โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหา P-Move เห็นชอบแผนนำร่องธนาคารที่ดิน

Posted: 28 May 2013 11:51 AM PDT

ส่วนที่ประชุม ครม. เห็นชอบข้อเสนอ P-Move ในเรื่องคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน ขณะที่คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินมีความคืบหน้ามากสุด มีการแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาทั้งระดับพื้นที่-นโยบาย และเตรียมปัดฝุ่นหาทางออกระเบียบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่สาธารณประโยชน์-ที่เอกชนปล่อยร้าง

ตามที่เมื่อวานนี้ (28 พ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P-Move ซึ่งมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนั้น ล่าสุด ขปส. ได้เผยแพร่จดหมายข่าวระบุผลความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหา โดยมีผลสรุปดังนี้

หนึ่ง ประเด็น ขปส. ที่เสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบ โดยแบ่งเป็นเรื่องโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ที่ ครม.เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 56 ในวันนี้ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานตามที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เสนอ โดยให้มีการปรับปรุงรายละเอียดให้เป็นปัจจุบัน

นอกจากนี้ประเด็นที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม ครม. 28 พ.ค. 56 ที่ประชุมแจ้งว่ามีเรื่องของ ขปส. ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม. แล้วได้แก่ หนึ่ง การคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน ที่คณะกรรมการประสานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนพิจารณาอนุมัติแล้ว 58 ชุมชน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อบูรณาการ การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูน โดยยกเลิกมติ ครม. เดิม

สอง ประเด็นการพิจารณาตามกลไกการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการ 9 ชุด และคณะกรรมการฯ ชาวเล จดหมายข่าวของ ขปส. ระบุว่า ภาพรวมปรากฏว่ามีความคืบหน้าด้วยดี ที่ประชุมใหญ่เห็นชอบแนวทางส่วนใหญ่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการแต่ละชุด ส่วนประเด็นที่ไม่สามารถหาข้อสรุปในที่ประชุมอนุกรรมการได้ก็การนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของ ขปส. พิจารณาเห็นชอบ

โดยจดหมายข่าวของ ขปส. ระบุว่าคณะอนุกรรมการที่ก้าวหน้ามากที่สุดคือ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาทั้งระดับพื้นที่และระดับนโยบาย และมีหลายประเด็นซึ่งที่ประชุมใหญ่เห็นชอบให้ดำเนินการ เช่น ให้กระทรวงทรัพยากรฯ นำเรื่องการแก้ไขกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับ ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาบรรจุเป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวงฯ ปี 2557 และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้าง ซึ่งมีแผนจะปรับปรุงกฎ ระเบียบต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทยให้รองรับแนวทางโฉนดชุมชน รวมทั้งแจ้งไปยังจังหวัดต่างๆ ให้เร่งรัดแก้ไขปัญหาของ ขปส.

ตอนท้ายของจดหมายข่าว ขปส. ระบุด้วยว่า ส่วนการแต่งตั้งกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาของ ขปส. ซึ่งจะมี นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทยเป็นประธานกรรมการ และนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นรองประธานฯ ตามข้อตกลง MOU ก่อนหน้านี้นั้น นายสุภรณ์รับจะเร่งรัดแต่งตั้ง โดยการยกร่างรายชื่อและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการร่วมกับ ขปส. 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

12 ปี สสส.จัดเวทีใหญ่ถอดประสบการณ์งานสุขภาพ ชี้นานาชาติจับตามองเป็นต้นแบบ

Posted: 28 May 2013 11:36 AM PDT

 

28 พ.ค.56 ที่ไบเทค บางนา มีการจัดเวที สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หลังจากที่มีการดำเนินงานมาครบ 12 ปี โดยในเวทีนี้เป็นการรวมทุกภาคีเครือข่ายทั่วประเทศที่ทำงานสุขภาพในประเด็นต่างๆ มีผู้เข้าร่วมกว่า 3,000 คน และมีการจัดเวทีอภิปรายหลายสิบเวทีตลอดวันที่ 28-29 พ.ค.นี้

ในการอภิปราย 'การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการติดตามประเมินผล 1 ทศวรรษของ สสส.' ศ.นพ.ไกรสิทธิ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการประเมินผล สสส. กล่าวว่า เรื่องแรกๆ ที่ทำการประเมิน คือวัตถุประสงค์ ความคุ้มค่าคุ้มทุน และธรรมาภิบาล รวมทั้งเรื่องไอทีในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลการประเมินเมื่อ 5 ปีที่แล้วโดยองค์การอนามัยโลกได้แสดงความชื่นชมมา พอทำงานถึงปีที่  9 จึงคิดว่าน่าจะต้องมีการประเมิน 10 ปีในระดับนานาชาติ ในที่สุดก็ออกมาเป็นรายงาน 10 ปี ซึ่งผลการประเมินออกมาค่อนข้างบวก

"เราประเมินเพื่อการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ การประเมินนี้จะเป็นเกราะป้องกัน สสส. ต่อไป การทำงานโดยคนดีก็เป็นสิ่งดี แต่ต้องมีธรรมาภิบาล เราต้องเห็นประโยชน์ของการประเมินว่า ไม่ใช่การจับผิด แต่จะนำไปสู่ประโยชน์ที่ยั่งยืนมากขึ้น"ศ.นพ.ไกรสิทธิ กล่าว  

ด้าน Dr. Mustaque Chowdury จากองค์กรด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ในบังคลาเทศ (BRAC)  หนึ่งในทีมผู้ประเมิน 10 ปีการทำงานของ สสส. กล่าวถึงรายงานดังกล่าวว่ามาจากทีมนานาชาติ 6 ทีมที่ลงไปพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การทำงานของ สสส.ได้กลายเป็นรูปแบบที่ทั่วโลกกำลังมอง ในฐานะที่เป็นแบบอย่างเพื่อส่งเสริมพัฒนาสุขภาพในประเทศตนเอง โมเดลนี้ในระดับอาเซียนอย่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เริ่มมีขึ้นแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคพร้อมกับการมี สสส. ก้าวต่อไปจึงอยากให้กลไกเหล่านี้เข้มแข็งมากขึ้น การประเมินยังชี้ให้เห็นว่า การใช้งบประมาณจากภาษีเหล้าและบุหรี่ได้ช่วยพัฒนาด้านสุขภาพในไทยให้ดีขึ้น ส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านสุขภาพ รวมทั้งทฤษฎี 'สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา' ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ก็ใช้ยึดโยงทำงานได้อย่างเหมาะสม

เขากล่าวอีกว่า ผลที่ออกมาบ่งบอกความสำเร็จทั้งการลดการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือ 2 ในช่วง 10 ปี จากสัดส่วน 34% เหลือ 11% การรณรงค์ 'ให้เหล้าเท่ากับแช่ง' ก็ลดการซื้อเหล้าลงไปได้มาก ในเรื่องการลดอุบัติเหตุ พบว่าตั้งแต่ ปี 2547–2551 สถิติลดลงจากประมาณ 140,000 ครั้งเหลือราว 80,000 ครั้ง ซึ่งส่งผลในการลดค่าใช้จ่ายรัฐได้ถึงประมาณ 9,000 ล้านบาทต่อปี โดย สสส. ใช้งบประมาณทำงานไปราว 600 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจนนัก

ในส่วนข้อแนะนำ  Dr. Mustaque  กล่าวว่า นอกจากให้เงินทุนแล้ว อยากให้เสริมสร้างศักยภาพแก่ภาคี โดยน่าจะมีวิธีการหาทุนแบบอื่นๆ ด้วย เช่น หาผู้บริจาคเพิ่มหรือลงทุนในองค์กรเพื่อสังคมมากขึ้น รวมถึงการหาภาคีและหน่วยงานข้างนอกเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรต้องมีระบบการตรวจสอบดูแลเป็นหน่วยวิจัยอิสระที่ทำงานไปพร้อมกับ สสส.ตั้งแต่แรก 

ด้าน ศ.(เกียรติคุณ) นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า  94% ในการให้ทุนของ สสส. คืองบประมาณที่ลงไปที่ภาคี ดังนั้น ผลการประเมิน สสส. ก็คือประเมินภาคีด้วย  นอกจากนี้ สสส. จะต้องบูรณาการภายในให้สำเร็จเสียก่อน หากไม่สามารถบูรณาการภายในได้ก็บูรณาการระดับพื้นที่ไม่ได้  ส่วนสิ่งที่ต้องทำงานตามการประเมินผลนี้คือ ต้องคิดให้ละเอียด และต้องมีคณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามรายงานด้วย

 

ถอดประสบการณ์ 10 รณรงค์ "ลด เหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุ"

สำหรับการเสวนาย่อยเรื่องถอดรหัสปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ : 10 ปีแห่งประสบการณ์ "ลดเหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุ" นั้นเริ่มต้นด้วยการถอดประสบการณ์การทำงาน "ลดบุหรี่" ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)   กล่าวถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีการลดการสูบบุหรี่ลงประมาณ 10%  อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีล่าสุดนั้นสถิติไม่ลดลงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักสูบหน้าใหม่

ในอดีตมาตรการควบคุมของไทยก้าวหน้าจนถูกนำไปบรรจุในกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ (FCTC) ขององค์การอนามัยโลกในปี 2546 โดยเพิ่มประเด็นการป้องกันการแทรกแซงนโยบายสาธารณะของอุตสาหกรรมยาสูบด้วย แต่ก็ยังมีสิ่งที่เป็นปัญหาท้ายทายคือ การบังคับใช้กฎหมายยังอ่อน, การค้าเสรีเปิดให้บุหรี่ถูกเข้าประเทศ, นโยบายไปไม่ถึงชาวชนบทซึ่งสูบบุหรี่มวนเอง

ส่วนตัวอย่างการทำงานในพื้นที่ เช่น การที่ภาคีตกลงทำเรื่อง 3 ลด (ลดนักสูบหน้าใหม่, ลดผู้สูบในชนบท, ลดควันบุหรี่มือสอง) 3 เพิ่ม (เพิ่มกลไกการป้องกันการแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ, เพิ่มผู้ขับเคลื่อนมาตรการทางสังคม, เพิ่มนวัตกรรมควบคุม) รวมถึงโครงการ "จังหวัดปลอดบุหรี่" นำร่อง 15 จังหวัด โดยสร้างกลไกระดับพื้นที่ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นจุดจัดการเชื่อมโยงโครงข่ายในพื้นที่ 

น.ส.แสงเดือน สุวรรณรัศมี ผู้จัดการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (มสพ.) กล่าวว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมขับเคลื่อนโดยเน้นเรื่องนโยบาย เพราะใช้เงินน้อยที่สุดและส่งผลเปลี่ยนแปลงมาก กระทั่งเกิด สสส. ในปี 2545 ทำให้สามารถเคลื่อนงานลงสู่ภูมิภาคได้มากขึ้นควบคู่การผลักดันนโยบาย นอกจากนี้ยังมีงานเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทยซึ่งเป็นงานหนักที่ต้อง "ทำสงคราม" กับบรรษัทบุหรี่ซึ่งทำ CSR หนักมากภายใต้แนวคิด "เยาวชนในวันนี้ คือ ลูกค้าคนสำคัญในวันพรุ่งนี้"

วงต่อมาเป็นการถอดประสบการณ์ "ลดเหล้า" ผศ.ดร.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ รองผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวในภาพรวมว่า แอลกอฮอล์ก่อปัญหาภาระโรคในสังคมไทยคิดเป็นร้อยละ10 และส่งผลกระทบอื่นด้วยเช่นปัญหาอุบัติเหตุ ความรุนแรงในครัวเรือน ด้านการบริโภคก็พบว่าคนไทยบริโภคแอลกอฮอล์สูงมากไม่ต่างจากยุโรป สถิติทรงตัวไม่มีแนวโน้มปรับลดอย่างเด่นชัด เฉลี่ยแล้วคนไทยดื่มปีละ 24 ลิตรต่อคน(ที่ดื่ม) และยังซื้อหาได้ง่ายมาก

การดำเนินงานที่ผ่านมาใช้แนวคิดพื้นฐาน "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"  ประสานงานระหว่างหน่วยวิชาการ ภาครัฐ และเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และพบว่ามาตรการเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือมาตรการด้านอุปทาน เช่น มาตรการทางภาษี การจำกัดการเข้าถึง

นายธีระ วัชรปราณี  ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคส.) กล่าวว่า เครือข่ายเริ่มทำงานปี 2546 พร้อมกับการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานภูมิภาค 8 แห่งเป็นกลไกบริหารจัดการ มีประชาคมงดเหล้าทุกจังหวัด ทำงานร่วมกับเอ็นจีโอและหน่วยด้านนโยบาย ที่ผ่านมามีบทบาทสำคัญในการรวบรวมรายชื่อสนับสนุนกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกาศใช้ปี 51 หลังจากนั้นก็มีบทบาทในการผลักให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีผ่านการร้องเรียน สิ่งที่น่าห่วงคือ การค้าเสรีและการท่องเที่ยวเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล แต่เป็นความยากลำบากของเครือข่ายในการผลักดันการลดเหล้า

วงสุดท้ายคือประสบการณ์ "ลดอุบัติเหตุ" นพ.ธนะพงษ์ จินวงษ์  ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวว่า โดยภาพรวมไทยยังสอบตกเรื่องมาตรการต่างๆ เช่น การจำกัดความเร็ว การดื่มแล้วขับ ฯ ที่ผ่านมาอุบัติเหตุถูกมองเป็นปัญหาของปัจเจก และไม่ค่อยมีการพูดถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงโครงสร้าง วัฒนธรรม วิธีคิด ปัจจุบันยูเอ็นเริ่มรณรงค์ให้จับตาปัจจัยเสี่ยง 5 เสาหลัก ได้แก่ แผนงานลดอุบัติเหตุ,มาตรฐานโครงสร้างพื้นฐาน,มาตรฐานยานพาหนะ, การเตรียมความพร้อมคนขับรถ, มาตรการรองรับเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 

สิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งของปัญหาคือ ทัศนคติเรื่องอุบัติเหตุ โพลล์สำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 26 เห็นว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องเวรกรรม นอกจากนี้ยังเห็นว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เป็นเรื่องเล็ก  ประกอบกับท้องถิ่นเองก็พยายามอำนวยความสะดวกด้วยการขยายถนนและยุบฟุตบาท สุดท้ายคือสื่อมวลชนที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง

นพ.วิวัฒน์ คีตมโนชญ์ แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในระดับจังหวัด(สอจร.)กล่าวว่า โครงสร้างการจัดการปัญหาอุบัติเหตุเป็นโครงสร้างแนวตั้งซึ่งไม่ค่อยเคลื่อนอะไรได้มาก เช่น พ.ร.บ.จราจรทางบก ปี 2522 กว่าจะออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องหมวกนิรภัยใช้เวลา 13 ปี ดังนั้น หากไม่มีภาควิชาการ ประชาสังคมช่วยขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ก็จะไปไม่ถึงไหน สสส.จึงเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมากในการหนุนหน่วยนโยบายต่างๆ และ เครือข่ายในพื้นที่ ตัวอย่างของจังหวัดภูเก็ตพบว่าการทำงานแนวราบกับภาคีต่างๆ สร้างความก้าวหน้าได้มาก โดยหัวใจสำคัญคือ การใช้ข้อมูลเพื่อเห็นปัญหา พัฒนาคนและเครือข่าย หานวัตกรรมในการทำงาน ปัจจุบันภาคีในภูเก็ตตั้งเป้าหมายร่วมกันว่าจะลดอุบัติเหตุลง 4 เท่าภายใน 2 ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การ์ด นปช.คดีพกระเบิดประทัดได้พักโทษ-คู่คดีศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 1ปีไม่ได้ประกัน

Posted: 28 May 2013 10:31 AM PDT

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิทยา แน่นอุดร การ์ด นปช.ที่โดนคดีมีระเบิดไว้ในครอบครอง ถูกศาลลงโทษจำคุก 7 ปี ได้รับการพักโทษและออกจากเรือนจำหลักสี่ในวันนี้ (29 พ.ค.) หลังถูกจำคุกมาแล้ว 3 ปี 2 เดือน

นายพิทยาถูกจับกุมพร้อมคู่คดีอีกคนหนึ่งเมื่อวันที่ 9 เม.ย.53 ในข้อหาร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้, ร่วมกันมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองทางสาธารณะโดยเปิดเผย โดยเขาถูกจำคุก 7 ปี แต่คู่คดีศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าล่าสุดในวันนี้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 1 ปีคู่คดีนายพิทยา (จำเลยไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อ) โดยไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก่อนหน้านี้เขาถูกจำคุกมาแล้ว 6 เดือนก่อนได้รับการประกันตัวในศาลชั้นต้น

ทางด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลระบุว่าจะมีการจัดบายศรีสู่ขวัญระดมทุนช่วยเหลือนายพิทยา ในวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. ที่หน้าศาลอาญา รัชดา เวลา 13.00-16.00น.

อนึ่ง เมื่อวันที่ 9 เม.ย.53 จำเลยทั้งสองถูกจับบริเวณซอยรางน้ำ ขณะขี่จักรยานยนต์ลาดตระเวนรักษาความปลอดภัย พร้อมของกลาง ประกอบด้วยระเบิดประทัด 1 ลูก ระเบิดขวด 6 ลูก เสื้อเกราะ 1 ตัว วิทยุสื่อสาร 3 เครื่อง สนับมือ 1 อัน ที่ช็อตไฟฟ้า 1 อัน ผ้าพันคอสัญลักษณ์ นปช. 2 ผืน สนับเข่า 1 คู่ มีดสั้น 4 เล่ม เสื้อคลุมสีดำ 1 ตัว กระเป๋าสะพายสีดำ 1 ใบ รถจักรยานยนต์ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 1 คัน เงินสด 7,500 บาท กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 1 ตัว และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง  โดยจำเลยระบุว่า ของกลางบางส่วนและระเบิดเป็นของที่ยึดได้จากผู้ต้องสงสัยในบริเวณดังกล่าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการชี้อียูหวังใช้เอฟทีเอแปรรูประบบจัดหายาและเวชภัณฑ์ไทยให้เอกชน

Posted: 28 May 2013 07:57 AM PDT

นักวิชาการชี้เอฟทีเอไทย-อียู แทรกแซงระบบจัดหายาและเวชภัณฑ์ของไทย ห่วงแปรรูปแล้วจะทำให้ยาราคาแพง เอกชนหลายแห่งเริ่มเลิกผลิตเน้นการนำเข้ายา

28 พ.ค.56 การเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป รอบแรกที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกของการเจรจาที่หัวข้อทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ได้ถูกฝ่ายอียูหยิบยกขึ้นหารือทันที

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) มองว่า น่าจะเป็นเพราะทั้งสองฝ่ายต้องการเร่งการเจรจาให้จบเร็วที่สุด เพราะปกติแล้ว การเจรจาหัวข้อที่ซับซ้อนเช่นนี้ ประเทศใหญ่อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ จะหยิบขึ้นมาช่วงกลางของการเจรจา อย่างไรก็ตาม ประเด็นในเอฟทีเอที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์นั้น ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในบททรัพย์สินทางปัญญา แต่เท่าที่ทราบมา สหภาพยุโรปต้องการสอดแทรกเรื่องนี้ในการเจรจาหัวข้อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement) ด้วย

"อียูจะอ้างเรื่องความโปร่งใส และลดกฎระเบียบต่างๆ ที่ภาครัฐเคยดูแลผลิตและจัดหายาและเวชภัณฑ์บางส่วนว่า ต้องให้เอกชนเข้ามาแข่งขันทั้งหมด แต่เรื่องยาไม่เหมือนกับสินค้าทั่วไป ที่ใครใคร่ซื้อ ซื้อ ใครใคร่ขาย ขาย เพราะเมื่อเวลาขาดแคลนหรือเมื่อจำเป็นที่ต้องขึ้นมาจะทำอย่างไร เอกชนเค้าก็ต้องมุ่งหวังกำไร ถึงแม้จะมีกฎระเบียบอยู่ แต่บางอย่างถ้าไม่มีกำไรเอกชนไม่ทำ ยกตัวอย่างง่ายๆ เลยคือยากำพร้า ซึ่งแม้ว่ามันจะไม่มีที่ใช้และเราไม่อยากใช้มากด้วยนั้น ก็ยังจำเป็นต้องมีเพราะจะมีผู้ป่วย เช่น เกษตรกรที่ได้รับสารพิษและเกิดอาการเป็นพิษขึ้นมา ยาไม่แพง แต่ไม่มีคนผลิต อย่างนี้รัฐต้องเข้ามาแทรกแทรก จึงเป็นหน้าที่ของรัฐส่วนหนึ่งที่จะต้องคงไว้ซึ่งการมียา การพึ่งตนเองเมื่อยามขาดแคลน รวมทั้งจัดหาเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงยาอย่างครบถ้วน เป็นเรื่องสำคัญมาก"

ผู้จัดการแผนงาน กพย. ระบุว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยาข้ามชาติและรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้วพยายามที่จะผลักดันเรื่อง Government procurement เข้าไปอยู่ตลอดเวลาที่มีการเจรจาการค้าต่างๆ โดยเฉพาะองค์การการค้าโลก (WTO) ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลที่ต้องทำหน้าที่ดูแลประชาชนที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องทำ จึงมีความพยายามมาเจรจาในระดับทวิภาคี นี่คือการแทรกแซงการจัดหายาและเวชภัณฑ์ของประเทศ ทำให้ระบบการจัดหายาโดยภาครัฐนั้นด้อยคุณค่าลง หรือในหลายประเทศเปลี่ยนไปแล้วเป็นแปรรูปให้เอกชนจัดการ อย่างที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย

"เดิมมาเลเซีย ใช้วิธีการควบคุมโดยรัฐ และพยายามทำระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆ ซึ่งในการจัดหายานั้นแต่เดิมก็จัดการโดยรัฐ แต่ก็มีการเริ่มแปรรูปให้เอกชนจัดการ (Privatization)ไป มีงานวิจัยออกมาพบว่าราคายาหลังการแปรรูปแล้วนั้นมีราคาสูงขึ้นมหาศาล ซึ่งเกิดจากการที่รัฐไม่ได้เข้าไปจัดการ ปล่อยให้เอกชนจัดการซึ่งเค้าจะทำอย่างไรก็ได้ กลับมาที่ประเทศไทย มีข่าวเรื่องความพยายามจะแปรรูป อภ.ซึ่งไปสอดคล้องกับความต้องการของอียู ประเด็นคือ ถ้าเราไม่มีรัฐเข้าไปควบคุมในส่วนนี้ จะเป็นความสุ่มเสี่ยงที่ใหญ่มาก ผู้เจรจาฯควรตระหนักถึงผลกระทบ"

ทั้งนี้ นักวิชาการด้านระบบยากล่าวว่า การจัดหายาโดยภาครัฐมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมเป็นกำลังสำคัญในการทำหน้าที่นี้ แม้ในกฎหมายระบุเพียงว่า ผลิตยาและเวชภัณฑ์ ส่งเสริมวิจัยและพัฒนา ควบคุมคุณภาพ และเขียนชัดไว้ว่า ซื้อขาย ให้ดำเนินธุรกิจได้ด้วย แต่หน้าที่ที่สำคัญและเป็นหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณสุขระบุมาคือ 1.รักษาระดับของราคายาไม่ให้เพิ่ม 2.รักษาคุณภาพมาตรฐานของยา 3.จัดหาและสนองเวชภัณฑ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข 4.สำรองยาและเวชภัณฑ์ตามแผนสำรองยาของชาติ 5.จัดส่งยาและเวชภัณฑ์แก้สาธารณสุขมูลฐานต่างๆ และ 6.สนับสนุนนโยบายด้านยาต่างๆ

"หน้าที่ตรงนี้ถ้าไม่ทำโดยภาครัฐแล้วใครจะทำ เมื่อถึงเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน เมื่อเหตุภัยพิบัติ หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นด้านความมั่นคง และเมื่อเข้าไปดูในตลาดยาแล้ว ยาที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้คือยาในบัญชียาหลัก ซึ่งภาคเอกชนเองเราก็ไปสั่งเขาไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าผิดกฎหมายด้วยหรือไม่นะ ที่ไปสั่งเขาให้ทำโน่นนี้ แล้วใครจะเป็นคนผลิตยาในบัญชียาหลักเพื่อใช้ในระบบประกันฯ อีกประการที่สำคัญคือยาตามรายการยาที่ประกาศบังคับใช้สิทธิ (CL) ไปแล้วใครจะเป็นคนมาจัดการ ซึ่งต้องมีการนำเข้าและผลิตด้วย ในเรื่องการวิจัยพัฒนาเองก็สำคัญ ถ้าเราไปดูการวิจัยพัฒนายาชื่อสามัญของเอกชนจะพบว่าอยู่ในขั้นกำลังเริ่ม หลายโรงงานเริ่มแล้ว ปัจจุบันยาที่ใช้ในประเทศไทยนำเข้ากว่า 70% แล้ว ถ้าเราไม่มีองค์กรภาครัฐอย่าง อภ.มายันหรือเทียบเคียงราคา จะน่าเป็นห่วงมาก"

ทั้งนี้ ผศ.ดร.นิยดา นักวิชาการด้านระบบยา มองว่า นอกเหนือจากความพยายามป้องกันไม่ให้การเมืองและอุตสาหกรรมยาข้ามชาติทำลายและแทรกแซง อภ.แล้ว ควรจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์การเภสัชกรรม เพราะที่จริง อภ.มีศักยภาพอีกมาก

"อภ.สามารถผลิตยาชื่อสามัญได้มากกว่านี้ ทำวิจัยได้มากกว่านี้ ทำเรื่องยากำพร้าให้มากกว่านี้ก็ได้ และสิ่งที่เราพบว่าน่าเป็นห่วงคือ นโยบายกระทรวงซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งว่าองค์การเภสัชกรรมต้องทำเงินส่งให้กระทรวงเป็นประจำเท่านั้นเท่านี้ ในฐานะประชาชนที่คุณนำภาษีของเราไปใช้ทำประโยชน์นี่ไม่ใช่หน้าที่หลักที่จะต้องไปผลิตเงินมหาศาลให้กับรัฐบาล แต่ควรให้องค์การเภสัชกรรมร่วมพัฒนาระบบยาในประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งได้"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สืบพยานต่อ คดีคนงานชุมนุมเกินสิบคน-ก่อความวุ่นวาย สมัยอภิสิทธิ์

Posted: 28 May 2013 06:52 AM PDT

(28 พ.ค.56) ที่ห้องพิจารณาคดี 707 ศาลอาญา รัชดา มีการสืบพยานจำเลย ในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.บุญรอด สายวงศ์ นายสุนทร บุญยอด และ น.ส.จิตรา คชเดช ในความผิดฐานมั่วสุมกันก่อการวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 ว่าด้วยการชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จากกรณีการชุมนุมของคนงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552

จิตรา คชเดช จำเลยที่ 3 เบิกความต่อศาลว่า  กล่าวว่า ในช่วงเกิดเหตุ ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ โดยมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อบริษัทบอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำไทรอัมพ์ ประกาศเลิกจ้างคนงาน 1,595 คน  ในเดือน มิ.ย.52 โดยจะมีผลในวันที่ 29 ส.ค.52 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ จึงเข้าช่วยเหลือ โดยได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ในขณะนั้น ผ่านนายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม รองเลขาธิการนายกฯ และเมื่อใกล้กำหนดจะถูกเลิกจ้าง จึงตัดสินใจไปถามความคืบหน้าจากนายกฯ อีกครั้ง โดยชวนองค์กรแรงงานต่างๆ ที่ประสบปัญหาเข้าร่วมด้วย  ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเอนีออนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกเลิกจ้าง 300-400 คนและคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งมีสมาชิกคือ คนงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ที่ถูกเลิกจ้าง 100 คน 

ในวันเกิดเหตุ คนงานนัดกันเดินจากหน้าบ้านพิษณุโลกไปหน้าทำเนียบ แต่ไม่มีใครออกมารับหนังสือ และได้รับแจ้งว่าฝ่ายการเมืองไปประชุมกันที่รัฐสภา องค์กรแรงงานจึงมีมติไปที่รัฐสภา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้ ขณะที่การจราจรยังเป็นไปตามปกติ ต่อมาระหว่างประสานงานเพื่อยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและชี้แจงกับผู้ชุมนุม ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงรบกวนการสื่อสาร ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่าคือเครื่อง LRAD โดยตำรวจให้สัมภาษณ์ผ่านทีวีว่านำมาทดลองใช้กับคนงาน ทั้งนี้ ขณะอยู่ในรัฐสภา เพื่อรอเข้าพบประธานวิปฝ่ายค้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ได้เข้ามาต่อว่า พร้อมขู่ว่าจะออกหมายจับพวกตนด้วย จากนั้น ตัวแทนคนงานได้ยื่นหนังสือต่อประธานวิปฝ่ายค้านและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ก่อนจะออกมาชี้แจงกับผู้ชุมนุมและแยกย้ายกันกลับในเวลาประมาณ 17.00น.

จิตรา ระบุว่า ตนเองไม่ใช่ผู้นำการชุมนุมและไม่มีอำนาจสั่งการผู้ชุมนุม เพราะมากันจากหลายองค์กร พร้อมยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การมายื่นหนังสือต่อนายกฯ ก็เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาการถูกเลิกจ้าง และที่ต้องอยู่จนถึงเย็น เพราะไม่มีใครมารับหนังสือ

ด้านบุญรอด สายวงศ์ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ทำหน้าที่ประสานงานองค์กร จัดประชุม และดูแลกรณีการเลิกจ้าง เช้าวันเกิดเหตุ ขณะรวมตัวตั้งขบวนหน้าบ้านพิษณุโลก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถามว่าจะไปไหน เมื่อแจ้งว่าจะไปหน้าทำเนียบ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ และเมื่อไปถึงหน้าทำเนียบพบว่าตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว รวมถึงตำรวจได้นำแผงเหล็กมาปิดขบวนหลังจากเดินลงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ด้วย โดยวันดังกล่าว มีคนงานไทรอัมพ์ราว 1,200 คน เนื่องจากได้ขอให้คนงานซึ่งมี 57 ไลน์การผลิตส่งคนงานเข้าชุมนุม ไลน์ละ 20 คน  ทั้งนี้ ขณะอยู่หน้าทำเนียบ พล.ต.ต.วิชัย ได้ขอให้ตนเองพาคนขึ้นบนฟุตบาท แต่ตนเองตอบว่าไม่สามารถสั่งใครได้ เพราะมากันจากหลายที่ พร้อมขอให้ พล.ต.ต.วิชัย ช่วยประสานงานให้คนมารับหนังสือ เมื่อยื่นแล้วก็จะกลับ

บุญรอด กล่าวว่า ต่อมา เมื่อเดินทางจากหน้าทำเนียบมาถึงหน้ารัฐสภา พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากั้นไว้ก่อนแล้ว โดยที่รถยังเข้าออกที่ประตู 2 ได้ ต่อมา ประมาณ 14.00น. ตำรวจได้เปิดเครื่องเสียงเสียงดัง จนผู้ชุมนุมติดต่อประสานงานกันไม่ได้ จากเสียงดังกล่าว ทำให้มีคนงานหูชั้นกลางอักเสบอย่างรุนแรง 5 คน โดยทราบภายหลังว่า เครื่องเสียงดังกล่าว คือเครื่อง LRAD จากการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ต.วิชัย ทางรายการข่าวสามมิติ ทางช่อง 3

บุญรอด ระบุว่า ระหว่างชุมนุม มีการปราศรัยถึงความเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง แต่ไม่มีการชักชวนให้ทำร้าย ประทุษร้าย หรือก่อความวุ่นวายใดๆ ทั้งนี้ ตลอดการชุมนุม ไม่มีใครสั่งให้เลิกชุมนุมแต่อย่างใด


สำหรับคดีนี้ จะมีการสืบพยานจำเลยที่เหลืออีก 8 ปากในวันที่ 29 และ 30 พ.ค. ที่ศาลอาญา รัชดา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนรุกสร้างโรดแมป นำทางสันติภาพชายแดนใต้

Posted: 28 May 2013 06:40 AM PDT

ประชาสังคมชายแดนใต้ รุกสร้างแผนที่นำทางสันติภาพชายแดนใต้ ดร.โนเบอร์ต ชี้เกือบทั่วโลกใช้โรดแมป 6 ปีสันติภาพเกิด แต่ 3 ปีแรกสถานการณ์อาจแรงขึ้น 3 เท่า บีอาร์เอ็น ชี้ไม่มี"เอกราช" ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ภาครัฐยืนยันฝ่ายไทยไม่พร้อม แนะประชาสังคมเสนอโรดแมปที่เป็นกลาง สร้าง Safety Net ระดับชาติ

 

 

ชี้กระบวนการสันติภาพใช้เวลา 5-6 ปี

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.56 ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี สภาประชาสังคมชายแดนใต้จัดประชุมทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพร่วมกับทีม IPP เพื่อออกแบบและจัดทำกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส นักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) กล่าวบรรยายว่า จากการศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้งทั่วโลกกว่า 20 ปี โดยได้ศึกษากระบวนการสันติภาพกว่า 40 แห่งทั่วโลก ซึ่งพบว่าแต่ละแห่งมีลักษณะเฉพาะของแต่ละที่ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่คล้ายกันที่สามารถนำมาปรับใช้ในที่อื่นๆ ได้

จุดเริ่มต้นสันติภาพ 3 ปีแรกอาจแรงขึ้น 3 เท่า

ดร.โนเบิรต์ กล่าวว่า จากการศึกษากระบวนการสันติภาพที่ผ่านมา พบว่าต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 ปี นับจากเริ่มมีการพูดคุยจนกระทั่งมีข้อตกลงร่วมกัน โดยในช่วงแรกของกระบวนการสันติภาพ มักพบว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ที่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วง 3 ปีแรกของกระบวนการสันติภาพ ดังนี้ความคาดหวังว่า เมื่อเริ่มมีการเจรจาหรือพูดคุยสันติภาพแล้วความรุนแรงในพื้นที่จะลดลงจึงเป็นความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง

"ในช่วงแรกของการพูดคุยและช่วงท้ายๆ ของการเจรจามักจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กระบวนการสันติภาพมีความเปราะบางมาก" ดร.โนเบิรต์ กล่าว

เกือบทั่วโลกใช้โรดแมปนำทาง

ดร.โนเบิรต์ ยังได้กล่าวถึงการจัดทำแผนที่นำทางหรือ โรดแมป (road map) สันติภาพด้วยว่า ไม่เฉพาะคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะเป็นฝ่ายเสนอโรดแมปได้เท่านั้น ภาคประชาสังคมในพื้นที่ก็สามารถจัดทำโรดแมปเสนอได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสันติภาพได้

ดร.โนเบิรต์กล่าวด้วยว่า เนื่องจากกระบวนการสันติภาพเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานาน ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีโรดแมป เพื่อให้กระบวนการสันติภาพสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีเป้าหมายและมีทิศทาง เป็นข้อตกลงร่วมกันของทุกฝ่ายในการเดินหน้ากระบวนการสันติภาพที่สามารถกำหนดทิศทางได้ ทั้งก่อนจะมีข้อตกลงระหว่างคู่ขัดแย้งหรือหลังที่มีข้อตกลงแล้ว

ดร.โนเบิรต์กล่าวว่า จากการสำรวจกรณีความขัดแย้งทั่วโลก 104 แห่ง พบว่ามี 41 แห่งที่ยุติลงได้ด้วยข้อตกลงสันติภาพ และครึ่งหนึ่งของ 41 แห่งมีการใช้โรดแมปในกระบวนการสันติภาพ มี 4 ที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา มี 9 แห่งที่ยุติโดยชัยชนะด้วยกำลังทหาร และ 50 แห่งที่ยังอยู่ในกระบวนการแก้ปัญหา รวมถึงกรณีความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย

แนะบทบาทประชาสังคมชายแดนใต้

ดร.โนเบิรต์ กล่าวว่า ล่าสุดที่ฝ่ายขบวนการ บีอาร์เอ็น ได้มีข้อเสนอ 5 ข้อนั้น หนึ่งนั้นคือการยกระดับการพูดคุยสู่การเจรจาที่ให้มาเลเซียเป็นประเทศผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งถือเป็นการยื่นข้อเสนอของคู่เจรจาก่อนที่จะมีโรดแมป

ดร.โนเบิรต์ กล่าวว่า ในสภาวะเช่นนี้ภาคประชาสังคมในพื้นที่สามารถเข้ามาหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพได้ โดยแสดงจุดยืนสนับสนุนกระบวนการต่อไป ไม่คิดว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด และต้องหาทางให้ทั้ง 2 ฝ่ายเดินหน้าพูดคุยต่อไปได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีกระบวนการพูดคุยสันติภาพจะมีอีก 3 กลุ่มที่เกิดขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่าย นั่นคือกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ลังเล และกลุ่มที่คัดค้าน

ดร.โนเบิร์ต กล่าวอีกว่า เมื่อมีการพูดคุยเจรจาแล้ว โดยธรรมชาติจะเกิดกลุ่มคนอีกกลุ่ม คือที่ปรึกษาของทั้ง 2 ฝ่ายที่อาจจะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะให้การสนับสนุนกับทั้ง 2 ฝ่าย อีกทั้งในการเจรจาจะต้องมีคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในประเด็นต่างๆ เช่น ด้านกฎหมาย ด้านวิชาการ ด้านความมั่นคงที่เป็นกลางในการสนับสนุนข้อมูล

แนะตั้งวงสันติภาพหลังบ้าน

ทั้งนี้ เมื่อการเจรจาถึงทางตันจะต้องมีช่องทางอื่นในการเจรจา เช่น ช่องทางหลังบ้านที่มีคณะทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายมาคุยกันโดยไม่เปิดเผย เป็นต้น

ส่วนบทบาทของภาคประชาสังคมที่จะหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพนั้น ต้องมี 2 ประการ ประการแรก ภาคประชาสังคมจะต้องทำให้ตัวเองเข้มแข็งก่อน โดยยังไม่ต้องเข้าร่วมกระบวนการเจรจา แต่ทำงานร่วมกับเครือข่ายประชาชนเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ

อีกประการคือ การขอที่นั่งบนโต๊ะเจรจา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในช่วงแรกของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ คู่ขัดแย้งมักจะไม่ให้คนอื่นเข้าไปนั่งโต๊ะเจรจาด้วย แต่ภาคประชาสังคมสามารถขับเคลื่อนกระบวนการโดยเอกเทศได้

สร้างกลไกผ่าทางตัน

นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมสามารถจัดกิจกรรมหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพได้ เช่น การเปิดเวทีสาธารณะทุก 3-4 เดือน โดยเชิญคนจากวงพูดคุย เพื่อกำหนดทิศทางกระบวนการสันติภาพว่าควรจะเป็นอย่างไรต่อไป หรือการตั้งศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้กระบวนการสันสันติภาพ หรือการตั้งคณะกรรมการระดับท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อติดตามกระบวนการสันติภาพได้

เมื่อการพูดคุยเกิดทางตัน ภาคประชาสังคมสามารถสร้างกลไกผ่าทางตันได้ เช่น การดึงคน 5-6 คนที่ใกล้ชิดกับคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตั้งวงเจรจาอย่างไม่เป็นทางการ และมีข้อเสนอขึ้นสู่โต๊ะเจรจาที่เป็นทางการได้

ถ้าสันติภาพล่มความรุนแรงจะกลับมา

ตัวแทนนักศึกษาคนหนึ่ง ถามว่า หากการกระบวนการพูดคุยเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการ บีอาร์เอ็น ในครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลจะเป็นอย่างไร และจะมีการกระบวนการเจรจาครั้งใหม่ต่อจากเดิมหรือต้องนับหนึ่งใหม่หรือไม่

นางโซรยา จามจุรี จากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ ถามด้วยว่า ถ้าสันติภาพล่มจะทำให้ความรุนแรงกลับมาเพิ่มขึ้นหรือไม่

ดร.โนเบิร์ต ตอบว่า บทเรียนจากความขัดแย้งในต่างประเทศ บอกว่า ถ้ากระบวนการสันติภาพล่มจะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น ด้วยสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก ความผิดหวังจากการพูดคุย หมายถึงต่างฝ่ายต่างผิดหวังและหงุดหงิดกับสิ่งที่ทำให้กระบวนการสันติภาพล้ม ซึ่งจะให้เหตุการณ์รุนแรงขึ้น ประการที่ 2 คือ มีการกล่าวโทษอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ที่ทำให้กระบวนการล่ม เพราะฉะนั้น ยิ่งต้องทำให้โรดแมปออกแบบมาอย่างดี ครอบคลุม ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้การเดินแต่ละก้าวมีความรัดกุมและค่อยเป็นค่อยไป

ดร.โนเบิร์ต กล่าวตอบว่า ถ้ากระบวนการเจรจาสันติภาพครั้งนี้ล้ม กระบวนการเจรจาครั้งที่สอง สามารถต่อยอดจากครั้งแรกได้ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขในจุดที่บกพร่อง ไม่ใช่ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นลำดับคือ ต้องทำให้เป็นโรดแมปที่ดีและรัดกุมมั่นคงมากที่สุด และต้องทำมันอย่างระมัดระวัง

สังเคราะห์ 5 ข้อเสนอบีอาร์เอ็น

ผศ.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ม.อ.ปัตตานี ได้ยกประเด็นข้อเสนอ 5 ข้อของ บีอาร์เอ็น ที่สังเคราะห์จากการแถลงผ่านเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) และจากเอกสารฉบับเต็มที่มีการแจกในการพูดคุยสันติภาพครั้งที่ผ่านมา เพื่อผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเป็นตัวเชื่อมในการสร้างโรดแมปในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและวางแผนที่จะเดินไปสู่อนาคตอย่างไร

ทั้ง 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.ความชอบธรรมของการเป็นตัวแทนของขบวนการ บีอาร์เอ็น ต่อประชาชนในพื้นที่ หรือชาวมลายู 2.สิทธิความเป็นเจ้าของ ที่สามารถกำหนดชะตากรรมของตัวเอง 3. ความยั่งยืน ต่อเนื่องของการเจรจาพูดคุย 4. การเปลี่ยนจากการพูดคุยสู่การเจรจา 5. การปล่อยตัวนักโทษการเมืองด้านความมั่นคง ซึ่งฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นเรียกว่าผู้ปลดปล่อย

ผศ.ศรีสมภพ กล่าวว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนี้ บางข้อมีความสำคัญมากที่ภาคประชาสังคมต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น ข้อที่ 3 ที่มีการเรียกร้องให้มีตัวแทนประเทศที่ 3 เข้าเป็นพยาน ซึ่งอาจหมายถึงประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน

ไม่มี"เอกราช" ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

นายมะรอนิง สาและ กรรมการกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี ถามผศ.ดร.ศรีสมภพโดยระบุว่าเป็นคำถามจากร้านน้ำว่า ทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมรับข้อเสนอ 5 ข้อ ของบีอาร์เอ็น ทั้งที่ข้อเสนอดังกล่าวไม่มีข้อใดที่พูดถึงเรื่องเอกราช

ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวตอบ ข้อเสนอของบีอาร์เอ็นทั้ง 5 ข้อไม่มีข้อใดที่พูดถึงเอกราช แม้แต่ในเอกสารต้นฉบับภาษามลายูก็ไม่มีข้อใดที่พูดถึงเอกราชเช่นกัน แต่มีคำที่ทำให้ฝ่ายรัฐไทยหวั่นไหว คือคำว่า สิทธิความเป็นเจ้าของ และสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง ซึ่งสามารถตีความได้หลายแง่ อาจจะรวมไปถึงเอกราชก็ได้

ใช้คำกลางๆ เปิดทางให้ต่อรอง

"ผมคิดว่า เป็นความจงใจของขบวนการบีอาร์เอ็นที่ใช้คำเหล่านี้แทนคำว่าเอกราช เพื่อที่จะเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยกัน ต่อรองกันและเจรจากันได้ เพื่อจะให้เกิดความพอใจกับหลายๆฝ่าย ร่วมไปถึงฝ่ายที่ต้องการเอกราชด้วย" ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว

ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า ตนคิดว่า นี่เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อที่จะให้มีการพูดคุยกัน ทั้งระหว่างรัฐกับขบวนการ และระหว่างขบวนการด้วยกันเอง หรือฝ่ายต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อที่จะให้ยอมรับกันว่า ตอนนี้ใช้คำกลางๆไว้ก่อน

"หากเรายอมรับได้ว่า นี่คือแนวทางของกระบวนการสันติภาพ เพื่อที่จะเดินไปสู่การตกลงกันได้ในที่สุด สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องกลัว เพราะข้อเสนอเหล่านี้ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญไทย ที่สำคัญเป็นคำที่ระบุอยู่รัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ เช่น คำว่า Self Determination (การจัดการตนเอง) Self Governing (การปกครองตนเอง) และ Autonomy (การปกครองตัวเอง) ซึ่งในทางรัฐศาสตร์ มีคำว่า Internal Self Determination แปลว่า สิทธิในการกำหนดตัวเองของประชาชนในประเทศ" ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว

ปัญหาฝ่ายไทยไม่มีเอกภาพ

นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวสายความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ขอยืนยันทางรัฐบาลไทยไม่มีความเป็นเอกภาพในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เนื่องจากตนเห็นว่าการพูดคุยเพื่อสันติภาพครั้งนี้ ต้นทางมาจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม การริเริ่มครั้งนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เมื่อมีการริเริ่มไปแล้วก็ควรจะต้องปรับให้เหมาะสม

นายเสริมสุข กล่าวว่า สาเหตุที่ฝ่ายรัฐบาลไทยไม่มีเอกภาพนั้น ถ้าดูโครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) เห็นได้ชัดว่า ช่วงเริ่มต้นก็มีความขัดแย้งในพื้นที่แล้ว เนื่องจากสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีการออกพระราชบัญญัติการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. ที่ให้เลขาธิการ ศอ.บต.เป็นข้าราชการระดับ 11 แต่ฝ่ายความมั่นคงอยากให้ปรับ จึงเสนอโครงสร้างใหม่ จึงเสนอตั้ง ศปก.กปต.โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้อำนวยการ

"ถ้าติดตามข่าวเมื่อ 1-2 สัปตาห์ที่ผ่านมา ร.ต.อ.เฉลิม ออกมาพูดว่า การพูดคุยเพื่อสันติภาพครั้งหน้า คณะเจรจาอาจจะต้องมารายงานให้ตนทราบด้วย เพราะการพูดคุยเพื่อสันติภาพอยู่ในภายใต้โครงสร้างของศปก.กปต. แต่ผมเข้าใจว่า ที่ผ่านมาคณะเจรจาไม่ได้เข้าพบ ร.ต.อ.เฉลิม ทำให้ร.ต.อ.เฉลิมไม่รับทราบเรื่องการพูดคุย เนื่องจากพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. (สภาความมั่นคงแห่งชาติ) จะต่อสายตรงถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" นายเสริมสุข กล่าว

โรดแมปฝ่ายไทยยังไม่ได้ทำ

นายเสริมสุข กล่าวว่า นี่คือสิ่งหนึ่งที่สะท้อนการทำงานที่ผ่านมา หากดูการลงนามในฉันทามติทั่วไปว่าด้วยการเพื่อพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ตลอดจนการพูดคุยเพื่อสันติภาพวันที่ 28 มีนาคม และ 29 เมษายน 2556 ตัวแทนฝ่ายไทยเป็นชุดเจ้าหน้าที่ความมั่นคง แสดงให้เห็นว่าไม่มีการเตรียมความพร้อม ส่วนการจัดทำโรดแมปคิดว่าฝ่ายรัฐไทยก็ยังไม่มีในประเด็นนี้เช่นกัน

สะท้อนมุมมองจาก RKK

นายเสริมสุข กล่าวว่า ส่วนฝ่ายของขบวนการบีอาร์เอ็น ก็มีคำถามอีกเช่นว่ามีความเป็นเอกภาพหรือไม่ เนื่องจากการลงนามในฉันทามติทั่วไปดังกล่าว เป็นการลงนามภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับอดีต RKK (ชุดปฏิบัติการของฝ่ายขบวนการ) ที่เคยร่วมต่อสู้ เขาบอกว่า ตอนเข้าร่วมขบวนการมีเป้าหมายชัดเจนคือเอกราช แต่เมื่อนายฮัสซัน ตอยิบ ออกมาลงนามฉันทามติทั่วไปดังกล่าวกับรัฐบาลไทย ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย จึงทำให้เกิดคำถามว่า การลงนามครั้งนี้เกิดจากการถูกกดดันหรือไม่

นายเสริมสุข กล่าวว่า ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันเกิดคำถามในหลายๆมุมว่า เกิดความแตกแยกในขบวนการบีอาร์เอ็นหรือไม่ เพราะกองกำลังของขบวนการที่ต่อสู้อยู่ในพื้นที่มีเป้าหมายชัดเจนคือเอกราชเท่านั้น แต่เมื่อฮัสซัน ตอยิบ ออกมาลงนามในลักษณะนี้ จึงเกิดคำถามว่า แล้วขบวนการจะว่าอย่างไร ซึ่งสะท้อนออกมาจากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น

นายเสริมสุข กล่าวว่า ส่วนอีกมุมหนึ่งเกิดคำถามว่า ไม่ได้เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นการแยกการทำงานของขบวนการที่มีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมุมนี้ตรงกับความเห็นของแม่ทัพภาคที่ 4 และเกิดคำถามอีกส่วนหนึ่งว่า ฝ่ายที่คุมกองกำลังในพื้นที่ เช่น นายอับดุลเลาะห์ แวมะนอไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพ

เปิดเบื้องหลังข้อต่อรองมาเลเซีย

นายเสริมสุข กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการลงนามในฉันทามติทั่วไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 มีข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายความมั่นคงของไทยกับสันติบาลมาเลเซีย เนื่องจากสันติบาลมาเลเซียต้องการผลักดันให้มาเลเซียเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) แต่ฝ่ายไทยไม่ยอม ต้องการให้มาเลเซียเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เท่านั้น ซึ่งตนคิดว่าทางมาเลเซียเองก็ไม่พอใจ แต่ไม่มีข่าวออกมา

นายเสริมสุข กล่าวว่า ก่อนการลงนามในฉันทามติดังกล่าว มีข่าวออกมาว่า จะเป็นการลงนามระหว่างเลขาธิการ สมช.ไทยกับเลขาธิการ สมช.ของมาเลเซีย แต่เมื่อมีการลงนามจริง ปรากฏว่าเป็นการลงนามระหว่างเลขาธิการสมช.กับนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเหมือนกัน เพราะทางผู้บัญชาทหารบก (ผบ.ทบ.) มองว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

นายเสริมสุข กล่าวว่า ในช่วงแรกที่มีการพูดคุยยังไม่มีข้อยุติ พอครั้งที่ 2 มีข้อเสนอ 5 ข้อของฝ่ายบีอาร์เอ็น ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมาก เพราะช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ไม่มีการพูดคุยอะไรเลยในเรื่องบทบาทของผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ยังไม่ได้เดินหน้าเต็มที่ จนเห็นว่าต้องปรับให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator)

5 ข้อ บีอาร์เอ็น ไม่หลุดกรอบรัฐธรรมนูญไทย

นายเสริมสุข กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ขบวนการบีอาร์เอ็นมีข้อเสนอ 5 ข้อ ทางฝ่ายความมั่นคงมองว่า อาจจะยังไม่ถึงเวลา แต่ก็ไม่ได้อยู่นอกกรอบของรัฐธรรมนูญไทย และเป็นสิ่งที่สามารถพูดกันได้ ผมคิดว่า หากขบวนการยืนยันว่า รัฐบาลไทยต้องยอมรับข้อเสนอทั้ง 5 ข้อนี้ก่อน การพูดคุยเพื่อสันติภาพก็จะจบลง ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะอย่างที่ดร.โนเบิร์ตพูดไว้ว่า การเดินหน้าพูดคุยเพื่อสันติภาพต้องเริ่มจากการสร้างความไว้วางใจ จากนั้นเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่จุดที่ยากลำบาก

เจ้าหน้าที่รัฐยืนยันฝ่ายไทยไม่เตรียมพร้อม

ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงระดับสูงในพื้นที่คนหนึ่ง กล่าวว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของบีอาร์เอ็นเป็นการตั้งแง่ของขบวนการให้ฝ่ายรัฐบาลไทยรับข้อเสนอ ก่อนที่พูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่ฝ่ายรัฐบาลไทยเข้าใจว่า ตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่ขบวนการจะเสนออะไรก่อนก็ได้ ส่วนฝ่ายรัฐบาลไทยจะยอมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ทางฝ่ายรัฐไทย จุดนี้ตนคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้แนวทางการพูดคุยเพื่อสันติภาพมีปัญหาได้

แนะเสนอโรดแมปที่เป็นกลาง ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

เจ้าหน้าที่คนเดิม กล่าวว่า เชื่อว่าขบวนการบีอาร์เอ็นมีแนวทางในการดำเนินกระบวนการสร้างสันติภาพที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ฝ่ายรัฐบาลไทยยังไม่ได้เตรียม แม้แต่โรดแมปสันติภาพก็ไม่มี ดังนั้นภาคประสังคมในพื้นที่ ต้องเสนอโรดแมปต่อรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อไป และต้องเป็นโรดแมปที่เป็นกลางจริงๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนพร้อมๆ กัน จากหลังนั้นจึงนำโรดแมปนี้ไปพูดคุยทุกๆ กลุ่มในพื้นที่

รุกสร้างโรดแมปจากภาคประชาสังคม

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) ในฐานะที่ปรึกษาสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวว่า จะมีการนัดประชุมภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้งในวันที่ 4 มิถุนายน 2555 เพื่อเริ่มจัดทำโรแมปสันติภาพชายแดนใต้

นายแพทย์พลเดช กล่าวด้วยว่า ในการจัดทำโรดแมปดังกล่าวนั้น โดยส่วนมีความเห็น 4 ประเด็น ได้แก่ การจัดทำโรดแมป จะนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนได้ ซึ่งจากการประมวลความรู้พบว่า มี 4 ขั้นตอนหลัก ขั้นแรกคือ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ขันตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการเจรจา ขั้นตอนที่ 3 เป็นการจัดทำข้อตกลง และขั้นตอนที่ 4 คือความยั่งยืน หรือช่วงของการสร้างสันติภาพ

นายแพทย์พลเดช กล่าวว่า อยากเห็นการขยับจากการพูดคุยสันติภาพไปสู่สันติภาพเป็นจริงเป็นจังได้อย่างไร ดังนั้นในการจัดทำโรดแมปครั้งแรก น่าจะต้องมีข้อเสนอที่เป็นการส่งสัญญาณจากภาคประชาสังคมไปยังทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการ รวมทั้งฝ่ายมาเลเซียและข้อเสนอต่อภาคประชาสังคมเองด้วย

กำหนดให้ชัดบทบาทคนบนโต๊ะเจรจา

นายแพทย์พลเดช กล่าวว่า ต้องกำหนดให้ชัดว่าเป็นการพูดคุยหรือการเจรจาสันติภาพ ใครบ้างที่จะอยู่บนโต๊ะเจรจา ใครอยู่ฝ่ายไหน เช่น ควรให้ผศ.ดร.ศรีสมภพที่เข้าไปร่วมพูดคุยสันติภาพด้วยนั้นเป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) คู่กับฝ่ายมาเลเซียหรือไม่ ไม่ใช่อยู่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และหากเป็นผู้อำนวยความสะดวก ภาคประชาสังคมก็ควรลงขันเพื่อจ่ายค่าเดินทางให้กับผศ.ดร.ศรีสมภพเดินทางไปร่วมวงพูดคุย จะได้เป็นอิสระหากใช้ค่าใช้จ่ายของรัฐจะไม่เหมาะ

นายแพทย์พลเดช กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่ทาง บีอาร์เอ็น เสนอ 5 ข้อที่ผ่านมานั้น มีประเด็นที่ 1, 3 และ 4 สามารถรวมเป็นประเด็นเดียวกันได้ ส่วนประเด็นที่มีความต่างกัน ให้พิจารณาเป็นหัวข้อเดียวกัน เช่น ประเด็นที่รัฐไทยอยากให้ลดความรุนแรง ส่วน บีอาร์เอ็น ต้องการให้ปล่อยผู้ถูกคดีความมั่นคง ซึ่งในความหมายของบีอาร์เอ็น คือผู้ปลดปล่อย โดยทั้ง 2 ประเด็น อย่าเพิ่งสรุปดังนั้นจะต้องวางกรอบให้ชัดก่อนว่าต้องการแบบไหน

นายแพทย์พลเดช กล่าวอีกว่า ต้องวางกรอบเวลาที่ชัดเจนว่า จะเริ่มต้นการเจรจาว่า ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ซึ่งดร.โนเบิร์ต บอกว่าโดยเฉลี่ยใช้เวลา 5 – 6 ปี ในการพูดคุยในหัวข้อต่างๆ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้เวลาให้สั้นกว่านั้น

นายแพทย์พลเดช กล่าวอีกว่า ในการเจรจามีกฎที่ใช้บ่อย คือ 1.จะไม่ตกลงอะไรกันก่อนจนกว่าจะตกลงได้ในทุกประเด็น 2.ต้องไม่แทรกแซงการถกเถียงภายในของอีกฝ่ายหนึ่ง และอาจจะต้องมีกฎข้อที่ 3.ต้องมีแนวทางการปฏิบัติของสื่อต่อกระบวนการสันติภาพ หรือเรียกว่า Code of Conduct ทั้ง 3 ข้อนี้ อาจจะต้องตั้งเป็นกฎกติกาในการเจรจาสันติภาพ

ต้องไม่แอบแฝง-สร้าง Safety Netระดับชาติ

นายแพทย์พลเดช กล่าวต่อไปว่า ข้อเสนอที่ภาคประชาสังคมควรมีในกระบวนการสร้างสันติภาพ คือ ภาคประชาสังคมต้องเป็นพลังที่ 3 ห้ามมีการแอบแผงอยู่ในพลังที่ 1 หรือ 2 หมายถึงการแอบแฝงเข้าไปอยู่ในคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และภาคประชาสังคมต้องมีการช่วยกันสร้างเครือข่ายนิรภัยหรือ Safety Net แล้วขยายพื้นที่ปลอดภัยให้กว้างขึ้น กลายเป็นเครือข่ายนิรภัยทางสังคม หรือ Social Safety Net เช่น ต้องสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมในพื้นที่กับภาคประชาสังคมระดับชาติ เนื่องจากคิดว่าการขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคมในพื้นที่อย่างเดียวไม่พอแล้ว

หลากความเห็น-คำถามจากผู้เข้าร่วม

พ.อ.หญิงวันนา ท้าวลา หัวหน้าคณะทำงานภาคประชาสังคม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค4) กล่าวว่า การที่จะทำงานสันติภาพได้ ต้องมีใจที่จะไปสู่สันติภาพ การพูดคุยในการเปิดพื้นที่ปลอดภัย น่าจะมีการคุยทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่การพูดคุยแค่ฝ่ายเดียวแล้วอีกฝ่ายไม่ออกมาชี้แจง ขอฝากในการทำโรดแมปหรือการเปิดพื้นที่เวทีครั้งต่อไป ขอให้เป็นพื้นที่สันติภาพ มีบรรยากาศสันติภาพ

นายพิศิษฐ์ วิริยสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า พื้นที่ปลอดภัยเป็นประเด็นหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ ต้องกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานอิสระและภาคประชาสังคมในพื้นที่เกิดความไว้วางใจต่อภาครัฐในการสร้างความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าตัวเองจะไม่ปลอดภัยและไม่ได้รับความเป็นธรรม

นายสมพร สังข์สมบูรณ์ สมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวว่า อยากให้ขบวนการบีอาร์เอ็น ออกมายอมรับว่าเหตุการณ์ใดที่ตนกระทำ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่สับสนว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีขบวนการอยู่จริง

นายไฟซอล ดาโอ๊ะ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการ บีอาร์เอ็น ยังไม่เป็นเอกภาพ จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ทั้งเรื่องความไม่ชัดเจนในการทำงานหรือการตัดสินใจในบางเรื่อง จนอาจส่งผลร้ายต่อชาวบ้านในพื้นที่

นางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร จากกลุ่ม FT Media ผู้ผลิตสื่อสารคดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เสนอให้มีการขยายความหมายของภาคประชาสังคมว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เรียกว่าภาคประชาสังคมได้หรือยัง และมีความจำเป็นหรือไม่ ที่ภาคประชาสังคมต้องเข้าร่วมกระบวนการสันติภาพ

รศ.ดร.ครองชัย หัตถา จากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า มีคนพูดที่ทำให้ตนตกใจว่า คณะที่ไปเจรจาสันติภาพ ถ้าสักวันหนึ่งเกิดความเพลี่ยงพล้ำขึ้นมา อาจถูกตีความว่าเป็นการไปเจรจากับคนที่ทำผิดกฎหมายเป็นการทำผิดกฎหมายด้วย ตัวแทนที่ไปร่วมเจรจาซึ่งรวมถึงนักวิชาการจาก ม.อ.อาจถูกตัดสินจำคุกได้ ซึ่งเป็นไปได้ในทางกฎหมาย แต่ไม่คิดว่าจะถึงขนาดนั้น เพราะเป็นความปรารถนาดีของทุกฝ่ายที่จะร่วมกันแก้ปัญหา
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โนเบอร์ต โรเปอร์ส : ประชาสังคมชายแดนใต้ต้องมี Road Map นำทางสันติภาพ

Posted: 28 May 2013 06:22 AM PDT

ดร.โนเบร์ต โรเปอร์ส บรรยายพิเศษ เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการสันติภาพ ชี้ความสำคัญของแผนที่นำทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง ย้ำภาคประชาสังคมชายแดนใต้ต้องมี Road Map นำทางสันติภาพ

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส นักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) บรรยายการทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพ ในการจัดประชุม "ทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพร่วมกับ IPP เพื่อออกแบบและจัดทำกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้" จัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ที่คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส เป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพเบอร์คอฟ ประเทศเยอรมัน และมีประสบการณ์การศึกษาและเข้าร่วมกระบวนการสันติภาพมากกว่า 20 ปี ในกระบวนการสันติภาพกว่า 40 แห่งทั่วโลก

.......................................................................

ขอบคุณทุกท่านนะครับ ที่เชิญผมมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในวันนี้ และขอบคุณอาจารย์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ที่เชิญมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสถานบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ที่ มอ.ปัตตานี ทำให้ผมได้มาอยู่ในดินแดนที่สวยงามแห่งนี้  หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่ง เป็นส่วนเล็กๆ ในการสร้างสันติภาพและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในพื้นที่นี้

การศึกษากระบวนการสันติภาพถือเป็นเรื่องใหม่และยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษากระบวนการสันติภาพ 40 แห่งทั่วโลกจะเห็นได้ว่า แต่ละกระบวนการสันติภาพจะมีความน่าสนใจของมันเองอยู่แต่ละประเทศ แต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนที่ไหนในโลก แต่จะมีปัจจัยบางอย่าง บทเรียนบางอย่างที่คล้ายๆ กันที่เราสามารถเรียนรู้ สามารถนำมาปรับใช้ในปาตานี อย่างที่กล่าวไว้ว่า ทุกๆ ความขัดแย้งจะมีอัตลักษณ์ มีลักษณะเฉพาะของตัวเองที่สามารถปรับใช้ได้

เหตุผลที่จำเป็นต้องมี Road Map 

1. เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรัง ต้องใช้ระยะเวลายาวนานมากกว่าจะจบ เมื่อความขัดแย้งกินเวลานานมาก จะทำให้มองไม่เห็นทางออกว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ จำเป็นจะต้องมีถนนหรือเส้นทางที่ทำให้เห็นทางออก ว่าความขัดแย้งจะเดินไปสู่ที่ไหนอย่างไร
ซึ่งการมี Road Map จะทำให้เห็นว่า กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนั้นจะเดินไปในทิศทางไหน ใครจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ในหนทางที่ใช้ระยะเวลาขนาดนั้น ซึ่งเป็นกระบวนการก่อนจะมีข้อตกลงสันติภาพ

2. เมื่อมีข้อตกลง หรือการเซ็นสัญญาสันติภาพไปแล้ว จะเดินอย่างไรต่อ สิ่งนี้ที่ทำให้มีความจำเป็นในการมี Road Map เพื่อให้เห็นว่า จะมีการเดินหน้าต่ออย่างไรให้เป็นรูปธรรม

3. ในสถานการณ์ที่มีการพูดคุยในลักษณะนี้ ในระหว่างการเจรจาของทั้งสองฝ่าย จะมีการช่วงชิงการนำอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ถ้าฝ่ายหนึ่งชิงนำเสนอ Road Map ก่อนอีกฝ่ายหนึ่ง จะทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายรุก ควบคุมเกมได้ ตัวอย่างเช่นกรณีความขัดแย้งในเมียนมาร์ ที่มีการพูดคุยเจรจากับชนกลุ่มน้อยในพม่า ที่แต่ละฝ่ายต่างเสนอ Road Map ของตัวเองเข้าไปคุยกันบนโต๊ะเจรจา

ใครเป็นผู้ริเริ่มสร้าง Road Map 

แบบแรก ตัวอย่างในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ จะมีคนนอกหรือคนที่สามมาริเริ่มในการสร้าง Road Map ในกรณีนี้คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหประชาชาติ และสหภาพยุโรป ที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งเป็นคนเสนอ แต่เป็นคนที่สามเป็นคนเสนอ

แบบที่สอง เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคู่ขัดแย้งเป็นฝ่ายเสนอ Road Map มีตัวอย่างเช่นกรณีรัสเซีย เสนอ Road Map ในความพยายามแก้ปัญหาขัดแย้งในคอเคซัส ซึ่งอยู่ใกล้ๆ เชชเนีย รัสเซียที่เป็นฝ่ายรัฐเสนอ Road Map เข้าไป ตัวอย่างในส่วนที่เป็นกลุ่มต่อต้านที่เริ่มเสนอ Road Map ก่อนอย่างเช่น Euskadi Ta Askatasuna (ETA) ในประเทศสเปน เป็นผู้เสนอก่อน ซึ่งในกรณีนี้ มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการเสนอก่อน

แบบที่สาม คือภาคประชาสังคมในพื้นที่เป็นคนเสนอ ซึ่งในปาตานี กำลังเข้าสู่หมวดนี้คือ ภาคประชาสังคมชายแดนใต้กำลังจะร่าง Road Map เพื่อเสนอในกระบวนการพูดคุย

กรณีที่สามที่เป็นการเสนอ Road Map โดยภาคประชาสังคมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ กรณีที่หัวหน้าภาคประชาสังคมจากอิสราเอลร่วมกันกับภาคประชาสังคมปาเลสไตน์ ร่วมกันร่าง Road Map แล้วเสนอสู่กระบวนการสันติภาพ ซึ่งเป้าหมายคือรวมสองรัฐเหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน เนื่องจากเป็นความขัดแย้งที่หาทางออกยากมาก จึงยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว เพราะ Road Map นี้ ยังไม่ได้ถูกนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม  Road Map นี้ยังอยู่ในการผลักดันขับเคลื่อนอยู่จากทั้งสองฝ่ายและได้รับการพิจารณาจริงจังจากคู่กรณีที่ใช้ความรุนแรงทั้งสองฝ่ายด้วย และเป็น Road Map ที่ได้รับการยอมรับอันหนึ่งของตะวันออกกลาง

สถิติพื้นที่ความขัดแย้งและการร่าง Road Map

จากการศึกษาพื้นที่ความขัดแย้งทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 104 แห่ง พบว่าพื้นที่ความขัดแย้ง 41 แห่งยุติลงได้ด้วยข้อตกลงสันติภาพ คิดเป็นร้อยละ 39.4 โดยในจำนวนนี้พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของ 41 แห่ง มีการใช้ Road Map เพื่อนำไปสู่กระบวนการเกิดข้อตกลงสันติภาพ
ในจำนวนนี้ พื้นที่ความขัดแย้ง 4 แห่งที่กำลังพยายามสู่การแก้ไขปัญหา 9 แห่งยุติด้วยชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วยวิธีการทางการทหาร และพื้นที่ความขัดแย้งอีก 50 แห่งที่เป็นพื้นที่ยังไม่มีทางออกสู่สันติภาพ โดยความขัดแย้งที่ปาตานี ในภาคใต้ของไทยอยู่ 1 ใน 50 แห่งนี้

สันติภาพเชิงบวกและสันติภาพเชิงลบ

จากการศึกษาและเป็นข้อค้นพบ พบว่าพื้นที่ที่สามารถยุติความขัดแย้งที่ใช้ Road Map ในกระบวนการสันติภาพ เนื่องจากว่าเป็นพื้นที่ความขัดแย้งที่มีความต้องการหาจุดลงตัว ระหว่างการสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก

สันติภาพเชิงลบคือ ข้อเสนอหรือการมองสถานการณ์สันติภาพคือ การไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ส่วนสันติภาพเชิงบวก คือ การมองสถานการณ์การการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่สังคมที่เป็นมีความธรรมหรือมีความความยุติธรรมในสังคม

ในกรณีพื้นที่ขัดแย้งที่มี Road Map เป็นส่วนสำคัญในการยุติความขัดแย้งและเกิดสันติภาพได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ความขัดแย้งต้องการให้มีความลงตัวระหว่างสองข้อนี้ อีกฝ่ายต้องการยุติความรุนแรง แต่อีกฝ่ายต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม ความยุติธรรม การมีสิทธิเสรีภาพในสังคมด้วย ซึ่งอาจจะเป็นข้อขัดแย้งในเป้าหมายของทั้งสองฝ่าย การหาจุดตรงกลางเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเดินหน้าไปด้วยกันได้ จึงต้องมี Road Map เพื่อให้เห็นทางออกของทั้งสองความต้องการ

ข้อสังเกตจากการศึกษากระบวนการสันติภาพทั่วโลก

จากกรณีศึกษาพื้นที่ความขัดแย้งทั่วโลกพบว่า เมื่อกระบวนการสันติภาพเริ่มต้นขึ้น ความรุนแรงในพื้นที่จะเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยๆ คือ ไม่มีการลดความรุนแรงให้น้อยลงกว่าเดิม ตัวอย่างในแอฟริกาใต้ ซึ่งในขณะที่มีกระบวนการสันติภาพเดินหน้าอยู่ในช่วง 3 ปีแรกนั้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากเดิม แต่คู่กรณีทั้งสองก็ยังอยู่ในกระบวนการดังกล่าว อดทนและยืนหยัดอยู่ในกระบวนการตาม Road Map เป็นเวลา 3 ปี และความรุนแรงลดลงจริงในปีที่ 4 ของกระบวนการสันติภาพ

ดังนั้น การคาดหวังว่าเมื่อมีกระบวนการสันติภาพเริ่มต้นขึ้น ความรุนแรงจะลดลงอาจจะไม่เป็นจริง เป็นความคาดหวังที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงเมื่อเทียบกับประสบการณ์จากทั่วโลก
กระบวนการสันติภาพที่มีอยู่ทั่วโลก ใช้เวลาในการแก้ปัญหาโดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 ปี แต่จะมีช่วงเวลาที่กระบวนการสันติภาพมีความสำคัญและมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาที่อาจล้มเหลวได้คือช่วงต้น และช่วงปลายของกระบวนการสันติภาพ เปรียบเทียบความเสี่ยงของกระบวนการสันติภาพ คือ เหมือนกับการขับเครื่องบิน ซึ่งจังหวะที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบินมากที่สุดคือ ช่วงเครื่องบินขึ้นและร่อนลง

ช่วงแรกอันตราย เนื่องจากในการเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพนั้น จะมีความหวาดระแวงระหว่างกันและความเป็นศัตรูค่อนข้างมากของคู่ขัดแย้ง ไม่แน่ใจว่าอีกฝ่ายจริงใจหรือไม่ และต่างฝ่ายต่างพยายามจะทำให้อีกฝ่ายยอมรับข้อเสนอของตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งบรรยากาศดังกล่าว ที่ดูเหมือนจะเอาชนะกันของทั้งสองฝ่าย

ในช่วง 2-3 เดือนแรกของกระบวนการสันติภาพจะมีความเสี่ยงสูงและวุ่นวาย การมี Road Map ในช่วงที่กระบวนการสันติภาพไม่มั่นคง มีความเสี่ยงในช่วงก่อตัวมีความสำคัญมาก เหมือนการมีนักบินสองคนที่มีความขัดแย้งกัน และกำลังจะขับเครื่องบินลำเดียวกัน ถ้าทั้งสองยังไม่สามารถตกลงได้ว่า จะขับเครื่องบินไปสู่เป้าหมายใด อย่างไร อาจจะวุ่นวายและเครื่องอาจจะไม่สามารถทะยานขึ้นด้วยซ้ำหรืออาจจะขึ้นได้ไม่เท่าไหร่ เครื่องก็อาจจะตกลงมาได้

ความเสี่ยงช่วงท้าย หน้าที่ของ Road Map ในช่วงท้ายคือ การวางแผนว่า ใครจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ หลังจากที่มีการตกลงสันติภาพไปแล้ว

องค์ประกอบของ Road Map

1.Timeline (ห้วงเวลา) เส้นเวลาจะกำหนดว่า อะไรต้องทำเมื่อไหร่ ซึ่งในระยะแรกของข้อตกลงสันติภาพจะเน้นเรื่องกระบวนการ ขั้นตอน เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เน้นเรื่องขั้นตอนการเจรจาอย่างเดียว ยังไม่มีเนื้อหาในการคุยแต่อย่างใด เมื่อมีการเข้าสู่กระบวนการกำหนดไทม์ไลน์ ซึ่งจะมีการกำหนดว่า อะไรจะเริ่มทำเมื่อไหร่ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการเจรจา ที่ต้องมีเนื้อหาสู่ทางออกของกระบวนการสันติภาพ

2. สถาปัตยกรรมสันติภาพ (Architecture) หมายถึง โครงสร้างหรือพิมพ์เขียวของกระบวนการสันติภาพที่เป็นการตกลงของทั้งสองฝ่าย ว่าบุคคลที่พูดคุยเป็นใคร มีบทบาทหน้าที่ในกระบวนการต่างๆ อย่างไร ใครสื่อสารกับสาธารณะ มีโครงสร้างของภารกิจชัดเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก

3. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่ได้เป็นคู่กรณีตรง ซึ่งอยู่นอกโต๊ะเจรจา ความสัมพันธ์ระหว่างคนในโต๊ะ หรือกระบวนการเจรจาบนโต๊ะ กับกระบวนการสันติภาพข้างนอกโต๊ะ อาจจะหมายถึงภาคประชาสังคมข้างนอก ประชาชนในพื้นที่จะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพเดินหน้าไปได้อย่างไร

 

 

คลิกชมภาพขนาดใหญ่

 

Road Map กระบวนการสันติภาพปาตานี

จากสามเหลี่ยมที่อธิบายความสัมพันธ์ของ 3 Track ได้ชัดเจนมากที่สุด
Tract I  หมายถึงชั้นผู้นำทั้งสองฝ่าย ที่มีอำนาจการตัดสินใจของทั้งสองฝ่าย
Tract II  หมายถึง ภาคประชาสังคม นักวิชาการ
Tract III  หมายถึงประชาชน เป็นส่วนใหญ่

ความจริงแล้ว ก่อนกระบวนการสันติภาพจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประเทศมาเลเซียนั้น กระบวนการในลักษณะนี้ได้เคยเริ่มมาแล้วในทางลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และก่อนจะมีการพูดคุยครั้งนั้น ได้มีความเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันกระบวนการสันติภาพจากภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ทั้ง Tract II, III มาก่อนด้วย โดยการขับเคลื่อนในประเด็นต่างๆ เช่น การศึกษา อัตลักษณ์ ภาษา กฎหมาย สิทธิมนุษยชน การบริหารปกครอง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสันติภาพและการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ทางที่ดีขึ้น

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เป็นเหมือนการเปิดหน้าใหม่ของการแก้ปัญหา โดยการนำคู่ขัดแย้งมานั่งคุยกันอย่างเป็นทางการ และมีการพูดคุยกันอีกสองครั้งในสองเดือนที่ผ่านมา และกำลังรอการพูดคุยครั้งต่อไปในเดือนหน้า (มิถุนายน)

กระบวนการสันติภาพของปาตานีในขณะนี้ กำลังเพิ่มความเป็นทางการ โดยเข้าสู่การพูดคุยและกำลังจะยกระดับสู่การเจรจา ซึ่งหมายถึง Negotiation

ความแตกต่างระหว่างการพูดคุยกับการเจรจาคือ การพูดคุย (Dialogue) จะเป็นการพูดคุยลองเชิง ดูท่าทีของอีกฝ่าย ว่าจะสามารถคุยกันได้หรือไม่ และมีแนวโน้มว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ และสร้างความไว้วางใจกันได้หรือไม่

จุดท้าทายของกระบวนการสันติภาพ

กระบวนการสันติภาพที่ปาตานี ได้ผ่านจุดท้าทายที่หนึ่งมาแล้วคือ การยกระดับจากการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในทางลับ สู่การพูดคุยอย่างเป็นทางการที่เปิดเผยต่อหน้าสาธารณะ แต่จุดท้าทายที่สองคือ การยกระดับจากการพูดคุย (Dialogue) สู่การเจรจา (Negotiation) ซึ่งจะมีเงื่อนไขสำคัญๆ ที่ต้องคำนึงถึง

การขยับจากการพูดคุย (Dialogue) สู่การเจรจา (Negotiation) ซึ่งการเจรจาจะหมายถึง จะต้องเผชิญกับข้อผูกมัดเนื่องจากต้องมีข้อตกลงร่วม การจะขยับสู่เจรจานั้น รัฐไทยได้เสนอให้มีการสร้างความไว้ใจระหว่างกันโดยการขอให้หยุดใช้ความรุนแรงก่อน และอาจจะเสนอขอให้ฝ่าย BRN ริเริ่มแสดงออกให้เห็นความจริงใจในการจะเดินหน้าการเจรจาก่อน

ในขณะที่ฝ่าย BRN ได้เสนอ 5 ข้อเรียกร้องสู่สาธารณะ ซึ่งหวังให้รัฐบาลไทยตอบสนองต่อข้อเสนอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กำลังวางกรอบเพื่อเข้าสู่การเจรจาต่อไป และยืนยันว่าต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเสนอ 5 ข้อนี้ก่อน

ซึ่งกรณีข้อเสนอทั้ง 5 ข้อของ BRN เป็นสิ่งที่รัฐไทยตอบสนองได้ยาก จากประสบการณ์ความขัดแย้งทั่วโลก พบว่า กระบวนการสันติภาพจะเจอจุดท้าทายลักษณะนี้เป็นปกติ ตัวอย่างเช่น กรณีมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ปีที่แล้ว ก็พบสภาวะแบบนี้ 

ในสภาวะแบบนี้ เป็นโอกาสของภาคประชาสังคมที่ต้องเข้าไปมีส่วนในการทำให้ทั้งสองฝ่ายเชื่อมกันได้ และต้องเข้าใจว่า ทำไมแต่ละฝ่ายต้องคิดแบบนี้และเสนอข้อเสนอแบบนี้
การแก้ไขทางตันในลักษณะนี้ คือ การไม่มองว่าอีกฝ่ายผิด และข้อเสนอของฝ่ายตัวเองเท่านั้นที่ถูกต้อง ต้องมองหาจุดที่ทำให้การพูดคุยครั้งนี้เดินหน้าต่อไปได้

นอกเหนือจากนี้ เมื่อภาวะดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้ว ยังต้องคำนึงถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่จะตามมา ซึ่งขณะนี้เราได้เห็นแล้วว่า มีบุคคลที่กำลังดำเนินการพูดคุยอยู่ชัดเจนแล้วในปัจจุบันคือ ตัวแทนของรัฐบาลไทย กับ ตัวแทนของ BRN โดยมีมาเลเซียเป็น "ผู้อำนวยการประชุม"

แต่โดยธรรมชาติของกระบวนการสันติภาพยังจะมีกลุ่มคนที่สนับสนุน และกลุ่มคนที่คัดค้านหรือยังลังเลไม่เห็นด้วยกับทั้งสองฝ่ายเสมอ ไม่มีกระบวนการสันติภาพใดในโลกที่มีแต่คนสนับสนุนหรือคัดค้านทั้งหมด ซึ่งจะเกิดกับทั้งสองฝ่ายด้วย เมื่อกระบวนการได้เดินไปได้ ก็จะเกิดกลุ่มทั้งสองกลุ่มดังกล่าวแสดงตัวออกมา

นอกเหนือจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีคณะที่ปรึกษาของฝ่ายตนที่อาจจะไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการในลักษณะเป็นองค์กรก็เป็นไปได้ เพื่อทำการสนับสนุนด้านข้อมูลในระหว่างการเจรจาให้ฝ่ายตน

กระบวนการสันติภาพยังต้องมีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะประเด็น ซึ่งต้องทำงานเฉพาะประเด็นสำคัญๆในระหว่างการเจรจาอย่างเช่น ประเด็นความมั่นคง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การหยุดยิง การศึกษาวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ซึ่งแต่ละคณะทำงานต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาช่วยด้านข้อมูลและให้คำปรึกษาด้วย

ในกรณีที่การเจรจาที่ไปสู่ทางตัน หรือไม่มีทางออกในสภาวะหนึ่ง จำเป็นต้องมีช่องทางหลังบ้านเพื่อร่วมกันหาทางออก อาจจะเป็นคณะที่ปรึกษาที่อาจจะไม่เปิดเผยซึ่งมาทำงานเพื่อหาทางออกจากทางตันที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้

เคยมีบางกรณีที่ทีมเจรจาทั้งสองฝ่ายทำความรู้จักเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัว โดยการนัดแนะออกไปทำกิจกรรมคลายเครียดข้างนอกด้วยกัน เพื่อหาทางออกของทางตัน การทำความรู้จักกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นทางลับไม่บอกใครในทีมเจรจาด้วยกันก็ได้

บทบาทภาคประชาสังคม

ในการหนุนเสริมกระบวนการเจรจา ภาคประชาสังคมจะต้องมีสองบทบาทหลักที่ต้องทำ คือ

ประการแรก ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเอง ให้มีพลังในการเสนอแนะ โดยไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการเจรจาเลยก็ได้ และประการที่สอง การเข้าไปนั่งในโต๊ะเจรจา อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการเจรจา โดยขอเข้าไปเจรจาด้วย หรือเพียงเข้าไปฟังการเจรจาก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ส่วนใหญ่ของประสบการณ์การเจรจาในต่างประเทศ ในช่วงแรกๆ ของกระบวนการ คู่เจรจาจะไม่อนุญาตให้คนนอกเข้ามามีส่วนในกระบวนการ เนื่องจากยังลังเล ไม่แน่ใจที่จะให้มีฝ่ายที่สามในการเข้าไปสู่โต๊ะเจรจา

โดยสรุปจากประสบการณ์ที่ได้ศึกษารูปแบบของทั่วโลก พบว่า น่าจะต้องมีบทบาทที่รวมๆ กันระหว่างสองแบบดังกล่าว ไม่มุ่งในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเมื่อการเจรจาเกิดขึ้น ภาคประชาสังคมอาจจะเข้าไปเป็นคณะทำงานในกระบวนการเจรจา และในทางหนึ่งก็รณรงค์หรือสร้างกระแส เพื่อผลักดันเพื่อกระบวนการสันติภาพ โดยทำกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นเอกเทศจากการเจรจา
ตัวอย่างประสบการณ์จากความขัดแย้งในเมียนมาร์ ที่มีความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศ ภาคประชาสังคมของแต่ละชาติพันธุ์หาทางออกโดยการมานั่งคุยกันเพื่อออกแบบการอยู่ร่วมกันอย่างที่ทุกฝ่ายรับได้ โดยไม่ได้สนใจคู่ขัดแย้งหลักเลย เมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว ก็ยื่นเสนอให้ทางคู่ขัดแย้งหลักทั้งสอง

หรืออีกวิธีคือ การเปิดเวทีสาธารณะในพื้นที่ประชาสังคมเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในโต๊ะเจรจามานั่งร่วมเวทีเพื่อประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นว่าถึงไหนแล้ว และยื่นข้อเสนอที่ตัวเองทำงานอยู่ขึ้นไป

นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมอาจจะสามารถตั้งกลไกพิเศษขึ้นมา เช่น ตั้งศูนย์ทรัพยากรสันติภาพขึ้นมาเป็นพื้นที่กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ ตั้งคณะกรรมการสันติภาพระดับท้องถิ่นขึ้นมาในพื้นที่ หรือตั้งคณะกรรมการติดตามกระบวนการสันติภาพ ตั้งกลุ่มเพื่อกระบวนการสันติภาพ เพื่อเฝ้าดูกระบวนการสันติภาพก็ได้ โดยเป็นการทำงานของภาคประชาสังคมที่อาจจะต้องร่วมมือกับคนที่อยู่บนโต๊ะเจรจา เช่น การจัดอบรมทักษะที่จำเป็นในกระบวนการสันติภาพ อย่างเช่น ทักษะการเจรจาให้ทุกฝ่าย หรืออาจจะเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนกับกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การเจรจาจากที่อื่นมานั่งแลกเปลี่ยนก็ได้

สร้างกลไกผ่านทางตัน

หากการเจรจาถึงทางตัน ซึ่งในการเจรจาสันติภาพอาจจะดำเนินสู่ทางตัน ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกบางส่วนเพื่อเข้ามาหาทางอื่นเมื่อเกิดทางตัน อาจจะประกอบด้วยสมาชิกของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาประมาณ 5-6 คน มานั่งคุยอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาทางออกเมื่อถึงสภาวะที่ถึงทางตัน เมื่อได้ข้อเสนอแล้วก็ส่งไปยังโต๊ะเจรจาที่เป็นทางการ

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานเรื่องสันติภาพของสื่อ ซึ่งในบางกระบวนการสันติภาพ สื่อจะมาคุยกันและตกลงเป็นแนวปฏิบัติการสื่อสาร ว่าจะเลือกสื่อสารอะไร อย่างไร ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสันติภาพ ต้องมาตกลงกันเพื่อร่วมรับผิดกระบวนการสันติภาพที่อาจจะล้มเหลวเนื่องจากการรายงานของสื่อ

การสร้างสมดุลระหว่าง สันติภาพ "เชิงลบ" และ "เชิงบวก"

ตัวแทนที่ร่วมโต๊ะเจรจาของทั้งสองฝ่าย จะมีความคาดหวังในผลของการเจรจาต่างกัน เนื่องจากทั้งคู่มีจุดสนใจหรือความต้องการที่แตกต่างกันชัดเจนเป็นปกติ ถ้าจะพยุงกระบวนการเจรจาให้เป็นไปได้และดำเนินอยู่ได้ ต้องทำให้จุดสนใจของทั้งสองฝ่ายที่แตกต่างกันนี้ เป็นไปได้ นั้นคือการทำให้เห็นภาพในอนาคตของการพูดคุยกัน มีประโยชน์และต้องทำให้ต่อเนื่อง

ตัวอย่างกรณีของกระบวนการสันติภาพของปาตานี คือ ฝ่ายรัฐไทยต้องการหยุดความรุนแรงทั้งหมด แต่ฝ่าย BRN มีจุดสนใจคือต้องการเห็นแนวทางสู่สันติภาพเชิงบวก คือ การสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมเป็นธรรม ซึ่งต้องทำสิ่งนี้ให้ได้คือการหาจุดลงตัวระหว่างสองข้อนี้ให้มีความสมดุล กระบวนการสันติภาพจึงจะเดินหน้าต่อไปได้

แต่ละฝ่ายที่จะเข้าสู่โต๊ะเจรจาจะมีความต้องการพื้นฐานของตัวเองเป็นหลักอยู่ ซึ่งจะต้องหาทางให้ความต้องการดังกล่าวเกิดความสมดุลเพื่อให้สามารถมีข้อตกลงเบื้องต้นได้ ซึ่งข้อตกลงนี้จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตัวเองก่อนสู่การเจรจา และจะทำให้เห็นว่า การเจรจามีประโยชน์ที่ต้องมีต่อไป

เทคนิคหนึ่งที่จะทำให้คู่เจรจาจะต้องพยายามหาความสมดุลคือ "การไม่ตกลงอะไรกันก่อน จนกว่าทุกๆ อย่างได้ตกลงกันแล้ว" ตัวอย่างเช่น การยกประเด็นกฎหมาย แล้วสามารถตกลงกันได้ แต่หากเรื่องอื่นๆ ยังไม่ตกลงกัน ก็ยังถือว่าไม่มีการตกลงใดๆ กล่าวคือ การตกลงจะต้องตัดสินเป็นแพ็คเกจ (Package) จะไม่ตกลงแยกเป็นเรื่องๆ เนื่องจากการตกลงหนึ่งเรื่องแต่ยังไม่ตกลงอีกเรื่องเหมือนจะเอาชนะเป็นเรื่องๆไป ทำให้การพูดคุยเป็นเพียงการประนีประนอมเป็นเรื่องๆ ไป อาจส่งผลให้อีกฝ่ายที่ไม่ชนะหลายเรื่องจะไม่พอใจได้

ไม่แทรกแซงและสร้างกลไกร่วม

หลักการเจรจาอีกข้อหนึ่งคือ ในระหว่างการถกเถียงอย่างหนักภายในของอีกฝ่าย อย่าแทรกแซงหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติกับอีกฝ่าย

ระหว่างการเจรจา ทั้งสองฝ่ายยังมีทางเลือกอื่นอีกมากมายเพื่อให้กระบวนการสันติภาพเดินไปได้ ตัวอย่างเช่นการเสนอกลไกร่วม เมื่อถึงสภาวะที่การเจรจาถึงทางตัน ซึ่งอาจจะเป็นการริเริ่มโดยฝ่ายเดียวก่อน เริ่มทำในสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการ เพื่อสร้างความไว้ใจให้อีกฝ่ายหนึ่ง

ข้อตกลงเบื้องต้นอย่างข้อตกลงหยุดยิงหรือการมีข้อตกลงด้านอัตลักษณ์ ภาษา การปกครอง ในเบื้องต้น ที่นำไปสู่การเจรจามากขึ้น และนำไปสู่ข้อตกลงสุดท้ายที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญของสันติภาพ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการนำข้อตกลงสู่การปฏิบัติ อาจจะต้องมีการปรับข้อกฎหมายในบางกรณีที่ยังปฏิบัติไม่ได้เนื่องจากขัดกับกฎหมายเดิม ความยุติธรรมในช่วงการเปลี่ยนผ่านของสังคม ต้องมีการวางแผนจะการเยียวยาผู้กระทำและผู้ถูกกระทำอย่างไรในสังคม และจะสร้างความสมานฉันท์อย่างไรให้สังคม

กระบวนการสันติภาพจะสำเร็จ จะต้องมีความพยายามอย่างมากและทะเยอทะยานมากและยากมาก ขึ้นอยู่กับว่า ภาคประชาสังคมจะหยิบมาทำทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งจากนี้ไปใน 2-3 เดือนต้องคิดว่า ภาคประชาสังคมปาตานีจะมีส่วนให้กระบวนการสันติภาพดำเนินการได้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการตั้งคณะทำงานสร้าง Road Map เพื่อการทำงานร่วมกับคณะเจรจา ต้องคิดให้ครอบคลุมไปถึงหากมีการเจรจาเกิดขึ้นจริงแล้ว จะทำอะไรต่อไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้จะคิดหรือวางแผนอย่างไร


 


 


 


 


 

 


 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมจะชุมนุมค้าน P4P

Posted: 28 May 2013 05:48 AM PDT

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. ยืนยันเข้าร่วมชุมนุมร่วมแพทย์ชนบทค้าน P4P ในวันที่ 6 มิ.ย. นี้แม้ รมว.สธ. ยืนยันไม่มีการแปรรูป ขณะที่แพทย์ชนบทเตรียมประสานขอรถพยาบาลฉุกเฉินดูแลผู้ป่วยกรณีล้างไตหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ด้าน "กลุ่มเพื่อนมหิดล" ออกแถลงการณ์หนุนกลุ่มแพทย์ชนบท เรียกร้องรัฐบาลสร้างนโยบายสุขภาพที่เป็นธรรม

วันนี้ (28 พ.ค.) สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ขอบคุณ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรงสาธารณสุข ที่ออกมาระบุว่าจะไม่มีการแปรรูป อภ. แต่ยังไม่วางใจจนกว่า บอร์ด อภ. จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ทั้งการฟ้องร้องผู้ที่ก่อความเสียหายแก่ อภ. ได้แก่ สถานีโทรทัศน์อาเซียนทีวี ช่องรามสูร และ รมว.สาธารณสุข เลขานุการ รมว.สาธารณสุข ที่ออกมาให้ข่าว อภ. เป็นระยะเรื่องของกรณียาพาราเซตามอลว่ามีการปลอมปน ปนเปื้อน ทำลายภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ และต้องไม่มีการแทรกแซงการทำงานภายใน อภ.  และยืนยันชุมนุมร่วมกับแพทย์ชนบทที่หน้าบ้านนายรัฐมนตรีในวันที่ 6 มิถุนายนนี้

ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การชุมนุมในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ จะมีผู้เข้าร่วมชุมนุม 4 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม รพ.ชุมชน 2 สหภาพแรงงาน อภ. 3.กลุ่มคนรักษ์หลักประกัน 4 .กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เอดส์ มะเร็ง โดยยืนยันว่าไม่มีการชักชวนผู้ป่วยมาร่วมล้างไตนอกสถานที่ แต่เป็นเรื่องความสมัครใจ เตรียมประสานขอรถพยายาลฉุกเฉินไว้ดูแลผู้ป่วย ไม่หวั่นผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล พร้อมย้ำมาชุมนุมอย่างสันติ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ เนื่องจากตนไม่ใช่ม็อบการเมือง และช่วงบ่ายวันนี้ (28 พ.ค.) จะมีการประชุมร่วมกับแกนนำผู้ชุมนุมทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และยืนยันไม่ก่อความรุนแรง  หลังจากพื้นที่บริเวณบ้านนายกรัฐมนตรีเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง จากกรณีระเบิดปากซอยรามคำแหง  43/1

 

ด้าน กลุ่มเพื่อนมหิดล ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 "แถลงการณ์กลุ่มเพื่อนมหิดล ฉบับที่ 1 ไขปมวิกฤตสาธารณสุขไทย กรณีนโยบาย P4P" โดยมีเนื้อหาดังนี้

สืบเนื่องจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. ประดิษฐ สินธวณรงค์ ได้มีนโยบายและ สั่งการให้ โรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใช้ระบบ P4P (Pay for Performance) ในการประเมิน ผลตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานบริการสุขภาพในระดับต่าง ๆ จนก่อให้เกิดกระแสการ ต่อต้าน คัดค้านอย่างกว้างขวาง ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา โดยชมรมแพทย์ชนบทและบุคลากรในวงการ สาธารณสุขที่เป็นห่วงเป็นใยในระบบหลักประกันสุขภาพ ที่อาจเกิดความโกลาหลอย่างใหญ่หลวง และส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ได้ริเริ่มไว้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี ๒๕๔๔ อย่างรุนแรง

แม้ว่าประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้วหลายประเทศจะได้ใช้ระบบที่เรียกว่า "เบี้ยขยัน" P4P และพบว่า ได้ผลดี ตามที่ได้มีการศึกษาโดยสถาบันวิชาการด้านสาธารณสุข ก็ยังมิได้หมายความว่าระบบดักล่าวจะใช้ ได้ผลดีกับ ประเทศไทย ซึ่งยังคงมีปัญหาและข้อจำกัดในการเข้าถึงการบริการสุขภาพอยู่มาก มีความแตกต่าง หลากหลายใน เศรษฐานะ ความเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิประเทศ และสถานะของบุคคล ซึ่งยังต้องได้รับการ แก้ไขอีกมาก

กลุ่มเพื่อนมหิดล เป็นองค์กรภาคีความร่วมมือของบุคลากรในแวดวงวิชาชีพสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และการพัฒนา ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่รักประชาธิปไตย รักความเป็นธรรม และมุ่งมั่นผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพถ้วนหน้า ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม มีความเห็นร่วมกันว่า

1. กลุ่มเพื่อนมหิดล เห็นด้วยอย่างยิ่งและสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมแพทย์ชนบท ในการปฎิเสธ การนำระบบ P4P มาใช้ในระบบบริการสุขภาพของรัฐ เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนระบบผลตอบแทน แบบเหมาจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในท้องถิ่นชนบทที่ทุรกันดารได้ เพราะระบบ ผลตอบแทนในท้องถิ่นชนบท (เบี้ยเหมาจ่าย) เป้าหมายหลักเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการกระจายบุคลากรทาง การแพทย์ และสาธารณสุข เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเพียงพอตามความต้องการ มิให้บุคลากรเหล่านั้นกระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ หรือในเขตเมืองเท่านั้น หลักประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า จึงจะเกิดขึ้นได้จริง อีกทั้งการดำเนินการในระบบ P4P ที่เน้นการบันทึกกิจกรรมของตนเองเพื่อเป็นคะแนน เก็บสะสมแต้ม ทำให้แพทย์และบุคลากรให้เวลากับการบริการผู้ป่วยได้น้อยลงทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคลากรด้วยกันเอง ปัญหาเกี่ยงกันไม่ทำงานที่ไม่ได้แต้ม ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อระบบการทำงานแบบ "ทีมสุขภาพ" ที่สำคัญยิ่งสำหรับโรงพยาบาลชุมชน หรือสถานบริการที่มีขีดจำกัดในด้านทรัพยากรบุคลากร และงบประมาณ ดังนั้นนโยบายการใช้ระบบ P4P เข้ามาทดแทนระบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่ใช้อยู่เดิมแล้วจึงน่าจะเป็นการปฏิบัติที่สวนทางการกับการพัฒนาระบบ ประกันสุขภาพในระยะยาว ส่งผลให้เกิดอาการ "สมองไหล" "แพทย์ไหล" หรือ "บุคลากรไหล" จาก โรงพยาบาลชุมชน ในชนบท เข้าสู่เมืองใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ในปัจจุบัน อัตราส่วนของแพทย์และสาธารณสุข ต่อประชากรในเขตเมืองกับชนบท ก็มีความแตกต่างกันอย่างมากมายกว่าสิบเท่าอยู่แล้ว นอกจากนี้บุคลากร เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะไหลเข้าสู่โรงพยาบาลภาคเอกชน ภายใต้ระบบแพทย์พาณิชย์ ที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งนั่นอาจเป็นการสนองต่อนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาล แต่กลับกระทบต่อระบบสุขภาพโดยตรง ทำให้บุคลากรในระบบหลักประกันสุขภาพยิ่งลดน้อยลง ทั้งปริมาณและคุณภาพ

2. กลุ่มเพื่อนมหิดลเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างนโยบายด้านสุขภาพที่ให้เกิดความเป็นธรรมในระบบ สุขภาพ เป็นนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับอย่างเสมอภาคตั้งแต่การเริ่มต้น ของนโยบาย ให้ถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งของภาครัฐที่จะต้องยึดถือ และนำมาสู่การปฏิบัติให้บรรลุผล เพื่อสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย อีกทั้งนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาลจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ และการเข้าถึงได้ง่ายของประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท มากกว่าเพื่อประโยชน์ของการบริการสุขภาพใน เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสดีที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินภาษีจะได้เรียนรู้ ติดตามการ ดำเนินการนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดและร่วมแสดงความคิดเห็นกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย เพราะผลกระทบ จากนโยบายครั้งนี้ อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยตรงได้

3. นอกจากกลุ่มเพื่อนมหิดล จะสนับสนุนการแสดงออกและปฏิบัติการทางสังคมโดยสันติวิธี ของชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มสหวิชาชีพด้านสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย และเครือข่ายภาคีความร่วมมือด้านสุขภาพ ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลและ ความคิดเห็นไปยังผู้มีส่วนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือประชาชนเจ้าของประเทศ อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแล้ว กลุ่มเพื่อนมหิดลจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการนี้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีมกฎหมายประชาธิปัตย์ร้องศาล รธน. ยุบ 6 พรรค

Posted: 28 May 2013 05:34 AM PDT

ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ระบุจะไปร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า ประธานรัฐสภา ส.ส. และ ส.ว. 312 คนที่สนับสนุนให้แก้ รธน. ม.68 และ 237 เป็นการกระทำล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และจะขอให้ศาลยุบพรรคการเมือง 6 พรรคที่บรรดา ส.ส. เหล่านี้สังกัดอยู่ 

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานวันนี้ (28 พ.ค.) ว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินทางไปยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 312 คน ที่ร่วมสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 ถือเป็นการกระทำที่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ถือว่าผูกพันทุกองค์กร และการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ครั้งนี้ เป็นการตัดสิทธิ และริดรอนสิทธิของประชาชน ในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และเป็นการพรากสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญไปจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ขัดแย้งกับคำปรารภของรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิ์ประชาชนคนไทยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่กลับมีการใช้เสียงข้างมากของสภา ไปกำหนดให้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเพียงผู้เดียว ถือเป็นการบิดเบือนตัดตอน และริบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้มาตรวจสอบการใช้อำนาจ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และองค์กรอื่นๆ

ดังนั้น จึงขอให้ศาลวินิจฉัยใน 3 ประเด็น คือ 1.ให้ผู้ถูกร้องยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 2.ขอให้ยุบพรรคการเมือง 6 พรรค คือ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคชาติพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ผู้ถูกร้องสังกัดอยู่ 3.ขอให้สั่งคุ้มครองชั่วคราวให้รัฐสภา ระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่ง

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ยืนยันว่าการยื่นคำร้องครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จ้องเล่นงานพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด

หลังจากการยื่นคำร้องครั้งนี้ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก 2 เรื่อง คือ ร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และร่างพ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ ฉบับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. ชงมาตรฐานสัญญาทีวีบอกรับสมาชิก

Posted: 28 May 2013 02:45 AM PDT

วันนี้ (28 พ.ค. 56) เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 3 โรงแรมเดอะสุโกศล สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สัญญา...อย่างไรให้เป็นธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันพิจารณา (ร่าง) ประกาศ เรื่อง มาตรฐานสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และแบบสัญญามาตรฐานให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ร่วมกับผู้ประกอบกิจการ และผู้บริโภค

สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 31 กำหนดให้ กสทช. คุ้มครองผู้บริโภคจากการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบ กสทช. จึงได้ออกประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยกำหนดการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในข้อ 5 (3) การกำหนดเงื่อนไขในการให้บริการที่มีลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือขัดต่อข้อกำหนดด้านสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ เป็นไปตามเงื่อนไขในการให้บริการตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกของกิจการโทรทัศน์ ในระบบบอกรับสมาชิก มีการร้องเรียนอย่างต่อเนื่องในประเด็นปัญหาที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบกิจการฯ อาจจะยังไม่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงนโยบายเป็นภาพรวม คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้สรุปเป็นประเด็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาและการให้บริการ เป็น 7 ประเด็น ดังนี้

 

กรณี

สภาพปัญหา

ไม่สามารถรับชมรายการได้

  • ผู้ให้บริการเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณจากอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล แต่ไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือไม่เข้ามาเปลี่ยนกล่องสัญญาณให้

  • ไม่สามารถรับชมรายการได้ตามที่บริษัท โฆษณา

ไม่สามารถยกเลิกบริการก่อนกำหนดโดยไม่เสียค่าปรับ ถูกยึดเงินประกัน หรือได้รับเงินคืนในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้บริการ

  • สัญญาณการรับชมไม่ชัดเจน ผู้ร้องเรียนจึงประสงค์จะยกเลิกบริการก่อนกำหนด แต่ต้องเสียค่าปรับและไม่ได้รับคืนเงินประกัน ถึงแม้จะไม่ใช่ความผิดของผู้ร้องเรียนก็ตาม

  • ประสงค์จะยกเลิกบริการเนื่องจากเลือกใช้บริการโดยไม่ทราบเงื่อนไขเพิ่มเติม หรือได้รับบริการคลาดเคลื่อนจากความเข้าใจ แต่ไม่สามารถยกเลิกก่อนกำหนดได้

ยกเลิกบริการแล้ว แต่ไม่ได้รับคืนเงินประกัน / คืนเงินประกันล่าช้า

เวลาผ่านไปเกินกว่าที่กำหนดในสัญญา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้บริการสัญญาว่าจะคืนเงินประกันหลังจากยกเลิกการใช้บริการ แต่ผู้ร้องเรียนยังไม่ได้รับเงินคืน

ถูกคิดค่าบริการเพิ่มโดยไม่ทราบล่วงหน้า / ถูกเก็บค่าบริการเกินจริง

กรณีร้องเรียนที่พบบ่อย ได้แก่ การที่ผู้ใช้บริการยกเลิกบริการแล้ว แต่ยังถูกเก็บค่าบริการอยู่

ผู้ให้บริการยกเลิกรายการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า / โฆษณาหลอกลวง

  • ผู้ให้บริการยกเลิกรายการบางรายการโดยไม่แจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบล่วงหน้า และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนได้ยกเลิกบริการก่อนกำหนดโดยไม่เสียค่าปรับ

  • ผู้ให้บริการโฆษณาหลอกลวงเกี่ยวกับบริการ อาทิ ไม่ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกครบ 306 แมตช์ ตามที่โฆษณาไว้

ถูกคิดค่าบริการทั้งที่ไม่ได้ใช้บริการ

ผู้ร้องเรียนไม่ได้ใช้บริการ เนื่องจากประสบปัญหาอุทกภัย แต่ยังต้องเสียค่าบริการรายเดือน

ข่มขู่ทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม

ถูกข่มขู่ว่าอาจจะมีหนี้เสีย

 

สัญญาระหว่างผู้ประกอบกิจการฯ ที่มีการบอกรับสมาชิก และผู้บริโภคจำเป็นต้องมีมาตรฐาน ทั้งต้องมีการแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบและยอมรับเงื่อนไขในสัญญา เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตระหนักรู้ในสิทธิที่พึงได้รับการคุ้มครอง ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ในการประชุม กสท. ครั้งที่ 5/2556  เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 เห็นชอบตามข้อเสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์) เร่งจัดทำสัญญามาตรฐานในเรื่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำร่างเสร็จแล้ว ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อจะเสนอต่อ กสท. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้จัดทำความเห็นไว้ส่วนหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องการความคิดเห็นของทั้งผู้ประกอบกิจการ และผู้บริโภค เพื่อมีข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาของ กสท.

สำหรับข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากการประชุมในวันนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อนำไปรวบรวมและประกอบการนำเสนอต่อที่ประชุม กสท. พิจารณา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ. กฎหมายร่วมสังเกตการณ์ศาล เผยยังขาดมิติสิทธิหลายด้าน

Posted: 28 May 2013 01:04 AM PDT

นศ.นิติศาสตร์จาก 4 มหาลัย 3 ภูมิภาค ร่วมโครงการสังเกตการณ์ศาลผ่านมิติสิทธิมนุษยชน เผยยังขาดความบกพร่องในหลายด้าน เช่น การพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ ขาดล่ามท้องถิ่น และการเลือกปฏิบัติ

27 พ.ค. 56 ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดโครงการสัมมนาเวทีสาธารณะ "คดีสิทธิมนุษยชน กรณีการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม" โดยร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AIHR) และคณะนิติศาสตร์ จาก 4 มหาวิทยาลัย 3 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยทักษิณ
 
นักศึกษานิติศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย นำเสนอผลจากการสังเกตการณ์การพิจารณาคดีจริงในชั้นศาล 936 คดี ผ่านมุมมองทางสิทธิมนุษยชน โดยเน้นว่ากระบวนการพิจารณาคดีและกระบวนการในศาลมีความบกพร่อง ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่ยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการไม่ว่าจะเป็นโจทก์ จำเลยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ จำแนกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่
 
1. การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาบกพร่อง เช่น ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะแม้เป็นคดีร้ายแรง โทษสูงและมีผลกระทบต่อตัวผู้ถูกตัดสินมาก ผู้พิพากษาไม่ตรงต่อเวลา ไม่จดจ่ออยู่กับการพิจารณาคดี นั่งเหม่อลอยขณะสืบพยาน ใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ร่วมซักถามเพิ่มเติมขณะสืบพยาน มีพฤติกรรมหว่านล้อมหรือข่มขู่ให้จำเลยรับสารภาพผิด บางครั้งมีการพิจารณาหลายคดีพร้อมกันในห้องเดียว ผู้พิพากษาจึงอาจพยายามรวบรัดประเด็นการพิจารณา แม้ว่าประเด็นนั้นอาจเป็นประโยชน์กับจำเลย รวมไปถึงมีผู้พิพากษาแสดงตนสั่งสอนบาปบุญคุณโทษ ศีลธรรมอันดีงาม แก่จำเลย ใช้ถ้อยคำรุนแรงกับจำเลยเพราะเห็นว่าเป็นผู้กระทำความผิดทั้งที่ยังไม่ได้ตัดสิน ถือว่าเป็นการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้จำเลยเกิดความกลัวหรือหวั่นเกรง
 
2. ศาลไม่มีบริการล่ามแปลภาษาที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับคนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสาร ศาลมีล่ามเฉพาะภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แต่ไม่มีล่ามภาษาถิ่น ภาษาชนเผ่า ที่กลุ่มชาติพันธ์ใช้ เช่น ภาษามลายู ภาษาปกากะญอ ฯลฯ จึงมีการนำบุคคลที่ศาล"เชื่อว่า" เข้าใจภาษาถิ่นและภาษาไทยมาแปลให้ เช่น นักโทษที่มานั่งฟังการพิจารณา แม่บ้านของศาล หรือผู้เข้าฟังการพิจารณาที่เป็นญาติ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่มีหลักประกันใดๆว่าการแปลจะถูกต้องเป็นธรรม  ผู้พิพากษาเองก็ไม่เข้าใจภาษาถิ่น เพราะไม่ใช่คนในท้องถิ่น จากการสังเกตการณ์ นักศึกษาพบว่าล่ามที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ แปลภาษามลายูได้ไม่ถูกต้องตามเจตนาของจำเลย การพิจารณาจึงไม่ยุติธรรม บางครั้งจำเลยก็ไม่เข้าใจที่ศาลพูด หรือไม่เข้าใจบันทึกคำให้การ แต่ก็ยินยอมเซ็นชื่อไปทั้งที่ไม่เข้าใจ 
 
3. การเลือกปฏิบัติหรือปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันของเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่ศาลเลือกตรวจค้นชาวบ้านหรือชาวชนเผ่าที่แต่งกายแปลกจากคนทั่วไปมากกว่า ในขณะที่ปล่อยปละละเลย หรือตรวจคนที่แต่งตัวอย่างคนเมืองน้อยกว่า หากแต่งกายแบบชาวบ้านหรือชาวชนเผ่าจะก็เป็นที่จับตามองและตรวจค้นอย่างเข้มงวดมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีการถูกกีดกันไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดี แม้ว่าโดยหลักการแล้ว จะเป็นสิ่งที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ว่าผู้เข้าฟังจะเป็นญาติหรือไม่ก็ตาม นักศึกษาผู้สังเกตการณ์พบว่า ตอนแรกที่แสดงตนเป็นคนทั่วไปเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตอบอย่างหนึ่ง บ้างก็ไม่ให้เข้าฟัง แต่เมื่อแสดงตนเป็นนักศึกษากลับได้รับอนุญาตให้เข้าฟัง ในขณะที่ศาลในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดปัตตานีก็ไม่อนุญาตให้เข้าฟังโดยอ้างเรื่องความปลอดภัยของผู้ฟังตามสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่อีกสองจังหวัดคือ ยะลา และนราธิวาสกลับสามารถเข้าฟังได้ นอกจากนี้ยังมีการกีดกันไม่ให้นักศึกษาเข้าฟังก็มีบ้าง โดยอ้างว่า ระดับการศึกษาไม่ถึง ห้องเล็กหรือไม่ให้เก้าอี้ไม่พอ บางครั้งนักศึกษาได้เข้าฟัง แต่เก้าอี้ไม่พอ ญาติจำเลยกลับต้องเป็นฝ่ายออกจากห้องพิจารณาคดีแทน  
 
4. ความบกพร่องด้านการบริการ การประชาสัมพันธ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ในศาล ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เสียงตามสาย ป้ายประกาศ หรือป้ายประชาสัมพันธ์ในศาล ติดไว้ไม่ชัดเจน สร้างความสับสนแก่ผู้ร่วมฟัง เช่น ป้ายเขียนหน้าห้องพิจารณาคดีว่า "เขตหวงห้ามเฉพาะ" "เฉพาะเจ้าหน้าที่" ทำให้ญาติที่มาฟังการพิจารณาไม่กล้าเข้าห้องเพราะไม่แน่ใจว่าเข้าไปได้หรือไม่ 
 
5. ความบกพร่องของอัยการ และทนายขอแรง (ทนายที่ศาลแต่งตั้งให้) เช่น อัยการไม่ตรงต่อเวลา แสดงท่าทีเหยียดหยามฝ่ายจำเลย ทำกิจกรรมอื่นในระหว่างที่มีการพิจารณาคดี  ทนายขอแรงทำงานไม่เต็มที่ ร่วมมือกับอัยการและผู้พิพากษา บีบบังคับให้จำเลยรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดโดยเร็ว
 
นอกจาก 5 ประเด็นปัญหาสำคัญแล้ว นักศึกษาผู้สังเกตการณ์ยังเล็งเห็นปัญหาอื่นๆอีก เช่น การใส่โซ่ตรวน การใส่กุญแจมือ ผู้ต้องขังทั้งที่คดีความยังไม่สิ้นสุด ยังไม่มีการตัดสินว่ากระทำความผิดจริง การไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากทุนทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันไม่พอ การกำหนดความสุภาพของการแต่งกาย ซึ่งคนต่างกลุ่มต่างชนชั้นย่อมมีมุมมองความสุภาพต่างกัน สุภาพในความคิดของชาวบ้าน อาจไม่ใช่ความสุภาพของข้าราชการ แต่ผู้ที่มีอำนาจกำหนดว่าอะไรคือความสุภาพเรียบร้อยกลับเป็นคนในระบบราชการซึ่งมีทุนทรัพย์ที่จะซื้อหาเครื่องแต่งกายมากกว่า
 
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าโครงการจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษานิติศาสตร์ได้ลงสนามศึกษาเองเพื่อให้เห็นจริงว่าบทบัญญัติทางกฎหมายและกระบวนการพิจารณาคดี กับสภาพความเป็นจริง มีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร จากผลการสังเกตก็พบว่า หลายประเด็นไม่สอดคล้องกันจนบางครั้งความเป็นจริงก็ละเมิดบทกฎหมาย ทว่ากลับเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง ไม่มีใครให้ความสำคัญ เช่น การมีล่าม กฎหมายระบุว่าต้องมี แต่ในความจริงกลับพบว่าเป็นปัญหามาก การให้นักศึกษามาสังเกตการณ์ดังที่ทำกันอยู่นี้ยังมีน้อยมาก ในระดับนักศึกษา นอกจากโครงการนี้ก็ยังไม่เคยมีการศึกษาอย่างจริงจังมาก่อน นี่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นโครงการแรกๆ ก็ว่าได้ 
 
ไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงประเด็นการถูกเลือกปฏิบัติว่า เมื่อเรายอมรับว่าคนในสังคมมีความแตกต่างกัน กฎหมายจะต้องเป็นประกันว่าทุกคนจะได้รับการปฏิบัติตอบอย่างเท่าเทียมกัน ศาลก็เป็นเครื่องประกันอย่างหนึ่ง รายงานที่ออกมาเป็นสิ่งสะท้อนว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำ เจ้าหน้าที่ศาลยังไม่คำนึงถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า การเรียนการสอนทุกวันนี้เป็นอย่างไร จึงสร้างคนเหล่านี้เข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรม ผู้ที่ใช้กฎหมายทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ ผู้พิพากษา ทนายความ อัยการ ต่างเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความยุติธรรม ควรต้องมีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ยังคิดแบบอำนาจนิยม เพราะบริบทสังคมเปลี่ยนไปแล้ว
 
สราวุธ เบญจกุล ผู้พิพากษา รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ชี้แจงถึงประเด็นที่นักศึกษาถูกกีดกันไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดีว่า ในฐานะที่เป็นพลเมือง ถ้าเป็นคดีทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีอยู่แล้ว ไม่มีใครหวงห้ามได้ กรณีผู้พิพากษาไม่ตรงต่อเวลา ก็มีการลงโทษกันอยู่ เมื่อสองเดือนที่แล้วเคยมีการลงโทษผู้พิพากษาที่มาทำงานสาย ลงโทษให้งดเลื่อนตำแหน่ง 1 ปี ส่วนการขึ้นนั่งบัลลังก์ ผู้พิพากษาจะรอให้คู่ความมาพร้อมก่อน แล้วให้เจ้าหน้าที่บัลลังก์ไปตาม ผู้พิพากษาไม่ได้มาสายเสมอไป สำหรับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างพิจารณาคดี ในปลายเดือนนี้จะมีการออกหนังสือเวียนเรื่องการห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในห้องพิจารณาคดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีก
 
ทั้งนี้ โครงการเรียนรู้และสังเกตการณ์ในชั้นศาลเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยการสนับสนุนของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย(AIHR) เริ่มจากการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความเห็นกับสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันฯที่อยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ ในรูปของวิชาเรียนและการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม เพื่อจะรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางศาลและจัดทำข้อเสนอออกสู่สาธารณะ กระทั่งปัจจุบันมีการประสานความร่วมมือกับภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนภายในพื้นที่ และมีสถาบันการศึกษาเข้าร่วม 4 แห่ง ดังที่ได้นำเสนอผลงานไปข้างต้น
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อปท.ชุมนุมหน้าทำเนียบทวงรัฐเพิ่มงบท้องถิ่นร้อยละ 30

Posted: 28 May 2013 12:33 AM PDT

กลุ่มสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กว่า 8,000 คน แต่งดำมาชุมนุมหน้าทำเนียบทวงคำตอบรัฐบาลเพิ่มงบท้องถิ่นเป็นร้อยละ 30 หลังเจรจา รมว.มหาดไทยรับปากเพิ่มงบเป็นร้อยละ 28 ผู้ชุมนุมพอใจ แยกย้ายกันกลับ

ตอนสายของวันนี้ (28 พ.ค.56) กลุ่มสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กว่า 8,000 คน แต่งชุดดำมาชุมนุมกันที่บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงคำตอบจากรัฐบาลเรื่องการขอเพิ่มรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2557 จากเดิมร้อยละ 27.28 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล เป็นร้อยละ 30

เบื้องต้น ทางกลุ่มผู้ชุมนุมขอส่งตัวแทนเข้าเจรจากับรัฐบาล และกล่าวว่าหากไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ จะยกระดับการชุมนุมเป็นการชุมนุมยืดเยื้อ ทั้งนี้ อปท.เคยเดินทางมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหางบประมาณท้องถิ่นครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ก่อนจะนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค.

ในเวลา 09.30 น. อปท.ได้ส่งตัวแทนราว 30 คนเข้าพบนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังการหารือร่วมกัน รมว.มหาดไทยเปิดเผยว่า ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าจะเพิ่มงบประมาณให้เป็นร้อยละ 28 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล จากนั้นนายจารุพงศ์เดินทางไปชี้แจงกับผู้ชุมนุมว่า รัฐบาลรับจะแปรญัตติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2557 โดยจะพยายามให้สามารถจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.ในอัตราร้อยละ 28

ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ เรื่องเงินสนับสนุนสำหรับพัฒนา อปท.ในกรณีเร่งด่วน ข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงวิธีการประมาณการรายได้ของ อปท.ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงวิธีการนำเงินงบประมาณไปในในโครงการของรัฐโดยเฉพาะการอุดหนุนโครงการ อสม.เชิงรุก ที่เสนอให้แก้ไขมติคณะรัฐมนตรีให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนให้ อสม.โดยตรง นายจารุพงศ์ กล่าวว่า รัฐบาลรับที่จะดำเนินการให้ ส่วนค่าใช้จ่ายเงินเพิ่ม ค่าครองชีพเจ้าหน้าที่ อปท.จากการเพิ่มเงินเดือนเริ่มต้นปริญญาตรี  15,000 บาท และค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งต้องมีเงินสนับสนุนอีก 6,000 ล้านบาทนั้น รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลให้

ภายหลังจากรับฟังคำชี้แจงจากนายจารุพงศ์แล้ว กลุ่มผู้ชุมนุมยอมรับในข้อตกลงร่วมกับรัฐบาล และได้แยกย้ายกันเดินทางกลับ

เรียบเรียงจาก 1, 2
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.แจ้งค่ายมือถือลดค่าบริการ 3 จี 15 เปอร์เซ็นต์

Posted: 27 May 2013 10:38 PM PDT

กสทช.กำหนดค่าบริการ 3 จี ลดลงร้อยละ 15 พร้อมตรวจสอบ คาดภายใน 1 เดือนเห็นผล

สำนักข่าวไทย รายงานเกี่ยวกับการหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กับผู้ให้บริการ 3 จี เมื่อวานนี้ (27 พ.ค.56) ว่า กสทช.ได้แจ้งให้ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ซึ่งได้แก่ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีแทค เน็ตเวอร์ค จำกัด ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ว่า กสทช.ได้กำหนดอัตราค่าบริการ 3 จีที่ลดลงร้อยละ 15 จากอัตราค่าเฉลี่ย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2555 แล้วเสร็จ และจะนำเกณฑ์ราคาค่าบริการดังกล่าวไปตรวจสอบอัตราค่าบริการ 3 จีที่จะเปิดให้บริการในตลาด คาดว่าภายใน 1 เดือนจะเห็นผลว่าอัตราค่าบริการ 3 จี ได้ปรับลดลงหรือไม่

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า อัตราค่าบริการ 3 จี ที่ได้ปรับลดลงร้อยละ 15 แล้ว โดยบริการเสียง อยู่ที่ 82 สตางค์/นาที การส่งข้อความสั้น(เอสเอ็มเอส) 1.33 บาท/ข้อความ การส่งข้อความที่เป็นภาพและเสียง (เอ็มเอ็มเอส) 3.32 บาท/ข้อความ และอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 28 สต./1 เมกะไบซ์ (MB) ซึ่งปรับลดจากอัตราเดิม ที่ กสทช.ได้คำนวณอัตราค่าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2555 โดยบริการเสียงอยู่ที่ 97 สต./นาที เอสเอ็มเอส 1.56 บาท/ข้อความ เอ็มเอ็มเอส 3.90 บาท/ข้อความ และอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 33 สต./1 MB โดยอัตรานี้จะเป็นอัตราอ้างอิง และ กสทช.จะนำขึ้นเว็บไซต์ กสทช. เพื่อประกาศให้รับทราบและจะได้ช่วยกันตรวจสอบค่าบริการ 3 จี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค

ส่วนการโอนย้ายบริการจาก 2 จี เป็น 3 จี จะต้องมีการเปลี่ยนซิมใหม่ เพื่อความชัดเจนในการตรวจสอบโอนย้าย และกรณีการโอนย้ายค่ายมือถือแต่เบอร์เดิมนั้น หากมีเงินคงค้างในบัตรเติมเงิน (พรีเพด) จะต้องคืนเงินให้ผู้ใช้บริการทุกกรณี ทั้งการโอนย้ายค่ายมือถือเดียวกันและโอนย้ายข้ามค่ายมือถือ โดยในส่วนของการย้ายข้ามค่ายมือถือนั้น ค่ายมือถือรายเดิมจะต้องเป็นผู้คืนเงินให้ผู้ใช้บริการ ตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม 2549

นายฐากร กล่าวต่อว่า ในการประชุมหารือดังกล่าว ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย พร้อมให้ความร่วมมือในการปรับลดค่าบริการ โดยเอไอเอสแจ้งว่า ได้โอนโปรโมชั่น จาก 3 จีเดิมมา 2 รายการ และได้ปรับลดราคาลงแล้วร้อยละ 15 เช่นเดียวกันทรูก็แจ้งว่า จะเปิดให้บริการ 3 จีในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ และได้โอนโปรโมชั่นเดิมมา 3 รายการ และก็ได้ปรับลดราคาลงร้อยละ 15 เช่นเดียวกัน ส่วนดีแทคแจ้งว่า จะเปิดให้บริการในช่วงปลายเดือน มิ.ย.นี้ และจะดำเนินการตามคำสั่งของ กสทช.อย่างเคร่งครัด
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา Book Re:public: Terror Democracy - ก่อการร้ายและความรุนแรงในระบอบประชาธิปไตย

Posted: 27 May 2013 09:29 PM PDT

"กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช" อภิปราย "การก่อการร้าย" เป็นผลผลิตของแนวคิดแบบประชาธิปไตยเสรี - จึงขายดีกับประเทศที่มีเสรีประชาธิปไตยในขีดสุดยอดแล้วเท่านั้น - แต่กรณีของไทย ยังเป็นรัฐสมัยใหม่แต่เพียงภายนอก แต่ในเชิงอุดมการณ์ความคิดภายในยังมีลักษณะก่อนสมัยใหม่อยู่ เมื่อมีการใช้วาทกรรม "การก่อการร้าย" จึงกลายเป็นเรื่องการทำร้ายพ่อ

25 พ.ค.56 เวลา 16.00 น. ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนาในหัวข้อ "Terror Democracy: การก่อการร้ายและความรุนแรงในระบอบประชาธิปไตย" มีวิทยากรโดย กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช หรือผู้ใช้นามแฝงในโลกออนไลน์ว่า FallingAngles และดำเนินรายการโดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาในการนำเสนอนำมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในหัวข้อ The Delegitimation of (Non-State) Violence: Constructing Terror in Modernity ซึ่งกฤดิกรศึกษาในด้านการก่อการร้ายศึกษา

กฤดิกรกล่าวว่าภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 (9/11) การก่อการร้ายในโลกตะวันตกกลายเป็นเรื่องคอขาดบาดตายและร้ายแรงที่สุดเรื่องหนึ่ง นักโทษจากกรณีการก่อการร้ายถูกจัดการอย่างโหดร้ายทารุณที่สุดกรณีหนึ่ง ในอังกฤษยังเป็นเพียงไม่กี่คดีที่เหลืออยู่ที่มีการพิจารณาเป็นการลับ แต่ความหวาดกลัวในเรื่องการก่อการร้ายมีก่อนหน้านั้นนานแล้ว เพียงแต่กรณีเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์เป็นตัวมาจุดระเบิดขึ้นมา

ก่อนหน้านั้นการก่อการร้ายถูกมองในฐานะภัยที่คุกคามต่อชีวิต ที่ไม่อาจควบคุมได้ คาดเดาไม่ได้ หลบหนีไม่ได้ ไม่รู้เลยว่ามันจะมาเมื่อไหร่ หรือใครเป็นคนทำ และนับตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายนเป็นต้นมา มีการใส่วาทกรรมบางชุดเพิ่มเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ เช่น วาทกรรมความไร้เหตุผล ความไร้ความเป็นมนุษย์ หรือมุสลิมหัวรุนแรง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

 

000

คำถามตั้งต้นในการศึกษาของกฤดิกร คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายของสิ่งที่เป็นเป้าหมายโดยตัวมันเอง (What is the goal for the goal itself?) กล่าวคือในโลกสมัยใหม่ ประเทศซึ่งเป็นผู้นำของโลก ซึ่งจะเรียกจักรวรรดิ, ชาติมหาอำนาจ, G-7 ได้กลายเป็นเป้าหมายของประเทศอื่นๆ โดยทั่วไปที่กำลังพัฒนาอยู่นั้น แต่คำถามคืออะไรที่เป็นเป้าหมายของรัฐซึ่งเป็นเป้าหมายให้แก่รัฐอื่นๆ แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายสูงสุดอย่างสหรัฐอเมริกา ในเมื่อไม่ได้มีเป้าหมายอย่างอื่นให้ยึดถือเป็นแบบอย่างอีกต่อไป

คำถามนี้มาจากความเข้าใจที่ว่าโลกยุคปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่ตอนนี้ ปฏิเสธค่อนข้างยากว่ากำลังอยู่ในยุคที่ถูกเรียกรวมอย่างหลวมๆ ว่า Liberal Modernity แม้จะมีการแย่งชิงจากทุกสำนักคิด หรือสร้างคำอธิบายในลักษณะต่างๆ เกี่ยวกับมันก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่พอจะย้อนเข้าไปให้รากเหง้าหรือไอเดียของ Liberal Modernity ได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยอมรับกันมาก คือข้อเสนอของคานท์ (Immanuel Kant) เรื่อง "สันติภาพอันถาวร" (Perpetual Peace) โดยภาวะสมัยใหม่นั้นต้องตอบโจทย์เรื่องสันติภาพอันคงทนถาวร ไม่เกิดสงครามขึ้นอีกให้ได้ ในจุดนี้ ผลิตผลหนึ่งของ Liberal Modernity ที่ดูจะได้ชัยชนะเหนือผลิตผลอื่นๆ คือ Liberal Democracy หรือประชาธิปไตยเสรี ที่กลายเป็นตัวแทนของยุคสมัยนี้ไป โดยเงื่อนไขง่ายๆ ที่ว่ามันเป็นระบบที่อนุญาตให้ความแตกต่างอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ฆ่ากันตาย

แต่ก็มีความย้อนแย้ง (Paradox) ของประชาธิปไตยเสรีอยู่อย่างน้อยสองประการ ได้แก่ ความย้อนแย้งภายในตัวเอง และความย้อนแย้งภายนอก โดยความย้อนแย้งภายในตัวเองนั้นเป็นที่มาของคำถามดังที่ได้กล่าวไป กล่าวคือ ในเมื่อ Liberal Modernity มีเป้าหมายในการก้าวไปสู้เป้าหมายแล้ว หากเมื่อไหร่ที่มันได้กลายเป็น "เป้าหมาย" ขึ้นมาจริงๆ แล้วมันจะเหลืออะไรให้ไปต่อและเป็นเป้าหมายอีก

เพื่อตอบคำถามนี้ กฤดิกรได้ยกถ้อยคำของชิเช็ก (Slavoj Zizek) ที่กล่าวว่า "เหล่าผู้ยากไร้ทั่วโลกต่างเฝ้าใฝ่ฝันกันหวังว่าจะได้มีชีวิตเยี่ยงคนอเมริกัน แล้วเหล่าชนอเมริกันผู้มีอันจะกิน และถูกกักขังอยู่ในภาพของความสมบูรณ์พูนสุขของตนนั้นล่ะเฝ้าฝันถึงสิ่งใด? นั่นก็คงจะเป็นความล่มสลายของโลกที่จะมาทำให้ชีวิตของพวกเขาป่นปี้ลงได้" และโบรดิยาร์ด (Jean Boudrillard) ที่มองว่า "พวกเรานี่แหละที่เป็นคนใฝ่ฝันถึงเหตุการณ์อย่าง 9/11 ขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นคนสร้างเหตุการณ์นั้น แต่เราหวังให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น"

ดังนั้น เป้าหมายของสิ่งที่กลายไปเป็นเป้าหมายให้สิ่งอื่นแล้ว ก็คือการพยายามพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดเพื่อที่จะทำลายตัวเองให้ป่นปี้ลงมา แต่ความย้อนแย้งนี้และเป้าหมายแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนจะรู้สึกถึงมันได้โดยง่าย เพราะเราถูกหล่อหลอมให้หลงอยู่ในโลกจริงจำลอง ( Simulacra) ผ่านการเสพภาพจำลองต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์ ละคร การ์ตูน นิยาย เป็นต้น จนภาพจำลองนั้นได้กลายไปเป็นโลกจริงๆ ของเราแทน ทั้งที่ความเป็นจริงๆ กับความเป็นจริงในหัวเราอาจจะเป็นคนละอย่างกัน

ในประเทศที่มีความเจริญสูงได้มีการผลิตภาพจำลองออกมาเยอะ ซึ่งยิ่งทำให้ความเป็นจริงอันไม่จริง กลายมาเป็นโลกจริงมากกว่า ดังนั้นแม้คนอเมริกันจะฝันถึงการทำลายตัวเอง แต่พวกเขาจะไม่รู้สึกตัวว่าพวกเขาฝันอย่างนั้น และยังพยายามสนับสนุน ส่งเสริมประชาธิปไตยที่แลดูน่าถวิลหา ในแบบที่พวกเขาเชื่อว่ามันดี

สิ่งนี้ได้นำไปสู่ความย้อนแย้งภายนอก คือเมื่อประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่จะต้องปกป้อง นั่นหมายความว่าจะต้องสู้ฝ่าฝันให้ได้มันมา และปกป้องมันอย่างสุดความสามารถ อย่างเต็มกำลัง รวมไปถึงการฆ่าและการทำสงครามเพื่อประชาธิปไตย ฉะนั้นยิ่งต้องการสันติภาพอันถาวรเท่าไร แปลว่าก็ยิ่งต้องการสงครามที่ถาวร หรือต้องสู้เพื่อมันอย่างถาวรเท่านั้น กลายไปเป็นความย้อนแย้งอันที่สองของประชาธิปไตย ในแง่นี้ Perpetual peace จึงมีค่าเท่ากับ Perpetual war

ในประวัติศาสตร์ มีสงครามมากมายที่เกิดขึ้นภายใต้ความคิดว่ากระทำในนามสันติภาพ ทั้งสงครามเย็น ที่ทำเพื่อปกป้องสันติภาพของโลกตะวันตก หรือสงครามยาเสพติด จนมาถึงสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terrorism) ซึ่งถูกพูดขึ้นครั้งแรกในสมัยประธานาธิบดีโรนัล เรแกน แต่มาดังในยุคของจอร์จ ดับเบิลยู บุช โดยเป็นสงครามนี้มีลักษณะเป็นวงกลมและไม่มีวันจบ เพราะมีลักษณะของการต้องการทำลาย Terror ด้วยการสร้าง Terror ขึ้นมาเอง สันติภาพอันถาวร จึงมีลักษณะของการสื่อถึงความหวาดกลัวอันไม่มีจุดสิ้นสุด เพราะถ้ามันหยุดสันติภาพของคุณนั้นจะไม่ถาวร

อีกทั้ง เพื่อรักษาความหวาดกลัวอันไร้ที่สิ้นสุด จำเป็นต้องมีการสร้างกลไกที่จะมารองรับอย่างถาวร เพื่อทำให้คนระลึกถึงความกลัวเอาไว้ตลอดเวลาด้วย จึงมีสิ่งที่ตามมาในสหรัฐฯ คือการสร้างระบบป้องกันภัย หรือระบบรักษาความปลอดภัย (Surveillance system) ขึ้นมา ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลัง 9/11 เช่น กล้องวงจรปิด, ระบบสแกนม่านตา หรือการดักตรวจข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท โดยอ้างว่าเป็นการป้องกันภัยคุกคามของการก่อการร้าย

คำถามคือการก่อการร้ายเป็น "ภัย" หรือเปล่าในตัวมันเอง กฤดิกรได้นำเสนอตัวเลขสถิติของทางการสหรัฐฯ เอง ที่เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตจากการก่อการร้าย และจากกรณีอื่นๆ พบว่าคนสหรัฐฯ 1 ใน 236 ตายจากการตกจากที่สูง, 1 ใน 325 ตายจากการโดนอาวุธยิง และ 1 ใน 80,000 มีโอกาสตายจากการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับการตายจากการโดนอุกกาบาตตกใส่ หรือสถิตที่ระบุว่ามีคนตายจากการก่อการร้ายทั่วโลกในแต่ละปีเฉลี่ย 300 – 700 คน (นับแต่ปี 1968 - ปัจจุบัน) เมื่อเทียบกับจำนวนคนตายทั่วโลกโดยประมาณต่อวันจากความยากจน ประมาณ 40,000 คน และจำนวนคนตายทั่วโลกโดยประมาณต่อปี จากเชื้อ HIV ประมาณ 3 ล้านคน

จะเห็นได้ว่าโดยเปรียบเทียบ การก่อการร้ายไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเป็น "ภัย" ได้เลยโดยภาพรวม หากแต่งบประมาณจากการป้องกันการก่อการร้ายสูงมากเป็นอันดับหนึ่งในสหรัฐฯ มากกว่าการจัดการความยากจน 3-4 เท่าได้ แต่ถ้าพูดถึงมันในฐานะภัยกลับมีต่ำกว่ามาก คำถามคือทำไมจะต้องไปป้องกันมันขนาดนั้น

ในงานของโจเซบ้า ซูไลก้า (Joseba Zulaika) ชื่อว่า War on Terror: A Self-Fulfilling Prophesy ได้เสนอว่าสงครามก่อการร้าย และนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐฯ กำลังดำเนินอยู่ กำลังจะทำให้สิ่งที่ไม่ได้แม้แต่จะเป็นภัยอะไร กลายเป็นภัยขึ้นมาจริงๆ โดยระบบป้องกันภัยต่างๆ ทำให้คนอเมริกันรู้สึกว่ามันเป็นภัยที่จริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ และทำให้เชื่ออย่างมั่นใจว่านี่คือภัยอันร้ายแรง สิ่งที่เรากำลังเจอในปัจจุบันจึงเป็นขั้นตอนการกำลังเกิดขึ้นจริง (Process of becoming real) โดยทำให้ภัยที่มันไม่มีอยู่จริง เป็นจริงขึ้นมา

กฤดิกรเสนอว่าสิ่งนี้เป็นการทำงานของภาวะสมัยใหม่โดยมันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่ารัฐ ไม่ใช่ตัวรัฐหรือรัฐบาลเองเป็นผู้วางแผนหรือกำหนดได้ แต่รัฐเองก็เชื่อแบบนั้นเช่นกัน ในงานของซูไลก้ายังชี้ให้เห็นว่าก่อนหน้าเหตุการณ์ 9/11 คนอัฟกานิสถานเองก็ไม่ได้ชื่นชมอัลเคด้า แต่หลังสงครามต่อต้านการก่อการร้าย จำนวนสาขาในตะวันออกกลางของอัลเคด้าเพิ่มขึ้นสูงมากในเวลาเพียง 4-5 ปี และคนก็เทใจให้อัลเคด้ามากขึ้นด้วย

ในส่วนต่อมา กฤดิกรกล่าวถึงผลิตผลที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในภาวะสมัยใหม่ คือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ โดยก่อนการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยเสรี สถานะของความเป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นHuman Being แต่อยู่ในสถานะ Human Subject โดยรัฐก่อนประชาธิปไตย คนๆ ทั่วไปในรัฐนั้นอยู่ในฐานะก้อนเนื้อหรือกระดูกที่อนุญาตมีชีวิตอยู่ได้ และสามารถถูกริบคืนได้ทุกเมื่อ หรือเป็นทรัพย์สมบัติของผู้นำเหนือดินแดนนั้น

เมื่อเกิดประชาธิปไตยเสรีและรัฐชาติ ได้ให้อำนาจของคนในการแชร์ความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนเท่าๆ กัน ทำให้คนเปลี่ยนสถานะจากผู้เป็นทรัพย์สินของคนอื่น มาเป็นผู้ถือครองทรัพย์สินร่วมกันอย่างเท่าเทียม แต่การได้สิทธิและอำนาจตรงนี้มาจำเป็นต้องมีข้อแลกเปลี่ยน โดยสิ่งที่รัฐให้คือความมั่นคงปลอดภัย สิทธิต่างๆ และเสรีภาพ แต่เราก็ต้องแลกด้วยอัตลักษณ์ และความเชื่อฟังที่ต้องมอบให้รัฐ

ระบบนี้เองได้ทำให้เกิดเสรีภาพที่ปราศจากเจตจำนงอันเสรี เพราะเราถูกบังคับให้เกิดการแลกเปลี่ยนนี้ขึ้น โดยเราไม่มีทางเลือกอื่นที่จะออกไปได้ เราไม่มีสิทธิเลือกว่าจะเป็นสมาชิกของรัฐหรือไม่เป็น แต่รัฐมีสมมติฐานแล้วว่าทุกคนต้องการความมั่นคงปลอดภัย อีกทั้ง เจตจำนงเสรีที่ถูกพรากไปแต่แรกเกิด ก็จะถูกสวมทับใหม่ด้วยเจตจำนงเสรีตัวใหม่ที่รัฐจะมอบให้ นั่นก็คือกฏเกณฑ์ของรัฐ หรือกฎหมาย โดยกฎหมายได้ทำหน้าที่แบ่งคนเป็นสองกลุ่ม คือผู้ที่เชื่อฟัง กับผู้ไม่เชื่อฟัง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือความย้อนแย้งในตัวเองของภาวะกฎหมาย โดยคุณจะสามารถเป็นคนนอกกฎหมายได้ก็เมื่อกฎหมายสั่งคุณว่าเป็นคุณเป็นคนนอกกฎหมาย เมื่อคุณทำผิดข้อตกลงของกฎหมาย นั่นหมายความว่าการที่จะเป็นคนนอกกฎหมายต้องมีคำสั่งหรืออำนาจมาควบคุมอีกทีหนึ่ง นั่นทำให้คุณไม่สามารถหลุดออกไปจากระบบรัฐชาติได้อย่างแท้จริงได้ เพราะการจะหลุดไปยังคงต้องอ้างอิงกับระบบรัฐชาติเดิมอยู่

กฤดิกรกล่าวถึงประเด็นที่ว่าใครกันแน่คือต้นตอของความหวาดกลัว ระหว่างการก่อการร้ายหรือภาวะสมัยใหม่เอง จากสถิติตัวเลขการตาย เวลาเราจะรู้สึกว่าอะไรเป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัว เกิดจากสิ่งนั้นมีผลเสียต่อเรา และผลเสียที่สูงที่สุดคือการทำให้เราเสียชีวิต โดยการกลัวความตายนี้เป็นผลผลิตที่สำคัญของระบบ Liberal Modernity กล่าวคือเพราะเรากลัวตาย จึงต้องเรียกหาความปลอดภัยจากการคุ้มครองของรัฐ

ระบบเสรีประชาธิปไตยได้ให้สิทธิที่สำคัญที่สุด คือ "สิทธิในการมีชีวิต" (Right to Live a Life) การมีชีวิตอยู่ได้กลายเป็นคุณค่าสำคัญในระบบคิดในยุคสมัยใหม่ สิ่งที่น่าหวั่นกลัวที่สุดจึงเป็นการพรากสิทธิในการมีชีวิตอยู่ไปนั่นเอง ความกลัวความตายจึงเป็นผลผลิตสำคัญและทรงคุณค่าของยุคสมัยใหม่ ตามแนวคิดของฮอบส์ (Thomas Hobbes)

สิ่งที่เป็นต้นตอของความหวาดกลัวหรือการกลัวความตาย จึงคือ Liberal Modernity เอง ไม่ใช่ปัจจัยภายนอก อย่างก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรม ต่อให้เกิด 9/11 ขึ้นอีกสิบครั้ง ถ้าหากเราไม่มีความกลัวความตาย เราก็จะไม่เกิดความรู้สึกตื่นตระหนกเหมือนที่เรามีในปัจจุบันนี้ แต่จะรู้สึกเช่นเดียวกับเวลาวัวโดนเชื้อโรคฆ่าตาย เป็นความกลัวในลักษณะของทรัพย์สมบัติหรือทรัพย์สินหายไป

ผลกระทบของการกลัวความตายนั้น ยังไม่ได้จบลงแค่ว่ามันเป็นต้นกำเนิดของความหวาดกลัวที่แท้จริงของมนุษย์ยุคใหม่เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงอย่างกับเป้าหมายของภาวะสมัยใหม่ที่อยู่ ณ จุดสูงสุดด้วย นั่นก็คือ การทำลายตนเองของภาวะสมัยใหม่ โดยยิ่งมีความกลัวมากขึ้นเท่าไร เรายิ่งเรียกหาความคุ้มครองมากขึ้นเท่านั้น แล้วเราจะรู้สึกว่านี้เป็นการเรียกร้องโดยความพร้อมใจของเราเอง หากแต่เป็นความพร้อมใจในโลกที่ถูกจำลองขึ้น

การเพิ่มขึ้นของระบบคุ้มครอง ระบบรักษาความปลอดภัย จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มพลังให้กับความหวาดกลัวต่อภัยที่ทำให้เราตายได้ เมื่อเราเห็นกล้อง เห็นเครื่องสแกนต่างๆ มันเตือนว่าภัยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เราจึงเห็นการคุ้มครองไปพร้อมๆ กับการเห็นภัยไปด้วย

ด้วยความหวาดกลัวต่อความตายที่มากขึ้น ผ่านวาทกรรมการก่อการร้าย ทำให้พลังของโลกจริงจำลอง เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เนื้อหาของการกระทำต่างๆ ถูกเมินเฉยไป หรือสูญสิ้นความหมายทั้งหมด เหลือแต่ Form of doer หรือสัณฐานของผู้กระทำ ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนมาบังคับให้คุณถอดเสื้อผ้าออกให้หมด แล้วก็เข้ามาสัมผัสจับต้องร่างกายคุณ และขู่ว่าหากไม่ทำตามจะยิง หรือจะจองจำไว้ เขาจะถูกตราหน้าทันทีว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นอาชญากร แต่หากผู้กระทำนั้นอยู่ในชุดยูนิฟอร์มของเจ้าหน้าที่รัฐ การกระทำแบบเดียวกันอาจจะถูกมองทันทีว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา และสามารถยอมรับได้ เนื้อหาของการกระทำไม่มีความหมายและไม่มีความสำคัญอีก โลกหลัง 9/11 ทำให้ผู้ก่อการร้ายกลายไปเป็นผู้สร้างความหวาดกลัวในความเข้าใจของเราไป

กฤดิกรเสนอว่า 9/11 แท้จริงแล้วเป็นภาพสะท้อน หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับของภาวะสมัยใหม่ กลุ่มที่ถูกจับตามองว่าเป็นผู้ก่อการร้ายต่างๆ นั้น ล้วนแต่เป็นภาพของผู้ที่มี "ความล้าหลัง" หรือความก่อนสมัยใหม่อยู่ในตัว โดยคนกลุ่มเดียวที่จะสามารถออกหลุดออกจากภาวะ Modernity คือคนกลุ่มนี้ หรือกลุ่ม Pre-modern คือการหลบหนีก่อนที่จะโดนมันจับ 9/11 จึงคือการพยายามหลบหนีจากภาวะ Modernity อย่างสุดตัวของเหล่าคนกลุ่มก่อนสมัยใหม่

ดังนั้นถ้าสหรัฐฯ เป็นจุดหมายสูงสุดของภาวะสมัยใหม่ คนกลุ่มนี้เป็นภัยแปลกปลอมที่น่ากลัวมาก เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่พวกเขาไม่เข้าใจ มันกลับหัวกลับหางความเข้าใจ เช่น การไม่มอง "ชีวิต" ว่าเป็นสิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญ แต่มองว่าสิ่งที่เป็นคุณค่ามันอยู่เหนือกว่าชีวิต ถ้าทำไปแล้วจะหลุดพ้นต่างๆ หรือได้ไปพบพระเจ้า ซึ่งคนสมัยใหม่ไม่เข้าใจสิ่งนี้ เพราะความคิดนี้ได้ตีความชีวิตอย่างกลับหัวกลับหาง

ขณะเดียวกันในอีกแง่หนึ่งนั้น มันก็เป็นตัวตนที่จำเป็นอย่างมากต่อภาวะสมัยใหม่ เพราะกลุ่มพวกนี้เป็นเสมือนเป้าหมายที่จะทำให้ Liberal Modernity ขยายตัวและไปถึงจุดที่ไปถึงเป้าหมายในตัวมัน คือการล่มสลายของตัวเองได้ ตัวตนของคนกลุ่มนี้จึงเป็นทั้งภัยและสิ่งเสพติดในเวลาเดียวกันสำหรับภาวะสมัยใหม่

กฤดิกรยังกล่าวถึงกรณีวาทกรรมการก่อการร้ายในประเทศไทย แม้จะมีการขายวาทกรรมนี้พอสมควร เช่น กรณีคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือกรณีสามจังหวัดภาคใต้ แต่เหตุใดมันจึงไม่เคยขายออกในลักษณะเดียวกันกับโลกตะวันตก ซึ่งวาทกรรมนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว

กฤดิกรอธิบายว่าดังที่กล่าวไปว่าการก่อการร้ายเป็นผลผลิตของแนวคิดแบบประชาธิปไตยเสรี มันจึงขายดีกับประเทศที่มีเสรีประชาธิปไตยที่ไปถึงจุดสุดยอดแล้วเท่านั้น แต่กรณีของไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นรัฐสมัยใหม่แต่เพียงภายนอก แต่ในเชิงอุดมการณ์ความคิดภายใน ยังมีลักษณะก่อนสมัยใหม่อยู่ โดยหากบอกว่าประเทศไทยเป็นรัฐประชาธิปไตยเสรี เราต้องถูกทำให้เชื่อว่าแผ่นดินนี้ทุกกระเบียดนิ้ว เป็นของทุกคนร่วมกัน แต่เราไม่ได้เชื่อเช่นนั้น ฉะนั้นเมื่อมีการใช้วาทกรรมการก่อการร้ายขึ้น มันจึงขายไม่ค่อยออก เพราะมันไม่ใช่การทำร้ายสมาชิกทุกๆ คนในรัฐอย่างเท่ากันหมด แต่มันเป็นการ "ทำร้ายพ่อ เพราะนี่คือแผ่นดินของพ่อ"

ในช่วงท้าย กฤดิกรกล่าวว่าการอธิบายทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าตนต่อต้านเสรีประชาธิปไตย แต่เห็นว่าการที่เราจะสนับสนุนอะไร จำเป็นต้องรู้จักมันทุกแง่ ทั้งในด้านบวกและลบของมัน เห็นหลายด้านไปพร้อมกัน เราสนับสนุนประชาธิปไตย แต่มันก็ไม่ได้มีแต่ด้านที่สวยงาม หรือไม่หลอกลวงเรา 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาพัฒนาการเมืองฯ เยื่อนโปแตชอุดรฯ ดูพลังพลเมืองตรวจสอบโครงการพัฒนา

Posted: 27 May 2013 09:03 PM PDT

ย้ำให้ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยเพื่อปกป้องชุมชน แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เผยสู้โครงการเหมืองแร่โปแตชมา 12 ปี เชื่อว่าพลังพลเมืองที่เข้มแข็งที่สุด คือพลังของประชาชนที่รวมตัวอย่างเหนียวแน่น

 
วันที่ 27 พ.ค.56 เวลาประมาณ 09.00 น.- 11.00 น. ที่ศาลาวัดอรุณธรรมรังษี บ้านโนนสมบูรณ์ ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี สภาพัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ประมาณ 40 คน ได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาและเรียนรู้ พื้นที่ปัญหาโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เพื่อศึกษาพลังภาคพลเมืองในการตรวจสอบโครงการพัฒนาที่ลงมายังชุมชน โดยมีตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 20 คน ให้การต้อนรับ และร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล
 
พร้อมกันนี้ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี มีการฉายวีดีทัศน์ สารคดีที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการเหมืองแร่โปแตช  เพื่อให้ทางทีมของสภาพัฒนาการเมืองฯ ได้รับทราบที่มาที่ไปของปัญหาและเข้าใจถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรของชาวบ้าน หลังจากนั้นจึงมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันต่อกรณีปัญหาโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี
 
นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง จ.นครราชสีมา และผู้ประสานงานการลงพื้นที่ในครั้งนี้ กล่าวว่า ที่มาในครั้งนี้เพื่อต้องการศึกษาและเรียนรู้ขบวนการภาคพลเมืองของกลุ่มชาวบ้านที่มีความเข้มแข็งในการปกป้องชุมชนและทรัพยากร โดยในภาคอีสานจะมีการลงพื้นที่ 3 แห่ง 3 ทีม คือ 1.พื้นที่จังหวัดติดลำน้ำโขงซึงมีปัญหาการขึ้นลงของน้ำที่ผิดปรกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากการสร้างเขื่อนในประเทศจีนและลาว
 
2.พื้นที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความร่วมมือระหว่างผู้นำท้องถิ่นและประชาชนอย่างเข้มแข็ง ในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน และ 3.คือพื้นที่ที่จะมีโครงการเหมืองแร่โปแตชที่อุดรฯ ที่มาในวันนี้ โดยหลังจากลงพื้นที่ในแต่ละทีมแล้วจะได้ประชุมร่วมกันทั้ง 3 ทีม เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้อีกครั้งหนึ่ง
 
ด้านนางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า ชาวบ้านเชื่อว่าที่ผ่านมาถ้าประชาชนไม่รวมตัวกัน ไม่สามารถมีใครที่จะมาช่วยเหลือเราได้ พวกเราต่อสู้กับโครงการเหมืองแร่โปแตชมา 12 ปี จนเหมืองยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเราสู้ของเราเอง ระดมทุนในการสู้เอง พวกเราจึงเชื่อว่าพลังพลเมืองที่เข้มแข็งที่สุด คือพลังของประชาชนที่รวมตัวอย่างเหนียวแน่น
 
"เราต่อสู้มายาวนานโดยอาศัยสิทธิชุมชน และประชาธิปไตยภาคพลเมือง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐ จนปัจจุบันเราได้คณะกรรมการร่วมกับ กพร. (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) เพื่อพิจารณา และศึกษาหาทางออกร่วมกันถึงปัญหาการคัดค้าน ซึ่งอุตสาหกรรมจังหวัดรวบรวมได้ถึง 11ประเด็น เช่น ใบไต่สวนไม่ถูกต้อง การประชาคมผิดระเบียบ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เราจะต้องผลักดันกันต่อไป" นางมณีกล่าว
 
ขณะที่รศ.ดร.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร ประธานคณะกรรมการวิชาการ สภาพัฒนาการเมือง ได้กล่าวว่า การต่อสู้ของพลังพลเมือง ตามหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริงมีพลังเสมอ สู้ด้วยเหตุด้วยผล สู้ในกรอบกติกา แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ทุกฝ่ายเอาความจริงขึ้นมาพูด ไม่ปกปิดซ่อนเร้น รัฐหรือนายทุนรู้อะไร ประชาชนต้องรู้ด้วยทุกอย่าง ความเข้มแข็งของประชาชนจึงจะเกิด เมื่อความเท่าเทียมในการรับรู้ข้อมูลมีความเท่ากัน
 
"ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ต้องฟังทุกเสียงของประชาชน ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงส่วนน้อยหรือเสียงส่วนมาก การต่อสู้ของประชาชนในทุกๆ เสียง จึงถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนจะสามารถทำได้ เพื่อให้เสียงของเขาได้ถ่ายทอดปัญหาให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้" รศ.ดร.อัษฎางค์กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น