โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กวีประชาไท: หนึ่งดวงดาวร่วงหล่นหนึ่งต้นธาร จักผลิบานเป็นพลุไฟส่องใจเมือง

Posted: 12 Nov 2013 11:40 AM PST

<--break->" หล่นลงแล้วอีกดวง ร่วงอีกดาว
อีกคราว อีกหน ของคนกล้า
อีกหนึ่ง ธงธรรม นำประชา
พรากจากมิทันลา โอ้อาลัย
'วรพล พรหมิกบุตร'
คือคบจุดแสงจ้า มิสาไถย์
ส่องเถื่อนทางข้างแรม เติมแต้มไฟ
สว่างไทย สว่างทาง สว่างวิธี
ให้เห็นหน้า เห็นหลัง เห็นงั่งเง่า
เห็นโครงเค้าคนคดผู้กดขี่
ฉีกหน้ากากซากอธรรม อันย่ำยี
ส่องชี้ ฉายชัด ยืนหยัดนำ
'วรพล พรหมิกบุตร'
คบที่จุด ไฟที่จ่อ ต่อคืนค่ำ
ที่เหน็บหนาวยาวยืด ที่มืดดำ
จักเรืองแรงแสงลำ สุกฉ่ำนาน
โอ้ ถนนประชาธิปไตย ไฟอีกดวง
หล่นร่วงอีกคราวให้กล่าวขาน
หนึ่งนักสู้ หนึ่งคน หนึ่งต้นธาร
จักปลุกอีกแสนล้าน ขึ้นต้านอธรรม "
………………………………………
สุขุมพจน์  คำสุขุม
(..หนึ่งดวงดาว ร่วงหล่น หนึ่งต้นธาร
จักผลิบาน เป็นพลุไฟ ส่องใจเมือง..)!

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ในเบลารุส แค่สวมเสื้อยืดต้านรัฐบาลก็ทำให้คุณถูกจับได้

Posted: 12 Nov 2013 11:32 AM PST

ศาลในกรุงมินสค์ ประเทศเบลารุส ตัดสินจำคุก 5 วันชายผู้สวมเสื้อยืดที่มีข้อความต่อต้านผู้นำ หลังจากที่เขาไปชุมนุมรำลึกถึงเหยื่อที่ถูกปราบปรามในสมัยสหภาพโซเวียต พร้อมแสดงท่าทีต่อต้านนโยบายเก็บภาษีคนว่างงาน ก่อนหน้านี้ก็เคยมีกรณีคนที่ถูกจับเพราะปรบมือประท้วง และโพสต์รูปตุ๊กตาหมี

เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2556 สำนักข่าวเรดิโอฟรียุโรปกล่าวถึงกรณีเสรีภาพสื่อในประเทศเบลารุส โดยกลุ่มผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกจับกุมเพียงเพราะปรบมือ สวมเสื้อยืดวิจารณ์ประธานาธิบดี หรือโพสต์รูปตุ๊กตาหมีลงในอินเทอร์เน็ต

ที่ศาลกรุงมินสค์ประเทศเบลารุส วันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา มีการตัดสินให้ชายวัยกลางคนต้องโทษจำคุก 5 วันเนื่องจากสวมเสื้อยืดเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ลาออกจากตำแหน่ง

ชายคนดังกล่าวชื่อ เลียนิด ชมูซ ซึ่งได้สวมเสื้อยืดเขียนว่า "เบลารุสที่ไม่มีลูคาเชนโค" ขณะที่กำลังเดินขบวนในวันที่ 10 พ.ย. เพื่อรำลึกถึงเหยื่อที่ถูกปราบปรามในช่วงสมัยสหภาพโซเวียต

ชมูซกล่าวว่าเขาไม่เห็นด้วยกับนโยบายของลูคาเชนโค โดยเฉพาะนโยบายให้ประชาชนตกงานจ่ายภาษี พยานในศาลให้การว่าชมูซไม่ได้ตะโกนคำขวัญหรือแสดงการต่อต้านตำรวจในขณะชุมนุม โดยไม่มีผู้ชุมนุมรายอื่นๆ ถูกจับกุม

ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีชายอีกคนหนึ่งที่ชื่อ ยูรี รับซูว ถูกสั่งจำคุก 3 วันจากการที่เขาสวมใส่เสื้อยืดเขียนว่า "ลูคาเชนโคออกไป!"

ประธานาธิบดี ลูคาเชนโค ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสั่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนนับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจเมื่อราว 20 ปีก่อน กรณีการจับกุมผู้สวมเสื้อยืดแสดงให้เห็นว่าผู้นำเบลารุสมีความอดกลั้นต่อคำวิจารณ์น้อยลง

ก่อนหน้านี้ในปี 2554 มีประชาชนจำนวนมากถูกจำคุกเป็นเวลา 15 วันหลังจากเข้าร่วมการประท้วงปรบมือเมื่อแสดงการต่อต้านนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีการปรบมือเป็นยุทธวิธีแสดงออกในแบบที่หลีกเลี่ยงการละเมิดกฏหมายการชุมนุมที่เข้มงวดในเบลารุส แต่การประท้วงดังกล่าวก็ถูกตำรวจสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง มีการจับกุมประชาชนเกือบ 2,000 คน รวมถึงชายที่มีแขนข้างเดียวผู้ถูกปรับเป็นเงิน 200 ดอลลาร์ จากการถูกกล่าวหาว่าปรบมือในที่ชุมนุม

นอกจากนี้ในปี 2555 ที่ผ่านมามีนักศึกษาด้านสื่อถูกกุมขังเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากโพสต์รูปภาพตุ๊กตาหมีซึ่งสื่อถึงการสนับสนุนประชาธิปไตย นักศึกษาคนดังกล่าวและเพื่อนของเขาถูกกล่าวหาว่าให้ความร่วมมือกับบริษัทโฆษณาของสวีเดนที่ทำการปล่อยตุ๊กตาหมี 1,000 ตัวจากเครื่องบินเพื่อเป็นการส่งสารสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความเห็น


เรียบเรียงจาก

In Belarus, Your T-Shirt Can Land You In Jail, Radio Free Europe, 12-11-2013
http://www.rferl.org/content/belarus-tshirt-jail/25164907.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์พรรคสามัญชน: วิกฤตต้องเปลี่ยนผ่านในนามอำนาจสามัญชนเท่านั้น

Posted: 12 Nov 2013 10:56 AM PST

13 พ.ย. 2556 - เมื่อวานนี้ (12 พ.ย.) พรรคสามัญชน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของนักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ "วิกฤตต้องเปลี่ยนผ่านในนามอำนาจสามัญชนเท่านั้น" โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

000

"วิกฤตต้องเปลี่ยนผ่านในนามอำนาจสามัญชนเท่านั้น"

การชุมนุมทางการเมืองจากหลากหลายพื้นที่ เพื่อคัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (เหมาเข่ง) นี่คือสิ่งที่ เรา(สามัญชน) สนับสนุนในฐานะสิทธิทางการเมืองอันชอบธรรมในวิถีทางประชาธิปไตย

แต่ ณ เวลานี้ การชุมนุมทางการเมืองในบางพื้นที่ เริ่มมีการส่งสัญญาณและปฎิบัติการ อันนำไปสู่การล้มล้างวิถีทางประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา การชี้นำมวลชนสู่แนวทางการเรียกร้องที่อยู่นอกเหนืออำนาจการตัดสินของประชาชน นี่คือสิ่งที่ เรา (สามัญชน) ต่อต้าน ในฐานะสิทธิทางการเมืองอันมิชอบในวิถีทางประชาธิปไตย

เราเหล่าสามัญชน จึงขอแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตย อันมีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง ดังนี้

1. ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีอยู่สูงในปัจจุบัน  ต้องถูกคลี่คลายด้วยวิถีทางประชาธิไตยในระบอบรัฐสภาเท่านั้น  การล้มล้างรัฐบาลด้วยวิถีทางอื่นที่มิได้มาจากอำนาจของประชาชน  จักถูกปฎิเสธและต่อต้านจากเหล่าสามัญชน

2. กฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อนิรโทษกรรมให้เฉพาะผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยรวมถึงในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รัฐบาลต้องเดินหน้าสู่การตราเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้   เพื่อรับรองและยืนยันสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางการเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย การที่รัฐบาลได้ถอนและเลิกล้มการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อแนวทางนี้อย่างชัดแจ้ง

จากจุดยืนดังกล่าวนี้ เรา (สามัญชน) เชื่อมั่นว่า สังคมไทยจะเดินไปข้างหน้าด้วยการเคารพในความหลากหลายและก้าวข้ามวิกฤตโดยการตัดสินด้วยอำนาจของประชาชนเอง

เปลี่ยนแปลงสังคม โดยคนธรรมดา เพื่อสามัญชน

พรรคสามัญชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรพล พรหมิกบุตร เสียชีวิตแล้ว

Posted: 12 Nov 2013 10:13 AM PST

อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้คัดค้านรัฐประหาร 19 กันยา 49 เคยถูกออกหมายจับฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปี 53 เสียชีวิตแล้วในช่วงเย็นวันที่ 12 พ.ย. และจะมีพิธีศพที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน 13 พ.ย. นี้

วรพล พรหมิกบุตร มอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อสู้คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามหมายจับของ ศอฉ. ในปี 2553 ทั้งนี้เขาถูกควบคุมอยู่ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 อ.คลองห้า จ.ปทุมธานี เป็นเวลา 7 วัน ก่อนถูกปล่อยตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา (ที่มาของภาพ: ไทยอีนิวส์/แฟ้มภาพ)

 

12 พ.ย. 2556 - มีรายงานว่า วรพล พรหมิกบุตร รองศาสตราจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิตแล้วช่วงเย็นวันนี้ (12 พ.ย.) ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลภูมิพล เขตสายไหม กทม. สิริอายุ 57 ปี และจะมีพิธีรดน้ำศพในช่วงบ่าย ของวันที่ 13 พ.ย. ที่วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กทม.

โดยธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ซึ่งอยู่ระหว่างปราศรัยที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จ.เชียงใหม่ ได้แจ้งข่าวการเสียชีวิตดังกล่าวต่อผู้ชุมนุม และมีการกล่าวไว้อาลัยให้กับวรพลด้วย

 

อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ธรรมศาสตร์

สำหรับ วรพล พรหมิกบุตร เกิดเมื่อปี 2499 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และนิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อมาได้ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2525 เป็นผู้เขียนวิทยานิพนธ์ความยาว 229 หน้า หัวข้อ "ความเป็นจริงทางสังคม: ปัญหาการวิเคราะห์และความเป็นศาสตร์ของสังคมวิทยา" (อ่านบทคัดย่อได้ที่นี่)

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วรพลได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา โดยสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตในปี 2530 หัวข้อวิทยานิพนธ์คือ "The logic of foreign AID : a case study of its impact on Thailand's postwar development"

สำหรับความสนใจทางวิชาการของเขาระหว่างที่สอนอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิ การวิเคราะห์ระบบสื่อสารมวลชนไทยและผลกระทบเชิงสังคม-วัฒนธรรม ประเด็นความสาคัญของกระบวนการทางเศรษฐกิจการเมืองต่อวิถีชีวิตสังคมและชุมชน การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ฯลฯ

 

ร่วมต้านรัฐประหาร - ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ทั้งหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 วรพล พรหมมิกบุตร เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานเสวนา และร่วมกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารหลายครั้ง ในปี 2550 หลังเหตุการณ์ 22 ก.ค. 2550 หรือการสลายการชุมนุมที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งทำให้แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. 8 ราย ถูกตำรวจควบคุมตัว ในวันที่ 29 ก.ค. 2550 วรพลเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมกับ "แนวร่วมนักกฎหมายนักวิชาการเพื่อสิทธิมนุษยชน" แถลงข่าวที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแกนนำ นปก.

ในปี 2553 ในช่วงการชุมนุมใหญ่ของ นปช. เขาตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ 19/2553 ลงวันที่ 8 เม.ย. 2553 โดยเขาได้มามอบตัวที่กองปราบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจกับตำรวจกองปราบในวันที่ 14 มิ.ย. 53 ทั้งนี้เขายืนยันว่าไม่มีเจตนาละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และขึ้นปราศรัยเพื่อให้คำแนะนำกับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม และเรียกร้องรัฐบาลว่าไม่ควรใช้อำนาจเกินเลย โดยวรพลถูกควบคุมตัวไว้เป็นเวลา 7 วัน ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 อ.คลองห้า จ.ปทุมธานี ก่อนถูกปล่อยตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา

นอกจากนี้ เขายังมีรายชื่อปรากฏอยู่ท้ายคำสั่ง ศอฉ.ที่ 49/2553 ลงวันที่ 19 พ.ค. 2553 ห้ามกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ศอฉ. จึงมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

 

ต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง และบทความเรื่องสุดท้าย

วรพล แสดงความเห็นและร่วมอภิปรายทางการเมืองอยู่เป็นระยะ ล่าสุดนั้นเขาแสดงความเห็นคัดค้านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ หรือฉบับเหมาเข่งด้วย โดยในบทความหัวข้อ "การเมืองไทยปลาย 2556 : พายุใหญ่และวิกฤตประชาธิปไตย" เขาเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับที่มีการแก้ไขนั้นเป็นร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาแตกต่างอย่างขัดหลักการกับฉบับวรชัย เหมะ ที่สภามีการลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 และเห็นว่าการเคลื่อนไหวผลักดันให้ผ่านในวาระที่ 2 และ 3 ถือเป็นการ "ฝ่าฝืนหลักนิติรัฐนิติธรรม และฝ่าฝืนอุดมการณ์ประชาธิปไตย"

ล่าสุดวรพล ยังร่วมการชุมนุมของกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2556 ที่แมคโดนัลด์ สาขาอมรินทร์พลาซ่า และที่แยกราชประสงค์ เพื่อคัดค้านการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง (การอภิปรายของวรพล) และในวันที่ 10 พ.ย. 2556 เขาเดินทางไปเป็นวิทยากรให้กับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในระหว่างการจัดกิจกรรมโรงเรียนการเมือง นปช. ที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองด้วย (การอภิปรายของวรพล)

ทั้งนี้วรพล ยังเขียนบทความขนาดสั้น จั่วหัวว่า "การเมืองไทยปลาย 2556" เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไทเป็นระยะ และล่าสุดในวันนี้ (12 พ.ย.) เขาได้ส่งบทความหัวข้อ "การเมืองไทยปลาย 2556: กองทัพประชาชนแห่งประเทศไทย" มาให้เผยแพร่ด้วย นับเป็นงานเขียนชิ้นสุดท้ายของเขา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตือน! ‘หยุดงาน-สโลวดาวน์’ ตาม ‘สุเทพ’ เสี่ยงถูกเลิกจ้าง

Posted: 12 Nov 2013 08:12 AM PST

นักสหภาพแรงงาน เตือน 'หยุดงาน-สโลวดาวน์' ตามแนวทางอารยะขัดขืนเพื่อกดดันรัฐบาลของ 'สุเทพ' เสี่ยงถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย ชี้คนงานถ้าจะเคลื่อนควรมีข้อเรียกร้องของตนเองเพื่อไม่ถูกกลืนไปกับฝ่ายการเมือง

12 พ.ย.2556 การชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ ถ.ราชดำเนิน ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ มีการประกาศ 4 แนวทางอารยะขัดขืนเพื่อกดดันรัฐบาล เมื่อวานนี้ โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขึ้นปราศรัยเชิญให้ประชาชนหยุดงานทั่วประเทศ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 – 15 พ.ย.นี้ รวมทั้งการสโลวดาวน์ ชะลอความรวดเร็วการทำงานลง ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดงานได้

ทั้งนี้นักสหภาพแรงงานและนักวิชาการด้านแรงงาน ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงของนัดหยุดงานดังกล่าวอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย

จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ กล่าวว่า การสโลวดาวน์นั้นถ้ามันชัดเจนหมายถึงตั้งใจทำงานช้าลงอย่างเห็นได้ชัดนั้น นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างเราได้ หรือการหยุดงานตามกฏหมายแรงงาน เช่น ลาป่วย ลากิจ ลาคลอด คนงานมีสิทธิลางานได้ แต่ลางานนั้นก็ต้องมีเงื่อนไขของมัน เช่น การลางานในกรณีที่จะได้รับค่าจ้างอย่างลาปวยได้ 30 วัน ซึ่งเป็นการลาได้เท่าที่ป่วยจริง และในกฏหมายเขียนชัดเจนว่าต้องมีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันรับรอง หรือบางโรงงานที่มาสหภาพแรงงานก็อาจจะมีระเบียบข้อบังคับที่ดีกว่ากฏหมายกำหนดก็ได้

จิตรา กล่าวด้วยว่า หากคนงานลาป่วยแล้วมาร่วมชุมนุมมีภาพปรากฏชัด นายจ้างก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้ โดยที่จะไม่ได้รับเงินค่าชดเชย แต่การจะเลิกจ้างหรือไม่นั้นก็จะอยู่ที่นายจ้างว่าจะเอาผิดหรือไม่ด้วย และอาจไม่ได้เลิกในทันทีอาจถูกหยิบยกมาเลิกจ้างในภายหลังก็ได้  จึงอยากฝากผู้ที่จะใช้สิทธิหยุดงานโดยใช้สิทธิต่างๆ ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน อยากให้ดูในระเบียบข้อบังคับและเงื่อนไขการลาให้ดี และอย่าลาเป็นเท็จ เพราะจะนำไปสู่การเลิกจ้างโดยไม่ได้รับเงินค่าชดเชยได้

จิตรา กล่าวว่าหากจะรวมตัวกันนัดหยุดงานจริงๆ ควรมีข้อเรียกร้องที่เป็นประโยชน์กับคนงานไปด้วย เช่น สิทธิการมีสหภาพแรงงาน การขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม การข้อให้มีการปรับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดี เป็นต้น ต้องยกระดับข้อเรียกร้องของตัวเองให้เป็นรูปธรรมเพื่อไม่ให้ถูกกลืนไปกับข้อเสนอของคุณสุเทพ และไม่ควรหยุดในลักษณะปัจเจค ควรเคลื่อนในลักษณะองค์กรแรงงานและควรลงมติกันทั้งองค์กรด้วยไม่ใช่ต่างคนต่างทำ 

ส่วนกรณีมีผู้เสนอว่าให้หมอในที่ชุมนุมมีจำนวนมากออกใบรับรองแพทย์เพื่อลาป่วยให้นั้น จิตรา มองว่าแม้จะทำได้แต่ก็ไม่ได้รับความชอบธรรมเพราะการออกใบรับรองแพทย์โดยไม่มีมูลเหตุถือเป็นการลาเป็นเท็จ รวมทั้งหมอที่ออกใบรับรองให้นั้นหมอจะได้รับการลงโทษด้วย คนงานก็มีโอกาสสูงมากที่จะถูกเลิกจ้าง

 

นักวิชาการแรงงานชี้เสี่ยงตกงาน เตือนหยุดงานต้องดูระเบียบและกฏหมาย

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เขียนถึงประเด็นนี้ด้วยดังนี้

 

แม้ว่าการชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และคณะ จะยังคงเดินหน้าชุมนุมไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการประกาศเชิญชวนให้มีการหยุดงานทั่วประเทศในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2556 รวมถึงการงดจ่ายภาษี และถ้าเจอนายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลไม่ต้องพูดคุยด้วย แต่ให้เป่านกหวีดแทน เรื่องอื่นๆดิฉันคงไม่กล้าก้าวล่วง เพราะเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและความเชื่อที่แตกต่างที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งต่อกรณีเรื่อง "การหยุดงานทั่วประเทศในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2556" และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ได้พูดไว้  อีกทั้งยังมีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ทั้ง facebook twitter และ web blog ต่างๆ ในท่วงทำนองที่ว่า "การหยุดงาน 3 วัน สามารถกระทำได้ โดยไม่ถูกเลิกจ้าง หรือถ้าเลิกจ้างก็ต้องได้รับค่าชดเชย"  มีกระทั่งทนายบางคนเผยแพร่ข้อมูลผ่าน clip และกล่าวบางประโยคว่า "ถ้ามีใบรับรองแพทย์ก็แก้ปัญหาได้แล้ว หมอในม๊อบมีหลายคน" (คลิ๊กดูคลิป) ยิ่งทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลที่เป็น "ลูกจ้าง" จะถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้มากยิ่งขึ้น

กล่าวคือ ตามมาตรา 119 (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

ดังนั้นในกรณีนี้จึงหมายความได้ว่า

(1) การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน แม้ว่าจะมีวันหยุดงานมาคั่น ก็ให้นับเป็นวันทำงานต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้การละทิ้งหน้าที่จักต้องกระทำโดยเจตนาเท่านั้น เช่น มีเหตุภายนอกทำให้ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเกิดอุบัติเหตุ ถูกตำรวจควบคุมตัว กรณีนี้จึงจะไม่ถือว่ามีเจตนาละทิ้งหน้าที่

อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกา แต่จากการหารือกับอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาบางท่าน ถือว่าในกรณีนี้ "เป็นเหตุผลส่วนตัว"

ดังนั้นการที่ลูกจ้างขาดงานละทิ้งหน้าที่ไปร่วมชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2556 โดยไม่ได้ลาให้ถูกต้องตามระเบียบบริษัท ถือว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันแล้ว เป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

(2) โดยไม่มีเหตุอันสมควร หมายถึง การหยุดงานนั้นไม่มีความจำเป็น หรือสามารถขออนุมัติการลาล่วงหน้าได้ แต่ลูกจ้างไม่มีการขออนุมัติ

เหตุอันสมควรที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาแล้ว ได้แก่ เหตุสุดวิสัย ภัยธรรมชาติ หรือเหตุผลส่วนตัวตามหน้าที่ที่มีต่อครอบครัวและลูกจ้างต้องพึงกระทำตามหน้าที่นั้น เช่น ต้องพาบุตร หรือภรรยาที่เจ็บป่วยกะทันหันไปโรงพยาบาล

ทั้งนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาเช่นเดียวกันว่า เหตุผลส่วนตัวทางสังคม ไม่ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร เช่น ไปงานแต่งงานเพื่อน งานบวชญาติ หรืองานศพคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติสนิท เป็นต้น

(3) ถ้าลูกจ้างมิได้เจ็บป่วยจริง แต่ไม่มาทำงานโดยอ้างว่าป่วย ถือว่าเป็นเท็จ และกล่าวได้ว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ เช่น ลูกจ้างแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาว่าป่วย จากนั้นไปเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2556 แม้ว่าลูกจ้างจะมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างมิได้ป่วยจริง อีกทั้งมีรูปการไปชุมนุมปรากฏผ่าน social media ต่างๆ ในกรณีนี้ถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจึงฝากมายังพี่น้องแรงงานทุกกลุ่ม ลูกจ้างบริษัททุกแห่ง ที่จะมาชุมนุมในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2556 ให้ลางานตามระเบียบขั้นตอนบริษัท/องค์กร/หน่วยงานนั้นๆแทน ทั้งนี้ถ้านายจ้างไม่อนุญาตให้ลา ก็ยังคงสามารถมาชุมนุมในตอนเย็นหลังจากเลิกงาน หรือออกกะแล้วก็ได้

ไม่คุ้มค่ากันเลยถ้ามาชุมนุมแล้วต้องตกงาน สุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่มีน้ำยามารับผิดชอบชีวิตพี่น้องแรงงานแน่นอน !!!!! บทเรียนสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็พบมาแล้วว่าเป็นพรรคที่ละเมิดสิทธิแรงงานมิใช่น้อย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านอุดรค้านเวทีน้ำ ชี้แค่ประชาสัมพันธ์ ผู้นำชุมชนเผย ‘โขงชีมูล’ ล้มเหลว

Posted: 12 Nov 2013 06:46 AM PST

ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดร เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นการจัดการน้ำของรัฐบาล ระบุรัฐไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านได้ข้อมูลไม่เพียงพอ ส่วนผู้นำชุมชนเผยโครงการโขงชีมูลล้มเหลว

12 พ.ย.56 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับคณะอนุกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยการแต่งตั้งของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ.จัดเวทีประชุมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ในวงเงิน  3.5 แสนล้านบาท ที่ห้องประชุมฟ้าหลวงโรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี เมื่อวานนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีข้าราชการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 200 คน รวมทั้งชาวบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีซึ่งคัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตชราว 50 คน เข้าร่วมเวทีดังกล่าวด้วย โดยมีนายสุทธินันท์  บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

จากนั้น เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนชาวอุดรธานีเริ่มขึ้น พร้อมกับนำเสนอข้อมูลโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผ่านวีดีทัศน์เป็นเวลาประมาณ 15 นาที แล้วจึงเปิดเวทีให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยกำหนดให้ผู้ร่วมอภิปรายมีเวลาได้แต่ละครั้งไม่เกิน 3 นาที

รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า หากจะมีการก่อสร้างใดๆ หรือมีโครงการขนาดใหญ่ในประเทศไทย รัฐธรรมนูญระบุว่าต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ดังนั้น แผนแม่บทโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศตามที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะทำเฉพาะในพื้นที่ 36 จังหวัดที่มีโครงการนั้นไม่ได้ ต้องจัดทำทั้ง 76 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วยเพราะเงินที่จะไปลงตามโครงการต่างๆ นั้น เป็นเงินภาษีอากรที่จะต้องเก็บจากราษฎรทุกคน

"ที่จังหวัดอุดรธานีแม้ไม่มีโครงการตามพื้นที่ 36 จังหวัด แต่ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในภาพรวมได้ว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับโครงการ หรือหากมีปัญหาการก่อสร้างเขื่อน การก่อสร้างคลองระบายในพื้นที่ของท่านก็เสนอแนะเข้ามาได้" ประธานที่ปรึกษาสวนดุสิตโพลกล่าว

ด้านนางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งได้ยื่นหนังสือคัดค้านเวทีการรับฟังความคิดเห็น กล่าวว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีขึ้นในภาคอีสานหลายจังหวัด ไม่ได้เป็นไปตาม มาตรา 57วรรคสอง ที่กำหนดให้ "การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎ ที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ" และมาตรา 67 วรรคสองที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า "การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน  และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ"

แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวด้วยว่า การที่ศาลปกครองมีคำสั่ง ซึ่งนอกจากจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึงแล้ว กลุ่มอนุรักษ์ฯ เห็นว่าโครงการของรัฐจะต้องมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันกับรัฐในการดำเนินโครงการ แต่การนำเสนอข้อมูลผ่านวีดีทัศน์เพียง 10 นาทีเศษ ให้ผู้เข้าร่วมได้รับชมก่อน แล้วเปิดเวทีให้แต่ละคนไม่เกิน 3 นาที ได้อภิปรายตามข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงทำให้ประชาชนขาดข้อมูลอย่างรอบด้านในการพิจารณาผลดี และผลเสียของโครงการ

"การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา มีลักษณะที่เป็นการโฆษณา และประชาสัมพันธ์โครงการ โดยให้หน่วยงานของรัฐกะเกณฑ์คนมาร่วมลงชื่อรับฟังและสนับสนุนโครงการมากกว่า" นางมณีกล่าว

ขณะที่นายประภาส อำคา กำนันตำบลอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ชาวบ้านในพื้นที่รอบหนองหานกุมภวาปี 3 อำเภอ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการบริหารจัดการน้ำของรัฐที่ไม่ยั่งยืน ภายใต้โครงการโขงชีมูลในอดีต โดยการขุดลอกและทำคันคูกั้น ส่งผลให้น้ำจากลำห้วย 8 สาย ไหลลงสู่หนองหานไม่ทัน จึงเกิดปัญหาน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ไร่นาสร้างความเสียหายให้กับชาวบ้าน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีโครงการขุดลอกหนองหานกุมภวาปีขึ้นอีก ภายใต้งบประมาณ 964 ล้าน ระยะเวลา 3 ปี คือ ปี 55-57 แต่เดียวนี้ใกล้จะสิ้นปี 56 แล้วโครงการยังคืบหน้าไม่ไปไหนเลย ก็ขอฝากให้รัฐบาลได้ติดตามโครงการนี้ด้วย

"ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำในหนองหานกุมภวาปีให้ดีขึ้นเลย ชาวบ้านต้องก้มหน้ารับกับปัญหา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนไปตามโครงการที่รัฐจัดให้" นายประภาสกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ + ภาพ: สถานการณ์และพิกัดชุมนุมใน กทม. - 12 พ.ย. 56

Posted: 12 Nov 2013 06:29 AM PST

12 พ.ย. 2556 - สรุปสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 12 พ.ย. 56 โดยแบ่งเวทีการชุมนุมออกเป็น 3 จุดในพื้นที่ กทม. ชั้นใน มีรายละเอียดต่อไปนี้

 

ชมภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่

 

ชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

โดยวันนี้ผู้ชุมนุมกลุ่มหลักยังคงเป็นการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งเริ่มต้นชุมนุมที่สถานีรถไฟสามเสนในวันที่ 31 ต.ค. และต่อมา ได้ย้ายมาปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการชุมนุมได้ประกาศขอมติผู้ชุมนุมเพื่อปักหลักชุมนุมต่อจนกว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทั้งหมด จะหายไปจากสารบบของสภา

นอกจากนี้สุเทพ และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์รวม 9 คน ได้ประกาศลาออกจาก ส.ส. และในวันนี้ ได้เดินทางไปที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะเดียวกันมีการประกาศมาตรการอารยะขัดขืน 4 ข้อได้แก่ 1. หยุดงานและหยุดเรียนในวันที่ 13-15 พ.ย. 2.หยุดชำระภาษี 3.ปักธงชาติ พกนกหวีด 4.เมื่อพบนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือคนในรัฐบาล ไม่ต้องพูดด้วย แต่ให้เป่านกหวีด

 

กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.)
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

อีกกลุ่มที่ชุมนุมในพื้นที่ใกล้กันคือ กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) มีแกนนำที่เรียกว่า "คณะเสนาธิการร่วม" โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ เสนาธิการร่วม กปท. ได้อ่านคำประกาศ "ปฏิวัติประชาชน" แจ้งให้นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม หยุดพักงาน และให้ ผบ.ทุกเหล่าทัพและปลัดกระทรวงทุกกระทรวง เข้ามาพบคณะเสนาธิการร่วม กปท. นอกจากนี้ในวันนี้ (12 พ.ย.) มีการเคลื่อนขบวนการชุมนุมไปที่พระบรมหาราชวังเพื่อถวายฎีกาขอตั้งสภาประชาชนเพื่อทำการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขวิกฤตประเทศ

 

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
สะพานมัฆวานรังสรรค์

นอกจากนี้ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยอุทัย ยอดมณี และนิติธร ล้ำเหลือ ได้ปักหลักชุมนุมอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ไม่ไกลจากแนวคอนกรีตของตำรวจซึ่งทำการปิดกั้นเส้นทางที่มุ่งไปสู่รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล โดยเมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้ อุทัย ยอดมณี แกนนำ คปท. ได้ไปปราศรัยร่วมกับชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ที่ ถ.สีลม ใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดงเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนินด้วย

โดย คปท. ชุมนุมมาตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. 56 โดยชุมนุมใกล้ทำเนียบรัฐบาล ต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ทำให้ในวันที่ 10 ต.ค. ผู้ชุมนุมย้ายไปชุมนุมนอกพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง คืออยู่บริเวณ ถ.พระราม 6 ใกล้แยกอุรุพงษ์ และต่อมาในวันที่ 7 พ.ย. ได้ย้ายจากแยกอุรุพงษ์ มาชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ดังกล่าว

สำหรับข้อเรียกร้องของ คปท. ยังคงเป็นการเรียกร้องให้ประเทศไทยมีการปฏิรูปการเมือง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ประจักษ์ ก้องกีรติ: ทางเลือกภายใต้การเมืองสองขั้ว

Posted: 12 Nov 2013 06:23 AM PST

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ประชาไทสนทนากับฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS) ซึ่งเขาเห็นว่านี่เป็นจังหวะดีที่พรรคการเมืองทางเลือกจะก่อรูปก่อร่างขึ้นเป็นช่องทางใหม่ๆ สำหรับประชาชนในภาวะที่สองพรรคการเมืองใหญ่แสดงผลงานได้ย่ำแย่และไม่เคารพต่อฐานเสียงของตนเอง

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาความเป็นไปของการเมืองภาคประชาชนและความรุนแรงทางการเมืองไทย ตั้งข้อสังเกตไปในทิศทางเดียวกันว่านี่อาจจะเป็นจังหวะที่สุกงอมในการเกิดขึ้นของพรรคเล็กพรรคน้อย เพราะ 2 พรรคใหญ่อย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทยล้วนแสดงให้เห็นว่าห่วยและไม่ยึดถือในอุดมการณ์ที่ตนได้ประกาศต่อมวลชน 

ในส่วนของเพื่อไทยต้องปฏิรูปพรรคให้พ้นจากสภาวะมุ้งทางการเมือง ไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมือง และพัฒนาคุณภาพ ส.ส. เขตของตนเอง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ด้อยคุณภาพ ขณะที่ความขัดแย้งในการบริหารระหว่างมุ้งเก่าของพี่ชาย-ทักษิณ ชินวัตร กับมุ้งใหม่ของน้องสาว-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเพียงความขัดแย้งเชิงเทคนิค ไม่ใช่ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่จะเป็นสัญญาณของการพัฒนาพรรคที่มีฐานมวลชนขนาดใหญ่ของประเทศนี้จริงๆ

เขาเห็นว่าคนเสื้อแดงตกอยู่ในฐานะที่ลำบาก มีทางเลือกหลักๆ สองทาง คือ ตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง กับสอง คือพยายามกดดันให้พรรคเพื่อไทยปฏิรูปตัวเองให้ได้

อย่างไรก็ตาม หนทางส.ส.เขต พรรคทางเลือกที่สามในความหมายที่เป็นพรรคเชิงอุดมการณ์นั้นยาก ไม่ง่ายที่จะโต โดยเฉพาะในต่างจังหวัด สิ่งสำคัญที่ฉุดรั้งไม่ให้พรรคทางเลือกเติบโตได้แม้ในภาวะที่อุดมการณ์ทางการเมืองนั้นแตกตัวออกเป็นหลายชุดเช่นนี้ ก็เพราะการเมืองไทยยังอยู่ภายใต้ความขัดแย้งหลัก 2 ขั้ว ทำให้แม้จะเห็นต่างกันอย่างไร ก็พร้อมจะหลับตาจูงมือไปด้วยกันก่อน

เขามีข้อเสนอว่า ทางออกที่เป็นไปได้อาจจะเป็นการสร้างแนวร่วมพรรคการเมืองให้แข็งแกร่ง ขณะที่ประชาชนและแอคทิวิสต์ผู้เบื่อหน่ายพรรคห่วยๆ ก็อาจจะต้องเดินในแนวทางของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อไป


ทำไมพรรคทางเลือกจึงยังไม่สามารถมีที่ยืนในการเลือกตั้งไทย

คือโดยระยะยาวมันจำเป็นที่จะต้องมีอยู่แล้วในแง่การเป็นพรรคทางเลือก เพราะจริงๆ มันไม่ใช่ทุกสังคมที่จำเป็นจะต้องมีระบบสองพรรค มันไม่ใช่ระบบสองพรรคเป็นระบบที่จะต้องดีที่สุด ยุโรปหรือที่ไหนหลายที่มันก็มีระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค มันต้องตอบสนองผลประโยชน์หรือฐานทางสังคมที่หลากหลาย แต่จริงๆ ตอนนี้ ภาวะที่ชนชั้นนำไม่ยอมเข้ามาเล่นการเมืองในระบบ นั่นแหละเป็นตัวที่ทำให้พรรคทางเลือกเกิดยาก เพราะถึงที่สุด ถ้าเราดูอย่างปรากฏการณ์ที่เสื้อแดงต้องกลับมาหาพรรคเพื่อไทยตอนนี้ เพราะพอเกมเปลี่ยนกลายเป็นเกมล้มรัฐบาลแล้ว เขาก็รู้ว่าต้องผนึกกำลังกัน

โจทย์การเมืองมันก็กลับไปที่เดิมว่าคุณจะเอารัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลจากการชี้นำ

ใช่ คือมันเป็นภาวะสองขั้วไง ซึ่งภาวะสองขั้วมันทำให้พรรคทางเลือกที่สามหรือสี่ เกิดยาก คือเกิดก็ได้ แต่มันจะเกิดแบบค่อนข้างแคระแกรน คือมัน paradox ทั้งเป็นสถานการณ์ที่เหมือนสุกงอม ที่คนเริ่มเรียกร้องทางเลือกใหม่ๆ แต่ในขณะเดียวกันโจทย์การเมืองพื้นฐานยังไม่เปลี่ยน คือความพยายามจากชนชั้นนำกลุ่มหนึ่งที่จะล้มระบอบประชาธิปไตยไปโดยสิ้นเชิง มันทำให้คนที่ไม่ว่าจะเห็นต่างกันอย่างไร แต่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย ก็ยังเกาะกันอยู่

แต่ว่าในภาวะที่ต้องเกาะกันอยู่ คือเราเห็นรอยร้าวแล้ว คือของ ปชป. ก็จะเห็นว่าคนที่ออกมาบนท้องถนนก็มีหลายกลุ่ม ขณะที่เพื่อไทย แม้จะต้องเกาะกันอยู่ แต่มันมีรอยร้าวเกิดขึ้น เป็นการเมืองภาวะฉุกเฉิน
มันก็มีอยู่จริงๆ น่ะ

หลังรัฐประหาร พรรคการเมืองใหม่ คนก็ไม่เลือก เพราะจะทำให้เสียงแตก ก็ต้องเลือกปชป.ไว้ก่อน

ใช่ เพราะกลัวเสียคะแนน เสียของ ตอนนี้คนโหวตแบบ strategy (การเลือกโดยคาดหวังเชิงยุทธศาสตร์)

มันจำเป็นจริงๆ หรือที่จะต้องเล่นเลือกแบบยุทธศาสตร์ ขนาดนี้ จริงแค่ไหนที่ถ้าไม่โหวตเพื่อไทยจะทำให้มีฝั่งล้มประชาธิปไตยเข้ามาเทคโอเวอร์ได้

มันจริงก็ต่อเมื่อมันมีรัฐประหารหรือตุลาการภิวัตน์เกิดขึ้น แต่ตอนนี้คือมันยังมีอยู่แหละ จริงมากน้อยแค่ไหนไม่รู็ คือผมไม่ได้บอกว่ามันไม่ควรมีพรรคทางเลือกที่สามนะ จริงๆ ผมชี้ไว้ตั้งแต่ตอนที่มันเลือกตั้งเสร็จใช่ไหม ก.ค.2554 ว่าตอนนี้เมืองไทยเข้าสู่โมเดลสองพรรคไปแล้ว ในความหมายที่ว่ามีสองพรรคเท่านั้นที่เป็นคู่แข่งกันจริงๆ และมีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้ง เวลาเราพูดถึงระบบสองพรรคไม่ได้หมายความว่า ไม่มีพรรคที่สามที่สี่ที่ห้าอยู่ในระบบ แต่หมายความว่าเฉพาะสองพรรคใหญ่เท่านั้นที่มีโอกาสชนะเลือกตั้ง เหมือนในอเมริกาไม่ได้มีอยู่สองพรรค มีพรรคเยอะแยะไปหมด แต่พรรคอื่นไม่ได้มีที่นั่ง ไม่ได้ชนะมามีโอกาสได้เป็นรัฐบาล

ทีนี้ พรรคอื่นๆ ตอนนี้ที่มันอยู่ในระบบ ผมเห็นด้วยว่าไม่ได้เป็นทางเลือก เพราะอย่างพรรคอย่างพรรคชาติไทย ภูมิใจไทย พลังชล จริงๆ แล้วมาเป็นพรรคที่สามที่สี่ที่ห้า แต่ไม่ได้เป็นทางเลือกเชิงนโยบายหรือทางเลือกเชิงอุดมการณ์ลย แต่เป็นมรดกตกทอด เป็นโมเดลแบบโบราณมากตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยก่อน 2540  คือมีฐานะเป็นแค่มุ้งหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งไม่ได้นำเสนอนโยบายหรือทางเลือกเชิงอุดมการณ์ที่แตกต่างออกไปเลย เป็นแค่มุ้งที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนำที่เป็นนายทุนนักการเมืองท้องถิ่นแค่นั้น แล้วก็เอาพรรคของตัวเองมาเพื่อต่อรองอำนาจผลประโยชน์ในการเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งตอนนี้จริงๆ แล้ว ในการเลือกตั้ง หลังใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา พรรคพวกนี้มันเสื่อมลงแล้ว  แล้วเราจะเห็นว่าล่าสุดพรรคที่สามที่สี่จำนวนที่นั่งมันก็น้อยลงทุกทีๆ และห่างไกลกับพรรคที่หนึ่งที่สองมาก ตอนนี้เรามีเพื่อไทย พรรคอันดับหนึ่งที่ได้เสียงเกินครึ่ง 260 กว่าเสียง  ปชป.อีกร้อยกว่าเสียง พรรคที่สามหล่นฮวบลงมาเหลือสามสิบกว่าเสียง แล้วที่เหลือก็เป็นพรรคต่ำสิบอีกเยอะแยะ รวมถึงพรรคหนึ่งที่นั่งสองที่นั่ง อย่างพรรคมาตุภูมิ รักษ์สันติ

ซึ่งแต่เราก็เห็นแล้วว่าหลายพรรคเหล่านี้ก็เป็นมุ้งที่แตกมาจากพรรคไทยรักไทยนั่นแหละ ถ้าไม่มี คมช. ไม่มีรัฐประหาร ไม่มีการมาบีบ เขาก็ไม่แตกกันหรอก มุ้งต่างๆ เหล่านี้เดิมอยู่ไทยรักไทยหมด สุวัจน์ ลิปตพัลลภ

ฉะนั้น ใช่ โดยสถานการณ์ตอนนี้เป็นระบบสองพรรคแล้วโดยที่พรรคที่สาม-ห้าแทบไม่มีความหมาย ในความหมายที่ว่าไม่ได้เป็นทางเลือกให้กับประชาชน ฉะนั้นโดยสถานการณ์มันจำเป็นที่จะต้องมีพรรคทางเลือกที่ไม่ใช่แค่สองพรรคใหญ่ โดยเป็นพรรคทางเลือกที่ไม่ใช่โมเดลแบบเดิม แบบพรรคชาติไทย ภูมิใจไทย พลังชล

ซึ่งถ้าอย่างนั้นโมเดลพรรคทางเลือกที่ควรจะเป็น ที่จะสามารถเบียดแทรกพรรคการเมืองใหญ่ที่อยู่ในภาวะที่ต้องผนึกกันไว้ก่อน พรรคการเมืองทางเลือกที่จะเบียดแทรกขึ้นมาได้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

พรรคทางเลือกในประเทศอื่นๆ ที่มันจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้ในการเลือกตั้งและอยู่ได้ยาวหน่อย ไม่ใช่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ แข่งเลือกตั้งครั้งเดียวและล้มไป มันต้องมีสองสามอย่าง คือต้องมีฐานทางสังคมที่ชัดเจนว่ากำลังเป็นตัวแทน (represent) ใคร และใครคือกลุ่มเป้าหมายที่จะเลือกคุณ เพราะถ้าไม่มีฐานทางสังคม ก็จะกลายเป็นพรรคของกลุ่มนักกิจกรรม นักคิดปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง ที่เห็นอะไรตรงกันแล้วเรามาตั้งกลุ่ม โอเค เราเสนอนโยบายที่เป็นทางเลือกจริง แต่ถามว่ามีฐานทางสังคมหรือเปล่า ที่เขาจะเลือกพรรคนี้ ซึ่งแตกต่างไปจากพรรคใหญ่เลยที่เขาเคยเลือกอยู่ ฐานทางสังคมนั้นจะแตกตัวออกมาไหม เช่น ในฝั่งเสื้อแดง จะมีกลุ่มเสื้อแดงที่พอถึงเวลาเลือกตั้ง จะแตกตัวออกมาไม่โหวตเพื่อไทย แล้วมาโหวตพรรคใหม่ ซึ่งเป็นเฉดแดงเหมือนกัน แต่ไม่ใช่เฉดเพื่อไทย มีไหม ก็ต้องประเมินว่ากลุ่มก้อนทางสังคมตรงนี้ ฐานของผู้เลือกตั้งมีมากน้อยขนาดไหน

ประเมินอย่างไร เพื่อไทยประเมินว่าไม่เกินหมื่น เพราะในช่วงแรกที่เขาดันนิรโทษกรรม เขาคิดว่าในกลุ่มเสื้อแดงด้วยกันเองคนที่จะต้านเขา ไม่เกินหมื่น

คิดว่าเกิน แต่เกินมากน้อยขนาดไหนไม่รู้

คิดว่าใครที่จะแตกออกไป อย่างเพื่อไทย เขาประเมินจากฐานว่าเขาคุมแต่ละจังหวัดได้ เช่น อีสาน

เสื้อแดงเชิงอุดมการณ์ เสื้อแดงที่เข้าใจประเด็นทางอุดมการณ์ ที่ผ่านมามันมีอยู่ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อหลักสิทธิมนุษยชน ที่มันมากไปกว่าแค่เรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ หรืออยู่ภายใต้เครือข่ายหัวคะแนนแบบเก่า มันมีอยู่จริง เสื้อแดงแบบนี้ที่มีการเติบโตทางคุณภาพเยอะมาก แต่จำนวนมากน้อยขนาดไหนเราประเมินไม่ได้เพราะที่ผ่านมามันรวมอยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกัน มีแต่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียว ที่จะ represent ผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้ ฉะนั้นอย่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จะเห็นว่าหลายเขตเลือกตั้ง ส.ส.เพื่อไทย คุณภาพแย่มาก คนบ่นระงมไม่อยากไปเลือกตัวบุคคลคนนั้น แต่ก็ต้องเลือก เพราะก็ไม่สามารถทำใจไปโหวตพรรคอื่นได้ พรรคอื่นอาจจะนำเสนอตัวเลือกที่น่าสนใจกว่าด้วยซ้ำในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในบางเขต แต่ว่าก็ต้องเลือกเพื่อไทย เพราะเหตุผลเชิงยุทธศาสตร์ หรือเหตุผลเชิงการเมืองในภาพรวม มีคนมาบ่นเยอะมาก โดยเฉพาะในเขต กทม. ส.ส.ที่เพื่อไทยส่งมาลง บางเขตดูไม่ได้เลย บางคนก็ย้ายมาไม่รู้กี่พรรคแล้ว บางคนคนในเขตก็รู้ว่าไม่เคยทำงาน ก็เกาะกระแสพรรคมาแค่นั้น คนก็จำใจต้องไปโหวต  ถ้ามีพรรคทางเลือกในฝั่งเสื้อแดงด้วยกันที่นำเสนอคนที่ดีกว่า ก็อาจจะดึงเสียงไปได้  แต่ตอนนี้ มันยังประเมินไม่ออกว่ามากน้อยขนาดไหน

แต่การเลือกตั้งที่่ผ่านมา เพื่อไทยในกรุงเทพก็ได้น้อยกว่าที่คิด

แต่เสียงปาร์ตี้ลิสต์ไม่น้อยนะ ถ้าเอาปาร์ตี้ลิสต์หรือเอายอดรวม ส.ส.แต่ละเขตมารวมกัน ห่างกับประชาธิปัตย์นิดเดียวเอง แทบไม่มากต่างกัน เพราะแต่ละเขตแพ้ชนะกันนิดเดียว ส.ส.กทม. ระหว่างประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย 

แต่ทีนี้ถ้าตอบคำถามอีกทีก็คือว่า ส.ส.เขตอาจจะยากสำหรับพรรคทางเลือก เพราะตอนนี้ชัดเจนถ้าเอาผลการเลือกตั้งมากางดู จังหวัดจำนวนมากเลือกแบบยุทธศาสตร์ คือเลือกยกจังหวัด ถ้า map โดยดูสี จังหวัดไหนเลือกเพื่อไทยทั้งพรรคเป็นสีแดง จังหวัดไหนเลือก ปชป. ทั้งพรรคเป็นสีฟ้า  จะเห็นว่าเหนือกับอีสานออกมาแดงพรึ่บเลย ใต้ ตะวันตก กับตะวันออก บางจังหวัดเป็นสีฟ้าหมด  เหลือไม่กี่จังหวัดที่พรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยแทรกขึ้นมาได้ จังหวัดที่มี ส.ส.มาจากหลายพรรค หรือเรียกว่า "จังหวัดเรนโบว์" "จังหวัดสีรุ้ง" แบบเบี้ยหัวแตก เหลือน้อยแล้ว ตอนนี้มีลักษณะภูมิภาคชัดเจน เหลือแค่ภาคกลางนี่แหละที่ยังไม่มีใครยึดครองได้ ยังมีหลายพรรคแข่งกันอยู่

ซึ่งภาคกลางก็ต้องไปดูอีกทีว่ามาจากฐานตัวบุคคลหรือเปล่า

ใช่ เช่น เพราะพรรคอย่าง บรรหาร เขาทำฐานไว้แน่นหนา แข็งแกร่งมานาน  อย่างสุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี ก็ยังรักษาฐานไว้ได้ หรือ อีสานใต้ พรรคภูมิใจไทยก็ยังรักษาฐานไว้ได้ แถวบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
เพราะฉะนั้นในระดับ ส.ส.เขต พรรคทางเลือกที่สามในความหมายที่เป็นพรรคเชิงอุดมการณ์ ยาก ไม่ง่ายที่จะโต โดยเฉพาะในต่างจังหวัด

เพราะเวลาจะชนะในระดับ ส.ส.เขต มันต้องทั้งนำเสนอตัวบุคคลที่เป็นที่รู้จักที่เข้มแข็ง ปฏิเสธไม่ได้ ถึงจะไม่ซื้อเสียง แต้องมีงบในการหาเสียง จัดปราศรัย เคาะประตูบ้าน จ้างคนมาช่วย เพราะ ส.ส.เขตจะแค่ชูนโยบายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแนะนำตัวให้รู้จัก ต้องลงพื้นที่ หาเสียงต่อเนื่อง ถ้าอยู่ดีๆ กระโดดลงไปในพื้นที่ๆ ใดพื้นที่หนึ่ง โดยคนไม่รู้จักเลย ลำบาก ถ้าจะทำต้องเริ่มลงพื้นที่ตั้งแต่วันนี้ ถ้าจะได้ที่นั่งบ้างในระดับ ส.ส.เขต ในอีกสองปี ถ้าทำ 3-6 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ไม่มีทางสู้กับพรรคเดิมที่อยู่ในระบบแล้วได้

ฉะนั้น โอกาสที่เป็นไปได้มากกว่าสำหรับพรรคทางเลือกที่จะได้ที่นั่งคือ ปาร์ตี้ลิสต์ แล้วจริงๆ ระบบปาร์ตี้ลิสต์ก็ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้พวกพรรคทางเลือกเชิงนโยบายหรือเชิงอุดมการณ์โตได้ คือคุณอาจจะไม่มีฐานเสียงในพื้นที่ ไปสุพรรณบุรี ไม่มีใครรู้จัก อาจเป็นที่รู้จักในโลกโซเชียลมีเดีย เป็นนักกิจกรรม เป็นปัญญาชนที่มีชื่อเสียง แต่ลงพอไปในระดับเขต ไม่มีใครรู้จักคุณเลย ลำบาก  แต่ถ้าระบบปาร์ตี้ลิสต์แล้วมีนโยบายที่ชัดเจน ยังเป็นไปได้ เพราะโอกาสที่คนจะโหวตแบบแบ่งคะแนนมันมีเยอะ เพราะเขามีสองคะแนนในมือ คะแนนหนึ่งเลือก ส.ส.เขต อีกคะแนนเลือกพรรค ถ้าพรรคทางเลือกนี้สามารถเสนอนโยบายที่ก้าวหน้าจริง ตอบสนองปัญหาจริงๆ  แล้วโยงกับความเดือดร้อนต้องการของกลุ่มทางสังคมจริงๆ  ก็อาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เสื้อแดงอาจจะเลือก ส.ส.เขต เพื่อไทย แต่ปาร์ตี้ลิสต์เลือกพรรคแดงก้าวหน้า (สมมติ) หรือฝั่งเสื้อเหลืองอาจมีปรากฏการณ์ที่ ส.ส.เขตก็เลือกคนที่เขาเลือกกันมาตั้งนานแล้ว อาจจะเลือก ส.ส.ปชป. เหมือนเดิม แต่ปาร์ตี้ลิสต์อาจจะเลือกพรรคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองใหม่กลับมาทำพรรคจริงจัง หรือพรรคหน้ากากขาว ถ้าหน้ากากขาวมาตั้งพรรคและนำเสนอนโยบายที่ก้าวหน้ากว่าปชป. ก็เป็นไปได้

ที่บอกว่าต้องมีฐานทางสังคมที่ชัดเจน อีกข้อคือ
สอง คือต้องมีอุดมการณ์ที่แตกต่างจริงๆ จากพรรคการเมืองใหญ่ที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว เพราะไม่อย่างนั้นคนก็จะรู้สึกว่าเลือกพรรคใหญ่ดีกว่า เพราะอย่าลืมมันกลับไปที่ประเด็นที่เราคุยกันตอนต้น โจทย์ใหญ่ของการเมืองไทย คือ มันมีการต่อสู้กันอยู่จริงระหว่างพลังที่ปฏิเสธระบอบรัฐสภา ระบบการเลือกตั้ง กับระบบที่ยอมรับการเลือกตั้ง ยอมรับเวทีรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นพื้นฐาน ฉะนั้น ภาวะที่มีการต่อสู้ของสองพลังนี้ มันเลยเกิดภาวะ polarization หรือแยกเป็นสองขั้ว คนต้องถูกผลักให้เลือกข้างๆ ข้างหนึ่ง การเลือกตั้งหลังรัฐประหารเป็นต้นมา ทั้งปี 50 54 เราก็จะเห็นว่าคนโหวตแบบยุทธศาสตร์ รวมทั้งการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.  โจทย์กลายเป็นเหลือแค่ว่า ไม่เกี่ยวว่าคุณชอบสุขุมพันธุ์หรือไม่ แต่ถ้าคุณไม่ต่อต้านทักษิณ คุณต้องเลือกสุขุมพันธุ์ ตอนนั้นโจทย์มันหดมาเหลือแค่นี้

ภาวะอย่างนี้มันยังดำรงอยู่ ฉะนั้น พรรคที่จะเกิดใหม่ทั้งฝั่งเสื้อแดงและฝั่งเสื้อเหลือง ที่จะเกิดขึ้นมาเพราะไม่พอใจพรรคของตัวเองที่มีอยู่ ต้องมั่นใจว่าจะนำเสนออุดมการณ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจนจริงๆ คนเขามีสองคะแนนก็ต้องตัดสินใจเลือก ไม่งั้นเขาก็ไม่โหวตให้คุณอยู่ดี

จากปรากฏการณ์ที่พรรคเพื่อไทยเสนอนิรโทษกรรมเหมาเข่ง เราอาจจะประเมินจากเฟซบุ๊กซึ่งส่วนใหญ่คนที่ใช้เป็น ปัญญาชน คนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางที่เข้าถึงเทคโนโลยี มีความเห็นเยอะ จากนักกิจกรรม นักวิชาการรุ่นใหม่ที่แสดงความผิดหวัง แต่เรากำลังมองมุมกลับว่าช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา  ไม่แน่ใจว่าพลังของคนกลุ่มนี้ ปัญญาชน คนชั้นกลาง มีพลังมากแค่ไหนที่จะดึงคะแนนออกมาจากเพื่อไทย หรือฐานมวลชนออกมาได้ ประเมินว่ากลุ่มนี้มีพลังมากพอไหม อาจมีนักวิชาการอย่างสันติประชาธรรม นิติราษฎร์ ที่นำเสนอชุดความคิดอุดมคติ แต่มันมีผลสะเทือนมากพอที่จะทำให้คนเสื้อแดง ไม่ใช่แค่มีความจงรักภักดีต่อทักษิณเท่านั้น แต่ว่าขยายไปสู่ชุดอุดมการณ์ประชาธิปไตย

ผลสะเทือนทางความคิดมีแน่ ปัญญาชน นักกิจกรรรม สื่อก้าวหน้า นิติราษฎร์จัดงานทีคนฟังไม่รู้เท่าไหร่ แต่ถามว่า คนเหล่านี้จะไปทำพรรคการเมืองหรือเปล่าล่ะ นั่นคือคำถามสำคัญ เพราะพรรคการเมืองมันไม่ใช่ง่ายแล้ว มันคือการจัดองค์กรอีกแบบหนึ่ง มันคือสถาบันทางการเมือง ซึ่งต้องการการทำงานต่อเนื่อง ต้องการการอุทิศตัว ต้องการเวลา จะทำแบบงานอดิเรกไม่ได้

แล้วส่วนใหญ่ นักวิชาการไม่ได้มีทักษะในการทำงานพรรคการเมืองหรอก ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาก็เจ๊งหมด หรือถ้าอาจารย์มหาวิทยาลัยจะทำ ถ้าจะทำก็ขาหนึ่งอยู่ในระบบ อีกขาอยู่ในพรรคการเมืองก็ไม่สำเร็จ ต้องไปทำเต็มตัว เพราะแง่หนึ่ง พูดแบบจริงๆ เลยคือ การทำพรรคการเมืองยากกว่าการทำขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอีก เพราะขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมอาจจะไม่ต้องทำงานตลอดเวลา  เคลื่อนเมื่อมีประเด็น เมื่อสถานการณ์เรียกร้อง แล้วคุณก็อุทิศตัวเฉพาะในช่วงเวลานั้น ออกไปจัดงาน มีคนเข้าร่วมไม่ต้องมาก เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่เชิงปริมาณ  ถ้าสื่อสนใจรายงานข่าวก็สร้างอิมแพคได้แล้ว ประเด็นนั้นก็กลายเป็นที่ถกเถียง นักวิชาการก็เหมือนกัน เราแค่คนสองคน นิติราษฎร์หกเจ็ดคนมีความคิดที่ชัดเจนนำเสนอสู่สังคม สังคมก็ตอบรับ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ปริมาณ แต่ถ้าคุณไปเล่นเกมพรรคการเมือง แน่นอน ท้ายสุดเป้าหมายคือคุณก็ต้องการชนะเลือกตั้ง ต้องลงแข่งขันการเลือกตั้ง เมื่อนั้นเป็นเรื่องปริมาณ ถ้าไมมีคนโหวตให้ก็จบ ถ้ารณรงค์แทบตาย มีคนสนใจความคิด สื่อพูดถึง เพราะรวบรวมคนที่มีความคิดดีเป็นกลุ่มก้อน แต่ท้ายที่สุดไม่มีใครเลือกเลย ไม่ได้สักที่นั่งก็ไม่มีประโยชน์

เงื่อนไขหนึ่งของพรรคการเมือง คือต้องนำเสนอชุดความคิดที่ไปได้ดีกว่าที่มีอยู่ ในข้อเท็จจริงคือตอนนี้มองเห็นไหมว่ามีปัจจัย-กลุ่มคนอะไรที่จะมาเป็นพรรคการเมืองทางเลือก 

ก็คือกลุ่มทางสังคม นี่คือปัจจัยแรก เชื่อว่ามีแล้ว กลุ่มเสื้อแดงที่ต้องการทางเลือกใหม่ที่ไม่ใช่เพื่อไทย แต่ยังอยู่ในอุดมการณ์แบบเสื้อแดงที่ก้าวหน้าไปกว่าเพื่อไทย อันนี้มีแน่ ฉะนั้นโดยสถานการณ์ถึงตอนนี้พอเราเริ่มเห็นรอยแยกระหว่าง นปช. เสื้อแดง กับพรรคเพื่อไทย ก็เป็นสถานการณ์อันดี เหมาะสมที่จะทดลองทำพรรคการเมืองทางเลือก แต่ประเด็นที่พยายามนำเสนอก็คือว่า มันไม่พอ แค่กระแส เพราะกระแสที่จะแปรไปเป็นคะแนนเสียง ที่นั่ง พลังจริงๆ ในฐานะพรรคการเมือง มันยังต้องการปัจจัยอีกหลายอย่างเสริมไป  ก็คืออุดมการณ์ที่ชัดเจน และอีกอันที่สำคัญที่สุดก็คือบุคลากรหรือทีมงานที่จะมาทำงานพรรคการเมืองเต็มเวลา

มีปัจจัยอื่นอีกไหมที่จะขัดขวางการเกิดของพรรคทางเลือก
มีแน่นอน เพราะคนตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น และคิดเชิงการเมืองมากขึ้น ซึ่งจริงๆ เป็นพัฒนาการที่ดี แต่ตอนนี้เวลาคนจะโหวตที่บอกว่าโหวตเชิงยุทธศาสตร์หมายความว่า เขาคิดเยอะมากแล้วเขาก็ไม่อยากโหวตโดยที่โหวตไปแล้ว คะแนนเขาจะเสียของ ฉะนั้น ถ้าเขารู้สึกว่าพรรคทางเลือกที่เกิดขึ้นมาไม่ได้เป็นทางเลือกจริงๆ ไม่ได้ต่างจริง ๆ เขาเลือกยี่ห้อเดิมดีกว่า และอย่าลืมท่ามกลางรอยร้าวที่เห็น ระหว่างเสื้อแดงกับเพื่อไทย เสื้อแดงก็ไม่ได้เป็นเอกภาพ เพราะมีเสื้อแดงที่ไม่ได้คัดค้าน พ.ร.บ.เหมาแข่ง เสื้อแดงที่โอเคกับการที่คุณทักษิณจะกลับบ้าน มีตั้งเยอะที่สนับสนุน เช่น เสื้อแดงในต่างจังหวัด ในอุดรฯ ยกตัวอย่างรูปธรรม ในอุดรฯ ถ้ามีพรรคทางเลือกขึ้นมา แข่งกัน ส.ส.เขตใครจะชนะ แต่อย่างที่บอกว่าในระดับปาร์ตี้ลิสต์ยังได้ คือโดยกฎกติกามันเอื้อให้พรรคทางเลือกเติบโตได้ อันนี้มันก็เป็นตลกร้ายหน่อย คือระบบรัฐธรรมนูญ 2540 ต้องการสกัดไม่ให้มีพรรคเล็กพรรคน้อย เพราะตอนนั้นคนร่างมาจากสำนักคิดที่เชื่อว่าว่าระบบสองพรรคเป็นระบบที่ดีที่สุด ก็พยายามเปลี่ยนโดยบังคับใช้กฎกติกา  เปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อเปลี่ยนระบบรัฐสภาผสม พรรคหลายขั้วมีหลายมุ้ง เป็นระบบสองพรรค ซึ่งก็ทำได้จริง ประสบความสำเร็จ อย่างปาร์ตี้ลิสต์ ก็มีเพดานไว้ที่ 5% พรรคถิ่นไทยของ คุณพิจิตต รัตนกุล ซึ่งชูนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่จะออกมาเป็นแนวพรรคกรีน ได้ไม่ถึง 5% ก็ไม่โต ก็แท้งไปแล้ว ไม่มีใครจำได้ แต่พอรัฐธรรมนูญ 2550 โดยกฎกติกาพยายามจะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ 2540 คือต้องการให้พรรคเล็กพรรคน้อยเกิดได้ แต่ตอนนั้นคนร่างไม่ได้มีความคิดหัวก้าวหน้า ไม่ได้ทำเพราะอยากเห็นพรรคกรีน พรรคสังคมนิยม พรรคที่ชูรัฐสวัสดิการ แต่จุดมุ่งหมายคือทำยังไงที่จะไม่ให้พรรคอย่างทักษิณโตขึ้นมาได้อีกในการเมืองไทย ที่พรรคเดียวเป็นรัฐบาลได้ด้วยตัวเอง ชนะเสียงข้างมากเด็ดขาด แล้วก็มาเคลมคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 19 ล้านเสียง   เขาไม่ต้องการทำให้มันเกิดขึ้น จึงทุบตรงนี้ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญที่ทำให้เป็นเบี้ยหัวแตก รวมถึงเอาทหารเข้าไปแทรกแซงในความเป็นจริง นอกจากร่างกฎกติกาที่จะทำลายพรรคใหญ่แล้ว ก็ไปบีบ อย่างที่รู้ ให้พรรคต่างๆ แตกตัวออกไป จนภูมิใจไทยก็ต้องถอนตัวออกไป แยกตัวออกไปจากไทยรักไทย ซึ่งเขาก็ทำสำเร็จระดับหนึ่ง มันก็เลยเกิดสภาวะพิกลพิการที่มีพรรคหนึ่งที่นั่ง สองที่นั่ง ห้าหกที่นั่ง เยอะแยะไปหมด ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรอย่างที่พูดไปแล้ว แต่โดยกฎกติกาตอนนี้ เอื้อให้เกิดพรรคเล็กพรรคน้อยได้มากกว่าปี 40  แต่เราจะใช้ประโยชน์ตรงนี้ยังไง

สมมติเอาพรรคคุณชูวิทย์เป็นโมเดล หาเสียงปาร์ตี้ลิสต์อย่างเดียวโดยไม่ต้องลง ส.ส.เขตเลย ยังได้ 4-5 ที่นั่ง ต้องชูให้โดน มีนโยบายที่โดนใจ ทำไมจะทำไม่ได้ ถ้าคุณชูวิทย์หาเสียงคนเดียวยังได้มาตั้ง 4-5 ที่นั่ง  ถ้าพรรคทางเลือกที่สามที่สี่ในเชิงอุดมการณ์จัดองค์กรที่ดี และมีฐานสนับสนุนทางสังคม ชูนโยบายที่โดนใจ ทำสามสิ่งนี้ได้ก็มีโอกาสจะได้มากกว่าห้าที่นั่ง เอาพลัง-ทุน ทุ่มเทไปที่ปาร์ตี้ลิสต์ หาเสียงไปทั่วประเทศ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ ไม่ต้องไปทุ่ม ส.ส.เขตมาก เพราะต้องใช้พลังงานเยอะมาก ถ้าจะส่งลงในระดับ ส.ส.เขตด้วย

ที่พูดตั้งแต่ต้นว่า โดยเงื่อนไขนี้มันยาก เพราะคนโหวตก็จะโหวตในเชิงยุทธศาสตร์ นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เพื่อไทยและประชาธิปัตย์เล็งเห็นหรือเปล่าว่า ฉันจะทำยังไงก็ได้ ยังไงเสียงพวกนี้ก็ต้องอยู่กับฉัน มันจะต้องอยู่ในภาวะนี้กันไปอีกยาวระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน มันมีพลวัตเกิดขึ้น ทีนี้ถ้าสองพรรคนี้ จะทำยังไงให้ตอบสนองต่อมวลชนได้มากกว่านี้ จะต้องปรับตัวยังไงบ้างไหม

ถึงที่สุดตอนี้ทั้งเสื้อแดงและเพื่อไทยเองอยู่ในจุดที่คับขันทั้งคู่ หมายถึงว่าต้องคิดถึงโหมดในการที่จะมีความสัมพันธ์กันว่าจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหน เพราะเดิมจริงๆ แล้วก็ไม่ได้แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกันมาตลอด แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรกัน แต่ว่ามีความตึงเครียดมาตลอด ในรอบหลายปีที่ผ่านมา หลายประเด็นที่เสื้อแดงเสนอก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากเพื่อไทย หรือ ส.ส.เพื่อไทยหลายคนก็ไม่มีอุดมการณ์ ก็เป็น ส.ส.แบบนักการเมืองแบบเก่าที่เกาะกระแสมาเท่านั้นเอง กระทั่งบางคนเคยให้สัมภาษณ์ว่ามองการเคลื่อนไหวแบบมวลชนเสื้อแดงเป็นอุปสรรคของพรรคด้วยซ้ำ ว่าถ่วง เหนี่ยวรั้งการทำงานของพรรคโดยเฉพาะในภาวะที่เขาคิดว่าการเมืองเริ่มจะนิ่งแล้ว จะขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ เสื้อแดงมาเสนอเรื่องที่แหลมคมอย่าง  112 กลับยิ่งทำให้พรรคเพื่อไทยทำงานลำบาก

เสื้อแดงตกอยู่ในฐานะที่ลำบาก เสื้อแดงมีทางเลือกหลักๆ สองทาง ท่ามกลางความไม่พอใจเพื่อไทยที่ไม่ค่อยตอบสนองทางนโยบายหรือมีอุดมการณ์ที่ล้าหลังหลายเรื่อง หนึ่งคือ ตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง กับสอง คือพยายามกดดันให้พรรคเพื่อไทยปฏิรูปตัวเองให้ได้ มันเป็นสองทางเลือก

ก็ต้องประเมินว่าถึงจุดแตกหักหรือยังว่าจะแยกตัวเองออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเองเลย และถ้าทำแบบนี้อาจจะได้ใครมาบ้าง กระทั่งก็ต้องคิดว่าจะดึง ส.ส.จากเพื่อไทยบางคนได้ไหมที่มีอุดมการณ์ ซึ่งถ้าดึงมาได้ก็จะได้ฐานเสียงเขามาด้วย แทนที่จะเริ่มต้นจากศูนย์

มีใครไหมที่จะยินดีออกมาตั้งพรรคใหญ่เช่นกัน พวก ส.ส.เสื้อแดงมีไหม

สอง คือถ้าคิดว่าทางเลือกแรกยาก ก็ต้องกดดันให้เพื่อไทยปฏิรูปให้ได้จริง

ต้องปฏิรูปอะไรบ้าง

เยอะ เพราะเพื่อไทย  ไม่ได้มีความเป็นสถาบัน เป็นโมเดลเดียวกับพรรคอื่นๆ ที่มีมาก่อน โมเดลเดียวกับพรรคชาติพัฒนา พรรคความหวังใหม่ พรรคอะไรต่างๆ คือมันขาดระดับของความเป็นสถาบันพรรคการเมือง ที่ไม่ไปผูกติดกับตัวบุคคลๆ ใดบุคคลหนึ่ง ถ้ามันเป็นสถาบันจริงๆ ก็คือว่า ต่อให้คุณทักษิณเลิกเล่นการเมืองไป หรือครอบครัวชินวัตรไม่สนใจการเมืองแล้ว อยากวางมือจากการเมือง พรรคเพื่อไทยก็ต้องอยู่ต่อเนื่องไปได้ ถามว่ามันจะอยู่ได้เช่นนั้นไหม นั่นก็จะเป็นตัววัดระดับความเป็นสถาบันทางการเมือง

แต่ก็อย่างที่ทุกคนรู้ว่าตอนนี้พรรคเพื่อไทย ก็ยังผูกติดอย่างแยกไม่ออกจากคุณทักษิณ คือ คุณทักษิณเป็นเจ้าของพรรค พูดง่ายๆ มันเป็นบริษัททางการเมืองอันหนึ่งของแก แต่โดยสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์บีบให้แกและพรรคเพื่อไทยต้องมาเล่นบทต่อสู้ทางประชาธิปไตย ซึ่งถ้าไม่มีอุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์  พรรคนี้ก็จะเป็นอีกพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่อยู่ในระบบ นำเสนอนโยบายแข่งขันในการเลือกตั้งเหมือนกับพรรคอื่นๆ แต่โดยเหตุบังเอิญทางประวัติศาสตร์ ที่โดนกลั่นแกล้ง ทำให้หลุดจากอำนาจด้วยพลังที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เขาก็เลยต้องเล่นบทนักประชาธิปไตย แต่ตอนนี้มันมาถึงทางแยกแล้ว ที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าเล่นได้ เขาก็อยากเล่นเกมแบบชนชั้นนำที่กลับไปดีลกัน มันง่ายกว่า

ซึ่งเราก็เลยเห็นธาตุแท้ ที่ถึงที่สุด เราก็เลยเห็นว่า ส.ส.จำนวนมากก็มีด้านที่เป็นนักการเมืองจริงๆ นักเลือกตั้งจริงๆ อย่างที่โดนวิจารณ์ ไม่รู้ว่ามีถึง 10% หรือเปล่าที่ ส.ส.เพื่อไทยมีแนวคิดเชิงอุดมการณ์ เข้าใจประเด็นทางอุดมการณ์ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักความเป็นธรรมทางสังคม

แต่แน่นอนไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสในการปฏิรูปเสียเลย เพียงแต่ต้องมีการสร้างแรงกดดันที่มากพอ ที่จะผลักให้เกิดการปฏิรูปได้ เสื้อแดงก็ต้องแสดงพลังกดดัน

ถึงตอนนี้บางที่ก็อาจจะวิเคราะห์ว่า พรรคเพื่อไทยเองก็แตก ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าที่ใกล้ชิดทักษิณกับกลุ่มอำนาจใหม่อย่างยิ่งลักษณ์ ก็มีการงัดคัดคานกันคิดว่าจะเป็นโอกาสในการพัฒนาไปได้ไหม

แต่มันไม่ได้แตกเชิงอุดมการณ์นะ หมายถึง แก๊งไทยคู่ฟ้า ที่อ่อนไหวว่ากับกระแสชนชั้นกลาง

รุ่นใหม่คือยิ่งลักษณ์กับทีมเขา และทีมเก่าของทักษิณ ดูจะขัดแย้งกันในเชิงเทคนิคมากกว่า ว่าจะบริหารอย่างไรให้รอด สังเกตว่าไม่ใช่ความต่างเชิงอุดมการณ์นะ แต่เป็นสองแผนกในบริษัทเดียวกัน ซึ่งมองแนวทางการบริหารบริษัทไม่เหมือนกัน แล้วใครจะขึ้นมานำตอนนี้ เผอิญพี่ชายไม่อยู่แล้ว น้องสาวก็แสดงภาวะผู้นำออกมาพอสมควร และมีทีมงานที่จะสร้างมาแวดล้อมตัวเอง เพื่อกีดกันนักการเมืองรุ่นเก่าจำนวนหนึ่งของพี่ชายออกไป ทีมงานแวดล้อมนายกฯ ยิ่งลักษณ์ส่วนใหญ่ก็เป็นเทคโนแครตหรือคนที่มีแนวคิดที่โบราณน้อยกว่า อาจจะไม่ได้ก้าวหน้า แต่อ่อนไหว (sensitive) กว่ากับกระแสสังคม รู้ว่าต้องเล่นการเมืองกับสื่อยังไง และเน้นหนักเรื่องการบริหารนโยบายโลจิกติกส์มหภาค การผลักดันโครงการโลจิกติกส์ เมกะโปรเจกส์ทั้งหลาย แต่ถึงที่สุดมันไม่ใช่ความต่างเชิงอุดมการณ์ ในความหมายที่ว่า ถึงที่สุดกลุ่มคุณยิ่งลักษณ์ก็ไม่เอาการปฏิรูป 112 เหมือนกัน  หรือจะถึงขั้นละทิ้งนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมไหม แล้วหันไปสร้างนโยบายแบบสวัสดิการทางสังคม welfare state ก็คงไม่ไปถึงขั้นนั้น 

แต่ที่เราพูดถึงทางเลือก มันเป็นทางเลือกอีกแบบหนึ่งเลย ที่ไม่ใช่แค่ความต่างระหว่างแผนกพี่ชายกับน้องสาว แต่เป็นชุดนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ที่จะต่างออกไปเลย  ทั้งนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นโยบายทางการเมืองก็ต้องมีทางเลือกที่จะต่างออกไปกับสิ่งที่เพื่อไทยทำอยู่ตอนนี้ ซึ่งแง่หนึ่งจริงๆ ก็มีแนวโน้มที่อยากจะปรองดองกับชนชั้นนำ ไม่ได้แคร์นักกับเรื่องความยุติธรรม หรือการแสวงหาความจริง การปฏิรูปกฎหมายที่ล้าหลัง ปฏิรูปโครงสร้างการเมืองไทยให้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น หรือนโยบายทางการเมืองเรื่องภาคใต้ จะเอายังไง นโยบายทางเศรษฐกิจก็ยิ่งสำคัญ จะมีไหมชุดทางเลือกที่ไม่ใช่สิ่งที่เสนอมาตั้งแต่ไทยรักไทย ต่อเนื่องมาถึงเพื่อไทย แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบประชานิยม อะไรจะคือนโยบายทางเลือกทางเศรษฐกิจที่จะมี เพราะถึงที่สุดการเป็นพรรคการเมืองที่จะประสบความสำเร็จ ให้ได้เสียงพอสมควร ได้ที่นั่งพอสมควร เป็นกลุ่มก้อน มันเสนอ single issue ไม่ได้  มันแคบไป ถ้าเลือกตั้งท้องถิ่น ได้ เลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.ได้ แต่ถ้าเลือกตั้งระดับชาติ ในฐานะพรรคการเมืองต้องมีชุดนโยบายที่เป็นแพคเกจที่มันครอบคลุมมิติต่างๆ เหล่านี้

ถ้าเป็นชูวิทย์ (กมลวิศิษฎ์) เป็น exceptional (ข้อยกเว้น) ถึงที่สุดไม่รู้จะเป็นโมเดลได้ไหม เพราะเล่นกับชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ เล่นกับสื่อ และมันไม่ใช่พรรคการเมืองด้วยซ้ำ เป็นการเมืองแบบ one man show มันคือกลุ่มคุณชูวิทย์ นำโดยคุณชูวิทย์คนเดียว ไม่มีความเป็นสถาบัน ไม่มีความเป็นองค์กร ไม่มีสมาชิกพรรคด้วยซ้ำ เพียงแต่เล่นกับกระแส พอดีเป็นคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ในฝั่งเสื้อแดงหรือเหลืองก็ตาม มีคนระดับคุณชูวิทย์ไหม สนธิ ลิ้มทองกุล อาจจะได้ ถ้าจะเอาโมเดลนี้เป็นหลักต้องมีแม่เหล็กดึงดูดเป็นตัวบุคคล นโยบายต่อต้านคอรัปชั่นของแกตอนนั้นยังไม่ได้มีรูปธรรมอะไรเลยด้วย มันเป็นสโลแกนหรือโวหารอย่างหนึ่ง ถึงวันนหนึ่งถ้าเบื่อการเมือง ทะเลาะกับสมาชิกพรรคมากมาย แกเลิกเล่นการเมือง พรรคนี้ก็จะหายไป พรรคการเมืองไทยมันล้มหายตายจากมาเยอะแล้ว

จริงๆ โมเดลที่ใกล้เคียงกว่าสำหรับพรรคการเมืองทางเลือกในปัจจุบัน คือ ประสบการณ์ของพรรคสังคมนิยม พรรคแนวทางซ้ายที่เกิดขึ้นหลัง 14 ตุลา ตอนนั้นเป็นยุคทอง การเลือกตั้งในปี 2518-2519 มีพรรคแนวทางสังคมนิยมถึง3 พรรค คือ พรรคพลังใหม่ พรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรค3 พรรคนี้รวมกันได้เสียตั้ง 30 กว่าเสียง คนมีความคิดหัวก้าวหน้าในสมัยนั้นมาตั้งพรรคเพราะเห็นว่าถึงที่สุดอยากเปลี่ยนแปลงสังคมให้ได้จริงๆ ต้องสู้ในเกมการเลือกตั้ง เพื่อมีอำนาจผลักดันเชิงนโยบาย เปลี่ยนกฎหมาย การเป็นเพียงแค่ขบวนการนักศึกษา ชาวนา กรรมกรไม่เพียงพอ คนที่เห็นว่าต้องทำงานการเมืองในระบบก็ไปทำพรรคการเมืองเยอะแยะเต็มไปหมด แคล้ว นรปติ, นพ.ประแส ชนะวงศ์, คนรุ่นใหม่อย่าง ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ตอนนั้น 30 กว่าที่นั่งก็ไม่น้อย หลัง 14 ตุลากระแสมันขึ้นสูงจริงๆ แล้วเขาชูนโยบายที่จับใจ การปฏิรูปที่ดินก็ได้เสียงชาวนาแน่นอน ขณะที่พรรคอื่นไมได้เสนอนโยบายอะไรที่ตอบสนองการแก้ปัญหาของชาวบ้านเลย

ถ้าวันนี้มีพรรคการเมืองที่สามขึ้นมา มันก็จะเป็นการสู้กันระหว่างนโยบาย แต่ประชานิยมก็ยังคงจับใจมากกว่า

แน่นอน เพราะประชานิยมเป็นการให้ผลตอบแทนในระยะสั้นที่จับต้องได้ ในขณะที่นโยบายสวัสดิการทางสังคม เสนอแล้วกว่าจะผลักดันให้เป็นกฎหมายได้มันยาวนาน ถ้าคุณเป็นพรรคเล็กมีที่นั่งไม่กี่ที่นั่ง กฎหมายก็อาจไม่ผ่าน นโยบายที่หาเสียงไว้ก็ไม่ปรากฏเป็นจริง ขณะที่นโยบายประชานิยม ค่าแรง 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท เบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นอะไรที่จับต้องได้ทันที

ที่พูดนี่ไม่ได้ให้หมดกำลังใจ แต่ว่าต้องประเมินอย่างจริงจัง เพราะการตั้งพรรคการเมืองทางเลือกไม่ใช่ของง่าย มีอุปสรรคเยอะ อันที่จริงเรื่องนี้มีการพูดกันตั้งแต่ก่อนจะมีการตั้งพรรคไทยรักไทยด้วยซ้ำ คงจำได้ช่วงหลังพฤษภา 35 ตอนนั้นคนก็เบื่อหน่ายพรรคการเมืองในระบบ ทุกพรรคคอรัปชั่นเหมือนกันหมด ไม่มีนโยบาย เป็นแค่พรรคของกลุ่มทุนเพียงแต่ต่างกลุ่มกันเท่านั้น กลุ่มเอ็นจีโอมีการพูดถึงพรรคกรีน พรรคอะไรต่อมิอะไร คนที่ต่อมากลายเป็นแกนนำเสื้อเหลืองเขาเคยอยากทำพรรคการเมืองทางเลือกมาก่อนตั้งนานแล้ว พรรคด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน ชูสวัสดิการทางสังคม

แต่ดูเหมือนเมื่อเข้ามาร่วมขบวนกับเสื้อเหลืองก็ถูกครอบงำด้วยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมไปเลย

ใช่ เพราะสถานการณ์ทางการเมือง  แต่ตอนนั้นพันธมิตรฯ ก็แตกกันเองด้วย มีเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่ยินดีมาทำพรรคการเมืองใหม่ ตอนหลังคุณสนธิก็ไม่เอาด้วย หลายคนก็ไม่ทำ มันก็เลยแท้งไป เพราะแม้แต่ปีกที่อยากทำพรรคการเมืองก็แตกกันเอง แล้วบางปีกก็ไปเสนอยุทธศาสตร์โหวตโนอีก ก็เลยสับสนไปกันใหญ่ จะเล่นการเมืองในระบบ หรือจะโหวตโนไม่เอาอะไรเลย เสียงก็เลยกระจัดกระจายมาก

ถ้าจะมีพรรคทางเลือกจะเสนออะไรที่แตกต่างจากประชาธิปัตย์

นั่นน่ะสิ ไม่ใช่เรื่องง่าย ตอนหลังมีการไปตั้งกลุ่มกรีน ก็อาจจะเป็นเสื้อคลุมอันใหม่ ทำให้เห็นว่าไม่ใช่เสื้อเหลืองเดิม

จริงๆ โจทย์มันคล้ายๆ กันของทั้งสองอุดมการณ์ โจทย์ของคนจะทำพรรคการเมืองทางเลือกฝ่ายเหลืองก็จะเจอโจทย์เดียวกันกับคนที่จะทำพรรคทางเลือกฝ่ายแดงนั่นแหละ ตลาดของคนที่เขาจะต้องไปช่วงชิงก็คือ ตลาดของคนที่เลือกประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทยอยู่แล้ว เขาจะชิงเสียงตรงนี้มายังไง เพราะถึงที่สุดผู้เลือกตั้งจะไม่ถึงกับสลับขั้ว มันจึงเป็นการดึงคะแนนเสียงกันเองในหมู่พรรคที่อยู่ในปีกเดียวกัน คือ พรรคทางเลือกเสื้อแดงก็จะไม่ได้ไปได้เสียจากฝั่งเหลืองหรอก ยิ่งหนักขึ้นด้วยซ้ำเพราะนำเสนออุดมการณ์ที่ก้าวหน้ากว่าเดิมอีก พรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ได้กลุ่ม swing voters ที่ไม่ได้จงรักภักดีกับพรรคไหนมาเยอะพอสมควร เพราะปาร์ตี้ลิสต์กระโดดจาก 12 ล้านเป็น 15 ล้าน คนไม่ได้เป็นแฟนคลับเพื่อไทย ไม่ได้เป็นแฟนคลับทักษิณ ไม่ได้เป็นเสื้อแดง แต่เห็นว่านโยบายโดยรวมเพื่อไทยดีกว่า หรือเลือกเพื่อไทยแล้วบ้านเมืองจะไปได้มากว่า ราบรื่นกว่ามีไม่น้อย เพราะตอนนั้นเพื่อไทยชูนโยบายเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ถ้าเสื้อแดงทางเลือกมาเสนอนโยบายที่ก้าวหน้า ภาษีมรดก สวัสดิการสังคม มาตรา 112 ถามว่าจะได้ swing voters ตรงนี้ไหม คิดว่าจะยิ่งไม่ได้ เสื้อเหลืองก็เช่นเดียวกัน อะไรคือชุดนโยบายที่ต่างออกไป ต่างจากเสื้อแดง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ สมมติจะบอก ต่อต้านทุนนิยมสามานย์ มันก็ต้องมีรูปธรรม แต่ไม่แน่มันอาจมีกลุ่มการเมืองแบบฝ่ายขวาสุดโต่งก็ได้ เหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรป

ที่เป็นอยู่นี่ยังไม่สุดโต่งอีกหรือ

อย่างประชาธิปัตย์ พอถึงเกมเลือกตั้งเขาไม่กล้าเสนอนโยบายที่สุดโต่งมากนะ ลองสังเกต ยังไม่ถึงกับมีแนวเพิ่มโทษ 112 หรือนโยบายชาตินิยมสุดโต่ง การแข็งกร้าวกับประเทศเพื่อนบ้าน ใช้แนวทางปราบปรามแข็งกร้าวในภาคใต้ ฯลฯ มันมีกลุ่มที่สุดโต่งกว่าที่ประชาธิปัตย์เป็น ซึ่งในยุโรปมีพรรคแนวนี้แล้วช่วงหลังก็ได้เสียงในสภาจำนวนหนึ่ง มีนโยบายต่อต้านผู้อพยพ ต่อต้านชนกลุ่มน้อย ฯลฯ คนกลุ่มนี้ใครจะไปรู้มันอาจจะงอกออกมาเป็นพรรคการเมืองก็ได้ และได้เสียง 4-5 ที่นั่งในสภาก็สร้างความปั่นป่วนได้แล้ว

มันไม่ได้มีคนกลุ่มนี้ในระบบการเมืองอยู่แล้วหรือ

มันมี แต่ยังไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาเป็นรูปธรรมของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง

ท่าทีของพรรคการเมืองที่มีอยู่ก็ไม่ได้ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงกับแนวทางสุดโต่งอย่างนี้  เช่น นโยบายทหารในภาคใต้ ก็ไม่มีใครกล้าพูดว่าพรรคเราไม่เห็นด้วย

แต่ขณะเดียวกันเขาก็ไม่กล้ากระโจนคว้ามาผลักดันเป็นนโยบายอย่างเต็มที่ ข้อดีของการเมืองระบบรัฐสภาและระบบเลือกตั้ง คือมันสกรีนความคิดสุดโต่งจำนวนหนึ่งออกไป เพราะถ้าคุณเป็นพรรคการเมืองใหญ่ อยากจะชนะการเลือกตั้ง คุณเสนอนโยบายสุดโต่งไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายต่างช่วงชิงเสียงตรงกลาง การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เพื่อไทยก็ผลัดหน้าทาแป้งน่าดู พยายามพูดเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ พูดเรื่องนโยบายทางการเมืองน้อยมาก ไม่มีเลยประเด็นเรื่องความยุติธรรม การหาความจริง แล้วตอนนั้นเขาชนะมาก็เพราะภาพฝันเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เมกกะโปรเจ็กต์ รถไฟรางคู่

ในภาวะเปลี่ยนผ่าน มันมีภาวะเลี่ยงการเผชิญหน้าเป็นปกติ

ช่วงเปลี่ยนผ่าน รัฐบาลที่ขึ้นมาอำนาจเปราะบาง ไม่เสถียร ถ้าพลาดเมื่อไรก็ถูกโค่นล้มได้ทุกเมื่อ ด้วยกลไกต่างๆ ที่มีอยู่เยอะแยะมากมาย ไม่ว่าการเคลื่อนไหวบนท้องถนน อำนาจตุลาการ ทหาร ที่จะคอยเช็คบิลคุณ เป็นการทำงานอยู่ภายใต้สภาวะที่รู้ว่าตัวเองไม่มั่นคงมาก

ตอนนี้เรามาถึงจุดที่พรรคการเมืองก็ไม่ได้มีอุดมการณ์อย่างที่มวลชนบางส่วน (ทั้งสองฝ่าย) คาดหวัง มันน่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการมีทางเลือก หลังจากการเมืองถูกทำให้เป็นสองขั้วชัดเจน ภาวะอารมณ์คนชั้นกลาง คนตาสว่างจากทักษิณจากเหตุการณ์นิรโทษ เขาจะแปลงพลังอันนี้เป็นอะไรได้

จริงๆ มี 2-3 ทาง คือ คงตัวเองเป็น social movement หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อไป มันไม่จำเป็นที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมทุกขบวนการต้องแปลงตัวเองเป็นพรรคการเมืองหมด ขบวนการที่เป็นกลุ่มขบวนการทางสังคมมันก็มีพลังในตัวเอง พรรคการเมืองมันมีพลังแต่ก็มีข้อจำกัดในตัวเองเหมือนกัน ฉะนั้น ไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องวิ่งเข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองหมดเพื่อจะเปลี่ยนแปลงสังคม แต่โจทย์คือ จะทำอย่างไรให้สามารถสร้างพลังกดดันให้พรรคการเมืองที่ตัวเองเป็นแนวร่วมอยู่ด้วยต้องปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายหรืออุดมการณ์ให้ก้าวหน้ามากขึ้น ตอบสนองagenda ทางสังคมที่ก้าวหน้า

ที่ผ่านมา มีคำวิพากษ์วิจารณ์ เช่น นักวิชาการส่วนที่ดูก้าวหน้าแทนที่จะเป็นพลังคัดง้าง ถ่วงดุล หรือกระตุกพรรคเพื่อไทยให้ก้าวหน้ากว่านี้ แต่กลับเป็นผู้ปกป้องพรรคเพื่อไทยเสียมากกว่า

เดี๋ยวมันก็กลับไปที่ประเด็นเดิมที่พูดอีก พยายามจะเข้าใจเขาเพราะการเมืองแบบสองขั้วมันยาก พูดง่ายๆ ว่าถ้าการเมืองไทยไม่พิกลพิการ เป็นการเมืองเหมือนประเทศส่วนใหญ่ พลังคุกคามที่จะมาล้มระบอบประชาธิปไตยไม่มีแล้ว ถ้าการเมืองปกติ ตอนนี้พรรคการเมืองไทยก็จะต้องแตกเป็นหลายพรรคแล้ว ไม่มาเกาะกันอยู่ เพราะมันมีความขัดแย้งในแต่ละขั้วพอสมควร ไม่ได้เห็นร่วมกัน พูดง่ายๆ พรรคการเมืองในประวัติศาสตร์โลกเกิดขึ้นเพราะมีความแตกแยกทางสังคม มีความแตกแยกทางสังคม พรรคเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ที่ต่างกันระหว่างกลุ่มทางสังคมใหม่ๆ เหมือนในยุโรป เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดความขัดแย้งทางชนชั้นก็มีพรรคที่โตขึ้นมาจากขบวนการแรงงานเพื่อมาปกป้องผลประโยชน์ของแรงงาน กับพรรคที่โตขึ้นมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนายทุนอุตสาหกรรม หรือพรรคที่ต้องการช่วยเหลือชาวนา

จริงๆ 7-8 ปีที่ผ่านมานี้ ความขัดแย้งในสังคมไทยสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ลึกซึ้ง แหลมคม ถ้าไม่มีพลังอำนาจนอกระบบ social divisionแบบนี้มันจะต้องผลิตให้เกิดพรรคการเมืองเยอะแยะมากมายแล้วตอนนี้ คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมของไทยมันไม่เกิด ท้ายสุดก็เหลืออยู่ 2 พรรค นั่นก็เพราะการเมืองเราจริงๆ ยังไม่ได้เล่นกันในกรอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาปกติ มันก็จะเข้าใจไม่ได้ เหมือนนักวิชาการตะวันตกจำนวนหนึ่ก็มาถาม พวกที่ศึกษาพรรคการเมืองในยุโรปเมื่อมาศึกษาพรรคการเมืองในไทย เขาก็ถามว่า ทำไม นปช.เสื้อแดงไม่มีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำไมต้องไปผูกอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะในระบบการเมืองแบบปกติ นปช. คงตั้งพรรคการเมืองไปนานแล้ว หรือเสื้อแดงอาจมีพรรคการเมือง 2-3 พรรคด้วยซ้ำ แต่ก็เพราะการเมืองที่เล่นกันสองชั้นนี่แหละทำให้พรรคการเมืองทางเลือกมันไม่โต รวมถึงปัญญาชนจำนวนหนึ่งก็คิดเชิงยุทธศาสตร์เหมือนกัน ไม่ใช่แค่ผู้เลือกตั้งเป็น strategic voter แต่ปัญญาชนก็เผชิญปัญหาแบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เช่น เรื่องนี้ถ้าโจมตีรัฐบาลแล้วนัยของมันคืออะไร โจมตีไปถึงจุดหนึ่งจะทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำจนล้มไปเลยไหม มันมีการคิดคำนวณเยอะ แต่ถ้าเป็นสภาวะปกติ มันก็คงด่ากันแหลกแล้วสิ่งที่เพื่อไทยทำในหลายเรื่อง นโยบายหลายอย่างก็ผิดพลาด มีช่องโหว่มีปัญหาเยอะแยะมากมาย

มันเป็นภาวะกระอักกระอ่วน การเมืองไทยที่ว่าน้ำเน่าก็น้ำเน่าในแง่นี้ ไม่ใช่น้ำเน่าในความหมายแบบที่อ.ชัยอนันต์ สมุทรวานิช พูดในสมัยก่อนว่ามีเลือกตั้งแล้วก็มีรัฐประหาร แต่น้ำเน่าในความหมายนี้ที่ว่า การเล่นการเมืองแบบสองชั้น แล้วฝ่ายเสื้อเหลือง หรือฝ่ายชนชั้นนำก็อาศัยอันนี้เป็นข้ออ้างมาโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมือง ว่า นักการเมืองไทยมันไม่มีคุณภาพ พรรคการเมืองไทยมันห่วย ถามว่ามันห่วยไหม มันก็ห่วยจริง พรรคการเมืองไทยไม่ใช่พรรคการเมืองที่ดี ทุกพรรคยังห่างไกลจากการเป็นพรรคการเมืองที่ดีในการตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชน แต่ถามว่าในสภาวะแบบนี้ที่คนเบื่อหน่ายพรรคการเมืองนักการเมือง มันเกิดจากอะไร

ฝั่งเสื้อเหลืองมองเห็นปัญหาแค่ครึ่งเดียว นักการเมืองเลว พรรคการเมืองเห็นแก่ตัว แต่ถ้าเราดูประวัติศาสตร์ไทย จะเห็นได้ว่าการพัฒนาพรรคการเมืองนั้นถูกทำให้สะดุดตลอด พรรคการเมืองไทยในฐานะสถาบันทางการเมืองมันเพิ่งพัฒนา ช้ามาก หรือการเลือกตั้ง เราเพิ่งมีการเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอในยุคป๋าเปรมเป็นต้นมานี่เอง ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ก่อนหน้านั้นมีรัฐประหารตลอด แล้วหลังยุคป๋าเปรมก็ยังมีรัฐประหาร รสช. ล่าสุดก็ยังมีกลไกแบบตุลาการภิวัตน์ที่ยุบพรรคการเมืองอีก ฉะนั้น ที่พรรคการเมืองมันห่วย ปัญหาอีกครึ่งหนึ่งมันก็มาจากทหารและตุลาการกับ ชนชั้นนำกลุ่มเดิมที่จริงๆ เขาไม่ต้องการให้พรรคการเมือเติบโต โดยเฉพาะพรรคแบบมวลชน (mass based political party) พรรคการเมืองที่มีพลังที่เราเห็นในตะวันตกก็คือพรรคที่มีฐานมวลชน ลิงก์กับกลุ่มพลังที่ชัดเจน พรรคแรงงานมีกลุ่มแรงงานเป็นฐานเสียง พรรคชาวนา พรรคฝ่ายซ้ายในบราซิล ก็มีขบวนการชาวนา คนยากคนจนเป็นฐานเสียง มีฐานเสียงรองรับที่เป็นจริง แต่ของไทยพรรคการเมืองแบบมวลชนถูกสกัดกั้นตลอดไม่ให้เติบโต คนที่สกัดกั้นก็พวกชนชั้นนำ นักรัฐศาสตร์ที่ไปทำงานรับใช้พวกทหาร ที่ร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 40 ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง รวมถึงการออกแบบระบบเลือกตั้งที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองมวลชนเติบโต

ตอนนี้ไม่รู้ว่าตั้งพรรคใหม่กับปฏิรูปพรรคเดิมให้ดีขึ้น อย่างไหนยากกว่า ต้องไปคิด อย่างฝั่งประชาธิปัตย์เองก็มีคนพยายามให้มีการปฏิรูป คิดว่าถูกแล้วที่จะผลักดันแนวทางนั้น แต่พอการเมืองมาสู่โหมดเดิม คือ ไล่รัฐบาล แม้แต่คุณอลงกรณ์ (พลบุตร) เองก็ต้องกระโจนมาร่วมกับสมาชิกพรรคคนอื่น อันนี้เป็นเกมระยะสั้นมาก ม็อบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่คุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ) เป็นคนนำ ท้ายที่สุดมันจะพาสังคมไทยไปสู่ทางตัน ไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย แต่เกมที่คุณอลงกรณ์เสนอก่อนหน้านี้เรื่องปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นเกมระยะยาว ที่จริงๆ ฝั่งเสื้อเหลืองทั้งหมดและฝั่งต่อต้านทักษิณควรไปช่วยคุณอลงกรณ์ เพราะการชุมนุมไม่ว่าที่ไหนก็ตาม อุรุพงษ์ สามเสน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงที่สุดมันก็อาจสั่นคลอนรัฐบาลได้ชั่วคราว หรือกระทั่งล้มรัฐบาลได้ตอนนี้ แต่แล้วยังไง ทุกคนก็รู้ว่ายุบสภาตอนนี้ เพื่อไทยก็กลับมาได้อีกในเกมการเลือกตั้ง แล้วก็ต้องม็อบกันใหม่ไล่รัฐบาล เป็นเกมการเมืองแบบนี้ แต่คุณไม่ได้ปฏิรูปตัวเองให้สามารถชนะในระบบได้ นี่คือการเมืองแบบน้ำเน่าในแง่นี้ ทุกคนรู้ว่าจะลงเอยตรงไหน ขนาดรัฐประหารไปแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญช่วยเหลือตัวเองขึ้น ล่าสุดตัวเองเป็นรัฐบาลทำทุกวิถีทางแล้วก็ยังแพ้เลือกตั้งอีกคราวนี้ก็จะจบแบบเดิมอีก ถึงแม้ถ้าใช้ตุลาการภิวัตน์ ตัดสิทธิยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ได้ เพื่อไทยก็หาคนมาแทนได้ ช่วงที่ผ่านมา 2 ปี ประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ทำอะไรเลยในฐานะพรรคการเมืองที่จะทำให้มีนโยบายที่ดีขึ้น หรือมีอุดมการณ์ที่ชัดเจนขึ้น

มันกลับหัวกลับหาง สิ่งที่คุณอลงกรณ์ เสนอให้ปฏิรูประชาธิปัตย์ จริงๆ หลายเรื่องเป็นสิ่งที่เพื่อไทยก็ควรเอาไปทำด้วย คงจำได้ที่คุณอลงกรณ์เสนอเรื่องให้คัดเลือก ส.ส.ที่มีคุณภาพมากกว่านี้ จริงๆ เป็นปัญหาของเพื่อไทยมากกว่าประชาธิปัตย์ โดยตัวผู้สมัครของประชาธิปัตย์นั้นไม่ได้เลวร้าย แต่โจทย์ใหญ่ของประชาธิปัตย์คืออุดมการณ์ที่ผิดทิศผิดทาง เพื่อไทยเสียอีกมีปัญหาเรื่องคุณภาพส.ส. ดังนั้น การที่มีคนเสนอใช้ระบบ primary กับเพื่อไทยนั้นเป็นทิศทางที่ถูกต้องสำหรับเพื่อไทย
ถ้าเมืองไทยหลุดจากการเมืองสองชั้น การปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์น่าจะได้ผล

มันเป็นคีย์อีกอันหนึ่ง ถ้าฝ่ายต่อต้านทักษิณเชื่อว่าตัวเองจะชนะในระบบได้ มันก็ไม่ต้องใช้เครื่องมือนอกระบบ แต่ตอนนี้ฝ่ายนี้รู้สึกจนตรอก เลือกตั้งกี่ทีก็แพ้ ไม่สามารถพึ่งพาประชาธิปัตย์ได้ ทุกคนเลยฝากความหวังไว้ที่ตุลาการภิวัตน์และการยึดอำนาจ เล่นนอกเกมตลอดเพราะรู้ว่าเล่นในเกมเล่นยังไงก็แพ้ ถ้าประชาธิปัตย์สามารถปฏิรูปตัวเองจนมีศักยภาพมากขึ้น แข่งได้สูสีกว่านี้ เป็นทางเลือกให้ประชาชนได้มากกว่านี้ ทางเลือกนอกระบบจะค่อยๆ ถูกตัดออกไป เพราะถึงที่สุดชนะในระบบมันชอบธรรมกว่า คุณก็อยู่ในอำนาจได้ คนก็ไม่ต่อต้าน ถ้าปฏิรูปสำเร็จมันก็บีบให้เพื่อไทยต้องปฏิรูปด้วย จะนิ่งนอนใจไม่ได้แล้วว่าจะชนะตลอดกาล ถ้าถึงจุดนั้นจริงๆ แล้วเป็นผลดีกับเสื้อแดงเองด้วย

พูดตรงๆ สภาวะตอนนี้เพื่อไทยก็รู้สึกว่าไม่ต้องแคร์มาก เสื้อแดงยังไงก็เป็นของตายของพรรคเพื่อไทย ต่อให้ตัวเองห่วยขนาดไหน ผลักดันเหมาเข่ง แต่เขาก็รู้ว่าถึงเวลาเลือกตั้งเสื้อแดงจะไม่หันไปเลือกพรรคอื่นหรืออย่างมากก็ไม่เลือกใคร ซึ่งทำอย่างนั้นเพื่อไทยก็ยังชนะอยู่ดี ที่คุณหนูหริ่งหรือบก.ลายจุดวิเคราะห์ว่าเลือกตั้งครั้งหน้าเพื่อไทยจะแพ้ ผมไม่เห็นอย่างนั้น ไม่เห็นเค้าลางว่าเพื่อไทยจะแพ้ได้ยังไง  เพราะเสื้อแดงที่จะไปโหวตพรรคอื่นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนที่จะโนโหวตก็ยังไม่มากพอจะเปลี่ยนผลการเลือกตั้งให้เพื่อไทยแพ้ ฉะนั้น ภาวะแบบนี้เพื่อไทยก็รู้ ถึงจุดหนึ่งเสื้อแดงก็เลยถูกมองเป็นของตายของเพื่อไทย

ถ้าให้คนที่อยู่ในพรรคการเมือง คนที่เป็นนักการเมืองอยู่แล้ว ออกมาทำเอง กล้าๆ หน่อยทั้งสองพรรค เพราะมีโอกาสความเป็นไปได้มากกว่า

ใช่ เพราะคนเหล่านี้มีทักษะอยู่แล้วในการทำพรรค มีระบบหัวคะแนน มีฐานเสียงอยู่ แต่มันมีเหรอในสองพรรคที่ดูก้าวหน้า จะเสนอใคร

จริงๆ อีกอันที่ทำได้คือ โมเดลแบบมาเลเซีย เป็นสิ่งที่เรียกว่า coalition หรือแนวร่วม ในมาเลเซียตอนนี้มี 2 ขั้วคือ อัมโนกับฝ่ายค้านที่เสนอการปฏิรูป สู้กันดุเดือด การเมืองมาเลเซียกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญเหมือนกัน และขั้วอำนาจเดิมที่เคยผูกขาดมาตลอด 30-40 ปี เริ่มเสื่อมลง ฝ่ายค้านกำลังขึ้นมา แต่ที่น่าสนใจเป็นบทเรียนประยุกต์ให้กับการเมืองไทย คือ ทั้ง 2 ขั้วมีหลายพรรคประกอบกันในขั้ว ไม่ใช่ฝ่ายค้านมีพรรคเดียว ฝ่ายรัฐบาลมีพรรคเดียว ในอัมโนก็มีหลายพรรคจับมือกันปกป้องผลประโยชน์ของอำนาจเก่า ฝ่ายค้านกี 3 พรรคหลัก ซึ่งมีนโยบายแตกต่างกันเลยในรายละเอียด มีพรรคมุสลิม มีพรรคคนจีน แล้วก็มีพรรคแบบหัวหน้าชูนโยบายเสรีนิยม ชูสิทธิมนุษยชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พวกนี้เกาะกันเพื่อจะสู้กับอีกฝั่งหนึ่ง เพราะรู้ว่าการเป็นพรรคเล็กสู้เป็นเบี้ยหัวแตกสู้ไม่ได้ เป็นพันธมิตรกันในการเลือกตั้ง ในการหาเสียง บอก voter แต่แรกว่าถ้าเลือกปีกนี้เขาจะจับมือกันตอนเป็นรัฐบาล นี่ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่ฉลาดตรงที่ 3 พรรคก็นำเสนอนโยบายที่แตกต่างกัน กลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน ทำให้จับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย

เสื้อแดงก็อาจต้องคิดถึงโมเดลนี้เพื่อให้ voter ไม่ลำบากใจมาก โอเค เราเห็นว่านโยบายของเพื่อไทยมีข้อจำกัดบางอย่าง เราต้องการเสนอนโยบายบางอย่างที่เพื่อไทยไม่กล้าเสนอหรือถูกละเลยไป เช่น เรื่องปฏิรูป 112แต่ในทางการเมืองเราก็ยังอยู่ในขั้วเดียวกับเพื่อไทย ยังยินดีจะร่วมรัฐบาล ร่วมทำงานด้วยกัน เพราะอย่างน้อยยังคุยกันได้รู้เรื่อง มันก็จะกลายเป็นการเมืองแบบสองขั้วเหมือนเดิม แต่ในแต่ละขั้วมีพรรคการเมืองแตกออกมาและมีทางเลือกให้กับประชาชนมากขึ้น

โมเดลแบบนี้เมืองไทยยังไม่มี แต่พรรคเล็กที่แตกออกมาส่วนใหญ่พร้อมเป็นแนวร่วมกับใครก็ได้มากกว่า

อันนี้เป็นแบบปลาไหล มันไม่ใช่ขั้วทางอุดมการณ์ แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ นี่เป็นการเมืองแบบยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ มี ส.ส.สัก 5 คนเพื่อต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีได้ 1 ตำแหน่ง ซึ่งมันควรจะหมดไปได้แล้ว เพราะตอนนี้ผู้เลือกตั้งของทั้งสองฝั่งมีคุณภาพมากขึ้น เลือกในเชิงอุดมการณ์กับนโยบายมากขึ้น โมเดลพรรคแบบเจ้าพ่อเลยตาย คนไม่ได้ต้องการการอุปถัมภ์แบบเจ้าพ่อแล้วเพราะเขาได้รับการอุปถัมภ์จากพรรคที่ชนะการเลือกตั้งไปเป็นรัฐบาล มันเป็นรูปธรรมมากกว่าเยอะ พรรคในเชิงนโยบายและอุดมการณ์มีโอกาสเกิดมากกว่าพรรคแบบเจ้าพ่ออีก แต่คุณจะทำอย่างไร ที่เสนอโมเดลแบบมาเลเซียเพราะว่าถ้าไม่ทำแบบนี้คนจะลำบากใจ เหมือนมาทะเลาะกันเอง จะเข้าทางฝ่ายตรงข้ามหรือเปล่า

ฝ่ายเสื้อเหลืองจำนวนหนึ่ง หลายคนในพันธมิตรฯ ก็ไม่กล้าทำพรรคขึ้นมาจริงจังเพราะกลัวว่าจะไปทำให้ประชาธิปัตย์อ่อนแอ เหมือนแย่งเสียงกันเอง แต่ถ้าทำเป็นพรรคที่เป็นพันธมิตรกัน จับขั้วกันแบบนี้ก็น่าสนใจ ต่อไปถ้าเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งอยากปฏิรูป 112   ก็ผลักดันผ่านพรรคแดงก้าวหน้า สมมติ แล้วพรรคแดงก้าวหน้าถ้าได้เสียงมากพอก็อยู่ร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ก็ต่อรองในเรื่องจะโหวตกฎหมายต่างๆ ให้ แต่ก็ต้องรับอาเจนดาของพรรคคุณไป มันก็เป็นโมเดลที่ขยับไปอีกขั้น จากการเป็นแค่กลุ่มเสื้อแดงอยู่นอกสภา กับโมเดลที่จะปฏิรูปเพื่อไทยจากภายใน ถ้ามองว่ายากเกินไป ก็ตั้งตัวขึ้นมาใหม่ ยังเป็นแนวร่วมอยู่แต่เราอยากตั้งพรรคเล็กๆ ของเราเอง 

แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ส.ส.เพื่อไทยเอง แม้กระทั่ง ส.ส.ที่โตมาจากเสื้อแดงหรือ นปช.เองจะกล้าแตกตัวออกมาหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องถามใจกัน คุณณัฐวุฒิ (ใสยเกื้อ) คุณจตุพร (พรหมพันธ์) หมอเหวง (โตจิราการ) กล้าออกมาแล้วตั้งพรรคการเมืองของตัวเองไหม ถ้า 3-4 คนนี้มาตั้งพรรค ก็มีเปอร์เซ็นต์ ต้องได้ 7-8 ที่นั่ง หรืออย่างบก.ลายจุด ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่อย่าไปแตกมากเป็นหลายพรรคเล็กพรรคน้อยถ้านโยบายมันใกล้กัน ก็ควรจะกรุ๊ปกันเป็นอีกพรรคหนึ่ง คำถามคือ กล้าจะแยกตัวเองออกมาเลยไหม เพราะการอยู่กับเพื่อไทยก็มีอะไรที่หอมหวานเยอะ ออกมาก็ไม่รู้ชะตากรรมจะเป็นยังไง แต่ถ้าส.ส.เสื้อแดงออกมาซัก 10 กว่าคนบวกกับแอคติวิสต์อีกจำนวนหนึ่ง อันนี้มีโอกาสเกิด แต่ก็อย่าลืมว่าหลายคนเป็นส.ส.เพราะระบบปาร์ตี้ลิสต์ ไปลงเขตก็อาจจะแพ้ หลายคนมาจากภาคใต้ มันไม่ใช่ง่ายๆ แต่ถ้าลงปาร์ตี้ลิสต์จากแดงต่างๆ ที่ชอบสองคนนี้ แต่ชอบนโยบายของพรรคนี้ ส.ส.เขตเขาก็เลือกเพื่อไทยไป แล้วปาร์ตี้ลิสต์ก็มาเลือกณัฐวุฒิ จตุพร ก็อาจจะเป็นไปได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์แสงสำนึก ฉบับที่ 4 61 ปีกบฏสันติภาพ

Posted: 12 Nov 2013 06:17 AM PST


 

คำลิขิต
ประกาศิตประกาศเสียงเพียงภูตผี
ช่างเหี้ยมโหดโฉดชั่วกลั้วราคี
สิ้นศักดิ์ศรียุติธรรมพร่ำหลอกลวง

คุณค่าผองมนุษย์สุดใจคิด
รักษาสิทธิ์เสรีที่แสนหวง
กลไกรัฐมัดไว้แน่นแม้นเปรียบปวง
ดุจดังบ่วงบีบอยู่ไม่รู้คลาย

เปิดหน้ากากฉากหนึ่งซึ่งประจักษ์
สิทธิ์และศักดิ์มนุษย์ไซร้ไร้ความหมาย
รูปเจว็ดเท็จถ่อยคอยวันตาย
เจ้ามุ่งร้ายรับใช้โจรโค่นคุณธรรม

เธอทั้งหลาย
กล้าเชิดกายพร้อมกับสรวลทวนเสียงขำ
เพราะรู้แน่แก่ดวงจิตติดใจจำ
ความหมายคำยุติธรรมนั้นเพียงไร

ประกาศิตชนิดไหนในโลกนี้
จะไม่มีพรึงพรั่นหรือหวั่นไหว
ความชอบธรรมล้ำล้นพ้นอื่นใด
คือมั่นในอุดมการณ์หาญทระนง

ถึงจอมเทพบัญชาประกาศิต
ด้วยลิขิตจากสวรรค์อันสูงส่ง
ไม่อาจลบหลักธรรมที่ดำรง
แสนเที่ยงตรงสถิตอยู่คู่ดินฟ้า

คำลิขิต
เจ้าเบือนบิดสัจธรรมล้ำเลิศหล้า
ล้วนความเท็จสถุลถ่อยด้อยราคา
ด้วยสันดานสัตว์ป่าปีศาจร้าย

สันติภาพผนึกแน่นแม้นบรรพต
ถูกโป้ปดทุรชาติสาดโคลนป้าย
สิทธิ์เสรีมิ่งขวัญมันทำลาย
เธอยังกล้าท้าทายด้วยศักดา

ด้วยดวงจิตสุจริตมิตรหมายมาด
ตราบกรงขังพังพินาศในวันหน้า
คงยืนหยัดกัดฟันมั่นศรัทธา
เอาเพลิงแค้นเช็ดน้ำตาเถิดมิตรมวล

          
เนื่องในโอกาสครบรอบ 61ปีของเหตุการณ์กบฏสันติภาพซึ่งมีการจับกุมนักคิด นักเขียน และประชาชนจำนวนมากตามบางส่วนของแถลงการณ์กรมตำรวจที่ประกาศเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 ว่า

"..มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมายด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทยเพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่าง ๆ เช่นปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้างชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลีตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์กรสหประชาชาติให้เสื่อมเสียวินัยเมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้วก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตยด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย..."

เราจึงขอนำบทกวี"เพื่อนของเธอยังอยู่" ของ ทวีป วรดิลก ซึ่งได้เขียนถึงกรณีดังกล่าว ลงพิมพ์ในนิตยสาร สุดสัปดาห์ ในปี พ.ศ. 2497 มากล่าวนำในแถลงการณ์ฉบับนี้

หลังจากดำเนินการจับกุมบุคคลจำนวนมากรัฐสภาขณะนั้นได้เร่งผ่าน พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 (สามวาระรวด)ออกประกาศในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 เพื่อที่จะใช้ดำเนินคดีกับคนเหล่านี้ต่อมาเมื่อผู้ต้องหาถูกนำตัวขึ้นศาล แต่ไม่สามารถนำข้อหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์มากล่าวหาได้เนื่องจากเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยส่วนใหญ่มีความผิดในข้อหากบฏ โดยมีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปีและส่วนใหญ่ 13 ปี 4 เดือน

ผู้ที่ถูกจับกุมจากกรณีกบฏสันติภาพนี้ติดคุกไปเป็นเวลา 5 ปีเศษ กระทั่งในปี 2500 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หลังจากการยึดอำนาจการปกครองซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์เป็นผู้นำคนสำคัญในปีเดียวกัน ในปีต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารซ้ำก็ได้มีการจับกุมผู้คนอีกเป็นจำนวนมากด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ควบคู่ไปกับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

วิกฤตการเมืองปัจจุบัน หากนับจากกรณีของ"ดา ตอร์ปิโด"ซึ่งถูกจับกุมในปี 2551 จนถึงขณะนี้ก็กินเวลาร่วม 5 ปีแล้วและหากนับตั้งแต่ที่มีการนำเสนอประเด็นเรื่องพระราชอำนาจ โดยนายประมวล รุจนเสรีในปี 2548 ก็เป็นเวลาร่วม 8 ปีแล้ว ตลอดเวลา 8ปีของวิกฤตการเมืองนี้มีประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์จำนวนเท่าไรมีผู้ต้องขังด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นจำนวนเท่าไรมีนักโทษการเมืองที่ถูกกุมขังอย่างไร้ความเป็นธรรมอีกเท่าไรแม้ไม่มีสถิติที่ชัดเจนแต่ทั้งหมดนี้มากกว่าเมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏสันติภาพอย่างแน่นอนและคนเหล่านี้จะต้องติดคุกไปอีกนานเท่าไร ดูเหมือนจะไม่มีคำตอบในปัจจุบัน

ในท่ามกลางความขัดแย้งของเหตุการณ์ทางการเมืองเรื่องนิรโทษกรรมณ ขณะนี้ คณะนักเขียนแสงสำนึกขอแสดงความคิดเห็น และประกาศจุดยืนดังต่อไปนี้

ประการแรก เราไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมอันไม่ซื่อสัตย์ของพรรคเพื่อไทยในการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ และเห็นว่า แถลงการณ์พรรคเพื่อไทย ลงวันที่ 6 พ.ย. 56นั้นเป็นท่าทีทางการเมืองที่ขี้ขลาดและไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชนที่ถูกกุมขังซึ่งสมควรได้รับการนิรโทษกรรมโดยเร็ว

เหตุผลที่แท้จริงของความไม่ถูกต้องของการผลักดันพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในครั้งนี้หาใช่สิ่งอื่นใด นอกจากความไม่ตรงไปตรงมาและทำผิดหลักการพิจารณาร่างกฎหมาย โดยนำประเด็นซึ่งไม่อยู่ในร่างกฎหมายแรกใส่เข้ามาในขั้นตอนแปรญัตติและลงมติวาระ 3 อย่างเร่งด่วนโดยไม่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายอย่างรอบด้านทั้งที่เป็นกฎหมายสำคัญและประชาชนจำนวนมากต้องการทราบข้อเท็จจริงและเห็นการดำเนินการอย่างโปร่งใส

แม้ว่าเราจะตระหนักถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรมของการดำเนินคดีต่อทักษิณชินวัตร ที่ริเริ่มคดีโดย คตส. ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารแต่เราขอปฏิเสธพฤติกรรมและท่าทีทางการเมืองที่ไม่เคารพวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยและเห็นแก่ตัวเช่นนี้

และด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่เราไม่เห็นด้วยกับการไม่เคารพหลักประชาธิปไตยของพรรคเพื่อไทยเราขอแสดงจุดยืนที่จะปฏิเสธแถลงการณ์คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกฉบับที่อ้างเหตุผลเรื่องคอร์รัปชั่นและการล้างผิดให้คนโกงหรือในท่วงทำนองเดียวกัน เนื่องจากเราไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและผลบังคับสืบเนื่องจากการรัฐประหารในทุกกรณีและยืนยันว่าการตรวจสอบดำเนินคดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ จะต้องกระทำไปบนครรลองของระบอบประชาธิปไตยเราใคร่ขอเรียกร้องให้พลเมืองไทยทุกคนใช้วิจารณญาณและแยกแยะการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ผิดออกจากการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ถูก การคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยอ้างเรื่องการล้างผิดในคำพิพากษาที่มาจากการริเริ่มคดีโดย คตส.มีความหมายเท่ากับการยอมรับกระบวนการดำเนินคดีด้วยวิธีการทำรัฐประหารซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ไม่มีข้ออ้างใด ๆ สำหรับผู้ที่เลือกระบอบประชาธิปไตยที่จะคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วยเหตุผลเช่นนี้ การพิสูจน์ความผิดของทักษิณชินวัตร หรือใครก็ตาม จะต้องเป็นไปโดยกลไกของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นจึงจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้

เราเห็นว่าการรณรงค์คัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยให้เหตุผลว่าเป็นการรักษาหลักนิติรัฐและความยุติธรรมในการดำเนินคดีกับทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะโดยกลุ่มบุคคลหรือสถาบันใดคือการโกหกหลอกลวง เพราะแท้จริงแล้ว มันคือการปกป้องผลของการรัฐประหารซึ่งเป็นการทำลายล้างหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิงและร้ายแรงยิ่งกว่า

ประการที่สอง เราขอแสดงจุดยืนปฏิเสธการนิรโทษกรรมให้กับผู้บงการสั่งการ หรือมีส่วนในการบงการหรือสั่งการให้มีการสังหารประชาชนและขอเรียกร้องให้ต้องมีการพิสูจน์ความจริงให้เป็นที่ประจักษ์และมีการนำตัวคนผิดมาลงโทษเสียก่อน เราขอปฏิเสธการให้อภัยที่เป็นไปไม่ได้ในเมื่อไม่มีคำขออภัย ไม่มีการกล่าวโทษและนำคนผิดมาลงโทษการให้อภัยย่อมไม่ใช่การให้อภัย หากแต่เป็นเพียงละครตบตาของชนชั้นนำที่ทรยศต่อประชาชนรัฐบาลที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตของประชาชนปฏิเสธการเอาผิดผู้ทำลายชีวิตของประชาชน คือรัฐบาลที่ไม่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน แม้ว่าจะไม่ใช่รัฐบาลที่สั่งการก็ไม่สมควรและไม่ชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลอีกต่อไป

ประการที่สาม เราขอกล่าวย้ำจุดยืนที่เคยประกาศไว้ในแถลงการณ์แสงสำนึกฉบับที่ 2 อีกครั้งว่า การนิรโทษกรรมที่ไม่นับรวมผู้ต้องขังจากการกระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา112 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ การปฏิเสธกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญามาตรา 112คือการหลีกหนีความจริงและหลบเลี่ยงการเผชิญปัญหาการเมืองที่แหลมคมที่สุดอย่างไร้ความรับผิดชอบแม้ว่ารัฐสภาจะยังไม่พร้อมจะพิจารณายกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112  อย่างน้อยที่สุดเราหวังว่ารัฐบาลและรัฐสภาจากการเลือกตั้งนี้ควรพร้อมที่จะนิรโทษกรรมผู้ต้องขัง

ประการสุดท้าย เราขอเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยทบทวนวิธีทางการเมืองของตนและตระหนักว่าความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองในขณะนี้เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ที่ต้องการความจริงใจต่อวิถีทางของประชาธิปไตยหากเลือกที่จะเป็นรัฐบาลของฝ่ายประชาธิปไตย เรามีความเห็นต่อการแก้ปัญหาในกรณีความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับทักษิณชินวัตรว่า ทักษิณและพรรคเพื่อไทยสมควรต้องพิสูจน์ความซื่อสัตย์ต่อระบอบประชาธิปไตยและเคารพหลักการประชาธิปไตยโดยเคร่งครัดใช้วิธีการลบล้างผลพวงของการรัฐประหารตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ หรือวิธีการอื่นที่โปร่งใสและตั้งอยู่บนหลักการของระบอบประชาธิปไตยและแสดงให้เห็นอย่างสิ้นสงสัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมและยินดีขึ้นศาลเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

เราหวังว่าหากยังมีสำนึกต่อระบอบประชาธิปไตยและต่อประชาชนหลงเหลืออยู่ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะเร่งหาหนทางนิรโทษกรรมให้กับประชาชนโดยไม่เว้นผู้ถูกกุมขังจากกฎหมายอาญามาตรา112 โดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะยากลำบากและได้รับแรงเสียดทานเพียงใด

และในวาระ 61ปีของเหตุการณ์กบฏสันติภาพนี้เราขอร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความอยุติธรรมที่เกิดกับผู้ต้องขังด้วยเหตุผลทางการเมืองได้โปรดอย่าปล่อยให้ประชาชนถูกกุมขังเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองไปเนิ่นนานยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในอดีตอีกเลย

 

คณะนักเขียนแสงสำนึก
ประเทศไทย
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรพล พรหมิกบุตร: การเมืองไทยปลาย 2556: กองทัพประชาชนแห่งประเทศไทย

Posted: 12 Nov 2013 05:13 AM PST


ม็อบมวลชนขนาดกระเป๋า (pocket-sized mob) แต่แกนนำตั้งชื่อเรียกยิ่งใหญ่ระดับประเทศว่า "กองทัพประชาชนแห่งประเทศไทย (กปท.)" แถลงคำประกาศการยึดอำนาจทางการเมืองเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 และอ้างว่าจะเดินทางเข้าเฝ้าเพื่อคืนพระราชอำนาจให้สถาบันกษัตริย์

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีผู้ประกาศการยึดอำนาจโดยไม่มีกำลังทหารของกองทัพหนุนหลัง (แม้แต่การประกาศคำแถลงการยึดอำนาจโดยคณะราษฎรในเดือนมิถุนายน 2475 ก็มีกำลังทหารของกองทัพหนุนหลัง) แต่แกนนำและคณะเสนาธิการ กปท. ประกาศให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพต่าง ๆ เดินทางไปพบหรือรายงานตัวต่อพวกตนในวันที่ 12 พฤศจิกายน (ซึ่งในทางปฏิบัตืจะไม่มีผลเกิดขึ้น)

การประกาศยึดอำนาจครั้งนี้มีผู้สังเกตการณ์ให้ข้อสังเกตทางเว็บไซต์ต่าง ๆ ว่าคณะผู้ประกาศการยึดอำนาจยังไม่สามารถแม้แต่จะยึดสถานีโทรทัศน์ไว้สักแห่งเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อการยึดอำนาจของตนต่อไป (ซึ่งแม้แต่สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสก็ไม่สามารถอนุญาตให้ กปท. ไปนั่งแถลงการยึดอำนาจในสถานีของตนเพราะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์นั้นจะถูกจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างแน่นอน)

การประกาศการยึดอำนาจนั้นถูกพิจารณาจากสาธารณชนจำนวนมาก (แม้แต่จากบรรดาผู้มีเจตนาต้องการให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยพ้นไปจากการเมืองไทย) ว่าเป็นกิจกรรม "หลุดโลก" ของอดีตนายทหารระดับพลเอกจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับพลตรีจำลอง ศรีเมืองในปัจจุบันและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในอดีต

อย่างไรก็ตาม  การแถลงคำประกาศนั้นเป็นการแถลงที่มีการประชุมหารือกำหนดเนื้อหากันไว้ล่วงหน้าก่อนการแถลงต่อสื่อมวลชน (ไม่ใช่การแถลงอย่าง "กลอนพาไป" ตามกระแสเหตุการณ์บนเวทีนักปราศรัยการเมืองทั่วไป)  คำแถลงนั้นเป็นการเปิด "ช่อง" ให้ตนเองสามารถถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญตัวไปสอบสวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายว่ามีเจตนายึดอำนาจด้วยวิธีการขัดรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่  ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ดุลยพินิจได้ว่าเป็นการแถลงที่ไม่สามารถดำเนินการยึดอำนาจเช่นนั้นได้จริง จึงอาจปล่อยตัวไปพร้องตั้งเงื่อนไขไม่ให้แกนนำ กปท. ก่อความวุ่นวายต่อไปอีก หรืออาจควบคุมตัวไว้สอบสวนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด 

ผลทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้ต่อเนื่องคือการสลายตัวไปเองของผู้ชุมนุมมวลชนกองทัพประชาชนแห่งประเทศไทย และการโดดเดี่ยวแกนนำม็อบประชาธิปัตย์ที่ถนนราชดำเนิน หากแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ยังดึงดันการต่อสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ต่อไปตามลำพัง 

กลยุทธ์การโดดเดี่ยวนี้มีความแนบเนียน และไม่กระทบความรู้สึกของม็อบ กปท. ที่เป็นมวลชนของตนมากนัก  ขณะที่แนวร่วมการชุมนุมกลุมอื่นที่มุ่งล้มล้างรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ (เช่นม็อบประชาธิปัตย์และบรรดาอธิการบดีมหาวิทยาชั้นนำของรัฐจำนวนมาก) ก็ไม่สามารถประกาศคำตำหนิแกนนำ กปท. ให้สาธารณชนเชื่อได้ว่าทรยศหักหลังกันในหมู่ผู้มีเจตนาโค่นล้มอำนาจรัฐบาลที่เอาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและบรรดาข้ออ้างอื่นมาปราศรัยบังหน้าเพื่อเรียกร้องการมีส่วนร่วมของชนชั้นกลางกรุงเทพฯในการชุมนุมสร้างสถานการณ์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยสถานีอวกาศนานาชาติติดไวรัสจากยูเอสบีไดร์ฟที่นักบินรัสเซียนำขึ้นไปใช้

Posted: 12 Nov 2013 04:39 AM PST

ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เผย สถานีอวกาศนานาชาติติดไวรัสจากยูเอสบีไดรฟ์ที่นักบินรัสเซียนำจากโลกขึ้นไปใช้ พร้อมข่าวคอมฯ ในโรงไฟฟ้ารัสเซียติดไวรัส Stuxnet ไวรัสชื่อดังที่คาดว่าสหรัฐจับมืออิสราเอลพัฒนาเพื่อหยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อิหร่าน

<--break->

12 พ.ย. 56 - เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่สมาคมนักข่าวแห่งชาติ ในกรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ยูจีน แคสเปอร์สกี ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์และผู้ก่อตั้งแคสเปอร์สกี แลป บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลจากการคุกคามทางไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เปิดเผยว่า สถานีอวกาศนานาชาติประสบปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์จากการที่นักบินอวกาศรัสเซียนำยูเอสบีไดร์ฟจากโลกขึ้นไปใช้กับแลปท็อปบนสถานีฯ

แคสเปอร์สกีไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด แต่รายงานข่าวระบุว่าน่าจะเป็นช่วงก่อนเดือนพ.ค.ปีนี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จากวินโดวส์ XP เป็นลินุกซ์ทั้งหมด  ขณะที่ระบบควบคุมของสถานี หรือที่รู้จักกันในชื่อ SCADA นั้นใช้ลินุกซ์อยู่ก่อนแล้ว

ก่อนหน้านี้ มีรายงานด้วยว่าเมื่อปี 2551 แลปท็อปซึ่งใช้วินโดวส์ XP ที่นักบินรัสเซียนำไปใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติมีเวิร์มติดไปด้วย ทำให้แพร่ระบาดไปสู่แลปท็อปเครื่องอื่นๆ อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี เปิดเผยอีกกรณีที่ทำให้เห็นว่าแม้ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ติดมัลแวร์ โดยยกกรณีคอมพิวเตอร์ของโรงไฟฟ้าไม่ระบุชื่อแห่งหนึ่งในรัสเซียว่าติดไวรัส Stuxnet ซึ่งเป็นไวรัสที่เชื่อกันว่าพัฒนาโดยสหรัฐและอิสราเอล เพื่อขัดขวางการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่าน

 

ที่มา:
International Space Station Infected With USB Stick Malware Carried on Board by Russian Astronauts
USB Devices Used to Infect Russian Nuclear Plant, Carry Malware to Space Station
ผ่าน 'เป็นเรื่อง สถานีอวกาศนานาชาติติดไวรัสจาก USB drive ที่นักบินรัสเซียนำไปใช้'

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้อง 3 แกนนำไทรอัมพ์ ข้อหามั่วสุมหลังร้องรัฐบาลอภิสิทธิ์แก้ปัญหาเลิกจ้าง

Posted: 12 Nov 2013 04:28 AM PST

ศาลอาญายกฟ้อง 3 แกนนำไทรอัมพ์ข้อหามั่วสุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง กรณีชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลอภิสิทธิ์แก้ไขปัญหาถูกเลิกจ้างตั้งแต่ปี 2552

12 พ.ย.56 ตอนสายของวานนี้ ศาลอาญามีคำพิพากษาคดี น.ส.บุญรอด สายวงศ์ กับพวกรวม 3 คน ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก อันเนื่องจากการชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาถูกเลิกจ้างในปี 2552 โดยศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการชุมนุมอย่างสงบและไม่เข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย

"การชุมนุมของกลุ่มแรงงานไทร์อัมพ์เป็นผลมาจากการพยายามยื่นข้อเรียกร้องต่อนายอธิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ไม่มีความคืบหน้าจึงต้องมารวมตัวกันชุมนุมที่บริเวณรัฐสภาเพื่อให้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาโดยเร็ว เมื่อมีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาลมารับข้อเรียกร้องแล้ว ก็เลิกชุมนุมกันอย่างสงบ ไม่มีการใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญหรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การชุมนุมของกลุ่มแรงงานจึงเป็นการชุมนุมโดยสงบไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง"

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากการชุมนุมของคนงานที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล กรณีคนงานบริษัทไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กว่าสองพันคนถูกเลิกจ้างจาก โดยประสงค์จะร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนในการแก้ไขปัญหาแรงงาน แต่เมือกลุ่มผู้ชุมนุมทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่านายกรัฐมนตรีมีกำหนดการประชุมที่รัฐสภา จึงได้เดินทางไปที่รัฐสภา ภายหลังที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้พบตัวแทนฝ่ายรัฐบาลคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายไพฑูรย์ แก้วทอง ผู้ชุมนุมตัดสินใจยุติการชุมนุม

แต่ในขณะที่การชุมนุมกำลังจะยุติลง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ากดดันให้สลายการชุมนุม และมีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยไม่มีขั้นตอนการแจ้งเตือนการสลายการชุมนุมดังกล่าว ซึ่งในวันเดียวกันนั้น มีการออกหมายจับและดำเนินคดีกับแกนนำของผู้ชุมนุม และศาลอาญามีคำสั่งยกฟ้องคดีดังกล่าวในตอนสายของเมื่อวานนี้

อ่านคำพิพากษาคดี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความหวานที่ขื่นขม: อุตสาหกรรมน้ำตาลกับการไล่รื้อที่ดินในกัมพูชา

Posted: 12 Nov 2013 04:18 AM PST

รายงานขององค์กร Equitable Cambodia และภาคี เปิดเผยการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมน้ำตาลในกัมพูชา ซึ่งนโยบายส่งเสริมการลงทุนของสหภาพยุโรปเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น

 
ปัญหาการไล่รื้อที่ดินในจังหวัดกัมพูชา เป็นปัญหาที่สั่งสมในกัมพูชามาแล้วหลายทศวรรษ นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายการให้สัปทานที่ดินตามกฎหมายที่ดินในปี 2544 ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลให้สัมปทานที่ดินที่ไม่มีเจ้าของให้แก่เอกชนเป็นเวลา 99 ปี มีรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวกว่า 700,000 คน และที่ดินมากกว่า 2 ล้านเฮคเตอร์ถูกพรากจากเกษตรกรเพื่อนำไปให้บริษัทเอกชน
 
เมื่อเร็วๆ นี้ องค์กร Equitable Cambodia และ Inclusive Development International ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อ Bittersweet Harvest  ที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการไล่รื้อที่ดินในกัมพูชาในอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่ถูกทำให้ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยนโยบายส่งเสริมการลงทุนของสหภาพยุโรป คือนโยบาย Everything But Arms (EBA) ที่ยกเว้นภาษีการส่งออกสินค้าแก่สหภาพยุโรปสำหรับประเทศที่ยากจนที่สุด 49 ประเทศในโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ และยังมีการประกันราคาน้ำตาลที่สูงกว่าราคาตลาดโลกถึงสามเท่าเพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุน 
 
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุดรมีชัย กำปงสปือ และเกาะกง ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการทำอุตสาหกรรมน้ำตาลมากที่สุด ชาวบ้านทั้งหมดกว่า 2,000 ครอบครัว กลับถูกไล่จากที่อยู่อาศัย ไม่ได้รับเงินชดเชย และตกอยู่ในวงจรความยากจนอย่างต่อเนื่อง
 
ฮอย ไม ชาวบ้านวัย 51 ปีจากจังหวัดอุดรมีชัย เป็นผู้หนึ่งที่ถูกไล่ออกจากที่ดิน พร้อมลูกอีก 8 คน  จากการที่รัฐให้สัมปทานที่ดินแก่โรงงานน้ำตาลบริษัทน้ำตาลมิตรผล เธอเล่าว่า เธอได้ย้ายเข้ามาตั้งรกรากที่จังหวัดอุดรมีชัยตั้งแต่ปี 2546 อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 2551 ก็ถูกไล่รื้อ ทั้งๆ ที่ตามกฎหมายกำหนดว่า หากอยู่ในที่ดินครบ 5 ปี สามารถประกาศครอบครองที่ดินโดยนิตินัย 
 
หลังจากที่ถูกไล่รื้อ เธอและชาวบ้านบางส่วนได้ทำจดหมายร้องเรียนไปที่นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น อย่างไรก็ตาม เธอกลับถูกจับในข้อหาบุกรุกที่ป่า ทำให้เธอถูกจำคุกเป็นเวลา 8 เดือนทั้งๆ ที่ตั้งครรภ์ และได้คลอดลูกในระหว่างที่ถูกจำคุกในเดือนที่ 7 โดยหลังจากที่คลอดที่โรงพยาบาล เธอต้องกลับมาเลี้ยงลูกต่อในคุกอีกหนึ่งเดือน ก่อนจะได้รับอิสรภาพ
 
ฮอย ไม ชาวบ้านกัมพูชาวัย 51 ปี ถูกไล่รื้อจากบ้านที่จ.อุดรมีชัย เมื่อปี 2551
 
บริษัทน้ำตาลแอลวายพี บริษัทเคเอสแอล กรุ๊ป บริษัทขอนแก่นน้ำตาล บริษัทน้ำตาลมิตรผล และอื่นๆ ทั้งสัญชาติไต้หวัน อเมริกัน และกัมพูชา นับเป็นผู้ลงทุนด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่สัมปทานดังกล่าว ซึ่งได้รับผลประโยชน์โดยตรงกับนโยบายยกเว้นภาษีส่งออกของนโยบาย EBA รายงานดังกล่าว ระบุว่า ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่นโยบาย EBA ของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ มูลค่าการส่งออกน้ำตาลของกัมพูชาได้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3,700 เท่า จาก 51,000 ดอลลาร์ เป็น 13.8 ล้านดอลลาร์ในปี 2554 
 
ในพื้นที่จังหวัดเกาะกง รัฐบาลได้ให้สัมปทานพื้นที่ราว 20,000 เฮคเตอร์ เป็นเวลา 90 ปี แก่บริษัทน้ำตาลสองบริษัท ได้แก่บริษัทเกาะกงแพลนเทชั่น และบริษัทเกาะกงซูการ์ ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 450 ครอบครัวถูกไล่รื้อออกจากพื้นที่ จาการสำรวจของผู้จัดทำรายงาน พบว่ามีเพียงราว 23 ครัวเรือนเท่านั้นที่ได้รับเงินชดเชยเฉลี่ยครอบครัวละ 300 ดอลลาร์ (ราว 9,000 บาท) พร้อมที่อยู่ใหม่ราวครอบครัวละสองเฮคเตอร์ จำนวนเงินชดเชยดังกล่าว คิดเป็นเพียงร้อยละ 10-30 ของมูลค่าที่ดินที่ชาวบ้านมีอยู่ดั้งเดิมเท่านั้น นอกจากนี้ ที่ดินที่ได้รับใหม่ ยังเป็นพื้นที่ที่ไม่อุดมสมบูรณ์ มีทรายและหินประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก จึงไม่สามารถเพาะปลูกซึ่งเป็นอาชีพหลักดั้งเดิมของพวกเขาได้ 
 
ส่วนพื้นที่ในหมู่บ้านโอบัตโมน ในจังหวัดอุดรมีชัย จาก 214 ครอบครัวที่ถูกไล่รื้อ มีเพียง 14 ครอบครัวที่ได้รับเงินชดเชย ส่วนครอบครัวที่เหลือ นอกจากจะสูญเสียทั้งบ้าน วัวควาย ที่ดินเพาะปลูก ยังไม่ได้รับเงินและที่ดินชดเชยใดๆ จากรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านส่วนมากต้องอพยพมาเป็นแรงงานรับจ้างที่ประเทศไทย 
 
น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย (กสม.) กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดในสิทธิชุมชน ในที่ดินทำกิน และวิถีทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน รวมถึงสิทธิที่ในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งหมายถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการทำมาหากินของชางบ้าน แต่ในกรณีเช่นนี้ การไล่รื้อที่ดินของบริษัทน้ำตาล เป็นไปโดยขาดการปรึกษาหารือ และใช้กองกำลังเข้ารื้อโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าใดๆ ทั้งๆ ที่สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิทีรัฐธรรมนูญได้ระบุเอาไว้ 
 
น.พ. นิรันดร์ระบุว่า ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ไทย มีอำนาจในการรับฟังข้อเท็จจริงของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายชาวบ้านในกัมพูชา และฝ่ายบริษัทน้ำตาลของไทย โดยจะสามารถเรียกบริษัทของไทย ที่การลงทุนไปละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่นๆ มาตรวจสอบ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องติดตามการลงทุนของเอกชนไทย ว่าต้องไม่ทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศอื่นๆ โดยหลังจากที่ชาวบ้านกัมพูชาผู้ได้รับผลกระทบได้มายื่นข้อร้องเรียนและข้อมูลต่างๆ แล้ว ทางกสม. จะเรียกบริษัทน้ำตาลมิตรผลมาชี้แจง และหลังจากประมวลข้อมูลรับฟังเวทีจากทุกฝ่ายเรียบร้อยแล้ว จะทำออกมาเป็นรายงานข้อเสนอแนะต่อไป  
 
เดวิด เพรด จากองค์กร Inclusive Development International ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า สหภาพยุโรปควรทบทวนนโยบาย EBA ที่ส่งเสริมเอกชนให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมน้ำตาล รวมถึงสร้างกลไกที่ตรวจสอบการกระทำของบริษัทที่ละเมิดข้อกำหนดหรือกฎหมาย เพราะในขณะนี้ ยังไม่มีกลไกใดๆ ทั้งประเทศที่มา หรือประเทศที่ตั้ง ที่สามารถเอาผิดบรรษัทข้ามชาติอย่างเอาจริงเอาจังได้เลย รวมถึงกลไกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรป หรือในสหรัฐอเมริกาเอง 
 
"เราต้องการกฎหมายที่มีเขี้ยวฟันจริงๆ กลไกของสหประชาชาตินั้นทำอะไรจริงๆ ไม่ได้" เพรดกล่าว "บรรษัทเหล่านี้สามารถฟ้องรัฐบาลในข้อหาละเมิดข้อตกลงการค้าแบบทวิภาคีได้ แต่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถถูกเอาผิดได้เลย" 
  
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

9 ส.ส.ปชป. นำโดย 'สุเทพ' ยื่นใบลาออกที่สภา กกต.พร้อมจัดเลือกตั้งซ่อม

Posted: 12 Nov 2013 03:50 AM PST

ส.ส.ประชาธิปัตย์ทั้ง 9 คน ยื่นใบลาออกที่สภา 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' ระบุเพื่อเคลื่อนไหวเต็มที่ในนามประชาชน ส่วนเรื่องจะหาใครมาเป็นผู้สมัครเป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เกี่ยวกับพวกตนแล้ว ด้าน กกต.เตรียมจัดเลือกตั้งซ่อม ใช้งบเขตละ 10 ล้าน

สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์รวม 9 คนที่ประกาศลาออก เพื่อร่วมการต่อสู้คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในฐานะประชาชน ภาพเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา (ที่มา: เพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)/แฟ้มภาพ)

 

สุเทพเอาจริง พา ส.ส. รวม 9 คนลาออกที่สภา

12 พ.ย. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (12 พ.ย.) ว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ส.ส. อีก 8 คน ประกอบด้วยถาวร เสนเนียม ส.ส. สงขลา สาธิต วงค์หนองเตย ส.ส. ตรัง อิสระ สมชัย ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ วิทยา แก้วภราดัย ส.ส. นครศรีธรรมราช ชุมพล จุลสัย ส.ส. ชุมพร พุทธิพงษ์ ปุณกันต์ ส.ส. กรุงเทพมหานคร เอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ส.ส. กรุงเทพมหานคร นัฎพล ทีปสุวรรณ ส.ส. กรุงเทพมหานคร เดินทางมาที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงจุดยืนขอสละเอกสิทธิ์คุ้มครองในฐานะ ส.ส. จะได้ทำหน้าที่แกนนำมวลชนต่อต้านรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ในนามของประชาชนทั่วไป พร้อมยืนยันจะต่อสู้ภายใต้กรอบของกฏหมายอย่างเคร่งครัด หากถูกดำเนินคดีก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และระบุด้วยว่า จะปักหลักชุมนุมที่ราชดำเนิน แต่จะเคลื่อนไปที่ใดต้องประเมินสถานการณ์รายวัน ส่วนกรณีนัดประชาชนให้หยุดงานในวันที่ 13 - 15 พฤศจิกายนนั้น เป็นเพียงมาตรการอารยะขัดขืนขั้นต้นเท่านั้น แต่จะมีการยกระดับต่อต้านรัฐบาลต่อไป เพื่อเป็นการแสดงออกว่าไม่ชอบรัฐบาล พร้อมกันนี้ เรียกร้องรัฐบาลอย่าใช้กำลังความรุนแรงกับประชาชนที่ชุมนุมอย่างสงบภายใต้กอบของกฏหมาย

สุเทพ ระบุด้วยว่า จากนี้ไปการเคลื่อนไหวจะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ ส่วน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ที่เหลืออยู่จะขึ้นเวทีหรือไม่แล้วแต่ดุลยพินิจของแต่ละคน และหากทางพรรคจะส่งใครลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ส.ส. เขตที่ลาออก เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้พิจารณา ไม่เกี่ยวกับพวกตนแล้ว (ชมคลิปการให้สัมภาษณ์ของสุเทพ เทือกสุบรรณ/ที่มา: ASTV/youtube)

 

กกต.ระบุพร้อมจัดเลือกตั้งซ่อม คาดใช้งบเขตละ 10 ล้าน

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานด้วยว่า ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 9 คน ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง เพื่อมาเดินหน้าชุมนุมทางการเมือง ว่า ขณะนี้ทาง กกต. มีความพร้อมที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 109 ซึ่งจากรายชื่อของ ส.ส. จำนวน 9 คน ที่ประกาศลาออกนั้น พบว่า เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 8 คน ส่วนอีก 1 คนที่เป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ กกต. จะต้องรอความชัดเจนจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่จะแจ้งให้ทราบก่อนว่า ส.ส. ทั้ง 9 คน ได้ยื่นลาออกจริงหรือไม่ จากนั้น กกต. จะประชุมเพื่อพิจารณากำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณเขตละ 10 ล้านบาท

 
ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า การลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ถือเป็นสิทธิของ ส.ส. ที่สามารถกระทำได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่ได้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหากต้องจัดการเลือกตั้ง กกต. ชุดปัจจุบันก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เช่นเดิม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Give Peace A Chance ขอโอกาสให้แก่ความสงบสุขด้วยครับ

Posted: 12 Nov 2013 03:47 AM PST

เหตุการณ์การรวมใจชาวไทย ร่วมกันแสดงพลังไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ไร้เหตุผล ไร้หลักการ ของเหล่าผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ตลอดสิบวันที่ผ่านมา เป็นเรื่องดีที่ไม่เกิดมาในประเทศนี้มานานแล้ว ฉันทามติที่เกิดขึ้นมีพลังยิ่งใหญ่ จนผมแน่ใจได้เลยว่า เรื่องนี้ ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้อีก พ.ร.บ.อย่างนี้จะไม่มีขึ้นได้ ไม่ว่าเมื่อไหร่ จะจันทร์นี้ จะอีกร้อยแปดสิบวัน หรือแม้หลังจากนั้น

ผลโพลที่ออกมา ว่าประชาชนกว่าร้อยละ80 ไม่เห็นด้วยกับการสับขาหลอกครั้งนี้ นับเป็น"ความเห็นพ้อง"ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ แถมม็อบที่เกิดขึ้นทุกหนแห่ง ทั้งม็อบถาวรสองแห่ง(อุรุพงษ์ กับ สามเสน ที่ภายหลังมีย้ายถิ่น ย้ายที่) กับม็อบเป่านกหวีด ที่เกิดขึ้นชั่วคราว โดยกลุ่มคนหลายหมู่ หลายเหล่า ต่างๆสถาบัน ส่งเสียงประสานไปในทางเดียวกันทั้งสิ้นคือ "พวกเราไม่เอา พรบ.ซังกะบ๊วย อย่างนี้" ถึงแม้ท่านจะมีเสียงท่วมท้นล้นสภาฯ แต่จะมามั่ว มาปล้นความชอบธรรมไปดื้อๆนั้นอย่าหวัง อย่าคิดว่าคนเขาจะอยู่เฉยๆ

ถึงวันนี้.... เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาล พรรคเพื่อไทย แถมพรรคร่วมอีกทั้งหมด ได้ยอมตบหน้า ตบปากตัวเอง  กลับลำ กลับหลังหัน....จากเมื่อสิบวันก่อน นั่งยันยืนยันว่า "ความปรองดอง" จำเป็นต้องมี ลงมติตีสี่ ผ่าน พรบ.ที่มีหมกเม็ดเหมาเข่ง มาวันนี้..กลายเป็นว่าเอาหัวโขกพื้น ให้สัตย์สาบาน สัตยาบันพร้อมเพรียงสี่พรรคร่วม ไม่เอา"เหมาเข่ง" ที่เคยหลง เอาเป็นว่า"ขอโทษที" ขอกลับมาร่วมวง นับหนึ่งใหม่ (ดีที่ไม่โทษ"ไอ้ปื๊ด"มาทำไขว้เขว) ก็แหม จำนำข้าวฤดูใหม่ แก้น้ำ 3.5 แสนล้าน ขนส่ง 2 ล้านๆ พวกผมยังไม่ได้เริ่มเบิกเริ่มทำเลย (นี่ได้ข่าวว่าจะมีใบอนุญาติโรงงานน้ำตาล ล็อตมโหฬารที่ กท.อุตฯกำลังปั้นอยู่ เพิ่งเป็นรูปเป็นร่าง จะให้เลิกกลางคันได้อย่างไร)

ที่น่าสงสาร...กลายเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน "ภูมิใจไทย"ของท่าน อนุทิน ชาญวีระกุล ตอนโหวตพรบ. เค้าพยักหน้าให้...รีบลงมติสนับสนุน หวังเลียเต็มที่ สอพลอหวังให้เมตตา เรียกกลับร่วมโต๊ะซะที ตอนเค้าเลิก รวมกันประกาศร่วมให้สัตยาบันเปลี่ยนเป็น"ไม่เอาเหมาเข่ง" เค้ากลับไม่เรียก ...มาวันนี้ เลยเคว้งคว้าง เหลือเพียงพรรคเดียวที่ยังสนับสนุนเหมาเข่งอยู่ วันจันทร์นี้ น่ากลัวต้องเดือดร้อน"คุณหนู" ต้องออกประกาศตามเพื่อนแบบ ไปไหนไปด้วย จุดยืนมั่นคง คือ "เดินตามตูดท่าน" ให้ไปไหน ซ้ายขวา บอกมาเถอะ ..อดอยากจะแย่อยู่แล้วครับ

มาถึงตอนนี้...เรื่อง พรบ.หมกเม็ด เหมาเข่ง ลักหลับ อันนี้น่าจะจบ เอวังแน่นอน ชัยชนะเป็นของประชาชน แล้วถามว่า ...ม็อบที่กว่าจะปลุกขึ้นมาได้ ทั้งสองม็อบจะเอาอย่างไร

ในความเห็นตรงไปตรงมาของผม.... ม็อบก็ควรจะเลิก เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะชุมนุมกันไปเอาอะไร การจะเปลี่ยนเป้าประสงค์ ดูจะไม่มีเหตุผลพอเพียง และยากที่จะบรรลุเป้าหมาย สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง หรือที่จะแย่สุด ก็คือ ฝ่ายรัฐ ฝ่ายเสื้อแดง ที่ชำนาญการม็อบไม่แพ้กัน (หรือน่าจะยิ่งกว่าหลายขุมอยู่...โดยเฉพาะการทำให้รุนแรง ยอมสละชีวิตพวกหางแถว เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามต้องกลายเป็น"ผู้ฆ่าคน") ปลุกระดมผู้คนออกมาปะทะกัน กลายเป็น"สงครามกลางเมือง"เละไปทั่ว

ขอเรียนฝ่ายที่ต่อต้าน อดีตนายกฯทักษิณ ว่า ในความเห็นของผม พอกฎหมายอย่างนี้ออกไม่ได้ และแทบไม่มีโอกาสที่จะออกได้ (เพราะถ้าจะออกอีก...จะเมื่อไหร่ก็ตาม ก็จะมีคนเป็นล้าน ออกมาเป่าหวีด ปรี๊ดๆแก้วหูแตกทั้งสภาอีกอย่างแน่นอน) การที่ท่านทักษิณจะกลับมาได้ในเร็ววันเป็นอันพับไป แต่ถ้าท่านไม่เลิกแล้วนำไปสู่เหตุการณ์วุ่นวาย นองเลือด อาจทำให้เป็นสถานการณ์พิเศษ ที่ทำให้"อัศวิน"(ของบางกลุ่ม บางพวก)จะได้กลับมา แถมอย่างที่ผมเคยบอกหลายครั้ง สงครามกลางเมืองจะทำให้อนาคตประเทศสูญหายไปได้เป็นครึ่ง เป็นค่อนศตวรรษ ไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย

การที่ม็อบจะยังอยู่. จะเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล ลาออก หรือ ยุบสภา นั้น ผมเห็นว่า ยากที่จะเกิดผล เพราะทั้งสองอย่างนั้น เป็นสิทธิตามกฎหมายของ นายกฯ (ท่านอาจถามว่าจะให้ ยุบสภา ไปทำไม) ในเมื่อเราแสดงเจตนาไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของท่านที่จะพิจารณา แม้คราวที่แล้วที่ม็อบกดดัน รุนแรงจนคนตายเยอะแยะ ขนาดนายกฯร้องไห้ทั้งคืน ยังทำได้แค่สัญญาว่า "จะยุบสภาเมื่อสมควร" ดังนั้นถ้าใครยังลากม็อบต่อ ผมจะชักสงสัยว่า ท่านต้องการความรุนแรงไปเพื่ออะไร (และรุนแรงทีไร ไม่เห็นแกนนำจะบาดเจ็บล้มตายนี่ครับ ...ยกเว้น เสธ.ใจกล้า ที่พลาดท่าย่ามใจ)

การที่ม็อบจะยังอยู่ถึงวันจันทร์ เป็นเรื่องที่พอรับได้ ถ้าหลังจากวุฒิสภามีมติ ไม่รับ พ.ร.บ. ถ้าไม่มีพลิกล็อก (พลิกยากครับ ก็วุฒิสมาชิกที่ดีมีวิจารณญาน คงต้องคว่ำกฎหมายนี้อยู่แล้ว และวุฒิที่สั่งได้(ถ้ามี) ก็ได้รับคำสั่งไปแล้วนี่) หลังจากนั้น การชุมนุมก็ควรยุติ ม็อบควรสลายตัวได้ ถ้าเขาเอาเรื่องแบบนี้ขึ้นมาอีก ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม เราค่อยระดมกันใหม่ ผมเชื่อว่าจุดติดแน่นอน(คราวนี้จะไปร่วมแถวหน้าเลย) เพราะถ้าจุดไม่ติด การจะยืดเยื้อม็อบไป ไม่ว่าจะเพื่ออะไรก็ตาม ย่อมไม่เกิดผลอยู่ดี

สิ่งเดียวที่ผมอยากให้เก็บไว้เป็นที่ระลึก จากการชุมนุมคราวนี้ ก็คือ ยังอยากให้หาวันที่เหมาะๆ ของทุกเดือน (เช่น ทุกวันพุธที่สามของเดือน) ให้ประชาชน นัดกันเวลาเดิม 12:34 น. มาเป่านกหวีดกันให้ล้นหลาม เพื่อแสดง สัญญลักษณ์ เจตนารมณ์ "เราไม่รับ ไม่เอา คอร์รัปชั่น กันอีกแล้ว"

จริงอยู่..."คอร์รัปชั่น"ไม่มีทางที่จะปราบได้บนท้องถนน แต่ถ้า ฉันทามติ เกิดจากมวลชนทั้งประเทศ ในที่สุด การดำเนินการ ป้องกัน ปราบปราม สร้างระบบนิเวศน์ที่ปลอดคอร์รัปชั่น ก็เป็นความหวังที่จะเป็นจริงได้ และเมื่อปราศจากการโกง บ้านเมืองก็จะเข้ารูป มีความสุขสงบ เจริญก้าวหน้าด้วยดี

เราควรเลิกม็อบ แต่จะยังคงต่อสู้กับ "การโกงเมือง กินเมือง" อย่างเข้มแข็งต่อไปครับ

All We Are Saying Is "Give Peace A Chance" .....by John Lennon


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น