ประชาไท | Prachatai3.info |
- Science Space : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และปรัชญาการเมือง
- อลงกรณ์ พลบุตร
- 'กูเกิล' ใช้คำว่า 'ปาเลสไตน์' แทน 'ดินแดนปาเลสไตน์' แล้ว
- 3 ขบวนเรียกร้องในวันแรงงาน นายกย้ำความสุขคนงานคือความสุขประเทศ
- องค์กรสื่อชูธง 'เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม' หวังลดความขัดแย้งในสังคม
- พรรคฝ่ายค้านปราศรัยที่ปีนัง เรียกร้องได้เวลา "Ubah" เปลี่ยนมาเลเซีย
Science Space : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และปรัชญาการเมือง Posted: 04 May 2013 12:37 PM PDT รายการ Science Space เทปนี้สนทนากันเรื่องความสัมพันธ์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการก่อรูปความคิดทางปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ในหัวข้อ 'วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และปรัชญาการเมือง' โดยหยิบยกกรณี 'พรรคกรีน' ในเยอรมันที่ประสบความสำเร็จในการนำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นปรัชญาและการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปทำหน้าที่ผู้แทนในสภา เช่นเดียวกับพรรคโจรสลัดหรือ 'Pirate Party' ในสวีเดน ที่นำประเด็นเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การต้านกฎหมายลิขสิทธิ์ และการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์มาเป็นปรัชญาและการเคลื่อนไหวในระบบการเมือง โดยผู้สมัครของพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในระดับท้องถิ่น และกระแสพรรคโจรสลัดก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปและอีกหลายประเทศ พบกับ ดร.จิตติพร ฉายแสงมงคล ผู้ที่สนใจติดตามการเมืองของพรรคกรีนเยอรมันและพรรคไพเรต และ รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ นักวิชาการปรัชญาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ นักนวัตกรรมและอนาคตศาสตร์ จาก บ.โนวิสคเป คอนซัลติ้ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
Posted: 04 May 2013 08:49 AM PDT ประชาธิปัตย์ ต้องไม่ถูกมองว่าดีแต่ปาก เก่งแต่พูด เราต้องสร้างประเทศด้วยงาน นำพรรคกลับมาสู่อ้อมกอดของประชาชน ไม่อิงแอบเผด็จการอีกต่อไป เพราะเราเป็นตัวแทนของคนทุกชนชั้น เพราะประชาธิปัตย์ หลังพิงฝากับเผด็จการมาโดยตลอด จุดยืนนี้จึงจะสร้างศรัทธาในใจประชาชนได้ เมื่อเราคิดเก่ง ทำเก่ง บริหารจัดการเก่ง เราจะชนะพรรคเพื่อไทยเอง 4 พ.ค.56, รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับระบบไพรมารี่และคอคัส" | ||
'กูเกิล' ใช้คำว่า 'ปาเลสไตน์' แทน 'ดินแดนปาเลสไตน์' แล้ว Posted: 04 May 2013 04:54 AM PDT กูเกิล เปลี่ยนมาใช้คำว่า ปาเลสไตน์ (Palestine) แทนคำว่า "ดินแดนปาเลสไตน์" (Palestinian Territories) ในผลิตภัณฑ์และบริการทุกชนิดของตัวเอง โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นมา หน้าของกูเกิลปาเลสไตน์ http://www.google.ps/ ได้แสดงคำว่า "Palestine" ในภาษาอารบิกและภาษาอังกฤษไว้ใต้โลโก้ของกูเกิล ก่อนหน้านี้ เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลงมติให้ปาเลสไตน์มีสถานะเป็นรัฐสังเกตการณ์ที่ไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ (non-member observer state) ด้วยเสียง 138 ต่อ 9 โดยมีประเทศที่ไม่เห็นด้วย เช่น อิสราเอลและสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น องค์กรที่ดูแลเรื่องมาตรฐานและการตั้งชื่อนานาชาติ ก็ทยอยเปลี่ยนวิธีเรียกชื่อปาเลสไตน์ โดยถือว่าเป็น "รัฐ" จากเดิมมีสถานะเป็น "ดินแดน" ตามที่สหประชาชาติยอมรับ องค์กรดังกล่าวเช่น ISO ที่ดูแลมาตรฐาน ISO 3166 ซึ่งระบุชื่อและรหัสประเทศ และ ICANN ที่ดูแลชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ต
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
3 ขบวนเรียกร้องในวันแรงงาน นายกย้ำความสุขคนงานคือความสุขประเทศ Posted: 04 May 2013 03:46 AM PDT แรงงานยื่น 11 ข้อเรียกร้องประจำปี 56 พร้อม 4 ข้อเรียกร้องแรงงานนอกระบบ นายกรับข้อเสนอ ย้ำความสุขของคนงานคือความสุขของประเทศ รมว.แรงงานแจงความคืบหน้าข้อเรียกร้องปี 55 สมานฉันท์แรงงานไทย – สรส. แยกขบวนเดินไปทำเนียบ กรรมการแดงร้องปล่อยนักโทษการเมือง สร้างประชาธิปไตยทางการเมือง-เศรษฐกิจ
1 พ.ค.56 ที่สนามหลวง กระทรวงแรงงานร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2556 โดยใช้คำขวัญ "แรงงานไทยสามัคคี สดุดีองค์ราชัน ก้าวทันประชาคมอาเซียน" ได้เคลื่อนริ้วขบวนเทิดพระเกียรติ 85 พรรษา โดยกลุ่มข้าราชการ และริ้วขบวนผู้ใช้แรงงาน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. จากลานพระบรมรูปทรงมาผ่านถนนราชดำเนินสู่ท้องสนามหลวง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รมว.แรงงาน แถลงความคืบหน้าข้อเรียกร้องปี 55 เวลา 11.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเปิดงาน โดยมี นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวชี้แจงผลการดำเนินงานตามข้อเรียกร้องของคนงานเมื่อปีที่ผ่านมาว่า
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2556 ยื่น 11 ข้อเรียกร้องประจำปี 56 นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2556 กล่าวถึงข้อเรียกร้องประจำปีนี้ว่าประกอบดัวย
นายกรัฐมนตรีรับข้อเรียกร้องของแรงงาน แรงงานนอกระบบร่วมยื่น 4 ข้อเรียกร้อง หลังจากนั้นนายชินโชติ ได้ยื่นขอเรียกร้องกับนายกรัฐมนตรี โดยมี นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ร่วมยื่นข้อเรียกร้องด้วย ซึ่งประกอบด้วย 1.ในเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังต้องเร่งดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจแห่งรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2550 มาตรา 84 (4) คือ จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพแก่ประชาชน และ เจ้าหน้าที่รัฐอย่างทั่วถึง และให้ประชาชนจำนวนมากที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญใดๆมีโอกาสออมเงินสะสม ไว้เป็นหลักประกันในยามสูงวัย ทั้งนี้กระทรวงการคลังต้องจัดการดำเนินการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออม แห่งชาติ (กอช.) 2.ขอให้คณะกรรมการบริหารประกันสังคม ต้องมีตัวแทนแรงงานนอกระบบเข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร เช่นเดียวกับสมาชิกที่เป็นแรงงานในระบบ(มาตรา 33) 3.กระทรวงแรงงาน ต้องเร่งออกประกาศกฎกระทรวงตาม พรบ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 4.รัฐต้องพัฒนากลไกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีเรื่องอาชีวอนามัยคุ้มครองแรงงานนอกระบบอย่างทั่วถึง นายกรับข้อเสนอ ย้ำความสุขของคนงานคือความสุขของประเทศ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวหลังรับข้อเรียกร้องด้วยว่า "วันนี้ไม่ใช่เป็นแค่วันสำคัญของประเทศไทย แต่วันนี้เป็นวันแรงงานของทั่วโลก เพราะว่าทุกท่านเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ามีส่วนในการสร้างเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ามายาวนาน" รัฐบาลมองเห็นว่ายังมีหลายประเด็นที่จะต้องติดตามและเฝ้าระวังแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ประกอบด้วย
นายกรัฐมาตรีกล่าวด้วยว่าในอนาคตเรายังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โครงการใหญ่ๆ นั่นหมายถึงการที่เราต้องการผู้ใช้แรงงานในหลายๆ สาขาอาชีพโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านลาน จะกระจายการใช้แรงงานทั่วประเทศ นี่เป็นส่วนหนึ่งในการที่เราจะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาษาอังกฤษ การสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน จะให้มีการตั้งคณะทำงานในการบูรณาการความต้องกา ปัญหาแรงงานทั้งในและนอกระบบ และสวัสดิการต่างๆ จึงมอบภารกิจตรงนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการเข้ามาดูแล เราได้ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้คนละไม่ต่ำว่า 300 บาท ถือว่าเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน แต่เชื่อว่าถ้าพัฒนาฝีมือมาก ประสิทธิภาพมากก็จะได้มากและผู้จ้างงานก็เต็มใจที่จะจ่ายตามที่เราปรารถนา นอกจากนั้นภาครัฐยังมีมาตรการส่วนหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการมีรายได้ที่ดีก็จะสามารถดูแลสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน เราได้มีการดูแลผลกระทบจากการปรับค่าจ้างคู่ไปด้วยเช่นกัน เช่นการลดภาระกองทุนประกันสังคม การเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs รวมถึงมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษีต่างๆ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการมีปัญหากิจการอันจะส่งผลกระทบต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงาน "สำหรับด้านสุขภาพนั้นเราได้บูรณาการ 3 กองทุนเข้าด้วยกัน เป็นการบูรณาการเพื่อให้กองทุนสวัสดิการของข้าราชการ กองทุนประกันสังคมและกองทุนประกันสุขภาพนั้น ได้ดูแลพี่น้องคนงานทุกคนอย่างเสมอภาพ และเป็นมาตรการขั้นต่ำที่ควรจะดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทุกคน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินจากที่ต้องรอในการที่จะสอบถามสิทธิ แต่เราถือว่าความเจ็บป่วยของประชาชนมีความสำคัญต้องได้รับการดูแลและรักษา โดยเฉพาะในการเจ็บป่วยสาหัสถึงแก่ชีวิตนั้นต้องรักษาชีวิตเป็นอันดับแรก รวมถึงคุณภาพในการรักษาพยาบาลด้วย เราตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมเป็นศูนย์ช่วยเหลือ One Stop Service เป็นศูนย์ชื่อเหลือประชาชนทุกคน ผู้ใช้แรงงาน จะเป็นศูนย์ที่คอยช่วยเหลือหากได้รับการดูแลอย่างไม่เป็นธรรม ศูนย์นี้จะบูรณาการอย่างครบวงจรที่จะช่วยเหลือ เราบูรณาการทั้งหมด 20,000 กว่าศูนย์ที่จะเป็นจุดรับเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือกระทรวงมหาดไทย เราจะเริ่มพัฒนาราว 2 เดือนข้างหน้า สำหรับแรงงานนอกระบบนอกจากผู้ที่มาลงทะเบียนจำนวนมาก ยังรวมถึงผู้ที่ยังไม่มาลงทะเบียน เราอยากได้ข้อมูลเพื่อที่จะร่วมกันช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานนอกระบบให้สามารถมีหลักประกันการดำเนินชีวิตและลดความเหลือมล้ำเป็นสิ่งที่ภาครัฐไม่เคยมองข้าม แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศจะเร่งความช่วยเหลือในการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายและมาตรฐานสำคัญต่างๆ เรามีความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐเพื่อความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายของแรงงานด้วย รัฐได้มีการจัดโรงงานสีขาวเพื่อให้โรงงานนั้นเป็นมิตรต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือคอยดูแลสวัสดิภาพของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน สุดท้ายนายกรัฐมนตรีรับปากด้วยว่ารับข้อเสนอทั้งหมดในการที่จะประสานงานและปรับปรุงในส่วนของโรงงานต่างๆ เพื่อให้มีสวัสดิการต่างๆ เขาใจในฐานะที่เป็นผู้หญิงว่าแม่ย่อมอยากอยู่ใกล้ชิดกับลูก กำลังใจในการทำงานก็อยู่ที่ลูก ดังนั้นจะรับเรื่องนี้ไปในการติดตามรวมถึงข้อเสนอทั้งหมด และขอฝากท่านรัฐมนตรีและคณะกรรมการที่จะช่วยกันเป็นแกนกลางในการประสานประโยชน์และความสุข สวัสดิการ การคุ้มครองพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ทั้งในและนอกระบบ ดังนั้นความสุขของท่านก็คือความสุขของประเทศที่จะพัฒนาไปด้วยกัน
สมานฉันท์แรงงานไทย – สรส. แยกขบวนเดินไปทำเนียบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้รวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภาในช่วงเช้าและเดินขบวนไปยังด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลและตั้งเวทีที่บริเวณประตู 5 และจัดกิจกรรมรำลึกถึงวันกรรมกรสากลสลับกับการปราศรัย โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้
ภาพกิจกรรมองค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มปฎิญญาหน้าศาล โดย Dee Yaowapa กรรมการแดงร้องปล่อยนักโทษการเมือง สร้างประชาธิปไตยทางการเมือง-เศรษฐกิจ องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ร่วมเดินขบวนรณรงค์กับผู้ใช้แรงงาน โดยสวมหน้ากากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังตามกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือ กฎหมายอาญา มาตรา 112 เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง แก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ได้มีข้อเรียกร้องทางการเมืองและเศรษฐกิจประกอบด้วย อำนาจประชาธิปไตยทางการเมือง นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง รัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง องค์กรอิสระต้องปฏิบัติหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างเที่ยงธรรม ในการเลือกตั้ง ผู้ใช้แรงงานต้องได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในสถานประกอบการ อำนาจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ต้องมีหลักประกันคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ สิทธิการจัดการหลักประกันสังคมต้องตอบสนองต่อผู้ใช้แรงงานทุกกรณีตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต ค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ในสถานประกอบการประเภทเดียวกันต้องมีบรรทัดฐานเดียวกัน อำนาจประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม รัฐต้องจัดการศึกษาฟรีทุกระดับรัฐต้องส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ – รัฐต้องส่งเสริมวันประเพณีท้องถิ่นทุกประเภท เพื่อต้องการสร้างสังคมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน ตามหลักการ สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
องค์กรสื่อชูธง 'เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม' หวังลดความขัดแย้งในสังคม Posted: 04 May 2013 12:43 AM PDT วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมสิทธิเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) โดยในงานมีทั้งการกล่าวไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน การอ่านแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก และการเสวนาเรื่อง "เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม" โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันต์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผศ.วลักษณ์กมล จ่างกลม คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สมาคมนักข่าวฯ ชูธง 'เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม' มุ่งรณรงค์ลดภาวะความขัดแย้งในสังคม 1. ประชาชนและสื่อมีเสรีภาพในการแสดงออก ปราศจากการแทรกแซง คุกคาม ในขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพไปคุกคามการใช้เสรีภาพของบุคลอื่น ภายใต้หลักการ "เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม" โดยจักร์กฤษให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การคุกคามสื่อเอาไว้ว่า ในอดีตสื่อถูกคุกคามโดยตรงจากรัฐบาลทหาร มี พ.ร.บ. การพิมพ์ 2484 เป็นสัญลักษณ์ของการจำกัดเสรีภาพสื่อ ภายหลังเมื่อประเทศเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นจึงมีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ แต่การคุกคามสื่อก็ยังคงมีอยู่ในรูปแบบของการคุกคามโดยกลุ่มทุน เหตุการณ์หนึ่งในช่วงปี 2547 มีการตรวจพบการทุจริตสอบของลูกชายเจ้าของธุรกิจมือถือรายใหญ่ในขณะนั้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจดังกล่าวก็คือนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นด้วย มีการขอไม่ให้มีการตีพิมพ์ข่าวดังกล่าว มีเพียงฉบับเดียวที่ตีพิมพ์ ในวันต่อมากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับที่นำเสนอข่าวดังกล่าวถูกถอดออก บริษัทโทรศัพท์มือถือดังกล่าวถอนโฆษณาออก นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการคุกคามโดยกลุ่มทุน ในอดีต เราต้องแยกพื้นที่โฆษณา (advertorial) ออกจากพื้นที่ข่าวให้ผู้อ่านเห็นอย่างชัดเจน ทุกวันนี้ไม่มีแล้วซึ่งผมว่ามันอันตราย เมื่อกอง บก. ถูกคุกคามโดยอำนาจทุน จึงต้องยอมละทิ้งจริยธรรมสื่อของตนออกไป นักสื่อมวลชนสมัยใหม่ก็มีการอบรมเรื่องจริยธรรมน้อยเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทุกวันนี้นักข่าวภาคสนามที่ทำงานจริง ต้องการส่งสารของคนในพื้นที่จริง แต่พอข่าวไปถึงกอง บก. มันถูกแต่งเติมด้วยคำรุนแรงเช่น "ไอ้เหี้ยม" "ไอ้หื่น" ลงไปเพื่อให้ข่าวมันสะดุดตา คดีหมิ่นประมาทที่มีเหตุมาจากพาดหัวข่าวทุกวันนี้มีเยอะมาก จริงๆ แค่การเอาภาพผู้เสียชีวิตมาลงมันก็เป็นการละเมิดแล้ว เพราะฉะนั้นสื่อมวลชนต้องระมัดระวังเวลาจะทำอะไร เพราะคุณกำลังแบกภาพลักษณ์ของความเป็นสื่อเอาไว้อยู่ วลักษณ์กมล ผู้ศึกษาขบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้กล่าวถึงบทบาทของสื่อในการสร้างความปรองดองในสังคมว่า เราเชื่อในแนวทางการทำข่าวเพื่อสันติ (peace journalism) นั่นคือการทำข่าวไม่ให้กระทบต่อขบวนการสันติที่กำลังก่อรูปขึ้นในภาคใต้ ซึ่งมีหลักการอยู่ 4 ข้อ 1. การเลือกใช้คำที่ไม่รุนแรงที่อาจไปคุกคามสันติภาพที่กำลังอยู่ในระยะตั้งไข่ 2. การศึกษาให้ลึกลงไปถึงรากเหง้าของปัญหาในพื้นที่ มิใช่เอาแต่รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงในแต่ละวัน 3. สื่อควรเป็นเวทีให้หลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงได้มีโอกาสพูดคุยกัน 4. สื่อมีหน้าที่ทำให้สาธารณะสนับสนุนขบวนการสันติในภาคใต้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อภาคประชาสังคมกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่ค่อยเห็นมากนักในสื่อกระแสหลัก สื่อควรจะเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า safety net ที่ทำหน้าที่ช่วยประคับประคองขบวนการสันติภาพ คนไทยทุกวันนี้ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีกับสถานการณ์ในภาคใต้ บางส่วนยังต้องการให้มีการใช้ความรุนแรงแทนการร่วมมือ สื่อควรทำให้คนเหล่านี้เห็นความสำคัญของขบวนการสันติภาพโดยเข้าไปศึกษาในแวดวงคนในสังคม 3 จังหวัดชายแดนใต้ สื่อจะสามารถเป็นนักการทูตในภาวะความขัดแย้งได้ การที่สื่อมุ่งแต่จะนำเสนอภาพความรุนแรงมันสร้างความเสี่ยงต่อตัวนักข่าวเอง การหันมาให้ข้อมูลประชาชนเรื่องสันติภาพจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อความปลอดภัยของตัวนักข่าวเอง ชัยวัฒน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่าในมุมมองของปรัชญาการเมือง "เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม" มันไม่มีจริง เพราะคำว่า "เสรีภาพ" มันคือปรัชญาอันเป็นสิ่งสากล ในขณะที่คำว่า "คุกคาม" มันเป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล การใช้เสรีภาพของเราอาจไปคุกคามคนอื่นได้โดยเราไม่รู้ตัว นักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งกล่าวไว้ว่าเสรีภาพเปรียบได้กับเสือ มันจะสวยก็ต่อเมื่อมันอยู่ในกรง เสรีภาพเป็นสิ่งที่มีเขี้ยวเล็บ หากเราดูอย่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เสรีภาพก็ถูกอ้างเพื่อการใช้ความรุนแรง ฌางค์ฌาร์ค รุสโซ นักปรัชญาการเมืองผู้เขียนหนังสือสัญญาประชาคมกล่าวไว้ว่า "มนุษย์นั้นเกิดมาเสรี แต่ทุกที่พวกเขาอยู่ในพันธนาการ" ทำไมเสรีภาพที่เรามีติดตัวมาแต่เกิดต้องถูกพันธนาการ ซึ่งในยุคปัจจุบันสิ่งที่พันธนาการเราก็คือเงินตราและกฎหมาย ก็เพราะว่าเสรีภาพมันหน้ากลัว อีริค ฟรอม นักจิตวิทยาชื่อดังเคยเขียนหนังสือชื่อ "หนีไปจากเสรีภาพ" สรุปแล้วเสรีภาพดูเป็นสิ่งที่น่ากลัวพอสมควร จึงต้องขังไว้ในกรง พันธนาการไว้ และหนีไปจากมัน แต่ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้แปลว่าผมสนับสนุนให้เราเป็นเผด็จการแบบเกาหลีเหนือ ผมแค่ต้องการบอกว่าเราอย่ายกยอเสรีภาพมากเกินไปจนลืมมุมที่อันตรายของมัน เพราะฉะนั้นเสรีภาพสื่อที่เราครอบครองเป็นสิ่งที่มีพลังมหาศาล ผมอยากเห็นสื่อไทยทำข่าวที่ "คมคาย" คือ "คม" และ "ระคาย" ไปพร้อมๆ กัน เราต้องไม่ระคายเกินไปจนเขาอยากจะฆ่าเรา แต่ต้องระคายมากเพียงพอที่จะกระตุ้นให้เขาคิดหาทางออกที่ดีต่อไป ผมอยากเห็นสื่อไทยมีสติในการเขียนข่าว พูดแบบง่ายๆ ก็คือมีมารยาทในการเขียน ถ้าเราทำได้ เราจะนำพาสังคมไทยไปได้ไกลมาก ทุกวันนี้เราใช้แต่ความ "คม" มาเชือดเฉือนฝ่ายตรงข้าม มันคม แต่ไม่ "คาย" สัญลักษณ์ของนักข่าวคือปากกา มันคม เราสามารถเอาความคมนี้ไปใช้ในเรื่องที่ดี หรือร้ายก็ได้ ผมหวังว่าหวังปากกาที่เรามีอยู่จะคมพอให้เรานำพาสังคมไทยออกจากวิฤตความขัดแย้งได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
พรรคฝ่ายค้านปราศรัยที่ปีนัง เรียกร้องได้เวลา "Ubah" เปลี่ยนมาเลเซีย Posted: 03 May 2013 11:55 PM PDT บรรยากาศการปราศรัยของพรรคกิจประชาธิปไตย "DAP" ที่สนามหน้าที่ว่าการรัฐปีนัง เมื่อ 3 พ.ค. ที่ผานมา (ที่มา: ประชาไท)
พรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย "DAP" ปราศรัยใหญ่ที่ปีนัง จอร์จ ทาวน์, ปีนัง - เมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค. นี้ พรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party - DAP) ได้จัดปราศรัยใหญ่ที่สนามหน้าที่ว่าการรัฐปีนัง โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีผู้สนับสนุนนับหมื่นร่วมฟังการปราศรัยจนล้นออกมาจากสนามหน้าที่ว่าการ มีการบีบแตรและตะโกนคำขวัญ "UBah" หรือ "เปลี่ยนแปลง" ขานรับกันเป็นระยะ โดยในการปราศรัยนายลิม กิต เสียง อดีตผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภามาเลเซียหลายสมัย และผู้นำอาวุโสของพรรคกิจประชาธิปไตย "DAP" ซึ่งเป็นบิดาของนายลิม กวน เอ็ง ผู้นำพรรค DAP และรักษาการณ์ผู้ว่าการรัฐปีนัง ได้เรียกร้องให้ชาวมาเลเซียทุกเชื้อชาติ ช่วยกันหยุด "ธนกิจการเมือง" ด้วยการเลือกแนวร่วมพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งจะทำให้พรรครัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Nasional - BN) และทำให้นาจิป ราซัก เป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนสุดท้ายที่มาจากพรรค "แนวร่วมแห่งชาติ" นอกจากนี้อาสาสมัครและแกนนำของพรรคกิจประชาธิปไตย "DAP" ทุกเพศทุกวัย ได้จัดการโกนหัวประท้วง "ธนกิจการเมือง" ด้วย ด้าน จง เอ็ง แกนนำกลุ่มสตรีของพรรคกิจประชาธิปไตย "DAP" กล่าวด้วยว่าเงินไม่สามารถซื้อการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมได้ เงินไม่สามารถซื้อความยุติธรรมทางสังคมได้ และเงินไม่สามารถซื้อศักดิ์ศรีของเราได้ ดังนั้นอย่าเอาอนาคตของประเทศและลูกหลานไปเสี่ยงกับธนกิจการเมือง
การเลือกตั้งที่แข่งขันกันดุเดือด นับตั้งแต่ตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2510 ทั้งนี้ มาเลเซียจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 นับ ในวันที่ 5 พ.ค. นี้ โดยจะมีการเลือกตั้งทั้งรัฐบาลระดับชาติ และรัฐบาลระดับท้องถิ่นพร้อมกันทั่วประเทศ ยกเว้นรัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว ทางตะวันออกของมาเลเซียจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลระดับท้องถิ่นในปี 2559 โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 13 ล้านคน และมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 2.6 ล้านคน และในจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนี้จะมีผู้มีสิทธิประมาณ 2.7 แสนคนจากกองทัพ จะใช้สิทธิผ่านช่องทางไปรษณีย์ ด้านพรรครัฐบาลมาเลเซีย "แนวร่วมแห่งชาติ" หรือ BN ชนะการเลือกตั้งและครองอำนาจในมาเลเซียมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2510 อย่างไรก็ตามพรรคฝ่ายค้าน "ภาคีประชาชน" หรือ PR ก็ได้เสียงในสภามากขึ้น โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในปี 2551 พรรคฝ่ายค้านได้ ส.ส. 82 ที่นั่ง ส่วนฝ่ายรัฐบาลได้ 140 ที่นั่ง ซึ่งลดลง 58 ที่นั่ง จากเดิมที่เคยได้ 198 ที่นั่งในการเลือกตั้งปี 2547 โดยฝ่ายค้านสามารถชนะการเลือกตั้งที่รัฐเคดะห์ กลันตัน ปีนัง สลังงอร์ และเขตกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งทำให้พรรครัฐบาลสูญเสียการเป็นเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด พรรครัฐบาล ได้คะแนนนิยมราว ร้อยละ 50.27 ส่วนพรรคฝ่ายค้านได้รับคะแนนนิยมราว ร้อยละ 46.75 ขณะที่การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ค. นี้ ค่อนข้างขับเคี่ยวกันระหว่างพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน โดยต่างฝ่ายต่างแสดงความมั่นใจว่าจะชนะการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันก็มีเหตุไม่สงบเกิดขึ้นระหว่างการหาเสียงบ่อยครั้ง เช่น การขูดรถและทุบกระจกรถของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (2 พ.ค.) ก็มีผู้นำเนื้อและเลือดสุกรไปปาใส่บ้านผู้สมัคร ส.ส. พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย "PAS" ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคฝ่ายค้าน ที่เมืองเตอเมอโระ รัฐปาหัง และเมื่อวานนี้ (3 พ.ค.) ก็เกิดเหตุปาระเบิดแบบทำเองในจุดที่ไม่ห่างจากสำนักงานของพรรคฝ่ายค้าน "DAP" และพรรค "PKR" ที่มีนายอันวาร์ อิบราฮิมเป็นแกนนำในพื้นที่รัฐสลังงอร์ ใกล้กับกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น