ประชาไท | Prachatai3.info |
- คุยกับ 'ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย' ว่าด้วยความเป็นไปของคนทำสื่อ
- แรงงาน จ.ลำพูน เสนอรัฐบาลติดตามเรื่องขึ้นค่าแรง 300 บาท และสนับสนุนการแก้ รธน.
- 2 ปีนโยบายแรงงาน 'เพื่อไทย' นักสหภาพฯ ชี้ “ได้ทำตามนโยบาย”
- สาระ+ภาพ: คำขวัญวันแรงงาน 2531-2556
- ศิลปะกับ ‘ความไม่สามารถที่จะเป็นมนุษย์’
- ชำนาญ จันทร์เรือง: เมื่อศาลถูกตั้งข้อสงสัย
- ปรากฏการณ์ดะอ์วะฮ์ในมาเลเซียช่วงทศวรรษ 1970
- ข้อสังเกตต่อคำประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอของบีอาร์เอ็น (BRN: Barisan Revolusi National)
- ศาล รธน. เลื่อนพิจารณาสมาชิกภาพ ส.ส.‘อภิสิทธิ์’ กรณีใช้ สด.9 เป็นเท็จ
- เสวนา: เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร
- คำขวัญวันแรงงานแห่งชาติ
- TDRI : ยุทธศาสตร์บริหารแรงงานจากค่าจ้าง300บาทถึงเออีซี
- คนทำงาน มีนาคม 2556
- คนทำงาน กุมภาพันธ์ 2556
- แขวนนกแดงรั้วทำเนียบฯ จี้ปล่อยนักโทษการเมือง ครบ 2 ปีขังสมยศ
คุยกับ 'ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย' ว่าด้วยความเป็นไปของคนทำสื่อ Posted: 01 May 2013 11:59 AM PDT เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งแรกของสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย (National Union of Journalists Thailand) โดยที่ประชุมมีมติเลือก 'สุเมธ สมคะเน' จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานสหภาพฯ ในช่วงวันกรรมกรสากล 'ประชาไท' คุยกับ 'สุเมธ สมคะเน' เกี่ยวกับความเป็นมาและเป็นไปของสหภาพแรงงานประเภทอุตสาหกรรมสื่อแห่งแรกของไทย
ใครเป็นสมาชิกได้บ้าง ทำไมถึงเลือกจดทะเบียนสหภาพฯ แบบอุตสาหกรรม มองว่าอะไรคืออุปสรรคที่องค์กรสื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้สักที รูปแบบการให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างไร ทั้งนี้่ การจัดตั้งสหภาพแรงงานกลาง ส่วนหนึ่งก็คือเป็นการจุดประกายให้พี่น้องสื่อที่ทำงานภาคสนาม รู้จักปกป้องสิทธิ สวัสดิการ สวัสดิภาพของเราให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพสากล
ตอนนี้มีสมาชิกเท่าไหร่แล้ว
ที่ผ่านมา ดำเนินงานอะไรไปแล้วบ้าง ฝากไว้ว่า สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทยไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เป็นองค์กรที่พี่ๆ น้องๆ ในภาคสนามช่วยกันผลักดันขึ้นมา อยากให้พี่น้องนักข่าวทุกคน รวมทั้งช่างภาพ ผู้ช่วย ที่อยู่ในภาคสนาม ช่วยกันสนับสนุนและผลักดันให้เดินหน้า เพราะในอนาคตมันอาจเป็นช่องทางที่ช่วยเหลือเราได้ ในกรณีเกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้นมา เพราะที่ผ่านมา การที่เราถูกนายจ้างเลิกจ้าง เวลานักข่าวถูกเลิกจ้าง การต่อสู้มันก็โดดเดี่ยวเดียวดาย แต่คราวนี้จะไม่โดดเดี่ยวแล้ว จะมีการช่วยเหลือกันในระบบมากขึ้น เราจะช่วยกันยกมาตรฐานวิชาชีพทั้งเรื่องค่าตอบแทนต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานสากล อย่างน้อยไม่ต้องเทียบกับอเมริกา หรือยุโรป ในอาเซียนด้วยกัน เราก็ต้องไม่น้อยหน้าฟิลิปปินส์ กับอินโดนีเซีย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แรงงาน จ.ลำพูน เสนอรัฐบาลติดตามเรื่องขึ้นค่าแรง 300 บาท และสนับสนุนการแก้ รธน. Posted: 01 May 2013 11:36 AM PDT สหภาพแรงงานในจังหวัดลำพูน ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเนื่องในวันแรงงาน เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการติดตามการบังคับใช้นโยบายค่าจ้าง 300 บาท และให้ทบทวนมติ ครม. ที่ให้คงค่าจ้าง 300 บาทถึงปี 2558 พร้อมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องในวันแรงงานสากล เมื่อวานนี้ (1 พ.ค.) สหภาพแรงงานใน จ.ลำพูน ได้แก่ สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ (สอส.) และ สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สออส.) นำโดยนายมเหศวร ประเสริฐสังข์ แกนนำสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ ได้ยื่นจดหมายถึงนายพินิจ หาญพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผ่านไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยเรียกร้องให้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีส่งเสริมสิทธิแรงงาน และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามตรวจสอบนโยบายค่าจ้าง 300 บาท และให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี 22 พ.ย. 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ต่อไปในปี 2557 และ 2558 โดยเสนอให้ปรับค่าจ้างขึ้นอีก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น โดยข้อเรียกร้องในแถลงการณ์ ซึ่งมีนายวิสิษฐ์ ยาสมุทร ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ ลงชื่อท้ายแถลงการณ์ มีใจความดังนี้ "เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันกรรมกรสากล" ซึ่งเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของผู้ใช้แรงงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน สิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และในฐานะที่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า "ในปี พ.ศ. 2556 นี้ องค์กรผู้ใช้แรงงานและองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาล ดังนี้" "1.ขอให้รัฐบาล มีมาตราการและนโยบาย ไม่ให้บริษัทต่างๆ ใช้มาตรา 75 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือข้ออ้างอื่นๆของนายจ้างเพื่อเลิกจ้างพนักงาน ต้องไม่มีการเอาเปรียบลูกจ้าง และให้พิจารณาวัตถุประสงค์ของนายจ้างให้เป็นไปแบบสมเหตุสมผล ตลอดทั้ง มิใช่เพื่อทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในระบอบประชาธิปไตย 2. ขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามตรวจสอบนโยบายค่าจ้าง 300 บาท เพื่อให้มีผลทางปฏิบัติ ไม่ถูกบิดเบือนจากกลุ่มทุน และมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนรัฐบาล หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ สื่อมวลชน สหภาพแรงงาน ตัวแทนผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม ทั้งระดับชาติและในแต่ละเขตพื้นที่แต่ละจังหวัด 3. ขอให้รัฐบาลช่วยคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ผู้ใช้แรงงานไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างแท้จริงตามเจตนารมย์ของรัฐบาล 4. ขอให้รัฐบาลพิจารณารับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานได้อย่างเสรี ตามหลักการประชาธิปไตยและเหมือนดั่งอารยประเทศที่พึงกระทำ 5. ขอให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี 57 และ 58 เพราะควรมีการปรับค่าจ้างขึ้นอีก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น เนื่องเพราะแท้จริงแล้วค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทก็ยังไม่พอค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานต้องทำงานงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีชีวิตอยู่รอดและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนเช่นกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมไทย 6. ขอสนับสนุนให้แก้กฎหมายเลือกตั้งทุกระดับ ให้แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการในแต่ละพื้นที่ มีสิทธิเลือกตั้งและสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่นั้นๆ ได้ 7. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อไม่ให้อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยแทรกแซงทางการเมือง เพื่อ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ 8. ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกชนชั้น ทุกกลุ่มชน ร่วมกันผลักดันสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการ ครบวงจร ระบอบเดียว เสมอภาค กันถ้วนหน้า โดยมาตราการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม 9. ขอให้รัฐบาลมีมาตราการ นโยบาย และกฎหมาย ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ใช้แรงงานไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
2 ปีนโยบายแรงงาน 'เพื่อไทย' นักสหภาพฯ ชี้ “ได้ทำตามนโยบาย” Posted: 01 May 2013 10:25 AM PDT 2 ปี นโยบายด้านแรงงาน 'เพื่อไทย' ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ ชาลี ลอยสูง ชี้ 300 บาท "ได้ทำตามนโยบาย" จิตรา ย้ำรัฐต้องหนุนตั้งสหภาพเพื่ออำนาจต่อรองให้นายจ้างปฏิบัติตามนโยบาย เสนอเลือกตั้งในสถานที่ประกอบการตามทะเบียนประกันสังคม TLC เตือนทบทวนนโยบายปล่อยเสรีทางการค้า เนื่องในวันกรรมกรสากล(May Day) และใกล้ครบ 2 ปีการเข้ามาบริหารงานของรัฐบาลเพื่อไทย ประชาไทจึงใช้โอกาสนี้สำรวจความคิดเห็นของนักสหภาพแรงงาน 4 คน เพื่อประเมินข้อดี-ข้อเสียของนโยบายด้านแรงงานและการนำนโยบายไปปฏิบัติของรัฐบาล รวมทั้งข้อเสนอแนะหรือข้อเรียกร้องที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการต่อจากนี้ ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) "ได้ทำตามนโยบาย" ประเมิน 2 ปี นโยบายด้านแรงงานเพื่อไทย ชาลี กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านๆ มาไม่ค่อยมีนโยบายด้านแรงงาน แต่การเลือกตั้งครั้งที่ล่าสุด พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์เป็น 2 พรรคใหญ่ที่มีการชูเรื่องนี้ขึ้นมา และพรรคเพื่อไทยก็มีนโยบายเด่นชัดในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานดีขึ้น เช่น การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท รวมทั้งปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน และด้วยความชัดเจนของนโยบายคนงานก็ได้มีการลงคะแนนให้พรรคนี้ และเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเข้ามาในตอนแรกบอกว่าจะดำเนินนโยบายที่หาเสียงดังกล่าวนั้นทันที ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ทำทันที่ แต่ก็ได้ทำ ซึ่งเราคิดว่าอย่างน้อยก็ได้มีการทำตามที่ประกาศเอาไว้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการประกาศใช้ อย่างไรก็ตามก็มีปัญหาในการดำเนินการและผลกระทบที่ตามมาด้วย สำหรับนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนนั้นในภาคเอกชนจะไม่ค่อยได้รับกัน เพระไม่สามารถบังคับให้เอกชนต้องจ่ายได้ ซึ่งตรงนี้อาจมีข้อผิดพลาด ส่วนที่ได้รับจะเป็นรัฐวิสาหกิจและราชการ ดังนั้นนโยบายตรงนี้คิดว่าไม่น่าประสบความสำเร็จ ดังนั้นเรียกได้ว่าในระดับหนึ่งคือ "ได้ทำตามนโยบาย" ข้อเสนอแนะ 1. ลูกจ้างข้าราชการที่ไม่ประจำ หรือ Sub - Contract ของข้าราชการ ซึ่งมีอีกมากที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับค่าแรง 300 บาท ซึ่งน่าจะเข้าไปปรับปรุงและหาวิธีการที่จะทำให้ลูกจ้างส่วนนั้นได้รับค่าจ้าง 300 บาทด้วย 2. ต้องเข้าไปควบคุมดูแลบริษัท อย่าให้เอาเปรียบลูกจ้างในช่วงที่มีการปรับ 300 บาท เพราะบางทีนายจ้างเอาสวัสดิการที่เคยให้อยู่แล้วมารวมทำให้ปรับ 300 บาท ก็เท่ากับไม่ได้ อยากให้รัฐบาลเข้าไปตรวจสอบตรงนี้เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศทั่วถึง 3. เรื่องราคาสินค้าที่ราคาแพงขึ้นนั้น อยากให้รัฐบาลควบคุมดูแล แม้มีรายได้เข้ามาแต่ต้องไปจ่ายสินค้าที่ปรับสูงขึ้นเยอะๆ เขาก็เดือดร้อน เปรียบเสมือนว่าจะไม่ได้อะไร 4. เรื่องประกันสังคม ควรมีการปรับเพื่อให้ครอบคลุมไปถึงคนงานทุกภาคส่วน เช่น แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แม้จะมีอยู่บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เปิดมากควรปรับกฎหมายให้รัดกุมทั่วถึงด้วย 5. เงินในประกันสังคมนั้นน่าจะมีคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบติดตามเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล 6. กองทุนประกันความเสี่ยงของลูกจ้าง จากการที่บริษัทที่มาลงทุนรัฐบาลจะต้องมีกฎหมายเก็บเงินของนายจ้างมากองไว้ เมื่อบริษัทมีการปิดโรงงานแล้วหนีไปโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างก็จะเอาเงินตรงนี้จ่ายให้ลูกจ้างไป 7. ยกเว้นการเก็บภาษีเงินเกษียณ 8. ค่าจ้างแรกเข้า หมายถึงคนงาน 1 คน ได้รับค่าแรงที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ 2 คน และทำงานเป็นปีก็จะมีการปรับค่าจ้างเป็นรายปี อย่างนี้จะได้ไม่ต้องมาพูดถึงค่าจ้างขั้นต่ำอีกต่อไป อยากให้มีการปรับระบบใหม่ตรงนี้
จิตรา คชเดช ข้อดี-เสีย นโยบายด้านแรงงานรัฐบาลเพื่อไทย จิตรา กล่าวถึงนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า เป็นข้อดีที่มีการปรับทั่วประเทศ มีการประกาศแล้วสามารถทำได้จริง ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในเรื่องการปรับค่าจ้าง เนื่องจากมีการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศมาโดยตลอดและไม่เคยได้ หลังจากที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็ทำได้ ส่วนข้อเสียของมันคือ นักลงทุนมักอ้างว่ามันมีปัญหา และรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหา เช่น การหักสวัสดิการอื่นๆ ทำให้ไม่ได้ค่าแรงขึ้น 300 จริง แม้นโยบายจะดีแต่คนที่จะทำงานต่อหรือติดตามปัญหาผลกระทบถือว่ายังไม่ดีไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เรื่องสิทธิการรวมตัว รัฐบาลนี้ไม่ได้ส่งเสริมสิทธิดังกล่าวอย่างแท้จริง เพราะทำให้การประกาศนโยบาย 300 บาท นั้นจะเป็นได้จริงต้องมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งด้วยเพราะบางที่การที่ไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง นายจ้างก็อาจละเลยนโยบายของรัฐบาลหรือปฏิบัติตามกฎหมายได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นมาโดยตลอด ที่ผ่านมาบริษัทไม่จ่ายก็มี ดังนั้นรัฐต้องสนับสนุนสิทธิการรวมตัวให้มีสหภาพแรงงานเพื่อที่สหภาพจะเข้ามาควบคุมนายจ้างอีกที จะได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและก็สามารถเรียกร้องค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำได้ รวมทั้งเรียกร้องสวัสดิการอื่นที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนดได้ รวมทั้งเรื่องส่งเริมนายทุนในการลดภาษี และเรื่องอื่นๆ นั้น น่าจะมีการส่งเสริมด้านอื่นมากกว่าตรงนี้ นักลงทุนแทบจะไม่เสียอะไรเลย นอกจากได้ผลประโยชน์จากคนงานแล้วยังได้ผลประโยชน์จากนโยบายช่วยเหลือนายจ้างอีกด้วย และการบังคับใช้นั้นรัฐบาลต้องจริงจังในการบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามด้วย สำหรับค่าครองชีพ แม้ไม่ได้ปรับค่าจ้าง 300 บาท นั้น ค่าครองชีพก็เพิ่ม อยู่แล้ว แต่รัฐก็ต้องเข้ามาควบคุมสินค้าจำเป็นสำหรับผู้ใช้แรงงานด้วย กรณีที่มีการยกเรื่องว่านโยบายค่าแรง 300 บาท ไปแทรกแซงกลไกไตรภาคีที่ใช้กำหนดค่าแรงในแต่ละโซนที่ผ่านมานั้น จิตรา กล่าวว่า ระบบไตรภาคีไม่ได้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ระบบนี้มาจากตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐ แต่ส่วนของลูกจ้างที่มาจากสหภาพแรงงานที่ 1 สหภาพฯ 1 เสียง ไม่ว่ามีสมาชิกเท่าไหร่ก็มีแค่ 1 เสียง รวมทั้งคนงานทั่วประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็มีเพียง 1-2 % ของคนงานทั้งหมดเอง จึงไม่สามารถที่จะเรียกว่าเป็นตัวแทนของคนงานทั้งหมดได้ รวมทั้งที่ผ่านมาตัวแทนฝ่ายลูกจ้างในโซนที่มีสหภาพแรงงานที่ไม่เข้มเข็งก็ไม่สามารถเสนอค่าจ้างที่สูงได้ หรือแม้เสนอสูงอำนาจต่อรองก็น้อย รวมทั้งค่าจ้างในระบบไตรภาคีก็มีการขึ้นได้แค่ครั้งละบาทสองบาท ไม่มีการทีงานวิจัยว่าคนงานที่อยู่ได้จริงๆ ต้องมีค่าจ้างเท่าไหร่ งานวิจัยที่ออกมาหลายแห่งก็บอกว่าคนไทยต้องมีค่าจ้างวันละ 400-500 บาท ด้วยซ้ำจึงจะอยู่ได้ รวมทั้งควรพูดถึงค่าจ้างที่สามาระดูแลลูกและครอบครัวได้ด้วย ตาม ILO ดังนั้นเวลาพูดถึงการแทรกแซงกลไกไตรภาคีนั้นก็ต้องมาพิจารณาด้วยว่ากลไกที่เป็นอยู่มีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ด้วย สามารถทำให้ลูกจ้างมีชีวิตที่ดีขึ้นจริงหรือไม่ ดังนั้นควรแทรกแซงถ้าจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ข้อเสนอนโยบายด้านแรงงาน
เซีย จำปาทอง เลขาธิการสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ เซีย มองว่าสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการที่เห็นเป็นรูปธรรมจัดทำคือ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ข้อดีคือ ลดความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง ทำให้ลูกจ้างมีรายได้ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเขามีข้อเสนอแนะที่เห็นว่ารัฐบาลเพื่อไทยควรเร่งดำเนินการประกอบด้วย - ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดเนื้อหาส่วนหนึ่งดังนี้ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประมุขฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการมาจากการเลือกตั้งโดยตรง - รับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87,98,183 ( ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาในการได้รับสวัสดิการค่าจ้างในช่วงที่ไม่ได้ทำงาน เนื่องมาจากการคลอดบุตร การคุ้มครองสุขภาพแม่และเด็ก โดยให้บิดาสามารถลางานมาดูแลบุตรและมารดาหลังคลอดบุตรได้) - นิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมือง - สตรีมีสิทธิทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร - สร้างรัฐสวัสดิการมาตรฐานเดียวตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น จัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า หลักประกันที่ดินทำกิน หลักประกันที่อยู่อาศัย เรียนฟรีทุกระดับ - รพ.พยาบาลประกันสังคม รักษาฟรีทุกโรค - ระบบค่าจ้างที่เป็นธรรม
พัชนี คำหนัก โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign)(ภาพโดย Alex Biosiam) ดี-เสีย 2 ปีการดำเนินนโยบายด้านแรงงาน พัชนี กล่าวว่า นโยบายด้านแรงงานที่เด่นชัดของรัฐบาลเพื่อไทยคือ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และการขึ้นเงินเดือนบัณฑิตป.ตรีจบใหม่ เป็นเดือนละ 15,000 ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ ซึ่งเป็นการเอาใจผู้ใช้แรงงานในหลายๆ สถานที่ทำงาน และถือว่าตรงตามความต้องการของคนทำงานด้วย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังติดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่มาจากการคิดนโยบายไม่ครอบคลุมถึงผู้ใช้แรงงานทุกคน กล่าวคือในความเป็นจริงการขึ้นค่าจ้างหรือเงินเดือนต้องขึ้นให้แก่คนทำงานที่มีอายุงานที่หลากหลาย อย่างเป็นสัดส่วน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการต่อรองหรือแล้วแต่สถานประกอบการจะดำเนินการขึ้นให้ทุกคนอย่างอัตโนมัติ เพราะสถานประกอบการแต่ละแห่งมีศักยภาพในการแข่งขันที่แตกต่างกัน ทุนใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าทุนขนาดกลางและย่อม หรือทุนใหญ่บางแห่งมุ่งหมายเอาเปรียบคนงานเพราะต้องแข่งขันกับแบรนด์อื่น และตัวแปรเช่นนี้รัฐบาลต้องคำนึงและทำให้นโยบายมีผลทางปฏิบัติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่เทียบเท่ากับคนชั้นกลางหรือชั้นนำ เพราะค่าจ้างขั้นต่ำในเมืองไทยถูกแช่แข็งและบิดเบือนความหมาย คือไม่สะท้อนความเป็นจริง ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ไม่ครอบคลุมคนในครอบครัวของแรงงานอีก 2 คน ฉะนั้นต้องนิยามและปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ และในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องสนับสนุนการรวมตัวและเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน ไม่ใช่ปล่อยให้ทุนทำลายสหภาพแรงงานอยู่ร่ำไป ทั้งนี้ยังมีข้อเรียกร้อง ความต้องการอีกหลายประการที่สหภาพแรงงานต้องเข้าไปเจรจาผลักดันกับนายจ้างต่อไป รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องสำนึกถึงความสำคัญของการเป็นตัวแทนในทุกระดับ ฉะนั้นต้องไม่ปล่อยให้สหภาพแรงงานถูกทำลายโดยง่าย แนะรัฐทบทวนนโยบายปล่อยเสรีทางการค้า "คุณภาพชีวิตที่ดีที่มาจากการยกระดับสภาพการจ้างงานให้มั่นคงและเป็นธรรมกับลูกจ้างทุกแห่ง ไม่ให้เหลื่อมล้ำภายในกันเองและไม่ให้เกิดช่องว่างกับคนรวยกว่าด้วย อีกทั้งให้แรงงานมีอำนาจในการปกครองตนเองมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของรัฐเพื่อประกันว่าตัวเองจะมีคุณภาพชีวิตดังที่เรียกร้องมาโดยตลอด" พัชนี กล่าว อยากให้รัฐบาลทบทวนนโยบายปล่อยเสรีทางการค้าให้ภาคเอกชนที่ผ่านมาว่าทำให้สังคมไทยอ่อนแอในแง่ความเป็นอยู่อย่างไร การเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนจนรัฐลดบทบาทในการดูแลประชาชนในด้านรายได้และสวัสดิการ แต่เพิ่มบทบาทในการเสริมความเข้มแข็งให้แก่ทุน ซึ่งเท่ากับรัฐบาลอยู่ข้างคนส่วนน้อยมากกว่าต่อคนส่วนใหญ่ ฉะนั้น รัฐต้องมีบทบาทมากขึ้นในการจัดสวัสดิการอย่างเป็นระบบ และมาตรฐานเดียว คลอบคลุมชีวิตประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย หลังจากที่ทำมาแล้วภายใต้นโยบายประชานิยม แต่ถือว่าไม่เพียงพอและต้องทำให้เป็นระบบ บทบาทของรัฐในการกระจายรายได้ ผ่านระบบจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยๆ เพื่อนำรายได้มากระจายแก่คนส่วนใหญ่ในรูปแบบต่างๆ สิ่งเหล่านี้ควรวางแผนทำต่อไป ผลักสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า ให้ทุนรู้จักปรับตัวให้รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่ได้ และผลักภาระให้คนจน ทีสำคัญต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการรวมกลุ่มจัดตั้ง แสดงออกอย่างเต็มที่ ดังเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย จึงจะทำให้สังคมโดยรวมเข้มแข็งและมีกำลังซื้อ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาระ+ภาพ: คำขวัญวันแรงงาน 2531-2556 Posted: 01 May 2013 09:11 AM PDT
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศิลปะกับ ‘ความไม่สามารถที่จะเป็นมนุษย์’ Posted: 01 May 2013 08:13 AM PDT
ว่ากันว่างานศิลปะคือการสะท้อน "ความงาม" และความงามนั้นต้องดูกันที่ "ไอเดีย" ที่สะท้อนผ่านงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ความงามที่สะท้อนผ่านงานศิลปะอาจเป็นความประทับใจ น่าทึ่ง หรือความสะเทือนใจ ความเศร้า โศกนาฏกรรมต่างๆ หรือแง่คิดลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและสภาพปัญหาของสังคมก็ได้ แต่หากพิจารณางานศิลปะที่นำมาใช้กับการเมืองของวสันต์ สิทธิเขต เช่น ภาพเขียน 1 ในชุดภาพ "10 ฉากชั่วการเมืองไทย" ข้างบน จะเห็นได้ชัดว่าไม่ได้สะท้อน "ความงาม" ที่มีความหมายใดๆ ไม่ใช่เพราะว่าวสันต์ไม่มีฝีมือทางศิลปะ แต่ภาพเขียนนี้สะท้อนให้เห็น "ความไม่งาม" ในตัวมันเองในความหมายที่สำคัญคือ 1) มันเป็นศิลปะที่สะท้อนความอัปลักษณ์แบบ "สองมาตรฐาน" กล่าวคือ ถ้าความหมายหนึ่งของการสะท้อนความงามทางศิลปะ หมายถึงการสะท้อนให้เห็น "ความอัปลักษณ์" ของบางสิ่งก็ได้เพื่อให้เกิดความสะเทือนใจ ได้แง่คิดบางอย่าง ซึ่งกรณีของภาพเขียนนี้คือการสะท้อน "ความอัปลักษณ์ทางการเมือง" (ที่วสันต์เรียกว่า "ฉากชั่วทางการเมือง") แต่ความอัปลักษณ์ทางการเมืองที่สะท้อนผ่านภาพเขียนนี้มันไม่มีความหมาย หรือไม่ make sense ใดๆ เลย ในเมื่อวสันต์ไม่สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้กับ "ทุกอำนาจนำ" ทางการเมืองในความเป็นจริงได้ เช่นไม่สามารถสะท้อนภาพอัปลักษณ์ของอำนาจนอกระบบเหมือนที่ทำกับนักการเมืองและประชาชนที่สนับสนุนนักการเมืองได้ 2) มันเป็นศิลปะที่สะท้อน "สองมาตรฐานทางศีลธรรม" คือ ถ้าภาพเขียนนี้ต้องการสะท้อนความเลวร้ายของนักการเมือง อย่างที่วสันต์ให้สัมภาษณ์สื่อ (มติชนออนไลน์ 30 เม.ย.56) เช่นการโกงของนักการเมือง การใช้เงินซื้อทุกอย่างได้ การที่คนยอมเป็นทาสทุนทางการเมืองเพราะโลภเงิน ฯลฯ แต่การชี้ให้เห็นปัญหาทางศีลธรรมดังกล่าวนี้มันก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด เพราะการชี้ปัญหา "ศีลธรรมเชิงสาธารณะ" จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเราสามารถชี้ปัญหาศีลธรรมที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะจากการกระทำของบุคคลสาธารณะได้ใน "มาตรฐานเดียวกัน" แต่วสันต์ (เรา) ชี้ให้เห็นปัญหาศีลธรรมเชิงสาธารณะของอำนาจนอกระบบแบบเดียวกับที่กระทำต่อนักการเมืองไม่ได้ การสะท้อนผ่านภาพเขียนของวสันต์ จึงเป็นเพียงการสะท้อน "อคติทางศีลธรรม" ในจิตใต้สำนึกที่ถูกปลูกฝังกล่อมเกลามาภายใต้วัฒนธรรมไทยๆ เท่านั้นเอง และที่สำคัญงานศิลปะแบบวสันต์ มันเป็นเพียงการผลิตซ้ำ "อคติทางศีลธรรม" และ "ระบบสองมาตรฐานทางศีลธรรมเชิงสาธารณะ" ให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคมไทยต่อไป 3) มันเป็นศิลปะที่สะท้อนการลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนอื่นอย่างสุดโต่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็น "ความเก็บกด" ที่ความเป็นมนุษย์ของตนเองถูกลดทอน กล่าวคือ หากมนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีเหตุผล" (rational being) แต่ภายใต้ระบบสังคมที่เราไม่มี freedom of speech กับทุกอำนาจนำทางการเมือง (ตามเป็นจริง) เช่นไม่สามารถมี freedom of speech กับอำนาจนอกระบบได้เหมือนกับบุคคลสาธารณะอื่นๆ ก็เท่ากับว่าระบบสังคมเช่นนี้ลดทอนความเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผลของเรา (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ไม่ว่าคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข จะใช้เหตุผลอย่างไรก็ตาม เพื่อปกป้องสิทธิความเป็นคนของตนเอง แต่ระบบอำนาจที่เป็นอยู่ก็ "ไม่รับรู้" และ "ไม่ยอมรับ" ในความมีอยู่ของ "ความเป็นมนุษย์" ของเขาเลย) ภายใต้โครงสร้างอำนาจ และการปลูกฝังกล่อมเกลาผ่านวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของเรา ทำให้เกิดสภาพ "เก็บกด" ความรู้สึกที่ว่า "ตัวฉันไม่สามารถเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผลได้จริง" ในจิตใต้สำนึกอย่างไม่รู้ตัว ฉะนั้น ภาพเขียนของวสันต์ที่ลดทอน "ความเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล" ของคนอื่น (นักการเมืองเลวบริสุทธิ์ คนอื่นๆ เสื้อแดงที่สนับสนุนเขาโง่ คิดไม่เป็น ฯลฯ) จึงสะท้อน "ความไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผลได้" ของวสันต์เอง "ความไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผลได้" ของวสันต์ในกรณีภาพเขียนนี้ ก็คือความไม่สามารถใช้งานศิลปะสะท้อนปัญหาศีลธรรมเชิงสาธารณะได้ "อย่างมีเหตุผล" เพราะไม่สามารถใช้ภาพเขียนแบบเดียวกันนี้สะท้อนปัญหาศีลธรรมเชิงสาธารณะกับบุคคลสาธารณะได้ใน "มาตรฐานเดียวกัน" จึงทำให้งานศิลปะของวสันต์ไม่มีเหตุผลในตัวมันเอง เป็นเพียงงานที่สะท้อนอคติ ความเกลียดชัง มีลักษณะกดเหยียด ลดทอนความเป็นมนุษย์ของนักการเมืองและฝ่ายที่สนับสนุนนักการเมืองอย่างสุดโต่ง นั่นคือ ถ้าเป็นนักการเมืองหรือฝ่ายสนับสนุนพวกเขาแล้ว วสันต์จะใช้ "สัญญะ" อะไรก็ได้เพื่อสะท้อน เติมแต่งความเลวระยำของพวกเขาในนามของ "เสรีภาพของศิลปิน" ขณะที่ทำกับอำนาจนอกระบบไม่ได้ งานของวสันต์จึงสะท้อนความไร้เหตุผล มีอคติ สองมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากความเก็บกดในจิตใต้สำนึกจากการถูกครอบงำโดยโครงสร้างอำนาจที่ทำให้วสันต์ "ไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล" ได้จริง และสำหรับ "ความอัปลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุด" ที่สะท้อนให้เห็นในงานศิลปะของวสันต์ ก็คือ แทนที่วสันต์จะใช้งานศิลปะต่อสู้เพื่อแก้ไขโครงสร้างอำนาจนอกระบบที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ เพื่อให้ตนเอง (และคนอื่น) สามารถเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผลได้จริง (คือมนุษย์ที่มี freedom of speech กับทุกบุคคลสาธารณะได้) วสันต์กลับใช้งานศิลปะลดทอนความเป็นมนุษย์ของตนเองและคนอื่น ที่ถูกโครงสร้างอำนาจนอกระบบลดทอนความเป็นมนุษย์อยู่ก่อนแล้วให้ดูเสมือนว่า "ไม่มีความเป็นมนุษย์" ไปเลย นี่คือ "การซ้ำเติม" การลดทอนความเป็นมนุษย์ให้หนักหน่วงลงไปอีก นี่คือโศกนาฏกรรมศิลปะที่สะท้อน "ความไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผลได้" ของศิลปินที่หลงผิดว่าตนเองกำลังใช้ "เสรีภาพ" แต่เป็นเสรีภาพที่ไร้ความหมาย ภายใต้ระบบสังคมที่ไม่มี freedom of speech อยู่จริง!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชำนาญ จันทร์เรือง: เมื่อศาลถูกตั้งข้อสงสัย Posted: 01 May 2013 07:59 AM PDT
ผมมีความรู้สึกแปลกๆเมื่อเห็นคำกล่าวหรือคำให้สัมภาษณ์หรือแม้แต่ในถ้อยคำสำนวนในคำฟ้องหรือคำให้การในทำนองขอความเมตตาจากศาล ทั้งๆที่หน้าที่ความรับผิดชอบของศาลนั้นมีหน้าที่ที่จะให้ความยุติธรรมตามหลักนิติรัฐและนิติธรรมอยู่แล้ว ซึ่งหมายความถึงการใช้หลักกฎหมายเป็นฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจว่าจะเมตตาหรือไม่เมตตาใคร และยิ่งมีความรู้สึกแปลกหนักเข้าไปอีกเมื่อเห็นในแบบฟอร์มของศาลที่ระบุว่า "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" เพราะการพิพากษาคดีคงมิใช่เรื่องที่จะ "แล้วแต่จะโปรด"แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายที่จะนำมาพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เคยกล่าวไว้ว่า "ผู้พิพากษาเราอยู่เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ เราจะอำนวยความยุติธรรมไม่ว่าแก่ผู้ใด บริสุทธิ์ เข้มแข็ง กล้าต่อสู้ต่ออำนาจที่มาบีบบังคับ อำนาจที่จะมาจากสถานใดก็ตาม อำนาจที่เป็นกำลังอาวุธ กำลังอิทธิพล อีกทั้งอำนาจความยั่วเย้า ยั่วยวนของวัตถุนิยม เราต้องต่อสู้อำนาจเหล่านั้น จงรักษาความยุติธรรมเหมือนชีวิต เหมือนสุภาษิตลาตินบทหนึ่งว่า fiat justitia ruat coelum แปลว่า จงให้ความยุติธรรมแม้ฟ้าจะถล่มก็ตาม" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า do justice and let the sky fall หรือ let justice be done though the heavens fall กอปรกับประมวลจริยธรรมตุลาการฯก็ได้กำหนดว่า "หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและ นิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติอย่างนั้นอย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนและเทอดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ" เมื่อผู้พิพากษามีความเป็นกลางและมีอิสระปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจใดๆ ผู้พิพากษาย่อมมีหลักประกันในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ผลที่ตามมา คือประชาชนมีความเชื่อมั่นในระบบและกระบวนการยุติธรรม ประชาชนทุกฐานะ อาชีพ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย (Equality before the law) โดยไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย(No one above the law) นับแต่เกิดวิกฤตทางการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา ศาลไม่ว่าจะเป็นศาลใดก็ตาม ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการในการพิพากษาคดีตามอำนาจหน้าที่ของตนได้สร้างความค้างคาใจให้แก่ประชาชนเป็นอันมากถึงความเป็นอิสระและความเป็นกลาง จนล่าสุดที่ถึงกับมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านจากประชาชนจากกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล(อาญา) หรือกลุ่มเสื้อแดงหน้าศาลรัฐธรรมนูญและการปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจากฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณาว่าเหตุใดจึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ขึ้น เหตุแห่งความสงสัยในความเป็นกลางของศาลนั้นเกิดได้ในไม่กี่เหตุ คือ 1.การมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทางการเงิน การมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทางการเงินย่อมทำให้ผู้พิพากษาและตุลาการขาดความเป็นกลาง ซึ่งในประเด็นนี้ไม่มีข้อสงสัยต่อการดำเนินการของศาลในวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมาแต่อย่างใด และสังคมยังเชื่อมั่นในความโปร่งใสอยู่ในระดับที่สูงมาก แม้ว่าจะมีข่าวการไล่ออกผู้พิพากษาอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีเฉพาะบุคคลไม่ได้เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด 2.การมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคล การมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลนี้ อาจเป็นกรณีของความสัมพันธ์ทางเครือญาติไม่ว่าจะเป็นญาติทางสายโลหิตหรือญาติทางการสมรส และยังหมายความรวมถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการเกิดอคติได้ ในประเด็นนี้เริ่มมีข้อสงสัยเกิดขึ้นแต่มิใช่ประเด็นในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนตัว แต่เป็นประเด็นของความสัมพันธ์ในทางความคิด หรือทัศนคติทางการเมือง ดังปรากฏการณ์ที่มีการปรึกษาหารือระหว่างประมุขของฝ่ายตุลาการศาลต่างๆและเลขาธิการฯ จนเกิดความงุนงงสงสัยว่าศาลสามารถทำได้ด้วยหรือ มิหนำซ้ำบางคนในที่ประชุมนั้นยังได้รับอานิสงส์ของการเปลี่ยนทางการเมืองนั้นเสียอีกด้วย 3.การตัดสินคดีล่วงหน้า สำหรับความเกี่ยวข้องของผู้พิพากษาและตุลาการในกรณีนี้ อาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ การแสดงความความเห็นไว้ก่อนหน้า และการเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหรือมีส่วนได้เสีย เนื่องจาก เมื่อผู้พิพากษาและตุลาการได้เคยเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงใดมาก่อนแล้ว ย่อมมีแนวโน้มที่จะนำเอาความเชื่อหรือข้อเท็จจริงที่ตนเองเคยรับรู้มาเป็นส่วนในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำวินิจฉัย ซึ่งในกรณีนี้ได้ปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในอดีตแต่ปรากฏถี่ขึ้นในช่วงหลังไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์สื่อมวลชนแทบจะเรียกว่าเป็นรายวันเลยก็ว่าได้จากประธานศาลหรือจากอธิบดีศาล จนผู้ทีมีคดีความในศาลหรือประชาชนทั่วไปเกิดความสงสัยในความเที่ยงธรรมในคดีที่ยังอยู่ในศาลและคดีที่เข้าไปสู่ศาลภายหลังการให้ความเห็นต่อสาธารณะของบุคคลดังกล่าวนั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะเกิดความสูญเสียในความเชื่อมั่นจากประชาชนไปมากก็ตาม แต่ก็มิได้สูญเสียไปจนหมดสิ้นไปเลย ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความหวังต่อสถาบันศาลมากว่าสถาบันอื่นอีกมาก แต่น่าเสียดายที่ในช่วงหลังๆนี้ศาลในฐานะที่เป็นกรรมการกลับมาเป็น "คู่ความ"หรือ "คู่กรณี"เสียเอง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏชัดแจ้งว่าชอบหรือไม่ชอบกลุ่มตรงกันข้ามกับความเชื่อทางการเมืองของตนเองหรือการลงมาค้าความเสียเอง เป็นต้น ถึงเวลาแล้วล่ะครับที่ศาลจะต้องหันมาทบทวนตัวเองว่าเหตุใดจึงเกิดปรากฏการณ์ต่อต้านอำนาจศาลเกิดขึ้น เพราะหากศาลไม่ทบทวนหรือปรับบทบาทให้กลับมาเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นศาลในนานาอารยประเทศทั้งหลายแล้ว แทนที่ที่ประชาชนจะร้องขอความเมตตาต่อศาลเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา ศาลเองนั่นแหล่ะครับที่จะต้องมาร้องขอความเมตตาจากประชาชนแทน
---------------- หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปรากฏการณ์ดะอ์วะฮ์ในมาเลเซียช่วงทศวรรษ 1970 Posted: 01 May 2013 07:51 AM PDT
อิสลาม มุสลิม ในสังคมมาเลเซีย มาเลเซีย มีผู้นับถือศาสนาอิสลามราวครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดโดยประมาณ 26 ล้านคน อิสลามมีฐานะเป็นศาสนาแห่งรัฐมาตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราช รวมถึงมีความสำคัญต่อการกำหนดอัตลักษณ์ของชนพื้นเมืองมาเลเซีย ศาสนาอิสลามเริ่มแพร่หลายสู่โลกมลายูในช่วงศตวรรษที่ 14 ในบริเวณเมืองท่าต่างๆ และเริ่มที่จะเข้าไปมีบทบาทกับอำนาจรัฐเมื่อประมาณศตวรรษที่ 15 โดยเป็นช่วงเวลาที่รัฐมะละกาได้ถูกสถาปนาขึ้น และจากนั้นเป็นต้นมาอิสลามได้แพร่กระจายไปสู่โลกมลายู และมีความสำคัญผูกติดอยู่กับรัฐต่างๆ เสมอมา ภายหลังจากได้รับเอกราชมาเลเซียก็ได้บัญญัติให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำในรัฐธรรมนูญของประเทศ และตั้งแต่ได้รับเอกราชเป็นต้นมา มาเลเซียได้อยู่ภายใต้การบริหารของ Barisan Nasional (แนวร่วมแห่งชาติ) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยที่มีพรรค UMNO เป็นแกนนำรัฐบาลมาโดยตลอด ปรากฏการณ์ดะอ์วะฮ์ (Dawah Movement) ในมาเลเซียช่วงทศวรรษ 1970 ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตามระบอบของอิสลาม ความพยายามเหล่านี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นกันอย่างทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงาน การเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติในการลดการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ผู้ส่งออกน้ำมัน ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง จากจุดนั้นเองส่งผลให้เกิดจำนวนผู้รู้ในทางด้านศาสนาจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดกระบวนการศึกษาเรียนรู้ และทำให้อุดมการณ์ของอิสลามเริ่มที่จะเบ่งบานมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว การเคลื่อนไหวในกลุ่มของมุสลิมในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่ว่ามีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ยังคงมีความพยายามที่จะพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามที่จะนำอิสลามเป็นรูปแบบในการใช้ชีวิตของคนมุสลิมในมาเลเซีย กลุ่มสำคัญ หรือขบวนการสำคัญที่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเวลานั้นมีทั้งกลุ่มพรรคการเมืองที่ชูนโยบายจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของประเทศมาเลเซียให้มีการใช้กฎหมายชารีอะฮ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปกครองประเทศคือ พรรค PAS (Parti Islam Semalaysia) องค์กรที่เน้นการพัฒนาและการทำธุรกรรมทางการเงินตามหลักการอิสลามเช่น ดารุล อัรกอม หรือขบวนการเยาวชน ที่ใช้ ชื่อว่า ABIM นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่ตื่นตัวทางด้านการเมือง และออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มาเลเซียกลับสู่หลักการของอิสลาม นอกจากนั้นยังคงมีการเคลื่อนไหวของ ญามาอะฮ ตับลีฆ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับและสามารถขยายตัวได้บริเวณชนบทของประเทศ จากคำอธิบายของ Shamsul ได้กล่าวว่า จากการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ดะวะฮ์มีผลมาจากแรงผลักดัน 6 ประการด้วยกันคือ[1] 1. เพื่อรับมือกับแรงกดดันของกระบวนการทันสมัย 2. เพื่อแสงดออกถึงความรู้สึกที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมหรือลัทธิครองความเป็นเจ้าของตะวันตก 3. เพื่อส่งเสริมารฟื้นฟูทางจิตวิญญาณ 4. เพื่อต่อกรกับกระบวนการสร้างเหตุผลทางสังึมของโลกสมัยใหม่ที่ท้าทายต่อโลกทัศน์ทางศาสนาและปรัชญาแบบเดิม 5. เพื่อแสวงหาหนทางที่จะอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการตั้งคำถามหรือความไม่เชื่ออย่างถอนรากถอนโคน ไม่ว่าจะเป็นต่อสถาบัน ค่านิยม และศีลธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคม 6. เพื่อสร้างจารีตอันใหม่ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้สามารถนิยามหรือผลักดันหาอัตลักษณ์ใหม่ทางชาติพันธุ์ ศาสนาในสังคมที่มีความหลายหลายได้
พรรค PAS กับการเมืองมาเลเซีย พรรค PAS เป็นชื่อย่อของปาร์ตี อิสลาม เซอ-มาเลเซีย ซึ่งมีความหมายว่า พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย การดำเนินนโยบายของพรรคก็คือ การผลักดันหลักการของอิสลามเข้าสู่รัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จในบางพื้นที่เช่นในกลันตันในส่วนของกฎหมายให้มีการลงโทษผู้กระทำความผิดตามหลักการของอิสลาม ในส่วนการเมืองระดับประเทศ หรือในการเมืองส่วนกลาง พรรคนี้มีฐานะเป็นพรรคฝ่ายค้านของพรรครัฐบาลที่นำโดย พรรคอัมโนมาที่ครองเสียงข้างมากมาโดยตลอด โดยพรรคนี้มีฐานเสียงอยู่ที่กลันตัน และตรังกานู ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู อุดมการณ์ทางการเมืองแบบอิสลามที่พัฒนาขึ้น (Political Islam) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันออกกลางอย่างกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้นโยบายแบบอิสลามเป็นแนวทางที่ยึดความเป็นอิสลาม ความศรัทธา และเชื่อมั่นในอิสลาม ยึดอุดมการณ์อิสลามเป็นแนวทางในการทำงาน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก็เช่นเดียวกัน การใช้นโยบายด้านศาสนาเป็นเครื่องมือ หรือแนวทางในการขึ้นมามีบทบาททางการเมืองอย่างพรรคPAS และพรรคUMNO ความเคร่งครัดของคนมาเลเซียที่เกิดจากกระบวน การอิสลามานุวัฒน์ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ทำให้เกิดการแข็งขันระหว่างสองพรรคการเมือง การใช้นโยบายของการให้นิยามแก่ "แก่นแท้ของอิสลาม" ที่เหมาะสมกับมาเลเซีย[2] Political Islam ที่ได้รับความนิยมมากนี้ ส่งผลให้เกิดกระแสการฟื้นฟูอิสลาม โดยที่กลุ่มการเมืองใช้นโยบายโดยมีอุดมการณ์ทางด้านศาสนาเป็นธงนำ และเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ประชาชนเคร่งครัดและหันมาให้ความสำคัญกับศาสนา การปฏิรูปสังคมที่นิยมแนวทางอิสลาม การสร้างคุณธรรม การสร้างสังคมที่ทันสมัย ภายใต้กรอบอิสลามไปสู่แนวทางที่ชัดเจนขึ้น
จากดารุล อัรกอมสู่ รูฟาการ์ ดารุล อัรกอม (Darul Arqam) องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1968 โดยอุซตาซ อัชอารีย์ มูหัมมัด เป็นครูสอนศาสนา เน้นทางด้านเศรษฐกิจอิสลาม และเน้นทางด้านการขัดเกลาตัวเอง (ตัรบียะห์) มีแนวคิดของซูฟี แต่ดารุล อัรกอม ( ซึ่งถูกรัฐบาลห้ามดำเนินการเคลื่อนไหวไปในปี ค.ศ. 1994 หลังจากถูกยุติบทบาทการเคลื่อนไหว สมาชิกของดารุล อัรกอมได้ดำเนินงานของตัวเองผ่าน บริษัทรูฟากา (Rufaqa Corporation) โดยบริษัทรูฟากาได้ดำเนินธุรกิจทั่วทั้งประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะมีทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต ค้าปลีก ร้านอาหาร ร้านตัดเย็บและเสื้อผ้า บริการธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจสำนักพิมพ์หนังสือ วารสาร โรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค โรงงานผลิตยานยนต์ เครือข่ายธุรกิจโรงแรมและห้องพัก เป็นต้น นอกเหนือจากมาเลเซียรูฟากายังมีธุรกิจในต่างประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย ออสเตรเลีย จอร์แดน ซีเรีย อียิปต์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน[3]
ABIM กลุ่มปัญญาชน ภาพของขบวนการนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศไทย ในช่วง 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เหล่านี้ถือเป็นสีสันทางการเมือง สำหรับการพัฒนาการศึกษาในช่วงสงครามเย็นได้เกิดกลุ่มเหล่าปัญญาชน ที่ตระหนักถึงความสำคัญต่อส่วนร่วมทางการเมือง ในมาเลเซียก็เช่นเดียวกัน เหล่าปัญญาชนได้ออกมาเคลื่อนไหวในทางการเมือง อาบิม หรือ ชื่อเต็มจาก Angkatan Belia Islam Malaysia-ABIM เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวโดยปัญญาชนของมาเลเซีย ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่คนหนุ่ม-สาว และนักศึกษาในมาเลเซีย สำหรับแกนนำคนสำคัญคือ อันวาร์ อิบราฮีม ซึ่งปัจจุบันดำรง ตำแหน่งหัวหน้าพรรค PKR ปรากฏการณ์ดะวะฮ์ ที่เกิดขึ้นในสังคมมาเลเซียนั้น ถือเป็นจุดเล็กๆ จุดหนึ่งของกระแสการฟื้นฟูอิสลามในสังคมโลกยุค 1970 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ดะวะฮ์ ไม่ได้ฉายภาพเพียงแค่การฟื้นฟูอิสลามเพียงอย่างเดียว แต่ในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้เป็นการแย่งชิงคำอธิบายเกี่ยวกับอิสลาม มุสลิม ในสังคมมาเลเซียอีกด้วย [1] พวงทอง ภวัครพันธุ์, "มาเลเซียกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย พินิจปัญหาจากกรอบอิสลามานุวัตรในมาเลเซีย" ในวารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2550 [2] บทความ พวงทอง ภวัครพันธุ์, พินิจปัญหาจากกรอบอิสลามานุวัตรในมาเลซีย,ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 1-7
ที่มา: http://www.pataniforum.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ข้อสังเกตต่อคำประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอของบีอาร์เอ็น (BRN: Barisan Revolusi National) Posted: 01 May 2013 07:39 AM PDT
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ อุซตาซ ฮัซซัน ตอยิบ และ คุณ อับดุลการีม คอลิบ ได้ออกมาพูดต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก โดยพูดในฐานะที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเคลื่อนไหวบีอาร์เอ็น (BRN: Barisan Revolusi National) ในการออกมาสื่อสารกับคนทั้งโลกในครั้งนี้ (เนื่องจากกระทำผ่านยูทูป) ทั้งสองท่านได้แสดงถึงเจตจำนงค์ของการต่อสู้ของกลุ่ม พร้อมทั้งเสนอเงื่อนไขทางการเมืองดังที่สื่อมวลชนได้รายงานให้เป็นที่ทราบกันดีแล้วนั้น วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าทั้งเจตนารมณ์และเงื่อนไขดังกล่าวแสดงถึงพัฒนาการปกติของกระบวนการพูดคุยหรือเจรจา บทความนี้ยังจะถกเถียงต่อไปอีกว่าเจตนารมณ์การต่อสู้และเงื่อนไขบางประการที่ตัวแทนทั้งสองท่านจาก BRN ได้เสนอมานั้นยังเป็นสัญญาณในเชิงบวกอีกด้วย 9 ปีของการต่อสู้ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของผู้คนอย่างประเมินค่าไม่ได้ (ขณะนี้เฉพาะผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 5300 คน) แมคคาร์โก้ (Duncan McCargo) ศาตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ ผู้ติดตามศึกษาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ให้ข้อมูลว่า เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากที่สุดในโลกเป็นรองก็แต่เเฉพาะ อิรักและอัฟกานิสถานเท่านั้น (ดู www.chathamhouse.org) ด้วยเหตุนี้เมื่อกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้เผยตัวและแสดงเจตจำนงค์ออกมาจึงเป็นเรื่องที่ดี แทนที่จะใช้อารมณ์ปฏิเสธอย่างทันควัน สาธารณชนควรรับฟังและใคร่ครวญอย่างถ่องแท้ถึงเนื้อหาสาระที่เป็นข้อเสนอมาจากพวกเขา การฟังว่าอีกฝ่ายมีอะไรจะพูดถือเป็นก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางปัญญา (Maturity) ของสังคมไทย กรณีการด่วนสรุปเรื่องป้ายผ้าที่มีข้อความในเชิงถกเถียงเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ น่าจะเป็นบทเรียนที่ดี ที่เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ต้องนิ่งสงบและรับฟังอีกฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น อาศัยคำแปลจากอาจารย์ชินทาโร่ (Hara SHintaro) แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี (ดูhttp://www.deepsouthwatch.org/node/4197) ผมมีข้อสังเกตุรวมทั้งข้อถกเถียงต่อคำประกาศเจตนารมณ์ของ อุซตาส ฮัซซัน ตอยยิบ และเงื่อนไขที่นำเสนอโดย คุณ อับดุลการีม คอลิบ ดังนี้ 1) เป็นครั้งแรกที่กลุ่ม BRN ได้ออกมาพูดให้ความมั่นใจต่อพี่น้องชาวพุทธ (สยาม) และพี่น้องชาวจีน (จีนอ) ว่า "ไม่จำเป็นต้องตั้งข้อสงสัยหรือเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมนี้" คำประกาศนี้นับเป็นสัญญาณที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจาก 9 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ ซึึ่งนำโดย BRN มีท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์กับพี่น้องชาวจีนและชาวพุทธมาโดยตลอดเห็นได้จากการปฏิบัติการระเบิดครั้งใหญ่ๆหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดยะลา ซึ่งเห็นชัดว่าเป็นการเจาะจงเป้าหมายต่อชุมชนที่มีชาวพุทธและชาวจีนอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ใบปลิวที่ออกมา (ถ้ามาจาก BRN จริง) มักมีเนื้อหาที่ไม่เป็นมิตรกับทั้งสองกลุ่มนี้โดยเฉพาะ การเข้าสู่โต๊ะเจรจาเป็นการบีบให้ BRN ต้องอ้างว่าตัวเองเจรจาในนามของพี่น้องประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ (เป็นเรื่องปกติอีกเช่นกันที่ทุกฝ่าย รัฐบาล ทหาร นักการเมือง ต่างก็อ้างประชาชน) การอ้างอิงประชาชนจะขาดความชอบธรรมถ้า BRN กันกลุ่มคนอื่นๆที่ไม่ใช่มุสลิมออกไป การ "รับประกัน" ถึงความยุติธรรมที่ทุกคนจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน (ถ้า BRN ขึ้นมาปกครอง) เป็นการตระหนักว่าต่อไปนี้ BRN จะต้องมีความระมัดระวังต่อเป้าหมาย การโจมตีที่ก่อให้เกิดลูกหลง (Collateral Damage) ต้องลดลง ถ้าประชาชนถูกลูกหลงและสูญเสียมาก BRN จะอ้างได้อย่างไรว่ามาจากประชาชน? ยิ่งไม่ต้องกล่าวว่าความยุติธรรมที่ BRN กล่าวถึงจะได้มาด้วยความอยุติธรรมต่อพี่น้องประชาชนได้ได้อย่างไร? มองในแง่นี้ เจตนารมณ์ที่ประกาศโดย อุซตาส ตอยิบ ฮัซซัน จึงเป็นพัฒนาการที่ดีและเป็นการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการเจรจาเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ทำให้คู่เจรจาจะต้องหันกลับมาต่อสู่ในรูปแบบทางการเมืองปกติมากยิ่งขึ้น โดยมีประชาชนเป็นผนังพิง 2) เงื่อนไข 5 ข้อมิได้เป็นเงื่อนไขที่ "เกินเลย" ยากแก่การเจรจาต่อรอง ทั้งนี้เนื่องจาก ไม่มีเงื่อนไขข้อใดหรือประโยคใดที่กลุ่ม BRN กล่าวถึงสิ่งที่ไม่สามารถเจรจากันได้ (unnegotiable) ในความเห็นของรัฐไทย (หรือรัฐอื่นๆ) คือเรื่องอำนาจอธิปไตยของไทย ข้อเสนอสองข้อ (ข้อ 2 และ 5) เป็นความต้องการที่จะให้รัฐไทยยอมรับสถานะของกลุ่ม BRN อย่างเป็นทางการ (จริงๆแล้วขณะนี้ในทางพฤตินัยรัฐไทยยอมรับสถานะนั้นแล้วด้วยการเข้าสู่การพูดคุยเจรจา) ข้อเสนอ ข้อ 1 กับ ข้อ 3 เป็นการหาพยานในการรับรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า กลุ่ม BRN จะไม่ถูกหลอกจากรัฐไทยดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มอื่นในอดีต (หนึ่งในนั้นคือ ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ กับพวกที่ตอนนี้ศาลฏีกาพิจารณาสั่งประหารชีวิต) ส่วนข้อเสนอที่ 4 เป็นข้อเสนอให้ปล่อยนักโทษ ทั้งที่มีหมายจับและถูกคุมขัง ซึ่งเป็นข้อเสนอปกติที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไม่ว่าที่ไหนในโลกเขาก็ทำกัน ทั้งนี้เนื่องจากสมมุติฐานที่ว่าบุคลดังกล่าวมิได้ทำความผิดอันเกิดจากความชั่วโดยสันดานหากแต่ทำไปเพราะมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างจากรัฐ ส่วนกรณีไหนที่ควรปล่อยหรือไม่ควรปล่อยเป็นเรื่องที่สามารถเจรจาต่อรองกันได้ ประเด็นอื่นๆ เช่นคำที่ กลุ่ม BRN ใช้เรียก รัฐไทยว่าเป็นนักล่าอาณานิคม เป็นประเด็นปลีกย่อย (ถึงแม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์รองรับ) เป็นเรื่องปกติที่กลุ่ม BRN เรียกรัฐไทยเช่นนั้นก็ในเมื่อรัฐไทยเองก็เรียกเรียกพวกเขาว่าโจรใต้ได้เช่นเดียวกัน มองในภาพรวมจะเห็นว่า กลุ่ม BRN มองสถานการณ์การต่อสู้กับรัฐไทยอย่างเป็นจริง และยื่นข้อเสนอโดยการมองสภาพความเป็นจริง (Pragmatism) มากที่สุด คำศัพท์ที่ใช้อาจไม่รื่นหูผู้ฟังคนไทย แต่อย่าลืมว่าปาตานีกับสยามรบกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1785 ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกันมันฝังลึก จะใช้คำหวานๆเรียกกันคงจะไม่ง่ายนัก แสงสว่างแห่งสันติภาพได้ถูกจุดแล้ว ถ้าหากมีพลังใดที่ต้องการให้มันดับลง โปรดนึกถึงเด็กผู้หญิงคนนั้น (และอีกกว่า 5300 ชีวิต) นิโซเฟียน นิสานิ เด็กหญิงอายุ 9 ขวบ ที่เพียงต้องการกินไอศครีมในวันที่อากาศร้อนระอุ... ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาล รธน. เลื่อนพิจารณาสมาชิกภาพ ส.ส.‘อภิสิทธิ์’ กรณีใช้ สด.9 เป็นเท็จ Posted: 01 May 2013 06:18 AM PDT 1 พ.ค.56 ศาลรัฐธรรมนูญมีการพิจารณาอรรถคดีและมีผลการพิจารณาในคดีสำคัญ ประกอบด้วยคดีสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามรัฐธรรมนูญ ม.91, 106(5) ประกอบ ม.102(6)ซึ่งที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคดีนี้มีความสำคัญและการพิจารณายังไม่ได้ข้อยุติ จึงมีการเลือนพิจารณา และศาลพิจารณาว่า "ได้ส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ถูกร้องโดยชอบแล้ว"ในคดีที่นายสมชาย แสวงการ และคดีที่นายบวร ยสินทรกับคณะ ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.68 ว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและคณะกระทำการส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้ง 2 คดีศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหนังสือแจ้งต่อศาลว่าไม่มีผู้ถูกร้องที่เป็น ส.ส.รายใดรับสำเนาคำร้องและอยู่ในระหว่างปิดสมัยประชุม จึงขอให้ สนง.ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการจัดส่งตามระเบียบต่อไปและ ส.ว.ผู้ถูกร้องได้ยืนคำร้องขอขยายเวลายื่นคำชี้แจง ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าได้ส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ถูกร้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยแล้วจึงถือว่าได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่ผู้ถูกร้องโดยชอบแล้ว สำหรับกรณี ส.ว.46 คน ที่ยื่นขอขยายเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหานั้น ศาลมีคำสั้งอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปจนถึง 15 พ.ค.56 และหากไม่ส่งในระยะเวลาดังกล่าวถือว่าไม่ติดใจ สำหรับคดีสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น ส.ส.134 คน อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.91 วรรคหนึ่ง เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนรัษฏรเพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของ ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชาชาชีวะ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ม. 106 (5) ประกอบ ม.102 (6) หรือไม่ เนื่องจากกระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการอาจารย์ส่วนการศึกษาโรงเรียน จปร. ได้ใช้เอกสารสำคัญ สด.9 แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายลงวันที่ 8 มิ.ย.31 อันมีข้อความสาระสำคัญอันเป็นเท็จ(ถือว่าเป็นเอกสารเท็จ)ไปประกอบการขึ้นทะเบียนกองประจำการ ณ จว.น.ย. จนทำให้เข้าหน้าที่สัสดีผิดหลงออกใบสำคัญ สด.3 ลงวันที่ 2 มิ.ย.31 ขึ้นทะเบียนกองประจำการ ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขทะเบียน ท.บ. 2531 ก.ท.10803 อันเป็นการกระทำที่ละเมิดศีลธรรม จริยธรรมและแบบธรรมเนียมทหารสัญญาบัตร เป็นการกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตน เป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ไม่สมควรให้อยู่ในราชการต่อไปนับแต่วันกระทำผิด และคณะกรรมการของกระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ลงโทษเนื่องจากกระทำความผิดทางวินัย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2537 โดยปลดออกจากราชการตามคำสั่งกลาโหม ที่ 1163/2555 ลงวันที่ 8 พ.ย.55 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา: เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร Posted: 01 May 2013 05:29 AM PDT วรเจตน์ชี้ความขัดแย้งกรณีศาลรัฐธรรมนูญอาจมาถึงจุดสิ้นสุดของการต่อสู้ตามระบบกฎหมาย และอาจนำไปสู่การสู้ด้วยกำลังและรุนแรง คณินวิพากษ์วิกฤตที่จะเกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง 1 พ.ค. 2556 วรเจตน์ ภาคีรัตน์และคนิณ บุญสุวรรณ ร่วมเสวนาหัวข้อเมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันการศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ร่วมกับมูลนิธิ คอนราด อเดเนาว์ ดำเนินรายการโดนศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ โดยทั้งสองเห็นร่วมกันว่า วิกฤตการเมืองรอบใหม่ อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้อง 40 สว. เป็นเรื่องขัดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ถึงประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงในขณะนี้ว่า ศาลรธน. นั้นแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติจริงหรือไม่ว่า อำนาจสามส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ที่รธน.กำหนดให้องค์กรของรัฐเป็นผู้ใช้เป็นอำนาจที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญนั้นทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกัน ดังนั้นเมื่อพูดว่าศาลรธน. แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะมีกรณีที่ศาลรธน. สามารถรับคำร้องและพิจารณาคำร้องได้ในกรณีที่สภาตรากฎหมายที่ขัดกฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้ และกรณีนี้จะไม่ถือว่าศาลแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติตราบที่ยังอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้มากไปกว่านั้น เพราะเป็นกรณีที่รัฐสภาจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การตรากฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างกันอยู่ อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจที่กำหนดให้รัฐสภาเป็นคนใช้อำนาจนั้น แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาตรวจสอบได้ตามหลักความกฎหมายสูงสุดของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นสภาไม่ได้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแบบปกติที่ใช้ในการแก้ไขกฎหมายต่ำกว่ารธน. แต่เป็นการใช้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนี่เป็นปัญหาเพราะคนเข้าใจว่าเป็นอำนาจในระดับเดียวกัน ส่วนข้อห้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการเปลี่ยนรูปรัฐ แต่โดยเหตุแบบนี้ก็มีคนคิดว่าถ้ามีข้อห้ามแบบนี้ต้องมีองค์กรมาตรวจสอบ และคิดว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือเหตุผลที่ศาลฯ เข้ามาระงับยับยั้ยการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ในทางรัฐธรรมนูญนั้นมีหลักการสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือรธน. ให้อำนาจศาลรธน. ในการพิจารณากรณีที่เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติธรรมดา แต่ไม่มีที่ใดในรัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจศาลฯ ในการเข้ามาตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าศาลฯ รับอำนาจมาจากรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีสิทธิห้ามองค์กรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาเป็นการทำ "หน้าที่" ไม่ใช่การใชสิทธิเสรีภาพตาม รธน. ม. 68 ส่วนรัฐธรรมนูญ ม. 68 นั้นกำหนดเนื้อหาให้ปกป้องรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในวรรค 1 ว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ วรเจตน์กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภานั้น ไม่ใช่กรณีที่สมาชิกรัฐสภาใช้สิทธิและเสรีภาพ แต่เป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเสียแล้ว การทำตามหน้าที่ของหน่วยงานรัฐก็จะเข้าองค์ประกอบมาตรา 68 ได้อีกมาก จะเป็นการแผ่อำนาจการตรวจสอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกไปอย่างกว้างขวาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความ ม. 68 ไปในทางที่ล้มล้างบทบาทของอัยการ นักวิชาการจากกลุ่นนิติราษฎร์กล่าวต่อไปว่า อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่คนทั่วไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายก็ย่อมเข้าใจได้ คือ ตัวบทบัญญัติ ม. 68 วรรค 2 ระบุว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจวสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว การที่บทบีญญัติระบุว่าผู้ที่ทราบเรื่องให้ยื่นคำร้องต่ออัยการ เพื่อไม่ให้อ้างกันได้พร่ำเพรื่อ จึงต้องกำหนดกระบวนการในการนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งรธน. กำหนดว่า คนที่รู้ถึงการกระทำตามวรรค 1 ให้ยื่นเรื่องไปที่อัยการสูงสุด ถ้าอัยการเห็นว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องต่อไป แต่ถ้าไม่เห็นว่ามีมูล ก็ไม่ส่งเรื่อง เป็นการคานอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับอัยการ แต่ถ้าจะใครก็ได้ไปยื่นร้องได้โดยไม่ผ่านนอัยการ ก็จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณาได้อย่างกว้างขวาง เพื่อขัดขวางการกระทำต่างๆ ของรัฐ ซึ่งไม่ถูกต้อง ในทางปฏิบัติ ถ้าอัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องไป เรื่องก็ไม่ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอัยการสูงสุดก็เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญไว้วางใจให้อำนาจ และในโลกนี้มีประเทศที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญน้อยมาก เพราะว่าเป็นศาลที่ไม่ใช่ศาลทั่วไป แต่เป็นองค์กรที่คอยคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องวางกลไกเพื่อป้องกันไม่ให้ศาลฯ เป็นผู้เผด็จอำนาจ และในทางการเมืองมีความขัดแงตลอดเวลา ก็จะมีคนไปฟ้องศาลฯ ได้ตลอดเวลา แต่ที่ผ่านมามีการตีความ คำว่า และ เท่ากับคำว่า หรือ ซึ่งนักศึกษากฎหมายก็รู้ได้ว่าเป็นการตีความที่ประหลาด คำถามง่ายๆ คือจะเขียนคำว่าอัยการสูงสุดไปทำไม ถ้าไปยื่นคำร้องต่อศาลฯ ได้โดยตรง การวินิจฉัยรับคำร้องของศาลในการปฏิบัติจึงเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ลบว่า "อัยการ" ออกจากรัฐธรรมนูญ วรเจตน์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ศาลยังไปอ้างอำนาจที่ไม่มี คืออำนาจในการสั่งคุ้มครองชั่วคราว พร้อมทั้งกล่าวว่ากรณีการขัดขวางแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ เป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงต่อเนื่อมาจากรัฐประหาร กลไกโครงสร้างใย รธน. 2550 จึงมีส่วนที่ไม่ยอมรับและยอมรับประชาธิปไตยและนิติรัฐคู่ขนานกัน และแสดงออกมาผ่านกลไกและการตีความของศาลรธน. โต้ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อ้างศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน-ฮิตเลอร์ ผิดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รศ. วรเจตน์กล่าวถึงกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ปาฐกถาในงานรำลึก ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งมติชนออนไลน์นำเสนอเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยยกเอาข้อความตอนหนึ่งว่า นายวสันต์ ชี้ให้เห็นถึง "การลุแก่อำนาจของเสียงส่วนใหญ่" โดยยกกรณีของ "ฮิตเลอร์" ซึ่งขึ้นเป็นผู้นำเยอรมันจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะเลือกตั้งแล้วสมัครพรรคพวกมาได้เสียงข้างมากในสภา ฮิตเลอร์ก็แก้ไขกฎกติกา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองในที่สุด ผู้นำและเสียงข้างมากก็นำพาเยอรมันไปสู่หายนะ ซึ่งนี่คือ ตัวอย่างของผู้นำที่มาจากเสียงข้างมาก และนี่ คือ เหตุผลของการที่เยอรมันมีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญในเยอรมันก็มีอำนาจมากเหลือเกิน ไม่ต้องมีใครมายื่นคำร้องไม่ต้องมาเถียงกัน คือ หากเห็นว่าฝ่ายบริหารกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตั้งเรื่องเองและเรียกฝ่ายบริหารมาไต่สวน ถ้าเห็นไม่ชอบมาพากลก็ออกคำสั่งห้ามได้ รศ.วรเจตน์ อธิบายว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำอภิปรายของประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง สามประเด็น ประเด็นแรก คือ มักมีการอ้างฮิตเลอร์เป็นผู้นำจากการเลือกตั้ง ทั้งที่ฮิตเลอร์ไม่เคยชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดเลย แต่ได้มาจากการรวบรวมเสียงจากพรรคต่างๆ มาร่วมรัฐบาลและขณะนั้นฮิตเลอร์ก็ไม่ได้เป็นผู้เผด็จการเด็ดขาด ซึ่งการเป็นผู้เผด็จการของฮิตเลอร์นั้นเป็นผลพวงของเหตุการณ์หลายอย่างประกอบกัน และเหตุการที่สำคัญ คือบทบาทของฝ่ายศาลและตุลาการที่สนับสนุนให้ขึ้นสู่ความเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งรวมถึงคดีศาลใช้กฎหมายย้อนหลังลงโทษทางอาญาแก่บุคคล "การที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู้อำนาจ จึงเป็นผลจากการกระทำของฝ่ายตุลาการและศาลในขณะนั้น และไม่มีใครพูดกันโดยเฉพาะคนที่จบจากเยอรมัน" สำหรับกรณีที่มีคนกล่าวอ้างว่าฮิตเลอร์ทำประชามติได้รับเสียงสนับสนุน 90 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ฮิตเลอร์ทำประชามตินั้นเป็นการทำเมื่อฮิตเลอร์เป็นเผด็จการไปแล้ว เหมือนการลงประชามติปี 2550 ที่ประชาชนไม่มีสิทธิรู้ว่าถ้าไม่ลงประชามติแล้วจะได้รัฐธรรมนูญฉบับไหน ประเด็นที่ 2 ระบบศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่มีการตั้งประเด็นขึ้นพิจารณาเอง "มีคนบอกว่าถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากลก็มีคำสั่งห้ามได้ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่เยอรมันแน่ๆ ผมอยากเสนอว่านักกฎหมายไทยหลายคนที่พูดเรื่องเยอรมันพูดไม่ถูกต้อง จะเป็นการดีมากๆ ถ้ามีการจัดเอานักกฎหมายจากเยอรมันนีมาพูดให้นักกฎหมายไทยฟังว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมาจากไหน จะได้ไม่ต้องพูดกันอย่างไม่ถูกตัองและทำให้คนหลงผิดไปด้วย" ประเด็นที่ 3 อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันมีอำนาจมากมาจากประสบการณ์ของฮิตเลอร์ที่นำประเทศไปสู่การแพ้สงคราม ซึ่งในข้อเท็จจริงคือเยอรมันมีฮิตเลอร์แล้วแพ้สงคราม แต่จากประสบการณ์ทั้งหมดนี้ คนเยอรมันไม่ได้เสียความเชื่อมั่นศรัทธาต่อประชาธิปไตย ศาลที่เกิดขึ้นในเยอรมันมีอำนาจมากจริง แต่ไม่ได้ขาดองค์ประกอบประชาธิปไตยเพราะศาลฯ มีอำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน ตุลาการฯ มาจากการเลือกโดยรัฐสภา และมาจากการเลือกโดยผู้แทนมลรัฐ มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูง และแม้จะมีความชอบธรรมขนาดนั้นก็ไม่มีอำนาจระงับการแก้ไขรธน. ศาลของเยอรมันมีอำนาจวินิจฉัยจริงตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญจริง เพราะรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ แต่ไม่มีการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเขาจะพิจารณาเฉพาะกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่พิจารณาก่อนจะมีกฎหมาย "อย่างอ้างเยอรมันเพราะมันเสียหายประเทศเขา มันเป็นการอ้างไม่ถูก ถ้าผมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผมจะเจียมเนื้อเจียมตัวเพราะฐานที่มามันไม่ใช่ รัฐธรรมนูญของเยอรมันเขาเป็นประชาธิปไตยเต็มรูป" "มาดูรัฐธรรมนูญ 2550 ของไทยมันมีที่มาอันอัปยศจากการแย่งชิงอำนาจโดยรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 และมีองค์ประกอบหลายประการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย" วรเจตน์กล่าว พร้อมตอกย้ำว่า กลไกที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นย่อมกลัวที่จะเสียประโยชน์ เพราะรัฐธรรมนูญสร้างกลไกที่ไม่มีองค์ประกอบประชาธิปไตยไว้ และเมื่อมีพลังประชาธิปไตยต้องการแก้ไขก็จะถูกต้าน เป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ การต่อสู้ตามระบบกฎหมายถึงทางตัน จะนำไปสู่การต่อสู้นอกระบบกฎหมาย ส่วนกรณีที่เรียกร้องให้เคารพอำนาจศาล วรเจตน์ตั้งคำถามว่า ถ้าศาลนั้นตัดสินผิดพลาดประชาชนจะต้องก้มหน้ายอมรับเช่นนั้นหรือ ประเด็นต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่องค์กรเดียวที่ทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สว. มีอำนาจในการถอดถอนแต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องลางเลือน อีกประการคือการดำเนินคดีอาญาต่อตุลาการ ก็จะเป็นประเด็นปัญหาทัศนคติว่าศาลอาญาจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร ทั้งนี้ เมืองไทยไม่มีความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย ซึ่งก็คาดหมายไม่ได้ว่าศาลอาญาจะตัดสินอย่างไร และหากระบบตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญปิดล็อกหมด เรื่องแบบนี้ก็กลับมาสู่ประชาชน และถ้าเป็นการปะทะกันจริงทางอำนาจ ก็จะพ้นไปจากขอบเขตของระบบกฎหมาย ก็จะเป็นการปะทะกันโดยกำลัง เพราะระบบที่วางไว้ในรธน. 2550 ไม่มีช่องทางที่จะคลี่คลายไปได้ ต้องมีคนถอย แต่ถ้าฝ่ายแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ยอมถอย ก็จะกลายเป็นว่าไม่สามารถจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เลย อีกทางออกหนึ่งคือ ศาลฯ เป็นฝ่ายถอย ให้เป็นเรื่องของสภา เป็นเจตจำนงของประชาชนผ่านกลไกการเลือกตั้ง เป็นเรื่องเสียงข้างมาก แบบนี้จะไปต่อได้ แต่ถ้าศาลฯ บอกว่าตัวเองมีอำนาจในการปกป้องรัฐธรรมนูญ ต้องขออนุญาตก่อน ขณะที่ฝ่ายสภาฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะนำไปสู่ความเห็นที่แตกต่างกัน ประชาชนก็จะแตกออกเป็นสองข้าง เขากล่าวว่าถึงจุดนี้ไม่มีเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษาแล้ว แต่จะเป็นการปะทะกันในทางอำนาจตามความเป็นจริง คำถามคือ เราจะให้ประเทศเราไปถึงจุดนั้นหรือ และคำตอบไม่ได้อยู่ในสายลม แต่คำตอบจะอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางเลือกของการใช้อำนาจสู้กันนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่อยากเห็น นิติราษฎร์จึงเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญแล้วมีองค์กรใหม่ขึ้นมา การเสนอแบบนี้ในระยะยาวเป็นการรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาลรัฐธรรมนูญ และย้ำว่าต้องแยกแยะระหว่างสถาบันศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วรเจตน์กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ มีความเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแน้ง แต่ก็ขึ้นกับอำนาจทางการเมืองและนักการเมืองว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งเขามองว่าเรื่องนี้นักการเมืองต้องเดินไปให้สุด ถ้าไม่สุดแล้วจะเสียหายมาก เพราะต่อไปจะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ประเด็นสำคัญคือทุกคนต้องเห็นว่าถ้าเดินไปแบบนี้จะเป็นการปะทะกัน แต่ถ้าฝ่ายที่จะแก้รัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายถอยจะเสียหายต่อประชาธิปไตย แต่สำหรับเขาเขาคิดว่ามนุษย์โลกต้องพัฒนาไปสู่จุดที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะอยู่อย่างนี้ตลอดกาล
คณิน บุญสุวรรณ: วิกฤตการเมืองจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ก็ต้องโทษศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น อดีต ส.ว. และสมาชิกสภาร่างวรัฐธรรมนูญระบุว่า ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญที่ไหนไหนโลกที่จะมีอำนาจสั่งล้มนายกรัฐมนตรี หรือสั่งรัฐสภาได้อย่างศาลรัฐธรรมนูญของไทย โดยเขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เขาเห็นว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ไม่ทราบว่ามีการขอยกเลิกม. 68 วรรค 4 หรือไม่ ถ้าไม่มีแปลว่าเข้าไม่ถึงจุดของปัญหา เพราะวรรคสี่คือการยุบพรรคแล้วเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ก็คือการล้มรัฐบาลนั้นเอง การแก้ไขต้องแก้มาตรา 68 วรรค 4 อำนาจที่ยังหลงเหลืออยู่ของศาลรัฐธรรมนูญ เขากล่าวว่า ถ้าวิกฤตการเมืองจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ก็ต้องโทษศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เขาชี้ว่า ศาลรธน. ขณะนี้มีอำนาจมากกว่าศาลรัธรรมนูญใดๆ ในโลก และอำนาจเฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติมีตัวอย่างที่สำคัญ คือพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติฯ ทุกฉบับที่ผ่านความเห็นชอบขอบรัฐสภาแล้ว ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าศาลฯ วินิจฉัยแล้วพบว่ามีข้อความขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ร่างฯ ตกไปทั้งฉบับ ไม่มีโอกาสที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อใช้พระราชวินิจฉัยเลย ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นล่วงล้ำอำนาจของรัฐสภา ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเขียนด้วยว่า ภายใน 1 ปีหลัง รธน. 2550 ประกาศใช้ ให้อำนาจศาลรธน. เสนอร่างพรบ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. ซึ่งจนบัดนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา แม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จะประกาศใช้มา 5 ปีแล้ว ทั้งนี้ โดยกระบวนการ เมื่อศาลยื่นให้สภาผ่านความเห็นชอบ ก็ต้องส่งกลับมาให้ศาลรธน. ตรวจสอบความชอบด้วยรธน. อีก "แล้วเป็นไปได้ไหมว่ารัฐสภาจะไม่แก้ไข แต่เมื่อแก้ไขแล้ว รธน. ก็ให้ส่งกลับมาที่ศาลฯ อีกเพื่อพิจารณา ยิ่งกว่าเด็กเล่นขายของ แล้วถ้ารัฐสภาแก้ไขร่างฯ แล้วศาลฯ เห็นว่ามีข้อความที่ขัดหรือแย้ง ก็ให้ตกไป ทั้งฉบับ นี่หรือเปล่าที่เป็นเหตุผลที่จนป่านนี้ศาลฯ ที่ล้มรัฐบาลไปหลายรัฐบาลได้ใช้อำนาจโดยใช้อำนาจโดยใช้ข้อกำหนดวิธีพิจารณาฯ โดยไม่มีร่างพรบ. ไม่เป็นไปตามที่กำหนด" อดีต สสร. วิจารณ์ว่า รัฐสภาโอนอ่อนให้กับศาลรัฐธรรมนูญมามากแล้ว "ยอมจนกระทั่งประธานรัฐสภาถูกแย่งเก้าอี้ ไปนั่งในคอกพยาน ยอมขนาดนี้แล้วอีกฝ่ายก็ยังไม่ยอม ถึงขนาดที่เขียนเอาไว้เองในรธน. ว่าจะแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่พอจะขอแก้ไขเป็นรายมาตรา ยังไม่ทันลงมติวาระหนึ่งเลย แจ้นไปร้องศาลฯ แล้ว ศาลฯ เหลือห้าคน ห้าในเก้านี้ คอขาดบาดตายขนาดนื้ ท่านรีบเร่งลงมติทำไม แล้วลงมา 3 ต่อ 2 แล้วที่สุดก็ช่อำนาจด้วยความเพลิดเพลิน พราะครั้งที่แล้วทำได้ ไม่เห็นเขาว่าอะไรเลย" สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างเลวร้ายที่สุดเขาเห็นว่าสภาควรลงมติวาระสามไปเลย แล้วนายกรัฐมนตรีคืนอำนาจนั้นให้ประชาชน "ใครก็ตามที่บอกว่ากลัวลงประชามติวาระสามจะแพ้โหวตไม่ต้องกลัว ยิ่งกลัวยิ่งเสื่อม ถ้าเขาเห็นหัวพวกท่านจริงและเห็นว่าท่านยอมขนาดนี้ เขาจะไม่ทำแบบนี้ มติสามต่อสองรับคำร้องสี่สิบส.ว. ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการแก้ไขรธน. 291" เขากล่าวด้วยว่า เจตจำนงในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้พ้นภัยจากการรัฐประหาร ในมาตรา 68 กลายเป็นการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไม่ให้มีการแก้ไขโดยตัวแทนของประชาชนไปเสียแล้ว และกรณี 40 สว. ที่ไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยควรจะลาออกจากการเป็นสว. เสียก่อน โดยวิจารณ์ด้วยว่า กลุ่ม 40 ส.ว.แพ้โหวตในสภา จบวาระสองไปแล้ว ในที่สุดรู้ว่าสู้ไม่ได้ก็เอาไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ศาลก็ใจดีเห็นอกเห็นใจ เข้าอกเข้าใจ รับเรื่องและมีมติ 3 ต่อ 2 ด้วยองค์ประชุม 5 คน ถัดมาอีกไม่กี่วัน ลงมติ 8 ต่อ 0 ไม่รับคำร้องคุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ยื่นคำร้องการกระทำละเมิดรัฐธรรมนูญของ 40 ส.ว. เสียอีกด้วย สุดท้าย อดีต ส.ส.ร. กล่าวว่า ประเด็นที่ต้อพิจารณาเกี่ยวกับศาล คือ 1) ที่มาของตุลาการมีการยึดโยงกับประชาชนและรัฐสภาหรือเปล่า ก่อนทีจะมาทำมีมีอำนาจหน้าที่ที่จะมาดำเนินการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2) องค์ประกอบรัฐธรรมนูญ 2540 ใหมีองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน จากจำนวน 15 คนและล้วนมีที่มาและยึดโยงกับประชาชน รวมถึงมีการยึดโยงกับสถาบันการศึกษา ในส่วนที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภา วุฒิสภาขณะนั้นก็มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ในเรื่องที่มา เมื่อเปรียบเทียบกับรธน. 2550 จะเห็นว่าลดจำนวนผู้พิพากษาลงมาเหลือ 9 คน และกำหนดให้องค์คณะเหลือ 5 คน โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า 5 คนจาก 9 คนก็ล้วนมีที่มาจากสายตุลาการ กลายเป็นเสียงข้างมากได้ตลอดไป ขณะที่อีก4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์สองคน ก็มาจากศาล อีกสองคนมาจากสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งก็แทบจะไม่มีความหมายอะไร และการกำหนดองค์ประกอบผู้พิพากษาเช่นนี้ทำให้เห็นเจตนาชัดเจนที่จะให้องค์กรศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่จะทำลายและขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกต้ง เพราะรู้อยู่แล้วว่าเลือกตั้งทีไรก็แพ้ทุกที แต่ที่ทำไม่ถูกคือเอากระบวนการศาลมาใช้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 01 May 2013 04:25 AM PDT |
TDRI : ยุทธศาสตร์บริหารแรงงานจากค่าจ้าง300บาทถึงเออีซี Posted: 01 May 2013 04:07 AM PDT สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอความต้องการ และชัดเจนว่าเรามีความต้องการแรงงานไทยเกิน 40 ล้านคน คือราว 42-43 ล้านคน โดยส่วนเกิน 2-3 ล้านคนนั้นคือแรงงานต่างด้าว ดังนั้นหากจะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับไปสู่จุดสมดุลที่ไม่ให้มีส่วนเกินในส่วนของแรงงานต่างด้าวได้ รวมถึงการสร้างความมั่นใจก่อนจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แสดงความคิดเห็นโดยระบุว่า ยุทธศาสตร์แรงงานไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็ยังคงต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณ ซึ่งต้องมียุทธศาสตร์ทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ การแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานทำได้ 2 ทาง คือ 1. เมื่อธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาแรงงานจึงต้องทำให้มีคนออกมาทำงานเร็วขึ้น โดยให้คนออกมาสู่ตลาดแรงงานเมื่อถึงวัยทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนที่ดีและไม่ต้องเรียนมากปีเกินไป หรือสามารถให้เขาออกมาประกอบอาชีพได้หลังจากจบมัธยมปลาย(สายอาชีพ/สายสามัญ) และนำหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ คือ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่ทางนี้ตรงข้ามกับค่านิยมของผู้ปกครองไทย 2. การนำเข้าวัยทำงานมาเติมในส่วนที่ขาด โดยต้องมีกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง โดยมีกระบวนการในการล้างคนเก่าที่ผิดกฎหมายให้หมดไปแล้วนำคนที่ถูกต้องเข้าทำงานโดยมีจำนวนหรือโควต้าที่ชัดเจน สำหรับยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพแรงงาน มีความจำเป็นและต้องเร่งทำมากกว่าเดิม ต้องทำให้แรงงานมีทักษะทำงานได้มากกว่าเดิมและมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการและภาครัฐต้องร่วมมือกัน หรือการจูงใจด้วยมาตรการทางภาษี เป็นต้น แรงงานทุกคนเมื่อเข้ามาสู่ระบบควรได้รับการดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต ซึ่งแรงงานทุกคนควรได้รับการคุ้มครอง เช่น สิทธิเท่าเทียมในการชดเชยรายได้ เป็นต้น ควรมีวางระบบที่ให้ความคุ้มครองแรงงานทุกคนเมื่อพ้นวัยทำงานแล้วให้สามารถอยู่ได้ดีตามสมควรในระยะยาว ส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานในลักษณะตัวแทนเพื่อพิทักษ์รักษาสิทธิประโยชน์/อำนาจต่อรองในพึงมีพึงได้ ส่วนการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน นั้น เห็นว่าจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ ในการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานให้ชัดเจน เพราะเราไม่มีโอกาสจะกันคน(แรงงาน)จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้ จึงควรกำหนดมาตรฐานร่วมกันให้ชัดเจน และมีการดูแลกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยจำเป็นต้องมีองค์กรตัวแทนในการกำกับดูแล ระบบมาตรฐานสมรรถนะของประเทศ ที่ต่อไปก็จะเชื่อมโยงกับระบบการจ่ายหรือค่าจ้างด้วย ซึ่งเราสามารถใช้เป็นการกีดกันโดยธรรมชาติได้ และยังเป็นกลไกให้คนยกระดับตัวเองพัฒนาขึ้นมาให้เป็นแรงงานที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ควรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ให้สามารถมีข้อมูลยืนยันความต้องการแรงงานในแต่ละประเภทที่ชัดเจนได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ได้แรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนและคุณภาพตามมาตรฐานแรงงานไทย ไม่เข้ามาแย่งแรงงานไทย โดยกำหนดให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า การที่เราจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น สิ่งที่ห่วงอยู่ตอนนี้คือ แรงงานในภาคบริการโดยเฉพาะ 32 อาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท เนื่องจากมีอาชีพหลายอย่างที่มีข้อตกลงกันในกลุ่มอาเซียนที่ใช้คนมาตรฐานไม่สูงมาก ทำให้ธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทยสามารถนำแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาได้ ซึ่งเป็นการเข้ามาแย่งงานคนไทยทางอ้อมและกันได้ยาก ภาคบริการเป็นตลาดแรงงานที่รองรับแรงงานคุณสมบัติหลากหลายทุกวุฒิการศึกษา หากมองให้เป็นโอกาสเราควรให้ภาคบริการช่วยดูดซับแรงงานปริญญาตรีที่มีการผลิตล้นเกินความต้องการอยู่มากและว่างงานสะสมทุกปีนั้นได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 01 May 2013 03:49 AM PDT วารสารคนทำงาน มีนาคม 2556
ดาวน์โหลดอ่านได้ใน iPad, iPhone และระบบ Android รวมทั้งเปิดอ่านในคอมพิวเตอร์ได้ที่เว็บไซต์ www.ebooks.in.th/ebook/12846/วารสารคนทำงานมีนาคม_2556/ |
Posted: 01 May 2013 03:36 AM PDT วารสารคนทำงาน กุมภาพันธ์ 2556
ดาวน์โหลดอ่านได้ใน iPad, iPhone และระบบ Android รวมทั้งเปิดอ่านในคอมพิวเตอร์ได้ที่เว็บไซต์ www.ebooks.in.th/ebook/12844/วารสารคนทำงานกุมภาพันธ์_2556/ |
แขวนนกแดงรั้วทำเนียบฯ จี้ปล่อยนักโทษการเมือง ครบ 2 ปีขังสมยศ Posted: 30 Apr 2013 09:37 PM PDT
30 เม.ย. 56 ที่ทำเนียบรัฐบาล กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรม สนับสนุนรัฐบาลเดินหน้านิรโทษกรรม "ปลดปล่อยนักโทษการเมือง" เนื่องในโอกาสครบ 2 ปี คุมขังสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยมีตัวแทนจากองค์กรแรงงานเพื่อประชาธิปไตย พร้อมทั้งประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมอีกกว่า 60 คน กิจกรรมเริ่มต้นโดยประชาชนร่วมกันนำนกกระดาษสีแดงหลายพันตัวแขวนเป็นสัญลักษณ์ที่รั้วทำเนียบรัฐบาลเป็นแนวยาวกว่า 30 เมตร จากนั้นตัวแทนองค์กรแรงงานเพื่อประชาธิปไตย กล่าวเรียกร้องความเป็นธรรมแก่สมยศในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ เรียกร้องสิทธิแรงงานและประชาธิปไตย แต่กลับถูกถูกคุมขังอย่างไม่ยุติธรรม ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์โดยการตีพิมพ์บทความ ทั้งที่พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ปีพ.ศ.2550 ไม่ให้เอาผิดบรรณาธิการ จึงขอให้ปล่อยตัวสมยศและนักโทษการเมืองคนอื่นๆทุกคน ตัวแทนองค์กรแรงงานเพื่อประชาธิปไตยกล่าวอีกว่า "สมยศเป็นเพื่อนของเรา ต่อสู้ร่วมกันมากว่าสามสิบปี เราต้องการให้เขาได้รับอิสรภาพ" หลังจากนั้น ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยได้อ่านจดหมายเปิดผนึกที่นายสมยศเขียนในเรือนจำ โดยมีผู้แทนรัฐบาล นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ผู้ช่วยกรรมการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับมอบจดหมายดังกล่าว นายสุภรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่ได้รับในวันนี้จะนำกราบเรียนฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลเองตั้งใจนำกฎหมายนิรโทษเข้ามาบรรจุในสมัยการประชุมสภาสมัยหน้าเป็นวาระเร่งด่วน ส่วนการพิจารณารายละเอียดว่าจะครอบคลุมเพียงใดนั้นจะอยู่ในชั้นกรรมาธิการ นอกจากนี้ยังจะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107 และ 108 แห่งรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ซึ่งว่าด้วยการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา เพื่อป้องกันไม่ให้ศาลเลือกปฏิบัติและทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาต้องเป็นผู้ขับเคลื่อน ในเวลา 14.00 น. กลุ่ม24 มิถุนาประชาธิปไตยเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังตามมาตรา 112 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และวันพรุ่งนี้ (วันกรรมกรสากล) เวลา 8.00 น. กลุ่มแรงงานจะรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เดินเท้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง ทั้งนี้นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาทหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.54 เนื่องจากเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งตีพิมพ์บทความเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง 2 บทความ และถูกคุมขังในเรือนจำตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้รับการประกันตัว กระทั่งในวันที่ 23 ม.ค.56 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี บวกกับโทษเดิมเมื่อปีพ.ศ.2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี
(จดหมายเปิดผนึกของนายสมยศ) .................................................................................. เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (แดน1) วันที่ 30 เมษายน 2556 เรื่อง สิทธิการประกันตัว-นิรโทษกรรม เรียน ฯพณฯนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากกรณีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Voice of Taksin ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยถูกคุมขังอยู่ทีเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 โดยที่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวตามาตรา 39-40 รัฐธรรมนูญ 2550 จนกระทั่งศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 11 ปี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ องค์กรสิทธิมนุษยชน สหภาพแรงงาน นักวิชาการ สื่อมวลชน ทั่วโลกได้ร่วมกันประณามมาตรา112 และกระบวนการยุติธรรมของไทย ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้ง คุกคามสิทธิ์ เสรีภาพการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการจับกุมคุมขังนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยไม่ให้สิทธิประกันตัว ทำให้ภาพลักษณ์กระบวนการยุติธรรมของไทยตกต่ำเป็นอย่างมาก การกล่าวหาและการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา112 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ด้วยการเลือกปฏิบัติไม่ให้สิทธิประกันตัวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ การคุมขังที่ยาวนาน ให้ได้รับความทรมาณแสนสาหัสย่อมไม่เป็นผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กระผมได้ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานมายาวนาน เป็นคนหนึ่งที่ได้ผลักดันระบบประกันสังคม สิทธิการลาคลอดและสิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ได้ต่อต้านรัฐประหาร เรียกร้องประชาธิปไตย ความเป็นธรรมให้สังคมมาโดยตลอด ในโอกาสครบรอบ 2 ปี การถูกจับกุมคุมขังและความทรมานที่สูญสิ้นอิสรภาพครั้งนี้ จึงขอกราบเรียนข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1.ออกกฎหมายนิรทากรรม ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคดี เป็นการคืนความเป็นธรรมและเป็นจุดเริ่มต้นสันติสุข และการปรองดองในสังคม 2. ในระหว่างที่ยังไม่มีการนิรโทษกรรม ให้รัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรม ดำเนินการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา112 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา รวมทั้งนักโทษการเมืองอื่นๆ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ 3. แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107-108 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อป้องกันมิให้ศาลมีการเลือกปฏิบัติ และการทุจริต คอรัปชั่น ตลอดจนเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้ง หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ และขอได้เปิดแจ้งผลการดำเนินการให้ทราบด้วย และขอกราขอพระคุณมา ณ โอกาสนี้ (นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข) ................................................................................. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น