โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 7 - 13 พ.ค. 2556

Posted: 13 May 2013 08:08 AM PDT

นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงาน


7 พ.ค. 56 - นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า  วันพรุ่งนี้ (8 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมย่อย กับ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามความคืบหน้า การดำเนินการตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานในวันแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการในส่วนใดแล้ว โดยกระทรวงฯ เตรียมนำเสนอสิ่งที่ดำเนินการไปแล้วมีอะไรบ้าง และมีข้อใดที่ดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่เรียบร้อยเพราะติดเงื่อนไขบางประการ

ขณะเดียวกันเตรียมรายงานแผนการป้องกันและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ของกระทรวงแรงงานด้วย ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อดำเนินการ ได้แก่ คณะอนุกรรมการพิจารณาความต้องการแรงงานของประเทศ มีนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) เป็นประธาน ทำหน้าที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลตำแหน่งงานและความต้องการแรงงานของสถานประกอบ การต่างๆ ในภาพรวมของประเทศ และคณะอนุกรรมการพิจารณาการผลิตกำลังแรงงานของประเทศมี นางปราณิน มุตตาหารัช รองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ทำหน้าที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลในการผลิตกำลังคนในภาพรวมของประเทศ คาดว่าน่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 เดือน

(สำนักข่าวไทย, 7-5-2556)

 

ก.แรงงานเล็งตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงปิดกิจการ ช่วยลูกจ้างหยุดงานชั่วคราว

นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเรียกร้องของแรงงานที่ให้รัฐบาลตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงกรณี สถานประกอบการปิดกิจการและไม่จ่ายเงินชดเชยว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ ซึ่งในหลายประเทศมีกองทุนนี้อยู่ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งอาจจะใช้ชื่อกองทุนดังกล่าวว่า กองทุนประกันการมีงานทำ ซึ่งมองว่าการเก็บเงินสมทบอาจร่วมกับกองทุนประกันการว่างงานในการให้สิทธิ ประโยชน์ เพราะปัจจุบันนี้กองทุนนี้ให้สิทธิเฉพาะผู้ถูกเลิกจ้างแต่ไม่ครอบคลุม ลูกจ้างที่ต้องหยุดงานแต่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างในกรณีต่างๆ เช่น กรณีเกิดเหตุอุทกภัย โรงงานไม่สามารถเปิดงานได้ ทำให้ลูกจ้างต้องหยุดงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น โดยอาจแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เพื่อให้สามารถโยกเงินจากกองทุนนี้มาจ่ายสิทธิประโยชน์ร่วมกันได้ รวมไปถึงอาจกำหนดให้มีการจ่ายเงินสมทบทั้ง 2 กองทุนโดยไม่กระทบกับลูกจ้างมากนัก เนื่องจากปัจจุบันลูกจ้างส่งเงินสมทบเข้าในกองทุนนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.5 เมื่อหักจากกองทุนรวมของประกันสังคมที่จ่ายอยู่ที่ร้อยละ 5 แล้ว ซึ่งอาจจะจ่ายใน 2 กองทุนรวมกันอยู่ที่ร้อยละ 0.6-0.7 หรือมากน้อยกว่านั้นตามความเหมาะสม

รองปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีแนวความคิดที่จะบูรณาการกองทุนว่างงานของ สปส. กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และกองทุนประกันการมีงานทำเข้าด้วยกัน เพื่อให้การดำเนินการของทั้ง 3 กองทุนเป็นไปอย่างครบวงจร และเพื่อให้การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยให้ทาง สปส.เป็นผู้เก็บเงินสมทบทั้ง 3 กองทุน เนื่องจาก สปส.มีความพร้อมด้านหน่วยงานและบุคลากรอยู่แล้วและให้ทาง กสร.เป็นผู้จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งเรื่องทั้งกหมดนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานติดตามและประสานงานข้อ เรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ 2556 ที่มี นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานคณะทำงานฯ ซึ่งจะประชุมกันในเดือนพฤษภาคมนี้

(มติชนออนไลน์, 7-5-2556)

 

อุตฯ ชี้ไตรมาสแรกปี 56 รง.เจ๊งกว่า 187 ราย คนตกงานนับหมื่น

กระทรวงอุตสาหกรรมระบุไตรมาสแรกปี'56 โรงงานปิดกิจการ 187 ราย เลิกจ้างงาน 1 หมื่นรายหลังต้นทุนปรับสูงขึ้น ชี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปิดตัวมากที่สุด เครื่องนุ่งห่ม-อิเล็กทรอนิกส์-เฟอร์นิเจอร์ ด้านบีโอไอเผยความต้องการแรงงาน 48,254 ราย สาขาที่ต้องการมาก วิศวกรรมเครื่องกล
      
รายงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปี 2556 (มกราคม-มีนาคม) มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตดำเนินกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 187 ราย แจ้งปิดกิจการ มูลค่าลงทุน 3,830 ล้านบาท มีการเลิกจ้างแรงงานกว่า 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกิจการเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป, อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน, เฟอร์นิเจอร์, ซ่อมแซมรถยนต์ เป็นต้น เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินกิจการ รวมถึงได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
      
โดยช่วงเดียวกันของปี 2555 มีการปิดกิจการ 321 ราย มูลค่า 2,790 ล้านบาทเลิกจ้างงาน 9,800 คน แสดงให้เห็นว่าโรงงานที่ปิดกิจการในปี 2556 มีขนาดใหญ่กว่าปีที่ผ่านมาและมีปริมาณแรงงานสูง ซึ่งบางโรงงานที่ปิดกิจการมีจ้างงานระดับ 1,000 คนขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการเลิกจ้างงานกว่า 10,000 ตำแหน่ง แต่บรรดาแรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากหลายโรงงานยังประสบปัญหาในการขาดแคลนแรงงานแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศ ใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศก็ตาม

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แจ้งว่า ในไตรมาสแรกของปี 2556 (มกราคม-มีนาคม) มีบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอจำนวน 398 โครงการ แจ้งความประสงค์ต้องการแรงงาน 48,254 ราย แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 8,360 ราย, ระดับ ปวช.และ ปวส. 11,568 ราย, ระดับ ป.6-ม.6 จำนวน 27,084 ราย และอื่นๆ 1,242 ราย ส่วนใหญ่เป็นความต้องการในกิจการบริการและสาธารณูปโภค, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
      
โดยสาขาปริญญาตรีที่บริษัทต้องการแรงงานมาก คือ วิศวกรรมด้านเครื่องกล 645 คน, วิศวกรรมไฟฟ้า 536 คน, อุตสาหกรรม 478 คน, คอมพิวเตอร์ 295 คน, วิศวกรรมการผลิต 266 คน, โทรคมนาคม 186 คน เป็นต้น
      
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานประเภทฝีมือ ทั้งเรื่องของช่างเทคนิค และวิศวกร ดังนั้น ทิศทางนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอนาคตจึงไม่มุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ ใช้แรงงานเข้มข้นอีกต่อไป แต่จะมุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม และบีโอไอได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทํางานเชิงลึก เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป

(ASTVผู้จัดการออนไลน์, 7-5-2556)

 

งหวัดแพร่ จัดโครงการส่งเสริมการเข้าสิทธิ์ด้านอาชีพของคนพิการ

จังหวัดแพร่ จัดโครงการส่งเสริมการเข้าสิทธิ์ด้านอาชีพของคนพิการ พร้อมจัดกิจกรรมนัดพบแรงงานคนพิการ และรับสมัครคนพิการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

คนพิการ และผู้ว่างงานจำนวนมาก ทะยอยเดินทางเข้าลงทะเบียนเข้าโครงการส่งเสริมการเข้าสิทธิ์ด้านอาชีพของคน พิการ ที่โรงแรมนครแพร่ทาวน์เวอร์ อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งกิจกรรม นอกจากจะมีการอภิปราย เรื่องการส่งเสริมอาชีพ และการมีงานทำของคนพิการโดยผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดแพร่ และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดแพร่แล้ว ยังมีบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ มารับสมัครบุคคลเข้าทำงาน ทั้งคนพิการและผู้ว่างงานทั่วไป พร้อมกันนี้ ยังมีการรับลงทะเบียนคนพิการ ให้แจ้งความประสงค์เข้ารับการฝึกอาชีพแบบกลุ่มของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดแพร่อีกด้วย

นางธิภกร นันทพงษ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ กล่าวว่า จากข้อมูลจังหวัดแพร่ มีคนพิการประมาณ 20,000 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีคนพิการมาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ต้องการงานทำที่สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ รวม 1,478 คน และองค์ปกครองส่วนท้องอีก 185 ราย ซึ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดสัดส่วนการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานอย่างน้อย ร้อยละ 1 ในหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการภาคเอกชน หากไม่รับคนพิการเข้าทำงาน ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดแพร่ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดแพร่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมคนพิการทุกประเภทในจังหวัดแพร่ จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อค้นหาและสำรวจคนพิการที่ต้องการทำงานในสถานประกอบการ หรือฝึกอบรม เตรียมความพร้อม สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิด้านอาชีพคนพิการ และการมีงานทำของคนพิการ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะเปลี่ยนภาระให้เป็นโอกาสของสังคมต่อไป

(สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่ 9-5-2556)

 

ก.แรงงาน ให้อิสระ "สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ"

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ 11 องค์กรพันธมิตร โดยแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไก คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) จัดเวทีสาธารณะถอดบทเรียนและร่วมรำลึก "20 ปี โศกนาฎกรรมเคเดอร์ กับคุณภาพชีวิตของคนทำงาน" เพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการพัฒนาระบบการทดแทนเยียวยาที่เป็นธรรมเหมาะสม

นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี ว่า จากเหตุการณ์โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ และการรวมตัวของเครือข่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย ถือเป็นจุดเริ่มต้นและตัวอย่างของการผลักดัน เพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิและการเยียวยาที่เป็นธรรมจากนายจ้าง ของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการทำงาน ซึ่งแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเครือข่ายจะสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้มาก ขึ้น แต่ก็ยังคงมีข้อเรียกร้องที่สำคัญหลายๆ ด้าน ที่ยังคงต้องผลักดันกันต่อไป โดยเฉพาะการการจัดตั้งสถาบันสิ่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องเป็นอิสระจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งประเด็นนี้มีการต่อสู้เรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน เพราะกระทรวงแรงงานพยายามให้ รัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวง หรือปลัดกระทรวง มานั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ตรงนี้จึงไม่ตอบโจทย์ความเป็นอิสระจากหน่วยงานภาครัฐ

"เราใช้เวลากว่า 19 ปี ในการผลักดันให้มีการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมจากการทำงาน เพื่อให้เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำโดยรัฐ และจากการเข้าไปเป็นคณะกรรมการ เห็นว่ากรรมการเป็นคนจากภาครัฐเสียส่วนใหญ่ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าหากมีการตั้งองค์กรขึ้นมาจริงๆ ระบบการทำงานจะล้าสมัยแบบการทำงานของรัฐหรือไม่ และแม้ว่านายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน จะบอกว่าภายใน 1 ปี หลังจากนี้ จะมีความชัดเจนในการตั้งสถาบันฯ มากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าจับตาดูต่อไป" นางสมบุญ กล่าว

นางสมบุญ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทางเครือข่ายฯ ยังต้องการให้มีการ ปรับปรุงการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายและการต่อสู้คดีในชั้นศาลด้วย เนื่องจากตัวกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ฟ้องร้องค่าเสียหายจากนายจ้าง เอง ดังนั้นเมื่อกระบวนการไปถึงชั้นศาล ต้องยอมรับว่ากำลังของลูกจ้างนั้นมีไม่มากเท่านายจ้าง ตรงนี้จึงเป็นเรื่องเสียเปรียบ อีกทั้งประเด็นการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนจากนายจ้าง ตาม ม.48 ก็ยังคงถือเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาและต้องเร่งแก้ไข เพื่อช่วยให้แรงงานไทยทุกคนสามารถเข้าถึงกองทุนได้ง่ายมากขึ้น โดยการเพิ่มแพทย์และคลินิกเฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ที่รักษาผู้ป่วยจากการทำงานให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนการวินิจฉัยผู้เจ็บป่วยจากการทำงานได้รับความเป็นธรรม มากขึ้น

"ปัญหาที่เราพบเจอคือถ้าแพทย์ไม่ได้วินิจฉัยว่าต้นเหตุของการเจ็บป่วย เกิดจากการทำงาน ผู้เจ็บป่วยก็จะถูกตัดสิทธิการรักษาตามเงินกองทุน และถูกผลักไปใช้สิทธิรักษาตามกองทุนประกันสังคมหรือสิทธิบัตรทองแทน ทำให้แทนที่จะได้รับการรักษาในโรคที่เจ็บป่วย เช่น เป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาท แต่หากไปพบแพทย์ตามโรงพยาบาลปฐมภูมิ ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ก็อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้ถูกรักษาแค่กล้ามเนื้ออักเสบเท่านั้น" นางสมบุญ กล่าว

นางสมบุญ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันข้อเรียกร้องที่ได้เสนอผ่านการชุมนุมสมัชชาคนจน ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2555 จนถึงบัดนี้ยังคงรอการเปิดโต๊ะเจรจากับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทั้งการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานระดับชาติ โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การปฏิบัติตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 เรื่องการเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ และความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมไปถึงการยกเลิกแร่ใยหิน ตามมติ ครม.12 เม.ย.2554

(เนชั่นทันข่าว, 10-5-2556)

 

ไทยขาดแรงงานตรงกับคุณสมบัติงานมากสุดในอาเซียน

วันที่ 10 พฤษภาคม 2556  กำหนดให้เป็นวันปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือ "การสร้างต้นแบบความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน" โดยมีนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศ.ดร.สมคิด  เลิศไพฑูรย์ อธิการ บดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมลงนาม ณ อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน)

นายปกรณ์ กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดนวัตกรรมต้นแบบการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ และเครือข่ายขยายผลการดำเนินงานสู่สถานประกอบกิจการ ให้สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และบรรลุเป้าหมายแรงงานปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดีอย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงานร่วมกัน 4 เรื่อง คือ 1. มีคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาต้นแบบและเครือข่าย 2. พัฒนาต้นแบบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ 3. สนับสนุนการนำต้นแบบไปใช้ในสถานประกอบกิจการ และ 4. สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สำหรับเครือข่ายในการนำต้นแบบไปใช้เพื่อการขยายผลสู่สถานประกอบกิจการ

"มธ. จะศึกษาและพัฒนาต้นแบบการดำเนินงาน สร้างแนวทางเพื่อการพัฒนา  เครือข่าย และพัฒนาฐานข้อมูลติดตามผลการดำเนินการ กรมสวัสดิการฯ กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานสู่สถานประกอบกิจการ และพัฒนาเครือข่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยฯ ของสถานประกอบกิจการ และ สสส. สนับสนุนทรัพยากรและกิจกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สถานประกอบกิจการกลุ่ม เป้าหมาย" นายปกรณ์ กล่าว

ด้าน ดร.สุปรีดา กล่าวว่า จากสถาน การณ์การตรวจสุขภาพแรงงานไทยในสถานประกอบการปัจจุบันพบ 3 ปัญหาสำคัญ คือ 1. สถานประกอบการมีค่าใช้จ่ายจากการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีที่ค่อนข้างสูง เพราะใช้โปรแกรมตรวจสุขภาพแบบเหมารวม (package) ไม่ได้ตรวจตามความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานและช่วงอายุที่เหมาะสม 2. ผลการตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพของพนักงาน และ 3. ไม่มีการบริหารจัดการ หรือขาด การติดตามผลการตรวจสุขภาพของพนักงานในระดับบุคคล เช่น การบันทึก ติดตาม ผล ตลอดจนแนวโน้มความเสี่ยงของการเกิดโรค

"ความร่วมมือกันครั้งนี้ จะร่วมกันพัฒนาระบบตรวจสุขภาพที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยใช้ข้อมูลวิจัยสถานการณ์การตรวจสุขภาพแรงงานไทย ร่วมกับมาตรการและนโยบายทางกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พัฒนากลยุทธ์สร้างต้นแบบงานที่มีความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานในกลุ่มเป้าหมายหลักกว่า 50 องค์กร อาทิ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กลุ่มบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ภายใน 2 ปี หรือปี 2558 ซึ่งประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อดูแลคุณภาพแรงงาน ป้องกันการเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศ ซึ่งจะทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานยิ่งขยายตัว จากที่ปัจจุบันธนาคารโลกสำรวจพบว่าประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มี คุณสมบัติตรงกับงานสูงที่สุดในอาเซียน" ดร.สุปรีดา กล่าว.

(เดลินิวส์, 10-5-2556)

 

หนุนตั้งสหกรณ์ในโรงงานล้างหนี้ลูกจ้าง

กระทรวงแรงงานเร่งทำความเข้าใจนายจ้าง ตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงงาน หวังลดปัญหากู้เงินนอกระบบ กำชับ กสร.ขยายจำนวนสหกรณ์ เปิดช่องให้สถานประกอบการกู้เงินได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท จัดตั้งสหกรณ์
      
นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานมีนโยบายส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นภายในสถาน ประกอบการต่างๆ เพื่อให้ลูกจ้างมีแหล่งเงินออม รวมทั้งแหล่งเงินกู้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการกู้เงินนอกระบบได้ โดยกระทรวงแรงงานร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเจ้าหน้าที่ไปตามโรงงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์และทำความเข้าใจกับนายจ้าง เพราะการจัดตั้งสหกรณ์และการจัดการเก็บเงินเข้าสหกรณ์จะต้องหักบัญชีเงิน เดือนของลูกจ้าง อาจทำให้สถานประกอบการต่างๆ รู้สึกว่าเป็นความยุ่งยาก ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่จัดตั้งสหกรณ์ประมาณ 500 แห่ง ซึ่งสหกรณ์บางแห่งลงทุนจนทำให้มีเงินสะสมของสหกรณ์มากถึงหลักพันล้านบาท ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้ดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สถานประกอบการต่างๆ โดยช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สามารถทำกำไรได้ประมาณ 92 ล้านบาท และจากการบริหารงานทำให้ขณะนี้เงินทุนของสหกรณ์มีมากถึง 3,500 ล้านบาท
      
"ผมได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งขยายจำนวนสหกรณ์ภายในสถานประกอบการให้มากขึ้นโดยสถานประกอบการที่จะจัด ตั้งสหกรณ์ภายในสถานประกอบการได้จะต้องเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่มีลูกจ้าง 1,000 คนขึ้นไป เพราะต้องใช้พื้นที่และใช้เงินทุนในการจัดตั้งสหกรณ์ ถ้าลูกจ้างมีจำนวนน้อยเงินทุนที่หักจากเงินเดือนเพื่อใช้เป็นทุนของสหกรณ์ อาจจะมีจำนวนไม่พอ หากสหกรณ์ภายในสถานประกอบการใดที่กำลังจัดตั้งและมีความต้องการเงินทุนหมุน เวียนก็สามารถมาขอกู้จากสหกรณ์ของกระทรวงแรงงานได้ โดยวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งสถานประกอบการที่สนใจและต้องการคำแนะนำสามารถติดต่อมาที่ กสร." นายอาทิตย์กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 13-5-2556)

 

ลำปางจ้างมากขึ้น 300บ.ไม่กระทบ

ลำปาง - น.ส.กัญจนา กลิ่นทอง แรงงานจังหวัดลำปางกล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาด้านแรงงานผู้ประกอบการในพื้นที่ จังหวัดลำปางในสภาพปัจจุบันว่า สภาพแรงงานในพื้นที่จ.ลำปาง มีประมาณ 50,000 คน ขึ้นทะเบียนประมาณ 33,000 คน ส่วนที่เหลืออีกกว่า 20,000 คน เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อยครั้งหากไม่คุ้มกับค่าแรง ส่วนผู้ประกอบการเองปรากฏว่าในรอบปีนี้กลับมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น โดยพบว่าล่าสุดมีสถานประกอบการขึ้นทะเบียนกว่า 2,400 แห่ง เฉพาะในพื้นที่ลำปาง ซึ่งยังคงต้องการแรงงานอีกมากในกระบวนการผลิต ดังนั้น หากไม่เลือกงานก็สามารถทำงานในสถานประกอบการต่างๆ ได้อย่างแน่นอน

ในส่วนของการขึ้นค่าแรง 300 บาทยังไม่พบปัญหา เนื่องจากยังมีการขึ้นทะเบียนเพิ่มแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีผลกระทบ กรณีบอกว่ามีการปิดกิจการอาจจะมาจากการตื่นตัวที่กลัวว่าจะรับมือกับ 300 บาทไม่ไหว จึงออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วย

(ข่าวสด, 13-5-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“Rana Plaza” โศกนาฏกรรมซ้ำๆ ต่อแรงงานค่าแรงต่ำที่ “บังคลาเทศ”

Posted: 13 May 2013 07:14 AM PDT

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตึก Rana Plaza ถล่มทะลุหลักพันไปแล้ว นี่คือโศกนาฏกรรมซ้ำๆ ภาพสะท้อนความปลอดภัยการทำงานในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบังคลาเทศที่ใช้ "แรงงานราคาถูก" เป็นจุดเด่น ซึ่งในด้านหนึ่งเกิดคำถามที่ว่ามันคุ้มหรือกับชีวิตคนงานที่สูญเสียไปหรือไม่

ที่มาภาพ: wikipedia.org

13 พ.ค. 56 - ประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้ความได้เปรียบด้านค่าแรงยังคงมีภาพ "แย่ๆ" ให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ต้นเหตุก็อาจจะเป็นอย่างคำกล่าวของโป้ปองค์ใหม่ที่ว่า "สถานะของคนงานที่เสียชีวิตในบังคลาเทศก็เปรียบดั่งแรงงานทาสที่ได้ค่าแรงอย่างไม่ยุติธรรม ไม่มีงานทำ เพราะผู้จ้างเอาแต่จ้องตัวเลขงบดุล จ้องหาแต่ผลกำไร"

ที่บังคลาเทศในวันแรงงาน (1 พ.ค. 56) คนงาน นักกิจกรรม และประชาชนทั่วไปกว่า 20,000 คน ออกมาเดินขบวนประท้วงในกรุงธากา และเมืองอื่นๆ เรียกร้องให้เอาผิดเจ้าของโรงงานในตึก Rana Plaza รวมทั้งให้มีการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในประเทศซึ่งมีข่าวโศกนาฏกรรมเกี่ยวกับคนงานบ่อยเหลือเกิน

ตึก Rana Plaza ที่มีความสูงกว่า 8 ชั้นได้ถล่มลงเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมาส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายมากมาย (ณ วันที่ 13 พ.ค. 56 นี้มียอดผู้เสียชีวิตพุ่งไปกว่า 1,127 รายไปแล้ว) โดยสินค้าที่ผลิตในโรงงานที่เบียดเสียอยู่ในตึก Rana Plaza มีความเชื่อมโยงกับแบรนด์เสื้อผ้าและธุรกิจค้าปลีกระดับโลกอย่าง Benetton Group, Bonmarché, Cato, DressBarn, Joe Fresh, Mango, Matalan, Monsoon, Primark และ The Children's Place (TCP) รวมทั้ง Walmart อีกด้วย

ทั้งนี้การประท้วงในวันแรงงานที่บังคลาเทศพบว่าผู้ประท้วงบางรายถึงกับเรียกร้องให้ประหารชีวิตเจ้าของตึก Rana Plaza และเจ้าของโรงงานเลยทีเดียว เพราะมีข่าวบางกระแสรายงานว่านายจ้างได้บังคับลูกจ้างให้ทำงาน แม้ถูกเตือนว่าพบรอยร้าวที่เป็นอันตรายต่ออาคารมาก่อนหน้านี้

ในด้านกระบวนการยุติธรรมต่อกรณีนี้ ศาลสูงบังคลาเทศมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์เจ้าของตึก Rana Plaza และสั่งให้อายัดทรัพย์สินของเหล่าเจ้าของโรงงานต่างๆ เพื่อนำเงินไปจ่ายเป็นค่าแรงและค่าชดเชยแก่คนงาน

รวมทั้งเงินชดเชยเบื้องต้นจากสมาคมผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอบังคลาเทศ (Bangladesh Garment Manufacturers and Exporters Association - BGMEA) ที่ประกาศจะชดเชยให้กับคนงานนั้นมีน้อยนิดคือแค่ 6,000 ธากา (ประมาณ 77 ดอลลาร์สหรัฐ) แต่ทว่าคนงานที่บาดเจ็บและต้องว่างงานก็ไม่พอใจจำนวนเงินชดเชยน้อยนิดที่ได้รับนี้ โดยระบุว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายรักษาอาการบาดเจ็บและการว่างงานไม่มีรายได้

โดยคนงานผู้รอดชีวิตจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ระบุว่าพวกเขาทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงด้วยซ้ำ แต่ BGMEA ยืนยันว่าเงินชดเชยจำนวนนี้เป็นการจ่ายตามมาตรฐานของกฎหมายแรงงานแล้ว

บังคลาเทศเป็นประเทศยากจน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 305.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมี GDP รายหัว (GDP per Capita) 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2012) จุดเด่นของประเทศก็คือการที่มีค่าแรงราคาถูกจากประชากรจำนวนมหาศาลกว่า 163 ล้านคน ทั้งนี้ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ของบังคลาเทศทำรายได้เข้าสู่ประเทศถึงประมาณ 20 พันดอลลาร์สหรัฐต่อปี และคู่ค้าที่สำคัญคืออเมริกาและยุโรป

อนึ่งที่บังคลาเทศเกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้อยู่เนืองๆ โดยเมื่อปลายปี 2012 ที่ผ่านมามีเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตเสื้อTazreen Fashion ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 117 คน โดยเหตุการณ์นั้น พึ่งได้กระแซะต่อมความรับผิดชอบให้แบรนด์เสื้อผ้าและบริษัทค้าปลีกระดับโลก ให้มาตระหนักถึงสภาพการทำงานของคนงานภาคสิ่งทอในบังคลาเทศที่มีค่าแรงต่ำมาก เพียง 38 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเท่านั้น

 

 

ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอนุสัญญาฉบับที่ 187

วาดวยกรอบงานสงเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทํางาน ค.ศ. 2006

แนวทางการปฏิบัติตามบทบญญั ัติของอนุสัญญาฉบับที่ 187

- รัฐบาลตองดําเนินการอยางเปนขั้นตอน เพื่อสงเสริมใหมีการปรับปรุงความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสภาพแวดลอมในการทํางานอยางตอเนื่องและมีความคืบหนา ซึ่งการดําเนินการอยางเปนขั้นตอนนั้นมีอยู 3 ระดับดวยกันคือ

(1) การกําหนดนโยบายแหงชาติดานความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสภาพแวดลอมในการทํางาน

(2) การจัดทําระบบความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทํางานแหงชาติ

(3) การวางแผนงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทํางานแหงชาติ

- รัฐบาลตองพิจารณาดําเนินมาตรการตางๆ เพื่อสงเสริมการใหสัตยาบันอนุสัญญาเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยฉบับอื่นๆ ของ ILO

- ในการดําเนินการอยางเปนขั้นตอนทั้ง 3 ระดับ และการดําเนินมาตรการเพื่อสงเสริมการใหสัตยาบันอนุสัญญาเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ นั้น รัฐบาลตองรวมปรึกษาหารือกับองคกรผูแทนขางมากที่สุดของของนายจางและของคนงาน

 

ที่มา:

http://en.wikipedia.org/wiki/Rana_Plaza

http://en.wikipedia.org/wiki/2012_Dhaka_fire

http://newsinfo.inquirer.net/403885/bangladesh-garment-accident-death-toll-passes-700

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอกำหนดเงื่อนไขคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจ

Posted: 13 May 2013 06:05 AM PDT

กสท.เตรียมอนุมัติ(ร่าง)ประกาศประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ ด้านอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบรอดแคส เสนอ จัดทำกลไกรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค และมีมาตรการบางอย่างสนับสนุนคนดูทั่วถึงทุกกลุ่มแนบท้ายประกาศประมูล เพื่อสร้างเงื่อนไขที่ง่ายขึ้นต่อการกำกับดูแลในอนาคต

(13 พ.ค.56) สุภิญญา  กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในวันอังคารนี้ (14 พ.ค.) ตนในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้นำข้อสรุปที่ได้จากมติที่ประชุมกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ถึงข้อเสนอต่อการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ จัดให้มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และจัดให้มีมาตรการพื้นฐานบางประการเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ของคนพิการและคนดีด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้ หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ซึ่งวาระสำคัญครั้งนี้มีการพิจารณา (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ที่มีประเด็นสำคัญ อาทิ ราคาตั้งต้นของการประมูล จำนวนช่อง(ใบอนุญาต) วิธีการประมูล คำนิยามช่อง การป้องกันนอมินี เป็นต้น

สุภิญญา ระบุว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ได้วิเคราะห์ร่วมกันและเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ กสท.ควรวางนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่ต้น ก่อนจัดให้มีการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตฟรีทีวีต่อไปในอนาคต โดยเสนอหลักการ 2 ข้อ เพื่อให้ กสท.นำไปพิจารณาแนบท้ายประกาศ คือ 1. มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนของผู้ชนะประมูลของผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแนวทางของแผนแม่บทฯ และ กสท.มีมาตรการสนับสนุนต่อไป และ 2 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ในรายการที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ และบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการและคนด้อยโอกาส มีบริการกระจายเสียงที่ออกอากาศรายการอ่านหนังสือเต็มเวลา (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น / เป็นบริการทางกิจการกระจายเสียง) บริการคำบรรยายเป็นเสียง (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น) บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีล่ามภาษามือ (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย) และบริการคำบรรยายเป็นอักษรวิ่ง (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย) ซึ่งการประชุม กสท.ครั้งนี้ ไม่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดทำเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ ซึ่ง กสท.เสียงข้างน้อย (ธวัชชัย – สุภิญญา) อาจนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.วันที่ 22 พ.ค.นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

iLaw: ทิศทางมาตรา 190 จับตากฎหมายลูกทุกประเด็น

Posted: 13 May 2013 05:54 AM PDT

เสนอทิศทางต่อกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 190 ตั้งกรรมการอิสระตัดช่องศาลรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายลูกให้ชัด รวมการเจรจาพหุภาคีให้อยู่ใต้ 190 ด้วย

วันที่ 13 พ.ค. 2556 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw จัดการเสวนาสาธารณะ 'การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างไรเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง' ร่วมเสวนาโดย ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก กรรมาธิการวิสามัญ สังกัดพรรคเพื่อไทย ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก กรรมาธิการวิสามัญ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และนายจักรชัย โฉมทองดีรองประธานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์ ดำเนินรายการโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท

จักรชัย โฉมทองดี กล่าวถึงที่มาและปัญหาว่า การทำหนังสือสัญญาเป็นเรื่องที่มีผลกระทบวงกว้าง แต่กระบวนการทำไม่มีพื้นที่ให้ฝ่ายอื่นนอกจากฝ่ายบริหาร ตั้งแต่ริเริ่มจนถึงดำเนินการตามข้อผูกพัน การทำสนธิสัญญาการค้าเช่นเอฟทีเอ ไม่เคยเข้าสู่สภา และสาธารณชนไม่เคยรับรู้ เช่น กรณี ที่ทำเอฟทีเอกับออสเตรเลียเมื่อปี 2547 ซึ่งลงนามและผูกพันไปโดยที่ประชาชนไม่เคยรับรู้ จึงมีความคิดว่าควรมีกฎหมายกำหนดว่ารัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม มาตรา190 จึงกำหนดให้รัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญที่สำคัญ และให้ประชาชนมีส่วนได้รู้เห็นและแสดงความคิดเห็น พอเริ่มใช้จริงก็ติดขัด กฎหมายลูกที่กำหนดรายละเอียดก็ยังไม่เกิด

นอกจากนี้จักรชัย กล่าวว่า มาตรา 190 ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ปัญหาก็มีคือ 1. เมื่อมีความคลุมเครือ ทำให้เป็นภาระกับฝ่ายสภามากเกินไป เพราะต้องส่งทุกเรื่องที่ไม่แน่ใจเข้าสภาหมด 2.ประสิทธิภาพและความไม่สะดวกของการเจรจา เพราะแทนที่จะได้เจรจาก็ต้องรอผ่านสภาก่อน เรื่องนี้ก็ต้องแก้ ส่วนตัวเห็นว่าเป็นความไม่สะดวกของฝ่ายรัฐที่ไม่คุ้นชิน เป็นวิธีคิดแบบบนลงล่าง ว่าเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่ฝ่ายอื่นไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว

ร่างฉบับของกรรมาธิการในวันนี้ กำหนดว่าการเจรจาพหุภาคีไม่ต้องผ่านสภา เพราะการเจรจาแบบพหุภาคีบางครั้งถ้าเราเข้าไปร่วมทีหลังจะไปแก้ไขสิ่งที่เจรจาไปแล้วไม่ได้ แต่ถ้าเสนอว่าไม่ให้นำการเจรจาแบบพหุภาคีเข้าสภาเลย คิดว่าอันตรายมากๆ การเจจาการค้าแบบทวิภาคีตอนนี้เราเจรจาไปหมดแล้วแทบไม่เหลือ ที่เหลืออยู่เช่น การเปิดเสรีอาเซียน เป็นพหุภาคีทั้งนั้น ถ้าการเจรจาแบบพหุภาคีไม่เข้า 190 มาตรานี้ก็ไม่มีความหมายอะไร

จักรชัยยังกล่าวว่า ในวรรคสามซึ่งกำหนดหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามในหนังสือสัญญา มีคำที่สำคัญมากหายไปหนึ่งคำ คือ คำว่า "ให้ข้อมูล" ซึ่งในรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีคำนี้อยู่ แต่ในร่างของกรรมาธิการคำนี้หายไป หากมีการรับฟังความคิดเห็นแต่ไม่มีการ "ให้ข้อมูล" จะมีปัญหาและเป็นการรับฟังความเห็นที่เสียเวลามาก และในกฎหมายลูกจะไปเขียนว่าข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องให้ เช่น อะไรคือการศึกษาผลกระทบ อะไรคือกรอบการเจรจา

ความเป็นธรรมระหว่างผู้ได้ประโยชน์กับเสียประโยชน์ ผมว่าไม่ควรลงรายละเอียดว่าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายย่อย ไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ แค่เขียนว่าผู้ได้รับผลกระทบก็เพียงพอ แล้วรายละเอียดค่อยไปกำหนดในกฎหมายลูก
การมีตัวคณะกรรมการวินิจฉัยว่าเรื่องใดต้องให้ผ่านสภาก่อน มีข้อดีคือ อาจทำให้ความเป็นการเมืองลดลง ไม่ต้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญทัน เพราะถ้าไปศาล ศาลมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยว่าผิดหรือถูก ซึ่งทำให้ต้องมีคนผิด แต่คณะกรรมการวินิจฉัยอาจชี้ได้ว่าต้องไปอย่างไร เพราะมิติของสนธิสัญญามีมากกว่าเรื่องกฎหมายอย่างเดียว แต่ไม่ใช่ผิดหรือถูกเสียทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องมีกฎหมายลูกมากำหนดกระบวนการและองค์ประกอบของกรรมการให้ชัดเจน ให้พื้นที่ใช้ดุลพินิจน้อยลง

ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก กล่าวว่า คนที่เสนอให้แก้มาตรา 190 มักมีให้เหตุผลว่าเพราะมาตราทำให้ฝ่ายบริหารดำเนินงานไม่สะดวก กลัวความลับถูกเปิดเผย ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะก็สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้โดยที่ไม่ต้องแก้ไขมาตรา 190 ในประเด็นนี้ควรดูรัฐธรรมนูญมาตรา 303(3) ด้วย ซึ่งเป็นมาตราที่กำหนดรายละเอียดที่ควรเขียนไว้ในกฎหมายลูก

ผศ.ดร.รัชดากล่าวถึงการพูดคุยในกรรมาธิการว่า ต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ มีการเสนอในกรรมาธิการว่า วรรคสองควรใส้คำว่า อย่างชัดแจ้ง เข้าไปหรือไม่ เพราะมีปัญหาในการตีความต้องไปตีความว่ามันต้องแค่ไหน แล้วใครต้องมาตีความ

ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก กล่าวว่า มาตรา 190 มีปัญหาทำให้กระทรวงต่างประเทศไม่กล้าส่งนักเจรจาไปเจรจา เพราะกลัวว่าสิ่งที่เจรจาอาจไม่มีอำนาจ และเป็นการเจรจาที่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้เสียประโยชน์ เนื่องจากต้องนำทุกเรื่องที่ไม่แน่ใจว่าเข้ามาตรา 190 หรือไม่เข้าสภาหมด และฝ่ายสนธิสัญญากระทรวงต่างประเทศก็ไม่กล้าออกกฎหมายลูก เพราะกลัวกฎหมายลูกจะขัดรัฐธรรมนูญอีก

ผศ.ดร.จารุพรรณยังได้กล่าวถึงการมีคณะกรรมการวินิจฉัยกรณีที่เข้ามาตรา 190 หรือไม่ว่า กรรมาธิการกำลังคุยกันว่า ส่วนของผู้ที่จะวินิจฉัยก่อนไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาวินิจฉัยชี้ขาดว่ากรณีใดถึงจะเข้ามาตรา190 บ้าง ซึ่งอาจจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นกลไกการตรวจสอบการทำงานร่วมกันของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร รวมทั้งกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้การเจรจาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างแท้จริง

มาตรา 190 ปัจจุบัน ระบุไว้ว่าการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ทั้งนี้ก่อนทำหนังสือสัญญานั้น คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น

ขณะนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กำลังพิจารณาเพื่อแก้ไขเนื้อหาว่าด้วยการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ การพิจารณาอยู่ในขั้นตอนสำคัญที่ต้องเร่งพิจารณาหาข้อสรุปให้เสร็จในเวลาอันใกล้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มติดอาวุธในลิเบียเลิกล้อมกระทรวง หลังข้อเรียกร้องเป็นผล

Posted: 13 May 2013 12:50 AM PDT

กลุ่มติดอาวุธที่เคยเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิวัติโค่นล้มกัดดาฟีได้เข้าล้อมสำนักงานกระทรวงต่างๆ ในลิเบียมาตั้งแต่เดือน เม.ย. ได้สลายตัวไปในที่สุดเมื่อช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากกระทรวงยอมทำตามข้อเรียกร้อง และมีประชาชนส่วนหนึ่งออกมาแสดงความไม่พอใจการที่กลุ่มดังกล่าวใช้กำลังอาวุธเข้าล้อมกดดันรัฐบาล

12 พ.ค. 2013 - รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของลิเบียเปิดเผยว่า กลุ่มติดอาวุธในลิเบียยกเลิกการปิดล้อมกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรม หลังจากที่รัฐบาลยอมทำตามข้อเรียกร้อง

โดยก่อนหน้านี้กลุ่มติดอาวุธได้เข้าปิดล้อมอาคารกระทรวงต่างๆ ของลิเบียเพื่อกดดันให้มีการออกกฏหมายสั่งห้ามไม่ให้มีผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสมัยอดีตผู้นำเผด็จการมุมมาร์ กัดดาฟี ยังคงอยู่ในตำแหน่งภายใต้การปกครองของรัฐบาลใหม่หลังจากการปฏิวัติ

ซาลาห์ อัล-มาร์กานี รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของลิเบียเปิดเผยว่า ได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ในกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรม โดยให้เจ้าหน้าที่เดิมออกไป และให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลปัจจุบันและจากสภาสูงสุดแห่งชาติ (GNC) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ผู้บัญชาการของกลุ่มติดอาวุธที่ปักหลักอยู่หน้าประตูทางเข้ากระทรวงต่างประเทศกล่าวว่า อาคารของกระทรวงการต่างประเทศมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฏรและจากผู้นำที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเจ้าหน้าที่เก่า ทำให้กลุ่มติดอาวุธที่มาล้อมอาคารสลายตัวไปเนื่องจากข้อเรียกร้องได้รับการตอบสนอง

ผู้บัญชาการคนดังกล่าวเป็นคนของกลุ่มสภาความมั่นคงสูงสุดของลิเบีย (Supreme Security Council - SSC) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยอดีตนักรบฝ่ายกบฏภายใต้การสั่งการของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของลิเบีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำนักรบติดอาวุธเข้าล้อมกระทรวงต่างๆ โดยกลุ่ม SSC มีอาวุธที่ดีกว่าและมีอำนาจมากกว่าตำรวจ

อย่างไรก็ตามกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิทธิ์ฯ และกลุ่มนักการทูตได้วิพากษ์วิจารณ์การขับไล่เจ้าหน้าที่ในสมัยอดีตผู้นำกัดดาฟีว่าเป็นการกระทำที่ตีขลุมมากเกินไปและอาจทำให้รัฐบาลลิเบียอยู่ในสภาพย่ำแย่ นอกจากนี้ยังวิจารณ์อีกว่าการไล่ออกทั้งหมดไม่เป็นธรรมกับคนที่เคยอยู่ในรัฐบาลกัดดาฟีแต่อยู่ในสภาพถูกเนรเทศและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโค่นล้มกัดดาฟีเมื่อราวสองปีที่ผ่านมา

โดยเมื่อวันศุกร์ (10 พ.ค.) ที่ผ่านมา มีประชาชนหลายร้อยคนออกมาเรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธหยุดใช้วิธีการรุนแรง นักกิจกรรมกล่าวหาว่ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมพยายามใช้กำลังในการยึดครองอำนาจ

อย่างไรก็ตามการที่สภาผู้แทนฯ ลิเบียยอมจำนนทำให้กลุ่มติดอาวุธที่เรียกตัวเองว่าเป็นคณะปฏิวัติเสนอข้อเรียกร้องเพิ่มเติม รวมถึงการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอาลี ซีดาน ออกจากตำแหน่ง


กลุ่มเรียกร้องปกครองตนเองฝั่งตะวันออกเตรียมรับมือการถูกล้อม

จากเหตุความตึงเครียดระหว่างกลุ่มต่างๆ กับรัฐบาล เป็นการส่งสัญญาณเตือนถึงกลุ่มผู้นิยมสหพันธรัฐและฝ่ายอื่นๆ ทางภาคตะวันออกของลิเบีย ทำให้กลุ่มผู้นำในพื้นที่ดังกล่าวเตรียมรวมตัวกันเพื่อปกป้องพื้นที่อาณาเขตจากการจู่โจมที่คล้ายกัน

ตัวแทนของกลุ่มผู้นำดังกล่าวได้ออกประกาศแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ (11 พ.ค.) ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า พวกเขาต้องการพลิกฟื้นสภาซิเรไนกา ซึ่งเป็นขบวนการเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเองของฝั่งตะวันออกเพิ่มมากขึ้น

อาห์เหม็ด ซูบาอีร์ อัล-เซนุสซี ผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของสภาซีเรไนก้ากล่าวว่าพวกเขาจะไม่ยอมให้ซีเรไนกาถูกปกครองโดยอำนาจจากกำลังอาวุธ โดยเซนุสซีเป็นญาติห่างๆ ของพระราชาอิดริสที่ถูกกัดดาฟีทำรัฐประหารโค่นล้มไปเมื่อปี 1969

ประเทศลิเบียได้รับเอกราชเมื่อปี 1951 หลังจากนั้นประมาณ 10 ปีก็ปกครองโดยระบอบสหพันธรัฐโดยแบ่งออกเป็นสามภูมิภาค แต่ในเวลาต่อมาภูมิภาคทางเหนือคือไซเรนิกา ถูกควบรวมกับกับเขตปกครองเฟซซานทางตอนใต้และทรีโปลิทันเนียทางภาคตะวันตก

ทางด้านปฏิกิริยาจากต่างชาติ สถานทูตอังกฤษประจำกรุงทรีโปลีกล่าวเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ว่าพวกเขาได้ลดจำนวนเจ้าหน้าที่สถานทูตลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากเกรงว่าอาจเกิดการปะทะจากเหตุปิดล้อม


เรียบเรียงจาก

Deal with former rebels ends Libya siege, Aljazeera, 12-05-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น