โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

บล็อกต่างประเทศสัมภาษณ์ "อริสมันต์-ชายผู้รัฐบาลต้องการตัว"

Posted: 09 Dec 2010 11:12 AM PST




“แอนดรูว์ สปุนเนอร์” สัมภาษณ์ “อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง” แกนนำ นปช. ที่รอดจากการจับกุม ปฏิเสธแนวทางให้เสื้อแดงต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ แต่อยากเห็นทหารตำรวจที่ฝืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาเข้าร่วมต่อสู้กับคนเสื้อแดง


9 ธ.ค. 2553 - เว็บไซต์ Asian Correspondent บล็อก Siam Voices ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ตอนแรก โดย Andrew Spooner ในชื่อ "Interview with Thailand's most wanted - Arisman Pongruangrong" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

(หมายเหตุจากประชาไท: คำแปลนี้ เป็นคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ไม่ใช่ของผู้สัมภาษณ์)

 

000

 

หลังจากที่เขาหนีออกมาจากการชุมนุมย่านราชประสงค์ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ก็กลายเป็นหนึ่งในแกนนำของเสื้อแดงที่ยากจะจับได้ เขาเป็นคนเสื้อแดงที่ไม่กลัวจะเรียกร้องให้เสื้อแดงเผชิญหน้ากับกองกำลังของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา แล้วในตอนนี้เขาก็กลายเป็นผู้ที่ต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง

ในตอนนี้เขากำลังหลบหนีอยู่ในประเทศที่ไม่มีใครทราบ มีข่าวลือสะพัดว่าสำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ในตอนนี้ อริสมันต์เป็นศัตรูของรัฐอันดับสองระดับรองจากทักษิณ ชินวัตร เขาจึงเป็นคนที่ถูกตามล่าอย่างเห็นได้ชัด

ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์อริสมันต์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์ รวมถึงอนาคตของประเทศไทย

ในการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผมพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ความเห็นหรือการตัดสินลงไป ผมยากให้ผู้อ่านได้สรุปความเอาเอง และให้ความเห็นด้วยตนเอง

จากการที่บทสัมภาษณ์นี้ยาวมาก ผมขอเผยแพร่โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค และมีแผนจะเผยแพร่เป็นภาษาไทยในอนาคต


Andrew : สภาพชีวิตส่วนตัวของคุณเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้

อริสมันต์ : ชีวิตโดยทั่วไปของผมสุขสบายดี มันเป็นเรื่องไม่สะดวกเท่าไหร่หากจะให้ผมไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ ตอนนี้เพราะว่าผมไม่ต้องการสร้างปัญหาใด ๆ ให้กับประเทศที่ผมอยู่ ผมยังทำกิจกรรมได้บางอย่างแต่มีข้อจำกัดมาก แล้วผมก็ต้องย้ายที่บ่อยมาก

Andrew : สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณเป็นอย่างไรบ้าง

อริสมันต์ : สุขภาพกายผมดีอยู่ ผมลดน้ำหนักไปได้ 5 กิโลฯ รู้สึกแข็งแรงขึ้นเพราะมีเวลาออกกำลังกายมาก แต่สุขภาพจิตก็ไม่ได้ดีเท่าเมื่อก่อน เพราะผมใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการอ่านประวัติศาสตร์การปฏิวัติจากทั่วโลก จากประเทศอย่าง ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, อินเดีย, กัมพูชา และลาว


Andrew : คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องการปฏิวัติเหล่านี้

อริสมันต์ : การปฏิวัติทุกแห่งสอนผมว่าถ้าหากจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยคุณต้องแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดให้ได้ก่อน ในประเทศไทยคือสถาบันอำมาตย์ และขอบอกชัดเจนเลยว่าไม่ได้หมายถึงระบบกษัตริย์ อำมาตย์ที่ว่านี้ได้ยึดกุมอำนาจและต้องถูกนำออกไปเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมา พวกเราต้องการรัฐธรรมนูญที่สะท้อนความต้องการของประชาชน และระบอบที่ผู้ทีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีของตนได้ สิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้มีใครมาเปลี่ยนตัวนายกฯ ถ้าหากนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งเช่นตอนนี้ นายกฯ ก็จะถูกเปลี่ยนได้ตลอดเวลาแม้ว่าประชาชนจะไม่ยอมรับก็ตาม

Andrew : คุณรู้สึกว่าชีวิตตกอยู่ภายใต้อันตราย จากการที่คุณตกเป็นเป้าของรัฐบาลไทยไหม

อริสมันต์ : เป็นเรื่องธรรมดามนุษย์ที่จะกลัวในเรื่องนี้ และผมเชื่อว่ารัฐบาลได้ส่งคนมาตามล่าตัวผมแล้ว ในจุดนี้ ถ้าหากผมจะถูกรัฐบาลไทยลอบสังหารผมก็คงทำอะไรกับมันได้น้อยมาก แต่ผมต้องการบอกทุกคนว่าไม่ควรจะมีคนตายอีก พวกเราต้องสู้ให้ถึงที่สุด และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมักจะมีการสูญเสียตามมาเสมอ ไม่มีเคยที่ไหนในโลกที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยโดยไม่มีกองกำลังคอยสู้กับพวกที่กดทับประชาธิปไตยไว้ ด้วยเหตุนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงต้องมีการรวมกองกำลังกับมวลชนเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นใน จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย ในทุกวันนี้ความกลัวไม่ได้ครอบงำชีวิตผม แม้ว่าความคิดว่าจะถูกฆ่านั้นน่ากลัว แต่สิ่งที่ผมกลัวมากกว่าคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของครอบครัว


Andrew : ครอบครัวคุณถูกข่มขู่คุกคามด้วยหรือไม่

อริสมันต์ : ในช่วง 3 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ รัฐบาลได้ส่งคนมากดดันครอบครัวผมให้เปิดเผยที่ซ่อนตัวของผม พวกเขาถึงขั้นส่งคนมาถามลูกชายวัย 11 ขวบของผมถึงที่โรงเรียนเพื่อถามคำถามว่าผมอยู่ที่ไหน แต่พวกเขาก็ไม่ได้ข่มขู่จะใช้กำลังทางกายกับครอบครัวผมเลย เพราะที่บ้านมักจะมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก

ในขณะที่คนของรัฐบาลพยายามมาถามลูกชายผมที่โรงเรียน ทางฝ่ายปกครองของโรงเรียนก็ไม่อนุญาตให้พวกเขาเข้าพบ ลูกชายผมยังได้รับรางวัลความประพฤติดีเด่นจากโรงเรียนด้วย และในช่วงที่มีพิธีการ รัฐบาลก็ส่งคนของเขามาตะโกนด่าลูกผม โชคดีที่ลูกผมไม่ได้รู้สึกกระทบกระเทือนอะไรจากเรื่องนี้เลย

ผมเองโกรธมาก แม้จะรู้ว่าครอบครัวผมเข้มแข็งมากก็ตาม พวกเขาเข้าใจว่าทำไมผมถึงทำเรื่องแบบนี้และพวกเขารู้ว่าผมไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายหรือฆาตกร

Andrew : แล้วตัวคุณเองเจอข่มขู่จากรัฐบาล หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบ้างหรือไม่

อริสมันต์ : เห็นชัดว่ารัฐบาลพยายามจะกำจัดเราเพราะพวกเขาเชื่อว่าเสื้อแดงกำลังเริ่มติดอาวุธ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเราไม่ได้มีอาวุธเลย พวกเราแค่มีสมาชิกที่ลงทะเบียนไว้ 670,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งโดยพรรคพลังประชาชนเท่านั้นเอง นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลเป็นห่วงเนื่องจากพวกเขากลัวว่าเราจะเรียกร้องให้ประชาชนพวกนี้สู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราไม่ได้รุนแรง แต่รัฐบาลเองได้พิสูจน์แล้วว่าใช้ความรุนแรงจากการที่พวกเขาพยายามสังหารพวกเรา ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่พวกเขาพยายามจับกุมตัวผมที่โรงแรม SC Park โดยการโยนระเบิดแฟลซ (Stun Grenade) และยิงด้วยกระสุนจริง 33 นัด เข้าไปในห้องผม นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการจะฆ่าผมจริง ๆ ในช่วงเวลานั้นผมหนีมาได้สำเร็จ และพวกเขายังคงพยายามสังหารผมอีกสองสามครั้งด้วย ส่วนพันธมิตรฯ นั้น ไม่มีเหตุผลที่พวกเขาจะคุกคามผมเลย มีแค่รัฐบาลเท่านั้นแหละที่ต้องการให้ผมหายไป ส่วนดีเอสไอ (เทียบได้กับเอฟบีไอสำหรับประเทศไทย-Andrew) ก็ได้ส่งตัวหน่วยพิเศษมาลอบสังหารผม ผมเห็นพวกเขาในโรงแรมที่ผมเคยเข้าพัก

Andrew : คุณมีหลักฐานที่หนักแน่นอะไรไหมที่จะสนับสนุนเรื่องที่ว่าดีเอสไอพยายามสังหารคุณ

อริสมันต์ : ผมไม่มีหลักฐานที่หนักแน่น แต่ทนายผมจำสมาชิกของดีเอสไอได้ในโรงแรมที่ผมอยู่ตอนอยู่นอกประเทศ

Andrew : ช่วงเวลาที่เสื้อแดงยังคงชุมนุมอยู่ที่ราชประสงค์ คุณเคยปราศรัยขู่จะเผาเมือง คุณเสียใจในสิ่งที่พูดไปไหม

อริสมันต์ : เป้าหมายของการปราศรัยของผมทำไปเพื่อปรามไม่ให้ทหารโจมตีพวกเรา รวมถึงทำรัฐประหาร ถ้าหากมีรัฐประหารเกิดขึ้น ผมต้องการให้กองทัพรู้ว่าประชาชนอาจตอบโต้ด้วยเชื้อเพลิงกับกองกำลังติดอาวุธหนัก เป็นไปเพื่อบอกว่าพวกเขาจะไม่สามารถสังหารพวกเราได้ ผมไม่เสียใจที่เคยปราศรัยเช่นนั้น เพราะผมไม่ได้ยั่วยุให้คนเผาเมืองโดยไม่มีเหตุผล แต่ทำไปเพื่อเป็นการป้องกันตัวเพราะเสื้อแดงไม่มีอาวุธเลย

Andrew : แล้วการที่เผาห้างเซนทรัลเวิร์ลนั้นถือว่ามีความชอบธรรมหรือไม่

อริสมันต์ : เสื้อแดงไม่ได้เผาเซนทรัลเวิร์ล มันเป็นการกระทำของรัฐบาลเพื่อหาความชอบธรรมให้กับการยิงเสื้อแดง ที่ส่วนใหญ่ที่เกิดเพลิงลุกไหม้นั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลแล้วทั้งสิ้น ไม่มีเสื้อแดงอยู่ที่นั่นเลย ทหารเป็นคนเริ่มจุดไฟ

Andrew : คุณพอจะอธิบายเรื่อง "ชายชุดดำ" กับเราได้หรือไม่

อริสมันต์ : ผมไม่มีข้อมูลอะไรเลยเกี่ยวกับ "ชายชุดดำ" ผมไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครหรือมาจากไหน ผมเชื่อว่า จริง ๆ ก็บอกไม่ได้ชัดเจนนัก ว่าพวกเขาอาจเป็นทหารหรือตำรวจที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวกเรา ผมไม่คิดว่าทหารหรือตำรวจทุกนายจะยอมรับการกระทำของรัฐบาลที่เข้าจู่โจมประชาชนที่ไม่มีอาวุธได้ จนถึงตอนนี้รัฐบาลก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวชายชุดดำได้เลย จริง ๆ แล้วผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าวพกนี้เป็นใคร

Andrew : คุณคิดอย่างไรกับการเข้าร่วมของ "เสธ.แดง"

อริสมันต์ : เขาเป็นทหารที่เสียสละตัวเองให้กับความรักในประชาธิปไตย แล้วเขาก็เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของเสื้อแดงมาก เขาไม่มีเจตนาจะก่อความรุนแรงใด ๆ ต่อทหารหรือตำรวจเลย แต่ก็มีนายทหารระดับสูงบางคนที่ต้องการสร้างภาพให้ เสธ.แดง และเสื้อแดง เป็นผู้ก่อการร้าย ผมต้องย้ำอีกครั้งว่าเสื้อแดงไม่ชอบใช้ความรุนแรง

Andrew : แล้วคุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยและการเมืองไทยมีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงไหม

อริสมันต์ : ในทุกวันนี้รัฐบาลก็ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน ดังนั้น แน่นอนว่าสักวันหนึ่งประชาชนจะทนไม่ไหวและจะใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลบ้าง ผมเชื่อในทฤษฎีที่ว่าไม่มีที่ไหนที่จะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสันติวิธีแบบหมดจด มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้เลย มันไม่มีอยู่จริง ถ้าเราไม่มีอาวุธบ้างพวกเราก็จะแพ้เพราะเราตอบโต้ไม่ได้ จริง ๆ แล้วเสื้อแดงไม่ได้อยากทำร้ายใคร พวกเราแค่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่และแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยกระบวนการรัฐสภา พวกเราแค่ต้องการให้มีการเคารพเสียงโหวตของประชาชน

Andrew : คุณกำลังเสนอให้เสื้อแดงใช้แนวทางต่อสู้ด้วยอาวุธหรือเปล่า

อริสมันต์ : ผมอยากให้ตำรวจและทหารที่รักในประชาธิปไตยเข้าร่วมการต่อสู้กับพวกเรามากกว่า แม้ว่าพวกเราจะมีมวลชนเป็นเบื้องหลัง พวกเราก็ไม่จัดตั้งกลุ่มติดอาวุธเพื่อสู้กับทหาร พวกเราไม่เคยมีมาก่อน และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมี ในมุมมองของผมนะ จริงๆ มันจะดีมาก ในการมีกลุ่มติดอาวุธ แต่ผมก็มองไม่เห็นหนทางเพราะเราไม่มีเงินทุนจัดหาอาวุธและฝึกผู้คน ความหวังหลักๆ ของเราจึงเป็นการต่อสู้ร่วมกับทหารและตำรวจที่ฝ่าฝืนคำสั่ง

Andrew : คุณรู้จักผู้นำกองทัพระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดงบ้างหรือไม่

อริสมันต์ : ผมไม่รู้และไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ เลยบ่งชี้ว่ามีนายทหารระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดง มันยากมากที่จะหานายพลที่ยอมเสียสละตนเองให้กับประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามีอยู่ร้อยละ 60-70 ของนายทหารระดับธรรมดาที่อยากร่วมกับพวกเรา พวกเขาแค่รอให้มีนายพลผู้กล้าหาญมาสั่งการเขาเท่านั้นเอง
 

 

ที่มา
Interview with Thailand's most wanted - Arisman Pongruangrong, 09-12-2010, Andrew Spooner, Asian Correspondent

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์: สินจรัญเชิญแขก

Posted: 09 Dec 2010 10:49 AM PST

ปชป.ชนะฟาวล์อีกแล้ว แต่คราวนี้แม้จะมีลูกขลุกขลิก ภาพลวงตา แฟนบอลก็เห็นกันทั้งสนาม ยกเว้นกองเชียร์ทีมเจ้าบ้านที่แกล้งทำเป็นมองไม่เห็น

ปชป.ชนะคดีที่อัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค จากกรณีรับเงินบริจาคบริษัททีพีไอโพลีน 258 ล้านบาทเป็นนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัทเมสไซอะ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 3 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่านายอภิชาติ สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรค การที่ กกต.มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 เสียงให้ยุบพรรค จึงข้ามขั้นตอนของกฎหมายและไม่มีอำนาจ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องให้ยุบพรรคโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ฉะนั้น ตุลาการจึงไม่วินิจฉัยต่อว่า เงินบริจาค “เด็กอนุบาล” เป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่

ตุลาการเสียงข้างมาก 4 เสียง ได้แก่ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทจาร นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์

ส่วนตุลาการเสียงข้างน้อย 3 เสียงได้แก่ นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี

ท่านอุดมศักดิ์ นิติมนตรี รายเดียวกับที่ออกคำแถลงการณ์ยืนยันว่าท่านวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้าน ด้วยความสุจริตและเป็นกลางนั่นแหละครับ

ในคดีนั้น ท่านอยู่ในเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ที่ให้ยกคำร้อง โดยท่านนี่แหละ เป็นผู้ให้ความเห็นเรื่อง “นับวัน” อันเลื่องลือว่า ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว การยื่นคำร้องจึงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด

ฟังแล้วอย่างงว่าทำไมคดีนั้นท่านเป็นเสียงข้างมาก คดีนี้ท่านเป็นเสียงข้างน้อย ความจริงแล้วท่านไม่ได้กลับไปกลับมา ท่านวินิจฉัยตามหลักของท่าน เหมือนกันทั้งสองคดี แต่ปัญหามันไปอยู่ที่การนับคะแนนเสียงต่างหาก

คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันพุธ ทั้งสร้างเซอร์ไพรส์และให้ความกระจ่างหลายๆ อย่าง

อภิสิทธิ์บิดตะกูด อ้างว่าคำวินิจฉัยส่วนตนทำให้ประชาชนได้เห็น ตุลาการเสียงข้างมากชี้ว่า ปชป.ไม่ผิด ก็เมริงบิดประเด็นสำคัญกันนี่หว่า สื่อทั้งหลายถ้าตามไม่ทัน ก็แกล้งโง่ นำเสนอข่าวอยู่ 2 ประเด็นคือ หนึ่ง ชัช ชลวร กับบุญส่ง กุลบุปผา ให้ยุบพรรค สอง ตุลาการเสียงข้างมากเห็นว่า ปชป.ไม่ผิด (ไทยโพสต์สละหน้า 4 ให้ทั้งหน้าเพื่อเปรียบเทียบความเห็นประเด็นนี้)

ไม่มีใครนำเสนอประเด็นที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 ต่อ 2 ยกคำร้อง โดยเห็นว่ากระบวนการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจ และน่าต๊กกะใจ ว่าไหงสิเป็นจังซี้

ยังจำได้ไหมครับ วันที่ 29 พ.ย. ศาลอ่านคำวินิจฉัยยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ คดี 29 ล้าน โดยท่านให้เหตุผลว่า

 “....เป็นกรณีที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมาก ในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติแต่งตั้งนายอิศระ หลิมศิริวงษ์ เป็นประธานในครั้งแรก และถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่นอีกต่อไป

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก (4 ต่อ 2) ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีกต่อไป”

นี่ผมคัดมาจากคำวินิจฉัย (อย่างไม่เป็นทางการ) ที่อยู่ในเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นฉบับที่ท่านอ่านในศาล

แต่เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญก็เผยแพร่คำวินิจฉัย ฉบับทางการ ซึ่งให้เหตุผลในการยกคำร้องว่า

“ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก (4 ต่อ 2) ว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีกต่อไป โดยฝ่ายข้างมาก 1 ใน 4 เสียงให้เหตุผลว่า คดีนี้ถือว่าความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ให้ความเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว การยื่นคำร้องตามข้อกล่าวหานี้จึงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด

ส่วนฝ่ายข้างมาก 3 เสียงใน 4 เสียง ให้เหตุผลว่า ความยังไม่ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่ามีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคผู้ถูกร้อง และนายทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นว่ามีเหตุให้ต้องยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 93 วรรคสอง ทั้งนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ยังมิได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่อย่างใด สำหรับความเห็นของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 มิใช่การทำความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

อ้าว เฮ้ย! ไหงสิเป็นจังซี้ คนละเรื่องเดียวกันเลยครับ สรุปว่าเหตุผลที่อ้างเรื่อง 15 วันให้เถียงกันเป็นวรรคเป็นเวรนั่นน่ะ เป็นแค่ความเห็นของท่านอุดมศักดิ์คนเดียว ส่วนอีก 3 ท่านคือ ท่านจรัญ ท่านนุรักษ์ ท่านสุพจน์ เห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ได้มีความเห็น

ซึ่งทั้ง 3 ท่านก็ยืนความเห็นต่อมาในคดี 258 ล้าน โดยบวกท่านจรูญ อินทจาร เข้ามาอีกราย ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ได้มีความเห็น

ขณะที่ท่านอุดมศักดิ์ท่านก็ยืนยันความเห็นของท่านว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นแล้ว ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว เพียงแต่คดี 258 ล้านนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องระยะเวลาสิบห้าวันเข้ามาเกี่ยวข้อง ท่านจึงเห็นว่าการยื่นคำร้องชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับท่านชัชและท่านบุญส่ง

นี่ถ้าท่านจรูญยังถอนตัว ไม่กลับเข้ามาทำหน้าที่ ก็จะกลายเป็นคะแนนเสียง 3 ต่อ 3 กลายเป็นปัญหาโลกแตกว่าแล้วจะวินิจฉัยกันต่อไปอย่างไร

แต่ถ้าเอามุมมองนี้มองกลับไปในคดี 29 ล้าน เราจะเห็นว่ามีคะแนนเสียง 3 ต่อ 3 อยู่โดยที่ศาลไม่ได้สรุป นั่นคือประเด็นที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นแล้วหรือไม่ ท่านจรัญ ท่านนุรักษ์ ท่านสุพจน์ เห็นว่ายังไม่มีความเห็น ท่านอุดมศักดิ์ ท่านชัช ท่านบุญส่ง เห็นว่ามีความเห็นแล้ว แต่ ปชป.ลอดช่องแมวไปเพราะท่านอุดมศักดิ์ยกเรื่องสิบห้าวันขึ้นมาแต่ผู้เดียว

ถ้าเราลองลำดับการลงความเห็นใหม่ในคดี 29 ล้านนะครับ
นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นให้ยุบพรรคแล้วหรือไม่ 3 ต่อ 3 เสมอกัน
ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้วหรือไม่ 3 ต่อ 3 เสมอกันอีก
ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองในวันที่ 17 ธันวาคม 2552 หรือไม่ 5 ต่อ 1 ยังไม่ปรากฏ 

แต่ ปชป.รอดไปได้เพราะท่านกลับไปนับรวม 3 กับ 1 เป็นความเห็นว่ากระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่ให้เหตุผลต่างกันสิ้นเชิง และบางประเด็นก็สวนทางกันด้วย

นี่คือสิ่งที่คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ เขียนไว้ว่าเป็นการกำหนดวิธีลงมติที่น่ากังขา (และเป็นที่กังขามาตั้งแต่คดีทักษิณซุกหุ้น)

ที่น่ากังขายิ่งกว่านั้นคือ เหตุใดคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ กับคำวินิจฉัยที่เป็นทางการ จึงให้เหตุผลต่างกัน เห็นคาตาอยู่ในเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ จนผมต้องแหกเนตรขยี้เนตรดูมาตรฐานของท่านด้วยความไม่เชื่อสายตาตัวเอง

คำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ ที่ท่านอ่านให้ประชาชนทั้งประเทศฟัง ทำไมจึงไม่มีเหตุผลของตุลาการเสียงข้างครึ่ง (3 เสียง) ที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรค แต่ท่านกลับเอาเหตุผลของตุลาการเสียงข้างน้อย (1 ต่อ 5) มาเขียนในคำวินิจฉัยกลาง อ้างระยะเวลาสิบห้าวัน ให้ชาวบ้านฟังแล้วมึน โต้เถียงกันให้วุ่น

ถ้าท่านว่าไม่ประหลาด ผมก็คงวิปลาส

นี่หรือคือมาตรฐานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผลผูกพันทุกองค์กร คำวินิจฉัยที่อ่านให้ชาวบ้านฟัง กับคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการที่ออกมา 10 วันให้หลัง ไม่เหมือนกัน ให้เหตุผลต่างกัน มันเป็นไปได้ไง ในเมื่อการลงมติของศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการแต่ละท่านจะต้องเตรียมความเห็นของตนในแต่ละประเด็นมาแล้ว ไม่ใช่ลงมติไปก่อนแล้วค่อยทำความเห็นภายหลัง

ที่ถูก ท่านยังต้องทำคำวินิจฉัยส่วนตนมาให้เรียบร้อย และต้องเผยแพร่พร้อมคำวินิจฉัยกลางที่อ่านในวันนั้น อย่างมากก็ให้เวลา 1-2 วันเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิมพ์และตรวจทาน ไม่ใช่อ่านคำวินิจฉัยไปแล้วเป็นสิบวัน คำวินิจฉัยส่วนตนเพิ่งเสร็จ

แล้วก็ไม่เคยมีนะครับ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัย (อย่างไม่เป็นทางการ) ผมก็เพิ่งเคยเห็นคดีนี้ ที่ผ่านมา คำวินิจฉัยที่อ่านในวันนั้นแหละ คือคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ

นี่คือคำถามที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ตอบ นี่คือลูกขลุกขลิกที่ถูกบังตา ท่านจรัญ ท่านนุรักษ์ ท่านสุพจน์ ต้องตอบว่า ใครบ้างเอาลูกมาเป็นเลขาฯ –เอ๊ย ไม่ใช่ ต้องตอบว่า เหตุใดคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ ที่อ่านอย่างเป็นทางการ จึงไม่ระบุเหตุผลของพวกท่าน แต่กลับไปอ้างเหตุผลท่านอุดมศักดิ์

เพราะถ้าอ้างเหตุผลของพวกท่านที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องเถียงกันเป็นวรรคเป็นเวร เนื่องจากท่านคมสัน โพธิ์คง นักวิชาการ (ที่ “น้องปอย” พสิษฐ์ บอกให้ ปชป.หามาเยอะๆ) เคยอรรถาธิบายไว้แล้ว

คำถามต่อไปคือ ถ้าเหตุผลในการยกคำร้องของตุลาการเสียงข้างกึ่ง ไม่ใช่เรื่องระยะเวลาสิบห้าวัน แต่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่ลงความเห็น ก็แปลว่า คดี 29 ล้านฟ้องใหม่ได้ใช่หรือไม่ ไม่ใช่ “หมดอายุความ” อย่างที่เข้าใจกันตั้งแต่ต้น

เช่นเดียวกับคดีเงินบริจาค 258 ล้าน ก็ยังฟ้องใหม่ได้ ถ้ามีใครไล่ประธาน กกต.เปลี่ยนนายทะเบียนพรรคการเมือง ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองลงความเห็นให้ชัดเจน (อาจจะแถมไล่อัยการด้วย โทษฐานสั่งไม่ฟ้องลูกชนชั้นนำเพื่อชีวิต แอ๊ด คาราบาว ฉลองประกาศราชกิจจาฯ อัยการเป็นองค์กรอิสระ)

ตุลาการบางท่านอาจจะลงความเห็นในคำวินิจฉัยส่วนตนคดี 29 ล้านไปแล้ว ว่า ปชป.ไม่ผิด แต่ยังไม่มีผลผูกพัน ถ้าท่านถูกไล่ ตาย ลาออก หรือพ้นตำแหน่งไปด้วยอากัปกิริยาใดๆ ปชป.ก็คงยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี

อย่างน้อย ที่คนเสื้อแดงจะม็อบวันนี้ ผมก็ได้ยินเสียงจตุพรหัวร่อครึกครื้น “สินจรัญ” ช่วยเชิญแขก สร้างบรรยากาศให้ดีจริงๆ

 

                                                                    ใบตองแห้ง
                                                                10 ธันวาคม 53

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทสัมภาษณ์ “อริสมันต์” ในบล็อกต่างประเทศ

Posted: 09 Dec 2010 10:22 AM PST

9 ธ.ค. 2553 - เว็บไซต์ Asian Correspondent ในบล็อก Siam Voices ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง โดยผู้สัมภาษณ์คือ Andrew Spooner โดยตีพิมพ์บทสัมภาษณ์เป็นตอนแรก ในชื่อ "Interview with Thailand's most wanted - Arisman Pongruangrong" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

(หมายเหตุ: คำแปลนี้เป็นคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

000

หลังจากที่เขาหนีออกมาจากการชุมนุมย่านราชประสงค์ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ก็กลายเป็นหนึ่งในแกนนำของเสื้อแดงที่ยากจะจับได้ เขาเป็นคนเสื้อแดงที่ไม่กลัวจะเรียกร้องให้เสื้อแดงเผชิญหน้ากับกองกำลังของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา แล้วในตอนนี้เขาก็กลายเป็นผู้ที่ต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง

ในตอนนี้เขากำลังหลบหนีอยู่ในประเทศที่ไม่มีใครทราบ มีข่าวลือสะพัดว่าสำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ในตอนนี้ อริสมันต์เป็นศัตรูของรัฐอันดับสองระดับรองจากทักษิณ ชินวัตร เขาจึงเป็นคนที่ถูกตามล่าอย่างเห็นได้ชัด

ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์อริสมันต์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์ รวมถึงอนาคตของประเทศไทย

ในการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผมพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ความเห็นหรือการตัดสินลงไป ผมอยากให้ผู้อ่านได้สรุปความเอาเอง และให้ความเห็นด้วยตนเอง

จากการที่บทสัมภาษณ์นี้ยาวมาก ผมขอเผยแพร่โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค และมีแผนจะเผยแพร่เป็นภาษาไทยในอนาคต

 

Andrew : สภาพชีวิตส่วนตัวของคุณเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้

อริสมันต์ : ชีวิตโดยทั่วไปของผมสุขสบายดี มันเป็นเรื่องไม่สะดวกเท่าไหร่หากจะให้ผมไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ ตอนนี้เพราะว่าผมไม่ต้องการสร้างปัญหาใด ๆ ให้กับประเทศที่ผมอยู่ ผมยังทำกิจกรรมได้บางอย่างแต่มีข้อจำกัดมาก แล้วผมก็ต้องย้ายที่บ่อยมาก

 

Andrew : สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณเป็นอย่างไรบ้าง

อริสมันต์ : สุขภาพกายผมดีอยู่ ผมลดน้ำหนักไปได้ 5 กิโลฯ รู้สึกแข็งแรงขึ้นเพราะมีเวลาออกกำลังกายมาก แต่สุขภาพจิตก็ไม่ได้ดีเท่าเมื่อก่อน เพราะผมใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการอ่านประวัติศาสตร์การปฏิวัติจากทั่วโลก จากประเทศอย่าง ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, อินเดีย, กัมพูชา และลาว

 

Andrew : คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องการปฏิวัติเหล่านี้

อริสมันต์ : การปฏิวัติทุกแห่งสอนผมว่าถ้าหากจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยคุณต้องแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดให้ได้ก่อน ในประเทศไทยคือสถาบันอำมาตย์ และขอบอกชัดเจนเลยว่าไม่ได้หมายถึงระบบกษัตริย์ อำมาตย์ที่ว่านี้ได้ยึดกุมอำนาจและต้องถูกนำออกไปเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมา พวกเราต้องการรัฐธรรมนูญที่สะท้อนความต้องการของประชาชน และระบอบที่ผู้ทีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีของตนได้ สิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้มีใครมาเปลี่ยนตัวนายกฯ ถ้าหากนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งเช่นตอนนี้ นายกฯ ก็จะถูกเปลี่ยนได้ตลอดเวลาแม้ว่าประชาชนจะไม่ยอมรับก็ตาม

 

Andrew : คุณรู้สึกว่าชีวิตตกอยู่ภายใต้อันตราย จากการที่คุณตกเป็นเป้าของรัฐบาลไทยไหม

อริสมันต์ : เป็นเรื่องธรรมดามนุษย์ที่จะกลัวในเรื่องนี้ และผมเชื่อว่ารัฐบาลได้ส่งคนมาตามล่าตัวผมแล้ว ในจุดนี้ ถ้าหากผมจะถูกรัฐบาลไทยลอบสังหารผมก็คงทำอะไรกับมันได้น้อยมาก แต่ผมต้องการบอกทุกคนว่าไม่ควรจะมีคนตายอีก พวกเราต้องสู้ให้ถึงที่สุด และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมักจะมีการสูญเสียตามมาเสมอ ไม่มีเคยที่ไหนในโลกที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยโดยไม่มีกองกำลังคอยสู้กับพวกที่กดทับประชาธิปไตยไว้ ด้วยเหตุนี้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงต้องมีการรวมกองกำลังกับมวลชนเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นใน จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย ในทุกวันนี้ความกลัวไม่ได้ครอบงำชีวิตผม แม้ว่าความคิดว่าจะถูกฆ่านั้นน่ากลัว แต่สิ่งที่ผมกลัวมากกว่าคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของครอบครัว

 

Andrew : ครอบครัวคุณถูกข่มขู่คุกคามตัวหรือไม่

อริสมันต์ : ในช่วง 3 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ รัฐบาลได้ส่งคนมากดดันครอบครัวผมให้เปิดเผยที่ซ่อนตัวของผม พวกเขาถึงขั้นส่งคนมาถามลูกชายวัย 11 ขวบของผมถึงที่โรงเรียนเพื่อถามคำถามว่าผมอยู่ที่ไหน แต่พวกเขาก็ไม่ได้ข่มขู่จะใช้กำลังทางกายกับครอบครัวผมเลย เพราะที่บ้านมักจะมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก

ในขณะที่คนของรัฐบาลพยายามมาถามลูกชายผมที่โรงเรียน ทางฝ่ายปกครองของโรงเรียนก็ไม่อนุญาตให้พวกเขาเข้าพบ ลูกชายผมยังได้รับรางวัลความประพฤติดีเด่นจากโรงเรียนด้วย และในช่วงที่มีพิธีการ รัฐบาลก็ส่งคนของเขามาตะโกนด่าลูกผม โชคดีที่ลูกผมไม่ได้รู้สึกกระทบกระเทือนอะไรจากเรื่องนี้เลย

ผมเองโกรธมาก แม้จะรู้ว่าครอบครัวผมเข้มแข็งมากก็ตาม พวกเขาเข้าใจว่าทำไมผมถึงทำเรื่องแบบนี้และพวกเขารู้ว่าผมไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายหรือฆาตกร

 

Andrew : แล้วตัวคุณเองเจอข่มขู่จากรัฐบาล หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบ้างหรือไม่

อริสมันต์ : เห็นชัดว่ารัฐบาลพยายามจะกำจัดเราเพราะพวกเขาเชื่อว่าเสื้อแดงกำลังเริ่มติดอาวุธ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเราไม่ได้มีอาวุธเลย พวกเราแค่มีสมาชิกที่ลงทะเบียนไว้ 670,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งโดยพรรคพลังประชาชนเท่านั้นเอง นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลเป็นห่วงเนื่องจากพวกเขากลัวว่าเราจะเรียกร้องให้ประชาชนพวกนี้สู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราไม่ได้รุนแรง แต่รัฐบาลเองได้พิสูจน์แล้วว่าใช้ความรุนแรงจากการที่พวกเขาพยายามสังหารพวกเรา ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่พวกเขาพยายามจับกุมตัวผมที่โรงแรม SC Park โดยการโยนระเบิดแฟลซ (Stun Grenade) และยิงด้วยกระสุนจริง 33 นัด เข้าไปในห้องผม นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการจะฆ่าผมจริง ๆ ในช่วงเวลานั้นผมหนีมาได้สำเร็จ และพวกเขายังคงพยายามสังหารผมอีกสองสามครั้งด้วย ส่วนพันธมิตรฯ นั้น ไม่มีเหตุผลที่พวกเขาจะคุกคามผมเลย มีแค่รัฐบาลเท่านั้นแหละที่ต้องการให้ผมหายไป ส่วนดีเอสไอ (เทียบได้กับเอฟบีไอสำหรับประเทศไทย-Andrew) ก็ได้ส่งตัวหน่วยพิเศษมาลอบสังหารผม ผมเห็นพวกเขาในโรงแรมที่ผมเคยเข้าพัก

 

Andrew : คุณมีหลักฐานที่หนักแน่นอะไรไหมที่จะสนับสนุนเรื่องที่ว่าดีเอสไอพยายามสังหารคุณ

อริสมันต์ : ผมไม่มีหลักฐานที่หนักแน่น แต่ทนายผมจำสมาชิกของดีเอสไอได้ในโรงแรมที่ผมอยู่ตอนอยู่นอกประเทศ

 

Andrew : ช่วงเวลาที่เสื้อแดงยังคงชุมนุมอยู่ที่ราชประสงค์ คุณเคยปราศรับขู่จะเผาเมือง คุณเสียใจในสิ่งที่พูดไปไหม

อริสมันต์ : เป้าหมายของการปราศรัยของผมทำไปเพื่อปรามไม่ให้ทหารโจมตีพวกเรา รวมถึงทำรัฐประหาร ถ้าหากมีรัฐประหารเกิดขึ้น ผมต้องการให้กองทัพรู้ว่าประชาชนอาจตอบโต้ด้วยเชื้อเพลิงกับกองกำลังติดอาวุธหนัก เป็นไปเพื่อบอกว่าพวกเขาจะไม่สามารถสังหารพวกเราได้ ผมไม่เสียใจที่เคยปราศรัยเช่นนั้น เพราะผมไม่ได้ยั่วยุให้คนเผาเมืองโดยไม่มีเหตุผล แต่ทำไปเพื่อเป็นการป้องกันตัวเพราะเสื้อแดงไม่มีอาวุธเลย

 

Andrew : แล้วการที่เผาห้างเซนทรัลเวิร์ลนั้นถือว่ามีความชอบธรรมหรือไม่

อริสมันต์ : เสื้อแดงไม่ได้เผาเซนทรัลเวิร์ล มันเป็นการกระทำของรัฐบาลเพื่อหาความชอบธรรมให้กับการยิงเสื้อแดง ที่ส่วนใหญ่ที่เกิดเพลิงลุกไหม้นั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลแล้วทั้งสิ้น ไม่มีเสื้อแดงอยู่ที่นั่นเลย ทหารเป็นคนเริ่มจุดไฟ

 

Andrew : คุณพอจะอธิบายเรื่อง "เสื้อดำ" กับเราได้หรือไม่

อริสมันต์ : ผมไม่มีข้อมูลอะไรเลยเกี่ยวกับ "เสื้อดำ" ผมไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครหรือมาจากไหน ผมเชื่อว่า จริง ๆ ก็บอกไม่ได้ชัดเจนนัก ว่าพวกเขาอาจเป็นทหารหรือตำรวจที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวกเรา ผมไม่คิดว่าทหารหรือตำรวจทุกนายจะยอมรับการกระทำของรัฐบาลที่เข้าจู่โจมประชาชนที่ไม่มีอาวุธได้ จนถึงตอนนี้รัฐบาลก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวเสื้อดำได้เลย จริง ๆ แล้วผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าวพกนี้เป็นใคร

 

Andrew : คุณคิดอย่างไรกับการเข้าร่วมของ "เสธ.แดง"

อริสมันต์ : เขาเป็นทหารที่เสียสละตัวเองให้กับความรักในประชาธิปไตย แล้วเขาก็เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของเสื้อแดงมาก เขาไม่มีเจตนาจะก่อความรุนแรงใด ๆ ต่อทหารหรือตำรวจเลย แต่ก็มีนายทหารระดับสูงบางคนที่ต้องการสร้างภาพให้ เสธ.แดง และเสื้อแดง เป็นผู้ก่อการร้าย ผมต้องย้ำอีกครั้งว่าเสื้อแดงไม่ชอบใช้ความรุนแรง

 

Andrew : แล้วคุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยและการเมืองไทยมีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงไหม

อริสมันต์ : ในทุกวันนี้รัฐบาลก็ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน ดังนั้น แน่นอนว่าสักวันหนึ่งประชาชนจะทนไม่ไหวและจะใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลบ้าง ผมเชื่อในทฤษฎีที่ว่าไม่มีที่ไหนที่จะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสันติวิธีแบบหมดจด มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้เลย มันไม่มีอยู่จริง ถ้าเราไม่มีอาวุธบ้างพวกเราก็จะแพ้เพราะเราตอบโต้ไม่ได้ จริง ๆ แล้วเสื้อแดงไม่ได้อยากทำร้ายใคร พวกเราแค่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่และแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยกระบวนการรัฐสภา พวกเราแค่ต้องการให้มีการเคารพเสียงโหวตของประชาชน

 

Andrew : คุณกำลังเสนอให้เสื้อแดงใช้แนวทางต่อสู้ด้วยอาวุธหรือเปล่า

อริสมันต์ : ผมอยากให้ตำรวจและทหารที่รักในประชาธิปไตยเข้าร่วมการต่อสู้กับพวกเรามากกว่า แม้ว่าพวกเราจะมีมวลชนเป็นเบื้องหลัง พวกเราก็ไม่จัดตั้งกลุ่มติดอาวุธเพื่อสู้กับทหาร พวกเราไม่เคยมีมาก่อน และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมี ในมุมมองของผมนะ จริงๆ มันจะดีมาก ในการมีกลุ่มติดอาวุธ แต่ผมก็มองไม่เห็นหนทางเพราะเราไม่มีเงินทุนจัดหาอาวุธและฝึกผู้คน ความหวังหลักๆ ของเราจึงเป็นการต่อสู้ร่วมกับทหารและตำรวจที่ฝ่าฝืนคำสั่ง

 

Andrew : คุณรู้จักผู้นำกองทัพระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดงบ้างหรือไม่

อริสมันต์ : ผมไม่รู้และไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ เลยบ่งชี้ว่ามีนายทหารระดับสูงที่มีจิตใจให้กับเสื้อแดง มันยากมากที่จะหานายพลที่ยอมเสียสละตนเองให้กับประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามีอยู่ร้อยละ 60-70 ของนายทหารระดับธรรมดาที่อยากร่วมกับพวกเรา พวกเขาแค่รอให้มีนายพลผู้กล้าหาญมาสั่งการเขาเท่านั้นเอง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์ : ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ‘EIAท่าเรือตีค่าทะเลปากบาราเสื่อมโทรม’

Posted: 09 Dec 2010 10:00 AM PST

 

ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันจังหวัดสตูล เสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีโอกาสได้พบเห็นความมั่งคั่งของทะเลสตูล ในมุมที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

ทว่า ความมั่งคั่งเหล่านี้กำลังถูกคุกคามจากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ
ทัศนะของศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ต่อโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่มองผ่านรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอของโครงการนี้ จึงน่าสนใจยิ่ง


..........................................................


ทะเลสตูลมีทรัพยากรอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไร

ถ้าเรามองจากแผนที่ จะเห็นว่าใต้จังหวัดภูเก็ต หรืออ่าวพังงาลงมาคือ ช่องแคบมะละกา มีเกาะสุมาตราอยู่ทางซ้าย
สภาพแวดล้อมตั้งแต่อ่าวพังงาจนถึงจังหวัดสตูล มีการสะสมของธาตุอาหารที่มาจากทางบกและทางทะเล จนกลายเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าธาตุอาหารสูง มีแหล่งหญ้าทะเล มีชายฝั่งที่มีหาดทราย มีเกาะต่างๆ มีแนวปะการัง

สตูลอยู่ในช่องแคบมะละกา มีทั้งแหล่งหญ้าทะเล แหล่งปะการังอุดมสมบูรณ์ รวมถึงแนวปะการังอันสวยงาม ตรงนี้เป็นบริเวณที่ผสมผสานกันของความอุดมสมบูรณ์ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก

มองจากแผนที่โลกจะเห็นว่า ด้านซ้ายเป็นคาบสมุทรอินเดีย ด้านขวาเป็นคาบสมุทรแปซิฟิก สตูลอยู่ตรงรอยต่อช่องแคบมะละกา เราเห็นความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่เราพบ มีเฉพาะในมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น เราจึงเตรียมเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ทรัพยากรทางธรรมชาติในทะเลสตูลที่อ่อนไหวที่สุด
ปะการังในทะเลทั้งหมด รวมทั้งหญ้าทะเล เรากังวลว่าถ้าสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะควบคุมมลพิษได้หรือเปล่า เพราะถ้าควบคุมไม่ได้ มันจะสะสมตามชายฝั่งบริเวณเดียวกับแหล่งสะสมธาตุอาหาร

บริเวณที่ตั้งของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา มีภูเขาเกาะแก่งล้อมรอบ ต่างกับทะเลที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่นั่นถ้าน้ำมันรั่วหรือมีมลพิษไหลลงทะเล มันจะถูกคลื่นพัดพาไปหมด เพราะเป็นทะเลเปิด ด้านหลังไม่มีภูเขา

บริเวณชายฝั่งแถบอันดามันตอนล่าง ถ้าเกิดมลพิษมันจะไม่ไปไหน มลพิษ ขยะทุกอย่างจะถูกพัดมาแถวนี้ ถ้ามีอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมันจะถูกสะสมอยู่แถวนี้หมด เพราะด้านหลังเป็นภูเขา ลมพัดพามลพิษไปปะทะภูเขาออกไปไหนไม่ได้ มันจะตกตะกอนหรือลอยอยู่บริเวณนี้ มันจึงเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อมลภาวะต่างๆ ประเด็นนี้ไม่ค่อยมีคนพูดกัน ทั้งๆ ที่นักวิชาการทางทะเลรู้ดี

ทำไมถึงมีลักษณะอย่างนี้

เพราะมันเป็นช่องแคบคือ ช่องแคบมะละกา ที่มีเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซียบังอยู่ มีกระแสลมพัดเข้ามาในช่องแคบ บางฤดูมันก็พัดออกไป น้ำทะเลในช่องแคบมะละกา จึงขึ้นลงตามฤดูกาล กระแสน้ำหลักของช่องแคบมะละกาจะพัดขึ้นบน ยกเว้นบริเวณอ่าวริมชายฝั่ง จะมีกระแสน้ำวนอยู่ในนั้น ธาตุอาหารก็สะสมบริเวณชายฝั่ง

ถ้าเรามองตั้งแต่อ่าวพังงาลงมา จะเห็นป่าชายเลนและหาดโคลนตลอดแนว ถ้ามองตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไป จะเป็นหาดทราย เพราะบริเวณนั้นกระแสน้ำในทะเลพัดลง เมื่อมาเจอกับกระแสน้ำที่พัดขึ้นมาจากช่องแคบมะละกา ทั้งสองกระแสน้ำที่มาชนกัน จะวนออกทะเลนอก ถ้ามีมลพิษไหลลงทะเลบริเวณนี้ จะถูกกระแสน้ำพัดออกทะเลนอกหมด ไม่สะสมบริเวณชายฝั่ง

ส่วนบริเวณตั้งแต่อ่าวพังงาลงมา มลพิษจะไม่ถูกคลื่นพัดพาไปไหน มันจะสะสมอยู่บริเวณเดียวกับแหล่งสะสมของธาตุอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบหรือไปสะสมอยู่ในตัวสัตว์ที่มากินธาตุอาหารบริเวณนี้ด้วย

ชายหาดหรือชายฝั่งที่มีธาตุอาหารสังเกตอย่างไร

เป็นชายหาดดำไม่สกปรก เป็นหาดโคลนออกสีน้ำตาล ไม่ใช่ดำแบบน้ำเน่า ธาตุอาหาร ได้แก่พวกสารอินทรีย์ เป็นซากพืชซากสัตว์ แบคทีเรียทะเล ไส้เดือนทะเล สัตว์หน้าดินจะกินธาตุอาพวกนี้ แล้วพวกมันก็เป็นอาหารของสัตว์ทะเลต่อไป

ในทะเลสตูลสามารถแบ่งจุดได้ไหมว่า มีทรัพยากรอะไรอยู่ตรงไหน

หมู่เกาะตะรุเตากับหมู่เกาะลังกาวีของประเทศมาเลเซีย มีแนวปะการังที่หลากหลายและดีที่สุดในทะเลอันดามันตอนล่าง อาจจะดีกว่าแหล่งปะการังที่หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา แต่ไม่ค่อยมีคนมาเที่ยว จึงไม่ดัง

บริเวณชายฝั่งบนเกาะตะรุเตา ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ หลักๆ เป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน เป็นแหล่งอนุบาลปลาเก๋า เกาะตะรุเตาช่วงเดือนมีนาคม จะมีประมงพื้นบ้านออกหาปลาเก๋า และยังเป็นแหล่งประมงปูม้า ปลาหมึก

ชายฝั่งทะเลตรงนี้ มีระบบนิเวศน์ครบทุกรูปแบบ ไล่ตั้งแต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราและหมู่เกาะตะรุเตา มีครบทุกระบบนิเวศน์ทางทะเลคือ ระบบนิเวศน์ที่มีป่าชายเลน หาดหิน หาดทราย หาดโคลน แหล่งปะการัง หญ้าทะเล ทุกอย่างสมบูรณ์

เป็นระบบนิเวศน์ทางทะเลที่นักวิชาการทางทะเลถือว่าสำคัญ มีไม่กี่ที่แหล่งมีระบบนิเวศน์ครบทุกอย่างแบบนี้ สตูลมีทุกอย่างของระบบนิเวศน์ทางทะเล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำทางทะเล สัตว์น้ำวัยอ่อน

ถ้าก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เส้นทางเดินเรือต้องผ่านบริเวณนี้

ใช่ ต้องผ่านเส้นทางนี้

จากการเก็บข้อมูล เห็นความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสตูลอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงหลักๆ มาจากการท่องเที่ยว จากอวนลากและอวนปลากะตัก ที่เกาะหลีเป๊ะไม่มีการควบคุมน้ำทิ้ง จับปลามากเกินไป จับสัตว์น้ำใกล้ฝั่งเกินไป จับปลาสวยงามไปขาย ตะกอนหน้าดินไหลลงทะเล เป็นสาเหตุหลักทำให้ปะการังตาย เพราะไหลลงไปถมปะการัง

ขยะสารพัดอย่างในทะเล ตั้งเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ถูกพัดเข้าฝั่งหมด ตั้งแต่อ่าวพังงา เกาะพีพี เกาะภูเก็ต ไล่ลงมาถึงสตูล ทุกอย่างที่อยู่ในทะเล จะถูกพัดเข้าฝั่งหมด

เพราะฉะนั้น ทำใจไว้ได้เลยว่า ถ้ามีมลพิษอะไรลงทะเล จะถูกพัดเข้าฝั่ง ถ้ามีน้ำมันรั่วจากเรือกลางทะเล มันก็จะถูกพัดเข้าฝั่ง

ในระบบนิเวศใต้ทะเลสตูล สัตว์หน้าดิน แพลงก์ตอนมีสภาพอย่างไร

ให้นึกถึงพื้นที่ที่มีโคลนเยอะๆ พวกสัตว์หน้าดินจะกินสารอินทรีย์ที่อยู่หน้าดิน แล้วเจริญเติบโต กุ้ง ปู ลูกปลาก็มากินสัตว์หน้าดินพวกนี้อีกที สัตว์หน้าดินคือฐานห่วงโซ่อาหารที่สำคัญ เป็นตัวแปลงสารอินทรีย์ต่างๆ ให้กลายมาเป็นเนื้อให้สัตว์อื่นมากิน

ส่วนแพลงก์ตอนในทางวิทยาศาสตร์แปลผลค่อนข้างจะยาก เพราะมันล่องลอยในน้ำ

จำนวนสัตว์หน้าดิน ที่แสดงตามตารางผลการสำรวจนิเวศวิทยาทางน้ำ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ(EIA) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราและถมทะเล ระยะที่ 1 มีน้อยกว่าความเป็นจริง จำนวนชนิดที่พบในแต่ละสถานีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก

อาจมีการวางแผนในการศึกษาไม่ดีพอ ทำให้พบน้อยกว่าความเป็นจริง แม้จะเป็นการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างฤดูกาล ก็ยังพบตัวเลขแสดงจำนวนชนิดน้อยด้วยกันทั้งคู่ เช่น พบเพียง 4 ชนิดหรือ 7 ชนิด ต่อตารางเมตร ซึ่งผมว่าน้อยกว่าความเป็นจริง ความชุกชุม หมายถึงจำนวนตัวที่พบต่อตารางเมตรก็น้อยกว่าความเป็นจริงด้วย

ถ้ามีการออกแบบการศึกษาให้ดี หรือเหมาะสม จะไม่ทำให้ได้ผลการศึกษาจำนวนสัตว์หน้าดินที่น้อยกว่าความเป็นจริง เช่น ไส้เดือนทะเล หรือสัตว์จำพวกไส้เดือนทะเล สัตว์จำพวกกุ้ง ปู มันเยอะกว่านี้ ถ้าดูจากสภาพแวดล้อมแถวนั้น ผมเคยคิดจะชวนชาวบ้านไปเก็บตัวอย่างมาดู มาเทียบกับผลการศึกษานี้

ความหลากหลายก็น้อย ตัวเลขแสดงค่าดัชนีความหลากพันธุ์ควรจะอยู่ที่ 2 กว่าๆ ถึง 3 ตัวนี้มีสูตรคำนวณอยู่ ตัวเลขอย่างนี้ทำให้คนมองภาพว่า ทะเลที่นี่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ดูแล้วขัดแย้งกับที่ชาวบ้านจับสัตว์น้ำแถวนั้นได้เยอะ ยิ่งเป็นบริเวณปากแม่น้ำด้วยแล้ว ตัวเลขมันต้องเยอะกว่านี้

ตัวเลขออกมาอย่างนี้ ถ้าคนอื่นมาดูคิดว่า โอ้โห ที่นี่ความหลากหลายต่ำมาก เป็นพื้นที่ที่ไม่มีคุณค่าอะไรเลย ค่าดัชนีมันต้อง 2.5 ขึ้นไป ที่ผ่านมามีการเก็บข้อมูลได้ค่าดัชนีความหลากพันธุ์ที่ 2 ขึ้นไปทั้งนั้น แต่ค่าดัชนีที่แสดงในตารางต่ำเกินไป บางสถานีเก็บข้อมูลได้ค่าดัชนีความหลากพันธุ์แค่ 1.39 ต่ำมาก

ในความเห็นของผม ผลการศึกษาในเรื่องสัตว์หน้าดิน ได้ตัวเลขที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ข้อมูลออกมาแบบนี้ คนจะแปลผลว่า ทะเลที่นี่ไม่สมบูรณ์และไม่มีคุณค่า

สัตว์หน้าดินบริเวณนี้มีเยอะ หลายพันธุ์ชนิด มันควรจะได้ตัวเลขเยอะกว่านี้ ดูยังไงก็น้อยเกินไป เคยมีนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงไปเก็บข้อมูลที่เกาะลิดี ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เมื่อหลายปีมาแล้ว มันเยอะกว่านี้

การเก็บข้อมูล ต้องเลือกพื้นที่เก็บ เก็บมาแล้ว จะล้างดินอย่างไร เพื่อให้สัตว์อยู่ครบ ได้มาก็ต้องเอากล้องมาส่องข้างใต้อีก เพื่อดูว่ามีสัตว์หน้าดินเหลืออยู่ในตะแกรงร่อนหรือไม่ ต้องทำในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ที่ตักดินใต้น้ำประมาณ 0.1 ตารางเมตร ตักดินขึ้นมาแล้วนำมาใช้ตะแกรงร่อน

โครงการที่อาจารย์กำลังศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดสตูลคือ โครงการอะไร

เป็นโครงการจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เราศึกษาร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อหาว่า ทะเลอันดามันในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มีจุดเด่นอะไรบ้างที่พอจะนำเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ที่จริงแล้วในยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ เรามองว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด มีคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ประโยชน์ได้ อิงอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เรามองทะเลอันดามันของไทยน่าจะเป็นแหล่งอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าจะเป็นมรดกโลกได้

เรามองการพัฒนาที่สามารถอนุรักษ์ไปพร้อมกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้ ถ้าทรัพยากรสมบูรณ์ การใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้เช่นเดียวกับชาวประมงพื้นบ้าน ถือเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน

เรามองว่า กิจกรรมใดที่จะสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรทางชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเรื่องอันตราย เราอยากพัฒนาให้เป็นไปตามที่เราและชาวบ้านอยากเห็น

ระยะเวลาโครงการ

ผมใช้เวลาทั้งหมด ๓ ปี ขณะนี้อยู่ในขั้นการเขียนรายงานเสนอกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แต่ยังมีกระบวนการอีกเยอะกว่าจะเสนอเป็นพื้นที่มรดกโลกได้ เป็นการศึกษาในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลทั้งหมด ๑๘ แห่ง ในฝั่งอันดามัน มีทีมงานทั้งหมด ๓๐ คน
 

 

 







........................................

 

หมายเหตุ1ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราและถมทะเล ระยะที่ 1 บริเวณคลองปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล (รายงานฉบับสมบูรณ์) ในภาคผนวก ญ เรื่องผลการสำรวจทางนิเวศวิทยาทางน้ำ ระบุว่ามีการสำรวจนิเวศวิทยาทางน้ำ 3 ครั้งในพื้นที่ปากบารา โดยมีผลสรุปดังในตาราง

 

ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2546

 

สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

ความชุกชุมต่อตารางเมตร(ตัว)

50

420

90

 

 

จำนวนชนิด

3

12

5

6

5

ค่าดัชนีความหลากพันธุ์

0.57

2.35

1.56

1.57

0.87

 

ครั้งที่ 2 มีนาคม 2547

 

สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

ความชุกชุมต่อตารางเมตร(ตัว)

60

225

135

210

390

จำนวนชนิด

4

10

7

8

7

ค่าดัชนีความหลากพันธุ์

1.39

2.18

1.89

1.91

1.13

 

ครั้งที่ 3 พฤษภาคมและกรกฎาคม 2549

พฤษภาคม 2549

 

สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

สถานีที่ 5

ความชุกชุมต่อตารางเมตร(ตัว)

44

66

330

176

44

จำนวนชนิด

1

2

1

8

2

สถานีที่ 1 บริเวณใกล้เคียงปากคลองปากบารา

สถานีที่ 2 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเขาใหญ่

สถานีที่ 3 ทิศตะวันออกของเกาะเขาใหญ่

สถานีที่ 4 ทิศใต้ของเกาะเขาใหญ่

สถานีที่ 5 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเขาใหญ่

กรกฎาคม 2549

 

สถานีที่ 6

สถานีที่ 7

ความชุกชุมต่อตารางเมตร(ตัว)

330

220

จำนวนชนิด

7

5

            สถานีที่ 6 บริเวณพื้นที่ทิ้งตะกอนของโครงการในระยะดำเนินการ ห่างจากท่าเรือน้ำลึก 7.5 กิโลเมตร

            สถานีที่ 7 บริเวณพื้นที่ทิ้งตะกอนของโครงการในระยะก่อสร้าง ห่างจากท่าเรือน้ำลึก 30 กิโลเมตร

 

 

 

หมายเหตุ2อีไอเอฉบับนี้ จัดทำโดย

 

บริษัท เซ้าท์อี๊สท์เอเชียเทคโนโลยี จำกัด หรือ ซีเท็ค(SEATEC)

281 ซอยพานิชอนันต์ สุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ 0 2713-3888 โทรสาร 0 2713- 3889

 

บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด

151 อาคารทีม ถนนนวลจันทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 0 25099000 โทรสาร 0 2509-9000

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านรือเสาะบุกอำเภอ จี้เร่งจับคนร้ายถล่มนายก อบต.อิหม่ามดีเด่น

Posted: 09 Dec 2010 09:11 AM PST

 

เมื่อเวลา 11.40 น.วันที่ 9 ธันวาคม 2553 ชาวบ้านปูโปร์ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ประมาณ 100 คน พร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ ได้รวมตัวที่หน้าศูนย์ราชการอำเภอรือเสาะ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายจำลอง ไกรดิษฐ์ นายอำเภอรือเสาะ ให้เร่งรัดหาตัวคนร้านที่ยิงใส่รถกระบะ ที่มีนายยามารูดิง โล๊ะมะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)สามัคคี นั่งมาในรถทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

กลุ่มชาวบ้านประกอบด้วย ญาติผู้เสียชีวิตและชาวบ้านปูโปร์ ยังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องไปยัง พันโทจักรกฤษณ์ ศรีนนท์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสที่ 30 (ฉก.30) ด้วย

หนังสือร้องเรียน ระบุว่า ขอประณามผู้ที่ลงมือก่อเหตุร้ายอย่างโหดเหี้ยมในครั้งนี้ และขอวิงวอนให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัดหาตัวผู้กระทำผิดโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นข่าวลือที่สร้างภาพลบแก่เจ้าหน้าที่อย่างแก้ไม่ออก และเพื่อเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในการนำมาซึ่งความสงบในพื้นที่โดยเร็ว

หนังสือดังกล่าว ยังระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10.00 น. ผู้เสียชีวิต ประกอบด้วยนายยามารูดิง นายสุกรี ดาอี โต๊ะอีหม่าม หมู่ที่ 4 ตำบลสามัคคี ซึ่งเป็นโต๊ะอิหม่ามดีเด่น และนายแซอุเซ็ง โละมุ สมาชิกสภา อบต. จากหมู่ที่ 3 ตำบลสามัคคี เหตุเกิดหลังจาก ทั้ง 3 คน กลับจากร่วมรับประทานน้ำชาที่ ฉก.30 ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดสวนธรรม ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จุดเกิดเหตุ อยู่ตรงพื้นที่รอยต่อบ้านปูโปร์ หมู่ที่ 1 ตำบลสามัคคี กับบ้านกาโดะ หมู่ที่ 4 ตำบลรือเสาะออก

“เนื่องจากผู้ตายทั้งสามเป็นผู้นำชุมชนที่ชาวบ้านรักใคร่ ชาวบ้านจึงขอวิงวอนให้เจ้าหน้าที่รัฐช่วยเร่งสืบหาคนร้ายให้เร็วที่สุด” หนังสือดังกล่าว ระบุ

หนังสือดังกล่าว ยังระบุด้วยว่า เมื่อคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ชาวบ้านปูโปร์ได้ยินเสียงดังคล้ายเสียงปืน M79 จำนวน 10 กว่านัด สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้านอย่างมาก จากนั้นตอนเช้าวันนี้ ก่อนชาวบ้านเดินทางมายื่นหนังสือ มีรถเจ้าหน้าที่ทหาร พร้อมรถเจ้าหน้าฝ่ายปกครองประมาณ 10 คัน เข้ามาในหมู่บ้านเพื่อควบคุมไม่ให้ชาวบ้านรวมตัวกันและออกมาเคลื่อนไหว

หลังจากยื่นหนังสือแล้ว ผู้สื่อข่าวได้ขอสัมภาษณ์นายจำลอง ปรากฏว่านายจำลอง ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ เช่นเดียวกับพันโทจักรกฤษณ์ ที่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์เช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า มาสังเกตุการณ์เท่านั้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชงยกเลิกฉุกเฉิน 4 จังหวัด-ยุบ ศอฉ.ใช้ พ.ร.บ.มั่นคง แทน

Posted: 09 Dec 2010 07:44 AM PST

ศอฉ.มีมติยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ยังใช้อยู่ใน 4 จังหวัดสุดท้าย รวมกรุงเทพฯ เตรียมยุบศอฉ. แต่ให้สภาความมั่นคงชงแผนรองรับสถานการณ์ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง

 
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีมติยกเลิกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เหลืออีก 4 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ หลังประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 โดยเตรียมเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า
 
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงภายหลังการประชุม ศอฉ. ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะ ผอ.ศอฉ.เป็นประธานการประชุม ที่กองบัญชาการกองทัพบก เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมว่า จากการติดตามสถานการณ์โดยรวมของ ศอฉ.พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์โดยรวมมีทิศทางที่คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทาง ศอฉ.จึงมีมตินำเสนอรัฐบาลว่าควรจะมีการยกเลิก  พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่เหลือใน 4 จังหวัด ส่วนจะมีความเห็นอย่างไร ยกเลิกเมื่อไหร่นั้น เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
 
พ.อ.สรรเสริญกล่าวต่อว่า หลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็จะมีแผนรักษาความสงบเรียบร้อยของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มารองรับในเรื่องดูแลความสงบ หากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ประชาชนรู้สึกสบายใจว่าสถานการณ์และทิศทางของบ้านเมืองดีขึ้น นอกจากนั้นยังได้มีมติให้ทางเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอแผนต่อ ครม.สัปดาห์หน้า รวมถึงห้วงเวลาในการยกเลิกและแผนรองรับสถานการณ์ ภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงเพื่อรักษาความปลอดภัย ที่รองรับอยู่ในขั้นตอนปกติ เป็นการติดตามสถานการณ์และอาจมีการตั้งคณะกรรมการมาติดตามสถานการณ์ ทั้งนี้ ทาง ศอฉ.จะปิดตัวลงหากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

"หากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน หมวดที่ 1 โดยมีแผนอำนวยการรักษาความสงบ ตามมาตรา 7 (2) คือการนำกฎหมายปกติมาบังคับใช้ เพียงแต่จะติดตามสถานการณ์หรือบูรณาการ หากการชุมนุมยกระดับสู่ความรุนแรง สามารถนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงในหมวดที่ 2 มาบังคับใช้ได้ คือการเสนอเรื่องต่อ ครม.เพื่อประกาศพื้นที่ที่เห็นว่าสถานการณ์มีความรุนแรง เป็นพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง และกำหนดห้วงเวลาที่แน่นอน เจ้าหน้าที่ทหาร เทศกิจ หรือส่วนอื่นๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงจะถูกบรรจุ เป็นเจ้าพนักงาน"
 
เมื่อถามว่า จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามสถานการณ์ หลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า น่าจะเป็นในลักษณะนั้นหาก ศอฉ.ปิดตัวลง คงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาให้สอดคล้องกับการประสานงาน จุดประสงค์หลักคือการอำนวยความสะดวกให้เกิดความสงบเรียบร้อย แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะใช้ชื่ออะไร
 
 
ที่มา: มติชนออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กท.วัฒนธรรมเบรกหัวทิ่ม บอกแล้วว่าอย่าฉาย Insects in the Backyard!

Posted: 09 Dec 2010 07:15 AM PST

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมสั่งเบรก ย้ำห้ามฉาย Insects in the Backyard ในงานเสวนาวิชาการกฎหมายภาพยนตร์กับรัฐธรรมนูญ ด้านผู้จัดงานปรับแผน เตรียมจัดฉายหนังสะท้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยแทน

สืบเนื่องจากกิจกรรมที่มูลนิธิหนังไทย โครงการสถาบันหนังไทยของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย เครือข่ายคนดูหนังแห่งประเทศไทย บริษัทป็อบ พิกเจอร์ และนิตยสารไบโอสโคป จะจัดเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์กับรัฐธรรมนูญไทย ในวันศุกร์ที่ 10 ธ.ค. นี้ เวลา 12.30 - 17.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ โดยในงานนี้จะฉายภาพยนตร์เรื่อง Insect in the bakyard ด้วยนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ก่อนการจัดงานหนึ่งวัน กรมส่งเสริมภาพยนตร์ส่งหนังสือแจ้งมาทางผู้จัดงานว่า ห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะเรื่อง Insects in the Backyard เป็นภาพยนตร์ที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ตัดสินแล้วว่า มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยมีคำสั่งห้ามฉายไปเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 53 ตามมาตรา 29 ของพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์

 

ตัวอย่างภาพยนตร์ Insects in the Backyard

นางวิไล วิทยานารถไพศาล รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ตอบจดหมายที่ทางคณะผู้จัดงานเชิญให้ส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า การนำภาพยนตร์ที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฉาย ไปฉายในงานเสวนาวิชาการดังกล่าว เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ภาพยนตร์ที่จะฉายในราชอาณาจักรทุกเรื่อง จะต้องผ่านคณะกรรมการฯ เสียก่อน

นายสัณห์ชัย โชติรสเศรณี จากมูลนิธิหนังไทยกล่าวว่า หลังได้รับจดหมายจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คณะผู้จัดงานจึงตัดสินใจว่า จะนำภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ มาฉายแทน ซึ่งเป็นภาพยนตร์หาดูยากที่ล้วนมีนัยยะสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย หนึ่งในนั้นเป็นสารคดีงานแห่รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2476 และภาพยนตร์อื่นๆ ที่คณะทำงานยังขอปิดเป็นความลับ

นอกจากนี้ คณะผู้จัดงานยังไ้ด้เชิญชวนให้ผู้ที่จะเข้าร่วมงานแต่งชุดดำเพื่อไว้อาลัยให้กับภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyardด้วย

ทั้งนี้ ในท้ายจดหมายดังกล่าว กรมส่งเสริมภาพยนตร์ตอบผู้จัดงานว่า ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานครั้งนี้ได้ อีกทั้งยังแสดงความเห็นในจดหมายฉบับดังกล่าวด้วยว่า หากผู้จัดงานประสงค์จะเสวนาวิชาการเกี่ยวกับเนื้อหาในภาพยนตร์นี้ อาจให้วิธีการสรุปเรื่องย่อภาพยนตร์เป็นสื่อประกอบการเสวนาแทน

สำหรับรายละเอียดกิจกรรมในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ปรับขึ้นใหม่โดยเปลี่ยนเป็น

12.30 น. ฉายภาพยนตร์ประมาณ 3 เรื่องซึ่งมีนัยยสำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย เช่น สารคดี แห่รัฐธรรมนูญ 2476
14.30 น. ฌาปนกิจศพภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard
15.00 น. เสวนาวิชาการ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์กับรัฐธรรมนูญไทย โดยคุณเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ, อ.สาวตรี สุขศรี กลุ่มนิติราษฎร์ และคุณสุภิญญา กลางณรงค์ นักเคลื่อนไหวด้านเสรีภาพสื่อ ดำเนินรายการโดย ก้อง ฤทธิ์ดี

 

 

 

ที่มา: http://ilaw.or.th/node/633

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เจรจาข้อพิพาทครั้งแรก "สหภาพ-บริษัท BMW" ยังไม่ลงตัว นัดอีก 13 ธ.ค.

Posted: 09 Dec 2010 07:03 AM PST

9 ธ.ค. 53 - หลังจากที่มีการเจรจาสองฝ่ายมา 3 ครั้งและมียื่นข้อพิพาทแรงงานระหว่างสหภาพแรงงานและบริษัทบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา

ล่าสุดในวันที่ 7 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมาที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองผู้แทนสหภาพแรงงานบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย กับ ผู้แทนบริษัทบีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้เจรจาข้อพิพาทแรงงานนัดแรก โดยผลการเจราจาทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

โดยพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดทั้งสองฝ่ายเจรจากันในครั้งต่อไปในวันที่ 13 ธ.ค. 53 เวลา 13.00 น. ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ระยอง

ข้อสรุปของการเจรจาในวันที่ 7 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมามีดังนี้ ..

ข้อเรียกร้องข้อ 1 ให้บริษัทฯ ปรับขึ้นเงินเดือนตามผลการประเมินพนักงานปี พ.ศ. 2553 ดังนี้
เกรด N = 6 %
เกรด M = 8 %
เกรด ER = 10 %

และปรับฐานเงินเดือนทุกระดับชั้น สำหรับพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จำนวน 1,000 บาท

ผลการเจรจา บริษัทฯ เสนอปรับขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานทุกคน
เกรด M = 5 %  + 500 บาท

ข้อเรียกร้องที่ 2 ให้บริษัทจ่ายโบนัส "P" ให้กับพนักงานและซัพคอนแทรคตามการประเมินผลในปี 2553 โดยจ่ายในรอบบัญชีเดือนเมษายน 2554 ดังนี้
เกรด N = 4 เดือน
เกรด M = 4.5 เดือน
เกรด ER = 5 เดือน

และเงินเพิ่มพิเศษสำหรับพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จำนวน 40,000 บาท ทุกระดับเกรดการประเมิน

ผลเจรจา บริษัทฯ เสนอจ่ายโบนัสประจำปี 2553 ให้กับพนักงานทุกคน
เกรด M = 1.5 เดือน + 15,000 บาท

ข้อเรียกร้องที่ 3 ให้บริษัทฯ จ่ายเงินเพิ่มพิเศษ โบนัส "U" จากโบนัสบอร์ด ปี พ.ศ.2553 สำหรับพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จำนวน 20,000 บาท โดยจ่ายในรอบบัญชีเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้

ข้อเรียกร้องที่ 4 ให้บริษัทฯ หักเงินสะสมและจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากเดิม
ระดับ Senior Director อัตราเงินสะสม 10 % ของค่าจ้าง
ระดับ Director อัตราเงินสะสม 7.5 % ของค่าจ้าง
ระดับ ผู้จัดการ-ผู้จัดการอาวุโส อัตราเงินสะสม 7.5 % ของค่าจ้าง
ระดับ ปฏิบัติงานในสำนักงาน อัตราเงินสะสม 5 % ของค่าจ้าง
ระดับ ปฏิบัติงานในโรงงาน อัตราเงินสะสม 5 % ของค่าจ้าง

ให้บริษัทฯ เปลี่ยนอัตราเงินสะสมและเงินสมทบเป็นดังนี้ 5 % 7.5 % 10 % โดยให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลือกตามความสมัครใจ

ผลการเจรจา บริษัทฯ เสนอปรับเงินสะสม และเงินสมทบ  5 % และ 7.5 %

ข้อเรียกร้องที่ 5 ให้บริษัทจ่ายเงินค่าตำแหน่งดังนี้
ซุปเปอร์ไวเซอร์ 5,000 บาท
ลีดเดอร์ 3,000 บาท
ซีเนียร์ 2,100 บาท
โอเปอร์เรเตอร์ 1,000 บาท

ผลการเจรจา บริษัทฯ เสนอจ่ายค่าตำแหน่งสำหรับื Team leader จำนวน 300 บาท

ข้อเรียกร้องที่ 6 ให้บริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือ กรณีพนักงานและครอบครัวเสียชีวิตจากเดิม 10,000 บาท เพิ่มเป็น 50,000 บาท พร้อมพวงหรีด

ผลการเจรจา สามารถตกลงกันได้ โดยจ่าย 20,000 บาท พร้อมพวงหรีด

ข้อเรียกร้องที่ 7 ให้บริษัทฯ จ่ายเงินค่าความเสี่ยงตามพื้นที่และการทำงาน คนละ 750 บาท

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 8 ให้บริษัทฯ จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรจากเดิม 25 ทุน ที่ฐานเงินเดือนพนักงานไม่เกิน 18,000 บาท เปลี่ยนเป้นจ่ายตามจริงที่พนักงานยื่นขอรับทุนโดยไม่กำหนดฐานเงินเดือนของพนักงาน

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 9 ให้บริษัทฯ เพิ่มวงเงินในบัตรประกันกลุ่มให้อยู่ในแผนเดียวกันและให้เพิ่มบัตรเสริมอีก 1 ใบ

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 10 ให้บริษัทฯ จ่ายค่านำเที่ยวให้กับพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว (ซัพคอนแทรค) คนละ 1,500 บาทต่อปี เป้นประจำทุกปี

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 11 ให้บริษัทฯ เปลี่ยนวิธีคำนวณคิดโอที จากเดิม เงินเดือนหาร 30 วัน หารด้วย 8.5 ชั่วโมง คูฯด้วย 1.5 แรง และคูณจำนวนชั่วโมงที่ทำโอที เปลี่ยนเป็นเงินเดือนหาร 28 วัน หารด้วย 8.5 ชั่วโมง คูณด้วย 1.5 แรง และคูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่ทำโอที และโอทีวันเสาร์ทำงานปกติให้บริษัทฯ จ่ายค่าแรงเพิ่ม 1 แรง เป็น 1.5 แรง

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 12 ให้บริษัทฯ สนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาและกิจกรรมเพื่อสังคมของสหภาพแรงงานฯ โดยให้บริษัทฯ สนับสนุนเงินในด้านกีฬาของสหภาพแรงงานฯ ปีละ 15,000 บาท
 และให้บริษัทฯ สนับสนุนในด้านกิจกรรมเพื่อสังคมปีละ 100,000 บาท

ผลการเจรจา บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการพิจารณากิจกรรมเพื่อสังคม

ข้อเรียกร้องที่ 13 ให้บริษัทฯ จัดห้องทำงานให้สหภาพแรงงานฯ จากเดิมใช้ตรงบนออฟฟิศ ขอเปลี่ยนมาเป็นห้อง OOC OOM พร้อมอุปกรณ์การทำงาน และคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ทำงานเต็มเวลา

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 14 ให้บริษัทฯ ปรับพนักงานชั่วคราว (ซัพคอนแทรค) ที่ทำงานเกิน 1 ปี เป็นพนักงานประจำ และถ้าบริษัทฯ ต้องการพนักงานชั่วคราว ให้บริษัทฯ เปิดรับสมัครโดยไม่ผ่านบริษัทฯ ภายนอก

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

ข้อเรียกร้องที่ 15 สภาพการจ้างใดที่นอกเหนือจากข้อตกลงนี้ ให้คงสภาพเดิมไว้ เว้นแต่เปลี่ยนแปลงแล้วเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า

ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เว็บผู้ให้บริการบัตรเครดิต เจอแฮกเกอร์ถล่มหลังถอนตัวจาก WikiLeaks

Posted: 09 Dec 2010 06:29 AM PST

9 ธ.ค. 2553 - มติชนออนไลน์ รายงานว่า นักขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ (แฮ็คเกอร์) ได้โจมตีเว็บไซต์ของบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิตชั้นนำ อาทิ มาสเตอร์การ์ด และวีซ่าแล้ว หลังจากกลุ่มแฮ็คเกอร์ที่ไม่สามารถระบุตัวได้ ยืนยันที่จะติดตามสองบริษัทดังกล่าวอย่างไม่ลดละ หลังจากที่ทั้งคู่ถอนการให้บริการการชำระเงินจากวิกิลีกส์

ระบบการชำระเงินของมาสเตอร์การ์ดถูกรบกวนอย่างหนัก แต่บริษัทกล่าวว่า การกระทำครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บัตรดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนวีซ่า กล่าวว่าตนประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน

โดย "บุคคลไร้นาม" ซึ่งทำการ "ปฏิบัติการตอบโต้" (Operation Payback)  ได้กล่าวในทวิตเตอร์ของตนว่า เว็บไซต์ของวีซ่า "ล่ม" แล้ว

แต่ภายหลังบริษัทวีซ่าได้กู้ข้อมูลของตนเองกลับมาอีกครั้ง และนายเท็ด คาร์ โฆษกของวีซ่ากล่าวว่า ระบบการปฏิบัติการซึ่งดูแลด้านการทำธุรกรรมของผู้ถือบัตรกลับมาดำเนินการตาม ปกติแล้ว และหน้าทวิตเตอร์ดังกล่าวได้หายไป โดยปรากฏข้อความจากทวิตเตอร์ที่ว่า บัญชีผู้ใช้ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกชั่วคราว

ทวิตเตอร์กล่าวว่า ตนจะไม่แสดงความคิดเห็นต่อ "การกระทำต่อบัญชีผู้ใช้เฉพาะราย" อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า ข้อมูลที่ "บุคคลไร้นาม" เผยแพร่ออกมาเป็นครั้งสุดท้ายก็คือลิงค์เพื่อเชื่อมต่อไปยังแฟ้มข้อมูลของ ผู้ถือบัตรเครดิต

นายพอล มัตตอน จากเน็ตคราฟท์ ซึ่งคอยจับตาดูการโจมตีครั้งนี้ กล่าวว่า บริษัทวีซ่าได้เริ่มจับตากลุ่มแฮ็คเกอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการส่งข้อความ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองไปยังบุคคลอื่นๆ (hacktivist) ซึ่งเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 2,000 รายแล้ว เมื่อเทียบกับบริษัทมาสเตอร์การ์ด ซึ่งมีเพียง 400 ราย

มาสเตอร์การ์ดยอมรับว่า "มีความขัดข้องในการให้บริการ" จริง ซี่งเกี่ยวข้องกับระบบ "SecureCode" (รหัสรักษาความปลอดภัย) และกล่าวเสริมว่า "เราจะไม่ยอมให้สมรรถนะในระบบปฏิบัติการหลักของเราอ่อนแอลง และข้อมูลทั้งหมดของผู้ถือบัตรจะไม่ตกอยู่ในความเสี่ยงเด็ดขาด และยังคงใช้บัตรในการทำธุรกรรมต่างๆได้ตามปกติทั่วโลก

ในขณะที่ "เพย์พัล" (PayPal) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเพื่อเป็นช่องทางในการบริจาคเงินให้กับวิกิลีกส์ ก็ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเช่นกัน โดยกล่าวว่าบัญชีผู้ใช้ของวิกิลีกส์ "ละเมิดข้อตกลงด้านการให้บริการ"

"วันที่ 27 พย.ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศ และรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายไปยังวิกิลีกส์ เพื่อแจ้งว่ากิจกรรมของวิกิลีกส์เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของสหรัฐฯ" นายโอซามา เบดิเยร์ ผู้บริหารของเพย์พัล กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่ประเทศฝรั่งเศส

"เราตัดสินใจที่จะยกเลิกการให้บริการแก่วิกิลีกส์ และมันเป็นไปตามความคิดเห็นอย่างสัตย์จริง ไม่มีสิ่งใดแอบแฝงทั้งสิ้น"

นอกจากนั้น ยังมีบริษัทที่ "ตีตัวออกห่าง"วิกิลีกส์ และถูกโจมตีโดยแฮ็คเกอร์แล้ว รวมถึง ธนาคารสวิสแบงค์ และ ธนาคารโพสต์ไฟแนนซ์ ซึ่งยกเลิกบัญชีเงินฝากของนายจูเลียน แอสเซนจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์

"บุคคลไร้นาม" ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ปฏิบัติการดังกล่าว ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างหลวมๆโดยกลุ่มนักแฮ็คเกอร์ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบอร์ดแสดงความเห็นที่อื้อฉาวอย่าง "4chan" และกล่าวว่าตนได้พุ่งเป้าโจมตีไปยังหลายเป้าหมาย โดยกล่าวต่อสำนักข่าวเอพีว่า กลุ่มจะยังคงแสดงการต่อต้านต่อบุคคลใดก็ตาม "ที่ต่อต้านวิกิลีกส์"

ก่อนหน้าการโจมตีมาสเตอร์การ์ด กลุ่ม"บุคคลไร้นาม" ซึ่งเรียกตนเองว่ากลุ่ม "เลือดเย็น" กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนได้กระทำการ "หลายสิ่งหลายอย่าง" โดยพุ่งเป้าไปยังบริษัทและหน่วยงานต่างๆ ที่ยกเลิกการติดต่อกับวิกิลีกส์ หรือที่พยายามโจมตีเว็บไซต์ดังกล่าว

"เว็บไซต์ที่ยอมก้มหัวให้กับแรงกดดันจากรัฐบาลจะต้องตกเป็นเป้าหมายทั้ง สิ้น ในฐานะองค์กรที่ทำงานเพื่อการแสดงออกอย่างมีเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ต เรา รู้สึกว่าวิกิลีกส์เป็นมากกว่าแค่การเปิดเผยข้อมูลลับ แต่กำลังจะกลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างประชาชนและรัฐบาล" สมาชิกกลุ่มรายหนึ่งกล่าว

กลุ่ม "เลือดเย็น" ยอมรับว่า การโจมตีเช่นนี้อาจกระทบต่อประชาชนที่พยายามเข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกโจมตี แต่กล่าวเพิ่มเติมว่า "มันอาจกระทบต่อสิ่งที่คนเหล่านั้นต้องการจะบอกบริษัทเหล่านั้นว่า "เรา" ผู้เป็นประชาชน รู้สึก "ไม่พอใจ"

 

ที่มา - มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปลวเทียน ส่องทาง : วันรัฐธรรมนูญไทย-วันสิทธิมนุษยชนสากล คืนความเป็นคนให้เท่าเทียมกัน

Posted: 09 Dec 2010 06:14 AM PST


ชื่อบทความเดิม 

"10 ธันวาคม : วันสิทธิมนุษยชนสากลและวันรัฐธรรมนูญไทย
ปล่อยนักโทษการเมือง หยุดกระบวนการรัฐประหาร
คืนประชาธิปไตยให้ประชาชน  คืนความเป็นคนให้เท่าเทียมกัน"

 

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติ ปี 2475 จาก "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์" มาสู่ “ระบอบประชาธิปไตย” รัฐไทยได้กำหนดให้วันที่  10 ธันวาคม  ของทุกปี ถือเป็น “วันรัฐธรรมนูญ”  ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ และกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมไทย แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย

การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา คณะรัฐประหารชุดนี้ได้ดำเนินการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และคณะรัฐประหารชุดนี้ได้มีกระบวนการร่างและสร้างรัฐธรรมนูญ 50 ขึ้นมาแทนซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 นี้ และได้ให้อำนาจกับอำนาจนอกระบอบการเมืองที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยจึงหวนคืนสู่สังคมการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง 

รากเหง้าของการรัฐประหารในครั้งนั้น ยังได้นำพาสังคมไทยสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามขยายใหญ่มากที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะเหตุการณ์การล้อมปราบสังหารหมู่ประชาชนคนเสื้อแดงผู้เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์หุ่นเชิดของระบอบอำมาตย์ ดำเนินการยุบสภา เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนตามหลักการทั่วไปของระบอบประชาธิปไตย

แต่รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน กลับก่อ "อาชญากรรมแห่งรัฐ" ขึ้น โดยได้ใช้อำนาจเหี้ยมโหดอำมหิตเข่นฆ่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ไม่ต่างจากเหตุการณ์การล้อมปราบนักศึกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519  ณ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โศกนาฎกรรมทางการเมืองในครั้งนี้ จึงซ้ำรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปราบปรามสังหารหมู่ประชาชนคนเสื้อแดง  มีผู้สูญเสียชีวิต 91 คน และผู้บาดเจ็บสองพันกว่าคน  รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนยังได้ดำเนินการกระชับอำนาจนิยมเผด็จการมากยิ่งขึ้น  โดยมีการจับกุมแกนนำคนเสื้อแดงทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉุกเฉินเร่งด่วน  มีการกดทับเสรีภาพของสื่อสารมวลชนโดยการปิดเว็บไซต์  วิทยุชุมชน สื่อโทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ทีมีความคิดเห็นต่างจากรัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน  

000

ในอีกแง่หนึ่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  สิ้นสุดลงเป็นต้นมา ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก  จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และมีมติประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสิทธิมนุษยชน”  (Human Rights Day)

ขณะที่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า  เกิดมาจากการที่สังคมไทยมีการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพ ไม่มีความเสมอภาคและไม่มีความเป็นธรรม  รากเหง้าส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดอำนาจต่อรองของพลังชนชั้นล่าง ตลอดทั้งสังคมไทยที่ไม่เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น  รวมถึงการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยมักหยุดชะงักจากอำนาจอำมาตยาธิปไตยโดยคณะรัฐประหารทั้งเปิดเผยและซ่อนรูปอยู่เสมอด้วยเช่นกัน  

ในอีกด้านหนึ่ง องค์กรสิทธิมนุษยชนไทยส่วนใหญ่ กลับมีส่วนในการเคลื่อนไหวให้ท้ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สนับสนุนการรัฐประหารทั้งทางตรงและทางอ้อม  เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  หรือบุคคลที่ได้รับการยอมรับสร้างภาพให้สังคมไทยว่าเป็น "ราษฎรอาวุโส" "นักวิชาการ"  "เอ็นจีโอ"  "สื่อมวลชน" บางส่วนบางองค์กร กลับสนับสนุนวิธีการแบบอำนาจนิยม   ซึ่งเป็นการทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้แล้วท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประชาชนคนเสื้อแดงผู้รักในระบอบประชาธิปไตยกับผู้ได้อำนาจจากระบอบอำมาตยาธิปไตย รัฐบาลอภิสิทธิ์หุ่นเชิดของระบอบอำมาตย์ยังใช้กลยุทธ์ให้เครือข่ายอำมาตย์ของพวกเขาดำเนินการปฏิบัติการณ์ “ปฏิรูปประเทศไทย” โดยมีอานันท์ ปันยารชุณ และประเวศ วะสี   เป็นผู้นำ และใช้กลไกเครือข่ายขุนนางเอ็นจีโอ   เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน และเบี่ยงเบนประเด็นการถามหา “ใครฆ่าประชาชน ? ใครสั่งฆ่าประชาชน ?  ใครต้องรับผิดชอบ? ใครต้องถูกลงโทษ ?” จากประชาชนคนเสื้อแดง หรือเป็น  การปฏิรูปบนกองศพของวีรชนไพร่แดง นั่นเอง

กล่าวได้ว่า ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนนั้น ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศักดิ์ศรี สิทธิความเป็นมนุษย์ เพื่อต้องสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม  ที่สำคัญแยกไม่ออกจากการที่สังคมการเมืองต้องมีพื้นที่ประชาธิปไตยมิใช่เผด็จการอำมาตยาธิปไตยหรืออำนาจนิยม   ดังนั้น  ผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  ประชาชนตรวจสอบถ่วงดุลย์  ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ   มีส่วนร่วมด้านต่างๆ   และวิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองได้  

ที่สำคัญ การแก้ไขปัญหาด้านสิทธิ์มนุษยชนในสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันนั้น  รัฐต้องดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองโดยเร่งด่วน   เนื่องจากพวกเขามิใช่อาชญากรแต่อย่างใด  พวกเขาเป็นเพียงผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาลเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย

รัฐต้องยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ยุติการปิดกั้นสื่อ  หยุดข่มขู่คุกคามประชาชน คืนเสรีภาพให้สื่อ  ให้ประชาชนในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐได้ ตลอดทั้งยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฯ ซึ่งความต่างทางความคิดย่อมเป็นเรื่องทีสร้างสรรค์ในสังคมประชาธิปไตย ไม่เหมือนกับระบอบอำนาจนิยมเผด็จการที่ผู้ปกครองเท่านั้นผูกขาดความคิดเห็น

นอกจากนี้แล้ว ต้องร่วมมือกันผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550  โดยใช้กระบวนการร่างเช่นเดียวกับกระบวนการร่างรัฐะรรนูญรัฐธรรมนูญ 40  โดยมีเป้าหมาย เพื่อ "หยุดอำนาจระบอบอำมาตยาธิปไตย สร้างอำนาจระบอบประชาธิปไตย" ซึ่งจะนำสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาคในทุกด้านของสังคมไทยได้อย่างแท้จริง

ขณะเดียวกัน  ต้องผลักดันให้มีการดำเนินการปฏิรูปกองทัพ เพื่อไม่ให้กองทัพแทรกแซงทางการเมือง เพื่อไม่ให้กองทัพกระทำรัฐประหาร  กองทัพจึงต้องอยู่ภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตย และกระบวนการพัฒนากองทัพต้องมีการจัดสรรอำนาจและบังคับบัญชาที่เป็นประชาธิปไตย เหมือนอารยะประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย  ตลอดทั้งไม่ให้องคมนตรีแทรกแซงการเมืองด้วยเช่นกัน  

ด้านกระบวนการยุติธรรมต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม กฎหมายต้องมีความเป็นธรรม ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายต้องไม่มีสองมาตรฐาน หรือนิติรัฐต้องมีนิติธรรมอยู่ในตัวมันเอง  ตลอดทั้งต้องมีการใช้ระบบลูกขุน เหมือนอารยประเทศ  และเพื่อไม่ให้ศาลผูกขาดอำนาจอย่างที่เป็นอยู่

ท้ายสุด นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องไม่กระทำการบิดเบี้ยวบิดเบือนหรือหาเหตุไม่ยุบสภาโดย ไม่ยอมคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน  เพื่อแก้ไขรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งทั้งปวง   เพื่อเคารพสิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนเท่าเทียมกันในการเลือกผู้ปกครองผู้บริหารประเทศตามหลักการประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา ซึ่งทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเหมือนกันไม่ว่าคนจนหรือคนรวย ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย  ไม่ว่าคนพิการหรือคนไม่พิการ ไม่ว่าผู้ดีหรือไพร่ ฯลฯ และระบอบประชาธิปไตยรัฐสภานั้น ก็มีวาระในการเลือกตั้งที่แน่นอน  การยุบสภาจึงเป็นหนทางนำสังคมไทยสู่ความปรองดองที่แท้จริงได้  ตลอดทั้งรัฐประหาร หรือการเสนอให้มีรัฐบาลแห่งชาติ  ก็มิใช่ทางออกที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย

และพรรคการเมืองไหนมีเสียงข้างมาก ย่อมมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ทหารอำนาจนอกระบบต้องไม่แทรกแซงเหมือนเช่นที่ผ่านมา

ปล่อยนักโทษการเมือง   หยุดกระบวนการรัฐประหาร

จงคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน  คืนความเป็นคนให้เท่าเทียมกัน เสียที
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพ็ญ ภัคตะ: รัฐธรรมนูญของใคร?

Posted: 09 Dec 2010 04:25 AM PST

ของปวงชนโดยปวงชนเพื่อปวงชน
ว่ายเวียนวนปฏิวัติรัฐประหาร
ของปวงมารโดยพวกมารเพื่อเหล่ามาร
ฉีกตำนานรัฐธรรมนูญประเทศไทย

เขียนด้วยมือลบด้วยเท้าเป็นเถ้าผง
ชี้นิ้วลงโองการหว่านเงื่อนไข
เหยียบให้ย่ำย้ำสูเจ้าไม่เข้าใจ
ยากเกินไปต้องเบ็ดเสร็จเผด็จการ

คำก็บ่นว่าคนไทยความรู้น้อย
คำก็ด้อยการศึกษาน่าสงสาร
คำก็ด่าประชาชนทนดักดาน
คงอีกนานการเมืองก้าวสู่สากล

ใครกันแน่รู้แก่ใจไม่รู้จัก
อ้างความรักความเผื่อแผ่แท้หลอกปล้น
อ้างว่าเทิดความชอบธรรมจึ่งจำทน
ผลักดันหนทางคว่ำรัฐธรรมนูญ

ทุ่มพลังทั้งผองเพื่อป้องปัด
หวังกำจัดทักษิณพ่ายหายสาบสูญ
แก้กฎหมายย้ายกฎใหม่ให้เกื้อกูล
เพิ่มพวกพ้องอมาตย์พูนในสภา

จำฝังใจปีสอง ห้าห้าศูนย์
รัฐธรรมนูญฉบับเหยื่อริษยา
อ้างว่าปีสี่ศูนย์ไม่พัฒนา
ฆาตกรรมอำพรางฆ่ากฎหมายไท

ขี้หมูไหลจมูกจูงฝูงนักคิด
นิติรัฐวิปริตผิดวิสัย
สื่อกับนักวิชาการมารกลไก
เอ็นจีโอทาสรับใช้ ส.ส.ร.

คลอดฉบับสามานย์พันธมิตร
วาทกรรมดัดจริตลวงหลอกล่อ
เหยียดประชายากเข็ญเป็นหัวตอ
เอา! นี่หนอธรรมนูญของปวงชน

นี่น่ะหรือคือรัฐธรรมนูญ
ยังมีศูนย์อำนวยความฉ้อฉล
พ.ร.ก.ฉวยฉุกคุกคามคน
ต.ล.ก.สัปดนตะบิดตะแบง

เลิกดูถูกคนไทยไม่รู้จัก
รัฐธรรมนูญใช่หมุดหลักปักเสาแท่ง
รัฐธรรมนูญใช่พานค้ำเทพจำแลง
เลิกแยกแบ่งไพร่พรรคศักดินา

ราษฎรก้าวไกลไปลับลิบ
แค่คุณหยิบธรรมนูญวางตรงหน้า
เลิกระบอบอุบาทว์อมาตยา
นั่นแหละคือมาตราที่สมบูรณ์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รบ.พม่าเตือน ฝ่ายค้านจัดประชุมปางโหลงรอบใหม่ส่งผลร้ายมากกว่าผลดี

Posted: 09 Dec 2010 02:04 AM PST

สื่อรัฐบาลพม่าเตือนซูจีและฝ่ายค้านหากจัดประชุมปางโหลงครั้งใหม่จะถือเป็นการเคลื่อนไหวต้านโรดแมพ 7 ขั้นสู่ ปชต. ของรัฐบาล ด้านสำนักข่าวชินหัวของจีนรายงานตามคำกล่าวอ้างของรัฐบาลพม่าว่า มีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งพม่า ครั้งแรกในรอบ 20 ปี เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ราว 76 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าสามในสี่ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

รบ.พม่าเตือน ฝ่ายค้านจัดประชุมปางโหลงรอบใหม่ส่งผลร้ายมากกว่าผลดี

รัฐบาลพม่าเริ่มส่งสัญญาณเตือนผ่านสื่อของตัวเองไปยัง นางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดีและกลุ่มฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกว่า การจัดประชุมปางโหลง(หรือป๋างโหลง) ครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นการเคลื่อนไหวที่จะทำให้เสี่ยงต่อการขัดแย้งกับ
รัฐบาลทหารพม่า และจะนำมาซึ่งผลร้ายมากกว่าผลดี

หนังสือพิมพ์ภาษาพม่าชื่อ “Myanmar Ahlin” ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลพม่า เผยแพร่บทความเมื่อวันพุธ (8 พ.ย.) ที่ผ่านมาว่า การที่นางซูจีและกลุ่มฝ่ายค้านมีความพยายามที่จะฟื้นฟูและจัดการประชุมปางโหลงครั้งใหม่ขึ้นนั้น เป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านแผนโรดแมพ 7 ขั้นตอนสู่ประชาธิปไตยของพม่า ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งเตือนว่า การจัดประชุมปางโหลงจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

การปกครองแบบรัฐสภาที่รัฐบาลพยายามจัดตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นแนวทางที่จะเสริมสร้างความสามัคคีในชาติ แต่หากกลุ่มฝ่ายค้านเลือกที่จะยึดตามแนวทางอุดมการณ์ของตัวเองโดยไม่สนใจแนว ทางที่รัฐบาลพม่าเห็นว่าดีที่สุดแล้วล่ะก็ กลุ่มฝ่ายค้านควรจะรับทราบเอาไว้ว่า การประชุมปางโหลงครั้งที่สองจะนำมาซึ่งผลร้ายมากกว่าผลดีต่อประเทศชาติสื่อพม่าระบุว่า

ในบทความยังเตือนว่า หากไม่มีกองทัพพม่า การประชุมปางโหลง จะถูกจัดการโดยกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าและไม่เห็นด้วยกับแผนโรดแมพ 7 ขั้นตอนสู่ประชาธิปไตยของรัฐบาลพม่า ด้านกลุ่มผู้นำชนกลุ่มน้อยได้ออกมาปฏิเสธว่า ไม่มีความคิดที่จะขับกองทัพพม่าออกไปจากขั้นตอนการประชุมสัญญาปางโหลง

จิตวิญญาณของสัญญาปางโหลงคือ เพื่อบรรลุถึงความเป็นเอกภาพของคนในชาติ และมันจะไม่ประสบความสำเร็จได้ หากไม่มีกองทัพพม่าร่วมด้วย นับตั้งแต่ครั้งแรกที่เราหารือกันที่จะจัดการประชุมปางโหลงครั้งที่ 2 เราไม่เคยพูดว่า เราจะกีดกันไม่ให้กองทัพเข้าร่วมในขั้นตอนด้วย บทความที่ตีพิพม์ในหนังสือพิมพ์ Myanmar Ahlin ต้องการที่จะบิดเบือนสารของเรา”   พู ซิน เซียน ทาง โฆษกจากกลุ่มสหภาพพันธมิตรกลุ่มชาติพันธุ์ (United Nationalities Alliance) กล่าวแสดงความคิดเห็นในวันเดียวกัน

ขณะที่วิเคราะห์มองว่า หากนางซูจีและกลุ่มฝ่ายค้านยังพยายามที่จะจัดการประชุมปางโหลงครั้งที่ 2 ต่อไป อาจถูกทางการพม่ากวาดล้างและจับกุมตัวเข้าคุก เช่นเดียวกับนางซูจีที่เสี่ยงจะถูกกักบริเวณอีกครั้ง

ทั้งนี้ การประชุมปางโหลงเกิดขึ้น เนื่องจากนายพลอองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี ได้ร้องขอให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ที่ตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษเช่นเดียวกับพม่า หันมาร่วมมือและเข้าร่วมกับพม่าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 12 ก.พ. 1947 (2490) บรรดาเจ้าฟ้าไทใหญ่ นายพลอองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี และผู้นำชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆได้เห็นพ้องและลงนามร่วมกัน จึงเกิดสัญญาปางโหลงขึ้น

นายพลอองซานได้รับปากกับผู้นำชนกลุ่มน้อยว่า ชนกลุ่มน้อยต่างๆที่ร่วมลงนามในสัญญาป๋างโหลงจะสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้ใน ภายหลัง แต่เหตุการณ์ทุกอย่างกลับพริกผัน หลังนายพลอองซานและผู้นำชนกลุ่มน้อยถูกลอบสังหาร และนายพลเนวินยึดอำนาจในปี 1962 (2505)

และภายหลาย ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ต้องการปกครองโดยกองทัพพม่าได้เข้าป่าจับปืนต่อสู้กับกอง ทัพพม่าจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นสงคราม ความขัดแย้งที่ไม่รู้จักสิ้นสุด ด้านนางซูจีเคยเรียกร้องหลายครั้งให้รัฐบาลทหารพม่าหันหน้ามาเจรจาด้วยแนว ทางสันติทั้งกับกลุ่มฝ่ายค้าน ชนกลุ่มน้อย เพื่อแก้วิกฤติปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ แต่ก็ไม่มีท่าทีใดๆจาก
รัฐบาลทหาร (ที่มา
Irrawaddy 8 พ.ย.53)

พม่าอ้างมีผู้ไปใช้สิทธิ์กว่า 76 เปอร์เซ็นต์

สำนักข่าวชินหัวของจีนรายงานตามคำกล่าวอ้างของรัฐบาลพม่าว่า มีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งพม่าครั้งแรกในรอบ 20 ปี เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ราว 76 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าสามในสี่ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยมีผู้ไปใช้สิทธิ์ราว 22.18 ล้านคน จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 29 ล้านคน ตรงกันข้ามกับสำนักข่าวพม่านอกประเทศที่รายงานว่า มีผู้ไปเลือกตั้งบางตา เพราะไม่อยากสนับสนุนรัฐบาล โดยทางการพม่ายังอ้างอีกว่า มีผู้ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์และงดออกเสียงเพียง 4.5 ล้านคน

ทั้งนี้ มีผู้สมัครทั้งหมด 3, 069 คน จาก 37 พรรค ลงชิงชัยเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยมีผู้สมัครเพียง 1,148 คน ที่ได้เลือกให้นั่งในสภาและคาดว่า รัฐบาลพม่าชุดใหม่จะสามารถเปิดสภาได้ในราวเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ด้านพรรคสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา (The Union Solidarity and Development Party - USDP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของรัฐบาลทหารพม่าอ้างว่า ได้ที่นั่งในสภาทั้งหมดคิดเป็น 76 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่มีรายงานทั่วประเทศว่า ทางการพม่าใช้วิธีซื้อเสียง ใช้ผลประโยชน์หลอกล่อ และการบังคับประชาชนลงคะแนนเสียงให้กับทางพรรคของรัฐบาล มีรายงานเช่นกันว่า เหตุที่พรรคของรัฐบาลชนะการเลือกตั้งในหลายพื้นที่นั้น เป็นเพราะไปบังคับชาวบ้านให้ลงคะแนนเสียงล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว รวมทั้งยังใช้วิธีทุตริตคดโกงในรูปแบบอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ที่นั่งในสภาจำนวน 1, 148 ที่นั่งจะตกเป็นของผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งที่มาจากพรรครัฐบาล พรรคอิสระและพรรคของกลุ่มฝ่ายค้าน แต่ยังมีที่นั่งอีก 370 ที่นั่ง ที่ถูกสงวนไว้ให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยนายพลอาวุโสตานฉ่วย โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง ตัวเลขทหารเป็นจำนวนมากที่จะปรากฏตัวในสภาพม่า จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า การเลือกตั้งพม่าที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่ชอบธรรม และจัดขึ้นเพื่อต่ออายุให้กับรัฐบาลทหารพม่าเท่านั้น         

 

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทีดีอาร์ไอ : การศึกษาวิจัยจีโนม เทคโนโลยีสร้างอนาคต “ข้าวไทย”

Posted: 09 Dec 2010 01:40 AM PST

ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)  Juan  Enriquez ได้เขียนไว้ในหนังสือ “As the Future Catches You”    ไว้ว่า “ภาษาที่ทรงพลัง...และมีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของศตวรรษนี้กำลังจะเป็นภาษาของพันธุศาสตร์  คนที่ยังอ่านภาษานี้ไม่ออก จะไม่เข้าใจแรงผลักที่ทำให้เกิดความแตกต่างครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของพวกเขา (The dominant language…and economic driver of this century is going to be GENETICS.  Those who remain illiterate in this language won’t  understand the force making the biggest difference in their lives) ”

เมื่อประมาณกลางศตวรรตที่18 Gregor Mendel ชาวออสเตรียได้ทำการศึกษาทดลองผสมพันธุ์ถั่ว โดยใช้สายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เขาพบว่า ลักษณะต่างๆสามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลานได้ ผลงานของเขามิได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนัก จนกระทั่งมีผู้ค้นพบผลงานอันทรงคุณค่านี้ในศตวรรตที่ 20  อย่างไรก็ตาม ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องยีนอย่างลึกซึ้งยังมีอีกมากอาทิ ทำไมเมล็ดถั่วจึงงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นถั่ว และอะไรอยู่เบื้องหลังการควบคุมและแสดงออกของลักษณะต่างๆที่สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ เป็นต้น 

ในศตวรรตต่อๆ มา เมื่อมีความก้าวหน้าทางวิชาการพันธุศาสตร์ในระดับโมเลกุล ได้ช่วยคลี่คลายปมปัญหาค้างคาต่างๆได้มากขึ้น  ทำให้รู้ว่าในเมล็ดถั่วแต่ละเมล็ดของเมนเดลนั้น  มีเส้นสายของดีเอ็นเอ (DNA—deoxyribonucleic acid) เป็นตัวบงการอยู่เบื้องหลัง  มวลดีเอ็นเอของแต่ละชนิดพันธุ์เป็นแหล่งข้อมูลของยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆ และทำหน้าที่เป็นแผนที่นำทางในการเจริญเติบโตของถั่ว กำหนดการแสดงออกของลักษณะต่างๆ  ดังนั้นเมล็ดถั่วจึงไม่มีทางงอกและเจรฺญเติบโตเป็นต้นพืชชนิดอื่นได้เลย

ความลี้ลับเหล่านี้ชัดเจนขึ้นในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เมื่อ James Watson และ Francis Crick ค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ ว่ามีลักษณะเป็นเส้นคู่บิดเกลียวอยู่ (double helix)  บนเส้นดีเอ็นเอ มีเบส (bases)  อยู่สี่ ตัวคือ A (adenine) , T (thymine), C (cytosine) และ  G (guanine) เรียงรายกันอยู่  ในตอนหลังพบว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละรูปนาม มีลำดับการเรียงตัวของเบสที่แตกต่างกัน  ทำให้สิ่งมีชีวิตแต่ละรูปนามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีประโยชน์มากในเชิงการตรวจสอบสิ่งมีชีวิต

จากความรู้พื้นฐานดังกล่าว ทำให้นักวิจัยเริ่มคิดเสาะหาข้อมูลเชิงลึกในสิ่งมีชีวิต ทั้งของ จุลินทรีย์ พืช สัตว์รวมทั้งมนุษย์ ทั้งนี้เพราะรู้ว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีโครงสร้างดีเอ็นเอแตกต่างกัน มีจำนวนยีนแตกต่างกัน การค้นหายีนจึงเกิดขึ้น โดยมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วย คือ เทคโนโลยีชีวภาพก้าวหน้า (advanced biotechnology) และเทคโนโลยีอิเล็กโทรนิคคอมพิวเตอร์  การศึกษาวิจัยดังกล่าวรู้กันว่าเป็นการ “เปิดตำราชีวิต หรือ open book of life”

ข้าวเป็นพืชอาหารสำคัญอย่างหนึ่งของโลก ซึ่งยังมีปัญหาการผลิตและปัญหาคุณภาพอยู่นักวิชาการจึงได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยค้นหายีนในข้าว อันจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ครั้งสำคัญที่นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ   “โครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ (International Rice Genome Sequencing Program--IRGSP) จึงได้เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1997)  ประเทศผู้นำการศึกษาวิจัยนี้มี 10 ประเทศ นำโดยประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

ประเทศไทยในระยะแรกยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ  แต่ด้วยความมุ่งมั่นของคณะทำงานในเรื่องนี้ ซึ่งริเริ่มขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ทำให้ไทยสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ในปีถัดมา

ก่อนการเข้าร่วมโครงการ ศูนย์ไบโอเทค ได้สนับสนุนให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปร่วมประชุมวิชาการจีโนมของกุ้งที่เมืองแมสสาชูเซท สหรัฐอเมริกา และตระเวณดูงานตามห้องปฏิบัติการชั้นนำของสหรัฐหลายแห่ง ทำให้สามารถตัดสินใจที่จะดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยจีโนมข้าวได้  มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนมข้าวขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ในระยะแรกได้รับงบประมาณดำเนินการจากศูนย์

ไบโอเทค และต่อมาได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลงวดแรกเป็นเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ ฯพณฯ บุญชู  โรจนเสถียร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ที่ช่วยผลักดันให้ได้รับงบประมาณผ่านการแปรญัติ  และที่สำคัญยิ่ง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานเงินก้นถุงจำนวน 2 ล้านบาท สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาจีโนมข้าว ทำให้โครงการศึกษาวิจัยนี้ นำโดย รศ. ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรและคณะ สามารถดำเนินการต่อมาได้ด้วยดี  ในที่สุดได้รับการพัฒนาเป็น “หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว”   และได้ดำเนินงานร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันโภชนาการของมหาวิทยาลัยมหิดล มาโดยตลอด ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพื่อพัฒนาเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค และอาจเป็นยารักษาโรคได้ด้วย  อาทิ พันธุ์ข้าวธาตุเหล็กสูง  ข้าวต้านโรคเบาหวาน และข้าวต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

ในการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จะได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้องค์ความรู้จากผลงานวิจัยจีโนม การใช้เทคโนโลยีเพื่ออนาคต “ข้าวไทย”   ถึงเวลาหรือยังที่จะมีกองทุนข้าวเกิดขึ้นเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดมี

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บอร์ดค่าจ้างปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 54 ทั่วประเทศ 8-17 บาท

Posted: 09 Dec 2010 12:40 AM PST

9 ธ.ค. 2553 - เว็บไซต์ โครงการณ์รณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign) รายงานว่า ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 18 เพื่อพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554 ภายหลังการประชุม 2 ชั่วโมง จากนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554 ทั่วประเทศในอัตรา 8-17  บาท

โดยพิจารณาจากตัวเลขค่าจ้างที่แต่ละจังหวัดเสนอมาเป็นหลัก พร้อมกับดูในเรื่องของภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพ ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมทั้งพิจารณาถึงการจ่ายชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าขั้นต่ำตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ส่วนต่างของค่าจ้างบางจังหวัดสูงถึง 70-80 บาท ดังนั้นการพิจารณาปรับครั้งนี้ จึงได้ดูเป็นรายภาคเรียงกัน อย่างไรก็ตาม การจ่ายชดเชยในส่วนของค่าจ้างที่มีส่วนต่างไม่สามารถปรับในครั้งเดียวได้ เพราะจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและนายจ้าง จึงต้องดำเนินการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 5 ปี

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบนี้ เพื่อต้องการรักษาอำนาจการซื้อของผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนพัฒนาฝีมือแรงงานที่เริ่มเข้าทำงานใหม่ ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในแต่ละวันอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จังหวัดที่ได้รับการปรับขึ้นต่ำสุด 8 บาท มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา จาก 151 บาท เป็น 159 บาท, ศรีสะเกษ 152 บาท เป็น 160 บาท, อำนาจเจริญ 155 บาท เป็น 163 บาท, นครสวรรค์ จาก 158 บาท เป็น 166 บาท, เพชรบูรณ์ 158 บาท เป็น 166 บาท, อุทัยธานี 160 บาท เป็น 168 บาท และประจวบคีรีขันธ์ 164 บาท เป็น 172 บาท

ปรับขึ้นในอัตรา 9 บาท 24 จังหวัด ได้แก่ น่าน จาก 152 บาท เป็น 161 บาท, ตาก จาก 153 บาท เป็น 162 บาท, สุรินทร์ 153 บาท เป็น 162 บาท, มหาสารคาม 154 บาท เป็น 163 บาท, นครพนม 155 บาท เป็น 164 บาท, ชัยภูมิ ลำปาง หนองบัวลำภู จาก 156 บาท เป็น 165 บาท, เชียงราย บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร สกลนคร จาก 157 บาท เป็น 166 บาท, ชัยนาท สุพรรณบุรี จาก 158 บาท เป็น 167 บาท, ตราด ลำพูน จาก 160 บาท เป็น 169 บาท, สมุทรสงคราม จาก 163 บาท เป็น 172 บาท, อ่างทอง 165 บาท เป็น 174 บาท, เชียงใหม่ 171 บาท เป็น 180 บาท, พระนครศรีอยุธยา 181 บาท เป็น 190 บาท, สระบุรี 184 บาท เป็น 193 บาท, สมุทรปราการ 206 บาท เป็น 215 บาท และกรุงเทพมหานคร 206 บาท เป็น 215 บาท

ปรับขึ้น 10 บาท 16 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ จาก 153 บาท เป็น 163 บาท, มุกดาหาร 155 บาท เป็น 165 บาท, กาฬสินธุ์ ขอนแก่น 157 บาท เป็น 167 บาท, กำแพงเพชร 158 บาท เป็น 168 บาท, หนองคาย 159 บาท เป็น 169 บาท, นครนายก 160 บาท เป็น 170 บาท, เลย สระแก้ว 163 บาท เป็น 173 บาท, นครราชสีมา 173 บาท เป็น 183 บาท, นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร จาก 205 บาท เป็น 215 บาท

ปรับขึ้น 11 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี 159 บาท เป็น 170 บาท, นราธิวาส อุบลราชธานี 160 บาท เป็น 171 บาท, สิงห์บุรี 165 บาท เป็น 176 บาท, เพชรบุรี 168 บาท เป็น 179 บาท, ระยอง 178 บาท เป็น 189 บาท

ปรับขึ้น 12 บาท 10 จังหวัด ได้แก่ แพร่ พิจิตร จาก 151 เป็น 163 บาท, สุโขทัย 153 บาท เป็น 165 บาท, อุดรธานี 159 บาท เป็น 171 บาท, ยะลา 160 เป็น 172 บาท, จันทบุรี 167 บาท เป็น 179 บาท, กาญจนบุรี 169 บาท เป็น 181 บาท, ลพบุรี 170 บาท เป็น 182 บาท, ระนอง 173 บาท เป็น 185 บาท, ชลบุรี 184 บาท เป็น 196 บาท

ปรับขึ้น 13 บาท 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 159 บาท เป็น 172 บาท, ชุมพร 160 บาท เป็น 173 บาท, ตรัง 162 บาท เป็น 175 บาท, ราชบุรี 167 บาท เป็น 180 บาท, พังงา 173 บาท เป็น 186 บาท, ฉะเชิงเทรา 180 บาท เป็น 193 บาท, ปราจีนบุรี 170 บาท เป็น 183 บาท

ปรับขึ้น 14 บาท มี 3  จังหวัด ได้แก่ พัทลุง สตูล 159 บาท เป็น 173 บาท, กระบี่ 170 บาท เป็น 184 บาท

ปรับขึ้น 15 บาท มี 2 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 159 บาท เป็น 174 บาท, สงขลา 161 บาท เป็น 176 บาท

และปรับขึ้น 17 บาท มี 1 จังหวัด คือภูเก็ต 204 บาท เป็น 221 บาท

“สาเหตุที่จังหวัดภูเก็ตได้รับการ ปรับขึ้นสูงสุด เพราะเป็นจังหวัดท่องเที่ยว ที่มีค่าครองชีพสูง ซึ่งเดิมอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอปรับขึ้น 11 บาท แต่บอร์ดค่าจ้างกลางได้บวกค่าคุณภาพชีวิต ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจอีก 6 บาท รวมเป็น 17 บาท ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม มีลูกจ้างที่จะได้รับการปรับค่าจ้างครั้งนี้จำนวน 2 ล้านคน เป็นเม็ดเงิน 6,918 ล้านบาท เมื่อรวมกับแรงงานต่างด้าวอีกประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งจะได้ค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่ เป็นเงิน 7,700 ล้านบาท เมื่อรวมแล้วจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น 14,900 ล้านบาท” นายสมเกียรติ กล่าว

ด้าน นายปัณณพงษ์ อิทธิ์อรรถนนท์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกปี มักจะมีข้อถกเถียงกันมาก แต่ปีนี้เป็นปีที่การขึ้นค่าจ้างไม่เกินความคาดหมาย เพราะมีการพูดคุยมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ตัวเลขที่ปรับขึ้นอยู่ในอัตราประมาณนี้

“อย่างไรก็ตาม ที่มีการพูดกันว่าการขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ ปรับไม่ถึง 250 บาทต่อวัน ตามที่นายกฯ เคยพูดไว้ ผมในฐานะที่เป็นภาคเอกชน ก็บอกได้เลยว่า อัตราที่ปรับขึ้น 8-17 บาท เป็นตัวเลขที่นายจ้างสามารถจ่ายได้แค่นี้ เต็มที่แล้ว เพราะการขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับนายจ้างอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากค่าจ้างฐานล่างได้มีการขยับ ก็จะทำให้ค่าจ้างในระดับบนต้องปรับขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้ารัฐบาลเห็นว่ายังไม่มากพอ ส่วนที่เกินก็ให้รัฐบาลเอามาเสริมให้เต็ม ตามที่ประกาศไว้ ให้ถือว่าเป็นสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็เหมือนกับการที่รัฐบาลปรับเงินเดือนให้กับลูกจ้างรัฐ” นายปัณณพงษ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกัน ที่ด้านข้างกระทรวงแรงงานช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงาน มารวมตัวชุมนุมประมาณกว่า 100 คน เพื่อกดดันให้บอร์ดค่าจ้าง พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 10 บาททั่วประเทศ ตามที่องค์กรแรงงานฯ เคยยื่นข้อเรียกร้องไว้

โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มารับหนังสือด้วยตนเอง และภายหลังจากที่ทราบผลว่า บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาท

นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมถือว่าพอใจกับผลที่ออกมา อย่างไรก็ตาม อยากให้ทางคณะกรรมการค่าจ้างกลับไปทบทวนจังหวัดที่ได้รับการปรับขึ้นน้อย กว่า 10 บาท ทั้งหมด 31 จังหวัด เพราะค่าคุณภาพชีวิตยังต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ซึ่งทางองค์การแรงงานฯ จะยื่นหนังสือถึงปลัดกระทรวงฯ ให้ปรับขึ้นค่าแรงเพิ่มเติมในจังหวัดเหล่านี้ ในวันที่ 12 ธ.ค. 2553 รวมทั้งขอให้ชี้แจงเหตุผลกรณีปรับขึ้นค่าจ้างให้จังหวัดภูเก็ตถึง 17 บาท ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวที่ได้รับการปรับขึ้นสูงที่สุด

ที่มา
โครงการณ์รณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปลุกรัฐหันมอง "กองทุนสื่อสร้างสรรค์" ฝันอันยาวนานของเด็กไทย

Posted: 08 Dec 2010 11:48 PM PST

“สื่อ” เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและมีอิทธิพลต่อคนในสังคม โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาอยู่กับสื่อต่างๆเป็นเวลานาน แต่สิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้คือพื้นที่ “สื่อ” เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนนั้นมีน้อยเกินไป   หันไปทางไหนก็มีแต่การโฆษณาทั้งทางตรงและแอบแฝง และที่สำคัญสื่อต่างๆนั้นถูกมองเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้ความบันเทิงมากกว่าจะเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์  ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณที่ดีจากผู้ผลิตสื่อบางส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือกันของเครือข่ายกว่า 37 องค์กร ทั้งภาควิชาการ ภาคประชาชน เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเด็ก  สภาเด็กและเยาวชน และภาคส่วนอื่น ๆ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของ “สื่อ” และอยากเห็นอนาคตของชาติมีสื่อสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือหนุนเสริมให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ  จึงร่วมกันผลักดันให้เกิด  “พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ....” ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว

อย่างไรก็ตาม หาก “พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ผ่านการพิจารณาและออกประกาศใช้ได้ในที่สุด  จะทำให้ผู้ผลิตสื่อที่ต้องการสร้างสื่อดี ๆ ได้มีโอกาสทำได้จริงมากขึ้น  ทำให้ภาคประชาชนผู้บริโภคสื่อมีทางเลือกในการรับสื่อมากขึ้น รวมทั้งได้มีส่วนรวม แสดงความคิดเห็น แสดงพลังในการที่จะเปลี่ยนแปลงวงการสื่อซึ่งแต่เดิมถูกกำหนดแนวทางจากคนไม่กี่กลุ่ม  และที่สำคัญคือเด็กและเยาวชนกว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศที่จะได้มีสื่อที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัยและสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้พวกเขาได้เติบโตมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตของสังคมไทย เรามักจะพูดกันเสมอว่าสื่อเป็นผู้ที่มีส่วนอย่างมีนัยสำคัญ ทุกครั้งที่มีปัญหาในสังคมบ่อยครั้งมักได้ยินการโทษสื่อและพยายามจะหาวิธีจัดการกับสื่อ แต่ยิ่งพยายามหาวิธีแก้ปัญหาก็ดูเหมือนปัญหากลับเพิ่มขึ้น ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาแสดงเรายังแก้ปัญหาด้านสื่อในเชิงสร้างสรรค์กันไม่สำเร็จ ในอนาคตอันใกล้หากเราจะมีกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นมาและอยากกองทุนนี้ควรจะมีลักษณะเป็นองค์กรอิสระที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการสูง องค์กรอิสระนั้นหมายความว่าเป็นองค์กรที่ปลอดจากการแทรกแซงของอำนาจรัฐปลอดจากการแทรกแซงของอำนาจทุนหรือกลุ่มผลประโยชน์

“ทำอย่างไรเราจะให้คนทำสื่อมืออาชีพได้ทำสื่อน้ำดีให้คนเห็นมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสื่อแยกออกว่าทำงานแบบมืออาชีพหรือทำงานแบบมักง่าย มันเป็นเช่นนั้น ถ้าคนไทยได้บริโภคสื่อดีๆ วันหนึ่งเด็กจะเลือกเป็นว่าสื่อที่ดีและมีมาตรฐานที่จะสร้างสรรค์พัฒนาสังคมนั้นเป็นอย่างไร หรือสื่อที่ไม่รับผิดชอบ สื่อที่ทำกันอย่างมักง่ายก็จะลดน้อยลงโดยอัตโนมัติ ควรจะช่วยกันส่งเสริมให้มีกองทุนสื่อในเชิงสร้างสรรค์เช่นนี้เกิดขึ้นให้ได้ และเราทั้งหลายผู้ใช้สื่อในชีวิตประจำวันนี่แหละจะช่วยกันลุกขึ้นมาก่อตั้งกองทุนสื่อดีๆ เพื่อขจัดสภาพแวดล้อมให้บ้านเมืองของเรามีสื่อน้ำดีเป็นปากเป็นเสียง และขณะเดียวกันก็เป็นเสมือนเข็มทิศทางสติปัญญา เป็นขุมคลังทางปัญญาของคนทั้งประเทศ และอย่างน้อยที่สุดท่ามกลางความมืดมิดเราก็มีสื่อดีๆไว้เป็นที่ฝากความหวังด้วยอีกทางหนึ่ง”

ด้านนายเชษฐา มั่นคง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กที่ผ่านมาผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ตั้งแต่ปี 2546 เพื่อให้มีช่วงเวลาของสื่อที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะช่วงเวลาเย็นหลังเด็กเลิกเรียน 

“เราได้ร่วมกันผลักดันยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาลและสังคมไทย โดยเฉพาะสื่อมีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก ซึ่งจะเห็นว่าสื่อปัจจุบันโดยเฉพาะสื่อทีวีเข้ามามีอิทธิพลกับเด็กค่อนข้างมาก หลายบ้านมีสื่อทีวีทั้งในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือมีอินเทอร์เน็ต ฯลฯ หากเกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์จะสามารถมาช่วยสนับสนุนสื่อดีๆ สำหรับเด็กทั้งในเรื่องของงานวิจัย การผลิตสื่อสร้างสรรค์ การพัฒนาเครือข่ายเพื่อให้มีการเฝ้าระวังสำหรับเด็ก เป็นต้น”

หลังจากเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กร่วมกับเครือข่าย 30-40 กว่าองค์กรและใช้เวลากว่า 7 ปีแล้วแต่ยังไม่เกิดกองทุนนี้ จึงอยากให้ช่วยกันจับตาดูว่า พรบ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่และ เกิดคุณค่าแก่เด็ก เยาวชนอย่างไร อยากให้ทุกคนภาคพลเมืองช่วยจับตามอง ช่วยกันผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อดี สำหรับเด็กซึ่งหมายถึงลูกหลานของตัวเองในอนาคตด้วย

นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า ขณะนี้สื่อของประเทศไทย มักจะอยู่ภายใต้แรงจูงใจทางด้านทุนกับแรงจูงใจของฝ่ายรัฐ กล่าวคือ รัฐและทุนพยายามจะใช้สื่อเพื่อเป็นประโยชน์หลักของตนเอง บางทีมากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคสื่อ

 “การทำสื่อที่มีคุณภาพเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่เป็นประโยชน์กับเด็กและเป็นพื้นที่ที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในด้านความคิด อารมณ์ ความเฉลียวฉลาด และความอยากรู้อยากเห็น เมื่อขาดสิ่งนี้จะไปขอพึ่งรัฐให้จัดสรรงบประมาณรัฐก็ทำได้ไม่ถนัด จะไปพึ่งทุน ทุนก็จะเกี่ยงว่าไม่มีการให้ทุนใช้จ่ายในส่วนนี้ หรือทุนก็เอาใจผู้บริโภคมากจนเกินไป คือ ทำสื่อไปตามกระแสโดยไม่เน้นเรื่องคุณภาพเท่าที่ควร”

สำหรับบางประเทศเห็นความสำคัญการพัฒนาการเด็กให้เป็นไปตามวัยและพยายามสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ การทำพื้นที่ให้เด็กมาใช้ เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อให้มากกว่าจะปล่อยไปเป็นกระแสของราชการก็ดีหรือของทุนก็ดี ดังนั้นจึงขอสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีกองทุนสื่อสร้างสรรค์ 

“เสนอว่า ถ้ามีกองทุนนี้ออกมาให้ได้ผลจริงจังตามเจตนารมณ์ก็จะมีอยู่ 2 ข้อที่จะฝากไว้เป็นความห่วงใย คือ อยากเห็นกองทุนนี้เป็นการบริหารจัดการที่ไม่ใช่ต้องฟังคำสั่งจากรัฐมนตรีหรือจากปลัดกระทรวง มีการบริหารจัดการเปิดกว้างในแง่ของการดูแลของสังคมต่อกองทุนไม่ใช่การดูแลของระบบราชการ

รวมทั้งอยากฝากภาครัฐที่มักจะมีแนวโน้มวางกฎเกณฑ์ กำกับว่าสื่อไหนเป็นสื่อดี สื่อไหนเป็นสื่อไม่ดี และจะพยายามไปควบคุมเรื่องสื่อไม่ดี แนวโน้มที่จะเซ็นเซอร์ต่างๆ จึงอยากจะเห็นกองทุนนี้เป็นกองทุนในลักษณะเชิงบวกในลักษณะการส่งเสริม ส่วนเรื่องที่จะไปควบคุมตรวจสอบดูแลสื่อก็น่าที่จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐโดยตรง ไม่เกี่ยวกับกองทุนนี้ และอยากให้กองทุนนี้มีการบริหารจัดการโดยภาคสังคมและเน้นการส่งเสริมสื่อที่เป็นประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด”

หลากหลายเสียงของผู้ใหญ่ที่ห่วงลูกหลาน ฝากถึงผู้มีอำนาจพิจารณาเพื่อให้เกิด “กองทุนสื่อสร้างสรรค์” ออกมาเป็นเครื่องมือหนุนอนาคตของชาติอย่างแท้จริง และในวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2553 นี้ โครงการจับตากองทุนสื่อฯภายใต้การสนับสนุนโดยแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) จะจัดเวทีสาธารณะ “จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ” ขึ้น ที่โรงแรมเอเชีย (ติดสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี) เปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อเยาวชนและสังคมแท้จริง.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น