่าตอบแทนครั้งนี้
 
การออกมาท้วงติงของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่อกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่ลงนามอนุมัติขึ้นค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภา อบต. ครั้งนี้ เชื่อว่าคงได้ข้อสรุปด้วยการเจรจาต่อรองสักเล็กน้อย แล้วจะลงเอยด้วยการกอดคอจูบปากเร่งนโยบายประชานิยมอย่างเต็มสูบไปด้วยกัน ยิ่งนายกรัฐมนตรีโปรยยาหอมจะขึ้นเงินเดือนประมุข 3 สถาบันและ ส.ส.-ส.ว. ยิ่งมองเห็นภาพชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น
 
จากบทเรียนในอดีตที่ผ่านมา ไม่มีนักการเมืองและพรรคการเมืองใดอยากมีเรื่องกับองค์กรสององค์กร คือพระกับ อบต. ทะเลาะกับพระดังทุกรายแล้วก็ดับทุกคน ทะเลาะกับ อบต.มีแต่เจ๊ากับเจ๊ง ที่สำคัญอันที่เจ๊ามักจะกลับมาเจ๊งภายหลัง ฉะนั้น เรื่องนี้ น่าจะสมประโยชน์ “มีแต่ได้กับได้” ทั้งนักการเมือง พรรคการเมือง สำหรับประสิทธิภาพการทำงานในเบื้องหน้าท้าทายให้จับตากันอีกที
 
ภาพการปีนเกลียวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่พรรคประชาธิปัตย์ทำทีเงื้อง่าราคาแพง เนื่องเพราะต้องการสำแดงอะไรสักหน่อย เท่านั้นแหละ
 
เจื่อผมเต๊อะ...!
 
 
 
ค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ใหม่)*

ผู้ดำรงตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรายเดือน
เงินฯประจำตำแหน่ง
 
ค่าตอบแทนพิเศษ
นายก อบต.(รายได้เกิน 50 ล้าน)
นายก อบต.(รายได้เกิน 25-50 ล้าน)
นายก อบต.(รายได้เกิน 10-25 ล้าน)
นายก อบต.(รายได้เกิน 5-10 ล้าน)
นายก อบต.(รายได้ไม่เกิน 5 ล้าน)
 18,400 บาท
 17,600 บาท
 17,000 บาท
 16,400 บาท
 15, 800 บาท
 2,000 บาท
 1,900 บาท
 1,750 บาท
 1,600 บาท
 1,450 บาท
 2,000 บาท
 1,900 บาท
 1,750 บาท
 1,600 บาท
 1,450 บาท
รองนายกฯ (รายได้เกิน 50 ล้าน)
รองนายกฯ(รายได้เกิน 25-50 ล้าน)
รองนายกฯ(รายได้เกิน 10-25 ล้าน)
รองนายกฯ(รายได้เกิน 5-10 ล้าน)
รองนายกฯ(รายได้ไม่เกิน 5 ล้าน)
 10,120 บาท
 9,680 บาท
 9,350 บาท
 9,020 บาท
 8,690 บาท
 1,000 บาท
 950 บาท
 880 บาท
 800 บาท
 730 บาท
 1,000 บาท
 950 บาท
 880 บาท
 800 บาท
 730 บาท
ประธานสภาฯ(รายได้เกิน 50 ล้าน)
ประธานสภาฯ(รายได้เกิน 25-50 ล้าน)
ประธานสภาฯ(รายได้เกิน 10-25ล้าน)
ประธานสภาฯ(รายได้เกิน 5-10ล้าน)
ประธานสภาฯ(รายได้ไม่เกิน 5 ล้าน)
 10,120 บาท
 9,680 บาท
 9,350 บาท
 9,020 บาท
 8,690 บาท
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
รองประธานสภาฯ(รายได้เกิน 50 ล้าน)
รองประธานสภาฯ(รายได้เกิน 25-50 ล้าน)
รองประธานสภาฯ(รายได้เกิน 10-25 ล้าน)
รองประธานสภาฯ(รายได้เกิน 5-10ล้าน)
รองประธานสภาฯ(รายได้ไม่เกิน 5 ล้าน)
 8,280 บาท
 7,920 บาท
 7,650 บาท
 7,380 บาท
 7,110 บาท
-
-
-
-
-
--
-
-
-
-
สมาชิก อบต., เลขาฯนายก และเลขาฯ สภา(รายได้เกิน 50 ล้าน)
สมาชิก อบต., เลขาฯนายก และเลขาฯ สภา(รายได้เกิน 25-50 ล้าน)
สมาชิก อบต., เลขาฯนายก และเลขาฯ สภา(รายได้เกิน 10-25 ล้าน)
สมาชิก อบต., เลขาฯนายก และเลขาฯ สภา(รายได้เกิน 5-10 ล้าน)
สมาชิก อบต., เลขาฯนายก และเลขาฯ สภา(รายได้ไม่เกิน 5 ล้าน)
 6,600 บาท
 
 6,300 บาท
 
 6,000 บาท
 
 5,740 บาท
 
 5,530 บาท
-
 
-
 
-
 
-
 
-
-
 
-
 
-
 
-
 
-

 
*ที่มา ปรับปรุงจากบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนฯ แนบท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทย
 รายได้หมายถึง รายได้ตลอดปีงบประมาณไม่รวมเงินกู้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐ - ประชาชน บริบทของความขัดแย้ง

Posted: 13 Dec 2010 01:18 AM PST

 
นับแต่สมัยที่ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซียสิ้นสุดลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และต่อเนื่องถึงการสิ้นสุดของจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจีน ภัยของคอมมิวนิสต์ได้ถูกสร้างภาพให้เป็นมารร้ายในสังคมโลก ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ยุคสงครามเย็นได้แบ่งโลกออกเป็นสองขั้ว ระหว่างทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ และขั้วสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ ได้สร้างภาพให้เกิดฝ่ายเทพกับมาร ภาพของมารร้ายคอมมิวนิสต์ดูจะเป็นสัญลักษณ์ที่คอยหลอกหลอนไปทั่วโลก รวมทั้งรัฐนาวาสยามประเทศจวบจนมาเป็นประเทศไทย แม้แต่การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมยังถูกยัดเยียดและเหมารวมว่าเป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จึงต้องปราบปรามกันอย่างรุนแรงโดยไม่ได้พิจารณาแยกแยะอย่างถี่ถ้วน
 
ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นได้ถูกพังทลายลงอันเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น การล่มสลายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออกหลายประเทศ รวมทั้งสหภาพโซเวียต และประเทศในกลุ่มอินโดจีน นำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายจากเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วนกลางอันเรียกว่า ระบอบ “สังคมนิยม” เข้าสู่เศรษฐกิจ “ทุนนิยมเสรี” แม้กระทั่งประเทศจีนก็เข้าสู่ระบบตลาดทุนนิยมเสรีแบบจีน ทำให้ความหวาดวิตกเกี่ยวกับมารร้ายที่คอยมาคุกคามความมั่นคงอันเนื่องมาจากลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป ปัญหาความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ลดความสำคัญลง และแล้วความตึงเครียดและขัดแย้งในสังคมไทยได้เคลื่อนตัวออกจากประเด็นของอุดมการณ์พัฒนามาสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจ สู่ปัญหาใหม่ภายใต้บริบทของการเร่งรัดพัฒนา 
 
เมื่อความต้องการของมนุษย์สวนทางกับความยั่งยืนของธรรมชาติ โดยมีรัฐในฐานะผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิและอำนาจในการจัดการทรัพยากร และดูเสมือนว่าปัญหาความขัดแย้งมีบ่อเกิดมาจากยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาของประเทศตามแนวทางของทุนนิยมเป็นสำคัญ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นความขัดแย้งในทางเศรษฐกิจอันเป็นบรรยากาศที่นักวิชาการเรียกว่า “เวลาของทุน” (Capital time) โดยเฉพาะความต้องการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (New Industrialized Countries) ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมอย่างบังคับ (Forced industrialization) นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างการคงวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม กับทิศทางของแผนการพัฒนาประเทศ รวมถึงความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ ทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันเป็นความขัดแย้งที่เป็นผลพวงจากการแย่งชิงทรัพยากรและปัญหาการจัดการกับทรัพยากร ที่เกิดจากการจัดการของรัฐที่ไม่มีดุลยภาพ 
 
ปัญหาความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าการชลประทานเพื่อเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวของเมือง ประมงชายฝั่ง นากุ้ง สนามกอล์ฟ ปัญหามลภาวะ และการสูญเสียนิเวศน์วัฒนธรรม อันเป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่รุกล้ำความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรัฐเป็นคู่ขัดแย้งที่สำคัญกับประชาชน ซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีรากเหง้ามาจากการที่ประชาชนได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร ที่เข้ามาในรูปแบบของโครงการขนาดใหญ่ ทั้ง เขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ การวางท่อแก๊ซ การเติบโตของอุตสาหกรรม การขยายโรงงาน การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดกากอุตสาหกรรม ล้วนสร้างผลกระทบด้านมลพิษให้กับชุมชนโดยตรง ประชาชนจึงต้องรวมตัวกันเพื่อกระทำการรวมหมู่ (Collective action) เดินขบวนและชุมนุมประท้วงคัดค้านในหลากหลายรูปแบบ
 
กล่าวกันว่า อัตราการสูญเสียทรัพยากรที่เกิดจากสงครามภายในประเทศที่มีมายาวนานในบางประเทศ เช่น กัมพูชา หรือเวียดนาม อาจจะไม่เท่ากับความสูญเสียอันเนื่องมาจากการเปิดประเทศไปสู่การพัฒนาสมัยใหม่เพียงไม่กี่ปี ในลักษณะเดียวกัน สำหรับกรณีของไทย การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากสงความต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือความขัดแย้งทางการเมือง ยังไม่เท่ากับการสงครามแย่งชิงทรัพยากรอันเนื่องมาจากการไหลบ่าเข้ามาของระบบทุนนิยมที่ทำให้คนจำนวนมากถูกเบียดขับจนต้องอพยพจากที่ทำมาหากินดั้งเดิม ชุมชนแตกสลาย และต้องเปลี่ยนวิถีในการดำรงชีพ เกิดความระส่ำระสายในครอบครัวและรุกลามไปสู่สังคมจนประเมินความสูญเสียแทบไม่ได้
 
ความขัดแย้งยิ่งเพิ่มมากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้นทุกที ทั้งได้พัฒนาและขยายตัวไปพร้อมๆ กับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศซึ่งเน้นเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โครงสร้างอำนาจนิยม (Authoritarianism) ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น แนวโน้มการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนจึงหลีกไม่พ้นเรื่องการใช้อำนาจ สวนทางกับวิธีการแบบสันติวิธี (Non-violent) ด้วยรูปแบบต่างๆ ตลอดมา เช่น เหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535 กระทั่งหลังสุดเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์
 
นอกจากนั้น ยังมีการกระทำลักษณะอื่นๆ เช่นการลอบสังหารผู้นำซึ่งกรณีล่าสุดซึ่งเป็นที่กล่าวถึงคือการลอบสังหารผู้นำการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด “เจริญ วัดอักษร” ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรู้สึกร่วมของมวลชนอย่างใหญ่หลวง การปราบปรามด้วยกำลังอาวุธในการบังคับใช้นโยบายเรื่องย้ายคนออกจากป่า กรณีการประท้วงเขื่อนปากมูล กรณีทำร้ายผู้ชุมนุมประท้วงหน้าสนามกีฬาจิระนคร และโรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ ของชาวอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ต่อการคัดค้านสร้างโรงแยกก๊าซและวางท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ซึ่งล้วนแล้วเกิดจากโครงสร้างอำนาจนิยม (Authoritarianism) ทั้งสิ้น
 
และที่สำคัญที่สุดคือปัญหาการใช้กลไกราชการตอบโต้การเคลื่อนไหวของประชาชน โดยอาศัยกลไกรัฐผูกขาดการให้ข้อมูลข่าวสาร ปิดกั้นฝ่ายประชาชนเข้าไปในพื้นที่ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ผูกขาดการชี้แจงโครงการฝ่ายเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายคัดค้านดำเนินกิจกรรม นั่นคือรัฐปิดมิให้สาธารณชนแสดงความคิดเห็นต่อโครงการสาธารณะและปฏิเสธโอกาสของกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation) ในการแก้ปัญหาเพื่อหาทางออก ซึ่งเหล่านี้เรียกว่า “ประชาพิจารณ์” (Public hearing) มักถูกละเลยจากอำนาจรัฐ
 
เมื่อการใช้สิทธิและอำนาจตามกฎหมายในการจัดการทรัพยากร รัฐมิได้ใช้สิทธิและอำนาจอย่างเปิดเผย ชอบธรรม และยุติธรรมด้วยหลักนิติรัฐ รวมทั้งตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล (good governance) หากแต่มีแนวโน้มที่มีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda) ซุกซ่อนเป็นประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest) ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเสมอ รัฐกับประชาชนจึงกลายเป็นคู่กรณี (actor) คู่เอกของความขัดแย้งสาธารณะ (Public conflict) แม้ว่าสังคมไทยจะเปิดกว้างในทางการเมือง สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” ปี 2540 ซึ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง (Political Participation) ในหลายมิติ แต่ไปๆ มาๆ กลับเสมือนไม่ได้ส่งเสริมอย่างแท้จริงเป็นเพียงวาทกรรมหนึ่งของผู้ปกครองเท่านั้น ซ้ำยังถูกฉีกทั้งไปเมื่อ 19 กันยายน 2549โดยอ้างว่าเพื่อความสมานฉันท์
 
อย่างไรก็ตาม หากมองปัญหาความขัดแย้งของสังคมโลก ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรมิได้เป็นเรื่องสำคัญมากไปกว่าปัญหาด้านชาติพันธุ์ ที่กลายเป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตกและนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อย้อนกลับไปอดีตปัญหาชาติพันธุ์ยิว รัฐบาลนาซี โดยฮิตเลอร์จอมอำมหิตได้ปลุกเร้าประชาชนเยอรมันให้เกิดความจงเกลียดจงชังจนต้องตัดสินปัญหาชาติพันธุ์ยิวขั้นสุดท้าย (the Final Solution) ด้วยการส่งยิวเข้าห้องแก๊ส คนนับล้านเป็นเหยื่ออันเนื่องมาจากความเป็นยิว หรือกรณีมุสลิมในบอสเนีย-เฮอร์เชโกวีนา ที่ถูกปิดล้อมและปราบปรามจากฝ่ายเซอร์บ คนหลายแสนคนถูกสังหารในขณะที่ผู้หญิงหลายหมื่นคนถูกข่มขืน มุสลิมถูกทอดทิ้งให้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความยากไร้และทุกข์เข็ญ การช่วยเหลือจากหลายฝ่ายที่เกิดขึ้นนั้นกล่าวกันว่า “สายเกินไปและน้อยเกินไป” คนส่วนใหญ่กลายเป็นเหยื่ออันเนื่องมาจากความเป็นมุสลิม ช่วงเวลาแห่งความขมขื่นนี้ถูกเรียกว่า “ช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งที่โหดร้ายใจกลางยุโรป”
 
เมื่อหันกลับมามองสังคมไทยความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน หรือประชาชนด้วยกันนั้น ประเด็นที่ขัดแย้งเดิมๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งเก่าที่ปะทุใหม่ซึ่งแนวโน้มขยายตัวในอนาคตคือประเด็นชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย เช่น กรณีมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยยังไม่อาจเยียวยาความขัดแย้งให้บรรลุลงได้ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถจับคู่กรณีได้ชัดเจน ยังเป็นคู่ขัดแย้งที่ไร้ตัวตนและกำลังลงรากหยั่งลึกจนถือเป็นวิกฤติแห่งการปกครอง (Crisis governance) การลุกลามของไฟใต้ที่ยิ่งโหมกระพือ ตอกย้ำว่ารัฐไทยไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้ และบางครั้งมีการใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาทั้งโดยจงใจและไม่จงใจ จึงเป็นความเปราะบางของการใช้อำนาจ ที่รัฐต้องพึงระวัง
 
การสลายความขัดแย้งจึงไม่ใช่การใช้อำนาจแต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยความร่วมมือและสร้างความเห็นพ้องต้องกัน (consensus) ในรูปของระบบคิด ระบบคุณค่า เพื่อนำไปสู่สันติภาพโดยอาศัยอำนาจที่เรียกว่า “อำนาจอ่อน” ซึ่งเป็นอำนาจที่สามารถทำให้ผู้อื่นต้องการในสิ่งเดียวกับที่เราต้องการ (getting other to want what you want) ด้วยความร่วมมือร่วมใจมากกว่าการบังคับขู่เข็ญ และผลของอำนาจอ่อนคือการยอมรับของทุกฝ่ายและเป็นเครื่องมือสลายความขัดแย้งได้ดีที่สุด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การเปิดตลาดสินค้าข้าวอาเซียน...ประเทศไทยควรฉกฉวยโอกาสอย่างไร?

Posted: 13 Dec 2010 01:09 AM PST

 
 
จากข้อตกลงทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้ประเทศในอาเซียนเดิม ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้องลดภาษีสินค้าข้าวเป็นศูนย์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป และกำหนดให้ ประเทศ เขมร เวียดนาม ลาว และพม่า ที่ได้เข้ามารวมกับประชาคมอาเซียนในภายหลัง ต้องลดภาษีสินค้าข้าวเป็นศูนย์ในปี 2558 ดังที่เป็นข่าวคราวอยู่เป็นระยะนั้น ควรที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจาการเปิดตลาดการค้าข้าวดังกล่าว
 
แม้ว่าประเทศไทยได้แสดงถึงความพร้อมในการเปิดตลาดข้าวของประชาคมอาเซียน และมุ่งหวังว่าประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าข้าวดังกล่าว เพราะไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการผลิตข้าวที่มีคุณภาพได้ดีกว่ากลุ่มประเทศสมาชิกผู้ส่งออกรายอื่นๆ การเปิดการค้าเสรีข้าวน่าจะทำให้ประเทศไทยมีการขยายตัวในปริมาณการค้าสินค้าข้าวมากขึ้นและจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งศูนย์กลางการค้าข้าวของโลกตามมา อย่างไรก็ตาม การที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเปิดตลาดนั้น ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโครงสร้างการตลาดในทุกระดับ และรวมถึงภาคการผลิตข้าว ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความมีประสิทธิภาพในกระบวนการตลาดและกระบวนการผลิต
 
แต่หากพิจารณาจากสถานการณ์ในภาคปฏิบัติที่เป็นอยู่ กลับพบว่าประเทศไทยขาดการเตรียมความพร้อมอย่างมากในการฉกฉวยโอกาสที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานที่รับผิดชอบขาดความชัดเจนในการพัฒนากลไกตลาดข้าวในประเทศให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นฐานในการรองรับการเปิดเสรีในการค้าสินค้าข้าว เช่น แทนที่จะพัฒนากลไกตลาดกลางข้าวในแหล่งผลิตข้าวสำคัญๆ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยน การตรวจสอบมาตรฐาน และใช้เป็นศูนย์กลางในการสร้างอำนาจการต่อรองราคาระหว่างเกษตรกรกับโรงสีข้าวและเป็นแหล่งอ้างอิงราคา แต่กลับมีนโยบายที่สร้างผลกระทบจนทำให้ตลาดกลางและท่าข้าวทั้งหลายต้องล้มหายตายจากไปหมด โดยเฉพาะโครงการรับจำนำ ทั้งนี้เพราะโครงการดังกล่าวได้เป็นเครื่องมือให้กลุ่มโรงสีข้าวมีอำนาจทางการตลาด โดยเฉพาะโรงสีข้าวขนาดใหญ่ เพราะโรงสีจะได้รับผลประโยชน์จากการเป็นหน่วยรับฝากข้าวในโครงการรับจำนำ การเป็นผู้รับซื้อข้าวจากชาวนา การเป็นหน่วยแปรรูป และการเป็นหน่วยเก็งกำไร จึงทำให้เกิดการขยายตัวของโรงสีขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยพบว่า ขนาดเฉลี่ยของกำลังการผลิตของโรงสีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้นจาก 79 ตันต่อวันต่อราย มาเป็น 157 ตันต่อวันต่อราย และหากจะดูกำลังการผลิตของโรงสีโดยรวมจาก 28.6 ล้านตันในปี 2543 มาเป็น 67.5 ล้านตันในปี 2551 โรงสีขนาดใหญ่เหล่านี้ กระจายตัวผูกขาดอยู่ในแหล่งผลิตข้าวต่างๆ โดยเกือบจะไม่มีพฤติกรรมของการแข่งขันในเรื่องการรับซื้อข้าว
 
นอกจากนี้ ในภาคการผลิตข้าวก็พบว่านโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น นโยบายการประกันรายได้ขั้นต่ำให้กับเกษตรกร เป็นนโยบายที่ไม่ได้สนับสนุนให้เกษตรกรเร่งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทยและเศรษฐกิจข้าวไทย เพราะไม่ได้มีกระบวนการใดๆที่จะไปช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินที่รัฐจ่ายเป็นค่าส่วนต่างของราคาข้าวที่รัฐประกันกับราคาอ้างอิงในปีที่ผ่านมามีสูงถึงประมาณเกือบ 40,000 ล้านบาท แต่ในทางกลับกันกับพบว่า เงินที่รัฐให้การสนับสนุนในงานวิจัยเรื่องข้าวก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อย กรมการข้าวรายงานว่ามีงบวิจัยหากไม่รวมงบก่อสร้างมีไม่ถึง 120 ล้านบาทในงบประมาณปีปัจจุบัน และหากรวมถึงงบวิจัยแหล่งอื่นๆอีก ก็คาดว่าไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี หากเทียบกับปริมาณผลผลิตข้าวที่มีอยู่ 30 ล้านตัน จะเห็นว่ามีงบวิจัยต่อตันผลผลิตข้าวเพียงไม่ถึง 7 บาท
 
การสนับสนุนงบวิจัยจำนวนน้อยอย่างต่อเนื่องมาได้สร้างผลกระทบต่อจำนวนนักวิจัยที่กำลังหดหายไป ศักยภาพในการแข่งขันของข้าวไทยจึงไม่สามารถสู้กับเวียดนามได้ และในขณะเดียวกันกระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่คุ้มต้นทุน อันนำไปสู่วงจรอุบาทหรือการเป็นหนี้สินและตกอยู่ในภาวะยากจนตามมา
 
หากเทียบกับ เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองรองจากประเทศไทย ที่ผ่านมาการผลิตข้าวของเวียดนามมีต้นทุนต่ำกว่าของไทยเกือบเท่าตัว การที่เวียดนามมีต้นทุนในการผลิตข้าวต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของไทย นั้นเป็นเพราะ เวียดนามให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยเรื่องข้าว เพราะนอกจากจะสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่จำนวนมากที่ได้รับประสบการณ์ทางการศึกษาจากประเทศตะวันตกแล้ว รัฐยังเพิ่มการสนับสนุนการลงทุนวิจัยด้านข้าวเป็นจำนวนมากในปีนี้รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศที่จะเพิ่มเงินลงทุนวิจัยข้าวในทุกๆด้านรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน US$ ทั้งนี้เพื่อแย่งชิงโอกาสจากการเปิดตลาดข้าวเสรีไปสู่เกษตรกรของประเทศเขา การบริหารจัดการในนโยบายเรื่องข้าวของเวียดนามอย่างก้าวกระโดดดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัว
 
การลงทุนวิจัยข้าวนั้นมีความจำเป็นเพราะนอกจากประโยชน์จากการวิจัยจะตกอยู่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคแล้ว ยังสนับสนุนอุตสาหกรรมข้าวไทยให้มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้
 
ถึงเวลาแล้วยังที่ประเทศไทยจะได้มีการจัดตั้งกองทุนวิจัยข้าวเพื่อพัฒนาทั้งด้านการผลิตและการตลาดทั้งนี้เพื่อฉกฉวยโอกาสของการเปิดตลาดข้าวให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมข้าวไทยและขณะเดียวกันจะเป็นการพัฒนาตลาดการค้าข้าวของไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของโลกตามมา.
 
 
-------------------------------------------
<1> นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ และรองศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานเสวนา: “สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย” ตอนที่ 2

Posted: 12 Dec 2010 09:05 PM PST

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิพากษ์สถานะ บทบาท และพระราชอำนาจกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญภายใต้ ระบอบการปกครองของไทยที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

 

กลุ่มนิติราษฏร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฏร) จัดอภิปรายเรื่อง สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย ในวันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ ๑๖.๐๐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ห้อง แอลที ๑

 

วิทยากรผู้เข้าร่วมอภิปรายประกอบด้วย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ณัฐพล ใจจริง และวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดำเนินการอภิปรายโดย ธีระ สุธีวรางกูร

 

ผู้อ่านสามารถติดตามการรายงานโดยละเอียด ซึ่งประชาไทจะทยอยนำเสนออย่างต่อเนื่อง

 
เท่าที่ฟังอาจารย์ณัฐพล ผมคิดว่าเป็นการปูพื้นทางประวัติศาสตร์ที่ดีมาก เห็นได้ว่าการปฏิวัติ 2475 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจับยักษ์เข้ากล่อง

 

ผมอาจจะเริ่มต้นสวนทางกับอาจารย์ณัฐพล ผมจะเริ่มจากปัจจุบัน เพื่อจะตอบคำถามอาจารย์ธีระว่า ตกลงว่าหลังจากที่แจ๊คอยู่ในกล่องเป็นเวลานาน ได้พยายามแหกกล่องแต่ยักษ์ไม่ยอม ถีบกลับออกไป

 

วันนี้อยากจะคุยกับพวกเราเรื่องที่เรียกว่า ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ขอใช้คำแบบนี้นะครับ ซึ่งผมจะขอพูดประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้สัก 4 ประเด็นหลักๆ ประเด็นที่หนึ่ง ผมอยากจะพูดปัญหาเรื่องชื่อ ประเด็นที่สอง อยากเสนอตั้งเป็นประเด็นคำถามเกี่ยวกับคุณค่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ประเด็นที่สาม จะขอพวกเรามาดูสถานะของพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และอาจจะไล่กลับไปถึงที่มาของฉบับก่อนหน้านี้ ประเด็นที่สี่ ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็คือ พระราชอำนาจทั้งหลายที่มิได้ตราอยู่ในรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเป็นปัญหาสำคัญหรือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ ใช้คำที่เขาใช้ๆ กันว่าภาวะแห่งการเปลี่ยนผ่านในปัจจุบัน

 

1. ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ VS ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ผมจะขอเริ่มประเด็นแรกก่อน ปัจจุบันเรามักจะคุ้นกัน หรือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรียกระบอบการปกครองที่เรามีอยู่ขณะนี้โดยใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมจะเริ่มต้นตรงนี้ก่อน ผมคิดว่าการใช้ชื่อแบบนี้มีปัญหาเรื่องชื่อ จริงๆ ผมเคยเสนอก่อนหน้านี้แล้วว่าชื่อแบบนี้นำไปสู่ความเข้าใจผิด และไม่ตรงหรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่สอดคล้องกับคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติเมื่อปี 2475 เวลาที่เราใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ในภาษาอังกฤษเราก็ยังใช้ Constitutional Monarchy

 

คำที่ใช้กันจริงๆ ใช้คำนี้ พระยาศรีวิศาลวาจาใช้ว่า ระบอบประชาธิปไตยจำกัดอำนาจ อะไรทำนองนี้ แต่คำที่ผมคิดว่าถูกต้องกว่านั้นคือคำว่า ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ อันนี้จึงจะตรงกับเจตจำนงค์ที่คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อให้อำนาจของพระมหากษัตริย์มาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

 

คราวนี้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาได้ยังไง จริงๆ มันเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2490 แต่ในขณะนั้นมีเว้นวรรค คือเขียนว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วก็วรรค มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หมายความว่า เขาจะบอกว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นคำขยาย เราก็ใช้กันอย่างนี้เรื่อยมาตามรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่เรามีการฉีกทิ้งแล้วก็ร่างใหม่ ฉีกทิ้งแล้วก็ร่างใหม่ เราก็คัดลอกต่อกันเรื่อยมาจนผมเข้าใจว่าถึงปี 2521 น่าจะลอกผิดหรือย่างไรไม่ทราบ คำเว้นวรรคหายไป คือ “ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ตอนนั้นยังไม่มีคำว่า “อัน” นะครับ คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 เห็นว่าคงไม่เก๋ เลยเติมคำว่า “อัน” ไปดีกว่า เพราะฉะนั้น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก็เลยถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2534 อันนี้ว่ากันตามรัฐธรรมนูญนะ แต่ถ้าว่ากันตามความทรงจำผมคิดว่า รัฐบาลที่ประกาศเสมอว่าเขาปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเป็นประมุขนั้นคือ รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งในทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ถือว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลธานินทร์เป็นรัฐบาลเผด็จการมากๆ อยู่ในอันดับ 1 หรือ 2 คู่แข่งมีแค่รัฐบาลสฤษดิ์เท่านั้น ยังประเมินไม่ได้ว่าใครแน่กว่ากันในแง่ของการเผด็จการ

 

ผมคิดว่า เรามาผลักดันหรือรณรงค์ใช้คำให้ถูกต้องดีกว่า คำที่ถูกต้องคือคำว่า “ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ” อันนี้สำคัญซึ่งผมจะพูดต่อไปว่า เมื่อเราใช้คำอย่างนี้แล้วทำให้ความหมายมันตรง มันจะช่วยทำให้สถาบันกษัตริย์ยั่งยืนสืบไปกว่ายิ่งกว่าระบอบอื่นๆ

 

2. คุณค่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่สอง เราต้องมาคุยกันในคำนี้ว่า ถ้าเราจะพูดถึงระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ สมมติเราเชื่อว่าเป็นระบอบที่ดี เป็นระบอบที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ประเทศไทยตามที่อธิบายกันมา ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผมคิดว่าเราต้องช่วยกันตั้งคำถามว่า ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถ้าดีจริง จะต้องดีโดยคุณค่าในตัวมันเอง มันจะต้องดีกว่าเมื่อเทียบกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช จะต้องดีกว่าเมื่อเทียบกับระบอบประธานาธิบดี และความดีกว่าต้องไม่ขึ้นกับตัวบุคคล อันนี้สำคัญนะครับ หมายความว่าไม่ว่าใครก็ตามขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์ ระบอบนี้ก็ยังต้องดีอยู่

 

ผมคิดว่า อันนี้เป็นคำถามหลักที่นักคิดหรือปัญญาชนไทยทั้งหลายที่เชื่อว่าตนเองจงรักภักดี หรือคิดว่าระบอบกษัตริย์เป็นระบอบที่ดีงามต้องตอบ ในภาวะที่ในโลกนี้มีประเทศที่มีระบอบกษัตริย์นั้นน้อยลงเรื่อยๆ เท่าที่ผมอ่านหนังสือค้นคว้ามาแล้ว ผมคิดว่านักนิยมกษัตริย์หรือนักวิชาการด้านกษัตริย์นิยมในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการตอบ ทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคำตอบที่ใช้กันในปัจจุบันนี้เป็นคำตอบที่อิงบุคคลเสมอ ไม่ได้เป็นคำตอบในเชิงระบบเลย ตัวอย่างเช่น คำอธิบายว่าประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีความพิเศษเพราะมีกษัตริย์อันประเสริฐ อันปรีชาสามารถ อันนี้เป็นคำอธิบายที่อิงบุคคล เพราะว่าเราไม่ได้บอกเลยว่าทุกองค์ที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ในประเทศไทยแล้วจะเป็นกษัตริย์ที่ปรีชาสามารถและดีวิเศษหมด ถ้าระบอบนี้ดีจริงแปลว่าไม่ว่าใครขึ้นมาเป็นกษัตริย์ต้องดี แต่คำตอบอย่างนี้ไม่ใช่ และถ้าเรากลับไปดูประวัติศาสตร์สมัยศรีอยุธยาก็จะรู้ข้อเท็จจริงว่ามันเป็นไปไม่ได้ นอกจากเราจะเพ้อฝัน

 

คำอธิบายอีกอันหนึ่งที่อธิบายกันมาว่า ระบอบกษัตริย์นั้นดี (ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ) เพราะเป็นระบอบที่กษัตริย์นั้นเป็นเหมือนพ่อปกครองลูก ผมบอกพวกเราว่าอย่างนี้ เหตุผลแบบนี้เป็นเหตุผลที่ใหม่มาก การอธิบายเรื่องกษัตริย์เป็นเหมือนพ่อ เป็นพ่อของแผ่นดิน เท่าที่ผมไล่ในทางประวิติศาสตร์ดูในเวลาอันจำกัด พบว่าน่าจะเริ่มหลังปี 2523 คือหลังจากที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก่อนหน้านี้ไม่น่าจะมี ทำไมถึงไม่มี ยิ่งย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น ไม่มีเลยหรือมีไม่ได้เลย เพราะสมัยนั้นราษฎรเป็นไพร่เป็นทาส สถานะของการเป็นไพร่เป็นทาสแปลว่าอะไร แปลว่าจะไปอ้างตัวเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ ถ้าคุณไปอ้างตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินแปลว่าคุณต้องเป็นเจ้าฟ้า เป็นพระองค์เจ้า แปลว่าคุณยกตนเสมอท่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นย้อนไปสมัยรัชกาลที่ 5 แนวคิดเรื่องกษัตริย์เป็นพ่อพวกไพร่ทาสเป็นลูก ยังไม่มี หรือไม่น่าจะมี หรือมีไม่ได้ คนแรกที่พยายามอธิบายอย่างนี้ เท่าที่ผมมีหลักฐานก็คือ พระองค์เจ้าธานีนิวัต โดยพยายามจะอ้างหลักการเป็นกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย แต่ผมเข้าใจว่ามันไม่ได้แอพพลายมาใช้ หากผมเชื่ออาจารย์ทักษ์ (เฉลิมเตียรณ) คนที่แสดงเป็นพ่อปกครองลูกตัวจริงไม่ใช่พระมหากษัตริย์ แต่เป็นจอมพลสฤษดิ์ ไปกันใหญ่เลย คนละเรื่องเลยนะครับ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องกษัตริย์เป็นพ่อ แนวคิดทำนองนี้มันใหม่

 

เมื่อกี้ผมตั้งคำถามว่า ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญเป็นระบอบที่ดีโดยที่ไม่อิงกับตัวบุคคล หมายความว่าต้องใช้กับประเทศอื่นได้ด้วย ผมไม่คิดว่ากษัตริย์อังกฤษ หรือกษัตริย์สวีเดน หรือระบอบกษัตริย์ซาอุดิอาระเบีย จะอธิบายได้ในระบอบอันเดียวกันว่า กษัตริย์ซาอุดิเป็นพ่อของประชาชนซาอุดิอาระเบีย กษัตริย์ญี่ปุ่นเป็นพ่อของประชาชนญี่ปุ่นทั้งประเทศ ผมว่าถ้าไปพูดอย่างนี้คนญี่ปุ่นคงทำหน้าประหลาดใจ

 

คำอธิบายที่ว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญนั้นดีกว่าระบอบประธานาธิบดีอย่างไรนั้น ยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมอย่างเป็นจริง แต่ดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไหมอันนี้อาจจะอธิบายได้ เพราะผมคิดว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่เราต้องมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงนั้นมีปัญหาอยู่อย่างน้อย 3 ประเด็นที่ผมคิดว่ามันไม่สามารถจะใช้ได้แล้วในโลกยุคสมัยปัจจุบัน เพราะถ้าใช้ได้แทนที่ประเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยคงเปลี่ยนเป็นสมบูรณาญาสิทธิ

 

ปัญหาของสมบูรณาญาสิทธิคือ 1) สมบูรณาญาสิทธิราชอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่คนๆ เดียวมากเกินไป ซึ่งไม่สอดคล้องเลยกับการเมืองสมัยใหม่ 2) สมบูรณาญาสิทธิราชนั้นประชาชนไม่มีสิทธิ ไม่มีเสรีภาพ 3) ระบบกฎเกณฑ์ของสมบูรณาญาสิทธิราชไม่ชัดเจน ไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่มีการปกครองโดยกฏหมาย ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาหนักของสมบูรณาญาสิทธิราช และนำไปสู่การปฏิวัติ 2475 ดังนั้นผมคิดว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญจะดีไม่ดีอย่างไรก็ตาม การกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชนั้นไม่มีทางเป็นทางออกที่ดีได้เลย ดังนั้นต้องกลับมาพูดกันอีกทีหนึ่งว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญดีกว่าระบอบประธานาธิบดีอย่างไร ซึ่งผมยังย้ำว่าเรายังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนพอ หมายถึงคำอธิบายที่ไม่อิงกับตัวบุคคล

 

3.สถานะของพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ประเด็นที่สามที่อยากจะพูดและอยากชี้ชัดให้เห็นประเด็นชัดมากยิ่งขึ้น เรามาดูเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่ามีประเด็นอะไรอย่างไรบ้าง และจะช่วยทำความเข้าใจกับระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญของเรามากขึ้นหรือไม่

 

สืบต่อจากที่อาจารย์ณัฐพลพูด เรามีการรัฐประหารแล้วก็มีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉีกร่างใหม่ ฉีกร่างใหม่ จนปัจจุบันเรามีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ เราเป็นประเทศที่ทำลายสถิติเป็นประเทศที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลกในเวลาอันจำกัดที่สุดในโลก สถิติแบบนี้ไม่ได้เป็นสถิติที่ดี เราไม่มีจารีตประเพณี เราในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพวกเราที่เป็นประชาชนนะ ผมย้ำในหลายโอกาสเสมอว่าประชาชนไม่เคยฉีกรัฐธรรมนูญเลย พวกชนชั้นนำฉีกกันเองทั้งนั้น แล้วก็ชอบอ้างว่าประชาชนอย่างนั้นอย่างนี้ พวกยักษ์ตีกันเองแล้วชอบอ้างแจ๊ค พวกชนชั้นนำไทยไม่มีจารีตแก้ทีละมาตรา ชอบฉีกทั้งฉบับแล้วก็ร่างใหม่ คราวนี้ร่างใหม่คือผมอายมากที่จะพูดเรื่องนี้ต่อไป คือมันต้องใช้เนติบริกรชุดเดิม เห็นได้ชัดประเทศไทยมีนักกฎหมายบางท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างมาตั้งแต่ปี 2521 ต่อมามาร่างปี 2534 ต่อมามาร่างปี 2540 ต่อมามาร่างปี 2550 เป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าใครจะฉีกรัฐธรรมนูญก็เรียกท่านมาร่างใหม่ได้เสมอ ซึ่งจริงๆ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอายสำหรับนักกฎหมาย

 

คราวนี้เมื่อคนร่างหน้าเดิมหรือชุดเดิมที่ถูกเรียกมาร่างบ่อยๆ ก็เกิดจารีตอันหนึ่ง คือลอกต่อกันมาเรื่อยๆ เอาฉบับเดิมมาลอก แล้วก็เปลี่ยนตามใจคนที่ยึดอำนาจหรือเปลี่ยนตามใจคนที่มีอำนาจเบื้องบนเสมอ ไม่ค่อยเปลี่ยนตามใจประชาชน บางทีผมไม่เข้าใจในรัฐธรรมนูญฉบับเขียนว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แล้วก็เว้นวรรค พอร่างไปร่างมาชักเผลอทำเว้นวรรคหาย พออีกอันหนึ่งเติม “อัน” เข้าไปดูวุ่นวายนะ แล้วก็ส่วนที่เป็นปัญหาจริงๆ หลายเรื่อง ที่มีตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆ ก็ไม่แก้ให้มันชัดเจนหรือจงใจไม่แก้ ที่จงใจไม่แก้มันมีความสำคัญอีกอันหนึ่งคือว่า รัฐธรรมนูญยิ่งร่างใหม่ครั้งใดก็ตามจะมีการเพิ่มอำนาจแก่สถาบันพระมหากษัตริย์เสมอ ซึ่งอันนี้โดยระบบแล้วผมคิดว่าไม่ค่อยสอดคล้องกับระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

 

อะไรบ้างที่เป็นปัญหาตกค้างแล้วไม่ได้แก้ อย่างเช่น มาตรา 3 ในรัฐธรรมนี้ ซึ่งลอกมาจากรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับก่อนหน้านี้ จะใช้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้ ผมไม่เข้าใจว่านักกฎหมายทั้งหลายที่ร่างกันมาไม่เคยตั้งคำถามหรือว่า นี่เป็นความขัดแย้งแบบ paradox ก็ถามง่ายๆ ว่าถ้าอำนาจเป็นของประชาชน ทำไมประชาชนไม่ใช้ล่ะ แต่ปัญหานี้ไม่เคยแก้นะ เพราะพวกนักกฎหมายเนติบริกรทั้งหลายลอกต่อกันมา แล้วก็มีประโยคซ้ำๆ ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับลอกต่อกันมาอยู่เสมอ เช่น มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ต่อมามีการเติมว่าฟ้องร้องก็ไม่ได้ แล้วก็ลอกเรื่อยๆ กันมาโดยที่ไม่รู้ว่าก่อให้เกิดปัญหาอะไรมากมาย

 

คราวนี้ผมคิดว่ามีส่วนที่เป็นพระราชอำนาจที่ระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน เช่นเรื่องอำนาจในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ เรื่องเครื่องราชอิสริยภรณ์ อำนาจในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นี้ตั้งแต่มาตรา 12 เป็นต้นมา เรื่องการแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่า คณะองคมนตรี อันนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก องคมนตรีตามรัฐธรรมนูญบอกว่าให้ทำหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ คราวนี้การแต่งตั้งถอดถอนองคมนตรีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้บอกว่า ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากและมีพัฒนาการเรื่อยมา ผมคิดว่าเรื่ององคมนตรีเป็นตัวอย่างชัดเจนรูปธรรมของการเพิ่มพระราชอำนาจ เพราะว่าฉบับแรกที่มีการพูดถึงองคมนตรี จริงๆ รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 ไม่ได้ใช้คำว่าองคมนตรี ใช้ว่าอภิรัฐมนตรี มี 5 คน ในสมัยนั้นได้มีการกำหนดคุณสมบัติเอาไว้ว่า คนที่จะเป็นอภิรัฐมนตรีได้จะต้องเป็นข้าราชการมานานกว่า 25 ปี หรือดำรงตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป หรือเคยเป็นรัฐมนตรีไม่น้อยกว่า 4 ปีถึงจะเป็นอภิรัฐมนตรีได้ แต่ฉบับต่อมารัฐธรรมนูญ 2492 ไม่ระบุ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย แปลว่าจะตั้งใครก็ได้ ในระยะแรกรัฐธรรมนูญปี 2492 ให้ตั้งได้ 8 คน บวกประธาน 1 คือ 9 คน แล้วก็ใช้เรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญปี 2517 ให้ตั้งได้ 14 บวกประธานเป็น 15 แล้วใช้กันเรื่อย ต่อมาก็เพิ่มปัจจุบันนี้กลายเป็น 18บวก 1 ก็เป็น 19 คน 19 นี่น่าจะเริ่มตั้งแต่ปี 2534 และเมื่อได้รับการแต่งตั้งโดยพระราชอัธยาศัยแล้ว ไม่มีวาระ การเป็นองคมนตรีไม่มีวาระ นอกจากตาย ลาออก หรือพระองค์ทรงให้ออกเท่านั้น ขณะที่องค์กรอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญจะมีวาระ อย่างสภาผู้แทน 4 ปี วุฒิสภา 6 ปี แต่องคมนตรีไม่มีวาระ องคมนตรีกลายเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประจำ ไม่ว่าในรัฐธรรมนูญจะบอกว่าทำหน้าถวายคำปรึกษา แต่โดยมากแล้วองคมนตรีก็จะมีวาระประชุมประจำ มีหน่วยงานที่รับรองทำงานให้องคมนตรี โดยมากก็จะมีการนัดพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่มีการขอ อย่างเช่น เรื่องฎีกาอภัยโทษ หรือแม้เรื่องพระราชบัญญัติต่างๆ ที่ผ่านสภาแล้ว บางทีก็นำเข้ามาพิจารณาในองคมนตรีด้วย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่ององคมนตรีเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ได้เกิดองค์กรองค์กรหนึ่งที่มีฐานะพิเศษ มีสิทธิพิเศษเป็นจำนวนมาก มีเงินเดือนสูง เพราะจะให้องคมนตรีทั้งหลายกินเงินเดือนเท่ากรรมกรขั้นต่ำ กินค่าแรงรายวันวันละ 50 บาท 70 บาทก็คงจะไม่สมฐานะ เงินประจำตำแหน่งก็ต้องสูง มีรถประจำตำแหน่ง เพราะฉะนั้นองคมนตรีเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบใดๆ ของประชาชนเลย ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ไม่ได้ผ่านการคัดเลือก ไม่ได้ผ่านการโหวต เป็นไปตามพระราชวินิจฉัยอย่างเดียว

 

คราวนี้ผมคิดว่าในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญนั้น ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ได้บอกไว้แล้วว่า การกระทำทุกอย่างของพระมหากษัตริย์จะต้องมีผู้รับสนอง ถ้าไม่มีผู้รับสนองนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งอันนี้จะเป็นไปตามหลัก The King can do no wrong คือกษัตริย์นั้นทรงไม่ต้องรับผิดใดๆ เลย ให้ใครก็ตามเป็นคนรับสนองรับผิดไป ดังนั้นการให้มีองคมนตรีแบบนี้ด้วยอำนาจหน้าที่ขนาดนี้ เป็นการให้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ อันนี้ไม่ได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะมีที่ปรึกษาไม่ได้ ผมคิดว่าพระมหากษัตริย์นั้นทรงสามารถมีที่ปรึกษาได้ พระองค์สามารถที่จะแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ แต่ไม่ต้องมาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ พระองค์จะตั้งใครก็ตั้งเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แต่ต้องอย่าลืมว่าภายใต้ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ สมมติถ้าพระองค์ต้องการคำปรึกษาทางการเมือง ทางที่ถูกที่ควรคือปรึกษาคนที่มีอำนาจหน้าที่ อย่างเช่น ปรึกษานายกรัฐมนตรี หรือปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ควรจะปรึกษาองค์กรถาวรอื่นใด อันนั้นไม่ค่อยสอดคล้องตามระบบ

 

มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจ เช่นการแต่งตั้งรัชทายาท ซึ่งอันนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง คือแต่เดิมมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2475 เป็นต้นมานั้น การแต่งตั้งรัชทายาทก็ตาม การสืบสันตติวงศ์ก็ตาม แต่เดิมระบุว่าให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลและต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา

 

อาจารย์ปรีดีได้อธิบายในหนังสือกฎหมายรัฐธรรมนูญต่อมาเลยว่า ตรงนี้มีเจตจำนงค์ที่ชัดเจนว่าสถานะการเป็นพระมหากษัตริย์หรือรัชทายาทนั้น ควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากประชาชน พูดง่ายๆ ว่าประชาชนเป็นคนคัดเลือกว่าใครจะเป็นกษัตริย์ ในหนังสือเล่มนั้นได้พูดว่า สมมติเล่นๆ ว่ามีคนที่อยู่ในข่ายได้รับสืบทอดราชสมบัติหลายพระองค์และเรียงลำดับกัน รัฐสภามีสิทธิด้วยซ้ำไปที่จะเอาคนในลำดับรองแล้วเลือกขึ้นมาและรับรองผู้นั้น พูดง่ายๆ การเป็นกษัตริย์นับแต่นี้ไปตาม ideal ของรัฐธรรมนูญ 2475 ควรจะมาจากประชาชนหรือผ่านการรับรองจากประชาชน ซึ่งผมคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องสำคัญและสอดคล้องกับระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ และในประวัติศาสตร์ก็ทำมาแล้วด้วย อย่าคิดว่าไม่มีนะครับ รัชกาลที่ 8 เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ผ่านการโหวตจากสภาผู้แทนราษฎร ไปดูหนังสือพิมพ์สมัยนั้นพาดหัวว่า สภาราษฎรเลือกพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ต่อมาเมื่อพระอนุชาได้ขึ้นครองราชสมบัติก็ได้ผ่านการพิจารณาของสภาเช่นเดียวกัน ดังนั้นในประวัติศาสตร์มีแล้วอย่างน้อย 2 พระองค์ที่ได้ผ่านการเลือกของสภา

 

แต่รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาได้มีการตัดข้อความอันนี้ไป ผมจะเริ่มต้นจากฉบับปัจจุบัน ให้ถือว่าการตั้งรัชทายาทและการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลนั้นให้เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชดำริแล้ว ให้องคมนตรีไปจัดทำและทูลเกล้าถวาย เห็นไหมไม่มีการผ่านสภาที่มาจากการเลือกตั้งเลย ให้องคมนตรีไปจัดทำและทูลเกล้าถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย และเมื่อลงพระปรมาภิไธยแล้วให้แจ้งให้ประธานสภาทราบ หรือพูดง่ายๆ ว่า จากนี้ไปกิจการเกี่ยวกับรัชทายาทและกฎมณเฑียรบาลนั้นเป็นกิจการที่แจ้งเพื่อทราบสำหรับประธานสภาเท่านั้น

 

นอกจากนี้ยังระบุไว้ว่า ให้กฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายพิเศษ รัฐสภาแก้ไขไม่ได้ หมายถึงว่าพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่แก้ไขกฎมณเฑียรบาลได้ และกฎหมายใดๆ ก็ตามถ้าขัดกฎมณเฑียรบาลให้ถือว่าให้ใช้กฎมณเฑียรบาลแทน คือหมายถึงว่ากฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายพิเศษสูงสุดที่กฎหมายอื่นไม่สามารถขัดกับกฎหมายฉบับนี้ได้ ผมคิดว่า 2 เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก คือเรื่ององคมนตรีกับเรื่องการแต่งตั้งรัชทายาท ผมคิดว่าเป็นการถอยหลังไปจากระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญแล้ว เป็นการมุ่งให้พระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์จนพ้นไปจากกรอบของระบอบ

 

ผมขอสรุปในขั้นต้นจากตัวอย่างที่ยกมา ผมได้ตั้งประเด็นแล้วว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา หรือที่ประกาศใช้มา 18 ฉบับ ทุกๆ ฉบับเพิ่มพระราชอำนาจ ให้พระราชอำนาจเพิ่มขึ้นๆ ทุกที ผมคิดว่าเราไม่ได้มีการอภิปรายกันอย่างจริงจัง ถ้าถามความเห็นผม ผมคิดว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้ไม่สอดคล้องหรือไม่ต้องด้วยสิ่งที่เราเรียกว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

 

ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเราไม่มีหลักการในประเทศไทย ผมขออนุญาตไปดูหลักการของต่างประเทศ กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญตามหลักการของสวีเดน กษัตริย์สวีเดนพระองค์เป็นประมุขในทางพิธีการแห่งรัฐเท่านั้น พระองค์ต้องไม่มีพระราชอำนาจเลย เพราะอำนาจทั้งหมดถือเป็นของประชาชน ความเป็นประมุขของกษัตริย์สวีเดนจึงเป็นเพียงหน้าที่ในด้านพิธีการ ผมคิดว่าระบบกษัตริย์สวีเดนน่าจะเป็น ideal ของสิ่งที่เรียกว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย เคยเสนอประเด็นแบบนี้แล้วว่า ในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์นั้นไม่ควรมีพระราชอำนาจ เพราะอำนาจเป็นของประชาชน

 

กรณีของกษัตริย์อังกฤษที่มักจะอ้างกันว่าเป็นต้นแบบของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ได้มีการอ้างกันว่าระบบกษัตริย์นั้นมีคุณค่าเพราะระบอบกษัตริย์อังกฤษมีพระราชอำนาจ 3 ประการ คือ หนึ่ง อำนาจในการได้รับการหารือจากรัฐบาล พูดง่ายๆ คือรัฐบาลอังกฤษสามารถหารือกับกษัตริย์อังกฤษได้ สอง อำนาจในการสนับสนุนรัฐบาล สาม อำนาจในการตักเตือนรัฐบาล ฟังดูเหมือนกับว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์อังกฤษจะมีมาก แต่ผมฟังแล้วก็แปลก สมมติว่าความจำเป็นของกษัตริย์อังกฤษมีพระราชอำนาจในลักษณะเช่นนี้ คือ ได้รับการหารือจากรัฐบาล สนับสนุนรัฐบาล ตักเตือนรัฐบาล ผมว่าอำนาจอย่างนี้ให้สภาผู้แทนราษฎรก็ได้ อำนาจในการตักเตือนรัฐบาลสภาก็น่าจะทำได้ อำนาจในการสนับสนุนรัฐบาลน่าจะเป็นอำนาจของพรรครัฐบาล หรือสมมติเราอยากจะคงวุฒิสภาไว้ อันนี้เป็นเรืองใหญ่เรื่องหนึ่งคงจะคุยกันคราวหลัง ให้อำนาจแบบนี้กับวุฒิสภาก็ได้

 

ผมจึงยังไม่ค่อยเห็นในความจำเป็นว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญแบบอังกฤษเป็นระบบที่ดี เพราะกษัตริย์อังกฤษมีอำนาจ 3 ประการแบบนี้ ถ้าสรุปแล้วผมคิดว่าเอา ideal ของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แบบกษัตริย์สวีเดน เป็นประมุขในทางพิธีการแห่งรัฐโดยไม่มีพระราชอำนาจ น่าจะเป็นระบบที่มีหลักประกันมากกว่า ดังนั้นผมจะบอกว่าพระราชอำนาจตามรัฐธรรมของเราทั้งหมดนี้ไม่สอดคล้องกับ ideal กษัตริย์แบบสวีเดนเลย

 

4.พระราชอำนาจทั้งหลายที่มิได้ตราอยู่ในรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่ 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ คือพระราชอำนาจพิเศษทั้งหลายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าปัจจุบันนี้ชนชั้นนำไทยแสร้งอธิบายว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นกฎหมายสำคัญ แต่ว่าในความเป็นจริงชนชั้นนำของไทยปฏิบัติต่อรัฐธรรมนูญเหมือนเป็นกฎหมายที่ต่ำที่สุด อาจารย์ปรีดีอธิบายว่าในระดับกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญอยู่สูงที่สุด ต่อมาคือพระราชบัญญัติมีศักดิ์สูงกว่า ต่อมาคือพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นคำสั่งของรัฐบาลก็ต้องต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่ต่ำสุดก็คือพระราชกำหนดที่ออกมาชั่วครั้งชั่วคราว แต่ในความเป็นจริงของประเทศไทยขณะนี้เราจัดลำดับใหม่ กฎหมายสำคัญสูงสุดคือพระราชกำหนด ต่อจากพระราชกำหนดคือพระราชกฤษฎีกามีความสำคัญรองมา พระราชบัญญัติที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรสำคัญเป็นอันดับที่สาม รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ต่ำสุด แม้คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคณะรัฐประหาร คณะควายก็สูงกว่ารัฐธรรมนูญอีก ชนชั้นนำไทยกำลังทำอยู่เป็นเรื่องที่ไม่ถูกทั้งนั้นนะ ที่ถูกต้องแล้วถ้าระบบการเมืองมันเป็นไปโดยดีโดยปรกติโดยชอบ ซึ่งระบบการเมืองในนานาประเทศแล้วเราต้องไม่ยอมรับอะไรอย่างนี้ รัฐธรรมนูญต้องเป็นกฎหมายสูงสุด อย่างเช่นในอเมริกาหรือในฝรั่งเศส มันต้องฉีกไม่ได้ อาจจะแก้ได้แต่ต้องมีระบบการแก้ของมัน และจะให้พระราชกำหนดสูงกว่ารัฐธรรมนูญมันต้องเป็นไปไม่ได้ และต้องไม่มีกฎหมายใดๆ จะล้มล้างหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือจะมีศักดิ์เหนือกว่ารัฐธรรมนูญต้องเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเราทำกันไม่ถูกมันก็เป็นอย่างนี้ ที่มันไม่ถูกเพราะอำนาจพิเศษมันเยอะ ซึ่งน่าสนใจมากนะครับ

 

เมื่อกี้เราพูดถึงอำนาจตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นที่สักการะ ละเมิดไม่ได้ ฟ้องร้องไม่ได้ น่าแปลกว่าในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุสิทธิคุ้มครองใดๆ ไปถึงสมเด็จพระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์องค์ใดเลย น่าแปลกที่สิทธิเหล่านี้ไม่ได้คุ้มครองในรัฐธรรมนูญ แต่เราทราบกันดีในทางสังคมว่า สิทธิคุ้มครองมันคุ้มครองมากๆ มันคุ้มครองด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตรา 112 หรือเปล่า ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่เพราะว่ากฎหมายมาตรา 112 นั้นใช้ในกรณีที่มีใครไปหมิ่น แต่พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้นั้นมีความหมายมากกว่า 112 นะในทางบังคับใช้กฎหมาย ผมพูดแบบคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายที่เข้าใจว่าต้องมากกว่านั้น เมื่อต้องมากกว่านั้น ผมคิดว่าสิทธิคุ้มครองที่คุ้มครองไปถึงพระราชวงศ์องค์ต่างๆ ถึงเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ทูลกระหม่อมทุกพระองค์ ผมรู้สึกว่าคล้ายๆ จะเป็นอำนาจพิเศษ และบางทีอาจจะคุ้มครองไปถึงพระมหากษัตริย์ทั้งหลายในอดีตด้วย

 

การใช้อำนาจบางเรื่องในภาวะวิกฤต คือเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์ไทย อย่างเช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจในการตั้งนายกพระราชทาน คือตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายก ผมเข้าใจว่าไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญใดๆ ถ้าจะตีความกันตรงๆ ในทางกฎหมายผมคิดว่ามีปัญหาในเชิงกฎหมายอยู่ ว่าสถานะของพระองค์ตามระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแต่งตั้งนายสัญญา ธรรรมศักดิ์เป็นนายกได้หรือไม่ แต่เราก็ยอมรับกันเพราะว่ามันเป็นกระบวนการทางเมืองและสังคมโดยที่เราไม่พูดถึงเรื่องกระบวนการทางกฎหมาย

 

การเข้ามาไกล่เกลี่ยอย่างกรณีพฤษภา 35 ที่เรียกคุณจำลอง ศรีเมือง กับสุจินดามาออกทีวี อันนี้เป็นการใช้พระราชอำนาจในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในรัฐธรรมนูญและมักจะอ้างกันว่าการใช้อำนาจในลักษณะเช่นนี้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ผมยืนยันว่าไม่มีเลย การใช้พระราชอำนาจทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเป็นการใช้พระราชอำนาจในเชิงบุคคล คือใช้อำนาจส่วนพระองค์มากกว่า ไม่ได้เป็นอำนาจของระบบ เพราะพระองค์ทรงมีพระบารมี

 

ตั้งแต่ต้นผมตั้งคำถามว่า เราพูดถึงคุณค่า หรือความดี หรือความถูกต้องของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่ยึดโยงกับตัวบุคคล ถ้าเราจะให้ระบอบนี้ยืนอยู่คู่ฟ้าหรือคู่ประเทศไทยต่อไป เราต้องตอบคำถามให้ได้ว่าคุณค่าในเชิงระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่อิงกับตัวบุคคลคืออะไร จนถึงเรื่องสุดท้ายที่ผมพูดผมยืนยันว่าเรายังไม่มีคำอธิบายที่ดีพอและชัดเจนพอ และมันจะยังต้องเป็นปัญหาต่อไปตราบเท่าที่เรายังมีระบบแบบนี้ เผลอๆ คิดไปว่าจะอยู่ไปได้เรื่อยๆ แต่สถานการณ์ปัจจุบันมันไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว สถานการณ์มันจะเปลี่ยนไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งผมเดาไม่ได้ พวกเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เรากำลังอยู่ในภาวะที่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญถูกท้าทายอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนนับตั้งแต่ 2490 เป็นต้นมา และผมคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ที่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งคงจะต้องทำงานหนักกว่านี้ หาเหตุผลที่ฟังได้หรือฟังดีกว่าที่เราอ้างกันอยู่ทุกวันนี้ว่า ประเทศไทยเรามีลักษณะพิเศษผมคิดว่าไม่พอ ขอบคุณครับ 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บุญยืน สุขใหม่: แรงงานที่ถูกลืม

Posted: 12 Dec 2010 05:43 PM PST

 
หลังจากผ่านพ้นวิกฤติการเมืองช่วงเมษา-พฤษภา ๕๓ ทำให้หลายคนรู้สึกโล่งอกกับปัญหาเฉพาะหน้าหรือเรื่องที่เป็นกังวลอยู่ลึกๆ ในใจ หลังสิ้นเสียงระเบิดและกลิ่นคาวเลือดมีคำถามต่างๆ เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์มากมาย ไม่ต่างจากเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งที่ผ่านมาในอดีต ผู้ชนะมักเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เสมอ ที่ผ่านมาเราจึงเห็นประวัติศาสตร์หรือเค้าโครงของประเทศไทยบิดเบี้ยวตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
 
วันนี้กระแสการปฏิรูปกำลังมาแรง นักวิชาการก็จะปฏิรูป นักแรงงานก็จะปฏิรูป แล้วคนอย่างผมที่ไม่อยากร่วมวงด้วยกับใครจะอยู่ตรงไหนของสังคม ผ่านมาได้สี่ปีนิดๆ กับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่หลายคนบอกว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีผลกระทบมากมายขนาดนี้ แม้แต่ผู้กระทำการอย่าง พลเอกสนธิ เองยังคาดไม่ถึงว่าสังคมไทยจะเกิดความแตกแยกได้มากมายขนาดนี้
 
ท่ามกลางวาทกรรมและการช่วงชิงการนำทางการเมืองของแต่ละฝ่าย เมื่อฝ่ายหนึ่งยิ่งไต่เต้าขึ้นสูงเท่าใด ก็ยิ่งสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นมากเท่านั้น เพราะการจะไปถึงจุดหมายจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแก่งแย่งช่วงชิง จะต้องหยาบคายไร้มโนธรรม จะต้องฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ นี่แหละสังคมที่เราอยู่จึงเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ เต็มไปด้วยการต่อสู้ช่วงชิงไม่มีที่สิ้นสุด และถึงแม้พวกนักการเมือง พวกนักกฎหมายและพวกเศรษฐีที่ดินจะพร่ำเพ้อถึงสันติภาพและการเลือกตั้งมากเพียงใด คำพูดที่เปล่งเสียงออกมานั้นก็หามีความหมายไม่ มันเป็นเพียงแค่มายาจริตจอมปลอมเท่านั้นเอง หรืออาจเพียงเพราะแค่ต้องการให้ภาพของตนเองดูดีขึ้น
 
เมื่อเราผ่านพ้นวิกฤติการเมืองมาได้อย่างล้มลุกคลุกคลานที่หลายคนบอกว่าให้ลืมซะแล้วหันหน้ามาปรองดองกัน ให้ตายเถอะผมคงลืมมันไม่ได้เพราะผมไม่ใช่ ควาย ที่ใครจะมาออกคำสั่งให้ซ้ายหันหรือขวาหันก็ได้อย่างใจนึก อยากจะให้จำอะไรก็ต้องจำหรืออยากให้ลืมอะไรก็ต้องลืม มันไม่ง่ายอย่างที่นักบุญทั้งหลายพ่นน้ำลายใส่กันหลอก แต่เราจะมาหยุดพักพูดเรื่องการเมืองกันสักนิดก่อน
 
เราหันมาพูดเรื่องสถานการณ์แรงงานกันบ้างเป็นอย่างไรในปีนี้ ในภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง ซึ่งมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่ขณะเดียวกันการรวมกลุ่มหรือรวมตัวของคนงานเพื่อจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับนายจ้างก็มีสัดส่วนในอัตราที่สูงเช่นเดียวกัน
 
ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ในภาคตะวันออกมีสหภาพแรงงานกว่า ๑๐๐ แห่งทะยอยยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อนายจ้างซึ่งเป็นชาวต่างชาติ โดยที่ประเด็นหลักๆ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การขอโบนัสประจำปี ซึ่งหลายสหภาพแรงงานก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเป็นที่น่าพอใจของสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งหลายรวมทั้งเหลือบแรงงาน(หรืออาจจะเรียกว่าเห็บหรือหมัดก็ได้นะ) ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแต่พลอยได้รับผลประโยชน์จากการยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานไปด้วย หลายคนได้วางโครงการสำหรับการใช้เงินไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ก็มีอีกหลายคนเช่นกันที่ไม่รู้สึกยินดียินร้ายกับเงินก้อนนั้นนัก เพราะว่าเจ้าหนี้คงจะหักหมดไม่เหลือไว้ให้แน่นอน หลายคนมีรอยยิ้มพร้อมเสียงหัวเราะอย่างดีใจเมื่อเห็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานหรือเมื่อบริษัทปิดประกาศเรื่องการจ่ายโบนัส มันเป็นเหมือนรางวัลสำหรับชีวิตหลังจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งปี
 
            ตัวอย่างการจ่ายโบนัสในบริษัทต่างๆ ในภาคตะวันออกที่เจรจายุติแล้วแล้ว
 
 

แต่ในอีกมุมหนึ่งของโรงงานมีพนักงานจำนวนหนึ่งยังคงก้มหน้าทำงานโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เขาเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะลาป่วย ไม่มีสิทธิที่จะลากิจ เพราะนั่นหมายถึงรายได้ที่จะต้องหดหายไป เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าจ้างในวันหยุด และไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ปรับค่าจ้างประจำปีถ้าค่าจ้างของเขาสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่รัฐบาลประกาศกำหนด ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับสวัสดิการใดๆ ที่สหภาพแรงงานร้องขอ และที่สำคัญที่สุดคือเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับโบนัสเช่นเดียวกับพนักงานประจำทั่วไป ทั้งๆ ที่งานที่ผลิตออกไปขายให้กับลูกค้านั้นส่วนหนึ่งเกิดจากหยาดเหงื่อและแรงกาย หรือบางครั้งมาจากคราบน้ำตาของพวกเขาเอง เขาได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากพนักงานประจำของบริษัทอย่างสิ้นเชิงในทุกๆ ด้าน ยกเว้นเรื่องของการทำงานเท่านั้นที่เขาต้องทำมากและเสี่ยงกว่าพนักงานประจำ แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับคืนมามันช่างน่าขมขื่นยิ่งนัก เขาเหล่านั้นคือลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง หรือที่ทุกคนเรียกกันจนติดปากว่า “Subcontract”
 
หลายแห่งพนักงานเหมาค่าแรงตกเป็นเครื่องมือของนายจ้างในการนำมาต่อรองหรือลดบทบาทของสหภาพแรงงาน แต่บางแห่งพนักงานเหมาค่าแรงก็ตกเป็นเครื่องมือของสหภาพแรงงานในการต่อรองกับนายจ้าง โดยบอกว่าให้ออกมาร่วมกดดันต่อสู้ร่วมกันแล้วชัยชนะจะเป็นของทุกคน เมื่อการเจรจายุติ สมาชิกสหภาพแรงงานทุกคนกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ แต่พนักงานเหมาค่าแรงที่ออกมาร่วมต่อสู้กลับถูกเลิกจ้างโดยไม่มีใครออกมารับผิดชอบหรือเหลียวแล ในขณะที่พนักงานประจำ จำนวนมากกำลังสาละวนกับการวางแผนการใช้เงินโบนัส ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน จะซื้ออะไรไปฝากพี่น้องที่ชนบท
 
แต่คนงานเหมาค่าแรงเขาไม่กล้าแม้แต่จะคิด เพราะเพียงลำพังค่าแรงที่ได้รับในแต่ละเดือนก็แทบจะไม่พอกับค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่มีอยู่แล้ว ฉะนั้น สำหรับการวางแผนของพนักงานเหมาค่าแรงหลายคนในช่วงเทศกาลหยุดยาวในปีใหม่ที่จะถึงนี้จึงเป็นตารางการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด โดยหวังว่าจะได้เงินเพิ่มขึ้นมาอีกสักนิดเพื่อเป็นค่าเทอมให้กับลูก หรือส่งให้กับครอบครัวที่รอรับการเยียวยาอยู่ที่ชนบท นานแค่ไหนแล้วที่เขาเหล่านี้ต้องอดทนทำงานหนัก เสี่ยงอันตราย และส่วนใหญ่ต้องทำงานล่วงเวลานานหลายชั่วโมง จนร่างกายเสื่อมโทรมและมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำๆ เพียงเพื่อแลกกับเศษเงินของนายจ้างเป็นค่าแรงราคาถูกที่พอแค่เลี้ยงชีพได้ไปวันๆ แต่คนที่ได้ประโยชน์และเสวยสุขจากหยาดเหงื่อและแรงงานของพวกเขาเป็นเพียงแค่คนไม่กี่คน คือบริษัทนายหน้าค้ามนุษย์ รวมทั้งบริษัทที่ใช้บริการการจ้างงานเหมาค่าแรงเอง เขามีความผิดอะไร ทำไมเขาไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมเหมือนกับผู้ใช้แรงงานทั่วไป
 
เมื่อมองย้อนกลับมาดูแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๔(๗) ซึ่งได้เขียนไว้อย่างสวยหรูว่า ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธ์เลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการโดยที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
 
และในขณะเดียวกันก็มีการประกาศบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๑/๑ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงโดยมีเนื้อหาที่น่าจะเป็นประโยชน์กับลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง คือ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว
 
ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
 
แต่ในความเป็นจริง แรงงานเหล่านั้นกลับถูกเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกันกับคนงานประจำ เสมือนว่า พวกเขาเป็นคนอีกชั้นหนึ่งของโรงงาน ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ในอดีตประเด็นการจ้างงานเหมาค่าแรงถือว่าเป็นประเด็นที่ร้อนแรงทุกคนในสังคมต่างให้ความสนใจ และพยายามผลักดันให้เขาเหล่านั้นได้รับสิทธิที่เป็นธรรมและเท่าเทียม แต่วันนี้ทำไมกระแสความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมถึงได้เงียบหายไป หรือ เขาเหล่านี้ได้ถูกลืมไปแล้วจากสังคม................
 
ยกเลิกสัญญาทาส ยุติเหมาค่าแรง ยุติความยากจน


สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น