ประชาไท | Prachatai3.info |
- เสวนา "สถานการณ์ไทย-กัมพูชา หลังแถลงปิดคดีเขาพระวิหาร"
- ศาสตร์และไสยในพิธีแรกนาขวัญ: ข้อเสนอปรับเปลี่ยนในสมัยรัฐบาลคณะราษฎรยุคต้น
- จักรภพ เพ็ญแข: ทำไมต้องประกาศรางวัลนาฏราช วันที่19 พ.ค.56
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "จำอวด โก(6)อินเตอร์"
- บอร์ด สปสช. ตั้งอนุธรรมาภิบาลเน้นบริหารหลักประกันสุขภาพโปร่งใส เสมอภาค
- "เครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาล" จัดกิจกรรม "รวมพลังเยาวชนทั่วประเทศ"
เสวนา "สถานการณ์ไทย-กัมพูชา หลังแถลงปิดคดีเขาพระวิหาร" Posted: 12 May 2013 02:28 PM PDT 30 เม.ย.56 ที่ผ่านมา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนารัฐศาสตร์ภาคประชาชน หัวข้อ "สถานการณ์ไทย-กัมพูชา หลังแถลงปิดคดีเขาพระวิหาร" ที่ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ประชาไทขอนำเสนอการอภิปรายที่น่าสนใจของ ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬา รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข และ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาสตร์และไสยในพิธีแรกนาขวัญ: ข้อเสนอปรับเปลี่ยนในสมัยรัฐบาลคณะราษฎรยุคต้น Posted: 12 May 2013 10:35 AM PDT หลังการสละราชสมบัติของพระปกเกล้า รัฐบาลคณะราษฎรเข้าไปจัดการกิจการราชสำนักได้ในหลายเรื่อง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมากขึ้น กระทรวงวังถูกลดฐานะลงเป็นสำนักพระราชวังและอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของนายกรัฐมนตรี การเข้าไปจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดย คณะกรรมการพิจารณาเรื่องทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ภายใต้อำนาจของพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 นำมาสู่การตรากฎหมายที่ทำให้การจัดการทรัพย์สินกษัตริย์อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในกรณีของพิธีแรกนาขวัญที่รัฐบาลพยายามปรับเปลี่ยนมาหลายครั้ง ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เดือนมกราคม 2478 พระสารสาสน์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่ารัฐบาลไม่ควรยกเลิกพิธีแรกนาขวัญ แต่ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยให้ข้าหลวงทุกๆ จังหวัดจัดพิธีแรกนาขวัญเป็นกุศโลบายในการแจกจ่ายพันธุ์ข้าวที่รัฐบาลต้องการเผยแพร่แก่ชาวนา เพื่อให้ชาวนาหันมานิยมพันธุ์ข้าวของรัฐบาล เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนำเรื่องเข้าพิจารณา หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เสนอว่า พิธีแรกนานั้นเห็นควรเลิก แต่ควรสนับสนุนการประกวดพันธุ์ข้าว เช่นเพิ่มเงินรางวัลให้มากขึ้นอีก[1] ไม่พบว่าคณะรัฐมนตรีมีการอภิปรายข้อเสนอของหลวงธำรงฯ อย่างไร เราทราบเพียงที่ประชุมตกลงว่า รัฐบาลมีนโยบายในการชักจูงให้ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวของรัฐบาลอยู่แล้ว "แต่ไม่ใช่โดยวิธีทำพิธีแรกนาขวัญ ให้ใช้วิธีประกวดพันธุ์ข้าว" ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทำให้กระทรวงเกษตราธิการสับสน คิดว่ารัฐบาลได้ยกเลิกพระราชพิธีแรกนาขวัญไปแล้ว เมื่อถึงเวลาที่จะมีพระราชพิธีจึงไม่มีงบประมาณสำหรับดำเนินการ อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีแรกนาขวัญประจำปี 2479 ก็ยังคงจัดขึ้นในลักษณะเดิม ต่อมา กลางปี 2479 พระยาฤทธิอัคเนย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการคนใหม่ ได้จัดทำ "บันทึกหลักการเรื่องพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ตามความเห็นของข้าพเจ้าเห็นว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ถึงจะเป็นพิธีโบราณทางไสยศาสตร์ก็ตาม แต่ก็มีประโยชน์สำหรับครั้งกระนั้น และถ้าได้มีการแก้ไขเสียใหม่โดยเอางานประกวดกสิกรรมเข้าแซกด้วย ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นอีกมาก[2] บันทึกของพระยาฤทธิอัคเนย์กล่าวว่า พระราชพิธีแรกนาขวัญเป็นเครื่องมือของรัฐบาลสมัยโบราณในการปลุกขวัญชาวนา และเพื่อเตือนชาวนาว่าได้เวลาทำนาแล้ว "ความจริงพิธีทางไสยศาสตร์นี้นับว่าเป็นของจำเป็นในสมัยกระนั้น เพราะเป็นสมัยที่การศึกษายังไม่เจริญและก็เป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะชักจูงราษฎรให้เชื่อถือและนิยม" และแม้ว่าในเวลานั้น (พ.ศ.2479) การศึกษาของประเทศจะยังไม่เจริญถึงขั้นที่ต้องเลิกพิธีไปเสียก็ตาม แต่ก็ควรปรับปรุงให้เหมาะสม คือ ให้ทุกจังหวัดจัดงาน 3-4 วันโดยเนื้อหาหลักของงานเป็นการประกวดกสิกรรม อุตสาหกรรม และหัตถกรรม มีพิธีแรกนาขวัญในวันเริ่มต้น และให้สามัญชนเป็นผู้แรกนา อาจจะเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้ที่ราษฎรในจังหวัดให้ความนับถือ หรือผู้ที่มีความรู้ได้รับรางวัลในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้คณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำเนื้อหาอย่างละเอียดต่อไป จะเห็นได้ว่านี่เป็นข้อเสนอที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับบันทึกของกระทรวงเศรษฐการเมื่อปี 2477 นั่นเอง เมื่อเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พระยาพหลฯ แย้งว่า พระราชพิธีแรกนาขวัญควรทำเฉพาะในกรุงเทพเท่านั้น ที่ต่างจังหวัดควรให้จัดเพียงการประกวดกสิกรรม "เพราะถ้าปล่อยให้ตามจังหวัดทำพิธีแรกนาขวัญอาจจะเกิดมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมขึ้นได้" ที่ประชุมเห็นตามนายกรัฐมนตรี ให้มีพิธีแรกนาขวัญเฉพาะในกรุงเทพ ส่วนต่างจังหวัดให้มีเฉพาะงานประกวด โดยให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล เทศบาลใดไม่พร้อมก็ให้จังหวัดช่วยเหลือ ส่วนข้อเสนอเรื่องผู้เป็นประธานในการแรกนานั้น ที่ประชุมเห็นด้วยกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ที่เสนอให้ปรึกษาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสียก่อน "เพราะเกี่ยวกับพระราชพิธี ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ทรงทักมาเกี่ยวกับเรื่องผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีนี้"[3] ท่านวรรณทรงหมายถึงกรณีเมื่อ 2 ปีก่อนนั่นเอง ไม่กี่วันหลังจากนั้น ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์ ทำหนังสือแจ้งผลการหารือกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทราบแล้ว มีบัญชาว่า การที่คิดจะดัดแปลงดังที่ได้เสนอไปนั้น เป็นความคิดที่ดีและเหมาะด้วยประการทั้งปวง ส่วนที่หารือเรื่องผู้เป็นประธานในงานนี้นั้น เห็นว่าข้าหลวงประจำจังหวัดควรจะเป็นประธาน อนึ่ง เนื่องจากงานได้เปลี่ยนแปลงไปดังนี้แล้ว มีบัญชาใคร่จะทราบว่าจะคงเป็นงานเสด็จพระราชดำเนินเช่นเดิม หรือจะควรแก้ไขอย่างใด[4] สิ่งที่คณะรัฐมนตรีตอบคณะผู้สำเร็จราชการ สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลในขณะนั้นมีทัศนคติต่อพระราชพิธีแรกนาขวัญแบบเดิมอย่างไร ๒๔. เรื่องการทำพิธีแรกนาขวัญ (เนื่องจากรายงานประชุมครั้งที่ ๔๔/๒๔๗๙ ข้อ ๒) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอว่า ราชเลขานุการในพระองค์รายงานว่า ได้นำมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการทำพิธีแรกนาขวัญซึ่งกระทรวงเกษตราธิการดำริแก้ไขขึ้นเสนอคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทราบแล้ว มีบัญชาว่าการที่คิดจะดัดแปลงนั้น เป็นความคิดที่ดีและเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง และเห็นควรให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธานในงานนี้ อนึ่งใคร่ขอทราบต่อไปว่าเมื่อได้เปลี่ยนแปลงไปดั่งนี้แล้ว จะคงเป็นงานเสด็จพระราชดำเนินเช่นเดิม หรือจะควรแก้ไขอย่างใด ที่ประชุมตกลงว่าในจังหวัดพระนครและธนบุรีไม่ควรมีงานพระราชพิธีทางไสยศาสตร์อย่างเคย แต่ควรมีพิธีเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยหวังที่จะปลุกใจประชาชนให้นิยมไปในทางนั้น ฉะนั้นก็ไม่มีงานเสด็จพระราชดำเนินเช่นเดิมเป็นทางราชการ[5] หลังจากทราบมติคณะรัฐมนตรี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ถามกลับมาอีกว่า "เมื่อไม่ได้กำหนดเป็นงานเสด็จพระราชดำเนินเป็นการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว ทางสำนักพระราชวังก็ไม่มีการเกี่ยวข้องที่จะต้องจัดทำอย่างใดทั้งในทางไสยศาสตร์ และทางพุทธศาสนาด้วย ทั้งนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่"[6] นายดิเรก ชัยนาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี สั่งให้เจ้าหน้าที่ตอบกลับไปว่า "ที่วังซ้อมความเข้าใจมาถูกแล้ว"[7] จะเห็นได้ว่า ในทัศนะของผู้นำรัฐบาลสมัยนั้น ลักษณะที่เป็น "ไสยศาสตร์" ของพิธีแรกนาขวัญ ก็คือพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนักนั่นเอง เมื่อรัฐบาลตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะเป็น "วิทยาศาสตร์" พิธีแรกนาขวัญจึงไม่ใช่งานเสด็จพระราชดำเนินและไม่เกี่ยวข้องกับราชสำนักอีกต่อไป พิธีแรกนาขวัญที่รัฐบาลสร้างขึ้น ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้แรกนา จะทำการไถคราดและหว่านข้าวโดยใช้พันธุ์ข้าวที่รัฐบาลต้องการเผยแพร่ และมีการประกวดพันธุ์ข้าวเพิ่มเข้ามา ในขณะที่ "พิธีทางไสยศาสตร์เดิม ตัดหมด" ซึ่งน่าจะหมายถึง การเสี่ยงทายต่างๆ ทั้งพระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่ง และเสี่ยงทายของกินพระโค นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่รัฐบาลต้องการใช้ประโยชน์จากความเชื่อเดิมของชาวนา จึงได้กำหนดให้ประธานในพิธีแรกนาขวัญ "แต่งกายอย่างพระยาแรกนาขวัญ มีกระบวนเครื่องยศและเกียรติยศอย่างประเพณีเดิม" และได้ "ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยืมเครื่องยศและกระบวนเครื่องเกียรติยศสำหรับผู้เป็นประธานแรกนาขวัญ" จากทางสำนักราชเลขานุการในพระองค์ พิธีแรกนาขวัญของปีนั้นจัดรวมกับงานปีใหม่ เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2479 ถึง 1 เมษายน 2480 พิธีแรกนามีเฉพาะในพระนครและธนบุรี ส่วนการประกวดพันธุ์ข้าวจัดทั่วประเทศและผู้ชนะแต่ละจังหวัดมาประกวดอีกครั้งในพระนคร พิธีแรกนาขวัญจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญอีกครั้ง เมื่อหลวงพิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และบุคคลอย่าง หลวงวิจิตรวาทการ เข้ามามีบทบาทในงานด้านวัฒนธรรมของรัฐบาล ซึ่งต้องเก็บไว้เล่าในโอกาสต่อไป [1]รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 110/2478 วันที่ 22 มกราคม 2478 [2]หนังสือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ถึง นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 17 กันยายน 2479 [3]รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 44/2479 วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2479 [4][4]หนังสือราชเลขานุการในพระองค์ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2479 [5]รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 51/2479 วันพุธที่ 14 ตุลาคม 2479 [6]หนังสือเลขาธิการพระราชวัง ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2479 [7]คำสั่งลายมือนายดิเรก ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2479
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จักรภพ เพ็ญแข: ทำไมต้องประกาศรางวัลนาฏราช วันที่19 พ.ค.56 Posted: 12 May 2013 10:15 AM PDT เห็นโฆษณางานรางวัล "นาฏราช" ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นในอีก 7 วันข้างหน้าแล้วก็นึกถึงควา เพราะงานนี้จงใจจัดขึ้นในวั หรือฆ่าเขาแล้วยังไม่หนำใจ ต้องลากศพเขามาทำร้ายซ้ำแล้ ความจริงก็เข้าเค้า เพราะเหตุการณ์ทั้งสองนี้เป็นเสมือนภาพยนตร์โดยผู้กำกั อย่ามาอ้างครับว่า งานนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเ กรรมการจัดงาน "นาฏราช" มีอยู่นับสิบคน ไม่มีใครสักคนล่ะหรือที่เป็ หรือมีใครที่สั่งการ แนะนำ กดดัน บีบคั้นอะไรลงมา เพื่อให้งานนี้ทำหน้าที่ลบค ใครสักคนต้องตอบสาธารณชนว่า ก็งานนาฏราชนี้เอง ที่นายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงได้ขึ้นมาตะโกนไล่ ใครรู้จักใครฝากถามด้วยครับ ประธานและกรรมการงาน "นาฏราช" เขามีความคิดอันลึกซึ้งของเ สถานีโทรทัศน์ที่จะถ่ายทอดส บรรดาผู้สนับสนุนการจัดหรือ ศิลปินและคนที่ไม่ใช่ศิลปิน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "จำอวด โก(6)อินเตอร์" Posted: 12 May 2013 09:29 AM PDT |
บอร์ด สปสช. ตั้งอนุธรรมาภิบาลเน้นบริหารหลักประกันสุขภาพโปร่งใส เสมอภาค Posted: 11 May 2013 09:43 PM PDT 12 พ.ค. 56 - อนุกรรมการธรรมาภิบาล ภายใต้บอร์ด สปสช.จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีตั้งเป้าให้มีการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ยึดแนวทางหลักธรรมาภิบาล 10 ด้านของ กพร. เช่น โปร่งใส เสมอภาค นิติธรรม มีส่วนร่วม กระจายอำนาจ มุ่งเน้นฉันทมติ เหตุดำเนินงานหลักประกันสุขภาพเกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก ต้องยึดถือผลประโยชน์ประชาชนสูงสุด ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ประธานคณะอนุกรรมการธรรมาภิบาล ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ธรรมาภิบาล ให้ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คณะอนุกรรมการธรรมาภิบาลได้มีการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 5 ปี (2555-2559) โดยตั้งเป้าหมายว่าให้มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นแบบอย่างและได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ยึดหลักธรรมาภิบาล 10 ด้านของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.) คือ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส การตอบสนอง สำนึกรับผิดชอบ นิติธรรม การกระจายอำนาจ ความเสมอภาค และการมุ่งเน้นฉันทมติ ประธานคณะอนุกรรมการธรรมาภิบาล กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ข้อ คือ 1.กำหนดประมวลจริยธรรมและติดตามให้เกิดผลในทางปฏิบัติ 2.สร้างและพัฒนาเกณฑ์ชี้วัด ระบบการตรวจสอบ กำกับติดตาม และประเมินผลจากหลักธรรมาภิบาล เพื่ออภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพให้มีความยั่งยืน 3.ส่งเสริมให้มีการสร้างจิตสำนึกและคุณค่าด้านธรรมาภิบาลแก่ผู้เกี่ยวข้องและนำไปปฏิบัติ 4.จรรโลงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ยั่งยืนด้วยหลักธรรมาภิบาล เช่น การยกย่องบุคคลและหน่วยงานดีเด่นในด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างโปร่งใส ศ.ดร.สุนีย์ กล่าวว่า การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ผู้กำหนดนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลทั่วประเทศ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัย สปสช. และบอร์ดสปสช.ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน การมีระบบธรรมาภิบาลที่ดีจะทำให้การบริหารงานหลักประกันสุขภาพเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ยึดถือประโยชน์ของประชาชนสูงสุด และปลอดจากการแทรกแซงของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"เครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาล" จัดกิจกรรม "รวมพลังเยาวชนทั่วประเทศ" Posted: 11 May 2013 09:23 PM PDT
เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมาเครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาล (Role of Youth in Strengthening Democracy and Governance) จัดกิจกรรมรวมพลังเยาวชนทั่วประเทศ ประกอบด้วย เครือข่ายเยาวชนกลุ่มแว่นขยาย จังหวัดอุบลราชธานี ชมรมหมอลำการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่ม New Seed จังหวัดขอนแก่น กลุ่มวันใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย กลุ่ม U-Right กลุ่มเยาวชนสยามอารยะ กรุงเทพมหานคร กลุ่มลูกเหรียงและเครือข่ายสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นสังคมให้เป็นสังคมแห่งธรรมาภิบาลตามวิถีประชาธิปไตย วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาลได้ร่วมกันเรียนรู้กระบวนการใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูล และการรณรงค์ประเด็นขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในโลกออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเรียนรู้กระบวนการทำ Infographic และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 เครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาลได้จัดเวทีการเสนาเพื่อการแกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่แต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่าง ตัวแทนเล่าประสบการณ์ประกอบด้วย ตัวแทนจากกลุ่ม New Seed กลุ่มลูกเหรียง กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย และคุณเชษฐา ทรัพย์เย็น อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์ และกรรมการหลักสูตรสาขาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีตัวแทนได้สะท้อนมุมมองและประสบการณ์ให้กับเครือข่ายนำมาปรับใช้ในการทำงานประเด็นที่แตกต่าง ตัวแทนจากกลุ่มลูกเหรียงได้เล่าถึงความตั้งใจของกลุ่มที่อยากพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดสันติภาพ พร้อมทั้งเล่าถึงปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในระหว่างการทำงานที่ต้องรับแรงเสียดทานจากหลายด้าน ทั้งกฎหมาย งบประมาณ กระบวนการ และพื้นที่ที่มีความท้าทาย ตัวแทนจากกลุ่ม New Seed ได้เล่าถึงประสบการกลุ่มที่มีประเด็นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งเล่าว่านอกจากการทำงานของสมาชิกภายนกลุ่มยังมีการร่วมทำงานกับเครือข่ายในจังหวัดอื่น อาทิ จัดงานต่อต้านคอร์รัปชั่นร่วมกับกลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทยที่กรุงเทพมหานคร และการจัดค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นร่มกับกลุ่มแว่นขยายที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นต้น และกล่าวถึงการทำงานพัฒนาว่า "จะหยุดงานพัฒนาก็ต่อเมือหมดลมหายใจ" ตัวแทนจากกลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทยได้ประสบการณ์การทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุเทพมหานครที่ได้เริ่มต้นในช่วงการรัฐประหารช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในปี 2549 ที่ให้เกิดแรงกระตุ้นให้ลุกขึ้นมาทำงานสายพัฒนา และมองว่าแม้จะเป็นเยาวชนก็สามารถผลักดันและขับเคลื่อนงานสังคมไม่แพ้องค์กรผู้ใหญ่หลายองค์กร คุณเชษฐา ทรัพย์เย็น กล่าวถึงตัวอย่างคนรุ่นใหม่ที่ทำงานอาสาสมัครในการทำงานพัฒนา พร้อมทั้งเล่าถึงปัญหาการทำงานพัฒนาที่ต้องอาศัยความท้าทาย ปัญหา และเป้าหมาย โดยการทำงานสายนี้จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน หากมีส่วนในการพัฒนาให้สังคมดีขึ้นก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจน่าสนับสนุนให้มีนักพัฒนา และทิ้งแง่คิดดีๆว่า "หากเราสามารถต่อต้านสิ่งเร้ารอบข้างและเห็นคุณค่าส่วนรวมมากกว่าจะทำให้เราเกิดความสุขใจ สุขกาย ที่ได้ทำเพื่อส่วนรวม" ต่อด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณวิเชียร พงศธร ประเด็น "คุณค่างานภาคประชาสังคมในประเทศไทย" ที่เล่าถึงการทำงานขององค์กรเอกชนในการคืนผลกำไรให้กับสังคม ที่องค์กรเอกชนมีการรวมตัวกันเพื่อการผลักดันให้เกิดการทำงานด้าน CSR ที่เป็นส่วนสำคัญขององค์กรเอกชนที่ผลักดันและเชิญชวนให้เกิดผลประโยชน์กลับคืนสู่ผู้บริโภคที่คู่ขนานกับการทำธุรกิจที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว และเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้ได้ทุกวันและมีแนวโน้มที่จะเกิดความเข้มแข็ง ธรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะเสมอที่ไม่หลอกลวงหรือสร้างภาพในสังคม นอกจากนี้เราต้องพิจารณาถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งจะทำให้โอกาสการทำงานธุรกิจเพื่อสังคมจะเป็นกระแสที่นำไปสู่การรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และเชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้เห็นการทำธุรกิจเพื่อสังคมในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคม ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้บรรยายพิเศษประเด็น "เยาวชนกับความท้าทายขอการมีส่วนร่มในงานภาคประชาสังคม" ดร.เกรียงศักดิ์ เล่าถึงหนังสือกับการอ่าน การเขียน ที่จะนำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาสังคม และกล่าวถึงเป้าหมายในชีวิตซึ่งมีอยู่อย่างเดียว คือ "การอยากเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี" บ้านเมืองนี้คนต้องไม่เสียเปรียบเท่าเทียมกัน โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบการอ่านผลงานของนักปราชญ์ที่เขียนคติที่เปลี่ยนความคิด ทำให้เป็นเหตุให้เลือกทำสิ่งที่ฉลาดในการจัดแจงตนเองที่จะใช้ให้มีค่ามีประโยชน์ ซึ่งทราบว่าทำเองคนเดียวลำบากจึงเกิดการร่วมมือกับมิตรที่เป็นผู้มีอุดมการณ์ชีวิต เพื่อการทวีคูณและขยายวงให้เป็นวงกว้างให้เกิดพลังมหาศาลที่จะทำให้เกิดการเดินไปข้างหน้า นอกจากนี้เครือข่ายเยาวชนส่งเสริมธรรมาภิบาลได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายพลังเยาวชนไทยเพื่อสังคมธรรมาภิบาล" การนำเสนอ แนวคิดโดยคณะผู้แทนกลุ่มเยาวชน" และผู้นำเยาชน เพื่อหารือถึงแนวทางการทำงานร่วม และการขับเคลื่อนเครือข่ายพลังเยาวชนไทยเพื่อสังคมธรรมาภิบาลเพื่อนำประสบการณ์กลับไปพัฒนางานในแต่ละพื้นที่ต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น