โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

"มาร์ค" ชี้หากดีเอสไอค้านประกันเสื้อแดง ต้องมีหลักฐานชัดเจน

Posted: 22 Dec 2010 11:52 AM PST

นายกชี้หากดีเอสไอค้านการประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดง ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ยืนยันการพบกับรักษาการประธาน นปช.เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ย้ำการยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ สถานการณ์บ้านเมืองต้องมีความสงบเรียบร้อย

22 ธ.ค. 53 - นายกรัฐมนตรีชี้หากดีเอสไอค้านการประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดง ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ยืนยันการพบกับรักษาการประธาน นปช.เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ย้ำการยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ สถานการณ์บ้านเมืองต้องมีความสงบเรียบร้อย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไม่เห็นด้วยกับการให้ประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ในเรื่องของมติคณะรัฐมนตรีชัดเจนอยู่แล้วว่า การประกันตัวเป็นสิทธิของผู้ต้องหา การคัดค้านหรือไม่คัดค้านเป็นดุลพินิจของศาล และวันนี้ที่มีข่าวออกมาระบุว่า รัฐบาลพร้อมให้ประกันกลุ่มคนเสื้อแดง 104 คน เรื่องดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของคณะรัฐมนตรี หน้าที่ของเราคือให้หลักเกณฑ์ไปเท่านั้น ขณะที่กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพก็ไปดำเนินขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งต้องยอมรับว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา หรือประชาชนโดยทั่วไป ย่อมมีสิทธิประกันตัว แต่ทั้งนี้ต้องอยู่กับข้อมูลและดุลพินิจของศาล หากมีข้อมูลว่าการประกันตัวแล้วผู้ต้องหาจะออกมาสร้างความวุ่นวาย ก็เป็นสิทธิของหน่วยงานที่จะคัดค้าน ดังนั้น หากดีเอสไอจะคัดค้าน ต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่

“ผมเข้าใจว่าขณะนี้ดีเอสไอจะคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาหลายคน เบื้องต้นทราบมาว่า จะคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาที่เคยขอยื่นขอประกันตัวไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น ขอให้เข้าใจว่ารัฐบาลไปชี้ไม่ได้ว่าจะให้ประกันใคร หรือไม่ให้ประกันใคร อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าการพบกับนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจระหว่างกัน รัฐบาลต้องการเห็นความสงบและความปรองดอง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย บางคนก็เข้าใจผิดว่ารัฐบาลไปให้การช่วยเหลือ ซึ่งมันไม่ใช่ ทุกอย่างเป็นเรื่องของกฎหมาย ยอมรับว่าคงมีเรื่องของการเจ็บตัวบ้าง ถ้าจะทำเรื่องความปรองดองทั้งหมด เจ็บตัวแน่ ถ้าไม่ต้องการเจ็บตัว ก็ไม่ทำอะไรเลยเสียดีกว่า อยู่เฉยๆ ผมเข้าใจว่าหลายคนมีทั้งพอใจ และไม่พอใจ ฝ่ายหนึ่งที่ขอให้ปล่อยตัว ก็พอใจ อีกฝ่ายไม่ต้องการให้ปล่อยตัว ก็ไม่พอใจ” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางของความปรองดองจะขึ้นอยู่กับการยุบสภาฯ แล้วเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ต้องดูว่าขณะนี้สถานการณ์มีความสงบหรือไม่ ถ้ามีการเลือกตั้งแล้วไม่สงบ ก็คงไม่มีเรื่องความปรองดอง ตนเคยบอกเสมอว่าจะยุบสภาฯ เมื่อใด เป็นเรื่องของบ้านเมืองที่ต้องมีความสงบก่อน ถ้าต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ขอให้ช่วยกันทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และจะให้ตนประเมินว่า 2-3 เดือนข้างหน้าจะมีเหตุการณ์อ่อนไหวอะไรหรือไม่ คงตอบไม่ได้ ซึ่งการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถ้าชุมนุมอยู่ในกรอบ และปราศจากอาวุธ คงไม่มีปัญหา คงยอมรับได้

ที่มาข่าว:

นายกรัฐมนตรีชี้หากดีเอสไอค้านประกันตัวเสื้อแดง ต้องมีหลักฐานชัดเจน (สำนักข่าวไทย, 22-12-2553)
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/146443.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รักเชียงใหม่ 51 ร้องสอบฆ่าเสื้อแดง "มาร์ค" หวังตำรวจคลายปม

Posted: 22 Dec 2010 11:45 AM PST

กลุ่มแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ออกแถลงการณ์ในการเคลื่อนไหว กรณีการเสียชีวิตของ "ดีเจ แดง คชสาร" จี้เร่งสอบการสังหารคนเสื้อแดง ขู่เคลื่อนไหว หากเรื่องยังเงียบ ด้านนายกหวังตำรวจคลายปมสังหาร ยันไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงกับกลุ่มใด

22 ธ.ค. 53 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากการเสียชีวิตของนายน้อย บรรจง หรือดีเจ แดง คชสาร วัย 50 ปี การ์ดกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่ถูกอุ้มฆ่ายัดยาบ้า ทิ้งศพไว้ในป่า บ้านหมู่ 10 ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และเกิดการหวาดผวาในกลุ่มคนเสื้อแดงเชียงใหม่ และระดับแกนนำหลายคน ดังนั้นเมื่อเวลา 11.00 น. บริเวณลานหน้าโรงแรมวโรรสแกรนด์พาเลซ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ประมาณ 200 คน ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาหาข่าวที่เกิดขึ้น พร้อมกับสาปแช่งคนร้ายที่ก่อการอำมหิตกับคนเสื้อแดง ซึ่งถือว่าเป็นรายที่ 2 โดยรายแรกคือนายกฤษดา กล้าหาญ การ์ดกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ถูกกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงถล่มเสียชีวิต ต่อมาคือนายน้อย บรรจง หรือดีเจ แดง คชสาร ซึ่งมาถูกอุ้มฆ่ายัดยาบ้าอีก จึงเชื่อว่าเชียงใหม่มีขบวนการล่าสังหารแกนนำเสื้อแดงและการ์ดเสื้อแดงอย่างแน่นอน

ต่อมาเวลา 11.30 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมวโรรส เชียงใหม่ นายกฤษณะ พรมบึงรำ หรือดีเจ กฤษณะ 51 พร้อมทั้งนายแดง สองแคว ได้ร่วมกันออกมาแถลงข่าวและแจกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน กรณีที่มีขบวนการไล่ล่าสังหารกลุ่มคนเสื้อแดงในหลายๆจังหวัด โดยเฉพาะที่เชียงใหม่ มีการสังหารโหดนายกฤษดา ด้วยอาวุธสงคราม เมื่อ 3 เดือนผ่านมา ซึ่งตำรวจยังไม่สามารถคลี่คลายคดีลงได้ และหลังจากมีการเปิดตัวแกนนำรุ่นที่ 2 ของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ปรากฏว่าแกนนำที่ถูกเปิดตัวออกมาถูกกลุ่มคนใส่ชุดดำแอบสะกดรอยตามดูความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะตัวนายน้อยที่ถูกสังหารล่าสุด รู้ตัวว่าถูกตามตัวจนต้องเปลี่ยนที่พักอาศัยตลอด เพื่อหนีการไล่ล่า แต่ก็ไม่สามารถหนีพ้นไปได้

นายกฤษณะ เปิดเผยว่า ตนเชื่อว่ามีขบวนการไล่ล่าแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 อย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นการสังหารโหดพี่น้องคนเสื้อแดงอย่างโหดเหี้ยม ถือว่าเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู แต่ก็ขอบอกว่าแม้จะตายอีกกี่ศพ จะจบอีกกี่ชีวิต แต่ปณิธานของกลุ่มรักเชียงใหม่ ยังคงแน่วแน่ในภารกิจคือ เรียกร้องประชาธิปไตย ส่งเสริมขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมล้านนา ช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย บริการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

"ดังนั้นทางกลุ่มเชียงใหม่ 51 จึงขอแถลงการณ์และเรียกร้อง 4 ข้อ 1.ขอให้เร่งรีบในการสืบสวนสอบสวนคดีของคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตไม่ปกติ เช่น รายของนายกฤษดา กล้าหาญ และนายน้อย บรรจง หรือแดงคชสาร 2.ขอให้เหล่าดีเจคลื่นสีแดงทุกคน ผนึกกำลังกันต้อสู้กับอำนาจมืดที่กำลังคุกคามชีวิตของเหล่าดีเจคนเสื้อแดง 3.ขอเรียกร้องให้สมาคมนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักจัดรายการวิทยุของจังหวัดเชียงใหม่ ให้ออกมาปกป้องถึงสิทธิเสรีภาพในการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงแก่ประชาชน 4.กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จะยังเดินหน้าเรียกร้องประชาธิปไตย ความเป็นธรรมและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นมาตรฐานต่อไป 5.ขอเรียกร้องให้ขบวนการที่พยายามไล่ล่าสังหาร คนที่มีความคิดต่างทางด้านการเมืองอย่างโหดเหี้ยม ให้หยุดพฤติกรรมอย่างนี้โดยทันที เพราะมิฉะนั้นคนเสื้อแดงทั้งประเทศจะลุกฮือขึ้นมา เพื่อปฎิบัตอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อปกป้องชีวิต และสิทธิเสรีภาพของคนเสื้อแดง" นายกฤษณะ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรานงานว่า สำหรับศพของนายน้อย จะยังคงเก็บรักษาไว้ที่ห้องเก็บศพของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อรอญาติมารับไปบำเพ็ญกุศลส่วนการเคลื่อนไหวทางแกนนำจะดูท่าทีของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หากยังนิ่งเฉยอยู่ก็จะมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตในครั้งนี้

ขณะที่พล.ต.ท.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ผบช.ภ.5 กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า คดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ผมให้ความสำคัญเท่ากันทุกเรื่อง ตำรวจเราพยายามดูแลความสงบสุบเรียบร้อยของประชาชนโดยเน้นย้ำการให้บริการของประชาชน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจทุกฝ่าย เมื่อเหตุเกิดขึ้นเราก็ต้องดำเนินการติดตามจับกุมในคดีนี้ เบื้องต้นผมก็พอจะทราบข้อมูลบางอย่างแล้ว และได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ ผบก.ภ.เชียงใหม่ ลงไปควบคุมดูแลคดีอย่างใกล้ชิดต่อไปแล้ว

ต่อคำถามที่ว่า ตำรวจจะเข้าไปควบคุมวิทยุชุมชนกลุ่มเสื้อสีต่างๆ อย่างไร ผบช.ภ.5 กล่าวว่า วิทยุชุมชนทุกสถานีผมได้ให้ตำรวจเจ้าของพื้นที่ดูแลรับผิดชอบดูแลติดตามเรื่องนี้อยู่ เชื่อว่าการให้ข้อมูลข่าวสารประชาชนเขามีวิจารณญาณว่าอะไรดีอะไรไม่ดี ส่วนจะพาดพิงใครได้รับความเดือดร้อนก็เป็นสิทธิ์ตามคดีอาญา สำหรับตำรวจภาค 5 ก็มีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นกฎหมาย จะให้ใครมาฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้

นายกฯหวังตำรวจคลายปมฆ่าแดงเชียงใหม่

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยกรณีกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดไล่ล่าคนเสื้อแดง และเร่งสอบสวนกรณียิงคนเสื้อแดงที่จ.เชียงใหม่ ตาย 2ศพว่า ก็หวังว่าเจ้าหน้าที่จะคลี่คลายคดีโดยเร็ว เพื่อให้ความจริงปรากฏออกมา จะได้ไม่เป็นปัญหาของการปลุกระดม และต้องทำตรงไปตรงมา เพราะรัฐบาลไม่มีนโยบายการใช้ความรุนแรงกับคนกลุ่มใดทั้งนั้น และหวังว่าหลังการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตำรวจจะดูแลบ้านเมือง รักษาความสงบเรียบร้อยได้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่เคยไม่เชื่อใจตำรวจ เพียงแต่ช่วงแรกที่เข้ามา ต้องยอมรับว่าเกิดเหตุการณ์ เช่น การประชุมอาเซียน เราต้องยอมรับว่า กลไกต้องได้รับการปรับการเสริมที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา ได้สอบถามหลายครั้ง ผบ.ตร.ก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่รู้ว่าเป็นหน้าที่ๆ ต้องทำ และต่อไปในอนาคต เราต้องคาดหวังว่ากลไกตำรวจจะเป็นกลไกหลักในการดูแลสถานการณ์ต่างๆ ได้ มันจะได้เข้าสู่ระบบสากลจริงๆ

"ธิดา"เผย"7แกนนำนปช." ขอใช้สิทธิยื่นประกันตัว "ณัฐวุฒิ" ฝากบอกยืนในจุดเดิมของคนเสื้อแดง

ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เดินทางมาเยี่ยมแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ พร้อมหารือกรณีเรื่องยื่นขอประกันตัว โดยบริเวณหน้าเรือนจำและห้องเยี่ยม มีบรรดาสมาชิกเสื้อแดงกลุ่มคนรักอุดรกว่า 100 คนยืนถือป้ายให้กำลังใจ มีเจ้าหน้าที่เรือนจำคอยดูแลความสงบเรียบร้อย
 
นางธิดากล่าวภายหลัง เข้าพบแกนนำว่า ในการหารือได้ข้อสรุปว่าแกนนำทั้งหมดจะขอใช้สิทธิประกันตัว โดบมอบหมายให้ทนายความไปเขียนคำร้องที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ส่วนหลักทรัพย์ขณะนี้เตรียมไว้พร้อมแล้วทั้งโฉนดที่ดินและเงินสดหลายสิบล้าน บาท หากกระบวนการเดินหน้าอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายใน 2 วันจะสามารถส่งเรื่องถึงศาลยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวแกนนำออกมาทันที ส่วนจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ

รักษาการประธาน นปช.กล่าวว่า ทั้งนี้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ฝากถึงคนเสื้อแดงถึงการขอประกันตัวว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่ายังมีจุดยืนเดียวกับคนเสื้อแดงทุกคนที่ต้องการออกมาต่อสู้ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก็จะไม่เป็นตอไม้ แต่จะเดินหน้าสร้างความสมานฉันท์เพื่อให้เกิดความปรองดองขึ้นในชาติ

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: เว็บไซต์ไทยรัฐ, เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์, มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"Insects in the backyard" ไม่ผ่านอุทธรณ์บอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติ เผย "ไม่เห็นชอบ" 13 เสียง

Posted: 22 Dec 2010 11:16 AM PST

หน้าเว็บเพจของนิตยสารไบโอสโคปรายงานว่า วันนี้ (22 ธ.ค.) ผลการอุทธรณ์ของภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ณ ทําเนียบรัฐบาล ปรากฏว่าคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้ลงความเห็นแล้วว่า "ไม่ผ่าน" ด้วยคะแนน "ไม่ผ่าน" 13 เสียง, "ผ่าน" 4 เสียง และ "งดออกเสียง" 4 เสียง

ก่อนหน้านี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ที่ทำการกระทรวงวัฒนธรรม หลังจากคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ที่ไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the backyard เนื่องจากมีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ หลายคนเห็นว่าควรจะให้คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ทุกคน ได้ลองชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวทั้งหมด เพราะเห็นว่าหากพิจารณาการอุทธรณ์จากเรื่องย่อและเอกสารประกอบที่นำเสนอมา นั้น อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้เชิญคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ทุกคนได้ชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวที่โรงถ่ายกันตนา เพื่อให้คณะกรรมการทุกคนได้ชม และพิจารณาคำอุทธรณ์ได้ชัดเจนขึ้น

ในขณะที่นายสมชาย เสียงหลาย ปลัด วธ.กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้ยื่นขอรับการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง และทางเจ้าของภาพยนตร์ได้ขออุทธรณ์ถึง 2 ครั้งเช่นกัน ซึ่งตามรายงานของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระบุว่าภาพยนตร์ดังกล่าวมีฉากใส่ชุดนักศึกษามีเพศสัมพันธ์กัน และมีฉากลูกฝันว่า ลูกฆ่าพ่อตัวเอง โดยคณะกรรมการฯเห็นว่า จะขัดต่อความมั่นคงและวัฒนธรรมได้ จึงไม่อนุญาตให้ฉาย แต่ทางผู้สร้างก็ยังคงอุทธรณ์ขอฉาย ทางคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่มีนายไตรรงค์เป็นประธาน จึงต้องดูภาพยนตร์เพื่อตัดสินอีกครั้ง

 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปาฐกถา‘อภิสิทธิ์–อูมัร อุบัยด์ ฮาซานะห์ “อิสลามจะเจิดจ้าบนแผ่นดินปัตตานีดังอดีต”

Posted: 22 Dec 2010 11:12 AM PST

ปาฐกถาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคำแถลงของอูมัร อุบัยด์ ฮาซานะห์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม ในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติด้านอิสลามศึกษา International Conference “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies

คำกล่าวเปิดและปาฐกถาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคำแถลงของอูมัร อุบัยด์ ฮาซานะห์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอิสลามศึกษา ประเทศกาตาร์ ในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติด้านอิสลามศึกษา International Conference “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี

ต่อไปนี้เป็นคำกล่าวเปิดและปาฐกถาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติด้านอิสลามศึกษา International Conference “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 21 ธันวาคม 2553 ที่อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี และคำแถลงของ H.E Umar Ubaid Hasanahที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอิสลามศึกษา ประเทศกาตาร์ มีเนื้อหาน่าสนใจ ดังนี้
 

 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

การจัดการประชุมวิชาการด้านอิสลามศึกษา เป็นการระดมแนวคิดจากผู้นำทางศาสนาอิสลามและนักวิชาการด้านอิสลามศึกษาจากต่างประเทศจำนวนมาก นับเป็นการประชุมวิชาการครั้งสำคัญและเป็นหัวใจหลักของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ยังต้องการพัฒนาสู่ความสงบสุข อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการผลิตบัณฑิตที่นับถือศาสนาอิสลามให้มีความรู้ทั้งทางด้านศาสนาและการศึกษาทางโลก เพื่อที่ในยุคหลังโลกาภิวัตน์ นักศึกษาอิสลามสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

การเผชิญโลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์ของอิสลามศึกษา ต้องมีเป้าหมายหลักๆ ได้แก่ การเน้นปฎิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ทั้งเรื่องหลักสูตร ครู และวิธีการสอน  โดยต้องเข้าใจว่า อิสลามไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างศาสนากับการศึกษาหลักสูตรทั่วไป เนื่องจากจะมีส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเพียรพยายามอย่างสูง เพื่อปฏิบัติตามแนวทางของอิสลามได้อย่างถูกต้อง

การรู้จักบูรณาการศาสตร์เพื่อสร้างเสริมศักยภาพ โดยนักศึกษาต้องศึกษาความรู้ด้านอื่นๆ ควบคู่ไปกับความสนใจและความสามารถส่วนตัวด้วย และต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความพร้อมตอบสนองความต้องการของตลาด สภาพแรงงาน ให้นักศึกษาจบออกไปประสบความสำเร็จในการหางานทำ ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

การประชุมนานาชาติครั้งนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามมาโดยตลอด เพราะไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์แต่เป็นการเรียนรู้ความหลากหลาย เพื่อสร้างความสันติสุข และความสงบร่วมกัน และรัฐบาลก็พร้อมให้การสนับสนุนเรื่องอิสลามศึกษา ทั้งเรื่องการเรียนการสอน ภาษา และการพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษา

หลังเปิดการประชุม นายกรัฐมนตรีได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้

การประชุมครั้งนี้เป็นผลมาจากที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สร้างความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อ เพื่อให้โลกมุสลิมเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในเรื่องของการศึกษาและเรื่องอิสลามศึกษา เป็นโอกาสดีที่จะให้บุคลากรจากหลายประเทศเข้ามาสัมผัสกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่

เท่าที่ผมได้สัมผัสแม้เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เห็นชัดว่าเขามีความประทับใจ ในการที่ประเทศไทยได้ให้โอกาสและการดำเนินงานที่มีลักษณะที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมุ่งส่งเสริมโอกาสสำหรับพี่น้องชาวมุสลิมของไทยเอง

เพราะฉะนั้นวันนี้ ผมถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญ แล้วก็จากการประชุม ผมก็มีการความหวังว่า ที่จะมีการออกแถลงการณ์ พูดถึงการสานต่อในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต ซึ่งความร่วมมือตรงนี้ มีความหมายมากสำรับเรื่องการศึกษาด้วย เรื่องต่างประเทศด้วย แล้วการสร้างโอกาสของพี่น้อง 3 จังหวัด

ถามนโยบายรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษา

การสัมมนาครั้งนี้ก็เป็นรูปธรรมหนึ่ง แต่แน่นอนว่า เราต้องใช้เวลา ซึ่งหมายถึงความต่อเนื่องในการพัฒนาขึ้นมา ผมคิดว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการแสดงศักยภาพให้เห็น และการรับรู้และจากเครือข่ายที่จะสามารถขยายต่อไปได้ ก็จะช่วยเป็นแรงกระตุ้น

ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พูดถึงการที่จะให้ปัตตานีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกอิสลามศึกษา หมายถึงรัฐบาลไทยได้ยอมรับการมีอยู่จริงของประวัติศาสตร์ปัตตานีแล้วอย่างเป็นทางการ และสิ่งที่จะตามมาคืออะไร

สิ่งที่รัฐบาลได้ยืนยันมาตลอดว่า เรื่องวัฒนธรรม เรื่องประวัติศาสตร์ ต้องเคารพในความเป็นจริงและความหลากหลาย คิดว่ารัฐบาลไม่ปฏิเสธเรื่องนี้ เราได้ยอมรับเรื่องความเป็นจริงและความหลากหลายมาโดยตลอด ผมคิดว่าพี่น้องประชาชนพึงได้รับรู้รับทราบ

จริงๆ แล้ว ในแง่ความหลากหลายที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ควรจะมีความภาคภูมิใจ และส่งเสริมความหลายหลายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะภายใต้นโยบายของรัฐบาล และขณะนี้จะเห็นได้ว่าทุกหน่วยงานได้สนองนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ด้วย

 

นายอูมัร อุบัยด์ ฮาซานะห์


อูมัร อุบัยด์ ฮาซานะห์

ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอิสลามศึกษา ประเทศกาตาร์

สังคมที่อยู่ภายใต้บรรยากาศแห่งสันติ เช่นที่สัมผัสได้ในประเทศไทย เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการให้อิสระของรัฐบาลไทยในการนับถือศาสนา เป็นอารยธรรมของการที่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเป็นโอกาสที่แม้ประเทศในโลกอาหรับบางประเทศก็ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเช่นนี้ได้

โดยความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทั่วไป ไม่ปรารถนาความรุนแรง เนื่องจากไม่ได้สร้างสรรค์อะไรนอกจากจะกลายเป็นตัวถ่วงความเจริญ และผลที่ได้รับกลับมาคือความรุนแรงเช่นกัน จึงดีใจที่ได้เห็นบรรยากาศของประเทศไทยที่ให้สิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้สนับสนุนการจัดในครั้งนี้คือรัฐบาลเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นสำคัญของรัฐบาลนี้ ที่มีให้กับศาสนิกที่เป็นมุสลิม

การที่จะสามารถลบล้างความคิดแบบสุดโต่งและความรุนแรง ก็ด้วยการเพิ่มสิทธิและโอกาสแก่ประชาชนให้มากขึ้น  สิ่งสำคัญคือภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีการเปิดสอนด้านอิสลามศึกษา ที่จะเป็นผู้ให้คำตอบและอธิบายให้มุสลิมทุกคนว่า เขาเหล่านั้นสามารถจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพลเมืองทั่วไป

ไม่อยากให้เห็นการสัมมนาครั้งนี้เป็นการพูดคุยนำเสนอเรื่องวิชาการที่สิ้นสุดลงในระยะเวลา 3 วัน โดยเปล่าประโยชน์  โดยเห็นว่าต้องแปลงสิ่งที่พูดคุยกันให้เกิดขึ้นได้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อศึกษาวิเคราะห์ และติดตามงานที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา โดยมีนักวิชาการทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมร่วมกันทำงาน เพื่อตอบโจทย์ในข้อของการเข้าถึงความหลากหลายและความเข้าใจร่วมกันระหว่างมุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม

รัศมีแห่งอิสลามจะเจิดจ้าขึ้นมาในผืนแผ่นดินปัตตานีอีกครั้ง เพราะเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาในภูมิภาคดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตตามที่มีบันทึกตามหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง (2): บทบาทที่น่าตั้งคำถามของศาสนจักร

Posted: 22 Dec 2010 11:01 AM PST

 จากการเสวนา "พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง" โดย ส.ศิวรักษ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ และวิจักขณ์ พานิช เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2553 ณ ป๋วยเสวนาคาร วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ

 
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: กลับมาเรื่องของสังคมและการเมือง คือ ผมพยายามจะนึกว่า เวลามีความขัดแย้งทางสังคมหรือการเมือง อย่างกรณีของบ้านเราในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา ศาสนามีบทบาทในการช่วย หรือในการยุติความขัดแย้งทางการเมืองแค่ไหน  ถ้าพูดตรงๆคือไม่มี ตัวศาสนจักรเนี่ยไม่มีบทบาท ทุกคนรู้อยู่แล้ว ศาสนจักรเป็นสิ่งที่หายไปทุกครั้งเวลามีความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในบ้านเรา หรือในบางกรณี ตัวองค์กรทางศาสนจักรอาจมีบทบาท ซึ่งบทบาทนั้น บ่อยครั้งก็ไม่ค่อยดี อย่างเช่น ตอนเกิดกรณีหกตุลา จอมพลถนอมกลับมา แล้วก็บวชเป็นพระกลับมา แล้วการบวชเป็นพระกลับมาของจอมพลถนอมก็นำไปสู่การฆาตกรรมทางการเมืองในวันที่ ๖ ตุลา นำไปสู่การแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นักศึกษาต้องเข้าป่าอะไรแบบนี้นะครับ พอลองนึกย้อนหลังกลับไป ผมรู้สึกว่า ในวันที่ ๖ ตุลา ถ้าศาสนจักรมีท่าทีบางอย่างต่อจอมพลถนอม ผมไม่รู้นะครับว่าในทางพระทำได้หรือเปล่า อย่างเช่น พระผู้ใหญ่อาจจะมาบอกว่า ท่านอย่าเพิ่งกลับเมืองไทยเลย ท่านอยู่เมืองนอกต่อดีกว่ามั้ย มันน่าจะดีกับทุกคน ความขัดแย้งจะปะทุอย่างเหตุการณ์ ๖ ตุลาที่เกิดขึ้นในวันนั้นหรือเปล่า  หรือว่าอย่างเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ เราก็ไม่พบว่ามีองค์กรทางศาสนจักรออกมาเตือนหรือให้สติกับสังคมหรือรัฐบาลที่ในเวลานั้นใช้กำลังกับประชาชน ว่าสิ่งที่รัฐบาลทำมันผิด ในตอนนั้นพลเอกสุจินดาพูดออกทีวีว่า ผู้ชุมนุมบนถนนราชดำเนินมีพวกลัทธิประหลาดคือพวกสันติอโศก เพราะฉะนั้นรัฐบาลมีเหตุผลในการใช้กำลังเพื่อสลายลัทธิประหลาดอันนี้ได้
 
ซึ่งแปลกว่าในวันนั้นไม่มีคนของศาสนจักรมาบอกเลยว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังสลายเค้านะ ต่อให้เป็นพวกสันติอโศกก็ตาม ซึ่งในแง่นึงก็อาจจะโยงกับความขัดแย้งทางการเมืองในศาสนจักรเองด้วยว่า มองสันติอโศกเป็นศัตรูก็เป็นได้ แต่ว่าโดยปรัชญาพื้นฐานของเรื่องการเมือง หรือว่าในแง่ปรัชญาพื้นฐานของพุทธศาสนาเองก็ดี พุทธศาสนาเกิดมาเพื่อไม่ให้คนฆ่ากัน เพราะฉะนั้นถ้ามันมีอะไรที่จะช่วยไม่ให้คนฆ่ากันได้ ผมคิดว่านั่นแหละคือปรัชญาพื้นฐานของศาสนาพุทธ แต่ที่เห็นในบ้านเรา บทบาทของศาสนจักรมันหายไปเลยเวลาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรือในช่วงเมษา-พฤษภาที่ผ่านมา บทบาทของศาสนจักรก็หายไปอย่างสิ้นเชิง ที่ประหลาดมากกว่านั้นคือ เราก็รู้ว่า ในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา มีพระจำนวนหนึ่งเป็นฝ่ายเสื้อแดง ซึ่งออกมาร่วมประท้วงเป็นจำนวนมาก เป็นพระอีสาน พระที่อุบลฯ อุดรฯ อะไรก็ตามแต่ ในวันที่มีเหตุการณ์ชุมนุม ท่านเหล่านี้ถูกจับ และถูกจับศึกด้วย เรื่องเหล่านี้ผมประหลาดใจว่าทำไมศาสนจักรไม่ออกมาปกป้องคนของตัวเอง ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะเป็นพระเสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง ยังไงก็ตามแต่ ถ้าผมเป็นคนในองค์กรศาสนจักร คนในองค์กรศาสนจักรถูกอำนาจทางโลกจับ ผมปกป้องเค้าก่อน เพราะว่าอำนาจรัฐมาจับคนสึกแบบนี้ไม่ได้ แต่ศาสนจักรไม่กล้าแม้จะทัดทานเรื่องพวกนี้ กลับทำตัวเฉยๆเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
 
ในแง่ของคำสอน มันก็อาจจะโยงกับเรื่องเหล่านี้ด้วยนะครับ เป็นไปได้มั้ยว่า ความเข้าใจพุทธศาสนาที่มันไหลวนอยู่ในสังคมไทยในตอนนี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องพุทธปรัชญาหรือพุทธธรรมที่มันลึกซึ้งนะครับ แต่เป็นเรื่องที่คนในสังคมเข้าใจ คำสอนทางศาสนาของบ้านเรามันกลายเป็นสิ่งที่อยู่ใต้อำนาจรัฐหรืออำนาจทางโลกไปจนมันแยกตัวเองไม่ได้แล้ว อย่างเวลาเราไปวัดใหญ่ๆ อย่างวัดหลวงบางที่ ก็จะมีป้ายติดไว้ว่า สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้จากวัดเรา เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอในรัชกาลนั้นรัชกาลนี้มาก่อน ซึ่งแน่นอนว่าท่านที่อยู่ในวัดนั้นคงภูมิใจนะครับที่มีเจ้ามาอยู่ในวัด และได้เป็นพระสังฆราช แต่ผมคิดว่า มันน่าจะภูมิใจกว่าหรือเปล่า หรือมันมีความจำเป็นอะไรหรือที่ต้องไปไฮไลต์ความเป็นเจ้า ทำไมไม่ไปภูมิใจเรื่องที่ว่า วัดเราเนี่ยมีฆราวาส หรือคนธรรมดาที่มาบวช และเป็นพระที่ดีจำนวนมากออกไป ผมก็ไม่รู้ว่านี่เป็นสิ่งที่ศาสนาสอน หรือเป็นสิ่งที่ในที่สุดแล้วอำนาจรัฐมันได้ครอบงำศาสนาจนศาสนาแยกจากอำนาจรัฐไม่ออกแล้ว
 
เพราะฉะนั้นคำสอนทางศาสนาจำนวนมากกลายเป็นฐานของอำนาจทางโลกมาตลอด แม้กระทั่งความเชื่อเรื่องบุญบาปก็เป็นฐานของอำนาจทางโลก เช่น ความเชื่อที่ว่าในโลกนี้มีคนบางกลุ่มที่ดีเป็นพิเศษ แล้วก็ในโลกนี้มีคนบางกลุ่มที่ชั่วเป็นพิเศษ แล้วมันถูกตลอดเวลาที่คนกลุ่มที่ดีเป็นพิเศษเนี่ยจะฆ่าคนกลุ่มที่ชั่วเป็นพิเศษได้ แล้วในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา คำอธิบายนี้มันถูกนำมาใช้ตลอดเวลา คือ มีกลุ่มที่ดีมากๆ ซึ่งมีความชอบธรรมมากๆที่จะฆ่ากลุ่มที่ชั่วยังไงก็ได้ แล้วเวลาเราดูงานศิลปะร่วมสมัย หรือสิ่งที่คนจำนวนมากพูดในช่วงความขัดแย้ง จะเป็นการผลิตซ้ำความเชื่อทางศาสนาในแบบนี้โดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องเทพกับมาร อำนาจฝ่ายดีต้องกำราบอำนาจฝ่ายชั่วให้ได้ อันนี้ก็คือเรื่องที่น่าสนใจว่า ตัวคำสอนเองมันอาจจะมีอะไรบางอย่างหรือไม่ ที่ในที่สุดแล้วอาจจะไม่เกื้อกูลต่อการสร้างประชาธิปไตย หรือการมองเห็นความแตกต่างความหลากหลายของคนในสังคม ผมว่าอันนี้เป็นประเด็นสำคัญ คือ เราอาจจะต้องมาตั้งคำถามต่อตัวคำสอนในสองสามเรื่อง เช่น  เป็นไปได้หรือเปล่าที่คำสอนทางศาสนามันมีลักษณะที่มันผูกขาดและแข็งทื่อมาก มันทำให้ความสัมพันธ์ของคนกับศาสนาเป็นไปในลักษณะที่ไม่เท่ากัน
 
ผมคิดว่าตัวศาสนาไม่สามารถสัมพันธ์กับคนในแบบที่เท่ากับศาสนาได้ ง่ายๆ เวลาเราคุยกับพระ เราจะต้องรู้สึกต่ำกว่าหรือด้อยกว่าพระ พระไม่สามารถคุยกับเราแบบเท่ากันได้ ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่พระไทยทำไม่ได้ คือ คุยแลกเปลี่ยนกับฆราวาสแบบเท่ากัน นอกจากนั้นผมยังคิดว่า ตัวคำสอนทางศาสนาเอง เวลาสัมพันธ์กับคน มีลักษณะบางอย่างซึ่งจะใช้วิธีดึงคนเข้ามาหาศาสนา ด้วยการบอกอยู่ลึกๆว่า ยังไงคนก็ด้อยกว่า และคนเป็นสิ่งที่ไม่ดี เวลาศาสนามองคนเนี่ย คนคือสิ่งที่ไม่ดี คนคือสิ่งที่ผิด และควรได้รับการแก้ไข คนคืออะไรบางอย่างที่มีความชั่วร้าย มีกิเลส มีบาปอยู่ในตัว ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้มันจะเป็นปัญหา คือในที่สุดแล้ว ตัวคำสอนมันวางอยู่บนการกดมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เข้ามาอยู่กับศาสนา ซึ่งผมมองว่าตัวคำสอนมันน่าจะมีอะไรที่ผิดที่ไม่สามารถมองมนุษย์เท่ากับศาสนาได้ ศาสนาทำให้มนุษย์ด้อยกว่าศาสนา แล้วทำให้มนุษย์รู้สึกมีปมอะไรบางอย่างที่ผิด ที่ต่ำกว่า เพราะฉะนั้นเข้ามาอยู่กับศาสนาสิ แล้วศาสนาจะให้ทางออกกับคุณ ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นปัญหานึง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง เราไม่สามารถอยู่ในโลกที่บอกว่า คนด้อยกว่า คนผิด อยู่ตลอดเวลาได้ เพราะการบอกคนว่าเค้าด้อยกว่า เค้าผิดอยู่ตลอดเวลาเนี่ย ในแง่นึงมันเป็นปัญหาทางการเมืองแล้ว  เพราะพอพูดถึงการเมือง พูดถึงประชาธิปไตย เราเชื่อว่าคนทุกคนมีเหตุผล คนทุกคนมีเสรีภาพ รู้ว่าอะไรดีสำหรับตัวเขา แต่พอมาในมุมศาสนา ศาสนาไม่ได้บอกคนแบบนี้ ศาสนาไม่ได้บอกว่าคนทุกคนมีเหตุผล ศาสนาไม่ได้บอกว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะทำอะไรเพื่อตัวเขาเองได้ แต่บอกให้มาอยู่กับศาสนาก่อน ผมคิดว่านี่อาจจะเป็นปัญหานึง ก็คือ สำหรับเรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมือง เรื่องสิทธิเสรีภาพแล้วเนี่ย เราเชื่อว่าคนทุกคนมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนสิ่งที่ดีต่อตัวเขาเอง และต่อสังคมรอบข้างได้ โดยที่ตัวศาสนาอาจไม่คิดเรื่องพวกนี้ หรือมาจากฐานคิดที่ต่างกัน ศาสนาไม่ได้เชื่อว่าคนรู้ว่าอะไรที่ดีที่สุดสำหรับเขา และไม่เชื่อด้วยซ้ำว่า ลำพังตัวมนุษย์แต่ละคนสามารถสิ่งที่ดีต่อสังคมได้ มนุษย์ต้องมีศาสนา เพราะไม่เช่นนั้นมนุษย์จะไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
 
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันจะต่างกันมากๆ คือ เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมืองเนี่ย เราเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีธรรมชาติที่ดี และในสังคมที่มาจากมนุษย์แต่ละคนที่มีธรรมชาติที่ดี การฟังเสียงทุกคนมันจึงสำคัญ ทุกคนมีเหตุผล ทุกคนมีธรรมชาติที่ดี เพราะฉะนั้นเอาเสียงทุกคนมารวมกัน เราจะได้สิ่งที่ดีที่สุด ประชาธิปไตยหรือการเมือง มันเชื่อว่าสังคมมันอยู่ด้วยเหตุด้วยผลได้ มนุษย์มีเหตุมีผล มนุษย์เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ตรงนี้เราอาจจะต้องกลับมามองว่าตัวศาสนาเข้าใจเรื่องแบบนี้แค่ไหน
 
เวลาศาสนาสัมพันธ์กับคน ศาสนามีแนวโน้มมากที่จะทำให้คนทั้งหมดเป็นแบบเดียวกัน อันนี้เป็นประเด็นนึงที่ผมคิดว่า สำคัญในแง่ปรัชญาวิธีคิด คือ ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่คนแต่ละคนมีคุณค่าของเขา เราอยู่ในโลกที่คนแต่ละคนมีความคิดความอ่านเป็นของเขาเอง คนแต่ละคนมีอัตลักษณ์ของเขา มีวิถีชีวิตของเขา แต่คำสอนทางศาสนาเข้าใจเรื่องแบบนี้แค่ไหน อย่างเช่น เรื่องพระเกย์พระตุ๊ด เวลาศาสนจักรสัมพันธ์กับเรื่องพวกนี้ วิธีที่พูด มันจะเต็มไปด้วยทัศนะของการเหยียดคนที่ผิดเพศ แล้วก็จะบอกว่าคนแบบนี้ไม่เหมาะสม ซึ่งผมคิดว่าคำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมศาสนาถึงสนใจมากกับการทำให้คนทั้งโลกเป็นแบบเดียวกัน เป็นแบบเดียวกันทางตรรกะ เป็นแบบเดียวกันทางวิธีคิด ศาสนาสามารถจะเป็นฐานทางปัญญาที่ทำให้เห็นว่าคนเรามีความหลากหลาย คนเรามีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน มีความเชื่อที่แตกต่างกัน มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันได้หรือไม่ ผมคิดว่าอันนี้เป็นคำถามที่มันท้าทาย และจำเป็นที่จะต้องตอบให้มากขึ้นในปัจจุบัน
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

Posted: 22 Dec 2010 07:25 AM PST

ภาคประชาชนและผู้ผลิตสื่อน้ำดีผนึกกำลังจับตา กองทุนสื่อฯ  ดันควรเป็นองค์กรอิสระ โครงสร้างชัดเจน โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าถึงได้  มุ่งสร้างสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเด็กและสังคมไทย

ในช่วงที่ผ่านมามีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับการมี “กองทุนสื่อ”ที่จะมาช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตสื่อดีที่สร้างสรรค์และปลอดภัยต่อเยาวชน ด้วยการกำหนดให้กองทุนมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ผลิตที่ต้องการหลุดกรอบธุรกิจมาสู่การผลิตรายการดีเพื่อเด็กเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและอยู่ได้  ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล่านี้อยู่จำนวนไม่น้อย  ทั้งในกลุ่มสื่อกระแสหลัก กลุ่มสื่อทางเลือกและสื่อพื้นบ้าน กลุ่มสื่อหนังสือและวรรณกรรม กลุ่มนักวิจัยด้านสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก และกลุ่มเด็กและเยาวชนทำสื่อ

ล่าสุดในเวทีสาธารณะ “จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ” ซึ่งกลุ่มบ้านรักดี ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ที่โรงแรมเอเชีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้กองทุนดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริงนั้น   กลุ่มผู้ผลิตสื่อด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้แทนจากภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังต่อกองทุน รูปแบบการสนับสนุน การเข้าถึงกองทุน ฯลฯ

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน (คพส.) กล่าวเปิดการสัมมนาโดยระบุว่า กองทุนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่รู้ว่าไปติดตรงไหน แต่อยากผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะจากวัตถุประสงค์และที่มาของกองทุนมีความเป็นไปได้และจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ โดยเฉพาะเยาวชน ตามวัตถุประสงค์ 5 อย่างที่จะผลิตและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน แต่ปัญหาว่าเมื่อมาเป็นกฎหมายจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจกันไว้ เพราะกฎหมายเวลาร่างเป็นอย่างหนึ่ง เวลาออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ระหว่างทางมีการแปลงสารที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้  อย่างไรก็ตามการผลักดันกฎหมายนี้ก็มีหลายช่องทางเช่น หากรัฐบาลไม่เสนอผลักดันกันมานาน 7 ปีกองทุนนี้ยังไม่เกิด ภาคประชาชนก็สามารถรวบรวมรายชื่อเสนอเองได้และเป็นเรื่องดี  สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุนอย่างกว้างขวางและมาร่วมผลักดัน

นางสาวเข็มพร  วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า การผลักดันให้เกิด “(ร่าง)พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”เกิดจากการรวมตัวของเครือข่ายกว่า 37 องค์กร ทั้งภาคนักวิชาการ ประชาชนเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายเด็ก สภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งฝ่ายราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรสื่อที่เกี่ยวข้อง จนในปัจจุบันได้ผ่านมติรัฐมนตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว หาก“พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”  ผ่านออกประกาศใช้ย่อมเป็นโอกาสของผู้ผลิตในการสร้างสรรค์สื่อดีๆให้กับเด็กและเยาวชนกว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศทำให้เกิดสื่อที่ดี มีคุณภาพ สร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเด็ก เยาวชน และสังคมไทยเพิ่มขึ้น

ในเวทีสาธารณะภาคประชาชนได้แสดงความห่วงใยต่อการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้วัตถุประสงค์ของการผลักดันให้เกิดกองทุนนี้ผิดไปจากเจตนาเดิม โดยมี 2 เรื่องหลัก คือ  คณะกรรมการกองทุน  และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ

1) คณะกรรมการกองทุน ซึ่งในร่างของกฤษฎีกามีการเพิ่มจาก 2 ชุด เป็น 3 ชุด  ข้อสังเกตของภาคประชาชนคือ การเปลี่ยนแปลงให้มีคณะกรรมการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องการตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานและยังมีองค์ประกอบกรรมการที่มาจากของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องปราบปราบสื่อที่ไม่เหมาะสมมากกว่าการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์  อีกทั้งในเรื่องการบริหารกองทุน โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนั้น เป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกองทุนเป็นหลัก และมีการแต่งตั้งกรรมการอื่น ๆ มาประกอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานอยู่ภายใต้ระบบราชการมากกว่าการเป็นองค์กรอิสระ  ซึ่งจากบทเรียนในอดีตพบว่าการบริหารกองทุนในลักษณะดังกล่าวมีจุดอ่อนมาก

2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามร่างที่ผ่านมติครม.กำหนดนโยบายการบริหารงานให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของกองทุน   แต่ในร่างปรับใหม่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกามีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ในลักษณะของการตรวจสอบสื่อ ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฯเดิมที่เน้นการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ และเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่จะเฝ้าระวังสื่อ

ทั้งนี้ภายหลังการระดมความคิดเห็นจะได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการจัดตั้งกองทุนสื่อจากภาคประชาชน ที่ผู้ผลิตสื่อน้ำดีได้มีโอกาสเข้าถึงและสร้างสรรค์สื่อดีเพื่อเด็กและสังคมได้อย่างแท้จริง  โดยจะเสนอต่อรัฐบาลและสาธารณะต่อไป หวังว่ารัฐบาลจะผลักดันกองทุนสื่อให้เกิดขึ้นเป็นของขวัญแก่เด็กและเยาวชนในปี 2554 นี้.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นัดไต่สวนมูลฟ้องนักอนุรักษ์บ้านย่าหมีคดีปกป้องป่าสวงนแห่งชาติฯ 28 ก.พ.54

Posted: 22 Dec 2010 07:14 AM PST

คดีที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมา จากเมื่อกลางเดือน ธันวาคม 2550 กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านย่าหมี ตำบลเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา จำนวนกว่า 30 คนรวมตัวกันเข้าไปสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องหลาด ที่เป็นป่าต้นน้ำของชุมชนหลังจากได้สังเกตเห็นมีการนำรถแบ็คโฮ เข้ามาบุกรุก และถางไถ ปรับสภาพพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังจากนั้นต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ชาวบ้านย่าหมี จำนวน 17 ราย ได้รับหมายเรียก เป็นผู้ต้องหาจากสถานีตำรวจภูธรเกาะยาวในข้อหาร่วมกันบุกรุกหรือเข้าไปทำการ ใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร และกลุ่มอนุรักษ์บ้านย่าหมีได้ขึ้นศาลจังหวัดพังงา ที่ไต่สวนมูลฟ้องและไกล่เกลี่ยมาแล้วเมื่อปี 2552 และกลุ่มอนุรักษ์ได้มีข้อเสนอต่อศาลขอให้บริษัท นาราชา จำกัด ปฏิบัติตามข้อเสนอของชุมชน  7 ข้อ เรื่องให้บริษัท นาราชา จำกัดคืนป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องหลาดและเป็นป่าต้นน้ำแก่รัฐและชุมชน

ในวันนี้ (22 ธ.ค. 53) เวลา ประมาณ 09.30น. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านย่าหมี ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา ที่ตกเป็นจำเลย จำนวน 17 ราย  พร้อมด้วยญาติพี่น้องจากบ้านย่าหมี จำนวน 30 คน ร่วมเดินขบวนกับแกนนำนักอนุรักษ์บ้านย่าหมีที่ถูกบริษัท นาราชา จำกัด ฟ้องร้องในข้อ หาร่วมกันบุกรุกหรือเข้าไปทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร

โดยเริ่มเดินจากบริเวณสวนสาธารณสมเด็จศรีนครินทร์เดินเรียบถนนทางหลวงเพื่อมุ่งหน้าไปยังศาลจังหวัดพังงา เนื่องจากศาลจังหวัดพังงานัดไต่สวนมูลฟ้องโดยมีนายพศวัต จงอรุณงามแสง เป็นผู้พิพากษาห้องพิจารณาคดีบัลลังก์ที่ 2 และมีนายสมพงศ์  เจียรจรูญศรีเป็นทนายฝ่ายโจทย์ของบริษัท นาราชา จำกัด และทนายความฝ่ายจำเลย คือนายแสงชัย รัตนเสรีวงศ์

นางกานดา  โต๊ะไม แกนนำกลุ่มอนุรักษ์และเป็น 1 ใน 17 ผู้ต้องหา กล่าวว่า “ในการมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 เราขึ้นศาลมาตั้งแต่ พ.ศ.2553 พวกเราชาวบ้านย่าหมียืนยันข้อเสนอ 7 ข้อ ต่อศาลไปตั้งแต่การไกล่เกลี่ยครั้งที่แล้ว แต่ทางบริษัทไม่ยอมรับข้อเสนอ ผู้พิพากษาจึงนัดให้มาไต่สวนมูลฟ้องในวันนี้”

สำหรับข้อเสนอ 7 ข้อ ของกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านย่าหมี คือ 1.บริษัท นาราชา จำกัด ต้องไม่ไถ ถาง เปลี่ยนแปลงสภาพป่าเกินจากเขตใบจองของชาวบ้านที่รัฐจัดให้เดิม 2.ต้องไม่สร้างท่าเทียบเรือส่วนตัวมารีน่าที่อ่าวคลองสน  แต่ควรไปปรับปรุงท่าเทียบเรือสาธารณะที่มีอยู่เดิมเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน 3.หยุดปิดกั้นร่องน้ำและการถมทำลายแอ่งรับน้ำธรรมชาติในพื้นที่กรณีพิพาท 4.เปิดทางเดินสาธารณะ  ( ซึ่งอยู่ในทางเดินในกรณีพิพาท ) ที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 5.ทุกโครงการของบริษัท นาราชา จำกัด ที่จะดำเนินการในชุมชน  ต้องผ่านความเห็นชอบของชาวบ้านก่อน 6.บริษัท  นาราชา  จำกัด  ต้องเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าช่องหลาด , ป่าเกาะยาวใหญ่แปลงที่ 2 และแนวเขตพื้นที่ชายหาดสาธารณะ และ 7.ให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ครอบครองตามใบจองและนส.3 โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องและชุมชน  โดยที่บริษัท  นาราชา  จำกัด ต้องเปิดพื้นที่ให้มีการพิสูจน์สิทธิ์  และยอมรับผลการพิสูจน์  โดยบริษัทฯต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์  เช่น กรณี นายส้าฝาด  ห่วงผลและนายส้อหล้า  ห่วงผล , นายสุวรรณ  หยั่งทะเล เป็นต้น

เนื่องจากทางกลุ่มนักอนุรักษ์ฯ บ้านย่าหมี ซึ่งเป็นจำเลย เดินทางมาขึ้นศาลไม่ครบ ผู้พิพากษาจึงเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปเป็นวันที่ 28 ก.พ.54

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรสิทธิ์จี้ไทยรับอนุสัญญาคุ้มครองคนถูกบังคับให้หาย

Posted: 22 Dec 2010 06:51 AM PST

22 ธ.ค. 53 - มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติที่มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

แถลงการณ์: ขอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติที่มีผล บังคับใช้แล้ววันนี้

กรุงเทพฯ -วันนี้ (23 ธันวาคม 2553) เป็นวันที่ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญ หายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ (The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance)มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากประเทศอิรักได้ให้สัตยาบันเป็นประเทศที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553

อนุสัญญาฯฉบับนี้ ได้รับการรับรองในทางสากลจากองค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2549 เพื่อยกระดับให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็น “อาชญากรรมร้ายแรงที่คุกคามมนุษยชาติ” เช่นเดียวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวเหยื่อ ครอบครัว และสังคม รวมทั้งยังนำมาซึ่งการต้องสูญเสียสิทธิมนุษยชนในอีกหลายด้านพร้อมกัน

นางนาวี พิลไลย ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า “อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างทางกฎหมายในการต่อสู้กับการ บังคับบุคคลสูญหายซึ่งนับว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่เกิดขึ้นในระดับนานา ชาติ  อนุสัญญาฯฉบับใหม่ก่อให้เกิดกรอบการปฏิบัติสากลที่ชัดเจนในการยุติการงดเว้น โทษ ส่งเสริมการเข้าถึงความเป็นธรรมและสร้างความหวังในการยับยั้งผลกระทบทั้ง หลายที่เกิดขึ้น  อีกทั้งยังสนับสนุนความพยายามของบรรดาญาติมิตรของเหยื่อในการแสวงหาความจริง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เป็นที่รักของตน ความเจ็บปวดจากการไม่รู้สถานะของผู้สูญหายว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถือเป็นความเจ็บปวดอย่างที่สุด และนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทรมาน”

นางนาวี ยังกล่าวต่อไปว่า “ทั้ง 45 มาตราของอนุสัญญาฯ เน้นถึงการไร้ซึ่งข้อยกเว้นด้านสถานการณ์ต่างๆ อาทิ สถานการณ์สงคราม ความไร้เสถียรภาพทั้งหลายอันอาจนำมาใช้อ้างความชอบธรรมของการบังคับบุคคลสูญ หายทางการเมือง หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน”

ในประเทศไทย ปัจจุบันมีกรณีบุคคลสูญหายที่คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ(UN WGEID) รับเป็นคดีคนหายของสหประชาชาติแล้วทั้สิ้น 52 คดี แต่พบว่าทุกคดีไม่มีความก้าวหน้าในทางคดี

“อุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงความยุติธรรมของครอบครัวคนหายคือ การไม่มีกฎหมายซึ่งกำหนดให้การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นอาชญากรรม อีกทั้งเมื่อผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ครอบครัวมักถูกคุกคามจนไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้  การแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการบังคับให้บุคคลสูญหายจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นการท้าทายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองบุคคลจาก อาชญากรรมต่อเนื่องนี้ อีกทั้งยังท้าทายความจริงใจของกระบวนการยุติธรรมไทยในการให้ความเป็นธรรมแก่ บุคคลทุกคนว่า แท้จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมไทยจะยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่” –นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าว

ในโอกาสที่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูก บังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ(The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance) มีผลบังคับใช้ในทางสากล มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ โดยเร็ว เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลทุกคนในการที่จะไม่ถูกทำให้สูญหายในท่ามกลาง สถานการณ์ฉุกเฉิน การปราบปรามการก่อการร้าย นโยบายต่อต้านยาเสติด หรือความขัดแย้งทางการเมือง

2. รัฐบาลต้องให้มีกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็น อาชญากรรม มีการกำหนดโทษผู้กระทำผิด และให้มีการคุ้มครองพยานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัว ซี่งครอบคลุมถึงสิทธิที่จะทราบความจริง ความคืบหน้าและผลของการสอบสวน ถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของผู้สูญหายในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของบุคคล ทั้งปัจจุบัน และอนาคต อีกทั้งเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าบุคคลทุกคนเสมอภาคกันอย่างแท้จริงในกฎหมาย

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พม่าอนุญาตรถขนสินค้าผ่านเข้า-ออกเขตกลุ่มหยุดยิงเมืองลาแล้ว

Posted: 22 Dec 2010 06:23 AM PST

กองทัพพม่ามีคำสั่งเปิดด่านท่าปิง อนุญาตรถบรรทุกสินค้าผ่านเข้า-ออกเขตพื้นที่กลุ่มหยุดยิงเมืองลา NDAA แล้ว หลังสั่งปิดนานหลายสัปดาห์ แต่ยังห้ามนักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้า

22 ธ.ค. 53 - มีรายงานว่า กองทัพภาคสามเหลี่ยมของพม่า มีบก.อยู่ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก ได้มีคำสั่งเปิดด่านท่าปิง บนเส้นทางสายเชียงตุง–เมืองลา อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าผ่านเข้า-ออกเขตพื้นที่กองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา NDAA แล้ว หลังจากมีคำสั่งปิดมาตั้งแต่วันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ NDAA เปิดเผยว่า ด่านท่าปิง เป็นด่านตรวจสุดท้ายของทหารพม่าก่อนเข้าสู่เข้าเมืองลา (เมืองที่ตั้งกองบัญชาการกองกำลัง NDAA) ได้เปิดให้รถบรรทุกสินค้าผ่านไปมาตามปกติ หลังการจัดงานฉลองรับปีใหม่ไต ที่จัดขึ้นที่เมืองลาผ่านไปได้ 3 วัน แต่ทางการพม่ายังไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวจากไทยผ่านเข้าไปเที่ยวเมืองลาได้ 

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คนเดิมของ NDAA เปิดเผยถึงสาเหตุกองทัพพม่ามีคำสั่งปิดด่านว่า อาจเป็นเพราะไม่ต้องการให้มีผู้คนเดินทางไปร่วมงานปีใหม่ไต ที่ทางกองกำลัง NDAA เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองลา เมื่อวันที่ 1- 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หลังการปิดด่านไม่กี่วัน พ.อ.ขิ่นหม่องทวย ผอ.สำนักงานจี 1 ของพม่าประจำเมืองเชียงตุง ได้ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ของกลุ่มหยุดยิงเมืองลา NDAA โดยอ้างว่า การปิดด่านเป็นคำสั่งจากเบื้องบน เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีการตรวจพบสินค้าจากจีนผ่านทางสายเมืองลา - เชียงตุงไม่เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

ด้านสำนักข่าวอิรวดีและมิซซิมา รายงานว่า กองทัพพม่าได้เปิดด่านอนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกเมืองลายซา เมืองที่ตั้งบก.กองกำลังเอกราชคะฉิ่น KIA (Kachin Independent Army) รัฐคะฉิ่น ติดชายแดนจีนแล้วเช่นเดียวกัน โดยการเปิดมีขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการร้องขอจากจีน โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สถานฑูตจีนได้พบหารือกับนายติ่นหน่ายเต็ง รมต.พาณิชย์ของพม่า ถึงกรณีการปิดด่านซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีน

สำหรับกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย NDAA (National Democratic Alliance Army) หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา ได้เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าตั้งแต่ปี 2532 โดยรัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดพื้นที่ครอบครองเรียกเขตปกครองพิเศษที่ 4 ปัจจุบันกองกำลัง NDAA มีกำลังพลราว 4,500 นาย มีนายจายลืน หรือ หลินหมิ่งเสียน เป็นผู้นำสูงสุด ซึ่งตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา กองกำลัง NDAA ได้ถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันแปรสภาพเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF เช่นเดียวกับกลุ่มหยุดยิงอื่นๆ

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สลักธรรม” ชี้รัฐสมอ้างช่วยประกันเสื้อแดง แถมจวก “สุเทพ” ให้ปล่อยหมอเหวง-ก่อแก้ว หวังเสี้ยม

Posted: 22 Dec 2010 04:36 AM PST

“สลักธรรม” เขียนเฟซบุ๊คแจงข้อเท็จจริงเรื่องที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยประกันเสื้อแดง เผยความจริงเป็นการผลักดันของ คอป. แถมจวก “สุเทพ” หวังเสี้ยมให้ “นปช.” แตก หนุนปล่อยแกนนำเฉพาะหมอเหวง-ก่อแก้ว ชี้อยากสร้างภาพต่อประชาคมโลก 

 
วันนี้ (22 ธ.ค.53) สลักธรรม โตจิราการ บุตรชาย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.ชี้แจงผ่านหน้เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีรัฐบาลพยายามเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการประกันตัวเสื้อแดงผ่าน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โดยระบุว่าความจริงการดำเนินการดังกล่าวเป็นการผลักดันของ นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) 
 
อีกทั้งยังชี้แจงกรณีการพบกันของนางธิดา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า เป็นความบังเอิญ โดยการพูดคุยเป็นการทวงถามถึงความพยายามที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.คือให้คนเสื้อแดงรวมถึงแกนนำได้รับการประกันตัว 
 
ทั้งนี้ เนื้อหาในหน้า Facebook ระบุข้อมูลดังนี้ 
 
 
 
ข้อเท็จจริงเรื่องที่รัฐบาลอ้างว่าจะช่วยประกันเสื้อแดงผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ์  
 
โดยสลักธรรม โตจิราการ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2010 เวลา 18:17 น.
 
เรื่องที่มีรัฐพยายามเข้ามามีบทบาทการดำเนินการประกันตัวนั้น จริงๆ แล้วเป็นการผลักดันของคณะกรรมการ คอป.ที่ อ.คณิตเป็นกรรมการต่างหาก ไม่ได้เป็นความริเริ่มของรัฐบาล (ซึ่งเมื่อพวกเราเอาความจริงไปชี้แจงมากเข้า อ.คณิตก็เลยเห็นด้วย จึงไปทำการผลักดันรัฐบาล แน่นอน อ.คณิตออกหน้าไปเองแล้ว แต่ว่าสื่อทั้งหลายก็ไม่ได้รายงานสิ่งที่ อ.คณิตเสนอไปอย่างชัดเจนเลย และรัฐบาลก็เพิกเฉยต่อข้อเสนอของคณะกรรมการชุด อ.คณิต จนถึงขั้นที่ว่า พอสื่อถาม อ.ว่าทำไมไม่เห็นรัฐบาลทำตามข้อเสนอ อ.คณิตเลยตอบไปว่า "คุณลองไปถามรัฐบาลดูสิ") โดย อ.คณิตเสนอว่า หากต้องการปรองดอง รัฐบาลต้องหาทางปล่อยผู้ถูกคุมขังเสื้อแดงทั้งหมด แล้วพอ คอป.กดดันรัฐบาลมากเข้า อภิสิทธิ์เลยพยายามมองหาทางมาพูดคุยกับ นปช.เพื่อลดแรงกดดันจากฝั่ง คอป.ซึ่งก็ได้บังเอิญมาพบกันที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ (วันนั้นพอคนของทางรัฐบาลเห็นคุณแม่ของผมเข้า ก็เลยรีบไปตามปณิธานมา ปณิธานจึงได้รีบมาขอให้นายกรัฐมนตรีเข้าพบคุณแม่ของผมในทันที)
 
เมื่อได้พบอภิสิทธิ์ทางคุณแม่ของผมจึงได้ทวงถามความพยายามที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.เพราะทางอภิสิทธิ์มักจะอ้างว่าเคารพและพยายามปฏิบัติตามข้อเสนอของ คอป.ที่ให้ปล่อยแกนนำทันที แต่ทางแกนนำและคนเสื้อแดงไม่ร่วมมือ ไม่ยอมให้คนของกรมคุ้มครองสิทธิ์ซึ่งพวกเขาอ้างว่าเป็นคนที่ทางรัฐบาลส่งเข้าไปช่วยเหลือเข้าพบ จึงไม่สามารถทำให้ความพยายามของรัฐบาลที่จะทำตามข้อเสนอของ คอป.คือช่วยให้คนเสื้อแดงรวมถึงแกนนำได้ออกมาจากคุกได้
 
ซึ่งข้อสรุปออกมาว่า ทาง นปช.และทีมทนายของ นปช.จะเป็นผู้ประกันตัวพวกเราออกมากันเอง เนื่องจากพวกเราเองก็มีศักดิ์ศรี และจะออกมาตามสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ของพลเมืองไทย ไม่ใช่ด้วยความกรุณาของใคร หากรัฐบาลต้องการแสดงความจริงใจ ก็ทำหนังสือมายืนยันความบริสุทธิ์ของพวกเราในคุก ซึ่งรัฐบาลก็บอกว่าจะทำให้ โดยขอให้ผู้ต้องขังยื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมไปยังกรมคุ้มครองสิทธิฯ เสียก่อน แล้วกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะช่วยพิจารณา ไม่ใช่ว่ารัฐจะประกันตัวให้อย่างที่เป็นข่าวนะครับ
 

 

จากนั้น สลักธรรม ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า คิดว่าในตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่กระทำไป ก็คงจะไม่ใช่จากน้ำใสใจจริง แต่เป็นเพราะว่าถูกกดดัน โดยนอกจากจะจาก คอป.แล้ว คิดว่าคงจะมีอีกหลายชาติและหลายหน่วยงานระหว่างประเทศมากดดันในทางลับ ทำให้อภิสิทธิ์ต้องมากระทำอย่างนี้ และก็อีกประการหนึ่ง จริงๆ แล้ว สิ่งที่ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะให้กับเสื้อแดงในตอนนี้ก็คือ หนังสือรับรองเท่านั้นเอง ซึ่งจะเอาไปยื่นต่อศาล หากเขาไม่ให้ เราก็มีหลักฐานจำนวนมาก เช่น หนังสือของ คอป.เอง หนังสือของ Helsinki commission และหนังสือของ Human right watch ที่ได้พูดถึงประเด็นของความไม่ชอบธรรมในการจับกุมคุมขังเสื้อแดง ที่เตรียมเอาไปยื่นต่อศาลอยู่แล้ว
 
 
ชี้ “สุเทพ” เสี้ยมให้ “นปช.” แตก จวกสร้างภาพต่อประชาคมโลก
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สลักธรรม ได้แสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวที่ว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไม่คัดค้านการประกันตัวเฉพาะ นพ.เหวง โตจิราการ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง (คลิกเพื่ออ่านข่าว) ในขณะที่ทั้งอัยการหรือแม้กระทั่ง ศอฉ.ไม่คัดค้านการประกันตัวแกนนำคนใดคนหนึ่งเลย ส่วน คอป.ที่รัฐบาลตั้งให้ช่วยดูแลเรื่องนี้ขอให้ปล่อยตัวทุกคน โดยเป็นการกระทำเพื่อหวังผล คือ 1.สร้างปัญหาให้กับขบวนการของ นปช. เกิดความไม่ไว้วางใจกัน รวมกระทั่งวางแผนทำลายการทำงานของนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช.คุณแม่ของเขา ทั้งที่อ้างว่าถือหางคุณแม่ของเขา
 
2.สร้างภาพต่อประชาคมโลกเพื่อลดแรงกดดันของตนเอง ซึ่งก็เกิดข้อสงสัยว่ารัฐบาลต้องการจะส่งสัญญาณที่ทำให้การตัดสินของศาลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของตนหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล อย่างไรก็ตาม สลักธรรมแสดงความคาดหวังว่าจะไม่มีคนตกหลุมพรางทางอารมณ์ที่มีการขุดหลุมดักไว้
 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐบาลเทพประทานกับวิสัยทัศน์เรื่องวิถีเพศ

Posted: 22 Dec 2010 04:16 AM PST

ช่วงนี้ไปไหนมาไหนฉันต้องระวังตัวเป็นพิเศษ กับการจะป่าวประกาศว่าฉันเป็นใครมีเพศสถานะอย่างไร และดำเนินเพศวิถีเยี่ยงไร เพราะถ้าไม่เจียมเนื้อเจียมตัว ฉันอาจจะถูกแขวนคอกลางสาธารณชนในข้อหาวิปริตผิดเพศ ชอบที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน เยี่ยงบางประเทศในตะวันออกกลางที่กระทำการอันน่าสรรเสริญด้วยการแขวนคอสองชายหนุ่มที่เป็นคู่รัก เพื่อบูชายัญความยิ่งใหญ่ของความเป็นชาย และประณามความนอกคอกของชายหนุ่มคู่นั้นเพื่อคงความมั่นคงของรัฐที่ต้องมิเปื้อนมลทินอันน่าอดสูของใครบางกลุ่มบางพวก

ซึ่งนั่นทำให้สองชายหนุ่มนั้นต้องหมดสิ้นความเป็นมนุษย์ และขาดความชอบธรรมในการเป็นพลเมืองของประเทศและการดำรงชีวิตอยู่ รัฐจึงหยิบยื่นความตายด้วยความปราณีเพื่อจะได้สละร่างอันกักขฬะให้เป็นตัวอย่างของผู้อื่นที่คิดจะกระทำเยี่ยงนั้นและหาได้สนใจว่า ความรักของเขาทั้งสองจะน่าสรรเสริญและชื่นชมเช่นไร ซึ่งส่วนตัวฉัน มันคือโศกนาฏกรรมของมวลมนุษยชาติ ที่หมดสิ้นซึ่งความสัมพันธ์ใดๆ ต่อความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

การประหัตประหารที่ไม่ชอบธรรมเพียงเพื่อสนองความแข็งแกร่งของสถาบัน รัฐ และสังคม วัฒนธรรม บนฐานจริยธรรม คุณธรรมชุดๆ หนึ่งที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจของใครบางคน ฉันเกลียดนักเกลียดหนากับกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมตอแหลพวกนี้ สังคมมันอ่อนแอเสียจนระบบศีลธรรม จริยธรรมกลายเป็นกิโยตินทางสังคมที่คอยบั่นคอผู้คนนับไม่ถ้วน คนมีอำนาจอ้างอาญาสิทธิ์ต่อการจัดการกับเรื่องราวที่มิตอบสนองหรือนำพาไปสู่ความเข้มแข็งของพวกเขา จนเปลี่ยนอคติให้กลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการทำลายล้างซึ่งกันและกันอย่างไร้ซึ่งมนุษยธรรม

และที่น่าใจหายและอดสูต่อความหวาดระแวงของความเป็นมนุษย์ที่ไม่เข้าพวกของคนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเหล่านั้น กลายเป็นปัญหาความมั่นคงระดับโลกที่สังคมต้องเข้ามากำจัดและทำลายล้าง จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ มันคือการทำลายให้สิ้นซาก ผู้ชายที่มิแสดงวิถีชีวิตเยี่ยงชายที่พึงปฏิบัติ กลายเป็นปัญหาความมั่นคงของโลกไปแล้วโดยมีกลุ่มคนที่เป็นตัวอย่างรูปธรรมในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเกย์ กะเทย สาวประเภทสอง หรือว่าง่ายๆ ก็ พวกสมสู่เพศเดียวกัน มีผลต่อการสั่นคลอนต่อสถาบันหรือระบอบปิตาธิปไตย ตลอดจนเพศวิถีกระแสหลัก

คนเหล่านี้ปริวิตกถึงความอ่อนไหวและอ่อนด้อยต่อระบอบ แนวคิด ที่พวกเขาบูชาอยู่แต่เดิม จึงพยายามสร้างกระบวนการ หรือแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการกำจัดและทำลายล้างคนเหล่านั้นอย่างมิสนใจต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง หรือสิทธิใดๆ ในฐานะของความเป็นมนุษย์ เพราะมันถูกทำให้กลายเป็นเรื่องที่เหนือหรือไปพ้นจากเรื่องดังกล่าว หากแต่นำเอาความคิดความเชื่อบางอย่างมาอธิบายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุเป็นผล หรือชอบธรรมในมิติของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ หากแต่มันผิดเพราะมึงคือ เกย์ มึงคือ กะเทย มึงผิดเพศ มึงไม่สมสู่เยี่ยงพวกกู มึงจึงสมควรตาย

ฉันเล่าเรื่องพวกนี้ด้วยการปลงสังเวชไปในตัว หากแต่มิปลงใจยินยอมต่อความทารุณเหล่านั้น และยิ่งได้ทราบถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลเทพประทานชุดนี้ ซึ่งระยะนี้มีเรื่องให้ได้สมสู่ทางความคิดในมิติเรื่องเพศวิถีกับคนของรัฐบาลที่แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์หางอึ่งต่อเรื่องเพศวิถีของคนรักเพศเดียวกัน ไม่ว่าจะห้ามฉายหนังที่กะเทยสร้างและมีเนื้อหาที่กะเทยสมสู่กับผู้ชาย ประหนึ่งว่าคณะกรรมการผู้ทรงภูมิและทรงธรรมเหล่านั้นจะไม่รู้จักกะเทย หรือไม่รู้ว่าบ้านนี้เมืองนี้ก็มีคนเพศเดียวกัน สมสู่หรือเอากันเหมือนพวกท่านทั้งหลาย ถึงกับตกอกตกใจและหยิบยื่นยาพิษให้นางผู้สร้างหนึ่งกลืนกินยาพิษนั้นเสียในข้อหาทำลายมโนธรรมสำนึกของสังคม

เธอต้องกลายเป็นกาลิเลโอแห่งยุคสมัย ที่กินยาพิษแห่งสังคมแล้วตายทั้งเป็น ด้วยการตัดสินที่ทรงคุณยิ่งของคณะกรรมการที่ท่านทั้งหมดล้วนอยู่ในวัยเพศสัมพันธ์ขาลง แต่กระนั้นเธอก็มิย่อมให้ใครฌาปนกิจหนังของเธออย่างไร้ค่า เธอแสดงจุดยืนที่มั่นคงและป่าวประกาศว่า กูก็มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียม เสมอภาคเยี่ยงพวกคุณทั้งหลายในสังคม (ฉันแนะนำกรรมการและรัฐบาลว่างๆ หลังเลือกตั้งแล้ว ช่วยหยิบหนังโป๊ในบ้านท่านลงถังขยะหรือไม่ก็เผาให้เป็นจุณ เพื่อขจัดเสนียดจัญไรออกจากบ้านท่านด้วย)

และที่สำคัญ ท่าทีของรัฐบาลต่อการถอดถอนคำว่า Sexual Orientation ออกจากระเบียบกติกาหรือกฎหมายสากลที่ว่าด้วยการประหัตประหารนอกกระบวนการของสหประชาชาตินั้น ถ้ามีการถอดถอนคำนี้ออกจริงการทารุณกรรมต่างๆ ตลอดจนฆ่าเสียให้สิ้นซากกับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ไม่ว่า เกย์ กะเทย หรือสาวประเภทสอง ก็จะได้รับความชอบธรรมมากขึ้น กล่าวคือถ้ามึงเป็นเกย์ มึงตาย รัฐบาลเทพประทาน ใช้สิทธิในการไม่ออกเสียง หรืองดออกเสียง ซึ่งสะท้อนให้เหตุเจตนารมณ์ของรัฐบาลต่อการเพิกเฉยต่อความรุนแรงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนดังกล่าว

รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 ก็ระบุชัดว่าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แต่รัฐก็ไม่นำพามากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองระดับโลกที่ตนจะได้รับ มากกว่ามาสนใจถึงประโยชน์ของคนหยิบมือของสังคมที่เขาเข้าใจ รัฐมิใยดีต่อการลงนามรับรองหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิทธิมนุษยชนที่ตนเองได้รับรองไว้ หากแต่เขียนด้วยมือแต่กระทำชำเรามันด้วยอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง

ฉันเห็นความพยายามของกลุ่มชุมชนคนรักเพศเดียวกัน เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ที่พวกเขาพยายามส่งสัญญาณขอความเห็นใจจากรัฐบาล แต่ฉันรู้สึกมันเหมือนยืนอยู่กลางทะเลทรายที่ไร้ซึ่งน้ำแม้แต่หยดเดียว มันช่างแห้งผาก และปวดร้อนยิ่งนัก เขาพยายามเรียกร้องให้รัฐเปลี่ยนท่าทีและแสดงการไม่เห็นด้วยที่จะถอดถอนถ้อยคำดังกล่าว นั่นเป็นสิ่งดีที่เราควรพยายามให้ถึงที่สุด

แต่ในส่วนตัวฉัน ฉันคงไม่ขอความเห็นใจใดๆ สำหรับฉัน ฉันคิดว่าแทนที่จะล่าชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนท่าที ฉันขอล่ารายชื่ออีกชุดหนึ่งคือ ล่ารายชื่อเพื่อประณามการกระทำของรัฐที่มีต่อพลเมืองของเขา เพราะเขาคือกบฏตัวจริง หรือทรราชตัวแม่ที่ทรยศต่อคนในประเทศของคน หักหลังในหลักการต่างๆ ในนามของสิทธิมนุษยชน เสร็จแล้วสุดท้ายอาจต้องทำการฌาปณกิจเยี่ยงที่หนังต้องห้ามถูกกระทำ ซึ่งพวกเขาพากันไปดูและออกจากโรงด้วยใบหน้าสะอิดสะเอียนยิ่งนัก และสุดท้ายก็กลายเป็นลมพัดหวน ไร้ซึ่งคำตอบใดๆ แม้นแต่เสียงแห่งความเงียบก็มิได้ยินว่าควรหรือไม่ต่อการประทาน ตัว "ห" ที่หดหู่ยิ่งนัก

ฉันขอไว้อาลัยให้กับเหตุการณ์ทั้งสองตลอดชีวิต ลาก่อน

http://www.aids-cpp.net/site/Government-and-a-vision-on-sexuality.aspx

 

เพิ่มเติม: และแม้ทางเครือข่ายความหลากหลายจะไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ ให้ประเทศไทยมีมติสนับสนุนห้ามไม่มีสังหาร LGBT แต่ล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา สรุปว่าประเทศไทยงดออกเสียงในการห้ามไม่ให้มีการฆ่า หรือสังหาร เกย์ กะเทย ทอม ดี้ตามอำเภอใจในการประชุม UN แสดงว่ารัฐไทย ไม่สนใจหากจะมีการฆ่า หรือสังหารบุคลลที่มีความหลากหลายทางเพศ

ลิ้งก์อ่านประกอบ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับมติสหประชาชาติประณามการประหัตประหารนอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ
http://backoffice.aids-cpp.net/backoffice/Library/Documents/Remarks_on_the_UN_resolution_condemning_the_persecution.pdf
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องไทยปล่อยนักกิจกรรมต้านรัฐบาลจีนวัย 87 ปี

Posted: 22 Dec 2010 03:55 AM PST

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัว ซุน ซูไฉ่ นักข่าวและนักกิจกรรมวัย 87 ปีผู้ลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย และถูกทางการไทยจับกุม ทั้งที่มีเอกสารรอการพิจารณาคุ้มครองจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

 

(21 ธ.ค. 2553) องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัว ซุน ซูไฉ่ นักข่าวและนักกิจกรรม วัย 87 ปีผู้ลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย ซึ่งถูกจับกุมตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา ขณะนี้เขาถูกกักตัวอยู่ที่สถานกักกันผู้ลี้ภัยกรุงเทพมหานครฯ หลังจากที่ศาลสั่งปรับเขา 3,000 บาท ในวันที่ 9 ธ.ค. และสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการส่งตัวเขากลับประเทศ

"พวกเราเป็นห่วงมากเกี่ยวกับสุขภาพของซุน เพราะว่าสภาพที่สถานกักกันผู้ลี้ภัยดูย่ำแย่" องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าว "พวกเรากลัวว่าคนในอายุเท่าเขาคงทนกับการอยู่ในสภาพนี้ไม่ได้ เขาถูกขังอยู่ในคุกรวมที่ สภาพแวดล้อมและสุขอนามัยไม่ดีนัก และได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอ พวกเราขอเรียกร้องให้ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพฯ กดดันให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ลี้ภัยทางการเมืองผู้นี้"

ข้อหาที่ซุนได้รับมีเพียงอย่างเดียวคือ เขาได้มาหาที่หลบซ่อนตัว เนื่องจากการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำให้เขาถูกตอบโต้จากทางการจีน

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า ตอนที่ตำรวจไทยบุกเข้าจับกุมอาคารที่อยู่ของผู้อพยพจำนวนมาก ซุนก็ถูกจับรวมกับคนอื่นๆ ซุนไม่ควรจะถูกจับกุมตัวเลยเนื่องจากเขามีเอกสารของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ที่ระบุว่าเขายังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผ่านข้อเรียกร้องให้คุ้มครองและอพยพเข้าอยู่

สำหรับซุนเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองมานานแล้ว เขาถูกตัดสินจำคุก 14 ปี ตั้งแต่เมื่อปี 1956 จากการที่เขียนบทความวิจารณ์การปฏิวัติลัทธิเหมา หลังจากที่เขาถูกสั่งให้ไปใช้แรงงานในเขตเหลียวหนิงจากปี 1956 ถึง 1970 เขาก็ถูกสั่งให้ไปทำงานที่โรงงานเหล็ก เขากลับมาทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลอีกครั้งในปี 1998 โดยได้เขียนบทความวิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ มีบางส่วนตีพิมพ์ใน Beijing Spring นิตยสารของชาวจีนที่ต่อต้านรัฐบาลในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


ที่มา: Chinese dissident journalist detained in Bangkok despite UNHCR protection, 21-12-2010, RSF
http://en.rsf.org/thailand-chinese-dissident-journalist-21-12-2010,39125.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาไทแถลง ศอฉ. ปิดเว็บ เสียหาย 5 ล้าน กระทบเสรีภาพสื่อและประชาชน

Posted: 22 Dec 2010 12:48 AM PST

(22 ธ.ค.53) ที่สำนักงานประชาไท น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท (prachatai.com) และนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท ร่วมกันแถลงข่าวความเสียหาย 258 วันของการพยายามปิดกั้นข่าวสารของเว็บประชาไท

จีรนุช กล่าวว่า ประชาไทถูกปิดกั้นโดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในวันที่ 8 เม.ย.หรือหลังรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 วัน หากไม่นับว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน มองในแง่มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเว็บจะพบว่าจนถึงวันยกเลิกพ.ร.ก.มีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท คำนวณตามการฟ้องร้องค่าเสียหาย (วันละ 20,000 บาท) ซึ่งประชาได้ยื่นฟ้องรัฐบาลและศอฉ.ไปแล้ว แต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องระบุว่าเป็นการปิดกั้นเว็บไซต์อำนาจของนายกฯ และรองนายกฯ ตามพ.ร.ก. ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ นอกจากนี้ยังเสียหายต่อชื่อเสียงและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในส่วนของเอสเอ็มเอสข่าวและการเปิดรับโฆษณาซึ่งทางเว็บเพิ่งเริ่มต้นโมเดลธุรกิจเหล่านี้เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองให้ยั่งยืน

จีรนุช ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ที่ผ่านมา ศอฉ.มีคำสั่งปิดกั้นเว็บต่างๆ ในลักษณะตามอำเภอใจ จากงานวิจัยของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw.or.th) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ศึกษาพบว่า ศอฉ.มีคำสั่งถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อปิดเว็บไซต์จำนวนหลายหมื่นยูอาร์แอล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปิดกั้นเนื้อหาที่นำเสนอรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็น “การปิดหูปิดตาประชาชน” และยังรวมไปถึงบางเว็บที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว อยากฝากถึงทั้งรัฐบาลและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าควรยุติการปิดกั้นเว็บทั้งหมดตามคำสั่ง ศอฉ.โดยทันที เนื่องจากไม่มีอำนาจตามกกฎหมายใดรองรับ

ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ยังกล่าวถึงข้อกังวลว่าแม้จะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่สื่อสารมวลชนและสังคมจะต้องตระหนักและร่วมกันเฝ้าตรวจสอบการแปลงโฉมจาก ศอฉ. มาเป็นศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ (ศอส.) โดยอาศัยการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ แสดงว่าอำนาจพิเศษตามกฎหมายซึ่งมีลักษณะพิเศษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงของพลเมืองยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ขอบเขตอำนาจของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯไม่ได้ให้อำนาจในการปิดกั้นสื่อ

ชูวัส กล่าวว่า คำสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ไม่เพียงแต่ทำความเสียหายให้ประชาไท แต่ยังลิดรอนเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งยังทำลายพัฒนาการของสื่อสารมวลชนไทยด้วย การแถลงข่าวในวันนี้ประชาไทเป็นแค่หนูลองยาที่ออกมาพูด อยากให้เว็บไซต์ต่างๆ ที่โดนปิดกั้น ได้รับผลกระทบจากจากการสั่งปิดออกมา อย่างน้อยก็ทำให้สังคมรู้ว่าเสรีภาพที่เขาพรากไป 8 เดือนมันมีค่ามหาศาลขนาดไหน

บก.บห.เว็บไซต์ประชาไทกล่าวว่า รัฐไทยควรสรุปบทเรียนได้แล้วว่า ประการแรก พรก.ฉุกเฉิน นอกจากทำความเสียหายแล้ว ไม่สามารถปิดกั้นสื่อได้เลย สื่อหลักคุณก็ไม่กล้าปิด สื่อใหม่ๆ ก็ปิดไม่ได้ โดยเทคโนโลยีมันไม่ยอมให้คุณปิด  ประการที่สอง พ.ร.ก.ฉุกเฉินและการปิดกั้นของ ศอฉ. ทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยขยายตัว เนื่องจากข่าวสารจำนวนมากถูกซุกอยู่ใต้ดิน แม้ในแวดวงนักวิชาการเองน้อยคนที่จะสืบค้นข้อมูลอย่างจริงจังเพื่อการอ้างอิง ถกเถียงกันทางวิชาการ ความจริงอีกด้านของคนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้ถูกนำมาพูดคุย เมื่อคนไม่ได้พูดมันก็สะสมเป็นความกดทับภายใน รอวันระเบิด

“ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น และมีนัยยะสำคัญมาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยตรง พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นปัญหาของความมั่นคงและความสงบสุขของรัฐ และถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง” ชูวัสกล่าว

ทั้งนี้ ผอ.ประชาไทระบุว่า เว็บประชาไทเผชิญกับการปิดกั้นโดยต่อเนื่อง ในการปิดกั้นทุกช่องทางทางเว็บข่าว เว็บบอร์ด ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ยูทิวป์ สำหรับเว็บไซต์ข่าวเปลี่ยนชื่อเว็บไปทั้งหมด 8 ครั้ง เว็บบอร์ดเปลี่ยนชื่อ 3 ครั้ง ก่อนที่ประชาไทจะตัดสินใจปิดเวบบอร์ดไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ความพยายามปิดกั้นกระทำทั้งโดยการปิดกั้นชื่อเว็บ, การปิดกั้นไอพีแอดเดรส, การปิดกั้นที่เซิร์ฟเวอร์ เป็นเหตุให้ประชาไทต้องย้ายไปใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ การจดทะเบียนชื่อเว็บและอื่นๆ เกือบทั้งหมดในต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันในการที่เว็บจะสามารถเข้าถึงได้ สำหรับยอดผู้เข้าชมนั้น หลังจากถูกปิดกั้นทำให้จำนวนผู้เข้าชมลดลงถึง 2 ใน 3 จากสถานการณ์ปกติ

อนึ่ง วานนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พร้อมตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ขึ้นมาทดแทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ต้องยุบเลิกไปโดยสภาพ

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเบื้องต้น เมื่อลองเข้าเว็บประชาไทด้วยยูอาร์แอล www.prachatai.com ด้วยอินเทอร์เน็ตทรูและทีโอที พบว่าไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยขึ้นข้อความว่าเป็นการปิดกั้นตามคำสั่งของ ศอฉ. ขณะที่เมื่อเข้าด้วยอินเทอร์เน็ต 3BB สามารถเข้าถึงได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วิกิลีกส์: รายงานลับของสถานทูต เปิดโปงบทบาทของสหรัฐฯในการรัฐประหาร 2549

Posted: 21 Dec 2010 06:00 PM PST

รายงานลับทางการทูตที่รั่วไหลออกมาผ่านทางวิกิลีกส์เปิดโปงให้รู้ว่า สหรัฐอเมริกาเห็นชอบกับการรัฐประหารของกองทัพ ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงแม้หน้าฉากที่แสดงออกต่อสาธารณะนั้น สหรัฐฯ จะทำเหมือนวางระยะห่างจากการยึดอำนาจก็ตาม รายงานลับทางการทูตเผยให้เห็นพฤติกรรมต่อต้านประชาธิปไตยของสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ในการดำเนินการทางการทูตแบบเร้นลับหลังฉาก

เอกสารเหล่านี้ชี้ให้เห็นด้วยว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x โดยมีการปรึกษาหารือกันว่าจะจัดการอย่างไรกับฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณ

x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x รัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามสกัดกั้นการเผยแพร่ของข้อมูล เมื่อวานนี้ บทความบทหนึ่งบนเว็บไซท์ของ บางกอกโพสต์ ถูกถอดออกหลังจากนำขึ้นเผยแพร่ได้ไม่กี่ชั่วโมง รายงานลับทางการทูตทำลายความเชื่อที่มีมานมนานว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x

รายงานลับทางการทูตจากสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 บันทึกการสนทนาระหว่างนายราล์ฟ แอล. บอยซ์ กับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ทั้งสองพบกัน “เป็นการส่วนตัว” หลังจากกองทหารและรถถังเพิ่งเคลื่อนเข้ายึดเมืองหลวงและล้มรัฐบาลทักษิณในบ่ายวันที่ 19 กันยายน

บอยซ์ถามว่า นอกจากผู้นำคณะรัฐประหารแล้ว มีใครอีกบ้างที่เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “เมื่อคืนนี้” สนธิตอบว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้นำตนและนายทหารคนอื่น ๆ เข้าไปในพระราชวัง ในรายงานทางการทูตของบอยซ์ระบุว่า พลเอกสนธิได้กล่าวว่า “x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x เขาไม่ได้ให้รายละเอียดนอกเหนือจากนี้” x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x

ความแตกแยกอย่างลึกซึ้งเกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นปกครองไทย กลุ่มธุรกิจและการเมืองดั้งเดิมที่รวมศูนย์อยู่รอบสถาบันกษัตริย์ กองทัพและกลไกรัฐ ต่างหันมาเป็นปฏิปักษ์ต่อทักษิณ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจระดับพันล้าน ไม่ได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาก่อนหน้านี้ที่ว่า จะปกป้องธุรกิจไทยจากมาตรการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย พ.ศ. 2540-2541

กลุ่มธุรกิจที่เกิดความสั่นคลอนจากนโยบายของทักษิณ ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นเพื่อโค่นล้มรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรฯ แสร้งวางตัวเป็นเสียงคัดค้านการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจของทักษิณ โดยจัดระดมมวลชน “เสื้อเหลือง” ประท้วงในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยสร้างเงื่อนไขให้กองทัพเข้ามารัฐประหาร

รายงานลับที่รั่วไหลออกมาชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลบุชทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการรัฐประหารมาตั้งแต่ช่วงเตรียมการและให้ความเห็นชอบเป็นนัยๆ ส่วนการแสดงออกต่อสาธารณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ แสดง “ความกังวล” นั้น เป็นเรื่องที่มีการตกลงกับผู้นำรัฐประหารล่วงหน้าก่อน

บอยซ์เขียนว่า “เมื่อกล่าวถึงปฏิกิริยาของสหรัฐฯ ผมเตือนเขา [สนธิ] ถึงการสนทนาของเราเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เมื่อผมบอกเขาว่า ปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ย่อมส่งผลให้มีการระงับโครงการความช่วยเหลือในทันที.....ผมบอกเขาว่า เขาต้องคาดหมายไว้ว่าเราจะประกาศมาตรการแบบนั้นออกมาโดยเร็ว เขาก็เข้าใจดี” บอยซ์เขียนต่อไปว่า “ผมเสริมต่อว่า การฟื้นฟูความช่วยเหลือต่าง ๆ จะเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเข้ามาดำรงตำแหน่ง”

ก่อนเข้าพบทูตสหรัฐฯ พลเอกสนธิได้ประกาศแล้วว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวและแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนภายในสองสัปดาห์ แน่นอน รัฐบาล “พลเรือน” ที่วางไว้ ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าฉากบังหน้าให้กองทัพ กระนั้นก็ตาม บอยซ์แสดงความคิดเห็นในเชิงชมเชยว่า นี่คือ “ตัวอย่างที่ดี”

ทำเนียบขาวของรัฐบาลบุชระงับความช่วยเหลือทางการทหารและการซ้อมรบร่วมกับประเทศไทยเพื่อแสดง “ความกังวล” แต่ไม่นานก็รื้อฟื้นความสัมพันธ์ตามปรกติกับกองทัพไทย รัฐบาลทหารจัดการเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนทักษิณก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงแม้วอชิงตันจะชื่นชมผลการเลือกตั้งว่าเป็น “การกลับไปสู่ประชาธิปไตย” แต่รัฐบาลที่มาจากพรรคพลังประชาชนย่อมไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สหรัฐฯ มุ่งหวัง

เมื่อไม่สามารถสกัดกั้นการกลับมาของรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ สถาบันอำนาจเก่าจึงร่วมมือกันรณรงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาล การประท้วงของพันธมิตรฯ กลับมาอย่างรวดเร็ว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็ลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ด้วยข้ออ้างขี้ปะติ๋วว่า เขาละเมิดกฎหมายด้วยการออกรายการทำอาหารทางทีวี

จากรายงานทางการทูตที่รั่วไหลออกมาอีกฉบับหนึ่ง นายสมัครกล่าวแก่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายเอริก จอห์น ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 ว่า x x x x x x x x “มีส่วนรู้เห็นกับการรัฐประหาร 2549 รวมทั้งความปั่นป่วนวุ่นวายที่เกิดจากการประท้วงของพันธมิตรฯ ด้วย” ในตอนนั้น พันธมิตรฯ ยังดำเนินการประท้วงด้วยการยึดทำเนียบรัฐบาล เพื่อบีบให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลงจากตำแหน่ง แต่สหรัฐฯ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณะในเรื่องนี้

บันทึกความจำของสหรัฐฯ อีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ยืนยันว่า x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x นี่เป็นอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาไม่แสดงท่าทีคัดค้านใด ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลวงใน

อีกเพียงหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 การที่กลุ่มพันธมิตรฯ ยึดสนามบินสองแห่งในกรุงเทพฯ ช่วยสร้างเงื่อนไขความปั่นป่วนวุ่นวาย พร้อม ๆ กับศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนด้วยข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นมาว่าโกงการเลือกตั้ง จากนั้นกองทัพก็เกลี้ยกล่อมพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ให้จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา

รายงานทางการทูตยืนยันเรื่องที่เห็นกันชัด ๆ อยู่แล้ว กล่าวคือ การที่สหรัฐฯ มีปฏิกิริยาผ่อนปรนต่อการรัฐประหาร 2549 เป็นการเดินตามแนวทางที่ชี้นำจากผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เอง สหรัฐฯ มีสายสัมพันธ์ยาวนานกับกองทัพไทย ย้อนกลับไปตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อวอชิงตันหนุนหลังระบอบเผด็จการทหารของไทย และใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพสำหรับปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามเวียดนาม

สหรัฐฯ จะประณามหรือประนอมกับรัฐบาลทหาร ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางการเมืองของตน ข้ามชายแดนไทยไปที่ประเทศพม่าเพื่อนบ้าน สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อระบอบเผด็จการทหารและวางท่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของชาวพม่า สิ่งที่วอชิงตันคัดค้านจริง ๆ ไม่ใช่การละเมิดสิทธิประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ไม่พอใจต่อความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับจีนต่างหาก ทั้งนี้เพราะจีนเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้

การผลักดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาตามการเลือกตั้งขึ้นสู่อำนาจในประเทศไทย เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงของมวลชนที่นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ที่สนับสนุนทักษิณ ขบวนการ “เสื้อแดง” นี้มีแนวโน้มที่จะขยายกลายเป็นขบวนการสังคมที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักธุรกิจรายย่อยและแรงงานในเมืองเริ่มส่งเสียงแสดงความไม่พอใจจากปัญหาของตัวเองเช่นกัน นายกฯ อภิสิทธิ์ตอบโต้ด้วยการกดขี่ปราบปราม จนลงเอยด้วยการที่กองทัพเข้าสลายการชุมนุมอย่างนองเลือดในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งกองทหารติดอาวุธหนักยิงใส่ผู้ประท้วง มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คนจากการปะทะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม

เช่นเดียวกับในเดือนกันยายน 2549 สหรัฐฯ ไม่ได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือกองทัพไทยแม้แต่น้อย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ประชวร

Posted: 21 Dec 2010 05:35 PM PST

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 1

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2553 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ มีพระอาการประชวร โดยมีพระปรอท (ไข้) และทรงมีอาการเหนื่อย การหายพระทัยติดขัด ระหว่างทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ ณ จังหวัดนครราชสีมา แพทย์ประจำพระองค์ได้กราบทูลเชิญให้เสด็จมาทรงรับการตรวจพระวรกาย เมื่อวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2553 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ปอด พบว่าพระปัปผาสะ (ปอด) ด้านขวาอักเสบ แพทย์วินิจฉัยว่าประชวรด้วยพระโรคปอดบวม จึงได้กราบทูลเชิญให้ประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และให้ทรงงดพระกรณียกิจระยะหนึ่ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น