โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

พรรคการเมืองใหม่ชูนโยบายรัฐสวัสดิการสู้เลือกตั้ง

Posted: 23 Dec 2010 01:01 PM PST

 
23 ธ.ค.53 พรรคการเมืองใหม่ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์ต่อการเลือกตั้งใหญ่ 2554 โดยมีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ กล่าวเปิดการสัมมนา โดยสรุปว่า พรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการเห็นชอบของมวลชนอย่างแท้จริง เพราะต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในการเมืองปัจจุบัน เพราะหลายพรรคการเมืองบริหารงานแบบครอบครัว เมื่อผลประโยชน์ลงตัวก็ร่วมกันเกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งนับวันยิ่งมีกระบวนการทุจริตซับซ้อนมากขึ้น พรรคการเมืองใหม่ต้องไม่ถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมดังกล่าว ต้องกล้ายืนทวนกระแส อย่างไรก็ตาม การพิจารณาบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งของพรรคไม่จำเป็นต้องมีชื่อเสียง ขอให้เป็นคนดี ทำงานเพื่อมวลชนมาก่อน ถือว่าเป็นคนที่มีคุณภาพแล้ว
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสในการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า และติดตามความพร้อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งพรรคได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 8 กลุ่ม ขณะเดียวกันจะร่วมกันออกแบบวิธีการคัดเลือกผู้สมัคร และร่วมกันลงมติว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้ามีความพร้อมที่ส่งผู้สมัครลงทุกเขตเลือกตั้ง หรือส่งเฉพาะบางเขตเลือกตั้งที่คิดว่ามีโอกาส
นายสุริยะใส กล่าวว่า พรรคการเมืองใหม่ จะชูนโยบาย “สร้างอำนาจรัฐ ด้วยอำนาจประชาชน” ซึ่งจะสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการทำงานของพรรคอย่างแท้จริง ที่มุ่งเน้นเรื่องรัฐสวัสดิการ เพราะพรรคการเมืองปัจจุบันไม่ได้มีนโยบายด้านนี้อย่างแท้จริง
 
ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปปช.ยกคำร้องรวดถอดถอนนายกฯ – ปัดตกคำร้องสอบ ‘อนุพงษ์’ ซ้อมผู้ต้องหาปล้นปืน

Posted: 23 Dec 2010 12:54 PM PST

ปปช.มีมติยกคำร้อง"เฉลิม" ร้องถอดถอน "อภิสิทธิ์ - กรณ์" กรณีส่ง SMS ประชาชน ชี้เป็นขอความร่วมมือจากภาครัฐ กรณีเขาพระวิหาร และตั้ง"กษิต"ร่วมครม. ให้ยกคำร้องเช่นกัน ส่วนกรณีซ้อมผู้ต้องหาปล้นปืน หลักฐานพยานไม่เพียงพอมีมติให้ตกไป

 
23 ธ.ค.53 นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่าในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันนี้ มีเรื่องสำคัญที่ขอแถลงให้สื่อมวลชนทราบ คือ เรื่องคำร้องขอให้ถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกจากตำแหน่งกรณีมีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 กล่าว คือ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้แถลงข่าวการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สื่อมวลชนได้รับทราบ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เกี่ยวกับกรณีที่ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 158 คน ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง รวม 8 ข้อกล่าวหา และกรณีมีผู้กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ เป็นองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง แล้วมีมติว่า
 
ข้อกล่าวหาที่ 1. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยขัดขวางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กรณีประกาศคัดค้านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยไม่ส่งผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้ง และเรียกร้องขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญ และร่วมปฏิบัติการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ออกมาเรียกร้องขอคืนพระราชอำนาจ
ข้อกล่าวหาที่ 2. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยฝ่าฝืนหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเสียงสนับสนุนในการจัดตั้งรัฐบาลไม่เพียงพอจนได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการฝืนหลักการและประเพณีปฏิบัติ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่สุจริต ไม่ยึดมั่นในหลักความชอบธรรม และกฎหมาย
ข้อกล่าวหาที่ 5. ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ จงใจฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมือง และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรมอย่างร้ายแรง กรณีปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นตามที่กำหนดไว้ โดยรับรองงบดุลงบการเงินของพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นเท็จ
ข้อกล่าวหาที่ 7. ส่อว่าจงใจกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 กรณีออกหนังสือรับรองความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอันเป็นเท็จให้กับนายธานินทร์ ใจสมุทร เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง
 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงมิได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 ได้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาที่ 1, 2, 5 และ 7 ตกไป
 
ข้อกล่าวหาที่ 6. ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ โดยทำให้ราชอาณาจักร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ภายใต้อธิปไตยของต่างประเทศและไม่กำกับ ดูแลเพื่อรักษาไว้ซึ่งดินแดนของประเทศ กรณีให้ประเทศเพื่อนบ้านทำถนนบุกรุกยึดครองใช้พื้นที่ดินแดนของประเทศไทยเป็นทางขึ้นเขาพระวิหาร
จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ปรากฏว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ประท้วงต่อรัฐบาลกัมพูชาเรื่อยมา มิได้ปล่อยให้ทำถนนรุกล้ำเข้ามายึดครองดินแดนทางขึ้นปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด ล่าสุดได้ประท้วงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้กำกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 3. ส่อว่าใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ในกรณีที่ได้แต่งตั้งให้นายกษิต ภิรมย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 11 กรณีเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนในการทำให้การบริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองหยุดชะงักลง คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเหตุผลในการเสนอแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงเจตนารมณ์ในการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. .... ที่มีการกล่าวอ้างว่า เป็นไปเพื่อให้ นายกษิต ภิรมย์ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมประท้วงในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับประโยชน์จากการนำกฎหมายดังกล่าวไปอ้างอิงในการต่อสู้คดีหรือไม่ อย่างใด จึงมีมติมอบหมายให้คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม
ข้อกล่าวหาที่ 4. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือผู้อื่นหรือพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ฯลฯ กรณีรู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการส่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ไปช่วยปฏิบัติราชการในกระทรวงต่าง ๆ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า เนื่องจากข้อกล่าวหานี้ เป็นประเด็นเดียวกับคำร้องขอให้ถอดถอน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ส่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์และบุคคลอื่นไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้นำข้อกล่าวหานี้ไปรวมพิจารณากับเรื่องกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งขณะนี้การไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่แล้วเสร็จ อยู่ในระหว่างให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ข้อกล่าวหาที่ 8. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 กรณีขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ส่ง SMS ไปให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมือถือดังกล่าว จากการส่งข้อความไปยังมือถือของประชาชน และให้ประชาชนส่งข้อความกลับคิดค่าบริการ 3 บาท ทำให้บริษัทดังกล่าวมีรายได้จำนวนมาก
 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า ยังมีประเด็นตามคำร้องขอให้ถอดถอนที่จะต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการ และมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์จำนวนหนึ่งส่งข้อความกลับไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ทำให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มีรายได้ ครั้งละ 3 บาท ได้มีการดำเนินการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์ เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการดังกล่าวหรือไม่ และการส่งข้อความ SMS ดังกล่าว นั้น เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 35 หรือไม่ จึงมีมติมอบหมายให้คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมก่อน นั้น
 
ในวันนี้(23 ธ.ค.53) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประชุมพิจารณา รายงานผลการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในข้อกล่าวหาที่ 3 และข้อกล่าวหาที่ 8 ที่กล่าวข้างต้น แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
ข้อกล่าวหาที่ 3. ส่อว่าใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ในกรณีที่ได้แต่งตั้งให้นายกษิต ภิรมย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งที่กระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 11 กรณีเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนในการทำให้การบริการของท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองหยุดชะงักลง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เข้าทำการปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิ และได้เชิญ นายกษิต ภิรมย์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ได้มีการเสนอแต่งตั้งให้นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เนื่องจากเห็นว่า นายกษิต ภิรมย์ เป็นบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศต่างๆ หลายประเทศ มีประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ซึ่งได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของนายกษิต ภิรมย์ แล้วก่อนเสนอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะทราบว่า นายกษิต ภิรมย์ ได้รับเชิญไปแสดงความคิดเห็น ในช่วงที่มีการชุมนุมเป็นระยะ ตั้งแต่ปี 2549 แต่เหตุดังกล่าวหาใช่คุณสมบัติต้องห้ามในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และการแจ้งความกล่าวหานายกษิต ภิรมย์ ว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 11 นั้น เป็นการแจ้งความหลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายกษิต ภิรมย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว มิใช่แจ้งความดำเนินคดีไว้ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ดังนั้น การแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงเป็นไปตามขั้นตอนในการแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยทั่วไป
ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย สำหรับกรณีที่กล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. .... เพื่อช่วยเหลือนายกษิต ภิรมย์ ให้นำไปใช้อ้างอิงในการต่อสู้คดี นั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. .... เพื่อต้องการปรับปรุงระบบการดูแลการรักษาความปลอดภัยให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง หรือประกาศที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้มีการควบคุม กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยหรืออำนวยความสะดวกในเขตท่าอากาศยาน กรณีดังกล่าวเป็นการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้พิจารณาให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับชื่อร่างพระราชบัญญัติว่าอาจเป็นการกำหนดมาตรการในการรักษาความปลอดภัยเฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สมควรบัญญัติให้เป็นกฎหมายกลางเพื่อให้สามารถปรับใช้กับท่าอากาศยานอื่น ๆ ได้ด้วย และได้มีการส่งร่างพระราชบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มิได้เป็นผู้เสนอหรือสั่งการให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการดูแลการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ได้เป็นการยกเว้นความผิด หรือลบล้างความผิด หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใด และในขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรีก็มิได้ให้ความเห็นชอบในทันที หากแต่ได้มีการการพิจารณาให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับชื่อร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรบัญญัติให้เป็นกฎหมายกลาง เพื่อให้สามารถปรับใช้กับท่าอากาศยานอื่นและมีการส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นไปตามขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยปกติทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีการเร่งรัดดำเนินการหรือเพื่อช่วยเหลือนายกษิตย์ ภิรมย์ ให้ใช้อ้างอิงในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วจึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาที่ 3 ไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป
 
ส่วนข้อกล่าวหาที่ 8. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 กรณีขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ส่ง SMS ไปให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมือถือดังกล่าว จากการส่งข้อความไปยังมือถือของประชาชนและให้ประชาชนส่งข้อความกลับคิดค่าบริการ 3 บาท ทำให้บริษัทดังกล่าวมีรายได้จำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า ยังมีประเด็นตามคำร้องขอให้ถอดถอนที่จะต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการส่ง SMS ดังกล่าว โดยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์จำนวนหนึ่งส่งข้อความกลับไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ทำให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มีรายได้ครั้งละ 3 บาท ได้มีการดำเนินการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการดังกล่าวหรือไม่ และการส่งข้อความ SMS ดังกล่าว นั้น เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 35 หรือไม่ นั้น
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช จะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามลำดับ ได้เห็นชอบให้มีการสื่อสารกับประชาชนโดยวิธีการส่ง SMS และมอบหมายให้นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้มีการนัดหมายผู้บริหารของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย บริษัท เอ ไอ เอส บริษัท ดีแทค บริษัท ทรู มูฟ และบริษัท ฮัชท์ ให้มาประชุมที่โรงแรมโฟร์ซีซัน ในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ในวันดังกล่าว นายกรณ์ จาติกวณิช ได้เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครือข่าย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS บริษัท โทเทิ่ลบริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC และบริษัท ทรู มูฟ จำกัด สาระสำคัญของการประชุม คือ ขอให้ส่งข้อความถึงประชาชน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ได้เป็นผู้พิจารณาตรวจร่างข้อความการส่ง SMS ถึงประชาชน
จากการไต่สวนผู้แทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครือข่าย ได้ให้ถ้อยคำว่า การส่ง SMS ดังกล่าว ได้ระบุให้ใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่ง และเนื่องจากเห็นว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือกับทางราชการ จึงได้กำหนดชื่อผู้ส่งว่า UR_PM ย่อมาจาก YOUR PRIME MINISTER โดยให้ดำเนินการพร้อมกันภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว อันเป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ และไม่มีการกำหนดในเรื่องค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนในการดำเนินการ เพราะไม่ใช่เป็นการให้บริการในลักษณะหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งการส่ง SMS ให้กับหน่วยงานของรัฐ นั้น บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่าย ได้ให้ความร่วมมือกับทางราชการมาโดยตลอด เช่น การประชาสัมพันธ์การจัดประชุมเอเปค เมื่อปี 2546 การแจ้งข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือวิกฤตการณ์แพร่กระจายของโรคระบาด การแจ้งข่าวรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การประชาสัมพันธ์การจัดงานพระราชพิธีฯ จากกรมประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
จากการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง SMS ดังกล่าว โดยมีผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนหนึ่งส่งข้อความกลับไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ทำให้บริษัท ผู้ให้บริการโทรศัพท์มีรายได้ครั้งละ 3 บาท ได้มีการดำเนินการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการดังกล่าวหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย จะได้รับเฉพาะค่าบริการ จำนวน 3 บาท กรณีที่ประชาชนตอบกลับมาเท่านั้น ซึ่งเป็นความสมัครใจของประชาชนที่ต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม โดยถือเป็นรายได้ของผู้ให้บริการแต่ละราย มิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย หรือผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น
เมื่อค่าบริการดังกล่าวถือเป็นรายได้ของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว การเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ ของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นเดียวกับการเสียภาษีในการให้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ในกรณีอื่นๆ โดยทั่วไป ซึ่งเงินค่าบริการในครั้งนี้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้รวมเป็นรายได้ของบริษัท โดยไม่ได้มีการแยกไว้เฉพาะส่วนของค่าบริการส่งข้อความ SMS ดังกล่าว อีกทั้ง ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปีแล้ว ซึ่งจากการขอทราบข้อเท็จจริงจากกรมสรรพากรในเรื่องนี้ กรมสรรพากรกรมสรรพากรได้แจ้งให้ทราบว่า บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้นำรายได้จากการที่ประชาชนใช้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ทั้งหมดบันทึกเป็นรายได้ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้ว แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดว่าเป็นบุคคลใดบ้างเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้เก็บข้อมูลรายตัวไว้ และจากการไต่สวนปากคำตัวแทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย รับฟังได้ว่า การดำเนินการขอให้ส่ง SMS ดังกล่าว เป็นการดำเนินการในลักษณะการขอความร่วมมือจากภาครัฐ ไม่มีข้อตกลงในเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน หรือการยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทที่ดำเนินการจัดส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าวแต่อย่างใด
สำหรับการกระทำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ดังกล่าวจะถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือไม่นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 วรรคหนึ่ง กำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจ4รรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2543 กำหนดว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา หมายถึง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม และประโยชน์อื่นใด ให้หมายความรวมถึงการรับบริการด้วย ซึ่งแม้การขอรับบริการในการส่งข้อความสั้น (SMS) ตามเรื่องนี้ จะถือเป็นประโยชน์อื่นใด ตามที่กำหนดไว้ในบทนิยามของประกาศฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ได้ขอให้ส่ง SMS ในลักษณะเป็นการขอความร่วมมือจากภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการข้อมูลจากประชาชนและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลต่อไป โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่าย ก็เคยให้บริการในการส่งข้อความสั้น (SMS) ให้กับหน่วยงานของรัฐในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ และไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมิใช่เป็นการหาประโยชน์ในเชิง
อีกทั้งบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมว่าสมควรจะให้การสนับสนุนมากน้อยเพียงใด โดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่ายได้พิจารณาส่งให้ตามความเหมาะสม มิได้ส่งให้กับลูกค้าของบริษัททั้งหมด ซึ่งตามหลักการของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 เป็นการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การส่งข้อความสั้น (SMS) ในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ อันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน มิใช่เพื่อประโยชน์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช โดยส่วนตัว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
ส่วนในประเด็นที่กล่าวหาว่า การส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 35 นั้นจากการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2553 ขอทราบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยแจ้งว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีร้องขอให้ถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ส่ง SMS ไปให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ข้อความว่า “ผมนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขอเชิญท่านร่วมนำประเทศไทยออกจากวิกฤติ/สนใจ ได้รับการติดต่อจากผมกรุณาส่งรหัสไปรษณีย์ 5 หลักของท่านมาที่เบอร์ 9191 (3บ.)” เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมือถือดังกล่าว และเป็นการรุกล้ำสิทธิในลักษณะของการถูกบังคับใช้บริการ ซึ่งสิทธิความเป็นส่วนตัวได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงขอทราบว่า การส่ง SMS กรณีดังกล่าว เป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35 หรือไม่ ประการใด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553 แจ้งว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเห็นว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่อาจไม่อาจดำเนินการตามคำขอของประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดังกล่าวได้ เนื่องจากการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หมวด 3 ว่าด้วยการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน มาตรา 22 - 33 และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2545
หากยังคงประสงค์ขอทราบความเห็นในเรื่องดังกล่าว ขอให้ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 25 และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2545 ข้อ 13 (4) ต่อไปว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสมควรหยิบยกเรื่อง ดังกล่าวขึ้นพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาหนังสือตอบชี้แจงข้อเท็จจริงของประธาน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้ถอดถอนในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ ตามที่ได้มีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบแล้ว ไม่มีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอื่นใด นอกเหนือจากที่ได้แจ้งให้ทราบแล้ว จึงไม่อาจส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาเพิ่มเติมได้
ดังนั้น เมื่อการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ข้อยุติเป็นเช่นนี้ การกระทำตามข้อกล่าวหาจะเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35 หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้
อย่างไรก็ดี จากข้อเท็จจริงที่ดำเนินการไต่สวนมาแล้ว รับฟังได้ว่าการส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าว เป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ เพื่อนำข้อมูลจากประชาชนมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลซึ่งเป็นไปด้วยความสมัครใจ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน รวมทั้งไม่ปรากฏว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ให้ส่งรายงานไปยังประธานวุฒิสภาตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ต่อไป
 
ป.ป.ช.ไม่รับสอบ"ภาณุพงศ์"ซ้อมผู้ต้องหาปล้นปืน
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงเมื่อวานนี้ (22 ธ.ค.) ว่า หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้พิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหา พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) กับพวกรวม 19 คน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันกลั่นแกล้ง นายมะกะตา ฮารง กับพวก ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีร่วมกันปล้นอาวุธปืนของกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนรินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อปี 2547
รวมทั้ง นายอนุพงศ์ พันธชยางกูร อดีตกำนัน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส กับพวก ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สุไหงปาดี และผู้ต้องหาในคดีปล้นอาวุธปืน ให้ได้รับโทษทางอาญา หน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ และร่วมกันทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพด้วยวิธีการอันทารุณนั้น
ผลการพิจารณาสรุปได้ว่า ในระหว่างการควบคุมตัวผู้ต้องหาดังกล่าว มีการกล่าวหาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีการใช้กำลังทำร้ายร่างกายเพื่อบีบบังคับให้กลุ่มผู้ต้องหายอมรับสารภาพว่า นายนัจมุดดีน อูมา ส.ส.นราธิวาส เป็นหัวหน้าขบวนการแบ่งแยกดินแดน และปล้นอาวุธปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 แต่จากการไต่สวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่พบว่ามีร่องรอยบาดแผลตามร่างกายที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกตำรวจทำร้ายร่างกายตามที่กล่าวอ้างจริง
นอกจากนี้ ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายมะกะตากับพวกได้เบิกความเป็นพยานต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายร่างกาย แต่ศาลอาญาได้วินิจฉัยว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายตามที่พยานกล่าวอ้าง ดังนั้น ป.ป.ช.จึงเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่า พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กับพวกปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามที่ถูกกล่าวหา จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป
ด้านสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดเหตุรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเวลา 10.30 น. เมื่อวานนี้ คนร้ายไม่ทราบจำนวนดักซุ่มอยู่ข้างทาง และใช้อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. และปืนสงครามอาก้า ยิงถล่ม นายครรชิต ดุลยาภรณ์ อายุ 49 ปี หัวหน้าสำนักงานที่ดินอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี ขณะที่ขับรถกระบะออกจากบ้านในตัวเมือง จ.ยะลา เพื่อเดินทางไปทำงาน เหตุเกิดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 สายเก่า ช่วงบ้านเจาะกือแย-ตะบิ้ง หมู่ 3 ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี ทำให้ นายครรชิต ได้รับบาดเจ็บสาหัส เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบ
เวลา 13.15 น. ศูนย์วิทยุ สภ.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา รายงานว่า มีคนร้ายไม่ทราบจำนวน ขับรถกระบะ 4 ประตู ยี่ห้อมิตซูบิซิ สีเทา ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดยิง นายอะดือนา เจะแต อายุ 34 ปี สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่าธง ได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะนายอะดือนากำลังพักผ่อนอยู่ภายในบ้าน เบื้องต้นตำรวจยังไม่สรุปว่าสาเหตุของการลอบสังหารเป็นเรื่องส่วนตัวหรือสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ
 
 
 
ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก และกรุงเทพธุรกิจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำไมต้องเปิดเขื่อนปากมูล

Posted: 23 Dec 2010 10:31 AM PST

 
การต่อสู้ของชาวบ้านปากมูล นับตั้งแต่เขื่อนปากมูลเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กำลังเดินมาสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลปัจจุบันกำลังเผชิญกับการตัดสินใจที่ท้าทาย ซึ่งรัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาพยายามจะซื้อเวลาการแก้ปัญหาของเขื่อนปากมูล ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การจ่ายค่าชดเชยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในระหว่างการสร้างเขื่อน การจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียอาชีพ การทดลองเปิดเขื่อนตลอดปีเพื่อศึกษาผลดีผลเสีย การเปิดเขื่อน 4 เดือน และปิด 8 เดือน เพื่อประนีประนอมกับ ส่วนราชการ และชาวบ้านบางส่วน 
 
แต่นับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการตัดสินใจแก้ปัญหาตามข้อเสนอของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น หรือจะใช้วิธีการซื้อเวลาเช่นเดียวกับรัฐบาลที่ผ่านมา 
 
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน มีหน้าที่รวบรวมผลการศึกษาเขื่อนปากมูลในด้านต่างๆ ตลอด 20 ปี และรวบรวมความคิดเห็น ทัศนคติ ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในพื้นที่ องค์ประกอบของคณะกรรมการ มีทั้ง นักวิชาการที่เกี่ยวข้องในหลากหลายสาขา ตัวแทนของฝ่ายการเมือง ส่วนราชการและองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีตัวแทนของชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการฯเป็นกลางมากที่สุด 
 
ในการประชุมวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายหลังจากคณะกรรมการฯ ได้รับฟังรายงานผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการรวบรวมงานวิจัยฯที่เกี่ยวข้อง และคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ คณะกรรมการฯ มีมติเสนอรัฐบาลให้แก้ปัญหาเขื่อนปากมูล ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ โดยการเปิดเขื่อนถาวร และ ฟื้นฟูเยียวยาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ (อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้ขอสงวนสิทธิความเห็น) 
 
ข้อสรุปในรายงานฯ ได้ชี้ให้เห็นว่า แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลไปรวมกับแม่น้ำโขง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำโขง ที่มีความหลากหลายของพืชพรรณ สิ่งมีชีวิต ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งเป็นแหล่งที่มีพันธุ์ปลาชุกชุมที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และเนื่องจากลักษณะทางภูมินิเวศ ที่อยู่ตรงตำแหน่งรอยเชื่อมของแม่น้ำใหญ่ และแม่น้ำสาขา จึงทำให้เกิดการอพยพขึ้นลงของปลา ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลตลอดทั้งปี กลายมาเป็นคลังอาหารธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ดึงดูดให้ผู้คนในอดีต ลงหลักปักฐาน ก่อร่างสร้างบ้านและชุมชนขึ้น ในบริเวณสองฟากฝั่ง สืบย้อนไปได้นับหลายร้อยปี 
 
ชาวบ้านปากมูล จึงเป็นชาวประมง ที่มีรายได้หลักจากการจับปลา และก่อร่างสร้างชุมชนและวัฒนธรรม วิถีชีวิต แบบคนหาปลา โดยพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล ชาวบ้านที่นี่ไม่ใช่คนจน ตราบจนกระทั่งมีการก่อสร้างเขื่อนปากมูล 
 
ภายหลังการสร้างเขื่อน มีปลาจำนวนมากถึง 169 ชนิดที่หายไป พืช และสมุนไพร ที่ใช้กินและเป็นแหล่งรายได้ กว่า 100 ชนิด ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านประมงสูญเสียรายได้ปีละกว่า 140 ล้านบาท เฉลี่ยครอบครัวละ กว่าสองหมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ไม่ใช่เรื่องของตัวเลข แต่เป็นความล่มสลายของวิถีชีวิต ครอบครัว และชุมชน ที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล ภาวะความยากจน ทำให้พวกเขาต้องละทิ้งถิ่นฐาน เพื่อดิ้นรนเอาตัวรอด 
 
นอกจากนั้น เขื่อนปากมูล ยังได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงในพื้นที่ที่สงบสุขมาก่อน ความขัดแย้งที่เกิดจากผู้ที่ได้ประโยชน์จากเขื่อน และผู้ที่เสียประโยชน์ ความขัดแย้งแตกแยก ร้าวลึกลงไปทั้งในชุมชนและครอบครัว จนยากจะเยียวยา คล้ายกับความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ แลกกับกำไรจากการผลิตไฟฟ้าปีละ 99 ล้านบาท 
 
นอกจากนั้น เรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้คือ ปัจจุบัน แม้เขื่อนปากมูลไม่ผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาของปริมาณความต้องการไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้าฯ รับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนห้วยเฮาะของลาว ได้อย่างพอเพียง และในอนาคตอันใกล้ ยังมีเขื่อนน้ำเทิน 2 ที่จะช่วยเสริมเสถียรภาพของระบบได้เป็นอย่างดี 
 
สำหรับประเด็นเรื่องเขื่อนเพื่อการชลประทาน การศึกษาฯพบว่า การปิดเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล ไม่มีผลต่อการสูบน้ำเพื่อการชลประทาน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย ซึ่งเหมาะสมกับสภาพการใช้ประโยชน์ของชาวบ้าน แต่ที่สำคัญคือ การศึกษาฯพบว่า พื้นที่ชุมชนโดยรอบ ไม่ได้ต้องการน้ำมากขนาดที่จะต้องลงทุนสร้างสถานีสูบน้ำ ผลก็คือ มีการสูบน้ำน้อยมาก อีกทั้งชาวบ้านต้องเป็นผู้รับภาระส่วนหนึ่งของค่าสูบน้ำ การสูบน้ำจึงให้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มชาวนาที่มีฐานะ มีพื้นที่ใกล้คลองชลประทาน ซึ่งมีเป็นจำนวนน้อย 
 
คณะอนุกรรมการวิจัยฯ เสนอให้แก้ปัญหาด้วยการเปิดเขื่อนตลอดปี เนื่องจาก แนวคิดในการแก้ปัญหาในอดีตโดยการเปิดๆปิดๆ (เปิด 4 ปิด 8) ไม่ได้วางอยู่บนฐานของความรู้หรือเหตุผลใดๆ ทั้งในเชิงนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง การผลิตไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด(Peak load) ก็ไม่เป็นจริง เพราะเขื่อนปากมูลผลิตไฟในหน้าแล้งไม่ได้เนื่องจากปริมาณน้ำน้อยเกินไป ดังนั้น การเปิดเขื่อนตลอดปี ซึ่งได้เคยทำการศึกษาไว้บ้างแล้วโดย ม.อุบลราชธานี ในปี 2545 จะทำให้ เกิดการฟื้นคืนมาของระบบนิเวศ การกลับมาของระบบเศรษฐกิจบนฐานของการพึ่งพาตนเองของชุมชน การเปิดตลอดปี จึงเป็นข้อเสนอที่มีเป้าหมายหลักในการให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ อันเป็นรากฐานสำคัญของวิถีชีวิตชุมชน 
 
การตัดสินใจของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการ เสนอให้เปิดเขื่อนถาวร และเยียวยาฟื้นฟูชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จึงเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนฐานของความรู้ ความยุติธรรม และการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
 
ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลอย่างไร อย่างน้อย การต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลกว่า 20 ปี ได้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบางส่วน ได้เรียนรู้ ทบทวน เข้าใจความรุนแรงและผลที่เกิดจากการพัฒนาแบบหยาบๆ ในอดีต ที่ทำลายทั้งระบบนิเวศ ชุมชนและชาวบ้าน ในบริเวณปากแม่น้ำมูล 
 
พัฒนาการการต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลที่ผ่านมา จะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคตได้อย่างแท้จริง
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำไมต้องเปิดเขื่อนปากมูล

Posted: 23 Dec 2010 10:30 AM PST

 
การต่อสู้ของชาวบ้านปากมูล นับตั้งแต่เขื่อนปากมูลเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กำลังเดินมาสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลปัจจุบันกำลังเผชิญกับการตัดสินใจที่ท้าทาย ซึ่งรัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาพยายามจะซื้อเวลาการแก้ปัญหาของเขื่อนปากมูล ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การจ่ายค่าชดเชยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในระหว่างการสร้างเขื่อน การจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียอาชีพ การทดลองเปิดเขื่อนตลอดปีเพื่อศึกษาผลดีผลเสีย การเปิดเขื่อน 4 เดือน และปิด 8 เดือน เพื่อประนีประนอมกับ ส่วนราชการ และชาวบ้านบางส่วน 
 
แต่นับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการตัดสินใจแก้ปัญหาตามข้อเสนอของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น หรือจะใช้วิธีการซื้อเวลาเช่นเดียวกับรัฐบาลที่ผ่านมา 
 
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน มีหน้าที่รวบรวมผลการศึกษาเขื่อนปากมูลในด้านต่างๆ ตลอด 20 ปี และรวบรวมความคิดเห็น ทัศนคติ ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในพื้นที่ องค์ประกอบของคณะกรรมการ มีทั้ง นักวิชาการที่เกี่ยวข้องในหลากหลายสาขา ตัวแทนของฝ่ายการเมือง ส่วนราชการและองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีตัวแทนของชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการฯเป็นกลางมากที่สุด 
 
ในการประชุมวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายหลังจากคณะกรรมการฯ ได้รับฟังรายงานผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการรวบรวมงานวิจัยฯที่เกี่ยวข้อง และคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ คณะกรรมการฯ มีมติเสนอรัฐบาลให้แก้ปัญหาเขื่อนปากมูล ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ โดยการเปิดเขื่อนถาวร และ ฟื้นฟูเยียวยาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ (อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้ขอสงวนสิทธิความเห็น) 
 
ข้อสรุปในรายงานฯ ได้ชี้ให้เห็นว่า แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลไปรวมกับแม่น้ำโขง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำโขง ที่มีความหลากหลายของพืชพรรณ สิ่งมีชีวิต ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งเป็นแหล่งที่มีพันธุ์ปลาชุกชุมที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และเนื่องจากลักษณะทางภูมินิเวศ ที่อยู่ตรงตำแหน่งรอยเชื่อมของแม่น้ำใหญ่ และแม่น้ำสาขา จึงทำให้เกิดการอพยพขึ้นลงของปลา ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลตลอดทั้งปี กลายมาเป็นคลังอาหารธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ดึงดูดให้ผู้คนในอดีต ลงหลักปักฐาน ก่อร่างสร้างบ้านและชุมชนขึ้น ในบริเวณสองฟากฝั่ง สืบย้อนไปได้นับหลายร้อยปี 
 
ชาวบ้านปากมูล จึงเป็นชาวประมง ที่มีรายได้หลักจากการจับปลา และก่อร่างสร้างชุมชนและวัฒนธรรม วิถีชีวิต แบบคนหาปลา โดยพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล ชาวบ้านที่นี่ไม่ใช่คนจน ตราบจนกระทั่งมีการก่อสร้างเขื่อนปากมูล 
 
ภายหลังการสร้างเขื่อน มีปลาจำนวนมากถึง 169 ชนิดที่หายไป พืช และสมุนไพร ที่ใช้กินและเป็นแหล่งรายได้ กว่า 100 ชนิด ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านประมงสูญเสียรายได้ปีละกว่า 140 ล้านบาท เฉลี่ยครอบครัวละ กว่าสองหมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ไม่ใช่เรื่องของตัวเลข แต่เป็นความล่มสลายของวิถีชีวิต ครอบครัว และชุมชน ที่ต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล ภาวะความยากจน ทำให้พวกเขาต้องละทิ้งถิ่นฐาน เพื่อดิ้นรนเอาตัวรอด 
 
นอกจากนั้น เขื่อนปากมูล ยังได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงในพื้นที่ที่สงบสุขมาก่อน ความขัดแย้งที่เกิดจากผู้ที่ได้ประโยชน์จากเขื่อน และผู้ที่เสียประโยชน์ ความขัดแย้งแตกแยก ร้าวลึกลงไปทั้งในชุมชนและครอบครัว จนยากจะเยียวยา คล้ายกับความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ แลกกับกำไรจากการผลิตไฟฟ้าปีละ 99 ล้านบาท 
 
นอกจากนั้น เรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้คือ ปัจจุบัน แม้เขื่อนปากมูลไม่ผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาของปริมาณความต้องการไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้าฯ รับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนห้วยเฮาะของลาว ได้อย่างพอเพียง และในอนาคตอันใกล้ ยังมีเขื่อนน้ำเทิน 2 ที่จะช่วยเสริมเสถียรภาพของระบบได้เป็นอย่างดี 
 
สำหรับประเด็นเรื่องเขื่อนเพื่อการชลประทาน การศึกษาฯพบว่า การปิดเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล ไม่มีผลต่อการสูบน้ำเพื่อการชลประทาน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย ซึ่งเหมาะสมกับสภาพการใช้ประโยชน์ของชาวบ้าน แต่ที่สำคัญคือ การศึกษาฯพบว่า พื้นที่ชุมชนโดยรอบ ไม่ได้ต้องการน้ำมากขนาดที่จะต้องลงทุนสร้างสถานีสูบน้ำ ผลก็คือ มีการสูบน้ำน้อยมาก อีกทั้งชาวบ้านต้องเป็นผู้รับภาระส่วนหนึ่งของค่าสูบน้ำ การสูบน้ำจึงให้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มชาวนาที่มีฐานะ มีพื้นที่ใกล้คลองชลประทาน ซึ่งมีเป็นจำนวนน้อย 
 
คณะอนุกรรมการวิจัยฯ เสนอให้แก้ปัญหาด้วยการเปิดเขื่อนตลอดปี เนื่องจาก แนวคิดในการแก้ปัญหาในอดีตโดยการเปิดๆปิดๆ (เปิด 4 ปิด 8) ไม่ได้วางอยู่บนฐานของความรู้หรือเหตุผลใดๆ ทั้งในเชิงนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง การผลิตไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด(Peak load) ก็ไม่เป็นจริง เพราะเขื่อนปากมูลผลิตไฟในหน้าแล้งไม่ได้เนื่องจากปริมาณน้ำน้อยเกินไป ดังนั้น การเปิดเขื่อนตลอดปี ซึ่งได้เคยทำการศึกษาไว้บ้างแล้วโดย ม.อุบลราชธานี ในปี 2545 จะทำให้ เกิดการฟื้นคืนมาของระบบนิเวศ การกลับมาของระบบเศรษฐกิจบนฐานของการพึ่งพาตนเองของชุมชน การเปิดตลอดปี จึงเป็นข้อเสนอที่มีเป้าหมายหลักในการให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ อันเป็นรากฐานสำคัญของวิถีชีวิตชุมชน 
 
การตัดสินใจของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการ เสนอให้เปิดเขื่อนถาวร และเยียวยาฟื้นฟูชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จึงเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนฐานของความรู้ ความยุติธรรม และการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
 
ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลอย่างไร อย่างน้อย การต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลกว่า 20 ปี ได้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบางส่วน ได้เรียนรู้ ทบทวน เข้าใจความรุนแรงและผลที่เกิดจากการพัฒนาแบบหยาบๆ ในอดีต ที่ทำลายทั้งระบบนิเวศ ชุมชนและชาวบ้าน ในบริเวณปากแม่น้ำมูล 
 
พัฒนาการการต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลที่ผ่านมา จะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคตได้อย่างแท้จริง
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมัชชาคนจนเตรียมจัดเวที 20 ปีเขื่อนปากมูล ระดมแนวทางพัฒนาแม่น้ำมูนอย่างบูรณาการ

Posted: 23 Dec 2010 10:10 AM PST

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 24 – 25 ธ.ค.นี้ จะมีการจัดเวทีสาธารณะ “2 ทศวรรษปากมูน บนเส้นทาง การต่อสู้ของคนหาปลา สู่การปลดปล่อยอิสรภาพให้แม่น้ำมูน” ที่ห้องประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี และที่แก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นการระดมแนวทางการพัฒนาแม่น้ำมูนอย่างบูรณาการ สำหรับนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูลในอนาคต
 
 
จากสถานการณ์ปิด-เปิดเขื่อนปากมูลครั้งล่าสุด การประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้น เมื่อวันที่ 4 พ.ย.53 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการเปิดเขื่อนถาวรและฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับการกำหนดกลไกการแก้ไขปัญหาขึ้นมาใหม่ คือ คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และอนุกรรมการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2553 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ทำการปิดเขื่อนปากมูลทั้งแปดบาน ทำให้ในวันเดียวกันนั้น สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ "ปฏิบัติการเพื่อรักษาอิสรภาพของแม่น้ำมูน ครั้งที่ 2" หยุดพฤติกรรมสองมาตรฐาน ในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนปากมูล
 
แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.วันที่ 17 ก.ค.2550 ทันที โดยมติดังกล่าวระบุให้มีการแต่งตั้งกรรมการบริหารจัดการน้ำ ที่มีผู้ว่าราชการอุบลราชธานีเป็นประธาน และให้มีอำนาจในการพิจารณาเปิดปิดประตูเขื่อน ตามสภาพธรรมชาติและความเป็นจริง และเน้นการมีส่วนร่วม อีกทั้งมีข้อเรียกร้องให้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ภายใน 3 วัน และให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และคณะอนุกรรมการจ่ายค่าชดเชย ภายใน 3 วัน โดยในระหว่างนั้นได้มีการรวมตัวรอคำตอบ ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดอุบล ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.เป็นต้นมา 
 
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา เขื่อนปากมูลได้ยกบานประตูขึ้น จนขณะนี้ระดับน้ำได้เข้าสู่สภาพปกติแล้ว แต่บานประตูก็ยกขึ้นในระดับปริ่มน้ำ ดังนั้นจึงพอเรียกได้ว่า ระดับน้ำด้านเขื่อนกับท้ายเขื่อนเท่ากันแล้ว เพียงแต่ประตูที่ถูกยกขึ้นนั้น ไม่ยกให้สุดบาน ซึ่งชาวบ้านกำลังประเมินสถานการณ์ เพื่อกำหนดท่าทีเรื่องนี้อีกครั้ง
 
 
 
แถลงการณ์สมัชชาคนจน
"ปฏิบัติการเพื่อรักษาอิสรภาพของแม่น้ำมูน ครั้งที่ ๒"
หยุดพฤติกรรมสองมาตรฐาน
 
 
เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี แล้ว ที่เขื่อนปากมูลได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน รวมทั้งความเสียหายต่อระบบนิเวศแม่น้ำมูน ที่สำคัญเขื่อนปากมูลได้ทำให้ปลาขนาดใหญ่และจำนวนมากหายไปจากแม่น้ำมูน ขณะที่กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนปากมูลก็ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
 
ที่ผ่านมาได้มีข้อสรุปและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูลมาแล้วหลายครั้ง เช่นการศึกษาของ ม.อุบลฯ เมื่อปี ๒๕๒๕ ที่เสนอให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร แต่รัฐบาลทักษิณกลับตัดสินใจให้เขื่อนปากมูล เปิดประตูปีละ ๔ เดือน ปิด ๘ เดือน อันเป็นการตัดสินใจที่บิดเบือนข้อมูล
 
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาจ่ายเงินให้กับแม่ไฮ ที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน และในวันดังกล่าวชาวบ้านได้ยื่นข้อเรียกให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ และต่อมา ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้น และคณะกรรมการชุดดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า ๑ ปี ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการเปิดเขื่อนถาวรและฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับการกำหนดกลไกการแก้ไขปัญหาขึ้นมาใหม่ คือ คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และอนุกรรมการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมที่ไร้ข้อโต้แย้ง ซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล (การไฟฟ้าฯและตัวแทนจังหวัดอุบลฯที่เป็นกรรมการและอยู่ในที่ประชุมด้วยก็ไม่ได้โต้แย้ง)
 
แต่วันนี้ (๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เจ้าของเขื่อนปากมูลกลับทำการปิดเขื่อนปากมูลทั้งแปดบาน ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนชาวบ้านเก็บกู้เครื่องมือหาปลาไม่ทัน และที่สำคัญการปิดเขื่อนครั้งนี้ เป็นการดำเนินการที่ท้าทายอำนาจการบริหารงานของรัฐบาล หรือเป็นการดำเนินการแบบสองมาตรฐาน ด้านหนึ่งแสร้งจริงใจตั้งกรรมการจัดประชุมกรรมการและมีมติแต่ไม่ปฏิบัติ ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็หาโอกาสสมคบคิดเพื่อหักหลังชาวบ้าน
 
พวกเราเครือข่ายขบวนการประชาชนไม่อาจยอมจำนนต่อพฤติกรรมสองมาตรฐานนี้ได้ พวกเราขอประณามการตัดสินใจปิดเขื่อนปากมูลในครั้งนี้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ ดังนี้
 
๑.         ยกเลิกมติ ครม. วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ทันที
๒.         ให้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ภายใน ๓ วัน
๓.         ให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเปิดเขื่อน และคณะอนุกรรมการจ่ายค่าชดเชย ภายใน ๓ วัน
 
ระหว่างนี้ พวกเราจะรอคำตอบที่เป็นรูปธรรมอย่างสันติ ที่ศาลากลางจังหวัดอุบล ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
 
ด้วยจิตคารวะ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
 
 
สมัชชาคนจน(สคจ.)
เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.)
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)
เครือข่ายสลัม ๔ ภาค
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน
กลุ่มเพื่อนประชาชน (Fop)
กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
คณะทำงานคดีคนจน
 
 
 
AttachmentSize
กำหนดการ เวทีสาธารณะ ๒ ทศวรรษปากมูน.pdf322.19 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ไทยอีนิวส์ : เปิดปมการฆาตกรรม 5 เสื้อแดง

Posted: 23 Dec 2010 09:28 AM PST

 
ชื่อเดิม: เปิดปมชะตาสยองของเหยื่อฆาตกรต่อเนื่อง
ที่มา: เว็บไทยอีนิวส์ (thaienews.blogspot.com)

 

การสังหารโหด'แดง คชสาร'ถือเป็นศพที่ 5 หลังสลายม็อบ 91 ศพ เมื่อ 19 พฤษภาคม นี่ยังไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้าย

สุเทพ เทือกสุบรรณ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาปฏิเสธความผิดชอบในการตายของแดง คชสาร และเสื้อแดงรายอื่นๆ ซึ่งก็อาจเป็นไปตามที่ทั้งสองปฏิเสธ แต่ฆาตกรต่อเนื่องรายอื่นยังคงเงียบงัน!..

ไปสัมผัสชะตาสยองของเหยื่อฆาตกรฆ่าต่อเนื่องหลังสังหารหมู่ 19 พฤษภาคมทั้ง 5 ราย และย้อนไปดูผลงานฆาตกรฆ่าต่อเนื่องตั้งแต่ยุค 6 ตุลาคม 2519

 
เหยื่อรายแรก อ้วน บัวใหญ่-ศักรินทร์ กองแก้ว
 
ปูมประวัติ-อ้วน บัวใหญ่ อายุ 24 ปี ชาวบัวใหญ่ นครราชสีมา คนสนิท ส.ส.แรมโบ้อีสาน-นายสุพร อัตถาวงศ์ แกนนำนเสื้อแดง อ้วน บัวใหญ่ เคยนำกลุ่มคนเสื้อแดงโคราชไปชุมนุมปราศรัยโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ขณะไปเป็นประธานงานศพนายทหารคนสนิท ที่วัดสุทธจินดาวรวิหาร เขตเทศบาลนครนครราชสีมา

หลังสลายการชุมนุม 19 พ.ค.เพียง 2 วันคือในวันที่ 21 พ.ค.ถูกกองทัพภาคที่ 2 เรียกเข้าไปรายงานตัวที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพราะเป็นแกนนำเสื้อแดงโคราช

 
พฤติการณ์สังหารโหด-คืนวันที่ 9 มิ.ย.53 ขณะที่อ้วน โคราช ขับมอเตอร์ไซค์กลับบ้าน โดยมีรุ่นน้องนั่งซ้อนท้ายมา มีรถกระบะสีดำขับเข้ามาตะโกนถามเส้นทาง อ้วน โคราช จึงวนรถกลับมาหาเพื่อบอกทาง คนร้ายที่นั่งคู่คนขับได้ชักปืน11มม.ออกมาจ่อยิงที่บริเวณศีรษะ และลำตัวหลายนัด จากนั้นคนร้ายได้อาศัยช่วงกลางคืนขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว อ้วน โคราช เสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล

เพื่อนร่วมงานนายศักรินทร์ให้ข้อมูลว่า ทราบว่ามีรถยนต์กระบะสีดำขับติดตามนายศักรินทร์มากว่า 3 วันแล้ว และได้เตือนให้นายศักรินทร์ได้ระวังตัว แต่นายศักดิ์นรินทร์ไม่เชื่อคำเตือน สุดท้ายก็มาถูกยิงดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งประเด็นการสอบสวนไว้ทั้งเรื่องความขัดแย้งส่วนตัว, เรื่องชู้สาว และประเด็นทางการเมือง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปฏิเสธว่ารัฐบาลไม่เกี่ยวข้องการสังหาร ขณะที่ฝ่ายทหารโยนขี้ว่าถูกเสื้อแดงด้วยกันฆ่าตัดตอน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าของคดี

ในวันเดียวกันกับที่สังหารอ้วน บัวใหญ่ ที่เชียงรายมีการยิงสังหารนายอานนท์ พิมสาร คนสนิทของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตส.ส.เชียงรายที่จังหวัดเชียงราย โดนไหล่ขวา บาดเจ็บสาหัสแต่รอดตาย (ดูข่าว)

 
เหยื่อรายที่ 2 สวาท ดวงมณี 
ปูมประวัติ-นายสวาท ดวงมณี อายุ 60 ปี ชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการด์เสื้อแดงคนหนึ่ง ซึ่งหลังจากถูกสลายการชุมนุม ได้เดินทางหลบหนีมาเยี่ยมญาติที่เขาชะเมา จ.ระยอง แต่ถูกกลุ่มคนร้ายลงมือฆ่า แล้วนำศพมาทิ้งในพื้นที่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

พฤติการณ์สังหารโหด-หลังเหตุการณ์สังหารอ้วน บัวใหญ่ และลอบสังหารหัวคะแนนยงยุทธ ที่เชียงรายเพียงวันเดียว ตำรวจพบนายสวาทเป็นศพเมื่อ 10 มิถุนายน 53 คนร้ายฆ่าสังหารโดยใช้เชือกมัดมือไพล่หลัง และใช้ผ้าขาวม้าผูกคอจนเสียชีวิต

เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดีระบุว่า นายสวาทได้หลบหนีหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจลาจลในกรุงเทพฯ ไปหาญาติที่ระยอง แต่ถูกคนร้ายตามฆ่า เชื่อว่า ถูกฆ่ามาจากที่อื่น แล้วนำศพมาทิ้งเพื่ออำพรางคดี

 

เหยื่อรายที่ 3 น้ำหวาน-ธนพล แป้นศรี
 
ปูมประวัติ-น้ำหวาน อายุ 43 ปี เป็นการ์ดคนใกล้ชิดของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนสำคัญของนปช.แดงทั้งแผ่นดิน อยู่อารักขาณัฐวุฒิอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งนาทีสุดท้ายในการชุมนุมที่เวทีราชประสงค์ ที่ณัฐวุฒิประกาศยุติการชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจ น้ำหวานก็แยกย้ายกลับบ้าน

พฤติการณ์สังหารโหด-เมื่อเช้าวันที่ 26 มิ.ย.53 ขณะที่น้ำหวานขี่มอเตอร์ไซค์ บนถนนสายลำลูกกา-ธัญญบุรี บริเวณคลองเจ็ด จ.ปทุมธานี ถูกรถกระบะพุ่งชนกระดูกก้านคอหัก มีรอยช้ำที่ท้ายทอย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามคนใกล้ชิดต่างเชื่อว่าไม่ได้เป็นอุบัติเหตุธรรมดา แต่เป็นฆาตกรรมอำพราง เนื่องจากน้ำหวานเคยเปรยกับคนใกล้ชิดว่า ถูกติดตามและหมายเอาชีวิต

นางมาลัย เลิศสลุง อดีตภรรยาของน้ำหวานเล่าว่า หลังจากม็อบถูกสลาย น้ำหวานก็กลับมาที่บ้านพักย่านคลองเก้า อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โทรศัพท์พูดคุยกันตลอด ทราบว่าอยู่เป็นที่ไม่ได้ ต้องหลบหนีอย่างหัวซุกหัวซุน พร้อมทั้งยังบอกด้วยว่ากำลังถูกไล่ล่า ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ครั้งสุดท้ายที่โทรศัพท์คุยกัน ประมาณ 15 วัน ก่อนเสียชีวิต

ตำรวจเจ้าของคดีสรุปสำนวนว่าน้ำหวานขับมอเตอร์ไซค์แฉลบเสียชีวิตเอง ซึ่งยังเป็นเรื่องยากจะเชื่อว่าอดีตพ.อ.อ.สังกัดหน่วยคอมมานโดจะพบจุดจบในชีวิตแบบที่ตำรวจสรุปคดีง่ายๆเช่นนี้

 

เหยื่อรายที่ 4 น้องเจมส์-กฤษฎา กล้าหาญ

ปูมประวัติ-นายกฤษฎา กล้าหาญ อายุ 21 ปี ชาวเชียงใหม่ เป็นการ์ดให้ "ดีเจอ้อม" ดีเจชื่อดังของคลื่นรักเชียงใหม่ 51 คลื่น92.5 MHz ซึ่งมีบทบาทในการปลุกคนเชียงใหม่เรียกร้องประชาธิปไตย ช่วงชุมนุมใหญ่12มี.ค.-19พ.ค.53 ลงไปเป็นการ์ดให้ดีเจอ้อมที่กรุงเทพฯ หลังจบการชุมนุมดีเจอ้อมได้หลบภัยมืด ส่วนน้องเจมส์กลับเชียงใหม่ช่วยทางบ้านทำมาหากิน
 
พฤติการณ์สังหารโหด-เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ขณะที่น้องเจมส์ขับรถมากับแฟนสาว น.ส.นงนุช คำป้อ หลังจากทั้งคู่เสร็จภารกิจขายของที่ถนนคนเดิน น้องเจมส์ซึ่งนั่งฝั่งซ้าย สังเกตเห็นรถเก๋งคันหนึ่งปิดไฟหน้าขับติดตามมาใกล้ ขณะที่มาถึงเขตติดต่อ อ.เมือง กับ อ.หางดง รถเก๋งคันดังกล่าวได้ขับแซงด้านซ้ายขึ้นมา คนร้ายในรถใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่รถจนถูก นายกฤษฎา จากนั้นได้พยายามขับรถหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว จึงนำเจมส์ไปส่งยังโรงพยาบาล และเสียชีวิตในวันที่ 1 ก.ย.53

พ.ต.ท.เอกรัฐ พัฒนสมบัติ สารวัตรเวร สภ.หางดง จ.เชียงใหม่ ระบุคนร้ายใช้อาวุธสงครามปืนเอ็ม 16 แต่จนถึงปัจจุบันครบ100 วันการเสียชีวิต คดียังไม่มีความคืบหน้า

อย่างไรก็ตาม ชาวเชียงใหม่ และคนเสื้อแดงได้เข้าร่วมพิธีศพของน้องเจมส์มากกว่า 10,000 คน โดยมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นประธานพิธีศพ ( อ่าน: ความตายที่หนักแน่นปานขุนเขา งานศพของไพร่ที่เชียงใหม่ แต่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน )

 

เหยื่อรายที่5-แดง คชสาร
ปูมประวัติ-แดง คชสาร หรือนายน้อย บรรจง (กลางภาพ) ดีเจวิทยุชุมชนคลื่นรักเชียงใหม่ 51 ซึ่งผู้ร่วมงานบอกว่าเขาเป็นคนสุภาพ ใจดี นิยมแนวทางสันติวิธี ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องยาเสพติด อาชีพหลักขับตุ๊กตุ๊กรับจ้าง ส่วนเมียรับจ้างซักผ้า เป็นพ่อของลูกอายุ 9 ขวบ

หลังสลายการชุมนุม19พ.ค. ดีเจอ้อมที่เป็นแกนนำสำคัญของคลื่นวิทยุรักเชียงใหม่ต้องหลบภัยมืดพร้อมกับ ผอ.เพชรวรรต มีผู้นำรุ่น2ขึ้นรับช่วงภารกิจ โดยมีแดง คชสาร เป็น 1 ในนั้น

พฤติการณ์สังหารโหด-เขาตกเป็นเหยื่อสังหารโหดรายที่ 5 หลังเสื้อแดงยุติการชุมนุม 19 พ.ค. การสังหาร"แดง คชสาร"ด้วยการยิงพรุนทั้งร่าง 18 รู และยัดยาบ้าใส่มือ 7 เม็ด

ก่อนการเสียชีวิต ได้มีชายฉกรรจ์จำนวน 5 คนใช้รถกระบวีโก้สีดำเป็นยานพาหนะ(สีดำเหมือนกับกลุ่มฆาตกรฆ่าสังหารนายกฤษณะ กล้าหาญ ก่อนหน้านี้)

ฆาตกรได้ติดตามสะกดรอยตาม แดง คชสาร ตลอดเวลาเป็นอาทิตย์ การสะกดรอยตามครั้งนี้เขาก็รู้ตัวว่าถูกตาม และได้พูดให้เพื่อน และดีเจในคลื่น92.5 เชียงใหม่รับฟังว่า เขาถูกสะกดรอยตาม และถูกคุกคามอย่างหนัก จนไม่อาจพักอาศัยที่หอพักได้ ถึงขนาดต้องไปขอนอนตามปั้มน้ำมันที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เผื่อว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเขา จะได้มีคนเห็น แต่ก็ไม่รอดพ้นเงื้อมมือฆาตรกร

สุเทพ เทือกสุบรรณ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาปฏิเสธความผิดชอบในการตายของแดง คชสาร และเสื้อแดงรายอื่นๆ ซึ่งก็อาจเป็นไปตามที่ทั้งสองปฏิเสธ แต่ฆาตกรต่อเนื่องรายอื่นยังคงเงียบงัน


ทั้งนี้ เคยเกิดเหตุสังหารในยุคความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองในยุคก่อนสังหารหมู่กรณี 6 ตุลาคม 2519 เหยื่อสังหารซึ่งเป็นที่จดจำเช่น ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ผู้นำพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย,พ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง ผู้นำสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย,แสง รุ่งนิรันดรกุล และนิสิต จิรโสภณ ผู้นำนักศึกษา เป็นอาทิ (ดูรายละเอียด:ความรุนแรงและการลอบสังหาร ก่อน 6 ต.ค. 2519)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิชาการโลกมุสลิมร่วมประกาศปฏิญญาปัตตานี “ตระหนักถึงสันติภาพ ป้องกันความคิดสุดโต่ง”

Posted: 23 Dec 2010 07:38 AM PST

นักวิชาการโลกมุสลิมร่วมประกาศปฏิญญาปัตตานี ในการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติที่ ม.อ. เห็นพ้อง 5 ด้าน ให้ตระหนักถึงสันติภาพ ป้องกันความคิดสุดโต่ง รับหลักการ 8 ข้อ จัดหลักสูตรทางด้านการศึกษาในประเด็นโลกาภิวัตน์

 

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553 ที่ห้องประชุมวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี การประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ หัวข้อ “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies” ดำเนินมาเป็นวันที่ 3 โดยในช่วงเวลาประมาณ 13.30 น. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ 40 แห่ง จาก 16 ประเทศได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาปัตตานี หลังจากที่ได้ใช้เวลาร่วมกันร่างเกือบ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00 น.

โดยปฏิญญาปัตตานีปัตตานีดังกล่าว รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้อ่านปฏิญญาเป็นภาษาไทย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศจอร์แดนเป็นผู้อ่านคำประกาศเป็นภาษาอาหรับ เนื้อหาของปฏิญญาปัตตานี สรุปได้ดังนี้

สืบเนื่องจากการหารือในการประชุมนานาชาติ เรื่อง “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies” ณ จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2553 พวกเราเห็นพ้องต้องกัน และรับหลักการสำคัญเพื่อการพัฒนาอิสลามศึกษา จึงขอประกาศปฏิญญาว่า

1.    อิสลามศึกษาจะนำไปสู่สันติสุข และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เฉพาะระหว่างชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงมวลมนุษยชาติ
2.    อิสลามศึกษาจะบูรณาการศาสนา การศึกษาด้านวัฒนธรรม การฝึกอบรมด้านวิชาชีพและทักษะที่สอดคล้องกันเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน และอนาคตของเยาวชนในรุ่นต่อๆ ไป
3.    อิสลามศึกษาจะส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งรวมถึงความมั่นคงและความยุติธรรมทางสังคมด้วย
4.    อิสลามศึกษาจะส่งเสริมความเป็นนานาชาติของมุสลิม ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างพลเมืองของโลก
5.    อิสลามศึกษาจะส่งเสริมในเรื่องโอกาสในการพูดคุยระหว่างสมาชิกประชาคมมุสลิม และเสริมสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้ตระหนักถึงสันติภาพของชาติ และป้องกันความคิดที่สุดโต่ง

ภายใต้หลักการสำคัญเหล่านี้ พวกเราในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ขอให้คำมั่นว่า

1.    พวกเราจะตระหนักถึงเรื่องความสำคัญ ของคุณภาพ และความสมบูรณ์ของอิสลามศึกษา เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานอิสลามศึกษา (Islamic Studies Coordinating Committee : ISCCO) ภายในปี พ.ศ.2555 (ค.ศ.2012 / ฮ.ศ.1434)
2.    พวกเราจะจัดตั้งเครือข่ายองค์กรการวิจัย (Research Organization Network : RON) เพื่อประสานและอำนวยความสะดวกในคุณภาพของงานวิจัยทางวิชาการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่ออิสลามศึกษาและสังคมของเรา
3.    ให้การงานวิชาการมีความง่ายดายและสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา
4.    การร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น ระหว่างนักวิชาการต่างๆ  ในเรื่องของการทำวิจัย
5.    มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจร่วม
6.    การจัดหลักสูตรทางด้านการศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์
7.    วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา เป็นจุดศูนย์รวมภาษาอาหรับในประเทศไทย
8.    การประชุมลักษณะนี้จะจัดทุกๆ 2 ปี
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครส. ร้องรัฐบาลทบทวนกฏหมายละเมิดสิทธิทั้ง 3 ฉบับ หลังเลิก พรก. ฉุกเฉิน แล้ว

Posted: 23 Dec 2010 06:40 AM PST

23 ธ.ค. 2553 - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกคำแถลงว่าด้วยเรื่องการยกเลิกการบังคับใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก. ฉุกเฉิน) โดยระบุว่า ครส. ยินดีที่ทางคณะรัฐมนตรียกเลิกการบังคับใช้ พรก. เป็นเหตุให้ศูนย์อำนวยการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยุติบทบาทลง

แต่ขณะเดียวกันการที่รัฐบาลหันมาบังคับใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แทนนั้น อาจยังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีอยู่

จากคำแถลงของ ครส. ยังระบุอีกว่า กฏหมาย 3 ฉบับคือ พรบ. ความมั่นคงฯ, พรบ.กฏอัยการศึก และ พรก. ฉุกเฉิน นั้นล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เปิดช่องให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบธรรม และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และกว้างขวาง มิได้นำมาสู่ความสงบสุขของสังคมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลในทางที่ผิดสามารถหลุดรอดจากกระบวนการยุติธรรมได้ อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวยังขัดต่อหลักการและพันธกรณีตามกติกา-อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  รัฐจึงต้องใช้สติในการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบและใช้ตามความจำเป็นจริงๆเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น

"หนทางที่ดี และเหมาะสมที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการใช้กฎหมายความมั่นคงทั้งสามฉบับนี้ และเร่งดำเนินเพื่อการบังคับใช้กฎหมายอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ  ทบทวนกฎหมายที่ล้าหลังและขัดต่อหลักยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญ ยกร่างกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน" ครส. เสนอ

รายละเอียดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้

 


คำแถลง ว่าด้วยการยกเลิกการบังคับใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
 
          คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ยินดีที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ได้มีมติยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ที่มีผลให้ศูนย์อำนวยการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยุติบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม เป็นต้นไป โดยจะมีการนำ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาบังคับใช้แทน ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลอาจจะประกาศใช้ตามกฎหมายดังกล่าวยังอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนหากขาดการกำกับดูแลและการตรวจสอบการใช้อำนาจให้เคร่งครัด โดยต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นสำคัญ
                ก่อน หน้านี้ ครส. และเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ ได้แนะนำรัฐบาลมาโดยตลอดว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และภาพพจน์ของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ว่ายังขาดเสถียรภาพทางการเมือง และด้อยพัฒนาในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง จนก่อให้เกิดเหตุรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ครอบคลุมหลายรัฐบาล หลายยุคสมัย นับแต่ก่อนเหตุการณ์การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
                หลังจากการยกเลิกการใช้ พระราชกำหนดแล้ว รัฐบาลคงจะหันมาใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แทน ตามที่ได้ประกาศไว้ จึงขอให้รัฐบาลพึงตระหนักว่ากฎหมายความมั่นคงทั้งสามฉบับ อันได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชบัญญัติความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ.  2551 และ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เปิดช่องให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบธรรม และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และกว้างขวาง มิได้นำมาสู่ความสงบสุขของสังคมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลในทางที่ผิดสามารถหลุดรอดจากกระบวนการยุติธรรมได้ อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวยังขัดต่อหลักการและพันธกรณีตามกติกา-อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐจึงต้องใช้สติในการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบและใช้ตามความจำเป็นจริงๆเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น โดยเมื่อประกาศใช้มาตรการตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว  ระมัดระวังในการใช้และมีการตรวจสอบการใช้อย่างเคร่งครัด
หนทางที่ดี และเหมาะสมที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการใช้กฎหมายความมั่นคงทั้งสามฉบับนี้ และเร่งดำเนินเพื่อการบังคับใช้กฎหมายอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ  ทบทวนกฎหมายที่ล้าหลังและขัดต่อหลักยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญ ยกร่างกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และภารกิจของนักสิทธิมนุษยชนคือการมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบยุติธรรมในทุกมิติ ทุกภาคส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ บุคคลากรในสายงานยุติธรรม  ซึ่งถึงที่สุดแล้วเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องมีบทบาทอย่างยิ่งในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นกฎเกณฑ์หลักของสังคม มิใช่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายกลับกลายมาเป็นผู้ก่อปัญหา และราดน้ำมันเข้าใส่กองไฟเสียเอง 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทย ประชาชนคนไทย จะผ่านช่วงเวลาแห่งความสับสน และยากลำบากนี้ไปได้ในไม่ช้า สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย เป็นทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายแห่งการพัฒนาสังคม ที่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และเอื้อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งมวลในสังคม
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

 

22 ธันวาคม 2553 กรุงเทพมหานคร
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรผู้บริโภคถามหามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคใน พรบ.กสทช.

Posted: 23 Dec 2010 06:09 AM PST

องค์กรเครือข่ายผู้บริโภค ถามหามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้พรบ.กสทช.  เลขาธิการมพบ. ชี้ ยุคหลอมรวมสื่อโทรคมฯ งานคุ้มครองผู้บริโภคควรจัดตั้งองค์กรเดียวแยกผู้เชี่ยวชาญ 

เมื่อวานนี้ (22 ธันวาคม 2553) ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท กรุงเทพ ในการประชุมประจำปีร่วมกับองค์กรผู้บริโภค 2553 ซึ่งจัดโดย สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) มีการแถลงข่าว “การคุ้มครองผู้บริโภคโทรคมฯ และ สื่อฯ ในกำมือ กสทช.”  โดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้บังคับบัญชา สบท. และตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ที่ผ่านมาภายใต้การทำงานของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.  ถือว่า ให้ความสำคัญกับงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นอย่างดี  เห็นได้จากการริเริ่มให้เกิดองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่มีรูปแบบการทำงานที่มีความเป็นอิสระจากกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและจากสกทช.  ทำให้สามารถทำงานได้เต็มที่   ดังนั้น เมื่อมีการบังคับใช้ พรบ.กสทช จึงเชื่อว่า กสทช. หรือ รักษาการ กสทช. จะให้ความสำคัญกับงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น

นางสาวสารีกล่าวต่อไปว่า พรบ.กสทช. ได้กำหนดให้ กสทช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นสองคณะทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์   กับคณะอนุกรรมการที่ดูแลผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม แต่ยังไม่มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจน ทั้งนี้สำหรับรูปแบบขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้ พรบ.กสทช.นั้น เห็นว่า กสทช.ควรจัดตั้งเป็นองค์กรเดียวแต่แยกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

“สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคหลอมรวมสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการทำงาน เมื่อเกิดข้อร้องเรียนจากประชาชน จึงควรจัดตั้งเป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่ดูแลทั้งด้านวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม แต่แยกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  โดยเฉพาะจุดรับเรื่องร้องเรียนต้องเป็นจุดเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว

ด้านนายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา  ผู้บังคับบัญชา สบท. กล่าวว่า ปัจจุบัน สบท.ยังมีสถานะในการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนได้เช่นเดิม เนื่องจากได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคได้ต่อไป เพื่อไม่ให้งานคุ้มครองผู้บริโภคสะดุด

 “ดังนั้นบริษัทฯต่างๆโปรดปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าตั้งคำถามไร้สาระว่า สบท.ยังทำงานได้หรือไม่เพราะไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น แต่ปัญหาของประชาชนยังอยู่เหมือนเดิม และการมีกฎหมายก็เพื่อให้อำนาจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้มากขึ้น ” นายประวิทย์กล่าว

นายสวัสดิ์ คำฟู ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกล่าวว่า ขอเร่งรัดให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน เร่งออกมาตรการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพส่วนบุคคล และกำหนดมาตรการการโอนย้ายเลขหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เร่งดำเนินการให้ผู้ประกอบการไม่กำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน และให้มีมาตรการบังคับให้ผู้ประกอบการคืนเงินที่ยึดจากผู้บริโภค  ขอให้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เวเนซุเอลาผ่านกฎหมายคุมเข้มเนื้อหาออนไลน์

Posted: 23 Dec 2010 05:57 AM PST

รัฐสภาเวเนซุเอลาผ่านกฎหมายกำกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต เตรียมแบนข้อความออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชัง การไม่ยอมรับความแตกต่างทางการเมืองและศาสนา และไม่เคารพเจ้าหน้าที่รัฐ

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า รัฐสภาเวเนซุเอลาผ่านกฎหมายในการกำกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ ข้อความออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชัง การไม่ยอมรับความแตกต่างทางการเมืองและศาสนาจะถูกแบน

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่นี้ยังห้ามเผยแพร่เนื้อหาที่เชื่อได้ว่าเป็นการไม่เคารพเจ้าหน้าที่รัฐด้วย

ขณะที่นักการเมืองฝ่ายค้านออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะมองว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น

ด้านฮูโก ชาเวซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาระบุว่ากฎหมายนี้มีขึ้นเพื่อช่วยป้องกันพลเมืองจากอาชญากรรมออนไลน์

กฎหมายดังกล่าวระบุว่า ผู้ให้บริการเนื้อหาออนไลน์และเว็บท่า อาจถูกปรับหากมีภาพหรือข้อความที่ไม่เคารพเจ้าหน้าที่ ยุยงหรือสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชัง หรือก่อให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่พลเมือง หรือส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ชาเวซกล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวจะช่วยป้องกันประชาชนจากเนื้อหาที่สนับสนุนการใช้ยาเสพติด การค้าประเวณีและอาชญากรรมอื่นๆ

"เราไม่ได้จะล้างบางหรือปิดกั้นอินเทอร์เน็ต" ชาเวซกล่าวในรายการประจำสัปดาห์ของเขา เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (20 ธ.ค.) และว่า "สิ่งที่เรากำลังทำเป็นการปกป้องพวกเราเองจากอาชญากรรม อาชญากรรมไซเบอร์"

หอการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เวเนซุเอลาวิจารณ์กฎหมายดังกล่าวว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งสู่การเซ็นเซอร์และปิดกั้นเว็บไซต์

ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านบางคนกล่าวหาว่าประธานาธิบดีชาเวซผ่านร่างกฎหมายที่เข้มงวดหลายฉบับก่อนที่ผู้แทนชุดใหม่จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม ซึ่งจะทำให้มีจำนวนสมาชิกฝ่ายค้านมากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. รัฐสภาเวเนซุเอลาได้เห็นชอบให้อำนาจพิเศษแก่ชาเวซ เป็นเวลา 18 เดือน ซึ่งชาเวซให้เหตุผลว่า การใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมในเวเนซุเอลา ที่ส่งผลให้ประชาชนนับหมื่นไม่มีที่อยู่อาศัย ขณะที่มีผู้วิจารณ์ว่าอำนาจดังกล่าวอาจทำให้เขาปกครองแบบเผด็จการ
 

 

ที่มา: Venezuelan parliament votes to tighten internet rules
Venezuela's Hugo Chavez calls for emergency powers

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 1 ปี "สนธิ" ข้อหาหมิ่นประมาท

Posted: 23 Dec 2010 03:53 AM PST

นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ภาคเหนือ ฟ้องสนธิ ลิ้มทองกุล ข้อหาหมิ่นประมาท ล่าสุดศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา ด้านสนธิยื่นประกัน 20,000 บาท เพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป

หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 23 ธ.ค. ที่ห้องบัลลังก์ 8 ศาลจังหวัดเชียงราย ผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1397/2549 คดีหมายเลขแดงที่ 823/2551 กรณีที่นายเก่งกาจ ศรีหาสาร นักวิชาการป่าไม้ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันและปราบปรามภาคเหนือ กรมอุทยานแห่งชาติ เป็นโจทก์ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยโจทก์ระบุว่าเมื่อวันที่ 22 ม.ค.2549 ได้ปราศรัยที่วัดป่าปะพงนอก จ.ระนอง กล่าวหาว่านายเก่งกาจพาเจ้าหน้าที่อุทยานป่าไม้ไปป่วนการปราศรัยในรายการ เปิดเวทีปราศรัยเวทีสัญจรครั้งที่ 15 ที่สวนลุมพินี กรุงเทพฯ ถึงขั้นขว้างประทัดยักษ์เข้าไปในขณะปราศรัย ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน ทั้งที่ความจริงแล้วคนที่ขว้างคือบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไปแล้ว ดังนั้นโจทก์จึงเห็นว่าตัวเองได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นการหมิ่นประมาท

นอกจากนั้น จำเลยยังนำไปออกวิทยุและอินเตอร์เน็ตผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 22-31 ม.ค.2549 เป็นการเผยแพร่ข้อความให้แพร่หลายมีลักษณะจูงใจให้คนเกลียดชังตน ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2551 ศาลชั้นต้นเคยมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ให้จำคุกนายสนธิเป็นเวลา 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากว่าจำเลยมีความผิดลักษณะเดียวกันอย่างซ้ำซ้อน และให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์จำนวน 5 ฉบับ เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งครั้งนั้นนายสนธิได้ยื่นขอประกันตัวเพื่อยืนอุทธรณ์ดังกล่าว

ในครั้งนี้ ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตามที่นายสนธิได้ยื่นอุทธรณ์ในข้อหาเดียวกันเอาไว้ โดยศาลแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่มีเหตุบรรเทาโทษจึงให้ลดโทษลงเหลือ 1 ใน 3 หรือคงให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา และลดการโฆษณาในหนังสือพิมพ์เป็น 3 วัน

หลังศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาแล้ว นายสนธิได้ยื่นประกันตัวในวงเงิน 200,000 บาท เพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม : 4 องค์กรสื่อภาคปชช.เหนือ ยื่นผบ.ตร.ภาค 5 เร่งสอบคดีลอบยิงแกนนำวิทยุชุมชน

Posted: 23 Dec 2010 03:39 AM PST

 

สำนักข่าวประชาธรรม รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2553 สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ เครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือและเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.ท. ชัยยะ  ศิริอำพันธ์กุล  ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ให้เร่งสอบคดีของนายบุญจันทร์ และนางปอยดี จันหม้อ ที่ถูกลอบยิงเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดและผู้บงการมาลงโทษตามกฎหมายให้เร็วที่สุด พร้อมเรียกร้องให้จัดกำลังตร.ดูแลความปลอดภัย

อนึ่ง การลอบสังหารนายบุญจันทร์ ซึ่งเป็นนายสถานีวิทยุชุมชน ถูกองค์กรสื่อภาคปชช.มองว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพของสื่อระดับท้องถิ่น เพราะนายบุญจันทร์ไม่มีความขัดแย้งส่วนตัวกับใคร เพียงแต่นำเสนอข่าวที่ดินในหมู่บ้านดงดำ ต. ฮอด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ที่บางกลุ่มออกโฉนดทับเขตป่าชุมชน และการคัดค้านโครงการทวิภาษา ที่จะสร้างอักษรไทยในภาษากะเหรี่ยง อย่างต่อเนื่องเท่านั้น

 


 

เครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา 
77/1   ม. 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50200 โทร 087-189-4460, 081-783-4703
 
22 ธันวาคม 2553
 
เรื่อง   ขอเรียกร้องให้เร่งสืบสวนคดีของนายบุญจันทร์ และนางปอยดี จันหม้อ ที่ถูกลอบยิง
เรียน   พล.ต.ท. ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
 
ด้วยนายบุญจันทร์ จันหม้อ อดีตข้าราชการครู คศ. 2 ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมมาโดยตลอด ทั้งเป็นอดีตกรรมการสภาผู้ชมของทีวีไทย เป็นกรรมการเครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ เป็นกรรมการของเครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา เป็นผู้ประสานงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และอื่นๆอีกมากมาย ต้องมาถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ณ หมู่ 5 บ้านดงดำ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้นางปอยดี จันหม้อ ภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส 
 
ดังนั้น เครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา ซึ่งเป็นวิทยุชุมชนของภาคประชาชน ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนกว่า 20 สถานี   สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ จำนวน 150 สถานีทั่วประเทศ เครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ และเครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคเหนือ ขอเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งดูแลรับผิดชอบคดีของนายบุญจันทร์ จันหม้อ ปฏิบัติดังนี้
 
1. ขอให้เร่งสืบสวนคดีของนายบุญจันทร์ จันหม้อ โดยเร็ว เพื่อหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายอย่างยุติธรรม
2. ขอให้ทางสำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 ให้ความคุ้มครอง หรือจัดให้มีการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นายบุญจันทร์ จันหม้อและครอบครัว ในระหว่างที่ยังหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษไม่ได้
3. ในระหว่างที่มีการสืบสวนคดีของนายบุญจันทร์ จันหม้อ ขอให้ทางสำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 แจ้งความคืบหน้าของคดีดังกล่าวแก่เครือข่ายภาคประชาชนเป็นระยะ
 
ทั้ง นี้สมาชิกขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชนดังรายชื่อข้างต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 จะเป็นหน่วยงานที่พึ่งพิงของประชาชนในการรักษาความยุติธรรม จับผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายโดยเร็ว
 
 
 
 
          จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
 
 
 
                               ด้วยความเชื่อมั่นในความยุติธรรม
 
 
          (นายไพศาล ภิโลคำ)                                            (นายอินทอง ไชยลังกา)    
กรรมการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ               ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ
 
 
 
      (นายอัมรินทร์ เปล่งรัศมี)                                                    (นายสมเกียรติ   ใจงาม)

กรรมการเครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ                      เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ

 


 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อดีตผู้นำทหารสังหารหมู่ประชาชนในอาร์เจนติน่า ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

Posted: 23 Dec 2010 02:55 AM PST

 

 

 

ฮอร์เก ราฟาเอล วิเดลลา (อดีตผู้นำทหารอาร์เจนติน่า)

 

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา อดีตผู้นำทหารของอาร์เจนติน่าถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต จากข้อหาทรมานและสังหารประชาชน 31 รายในช่วงที่มีการปราบปรามประชาชนอย่างหนังช่วงยุค 1970s ถึง 1980s ที่เรียกว่า "สงครามสกปรก" (Dirty War)

LA.Times รายงานโดยอ้างสำนักข่าวอาร์เจนติน่าว่า การตัดสินโทษของฮอร์เก วิเดลลา ในครั้งนี้เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการจบสิ้นลงของผู้นำยุคเผด็จการทหารครองเมืองในประเทศละตินอเมริกา ที่บางส่วนได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เพื่อพยายามกดดันฝ่ายซ้ายหรือนักสังคมนิยมมาร์กซิสต์ไม่ให้เป็นภัยต่ออำนาจของพวกเขา

โดยมีประชาชนกว่าหลายหมื่นคนถูกสังหาร หรือ "สาบสูญ" หลังเกิดการรัฐประหารในอาร์เจนติน่าเพื่อโค่นล้ม อิสซาเบล มาร์ติเนซ เดอ เปรอง ในปี 1976

นอกจากนี้ยังมีอดีตเจ้าหน้าที่เผด็จการทหารรายอื่น ๆ รวมถึงนายพล ลูเซียโน เมนเนนเดซ ถูกตัดสินจำคุกที่ศาลในเมืองคอร์โบดา โดยผู้ถูกกล่าวหาได้เคยพยายามปกป้องการกระทำของตนเองว่าเป็นการใช้มาตรการปราบปราม "ผู้ก่อการร้าย" และ "กลุ่มติดอาวุธ" ที่ข่มขู่รัฐบาลอาร์เจนติน่า ซึ่งอีก 30 ปีถัดมา สำนักข่าวต่าง ๆ ของอาร์เจนติน่าก็พากันกล่าวถึงข้อหาที่ตั้งแก่อดีตเผด็จการทหารว่าเป็น "การก่อการร้ายโดยรัฐ" (State Terrorism)

สื่ออาร์เจนตินายังรายงานบรรยากาศรอบศาลที่คอร์โดบาว่า มีการ "ส่งเสียงเชียร์และร้องไห้" อยู่ข้างนอก ขณะที่มีการอ่านคำตัดสินของลูกขุน โดยวิเดลลายอมแสดงความรับผิดชอบที่ลูกน้องของตนทำไว้ในช่วง "สงครามสกปรก"

วิเดลลาได้ปกครองอาร์เจนติน่าหลังจากรัฐประหารไปจนถึงปี 1981 ซึ่งปัจจุบันเขาอายุได้ 85 ปีแล้ว ซึ่งทางศาลได้กล่าวว่าพวกเขาจะให้แพทย์ตรวจดูว่าวิเดลลามีสุขภาพที่พอรับโทษในเรือนจำของประชาชนทั่วไปได้หรือไม่

โดยก่อนหน้านี้ วิเดลลา เคยถูกตัดสินจำคุกมาในกรณี "สงครามสกปรก" มาแล้ว ในช่วงที่อาร์เจนติน่ากลับมาปกครองแบบประชาธิปไตยในปี 1985 แต่ได้รับการนิรโทษกรรมและปล่อยตัวโดย ประธานาธิบดี คาร์ลอส เมนเม ในปี 1990 จนกระทั่งในปี 2007 รัฐบาลของ ปธน. เนสเตอร์ เคิร์ชเนอร์ ยกเลิกการนิรโทษกรรมแก่เหล่าอดีตเผด็จการทหาร เปิดทางให้วิเดลลาถูกดำเนินคดีอีกครั้ง

ในช่วงที่วิเดลลา ยังคงอยู่ในอำนาจ เขาได้เคยตอบคำถามต่อนักข่าวกรณีเหยื่อของสถานการณ์ว่า "คนที่หายตัวไป ก็แค่...นั่นแหละ สาบสูญไป พวกเขาไม่ได้มีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว พวกเขาสาบสูญไป"

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 17 ธ.ค. 2553

Posted: 23 Dec 2010 02:46 AM PST

มหาชัยเปิดต่อใบอนุญาต ต่างด้าวพม่า-ลาว-กัมพูชา

นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้กำหนดการต่อใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้า เมืองสัญชาติพม่า-ลาว-กัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานซึ่งหมดในปี 2554 จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 20 มกราคม 2554 และกลุ่มใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครมีแรงงานต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ที่จะต้องดำเนินการต่ออายุในอนุญาตทำงาน จำนวน 99,286 คน

โดยขณะนี้ใบอนุญาตทำงานที่ได้รับ อนุญาตกำลังจะหมดอายุซึ่งแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ปี 2554 ให้แล้วเสร็จก่อนใบอนุญาตทำงานเดิมหมดอายุมิฉะนั้นจะไม่ได้รับผ่อนผันให้ อยู่ในราชอาณาจักร ประกอบกับกฎกระทรวงแรงงานกำหนด และจำนวนเงินที่ลูกจ้างต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อป้องกันคนต่างด้าวกลับออก ไปนอกราชอาณาจักรมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นผลให้นายจ้างต้องหักเงินคนต่างด้าวสัญชาติพม่า-ลาว-กัมพูชาในเดือน ธันวาคม 2553 และนำส่งเข้ากองทุนฯ งวดแรกภายในวันที่ 15 มกราคม 2554 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว กลุ่มดังกล่าว

ทั้งนี้ขอให้นายจ้างพาแรงงาน ต่างด้าวไปตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 พร้อมทั้งเตรียมนำเอกสารหลักฐานไปยื่นคำขอต่อใบอนุญาตทำงานที่สำนักงาน จังหวัดสมุทรสาคร และเพื่ออำนวยความสะดวก สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร จะเปิดให้บริการทุกวันโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ

(บ้านเมือง, 7-12-2553)

เตือนหักเงินต่างด้าวเข้ากองทุนส่งไม่ครบเก็บนายจ้างร้อยละ 2

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหาการงาน กล่าวว่า นายจ้างที่พาแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ไปต่อใบอนุญาตทำงาน จะต้องหักค่าจ้างจากแรงงานต่างด้าวเพื่อนำส่งกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าว กลับอออไปนอกราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2553 โดยเริ่มเก็บงวดแรกในวันที่ 1-17 มกราคม 2554

ทั้งนี้นายจ้างจะต้องหักเงินค่าจ้าง จากแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า และลาวเดือนละ 400 บาท เป็นเวลา 6 เดือน รวม 6 เดือน รวมทั้งสิ้น 2,400 บาท ส่วนแรงงานสัญชาติ กัมพูชา หักเดือนละ 350 บาท รวม 6 เดือน จำนวน 2,100 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่คิดตามระยะทางไปยังชายแดน ค่าเดินทางและค่าอาหาร โดยให้นายจ้างหักเงินจากลูกจ้างต่างด้าวแล้วนำส่งที่สำนักงานจัดหางาน จังหวัด หรือสำนักจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่เพื่อนำส่งเข้ากองทุนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ส่วนกรณีที่มีการเปลี่ยนนายจ้าง ก่อนที่ลูกจ้างจะส่งเงินเข้ากองทุนครบ 6 งวด ตามที่กำหนดนั้น อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า ให้นายจ้างใหม่มีหน้าที่หักเงินค่าจ้างของลูกจ้างจนครบ หากนำส่งไม่ครบ 6 งวด นายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของเงินค่าจ้างที่ไม่ได้นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ

อย่างไรก็ตาม หากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับถิ่นกำเนิดถาวร สามารถรับเงินค่าส่งกลับได้เต็มจำนวนที่นำส่งส่วนกรณีที่เดินทางกลับไปพัก แล้วกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง ก็ไม่ต้องส่งเงินสมทบใหม่ เพราะมีเงินสมบทที่จ่ายไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

นายจีรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งลูกจ้างคนต่างด้าว หรือผู้ถูกสั่งเนรเทศกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และเพื่อป้องกันแรงงานต่างด้าวหลบหนีนายจ้าง

(คมชัดลึก, 7-12-2553)

สาวโรงงานไม่กล้าแต่งงานกลัวรายได้ไม่พอเลี้ยงลูก

7 ธ.ค. 53 - น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่าจากการสำรวจแรงงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอพบว่ามี 10% ที่ไม่กล้าแต่งงานเพราะเกรงว่ารายได้ประจำวันจะไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดู ลูกซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อีก 50% เมื่อแต่งงานแล้วเลือกที่จะมีลูกเพียงคนเดียวและอีก 30% มีลูก 2 คน

จากข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าค่าแรง ขั้นต่ำไม่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ ที่แท้จริง ไม่ได้สะท้อนภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน คสรท.ยืนยันว่าอัตราค่าแรงที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ต้องอยู่ที่ 421 บาท/วัน การที่ค่าแรงต่ำจนคนไม่กล้าแต่งงานมีลูกจะส่งผลต่ออนาคตของกำลังแรงงานใน อนาคตเพราะกำลังแรงงานก็จะมีน้อยลงในอนาคต

วันที่ 9 ธ.ค. คณะกรรมการค่าจ้างกลางจะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง จากแนวโน้มคงปรับที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่ายังไม่สะท้อนความเป็นจริงในการใช้ชีวิตอยู่ดี อีกทั้งค่าแรงยังมีความเหลื่อมล้ำกันสูงมากที่กทม.ค่าแรง 206 บาท/วัน ขณะที่พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร ตากมีค่าแรงแค่ 151-152 บาท/วัน ดังนั้นขอให้พิจารณาตัวเลขที่สะท้อนคุณภาพชีวิตแรงงานและมีค่าจ้างที่เท่า กันทั่วประเทศน.ส.วิไลวรรณกล่าว

ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเคยประกาศนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาท/วันนั้น คสรท.ขอเรียกร้องให้ปฏิบัติตามคำพูดด้วย อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนเป็นที่ผิดหวังของผู้ใช้แรงงาน เพราะถ้านายกฯพูดแล้วทำไม่ได้หลังจากนี้จะหวังอะไรจากคนที่เป็นผู้นำประเทศ ได้อีก

(โพสต์ทูเดย์, 7-12-2553)

7 แรงงานไทยกลับจากลิเบียรอดพ้นขุมนรกกลับสู่บ้านเกิดแฉความอัปยศ

7 ธ.ค. 53 - ความคืบหน้าปัญหาแรงงานไทยในประเทศลิเบีย ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.53 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มแรงงานไทย 7 คนได้รับการส่งตัวกลับประเทศไทยตามความต้องการแล้วเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา อีกทั้งได้รีบรุดมาขอบคุณและขอความช่วยเหลือจาก "นสพ.สยามรัฐ" ตีแผ่ความเดือดร้อนของแรงงานไทยในลิเบียต่อไป หลังจากพวกเขาไปทำงานลิเบียผ่านบริษัท จัดหางานเงินและทองพัฒนาจำกัด โดยทำงานกับนาย จ้างบริษัท แรนฮิลล์(RANHILL) แล้วเงินเดือนค่าจ้างไม่ได้รับตรงตามที่บริษัทนายจ้างระบุเอาไว้ก่อนเดินทาง อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างใหม่ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้น วันหนึ่งเดินทางกลับไปกลับมาไซต์งานระยะ 3-6 กิโลเมตร ขณะที่ต้องกู้หนี้ยืมสินจ่ายค่าหัวคิวรายหนึ่งมากกว่าแสนบาทซึ่งแรงงานไทย ไซต์งานนี้มีประมาณ 1,400 คน และต่างคนก็อยากกลับบ้านเกิด

นายบุญเริ่ม คงเนียม ชาว ต.คันโซ้งอ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก 1 ใน 7 แรงงานที่กลับประเทศไทย เปิดเผยว่า พวกตนอยากกลับประเทศไทยนานแล้ว แต่บริษัทนายจ้างไม่ยอมให้กลับ ตนก็อดทนทำเรื่องขอกลับ 3-4 เดือน จึงได้กลับมา แต่ต้องถูกหักเงินเดือน3 เดือน เป็นค่าเครื่องบินตกคนละ 7 หมื่นบาท โดยนายจ้างไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรอะไรชัดเจนเลยว่าหักค่าอะไรเท่า ไหร่บ้าง

"ผมไปทำงานเดือน ม.ค.53 ต่อมาไม่กี่เดือนก็อยากกลับไทย เพราะสภาพการเงินไม่ดี ก่อนไป บริษัทจัดหางานบอกว่าจะได้รับเงินเดือนอย่างน้อย 2.5 หมื่นบาท ไม่รวมค่าโอที แต่พอไปแล้วได้เงินเดือนแค่ 1 หมื่นกว่าบาท โอทีก็ไม่มี ซึ่งนับว่าน้อยมากไม่พอค่าใช้จ่าย ไม่พอดอกเบี้ยเงินกู้มาเสียค่าหัวคิว 1.3 แสนบาท หากทำงานในประเทศไทยเดือนหนึ่งได้มากกว่านั้นด้วย อีกทั้งเงินเดือนล่าช้าไม่ตรง ผมได้เล่าเรื่องความทุกข์ยากให้ภรรยาฟังและภรรยาอยากให้กลับมาทำงานที่บ้าน เรา ได้อยู่ใกล้ลูกเมียด้วย จึงได้ร้องเรียนมายัง นสพ.สยามรัฐ ซึ่งขอขอบคุณ นสพ.สยามรัฐที่ทำให้พวกผมไม่ต้องทนทุกข์ยากได้กลับมาบ้าน" แรงงานลิเบียระบายความอัดอั้นตันใจและว่า ความทุกข์ยากการกินการอยู่ไม่ดีอย่างไรก็เป็นไปตามข่าวที่นสพ.สยามรัฐนำเสนอ ไปแล้ว ซึ่งในวันพุธที่ 8 ธ.ค.นี้ ก็จะร่วมเป็นตัวแทนแรงงานไปร้องทุกข์กับคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อยืนยันถึงความเดือดร้อนที่ได้รับและขอให้ช่วยเหลือเอาค่าตั๋วเครื่อง บินและค่าหัวคิวคืนด้วย

ด้านนายทินกร โคตรภูธร ชาว อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ กล่าวยืนยันความเดือดร้อนเหมือนแรงงานรายอื่นๆ โดยตนเองเสียค่าหัวคิว 1.55 แสนบาท นายจ้างบอกก่อนไปว่าเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นบาท แต่เอาจริงๆ ได้แค่ 1.2 หมื่นบาท ค่าโอทีไม่มี คนงานจึงอยากกลับบ้านมาก หากให้กลับโดยที่ไม่หักเงินเดือนเป็นค่าตั๋วเครื่องบินแล้วคนงาน 1.4 พันคน คงขอกลับกันหมด ซึ่งตนอยากให้กรรมาธิการการแรงงานช่วย เรียกร้องเรื่องค่าตั๋วเครื่องบินและค่าหัวคิวคืน

"ตั้งแต่ นสพ.สยามรัฐนำเสนอข่าวความเดือดร้อนแรงงานไทยในลิเบีย ทางนายจ้างได้ปรับปรุงบางอย่างดีขึ้นบ้าง เช่นขึ้นเงินเดือนให้นิดหน่อย เปิดให้มีการทำงานโอทีหรือจัดรถรับ-ส่งคนงานไปไซต์งาน แต่ก็มีแค่รถบรรทุก 4 คัน ส่วนคนงานทั้งไทยและต่างประเทศมีเป็น 4 พันคน รวมทั้งมีการจัดเลี้ยงอาหารแจกของชำร่วยระบุว่าคนงานไทยทำงานได้เกินเป้า หมายจึงได้รับการขอบคุณ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นการจัดฉากสร้างภาพโชว์ว่าดีหรือเปล่า"

(สยามรัฐ, 7-12-2553)

กมธ.แรงงาน วุฒิสภา เตรียมผลักดัน กม.แรงงานหลายฉบับ

7 ธ.ค. 53 - นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล  สว.สมุทรสาคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา กล่าวว่าในรอบปีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้ม ครองแรงงานไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 3ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ... ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... ซึ่งร่างพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับได้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาและได้ส่ง กลับไปสภาผู้แทนราษฎรเพื่อประกาศเป็นกฎหมายแล้ว

นายสุวิศว์  กล่าวอีกว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ... ถือเป็นกฎหมายใหม่ที่จะขยายการคุ้มครองแรงงานที่รับงานไปทำที่บ้าน โดยมีสาระสำคัญคือการกำหนดให้นายจ้างต้องมีสัญญาจ้างงานและกำหนดวันจ่ายค่า แรงอย่างชัดเจน ซึ่งเดิมการจ้างงานในลักษณะดังกล่าวไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะสามารถสร้างความเป็นธรรมและคุ้มครองแรง งานได้มากขึ้น

นอกจากนี้นายสุวิศว์ ยังกล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ... ที่ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อกำหนดนโยบายการจัดการโรงงานหรือสถานที่การทำงานให้เป็นไปตามร่างพระราช บัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งระบบ นอกจากนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสามารถดำเนิน การได้ทั้งหมดและทำหน้าที่แทนกรมสวัสดิการแรงงาน ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พิจารณาบนพื้นฐานความต้องการของแรงงาน เพื่อให้กฎหมายสามารถแก้ปัญหาของแรงงานและคุ้มครองสวัสดิการของแรงงานได้ อย่างแท้จริง

(แนวหน้า, 7-12-2553)

กกร.-นักวิชาการหนุนให้รัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำอีก 10 บาท/วัน

7 ธ.ค. 53 - ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) และนักวิชาการหนุนรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก 10 บาทต่อวัน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่มากนัก หรือแค่เพียง 5% ของต้นทุนเท่านั้น แต่สามารถทำให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ทันค่าครองชีพที่สูงขึ้น

"เห็นด้วยกับกรณีที่คณะกรรมการ ไตรภาคีจะมีการประชุมการปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำของลูกจ้างในอัตรา 10 บาทต่อวันในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นในอัตราดังกล่าวคิดเป็นเพียง 5% ของต้นทุนเท่านั้น ขณะเดียวกันยังถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้แรงงานตามค่าครองชีพที่ สูงขึ้น"นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าว

ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายคาดว่าการปรับ ขึ้นค่าแรงนั้นจะมีผลทำให้ผู้ ประกอบการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นนั้นเป็นหน้าที่ที่กระทรวงพาณิชย์จะต้อง ควบคุมดูแลให้ราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด และดูแลไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนมากจนเกินไป แม้ว่าขณะนี้จะมีปัจจัยที่มากระทบต่อต้นทุน เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันหากมีการกดราคาสินค้ามากเกินไปก็จะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถ ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวได้ในกรอบ 4-5% แต่มีความเป็นไปได้ที่จีดีพีจะขยายตัวสูงกว่า 5% หากไม่มีปัจจัยลบที่รุนแรง โดยปัจจัยลบที่ภาคเอกชนมีความกังวล ได้แก่ ปัญหาค่าเงินบาท การเมือง เศรษฐกิจโลก และต้นทุนราคาสินค้าที่สูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน

ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการไม่ควรวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อมีค่าแรงที่เพิ่มขึ้นก็ย่อมจะทำให้ผู้ประกอบการมีผล ผลิตสินค้าที่ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

ขณะที่นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล 10 บาท แต่ไม่เกิน 30 บาท ซึ่งส่วนตัวมองว่าระดับที่เหมาะสมคือ 250 บาท/วัน เพราะปัจจุบันแรงงานไร้ฝีมือมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แต่หากรัฐปรับค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าระดับดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบอัตราเงิน เฟ้อ การว่างงาน และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้

ส่วนแนวคิดที่จะช่วยเหลือแรงงานนอก ระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบนั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ภาครัฐไม่ควรช่วยเหลือแรงงานนอกระบบด้วยนโยบายประชาชนนิยม แต่ควรทำในรูปแบบรัฐสวัสดิการเพื่อให้การช่วยเหลือมีความยั่งยืน โดยควรนำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคมและให้แรงงานจ่ายสมทบร่วมกับภาครัฐ และควรทำควบคู่ไปกับการออมแห่งชาติ เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น

(อินโฟเควสท์, 7-12-2553)

คสรท.แถลงคณะกรรมการค่าจ้างหยุดล็อคเลขปรับขึ้นค่าจ้าง 10 บาท

7 ธ.ค. 53 - นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และผู้นำแรงงานจากสหพันธ์แรงงาน ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านเลขล็อคค่าจ้างขั้นต่ำ ยืนยันค่าจ้างต้องเป็นธรรม”  ณ ห้องปะชุมศุภชัย ศรีสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กรุงเทพฯ

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กล่าวถึงการแถลงข่าวครั้งนี้ เพื่อประกาศจุดยืนการปรับค่าจ้างของคณะกรรมการค่าจ้างต้องสอดคล้องกับความ เป็นจริง และความต้องการของผู้ใช้แรงงานที่ได้มีการทำผลสำรวจจากหลายสำนักก็ยังคงเห็น ด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 421 บาท ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงขอยืนบนหลักการเดิมเสนอต่อคณะ กรรมการค่าจ้างที่จะประชุมปรับค่าจ้างขั้นต่ำในวันที่ 9 ธันวาคม 2553 นั้น การที่จะล็อคปรับค่าจ้างเพียง 10 บาท ตอนนี้ไม่สอดคล้องต่อสภาวะเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน แล้ว ขอให้พิจารณาเสียใหม่ให้เกิดความสอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้แรงงานด้วย และต่อประเด็นของท่านนายกก็อยากให้รักษาจุดยืนที่เสนอไว้ ที่ 250 บาทต่อวัน เพราะหลักการดังกล่าวนี้แรงงานส่วนใหญ่พอรับได้ ดีกล่าวการกลับคำพูดเสนอปรับเพียง 10-11 บาท

นางสาววิไลวรรณ กล่าวอีกว่า จากการทำผลสำรวจแรงงานหญิงในโรงงาน 300 คน ในโรงงาน 3 แห่ง แถบจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม พบว่าการทำงานหนัก การทำงานล่วงเวลา เนื่องจากค่าจ้างต่ำ และต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวในการส่งเงินกลับต่างจังหวัดของแรงงานหญิง ส่งผลแรงงานหญิงที่ทำงานในโรงงานอายุ 40 ปีขึ้นไปจำนวน 20%ไม่ยอมแต่งงาน มีแรงงานหญิงที่แต่งงานจำนวนเพียง 50% จะมีบุตรเพียงคนเดียว เหตุเพราะไม่สามารถที่จะดูแลบุตร และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีต่อครอบครัวได้ และบางครอบครัวต้องแตกแยกเลี้ยงลูกเพียงคนเดียว อยากต่อการดูแลบุตรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ส่งกลับต่างจังหวัดให้พ่อแม่เลี้ยงแทน และเพียง 30% ที่มีการแต่งงานแล้วมีลูก 2 คน แต่ส่วนใหญ่ก็ส่งกลับบ้านต่างจังหวัดให้พ่อแม่เลี้ยงเช่นกัน ทำให้คุณภาพชีวิตเด็กต้องขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ ที่อาจเห็นหน้ากันปีละครั้งเท่านั้น เหตุผลที่มีลูกน้อยเพราะผู้ใช้แรงงานต้องทำงานหนักไม่มีเวลาที่จะสร้างครอบ ครัวที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

ฉะนั้น ค่าจ้างที่มีความสำคัญต่อชีวิตของทุกคนที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งอาหารที่ดี มีที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเดินทาง ค่าการศึกษา สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ แต่แรงงานปัจจุบันมีค่าจ้างที่สูงสุด 206 บาทต่อวัน กรุงเทพ สมุทรปราการ และค่าจ้างสุดต่ำ 151 บาทต่อวันที่จังหวัดพิจิตร และแพร่ มีความแตกต่างกันทางรายได้มากถึง 55 บาทต่อวัน ระหว่างกรุงเทพ กับต่างจังหวัด การปรับค่าจ้างที่ผ่านมาไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของแรงงาน และรัฐบาลยังไม่เคยเห็นคุณค่าของแรงงาน นางสาววิไลวรรณ กล่าว

มาตรฐานค่าจ้างในภูมิภาคเอเชีย ความสำคัญในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ นัยยะสำคัญในการกำหนดค่าตอบแทนเพื่อยังชีพ เมื่อปี ค.ศ. 1944 ในแถลงการณ์ฟิลาเดเฟียซึ่งมีนโยบายเรื่องข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแรงงานที่ได้ กล่าวถึง ค่าแรงขั้นต่ำเพื่อการยังชีพเป้าหมายคือการนิยามความหมาย เพื่อบรรลุถึงระดับค่าแรงที่เพียงพอในการเลี้ยงชีพของคนงาน และส่วนแบ่งที่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับมูลค่าที่พวกเขาผลิตได้ เพื่อสร้างมาตรฐานเรียกค่าจ้างที่เพียงพอต่อการยังชีพ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานรายได้ที่ต้องการสำหรับคนงานหนึ่งคนเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ที่มีสมาชิกไม่เกิน 4 คน (ผู้ใหญ่ 2 คน และเด็ก 2 คน) โดยใช้เวลาทำงาน 48 ชั้วโมงต่อสัปดาห์

ส่วนนางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานศูนย์แรงงานนอกระบบ กทม.ได้แสดงความเห็นต่อมุมมองรัฐในการพยายามลดความเหลื่อมล่ำว่าในส่วนของ แรงงานนอกระบบที่มีจำนวน 24 ล้านคนประกอบด้วยผู้ประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย รับงานไปทำที่บ้าน คนขับรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้างเกษตรพันธสัญญา ฯลฯ ท่าทีที่รัฐบาลพูดถึงการสร้างหลักประกันทางสังคม ทั้งรายได้ และระบบประกันสังคม นั้นตนเห็นด้วย แต่หลักการไม่ควรต่างจากแรงงานในระบบ การประกันสังคมที่จะขยายในส่วนของมาตรา 40 เพื่อให้เกิดความคุ้มครองตามความต้องการของแรงงานคือต้องขยายสิทธิประโยชน์ 5 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย และชราภาพจากเดิมมีเพียง 3 กรณี คือ ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิตรัฐ ควรส่งเงินสมทบในส่วนของรัฐด้วย เพราะปัจจุบันเหมือนว่าจะให้แรงงานนอกระบบเป็นผู้ซื้อประกันจากรัฐ โดยจ่ายน้อยสิทธิประโยชน์ก็น้อยไปด้วย ซึ่งไม่เป็นธรรม และไม่เท่าเทียมกับแรงงานในระบบ ทำให้ไม่สามารถลดความเหลื่อมล่ำได้

ส่วนกรณีการส่งเงินสมทบนั้นก็ต้อง สอดคล้องกับรายได้ จึงสนับสนุนให้รัฐปรับค่าจ้างอย่างเป็นธรรมตามข้อเสนอของขบวนการแรงงาน เพื่อให้ค่าจ้างส่วนของแรงงานนอกระบบได้ถูกปรับขึ้นด้วยเช่นกัน

(นักสื่อสารแรงงาน, 7-12-2553)

สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานเตรียมบุกกระทรวงจี้ขึ้นขั้นต่ำ 10 บาททั่วประเทศ

8 ธ.ค. 53 - นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าจะนำกลุ่มผู้ใช้แรงงานประมาณ 1,000 คนไปชุมนุมหน้ากระทรวงแรงงานเพื่อแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำสำหรับปี 2554 เป็น 10 บาททั่วประเทศในวันที่ 9 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางจะมีการประชุมพิจารณาตัวเลขรอบ ใหม่

เราทำแบบสอบถามไปยังสหภาพแรงงาน ต่างๆประมาณพันชุดและกว่า 80% ตอบกลับมาว่าพอใจที่ตัวเลข 421 และ 250 บาทแต่มองว่าคงเป็นไปได้ยากดังนั้นถ้าปรับขึ้นอีก 10 บาทก็ถือว่าน่าพอใจ แต่จากการสอบถามตัวแทนลูกจ้างในคณะอนุกรรมการฯพบว่ามีการหารือว่าจะขยับขึ้น อีกเป็น 8.5 บาทซึ่งก็ยังเป็นตัวเลขที่รับไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นเราจะขอแรงจากสหภาพแรงงานแห่งละ 10-20 คนมารวมตัวกันกดดันกรรมการค่าจ้างกลางในวันที่มีประชุมนายมนัสกล่าว

นายสุนันท์ โพธิ์ทอง ประธานอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกล่าวว่าตัวเลขที่จะเสนอเข้าคณะ กรรมการค่าจ้างกลางยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้แต่เชื่อว่าเป็นอัตราที่ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยพอใจ แต่อาจมีแรงงานบางกลุ่มที่ต้องผิดหวังเนื่องจากเคยเสนออัตราค่าจ้างไว้สูง ถึง 421 บาท

อย่างไรก็ตาม การพิจารณายังคงดูเป็นรายจังหวัดเนื่องจากมองว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของแต่ละ จังหวัดแตกต่างกันแต่เชื่อว่าการปรับค่าจ้างปีนี้ตัวเลขจะไม่หนีกันมากนัก เพราะต้องบวกค่าคุณภาพชีวิตเข้าไปด้วย ต่ำสุดน่าจะได้ไม่น้อยกว่า 8 บาท

ขณะที่วันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงข่าวแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างตามค่าครองชีพที่แท้จริงที่อัตรา 421 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามหากจะปรับขึ้นเป็น 250 บาทตามที่นายกรัฐมนตรีเคยให้นโยบายไว้ก็ถือว่ายอมรับได้ แต่ยืนยันว่าปรับขึ้นแค่ 10 บาทยังไม่เพียงพอที่จะให้ผู้ใช้แรงงานใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีได้อย่าง แน่นอน

(โพสต์ทูเดย์, 8-12-2553)

ดีเดย์ 9 ธ.ค.เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

8 ธ.ค. 53 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยว่า ในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในวันที่ 9ธ.ค. คาดว่าที่ประชุมจะได้ข้อสรุปตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำ และสามารถประกาศใช้ได้ทันเป็นของขวัญปีใหม่ 2554นี้ทั้งนี้ในการพิจารณาค่าจ้างต้องอยู่บนพื้นฐานความจริงและสามารถชี้ แจงที่มาของการปรับค่าจ้างได้ ซึ่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 54 จะอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าอาจจะมีทั้งผู้ที่สมหวังและผิดหวัง เนื่องจากต้องดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และความเป็นไปได้ด้วย

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรง งานไทยเสนอให้มีการนำตัวเลขอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานเสนอวันละ 421 บาท พรรคเพื่อไทย 350 บาท และอัตราเดิม 250 บาท ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ เข้าพิจารณาในที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง นายสมเกียรติ กล่าวว่า ตัวเลขที่เสนอมาคณะกรรมการค่าจ้างกลางได้นำมาพิจารณาทั้งหมด แต่หลักสำคัญคือต้องการให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ที่เหมาะสม ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ทั้งสามตัวเลขที่เสนอมาอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ และยืนยันว่าไม่ได้ซื้อเวลาในการปรับค่าจ้าง

"250 บาท ตามที่นายกฯบอกก็อาจจะอีกสักระยะหนึ่งคงไปได้ หรือ 350 บาทที่เพื่อไทยพูดและ 421 บาท อาจจะไปถึงในเวลาถัดออกไป แต่คนไทยต้องพัฒนาตนเองด้วย นายจ้างก็จะเพิ่มค่าจ้างสูงขึ้นตามความสามารถ" นายสมเกียรติ กล่าว

นายสมเกียรติ  กล่าวอีกว่า  หากได้ตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำปี 54 แล้วต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อปรับโครงสร้างค่าจ้างของตนในสถานประกอบการ ว่าจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเท่าใด ก่อนที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 54 ทั้งนี้คิดว่าค่าจ้างในปัจจุบันสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่มาก และคิดว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ไม่กระทบกับค่าจ้างในปัจจุบัน หากตัวเลขใกล้เคียงกันก็สามารถปรับได้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้แรงงานที่รับค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 400,000 คน

นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) กล่าวว่า ในวันที่ 9 ธ.ค. เวลา 09.30 สมาชิกองค์การแรงงานแห่งประเทศไทยจำนวนประมาณ 1,000 คนจากทั่วประเทศ จะเดินทางไปกดดันคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ที่หน้ากระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 10 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ตามที่พวกเราได้เคยเรียกร้องมาก่อนหน้านี้ เพราะเราไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ว่าคณะกรรมการค่าจ้างกลางจะเห็นชอบตามนั้น จริงหรือไม่ นอกจากนี้ พวกเราต้องการฟังท่าทีของคณะกรรมการค่าจ้างฯต่อข้อเสนอขององค์การฯที่เคย เสนอให้มีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำออกเป็น 3 โซน โดยแบ่งออกเป็น โซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งมีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุด โซนจังหวัดรอบนอกที่มีโรงงานอุตสาหกรรม และมีจำนวนแรงงานเป็นจำนวนมาก และโซนภูมิภาคซึ่งมีขนาดทางเศรษฐกิจไม่ใหญ่มากนัก.

(เดลินิวส์, 8-12-2553)

ลูกจ้างประท้วงกดดันขึ้นค่าแรง 10 บาท

9 ธ.ค. 53 - กลุ่มลูกจ้างจากองค์การแรงงานแห่ง ประเทศไทย แรงงานบางส่วนจากจังหวัดสมุทรปราการ และ พระนครศรีอยุธยา นำโดย นายมนัส โกศล ได้ถือป้ายเรียกร้องขึ้นค่าแรงอย่างเป็นธรรม พร้อมเปิดเวทีไฮปาร์คเพื่อกดดันให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางซึ่งกำลังประชุม สรุปตัวเลขค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำครั้งสุดท้ายที่กระทรวงแรงงาน ให้ปรับขึ้นค่าจ้างเท่ากันทุกพื้นที่ 10 บาท โดยให้เหตุผลว่าปัจจุบันค่าครองชีพทั่วประเทศไม่ต่างกันมาก ขณะที่ราคาน้ำมันในต่างจังหวัดสูงกว่าในกรุงเทพฯ โดยเห็นว่าอัตรา 10 บาท เป็นอัตราที่นายจ้างรับได้ ซึ่งหากคณะกรรมการค่าจ้างไม่รับข้อเสนอนี้ ทางกลุ่มแรงงานจะนัดชุมนุมและหามาตรการกดดันต่อไป

ขณะที่การประชุมของคณะกรรมการค่า จ้างกลางซึ่งมี นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ยืนยันว่าการพิจารณาค่าจ้างจะอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง โดยยึดตัวเลขดัชนีผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเป็นสำคัญ และสามารถชี้แจงที่มาของการปรับค่าจ้างได้ ซึ่งยอมรับการขึ้นค่าจ้างแต่ละครั้งจะมีทั้งผู้ที่สมหวังและผิดหวัง อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวง ได้เคยออกมาพูดก่อนหน้านี้ว่า กรอบการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะอยู่ที่ 10-12 บาท แล้วแต่พื้นที่ โดยจะดูความเหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ แต่ก็จะยึดหลักความเป็นธรรม อัตราค่าจ้างใหม่นี้จะประกาศใช้ให้ทันในวันที่ 1 มกราคม 2554 นี้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับแรงงานทุกคน ปัจจุบันมีผู้ใช้แรงงานที่รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ประมาณ 4 แสนคน

(ครอบครัวข่าว, 9-12-2553)

เตรียมเทคโนโลยีฯ เก็บข้อมูลแรงงานต่างด้าว 6 แสนคน ที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งกลับ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ได้ประชุมร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมการต่อใบอนุญาตของแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานจะหมด อายุลงในช่วงเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีอยู่กว่า 6 แสนคน

โดยในปีนี้จะมีการเก็บเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร รวมทั้งการวางระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จัดเก็บข้อมูล

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกองทัพไทยสามารถสกัดกั้นไม่ให้แรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศได้ กว่าร้อยละ 22 ของการหลบหนีเข้าเมืองในปีที่ผ่านมา จากเป้าที่ตั้งไว้ร้อยละ 20

ส่วนกรณีที่จะให้ลดการจัดเก็บเงินกองทุนเพื่อการส่งกลับฯ ตามระยะทางนั้งคงแก้ไขไม่ทันเนื่องจากได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงแล้ว

สำหรับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน เพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ โดย พม่า ลาว จำนวน 2,400 บาท และกัมพูชาจำนวน 2,100 บาท ซึ่งจะแบ่งเก็บเป็น 6 งวด รวมปี 2554 คาดว่าจะสามารถเก็บเงินเข้ากองทุนได้มากกว่า 1.2 พันล้านบาท

(คมชัดลึก, 9-12-2553)

ส.ว.ขอเพิ่มประกัน บ.ส่งแรงงานไปต่างประเทศ

8 ธ.ค. 53 - นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศว่า ปัจจุบันมีท่าทีว่าจะขาดแคลนแรงงานมากขึ้นในทุกสาขาอาชีพ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะภาคการส่งออก ตนเห็นด้วยที่รัฐบาลจะเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำสำหรับการแก้ปัญหาแรง งานที่ไปทำงานต่างประเทศและถูกบริษัทนายหน้าเอาเปรียบหรือโกงเงิน ซึ่ง กมธ. พบเป็นประจำและเกิดขึ้นมานานแล้ว แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้บริษัทที่ส่งคนงานไปต่างประเทศต้องมีเงินประกันจำนวน 5 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันและจ่ายชดเชยให้คนงานกรณีเกิดปัญหากับบริษัทแต่ก็ไม่ เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่แรงงานเสียไป จึงเห็นว่ารัฐบาลจะต้องเพิ่มวงเงินประกันของบริษัทเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ แรงงานไทย

(เดลินิวส์, 9-12-2553)

เหยื่อแรงงานลิเบีย บุกยื่นข้อมูล'กมธ.' มัดบริษัทนายหน้า เล่นวิชามารป้ายสี

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.53 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตัวแทนแรงงานไทยที่กลับจาก ไปทำงานในประเทศลิเบียผ่านบริษัท จัดหางานเงิน และทอง พัฒนา จำกัด ส่งไปยังบริษัทนายจ้างแรนฮิลล์(RANHILL)ไซต์งานเมืองพาจูลีจำนวน 3 คน ได้เดินทางเข้าพบ นายสถาพรมณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมยื่นหนังสือร้อง ทุกข์เพิ่มเติมและชี้แจงยืนยันปัญหาความเดือดร้อนของแรงงานไทยต่อคณะ กรรมาธิการการแรงงาน อาทิเงินเดือนค่าจ้างน้อยกว่าที่บริษัทนายจ้างระบุเอาไว้ก่อนเดินทางไป, มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างผิดไปจากที่ทำไว้ในประเทศไทย, การทำงานเกินสัญญาจาก 8 ชั่วโมง เป็น10 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าล่วงเวลา(โอที), ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดี เป็นต้น ตามที่มีการเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องนั้น

ต่อมา นายบุญเริ่ม คงเนียม ชาวต.คันโซ้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เปิดเผยภายหลังเข้าพบกรรมาธิการการแรงงาน ว่า ได้เข้าชี้แจงและยื่นหนังสือยืนยันปัญหาแรงงานไทยกับบริษัทนายจ้างแรนฮิลล์ เป็นความจริง โดยแรงงานไซต์นี้กว่า 1,200 คน มีความประสงค์อยากเดินทางกลับประเทศไทย เพราะเงินเดือนค่าจ้างน้อยไม่ตรงตามที่บอกไว้ก่อนเดินทางไป ทำให้ทุกคนรายได้ไม่พอค่าใช้จ่ายค่าหนี้สิน หากทำงานในประเทศไทย ยังได้อยู่ใกล้บ้านช่วยภรรยาและได้รับความ อบอุ่นกับลูกๆ และญาติพี่น้องยังจะได้ดีกว่า

"แม้แรงงานอยากกลับบ้านเกิดเมืองนอน แต่เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ยังทำงานไม่ครบสัญญา 2 ปี บริษัทไม่มีนโยบายให้เดินทางกลับ หากใครขอเดินทางกลับต้องเขียนเหตุผลบิดเบือนข้อเท็จจริง อย่าพาดพิงบริษัทนายหน้าหรือบริษัทนายจ้างในทางเสียหาย กลัวเสียประวัติและภาพลักษณ์หรือถูกทางราชการเอาผิด จึงบีบให้เขียนขอกลับอย่างสวยหรู อ้างเหตุผลส่วนตัว และบริษัทนายจ้างจะหักเงินเดือนค่าจ้าง 3-4 เดือนประมาณ6-7 หมื่นบาท เอาไว้เป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ดังนั้นแรงงานส่วนใหญ่จึงจำยอมอดทนทำงานเพราะเสียดายเงินค่าเครื่องบิน" นายบุญเริ่มกล่าวและว่า เรื่องราวปัญหาความเดือดร้อนได้รับการตอบสนองเหลียวแลจากนายสถาพรและคณะ กรรมาธิการการแรงงานด้วยความกระตือรือร้นเอาใจใส่อย่างดีมาก โดยท่านจะหารือว่า จะช่วยเหลืออย่างไรต่อไป ซึ่งทางตัวแทนแรงงานในลิเบียต้องขอขอบพระคุณอย่างสูง

"ผมเป็น 1 ใน 7 แรงงานลิเบีย ที่เพิ่งกลับมาวันที่ 3 ต.ค.53 หลังจากภรรยาอยากให้กลับ เพราะเงินได้รับน้อยทำงานที่บ้านและทำไร่ทำนายังดีกว่า ตอนนี้ภรรยาดีใจมาก"เหยื่อแรงงานลิเบีย กล่าว

ด้าน นายชัยชนะกร ประเคน ชาว อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เหยื่อแรงงานในลิเบียอีกราย กล่าวว่า ขอขอบคุณคณะกรรมาธิการการแรงงานที่กระตือรือร้นในการแก้ปัญหาแรงงานลิเบีย ซึ่งต่อไปคงต้องรอว่าทางกรรมาธิการจะดำเนินการอย่างไร

"สำหรับผมกลับมาไทยวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่กลับบ้านไม่ได้ เพราะแม่ยายและภรรยาไม่ให้เข้าบ้าน โดยเข้าใจผิดคิดว่าผมได้รับเงินเดือนค่าจ้างมากตามที่สายนายหน้าบอกก่อนไป ว่าได้เดือน 4-5 หมื่นบาทแต่พอไปแล้วได้ไม่ถึง ไม่มีโอที พอส่งเงินให้ทางบ้านก็ไม่พอใจหาว่าเราไปใช้จ่ายนอกลู่นอกทาง ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงเราไม่ได้เงินมากอย่างนั้น ถ้าจะกลับมาก็โดนหักเงินเดือน5 หมื่นบาทอีกต่างหาก"

เหยื่อแรงงานลิเบีย กล่าวอีกว่า เกือบ1 เดือนแล้ว ที่ระหกระเหินเร่ร่อนไปพักอาศัยอยู่บ้านเพื่อน กลับบ้านไม่ได้ มิหนำซ้ำทางบริษัทนายหน้าได้ใส่ร้ายป้ายสีตน เพราะตนเรียกร้องเงินเดือนค่าจ้างและการทำงานที่ถูกต้องกับตำแหน่งตั้งแต่ อยู่ลิเบีย โดนนายจ้างโทรศัพท์ มาฟ้องภรรยาและแม่ยายบอกว่าตนหัวแข็งไม่ทำงาน จึงถูกส่งตัวกลับทั้งที่ขอกลับมาเอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดจนภรรยาไม่ยอมพูดด้วย

(สยามรัฐ, 9-12-2553)

คนงานบริดจสโตนร้องค่าแรง

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 9 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปทุมธานี ว่า ที่หน้าโรงงาน บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด เลขที่ 14/3 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีมีกลุ่มคนงานของสหภาพแรงงานไทยบริดจสโตนจำนวนมาก ปิดหน้าโรงงานเพื่อประท้วงนายจ้างกรณีการเจรจาข้อเรียกร้องประจำปี 2553 ไม่สามารถตกลงกันได้ หลังจากมีการเจรจากันถึง 7 ครั้ง และมีการไกล่เกลี่ยกันที่แรงงานสัมพันธ์ แต่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างก็ตกลงกันไม่ได้ จึงเกิดข้อพิพาทแรงงานและมีการประท้วงนัดหยุดงานเกิดขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.คลองหลวงมาดูแลความสงบ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถใช้ ถ.พหลโยธินด้านขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลให้การจราจรชะลอตัวและติดขัดเป็นบางช่วง

นายบุญเลิศ ดาบุตรดี ประธานสหภาพแรงงานไทยบริดจสโตน กล่าวว่า หลังจากที่ตัวแทนสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท และมีการเจรจากับนายจ้าง ซึ่งมี นายสมชาย เฟื้องแดงกรรมการผู้จัดการ เป็นตัวแทน แต่ไม่สามารถตกลงข้อเรียกร้องกันได้ ในที่สุดจึงเกิดข้อพิพาทแรงงานกันขึ้น ส่วนกรณีที่มีการปิดหน้าโรงงานนั้น ทางสหภาพแรงงานไม่มีนโยบายที่จะให้ทำเช่นนั้น แต่เป็นความกดดันของคนงานที่ตกลงข้อเรียกร้องไม่ได้ตามที่เขาต้องการ คงต้องพยายามหาข้อยุติให้ได้ แม้ว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ถนนต้องขอโทษด้วย

(ข่าวสด, 10-11-2553)

ยอดแรงงานนอกระบบทะลุ 24 ล้านคน

10 ธ.ค. 53 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบปี 2553 พบว่า มีทั้งสิ้น 24.1 ล้านคน หรือ 62.3% ของแรงงานทั้งหมดที่มีอยู่ 38.7 ล้านคน และพบว่าแรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 14.5 ล้านคน หรือ 60% ขณะที่อยู่ในภาคการค้าและการบริการ 31.4% และภาคการผลิต 8.6% ส่วนใหญ่แรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 41.6% รองลงมาเป็นภาคเหนือ 21.3% ภาคกลาง 18.8% ภาคใต้ 12.9% ส่วน กทม.มีแรงงานนอกระบบน้อยที่สุด 5.4%


นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า แรงงานนอกระบบที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและรวมที่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา มีมากที่สุดถึง 15.9 ล้านคน หรือ 65.9% รองลงมาจบมัธยมศึกษา 6.5 ล้านคน หรือ 26.8% และระดับอุดมศึกษา 1.7 ล้านคน หรือ 7.1 % โดยแรงงานนอกระบบเป็นผู้มีการศึกษาในระดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับแรง งานในระบบ ดังนั้น หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาแก่แรงงานนอกระบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับสถานภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบให้ดีขึ้น และภาครัฐควรช่วยแก้ปัญหาค่าตอบแทนน้อยมีจำนวนถึง 48.5% อันดับสองได้แก่ปัญหางานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่อง 21.5% อันดับสามได้แก่ทำงานหนัก 19% ที่เหลือเป็นอื่นๆ เช่น ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด ทำงานไม่ตรงเวลาปกติ ชั่วโมงทำงานมากเกินไปและลาพักผ่อนไม่ได้

 (ไทยรัฐ, 10-11-2553)

ยอดแรงงานนอกระบบทะลุ 24 ล้านคน

10 ธ.ค. 53 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบปี 2553 พบว่า มีทั้งสิ้น 24.1 ล้านคน หรือ 62.3% ของแรงงานทั้งหมดที่มีอยู่ 38.7 ล้านคน และพบว่าแรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 14.5 ล้านคน หรือ 60% ขณะที่อยู่ในภาคการค้าและการบริการ 31.4% และภาคการผลิต 8.6% ส่วนใหญ่แรงงานนอกระบบทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 41.6% รองลงมาเป็นภาคเหนือ 21.3% ภาคกลาง 18.8% ภาคใต้ 12.9% ส่วน กทม.มีแรงงานนอกระบบน้อยที่สุด 5.4%


นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า แรงงานนอกระบบที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและรวมที่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา มีมากที่สุดถึง 15.9 ล้านคน หรือ 65.9% รองลงมาจบมัธยมศึกษา 6.5 ล้านคน หรือ 26.8% และระดับอุดมศึกษา 1.7 ล้านคน หรือ 7.1 % โดยแรงงานนอกระบบเป็นผู้มีการศึกษาในระดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับแรง งานในระบบ ดังนั้น หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาแก่แรงงานนอกระบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับสถานภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบให้ดีขึ้น และภาครัฐควรช่วยแก้ปัญหาค่าตอบแทนน้อยมีจำนวนถึง 48.5% อันดับสองได้แก่ปัญหางานที่ทำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่อง 21.5% อันดับสามได้แก่ทำงานหนัก 19% ที่เหลือเป็นอื่นๆ เช่น ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด ทำงานไม่ตรงเวลาปกติ ชั่วโมงทำงานมากเกินไปและลาพักผ่อนไม่ได้

 (ไทยรัฐ, 10-11-2553)

บ.ไทยบริดจสโตน ยอมเพิ่มโบนัส แต่ยันเอาผิดคนงานปิดทางเข้าออกบริษัท

11 ธ.ค. 53 - ความคืบหน้ากรณีสหภาพแรงงานบริษัท ไทยบริดจสโตน นำรถยนต์มาชุมนุมประท้วงบริเวณถนนพหลโยธิน หน้าโรงงาน พื้นที่ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่โรงงาน บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด เลขที่ 14/3 ถนนพหลโยธิน  ขาเข้ากรุงเทพฯ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่ม ทำให้การจราจรติดขัดอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาตัวแทนผู้บริหารบริษัทรับปากจะ เพิ่มเงินโบนัสให้ตามที่คนงานเรียกร้อง แต่เนื่องจากบริษัทยังยืนยันจะเอาผิดกับคนงานที่ชุมนุมปิดทางเข้าออกบริษัท ทำให้คนงานบางส่วนยังชุมนุมต่อ แต่ย้ายการชุมนุมขึ้นมาบนฟุตปาธบริเวณหน้าโรงงาน ส่งผลให้การจราจรด้านหน้าโรงงานคล่องตัวขึ้น

(มติชน, 11-12-2553)

ส.อ.ท.แนะรัฐ เร่งทำนโยบายแรงงานแห่งชาติ

11 ธ.ค. 53 - นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 8-17 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2554 จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการในบางอุตสาหกรรม เช่น การ์เมนท์ หรือกลุ่มรับจ้างผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า ที่ต้องแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าง อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย เนื่องจากค่าแรงของไทยสูงกว่า 2-3 เท่าตัว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่ต้องใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ดังนั้น รัฐบาลจึงควรเข้ามาดูแลกลุ่มดังกล่าว และควรเร่งจัดทำนโยบายแรงงานแห่งชาติ ไม่ใช่เพียงแค่การออกนโยบายประชานิยม โดยไม่สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น รถยนต์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ อาจจะกระทบน้อย หรือไม่กระทบเลย เนื่องจากสินค้ามีมูลค่าสูง


รองประธานส.อ.ท. กล่าวต่อว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมมีการเดินเครื่องผลิตร้อยละ 64 ของกำลังการผลิต ในขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของจำนวนแรงงานในระบบ 14 ล้านคน ซึ่งแทบจะไม่มีการว่างงาน และทำให้เห็นว่า ไทยยังต้องการแรงงานจำนวนมาก และยาวนานไปอีก 8-10 ปีข้างหน้า ในขณะที่อัตราการเกิดของคนไทยน้อยลง จึงเป็นที่มาของการจ้างแรงงานต่างด้าว รัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแลให้ค่าจ้างคนไทยและต่างด้าวเท่ากัน และมีระบบสวัสดิการเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมาก นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีระบบการจ้างตามความสามารถและคุณภาพแรงงานด้วย


นายธนิต กล่าวอีกว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ขึ้นมาดังกล่าว จะทำให้ราคาสินค้าในปีหน้าสูงขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นเมื่อค่าแรงเพิ่ม ก็ควรเร่งพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ทำงานได้เพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ สภาอุตสาหกรรมฯ จะประชุมเพื่อสรุปผลกระทบและทำหนังสือชี้แจงไปยังรัฐบาล เพื่อให้รับทราบปัญหาที่จะเกิดขึ้นและหาทางรับมือปัญหาต่อไป

(ไทยรัฐ, 11-12-2553)

ย้อนอดีตปัญหาแรงงานไทยยังไม่เปลี่ยน แต่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

12 ธ.ค. 53 - นางสุนี ไชยรส กรรมการกิตติมศักดิ์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การต่อสู้ของแรงงานไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันยังมีประเด็นไม่แตกต่างกันมากนัก ได้แก่ การต่อสู้ให้ได้สิทธิ ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ โดยผลที่ได้รับคือ ผู้นำแรงงานถูกจับกุม เสียชีวิต จากการต่อสู้มายาวนาน และยังคงมีการต่อสู้ประเด็นเดียวกันนี้มาจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต่างจากอดีต คือ การมีความเป็นประชาธิปไตยดีกว่ายุคเก่า และการต่อสู้มีเป้าหมายมากขึ้น จากการต่อสู้เพื่อตนเอง เป็นการต่อสู้เพื่อภาคประชาสังคม เพื่อแรงงานข้ามชาติ เพื่อแรงงานนอกระบบ เป็นต้น

สำหรับปัจจุบันการต่อสู้เพื่อแรงงาน ต้องการให้แรงงานทั่วประเทศมีค่าจ้าง ขั้นต่ำเท่ากันเนื่องจากทุกคนต้องซื้อของกินของใช้ในราคาที่เท่ากัน แต่กลับได้ค่าจ้างต่างกันระหว่าง 100-200 บาท มีการยื่นข้อเสนอขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 421 บาท โดยในเช้านี้ มูลนิธิฯ ได้จัดเสวนา ย้อนอดีตแรงงาน เปิดตำนานคนกล้า พลิกฟื้นศรัทธา ฝ่าข้ามวิกฤติณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ มีผู้นำแรงงานจากหลายยุคมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบอกเล่าการต่อสู้ เพื่อแรงงานจากอดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัว ภาพยนตร์สารคดีแรงงาน ในประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยความยาว 35 นาที มีการนำภาพถ่าย คลิปวิดีโอ เหตุการณ์เกี่ยวกับแรงงานไทยตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์การต่อสู้ของแรงงานที่หายาก เผยแพร่ให้กับองค์กรแรงงานทั่วประเทศ

(สำนักข่าวไทย, 12-12-2553)

สภาอุตฯรวมพลจี้ทบทวนค่าแรง

นายสมภพ ธีระสานต์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศจะทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุก จังหวัดเพื่อผลักดันรัฐบาลได้พิจารณาทบทวนการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 โดยจะยื่นหนังสือเพื่อแสดงพลังพร้อมกันในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศสามารถดำเนินธุรกิจแข่งขันได้ต่อ ไปในอนาคต

นายสมภพ กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 ทั่วประเทศ ในอัตรา 8-17 บาท ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และความสามารถในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั่วประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งอาจได้รับผลกระทบถึงขั้นปิดกิจการในอนาคต

การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควร มีการกำหนดในอัตราที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่าจ้างและความสามารถในการดำเนินกิจการของ ผู้ประกอบการนายสมภพ กล่าว

นายสมภพ กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรีได้ทำหนังสือถึง ผวจ.กาญจนบุรี ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้โปรดผลักดันไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาทบทวนการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับ ภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะต้นทุนที่จะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ

นายสมภพ กล่าวอีกว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลนำข้อเสนอตัวเลขค่าจ้างที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำจังหวัดทั่วประเทศนำเสนอ เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด เนื่องจากทราบข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงภาวการณ์ครองชีพของลูกจ้างในจังหวัดเป็นอย่างดี และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

ทั้งนี้ นายสมมาต ขุนเศรษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในวันที่ 13 ธ.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหาร ส.อ.ท. เพื่อหารือเกี่ยวกับการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวสูงเกินไป และอาจจะเป็นการซ้ำเติมภาคอุตสาหกรรม

ด้านนายบุญเลิศ บูรณศักดา ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า โดยส่วนตัวคิดว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำในอัตราดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบ การและตัวแรงงานเอง เนื่องจากเป็นการช่วยให้แรงงานมีกำลังซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นถึง 3-7% และยังส่งผลทำให้เกิดกำลังหมุนเวียนในเรื่องของการจับจ่ายภายในจังหวัดเอง ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของ จ.ขอนแก่น

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ สถานประกอบการได้มีแรงงานที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของความรู้ ความชำนาญ เพราะช่วยให้แรงงานเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะค่าครองชีพสูง โดยไม่ต้องเปลี่ยนงาน หรือหางานใหม่ เพื่อหารายได้ให้เพียงพอนายบุญเลิศ กล่าว

(โพสต์ทูเดย์, 13-12-2553)

สปส.เตรียมเพิ่ม 6 สิทธิ

รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนใน 6 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

1.เพิ่มค่าคลอดบุตรจากครั้งละ 12,000 บาท เป้น 13,000 บาท
2.เงินสงเคราะห์บุตรจากรายละ 350บาท เป็น 400 บาท
3.ค่าทันตกรรมจากครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง หรือ 500 บาท เป็นครั้งละ 300 บาท หรือปีละไม่เกิน 600 บาท
4.สิทธิในการให้บริหารใส่รากฟันเทียม
5.เพิ่มสิทธิในกรณีรักษาโรคจิต
6.เพิ่มค่ารักษากรณีทุพพลภาพจากเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท เป็น 4,000 บาท

ทั้งนี้ สปส.หวังว่าจะให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการให้มากที่สุด จึงเตรียมจัดตั้ง "เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ในสถานประกอบการด้วย โดยจะขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการ พร้อมทั้งเตรียมอบรมเพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประกันสังคม

น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ สปส.ให้ความสำคัญในการดูแลผู้ประกันตนด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ดังกล่าว แต่เห็นว่าสิทธิประโยชน์บางกรณีควรเพิ่มให้มากกว่านี้ เช่น เงินสงเคราะห์บุตร ควรเพิ่มเป็นรายละ 500 บาท และควรขยายความคุ้มครองจาก 6 ปี ให้เป็นลักษณะเดียวกับที่ให้ข้าราชการ

ส่วนกรณีที่เพิ่มสิทธิในการรักษาผู้ ป่วยโรคจิต ซึ่งเป็นโรคที่ยกเว้นการรักษาพยาบาลนั้น เห็นว่า สปส.ควรยกเลิกการรักษาพยาบาลโรคต่างๆ ที่ได้รับการยกเว้น เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกันตนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรักษา พยาบาล อย่างไรก็ตาม สปส.ควรปรับการบริการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพด้วย

ทั้งนี้มีปัญหาหรือข้อสงสัยเดี่ยวกับประกันสังคม สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่หมาย 1506 หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

(คมชัดลึก, 13-12-2553)

กมธ.ผุดทีมดูแล-เจรจานายหน้า เร่งเยียวยาแรงงานไทยใน 'ลิเบีย'

13 ธ.ค. 53 - กรณีปัญหาแรงงานไทยที่ไปทำงานยังประเทศลิเบียแล้วถูกบริษัทนายหน้าและ บริษัทนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ หลังจากวันที่ 8 ธ.ค.53 ตัวแทนแรงงานไทยที่ไปทำงานลิเบียผ่านนายหน้าบริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด ไปทำงานก่อสร้างกับบริษัทนายจ้างแรนฮิลล์ (RANHILL) ได้เดินทางเข้าร้องเรียน และยื่นเอกสารหลักฐานยืนยันความเดือดร้อนกับนายสถาพรมณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎรและได้เข้าชี้แจงปัญหากับ กรรมาธิการการแรงงานด้วยนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.53 นายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการการแรงงานได้นำเรื่องราวความเดือดร้อนของแรงงานไทยใน ลิเบียเข้าหารือกันอีกครั้งหนึ่ง และมีมติว่ากรณีแรงงานไทยในลิเบียเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องได้รับการแก้ไขครบ วงจรทั้งระบบ จึงมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ ทั้งระบบโดยตนเป็นประธานและจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจากกรรมาธิการการ ต่างประเทศ กรรมาธิการยุติธรรม ส.ส. ส.ว.เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่ กระทรวงต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เป็นต้น

"ตลาดแรงงานลิเบียเป็นตลาดใหญ่และ ตลาดใหม่ของแรงงานไทยที่มีโอกาสเติบโตไปได้อีกเยอะ เพราะผู้นำลิเบียกำลังสร้างบ้านเมืองใหม่หมด แต่ที่ผ่านมาการส่งออก แรงงานไทยไปยังไม่มีระบบระเบียบเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไม่ได้มีการจัดระบบ ระเบียบ ให้ดีซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นหากมีการแก้ปัญหา โดยสร้างระบบกฎเกณฑ์ให้ดีเหมือนกับแรงงานไปเกาหลีใต้, ไต้หวันที่รัฐบาลเข้า ไปจัดการทำสัญญาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลจะเป็นการสร้างการขยายตลาดแรงงานไทยไป ลิเบียได้อีกเยอะมาก" นายสถาพร กล่าว

นายสถาพร กล่าวอีกว่า จุดอ่อนของแรงงานไทยในลิเบียที่ทางรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาตั้งแต่แรก หากมีการแก้ปัญหาทำอย่างตรงไปตรงมาเปิดเผยและโปร่งใสก็จะดีไม่เกิดปัญหาเช่น ที่มีการร้องเรียนว่า การทำสัญญาที่เซ็นในประเทศไทยอย่างหนึ่งแต่พอไปที่ลิเบียแรงงานถูกมัดมือชก ให้เซ็นสัญญาใหม่เป็นภาษาอาหรับ ไม่มีภาษาอังกฤษและไทยกำกับ แรงงานเซ็นทำงานหน้าที่หนึ่งแต่ถูกเปลี่ยนไปอีกหน้าที่หนึ่ง ไม่ตรงตามความรู้ความสามารถ ค่าจ้างเงินเดือนที่บอกว่าสูงแต่พอไปจริงได้ไม่ตรง ค่าล่วงเวลาไม่มีเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงแต่ทำเกินไปเป็น 10 ชั่วโมงและสวัสดิการความเป็นอยู่ก็ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องมีการจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ดี

นายสถาพร กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาใหญ่คือเรื่องค่าบริการหรือค่าหัวคิวสูงมากหลักแสนบาทขึ้นไป แต่พอแรงงานทำงานแล้วเงินเดือนค่าจ้างไม่ได้ตามที่โฆษณาเชิญชวนเอาไว้ พวกแรงงานก็อยู่ไม่ได้ ติดหนี้สินเงินกู้นอกระบบ ครอบครัวเดือดร้อน จนไม่มีกะจิตกะใจทำงานอยากเดินทางกลับเมืองไทยแต่ก็ถูกหักเงินเดือนค่าจ้าง เป็นค่าเครื่องบินอีกต่างหาก

"ส่วนที่แรงงานโดนบริษัทนายหน้าฟ้อง ร้องหมิ่นประมาท ทางคณะกรรมาธิการแรงงานก็จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่เป็นไรไม่ต้องห่วงคณะทำงานเราจะดูแลทั้งระบบ พร้อมเชิญบริษัทจัดหางานต่างๆ มาประชุมหารือร่วมกันหาทางออกและสร้างกฎกติกาที่เป็นระบบออกมา ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ทุกคนจะมีแต่ได้กับได้กันหมด" ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานกล่าว

(สยามรัฐ, 13-12-2553)

ครม.อนุมัติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

14 ธ.ค. 53 -นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงแรงงานในการพิจารณาประกาศค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ให้มีผลวันที่ 1 มกราคม 2554 โดยรัฐมนตรีแรงงานชี้แจงในที่ประชุมว่า การพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำได้ทำตามขั้นตอน จากอนุกรรมการระดับจังหวัด จนถึงคณะกรรมการไตรภาคี การพิจารณาของ ครม.ครั้งนี้ ไม่ได้พิจารณาข้อทักท้วงจากภาคเอกชน เพราะยืนยันว่าดำเนินการมาตามขั้นตอน ผลดังกล่าวจึงให้ครอบคลุม 76 จังหวัด โดยมีการปรับเพิ่มตั้งแต่ 8-17 บาท/วัน โดย จ.ภูเก็ต ปรับเพิ่มสูงสุดในอัตราขั้นต่ำวันละ 221 บาท ขณะที่พะเยาเพิ่มขึ้นต่ำสุดอยู่ที่ 159 บาท/วัน โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า จากความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการปรับเพิ่มค่าจ้างให้ได้สูงสุดที่ 250 บาท/วัน แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะผลักดันได้สูงสุดเพียงเท่านี้

สำหรับค่าจ้างหลังปรับแล้วของ จังหวัดต่าง ๆ เช่น กทม.และปริมณฑล วันละ 215 บาท ชลบุรี 196 บาท นครราชสีมา 183 บาท เชียงใหม่ 180 บาท นครศรีธรรมราช 174 บาท ประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี 172 บาท กาญจนบุรี 181 บาท

(สำนักข่าวไทย, 14-12-2553)

ธปท.มองขึ้นค่าแรงกระทบเงินเฟ้อบ้าง เตือนรัฐสกัดพวกฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า

14 ธ.ค. 53 - นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในปี 54 คงจะมีผลกระทบโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อบ้าง แต่โดยรวมแล้วเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในปีหน้ายังจะอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องระมดัระวังการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้า เพราะจะกลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ ซึ่งอาจจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าผลกระทบโดยตรง

(อินโฟเควสต์, 14-12-2553)

ประธานสหภาพแรงงานยานยนต์ชี้ปรับค่าแรง นายจ้างไม่ปลดคนออก

14 ธ.ค. 53 - นายยงยุทธ เม่นตระเภา ประธานสหภาพแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ค่าจ้างที่ปรับขึ้น 8-17 บาท จริงๆไม่มากเกินความเป็นจริง ซึ่งนายจ้างสามารถปรับขึ้นได้อยู่แล้ว โดยตนเองเห็นด้วยกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่เรียกร้องให้นายจ้างเปิดงบดุลบริษัทย้อนหลัง หลังจากที่ฝ่ายนายจ้างอ้างว่าไม่สามารถปรับขึ้นให้ได้ เพราะเชื่อว่าการปรับค่าจ้างครั้งนี้ไม่ได้มาก ดังนั้นการที่นายจ้างออกมาระบุว่าจะปรับลดคนงานลง หากให้ปรับค่าจ้างตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางประกาศไป ซึ่งไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ เป็นเพียงการขู่เท่านั้น เพราะวันนี้อุตสาหกรรมหลายสาขายังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ถ้าปลดคนงานจริงนายจ้างจะอยู่อย่างไร

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) กล่าวว่า ในวันที่ 15 ธันวาคม เวลา 10.30 น. ตนเองพร้อมด้วยลูกจ้าง 200 คน จะเดินทางมายื่นหนังสือกับ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เพื่อขอให้ทบทวนกรณีที่กรรมการค่าจ้างกลางมีมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างทั่ว ประเทศ 8-17 บาท แต่ปรากฏว่าในจำนวนนี้มีจังหวัดที่ไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้าง 10 บาท จำนวน 31 จังหวัดจึงต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

 (สำนักข่าวแห่งชาติ, 14-12-2553)

พนง.ซันแอร์โร่นับพันรวมตัวประท้วงขอขึ้นโบนัส-ขู่หยุดงาน

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 14 ธ.ค. ได้มีพนักงานจากบริษัท ซันแอร์โร่ จำกัด ประมาณ 1,000 คน ได้รวมตัวหยุดงานประท้วงที่โรงงานหน้าบริษัทฯ บริเวณริมถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 3 ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อขอให้ทางบริษัทฯ ปรับค่าขึ้นค่าโบนัสเพิ่มจากเดิมปีที่แล้วได้เดือนครึ่งปรับให้มาเป็น 3 เดือน เพราะว่าในปีที่ผ่านมา โบนัสที่ได้รับถูกทางบริษัทฯหักเงินในสวัสดิการ มากจึงทำให้พนักงานไม่พอใจจึงได้รวมตัวกันหยุดงานประท้วง

ส่วนในขณะ ที่มีพนักงานบริษัทฯ ได้รวมตัวกันหยุดงานประท้วงที่หน้าบริษัทฯ ยังไม่พบผู้บริหารของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องมารับเรื่องราวแต่อย่างใด ส่วนการรักษาความปลอดภัยได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลความเรียบร้อย

หนึ่งในพนักงาน เผยว่า ถ้าทางบริษัทฯ ไม่มารับเรื่องราวในการขอปรับค่าโบนัสเพิ่มทางพนักงาน จะทำการหยุดไม่ทำงานต่อไป.

(ไทยรัฐ, 14-12-2553)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สำนักข่าวฉาน : กองทัพว้า UWSA ขยายกำลังเพิ่มอีก 1 กองพล

Posted: 23 Dec 2010 01:42 AM PST

กองทัพว้า UWSA ขยายกำลังเพิ่มอีก 1 กองพล

Khonkhurtai : 23 ธันวาคม 2553

กองกำลังว้า UWSA ขยายกำลังจัดตั้งกองพลใหม่เพิ่มอีก 1 กองพลน้อย ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ยุทธศาสตร์ตรงข้ามพื้นที่เคลื่อนไหวกองทัพพม่า...

มีรายงานข่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กองทัพสหรัฐว้า UWSA (United Wa State Army) มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่เมืองปางซาง รัฐฉานภาคตะวันออก ติดชายแดนจีน ได้มีมติขยายกำลังพลในกองทัพ โดยจัดตั้งกองพลน้อยขึ้นใหม่เพิ่มอีก 1 กองพล คือ กองพลน้อยที่ 618 ซึ่งจะทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่เมืองมังแสง และเมืองหนองเข็ด อันเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกจุดหนึ่งต่อหน้าพื้นที่เคลื่อนไหวของกองทัพพม่า ฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวิน ตรงข้ามเมืองต้างยาน ในรัฐฉานภาคเหนือ โดยมีนายเปาสามราย อดีตรองผู้บัญชาการพื้นที่เมืองใหม่ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ

ปัจจุบัน กองทัพสหรัฐว้า UWSA มีกำลังพลรวมแล้วทั้งหมด 9 กองพลน้อย ในพื้นที่ภาคเหนือ หรือ เขตปกครองว้าตอนบน มี 4  กองพลน้อย ประกอบด้วย กองพลน้อยที่ 318 / 418 / 468 และ 618 ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ หรือ ว้า ตอนใต้ ติดชายแดนไทยด้านตรงข้ามจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเรียกว่าพื้นที่ 171 มี 5 กองพลน้อย ได้แก่ กองพลน้อยที่ 772 / 775 / 218 / 518 และ 778 มีศูนย์บัญชาการใหญ่อยู่ที่เมืองยอน ตรงข้ามจังหวัดเชียงใหม่ โดยแต่ละกองพลน้อยมีกำลังทหารตั้งแต่ 2,500 – 3,200 นาย

นอกจากนี้ กองทัพสหรัฐว้า UWSA ยังมีกองกำลังอาสาสมัครพลเรือนตามเมืองต่างๆ ในพื้นที่ครอบครองอีกเมืองละ 1 กองพลน้อย ประกอบด้วย กองพลน้อยที่ 916 ดูแลพื้นที่เมืองใหม่ กองพลน้อยที่ 917 ดูแลพื้นที่เวียงเก่า กองพลน้อยที่ 918 ดูแลพื้นที่เมืองป๊อก โดยกองพลน้อยที่ 916 เป็นกองพลใหญ่สุดมีกำลังพลในสังกัด 5 กองพัน แต่ละกองพันมีกำลังทหารอาสาสมัครราว 200 – 250 นาย

กองทัพสหรัฐว้า UWSA ถือเป็นกลุ่มติดอาวุธใหญ่ที่สุดในพม่า นอกเหนือจากกองทัพรัฐบาลทหารพม่า ประมาณการว่ามีกำลังพลมากถึง 25,000 – 30,000 นาย มีนายเปาโหย่วเฉียง เป็นผู้นำสูงสุด กองทัพสหรัฐว้า UWSA เป็นอดีตแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า CPB (Communist Party of Burma) เมื่อปี 2532 ได้ประกาศแยกตัวออกจัดตั้งเป็นกองทัพสหรัฐว้า UWSA มีองค์กรการเมืองคือ พรรคสหรัฐว้า UWSP (United Wa State Party) และได้เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าในปีเดียวกัน

ทั้งนี้ ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2552 กองทัพสหรัฐว้า UWSA ถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันเปลี่ยนสถานภาพกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ภายใต้การกำกับของรัฐบาลทหารพม่า แต่หลังจากปฏิเสธ ได้ถูกรัฐบาลทหารพม่ากำหนดเป็นกลุ่มนอกกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา ปัจจุบันกองทัพสหรัฐว้า UWSA มีกองกำลังหยุดยิงหลายกลุ่มร่วมลงนามเป็นพันธมิตร ได้แก่ กองทัพสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา NDAA กองทัพรัฐฉานเหนือ (กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่) SSA-N และกองทัพเอกราชคะฉิ่น KIA
 


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น