โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประชุม ครม.ไร้ 4 ประเด็นปัญหา ‘พีมูฟ’ ล้อมทำเนียบฯ ทวงสัญญาไร้ผล

Posted: 14 May 2013 12:51 PM PDT

'พีมูฟ' นำผืนผ้าล้อมทำเนียบ หวังสื่อสารความเดือดร้อนต่อรัฐบาล-สังคม พร้อมกดดันนำ 4 ปัญหาเข้า ครม.-จี้เปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่ประชุม ครม.ไม่หยิบมาหารือ  'แกนนำพีมูฟ' เผยอาจชุมนุมยืดเยื้อออกไปอีก

 
 
 
'พีมูฟ'นำผืนผ้าล้อมทำเนียบ สื่อสารความเดือดร้อนต่อรัฐบาล-สังคม
 
14 พ.ค.56 การชุมนุมในวันที่ 9 ของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น.ผู้ชุมนุมกว่า 1,000 คน ได้เคลื่อนขบวนจากที่ชุมนุมบริเวณข้างกระทรวงศึกษาธิการ เดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม รับปากนำประเด็นปัญหา 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน 2.โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 3.เรื่องการอนุญาตก่อสร้างบ้านมั่นคง 4.การตั้งคณะกรรมการการแก้ปัญหาชาวบ้านปากมูล เข้า ครม.ในวันนี้ (14 พ.ค.56)
 
ภาพ: ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เข้าเจรจากับตัวแทนพีมูฟ เมื่อวันที่ 7 พ.ค.56
 
กิจกรรมในวันนี้ ผู้ชุมนุมได้นำป้ายผ้าที่มีข้อความเรื่องราวความเดือดร้อนของชาวบ้านแต่ละคนมาขึงเป็นทางยาวปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่ด้านสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อสื่อสารความเดือดร้อนของประชาชนที่มาร่วมชุมนุมส่งไปถึงรัฐบาลและสังคม
 
จากนั้น ผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ และมีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 25 'ปฏิบัติการความจนล้อมทำเนียบรัฐบาล (ความทุกข์มากล้นถมทำเนียบ)' โดย นายสุพจน์ กาฬสงค์ ตัวแทนพีมูฟระบุว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาปีเศษ พีมูฟได้ใช้ความพยายามในการบอกกล่าวเรื่องราวความทุกข์ยาก และความเดือดร้อนให้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมามากกว่า 8 ครั้งในรอบ 2 ปี แต่คำสัญญาที่จะแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่เคยได้นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
 
 
"เพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้รู้ และเข้าใจในเจตนาที่บริสุทธิ์ของพวกเรา ว่าความเดือดร้อนที่รอคอยการแก้ไขจากรัฐบาลมีมากมาย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และหากรัฐบาลไม่เร่งรีบแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพวกเรา คาร้องทุกข์ผ่านผืนผ้าที่กางกั้นย่อมจะทอดยาวเรื่องราวอีกต่อไป เรื่อยๆ" แถลงการณ์ระบุ
 
นายสุพจน์ อ่านแถลงการณ์ต่อมาว่า รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ในการแสดงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ และมั่นใจว่าหากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาของพีมูฟได้อย่างลุล่วง จะเป็นเครื่องชี้วัดถึงความสำเร็จของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งจำเป็นต้องทำให้การแก้ไขปัญหาเกิดรูปธรรมอย่างชัดเจน
 
ส่วนข้อเรียกร้องของพีมูฟ คือ 1.ให้รัฐบาลเร่งนำกรณีปัญหาที่ได้ข้อยุติแล้วทั้ง 4 เรื่องเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบตามข้อตกลง 2.รัฐบาลต้องเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยระหว่างนี้พีมูฟจะยังคงปักหลักชุมนุมอย่างสงบต่อไป จนกว่าปัญหาความเดือดร้อนจะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากอ่านคำแถลงการณ์ ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนไปรอที่ประตู 6 ทำเนียบฯ เพื่อรอฟังข่าวผลการประชุม ครม. และในช่วงบ่ายเวลาประมาณ  15.30 น.ตัวแทนฟีมูฟ  25 คน ได้เข้ารับฟังการชี้แจงผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีถึงการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 กรณี ที่เรือนรับรองศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล
 
 
ประชุม ครม.ไม่มีการหยิบข้อเรียกร้องกลุ่มพีมูฟขึ้นมาหารือ
 
โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมถึงกรณีการชุมนุมของพีมูฟว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองเป็นผู้เจรจา และได้มีการแต่งตั้งให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการแก้ปัญหา
 
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ครม.ไม่ได้มีหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการจัดทำข้อเสนอแก้ไขข้อเรียกร้อง นำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณาแต่อย่างใด อีกทั้ง ที่ประชุมไม่ได้มีการหยิบยกปัญหาข้อเรียกร้องกลุ่มพีมูฟขึ้นหารือ
 
นางสมปอง เวียงจันทร์ ตัวแทนสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล กล่าวถึงกรณีที่เรื่องเขื่อนปากมูลที่ไม่ถูกนำเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีว่า ไม่ได้คาดหวังไว้ตั้งแต่แรก เพราะจากประสบการณ์หลายครั้งที่ผ่านมา การเรียกร้องหลายต่อหลายรัฐบาล 24 ปี แห่งการต่อสู้ก็ผิดหวังมาโดยตลอด เมื่อผลออกมาเช่นนี้ก็ต้องยอมรับ แต่ยืนยันจะยังคงต่อสู้ต่อไป
 
นางสมปอง กล่าวด้วยว่า งานต่อไปของพีมูฟคือการรณรงค์ให้สาธารณะเข้าใจปัญหา สร้างพลังสังคมกดดันให้รัฐบาลแก้ปัญหา
 
ขณะที่ในที่ชุมนุม เมื่อเวลา 19.00 น.ตัวแทนพีมูฟขึ้นเวทีชี้แจงความคืบหน้า หลังจากเจรจาขอเข้ารับฟังผลการพิจารณาประเด็นปัญหาของพีมูฟ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นำเรื่องทั้ง 4 เข้าสู่การประชุมของ ครม.เลยแม้แต่เรื่องเดียว ทั้งนี้ พีมูฟจะแถลงจุดยืนต่อเรื่องนี้อีกครั้งในวัน 15 พ.ค.56 เวลา 10.00 น.
 
 
 
'แกนนำพีมูฟ' เผยอาจชุมนุมยื้ดเยื้อ ติดตามผลถึง 4 มิ.ย.56 
 
ด้าน ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สถานบันอิศรา รายงานว่า นายประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) แกนนำพีมูฟ กล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า พีมูฟได้หารือกับนายสุภรณ์ ซึ่งนายสุภรณ์ระบุว่าจะนำประเด็นปัญหาของพีมูฟเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในสัปดาห์หน้า (21 พ.ค. 56) แทน โดยการประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาพีมูฟชุดใหญ่จะเลื่อนไป 1 วัน จากวันที่ 27 พ.ค.56 เป็นวันที่ 28 พ.ค. 56 ซึ่งตรงกับวันประชุครม.นัดสุดท้ายในเดือนนี้พอดี
 
นายประยงค์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนเองยังไม่ปักใจเชื่อว่าประเด็นปัญหาของพีมูฟจะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในสัปดาห์หน้าจริงตามที่นายสุภรณ์กล่าว และคาดว่าอาจต้องเลื่อนการชุมนุมให้ยืดเยื้อออกไปอีก 1 สัปดาห์ จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 28 พ.ค.56 เป็นวันที่ 4 มิ.ย.56 เพื่อรอดูว่าผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ปัญหาพีมูฟจะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในวันที่ 4 มิ.ย.56 หรือไม่

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ เรียกร้อง "ปลอดประสพ" ยุติพูดยั่วยุให้ จนท. ละเมิดประชาชน

Posted: 14 May 2013 10:45 AM PDT

กรณี "ปลอดประสพ สุรัสวดี" แถลงข่าวเรียกผู้ชุมนุมเป็น "ขยะ" และขู่ว่าจะจับกุมหากมาชุมนุมในช่วงประชุมน้ำเอเชีย-แปซิฟิกที่เชียงใหม่นั้น ล่าสุดสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ขอโทษ และยุติการใช้ถ้อยคำข่มขู่เสรีภาพประชาชน  ด้าน "ยิ่งลักษณ" ระบุจะรับฟังความคิดเห็นผู้ชุมนุม และจะไปสอบถาม "ปลอดประสพ" ว่าเจตนาอะไร

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรียกร้อง "ปลอดประสพ" ขอโทษ
และยุติการใช้ถ้อยคำข่มขู่เสรีภาพประชาชน

วันนี้ (14 พ.ค.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) ศูนย์ข้อมูลชุมนุม (CRC) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ภาคใต้) เครือข่ายติดตามแผนพัฒนา จ.สตูล ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพในการชุมนุม กรณีการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของนายปลอดประสพ สุรัสวดี" โดยมีเนื้อหาดังนี้

"จากกรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 12  พฤษภาคม 2556 ระหว่างการเดินทางมาตรวจดูความเรียบร้อยของสถานที่จัดการประชุมผู้นำด้านน้ำเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ระหว่าง 14-20 พ.ค. 2556 นี้ ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ เกี่ยวกับการที่อาจจะมีกลุ่มมวลชนที่ทำงานด้านทรัพยากรน้ำมาเคลื่อนไหวชุมนุมและแสดงความเห็นระหว่างการประชุมในครั้งนี้ว่า"มาก็จับ ทำผิดกฎหมายก็จับ มันไม่ใช่ที่ที่จะมาประท้วง ฝากบอกไปด้วย มาประชุม เพื่อสร้างชื่อเสียง สร้างหน้าสร้างตาให้ประชาชน ไม่มีที่ไหนใครเขาไปทำร้ายใคร บรูไนเขามาพูดเรื่องบรูไน อิหร่านเขาก็มาพูดเรื่องอิหร่าน เกาหลีเขาก็มาพูดเรื่องเกาหลี คุณจะมาประท้วงอะไร อย่ามานะ ทำผิดกฎหมาย สั่งจับเลย และคนเชียงใหม่ก็ไม่ควรปล่อยให้พวกขยะเหล่านี้มาเกะกะ คุณเขียนอย่างผมพูดเลย กล้าเขียนหรือไม่" [1] นั้น

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) [2] มีความเห็นว่า คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอาจนำไปสู่การละเมิดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 ซึ่งบัญญัติว่า  "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ" และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 21 "สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการคุ้มครอง" ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาฉบับนี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540" การภาคยานุวัติดังกล่าวผูกพันต่อประเทศไทย ทั้งรัฐบาล รัฐสภาและศาล ต้องมีหน้าที่ในการดำเนินการให้สิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ในกติกาฯได้รับการปฏิบัติจริง (fulfill)โดยรัฐมีหน้าที่เคารพสิทธิ (respect) กล่าวคือ ไม่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง คุ้มครอง (protect) กล่าวคือ ป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือมีการละเมิดสิทธิระหว่างประชาชนด้วยกัน แต่รัฐสามารถจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวได้ หากเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก[3] รัฐบาลจึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองประชาชนทุกกลุ่มได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ [4] โดยต้องไม่เป็นผู้กระตุ้นหรือริเริ่มให้มีการละเมิดเสรีภาพดังกล่าวเสียเอง  ดังเช่นที่นายปลอดประสพ  ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน

2. คำให้สัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรี ที่ว่า "มา(ชุมนุม)ก็จับ" และ "อย่ามานะ ทำผิดกฎหมาย สั่งจับเลย "เป็นการริเริ่มหรือกระตุ้นให้มีการละเมิดเสรีภาพในการชุมนุมโดยผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของรัฐบาลอย่างชัดเจนและหากมีการปฏิบัติการตามที่กล่าวจริง ย่อมเป็นการปฏิเสธสิทธิที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การกระทำของรัฐบาลจึงเป็นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีอำนาจ [5] และหากมีการจับผู้ชุมนุมซึ่งชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ก็เป็นการจับโดยมิชอบ เพราะเจ้าพนักงานจะจับผู้อื่นได้เพียงเท่าที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจไว้เท่านั้น [6] ประชาชนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มมวลชนด้านทรัพยากรน้ำหรือกลุ่มอื่นใดย่อมสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบได้เท่าเทียมกัน ตราบเท่าที่เป็นการชุมนุมโดยสงบและขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ  

3. การที่รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "คนเชียงใหม่ก็ไม่ควรปล่อยให้พวกขยะเหล่านี้มาเกะกะ" นั้นถ้อยคำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะเป็นการลดคุณค่าของมนุษย์เป็นเพียงวัตถุ สิ่งของ และเป็นการหมิ่นเกียรติของความเป็นมนุษย์"เกียรติ" เป็นคุณค่าที่สำคัญของศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต่างมีเกียรติเท่ากันโดยสมบูรณ์ตราบเท่าที่ยังไม่ถูกลบหลู่ การลบหลู่ทำให้คุณค่าของมนุษย์ลดน้อยถอยลง มนุษย์แต่ละคนแม้จะมีความแตกต่างกันในทางสังคม แต่มนุษย์ก็มีเกียรติเท่ากัน ความเป็นมนุษย์ของบุคคลย่อมเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการรับรองไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใดก็ตาม [7] ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทผู้ชุมนุม [8] ด้วย และยังเป็นการแสดงทัศนคติที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เสรีภาพในการชุมนุม  อันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย

จากเหตุผลดังกล่าวสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรดังมีรายชื่อแนบท้ายนี้ขอเรียกร้องให้นายปลอดประสพ สุรัสวดีและรัฐบาล

1. ให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย กล่าวขอโทษประชาชนในการใช้ถ้อยคำดังกล่าวต่อสื่อมวลชนทุกแขนง

2. ให้ยุติการใช้ถ้อยคำข่มขู่ คุกคามและไม่เอื้อต่อการสิทธิเสรีภาพของประชาชน

3. ให้ยุติการการใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการลดทอนคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน

4. ให้ยุติการให้ความเห็นที่มีลักษณะเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

5. ให้ปฏิบัติต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด"

 

หมายเหตุท้ายแถลงการณ์

[1] http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9ETTJOVFl5TXc9PQ

[2] สนส.ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2551 โดย ทนายความและนักกฎหมายที่มุ่งมั่นทำงานด้านสิทธิมนุษยชน  มีวัตถุประสงค์ ในการเป็นสถาบันที่มีภารกิจ เพื่อ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน  โดยส่งเสริมให้มีการศึกษาและเผยแพร่สิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพของประชาชน บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63 วรรค 2

[4] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 81 (2)

[5] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

[6] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78

[7] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 16

[8] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

 

ด้าน "ยิ่งลักษณ์" ระบุยินดีรับฟังความเห็นจากผู้ชุนุม-และจะประสานปลอดประสพว่ามีเจตนาอะไร

ขณะที่ มติชน รายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ถึงกรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ประกาศห้ามม็อบชุมนุมบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่จัดการประชุมผู้นำด้านน้ำเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ที่ จ.เชียงใหม่ ว่า เรื่องของผู้ชุมนุมนั้นยินดีรับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอต่างๆ การปะชุมเอเชีย วอเตอร์ ซัมมิต เป็นของสหประชาชาติที่ไทยรับเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2

เมื่อถามว่า การพูดของนายปลอดประสพเหมือนเป็นการเรียกแขกที่กลายเป็นว่าต่อไปรัฐบาลจะไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "เดี๋ยวต้องประสานกับท่านว่าหมายความเจตนาอย่างไร เพราะว่าจริงๆ แล้วอาจจะเป็นการพูด แต่จริงๆ แล้วเจตนาก็เชื่อว่าเราทุกคนยินดีรับฟังค่ะ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ประกอบการโรงหนังระบุป็อบคอร์นแพงเพราะนำเข้าจากสหรัฐ

Posted: 14 May 2013 09:54 AM PDT

โรงหนังรายใหญ่แจง สคบ. สาเหตุตั๋วชมภาพยนตร์แพง เพราะค่าเช่าที่แพง อุปกรณ์ดิจิตอลต้องเปลี่ยนทุก 5 ปี ต้นทุนจึงสูง กำไรจึงมาจากการขายขนมและน้ำ ป็อบคอร์นที่แพงเพราะนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ระบุว่า ในวันที่ 14 พ.ค. จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์รายใหญ่ ได้แก่ ตัวแทนจากบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จํากัด และตัวแทนจากบริษัท เอสเอฟ ซีเนม่า คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งตัวแทนจากภาครัฐ เช่น กรมการค้าภายใน กรมสรรพากร เข้าร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข และจัดทำระเบียบใหม่ร่วมกัน โดยมีประเด็นเพื่อการหารือ 4 ประเด็น ได้แก่

1. รับฟังการชี้แจงประเด็นราคาบัตรชมภาพยนตร์ที่อาจมีราคาแพงเกินจริง โดยในเรื่องนี้ กรมการค้าภายในจะร่วมตรวจสอบต้นทุนค่าบริการที่แท้จริงด้วย

2. ราคาสินค้าที่ขายบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ เช่น ราคาป๊อปคอร์น หรือเครื่องดื่ม มีราคาเหมาะสมกับต้นทุนหรือไม่

3. ระยะเวลาการฉายโฆษณา สินค้าและบริการ รวมทั้งตัวอย่างภาพยนตร์มีระยะเวลายาวนานเพียงใด และได้แจ้งเวลาการฉายภาพยนตร์จริงโดยไม่นับรวมการฉายโฆษณาให้ผู้บริโภคทราบหรือไม่

4. สิ่งแวดล้อมในโรงภาพยนตร์ เช่น สภาพอากาศ ความสะอาด มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด โดยเรื่องนี้จะใช้กลไกความร่วมมือกับบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Central Lab Thai ร่วมตรวจสอบด้วย

ทั้งนี้ สำนักข่าวไทย ได้รายงานว่า ในวันที่ 14 พ.ค. ได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ โดยยังมีการหารือแนวทางแก้ปัญหากรณีผู้บริโภคร้องเรียนบัตรชมภาพยนต์ราคาแพง ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม สูงกว่าท้องตลาดเกือบเท่าตัว ทั้งห้ามไม่ให้นำขนมและเครื่องดื่มจากที่อื่นเข้าไปในโรงภาพยนตร์

โดยตัวแทนผู้ประกอบการขอความเห็นใจว่า ตลอด 19 ปีปรับราคาเพียง 4 ครั้ง ปัจจุบันค่าบัตรชมภาพยนตร์อยู่ที่ใบละ 140 บาท ซึ่งแต่ละแห่งราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับต้นทุน โดยเฉพาะค่าเช่าที่ ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 15-20 และต้องจ่ายค่าส่วนแบ่งให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ร้อยละ 50-55 ขณะที่อุปกรณ์ระบบดิจิตอลต้องเปลี่ยนทุก 5 ปี ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น กำไรจึงมาจากการจำหน่ายขนมและน้ำดื่ม เช่น ป็อปคอร์น และโฆษณา ซึ่งป็อปคอร์นที่มีราคาแพง เพราะนำเข้าจากอเมริกา พร้อมยืนยันมีสิทธิห้ามนำเครื่องดื่มจากที่อื่นเข้าไปในโรงภาพยนตร์ เช่นเดียวกับ โรงแรม หรือสถานที่เอกชนต่างๆ ทั้งนี้ จะนำข้อเสนอของ สคบ.พิจารณาเพื่อเพิ่มโปรโมชั่นให้มีหลากหลายราคามากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกตัดสินใจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรวิชาชีพสื่อเรียกร้อง กสทช. ออกหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลให้เป็นธรรม

Posted: 14 May 2013 09:37 AM PDT

4 สมาคมสื่อ เรียกร้อง กสทช. ออกหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ โดยพิจารณาในบอร์ดใหญ่ 11 คน ย้ำประกาศหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตโครงข่ายต้องโปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

วันนี้ (14 พ.ค.) เว็บไซต์ไทยรัฐ เผยแพร่แถลงการณ์ของ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งลงวันที่ 13 พ.ค. 56 โดยมีรายละเอียดดังนี้

จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) กำลังพิจารณาการให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลในประเภทต่างๆ อีกทั้งกำลังอยู่ระหว่างร่างหลักเกณฑ์ประกาศการคัดเลือกผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นทีวีในระบบดิจิตอลประเภทธุรกิจ แต่กลับไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับประเภท บริการสาธารณะ โดยในจำนวน 12 ช่อง  มติเสียงข้างมาก กสท 3 ต่อ 2 เห็นชอบที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทดลองออกอากาศในระบบดิจิตอลไปก่อน ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาใดๆ เพื่อขอรับใบอนุญาต โดยจะพิจารณาจัดสรรช่องที่เหลืออีก 8 ช่อง ด้วยอำนาจของ กสท เอง

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยังยืนยันความจำเป็นและขอเรียกร้องให้ กสท ต้องออกหลักเกณฑ์และกติกาในการคัดเลือกผู้เหมาะสมที่จะรับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอล เนื่องจากกิจการสื่อสารมวลชนเป็นสมบัติของสาธารณะ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสังคม โดยรวมอย่างกว้างขวาง การพิจารณาให้ใครเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ประกอบกิจการ โดยเฉพาะในกลุ่มบริการสาธารณะและชุมชน จึงต้องผ่านกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้การแข่งขันเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อข้างต้น ขอเรียกร้องให้ กสท ได้เร่งรัดการออกหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้รับใบอนุญาตฯ โดยต้องคำนึงถึงกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างกว้างขวาง อีกทั้งต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. ชุดใหญ่ 11 คน เพราะเป็นเรื่องสำคัญจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แทนที่จะพิจารณาจากคณะกรรมการ กสท.เพียง 5 คน

นอกจากนี้ ในการประกาศหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตบริการสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการโครงข่ายฯ ซึ่งต้องประกาศก่อนการพิจารณาให้ใบอนุญาตฯ  ควรต้องกำหนดกระบวนการที่เปิดเผย โปร่งใส และเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางด้วยเช่นเดียวกัน

หาก กสท ไม่กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนประกาศต่อสาธารณะ จะถือว่าขัดต่อแผนแม่บท  (Road Map) ของ  กสทช.เองที่กำหนดให้ต้องมีประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการรวมทั้งเงื่อนไขการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวม  อันอาจนำไปสู่การฟ้องร้องคดีทางศาล จากผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสีย อันเนื่องจากการที่ กสท ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด"

ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อ ยังเห็นว่า กสทช. ไม่จำเป็นต้องให้ใบอนุญาตฯ ไปพร้อมกันทั้ง 12 ช่องในคราวเดียว แต่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ การปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง

องค์กรวิชาชีพสื่อ  เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันติดตาม  ตรวจสอบการทำงานของ กสทช. ในประเด็นต่างๆ อย่างใกล้ชิด และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณา จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ดังกล่าว เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชนโดยตรง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพื่อไทยไม่เอา 2.2 ล้านล้าน-นิรโทษกรรมเข้าสภาสมัยวิสามัญ

Posted: 14 May 2013 08:40 AM PDT

ที่ประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทย มีมติไม่นำ พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และ พรบ.นิรโทษกรรมเข้าวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยประชุมวิสามัญนี้

14 พ.ค.56 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยว่า พรรคมีมติไม่นำพรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และ พรบ.นิรโทษกรรมเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ ในระหว่างวันที่ 29-31 พ.ค.นี้ โดยกล่าวว่าจะมีการพิจารณา พรบ.งบประมาณประจำปี 2557 เพียงเรื่องเดียว

ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า รัฐบาลจะยังไม่นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใดเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมวิสามัญนี้ด้วยเช่นกัน แต่จะผลักดันเข้าสู่การประชุมสภาสมัยสามัญในเดือน ส.ค.แทน

เรียบเรียงจาก ไทยรัฐออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"อภิสิทธิ์-สุเทพ" เข้ารับข้อหาเพิ่มคดีน้องอีซา เหยื่อ พ.ค. 53

Posted: 14 May 2013 08:19 AM PDT

อภิสิทธิ์-สุเทพ เข้ารับข้อกล่าวหาเพิ่มเติมจากดีเอสไอ ข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล กรณีนายสมร ไหมทอง บาดเจ็บสาหัส และการเสียชีวิตของคุณากร ศรีสุวรรณ ในการสลายการชุมนุมเดือน พ.ค. 53

14 พ.ค.56 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เดินทางมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมจากดีเอสไอ ในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล กรณีการบาดเจ็บสาหัสของ นายสมร ไหมทอง และกรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา ซึ่งเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่หลังทะลุเข้าช่องท้อง ในระหว่างเหตุสลายการชุมนุมเดือน พ.ค. 53

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหา โดยแบ่งการแจ้งข้อกล่าวหาเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการแจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ส่วนที่ 2 คือการแจ้งกล่าวหาเพิ่มเติมกรณีการบาดเจ็บของนายสมร ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 2 คน จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยพนักงานสอบสวนจะเร่งดำเนินการ คาดว่าจะสามารถสรุปสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องคดีแรกให้พนักงานอัยการได้ภายใน 1 เดือน เนื่องจากการสอบสวนพบการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และการบาดเจ็บสาหัสของนายสมร ไหมทอง ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารในวัน เวลา และสถานที่เดียวกัน สำหรับคดีอื่นๆ ดีเอสไอยังต้องรอผลการไต่สวนคดีชันสูตรพลิกศพในชั้นศาล หากพบว่ามีการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสรายอื่นๆ อีก ดีเอสไอจำเป็นต้องเรียกนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมารับทราบข้อกล่าวหาอีก

ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 12 ปี เสียชีวิตระหว่างถูกนำส่งโรงพยาบาลพญาไท 1 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือถูกลูกกระสุนปืนซึ่งยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ส่วนกรณีนายสมร ไหมทอง ถูกเจ้าหน้าที่ยิงเข้าที่รถขณะกำลังขับรถอยู่จนได้รับบาดเจ็บสาหัส

เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิทธิมนุษยชนประณามผู้ก่อเหตุในคลิป 'ควักหัวใจ' ศพทหารฝ่ายรัฐบาล

Posted: 14 May 2013 08:13 AM PDT

องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ เผยฝ่ายกบฏในภาพวีดิโอควักหัวใจศพทหารฝ่ายรัฐบาลคือ อาบู ซักการ์ ผู้นำกลุ่ม 'กองกำลัง โอมาร์ อัลฟารูค' และบอกว่าการตัดอวัยวะจากซากศพข้าศึกเช่นนี้ถือเป็นอาชญากรรมสงคราม

14 พ.ค. 2013 - มีวีดิโอที่แสดงให้เห็นภาพของกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรียกัดกินหัวใจของทหารที่เสียชีวิต ภาพดังกล่าวทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการประณามจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน

องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าคนของฝ่ายกบฏที่กระทำการดังกล่าวคือ อาบู ซักการ์ ผู้นำกลุ่มกบฏอิสระ 'กองกำลังโอมาร์ อัลฟารูค' จากเมืองฮอม ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวอีกว่าการกระทำของเขาถือเป็นอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมสงครามไม่ว่ามาจากฝ่ายกบฏหรือฝ่ายรัฐบาลจะไม่มีการละเว้นโทษและจะต้องมีการนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา

ภาพจากวีดิโอซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือแสดงให้เห็นอาบู ซักการ์ ตัดหัวใจจากศพทหารออกมาขณะยืนอยู่เหนือซากศพทหาร โดยอาบูกล่าวในวีดิโอว่า "ข้าขอสาบานต่อพระเจ้าว่าพวกเราจะกินหัวใจพวกแกและตับของพวกแก พวกทหารของเจ้าสุนัขบาชาร์" ซึ่งอาบูหมายถึง ปธน. บาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีของซีเรีย

ปีเตอร์ บูคการ์ท จากฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า การตัดอวัยวะของซากศพของศัตรูถือเป็นอาชญากรรมสงคราม แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือมีการใช้โวหารในเชิงแบ่งแยกนิกายและการใช้ความรุนแรงมากขึ้น

กลุ่มสิทธิมนุษยชนยังบอกอีกว่า อาบู ซักการ์ เคยถูกถ่ายภาพตอนที่เขายิงจรวดเข้าใส่ย่านนิกายชีอะในประเทศเลบานอน และมีการโพสท์ท่ากับศพของกลุ่มกองกำลังฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอนที่ถูกสังหารพร้อมกับทหารฝ่ายรัฐบาลซีเรีย

สถานการณ์ในซีเรียมีการสู้รบระหว่างกองทัพรัฐบาลกับกลุ่มติดอาวุธฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมานานเป็นเวลา 2 ปี โดยฝ่ายต่อต้านมีแกนนำใหญ่คือกลุ่มปลดปล่อยชาติซีเรีย (Free Syrian Army - FSA) โดยที่ BBC ระบุว่ากองกำลังโอมาร์ อัลฟารูค เป็นกลุ่มย่อยที่แตกแขนงมาจาก FSA มีพลรบราว 20,000 นาย เริ่มมีชื่อเสียงจากการปกป้องย่าน บาบา อัมร์ ในเมืองฮอมเมื่อเดือน ก.พ. 2012 แต่เหตุการณ์โจมตีหมู่บ้านชาวนิกายชีอะเมื่อเดือน เม.ย. 2013 ฮิวแมนไรท์วอทช์บอกว่าเป็นการจู่โจมแบบไม่เลือกหน้าและถือเป็นอาชญากรรมสงคราม

สหประชาชาติเปิดเผยว่าเหตุรุนแรงในซีเรียทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 70,000 ราย นับตั้งแต่การลุกฮือในเดือน มี.ค. 2011 ขณะที่กลุ่มเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรียประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 80,000 รายแล้ว ในแง่ของผู้ลี้ภัย สหประชาชาติประกาศว่าชาวซีเรียที่หนีการสู้รบออกนอกประเทศมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยแล้วหนึ่งล้านคน มีราว 300,000 คนอพยพไปอยู่ตุรกี


รัสเซียเจรจากับนายกอิสราเอลฯ กรณีซีเรีย

ทางด้านความเคลื่อนไหวของผู้นำโลกต่อกรณีของซีเรีย ล่าสุดผู้นำรัสเซีย ปธน. วลาดิเมียร์ ปูติน ได้แสดงความกังวลเรื่องปฏิบัติการทางอากาศของอิสราเอลที่มีการโจมตีใส่ซีเรีย ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนยามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลก็เรียกร้องให้รัสเซียหยุดส่งอาวุธให้กับรัฐบาลซีเรีย

BBC รายงานว่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาประเทศรัสเซียกลายเป็นหัวใจสำคัญสำหรับความพยายามด้านการทูตเพื่อยุติความรุนแรงในซีเรีย โดยเมื่อวันจันทร์ (12 พ.ค.) ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน และ ปธน. บารัค โอบาม่า ของสหรัฐฯ แสดงความคาดหวังว่ารัสเซียจะช่วยเจรจาให้ปธน.อัสซาดลงจากอำนาจ

 

เรียบเรียงจาก

Outrage at Syrian rebel shown 'eating soldier's heart', BBC, 14-05-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวมภาพเสื้อแดงรำลึก 3 ปี เสธ.แดง ร่วมปล่อยลูกโป่งแดง

Posted: 14 May 2013 04:54 AM PDT

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 56 ที่สวนลุมพินี คนเสื้อแดงนับพันคนร่วมงาน "รำลึก 3 ปี เสธ.แดง ศรัทธา อาลัย" ที่กลุ่มคนสนิทของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล จัดขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงการจากไปของพลตรีขัตติยะ หรือเสธ.แดง  อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองกับคนเสื้อแดง แต่ถูกลอบยิงเสียชีวิตในวันที่ 13 พ.ค.53 ระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมครั้งใหญ่ โดยมีขัตติยา สวัสดิผล และกิตติยา สวัสดิผล บุตรสาวทั้งสองคนของเสธ.แดงเข้าร่วมงานด้วย

ขัตติยากล่าวถึงการจัดงานรำลึกครั้งนี้ว่า รู้สึกของคุณมวลชนที่ยังรักคิดถึงเสธ.แดงและเดินทางมาร่วมงานแม้จะเป็นวันทำงานของหลายๆ คน ตนเชื่อว่าหากเสธ.แดงรับรู้ก็คงจะรู้สึกดีใจ นอกจากนี้ขอให้มวลชนเป็นกำลังใจ ให้หาคนผิดมาลงโทษให้ได้ในเร็ววัน

ในช่วงเย็นมีการจัดกิจกรรมอย่างคึกคัก นับตั้งแต่การเดินขบวนสั้นๆ หน้าอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 การอ่านบทกวีรำลึกถึงเสธ.แดง กิจกรรมปล่อยลูกโป่งสีแดงกว่า 1000 ลูก ขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้นเวลา 18.45 น.ประชาชนเสื้อแดงยืนสงบนิ่งพร้อมจุดเทียนรำลึกและนำไปปักไว้บริเวณทางลงสถานีรถไฟใต้ดินสีลม ซึ่งเป็นจุดที่เสธ.แดงถูกลอบยิง ก่อนจะมีการปราศรัยสลับกับการแสดงตนตรีเพื่อผ่อนคลายให้แก่ผู้มาร่วมงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ความซับซ้อนของ ‘ธรรม-ราชา’

Posted: 14 May 2013 02:05 AM PDT

องค์กรฟรีดอมเฮาส์ แถลงข่าวเปิดตัวรายงานเสรีภาพสื่อโลก ประจำปี 2013 โดยในปีนี้ได้จัดให้ประเทศไทยลดสถานะจากประเทศ "เสรีบางส่วน" (partly free) เป็นสถานะ "ไม่เสรี" (not free) เนื่องมาจากการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมถึงข้อกังวลเรื่องการเอาผิดตัวกลางอินเทอร์เน็ต (ประชาไท, 1 พ.ค.56)

 

คำแถลงของฟรีดอมเฮาส์สะท้อนให้เห็นว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการยืนยันว่า "สิทธิ เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญไทยรับรอง ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่โลกสมัยใหม่ยอมรับ" ฉะนั้น เมื่อใช้เกณฑ์สิทธิ เสรีภาพตามหลักสากลมาวินิจฉัย ประเทศไทยจึงเป็นประเทศ "ไม่เสรี" (not free) เนื่องจากไม่มี freedom of speech ในเรื่องสถาบันกษัตริย์ มองในแง่นี้ ม.112 ก็คือกฎหมายที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ฝ่ายนิยมเจ้ามักจะอ้างว่า เมืองไทยมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่เหมือนใครในโลก ไม่จำเป็นต้องเดินตามประชาธิปไตยแบบฝรั่ง เป็น "ประชาธิปไตยแบบวัฒนธรรมไทย" ก็ได้ สถาบันกษัตริย์ของเราก็ไม่เหมือนอังกฤษ ญี่ปุ่น เพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นธรรมราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม

แต่ที่จริงแล้ว แม้เราจะอ้างหลักการของเราเอง คือ "หลักทศพิธราชธรรม" (ที่จริงหลักนี้ก็เอามาจากอินเดีย) และอ้างอย่างซื่อตรงต่อหลักการเดิม ก็จะเห็นได้อีกว่า "ม.112 ย่อมขัดต่อหลักทศพิธราชธรรม" ด้วยเช่นกัน

เพราะตามเนื้อหาของทศพิธราชธรรมนั้นถือว่า ผู้ปกครองมีหน้าที่รับใช้ราษฎร และต้องซื่อตรง โปร่งใส วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ แม้แต่นักวิชาการฝ่ายนิยมเจ้าอย่างบวรศักดิ์ อุวรรโณ ก็ตีความว่า "ทศพิธราชธรรมคือหลักธรรมาภิบาล" โดยเราย่อมรู้ว่าเงื่อนไขของความเป็นธรรมาภิบาลที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ "ความโปร่งใสตรวจสอบได้" ฉะนั้น กษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมจึงต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ปัญญาชนสยามอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็อ้างหลักทศพิธราชธรรมเพื่อยืนยันเสมอๆว่า "สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และต้องโปร่งใส วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้"

ฉะนั้น ม.112 ที่ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ จึงไม่เพียงแต่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลเท่านั้น หากยังขัดต่อหลักทศพิธราชธรรม "อย่างถึงราก" อีกด้วย

ที่ว่า ม.112 ขัดต่อทศพิธราชธรรมอย่างถึงราก ก็เพราะว่าสาระสำคัญของทศพิธราชธรรมยึดโยงอยู่กับความหมายของ "ธรรมแบบพุทธ" กล่าวคือ ในภูมิปัญญาอินเดียโบราณที่เรารับเอามาผ่านพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์นั้นเขาใช้คำว่า "ธรรม" ในความหมายที่ซับซ้อน (พอๆกับคำว่า "God" ในภูมิปัญญาคริสต์ อิสลาม) และกินความหมายกว้างครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

"ธรรม" หมายถึงกฎสากลของจักรวาลหรือธรรมชาติและกฎธรรมชาติก็ได้ หมายถึงความประพฤติของปัจเจกบุคคลที่เรียกว่าศีลธรรมจรรยาก็ได้ หมายถึงความดี (กุศลธรรม) ความชั่ว (อกุศลธรรม) สภาวะที่ไม่มีความหมายดี-ชั่ว (อัพยากตธรรม) ก็ได้ หมายถึงศีลธรรมทางสังคม เช่น หน้าที่ของผู้ปกครองหรือรัฐ ความเป็นธรรม ความยุติธรรมก็ได้ หมายถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมก็ได้ ส่วนที่หมายถึงระบบการปกครองของรัฐหรือกฎหมาย เขาก็เรียกว่า "พระธรรมศาสตร์" เป็นต้น

แต่โดยรวมๆ แล้ว เราอาจแยกความหมายของธรรมออกเป็นสองความหมายหลักๆ คือ

1) ธรรมในความหมายที่ยึดโยงอยู่กับพระพรหม หรือพระเจ้า ผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ ธรรมในความหมายนี้คือ "โบราณธรรม" หรือธรรมเก่าแก่ที่ใช้กันมาในวัฒนธรรมพราหมณ์ก่อนพุทธกาลหลายพันปี เป็นธรรมที่กำหนดอุดมการณ์ปกครองรัฐตามทฤษฎีเทวโองการ ที่ถือว่าผู้ปกครองเป็น "เทวราชา" วางระบบกฎหมายที่เรียกว่า "พระธรรมศาสตร์" เพื่อใช้กำหนดหน้าที่ทางชนชั้นตามระบบวรรณะสี่เป็นต้น

ปรัชญาการปกครองตามทฤษฎีนี้ถือว่า "มนุษย์นั้นชั่วร้าย ต่อกลัวราชทัณฑ์ จึงจักปฏิบัติตามธรรม" ฉะนั้น พระพรหมจึงประกาศิตให้กษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองโลก เพื่อควบคุมให้ผู้คนปฏิบัติตามธรรม หรือกฎระเบียบสังคมตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมศาสตร์

2) ธรรมในความหมายที่ยึดโยงอยู่กับกฎธรรมชาติ คือ "ธรรมแบบพุทธ" จะว่าไปก็คือธรรมที่พุทธศาสนาเสนอขึ้นมาเพื่อโต้แย้งโบราณธรรมแบบพราหมณ์ในสาระสำคัญ เช่น พราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างโลก พุทธแย้งว่าโลกเกิดขึ้นตามกฎเหตุปัจจัยทางธรรมชาติ พราหมณ์ว่ามีอัตตา พุทธแย้งว่าเป็นอนัตตา พราหมณ์ว่าระบบวรรณะสี่มาจากพรหมลิขิต พุทธแย้งว่าระบบวรรณะเกิดจากวิวัฒนาการทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงได้และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามกฎอนิจจัง มนุษย์คือผู้ลิขิตชีวิตและสังคมของตนเอง

พราหมณ์ว่าผู้ปกครองเป็น "เทวราชา" ทรงอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเทวโองการ พุทธแย้งว่าผู้ปกครองคือ  "สมมติราชา" ที่ราษฎรสมมติขึ้น มีความชอบธรรมในการปกครองจากการทำหน้าที่รับใช้ราษฎรตามหลักจักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ ทศพิธราชธรรม (หรือหากเป็นคณะบุคคลปกครองก็ใช้วัชชีธรรม)

ในแง่ปรัชญาการปกครอง พุทธศาสนามองว่าธรรมชาติของมนุษย์มีสองด้านคือ ด้านมืด (อกุศลมูล-โลภ โกรธ หลง) และด้านสว่าง (กุศลมูล-เสียสละ เมตตา ปัญญา) และมองว่า "ด้านสว่าง" คือธรรมชาติที่เป็นแก่นแท้ของมนุษย์ ฉะนั้น มนุษย์จึงสามารถเรียนรู้เพื่อแปรด้านมืดให้กลายเป็นด้านสว่างได้ตลอดเวลา พุทธศาสนาไม่ได้เน้นการบังคับควบคุมเก็บกดด้านมืดของมนุษย์ด้วยการใช้อำนาจ แต่เน้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้คนรู้จักคิดจนเกิดความเข้าใจหรือเกิดปัญญา เพื่อแปรด้านมืดเป็นด้านสว่างให้เกิดขึ้นทั้งภายในปัจเจกบุคคล และวัฒนธรรมทางสังคม

การปกครองตามทรรศนะของพุทธศาสนาจึงเน้นไปในทางให้การศึกษาส่งเสริมธรรมชาติด้านสว่างของมนุษย์ให้งอกงาม ซึ่งหมายความว่าต้องส่งเสริมการมีเสรีภาพที่จะเลือกของราษฎรเป็นประการสำคัญด้วย หลักทฤษฎีธรรมราชาที่ทรงทศพิธราชธรรมตามทรรศนะของพุทธศาสนา จึงเป็นหลักการให้ผู้ปกครองหรือรัฐใช้พระคุณมากกว่าพระเดช ต้องไม่เผด็จการแบบหลักเทวโองการ

ฉะนั้น เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระแล้ว หลักทศพิธราชธรรมจึงไปกันได้กับระบอบประชาธิปไตยที่มี freedom of speech มากกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามทฤษฎีเทวโองการ ถ้าอ้างหลักทศพิธราชธรรมอย่างซื่อตรง เราต้องอ้างเพื่อให้ "ยกเลิก ม.112" ไม่ใช่อ้างเพื่อคง ม.112 เอาไว้

นอกจากคำว่า "ธรรม" จะมีความหมายซับซ้อนดังกล่าวแล้ว คำว่า "ราชา" หรือ "กษัตริย์" ก็มีความหมายซับซ้อนเช่นกัน กล่าวคือในสังคมอินเดียโบราณมีทั้ง "ระบบราชาธิปไตย" ที่กษัตริย์หรือราชาทรงอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเทวโองการแบบพราหมณ์ เช่น กษัตริย์ในรัฐใหญ่ๆอย่างมคธ โกศล เป็นต้น และมี "ระบบสภาขัตติยะ" ที่ราชาหรือกษัตริย์ถูกเลือกจากสภาของชนชั้นปกครอง เช่น สภาขัตติยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์และวัชชี เป็นต้น

ระบบที่กษัตริย์ถูกเลือกโดยสภานี่เองน่าจะเป็น "บริบท" อันเป็นที่มาของความคิดเรื่อง "สมมติราชา"

ตามนัยอัคคัญสูตร และทฤษฎีธรรมราชาที่พุทธะเสนอเพื่อโต้แย้งทฤษฎีเทวโองการแบบพราหมณ์ ดังอภิปรายตอนที่แล้ว

 

 

 

หมายเหตุ : จากบทความเดิมชื่อ พุทธศาสนากับประชาธิปไตย (7) ความซับซ้อนของ 'ธรรม-ราชา' เผยแพร่ใน "โลกวันนี้วันสุข" (11-17 พฤษภาคม 2556)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ความซับซ้อนของ ‘ธรรม-ราชา’

Posted: 14 May 2013 02:05 AM PDT

องค์กรฟรีดอมเฮาส์ แถลงข่าวเปิดตัวรายงานเสรีภาพสื่อโลก ประจำปี 2013 โดยในปีนี้ได้จัดให้ประเทศไทยลดสถานะจากประเทศ "เสรีบางส่วน" (partly free) เป็นสถานะ "ไม่เสรี" (not free) เนื่องมาจากการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมถึงข้อกังวลเรื่องการเอาผิดตัวกลางอินเทอร์เน็ต (ประชาไท, 1 พ.ค.56)

 

คำแถลงของฟรีดอมเฮาส์สะท้อนให้เห็นว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการยืนยันว่า "สิทธิ เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญไทยรับรอง ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่โลกสมัยใหม่ยอมรับ" ฉะนั้น เมื่อใช้เกณฑ์สิทธิ เสรีภาพตามหลักสากลมาวินิจฉัย ประเทศไทยจึงเป็นประเทศ "ไม่เสรี" (not free) เนื่องจากไม่มี freedom of speech ในเรื่องสถาบันกษัตริย์ มองในแง่นี้ ม.112 ก็คือกฎหมายที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ฝ่ายนิยมเจ้ามักจะอ้างว่า เมืองไทยมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่เหมือนใครในโลก ไม่จำเป็นต้องเดินตามประชาธิปไตยแบบฝรั่ง เป็น "ประชาธิปไตยแบบวัฒนธรรมไทย" ก็ได้ สถาบันกษัตริย์ของเราก็ไม่เหมือนอังกฤษ ญี่ปุ่น เพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นธรรมราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม

แต่ที่จริงแล้ว แม้เราจะอ้างหลักการของเราเอง คือ "หลักทศพิธราชธรรม" (ที่จริงหลักนี้ก็เอามาจากอินเดีย) และอ้างอย่างซื่อตรงต่อหลักการเดิม ก็จะเห็นได้อีกว่า "ม.112 ย่อมขัดต่อหลักทศพิธราชธรรม" ด้วยเช่นกัน

เพราะตามเนื้อหาของทศพิธราชธรรมนั้นถือว่า ผู้ปกครองมีหน้าที่รับใช้ราษฎร และต้องซื่อตรง โปร่งใส วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ แม้แต่นักวิชาการฝ่ายนิยมเจ้าอย่างบวรศักดิ์ อุวรรโณ ก็ตีความว่า "ทศพิธราชธรรมคือหลักธรรมาภิบาล" โดยเราย่อมรู้ว่าเงื่อนไขของความเป็นธรรมาภิบาลที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ "ความโปร่งใสตรวจสอบได้" ฉะนั้น กษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมจึงต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ปัญญาชนสยามอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็อ้างหลักทศพิธราชธรรมเพื่อยืนยันเสมอๆว่า "สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และต้องโปร่งใส วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้"

ฉะนั้น ม.112 ที่ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ จึงไม่เพียงแต่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากลเท่านั้น หากยังขัดต่อหลักทศพิธราชธรรม "อย่างถึงราก" อีกด้วย

ที่ว่า ม.112 ขัดต่อทศพิธราชธรรมอย่างถึงราก ก็เพราะว่าสาระสำคัญของทศพิธราชธรรมยึดโยงอยู่กับความหมายของ "ธรรมแบบพุทธ" กล่าวคือ ในภูมิปัญญาอินเดียโบราณที่เรารับเอามาผ่านพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์นั้นเขาใช้คำว่า "ธรรม" ในความหมายที่ซับซ้อน (พอๆกับคำว่า "God" ในภูมิปัญญาคริสต์ อิสลาม) และกินความหมายกว้างครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

"ธรรม" หมายถึงกฎสากลของจักรวาลหรือธรรมชาติและกฎธรรมชาติก็ได้ หมายถึงความประพฤติของปัจเจกบุคคลที่เรียกว่าศีลธรรมจรรยาก็ได้ หมายถึงความดี (กุศลธรรม) ความชั่ว (อกุศลธรรม) สภาวะที่ไม่มีความหมายดี-ชั่ว (อัพยากตธรรม) ก็ได้ หมายถึงศีลธรรมทางสังคม เช่น หน้าที่ของผู้ปกครองหรือรัฐ ความเป็นธรรม ความยุติธรรมก็ได้ หมายถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมก็ได้ ส่วนที่หมายถึงระบบการปกครองของรัฐหรือกฎหมาย เขาก็เรียกว่า "พระธรรมศาสตร์" เป็นต้น

แต่โดยรวมๆ แล้ว เราอาจแยกความหมายของธรรมออกเป็นสองความหมายหลักๆ คือ

1) ธรรมในความหมายที่ยึดโยงอยู่กับพระพรหม หรือพระเจ้า ผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ ธรรมในความหมายนี้คือ "โบราณธรรม" หรือธรรมเก่าแก่ที่ใช้กันมาในวัฒนธรรมพราหมณ์ก่อนพุทธกาลหลายพันปี เป็นธรรมที่กำหนดอุดมการณ์ปกครองรัฐตามทฤษฎีเทวโองการ ที่ถือว่าผู้ปกครองเป็น "เทวราชา" วางระบบกฎหมายที่เรียกว่า "พระธรรมศาสตร์" เพื่อใช้กำหนดหน้าที่ทางชนชั้นตามระบบวรรณะสี่เป็นต้น

ปรัชญาการปกครองตามทฤษฎีนี้ถือว่า "มนุษย์นั้นชั่วร้าย ต่อกลัวราชทัณฑ์ จึงจักปฏิบัติตามธรรม" ฉะนั้น พระพรหมจึงประกาศิตให้กษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองโลก เพื่อควบคุมให้ผู้คนปฏิบัติตามธรรม หรือกฎระเบียบสังคมตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมศาสตร์

2) ธรรมในความหมายที่ยึดโยงอยู่กับกฎธรรมชาติ คือ "ธรรมแบบพุทธ" จะว่าไปก็คือธรรมที่พุทธศาสนาเสนอขึ้นมาเพื่อโต้แย้งโบราณธรรมแบบพราหมณ์ในสาระสำคัญ เช่น พราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างโลก พุทธแย้งว่าโลกเกิดขึ้นตามกฎเหตุปัจจัยทางธรรมชาติ พราหมณ์ว่ามีอัตตา พุทธแย้งว่าเป็นอนัตตา พราหมณ์ว่าระบบวรรณะสี่มาจากพรหมลิขิต พุทธแย้งว่าระบบวรรณะเกิดจากวิวัฒนาการทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงได้และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามกฎอนิจจัง มนุษย์คือผู้ลิขิตชีวิตและสังคมของตนเอง

พราหมณ์ว่าผู้ปกครองเป็น "เทวราชา" ทรงอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเทวโองการ พุทธแย้งว่าผู้ปกครองคือ  "สมมติราชา" ที่ราษฎรสมมติขึ้น มีความชอบธรรมในการปกครองจากการทำหน้าที่รับใช้ราษฎรตามหลักจักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ ทศพิธราชธรรม (หรือหากเป็นคณะบุคคลปกครองก็ใช้วัชชีธรรม)

ในแง่ปรัชญาการปกครอง พุทธศาสนามองว่าธรรมชาติของมนุษย์มีสองด้านคือ ด้านมืด (อกุศลมูล-โลภ โกรธ หลง) และด้านสว่าง (กุศลมูล-เสียสละ เมตตา ปัญญา) และมองว่า "ด้านสว่าง" คือธรรมชาติที่เป็นแก่นแท้ของมนุษย์ ฉะนั้น มนุษย์จึงสามารถเรียนรู้เพื่อแปรด้านมืดให้กลายเป็นด้านสว่างได้ตลอดเวลา พุทธศาสนาไม่ได้เน้นการบังคับควบคุมเก็บกดด้านมืดของมนุษย์ด้วยการใช้อำนาจ แต่เน้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้คนรู้จักคิดจนเกิดความเข้าใจหรือเกิดปัญญา เพื่อแปรด้านมืดเป็นด้านสว่างให้เกิดขึ้นทั้งภายในปัจเจกบุคคล และวัฒนธรรมทางสังคม

การปกครองตามทรรศนะของพุทธศาสนาจึงเน้นไปในทางให้การศึกษาส่งเสริมธรรมชาติด้านสว่างของมนุษย์ให้งอกงาม ซึ่งหมายความว่าต้องส่งเสริมการมีเสรีภาพที่จะเลือกของราษฎรเป็นประการสำคัญด้วย หลักทฤษฎีธรรมราชาที่ทรงทศพิธราชธรรมตามทรรศนะของพุทธศาสนา จึงเป็นหลักการให้ผู้ปกครองหรือรัฐใช้พระคุณมากกว่าพระเดช ต้องไม่เผด็จการแบบหลักเทวโองการ

ฉะนั้น เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระแล้ว หลักทศพิธราชธรรมจึงไปกันได้กับระบอบประชาธิปไตยที่มี freedom of speech มากกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามทฤษฎีเทวโองการ ถ้าอ้างหลักทศพิธราชธรรมอย่างซื่อตรง เราต้องอ้างเพื่อให้ "ยกเลิก ม.112" ไม่ใช่อ้างเพื่อคง ม.112 เอาไว้

นอกจากคำว่า "ธรรม" จะมีความหมายซับซ้อนดังกล่าวแล้ว คำว่า "ราชา" หรือ "กษัตริย์" ก็มีความหมายซับซ้อนเช่นกัน กล่าวคือในสังคมอินเดียโบราณมีทั้ง "ระบบราชาธิปไตย" ที่กษัตริย์หรือราชาทรงอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเทวโองการแบบพราหมณ์ เช่น กษัตริย์ในรัฐใหญ่ๆอย่างมคธ โกศล เป็นต้น และมี "ระบบสภาขัตติยะ" ที่ราชาหรือกษัตริย์ถูกเลือกจากสภาของชนชั้นปกครอง เช่น สภาขัตติยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์และวัชชี เป็นต้น

ระบบที่กษัตริย์ถูกเลือกโดยสภานี่เองน่าจะเป็น "บริบท" อันเป็นที่มาของความคิดเรื่อง "สมมติราชา"

ตามนัยอัคคัญสูตร และทฤษฎีธรรมราชาที่พุทธะเสนอเพื่อโต้แย้งทฤษฎีเทวโองการแบบพราหมณ์ ดังอภิปรายตอนที่แล้ว

 

 

 

หมายเหตุ : จากบทความเดิมชื่อ พุทธศาสนากับประชาธิปไตย (7) ความซับซ้อนของ 'ธรรม-ราชา' เผยแพร่ใน "โลกวันนี้วันสุข" (11-17 พฤษภาคม 2556)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ระวังคดีอันวาร์จะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้กระบวนสันติภาพปาตานีสะดุด

Posted: 14 May 2013 01:56 AM PDT

ด้วยพระนามของอัลลอฮ.ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อ 1 พค. ที่ผ่านมานายมูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ  หรืออันวาร์ เป็นหนึ่งนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมด้วยสันติวิธี ตั้งแต่ปี2549 – ปัจจุบัน ได้ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 12 ปีได้สร้างความงุนงง และตกใจสำหรับคนทำงานด้านสันติธีทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่

กอปรกับตัวอันวาร์เป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันว่าเขามีผลงานเชิงประจักษ์ ว่าที่ผ่านมานั้นเป็นคนที่ทำกิจกรรมอย่างสันติวิธีโดยเฉพาะกับเยาวชนในพื้นที่ซึ่งหลายครั้งได้รับงบสนับสนุนกิจกรรมทั้งจากภาครัฐและเอกชนหรือการระดมทุนจากคนในพื้นที่ แต่หลายครั้งอันวาร์ก็ได้มีส่วนร่วมรณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่อย่างสันติวิธีซึ่งยังผลให้คนในหน่วยความมั่นคงหลายคนไม่พอใจแต่กลับถูกใจจากนักสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศ                   

สำหรับเหตุผลที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุกเขาคือ เขาเป็นสมาชิก บีอาร์เอ็นโดยศาลมีหลักฐานหลัก คือคำซัดทอดจากการให้การของบุคคลสี่คน  คนเหล่านี้คือมะตอเห สะอะ อับดุลเลาะ สาแม็ง สะตอปา ตือบิงหมะ และมะสุกรี สารอ   ทั้งสี่คนยอมรับสารภาพกับเจ้าหน้าที่ว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าตัดคอดาบตำรวจสัมพันธ์ อ้นยะลา ตำรวจยะรัง แม้ว่าคนที่ยิงและตัดคอดาบตำรวจนั้นจับไม่ได้และไม่ได้อยู่ในกลุ่มสี่คนนี้ก็ตาม

จากเอกสารคำพิพากษาสรุปข้อมูลออกมาได้ว่า ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำคดีฆ่าดาบตำรวจ นำไปสู่การสอบสวนกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาสองแห่งคือประสานวิทยาหรือปอเนาะพงสตา กับโรงเรียนบุญบันดานหรือปอเนาะแนบาแด โดยตำรวจได้ตามรอยการใช้โทรศัพท์ของดาบตำรวจสัมพันธ์และพบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งนำโทรศัพท์ไปใช้ และมีการติดต่อกับนักเรียนหลายคนของทั้งสองโรงเรียน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เข้าตรวจค้นและจับกุม แล้วนำตัวนักเรียนทั้งสี่รวมกับอีกหลายคนไปสอบปากคำ เป็นที่มาของการได้คำให้การต่างๆของคนทั้งสี่ที่ยอมรับว่าเป็นบีอาร์เอ็นซึ่งเป็นหลักฐานหลัก

นอกจากนี้ยังมีคำให้การของนักเรียนอีกสามคนที่ดูเหมือนว่าจะเป็นหลักฐานประกอบ ซึ่งก็เป็นคำให้การที่ให้ไว้ทั้งในขั้นตอนการซักถามข้อมูลและขั้นตอนการใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ เช่นกัน และพวกเขาก็ได้ไปให้ปากคำในชั้นศาลด้วย แต่คนกลุ่มหลังนี้ถือว่า "ไม่ใช่สมาชิกบีอาร์เอ็น"

ในคำซัดทอดของกลุ่มคนสี่คนที่ยอมรับว่าเป็นสมาชิกบีอาร์เอ็นนั้นระบุว่า ในบรรดาคนที่ไปร่วมรับการอบรมมีอันวาร์และกลุ่มคนที่ถูกฟ้องพร้อมอันวาร์อยู่ด้วย ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนคนทั้งสี่นี้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น คือมะตอเหที่ได้ให้การในชั้นศาลเพิ่มเติม ส่วนที่เหลืออีกสามคนนั้นมีแต่คำให้การที่พวกเขาให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการซักถามตามพรก.ฉุกเฉินฯ กับคำให้การที่ให้ไว้กับตำรวจเท่านั้น ไม่มีการไปเบิกความในศาลเพราะพวกเขาหลบหนีเสียก่อน  

หนึ่งในสี่คนที่ว่านี้ คนหนึ่งคือมะสุกรี ระบุว่าเป็นเพื่อนร่วมห้องของอันวาร์ จากคำให้การของพวกเขาสี่คน เล่าถึงการได้ไปทำกิจกรรมรับการอบรมของบีอาร์เอ็นด้วยกัน และระบุด้วยว่าอันวาร์กับอัรฟาน จำเลยอีกรายหนึ่ง เคยกระทั่งเอามอเตอร์ไซค์ส่วนตัวไปใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกัน  และอันวาร์ยังมีการไปมาหาสู่กับสะตอปา ตือบิงหมะ หนึ่งในสี่คนที่หลบหนีไป

ส่วนคำให้การของนักเรียนอีกสามคนจากปอเนาะแนบาแดที่ศาลบอกว่าไม่ใช่สมาชิกของบีอาร์เอ็นนั้น เป็นการ "ให้การเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว" ของสมาชิกบีอาร์เอ็นในการวางแผนสังหารดาบตำรวจให้การไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ว่าในการเบิกความในชั้นศาล พวกเขากลับคำให้การ โดยบอกว่าไม่รู้เรื่องการวางแผนใดๆของสมาชิกบีอาร์เอ็นที่ไปก่อเหตุ

แต่ศาลกลับเห็นว่า การกลับคำให้การของนักเรียนทั้งสามน่าจะเป็นเพราะต้องการช่วยเหลือจำเลย หรือไม่ก็เพราะหวาดกลัวมากกว่า และเชื่อว่าคำให้การในชั้นซักถามและชั้นสอบสวนของพวกเขานั้น "จริงยิ่งกว่าคำเบิกความ" พูดง่ายๆว่าที่เบิกความกับศาลนั้นศาลเห็นว่าเป็นเท็จ แต่ที่ให้การกับตำรวจศาลเห็นว่าเป็นของจริง เพราะว่าสอดคล้องกับการให้การของอีกสี่คนแรกที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นสมาชิกบีอาร์เอ็น

นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุผลที่อันวาร์ต้องถูกจำคุกถึง12  ปี (โปรดดูรายละเอียดในhttp://www.deepsouthwatch.org/node/4231)

จากผลของคดีนี้ทำให้เพื่อนๆอันวาร์เริ่มเคลื่อนไหวทางสันติวิธีให้มีการปล่อยตัวอันวาร์ทางสื่อออนไลน์   (https://www.facebook.com/saveanwar?group_id=0 ) และจัดกิจกรรมอื่นๆต่อมวลชนในพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีผลต่กระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับกลุ่มคนเห็นต่าง โดยเฉพาะบีอาร์เอ็น  หรืออาจส่งผลต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะอาจจเป็นข้ออ้างให้เยาวชนหันหลังให้กับแนวทางสันติวิธีหรือการต่อสู้ทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประเทศไทยอ้างว่ารัฐธรรมนูญของไทยเต็มใบ

สำหรับผู้เขียนอยากจะเสนอแนะให้สื่อมวลชนทั้งในหรือนอกพื้นที่โดยเฉพาะการเสวนาทางวิชาการด้านกฎหมายกับทางออกในวิกฤติชายแดนใต้ ในกรณีอันวาร์โดยเฉพาะว่า  พอมีทางออกอย่างไร ในคดีนี้  ที่จะไม่ไปสร้างปัญหาทางการเมืองระหว่างชายแดนใต้กับกรุงเทพในท่ามกลางบรรยากาศการเปิดพื้นที่พูดคุยเพื่อสันติภาพซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน  แต่ไม่ให้ล่มเพราะเหตุปัจจัยคดีอันวา

 

จากบทความเดิมชื่อ:  คดีอันวาร์ระวังจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่จะทำให้กระบวนสร้างบรรยากาศสันติภาพปาตานีสะดุด

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: 
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเข้าใจที่ผิดเรื่องผังเมือง... หนาแน่น และ แออัด

Posted: 14 May 2013 01:50 AM PDT

ผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครพยายามทำให้กรุงเทพฯ ไม่หนาแน่นแต่กลับสร้างความแออัดเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าในใจกลางเมืองก็พยายามให้สร้างได้อย่างจำกัด เขตนอกเมืองก็เช่นกัน

ในเรื่องความแออัด (over crowded) ได้แก่กรณีชุมชนแออัดที่ก่อสร้างติดต่อกันจนเรียกได้ว่านกบินไม่ตกถึงพื้น ตามนิยามชุมชนนั้นบนที่ดิน 1 ไร่ (40 X 40 เมตร) หากมีบ้านปลูกรวมกันรวมกันถึง 15 หลัง ก็จะเรียกว่าเป็นชุมชนแออัด เพราะหากในกรณีปกติบ้านเดี่ยวหลังหนึ่งตามกฎหมายมีขนาดที่ดิน 50 ตารางวา ดังนั้นบนที่ดิน 1 ไร่ จะปลูกบ้านได้ไม่เกิน 8 หลัง และหากให้บ้านทุกหลังติดถนนจะสามารถปลูกบ้านเดี่ยวได้เพียง 9 เท่านั้น

ในเรื่องความหนาแน่น คือการที่สามารถสร้างอาคารได้มากแต่ไม่แออัด เช่นในกรณีที่ดิน 1 ไร่เท่ากันหากสามารถสร้างได้ 10 เท่าก็จะก่อสร้างอาคารได้ 16,000 ตารางเมตร หาก 60% ของพื้นที่ก่อสร้างสามารถใช้เพื่อการอยู่อาศัย (ที่เหลือเป็นพื้นที่ส่วนกลาง เช่น โถงโล่ง บันได เป็นต้น) ก็จะสามารถขายพื้นที่ได้ 9,600 ตารางเมตร หากห้องชุดหรือห้องพักหนึ่งมีขนาด 100 ตารางเมตร ก็จะเป็น 96 หน่วย ยิ่งหากห้องชุดหรือห้องพักมีขนาดเล็กลงเป็น 30 ตารางเมตร ก็อาจแบ่งได้ถึง 320 หน่วย

จะเห็นได้ว่าหากอนุญาตสามารถก่อสร้างได้สูงก็จะสามารถเพิ่มความหนาแน่นทำให้เมืองไม่ขยายออกไปรุกที่ชนบท สาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ ก็จะไม่ต้องขยายออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในเขตจังหวัดปริมณฑลซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ชนบทโดยรอบ

การสร้างความหนาแน่นให้กับเมืองกลับไม่เป็นการสร้างความแออัด เพราะจะสามารถเว้นพื้นที่โดยรอบให้เป็นพื้นที่สีเขียวจากการอนุญาตให้ก่อสร้างตึกในแนวสูง ในการนี้จะสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองได้มากมาย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวด เพราะในใจกลางเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำกัด หากกระตุ้นให้มีความหนาแน่นแต่ลดความแออัด จะลดความตึงเครียดให้กับคนทำงานและคนอยู่อาศัยในเมือง จึงนับเป็นคุณูปการอย่างมหาศาล ในการใช้วิชาผังเมืองเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม

ในผังเมืองกทม.ปี 2556 ได้กล่าวถึงการส่งเสริมศูนย์ธุรกิจชานเมือง แต่กลับไม่อนุญาตให้สร้างสูงหรือสร้างพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งเท่ากับทำให้ศูนย์ธุรกิจไม่เกิดขึ้นจริง ใครจะสร้างศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ต้องสร้างขนาดเล็ก ๆ และกระจัดกระจายไปทั่ว หากนำแนวคิดหนาแน่นแต่ไม่แออัดมาใช้ ก็ควรจะพัฒนาแบบหนาแน่นในพื้นที่จำกัดที่วางแผนไว้ในผังเมือง เพื่อให้การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพและให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ธุรกิจชานเมืองทั้งหลายกับศูนย์ธุรกิจใจกลางเมืองด้วยรถไฟฟ้า และทางด่วน ทำให้การพัฒนามีการวางแผน ไม่สะเปะ สะปะ กระจัดกระจาย ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ของการขาดการวางแผนตามเจตนารมณ์ของผังเมืองที่แท้จริง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เส้นทางของนักเคลื่อนไหวในอิเหนา

Posted: 14 May 2013 01:23 AM PDT

บ่ายวันนี้ ฉันนัดเพื่อนชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นนักเรียนปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) [1] มานั่งดื่มกาแฟด้วยกัน วัตถุประสงค์ของฉันก็เพื่อขอเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศอินโดนีเซีย

เพื่อนของฉันคนนี้ชื่อ Sri Lestari Wahyuningroem แต่ฉันเรียกเธอสั้นๆ ว่า "อายู" (Ayu)

เธอพักจากการเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติอินโดนีเซีย (University of Indonesia) ชั่วคราวเพื่อมาเป็นนักเรียนปริญญาเอกในประเทศออสเตรเลียโดยได้รับทุนสนุบสนุนจากมหาวิทยาลัย

ที่สำคัญเธอยังเป็นนักเคลื่อนไหวตัวยง ในประเด็นสิทธิมนุษยชน gender ประชาธิปไตย และความขัดแย้งหลายองค์กรที่เธอทำงานด้วยก็มีมากมายทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ เช่น องค์กรสหประชาชาติ (UN)


        
ภาพ: Sri Lestari Wahyuningroem [2]

เธอเล่าให้ฟังว่า ในช่วงเรียนหนังสือระดับปริญญาตรี เธอเลือกที่จะทำเรื่อง "บทบาททหารและผู้หญิงในอะเจห์"แต่ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว อะเจห์เป็นพื้นที่ต้องห้ามจากรัฐบาล เธอจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาวิจัย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับการทำงานวิชาการ

เธอเล่าให้ฟังว่า ช่วงก่อนปี 2000 เพื่อนๆ ที่เป็นนักเคลื่อนไหวชาวอะเจห์ถูกข่มขู่จากรัฐบาลจนไม่สามารถจะอยู่ในพื้นที่ได้ ทำให้ต้องระหกระเหินเดินทางออกจากอะเจห์ ไปทำกิจกรรมรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนในต่างพื้นที่เช่น จาร์การ์ต้า

ผลของการถูกข่มขู่และขับไล่ดังกล่าว ก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อยเพราะนักเคลื่อนไหวชาวอะเจห์หลายคน ไปทำงานกับองค์กรสหประชาชาติและทำให้ประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายขอบ ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น

ในประเทศอินโดนีเซียนอกจากอะเจห์แล้ว เธอยังมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับนักสิทธิมนุษยชนในปาปัวนิวกีนีอีกด้วย โดยเธอยังคงเน้นเรื่อง "บทบาทของทหารและผู้หญิง"

ช่วงระยะเวลาของการเก็บข้อมูลวิจัย รัฐบาลและทหารก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะคิดว่าผู้หญิงอย่างเธอและงานวิจัยที่เธอทำ คงเกี่ยวข้องกับเรื่อง "ความรุนแรงในครอบครัว" แต่เมื่อเธอจัดสัมมนาและยื่นรายงานวิจัยให้รัฐบาล ก็ได้สร้างความตกตะลึงไม่น้อย เพราะผลของการวิจัยพบว่า ผู้หญิงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนท่ามกลางความขัดแย้งโดยทหารอย่างไร

การเคลื่อนไหวด้านสันติภาพโดยผู้หญิงมีความสำคัญมาก ในมุมมองของเธฮ

เธอกล่าวว่า "เป็นเพราะว่ากระบวนการสันติภาพในอะเจห์ไม่ได้มีมิติของผู้หญิงตั้งแต่ต้น ดังนั้นเมื่ออะเจห์ได้สันติภาพ ผู้หญิงจึงไม่มีที่ยืนและมารู้สึกเสียใจมากมายมหาศาลในภายหลัง" เธอเพิ่มเติมว่า "มันไม่จำเป็นหรอกว่า ผู้หญิงที่เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพจะมีข้อถกเถียงที่ชัดเจนและเข้มแข็งตามหลักการทางวิชาการ เพียงแต่ขอให้ผู้หญิงได้เข้าร่วม ได้นำเสนอมุมที่มาจากผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ได้รับการสนับสนุนจากมุมของพวกเธอ เพียงเท่านี้ก็นับว่าเพียงพอแล้ว"

นักเคลื่อนไหวในอะเจห์รุ่นก่อนกับรุ่นใหม่มีความแตกต่างกัน ก่อนหน้าที่อะเจห์จะได้เป็นเขตปกครองพิเศษ นักเคลื่อนไหวหลายคนไม่บอกแน่ชัดว่าตนเองเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือเปล่า แต่เมื่อหลังอะเจห์ได้เป็นเขตปกครองพิเศษ นักเคลื่อนไหวหลายคนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ประกาศตัวเองว่าเป็นกลุ่มสนับสนุนการให้อะเจห์เป็นเขตปกครองพิเศษอย่างชัดเจนมากขึ้น

เพื่อนของเธอหลายคนถูกจับกุมและต้องจำคุกอยู่นานเนื่องจากกิจกรรมที่พวกเขาทำ เธอกล่าวว่า "แน่นอนว่า ใครก็ตามที่เห็นตรงข้ามกับรัฐ มักจะถูกมองว่าเป็นพวกแบ่งแยกดินแดน แต่การอยู่ในพื้นที่สีเทาระหว่างรัฐกับเห็นไม่ตรงกับรัฐมันแบ่งกันได้ยากนะ เพราะกลุ่มแบ่งแยกทุกคนก็ไม่ใช่ว่าจะมีบัตรประจำตัวแล้วประกาศตัวว่า ตัวเองเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสักหน่อย แล้วก็ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐจะเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดน"

นักเคลื่อนไหวที่ถูกกุมขังหลายคน เรามีการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยเหลือกันอย่างน้อย 2 รูปแบบ

แบบแรก เรามีเพื่อนที่เป็นนักกฎหมายช่วยกันทำคดี เพราะเรากำลังสู้กับ "หลักบังคับแห่งกฎหมาย" (rule of law) ดังนั้นแนวทางการช่วยเพื่อนของเราจะต้องใช้นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน จัดการกับกฎหมายที่ถูกเขียนโดยรัฐ

แบบที่สอง ที่เธอเห็นว่าสำคัญที่สุด คือ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (solidarity) ของเครือข่ายด้านการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน

กรณีในอะเจห์ นักเคลื่อนไหวที่เป็นนักเรียน ทำงานร่วมกับองค์กรสหพันธ์นิสิตนักศึกษาในเมืองหลวงอย่างจาร์การ์ต้า ส่วนในปาปัวนิวกีนี นักเคลื่อนไหวในปาปัวนิวกีนี ทำงานร่วมกับ NGOs ด้านสิทธิมนุษยชนในจาร์การ์ต้าเช่นเดียวกัน

ทำไมต้องเป็นจาร์การ์ต้า? นั้นก็เพราะว่า จาร์การ์ต้า เป็นศูนย์กลาง เป็นแหล่งรวมศูนย์อำนาจ การทำงานกับเพื่อนๆ ที่อยู่ในศูนย์กลางจะทำให้เราเข้าถึงสื่อกระแสหลัก และสามารถนำเรื่องราวที่อยู่ชายขอบได้อย่างเป็นที่สนใจ และที่สำคัญการเคลื่อนไหว มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในศูนย์กลางมากกว่า สู่พื้นที่ๆ ขาดแคลนและยากจะเข้าถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการเมือง

ถึงแม้ว่า กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอะเจห์และปาปัวนิวกีนี จะเป็นที่น่าเอือมระอาและน่าเบื่อหน่าย เพราะผู้คนรู้สึกชินชากับข่าวความขัดแย้งที่ปรากฎออกมาในแต่ละวัน อาจจะทำให้นักเคลื่อนไหวรู้สึกท้อแท้ แต่อายูกล่าวว่า "ความเบื่อดังกล่าวมาจาก การที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้นจริงๆ"

ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปาปัวนิวกีนีก็เป็นที่รับรู้น้อยมากในสังคมประเทศอินโดนีเซีย เพราะผู้คนส่วนใหญ่มักเห็นแต่ปรากฎการณ์ผิวเผินว่า 1) คนเผ่าพวกนี้มักกินกันเอง 2) คนเผ่าพวกนี้เป็นพวกล้าหลัง 3) คนเผ่าพวกนี้เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอันเป็นผลทำให้คนส่วนใหญ่ที่มีอคติในด้านลบต่อชาวปาปัวนิวกีนีอยู่แล้ว ไม่อยากรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่าได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง

ใน ANU นักวิชาการหลายคนที่เป็นนักเคลื่อนไหว ได้ตั้งกลุ่มและสร้าง web-site ขึ้นมาภายใต้ชื่อ "Asia Rights" [2] เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอเรื่องราวการละเมิดสิทธิมนุษยชนพื้นที่ชายขอบในเอเชียและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในแง่มุมทางวิชาการได้มากขึ้น ผลของการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ ในฐานะนักวิชาการ จะสามารถสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหมู่ชนชาวเอเชีย

ภาพ: หน้าตา Web-site: "Asia Right" [3]

ในกรณีของ Anwar [4] เธอกล่าวว่า "เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับเรื่องราวของเขา มันจะเป็นการดีไม่น้อยถ้ามีใครบางคนช่วยย่อข้อมูลเบื้องต้นเป็นภาษาอังกฤษ และนำเสนอในเว็ปไซต์นี้ เพราะการพูดจากนอกประเทศและจากคนภายนอกในระดับชาติ ฉันคิดว่าจะมีพลังในการผลักดันการทำงานด้านกระบวนการยุติธรรม อย่างเป็นธรรมในประเทศไทยให้มากขึ้น"

----------------------------------------------------------------------------

[1] ประวัติย่อของอายู: http://ips.cap.anu.edu.au/psc/phd/wahyuningroem.php

[2] http://asiapacific.anu.edu.au/blogs/asiarights/

[3] E-mail และ facebook ของอายู E-mail: sri.wahyuningroem@anu.edu.au Facebook: http://www.facebook.com/#!/swahyuningroem

[4] รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน http://www.facebook.com/#!/saveanwar

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พญามังรายท้ารบฟ้าพญาแถน: มหกรรมวอกหลวงหลอกลวงโลก

Posted: 14 May 2013 01:05 AM PDT

 

กรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ออกมาห้ามมิให้มีการชุมนุมประท้วงระหว่างการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคมที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายปลอดประสพระบุว่าจะจับกุมผู้ประท้วงทั้งหมดเข้าคุกทันทีนั้นเป็นการแสดงถึงจริตสันดานที่ดูถูกผู้คิดต่างอย่างชัดเจน

น่าแปลกใจที่คนระดับรองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นโต้โผการจัดการน้ำมีระบบความคิดที่ผิดเป็นปฏิปักษ์กับหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดเจน  หลักการประชาธิปไตยคือ การตัดสินใจใช้เสียงส่วนใหญ่ก็จริงแต่ต้องเคารพเสียงส่วนน้อยในสังคมด้วย

ไม่เพียงแต่การปรามาสสติปัญญาผู้คิดต่างเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำเท่านั้น  นายปลอดประสพ  สุรัสวดี ยังจะแสดงละครโชว์ผู้นำประเทศต่างๆที่มาประชุมโดยสมมุติตนเป็น พญามังรายกษัตริย์ยวนแห่งอาณาจักรล้านนาท้ารบกับฟ้าพญาแถน ซึ่งเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์อย่างชัดแจ้ง ไม่ควรให้อภัยอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นสมัยพญามังรายยังมีพระชนม์ชีพอยู่ นายปลอดประสพคงประสพชะตากรรมถูกประหารอย่างแน่นอน  เพราะระบบการจัดการน้ำในแผ่นดินยวนล้านนานั้นมีระบบเหมืองฝายมาแต่เดิม มาก่อนที่จะก่อตั้งอาณาจักรล้านนาด้วยซ้ำไป ในเอกสารพงศาวดารโยนกระบุชัดเจนว่า (น.154-155) " พระองค์เชือง ครองราชย์(เมืองหิรัญนคร)ได้ 11 ปี เสด็จไปสถาปนาพระสถูปเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุที่ถ้ำแก้วเวียงสี่ทวงด้านตะวันตกเฉียงเหนือ สำเร็จบริบูรณ์ในวันศุกร์เดือนหกขึ้นสิบห้าค่ำ แล้วให้ขุดเหมืองใหญ่ต่อน้ำแม่สายทดน้ำขึ้นเลี้ยงนาแคว้นซ้าย ให้ ราษฎรทำนาโดยสะดวก" แสดงว่าระบบเหมืองฝายในแผ่นดินยวนล้านนามีมานานแล้ว

พญามังรายเป็นพระมหากษัตริย์ชั้นลูก ชั้นหลานย่อมสืบทอดภูมิปัญญาต่อเนื่องกันมา เช่นกรณีให้อ้ายฟ้าไปเป็นไส้ศึกในเมืองหริภุญไชย อ้ายฟ้าก็เกณฑ์ราษฎรขุดเหมืองฝายในลำพูนจนปรากฏหลักฐานถึงปัจจุบันนี้เรียกว่าเหมืองอ้ายฟ้าหรือเหมืองแข็ง เพราะขุดเหมืองฝายในพื้นดินที่แข็งปานหิน ระบบเหมืองฝายในล้านนานั้นมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ากว่ากลุ่มชนใด ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ก้าวหน้ากว่าในกรุงสุโขทัยและอยุธยาด้วยซ้ำไป

ในจารึกและเอกสารใบลานทุกฉบับไม่ปรากฏหลักฐานใดๆว่าพญามังรายท้ารบพญาแถนเพื่อขอฝน ดังนั้นการกระทำของนายปลอดประสพ จึงเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์ยวนอย่างชัดแจ้ง  ควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานทางวัฒนธรรม เช่นสภาวัฒนธรรมฯ  สนง.วัฒนธรรมจังหวัดต่าง ๆ ในล้านนา จะออกมากดดันหรือประท้วงในกรณีนี้เหมือนดั่งกรณีที่มีผู้คนเอาพระบรมราชานุสาวรีย์พญามังรายที่ห้าแยกไปแปลงเป็นรูปกด Like ที่พระหัตถ์ สนง.วัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายได้แจ้งความกล่าวโทษไปแล้ว แต่ยังคงไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันรูปกด Like นี้ยังปรากฏอยู่ในโฆษณาคั่นรายการข่าวในช่อง สปริงนิวส์ ทีวีดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง โดยสถานีนี้นำทีมบริหารโดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ก็ไม่ได้ตัดรูปเจ้าปัญหาออกไปทั้งๆที่ ผลงานของท่านเคยเป็นสื่อฝ่ายก้าวหน้าตลอดมา

ใน มังรายศาสตร์ ที่เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในอาณาจักรล้านนาระบุทุกฉบับกล่าวตรงกันว่า(ทูนศรี บัวนุช,หน้า 80-81)
" พระญามังรายได้รู้มาแต่โบราณะ...พระญามังรายเจ้า จึ่งตั้งอาชญาไว้ เพื่อหื้อท้าวพระญาทังหลาย อันเป็นลูก หลาน เหลน หลีด หลี้ แลเสนาอามาตย์ฝูงแต่งบ้านปองเมืองสืบไพ หื้อรู้อันผิดชอบดังนี้" 

แสดงว่าพญามังรายตรากฎหมายนี้เพื่อให้ใช้เป็นหลักในการปกครองตั้งแต่ชั้นกษัตริย์ถึงเสนาอำมาตย์อันน่าจะหมายถึงระดับรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้พึงสำเหนียกน้อมนำพระราชอาชญามาใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ นอกจากนี้ยังบ่งบอกความสำคัญของระบบเหมืองฝายว่าเป็นการจัดการของชุมชน ชนทุกคนต้องช่วยกันบำรุงรักษา ดังนี้ (ทูนศรี บัวนุช,หน้า 88)

"ควรแต่หื้อไพร่มีมื้อเปลี่ยนกันหื้ออยู่บ้านสร้างเหมืองฝายไร่นาเรือกสวนที่ดิน หื้อไพร่มีที่ทำกิน อย่าหื้อไพร่เป็นทุกข์"

แสดงว่าระบบเหมืองฝายเป็นสิ่งสำคัญมากในสมัยนั้น การจัดการระบบเหมืองฝายถือเป็นราชกิจของบ้านเมือง ประชาชนทุกคนจะมีเวรรับใช้บ้านเมือง 10 วันทำงานส่วนตัวสิบวัน สลับสับเปลี่ยนกันไป

นอกจากนี้ในมังรายศาสตร์ยัง กล่าวโทษการทำลายเหมืองฝายให้ปรับไหม แต่โทษขโมยน้ำใส่ในนาสวนโดยผิดจากระบบเหมืองฝายของชุมชน นั้นให้ฆ่าสถานเดียว นอกจากปรับไหม ซ่อมแซมฝายแล้วยังระบุว่าหื้อจัดพลีกรรมหื้อถูกต้อง โดยจัดเครื่องบูชาก่อนซ่อมฝายเป็นการขอขมาอารักษ์ไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับพญาแถน อันน่าจะเป็นความเชื่อทางอีสาน, สปป.ลาว และกลุ่มคนในเวียดนามซึ่งรับคตินิยมมาจากประเทศจีน การจัดเครื่องพลีกรรมเลี้ยงผีในมังรายศาสตร์ระบุ (ทูนศรี บัวนุช,หน้า220)ให้จัดมี เหล้า 2 ไหไก่ 2 คู่ เทียน 4 เล่ม และข้าวตอกดอกไม้ แสดงว่าเป็นการนับถือผีไม่เกี่ยวกับฟ้าเบื้องบนแต่ประการใด 

ดังนั้น กรณีจัดละครพญามังรายรบฟ้าพญาแถนจึงเป็นมหกรรมวอกหลอกลวงประชาชน บิดเบือนประวัติศาสตร์ เสแสร้งแต่งเรื่องราวอันเป็นเท็จ แล้วยังจะจับกุมคุมขังผู้เห็นต่างจากตนน่าจะตรงกับความในมังรายศาสตร์ว่า (ทูนศรี บัวนุช,หน้า 90-91) " ขุนในโลกนี้มี 2 ลักษณะ คือขุนธรรมกับขุนมาร ลักษณะของขุนธรรม พึงรู้ได้ด้วยลักษณะ ดังนี้...คือ มีความเมตตากรุณาบรรดาไพร่ไท ไม่ปรับไหมไพร่ไท ไม่รุกรานทุบตีหรือกลั่นแกล้ง หรือจับกุมคุมขังโดยไพร่ไทไม่ได้กระทำผิด ....ขุนผู้ใด...ไม่มีความเมตตากรุณา มักรังแกทุบตี กลั่นแกล้งจับกุมคุมขัง ...ขุนผู้ประพฤติเช่นนี้หากไปอยู่ที่ใด ไพร่พลเมืองต้องได้รับความฉิบหายในที่นั้น คนที่ประพฤติเช่นนี้ท้าวพญามหากษัตริย์ไม่ควรชุบเลี้ยง ให้มีอำนาจ ไม่ควรยกย่องให้มีอำนาจหน้าที่ เขามีลักษณะเป็นต้นยาพิษที่เกิดขึ้นกลางเมือง หากคนดังกล่าวใหญ่โตขึ้นก็จะทำอันตรายแก่บ้านเมือง"  โดยแท้

โทษการลักน้ำในมังรายศาสตร์นั้นระบุโทษถึงฆ่าให้ตาย ดังความใน (เรื่องเดิม,หน้า 215-216) ระบุถ้อยคำว่า " อันหนึ่งไพร่หรือผู้มีสกุลทำนาใกล้กันสร้างฝายด้วยสัดส่วนของกำลังคนและอุปกรณ์เท่ากัน แต่ฝ่ายหนึ่งโลภมาก...ไปแย่งน้ำ...พร้อมมีอาวุธในมือ  ให้ฆ่าให้ตายเสียกับที่นั้นได้" แต่ในเมื่อรัฐจะจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศโดยมีกฎหมายพร้อมสรรพในมือ กระทำการดั่งขุนมาร โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านใดใดจากประชาชนผู้ใช้น้ำที่แท้จริง โดยโยนิโสมนสิการ ควรจักได้รับโทษสถานใด ?

 

 

 

 

อ้างอิง

ทูนศรี  บัวนุช  (2535). การศึกษาความหมายในกฎหมายจารีต "มังรายศาสตร์" วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

                                    บัณฑิต. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. (2504).กรุงเทพมหานคร : ศิลปบรรณาคาร.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาตกาลปรีดี นักวิชาการร่วมถก “เค้าโครงเศรษฐกิจกับประชาธิปไตยสมบูรณ์”

Posted: 14 May 2013 12:41 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 56 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนาเรื่อง "เค้าโครงเศรษฐกิจกับประชาธิปไตยสมบูรณ์" เนื่องในวันชาตกาลปรีดี พนมยงค์ ประจําปี 2556 มีวิทยากร 2 คนได้แก่ รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ผู้ดำเนินรายการคือ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้สนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก

รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ เปิดประเด็นถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร มาเป็นระบอบประชาธิปไตยว่า มีความพยายามจะกระจายอำนาจประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพื่อให้ราษฎรมีเสรีภาพครอบครองปัจจัยการผลิตอย่างเท่าเทียม ไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ จนนำไปสู่ลักษณะเศรษฐกิจแบบชาตินิยมในยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม แต่ก็กล่าวได้ว่าการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ยุคนี้พยายามจะเริ่มสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจก่อน

ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึง เค้าโครงเศรษฐกิจ 2476 กับประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยอธิบายถึงเค้าโครงเศรษฐกิจ ของปรีดี พนมยงค์ว่า เป็นแบบจำลองหรือแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของรัฐบาล วางรากฐานจัดระบบเศรษฐกิจให้มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ก็เป็นเพียงโครงร่างที่จะนำมาถกเถียงกันในรายละเอียดเพิ่มอีก ปรีดีเชื่อในแนวคิดที่ว่าทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เพราะต้องการช่วยเหลือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่รับภาระในการผลิต นั่นคือ ชาวนาและเกษตรกร ใช้หลักวิชามาบำรุงความสุขของราษฎร หลักวิชาดังกล่าว ว่าด้วยความมีเสรีภาพ เสมอภาคและภารดรภาพระหว่างมนุษย์ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันประกอบกิจการได้ โดยรัฐจะมีบทบาททางเศรษฐกิจในช่วงแรกและสนับสนุนให้ราษฎรพึ่งพาตัวเองได้เป็นสำคัญ จนเกิดเป็นรัฐสวัสดิการที่ราษฎรอยู่ร่วมกันแบบเป็นพี่เป็นน้อง

ในด้านแนวคิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ดร.ฐาปนันท์ กล่าวว่า ปรีดีให้ความสำคัญว่าประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ว่าต้องประกอบด้วย ประชาธิปไตยทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนต้องมีทัศนะทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย

ดร.ปริญญากล่าวว่า ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ของปรีดีจึงไม่ใช่แค่บริบทของการเมือง แต่ต้องมีความเสมอภาคกันก่อน แล้วจึงมีเสรีในการหารายได้ เช่น ต้องได้ค่าแรงวันละ 300 บาทเท่ากันก่อน จากนั้นใครทำกี่วันก็ได้ผลตามที่ทำ ไม่ใช่ใครทำสิบวันก็ต้องเฉลี่ยรายได้ให้แก่คนที่ทำเพียงวันเดียว ปรีดีจึงไม่ใช่คอมมิวนิสต์ดังที่เคยถูกกล่าวหา

 รศ.แล เห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจเป็นแผนการเปลี่ยนแปลงสังคมในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เป็นแต่โครงการลอยๆ เพราะมีปฏิกิริยาตอบโต้ตามมามากมาย ฉะนั้นต้องดูว่าเค้าโครงนี้สร้างผลกระทบต่อใคร ทำให้ใครเกิดความหวั่นเกรง มีแนวโน้มจะเสียผลประโยชน์ อาจจะต้องกลับไปดูพระราชวิจารณ์ ส่วนประเด็นที่ปรีดีถูกโจมตีมากที่สุดในแผนนี้ คือข้อเสนอปฏิรูปที่ดิน และตั้งแต่ในอดีตจนถึงวันนี้ข้อเสนอนี้ก็ยังเป็นประเด็นอ่อนไหวและไม่เคยทำได้เลย

ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรสิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นว่า เมื่อพูดถึงเค้าโครงเศรษฐกิจ ต้องพูดถึงบริบททางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของไทย หรือของโลก เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมเค้าโครงเศรษฐกิจจึงเป็นไปไม่ได้ เริ่มจากปีเกิดของปรีดี ในปีค.ศ.1900 สิบปีต่อมารัชกาลที่5 สวรรคต ปีถัดมามีการปฏิวัติซุนยัดเซน อีกสิบกว่าปีต่อมาปรีดีอยู่ที่ปารีส ย่อมได้รับแนวคิดเสรีภาพ เสมอภาค และภารดรภาพมา บริบทของโลกในตอนนั้น ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในอังกฤษกำลังมีปัญหา ดังนั้นเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของโซเวียตย่อมผงาดขึ้นมา และยังมีฟาสซิสม์ขึ้นมาเผชิญกันด้วย ถ้าจะทำความเข้าใจระบบโลกและเข้าใจอาจารย์ปรีดีจึงต้องมองตรงนี้ด้วยให้เห็นภาพรวมทั้งหมด

ต่อข้อเสนอการปฏิรูปที่ดิน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แสดงความไม่เห็นด้วย โดยชี้ว่าจากความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่7 กับคณะราษฎรและปรีดีพนมยงค์ ต้องถือว่ารัชกาลที่7 เป็นฝ่ายผิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ปรีดีและคณะราษฎรเสนอมาจะต้องถูกเสมอไป เช่นเดียวกับในปัจจุบันทั้งฝ่ายที่คิดว่าตัวเองสู้เพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายที่ต่อต้านประชาธิปไตยก็ตาม เมื่อเลือกอยู่ฝ่ายใดก็มักมองว่าฝ่ายที่ตนเลือกถูกเสมอ นี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองไทย กับปรีดีก็เช่นกันมีคนสนับสนุนว่าถูกทุกอย่าง แต่จริงๆ แล้วมีประเด็นที่เป็นปัญหามาก นั่นคือเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่พูดถึงกันวันนี้ เท่าที่ได้ศึกษามา การปฏิรูปที่ดินไม่ได้มีอยู่ในเค้าโครงนี้เลย แต่หัวใจของเค้าโครงคือการรวมชาวนาเอกชน ทำให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชนสูญสลายไปต่างหาก ซึ่งก็อาจมีผลต่อเจ้าที่ดิน แต่ก็ไม่มาก ตนเห็นว่าการเอานามารวมกันนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะทรัพยากรของประเทศไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ควรจะทำ เมื่อเสนอออกไปแล้ว ฝ่ายเจ้าก็ตกใจว่าปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วก็กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้ากับคณะราษฎรที่รุนแรงที่สุดในเวลานั้น แต่ในความเห็นตน ปรีดีไม่ใช่คอมมิวนิสต์  แต่ซ้ายกว่าคอมมิวนิสต์เสียอีก เมื่อนำไปเปรียบเทียบบอลเชวิกก็ยังไม่เคยเสนอให้รวมหมู่ชาวนา

อย่างไรก็ตาม รศ.แล ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของเค้าโครงเศรษฐกิจนี่เอง ทำให้ถูกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนำไปตีความและโยนความผิดให้คณะราษฎรได้ จนกลายเป็นประเด็นทางการเมืองทั้งที่ไม่ใช่แผนเศรษฐกิจที่จริงจังเลย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น