โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เปิดใจเรื่องผลประโยชน์ซ่อนเร้นผังเมืองรวม กทม.

Posted: 22 May 2013 12:44 PM PDT

มีนักวิชาการบางคนออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ผมคัดค้านผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเพื่อช่วยนายทุนนักพัฒนาที่ดิน  เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ผู้ที่ปกป้องผังเมืองรวมต่างหากที่ถูกว่าจ้างมาด้วยผลประโยชน์ซ่อนเร้น

ผมยืนยันได้ว่า ผมไม่ได้ทำเพื่อนายทุนนักพัฒนาที่ดินอย่างแน่นอน  ผมให้บริการวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน และเป็นศูนย์ข้อมูลวิจัยอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของประเทศไทยที่ให้บริการข้อมูลอย่างเป็นกลางที่สุดยิ่งกว่าศูนย์ข้อมูลของทางราชการโดยไม่มีนายทุนใดหนุนหลังหรือมาเป็นกรรมการควบคุม   ที่สำคัญผมไม่ทำธุรกิจนายหน้าค้าที่ดินและไม่เป็นนักพัฒนาที่ดินเอง เพื่อรักษาความเป็นกลางทางวิชาชีพและวิชาการอย่างเคร่งครัดมาตลอด 22 ปีที่ทำกิจการมา

ในทางตรงกันข้ามนักวิชาการที่ออกมาปกป้องผังเมืองรวมต่างหากที่ได้รับผลประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้รับจ้างทำผังเมืองรวมหรือเป็นที่ปรึกษาของผู้รับจ้างหรือหน่วยงานว่าจ้าง จึงต้องสวมบทเป็น "หนังหน้าไฟ" คอยปกป้องผังเมืองรวมไว้  เพราะยิ่งมีการชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของผังเมืองรวมมากเท่าใด ก็ยิ่งกระเทือนต่อสถานะและบทบาทในฐานะผู้รับจ้างหรือที่ปรึกษามากขึ้นเท่านั้น  ดังนั้นสาธารณชนจึงพึงเห็นให้ชัดว่า ใครกันแน่ที่มีผลประโยชน์แอบแฝงซ่อนเร้นในกรณีนี้

การออกมาพูดแบบ "หวานซ่อนเปรี้ยว" ของนักวิชาการบางคนที่ว่าเราต้องเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมในการจัดทำผังเมืองกรุงเทพมหานครแทนที่จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวนั้น เป็นความเท็จอย่างสิ้นเชิง  เพราะผมชี้ให้เห็นมาตลอดว่า ผังเมืองฉบับนี้ต่างหากไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้น้อยเลย  อันที่จริง ผังเมืองนี้ผลักดันให้ชาวกรุงเทพมหานครต้องระเห็จไปซื้อบ้านอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เพราะข้อจำกัดการก่อสร้างต่าง ๆ นานา  ยกตัวอย่างเช่น

1. ในเขตใจกลางเมือง ก็กำหนดให้มีสัดส่วนพื้นที่ที่จะสร้างได้ต่อขนาดที่ดินต่ำ ๆ และยังกำหนดให้มีพื้นที่โล่งมากๆ อีกทั้งยังกำหนดให้มีพื้นที่โล่งที่เป็นส่วนที่น้ำซึมผ่านได้ถึง 50% ทำให้พื้นที่ก่อสร้างได้จริงเหลืออยู่เพียงไม่ถึงสองในสามของพื้นที่ดิน  เมื่อสร้างได้น้อย ราคาที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นก็ยิ่งแพงขึ้นอีก ประชาชนทั่วไปก็ไม่สามารถอยู่อาศัยในเมืองยกเว้นบุคคลระดับคหบดี  ถ้าใจกลางเมืองสร้างได้สูงๆ ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ชนชั้นกลางก็ยังอยู่ได้ เมืองก็ไม่แตกกระจายออกไปรอบนอก

 2. ในเขตต่อเมือง (เขตที่อยู่อาศัยหมายเลข ย.3) ก็ห้ามสร้างอาคารที่อยู่อาศัยรวม ซึ่งหมายถึงอาคารชุดและแฟลตเช่าที่มีขนาด 1,000-1,999 ตารางเมตร  หากจะสร้างก็ต้องตั้งอยู่บนที่ดินที่มีขนาดถนนกว้างถึง 30 เมตร  ซึ่งก็เป็นที่รู้อยู่เต็มอกว่าไม่มีซอยใดที่จะมีความกว้างเช่นนี้  ดังนั้นต่อไปค่าเช่าก็ต้องแพงขึ้น หรือไม่ก็ต้องย้ายไปเช่านอกเมือง

3. ในเขตนอกเมือง (เขตที่อยู่อาศัยหมายเลข ย.2) ในร่างผังเมืองเดิมห้ามสร้างทาวน์เฮาส์เลย (ทั้งที่มีโครงการทาวน์เฮาส์อยู่มากมาย) แต่จากการเรียกร้องที่ผมและหลายคนช่วยกัน จึงปรับเป็นว่าห้ามสร้างทาวน์เฮาส์ หากที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนที่กว้างน้อยกว่า 12 เมตร  ซึ่งก็คงมีซอยไม่มากที่มีขนาดกว้างเท่านี้  การสร้างทาวน์เฮาส์ให้ผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างน้อยจึงต้องออกไปนอกเมืองอีกเช่นกัน  การที่ผังเมืองเพียงมุ่งหมายแบบดาด ๆ ให้กรุงเทพมหานครดูโล่ง  กลับผลักปัญหาให้ไปเกิดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครแทน

ในการมองเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงนั้น เราไม่พึงมองอย่างผิวเผิน เช่น หากอนุญาตให้ "นายทุน" สร้างตึกได้สูงๆ ให้หนาแน่น (High Density) แต่ไม่แออัด (Overcrowded) ใจกลางเมืองนั้น เมื่อสร้างแล้ว มีผู้ซื้อก็แสดงว่าประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์  ในทางตรงกันข้าม หากสร้างไปแล้วไม่เป็นที่ต้อนรับของผู้บริโภค ผู้ที่รับเคราะห์หรือรับความเสี่ยงก็เป็น "นายทุน" เอง  โดยนัยนี้นักพัฒนาที่ดินจึงมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ เป็นผู้ส่งมอบประโยชน์ให้ประชาชน ไม่ใช่ผู้ร้ายที่พึงถูกป้ายสี  นายทุนอาจได้กำไรสัก 15% ของราคาขาย  แต่ผู้ได้ประโยชน์ที่แท้ก็คือประชาชนผู้ซื้อบ้านที่ทรัพย์ของตนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

ยิ่งหากพิจารณาถึงบทบาทการ "ลดโลกร้อน" และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สีเขียวแล้ว  การให้ประชาชนได้มีโอกาสอยู่กันอย่างหนาแน่นแต่ไม่แออัดใจกลางเมืองด้วยการเพิ่มความสูงและพื้นที่ก่อสร้าง จะลดการเผาผลาญพลังงานและทรัพยากรอื่น ๆ ในการเดินทาง ได้ดีกว่ามาตรการตลกๆ ที่ให้น้ำซึมผ่านดินได้ตามที่ผังเมืองกำหนดไว้ ซึ่งเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้ผลที่แน่ชัดใดๆ และก็มีท่อระบายน้ำอยู่หน้าที่ดินมากมาย

นักวิชาการผู้วางผังเมืองที่หวังแก้ไขปัญหาความแออัดของกรุงเทพมหานครด้วยการปัดปัญหาออกนอกเมือง ซุกปัญหาอยู่ใต้พรม ไปสร้างปัญหาให้กับจังหวัดปริมณฑล  ทำให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ ต้องขยายตัวออกไปรอบนอกอย่างไร้ขอบเขต และไร้ทิศทางนั้น ถือเป็นผู้ที่ขาดความรับผิดชอบ ขาดจรรยาบรรณ ไม่เป็นสุภาพชนอย่างยิ่ง  ถึงแม้เปลือกนอกจะเป็น Mr. Nice Guy หรือ Mr. Yes ก็ตามที

ผังเมืองที่ไม่ให้ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยอยู่ในเมือง ถือเป็นผังเมืองที่มุ่งหวังปกป้องผลประโยชน์ของพวกนายทุนอนุรักษ์นิยม เจ้าขุนมูลนายที่อยู่ในใจกลางเมืองอยู่แล้ว โดยมุ่งหวังให้พวกเขาอยู่อย่างสงบ ไม่แปดเปื้อนกับพวกสามัญชน  พวกนี้ยังไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ทั้งที่ครอบครองที่ดินที่มีมูลค่ามหาศาล ในขณะที่สามัญชน เช่น พวกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ยังต้องเสียภาษีล้อเลื่อนสำหรับเครื่องมือทำมาหากินของตน

ดังนั้นหากวิพากษ์กันอย่างถึงที่สุด ผมจึงขอเปิดโปงให้เห็นกันแน่ว่าใครกันแน่ที่รับใช้นายทุนในเรื่องผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหตุใดในสังคมไทย ผู้กระทำความผิดจึงไม่ถูกลงโทษ

Posted: 22 May 2013 12:28 PM PDT

 

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั่วโลกก็พบว่าอดีตเผด็จการที่อื้อฉาวคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอาเจนตินาคือนายพลจอร์เก ราฟาเอล วิเดลา ได้ถึงแก่กรรมในคุก  เขาเป็นนายพลในกองทัพที่ได้โค่นล้มรัฐบาลของอิสเบลา เปรอง แม่หม้ายของนายพลฮวน เปรองแล้วขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเสียเองในช่วงปี 1976-1981 ในช่วงนั้นถูกขนานนามว่าเป็น "สงครามโสโครก" (Dirty War) คือประชาชนอาเจนตินาต้อง "สูญหาย"ไปเป็นการถาวรหมื่นกว่าคน โดยกองทัพของวิเดลาได้ลักพาตัวคนเหล่านั้นไปทรมานและสังหารอย่างโหดเหี้ยม ไม่เว้นแม้แต่หญิงท้องแก่ซึ่งถูกฆ่าภายหลังจากได้คลอดลูกแล้ว (ส่วนทารกถูกนำไปให้กับคู่สามีภรรยาซึ่งโดยมากเป็นทหารในกองทัพ)  และก่อนหน้านี้ไม่นาน นายพลอีเฟรน รีโอส มอนต์  แห่งกัวเตมาลาก็ได้ถูกพิพากษาติดสินจำคุกเป็นเวลา 80 ปี จากข้อหาเช่นเดียวกับวิเดลาในช่วง ทศวรรษที่  80  หรือศาลอาชญากรรมของบังคลาเทศกำลังดำเนินคดีผู้นำมุสลิมในข้อหา สังหารหมู่ปัญญาชนในช่วงสงครามประกาศเอกราชเมื่อปี 1971 

เป็นที่น่าสะเทือนใจว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวดูเป็นเรื่องที่ไม่ทีทางจะเกิดขึ้นได้กับสังคมไทยซึ่งเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนบริสุทธิ์โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลเรียกร้องประชาธิปไตยมาหลายครั้งตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 เป็นต้นมาไม่ว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม  6 ตุลาคม พฤษภาทมิฬ  2535 หรือเหตุการณ์สังหารโหดประชาชนเกือบ 100 ศพกลางเมืองหลวง ปี 2553 ฯลฯ ซึ่งผู้กระทำความผิดไม่ถูกลงโทษและไม่มีทางจะถูกลงโทษ ไปจนคนเหล่านั้นเสียชีวิตลงอย่างสงบ  (และน่าเศร้าคือมีเกียรติ) ปัจจัยที่ทำให้พวกเขารอดพ้นจากการลงโทษก็คงมีหลายประการดังจะนำมากล่าวได้ในที่นี้

1.ความไม่ชัดเจนระหว่างความถูกต้องและความผิด

รัฐไทยแบบจารีตและอำนาจนิยมซึ่งเห็นความสำคัญต่อความเป็นระเบียบของรัฐซึ่งเคลือบด้วยศีลธรรมของพุทธศาสนาย่อมไม่เข้าใจคุณค่าทางประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมหรือแนวคิดแบบเอียงซ้ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความอยุติธรรมของสังคมเป็นอันขาด การกำจัดประชาชนที่มีความเห็นเช่นนี้ออกไปย่อมกลายเป็นความถูกต้องแม้ว่าจะผิดศีลข้อ 1 ตามหลักของพุทธศาสนาก็ตาม (นัยให้ข้อแก้ตัวว่าการฆ่ามารย่อมไม่ผิดศีล) และแนวคิดนี้ยังคงอยู่กับประชาชนในประเทศนี้อีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่มีความกระตือรือร้นในการหาผู้กระทำความผิด เพราะไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ผิด

2.กระบวนการยุติธรรม

 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดเพราะพวกเขาได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมความผิดให้กับตัวเองไปแล้ว  ถึงแม้จะสามารถทำให้การนิรโทษกรรมเป็นโมฆะดังเช่นที่รัฐบาลของอาเจนตินาในยุคหลังได้ทำกับวิเดลาจึงทำให้สามารถดำเนินคดีกับเขาได้ แต่สถาบันยุติธรรมเองรวมไปถึงชนชั้นปกครองไทยก็มีอุดมการณ์หรือแนวคิดที่คล้ายคลึงกับผู้กระทำความผิดเหล่านั้น จึงไม่ใช่ธุระอะไรที่จะไปฟื้นฝอยหาตะเข็บเพราะจะสะท้อนกับอำนาจของตนและยังทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มอำนาจอื่นโดยเปล่าประโยชน์ (1)

3.กองทัพช่วยอุ้ม

 สถาบันสำคัญอย่างเช่นกองทัพยังช่วยปกป้องคนกระทำความผิด เพราะบุคคลเหล่านั้นโดยเฉพาะอดีตนายทหารถึงแม้จะหมดบทบาทไปแล้วแต่ก็ยังเป็นสัญลักษณ์เชิงอำนาจของกองทัพ การยอมรับความผิดก็คือการทำให้อำนาจและความชอบธรรมของกองทัพทั้งในปัจจุบันและอนาคตต้องสูญเสียไป การที่สังคมไทยไม่สามารถนำอดีตทหารเหล่านั้นซึ่งกระทำความผิดมาลงโทษหรือพิพากษาคนเหล่านั้นย้อนหลัง (หากเสียชีวิตไปแล้ว)ได้ สะท้อนว่าไทยยังคงเป็นประชาธิปไตยแบบเทียมคือยังถูกอิทธิพลของทหาร เข้าครอบงำสูงมาก (2)

4.อุดมการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง

สังคมไทยยังคงผลิตซ้ำอุดมการณ์แบบเดิมๆ ดังที่กล่าวเช่นเน้นการยกย่องบุรุษเหล็กหรือเผด็จการที่แข็งแกร่งและเปี่ยมด้วยคุณธรรมในขณะเดียวกันก็ดูแคลนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะเป็นสิ่งประดิษฐ์ของตะวันตกที่น่ารำคาญ เมื่อมีคนยกคำ 2 คำนี้ก็มักจะมีคนสวนกลับมาว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย และมักจะโยงไปยังเหตุการณ์ร้าย ๆ  โดยไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้ สื่อมวลชนในฐานะตัวผลิตซ้ำวัฒนธรรมทางการเมืองก็ดูเหมือนจะรู้เห็นเป็นใจด้วย เช่นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ มักนำเสนอประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมที่ยกย่องวีรกรรมของกษัตริย์และบรรพบุรุษไทยในอดีต โดยการใช้ความรุนแรงเช่นการทำสงครามกับฝ่ายตรงกันข้ามอย่างพม่าที่มักถูกตีตราว่าเป็น ฝ่ายอธรรม อันทำให้การให้ความหมายมีการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงให้เป็นคนไทยด้วยกันได้  ภาพยนตร์เหล่านั้นจึงเป็นการละเล่นเชิงสัญลักษณ์ในการอนุญาตให้ฆ่าประชาชน (License to  kill) ได้ถ้าคนเหล่านั้นถูกตีตราว่าเป็นฝ่ายอธรรม เป็นภัยต่อสถาบันหลักของชาติ  ในขณะเดียวกันผู้ฆ่ากลับกลายเป็นวีรบุรุษหรือเป็นฝ่ายพระในการปราบปรามฝ่ายอธรรม   สำหรับภาพยนตร์ที่พยายามจะนำเสนอในแง่มุมประชาชนบ้างก็ถูกหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่เซ็นเซอร์จนไม่สามารถระบุถึงผู้ผิดในฐานะเป็นตัวบุคคล หรือนำเสนอแง่มุมอะไรใหม่ๆ ได้นอกจากนำเสนออุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบลอยๆ 

5.วงการประวัติศาสตร์

 เป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจไม่น้อยอย่างวงการประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ดูจะอำพรางหรือเอาใจช่วยผู้กระทำความผิดอย่างมาก ดังเช่นหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอาจจะมีการบรรยายถึงเหตุการณ์การสังหารหมู่ประชาชน (หลังจากการผลักดันต่อสู้มานาน) แต่ก็ โกหก/บิดเบือน/ละเว้นไม่กล่าวถึง หรืออย่างน้อยก็ไม่สามารถทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงได้ หนังสือเหล่านั้นบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดโดยแสร้งว่าพยายามเป็นกลางเช่นหนังประวัติศาสตร์กำมะลอฉบับหนึ่งระบุว่าจอมพลถนอม "ถูกมองว่า" เป็นเผด็จการ  ทั้งที่ถ้าใช้หลักประชาธิปไตยมาวัดไม่ว่าแง่มุมใดจอมพลถนอมก็เป็นเผด็จการคือทำรัฐประหารตัวเองแล้วฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง นอกจากนี้ ผู้เขียนเคยอาจอ่านพบในหนังสือเรียนสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่กล่าวถึงเหตุการณ์  6 ตุลาคม 2519  โดยพยายามชี้นำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการสังหารหมู่นักศึกษาเกิดจากการเข้าใจผิดของทางการมากกว่าการวางแผนที่เตรียมกันมาอย่างดี  ทั้งนี้ไม่นับการละเว้นไม่กล่าวถึงบทบาทของตัวละครอื่นที่สำคัญไม่แพ้กับผู้บุกไปสังหารนักศึกษาแม้เพียงนิด  อนึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าสำหรับภาพยนตร์ที่เข้ามาสอดรับกับแบบเรียนก็ได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง "ฟ้าใสหัวใจ ชื่นบาน" พยายามจะบอกกับคนดูว่า เหตุการณ์อันเลวร้ายเหล่านี้เกิดจากเสรีภาพอันเกิดขอบเขตของตัวนักศึกษาเอง ส่วนผู้สังหารนักศึกษาไม่มีการกล่าวถึง

6.บทบาทรัฐบาล

ตัวรัฐบาลเองไม่ว่าเผด็จการทหารหรือพลเรือนดูเหมือนจงใจให้เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นแค่อุทาหรณ์สอนใจเพราะการให้ความสำคัญจนเกินไปก็อาจจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับมวลชนในการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลปัจจุบัน ดังนั้นรัฐจึงไม่มีทางที่จะสถาปนาให้วันที่ 14 ตุลาฯ  6 ตุลา ฯ เป็นวันสำคัญของชาติได้ และเมื่อถึงวันเหล่านั้น สื่อมวลชนกระแสหลักจำนวนมากก็ไม่กล่าวถึง (เพราะผู้ใหญ่ของสถานีไม่อยากข้องเกี่ยวกับการเมืองหรือกลัวเสียเวลาโฆษณาหรือกลัวว่าจะเสียเวลาละครเรตติ้งดีๆ ) หรือถ้าเป็นสื่อกระแสรองมาหน่อยอาจจะกล่าวถึงแต่พองามเป็นสารคดีสักไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถนำเสนออะไรได้มากไปกว่าผลิตซ้ำเรื่องเดิมๆ  เช่นเดียวกับเรื่องอนุสาวรีย์ รัฐบาลก็ไม่สนับสนุนให้มีการสร้างเพราะการสร้างอนุสาวรีย์ย่อมเป็นการยอมรับความผิดของรัฐอันจะส่งผลถึงดุลอำนาจของรัฐบาลในปัจจุบันดังที่ได้กล่าวไว้ ยกเว้นว่าการเมืองภาคประชาสังคมจะพยายามดิ้นรนเองไม่ว่าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แถวสี่แยกคอกวัวหรืออนุสาวรีย์บุคคลสำคัญนอกกระแสอย่างเช่น จิตร ภูมิศักดิ์ (3) สำหรับอนุสาวรีย์ 6 ตุลาฯ  ถึงแม้จะมีผู้พยายามสร้างก็คงจะถูกสกัดกั้นสุดชีวิตเพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนชนชั้นสูงไม่น้อย และถึงแม้ในวงการมหาวิทยาลัยที่มีการพยายามสร้างประวัติศาสตร์กระแสรองขึ้นมาสู้ อาจารย์และนักศึกษาโดยเฉพาะสาขารัฐศาสตร์ก็พยายามจะกล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ  มีการจัดงานเสวนา การแสดงละครหรือนิทรรศการ มีการกล่าวถึงตัวละครต่างๆ ในเหตุการณ์เหล่านั้นโดยเฉพาะผู้กระทำความผิดที่มีมิติที่ลุ่มลึกและละเอียดกว่าเดิม แต่ก็คงจะจำกัดอยู่เพียงแต่ในแวดวงมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่วงวิชาการเองก็ยังประสบปัญหาคือวนอยู่แต่ในเหตุการณ์อดีตเช่นไม่สามารถทำนายอนาคตได้หรือ ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้เช่นมีคนรู้เรื่อง 14 ตุลาฯ หรือ 6 ตุลา ฯ ดีแต่ก็ยังเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองร้อยเป็นร้อยศพได้ เพราะไม่สามารถเผยแพร่แนวคิดเหล่านั้นให้สังคมได้รับรู้ได้ในวงกว้าง

 

ตัวผู้กระทำความผิดในสังคมไทยจึงกลายเป็นอาชญากรที่เหมือนว่าจะมีหน้าแต่ก็ไร้ใบหน้า (Faceless culprits) เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีที่มาที่ไป และออกจากฉากการเมืองไปอย่างเงียบๆ  ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นเผด็จการแต่ไม่ต้องรับผิดชอบความผิดของตัวเอง ที่แย่ไปกว่านั้นเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะว่ามีคนที่คิดแบบถนอม ประภาส สุจินดา อภิสิทธิ์อีกเป็นจำนวนมากในปัจจุบันหรืออนาคตที่พร้อมจะกระทำความผิดแบบเดียวกับในอดีตเพราะไม่คิดว่าการกระทำของตนนั้นผิดหรือรู้ว่าพวกตนย่อมไม่มีวันถูกลงโทษเป็นอันขาดด้วยปัจจัยดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมด

 


========

 

(1) จึงไม่น่าประหลาดใจว่าเหตุใดคนบางกลุ่มจึงพยายามต่อต้านไม่ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยสาเหตุหนึ่งเพราะไม่ต้องการไม่ให้มีการยกเลิกการนิรโทษกรรมผู้ทำรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549

(2) กรณีอย่างเช่นในอาเจนตินา กัวเตมาลา และบังคลาเทศสะท้อนว่าอิทธิพลของทหารได้ลดน้อยถอยลงไป อย่างเช่นอาเจนตินา รัฐบาลทหารต้องหมดอำนาจไปเพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและการพ่ายแพ้อังกฤษในสมรภูมิหมู่เกาะฟลอกแลนด์ในปี 1982   ทว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศโลกที่ 3 เท่านั้นแม้แต่อเมริกาเอง ประธานาธิบดีเองก็มักไม่ถูกลงโทษถึงขั้นจำคุกเพราะจะทำให้สถาบันการเมืองอเมริกาเสื่อมเสียไปด้วย ตรงกันข้ามกับหลายประเทศที่อเมริกามักจะถือว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเช่น อย่างเกาหลีใต้หรือเปรูที่อดีตประธานาธิบดีต้องติดคุกเพราะความฉ้อฉลของตนในอดีต

(3) ในเรื่องอนุสาวรีย์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก หลายคนมองโลกในแง่ดีว่า การสามารถสร้าง อนุสาวรีย์ของนักต่อสู้เพื่อมวลชนจะสะท้อนว่าพื้นที่ทางอำนาจของมวลชน โดยเฉพาะฝ่ายซ้ายได้ ขยายตัวสู้กับพื้นที่ทางอำนาจของรัฐ (เช่นอนุสาวรีย์ของบรรดาเชื้อเจ้า) สำหรับผู้เขียนคิดว่าการสร้างอนุสาวรีย์มาโดยไม่สามารถสร้างวาทกรรมขึ้นมารองรับได้ก็อาจจะทำให้อนุสาวรีย์นั้นหมดความหมายไป เช่นคงมีคนรุ่นใหม่จำนวนที่เดินเตร่แถวบริเวณนั้นโดยเห็นว่าเป็นที่หลบฝนหรือฆ่าเวลา (ก็คงจะได้รู้ว่ารัฐบาลปราบปรามประชาชน แล้วตกลงเป็น อย่างไรต่อไปล่ะ ?)  เช่นเดียวกับการสร้างอนุสาวรีย์จิตร ภูมิศักดิ์ได้ก็อาจจะไม่ต่างจากอนุสาวรีย์ ของปรีดี พนมยงค์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีคนไว้กราบเหมือนศาลพระภูมิแต่ไม่ทราบว่า ท่านผู้นี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างไร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

Posted: 22 May 2013 12:27 PM PDT

"อยากจะให้แยกประเด็นเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ กับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ออกจากกัน โดยการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าต้องพิจารณาในทุกพื้นที่อยู่แล้ว และต้องให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับ"

22 พ.ค.56, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีไฟฟ้าภาคใต้ดับคืนวันที่ 21 พ.ค.

เครือข่ายเกษตรอินทรีย์อุบลฯจับมือ‘สื่อสร้างสุข’ ลุยทำสื่อ-จัดงานกินสบายใจปี 2

Posted: 22 May 2013 11:59 AM PDT

กลุ่มเกษตรอินทรีย์จ.อุบลฯ จับมือสื่ออิสระท้องถิ่น ทำสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหาร เร่งรณรงค์งดใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าว สวนผัก ชูให้เกษตรกรเลี้ยงไส้เดือนในสวน เป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมราคาไม่แพง ด้านสสจ.อุบลฯ หนุนการทำตลาด เผยเทศกาลกินสบายใจจะมีขึ้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ 57 นี้

22 พ.ค.56 ที่ห้องประชุม1 ชั้น3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สื่อสร้างสุขจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) จับมือกับสำนักงานสาธารณสุขจ.อุบลราชธานี (สสจ.) และภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เมืองอุบลฯ ประชุมวางแผนโครงการสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางอาหาร จ.อุบลฯ (กินสบายใจ)   ปีที่2 เพื่อรณรงค์ให้คนหันมาผลิตและรับประทานอาหารปลอดสารและไร้สารพิษมากยิ่งขึ้น 

นางสาวกาญจนา มหาพล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.อุบลฯ กล่าวว่าหากอยากให้เทศกาลกินสบายใจปีที่2 ประสบความสำเร็จกว่าเดิม ควรทำยุทธศาสตร์การทำงานให้ชัด ทำได้จริง เพราะเรื่องอาหารปลอดภัยเกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน 

นายพิทยา อ่อนแสง โครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน ชี้แจงคำว่าตลาดสดสีเขียวกับตลาดสดนั้น มีความต่างกันมาก ตลาดสดสีเขียวเป็นตลาดเชิงรณรงค์สินค้าปลอดสารในพื้นที่กว่าตลาดสดธรรมดา หากผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารที่หลากหลายก็เท่ากับการปกป้องทรัพยากรอาหารร่วมกัน  เน้นย้ำอยากให้มีตลาดเกษตรอินทรีย์ที่มีความหลากหลายทางผลผลิต พืชผักที่ปลอดสาร และทุกภาคีเครือข่ายนำมาจำหน่ายร่วมกัน

นายปิยะทัศน์ ทัศนิยม เกษตรอินทรีย์จ.อุบลฯ เปิดประเด็นคำถามว่าควรทำอย่างไรให้คนภายนอก และคนอุบลฯรู้จักเทศกาลกินสบายใจมากขึ้น และหันมาใส่ใจการบริโภคอาหารที่ปลอดสารมากขึ้น ที่สำคัญ อยากให้มีการณรงค์เรื่องไส้เดือนเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ดีที่สุด เพราะไส้เดือนขยายพันธุ์เอง มีนิสัยกินเก่ง ขับถ่ายเก่ง และสืบพันธุ์เก่ง 

นอกจากนั้นภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จ.อุบลฯ ยังเสนอให้ร่วมมือกับเทศบาลนครอุบลราชธานีเปิดตลาดปลอดสารพิษควบคู่ไปกับงานถนนคนเดินที่ทุ่งศรีเมืองอุบลฯ ซึ่งจะมีทุกวันศุกร์-เสาร์ ผู้คนมาเดินเป็นจำนวนมาก คาดว่าการจำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษจะขายดีแน่นอน 

นางสาวซึ้งบุญ บูรณะกิติ ราชธานีอโศก กล่าวว่าอยากเห็นตลาดที่มีการจำหน่ายผลผลิตที่ปลอดสารพิษและราคาถูก ถือว่าเป็นการให้บุญกับผู้บริโภค และใช้เวทีนี้เป็นการรวมตัวเกษตรอินทรีย์ทั่วทั้งจ.อุบลฯ เพื่อสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกัน

ช่วงท้ายของการประชุมได้ข้อสรุปว่ามีการผลิตรายการโทรทัศน์ชื่อว่ากินสบายใจต่อจากปีแรก โดยจะเป็นเวทีการพบปะของผู้บริโภคกับผู้ผลิตและจูงใจให้เกษตรกรหันมาผลิตไร้สารมากขึ้น มีเกษตรกรอินทรีย์ให้ความสนใจเสนอชื่อเพื่อลงบันทึกเทปรายการกว่า 14 พื้นที่ โดยจะคัดเลือกให้เหลือ10 พื้นที่ เพื่อลงพื้นที่ถ่ายทำ , ร่วมกับมูลนิธิประชาสังคมอุบลฯและเครือข่ายในการจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลฯ , ตั้งคณะทำงานข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจวิจัยของเครือข่ายต่างๆ , ร่วมกับโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืนในการผลักดันให้เกิดตลาดสีเขียว ศูนย์กลางผลิตภัณฑ์อินทรีย์,  ร่วมรณรงค์ผ่านสื่อกับภาคีเครือข่ายในประเด็นต่าง ๆ , เปิดเวทีให้ชาวไร่ชาวนามาร่วมผลิตรายการโทรทัศน์ 

ทั้งนี้ รายการกินสบายใจ สามารถชมเทปรายการย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนแนล ซึ่งออกอากาศทางวีเคเบิลทีวี sangsook.net  App: สื่อสร้างสุข โสภณเคเบิลทีวี ราชธานีเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม nextstep ช่องของดีประเทศไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุกรรมการสิทธิฯ เร่งแก้ปัญหา เพิ่มจำนวนที่ปรึกษาทางกฎหมายให้เยาวชน

Posted: 22 May 2013 10:45 AM PDT

22 พ.ค.56  คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีนายไพบูลย์  วราหะไพฑูรย์ เป็นประธาน เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสภาทนายความและศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้มีที่ปรึกษากฎหมายทำหน้าที่ตามกฎหมายได้เพียงพอในระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้กระทบต่อสิทธิเด็ก เนื่องจากปัจจุบันนี้มีความขาดแคลนที่ปรึกษาฯ เนื่องจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้จัดอบรมที่ปรึกษากฎหมาย ไปแล้วเพียง 2 รุ่น  ดังนั้น จึงมีทนายความที่ผ่านการอบรมเป็นที่ปรึกษากฎหมายจำนวนหนึ่ง ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหา อยู่ร่วมกับเด็กและเยาวชนในการแจ้งข้อกล่าวหาและการสอบปากคำในชั้นสอบสวน

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 จะกำหนดให้มีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยเพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายและในการดำเนินคดี โดยกฎหมายกำหนดให้ที่ปรึกษากฎหมายจะต้องเป็นทนายความที่ผ่านการอบรมเรื่องวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา การสังคมสงเคราะห์ และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่ามีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมาย การจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556 ด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ รมว.พลังงาน-ผู้ว่า กฟผ.ลาออก กรณีไฟดับ 14 จังหวัดใต้

Posted: 22 May 2013 09:48 AM PDT

 

22 พ.ค.56  สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ระบุให้รมว.พลังงาน และผู้ว่าการกฟผ.ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ระบุไม่เป็นไปตามคำมั่นว่าจะไม่มีเหตุไฟดับ หรือ Backout อธิบายประชาชนไม่ได้ สร้างความสับสน และฉวยอ้างเหตุสร้างโรงไฟฟ้า

 

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน

เรื่อง

รมต.พลังงาน-ผู้ว่า กฟผ.ต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้

 

จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ และอีกบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ในระหว่างเวลา 18.55 น-23.45 น. ของวันที่ 21 พ.ค.56 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนและเสียหายไปนับหมื่นล้านบาทนั้น

เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการโฆษณาชวนเชื่อมาจากกระทรวงพลังงานและ กฟผ. มาโดยตลอดว่าประเทศไทยจะไม่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับหรือ BLACKOUT อย่างแน่นอนและหากจะมีก็สามารถใช้เวลาในการ BLACKSTART ได้ใหม่ไม่เกิน 10 นาที แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบกลับให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกัน เช่น บางหน่วยงานก็ว่าเกิดจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่ลำภูรา จ.ตรัง บางหน่วยก็ว่าเกิดจากระบบท่อส่งไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช บางหน่วยก็ว่าเกิดฟ้าผ่าสายส่งที่เพชรบุรี และล่าสุดแจ้งว่าเกิดจากสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมโยงจากภาคกลางไปสู่ภาคใต้ช่วงจอมบึง-บางสะพาน 2 ขัดข้อง ทำให้ กฟผ. ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าจากภาคกลางสู่ภาคใต้ได้ บางหน่วยก็ว่าเพราะภาคใต้มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากเกินกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่เพียง 1,600 เมกกะวัตต์ และพยายามเชื่อมโยงเพื่อสร้างความชอบธรรมในการผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จงกระบี่ หรือ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ให้จงได้ทั้ง ๆ ที่ในภาคใต้มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อยู่แล้วหลายโรงทั้งโรงไฟฟ้าจะ นะ จ.สงขลา โรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช โรงไฟฟ้าลำภูรา จ.ตรัง โรงไฟฟ้าที่ยะลา เป็นต้น แต่พอสายส่งเกิดปัญหาขึ้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่กลับทำให้ภาคใต้ทั้งหมดไฟฟ้าดับไปพร้อมกันหมด เหตุการณ์ครั้งนี้อาจส่อไปในทางมิชอบ เพื่อหวังผลสิ่งใดหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาไม่เคยมีหน่วยงานใดกล้าประกาศความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น แต่กลับมีการความพยายามบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน บนความสับสนของประชาชน

เหตุการณ์ดังกล่าว หากผู้บริหารของกระทรวงพลังงานและ กฟผ. ถ้ายังจะพอมีมาตรฐานทางจริยธรรมอยู่บ้าง ควรที่จะถือสปิริต "ลาออก" จากจากตำแหน่งไปเสีย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีศักยภาพที่เพียงพอได้ขึ้นมาบริหารแทน เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมใหม่ในแวดวงข้าราชการและนักการเมือง เหมือนดั่งประเทศอื่นที่เจริญแล้วเขารับผิดชอบกัน และเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมไทย ในความผิดพลาดและล้มเหลวในการบริหารจัดการระบบสายส่ง และการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินที่ล้มเหลวในครั้งนี้

 

22 พฤษภาคม 2556

นายศรีสุวรรณ  จรรยา

นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปต.ตั้งคณะทำงานวางแนวพูดคุยสันติภาพไทย-บีอาร์เอ็น

Posted: 22 May 2013 09:14 AM PDT

 

นายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(สปต.) ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ที่มีความเห็นต่างกัน คำสั่งเลขที่ที่ 17/2556 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2556

คณะทำงานชุดนี้มีจำนวน 14 คน โดยนายอาซิสเป็นประธานคณะทำงาน และนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิก สปต.เป็นเลขานุการ ส่วนคณะทำงานประกอบด้วยผู้นำศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ นักวิชาการ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

คำสั่งดังกล่าว ระบุด้วยว่า ตามที่ผู้แทนของรัฐบาลไทยกับผู้แทนของกลุ่มบีอาร์เอ็น (BRN) ได้ลงนามในฉันทามติทั่วไปว่าด้วยการการะพูดคุยเพื่อสันติภาพ (General Consensus on Peace Dialogue Process) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีรัฐบาลมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประสานงานและสถานที่ในการลงนาม และเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ดำริในคราวประชุมกับสปต.ครั้งที่5/2556 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ให้สปต.หารือในรายละเอียดประเด็นการพูดคุยและข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นเพื่อกำหนดท่าทีสำหรับการพูดคุยต่อไป

คำสั่งระบุว่า ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 23 (8)แห่งพระราชบัญญัติการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(พรบ.ศอ.บต.)แต่งตั้งคณะทำงานชุดกล่าวขึ้นมา

อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้มี 3 ข้อ ได้แก่ 1.เสนอแนะมาตรการ รูปแบบ วิธีการ และรายละเอียดประเด็นในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ที่มีความเห็นต่างกัน

2.รายงานผลการดำเนินงานหรือศึกษาเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลกับผู้ที่มีความเห็นต่างกัน เพื่อกำหนดท่าทีและรายงานต่อสปต.รับทราบหรือพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3.ดำเนินการอื่นใดตามที่สปต.มอบหมาย

 

 


รายชื่อคณะทำงาน คณะทำงานพิจารณาแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ที่มีความเห็นต่างกัน

  1. นายอาซิส เบ็ญหาวัน                                ประธานคณะทำงาน
  2. นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล                          คณะทำงาน
  3. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี                     คณะทำงาน
  4. นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี                                    คณะทำงาน
  5. พระครูสุนทรเพทวิมล                                 คณะทำงาน
  6. รศ.พท.ดร.กรัสไนย หวังรังสิมากุล              คณะทำงาน
  7. นายอับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ                         คณะทำงาน
  8. นายวิชัย เรื่องเริงกุล                                  คณะทำงาน
  9. นายอับดุลรอนิ กาหะมะ                             คณะทำงาน
  10. นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน                         คณะทำงาน
  11. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ                           คณะทำงาน
  12. นายไชยยงค์ มนีรุ่งสกุล                            เลขานุการคณะทำงาน
  13. นายนิพนธ์ ชายใหญ่                                 ผู้ช่วยเลขานุการและคณะทำงาน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เห็นชอบร่างประกาศประมูลทีวีดิจิตอล คาดเปิดประมูล ก.ย.นี้

Posted: 22 May 2013 07:36 AM PDT

(22 พ.ค.56) ฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงผลการประชุม กสทช. ระบุว่า ที่ประชุม กสทช. ได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. .... หลังจากคณะกรรมการ กสท.ผ่านร่างดังกล่าวไปแล้ว จากนี้จะต้องนำร่างประกาศเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) แล้วนำผลกลับมาให้ กสทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จและเปิดประมูลทีวีดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง ในช่วงเดือนกันยายน 2556

ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติที่จะมีขึ้นตามกรอบเวลาของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยเป็นไปตาม (ร่าง) ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ เพื่อการประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกรอบหลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับทั้งกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ร่างประกาศฯ ที่ที่ประชุม กสทช. เห็นชอบนั้นมีสาระสำคัญดังนี้

1.1 คลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้เป็นคลื่นความถี่ตามแผนความถี่วิทยุ โดยแบ่งหมวดหมู่การให้บริการ ได้แก่
1) เด็ก เยาวชน และครอบครัว
2) ข่าวสารและสาระ
3) ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ
4) ทั่วไปแบบความคมชัดสูง

1.2 ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (ร่าง) ประกาศฯ ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่ และมีสิทธิยื่นคำขอหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูงหรือหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ หมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งเท่านั้น

1.3 ราคาขั้นต่ำ ราคาเริ่มต้น และการเสนอเพิ่มราคา โดยให้เป็นไปตามผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอมา ซึ่งมีราคาตั้งต้นของการประมูล ดังนี้
1) ช่องรายการทั่วไป HD (7) มูลค่าต่ำสุด 1,510 ล้านบาท
2) ช่องรายการทั่วไป SD (7) มูลค่าต่ำสุด 380 ล้านบาท
3) ช่องรายการข่าว SD (7) มูลค่าต่ำสุด 220 ล้านบาท
4) ช่องรายการเด็ก SD (3) มูลค่าต่ำสุด 140 ล้านบาท

สำหรับการกำหนดจำนวนเงินสำหรับการเสนอเพิ่มราคานั้น มีรายละเอียดดังนี้
1)   หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 1 ล้านบาท
2)   หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 2 ล้านบาท
3)   หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 5 ล้านบาท
4)   หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 10 ล้านบาท

1.4 การเข้าร่วมประมูล เป็นการดำเนินการเพื่อรับสิทธิ ดังต่อไปนี้
1) การใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
2) การเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการในแต่ละหมวดหมู่ โดยเรียงลำดับผู้ชนะการประมูล ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก
3) การเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ให้เลือกโดยผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับของทุกหมวดหมู่รวมกัน ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก

1.5 การประมูลจะแยกตามหมวดหมู่ที่กำหนด โดยแต่ละคราวมีระยะเวลา 60 นาที เมื่อเริ่มการประมูลผู้เข้าร่วมจะต้องเสนอราคาครั้งแรกภายใน 5 นาที มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิแลถูกริบหลักประกัน โดยในระหว่างการประมูล ผู้เข้าร่วมจะทราบสถานะและลำดับการมีสิทธิเป็นผู้ชนะ รวมถึงราคาต่ำสุดของกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล แลเมื่อการประมูลสิ้นสุดลง ถ้ามีผู้ชนะการประมูลเสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนใบอนุญาตให้ขยายเวลาการประมูลออกไปอีกครั้งละ 5 นาที ซึ่งในกรณีที่ขยายระยะเวลาแล้วและไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นให้ดำเนินการหาผู้ชนะด้วยวิธีจับสลาก

1.6 การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนของราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 4 งวด และส่วนที่สองจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 6 งวด ซึ่งผู้ชนะการประมูลแต่ละราย จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเท่ากับราคาที่ตนชนะการประมูล

1.7 ผู้ชนะการประมูลที่ได้รับสิทธิให้เป็นผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ คือ
1) ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่งวดที่หนึ่ง
2) ดำเนินการขอใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์กับผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล
3) ดำเนินการตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล

หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์การขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่

1.8 ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีอายุสิบห้าปี

นอกจากนี้ ที่ประชุม กสทช. เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการกีฬาที่สำคัญ พ.ศ. .... ฉบับปรับปรุงแก้ไขหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยหลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศดังกล่าว คือรายการสำคัญ   7 รายการ ได้แก่ 1. รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก 2.รายการแข่งขันคอนเฟเดอเรชั่นคัพ 3.รายการแข่งขันเอเชี่ยนคัพนัดสุดท้าย และนัดที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน 4.รายการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก และฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 5.รายการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก 6.รายการวอลเล่ย์บอล ระดับชิงแชมป์โลก 7.รายการแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ นัดที่มีตัวแทนจากชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน ผู้ประกอบกิจการที่ได้สิทธิในการแพร่ภาพรายการ จะต้องจัดทำข้อเสนอบริการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นสามารถเลือกที่จะเข้าเจรจาเพื่อนำสิทธิในการแพร่เสียงแพร่ภาพของรายการดังกล่าวไปให้บริการประชาชนรับชมได้อย่างแพร่หลาย


ส่วนวาระข้อกฎหมายเกณฑ์ beauty contest ของทีวีดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะ ที่ กสท. เสียงข้างน้อย คือสุภิญญา กลางณรงค์ และ ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ เสนอเข้าบอร์ด กสทช.นั้น สุภิญญา ระบุในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ไม่มีการพิจารณาวาระดังกล่าว

"สุดท้ายบอร์ดใหญ่ก็ไม่ยอมพิจารณา มีบอร์ดใหญ่ก็อาจเป็นแค่เพียงพิธีกรรม มีประเด็นข้อขัดแย้งเรื่องกฏหมายและประกาศ กสทช.ที่ขัดกันเอง แต่ทุกเรื่องก็กลับไปให้บอร์ดเล็ก 5 คนตัดสิน แม้แต่เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ บอร์ดเล็กมีมติ 3:2 แค่ 1 เสียงเป็น Kingmaker ก็ชนะทุกเรื่องแล้ว ทั้งที่เจตนารมณ์ของกฏหมายเขาให้ 11 คนร่วมรับผิดชอบ ต้องมีเสียงที่คานดุลกัน" สุภิญญาระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร. แจงคดีเผา CTW ยังคืบหน้า เปิดโฉม 2 ผู้ต้องหา

Posted: 22 May 2013 04:05 AM PDT

'คำรณวิทย์' แจงคดีเผา CTW คืบหน้าไปมาก เผยภาพ 2 ผู้ต้องหาตามหมายจับ DSI และ 6 ผู้ต้องสงสัยที่อยู่ใกล้ วอนเข้ามาให้ข้อมูลโดยเร็ว ก่อนจะดำเนินการออกหมายจับ ระบุชุดสืบสวนมีข้อมูลเหตุดับเพลิงช้า แม้ใกล้เส้นทางรถดับเพลิง

22 พ.ค.56 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวหลังประชุมร่วมกับ พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และชุดสืบสวนคดีคนร้ายก่อเหตุวางเพลิงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 บริเวณแยกราชประสงค์ โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ระบุคดีมีความคืบหน้าไปมาก พร้อมเปิดเผยภาพ 2 ผู้ต้องหาตามหมายจับของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ซึ่งจากการสืบสวนพบว่าผู้ต้องหามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุลอบวางเพลิงห้างสรรพสินค้าดังกล่าว และตรงกับที่ DSI เคยออกหมายจับไปแล้วเมื่อปี 2553

นอกจากนี้ ยังเผยภาพผู้ต้องสงสัยอีก 6 คน ที่อยู่ใกล้เคียงในขณะเกิดเหตุ โดยขอให้เข้ามาให้ข้อมูลกับตำรวจโดยเร็ว แต่หากไม่ให้ความร่วมมือ ทางตำรวจจะนำหลักฐานส่งพนักงานสอบสวน DSI ดำเนินการออกหมายจับต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อโยงถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดประมาณ 20 คนด้วยกัน

ด้านพล.ต.ต.วัลลภ ประทุมเมือง ผบก.น.6 ที่ร่วมประชุมด้วย กล่าวว่า สำหรับบุคคลที่ต้องการตัวมาสอบสวนมีอยู่ 6 คน มีหนึ่งคนที่วิ่งหนีออกมาจากกองเพลิงที่ลุกไหม้เต๊นท์ผู้ชุมนุม โดยไม่ทราบว่าวางเพลิงเองหรือวิ่งหนีเพลิง จึงอยากได้ตัวมาทำการสอบสวน เพราะเกี่ยวพันกับการวางเพลิงที่บริเวณหน้าประตูห้างเซนด้านตรงข้ามอาคารเฉลิมเกียรติ รพ.ตร. และยังมีภาพบุคคลอื่นที่เห็นเหตุการณ์วางเพลิงอีกด้วย

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวเสริมว่าหากมีหลักฐานหลายอย่างที่ระบุว่าทั้ง 2 คนนี้มีส่วนในการวางเพลิงจริง ชุดสืบสวนก็จะดำเนินการรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งให้ดีเอสไอขออนุมัติจับกุม เราเป็นเพียงชุดสืบสวน แต่ดีเอสไอเป็นผู้ทำสำนวน นอกจากนั้นยังมีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวอีก ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงบุคคลที่เกี่ยวข้องตามภาพทั้ง 6 คน แต่หากพบมากกว่านั้นก็สามารถแจ้งเบาะแสเพิ่มเติมได้

เมื่อถามถึงกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วเกิดความล่าช้าในการดับเพลิงทั้งที่เส้นทางที่วางรถดับเพลิงไว้อยู่ใกล้นั้น พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวชุดสืบสวนมีอยู่แล้ว รวมถึงประจักษ์พยานที่เป็นที่ปรึกษาอัคคีภัยที่เซ็นเวิลด์ รวมถึงการประสานข้อมูลอื่นๆ มีใครให้เข้า มีใครไม่ให้เข้า แต่ตอนนี้ขอให้ชุดสืบสวนขอประมวลเรื่องให้ชัดเจนก่อน เพราะว่าต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย โดยเฉพาะข้อเท็จจริงผู้ที่เข้าไปเผาคือใคร ตอนนี้ได้ภาพผู้ต้องหาตามหมายจับ 2 คนแล้ว เมื่อได้ตัวมาก็จะไขปริศนาได้ว่าใครเข้าไปเผาเซ็นทรัลเวิลด์ แต่ตำรวจจะเร่งพยายามสืบสวนจับกุมตามหมายจับตามหมายเลขที่แจ้งไป

เมื่อถามว่ารางวัลจะเป็นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือส่วนของนครบาลเองนั้น พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบเพราะอดีตนายกฯ บอกไว้ว่าจะให้ 10 ล้านบาท หากใครชี้เบาะแส ส่วนจะแยกของ บช.น. ออกเลยหรือไม่ ต้องพิจารณาอีกครั้ง

โดยตามภาพ 1 ใน 6 ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงในขณะเกิดเหตุเป็นผู้หญิงและสวมเสื้อแดงด้วย

เรียบเรียงจาก ไอ.เอ็น.เอ็น.ออนไลน์ และ  โพสต์ทูเดย์ดอทคอม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: ผู้ก่อตั้ง Pirate Bay เตรียมลงสมัครสภายุโรป

Posted: 22 May 2013 03:30 AM PDT

ประมวลข่าวด้านลิขสิทธิ์รอบโลกประจำสัปดาห์กับ 'อธิป จิตตฤกษ์': ศาลสูงอเมริกาตัดสินให้ 'มอนแซนโต้' ชนะคดีผลิตซ้ำเมล็ดพืช, ตัวแทนพรรคไพเรตเบย์ฟินแลนด์เตรียมลงสมัครสภายุโรป, Yahoo ซื้อ Tumblr 1,100 ล้านดอลลาร์

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

14-05-2013

ศาลสูงอเมริกาตัดสินให้ Monsanto ชนะคดี "ผลิตซ้ำเมล็ดพืช" แล้ว

หากจะกล่าวอย่างย่นย่อทีสุดถึงคดีนี้ ในตอนแรกมีชาวนารายหนึ่งนำเมล็ดพืชมีสิทธิบัตรของ Monsanto ซึ่งเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ผลิตเมล็ดพืชพันธุ์ ไปปลูก แล้วเขาก็นำเมล็ดพันธุ์ที่เกิดจากพืชที่เกิดขึ้นไปปลูกต่อ
Monsanto เลยฟ้องชาวนาผู้นี้ฐานละเมิดสิทธิบัตรเพราะถือว่าชาวนาผู้นี้ผลิตซ้ำเมล็ดพืชอันมีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่
สุดท้ายศาลสูงชี้ขาดว่าภายใต้การคุ้มครองสิทธิบัตรของ Monsanto ชาวนามีสิทธิแค่นำเมล็ดพืชไปให้บริษัทของเขาบริโภค หรือบริโภคเองเท่านั้น ไม่มีสิทธินำไปปลูกซึ่งเป็นการผลิตซ้ำเมล็ดพืชและเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของ Monsanto

News Source: http://www.ip-watch.org/2013/05/13/us-supreme-court-rules-in-favour-of-monsanto-in-patent-exhaustion-case/

 

15-05-2013

Peter Sunde หนึ่งในผู้ก่อตั้ง The Pirate Bay และโฆษกของทางเว็บประกาศจะสงสมัครเป็นผู้แทนในสภายุโรปในปีหน้า

อนึ่ง เขาเป็นตัวแทนจาก The Pirate Party ฟินแลนด์ ไม่ใช่สวีเดนที่เป็นบ้านเกิดของเขาซึ่งเขายังติดโทษจำคุกอยู่จากคดี The Pirate Bay

เขากล่าวว่า "การแชร์ไฟล์ที่ไม่ได้เป็นไปในเชิงพาณิชย์ ต้องเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายและได้รับการคุ้มครอง เราต้องคิดถึงลิขสิทธิ์กันใหม่ทั้งหมด ลิขสิทธิ์มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ศิลปินได้เงิน แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกตัวแทนของพวกเขาและบรรดาผู้จัดจำหน่ายได้เงินต่างหาก ...ผมอยากเห็นเราสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมผ่านการลงเงินมากขึ้นในการศึกษาทางดนตรี และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จะช่วยให้คนทำดนตรีได้ สิ่งเหล่านี้ดูจะเป็นหนทางที่มีสติมากกว่าการขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ หากเราต้องการความก้าวหน้าทางศิลปวัฒนธรรม"

News Source: http://torrentfreak.com/pirate-bay-cofounder-to-run-for-european-parliament-130514/

 

16-05-2013

เว็บระดมทุนจากฝูงชน Kickstarter ออกมาโต้กรณีข้อถกเถียงว่า "คนดัง" ไม่ควรใช้ "การระดมทุนจากฝูงชน" (crowd funding)

หลังจากที่มีการระดมทุนเพื่อสร้างภาพยนตร์ Veronica Mars จาก Kickstarter แล้วดาราและผู้กำกับอย่าง Zach Braff ก็เดินหน้าระดมทุนสร้างภาพยนตร์ใหม่ผ่าน Kickstarter เช่นกัน

นี่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งว่าบรรดาคนดังๆ เหล่านี้ควรจะระดมทุนผ่าน Kickstarter หรือไม่ เพราะคนจำนวนมากก็มอง Kickstarter เป็นพื้นที่ระดับทุนของผู้สร้างสรรค์อิสระรายเล็กๆ ที่ไม่สามารถระดมทุนอย่างอื่นๆ ได้ บรรดาคนดังๆ สามารถระดมทุนทางอื่นๆ ได้อีกถมเถ

ล่าสุด Kickstarter แถลงมาเองว่าทาง Kickstarter เป็นที่ๆ จะทำให้โครงการสร้างสรรค์นั้นมีชีวิตขึ้นมาไม่ว่ามันจะมาจากใคร ดังนั้นจะเป็นคนไม่ดังหรือคนดังนั้นไม่ใช่ปัญหา

นอกจากนี้ Kickstarter ยังกล่าวอีกว่าการที่บรรดาคนดังๆ เหล่านี้มาระดมทุนผ่าน Kickstarter ก็ทำให้มีผู้สนับสนุนหน้าใหม่เข้ามาในสารบบของ Kickstarter อีกหลักหมื่นคน และคนเหล่านี้หลักพันก็ไปสนับสนุนโครงการอื่นๆ ของบรรดาคนไม่ดังทั้งหลายต่อ

กล่าวโดยสรุปคือ การที่คนดังๆ มาระดมทุนกับ Kickstarter นั้นไม่น่าจะทำให้คนไม่ดังเจ้าของโครการเล็กๆ เสียหายแต่อย่างใด

News Source:  http://www.kickstarter.com/blog/who-is-kickstarter-for , http://www.techdirt.com/articles/20130511/02114423045/some-data-big-kickstarter-projects-famous-people-actually-helps-other-projects.shtml

 

18-05-2013

ภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัย San Jose State ปฏิเสธที่จะใช้การบรรยายออนไลน์จาก Harvard

ภายหลังจากที่ทาง Harvard และ MIT ร่วมกันสร้างคอร์สออนไลน์ให้นักศึกษาเรียนฟรีๆ ก็มีการวิจารณ์กันมาอย่างต่อเนื่องและในตอนนี้ก็มีการถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่าการเรียนคอร์สออนไลนแบบนี้จะสามารถเทียบเท่าหรือทดแทนการเรียนแบบต่อหน้าตามขนบปฏิบัติของอุตสาหกรรมอุดมศึกษาได้หรือไม่

มหาวิทยาลัยจำนวนมากสนับสนุนการเรียนในแนวทางนี้เพราะจะช่วยลดต้นทุนการศึกษาไปมาก คณาจารย์บางส่วนก็นำมาใช้เสริมการศึกษา อย่างไรก็ดีคณาจารย์อีกหลายๆ ส่วนก็แสดงตนเป็นศัตรูกับแนวทางการศึกษาแบบนี้มาก ซึ่งจะเป็นไปด้วยเหตุผลทางวิชาการและการศึกษาเพียวๆ หรือมีความกังวลส่วนตัวถึงอนาคตทางหน้าที่การงานของตนหรือไม่ก็ไม่ทราบได้

Clayton M. Christensen นักวิชาการด้านธุรกิจชื่อดังจาก Harvard เจ้าของทฤษฎี Disruptive Innovation ทำนายว่าภายใน 15 ปี มหาวิทยาลัยจะล้มละลายไปกว่าครึ่งเพราะต้นทุนการศึกษาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และเทคโนโลยีจะสามารถแทนที่การศึกษาแบบเดิมที่ต้องใช้ต้นทุนสูงได้

ทั้งนี้ทางภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัย San Jose ก็ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกไปให้ Michael Sandel นักปรัชญาจาก Harvard ที่ได้บรรยายออนไลน์เรื่องความยุติธรรมไว้อย่างโด่งดังมากมายว่า

"คณาจารย์ที่ยังใส่ใจที่จะให้การศึกษาสาธารณะอยู่ไม่ควรจะผลิตอะไรก็ตามที่จะมาแทนที่คณาจารย์ สร้างความระส่ำระสายให้คณะต่างๆ และทำให้การเรียนรู้ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐตั้งต้องลดทอนลง"

News Source:  http://www.bloomberg.com/news/2013-05-15/harvard-for-free-meets-resistance-as-u-s-professors-see-threat.html

 

ศาลเนธอร์แลนด์ชี้ว่าความเป็นส่วนตัวของลูกค้าธนาคารสำคัญกว่าการไล่ปราบการละเมิดลิขสิทธิ์ของกลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์

"กระดานข่าว" FTD ชื่อดังของเนเธอร์แลนด์นั้นถูกตัดสินว่ากิจกรรมของ"กระดานข่าว" เอื้อให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในปี 2011 จนสุดท้ายต้องปิดตัวไป อย่างไรก็ดีไม่นานนักก็มี "กระดานข่าว" ใหม่นามว่า FTD World เกิดขึ้นและให้บริการคล้ายกับ FTD เก่า

หลังจากกลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อดังของเนเธอร์แลนด์นามว่า BREIN ค้นพบเลขบัญชีที่เชื่อมโยงกับกลุ่ม FTD World เป็นเลขบัญชีของธนาคาร ING ที่เป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ ทาง BREIN ก็เลยร้องขอให้ทางธนาคาร ING เปิดเผยข้อมูลเจ้าของบัญชีดังกล่าว ทางธนาคารไม่ยอมร่วมมือและอ้างกฏหมายคุ้มครองข้อมูล และเรื่องก็ขึ้นไปถึงชั้นศาล

สุดท้ายศาลตัดสินว่าการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการธนาคารนั้นมีน้ำหนักมากกว่า การพยายามจะหาตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

ศาลชี้ว่าธนาคารนั้นต่างจาก ISP เพราะในทางกฎหมายไม่สามารถถือว่าธนาคารเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของลูกค้าได้เลยทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนีทาง BREIN ก็ยังไม่ได้ฟ้องร้องคดีอาญากับ FTD World ก่อนที่จะมาขอข้อมูลกับธนาคารอีกด้วย

ด้วยเหตุผลทั้งหมด ศาลจึงตัดสินให้ข้อเรียกร้องของ BREIN มีน้ำหนักน้อยกว่าหน้าที่ของธนาคารในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

News Source:  http://torrentfreak.com/banking-privacy-more-important-than-copyright-enforcement-court-rules-130517/

 

19-05-2013

Yahoo ซื้อ Tumblr ไปแล้วที่ราคา 1,100 ล้านดอลลาร์

ในที่สุดบล็อกโพสต์รูปทันสมัยอย่าง Tumblr ก็ถูก Yahoo ซื้อไปแล้วหลังจากเป็นข่าวมาพักใหญ่

การซื้อครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความเห็นที่หลากหลาย บ้างก็ห่วงใยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบรรดารูปโป๊บน Tumblr บ้างก็วิจารณ์ว่าการซื้อ Tumblr ของ Yahoo ดูจะเป็นการกระทำที่สิ้นหวังในการพยายามอยู่ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตที่ต้องฟาดฟันกับบริษัทอื่นๆ ที่มีเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายสังคมของตัวเองทั้งนั้น

นอกจากนี้ก็มีผู้วิจารณ์กว่าการซื้อครั้งนี้เป็นการกระทำไม่คุ้มค่า เพราะรายได้ของ Tumblr ในปี 2012 นั้นน้อยกว่า 15 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ (แม้จะมีผู้ประเมินว่ารายได้ในปีนี้จะเกิน 100 ล้านดอลลาร์ก็ตาม)

News Source:  http://gigaom.com/2013/05/19/report-yahoos-board-agrees-to-pay-1-1-billion-for-tumblr/

 

ถึงขาลงของ RapidShare เมื่อทางเว็บตกอันดับเว็บยอดนิยมที่สุดในโลกอันดับ 150 เมื่อปลายปีที่แล้วลงไปที่อันดับ 860 และต้องไล่พนักงานออกถึง 75%

เว็บฝากไฟล์ Rapidshare เคยติดอันดับเว็บยอดนิยมที่สุดในโลกอันดับ 50 ในปี 2010 และถึงแม้ความนิยมในเว็บจะน้อยลงจากการแข่งขันที่หนักขึ้น ในตอนต้นปี 2012 ความนิยมในเว็บก็พุ่งพรวดขึ้นมาหลังจากการปิดตัวของ Megaupload

อย่างไรก็ดีทางเว็บก็ต้องการรักษาภาพของเว็บที่เคารพระบอบลิขสิทธิ์โดยการทั้งไล่ลบไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บ ไปจนถึงการลดความเร็วในการดาวน์โหลดของนักดาวน์โหลดขาจรที่ไม่ใช่สมาชิกของทางเว็บด้วย

ทั้งหมดก็เพื่อจะให้ทางเว็บหลุดจาก "บัญชีดำ" ของอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ และเพื่อจะทำให้กิจกรรมละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งอัปโหลดและดาวน์โหลดลงลงจากเว็บให้ได้มากที่สุด

ผลก็คือกิจกรรมเหล่านี้ลดลงจริงๆ พร้อมกับปริมาณของคนที่เข้ามาใช้บริการเว็บโดยรวมที่ลดฮวบฮาบ

อนึ่ง ทาง RapidShare ไล่พนักงานออกไป 45 คนคิดเป็น 75% ดังนั้นตอนนี้เว็บฝากไฟล์ชื่อดังนี้เหลือพนักงานเพียง 15 คนเท่านั้น

News Source:  http://torrentfreak.com/rapidshare-fires-75-of-its-staff-after-rogue-site-revamp-bites-130519/
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประชา-ปรีชา’ ลงม็อบ ร่วมลงนาม MOU แก้ปัญหาพีมูฟ

Posted: 22 May 2013 02:20 AM PDT

มท.3 และรมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมถกพีมูฟ ก่อนลงนามเอ็มโอยูร่วม 5 ประเด็น เร่งรัดโฉนดชุมชน ตั้ง กรรมการแก้เขื่อนปากมูลใหม่ พร้อมตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ปัญหาด้วน มท.3 เผยประสาน บขส.เตรียมส่งชาวบ้านกลับ

  
 
วันนี้ (22 พ.ค.56) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ ซึ่งชุมนุมบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล และต่อมาที่บริเวณข้างกระทรวงศึกษาธิการ นับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ยอมยุติการชุมนุมแล้ว หลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่าง นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และตัวแทนพีมูฟ 14 คน
 
ทั้งนี้ การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อเป็นหลักประกันการทำงานของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ดังกล่าวถูกบันทึกเทปไว้ในรายการเวทีสาธารณะ ไทยพีบีเอส ด้วย
 
ขณะที่นายประชา เปิดเผยว่า คาดว่าการพูดคุยวันนี้ จะเป็นที่พอใจของผู้ชุมนุม และตนได้ประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) และกรมทางหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ชุมเดินทางกลับภูมลำเนาตลอดเส้นทาง
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ชุมนุมยังไม่มีการกำหนดแนวทางการสลายการชุมนุม แม้จะยอมรับในข้อเสนอของตัวแทนรัฐบาลให้ยุติการชุมนุม 
 
ด้านนางถาวร ธนะสิงห์ ชาวบ้านโคกภูพระ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ที่มาร่วมชุมนุมเนื่องจากที่ดินถูกประกาศพื้นที่สาธารณะประโยชน์ทับ และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีให้ออกจากทีดินทำกิน กล่าวว่าชาวบ้านยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่รอการประชุมกับรัฐบาลเพื่อให้ช่วยแก้ไข และที่สำคัญคืออยากได้หนังสือรับรองจากรัฐบาลว่าชาวบ้านจะเข้าไปทำประโยชน์ในที่ทำกินของตัวเองได้ ซึ่งหากกลับไปตอนนี้ชาวบ้านอาจถูกจับหรือถูกดำเนินคดีได้
 
"เราอยากเห็นรูปธรรม อยากได้หนังสือรับรอง เพราะถ้ากลับบ้านไปมันลำบากกว่าอยู่ที่นี่ กลับไปก็ไปโดนคดี" ชาวบ้านโคกภูพระกล่าว
 
นางถาวร กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านมีกำหนดการในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะรอไปถึงวันที่ 28 พ.ค.ที่จะมีการนำกรณีปัญหาของชาวบ้านเข้าสู่การประชุม ครม.และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ และในวันพรุ่งนี้ (23 พ.ค.53) คอป.ก็จะมีการจัดเวทีเสวนาเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อการประกันตัวชาวบ้านที่โดนคดี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (คลิกอ่านกำหนดการ)
 
ส่วนการกำหนดว่าจะสลายการชุมนุมหรือไม่คงต้องมีการประชุมกำหนดท่าทีจากการประชุมร่วมกันทั้งหมดก่อน
 
สำหรับเนื้อหาในบันทึกข้อตกลง มีดังนี้

1.จะมีการเร่งรัดเสนอเรื่องโฉนดชุมชน (พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของนโยบายการดำเนินงานโฉนดชุมชน โดยให้ชุมชนซึ่ง ปจช.เห็นชอบให้ดำเนินงานโฉนดชุมชนแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติ ต่อไป) และเขื่อนปากมูล (ให้ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 พ.ค.54 มติครม.วันที่ 12 มิ.ย.50 และมติครม.วันที่ 17 ก.ค.50 กับแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นใหม่) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันอังคารที่ 28 พ.ค.56 ต่อไป

2.เร่งรัดคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต และแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของพีมูฟที่มีการดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้วหรือไม่สามารถหาข้อยุติได้ รวมทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อยุติร่วมกัน ให้นำเสนอคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ พิจารณาในวันที่ 28 พ.ค.56 ต่อไป

3.รัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายด้านที่ดิน และทรัพยากร ข้อ 5.1 และ 5.4 ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน โดยในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามกลไก และแนวทางที่มีอยู่นั้น ขอให้รัฐบาลแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชะลอการดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามวิถีปกติไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป

4.ขอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จัดประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง และคณะอนุกรรมการกับคณะทำงานจัดประชุมอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง

5.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา) เป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสุภรณ์) เป็นรองประธานกรรมการ และตัวแทนพีมูฟ ร่วมเป็นกรรมการ ในการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
 
 
ส่วนความคืบหน้าในการเจรจากับรัฐบาล เมื่อวาน (22 พ.ค.56) มีการนำข้อเสนอของพีมูฟที่ได้ข้อยุติแล้วเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. 2 เรื่อง คือ 1.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 ชุมชน ภาคเหนือ ครม.เห็นชอบให้เดินหน้า โดยอนุมัติงบประมาณ 167 ล้าน โดยให้ พอช.ดำเนินการ และ 2.กรณีการขออนุญาตก่อสร้างบ้านมั่นคง มีการรับรองว่าโครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการของรัฐ ให้สามารถดำเนินการได้ และสามารถขอบ้านเลขที่ได้ โดยไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กฎหมายกับศีลธรรม - เหตุใดประเทศเยอรมันจึงออกกฎหมายคุ้มครองโสเภณี

Posted: 22 May 2013 01:51 AM PDT

เป็นเรื่องลับๆที่รู้กันอยู่ในวงกว้างของคนทั่วโลกว่าประเทศไทยนั้นขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของการค้าบริการทางเพศ ผู้เขียนมีความเห็นเสมอมาว่าโสเภณีมีเยอะขนาดนี้ รัฐน่าจะทำให้อาชีพนี้ถูกกฎหมายไปเลย กฎหมายจะได้เข้ามาคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รัฐก็จะได้ภาษีเพิ่ม กระบวนการออกใบอนุญาตเปิดสถานบริการทางเพศก็ควรทำให้โปร่งใส นอกจากนี้ควรจัดให้มีผังเมืองรวมสถานบริการไว้เป็นโซนๆ เพื่อให้ง่ายแก่การสอดส่องดูแลอีกด้วย เนื่องด้วยผู้เขียนได้มีโอกาสมาศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศเยอรมันและได้เห็นแนวคิดและกระบวนการจัดการกับ"ปัญหา"การค้าบริการของที่นี่ จึงอยากเขียนบทความนี้ขึ้น เผื่อว่าวันใดวันหนึ่ง ประเทศของเราจะหลุดพ้นจากการนำศีลธรรมเป็นที่ตั้งและมองข้ามข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขับกลุ่มอาชีพบางประเภทให้อยู่นอกความคุ้มครองทางกฎหมาย

ความจริงแล้วโสเภณีก็เป็นแค่อาชีพหนึ่งซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของเยอรมัน ในบทที่ว่าด้วยเสรีภาพของปวงชนในการประกอบสัมมาอาชีพ ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเคยตัดสินในคดี josefine mutzenbacher ว่า หนังโป๊หรือหนังสือนิยายโจ๋งครึ่มย่อมได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญใน ฐานะที่เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง โดยศาลให้เหตุผลว่า รัฐมีสิทธิเพียงแต่ตัดสินว่าสิ่งใดจัดว่าเป็นศิลปะ สิ่งใดไม่เป็นศิลปะ แต่รัฐไม่มีสิทธิตัดสินว่าสิ่งใดเป็นศิลปะชั้นสูง สิ่งใดเป็นศิลปะชั้นต่ำขัดกับศีลธรรมหรือจิตใต้สำนึกของคนส่วนใหญ่ แล้วเลือกให้ความคุ้มครองเฉพาะศิลปะบางแขนงเท่านั้น เมื่ิอนำหลักนี้มาเทียบเคียงกับการตีความคำว่าอาชีพ กิจกรรมทุกอย่างที่ประชาชนกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ไว้ใช้ในการดำรงชีพ ย่อมจัดเป็นอาชีพและย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ความพยายามที่จะจัดให้การให้บริการทางเพศเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งจึงมี ลักษณะเป็นการนำศีลธรรมมาปะปนกับกฎหมายจนเกินควร

ผู้เขียนจะยกตัวอย่างง่ายๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อแสดงให้ถึงช่องโหว่ทางกฎหมายที่เกิดขั้นในเยอรมัน เมื่อครั้นที่ยังมีการจัดให้การค้าประเวณีเป็นธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นาย ก. ขับรถไปเจอ น.ส. โส ยืนอยู่ใต้ต้นมะขาม จึงกวักมือเรียก น.ส. โส ให้มาขึ้นรถของตนพร้อมเสนอเงิน 500 บาท หาก น.ส. โส ยอมไปม่านรูดกับตนเพื่อประกอบกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตาม นาย ก. วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะชักดาบไม่จ่ายค่าบริการให้ น.ส โส หลังจากเสร็จกิจกรรม นาย ก. ปฎิบัติตามแผนที่วางไว้แต่ต้น แล้วชิ่งหนี

ในทางแพ่ง แม้ว่าจะมีสัญญาการให้บริการทางเพศเกิดขึ้นระหว่าง น.ส โส และ นาย ก. แต่เนื่องจากสัญญานั้นขัดกับศีลธรรม กล่าวคือมีผลเป็นโมฆะ น.ส. โส จึงไม่สามารถเรียกค่าบริการใดๆได้ ทั้งยังไม่สามารถเรียกค่าบริการตามหลักลาภมิควรได้ (condictio indebti) ได้ เนื่องจากเป็นกรณี ต่างฝ่ายต่างกระทำผิดศีลธรรม (condictio ob turpem vel iniustam causam)

ในความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง แม้จะมีการหลอกลวงเกิดขึ้น แต่มีปัญหาว่า น.ส. โส ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินที่เกืดจากการหลอกลวงของนาย ก หรือไม่ เมื่อตกลงสัญญาให้บริการทางเพศกันแล้ว น.ส โส มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการ 500 บาท แต่สิทธินี้เกิดจากสัญญาที่เป็นโมฆะ สิทธิการได้รับค่าบริการ 500 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย องค์ประกอบทางอาญาของความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ครบ เพราะมีการหลอกลวง แต่ไม่มีการเสียทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย การโกหกหลอกลวง แม้จะขัดกับศีล 5 แต่ก็ไม่ผิดกฎหมายอาญา หากไม่มีองค์ประกอบอื่นปรากฎ

กรณีง่ายๆนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับ น.ส. โส อีกหลายๆคนที่โดนชักดาบ แสดงให้เห็นว่า น.ส. โส ไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆจากกฎหมายเลย เพราะ กฎหมายกำหนดให้ น.ส. โสเป็นโมฆะสตรี หรืก สตรีนอกกฎหมาย ในประเทศเยอรมนีจึงได้มีการออกกฎหมายธุรกิจการค้าประเวณีเพื่อมาอุดช่องว่าง ตรงนี้ โดยมาตรา 1 ของกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ให้บริการทางเพศมีสิทธิ์เรียกร้องค่าบริการจากผู้รับบริการ หลังจากให้บริการทางเพศเสร็จสิ้นแล้ว นอกจากนี้ยังมีการแก้กฎหมายอาญาในบทที่ว่าด้วยเรื่องการค้ามนุษย์ โดยกำหนดให้ การให้บริการทางเพศที่กระทำโดยถูกบังคับหรือฝ่าฝืนจิตใจของผู้ให้บริการเท่านั้น ที่มีโทษทางอาญา

จากกรณีดังกล่าวนี้ ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า กฎหมายนั้นเป็นเพียงแต่เครื่องมือในการจัดระเบียบสังคม เป็นข้อตกลงของบุคคลในสังคม "ขั้นต่ำสุด" ว่าการกระทำใดก่อภยันตรายต่อบุคคลรอบข้างและสังคม บุคคลพึงละเว้น อย่างไรก็ตาม  ปัจเจกบุุคลในสังคมบางกลุ่มอาจยึดถิอคติแนวทางการดำเนินชีวิตของตนที่สูงกว่ากฎหมาย แต่นั่นก็มิอาจนำมาเป็นข้อผูกพันต่อคนทั้งสังคมได้ อาทิ การฆ่าสัตว์หรือการโกหกอาจจะขัดกับศีลธรรมหรือคติการดำเนินชีวิตของคนบางกลุ่มในสังคม แต่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายลงโทษบุุคคลที่ฆ่าสัตว์หรือพูดปด สังคมประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้อย่างผาสุกก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งในด้านการแสดงความเห็น การประกอบอาชีพ หรือการกระทำกิจกรรมอื่นๆตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ก่อผลเสียต่อสาธารณะ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าว แม้จะกระทำได้ แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานเหตุผลและข้อเท็จจริง การจะนำ "ศีลธรรม" มาเป็นข้ออ้างลอยๆโดยมองข้่าม ไม่แยกแยะ และชั่งน้ำหนักประโยชน์ได้เสียที่ตามมา เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของปวงชนตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งที่มิควรกระทำ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กฟผ.แจงไฟใต้ดับไม่ใช่ก่อวินาศกรรม รมว.พลังงาน ตั้งกก.สอบ

Posted: 22 May 2013 01:18 AM PDT

กฟผ.-กฟภ. รับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในภาคใต้ เหตุสุดวิสัย ยันไม่ใช่ก่อวินาศกรรม วิปฝ่ายค้าน จี้ รบ.หามาตรการป้องกัน รมว.พลังงาน ตั้งกก.สอบ เห็นชอบขยายสายส่งปรับวิธีการสั่งการใหม่ วอนแยกออกจากการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม

22 พ.ค.56 จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับวานนี้(21 พ.ค.)ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ และอีกบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นานประมาณ 1 ชั่วโมง ในระหว่างเวลา 18.55 น-20.00 น. นายวรพจน์ อินทร์ทอง ผู้อำนวยการปฏิบัติการภาคใต้ ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งเทศไทย (กฟผ.) ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กล่าวว่า  ขณะนี้ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าภาคใต้ ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชน ใน 14 จังหวัดภาคใต้ทั้งหมดตามปกติแล้ว  ส่วนสาเหตุเกิดมาจากการที่สายส่งขนาด 500 กิโลวัตต์ ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดขัดข้อง  และยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการขัดข้องของระบบสายส่งไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ใช่การก่อวินาศกรรมแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุได้ระดมเจ้าหน้าที่และวิศวกรไฟฟ้า จำนวนกว่า 30 คน เข้าแก้ไข และกู้ระบบไฟฟ้าให้กลับมาใช้ได้เหมือนเดิม  ดังนั้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต้องขออภัยพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว  เนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นการเกิดขึ้นครั้งแรก  ส่วนเหตุของการที่สายส่งเกิดขัดข้องมาจากสาเหตุใดนั้น ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่

ด้าน นายวัฒนา แพกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เขต 2 (ภาคใต้) กล่าวว่า  ขณะนี้ได้ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใน 14 จังหวัดภาคใต้  โดยขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าให้ออกไปช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเกิดไฟฟ้าดับ  พร้อมเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าให้สามารถปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง หากได้รับแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง

วิปฝ่ายค้าน จี้ รัฐบาลหามาตรการป้องกันไฟใต้ดับทั้งภาค

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า เรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับในพื้นที่ใต้เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาซ้ำอีก  เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุด โดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า และส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจนับหมื่นล้านบาท ทั้งนี้วิปฝ่ายค้านจะขอให้คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อหาสาเหตุของไฟฟ้าดับต่อไป

รมว.พลังงาน ตั้งกก.สอบไฟดับ14จังหวัดใต้

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เรียกประชุมผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแถลงข่าว ขณะนี้ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการแก้ไขจนสามารถจ่ายไฟได้เป็นปกติแล้ว ตั้งแต่เวลา 23.45 น.และได้มีการสั่งการให้ตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป

"ยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง และจะนำบทเรียนครั้งนี้มาศึกษาเพื่อหาแนวทางป้องกัน ทั้งในระยะสั้นและยาว" รมว.พลังงาน กล่าว และว่า  สำหรับการแก้ไขสถานการณ์นั้น กฟผ.ได้เร่งการผลิตไฟฟ้าจากทุกโรงไฟฟ้าในภาคใต้อย่างเต็มกำลังการผลิต และเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าจากดีเซลที่ จ.สุราษฎร์ธานี และได้มีการซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซีย

สาเหตุไฟดับเป็นวงกว้างนั้น  จากการให้ กฟผ. ตรวจสอบข้อมูล พบว่าเกิดจากการขัดข้องของระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ที่จ่ายไฟฟ้าจากภาคกลางไปยังภาคใต้  ซึ่งเดิมสายส่งที่จ่ายไฟฟ้าไปยังภาคใต้มี4เส้น และได้ มีการปลดสายส่งออก1เส้น คือขนาด 500kv เพื่อซ่อมบำรุง ประกอบกับสายส่งเส้นที่2 ขนาด 200kv เกิดการชำรุดเนื่องจากฟ้าผ่า จึงจำเป็นต้องใช้สายส่งเส้นที่มีขนาดเล็ก ขนาด230kv  จนทำให้เกิดเหตุสายส่งจ่ายไฟฟ้าเกินพิกัด ส่งผลให้สายส่งหลุดจากระบบ

เห็นชอบขยายสายส่ง

ที่ประชุมเห็นชอบให้ กฟผ.ไปดำเนินการขยายสายส่งไฟฟ้าให้เป็นขนาด 500 kV. ตลอดเส้นทางตั้งแต่บางสะพาน-หาดใหญ่ จากเดิมที่ใช้สายส่งขนาด 230 kV. เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณการส่งไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมทั้งขยายสายส่งไฟฟ้าจากขนอม-ภูเก็ต จากปัจจุบันที่ใช้สายส่งขนาด 115 kV. ให้เป็นขนาด 500 kV.ด้วยเช่นกัน เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีปริมาณความต้องการใช้ไฟสูง เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งธุรกิจ

ปรับวิธีการสั่งการใหม่ในศูนย์ควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า

พร้อมกันนี้ ยังเห็นควรให้มีการปรับวิธีการสั่งการใหม่ในศูนย์ควบคุมการสั่งจ่ายไฟฟ้า โดยต้องการให้มีการตั้งบุคคลที่สามารถมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินได้ ซึ่งปัจจุบันอำนาจดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า(เรกูเลเตอร์) รวมทั้งมอบหมายให้นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ไปหารือกับ 3 การไฟฟ้าและเรกูเลเตอร์ เพื่อดูแลปัญหาไฟฟ้าตก-ไฟฟ้าดับเพื่อแก้ปัญหาภาพรวมในทั้งระบบด้วย

วอนแยกเรื่องไฟดับออกจากการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม

อย่างไรก็ดี จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้มองว่ามีความจำเป็นจะต้องเร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นด้วยนั้น รมว.พลังงาน กล่าวว่า ขอให้แยกกรณีการสร้างโรงไฟฟ้านี้ออกจากเรื่องปัญหาไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้านั้นรัฐบาลจะพิจารณาในทุกพื้นที่ และก่อนจะมีการก่อสร้างต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ก่อน

"อยากจะให้แยกประเด็นเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ กับปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ออกจากกัน โดยการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าต้องพิจารณาในทุกพื้นที่อยู่แล้ว และต้องให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับ" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่ไทยต้องซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อวานนี้ถึงหน่วยละ 16 บาท คิดเป็นเงิน 12 ล้านบาทนั้น รมว.พลังงาน ยอมรับว่าค่อนข้างแพง แต่มีความจำเป็นที่ต้องยอมจ่าย พร้อมเห็นว่าในอนาคตพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องขนาดของสายส่งไฟฟ้าเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ขึ้นอีก

 

เรียบเรียงจาก โพสต์ทูเดย์ดอทคอม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI เผยผลวิจัยลูกจ้างเหมาค่าแรง กม.ขยายคุ้มครองแต่เหลื่อมล้ำทางปฎิบัติ

Posted: 22 May 2013 12:34 AM PDT

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเปิดงานวิจัยผลสำรวจลูกจ้างเหมาค่าแรงหรือลูกจ้าง subcontract พบกฎหมายขยายความคุ้มครองแต่ในทางปฎิบัติยังเหลื่อมล้ำทั้งรายได้และสวัสดิการ เสนอจัดระบบเก็บข้อมูลให้ชัดเจน

การจ้างลูกจ้างเหมาค่าแรงหรือลูกจ้าง subcontract  ผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรง เป็นการจ้างงานรูปแบบหนึ่งที่มีแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน(ฝ่ายผลิต)จำนวนมาก  การจ้างงานรูปแบบนี้มีมาก่อนมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานปี 2541 เสียอีกและในปัจจุบันมีการปรับปรุงกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่แรงงานชั่วคราวเหล่านี้ด้วยเช่นกัน  กฎหมายนี้สะท้อนความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานไทย ที่ยอมรับให้มีการจ้างงานเหมาค่าแรงได้ แต่กำหนดให้นายจ้างในสถานประกอบการต้องรับผิดชอบในเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในฐานะนายจ้างของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงด้วย 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2555) ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินผลในทางปฏิบัติของการปรับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไขพ.ศ.2551 มาตรา 11/1 ว่าเมื่อเปรียบเทียบแรงงานกลุ่มรับจ้างเหมาค่าแรงกับแรงงานที่เป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างทั้งสองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลของกฎหมายดังกล่าวได้จากการสอบถามแรงงานเกี่ยวกับลักษณะการจ้างแรงงาน ลักษณะของงาน  ตลอดจน ค่าจ้าง/รายได้ และสวัสดิการที่ได้รับ เปรียบเทียบระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (sub-contract worker) ที่ทำงานในโรงงานสาขาการผลิต (Manufacturing) รวม 831 ราย ในจังหวัด ปทุมธานี สมุทรปราการ อยุธยา ชลบุรี และนครราชสีมา

นางสาวสุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิจัยผู้ทำการศึกษา  ระบุว่า ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่า ปัจจุบันยังมีการจ้างงานลูกจ้างเหมาค่าแรงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในย่านนิคมอุตสาหกรรม โดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง ซึ่งมักจะมีการตั้งโต๊ะหรือสำนักงานเล็กๆ เพื่อรับสมัครอยู่บริเวณใกล้แหล่งงานหรือหน้านิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งหน้าโรงงานที่บริษัทผู้รับเหมาค่าแรงนั้นรับผิดชอบหาคนป้อนโรงงานอยู่  โดยเหตุผลแรงงานที่เข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรง  เนื่องจากโรงงานไม่เปิดรับคนงานโดยตรง แต่รับผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับเหมาค่าแรง   นอกจากนี้ยังมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่มาสมัครงานผ่านบริษัทตัวแทนเพราะต้องการลดขั้นตอนในการสมัครงานเนื่องจากเห็นว่าการสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้มีโอกาสในการได้งานมากขึ้น เข้างานได้ง่าย ไม่ต้องสอบข้อเขียน  มีโอกาสได้เลือกงาน/โรงงานได้หลากหลาย  และกรณีมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนด การรับสมัครคนงานของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงซึ่งมีข้อตกลงที่จะต้องส่งคนงานป้อนโรงงาน มักจะไม่เคร่งครัดในเรื่องคุณสมบัติมากนัก ยิ่งในภาวะขาดแคลนแรงงาน แค่เห็นคนวัยหนุ่มสาวเดินผ่านก็แทบจะถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงอุ้มเข้าไปเขียนใบสมัครงาน  

บทบาทของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงมีประโยชน์ในแง่ของการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลสารสนเทศในการหางาน และช่วยให้ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนดสามารถมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานในระบบได้   ดังนั้นเมื่อสอบถามลูกจ้างเหมาค่าแรงถึงข้อดีของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง ส่วนใหญ่จึงตอบว่าบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้ได้งานเร็ว แต่ในทางกลับกัน ข้อเสียของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ตอบก็คือ การได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าลูกจ้างประจำ โดยมีความแตกต่างในการได้รับ-ไม่ได้รับสวัสดิการในแง่รายได้อื่นๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าทำงานกะ (กะเช้า กะบ่าย กะดึก) เบี้ยขยัน (ได้รับเมื่อไม่ขาด-ลา-มาสาย) ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น บริการรถรับ-ส่งพนักงาน การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การได้รับเงินชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งสะท้อนว่าลูกจ้างทั้งสองกลุ่มยังได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่แตกต่างกัน ต่างกับเจตนารมย์ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างทั้งสองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

 งานศึกษายังใช้เทคนิคสมการถดถอยเชิงเส้นคำนวณหาค่าตอบแทนเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างประจำและลูกจ้างเหมาค่าแรงพบว่า ค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจและผลประโยชน์สวัสดิการอื่นๆ ที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าทำงานกะ เบี้ยขยัน ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน (ไม่รวมโบนัส) ของลูกจ้างประจำจะสูงกว่าลูกจ้างเหมาค่าแรงประมาณ 1,624 บาทต่อเดือน    ความแตกต่างของผลตอบแทนนี้อาจนับได้ว่าเป็นต้นทุนจากการใช้บริการสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง เพราะจากการพูดคุยกับพนักงานของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงทราบว่าทางสถานประกอบการจะจ่ายเงินเหมาค่าแรงให้ลูกจ้างเป็นรายหัว แล้วบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงก็มาจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่สมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงอีกที โดยหักส่วนต่างไว้เป็นค่าบริหารจัดการและกำไรของกิจการ แม้ในการศึกษานี้จะไม่ทราบอัตราค่าบริการที่แน่ชัด แต่จากตัวเลขความแตกต่างของค่าจ้างรวมค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นตัวเงินจากการคำนวณในตัวอย่างข้างต้นราว 1,624 บาทต่อเดือนนั้น และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับลูกจ้างที่สมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงรู้ดีว่าค่าจ้างและรายได้ตัวเงินอื่นๆ ที่ตนได้รับในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงจะต่ำกว่าลูกจ้างประจำที่เป็นลูกจ้างโดยตรงของโรงงาน และคิดว่าเป็นต้นทุนของการซื้อความสะดวกในการได้งานง่าย ไม่ต้องสอบข้อเขียน รวมถึงจากกรณีที่คุณสมบัติของตนเองไม่ตรงตามที่โรงงานกำหนด

ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้รับเงินชดเชยกรณีที่นายจ้างต้องการเลิกจ้าง พบว่าสัดส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่เข้ามาทำงานในสถานประกอบการผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรงนั้น มีราวกึ่งหนึ่งที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างรับเหมาค่าแรงผ่านบริษัทตัวแทนจัดหาคนงานเหล่านี้มีสภาพเป็นลูกจ้างในทางพฤตินัยของสถานประกอบการเท่านั้น ไม่ได้มีสถานภาพเป็นลูกจ้างโดยตรงของโรงงานตามนิตินัย นายจ้างจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นการตัดต้นทุนในการปลดคนงาน (firing cost) อีกด้วย

  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแรงงานรับเหมาค่าแรง เริ่มต้นที่การจัดเก็บข้อมูลสถิติอย่างมีระบบเพื่อให้ทราบจำนวนลูกจ้างประเภทต่างๆ ตามรูปแบบการจ้างงานที่มีอยู่ หากผลการสำรวจพบว่ากลุ่มแรงงานที่มีรูปแบบการจ้างเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างผ่านบริษัทรับจัดหาคนงาน มีสัดส่วนที่มาก และต้องการให้มีการรายงานการจ้างงานรูปแบบดังกล่าว เพื่อการเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็ปรับใช้มาตรา 112-115 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการเพิ่มรายละเอียดของข้อมูลลักษณะการจ้างงานที่สถานประกอบการต้องบันทึกและยื่นต่อเจ้าหน้าที่แรงงาน  ในขั้นสุดท้าย หากพบว่าปัญหาสภาพการจ้างแรงงานเหมาค่าแรงมีความรุนแรง จำเป็นต้องมีมาตรการที่รัดกุมขึ้น ก็อาจจะพิจารณากำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาค่าแรง ประโยชน์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการบริหารระบบแรงงาน การกำกับ และการออกมาตรการเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มีการคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น