ประชาไท | Prachatai3.info |
- ออง ซาน ซูจีไม่เห็นด้วยกับการห้ามชาวโรฮิงยามีบุตรเกิน 2 คน
- พีมูฟ รอ ‘เฉลิม’ นั่งหัวโต๊ะแก้ปัญหาชุดใหญ่ - ลุ้นผลประชุม ครม.
- ‘จิตรา’ ชวนฟังพิจารณาคดีคนงานไทรอัมพ์ฯ ชุมนุมสมัย รบ.อภิสิทธิ์ เผยถูกขู่
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21-27 พ.ค.2556
- "อภิสิทธิ์" ชี้ปรากฎการณ์หน้ากากกายฟอว์กส์เกิดเพราะการปิดพื้นที่การเมือง
- ดันต่อ ขอ กมธ. รับหลักการ กม.ประกันสังคมฉบับคนงานที่ตกไป
- สมาพันธ์นร.ไทยเพื่อปฏิวัติการศึกษา เผยผลสำรวจรร.ยังบังคับ 'เกรียน'
- รัฐบาลโคลัมเบียและกลุ่มกบฏ FARC บรรลุข้อตกลงเจรจาปฏิรูปที่ดิน
- ไต่สวนการตาย 2 ศพใต้ทางด่วนพระราม 4 - DSI แจงฟ้อง ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ เพิ่ม
- พันธมิตรยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ค้านแก้ม.68
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อHIV ร่วมสหภาพเภสัช-แพทย์ชนบท จับตาระบบสุขภาพ-ยา
- รายงาน: ทำไม “โซตัส” ยังไม่ตาย
- ทีดีอาร์ไอหนุน“สัญญาคุณธรรม”ลดโกงไฮสปีดเทรนด์
- ประชาไทการ์ตูน: เรามาใส่หน้ากากกายฟอว์กส์กันเถอะ
- กลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ วิจารณ์คำปราศรัยประเด็นความมั่นคงของโอบาม่า
ออง ซาน ซูจีไม่เห็นด้วยกับการห้ามชาวโรฮิงยามีบุตรเกิน 2 คน Posted: 27 May 2013 11:46 AM PDT จนท.พม่าในรัฐอาระกัน เตรียมใช้นโยบายห้ามชาวโรฮิงยามีภรรยาเกิน 1 คน ห้ามมีบุตรเกิน 2 คน โดยอ้างว่าเพื่อขจัดเหตุตึงเครียดทางเชื้อชาติระหว่างชาวอาระกันและชาวโรฮิงยา ขณะที่ออง ซาน ซูจีไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้โดยเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ และละเมิดสิทธิมนุษยชน ออง ซาน ซูจี ปราศรัยเมื่อ 17 พ.ย. 2554 (ที่มา: วิกีพีเดีย/แฟ้มภาพ) บีบีซี รายงานว่า ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ออง ซาน ซูจี ประณามคำสั่งของเจ้าหน้าที่พม่าในรัฐอาระกันที่ออกนโยบายบังคับให้ครอบครัวชาวโรฮิงยามีบุตรได้ไม่เกินสองคน ทั้งนี้นโยบายห้ามมีบุตรเกิน 2 คนดังกล่าว เคยใช้มาก่อนในปี 2537 แต่ล่าสุดเจ้าหน้าที่พม่าในรัฐอาระกันได้นำกลับมาใช้อีกในพื้นที่ซึ่งพวกเขาระบุว่ามีอัตราการเกินสูง ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดทางเชื้อชาติ ทั้งนี้ความตึงเครียดระหว่างเชื้อชาติได้ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างชุมชนชาวอาระกันและชาวโรฮิงยาในรัฐอาระกันเมื่อปีก่อน ขณะที่นางออง ซาน ซูจีเองก็ถูกวิจารณ์มาก่อนหน้านี้ จากการที่นางออง ซาน ซูจีไม่ออกมาพูดถึงสิทธิของชาวโรฮิงยา โดยนับตั้งแต่ความขัดแย้งเมื่อปีที่แล้ว ได้ทำให้ชาวโรฮิงยานับหมื่นคนต้องกลายเป็นผู้อพยพและต้องอาศัยอยู่ในค่ายพักชั่วคราว สำหรับข้อห้ามไม่ให้ชาวโรฮิงยามีบุตรเกินสองคนเกิดขึ้นในปี 2537 และได้ผ่อนคลายกฎดังกล่าวไปเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้สืบหาสาเหตุของความรุนแรงในรัฐอาระกัน ได้ออกมาเสนอแนะว่าควรใช้วิธีการให้การศึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งที่คณะกรรมการชุดนี้เรียกว่าเป็นการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของประชากรมุสลิม และเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (25 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ในรัฐอาระกันจะนำนโยบายมีบุตรไม่เกินสองคน มาบังคับใช้ในสองเมืองคือ มง ด่อว์ และบูดีถ่อง อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำมาตรการนี้มาใช้อย่างไร "ภายใต้คำสั่งนี้ ชายชาวเบงกาลี (คำที่เจ้าหน้าที่พม่าเรียกชาวโรฮิงยา) จะได้รับอนุญาตให้มีภรรยาเพียง 1 คน และแต่ละคู่แต่งงานสามารถมีบุตรได้ 2 คน และที่ซึ่งมีบุตรมากกว่า 2 พวกเขาจะถูกถือว่าผิดกฎหมาย" สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านคนเข้าเมือง อย่างไรก็ตาม ออง ซาน ซูจี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า นางไม่อาจยืนยันว่านโยบายนี้ถูกบังคับใช้ แต่ถ้านำมาใช้ก็ถือว่าผิดกฎหมาย "ไม่เป็นการดี หากมีการเลือกปฏิบัติเช่นนี้ เรื่องนี้ไม่ไปด้วยกันกับเรื่องสิทธิมนุษยชน" นางออง ซาน ซูจี กล่าว ฟิลล์ โรเบิร์ตสัน แห่งฮิวแมนไรท์วอทซ์ อธิบายว่ามาตรการเช่นนี้ถือการละเมิดและเรื่องเย็นชา ทั้งนี้ฮิวแมนไรท์วอทซ์กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าว่าเกี่ยวข้องกับการล้างเผ่าพันธุ์ ในช่วงที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนและตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน และมีผู้อพยพกว่า 140,000 ราย โดยชาวโรฮิงยาถือเป็นกลุ่มคนไร้รัฐ มีจำนวนประชากรราว 8 แสนคน ซึ่งไม่ถูกทางการพม่ารับรองให้มีสถานะเป็นพลเมืองของพม่า ขณะที่สหประชาชาตินิยามพวกเขาว่าเป็นชนกลุ่มน้อยทางด้านศาสนาและภาษาบริเวณตะวันตกของพม่า ซึ่งเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ถูกรังควานมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม มีชาวพม่าจำนวนมากเรียกพวกเขาว่าเบงกาลี ซึ่งคำนี้ถือเป็นการสะท้อนความเชื่อที่แพร่หลายอยู่ในพม่าที่ว่าชุมชนของชาวโรฮิงยามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พีมูฟ รอ ‘เฉลิม’ นั่งหัวโต๊ะแก้ปัญหาชุดใหญ่ - ลุ้นผลประชุม ครม. Posted: 27 May 2013 11:46 AM PDT พีมูฟติดตามการพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลหลังลงนาม MOU ดันประเด็น เขื่อนปากมูล-คุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชนเข้า ครม. ด้านปัญหาที่ดินกระทรวงทรัพย์ฯ ทั้ง ที่ดินทับซ้อนเขตป่า-คดีโลกร้อน-ตรวจสอบข้อมูลนายทุนถือครองที่ป่า ต้องรอ 'เฉลิม' เคาะ วันนี้ (28 พ.ค.56) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ แจ้งข่าว เวลา 10.00 น.พีมูฟจะมีการแถลงข่าวเพื่อติดตามการพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลตามที่ลงนามข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน เมื่อวันที่ 22 พ.ค.56 ไว้ในข้อที่ 1 ว่าจะนำเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และการคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ณ ประตูทำเนียบรัฐบาล (ประตูน้ำพุ) หลังจากนั้นเวลา 13.30 น. ตัวแทนพีมูฟจะได้มีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อ สังคมที่เป็นธรรม ครั้งที่ 2/2556 ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่ บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าและหาแนวทางการ แก้ไขปัญหาของพีมูฟ ด้าน นายสุรพล สงฆ์รักษ์ ผู้ประสานงานสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) หนึ่งในเครือข่ายสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟกล่าวถึงการประชุมอนุกรรมการแก้ไข การประชุมดังกล่าว เป็นหนึ่งในการเร่งรัดการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 10 ชุด เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแก้ไขปัญหา "นายทุนอยู่ในพื้นป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต" นายสุรพล กล่าวถึงประเด็นที่ สกต.พุ่งเป้าหารือ ผู้ประสานงาน สกต.กล่าวด้วยว่า ทาง สกต.ได้นำเสนอใหม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษานโยบายและข้อมูลการอนุญาตให้บริษัท หรือนักธุรกิจ เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ เนื่องจากชาวบ้านประสบปัญหาความขัดแย้งกับบริษัทเอกชนที่เข้าใช้ประโยชน์ในที่ สปก.และมีเอกชนที่หมดสัญญาเช่าทำประโยชน์แต่ไม่ยอมออกจากพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแล นายสุรพล กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวต้องลุ้นกันต่อไปว่าฝั่งการเมืองจะตัดสินใจเช่นไร เพราะเกี่ยวข้องกับฐานเสียงและเครือข่ายของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แต่สำหรับชาวบ้านต้องการให้ข้อมูลที่ตรงนี้มีความชัดเจน ทั้งนี้ สรุปประชุมอนุกรรมการทรัพยา ทส.ไม่รับดำเนินการ ให้เสนอให้ชุดใหญ่ตัดสินใจ หรือให้หน่วยงานดำเนินการ 1. เสนอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญห 1.1 การแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแน 1.2 การแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบ 1.3 การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ที่เกี่ยว ข้องกับการอนุญาตให้ใช้พื้น 1.4 การคุ้มครองพื้นที่ของชุมชน 2. เสนอให้สำนักงานปลัดสำนักนา ทส.เห็นชอบ และรับดำเนินการ 1. กรณีแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของ ทส.เพื่อรองรับนโยบายของคณะรัฐ 1.1 การปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ.. 1.2 การแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโ ทส. เห็นชอบที่จะสนับสนุนให้ชุม ให้ ทส. สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย 2. การดำเนินการกรณีพื้นที่โฉน 3. แนวทางการพิสูจน์สิทธิในพื้ 4. ให้แต่งตั้งคณะทำงาน แก้ไขปัญหารายกรณี ดังนี้ 4.1. คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.2. คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.3. คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.4. คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.5. คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.6. คณะทำงานศึกษาการดำเนินงานต 4.7. คณะทำงานศึกษาการดำเนินงานต 4.8. คณะทำงานตรวจสอบแนวเขตอุทยา 4.9. คณะทำงานตรวจสอบเขตอุทยานแห่งชาติ ท้องที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา 4.10. คณะทำงานแก้ไขปัญหาข้อพิพาท 4.11. คณะทำงานแก้ไขปัญหาข้อพิพาท 4.12. คณะทำงานแก้ไขปัญหาข้อพิพาท 4.13. คณะทำงานแก้ไขปัญหาข้อพิพาท 5. ให้มีการตั้งคณะทำงานติดตาม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘จิตรา’ ชวนฟังพิจารณาคดีคนงานไทรอัมพ์ฯ ชุมนุมสมัย รบ.อภิสิทธิ์ เผยถูกขู่ Posted: 27 May 2013 09:26 AM PDT จิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย และอดีตประธานสหภาพฯ ดังกล่าว โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีที่ จิตรา น.ส.บุญรอด สายวงศ์ อดีตเลขาธิการสหภาพฯ และนายสุนทร บุญยอด เจ้าหน้าที่สภาศูนย์กลางแรงงาน ถูกฟ้องดำเนินคดีในข้อหา "ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อการวุ่นวานขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สังการในการกระทำความผิดนั้น เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดนั้นให้เลิกแล้วไม่เลิก" ในคดีหมายเลขดำที่ อ.620/2554 ซึ่งมีพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สนง.อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ โดยจะมีการพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณาคดี 809 ศาลอาญารัชดา เมื่อปลาย ส.ค. 55 มีการเบิกความพยานฝ่ายโจทก์ไปแล้ว ซึ่งนำโดย พล.ต.ต. วิชัย สังข์ประไพ อดีตผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งได้ลาออกจากตำรวจ หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ ชี้มูลความผิดทางวินัย รวมทั้งมีมูลความผิดทางอาญา(คลิกอ่านรายละเอียด) กรณีที่เป็นคดีความของคนงานไทรอัมพ์ฯ นั้นมาจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.52 ซึ่งเป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ แม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก่อนหน้านั้น โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ชี้กระทบต่อสิทธิการชุมนุม จิตรา กล่าวด้วยว่า อยากให้ผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิในการชุมนุมเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีนี้ เพราะหากมีคำตัดสินออกมาในทางลบย่อมส่งผลต่อสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากในวันเกิดเหตุคนงานเพียงมาชุมนุมเพื่อสอบถามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาต่อนายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เคยรับปากว่าจะแก้ปัญหา แต่กลับถูกออกหมายจับและดำเนินคดี ทั้งๆที่เป็นการชุมนุมโดยสงบผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกด้านการจราจรเป็นอย่างดี ส่วนการที่คนงานล้นลงมาที่ผิวถนนก็เป็นเพราะสภาพที่มีคนจำนวนมากเนื่องจากไม่ได้มาชุมนุมเพียงโรงงานเดียว แต่มาอย่างน้อย 3 โรงงานที่ประสบปัญหาในขณะนั้น แต่กลับเป็นเครื่อง LRAD เพื่อสลายการชุมนุม พร้อมด้วยการออกหมายจับตนเองและพวก เผยถูกคุกคาม แต่ยังไม่ปักใจเชื่อ 100% นอกจากนี้ จิตรา ยังเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีที่ถูกข่มขู่คุกคามด้วยว่า ในวันนี้พี่สาวตนที่อยู่ต่างจังหวัดแจ้งมาว่า มีชายแปลกหน้า 2 คน มาถามหาตนกับผู้ใหญ่บ้าน โดยอ้างตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน รวมทั้งถามกับผู้ใหญ่บ้านด้วยว่าหมู่บ้านนี้มีเสื้อแดงมากหรือไม่ พร้อมบอกด้วยว่าให้ จิตราระวังตัวระวังตัวเพราะเล่นของสูง โดยจิตรามองว่าแม้ตนเองจะไม่ปักใจเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับคดีนี้หรือไม่ แต่ตนเองก็ไม่ได้มีเรื่องขัดแย้งส่วนตัวกับใครมาก่อน จึงมองว่าเป็นการขุมขู่คุกคาม สำหรับประสบการณ์การถูกข่มขู่คุกคามนั้น จิตรา ในฐานะที่ทำกิจกรรมด้านการเมืองและแรงงานมานาน กล่าวด้วยว่า ตนเองถูกข่มขู่และคุกคามมาโดยตลอด โดยเฉพาะตั้งแต่ออกมาต่อต้านการรัฐประหาร ปี 49 มีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมาตั้งจุดตรวจบริเวณหน้าโรงงาน(คลิกอ่านเพิ่มเติม) หลักออกไปคัดค้านการรับร่างรัฐธรรมนูญ 50 ก็ถูกทำร้ายร่างกาย หลังใส่เสื้อ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม" ออกโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ก็ถูกข่มขู่ทั้งในออนไลน์และภายนอก รวมถึงถูกให้ออกจากงาน แม้กระทั้งที่สำนักงานสหภาพแรงงาน หน่วยงานความมั่นคงก็ให้บ้านข้างๆ ไปอบรมพร้อมสอดส่องความเคลื่อนไหวของสหภาพ หรือที่อยู่ปัจจุบันก็เคยมีกลุ่มชายแปลกหน้าแต่ตัวคลายเจ้าหน้าที่มาถ่ายรูป เป็นต้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21-27 พ.ค.2556 Posted: 27 May 2013 07:48 AM PDT คปก.ร่อนหนังสือถึงนายกฯ ชะลอร่างกฎกระทรวงฯคุ้มครองแรงงานประมง ชี้เพิ่มโทษ-ใช้แรงงานเด็ก เสี่ยงขัดกม. - อนุสัญญาสิทธิเด็ก
ลูกจ้างเหมาค่าแรง สะท้อนคุณภาพชีวิตแรงงานไทย
รวบผู้ต้องหาหลอกลวงคนงานไปต่างประเทศ
อธิบดีจัดหางาน เผย แรงงานไทยขาดแคลน1.6 ล้านคน หวั่น 2 โปรเจกยักษ์รบ.ชะงัก
เตรียมดึงทหารเกณฑ์ใกล้ปลดประจำการแก้ปัญหาขาดแรงงานภาคขนส่ง
ก.แรงงาน จับมือ 5 องค์กรหลักร่วมหาทางสกัดค้ามนุษย์ในเรือประมง
ปลัดแรงงานฝาก คกก.สภาที่ปรึกษาฯ ติดตามนโยบายกระทรวง 6 ข้อ
พนง.องค์การค้าฯเฮ!หลังบอร์ดสกสค.ไฟเขียวปรับเงินเดือนหลังไม่ขึ้นมา 18 ปี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"อภิสิทธิ์" ชี้ปรากฎการณ์หน้ากากกายฟอว์กส์เกิดเพราะการปิดพื้นที่การเมือง Posted: 27 May 2013 07:40 AM PDT ด้านโฆษกประชาธิปัตย์ยันเป็นสิทธิในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ ขณะที่ "พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์" จะเอาผิดทางกฎหมายต่อผู้โพสต์ "หน้ากากกายฟอว์กส์" และผู้ที่โพสต์สวมรอยเป็น "ทักษิณ ชินวัตร" ต่อปรากฎการณ์ที่เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ผู้ใช้เว็บโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนหน้าโพรไฟล์เป็นรูป หน้ากากกายฟอว์กส์ (The Guy Fawkes mask) และโพสต์ข้อความในเพจต่างๆ พร้อมกันว่า "ขณะนี้กองทัพประชาชนได้ลุกขึ้นมาแล้ว ข้าขอประกาศว่า ข้าจะล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย" นั้น
อภิสิทธิ์ระบุหน้ากากกายฟอว์กส์เกิดเพราะมีการปิดกั้นพื้นที่การเมือง ล่าสุด เช้าวันนี้ (27 พ.ค.) เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานความเห็นของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในสถานีโทรทัศน์ Blue Sky Channel โดยกล่าวว่า "เท่าที่ผมดูขณะนี้ก็เป็นเรื่องของการแสดงออก เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เหมาะสม ไม่เหมาะสม ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ว่าผมก็ยังไม่เข้าใจนะครับว่ามันมีประเด็นผิดกฎหมายตรงไหนอย่างไร ถ้าเกิดเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยปกติ นั่นก็เป็นในเชิงหลักการก่อน แต่ว่าถ้าหากว่ามีการกระทำอะไรที่ผิดกฎหมายอันนั้นก็แน่นอนนะครับ ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการไป" "ส่วนปรากฎการณ์การแสดงออกในทำนองนี้ ผมก็ยังยืนยันว่า ปัญหาพื้นฐานขณะนี้ ข้อแรก ก็คือว่า มันมีความพยายามในการที่จะปิดกั้นในเรื่องของพื้นที่ทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เราเห็นปรากฎการณ์ว่าในช่วงการเลือกตั้ง อย่างเช่นการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งที่ผ่านมาเป็นตัวอย่าง มีการใช้เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามารวมทั้งหลายสิ่งหลายอย่างที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ มาดำเนินการกับพรรคฝ่ายค้าน หรือแม้กระทั่งใครก็ตามซึ่งอาจจะแสดงออกในลักษณะที่ไม่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เพราะฉะนั้นลักษณะการบีบพื้นที่อย่างนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นประสบการณ์ทั่วโลกก็คือว่า มันจะมีการใช้เครือข่ายออนไลน์ในการแสดงความไม่พอใจมากขึ้น อันนี้ก็คือประเด็นนึงที่ทำให้มันเกิดปรากฎการณ์นี้"
"พร้อมพงศ์" ระบุจะเอาผิดทางกฎหมายผู้โพสต์สวมรอยทักษิณ ด้าน แนวหน้า รายงานความเห็นของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย ซึ่งเปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคว่า ทางฝ่ายกฎหมายของพรรคจะดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ที่โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ "Pheu Thai Party" ในลักษณะรณรงค์ต่อต้านระบอบทักษิณและใช้รูปหน้ากาก "กาย ฟอว์กส์" โจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้ข้อความเป็นอันเท็จ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นอกจากนี้ยังมีผู้สวมรอย พ.ต.ท.ทักษิณ โพสต์ข้อความตำหนิทางเจ้าหน้าที่พรรคอีกด้วย "จากการสอบถามคนใกล้ชิด ยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว จึงเป็นการสวมรอย คนกระทำจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริงและทำผิดกฎหมาย ทางฝ่ายกฎหมายพรรคจะรวบรวมหลักฐานแจ้งความเอาผิดภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะดำเนินการเพื่อให้ทางตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เอาผิด เพราะเป็นคดีตัวอย่าง การโพสต์เข้ามาในเฟซบุ๊กของพรรคและสวมรอย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นการกระทำที่เกินสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการใช้สิทธิเสรีภาพที่เห็นต่าง ถือเป็นการกระทำที่บิดเบือนมุ่งหวังผลโจมตีทำให้เกิดความเกลียดชังและสับสน" สำหรับมาตรการป้องกันเฟซบุ๊กของพรรคนั้น จะให้เจ้าหน้าที่พรรคได้ตรวจสอบ ถ้าเห็นต่างทางการเมืองปกติไม่เป็นไร เเต่หากข้อความมีลักษณะบิดเบือนให้ลบออกไป และถ้าเข้ามามีนัยจำเป็นต้องบล็อกด้วย และกล่าวด้วยว่า กลุ่มคนดังกล่าวไม่ได้แสดงสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย เเต่เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งนี้มีความแปลกใจโฆษกพรรคพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาปกป้องกลุ่มคนเหล่านี้แทนที่จะประณามกลุ่มคนเหล่านี้
โฆษกประชาธิปัตย์ติง "พร้อมพงศ์" ยันหน้ากากกายฟอว์กส์เป็นการแสดงออกตามสิทธิ รธน. ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีหน้ากากกายฟอว์กส์ ด้วยว่า เป็นการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับระบอบทักษิณ หรือการลุแก่อำนาจ ไม่ดูแลประชาชนของรัฐบาลที่ไม่มีธรรมนำหน้า ถือเป็นการแสดงออกตามสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และการที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะแจ้งความดำเนินคดี จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่จะกลายเป็นการราดน้ำมันบนกองเพลิงและไม่สามารถหยุดความคิดและแรงต่อต้านของประชาชนได้ จึงขอให้เลิกหยุดการโยงความเคลื่อนไหวของประชาชนกับการเมือง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดันต่อ ขอ กมธ. รับหลักการ กม.ประกันสังคมฉบับคนงานที่ตกไป Posted: 27 May 2013 07:28 AM PDT (27 พ.ค.56) ยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย และธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ในนามคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เข้ายื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ รองประธานฯ เป็นตัวแทนรับหนังสือแทน ยงยุทธ เม่นตะเภา กล่าวว่า การมายื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อให้ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับเข้าชื่อของนางสาววิไลวรรณ แซ่เตียและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการดังนี้ 1. เป็นหน่วยงานที่มีการบริหารแบบอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ยงยุทธ กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) ที่เสนอให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงแรงงาน เป็นประธานบอร์ดสำนักงานประกันสังคม และโครงสร้างบริหารประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนสำนักงบประมาณ เลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ สำนักงานประกันสังคมเข้ามาบริหาร ทำให้ผู้ประกันตนซึ่งถือเป็นเจ้าของเงินมองว่าเป็นการโอนอำนาจให้กับฝ่ายการเมืองแบบรวบอำนาจจัดการกองทุนประกันสังคม ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน เพราะที่มาของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง แม้จะมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเพิ่มอีกเป็นฝ่ายละ 7 คน แต่สุดท้ายต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้แต่งตั้ง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีฯ กำหนดอีก และยังสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาได้อีก 7 คน เป็นการบริหารในลักษณะไตรภาคีเหมือนเดิม แต่อำนาจต่างๆ อยู่ในมือของนักการเมือง ซึ่งผู้ใช้แรงงานไม่เห็นด้วยที่ฝ่ายการเมืองจะเข้ามาล้วงลูกแทรกแซงการบริหารจัดการ ด้านธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีฯ กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมขณะนี้มีเงินจำนวนมาก ซึ่งต้องนำมาจัดสวัสดิการให้กับผู้ประกันตนให้ได้รับผลประโยชน์ที่สุด และผู้ประกันตนตอนนี้มีองค์ประกอบมากกว่าแรงงานในระบบอุตสาหกรรม อย่างที่ทราบกันอยู่ว่ามีทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในส่วนนี้ควรได้เข้ามามีสิทธิในการร่วมบริหาร และเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารด้วยไม่ใช่หรือ ไม่ควรให้อยู่แบบแอบๆ ไว้ การเป็นองค์กรอิสระของประกันสังคม และการมีมืออาชีพมาบริหารจึงจำเป็น การบริหารต้องมองถึงอนาคตและปี 2558 ก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งระบบสวัสดิการ ค่าจ้างควรมีมาตรฐานเดียวกันด้วย ด้านอนุสรณ์ กล่าวว่า ในส่วนร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาลได้ผ่านการพิจารณาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้ขบวนการแรงงานนำร่างที่เสนอโดยประชาชน 14,264 รายชื่อ เข้ามาอีกครั้งในช่วงของการพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ซึ่งสามารถทำได้ในช่องทางดังกล่าว การที่เสนอโครงสร้างการบริหารนั้น ในส่วนของกรรมาธิการก็คิดว่าเป็นประโยชน์อยู่ หากไม่เห็นด้วยก็สามารถที่จะนำข้อเสนอมาเสนอได้ อนึ่ง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย ฉบับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฉบับของนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ ฉบับของ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14,264 คน และฉบับของนายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับหลักการในวาระที่หนึ่งจำนวน 2 ฉบับคือ ฉบับของ ครม.และฉบับของนายเรวัต ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาฯ มีมติไม่รับหลักการใน 2 ฉบับคือ ฉบับของนายนคร และฉบับของภาคประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมาพันธ์นร.ไทยเพื่อปฏิวัติการศึกษา เผยผลสำรวจรร.ยังบังคับ 'เกรียน' Posted: 27 May 2013 07:21 AM PDT สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย นำโดย 'เนติวิทย์' เตรียมร่อนจดหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ระบุยังมีอย่างน้อย 60 รร.ยังไม่ปฏิบัติคำสั่งใหม่เรื่องทรงผม 27 พ.ค. 56 - สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กระทรวงศึกษาธิการในวันพรุ่งนี้เวลา 10.00 น. เพื่อยื่นผลสำรวจโรงเรียนมัธยมที่ยังบังคับไว้ทรงผมนักเรียนแบบเก่า หลังจากที่เมื่อกลางเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้แก้ไขกฎระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน โดยระบุให้นักเรียนชายสามารถไว้ทรงผมรองทรงได้ และให้นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ ในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุว่า จากการสำรวจทางออนไลน์บางส่วน พบว่ายังมีอย่างน้อย 60 โรงเรียนที่ยังบังคับให้นักเรียนไว้ทรงผมตามแบบเก่า โดยสมาพันธ์เห็นว่า "กฎระเบียบทรงผมนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนและละเมิดในเสรีภาพของบุคคลนั้น ประเทศที่มีอารยะแล้วย่อมไม่มีกฎระเบียบมากำหนดในเรื่องร่างกายแต่อย่างใด โดยเห็นพลเมืองมีวุฒิภาวะ มีความเป็นมนุษย์เสมอกัน" จึงต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการชี้แจง และดำเนินการกับโรงเรียนที่ยังไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ของกระทรวงศึกษาอย่างเร็วที่สุด 0000 สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เรียน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง ขอให้มีการบังคับใช้กฎระเบียบทรงผมใหม่ทั่วประเทศ สิ่งที่แนบมา รายชื่อโรงเรียนที่ยังไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบทรงผมใหม่ สืบเนื่องจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ออกคำสั่งเรื่องทรงผมของนักเรียนให้ยึดตามกฎระเบียบ พ.ศ. ๒๕๑๘ ทั้งยังให้โรงเรียนต้องปฏิบัติตามกฎของกระทรวงโดยไม่ให้ขัดแย้งกับทางกระทรวง และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญและนับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีหัวคิดในทางด้านสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม และความมีเหตุมีผล กระนั้นก็ตาม มีโรงเรียนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ปฏิบัติตามกฎที่ทางกระทรวงศึกษาธิการบัญญัติไว้ กฎระเบียบทรงผมนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนและละเมิดในเสรีภาพของบุคคลนั้น ประเทศที่มีอารยะแล้วย่อมไม่มีกฎระเบียบมากำหนดในเรื่องร่างกายแต่อย่างใด โดยเห็นพลเมืองมีวุฒิภาวะ มีความเป็นมนุษย์เสมอกัน หากประเทศไทยกฎระเบียบดังกล่าวเป็นมรดกมาตั้งแต่สมัย สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นเผด็จการที่โหดเหี้ยม และปิดปากประชาชนอย่างเลวร้ายที่สุดคนหนึ่ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นที่ชัดแจ้งแล้ว ตกค้างมากกว่าห้าทศวรรษจนในที่สุดกระทรวงศึกษาธิการภายใต้การนำของบุคคลที่มีความสามารถ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีเหตุผล และต้องการปรับปรุงระบบการศึกษาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยได้ทำการแก้ไขกฏระเบียบดังกล่าว หากโรงเรียนจำนวนไม่น้อยยังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน และยังละเมิดกฎที่ออกใหม่ดังกล่าว โดยข้ออ้างสารพัด จะทำประชาพิจารณ์ก่อน คำสั่งกระทรวงยังไม่ถึง เป็นต้น ทั้งที่ทางกระทรวงระบุอย่างชัดเจนแล้วว่าต้องไม่ขัดกับทางกระทรวง และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา นอกจากนั้นยังมีข่าวเผยแพร่ทั่วประเทศ แสดงว่าโรงเรียนเหล่านั้นไม่ตามข่าวสาร และหาข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผล โรงเรียนต้องสอนให้เรารู้จักคิดมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์และคิดวิพากษ์ ถ้าหากโรงเรียนยังคงไม่สนใจใยดีต่อสิทธิมนุษยชน การวิพากษ์วิจารณ์และการปรับปรุงตัวให้เข้าสังคมร่วมสมัย โรงเรียนก็ไม่ต่างจากสถานที่เลี้ยงปศุสัตว์ จะหาความคิดสร้างสรรค์บังเกิดในเมืองไทยแล้วย่อมไม่ได้เลย ทางสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ได้ทำการสำรวจออนไลน์จากนักเรียนว่ามีโรงเรียนใดบ้างที่ยังไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกมา โดยร่วมกับทางเพจสหายเดียร์ และเพจองค์กรต่อต้านทรงผมนักเรียนไทยแห่งประเทศไทย รวมทั้งสิ้น ๑๐๑ โรงเรียน และเชื่อว่ามีโรงเรียนมากกว่านี้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ทางเราขออย่าให้ท่านได้มองข้ามความสำคัญในเรื่องนี้ ทรงผมเป็นส่วนประกอบของร่างกาย และการกดบังคับไม่ได้ช่วยในการคิดสร้างสรรค์ (ถ้าหากเห็นว่ามีหรือไม่ ก็ไม่ช่วยให้คิดสร้างสรรค์ได้ สิ่งที่มีน้ำหนักที่สุดคือ ยกเลิกไป หากเพราะอะไรโรงเรียนต่างๆจึงยังคงบังคับใช้อย่างเดิมอยู่เล่า) โดยถ้าสืบไปถึงที่มาของกฎดังกล่าวก็มาจากมรดกยุคเผด็จการ นี่ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ การคิดวิพากษ์วิจารณ์จะมีไม่ได้เลยถ้าสิ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผลมีน้ำหนักให้ยกเลิกแต่ก็ยังคงอยู่ต่อไปอย่างไม่ละอาย และไร้เหตุผล ทางพวกเรา ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ชี้แจงกับโรงเรียนเหล่านี้ และดำเนินการอย่างเร็วที่สุด เรียนมาด้วยความเคารพในความยุติธรรมและเสรีภาพ สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย เพจ สหายเดียร์ องค์กรต่อต้านทรงผมนักเรียนไทยแห่งประเทศไทย กลุ่มต่อต้านวิชา IS แห่งประเทศไทย (หรือ กลุ่มต่อต้านระบบการศึกษาไทย) กลุ่มปฏิรูปการศึกษาไทย เพื่ออนาคตเด็กไทยที่ดีกว่า รายชื่อโรงเรียนที่ยังไม่บังคับใช้กฏระเบียบทรงผมใหม่ของทางกระทรวง โรงเรียนพานพิทยาคม จังหวัดเชียงราย โรงเรียนสงขลาวิทยาคม จังหวัดสงขลา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนคณฑีพิทยาคม จังหวัดแพงเพชร โรงเรียนวิทยาลัยเทคนิกสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โรงเรียนดำรงราษสงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว โรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย สุพรรณบุรี โรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนสระแก้ว.จังหวัดสระแก้ว โรงเรียนทุ่งสง จังหวัดครศรีธรรมราช โรงเรียนวัดห้วยไผ่ จังหวัดราชบุรี โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยครับ จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โรงเรียนเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง โรงเรียนวิมลวิทยานุกูล จังหวัดสระบุรี โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนทิวไผ่งาม จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดกระบี่ โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม จังหวัดนครปฐม โรงเรียนแย้มจาดวิชานุสรณ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ จังหวัดสงขลา โรงเรียนสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพ โรงเรียนเบญจมราชูทิศจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง โรงเรียนบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนบดินทรเดชา จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดชลบุรี โรงเรียนกันตังพิทยากร จังหวัดตรัง โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดพะเยา โรงเรียนสารวิทยา จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนแม่พริกวิทยา จังหวัดลำปาง โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนนาวังศึกษาวิช จังหวัดหนองบัวลำภู โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนไชยาวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนลาดยาววิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ จังหวัดกระบี่ โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนกุญแจคริสเตียนวิทยา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนบ้านกอก จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนเขาทรายทัยคล้อพิทยา จังหวัดพิจิตร โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี จังหวัดชลบุรี โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ จังหวัดตาก โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ จังหวัดราชบุรี โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ จังหวัดสงขลา โรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนบ้านทองมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม จังหวัดนครปฐม โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนศิริมาตย์เทวี จังหวัดเชียงราย โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย โรงเรียนวัฒนศึกษา จังหวัดเชียงราย โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ จังหวัดสงขลา โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จังหวัดราชบุรี โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี จังหวัดลพบุรี โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี โรงเรียนสงวนหญิง สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนสตรีศรีน่าน จังหวัดน่าน โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จังหวัดมีนบุรี โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ยะลา จังหวัดยะลา โรงเรียนบ้านแหลมวิทยา จังหวัดเพชรบุรี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐบาลโคลัมเบียและกลุ่มกบฏ FARC บรรลุข้อตกลงเจรจาปฏิรูปที่ดิน Posted: 27 May 2013 07:07 AM PDT หลังจากที่มีการเจรจากันมาตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ FARC ของโคลัมเบียก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันกรณีข้อเรียกร้องการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกล่าวถึงการเข้าถึงที่ดินของคนจนและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในชนบท
กลุ่มกบฏ FARC หรือ กองกำลังปฏิวัติติดอาวุธของโคลัมเบีย (Revolutionary Armed Forces of Colombia) ซึ่งเป็นกบฏกองโจรที่ใหญ่ที่สุดในโคลัมเบีย ได้เข้าร่วมการเจรจากับรัฐบาลโคลัมเบียซึ่งจัดในประเทศคิวบา ตั้งแต่เมื่อเดือน พ.ย. ปี 2012 โดยที่ประเด็นการปฏิรูปที่ดินเป็นประเด็นที่มีข้อพิพาทกันหนักที่สุด แต่ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ โดยข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในเขตพื้นที่ชนบทและให้มีการมอบที่ดินแก่เกษตรกรที่ยากจน BBC กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและการพัฒนาชนบทล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มติดอาวุธ นอกจากนี้ข้อตกลงยังกำหนดให้มีการตั้งธนาคารที่ดินเพื่อเป็นการจัดสรรปันส่วน รวมถึงที่ดินที่เคยถูกยึดครองอย่างผิดกฏหมายในช่วงที่มีการสู้รบกันด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์และกลุ่มให้ความช่วยเหลือบอกว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกยึดโดยกลุ่มกองกำลังขวาจัด แต่ทางรัฐบาลบอกว่าฝ่ายกบฏ FARC ได้ทำการยึดครองพื้นที่หนึ่งในสามของทั้งหมด ซึ่งกลุ่มกบฏปฏิเสธ ฮุมเบร์โต เดอ ลา กาลเย หัวหน้าทีมเจรจาฝ่ายรัฐบาลโคลัมเบียกล่าวว่า การเจรจาดังกล่าวเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างสันติภาพผ่านการหารือกัน ขณะที่หัวหน้าทีมเจรจาฝ่าย FARC อีวาน มาเกซ กล่าวว่ายังคงมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกัน และจะมีการหารือกันต่อไป ซาราห์ เรนฟอร์ด ผู้สื่อข่าว BBC รายงานจากประเทศคิวบาว่า การบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญของกระบวนการสันติภาพ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยเนื้อหารายละเอียดของการเจรจาให้กับผู้สื่อข่าวเนื่องจากรัฐบาลโคลัมเบียต้องการลดการกดดันจากปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด ผู้สื่อข่าว BBC ยังกล่าวอีกว่า ข้อตกลงในครั้งนี้กล่าวถึงการเข้าถึงที่ดินอย่างเป็นธรรมและหัวหน้าทีมเจรจาฝ่ายรัฐบาลก็กล่าวย้ำว่าจะไม่ส่งผลต่อเจ้าของที่ดินที่ถูกต้องตามกฏหมาย การเจรจาสันติภาพจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 11 มิ.ย. ในประเด็นที่สำคัญรองลงมาคือข้อเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของฝ่ายกบฏ กลุ่มกบฏ FARC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1964 โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มกบฏชาวนาต่อต้านลัทธิจักรวรรดิ์นิยมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดแบบโบลิวาร์ มีเป้าหมายต้องการโค่นล้มรัฐบาลโคลัมเบียและสถาปนาระบอบมาร์กซิสม์ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลุ่ม FARC ก็เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมกับขบวนการค้ายาเสพติดเพื่อนำมาเป็นทุนให้กับตัวเอง มีการประเมินว่ากลุ่มกบฏ FARC ในปัจจุบันมีกองกำลังอยู่แค่ราว 8,000 คน ซึ่งลดลงจากเมื่อปี 2001 ที่มีอยู่ราว 16,000 คน สำนักข่าว BBC กล่าวว่ายังเป็นเรื่องยากที่จะหาตัวเลขสถิติผู้เสียชีวิตที่เชื่อถือได้จากเหตุการณ์ความรุนแรงในโคลัมเบีย ซึ่งทางรัฐบาลโคลัมเบียได้ประเมินไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตราว 600,000 คนนับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งเมื่อราว 50 ปีก่อน โดยมีอีกราวสามล้านคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เรียบเรียงจาก Colombia and Farc rebels reach agreement on land reform, BBC, 27-05-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไต่สวนการตาย 2 ศพใต้ทางด่วนพระราม 4 - DSI แจงฟ้อง ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ เพิ่ม Posted: 27 May 2013 06:41 AM PDT รองอธิบดีดีเอสไอ เผยแจ้งข้อหาเพิ่ม "อภิสิทธิ์-สุเทพ" ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นพยายามฆ่าและฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ไต่สวนการตาย 2 ศพใต้ทางด่วนพระราม 4 เหยื่อกระสุน 16 พ.ค.53 จนท.ตรวจกระสุนระบุกระสุนของกลางตำหนิไม่ตรงกับปืนที่ส่งตรวจ แพทย์ชันสูตรพลิกศพชี้ 2 ศพบาดแผลกระสุน 0.5 ซม. 27 พ.ค.56 ข่าวสดออนไลน์ รายงาน พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 99 ศพ ในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนยังคงอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดสำนวนคดีที่ส่งมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นคดีที่ศาลได้มีคำสั่งออกมาแล้วว่าเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ประกอบด้วย คดีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ นายชาญณรงค์ พลศรีลา นายชาติชาย ซาเหลา ทั้งนี้สำหรับคดี นายพัน และด.ช.คุณากรฯ และนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้นั้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผอ.ศอฉ. เพิ่มอีก 2 ข้อหา คือ ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลในคดีของนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ซึ่งถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส บริเวณถนนราชปรารภ และข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลในคดีการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมหลักฐานพอสมควร หลังจากหลักฐานมีความชัดเจนก็จะเสนอต่อไปยัง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อพิจารณาประชุมคณะพนักงานสอบสวน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการทันที เพื่อพิจารณาส่งสำนวนต่อไปยังอัยการและศาลตามลำดับ ภาพขณะที่นายเกียรติคุณ ถูกยิง ดูภาพเคลื่อนไหวได้ที่วิดีโอคลิปของ afpbbnews ซึ่งในวิดีโอคลิปจะเห็นร่างนายประจวบที่ถูกหามขึ้นรถกู้ชีพด้วย ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรศพ คดีที่พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญาใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล อายุ 25 ปี อาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ตายที่ 1 และนายประจวบ ประจวบสุข ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณใต้ทางด่วน ถ.พระราม 4 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.53 ช่วงกระชับพื้นที่การชุมนุมของ นปช. โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยพนักงานอัยการนำพยานเข้าเบิกความ 3 ปาก ประกอบด้วย ร.ต.อ.หญิงสุพัตรา ถนอมวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ สบ.2 กลุ่มงานตรวจอาวุธและเครื่องกระสุนปืน กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นพ.สุนทร ศรมยุรา แพทย์นิติเวช โรงพยาบาลศิริราช และ นพ.นนทวิช สัจจาธรรม โรงพยาบาลภูมิพล ซึ่งจากบันทึกการไต่สวนการตายโดย ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) สรุปได้ว่า ร.ต.อ.หญิงสุพัตรา ถนอมวงศ์ เบิกความว่า 19 เม.ย.54 กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ได้ส่งอาวุธปืนเล็กกล M16 ขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 5 กระบอก มาให้ตรวจพิสูจน์ว่าลูกกระสุนปืนของกลางถูกยิงมาจากอาวุธปืนทั้งหมดนี้หรือไม่ จากการตรวจไม่พบว่าลูกกระสุนปืนของกลางถูกยิงมาจากอาวุธปืนของกลางทั้ง 5 กระบอก เนื่องจากในลำกล้องของอาวุธปืนแต่ละกระบอกจะมีรอยลายเส้นและตำหนิพิเศษที่ร่องเกลียวและสันเกลียว หากลูกกระสุนปืนถูกยิงมาจากอาวุธปืนของกลางทั้ง 5 กระบอก จะต้องมีรอยลายเส้นและตำหนิพิเศษตรงกัน โดยกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) เป็นลูกกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้บุคคลทั่วไปมีไว้ครอบครองได้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับอาวุธปืนยาว 3 ประเภท ได้แก่ ปืนเล็กกล M16 HK 33 และปืนทาวอร์ ซึ่งมีระยะหวังผลตั้งแต่ 400-600 เมตร แต่สามารถยิงในระยะไกลสุดได้ไม่เกิน 2 กม. โดยอาวุธปืนทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนลำกล้องและชุดเครื่องลั่นไกได้ แต่หากมีการเปลี่ยนจะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ จากนั้นอัยการถามพยานว่า สำหรับกระสุนปืนขนาด .22 สามารถใช้กับอาวุธใดได้บ้าง พยานเบิกความว่า กระสุนปืนขนาด .22 แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ กระสุนปืนที่นายทะเบียนอนุญาตให้บุคคลทั่วไปมีไว้ครอบครองได้ คือ กระสุนปืนลูกกรดขนาด .22 ที่ใช้ได้กับปืนสั้นออโตเมติก ปืนไรเฟิล ปืนแมกนั่ม เป็นต้น ส่วนขนาด .223 เป็นประเภทที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้บุคคลทั่วไปมีไว้ครอบครองได้ เนื่องจากใช้กับอาวุธปืนสงคราม รศ.นพ.สุนทร ศรมยุรา เบิกความว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค.53 สน.วัดพระยาไกรส่งศพนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล มาให้ตรวจพิสูจน์ จากการตรวจสภาพศพพบบาดแผลกระสุนปืนทางเข้าที่ใต้สะบักซ้ายด้านหลัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. แต่ไม่มีบาดแผลทางออก คาดว่าเกิดจากกระสุนปืนขนาด .22 หรือ .223 เนื่องจากมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยรอบบาดแผลไม่พบคราบเขม่าดินปืน สันนิษฐานว่าถูกยิงจากระยะไกล ประกอบกับถูกยิงผ่านเสื้อที่สวมใส่ ซึ่งในทางการแพทย์หากระยะเกิน 1 ม. ถือว่าเป็นระยะไกล จากการตรวจศพภายในพบว่ากระสุนผ่านช่องปอดซ้าย ผ่านหัวใจ และผ่านเส้นเลือดแดงที่ออกจากหัวใจ แต่ไม่พบหัวกระสุน เนื่องจากผู้ตายถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ก่อน โดยพบว่าในขั้นตอนการบำบัดรักษามีการดูดเลือดออกจากปอดทั้งสองข้าง เขาสันนิษฐานว่าหัวกระสุนอาจถูกดูดออกไปด้วย รศ.นพ.สุนทรว่า เบิกความอีกว่าถ้าเป็นกระสุนขนาด .22 บาดแผลจะไม่รุนแรงมาก ส่วนขนาด .223 จะมีการทำลายล้างมากกว่า หากยิงในระยะใกล้กระสุนปืนจะทะลุ แต่ถ้าระยะไกลเกินกว่า 100 เมตร ขึ้นไป อานุภาพการทำลายล้างจะอ่อนแรง บาดแผลจึงไม่รุนแรงมาก แต่กระสุนปืนที่อ่อนแรงจะมีการเหวี่ยงซึ่งจะทำให้บาดแผลมีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลที่ตรวจพบ นพ.นนทวิช สัจจาธรรม เบิกความว่า เขาเป็นผู้ร่วมชันสูตรพลิกศพนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุลและนายประจวบ ประจวบสุข โดยเข้าร่วมการตรวจศพในวันที่ 16 พ.ค.53 โดยไปถึงโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เวลา 16.30 น. แต่ได้เริ่มการตรวจศพจริงตอนเวลา 19.00 น. ในการตรวจมีพนักงานสอบสวน ฝ่ายปกครอง และอัยการร่วมชันสูตรด้วย สภาพศพนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล เป็นชายรูปร่างผอม ผมยาว ผิวดำแดง มีหนวดเครา สวมเสื้อแขนยาวสีดำ กางเกงขายาวสีน้ำตาล ศพยังไม่แข็งตัว บาดแผลใกล้กลางลำตัว การตกของเลือดลงสู่เบื้องต่ำ เปลือกตาซีด เล็บมือเท้าซีด ใส่ท่อช่วยหายใจมุมปากบริเวณ หน้าอกมีบาดแผลใกล้กลางตัวซ้ายตรงตำแหน่งราวนมคล้ายรอยกระสุนปืนขนาด 0.5 ซม. ท่อระบายลมและเลือดฝั่งขวา มีเลือดคาปลายสาย ปอดฝั่งซ้ายเจาะเลือดออกได้ 800 cc หน้าอกกดยุบ มีร่องรอยการช่วยชีวิต เบื้องต้นพบรอยแผลถลอกบริเวณหน้าผาก ฝั่งซ้าย บริเวณแขนและขาไม่พบบาดแผล ระบุเหตุที่ตายไม่ได้จึงส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช สภาพศพของนายประจวบ ประจวบสุข ชายไทย วัยฉกรรจ์ ศพไม่แข็งตัว ศพไม่แข็งตัว เล็บมือเท้าซีด ที่หน้าอกมีบาดแผลฉีกขาดขอบไม่เรียบ มองเห็นหัวใจและปอด บริเวณหน้าอกด้านซ้าย เหนือตำแหน่งบาดแผลใต้ไหปลาร้าข้างซ้ายมี สันนิษฐานเป็นรอยกระสุนปืนขนาดประมาณ 0.5 ซม. เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปเหตุการณ์ตายได้จึงส่งต่อให้โรงพยาบาลศิริราช ศาลนัดไต่สวนต่อวันที่ 10 มิ.ย.นี้
แผนที่จุดเกิดเหตุใต้ทางด่วนพระราม 4 : ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พันธมิตรยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ค้านแก้ม.68 Posted: 27 May 2013 06:27 AM PDT แกนนำพธม. นำโดยปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการแก้ม.68 ขอให้ศาลนำคำร้องของกลุ่ม พธม.ไปรวมพิจารณากับ 4 คำร้องที่ศาลรับก่อนหน้านี้ ระบุเพื่อไทยมีพฤติการณ์จริงที่จะล้มรธน.ทั้งฉบับ เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า วันนี้ ( 27 พ.ค.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายสุวัตร อภัยภักดิ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เดินทางเข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ของประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา 312 คน เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปีหรือไม่ โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญนำคำร้องของกลุ่ม พธม.ไปรวมพิจารณากับ 4 คำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งรับและให้รวมสำนวนทั้ง 4 สำนวนไว้พิจารณาเป็นสำนวนเดียวก่อนหน้านี้ นายปานเทพ กล่าวว่า การมายื่นคำร้องครั้งนี้ไม่ถือว่าช้าเกินไป แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะประชุมในวันที่ 29 พ.ค. เพื่อพิจารณาว่า จะกำหนดกระบวนวิธีพิจารณาอย่างไร เพราะคำร้องที่ยื่นเป็นการเติมเต็มให้กับ 4 คำร้องที่ศาลฯ รับวินิจฉัยไปก่อนหน้านี้ โดยคำร้องของ พธม.จะชี้ให้เห็นถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงเจตนาของการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 ว่าจะนำไปสู่การล้มเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ไม่ได้เป็นเรื่องของการจินตนาการ หรือเป็นการคาดการณ์ไปก่อนล่วงหน้า แต่มีพฤติการณ์จริง เช่นกรณีการสไกป์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือคำพูดของนายโภคิน พลกุล นายปานเทพ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ตนยังเห็นว่าการที่กรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จะมีการแก้มาตราดังกล่าว โดยกำหนดเงื่อนเวลาให้อัยการพิจารณา กรณีมีคำร้องว่าการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครอง หากพ้นระยะเวลาแล้วอัยการดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ผู้ที่พบเห็นการกระทำสามารถยื่นตรงให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้นั้น ทางกลุ่ม พธม.ไม่ได้ถือว่า เป็นการคงสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชน เพราะในทางคดีหากพิจารณาล่าช้าไปเพียงวันเดียวก็ทำให้เกิดความเสียหายได้ อีกทั้งเรื่องของการกำหนดระยะเวลานั้น เป็นการกำหนดเฉพาะในหมวดที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการกระทำตามหมวดอื่น เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งอยู่ในหมวดที่ 15 ซึ่งประชาชนจะไม่มีสิทธิยื่นคำร้องได้เลย ไม่ว่าจะผ่านอัยการสูงสุดหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่กรรมาธิการฯ ออกมาระบุ ว่า การแก้ไขมาตรา 68 นั้นไม่ได้เป็นการริดลอนสิทธิประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายผู้ติดเชื้อHIV ร่วมสหภาพเภสัช-แพทย์ชนบท จับตาระบบสุขภาพ-ยา Posted: 27 May 2013 04:04 AM PDT ระบุผู้มีอำนาจในกระทรวงสาธารณสุขเอื้อประโยชน์ให้บรรษัทข้ามชาติมากกว่าผู้ป่วย เตรียมยื่นข้อเสนอให้นายกฯ อาทิตย์หน้า ในขณะที่สหภาพฯ ค้านการแปรรูปองค์การเภสัชกรรม ในวันที่ 28 พ.ค. ที่จะถึงนี้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เอชไอวี /เอดส์ ประเทศไทย มีกำหนดเรียกประชุมด่วนผู้แทนจาก 7 ภาคเพื่อสรุปสถานการณ์ระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบยาของชาติที่ระบุว่ากำลังถูกคุกคาม พร้อมประกาศท่าทีระดมผู้ติดเชื้อเข้าร่วมยื่นข้อเสนอพบนายกฯ 6 มิ.ย. นี้ ด้านสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมประชุมสมาชิกคัดค้านการแปรรูปและทำลายองค์การเภสัชกรรม กลุ่มเพื่อนมหิดลแถลงการณ์พร้อมเปิดบัญชีหนุนการเคลื่อนไหว นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี และเอดส์ ประเทศไทย เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ที่ระบบบริการสุขภาพในชนบทและระบบหลักประกันสุขภาพรวมทั้งระบบยาของชาติกำลังถูกนโยบายเอื้อประโยชน์ธุรกิจเอกชนและบริษัทยาข้ามชาติของผู้มีอำนาจทางการเมืองในกระทรวงสาธารณสุข ทำลาย คนดีไม่มีที่ยืน ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเอดส์ ทั่วประเทศหลายหมื่นคนจากทุกภาคจะส่งตัวแทนประชุมด่วน ในวันที่ 28 พ.ค. นี้ ที่สำนักงานเครือข่ายในกรุงเทพฯ เพื่อประเมินสถานการณ์และกำหนดท่าทีเข้าร่วมการชุมนุมที่หน้าบ้านนายกยิ่งลักษณ์ ร่วมกับแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต และสหภาพฯ "ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคน เห็นว่านโยบายปฏิรูปที่ผิดที่ผิดทางของ รมว.สาธารณสุข พรรคเพื่อไทย กำลังทำร้ายคนจน และผู้ป่วยในชนบท เอื้อประโยชน์กับธุรกิจเอกชน และบริษัทยาข้ามชาติ ชัดเจนมากขึ้น สวนกระแสที่พรรคไทยรักไทย เคยทำไว้เมื่อสิบปีที่ผ่านมา จึงขอเรียกร้องให้นายกยิ่งลักษณ์ลงมาแก้ไขปัญหาโดยด่วน ก่อนที่ความเดือดร้อนของผู้ป่วยและคนจนจะเพิ่มมากขึ้น วันที่ 6 มิ.ย.นี้ ทางเครือข่ายผู้ป่วยพร้อมเข้าร่วมกับผู้ป่วยไตวาย และกำลังประสานเครือข่ายผู้ป่วยอื่นๆ" ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี กล่าว ด้านสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เรียกสมาชิกประชุมใหญ่ในวันที่ 28 พ.ค.นี้ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวปกป้ององค์การเภสัชกรรม คัดค้านการแปรรูป โดยมี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และกรรมการชมรมหลายคนเข้าร่วมกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวด้วย รายงานข่าวจากกลุ่มเพื่อนมหิดล ซึ่งเป็นองค์กรภาคีความร่วมมือของบุคลากรในแวดวงสาธารณสุข นำโดยอดีตผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่หนึ่ง สนับสนุนการเคลื่อนไหวคัดค้านระบบระบบพีฟอร์พี ของรมว.สาธารณสุขว่าจะทำลายระบบบริการสาธารณสุขของรัฐในชนบท และเป็นห่วงที่องค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในการสร้างความมั่นคงด้านยาของชาติจะถูกทำลาย คนดี เช่น นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ที่ทำประโยชน์ให้ประเทศไม่มีที่ยืน นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ผู้ประสานงานงานกลุ่มเพื่อนมหิดล เปิดเผยว่า "กลุ่มเพื่อนมหิดลได้ติดตามนโยบายของ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ด้วยความเป็นห่วง และเห็นว่าจะกระทบต่อประชาชนผู้ป่วยโดยตรง จึงเห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบท และจะเปิดบัญชีเพื่อรับบริจาคเงินจากเพื่อนมหิดลและผู้รักความเป็นธรรมอื่นๆ สนับสนุนการเคลื่อนไหวปกป้องระบบสาธารณสุขเพื่อคนจนในชนบทในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ที่บ้านนายกรัฐมนตรี" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายงาน: ทำไม “โซตัส” ยังไม่ตาย Posted: 27 May 2013 03:08 AM PDT
ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายนของทุกปี (หรืออาจจะนานกว่านั้น) เป็นช่วงกิจกรรมรับน้องใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และวัฒนธรรมการรับน้องที่เป็นที่ประเด็นถกเถียงกันทุกปีก็คือระบบ "โซตัส" (sotus) ซึ่งย่อมาจาก Seniority (ความอาวุโส) Order (ระเบียบ) Tradition (ประเพณี) Unity (ความสามัคคี) และ Spirit (จิตวิญญาณ หรืออาจจะแปลได้ว่าความมีน้ำใจ) คำเหล่านี้หากดูความหมายตามตัวอักษรแล้วก็ดูธรรมดาไร้พิษสง แต่เมื่อถูกเอามารวมกันแล้วผ่านการตีความโดยรุ่นพี่ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ แล้ว มันกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสถาปนาความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจของรุ่นพี่ ในบางที่มีการตั้ง "กฎเหล็กโซตัส" ขึ้นมาว่า ข้อ 1.รุ่นพี่ถูกเสมอ 2. รุ่นน้องผิดเสมอ 3. ถ้ารุ่นพี่ทำผิดให้กลับไปดูข้อ 1 และ 4. หากรุ่นน้องทำถูกให้กลับไปดูข้อ 2 เมื่อโซตัสมีลักษณะเช่นนี้ มันน่าจะถูกต่อต้านจากสังคม และคณาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรมการรับน้อง เพราะปัจจุบันสังคมมีความเป็นปัจเจกสูงขึ้น มีการพูดถึงสิทธิ เสรีภาพของปัจเจกชนกันอย่างแพร่หลาย ยังไม่นับรวมการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาในโซเชียลมีเดีย เช่นกลุ่ม Anti-SOTUS เพื่อโจมตีกิจกรรมการรับน้องที่เข้าข่ายโซตัสอย่างต่อเนื่อง มีการเดินหนังสือไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบกิจกรรมการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษา วงเสวนาที่วิพากษ์ระบบนี้ก็เกิดขึ้นแพร่หลายแทบทุกปี ในสภาวะเช่นนี้โซตัสน่าจะถึงจุดที่ต้องสลายตัวไปจากวัฒนธรรมการรับน้องได้แล้ว แต่มันก็มิได้เป็นเช่นนั้น ภาพจาก: http://www.facebook.com/antisotusTH สถานการณ์ปัจจุบัน หลายสถาบันยังคงมั่นคงในแนวทางโซตัส และต่อต้านทุกกระแสที่ต่อต้านโซตัส ต่อให้เป็นคำสั่งของอธิการบดีก็ตาม จึงเกิดคำถามขึ้นเหตุใดแนวทางที่สวนทางกับกระแสสังคมเช่นนี้จึงยังคงยืนหยัดอยู่ได้อย่างทระนง หรือบางทีโซตัสอาจจะไม่ใช่แค่กิจกรรมการรับน้องที่ไร้หตุผล หากแต่เป็นเครือข่ายอำนาจที่ซับซ้อนกว่านั้น เหตุการณ์ต่อต้านคำสั่งอธิการบดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้เคยให้ความเห็นกับประเด็นนี้ในงานเสวนา "พิธีกรรมการรับน้องใหม่"ไว้ว่าการรับน้องเปรียบเสมือนการลงทุนยอมโดนตะคอก โดนกระทำ 1 ปีเพื่อที่จะได้เอาคืนในอีก 3 ปีข้างหน้าในฐานะรุ่นพี่ ยิ่งไปกว่านั้นจุดมุ่งหมายของโซตัสคือการสร้างความสัมพันธ์รุ่นพี่ - รุ่นน้อง และความรักพวกพ้องที่เหนียวแน่น เพื่อประโยชน์ต่อการสร้างระบบอุปถัมภ์ในชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเหตุใดกิจกรรมการรับน้องจึงได้รับความนิยมในหมู่นิสิตนักศึกษา
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอาจารย์เองก็มีส่วนสำคัญในโครงสร้างความรุนแรงนี้ เพราะตัวอาจารย์เองก็ได้ประโยชน์จากโซตัสเช่นกัน พิชญ์เปรียบเทียบระบบโซตัสเหมือนระบบอาณานิคม โดยมีอาจารย์เป็นเจ้าอาณานิคมใหญ่ แต่ตัวอาจารย์ไม่สามารถลงไปปกครองนิสิตนักศึกษาโดยตรงได้ จึงใช้อำนาจผ่านตัวรุ่นพี่แทน เพื่อสร้างความเชื่องให้กับรุ่นน้อง และความง่ายต่อการปกครอง เพราะฉะนั้นแท้จริงแล้วเหตุที่อาจารย์ไม่แก้ปัญหาความรุนแรงของโซตัสมิได้เนื่องจากอาจารย์ไม่รับรู้ปัญหา ตรงกันข้ามอาจารย์รู้ทุกขั้นตอนของการรับน้องและเป็นผู้เซ็นใบอนุญาตเองกับมือ เขายังได้ยกตัวอย่างหนังสือจิตวิทยาเรื่อง Lucifer effect ของ Dr. Philip Zimbardo ที่ได้ทำวิจัยโดยการนำคนสองกลุ่มเข้ามาอยู่รวมกันในห้องมืด กลุ่มหนึ่งเป็นผู้คุม อีกกลุ่มหนึ่งเป็นนักโทษ และให้คนทั้งสองกลุ่มแสดงบทบาทสมมติเหมือนอยู่ในคุกจริงๆ ผลก็คือยิ่งเวลาผ่านไป กลุ่มผู้คุมจะยิ่งแสดงความโหดเหี้ยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายขณะผู้วิจัยต้องหยุดกระบวนการทางหมดกลางคัน เช่นเดียวกับโซตัส การที่อาจารย์เพิกเฉยต่อความรุนแรง และปล่อยให้โซตัสทำงานอย่างชอบธรรม ก็ไม่ต่างจากการเซ็นใบอนุญาตให้คนค่อยๆ กลายเป็น Lucifer หรือบุตรของซาตานในสักวัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ห้องเชียร์ที่อ้างว่ามีเป้าหมายเพื่อสร้างความรักสามัคคีก็ไม่ต่างจากคุกอาบูล กราอิบ หรือกัวตานาโม หนังสือ Lucifer effect คำอธิบายของพิชญ์ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าเหตุใด การเรียกร้องให้ยุติระบบโซตัสที่ผ่านมาจึงทำได้แค่สร้างกระแสในช่วงการรับน้อง ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากการเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องผ่านหน่วยงานราชการ และผ่านตัวอาจารย์ของสถาบัน ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นผู้ได้ประโยชน์จากระบบโซตัสทั้งสิ้น โซตัสคือระบบที่มีเครือข่ายผู้ได้ผลประโยชน์ครอบคลุมทุกกลุ่ม อีกทั้งมีระบบการป้องกันตัวเองอย่างรัดกุม เอกสารต่อต้านโซตัสส่วนใหญ่ที่ยื่นเข้าไปจึงมักไปกองอยู่ใต้เอกสารกองพะเนินบนโต๊ะของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของคำอธิบายดังกล่าว เราจึงดั้นด้นไปสัมภาษณ์ผู้จัดกิจกรรมรับน้องที่มีทัศนคติต่อโซตัสที่แตกต่างกัน รวมทั้งเพื่อสอบถามทัศนคติของพวกเขาต่อกระแสการต่อต้านโซตัสในขณะนี้ ข้อค้นพบหนึ่งก็คือ ไม่ว่าจะมีทัศนคติต่อโซตัสอย่างไร แต่ทุกคณะยังคงมองว่ากิจกรรมการรับน้องมีความสำคัญในฐานะกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต นักศึกษาในคณะ และอาจารย์รับรู้กระบวนการทุกอย่างระหว่างการรับน้อง แม้อาจจะมีความไม่พอใจบ้างเรื่องเวลาในการทำกิจกรรมที่มากเกินไป แต่ก็ยังคงอนุญาตให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี (ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดในรายงานไม่ต้องการเปิดเผยชื่อนามสกุล รวมถึงชื่อสถาบัน และบทสัมภาษณ์นี้ก็ไม่ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทั้งหมดจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศได้ เป็นเพียงแค่การเสนอมุมมองโดยตัวแทนนิสิตนักศึกษาที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเท่านั้น) หนึ่งในผู้ดูแลกิจกรรมการรับน้องของคณะรัฐศาสตร์แห่งหนึ่ง กล่าวว่าโดยหลักการแล้วความหมายของโซตัสเป็นสิ่งที่ไม่ได้เลวร้าย บางข้อเช่นความสามัคคี มีน้ำใจ เป็นข้อดีด้วยซ้ำ แต่พอมันถูกตีความจนกลายเป็นกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนมันจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ อีกทั้งหลักการทั้ง 5 ข้อก็ไม่สามารถสร้างได้ในกระบวนการรับน้อง หากจะสร้างได้ก็สร้างได้เพียงเปลือก เช่นรุ่นน้องอาจจะยกมือไหว้รุ่นพี่สอดคลองกับหลักอาวุโส (seniority) แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ารุ่นน้องไหว้เพราะกลัวรุ่นพี่สั่งทำโทษ หรือไหว้เพราะเคารพในตัวรุ่นพี่จริงๆ ในความเป็นจริง หากรุ่นพี่ทำตัวไม่น่าเคารพรุ่นน้องก็ไม่จำเป็นต้องเคารพ เขาอธิบายว่า คำถามที่พวกเขาซึ่งเป็นรุ่นพี่คิดอยู่เสมอเวลาทำกิจกรรมคือ "ทำอย่างไรให้น้องรู้จักกัน?" กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสันทนาการ บำเพ็ญประโยชน์ หรือกีฬารับน้องใหม่ ล้วนต้องตอบโจทย์ข้อนี้ให้ได้ ที่สำคัญคืออย่าให้น้องเป็นผู้ปฏิบัติตามเพียงฝ่ายเดียว กิจกรรมที่ดีควรเปิดโอกาสให้น้องได้แสดงความคิดเห็นของตัวเอง สำหรับเรื่องกระแสต่อต้านโซตัสนั้น เขาเห็นด้วยกับหลักการแต่วิธีการยังไม่น่าพึงพอใจนัก เพราะการยื่นหนังสือไม่สามารถสร้างผลกระทบอะไรได้ ทุกวันนี้ ทุกสถาบันล้วนมีหนังสือให้แต่ละคณะดูแลการรับน้องอยู่แล้ว แต่โซตัสก็ยังคงอยู่ หากต้องการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ต้องทำอะไรที่จริงจังกว่านี้ ภาพกิจกรรมกีฬาน้องใหม่จาก www.siamevent.com นายกสโมสรนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งกล่าวว่า ทุกวันนี้โซตัสถูกตีความไปอย่างหลากหลายจนไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วโซตัสหมายความว่าอย่างไร เขาก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่เรียกว่าโซตัสหรือไม่ เพียงแต่ยึดหลักการไม่บังคับ และการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับน้องๆ รุ่นน้องมีสิทธิเลือกว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ก็ได้ กิจกรรมของเราแบ่งเป็นสองส่วนคือสันทนาการที่เน้นความสนุกสาน กับห้องเชียร์ที่เน้นความกดดัน เหตุผลที่ต้องมีกิจกรรมสองรูปแบบที่แตกต่างกันเช่นนี้ก็เพราะต้องการรองรับความต้องการที่หลากหลายของรุ่นน้อง เป้าหมายคือต้องการให้น้องๆ รู้จักกัน ทำงานร่วมกันได้ในอีก 4 ปีในมหาวิทยาลัย และมีความรักต่อสถาบันการศึกษา เขาคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีต่อตัวน้อง แต่น้องจะรับหรือไม่เป็นสิทธิของน้อง ที่สำคัญคืออยากให้น้องเปิดใจ อย่าด่วนตัดสินกิจกรรมการรับน้องเพียงแค่ได้ยินคนอื่นบอกมา อย่าคิดว่ามหาวิทยาลัยมีไว้แค่เรียน นั่นอาจเป็นจุดประสงค์หลักก็จริง แต่กิจกรรมจะช่วยเสริมประสบการณ์ ให้ได้ลองทำงานร่วมกับคนหมู่มากซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของชีวิต
ภาพบรรยากาศ "ว๊าก" กิจกรรมห้องเชียร์จาก http://www.facebook.com/groups/AntiSOTUS
เขากล่าวทิ้งท้ายว่า "อยากให้มองกิจรรมการรับน้องเหมือนอาหารหนึ่งจาน หากมีคนบอกเราว่ามันไม่อร่อย ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป ทำไมเราไม่ลองชิมดูก่อน จะได้รู้ว่ามันไม่อร่อยจริงหรือไม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องกินมันให้หมดจาน เราแค่ลองให้รู้ว่ามันเหมาะกับเราไหม" ผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมรับน้องของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งกล่าวว่า การรับน้องคือกิจกรรมที่มีความสำคัญระดับหนึ่ง เพราะช่วยละลายพฤติกรรมทำให้น้องรักกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้ในรั้วมหาวิทยาลัย เราไม่ปฏิเสธโซตัส มันเป็นระบบหนึ่งที่ทำให้น้องๆ รักกัน และรักสถาบัน แต่ก็ต้องปรับปรุงหลายอย่าง เช่นเรื่องการบังคับ การใช้ความรุนแรงที่เกินจำเป็น เราไม่บังคับให้น้องต้องเข้าร่วมทุกกิจกรรม เราแค่เสนอทางเลือกให้น้อง รูปแบบกิจกรรมของเรามีทั้งสันทนาการ ทำคัทเอาท์ (cut out) งานกีฬามหาวิทยาลัย และห้องเชียร์ กิจกรรมทั้งหมดก็มีไว้เพื่อให้น้องฝึกการทำงานร่วมกัน เรามีการใช้ความรุนแรงบ้าง เช่นการสั่งวิดพื้น ลุกนั่ง เมื่อน้องทำผิด การว๊าก โดยไม่ใช้คำหยาบคาย ทั้งหมดก็เพื่อกระตุ้นให้น้องคิด พี่ๆ ไม่สามารถโดนตัวน้องได้ สำหรับกระแสการต่อต้านโซตัสที่เกิดขึ้น เขาเข้าใจว่านั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเห็นต่าง แต่ก็ไม่ควรไปตัดสินแทนคนอื่นว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี ส่วนที่ดีของโซตัสมันก็มี สถาบันที่ใช้โซตัสก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ดีเสมอไป ภาพการเต้นสันทนาการจาก http://atcloud.com/stories/32438 ความคิดเห็นของตัวแทน 3 คนที่ทำกิจกรรมรับน้องนอกจากจะทำให้ทฤษฎีของพิชญ์มีพลังในการอธิบายมากขึ้นแล้ว นี้ยังทำให้เราเห็นความสำเร็จ และความท้าทายของกระบวนการต่อต้านโซตัสดังนี้ ในแง่ของความสำเร็จ กระบวนการต่อต้านโซตัสได้สร้างภาพลักษณ์ในแง่ลบให้กับโซตัส ถึงขนาดที่ไม่มีใครกล้าอ้างเต็มปากว่าตนนิยมโซตัส โดยต้องพยายามหาเหตุผลมารองรับการกระทำของตนเอง และแก้ไขประเด็นที่ถูกโจมตีนั้นคือการบังคับและการใช้ความรุนแรง ซึ่งทำให้รูปแบบการรับน้องมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ถึงแม้ยังคงมีกลิ่นอายของความรุนแรงอยู่บ้างก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความท้าทาย กระบวนการต่อต้านโซตัสยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทางกลุ่มต่อสู้กับอะไร และต่อสู้เพื่ออะไรอย่างชัดเจน ความคลุมเครือเช่นนี้ทำให้ผู้ที่ไม่ชอบความรุนแรงในระบบโซตัส แต่ยังชื่นชอบกิจกรรมรับน้องพลอยโดนเหมารวมไปด้วยว่าเป็นผู้นิยมโซตัส ทำให้ผู้ที่ควรจะเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านโซตัสเกิดอคติกับกลุ่มเสียเอง หากกลุ่มยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับแนวทางได้เช่นนี้ ย่อมยากที่จะรักษาแนวร่วม ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของกระบวนการต่อต้านโซตัส และทุกๆ คนที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมรับน้องนั่นคือ ทำอย่างไรให้การเคลื่อนไหวเกิดผลกระทบอย่างจริงจัง ในเมื่อเราทราบแล้วว่าการยื่นหนังสือไม่เกิดประโยชน์อันใด เราก็จำเป็นต้องหาวิธีอื่นในการต่อต้านโซตัส ความคิดเห็นหนึ่งในกลุ่ม anti-sotus กล่าวไว้ว่า "ที่ผ่านมาเราเรียกร้องให้อาจารย์ และรุ่นพี่ปรับตัว ทำไมเราไม่เรียกร้องให้รุ่นน้องลุกขึ้นมาต่อต้านระบบโซตัสบ้าง?" ประโยคดังกล่าวอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับโซตัส เพราะการโจมตี ประจาน หรือชักชวนให้คนที่อยู่ในระบบ ได้ผลประโยชน์จากระบบโซตัสหันมารังเกียจโซตัสย่อมเป็นไปได้ยาก แต่การทำให้รุ่นน้องซึ่งเป็นสมาชิกใหม่หมาดตระหนักในสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนในการเลือกย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความหวังมากกว่า เพราะถึงที่สุด การป่าวประกาศความป่าเถื่อนของโซตัสก็เท่ากับการผูกขาดความคิด นำเสนอข้อมูลด้านเดียว ไม่ต่างจากที่โซตัสกระทำ การให้รุ่นน้องเป็นผู้ตัดสินเองย่อมเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทีดีอาร์ไอหนุน“สัญญาคุณธรรม”ลดโกงไฮสปีดเทรนด์ Posted: 27 May 2013 12:54 AM PDT ทีดีอาร์ไอ กระตุกปมไฮสปีดเทรนด์ ชี้ ระวังคอร์รัปชั่นที่อาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะ-เพิ่มต้นทุนให้กับประชาชน เสนอแนวทางให้ทุกภาคส่วนร่วมตรวจสอบความโปร่งใสในโครงการขนส่งระบบราง ผ่าน "สัญญาคุณธรรม" แผนการลงทุนพลิกโฉมประเทศไทยในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายใต้วงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 7 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ 2556-2553 มีไฮไลท์เป็นโครงการขนส่งระบบรางถึง 82% ซึ่งโครงการนี้รัฐบาลพยายามปรับยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานในเทียบชั้นนานาประเทศ โดยแผนการลงทุนดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นตอนการแปรญัตติโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิชาการทีดีอาร์ไอได้ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการลงทุนดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ยังไม่ตอบโจทย์ในด้านการลดต้นทุนการขนส่งหรือความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ-การเงินเท่าที่ควร นายอิสร์กุล อุณหเกตุ นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนาสาธารณะเรื่อง "เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ลงทุนอย่างไรให้โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ : นโยบายของรัฐและบทบาทของประชาสังคม" ซึ่งทีดีอาร์ไอร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการวิจัย "คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชั่น" อิสร์กุล อุณหเกตุ โดยได้นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ ถอดบทเรียนคอร์รัปชั่นสู่โครงการลงทุนที่โปร่งใส กรณีศึกษาปัญหาคอร์รัปชั่นในอดีต เช่น กรณีศึกษา King Power Duty Free กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าบางคล้า กรณีศึกษาศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนทางบกบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเดิม กรณีศึกษาโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กรณีศึกษาสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 กรณีศึกษาโฮปเวลล์ และกรณีศึกษาเรือขุดหัวสว่าน โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาคอร์รัปชั่นในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ว่า คอร์รัปชั่นจะส่งผลให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูงได้ ขณะเดียวกัน ปัญหาคอร์รัปชั่นยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และเบียดเบียนงบประมาณในการใช้จ่ายของรัฐในส่วนอื่น ๆ จนอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับประชาชนเนื่องจากสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพต่ำนั่นเอง ทั้งนี้ นายอิสร์กุล ได้เสนอแนะแนวทางป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่น 3 ข้อ คือ 1. ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) อย่างมีคุณภาพและน่าเชื่อถือ 2. ควรมีการสร้างธรรมมาภิบาลในโครงการลงทุน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างความโปร่งใสในการลงทุนผ่านการเปิดเผยข้อมูลทั้งในการจัดจ้างโดยภาครัฐ และการร่วมทุนกับภาคเอกชน และ 3. ควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความรัดกุมในการลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันเห็นว่าทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ทั้งภาคธุรกิจ สื่อมวลชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม เพื่อช่วยป้องกันปัญหาคอรัปชันตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปาฐกถาพิเศษโดยกล่าวชี้แจงถึงโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ว่า เป็นโครงการระยะยาวที่คิดกันมานานในหลายรัฐบาลแล้ว เพียงแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้นำมาจัดลำดับความสำคัญใหม่ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยรัฐบาลมองว่าโครงการนี้เป็นโครงการสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญของประเทศในอนาคต ซึ่งการอนุมัติที่ผ่านมาเป็นเพียงกรอบการลงทุนที่กำหนดไว้ก่อน ไม่ใช่การใช้เงินทั้งหมดในครั้งเดียว เนื่องจากแต่ละโครงการต้องศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนตัวเลขความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ตามระเบียบทั้งหมดก่อนจะนำเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการ ซึ่งที่ผ่านมามีแรงต้านมากขึ้นโดยเฉพาะประเด็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่หลายฝ่ายมองว่ายังไม่คุ้มค่าการลงทุนมากนัก แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่งถือว่าเป็นการสร้างโอกาสกระจายความเจริญ เพราะรถไฟฟ้าความเร็วสูงถือเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พัฒนาชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานี รวมทั้งการเพิ่มโอกาสการสร้างธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ซึ่งถือเป็นผลดีในเรื่องเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายชัชชาติ ยังกล่าวต่ออีกว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากหลายๆฝ่าย เพื่อสะท้อนมุมมองและรับฟังข้อเสนอแนะ จากทุกหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่น เนื่องจากบางโครงการยังอยู่ระหว่างการศึกษา หรือบางโครงการยังไม่พร้อมทางหน่วยงานจะยังไม่ดำเนินการ รวมถึงถ้าเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า บางโครงการก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ ดังนั้นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมจึงจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นแต่ละโครงการให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันการดำเนินการในทุกโครงการจะต้องดำเนินการตามกระบวนการปกติ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาความเหมาะสม การออกแบบรายละเอียด การร่างทีโออาร์ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 การรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการรับฟังความเห็นประชาชนทุกครั้ง ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากโครงการใดพร้อมก็นำเข้าสู่กระบวนการนี้และเปิดประมูลในลำดับต่อไป ขณะที่วงเสวนา นายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ต้องการเห็นรัฐบาลชี้แจงการก่อสร้างโครงการแต่ละโครงการอย่างชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพิจารณาความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าของโครงการ ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอเห็นด้วยกับการพัฒนาระบบรางโดยเฉพาะโครงการรถไฟรางคู่ ที่มองว่ามีความพร้อมมากที่สุดหากมีการดำเนินการ เพราะรัฐบาลชุดก่อนได้มีแนวคิดให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างแล้ว ส่วนรถไฟความเร็วสูงรัฐบาลควรรอเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ โดยทำการศึกษาให้รอบคอบมากขึ้น เนื่องจากบางประเทศใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควรในการศึกษาเรื่องดังกล่าว เช่นเดียวกันกับนางสิริลักษณา คอมันตร์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เห็นด้วยกับนายสุเมธ พร้อมเสนอแนะว่า ผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาควรยึดถือคู่มือการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ที่กรมบัญชีกลางกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 เพราะจะมีการจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดหาเทคโนโลยีออกแบบก่อสร้างตลอดจนดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก่อนดำเนินโครงการผู้ว่าจ้างต้องทำ EIA และ HIA ด้วย และเชื่อว่าการบริหารจัดการโครงการในรูปแบบนี้จะช่วยป้องกันปัญหาคอรัปชั่นได้ วิชัย อัศรัสกร ด้านนายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะรองเลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ยอมรับว่า การทุจริตสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่ช่วงการประมูลเท่านั้น ดังนั้นองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นจึงเจรจาตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ สัญญาคุณธรรม (Integrity Pact) ซึ่งเป็นการเซ็นสัญญา 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้ภาคเอกชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การประมูลโครงการย่อยต่างๆ ในโปรเจกต์ 2 ล้านล้านบาท ไล่เรียงตั้งแต่การออกเงื่อนไขการประมูลราคา (ทีโออาร์) วิธีการประมูล ระหว่างช่วงประมูล การกำหนดสเปค การประมูล การกำหนดราคากลาง รวมถึงการตรวจสอบโครงการและการจ่ายเงินด้วย เป็นการสร้างบรรทัดฐานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่โปร่งใสภายใต้การตรวจสอบของสาธารณชน ซึ่งในขณะนี้มีอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาทิ ด้านการเงิน และกฎหมาย เป็นต้น เข้าตกลงร่วมสังเกตการณ์แล้ว จำนวน 30 ราย อย่างไรก็ตามวงเสวนา เห็นด้วยกับแนวคิด สัญญาคุณธรรม พร้อมทั้งเสนอแนะว่า รัฐบาลควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขนส่งระบบราง โดยเน้นสร้างธรรมาภิบาลในโครงการลงทุน และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 ขณะเดียวกันการต่อต้านคอรัปชั่นจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ สื่อมวลชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม เนื่องจากปัญหาคอรัปชั่นส่งผลกระทบในวงกว้างและมีผลระยะยาวต่อการพัฒนาประเทศ. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาไทการ์ตูน: เรามาใส่หน้ากากกายฟอว์กส์กันเถอะ Posted: 27 May 2013 12:54 AM PDT ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ วิจารณ์คำปราศรัยประเด็นความมั่นคงของโอบาม่า Posted: 26 May 2013 10:52 PM PDT ปธน. โอบาม่าได้กล่าวปราศรัย เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมาเรื่องการใช้เครื่องบินไร้คนขับ เรื่องสงครามก่อการร้ายและเรื่องคุกกวนตานาโม แม้จะมีหลายกระเด็นที่ทำให้ภาพของสหรัฐฯ ดูดีขึ้นในแง่สิทธิมนุษยชน แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ก็ยังคงชี้ให้เห็นปัญหาบางอย่างจากคำปราศรัยของโอบาม่า
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบาม่า ได้กล่าวปราศรัยครั้งสำคัญเกี่ยวกับการใช้เครื่องบินไร้คนขับหรือโดรน รวมถึงกรณีคุกกวนตานาโมที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา อีกหนึ่งวันถัดมา กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้กล่าวแสดงความเห็นต่อคำปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโอบาม่า พวกเขากล่าวแสดงความยินดีที่โอบาม่าเริ่มกล่าวถึงประเด็นที่เคยถูกละเลยมานาน เช่นเรื่องการสังหารนอกกระบวนการกฏหมาย, การใช้อาวุธโดรน, การที่กองทัพสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายสงครามตลอดเวลา รวมถึงวิกฤติที่เรือนจำกวนตานาโม แต่พวกเขาก็พบว่าคำกล่าวของโอบาม่ายังมีส่วนที่เป็นปัญหา โดยในคำกล่าวปราศรัยของโอบาม่าระบุถึงการที่ปฏิบัติการโดรนของสหรัฐฯ ถูกกล่าววิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกประเทศ ในแง่ที่ว่ามีผู้สูญเสียจากการโจมตีเป็นพลเรือนรวมอยู่ด้วย ซึ่งทางสหรัฐฯ ยอมรับว่ามีการสูญเสียของพลเรือนอยู่จริง แต่โอบาม่ากกล่าวว่าพวกเขาจำเป็นต้องทำเพราะต่อสู้กับการก่อการร้าย หากพวกเขาไม่ทำก็จะยิ่งมีพลเรือนสูญเสียมากขึ้น เนื่องจากผู้ก่อการร้ายได้วางเป้าหมายเป็นพลเรือน อีกทั้งเครื่องบินโดรนยังมีประสิทธิภาพในการเจาะจงเป้าหมายมากกว่าการโจมตีด้วยเครื่องบินหรือจรวดมิสไซล์แบบเดิม อย่างไรก็ตาม โอบาม่ากล่าวว่าจะมีการทำให้การออกคำสั่งใช้เครื่องบินรบโดรนมีความรัดกุมมากขึ้น โดยการพิจารณาจัดตั้งศาลพิเศษหรือคณะกรรมการเฝ้าระวังเพื่อให้อำนาจสั่งการภายนอกอาณาเขตสงครามภายใต้หลักการต่อต้านการก่อการร้ายรูปแบบใหม่ ซึ่งเขาเชื่อว่าจะสามารถทำให้สงครามการก่อการร้ายจบลงได้ นั่นหมายความว่าการโจมตีด้วยโดรนในอนาคตจะอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นหน่วยงานข่าวกรองกลาง (CIA) ซีค จอห์นสัน ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนขององค์กรนิรโทษกรรมสากลในสหรัฐฯ กล่าววิจารณ์ว่า สิ่งที่ควรจะทำกับโดรนไม่ใช่การตั้ง 'ศาลสั่งฆ่า' แต่ควรยกเลิกการขยายคำจำกัดความ 'ภัยต่อความมั่นคง' ทำให้มีคนอยู่ในข่ายสังหารเพิ่มขึ้น และควรให้มีการสืบสวนอย่างเป็นอิสระต่อกรณีการสังหารนอกกระบวนการและมีการเยียวยาเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ ทางด้านกลุ่มสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (American Civil Liberties Union หรือ ACLU) ก็ได้กล่าวว่าพวกเขาสนับสนุนการเพิ่มความรัดกุมของการใช้อาวุธโดรนในปฏิบัติการที่เรียกว่า 'การจู่โจมเพื่อส่งสัญญาณ' ต่อกลุ่มผู้ต้องสงสัย แต่ก็เตือนว่าความคลุมเครือเรื่องผู้มีอำนาจสั่งการตั้งเป้าสังหารยังถือเป็นข้อบกพร่อง โดย แอนโธนี โรมีโอ ผู้อำนวยการ ACLU กล่าวว่า "...ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจกว้างๆ ในการสั่งการสังหารจากภายนอกสนามรบ และการสร้างความโปร่งใสในเรื่องนี้ยังไม่มากพอ และพวกเราก็ไม่เห็นด้วยกับหลักการที่ว่า เราสามารถมีกระบวนการตรวจสอบได้ แต่ไม่ได้ผ่านฝ่ายตุลาการหรือผ่านการตรวจสอบจากศาล" ทางการสหรัฐฯ ได้ใช้ปฏิบัติการโดรนกับกลุ่มติดอาวุธผู้ต้องสงสัยในประเทศ ปากีสถาน, เยเมน, อัฟกานิสถาน และประเทศอื่นๆ ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวหาว่าการโจมตีด้วยโดรนทำให้มีผู้สูญเสียเป็นพลเรือนจำนวนมาก โดยมูลนิธินิวอเมริกาเคยเปิดเผยผลสำรวจว่ามีปฏิบัติการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐฯ 350 ครั้งตั้งแต่ปี 2004 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 1,963 ถึง 3,293 ราย เป็นพลเรือนราว 261 ถึง 305 ราย หลังจากการปราศรัยครั้งล่าสุดของโอบาม่า ทางคณะสืบสวนด้านการใช้โดรนขององค์การสหประชาชาติก็มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อคำปราศรัย ขณะที่ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์ Globalpost เปิดเผยว่าประชาชนชาวปากีสถานรู้สึกยินดีที่ทางการสหรัฐฯ ยอมรับว่ามีผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการโดรนแต่ก็ถือเป็นขั้นแรกเท่านั้น โดยมูชาฮิด ฮุสเซน ประธานกรรมการฝ่ายความมั่นคงของวุฒิสมาชิกในปากีสถานกล่าวว่า สำหรับประชาชนชาวปากีสถานแล้วแค่การยอมรับในเรื่องนี้ยังไม่มากพอจนกว่าจะมีการยุติการใช้ปฏิบัติการโดรน เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ศาลสูงของเมืองเปชาวาร์ประเทศปากีสถานได้ลงความเห็นว่าการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐฯ เป็นเรื่องผิดกฏหมาย และปากีสถานมีสิทธิในการโจมตีเครื่องบินโดรน ขณะที่ในเยเมน มีเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองผู้ไม่ประสงออกนามรายหนึ่งกล่าวชื่นชมคำปราศรัยของโอบาม่า โดยบอกว่าการโจมตีด้วยโดรนสามารถลดการแพร่อิทธิพลของกลุ่มอัล-เคด้าภายในประเทศเยเมนได้ อีกกรณีหนึ่งคือเรื่องอื้อฉาวในเรือนจำกวนตานาโม ซึ่งเป็นคุกขังนักโทษต้องสงสัยในข้อหาก่อการร้าย โดยสหรัฐฯ ถูกกล่าวหาอย่างมากเรื่องการทรมานนักโทษ การบังคับสอดท่ออาหารให้กับนักโทษที่ประท้วงด้วยการอดอาหาร โอบาม่ากล่าวถึงเรือนจำกวนตานาโมว่าเป็นเรือนจำที่ใช่งบประมาณสูงมาก และในฐานะประธานาธิบดีเขาเคยพยายามปิดเรือนจำนี้และส่งตัวนักโทษ 67 คนไปยังประเทศอื่นมาก่อน แต่ทางสภาก็ออกข้อห้ามทำให้ไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องขังไปที่อื่นรวมถึงกุมขังในสหรัฐฯ เองได้ องค์กรนิรโทษกรรมสากล หนึ่งในองค์กรสิทธิมนุษยชนได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อคำปราศรัยของโอบาม่าว่า โอบาม่าทำถูกต้องในการกล่าวย้ำถึงความจำเป็นต้องปิดคุกกวนตานาโม เรื่องการสร้างความโปร่งใสมากขึ้น และยอมรับว่าการใช้เครื่องบินโดรนมีปัญหา แต่ก็ต้องการให้โอบาม่ามีปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน องค์กรนิรโทษกรรมสากลได้เรียกร้องให้โอบาม่าดำเนินคดีหรือไม่ก็ปล่อยตัวนักโทษในคุกกวนตานาโม แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอจัดตั้งคณะกรรมการกองทัพในสหรัฐฯ ขึ้นอีกครั้ง โดยบอกว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายและไม่มีความจำเป็น ทางด้านศูนย์เพื่อสิทธิตามรัฐธรรมนูญ (CCR) ก็บอกว่าโอบาม่าควรมีการส่งตัวนักโทษและปิดเรือนจำกวนตานาโมโดยทันที ทาง CCR สนับสนุนการตัดสินใจยกเลิกการสั่งห้ามส่งตัวนักโทษไปยังเยเมน ซึ่งคำสั่งห้ามดังกล่าวทำให้ผู้ต้องขังครึ่งหนึ่งต้องติดอยู่ในคุกกวนตานาโม แต่ทาง CCR ก็ผิดหวังกับคำกล่าวที่ว่าทางการจะปล่อยตัวแต่ผู้ที่ได้รับการพิสูจน์ความผิดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจาก CCR คิดว่าประธานาธิบดีวสหรัฐฯ ได้ใช้คุกกวนตานาโมกักขังนักโทษโดยไม่มีข้อหาและไม่ได้มีการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรม เรือนจำกวนตานาโมตั้งอยู่ที่ฐานทัพเรืออ่าวกวนตานาโมประเทศคิวบา ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2002 ในสมัยของรัฐบาลจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช โดยมีเป้าหมายเพื่อกักขังนักโทษในนามสงครามปราบปรามการก่อการร้าย แต่ก็มีรายงานเรื่องการทรมานนักโทษและการใช้วิธีรุนแรงในการให้นักโทษรับสารภาพ ทำให้สหประชาชาติเคยเรียกร้องให้สหรัฐฯ ปิดคุกแห่งนี้มาก่อน โดยก่อนหน้านี้ในปี 2009 ก็โอบาม่าก็ได้ลงนามในยกเลิกคณะกรรมการทหารในกวนตานาโมและให้มีการปิดคุกแห่งนี้แต่ถูกปฏิเสธจากผู้พิพากษาศาลทหาร และเมื่อปี 2011 ก็มีการลงนามในกฏหมายที่ห้ามการส่งตัวนักโทษไปในประเทศสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถปิดตัวเรือนจำแห่งนี้ได้ และเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็เกิดเหตุนักโทษในเรือนจำกวนตานาโม 102 คนเริ่มอดอาหารเพื่อประท้วงการถูกละเมิดสิทธิ แต่ก็ยังมีการ 'บังคับป้อนอาหาร' ด้วยการต่อท่อสายยาง เช่นกรณีของ ซามีร์ นาจี อัล ฮะซัน มอกเบล นักโทษจากเยเมนผู้บอกว่าตนถูกจับเป็นผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายทั้งที่แค่เดินทางไปหางานทำที่อัฟกานิสถาน นอกจากนี้ CCR ยังได้วิจารณ์อีกว่า คำปราศรัยของโอบาม่ายังคงมีท่าทีอันตรายในการดำเนินสงครามต่อกลุ่มอัล-เคด้าและ 'กลุ่มที่เกี่ยวข้อง' ซึ่งไม่มีการระบุเจาะจง สิ่งที่อันตรายคือพื้นฐานนโยบายการตั้งเป้ากับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง แม้ว่าจะมีการจำกัดแคบลงแต่ก็ชวนให้ตั้งคำถามเรื่องการตีความ เช่น ในอดีตกระทรวงยุติธรรมเคยตีความว่า 'สิ่งที่เป็นภัยต่อความมั่นคง' ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานที่ส่อถึงการกระทำในอนาคตอันใกล้ ทางด้าน ACLU ก็เห็นด้วยไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องคุกกวนตานาดม คือ การคืดว่าควรสั่งปิดเรือนจำนี้ รวมถึงยกเลิกคณะกรรมการทหารในกวนตานาโมซึ่งเป็นกลุ่มที่ขัดต่อหลักการรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ACLU แสดงความชื่นชมโอบาม่าที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการกักขังผู้คนโดยไม่มีการพิจารณาคดี แต่ก็วิจารณ์ว่าโอบาม่ายังไม่มีแผนการชัดเจนในการจัดการกับนักโทษที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีหรือได้รับพิจารณาให้ปล่อยตัว และที่สำคัญที่สุดคือการที่รัฐบาลสหรัฐฯ ควรเร่งดำเนินการโดยทันที "หลังจากเป็นประธานาธิบดีมา 4 ปี ปธน. โอบาม่า ได้เริ่มพูดถึงก้าวแรกที่เป็นการริเริ่มความพยายามในการทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในขณะหาเสียง คือการปิดคุกกวนตานาโม และเล็งเห็นว่าหากไม่สามารถกระทำได้จะทำให้เกิดความสุญเสียต่อมนุษย์อย่างไร" โรมีโอ ประธาน ACLU กล่าว "เขาพูดถูกที่ว่าพวกเราคงไม่อาจย่ำอยู่บนจุดยืนการทำสงครามได้ตลอด แต่ในตอนนี้มันถึงเวลาแล้วที่ต้องนำประเทศเราออกจากเส้นทางสงครามและรื้อฟื้นหลักนิติธรรมกันโดยทันที ไม่ใช่ในอนาคตที่ยังไม่มีกำหนด"
Obama's Speech on Drone Policy, The New York Times, 23-05-2013 'Not Good Enough': Rights Groups Respond to Obama's Foreign Policy Speech, Common Dreams, 24-05-2013 Obama's drone speech well-received by Pakistan, Yemen, UN, Global Post, 24-05-2013 ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Guantanamo_Bay_detention_camp "เรือนจำกวนตานาโมกำลังจะฆ่าผม" เรื่องราวของผู้ประท้วงอดอาหารในคุกโหด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น