โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประมวลภาพ: ชุมนุมวันสุดท้าย ส่ง ‘พีมูฟ’ กลับบ้าน

Posted: 23 May 2013 01:56 PM PDT

 

 
หลังการชุมนุมมายาวนาน 18 วัน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟก็ได้ประกาศยุติการชุมนุมครั้งที่ 8 ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ลงในวันที่ 23 พ.ค.56 โดยประเด็นหลักที่ชาวบ้านราว 2,000 คนได้รับ คือ (1) กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 พื้นที่ ภาคเหนือ ครม.เห็นชอบให้เดินหน้า โดยอนุมัติงบประมาณ 167 ล้าน ให้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.ดำเนินการ
 
เรื่องดังกล่าวเป็น 1 ใน 4 เรื่องที่พีมูฟผลักดันให้ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 21 พ.ค.56 มีมติอนุมัติ หลังจากที่การประชุม ครม.ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 14 พ.ค.56 กรณีปัญหาทั้ง 4 เรื่องที่มีข้อยุติแล้ว ประกอบด้วย 1.การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล 2.โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 พื้นที่ ภาคเหนือ 3.การคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน และ 4.การก่อสร้างบ้านในโครงการบ้านมั่นคง ไม่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม
 
(2) ประเด็นเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างอาคารในโครงการบ้านมั่นคง สำนักงานกฤษฎีกามีความเห็นว่าโครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการของรัฐ สามารถก่อสร้างและให้ทะเบียนบ้านได้เลย โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของ ครม. เรื่องนี้จึงมีข้อสรุปโดยไม่ต้องเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว
 
(3) การจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ร่วมกันซึ่งสำหรับผู้ชุมนุมถือเป็นหลักประกันว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องอย่างแน่นอน โดยเนื้อหาในบันทึกข้อตกลง มี 5 ข้อ ดังนี้ 1.เร่งรัดเสนอเรื่องโฉนดชุมชน และกรณีเขื่อนปากมูล ให้ยกเลิกมติ ครม.ก่อนหน้านี้ และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นใหม่ ให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 28 พ.ค.56

2.เร่งรัดคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต และแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของพีมูฟที่มีการดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้วหรือไม่สามารถหาข้อยุติได้ รวมทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อยุติร่วมกัน ให้นำเสนอในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมพิจารณาในวันที่ 28 พ.ค.56

3.รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายด้านที่ดินและทรัพยากร อย่างเป็นรูปธรรม โดยในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหา ขอให้รัฐบาลแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชะลอการดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามวิถีปกติไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาจะมีผลเป็นที่ยุติ

4.ขอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จัดประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง และคณะอนุกรรมการกับคณะทำงานจัดประชุมอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง

5.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นรองประธานกรรมการ และตัวแทนพีมูฟร่วมเป็นกรรมการ
 
ในช่วงเวลาเย็นซึ่งเป็นกำหนดเดินทางกลับของผู้ชุมนุม นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง และนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร ผู้ช่วยเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาที่บริเวณที่ชุมนุมพีมูฟข้างกระทรวงศึกษาธิการเพื่อส่งผู้ชุมนุมพีมูฟขึ้นรถ
 
นายประชา กล่าวบนเวทีปราศรัยของผู้ชุมนุมว่า รัฐบาลยอมรับว่ากลุ่มพีมูฟเป็นประชาชนที่มีบทบาท และได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และขอยืนยันว่า นายกฯ และคณะรัฐมนตรีจะดูแลประชาชนให้มีชีวิตดีขึ้น ส่วนกรณีข้อเรียกร้องนั้น หากไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไข พร้อมที่จะลงไปดูปัญหาในพื้นที่ด้วยตัวเอง
 
ด้านนายประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และแกนนำกลุ่มพีมูฟ กล่าวว่า ผู้ชุมนุมพึงพอใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาล เพราะมั่นใจว่าจากนี้ประชาชนจะไม่โดนข่มขู่ เนื่องจากนายประชาได้ประสานไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัดให้บูรณาการงานไม่ให้ประชาชนโดนคุกคามอีก แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่มีความคืบหน้าภายใน 60 วัน จะเดินทางกลับมาชุมนุมอีกครั้ง
 
หลังจากนั้น ผู้ชุมนุมจึงทยอยขึ้นรถบัสที่ทางรัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้เพื่อกลับภูมิลำเนา
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้เปิดรายงานประจำปี ชี้ ม.112 ติดปัญหาสิทธิไทย 5 อันดับแรก

Posted: 23 May 2013 11:28 AM PDT

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงปัญหาสิทธิไทยยังเผชิญเรื่องการถูกจำกัดเสรีภาพการแสดงออกจากการใช้กม.หมิ่น-พ.ร.บ. คอมพ์ ร้องปล่อยตัว 'สมยศ' ในฐานะนักโทษทางความคิดอย่างไม่มีเงื่อนไข

23 พ.ค. 56 - ที่โรงแรมรอยัลเบญจา Amnesty International Thailand หรือองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2556 ซึ่งประมวลสถานการณ์สิทธิในรอบปี 2555  
 
สมชาย หอมลออ ประธานกรรมการองค์การแอมเนสตี้ฯ กล่าวเปิดงานว่า การนำเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้มาจากการศึกษารวบรวมข้อมูลจากทั่วโลก และทำเป็นภาพรวมของโลก ภูมิภาค และของแต่ละประเทศ การนำเสนอรายงานวันนี้ เป็นรายงานประจำปี 2555 แอมเนสตี้ตระหนักว่าสิทธิมนุษยชนทั่วโลกมีความสัมพันธ์กัน มนุษย์ทุกคนต้องตระหนักและปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนอื่นๆ ทั่วโลก มิใช่แต่ของชาติตนเท่านั้น 
 
 
เขากล่าวว่า นอกจากการจัดทำรายงานเผยแพร่แล้ว แอมเนสตี้ยังจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น การรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต ส่งเสริมสิทธิการแสดงความคิดเห็น การชุมนุมในสาธารณะ ปกป้องนักต่อสู่เพื่อสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ องค์การพยายามเผยแพร่แนวคิดเหล่านี้ไปสู่รัฐและประชาชน เพื่อให้การผลักดันบรรลุผลได้ 
 
ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการองค์การองค์การแอมเนสตี้ฯ แถลงถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางที่สุดในประเทศไทย 5 ประเด็น ได้แก่ 
 
1. การขัดแย้งกันทางอาวุธ พลเรือนเป็นเป้าหมายในการโจมตี จนมีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ที่สำคัญคือในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
2. การลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น แต่กลับไม่สามารถนำผู้กระทำผิดที่เป็นฝ่ายความมั่นคงมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ เช่น การประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกลายเป็นการป้องกันไม่ให้ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่ในกรณีของเหตุการณ์รุนแรงช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่จะต้องหาผู้รับผิดมาให้ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำฝ่ายใดก็ตาม แต่กระบวนการนี้เป็นที่น่ากังวลเพราะดำเนินการไปอย่างเชื่องช้ามาก 
 
3. การถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นผลมาจากการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 เกิดความล้มเหลว เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาก็ปฏิเสธที่จะนำการแก้ไขเพิ่มเติมเข้าสู่วาระพิจารณา ต่อกรณีนี้ แอมเนสตี้จะเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนี้ต่อไป ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ฟ้องร้องเอาผิด และอัตราโทษที่สูงจนเกินไป 
 
ที่ผ่านมาแอมเนสตี้รณรงค์เรียกร้องให้ปล่อยตัว "นักโทษทางความคิด" หมายถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ ในขณะนี้มีกรณีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ ที่ถูกตัดสินจำคุก 10 ปีในเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเมื่อเร็วๆ นี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับกรณีของสมยศเป็น "บุคคลที่มีความเสี่ยง" โดยมีแผนจะยกระดับการรณรงค์เป็นในระดับนานาชาติต่อไป
 
4. ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมืองมีความเสี่ยงที่จะถูกควบคุมตัวและถูกส่งกลับประเทศเดิม กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือชาวโรฮิงญา มีความเสี่ยงที่จะถูกส่งกลับมาก การที่รัฐมีนโยบายช่วยเหลือโดยการให้เสบียงและน้ำมันเรือ เพื่อไม่ให้แวะฝั่งไทย ให้ไปต่อที่อื่น ไม่ใช่การช่วยเหลือที่แท้จริง แต่เปรียบเสมือนการส่งตัวกลับ นอกจากนี้ยังมีการใช้อาวุธกับผู้แสวงหาที่พักพิงด้วย  
 
5. การมีโทษประหารชีวิต แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้จะมีการปลดโซ่ตรวนของนักโทษประหาร แต่โทษประหารก็ยังคงอยู่ ปีที่ผ่านมีนักโทษประหาร 58 คนได้ลดโทษ เหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่ก็มีผู้ได้รับโทษประหารใหม่อีกกว่าร้อยคน มากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ราวสองเท่า ต่อกรณีนี้ แอมเนสตี้กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาเลิกโทษประหารชีวิต และให้ผนวกเอานโยบายดังกล่าวไปใว้ในร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557-2561) ที่รัฐบาลกำลังร่างอยู่ 
 
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยประกาศพักการใช้โทษประหารชีวิตในทันที สนับสนุนมติการพักโทษประหารชีวิตต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปีหน้า และเสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษประหารชีวิตลง โดยขณะนี้อาชญากรรมร้ายแรงที่มีโทษประหารชีวิตอยู่ 55 ความผิดอาญา รวมถึงเรียกร้องให้รัฐลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิตภายในปี 2561 ด้วย
 
ภายหลังการแถลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ภรรยาของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนสองคน ได้แก่ สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข และ อังคณา นีละไพจิตร ได้กล่าวถึงสถานการณ์เสรีภาพในการแสดงออก และสถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 
สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้หยิบยกประเด็นการใช้เสรีภาพในชีวิตประจำวันขึ้นมา โดยตั้งคำถามว่า เราสามารถทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้บ้างในสังคมที่เราอยู่ขณะนี้ 
 
"ลองนึกดูว่าในแต่ละวัน เราสามารถแสดงความคิดเห็นอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น แล้วเราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากโดยไม่ต้องเกรงว่าคู่สนทนาจะเอาไปนินทา หรือแจ้งความกับตำรวจ ในกรณีที่ใครซักคนอาจตีความว่า คำพูดของเราดูหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เราสามารถพูดได้หรือไม่ว่า เรามีแฟนเป็นเสื้อแดง ชอบและชื่นชมการบริหารเศรษฐกิจแบบทักษิโนมิกส์ ไม่ชอบไปยืนรับเสด็จเพราะแดดร้อนหรืออะไรก็ตามแต่ หรือขี้เกียจยืนตรงในโรงหนังก่อนหนังฉาย ร้ายยิ่งไปกว่านั้น เราไม่สามารถที่จะเขียนหนังสือหรือบทความ หรือตั้งคำถามถึงความรักและศรัทธา ในสิ่งที่เกินความสามารถของมนุษย์ และเกินกว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ หรือเอะใจและถามเพื่อนที่นั่งข้างๆเราในรถไฟฟ้าว่าจริงหรือไม่ เกี่ยวกับรายงานข่าวของนิตยสาร Forbes เรื่องราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดติดอันดับโลก หรือแม้แต่เมื่อมีคนเอารูปพระพุทธเจ้าปางตันตระมาลงในเน็ต แล้วคนจำนวนมากโมโหฉุนเฉียวและก่อนด่าว่า พวกที่เอารูปมาลงเป็นพวกมารศาสนา ทั้งๆที่พระพุทธรูปปางนี้ เป็นที่นับถือของชาวธิเบต..." สุกัญญากล่าว
 
"หากเรารู้สึกว่าทำไปแล้วจะถูกประณามกลับมาอย่างรุนแรงหรือถูกดำเนินคดี ก็แสดงให้เห็นว่า สังคมปิดกั้นข้อมูล มักใช้ความรุนแรงเข้าปะทะ แต่ไม่หักล้างด้วยเหตุผล ไม่มีวุฒิภาวะในการอดกลั้นที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่าง แต่พร้อมจะเห็นด้วยจำกัดเสรีภาพโดยรัฐหรือหน่วยงานใดก็ตาม เช่นนี้คงไม่อาจบอกได้ว่าเราอยู่ในสังคมอุดมปัญญา"
  
นอกจากนี้ สุกัญญายังได้กล่าวถึงการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสืบเนื่องจากการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า เป็นกฎหมายที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐมีทัศนคติด้านลบต่อผู้ต้องหาในคดีนี้ ผู้ต้องหาจึงถูกปฏิบัติตอบด้วยความลำเอียง ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ เช่นการยกกำลังตำรวจพร้อมอาวุธครบมือบุกจับชาชราวัย 70 ปี การออกหมายจับและการจับกุมที่ไม่โปร่งใส การล่ามโซ่ตรวน การใส่กุญแจมือรวมกับนักโทษคนอื่นๆ การใส่ชุกนักโทษ แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการสืบพยาน การไม่สิทธิปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสู้คดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการลงโทษหนักเกินกว่าพฤติการณ์แห่งคดี  
 
ด้าน อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร ผู้ถูกบังคับสูญหายตั้งแต่ปี 2547 กล่าวถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของประเทศไทยว่า ตัวเลขการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการทรมาน ลักพาตัว และอุ้มฆ่าลดลง  แต่กลับมาการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  ผู้เสียหายและญาติต่างสิ้นหวังในกระบวนการยุติธรรม แต่ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นฝ่ายความมั่นคงกลับไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
 
 
อังคณาเห็นว่า ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจแก้เจ้าที่รัฐ คุ้มกันพนักงานของรัฐ จนเกิดความเคยชินว่าตนเองไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกลงโทษน้อยมาก เจ้าหน้าที่บางรายจึงเลือกใช้วิธีการนอกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลหรือเพื่อแก้ไขข้อพิพาทส่วนบุคคล การกระทำเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการบังคับให้สูญหาย การสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย การควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน ข่มขู่ คุกคาม จนกลายเป็นวิธีการที่ชอบธรรมและจำเป็นเพื่อควบคุมปราบปรามผู้เห็นต่าง ทั้งหมดนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
 
ทั้งนี้ ในงานแถลงข่าวดังกล่าว มีตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย คือ ส.ส. พีรพันธ์ุ พาลุสุข และพรรคประชาธิปัตย์ คือ ส.ส. รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท มาร่วมฟังการแถลงรายงานตามคำเชิญของผู้จัดด้วย และได้รับมอบรายงานสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สรส.- เครือข่ายแรงงานพม่า คว้ารางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ

Posted: 23 May 2013 10:38 AM PDT

เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่า(MWRN) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) รับรางวัลจากกลุ่มสิทธิแรงงานสหรัฐฯ ILRF สำหรับการทำงานที่ก้าวหน้าในการปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย


(22 พ.ค.56) วอชิงตัน ดีซี - องค์กร The International Labor Rights Forum (ILRF) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์เพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรมและการปฏิบัติต่อแรงงานทั่วโลกด้วยมนุษยธรรม จะมอบรางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ พ.ศ.2556 แก่เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติจากการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติพม่า (MWRN) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สำหรับการทำงานที่มีผลงานก้าวหน้าในการปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
 
รางวัลสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ ILRF มอบให้เป็นประจำทุกปีแก่หน่วยงานที่มีส่วนร่วมสำคัญในการสนับสนุนสิทธิแรงงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุการจ้างงานที่เป็นธรรมและมีมนุษยธรรมสำหรับคนงานทั่วโลก

แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาวคิดเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น แปรรูปอาหารทะเล เกษตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม  ก่อสร้าง และการดูแลรับใช้ในบ้าน แรงงานจำนวนหนึ่งจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติโดยนายหน้าแรงงานและมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงาน สภาพการทำงานที่เลวร้าย รวมทั้งการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงและไม่ชำระเงินค่าจ้าง การละเมิดกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ การทำงานล่วงเวลาเป็นเวลานาน การทำงานที่เป็นอันตรายและสภาพแวดล้อมการทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังการปฏิเสธเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการเจรจาต่อรองรวมหมู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ที่เลวร้านกว่านั้นคือการทำงานเพื่อปลดหนี้ การบังคับใช้แรงงานและการใช้แรงงานเด็กอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเหล่านี้
 
เมื่อ พ.ศ.2552 แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่ทำงานอยู่ในภาคการแปรรูปอาหารทะเลของประเทศไทยตั้งกลุ่ม MWRN เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก และการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานอื่นๆ ด้วยความช่วยเหลือจากนายสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้รับรางวัล ILRF และเลขาธิการ สรส.โดยมีนาย Aung Kyaw ผู้รับรางวัล ILRF ดำรงตำแหน่งประธาน MWRN ต่อมา MWRN เติบโตขึ้นในฐานะองค์กรระดับรากหญ้าที่ใหญ่ที่สุดที่มีสมาชิกเป็นคนงานข้ามชาติในประเทศไทย
 
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา MWRN เปิดโปงการละเมิดสิทธิแรงงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลอย่างกล้าหาญ โดยโรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งยังได้ต้อนรับการเยือนของนาง อองซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของเธอในรอบ 24 ปีที่ มหาชัย จ.สมุทรสาคร ประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าแรงงานข้ามชาติไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ตามกฎหมายประเทศไทย ทว่าการทำงานร่วมกันระหว่างสรส.และ MWRN ได้ช่วยลดช่องว่างระหว่างการเคลื่อนไหวในรูปแบบสหภาพเคลื่อนไหวดั้งเดิมในประเทศไทยกับการต่อสู้ของแรงงานข้ามชาติ สรส.และ MWRN ได้จัดตั้งโครงการ 'การขนส่งเพื่อมนุษยธรรม' จนสำเร็จเพื่อให้แรงงานพม่าไปเยี่ยมบ้านเกิดอย่างปลอดภัยด้วยความร่วมมือกับบริษัทขนส่ง จำกัด
 
นอกจากนี้ สรส.ภายใต้การนำของนาย สาวิทย์ แก้วหวานยังได้ยื่นคำร้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อ้างว่าการปฏิเสธของการชดเชยอุบัติเหตุการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติโดยรัฐบาลของประเทศไทยเป็นการละเมิดอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 19 อย่างชัดเจน

จูดี้ เกียร์ฮาร์ท กรรมการบริหารของ ILRF กล่าวว่า MWRN อยู่ในเส้นทางที่จะกลายเป็นตัวแทนแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ในกลุ่มแรงงานในประเทศไทย
 
"เรามีความมุ่งมั่นที่จะยืนเคียงข้าง MWRN และ สนับสนุนองค์กรที่ทำงานในอนาคต" กรรมการบริหารของ ILRF ระบุ

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาพวันนั้น-พื้นที่วันนี้ : 3 ปี “กระชับวงล้อม” กับความคืบหน้าคดี

Posted: 23 May 2013 10:14 AM PDT

3 ปีสำหรับเหตุการณ์ที่ ศอฉ. "กระชับวงล้อม" พื้นที่การชุมนุมคนเสื้อแดง จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเดือน พ.ค. (13 – 19 พ.ค.53)ซึ่งมีพื้นที่การปะทะในวงกว้าง เช่น ถนนราชปรารภ ถนนพระราม 4 วันนี้ร่องรอยกระสุนที่บ่งบอกถึงทิศทางการยิงยังคงปรากฏอยู่ให้เห็นบ้างตามพื้นที่ดังกล่าว แต่หลายสิ่งหลายอย่างก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น จุดที่ทหารประจำการปั๊มเอสโซ่ที่ ถนนราชปรารภ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ปัจจุบันก็กลายปั๊มคาลเท็กซ์ และปั๊ม ปตท. ที่ถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดปะทะสำคัญ ปัจจุบันก็ปิดไปแล้ว

รอยกระสุนบริเวณปาก ซ.งามดูพลี – ซ.ปลูกจิต ถ.พระราม 4          

รอยกระสุนที่ทะลุเหล็กแป๊บหน้าทางเข้าคอนโด เดอะ คอมพลีท ถ.ราชปรารภ

ไม่เพียงสถานที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการแสวงหาความจริงและกระบวนการยุติธรรมที่แม้จะล่าช้า แต่ก็มีหลายกรณีเข้าสู่กระบวนการไต่สวนชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.150 โดยมี 8 คดีที่ศาลมีคำสั่งแล้ว ในจำนวนนี้มี 6 กรณีศาลระบุว่าเสียชีวิตจากการปฏิบัติการจากเจ้าหน้าที่ทหาร นอกจากนี้ยังมีอีก 1 คดีคือคดีของฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลีที่ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 29 พ.ค.นี้

ท่ามกลางภาพความตายที่ยังคงหลงเหลือในโลกไซเบอร์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนทดลองนำภาพเหตุการณ์บางส่วนเมื่อ 3 ปีก่อนมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพื่อทบทวนความทรงจำและฉากความโหดร้ายที่สุดฉากหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยจะนำภาพสำคัญๆ ย้อนกลับไปถ่ายตามจุดต่างๆ ที่เกิดเหตุ พร้อมอัพเดทความคืบหน้าของคดีที่เกี่ยวข้องกับภาพ

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 1 : ถ่ายจากบริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี ไปทางปั้ม ปตท.(ซึ่งขณะนี้รื้อไปแล้ว) เวลาประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 14 พ.ค.53 ในภาพมุมไกลจะเห็นคนกำลังหามร่างชายเสื้อขาว เขาคือนายเสน่ห์ นิลเหลือ คนขับรถแท็กซี่ วัย 48 ปี ถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุนปืนลูกโดดเข้าที่บริเวณหน้าอกทะลุเส้นเลือดใหญ่และปอด โดยที่มาภาพเหตุการณ์จาก BKlinK ซึ่งจะเห็นภาพต่อเนื่องอีก 3 ภาพ และสามารถดูภาพจากฝั่งผู้ชุมนุมได้ที่ Masaru Goto รวมทั้งวิดีโอคลิปจังหวะเกิดเหตุ (ดู นาทีที่ 6.42 เป็นต้นไปจะได้ยินเสียงปืนดังขึ้น)

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 2 : บริเวณเสาเหล็กขาว-แดง หน้าไทยไพศาลเอนยีเนียริ่ง ถนนราชปรารภ เลยทางเข้าปั๊มเชลล์ประมาณ 10 เมตร ในภาพเป็นร่างของหน่วยแพทย์กู้ชีวิตวชิรพยาบาล วัย 25 ปี บุญทิ้ง ปานศิลา ที่ถูกยิงเข้าที่คอด้านซ้ายทำลายเส้นเลือดแดงใหญ่นอนเสียชีวิตจมกองเลือด เวลา 19.36 น. ของวันที่ 14 พ.ค.53 ขณะขับมอร์เตอร์ไซด์เพื่อเข้าไปช่วยผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งคาดว่าเป็น กิตติพันธ์ ขันทอง(เสียชีวิตด้วย)

และวันรุ่งขึ้น(15 พ.ค.) รองผู้ว่า กทม. พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ออกมากล่าวถึงกรณีนี้ด้วยว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นอุบัติเหตุ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ยกมือขึ้นเพื่อบอกทหารว่าจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ แต่ระหว่างนั้นมีคนวิ่งเข้าออกบริเวณดังกล่าว จึงเกิดความเข้าใจผิดขึ้น"  (คลิกดูวิดีโอคลิปที่ถ่ายจากอีกฝั่งของถนน)

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 3 : ถูกถ่ายเมื่อเวลา 23.37 น. บริเวณปากซอยรางน้ำตัดกับถนนราชปรารภ ภาพรถกู้ชีพกำลังเข้าไปช่วยคนเจ็บที่อยู่บริเวณถัดไปไม่กี่เมตร (นอนเจ็บลำพังอยู่ปากซอยราชปรารภ 16) ซึ่งคนเจ็บคนดังกล่าวเสียชีวิตในเวลาต่อมา เขาคือ เหิน อ่อนสา โดยบาดแผลถูกกระสุนปืนลูกโดดเข้าบริเวณขาหนีบข้างซ้ายทำให้เส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด และกระดูกต้นขาซ้ายหัก พบบาดแผลกระสุนปืนลูกโดดทางออกบริเวณด้านข้างของทิศทางจากหน้าไปหลัง ขวาไปซ้าย

และจากรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.- พ.ค.53 หรือ ศปช. อ้างถึงการสัมภาษณ์ผู้ถ่ายภาพนี้ว่า รถกู้ชีพคันดังกล่าวนี้ถูกทหารที่อยู่ในปั๊มเอสโซ่ปฏิเสธไม่อนุญาตให้เข้าไปเพื่อช่วยเหลือคนเจ็บ(ซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา)

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 4 : เป็นภาพเหตุการณ์ช่วงเที่ยงคืนวันที่ 14 ต่อ 15 พ.ค.53 บริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ราชปรารภในเหตุการณ์ทหารยิงสกัดรถตู้ นายสมร ไหมทอง ที่วิ่งเข้ามา ซึ่งถ่ายเป็นวิดีโอโดยนายคมสันต์ เอกทองมาก อดีตช่างภาพเนชั่นแชนเนล(Voice TV ได้มีการนำวีดีโอดังกล่าวมาเผยแพร่ในบางตอนด้วย สามารถคลิกดูได้ที่นี่) ในเหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากนายสมรจะได้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บแล้ว ยังเป็นเหตุให้นายพัน คำกอง(คลิกอ่านคำสั่งศาล) คนขับแท็กซี่ และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ(คลิกอ่านคำสั่งศาล) ที่อยู่บริเวณนั้นเสียชีวิตด้วย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งแล้วว่าทั้งคู่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 5 : ช่วงสายวันที่ 15 พ.ค.53 บริเวณหน้าร้านกันสาดติดกับร้านไท่หยางตรงข้ามปั๊มเชลล์ ถนนราชปรารภ ในภาพจะเห็นชายเสื้อฟ้าที่นอนอยู่ใต้รถมอเตอร์ไซด์ เขาคือนายสุภชีพ จุลทรรศน์ คนขับรถแท็กซี่ วัย 36 ปี ถูกยิงด้วยกระสุนลูกโดดความเร็วสูงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิต และขยับไปด้านหน้าอีกประมาณ 10 เมตร จะมีร่างของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ เฌอ ถูกยิงด้วยกระสุนเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิตช่วงเวลาเดียวกัน นอกจาก 2 คนนี้ยังมีนายอำพล ชื่นสี ถูกยิงเข้าที่ช่องท้องเสียชีวิตและมีผู้บาดอีกหลายคน โดยจากรายงาน "ความจริงเพื่อความยุติธรรม : เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53" ของ ศปช. หน้า 285 ระบุว่า เป็นจังหวะที่ผู้ชุมนุมพยายามเดินรุกเข้าไปบนสองฝั่งถนน จากด้านสามเหลี่ยมดินแดงมุ่งหน้าไปยังบริเวณปั๊มเอสโซ่(ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นคาลเท็กซ์) ในช่วงเวลา 8.00 น. ของวันนั้น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ก่อนที่จะถูกยิงสวนจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว ด้านคดีความของทั้ง 3 คนยังไม่มีความคืบหน้า

โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา นายศุภวัฒน์ เกตุสุวรรณ พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบภาพรวมคดีบริเวณถนนราชปรารภ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในคดีนายสมาพันธ์ ศรีเทพ ว่า ยังไม่ได้มีการดำเนินการส่งศาลเนื่องจากยังไม่ชัดเจนเรื่องทิศทางกระสุนและพยาน อย่างไรก็ดี ในส่วนคดีบริเวณถนนราชปรารภมี 3 กรณีที่ส่งศาลไปก่อนหน้านี้ คือพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และนายชาญรงค์ พลศรีลา เนื่องจากมีภาพและวิดีโอชัดเจน และศาลก็ได้ตัดสินแล้ว ดังนั้นกรณีของเฌอจึงต้องรอนโยบายของทางผู้บังคับบัญชาอีกที เพราะขณะนี้หลักฐานยังคงไม่ชัดเจนเกรงว่าส่งศาลไปแล้วอาจไม่สามารถระบุว่าใครยิง ส่วนเรื่องพยานในที่เกิดเหตุขณะนี้มีพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนอยู่ ซึ่งบริเวณที่เฌอถูกยิงในเวลานั้นนอกจากเฌอก็มีศพอื่นด้วย และต้องดูประกอบกัน

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 6 : 2  "พลแม่นปืนระวังป้องกัน" ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเหตุการณ์ในวันที่ 15 พ.ค.53 เวลาประมาณ 14.00 น. บริเวณชั้น 2 อาคารหน้าสนามมวยลุมพินี (คลิกดูวิดีโอคลิป)

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 7 : ภาพร่างของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง รหัสทองหล่อ 016 หรือนายมานะ แสนประเสริฐศรี วัย 22 ปี ถูกยิงเข้าที่ศีรษะ กระสุนปืนทำลายสมอง ที่บริเวณปากซอยงามดูพลี หน้าธนาคารกสิกรไทย ถนนพระราม 4 ช่วงเวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น. ของวันที่ 15 พ.ค.56 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ใกล้เคียง(ฝั่งตรงข้ามถนน)และต่อเนื่องกับเหตุการณ์  "พลแม่นปืนระวังป้องกัน" 2 นาย ในภาพที่ 6 โดยนอกจากมานะแล้ว ใกล้ๆ กันซึ่งมองไม่เห็นในภาพจะมีร่างของพรสวรรค์ นาคะไชย ซึ่งเป็นผู้ถูกยิงที่มานะพยายามเข้าไปช่วยพร้อมถือธงที่เป็นสัญลักษณ์กาชาดเข้าไปด้วย ก่อนจะถูกยิงและเสียชีวิตทั้งคู่ โดยคดีของทั้ง 2 คนถูกรวมเป็นคดีเดียวกันและมีการเริ่มการไต่สวนการเสียชีวิตแล้ว (คลิกอ่านเพิ่มเติม)

นอกจากนี้ภาพดังกล่าวในวันที่ 20 พ.ค.53 ยังถูกพล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก นำไปใช้แถลงข่าวเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารในการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 19 พ.ค.53 เพื่อแสดงให้สังคมเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงถูกยิงจากการพยายามเข้าไปดับเพลิงที่เซ็นทรัลเวิลด์  ทั้งๆ ที่เป็นภาพที่ต่างสถานที่ ต่างเวลา โดยพล.ท.ดาว์พงษ์ แถลงว่า "จังหวะเวลาที่เรารอยังไม่เข้าในช่วงนั้น ผู้ที่อยู่ข้างในบางส่วนก็เริ่มเผาทำลาย ภายในก็เริ่มเผาตรงเซ็นทรัลเวิลด์ โรงแรมเซนทารา แกรนด์  ดับไปแล้วก็มาเผาใหม่ เราก็พยายามเอารถดับเพลิงเข้าไปในพื้นที่ พอรถดับเพลิงเข้าไปในพื้นที่ก็ถูกยิงออกมา ทำให้ไม่สะดวกในการเข้าไป  ก็ทำให้เกิดความสูญเสีย  แต่เราก็พยายามเต็มที่ที่จะพยายามนำรถดับเพลิงเข้าไป  แต่มีการต่อต้านอยู่ตลอดเวลา" (พล.ท.ดาว์พงษ์แถลงพร้อมนำภาพมานะ ซึ่งถูกยิงวันที่ 15 ตรงปากซอยงามดูพลีมาแสดงประกอบ คลิกดูคลิปดังกล่าว)

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 8 : ปากทางเข้าปั๊มเชลล์ราชปรารภ จุดที่นายชาญณรงค์ พลศรีลา ถูกยิง ช่วงบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา และศาลได้มีคำสั่งว่าเสียชีวิตจากกระสุนของ เจ้าหน้าที่ทหารแล้ว(คลิกอ่านคำสั่งศาล) ภาพเหตุการณ์นี้ถ่ายโดยนิค นอสติทช์ ช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน ในภาพจะเห็นนายชาญณรงค์ สวมเสื้อขาวนอนอยู่บริเวณกองยาง ซึ่งขณะนั้นเขาถูกยิงแล้ว

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 9 : ประชาชนช่วยกันหามร่างนายสมชาย พระสุพรรณ ช่างซ่อมรองเท้าวัย 43 ปี ซึ่งถูกยิงโดยกระสุนปืนเข้าที่ศีรษะด้านหน้าทำลายสมองรุนแรง บริเวณเชิงสะพานลอยคนข้ามข้าง ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ถ.พระราม 4 เมื่อเวลา 9.30 น ของวันที่ 16 พ.ค. 53  ก่อนที่จะมีผู้หามร่างเขามาขึ้นรถกู้ชีพตามภาพที่ปรากฏ สำหรับคดีของเขาจะมีการไต่สวนการตายนัดแรก 26 ส.ค.นี้

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 10 : ผู้ชุมนุมพยายามเข้าช่วยเหลือนายถวิล คำมูล ที่ถูกยิงเวลาประมาณ 7.30 น. วันที่ 19 พ.ค.53 ตรงป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ ใกล้สี่แยกศาลาแดงถนนราชดำริ ถือเป็นศพแรกของวันนั้น โดยผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือหลายคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส(คลิกดูอัลบั้มภาพชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องที่ "หงส์ศาลาแดง" และคลิกดูภาพเคลื่อนไหว ) และไม่มีใครนำร่างถวิลไปส่งโรงพยาบาลได้ จนกระทั่งถูกหน่วยกู้ชีพที่มากับเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้ามาทางศาลลาแดงนำร่างไป พร้อมกับร่างของชายถอดเสื้อไม่ทราบชื่อที่นอนเสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะบริเวณเต๊นท์ใกล้ร่างของถวิล (คลิกอ่านเรื่องของชายไม่ทราบชื่อ)

โดยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้ชี้แจงต่อรัฐสภากรณีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในวันที่ 19 พ.ค.53 ว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตก่อนหน้าการปฏิบัติการของทหารเนื่องจากเลือดได้แห้งหมดแล้ว โดยนายสุเทพ ระบุว่า ".. มีคนเสียชีวิตจริงๆ 6 คน นับรวมคนที่เสียชีวิตมาก่อนตอนที่เราเข้าไปถึงตอน 7-8 โมงเช้า เห็นนอนอยู่แล้ว ที่ข้างเต๊นท์ที่สวนลุมพินีเลือดแห้งหมดแล้ว 2 คนด้วย.." (ดูวิดีโอคลิปอภิปรายดังกล่าวในนาทีที่ 1.25.12 ประกอบ)

สำหรับคดีของทั้ง ถวิลและชายไม่ทราบชื่อขณะนี้อยู่ในชั้นอัยการแล้ว

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 11 : บริเวณหน้าคอนโดหน้าบ้านราชดำริ ถนนราชดำริ ภาพผู้ชุมนุมและอาสาสมัครพยายามช่วยเหลือนายนรินทร์ ศรีชมภู ซึ่งถูกยิงเข้าที่ศีรษะ เสียชีวิตช่วงสายของวันที่ 19 พ.ค.53  ซึ่งหนึ่งในอาสาสมัครที่เข้าช่วยเหลือนั้นคือนายมงคล เข็มทอง คนซ้ายมือสุดในภาพ และเขาถูกยิงเสียชีวิตช่วงเย็นของวันเดียวกันที่วัดปทุมฯ สำหรับคดีของนรินทร์นั้น ศาลได้นัดไต่สวนนัดแรก 29 ก.ค.นี้ ส่วนคดีของมงคล ได้รวมเป็นคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ซึ่งมีการไต่สวนมาหลายนัดแล้ว

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 12 : ภาพฟาบิโอ โปเลงกิ ช่างภาพชาวอิตาลีที่ล้มลงหลังถูกยิง และมีช่างภาพพยายามช่วยเหลืออยู่ บริเวณถนนราชดำริ ขาเข้า ตรงข้ามอาคารบริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ไม่ห่างจากจุดที่นรินทร์ถูกยิงที่อยู่อีกฝั่งของถนน ช่วงเวลา 10.45 น. ของวันที่ 19 พ.ค. โดยลักษณะบาดแผลที่ฟาบิโอถูกยิงนั้นกระสุนปืนทะลุหัวใจ ปอดตับ เสียโลหิตปริมาณมาก บาดแผลที่ 1 ลักษณะทางเข้าทะลุหลังด้านขวา ผ่านช่องซี่โครงด้านหลังขวา ทะลุปอดขวากลีบล่าง เฉียดกำบังลมและเนื้อตับฉีกขาด ทะลุเยื้อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด ทิศทางจากหลังไปหน้า ขวาไปซ้าย ล่างขึ้นบนเล็กน้อย

ขณะที่ฟาบิโอถูกยิงได้วิ่งหลบกระสุนไปกับกลุ่มผู้ชุมนุมหันหลังให้แยกศาลาแดงซึ่งขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเข้ามาทางนั้น และฟาบิโอหันหน้าไปทางสถานีรถไฟฟ้า BTS ราชดำริ คลิกดูภาพ(ภาพ 1, ภาพ 2)อีกมุมจาก Masaru Goto คนสวมหมวกเหลืองเสื้อแดงที่เข้าช่วยฟาบิโอ และภาพเคลื่อนไหวในเหตุการณ์จาก Bradley Cox  ประมาณนาทีที่ 1.12 (คลิกดู)

สำหรับคดีฟาบิโอได้มีการไต่สวนการตายเรียบร้อยแล้ว โดยศาลได้นัดฟังคำสั่ง 29 พ.ค.นี้

(ดู Google Map จุดดังกล่าว)

ภาพ 13 : ร่างหญิงวัยกลางคนอาชีพเก็บขยะ วัย 49 ปี คือ ประจวบ เจริญทิม ถูกยิงเมื่อเวลา 9.52 น. ของวันที่ 19 พ.ค. โดยกระสุนเข้าบริเวณขาซ้ายทะลุขาขวา กระสุนปืนถูกเส้นเลือดแดงขาด ทำให้เสียเลือดมากจนเสียชีวิต  บริเวณป้อมตำรวจสามเหลี่ยมดินแดง โดยภาพดังกล่าวถูกถ่ายโดยผู้ใช้นามแฝงว่า "พระอินทร์"

ร่างของเธอถูกนำไปฝังในฐานะศพไร้ญาติที่สุสานสว่างประทีปธรรมสถานศรีราชา จ.ชลบุรี ร่วมกับผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งในเหตุการณ์สลายการชุมนุม พ.ค.53 และสำหรับคดียังไม่มีความคืบหน้า

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'แอมเนสตี้' เผยยุคโลกไร้พรมแดน กลับอันตรายขึ้นสำหรับผู้ลี้ภัย-ผู้พลัดถิ่น

Posted: 23 May 2013 09:47 AM PDT


คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่



แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยในงานแถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2556 ว่า โลกใบนี้กำลังเป็นพื้นที่ที่อันตรายมากขึ้นสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น อันเนื่องมาจากการเพิกเฉยต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก

นอกจากนั้นยังเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการละเมิดสิทธิของประชาชนหลายล้านคน ที่หลบหนีลี้ภัยจากความขัดแย้งและการถูกคุกคาม หรืออพยพไปหางานทำเพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับตนเองและครอบครัว พวกเขากล่าวหาว่ารัฐบาลทั่วโลกสนใจแต่จะปกป้องพรมแดนของประเทศมากกว่าที่จะใส่ใจสิทธิของพลเมืองของตน รวมทั้งสิทธิของผู้ที่แสวงหาที่พักพิง หรือการแสวงหาโอกาสอื่นๆ ในพรมแดนประเทศของตน

นายซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขความขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดพลเมืองชั้นสองในโลก ที่เราไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของคนที่หลบหนีภัยความขัดแย้งเลย รัฐบาลหลายประเทศกำลังละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยอ้างว่าปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการเข้าเมือง ทั้งๆ ที่เป็นมาตรการควบคุมด้านพรมแดนที่ไม่ชอบธรรม
 
"มาตรการเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ที่หลบหนีลี้ภัยจากความขัดแย้ง แต่ยังเป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยหลายล้านคนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกละเมิดสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานหรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และสืบเนื่องจากนโยบายต่อต้านการอพยพเข้าเมือง เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อโดยที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ นอกจากนี้ยังมีการใช้วาทศิลป์เพื่อจูงใจประชาชนให้สนับสนุนการละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น โดยอ้างว่าบุคคลเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาในประเทศ" นายซาลิลกล่าว

ในปี 2555 ประชาคมโลกได้เห็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสิทธิมนุษยชนมากมาย ซึ่งผลักดันให้ประชาชนจำนวนมากหลบหนีไปยังที่ปลอดภัยในประเทศของตนเองหรือข้ามพรมแดน ตั้งแต่ประเทศเกาหลีเหนือถึงมาลี ซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประชาชนต้องอพยพหลบหนีจากบ้านเกิดของตนเพื่อแสวงหาที่พักพิงอันปลอดภัย

สำหรับชาวซีเรียนับว่าเป็นการปล่อยเวลาให้สูญเปล่าไปอีกหนึ่งปี เพราะแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยกเว้นจำนวนของผู้เสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจำนวนของประชาชนนับล้านคนที่ต้องอพยพพลัดถิ่นเพราะความขัดแย้ง ทั่วทั้งโลกกำลังเฝ้ามองดูอย่างเฉยๆ ในขณะที่กองทัพซีเรียปฏิบัติการโจมตีพลเรือนอย่างไม่เลือกหน้าและอย่างเฉพาะเจาะจงต่อไป มีทั้งการบังคับบุคคลให้สูญหาย การควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน และการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายต่อผู้ที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐ ในขณะเดียวกันกลุ่มติดอาวุธเองก็จับคนเป็นตัวประกัน และทำการสังหารอย่างรวบรัดและมีการทรมานบุคคลแม้จะมีระดับความรุนแรงน้อยกว่าก็ตาม

ข้ออ้างที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็น "ปัญหาในประเทศ" ได้ถูกใช้เพื่อสกัดกั้นปฏิบัติการระดับสากลในแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ อย่างเช่นในกรณีของซีเรีย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงและเป็นผู้นำในประเด็นปัญหาระดับโลก ยังคงล้มเหลวที่จะทำให้เกิดมาตรการทางการเมืองอย่างเป็นเอกภาพและไปในทิศทางเดียวกัน

"เราไม่สามารถอ้างการเคารพต่ออธิปไตยของประเทศเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเพิกเฉย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต้องยืนหยัดอย่างชัดเจนเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทำให้ประชาชนต้องหลบหนีจากบ้านเกิดของตน และยังหมายถึงการปฏิเสธความเชื่อในเชิงศีลธรรมแบบเดิมๆ ที่ว่า การสังหารหมู่ การทรมาน และการปล่อยให้ขาดอาหารเป็นเรื่องภายในประเทศไม่เกี่ยวกับคนอื่น" นายซาลิลกล่าว

คนที่พยายามหนีภัยจากความขัดแย้งและการคุกคาม มักต้องเผชิญอุปสรรคสำคัญในการหนีข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ กลายเป็นว่าการลี้ภัยข้ามพรมแดนเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการขนย้ายปืนและอาวุธสงครามข้ามพรมแดน เพื่อนำไปใช้ก่อความรุนแรงอันเป็นเหตุให้ผู้คนต้องหลบหนีจากบ้านเกิด อย่างไรก็ตาม การที่องค์การสหประชาชาติให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty - ATT) เมื่อเดือนมีนาคม 2556 ทำให้เกิดความหวังว่าจะสามารถยุติการส่งมอบอาวุธสงครามที่อาจถูกใช้เพื่อกระทำการอันทารุณดังกล่าว

"เราจะต้องไม่ปล่อยให้ปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นกลายเป็นเรื่องที่ "ถูกเพิกเฉย" เราทุกคนมีความรับผิดชอบในการให้ความคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ โลกสมัยใหม่กับการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทำให้การปกปิดข้อมูลการละเมิดสิทธิในประเทศ ทำได้ยากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ทุกคนจะสามารถยืนหยัดเรียกร้องสิทธิของคนที่ถูกบังคับให้ต้องอพยพหลบหนีจากบ้านเกิดได้" นายซาลิลกล่าว

ในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ ผู้ลี้ภัยที่หลบหนีไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหาที่พักพิงมักถูกปฏิบัติในลักษณะเดียวกับคนที่อพยพจากประเทศตนเอง เพื่อไปแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าสำหรับตนเองและครอบครัว พวกเขาจำนวนมากถูกผลักให้อยู่ชายขอบของสังคม ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายและนโยบายที่ไม่เป็นผล ตกเป็นเหยื่อของการใช้วาทศิลป์เพื่อปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมและประชานิยม เป็นการกระพือความเกลียดชังด้านเชื้อชาติ และทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

สหภาพยุโรปนำมาตรการควบคุมพรมแดนมาใช้ เป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมืองเกิดความเสี่ยงภัย ทั้งยังไม่ช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับคนที่หลบหนีจากภัยความขัดแย้งและการคุกคามได้ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมืองทั่วโลกถูกคุมขังในสถานที่ต่าง ๆ เป็นประจำ และในกรณีที่เลวร้าย บางคนอาจถูกขังไว้ในกรงหรือถูกขังไว้ในตู้คอนเทนเนอร์

สิทธิของผู้พลัดถิ่นกว่า 214 ล้านคนในโลกไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งในประเทศของตนเองและประเทศที่ตนไปอาศัยอยู่ ผู้พลัดถิ่นหลายล้านคนทำงานในสภาพที่ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเหมือนแรงงานทาส เนื่องจากรัฐบาลปฏิบัติกับพวกเขาเหมือนเป็นอาชญากร และเนื่องจากบรรษัทการค้าสนใจผลกำไรมากกว่าสิทธิของคนงาน เป็นเหตุให้คนงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารเสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

"ผู้ที่อาศัยอยู่นอกประเทศตนเอง โดยไม่มีทรัพย์สินหรือสถานภาพใดๆ เป็นประชากรที่ถูกเอาเปรียบมากสุดในโลก พวกเขามักต้องดำรงชีวิตอย่างยากลำบากเพราะต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ อนาคตที่เป็นธรรมมากขึ้นเกิดขึ้นได้ ถ้ารัฐบาลเคารพสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของพวกเขา โลกไม่อาจปล่อยให้เกิดพื้นที่ที่ห้ามคนอื่นเข้าได้หากต้องการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนระดับโลกอย่างแท้จริง เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติเสมอเหมือนกันสำหรับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม" นายซาลิลกล่าว
 

พัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่สำคัญในรายงานประจำปีแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 2556 มีดังนี้

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเสนอข้อมูลการจำกัดสิทธิในการพูดอย่างเสรีในอย่างน้อย 101 ประเทศ และการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในอย่างน้อย 112 ประเทศ
     
  • ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกยังตกเป็นพลเมืองชั้นสองเนื่องจากไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเนื่องจากเหตุทางเพศสภาพได้ ทั้งกองทัพของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธยังคงข่มขืนกระทำชำเราในมาลี ชาด ซูดาน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงเสียชีวิตจากการลงโทษในลักษณะเดียวกับการประหารชีวิต ภายใต้คำสั่งของกลุ่มฏอลีบันในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืน หรือผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต ยังไม่ได้รับอนุญาตให้สามารถทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมายในประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น ชิลี เอลซัลวาดอร์ นิการากัว และสาธารณรัฐโดมินิกัน
     
  • ตลอดทั่วทวีปแอฟริกา ความขัดแย้ง ความยากจนและการละเมิดสิทธิที่เป็นผลมาจากกองทัพและกลุ่มติดอาวุธ เผยให้เห็นความอ่อนแอของกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ แม้ว่ากำลังมีการเตรียมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของสหภาพแอฟริกา (African Union) โดยจะมีการประชุมสุดยอดที่ประเทศเอธิโอเปียในสัปดาห์นี้ (19-27 พฤษภาคม 2556)
     
  • ในทวีปอเมริกา การฟ้องคดีในประเทศอาร์เจนตินา บราซิล กัวเตมาลา และอุรุกวัย เป็นก้าวย่างสำคัญที่นำไปสู่ความยุติธรรมและไปพ้นจากการละเมิดสิทธิ แต่ระบบสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาก็กำลังตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์ของรัฐบาลหลายแห่ง
     
  • เสรีภาพในการแสดงออกได้ถูกโจมตีอย่างมากตลอดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีทั้งกรณีที่รัฐกดขี่ปราบปรามอย่างเช่น กัมพูชา อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ในขณะที่การขัดแย้งกันด้วยอาวุธส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายหมื่นคนในอัฟกานิสถาน พม่า ปากีสถาน และไทย แม้ว่าทางการพม่าจะปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยคนที่ถูกจับกุมตัวอยู่
     
  • ในทวีปยุโรปและเอเชียกลาง การเรียกร้องความรับผิดต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในยุโรปอันเนื่องมาจากโครงการจับตัวผู้ต้องสงสัยส่งผ่านยุโรปไปสหรัฐฯ (renditions) ยังไม่ได้รับการแก้ไข ในคาบสมุทรบอลข่าน มีความเป็นไปได้น้อยลงที่เหยื่อของอาชญากรรมสงครามในช่วงทศวรรษ 1990 จะได้รับความยุติธรรม ในขณะที่การเลือกตั้งทั่วไปในจอร์เจียเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการผ่องถ่ายอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยในอดีตประเทศสหภาพโซเวียต เนื่องจากประเทศกลุ่มดังกล่าวมักมีระบอบปกครองเผด็จการรวบอำนาจ
     
  • ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ในประเทศที่มีการขับไล่ผู้นำเผด็จการออกไปแล้ว จะมีเสรีภาพของสื่อเพิ่มมากขึ้นและภาคประชาสังคมก็มีบทบาทมากขึ้น แต่ก็มีความถดถอยเช่นกัน เนื่องจากยังมีการอ้างเหตุผลด้านศาสนาหรือศีลธรรมเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ตลอดทั่วภูมิภาค นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและการเมืองยังคงต้องเผชิญการปราบปรามต่อไป รวมทั้งถูกคุมขังและถูกทรมาน ในเดือนพฤศจิกายนได้เกิดเหตุความขัดแย้งรอบใหม่ในเขตฉนวนกาซา/พรมแดนอิสราเอล
     
  • ในระดับโลก การใช้โทษประหารชีวิตมีแนวโน้มลดลงต่อไป แม้จะมีส่วนที่ถดถอยอยู่บ้าง อย่างกรณีการประหารชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของประเทศแกมเบีย และการประหารชีวิตผู้หญิงเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีของญี่ปุ่น


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พ.ร.บ.ปรองดอง กับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

Posted: 23 May 2013 09:30 AM PDT

 
ในระยะสองเดือนมานี้ พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินการรุกทางการเมืองในขอบเขตจำกัด ด้วยการผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา มุ่งเฉพาะ "ลดเขี้ยวเล็บ" ของพวกเผด็จการที่ใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 พร้อมทั้งผลักดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่จะคืนความเป็นธรรมให้กับเฉพาะประชาชนและนักโทษการเมืองที่เข้าร่วมการต่อสู้ตลอดกว่าหกปีมานี้ โดยยังไม่รวมแกนนำและนักการเมืองของทั้งสองฝ่าย และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนในการปราบปรามประชาชนเมื่อเมษายน 2552 และสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553
 
ปาฐกถาพิเศษของนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะก้าวทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554
 
กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา รัฐบาลและแกนนำพรรคเพื่อไทยได้แสดงท่าทีประนีประนอม กระทำทุกอย่างเพื่อ "ขอหย่าศึก" กับฝ่ายเผด็จการแฝงเร้น แนวทางดังกล่าวอาจเป็นสิ่งจำเป็นทางการเมืองในระยะแรกเนื่องจากเป็นเวลาที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ ยังไม่สามารถยึดกุมอำนาจการบริหารของประเทศได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งป้อมค่ายของฝ่ายเผด็จการที่ยังเข้มแข็งและพร้อมที่จะรุมขย้ำรัฐบาลใหม่เมื่อใดก็ได้
 
ความพยายามของแกนนำพรรคเพื่อไทยที่จะ "เกี้ยเซี้ย" กับฝ่ายเผด็จการมาถึงจุดสำคัญในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน 2555 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "ประกาศสละเรือ" จากนั้น พรรคเพื่อไทยก็เร่งเสนอพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภา โดยมีเนื้อหา "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" ให้กับทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่แยกแยะ พรรคเพื่อไทยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในเวลานั้นก็เพราะแกนนำพรรคเพื่อไทยกำลังเพ้อฝันไปว่า ฝ่ายเผด็จการแฝงเร้นได้ "เปิดไฟเขียว" ยอมประนีประนอมด้วยแล้ว
 
ในที่สุด ความพยายามที่จะ "ปรองดอง" ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายเผด็จการยังคงใช้บรรดา "องค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ" ประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ในสภาและมวลชนอันธพาลเสื้อเหลือง-หลากสีบนท้องถนน บั่นทอนเสถียรภาพรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซ้ำรอยกับที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนได้ประสบจนถูกโค่นล้มมาแล้วเมื่อปี 2551
 
แม้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จะถูกสกัดจนล้มเหลว สร้างความผิดหวังอย่างยิ่งให้กับประชาชนผู้รักประชาธิปไตย แต่ พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติซึ่งประชาชนคัดค้านอย่างที่สุดนั้น ก็ต้องสะดุดไปด้วยในคราวเดียวกัน
 
ฉะนั้น การรุกครั้งล่าสุดนี้ของพรรคเพื่อไทย แม้จะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในขอบเขตที่จำกัดมาก โดยยังไม่เป็นการปฏิรูปรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รวมทั้งการเสนอร่างพระราชบัญญัติให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน โดยไม่รวมแกนนำและนักการเมือง จึงเป็นทิศทางการเมืองที่ถูกต้องและได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
 
แต่ทว่า ในกระแสคลื่นการรุกดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงและสส.พรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่งกลับออกมา "จงใจกวนน้ำให้ขุ่น" ด้วยการเคลื่อนไหวผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติฉบับเหมาเข่ง เข้าสู่สภาอีกครั้ง โดยชูคำขวัญว่า "เอาทักษิณกลับบ้าน" ทั้งๆ ที่รู้ดีว่า ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต่อต้าน พ.ร.บ.ปรองดองฉบับนี้ เพราะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่สั่งการให้ฆ่าหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย
 
ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจาก พ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็คือ พวกเผด็จการและสมุนรับใช้ของพวกเขาทั้งหมด รวมทั้งนักการเมืองอดีตพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเอง พ.ร.บ.ปรองดองจึงเป็นกฎหมาย "เกี้ยเซี้ย ยื่นหมูยื่นแมว" อย่างแท้จริง โดยมีประชาชนที่ต้องคดีการเมืองเป็นเครื่องต่อรองนั่นเอง
 
ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า พ.ร.บ.ปรองดองฉบับเหมาเข่งนี้มีลักษณะสองประการคือ เลวร้ายและเห็นแก่ตัว
 
ที่ว่าเลวร้ายนั้น เพราะเป็นการเอานิรโทษกรรมประชาชนที่ถูกกระทำ ไปผูกกับนิรโทษกรรมผู้ที่สั่งการสังหารหมู่ประชาชน บีบบังคับให้ประชาชนที่เป็นเหยื่อต้องยอม "นิรโทษ" ให้กับผู้ก่ออาชญากรรมต่อตน สิ่งที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกระทำอยู่ก็คือ การใช้เท้าเหยียบย่ำไปบนซากศพประชาชนที่เสียชีวิต ให้เป็นการตายที่ไร้ค่า ตลอดจนซ้ำเติมครอบครัวญาติพี่น้องและมิตรสหายของพวกเขาทั้งหมด
 
ส่วนที่ว่า "เห็นแก่ตัว" ก็คือ เอานิรโทษกรรมประชาชนไปผูกติดกับนิรโทษกรรมคดีการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณและนักการเมืองพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน เสมือนต่อรองกับประชาชนว่า ถ้าอยากออกจากคุกและปลอดคดี ก็ต้องให้พวกตนได้ประโยชน์ด้วย ส่วนคนที่บาดเจ็บพิการล้มตายนั้นให้ลืมเสีย เพราะได้ "เยียวยา" ด้วยเงินก้อนโตไปแล้ว
 
ในหลายปีมานี้ ร.ต.อ.เฉลิมได้กระทำอะไรให้กับขบวนประชาธิปไตยบ้าง นอกเหนือไปจากการห้อยโหนชื่อของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในโอกาสต่างๆ? มวลชนจำได้แต่เพียงว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ร.ต.อ.เฉลิมได้แต่วิ่งหนีการชุมนุมของพวกอันธพาลเสื้อเหลืองทั้งที่ตนเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มวลชนยังจำได้ว่า ทุกครั้งที่มีข่าวลือรัฐประหาร ร.ต.อ.เฉลิมจะเป็นคนแรกที่วิ่งหนีหัวซุกหัวซุนไปออกชายแดนทันที!
 
ร.ต.อ.เฉลิมอาจจะไม่หยี่ระคนเสื้อแดง เพราะเชื่อมั่นว่า ที่ตนได้ตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นก็เพราะพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น แต่อย่าลืมว่า ข้างหลังพ.ต.ท.ทักษิณ ก็คือประชาชนคนเสื้อแดงอันไพศาลซึ่งต่อต้าน พ.ร.บ.ปรองดองฉบับเหมาเข่งนี้ และจะไม่มีวันลืมว่า ร.ต.อ.เฉลิม คือผู้ที่หักหลังคนเสื้อแดงด้วยการผลักดันกฎหมายที่ "เลวร้ายและเห็นแก่ตัว" ฉบับนี้
 
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองฉบับเหมาเข่งนี้กลับจะเป็นอันตรายต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์และต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเอง เพราะเป็นการตอกย้ำข้อโจมตีของฝ่ายตรงข้ามว่า ตั้งหน้าแต่จะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นการเฉพาะ และเป็นการกระพือแรงต่อต้านที่มีต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อกลางปี 2555
 
แรงจูงใจที่แท้จริงของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงในการกระทำครั้งนี้คืออะไร? หลายคนเชื่อว่า ร.ต.อ.เฉลิมก็เพียงแค่ "เชลียร์ตะพึดตะพือ" ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อความมั่นคงในเก้าอี้รัฐมนตรีของตนโดยไม่ได้หวังผลจริงจังจาก พ.ร.บ.ปรองดองแต่อย่างใด แต่ยังมีอีกคำตอบหนึ่งคือ ร.ต.อ.เฉลิม "จงใจกวนน้ำให้ขุ่น" เพราะรู้ดีว่า การผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองฉบับเหมาเข่งจะถูกต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่ายจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งก็จะมีผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราและพ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องล้มเหลวตามไปด้วย เมื่อพรรคเพื่อไทยจำต้องยอมถอยหลังเป็นคำรบสองในประเด็นเหล่านี้ แล้วหันหน้าไปบริหารเศรษฐกิจแต่อย่างเดียวดังที่ทำมาตลอด โดยหวังไปชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า เก้าอี้รัฐมนตรีของ ร.ต.อ.เฉลิม ก็จะมั่นคงถาวรไปจนครบวาระนั่นเอง ร.ต.อ.เฉลิมจะบอกได้ไหมว่า คำตอบไหนถูกต้อง?
 
 
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2556
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาที่ปรึกษาฯ เปิดเวที ‘ระบบบำนาญแห่งชาติ’ ระดมความคิดเสนอ ครม.

Posted: 23 May 2013 08:22 AM PDT

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดสัมมนา 'แนวทางการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ' วางแผนรับสังคมผู้สูงอายุ รวบรวมความคิดเห็นจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

 
เมื่อวันที่ 22 พ.ค.56 คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) จัดสัมมนาเรื่อง "แนวทางการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ" ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญที่ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบและเริ่มดำเนินการล่วงหน้า โดยเฉพาะการจัดสวัสดิการด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนาความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
 
ศาสตรเมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การสัมมนาครั้งนี้จำเป็นต้องวางข้อเสนอทางนโยบายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการจัดตั้งบำนาญให้แก่ผู้สูงอายุ โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ จะทำหน้าที่รวบรวมและกลั่นกรองเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวว่า ความมั่นคงของชีวิตหรือระบบบำนาญเป็นสิ่งสำคัญ ที่หน่วยงานภาครัฐ ควรบริหารจัดการในเรื่องนี้ เพื่อมาเสนอเป็นแนวทางในการแก้ไข ให้สามารถขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไป ซึ่งต้องทำให้ระบบบำนาญนั้นมีการใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย
 
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า การจัดตั้งระบบบำนาญนั้น จะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งไว้ โดยดูผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งโลกของเราจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราการเกิดและการตายน้อยลง จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ซึ่งแยกประเด็นปัญหาเป็น 3 ประเด็น คือ 1.ปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพที่เสื่อมโทรม ซึ่งมากหรือน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของแต่ละบุคคล
 
2.ปัญหาด้านความยากจน คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักการออม จนทำให้เกิดปัญหากับผู้สูงอายุในด้านของความยากจน เนื่องจากการมีอายุที่เพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายก็เริ่มเสื่อมโทรม การทำงานและการหารายได้จึงน้อยลง รัฐบาลจึงควรมีแนวทางส่งเสริมคนไทยให้รู้จักการออม และการให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุลำบาก และ 3.ปัญหาด้านความรู้สึก ซึ่งผู้สูงอายุจะเกิดอาการเหงา เนื่องจากสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม ทำมาหากินไม่ได้ กิจกรรมในชีวิตประจำวันลดน้อยลง ทำให้เกิดภาวะความเศร้าซึมได้
 
ทั้งนี้ ในด้านของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) การจัดตั้งระบบบำนาญควรที่จะเดินหน้าได้แล้ว เพื่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่สมาชิกบำนาญ รัฐบาลควรเสนอให้มีการตั้งระบบบำนาญ และควรศึกษา กอช.ให้ชัดเจน
 
นายประดิษฐ์ เอี่ยมสำอาง กรรมการพิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายสภาทนายความ ได้ให้ความเห็นว่า  ในการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งระบบบำนาญ รัฐบาลควรมีการวางแผนเพื่อรองรับในเรื่องของสิทธิและการดำเนินการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้กฎหมายเป็นจริงได้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตั้งหัวข้อการศึกษา กลั่นกรองข้อกฎหมาย และควรพิจารณากำหนดขอบข่ายให้สภาทนายความพิจารณากลั่นกรองต่อไป และเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายของ กอช.ให้แก่ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
 
นางสาวสุปาณี จันทรมาศ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการออม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภาพรวมของระบบการออมแบบระยะยาวของไทยนั้น มีการจัดสวัสดิการด้านการชราภาพให้แก่แรงงานนอกระบบ ควรมีการบูรณาการระหว่าง กอช.และกองทุนประกันสังคมในส่วนของแรงงานนอกระบบ โดยโอนงานของ กอช.ให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินการของสำนักงานประกันสังคม รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ และเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิก หากมองในระยะยาวจะทำให้รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดตั้งสำนักงานใหม่และไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ กอช.
 
นายอารักษ์ พรหมมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ควรมีนโยบายกึ่งบังคับกึ่งสมัครใจในเรื่องของการออม ซึ่งแนวทางหลักเป็นเรื่องของการออมแห่งชาติ และการออมของแต่ละบุคคล จึงควรมีแนวทางในการสนับสนุนกองทุนการออม มองในแง่ของการบริหารจัดการของด้านประกันสังคม และรูปแบบการออมในลักษณะการจ่ายแบบบำนาญ โดยมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอสนับสนุนในเรื่องของเงิน บุคลากร และความชัดเจนในลักษณะการจ่ายเงินระบบบำนาญของไทยด้วย
 
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการสัมมนา คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ได้รวบรวมความคิดเห็นที่ได้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อแนวทางการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติต่อไป
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรมหนุ่มสาวมลายู มาเลย์ อินโดฯ สนใจข่าวสารมลายูปาตานี

Posted: 23 May 2013 08:06 AM PDT

7 นักกิจกรรมมาเลเซีย อินโดนีเซีย เยือนปาตานี หวังเชื่อมความเข้าใจ สังคม วัฒนธรรมและกระบวนการสันติภาพปาตานี สู่อาเซียน สะท้อนเรื่องราวปาตานียังไม่เป็นที่รับรู้มากนักในโลกมลายูด้วยกันเอง พร้อมหนุนเป็นเครือข่ายเพื่อสื่อสารแทนคนปาตานี



เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 นักกิจกรรมจากประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์กรนักศึกษาอินโดนีเซีย Pengarus Besar Pelajar Islam Indonesia (PII) Persatuan Kebangsaan Pelajar Islam Malaysia (PKPIM) และ Grup Pengkaji Tamadun Dunuia (GPTD) Unisel Malaysia ทั้งหมด 7 คน พร้อมด้วยนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี เดินทางเยือนจังหวัดชายแดนใต้หรือ ปาตานี ซึ่งมีกำหนดอยู่ในพื้นที่ 7 วัน



Izwan Suhaidak Ishak  จากองค์กร Grup Pengkaji Tamadun Dunuia (GPTD) Unisel Malaysia ซึ่งเป็นผู้นำการเดินทางในครั้งนี้ เปิดเผยว่า การมาเยือนปาตานีเป็นครั้งที่สองของเขา ซึ่งได้ลงสัมผัสชุมชนชาวประมงบ้านดาโต๊ะ อ.ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และมีโปรแกรมสอนภาษามลายูและภาษาอังกฤษให้เด็กในชุมชนดังกล่าวด้วย การมาในครั้งนี้เพื่อมารู้จักสังคมวัฒนธรรมของมลายูปาตานี ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเขาสะท้อนว่า ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวของที่นี่มากนัก ทั้งๆ ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน

"เรื่องราวปาตานีไม่ค่อยได้รับรู้มากนัก แต่เริ่มมีการพูดถึงเรื่องราวของที่นี่มากขึ้น จึงได้ตัดสินใจมาเยือนเพื่อมาดูว่าจะช่วยอะไรเพื่อการสื่อสารเรื่องราวของที่นี่ได้บ้าง อีกอย่างต้องมองถึงอาเซียนกำลังจะมา ภาษามลายูจะเป็นภาษาที่สื่อสารกันระหว่างภูมิภาคนี้ ถ้าทาง Deep South Watch (DSW) อยากให้ช่วยเผยแพร่เรื่องราวปาตานีเป็นภาษามลายูก็สามารถบอกได้เลย" Izwan กล่าว

Izwan กล่าวอธิบายว่า ทางทีมสนใจข่าวภาษามลายูของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มอ.ปัตตานี ที่สื่อสารด้วยภาษามลายู แต่เป็นตัวเขียนยาวี ซึ่งตนอยากนำไปเผยแพร่ต่อเช่นกัน และยังมีข้อเสนอความเป็นไปได้ในการทำงานร่วมกันอนาคต อาจจะมีโครงการร่วมแลกเปลี่ยนนักกิจกรรมระหว่างกันในประเด็นการสื่อสารเรื่องราวทางสังคม-วัฒนธรรมมลายูระหว่างประเทศ คืออินโดนีเซีย มาเลเซียและปาตานีของประเทศไทย ผ่านการเดินทางของพวกเขา และอาจจะเปิดพื้นที่สื่อสารและติดตามกระบวนการสันติภาพ ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และเว็บไซต์ของพวกเขาที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียได้

ทั้งนี้ ทางทีมได้ เผยว่า จะมีกำหนดกลับวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ โดยบันทึกการเดินทางของพวกที่ได้มาสัมผัสพื้นที่ปาตานี จะเรียบเรียงมาให้ได้อ่าน ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ให้ได้ติดตาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แพทย์ชนบท เตรียมชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ กดดันไล่ รมว.สธ.

Posted: 23 May 2013 06:50 AM PDT

แพทย์ชนบทดีเด่น ศิริราชพยาบาลและเครือข่าย รพ.สมเด็จพระยุพราช ลั่น 6 มิ.ย. พร้อมจัดทีมแพทย์-รถพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยหนักเข้ารักษาในกรุงเทพฯ-ให้บริการเชิงรุก ด้าน 'ผู้ป่วยไตวาย' ร่วมด้วย พร้อมฟอกไตหน้าบ้านนายกฯ ชี้เสี่ยงน้อยกว่าอนาคต ระบบสาธารณสุขในชนบทจะพังทลาย เพราะนโยบาย รมว.สาธารณสุข



จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขจะตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในโรงพยาบาลชุมชน และจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance- P4P) ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กลุ่มแพทย์ชนบท จะเคลื่อนไหวชุมนุมที่หน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ยกเลิก P4P และให้ปลด น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

(23 พ.ค.56) นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย และแพทย์ชนบทดีเด่น ศิริราชพยาบาลเปิดเผยว่าขณะนี้ระบบสาธารณสุขกำลังมีปัญหา คนดีถูกทำร้าย หน่วยงานต่างๆ ถูกครอบงำ จนผู้ใหญ่ของบ้านเมืองต้องลุกขึ้นจุดเทียนเตือนสติ ผู้ป่วยไตวายต้องยอมเสี่ยงตายเพื่อเรียกร้องนายกรัฐมนตรีให้แก้ไขปัญหา สถานการณ์เช่นนี้เป็นหน้าที่ ที่ทุกส่วนต้องรวมตัวกันปกป้องระบบ ปกป้องประชาชนไม่ให้นโยบายที่ผิดที่ผิดทางของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ทำร้ายประชาชนมากขึ้น

"เครือข่าย รพ.สมเด็จพระยุพราช และ รพ.ชุมชนภาคอีสานตอนบนพร้อมจะส่งทีมแพทย์และรถพยาบาลเข้ากรุงเทพฯ ดูแลผู้ป่วยที่เสียสละยอมเสี่ยงตายที่หน้าบ้านนายกฯ เพื่อเรียกร้องให้ย้าย นพ.ประดิษฐ ออกจากกระทรวงสาธารณสุข" ผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย กล่าว
 
ด้านนายธนพล ดอกแก้ว รองประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่าผู้ป่วยไตวายจะเข้าร่วมขับไล่ รมว.สาธารณสุข เพราะเห็นว่ามีนโยบายทำลายระบบสุขภาพของไทย ทำลายหน่วยงานต่างๆ ทำร้ายคนดี ทำร้ายคนยากจนในชนบท เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจเอกชน บริษัทยาข้ามชาติ ทุกคนเข้าร่วมด้วยจิตสำนึก ไม่มีใครชักชวน มีแต่การประสานงานกับภาคีต่างๆ อย่างใกล้ชิด

"พวกเราทุกคนรู้ว่ามีความเสี่ยง แต่เห็นอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยในอนาคตที่ระบบบริการสุขภาพถูกทำลายมีมากกว่า เราหวังว่าท่านนายกยิ่งลักษณ์ จะรีบแก้ปัญหานี้โดยเร็ว ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยต้องผิดหวัง จนต้องทิ้งบ้านเดินทางเข้ากรุงเทพฯมากขึ้น" รองประธานชมรมฯกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แฉ รมว.สธ.ตกหลุมพราง บ.ยาข้ามชาติ ยอมรับระบบแบ่งปันใช้สิทธิบัตร ทำไทยเสียเปรียบ

Posted: 23 May 2013 06:07 AM PDT

เอ็นจีโอแฉ รมว.สาธารณสุข ตกหลุมพราง บ.ยาข้ามชาติ หลังยอมรับระบบแบ่งปันการใช้สิทธิบัตรในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก แจงเงื่อนไขสุดยิบย่อยทำไทยเสียเปรียบ เผย สธ.เคยมีมติไม่ยอมรับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพราะเห็นร่วมกันว่าทำไทยเสียประโยชน์ ชี้รัฐมนตรีไม่เข้าใจระบบสิทธิบัตรยา ข้องใจทำไมยอมรับข้อเสนอ

ตามที่นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในที่ประชุมขององค์การอนามัยโลกที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโดยยอมรับและส่งเสริมระบบ Patent Pool (ระบบแบ่งปันการใช้สิทธิบัตร) นั้น

(23 พ.ค.56) นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้ประสานงานการรณรงค์เข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีพูดเช่นนี้สะท้อนว่าไม่มีความเข้าใจเรื่องระบบสิทธิบัตรยาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเข้าถึงยาของประชาชน เนื่องจากเงื่อนไขของระบบแบ่งปันการใช้สิทธิบัตรหรือ patent tool นั้น ทำให้ไทยเสียเปรียบเป็นอย่างมาก อาทิ การผลิตก็ต้องแค่บริษัทในอินเดียผลิต ยาบางตัวไม่ให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับปานกลาง เช่น ไทย จีน บราซิล หรือยาบางตัวแม้ในประเทศไทยไม่มีสิทธิบัตร แต่ในสัญญาของ patent tool จะผลิตได้ต้องไปขออนุญาตก่อน ซึ่งไม่มีความจำเป็นสำหรับไทย ในเมื่อไม่มีสิทธิบัตรในไทยทำไมเราจะต้องไปขออนุญาตผลิตอีก หรือยาบางชนิดเราอยากได้แต่ไม่ให้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขยิบย่อยแบบนี้ คือการทำตามความต้องการของบริษัทยาทั้งหมด จึงเท่ากับเป็นสัญญาลูกไล่ของบริษัทยา

นายเฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของ medicine patent tool เคยประชุมกับภาคประชาสังคมไทยและหน่วยงานสาธารณสุขของไทยเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน เพื่อชักชวนให้ประเทศเข้าร่วมโครงการนี้ ในที่ประชุมร่วมทั้งสามฝ่ายมีข้อสรุปว่าไม่สามารถยอมรับข้อเสนอขององค์กร Medicine Patent Pool เพราะไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่บรรษัทยาข้ามชาติมีเงื่อนไขที่จะเลือกให้หรือไม่ให้ใครใช้สิทธิจากระบบการแบ่งปันการใช้สิทธิบัตรได้ตามอำเภอใจ ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการเข้าถึงยานวัตกรรมใหม่ ซึ่งไทยจะยอมพิจารณาอีกครั้งเมื่อข้อบกพร่องดังกล่าวได้ถูกแก้ไขแล้ว บริษัทยากิลิแอด เป็นบริษัทยาต้นแบบแรกๆ ที่เข้าร่วมโครงการของ Medicine Patent Pool และร่วมผลักดันอย่างจริงจัง โดยยอมแบ่งปันสิทธิบัตรยาต้านไวรัส 4 ชนิดในระบบ Patent Pool เพื่อให้บริษัทยาชื่อสามัญนำไปวิจัยและผลิตยาสูตรผสมรวมเม็ด แต่มีเงื่อนไขอนุญาตให้บริษัทยาชื่อสามัญบางแห่งในอินเดียเท่านั้นที่จะผลิตได้ และไม่อนุญาตให้จำหน่ายยาดังกล่าวให้กับบางประเทศ รวมถึงประเทศไทย

"ประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากโครงการที่มีเงื่อนไขเช่นนี้ การยอมรับเรื่อง Patent Pool เท่ากับเป็นการตกหลุมพรางของบรรษัทยาข้ามชาติที่พยายามใช้ระบบนี้เป็นเครื่องมือการตลาดและสร้างภาพ มากกว่าจะร่วมผลักดันให้เกิดระบบที่ส่งเสริมการเข้าถึงยาอย่างแท้จริง น่าสงสัยว่าการที่ นพ.ประดิษฐ รมว.สธ.ไปยอมรับข้อเสนอนี้ เป็นการจงใจที่จะผลักการเข้าถึงยาของไทยเข้าไปในหลุมพรางของบริษัทยาข้ามชาติหรือไม่ อยากให้รัฐมนตรีไขความกระจ่างนี้" นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหล่าชายโสดในอินเดีย ถ่ายรูปกับห้องสุขาสะอาดเพื่อหาคู่

Posted: 23 May 2013 06:03 AM PDT

หลังจากมีข่าวดังในอินเดียเรื่องผู้หญิงหนีออกจากบ้านสามีเนื่องจากบ้านสามีไม่มีห้องสุขาในบ้าน เหล่าชายโสดก็โพสท์รูปตัวเองกับห้องสุขาสะอาดในบ้านเพื่อดึงดูดใจฝ่ายหญิง ขณะที่ห้องสุขาสาธารณะสำหรับผู้หญิงขาดแคลน และบางครั้งก็เก็บค่าบริการเฉพาะผู้หญิง

เว็บไซต์ Global Post รายงานเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2013 เกี่ยวกับกรณีที่ผู้หญิงในอินเดียขาดแคลนห้องสุขาสาธารณะ และต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าใช้ทั้งๆ ที่ผู้ชายไม่ต้องจ่าย ทำให้มีผู้ชายบางคนใช้วิธีการหาคู่ด้วยการถ่ายรูปตัวเองคู่กับห้องสุขาในบ้านที่ดูสะอาดและปลอดภัย

หลังจากเมื่อปีที่แล้ว มีข่าวดังข่าวหนึ่งในอินเดียกล่าวถึงผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหนีออกจากบ้านฝ่ายชายเนื่องจากไม่มีห้องสุขาภายในบ้าน ทำให้ตอนนี้ชายโสดในอินเดียเริ่มใช้วิธีหาคู่ด้วยการแสดงให้เห็นว่าบ้านตนมีห้องสุขาที่สะอาดและปลอดภัย

รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐมัธยประเทศในอินเดียถึงขั้นทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญ โดยให้ฝ่ายชายที่ต้องการเป็นเจ้าบ่าว ถ่ายรูปตัวเองคู่กับสุขาในบ้านเพื่อนำไปใช้จดทะเบียนในงานสมรสหมู่ เหตุที่ต้องมีข้อกำหนดเช่นนี้เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนห้องสุขาสาธารณะในพื้นที่ เดเวนตรา ไมทิว เจ้าของราชดิจิตอลสตูดิโอกล่าวว่า ในเมืองของเขามีคนมาใช้บริการปรับแต่งรูปภาพที่ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือหรือกล้องดิจิตอลของตัวเอง

ข่าวเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียประกาศให้ผู้หญิงอย่าแต่งงานเข้าบ้านที่ไม่มีห้องสุขาเมื่อปีที่แล้ว

Global Post กล่าวว่าการถ่ายทุกข์กลางแจ้งเป็นเรื่องปกติในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นตามรางรถไฟที่แม้แต่ผู้หญิงเองก็ถกสาหรี่ขึ้นคลุมหน้าขณะถ่าย บนผืนทรายใกล้กับโรงแรมห้าดาวก็ถูกใช้เป็นที่ถ่ายทุกข์ หรือตามแหล่งสลัมในเมืองที่มีคนคับคั่งก็มีการใช้ลานจอดรถและกองขยะเป็นสุขาชั่วคราว

อย่างไรก็ตามการขับถ่ายตามพื้นที่ภายนอกก็ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาวะ องค์กรอนามัยโลกเปิดเผยข้อมูลว่ามีชาวอินเดียราว 626 ล้านคนที่ขับถ่ายในพื้นที่โล่ง ทำให้ของเสียจากร่างกายมนุษย์ไม่ลงไปสู่ท่อระบาย และมักจะซึมเข้าไปในแหล่งเก็บน้ำ ทำให้เกิดโรคท้องร่วงและอาการป่วยอื่นๆ โดยที่ร้อยละ 10 ของอาการป่วยในอินเดียจะมาจากแหล่งน้ำที่ไม่ปลอดภัย และระบบสุขาภิบาลที่ไม่ดี

ภายใต้การบริหารของ ใจราม ราเมช รัฐมนตรีด้านการพัฒนาชนบทของอินเดีย ได้มีการวางเป้าหมายกำจัดการขับถ่ายในพื้นที่โล่งภายในอีก 10 ปีข้างหน้า และยังมีการสร้างห้องสุขาจำนวนมาก รวมถึงสร้างโครงการที่จูงใจให้ประชาชนหันมาสร้างและใช้ห้องน้ำของตัวเอง แต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำก็ทำให้อินเดียต้องพัฒนาระบบจัดการของเสีย โดยอาศัยเครื่องเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นปุ๋ยที่ออกแบบโดยองค์การอนามัยโลก

อย่างไรก็ตามแม้ว่าโครงการสร้างห้องสุขาของอินเดียจะช่วยลดปัญหาในเขตชนบท ก็แต่ก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาในระยะยาวสำหรับในเมือง มีห้องสุขาจำนวนมากที่รัฐบาลสร้างขึ้นถูกทิ้งร้างเพราะยังคงมีคนชอบถ่ายข้างนอกมากกว่า


เรียบเรียงจาก

India: Men pose with toilets to woo brides, GlobalPost, 21-05-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอฟทีเอไทย-อียูพร้อมเจรจารอบแรก 27-31 พ.ค.

Posted: 23 May 2013 05:29 AM PDT

 

23 พ.ค.56  นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-สหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในการประชุมกับคณะเจรจาฯ เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเตรียมแนวทางเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปรอบ แรก ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค.56 ณ กรุงบรัสเซลส์ โดยทั้ง 13 กลุ่มเจรจาได้มารายงานต่อที่ประชุมฯ ถึงความคืบหน้าในการเตรียมการให้สอดคล้องกับนโยบายที่ได้ให้ไว้ในการประชุม ครั้งที่ผ่านมา

"แต่ละกลุ่มได้เตรียมการอย่างรอบคอบ และได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำท่าทีเบื้องต้นสำหรับการเจรจาทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เพราะขณะนี้ไทยกับ อียูได้แลกเปลี่ยนร่างความตกลงในหลายประเด็น เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเจรจารอบแรก ทำให้แต่ละฝ่ายได้รับรู้ท่าทีเบื้องต้นในแต่ละประเด็นแล้ว ก็มีทั้งประเด็นที่เห็นสอดคล้องกันและบางประเด็นที่เห็นต่างกัน โดยอียูต้องการผลักดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การพัฒนาที่ยั่งยืน การค้าบริการและการลงทุน โดยเฉพาะสาขาโทรคมนาคม สาขาการเงิน และสาขาการขนส่ง ส่วนประเด็นที่ไทยต้องการผลักดัน คือ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม และสินค้าอุตสาหกรรม การลดมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า"

สำหรับ 13 กลุ่มเจรจา ประกอบด้วย 1.การค้าสินค้า 2.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 3.พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 4.มาตรการเยียวยาทางการค้า 5.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 6.มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7.การค้าบริการ 8.การลงทุน 9.การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 10.ทรัพย์สินทางปัญญา 11.การแข่งขัน 12.การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 13.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ

นายโอฬารกล่าวด้วยว่า  สำหรับประเด็นอ่อนไหว และประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจา กระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้ง "คณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม" เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมั่นใจว่าการเจรจา FTA ไทย-อียู จะดำเนินไปด้วยความราบรื่น และก่อประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย รวมทั้งสามารถบรรลุเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายที่จะเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2557ด้วย

ทั้งนี้ การทำ FTA กับ EU ถูกหยิบยกขึ้นเจรจาก่อนที่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(GSP) ที่ไทยได้จากสหภาพยุโรป จะถูกตัดสิทธิทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม 2558

 

เรียงเรียงจาก เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

 

อ่านเพิ่มเติม :

ร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู

เอฟทีเอไทย-อียู ผลกระทบต่อการเข้าถึงยา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมินเสียงค้าน นปช.-เสื้อแดง เสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดองฉบับ ‘เฉลิม’เข้าสภาแล้ว

Posted: 23 May 2013 04:54 AM PDT

 

23 พ.ค.56 ที่รัฐสภา กลุ่มส.ส.อีสาน พรรคเพื่อไทย จำนวน 15 คน นำโดยนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย เข้ายื่นร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ พ.ศ...ฉบับของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่มี ส.ส.ร่วมลงชื่อจำนวน 163 คน ต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1

นายเจริญ กล่าวภายหลังการยื่นร่างพ.ร.บ.ว่า จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ รายชื่อส.ส.ที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายว่ามีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีผู้ลงชื่อไม่น้อยกว่า 20 คน และต้องดูรายละเอียดว่ากฎหมายที่ยื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเงินหรือไม่ ถ้าเป็นกฎหมายการเงินต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เซ็นรับรอง แต่ถ้าไม่ใช่กฎหมายการเงินก็จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระตามปกติ ซึ่งต้องไปต่อคิวตามลำดับส่วนจะมีการเสนอเลื่อนขึ้นมาเป็นวาระเร่งด่วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับส.ส.ในที่ประชุมสภา ทั้งนี้วาระแรกของการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ คือร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทยและคณะ

จากนั้นนายพีรพันธุ์ แถลงว่า วัตถุประสงค์ของการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดอง คือการนิรโทษกรรมความผิดที่เกี่ยวการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบันให้กับทุกฝ่าย ได้ผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้ประเทศเกิดความปรองดองและสามัคคีเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ใช่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย ทั้งนี้ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฉบับนี้ได้มีการตัด มาตรา 5 ที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทิ้งเพราะรัฐบาลดำเนินการเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเขียนไว้  ส่วนมาตรา 3 ที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ไม่ใช่การล้างผิดแต่เป็นการให้อภัยเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ขณะที่ มาตรา 4 ยืนยันว่าไม่ใช่การคืนเงินให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ศาลได้มีคำพิพากษาและยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว ซึ่งการที่จะเอาเงินของแผ่นดินกลับคืนมาได้ต้องออกเป็นพ.ร.บ.งบประมาณเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าแม้จะมีการตัด มาตรา 5 ทิ้ง แต่ พ.ร.บ.ปรองดองยังเข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงิน เพราะการยกเลิกคดี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ทำให้ต้องคืนเงินพ.ต.ท.ทักษิณ 4.6 หมื่นล้านบาท นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ไม่เข้าข่ายเพราะพ.ร.บ.ปรองดองฉบับนี้มีเนื้อหาคล้ายกับพ.ร.บ.ปรองดองของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 35 คณะ เคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงินรวมถึงไม่ขัดมาตรา 309 ด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ส.เสื้อแดง ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับคนที่สั่งฆ่าประชาชน นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่าย การให้อภัยควรทำให้ถ้วนหน้าไม่ใช่ให้กับคนใดคนหนึ่ง ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะไม่จบ ในหลักการตนก็ไม่ขัดแย้งกฎหมายนิรโทษกรรมของนายวรชัย

เมื่อถามว่า จะมีการเสนอเลื่อนร่างพ.ร.บ.ปรองดองฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือไม่ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ต้องมาพูดคุยกันก่อน ในช่วงที่มีการเปิดประชุมสภาแล้ว แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขอเลื่อนขึ้นมา เป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนจะนำไปรวมกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือร่างพ.ร.บ.ปรองดอง จำนวน 4 ฉบับที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาจะเป็นผู้ตัดสิน 

เมื่อถามว่า งานนี้เอาจริงไม่หลอกพ.ต.ท.ทักษิณ ใช่หรือไม่นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า คนที่ถูกผลกระทบมากที่สุดคือพ.ต.ท.ทักษิณ หากพวกเราไม่ให้ใจท่านจะอยู่ได้อย่างไร

พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เป็นคนละส่วนกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะจุดมุ่งหมายของเราต้องการยุติความขัดแย้ง ไม่ให้ร้าวลึก เป็นการแก้ปัญหาแบบถึงรากถึงแก่น เมื่อทุกคนพ้นจากการเป็นจำเลยแล้วก็จะกลับมาทบทวนว่ามีส่วนร่วมทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ ขณะที่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นแค่การทุเลา เบาบาง แก้ปัญหาแบบจำเป็นเร่งด่วน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ต้นเหตุของความขัดแย้งแต่เป็นเป้าหมายที่ถูกกำจัด คนที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งคือคนที่คิดกำจัดพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคนกลุ่มนี้มี 2 ส่วนคือ คนที่เข้าใจผิดพ.ต.ท.ทักษิณและคนที่เสียประโยชน์

พท.สลัดเผือกร้อน สั่งสนับสนุน ก.ม.นิรโทษกรรมเพียงอย่างเดียว


ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมพรรคเพื่อไทยว่า พรรคเพื่อไทย มีมติสนับสนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เพื่อให้มีการนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนอย่างเดียว จะไม่นำพ.ร.บ.ปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี มาสอดไส้พิจารณารวมกัน แต่การเสนอกฎหมายของ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ไม่เกี่ยวกับพรรค

 

เรียบเรียงจากเว็บไซต์เดลินิวส์ เว็บไซต์ไทยรัฐ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Prachatai Eyes View: พื้นที่ชุมนุม - พื้นที่ชีวิต

Posted: 23 May 2013 02:39 AM PDT

Prachatai Eyes View: พื้นที่ชุมนุม - พื้นที่ชีวิต

กลุ่มผู้ชุมนุมขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม  หรือ พีมูฟ ยังต้องต่อสู้กับปัญหาความเดือดร้อนในหลายๆพื้นที่ โดยการรวมตัวของหลายๆเครือข่ายที่ประสบปัญหา ประกอบด้วยเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายสมัชชาคนจน และเครือข่ายชุมชนเพื่อปฏิรูปสังคมและการเมือง

หากมองจากภายนอกแล้ว เต้นวางระเกะรกะ ข้าวของวางไปทั่ว อาจจะเป็นภาพที่ไม่น่าดูในความรู้สึก  "ถ้าไม่เดือดร้อนจริงๆใครเขาอยากจะมากัน" ป้าเอียด หนึ่งในผู้ที่มาเข้าร่วมชุมนุมบอก ท่ามอากาศที่ร้อนอบอ้าว  ชาวบ้านหลายคนลุกขึ้นอาบน้ำ ที่ทางรัฐบาลจัดเตรียมไว้เพื่อคอยอำนวยความสะดวก แม้อาจจะไม่เป็นส่วนตัวนัก แต่ก็ช่วยให้คลายร้อนได้เป็นอย่างดี 

ชาวบ้านบางส่วน ต่างทำกับข้าวมื้อเย็น หลายคนเชิญชวนให้อยู่กินข้าวด้วยกัน ภายในที่ชุมนุมที่จัดสรรพื้นที่ให้แต่ละกลุ่มอยู่เรียงกันเป็นส่วนๆ  เด็กน้อยวิ่งเล่นไปมา คุณย่า คุณตา บางคนที่มีฝีมือในการถัก ต่างถักแห ถักสวิง เพื่อเอาไปใช้ ยามกลับบ้าน เสียงแคนดังแว่วลอยมา คนต่างล้อมวงกันตบมือเข้ากันจังหวะอย่างสนุกสนาน

ตอนค่ำ มีการแถลงการณ์ในแต่ละวัน มีวงดนตรีมาเล่นให้ชาวบ้านฟังเพื่อผ่อนคลาย ในแต่ละวันนั้น จะเป็นเวทีวัฒนธรรม สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เมื่อเสร็จสิ้นจากสียงดนตรี ชาวบ้านต่างเตรียมตัวนอน พื้นผ้าใบบางๆ ที่ไม่ต่างอะไรจากพื้น  หลายคนนอนกระสับกระส่าย  กลางคืนชาวบ้านยังเดินกันพลุกพล่าน

"กลางคืนมันก็ร้อน นอนไม่ได้ ตื่นกันตั้งแต่ตีสามตีสี่" เสียงจากชาวบ้านหลายๆคนบอกเป็นเสียงเดียวกัน

หากไม่ได้มาสัมผัส ก็คงไม่รู้ว่ามีคนที่ลำบากกว่าเราอีกมากชาวบ้านบางคนโดนฟ้อง หลายๆคนไม่มีพื้นที่ทำกิน การที่มาเข้าร่วมชุมนุม พวกเขาหวังแค่ว่า หากกลับไปแล้ว ปัญหาที่มีคงทุเลาลง

 

นปช.แจงหญิงสูงวัยตามหาลูกหายเหตุสลายชุมนุม 52 ประสานกระจกเงาช่วย

Posted: 23 May 2013 02:23 AM PDT

22 พ.ค.56 ที่ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงประจำสัปดาห์ โดยนายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษกนปช. กล่าวว่า นปช.ขอเเสดงความเสียใจกับเสื้อแดง 2 คนที่เสียชีวิตระหว่างร่วมชุมนุมรำลึก 3 ปี 19 พ.ค.ที่ผ่านมา คือ นายสุภาพ กุนชาติ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตขณะเดินทางมาจาก จ.มุกดาหาร เเละนางไข่กี วงษ์ราศี หัวใจวายเสียชีวิตที่บริเวณวัดปทุมวนาราม

ภาพจากเฟซบุ๊ก อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ

นางธิดา โตจิราการ ประธาน นปช. กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่ามีผู้หญิงสูงอายุถามหาลูกชายที่สูญหายไปในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ว่า ข่าว ดังกล่าวคลาดเคลื่อน ความจริงคือผู้ที่มาร้องเรียนกับ นปช. ชื่อนางอาจิน เสถียรธรรมกิจ อายุ 68 ปี อยู่บ้านเลขที่ 81 ซอยรามอินทรา 68 เขตคันนายาว กทม. แจ้งว่านายต่อพงศ์ เสถียรธรรมกิจ อายุ 35 ปี ลูกชายหายไปตั้งแต่เข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อเดือนเม.ย.2552 อยากให้ นปช.ช่วยตามหาให้ นางอาจินมาถามหาถึง 3 ครั้งแล้ว ดังนั้น จะประสานขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิกระจกเงาให้ช่วยตามหาอีกทางหนึ่ง

ส่วนนางธิดา กล่าวด้วยว่า นปช.ขอยืนยันเเถลงการณ์ 4 ข้อ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมาอีกครั้ง 1.ขอคารวะและสดุดีวีรชนที่พลีชีพในการต่อสู้อย่างสันติวิธี เพื่อทวงคืนอำนาจประชาชนให้ประเทศนี้กลับสู่วิถีประชาธิปไตย มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 2.เรียกร้องความยุติธรรมให้วีรชนและผู้ถูกปราบปรามบาดเจ็บ ทุพพลภาพ ผู้ที่ถูกคุมขังด้วยความ อยุติธรรม รัฐบาลต้องทำความจริงให้ปรากฏต่อสังคมไทยและสังคมโลก 3.ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชนในอดีต และต่อสู้เพื่อลูกหลานไทยในอนาคต และ 4.ต้องขจัดผลพวงจากการรัฐประหารปี 2549 และรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่เป็นธรรม

จากนั้นนางธิดาเปิดวีทีอาร์ลำดับเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. ถึงวันที่ 19 พ.ค.2553 โดยเนื้อหาของวีทีอาร์ระบุถึงขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร โดยอ้างจากบทความยุทธการกระชับวงล้อมราชประสงค์ ตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ ของกรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 พร้อมสรุปรายชื่อผู้เสียชีวิตจากการกระชับวงล้อมตั้งแต่วันที่ 14-19 พ.ค.2553 แบ่งตามเวลาและสถานที่ โดยนางธิดากล่าวว่า จะนำวีทีอาร์นี้ไปเปิดเผยสู่สังคมให้มากที่สุด

VTR  ยุทธการ "ยิงนกในกรง" พฤษภา 53

ขณะที่ นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลักฐานสำคัญเพื่อย้ำว่าคนเสื้อเเดงไม่ได้เผาเซ็นทรัลเวิลด์ ได้มาจากภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายที่นายเบิร์น เเมสเนอร์ อายุ 50 ปี นักวิทยาศาสตร์ชาว สวิตเซอร์แลนด์ ถ่ายไว้ขณะพักอาศัยอยู่กับภรรยาชาวไทย ที่ตึกเพรสซิเด้นท์ เพลส คอนโดมิเนียม ถนนเพลินจิต ฝั่งตรงข้ามห้างเซ็นทรัลเวิลด์ แต่นายเเมสเนอร์เสียชีวิตไปแล้ว โดยหลักฐานดังกล่าวนายเเมสเนอร์ระบุว่าอาศัยอยู่ที่ชั้น 23 เพรสซิเด้นท์ เพลส วันที่มีเหตุเพลิงไหม้เซ็นทรัลเวิลด์ เห็นเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมพื้นที่ไว้หมดแล้ว จากนั้นเห็นระเบิดที่บริเวณชั้น 8 ของห้าง มีเปลวไฟและกลุ่มควันดำพวยพุ่งออกมา ตามมาด้วยกลุ่มควันสีขาว นายเเมสเนอร์วิเคราะห์ว่าเป็นการระเบิดของน้ำมันเบนซิน

นพ.เหวงกล่าวว่า หากดูจากหลักฐานแวดล้อมต่างๆ พบว่าคนเสื้อแดงถูกสลายไปแล้ว และทหารคุมพื้นที่ไว้หมด แม้แต่ทีมดับเพลิงของ พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร ที่ปรึกษาอัคคีภัยของเซ็นทรัลเวิลด์ ก็ถูกทหารสกัดไม่ให้เข้าไปดับไฟ ตรงนี้ยืนยันได้ว่าคนเสื้อแดงไม่ได้เป็นฝ่ายเผาแน่นอน ดังนั้น จะนำหลักฐานทั้งหมดของนายแมสเนอร์ไปมอบให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ในวันที่ 27 พ.ค. เพื่อเป็นหลักฐานหาตัวมือเผาห้างที่แท้จริงต่อไป

 

เรียบเรียงจาก ข่าวสดรายวัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น